POL2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.คณะกรรมการที่……ของสมัชชารับผิดชอบปัญหาสังคม
(1) 5
(2) 4
(3) 3
(4) 2
(5) 1
ตอบ 3 หน้า 144 สมัชชาสหประชาชาติมีองค์กรย่อยที่เรียกว่า “คณะกรรมการ” ทําหน้าที่ ช่วยดําเนินงานตามประเด็นปัญหา ประกอบด้วย 6 คณะกรรมการ ดังนี้
1. คณะกรรมการที่ 1 รับผิดชอบปัญหาการเมือง และปัญหาที่คุกคามความมั่นคงและ สันติภาพของโลก
2. คณะกรรมการที่ 2 รับผิดชอบปัญหาเศรษฐกิจและการคลัง
3. คณะกรรมการที่ 3 รับผิดชอบปัญหาสังคมและมนุษยธรรม
4. คณะกรรมการที่ 4 รับผิดชอบปัญหาดินแดนในภาวะทรัสตีและดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง
5. คณะกรรมการที่ 5 รับผิดชอบปัญหาการบริหารงานภายในองค์การระหว่างประเทศและ
งบประมาณ
6. คณะกรรมการที่ 6 รับผิดชอบปัญหากฎหมาย

2. การรับรองผู้แทนของชาติต่าง ๆ ให้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติดําเนินการโดย
(1) Confidential Committee
(2) Predential Committee
(3) Financial Committee
(4) Credential Committee
(5) Presidential Committee
ตอบ 4 หน้า 144 สมัชชาสหประชาชาติมีอํานาจหน้าที่ในการรับรองผู้แทนของชาติต่าง ๆ ให้เป็นสมาชิก ของสหประชาชาติ โดยดําเนินการผ่านคณะกรรมาธิการสารตราตั้ง (Credential Committee)

3.กฎบัตรสหประชาชาติมี……มาตรา
(1) 113
(2) 111
(3) 110
(4) 114
(5) 115
ตอบ 2 หน้า 150, 227 – 246, (คําบรรยาย) กฎบัตรสหประชาชาติ เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ที่รองรับการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติ โดยเนื้อหาจะแบ่งออกเป็น 19 หมวด 111 มาตรา เช่น หมวดที่ 5 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับองค์ประกอบและอํานาจหน้าที่ของ คณะมนตรีความมั่นคง, หมวดที่ 6 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับการระงับกรณีพิพาทโดยสันติ การมอบอํานาจให้สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงดําเนินการระงับข้อขัดแย้งที่ไม่รุนแรง, หมวดที่ 7 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับการดําเนินการเกี่ยวกับการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิด สันติภาพ และการกระทําการรุกราน, หมวดที่ 9 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่าง ประเทศทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น

4.หมวดที่ 9 ของกฎบัตรสหประชาชาติเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
(1) สันติภาพ
(2) ความร่วมมือ
(3) ความมั่นคง
(4) คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
(5) สิทธิมนุษยชน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

5.อํานาจหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงกําหนดไว้ในหมวด…….ของกฎบัตรสหประชาชาติ
(1) 5
(2) 4
(3) 7
(4) 8
(5) 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

6.สมัชชาใหญ่สหประชาชาติมีสมาชิก…….ประเทศ
(1) 191
(2) 194
(3) 192
(4) 195
(5) 193
ตอบ 5 หน้า 144, (คําบรรยาย) สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 193 ประเทศ โดยแต่ละประเทศมีเสียง 1 เสียง ซึ่งสมัชชาจะจัดประชุมสมัยสามัญปีละ 1 ครั้ง ระหว่าง เดือนกันยายน – มกราคม ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจะมีผู้นําหรือรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐสมาชิกเข้าร่วมประชุม

7.สันนิบาตชาติทํางานไม่สําเร็จเท่าที่ควรเพราะ
(1) งบประมาณ
(2) กติกาสัญญาของสันนิบาตชาติ
(3) ผู้นําโลก
(4) การบริหาร
(5) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ตอบ 2 หน้า 140 สาเหตุประการหนึ่งที่ทําให้สันนิบาตชาติไม่ประสบความสําเร็จในการดําเนินงาน เท่าที่ควรก็คือ การกําหนดให้กติกาสัญญาสันนิบาตชาติเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาสันติภาพทําให้รัฐที่แพ้สงครามเห็นว่าสันนิบาตชาติคือองค์กรของผู้ชนะสงคราม หรือเป็นเครื่องมือ กํากับดูแลผู้แพ้สงครามจึงนําไปสู่การละเมิดกติกาสัญญาสันนิบาตชาติ อีกทั้งการลงมติต่าง ๆในสมัชชาและคณะมนตรีต้องได้รับเสียงเป็นเอกฉันท์จึงทําให้เกิดการชะงักงันในการดําเนินงานในกรณีที่สมาชิกมีความเห็นไม่ตรงกัน

8. ศาลโลกมีที่ตั้งที่กรุง
(1) เฮก
(2) บรัสเซลส์
(3) ปารีส
(4) เจนีวา
(5) เบิร์น
ตอบ 1หน้า 41 42, (คําบรรยาย) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) หรือศาลโลก เป็นศาลที่ทําหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทระหว่างรัฐที่เป็นสมาชิกขององค์การ สหประชาชาติ โดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนี้เริ่มมีมาตั้งแต่การตั้งองค์การสันนิบาตชาติ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และมีการตั้งขึ้นอีกครั้งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบัน ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

9.คณะมนตรีความมั่นคงประเภทไม่ถาวรมีสมาชิก…….ประเทศ
(1) 10
(2) 15
(3) 12
(4) 18
(5) 14
ตอบ 1 หน้า 146, 166 – 167, (คําบรรยาย) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วย สมาชิกทั้งหมด 15 ประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมาชิกถาวร (Permanent Members) ประกอบด้วยประเทศผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสมาชิกประเภทนี้จะมีสิทธิพิเศษในการยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) มติใด ๆ ก็ได้ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

2. สมาชิกหมุนเวียนหรือสมาชิกไม่ถาวร (Non-Permanent Members) มี 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และอยู่ในตําแหน่งคราวละ 2 ปี

10. สหประชาชาติปัจจุบันมีอายุ……ปี
(1) 74
(2) 77
(3) 75
(4) 78
(5) 76
ตอบ 5 หน้า 163 – 164, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้น อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 (ปัจจุบัน ค.ศ. 2021 อายุ 76 ปี) ภายหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันสหประชาชาติมีรัฐสมาชิกซึ่งรวมไปถึงรัฐที่ได้รับการรับรองว่าเป็นเอกราชทั้งหมด 193 รัฐ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สวิตเซอร์แลนด์ ไทย ติมอร์-เลสเต มอนเตเนโกร ซูดานใต้หรือเซาท์ซูดาน เป็นต้น

11. สหประชาชาติมีองค์กรสําคัญ……..องค์กร
(1) 1
(2) 2
(3) 3
(4) 6
(5) 9
ตอบ 4 หน้า 143, 166 สหประชาชาติประกอบด้วยองค์กรสําคัญ 6 องค์กร คือ
1. สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ
2. คณะมนตรีความมั่นคง
3. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
4. คณะมนตรีภาวะทรัสตี
5. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
6. สํานักงานเลขาธิการสหประชาชาติ

12. สหประชาชาติเป็น………ของระเบียบระหว่างประเทศ
(1) หลัก
(2) ต้นแบบ
(3) อัตลักษณ์
(4) เอกลักษณ์
(5) สัญลักษณ์
ตอบ 5หน้า 142 สหประชาชาติเป็นสัญลักษณ์ของระเบียบระหว่างประเทศและเอกลักษณ์ ของโลก อีกทั้งเป็นองค์กรที่เปิดเวทีทางการเมืองให้ฝ่ายต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกันได้แสดงออกถึง ทัศนะ ความเห็น ซึ่งทําให้เกิดบรรยากาศที่ผ่อนคลายจากปัญหาหนักหน่วงระหว่างประเทศ หรือเรียกว่าเป็นกลไกนําไปสู่ข้อยุติปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศที่กระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงของโลก

13. เลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบันเป็นชาว
(1) ฝรั่งเศส
(2) โปรตุเกส
(3) สเปน
(4) เยอรมนี
(5) อิตาลี
ตอบ 2 หน้า 167, (คําบรรยาย) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้รับการแต่งตั้งจากสมัชชาตามคําแนะนําของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี ซึ่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายอังตอนี มานูแวล กูแตรีช (Antonio Manuel Guterres) ชาวโปรตุเกส เริ่มดํารงตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017

14. ประเทศแกนนําของสหภาพยุโรป คือ
(1) ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์
(2) ฝรั่งเศส ออสเตรีย
(4) ฝรั่งเศส เยอรมนี
(3) เยอรมนี เดนมาร์ก
(5) ฝรั่งเศส เบลเยียม
ตอบ 4 หน้า 178, 221, (คําบรรยาย) สหภาพยุโรป (European Union : EU) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1933 โดยสนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht Treaty) ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2021) มีสมาชิกทั้งหมด 27 ประเทศ โดยประเทศที่แกนนําของสหภาพยุโรป คือ ฝรั่งเศส และเยอรมนี

15. หน่วยงานใดของสหประชาชาติที่ดูแลปัญหาเรื่อง COVID-19
(1) WHO
(2) FAO
(3) UNEP
(4) UNSC
(5) UNDP
ตอบ 1 (คําบรรยาย) องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ก่อตั้งขึ้น ในปี ค.ศ. 1948 มีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นองค์การที่มี หน้าที่หลักในการให้ความช่วยเหลือ เยียวยา แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสาธารณสุขระหว่างประเทศ และช่วยยกระดับมาตรฐานด้านสุขภาพให้แก่ประเทศสมาชิก รวมถึงการควบคุม ป้องกัน และ รักษาโรคระบาดต่าง ๆ เช่น โรค COVID-19 โรคเอดส์ โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือ เมอร์ส (MERS) โรคอีโบลา เป็นต้น

16. สหประชาชาติให้การรับรองรัฐทั้งสิ้น……รัฐ
(1) 194
(2) 196
(3) 193
(4) 195
(5) 191
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

17. สหภาพยุโรปกับอังกฤษตกลงปัญหา Brexit กันได้เมื่อ
(1) ค.ศ. 2020
(2) ยังตกลงกันไม่ได้
(3) ค.ศ. 2019
(4) ค.ศ. 2021
(5) ค.ศ. 2018
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ได้ออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (Brexit) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2020 หลังจากที่สามารถตกลงปัญหา ด้านการค้าระหว่างสหราชอาณาจักรกับสหภาพยุโรปได้สําเร็จ

18. ผู้ให้กําเนิดแนวคิด Self-Determination คือ
(1) เจมส์ มอนโร
(2) แฮร์รี่ ทรูแมน
(3) จอห์น ไทเลอร์
(4) แอนดรู แจ็กสัน
(5) วูดโรว์ วิลสัน
ตอบ 5(คําบรรยาย) หลักการ Self-Determination หรือการกําหนดเจตจํานงของตนเอง เกิดขึ้น จากแนวคิดของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) แห่งสหรัฐอเมริกาที่ต้องการ จะยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 และเสริมสร้างสันติภาพของโลก โดยหลักการนี้ได้ปรากฏครั้งแรก ในหลัก 14 ประการของประธานาธิบดีวิลสัน และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงหลักการนี้ ก็ถูกนําไปใช้อ้างอิงในกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น ในหมวด 1 ของกฎบัตรสหประชาชาติ ข้อมติสมัชชาสหประชาชาติที่ 1514 เป็นต้น

19. สหประชาชาติมีที่ตั้งสํานักงานใหญ่อยู่ที่
(1) นิวยอร์ก
(2) วอชิงตัน
(3) บรัสเซลส์
(4) สตาร์บูร์ก
(5) เจนีวา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

20.ACMECS ประกอบด้วยสมาชิก………ประเทศ
(1) 5
(2) 4
(3) 6
(4) 7
(5) 3
ตอบ 1 หน้า 223, (คําบรรยาย) ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศลุ่มแม่น้ำอิรวดี-เจ้าพระยา- แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับอนุภาคที่จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ จากความแข็งแกร่งและความหลากหลายของประเทศสมาชิกเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างสมดุล โดย ACMECS ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย เมียนมา (พม่า) ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

21. ใครที่กล่าวว่า “ในปัจจุบันไม่สามารถแยกนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไป”
(1) ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ
(2) มอร์ตัน เอ. แคปแลน
(3) เค. เจ. โฮลสติ
(4) เรย์มอนด์ เอฟ. ฮอพกินส์
(5) นิโคลัส สปิคแมน
ตอบ 1 หน้า 209 ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau) กล่าวว่า ในปัจจุบันเราไม่สามารถ แยกนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไป ทั้งนี้เพราะว่าการดําเนินนโยบายต่างประเทศในสมัยปัจจุบันมิได้กระทําด้วยเครื่องมือทางการทูตและทางอํานาจทาง ทหารเท่านั้น แต่นโยบายต่างประเทศต้องอาศัยเครื่องมือทางการโฆษณาชวนเชื่อประกอบเป็นส่วนสําคัญด้วย

22. นักวิชาการท่านใดที่ไม่ได้กล่าวถึงอนาธิปไตยในสังคมระหว่างประเทศ
(1) ริชาร์ด ดับเบิลยู แมนสแบค
(2) นิโคลัส สปิคแมน
(3) เค. เจ. โฮลสติ
(4) เรย์มอนด์ เอฟ, ฮอพกินส์
(5) มอร์ตัน เอ. แคปแลน
ตอบ 3 หน้า 197 นักวิชาการที่กล่าวถึงอนาธิปไตยในสังคมระหว่างประเทศ ได้แก่ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes), นิโคลัส สปิคแมน (Nicholas Spykman), มอร์ตัน เอ. แคปแลน (Morton A. Kaplan), เรย์มอนด์ เอฟ. ฮอพกินส์ (Raymond F. Hopkins) และริชาร์ด ดับเบิลยู แมนสแบค (Richard W. Mansbach)

23. ข้อใดไม่ใช่กระบวนการในการแก้ปัญหาระหว่างประเทศ
(1) การเจรจาโดยตรงต่อประเทศที่มีปัญหากัน
(2) การไกล่เกลี่ยประนีประนอม
(3) การใช้มหาอํานาจกดดัน
(4) การตัดสินใจโดยศาลระหว่างประเทศ
(5) การใช้อนุญาโตตุลาการ
ตอบ 3 หน้า 41 – 42 กระบวนการในการแก้ปัญหาระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. การเจรจาโดยตรงระหว่างประเทศที่มีปัญหากัน
2. การไกล่เกลี่ยประนีประนอม
4. การตัดสินใจโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก
3. การใช้อนุญาโตตุลาการ
5. การสงคราม

24. Islamic State หรือ IS จัดว่าเป็นตัวแสดงแบบใดในเวทีระหว่างประเทศ
(1) รัฐ
(2) บรรษัทข้ามชาติ
(3) ปัจเจกบุคคล
(4) ขบวนการก่อการร้าย
(5) องค์การระหว่างประเทศ
ตอบ 4 หน้า 22 – 23, 115, (คําบรรยาย) ขบวนการ/กลุ่มก่อการร้าย (Terrorist) เป็นตัวแสดง ในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีบทบาทสําคัญมากในช่วงหลังสงครามเย็น ซึ่งตัวอย่างของขบวนการก่อการร้ายที่เคลื่อนไหวอยู่ในประเทศต่าง ๆ มีดังนี้
1. กลุ่ม Al Qaeda ในอัฟกานิสถาน
2. กลุ่ม Abu Nidal ในอิสราเอล
3. กลุ่ม IS หรือ ISIS หรือ ISIL ในอิรักและซีเรีย
4. กลุ่ม Hezbollah ในเลบานอน
5. กลุ่ม PLO และกลุ่ม Hamas ในปาเลสไตน์
6. กลุ่ม ETA ในสเปน
7. กลุ่ม JI ในอินโดนีเซีย
8. กลุ่ม Abu Sayyaf, กลุ่ม MNLF และกลุ่ม MILF ในฟิลิปปินส์
9. กลุ่ม Bersatu, กลุ่ม BRN และกลุ่ม PULO ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ฯลฯ

25. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่กําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ
(1) ประวัติศาสตร์
(2) การขยายอํานาจของประเทศ
(3) เกียรติภูมิของประเทศ
(4) ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
(5) ความอยู่รอดปลอดภัยของประเทศ
ตอบ 1 หน้า 25 – 30 ปัจจัยที่กําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ ได้แก่
1. ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศ
2. ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
3. การขยายอํานาจของประเทศ
4. เกียรติภูมิของประเทศ

26. “การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างตัวแสดงระหว่างประเทศทําให้เกิดความขัดแย้งและความร่วมมือ”
เป็นคําอธิบายของอะไร
(1) International Relations
(2) Regionalism
(3) National Interest
(4) Liberalism
(5) Nationalism
ตอบ 1 หน้า 3, (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations) คือ
การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างตัวแสดงระหว่างประเทศทั้งตัวแสดงที่เป็นรัฐและตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจะเป็นไปในลักษณะของความขัดแย้งหรือความร่วมมือกันในมิติทางการเมือง การทหาร การทูต เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มิติใดมิติหนึ่งหรือหลายมิติพร้อม ๆ กัน

27. ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่มีบทบาทสําคัญในการร่างสนธิสัญญาแวร์ซายส์ คือ
(1) ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน
(2) ประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์
(3) ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์
(4) ประธานาธิบดีแฮร์รี่ เอส. ทรูแมน
(5) ประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด
ตอบ 1 หน้า 85, (คําบรรยาย) สนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Versailles Treaty) จัดทําขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1991 ณ พระราชวังแวร์ซายส์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยผู้ที่มีบทบาทสําคัญในการร่างสนธิสัญญา ฉบับนี้ ได้แก่
1. ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) แห่งสหรัฐอเมริกา
2. นายกรัฐมนตรีเดวิด ลอยด์ จอร์จ (David Lloyd George) แห่งสหราชอาณาจักร
3. ประธานาธิบดีฌอร์ฌ เกลม็องโซ (Georges Clemenceau) แห่งฝรั่งเศส
4. นายกรัฐมนตรีวิตโตริโอ ออลันโด (Vittorio Orlando) แห่งอิตาลี

28. การดําเนินนโยบายต่างประเทศ มีขั้นตอนอย่างน้อยกี่ขั้นตอน
(1) 2 ขั้นตอน การกําหนดนโยบาย และการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(2) 2 ขั้นตอน การประเมินนโยบาย และการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(3) 3 ขั้นตอน การวางแผน การกําหนดนโยบาย และการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(4) 3 ขั้นตอน การกําหนดนโยบาย การนํานโยบายไปปฏิบัติ และการประเมินนโยบาย
(5) 4 ขั้นตอน การวางแผน การกําหนดนโยบาย การนํานโยบายไปปฏิบัติ และการประเมินนโยบาย
ตอบ 1 หน้า 209 กระบวนการในการดําเนินนโยบายต่างประเทศ ประกอบด้วยขั้นตอนอย่างน้อย 2 ขั้นตอน คือ
1. การกําหนดหรือการวางนโยบาย
2. การนํานโยบายไปปฏิบัติ

29. แนวการศึกษาใดที่ใช้การสังเกตตามความเป็นจริง และใช้เทคนิคด้านสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) แนวพฤติกรรม
(2) แนวภูมิรัฐศาสตร์
(3) แนวอํานาจ
(4) แนวประวัติศาสตร์
(5) แนวนโยบาย
ตอบ 1 หน้า 12 แนวพฤติกรรม (Behavioral Approach) เป็นการศึกษาที่พยายามจะอธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยข้อสรุปที่ได้มาจากการสังเกตสภาพตามความเป็นจริงและ ด้วยทฤษฎี รวมทั้งมีการทํานายพฤติกรรมของมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยพยายามหาทางปรับปรุงคําทํานายหรือการคาดคะเนให้มีความแม่นยําถูกต้องมากขึ้น โดยการศึกษาแนวนี้จะใช้ เทคนิคและวิธีการทางด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การตั้งปัญหาและสมมุติฐาน และ การทดสอบสมมุติฐาน ผสมผสานกับเทคนิคและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ได้แก่ การวัด การทดลอง และการสร้างทฤษฎี

30. การพิจารณาถึงลักษณะที่ตั้ง ขนาดของประเทศว่ามีผลต่อการกระทําของรัฐ เป็นการศึกษาแนวใด
(1) แนวพฤติกรรม
(2) แนวนโยบาย
(3) แนวอํานาจ
(4) แนวประวัติศาสตร์
(5) แนวภูมิรัฐศาสตร์
ตอบ 5 หน้า 9 แนวภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Approach) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศเพื่อทําความเข้าใจการเมืองระหว่างประเทศโดยพิจารณาลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่น ที่ตั้ง พื้นที่ ขนาดของประเทศ ฯลฯ ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมหรือการกระทําของรัฐอย่างไร นอกจากนี้ลักษณะทางภูมิรัฐศาสตร์ยังสามารถส่งผลต่อฐานะความเป็นมหาอํานาจหรือส่งผลต่อการกําหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐอีกด้วย

31. เครื่องมือในการดําเนินนโยบายต่างประเทศแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท
(1) 2 ประเภท เครื่องมือทางสันติ และเครื่องมือทางการใช้กําลัง
(2) 2 ประเภท เครื่องมือทางการทูต และเครื่องมือทางการทหาร
(3) 3 ประเภท เครื่องมือทางสันติ เครื่องมือทางการทูต และเครื่องมือทางการใช้กําลัง
(4) 3 ประเภท เครื่องมือทางสันติ เครื่องมือทางการทูต และเครื่องมือทางการทหาร
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
ตอบ 5 หน้า 212 – 216 เครื่องมือของรัฐในการดําเนินนโยบายต่างประเทศ แบ่งออกกว้าง ๆ ได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เครื่องมือทางสันติหรือเครื่องมือทางการทูต
2. เครื่องมือทางการใช้กําลังหรือเครื่องมือทางการทหาร

32. ใครเป็นผู้กล่าวว่า สังคมระหว่างประเทศเป็นสังคมที่ไม่มีศูนย์อํานาจกลางที่จะรักษากฎหมาย
และความเป็นระเบียบเรียบร้อย
(1) ริชาร์ด ดับเบิลยู แมนสแบค
(2) เรย์มอนด์ เอฟ, ฮอพกินส์
(3) เค. เจ. โฮลสติ
(4) มอร์ตัน เอ. แคปแลน
(5) นิโคลัส สปิคแมน
ตอบ 5 หน้า 197 นิโคลัส สปิคแมน (Nicholas Spykman) กล่าวว่า สังคมระหว่างประเทศเป็นสังคมที่ไม่มีศูนย์อํานาจกลางที่จะรักษากฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อย และ ไม่มีองค์กรกลางที่จะมีอํานาจป้องกันสิทธิของสมาชิกในสังคมระหว่างประเทศ ผลก็คือ รัฐแต่ละรัฐจะต้องยึดถือเอาการรักษาไว้และการเสริมสร้างฐานะแห่งอํานาจของตนเป็นจุดประสงค์อันแรกของนโยบายต่างประเทศ

33. อะไรเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้องค์การสหประชาชาติไม่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างประเทศ
(1) โครงสร้างในการบริหารองค์กร
(2) การใช้อํานาจทางทหารเข้าไปควบคุมรัฐสมาชิก
(3) การใช้อํานาจในการวีโต้ (Veto)
(4) มาตรการแทรกแซงทางเศรษฐกิจ
(5) ความเป็นอนาธิปไตยของสมาชิก
ตอบ 3 หน้า 191 – 192 ในสังคมระหว่างประเทศนั้นความเท่าเทียมกันระหว่างรัฐจะปรากฏในองค์กร สมัชชาสหประชาชาติ ซึ่งทุก ๆ รัฐมี 1 เสียงเท่าเทียมกันหมดไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันในด้านใด ส่วนความไม่เท่าเทียมกันระหว่างรัฐจะปรากฏในองค์กรคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ เนื่องจากมีเฉพาะสมาชิกถาวรซึ่งเป็นชาติมหาอํานาจ 5 ประเทศเท่านั้นที่มีอํานาจพิเศษใน การออกเสียงยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) ในขณะที่สมาชิกอื่น ๆ ไม่มี

34. ข้อใดจัดเป็นเครื่องมือทางจิตวิทยา
(1) การขึ้นภาษีนําเข้า
(2) การงดส่งสินค้าออกไปขาย
(3) การทุ่มสินค้า
(4) การกําหนดโควตา
(5) การโฆษณาชวนเชื่อ
ตอบ 5 หน้า 109 การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) จัดเป็นเครื่องมือทางจิตวิทยาที่สําคัญโดยเป้าหมายของรัฐที่ใช้การโฆษณาชวนเชื่อในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็คือ ต้องการที่จะสร้างอิทธิพลต่อทัศนคติหรือต่อการกระทําทางการเมืองของกลุ่มที่เป็นเป้าหมาย หรือของรัฐอื่น ๆ และบีบบังคับหรือโน้มน้าวจูงใจให้รัฐอื่น ๆ ดําเนินนโยบายตามที่รัฐตนต้องการ

35. ฝ่ายนิติบัญญัติมีความสําคัญต่อกระบวนการกําหนดนโยบายต่างประเทศในขั้นตอนใด
(1) การควบคุมและให้การรับรองนโยบายต่างประเทศ
(2) การกําหนดนโยบายต่างประเทศ
(3) การนํานโยบายต่างประเทศไปปฏิบัติ
(4) การประเมินผลการดําเนินนโยบายต่างประเทศ
(5) การให้ความเห็นและคําแนะนําในการดําเนินนโยบายต่างประเทศ
ตอบ 1 หน้า 210 ในกระบวนการกําหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐนั้น ฝ่ายบริหารจะมีบทบาท
ในการกําหนดนโยบายต่างประเทศ ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติจะมีบทบาทในการควบคุมและ
ให้การรับรองการกําหนดและการดําเนินนโยบายต่างประเทศของฝ่ายบริหาร

36. ในศตวรรษที่ 20 ลักษณะที่สําคัญที่สุดในการเมืองและสังคมระหว่างประเทศ คือ
(1) ความเป็นพลวัต
(2) ทรัพยากรธรรมชาติที่มีจํากัด
(3) ความเป็นอนาธิปไตย
(4) ความไม่เท่าเทียมกัน
(5) การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างรัฐ
ตอบ 1 หน้า 195 – 196 สเปราท์ (Sprout) กล่าวว่า ในสังคมระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในศตวรรษที่ 20 ความเป็นพลวัตหรือความไม่อยู่นิ่ง (Dynamic) ของสังคมระหว่างประเทศ เป็นลักษณะสําคัญที่สุดในการเมืองและสังคมระหว่างประเทศ

37.Starbucks จัดว่าเป็นตัวแสดงแบบใดในเวทีระหว่างประเทศ
(1) ขบวนการก่อการร้าย
(2) องค์การระหว่างประเทศ
(3) บรรษัทข้ามชาติ
(4) รัฐ
(5) ปัจเจกบุคคล
ตอบ 3 หน้า 22 (คําบรรยาย) บรรษัทข้ามชาติ (Multi-National Cooperation or Multi-National
Company : MNCs) เป็นองค์การธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนในต่างประเทศ หรือให้บริการ ในประเทศต่าง ๆ เช่น Microsoft, Google, Esso, Royal Dutch Shell, Chevron, Starbucks, Toyota, Tata, Samsung, Alibaba, McDonald, Nestle, Red Bulls, Coca Cola, Pepsi, Unilever เป็นต้น

38. ประเทศอะไรที่ทําสงครามกับอิรักและโค่นล้มรัฐบาลซัดดัม ฮุสเซ็น
(1) อังกฤษ
(2) จีน
(3) ซาอุดิอาระเบีย
(4) สหรัฐอเมริกา
(5) รัสเซีย
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สหรัฐอเมริกาภายใต้การนําของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) ได้ทําสงครามกับอิรักและโค่นล้มรัฐบาลซัดดัม ฮุสเซ็น ในปี ค.ศ. 2003

39. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศคนปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2564) คือใคร
(1) นายกษิต ภิรมย์
(2) นายวีรศักดิ์ ฟูตระกูล
(3) นายธานี ทองภักดี
(4) นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี
(5) นายดอน ปรมัตถ์วินัย
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันกระทรวงการต่างประเทศของไทยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย เป็นรัฐมนตรี นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี และนายธานี ทองภักดี เป็นปลัดกระทรวง

40. การงดส่งสินค้าออกไปขาย คือข้อใด
(1) Embargo
(2) Boycott
(3) Tariff
(4) Dumping
(5) Subsidies
ตอบ 1 หน้า 54 การงดส่งสินค้าออกไปขาย (Embargo) คือ การระงับการส่งออกสินค้าอันเป็น ที่ต้องการของประเทศอื่นไปขายในต่างประเทศเพื่อเป้าหมายทางการเมืองบางประการ เช่น ในปี ค.ศ. 1949 สหภาพยุโรปได้ใช้นโยบายนี้กับยูโกสลาเวียเนื่องจากยูโกสลาเวียทําการค้ากับ ประเทศคอมมิวนิสต์ ทําให้ยูโกสลาเวียประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงจนต้องหันมา ทําการค้าและรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป เป็นต้น

41. การมุ่งศึกษาภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระดับใด
(1) Foreign Policy
(2) National Level
(3) Individuals
(4) Regional Level
(5) Global Level
ตอบ 4(คําบรรยาย) ระดับในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. ระดับโลก (Global Level) คือ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลต่อประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น การปฏิวัติอุตสาหกรรม สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามเย็น
2. ระดับภูมิภาค (Regional Level) คือ การศึกษาภูมิภาคต่าง ๆ โดยอาจเน้นที่ภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง ที่สนใจ เช่น อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป เอเชียอาคเนย์
3. ระดับชาติ (National Level) คือ การศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติ นโยบายของ ประเทศต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงภายในของชาตินั้น ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงตัวผู้นํา การเปลี่ยนแปลงการปกครอง
4. ระดับปัจเจกบุคคล (Individuals) คือ การศึกษาบุคคล ซึ่งจะมีเรื่องของจิตวิทยาเข้ามา เกี่ยวข้อง เช่น ภูมิหลังของผู้ปกครอง มุมมองของผู้ปกครอง

42. ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้เกิด
(1) สงครามต่อต้านการก่อการร้าย
(2) สงครามโลกครั้งที่ 2
(3) สงครามครูเสด
(4) การล่าอาณานิคม
(5) สงครามเย็น
ตอบ 4 หน้า 79 – 81, (คําบรรยาย) การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระบบและวิธีการผลิตจากการใช้แรงงานคนหรือสัตว์มาใช้เครื่องจักรกลที่สลับซับซ้อนและมีประสิทธิภาพเพื่อให้การผลิตทําได้จํานวนมากภายในระยะเวลาที่สั้น โดยการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้น
ในประเทศอังกฤษเป็นแห่งแรกและทําให้อังกฤษเป็นมหาอํานาจอันดับหนึ่งของโลกซึ่งผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้เกิด
1. การปฏิวัติการค้า มีการขยายการค้านอกยุโรปและมีบรรษัทข้ามชาติ
2. ลัทธิจักรวรรดินิยมและการล่าอาณานิคม
3. การแข่งขันของมหาอํานาจในยุโรปทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร

43. ประเทศใดที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม
(1) บรูไน
(2) ญี่ปุ่น
(3) ชิลี
(4) อินเดีย
(5) อียิปต์
ตอบ 2 หน้า 81, (คําบรรยาย) ในยุคอาณานิคมมีหลายประเทศทั้งในเอเชียและแอฟริกาที่ตกเป็น เมืองขึ้นของชาติตะวันตก เช่น อินเดีย บรูไน พม่า มาเลเซีย อียิปต์ เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ชิลี ฟิลิปปินส์ เป็นเมืองขึ้นของสเปน กัมพูชา ลาว เวียดนาม เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส สําหรับ ญี่ปุ่นและไทยนั้นเป็นประเทศในเอเชียที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกเลย

44. กฎหมายระหว่างประเทศ เป็น
(1) กฎหมายที่ทุกรัฐต้องปฏิบัติตาม
(2) กฎหมายที่ทุกรัฐเกรงใจ
(3) กฎหมายที่ให้ความเท่าเทียมกันกับทุกประเทศ
(4) กฎหมายสูงสุดของทุกรัฐ
(5) กฎหมายที่ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ
ตอบ 5 หน้า 129 กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่ไม่พึ่งพาการใช้กําลังให้รัฐอยู่ภายใต้บังคับ ของกฎหมาย หรือกล่าวอีกนัยก็คือ เป็นกฎหมายที่ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ (Sanction) จึงทําให้ สังคมระหว่างประเทศมีลักษณะสังคมอนาธิปไตย ซึ่งไม่มีอํานาจสูงสุดในการบังคับบัญชา

45. ข้อใดคือภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบใหม่
(1) โคโรนาไวรัส
(2) อาวุธเคมี
(3) คอมมิวนิสต์
(4) การโฆษณาชวนเชื่อ
(5) อาวุธนิวเคลียร์
ตอบ 1 หน้า 91 – 92, (คําบรรยาย) ภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในยุคหลังสงครามเย็นเป็นภัยคุกคามที่ไม่ได้กระทําโดยรัฐและไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและรัฐนั้น ๆ ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่รัฐต่าง ๆ ให้ความสําคัญ และหันมาร่วมมือกันแก้ไขปัญหามากขึ้น รูปแบบของภัยคุกคามดังกล่าว ได้แก่
1. การก่อการร้ายระหว่างประเทศ
2. โรคระบาด เช่น โคโรนาไวรัส (COVID-19) โรคเอดส์ ซาร์ ไข้หวัดนก อีโบลา เป็นต้น
3. ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สึนามิ เป็นต้น
4. อาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด อาชญากรรมทางไซเบอร์ ปัญหาโจรสลัด เป็นต้น

46. ความตกลงระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือข้อใด
(1) Negotiation
(2) Dialogue
(3) Declaration
(4) Document
(5) Treaty
ตอบ 3, 5 หน้า 6 (คําบรรยาย) ความตกลงระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สนธิสัญญา (Treaty), อนุสัญญา (Convention), พิธีสาร (Protocol), ข้อตกลง (Agreement), กติกาสัญญา
(Pact), กฎบัตร (Charter), ปฏิญญา (Declaration), สัตยาบัน (Ratification), บันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) เป็นต้น

47. การก่อตั้งสันนิบาตชาติเพื่อแก้ปัญหาสันติภาพของโลกเป็นแนวคิดของ
(1) เจมส์ เมดิสัน
(2) แฟรงกลิน โรสเวลต์
(3) จอห์น อดัมส์
(4) วูดโรว์ วิลสัน
(5) เจมส์ มอนโร
ตอบ 4 หน้า 138 – 139 องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1920 ตามแนวคิดของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) เพื่อทําหน้าที่เป็นกลไกในการรักษาความมั่นคงและสร้างสันติภาพของโลกบนพื้นฐานของ ระบบความมั่นคงร่วมกัน (Collective Security)

48. การจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เป็นลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบใด
(1) ความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ
(2) ความสัมพันธ์ทางการเมือง
(3) ความสัมพันธ์ทางสังคม
(4) ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
(5) ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ
ตอบ 3 หน้า 6 ความสัมพันธ์ทางสังคม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์ในการ แลกเปลี่ยนทางการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม กีฬา การท่องเที่ยว เช่น การส่งคณะนาฏศิลป์ไทย ไปแสดงในประเทศต่าง ๆ การส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิก การส่งคณะสงฆ์ไปเผยแผ่ ศาสนาในต่างประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ความสัมพันธ์ทางสังคมอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการเมือง เช่น การจัดแข่งขันกีฬาปิงปองระหว่างนักกีฬาชาวจีน และสหรัฐอเมริกาเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งนิยม เรียกการดําเนินความสัมพันธ์ดังกล่าวว่า “การทูตปิงปอง” (Ping Pong Diplomacy)

49. รัฐต่าง ๆ ให้ความสําคัญกับภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบใหม่ในยุคใด
(1) สงครามเย็น
(2) หลังสงครามเย็น
(3) สงครามโลกครั้งที่ 2
(4) สงครามสามสิบปี
(5) สงครามโลกครั้งที่ 1
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

50. สงครามเย็นเกิดขึ้นและสิ้นสุดเมื่อใด
(1) ค.ศ. 1914 – 1918
(2) ค.ศ. 1921 – 1927
(3) ค.ศ. 1939 – 1945
(4) ค.ศ. 1947 – 1991
(5) ค.ศ. 1618 – 1648
ตอบ 4 หน้า 87, (คําบรรยาย) สงครามเย็น (Cold War) เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1947 – ค.ศ. 1991 เป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มตะวันตกนําโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีระบบการเมือง
แบบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และกลุ่มตะวันออกนําโดยสหภาพโซเวียต ซึ่งมีระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม โดยลักษณะสงคราม ไม่ได้มีการใช้กองกําลังทหารเข้าสู้กัน แต่เป็นการสู้กันโดยการแข่งขันทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การส่งความช่วยเหลือไปยังประเทศที่ 3 และการทําสงครามตัวแทน

51. การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ
(1) การใช้เครื่องจักรในการผลิต
(2) การใช้สื่อในการผลิต
(3) การใช้คนในการผลิต
(4) การใช้หุ่นยนต์ในการผลิต
(5) การใช้นิวเคลียร์ในการผลิต
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

52. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับศตวรรษที่ 20
(1) เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
(2) เกิดสงครามเย็น
(3) เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
(4) เกิดสงครามตัวแทนที่เกาหลี
(5) เกิดสงครามสามสิบปีในยุโรป
ตอบ 5 หน้า 79 สงครามสามสิบปีในยุโรป เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 17 เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้ง ทางด้านศาสนาจนลุกลามกลายเป็นสงครามใหญ่ที่ยืดเยื้อในยุโรปยาวนานถึงสามสิบปี (ระหว่างปี ค.ศ. 1618 – ค.ศ. 1648) โดยสงครามได้สิ้นสุดลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ ที่เวสต์ฟาเลีย (Peace at Westphalia)

53. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของคําว่าเขตเศรษฐกิจจําเพาะ (Exclusive Economic Zone)
(1) นานาชาติเดินเรือได้อย่างเสรี
(2) รัฐชายฝั่งเป็นเจ้าของทรัพยากรใต้ท้องทะเล
(3) รัฐชายฝั่งมีสิทธิขุดเจาะและนําทรัพยากรใต้ท้องทะเลมาใช้ได้
(4) นานาชาติมีสิทธิหาปลาบริเวณนั้นได้
(5) มีความยาวถัดจากอาณาเขตของรัฐบนฝั่ง 200 ไมล์ทะเล
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เขตเศรษฐกิจจําเพาะ (Exclusive Economic Zone) เป็นพื้นที่ทะเล ซึ่งมีความยาวถัดจากอาณาเขตของรัฐบนฝั่ง 200 ไมล์ทะเล ซึ่งรัฐชายฝั่งมีสิทธิขุดเจาะและ นําทรัพยากรใต้ท้องทะเลมาใช้ได้ ส่วนรัฐนานาชาติสามารถเดินเรือได้อย่างเสรี แต่ไม่สามารถ ทํากิจกรรมเพื่อหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น ขุดเจาะหาทรัพยากรใต้ท้องทะเล หรือทําประมง จับปลาในบริเวณ 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่งได้ เพราะถือเป็นสิทธิของรัฐชายฝั่งแต่เพียงผู้เดียว

54. องค์การระหว่างประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศเป็นความหวังของนัก
(1) ธรรมชาติวิทยา
(2) ปรัชญา
(3) ศาสนา
(4) วิทยาศาสตร์
(5) อุดมคตินิยม
ตอบ 5 หน้า 137 องค์การระหว่างประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศเป็นความหวังของ นักอุดมคตินิยม (Idealist) ทั่วไปที่ยังเห็นว่า องค์การระหว่างประเทศจะเป็นองค์กรกลาง ในระบบการเมืองโลกที่กํากับดูแลให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดําเนินไปอย่างถูกทํานองคลองธรรม

55. อนุสัญญาใดที่เป็นหลักปฏิบัติของนักการทูต
(1) Vienna Convention on Diplomatic Relations 1961
(2) Paris Convention on Diplomatic Relations 1961
(3) Havana Convention on Diplomatic Relations 1961
(4) Westphalia Convention on Diplomatic Relations 1961
(5) Geneva Convention on Diplomatic Relations 1961
ตอบ 1 หน้า 131 อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961 (Vienna Convention on Diplomatic Relations 1961) เป็นอนุสัญญาที่เป็นหลักปฏิบัติของนักการทูต ในการทําหน้าที่ทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และให้หลักประกันแก่นักการทูตในการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอิทธิพลหรือการคุกคามของประเทศที่ตนปฏิบัติหน้าที่อยู่หรือประเทศผู้รับ

56. องค์การระหว่างประเทศเข้ามามีบทบาทในเวทีโลกในฐานะเป็นตัวแสดงเมื่อ
(1) ก่อน ค.ศ. 1914
(2) ค.ศ. 1919
(3) ค.ศ. 1991
(4) ค.ศ. 1920
(5) ค.ศ. 1914
ตอบ 1 หน้า 82, 135, (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทในฐานะเป็นตัวแสดง บนเวทีโลกในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 (ก่อน ค.ศ. 1914) โดยเหตุผลหลักของการจัดตั้ง องค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค ก็คือ เพื่อแสวงหาสันติภาพและ การอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคงของมนุษยชาติ

57. สันนิบาตชาติจัดตั้งขึ้นบนพื้นฐาน
(1) Collective Security
(2) Rule of Law
(3) Rule of Game
(4) Rule of Origin
(5) Collective Cycle
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ

58. การรอดพ้นจากการเสียเอกราชของสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 จัดเป็นผลประโยชน์แห่งชาติข้อใด
(1) การขยายอํานาจของประเทศ
(2) เกียรติภูมิของประเทศ
(3) การเผยแพร่อุดมการณ์
(4) ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศ
(5) ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
ตอบ 4 หน้า 25 – 26 ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศถือเป็นผลประโยชน์แห่งชาติ ที่สําคัญที่สุด เป็นผลประโยชน์อันดับแรกที่ประเทศจะต้องคํานึงถึง เช่น การยอมเสียดินแดน บางส่วนให้อังกฤษและฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อให้สยามรอดพ้นจากการเสียเอกราช หรือการยื่นคําขาดของสหรัฐอเมริกาให้สหภาพโซเวียตถอนอาวุธจรวดออกจากคิวบาในวิกฤติการณ์คิวบา เป็นต้น

59. แนวคิดในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศแสดงออกมาในรูป
(1) ภาพยนตร์
(2) งานเขียน
(3) การจัดตั้งองค์กร
(4) บทละคร
(5) นิทรรศการ
ตอบ 2 หน้า 137 องค์การระหว่างประเทศเป็นปรากฏการณ์ในยุคใหม่ แต่มีรากฐานมาจาก ประวัติศาสตร์ ซึ่งแสดงออกมาในรูปของงานเขียนที่โน้มน้าวให้จัดตั้งองค์การระหว่างประเทศที่มีจุดมุ่งหมายปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมนุษยชาติ

60. การปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้ประเทศใดเป็นมหาอํานาจอันดับหนึ่งของโลก
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) อังกฤษ
(3) อิตาลี
(4) สเปน
(5) รัสเซีย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

61. ประเทศใดที่เป็นผู้ผลิตข้าวมากที่สุดในโลกในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา
(1) เวียดนาม
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) อินเดีย
(4) จีน
(5) ไทย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประเทศที่เป็นผู้ผลิตข้าวมากที่สุดในโลกในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา คือ จีน ส่วนประเทศที่เป็นผู้ส่งออกข้าวมากที่สุด คือ อินเดีย

62. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวพฤติกรรม
(1) การทํานาย
(2) การทดลอง
(3) การตั้งปัญหาและสมมุติฐาน
(4) การสังเกตสภาพตามความเป็นจริง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

63. อาเซียนก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1967 โดยมีสมาชิกกี่ประเทศ
(1) 4
(2) 5
(3) 7
(4) 9
(5) 10
ตอบ 2 หน้า 180 – 181, (คําบรรยาย) อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 โดยการลงนามในปฏิญญา กรุงเทพ (Bangkok Declaration) ของประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ปัจจุบัน (ค.ศ. 2021) อาเซียนมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมา (พม่า) และกัมพูชา

64. ประเทศใดในปัจจุบันที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง
(1) ปากีสถาน
(2) อินเดีย
(3) เยอรมนี
(4) ฝรั่งเศส
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 29, (คําบรรยาย) ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ครอบครองอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส สาธารณรัฐประชาชนจีน ปากีสถาน อินเดีย และเกาหลีเหนือ สําหรับ ประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เยอรมนี อิสราเอล แคนาดา แอฟริกาใต้ เป็นต้น มีความสามารถที่จะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้แต่ปัจจุบันยังไม่ทํา

65. ข้อตกลงที่เป็นการยุติสงครามใด ๆ ที่เกิดขึ้นทางการทูตหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต้องมีการระบุ คําว่าอะไรอยู่ในข้อตกลงนั้น ๆ ๆ
(1) Peace
(2) End
(3) Finish
(4) Politics
(5) Pacifist
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อตกลงที่เป็นการยุติสงครามใด ๆ ที่เกิดขึ้นทางการทูตหรือความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศต้องมีการระบุคําว่า “Peace” อยู่ในข้อตกลงนั้น ๆ เช่น ข้อตกลงสันติภาพ เวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia) เป็นข้อตกลงที่ยุติสงครามสามสิบปีในยุโรป เป็นต้น

66. ไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตตั้งแต่เมื่อใด
(1) 5 พฤษภาคม 1789
(2) 23 กรกฎาคม 1921
(3) 1 ตุลาคม 1949
(4) 1 กรกฎาคม 1975
(5) 4 กรกฎาคม 1776
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1975 ซึ่งเป็นการลงนามร่วมกันระหว่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีของไทย กับโจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนจีน

67. สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี ค.ศ.
(1) 1991
(2) 1945
(3) 1840
(4) 1918
(5) 1970
ตอบ 2 หน้า 85 สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945 เป็นความขัดแย้ง
ระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และสหรัฐอเมริกา
2. ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

68. ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นไปในรูปแบบใดได้บ้าง
(1) ความร่วมมือ
(2) เป็นทางการ
(3) ไม่เป็นทางการ
(4) ขัดแย้ง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 4 – 5 ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มี 3 ประการ คือ
1. ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ
2. ความสัมพันธ์ในลักษณะความร่วมมือหรือขัดแย้ง
3. ความสัมพันธ์ในลักษณะเข้มข้นรุนแรงหรือห่างเหิน

69. ประเด็นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA)
(1) การลดอุปสรรคกีดกันทางการค้า
(2) การลดอุปสรรคกีดกันที่เป็นภาษี
(3) การลดอุปสรรคกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี
(4) หลักการดําเนินการซึ่งกันและกัน
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) เป็นหลักการ ดําเนินการซึ่งกันและกันทางการค้าของประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศ (ทวิภาคี) หรือเป็น กลุ่มประเทศ (พหุภาคี) ที่จะร่วมมือลดอุปสรรคกีดกันทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากร และไม่ใช่ภาษีศุลกากร

70. หน่วยงานใดที่ทําหน้าที่ลักษณะที่ปรึกษาและระดมสมอง (รวบรวม ให้ข้อมูล) ทางความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
(1) Chatham House
(2) International Crisis Group
(3) Council on Foreign Relations
(4) Institute of World Economy and International Relations
(5) International Institute for Strategic Studies
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Council on Foreign Relations (CFR) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1921 เป็นหน่วยงาน ที่ทําหน้าที่ในลักษณะที่ปรึกษาและระดมสมอง (รวบรวม ให้ข้อมูล) ทางความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศของสหรัฐอเมริกา โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

71. สหราชอาณาจักรได้ออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (Brexit) อย่างเป็นทางการเมื่อใด
(1) พฤษภาคม 2016
(2) มกราคม 2019
(4) ธันวาคม 2019
(3) มกราคม 2021
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

72. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวใดที่ไปเกี่ยวข้องกับสํานักศึกษา Political Realism
(1) แนวระบบ
(2) แนวพฤติกรรม
(3) แนวนโยบาย
(4) แนวอํานาจ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 11 แนวอํานาจ (Power Approach) เป็นวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของสํานัก “Political Realism” ในสหรัฐอเมริกา การศึกษาแนวนี้ให้ความสําคัญกับอํานาจรัฐ ซึ่งหมายถึง ความสามารถของรัฐในการควบคุมพฤติกรรมของรัฐอื่น โดยมีความเชื่อว่าอํานาจ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการเมืองระหว่างประเทศ และ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการเมืองระหว่างประเทศก็ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจของรัฐ ดังนั้นอํานาจจึงมีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติ

73. การใช้เครื่องมือในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เมื่อคิดคํานวณจากองค์ประกอบเรื่องต้นทุน ความเสี่ยง และประสิทธิผลแล้ว เครื่องมือใดที่เหมาะสมกับการดําเนินการในเวทีโลกมากที่สุด
(1) เศรษฐกิจ
(2) การทหาร
(3) การเมือง
(4) จิตวิทยา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การใช้เครื่องมือในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เมื่อคิดคํานวณ จากองค์ประกอบเรื่องต้นทุน (Cost) ความเสี่ยง (Risk) และประสิทธิผล (Effectiveness) แล้ว เครื่องมือที่เหมาะสมกับการดําเนินการในเวทีโลกมากที่สุดก็คือ เครื่องมือทางการเมืองหรือ เครื่องมือทางการทูต เพราะเป็นเครื่องมือที่มีต้นทุนต่ํา มีความเสี่ยงน้อย และมีประสิทธิผลในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

74. ข้อใดเป็นข้อตกลงที่กล่าวถึง รัฐสมัยใหม่ (Modern State) ว่ามีลักษณะอย่างไร
(1) Declaration of Independence
(2) Treaty of Versailles
(3) Peace of Westphalia
(4) Plaza Accord
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3หน้า 79 ข้อตกลงสันติภาพเวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1648 เป็นข้อตกลงที่กล่าวถึงรัฐสมัยใหม่ (Modern State) ว่ามีองค์ประกอบสําคัญ 4 ประการ ได้แก่ ประชากร (Population), ดินแดนหรืออาณาเขต (Territory), รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย (Sovereignty)

75. ชาติมหาอํานาจอย่างสหรัฐอเมริกาเคยละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติว่าด้วยการใช้กําลังทหารอย่างถูกต้องได้รับการยอมรับและมีความชอบธรรมในเหตุการณ์ใด
(1) การทําสงครามเวียดนาม ค.ศ. 1964
(2) การรุกรานอิหร่าน ค.ศ. 1979
(3) การรุกรานเกาหลีเหนือ ค.ศ. 1951
(4) การรุกรานอิรัก ค.ศ. 1991
(5) การรุกรานอิรัก ค.ศ. 2003
ตอบ 5 หน้า 2 สหรัฐอเมริกาเคยละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติว่าด้วยการใช้กําลังทหารอย่างถูกต้อง
ได้รับการยอมรับและมีความชอบธรรมในการรุกรานอิรักในปี ค.ศ. 2003 ซึ่งเหตุการณ์นี้ทําให้สหรัฐอเมริกาสามารถยึดครองอิรักโดยปราศจากการลงโทษทางกฎหมายของสหประชาชาติ

76. เกาหลีเหนือเริ่มทดลองอาวุธนิวเคลียร์ครั้งแรกเมื่อใด
(1) 24 ตุลาคม 1945
(2) 9 ตุลาคม 2006
(3) 2 สิงหาคม 1990
(4) 28 มีนาคม 2003
(5) 8 สิงหาคม 1967
ตอบ 2(คําบรรยาย) เกาหลีเหนือเริ่มทดลองอาวุธนิวเคลียร์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2006 ที่ฐานทดลองอาวุธนิวเคลียร์ทุ่งเกรี ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

77. ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่เมื่อเข้ารับตําแหน่งแล้วมีอายุมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาคือท่านใด
(1) อับราฮัม ลินคอล์น
(2) โดนัลด์ ทรัมป์
(3) โรนัลด์ เรแกน
(4) จอร์จ วอชิงตัน
(5) โจ ไบเดน
ตอบ 5 (คําบรรยาย) นายโจ ไบเดน หรือโจเซฟ โรบิเนตต์ ไบเดน จูเนียร์ (Joseph Robinette Biden, Jr.) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน (คนที่ 46) สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการ เป็นประธานาธิบดีที่อายุมากที่สุดเมื่อเข้ารับตําแหน่งด้วยวัย 78 ปี

78. การประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียน (ASEAN Summit) ใน ค.ศ. 2021 ประเทศที่เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม จะต้องเป็นประธานอาเซียนด้วย ซึ่งได้แก่ประเทศใด
(1) Thailand
(2) Vietnam
(3) Cambodia
(4) Brunei
(5) Indonesia
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) บรูไน (Brunei) จะเป็นประธานอาเซียนและเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม สุดยอดผู้นําอาเซียน (ASEAN Summit) ในปี ค.ศ. 2021 ซึ่งการเป็นประธานอาเซียนและ เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมนั้นจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทุกปีในบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน

79. ข้อใดมิใช่ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors) ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) บรรษัทข้ามชาติ
(2) กลุ่มก่อการร้าย
(3) เขตพื้นที่ของชนชาวเคิร์ด
(4) ปัจเจกบุคคล
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 19 – 22, (คําบรรยาย) ผู้แสดง (ตัวแสดง) บทบาทในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ผู้แสดงบทบาทที่เป็นรัฐ (State Actors) นับเป็นตัวแสดงที่สําคัญที่สุด ได้แก่ รัฐต่าง ๆ เช่น นครรัฐวาติกัน (Vatican City) สวิตเซอร์แลนด์ อิรัก อิหร่าน ยูเครน ยูกันดา มาดากัสการ์ ฟิจิ มัลดีฟส์ และผู้ทําหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐหรือในนามของรัฐ เช่น ผู้นํารัฐบาล รัฐมนตรี ต่างประเทศ ทูต (เอกอัครราชทูต ผู้ช่วยทูต และเจ้าหน้าที่ทูต) กงสุล (กงสุลใหญ่ รองกงสุล เจ้าหน้าที่กงสุล และกงสุลกิตติมศักดิ์) เป็นต้น

2. ผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors) ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลก และระดับภูมิภาค เช่น สหประชาชาติ (UN) สหภาพยุโรป (EU) อาเซียน (ASEAN), องค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) เช่น กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace), บรรษัทข้ามชาติหรือ ธุรกิจข้ามชาติหรือธุรกิจหลายชาติ (MNCs/TNCs) เช่น บริษัท Unilever บริษัท Pepsi บริษัท Google บริษัท Toyota, ขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ เช่น กลุ่ม IS หรือ ISIS กลุ่ม Al Qaeda, ปัจเจกบุคคล เช่น นางอองซาน ซูจี เป็นต้น

80. รัฐสมัยใหม่ (Modern State) ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
(1) รัฐบาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ ระบบกฎหมาย อํานาจอธิปไตย
(2) การทูต ระบอบการเมืองการปกครอง คณะผู้บริหาร ประชากร
(3) ระบบกฎหมาย ดินแดน ประชากร ระบอบการปกครอง
(4) ดินแดน รัฐบาล ประชากร อํานาจอนาธิปไตย
(5) อํานาจอธิปไตย รัฐบาล ดินแดน ประชากร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

81. รองประธานาธิบดีสตรีคนแรกของสหรัฐคือใคร
(1) นางลอเร็ตตา แซนเซช
(2) นางแทมมี่ ดักเวิร์ธ
(3) นางแชราห์ เพลิน
(4) นางอาฟริล เฮย์นส
(5) นางกมลา แฮร์ริส
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) นางกมลา แฮร์ริส (Kamala Harris) เป็นรองประธานาธิบดีสตรีคนแรกของสหรัฐอเมริกา เข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2021 เธอเป็นนักการเมืองและ ทนายความชาวอเมริกัน เป็นวุฒิสมาชิกจากรัฐแคลิฟอร์เนียตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017 และเป็นสมาชิกพรรคเดโมแครต

82. ผู้นําคนไหนที่ให้ความสําคัญกับการทหารว่าเป็นอํานาจของรัฐ
(1) วลาดิมีร์ ปูติน
(2) วลาดิมีร์ อิลยิช เลนิน
(3) ดมิทรี เมดเวเดฟ
(4) นิกิตา ครุสชอฟ
(5) โจเซฟ สตาลิน
ตอบ 5 หน้า 201 นักวิชาการและรัฐบุรุษทางการเมืองระหว่างประเทศที่คํานึงถึงอํานาจของรัฐในรูป ของอํานาจทางการทหาร ได้แก่ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) อดีตผู้นําสหภาพโซเวียตและนิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli)

83. นายโจเซฟ โรบิเนตต์ ไบเดน จูเนียร์ หรือนายโจ ไบเดน เป็นประธานาธิบดีคนที่เท่าไรของสหรัฐอเมริกา
(1) 45
(2) 46
(3) 48
(4) 47
(5) 44
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

84. วันสตรีสากลตรงกับวันที่เท่าใดของทุกปี
(1) 1 พฤษภาคม
(2) 8 มีนาคม
(3) 1 กุมภาพันธ์
(4) 30 มิถุนายน
(5) 23 กุมภาพันธ์
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) วันสตรีสากล (International Women’s Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของ ทุกปี เป็นวันที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองความสําคัญของผู้หญิงทั่วโลก เพื่อให้ตระหนักถึงบทบาทของผู้หญิงที่มีต่อการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจ

85. หลักการใดในสังคมระหว่างประเทศที่กล่าวว่า “รัฐทุกรัฐมีความเท่าเทียมกัน”
(1) หลักกฎหมาย
(2) หลักพฤตินัย
(3) หลักเอกภาพ
(4) หลักอานาจ
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 1หน้า 191 ในสังคมระหว่างประเทศรัฐทุกรัฐมีความเท่าเทียมกันอันเป็นผลมาจากหลักการ ทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอํานาจอธิปไตย แต่ในทางปฏิบัติหรือความเป็นจริง กลับไม่มีความเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลที่รัฐต่าง ๆ มีอยู่อย่างแตกต่างกันในอันที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมระหว่างประเทศ

86. อํานาจของรัฐในทางสังคมระหว่างประเทศ หมายถึงข้อใด
(1) ความเข้มแข็งทางการทหาร
(2) ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
(3) ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
(4) บุคลิกลักษณะของผู้นํา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 211 อํานาจของรัฐในทางสังคมระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. อํานาจที่มองเห็นได้ชัด เช่น ความเข้มแข็งทางการทหาร ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

2. อํานาจที่มองเห็นได้ไม่ชัด เช่น บุคลิกลักษณะของผู้นํา ลักษณะประจําชาติต่าง ๆ ขวัญและวินัยของประชาชนในชาติ เป็นต้น

87. รัฐขั้นแรก ตามแนวทางของ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี คือรัฐประเภทใด
(1) รัฐที่มีพัฒนาการทางอุตสาหกรรมในระดับสูง
(2) รัฐที่เริ่มใช้อุตสาหกรรมแทนที่เกษตรกรรม
(3) รัฐที่มีพัฒนาการทางอุตสาหกรรมในระดับเต็มที่
(4) รัฐที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมเลย
(5) รัฐที่เริ่มมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมบ้าง
ตอบ 4 หน้า 200 เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี (A. F. K. Organski) เห็นว่า ทุกรัฐในสังคม ระหว่างประเทศจะผ่านขั้นตอน 3 ขั้นตอน 3 ขั้นในการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ดังนี้

ขั้นแรก คือ รัฐที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม

ขั้นที่สอง คือ รัฐที่เริ่มมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมบ้างแล้ว

ขั้นที่สาม คือ รัฐที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมในระดับเต็มที่

88. ข้อใดคือสาเหตุที่ทําให้สมาชิกในสังคมระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
(1) การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
(2) การล่มสลายของยูโกสลาเวีย
(3) แนวคิดเรื่องชาตินิยม
(4) การปลดปล่อยอาณานิคม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 189 – 190 สาเหตุสําคัญที่ทําให้สมาชิกในสังคมระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบัน มีดังนี้
1. การที่รัฐอธิปไตยเดิมถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายรัฐ หรือส่วนหนึ่งของรัฐอธิปไตยนั้น แยกตัวเป็นอิสระจากรัฐอธิปไตยเดิม
2. การปลดปล่อยอาณานิคม ซึ่งเกิดจากความเข้มแข็งของความรู้สึกชาตินิยมของประชาชน ที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาติอื่น และอุดมการณ์เกี่ยวกับการให้ชาติต่าง ๆ กําหนดการปกครองด้วยตนเอง
3. การล่มสลายของยูโกสลาเวียและสหภาพโซเวียต

89. เมื่อมีการขัดกันหรือเข้ากันไม่ได้ระหว่างจุดมุ่งหมายของนโยบายต่างประเทศประการต่าง ๆ จะต้องทําอย่างไร
(1) ไม่ดําเนินการนโยบายที่มีความขัดกัน
(2) ดําเนินนโยบายที่ไม่ขัดกับนโยบายอื่น
(3) ให้ผู้นําเป็นผู้ตัดสินใจจะเลือกดําเนินนโยบายใด
(4) จัดลําดับความสําคัญของนโยบาย
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
ตอบ 4 หน้า 207 – 208 เมื่อมีการขัดกันหรือเข้ากันไม่ได้ระหว่างจุดมุ่งหมายของนโยบายต่างประเทศ ประการต่าง ๆ รัฐมักจะมีการจัดลําดับความสําคัญ (Priority) ของจุดมุ่งหมายต่าง ๆ ของนโยบายต่างประเทศ โดยจะให้ความสําคัญกับจุดมุ่งหมายระยะยาวมากกว่าจุดมุ่งหมายระยะสั้น

90. สงครามแย่งชิงภูมิภาคนากอร์โน คาราบัค ในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศใด
(1) จอร์เจีย-รัสเซีย
(2) จอร์เจีย-อาร์เมเนีย
(3) อาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย
(4) อาเซอร์ไบจาน-รัสเซีย
(5) อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สงครามแย่งชิงภูมิภาคนากอร์โน คาราบัค ในปี พ.ศ. 2563 เป็นความขัดแย้ง ระหว่างอาร์เมเนียกับอาร์เซอร์ไบจาน ซึ่งการแย่งชิงพื้นที่พิพาทแห่งนี้เป็นปัญหาเรื้อรังมา ตั้งแต่ยุคสงครามเย็น

91. ข้อใดไม่ใช่องค์การระหว่างประเทศ
(1) RCEP
(2) IMF
(3) WTO
(4) WHO
(5) ASEAN
ตอบ 1 หน้า 21 – 22 (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศ (International Organization)เกิดจากการรวมตัวของสมาชิกที่เป็นรัฐ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิกในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร วัฒนธรรม สังคม วิชาการ กฎหมาย การพัฒนา เช่น สันนิบาตชาติ (League of Nations : LN), สหประชาชาติ (United Nations : UN), ธนาคารโลก (World Bank), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF), องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO), องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO), อาเซียน(Association of Southeast Asia Nations : ASEAN) เป็นต้น

92. “นิโคโล มาเคียเวลลี” ผู้แต่งหนังสือเรื่อง “The Prince” กล่าวว่า พื้นฐานที่สําคัญของทุกรัฐ คือ
(1) การมีกฎหมายที่ดีและกองทัพที่เข้มแข็ง
(2) การมีกองทัพที่เข้มแข็ง
(3) ประชาชนต้องอยู่ดีกินดี
(4) การมีเศรษฐกิจที่ดี
(5) การมีผู้ปกครองที่ดีและการมีกองทัพที่เข้มแข็ง
ตอบ 1 หน้า 201 นิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli) กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “The Prince” ว่า พื้นฐานที่สําคัญที่สุดสําหรับทุกรัฐก็คือ การมีกฎหมายที่ดีและกองทัพที่เข้มแข็ง

93. กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อโตเกียว 2020 เป็นกีฬาโอลิมปิกครั้งที่เท่าไหร่
(1) ครั้งที่ 31
(2) ครั้งที่ 32
(3) ครั้งที่ 28
(4) ครั้งที่ 30
(5) ครั้งที่ 29
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน หรือ “ซัมเมอร์โอลิมปิกเกมส์” (Summer Olympic Games) จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1896 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ โดยกีฬาโอลิมปิก ฤดูร้อน 2020 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อโตเกียว 2020 เป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 32 ซึ่งกําหนดจัดขึ้นในปี ค.ศ.2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น แต่ได้ถูกเลื่อนออกไปจัดในปี ค.ศ. 2021 (21 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม) เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

94. ในสังคมระหว่างประเทศความแตกต่างกันทางกฎหมาย (De Jure) กับทางความจริง (De facto) คือเรื่องใด
(1) ความเท่าเทียมกัน
(2) ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจํากัด
(3) ความเป็นพลวัตในทางสังคมระหว่างประเทศ
(4) การพึ่งพาอาศัยกัน
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ

95. ประเทศที่มีทางออกทะเล มีพื้นที่ติดทะเลคือประเทศใด
(1) โบลิเวีย
(2) ปารากวัย
(3) มองโกเลีย
(4) ลักเซมเบิร์ก
(5) เวเนซุเอลา
ตอบ 5 หน้า 20, 34, (คําบรรยาย) ประเทศที่มีทางออกทะเล มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ เวเนซุเอลา จีน ไทย เวียดนาม ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น ส่วนประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล (Land-Locked State) ได้แก่ ลาว เนปาล ยูกันดา มาลี ไนเจอร์ ชาด มองโกเลีย โบลิเวีย เบลารุส ปารากวัย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน เติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน อัฟกานิสถาน ลักเซมเบิร์ก เป็นต้น

96. ข้อใดมิใช่เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่มีการใช้กันในยามสันติ
(1) การกว้านซื้อสินค้า
(2) การจ่ายเงินอุดหนุน
(3) การทุ่มสินค้า/ทุ่มตลาด
(4) การกําหนดราคาสินค้าโดยรัฐบาล
(5) การให้ความช่วยเหลือ
ตอบ 1 หน้า 53 – 59 เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่ใช้ในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ในยามสันติ ได้แก่ กําแพงภาษี การกีดกันทางการค้า การงดส่งสินค้าออกไปขาย การให้ความช่วยเหลือ การทุ่มสินค้าหรือการทุ่มตลาด การรวมตัวกันทางธุรกิจระหว่างประเทศ การตกลงเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างรัฐบาล การตกลงแลกเปลี่ยนสินค้า การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา การจ่ายเงินอุดหนุน การกําหนดราคาสินค้าโดยรัฐบาล

2. เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ในยามสงคราม ได้แก่ การปิดล้อมฝั่ง การจัดทํารายชื่อ ผู้ต้องห้าม การกว้านซื้อสินค้า การควบคุมหรือยึดทรัพย์ของฝ่ายศัตรู

3. เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ทั้งในยามสันติและสงคราม ได้แก่ นโยบายทางการค้า การกําหนดโควตาและการออกใบอนุญาต

97. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยคนปัจจุบันคือใคร
(1) พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
(2) นายถนัด คอมันตร์
(3) นายพจน์ สารสิน
(4) พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

98. แคว้นแคชเมียร์เป็นข้อขัดแย้งทางพื้นที่ระหว่างประเทศใดกับประเทศใด
(1) เนปาล-ภูฏาน
(2) ศรีลังกา-อินเดีย
(3) ปากีสถาน-อินเดีย
(4) อินเดีย-บังกลาเทศ
(5) อินเดีย-เนปาล
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) แคว้นแคชเมียร์เป็นข้อขัดแย้งทางพื้นที่ระหว่างปากีสถานกับอินเดีย ซึ่งเป็น ปัญหาเรื้อรังมาตั้งแต่ก่อนปากีสถานและอินเดียจะได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1947 โดยความขัดแย้งได้ส่งผลทําให้ทั้งสองประเทศทําสงครามระหว่างกันมาแล้วหลายครั้ง

99.เค. เจ. โฮลสติ ใช้สิ่งใดเป็นมาตรฐานในการจัดประเภทของรัฐออกเป็นประเภทต่าง ๆ
(1) การพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม
(2) จํานวนประชากรในดินแดนของรัฐ
(3) อํานาจรัฐในทางเศรษฐกิจ
(4) ระดับของการด้อยพัฒนา
(5) ความสามารถของรัฐในการสร้างพันธะกับรัฐอื่น
ตอบ 5 หน้า 191, 200, (คําบรรยาย) เค. เจ. โฮลสติ (K. J. Holsti) ได้จัดประเภทของรัฐ ตามความสามารถหรือสมรรถภาพของรัฐ (Capabilities) ในการสร้างพันธะกับรัฐอื่น โดยพิจารณาจากปัจจัยทั้งที่เห็นได้ชัด (Tangible) และที่ไม่เห็นได้ชัด (Intangible) เช่น การพัฒนาทางอุตสาหกรรม กําลังทางทหาร ระบบอาวุธยุทธภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูง การมีประชากรมากและมีความสามารถสูง ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น

100. วัคซีนโควิดที่ล็อตแรกประเทศไทยนําเข้ามาฉีดให้ประชาชนมาจากบริษัทอะไร
(1) บริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน
(2) บริษัทซิโนแวค
(3) บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า
(4) บริษัทโนวาแวค
(5) บริษัทไฟเซอร์
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) วัคซีนโควิด-19 ล็อตแรกที่ประเทศไทยนําเข้ามาฉีดให้กับประชาชนก็คือ วัคซีนซิโนแวค (Sinovac) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ วัคซีนโคโรนาแวค (CoronaVac) เป็นวัคซีนที่มาจากบริษัทซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยา และชีวเภสัชภัณฑ์สัญชาติจีน

LAW4108 (LAW 4008) กฎหมายที่ดิน s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4108 (LAW 4008) กฎหมายที่ดิน
ข้อสอบกระบวนวิชานี้เป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

1. นายทองครอบครองที่ดินแปลงหนึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2495 โดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิในที่ดิน และไม่ได้แจ้งการครอบครองที่ดินตามที่กฎหมายกําหนดเมื่อตอนเริ่มใช้ประมวลกฎหมายที่ดินต่อมาปี พ.ศ. 2537 นายทองได้ขายที่ดินให้แก่นายเพชร ต่อมาปี พ.ศ. 2563 ได้มีประกาศเดินสํารวจ ออกโฉนดที่ดิน นายเพชรได้นําพนักงานเจ้าหน้าที่ทําการรังวัดที่ดินจึงได้รับโฉนดที่ดินในปีเดียวกัน ขณะนี้นายเพชรต้องการจะจดทะเบียนโอนที่ดินผืนนั้นให้แก่นายเงินบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

ดังนี้ อยากทราบว่านายเพชรจะโอนที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 27 ตรี “เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศกําหนดท้องที่และวันเริ่มต้นของการสํารวจ ตามมาตรา 58 วรรคสอง ผู้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับโดยไม่มี หนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 หรือผู้ซึ่งรอคําสั่งผ่อนผันจากผู้ว่าราชการจังหวัดตามมาตรา 27 ทวิ แต่ได้ครอบครองและ ทําประโยชน์ในที่ดินนั้นติดต่อมาจนถึงวันทําการสํารวจรังวัดหรือพิสูจน์สอบสวน ถ้าประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินนั้น ให้แจ้งการครอบครองที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ ที่ดินนั้นตั้งอยู่ภายในกําหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันปิด ประกาศ ถ้ามิได้แจ้งการครอบครองภายในกําหนดเวลาดังกล่าว แต่ได้มานําหรือส่งตัวแทนมานําพนักงานเจ้าหน้าที่ ทําการสํารวจรังวัดตามวันและเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศกําหนด ให้ถือว่ายังประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินนั้น

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย”

มาตรา 58 ทวิ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคห้า “เมื่อได้สํารวจรังวัดทําแผนที่ หรือพิสูจน์ สอบสวนการทําประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 58 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ แล้วแต่กรณี ให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่บุคคลนั้นครอบครอง เป็นที่ดินที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายนี้ให้ได้ คือ

บุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง

(2) ผู้ซึ่งได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี

(3) ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินและทําประโยชน์ในที่ดิน ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ และไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ํา หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

ภายในสิบปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ บุคคลตามวรรคสอง (3) ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือโอนให้แก่ทบวงการเมือง องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือโอนให้แก่สหกรณ์เพื่อชําระหนี้โดยได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนสหกรณ์”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายทองได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 โดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิในที่ดิน และเมื่อประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ นายทองไม่ได้แจ้งการครอบครอง ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ยังคงครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตลอดมา และในปี พ.ศ. 2537 นายทองได้ขายที่ดินให้แก่นายเพชร การที่นายเพชรได้ครอบครองที่ดินต่อจากนายทองนั้น ย่อมถือว่านายเพชรเป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 27 ตรี วรรคหนึ่งด้วย (มาตรา 27 ตรี วรรคสอง)

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ใน พ.ศ. 2563 ทางราชการได้มีการเดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน นายเพชร ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 27 ตรี วรรคหนึ่ง คือได้ไปนําพนักงานเจ้าหน้าที่ทําการสํารวจรังวัดที่ดิน จึงได้รับโฉนดที่ดินในปีนั้น ย่อมถือว่านายเพชรเป็นผู้ได้รับโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (2) โฉนดที่ดินที่นายเพชรได้รับมาจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของการห้ามโอนเป็นเวลา 10 ปีนับแต่ วันที่ได้รับโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า ดังนั้น เมื่อนายเพชรต้องการจะโอน ที่ดินนั้นให้แก่นายเงินบุตรชอบด้วยกฎหมาย นายเพชรจึงสามารถจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่นายเงินได้

สรุป นายเพชรสามารถจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่นายเงินได้

 

ข้อ 2. นายอาทิตย์ยกที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ที่ใช้หนี้ให้แก่นางจันทร์โดยส่งมอบที่ดินและเอกสารหนังสือรับรองการทําประโยชน์ให้นางจันทร์ครอบครองตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ต่อมานางจันทร์ ได้นําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดิน โดยอ้างว่าตนมีสิทธิขอออกโฉนดที่ดินได้เพราะเป็นผู้ครอบครอง ต่อเนื่องจากผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน

ดังนี้ อยากทราบว่าข้ออ้างของนางจันทร์ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 4 ทวิ “นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ การโอนกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่”

มาตรา 59 “ในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการ ทําประโยชน์เป็นการเฉพาะรายไม่ว่าจะได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 58 แล้วหรือไม่ก็ตาม เมื่อพนักงาน เจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้ดําเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี
ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กําหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายอาทิตย์ยกที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ที่ใช้หนี้ให้แก่นางจันทร์ โดยส่งมอบที่ดินและเอกสารหนังสือรับรองการทําประโยชน์ให้นางจันทร์ครอบครองตั้งแต่ พ.ศ. 2553 นั้น เมื่อไม่ได้มีการทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมถือว่าเป็นการโอนที่ไม่ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ ซึ่งได้กําหนดไว้ว่า “การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่ง มีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่”
ดังนั้น การที่นายอาทิตย์ยกที่ดินที่ใช้หนี้ให้แก่นางจันทร์ดังกล่าวจึงมีผลเป็นโมฆะ และส่งผลให้นางจันทร์เป็น เพียงผู้ครอบครองที่ดินโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ภายหลังวันที่ 1 ธันวาคม 2497) และเมื่อนางจันทร์ได้นําที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดิน ซึ่งเป็นการออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะราย โดยอ้างว่าตนมีสิทธิ ขอออกโฉนดที่ดินได้ เพราะเป็นผู้ครอบครองต่อเนื่องจากผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินนั้น ข้ออ้างของนางจันทร์ ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ จึงต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59

การออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 วรรคหนึ่งนั้น ผู้ที่จะขอ ออกโฉนดที่ดินได้จะต้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินเท่านั้น กล่าวคือ จะต้องเป็นผู้ครอบครองที่ดินโดยมีหนังสือ แสดงสิทธิในที่ดินอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เป็นผู้ครอบครองที่ดินโดยมีใบจอง หรือมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง หรือโดยมีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ เป็นต้น และตามมาตรา 59 วรรคสอง ได้กําหนดไว้ว่า ผู้มีสิทธิครอบครอง ที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย เมื่อนางจันทร์เป็นเพียงผู้ที่ได้ครอบครองที่ดินมาจากการโอนให้ของ นายอาทิตย์ซึ่งเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ และการโอนตกเป็นโมฆะ ไม่ได้ครอบครองและ ทําประโยชน์ต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองแต่อย่างใด นางจันทร์จึงนําที่ดินไปขอออก โฉนดที่ดินไม่ได้ และนางจันทร์จะอ้างว่าตนมีสิทธิครอบครองเพราะเป็นผู้ครอบครองต่อเนื่องมาจากผู้มีสิทธิ ครอบครองที่ดินก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะกรณีนี้ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 วรรคสอง

สรุป ขออ้างดังกล่าวของนางจันทร์ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

 

ข้อ 3. นายเอกได้จดทะเบียนจํานองที่ดินไว้กับนางสมศรีเพื่อเป็นประกันเงินที่กู้ยืมมา ต่อมานายเอกได้ ชําระหนี้ครบถ้วนและขอรับโฉนดที่ดินคืนเพื่อจะไปทําการจดทะเบียนไถ่ถอนจํานอง แต่นางสมศรีไม่ยอมคืนให้และบ่ายเบี่ยงเรื่อยมานายเอกกลัวว่านางสมศรีจะนําโฉนดที่ดินไปกระทําการที่อาจจะเกิดความเสียหายได้ จึงไปขออายัดที่ดินไว้

ดังนี้ อยากทราบว่านายเอกจะขออายัดที่ดินได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 83 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดมีส่วนได้เสียในที่ดินใดอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือ ให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ มีความประสงค์จะขออายัดที่ดิน ให้ยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม
มาตรา 71”

วินิจฉัย

“การอายัดที่ดิน” หมายถึง การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับ ที่ดินไว้เป็นการชั่วคราวเพื่อให้มีการไปดําเนินการทางศาล และผู้ขออายัดที่ดินจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดิน โดยตรงอันอาจจะฟ้องบังคับให้เจ้าของที่ดินทําการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกได้จดทะเบียนจํานองที่ดินไว้กับนางสมศรีเพื่อเป็นประกันเงินที่ กู้ยืมมานั้น แม้จะมีการจดทะเบียนจํานองก็ตาม แต่ในโฉนดที่ดินยังเป็นชื่อของนายเอก นายเอกยังคงเป็น เจ้าของที่ดินนั้น และมีสิทธิในที่ดินในอันที่จะให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน เกี่ยวกับที่ดินนั้นอยู่แล้ว จึงไม่ถือว่านายเอกเป็นผู้มีส่วนได้เสียอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินนั้น ดังนั้น การที่นายเอกได้ชําระหนี้ครบถ้วนและขอรับโฉนด ที่ดินคืนเพื่อจะไปทําการจดทะเบียนไถ่ถอนจํานอง แต่นางสมศรีไม่ยอมคืนให้และบ่ายเบี่ยงเรื่อยมา นายเอกกลัวว่า นางสมศรีจะนําโฉนดที่ดินไปกระทําการที่อาจจะเกิดความเสียหายได้ จึงไปขออายัดที่ดินซึ่งเป็นที่ดินของตนเองนั้นนายเอกจะขออายัดที่ดินไม่ได้

สรุป นายเอกจะขออายัดที่ดินไม่ได้

LAW4108 (LAW4008) กฎหมายที่ดิน 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4108 (LAW4008) กฎหมายที่ดิน
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. กรณีผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ถ้าขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นโดยทําสัญญา ซื้อขายกันเองและส่งมอบที่ดินให้แก่กัน ดังนี้ อยากทราบว่าผู้ซื้อที่ดินในกรณีดังกล่าวจะขอออก โฉนดที่ดินได้หรือไม่ กรณีขอออกเป็นการเฉพาะราย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 59 “ในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทํา ประโยชน์เป็นการเฉพาะรายไม่ว่าจะได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 58 แล้วหรือไม่ก็ตาม เมื่อพนักงาน เจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้ดําเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี
ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กําหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย

อธิบาย

การขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 วรรคหนึ่งนั้น ผู้ที่ จะขอออกโฉนดที่ดินได้จะต้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน กล่าวคือ จะต้องเป็นเจ้าของที่ดิน โดยมีหนังสือแสดงสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หนังสือรับรองการทําประโยชน์ ใบจอง หลักฐานแจ้งการครอบครอง เป็นต้น และตามมาตรา 59 วรรคสอง ได้กําหนดไว้ว่า ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งนั้น ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย

ดังนั้น หากมีการขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นโดยทําสัญญาซื้อขายกันเองและส่งมอบที่ดินให้แก่กัน ถ้าที่ดินโอนนั้นเป็นที่ดินที่ผู้โอนมีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิในที่ดินประเภทหลักฐานการแจ้งการครอบครอง
ผู้รับโอนซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้โอน ย่อมถือว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองด้วย ตามมาตรา 59 วรรคสอง และสามารถนําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายได้ตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง

แต่ถ้าหากที่ดินที่โอนโดยทําสัญญาซื้อขายกันเองและส่งมอบที่ดินให้แก่กันนั้น เป็นที่ดินที่ผู้โอน มีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิในที่ดินประเภทอื่น เช่น หนังสือรับรองการทําประโยชน์หรือใบจอง ผู้รับโอนแม้จะได้ ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินนั้นต่อเนื่องมาจากผู้โอน ผู้รับโอนก็ไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะไม่ได้ครอบครองฯ ต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง ดังนั้น ผู้รับโอนจะนํา ที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งไม่ได้

 

ข้อ 2. นายเอกได้รับอนุญาตให้จับจองที่ดิน ทางราชการออกใบจองให้ในวันที่ 15 สิงหาคม 2549 ต่อมา ใน พ.ศ. 2550 นายเอกได้ยกที่ดินนั้นให้แก่นางจันทร์พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน โดยส่งมอบที่ดิน พร้อมทั้งใบจองให้นางจันทร์ครอบครอง ขณะนี้ได้มีประกาศเพื่อเดินสํารวจออกโฉนดที่ดินในท้องที่นั้น

ดังนี้ อยากทราบว่านางจันทร์จะนําที่ดินนั้นมาขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 58 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม “เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรจะให้มีการออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ในจังหวัดใดในปีใด ให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดจังหวัด ที่จะทําการสํารวจรังวัดทําแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทําประโยชน์สําหรับปีนั้น เขตจังหวัดที่รัฐมนตรีประกาศ กําหนดไม่รวมท้องที่ที่ทางราชการได้จําแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวร

เมื่อได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกําหนดท้องที่และวันเริ่มต้น ของการเดินสํารวจรังวัดในท้องที่นั้น โดยปิดประกาศไว้ ณ สํานักงานที่ดิน ที่ว่าการอําเภอ ที่ว่าการกิ่งอําเภอ ที่ทําการกํานัน และที่ทําการผู้ใหญ่บ้านแห่งท้องที่ก่อนวันเริ่มต้นสํารวจไม่น้อยกว่าสามสิบวัน

เมื่อได้มีประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดตามวรรคสอง ให้บุคคลตามมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง หรือ ตัวแทนของบุคคลดังกล่าว นําพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่มอบหมาย เพื่อทําการสํารวจรังวัด ทําแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทําประโยชน์ในที่ดินของตนตามวันและเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้นัดหมาย”

มาตรา 58 ทวิ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง “เมื่อได้สํารวจรังวัดทําแผนที่ หรือพิสูจน์สอบสวนการ ทําประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 58 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี ให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่บุคคลนั้นครอบครองเป็นที่ดินที่อาจออก โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายนี้

บุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่งให้ได้ คือ

(3) ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินและทําประโยชน์ในที่ดิน ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ และไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ํา หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 8 วรรคสอง “ที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้จับจอง แต่ยังไม่ได้ รับคํารับรองจากนายอําเภอว่าได้ทําประโยชน์แล้ว ผู้ได้รับอนุญาตจะโอนไปไม่ได้ เว้นแต่จะตกทอดโดยทางมรดก

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกเจ้าของที่ดินที่มีเพียงใบจองได้ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นางจันทร์ โดยส่งมอบที่ดินและใบจองให้นางจันทร์ครอบครองนั้น การยกที่ดินให้นางจันทร์ดังกล่าวถือเป็นการโอน ที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 8 วรรคสอง เพราะไม่ได้เป็นการตกทอดทางมรดก ส่งผลให้ นางจันทร์เป็นเพียงผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โดยไม่มีใบจอง หรือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินใด ๆ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (3) ดังนั้น นางจันทร์จะ สามารถขอออกโฉนดที่ดินได้ก็ต่อเมื่อได้มีประกาศของทางราชการตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 เท่านั้น

และเมื่อได้ความว่า ในขณะนี้ได้มีประกาศของทางราชการเพื่อเดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน อันถือว่า เป็นการออกโฉนดแบบทั้งตําบลตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ดังนั้น นางจันทร์ จึงสามารถนําที่ดินแปลงนั้นมาขอออกโฉนดที่ดินได้ โดยมานําพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่มอบหมายเพื่อทําการสํารวจรังวัดทําแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทําประโยชน์ในที่ดินของตนตามวันและเวลา ที่พนักงานเจ้าหน้าที่นัดหมายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 วรรคสาม และนางจันทร์จะได้รับโฉนดที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (3)

สรุป นางจันทร์นําที่ดินแปลงนี้มาขอออกโฉนดที่ดินได้

 

ข้อ 3. นายใหญ่มีบุตร 2 คน คือ นายกลางและนางเล็ก นายกลางไปทํางานและมีครอบครัวที่ต่างจังหวัด ส่วนนางเล็กก็ทําหน้าที่ดูแลนายใหญ่ผู้เป็นบิดาตลอดมา นายใหญ่ได้ยกที่ดินตามโฉนดเนื้อที่ 10 ไร่ ให้แก่นางเล็กโดยมอบที่ดินพร้อมทั้งโฉนดที่ดินให้นางเล็กครอบครอง ต่อมานายกลางทราบเรื่องจึงไปขอแบ่งที่ดินครึ่งหนึ่งแต่นางเล็กไม่ยอม วันหนึ่งนายกลางได้แอบเอาโฉนดที่ดินจากในห้องนอนของนางเล็กไป หลังจากนั้นนางเล็กจึงไปขออายัดที่ดินไว้ ดังนี้ อยากทราบว่านางเล็กจะขออายัด ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 33 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดมีส่วนได้เสียในที่ดินใดอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือ ให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ มีความประสงค์จะขออายัดที่ดิน ให้ยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม
มาตรา 71”

วินิจฉัย

“การอายัดที่ดิน” หมายถึง การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เกี่ยวกับที่ดินไว้เป็นการชั่วคราวเพื่อให้มีการไปดําเนินการทางศาล และผู้ขออายัดที่ดินจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในที่ดินโดยตรงอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้
เช่น เป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะผู้จะซื้อที่ดินจากเจ้าของที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายหรือเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดิน

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายใหญ่มีบุตร 2 คน คือ นายกลางและนางเล็ก นายกลางไปทํางาน และมีครอบครัวที่ต่างจังหวัด ส่วนนางเล็กก็ทําหน้าที่ดูแลนายใหญ่ผู้เป็นบิดาตลอดมา ต่อมานายใหญ่ได้ยกที่ดิน ตามโฉนดที่ดินเนื้อที่ 10 ไร่ ให้แก่นางเล็ก โดยมอบที่ดินพร้อมทั้งโฉนดที่ดินให้นางเล็กครอบครอง เมื่อนายกลาง ทราบเรื่องจึงไปขอแบ่งที่ดินครึ่งหนึ่ง แต่นางเล็กไม่ยอม วันหนึ่งนายกลางได้แอบเอาโฉนดที่ดินจากในห้องนอน ของนางเล็กไป และหลังจากนั้นนางเล็กจึงไปขออายัดที่ดินไว้นั้น กรณีดังกล่าว นางเล็กจะขออายัดที่ดินได้หรือไม่ เห็นว่า การที่นายใหญ่ได้ยกที่ดินโดยมอบที่ดินและโฉนดที่ดินให้นางเล็กครอบครองโดยไม่ได้ทําเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ถือเป็นคํามั่นว่าจะให้ที่ดินแก่นางเล็ก จึงถือว่านางเล็กเป็นผู้มีส่วนได้เสีย อันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ ดังนั้น นางเล็กจึงสามารถ ขออายัดที่ดินแปลงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 83 วรรคหนึ่งได้

สรุป นางเล็กจะขออายัดที่ดินได้

LAW4108 (LAW4008) กฎหมายที่ดิน s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4108 (LAW 4008) กฎหมายที่ดิน
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายเพชรเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน ใน พ.ศ. 2550 ได้มีประกาศ เดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน แต่นายเพชรไม่ได้นําพนักงานเจ้าหน้าที่ทําการสํารวจรังวัดที่ดินขณะนี้นายเพชรตกลงจะขายที่ดินนั้นให้แก่นายเงิน จึงไปขอคําแนะนําจากนายอาทิตย์ซึ่งเป็นนักศึกษากฎหมาย นายอาทิตย์แนะนําว่าให้นายเพชรผู้ขายและนายเงินผู้ซื้อไปทําหนังสือและ จดทะเบียนการซื้อขายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 4 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนี้ อยากทราบว่า คําแนะนําของนายอาทิตย์ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 4 ทวิ “นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่”

พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 “ที่ดินที่ได้รับคํารับรองจากนายอําเภอว่าได้ทํา ประโยชน์แล้ว ให้โอนกันได้”

วินิจฉัย

ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และ พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ได้กําหนดไว้ว่า ที่ดินที่สามารถโอนให้แก่กันได้โดยการทําเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องเป็นที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หรือที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ (ที่ดินที่ได้รับคํารับรองจากนายอําเภอว่า ได้ทําประโยชน์แล้ว)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเพชรเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีเพียงหลักฐานการแจ้งการครอบครองนั้นไม่ถือว่านายเพชรเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์แต่อย่างใด การที่นายเพชร
ตกลงขายที่ดินนั้นให้แก่นายเงิน นายเพชรจึงไม่สามารถนําที่ดินแปลงดังกล่าวไปทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่นายเงินได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 4 ทวิ และ พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9

ดังนั้น การที่นายเพชรไปขอคําแนะนําจากนายอาทิตย์ และนายอาทิตย์แนะนําว่าให้นายเพชร ผู้ขายและนายเงินผู้ซื้อไปทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนการซื้อขายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 4 ทวิ แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดินนั้น คําแนะนําของนายอาทิตย์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

สรุป คําแนะนําของนายอาทิตย์ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

 

ข้อ 2. นายหนึ่งครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิ ในที่ดิน ใน พ.ศ. 2558 นายหนึ่งถึงแก่ความตาย และนายสองบุตรชายเพียงคนเดียวได้ครอบครอง ที่ดินตลอดมาจนได้รับโฉนดที่ดินจากทางราชการใน พ.ศ. 2561 ขณะนี้นายสองต้องการจะ จํานองที่ดินนั้นไว้กับนางเดือนเป็นเวลา 3 ปี เพื่อเป็นประกันเงินกู้

ดังนี้ อยากทราบว่า นายสองจะจํานองได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 58 ทวิ วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคห้า และวรรคหก “เมื่อได้สํารวจรังวัดทําแผนที่ หรือพิสูจน์สอบสวนการทําประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 58 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือ หนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี ให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่บุคคลนั้น ครอบครองเป็นที่ดินที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายนี้

บุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่งให้ได้ คือ

(3) ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินและทําประโยชน์ในที่ดิน ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ และไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

ภายในสิบปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่งห้ามมิให้บุคคลตามวรรคสอง (3) ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือโอนให้แก่ทบวงการเมือง องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือโอนให้แก่สหกรณ์เพื่อชําระหนี้โดยได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนสหกรณ์

ภายในกําหนดระยะเวลาห้ามโอนตามวรรคห้า ที่ดินนั้นไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดย ไม่มีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิในที่ดิน ในปี พ.ศ. 2558 นายหนึ่งถึงแก่ความตาย และนายสองบุตรชายเพียงคนเดียว ได้ครอบครองที่ดินตลอดมาจนได้รับโฉนดที่ดินจากทางราชการในปี พ.ศ. 2561 นั้น ถือว่านายสองเป็นผู้ที่ได้รับ โฉนดที่ดินเนื่องจากเป็นผู้ครอบครองที่ดิน และทําประโยชน์ในที่ดินภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ และโดยไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ํา หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (3) ดังนั้น นายสองจึงอยู่ในบังคับห้ามโอนที่ดินดังกล่าว ภายในกําหนด 10 ปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินตามมาตรา 58 วรรคห้า

แต่อย่างไรก็ดี การจํานองที่ดินนั้นไม่ถือว่าเป็นการโอนที่ดิน ดังนั้น นายสองจึงสามารถนําที่ดินไป จํานองไว้กับนางเดือนเป็นเวลา 3 ปี เพื่อเป็นประกันเงินกู้ได้ เพียงแต่เมื่อมีการจํานองแล้ว และหนี้ถึงกําหนด ชําระ นายสองไม่ชําระหนี้ นางเดือนผู้รับจํานองก็ไม่สามารถฟ้องบังคับจํานองเอากับที่ดินนั้นได้ หากยังไม่พ้น
กําหนดห้ามโอนตามมาตรา 58 ทวิ วรรคท้าย

สรุป นายสองสามารถจํานองที่ดินได้

 

ข้อ 3. นายดําเจ้าของบ้านเรือนแพตกลงขายเรือนแพนั้นให้แก่นายแดง บุคคลทั้งสองจึงนําเอกสาร หลักฐานไปขอทําการจดทะเบียนซื้อขาย ณ สํานักงานที่ดินซึ่งเรือนแพนั้นตั้งอยู่ เจ้าพนักงานที่ดิน ปฏิเสธการจดทะเบียนให้โดยอ้างว่าไม่มีอํานาจ ดังนี้อยากทราบว่า ข้ออ้างของเจ้าหนักงานที่ดิน ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 71 วรรคหนึ่ง “ให้เจ้าพนักงานที่ดินเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สําหรับอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในเขตท้องที่ สํานักงานที่ดินจังหวัดหรือสํานักงานที่ดินสาขานั้น”

วินิจฉัย

ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 71 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักไว้ว่า เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น ที่จะต้องนําเอกสารหลักฐาน ไปขอทําการจดทะเบียนกับเจ้าพนักงานที่ดิน ณ สํานักงานที่ดินซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ ไม่ได้หมายความว่า การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินทุกประเภทจะต้องไปขอจดทะเบียนกับเจ้าพนักงานที่ดิน ณ สํานักงานที่ดิน ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่แต่อย่างใด

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายดําเป็นเจ้าของเรือนแพและได้ตกลงขายเรือนแพนั้นให้แก่นายแดง เมื่อเรือนแพนั้นเป็นทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ และเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ มิใช่ทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น นายดําและนายแดงจะนําเอกสารหลักฐานไปขอ ทําการจดทะเบียนซื้อขายต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ สํานักงานที่ดินซึ่งเรือนแพนั้นตั้งอยู่ไม่ได้ การที่บุคคลทั้งสอง ได้นําเอกสารหลักฐานไปขอทําการจดทะเบียนจดทะเบียนซื้อขาย ณ สํานักงานที่ดินซึ่งเรือนแพนั้นตั้งอยู่ และ เจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธการจดทะเบียนให้โดยอ้างว่าไม่มีอํานาจนั้น ข้ออ้างของเจ้าพนักงานที่ดินจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป ข้ออ้างของเจ้าพนักงานที่ดินชอบด้วยกฎหมาย

LAW4108 (LAW4008) กฎหมายที่ดิน 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4108 (LAW 4008) กฎหมายที่ดิน
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ถ้าโอนที่ดินโดยตกลงกันเองและส่งมอบที่ดิน ให้แก่กัน อยากทราบว่าผู้รับโอนจะนําที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายโดยอ้างสิทธิ เป็นผู้ครอบครองและทําประโยชน์ต่อเนื่องได้หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 59 “ในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทํา ประโยชน์เป็นการเฉพาะรายไม่ว่าจะได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 58 แล้วหรือไม่ก็ตาม เมื่อพนักงาน เจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้ดําเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณีได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กําหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย

อธิบาย

การขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 วรรคหนึ่งนั้น ผู้ที่จะขอโฉนดที่ดินได้จะต้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน กล่าวคือ จะต้องเป็นเจ้าของที่ดิน โดยมีหนังสือแสดงสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หนังสือรับรองการทําประโยชน์ ใบจอง หลักฐานแจ้งการครอบครอง เป็นต้น และตามมาตรา 59 วรรคสองได้กําหนดไว้ว่า ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งนั้นให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย

ดังนั้น หากมีการโอนที่ดินโดยตกลงกันเองและส่งมอบที่ดินให้แก่กัน ถ้าที่ดินที่โอนนั้นเป็นที่ดินที่ ผู้โอนมีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิในที่ดินประเภทหลักฐานการแจ้งการครอบครอง ผู้รับโอนซึ่งได้ครอบครองและ ทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้โอน ย่อมถือว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองด้วยตามมาตรา 59 วรรคสอง และ สามารถนําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายได้ตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง

แต่ถ้าหากที่ดินที่โอนโดยตกลงกันเองและส่งมอบที่ดินให้แก่กันนั้น เป็นที่ดินที่ผู้โอนมีหนังสือสําคัญ แสดงสิทธิในที่ดินประเภทอื่น เช่น หนังสือรับรองการทําประโยชน์หรือใบจอง ผู้รับโอนแม้จะได้ครอบครองและ ทําประโยชน์ในที่ดินนั้นต่อเนื่องมาจากผู้โอน ผู้รับโอนก็ไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะ ไม่ได้ครอบครองฯ ต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง ดังนั้น ผู้รับโอนจะนําที่ดินไปขอออก โฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งไม่ได้

 

ข้อ 2. นายหนึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง ใน พ.ศ. 2545 ได้มีประกาศ เดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน แต่นายหนึ่งไม่ได้ไปนําพนักงานเจ้าหน้าที่รังวัดที่ดินของตน ใน พ.ศ. 2562 นายหนึ่งต้องการจะนําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดิน จึงได้ไปยื่นคําร้องต่อศาล และศาลได้มีคําสั่งรับรองว่านายหนึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตามหลักฐานการแจ้งการครอบครองจริง ขณะนี้นายหนึ่งตกลงจะขายที่ดินนั้นให้แก่นายสอง ดังนี้ อยากทราบว่านายหนึ่งจะจดทะเบียน ขายที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 4 ทวิ “นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่”

พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 “ที่ดินที่ได้รับคํารับรองจากนายอําเภอว่าได้ทําประโยชน์แล้ว ให้โอนกันได้”

วินิจฉัย

ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และ พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ได้กําหนดไว้ว่า ที่ดินที่สามารถโอนให้แก่กันได้โดยการทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องเป็นที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หรือที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ (ที่ดินที่ได้รับคํารับรองจากนายอําเภอ ว่าได้ทําประโยชน์แล้ว)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง เมื่อนายหนึ่งต้องการจะนําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดินจึงได้ไปยื่นคําร้องต่อศาล และศาลได้มีคําสั่งรับรองว่านายหนึ่ง ได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตามหลักฐานการแจ้งการครอบครองจริงนั้น ที่ดินที่มีหลักฐานการแจ้ง การครอบครองเป็นที่ดินที่ยังไม่ได้รับคํารับรองจากนายอําเภอว่าได้ทําประโยชน์แล้ว ถึงแม้ว่าจะมีคําสั่งศาล รับรองก็ไม่ใช่การรับรองว่าได้ทําประโยชน์แล้วตามนัยของมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น นายหนึ่งจะจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวไม่ได้

สรุป นายหนึ่งจะจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวไม่ได้

 

ข้อ 3. นายเอกเป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดที่ดินสองแปลงเนื้อที่ติดต่อกัน ขณะนี้นายเอกต้องการที่จะรวม ที่ดินทั้งสองแปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกัน ที่ดินนั้นตั้งอยู่ที่ต่างจังหวัด นายเอกไม่สะดวกที่จะ เดินทาง นายเอกจึงนําโฉนดที่ดินพร้อมเอกสารหลักฐานไปยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดินกรุงเทพฯ เพื่อให้รับเรื่องและส่งไปที่สํานักงานที่ดินที่มีอํานาจดําเนินการรวมที่ดินให้ ดังนี้ อยากทราบว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดินกรุงเทพฯ จะรับดําเนินการให้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 72 “ผู้ใดประสงค์จะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้คู่กรณีนําหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71

การขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง สําหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดินใบไต่สวนหรือ หนังสือรับรองการทําประโยชน์ คู่กรณีอาจยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมที่ดิน หรือสํานักงานที่ดิน แห่งใดแห่งหนึ่งเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 ดําเนินการจดทะเบียนให้ เว้นแต่การจดทะเบียน ที่ต้องมีการประกาศหรือต้องมีการรังวัด”

วินิจฉัย

ผู้ที่ประสงค์จะขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากจะมายื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 แล้ว บทบัญญัติมาตรา 72 วรรคสอง ยังให้สิทธิคู่กรณีอาจจะมายื่นคําขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมที่ดินหรือสํานักงานที่ดินแห่งใดแห่งหนึ่ง ก็ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ประการดังต่อไปนี้ คือ

1. ที่ดินที่จะต้องจดทะเบียนนั้นจะต้องเป็นที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน ใบไต่สวน หรือหนังสือรับรอง การทําประโยชน์ กล่าวคือ ถ้ามีเอกสารอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาจะยื่นคําขอไม่ได้

2. การจดทะเบียนนั้นจะต้องไม่มีการประกาศก่อน กล่าวคือ กรณีใดที่พนักงานเจ้าหน้าที่ จะต้องทําเรื่องประกาศก่อนที่จะมีการจดทะเบียนจะมาใช้มาตรา 72 วรรคสองไม่ได้

3. การจดทะเบียนนั้นจะต้องไม่มีการรังวัดก่อน

กรณีตามอุทาหรณ์ เป็นเรื่องการจดทะเบียนรวมที่ดินหลายแปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกันตาม ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 79 ซึ่งเมื่อพิจารณาจากหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 72 ดังกล่าว ข้างต้น แม้ที่ดินที่นายเอกจะรวมเข้าด้วยกันนั้นจะเป็นที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน และการจดทะเบียนดังกล่าวจะไม่ต้อง มีการประกาศก่อนก็ตาม แต่การจดทะเบียนรวมที่ดินหลายแปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกันนั้น บทบัญญัติมาตรา 79 ให้นํามาตรา 69 ทวิ มาใช้บังคับด้วย กล่าวคือ จะต้องมีการรังวัดสอบเขตที่ดินก่อน กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ ตามมาตรา 72 วรรคสอง ดังนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดินกรุงเทพฯ จะรับดําเนินการให้ไม่ได้ นายเอกจะต้องยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดินที่มีอํานาจดําเนินการรวมที่ดินให้เท่านั้นตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71

สรุป พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดินกรุงเทพฯ จะรับดําเนินการให้ไม่ได้

 

LAW4108 (LAW4008) กฎหมายที่ดิน s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4108 (LAW 4008) กฎหมายที่ดิน
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายทองครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตั้งแต่ พ.ศ. 2519 โดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิ ในที่ดิน ใน พ.ศ. 2541 ได้มีประกาศของทางราชการเพื่อเดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน แต่นายทอง ไม่ได้ไปนําพนักงานเจ้าหน้าที่ทําการสํารวจรังวัดที่ดิน ใน พ.ศ. 2553 นายทองขายที่ดินแปลงนั้น ให้แก่นายเพชรโดยทําหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองที่บ้านของนายทองแล้วส่งมอบที่ดินให้นายเพชร ครอบครองต่อมา ขณะนี้นายเพชรได้นําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดิน อยากทราบว่านายเพชรจะขอ ออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 59 “ในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทํา ประโยชน์เป็นการเฉพาะรายไม่ว่าจะได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 58 แล้วหรือไม่ก็ตาม เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พิจารณาเห็นสมควร ให้ดําเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี ได้ตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กําหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย”

มาตรา 59 ทวิ “ผู้ซึ่งครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ
โดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ไม่รวมถึงผู้ซึ่งมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี ถ้ามีความจําเป็นจะขอออก โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์เป็นการเฉพาะราย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้ดําเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ประมวลกฎหมายนี้กําหนด แต่ต้องไม่เกินห้าสิบไร่ ถ้าเกินห้าสิบไร่จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายเพชรจะขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ เห็นว่า การที่นายทองซึ่งเป็นผู้ครอบครอง และทําประโยชน์ในที่ดินตั้งแต่ พ.ศ. 2519 โดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิในที่ดิน ได้ขายที่ดินแปลงนั้นให้แก่ นายเพชร โดยทําหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองแล้วมอบที่ดินให้นายเพชรครอบครองนั้น ย่อมส่งผลให้นายเพชร เป็นเพียงผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ

และในขณะนี้นายเพชรได้นําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดิน ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีประกาศของทาง ราชการเพื่อจะออกโฉนดแบบทั้งตําบลตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 จึงต้องพิจารณาการออกโฉนดที่ดิน แบบเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ แล้วแต่กรณี

สําหรับการขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ผู้ที่จะขอออกโฉนดที่ดินได้ จะต้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน กล่าวคือ เป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหนังสือ แสดงสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อนายเพชรเป็นเพียงผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดิน ใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ดังนั้นนายเพชรจึงขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามประมวล กฎหมายที่ดินมาตรา 59 ไม่ได้ อีกทั้งในกรณีดังกล่าวนี้ นายเพชรก็จะอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองต่อเนื่องตาม ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 วรรคสอง ไม่ได้เช่นกัน เพราะนายเพชรมิใช่ผู้ครอบครองต่อเนื่องจากผู้ซึ่งมี หลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1)

ส่วนผู้ที่จะขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ทวิ ได้นั้น กฎหมายกําหนดว่า จะต้องเป็นผู้ซึ่งครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดิน ใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครองตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 5 เท่านั้น เมื่อได้ความว่า นายเพชรเป็นผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ภายหลังวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2497) จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังกล่าว ดังนั้น นายเพชรจึงไม่สามารถขอออก โฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ทวิ ได้เช่นกัน

สรุป นายเพชรเป็นผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ จะขอ ออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ ไม่ได้เลย

 

ข้อ 2. นายเอกเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหนังสือรับรองทําประโยชน์ ใน พ.ศ. 2542 ได้มีประกาศของทาง ราชการเพื่อเดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน แต่นายเอกไม่ได้นําพนักงานเจ้าหน้าที่ทําการรังวัดที่ดินใน พ.ศ. 2550 นายเอกถึงแก่ความตาย นายโทบุตรชายรับมรดกที่ดินนั้น ขณะนี้นายโทได้ตกลง ขายที่ดินแปลงนั้นให้แก่นายตรี ดังนี้ อยากทราบว่า นายโทจะจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าว ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 4 ทวิ “นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่”

และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 9 “ที่ดินที่ได้รับคํารับรองจากนายอําเภอว่าได้ทําประโยชน์แล้ว ให้โอนกันได้”

วินิจฉัย

ที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์เป็นที่ดินที่ได้รับคํารับรองจากนายอําเภอว่าได้ทําประโยชน์แล้วจึงสามารถโอนให้แก่กันได้ตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 9 แต่การโอนนั้นจะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 4 ทวิ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหนังสือรับรองการทําประโยชน์นั้น แม้จะ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในปี พ.ศ. 2542 ได้มีประกาศของทางราชการเพื่อเดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน แต่นายเอก ไม่ได้ไปนําพนักงานเจ้าหน้าที่ทําการสํารวจรังวัดที่ดินจึงไม่ได้รับโฉนดที่ดินนั้น เมื่อนายเอกได้ถึงแก่ความตาย ใน พ.ศ. 2550 และนายโทบุตรชายได้เข้ามารับมรดกที่ดินนั้น นายโทซึ่งเป็นทายาทของนายเอกย่อมมีสิทธิ เช่นเดียวกับนายเอก คือให้ถือว่านายโทเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ด้วย ดังนั้น เมื่อนายโท ได้ตกลงจะขายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์แปลงนั้นให้กับนายตรี นายโทย่อมสามารถที่จะจดทะเบียนโอนขายที่ดินนั้นให้แก่นายตรีได้ แต่การโอนนั้นจะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย ตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 9 ประกอบประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 4 ทวิ

สรุป นายโทสามารถจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่นายตรีได้

 

ข้อ 3. กรณีโฉนดที่ดินหาย อยากทราบว่าผู้เป็นเจ้าของที่ดินจะขออายัดได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 83 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดมีส่วนได้เสียในที่ดินใดอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือ ให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ มีความประสงค์จะขออายัดที่ดิน ให้ยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม
มาตรา 71”

วินิจฉัย

“การอายัดที่ดิน” หมายถึง การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เกี่ยวกับที่ดินไว้เป็นการชั่วคราวเพื่อให้มีการไปดําเนินการทางศาล และผู้ขออายัดที่ดินจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในที่ดินโดยตรงอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โฉนดที่ดินหาย ผู้เป็นเจ้าของที่ดินจะขออายัดที่ดินได้หรือไม่นั้น เห็นว่าการเป็นเจ้าของที่ดินนั้น บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่ดินย่อมมีสิทธิในที่ดินในวันที่จะให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าผู้เป็นเจ้าของที่ดินเป็นผู้มีส่วนได้เสียอันอาจจะ ฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินนั้น ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของที่ดินจึงขออายัดที่ดินของตนเองไม่ได้

สรุป ผู้เป็นเจ้าของที่ดินจะขออายัดที่ดินของตนไม่ได้

LAW4008 กฎหมายที่ดิน 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4008 กฎหมายที่ดิน
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายสง่าครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตั้งแต่ พ.ศ. 2493 โดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิ ในที่ดิน เมื่อประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ นายสง่าไม่ได้แจ้งการครอบครองตามพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ยังคงครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตลอดมา ใน พ.ศ. 2528 นายสง่าถึงแก่ความตายและนายเพชรบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้ครอบครองที่ดิน ต่อมา ใน พ.ศ. 2559 ทางราชการได้เดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน นายเพชรไปนําพนักงานเจ้าหน้าที่ สํารวจรังวัดที่ดินจึงได้โฉนดที่ดินในปีนั้น ขณะนี้นายเพชรต้องการจะโอนที่ดินให้แก่นายทอง บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

ดังนี้ อยากทราบว่า นายเพชรจะจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้นายทองได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 27 ตรี “เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศกําหนดท้องที่และวันเริ่มต้นของการสํารวจ ตามมาตรา 58 วรรคสอง ผู้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับโดยไม่มี หนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 หรือผู้ซึ่งรอคําสั่งผ่อนผันจากผู้ว่าราชการจังหวัดตามมาตรา 27 ทวิ แต่ได้ครอบครองและ ทําประโยชน์ในที่ดินนั้นติดต่อมาจนถึงวันทําการสํารวจรังวัดหรือพิสูจน์สอบสวน ถ้าประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินนั้น ให้แจ้งการครอบครองที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ ที่ดินนั้นตั้งอยู่ภายในกําหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันปิด ประกาศ ถ้ามิได้แจ้งการครอบครองภายในกําหนดเวลาดังกล่าว แต่ได้มานําหรือส่งตัวแทนมานําพนักงานเจ้าหน้าที่ ทําการสํารวจรังวัดตามวันและเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศกําหนด ให้ถือว่ายังประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินนั้น

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย”

มาตรา 58 ทวิ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคห้า “เมื่อได้สํารวจรังวัดทําแผนที่ หรือพิสูจน์ สอบสวนการทําประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 58 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรอง การทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี ให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่บุคคลนั้นครอบครอง เป็นที่ดินที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายนี้

บุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่งให้ได้ คือ

(2) ผู้ซึ่งได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี

(3) ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินและทําประโยชน์ในที่ดิน ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ และไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

ภายในสิบปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ บุคคลตามวรรคสอง (3) ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือโอนให้แก่ทบวงการเมือง องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือโอนให้แก่สหกรณ์เพื่อชําระหนี้โดยได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนสหกรณ์”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสง่าได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 โดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงสิทธิในที่ดิน และเมื่อประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ นายสง่าไม่ได้แจ้งการครอบครอง ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ยังคงครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตลอดมา และในปี พ.ศ. 2528 นายสง่าถึงแก่ความตายและนายเพชรบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้ครอบครองที่ดินต่อจาก นายสง่านั้น ย่อมถือว่านายเพชรเป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 27 ตรี วรรคหนึ่งด้วย (มาตรา 27 ตรี วรรคสอง)

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ใน พ.ศ. 2559 ทางราชการได้มีการเดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน นายเพชร ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 27 ตรี วรรคหนึ่ง คือได้ไปนําพนักงานเจ้าหน้าที่ทําการสํารวจรังวัด ที่ดิน จึงได้รับโฉนดที่ดินในปีนั้น ย่อมถือว่านายเพชรเป็นผู้ได้รับโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (2) โฉนดที่ดินที่นายเพชรได้รับมาจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของการห้ามโอนเป็นเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า ดังนั้น เมื่อนายเพชรต้องการจะ โอนที่ดินนั้นใน นให้แก่นายทอง นายเพชรจึงสามารถจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่นายทองได้

สรุป นายเพชรสามารถจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่นายทองได้

 

ข้อ 2. นายมกราเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ใน พ.ศ. 2535 นายมกราได้ ยกที่ดินนั้นก็ใช้หนี้ให้แก่นายมีนาแทนหนี้เงินที่ค้างชําระ โดยส่งมอบที่ดินพร้อมหนังสือรับรองการ ทําประโยชน์ให้นายมีนา และนายมีนาก็ครอบครองและทําประโยชน์ต่อเนื่องมา ใน พ.ศ. 2552 นายมีนาถึงแก่ความตาย นายพฤษภาบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเพียงคนเดียวของนายมีนาได้เข้า ครอบครองและทําประโยชน์ตลอดมา ขณะนี้นายพฤษภาได้นําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดิน ดังนี้ อยากทราบว่า นายพฤษภาจะขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 4 ทวิ “นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา 59 “ในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการ ทําประโยชน์เป็นการเฉพาะรายไม่ว่าจะได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 58 แล้วหรือไม่ก็ตาม เมื่อพนักงาน เจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้ดําเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณีได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กําหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย”

มาตรา 59 ทวิ “ผู้ซึ่งครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ไม่รวมถึงผู้ซึ่งมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี ถ้ามีความจําเป็นจะขอออก โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์เป็นการเฉพาะราย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้ดําเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กําหนด แต่ต้องไม่เกินห้าสิบไร่ ถ้าเกินห้าสิบไร่จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายมกราซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ได้ ยกที่ดินนั้นตีใช้หนี้ให้แก่นายมีนา โดยมิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ถือเป็น การโอนที่ไม่ทําตามกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ ที่กําหนดว่า “การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน ซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ต้องทําเป็นหนังสือและต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกที่ดินที่ใช้หนี้ดังกล่าวจึงมีผลเป็นโมฆะ ส่งผลให้นายมีนาเป็นเพียงผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ภายหลังวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2497)

เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ใน พ.ศ. 2552 นายมีนาถึงแก่ความตาย และนายพฤษภาบุตรโดยชอบ ด้วยกฎหมายของนายมีนาได้เข้าครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตลอดมา ดังนี้ นายพฤษภาซึ่งเป็นทายาท ย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับนายมีนา คือ เป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ

และในขณะนี้นายพฤษภาได้นําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดิน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีประกาศของทางราชการ เพื่อจะออกโฉนดแบบทั้งตําบลตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 จึงต้องพิจารณาการออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ แล้วแต่กรณี

สําหรับการขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ผู้ที่จะขอออก โฉนดที่ดินได้ จะต้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน กล่าวคือ เป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหนังสือ แสดงสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อนายพฤษภาเป็นเพียงผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมาย ที่ดินใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ดังนั้นนายพฤษภาจึงขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตาม ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ไม่ได้ อีกทั้งในกรณีดังกล่าวนี้ นายพฤษภาจะอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองต่อเนื่อง ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 วรรคสอง ไม่ได้เช่นกัน เพราะนายพฤษภามิใช่ผู้ครอบครองต่อเนื่องจากผู้ซึ่ง มีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1)

ส่วนผู้ที่จะขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ทวิ ได้นั้น กฎหมายกําหนดว่า จะต้องเป็นผู้ซึ่งครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดิน ใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครองตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 5 เท่านั้น เมื่อได้ความว่า นายพฤษภาเป็นผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ภายหลังวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2497) จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังกล่าว ดังนั้น นายพฤษภาจึงไม่สามารถ ขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ทวิ ได้เช่นกัน

สรุป นายพฤษภาเป็นผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับจะขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ ไม่ได้เลย

 

ข้อ 3. นางสมรซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมได้นําเอกสารหลักฐานไปที่สํานักงานที่ดิน
ซึ่งที่ดินที่เป็นมรดกตั้งอยู่เพื่อขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดก พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิเสธ ไม่รับจดทะเบียนให้โดยอ้างว่านางสมรไม่มีคําสั่งศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกมาแสดง

ดังนี้ อยากทราบว่า การปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนของพนักงานเจ้าหน้าที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 81 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “การขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก ให้ผู้ได้รับมรดกนําหลักฐานสําหรับที่ดินหรือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินพร้อมด้วยหลักฐานใน การได้รับมรดกมายื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 ถ้าหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินอยู่กับบุคคลอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเรียกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าวนั้นได้

เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนพยานหลักฐาน และเชื่อได้ว่าผู้ขอเป็นทายาทแล้ว ให้ประกาศ โดยทําเป็นหนังสือปิดไว้ในที่เปิดเผยมีกําหนดสามสิบวัน ณ สํานักงานที่ดิน เขตหรือที่ว่าการอําเภอ หรือกิ่งอําเภอ สํานักงานเทศบาล ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบล ที่ทําการแขวงหรือที่ทําการกํานันท้องที่ ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ และบริเวณที่ดินนั้นแห่งละหนึ่งฉบับ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือส่งประกาศดังกล่าวให้บุคคลที่ผู้ขอแจ้งว่า เป็นทายาททุกคนทราบเท่าที่สามารถจะทําได้ หากไม่มีทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกโต้แย้งภายในกําหนดเวลา ที่ประกาศและมีหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าผู้ขอมีสิทธิได้รับมรดกแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการจดทะเบียน ให้ตามที่ผู้ขอแสดงหลักฐานการมีสิทธิตามกฎหมาย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง”

มาตรา 82 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิทธิ ในที่ดิน ให้ยื่นคําขอพร้อมด้วยนําหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินนั้น และหลักฐานการเป็นผู้จัดการมรดกมาแสดงต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 ถ้าเป็นผู้จัดการมรดกโดยคําสั่งศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการจดทะเบียน ให้ตามคําขอ แต่ถ้าเป็นผู้จัดการมรดกในกรณีอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนและตรวจสอบหลักฐาน และให้ นําความในมาตรา 61 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อไม่มีผู้โต้แย้ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนลงชื่อ ผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินนั้นได้ แต่ถ้ามีผู้โต้แย้งก็ให้รอเรื่องไว้ และให้คู่กรณีไปฟ้องร้องต่อศาล เมื่อศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดประการใดแล้ว ให้ดําเนินการไปตามคําพิพากษาหรือคําสั่งศาลนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสมรได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมนั้น ถือว่า นางสมรเป็นผู้จัดการมรดกโดยทางอื่นนอกจากโดยคําสั่งศาล เมื่อนางสมรได้นําเอกสารหลักฐานไปยื่นคําขอ จดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกลงในโฉนดที่ดิน พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องดําเนินการตามมาตรา 82 ประกอบ มาตรา 81 วรรคสอง กล่าวคือ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้อง ประกาศเป็นหนังสือก่อนมีกําหนด 30 วัน ณ สํานักงานที่ดิน และให้ส่งประกาศดังกล่าวให้บุคคลที่ผู้ขอแจ้งว่า เป็นทายาททุกคนทราบเท่าที่สามารถจะทําได้ หากไม่มีผู้โต้แย้งภายในกําหนดเวลาที่ประกาศและมีหลักฐาน เป็นที่เชื่อได้ว่าผู้ขอมีสิทธิตามกฎหมาย ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดง สิทธิในที่ดินได้เลย แต่ถ้ามีผู้โต้แย้งก็ให้รอเรื่องไว้ และให้คู่กรณีไปฟ้องร้องต่อศาล เมื่อศาลมีคําพิพากษาหรือ คําสั่งถึงที่สุดประการใดแล้ว ให้ดําเนินการไปตามคําพิพากษาหรือคําสั่งศาลนั้น

ดังนั้น กรณีตามอุทาหรณ์เมื่อนางสมรได้ไปยื่นคําขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนให้ โดยอ้างว่านางสมรไม่มีคําสั่งศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกมาแสดงนั้น การปฏิเสธของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

LAW4008 กฎหมายที่ดิน 1/2562

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW4008 กฎหมายที่ดิน
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายดําได้รับอนุญาตให้จับจองที่ดิน ทางราชการออกใบจองให้ในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ใน พ.ศ. 2550 นายดําขายที่ดินแปลงนั้นให้แก่นายขาว และนายขาวครอบครองที่ดินต่อมาจนถึง พ.ศ. 2553 ก็ถึงแก่ความตาย นายแดงบุตรชายเพียงคนเดียวเข้าครอบครองและทําประโยชน์ ในที่ดินต่อเนื่องมาใน พ.ศ. 2558 นายแดงก็ได้รับโฉนดที่ดิน ขณะนี้นายแดงตกลงขายที่ดินให้แก่ นางน้อย ดังนี้อยากทราบว่านายแดงจะจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 58 ทวิ วรรคหนึ่ง วรรคสองและวรรคห้า “เมื่อได้สํารวจรังวัดทําแผนที่ หรือพิสูจน์ สอบสวนการทํา
ประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 58 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ แล้วแต่กรณี ให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่บุคคลนั้นครอบครอง เป็นที่ดินที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายนี้

บุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่งให้ได้ คือ

(3) ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินและทําประโยชน์ในที่ดิน ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ และไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ํา หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

ภายในสิบปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่งห้ามมิให้บุคคลตามวรรคสอง (3) ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือโอนให้แก่ทบวงการเมือง องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือโอนให้แก่สหกรณ์เพื่อชําระหนี้โดยได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนสหกรณ์”

พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง “ที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้จับจอง แต่ยัง ไม่ได้รับคํารับรองจากนายอําเภอว่าได้ทําประโยชน์แล้ว ผู้ได้รับอนุญาตจะโอนไปไม่ได้เว้นแต่จะตกทอดโดยทางมรดก”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายดําเป็นผู้ครอบครองที่ดินที่มีใบจอง โดยทางราชการออกใบจองให้ในวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ซึ่งที่ดินที่มีใบจองนี้เป็นที่ดินที่ยังไม่ได้รับคํารับรองจากนายอําเภอว่าได้ทําประโยชน์แล้ว นายดํา ผู้ครอบครองจึงโอนให้ใครไม่ได้ เว้นแต่จะตกทอดทางมรดกตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 8 วรรคสอง

เมื่อได้ความว่า ใน พ.ศ. 2550 นายดําได้ขายที่ดินนั้นให้แก่นายขาว การขายที่ดินแปลงดังกล่าวจึงเป็น การฝ่าฝืน พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 8 วรรคสอง ทั้งก็มิใช่เป็นการตกทอดทางมรดกแต่อย่างใด ดังนั้น แม้นายขาว
จะได้ครอบครองและทําประโยชน์ต่อเนื่องมาก็ไม่ทําให้นายขาวเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน

แต่อย่างไรก็ดี การขายที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครองให้แก่กันนั้น มีผลทําให้นายขาวเป็น ผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ภายหลังวันที่ 1 ธันวาคม 2497) และเมื่อต่อมาใน พ.ศ. 2553 นายขาวถึงแก่ความตาย นายแดงบุตรชายเพียงคนเดียวเข้าครอบครองและทําประโยชน์ ในที่ดินต่อเนื่องมา ย่อมถือว่านายแดงเป็นผู้ครอบครองที่ดินโดยพลการหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับด้วย

ดังนั้นการที่นายแดงครอบครองและทําประโยชน์ต่อเนื่องมาจนได้รับโฉนดที่ดินจากทางราชการใน พ.ศ. 2558 นั้น กรณีเช่นนี้ ถือว่านายแดงเป็นผู้ได้รับโฉนดที่ดินเนื่องจากเป็นผู้ครอบครองที่ดินและทําประโยชน์ในที่ดินภายหลัง วันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับและไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ํา หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมาย ว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (3) นายแดงจึงอยู่ในบังคับ ห้ามโอนที่ดินภายในกําหนด 10 ปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคห้า เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 58 ทวิ วรรคห้าตอนท้าย

ดังนั้น ขณะนี้การที่นายแดงประสงค์จะจดทะเบียนขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นางน้อยจึงไม่สามารถ ทําได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคห้า เพราะเป็นการโอนภายในกําหนดเวลา 10 ปีนับแต่ ได้รับโฉนดที่ดิน ทั้งกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นของกฎหมาย เพราะมิใช่การโอนโดยการตกทอดทางมรดกแต่อย่างใด

สรุป นายแดงจะจดทะเบียนขายที่ดินให้แก่นางน้อยไม่ได้

 

ข้อ 2. นายหนึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ใน พ.ศ. 2547 ได้มีประกาศของ
ทางราชการเพื่อเดินสํารวจออกโฉนดที่ดินแต่นายหนึ่งไม่ได้ไปนําพนักงานเจ้าหน้าที่รังวัดที่ดินใน พ.ศ. 2554 นายหนึ่งได้ยกที่ดินนั้นตีใช้หนี้ให้แก่นายสองโดยการส่งมอบที่ดินและเอกสารหนังสือรับรองการทําประโยชน์ให้นายสองครอบครอง ขณะนี้นายสองได้นําที่ดินนั้นไปยื่นขอออก โฉนดที่ดิน ดังนี้อยากทราบว่านายสองจะขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 4 ทวิ “นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่”

มาตรา 59 “ในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทํา ประโยชน์เป็นการเฉพาะรายไม่ว่าจะได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 58 แล้วหรือไม่ก็ตาม เมื่อพนักงาน เจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้ดําเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณีได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กําหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย”

มาตรา 59 ทวิ “ผู้ซึ่งครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ไม่รวมถึงผู้ซึ่งมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี ถ้ามีความจําเป็นจะขอออก โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์เป็นการเฉพาะราย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควรให้ ดําเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ประมวลกฎหมายนี้กําหนด แต่ต้องไม่เกินห้าสิบไร่ ถ้าเกินห้าสิบไร่จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ได้ยกที่ดิน แปลงนั้นที่ใช้หนี้ให้แก่นายสอง โดยส่งมอบที่ดินพร้อมหนังสือรับรองการทําประโยชน์ให้นายสองครอบครอง โดยมิได้ ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถือเป็นการโอนที่ไม่ทําตามกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ ที่กําหนดว่า

“การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ต้องทําเป็นหนังสือและต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่” การยกที่ดินให้นายสองดังกล่าวจึงมีผลเป็นโมฆะ ส่งผลให้นายสองเป็น เพียงผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (โดยไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน)

และในขณะนี้ การที่นายสองได้นําที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดินซึ่งเป็นการขอออกเฉพาะรายนั้น นายสอง จะขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ จึงต้องพิจารณาการขอออกโฉนดที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 และ
มาตรา 59 ทวิ

สําหรับการขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะราย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 ผู้ที่จะขอออก โฉนดที่ดินได้ จะต้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน กล่าวคือ เป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหนังสือ แสดงสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อนายสองเป็นเพียงผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดิน ใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน เนื่องจากการโอนดังกล่าวฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ นายสองจึงขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะราย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 ไม่ได้ อีกทั้งในกรณีดังกล่าวนี้ นายสองก็จะอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองต่อเนื่อง ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 วรรคสอง ไม่ได้เช่นกัน เพราะ นายสองมิใช่ผู้ครอบครองต่อเนื่องจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1)

ส่วนผู้ที่จะขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 ทวิ ได้นั้นกฎหมายกําหนดว่า จะต้องเป็นผู้ซึ่งครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดิน ใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครองตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 5 เท่านั้น เมื่อได้ความว่า นายสองเป็นผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ภายหลังวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2497) จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังกล่าว ดังนั้น นายสองจึงไม่สามารถขอออก โฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะราย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 ทวิ ได้เช่นกัน

สรุป นายสองเป็นผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ จึงขอออก โฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะราย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ ไม่ได้เลย

 

ข้อ 3. นางสมศรีเป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม ขณะนี้นางสมศรีต้องการจะจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการ มรดกเพื่อจัดการมรดกตามหน้าที่ นางสมศรีจึงนําพินัยกรรมโฉนดที่ดินเป็นมรดกและเอกสารอื่นสําหรับใช้ประกอบการจดทะเบียนไปยื่นขอจดทะเบียน ณ สํานักงานที่ดิน ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่รับดําเนินการจดทะเบียนให้โดยอ้างว่า นางสมศรียังไม่มีคําสั่งศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก ดังนี้อยากทราบว่าข้ออ้างของพนักงานเจ้าหน้าที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 81 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “การขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก ให้ผู้ได้รับมรดกนําหลักฐานสําหรับที่ดินหรือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินพร้อมด้วยหลักฐานในการได้รับ มรดกมายื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 ถ้าหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินอยู่กับบุคคลอื่น ให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่มีอํานาจเรียกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าวนั้นได้

เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนพยานหลักฐาน และเชื่อได้ว่าผู้ขอเป็นทายาทแล้ว ให้ประกาศ โดยทําเป็นหนังสือปิดไว้ในที่เปิดเผยมีกําหนดสามสิบวัน ณ สํานักงานที่ดิน เขตหรือที่ว่าการอําเภอ หรือกิ่งอําเภอ สํานักงานเทศบาล ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบล ที่ทําการแขวงหรือที่ทําการกํานันท้องที่ ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ และ บริเวณที่ดินนั้นแห่งละหนึ่งฉบับ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือส่งประกาศดังกล่าวให้บุคคลที่ผู้ขอแจ้งว่าเป็น ทายาททุกคนทราบเท่าที่สามารถจะทําได้ หากไม่มีทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกโต้แย้งภายในกําหนดเวลาที่ประกาศ และมีหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าผู้ขอมีสิทธิได้รับมรดกแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการจดทะเบียนให้ตามที่ ผู้ขอแสดงหลักฐานการมีสิทธิตามกฎหมาย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง”

มาตรา 82 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิทธิ ในที่ดิน ให้ยื่นคําขอพร้อมด้วยนําหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินนั้น และหลักฐานการเป็นผู้จัดการมรดกมาแสดงต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 ถ้าเป็นผู้จัดการมรดกโดยคําสั่งศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการจดทะเบียนให้ ตามคําขอ แต่ถ้าเป็นผู้จัดการมรดกในกรณีอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนและตรวจสอบหลักฐาน และให้นําความ ในมาตรา 81 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อไม่มีผู้โต้แย้ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการ มรดกในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินนั้นได้ แต่ถ้ามีผู้โต้แย้งก็ให้รอเรื่องไว้ และให้คู่กรณีไปฟ้องร้องต่อศาล เมื่อศาล มีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดประการใดแล้ว ให้ดําเนินการไปตามคําพิพากษาหรือคําสั่งศาลนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสมศรีเป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมนั้น ถือว่านางสมศรีเป็นผู้จัดการ มรดกโดยทางอื่นนอกจากโดยคําสั่งศาล เมื่อนางสมศรีได้นําพินัยกรรมพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานไปยื่นคําขอ จดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกลงในโฉนดที่ดิน พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องดําเนินการตามมาตรา 82 ประกอบ มาตรา 81 วรรคสอง กล่าวคือ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้อง ประกาศเป็นหนังสือก่อนมีกําหนด 30 วัน ณ สํานักงานที่ดิน และให้ส่งประกาศดังกล่าวให้บุคคลที่ผู้ขอแจ้งว่าเป็น ทายาททุกคนทราบเท่าที่สามารถจะทําได้ หากไม่มีผู้โต้แย้งภายในกําหนดเวลาที่ประกาศและมีหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่า ผู้ขอมีสิทธิตามกฎหมาย ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินได้เลย แต่ถ้ามีผู้โต้แย้งก็ให้รอเรื่องไว้ และให้คู่กรณีไปฟ้องร้องต่อศาล เมื่อศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดประการใดแล้วให้ดําเนินการไปตามคําพิพากษาหรือคําสั่งศาลนั้น

ดังนั้น กรณีตามอุทาหรณ์เมื่อนางสมศรีได้ไปยื่นคําขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่รับดําเนินการให้โดยอ้างว่า นางสมศรียังไม่มีคําสั่งศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกนั้น ข้ออ้างของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป ข้ออ้างของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

LAW3110 (LAW3010) กฎหมายล้มละลาย s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3110 (LAW 3010) กฎหมายล้มละลายและฟื้นฟูกิจการ
คําแนะนํา ข้อสอบกระบวนวิชานี้เป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายเมฆทําสัญญากู้ยืมเงินจากนายหมอกจํานวน 5 ล้านบาท โดยนายเมฆนํารถยนต์ของตนมา จํานําไว้เป็นประกันหนี้ ต่อมาหนี้เงินกู้ถึงกําหนดชําระ นายเมฆไม่ชําระหนี้ นายหมอกจึงบังคับจํานํา ได้เงินมาจํานวน 1 ล้านบาท นายหมอกจึงนําหนี้อีก 4 ล้านบาทที่เหลือ มาฟ้องนายเมฆให้ ล้มละลาย ศาลล้มละลายกลางมีคําสั่งรับฟ้อง นายเมฆยื่นคําให้การอ้างว่านายหมอกเป็นเจ้าหนี้ มีประกัน แต่ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าจะสละหลักประกัน หรือตีราคาหลักประกัน ศาลล้มละลายกลางจึงไม่สามารถมีคําสั่งรับฟ้องได้

ดังนี้ คําให้การของนายเมฆชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 6 “ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เจ้าหนี้มีประกัน” หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจํานอง จํานํา หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทํานองเดียวกับผู้รับจํานํา

มาตรา 9 “เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ

(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

(2) ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจํานวน ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท…. และ

(3) หนี้นั้นอาจกําหนดจํานวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกําหนดชําระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม”

มาตรา 10 “ภายใต้บังคับมาตรา 9 เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ

(1) มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชําระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน และ

(2) กล่าวในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจํานวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่สําหรับลูกหนี้ซึ่งเป็น บุคคลธรรมดาเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเมฆทําสัญญากู้ยืมเงินจากนายหมอกจํานวน 5 ล้านบาท โดยนายเมฆ นำรถยนต์ของตนมาจํานําไว้เป็นประกันหนี้ ต่อมาหนี้เงินกู้ถึงกําหนดชําระ นายเมฆไม่ชําระหนี้ นายหมอกจึง บังคับจํานําได้เงินมาจํานวน 1 ล้านบาทนั้น เมื่อมีการบังคับจํานําทรัพย์สินที่จํานําแล้ว จํานําย่อมระงับไป เช่นเดียวกับการบังคับจํานองตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (5) และการครอบครองทรัพย์สินของผู้รับจํานําก็เป็นอัน สิ้นสุดลงด้วย ดังนั้น นายหมอกซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของนายเมฆอีก 4 ล้านบาท จึงไม่ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกัน ตามนัยของมาตรา 6 เพราะไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจํานํา

และเมื่อนายหมอกไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกัน นายหมอกจึงสามารถนําหนี้ที่เหลืออีก 4 ล้านบาท มาฟ้อง ให้นายเมฆล้มละลายได้ตามมาตรา 9 โดยไม่ต้องกล่าวในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้วจะยอมสละหลักประกัน เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องตามมาตรา 10 (2) แต่อย่างใด ดังนั้น การที่ นายเมฆยื่นคําให้การอ้างว่านายหมอกเป็นเจ้าหนี้มีประกัน แต่ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าจะสละหลักประกันหรือตีราคา หลักประกัน ศาลล้มละลายกลางจึงไม่สามารถมีคําสั่งรับฟ้องได้นั้น คําให้การของนายเมฆจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย สรุป คําให้การของนายเมฆไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. นายใบไม้ได้กู้ยืมเงินนายกิ่งจํานวน 1,000,000 บาท เพื่อนํามาจ่ายค่าแรงคนงาน และนายใบไม้ ยังได้กู้ยืมเงินนายส้มจํานวน 3,000,000 บาท เพื่อนํามาขยายธุรกิจโรงงานเจลแอลกอฮอล์ด้วย โดยการกู้ยืมเงินทั้งสองครั้งดังกล่าว ได้ทําหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายใบไม้ผู้กู้ ต่อมานายใบไม้ถูกนายกล้วยเจ้าหนี้รายหนึ่งยื่นฟ้องเป็นคดีล้มละลาย ศาลมีคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์นายใบไม้เด็ดขาด นายใบไม้ได้ยื่นคําขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายร้อยละ 50 ใน การประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับคําขอประนอมหนี้และศาลมีคําสั่ง เห็นชอบด้วยแล้ว แต่กรมสรรพากรซึ่งเป็นเจ้าหนี้อีกรายของนายใบไม้ที่มูลหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ยินยอมกับการขอประนอมหนี้ของนายใบไม้ ต่อมาเจ้าหนี้ทุกราย ยกเว้นนายกิ่งได้มายื่นคําขอรับชําระหนี้ภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด

ดังนี้ การประนอมหนี้ของนายใบไม้ผูกมัดนายกิ่ง นายส้ม นายกล้วย และกรมสรรพากร หรือไม่ เพียงใด เพราะเหตุใด และหากต่อมานายกิ่งเจ้าหนี้ดังกล่าวจะมาฟ้องนายใบไม้ให้รับผิดตาม สัญญากู้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 56 “การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยแล้ว ผูกมัด เจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชําระได้ แต่ไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคําสั่งปลดจากล้มละลายได้ เว้นแต่เจ้าหนี้คนนั้นได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้”

มาตรา 77 “คําสั่งปลดจากล้มละลายทําให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันจึงขอรับ
ชําระได้ เว้นแต่

(1) หนี้เกี่ยวกับภาษีอากร หรือจังกอบของรัฐบาลหรือเทศบาล

(2) หนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยความทุจริตฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย หรือหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องเนื่องจากความทุจริตฉ้อโกงซึ่งบุคคลล้มละลายมีส่วนเกี่ยวข้องสมรู้”

วินิจฉัย

ตามกฎหมายล้มละลาย การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยแล้ว ย่อมผูกมัดเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชําระหนี้ได้ทุกคน ไม่ว่าเจ้าหนี้เสียงข้างน้อยที่ไม่ได้ยอมรับการขอประนอมหนี้ แม้กระทั่งเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชําระหนี้ที่ไม่ได้ยื่นขอรับชําระหนี้ไว้ก็ตาม และเมื่อลูกหนี้ได้ชําระหนี้ตามข้อตกลง ในการประนอมหนี้ครบถ้วนแล้ว ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นจากหนี้สินที่เหลือ เว้นแต่หนี้ตามมาตรา 77 (1) และ (2) คือ หนี้ภาษีอากร และหนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยความทุจริตฉ้อโกงของลูกหนี้ หนี้ทั้ง 2 ประเภทนี้ ลูกหนี้จะต้องชําระหนี้ต่อไป จนกว่าจะครบถ้วน 100 เปอร์เซ็นต์ (มาตรา 56)

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายใบไม้ลูกหนี้ได้ยื่นคําขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายร้อยละ 50 ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับคําขอประนอมหนี้และศาลมีคําสั่งเห็นชอบด้วยแล้วนั้น การประนอมหนี้ดังกล่าว ย่อมผูกมัดเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชําระหนี้ได้ทุกคนตามมาตรา 56 ดังนั้น การประนอมหนี้ของนายใบไม้จึงผูกมัด นายกิ่ง นายส้ม และนายกล้วย กล่าวคือ หากนายใบไม้ได้ชําระหนี้ตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ครบถ้วนแล้ว นายใบไม้ย่อมหลุดพ้นจากหนี้สินที่เหลือ ส่วนนายกิ่งเป็นเจ้าหนี้ในหนี้ซึ่งอาจขอรับชําระหนี้ได้แต่ไม่ยื่นคําขอรับ ชําระหนี้ ดังนั้น นายกิ่งจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชําระหนี้จากลูกหนี้ และนายกิ่งจะนําหนี้ดังกล่าวมาฟ้องนายใบไม้ ให้รับผิดตามสัญญากู้อีกไม่ได้

แต่อย่างไรก็ตาม การประนอมหนี้ดังกล่าวของนายใบไม้นั้น จะไม่ผูกมัดกรมสรรพากรตาม มาตรา 56 ประกอบมาตรา 77 (1) เนื่องจากกรมสรรพกรซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของนายใบไม้ไม่ได้ยินยอมด้วยกับ การประนอมหนี้ดังกล่าว

สรุป การประนอมหนี้ของนายใบไม้ผูกมัดนายกิ่ง นายส้ม และนายกล้วย แต่ไม่ผูกมัดกรม สรรพากร และนายกิ่งจะมาฟ้องนายใบไม้ให้รับผิดตามสัญญากู้อีกไม่ได้

 

ข้อ 3. ในวันที่ 15 กันยายน 2562 นายเมฆได้ทําสัญญากู้เงินจากนายหมอกจํานวน 1,000,000 บาท กําหนดชําระคืน 3 ปีนับจากวันทําสัญญา โดยนายเมฆได้มอบโฉนดที่ดินเลขที่ 2459 ของตนเองให้นายหมอกยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้เงินกู้รายดังกล่าวพร้อมทําบันทึกแนบท้าย สัญญากู้ตกลงยอมให้นายหมอกสามารถบังคับชําระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของตนเกินกว่าตัวทรัพย์ที่ เป็นหลักประกัน ข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวมีราคาประเมินประมาณ 1,500,000 บาท ต่อมานายเมฆกลายเป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัว และถูกเจ้าหนี้อื่นฟ้องล้มละลาย ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาดตามกฎหมายเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2555 ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในขณะที่มีการโฆษณา คําสั่ง นายหมอกเดินทางไปติดต่อธุรกิจที่ประเทศญี่ปุ่น

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า นายหมอกจะมีสิทธิได้รับชําระหนี้ของตนหรือไม่ อย่างไร ภายในกําหนดระยะเวลาเท่าใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 6 “ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เจ้าหนี้มีประกัน” หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจํานอง จํานํา หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทํานองเดียวกับผู้รับจํานํา

มาตรา 91 วรรคหนึ่ง “เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นคําขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ถ้าเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกําหนดเวลาให้อีกได้ไม่เกินสองเดือน”

มาตรา 94 “เจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจขอรับชําระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกําหนดชําระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่

(1) หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้

(2) หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทําขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแต่ไม่รวมถึงหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทําขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดําเนินต่อไปได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเมฆได้ทําสัญญากู้เงินจากนายหมอกจํานวน 1,000,000 บาท ในวันที่ 15 กันยายน 2562 กําหนดชําระคืน 3 ปีนับจากวันทําสัญญา โดยนายเมฆได้มอบโฉนดที่ดินเลขที่ 2459 ของตนเองให้นายหมอกยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้เงินกู้รายดังกล่าวนั้น แม้จะมีการทําบันทึกแนบท้าย
สัญญากู้ตกลงยอมให้นายหมอกสามารถบังคับชําระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของตนเกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกันก็ตาม ก็ไม่ได้ทําให้นายหมอกมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามนัยมาตรา 6 แต่อย่างใด เพราะการจํานองจะเกิดขึ้นและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายนั้นจะต้องมีการทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ดังนั้น นายหมอกจึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกัน

เมื่อศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนายเมฆลูกหนี้ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ได้โฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามกฎหมายในวันที่ 13 พฤษภาคม 2565 และประกาศให้ เจ้าหนี้ทั้งหลายมายื่นขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลาย ดังนั้น เมื่อมูลหนี้เงินกู้ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนศาลมีคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ และแม้จะยังไม่ถึงกําหนดชําระหนี้ นายหมอกย่อมมีสิทธิขอรับชําระหนี้ได้ตามมาตรา 94

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในขณะที่มีการประกาศคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น นายหมอกได้เดินทางไปติดต่อธุรกิจที่ประเทศญี่ปุ่น จึงถือว่านายหมอกเป็นเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร ดังนั้น นายหมอกจึงมีสิทธิได้รับการขยายระยะเวลาในการยื่นขอรับชําระหนี้ออกไปอีกไม่เกิน 2 เดือน ทําให้นายหมอก มีสิทธิยื่นขอรับชําระหนี้ได้ภายในกําหนดระยะเวลา 4 เดือนนับจากวันโฆษณาคําสั่งพิทักษ์เด็ดขาดตามมาตรา 91

สรุป นายหมอกมีสิทธิได้รับชําระหนี้โดยการยื่นขอรับชําระหนี้ตามมาตรา 94 ภายในกําหนดระยะเวลา 4 เดือนนับจากวันโฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91

LAW3110 (LAW3010) กฎหมายล้มละลาย 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3110 (LAW 3010) กฎหมายล้มละลายและฟื้นฟูกิจการ
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

1. ในคดีล้มละลายเรื่องหนึ่ง ศาลล้มละลายกลางมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด ลูกหนี้ยื่นคําขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายว่าจะชําระหนี้ให้เจ้าหนี้ทุกคนเป็นจํานวนร้อยละ 60 ของมูลหนี้ และ หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชําระหนี้จะยอมให้เจ้าหนี้บังคับเอากับที่ดินของลูกหนี้ได้ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติ พิเศษยอมรับและศาลมีคําสั่งเห็นชอบด้วยแล้ว ต่อมาลูกหนี้ผิดนัดไม่ชําระหนี้ เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ จึงฟ้องลูกหนี้เพื่อบังคับตามคําขอประนอมหนี้ที่ลูกหนี้ได้ยื่นไว้ ลูกหนี้ยื่นคําให้การยอมรับตามคําฟ้องของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์

ดังนี้ ถ้าท่านเป็นศาล ท่านจะมีคําสั่งเกี่ยวกับคําให้การของจําเลยว่าอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 22 “เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอํานาจดังต่อไปนี้

(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้”

มาตรา 25 “ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาล ในขณะที่มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําขอโดยทําเป็นคําร้อง ศาลมีอํานาจงดการพิจารณาคดีแพ่งนั้นไว้หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้”

วินิจฉัย

เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (3) บัญญัติให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่มีอํานาจประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของ ลูกหนี้ และมาตรา 25 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชําระหนี้ตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ ทําให้เจ้าหนี้ เป็นโจทก์ฟ้องลูกหนี้เพื่อบังคับตามคําขอประนอมหนี้ที่ลูกหนี้ได้ยื่นไว้ว่า หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชําระหนี้ จะยอมให้ เจ้าหนี้บังคับเอากับที่ดินของลูกหนี้ได้นั้น ตามมาตรา 22 (3) ได้กําหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น ที่มีอํานาจในการต่อสู้คดี ดังนั้น การที่ลูกหนี้ยื่นคําให้การยอมรับตามคําฟ้องของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ย่อมถือว่า ลูกหนี้ได้กระทําไปโดยไม่มีอํานาจ หากข้าพเจ้าเป็นศาล ข้าพเจ้าจะมีคําสั่งไม่รับคําให้การของจําเลย

สรุป ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล จะมีคําสั่งไม่รับคําให้การของจําเลย

 

ข้อ 2. นายแตงโมเป็นกรรมการบริษัท ผลไม้ไทยแปรรูป จํากัด ต่อมาภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาด ของ Covid-19 บริษัทฯ ประสบภาวะขาดทุนและมีหนี้สินล้นพ้นตัว ในวันที่ 10 มกราคม 2565 บริษัทฯ จึงถูกนายมั่นคงเจ้าหนี้รายหนึ่งฟ้องคดีล้มละลาย นายแตงโมต้องการจะพยุงฐานะของ บริษัทฯ ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 นายแตงโมจึงได้ทําสัญญาให้บริษัทฯ กู้เงินส่วนตัวจํานวน 2,000,000 บาท กําหนดชําระคืนภายใน 1 ปีนับจากวันทําสัญญา เพื่อนําไปเป็นค่าใช้จ่ายในการ ดําเนินกิจการและชําระค่าจ้างพนักงาน ต่อมาในวันที่ 14 มีนาคม 2565 ศาลล้มละลายกลางมีคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดําเนินการโฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามกฎหมายในวันที่ 25 มีนาคม 2565 และประกาศให้เจ้าหนี้ทั้งหลายมายื่นขอรับชําระหนี้ใน คดีล้มละลาย ข้อเท็จจริงปรากฏว่าในขณะที่มีการโฆษณาคําสั่งฯ นายแตงโมเดินทางไปเจรจาธุรกิจ ที่ประเทศญี่ปุ่น

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า นายแตงโมจะมีสิทธิได้รับชําระหนี้เงินกู้คืนหรือไม่ ภายในกําหนดระยะเวลาเท่าใด
จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 91 วรรคหนึ่ง “เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นคําขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ถ้าเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกําหนดเวลาให้อีกได้ ไม่เกินสองเดือน”

มาตรา 94 “เจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจขอรับชําระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกําหนดชําระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่

(1) หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้

(2) หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทําขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ไม่รวมถึงหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทําขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดําเนินต่อไปได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแตงโมเป็นกรรมการบริษัท ผลไม้ไทยแปรรูป จํากัด นายแตงโมย่อมรู้ ถึงสถานะทางการเงินและความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทฯ จนถูกนายมั่นคงเจ้าหนี้รายหนึ่งฟ้องเป็นคดีล้มละลาย ดังนั้น การที่นายแตงโมได้ทําสัญญาให้บริษัทฯ กู้ยืมเงินส่วนตัวจํานวน 2,000,000 บาท กําหนดชําระคืนภายใน 1 ปีนับจากวันทําสัญญา จึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทําขึ้นทั้ง ๆ ที่รู้ถึงความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ แม้เกิดขึ้นก่อนศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ โดยหลักแล้วจะนํามายื่นขอรับชําระหนี้ไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดีเมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่านายแตงโมได้ให้บริษัทฯ กู้เงินส่วนตัวเพื่อนําไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินกิจการและชําระค่าจ้างพนักงาน จึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทําขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดําเนินต่อไปได้ จึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 94 (2) ตอนท้าย ที่นายแตงโมสามารถยื่นขอรับชําระหนี้เงินกู้รายดังกล่าวได้

และเมื่อปรากฏว่าในขณะที่มีการโฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น นายแตงโมได้เดินทางไป เจรจาธุรกิจที่ประเทศญี่ปุ่น นายแตงโมจึงเป็นเจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักร เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงสามารถ ขยายกําหนดเวลาในการยื่นขอรับชําระหนี้ออกไปอีก 2 เดือน (จากกําหนดเวลาปกติ 2 เดือนนับแต่วันโฆษณา คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด) ดังนั้น นายแตงโมจึงมีสิทธิยื่นขอรับชําระหนี้ได้ภายในวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 ตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง

สรุป นายแตงโมมีสิทธิได้รับชําระหนี้เงินกู้คืน โดยต้องยื่นขอรับชําระหนี้ภายในวันที่ 25 กรกฎาคม
2565

 

ข้อ 3. ศาลล้มละลายกลางมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัท อ้อยหวาน จํากัด ซึ่งประกอบกิจการโรงงาน น้ําตาล และตั้งผู้ทําแผน ต่อมาผู้ทําแผนได้ซื้ออ้อยจากนายเค็มมาผลิตน้ําตาลเป็นเงิน 200,000 บาท ตกลงชําระราคาภายใน 60 วัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลล้มละลายกลาง ครั้นถึงกําหนด ผู้ทําแผน ไม่ชําระหนี้ นายเค็มทวงถามให้ผู้ทําแผนชําระหนี้ ผู้ทําแผนโต้แย้งว่าสัญญาซื้อขายอ้อยตกเป็นโมฆะ ให้วินิจฉัยว่า ข้อโต้แย้งของผู้ทําแผนฟังขึ้นหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 90/12 วรรคหนึ่ง “ภายใต้บังคับของมาตรา 90/13 และมาตรา 90/14 นับแต่วันที่ศาล มีคําสั่งรับคําร้องขอไว้เพื่อพิจารณาจนถึงวันครบกําหนดระยะเวลาดําเนินการตามแผน หรือวันที่ดําเนินการเป็น
ผลสําเร็จตามแผน หรือวันที่ศาลมีคําสั่งยกคําร้องขอหรือจําหน่ายคดีหรือยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามความในหมวดนี้

(9) ห้ามมิให้ลูกหนี้จําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า ชําระหนี้ ก่อหนี้ หรือกระทําการใด ๆ ที่ก่อให้เกิด ภาระในทรัพย์สิน นอกจากเป็นการกระทําที่จําเป็นเพื่อให้การดําเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดําเนิน ต่อไปได้ เว้นแต่ศาลที่รับคําร้องขอจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น”

มาตรา 90/25 “ภายใต้บังคับมาตรา 90/42 และมาตรา 90/64 เมื่อศาลมีคําสั่งตั้งผู้ทําแผนแล้ว ให้อํานาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และบรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ยกเว้นสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลตกแก่ผู้ทําแผน และให้นําบทบัญญัติมาตรา 90/12 (9) มาใช้บังคับแก่ผู้ทําแผนโดยอนุโลม”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลล้มละลายกลางมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัท อ้อยหวาน จํากัด ซึ่งประกอบกิจการโรงงานน้ําตาล และตั้งผู้ทําแผน ต่อมาผู้ทําแผนได้ซื้ออ้อยจากนายเค็มมาผลิตน้ําตาลเป็นเงิน 200,000 บาท ตกลงชําระราคาภายใน 60 วัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลล้มละลายกลางนั้น ผู้ทําแผนย่อม สามารถทํานิติกรรมซื้อขายดังกล่าวได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลล้มละลายกลางแต่อย่างใด เนื่องจากเป็น การกระทําที่จําเป็นเพื่อให้การดําเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดําเนินต่อไปได้ ตามมาตรา 90/25 ประกอบมาตรา 90/12 (9) และมีผลทําให้นิติกรรมซื้อขายดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ ดังนั้น เมื่อหนี้ถึงกําหนดชําระ แต่ผู้ทําแผนไม่ชําระหนี้ และเมื่อนายเค็มเจ้าหนี้ทวงถามให้ผู้ทําแผนชําระหนี้ ผู้ทําแผนกลับโต้แย้งว่าสัญญา ซื้อขายอ้อยตกเป็นโมฆะนั้น ข้อโต้แย้งของผู้ทําแผนจึงฟังไม่ขึ้น

สรุป ข้อโต้แย้งของผู้ท่าแผนฟังไม่ขึ้น

WordPress Ads
error: Content is protected !!