POL3301 นโยบายสาธารณะ s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3301 นโยบายสาธารณะ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.แรนดาล ริปเลย์ และเกรซ แฟรงกลิน กล่าวถึงลักษณะของการนํานโยบายไปปฏิบัติ ข้อใดถูกต้อง
(1) หน่วยงานมีหลายระดับทั้งรัฐและเอกชน
(2) มีผู้เกี่ยวข้องสําคัญ ๆ มากมาย
(3) ผู้เกี่ยวข้องล้วนมีวัตถุประสงค์เหมือนกัน
(4) กระทรวง ทบวง กรม เป็นหน่วยงานหลัก
(5) นโยบายและโครงการมักเป็นของรัฐและเอกชนร่วมกัน
ตอบ 2 หน้า 144 แรนดาล ริปเลย์ และเกรซ แฟรงกลิน (Randell Ripley and Grace Franklin) ได้พิจารณาลักษณะของการนํานโยบายไปปฏิบัติว่ามีลักษณะสําคัญ 5 ประการ คือ
1. มีผู้เกี่ยวข้องสําคัญ ๆ มากมาย
2. ผู้เกี่ยวข้องล้วนมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลายและมักแตกต่างกัน
3. นโยบายและโครงการของรัฐบาลมักขยายใหญ่โตขึ้นทุกวัน
4. หน่วยงานในหลายระดับ จากหลายกระทรวง ทบวง กรม มีส่วนร่วมในการดําเนินกิจการ
5. มีปัจจัยหลายประการที่สําคัญมากและอยู่นอกเหนือการควบคุม

2. มีความมุ่งหมายที่จะทําให้การตีความต่าง ๆ ถูกต้อง เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากโครงการ มีบ่อยครั้งที่คําอธิบายในผลลัพธ์ที่ถูกต้องจะแสดงให้เห็นถึงการไม่มีการเปลี่ยนแปลงนอกเหนือไปจากการแสดงให้เห็นความล้มเหลวของโครงการ
(1) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง
(2) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง
(3) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง
(4) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลองและกึ่งทดลอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 235 – 236 การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธี กึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) มีลักษณะสําคัญดังนี้
1. ในกรณีที่เงื่อนไขไม่เอื้ออํานวยที่จะใช้การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง วิธีการนี้จะทําให้ได้เปรียบในการนําไปปฏิบัติ โดยผู้ใช้จะต้องยอมรับเบื้องต้นก่อนว่าวิธีการที่จะนําไปใช้มีความสนใจที่ปัจจัยใดบ้างและปล่อยให้ปัจจัยใดบ้างปราศจากการควบคุม
2. มีวิธีการที่สําคัญวิธีหนึ่งคือ การจับคู่ (Matching) ได้แก่ การแสวงหาคู่ในระดับบุคคล พื้นที่ หรือหน่วยการทดลองที่เกี่ยวข้องที่มีความคล้ายคลึงกันตั้งแต่หนึ่งคุณลักษณะที่ศึกษา
3.วิธีการนี้มีความมุ่งหมายที่จะทําให้การตีความต่างๆถูกต้อง เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากโครงการ ซึ่งมีบ่อยครั้งที่คําอธิบายในผลลัพธ์ ที่ถูกต้องจะแสดงให้เห็นถึงการไม่มีการเปลี่ยนแปลง นอกเหนือไปจากการแสดงให้เห็นความล้มเหลวของโครงการ ฯลฯ

3. เป็นเทคนิคที่เหมาะสําหรับการประเมินผลตามแนวการทดลองทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดลอง
ที่มีการกําหนดกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มควบคุมเอาไว้เรียบร้อยแล้ว
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 5 หน้า 265 การวิเคราะห์เชิงถดถอยแบบไม่ต่อเนื่อง (Regression-Discontinuity
Analysis) เป็นเทคนิคที่ช่วยในการประเมินผลแบบเทียม โดยช่วยให้ผู้ประเมินผลสามารถคํานวณและเปรียบเทียบผลโดยประมาณของนโยบายที่เกิดขึ้นในกลุ่มเป้าหมายที่กําหนดไว้และกลุ่มเปรียบเทียบที่นํามาพิจารณา เทคนิคนี้เหมาะสําหรับการประเมินผลตามแนวการทดลองทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดลองที่มีการกําหนดกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มควบคุมเอาไว้ เรียบร้อยแล้ว

4.เป็นเทคนิคที่ประกอบไปด้วย การประเมินความสามารถที่จะประเมินได้ และการวิเคราะห์อรรถประโยชน์
แบบพหุลักษณ์
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 2 หน้า 254 – 255 การประเมินผลแบบพิจารณาความเหมาะสม (Decision Theoretical Evaluation) เป็นเทคนิคการประเมินผลที่มุ่งสร้างข่าวสารที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เกี่ยวกับผลของนโยบายโดยใช้คุณค่าหรือผลประโยชน์ที่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้รับเป็นเกณฑ์ประเมิน ซึ่งรูปแบบของการประเมินผลแบบนี้มี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ การประเมินความสามารถที่จะ ประเมินได้ และการวิเคราะห์อรรถประโยชน์แบบพหุลักษณ์

5.รัฐพึงจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่ช่วยให้เกษตรกรประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตที่มี ปริมาณและคุณภาพสูง มีความปลอดภัย โดยใช้ต้นทุนต่ําและสามารถแข่งขันในตลาดได้ ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 64
(2) มาตรา 73
(3) มาตรา 74
(4) มาตรา 76
(5) มาตรา 77
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 73 บัญญัติให้ รัฐจึงจัดให้มีมาตรการหรือ กลไกที่ช่วยให้เกษตรกรประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพสูง มีความปลอดภัย โดยใช้ต้นทุนต่ําและสามารถแข่งขันในตลาดได้ และพึงช่วยเหลือ เกษตรกรผู้ยากไร้ให้มีที่ทํากินโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่นใด

6.Pressman & Wildavsky ให้ความหมายของการนํานโยบายไปปฏิบัติอย่างไร
(1) การจัดหาวิธีในการดําเนินการ หรือทําให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
(2) ฝ่ายบริหารเป็นผู้ดําเนินงานต่าง ๆ
(3) การนําไปปฏิบัติ ทําให้สําเร็จ เติมเต็ม ผลลัพธ์ ทําให้สมบูรณ์
(4) ถือเป็นภารกิจหลักของภาครัฐในการดําเนินงานต่าง ๆ
(5) กระบวนการทํางานทางปฏิสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์
ตอบ 3 หน้า 142 – 143 เพรสแมนและวิลด์ฟสกี (Pressman & Wildavsky) กล่าวว่า การนํานโยบาย ไปปฏิบัติ คือ การนําไปปฏิบัติ ทําให้สําเร็จ เติมเต็ม ผลลัพธ์ ทําให้สมบูรณ์ และการนํานโยบาย ไปปฏิบัติให้เกิดผลสําเร็จนั้นต้องกําหนดรูปแบบของนโยบายไปพร้อมกับวิธีการนํานโยบายไปปฏิบัติ

7. การมีผลประโยชน์ในการเลือกกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือการมีลักษณะความเคร่งครัดในการเลือกกลุ่ม
ในทางปฏิบัติจะมีน้อย
(1) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง
(2) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง
(3) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง
(4) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลองและกึ่งทดลอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 234 – 235 การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design) มีข้อจํากัดดังนี้
1. วิธีการที่ใช้ในการแบ่งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมักมีปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น การมีผลประโยชน์ในการเลือกกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือการมีลักษณะความเคร่งครัด ในการเลือกกลุ่มในทางปฏิบัติจะมีน้อย
2. วิธีการทดลองไม่สามารถจะไปประเมินกระบวนการทั้งหมดของนโยบายได้ จะนําไปใช้ได้ เฉพาะในเรื่องของ Input และ Product เท่านั้น
3. วิธีการทดลองไม่สามารถควบคุมความเที่ยงตรงภายนอกได้ จึงทําให้ผลที่ได้มาจาก การทดลองอาจจะไม่เหมือนกับผลที่ได้มาจากการดําเนินการจริง ฯลฯ

8. โครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Regulative Policy
(2) Distributive Policy
(3) Re-Distributive Policy
(4) Capitalization Policy
(5) Ethical Policy
ตอบ 3หน้า 6, (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรร ทรัพยากรเสียใหม่ (Re-Distributive Policy) เป็นนโยบายที่กําหนดขึ้นเพื่อประชาชนบางอาชีพ ผู้ประกอบการบางสาขาการผลิต พื้นที่บางพื้นที่ตามความจําเป็น เช่น การออกบัตรประกันสังคม การออกบัตรสุขภาพ นโยบายการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ นโยบายการจํานําข้าว นโยบาย เพิ่มค่าแรง 300 บาทต่อวัน โครงการช่วยเหลือชาวสลัม โครงการสงเคราะห์คนชรา โครงการ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โครงการอาหารกลางวันแก่เด็กยากจน กองทุนพัฒนาสตรี เป็นต้น หรือ เป็นนโยบายที่ดึงเอาทรัพยากรจากประชาชนกลุ่มหนึ่งมาจัดสรรใหม่ให้เกิดประโยชน์แก่ ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ด้อยโอกาส เช่น นโยบายภาษี (เช่น นโยบายเก็บภาษีทรัพย์สิน อัตราก้าวหน้า) นโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เป็นต้น

9.เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ผู้ประเมินผลนโยบายสามารถพิจารณาผลของนโยบายได้อย่างเป็นระบบ โดยสามารถ แยกแยะผลของนโยบายที่เกิดขึ้นจริงได้จากผลที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุอื่น
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 4 หน้า 264 – 265 การวิเคราะห์อนุกรมเวลาแบบขาดตอน (Interrupted Time Series Analysis) เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังการนํานโยบายไปปฏิบัติ ในรูปของตารางและ/หรือค่าทางสถิติ และกราฟแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นเทคนิคที่เหมาะสําหรับ การประเมินผลนโยบายที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักเพียงกลุ่มเดียวหรือมีขอบเขตการดําเนินงาน ที่แน่นอนเพียงแห่งเดียว จุดเด่นของเทคนิคนี้ คือ ช่วยให้ผู้ประเมินผลนโยบายสามารถพิจารณา ผลของนโยบายได้อย่างเป็นระบบ โดยสามารถแยกแยะผลของนโยบายที่เกิดขึ้นจริงได้จาก ผลที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุอื่น

10. รัฐจึงส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศโดยถือหลักความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อกัน และไม่แทรกแซง กิจการภายในของกันและกัน ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 64
(2) มาตรา 66
(3) มาตรา 75
(4) มาตรา 76
(5) มาตรา 77
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 66 บัญญัติให้ รัฐจึงส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับ นานาประเทศโดยถือหลักความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อกัน และไม่แทรกแซงกิจการภายใน ของกันและกัน ให้ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ และคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติและของคนไทยในต่างประเทศ

11. เป็นเทคนิคที่นําเอาข้อคิดและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงในเนื้อหาและเรื่องราว ของนโยบายที่กําลังประเมินมาประมวลและเปรียบเทียบกันเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับผลของนโยบาย
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 3 หน้า 259 วิธีเดลฟีเชิงนโยบาย (Policy Delphi) เป็นเทคนิคที่นําเอาข้อคิดและความเห็น ของผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงในเนื้อหาและเรื่องราวของนโยบายที่กําลังประเมิน มาประมวลและเปรียบเทียบกันเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับผลของนโยบาย

12.เดวิด อีสตัน เสนอแนวคิดเชิงระบบ ประกอบด้วยข้อใดบ้าง
(1) ทรัพยากร กระบวนการ นโยบาย การปฏิบัติ ข้อมูลย้อนกลับ การสื่อสาร
(2) สภาพแวดล้อม อุปสงค์ กระบวนการ นโยบาย การปฏิบัติ ข้อมูลย้อนกลับ
(3) สภาพแวดล้อมภายใน สภาพแวดล้อมภายนอก นโยบาย การปฏิบัติ ผลกระทบ
(4) ทรัพยากร อุปสงค์ กระบวนการ นโยบาย การปฏิบัติ สภาพแวดล้อมภายนอก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 172, (คําบรรยาย) เดวิด อีสตัน (David Easton) ได้เสนอแนวคิดเชิงระบบ โดยมี ตัวแปรสําคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้อง 6 ตัวแปร คือ 1. สภาพแวดล้อม 2. อุปสงค์และทรัพยากร 3. กระบวนการทางการเมือง 4. นโยบาย 5. การปฏิบัติ 6. ข้อมูลย้อนกลับ

13.มอลคอม กอกจิน ศึกษาเพิ่มเติมตัวแปรหลักที่ส่งผลต่อศักยภาพของการนํานโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่
(1) นโยบาย เวลา และผู้ปฏิบัติงาน
(2) นโยบาย ขั้นตอน และการประเมิน
(3) นโยบาย องค์การ และผู้ปฏิบัติงาน
(4) องค์การ กระบวนการ และการประเมิน
(5) นโยบาย ผู้ปฏิบัติ และการประเมิน
ตอบ 3 หน้า 156 มอลคอม กอกจิน (Malcom Goggin) ได้เสนอผลจากการศึกษาเพิ่มเติม โดยพบว่า ตัวแปรหลักที่ส่งผลต่อศักยภาพของการนํานโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ นโยบาย องค์การ และ ผู้ปฏิบัติงาน โดยมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น สภาพแวดล้อม มาเกี่ยวข้องด้วย

14. กล่าวโดยสรุป การนํานโยบายไปปฏิบัติ หมายถึง
(1) กระบวนการในทางปฏิบัติที่จะทําให้นโยบายใด ๆ บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กําหนดไว้
(2) การดําเนินงานของฝ่ายรัฐบาลเพื่อประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศ
(3) การตัดสินใจของรัฐในการดําเนินนโยบายทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
(4) แนวการทํางานของรัฐที่จะบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน
(5) รัฐจะกระทําสิ่งต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้
ตอบ 1 หน้า 143 กล่าวโดยสรุป การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) หมายถึง
กระบวนการในทางปฏิบัติที่จะทําให้นโยบายใด ๆ บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กําหนดไว้

15.วรเดช จันทรศร กล่าวถึงสาระสําคัญของตัวแบบทั่วไปว่าประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ
(1) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านขั้นตอนการดําเนินงาน และปัจจัยต่อผู้ปฏิบัติงาน
(2) ปัจจัยการสื่อสาร ปัจจัยด้านการลงทุน และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
(3) ปัจจัยด้านการลงทุน ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และปัจจัยด้านตัวผู้ปฏิบัติงาน
(4) ปัจจัยการสื่อสาร ปัจจัยด้านปัญหาทางสมรรถนะ และปัจจัยด้านตัวผู้ปฏิบัติ
(5) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านขั้นตอนการดําเนินงาน และปัจจัยต่อองค์การ
ตอบ 4 หน้า 183 – 184 วรเดช จันทรศร ได้กล่าวถึงสาระสําคัญของตัวแบบทั่วไปว่าประกอบด้วยปัจจัยหลัก 3 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยด้านการสื่อสาร
2. ปัจจัยด้านปัญหาทางสมรรถนะ
3. ปัจจัยด้านตัวผู้ปฏิบัติ

16. ใครกล่าวว่า การประเมินผลเกี่ยวข้องกับกระบวนการวัดคุณค่าของผลการดําเนินการตามนโยบาย
เพื่อที่จะนํามาเปรียบเทียบกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้
(1) Emil J. Posavac & Raymond G. Carey
(2) James E. Anderson
(3) Charles O. Jones
(4) William N. Dunn
(5) ศุภชัย ยาวะประภาษ
ตอบ 5 หน้า 230 ศุภชัย ยาวะประภาษ กล่าวว่า การประเมินผลเกี่ยวข้องกับกระบวนการวัดคุณค่า ของผลการดําเนินการตามนโยบายเพื่อที่จะนํามาเปรียบเทียบกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ ที่กําหนดไว้ ซึ่งการประเมินผลนี้ไม่ได้แยกเป็นเอกเทศจากขั้นตอนนโยบายอื่น แต่เกี่ยวข้องกันตลอดเวลา

17. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) Harold Lasswell กล่าวว่า นโยบายเกี่ยวข้องกับแผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น
(2) Thomas R. Dye นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจว่าจะทําหรือไม่ทํา
(3) Theodore Lovi เป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์
(4) David Easton เกี่ยวข้องกับการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 3, 58 – 59 ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่เน้นการสร้างภาพรวมและได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ได้ให้ความหมาย นโยบายสาธารณะร่วมกันอับราแฮม แคปแพลน (Abraham Kaplan) ว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการ ปฏิบัติงานต่าง ๆ”

18.Reform in Action ที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูปการวิจัยและการพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษา
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(2) Thailand 4.0
(3) คําแถลงนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(4) ทิศทางกระแสต่างประเทศ
(5) ไม่ตรงกับข้อใดเลย
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Thailand 4.0 มีสาระสําคัญดังนี้
1. เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”
2. เป็น “Reform in Action” ที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูปการวิจัย และการพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษาไปพร้อม ๆ กัน
3. เป็นแนวคิดที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภายใต้ทุนวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ ทุนมนุษย์
4. เป็นการพัฒนา “เครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่” (New Engines of Growth) ซึ่งประเทศไทยมีอยู่ 2 ด้าน ได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายเชิงวัฒนธรรมให้เป็นความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน โดยการเติมเต็มด้วยวิทยาการ ทั้ง 5 ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและ พัฒนา ฯลฯ

19. รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 68
(2) มาตรา 71
(3) มาตรา 73
(4) มาตรา 75
(5) มาตรา 77
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 68 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร
2. รัฐจึงมีมาตรการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยเคร่งครัด ปราศจากการแทรกแซงหรือครอบงําใด ๆ
3. รัฐจึงให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่จําเป็นและเหมาะสมแก่ผู้ยากไร้หรือผู้ด้อยโอกาส ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมตลอดถึงการจัดหาทนายความให้

20. วิลเลียมส์ เรียก นําไปปฏิบัติ ข้อใดถูกต้อง
(1) กระบวนการขององค์การที่ต่อเนื่องเป็นพลวัต
(2) การดําเนินงานให้สําเร็จลุล่วงตามเป้าหมายของกลุ่มผู้ปฏิบัติ
(3) กระบวนการในทางปฏิบัติที่จะทําให้นโยบายใด ๆ บรรลุวัตถุประสงค์
(4) การจัดหาหรือตระเตรียมวิธีการ และการดําเนินการให้สําเร็จลุล่วง
(5) มีการวางแผนและเตรียมงานให้พร้อม
ตอบ 4 หน้า 143 วิลเลียมส์ ชี้ว่า กิริยาที่เรียกว่า นําไปปฏิบัติ (Implement) มีความหมายหลักอยู่ 2 ประการ คือ
1. การจัดหาหรือตระเตรียมวิธีการทั้งหลายทั้งปวงที่จะทําให้ดําเนินการสําเร็จลุล่วงให้พรักพร้อม
2. การดําเนินการให้สําเร็จลุล่วง

21. ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะ คือ สิ่งที่รัฐเลือกที่จะทําหรือไม่ทํา
(1) Thomas R. Dye
(2) Ira Sharkansky
(3) David Easton
(4) James Anderson
(5) Theodore Lowi
ตอบ 1 หน้า 3 โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึงสิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา”

22. ตัวแปรอิสระตามตัวแบบของกอกจีนและคณะ ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) การชี้นําและข้อจํากัดของรัฐบาลกลาง
(2) การชี้นําและข้อจํากัดของรัฐบาลส่วนท้องถิ่น
(3) ความสามารถและการตัดสินใจของรัฐ
(4) ความสามารถและการตัดสินใจของผู้ปฏิบัติงาน
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 173 – 174 กอกจินและคณะ ได้เสนอตัวแบบการนํานโยบายไปปฏิบัติซึ่งได้รับอิทธิพล
จากแนวความคิดการวิเคราะห์ระบบการเมืองของเดวิด อีสตัน โดยตัวแบบของกอกจินและคณะ
มีตัวแปรอิสระซึ่งประกอบด้วย
1. การชี้นําและข้อจํากัดของรัฐบาลกลาง
2. การชี้น่าและข้อจํากัดของรัฐบาลส่วนท้องถิ่น
3. ความสามารถของรัฐ
4. การตัดสินใจของรัฐ

23. ข้อใดไม่ใช่นักวิชาการในกลุ่มของตัวแบบในการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(1) ตัวแบบของแวน มิเตอร์และแวน ฮอร์น
(2) ตัวแบบของกอกจินและคณะ
(3) ตัวแบบของพอล เบอร์แมน
(4) ตัวแบบของมองจอยและโอทูเล
(5) ตัวแบบของวรเดช จันทรศร
ตอบ 4 หน้า 161, 171 – 188 นักวิชาการในกลุ่มของตัวแบบในการนํานโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่
1. แวน มิเตอร์และแวน ฮอร์น
2. กอกจินและคณะ
3. พอล เบอร์แมน
4. ยอร์ค
5. โรเบิร์ต นาคามูระและแฟรงค์ สมอลวูด
6. วรเดช จันทรศร

24. สิ่งที่ทําให้ผลงานวิจัยของเพรสแมนและวิลดัฟสกีไม่ประสบความสําเร็จเกิดจาก
(1) ขั้นตอนการตัดสินใจมากและการดําเนินการไม่มีความต่อเนื่อง
(2) บุคลากรไม่มีความรู้ ความเข้าใจนโยบาย
(3) ขาดการทํางานเป็นทีม
(4) ผู้นําหน่วยงานไม่สามารถบริหารงานให้ประสบความสําเร็จได้
(5) ขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ตอบ 1 หน้า 145 งานวิจัยของเพรสแมนและวิลด์ฟสกี (Pressman & Wildavsky) พบว่า การนํา นโยบายการจ้างงานชนกลุ่มน้อยไปปฏิบัติไม่ประสบความสําเร็จ เพราะสาเหตุจากผู้ริเริ่ม และรับผิดชอบไม่ได้ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง มีประเด็นการตัดสินใจมากจนเกินไป มีจํานวน หน่วยงานเข้าไปมีส่วนร่วมมากและต่างก็มีวัตถุประสงค์และวิธีปฏิบัติที่ต่างกัน ตัวโครงการ ไม่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย การควบคุมกับการอนุมัติงบประมาณขัดแย้งกัน ลักษณะ การดําเนินงานกระทําด้วยความเร่งรีบมีความสลับซับซ้อนสูง และขาดการประสานงานที่ดี

25. การศึกษาของเจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ ได้ค้นพบปัจจัยตัวที่ 7 คือข้อใด
(1) แรงจูงใจของผู้ปฏิบัตินโยบาย
(2) การแสวงหาผลประโยชน์
(3) ความชัดเจนของนโยบาย
(4) การจัดสรรทรัพยากร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 147 – 148 การศึกษาของเจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ ในเรื่องการปฏิบัตินโยบายของจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้จังหวัดนราธิวาสเป็นกรณีศึกษานั้น ได้ค้นพบปัจจัยตัวที่ 7 คือ การแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งมีส่วนสําคัญในการกําหนดความล้มเหลวหรือความสําเร็จของ การปฏิบัตินโยบาย

26. เป็นเทคนิคที่ช่วยในการประเมินผลแบบเทียม โดยช่วยให้ผู้ประเมินผลสามารถคํานวณและเปรียบเทียบผลโดยประมาณของนโยบายที่เกิดขึ้นในกลุ่มเป้าหมายที่กําหนดไว้และกลุ่มเปรียบเทียบที่นํามาพิจารณา
(1) Format Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

27. นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องกันในประเด็นที่สําคัญ 2 ประการ คือ
(1) ผู้ปฏิบัติและความสัมพันธ์ในองค์การ
(2) นโยบายมี 2 ระดับ คือ ระดับมหภาค และระดับจุลภาค
(3) การกําหนดว่าใครได้อะไรและเมื่อไร
(4) ภาครัฐจะกําหนดนโยบายเป็นภารกิจหลักและภารกิจรอง
(5) การนํานโยบายไปปฏิบัติเป็นกระบวนการและดําเนินการให้สําเร็จ
ตอบ 5 หน้า 144 นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องกันในประเด็นที่สําคัญ 2 ประการ คือ
1. การนํานโยบายไปปฏิบัติเป็นกระบวนการ
2. การนํานโยบายไปปฏิบัติเป็นการดําเนินการให้สําเร็จลุล่วงตามเป้าหมายของนโยบาย

28. โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) เสนอตัวแบบของกระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศโลกที่สาม โดยเรียกตัวแบบนี้ว่า
(1) The Policy Implementation
(2) Implementation Organization
(3) A Model of the Policy Implementation Process
(5) Policy Implementation
(4) Distributive Policy
ตอบ 3 หน้า 171 โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) ได้เขียนบทความเรื่อง “The Policy Implementation Process” เมื่อปี ค.ศ. 1973 เพื่อเสนอตัวแบบของกระบวนการนํานโยบาย ไปปฏิบัติในประเทศโลกที่สาม และได้ประยุกต์แนวความคิดเชิงระบบสําหรับใช้ในการศึกษา การนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศโลกที่สาม โดยเรียกตัวแบบนี้ว่า “A Model of the Policy Implementation Process”

29. ความสามารถในการดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายภายใต้เงื่อนไขของ
ทรัพยากรที่มีอยู่ ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
(1) ประสิทธิผล
(2) ประสิทธิภาพ
(3) ความเหมาะสม
(4) ความพอเพียง
(5) ความสามารถในการตอบสนอง
ตอบ 4 หน้า 100 ความพอเพียง (Adequacy) หมายถึง ความสามารถในการดําเนินการให้บรรลุ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่ โดยทั่วไปเงื่อนไขของทรัพยากรมักจะวัดในรูปของงบประมาณที่มีอยู่

30. นโยบายการมีถนนแยกเล่นไปสู่ทุกจังหวัด เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Regulative Policy
(2) Distributive Policy
(3) Re-Distributive Policy
(4) Capitalization Policy
(5) Ethical Policy
ตอบ 2 หน้า 5, (คําบรรยาย) นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy) เป็น นโยบายที่รัฐบาลต้องจัดบริการพื้นฐานให้ประชาชนทุกคนได้ใช้หรือเพื่อให้ประชาชนทั่วไป โดยส่วนรวมมีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่เป็นของรัฐบาลอย่างทั่วถึงและพอเพียง เช่น นโยบายการมีถนนแยกเล่นไปสู่ทุกจังหวัด นโยบายการลดราคาน้ํามันเบนซิน โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน การขยายช่องทางจราจรหรือการสร้างถนน นโยบายให้มีสถานพยาบาล ให้ครบทุกอําเภอ การจัดให้มีบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค การจัดให้มีไฟฟ้าและน้ําประปา ใช้ทุกหมู่บ้าน เป็นต้น

31. เป็นเทคนิคที่เหมาะสําหรับการประเมินผลนโยบายที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักเพียงกลุ่มเดียวหรือมีขอบเขต
การดําเนินงานที่แน่นอนเพียงแห่งเดียว
(1) Format Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

32. แบบศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากที่ได้นําโครงการเข้ามาใช้โดยมีกลุ่มควบคุมที่ได้มาโดยมิได้มีการ สุ่มตัวอย่าง ข้อดี ทําให้ผู้ประเมินได้รับรายละเอียดและมโนภาพมากมาย ทําให้เกิดการตื่นตัวและรับรู้ เรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้น
(1) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง
(2) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง
(3) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง
(4) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลองและกึ่งทดลอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 236 – 237 การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธี เตรียมทดลอง (Pre-Experimental Design) แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ แบบศึกษาก่อนและ หลังจากที่ได้นําโครงการหนึ่ง ๆ เข้ามาใช้ แบบศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากที่ได้นําโครงการ เข้ามาใช้แล้วเพียงอย่างเดียว และแบบศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากที่ได้นําโครงการเข้ามาใช้ โดยมีกลุ่มควบคุมที่ได้มาโดยมิได้มีการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งข้อดีของการประเมินผลด้วยวิธีการนี้ คือ
1. ทําให้ผู้ประเมินได้รับรายละเอียดและมโนภาพมากมาย
2. ทําให้เกิดการตื่นตัวและรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้น
3. ทําให้ผู้ประเมินได้รับข้อมูลข่าวสารด้วยความระมัดระวังและเป็นระบบ

33. รัฐจึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 66
(2) มาตรา 67
(3) มาตรา 68
(4) มาตรา 77
(5) มาตรา 78
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 67 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐจึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น
2. รัฐจึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท
เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา
3. รัฐต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่ารูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย

34. การตั้งหมู่บ้านอาสาพัฒนาป้องกันตน เกี่ยวข้องกับนโยบายใด
(1) Economic Policy
(2) Education Policy
(3) Social Policy
(4) Administrative Policy
(5) Politic & Defence Policy
ตอบ 5 หน้า 7, (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านการเมืองและการป้องกันประเทศ (Politic & Defence Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สิทธิและหน้าที่ของพลเมืองของแต่ละประเทศ
รวมทั้งวิธีการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพและระบบป้องกันประเทศ ในด้านการทูตหรือการทหาร เช่น การเพิ่มอาวุธให้กับทหาร การจัดเรือบรรทุกเครื่องบินรบ การควบคุมแรงงานต่างด้าวให้อยู่เฉพาะพื้นที่ การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ด้วยการตั้งหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง เป็นต้น

35. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มีนโยบายของกรุงเทพมหานครที่นโยบาย
(1) 210 นโยบาย
(2) 211 นโยบาย
(3) 212 นโยบาย
(4) 214 นโยบาย
(5) 215 นโยบาย
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เสนอนโยบายสําหรับ กรุงเทพมหานครไว้ 214 นโยบาย ภายใต้หมวดหมู่นโยบาย 9 ดี คือ ปลอดภัยดี สร้างสรรค์ดี สิ่งแวดล้อมดี เศรษฐกิจดี เดินทางดี สุขภาพดี โครงสร้างดี เรียนดี และบริหารจัดการดี

36. ใครให้ความหมายของการวิเคราะห์นโยบายไว้ว่า เป็นการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในชุดของ
เป้าหมายที่กําหนดไว้
(1) Harold Lasswell
(2) Thomas R. Dye
(3) Stuart S. Nagel
(4) William Dunn
(5) James Anderson
ตอบ 3 หน้า 72 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) กล่าวว่า “การวิเคราะห์นโยบาย เป็นการกําหนดและตัดสินทางเลือกของนโยบาย โดยการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่คิดว่าดีที่สุด ในชุดของเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยเปรียบเทียบทางเลือกเหล่านั้นกับการบรรลุเป้าหมาย”

37. เออร์วิน ฮาร์โกรฟ เขียนบทความเรื่องอะไรที่เสนอข้อสมมติเพื่อการทดสอบการนํานโยบายจากรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกาไปปฏิบัติในระดับหน่วยงานปฏิบัติ
(1) The Search for Implementation Theory (1983)
(2) Implementation (1973)
(3) The Policy Implementation Process (1973)
(4) The Policy Implementation Process : A Conceptual Framework (1975)
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 168 เออร์วิน ฮาร์โกรฟ (Erwin Hargrove) ได้เสนอข้อสมมติเพื่อการทดสอบการนํา นโยบายที่กําหนดโดยรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาไปปฏิบัติในระดับหน่วยงานปฏิบัติไว้ใน บทความเรื่อง “The Search for Implementation Theory” ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1983 โดยเขาได้ให้ความหมายของการนํานโยบายไปปฏิบัติว่าประกอบด้วย 2 นัย คือ
1. การดําเนินการตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
2. การดําเนินการซึ่งหมายรวมถึงการยินยอมปฏิบัติตามกฎหมายและการปฏิบัติงานประจําขององค์การอย่างคงเส้นคงวา

38. มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่ Value-Based Economy
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(2) Thailand 4.0
(3) คําแถลงนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(4) ทิศทางกระแสต่างประเทศ
(5) ไม่ตรงกับข้อใดเลย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

39. การสร้างโรงเรียนในท้องถิ่นทุรกันดาร เกี่ยวข้องกับนโยบายใด
(1) Economic Policy
(2) Education Policy
(3) Social Policy
(4) Administrative Policy
(5) Politic & Defence Policy
ตอบ 2 หน้า 7, (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านการศึกษา (Education Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การวางแนวทางและการจัดการศึกษาให้กับประชาชน ทั้งการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียน เช่น การสร้างโรงเรียน โครงการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา นโยบายกําหนดให้ทุกคนต้องเรียนหนังสือ การแจกอุปกรณ์การเรียนแก่นักเรียน การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน เป็นต้น

40.Van Meter & Van Horn กําหนดถึงผลต่อพฤติกรรมในการนํานโยบายไปปฏิบัติ เชื่อมโยงระหว่างนโยบาย และผลปฏิบัติการ ได้แก่อะไรบ้าง
(1) ปัจจัยนําเข้า ตัวเชื่อม และนโยบาย
(2) สมรรถนะ ตัวเชื่อม และผลสําเร็จ
(3) นโยบาย ตัวเชื่อม และสมรรถนะ
(4) กําหนด ปฏิบัติ และการประเมินผลนโยบาย
(5) การตัดสินใจเลือกนโยบาย ตัวเชื่อม และการประเมินผล
ตอบ 3 หน้า 152 แวน มิเตอร์ และแวน ฮอร์น (Van Meter & Van Horn) ได้กําหนดถึงผลต่อ พฤติกรรมในการนํานโยบายไปปฏิบัติว่าต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติ ซึ่งจะเชื่อมโยงระหว่าง นโยบายและผลปฏิบัติการ ได้แก่
1. นโยบาย (Policy)
2. ตัวเชื่อม (Linkage)
3. สมรรถนะในการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Performance)

41. แนวคิดของเบอร์แมน เสนอกรอบการวิเคราะห์การนํานโยบายไปปฏิบัติ 2 ระดับ คือ
(1) ระดับบน และระดับล่าง
(2) ระดับมหภาค และระดับจุลภาค
(3) ระดับผู้บังคับบัญชา และระดับผู้ปฏิบัติงาน
(4) ระดับกลาง และระดับภูมิภาค
(5) ระดับหน่วยงาน และระดับผู้ปฏิบัติงาน
ตอบ 2 หน้า 175 พอล เบอร์แมน (Paul Berman) ได้เสนอกรอบการวิเคราะห์การนํานโยบายไปปฏิบัติ 2 ระดับ คือ
1. การนํานโยบายไปปฏิบัติในระดับมหภาค (Macro-Implementation)
2. การนํานโยบายไปปฏิบัติในระดับจุลภาค (Micro-Implementation)

42.Stuart S. Nagel สนใจการศึกษานโยบายเรื่องใด
(1) Policy Analysis
(2) Policy Process
(3) Policy Impacts
(4) Policy Implementation
(5) Policy Evaluation
ตอบ 1 หน้า 61 – 68, 72, 164 – 171 นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis)
ได้แก่ 1. เควด (E.S. Quade) 2. วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn) 3. สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) 4. โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) ฯลฯ
ส่วนนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ได้แก่
1. กรอส (Gross)
2. ไจแอคควินทา (Giacquinta)
3. เบิร์นสไตล์ (Bernstein)
4. กรีนวูด (Greenwood)
5. แมน (Mann)
6. แมคลัฟลิน (McLaughlin)
7. เบอร์แมน (Berman)
8. เดล อี. ริชาร์ด (Dale E. Richards)
9. เพรสแมน (Pressman)
10. วิลดัฟสกี (Wildavsky)
11. มองจอย (Montjoy)
12. โอทูเล (O’Toole)
13. โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith)
14. พอล เอ. ซาบาเตียร์ (Paul A. Sabatier)
15. ดาเนียล เอ. แมชมาเนียน (Daniel A. Mazmanian)
16. อีมิลี ไซมี โลวี ไบรเซนไดน์(Emily Chi-Mei Lowe Brizendine) ฯลฯ

43. ใครเสนอว่า อุปสรรคจะเป็นแรงผลักดันให้มีการเสนอนโยบายเพื่อไปใช้ประโยชน์
(1) Theodore Lowi
(2) Ira Sharkansky
(3) Carl J. Friedrich
(4) William Greenwood
(5) David Easton
ตอบ 3 หน้า 3 คาร์ล เจ. ฟรีดริช (Carl J. Friedrich) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง ข้อเสนอ สําหรับแนวทางการดําเนินงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือรัฐบาล ภายในสภาพแวดล้อมแบบหนึ่ง ซึ่งอาจมีทั้งอุปสรรคและโอกาสบางประการ โดยอุปสรรคและโอกาสนี้จะเป็นแรงผลักดันให้มี การเสนอนโยบายขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ และเอาชนะสภาพการณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อนําไปสู่ เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง”

44. การศึกษา 2 ปัจจัยที่ได้นํามาสร้างเป็นกรอบทฤษฎี คือ 1. ความเฉพาะเจาะจง และความไม่ชัดเจนของ คําสั่งหรือนโยบาย 2. ความต้องการทรัพยากรใหม่ และไม่ต้องการสําหรับการปฏิบัติตามคําสั่งหรือนโยบาย
(1) เออร์วิน ฮาร์โกรฟ
(2) ดาเนียล เอ. แมชมาเนียน
(3) มองจอยและโอทูเล
(4) โทมัส บี. สมิท
(5) มิลบรีย์ แมคลัฟลิน
ตอบ 3 หน้า 165 – 166 มองจอยและโอทูเล (Montjoy and O’Toole) ได้เสนอปัจจัยที่นํามาสร้าง เป็นกรอบทฤษฎี ซึ่งประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1. ความเฉพาะเจาะจง และความไม่ชัดเจนของคําสั่งหรือนโยบาย
2. ความต้องการทรัพยากรใหม่ และไม่ต้องการสําหรับการปฏิบัติตามคําสั่งหรือนโยบาย

45.วรเดช จันทรศร ได้เสนอบทความ “การนํานโยบายไปปฏิบัติ : ตัวแบบและคุณค่า” โดยได้เสนอตัวแบบ ในการนํานโยบายไปปฏิบัติ 6 ตัวแบบ ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) ตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผล
(2) ตัวแบบด้านบุคลิกภาพ
(3) ตัวแบบทางด้านการพัฒนาองค์การ
(4) ตัวแบบด้านการจัดการ
(5) ตัวแบบระบบราชการ
ตอบ 2 หน้า 182 – 183 วรเดช จันทรศร ได้เสนอบทความเรื่อง “การนํานโยบายไปปฏิบัติ : ตัวแบบและคุณค่า” เมื่อปี ค.ศ. 1984 ซึ่งในบทความนี้ได้นําเสนอตัวแบบการศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติ 6 ตัวแบบ คือ
1. ตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผล
2. ตัวแบบทางด้านการจัดการ
3. ตัวแบบทางด้านการพัฒนาองค์การ
4. ตัวแบบกระบวนการของระบบราชการ
5. ตัวแบบกระบวนการทางการเมือง
6. ตัวแบบทั่วไป

46. ข้อใดถูกต้องที่ Webster’s Dictionary ให้ความหมายการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(1) นโยบายเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ
(2) เป็นภารกิจหลักของภาครัฐในการดําเนินงานต่าง ๆ
(3) กระบวนการทํางานทางปฏิสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์
(4) กระบวนการเชิงนโยบายที่เกิดขึ้นจากฝ่ายบริหาร
(5) การจัดหาวิธีในการดําเนินการ หรือทําให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
ตอบ 5 หน้า 142 Webster’s Dictionary ให้ความหมาย “การนําไปปฏิบัติ” (to implement) ว่าหมายถึง การจัดหาวิธีในการดําเนินการ หรือทําให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

47. นโยบายกองทุนหมู่บ้าน เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Economic Policy
(2) Education Policy
(3) Sociat Policy
(4) Administrative Policy
(5) Politic & Defence Policy
ตอบ 1 หน้า 6, (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างรายได้และการกินดีอยู่ดีของประชาชน โดยให้ประชาชนได้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน อะไรที่ได้มาซึ่งรายได้หรือรายจ่าย และเมื่อจ่ายไปแล้วก็จะมีการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ทําให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายกองทุนหมู่บ้าน นโยบายจ่ายเงินให้ชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท การส่งเสริมอาชีพให้ประชาชน โครงการธงฟ้าราคาประหยัด โครงการ ธนาคารประชาชน โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การพักชําระหนี้ให้เกษตรกร การดูแล ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่
ผู้บริโภคและผู้ผลิต เป็นต้น

48. รัฐจึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สําคัญของสังคม ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 64
(2) มาตรา 65
(3) มาตรา 68
(4) มาตรา 70
(5) มาตรา 71
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 71 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐจึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สําคัญของสังคม
2. รัฐจึงส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพและความสามารถสูงขึ้น
3. รัฐจึงให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส ให้สามารถดํารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ
4. ในการจัดสรรงบประมาณ รัฐจึงคํานึงถึงความจําเป็นและความต้องการที่แตกต่างกันของ เพศ วัย และสภาพของบุคคล

49. ใครกล่าวว่า การวิเคราะห์นโยบายเป็นการใช้วิธีการที่หลากหลายในการนําเสนอข้อเท็จจริงและเหตุผล
มาแปรรูปในการกําหนดนโยบายเพื่อแก้ปัญหาทางการเมืองที่มีสภาวการณ์ที่แตกต่างกัน
(1) Harold Lasswell
(2) Thomas R. Dye
(3) Stuart S. Nagel
(4) William Dunn
(5) Date E. Richards
ตอบ 4 หน้า 72 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn) กล่าวว่า “การวิเคราะห์นโยบาย เป็นสาขาหนึ่งของสังคมศาสตร์ประยุกต์ที่ใช้วิธีการหลากหลายในการนําเสนอข้อเท็จจริง และเหตุผลมาแปรรูปในการกําหนดนโยบายเพื่อแก้ปัญหาในทางการเมืองที่มีสภาวการณ์แตกต่างกัน”

50. เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังการนํานโยบายไปปฏิบัติในรูปของ ตารางและ/หรือค่าทางสถิติ และกราฟแบบต่าง ๆ
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

51. ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมาย
(1) Thomas R. Dye
(2) Ira Sharkansky
(3) David Easton
(4) James Anderson
(5) Theodore Lowi
ตอบ 3 หน้า 3 เดวิด อีสตัน (David Easton) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรร
และแจกแจงคุณค่า (Values) ต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์
ของสังคมส่วนรวม”

52. บทความเรื่อง “Policy Implementation” เป็นการศึกษาความเป็นมาของการนํานโยบายไปปฏิบัติของ
นักวิชาการท่านใด
(1) พอล เอ. ซาบาเดียร์
(2) ดาเนียล เอ. แมซมาเนียน
(3) ยูยืน บาร์แดช
(4) โทมัส บี. สมิท
(5) แมคลัฟลิน
ตอบ 1.2 หน้า 61 พอล เอ. ซาบาเตียร์ และดาเนียล เอ. แมซมาเนียน (Paul A. Sabatier and Daniel A. Mazmanian) ได้เขียนบทความเรื่อง “Policy Implementation” เมื่อปี 1982 ซึ่งเป็นการศึกษาถึงความเป็นมาของการนํานโยบายไปปฏิบัติ โดยแสดงทัศนะว่าการศึกษา สาขาการนํานโยบายไปปฏิบัติปรากฏเป็นรูปร่างที่ชัดเจนในต้นศตวรรษ 1970 โดยเฉพาะ นับจากผลงานเรื่อง “Implementation (1973)” ของเพรสแมนและวิลดัฟสกีเป็นต้นมา

53. นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Regulative Policy
(2) Distributive Policy
(3) Re-Distributive Policy
(4) Capitalization Policy
(5) Ethical Policy
ตอบ 4 หน้า 6) (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการลงทุน (Capitalization Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาล กําหนดขึ้นเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเพื่อแสวงหาทรัพยากรใหม่ ๆ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา แล้วก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมและประเทศชาติ หรือการสร้างสิ่งก่อสร้างบางอย่างเพื่อเป็น พื้นฐานในการพัฒนาประเทศต่อไป เช่น นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้ การสร้างสนามบิน การสร้างนิคมอุตสาหกรรม การสร้างท่าเรือน้ําลึก การวางท่อก๊าซ เป็นต้น

54. เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ข้อมูล เหตุผล และข้อสรุปที่ละเอียดครอบคลุมความเห็นของทุกกลุ่มทุกฝ่าย ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย เป็นประโยชน์ต่อผู้กําหนดนโยบายในการตัดสินใจว่าอะไรแน่ที่เป็นผล
ของนโยบายนั้น ๆ
(1) Format Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 3 หน้า 264 ประโยชน์ของวิธีเดลฟีเชิงนโยบาย (Policy Delphi) คือ สามารถให้ข้อมูล เหตุผล และข้อสรุปที่ละเอียดครอบคลุมความเห็นของทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ในนโยบาย การประเมินจึงครอบคลุมกว้างขวางรวมทุกประเด็นไว้หมด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ อย่างมากต่อผู้กําหนดนโยบายในการตัดสินใจว่าอะไรแน่ที่เป็นผลของนโยบายนั้น ๆ

55. มุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภายใต้ทุนวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และทุนมนุษย์
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(2) Thailand 4.0
(3) คําแถลงนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(4) ทิศทางกระแสต่างประเทศ
(5) ไม่ตรงกับข้อใดเลย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

56. ความสามารถในการผลิตผลผลิตหรือให้บริการโดยมีต้นทุนต่อหน่วยต่ําสุด ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
(1) ประสิทธิผล
(2) ประสิทธิภาพ
(3) ความเหมาะสม
(4) ความพอเพียง
(5) ความสามารถในการตอบสนอง
ตอบ 2 หน้า 99. (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง ความสามารถในการบรรลุ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายโดยใช้ต้นทุนต่ําสุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความสามารถในการผลิตผลผลิตหรือให้บริการโดยมีต้นทุนต่อหน่วยต่ําสุด

57. มุ่งเน้นวิทยาการทั้ง 5 เพื่อความได้เปรียบ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และการวิจัยและพัฒนา
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(2) Thailand 4.0
(3) คําแถลงนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(4) ทิศทางกระแสต่างประเทศ
(5) ไม่ตรงกับข้อใดเลย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

58. ข้อใดไม่ใช่ 4 ตัวแปรที่ สมิท เสนอขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(1) นโยบายที่เป็นอุดมคติ
(2) องค์การที่นํานโยบายไปปฏิบัติ
(3) กลุ่มตัวอย่าง
(4) ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม
(5) กลุ่มเป้าหมาย
ตอบ 3 หน้า 171 โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) เสนอขั้นตอนของการนํานโยบายไปปฏิบัติ
ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรที่สําคัญ 4 ตัวแปร คือ
1. นโยบายที่เป็นอุดมคติ
2. องค์การที่นํานโยบายไปปฏิบัติ
3. กลุ่มเป้าหมาย
4. ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม

59. พอล เอ. ซาบาเดียร์ และดาเนียล เอ. แมซมาเนียน ให้ความหมายของการนํานโยบายไปปฏิบัติอย่างไร
(1) แนวการทํางานของรัฐที่เน้นการบริการสาธารณะ
(2) การตัดสินพิพากษาอรรถคดีคําสั่งของฝ่ายตุลาการ
(3) กระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายที่เกิดขึ้นจากกฎหมาย
(4) กฤษฎีกาที่ออกมาจากพรรคการเมืองเสนอ
(5) รัฐจะกระทําสิ่งต่าง ๆ เพื่อประชาชน
ตอบ 3 หน้า 142 พอล เอ. ซาบาเดียร์ และดาเนียล เอ. แมชมาเนียน (Paul A. Sabatier and Daniel A. Mazmanian) กล่าวว่า การนํานโยบายไปปฏิบัติ หมายถึง กระบวนการตัดสินใจ เชิงนโยบายที่เกิดขึ้นจากกฎหมาย การตัดสินพิพากษาอรรถคดีคําสั่งของฝ่ายบริหาร หรือ กฤษฎีกาที่ออกมาจากสถาบันต่าง ๆ

60. รัฐจึงพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีทัศนคติเป็นผู้ให้บริการประชาชนให้เกิด ความสะดวก รวดเร็ว ไม่เลือกปฏิบัติ และปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 72
(2) มาตรา 74
(3) มาตรา 75
(4) มาตรา 76
(5) มาตรา 78
ตอบ 4 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 76 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐพึงพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดินทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และงานของรัฐอย่างอื่นให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2. รัฐจึงพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีทัศนคติเป็นผู้ให้บริการประชาชน ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ไม่เลือกปฏิบัติ และปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
3. รัฐจึงดําเนินการให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไป
ตามระบบคุณธรรม
4. รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกําหนด ประมวลจริยธรรมสําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ

61. นโยบายหน้าบ้านน่ามอง เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Regulative Policy
(2) Distributive Policy
(3) Re-Distributive Policy
(4) Capitalization Policy
(5) Ethical Policy
ตอบ 5 หน้า 6, (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อจริยธรรม (Ethical Policy) เป็นนโยบายของรัฐบาล ที่ไม่มีการบังคับให้ผู้ใดปฏิบัติตาม แต่ต้องการจูงใจและสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ประชาชน มีความรู้สึกสํานึกที่ดี และมีจิตสํานึกในทางที่ถูกที่ควรที่จะปฏิบัติตาม เช่น โครงการพลังแผ่นดิน โครงการเมืองน่าอยู่ โครงการถนนสีขาว นโยบายหน้าบ้านน่ามอง นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว ในประเทศ นโยบายส่งเสริมให้มีน้ําใจกับนักท่องเที่ยว และการรณรงค์ต่าง ๆ เป็นต้น

62. นโยบายข้อใดถูกต้อง
(1) กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสุขภาพดีวิถีใหม่
(2) กระทรวงแรงงานมีนโยบายบริหารแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ
(3) ครม. อัดฉีด-ลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าสูงสุดคันละ 150,000 บาท
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตัวอย่างของนโยบายในปัจจุบัน ได้แก่
1. กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายสุขภาพดีวิถีใหม่ ประชาชนคนไทยมีหมอประจําตัว 3 คน พัฒนาพืชสมุนไพร กัญชา กัญชง กระท่อม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. กระทรวงแรงงาน มีนโยบายบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ เร่งรัด ปรับปรุง แก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคมให้สอดคล้องกับบริบทสถานการณ์ปัจจุบันและรองรับ
การเปลี่ยนแปลงในอนาคต ยกระดับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน เพื่อปลดล็อค Tier 2 Watch List
3. ครม. อัดฉีด-ลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าสูงสุดคันละ 150,000 บาท ฯลฯ

63. ใครเสนอว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่าของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมาย
(1) Theodore Lowi
(2) Ira Sharkansky
(3) Carl J. Friedrich
(4) David Easton
(5) William Greenwood
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

64. การช่วยชาวเขาให้มีอาชีพ เกี่ยวข้องกับนโยบายใด
(1) Economic Policy
(2) Education Policy
(3) Social Policy
(4) Administrative Policy
(5) Politic & Defence Policy
ตอบ 3 หน้า 7, (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านสังคม (Social Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างความมั่นคงให้แก่สังคม เช่น โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การประชาสงเคราะห์ (เช่น การช่วยเหลือชาวเขา คนชรา หรือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก) การประกันสังคม การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ โดยกําหนดให้มีโรงพยาบาล สถานีอนามัย และสุขศาลาในทุกอําเภอ การพัฒนาขีดความสามารถ ของอาสาสมัครสาธารณสุขให้เป็นนักจัดการสุขภาพชุมชน เป็นต้น

65. รัฐจึงดําเนินการให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 74
(2) มาตรา 75
(3) มาตรา 76
(4) มาตรา 77
(5) มาตรา 78
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

66. ใครให้เหตุผลในการกําหนดนโยบายไว้ 3 ประการ คือ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพ
และเหตุผลทางการเมือง
(1) Harold Lasswell
(2) Thomas R. Dye
(3) Stuart S. Nagel
(4) William Dunn
(5) Dale E. Richards
ตอบ 2 หน้า 57, (คําบรรยาย) โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) ได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผล (ความสําคัญ)
ของการศึกษาและการกําหนดนโยบายสาธารณะไว้ 3 ประการ คือ
1. เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Reasons) คือ การทําความเข้าใจเหตุและผลของ การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อให้ได้นโยบายที่มีเหตุผลมากที่สุด
2. เหตุผลทางวิชาชีพ (Professional Reasons) คือ การนําความรู้เชิงนโยบายไปใช้แก้ปัญหา ทางด้านการปฏิบัติ โดยวิชาชีพที่แตกต่างกันจะทําให้การกําหนดนโยบายและการนํานโยบาย
ไปปฏิบัติของแต่ละวิชาชีพมีความแตกต่างกัน
3. เหตุผลทางการเมือง (Political Reasons) คือ การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสม ทางการเมืองมาใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง โดยการใช้เหตุผลทางการเมือง มักจะทําให้การกําหนดนโยบายเป็นไปอย่างไม่มีเหตุผลแต่เป็นที่ยอมรับของประชาชน เช่น นโยบายประชานิยมต่าง ๆ เป็นต้น

67. การจัดทําร่างนโยบายอยู่ในขั้นตอนใด
(1) การก่อตัวของนโยบาย
(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย
ตอบ 3 หน้า 25 – 26, (คําบรรยาย) ขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย (Policy Formulation) เป็นขั้นตอนที่ต้องมีการศึกษาค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายเรื่องนั้น ๆ เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจของผู้กําหนดนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย
1. การกําหนดวัตถุประสงค์
2. การกําหนดทางเลือก
3. การจัดทําร่างนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ แนวทางและ มาตรการ การจัดลําดับทางเลือก และการหาข้อมูลประกอบการพิจารณา

68. ใครเกี่ยวข้องกับการจําแนกประเภทของนโยบายสาธารณะ
(1) Thomas R. Dye
(2) Ira Sharkansky
(3) David Easton
(4) James Anderson
(5) Theodore Lowi
ตอบ 5 หน้า 5 – 6 (คําบรรยาย) ธีโอดอร์ โลวาย (Theodore towi) ได้เสนอให้จําแนกประเภท ของนโยบายตามเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ ออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy)
2. นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy)
3. นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ (Re-Distributive Policy)

69. ใครเสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหาสาระของนโยบาย
(1) Theodore Lowi
(2) Ira Sharkansky
(3) Carl J. Friedrich
(4) William Greenwood
(5) David Easton
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ

70. ยูยีน บาร์แดช (Eugene Bardach) ให้ความหมายของกระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติไว้อย่างไร
(1) ขั้นตอนในการดําเนินการให้บรรลุเป้าหมายของนโยบาย
(2) ความสัมพันธ์เกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กร
(3) การจัดหาตระเตรียมวิธีการทั้งหลายที่จะให้ดําเนินงานสําเร็จลุล่วง
(4) กระบวนการดําเนินงานของภาครัฐ
(5) กระบวนการทํางานทางปฏิสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์
ตอบ 5 หน้า 142 ยูยีน บาร์แดช (Eugene Bardach) กล่าวว่า กระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติ หมายถึง กระบวนการทํางานทางปฏิสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของ กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของนโยบายก็ได้

71. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการใช้วิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านเพื่อที่จะตกลงใจว่านโยบาย ที่กําหนดไว้นั้นจําเป็นหรือไม่ ควรจะใช้หรือไม่ ดําเนินการไปตามที่วางไว้หรือไม่ ช่วยแก้ไขปัญหาตามที่ มุ่งหวังไว้หรือไม่
(1) Emil J. Posavac & Raymond G. Carey
(2) James E. Anderson
(3) Charles O. Jones
(4) William N. Dunn
(5) ศุภชัย ยาวะประภาษ
ตอบ 1 หน้า 228 อีมิล เจ. โพซาวัค และเรย์มอนด์ จี. แครี (Emil J. Posavac & Raymond G. Carey) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการใช้วิธีการหลายวิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านเพื่อที่จะ ตกลงใจว่านโยบายที่กําหนดไว้นั้นจําเป็นหรือไม่ ควรจะใช้หรือไม่ ดําเนินการไปตามที่วางไว้ หรือไม่ ช่วยแก้ไขปัญหาตามที่มุ่งหวังไว้หรือไม่

72. ความสามารถของทางเลือกที่สอดคล้องกับค่านิยมพื้นฐานของกลุ่มต่าง ๆ ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
(1) ประสิทธิผล
(2) ประสิทธิภาพ
(3) ความเหมาะสม
(4) ความพอเพียง
(5) ความสามารถในการตอบสนอง
ตอบ 5 หน้า 101 ความสามารถในการตอบสนอง (Responsiveness) หมายถึง ความสามารถ ของทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการ ความชอบ และค่านิยมพื้นฐานของกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งทางเลือกที่มีความสามารถในการตอบสนองสูงก็คือ ทางเลือกที่สามารถทําให้กลุ่มที่มี ความจําเป็นสูงได้รับผลจากทางเลือกนั้นด้วย

73. ข้อใดไม่ใช่กระบวนการที่ Stuart S. Nagel เสนอ
(1) การกําหนดเป้าหมายเพื่อบรรลุผล
(2) การกําหนดแผนงาน
(3) การกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์
(4) การวิเคราะห์ผลตอบแทนสูงสุด
(5) การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย
ตอบ 2 หน้า 239 – 240 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) ได้เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ ข้อมูลแบบง่ายสําหรับการวิเคราะห์หรือการประเมินนโยบาย ซึ่งมีหลักการหรือกระบวนการ ที่สําคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. กําหนดเป้าหมายเพื่อการบรรลุผล หรือการให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด
2. กําหนดเป้าหมายสัมพันธ์
3. กําหนดคน สถานที่ หรือวัสดุอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น ๆ
4. กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย
5. ปรับความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

74. ใครสนใจในการวิเคราะห์นโยบาย
(1) E.S. Quade
(2) Stuart S. Nagel
(3) William Dunn
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

75. รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกําหนดประมวลจริยธรรม สําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 74
(2) มาตรา 75
(3) มาตรา 76
(4) มาตรา 77
(5) มาตรา 78
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

76. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการ การเปรียบเทียบผลของ
การนํานโยบายไปปฏิบัติกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่กระทําอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
ในทุกขั้นตอนนโยบาย
(1) Emil J. Posavac & Raymond G. Carey
(2) James E. Anderson
(3) Charles O. Jones
(4) William N. Dunn
(5) ศุภชัย ยาวะประภาษ
ตอบ 2 หน้า 229 เจมส์ อี. แอนเดอร์สัน (James E. Anderson) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบาย เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการ การเปรียบเทียบผลของการนํานโยบายไปปฏิบัติ กับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่กระทําอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาในทุกขั้นตอน
ของนโยบาย

77. ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม
(1) Thomas R. Dye
(2) Ira Sharkansky
(3) David Easton
(4) James Anderson
(5) Theodore Lowi
ตอบ 4 หน้า 3 เจมส์ แอนเดอร์สัน (James Anderson) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเจตนาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม
เช่น ความยากจน การผูกขาด เป็นต้น”

78. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) Dunn ศึกษาการวิเคราะห์นโยบาย
(2) Nagel ศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(3) Anderson ศึกษากระบวนการนโยบาย
(4) Dimock อธิบายความคิดสร้างสรรค์
(5) Quade เสนอจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์นโยบาย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

79. การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด
(1) การก่อตัวของนโยบาย
(2) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย
ตอบ 4 หน้า 50 – 51, (คําบรรยาย) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงการนําทรัพยากรต่าง ๆ ไปจัดสรรเพื่อก่อให้เกิดผลตามนโยบาย
ซึ่งประกอบด้วย
1. การส่งต่อนโยบาย (Policy Delivery)
2. การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ
3. การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย
4. การดําเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ(Street-Level Bureaucracy)
5. การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมายอํานาจหน้าที่ และการติดต่อสื่อสาร
6. การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

80. งานวิจัยใดของเพรสแมนและวิลดัฟสกีที่ทําให้เกิดวิชาการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(1) Implementation, 1937
(2) The Case of Stull Act, 1986
(3) The Case of Stull Act, 1987
(4) Implementation, 1978
(5) Implementation, 1973
ตอบ 5 หน้า 145 เพรสแมนและวิลด์ฟสกี (Pressman & Wildavsky) ได้เสนอผลงานการวิจัย การนํานโยบายไปปฏิบัติภายใต้ชื่อ “Implementation” เมื่อปี ค.ศ. 1973 ซึ่งผลงานฉบับนี้ ถือว่าเป็นก้าวหน้าสําคัญชิ้นหนึ่งที่ทําให้เกิดวิชาการนํานโยบายไปปฏิบัติขึ้นในการศึกษานโยบายสาธารณะ

81. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นขั้นตอนหนึ่งของการวิเคราะห์นโยบาย โดยเป็นขั้นตอน ที่มุ่งผลิตข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับผลของการดําเนินงานตามนโยบายว่าสามารถสนองความต้องการของสังคม สนองคุณค่าของสังคม และแก้ไขปัญหาที่เป็นเป้าหมายของนโยบายได้หรือไม่
(1) Emil J. Posavac & Raymond G. Carey
(2) James E. Anderson
(3) Charles O. Jones
(5) ศุภชัย ยาวะประภาษ
(4) William N. Dunn
ตอบ 4 หน้า 229 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบาย เป็นขั้นตอนหนึ่งของการวิเคราะห์นโยบาย โดยเป็นขั้นตอนที่มุ่งผลิตข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับผลของการดําเนินงานตามนโยบายว่าสามารถสนองความต้องการของสังคม สนองคุณค่า ของสังคม และแก้ไขปัญหาที่เป็นเป้าหมายของนโยบายได้หรือไม่

82. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการกระทําที่มีระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบถึงผลของนโยบาย โดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กําหนดไว้กับผลกระทบของการดําเนินการตามนโยบายที่มีต่อปัญหาของ
สังคมที่เป็นเป้าหมายที่นโยบายนั้นมุ่งแก้ไข
(1) Emit J. Posavac & Raymond G. Carey
(2) James E. Anderson
(3) Charles O. Jones
(4) William N. Dunn
(5) ศุภชัย ยาวะประภาษ
ตอบ 3 หน้า 229 ชาร์ลส์ โอ. โจนส์ (Charites O. Jones) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบาย เป็นการกระทําที่มีระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบถึงผลของนโยบายโดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กําหนดไว้กับผลกระทบของการดําเนินการตามนโยบายที่มีต่อปัญหาของสังคมที่เป็นเป้าหมายที่นโยบายนั้นมุ่งแก้ไข

83. เป็นเทคนิคที่เน้นประเมินผลนโยบายจากวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการ โดยเชื่อว่าวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการโดยผู้กําหนดนโยบายเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 1 หน้า 251 – 252 การประเมินผลแบบเป็นทางการ (Formal Evaluation) เป็นเทคนิคที่ใช้วิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ในการสร้างข่าวสารที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เกี่ยวกับผลของ นโยบาย โดยประเมินผลของนโยบายจากวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายที่กําหนดไว้ อย่างเป็นทางการ เพราะเชื่อว่าวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการโดยผู้กําหนดนโยบายเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว

84. ใครได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์
(1) Harold Lasswell
(2) Thomas R. Dye
(3) Stuart S. Nagel
(4) William Dunn
(5) Date E. Richards
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

85. ตัวแบบของยอร์ค เสนอบทความที่กําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จขององค์การ โดยกล่าวถึง
(1) การปฏิบัติ (Practice) กับความสําเร็จ (Achievement)
(2) ประสิทธิผล (Effectiveness) กับความสําเร็จ (Achievement)
(3) ความรับผิดชอบ (Responsibility) กับความสําเร็จ (Achievement)
(4) ประสิทธิผล (Effectiveness) กับความรับผิดชอบ (Responsibility)
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 177 ยอร์ค (Yorke) ได้เสนอบทความที่กําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จขององค์การภายใต้ go “Indicators of Institutional Achievement: Some Theoretical and Empirical Considerations” เมื่อปี ค.ศ. 1986 โดยเขากล่าวว่า ประสิทธิผลขององค์การเป็นกรอบ การวิเคราะห์ถึงความสําเร็จที่สําคัญของการอุดมศึกษา และเขาใช้คําว่า “ประสิทธิผล” (Effectiveness) กับ “ความสําเร็จ” (Achievement) ในความหมายเดียวกัน

86. เป็นเทคนิคที่มีหลักการ 5 ประการ คือ Selective Anonymity, Informed Multiple Advocacy, Polarized Statistical Response, Structured Conflict, Computer Conferencing
(1) Format Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 3 หน้า 260 – 261 วิธีเดลฟีเชิงนโยบาย (Policy Delphi) มีหลักการสําคัญ 5 ประการ คือ
1. ความเป็นนิรนามเฉพาะระยะแรก (Selective Anonymity)
2. ผู้เชี่ยวชาญต่างสํานัก (Informed Multiple Advocacy)
3. การวิเคราะห์ทางสถิติแบบแยกกลุ่ม (Polarized Statistical Response)
4. การจัดโครงสร้างความขัดแย้ง (Structured Conflict)
5. การประชุมโดยคอมพิวเตอร์ (Computer Conferencing)

87. มีวิธีการที่สําคัญวิธีหนึ่งคือ การจับคู่ (Matching) การแสวงหาคู่ในระดับบุคคล พื้นที่ หรือหน่วยการทดลอง ที่เกี่ยวข้องที่มีความคล้ายคลึงกันตั้งแต่หนึ่งคุณลักษณะที่ศึกษา
(1) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง
(2) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง
(3) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง
(4) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลองและกึ่งทดลอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

88. ข้อใดไม่ใช่ตัวแบบของวรเดช จันทรศร การนํานโยบายไปปฏิบัติทั้ง 6 ตัวแบบ
(1) ตัวแบบกระบวนการของระบบราชการ
(2) ตัวแบบด้านหลักการพื้นฐาน
(3) ตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผล
(4) ตัวแบบด้านการจัดการ
(5) ตัวแบบทางด้านการพัฒนาองค์การ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

89. รัฐจึงวางแผนการใช้ที่ดินของประเทศให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และศักยภาพของที่ดินตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 68
(2) มาตรา 70
(3) มาตรา 72
(4) มาตรา 74
(5) มาตรา 76
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 72 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐจึงวางแผนการใช้ที่ดินของประเทศให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และศักยภาพของที่ดินตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน
2. จัดให้มีการวางผังเมืองทุกระดับและบังคับการให้เป็นไปตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ
3. จัดให้มีมาตรการกระจายการถือครองที่ดินเพื่อให้ประชาชนสามารถมีที่ทํากินได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ฯลฯ

90. นโยบายจัดระเบียบสังคม เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Regulative Policy
(2) Distributive Policy
(3) Re-Distributive Policy
(4) Capitalization Policy.
(5) Ethical Policy
ตอบ 1 หน้า 5, (คําบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบาย ที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อให้ทุกคนต้องปฏิบัติตาม ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดกฎหมายต้องถูกลงโทษ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาค และเป็นธรรม เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายจราจร (เช่น โครงการเมาไม่ขับ การขับรถยนต์ต้องมีใบขับขี่) นโยบายจัดระเบียบสังคม เป็นต้น

91. ใครเสนอว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ
(1) Theodore Lowi
(2) Ira Sharkansky
(3) Cart J. Friedrich
(4) William Greenwood
(5) David Easton
ตอบ 2 หน้า 3 ไอรา ซาร์แคนสกี้ (Ira Sharkansky) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรม ต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ การควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจ ของเอกชน เป็นต้น”

92. การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบาย เป็นแนวโน้มในเรื่องใด
(1) แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า
(2) แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ
(3) แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย
(4) แนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบ
(5) แนวโน้มเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน
ตอบ 3หน้า 74 แนวโน้มการวิเคราะห์นโยบายในอนาคต มี 3 แนวโน้มใหญ่ คือ
1. แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า จะมุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายโดยหาทางเลือกที่ดีที่สุด ที่ทําให้ประชาชนพอใจ และสนองต่อคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม โดยการเน้นให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น เพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง
2. แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย จะมุ่งเน้นการหาวิธีการที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ โดยการพิจารณามิติทางการเมืองและการบริหาร และมีการนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขาวิชา มาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายในลักษณะสหวิทยาการ
3. แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ จะมุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงธุรกิจที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน (Cost-Benefit) รวมทั้งการคํานึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้นด้วย

93. วิทยานิพนธ์ “California Educational Policy Implementation : The Case of Stull Act” เป็นการศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติ มุ่งเน้นเรื่อง
(1) กฎหมาย
(2) สภาพแวดล้อมภายนอกโรงเรียน
(3) คุณภาพการศึกษา
(4) การบริหารงานโรงเรียน
(5) คุณภาพชีวิตของครูในโรงเรียน
ตอบ 1 หน้า 145 – 146 อีมิลี่ ไซมี โลวี ไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Lowe Brizendine) ได้เสนอ วิทยานิพนธ์เรื่อง “California Educational Policy Implementation : The Case of Stull Act” เมื่อปี ค.ศ. 1986 ซึ่งเป็นการศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติของรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเน้นเรื่องกฎหมาย “Stull Act” ซึ่งเป็นกฎหมายที่กําหนดมาตรการในการปฏิรูปโรงเรียน รัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นที่การประเมินครูเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อ ความสําเร็จทางการศึกษาของโรงเรียน

94. รัฐจึงส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ และวิสาหกิจ ขนาดย่อมและขนาดกลางของประชาชนและชุมชน ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 73
(2) มาตรา 74
(3) มาตรา 75
(4) มาตรา 77
(5) มาตรา 78
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 75 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐพึงจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน
2. ในการพัฒนาประเทศ รัฐจึงคํานึงถึงความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนา ด้านจิตใจ และความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนประกอบกัน
3. รัฐจึงส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ และวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลางของประชาชนและชุมชน ฯลฯ

95. ประเทศไทยมี New Engines of Growth ได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลาย
เชิงวัฒนธรรม
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(2) Thailand 4.0
(3) คําแถลงนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(4) ทิศทางกระแสต่างประเทศ
(5) ไม่ตรงกับข้อใดเลย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

96. นโยบายปฏิรูประบบราชการ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Economic Policy
(2) Education Policy
(3) Social Policy
(4) Administrative Policy
(5) Politic & Defence Policy
ตอบ 4 หน้า 7, (คําบรรยาย) นโยบายทางการบริหาร (Administrative Policy) เป็นนโยบายรอง ที่กําหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ เช่น นโยบายธรรมาภิบาล นโยบายการปฏิรูประบบราชการ นโยบายเร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชน มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง นโยบายการบริหารงานบุคคล นโยบายการบริหารงานคลัง โครงการประเทศไทยใสสะอาด เป็นต้น

97. ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการจัดการบริการสาธารณะ
(1) Thomas R. Dye
(2) Ira Sharkansky
(3) David Easton
(4) James Anderson
(5) Theodore Lowi
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

98. ไม่สามารถจะไปประเมินกระบวนการทั้งหมดของนโยบายได้ จะนําไปใช้ได้เฉพาะในเรื่องของ Input
และ Product เท่านั้น
(1) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง
(2) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง
(3) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลองและกึ่งทดลอง
(4) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

99. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องสําหรับแวน มิเตอร์ และแวน ฮอร์น
(1) ให้ความสําคัญกับการบริหารงานบุคคล
(2) บทความเรื่อง “The Policy Implementation Process : A Conceptual Framework”
(3) สํารวจกระบวนการของการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(4) เสนอตัวแบบในการวิเคราะห์การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(5) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติในองค์การที่รับผิดชอบต่อนโยบายโดยตรง
ตอบ 1 หน้า 171 – 172 แวน มิเตอร์ และแวน ฮอร์น (Van Meter and Van Horn) ร่วมกันเขียน บทความเรื่อง “The Policy Implementation Process : A Conceptual Framework” เมื่อปี ค.ศ. 1975 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจกระบวนการของการนํานโยบายไปปฏิบัติพร้อมกับนําเสนอตัวแบบในการวิเคราะห์การนํานโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับผู้ปฏิบัติในองค์การที่รับผิดชอบต่อนโยบายโดยตรง และองค์การอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

100. ใครเสนอว่า นโยบายสาธารณะเป็นแนวทางที่เป็นบรรทัดฐานในการดําเนินงานของหน่วยงาน
(1) Theodore Lowi
(2) Ira Sharkansky
(3) Carl J. Friedrich
(4) William Greenwood
(5) David Easton
ตอบ 4 หน้า 3 วิลเลียม กรีนวูด (William Greenwood) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง
การตัดสินใจขั้นต้นของรัฐบาลเพื่อเป็นแนวทางที่เป็นบรรทัดฐานในการดําเนินงานของหน่วยงาน
ไปสู่วัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

POL3301 นโยบายสาธารณะ 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3301 นโยบายสาธารณะ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. รัฐจึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 66
(2) มาตรา 67
(3) มาตรา 68
(4) มาตรา 77
(5) มาตรา 78
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 67 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐจึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น
2. รัฐจึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท
เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา
3. รัฐต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่ารูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย

2.กอกจิน เสนอตัวแปรหลักที่ส่งผลต่อศักยภาพของการนํานโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่
(1) นโยบาย การบริหารและการจัดการ
(2) นโยบาย การบริหารและเป้าหมาย
(3) นโยบาย องค์การ และเป้าหมาย
(4) นโยบาย องค์การ และผู้ปฏิบัติงาน
(5) นโยบาย องค์การ และการบริหาร
ตอบ 4 หน้า 156 มอลคอม กอกจีน (Malcom Goggin) ได้เสนอผลจากการศึกษาเพิ่มเติม โดยพบว่า ตัวแปรหลักที่ส่งผลต่อศักยภาพของการนํานโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ นโยบาย องค์การ และ ผู้ปฏิบัติงาน โดยมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น สภาพแวดล้อม มาเกี่ยวข้องด้วย

3.การรับรู้ถึงปัญหาสาธารณะเกี่ยวข้องกับนโยบายในด้านใด
(1) Policy Analysis
(2) Policy Implementation
(3) Policy Impacts
(4) Policy Evaluation
(5) เกี่ยวข้องกับนโยบายทุกด้าน
ตอบ 1 หน้า 73 เควด (E.S. Quade) กล่าวว่า จุดมุ่งหมายที่สําคัญของการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) มีดังนี้
1. เพื่อให้ผู้กําหนดนโยบายได้รับรู้ถึงปัญหาสาธารณะโดยแจ้งชัด
2. เพื่อปรับปรุงคุณภาพการตัดสินใจของผู้กําหนดนโยบายที่สามารถแก้ปัญหาหรือ
ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้
3. เพื่อสร้างกระบวนการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมและเป็นระบบ

4.โทมัส บี. สมิท เสนอขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติประกอบด้วยตัวแปร 4 ตัวแปร ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) นโยบายที่เป็นอุดมคติ
(2) องค์การที่นํานโยบายไปปฏิบัติ
(3) เป้าหมายขององค์การ
(4) กลุ่มเป้าหมาย
(5) ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม
ตอบ 3หน้า 171 โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) เสนอขั้นตอนของการนํานโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรที่สําคัญ 4 ตัวแปร คือ
1. นโยบายที่เป็นอุดมคติ
2. องค์การที่นํานโยบายไปปฏิบัติ
3. กลุ่มเป้าหมาย
4. ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม

5. รัฐจึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สําคัญของสังคม ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 64
(2) มาตรา 65
(3) มาตรา 68
(4) มาตรา 70
(5) มาตรา 71
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 71 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐจึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สําคัญของสังคม
2. รัฐจึงส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพและความสามารถสูงขึ้น
3. รัฐจึงให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส ให้สามารถดํารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ
4. ในการจัดสรรงบประมาณ รัฐจึงคํานึงถึงความจําเป็นและความต้องการที่แตกต่างกันของ เพศ วัย และสภาพของบุคคล

6. การจัดทําร่างนโยบายอยู่ในขั้นตอนใด
(1) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย
(2) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(3) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
(5) การก่อตัวของนโยบาย
ตอบ 2 หน้า 25 – 26, (คําบรรยาย) ขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย (Policy Formulation) เป็นขั้นตอนที่ต้องมีการศึกษาค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายเรื่องนั้น ๆ เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจของผู้กําหนดนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย
1. การกําหนดวัตถุประสงค์
2. การกําหนดทางเลือก
3. การจัดทําร่างนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ แนวทางและ มาตรการ การจัดลําดับทางเลือก และการหาข้อมูลประกอบการพิจารณา

7. การศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติเป็นสาขาวิชาที่เกิดขึ้นใหม่เมื่อไร
(1) ค.ศ. 1988
(2) ค.ศ. 1989
(3) ค.ศ. 1970
(4) ค.ศ. 1969
(5) ค.ศ. 1960
ตอบ 3 หน้า 151 – 152 การศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติเป็นสาขาวิชาที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ราว ค.ศ. 1970 โดยการนํานโยบายไปปฏิบัตินั้นถือเป็นขั้นตอนที่สําคัญ แต่มักจะไม่ได้รับความสนใจ อย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะแต่เดิมนั้นนักวิเคราะห์นโยบายมักจะแยกการนํานโยบายไปปฏิบัติ ออกจากการวางนโยบาย และศึกษาเฉพาะเป้าหมาย ผลที่ได้รับหรือผลกระทบจากนโยบาย เหตุผลสนับสนุนนโยบายและเสนอทางเลือกนโยบายเท่านั้น โดยละเลยขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติทั้งที่ความล้มเหลวของนโยบายส่วนมากมักเกิดขึ้นเนื่องจากไม่ได้คํานึงถึงความเป็นไปได้ของการนํานโยบายไปปฏิบัติ

8.วรเดช จันทรศร เสนอตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผลประกอบด้วย
(1) การกําหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
(2) ความชัดเจนในการกําหนดวัตถุประสงค์และภารกิจ
(3) ระบบการวัดและประเมินผล
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 183 วรเดช จันทรศร ได้เสนอตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผล ซึ่งมีตัวแปรอิสระที่สําคัญ คือ ความชัดเจนในการกําหนดวัตถุประสงค์และภารกิจ การมอบหมายงาน การกําหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน ระบบการวัดและประเมินผล และระบบการให้คุณให้โทษแก่ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ

9.ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นขั้นตอนหนึ่งของการวิเคราะห์นโยบาย โดยเป็นขั้นตอน ที่มุ่งผลิตข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับผลของการดําเนินงานตามนโยบายว่าสามารถสนองความต้องการของสังคม สนองคุณค่าของสังคม และแก้ไขปัญหาที่เป็นเป้าหมายของนโยบายได้หรือไม่
(1) Emit J. Posavac & Raymond G. Carey
(2) James E. Anderson
(3) Charles O. Jones
(4) William N. Dunn
(5) ศุภชัย ยาวะประภาษ
ตอบ 4 หน้า 229 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบาย เป็นขั้นตอนหนึ่งของการวิเคราะห์นโยบาย โดยเป็นขั้นตอนที่มุ่งผลิตข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับผลของการดําเนินงานตามนโยบายว่าสามารถสนองความต้องการของสังคม สนองคุณค่า ของสังคม และแก้ไขปัญหาที่เป็นเป้าหมายของนโยบายได้หรือไม่

10. ไม่สามารถจะไปประเมินกระบวนการทั้งหมดของนโยบายได้ จะนําไปใช้ได้เฉพาะในเรื่องของ Input และ Product เท่านั้น
(1) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง
(2) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง
(3) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง
(4) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลองและกึ่งทดลอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 234 – 235 การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design) มีข้อจํากัดดังนี้
1. วิธีการที่ใช้ในการแบ่งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมักมีปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น การมีผลประโยชน์ในการเลือกกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือการมีลักษณะความเคร่งครัด ในการเลือกกลุ่มในทางปฏิบัติจะมีน้อย
2. วิธีการทดลองไม่สามารถจะไปประเมินกระบวนการทั้งหมดของนโยบายได้ จะนําไปใช้ได้ เฉพาะในเรื่องของ Input และ Product เท่านั้น
3. วิธีการทดลองไม่สามารถควบคุมความเที่ยงตรงภายนอกได้ จึงทําให้ผลที่ได้มาจาก การทดลองอาจจะไม่เหมือนกับผลที่ได้มาจากการดําเนินการจริง ฯลฯ

11. เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ข้อมูล เหตุผล และข้อสรุปที่ละเอียดครอบคลุมความเห็นของทุกกลุ่มทุกฝ่าย ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย เป็นประโยชน์ต่อผู้กําหนดนโยบายในการตัดสินใจว่าอะไรแน่ที่เป็นผลของนโยบายนั้น ๆ
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 3 หน้า 264 ประโยชน์ของวิธีเดลฟีเชิงนโยบาย (Policy Delphi) คือ สามารถให้ข้อมูล เหตุผล และข้อสรุปที่ละเอียดครอบคลุมความเห็นของทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ในนโยบาย การประเมินจึงครอบคลุมกว้างขวางรวมทุกประเด็นไว้หมด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ อย่างมากต่อผู้กําหนดนโยบายในการตัดสินใจว่าอะไรแน่ที่เป็นผลของนโยบายนั้น ๆ

12. โครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Ethical Policy
(2) Re-Distributive Policy
(3) Regulative Policy
(4) Capitalization Policy
(5) Distributive Policy
ตอบ 2 หน้า 6, (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรร ทรัพยากรเสียใหม่ (Re-Distributive Policy) เป็นนโยบายที่กําหนดขึ้นเพื่อประชาชนบางอาชีพ
ผู้ประกอบการบางสาขาการผลิต พื้นที่บางพื้นที่ตามความจําเป็น เช่น การออกบัตรประกันสังคม การออกบัตรสุขภาพ นโยบายการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ นโยบายการจํานําข้าว นโยบาย เพิ่มค่าแรง 300 บาทต่อวัน โครงการช่วยเหลือชาวสลัม โครงการสงเคราะห์คนชรา โครงการ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โครงการอาหารกลางวันแก่เด็กยากจน กองทุนพัฒนาสตรี เป็นต้น หรือ เป็นนโยบายที่ดึงเอาทรัพยากรจากประชาชนกลุ่มหนึ่งมาจัดสรรใหม่ให้เกิดประโยชน์แก่ ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ด้อยโอกาส เช่น นโยบายภาษี (เช่น นโยบายเก็บภาษีทรัพย์สิน อัตราก้าวหน้า) นโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เป็นต้น

13. เป็นเทคนิคที่นําเอาข้อคิดและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงในเนื้อหาและเรื่องราว ของนโยบายที่กําลังประเมินมาประมวลและเปรียบเทียบกันเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับผลของนโยบาย
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 3 หน้า 259 วิธีเดลฟีเชิงนโยบาย (Policy Delphi) เป็นเทคนิคที่นําเอาข้อคิดและความเห็น ของผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงในเนื้อหาและเรื่องราวของนโยบายที่กําลังประเมิน มาประมวลและเปรียบเทียบกันเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับผลของนโยบาย

14. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) Harold Lasswell กล่าวว่า นโยบายเกี่ยวข้องกับแผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น
(2) Thomas R. Dye นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจว่าจะทําหรือไม่ทํา
(3) Theodore Lowi เป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์
(4) David Easton เกี่ยวข้องกับการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 3, 58 – 59 ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่เน้นการสร้างภาพรวมและได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ได้ให้ความหมาย นโยบายสาธารณะร่วมกับอับราแฮม แคปแพลน (Abraham Kaplan) ว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการ ปฏิบัติงานต่าง ๆ”

15. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการใช้วิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านเพื่อที่จะตกลงใจว่านโยบาย ที่กําหนดไว้นั้นจําเป็นหรือไม่ ควรจะใช้หรือไม่ ดําเนินการไปตามที่วางไว้หรือไม่ ช่วยแก้ไขปัญหาตามที่ มุ่งหวังไว้หรือไม่
(1) Emil J. Posavac & Raymond G. Carey
(2) James E. Anderson
(3) Charles O. Jones
(4) William N. Dunn
(5) ศุภชัย ยาวะประภาษ
ตอบ 1 หน้า 228 อีมิล เจ. โพซาร์ค และเรย์มอนด์ จี. แครี (Emil J. Posavac & Raymond G. Carey) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการใช้วิธีการหลายวิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านเพื่อที่จะ ตกลงใจว่านโยบายที่กําหนดไว้นั้นจําเป็นหรือไม่ ควรจะใช้หรือไม่ ดําเนินการไปตามที่วางไว้ หรือไม่ ช่วยแก้ไขปัญหาตามที่มุ่งหวังไว้หรือไม่

16. ความสามารถในการผลิตผลผลิตหรือให้บริการโดยมีต้นทุนต่อหน่วยต่ําสุด ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
(1) ประสิทธิผล
(2) ประสิทธิภาพ
(3) ความเหมาะสม
(4) ความพอเพียง
(5) ความสามารถในการตอบสนอง
ตอบ 2 หน้า 99, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง ความสามารถในการบรรลุ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายโดยใช้ต้นทุนต่ำสุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความสามารถในการผลิตผลผลิตหรือให้บริการโดยมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด

17. เป็นเทคนิคที่ช่วยในการประเมินผลแบบเทียม โดยช่วยให้ผู้ประเมินผลสามารถคํานวณและเปรียบเทียบผลโดยประมาณของนโยบายที่เกิดขึ้นในกลุ่มเป้าหมายที่กําหนดไว้และกลุ่มเปรียบเทียบที่นํามาพิจารณา
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 5 หน้า 265 การวิเคราะห์เชิงถดถอยแบบไม่ต่อเนื่อง (Regression-Discontinuity Analysis) เป็นเทคนิคที่ช่วยในการประเมินผลแบบเทียม โดยช่วยให้ผู้ประเมินผลสามารถคํานวณและเปรียบเทียบผลโดยประมาณของนโยบายที่เกิดขึ้นในกลุ่มเป้าหมายที่กําหนดไว้และกลุ่มเปรียบเทียบที่นํามาพิจารณา
เทคนิคนี้เหมาะสําหรับการประเมินผลตามแนวการทดลองทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดลองที่มีการกําหนดกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มควบคุมเอาไว้ เรียบร้อยแล้ว

18. เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ผู้ประเมินผลนโยบายสามารถพิจารณาผลของนโยบายได้อย่างเป็นระบบ โดยสามารถ แยกแยะผลของนโยบายที่เกิดขึ้นจริงได้จากผลที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุอื่น
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 4 หน้า 264 – 265 การวิเคราะห์อนุกรมเวลาแบบขาดตอน (Interrupted Time Series Analysis) เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังการนํานโยบายไปปฏิบัติ ในรูปของตารางและ/หรือค่าทางสถิติ และกราฟแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นเทคนิคที่เหมาะสําหรับ การประเมินผลนโยบายที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักเพียงกลุ่มเดียวหรือมีขอบเขตการดําเนินงาน ที่แน่นอนเพียงแห่งเดียว จุดเด่นของเทคนิคนี้ คือ ช่วยให้ผู้ประเมินผลนโยบายสามารถพิจารณา ผลของนโยบายได้อย่างเป็นระบบ โดยสามารถแยกแยะผลของนโยบายที่เกิดขึ้นจริงได้จาก ผลที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุอื่น

19. นโยบายจัดระเบียบสังคม เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Capitalization Policy
(2) Re-Distributive Policy
(3) Regulative Policy
(4) Ethical Policy
(5) Distributive Policy
ตอบ 3 หน้า 5, (คําบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบาย ที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อให้ทุกคนต้องปฏิบัติตาม ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดกฎหมายต้องถูกลงโทษ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาค และเป็นธรรม เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายจราจร (เช่น โครงการเมาไม่ขับ การขับรถยนต์ต้องมีใบขับขี่) นโยบายจัดระเบียบสังคม เป็นต้น

20. การยกเลิกนโยบายที่ไม่เหมาะสมอยู่ในขั้นตอนใด
(1) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย
(2) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(3) การประเมินนโยบาย
(4) การก่อตัวของนโยบาย
(5) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
ตอบ 1 หน้า 52 – 53 ขั้นตอนการปรับปรุง แก้ไข และยกเลิกนโยบาย (Policy Termination) ประกอบด้วย
1. การนําผลหรือข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลนโยบายมาพิจารณาเพื่อตัดสินใจ ในการปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกนโยบาย
2. การนําผลสรุปของการประเมินผลนโยบายทั้งหมด ไปใช้ในการกําหนดนโยบายอื่น ๆ ต่อไป

21. เป็นเทคนิคที่เหมาะสําหรับการประเมินผลนโยบายที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักเพียงกลุ่มเดียวหรือมีขอบเขต
การดําเนินงานที่แน่นอนเพียงแห่งเดียว
(1) Format Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

22. มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่ Value-Based Economy
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(2) Thailand 4.0
(3) คําแถลงนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(4) ทิศทางกระแสต่างประเทศ
(5) ไม่ตรงกับข้อใดเลย
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Thailand 4.0 มีสาระสําคัญดังนี้
1. เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยน โครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย นวัตกรรม”
2. เป็น “Reform in Action” ที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูปการวิจัยและการพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษาไปพร้อม ๆ กัน
3. เป็นแนวคิดที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภายใต้ทุนวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ ทุนมนุษย์
4. เป็นการพัฒนา “เครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่” (New Engines of Growth) ซึ่งประเทศไทยมีอยู่ 2 ด้าน ได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายเชิงวัฒนธรรมให้เป็นความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน โดยการเติมเต็มด้วย วิทยาการทั้ง 5 ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย และพัฒนา ฯลฯ

23. เป็นเทคนิคที่มีหลักการ 5 ประการ คือ Selective Anonymity, Informed Multiple Advocacy, Polarized Statistical Response, Structured Conflict, Computer Conferencing
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 3หน้า 260 – 261 วิธีเดลฟ์เชิงนโยบาย (Policy Delphi) มีหลักการสําคัญ 5 ประการ คือ
1. ความเป็นนิรนามเฉพาะระยะแรก (Selective Anonymity)
2. ผู้เชี่ยวชาญต่างสํานัก (Informed Multiple Advocacy)
3. การวิเคราะห์ทางสถิติแบบแยกกลุ่ม (Polarized Statistical Response)
4. การจัดโครงสร้างความขัดแย้ง (Structured Conflict)
5. การประชุมโดยคอมพิวเตอร์ (Computer Conferencing)

24. ทฤษฎีการนํานโยบายไปปฏิบัติ นักวิชาการท่านใดเสนอวิธีการที่ดีในการบริหารโปรแกรมใหม่คือการตั้งหน่วยขึ้นมารับผิดชอบโดยตรง
(1) เพรสแมนและวิลด์ฟสกี
(2) เออร์วิน ฮาร์โกรฟ
(3) โทมัส บี. สมิท
(4) มองจอยและโอทูเล
(5) แวน มิเตอร์
ตอบ 4 หน้า 167 ตามทฤษฎีการนํานโยบายไปปฏิบัติของมองจอยและโอทูเล (Montijoy and O’Toole) มองว่า เมื่อนักบริหารต้องเผชิญกับข้อจํากัดทั้งในแง่ทรัพยากรและกฎหมายย่อมนําไปสู่การใช้ ดุลพินิจในที่สุด ดังนั้นการที่หน่วยงานจะใช้ดุลพินิจมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับระดับความแข็งแกร่งและทิศทางของพลังผลักดันในองค์การ วิธีการที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาการนํานโยบายไปปฏิบัติขององค์การจะต้องกําหนดความชัดเจนของกฎหมายและจัดสรรทรัพยากรให้แก่ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติเพียงพอ รับผิดชอบโดยตรง
วิธีการที่ดีที่สุดในการบริหารโปรแกรมใหม่คือการตั้งหน่วยขึ้นมา

25. มีวิธีการที่สําคัญวิธีหนึ่งคือ การจับคู่ (Matching) การแสวงหาคู่ในระดับบุคคล พื้นที่ หรือหน่วยการทดลอง ที่เกี่ยวข้องที่มีความคล้ายคลึงกันตั้งแต่หนึ่งคุณลักษณะที่ศึกษา
(1) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง
(2) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง
(3) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง
(4) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลองและกึ่งทดลอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 235 – 236 การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธี กึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) มีลักษณะสําคัญดังนี้
1. ในกรณีที่เงื่อนไขไม่เอื้ออํานวยที่จะใช้การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง วิธีการนี้จะทําให้ได้เปรียบในการนําไปปฏิบัติ โดยผู้ใช้จะต้องยอมรับเบื้องต้นก่อนว่าวิธีการที่จะนําไปใช้มีความสนใจที่ปัจจัยใดบ้างและปล่อยให้ปัจจัยใดบ้างปราศจากการควบคุม
2. มีวิธีการที่สําคัญวิธีหนึ่งคือ การจับคู่ (Matching) ได้แก่ การแสวงหาคู่ในระดับบุคคล พื้นที่ หรือหน่วยการทดลองที่เกี่ยวข้องที่มีความคล้ายคลึงกันตั้งแต่หนึ่งคุณลักษณะที่ศึกษา
3.วิธีการนี้มีความมุ่งหมายที่จะทําให้การตีความต่าง ๆ ถูกต้อง เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากโครงการ ซึ่งมีบ่อยครั้งที่คําอธิบายในผลลัพธ์ ที่ถูกต้องจะแสดงให้เห็นถึงการไม่มีการเปลี่ยนแปลง นอกเหนือไปจากการแสดงให้เห็น ความล้มเหลวของโครงการ ฯลฯ

26. รัฐจึงดําเนินการให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามระบบ
คุณธรรม ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 74
(2) มาตรา 75
(3) มาตรา 76
(4) มาตรา 77
(5) มาตรา 78
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 76 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐจึงพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดินทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และงานของรัฐอย่างอื่นให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2. รัฐจึงพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีทัศนคติเป็นผู้ให้บริการประชาชน ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ไม่เลือกปฏิบัติ และปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
3. รัฐจึงดําเนินการให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม
4. รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกําหนด ประมวลจริยธรรมสําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ

27. งานวิจัยของธงชัย สมครุฑ ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) งานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก
(2) กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการในกระทรวงแรงงาน
(3) ศึกษาวิทยาลัยครู 36 แห่ง
(4) มีปัญหาสําคัญ 5 ประการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 151 ธงชัย สมครุฑ ได้เสนอวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเมื่อปี ค.ศ. 1986 So “An Analysis of Selected Issues in Teacher Education as Perceived by the Presidents and Vice-Presidents of Teacher Colleges in Thailand” โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อจําแนก วิเคราะห์และเปรียบเทียบการรับรู้ของอธิการและรองอธิการของ วิทยาลัยครู 36 แห่งในปัญหาที่สําคัญ 5 ประการ คือ
1. ปัญหาทางการบริหาร
2. ปัญหาทางด้านวิชาการ
3. ปัญหาด้านการรับนักศึกษา
4. ปัญหาด้านการเงิน
5. ปัญหาด้านการร่วมมือ

28. นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Re-Distributive Policy
(2) Ethical Policy
(3) Capitalization Policy
(4) Distributive Policy
(5) Regulative Policy
ตอบ 3 หน้า 6, (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการลงทุน (Capitalization Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาล กําหนดขึ้นเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเพื่อแสวงหาทรัพยากรใหม่ ๆ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา แล้วก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมและประเทศชาติ หรือการสร้างสิ่งก่อสร้างบางอย่างเพื่อเป็น พื้นฐานในการพัฒนาประเทศต่อไป เช่น นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้ การสร้างสนามบิน การสร้างนิคมอุตสาหกรรม การสร้างท่าเรือน้ําลึก การวางท่อก๊าซ เป็นต้น

29. เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังการนํานโยบายไปปฏิบัติในรูปของ ตารางและ/หรือค่าทางสถิติ และกราฟแบบต่าง ๆ
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

30. นโยบายกองทุนหมู่บ้าน เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Administrative Policy
(2) Social Policy
(3) Politic & Defence Policy
(4) Economic Policy
(5) Education Policy
ตอบ 4 หน้า 6, (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างรายได้และการกินดีอยู่ดีของประชาชน โดยให้ประชาชนได้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน อะไรที่ได้มาซึ่งรายได้หรือรายจ่าย และเมื่อจ่ายไปแล้วก็จะมีการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ทําให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายกองทุนหมู่บ้าน นโยบายจ่ายเงินให้ชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท การส่งเสริมอาชีพให้ประชาชน โครงการธงฟ้าราคาประหยัด โครงการ ธนาคารประชาชน โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การพักชําระหนี้ให้เกษตรกร การดูแล ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่
ผู้บริโภคและผู้ผลิต เป็นต้น

31.ใครเสนอว่า นโยบายสาธารณะเป็นแนวทางที่เป็นบรรทัดฐานในการดําเนินงานของหน่วยงาน
(1) Theodore Lowi
(2) David Easton
(3) William Greenwood
(4) Carl J. Friedrich
(5) Ira Sharkansky
ตอบ 3 หน้า 3 วิลเลียม กรีนวูด (William Greenwood) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึงการตัดสินใจขั้นต้นของรัฐบาลเพื่อเป็นแนวทางที่เป็นบรรทัดฐานในการดําเนินงานของหน่วยงานไปสู่วัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้”

32. นโยบายต้องประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เงื่อนไขแรกเริ่มและผลที่มุ่งหวัง
(1) ยูยีน บาร์แดช (Eugene Bardach)
(2) เพรสแมน (Pressman) และวิลดัฟสกี (Wildavsky)
(3) พอล เอ. ซาบาเตียร์ (Paul A. Sakiatier)
(4) มองจอย (Montjoy) และโอทูเล (O’Toole)
(5) ดาเนียล เอ. แมซมาเนียน (Daniel A. Mazmanian)
ตอบ 2 หน้า 164 เพรสแมน (Pressman) และวิลดัฟสกี (Wildavsky) กล่าวว่า การนํานโยบาย ไปปฏิบัติ คือ การผลิตผลลัพธ์ออกมา และการทําให้สําเร็จ โดยการนํานโยบายไปปฏิบัติ จะต้องมีนโยบายเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการนํานโยบายไปปฏิบัติ และนโยบายโดยทั่วไปจะต้อง ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เงื่อนไขแรกเริ่มและผลที่มุ่งหวัง

33. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการกระทําที่มีระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบถึงผลของนโยบาย โดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กําหนดไว้กับผลกระทบของการดําเนินการตามนโยบายที่มีต่อปัญหาของ
สังคมที่เป็นเป้าหมายที่นโยบายนั้นมุ่งแก้ไข
(1) Emil J. Posavac & Raymond G. Carey
(2) James E. Anderson
(3) Charles O. Jones
(4) William N. Dunn.
(5) ศุภชัย ยาวะประภาษ
ตอบ 3 หน้า 229 ชาร์ลส์ โอ. โจนส์ (Chartes O. Jones) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบาย เป็นการกระทําที่มีระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบถึงผลของนโยบายโดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กําหนดไว้กับผลกระทบของการดําเนินการตามนโยบายที่มีต่อปัญหาของสังคมที่เป็นเป้าหมายที่นโยบายนั้นมุ่งแก้ไข

34. นโยบายการมีถนนแยกเล่นไปสู่ทุกจังหวัด เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Regulative Policy
(2) Distributive Policy
(3) Re-Distributive Policy
(4) Ethical Policy
(5) Capitalization Policy
ตอบ 2 หน้า 5, (คําบรรยาย) นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องจัดบริการพื้นฐานให้ประชาชนทุกคนได้ใช้หรือเพื่อให้ประชาชนทั่วไป โดยส่วนรวมมีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่เป็นของรัฐบาลอย่างทั่วถึงและพอเพียง เช่น นโยบายการมีถนนแยกเล่นไปสู่ทุกจังหวัดนโยบายการลดราคาน้ำมันเบนซิน โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน การขยายช่องทางจราจรหรือการสร้างถนน นโยบายให้มีสถานพยาบาลให้ครบทุกอําเภอ การจัดให้มีบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค การจัดให้มีไฟฟ้าและน้ําประปา ใช้ทุกหมู่บ้าน เป็นต้น

35. ข้อใดไม่ใช่กระบวนการที่ Stuart S. Nagel เสนอ
(1) การวิเคราะห์ผลตอบแทนสูงสุด
(2) การกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์
(3) การกําหนดเป้าหมายเพื่อบรรลุผล
(4) การกําหนดแผนงาน
(5) การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย
ตอบ 4 หน้า 239 – 240 สจ๊วตท เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) ได้เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ ข้อมูลแบบง่ายสําหรับการวิเคราะห์หรือการประเมินนโยบาย ซึ่งมีหลักการหรือกระบวนการ ที่สําคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. กําหนดเป้าหมายเพื่อการบรรลุผล หรือการให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด
2. กําหนดเป้าหมายสัมพันธ์
3. กําหนดคน สถานที่ หรือวัสดุอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น
4. กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย
5. ปรับความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

36. ใครกล่าวว่า การประเมินผลเกี่ยวข้องกับกระบวนการวัดคุณค่าของผลการดําเนินการตามนโยบาย
เพื่อที่จะนํามาเปรียบเทียบกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้
(1) Emil J. Posavac & Raymond G. Carey
(2) James E. Anderson
(3) Chartes O. Jones
(4) William N. Dunn
(5) ศุภชัย ยาวะประภาษ
ตอบ 5 หน้า 230 ศุภชัย ยาวะประภาษ กล่าวว่า การประเมินผลเกี่ยวข้องกับกระบวนการวัดคุณค่า ของผลการดําเนินการตามนโยบายเพื่อที่จะนํามาเปรียบเทียบกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ ซึ่งการประเมินผลนี้ไม่ได้แยกเป็นเอกเทศจากขั้นตอนนโยบายอื่น แต่เกี่ยวข้องกันตลอดเวลา

37. นโยบายหน้าบ้านน่ามอง เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Regulative Policy
(2) Re-Distributive Policy
(3) Ethical Policy
(4) Capitalization Policy
(5) Distributive Policy
ตอบ 3 หน้า 6, (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อจริยธรรม (Ethical Policy) เป็นนโยบายของรัฐบาล ที่ไม่มีการบังคับให้ผู้ใดปฏิบัติตาม แต่ต้องการจูงใจและสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ประชาชน มีความรู้สึกสํานึกที่ดี และมีจิตสํานึกในทางที่ถูกที่ควรที่จะปฏิบัติตาม เช่น โครงการพลังแผ่นดิน โครงการเมืองน่าอยู่ โครงการถนนสีขาว นโยบายหน้าบ้านน่ามอง นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว ในประเทศ นโยบายส่งเสริมให้มีน้ําใจกับนักท่องเที่ยว และการรณรงค์ต่าง ๆ เป็นต้น

38. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดของยอร์ค
(1) บทความที่กําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จขององค์การเมื่อปี ค.ศ. 1986
(2) 13 ตัวแปรที่แสดงถึงความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล
(3) 4 ตัวชี้วัดความสําเร็จขององค์การ
(4) ความสําเร็จของการอุดมศึกษา คือ “ประสิทธิผล” กับ “ความสําเร็จ”
(5) ทบทวนวรรณกรรมวิชาการ 3 ท่าน ลินเซย์ แอนนิตา และแคมเมอรา
ตอบ 2 หน้า 177 – 178 ยอร์ค (Yorke) ได้เสนอบทความที่กําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จขององค์การ ภายใต้ชื่อ “Indicators of Institutional Achievement : Some Theoretical and Empirical Considerations” เมื่อปี ค.ศ. 1986 โดยเขากล่าวว่า ประสิทธิผลขององค์การ เป็นกรอบการวิเคราะห์ถึงความสําเร็จที่สําคัญของการอุดมศึกษา และเขาใช้คําว่า “ประสิทธิผล” (Effectiveness) กับ “ความสําเร็จ” (Achievement) ในความหมายเดียวกัน นอกจากนี้ ยอร์คยังได้ทบทวนวรรณกรรมทางวิชาการที่ได้เสนอแนวการศึกษาประสิทธิผลของสถาบัน อุดมศึกษาของ 3 ท่าน คือ ลินเซย์ แอนนิตา และแคมเมอรา และนํามาสร้างเป็นตัวแปรที่ แสดงถึงความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลทั้งสิ้น 11 ตัวแปร

39. รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกําหนดประมวลจริยธรรม สําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 74
(2) มาตรา 75
(3) มาตรา 76
(4) มาตรา 77
(5) มาตรา 78
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

40. รัฐจึงส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ และวิสาหกิจ ขนาดย่อมและขนาดกลางของประชาชนและชุมชน ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 73
(2) มาตรา 74
(3) มาตรา 75
(4) มาตรา 77
(5) มาตรา 78
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 75 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐพึงจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน
2. ในการพัฒนาประเทศ รัฐจึงคํานึงถึงความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนา ด้านจิตใจ และความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนประกอบกัน
3. รัฐจึงส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ และวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลางของประชาชนและชุมชน ฯลฯ

41. การศึกษาปัญหาของประชาชนเป็นขั้นตอนใด
(1) การก่อตัวของนโยบาย
(2) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
(3) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(4) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย
(5) การเตรียมและเสนอนโยบาย
ตอบ 1 หน้า 23 – 25 ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย
1. การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน
2. การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา
3. ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ
4. การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

42. สรุปการนํานโยบายไปปฏิบัติ หมายถึง
(1) การดําเนินงานของภาครัฐที่มีเป้าหมายให้สําเร็จลุล่วงตามเป้าหมายของกลุ่มผู้ปฏิบัติ
(2) การดําเนินงานให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้
(3) กระบวนการในทางปฏิบัติที่จะทําให้นโยบายใด ๆ บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กําหนด
(4) กระบวนการขององค์การภาครัฐนําไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
(5) ขั้นตอนการดําเนินงานของภาครัฐให้บริการต่อประชาชน
ตอบ 3 หน้า 143 การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) หมายถึง กระบวนการ ในทางปฏิบัติที่จะทําให้นโยบายใด ๆ บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กําหนดไว้

43. นโยบายปฏิรูประบบราชการ เกี่ยวข้องกับนโยบายใด
(1) Education Policy
(2) Social Policy
(3) Economic Policy
(4) Politic & Defence Policy
(5) Administrative Policy
ตอบ 5 หน้า 7, (คําบรรยาย) นโยบายทางการบริหาร (Administrative Policy) เป็นนโยบายรอง ที่กําหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ เช่น นโยบายธรรมาภิบาล นโยบายการปฏิรูประบบราชการ นโยบายเร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชน มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง นโยบายการบริหารงานบุคคล นโยบายการบริหารงานคลัง โครงการประเทศไทยใสสะอาด เป็นต้น

44. ข้อใดไม่ถูกต้องตามแนวคิดของกอกจีนและคณะ
(1) ได้รับอิทธิพลจากแนวการวิเคราะห์ระบบการเมืองของเดวิด อีสตัน
(2) ตัวแปรอิสระมีการชี้นําและข้อจํากัดของรัฐบาลกลาง
(3) ตัวแปรอิสระมีความสามารถของรัฐ
(4) ตัวแปรอิสระมีการตัดสินใจของรัฐ
(5) ตัวแปรอิสระมีความร่วมมือกับภาคเอกชน
ตอบ 5 หน้า 173 – 174 กอกจีนและคณะ ได้เสนอตัวแบบการนํานโยบายไปปฏิบัติซึ่งได้รับอิทธิพล
จากแนวความคิดการวิเคราะห์ระบบการเมืองของเดวิด อีสตัน โดยตัวแบบของกอกจินและคณะ
มีตัวแปรอิสระซึ่งประกอบด้วย
1. การชี้นําและข้อจํากัดของรัฐบาลกลาง
2. การชี้นําและข้อจํากัดของรัฐบาลส่วนท้องถิ่น
3. ความสามารถของรัฐ
4. การตัดสินใจของรัฐ

45.เลนเธอแมน เป็นผู้ริเริ่มคิดค้นออกกฎหมาย The Lanterman Petris Short (L-P-S) Act ซึ่งมี
ความเกี่ยวข้องกับนโยบายใด
(1) การปฏิรูปนโยบายด้านการคลัง
(2) การปฏิรูปนโยบายด้านสุขภาพจิต
(3) การปฏิรูปนโยบายด้านการศึกษา
(4) การปฏิรูปนโยบายด้านแรงงาน
(5) การปฏิรูปนโยบายด้านเศรษฐกิจ
ตอบ 2 หน้า 157 เล่นเธอแมน (Lanterman) เป็นผู้ริเริ่มคิดค้นออกกฎหมาย “The Lanterman Petris Short (L-P-S) Act” โดยกฎหมายนี้ได้แสดงแนวทางการปฏิรูปนโยบายด้านสุขภาพจิต ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ
1. การให้เสรีภาพแก่บุคคลที่ป่วยทางจิตให้มากขึ้น
2. การผลักดันให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขในระดับชุมชนและระดับประเทศนําหลักการบําบัดทางจิตในรัฐมาใช้

46. รัฐจึงวางแผนการใช้ที่ดินของประเทศให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และศักยภาพของที่ดินตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 68
(2) มาตรา 70
(3) มาตรา 72
(4) มาตรา 74
(5) มาตรา 76
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 72 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐจึงวางแผนการใช้ที่ดินของประเทศให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และศักยภาพของที่ดินตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน
2. จัดให้มีการวางผังเมืองทุกระดับและบังคับการให้เป็นไปตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ
3. จัดให้มีมาตรการกระจายการถือครองที่ดินเพื่อให้ประชาชนสามารถมีที่ทํากินได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ฯลฯ

47. แบบศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากที่ได้นําโครงการเข้ามาใช้โดยมีกลุ่มควบคุมที่ได้มาโดยมิได้มีการ สุ่มตัวอย่าง ข้อดี ทําให้ผู้ประเมินได้รับรายละเอียดและมโนภาพมากมาย ทําให้เกิดการตื่นตัวและรับรู้ เรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้น
(1) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง
(2) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง
(3) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลองและกึ่งทดลอง
(4) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 236 – 237 การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธี เตรียมทดลอง (Pre-Experimental Design) แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ แบบศึกษาก่อนและ
หลังจากที่ได้นําโครงการหนึ่ง ๆ เข้ามาใช้ แบบศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากที่ได้นําโครงการ เข้ามาใช้แล้วเพียงอย่างเดียว และแบบศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากที่ได้นําโครงการเข้ามาใช้ โดยมีกลุ่มควบคุมที่ได้มาโดยมิได้มีการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งข้อดีของการประเมินผลด้วยวิธีการนี้ คือ
1. ทําให้ผู้ประเมินได้รับรายละเอียดและมโนภาพมากมาย
2. ทําให้เกิดการตื่นตัวและรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้น
3. ทําให้ผู้ประเมินได้รับข้อมูลข่าวสารด้วยความระมัดระวังและเป็นระบบ

48. ความสามารถของทางเลือกที่สอดคล้องกับค่านิยมพื้นฐานของกลุ่มต่าง ๆ ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
(1) ความเหมาะสม
(2) ประสิทธิภาพ
(3) ประสิทธิผล
(4) ความสามารถในการตอบสนอง
(5) ความพอเพียง
ตอบ 4 หน้า 101 ความสามารถในการตอบสนอง (Responsiveness) หมายถึง ความสามารถ ของทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการ ความชอบ และค่านิยมพื้นฐานของกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งทางเลือกที่มีความสามารถในการตอบสนองสูงก็คือ ทางเลือกที่สามารถทําให้กลุ่มที่มี ความจําเป็นสูงได้รับผลจากทางเลือกนั้นด้วย

49. การจัดวาระในการพิจารณานโยบายอยู่ในขั้นตอนใด
(1) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(2) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(3) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
(4) การก่อตัวของนโยบาย
(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย
ตอบ 3หน้า 49 – 50 ขั้นตอนการอนุมัติและประกาศนโยบาย (Policy Adoption) ประกอบด้วย
1. การจัดวาระในการพิจารณานโยบาย
2. การพิจารณาร่างนโยบาย
3. การอนุมัติหรือไม่อนุมัติ
4. การประกาศนโยบาย

50. ใครเสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหาสาระของนโยบาย
(1) William Greenwood
(2) Theodore Lowi
(3) Carl J. Friedrich
(4) David Easton
(5) Ira Sharkansky
ตอบ 2 หน้า 5 – 6 (คําบรรยาย) ธีโอดอร์ โควาย (Theodore Lowi) ได้เสนอให้จําแนกประเภท ของนโยบายตามเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ ออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy)
2. นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy)
3. นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ (Re-Distributive Policy)

51.Stuart S. Nagel สนใจการศึกษานโยบายเรื่องใด
(1) Policy Analysis
(2) Policy Process
(3) Policy Implementation
(4) Policy Impacts
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 61 – 68, 72, 164 – 171 นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis)
ได้แก่
1. เควด (E.S. Quade)
2. วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn)
3. สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Naget)
4. โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) ฯลฯ
ส่วนนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ได้แก่
1. กรอส (Gross)
2. ไจแอคควินทา (Giacquinta)
3. เบิร์นสไตล์ (Bernstein)
4. กรีนวูด (Greenwood)
5. แมน (Mann)
6. แมคลัฟลิน (McLaughlin)
7. เบอร์แมน (Berman)
8. เดล อี. ริชาร์ด (Dale E. Richards)
9. เพรสแมน (Pressman)
10. วิลดัฟสกี (Wildavsky)
11. มองจอย (Montjoy)
12. โอทูเล (O’Toole)
13. โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith)
14. พอล เอ. ซาบาเตียร์ (Paut A. Sabatier)
15. ดาเนียล เอ. แมซมาเนียน (Daniel A. Mazmanian)
16. อีมิลี ไซมี โลวี ไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Lowe Brizendine) ฯลฯ

52. ข้อใดไม่ถูกต้องตามแนวคิดของเบอร์แมน
(1) บทความ “The Dugy of Macro and Micro Implementation”
(2) ฐานคติสําคัญคือปัญหาการนํานโยบายไปปฏิบัติส่วนมากจะเกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์จากสถาบันต่าง ๆ
(3) นโยบายทางสังคมจะเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมต่อบริการของรัฐ
(4) ผู้ปฏิบัติในแต่ละระดับจะไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
(5) ผลสําเร็จของนโยบายอยู่ในมือของผู้ปฏิบัติ
ตอบ 4 หน้า 174 – 175 เบอร์แมน (Berman) ได้นําเสนอบทความเรื่อง “The Dugy of Macro and Micro Implementation” เมื่อปี ค.ศ. 1978 เพื่อใช้เป็นกรอบการศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติ โดยมีฐานคติที่สําคัญว่าปัญหาการนํานโยบายไปปฏิบัติส่วนมากจะเกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์จาก สถาบันต่าง ๆ ที่รับผิดชอบต่อการนํานโยบายไปปฏิบัติ โดยเฉพาะนโยบายทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมต่อบริการของรัฐไปยังประชาชนนั้นสามารถจะแยกปัญหาทางการนํานโยบาย ไปปฏิบัติในระดับมหภาคที่อยู่ในส่วนรับผิดชอบของรัฐบาลกลางออกจากปัญหาการนํานโยบาย ไปปฏิบัติในระดับจุลภาคซึ่งอยู่ในส่วนรับผิดชอบของรัฐบาลส่วนท้องถิ่น กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติ ในแต่ละระดับจะสร้างปฏิสัมพันธ์ในการจะกําหนดว่าใครได้อะไร เมื่อไร และอย่างไร และ ส่งผลต่อระดับของความสําเร็จในขั้นปฏิบัติการได้ นอกจากนี้เบอร์แมนยังได้ชี้ให้เห็นว่าอํานาจ
อันทรงอิทธิพลในอันที่จะกําหนดผลสําเร็จของนโยบายอยู่ในมือของผู้ปฏิบัติในระดับท้องถิ่นหาใช่ผู้บริหารจากส่วนกลางแต่อย่างใด

53. ตามทฤษฎีเกี่ยวกับการนํานโยบายไปปฏิบัติ เพรสแมนและวิลด์ฟสกี กล่าวถึง การนํานโยบายไปปฏิบัติ คือ
(1) การผลิตผลลัพธ์ออกมา การทําให้สําเร็จ
(2) การดําเนินงานภาครัฐให้ตรงตามเป้าหมาย
(3) กิจกรรมของภาครัฐที่แก้ไขปัญหาของประเทศ
(4) กระบวนการทํางานของภาครัฐ
(5) การทํางานตามที่ได้รับมอบหมายจากภาครัฐ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

54. ใครให้เหตุผลในการกําหนดนโยบายไว้ 3 ประการ คือ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพและเหตุผลทางการเมือง
(1) Harold Lasswell
(2) Thomas R. Dye
(3) Stuart S. Nagel
(4) William Dunn
(5) Date E. Richards
ตอบ 2 หน้า 57, (คําบรรยาย) โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) ได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผล (ความสําคัญ)
ของการศึกษาและการกําหนดนโยบายสาธารณะไว้ 3 ประการ คือ
1. เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Reasons) คือ การทําความเข้าใจเหตุและผลของ การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อให้ได้นโยบายที่มีเหตุผลมากที่สุด
2. เหตุผลทางวิชาชีพ (Professional Reasons) คือ การนําความรู้เชิงนโยบายไปใช้แก้ปัญหา ทางด้านการปฏิบัติ โดยวิชาชีพที่แตกต่างกันจะทําให้การกําหนดนโยบายและการนํานโยบายไปปฏิบัติของแต่ละวิชาชีพมีความแตกต่างกัน
3. เหตุผลทางการเมือง (Political Reasons) คือ การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสม ทางการเมืองมาใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง โดยการใช้เหตุผลทางการเมือง มักจะทําให้การกําหนดนโยบายเป็นไปอย่างไม่มีเหตุผลแต่เป็นที่ยอมรับของประชาชน เช่น นโยบายประชานิยมต่าง ๆ เป็นต้น

55. การมีผลประโยชน์ในการเลือกกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือการมีลักษณะความเคร่งครัดในการเลือกกลุ่ม
ในทางปฏิบัติจะมีน้อย
(1) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง
(2) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง
(3) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง
(4) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลองและกึ่งทดลอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

56. ทฤษฎีการนํานโยบายไปปฏิบัติของเออร์วิน ฮาร์โกรฟ ได้พัฒนาวิธีการจากแนวคิดฮิล (Hill) เพื่อสร้างเป็นทฤษฎีอะไร
(1) ทฤษฎีระดับต้น
(2) ทฤษฎีระดับกลาง
(3) ทฤษฎีระดับสูง
(4) ทฤษฎีระดับบริหาร
(5) ทฤษฎีระดับองค์การ
ตอบ 2 หน้า 169 เออร์วิน ฮาร์โกรฟ (Erwin Hargrove) ได้พัฒนาวิธีการจากแนวคิดฮิล (Hill เพื่อสร้างเป็นทฤษฎีระดับกลาง (Middle Range Theory) สําหรับการวิเคราะห์โปรแกรม ประเภทต่าง ๆ โดยมีหลักการที่สําคัญ 3 ประการ คือ
1. ปัญหาทางนโยบายที่ต่างประเภทกันจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มของผู้เข้าไปมีส่วนร่วมที่ต่างกันและระดับของการปฏิบัติการที่ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาของนโยบายที่นําเสนอ
2. กระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติจะแปรผันไปตามลักษณะของนโยบายและนโยบายนั้น ๆ ยังสามารถจําแนกเป็นประเภทต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการทํานายกระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติ
3. ภาษาที่ใช้ในกฎหมายใด กฎหมายหนึ่งจะใช้เป็นพื้นฐานในการจําแนกประเภทของโปรแกรม

57. การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด
(1) การก่อตัวของนโยบาย
(2) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย
(3) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(5) การเตรียมและเสนอนโยบาย
ตอบ 4 หน้า 50 – 51, (คําบรรยาย) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงการนําทรัพยากรต่าง ๆ ไปจัดสรรเพื่อก่อให้เกิดผลตามนโยบายซึ่งประกอบด้วย
1. การส่งต่อนโยบาย (Policy Delivery)
2. การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ
3. การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย
4. การดําเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ (Street-Level Bureaucracy)
5. การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมายอํานาจหน้าที่ และการติดต่อสื่อสาร
6. การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

58. สิ่งแวดล้อม เป็นตัวแปรที่สําคัญของทฤษฎีอะไร
(1) ทฤษฎีกลุ่ม
(2) ทฤษฎีระบบ
(3) ทฤษฎีการตัดสินใจ
(4) ทฤษฎีสถาบันนิยม
(5) ทฤษฎีผู้นํา
ตอบ 2 หน้า 108, (คําบรรยาย) ทฤษฎีระบบ (System Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตของระบบ โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สําคัญ 5 ตัวแปร คือ
1. ปัจจัยนําเข้า (Inputs) (Outputs)
2. กระบวนการ (Process)
3. ปัจจัยนําออกหรือผลผลิต
4. ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
5. สิ่งแวดล้อม (Environment)

59. ลักษณะที่สําคัญของการนํานโยบายไปปฏิบัติ วิลเลียม เน้นการพิจารณาในฐานะนักทฤษฎีองค์การ กล่าวคือ
(1) มองโดยใช้องค์การเป็นกรอบอ้างอิง
(2) มององค์การเป็นกลไกขับเคลื่อน
(3) มององค์การเป็นปัจจัยแห่งความสําเร็จ
(4) มององค์การต้องการผู้นํา
(5) มององค์การที่เน้นการบริหาร
ตอบ 1 หน้า 144 ลักษณะสําคัญของการนํานโยบายไปปฏิบัติอาจมีแตกต่างกันขึ้นอยู่กับจุดเน้นหรือความสนใจของนักวิชาการแต่ละคน เช่น แมชมาเนียนและซาบาเตียร์มองการนํานโยบาย ไปปฏิบัติจากทรรศนะทางกฎหมายและมองจากระดับมหภาค ในขณะที่วิลเลียมเน้นการพิจารณา ในฐานะของนักทฤษฎีองค์การ กล่าวคือ มองโดยใช้องค์การเป็นกรอบอ้างอิง

60. ใครสนใจในการวิเคราะห์นโยบาย
(1) E.S. Quade
(2) Stuart S. Nagel
(3) Thomas B. Smith
(4) E.S. Quade และ Stuart S. Nagel
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

61. งานวิจัย ปิยวดี ภูศรี มีการศึกษา 3 ตัวแบบ ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) ตัวแบบระบบราชการ
(2) ตัวแบบการตัดสินใจโดยเพื่อนร่วมงาน
(3) ตัวแบบทางการเมือง
(4) ตัวแบบชนชั้นนํา
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 150 ปิยวดี ภูศรี ได้เสนอวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเรื่อง “An Examination of Models of Decision Making in Six Thai Teachers Colleges” เมื่อปี ค.ศ. 1985 โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบตัวแบบการตัดสินใจของวิทยาลัยครูในประเทศไทย 6 แห่งใน 3 ตัวแบบ คือ 1. ตัวแบบระบบราชการ 2. ตัวแบบการตัดสินใจโดยเพื่อนร่วมงาน 3. ตัวแบบทางการเมือง

62. วิจัยของเจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ มีปัจจัย 6 ด้านที่ใช้เป็นกรอบการปฏิบัตินโยบาย ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) จุดกําเนิดนโยบาย
(2) ความชัดเจนของนโยบาย
(3) เป้าหมายของนโยบาย
(4) การสนับสนุนของนโยบาย
(5) ความซับซ้อนของการบริหารนโยบาย
ตอบ 3 หน้า 147 เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ ได้ศึกษาเรื่อง “การปฏิบัตินโยบายสําหรับจังหวัดชายแดน ภาคใต้ : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดนราธิวาส” โดยกรอบทฤษฎีที่นํามาใช้ในการศึกษาใช้กรอบ การปฏิบัตินโยบายซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 6 ด้าน คือ
1. จุดกําเนิดนโยบาย
2. ความชัดเจนของนโยบาย
3. การสนับสนุนของนโยบาย
4. ความซับซ้อนของการบริหารนโยบาย
5. แรงจูงใจของผู้ปฏิบัตินโยบาย
6. การจัดสรรทรัพยากร และกระบวนการทางสังคม

63.งานวิจัย Implementation (1973) ถือเป็นผลงานชิ้นสําคัญที่ทําให้เกิดวิชาใด
(1) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(2) การศึกษานโยบายสาธารณะ
(3) ปัจจัยความสําเร็จของนโยบาย
(4) การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จขององค์การ
(5) การนํานโยบายไปปฏิบัติขึ้นในการศึกษานโยบายสาธารณะ
ตอบ 5 หน้า 145 เพรสแมนและวิลด์ฟสกี (Pressman and Wildavsky) ได้เสนอผลงานการวิจัย การนํานโยบายไปปฏิบัติภายใต้ชื่อ “Implementation” เมื่อปี ค.ศ. 1973 ซึ่งผลงานฉบับนี้ ถือว่าเป็นก้าวหน้าสําคัญชิ้นหนึ่งที่ทําให้เกิดวิชาการนํานโยบายไปปฏิบัติขึ้นในการศึกษานโยบายสาธารณะ

64. ลักษณะ 5 ประการที่แรนดาล ริปเลย์ และเกรซ แฟรงกลิน พิจารณาว่าเป็นลักษณะของการนํานโยบายไปปฏิบัติ ข้อใดผิด
(1) มีปัจจัยหลายประการที่สําคัญและอยู่นอกเหนือการควบคุม
(2) มีผู้เกี่ยวข้องสําคัญมากมาย
(3) นโยบายและโครงการของรัฐบาลมักขยายใหญ่โตขึ้นทุกวัน
(4) เกี่ยวข้องกับหน่วยงานในระดับมหภาคเท่านั้น
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 144 แรนดาล ริปเลย์ และเกรซ แฟรงกลิน (Randell Ripley and Grace Franklin) ได้พิจารณาลักษณะของการนํานโยบายไปปฏิบัติว่ามีลักษณะสําคัญ 5 ประการ คือ
1. มีผู้เกี่ยวข้องสําคัญ ๆ มากมาย
2. ผู้เกี่ยวข้องล้วนมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลายและมักแตกต่างกัน
3. นโยบายและโครงการของรัฐบาลมักขยายใหญ่โตขึ้นทุกวัน
4. หน่วยงานในหลายระดับ จากหลายกระทรวง ทบวง กรม มีส่วนร่วมในการดําเนินกิจการ
5. มีปัจจัยหลายประการที่สําคัญมากและอยู่นอกเหนือการควบคุม

65. งานวิจัย อาคม ใจแก้ว ใช้วิธีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และได้ทดสอบที่ตัวแบบ
(1) 2 ตัวแบบ
(2) 3 ตัวแบบ
(3) 4 ตัวแบบ
(4) 5 ตัวแบบ
(5) 6 ตัวแบบ
ตอบ 1 หน้า 148 – 149 อาคม ใจแก้ว ได้ศึกษาเรื่อง “การนํานโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ : ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสําเร็จ” โดยใช้ทั้งวิธีการเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ และได้ทดสอบตัวแบบ 2 ตัวแบบ คือ ตัวแบบที่ 1 เป็นการศึกษาความสําเร็จ ของการนํานโยบายไปปฏิบัติโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนไทยมุสลิม และตัวแบบที่ 2 เป็น การศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการระดับล่าง

66. นักวิชาการใดมองการนํานโยบายไปปฏิบัติจากทรรศนะทางกฎหมายและมองจากระดับมหภาค
(1) ดาเนียล เอ. แมซมาเนียน
(2) แมซมาเนียนและซาบาเตียร์
(3) เออร์วิน ฮาร์โกรฟ
(4) โทมัส บี. สมิท
(5) มิลบรีย์ แมคลัฟลิน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

67.เพรสแมน (Pressman) และวิลดัฟสกี (Wildavsky) กล่าวถึงการนํานโยบายไปปฏิบัติให้เกิดผลสําเร็จนั้น ต้องกําหนดสิ่งใด
(1) มีงบประมาณที่แน่นอน
(2) บุคลากรให้ความสําคัญ
(3) เป้าหมายมีความชัดเจน สามารถนําไปปฏิบัติได้จริง
(4) รูปแบบของนโยบายไปพร้อมกับวิธีการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(5) สภาพแวดล้อมที่เอื้ออํานวยต่อนโยบาย
ตอบ 4 หน้า 142 – 143 เพรสแมน (Pressman) และวิลดัฟสกี (Wildavsky) กล่าวว่า การนํานโยบาย ไปปฏิบัติ คือ การนําไปปฏิบัติ ทําให้สําเร็จ เติมเต็ม ผลลัพธ์ ทําให้สมบูรณ์ และการนํานโยบาย ไปปฏิบัติให้เกิดผลสําเร็จนั้นต้องกําหนดรูปแบบของนโยบายไปพร้อมกับวิธีการนํานโยบายไปปฏิบัติ

68. รัฐจึงส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศโดยถือหลักความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อกัน และไม่แทรกแซง กิจการภายในของกันและกัน ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 64
(2) มาตรา 66
(3) มาตรา 75
(4) มาตรา 76
(5) มาตรา 77
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 66 บัญญัติให้ รัฐจึงส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับ นานาประเทศโดยถือหลักความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อกัน และไม่แทรกแซงกิจการภายใน ของกันและกัน ให้ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ และคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติและของคนไทยในต่างประเทศ

69. การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบาย เป็นแนวโน้มในเรื่องใด
(1) แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย
(2) แนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบ
(3) แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ
(4) แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า
(5) แนวโน้มเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน
ตอบ 1 หน้า 74 แนวโน้มการวิเคราะห์นโยบายในอนาคต มี 3 แนวโน้มใหญ่ คือ
1. แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า จะมุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายโดยหาทางเลือกที่ดีที่สุด ที่ทําให้ประชาชนพอใจ และสนองต่อคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม โดยการเน้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น เพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง
2. แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย จะมุ่งเน้นการหาวิธีการที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ โดยการพิจารณามิติทางการเมืองและการบริหาร และมีการนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขาวิชา มาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายในลักษณะสหวิทยาการ
3. แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ จะมุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงธุรกิจที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน(Cost-Benefit) รวมทั้งการคํานึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้นด้วย

70. รัฐพึงจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่ช่วยให้เกษตรกรประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตที่มี ปริมาณและคุณภาพสูง มีความปลอดภัย โดยใช้ต้นทุนต่ําและสามารถแข่งขันในตลาดได้ ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 64
(2) มาตรา 73
(3) มาตรา 74
(4) มาตรา 76
(5) มาตรา 77
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 73 บัญญัติให้ รัฐพึงจัดให้มีมาตรการหรือ กลไกที่ช่วยให้เกษตรกรประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและ คุณภาพสูง มีความปลอดภัย โดยใช้ต้นทุนต่ําและสามารถแข่งขันในตลาดได้ และพึงช่วยเหลือ เกษตรกรผู้ยากไร้ให้มีที่ทํากินโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่นใด

71. แนวคิดของวรเดช จันทรศร ข้อใดถูกต้อง
(1) ค.ศ. 1984 มีบทความที่สําคัญ
(2) บทความเรื่อง “การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(3) ตัวแบบพิเศษ
(4) 6 ตัวแบบการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(5) ตัวแบบด้านการบริหารจัดการ
ตอบ 3 หน้า 182 – 183 วรเดช จันทรศร ได้เสนอบทความเรื่อง “การนํานโยบายไปปฏิบัติ : ตัวแบบและคุณค่า” เมื่อปี ค.ศ. 1984 ซึ่งในบทความนี้ได้นําเสนอตัวแบบการศึกษา การนํานโยบายไปปฏิบัติ 6 ตัวแบบ คือ
1. ตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผล
2. ตัวแบบทางด้านการจัดการ
3. ตัวแบบทางด้านการพัฒนาองค์การ
4. ตัวแบบกระบวนการของระบบราชการ
5. ตัวแบบกระบวนการทางการเมือง
6. ตัวแบบทั่วไป

72. ความสามารถในการดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่ ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
(1) ประสิทธิผล
(2) ความพอเพียง
(3) ประสิทธิภาพ
(4) ความเหมาะสม
(5) ความสามารถในการตอบสนอง
ตอบ 2 หน้า 100 ความพอเพียง (Adequacy) หมายถึง ความสามารถในการดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่ โดยทั่วไปเงื่อนไข ของทรัพยากรมักจะวัดในรูปของงบประมาณที่มีอยู่

73. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) Nagel ศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(2) Dunn ศึกษาการวิเคราะห์นโยบาย
(3) Quade เสนอจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์นโยบาย
(4) Anderson ศึกษากระบวนการนโยบาย
(5) Dimock อธิบายความคิดสร้างสรรค์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

74. ความหมายของกระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติของยูยีน บาร์แดช (Eugene Bardach) คือ
(1) กระบวนการ ขั้นตอนการดําเนินงานของภาครัฐ
(2) ขั้นตอนที่มีเป้าหมายที่ชัดเจนของนโยบาย
(3) กระบวนการทํางานทางปฏิสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์
(4) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรกับองค์การ
(5) การจัดหาตระเตรียมวิธีการทั้งหลายที่จะให้ดําเนินงานสําเร็จลุล่วง
ตอบ 3 หน้า 142 ยูยีน บาร์แดช (Eugene Bardach) กล่าวว่า กระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติ เป็นกระบวนการทํางานทรงปฏิสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของนโยบายก็ได้

75. ประเทศไทยมี New Engines of Growth ได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลาย
เชิงวัฒนธรรม
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(2) Thailand 4.0
(3) คําแถลงนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(4) ทิศทางกระแสต่างประเทศ
(5) ไม่ตรงกับข้อใดเลย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

76. มุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภายใต้ทุนวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และทุนมนุษย์
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(2) Thailand 4.0
(3) คําแถลงนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(4) ทิศทางกระแสต่างประเทศ
(5) ไม่ตรงกับข้อใดเลย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

77. เป็นเทคนิคที่เหมาะสําหรับการประเมินผลตามแนวการทดลองทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดลอง ที่มีการกําหนดกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มควบคุมเอาไว้เรียบร้อยแล้ว
(1) Format Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

78.แรนดาล ริบเลย์ และเกรซ แฟรงกลิน มีแนวคิดลักษณะของการนํานโยบายไปปฏิบัติคือข้อใด
(1) ผู้เกี่ยวข้องล้วนมีวัตถุประสงค์และหลักการเหมือนกัน
(2) หน่วยงานในหลายระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
(3) มีปัจจัยหลายประการที่สําคัญมากอยู่นอกเหนือการควบคุม
(4) นโยบายและโครงการมักเป็นของรัฐและเอกชนลงทุนร่วมมือกัน
(5) รัฐจะเป็นฝ่ายกําหนดให้ภาคเอกชนดําเนินการก่อนเสมอ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 64. ประกอบ

79. ใครเสนอว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ
(1) Carl J. Friedrich
(2) Ira Sharkansky
(3) David Easton
(4) Theodore Lowi
(5) William Greenwood
ตอบ 2 หน้า 3 ไอรา ซาร์แคนสกี้ (Ira Sharkansky) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรม ต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ การควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจ ของเอกชน เป็นต้น”

80. มุ่งเน้นวิทยาการทั้ง 5 เพื่อความได้เปรียบ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการวิจัยและพัฒนา
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(2) Thailand 4.0
(3) คําแถลงนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(4) ทิศทางกระแสต่างประเทศ
(5) ไม่ตรงกับข้อใดเลย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

81. รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 68
(2) มาตรา 71
(3) มาตรา 73
(4) มาตรา 75
(5) มาตรา 77
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 68 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร
2. รัฐจึงมีมาตรการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยเคร่งครัด ปราศจากการแทรกแซงหรือครอบงําใด ๆ
3. รัฐจึงให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่จําเป็นและเหมาะสมแก่ผู้ยากไร้หรือผู้ด้อยโอกาส ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมตลอดถึงการจัดหาทนายความให้

82. รัฐจึงพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีทัศนคติเป็นผู้ให้บริการประชาชนให้เกิด ความสะดวก รวดเร็ว ไม่เลือกปฏิบัติ และปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 72
(2) มาตรา 74
(3) มาตรา 75
(4) มาตรา 76
(5) มาตรา 78
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

83. เหตุใดการนํานโยบายการจ้างงานชนกลุ่มน้อยแห่งนครโอคแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ไปปฏิบัติจึงประสบความล้มเหลว
(1) ผู้ริเริ่มและรับผิดชอบไม่ได้ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง
(2) มีประเด็นการตัดสินใจมากจนเกินไป
(3) ตัวโครงการเองไม่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
(4) มีจํานวนหน่วยงานเข้าไปมีส่วนร่วมมาก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 145 เพรสแมนและวิลดัฟสกี (Pressman and Wildavsky) ได้ศึกษานโยบายการจ้างงาน ชนกลุ่มน้อยแห่งนครโอคแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย พบว่า การนํานโยบายการจ้างงานชนกลุ่มน้อย ไปปฏิบัติประสบความล้มเหลว เพราะสาเหตุจากผู้ริเริ่มและรับผิดชอบไม่ได้ดําเนินการอย่าง ต่อเนื่อง มีประเด็นการตัดสินใจมากจนเกินไป มีจํานวนหน่วยงานเข้าไปมีส่วนร่วมมากและต่างก็ มีวัตถุประสงค์และวิธีปฏิบัติที่ต่างกัน ตัวโครงการไม่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย การควบคุม กับการอนุมัติงบประมาณขัดแย้งกัน ลักษณะการดําเนินงานกระทําด้วยความเร่งรีบมีความสลับซับซ้อนสูง และขาดการประสานงานที่ดี

84. เป็นเทคนิคที่ประกอบไปด้วย การประเมินความสามารถที่จะประเมินได้ และการวิเคราะห์อรรถประโยชน์
แบบพหุลักษณ์
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 2 หน้า 254 – 255 การประเมินผลแบบพิจารณาความเหมาะสม (Decision Theoretical Evaluation) เป็นเทคนิคการประเมินผลที่มุ่งสร้างข่าวสารที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เกี่ยวกับผลของนโยบายโดยใช้คุณค่าหรือผลประโยชน์ที่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้รับเป็นเกณฑ์ประเมิน ซึ่งรูปแบบของการประเมินผลแบบนี้มี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ การประเมินความสามารถที่จะ ประเมินได้ และการวิเคราะห์อรรถประโยชน์แบบพหุลักษณ์

85. ใครเสนอว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่าของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมาย
(1) Theodore Lowi
(2) Ira Sharkansky
(3) Carl J. Friedrich
(4) William Greenwood
(5) David Easton
ตอบ 5 หน้า 3 เดวิด อีสตัน (David Easton) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรร และแจกแจงคุณค่า (Values) ต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ ของสังคมส่วนรวม”

86.แวน มิเตอร์ และแวน ฮอร์น เขียนบทความใดเมื่อปี ค.ศ. 1975
(1) The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework
(2) Implementation
(3) The Case of Stull Act
(4) The Lanterman Petris Short Act
(5) Theory Constuction and Testing in Implementation Research: A Comparative State Diachronic Analysis
ตอบ 1 หน้า 171 – 172 แวน มิเตอร์ และแวน ฮอร์น (Van Meter and Van Horn) ร่วมกันเขียน บทความเรื่อง “The Policy Implementation Process : A Conceptual Framework” เมื่อปี ค.ศ. 1975 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจกระบวนการของการนํานโยบายไปปฏิบัติพร้อมกับนําเสนอตัวแบบในการวิเคราะห์การนํานโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับผู้ปฏิบัติในองค์การที่รับผิดชอบต่อนโยบายโดยตรง และองค์การอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

87. เป็นเทคนิคที่เน้นประเมินผลนโยบายจากวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการ โดยเชื่อว่าวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการโดยผู้กําหนดนโยบายเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 1หน้า 251 – 252 การประเมินผลแบบเป็นทางการ (Formal Evaluation) เป็นเทคนิค ที่ใช้วิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ในการสร้างข่าวสารที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เกี่ยวกับผลของ นโยบาย โดยประเมินผลของนโยบายจากวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายที่กําหนดไว้ อย่างเป็นทางการ เพราะเชื่อว่าวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการโดยผู้กําหนดนโยบายเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว

88. นโยบายสาธารณะที่ได้มาจากการเจรจาต่อรอง เกี่ยวข้องกับทฤษฎีอะไร
(1) ทฤษฎีการตัดสินใจ
(2) ทฤษฎีกลุ่ม
(3) ทฤษฎีผู้นํา
(4) ทฤษฎีระบบ
(5) ทฤษฎีสถาบันนิยม
ตอบ 2 หน้า 107, (คําบรรยาย) ทฤษฎีกลุ่ม (Group Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะเป็น ผลผลิตของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มผลประโยชน์กับนโยบายสาธารณะ โดยชี้ให้เห็นว่านโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตที่ได้มาจาก การเจรจาต่อรอง การประนีประนอม และการถ่วงดุลผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ

89.Reform in Action ที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูปการวิจัยและการพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษา
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(2) Thailand 4.0
(3) คําแถลงนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(4) ทิศทางกระแสต่างประเทศ
(5) ไม่ตรงกับข้อใดเลย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

90. นักวิชาการท่านใดศึกษาความเป็นมาของการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(1) มิลบรีย์ แมคลัฟลิน (Milbrey Mclaughlin)
(2) เพรสแมน (Pressman) และวิลดัฟสกี (Wildavsky)
(3) พอล เอ. ซาบาเตียร์ (Paul A. Sabatier)
(4) ดาเนียล เอ. แมซมาเนียน (Daniel A. Mazmanian)
(5) ยูยีน บาร์แดช (Eugene Bardach)
ตอบ 3, 4 หน้า 61 พอล เอ. ซาบาเดียร์ และดาเนียล เอ. แมซมาเนียน (Paul A. Sabatier and Daniel A. Mazmanian) ได้เขียนบทความเรื่อง “Policy Implementation” เมื่อปี 1982 ซึ่งเป็นการศึกษาถึงความเป็นมาของการนํานโยบายไปปฏิบัติ โดยแสดงทัศนะว่าการศึกษา สาขาการนํานโยบายไปปฏิบัติปรากฏเป็นรูปร่างที่ชัดเจนในต้นศตวรรษ 1970 โดยเฉพาะ นับจากผลงานเรื่อง “Implementation (1973)” ของเพรสแมนและวิลดัฟสกีเป็นต้นมา

91. การจัดทําเกณฑ์ชี้วัดในการศึกษานโยบายอยู่ในขั้นตอนใด
(1) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(2) การก่อตัวของนโยบาย
(3) การประเมินผลนโยบาย
(4) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย
(5) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
ตอบ 3หน้า 51 – 52 ขั้นตอนการประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation) ประกอบด้วย
1. การกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน
2. การกําหนดเกณฑ์วัดและวิธีการตรวจสอบสิ่งที่ต้องการประเมิน
3. การกําหนดวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิธีการรายงาน
4. การนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนโยบาย

92. ข้อใดไม่ใช่การวิเคราะห์โปรแกรมประเภทต่าง ๆ ของเออร์วิน ฮาร์โกรฟ
(1) ปัญหาทางนโยบายที่ต่างประเภทกัน
(2) กระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(3) ภาษาที่ใช้ในกฎหมายใดกฎหมายหนึ่ง
(4) ผู้ปฏิบัติงานมีจํานวนมาก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ

93. ใครกล่าวว่า การวิเคราะห์นโยบายเป็นการใช้วิธีการที่หลากหลายในการนําเสนอข้อเท็จจริงและเหตุผล
มาแปรรูปในการกําหนดนโยบายเพื่อแก้ปัญหาทางการเมืองที่มีสภาวการณ์ที่แตกต่างกัน
(1) Thomas R. Dye
(2) Harold Lasswell
(3) William Dunn
(4) Stuart S. Nagel
(5) James Anderson
ตอบ 3 หน้า 72 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn) กล่าวว่า “การวิเคราะห์นโยบายเป็นสาขาหนึ่งของสังคมศาสตร์ประยุกต์ที่ใช้วิธีการหลากหลายในการนําเสนอข้อเท็จจริง และเหตุผลมาแปรรูปในการกําหนดนโยบายเพื่อแก้ปัญหาในทางการเมืองที่มีสภาวการณ์แตกต่างกัน”

94. มีความมุ่งหมายที่จะทําให้การตีความต่าง ๆ ถูกต้อง เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากโครงการ มีบ่อยครั้งที่คําอธิบายในผลลัพธ์ที่ถูกต้องจะแสดงให้เห็นถึงการไม่มีการเปลี่ยนแปลงนอกเหนือไปจากการแสดงให้เห็นความล้มเหลวของโครงการ
(1) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง
(2) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง
(3) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลองและกึ่งทดลอง
(4) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

95. ใครให้ความหมายของการวิเคราะห์นโยบายไว้ว่า เป็นการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในชุดของ
เป้าหมายที่กําหนดไว้
(1) William Dunn
(2) Harold Lasswell
(3) Thomas R. Dye
(4) Stuart S. Nagel
(5) James Anderson
ตอบ 4 หน้า 72 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) กล่าวว่า “การวิเคราะห์นโยบาย เป็นการกําหนดและตัดสินทางเลือกของนโยบาย โดยการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่คิดว่าดีที่สุด ในชุดของเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยเปรียบเทียบทางเลือกเหล่านั้นกับการบรรลุเป้าหมาย”

96. มองจอยและโอทูเล เสนอลักษณะของนโยบายไว้ที่ประเภท
(1) 3 ประเภท
(2) 4 ประเภท
(3) 5 ประเภท
(4) 6 ประเภท
(5) 7 ประเภท
ตอบ 2

97. ใครเสนอว่า อุปสรรคจะเป็นแรงผลักดันให้มีการเสนอนโยบายเพื่อไปใช้ประโยชน์
(1) David Easton
(2) Ira Sharkansky
(3) Carl J. Friedrich
(4) Theodore Lowi
(5) William Greenwood
ตอบ 3 หน้า 3 คาร์ล เจ. ฟรีดริช (Carl J. Friedrich) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง ข้อเสนอ สําหรับแนวทางการดําเนินงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือรัฐบาล ภายในสภาพแวดล้อมแบบหนึ่ง ซึ่งอาจมีทั้งอุปสรรคและโอกาสบางประการ โดยอุปสรรคและโอกาสนี้จะเป็นแรงผลักดันให้มี การเสนอนโยบายขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ และเอาชนะสภาพการณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อนําไปสู่ เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง”

98. ปัญหาในการจัดซื้อเรือดําน้ําของกองทัพเรือ เป็นปัญหาประเภทใด
(1) ปัญหาที่มีโครงสร้างแน่นอน
(2) ปัญหาที่มีโครงสร้างปานกลาง
(3) ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน
(4) ปัญหาที่ไม่มีตัวตนแท้จริง
(5) ปัญหาที่สร้างความแตกแยก
ตอบ 1 หน้า 91, (คําบรรยาย) ปัญหาที่มีโครงสร้างแน่นอน (Well-Structured Problem) เป็นปัญหาที่มีผู้เกี่ยวข้องในการกําหนดประเด็นปัญหาจํานวนน้อย ทางออกในการแก้ปัญหา ค่อนข้างชัดเจนและมีเพียง 1 – 3 ทางเท่านั้น นอกจากนี้อรรถประโยชน์ก็เป็นที่ยอมรับกันของสาธารณชน และผลที่จะได้รับก็ค่อนข้างแน่นอนด้วย เช่น ปัญหาการจัดซื้อยานพาหนะ ปัญหาการจัดซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่ ปัญหาการจัดซื้อเรือดําน้ำของกองทัพเรือ ปัญหาการสร้างตึกทําการใหม่ เป็นต้น

99. การนํานโยบายไปปฏิบัติเป็นขั้นตอนที่สําคัญ แต่มักจะไม่ได้รับความสนใจอย่างจริงจัง เพราะเหตุใด
(1) แต่เดิมนักวิเคราะห์นโยบายมักจะแยกการนํานโยบายไปปฏิบัติออกจากการวางนโยบาย
(2) นักวิเคราะห์จะศึกษาเฉพาะเป้าหมาย
(3) นักวิเคราะห์ไม่เข้าใจนโยบาย
(4) นักวิเคราะห์นโยบายมักจะแยกการนํานโยบายไปปฏิบัติออกจากการวางนโยบายและศึกษา
เฉพาะเป้าหมาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

100. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการ การเปรียบเทียบผลของการนํานโยบายไปปฏิบัติกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่กระทําอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาในทุกขั้นตอนนโยบาย
(1) Emil J. Posavac & Raymond G. Carey
(2) James E. Anderson
(3) Charles O. Jones
(4) William N. Dunn.
(5) ศุภชัย ยาวะประภาษ
ตอบ 2หน้า 229 เจมส์ อี. แอนเดอร์สัน (James E. Anderson) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบาย เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการ การเปรียบเทียบผลของการนํานโยบายไปปฏิบัติ กับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่กระทําอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาในทุกขั้นตอนของนโยบาย

POL3300 การบริหารการคลัง 1/2566

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3300 การบริหารการคลัง
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.งบประมาณแผ่นดินมีลักษณะดังนี้
(1) เป็นบัญชีแสดงรายรับรายจ่าย
(2) เป็นกฎหมาย
(3) มีกระบวนการจัดทําที่มีลักษณะกระจายอํานาจ
(4) ทั้งข้อ 2 และ 3
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 15 – 20, 63 – 66, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดิน มีลักษณะดังนี้
1. เป็นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายเงินแผ่นดิน
2. เป็นกฎหมายทางการเงิน กล่าวคือ มีการตราเป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งกําหนดว่าให้ใช้จ่ายเงินได้ ไม่เกินจํานวนที่กําหนด แต่ในทางปฏิบัติรายจ่ายจริงอาจมีน้อยกว่ารายจ่ายที่กฎหมาย งบประมาณกําหนดไว้ก็ได้
3. เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับต่อประชาชนทุกคนในชาติ
4. มีรายได้ (รายรับ) มาจากการจัดเก็บภาษีอากร การก่อหนี้สาธารณะ การขายสิ่งของและ บริการ และรัฐพาณิชย์
5. คํานึงถึงความพึงพอใจของประชาชนเป็นแรงจูงใจในการจัดทํางบประมาณ
6. มีรายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับ
7. มีกระบวนการจัดทํางบประมาณที่มีลักษณะกระจายอํานาจ
8. มีประชาชนเป็นเจ้าของกิจการที่แท้จริง
9. มีการอนุมัติงบประมาณโดยรัฐสภา
10. การควบคุมหรือการบริหารงบประมาณจะถูกควบคุมร่วมกันทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ

2. ในยุคที่มีความเชื่อว่า… “งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือในการควบคุมความซื่อสัตย์ในการใช้จ่าย ของรัฐบาล…” งบประมาณแผ่นดินจะให้ความสําคัญไปที่
(1) แผนของรัฐในรูปตัวเงินที่แสดงประสิทธิผลของการใช้เงินตามแผนนั้น ๆ
(2) เอกสารที่ประกอบด้วยโครงการต่าง ๆ ซึ่งเสนอขอรายจ่ายเพื่อให้เกิดการดําเนินงานตามวัตถุประสงค์ ของโครงการนั้น
(3) บัญชีแสดงรายรับรายจ่ายเงินแผ่นดิน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 63, 90 – 91, (คําบรรยาย) ในยุคที่มีความเชื่อว่า งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือ ของฝ่ายนิติบัญญัติในการติดตามควบคุมการใช้ทรัพยากร หรือควบคุมตรวจสอบความถูกต้อง และความซื่อสัตย์สุจริตในการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลนั้น งบประมาณแผ่นดินตามความเชื่อนี้ จะหมายถึง บัญชีแสดงรายรับรายจ่ายเงินแผ่นดิน หรือรายละเอียดของบัญชีที่แสดงประเภท ของการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล หรือรายละเอียดของทรัพยากรที่หน่วยงานเสนอของบประมาณ จากรัฐบาล

3.การวิเคราะห์งบประมาณเป็นกิจกรรมที่อยู่ในขั้นตอนใดของกระบวนการงบประมาณ
(1) การควบคุม
(2) การประเมินผล
(3) การอนุมัติ
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 115 – 116 ในการจัดเตรียมงบประมาณนั้น จะมีการจัดทํารายละเอียดของงบประมาณ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนที่สําคัญ 3 ขั้นตอน คือ
1. เจ้าหน้าที่สํานักงบประมาณพิจารณาวิเคราะห์งบประมาณร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. สํานักงบประมาณเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ พร้อมด้วยเอกสารงบประมาณต่อ คณะรัฐมนตรี
3. นายกรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจําปี พร้อมด้วยเอกสารงบประมาณ ต่อรัฐสภา

4.ที่ว่า “งบประมาณแผ่นดินต้องทําเป็นพระราชบัญญัติ” หมายความว่า
(1) งบประมาณแผ่นดินต้องได้รับการประเมินก่อนนําไปใช้
(2) งบประมาณต้องได้รับการวิเคราะห์ก่อนนําไปใช้
(3) งบประมาณต้องผ่านการทําประชามติก่อนนําไปใช้
(4) ต้องร่างเป็นกฎหมายให้รัฐสภารับรอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 64, 82, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินเป็นเงินของประชาชนที่มอบให้กับรัฐบาลในรูปของภาษีอากรและการกู้ยืมเพื่อนําไปใช้ในการบริหารประเทศ ดังนั้นการใช้จ่ายงบประมาณ จึงต้องได้รับการอนุมัติหรือยินยอมจากประชาชนเสียก่อน แต่เนื่องจากการบริหารราชการในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ประชาชนได้มอบอํานาจการตัดสินใจให้กับรัฐสภา (สภานิติบัญญัติ) ไปแล้ว งบประมาณแผ่นดินซึ่งการจัดทําเป็นหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะจึงจําเป็นต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาโดยต้องทําเป็นกฎหมายหรือพระราชบัญญัติก่อนที่จะนําไปใช้ เพราะถ้างบประมาณไม่ได้รับการรับรองจากสภา รัฐบาลก็จะบริหารประเทศต่อไป ไม่ได้ ดังนั้นจึงถือว่างบประมาณเป็นเครื่องมือ เงื่อนไข หรือกลไกรับรองการเป็นรัฐบาลหรือ การจัดตั้งรัฐบาลในประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

5.ตัวอย่างของ “สินค้าเอกชน” ได้แก่
(1) การจัดแสงสว่างในทางเดินสาธารณะ
(2) บริการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(3) ทางหลวง
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) น้ำมัน
ตอบ 5 หน้า 13, (คําบรรยาย) สินค้าเอกชน (Private Goods) หรือสินค้าเอกชนแท้ (Pure Private Goods) เป็นสินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค สามารถแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้ และ มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า ซึ่งได้แก่สินค้าหรือบริการทั่วไปที่ซื้อขายกันตามท้องตลาด เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า อาหาร น้ำมัน เป็นต้น

6.หลักที่ว่างบประมาณต้องมีระยะเวลาที่แน่นอน หมายความว่าอย่างไร
(1) งบประมาณอาจกําหนดให้ 1 ปีงบประมาณมีระยะเวลา 24 เดือนก็ได้
(2) ปีงบประมาณอาจเริ่มต้นในเดือนใดของปีปฏิทินก็ได้ แต่ต้องมีระยะเวลาแน่นอน
(3) ปีงบประมาณต้องเท่ากันกับปีปฏิทินเสมอ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 68, (คําบรรยาย) ระยะเวลาของการบริหารหรือการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณ เรียกว่า “ปีงบประมาณ” หรือ “ปีคลัง” (Fiscal Year) ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีระยะเวลาที่แน่นอน โดยอาจเป็น 6 เดือน 1 ปี (12 เดือน) หรือ 2 ปี (24 เดือน) ก็ได้ แต่จะต้องเป็นเช่นนั้นทุก ๆ ปี และจะเริ่มต้นในเดือนใดของปีปฏิทินก็ได้ เช่น ปีงบประมาณของไทยมีระยะเวลา 12 เดือน เริ่มต้นจากวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี และไปสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป โดยใช้ ชื่อปีถัดไปเป็นชื่อปีงบประมาณ (เช่น ปีงบประมาณ 2567 จะเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2566 และสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2567)

7.ลักษณะในการกําหนดรายรับรายจ่ายของงบประมาณแผ่นดินโดยหลักการแล้ว
(1) ขึ้นอยู่กับความสามารถในการขายสินค้าและบริการ
(2) รายรับเป็นตัวกําหนดรายจ่าย
(3) สามารถใช้รายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับ
(4) ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดเก็บภาษีอากร
(5) ทั้งข้อ 2 และ 4 4
ตอบ 3 หน้า 65, (คําบรรยาย) ลักษณะการกําหนดรายรับรายจ่ายของงบประมาณแผ่นดินนั้นโดยหลักการแล้วสามารถใช้รายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับได้ เนื่องจากรัฐบาลมีแหล่งของรายรับที่กว้างขวาง และมีอํานาจในการออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีอากรจากประชาชน และก่อหนี้สาธารณะ ในขณะที่เอกชนจะมีรายรับเป็นตัวกําหนดรายจ่าย เพราะเอกชน มีแหล่งรายรับที่จํากัด และขึ้นอยู่กับความสามารถในการหารายได้จากการขายสินค้าและ บริการของตนเป็นสําคัญ

8. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) หลักประสิทธิภาพอาจไม่ไปด้วยกันกับหลักความพึงพอใจ
(2) หลักประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความคุ้มค่าของเงิน
(3) ในสังคมที่มีความแตกต่างทางความคิดมาก ๆ หลักความพึงพอใจจะประสบปัญหามาก
(4) ศูนย์รวมเงินจะต้องให้การบริหารงบประมาณเป็นไปภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน
(5) หลักความพึงพอใจของประชาชนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากร
ตอบ 5 หน้า 69, (คําบรรยาย) การจัดทํางบประมาณแผ่นดินนั้นจะต้องคํานึงถึงผลประโยชน์และ ความพึงพอใจของประชาชน เพราะเงินงบประมาณแผ่นดินเป็นเงินของประชาชน ดังนั้น ประชาชนจึงควรจะได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการจัดทํางบประมาณแผ่นดิน ทั้งนี้ประโยชน์ และความพึงพอใจของประชาชนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ของการจัดทํางบประมาณแผ่นดินจึงไม่เกี่ยวข้องกับหลักประสิทธิภาพหรือการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร

9.สภาวะ “เศรษฐกิจตกต่ำ สินค้าล้นตลาด ประชาชนว่างงาน” รัฐบาลควรใช้นโยบายงบประมาณแบบใด
(1) สมดุล
(2) เกินดุล
(3) ขาดดุล
(4) ขาดดุลควบคู่กับนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง
(5) ขาดดุลควบคู่กับนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สภาวะเงินฝืด หมายถึง สภาวะที่อุปสงค์ด้านสินค้าและบริการน้อยกว่าอุปทาน ด้านสินค้าและบริการ หรือเป็นสภาวะที่มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป ทําให้เศรษฐกิจตกต่ํา สินค้าล้นตลาด และประชาชนว่างงาน ดังนั้นรัฐบาลควรจะแก้ปัญหา ด้วยการเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น โดยการนํานโยบายงบประมาณแบบขาดดุล และการลดอัตราภาษีอากรมาใช้ควบคู่กับนโยบายการเงินดังต่อไปนี้
1. ซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากประชาชน
2. ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์
3. ลดอัตราเงินสดสํารองของธนาคารพาณิชย์
4. ลดอัตราส่วนลดเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยเงินกู้มากขึ้น ฯลฯ

10. ข้อใดถูกต้องตามหลักทฤษฎีการคลัง
(1) เศรษฐกิจที่รัฐบาลจะมีรายได้มาก
(2) เศรษฐกิจ รัฐบาลจะมีภาระรายจ่ายสูงขึ้น
(3) เศรษฐกิจดีคนในสังคมจะมีชีวิตที่เป็นสุข
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามหลักทฤษฎีการคลัง หากเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะมีรายได้มากและจะมีภาระ
รายจ่ายน้อยลง ในทางตรงกันข้ามหากเศรษฐกิจตกต่ํารัฐบาลจะมีรายได้น้อยลงและมีภาระรายจ่ายมากขึ้น

11.สภาวะ “เศรษฐกิจตกต่ํา สินค้าล้นตลาด ประชาชนว่างงาน” เรียกสภาวะดังกล่าวว่าอะไร
(1) สภาวะเงินฝืด
(2) สภาวะเงินเฟ้อ
(3) สภาวะการขาดอุปทาน
(4) สภาวะอุปสงค์ล้นตลาด
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

12. งบประมาณใดต่อไปนี้ที่ใช้หลักของ “ศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน”
(1) งบประมาณราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(2) เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
(3) เงินทุนหมุนเวียน
(4) งบประมาณของสํานักงบประมาณ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 67, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินมีลักษณะเป็นศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน หมายความว่า ในปีงบประมาณหนึ่ง ๆ จะต้องมีการบูรณาการแผนทางการเงินของส่วนราชการต่าง ๆ ให้เป็น แผนเดียวกัน มีการจัดเตรียมและอนุมัติงบประมาณเพียงครั้งเดียว มีการใช้จ่ายตามที่กําหนดไว้ใน งบประมาณรายจ่ายประจําปี หากไม่มีความจําเป็นจะไม่มีการจัดทํางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม รวมทั้งกระบวนการงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ จะต้องดําเนินไปภายใต้กฎข้อบังคับ เดียวกัน ใช้บทบัญญัติเดียวกัน และมีสถาบันหรือหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในขั้นตอนต่าง ๆ ของการบริหารงบประมาณเดียวกัน โดยงบประมาณที่ใช้หลักศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน ได้แก่ งบประมาณประจําปีของส่วนราชการทั่ว ๆ ไป เช่น งบประมาณของสํานักงบประมาณ กรมการปกครอง กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต เป็นต้น

13. Budget Documents หมายถึงอะไร
(1) วงเงินงบประมาณ
(2) เพดานเงินจัดสรร
(3) เงินประจํางวด
(4) เงินที่ไม่ได้รับอนุมัติ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 81 – 82 Budget Documents หมายถึง เอกสารงบประมาณประจําปี ซึ่งเอกสาร งบประมาณประจําปีของไทยมีส่วนประกอบดังนี้
1. คําแถลงประกอบงบประมาณแสดงฐานะและนโยบายทางการคลังและการเงินของประเทศ
2. ตารางแสดงรายรับรายจ่ายเปรียบเทียบ
3. รายละเอียดของหน่วยงาน โครงการ และงาน ต่าง ๆ ของราชการและรัฐวิสาหกิจ
4. รายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของรัฐวิสาหกิจ
5. รายละเอียดเกี่ยวกับหนี้สินของรัฐบาล
6. ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี

14. ตัวอย่างของบริการที่ถ้าให้เอกชนจัดทําแล้วประชาชนอาจเสียประโยชน์
(1) กิจการไปรษณีย์
(2) บริการด้านการศึกษา
(3) โรงงานผลิตรถถัง
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 71 – 72 ตามแนวคิดในการจัดสรรทรัพยากรแบบเสรีนิยมนั้น กิจกรรมที่เอกชนจัดทําแล้ว ประชาชนอาจเสียประโยชน์ ได้แก่ บริการด้านการศึกษา (การจัดการศึกษาภาคบังคับ) บริการด้านสาธารณสุข (การรักษาพยาบาล การป้องกันโรคติดต่อ การให้ความรู้เกี่ยวกับสาธารณสุข ขั้นมูลฐาน) เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมประเภทนี้รัฐจะต้องเข้าไปควบคุมมาตรฐานเพื่อความถูกต้องเหมาะสม

15. การกระจายรายได้ที่เป็นธรรมของสังคม สามารถวัดได้โดย
(1) เปรียบเทียบรายได้ของคนแยกตามกลุ่มอาชีพ
(2) เปรียบเทียบรายได้ของคนในเมืองกับในชนบท
(3) ดูอัตราการว่างงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 73 – 74, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินจะต้องเป็นไปเพื่อ
1. สร้างความเจริญเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจหรือความมั่งคั่งของชาติ ซึ่งสามารถวัดได้
โดยการดูอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลรวม
2. สร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูอัตราการว่างงานอัตราเงินฝืด และอัตราเงินเฟ้อ
3. สร้างประสิทธิภาพในการทํางาน ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูผลผลิตต่อหน่วย
4. สร้างความเสมอภาคหรือการกระจายทางเศรษฐกิจ หรือการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ให้กับสังคม ซึ่งสามารถวัดได้โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของรายได้ อัตราการใช้จ่าย และทรัพย์สินที่มี

16.ลักษณะของระบบงบประมาณแบบ PPBS
(1) มีการวัดผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดที่กําหนด
(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามประเภทการใช้จ่าย
(3) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 93 – 94, 97, 101 – 102, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ (Planning Programming Budgeting System : PPBS) เป็นระบบงบประมาณที่ ในด้านการวางแผนวางโครงการโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ระยะยาว ระบบงบประมาณแบบนี้จะมีการวางแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายและตั้งวงเงินงบประมาณตามแต่ละแผนงาน มีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจผสมกับหลักเหตุผล (Limited Rationality หรือ Mixed Scanning) มีการแบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงสร้างแผนงาน หรือโครงการ (Program Structure) มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ในการวิเคราะห์โครงการเพื่อศึกษาถึงโครงสร้างแผนงานหรือโครงการที่จัดทําว่ามีความสัมพันธ์กับ โครงการใด ๆ บ้าง มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างนโยบายสาธารณะ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการวางแผนวางโครงการของหน่วยงานมีการกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ของแผนงานหรือโครงการเพื่อการติดตามประเมินผล รวมทั้งมีการจัดทําบันทึกโครงการ แผนงานและแผนทางการเงินระยะยาว (อาจเป็น 3 ปี หรือ 5 ปี) เพื่อประกอบการจัดทําโครงการด้วย

17. ลักษณะของงบประมาณแบบโครงการ
(1) มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมประสิทธิภาพของการใช้จ่าย
(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามประเภทการใช้จ่าย
(3) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 92 – 93, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบโครงการ (Program Budget) หรืองบประมาณ แบบแสดงผลงาน (Performance Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ในหลักประสิทธิภาพ กล่าวคือ เป็นระบบงบประมาณที่เน้นการควบคุมประสิทธิภาพของการใช้จ่าย หรือให้ความสําคัญกับ ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร ทั้งนี้ก็เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์อย่างประหยัด นอกจากนี้ ยังให้ความสําคัญกับผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ของงานหรือโครงการในแต่ละปี มีการจัดทํางบประมาณเป็นรายโครงการและมีการแบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงการหรือ ตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล (Objectives Classification) หรือตามหน้าที่ของรัฐ (Functional Classification) มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) หรือวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ของโครงการหรือประสิทธิภาพของการใช้เงินโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ เช่น Cost and Effectiveness Analysis, Cost and Benefit Analysis และมีการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณ โดยอาศัยหลักของเหตุผล (Pure Rationality) เป็นสําคัญ

18. ลักษณะของระบบ PPBS
(1) มีการจัดทําบันทึกโครงการ
(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(3) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

19. ลักษณะของ Performance Budget
(1) มีการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของโครงการ
(2) การตัดสินใจใช้หลักของเหตุผล
(3) อาจเรียกว่าเป็นงบประมาณแบบแสดงรายการ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

20. ลักษณะของ Program Budget
(1) มีการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของโครงการ
(2) การตัดสินใจใช้หลักของเหตุผล
(3) อาจเรียกว่าเป็นงบประมาณแบบ PPBS
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

21. ลักษณะของระบบงบประมาณแบบที่ในการควบคุม
(1) มีการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของโครงการ
(2) การตัดสินใจใช้หลักของเหตุผล
(3) อาจเรียกว่าเป็นงบประมาณแบบแสดงรายการ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 หน้า 87 – 88, 90 – 92, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budget) หรืองบประมาณแบบเก่า (Conventional Budget) หรืองบประมาณแบบประเพณี (Traditional Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ในด้านการควบคุมเพื่อมุ่งตรวจสอบความถูกต้องและความซื่อสัตย์สุจริตของการใช้จ่ายเงินของรัฐ หรือให้ความสําคัญกับความถูกต้องของ “ปัจจัย นําเข้า” (Inputs) หรือการจัดสรร “ทรัพยากร” ของงานหรือโครงการ โดยเน้นกฎ ระเบียบ และการควบคุมให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบนั้น หรือให้ความสําคัญกับมาตรฐานของทรัพยากร ที่หน่วยราชการได้ใช้ไป ดังนั้นงบประมาณจึงถูกแบ่งออกตามหน่วยราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ (Agencies Classification หรือ Organizations Classification) โดยเฉพาะในระดับกรม และมีการแบ่งตามประเภทและชนิดของการใช้จ่าย (Objects of Expenditure Classification) โดยพิจารณาจากคู่มือการจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่ายซึ่งแบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น หมวดเงินเดือน หมวดสาธารณูปโภค หมวดครุภัณฑ์ ฯลฯ นอกจากนี้ในการจัดเตรียม งบประมาณก็จะต้องมีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจ (Muddling Through) หรือการวิเคราะห์เฉพาะส่วนที่เพิ่ม (Incrementalism) เป็นเกณฑ์ด้วย

22. ข้อใดที่จัดเป็นลักษณะของ Traditional Budget
(1) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลัก Muddling Through
(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(3) Objectives Classification
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

23.Line-Item Budget ตรงกับข้อใด
(1) Muddling Through
(2) คู่มือจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย
(3) แบ่งเงินงบประมาณออกตามจังหวัด
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

24. ลักษณะของ Zero-Base Budget
(1) Muddling Through
(2) Political Bargaining
(3) Incrementalism
(4) Pure Rationality
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 96, 99 – 100, (คําบรรยาย) งบประมาณฐานศูนย์ (Zero-Base Budget : ZBB) เป็นระบบ งบประมาณที่อาศัยหลักของเหตุผล (Pure Rationality) ในการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งกําหนดให้ โครงการหรืองานที่เสนอของบประมาณในทุก ๆ ปีงบประมาณจะต้องได้รับการตรวจสอบวิเคราะห์ ทั้งระบบ ทั้งงานหรือโครงการเดิมที่เคยทํามาแล้ว และงานหรือโครงการใหม่ ๆ ที่กําลังจะเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อต้องการให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีเหตุผล แต่วิธีการนี้มักจะก่อให้เกิดความล่าช้าหรืออาจทําไม่ได้ในทางปฏิบัติ

25. สถาบันที่ทําหน้าที่ “ตรวจสอบบัญชีการเงินของส่วนราชการต่าง ๆ”
(1) กรมบัญชีกลาง
(2) สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
(3) สํานักงบประมาณ
(4) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 34, 129 สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นสถาบันที่ทําหน้าที่ตรวจสอบรายละเอียดของการใช้จ่ายเงินและตรวจสอบบัญชีทางการเงินของส่วนราชการต่าง ๆ โดยแยก การตรวจสอบออกเป็น 2 ระดับ คือ การตรวจสอบระดับหน่วยงานและการตรวจสอบระดับรัฐบาล

26. สถาบันที่ทําหน้าที่ “วิเคราะห์งบประมาณ” ได้แก่
(1) กรมบัญชีกลาง
(2) สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
(3) สํานักงบประมาณ
(4) DSI
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

27. ระยะเวลาในการดําเนินการ “อนุมัติ” งบประมาณ มีระยะประมาณกี่เดือน
(1) 3 เดือน
(2) 5 เดือน
(3) 9 เดือน
(4) 12 เดือน
(5) ไม่แน่นอนกําหนดตายตัวไม่ได้
ตอบ 1 หน้า 79 ระยะเวลาของการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน เรียกว่า วงจรงบประมาณ (Budget Cycle) ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุด โดยวงจรงบประมาณ ของประเทศไทยนั้นจะใช้เวลาประมาณ 22 เดือน ประกอบด้วยกิจกรรมหรือการกระทํา 3 ขั้นตอน คือ การจัดเตรียมประมาณ 6 – 7 เดือน การอนุมัติประมาณ 3 – 4 เดือน และ 7 – การควบคุมหรือการบริหารเป็นเวลา 12 เดือน

28. ระยะเวลาในการดําเนินการ “บริหาร” งบประมาณ มีระยะประมาณกี่เดือน
(1) 3 เดือน
(2) 5 เดือน
(3) 9 เดือน
(4) 12 เดือน
(5) ไม่แน่นอนกําหนดตายตัวไม่ได้
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

29. ระยะเวลาของการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณ เรียกว่า
(1) ปีงบประมาณ
(2) วงจรงบประมาณ
(3) เงินประจํางวด
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

30.พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2566 กําหนดวงเงินไว้ประมาณเท่าใด
(1) 3.05 ล้านล้านบาท
(2) 3.18 ล้านล้านบาท
(3) 3.35 ล้านล้านบาท
(4) 3.50 ล้านล้านบาท
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2556 ได้กําหนดวงเงินงบประมาณ รายจ่ายไว้ประมาณ 3.18 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.09 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และกําหนดวงเงินขาดดุลไว้ประมาณ 6.9 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 3.73 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

31.พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2556 กําหนดวงเงินขาดดุลไว้ประมาณเท่าใด
(1) 6.9 แสนล้านบาท
(2) 9.9 แสนล้านบาท
(3) 1.5 ล้านล้านบาท
(4) 2.2 ล้านล้านบาท
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

32.ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 ประเทศไทยมีหนี้สาธารณะคิดเป็นร้อยละเท่าไรของ GDP (ประมาณ)
(1) 48
(2) 55
(3) 61
(4) 79
(5) 88
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 ประเทศไทยมีหนี้สาธารณะคงค้างจํานวน 10,797,505.46 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 61.23 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP)

33.พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2556 กําหนดวงเงินไว้คิดเป็นร้อยละเท่าไรของ GDP
(1) 7
(2) 17
(3) 27
(4) 35
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

34. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของสินค้าหรือบริการสาธารณะ
(1) ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้
(2) ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่ม
(3) เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(4) มีลักษณะ Non-Rival Consumption
(5) ไม่สามารถใช้ราคาเป็นเครื่องกีดกันไม่ให้ผู้ใดเข้าถึงสินค้าหรือบริการนั้น
ตอบ 3 หน้า 11 – 12, 14, (คําบรรยาย) สินค้าหรือบริการสาธารณะ (Public Goods) หรือเรียกว่า
สินค้าสาธารณะแท้หรือสินค้าสาธารณะที่สมบูรณ์ (Pure Public Goods) มีคุณสมบัติดังนี้
1. ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค (Non-Rival Consumption) หรือกีดกันไม่ให้ผู้ใดเข้าถึง สินค้าหรือบริการนั้นไม่ได้
2. ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้ (Non-Excludable) หรือไม่สามารถใช้ราคาเป็นเครื่องมือกีดกันไม่ให้ผู้ใดเข้าถึงสินค้าหรือบริการนั้นได้
3. ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้าหรือบริการ คือ ต้นทุนส่วนเพิ่มเมื่อมีผู้ซื้อสินค้า หรือบริการเพิ่มขึ้นนั้นมีค่าเท่ากับศูนย์ (Zero-Marginal Cost)
ตัวอย่างเช่น ไฟฟ้าหรือไฟส่องสว่างบนถนนสาธารณะ แสงไฟจากประภาคารสาธารณะ แม่น้ำ ลําน้ำสาธารณะ การดําเนินนโยบายต่างประเทศ การดําเนินนโยบายความมั่นคง การทํา ความสะอาดถนนสาธารณะ การควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายหลักสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการ ชิมช้อปใช้ นโยบายป้องกันประเทศจาก COVID เป็นต้น

35. ข้อใดถูกต้อง
(1) ดอกเบี้ยเป็นเงินได้ประเภทที่ 3
(2) เงินเดือนเป็นเงินได้ประเภทที่ 2
(3) ค่านายหน้าเป็นเงินได้ประเภทที่ 1
(4) ค่ารับเหมาเป็นเงินได้ประเภทที่ 6
(5) เงินค่าเช่าคอนโดมิเนียมที่จัดเก็บจากผู้เช่าเป็นเงินได้ประเภทที่ 5
ตอบ 5 หน้า 33 เงินได้ประเภทที่ 5 ได้แก่ เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก
1. การให้เช่าทรัพย์สิน เช่น เช่าบ้าน เช่าคอนโดมิเนียม
2. การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
3. การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว

36. สินค้าที่เมื่อมีการบริโภคแล้วระบุไม่ได้ว่าเกิดประโยชน์กับใคร เท่าใด เรียกว่าเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างไร
(1) แบ่งแยกการบริโภคจากกันได้
(2) แบ่งแยกการบริโภคจากกันไม่ได้
(3) เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(4) ไม่เป็นเป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 12, (คําบรรยาย) สินค้าที่เมื่อมีการบริโภคแล้วระบุไม่ได้ว่าเกิดประโยชน์กับใคร เท่าใดหรือไม่สามารถวัดการใช้ประโยชน์หรือการได้รับประโยชน์จากสินค้านั้นได้ เรียกว่าเป็น “สินค้า ที่แบ่งแยกการบริโภคจากกันไม่ได้” (Non-Excludable) ในทางตรงกันข้ามหากสินค้าที่เมื่อมี การบริโภคแล้วระบุได้ว่าเกิดประโยชน์กับใคร เท่าใด หรือสามารถวัดการใช้ประโยชน์หรือ การได้รับประโยชน์จากสินค้านั้นได้ เรียกว่าเป็น “สินค้าที่แบ่งแยกการบริโภคจากกันได้” (Excludable)

37. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) ค่าปรับเป็นรายได้ของรัฐ
(2) ภาษีเป็นรายได้ของรัฐ
(3) เงินกู้เป็นรายรับของรัฐ
(4) เงินคงคลังเป็นรายได้ของรัฐ
(5) ค่าธรรมเนียมเป็นรายรับของรัฐ
ตอบ 4 หน้า 15 – 20, (คําบรรยาย) แหล่งรายรับของรัฐบาลไทย มาจาก 2 ส่วน คือ 1. รายรับที่เป็นรายได้ ได้แก่ ภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ (เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าสัมปทาน ค่าบริการ ค่าเช่าทรัพย์สินของรัฐ ค่าขายของกลางที่ยึด มาจากคดี) รัฐพาณิชย์ และรายได้อื่น ๆ เช่น ค่าแสตมป์ฤชากร ค่าปรับ เป็นต้น 2. รายรับที่ไม่เป็นรายได้ ได้แก่ การกู้เงิน การใช้เงินคงคลัง การขายหุ้น เป็นต้น

38. ข้อใดเป็นลักษณะพื้นฐานของสินค้าสาธารณะแบบแท้
(1) Non-Rival Consumption a≈ Excludable
(2) Non-Rival Consumption a Non-Excludable
(3) Non-Rival Consumption a Price-Excludable
(4) Rival Consumption a Price-Excludable
(5) Rival Consumption และ Non-Excludable
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

39. กลไกตลาดภาครัฐที่เหมาะจะใช้ในการจัดบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานคืออะไร
(1) ค่าบริการ
(2) ค่าธรรมเนียม
(3) ภาษี
(4) ค่าปรับ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 21 “ภาษี” เป็นกลไกตลาดภาครัฐที่เหมาะสําหรับใช้จัดบริการหรือผลิตสินค้าสาธารณะ ขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นสินค้าและบริการที่มีความจําเป็นต่อประชาชนทุกคนภายในประเทศ เช่น การรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในสังคม การศึกษาขั้นพื้นฐาน การควบคุมดูแล ด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

40. ภาษีประเภทใดไม่ได้จัดเก็บโดยใช้ฐานการบริโภค
(1) ภาษีขาย
(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(3) ภาษีสรรพสามิต
(4) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(5) ภาษีศุลกากร
ตอบ 4 หน้า 5 – 6, 23, 38 ฐานการบริโภค (Consumption Base) เป็นฐานภาษีที่เก็บจาก การใช้จ่ายเพื่อบริโภคของประชาชน รวมถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่าง ๆ ตัวอย่างภาษีที่จัดเก็บโดยใช้ฐานการบริโภค เช่น ภาษีการขาย ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษี สรรพสามิต (เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ ภาษีน้ํามัน ภาษีเครื่องดื่ม ภาษีไฟ ภาษีน้ําหอม) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร (ภาษีสินค้าขาเข้า เช่น ภาษีรถยนต์นําเข้า) เป็นต้น

41. การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นการจัดเก็บภาษีโดยใช้ฐานภาษีแบบใด
(1) ฐานรายได้
(2) ฐานการบริโภค
(3) ฐานความมั่นคง
(4) ฐานความมั่งคั่ง
(5) ฐานความยั่งยืน
ตอบ 4 หน้า 6, 23, (คําบรรยาย) ฐานความมั่งคั่ง (Wealth Base) เป็นฐานภาษีที่พิจารณาจาก รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินที่บุคคลได้ครอบครองอยู่ ตัวอย่างภาษีที่จัดเก็บ โดยใช้ฐานความมั่งคั่ง เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีโรงแรม ภาษีโรงงาน ภาษีป้าย ภาษีรถยนต์ ภาษีมรดก ภาษีดอกเบี้ย เป็นต้น

42. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของสินค้าหรือบริการสาธารณะที่ควรจัดเก็บค่าธรรมเนียม/ค่าบริการ
(1) Price-Excludable
(2) Zero-Marginal Cost
(3) Rival Consumption
(4) Non-Zero-Marginal Cost
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 40 สินค้าหรือบริการสาธารณะที่รัฐควรจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ มีลักษณะดังนี้
1. Price-Excludable คือ เลือกซื้อได้ตามความต้องการของแต่ละคน
2. Rival Consumption คือ ประโยชน์จากการบริโภคเกิดขึ้นเฉพาะตัวและการบริโภค ส่งผลให้ประโยชน์ของสินค้าลดลง
3. Non-Zero-Marginal Cost คือ ต้นทุนการจัดบริการเพิ่มขึ้นเมื่อมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น

43. สินค้าที่มีขีดจํากัดในการให้บริการ คือสินค้าประเภทใด
(1) Congestible Goods
(2) Private Goods
(3) Club Goods
(4) Public Goods
(5) Luxury Goods
ตอบ 1 หน้า 13, 40, (คําบรรยาย) สินค้าทั่วไป (Common Goods) หรือสินค้ากึ่งสาธารณะ ประเภท Congestible Public Goods เป็นสินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภคแต่แบ่งแยก การบริโภคออกจากกันไม่ได้ หรือการเข้ามาของผู้บริโภครายใหม่อาจทําให้ความพึงพอใจของ ผู้บริโภครายเดิมลดน้อยลง แต่ไม่สามารถกีดกันให้บุคคลอื่นไม่สามารถเข้ามาเป็นผู้บริโภคได้ ดังนั้นสินค้าประเภทนี้จึงมีขีดจํากัดในการให้บริการ เช่น สนามหลวง สนามกีฬาแห่งชาติ สนามกีฬากลางของเทศบาล ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ถนนสาธารณะ (เช่น ถนนพระราม 9) ทางด่วน เป็นต้น

44. “กลไกตลาดภาครัฐ” เป็นกลไกที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนกันระหว่างตัวแสดงใดบ้างในสังคม
(1) ภาคธุรกิจ – ภาคประชาสังคม
(2) ภาคธุรกิจ – ประชาชน
(3) รัฐบาล – ประชาชน
(4) รัฐบาล – รัฐสภา
(5) รัฐบาล – ศาล
ตอบ 3 หน้า 21, (คําบรรยาย) กลไกตลาดภาครัฐ คือ กลไกการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ระหว่าง “ภาครัฐ” (รัฐบาล) ในฐานะผู้ประกอบการ ผู้ผลิต หรือผู้ขายกับ “ประชาชน” ในฐานะ ผู้บริโภค ผู้ซื้อ หรือผู้รับบริการ

45. ใครเป็นผู้ผลิตหรือผู้ขายในตลาดภาครัฐ
(1) ภาคธุรกิจ
(2) รัฐบาล
(3) ประชาชน
(4) รัฐสภา
(5) ศาล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ

46. ข้อใดเป็นหลักในการหารายได้ของภาครัฐ
(1) หารายได้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้
(2) หารายได้เท่าที่จําเป็นต้องใช้
(3) หารายได้อย่างจํากัดและไม่สร้างภาระกับประชาชน
(4) หารายได้จากธุรกิจในเชิงพาณิชย์เท่านั้น
(5) หารายได้ให้เกินดุล
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักการหารายได้ของภาครัฐจะมีความแตกต่างกับภาคเอกชน กล่าวคือ ภาคเอกชนจะเน้นการหารายได้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ ส่วนภาครัฐจะหารายได้ เท่าที่จําเป็นต้องใช้เพื่อไม่ให้เป็นภาระประชาชนมากเกินไป

47. บุคคลใดต่อไปนี้ไม่ต้องยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
(1) นิติบุคคลมีรายได้ 1.18 ล้านบาทต่อปี
(2) นิติบุคคลมีรายได้ 18.1 ล้านบาทต่อปี
(3) นิติบุคคลมีรายได้ 11.8 ล้านบาทต่อปี
(4) บุคคลธรรมดามีรายได้ 1.81 ล้านบาทต่อปี
(5) บุคคลธรรมดามีรายได้ 8.1 ล้านบาทต่อปี
ตอบ 1 หน้า 36 ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่ขายสินค้าหรือบริการเป็นอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคคล ซึ่งมีรายได้หรือยอดขายเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี (150,000 บาทต่อเดือน) โดยต้องยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และคํานวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ และต้องชําระภาษีเป็นรายเดือน โดยยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

48. ปัญหา Free Rider หมายถึงอะไร
(1) ปัญหาการแย่งกันใช้สินค้าสาธารณะ
(2) ปัญหาการทําหน้าที่ผิดพลาด
(3) ปัญหาการร่วมรับประโยชน์แต่ไม่ร่วมจ่าย
(4) ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น
(5) ปัญหาการใช้บริการสาธารณะ
ตอบ 3 หน้า 12 ปัญหาการร่วมรับประโยชน์แต่ไม่ร่วมจ่าย (Free Rider Problem) หมายถึง การที่คนร่วมรับประโยชน์จากสินค้าสาธารณะ แต่ไม่ยอมร่วมจ่ายค่าบริการ ซึ่งมักเป็นปัญหา ของสินค้าหรือบริการสาธารณะแท้

49. “กิจกรรมหรือสิ่งที่เป็นเหตุให้ต้องเสียภาษี” หมายถึงอะไร
(1) ฐานภาษี
(2) อัตราภาษี
(3) ภาระภาษี
(4) งานบริหารภาษี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 22 ฐานภาษี (Tax Base) หมายถึง สิ่งที่เป็นมูลเหตุขั้นต้นที่ทําให้บุคคลต้องเสียภาษีอากร หรือสิ่งที่ใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีอากร โดยในการจัดเก็บภาษีรัฐต้องมีการบริหารจัดเก็บ ว่าจะใช้ฐานภาษีอย่างไรเพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายต่าง ๆ ของรัฐ

50. บุคคลใดต่อไปนี้ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร
(1) บริษัทจํากัด
(2) บริษัทต่างชาติที่มีรายได้จากประเทศไทย
(3) กิจการร่วมค้า
(4) บริษัทต่างชาติที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
(5) มูลนิธิสาธารณกุศล
ตอบ 5 หน้า 34 – 36 บุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มีดังนี้
1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เช่น บริษัทจํากัด ห้างหุ้นส่วนจํากัด
2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย หรือมีรายได้จากประเทศไทย
3. กิจการซึ่งดําเนินการเป็นทางค้าหรือหากําไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาล ต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
4. กิจการร่วมค้า
5. มูลนิธิหรือสมาคม ที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรี ประกาศกําหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
6. นิติบุคคลที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

51. บริการสาธารณะที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร
(1) ทําให้เกิด Over Supplies
(2) ทําให้เกิด Under Supplies
(3) ทําให้เกิด Over Consumptions
(4) ทําให้เกิด Under Consumptions
(5) ทําให้เกิด Resource Maximization

ตอบ 5 หน้า 10 คุณลักษณะของสินค้าหรือบริการสาธารณะที่ดี มีคุณภาพและประสิทธิภาพ มีดังนี้
1. มีปริมาณและคุณภาพตรงกับความต้องการของประชาชนทั่วไปในสังคมไม่มากหรือ น้อยเกินไป (No Over or Under Supplies)
2. ประชาชนทั่วไปในสังคมไม่บริโภคหรือใช้บริการสาธารณะนั้นมากเกินความจําเป็น หรือน้อยกว่าที่ควรจะเป็น (No Over or Under Consumptions)
3. ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า (Resource Maximization)

52. “สินค้าที่ถูกใช้โดยคนหนึ่งแล้วเป็นเหตุให้คนอื่นไม่สามารถใช้สินค้านั้นได้” เป็นสินค้าที่มีลักษณะใดต่อไปนี้
(1) เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(2) มีต้นทุนส่วนเพิ่ม
(3) แบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้
(4) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(5) ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่ม
ตอบ 1 หน้า 11 สินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค (Rival Consumption) คือ สินค้าที่ถูกใช้ โดยคนหนึ่งแล้วเป็นเหตุให้คนอื่นไม่สามารถใช้สินค้านั้นได้ หรือทําให้ผู้อื่นได้รับความพึงพอใจน้อยลงจากการใช้สินค้านั้น

53. หน่วยงานใดต่อไปนี้ทําหน้าที่หลักในการจัดเก็บรายได้ให้กับรัฐบาล
(1) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
(2) สํานักงบประมาณ
(3) กรมศุลกากร
(4) กรมบัญชีกลาง
(5) ธนาคารแห่งประเทศไทย
ตอบ 3 หน้า 15 หน่วยงานที่ทําหน้าที่หลักในการจัดเก็บรายได้ให้กับรัฐบาลมี 3 หน่วยงาน คือ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร

54. ภาษีเงินได้จัดเป็นภาษีประเภทใด
(1) ภาษีขั้นพื้นฐาน
(2) ภาษีทางอ้อม
(3) ภาษีทางตรง
(4) ภาษีจากฐานความมั่งคั่ง
(5) ภาษีจากฐานการบริโภค
ตอบ 3 หน้า 15, 19 ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ผู้เสียภาษีจะต้องรับภาระภาษีไว้เองไม่สามารถผลักภาระภาษี ไปให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก เป็นต้น
2. ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ไม่มีผลต่อผู้ชําระภาษีโดยตรง ซึ่งผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระภาษี ไปให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีน้ํามัน และผลิตภัณฑ์น้ํามัน เป็นต้น

55. สินค้าในข้อใดไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต
(1) น้ำมันเบนซิน
(2) น้ำอัดลม
(3) น้ำผลไม้ที่ไม่ได้หมัก
(4) น้ำปลา
(5) รถมอเตอร์ไซค์
ตอบ 4 หน้า 38, (คําบรรยาย) ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผล สมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ขัดต่อ ศีลธรรมอันดีงาม มีลักษณะเป็นสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือย หรือได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษ จากกิจการของรัฐ ดังนั้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจึงไม่เป็นกลางตามหลักการภาษีที่ดี ทั้งนี้ เพราะเป็นการจัดเก็บภาษีที่ต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนหรือจํากัดการบริโภคของประชาชนให้น้อยลง ตัวอย่างสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต เช่น สุรา
เบียร์ ยาสูบ ไพ่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม (เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ที่ไม่ได้หมัก) เรือ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ (รถมอเตอร์ไซค์) น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน น้ำหอม เจลแอลกอฮอล์ สนามกอล์ฟ สนามแข่งม้า ไนต์คลับ ดิสโก้เธค ผับ บาร์ และคาราโอเกะ เป็นต้น

56. พฤติกรรมการเสียภาษีในข้อใดที่ทําให้รัฐจัดเก็บภาษีได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
(1) เสียภาษีด้วยความเต็มใจ
(2) หลบเลี่ยงภาษี
(3) เสียภาษีเพราะเกรงกลัวกฎหมาย
(4) ต่อต้านภาษี
(5) หนีภาษี
ตอบ 2 หน้า 27 พฤติกรรมการเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance) คือ การที่พลเมืองผู้มีหน้าที่เสียภาษี ใช้วิธีการใด ๆ ตามกฎหมายที่มุ่งสร้างให้เกิดผลต่อภาระภาษีของผู้เสียภาษี เพื่อที่จะได้มี ภาระภาษีที่จะต้องเสียต่ำกว่าเดิม หรือใช้วิธีการบิดเบือนเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่ง การเลี่ยงภาษีนี้เป็นพฤติกรรมที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย และ ส่งผลโดยตรงให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

57. ข้อใดเป็นเหตุให้ภาษีมีความซับซ้อน
(1) มีโครงสร้างภาษีทางตรงในสัดส่วนที่สูง
(2) มีการจัดเก็บภาษีอัตราเดียวกันทั้งหมด
(3) มีข้อยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีจํานวนมาก
(4) มีการจัดเก็บภาษีน้อยประเภท
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 26 Buchanan ได้ระบุไว้ว่า การจัดเก็บภาษีที่มีความซับซ้อนนั้น อาจทําให้เกิดปรากฏการณ์ภาพลวงตาทางการคลัง (Fiscal Illusion) ขึ้นได้ ซึ่งความซับซ้อนของ ระบบภาษีและการหารายได้ของรัฐอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
1. รัฐบาลจัดเก็บภาษีหลายประเภท หลายอัตรา
2. การมีข้อลดหย่อนยกเว้นที่ซับซ้อนหรือมีรายการลดหย่อนภาษีจํานวนมาก
3. มีโครงสร้างภาษีทางอ้อมในสัดส่วนที่สูง
4. มีการจัดเก็บภาษีร่วมกัน (Shared Taxes)

58. เงินได้ประเภทใดที่ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้
(1) เงินเดือน ค่าจ้าง
(2) ดอกเบี้ย
(3) ค่านายหน้า
(4) ค่าเช่าบ้าน
(5) ลิขสิทธิ์
ตอบ 2 หน้า 32 – 33, (คําบรรยาย) เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ตามประมวลรัษฎากร ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกําไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จาก การโอนหุ้น ฯลฯ เป็นเงินได้ที่กฎหมายไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

ตั้งแต่ข้อ 59 – 63. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Tax Compliance
(2) Tax Evasion
(3) Tax Revolt
(4) Tax Invoice
(5) Tax Avoidance

59. พฤติกรรมในข้อใดเป็นสิ่งที่รัฐทุกรัฐต้องการให้ประชาชนมีมากที่สุด
ตอบ 1 หน้า 27 พฤติกรรมการยินยอมเสียภาษีโดยสมัครใจ (Tax Compliance) คือ การที่พลเมือง ยินยอมเสียภาษีให้รัฐเนื่องจากรับรู้ว่าเป็นหน้าที่ของพลเมือง และมีความต้องการเสียภาษีเพื่อให้ รัฐบาลนําไปจัดบริการสาธารณะที่ดีและมีคุณภาพให้กับประชาชน พฤติกรรมการเสียภาษี โดยสมัครใจเป็นพฤติกรรมที่รัฐทุกรัฐต้องการให้ประชาชนมีมากที่สุด อาจกล่าวได้ว่าเป็นสภาพที่พึงประสงค์ที่สุดของรัฐทั่วโลกก็ว่าได้

60. พฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ

61. พฤติกรรมในข้อใดส่งผลให้รัฐอาจมีค่าใช้จ่ายในการขจัดปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมนั้น
ตอบ 3 หน้า 28, (คําบรรยาย) พฤติกรรมการต่อต้านภาษี (Tax Revolt) คือ การใช้สิทธิขัดขืนของ พลเมืองโดยการไม่จ่ายภาษีให้รัฐบาล หรืออาจประท้วงรัฐบาลด้วยการต่อต้านภาษี ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลให้รัฐอาจมีค่าใช้จ่ายในการขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมดังกล่าว

62. ข้อใดหมายถึงใบกํากับภาษี
ตอบ 4 หน้า 36 ใบกํากับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารที่ใช้เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้า/บริการ และภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อ

63. พฤติกรรมในข้อใดทําให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บรายได้ภาษีได้
ตอบ 2 หน้า 28, (คําบรรยาย) พฤติกรรมการหนีภาษี (Tax Evasion) คือ การไม่ยินยอมเสียภาษี ให้กับรัฐ เป็นการกระทําที่มีเจตนาจงใจละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายเพื่อไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายและทําให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บรายได้ภาษีได้

64. ข้อใดเรียงลําดับความยินยอมเสียภาษีจากน้อยที่สุดไปมากที่สุดได้ถูกต้อง
(1) Tax Evasion – Tax Avoidance – Tax Revolt – Tax Compliance
(2) Tax Revolt – Tax Evasion – Tax Avoidance – Tax Compliance
(3) Tax Compliance – Tax Avoidance -Tax Revolt -Tax Evasion
(4) Tax Avoidance – Tax Compliance – Tax Evasion – Tax Revolt
(5) Tax Evasion – Tax Revolt – Tax Compliance – Tax Avoidance
ตอบ 2 หน้า 27 – 28 พฤติกรรมการยินยอมเสียภาษีของประชาชนสามารถเรียงลําดับจากน้อยที่สุด ไปมากที่สุดได้ดังนี้
1. การต่อต้านภาษี (Tax Revolt)
2. การหนีภาษี (Tax Evasion)
3. การเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance)
4. การยินยอมเสียภาษีโดยสมัครใจ (Tax Compliance)

65. ข้อใดไม่ใช่วิชาชีพอิสระตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40 (6)
(1) แพทย์
(2) นักบัญชี
(3) วิศวกร
(4) เปิดท้ายขายของ
(5) ช่างปั้นรูปปั้น
ตอบ 4หน้า 33 (คําบรรยาย) วิชาชีพอิสระตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40 (6) ได้แก่บุคคล ซึ่งมีอาชีพในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. กฎหมาย เช่น ทนายความ
2. การประกอบโรคศิลป เช่น แพทย์ พยาบาล
3. วิศวกรรม เช่น วิศวกร
4. สถาปัตยกรรม เช่น สถาปนิก
5. การบัญชี เช่น นักบัญชี
6. ประณีตศิลปกรรม เช่น ช่างปั้น ช่างเขียน ช่างแกะ

66. ภาษีมูลค่าเพิ่มคํานวณได้จากส่วนต่างมูลค่าของสิ่งใด
(1) ราคาขาย – ราคาซื้อ
(2) ต้นทุนสินค้า – กําไรจากการขายสินค้า
(3) ปริมาณสินค้าที่ขาย – ปริมาณสินค้าที่ซื้อ
(4) จํานวนสินค้าที่ขาย – จํานวนสินค้าที่ซื้อ
(5) ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ

67. นักเศรษฐศาสตร์สํานักใดไม่ยอมรับการก่อหนี้สาธารณะ
(1) เคนส์เซียน
(2) นีโอลิเบอรัล
(3) พาณิชย์นิยม
(4) เสรีนิยม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 46 นักเศรษฐศาสตร์สํานักคลาสสิก (Classical Economist) หรือสํานักเสรีนิยม (Liberalist) มองว่า บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจควรเป็นไปอย่างจํากัด (Minimalist State) คือ รัฐบาลควรใช้จ่ายงบประมาณอย่างจํากัด ดังนั้นการใช้จ่ายเกินตัวของรัฐบาลซึ่งนําไปสู่การก่อหนี้สาธารณะจึงเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์สํานักนี้

68. ภาระภาษีของประชาชนสามารถคํานวณได้จากสิ่งใด
(1) โครงสร้างภาษี x ฐานภาษี
(2) จํานวนภาษี x ฐานภาษี
(3) จํานวนผู้เสียภาษี x อัตราภาษี
(4) ฐานภาษี x อัตราภาษี
(5) อัตราภาษี x โครงสร้างภาษี
ตอบ 4 หน้า 23 (คําบรรยาย) รายได้ภาษีของรัฐหรือภาระภาษีของประชาชนสามารถคํานวณได้จาก ฐานภาษี × อัตราภาษี

69. ในทฤษฎีของเคนส์การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรัฐบาลเป็นการทํางานของกลไกในข้อใด
(1) การบริโภค
(2) การออม
(3) การลงทุน
(4) อุปสงค์มวลรวม
(5) การจับจ่ายใช้สอย
ตอบ 4 หน้า 46 – 47 (คําบรรยาย) ในช่วงทศวรรษ 1930 เกิดปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก หรือที่เรียกว่า The Great Depression ซึ่งทฤษฎีของเคนส์ได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหานี้ โดยการเสนอให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ คือการให้รัฐบาลใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ที่มีอยู่เพื่อเป็นการ ยกระดับอุปสงค์มวลรวม (Aggregate Demand)

70. กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้สาธารณะ เรียกว่าอะไร
(1) วินัยทางการคลัง
(2) กฎเหล็กทางการคลัง
(3) ความยั่งยืนทางการคลัง
(4) กฎกระทรวงการคลัง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1(คําบรรยาย) กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้ สาธารณะ เรียกว่า วินัยทางการคลัง

71. บทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดในพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ที่กําหนดขีดจํากัด
ของการก่อหนี้สาธารณะสําหรับประเทศไทย
(1) มาตรา 8
(2) มาตรา 8 ทวิ
(3) มาตรา 9
(4) มาตรา 9 ทวี
(5) มาตรา 9 ตรี
ตอบ 4 หน้า 48 บทบัญญัติในมาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ได้กําหนดขีดจํากัดของการก่อหนี้สาธารณะสําหรับประเทศไทยไว้ว่า การกู้เงินในปีงบประมาณจะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของจํานวนเงินงบประมาณรายจ่ายและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมหรือของจํานวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วกับอีกร้อยละ 80ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สําหรับชําระคืนต้นเงินกู้

72. สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะอยู่ภายใต้สังกัดของหน่วยงานใด
(1) สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
(2) กรมบัญชีกลาง
(3) สํานักงบประมาณ
(4) กรมธนารักษ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 48 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 อยู่ภายใต้สังกัดของสํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดําเนินการเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การผูกพันหนี้ การบริหารหนี้ และการชําระหนี้ ในประเทศและต่างประเทศของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งที่ค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน

73. สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะก่อตั้งขึ้นในปีใด
(1) ปี พ.ศ. 2540
(2) ปี พ.ศ. 2541
(3) ปี พ.ศ. 2542
(4) ปี พ.ศ. 2543
(5) ปี พ.ศ. 2544
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ

74. ข้อใดไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ
(1) หนี้ของรัฐบาล
(2) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
(4) หนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์
(3) หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 45, 50, (คําบรรยาย) หนี้สาธารณะ ได้แก่
1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศ
2. หนี้ของรัฐวิสาหกิจ (ไม่เป็นสถาบันการเงิน) ที่รัฐบาลค้ําประกันและไม่ค้ำประกัน
3. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ําประกัน
4. หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
5. หนี้ของหน่วยงานอื่นของรัฐ เช่น หนี้ของกระทรวงการคลัง เป็นต้น

75. บทบาทของรัฐบาลในลักษณะที่เป็น Minimalist State ตรงกับข้อใด
(1) รัฐบาลไม่มีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ
(2) บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจควรเป็นไปอย่างจํากัด
(3) รัฐบาลไม่ควรมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ
(4) บาทบาทของรัฐบาลเป็นไปตามนโยบายของพรรคการเมือง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ

76.ณ สิ้นเดือนเมษายน 2560 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยอยู่ที่ประมาณร้อยละเท่าไร
(1) 10
(2) 15
(3) 20
(4) 40
(5) 60
ตอบ 4 หน้า 51 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน เมษายน 2560 มีจํานวน 6,267,920.88 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.64 ของผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

77. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับร้อยละเท่าไร
(1) 7.12
(2) 15.26
(3) 15.28
(4) 18.25
(5) 25.74
ตอบ 1 หน้า 52 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 7.12

78. ข้อใดคือความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ในต่างประเทศ
(1) วงเงิน
(2) ระยะเวลาชําระคืน
(3) อัตราดอกเบี้ย
(4) ผู้ที่รับภาระหนี้
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การก่อหนี้สาธารณะต้องคํานึงถึงผู้ที่รับภาระหนี้ วงเงิน ระยะเวลาชําระคืน และ อัตราดอกเบี้ย โดยที่อัตราดอกเบี้ยคือความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับต่างประเทศ เนื่องจากต้องใช้คืนทั้งต้นเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยที่ผันผวนตามค่าเงิน

79. กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารหนี้สาธารณะคือข้อใด
(1) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2545
(2) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2546
(3) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2547
(4) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548
(5) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2550
ตอบ 4 (คําบรรยาย) กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหาร หนี้สาธารณะ คือ พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งประกาศ บังคับใช้ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร

80. ข้อใดไม่ใช่ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ
(1) ตั๋วเงินคลัง
(2) ตั๋วสัญญาใช้เงิน
(3) พันธบัตร
(4) บัตรเงินฝาก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ ได้แก่
1. ตั๋วเงินคลัง
2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน
3. พันธบัตร

81. ข้อใดเป็นคํานิยามของพันธบัตรที่ถูกต้อง
(1) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกินหกเดือน
(2) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกินสิบสองเดือน
(3) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบสองเดือนขึ้นไป
(4) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบแปดเดือนขึ้นไป
(5) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่ยี่สิบสี่เดือนขึ้นไป
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พันธบัตร คือ เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออก ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป

82. ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังไม่อาจกู้เงินเพื่อการใด
(1) ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
(2) พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
(3) ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
(4) ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
(5) พัฒนาตลาดทุนในประเทศ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังกู้เงินได้ เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1. ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
2. พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
3. ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
4. ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
5. พัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ

83. งบการเงินของกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศต้องได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานใด
(1) กรมบัญชีกลาง
(2) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
(3) กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
(4) สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
(5) สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นหน่วยงานที่ทําหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินของกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ

84.ECB เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด
(1) ธนาคารกลางแห่งอังกฤษ
(2) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์
(3) ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(4) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา
(5) ธนาคารกลางแห่งเอเชีย
ตอบ 3 หน้า 55 ในปัจจุบันธนาคารกลางที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ได้แก่ ธนาคารกลางแห่งยุโรป (European Centra, Bank : ECB) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve Bank : FED) เป็นต้น

85. ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงิน
(1) การควบคุมปริมาณเงิน
(2) การกําหนดอัตราดอกเบี้ย
(3) การควบคุมเงินที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ
(4) การเก็บภาษีศุลกากร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 55 – 56 เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง ประกอบด้วย 3 เครื่องมือ คือ การควบคุมปริมาณเงิน การกําหนดอัตราดอกเบี้ย และการควบคุมเงิน ที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ

86. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ
(1) การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
(2) การเป็นเครื่องชี้วัดสถานภาพทางสังคม
(3) การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
(4) การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 54, (คําบรรยาย) บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2. การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
3. การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า
4. การเป็นมาตรฐานการชําระหนี้ในภายหน้า

87. ข้อใดไม่นับว่าเป็นเงิน
(1) เหรียญกษาปณ์
(2) เช็ค
(3) ตั๋วแลกเงิน
(4) บัตรเครดิต
(5) ศิลปวัตถุ
ตอบ 5 หน้า 54 เงิน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจจะอยู่ในหลายรูปแบบ เช่น ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ เช็ค ตั๋วแลกเงิน บัตรเครดิต เป็นต้น

88. คําในข้อใดหมายถึงนโยบายการเงิน
(1) Fiscal Policy
(2) Monetary Policy
(3) Financial Policy
(4) Public Policy
(5) Money Policy
ตอบ 2 หน้า 8, 54, 57, (คําบรรยาย) นโยบายการเงิน (Monetary Policy) หมายถึง นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ทางเศรษฐกิจ เช่น การควบคุมกํากับอัตราดอกเบี้ย การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท การควบคุม กํากับดูแลสินเชื่อ การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล การออกระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ทางการเงิน เป็นต้น โดยหน่วยงานที่ทําหน้าที่ดูแลนโยบายการเงินก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย

89. การดําเนินนโยบายการเงินไม่มีผลกระทบสืบเนื่องไปยังเรื่องใด
(1) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(2) การจ้างงาน
(3) ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
(4) เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) การดําเนินนโยบายการเงินมีผลกระทบสืบเนื่องไปยังเสถียรภาพ ของระบบเศรษฐกิจ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการจ้างงาน แต่จะไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

90.FED เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด
(1) ธนาคารกลางแห่งอังกฤษ
(2) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์
(3) ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(4) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา
(5) ธนาคารกลางแห่งเอเชีย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 84. ประกอบ

91. หน่วยงานใดเป็นผู้กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย
(1) กระทรวงพาณิชย์
(2) กระทรวงการคลัง
(3) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(4) ธนาคารกรุงไทย
(5) คณะกรรมการนโยบายการเงิน
ตอบ 3 หน้า 57 – 58 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2485 เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและหน้าที่ ดังนี้
1. ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร
2. กําหนดและดําเนินนโยบายการเงิน เช่น กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ย
3. บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
4. เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล
5. เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน
6. กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
7. บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและสินทรัพย์ในทุนสํารองเงินตรา ฯลฯ

92. ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปีใด
(1) ปี พ.ศ. 2480
(2) ปี พ.ศ. 2485
(3) ปี พ.ศ. 2490
(4) ปี พ.ศ. 2495
(5) ปี พ.ศ. 2498
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93. ข้อใดคือลักษณะที่สําคัญที่สุดของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายทางการเงิน
(1) มุ่งหากําไรสูงสุด
(2) หลีกเลี่ยงการแทรกแซงตลาดการเงิน
(3) มีอิสระจากฝ่ายการเมือง
(4) มีอํานาจเด็ดขาด
(5) รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสีย
ตอบ 3 หน้า 55 ลักษณะที่สําคัญที่สุดของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายทางการเงิน คือ มีอิสระ จากฝ่ายการเมือง เนื่องจากการดําเนินนโยบายทางการเงินนั้นมีเป้าหมายที่จะรักษาเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจเป็นสําคัญ ดังนั้นการดําเนินนโยบายโดยหน่วยงานที่มีอิสระจากฝ่ายการเมืองย่อมจะเป็นผลดีต่อการบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินมากกว่าการดําเนินนโยบายโดยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง

94. ในปัจจุบันบุคคลใดดํารงตําแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล
(2) นายประทิน สันติประภพ
(3) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
(4) นายวิรไท สันติประภพ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน คือ นายเศรษฐวุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

95. ความต้องการถือเงินของภาคครัวเรือนเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากข้อใด
(1) ความต้องการจับจ่ายใช้สอย
(2) การสร้างความมั่นคง
(3) การสร้างหลักประกันในการดําเนินชีวิต
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 54 เงินเป็นสิ่งสําคัญและมีบทบาทอย่างสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจา ลักษณะของการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนของเงินนั่นเอง ซึ่งทําให้ภาคครัวเรือน เกิดความต้องการถือเงินเมื่อมีความต้องการจับจ่ายใช้สอย

96. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) ออกธนบัตร
(2) บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) ผลิตเหรียญกษาปณ์
(4) กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

97. ในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับเท่าไร
(1) ร้อยละ 1.0 ต่อปี
(2) ร้อยละ 1.5 ต่อปี
(3) ร้อยละ 2.0 ต่อปี
(4) ร้อยละ 2.5 ต่อปี
(5) ร้อยละ 3.0 ต่อปี
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 2.5 ต่อปี

98. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(1) เสถียรภาพและความมั่นคง
(2) การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
(4) ส่งเสริมการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน
(3) การบริหารความเสี่ยงที่ดี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 60 เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่
1. ระบบการเงินมีเสถียรภาพและความมั่นคง
2. การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
3. การบริหารความเสี่ยงที่ดี
4. ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันของระบบ สถาบันการเงิน
5. การเข้าถึงบริการทางการเงินเป็นไปอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

99. ส่วนขาดดุลทางการคลังเกิดจากข้อใด
(1) รัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้
(2) รัฐบาลมีรายได้มากกว่ารายจ่าย
(3) รัฐบาลมีรายจ่ายเท่ากับรายได้
(4) รายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 45 ส่วนขาดดุลทางการคลัง (Fiscal Deficit) เกิดจากรัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ซึ่งรัฐบาลสามารถชดเชยการขาดดุลได้โดยใช้วิธีการก่อหนี้สาธารณะ

100. ภาระหนี้ต่างประเทศภาครัฐต่อรายได้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออกสินค้าและบริการ เรียกว่าอะไร
(1) Burden
(2) Deficit
(3) Debt Service Ratio
(4) Debt to GDP
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3หน้า 48 เพื่อไม่ให้การก่อหนี้สาธารณะเป็นข้อจํากัดของการพัฒนาประเทศ รัฐบาลควร คํานึงถึงความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) โดยต้องคอยติดตามและระมัดระวัง ให้การก่อหนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งมีเครื่องชี้วัดที่สําคัญ เช่น สัดส่วนระหว่าง หนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม (Debt to GDP) หนี้ต่องบประมาณรายจ่ายประจําปี และ ภาระหนี้ต่างประเทศภาครัฐต่อรายได้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออกสินค้าและบริการ (Debt Service Ratio) เป็นต้น

POL3300 การบริหารการคลัง s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3300 การบริหารการคลัง
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.งบประมาณแผ่นดินมีลักษณะดังนี้
(1) รายรับมาจากรัฐพาณิชย์
(2) มีกระบวนการจัดทําที่มีลักษณะรวมอํานาจ
(3) เป็นกฎหมาย
(4) ทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 15 – 20, 63 – 66, (คําบรรยาย) คุณสมบัติหรือลักษณะสําคัญของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งแตกต่างจากงบประมาณเอกชน มีดังนี้
1. เป็นกฎหมายทางการเงิน กล่าวคือ มีการตราเป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งกําหนดว่าให้ใช้จ่ายเงินได้ ไม่เกินจํานวนที่กําหนด แต่ในทางปฏิบัติรายจ่ายจริงอาจมีน้อยกว่ารายจ่ายที่กฎหมายงบประมาณกําหนดไว้ก็ได้
2. เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับต่อประชาชนทุกคนในชาติ
3. วิธีการจัดหารายได้ (รายรับ) โดยมีรายได้มาจากการจัดเก็บภาษีอากร การก่อหนี้สาธารณะ การขายสิ่งของและบริการ และรัฐพาณิชย์
4. คํานึงถึงความพึงพอใจของประชาชนเป็นแรงจูงใจในการจัดทํางบประมาณ
5. การกําหนดรายรับ มีรายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับ
6. มีกระบวนการจัดทํางบประมาณที่มีลักษณะกระจายอํานาจ
7. ลักษณะการเป็นเจ้าของ โดยมีประชาชนเป็นเจ้าของกิจการที่แท้จริง
8. มีการอนุมัติงบประมาณโดยรัฐสภา
9. การควบคุมหรือการบริหารงบประมาณจะถูกควบคุมร่วมกันทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ

2. ในยุคที่มีความเชื่อว่า… “งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือในการควบคุมความซื่อสัตย์ในการใช้จ่าย ของรัฐบาล…” งบประมาณแผ่นดินจะให้ความสําคัญไปที่
(1) แผนของรัฐในรูปตัวเงินที่แสดงประสิทธิผลของการใช้เงินตามแผนนั้น ๆ
(2) เอกสารที่ประกอบด้วยโครงการต่าง ๆ ซึ่งเสนอขอรายจ่ายเพื่อให้เกิดการดําเนินงานตามวัตถุประสงค์ ของโครงการนั้น ๆ
(3)แผนของรัฐในรูปตัวเงินที่แสดงประสิทธิภาพของการใช้เงินตามแผนนั้น ๆ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 63, 90 – 91 ในยุคที่มีความเชื่อว่า งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือของฝ่ายนิติบัญญัติ ในการติดตามควบคุมการใช้ทรัพยากร หรือควบคุมตรวจสอบความถูกต้องและความซื่อสัตย์ สุจริตในการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลนั้น งบประมาณแผ่นดินตามความเชื่อนี้จะหมายถึง รายละเอียด ของบัญชีที่แสดงประเภทของการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล หรือรายละเอียดของทรัพยากรที่ หน่วยงานเสนอของบประมาณจากรัฐบาล

3. การวิเคราะห์งบประมาณเป็นกิจกรรมที่อยู่ในขั้นตอนใดของกระบวนการงบประมาณ
(1) การควบคุม
(2) การประเมินผล
(3) การอนุมัติ
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 115 – 116 ในการจัดเตรียมงบประมาณนั้น จะมีการจัดทํารายละเอียดของงบประมาณ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนที่สําคัญ 3 ขั้นตอน คือ
1. เจ้าหน้าที่สํานักงบประมาณพิจารณาวิเคราะห์งบประมาณร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. สํานักงบประมาณเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ พร้อมด้วยเอกสารงบประมาณต่อ คณะรัฐมนตรี
3. นายกรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจําปี พร้อมด้วยเอกสารงบประมาณ ต่อรัฐสภา

4. ที่ว่า “งบประมาณแผ่นดินต้องทําเป็นพระราชบัญญัติ” หมายความว่า
(1) งบประมาณแผ่นดินต้องได้รับการประเมินก่อนนําไปใช้
(2) งบประมาณต้องได้รับการวิเคราะห์ก่อนนําไปใช้
(3) งบประมาณต้องผ่านการทําประชามติก่อนนําไปใช้
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 64, 82, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินเป็นเงินของประชาชนที่มอบให้กับรัฐบาลในรูปของภาษีอากรและการกู้ยืมเพื่อนําไปใช้ในการบริหารประเทศ ดังนั้นการใช้จ่ายงบประมาณ จึงต้องได้รับการอนุมัติหรือยินยอมจากประชาชนเสียก่อน แต่เนื่องจากการบริหารราชการในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ประชาชนได้มอบอํานาจการตัดสินใจให้กับรัฐสภา (สภานิติบัญญัติ) ไปแล้ว งบประมาณแผ่นดินซึ่งการจัดทําเป็นหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะจึงจําเป็นต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาโดยต้องทําเป็นกฎหมายหรือพระราชบัญญัติก่อนที่จะนําไปใช้ เพราะถ้างบประมาณไม่ได้รับการรับรองจากสภา รัฐบาลก็จะบริหารประเทศต่อไป ไม่ได้ ดังนั้นจึงถือว่างบประมาณเป็นเครื่องมือ เงื่อนไข หรือกลไกรับรองการเป็นรัฐบาลหรือ การจัดตั้งรัฐบาลในประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

5.ตัวอย่างของ “สินค้าเอกชน” ได้แก่
(1) การจัดแสงสว่างในทางเดินสาธารณะ
(2) บริการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(3) ไฟฟ้า
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 13, (คําบรรยาย) สินค้าเอกชน (Private Goods) หรือสินค้าเอกชนแท้ (Pure Private Goods) เป็นสินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค สามารถแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้ และ มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า ซึ่งได้แก่สินค้าหรือบริการทั่วไปที่ซื้อขายกันตามท้องตลาด เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า อาหาร เป็นต้น

6.หลักที่ว่างบประมาณต้องมีระยะเวลาที่แน่นอน หมายความว่าอย่างไร
(1) งบประมาณอาจกําหนดให้ 1 ปีงบประมาณมีระยะเวลา 24 เดือนก็ได้
(2) ปีงบประมาณอาจเริ่มต้นในเดือนใดของปีปฏิทินก็ได้ แต่ต้องมีระยะเวลาแน่นอน
(3) ปีงบประมาณต้องเท่ากันกับปีปฏิทินเสมอ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอน 4 หน้า 68, (คําบรรยาย) ระยะเวลาของการบริหารหรือการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณ เรียกว่า “ปีงบประมาณ” หรือ “ปีคลัง” (Fiscal Year) ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีระยะเวลาที่แน่นอน โดยอาจเป็น 6 เดือน 1 ปี (12 เดือน) หรือ 2 ปี (24 เดือน) ก็ได้ แต่จะต้องเป็นเช่นนั้นทุก ๆ ปี และจะเริ่มต้นในเดือนใดของปีปฏิทินก็ได้ เช่น ปีงบประมาณของไทยมีระยะเวลา 12 เดือนเริ่มต้นจากวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี และไปสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป โดยใช้ ชื่อปีถัดไปเป็นชื่อปีงบประมาณ (เช่น ปีงบประมาณ 2566 จะเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2565 และสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566)

7.ลักษณะในการกําหนดรายรับรายจ่ายของงบประมาณแผ่นดินโดยหลักการแล้ว
(1) ขึ้นอยู่กับความสามารถในการขายสินค้าและบริการ
(2) รายรับเป็นตัวกําหนดรายจ่าย
(3) สามารถใช้รายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับ
(4) ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดเก็บภาษีอากร
(5) ทั้งข้อ 2 และ 4
ตอบ 3 หน้า 65, (คําบรรยาย) ลักษณะการกําหนดรายรับรายจ่ายของงบประมาณแผ่นดินนั้นโดยหลักการแล้วสามารถใช้รายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับได้ เนื่องจากรัฐบาลมีแหล่งของรายรับที่กว้างขวาง และมีอํานาจในการออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีอากรจากประชาชน และก่อหนี้สาธารณะ ในขณะที่เอกชนจะมีรายรับเป็นตัวกําหนดรายจ่าย เพราะเอกชน มีแหล่งรายรับที่จํากัด และขึ้นอยู่กับความสามารถในการหารายได้จากการขายสินค้าและ บริการของตนเป็นสําคัญ

8. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) หลักประสิทธิภาพอาจไม่ไปด้วยกันกับหลักความพึงพอใจ
(2) หลักประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความคุ้มค่าของเงิน
(3) ในสังคมที่มีความแตกต่างทางความคิดมาก ๆ หลักความพึงพอใจจะประสบปัญหามาก
(4) ศูนย์รวมเงินจะต้องให้การบริหารงบประมาณเป็นไปภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน
(5) หลักความชัดเจนถูกต้องเชื่อถือได้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากร
ตอบ 5 หน้า 68, (คําบรรยาย) หลักของความชัดเจนถูกต้องและเชื่อถือได้ของงบประมาณแผ่นดินนั้นเป็นหลักการที่ทําให้เข้าใจวัตถุประสงค์และรายละเอียดของการดําเนินงานอย่างชัดเจนเป็นหลักมากกว่าที่จะคํานึงถึงเรื่องประสิทธิภาพ เพราะงบประมาณที่มีความถูกต้องชัดเจนและเชื่อถือได้ เมื่อนําไปปฏิบัติอาจจะไม่เป็นไปตามหลักประสิทธิภาพก็ได้

9.สภาวะ “เศรษฐกิจตกต่ำ สินค้าล้นตลาด ประชาชนว่างงาน” รัฐบาลควรใช้นโยบายงบประมาณแบบใด
(1) สมดุล
(2) ขาดดุลควบคู่กับนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง
(3) เกินดุล
(4) ขาดดุล
(5) ขาดดุลควบคู่กับนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สภาวะเงินฝืด หมายถึง สภาวะที่อุปสงค์ด้านสินค้าและบริการน้อยกว่าอุปทาน ด้านสินค้าและบริการ หรือเป็นสภาวะที่มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป ทําให้เศรษฐกิจตกต่ํา สินค้าล้นตลาด และประชาชนว่างงาน ดังนั้นรัฐบาลควรจะแก้ปัญหา ด้วยการเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น โดยการนํานโยบายงบประมาณแบบขาดดุล และการลดอัตราภาษีอากรมาใช้ควบคู่กับนโยบายการเงินดังต่อไปนี้
1. ซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากประชาชน
2. ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์
3. ลดอัตราเงินสดสํารองของธนาคารพาณิชย์
4. ลดอัตราส่วนลดเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยเงินกู้มากขึ้น ฯลฯ

10. ข้อใดถูกต้องตามหลักทฤษฎีการคลัง
(1) เศรษฐกิจที่รัฐบาลจะมีรายได้มาก
(2) เศรษฐกิจ รัฐบาลจะมีภาระรายจ่ายสูงขึ้น
(3) เศรษฐกิจดีคนในสังคมจะมีชีวิตที่เป็นสุข
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามหลักทฤษฎีการคลัง หากเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะมีรายได้มากและจะมีภาระ รายจ่ายน้อยลง รายจ่ายมากขึ้นในทางตรงกันข้ามหากเศรษฐกิจตกต่ํารัฐบาลจะมีรายได้น้อยลงและมีภาระ

11.สภาวะ “เศรษฐกิจตกต่ำ สินค้าล้นตลาด ประชาชนว่างงาน” เรียกสภาวะดังกล่าวว่าอะไร
(1) สภาวะเงินฝืด
(2) สภาวะเงินเฟ้อ
(3) สภาวะการขาดอุปทาน
(4) สภาวะอุปสงค์ล้นตลาด
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

12. งบประมาณใดต่อไปนี้ที่ใช้หลักของ “ศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน”
(1) งบประมาณราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(2) เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
(3) เงินทุนหมุนเวียน
(4) งบรายได้ของมหาวิทยาลัย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 67, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินมีลักษณะเป็นศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน หมายความว่า ในปีงบประมาณหนึ่ง ๆ จะต้องมีการบูรณาการแผนทางการเงินของส่วนราชการต่าง ๆ ให้เป็น แผนเดียวกัน มีการจัดเตรียมและอนุมัติงบประมาณเพียงครั้งเดียว มีการใช้จ่ายตามที่กําหนดไว้ใน งบประมาณรายจ่ายประจําปี หากไม่มีความจําเป็นจะไม่มีการจัดทํางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม รวมทั้งกระบวนการงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ จะต้องดําเนินไปภายใต้กฎข้อบังคับ เดียวกัน ใช้บทบัญญัติเดียวกัน และมีสถาบันหรือหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในขั้นตอนต่าง ของการบริหารงบประมาณเดียวกัน โดยงบประมาณที่ใช้หลักศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน ได้แก่ งบประมาณประจําปีของส่วนราชการทั่ว ๆ ไป เช่น งบประมาณของสํานักงบประมาณ กรมการปกครอง กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต เป็นต้น

13. Budget Ceiling หมายถึงอะไร
(1) วงเงินงบประมาณ
(2) เพดานเงินจัดสรร
(3) เงินประจํางวด
(4) เงินที่ไม่ได้รับอนุมัติ
(5) งบผูกพัน
ตอบ 1 หน้า 91, (คําบรรยาย) การกําหนดยอด “วงเงินงบประมาณ (Budget Ceiling) เป็นการ จัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปีที่ตั้งไว้เพื่อใช้ในโครงการและงานที่จะต้องจัดทําในปีต่อไปของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนหนึ่งของการจัดเตรียมงบประมาณ

14. ตัวอย่างของบริการที่ถ้าให้เอกชนจัดทําแล้วประชาชนอาจเสียประโยชน์
(1) กิจการไปรษณีย์
(2) บริการด้านสาธารณสุข
(3) โรงงานผลิตรถถัง
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 71 – 72 ตามแนวคิดในการจัดสรรทรัพยากรแบบเสรีนิยมนั้น กิจกรรมที่เอกชนจัดทําแล้ว ประชาชนอาจเสียประโยชน์ ได้แก่ บริการด้านการศึกษา (การจัดการศึกษาภาคบังคับ) บริการ
ด้านสาธารณสุข (การรักษาพยาบาล การป้องกันโรคติดต่อ การให้ความรู้เกี่ยวกับสาธารณสุข ขั้นมูลฐาน) เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมประเภทนี้รัฐจะต้องเข้าไปควบคุมมาตรฐานเพื่อความถูกต้องเหมาะสม

15. การกระจายรายได้ที่เป็นธรรมของสังคม สามารถวัดได้โดย
(1) เปรียบเทียบรายได้ของคนแยกตามกลุ่มอาชีพ
(2) ดูการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลรวม
(3) ดูอัตราการว่างงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 73 – 74, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินจะต้องเป็นไปเพื่อ
1. สร้างความเจริญเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจหรือความมั่งคั่งของชาติ ซึ่งสามารถวัดได้
โดยการดูอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลรวม
2. สร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูอัตราการว่างงาน อัตราเงินฝืด และอัตราเงินเฟ้อ
3. สร้างประสิทธิภาพในการทํางาน ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูผลผลิตต่อหน่วย
4. สร้างความเสมอภาคหรือการกระจายทางเศรษฐกิจ หรือการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ให้กับสังคม และทรัพย์สินที่มีซึ่งสามารถวัดได้โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของรายได้ อัตราการใช้จ่าย

16.ลักษณะของระบบงบประมาณแบบ PPBS
(1) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลัก Incremental Analysis
(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(3) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 3 หน้า 93 – 94, 97, 101 – 102, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ (Planning Programming Budgeting System : PPBS) เป็นระบบงบประมาณที่ ในด้านการวางแผนวางโครงการโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ระยะยาว ระบบงบประมาณแบบนี้จะมีการวางแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายและตั้งวงเงินงบประมาณตามแต่ละแผนงาน มีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจผสมกับหลักเหตุผล (Limited Rationality หรือ Mixed Scanning) มีการแบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงสร้างแผนงาน หรือโครงการ (Program Structure) มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ในการวิเคราะห์โครงการเพื่อศึกษาถึงโครงสร้างแผนงานหรือโครงการที่จัดทําว่ามีความสัมพันธ์กับ โครงการใด ๆ บ้าง มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างนโยบายสาธารณะ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการวางแผนวางโครงการของหน่วยงานมีการกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ของแผนงานหรือโครงการเพื่อการติดตามประเมินผล รวมทั้งมีการจัดทําบันทึกโครงการ แผนงานและแผนทางการเงินระยะยาว (อาจเป็น 3 ปี หรือ 5 ปี) เพื่อประกอบการจัดทําโครงการด้วย

17. ลักษณะของระบบงบประมาณแบบโครงการ
(1) มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมประสิทธิภาพของการใช้จ่าย
(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงการ
(3) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 92 – 93, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบโครงการ (Program Budget) หรืองบประมาณ แบบแสดงผลงาน (Performance Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ในหลักประสิทธิภาพ กล่าวคือ เป็นระบบงบประมาณที่เน้นการควบคุมประสิทธิภาพของการใช้จ่าย หรือให้ความสําคัญกับ ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร ทั้งนี้ก็เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์อย่างประหยัด นอกจากนี้ ยังให้ความสําคัญกับผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ของงานหรือโครงการในแต่ละปี มีการจัดทํางบประมาณเป็นรายโครงการและมีการแบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงการหรือตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล (Objectives Classification) หรือตามหน้าที่ของรัฐ (Functional Classification) มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) หรือวิเคราะห์ประสิทธิภาพ
ของโครงการหรือประสิทธิภาพของการใช้เงินโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ เช่น Cost and Effectiveness Analysis, Cost and Benefit Analysis และมีการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณ โดยอาศัยหลักของเหตุผล (Pure Rationality) เป็นสําคัญ

18. ลักษณะของระบบ PPBS
(1) มีการจัดทําบันทึกโครงการ
(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(3) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

19. ลักษณะของ Performance Budget
(1) มีการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของโครงการ
(2) การตัดสินใจใช้หลักของเหตุผล
(3) อาจเรียกว่าเป็นงบประมาณแบบแสดงรายการ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

20. ลักษณะของ Program Budget
(1) มีการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของโครงการ
(2) การตัดสินใจใช้หลักของเหตุผล
(3) อาจเรียกว่าเป็นงบประมาณแบบ PPBS
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

21. ลักษณะของระบบงบประมาณแบบที่ในการควบคุม
(1) มีการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของโครงการ
(2) การตัดสินใจใช้หลักของเหตุผล
(3) อาจเรียกว่าเป็นงบประมาณแบบแสดงรายการ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 หน้า 87 – 88, 90 – 92, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budget) หรืองบประมาณแบบเก่า (Conventional Budget) หรืองบประมาณแบบประเพณี (Traditional Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ในด้านการควบคุมเพื่อมุ่งตรวจสอบความถูกต้องและความซื่อสัตย์สุจริตของการใช้จ่ายเงินของรัฐ หรือให้ความสําคัญกับความถูกต้องของ “ปัจจัย นําเข้า” (Inputs) หรือการจัดสรร “ทรัพยากร” ของงานหรือโครงการ โดยเน้นกฎ ระเบียบ และการควบคุมให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบนั้น หรือให้ความสําคัญกับมาตรฐานของทรัพยากร ที่หน่วยราชการได้ใช้ไป ดังนั้นงบประมาณจึงถูกแบ่งออกตามหน่วยราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ (Agencies Classification หรือ Organizations Classification) โดยเฉพาะในระดับกรม และมีการแบ่งตามประเภทและชนิดของการใช้จ่าย (Objects of Expenditure Classification) โดยพิจารณาจากคู่มือการจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่ายซึ่งแบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น หมวดเงินเดือน หมวดสาธารณูปโภค หมวดครุภัณฑ์ ฯลฯ นอกจากนี้ในการจัดเตรียม งบประมาณก็จะต้องมีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจ (Muddling Through) หรือการวิเคราะห์เฉพาะส่วนที่เพิ่ม (Incrementalism) เป็นเกณฑ์ด้วย

22. ข้อใดที่จัดเป็นลักษณะของ Traditional Budget
(1) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลัก Muddling Through
(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(3) Objectives Classification
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

23.Line-Item Budget ตรงกับข้อใด
(1) Muddling Through
(2) คู่มือจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย
(3) แบ่งเงินงบประมาณออกตามจังหวัด
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

24. ลักษณะของ Zero-Base Budget
(1) Muddling Through
(2) Political Bargaining
(3) Incrementalism
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 96, 99 – 100, (คําบรรยาย) งบประมาณฐานศูนย์ (Zero-Base Budget : ZBB) เป็นระบบ งบประมาณที่อาศัยหลักของเหตุผล (Pure Rationality) ในการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งกําหนดให้ โครงการหรืองานที่เสนอของบประมาณในทุก ๆ ปีงบประมาณจะต้องได้รับการตรวจสอบวิเคราะห์ ทั้งระบบ ทั้งงานหรือโครงการเดิมที่เคยทํามาแล้ว และงานหรือโครงการใหม่ ๆ ที่กําลังจะเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อต้องการให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีเหตุผล แต่วิธีการนี้มักจะก่อให้เกิดความล่าช้าหรืออาจทําไม่ได้ในทางปฏิบัติ

25. สถาบันที่ทําหน้าที่ “ตรวจสอบบัญชีการเงินของส่วนราชการต่าง ๆ”
(1) กรมบัญชีกลาง
(2) DSI
(3) สํานักงบประมาณ
(4) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 84, 129 สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทําหน้าที่ตรวจสอบรายละเอียดของ การใช้จ่ายเงินและตรวจสอบบัญชีทางการเงินของส่วนราชการต่าง ๆ โดยแยกการตรวจสอบออกเป็น 2 ระดับ คือ การตรวจสอบระดับหน่วยงานและการตรวจสอบระดับรัฐบาล

26. สถาบันที่ทําหน้าที่ “วิเคราะห์งบประมาณ” ได้แก่
(1) กรมบัญชีกลาง
(2) DSI
(3) สํานักงบประมาณ
(4) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

27. ระยะเวลาในการดําเนินการ “อนุมัติ” งบประมาณ มีระยะประมาณกี่เดือน
(1) 3 เดือน
(2) 5 เดือน
(3) 9 เดือน
(4) 12 เดือน
(5) ไม่แน่นอนกําหนดตายตัวไม่ได้
ตอบ 1 หน้า 79 ระยะเวลาของการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน เรียกว่า วงจรงบประมาณ (Budget Cycle) ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุด โดยวงจรงบประมาณ ของประเทศไทยนั้นจะใช้เวลาประมาณ 22 เดือน ประกอบด้วยกิจกรรมหรือการกระทํา 3 ขั้นตอน คือ การจัดเตรียมประมาณ 6 – 7 เดือน การอนุมัติประมาณ 3 – 4 เดือน และ การควบคุมหรือการบริหารเป็นเวลา 12 เดือน

28. ระยะเวลาในการดําเนินการ “ควบคุม” งบประมาณ มีระยะประมาณกี่เดือน
(1) 3 เดือน
(2) 5 เดือน
(3) 9 เดือน
(4) 12 เดือน
(5) ไม่แน่นอนกําหนดตายตัวไม่ได้
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

29.ระยะเวลาของการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณ เรียกว่า
(1) ปีปฏิทิน
(2) วงจรงบประมาณ
(3) เงินประจํางวด
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

30.พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2566 กําหนดวงเงินไว้ประมาณเท่าใด
(1) 3.05 ล้านล้านบาท
(2) 3.18 ล้านล้านบาท
(3) 3.35 ล้านล้านบาท
(4) 3.50 ล้านล้านบาท
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2556 ได้กําหนดวงเงินงบประมาณ รายจ่ายไว้ประมาณ 3.18 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.09 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (GDP) และกําหนดวงเงินขาดดุลไว้ประมาณ 6.9 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 3.73 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

31.พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2566 กําหนดวงเงินขาดดุลไว้ประมาณเท่าใด
(1) 6.9 แสนล้านบาท
(2) 9.9 แสนล้านบาท
(3) 1.5 ล้านล้านบาท
(4) 2.2 ล้านล้านบาท
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

32.ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 ประเทศไทยมีหนี้สาธารณะคิดเป็นร้อยละเท่าไรของ GDP
(1) 48
(2) 55
(3) 60
(4) 79
(5) 88
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 ประเทศไทยมีหนี้สาธารณะคงค้างจํานวน 9,951,962.73 ล้านบาท หรือคิดเป็น 60.58% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

33. ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงิน
(1) การควบคุมปริมาณเงิน
(2) การกําหนดอัตราดอกเบี้ย
(3) การควบคุมเงินที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ
(4) การเก็บภาษีศุลกากร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 55 – 56 เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง ประกอบด้วย 3 เครื่องมือ คือ การควบคุมปริมาณเงิน การกําหนดอัตราดอกเบี้ย และการควบคุมเงิน ที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ

34. งบการเงินของกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้
ในประเทศต้องได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานใด
(1) กรมบัญชีกลาง
(2) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
(3) กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
(4) สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
(5) สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นหน่วยงานที่ทําหน้าที่ตรวจสอบงบการเงิน
ของกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้
ในประเทศตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ

35.ECB เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด
(1) ธนาคารกลางแห่งอังกฤษ
(2) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์
(3) ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(4) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา
(5) ธนาคารกลางแห่งเอเชีย
ตอบ 3 หน้า 55 ในปัจจุบันธนาคารกลางที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ได้แก่ ธนาคารกลางแห่งยุโรป (European Central Bank : ECB) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve Bank : FED) เป็นต้น

36.พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2556 กําหนดวงเงินไว้คิดเป็นร้อยละเท่าไรของ GDP
(1) 7
(2) 17
(3) 27
(4) 35
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

37. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ
(1) การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
(2) การเป็นเครื่องชี้วัดสถานภาพทางสังคม
(3) การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
(4) การเป็นมาตรฐานในการก้าหนดมูลค่า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 54, (คําบรรยาย) บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2. การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
3. การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า
4. การเป็นมาตรฐานการชําาระหนี้ในภายหน้า

38. ข้อใดไม่นับว่าเป็นเงิน
(1) เหรียญกษาปณ์
(2) เช็ค
(3) ตั๋วแลกเงิน
(4) บัตรเครดิต
(5) ศิลปวัตถุ
ตอบ 5 หน้า 54 เงิน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจจะอยู่ในหลายรูปแบบ เช่น ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ เช็ค ตั๋วแลกเงิน บัตรเครดิต เป็นต้น

39. คําในข้อใดหมายถึงนโยบายการเงิน
(1) Fiscal Policy
(2) Monetary Policy
(3) Financial Policy
(4) Public Policy
(5) Money Policy
ตอบ 2. หน้า 8, 54, 57, (คําบรรยาย) นโยบายการเงิน (Monetary Policy) หมายถึง นโยบายที่ เกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ทางเศรษฐกิจ เช่น การควบคุม/กํากับอัตราดอกเบี้ย การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท การควบคุม กํากับดูแลสินเชื่อ การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล การออกระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ทางการเงิน เป็นต้น โดยหน่วยงานที่ทําหน้าที่ดูแลนโยบายการเงินก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย

40. การดําเนินนโยบายการเงินไม่มีผลกระทบสืบเนื่องไปยังเรื่องใด
(1) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(2) การจ้างงาน
(3) ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
(4) เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) การดําเนินนโยบายการเงินมีผลกระทบสืบเนื่องไปยังเสถียรภาพ ของระบบเศรษฐกิจ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการจ้างงาน แต่จะไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

41.FED เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด
(1) ธนาคารกลางแห่งอังกฤษ
(2) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์
(3) ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(4) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา
(5) ธนาคารกลางแห่งเอเชีย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

42. หน่วยงานใดเป็นผู้กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย
(1) กระทรวงพาณิชย์
(2) กระทรวงการคลัง
(3) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(4) ธนาคารกรุงไทย
(5) คณะกรรมการนโยบายการเงิน
ตอบ 3 หน้า 57 – 58 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2485 เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและหน้าที่ ดังนี้

1. ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร
2. กําหนดและดําเนินนโยบายการเงิน เช่น กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ย
3. บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
4. เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล
5. เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน
6. กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
7. บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและสินทรัพย์ในทุนสํารองเงินตรา ฯลฯ

43. ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปีใด
(1) ปี พ.ศ. 2480
(2) ปี พ.ศ. 2485
(3) ปี พ.ศ. 2490
(4) ปี พ.ศ. 2495
(5) ปี พ.ศ. 2500
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

44. ข้อใดคือลักษณะที่สําคัญที่สุดของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายทางการเงิน
(1) มุ่งหากําไรสูงสุด
(2) หลีกเลี่ยงการแทรกแซงตลาดการเงิน
(3) มีอิสระจากฝ่ายการเมือง
(4) มีอํานาจเด็ดขาด
(5) รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสีย
ตอบ 3 หน้า 55 ลักษณะที่สําคัญที่สุดของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายทางการเงิน คือ มีอิสระ จากฝ่ายการเมือง เนื่องจากการดําเนินนโยบายทางการเงินนั้นมีเป้าหมายที่จะรักษาเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจเป็นสําคัญ ดังนั้นการดําเนินนโยบายโดยหน่วยงานที่มีอิสระจากฝ่ายการเมืองย่อมจะเป็นผลดีต่อการบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินมากกว่าการดําเนินนโยบายโดยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง

45. ในปัจจุบันบุคคลใดดํารงตําแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล
(2) นายประทิน สันติประภพ
(3) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
(4) นายวิรไท สันติประภพ
(5) นายเศรษฐวุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน คือ นายเศรษฐวุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

46. ความต้องการถือเงินของภาคครัวเรือนเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากข้อใด
(1) ความต้องการจับจ่ายใช้สอย
(3) การสร้างหลักประกันในการดําเนินชีวิต
(2) การสร้างความมั่นคง
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 54 เงินเป็นสิ่งสําคัญและมีบทบาทอย่างสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจาก
ลักษณะของการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนของเงินนั่นเอง ซึ่งทําให้ภาคครัวเรือน เกิดความต้องการถือเงินเมื่อมีความต้องการจับจ่ายใช้สอย

47.ข้อใดไม่ใช่บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) ออกธนบัตร
(2) บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) ผลิตเหรียญกษาปณ์
(4) กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

48. ในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับเท่าไร
(1) ร้อยละ 1.0 ต่อปี
(2) ร้อยละ 1.25 ต่อปี
(3) ร้อยละ 2.0 ต่อปี
(4) ร้อยละ 2.5 ต่อปี
(5) ร้อยละ 3.0 ต่อปี
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 2.0 ต่อปี

49. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(1) เสถียรภาพและความมั่นคง
(2) การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
(3) การบริหารความเสี่ยงที่ดี
(4) ส่งเสริมการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 60 เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่
1. ระบบการเงินมีเสถียรภาพและความมั่นคง
2. การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
3. การบริหารความเสี่ยงที่ดี
4. ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน
5. การเข้าถึงบริการทางการเงินเป็นไปอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

50. ส่วนขาดดุลทางการคลังเกิดจากข้อใด
(1) รัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้
(2) รัฐบาลมีรายได้มากกว่ารายจ่าย
(3) รัฐบาลมีรายจ่ายเท่ากับรายได้
(4) รายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 45 ส่วนขาดดุลทางการคลัง (Fiscal Deficit) เกิดจากรัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้
ซึ่งรัฐบาลสามารถชดเชยการขาดดุลได้โดยใช้วิธีการก่อหนี้สาธารณะ

51. ภาระหนี้ต่างประเทศภาครัฐต่อรายได้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออกสินค้าและบริการ เรียกว่าอะไร
(1) Burden
(2) Deficit
(3) Debt Service Ratio
(4) Debt to GDP
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 48 เพื่อไม่ให้การก่อหนี้สาธารณะเป็นข้อจํากัดของการพัฒนาประเทศ รัฐบาลควร คํานึงถึงความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) โดยต้องคอยติดตามและระมัดระวัง ให้การก่อหนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งมีเครื่องชี้วัดที่สําคัญ เช่น สัดส่วนระหว่าง หนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม (Debt to GDP) หนี้ต่องบประมาณรายจ่ายประจําปี และ ภาระหนี้ต่างประเทศภาครัฐต่อรายได้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออกสินค้าและบริการ (Debt Service Ratio) เป็นต้น

52. นักเศรษฐศาสตร์สํานักใดไม่ยอมรับการก่อหนี้สาธารณะ
(1) เคนส์เซียน
(2) นีโอลิเบอรัล
(3) พาณิชย์นิยม
(4) เสรีนิยม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 46 นักเศรษฐศาสตร์สํานักคลาสสิก (Classical Economist) หรือสํานักเสรีนิยม (Liberalist) มองว่า บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจควรเป็นไปอย่างจํากัด (Minimalist State) คือ รัฐบาลควรใช้จ่ายงบประมาณอย่างจํากัด ดังนั้นการใช้จ่ายเกินตัวของรัฐบาลซึ่งนําไปสู่การก่อหนี้สาธารณะจึงเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์สํานักนี้

53. ในทฤษฎีของเคนส์การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรัฐบาลเป็นการทํางานของกลไกในข้อใด
(1) การบริโภค
(2) การออม
(3) การลงทุน
(4) อุปสงค์มวลรวม
(5) การจับจ่ายใช้สอย
ตอบ 4 หน้า 46 – 47 (คําบรรยาย) ในช่วงทศวรรษ 1930 เกิดปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลก หรือที่เรียกว่า The Great Depression ซึ่งทฤษฎีของเคนส์ได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหานี้ โดยการเสนอให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ คือการให้รัฐบาลใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ที่มีอยู่เพื่อเป็นการ ยกระดับอุปสงค์มวลรวม (Aggregate Demand)

54. กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้สาธารณะ เรียกว่าอะไร
(1) วินัยทางการคลัง
(2) กฎเหล็กทางการคลัง
(3) ความยั่งยืนทางการคลัง
(4) กฎกระทรวงการคลัง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้
สาธารณะ เรียกว่า วินัยทางการคลัง

55. สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะก่อตั้งขึ้นในปีใด
(1) ปี พ.ศ. 2540
(2) ปี พ.ศ. 2541
(3) ปี พ.ศ. 2542
(4) ปี พ.ศ. 2543
(5) ปี พ.ศ. 2544
ตอบ 3 หน้า 48 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 อยู่ภายใต้สังกัดของ สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดําเนินการเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การผูกพันหนี้ การบริหารหนี้ และการชําระหนี้ ในประเทศและต่างประเทศของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งที่ค้ําประกันและไม่ค้ําประกัน

56. สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะอยู่ภายใต้สังกัดของหน่วยงานใด
(1) สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
(2) กรมบัญชีกลาง
(3) สํานักงบประมาณ
(4) กรมธนารักษ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

57. ปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลกในช่วงทศวรรษ 1930 เรียกว่าอะไร
(1) Liquidity Crisis
(2) The Great Depression
(3) The Great Storm
(4) Hamburger Crisis
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

58. ข้อใดไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ
(1) หนี้ของรัฐบาล
(2) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
(3) หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน
(4) หนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 45, 50, (คําบรรยาย) หนี้สาธารณะ ได้แก่
1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศ
2. หนี้ของรัฐวิสาหกิจ (ไม่เป็นสถาบันการเงิน) ที่รัฐบาลค้ําประกันและไม่ค้ําประกัน
3. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ําประกัน
4. หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
5. หนี้ของหน่วยงานอื่นของรัฐ เช่น หนี้ของกระทรวงการคลัง เป็นต้น

59. บทบาทของรัฐบาลในลักษณะที่เป็น Minimalist State ตรงกับข้อใด
(1) รัฐบาลไม่มีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ
(2) บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจควรเป็นไปอย่างจํากัด
(3) รัฐบาลไม่ควรมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ
(4) บาทบาทของรัฐบาลเป็นไปตามนโยบายของพรรคการเมือง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

60.ณ สิ้นเดือนเมษายน 2560 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยอยู่ที่ประมาณร้อยละเท่าไร
(1) 10
(2) 15
(3) 20
(4) 40
(5) 60
ตอบ 4 หน้า 51 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน เมษายน 2560 มีจํานวน 6,267,920.88 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.64 ของผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

61. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับร้อยละเท่าไร
(1) 7.12
(2) 15.26
(3) 15.28
(4) 18.25
(5) 25.74
ตอบ 1 หน้า 52 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 7.12

62. ข้อใดคือความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับ
การก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ในต่างประเทศ
(1) วงเงิน
(2) ระยะเวลาชําระคืน
(3) อัตราดอกเบี้ย
(4) ผู้ที่รับภาระหนี้
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3(คําบรรยาย) การก่อหนี้สาธารณะต้องคํานึงถึงผู้ที่รับภาระหนี้ วงเงิน ระยะเวลาชําระคืน และ อัตราดอกเบี้ย โดยที่อัตราดอกเบี้ยคือความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับต่างประเทศ เนื่องจากต้องใช้คืนทั้งต้นเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยที่ผันผวนตามค่าเงิน

63. กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารหนี้สาธารณะคือข้อใด
(1) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2545
(2) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้ส หนี้สาธารณะ พ.ศ. 2546
(3) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2547
(4) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548
(5) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2550
ตอบ 4 (คําบรรยาย) กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหาร หนี้สาธารณะ คือ พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งประกาศ บังคับใช้ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร

64. ข้อใดไม่ใช่ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ
(1) ตั๋วเงินคลัง
(2) ตั๋วสัญญาใช้เงิน
(3) พันธบัตร
(4) บัตรเงินฝาก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ ได้แก่
1. ตั๋วเงินคลัง 2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน 3. พันธบัตร

65. ข้อใดเป็นคํานิยามของพันธบัตรที่ถูกต้อง
(1) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกินหกเดือน
(2) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกินสิบสองเดือน
(3) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบสองเดือนขึ้นไป
(4) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบแปดเดือนขึ้นไป
(5) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่ยี่สิบสี่เดือนขึ้นไป
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พันธบัตร คือ เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออก ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป

66. ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังไม่อาจกู้เงินเพื่อการใด
(1) ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
(2) พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
(3) ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
(4) ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
(5) พัฒนาตลาดทุนในประเทศ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังกู้เงินได้ เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1. ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
2. พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
3. ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
4. ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
5. พัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ

67. กระแสเงินไหลเข้าที่มีผลในการเพิ่มฐานะทางการคลังหมายถึงสิ่งใด
(1) กระแสเงินสด
(2) รายจ่าย
(3) รายได้
(4) รายรับ
(5) กําไร
ตอบ 3 หน้า 15 – 20, (คําบรรยาย) รายได้ หมายถึง กระแสเงินไหลเข้าที่มีผลในการเพิ่มฐานะ ทางการคลัง โดยแหล่งรายได้ของรัฐบาลจําแนกออกเป็น 2 แหล่งใหญ่ คือ
1. รายได้จากภาษีอากร
2. รายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากร ได้แก่ รายได้จากการขายสิ่งของ และบริการ (เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าสัมปทาน ค่าบริการ ค่าเช่าทรัพย์สินของรัฐ ค่าขายของกลางที่ยึดมาจากคดีต่าง ๆ) รายได้จากรัฐพาณิชย์ และรายได้อื่น ๆ (เช่น ค่าแสตมป์ฤชากร ค่าปรับ)

68. ข้อใดคือหลักการหารายได้ของรัฐ
(1) หารายได้ให้ได้มากที่สุด
(2) หารายได้เท่าที่จําเป็นต้องใช้
(3) หารายได้ให้เกินดุล
(4) หารายได้จากการพาณิชย์เป็นหลัก
(5) หารายได้น้อย ๆ ไม่ให้เป็นภาระประชาชน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักการหารายได้ของรัฐจะมีความแตกต่างกับเอกชน กล่าวคือ เอกชนจะเน้น การหารายได้ให้ได้มากที่สุด ส่วนภาครัฐจะหารายได้เท่าที่จําเป็นต้องใช้เพื่อไม่ให้เป็นภาระ ประชาชนมากเกินไป

69. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของสินค้าหรือบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ
(1) ตรงความต้องการของประชาชน
(2) ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า
(3) ประชาชนบริโภคน้อยกว่าที่จําเป็น
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 10 คุณลักษณะของสินค้าหรือบริการสาธารณะที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ มีดังนี้
1. มีปริมาณและคุณภาพตรงกับความต้องการของประชาชนทั่วไปในสังคมไม่มากหรือ น้อยเกินไป (Not over or under supplies)

2. ประชาชนทั่วไปในสังคมไม่บริโภคหรือใช้บริการสาธารณะนั้นมากเกินความจําเป็น หรือน้อยกว่าที่ควรจะเป็น (No over or under consumptions)
3. ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า (Resource maximization)

70. สินค้าที่ไม่สามารถวัดการใช้ประโยชน์หรือการได้รับประโยชน์จากสินค้านั้นได้เรียกว่าเป็นสินค้า
ที่มีลักษณะอย่างไร
(1) เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(2) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(3) Rival Consumption
(4) แบ่งแยกการบริโภคจากกันได้
(5) แบ่งแยกการบริโภคจากกันไม่ได้
ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) สินค้าที่แบ่งแยกการบริโภคจากกันไม่ได้ (Non-Excludable) คือ สินค้าที่ไม่สามารถวัดการใช้ประโยชน์หรือการได้รับประโยชน์จากสินค้านั้นได้ หรือไม่สามารถ ใช้ราคาหรือมาตรการอื่นเป็นเครื่องมือในการกีดกันไม่ให้ผู้ใดได้ใช้สินค้านั้นได้

71. คุณสมบัติของสินค้าประเภท Congestible Public Goods คือข้อใด
(1) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(2) มีขีดจํากัดในการให้บริการ
(3) ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า
(4) แบ่งแยกการบริโภคจากกันได้
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 13, 40, (คําบรรยาย) สินค้าทั่วไป (Common Goods) หรือสินค้ากึ่งสาธารณะ ประเภท Congestible Public Goods เป็นสินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภคแต่แบ่งแยก การบริโภคออกจากกันไม่ได้ หรือการเข้ามาของผู้บริโภครายใหม่อาจทําให้ความพึงพอใจของ ผู้บริโภครายเดิมลดน้อยลง แต่ไม่สามารถกีดกันให้บุคคลอื่นไม่สามารถเข้ามาเป็นผู้บริโภคได้ ดังนั้นสินค้าประเภทนี้จึงมีขีดจํากัดในการให้บริการ เช่น สนามหลวง สนามกีฬาแห่งชาติ สนามกีฬากลางของเทศบาล ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ถนนสาธารณะ (เช่น ถนนพระราม 9) ทางด่วน เป็นต้น

72. คุณสมบัติของสินค้าเอกชนแท้ (Pure Private Goods) คือข้อใด
(1) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(2) เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(3) แบ่งแยกการบริโภคออกจากกันไม่ได้
(4) ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

73. สินค้าประเภทใดมักประสบปัญหาการมี Free Rider
(1) สินค้าเอกชนแท้
(2) สินค้าสโมสร
(3) สินค้าสาธารณะแท้
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 หน้า 12 ปัญหาการร่วมรับประโยชน์แต่ไม่ร่วมจ่าย (Free Rider Problem) หมายถึง การที่คนร่วมรับประโยชน์จากสินค้าสาธารณะ แต่ไม่ยอมร่วมจ่ายค่าบริการ ซึ่งมักเป็นปัญหา ของสินค้าหรือบริการสาธารณะแท้

74. กลไกตลาดที่รัฐควรใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการสาธารณะแท้คือกลไกใด
(1) ค่าธรรมเนียม
(2) ค่าใช้บริการ
(3) ภาษี
(4) ค่าปรับ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 21, 40, (คําบรรยาย) “ภาษี” เป็นกลไกตลาดที่ภาครัฐนํามาใช้ในการผลิตสินค้าหรือ บริการสาธารณะแท้ หรือสินค้าหรือบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นสินค้าและบริการที่มี
ความจําเป็นต่อประชาชนทุกคนภายในประเทศ เช่น การรักษาความปลอดภัยและความสงบ เรียบร้อยในสังคม การศึกษาขั้นพื้นฐาน การควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ส่วน “ค่าธรรมเนียมและค่าบริการ” เป็นกลไกตลาดที่ภาครัฐนํามาใช้ในการจัดบริการสาธารณะ ในเชิงธุรกิจ เช่น การบริการขนส่ง การบริการด้านการเงินการธนาคาร เป็นต้น

75. ใครคือผู้ผลิตในกลไกตลาดภาครัฐ
(1) ประชาชน
(2) ภาคประชาสังคม
(3) บริษัท
(4) รัฐบาล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 21, (คําบรรยาย) กลไกตลาดภาครัฐ คือ กลไกการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ระหว่างภาครัฐ (รัฐบาล) ในฐานะผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตกับประชาชนในฐานะผู้บริโภค

76. ใครมีหน้าที่ยื่นชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) บุคคลธรรมดาผู้ขายสินค้าเป็นอาชีพ มียอดขาย 154,000 บาทต่อเดือน
(2) นิติบุคคลผู้ขายสินค้าเป็นอาชีพ มียอดขาย 100,000 บาทต่อเดือน
(3) บุคคลธรรมดาผู้ให้บริการเป็นอาชีพ มีรายได้ 180,000 บาทต่อปี
(4) นิติบุคคลผู้ให้บริการเป็นอาชีพ มีรายได้ 1,500,000 บาทต่อปี
(5) บุคคลธรรมดาที่ขายสินค้าเป็นอาชีพ มียอดขาย 1,500,000 บาทต่อปี
ตอบ 1 หน้า 36 ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่ขายสินค้าหรือบริการเป็นอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคคล ซึ่งมีรายได้หรือยอดขายเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี (150,000 บาทต่อเดือน) โดยต้องยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และคํานวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ และต้องชําระภาษีเป็นรายเดือน โดยยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

77. เงินได้พึงประเมิน หมายถึงเงินได้ของบุคคลที่เกิดขึ้นในระยะเวลาใด
(1) ในปีปฏิทิน
(2) ในปีอธิกสุรทิน
(3) ในปีงบประมาณ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 1 หน้า 31, (คําบรรยาย) เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้ของบุคคลใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่าง วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคมของปีใด ๆ หรือเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษี (ปีปฏิทิน) ได้แก่
1. เงิน
2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน
3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน
4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกําหนด

78. ภาษีชนิดใดที่มีรอบชําระรายเดือน
(1) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(3) ภาษีป้าย
(4) ภาษีศุลกากร
(5) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

79. ภาษีชนิดใดที่ไม่เป็นกลาง
(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) ภาษีสุรา
(3) ภาษีศุลกากร
(4) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(5) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ตอบ 2 หน้า 38, (คําบรรยาย) ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผล สมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ขัดต่อ ศีลธรรมอันดีงาม มีลักษณะเป็นสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือย หรือได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษ จากกิจการของรัฐ ดังนั้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจึงไม่เป็นกลางตามหลักการภาษีที่ดี ทั้งนี้ เพราะเป็นการจัดเก็บภาษีที่ต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนหรือจํากัด
การบริโภคของประชาชนให้น้อยลง ตัวอย่างสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต เช่น สุรา เบียร์ ยาสูบ ไพ่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม เรือ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ น้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน น้ำหอม เจลแอลกอฮอล์ สนามกอล์ฟ สนามแข่งม้า ไนต์คลับ ดิสโก้เธค ผับ บาร์ และคาราโอเกะ เป็นต้น

80. การจัดบริการสาธารณะที่จัดบริการในเชิงธุรกิจ สามารถเลือกซื้อได้ตามความต้องการ รัฐควรเลือกใช้
กลไกตลาดชนิดใด
(1) ค่าใช้บริการ
(2) ภาษี
(3) การก่อหนี้สาธารณะ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

81. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ต้องเสียภาษีชนิดใด
(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) ภาษีการค้า
(3) ภาษีศุลกากร
(4) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(5) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ตอบ 5 หน้า 30 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา
โดยมีสถานะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1. บุคคลธรรมดา
3. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

82. ฐานภาษี x อัตราภาษี เป็นสูตรที่ใช้ในการคํานวณหาสิ่งใด
(1) รายได้ภาษีของรัฐ
(2) ภาระงบประมาณของรัฐ
(3) ภาระภาษีของประชาชน
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 23, (คําบรรยาย) รายได้ภาษีของรัฐหรือภาระภาษีของประชาชนสามารถคํานวณได้จาก
ฐานภาษี x อัตราภาษี

83. “กิจกรรมหรือสิ่งที่เป็นเหตุให้ต้องเสียภาษี” หมายถึงอะไร
(1) ฐานภาษี
(2) อัตราภาษี
(3) ภาระภาษี
(4) งานบริหารภาษี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 22 ฐานภาษี (Tax Base) หมายถึง สิ่งที่เป็นมูลเหตุขั้นต้นที่ทําให้บุคคลต้องเสียภาษีอากร หรือสิ่งที่ใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีอากร โดยในการจัดเก็บภาษีรัฐต้องมีการบริหารจัดเก็บ ว่าจะใช้ฐานภาษีอย่างไรเพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายต่าง ๆ ของรัฐ

84. พฤติกรรมการเสียภาษีแบใดที่ทําให้รัฐจัดเก็บภาษีได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
(1) ประท้วงภาษี
(2) เลี่ยงภาษี
(3) หนีภาษี
(4) ยอมจํานนเสียภาษี
(5) ต่อต้านภาษี
ตอบ 2 หน้า 27 พฤติกรรมการเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance) คือ การที่พลเมืองผู้มีหน้าที่เสียภาษี ใช้วิธีการใด ๆ ตามกฎหมายที่มุ่งสร้างให้เกิดผลต่อภาระภาษีของผู้เสียภาษี เพื่อที่จะได้มี ภาระภาษีที่จะต้องเสียต่ํากว่าเดิม หรือใช้วิธีการบิดเบือนเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่ง การเลี่ยงภาษีนี้เป็นพฤติกรรมที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย และ ส่งผลโดยตรงให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

85. หลักการบริหารความเสี่ยงในการจัดเก็บภาษีเรียกว่าอะไร
(1) CHR
(2) BRV
(3) BYD
(4) CRM
(5) CRV
ตอบ 4 หน้า 28 การบริหารจัดเก็บภาษีอากรในปัจจุบันโดยเฉพาะในส่วนของภาษีเงินได้ ใช้หลักการบริหารความเสี่ยง หรือ Compliance Risk Management (CRM) ซึ่งหมายถึง การมีกระบวนการบริหารการจัดเก็บภาษี โดยเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับคุณลักษณะของ ผู้เสียภาษีแต่ละประเภทและทรัพยากรที่มีอยู่ ให้ถูกต้องและป้องกันการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ทางภาษี เพื่อส่งเสริมให้ผู้เสียภาษีปฏิบัติหน้าที่ทางภาษี

86. หากนักศึกษาเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และมีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร นักศึกษาต้องเลือก เดินเข้าประเทศผ่านช่องทางใด
(1) White Line
(2) Blue Line
(3) Green Line
(4) Red Line
(5) Black Line
ตอบ 4 (คําบรรยาย) กรณีนักศึกษาเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ
1. หากมีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร ให้เดินเข้าประเทศผ่านช่อง Red Line
2. หากไม่มีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร ให้เดินเข้าประเทศผ่านช่อง Green Line

87. ข้อใดไม่ใช่หลักในการจัดเก็บภาษีที่ดีในระบอบประชาธิปไตย
(1) หลักความเป็นธรรม
(2) หลักความไม่ซับซ้อน
(3) หลักความโปร่งใส
(4) หลักความคงเส้นคงวา
(5) หลักสวัสดิการสังคม
ตอบ 3หน้า 24 – 26 หลักในการจัดเก็บภาษีที่ดีในระบอบประชาธิปไตย มีดังนี้
1. หลักการทํารายได้ที่พอเพียง
2. หลักความยินยอมของประชาชน
3. หลักความเสมอภาค เป็นธรรม
4. หลักความไม่ซับซ้อน
5. หลักความแน่นอน คงเส้นคงวา
6. หลักสวัสดิการสังคม

88. หลักการที่ว่า “ผู้ที่มีความสามารถในการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ควรเสียภาษีแตกต่างกัน”
เป็นหลักความเสมอภาคในรูปแบบใด
(1) ความเสมอภาคเชิงสัมพัทธ์
(2) ความเสมอภาคแนวตั้ง
(3) ความเสมอภาคแนวนอน
(4) ความเสมอภาคเชิงสัมบูรณ์
(5) ความเสมอภาคเชิงเปรียบเทียบ
ตอบ 2 หน้า 26 หลักความเสมอภาคในแนวตั้งหรือแนวดิ่ง (Vertical Equity) มีสาระสําคัญว่า
ผู้มีความสามารถในการเสียภาษีหรืออยู่ในสภาวการณ์ในการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ควรจะเสียภาษีในลักษณะที่แตกต่างกัน ในลักษณะที่ว่า “Unequal Should Be Treated Unequally”

89. ข้อใดไม่ใช่สินค้าสรรพสามิต
(1) เบียร์
(2) น้ำหอม
(3) รถยนต์
(4) น้ําปลา
(5) ไพ่
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 79. ประกอบ

90. ข้อใดจัดเป็นวิชาชีพอิสระ
(1) เปิดท้ายขายของ
(2) ช่างปั้นรูปปั้นบุคคลขนาดใหญ่
(3) กิจการร้านกาแฟ
(4) กิจการคาเฟ่แมว
(5) ออกแบบตกแต่งภายใน
ตอบ 2 หน้า 33, (คําบรรยาย) วิชาชีพอิสระตามประมวลรัษฎากร ได้แก่บุคคลซึ่งมีอาชีพในด้านต่าง ๆ
ดังนี้
1. กฎหมาย เช่น ทนายความ
2. การประกอบโรคศิลป เช่น หมอ พยาบาล
3. วิศวกรรม เช่น วิศวกร
4. สถาปัตยกรรม เช่น สถาปนิก
5. การบัญชี เช่น นักบัญชี
6. ประณีตศิลปกรรม เช่น ช่างปั้น ช่างเขียน ช่างแกะ

91. ข้อใดไม่ใช่เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร
(1) เงินเดือน
(2) เงินบํานาญ
(3) เงินค่าจ้าง
(4) เบี้ยประชุม
(5) เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
ตอบ 4 หน้า 31 เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ตามประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินได้เนื่องจาก
การจ้างแรงงาน ดังนี้
1. เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ
2. เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
3. เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า ฯลฯ

92. ใครเป็นผู้แบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง
(1) ผู้นําเข้าสินค้า
(2) ผู้ขายสินค้า
(3) ผู้บริโภคสินค้า
(4) ผู้โกงสินค้า
(5) ผู้จัดจําหน่ายสินค้า
ตอบ 3 หน้า 19, (คําบรรยาย) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) จัดเป็นภาษีสรรพากร และเป็นภาษีทางอ้อมที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้บริโภคได้โดยการ บวกเพิ่มเข้าไปในสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ดังนั้นผู้แบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงก็คือ ผู้บริโภคสินค้าหรือบริการนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7%

93. ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ใช้ในการคํานวณภาระภาษีคืออะไร
(1) กําไรสุทธิ
(2) เงินได้สุทธิ
(3) เงินได้พึงประเมิน
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เงินได้สุทธิ เป็นฐานภาษีสําหรับคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งมีสูตร ในการคํานวณ คือ (เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย) – ค่าลดหย่อน

94. ภาษีศุลกากรจัดเก็บจากกิจกรรมใด
(1) การนําเข้าสินค้า
(2) การส่งออกสินค้า
(3) การผลิตสินค้า
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 37, (คําบรรยาย) ภาษีศุลกากร คือ ภาษีที่จัดเก็บจากการนําสินค้าเข้าจากต่างประเทศ หรือส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร หรือจัดเก็บจากสินค้าที่ข้ามผ่านเขตแดนประเทศไทย โดยจะจัดเก็บตามราคาหรือร้อยละของมูลค่าสินค้า และจัดเก็บตามสภาพของสินค้า ตามปริมาณ น้ําหนัก ความยาว หรือปริมาตร เป็นต้น

95. “แอมซื้อเหล้าขาวมาดื่มเพื่อคลายทุกข์” แอมต้องแบกรับภาระภาษีชนิดใด
(1) ภาษีสรรพสามิต
(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(3) ภาษีศุลกากร
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) จากข้อมูลข้างต้น แอมต้องแบกรับภาระภาษี 2 ชนิด คือ ภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นภาษีทางอ้อมที่ผู้ขายสินค้าสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้บริโภคได้ โดยการบวกเพิ่มเข้าไปในสินค้า

96. การจัดเก็บค่าบริการการใช้ไฟฟ้า รัฐควรใช้วิธีใดในการพิจารณาค่าบริการที่เหมาะสม
(1) พิจารณาจากกลไกตลาด
(2) พิจารณาจากต้นทุนการผลิต
(3) พิจารณาจากต้นทุนการลงทุน
(4) พิจารณาจากสิทธิพลเมือง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 41 – 42 การจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการโดยพิจารณาจากต้นทุนการผลิต จะใช้กับกิจการที่รัฐให้บริการแบบผูกขาด โดยรัฐต้องมีกระบวนการกําหนดราคาที่มีหลักประกันคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคและกําหนดค่าบริการที่คํานึงถึงความคุ้มทุนของ บริการนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น การจัดเก็บค่าบริการการใช้ไฟฟ้า ค่าบริการไปรษณีย์ เป็นต้น

97. ภาษีมูลค่าเพิ่มคํานวณได้จากส่วนต่างมูลค่าของสิ่งใด
(1) ราคาขาย – ราคาซื้อ
(2) ยอดขายสินค้า – ต้นทุนสินค้า
(3) ปริมาณสินค้าที่ขาย – ปริมาณสินค้าที่ซื้อ
(4) ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
(5) จํานวนสินค้าที่ขาย – จํานวนสินค้าที่ซื้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

98. ภาษีสรรพสามิตจัดเป็นภาษีประเภทใด
(1) ภาษีทางตรง
(2) ภาษีทางอ้อม
(3) ภาษีทางขนาน
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 15, 19 ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ผู้เสียภาษีจะต้องรับภาระภาษีไว้เองไม่สามารถผลักภาระภาษี ไปให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก เป็นต้น
2. ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ไม่มีผลต่อผู้ชําระภาษีโดยตรง ซึ่งผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระภาษี ไปให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีน้ำมัน และผลิตภัณฑ์น้ํามัน เป็นต้น

99. ปัญหา Free Rider หมายถึงอะไร
(1) ปัญหาการแย่งกันใช้สินค้าสาธารณะ
(2) ปัญหาการทําหน้าที่ผิดพลาด
(3) ปัญหาการร่วมรับประโยชน์แต่ไม่ร่วมจ่าย
(4) ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น
(5) ปัญหาการใช้บริการสาธารณะ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

100. โครงสร้างอัตราภาษีที่เมื่อฐานภาษีขยายตัว อัตราภาษีจะขยายตัวตามไปด้วย เรียกว่าโครงสร้างอัตราภาษีแบบใด
(1) แบบถดถอย
(2) แบบก้าวหน้า
(3) แบบสัดส่วน
(4) แบบทางเลือก
(5) แบบเรียงลําดับ
ตอบ 2 หน้า 23 – 24, (คําบรรยาย) โครงสร้างอัตราภาษี แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้
1. ถ้าฐานภาษีขยายตัว และอัตราภาษีขยายตัวตามไปด้วย เรียกว่า โครงสร้างอัตราภาษี แบบก้าวหน้า
2. ถ้าฐานภาษีเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง แต่อัตราภาษียังคงเท่าเดิม เรียกว่า โครงสร้างอัตราภาษีแบบสัดส่วน
3. ถ้าฐานภาษีขยายตัว แต่อัตราภาษีลดลง เรียกว่า โครงสร้างอัตราภาษีแบบถดถอย

 

POL3300 การบริหารการคลัง 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565 ข้อสอบกระบวนวิชา
POL 3300 การบริหารการคลัง
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.หลักที่ว่า “งบประมาณต้องมีระยะเวลาที่แน่นอน” หมายความว่าอย่างไร
(1) งบประมาณอาจกําหนดให้ 1 ปีงบประมาณมีระยะเวลา 24 เดือนก็ได้
(2) ปีงบประมาณอาจเริ่มต้นในเดือนใดของปีปฏิทินก็ได้ แต่ต้องมีระยะเวลาแน่นอน
(3) ปีงบประมาณต้องเท่ากันกับปีปฏิทินเสมอ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 68, (คําบรรยาย) ระยะเวลาของการบริหารหรือการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณ เรียกว่า “ปีงบประมาณ” หรือ “ปีคลัง” (Fiscal Year) ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีระยะเวลาที่แน่นอน โดยอาจเป็น 6 เดือน 1 ปี (12 เดือน) หรือ 2 ปี (24 เดือน) ก็ได้ แต่จะต้องเป็นเช่นนั้นทุก ๆ ปี และจะเริ่มต้นในเดือนใดของปีปฏิทินก็ได้ เช่น ปีงบประมาณของไทยมีระยะเวลา 12 เดือน เริ่มต้นจากวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี และไปสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป โดยใช้ ชื่อปีถัดไปเป็นชื่อปีงบประมาณ (เช่น ปีงบประมาณ 2566 จะเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2565 และสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2556)

2.ลักษณะในการกําหนดรายรับรายจ่ายของงบประมาณแผ่นดินโดยหลักการแล้ว
(1) ขึ้นอยู่กับความสามารถในการขายสินค้าและบริการ
(2) รายรับเป็นตัวกําหนดรายจ่าย
(3) สามารถใช้รายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับ
(4) ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดเก็บภาษีอากร
(5) ทั้งข้อ 2 และ 4
ตอบ 3 หน้า 65, (คําบรรยาย) ลักษณะการกําหนดรายรับรายจ่ายของงบประมาณแผ่นดินนั้นโดยหลักการแล้วสามารถใช้รายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับได้ เนื่องจากรัฐบาลมีแหล่งของรายรับที่กว้างขวาง และมีอํานาจในการออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีอากรจากประชาชน และก่อหนี้สาธารณะ ในขณะที่เอกชนจะมีรายรับเป็นตัวกําหนดรายจ่าย เพราะเอกชน มีแหล่งรายรับที่จํากัด และขึ้นอยู่กับความสามารถในการหารายได้จากการขายสินค้าและ บริการของตนเป็นสําคัญ

3. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) หลักประสิทธิภาพอาจไม่ไปด้วยกันกับหลักความพึงพอใจ
(2) หลักประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความคุ้มค่าของเงิน
(3) ในสังคมที่มีความแตกต่างทางความคิดมาก ๆ หลักความพึงพอใจจะประสบปัญหามาก
(4) ศูนย์รวมเงินจะต้องให้การบริหารงบประมาณเป็นไปภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน
(5) หลักความชัดเจนถูกต้องเชื่อถือได้จะสร้างเสริมประสิทธิภาพของการจัดสรรทรัพยากร
ตอบ 5 หน้า 68, (คําบรรยาย) หลักของความชัดเจนถูกต้องและเชื่อถือได้ของงบประมาณแผ่นดินนั้น เป็นหลักการที่ทําให้เข้าใจวัตถุประสงค์และรายละเอียดของการดําเนินงานอย่างชัดเจนเป็นหลักมากกว่าที่จะคํานึงถึงเรื่องประสิทธิภาพ เพราะงบประมาณที่มีความถูกต้องชัดเจนและเชื่อถือได้ เมื่อนําไปปฏิบัติอาจจะไม่เป็นไปตามหลักประสิทธิภาพก็ได้

4. ข้อใดถูกต้องตามหลักทฤษฎีการคลัง
(1) เศรษฐกิจที่รัฐบาลจะมีรายได้มาก
(2) เศรษฐกิจที่รัฐบาลจะมีภาระรายจ่ายน้อยลง
(3) เศรษฐกิจดีคนในสังคมจะมีชีวิตที่เป็นสุข
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตามหลักทฤษฎีการคลัง หากเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะมีรายได้มากและจะมีภาระ
รายจ่ายน้อยลง ในทางตรงกันข้ามหากเศรษฐกิจตกต่ำรัฐบาลจะมีรายได้น้อยลงและมีภาระรายจ่ายมากขึ้น

5.งบประมาณใดต่อไปนี้ที่ใช้หลักของ “ศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน”
(1) เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
(2) งบประมาณราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(3) เงินทุนหมุนเวียน
(4) งบรายได้ของมหาวิทยาลัย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 67, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินมีลักษณะเป็นศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน หมายความว่า ในปีงบประมาณหนึ่ง ๆ จะต้องมีการบูรณาการแผนทางการเงินของส่วนราชการต่าง ๆ ให้เป็น แผนเดียวกัน มีการจัดเตรียมและอนุมัติงบประมาณเพียงครั้งเดียว มีการใช้จ่ายตามที่กําหนดไว้ใน งบประมาณรายจ่ายประจําปี หากไม่มีความจําเป็นจะไม่มีการจัดทํางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม รวมทั้งกระบวนการงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ จะต้องดําเนินไปภายใต้กฎข้อบังคับ เดียวกัน ใช้บทบัญญัติเดียวกัน และมีสถาบันหรือหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในขั้นตอนต่าง ๆ ของการบริหารงบประมาณเดียวกัน โดยงบประมาณที่ใช้หลักศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน ได้แก่ งบประมาณประจําปีของส่วนราชการทั่ว ๆ ไป เช่น งบประมาณของสํานักงบประมาณ กรมการปกครอง กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต เป็นต้น

6. ขณะที่ท่านทําข้อสอบ รัฐบาลกําลังทําหน้าที่ใดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี
(1) เตรียม
(2) อนุมัติ
(3) ควบคุม
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ขณะที่นักศึกษาทําข้อสอบคือวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2565 นั้น รัฐบาลกําลังควบคุมหรือบริหารงบประมาณให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี ซึ่งการควบคุมหรือการบริหารงบประมาณประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของไทยนั้น จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566

7.Budget Ceiling หมายถึงอะไร
(1) วงเงินงบประมาณ
(2) เพดานเงินจัดสรร
(3) เงินประจํางวด
(4) เงินที่ไม่ได้รับอนุมัติ
(5) งบผูกพัน
ตอบ 1 หน้า 91, (คําบรรยาย) การกําหนดยอด “วงเงินงบประมาณ (Budget Ceiling) เป็นการ จัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปีที่ตั้งไว้เพื่อใช้ในโครงการและงานที่จะต้องจัดทําในปีต่อไปของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนหนึ่งของการจัดเตรียมงบประมาณ

8.ตัวอย่างของบริการที่ถ้าให้เอกชนจัดทําแล้วประชาชนอาจเสียประโยชน์
(1) กิจการไปรษณีย์
(2) บริการการศึกษาภาคบังคับ
(3) โรงงานผลิตรถถัง
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 71 – 72 ตามแนวคิดในการจัดสรรทรัพยากรแบบเสรีนิยมนั้น กิจกรรมที่เอกชนจัดทําแล้ว ประชาชนอาจเสียประโยชน์ ได้แก่ บริการด้านการศึกษา (การจัดการศึกษาภาคบังคับ) บริการด้านสาธารณสุข (การรักษาพยาบาล การป้องกันโรคติดต่อ การให้ความรู้เกี่ยวกับสาธารณสุขขั้น มูลฐาน) ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมประเภทนี้รัฐจะต้องเข้าไปควบคุมมาตรฐานเพื่อความถูกต้องเหมาะสม

9. การกระจายรายได้ที่เป็นธรรมของสังคม สามารถวัดได้โดย
(1) เปรียบเทียบรายได้ของคนในชุมชนเมืองกับในชุมชนชนบท
(2) ดูการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลรวม
(3) ดูอัตราการว่างงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 73 – 74, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินจะต้องเป็นไปเพื่อ
1. สร้างความเจริญเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจหรือความมั่งคั่งของชาติ ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลรวม
2. สร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูอัตราการว่างงานอัตราเงินฝืด และอัตราเงินเฟ้อ
3. สร้างประสิทธิภาพในการทํางาน ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูผลผลิตต่อหน่วย
4. สร้างความเสมอภาคหรือการกระจายทางเศรษฐกิจ หรือการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ให้กับสังคม ซึ่งสามารถวัดได้โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของรายได้ อัตราการใช้จ่าย และทรัพย์สินที่มี

10. นักทฤษฎีการคลังยุคคลาสสิก เชื่อว่า
(1) งบประมาณสมดุลดีที่สุด
(2) งบประมาณขาดดุลดีที่สุด
(3) งบประมาณเกินดุลดีที่สุด
(4) งบประมาณเกินดุล ขาดดุล หรือสมดุลต่างมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้น
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 74, (คําบรรยาย) อดัม สมิธ (Adam Smith) เป็นนักทฤษฎีการคลังสมัยเก่าหรือ ยุคคลาสสิก (Classical Theory of Public Finance) ที่มีความเชื่อว่า นโยบายงบประมาณสมดุล เป็นนโยบายที่ดีที่สุด โดยรัฐบาลควรจะใช้จ่ายเงินตามความสามารถในการหารายได้ของตน ไม่ควรแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีบ่อย ๆ และไม่ควรก่อหนี้สาธารณะ

11. ลักษณะของระบบงบประมาณที่ในด้านการวางแผนวางโครงการ
(1) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลัก Incremental Analysis
(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(3) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 3 หน้า 93 – 94, 97, 101 – 102, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ (Planning Programming Budgeting System : PPBS) เป็นระบบงบประมาณที่ ในด้านการวางแผนวางโครงการโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ระยะยาว ระบบงบประมาณแบบนี้จะมีการวางแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายและตั้งวงเงินงบประมาณตามแต่ละแผนงาน มีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจผสมกับหลักเหตุผล (Limited Rationality หรือ Mixed Scanning) มีการแบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงสร้างแผนงาน หรือโครงการ (Program Structure) มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ในการวิเคราะห์โครงการเพื่อศึกษาถึงโครงสร้างแผนงานหรือโครงการที่จัดทําว่ามีความสัมพันธ์กับ โครงการใด ๆ บ้าง มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างนโยบายสาธารณะ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการวางแผนวางโครงการของหน่วยงานมีการกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ของแผนงานหรือโครงการเพื่อการติดตามประเมินผล และที่สําคัญระบบนี้จะต้องมีการจัดทําแผนงานและแผนทางการเงินระยะยาว (อาจเป็น 3 ปี หรือ 5 ปี) เพื่อประกอบการจัดทําโครงการด้วย

12. ลักษณะของ Program Budget
(1) มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมประสิทธิภาพของการใช้จ่าย
(2) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(3) แบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงการ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 92 – 93, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบโครงการ (Program Budget) หรืองบประมาณ แบบแสดงผลงาน (Performance Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ในหลักประสิทธิภาพ กล่าวคือ เป็นระบบงบประมาณที่เน้นการควบคุมประสิทธิภาพของการใช้จ่าย หรือให้ความสําคัญกับ ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร ทั้งนี้ก็เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์อย่างประหยัด นอกจากนี้ ยังให้ความสําคัญกับผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ของงานหรือโครงการในแต่ละปี มีการจัดทํางบประมาณเป็นรายโครงการและมีการแบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงการหรือ ตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล (Objectives Classification) หรือตามหน้าที่ของรัฐ (Functional Classification) มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) หรือวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ของโครงการหรือประสิทธิภาพของการใช้เงินโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ เช่น Cost and Effectiveness Analysis, Cost and Benefit Analysis และมีการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณ โดยอาศัยหลักของเหตุผล (Pure Rationality) เป็นสําคัญ

13. ข้อใดที่จัดเป็นลักษณะของ Traditional Budget
(1) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลัก Muddling Through
(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(3) Objects of Expenditure Classification
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 87 – 88, 90 – 92, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budget) หรืองบประมาณแบบเก่า (Conventional Budget) หรืองบประมาณแบบประเพณี (Traditional Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ในด้านการควบคุมเพื่อมุ่งตรวจสอบความถูกต้องและความซื่อสัตย์สุจริตของการใช้จ่ายเงินของรัฐ หรือให้ความสําคัญกับความถูกต้องของ “ปัจจัย นําเข้า” (Inputs) หรือการจัดสรร “ทรัพยากร” ของงานหรือโครงการ โดยเน้นกฎ ระเบียบ และการควบคุมให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบนั้น หรือให้ความสําคัญกับมาตรฐานของทรัพยากร ที่หน่วยราชการได้ใช้ไป ดังนั้นงบประมาณจึงถูกแบ่งออกตามหน่วยราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ (Agencies Classification หรือ Organizations Classification) โดยเฉพาะในระดับกรม และมีการแบ่งตามประเภทและชนิดของการใช้จ่าย (Objects of Expenditure Classification) โดยพิจารณาจากคู่มือการจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่ายซึ่งแบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น หมวดเงินเดือน หมวดสาธารณูปโภค หมวดครุภัณฑ์ ฯลฯ นอกจากนี้ในการจัดเตรียม งบประมาณก็จะต้องมีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจ (Muddling Through) หรือการวิเคราะห์เฉพาะส่วนที่เพิ่ม (Incrementalism) เป็นเกณฑ์ด้วย

14. ลักษณะของ Zero-Base Budget
(1) Pure Rationality
(2) Political Bargaining
(3) Incrementalism
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 96, 99 – 100, คําบรรยาย) งบประมาณฐานศูนย์ (Zero-Base Budget : Z8B) เป็นระบบ งบประมาณที่อาศัยหลักของเหตุผล (Pure Rationality) ในการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งกําหนดให้ โครงการหรืองานที่เสนอของบประมาณในทุก ๆ ปีงบประมาณจะต้องได้รับการตรวจสอบวิเคราะห์ ทั้งระบบ ทั้งงานหรือโครงการเดิมที่เคยทํามาแล้ว และงานหรือโครงการใหม่ ๆ ที่กําลังจะเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อต้องการให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีเหตุผล แต่วิธีการนี้มักจะก่อให้เกิดความล่าช้าหรืออาจทําไม่ได้ในทางปฏิบัติ

15. ลักษณะของระบบ PPBS
(1) ให้ความสําคัญกับการวางแผนระยะยาว
(2) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(3) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

16. ลักษณะของระบบ Performance Budget
(1) มีการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของโครงการ
(2) การตัดสินใจใช้หลักของเหตุผล
(3) อาจเรียกว่าเป็นงบประมาณแบบแสดงรายงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

17. สถาบันที่ทําหน้าที่ “จ่ายเงินตามงบประมาณให้กับส่วนราชการต่าง ๆ”
(1) กรมบัญชีกลาง
(2) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน
(3) สํานักงบประมาณ
(4) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 128 เมื่อส่วนราชการต้องการรับเงินงบประมาณของตนเพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน
ส่วนราชการจะต้องทําฎีกาขอเบิกเงินตามงบประมาณยื่นต่อกรมบัญชีกลางในกรณีของราชการ ส่วนกลาง และยื่นต่อสํานักงานคลังจังหวัดในกรณีของราชการส่วนภูมิภาค โดยกรมบัญชีกลาง และสํานักงานคลังจังหวัดจะเป็นผู้อนุมัติฎีกาและสั่งจ่ายเงินประจํางวดที่ได้รับอนุมัติแล้วที่เรียกว่าเงินจัดสรร (Budget Allotment) ให้กับส่วนราชการนั้น ๆ เป็นคราว ๆ ไป

18. สถาบันที่ทําหน้าที่ “วิเคราะห์งบประมาณ” ได้แก่
(1) กรมบัญชีกลาง
(2) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน
(3) สํานักงบประมาณ
(4) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 115 – 116 ในการจัดเตรียมงบประมาณนั้น จะมีการจัดทํารายละเอียดของงบประมาณ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนที่สําคัญ 3 ขั้นตอน คือ
1. เจ้าหน้าที่สํานักงบประมาณพิจารณาวิเคราะห์งบประมาณร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. สํานักงบประมาณเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ พร้อมด้วยเอกสารงบประมาณต่อคณะรัฐมนตรี
3. นายกรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจําปีพร้อมด้วยเอกสารงบประมาณต่อรัฐสภา

19. ระยะเวลาในการดําเนินการ “อนุมัติ” งบประมาณ มีระยะเวลาประมาณกี่เดือน
(1) 3 เดือน
(2) 5 เดือน
(3) 9 เดือน
(4) 12 เดือน
(5) ไม่แน่นอนกําหนดตายตัวไม่ได้
ตอบ 1 หน้า 79 ระยะเวลาของการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน เรียกว่า วงจรงบประมาณ (Budget Cycle) ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุด โดยวงจรงบประมาณ ของประเทศไทยนั้นจะใช้เวลาประมาณ 22 เดือน ประกอบด้วยกิจกรรมหรือการกระทํา 3 ขั้นตอน คือ การจัดเตรียมประมาณ 6 – 7 เดือน การอนุมัติประมาณ 3 – 4 เดือน และ การควบคุมหรือการบริหารเป็นเวลา 12 เดือน

20. ระยะเวลาในการดําเนินการ “บริหาร” งบประมาณ มีระยะเวลาประมาณกี่เดือน
(1) 3 เดือน
(2) 5 เดือน
(3) 9 เดือน
(4) 12 เดือน
(5) ไม่แน่นอนกําหนดตายตัวไม่ได้
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

21. ระยะเวลาของการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณ เรียกว่า
(1) ปีงบประมาณ
(2) วงจรงบประมาณ
(3) เงินประจํางวด
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

22. ในช่วงการสอบปลายภาคมักมีผู้ใช้บริการห้องสมุดเป็นจํานวนมาก ห้องสมุดในช่วงเวลาดังกล่าว
จัดเป็นสินค้าประเภทใด
(1) Common Goods
(2) Pure Public Goods
(3) Club Goods
(4) Price-Excludable Public Goods
(5) Pure Private Goods
ตอบ 1 หน้า 13, 40, (คําบรรยาย) สินค้าทั่วไป (Common Goods) หรือสินค้ากึ่งสาธารณะประเภท Congestible Public Goods เป็นสินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภคแต่แบ่งแยกการบริโภค ออกจากกันไม่ได้ หรือการเข้ามาของผู้บริโภครายใหม่อาจทําให้ความพึงพอใจของผู้บริโภครายเดิม ลดน้อยลง แต่ไม่สามารถกีดกันให้บุคคลอื่นไม่สามารถเข้ามาเป็นผู้บริโภคได้ เช่น สนามหลวง สนามกีฬาแห่งชาติ สนามกีฬากลางของเทศบาล ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ถนนสาธารณะ (เช่น ถนนพระราม 9) ทางด่วน เป็นต้น

23.พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2566 กําหนดวงเงินไว้ประมาณเท่าใด
(1) 8.1 แสนล้านบาท
(2) 2.6 ล้านล้านบาท
(3) 3.1 ล้านล้านบาท
(4) 4.2 ล้านล้านบาท
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2556 ได้กําหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายไว้ประมาณ 3.1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.09 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (GDP) และกําหนดวงเงินขาดดุลไว้ประมาณ 6.9 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 3.73 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

24. พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2556 กําหนดวงเงินขาดดุลไว้ประมาณเท่าใด
(1) 6.9 แสนล้านบาท
(2) 9.9 แสนล้านบาท
(3) 1.5 ล้านล้านบาท
(4) 2.2 ล้านล้านบาท
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

25.ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 ประเทศไทยมีหนี้สาธารณะคิดเป็นร้อยละเท่าไรของ GDP
(1) 27
(2) 35
(3) 48
(4) 60
(5) 79
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 ประเทศไทยมีหนี้สาธารณะคงค้างจํานวนทั้งหมด 9,951,962.73 ล้านบาท หรือคิดเป็น 60.58% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

26. ข้อใดไม่ใช่รายได้ของรัฐบาลไทย
(1) ภาษีเงินได้
(2) ค่าสัมปทาน
(3) ค่าบริการ
(4) ค่าปรับ
(5) การขายหุ้น
ตอบ 5หน้า 15 – 20, (คําบรรยาย) แหล่งรายรับของรัฐบาลไทย มาจาก 2 ส่วน คือ
1. รายรับที่เป็นรายได้ ได้แก่ ภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ (เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าสัมปทาน ค่าบริการ ค่าเช่าทรัพย์สินของรัฐ ค่าขายของกลางที่ยึด มาจากคดี) รัฐพาณิชย์ และรายได้อื่น ๆ เช่น ค่าแสตมป์ฤชากร ค่าปรับ เป็นต้น
2. รายรับที่ไม่เป็นรายได้ ได้แก่ การกู้เงิน การใช้เงินคงคลัง การขายหุ้น เป็นต้น

27. ภาษีเป็นกลไกตลาดภาครัฐที่เหมาะสําหรับใช้จัดบริการหรือผลิตสินค้าประเภทใด
(1) สินค้าสโมสร
(2) สินค้าผสม
(3) สินค้ากึ่งสาธารณะ
(4) สินค้าสาธารณะขั้นพื้นฐาน
(5) สินค้าเอกชน
ตอบ 4 หน้า 21 ภาษีเป็นกลไกตลาดภาครัฐที่เหมาะสําหรับใช้จัดบริการหรือผลิตสินค้าสาธารณะ
ขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นสินค้าและบริการที่มีความจําเป็นต่อประชาชนทุกคนภายในประเทศ เช่น การรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในสังคม การศึกษาขั้นพื้นฐาน การควบคุมดูแล ด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

28.สภาวะ “เศรษฐกิจตกต่ำ สินค้าล้นตลาด ประชาชนว่างงาน” รัฐบาลควรใช้นโยบายงบประมาณแบบใด
(1) สมดุล
(2) เกินดุล
(3) ขาดดุล
(4) ขาดดุลควบคู่กับนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง
(5) เกินดุลควบคู่กับนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ภาวะเงินฝืด หมายถึง ภาวะที่อุปสงค์ด้านสินค้าและบริการน้อยกว่าอุปทาน ด้านสินค้าและบริการ หรือเป็นภาวะที่มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป ทําให้เศรษฐกิจตกต่ํา สินค้าล้นตลาด และประชาชนว่างงาน ดังนั้นรัฐบาลควรจะแก้ปัญหา ด้วยการเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น โดยการนํานโยบายงบประมาณแบบขาดดุล และการลดอัตราภาษีอากรมาใช้ควบคู่กับนโยบายการเงินดังต่อไปนี้
1. ซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากประชาชน
2. ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์
3. ลดอัตราเงินสดสํารองของธนาคารพาณิชย์
4. ลดอัตราส่วนลดเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยเงินกู้มากขึ้น ฯลฯ

29. สินค้าที่ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภคและแยกการบริโภคออกจากกันได้ จัดเป็นสินค้าประเภทใด
(1) สินค้าสาธารณะ
(2) สินค้าอุปโภคบริโภค
(3) สินค้าเอกชน
(4) สินค้าสโมสร
(5) สินค้าอุตสาหกรรม
ตอบ 4

30. ไฟฟ้าบนถนนสาธารณะจัดเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าชนิดใด
(1) การไฟฟ้านครหลวง
(2) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
(3) นโยบายป้องกันประเทศจาก COVID
(4) วิทยุกระจายเสียง
(5) รถยนต์ส่วนบุคคล
ตอบ 3 หน้า 11 – 12, 14, (คําบรรยาย) สินค้าหรือบริการสาธารณะ (Public Goods) หรือเรียกว่าสินค้าสาธารณะแท้หรือสินค้าสาธารณะที่สมบูรณ์ (Pure Public Goods) มีคุณสมบัติดังนี้
1. ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค (Non-Rival Consumption) หรือกีดกันไม่ให้ผู้ใดเข้าถึงสินค้าหรือบริการนั้นไม่ได้
2. ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้ (Non-Excludable) หรือไม่สามารถใช้ราคา เป็นเครื่องมือกีดกันผู้อื่นไม่ให้ใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้
3. ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้าหรือบริการ คือ ต้นทุนส่วนเพิ่มเมื่อมีผู้ซื้อสินค้า หรือบริการเพิ่มขึ้นนั้นมีค่าเท่ากับศูนย์ (Zero-Marginal Cost)
ตัวอย่างเช่น ไฟฟ้าหรือไฟส่องสว่างบนถนนสาธารณะ แสงไฟจากประภาคารสาธารณะ แม่น้ำ ลําน้ำสาธารณะ การดําเนินนโยบายต่างประเทศ การดําเนินนโยบายความมั่นคง การทํา ความสะอาดถนนสาธารณะ การควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายหลักสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการ ชิมช้อปใช้ นโยบายป้องกันประเทศจาก COVID เป็นต้น

31. “ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย” เป็นฐานภาษีของภาษีชนิดใด
(1) ภาษีสรรพสามิต
(2) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(3) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(4) ภาษีศุลกากร
(5) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ 2 หน้า 34 ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีที่จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยทั่วไปฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ กําไรสุทธิ แต่เพื่อความเป็นธรรมแก่นิติบุคคล และอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษี จึงได้มีการบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกัน ออกไปตามลักษณะของรายได้ เช่น จากกําไรสุทธิ จากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย จากเงินได้ ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย จากการจําหน่ายเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย เป็นต้น

32. ข้อใดเป็นโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทย
(1) โครงสร้างแบบพื้นฐาน
(2) โครงสร้างแบบถดถอย
(3) โครงสร้างแบบก้าวหน้า
(4) โครงสร้างแบบสัดส่วน
(5) โครงสร้างแบบเร่งรัด
ตอบ 3 หน้า 30, (คําบรรยาย) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามกฎหมายและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กําหนด โดยปกติประเทศไทยจะมีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นรายปีโดยใช้อัตราภาษี แบบก้าวหน้า (Progressive Tax Rate)

33. นักศึกษาทํางานเป็นพนักงานประจําที่บริษัทแห่งหนึ่ง ได้รับเงินเดือน 12,400 บาท นักศึกษาต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
(1) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราภาษี 20%
(2) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราภาษี 15%
(3) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราภาษี 10%
(4) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราภาษี 5%
(5) ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี
ตอบ 5

34. พฤติกรรมในข้อใดผิดกฎหมาย
(1) Tax Compliance
(2) Tax Avoidance
(3) Tax Evasion
(4) Tax Audit
(5) Tax Refund
ตอบ 3 หน้า 28 พฤติกรรมการหนีภาษี (Tax Evasion) คือ การไม่ยินยอมเสียภาษีให้กับรัฐ เป็นการกระทําที่มีเจตนาจงใจละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายเพื่อไม่ต้องเสียภาษี หรือเสียภาษี ให้น้อยลงโดยวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย

35. พฤติกรรมในข้อใดเป็นพฤติกรรมที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย
(1) การเลี่ยงภาษี
(2) การหนีภาษี
(3) การเสียภาษีโดยสมัครใจ
(4) การเสียภาษีอย่างจํายอม
(5) การต่อต้านภาษี
ตอบ 1 หน้า 27 พฤติกรรมการเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance) คือ การที่พลเมืองผู้มีหน้าที่เสียภาษี ใช้วิธีการใด ๆ ตามกฎหมายที่มุ่งสร้างให้เกิดผลต่อภาระภาษีของผู้เสียภาษี เพื่อที่จะได้มี ภาระภาษีที่จะต้องเสียต่ำกว่าเดิม หรือใช้วิธีการบิดเบือนเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่ง การเลี่ยงภาษีนี้เป็นพฤติกรรมที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย และ ส่งผลโดยตรงให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

36. คํากล่าว “Taxes are the price of democracy” สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งใด
(1) การใช้จ่ายในระบอบประชาธิปไตย
(2) การใช้จ่ายกับภาระภาษี
(3) ภาษีกับกลไกราคา
(4) ภาษีกับการใช้จ่าย
(5) ภาษีกับประชาธิปไตย
ตอบ 5 หน้า 24 คํากล่าว “Taxes are the price of democracy” สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ ระหว่างภาษีกับประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี ซึ่งคํากล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่าประชาชนมีหน้าที่จ่ายภาษีให้กับรัฐเพื่อแลกเปลี่ยนกับการมีรัฐบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตยซึ่งทําหน้าที่จัดบริการสาธารณะให้กับประชาชน

37. คุณสมบัติของสินค้าเอกชนแท้ (Pure Private Goods) คือข้อใด
(1) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(2) ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้
(3) ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า
(4) ไม่มีข้อใดถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 13, (คําบรรยาย) สินค้าเอกชน (Private Goods) หรือสินค้าเอกชนแท้ (Pure Private Goods) เป็นสินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค สามารถแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้ และ มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า ซึ่งได้แก่สินค้าหรือบริการทั่วไปที่ซื้อขายกันตามท้องตลาด เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า อาหาร เป็นต้น

38. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทําให้เกิดภาพลวงตาทางการคลัง (Fiscal Illusion)
(1) รัฐบาลจัดเก็บภาษีหลากหลายประเภท
(2) มีโครงสร้างภาษีทางอ้อมในสัดส่วนที่สูง
(3) มีการจัดเก็บภาษีในฐานร่วม (Shared Taxes)
(4) การมีข้อลดหย่อนยกเว้นที่ซับซ้อน
(5) มีอัตราการจัดเก็บภาษีรูปแบบเดียวกันอัตราเดียว
ตอบ 5หน้า 26 Buchanan ได้ระบุไว้ว่า การจัดเก็บภาษีที่มีความซับซ้อนนั้น อาจทําให้เกิดปรากฏการณ์ภาพลวงตาทางการคลัง (Fiscal Illusion) ขึ้นได้ ซึ่งความซับซ้อนของ ระบบภาษีและการหารายได้ของรัฐอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
1. รัฐบาลจัดเก็บภาษีหลายประเภท หลายอัตรา
2. การมีข้อลดหย่อนยกเว้นที่ซับซ้อนหรือมีรายการลดหย่อนจํานวนมาก
3. มีโครงสร้างภาษีทางอ้อมในสัดส่วนที่สูง
4. มีการจัดเก็บภาษีในฐานร่วม (Shared Taxes)

39. หลักการที่ว่า “ผู้ที่มีความสามารถในการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ควรเสียภาษีแตกต่างกัน”
เป็นหลักความเสมอภาคในรูปแบบใด
(1) ความเสมอภาคในแนวระนาบ
(2) ความเสมอภาคในแนวนอน
(3) ความเสมอภาคในแนวตั้ง
(4) ความเสมอภาคในเชิงเปรียบเทียบ
(5) ความเสมอภาคระหว่างบุคคล
ตอบ 3 หน้า 26 หลักความเสมอภาคในแนวตั้งหรือแนวดิ่ง (Vertical Equity) มีสาระสําคัญว่า ผู้มีความสามารถในการเสียภาษีหรืออยู่ในสภาวการณ์ในการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ควรจะ เสียภาษีในลักษณะที่แตกต่างกัน ในลักษณะที่ว่า “Unequal Should Be Treated Unequally”

40. ใครเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
(1) บุคคลธรรมดาผู้ขายสินค้าเป็นอาชีพ มียอดขายเกินกว่า 150,000 บาทต่อเดือน
(2) นิติบุคคลผู้ขายสินค้าเป็นอาชีพ มียอดขายเกินกว่า 100,000 บาทต่อเดือน
(3) บุคคลธรรมดาให้บริการเป็นอาชีพ มีรายได้เกินกว่า 80,000 บาทต่อเดือน
(4) นิติบุคคลผู้ให้บริการเป็นอาชีพ มีรายได้เกินกว่า 100,000 บาทต่อเดือน
(5) บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้ขายสินค้าเป็นอาชีพ และมีรายได้ค่านายหน้าจากการขายสินค้าเกินกว่า 150,000 บาทต่อเดือน
ตอบ 1 หน้า 36 ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่ขายสินค้าหรือบริการเป็นอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคคล ซึ่งมีรายได้หรือยอดขายเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี (150,000 บาทต่อเดือน) โดยต้องยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และคํานวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ และต้องชําระภาษีเป็นรายเดือน โดยยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

41. หากนักศึกษาเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และมีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร นักศึกษาต้องเลือก เดินเข้าประเทศผ่านช่องทางใด
(1) Red Line
(2) Blue Line
(3) Pink Line
(4) Green Line
(5) Black Line
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กรณีนักศึกษาเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ
1. หากมีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร ให้เดินเข้าประเทศผ่านช่อง Red Line
2. หากไม่มีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร ให้เดินเข้าประเทศผ่านช่อง Green Line

42. ข้อใดเป็นลักษณะของภาษีที่ดีตามหลักสวัสดิการสังคม
(1) ประชาชนแบกรับภาระภาษีอย่างเท่าเทียม
(2) จัดเก็บภาษีน้อยที่สุดเพื่อนําไปใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
(3) ภาษีได้รับการเห็นชอบจากประชาชน
(4) เปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษีบ่อยครั้ง
(5) จัดเก็บตามความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay)
ตอบ 2 หน้า 26 – 27 ภาษีที่ดีตามหลักสวัสดิการสังคม คือ ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บจากประชาชน น้อยที่สุดเพื่อนําไปใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยรัฐบาลต้องเปรียบเทียบกัน ระหว่างภาระภาษีกับผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับคืนมาจากการเสียภาษี ลดความสูญเสีย จากการจัดเก็บภาษี (Deadweight Loss) หรือลดภาระภาษีส่วนเกินให้เหลือน้อยที่สุดหรือไม่มีภาระภาษีส่วนเกิน (Excess Burden)

43. เงินได้พึงประเมินหมายถึงเงินได้ของบุคคลที่เกิดขึ้นในระยะเวลาใด
(1) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม
(2) ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 มีนาคม
(3) ระหว่างวันที่ 14 เมษายน – 31 ธันวาคม
(4) ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 31 พฤษภาคม
(5) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 30 กันยายน
ตอบ 1 หน้า 31 เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้ของบุคคลใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคมของปีใด ๆ หรือเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่
1. เงิน
2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน
3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน
4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกําหนด

44. ข้อใดไม่ใช่เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร
(1) เงินเดือน
(2) เงินบํานาญ
(3) เงินค่าจ้าง
(4) เบี้ยประชุม
(5) เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
ตอบ 4 หน้า 31 เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ตามประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินได้เนื่องจาก การจ้างแรงงาน ดังนี้
1. เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ
2. เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
3. เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า ฯลฯ

45. ภาษีสรรพสามิตเป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการที่มีลักษณะอย่างไร
(1) ขัดต่อศีลธรรมอันดี
(2) มีความฟุ่มเฟือย
(3) เกิดผลเสียต่อสุขภาพ
(4)ทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 38, (คําบรรยาย) ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผล สมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ขัดต่อ ศีลธรรมอันดีงาม มีลักษณะเป็นสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือย หรือได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษ จากกิจการของรัฐ ดังนั้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจึงไม่เป็นกลางตามหลักการภาษีที่ดี ทั้งนี้ เพราะเป็นการจัดเก็บภาษีที่ต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนหรือจํากัด การบริโภคของประชาชนให้น้อยลง ตัวอย่างสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต เช่น สุรา เบียร์ ไฟ ยาสูบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม เรือ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ น้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน น้ำหอม เจลแอลกอฮอล์ สนามกอล์ฟ สนามแข่งม้า ไนต์คลับ ดิสโก้เธค ผับ บาร์ และคาราโอเกะ เป็นต้น

46. คุณสมบัติของสินค้าสาธารณะแท้ (Pure Public Goods) คือข้อใด
(1) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(2) ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้
(3) ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า
(4) ไม่มีข้อใดถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

47. ภาษีมูลค่าเพิ่มมีรอบการชําระภาษีอย่างไร
(1) รายวัน
(2) รายเดือน
(3) รายสัปดาห์
(4) รายปี
(5) รายไตรมาส
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

48. ใครเป็นผู้แบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง
(1) ผู้ผลิตสินค้า
(2) ผู้ขายสินค้า
(3) ผู้บริโภคสินค้า
(4) ผู้โกงสินค้า
(5) ผู้จัดจําหน่ายสินค้า
ตอบ 3 หน้า 19, (คําบรรยาย) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) จัดเป็นภาษีสรรพากร และเป็นภาษีทางอ้อมที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้บริโภคได้โดยการ บวกเพิ่มเข้าไปในสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ดังนั้นผู้แบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง ผู้บริโภคสินค้าหรือบริการนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7%

49. พลเมืองมีสิทธิปฏิเสธการทํางานของรัฐบาลได้หลายวิธี ยกเว้นข้อใด
(1) การไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
(2) การทําลายทรัพย์สินของทางราชการ
(3) การเดินขบวนประท้วง
(4) การไม่จ่ายภาษีให้รัฐบาล
(5) การทําอารยะขัดขืน
ตอน 2 หน้า 28 ในทางรัฐศาสตร์ รัฐบาลและพลเมืองจะต้องมีจริยธรรมด้วยกันทั้งคู่จึงจะทําให้ การบริหารประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น หากรัฐบาลไม่คํานึงถึงผลประโยชน์ของพลเมืองโดยส่วนรวม พลเมืองย่อมมีสิทธิปฏิเสธการทํางานของรัฐบาล ซึ่งสามารถทําได้หลายวิธี เช่น การไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การไม่จ่ายภาษีให้รัฐบาล การเดินขบวนประท้วง การทําอารยะขัดขืน เป็นต้น

50. กลไกตลาดภาครัฐคืออะไร
(1) กลไกการทํางานระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(2) กลไกความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(3) กลไกการบริหารจัดการระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(4) กลไกการประสานงานระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(5) กลไกการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างภาครัฐกับประชาชน
ตอบ 5 หน้า 21 กลไกตลาดภาครัฐ คือ กลไกการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่าง ภาครัฐในฐานะผู้ประกอบการกับประชาชนในฐานะผู้บริโภค

51. ส่วนขาดดุลทางการคลังเกิดจากข้อใด
(1) รัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้
(2) รัฐบาลมีรายได้มากกว่ารายจ่าย
(3) รัฐบาลมีรายจ่ายเท่ากับรายได้
(4) รายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 45 ส่วนขาดดุลทางการคลัง (Fiscal Deficit) เกิดจากรัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ซึ่งรัฐบาลสามารถชดเชยการขาดดุลได้โดยใช้วิธีการก่อหนี้สาธารณะ

52. ปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงทศวรรษ 1930 เรียกว่าอะไร
(1) Crisis
(2) The Great Depression
(3) The Great Storm
(4) Hamburger Crisis.
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 46 – 47, (คําบรรยาย) ในช่วงทศวรรษ 1930 เกิดปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลก หรือที่เรียกว่า The Great Depression ซึ่งทฤษฎีของเคนส์ได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหานี้ โดยการเสนอให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ คือการให้รัฐบาลใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ที่มีอยู่เพื่อเป็นการ ยกระดับอุปสงค์มวลรวม (Aggregate Demand)

53. นักเศรษฐศาสตร์สํานักใดไม่ยอมรับการก่อหนี้สาธารณะ
(1) เคนส์เซียน
(2) นีโอลิเบอรัล
(3) พาณิชย์นิยม
(4) เสรีนิยม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 45 นักเศรษฐศาสตร์สํานักคลาสสิก (Classical Economist) หรือสํานักเสรีนิยม (Liberalist) มองว่า บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจควรเป็นไปอย่างจํากัด (Minimalist State) คือ รัฐบาลควรใช้จ่ายงบประมาณอย่างจํากัด ดังนั้นการใช้จ่ายเกินตัวของรัฐบาลซึ่งนําไปสู่การก่อหนี้สาธารณะจึงเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์สํานักนี้

54. ในทฤษฎีของเคนส์การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรัฐบาลเป็นการทํางานของกลไกในข้อใด
(1) การบริโภค
(2) การออม
(3) การลงทุน
(4) อุปสงค์มวลรวม
(5) การจับจ่ายใช้สอย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

55. กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้สาธารณะ เรียกว่าอะไร
(1) วินัยทางการคลัง
(2) กฎเหล็กทางการคลัง
(3) ความยั่งยืนทางการคลัง
(4) กฎกระทรวงการคลัง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้
สาธารณะ เรียกว่า วินัยทางการคลัง

56. บทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดในพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ที่กําหนด
ขีดจํากัดของการก่อหนี้สาธารณะสําหรับประเทศไทย
(1) มาตรา 9 ทวี
(2) มาตรา 15
(3) มาตรา 19
(4) มาตรา 21
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 21 ได้กําหนด ขีดจํากัดของการก่อหนี้สาธารณะสําหรับประเทศไทยไว้ว่า การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล งบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ในปีงบประมาณหนึ่ง ให้กระทรวงการคลังกู้เป็น เงินบาทไม่เกินวงเงิน ดังนี้
1. ร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจําปีที่ใช้บังคับ อยู่ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
2. ร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สําหรับชําระคืนเงินต้น

57.ณ สิ้นเดือนเมษายน 2560 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยอยู่ที่ประมาณร้อยละเท่าไร
(1) 10
(2) 15
(3) 20
(4) 40
(5) 60
ตอบ 4 หน้า 51 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน เมษายน 2560 มีจํานวน 6,267,920.88 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.64 ของผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

58. สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะอยู่ภายใต้สังกัดของหน่วยงานใด
(1) กรมธนารักษ์
(2) กรมบัญชีกลาง
(3) สํานักงบประมาณ
(4) สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 48 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 อยู่ภายใต้สังกัดของ สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดําเนินการเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การผูกพันหนี้ การบริหารหนี้ และการชําระหนี้ ในประเทศและต่างประเทศของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งที่ค้ําประกันและไม่ค้ําประกัน

59. สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะก่อตั้งขึ้นในปีใด
(1) ปี พ.ศ. 2540
(2) ปี พ.ศ. 2541
(3) ปี พ.ศ. 2542
(4) ปี พ.ศ. 2543
(5) ปี พ.ศ. 2544
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

60. ข้อใดไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ
(1) หนี้ของรัฐบาล
(2) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
(3) หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน
(4) หนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 45, 50, (คําบรรยาย) หนี้สาธารณะ ได้แก่
1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศ
2. หนี้ของรัฐวิสาหกิจ (ไม่เป็นสถาบันการเงิน) ที่รัฐบาลค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน
3. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน
4. หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
5. หนี้ของหน่วยงานอื่นของรัฐ เช่น หนี้ของกระทรวงการคลัง เป็นต้น

61. บทบาทของรัฐบาลในลักษณะที่เป็น Minimalist State ตรงกับข้อใด
(1) รัฐบาลไม่มีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ
(2) บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจควรเป็นไปอย่างจํากัด
(3) รัฐบาลไม่ควรมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ
(4) บาทบาทของรัฐบาลเป็นไปตามนโยบายของพรรคการเมือง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

62. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับร้อยละเท่าไร
(1) 7.12
(2) 15.26
(3) 15.28
(4) 18.25
(5) 25.74
ตอบ 1 หน้า 52 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 7.12

63. ข้อใดคือความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ในต่างประเทศ
(1) วงเงิน
(2) ระยะเวลาชําระคืน
(3) อัตราดอกเบี้ย
(4) ผู้ที่รับภาระหนี้
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3(คําบรรยาย) การก่อหนี้สาธารณะต้องคํานึงถึงผู้ที่รับภาระหนี้ วงเงิน ระยะเวลาชําระคืน และ อัตราดอกเบี้ย โดยที่อัตราดอกเบี้ยคือความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับต่างประเทศ เนื่องจากต้องใช้คืนทั้งต้นเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยที่ผันผวนตามค่าเงิน

64. กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารหนี้สาธารณะคือข้อใด
(1) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2545
(2) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2546
(3) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2547
(4) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548
(5) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธ สาธารณะ พ.ศ. 2550
ตอบ 4 (คําบรรยาย) กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหาร หนี้สาธารณะ คือ พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งประกาศบังคับใช้ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร

65. ข้อใดไม่ใช่ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ
(1) ตั๋วเงินคลัง
(2) ตั๋วสัญญาใช้เงิน
(3) พันธบัตร
(4) บัตรเงินฝาก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4(คําบรรยาย) ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ ได้แก่
1. ตั๋วเงินคลัง
2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน
3. พันธบัตร

66. ข้อใดเป็นคํานิยามของพันธบัตรที่ถูกต้อง
(1) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกิน 6 เดือน
(2) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกิน 12 เดือน
(3) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป
(4) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่ 18 เดือนขึ้นไป
(5) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่ 24 เดือนขึ้นไป
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พันธบัตร คือ เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออก ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป

67. ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังไม่อาจกู้เงินเพื่อการใด
(1) ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
(2) พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
(3) ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
(4) ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
(5) พัฒนาตลาดทุนในประเทศ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังกู้เงินได้ เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1. ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
2. พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
3. ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
4. ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
5. พัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ

68. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ
(1) การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
(2) การเป็นเครื่องชี้วัดสถานภาพทางสังคม
(3) การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
(4) การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 54, (คําบรรยาย) บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2. การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
3. การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า
4. การเป็นมาตรฐานการชําระหนี้ในภายหน้า

69. บุคคลใดเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(3) ปลัดกระทรวงการคลัง
(4) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ
(5) ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
ตอบ 2 หน้า 50, (คําบรรยาย) คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ มีรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน โดยมีอํานาจหน้าที่ดังนี้
1. รายงานสถานะของหนี้สาธารณะต่อคณะรัฐมนตรี
2. เสนอแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจําปีงบประมาณต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ
3. จัดทําหลักเกณฑ์ในการกู้เงิน การค้ําประกัน การชําระหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ และการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ ฯลฯ

70. ข้อใดไม่นับว่าเป็นเงิน
(1) เหรียญกษาปณ์
(2) เช็ค
(3) ตั๋วแลกเงิน
(4) บัตรเครดิต
(5) ศิลปวัตถุ
ตอบ 5 หน้า 54 เงิน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจจะอยู่ในหลายรูปแบบ เช่น ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ เช็ค ตั๋วแลกเงิน บัตรเครดิต เป็นต้น

71. คําในข้อใดหมายถึงนโยบายการเงิน
(1) Fiscal Policy
(2) Monetary Policy
(3) Financial Policy
(4) Public Policy
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 3, 54, 57, (คําบรรยาย) นโยบายการเงิน (Monetary Policy) หมายถึง นโยบายที่ เกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ทางเศรษฐกิจ เช่น การควบคุมกํากับอัตราดอกเบี้ย การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท การควบคุม กํากับดูแลสินเชื่อ การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล การออกระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ทางการเงิน เป็นต้น โดยหน่วยงานที่ทําหน้าที่ดูแลนโยบายการเงินก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย

72. การดําเนินนโยบายการเงินไม่มีผลกระทบสืบเนื่องไปยังเรื่องใด
(1) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(2) การจ้างงาน
(3) ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
(4) เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) การดําเนินนโยบายการเงินมีผลกระทบสืบเนื่องไปยังเสถียรภาพ ของระบบเศรษฐกิจ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการจ้างงาน แต่จะไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

73. ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงิน
(1) การควบคุมปริมาณเงิน
(2) การกําหนดอัตราดอกเบี้ย
(3) การควบคุมเงินที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ
(4) การเก็บภาษีศุลกากร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4หน้า 55 – 56 เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง ประกอบด้วย 3 เครื่องมือ คือ การควบคุมปริมาณเงิน การกําหนดอัตราดอกเบี้ย และการควบคุมเงิน ที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ

74.ECB เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด
(1) ธนาคารกลางแห่งอังกฤษ
(2) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์
(3) ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(4) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา
(5) ธนาคารกลางแห่งเอเชีย
ตอบ 3 หน้า 55 ในปัจจุบันธนาคารกลางที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ได้แก่ ธนาคารกลางแห่งยุโรป (European Central Bank : ECB) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve Bank : FED) เป็นต้น

75. หน่วยงานใดเป็นผู้กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย
(1) กระทรวงพาณิชย์
(2) กระทรวงการคลัง
(3) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(4) ธนาคารกรุงไทย
(5) คณะกรรมการนโยบายการเงิน
ตอบ 3หน้า 57 – 58 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2485 เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและหน้าที่ ดังนี้
1. ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร
2. กําหนดและดําเนินนโยบายการเงิน เช่น กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ย
3. บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
4. เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล
5. เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน
6. กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
7. บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและสินทรัพย์ในทุนสํารองเงินตรา ฯลฯ

76. ข้อใดคือลักษณะที่สําคัญที่สุดของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายทางการเงิน
(1) มุ่งหากําไรสูงสุด
(2) หลีกเลี่ยงการแทรกแซงตลาดการเงิน
(3) มีอิสระจากฝ่ายการเมือง
(4) มีอํานาจเด็ดขาด
(5) รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสีย
ตอบ 3 หน้า 55 ลักษณะที่สําคัญที่สุดของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายทางการเงิน คือ มีอิสระ จากฝ่ายการเมือง เนื่องจากการดําเนินนโยบายทางการเงินนั้นมีเป้าหมายที่จะรักษาเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจเป็นสําคัญ ดังนั้นการดําเนินนโยบายโดยหน่วยงานที่มีอิสระจากฝ่ายการเมืองย่อมจะเป็นผลดีต่อการบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินมากกว่าการดําเนินนโยบายโดยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง

77. ในปัจจุบันบุคคลใดดํารงตําแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล
(2) นายประทิน สันติประภพ
(3) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
(4) นายวิรไท สันติประภพ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน คือ นายเศรษฐวุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ
ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

78. ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปีใด
(1) ปี พ.ศ. 2480
(2) ปี พ.ศ. 2485
(3) ปี พ.ศ. 2490
(4) ปี พ.ศ. 2495
(5) ปี พ.ศ. 2500
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

79. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) ออกธนบัตร
(2) บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) ผลิตเหรียญกษาปณ์
(4) กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

80. ในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับเท่าไร
(1) ร้อยละ 0.75 ต่อปี
(2) ร้อยละ 1.0 ต่อปี
(3) ร้อยละ 2.0 ต่อปี
(4) ร้อยละ 2.5 ต่อปี
(5) ร้อยละ 3.0 ต่อปี
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 1.0 ต่อปี

81. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(1) เสถียรภาพและความมั่นคง
(2) การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
(3) การบริหารความเสี่ยงที่ดี
(4) ส่งเสริมการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 60 เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่
1. ระบบการเงินมีเสถียรภาพและความมั่นคง
2. การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
3. การบริหารความเสี่ยงที่ดี
4. ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันของระบบ สถาบันการเงิน
5. การเข้าถึงบริการทางการเงินเป็นไปอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

82. ความต้องการถือเงินของภาคครัวเรือนเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากข้อใด
(1) ความต้องการจับจ่ายใช้สอย
(2) การสร้างความมั่นคง
(3) การสร้างหลักประกันในการดําเนินชีวิต
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 54 เงินเป็นสิ่งสําคัญและมีบทบาทอย่างสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจาก
ลักษณะของการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนของเงินนั่นเอง ซึ่งทําให้ภาคครัวเรือน เกิดความต้องการถือเงินเมื่อมีความต้องการจับจ่ายใช้สอย

83.FED เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด
(1) ธนาคารกลางแห่งฝรั่งเศส
(2) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์
(3) ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(4) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา
(5) ธนาคารกลางแห่งแอฟริกา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

84. ข้อใดไม่ถูกต้อง งบประมาณแผ่นดินมีลักษณะดังนี้
(1) มีกระบวนการจัดทําที่มีลักษณะรวมอํานาจ
(2) รายรับมาจากภาษีอากรของประชาชน
(3) ความพึงพอใจของประชาชนเป็นแรงจูงใจในการจัดทํา
(4) งบประมาณแผ่นดินมีผลบังคับต่อประชาชนทุกคนในชาติ
(5) รายรับอาจได้มาด้วยการก่อหนี้สาธารณะ
ตอบ 1 หน้า 63 – 66, (คําบรรยาย) คุณสมบัติหรือลักษณะสําคัญของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งแตกต่างจากงบประมาณเอกชน มีดังนี้
1. เป็นกฎหมายทางการเงิน กล่าวคือ มีการตราเป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งกําหนดว่าให้ใช้จ่ายเงินได้ ไม่เกินจํานวนที่กําหนด แต่ในทางปฏิบัติรายจ่ายจริงอาจมีน้อยกว่ารายจ่ายที่กฎหมายงบประมาณ กําหนดไว้ก็ได้
2. เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับต่อประชาชนทุกคนในชาติ
3. วิธีการจัดหารายได้ (รายรับ) ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดเก็บภาษีอากรและการก่อหนี้ สาธารณะ
4. คํานึงถึงความพึงพอใจของประชาชนเป็นแรงจูงใจในการจัดทํางบประมาณ
5. การกําหนดรายรับ มีรายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับ
6. มีกระบวนการจัดทํางบประมาณที่มีลักษณะกระจายอํานาจ
7. ลักษณะการเป็นเจ้าของ โดยมีประชาชนเป็นเจ้าของกิจการที่แท้จริง
8. มีการอนุมัติงบประมาณโดยรัฐสภา
9. การควบคุมหรือการบริหารงบประมาณจะถูกควบคุมร่วมกันทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ

85. ในยุคที่มีความเชื่อว่า… “งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือในการควบคุมความซื่อสัตย์ในการใช้จ่าย ของรัฐบาล…” งบประมาณแผ่นดินจะให้ความสําคัญไปที่
(1) รายละเอียดของบัญชีที่แสดงประเภทของการใช้จ่ายเงินของรัฐ
(2) เอกสารที่ประกอบด้วยโครงการต่าง ๆ ซึ่งเสนอขอรายจ่ายเพื่อให้เกิดการดําเนินงานตามวัตถุประสงค์ ของโครงการนั้น ๆ
(3) แผนของรัฐในรูปตัวเงินที่แสดงประสิทธิภาพของการใช้เงินตามแผนนั้น ๆ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 63, 90 – 91 ในยุคที่มีความเชื่อว่า งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือของฝ่ายนิติบัญญัติ ในการติดตามควบคุมการใช้ทรัพยากร หรือควบคุมตรวจสอบความถูกต้องและความซื่อสัตย์ สุจริตในการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลนั้น งบประมาณแผ่นดินตามความเชื่อนี้จะหมายถึง รายละเอียดของบัญชีที่แสดงประเภทของการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล หรือรายละเอียดของทรัพยากรที่ หน่วยงานเสนอของบประมาณจากรัฐบาล

ตั้งแต่ข้อ 86 – 95. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ฐานรายได้
(2) ฐานความมั่งคั่ง
(3) ฐานการบริโภค
(4) ฐานความมั่งคั่งและฐานการบริโภค
(5) ไม่มีข้อใดถูก

86. ภาษีไฟ มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 3 หน้า 5 – 6, 23, 38 ฐานการบริโภค (Consumption Base) เป็นฐานภาษีที่เก็บจาก การใช้จ่ายเพื่อบริโภคของประชาชน รวมถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่าง ๆ ตัวอย่างภาษีที่จัดเก็บโดยใช้ฐานการบริโภค เช่น ภาษีการขาย ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษี สรรพสามิต (เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ ภาษีน้ำมัน ภาษีเครื่องดื่ม ภาษีไฟ ภาษีน้ําหอม) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสินค้าขาเข้า (เช่น ภาษีรถยนต์นําเข้า) เป็นต้น

87.ภาษีรถยนต์ มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 2 หน้า 6, 23, (คําบรรยาย) ฐานความมั่งคั่ง (Wealth Base) เป็นฐานภาษีที่พิจารณาจาก รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินที่บุคคลได้ครอบครองอยู่ ตัวอย่างภาษีที่จัดเก็บ โดยใช้ฐานความมั่งคั่ง เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีโรงแรม ภาษีโรงงาน ภาษีป้าย ภาษีรถยนต์ ภาษีมรดก ภาษีดอกเบี้ย เป็นต้น

88.ภาษีการขาย มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

89. ภาษีบํารุงท้องถิ่นจากโรงแรม น้ํามัน ยาสูบ มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 86. และ 87. ประกอบ

90. ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

91. ภาษีเงินได้นิติบุคคล มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 1 หน้า 5, 22, (คําบรรยาย) ฐานรายได้ (Income Base) เป็นฐานภาษีที่วัดจากความสามารถ ในการเสียภาษี (Ability to Pay) ของประชาชนแต่ละคน โดยพิจารณาจากเงินได้ของบุคคล หรือหน่วยภาษีต่าง ๆ ภาษีที่จัดเก็บโดยใช้ฐานรายได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (กําไร จากการขายคริปโต”) ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีหัก ณ ที่จ่าย

92. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ

93. ภาษีป้าย มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ

94. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

95. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

96.“การวิเคราะห์งบประมาณ” เป็นกิจกรรมที่อยู่ในขั้นตอนใดของกระบวนการงบประมาณ
(1) การควบคุม
(2) การจัดเตรียม
(3) การประเมินผล
(4) การอนุมัติ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

97. ตัวอย่างของ Public Goods ได้แก่
(1) บริการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(2) การจัดแสงสว่างในทางเดินสาธารณะ
(3) ไฟฟ้า
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 66, 71 สินค้าสาธารณะ (Public Goods) คือ สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปการสาธารณูปโภคที่มีประโยชน์ต่อคนส่วนรวม ซึ่งรัฐเป็นผู้ดําเนินการโดยอาศัย กฎหมายและรายได้จากภาษีอากรของประชาชน เป็นสินค้าและบริการที่มุ่งอรรถประโยชน์ สูงสุดของระบบเศรษฐกิจ และไม่อาจใช้กลไกราคาเป็นเครื่องวัดมูลค่าได้ เช่น บริการป้องกัน ประเทศ บริการรักษาความสงบภายใน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การอํานวย ความยุติธรรม การควบคุมน้ําท่วม การจัดแสงสว่างในทางเดินสาธารณะ การดําเนินนโยบาย ต่างประเทศ การทําความสะอาดถนนสาธารณะ การควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

98. “การใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินต้องได้รับการยินยอมจากประชาชนเสียก่อน” หมายความว่า
(1) งบประมาณต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ ก่อนที่จะนําไปใช้
(2) งบประมาณต้องได้รับการวิเคราะห์ก่อนนําไปใช้
(3) งบประมาณต้องผ่านการทําประชามติก่อนนําไปใช้
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 64, 82, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินเป็นเงินของประชาชนที่มอบให้กับรัฐบาลในรูปของภาษีอากรและการกู้ยืมเพื่อนําไปใช้ในการบริหารประเทศ ดังนั้นการใช้จ่ายงบประมาณ จึงต้องได้รับการอนุมัติหรือยินยอมจากประชาชนเสียก่อน แต่เนื่องจากการบริหารราชการในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ประชาชนได้มอบอํานาจการตัดสินใจให้กับรัฐสภา (สภา นิติบัญญัติ) ไปแล้ว งบประมาณแผ่นดินซึ่งการจัดทําเป็นหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะจึงจําเป็นต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาโดยต้องทําเป็นกฎหมายก่อนที่จะนําไปใช้ เพราะถ้า งบประมาณไม่ได้รับการรับรองจากสภา รัฐบาลก็จะบริหารประเทศต่อไปไม่ได้ ดังนั้นจึงถือว่า งบประมาณเป็นเครื่องมือ เงื่อนไข หรือกลไกรับรองการเป็นรัฐบาลหรือการจัดตั้งรัฐบาลใน ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

99. “กลไกราคา” เป็นเครื่องมือสําคัญในการจัดสรรสินค้าชนิดใด
(1) สินค้าเอกชน
(2) สาธารณูปโภค
(3) สินค้าสาธารณะ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 65, (คําบรรยาย) สินค้าเอกชน (Private Goods) เป็นสินค้าและบริการที่ประชาชน ทุกคนสามารถซื้อมาใช้เป็นการส่วนตัวได้ โดยจะมี “กลไกราคา” (Price Mechanism) เป็นเครื่องมือในการจัดสรร

100. ในปีงบประมาณ 2565 รัฐบาลไทยทําหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรของชาติตาม พ.ร.บ. งบประมาณ รายจ่ายประจําปีคิดเป็นร้อยละเท่าไรของ GDP (ประมาณ)
(1) 30
(2) 22
(3) 18
(4) 12
(5) 7
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2565 ได้กําหนดวงเงินงบประมาณ รายจ่ายไว้จํานวน 3.1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.26 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (GDP)

POL3300 การบริหารการคลัง s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3300 การบริหารการคลัง
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.คุณลักษณะที่สําคัญของงบประมาณแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตย คือ
(1) เป็นกฎหมาย
(2) เป็นแผนทางการเงิน
(3) เป็นเครื่องมือในการบริหารงาน
(4) เป็นเครื่องชี้การจัดสรรทรัพยากรในภาครัฐ
(5) เป็นกลไกรับรองการเป็นรัฐบาล
ตอบ 5 หน้า 64, 82, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินเป็นเงินของประชาชนที่มอบให้กับรัฐบาล
ในรูปของภาษีอากรและการกู้ยืมเพื่อนําไปใช้ในการบริหารประเทศ ดังนั้นการใช้จ่ายงบประมาณ จึงต้องได้รับการอนุมัติหรือยินยอมจากประชาชนเสียก่อน แต่เนื่องจากการบริหารราชการในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ประชาชนได้มอบอํานาจการตัดสินใจให้กับรัฐสภา (สภา นิติบัญญัติ) ไปแล้ว งบประมาณแผ่นดินซึ่งการจัดทําเป็นหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะจึงจําเป็นต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาโดยต้องทําเป็นกฎหมายก่อนที่จะนําไปใช้ เพราะถ้า งบประมาณไม่ได้รับการรับรองจากสภา รัฐบาลก็จะบริหารประเทศต่อไปไม่ได้ ดังนั้นจึงถือว่า งบประมาณเป็นเครื่องมือ เงื่อนไข หรือกลไกรับรองการเป็นรัฐบาลหรือการจัดตั้งรัฐบาลใน ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

2. ข้อใดไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ
(1) หนี้ของกระทรวงการคลัง
(2) หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน
(3) หนี้ของรัฐบาล
(4) หนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์
(5) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
ตอบ 4 หน้า 45, 50, (คําบรรยาย) หนี้สาธารณะ ได้แก่
1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศ
2. หนี้ของรัฐวิสาหกิจ (ไม่เป็นสถาบันการเงิน) ที่รัฐบาลค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน
3. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน
4. หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
5. หนี้ของหน่วยงานอื่นของรัฐ เช่น หนี้ของกระทรวงการคลัง เป็นต้น

3.FED เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด
(1) ธนาคารกลางแห่งฝรั่งเศส
(2) ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(3) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์
(4) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา
(5) ธนาคารกลางแห่งแอฟริกา
ตอบ 4 หน้า 55 ในปัจจุบันธนาคารกลางที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ได้แก่ ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(European Central Bank : ECB) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve Bank : FED) เป็นต้น

4.ลักษณะของ Program Budget
(1) แบ่งแยกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย
(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยงาน
(3) Cost and Benefit Analysis
(4) Incrementalism
(5) จัดทํางบประมาณจังหวัด
ตอบ 3 หน้า 92 – 93, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบโครงการ (Program Budget) หรืองบประมาณ แบบแสดงผลงาน (Performance Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ในหลักประสิทธิภาพ กล่าวคือ เป็นระบบงบประมาณที่เน้นการควบคุมประสิทธิภาพของการใช้จ่าย หรือให้ความสําคัญกับ ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร ทั้งนี้ก็เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์อย่างประหยัด นอกจากนี้ ยังให้ความสําคัญกับผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ของงานหรือโครงการในแต่ละปี มีการจัดทํางบประมาณเป็นรายโครงการและมีการแบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงการหรือ ตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล (Objectives Classification) หรือตามหน้าที่ของรัฐ (Functional Classification) มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) หรือวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ของโครงการหรือประสิทธิภาพของการใช้เงินโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ เช่น Cost and Effectiveness Analysis, Cost and Benefit Analysis และมีการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณ โดยอาศัยหลักของเหตุผล (Pure Rationality) เป็นสําคัญ

5. ไฟส่องสว่างบนทางหลวงจังหวัดจัดเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าในตัวเลือกข้อใดต่อไปนี้
(1) ทางหลวงหมายเลข 9 และทางพิเศษบูรพาวิถี
(2) นโยบายความมั่นคง และนโยบายต่างประเทศ
(3) คลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ และทางหลวงแผ่นดิน
(4) การประปาส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
(5) รถเมล์สาธารณะ และรถพยาบาล
ตอบ 2 หน้า 11 – 12, 14, (คําบรรยาย) สินค้าหรือบริการสาธารณะ (Public Goods) หรือเรียกว่า สินค้าสาธารณะแท้หรือสินค้าสาธารณะที่สมบูรณ์ (Pure Public Goods) มีคุณสมบัติดังนี้
1. ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค (Non-Rival Consumption) หรือกีดกันไม่ให้ผู้ใดเข้าถึง สินค้าหรือบริการนั้นไม่ได้
2. ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้ (Non-Excludable) หรือไม่สามารถใช้ราคา เป็นเครื่องมือกีดกันผู้อื่นไม่ให้ใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้
3. ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้าหรือบริการ คือ ต้นทุนส่วนเพิ่มเมื่อมีผู้ซื้อสินค้า หรือบริการเพิ่มขึ้นนั้นมีค่าเท่ากับศูนย์ (Zero-Marginal Cost)
ตัวอย่างเช่น ไฟฟ้าหรือไฟส่องสว่างบนถนนสาธารณะ แสงไฟจากประภาคารสาธารณะ แม่น้ำ ลําน้ำสาธารณะ การดําเนินนโยบายต่างประเทศ การดําเนินนโยบายความมั่นคง การทํา ความสะอาดถนนสาธารณะ การควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายหลักสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการ ชิมช้อปใช้ นโยบายป้องกันประเทศจาก COVID เป็นต้น

6. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ฐานรายได้
(2) ฐานรายได้ ฐานความมั่งคั่ง และฐานการบริโภค
(3) ฐานความมั่งคั่งและฐานการบริโภค
(4) ฐานความมั่งคั่ง
(5) ฐานการบริโภค
ตอบ 4 หน้า 6, 23, (คําบรรยาย) ฐานความมั่งคั่ง (Wealth Base) เป็นฐานภาษีที่พิจารณาจากรายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินที่บุคคลได้ครอบครองอยู่ ตัวอย่างภาษีที่จัดเก็บ โดยใช้ฐานความมั่งคั่ง เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีโรงแรม ภาษีโรงงาน ภาษีป้าย ภาษีรถยนต์ ภาษีมรดก ภาษีดอกเบี้ย เป็นต้น

7.คนที่ร่วมใช้ประโยชน์จากสินค้าสาธารณะ แต่ไม่ยอมร่วมจ่ายค่าบริการ หมายถึงคนกลุ่มใด
(1) Waive Rider
(2) Groove Rider
(3) Free Rider
(4) Ghost Rider
(5) Masked Rider
ตอบ 3 หน้า 12 Free Rider หมายถึง คนที่ร่วมใช้ประโยชน์จากสินค้าสาธารณะ แต่ไม่ยอมร่วมจ่าย
ค่าบริการ

8. โดยทั่วไปคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้นําเสนอขออนุมัติงบประมาณต่อรัฐสภา และจะต้องนําเสนอเป็นเวลา
อย่างน้อยกี่วันก่อนเริ่มปีงบประมาณใหม่
(1) 120
(2) 60
(3) 90
(4) 105
(5) 145
ตอบ 5
หน้า 78, (คําบรรยาย) โดยทั่วไปคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้นําเสนอขออนุมัติงบประมาณต่อ รัฐสภา และจะต้องนําเสนอเป็นเวลาอย่างน้อย 145 วันก่อนเริ่มปีงบประมาณใหม่ ซึ่งเป็นไป ตามข้อบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กําหนดให้รัฐสภาใช้เวลาในการพิจารณาอนุมัติไม่เกิน 125 วัน (สภาผู้แทนราษฎรไม่เกิน 105 วัน และวุฒิสภาไม่เกิน 20 วัน) และให้นายกรัฐมนตรี นําขึ้นทูลเกล้าฯ ไม่เกิน 20 วัน

9.ข้อใดเป็นสาระสําคัญของ Performance Budget
(1) Mixed Scanning
(2) Incrementalism
(3) Program Analysis
(4) Objects of Expenditure Classification
(5) Public Hearing
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

10. งบประมาณแผ่นดินต่างกับงบประมาณเอกชนในเรื่องใด
(1) เครื่องมือในการบริหาร
(2) การจัดทําเป็นโครงการ
(3) การอนุมัติ
(4) เป็นบัญชีทางการเงินที่แสดงการรับจ่าย
(5) การเป็นแผนทางการเงิน
ตอบ 4หน้า 63 – 66, (คําบรรยาย) คุณสมบัติหรือลักษณะสําคัญของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งแตกต่างจากงบประมาณเอกชน มีดังนี้
1. เป็นกฎหมายทางการเงิน กล่าวคือ มีการตราเป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งกําหนดว่าให้ใช้จ่ายเงิน ได้ไม่เกินจํานวนที่กําหนด แต่ในทางปฏิบัติรายจ่ายจริงอาจมีน้อยกว่ารายจ่ายที่กฎหมายงบประมาณกําหนดไว้ก็ได้
2. เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับต่อประชาชนทุกคนในชาติ
3. วิธีการจัดหารายได้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดเก็บภาษีอากรและการก่อหนี้สาธารณะ
4. คํานึงถึงความพึงพอใจของประชาชนเป็นแรงจูงใจในการจัดทํางบประมาณ
5. การกําหนดรายรับ มีรายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับ
6. มีกระบวนการจัดทํางบประมาณที่มีลักษณะกระจายอํานาจ
7. ลักษณะการเป็นเจ้าของ โดยมีประชาชนเป็นเจ้าของกิจการที่แท้จริง
8. มีการอนุมัติงบประมาณโดยรัฐสภา
9. การควบคุมหรือการบริหารงบประมาณจะถูกควบคุมร่วมกันทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ

11. “การวิเคราะห์งบประมาณ” เป็นกิจกรรมที่อยู่ในขั้นตอนใดของกระบวนการงบประมาณ
(1) การประเมินผล
(2) การจัดเตรียม
(3) การควบคุม
(4) การอนุมัติ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 115 – 116 ในการจัดเตรียมงบประมาณนั้น จะมีการจัดทํารายละเอียดของ งบประมาณ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนที่สําคัญ 3 ขั้นตอน คือ
1. เจ้าหน้าที่สํานักงบประมาณพิจารณาวิเคราะห์งบประมาณร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. สํานักงบประมาณเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ พร้อมด้วยเอกสารงบประมาณต่อคณะรัฐมนตรี
3. นายกรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจําปี พร้อมด้วยเอกสารงบประมาณ ต่อรัฐสภา

12. ข้อใดถูกต้อง
(1) อัตราภาษีก้าวหน้าช่วยสร้างความเสมอภาค
(2) อัตราภาษีคงที่ทําให้คนส่วนใหญ่ที่มีรายได้น้อยรับภาระน้อยกว่าคนส่วนน้อยที่มีรายได้มาก
(3) อัตราภาษีคงที่ทําให้เกิดความเท่าเทียมกัน
(4) การจัดเก็บภาษีจากสินค้าจําเป็นอาจทําให้เกิดเงินฝืดขึ้นได้
(5) ถ้าเก็บภาษีในอัตราต่ําจะทําให้เศรษฐกิจหดตัวได้
ตอบ 1 หน้า 76 – 77, (คําบรรยาย) ผลกระทบที่เกิดจากวิธีการหารายได้และการใช้จ่ายของรัฐ มีดังนี้
1. การเก็บภาษีทรัพย์สินเป็นการเก็บภาษีซ้ํากับภาษีเงินได้
2. การเก็บภาษีในอัตราคงที่จะทําให้คนส่วนใหญ่ที่มีรายได้น้อยต้องรับภาระมากกว่า คนกลุ่มน้อยที่มีรายได้มาก ซึ่งทําให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
3. การเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าจะช่วยสร้างความเสมอภาคต่อคนในสังคม ถ้าจัดเก็บในอัตราสูงจะทําให้เศรษฐกิจหดตัว แต่ถ้าจัดเก็บในอัตราต่ําจะทําให้เศรษฐกิจขยายตัว
4. การเก็บภาษีจากสินค้าจําเป็นอาจทําให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ เพราะทําให้สินค้ามีราคาสูง แต่ความต้องการที่จะบริโภคสินค้านั้นไม่ได้ลดลง
5. ถ้ารายจ่ายของรัฐให้ประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ที่มีรายได้น้อยจะทําให้เศรษฐกิจขยายตัว แต่ถ้า รายจ่ายของรัฐให้ประโยชน์เพียงคนกลุ่มน้อยที่มีรายได้มากจะทําให้เศรษฐกิจคงตัวฯลฯ

13. ปีงบประมาณของไทยสิ้นสุดลงเมื่อใด
(1) 31 มีนาคมของทุกปี
(2) 31 ตุลาคมของทุกปี
(3) 30 มิถุนายนของทุกปี
(4) 31 ธันวาคมของทุกปี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 68, (คําบรรยาย) ระยะเวลาของการบริหารหรือการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณ เรียกว่า “ปีงบประมาณ” หรือ “ปีคลัง” (Fiscal Year) ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีระยะเวลา ที่แน่นอน โดยอาจเป็น 6 เดือน 1 ปี (12 เดือน) หรือ 2 ปี (24 เดือน) ก็ได้ แต่จะต้อง เป็นเช่นนั้นทุก ๆ ปี และจะเริ่มต้นในเดือนใดก็ได้ เช่น ปีงบประมาณของไทยมีระยะเวลา 12 เดือน เริ่มต้นจากวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี และไปสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายนของ ปีถัดไป โดยใช้ชื่อปีถัดไปเป็นชื่อปีงบประมาณ (เช่น ปีงบประมาณ 2565 จะเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2564 และสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565)

14. ข้อใดคือความหมายของ Minimalist State
(1) รัฐบาลไม่ควรเป็นผู้ให้บริการสาธารณะ
(2) รัฐบาลจึงใช้จ่ายงบประมาณให้น้อยที่สุด
(3) ประชาชนมีอํานาจจํากัด
(4) การก่อหนี้สาธารณะมีขีดจํากัด
(5) บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจควรเป็นไปอย่างจํากัด
ตอบ 5 หน้า 46 นักเศรษฐศาสตร์สํานักคลาสสิก (Classical Economist) หรือสํานักเสรีนิยม (Liberalist) มองว่า บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจควรเป็นไปอย่างจํากัด (Minimalist State) คือ รัฐบาลควรใช้จ่ายงบประมาณอย่างจํากัด ดังนั้นการใช้จ่ายเกินตัวของรัฐบาลซึ่งนําไปสู่การก่อหนี้สาธารณะจึงเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์สํานักนี้

15. ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังไม่อาจกู้เงินเพื่อการใด
(1) ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
(2) พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
(3) ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
(4) พัฒนาตลาดทุนในประเทศ
(5) ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังกู้เงินได้ เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1. ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
2. พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
3. ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
4. ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
5. พัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ

16. ภาษีชนิดใดต่อไปนี้ไม่เป็นกลาง
(1) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
(2) ภาษีศุลกากร
(3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(4) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(5) ภาษีสุรา
ตอบ 5 หน้า 38, (คําบรรยาย) ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผล สมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ขัดต่อ ศีลธรรมอันดีงาม มีลักษณะเป็นสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือย หรือได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษ จากกิจการของรัฐ ดังนั้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจึงไม่เป็นกลางตามหลักการภาษีที่ดี ทั้งนี้ เพราะเป็นการจัดเก็บภาษีที่ต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนหรือจํากัด การบริโภคของประชาชนให้น้อยลง ตัวอย่างสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต เช่น สุรา เบียร์ ยาสูบ ไพ่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม เรือ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ น้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน น้ําหอม เจลแอลกอฮอล์ สนามกอล์ฟ สนามแข่งม้า ไนต์คลับ ดิสโก้เธค ผับ บาร์ และคาราโอเกะ เป็นต้น

17. ในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับเท่าไร
(1) ร้อยละ 0.5 ต่อปี
(2) ร้อยละ 5 ต่อปี
(3) ร้อยละ 0 ต่อปี
(4) ร้อยละ 0.25 ต่อปี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 0.5 ต่อปี

18. ส่วนขาดดุลทางการคลังเกิดจากข้อใด
(1) รัฐบาลมีรายจ่ายเท่ากับรายได้
(2) รัฐบาลมีรายได้มากกว่ารายจ่าย
(3) รายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
(4) รัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้
(5) รายรับรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ตอบ 4 หน้า 45 ส่วนขาดดุลทางการคลัง (Fiscal Deficit) เกิดจากรัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ซึ่งรัฐบาลสามารถชดเชยการขาดดุลได้โดยใช้วิธีการก่อหนี้สาธารณะ

19. “เงินได้สุทธิ” คํานวณได้จากข้อใด
(1) ค่าใช้จ่าย – เงินได้พึงประเมิน
(2) (เงินได้พึงประเมิน + ค่าใช้จ่าย) – ค่าลดหย่อน
(3) (เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย) – ค่าลดหย่อน
(4) เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย
(5) เงินได้พึงประเมิน – ค่าลดหย่อน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เงินได้สุทธิ เป็นฐานภาษีสําหรับคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งมีสูตร
ในการคํานวณ คือ (เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย) – ค่าลดหย่อน

20. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) ส่งเสริมการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน
(2) การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
(3) เสถียรภาพและความมั่นคง
(4) การบริหารความเสี่ยงที่ดี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 60 เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
ได้แก่
1. ระบบการเงินมีเสถียรภาพและความมั่นคง
2. การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
3. การบริหารความเสี่ยงที่ดี
4. ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน
5. การเข้าถึงบริการทางการเงินเป็นไปอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

21.“เงินประจํางวด” หมายถึงอะไร
(1) ยอดรายจ่ายในแต่ละไตรมาส
(2) แผนการใช้จ่ายเงิน
(3) เงินในหมวดรายจ่ายประจํา
(4) เงินของราชการส่วนภูมิภาค
(5) รายงานทางการเงิน
ตอบ 2 หน้า 84, 126, (คําบรรยาย) เงินประจํางวด (Apportionment) หมายถึง เงินที่จะจัดสรรให้กับส่วนราชการหนึ่ง ๆ ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ ถือเป็นแผนการใช้จ่ายเงินหรือ เครื่องมือในการควบคุมให้ส่วนราชการต่าง ๆ ปฏิบัติงานตามแผนที่กําหนด และสามารถนําเงิน ไปใช้จ่ายได้ทันปีงบประมาณ ซึ่งอํานาจในการกําหนดระยะเวลาของเงินประจํางวดเป็นของ สํานักงบประมาณ

22. เหตุใดภาษีบางชนิดจึงไม่เป็นกลางตามหลักการจัดเก็บภาษีที่ดี
(1) ต้องการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ
(2) ไม่ต้องการให้เกิดความเหลื่อมล้ํา
(3) ต้องการให้คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
(4) ต้องการให้เกิดความเป็นธรรมในระบบภาษี
(5) ไม่ต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

23. ลักษณะของระบบงบประมาณที่เรียกว่า Performance Budget
(1) จัดทํางบประมาณเป็นรายโครงการ
(2) การตัดสินใจใช้หลักการประสานประโยชน์
(3) อาจเรียกว่าเป็นงบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ
(4) แบ่งเงินออกตามหน่วยงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

24. นักเศรษฐศาสตร์คนใดเสนอว่าภาระของหนี้สาธารณะเกิดขึ้นข้ามช่วงอายุของคน
(1) Buchanan
(2) Schumpeter
(3) Tobin
(4) Stieglitz
(5) Ricardo
ตอบ 1 หน้า 47 James Buchanan เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอว่าภาระของหนี้สาธารณะ เกิดขึ้นข้ามช่วงอายุของคน

25. พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะประกาศบังคับใช้ในรัฐบาลใด
(1) อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
(2) ทักษิณ ชินวัตร
(3) ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(4) ชวน หลีกภัย
(5) ชวลิต ยงใจยุทธ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหาร หนี้สาธารณะ คือ พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งประกาศ บังคับใช้ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร

26. ข้อใดคือความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับ
การก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ในต่างประเทศ
(1) อัตราดอกเบี้ย
(2) ผู้ที่รับภาระหนี้
(3) ระยะเวลาชําระคืน
(4) ภาระหนี้
(5) วงเงิน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การก่อหนี้สาธารณะต้องคํานึงถึงผู้ที่รับภาระหนี้ วงเงิน ระยะเวลาชําระคืน และ อัตราดอกเบี้ย โดยที่อัตราดอกเบี้ยคือความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับต่างประเทศ เนื่องจากต้องใช้คืนทั้งต้นเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยที่ผันผวนตามค่าเงิน

27. กลไกตลาดภาครัฐคืออะไร
(1) กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(2) กลไกการบริหารจัดการระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(3) กลไกการประสานงานระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(4) กลไกการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(5) กลไกการทํางานระหว่างภาครัฐกับประชาชน
หน้า 21 กลไกตลาดภาครัฐ คือ กลไกการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่าง ภาครัฐในฐานะผู้ประกอบการกับประชาชนในฐานะผู้บริโภค

28. ข้อใดเรียกว่าเป็น Negative Tax
(1) การให้บริการการศึกษาในราคาต่ำกว่าทุน
(2) การจัดเก็บภาษีน้ํามันเชื้อเพลิง
(3) การบังคับกู้ยืมโดยจ่ายดอกเบี้ยต่ำกว่า
(4) การจัดเก็บภาษีบุหรี่
(5) การหากําไรจากรัฐวิสาหกิจ
ตอบ 1 หน้า 4 Negative Tax คือ สินค้าหรือบริการที่รัฐบาลขายหรือให้บริการในราคาต่ำกว่าทุน

29. หนุมานมีเงินได้สุทธิ 425,150 บาท หนุมานต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราเท่าใด
(1) 20%
(2) 5%
(3) 15%
(4) 10%
(5) ได้รับการยกเว้น
ตอบ 4 หน้า 33 – 34 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560

30. งบการเงินของกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้
ในประเทศต้องได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานใด
(1) สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
(2) สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
(3) กรมบัญชีกลาง
(4) กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
(5) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ตอบ 1(คําบรรยาย) สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นหน่วยงานที่ทําหน้าที่ตรวจสอบงบการเงิน
ของกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ

31.“ปีภาษี” หมายถึงระยะเวลาในช่วงใด
(1) ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 มีนาคม
(2) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 30 กันยายน
(3) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม
(4) ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 31 พฤษภาคม
(5) ระหว่างวันที่ 14 เมษายน – 31 ธันวาคม
ตอบ 3 หน้า 31, (คําบรรยาย) ปีภาษี ตามความหมายของประมวลรัษฎากร คือ ปีปฏิทิน ซึ่งเป็น รอบระยะเวลาที่ใช้สําหรับคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยปีภาษีจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคมของปีนั้น ๆ

32. บริการของรัฐที่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านบวกต่อสังคมควรมีแนวทางกําหนดอัตราค่าบริการอย่างไร
(1) กําหนดอัตราค่าบริการเท่ากับต้นทุนทางบัญชี
(2) กําหนดอัตราค่าบริการตามกลไกตลาด
(3) กําหนดอัตราค่าบริการสูงกว่าต้นทุนทางบัญชี
(4) กําหนดอัตราค่าบริการต่ำกว่าต้นทุนทางบัญชี
(5) กําหนดอัตราค่าบริการตามหลักสวัสดิการ
ตอบ 4 หน้า 42, (คําบรรยาย) กรณีการจัดบริการของรัฐก่อให้เกิดผลกระทบด้านบวกต่อสังคม รัฐควรกําหนดอัตราค่าบริการต่ำกว่าต้นทุนทางบัญชีและจัดสรรเงินอุดหนุนชดเชยส่วนที่ขาดทุน แต่ถ้าการจัดบริการของรัฐก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อสังคม รัฐควรกําหนดอัตราค่าบริการสูงกว่าต้นทุนทางบัญชีและนําเงินส่วนที่ต่างไปอุดหนุนชดเชยผู้ที่ได้รับความเสียหาย

33. “การจําหน่ายกําไรออกจากประเทศไทย” เป็นฐานภาษีของภาษีชนิดใด
(1) ภาษีสรรพสามิต
(2) ภาษีศุลกากร
(3) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(4) ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(5) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตอบ 5 หน้า 34 ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีที่จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยทั่วไปฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ กําไรสุทธิ แต่เพื่อความเป็นธรรมแก่นิติบุคคล และอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษี จึงได้มีการบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกัน ออกไปตามลักษณะของรายได้ เช่น จากกําไรสุทธิ จากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย จากเงินได้ ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย จากการจําหน่ายเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย เป็นต้น

34. การกําหนดยอดวงเงินของงบประมาณแบบ Line-Item Budget การตัดสินใจจะใช้วิธีการใด
(1) Pure Rationality
(2) Zero-Base Analysis
(3) Cost and Benefit Analysis
(4) Incrementalism
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 87 – 88, 90 – 92, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budget) หรืองบประมาณแบบเก่า (Conventional Budget) หรืองบประมาณแบบประเพณี (Traditional Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ในด้านการควบคุมเพื่อมุ่งตรวจสอบความถูกต้องและความซื่อสัตย์สุจริตของการใช้จ่ายเงินของรัฐ หรือให้ความสําคัญกับความถูกต้องของ “ปัจจัย นําเข้า (Inputs) หรือการจัดสรร “ทรัพยากร” ของงานหรือโครงการ โดยเน้นกฎ ระเบียบ และการควบคุมให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบนั้น หรือให้ความสําคัญกับมาตรฐานของทรัพยากร ที่หน่วยราชการได้ใช้ไป ดังนั้นงบประมาณจึงถูกแบ่งออกตามหน่วยราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ (Agencies Classification หรือ Organizations Classification) โดยเฉพาะในระดับกรม และมีการแบ่งตามประเภทและชนิดของการใช้จ่าย (Objects of Expenditure Classification) โดยพิจารณาจากคู่มือการจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่ายซึ่งแบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น หมวดเงินเดือน หมวดสาธารณูปโภค หมวดครุภัณฑ์ ฯลฯ นอกจากนี้ในการจัดเตรียม งบประมาณก็จะต้องมีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจ (Muddling Through) หรือการวิเคราะห์เฉพาะส่วนที่เพิ่ม (Incrementalism) เป็นเกณฑ์ด้วย

35. หากนักศึกษาเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และไม่มีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร นักศึกษาต้องเลือกเดินเข้าประเทศผ่านช่องทางใด
(1) Blue Line
(2) Green Line
(3) Red Line
(4) Pink Line
(5) Black Line
ตอบ 2 (คําบรรยาย) กรณีนักศึกษาเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ
1. หากมีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร ให้เดินเข้าประเทศผ่านช่อง Red Line
2. หากไม่มีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร ให้เดินเข้าประเทศผ่านช่อง Green Line

36. ทศกัณฐ์มีสถานะสมรส ไม่มีหนี้สิน ไม่ได้ซื้อประกันชีวิตใด ๆ ปัจจุบันเปิดกิจการขายเครื่องรางของขลัง เป็นอาชีพ มีเงินเดือนจากการบริหารกิจการเดือนละ 45,000 บาท และมีรายได้จากร้านขายเครื่องรางของขลัง ปีละ 8.1 ล้านบาท ทศกัณฐ์มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะเสียภาษีในข้อใด
(1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีศุลกากร
(2) ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีศุลกากร
(3) ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิต
(4) ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(5) ภาษีสรรพสามิตและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) จากข้อมูลข้างต้น ทศกัณฐ์มีหน้าที่เสียภาษี ดังนี้
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเงินเดือนที่ได้รับจากการบริหารกิจการ
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการมีรายได้จากการขายเครื่องรางของขลังเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี

37. ในปัจจุบันบุคคลใดดํารงตําแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
(2) นายประทิน สันติประภพ
(3) นายวิรไท สันติประภพ
(4) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน คือ นายเศรษฐวุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

38. ข้อใดคือชื่อหนังสือที่แต่งโดยจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์
(1) The Principle of Economics
(2) The Equilibrium
(3) The General Theory
(4) The Spirit of Law
(5) The Wealth of Nation
ตอบ 3หน้า 46, (คําบรรยาย) จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ ชาวอังกฤษจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) เขาเป็นผู้เสนอแนวคิด เศรษฐศาสตร์สํานักเคนส์ (Keynesian Economics) และแต่งหนังสือที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์ เช่น The General Theory of Employment, Interest and Money เป็นต้น

39. สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะก่อตั้งขึ้นในปีใด
(1) พ.ศ. 2544
(2) พ.ศ. 2543
(3) พ.ศ. 2545
(4) พ.ศ. 2542
(5) พ.ศ. 2546
ตอบ 4 หน้า 48 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 อยู่ภายใต้สังกัดของ สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดําเนินการเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การผูกพันหนี้ การบริหารหนี้ และการชําระหนี้ ในประเทศและต่างประเทศของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งที่ค้ําประกันและไม่ค้ําประกัน

40. หน้าที่ของรัฐในเรื่อง “การจัดระเบียบในสังคม” จัดเป็นหน้าที่ของรัฐทางเศรษฐกิจในหัวข้อใด
(1) Allocation Function
(2) Management Function
(3) Development Function
(4) Distribution Function
(5) Stabilization Function
ตอบ 2 หน้า 2 หน้าที่ของรัฐในทางเศรษฐกิจ มี 4 ประการ คือ
1. การจัดสรรทรัพยากรของสังคม (Allocation Function) เพื่อสร้างความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีตัวบ่งชี้คือ ผลผลิตมวลรวม (GDP)
2. การกระจายรายได้ให้กับประชาชน (Distribution Function) เพื่อสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาค
3. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Stabilization Function) มีตัวบ่งชี้คือ เงินฝืดและเงินเฟ้อ
4. การสร้างประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร (Management Function) เพื่อประสาน ความขัดแย้งระหว่างหน้าที่ต่าง ๆ จัดระเบียบในสังคม และดูแลกลไกตลาด

41. ลักษณะของระบบงบประมาณที่ในด้านการวางแผนวางโครงการ
(1) เป็น Performance Budget
(2) มุ่งเน้นที่ Objects of Expenditure Classification
(3) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(4) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลัก Zero-Base Analysis
(5) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
ตอบ 5 หน้า 93 – 94, 97, 101 – 102, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ (Planning Programming Budgeting System : PPBS) เป็นระบบงบประมาณที่ ในด้านการวางแผนวางโครงการโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ระยะยาว ระบบงบประมาณแบบนี้จะมีการวางแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายและตั้งวงเงินงบประมาณตามแต่ละแผนงาน มีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจผสมกับหลักเหตุผล (Limited Rationality หรือ Mixed Scanning) มีการแบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงสร้างแผนงาน หรือโครงการ (Program Structure) มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ในการวิเคราะห์โครงการเพื่อศึกษาถึงโครงสร้างแผนงานหรือโครงการที่จัดทําว่ามีความสัมพันธ์กับ โครงการใด ๆ บ้าง มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างนโยบายสาธารณะ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการวางแผนวางโครงการของหน่วยงานมีการกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ของแผนงานหรือโครงการเพื่อการติดตามประเมินผล และที่สําคัญระบบนี้จะต้องมีการจัดทําแผนงานและแผนทางการเงินระยะยาว (อาจเป็น 3 ปีหรือ 5 ปี) เพื่อประกอบการจัดทําโครงการด้วย

42.“GDP” เป็นตัวบ่งชี้ในเรื่องใด
(1) ประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากร
(2) การรักษาเสถียรภาพ
(3) ความเหลื่อมล้ำในสังคม
(4) การกระจายรายได้
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

43. ทางด่วน จัดเป็นสินค้าประเภทใด
(1) Pure Private Goods
(2) Pure Public Goods
(3) Club Goods
(4) Price-Excludable Public Goods
(5) Congestible Public Goods
ตอบ 5 หน้า 13, 40, (คําบรรยาย) สินค้าทั่วไป (Common Goods) หรือสินค้ากึ่งสาธารณะประเภท Congestible Public Goods เป็นสินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภคแต่แบ่งแยกการบริโภค ออกจากกันไม่ได้ หรือการเข้ามาของผู้บริโภครายใหม่อาจทําให้ความพึงพอใจของผู้บริโภครายเดิม ลดน้อยลง แต่ไม่สามารถกีดกันให้บุคคลอื่นไม่สามารถเข้ามาเป็นผู้บริโภคได้ เช่น สนามหลวง สนามกีฬาแห่งชาติ สนามกีฬากลางของเทศบาล ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ถนนสาธารณะ (เช่น ถนนพระราม 9) ทางด่วน เป็นต้น

44. นักทฤษฎีการคลังยุคคลาสสิก เชื่อว่า
(1) งบประมาณเกินดุล ขาดดุล หรือสมดุลต่างมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้น
(2) งบประมาณขาดดุลดีที่สุด
(3) งบประมาณสมดุลดีที่สุด
(4) งบประมาณเกินดุลดีที่สุด
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 74, (คําบรรยาย) อดัม สมิธ (Adam Smith) เป็นนักทฤษฎีการคลังสมัยเก่าหรือ ยุคคลาสสิก (Classical Theory of Public Finance) ที่มีความเชื่อว่า นโยบายงบประมาณสมดุล เป็นนโยบายที่ดีที่สุด โดยรัฐบาลควรจะใช้จ่ายเงินตามความสามารถในการหารายได้ของตน ไม่ควรแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีบ่อย ๆ และไม่ควรก่อหนี้สาธารณะ

45. ใครต่อไปนี้มีหน้าที่ต้องยื่นคําขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. รามเป็นเจ้าของร้านสังฆภัณฑ์มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 254,000 บาท
2. ลักษณ์มีรายได้จากการขายประกันสุขภาพในปีนี้ 1,801,000 บาท
3. สีดาเป็นผู้นําเข้าเจลแอลกอฮอล์จากประเทศจีนมาขายในประเทศไทย มีรายได้จากการขายเจลในปีนี้
1,400,000 บาท
(1) สีดา
(2) รามและสีดา
(3) ราม
(4) ราม ลักษณ์ และสีดา
(5) รามและลักษณ์
ตอบ 5 หน้า 36 ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่ขายสินค้าหรือบริการเป็นอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคคล ซึ่งมีรายได้หรือยอดขายเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี (150,000 บาทต่อเดือน) โดยต้องยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และคํานวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ และต้องชําระภาษีเป็นรายเดือน โดยยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

46. “การแปรญัตติ” เป็นกิจกรรมที่อยู่ในขั้นตอนใดของ “กระบวนการงบประมาณ
(1) การจัดเตรียม
(2) การควบคุม
(3) การประเมินผล
(4) การอนุมัติ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 123, (คําบรรยาย) “การแปรญัตติ” เป็นกิจกรรมที่อยู่ในขั้นตอนการอนุมัติงบประมาณ ซึ่งการแปรญัตตินั้นต้องแปรเป็นรายมาตรา โดยพิจารณาไปทีละมาตรา และถ้าเป็นงบประมาณ ของส่วนราชการปกติการแปรญัตติจะแปรขอลดได้เท่านั้น แต่จะแปรขอเพิ่มงบประมาณรายจ่าย (ทําให้ยอดวงเงินรายจ่ายเพิ่มขึ้น) มิได้

47.ความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ หรือ FTA มีความเกี่ยวข้องกับภาษีชนิดใด
(1) ภาษีรถยนต์
(2) ภาษีศุลกากร
(3) ภาษีสรรพสามิต
(4) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(5) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) เป็นการทําความตกลงทางการค้า ระหว่างประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศ (ทวิภาคี) หรือเป็นกลุ่มประเทศ (พหุภาคี) ที่จะร่วมมือ ขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากรและไม่ใช่ภาษีศุลกากร

48.ณ สิ้นเดือนเมษายน 2560 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยอยู่ที่ประมาณร้อยละเท่าไร
(1) 60
(2) 15
(3) 10
(4) 20
(5) 40
ตอบ 5 หน้า 51 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน เมษายน 2560 มีจํานวน 6,267,920.88 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.64 ของ GDP

49. สินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค และแยกการบริโภคออกจากกันได้ จัดเป็นสินค้าประเภทใด
(1) Pure Goods
(2) Public Goods
(3) Private Goods
(4) Promotion Goods
(5) Price-Excludable Goods
ตอบ 3

50. ข้อใดที่ไม่จัดเป็นความหมายของงบประมาณ
(1) แผนทางการเงิน
(2) บัญชีแสดงการรับจ่ายเงิน
(3) กฎหมายที่ว่าด้วยประมาณการรับจ่าย
(4) นโยบายสาธารณะ
(5) ประมาณการรายรับ-รายจ่าย
ตอบ 4 หน้า 63 – 64, (คําบรรยาย) ความหมายของงบประมาณแผ่นดิน มีดังนี้
1. หลักฐานทางการเงินของรัฐที่แสดงประมาณการของรายได้ (รายรับ) และรายจ่ายในอนาคตที่มีช่วงระยะเวลาที่แน่นอน
2. บัญชีหรือเอกสารทางการเงินที่แสดง รายรับรายจ่ายเงินของแผ่นดิน
3. กฎหมายที่ว่าด้วยประมาณการรายรับรายจ่าย
4. กฎหมายที่ระบุให้ส่วนราชการใช้จ่ายเงินได้ในกิจกรรมต่าง ๆ ไม่เกินจํานวนและ รายการที่กําหนด
5. แผนทางการเงินของแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่แน่นอน
6. แผนเพื่อให้เกิดความสําเร็จของโครงการ ซึ่งเกี่ยวพันกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ภายในช่วงระยะเวลาที่กําหนดไว้ ฯลฯ

51. ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บจากกลุ่มใดต่อไปนี้
(1) มูลนิธิชัยพัฒนา
(2) สมาคมค้าข้าวไทย
(3) ศิริราชมูลนิธิ
(4) สภากาชาดไทย
(5) มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก
ตอบ 2 หน้า 34 – 36 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ได้แก่
1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เช่น บริษัทจํากัด ห้างหุ้นส่วนจํากัด
2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
3. กิจการซึ่งดําเนินการเป็นทางค้าหรือหากําไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
4. กิจการร่วมค้า
5. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรี ประกาศกําหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
6. นิติบุคคลที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

52. ใครเป็นผู้มีหน้าที่ชําระภาษีสรรพสามิต
(1) กุมภกรรณประกอบอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ออกจําหน่าย
(2) พิเภกประกอบกิจการร้านนวดแผนโบราณ
(3) อินทรชิตดัดแปลงรถยนต์
(4) อินทรชิตและกุมภกรรณมีหน้าที่ชําระภาษีสรรพสามิต
(5) กุมภกรรณ อินทรชิต และพิเภกมีหน้าที่ชําระภาษีสรรพสามิต
ตอบ 4 หน้า 38 ผู้มีหน้าที่ชําระภาษีสรรพสามิต มีดังนี้
1. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมในสินค้าสรรพสามิต เช่น สุรา เบียร์
2. ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ
3. ผู้นําเข้าสินค้าสรรพสามิต
4. ผู้ดัดแปลงรถยนต์
5. เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน ฯลฯ
(ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ)

53. ข้อใดคือนโยบายงบประมาณในปีงบประมาณปัจจุบัน
(1) งบประมาณเท่าทุน
(2) งบประมาณเกินดุล
(3) งบประมาณเกินตัว
(4) งบประมาณสมดุล
(5) งบประมาณขาดดุล
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ในปีงบประมาณปัจจุบัน คือ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รัฐบาลได้ดําเนินนโยบาย งบประมาณแบบขาดดุล โดยกําหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายจํานวน 3,100,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.26 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

54. ข้อใดที่จัดเป็น “เงินนอกงบประมาณแผ่นดิน”
(1) งบประมาณกรมศุลกากร
(2) งบประมาณกรมสรรพสามิต
(3) งบประมาณกรมสรรพากร
(4) งบประมาณของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(5) เป็นเงินนอกงบประมาณแผ่นดินทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 7, 67 – 68, (คําบรรยาย) เงินนอกงบประมาณ หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่มีมูลค่า ซึ่งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจหามาได้เองด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่ใช่มาจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เป็นเงินที่แยกออกจากความเป็นศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน ซึ่งได้แก่ เงินทุนหมุนเวียน งบประมาณของรัฐวิสาหกิจ (เช่น งบประมาณของ ขสมก.) เงินช่วยเหลือ จากต่างประเทศ เงินกู้ยืมทั้งในและต่างประเทศ งบประมาณของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น (ได้แก่ งบประมาณของ อบต. อบจ. เทศบาล กทม. และเมืองพัทยา) เงินรายได้ของสถาบัน การศึกษา และเงินรายได้ของสถาบันสาธารณสุข

55. เงินได้พึงประเมินหมายถึงเงินได้ของบุคคลที่เกิดขึ้นในระยะเวลาใด
(1) ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 มีนาคม
(2) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 30 กันยายน
(3) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม
(4) ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 31 พฤษภาคม
(5) ระหว่างวันที่ 14 เมษายน – 31 ธันวาคม
ตอบ 3 หน้า 31 เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้ของบุคคลใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคมของปีใด ๆ หรือเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่
1. เงิน
2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน
3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน
4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกําหนด

56. ภาษีรถยนต์นําเข้า มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ฐานรายได้และฐานความมั่งคั่ง
(2) ฐานความมั่งคั่ง
(3) ฐานการบริโภค
(4) ฐานรายได้
(5) ฐานความมั่งคั่งและฐานการบริโภค
ตอบ 3 หน้า 5 – 6, 23, 38 ฐานการบริโภค (Consumption Base) เป็นฐานภาษีที่เก็บจาก การใช้จ่ายเพื่อบริโภคของประชาชน รวมถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่าง ๆ ตัวอย่างภาษีที่จัดเก็บโดยใช้ฐานการบริโภค เช่น ภาษีการขาย ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษี สรรพสามิต (เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ ภาษีน้ำมัน ภาษีเครื่องดื่ม ภาษีไฟ ภาษีน้ําหอม) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสินค้าขาเข้า (เช่น ภาษีรถยนต์นําเข้า) เป็นต้น

57.Value Added Tax จัดเป็นภาษีประเภทใด
(1) ภาษีสรรพสามิตและภาษีสรรพากร
(2) ภาษีทางตรงและภาษีสรรพากร
(3) ภาษีทางอ้อม
(4) ภาษีทางตรง
(5) ภาษีทางอ้อมและภาษีสรรพากร
ตอบ 5 หน้า 19, (คําบรรยาย) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) จัดเป็นภาษีสรรพากร และเป็นภาษีทางอ้อมที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้บริโภคได้โดยการ บวกเพิ่มเข้าไปในสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ดังนั้นผู้แบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงก็คือ ผู้บริโภคสินค้าหรือบริการนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7%

58.Positive Economic เป็นแนวคิดที่ตรงกับข้อใด
(1) Predictive Approach
(2) Neo-Classical Economic
(3) Normative Approach
(4) Optimal Theory
(5) Post New Economic Approach
ตอบ 1 หน้า 1 แนวคิดในการศึกษาการคลังสาธารณะ แบ่งออกเป็น 2 แนว คือ
1. แนวคิดแบบ Predictive Approach หรือ Positive Economic เป็นการใช้ข้อเท็จจริง มาอธิบายสิ่งที่จะทํา เช่น เก็บภาษีมาก อํานาจซื้อจะน้อยลง เป็นต้น
2. แนวคิดแบบ Normative Approach หรือ Optimal Theory เป็นการค้นหากฎเกณฑ์ ที่ทําให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด หรือหาระบบที่ควรจะเป็น เช่น ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ควรปรับระบบภาษีอากรเป็นเช่นไร เป็นต้น

59. ข้อใดเป็น “นโยบายการเงิน”
(1) การขายทอดตลาดสินค้าหนีภาษี
(2) การจัดทํางบประมาณรายจ่ายของรัฐ
(3) การปรับเปลี่ยนอัตราภาษี
(4) การปรับเปลี่ยนอัตราค่าไฟฟ้า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 8, 54, 57, (คําบรรยาย) นโยบายการเงิน (Monetary Policy) หมายถึง นโยบายที่ เกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ทางเศรษฐกิจ เช่น การควบคุม/กํากับอัตราดอกเบี้ย การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท การควบคุม กํากับดูแลสินเชื่อ การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล การออกระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ทางการเงิน เป็นต้น โดยหน่วยงานที่ทําหน้าที่ดูแลนโยบายการเงินก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย

60. สภาวการณ์เศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เรียกว่าอะไร
(1) The Recession
(2) The Great Depression
(3) The Great Crisis
(4) The Great Wall
(5) The Great Storm
ตอบ 2 หน้า 46 – 47 (คําบรรยาย) ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เกิดปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลก หรือที่เรียกว่า The Great Depression ซึ่งทฤษฎีของเคนส์ได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหานี้ โดยการเสนอให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ คือการให้รัฐบาลใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ที่มีอยู่เพื่อเป็นการ ยกระดับอุปสงค์มวลรวม (Aggregate Demand)

61. สินค้าและบริการที่มุ่งเน้นการค้ากําไรซึ่งรัฐเป็นผู้จัดบริการ ควรใช้กลไกตลาดภาครัฐตัวใด
(1) ค่าปรับ
(2) การกู้เงิน
(3) ภาษีและค่าปรับ
(4) ค่าบริการ
(5) ภาษี
ตอบ 4 หน้า 21, 40, (คําบรรยาย) “ค่าธรรมเนียมและค่าบริการ” เป็นกลไกตลาดที่ภาครัฐนํามาใช้ จัดบริการสาธารณะในเชิงพาณิชย์หรือมุ่งเน้นการค้ากําไร เช่น การบริการขนส่ง การบริการด้าน การเงินการธนาคาร เป็นต้น ส่วน “ภาษี” เป็นกลไกตลาดที่ภาครัฐนํามาใช้จัดบริการสาธารณะ แบบแท้หรือบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน เช่น การบริการรักษาความปลอดภัยและความสงบ เรียบร้อยในสังคม การศึกษาขั้นพื้นฐาน การควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

62. ภาษีชนิดใดคํานวณจากยอดภาษีขายหักด้วยยอดภาษีซื้อ
(1) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
(2) ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากร
(3) ภาษีศุลกากร
(4) ภาษีเงินได้
(5) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

63. กําไรจากการขายคริปโตฯ มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ฐานหลักประกัน
(2) ฐานรายได้
(3) ฐานการบริโภค
(4) ฐานความมั่งคั่ง
(5) ฐานความมั่นคง
ตอบ 2 หน้า 5, 22, (คําบรรยาย) ฐานรายได้ (Income Base) เป็นฐานภาษีที่วัดจากความสามารถ ในการเสียภาษี (Ability to Pay) ของประชาชนแต่ละคน โดยพิจารณาจากเงินได้ของบุคคล หรือหน่วยภาษีต่าง ๆ ภาษีที่จัดเก็บโดยใช้ฐานรายได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (กําไร จากการขายคริปโตฯ) ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีหัก ณ ที่จ่าย

64. ใครเป็นผู้แบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง
(1) ผู้จัดจําหน่ายสินค้า
(2) ผู้ขายสินค้า
(3) ผู้ผลิตสินค้า
(4) ผู้ให้บริการ
(5) ผู้บริโภคสินค้า
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ

65. ข้อใดไม่นับว่าเป็นเงิน
(1) ตั๋วแลกเงิน
(2) ศิลปวัตถุ
(3) เหรียญกษาปณ์
(4) เช็ค
(5) บัตรเครดิต
ตอบ 2 หน้า 54 เงิน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจจะอยู่ในหลายรูปแบบ เช่น ธนบัตร
เหรียญกษาปณ์ เช็ค ตั๋วแลกเงิน บัตรเครดิต เป็นต้น

66. บุคคลใดเป็นผู้มีอํานาจอนุมัติในการก่อหนี้สาธารณะ
(1) ปลัดกระทรวงการคลัง
(2) ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
(3) คณะรัฐมนตรี
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(5) นายกรัฐมนตรี
ตอบ 3 (คําบรรยาย) กฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะกําหนดให้กระทรวงการคลังเป็นผู้มีอํานาจ
ในการก่อหนี้สาธารณะหรือค้ําประกันในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยแต่ผู้เดียว โดยอนุมัติ
จากคณะรัฐมนตรี

67. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ
(1) การเป็นเครื่องชี้วัดสถานภาพทางสังคม
(2) การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
(3) การเป็นมาตรฐานการชําระหนี้ในภายหน้า
(4) การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
(5) การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า
ตอบ 1 หน้า 54, (คําบรรยาย) บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2. การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
3. การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า
4. การเป็นมาตรฐานการชําระหนี้ในภายหน้า

68. คุณสมบัติของสินค้าสาธารณะแท้ (Pure Public Goods) ที่ครบถ้วนที่สุดคือข้อใด
(1) ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า แบ่งแยกการบริโภคจากกันได้ และเป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(2) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค แบ่งแยกการบริโภคจากกันไม่ได้ และไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่ม
(3) ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้
(4) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภคและแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้
(5) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

69. สํานักงบประมาณของไทยถือกําเนิดขึ้นในปี พ.ศ. ใด
(1) 2475
(2) 2476
(3) 2496
(4) 2501
(5) 2502
ตอบ 5 หน้า 115 สํานักงบประมาณก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 เป็นหน่วยงาน ที่มีฐานะเทียบเท่ากรมซึ่งสังกัดอยู่ในสํานักนายกรัฐมนตรี และขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

70. รายละเอียดของขั้นตอนในการ “อนุมัติ” งบประมาณ ถูกกําหนดโดย
(1) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534
(2) ข้อบังคับสภาผู้แทนราษฎร
(3) พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ 2561
(4) ข้อบังคับกระทรวงการคลัง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 78, (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ถือเป็นกฎหมาย แม่บทในกระบวนการจัดทํางบประมาณแผ่นดินของไทย ซึ่งจะกําหนดหลักเกณฑ์กว้าง ๆ ในการจัดเตรียมและการควบคุมหรือการบริหารงบประมาณ ส่วนการอนุมัติงบประมาณ จะเป็นไปภายใต้ข้อบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะกําหนดวิธีการกว้าง ๆ ในการพิจารณาอนุมัติของรัฐสภา

71. ในการบริหารงบประมาณ “Apportionment” หมายถึง
(1) ระบบการรายงานผลการใช้จ่ายเงิน
(2) การกําหนดโควตางบประมาณให้กับส่วนราชการ
(3) การแบ่งหน้าที่ในกระบวนการแปรญัตติ
(4) เป็นแผนการใช้จ่ายเงินของแต่ละส่วนราชการ
(5) เงินที่ไปตั้งจ่ายที่คลังจังหวัดในราชการส่วนภูมิภาค
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

72. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับร้อยละเท่าไร
(1) 7.12
(2) 15.26
(3) 18.25
(4) 25.74
(5) 15.28
ตอบ 1 หน้า 52 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 7.12

73. ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงิน
(1) การเก็บภาษีศุลกากร
(2) การควบคุมเงินที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ
(3) การกําหนดอัตราดอกเบี้ย
(4) การควบคุมปริมาณเงิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 55 – 56 เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง ประกอบด้วย 3 เครื่องมือ คือ การควบคุมปริมาณเงิน การกําหนดอัตราดอกเบี้ย และการควบคุมเงิน ที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ

74.จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เป็นนักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยในข้อใด
(1) Harvard
(2) Oxford
(3) Yale
(4) Princeton
(5) Cambridge
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

75. กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้สาธารณะ เรียกว่าอะไร
(1) กฎกระทรวงการคลัง
(2) แนวปฏิบัติทางการคลัง
(3) วินัยทางการคลัง
(4) ความยั่งยืนทางการคลัง
(5) กฎเหล็กทางการคลัง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้สาธารณะ เรียกว่าวินัยทางการคลัง

76. สินค้าในข้อใดต้องเสียภาษีขาออก
(1) ไม้ประดู่
(2) ไม้แขวนเสื้อพลาสติก
(3) ไม้กวาด
(4) ไม้ถูพื้น
(5) ไม้บรรทัด
ตอบ 1 หน้า 37 สินค้าที่ต้องเสียภาษีอากรขาออก มี 2 ประเภทเท่านั้น คือ ไม้ และหนังโค-กระบือ ส่วนสินค้าอื่น ๆ เช่น ไม้แขวนเสื้อ ไม้กวาด ไม้ถูพื้น ไม้บรรทัด เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ฯลฯ ไม่ต้องเสียภาษีอากรขาออก

77. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) ผลิตเหรียญกษาปณ์
(2) บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) ออกธนบัตร
(4) กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 57 – 58 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2485 เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและหน้าที่ ดังนี้
1. ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร
2. กําหนดและดําเนินนโยบายการเงิน เช่น กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ย
3. บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
4. เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล
5. เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน
6. กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
7. บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและสินทรัพย์ในทุนสํารองเงินตรา ฯลฯ

78. คุณสมบัติของสินค้าเอกชนแท้ (Pure Private Goods) ที่ครบถ้วนที่สุดคือข้อใด
(1) ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า
(2) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค และแบ่งแยกการบริโภคจากกันได้
(3) เป็นปรปักษ์ในการบริโภค ไม่สามารถแยกการบริโภคจากกันได้ และไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการผลิตสินค้า
(4) แบ่งแยกการบริโภคจากกันได้ มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า และเป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(5) ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้
ตอบ 4 หน้า 13, (คําบรรยาย) สินค้าเอกชน (Private Goods) หรือสินค้าเอกชนแท้ (Pure Private Goods) เป็นสินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค สามารถแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้ และ มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า ซึ่งได้แก่สินค้าหรือบริการทั่วไปที่ซื้อขายกันตามท้องตลาด เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า อาหาร เป็นต้น

79. ข้อใดไม่ใช่ “รายได้” ของรัฐบาลไทย
(1) รัฐพาณิชย์
(2) ค่าธรรมเนียม
(3) ภาษีและค่าบริการ
(4) ค่าปรับ
(5) การขายหุ้น
ตอบ 5 หน้า 15 – 20, (คําบรรยาย) แหล่งรายรับของรัฐบาลไทย มาจาก 2 ส่วน คือ
1. รายรับที่เป็นรายได้ ได้แก่ ภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ (เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าสัมปทาน ค่าบริการ ค่าเช่าทรัพย์สินของรัฐ ค่าขายของกลางที่ยึด มาจากคดี) รัฐพาณิชย์ และรายได้อื่น ๆ เช่น ค่าแสตมป์ฤชากร ค่าปรับ เป็นต้น
2. รายรับที่ไม่เป็นรายได้ ได้แก่ การกู้เงิน การใช้เงินคงคลัง การขายหุ้น เป็นต้น

80. สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้สังกัดของหน่วยงานใด
(1) กรมธนารักษ์
(2) สํานักงบประมาณ
(3) สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
(4) กรมบัญชีกลาง
(5) กรมสรรพากร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

81.การศึกษาการคลังสาธารณะตามแนว Predictive Approach เป็นอย่างไร
(1) ใช้กฎ ระเบียบ เป็นเครื่องมือทางการคลังสาธารณะ
(2) ใช้ความต้องการสาธารณะเป็นฐานในการตัดสินใจ
(3) ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ควรปรับระบบภาษีอากรเป็นเช่นไร
(4) ใช้ข้อเท็จจริงมาอธิบายสิ่งที่จะทํา เช่น เก็บภาษีมาก อํานาจซื้อจะน้อยลง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

82.ECB เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด
(1) ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(2) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา
(3) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์
(4) ธนาคารกลางแห่งอังกฤษ
(5) ธนาคารกลางแห่งเอเชีย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

83. ข้อใดที่ไม่จัดเป็นเรื่องของระบบงบประมาณแบบ Line-Item Budget
(1) แสดงรายการของการใช้จ่าย
(2) มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความถูกต้องของการใช้จ่าย
(3) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(4) แบ่งแยกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย
(5) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

84. “เงินเฟ้อ” เป็นตัวบ่งชี้ในเรื่องใด
(1) ความเหลื่อมล้ำในสังคม
(2) การรักษาเสถียรภาพ
(3) ขนาดเศรษฐกิจ
(4) ประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากร
(5) การกระจายรายได้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

85. งบประมาณแผ่นดินต้องได้รับการอนุมัติจากประชาชน พิจารณาจาก
(1) การมีส่วนร่วม
(2) ต้องจัดให้สอดคล้องกับแผนจังหวัด
(3) ต้องจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ
(4) ต้องจัดให้มีประชาพิจารณ์
(5) ต้องผ่านการอนุมัติจากสภานิติบัญญัติ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

86. ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าที่ข้ามผ่านเขตแดนประเทศไทย คือภาษีชนิดใด
(1) ภาษีศุลกากร
(2) ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ณ
(3) ภาษีการค้า
(4) ภาษีธุรกิจเฉพาะ
(5) ภาษีสรรพสามิต
ตอบ 1 หน้า 37, (คําบรรยาย) ภาษีศุลกากร คือ ภาษีที่จัดเก็บจากการนําสินค้าเข้าจากต่างประเทศ หรือส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร หรือจัดเก็บจากสินค้าที่ข้ามผ่านเขตแดนประเทศไทย โดยจะจัดเก็บตามราคาหรือร้อยละของมูลค่าสินค้า และจัดเก็บตามสภาพของสินค้า ตามปริมาณ น้ําหนัก ความยาว หรือปริมาตร เป็นต้น

87. การดําเนินนโยบายการเงินไม่มีผลกระทบสืบเนื่องไปยังเรื่องใด
(1) การจ้างงาน
(2) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(3) ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
(4) เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) การดําเนินนโยบายการเงินมีผลกระทบสืบเนื่องไปยังเสถียรภาพ ของระบบเศรษฐกิจ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการจ้างงาน แต่จะไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

88. ลักษณะของระบบงบประมาณแบบ PPBS คือ
(1) ควบคุมความถูกต้องของการใช้จ่าย
(2) แบ่งแยกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย
(3) มีการจัดทําประชาพิจารณ์
(4) ต้องการการติดตามและประเมินผล
(5) เรียกอีกอย่างว่า Performance Budget
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

89. ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปีใด
(1) ปี พ.ศ. 2495
(2) ปี พ.ศ. 2485
(3) ปี พ.ศ. 2490
(4) ปี พ.ศ. 2500
(5) ปี พ.ศ. 2480
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

90. พลเมืองมีสิทธิปฏิเสธการทํางานของรัฐบาลได้หลายวิธี ยกเว้นข้อใด
(1) การเดินขบวนประท้วง
(2) การทําอารยะขัดขืน
(3) การไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
(4) การไม่จ่ายภาษีให้รัฐบาล
(5) การทําลายทรัพย์สินของทางราชการ
ตอบ 5 หน้า 28 ในทางรัฐศาสตร์ รัฐบาลและพลเมืองจะต้องมีจริยธรรมด้วยกันทั้งคู่จึงจะทําให้ การบริหารประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น หากรัฐบาลไม่คํานึงถึงผลประโยชน์ของพลเมืองโดยส่วนรวม พลเมืองย่อมมีสิทธิปฏิเสธการทํางานของรัฐบาล ซึ่งสามารถทําได้หลายวิธี เช่น การไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การไม่จ่ายภาษีให้รัฐบาล การเดินขบวนประท้วง การทําอารยะขัดขืน เป็นต้น

91. ข้อใดที่จัดเป็นลักษณะของ Traditional Budget
(1) จัดทําโครงสร้างแผนงาน
(2) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลัก Muddling Through
(3) Functional Classification
(4) แบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

92. ข้อใดเป็นคํานิยามของพันธบัตรที่ถูกต้อง
(1) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบสองเดือนขึ้นไป
(2) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่ยี่สิบสี่เดือนขึ้นไป
(3) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกินหกเดือน
(4) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบแปดเดือนขึ้นไป
(5) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกินสิบสองเดือน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พันธบัตร คือ เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออก ตั้งแต่สิบสองเดือนขึ้นไป

93. คําในข้อใดหมายถึงนโยบายการเงิน
(1) Financial Policy
(2) Monetary Policy
(3) Money Policy
(4) Public Policy
(5) Fiscal Policy
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

94. ใครเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
(1) บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้ขายสินค้าเป็นอาชีพ และมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
(2) นิติบุคคลผู้ให้บริการเป็นอาชีพ มีรายได้เกินกว่า 1 ล้านบาทต่อปี
(3) บุคคลธรรมดาผู้ขายสินค้าเป็นอาชีพ มียอดขายเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
(4) นิติบุคคลผู้ขายสินค้าเป็นอาชีพ มียอดขายเกินกว่า 1.5 ล้านบาทต่อปี
(5) บุคคลธรรมดาให้บริการจัดส่งสินค้าเป็นอาชีพ มียอดรายรับจากค่าบริการเกินกว่า 1.5 ล้านบาทต่อปี
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

95. ข้อใดไม่ใช่ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ
(1) ตั๋วสัญญาใช้เงิน
(2) ตั๋วเงินคลัง
(3) บัตรเงินฝาก
(4) พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ
(5) พันธบัตร
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ ได้แก่
1. ตั๋วเงินคลัง 2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน 3. พันธบัตร

96. การกํากับดูแลสินเชื่อธุรกิจ เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใด
(1) กระทรวงพาณิชย์
(2) กรมบัญชีกลาง
(3) กระทรวงการคลัง
(4) คณะรัฐมนตรี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

97. สถาบันที่ทําหน้าที่ “จ่ายเงินตามงบประมาณให้กับส่วนราชการต่าง ๆ”
(1) กรมสรรพากร
(2) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน
(3) กรมบัญชีกลาง
(4) สํานักงบประมาณ
(5) ธนาคารแห่งประเทศไทย
ตอบ 3 หน้า 128 เมื่อส่วนราชการต้องการรับเงินงบประมาณของตนเพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน ส่วนราชการจะต้องทําฎีกาขอเบิกเงินตามงบประมาณยื่นต่อกรมบัญชีกลางในกรณีของราชการ ส่วนกลาง และยื่นต่อสํานักงานคลังจังหวัดในกรณีของราชการส่วนภูมิภาค โดยกรมบัญชีกลาง และสํานักงานคลังจังหวัดจะเป็นผู้อนุมัติฎีกาและสั่งจ่ายเงินประจํางวดที่ได้รับอนุมัติแล้วที่เรียกว่า เงินจัดสรร (Budget Allotment) ให้กับส่วนราชการนั้น ๆ เป็นคราว ๆ ไป

98. หน่วยงานใดเป็นผู้กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย
(1) กระทรวงพาณิชย์
(2) ธนาคารกรุงไทย
(3) กระทรวงการคลัง
(4) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(5) คณะกรรมการนโยบายการเงิน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

99. เหตุใดธุรกิจผับ บาร์ คาราโอเกะ จึงเป็นธุรกิจบริการที่สมควรแบกรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ
(1) ฟุ่มเฟือย
(2) ฟุ่มเฟือยและทําให้สุขภาพเสีย
(3) ทําให้สุขภาพเสีย
(4) ได้รับประโยชน์จากกิจการของรัฐ
(5) ทําให้สุขภาพเสีย ขัดศีลธรรม และฟุ่มเฟือย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

100. ทุกข้อเป็นแนวคิดในการจัดสรรทรัพยากรแบบ “เสรีนิยม” ยกเว้น
(1) เสรีภาพในการค้าขาย
(2) ใช้กลไกราคา
(3) ใช้กลไกตลาด
(4) มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ
(5) เสรีภาพในการประกอบอาชีพ
ตอบ 4 หน้า 71, (คําบรรยาย) แนวคิดในการจัดสรรทรัพยากรแบบเสรีนิยม เชื่อว่า เอกชนควรเป็น ผู้จัดสรรทรัพยากรของชาติ ทั้งนี้เพื่อดํารงไว้ซึ่งเสรีภาพส่วนบุคคล สิทธิส่วนบุคคล และความ เป็นธรรมย่อมเกิดขึ้นจากความมีเสรีภาพ ดังนั้นแนวคิดนี้จึงเน้นเสรีภาพในการประกอบอาชีพหรือการค้าขาย โดยอาศัยกลไกตลาดเป็นเครื่องมือวัดความต้องการในการบริโภคสินค้าและ บริการของประชาชน และใช้กลไกราคาเป็นเครื่องมือวัดมูลค่าของสินค้าและบริการ

POL3300 การบริหารการคลัง 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3300 การบริหารการคลัง
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.คําว่า “Budget” ศัพท์ดั้งเดิมหมายถึง
(1) บัญชี
(2) แผน
(3) เงิน
(4) กระเป๋า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4หน้า 63 พจนานุกรมของ “Webster” ให้ความหมายไว้ว่า Budget มาจากคําว่า Boget หรือ Bouget ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า กระเป๋าหนัง ซึ่งเสนาบดีกระทรวงการคลัง ของอังกฤษในสมัยนั้นใช้เป็นที่ใส่เอกสารทางการเงินที่แสดงรายรับและรายจ่ายของรัฐเพื่อแถลงต่อสภา

2. รายละเอียดของขั้นตอนในการ “อนุมัติ” งบประมาณ ถูกกําหนดโดย
(1) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534
(2) พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ 2561
(3) ข้อบังคับกระทรวงการคลัง
(4) พระราชกฤษฎีกา
(5) กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ตอบ 5 หน้า 78, (คําบรรยาย) การอนุมัติงบประมาณจะเป็นไปภายใต้ข้อบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะกําหนดวิธีการกว้าง ๆ ในการพิจารณาอนุมัติของรัฐสภา (ส่วน พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 นั้น ถือเป็นกฎหมายแม่บทในกระบวนการจัดทํางบประมาณแผ่นดินของไทย ซึ่งจะ กําหนดหลักเกณฑ์กว้าง ๆ ในการจัดเตรียมและการควบคุมหรือการบริหารงบประมาณ)

3.ความเชื่อที่ว่า “งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือในการควบคุมและตรวจสอบ…” งบประมาณตาม ความเชื่อนี้หมายถึง
(1) แผนที่แสดงเป้าหมายระยะยาว
(2) บัญชีที่แสดงประเภทของการใช้จ่ายเงิน
(3) แผนของรัฐในรูปตัวเงิน
(4) แผนที่ผ่านการวิเคราะห์ทางการเงิน
(5) เอกสารทางการเงิน
ตอบ 2 หน้า 63, 90 – 91 ในยุคที่มีความเชื่อว่า งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือของฝ่ายนิติบัญญัติ ในการติดตามควบคุมการใช้ทรัพยากร หรือควบคุมตรวจสอบความถูกต้องและความซื่อสัตย์ สุจริตในการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลนั้น งบประมาณแผ่นดินตามความเชื่อนี้จะหมายถึง รายละเอียด ของบัญชีที่แสดงประเภทของการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล หรือรายละเอียดของทรัพยากรที่ หน่วยงานเสนอของบประมาณจากรัฐบาล

4. Free Rider หมายถึงคนกลุ่มใด
(1) คนที่ใช้ประโยชน์จากสินค้าสาธารณะและร่วมจ่ายค่าบริการ
(2) คนที่ไม่ได้รับประโยชน์จากสินค้าสาธารณะ
(3) คนที่ไม่ได้ร่วมใช้ประโยชน์จากสินค้าสาธารณะ
(4) คนที่ร่วมใช้ประโยชน์จากสินค้าสาธารณะ แต่ไม่ร่วมจ่ายค่าบริการ
(5) คนที่ไม่ใช้ประโยชน์จากสินค้าสาธารณะ และไม่จ่ายค่าบริการ
ตอบ 4 หน้า 12 Free Rider หมายถึง คนที่ร่วมใช้ประโยชน์จากสินค้าสาธารณะ แต่ไม่ร่วมจ่ายค่าบริการ

5.ข้อใดคือความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ในต่างประเทศ
(1) ระยะเวลาชําระคืน
(2) ผู้ที่รับภาระหนี้
(3) วงเงิน
(4) อัตราดอกเบี้ย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การก่อหนี้สาธารณะต้องคํานึงถึงผู้ที่รับภาระหนี้ วงเงิน ระยะเวลาชําระคืน และอัตราดอกเบี้ย โดยที่อัตราดอกเบี้ยคือความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับต่างประเทศ เนื่องจากต้องใช้คืนทั้งต้นเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยที่ผันผวนตามค่าเงิน

6. ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าที่ข้ามผ่านเขตแดนประเทศไทย คือภาษีชนิดใด
(1) ภาษีธุรกิจเฉพาะ
(2) ภาษีสรรพสามิต
(3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(4) ภาษีการค้า
(5) ภาษีศุลกากร
ตอบ 5 หน้า 37, (คําบรรยาย) ภาษีศุลกากร คือ ภาษีที่จัดเก็บจากการนําสินค้าเข้าจากต่างประเทศ หรือส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร หรือจัดเก็บจากสินค้าที่ข้ามผ่านเขตแดนประเทศไทย โดยจะจัดเก็บตามราคาหรือร้อยละของมูลค่าสินค้า และจัดเก็บตามสภาพของสินค้า ตามปริมาณ น้ําหนัก ความยาว หรือปริมาตร เป็นต้น

7. คุณสมบัติของสินค้าสาธารณะแท้ (Pure Public Goods) ที่ครบถ้วนที่สุดคือข้อใด
(1) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค แบ่งแยกการบริโภคจากกันไม่ได้ และไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่ม
(2) ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้
(3) ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า แบ่งแยกการบริโภคจากกันได้ และเป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(4) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภคและแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้
(5) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
ตอบ 1 หน้า 11 – 12, 14, (คําบรรยาย) สินค้าหรือบริการสาธารณะ (Public Goods) หรือเรียกว่า สินค้าสาธารณะแท้หรือสินค้าสาธารณะที่สมบูรณ์ (Pure Public Goods) มีคุณสมบัติดังนี้
1. ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค (Non-Rival Consumption) หรือกีดกันไม่ให้ผู้ใดเข้าถึง สินค้าหรือบริการนั้นไม่ได้
2. ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้ (Non-Excludable) หรือไม่สามารถใช้ราคา เป็นเครื่องมือกีดกันผู้อื่นไม่ให้ใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้
3. ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้าหรือบริการ คือ ต้นทุนส่วนเพิ่มเมื่อมีผู้ซื้อสินค้า หรือบริการเพิ่มขึ้นนั้นมีค่าเท่ากับศูนย์ (Zero-Marginal Cost)
ตัวอย่างเช่น ไฟฟ้าหรือโคมไฟบนถนนสาธารณะ แสงไฟจากประภาคารสาธารณะ แม่น้ำ/ลําน้ำสาธารณะ การดําเนินนโยบายต่างประเทศ การดําเนินนโยบายความมั่นคง การทํา ความสะอาดถนนสาธารณะ การควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายหลักสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการ ชิมช้อปใช้ นโยบายป้องกันประเทศจาก COVID เป็นต้น

8.ลักษณะของระบบงบประมาณแบบ Line-Item Budget ได้แก่
(1) มีการแบ่งแยกชนิดของการใช้จ่าย
(2) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(3) มีการวิเคราะห์โครงการ
(4) แบ่งเงินตามนโยบายของรัฐ
(5) มีการวิเคราะห์โครงการและมีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
ตอบ 1 หน้า 87 – 88, 90 – 92, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budget) หรืองบประมาณแบบเก่า (Conventional Budget) หรืองบประมาณแบบประเพณี (Traditional Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ในด้านการควบคุมเพื่อมุ่งตรวจสอบความถูกต้องและความซื่อสัตย์สุจริตของการใช้จ่ายเงินของรัฐ หรือให้ความสําคัญกับความถูกต้องของ “ปัจจัย นําเข้า (Inputs) หรือการจัดสรร “ทรัพยากร” ของงานหรือโครงการ โดยเน้นกฎ ระเบียบ และการควบคุมให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบนั้น หรือให้ความสําคัญกับมาตรฐานของทรัพยากร ที่หน่วยราชการได้ใช้ไป ดังนั้นงบประมาณจึงถูกแบ่งออกตามหน่วยราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ (Agencies Classification หรือ Organizations Classification) โดยเฉพาะในระดับกรม และมีการแบ่งตามประเภทและชนิดของการใช้จ่าย (Objects of Expenditure Classification) โดยพิจารณาจากคู่มือการจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่ายซึ่งแบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น หมวดเงินเดือน หมวดสาธารณูปโภค หมวดครุภัณฑ์ ฯลฯ นอกจากนี้ในการจัดเตรียม งบประมาณก็จะต้องมีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจ (Muddling Through) หรือการวิเคราะห์เฉพาะส่วนที่เพิ่ม (Incrementalism) เป็นเกณฑ์ด้วย

9. นักเศรษฐศาสตร์สํานักใดไม่ยอมรับการก่อหนี้สาธารณะ
(1) เคนส์เซียน
(2) เสรีนิยม
(3) พาณิชย์นิยม
(4) นีโอลิเบอรัล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 46 นักเศรษฐศาสตร์สํานักคลาสสิก (Classical Economist) หรือสํานักเสรีนิยม (Liberalist) มองว่า บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจควรเป็นไปอย่างจํากัด (Minimalist State) คือ รัฐบาลควรใช้จ่ายงบประมาณอย่างจํากัด ดังนั้นการใช้จ่ายเกินตัวของรัฐบาลซึ่งนําไปสู่การก่อหนี้สาธารณะจึงเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์สํานักนี้

10. ในปัจจุบันบุคคลใดดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(1) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(2) นายปรีดี บุญชื่อ
(3) นายปรีดี ดาวฉาย
(5) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
(4) นายปรีดี พนมยงค์
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปัจจุบัน คือ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

11. ส่วนขาดดุลทางการคลังเกิดจากข้อใด
(1) รัฐบาลมีรายจ่ายเท่ากับรายได้
(2) รัฐบาลมีรายได้มากกว่ารายจ่าย
(3) รายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
(4) รัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 45 ส่วนขาดดุลทางการคลัง (Fiscal Deficit) เกิดจากรัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้
ซึ่งรัฐบาลสามารถชดเชยการขาดดุลได้โดยใช้วิธีการก่อหนี้สาธารณะ

12. กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารหนี้สาธารณะคือข้อใด
(1) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2546
(2) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2547
(3) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2545
(4) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548
(5) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2550
ตอบ 4 (คําบรรยาย) กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหาร หนี้สาธารณะ คือ พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งประกาศบังคับใช้ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร

13. สินค้าใดที่ไม่อาจใช้ “กลไกราคา” เป็นเครื่องวัดมูลค่า
(1) ข้าว
(2) สุรา
(3) น้ำมัน
(4) การอํานวยความยุติธรรม
(5) ไฟฟ้า
ตอบ 4 หน้า 66, 71 สินค้าสาธารณะ (Public Goods) คือ สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับ สาธารณูปการสาธารณูปโภคที่มีประโยชน์ต่อคนส่วนรวม ซึ่งรัฐเป็นผู้ดําเนินการโดยอาศัย กฎหมายและรายได้จากภาษีอากรของประชาชน เป็นสินค้าและบริการที่มุ่งอรรถประโยชน์ สูงสุดของระบบเศรษฐกิจ และไม่อาจใช้กลไกราคาเป็นเครื่องวัดมูลค่าได้ เช่น บริการป้องกัน ประเทศ บริการรักษาความสงบภายใน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การอํานวย ความยุติธรรม การควบคุมน้ําท่วม การจัดแสงสว่างในทางเดินสาธารณะ การดําเนินนโยบาย ต่างประเทศ การทําความสะอาดถนนสาธารณะ การควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

14. “แนวคิดเสรีนิยม” เชื่อว่า
(1) ความเสมอภาคเป็นเป้าหมายสําคัญที่สุด
(2) ความเป็นธรรมเกิดจากความมีเสรีภาพ
(3) รัฐควรใช้การวางแผนจากส่วนกลาง
(4) รัฐควรเป็นผู้จัดสรรทรัพยากรของชาติ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 71, (คําบรรยาย) แนวคิดในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ แบ่งออกเป็น 2 แนวคิด คือ
1. แนวคิดสังคมนิยม เชื่อว่า ความเสมอภาคเป็นเป้าหมายสําคัญที่สุด ดังนั้นรัฐควรเป็นผู้จัดสรร ทรัพยากรของชาติเพื่อสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นในสังคม
2. แนวคิดเสรีนิยมหรือประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม เชื่อว่า เอกชนควรเป็นผู้จัดสรรทรัพยากร ของชาติ ทั้งนี้เพื่อดํารงไว้ซึ่งเสรีภาพส่วนบุคคล สิทธิส่วนบุคคล และความเป็นธรรมย่อมเกิดขึ้นจากความมีเสรีภาพ

15.ความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ หรือ FTA มีความเกี่ยวข้องกับภาษีชนิดใด
(1) ภาษีรถยนต์
(2) ภาษีสรรพสามิต
(3) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
(4) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(5) ภาษีศุลกากร
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) เป็นการทําความตกลงทางการค้า ระหว่างประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศ (ทวิภาคี) หรือเป็นกลุ่มประเทศ (พหุภาคี) ที่จะร่วมมือ ขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากรและไม่ใช่ภาษีศุลกากร

16. สนามกีฬากลางของเทศบาลมีผู้ใช้บริการเป็นจํานวนมากในช่วงเช้าและช่วงเย็น สนามกีฬาในช่วงเวลาดังกล่าวจัดเป็นสินค้าประเภทใด
(1) Pure Public Goods
(2) Price–Excludable Public Goods
(3) Common Goods
(4) Club Goods
(5) Pure Private Goods
ตอบ 3 หน้า 13, 40, (คําบรรยาย) สินค้าทั่วไป (Common Goods) หรือสินค้ากึ่งสาธารณะประเภท Congestible Public Goods เป็นสินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภคแต่แบ่งแยกการบริโภคออกจากกันไม่ได้
หรือการเข้ามาของผู้บริโภครายใหม่อาจทําให้ความพึงพอใจของผู้บริโภครายเดิมลดน้อยลง แต่ไม่สามารถกีดกันให้บุคคลอื่นไม่สามารถเข้ามาเป็นผู้บริโภคได้ เช่น สนามหลวง สนามกีฬาแห่งชาติ สนามกีฬากลางของเทศบาล ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ถนนสาธารณะ (เช่น ถนนพระราม 9) ทางด่วน เป็นต้น

17. บุญนิตามีเงินได้สุทธิ 850,150 บาท บุญนิตาต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราเท่าใด
(1) ได้รับการยกเว้น
(2) 25%
(3) 5%
(4) 15%
(5) 20%
ตอบ 5

18. ข้อใดไม่ใช่ “รายได้” ของรัฐบาลไทย
(1) การขายหุ้น
(2) การใช้เงินคงคลัง
(3) ภาษีและค่าบริการ
(4) ค่าปรับ
(5) ค่าธรรมเนียม
ตอบ 1. 2 หน้า 15 – 20, (คําบรรยาย) แหล่งรายรับของรัฐบาลไทย มาจาก 2 ส่วน คือ
1. รายรับที่เป็นรายได้ ได้แก่ ภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ (เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าสัมปทาน ค่าบริการ ค่าเช่าทรัพย์สินของรัฐ ค่าขายของกลางที่ มาจากคดี) รัฐพาณิชย์ และรายได้อื่น ๆ เช่น ค่าแสตมป์ฤชากร ค่าปรับ เป็นต้น
2. รายรับที่ไม่เป็นรายได้ ได้แก่ การกู้เงิน การใช้เงินคงคลัง การขายหุ้น เป็นต้น

19. คุณลักษณะที่สําคัญของงบประมาณแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตย คือ
(1) เป็นตัวแสดงระดับการจัดสรรทรัพยากร
(2) เป็นแผนทางการเงิน
(3) เป็นเครื่องชี้ประสิทธิภาพในการทํางาน
(4) เป็นกลไกรับรองการเป็นรัฐบาล
(5) เป็นกฎหมาย
ตอบ 4 หน้า 64, 82, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินเป็นเงินของประชาชนที่มอบให้กับรัฐบาลในรูปของภาษีอากรและการกู้ยืมเพื่อนําไปใช้ในการบริหารประเทศ ดังนั้นการใช้จ่ายงบประมาณ จึงต้องได้รับการอนุมัติหรือยินยอมจากประชาชนเสียก่อน แต่เนื่องจากการบริหารราชการในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ประชาชนได้มอบอํานาจการตัดสินใจให้กับรัฐสภาไปแล้วงบประมาณแผ่นดินซึ่งการจัดทําเป็นหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะจึงจําเป็นต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาโดยต้องทําเป็นกฎหมายก่อนที่จะนําไปใช้ เพราะถ้างบประมาณไม่ได้รับ การรับรองจากสภา รัฐบาลก็จะบริหารประเทศต่อไปไม่ได้ ดังนั้นจึงถือว่างบประมาณเป็น เครื่องมือ เงื่อนไข หรือกลไกรับรองการเป็นรัฐบาลหรือการจัดตั้งรัฐบาลในประเทศที่ปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

20. ข้อใดที่ไม่จัดเป็นความหมายของงบประมาณ
(1) โครงการทางสังคม
(2) ประมาณการรายรับ-รายจ่าย
(3) แผนเพื่อให้เกิดความสําเร็จของโครงการ
(4) บัญชีแสดงการรับจ่ายเงิน
(5) แผนทางการเงิน
ตอบ 1 หน้า 63 – 64, (คําบรรยาย) ความหมายของงบประมาณแผ่นดิน มีดังนี้
1. หลักฐานทางการเงินของรัฐที่แสดงประมาณการของรายได้ (รายรับ) และรายจ่าย ในอนาคตที่มีช่วงระยะเวลาที่แน่นอน
2. บัญชีหรือเอกสารทางการเงินที่แสดง รายรับรายจ่ายเงินของแผ่นดิน
3. กฎหมายที่ว่าด้วยประมาณการรายรับรายจ่าย
4. กฎหมายที่ระบุให้ส่วนราชการใช้จ่ายเงินได้ในกิจกรรมต่าง ๆ ไม่เกินจํานวนและ รายการที่กําหนด
5. แผนทางการเงินของแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่แน่นอน
6. แผนเพื่อให้เกิดความสําเร็จของโครงการ ซึ่งเกี่ยวพันกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ภายในช่วงระยะเวลาที่กําหนดไว้ ฯลฯ

21. ไฟฟ้าบนถนนสาธารณะจัดเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าในตัวเลือกข้อใดต่อไปนี้
(1) คลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ และนโยบายความมั่นคง
(2) นโยบายความมั่นคง และนโยบายต่างประเทศ
(3) รถโดยสารสาธารณะ และโรงพยาบาล
(4) ทางด่วนขั้นที่ 1 และทางหลวงแผ่นดิน
(5) การประปาส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

22. ข้อใดไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ
(1) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
(2) หนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์
(3) หนี้ของรัฐบาล
(4) หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 45, 50, (คําบรรยาย) หนี้สาธารณะ ได้แก่
1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศ
2. หนี้ของรัฐวิสาหกิจ (ไม่เป็นสถาบันการเงิน) ที่รัฐบาลค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน
3. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน
4. หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
5. หนี้ของหน่วยงานอื่นของรัฐ

23.ณ สิ้นเดือนเมษายน 2560 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยอยู่ที่ประมาณร้อยละเท่าไร
(1) 60
(2) 40
(3) 10
(4) 20
(5) 15
ตอบ 2 หน้า 51 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน เมษายน 2560 มีจํานวน 6,267,920.88 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.64 ของ GDP

24. ข้อใดไม่ใช่ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ
(1) พันธบัตร
(2) บัตรเงินฝาก
(3) ตั๋วสัญญาใช้เงิน
(4) ตั๋วเงินคลัง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ ได้แก่
1. ตั๋วเงินคลัง 2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน 3. พันธบัตร

25. ในปัจจุบันบุคคลใดดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง
(1) นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(2) นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ
(3) นายวิรไท สันติประภพ
(4) นายสมชัย สัจจพงษ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ปลัดกระทรวงการคลังในปัจจุบัน คือ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

26. สินค้าชนิดใดไม่ต้องเสียอากรขาออก
(1) หนังโค
(2) ไม้
(3) หนังกระบือ
(4) หนังควาย
(5) ไม้แขวนเสื้อ
ตอบ 5 หน้า 37 สินค้าที่ต้องเสียอากรขาออก มี 2 ประเภทเท่านั้น คือ ไม้ และหนังโค-กระบือ ส่วนสินค้าอื่น ๆ เช่น ไม้แขวนเสื้อ เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ฯลฯ ไม่ต้องเสียอากรขาออก

27. ข้อใดที่จัดเป็นลักษณะของ Line-Item Budget
(1) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลัก Muddling Through
(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามนโยบายของรัฐ
(3) ให้ความสําคัญที่ประสิทธิภาพของโครงการ
(4) แบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงสร้างแผนงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

28. คุณสมบัติของสินค้าเอกชนแท้ (Pure Private Goods) ที่ครบถ้วนที่สุดคือข้อใด
(1) เป็นปรปักษ์ในการบริโภค ไม่สามารถแยกการบริโภคจากกันได้ และไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการผลิตสินค้า
(2) แบ่งแยกการบริโภคจากกันได้ มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า และเป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(3) ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า
(4) ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้
(5) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค และแบ่งแยกการบริโภคจากกันได้
ตอบ 2 หน้า 13, (คําบรรยาย) สินค้าเอกชน (Private Goods) หรือสินค้าเอกชนแท้ (Pure Private Goods) เป็นสินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค สามารถแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้ และ มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า ซึ่งได้แก่สินค้าหรือบริการทั่วไปที่ซื้อขายกันตามท้องตลาด เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า อาหาร เป็นต้น

29. เงินที่ไม่อยู่ใน “ศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน” ได้แก่
(1) เงินกู้ยืมจากต่างประเทศ
(2) งบประมาณ อบต.
(3) งบประมาณมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(4) งบประมาณ อบต. และเงินกู้ยืมจากต่างประเทศ
(5) ไม่อยู่ในหลัก “ศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน” ทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 7, 67 – 68, (คําบรรยาย) เงินนอกงบประมาณ หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่มีมูลค่า ซึ่งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจหามาได้เองด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่ใช่มาจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เป็นเงินที่แยกออกจากความเป็นศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน ซึ่งได้แก่ เงินทุนหมุนเวียน งบประมาณของรัฐวิสาหกิจ (เช่น งบประมาณของ ขสมก.) เงินช่วยเหลือ จากต่างประเทศ เงินกู้ยืมทั้งในและต่างประเทศ งบประมาณของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น (ได้แก่ งบประมาณของ อบต. อบจ. เทศบาล กทม. และเมืองพัทยา) เงินรายได้ของสถาบัน การศึกษา และเงินรายได้ของสถาบันสาธารณสุข

30. กิจกรรมใดที่ให้ความสําคัญกับ “ทรัพยากร” ของงานหรือโครงการ
(1) การจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(2) การวิเคราะห์โครงการ
(3) การขอเงินประจํางวด
(4) การจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

31. ใครต่อไปนี้มีหน้าที่ต้องยื่นคําขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. บุญฤทธิ์เป็นเจ้าของร้านขายยา มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 154,000 บาท
2. บุญเหลือมีรายได้จากการขายประกันภัยโควิดในปีนี้ 1,900,000 บาท
3. บุญล้นเป็นผู้นําเข้าหน้ากากอนามัยจากประเทศจีนมาขายในประเทศไทย มีรายได้จากการขาย หน้ากากอนามัยในปีนี้ 2,400,000 บาท
4. บุญรัตน์เป็นผู้ประกอบกิจการโรงแรม ในปีนี้มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 50,000 บาท
(1) บุญฤทธิ์และบุญล้น
(2) บุญฤทธิ์และบุญรัตน์
(3) บุญล้น บุญเหลือ และบุญรัตน์
(4) บุญล้น บุญเหลือ และบุญฤทธิ์
(5) ทุกคนมีหน้าที่ต้องยื่นคําขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
ตอบ 4 หน้า 36 ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่ขายสินค้าหรือบริการเป็นอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคคล ซึ่งมีรายได้หรือยอดขายเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี (150,000 บาทต่อเดือน) โดยต้องยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และคํานวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ และต้องชําระภาษีเป็นรายเดือน โดยยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

32. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของ “งบประมาณ” ไว้ว่า…….
(1) โครงการที่แสดงรายการการใช้จ่ายเงิน
(2) บัญชีที่รวมกะกําหนดรายรับรายจ่าย
(3) ประมาณการรายจ่ายประจํา
(4) แผนที่แสดงประมาณการของรายได้และการใช้จ่าย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 63 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของ “งบประมาณ” ว่าหมายถึง บัญชีหรือจํานวนเงินที่รวมกะกําหนดรายรับรายจ่ายเพื่อรายการและวัตถุประสงค์ต่าง ๆ

33. บทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดในพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ที่กําหนดขีดจํากัดของการก่อหนี้สาธารณะสําหรับประเทศไทย
(1) มาตรา 9
(2) มาตรา 8 ทวี
(3) มาตรา 9 ทวี
(4) มาตรา 8
(5) มาตรา 9 ตรี
ตอบ 3 หน้า 48 บทบัญญัติในมาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ได้กําหนดขีดจํากัดของการก่อหนี้สาธารณะสําหรับประเทศไทยไว้ว่า การกู้เงินในปีงบประมาณจะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของจํานวนเงินงบประมาณรายจ่ายและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมหรือของจํานวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วกับอีกร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สําหรับชําระคืนต้นเงินกู้

34. ลักษณะสําคัญของระบบ PPBS
(1) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(2) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(3) สนใจประสิทธิภาพ
(4) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลักการวิเคราะห์เฉพาะส่วนเพิ่ม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 93 – 94, 97, 101 – 102, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ (Planning Programming Budgeting System : PPBS) เป็นระบบงบประมาณที่ ในด้านการวางแผนวางโครงการโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ระยะยาว ระบบงบประมาณแบบนี้ จะมีการวางแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายและตั้งวงเงินงบประมาณตามแต่ละแผนงาน มีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจผสมกับหลักเหตุผล (Limited Rationality หรือ Mixed Scanning) มีการแบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงสร้างแผนงาน หรือโครงการ (Program Structure) มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ในการวิเคราะห์โครงการเพื่อศึกษาถึงโครงสร้างแผนงานหรือโครงการที่จัดทําว่ามีความสัมพันธ์กับ โครงการใด ๆ บ้าง มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างนโยบายสาธารณะ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการวางแผนวางโครงการของหน่วยงานมีการกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ของแผนงานหรือโครงการเพื่อการติดตามประเมินผล และที่สําคัญระบบนี้จะต้องมีการจัดทําแผนงานและแผนทางการเงินระยะยาว (อาจเป็น 3 ปี หรือ 5 ปี) เพื่อประกอบการจัดทําโครงการด้วย

35. ข้อใดเป็นตัวบ่งชี้ “ประสิทธิภาพ”
(1) ผลผลิตและต้นทุน
(2) ประโยชน์และต้นทุน
(3) พอใจ ต้นทุนและผลผลิต
(4) ถูกต้องเชื่อถือได้และผลผลิต
(5) ระยะเวลาแน่นอน ผลผลิตและแผนงาน
ตอบ 1 หน้า 68 – 69, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของงบประมาณนั้นจะมีการมอง ในแง่ของความประหยัดหรือความคุ้มค่า โดยเน้นการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานกับ ต้นทุนหรืองบประมาณที่ใช้ เช่น ผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วยเงินลงทุนที่เท่าเดิม ส่วนประสิทธิผล (Effectiveness) ของงบประมาณจะมีการมองในแง่ของการบรรลุเป้าหมายหรือผลเป็นไป ตามที่กําหนด โดยเน้นการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานกับแผนงานหรือเป้าหมายที่วางไว้

36. “เงินได้ที่จ่ายจากประเทศไทย” เป็นฐานภาษีของภาษีชนิดใด
(1) ภาษีศุลกากร
(2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(4) ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(5) ภาษีสรรพสามิต
ตอบ 3 หน้า 34 ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีที่จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยทั่วไปฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ กําไรสุทธิ แต่เพื่อความเป็นธรรมแก่นิติบุคคล และอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษี จึงได้มีการบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกัน ออกไปตามลักษณะของรายได้ เช่น จากกําไรสุทธิ จากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย จากเงินได้ ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย จากการจําหน่ายเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย เป็นต้น

37. กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้สาธารณะ เรียกว่าอะไร
(1) กฎกระทรวงการคลัง
(2) ความยั่งยืนทางการคลัง
(3) วินัยทางการคลัง
(4) กฎเหล็กทางการคลัง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้
สาธารณะ เรียกว่า วินัยทางการคลัง

38. ข้อใดเป็นคํานิยามของพันธบัตรที่ถูกต้อง
(1) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบสองเดือนขึ้นไป
(2) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกินสิบสองเดือน
(3) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบแปดเดือนขึ้นไป
(4) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่ยี่สิบสี่เดือนขึ้นไป
(5) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกินหกเดือน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พันธบัตร คือ เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออก ตั้งแต่สิบสองเดือนขึ้นไป

39. ปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลกในช่วงทศวรรษ 1930 เรียกว่าอะไร
(1) The Great Storm
(2) The Great Depression
(3) Hamburger Crisis
(4) Crisis
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 46 – 47, (คําบรรยาย) ในช่วงทศวรรษ 1930 เกิดปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลก หรือที่เรียกว่า The Great Depression ซึ่งทฤษฎีของเคนส์ได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหานี้ โดยการเสนอให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ คือการให้รัฐบาลใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ที่มีอยู่เพื่อเป็นการ ยกระดับอุปสงค์มวลรวม (Aggregate Demand)

40. คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะประกอบด้วยกรรมการจํานวนทั้งสิ้นที่ตําแหน่ง
(1) 9
(2) 10
(3) 11
(4) 12
(5) 13
ตอบ 5 หน้า 50, (คําบรรยาย) คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ ประกอบด้วยกรรมการจํานวนทั้งสิ้น 13 ตําแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเป็นรองประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ผู้อํานวยการ สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้อํานวยการสํานักงานบริหาร หนี้สาธารณะ และกรรมการผู้คุณวุฒิ 3 ตําแหน่ง

41. สินค้าที่ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค และแยกการบริโภคออกจากกันได้ จัดเป็นสินค้าประเภทใด
(1) สินค้าสาธารณะ
(2) สินค้าอุตสาหกรรม
(3) สินค้าสโมสร
(4) สินค้าเอกชน
(5) สินค้าอุปโภคบริโภค
ตอบ 3

42. พันธบัตรรุ่นล่าสุดที่รัฐบาลออกจําหน่ายแก่ประชาชนมีชื่อว่าอะไร
(1) ออมไปด้วยกัน
(2) ไทยชนะ
(3) คนละครึ่ง
(4) ไทยช่วยไทย
(5) เราไม่ทิ้งกัน
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) พันธบัตรรุ่นล่าสุดที่รัฐบาลออกจําหน่ายแก่ประชาชน คือ พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่น “ออมไปด้วยกัน” ซึ่งจําหน่ายในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564

43. ใครเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
(1) บุคคลธรรมดาผู้ขายสินค้าเป็นอาชีพ มียอดขายเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี
(2) นิติบุคคลผู้ให้บริการเป็นอาชีพ มีรายได้เกินกว่า 1,000,000 บาทต่อปี
(3) บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้ขายสินค้าเป็นอาชีพ และมีรายได้เกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี
(4) นิติบุคคลผู้ขายสินค้าเป็นอาชีพ มียอดขายเกินกว่า 150,000 บาทต่อปี
(5) บุคคลธรรมดาให้บริการจัดส่งสินค้าเป็นอาชีพ มียอดรายรับจากค่าบริการเกินกว่า 150,000 บาทต่อปี ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

44. งบประมาณแผ่นดินต่างกับงบประมาณเอกชนในเรื่องใด
(1) การเป็นแผนทางการเงิน
(2) การวิเคราะห์โครงการ
(3) การอนุมัติ
(4) เครื่องมือในการบริหาร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3หน้า 63 – 66, (คําบรรยาย) คุณสมบัติหรือลักษณะสําคัญของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งแตกต่างจากงบประมาณเอกชน มีดังนี้
1. เป็นกฎหมายทางการเงิน กล่าวคือ มีการตราเป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งกําหนดว่าให้ใช้จ่ายเงินได้ ไม่เกินจํานวนที่กําหนด แต่ในทางปฏิบัติรายจ่ายจริงอาจมีน้อยกว่ารายจ่ายที่กฎหมายงบประมาณกําหนดไว้ก็ได้
2. เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับต่อประชาชนทุกคนในชาติ
3. วิธีการจัดหารายได้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดเก็บภาษีอากรและการก่อหนี้สาธารณะ
4. คํานึงถึงความพึงพอใจของประชาชนเป็นแรงจูงใจในการจัดทํางบประมาณ
5. การกําหนดรายรับ มีรายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับ
6. มีกระบวนการจัดทํางบประมาณที่มีลักษณะกระจายอํานาจ
7. ลักษณะการเป็นเจ้าของ โดยมีประชาชนเป็นเจ้าของกิจการที่แท้จริง
8. มีการอนุมัติงบประมาณโดยรัฐสภา
9. การควบคุมหรือการบริหารงบประมาณจะถูกควบคุมร่วมกันทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ

45. ลักษณะสําคัญของ Program Budget
(1) แบ่งแยกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย
(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(3) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(4) มีการวิเคราะห์โครงการ
(5) มุ่งการบรรลุเป้าหมายของนโยบาย
ตอบ 4 หน้า 92 – 93, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบโครงการ (Program Budget) หรืองบประมาณ แบบแสดงผลงาน (Performance Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ในหลักประสิทธิภาพ กล่าวคือ เป็นระบบงบประมาณที่เน้นการควบคุมประสิทธิภาพของการใช้จ่าย หรือให้ความสําคัญกับ ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร ทั้งนี้ก็เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์อย่างประหยัด นอกจากนี้ ยังให้ความสําคัญกับผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ของงานหรือโครงการในแต่ละปี โดยจะมีการแบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงการหรือตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล (Objectives Classification) หรือตามหน้าที่ของรัฐ (Functional Classification) มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) หรือวิเคราะห์ประสิทธิภาพของโครงการหรือประสิทธิภาพของการใช้เงิน และมีการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณโดยอาศัยหลักของเหตุผล (Pure Rationality) เป็นสําคัญ

46. หากนักศึกษาเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และไม่มีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร นักศึกษาต้องเลือก เดินเข้าประเทศผ่านช่องทางใด
(1) Red Line
(2) Blue Line
(3) Black Line
(4) Pink Line
(5) Green Line
ตอบ 5 (คําบรรยาย) กรณีนักศึกษาเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ
1. หากมีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร ให้เดินเข้าประเทศผ่านช่อง Red Line
2. หากไม่มีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร ให้เดินเข้าประเทศผ่านช่อง Green Line

47. สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้สังกัดของหน่วยงานใด
(1) สํานักนายกรัฐมนตรี
(2) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
(3) สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(5) ไม่สังกัดหน่วยงานใด
(4) สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ตอบ 4 หน้า 48 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 อยู่ภายใต้สังกัดของสํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดําเนินการเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การผูกพันหนี้ การบริหารหนี้ และการชําระหนี้ ในประเทศและต่างประเทศของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งที่ค้ําประกันและไม่ค้ําประกัน

48. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับร้อยละเท่าไร
(1) 15.26
(2) 7.12
(3) 25.74
(4) 18.25
(5) 15.28
ตอบ 2 หน้า 52 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 7.12

49. บริการของรัฐที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางบวกต่อสังคมควรมีแนวทางกําหนดอัตราค่าบริการอย่างไร
(1) กําหนดอัตราค่าบริการต่ํากว่าต้นทุนทางบัญชี
(2) กําหนดอัตราค่าบริการสูงกว่าต้นทุนทางบัญชี
(3) กําหนดอัตราค่าบริการตามหลักสวัสดิการ
(4) กําหนดอัตราค่าบริการเท่ากับต้นทุนทางบัญชี
(5) กําหนดอัตราค่าบริการตามกลไกตลาด
ตอบ 1 หน้า 42, (คําบรรยาย) กรณีการจัดบริการของรัฐก่อให้เกิดผลกระทบทางบวกต่อสังคม รัฐควรกําหนดอัตราค่าบริการต่ํากว่าต้นทุนทางบัญชีและจัดสรรเงินอุดหนุนชดเชยส่วนที่ขาดทุน แต่ถ้าการจัดบริการของรัฐก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสังคม รัฐควรกําหนดอัตราค่าบริการสูงกว่า ต้นทุนทางบัญชีและนําเงินส่วนที่ต่างไปอุดหนุนชดเชยผู้ที่ได้รับความเสียหาย

50. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทยเป็นภาษีที่มีโครงสร้างอัตราภาษีเป็นแบบใด
(1) Progressive
(2) Regressive
(3) Proportional
(4) Regression
(5) Retention
ตอบ 1 หน้า 30, (คําบรรยาย) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามกฎหมายและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กําหนด โดยปกติประเทศไทยจะมีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นรายปีโดยใช้อัตราภาษี แบบก้าวหน้า (Progressive Tax Rate)

51. “ความพยายามที่จะเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนในการดําเนินงาน และผลงานที่ได้รับ
คือข้อใด
(1) การวิเคราะห์ทางนโยบาย
(2) การวิเคราะห์โครงการ
(3) การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์
(4) การวิเคราะห์ระบบ
(5) การวิเคราะห์ผลผลิต
ตอบ 3 หน้า 89 – 90, 92 – 93 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Analysis) เป็นการ วิเคราะห์ในเชิงเศรษฐกิจที่พยายามเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนในการดําเนินงาน กับผลงานที่ได้รับ ซึ่งเทคนิคนี้เป็นวิธีการที่ใช้ในการจัดทํางบประมาณแบบที่ในประสิทธิภาพ ของการบริหาร หรือเรียกว่างบประมาณแบบโครงการ (Program Budget) หรืองบประมาณ แบบแสดงผลงาน (Performance Budget)

52. ข้อใดคือลักษณะที่สําคัญที่สุดของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายทางการเงิน
(1) หลีกเลี่ยงการแทรกแซงตลาดการเงิน
(2) มีอิสระจากฝ่ายการเมือง
(3) รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสีย
(4) มีอํานาจเด็ดขาด
(5) มุ่งหากําไรสูงสุด
ตอบ 2 หน้า 55 ลักษณะที่สําคัญที่สุดของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายทางการเงิน คือ มีอิสระ จากฝ่ายการเมือง เนื่องจากการดําเนินนโยบายทางการเงินนั้นมีเป้าหมายที่จะรักษาเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจเป็นสําคัญ ดังนั้นการดําเนินนโยบายโดยหน่วยงานที่มีอิสระจากฝ่ายการเมืองย่อมจะเป็นผลดีต่อการบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินมากกว่าการดําเนินนโยบายโดยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง

53. ภาษีชนิดใดต่อไปนี้ไม่เป็นกลาง
(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) ภาษีศุลกากร
(3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(4) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(5) ภาษีสรรพสามิต
ตอบ 5 หน้า 38, (คําบรรยาย) ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผล สมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ขัดต่อ ศีลธรรมอันดีงาม มีลักษณะเป็นสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือย หรือได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษ จากกิจการของรัฐ ดังนั้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจึงไม่เป็นกลางตามหลักการภาษีที่ดี ทั้งนี้ เพราะเป็นการจัดเก็บภาษีที่ต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนหรือจํากัด การบริโภคของประชาชนให้น้อยลง ตัวอย่างสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต เช่น สุรา ยาสูบ ไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม เรือ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน น้ําหอม เจลแอลกอฮอลล์ สนามกอล์ฟ สนามแข่งม้า ไนท์คลับและดิสโก้เธค เป็นต้น

54. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ
(1) การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
(2) การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า
(3) การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
(4) การเป็นเครื่องชี้วัดสถานภาพทางสังคม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 54 บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ คือ
1. การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2. การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
3. การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า

55. ภาษีโรงงาน มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ฐานความมั่งคั่ง
(2) ฐานการบริโภค
(3) ฐานรายได้
(4) ฐานความมั่งคั่งและฐานการบริโภค
(5) ฐานรายได้ ฐานความมั่งคั่ง และฐานการบริโภค
ตอบ 1 หน้า 6, 23, (คําบรรยาย) ฐานความมั่งคั่ง (Wealth Base) เป็นฐานภาษีที่พิจารณาจาก รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินที่บุคคลได้ครอบครองอยู่ ตัวอย่างภาษีที่จัดเก็บ โดยใช้ฐานความมั่งคั่ง เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีโรงแรม ภาษีโรงงาน ภาษีป้าย ภาษีรถยนต์ ภาษีมรดก ภาษีดอกเบี้ย เป็นต้น

56. “เงินได้สุทธิ” คํานวณได้จากข้อใด
(1) เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย
(2) (เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย) – ค่าลดหย่อน
(3) (เงินได้พึงประเมิน + ค่าใช้จ่าย) – ค่าลดหย่อน
(4) เงินได้พึงประเมิน – ค่าลดหย่อน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เงินได้สุทธิ เป็นฐานภาษีสําหรับคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งมีสูตร ในการคํานวณ คือ (เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย) – ค่าลดหย่อน

57. ความต้องการถือเงินของภาคครัวเรือน เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากข้อใด
(1) ความต้องการจับจ่ายใช้สอย
(2) การสร้างหลักประกันในการดําเนินชีวิต
(3) การสร้างความมั่นคง
(4) ผิดทุกข้อ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 54 เงินเป็นสิ่งสําคัญและมีบทบาทอย่างสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจาก
ลักษณะของการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนของเงินนั่นเอง ซึ่งทําให้ภาคครัวเรือน เกิดความต้องการถือเงินเมื่อมีความต้องการจับจ่ายใช้สอย

58.VAT จัดเป็นภาษีประเภทใด
(1) ภาษีทางอ้อม
(2) ภาษีทางตรงและภาษีสรรพากร
(3) ภาษีสรรพสามิตและภาษีสรรพากร
(4) ภาษีทางตรง
(5) ภาษีทางอ้อมและภาษีสรรพากร
ตอบ 5 หน้า 19, (คําบรรยาย) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) จัดเป็นภาษีสรรพากรและเป็นภาษีทางอ้อมที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้บริโภคได้โดย การบวกเพิ่มเข้าไปในสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ดังนั้นผู้แบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงก็คือ ผู้บริโภคสินค้าหรือบริการนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7%

59. เหตุใดสุราจึงเป็นสินค้าที่สมควรแบกรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ
(1) ขัดต่อศีลธรรมอันดีงามและฟุ่มเฟือย
(2) ทําให้สุขภาพเสีย
(3) ฟุ่มเฟือยและทําให้สุขภาพเสีย
(4) ฟุ่มเฟือย
(5) ทําให้สุขภาพเสีย ขัดศีลธรรม และฟุ่มเฟือย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

60. ที่เรียกว่า “Budget Documents” หมายถึง
(1) ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี
(2) ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี และตารางรายรับรายจ่ายเปรียบเทียบ
(3) ใบสําคัญคู่จ่าย
(4) ตารางรายรับรายจ่ายเปรียบเทียบ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 81 – 82 เอกสารงบประมาณประจําปี (Budget Documents) ของไทยมีส่วนประกอบดังนี้
1. คําแถลงประกอบงบประมาณแสดงฐานะและนโยบายทางการคลังและการเงินของประเทศ
2. ตารางแสดงรายรับรายจ่ายเปรียบเทียบ
3. รายละเอียดของหน่วยงาน โครงการ และงานต่าง ๆ ของราชการและรัฐวิสาหกิจ
4. รายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของรัฐวิสาหกิจ
5. รายละเอียดเกี่ยวกับหนี้สินของรัฐบาล
6. ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี

61. สินค้าและบริการในเชิงพาณิชย์ที่รัฐเป็นผู้จัดบริการ ควรใช้กลไกตลาดภาครัฐตัวใด
(1) ภาษี
(2) ค่าบริการ
(3) การกู้เงิน
(4) ค่าปรับ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 21, 40, (คําบรรยาย) “ค่าธรรมเนียมและค่าบริการ” เป็นกลไกตลาดที่ภาครัฐนํามาใช้ จัดบริการสาธารณะในเชิงพาณิชย์ เช่น การบริการขนส่ง การบริการด้านการเงินการธนาคาร เป็นต้น ส่วน “ภาษี” เป็นกลไกตลาดที่ภาครัฐนํามาใช้จัดบริการสาธารณะแบบแท้หรือบริการ สาธารณะขั้นพื้นฐาน เช่น การบริการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในสังคม การศึกษาขั้นพื้นฐาน การควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

62. ในระดับการกําหนดยอดวงเงินของงบประมาณแบบแสดงรายการ การตัดสินใจจะใช้วิธีการใด
(1) Mix Scannign
(2) State of Law
(3) Muddling Through
(5) Pure Rationality
(4) Systems Approach
ตอบ 3 หน้า 87 – 88, 91 การกําหนดยอดวงเงินของงบประมาณแบบแสดงรายการ จะใช้ การตัดสินใจโดยอาศัยหลักความพึงพอใจ (Muddling Through) หรือการวิเคราะห์ เฉพาะส่วนที่เพิ่ม (Incrementalism) ซึ่งเป็นการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณโดยอาศัย การต่อรองระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ (Political Bargaining) และสิ่งที่จะนํามาพิจารณา ตัดสินใจกันก็จํากัดอยู่แต่เฉพาะโครงการใหม่ งานใหม่ หรือพิจารณาแต่ส่วนที่เพิ่มขึ้นของ วงเงินงบประมาณจากปีที่ผ่านมา โดยดูว่าส่วนเพิ่มนั้นเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่อย่างไร และจะจัดสรรอย่างไรสังคมจึงจะยอมรับร่วมกัน (ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ)

63.FED เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด
(1) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา
(2) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์
(3) ธนาคารกลางแห่งแอฟริกา
(4) ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(5) ธนาคารกลางแห่งฝรั่งเศส
ตอบ 1 หน้า 55 ในปัจจุบันธนาคารกลางที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ได้แก่ ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(European Central Bank : ECB) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve Bank : FED) เป็นต้น

64.ระยะเวลาของการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณ เรียกว่า
(1) เงินประจํางวด
(2) ปีงบประมาณ
(3) วงจรงบประมาณ
(4) ปีงบประมาณ หรือปีปฏิทิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 68, (คําบรรยาย) ระยะเวลาของการบริหารหรือการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณ เรียกว่า “ปีงบประมาณ” หรือ “ปีคลัง” (Fiscal Year) ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีระยะเวลา ที่แน่นอน โดยอาจเป็น 6 เดือน 1 ปี (12 เดือน) หรือ 2 ปี (24 เดือน) ก็ได้ แต่จะต้อง เป็นเช่นนั้นทุก ๆ ปี และจะเริ่มต้นในเดือนใดก็ได้ เช่น ปีงบประมาณของไทยมีระยะเวลา 12 เดือน เริ่มต้นจากวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี และไปสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายนของ ปีถัดไป โดยใช้ชื่อปีถัดไปเป็นชื่อปีงบประมาณ (เช่น ปีงบประมาณ 2565 จะเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2564 และสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565)

65. ตัวอย่างของงบประมาณที่เน้นที่ความถูกต้องของการใช้จ่ายเงิน
(1) Program Budget
(2) Line-Item Budget
(3) PPBS
(4) Performance Budget
(5) Program Budget as Performance Budget
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

66. ใครเป็นผู้แบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง
(1) ผู้จัดจําหน่ายสินค้า
(2) ผู้โกงสินค้า
(3) ผู้ขายสินค้า
(4) ผู้บริโภคสินค้า
(5) ผู้ผลิตสินค้า
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

67. การวิเคราะห์งบประมาณเป็นกิจกรรมที่อยู่ในขั้นตอนใดของกระบวนการงบประมาณ
(1) การจัดเตรียม
(2) การบริหาร
(3) การอนุมัติ
(4) การควบคุม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 115 – 116 ในการจัดเตรียมงบประมาณนั้น จะมีการจัดทํารายละเอียดของงบประมาณ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนที่สําคัญ 3 ขั้นตอน คือ
1. เจ้าหน้าที่สํานักงบประมาณพิจารณาวิเคราะห์งบประมาณร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. สํานักงบประมาณเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ พร้อมด้วยเอกสารงบประมาณต่อคณะรัฐมนตรี
3. นายกรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจําปี พร้อมด้วยเอกสารงบประมาณ ต่อรัฐสภา

68. ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงิน
(1) การเก็บภาษีศุลกากร
(2) การกําหนดอัตราดอกเบี้ย
(3) การควบคุมเงินที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ
(4) การควบคุมปริมาณเงิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 55 – 56 เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง ประกอบด้วย 3 เครื่องมือ คือ การควบคุมปริมาณเงิน การกําหนดอัตราดอกเบี้ย และการควบคุมเงิน ที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ

69. ภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ได้จัดเก็บจากกลุ่มใดต่อไปนี้
(1) องค์การของรัฐบาลต่างประเทศที่ดําเนินการทางการค้า
(2) กิจการร่วมค้า
(3) บริษัทจํากัด
(4) มูลนิธิการกุศล
(5) ห้างหุ้นส่วนจํากัด
ตอบ 4 หน้า 34 – 36 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ได้แก่
1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เช่น บริษัทจํากัด ห้างหุ้นส่วนจํากัด
2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
3. กิจการซึ่งดําเนินการเป็นทางค้าหรือหากําไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การของ รัฐบาลต่างประเทศ 4. กิจการร่วมค้า
5. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
6. นิติบุคคลที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

70. เหตุใดภาษีบางชนิดจึงไม่เป็นกลางตามหลักการจัดเก็บภาษีที่ดี
(1) ไม่ต้องการให้เกิดความเหลื่อมล้ำ
(2) ไม่ต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ
(3) ต้องการให้เกิดความเป็นธรรมในระบบภาษี
(4) ต้องการให้คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
(5) ต้องการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

71.ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(1) การบริหารความเสี่ยงที่ดี
(2) เสถียรภาพและความมั่นคง
(3) ส่งเสริมการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน
(4) การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 60 เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่
1. ระบบการเงินมีเสถียรภาพและความมั่นคง
2. การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
3. การบริหารความเสี่ยงที่ดี
4. ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันของระบบ สถาบันการเงิน
5. การเข้าถึงบริการทางการเงินเป็นไปอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

72. ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังไม่อาจกู้เงินเพื่อการใด
(1) ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
(2) ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
(3) ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
(4) พัฒนาตลาดทุนในประเทศ
(5) พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังสามารถกู้เงินได้ เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1. ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ หรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้
2. พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
3. ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
4. ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
5. พัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ

73. ข้อใดเป็นปัญหาทางการเงินในปัจจุบัน
(1) เงินเฟ้อ
(2) เงินเดินสะพัดช้า
(3) เงินเดินสะพัดเร็ว
(4) สภาพคล่องล้นเกิน
(5) เงินฝืด
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบันทําให้เกิดภาวะเงินฝืด ซึ่งหมายถึง ภาวะที่อุปสงค์ด้านสินค้าและบริการน้อยกว่าอุปทานด้านสินค้าและบริการ หรือเป็นภาวะที่มี ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป จึงทําให้เศรษฐกิจตกต่ำ สินค้าล้นตลาด และประชาชนว่างงานเป็นจํานวนมาก

74. การอนุมัติงบประมาณปกติต้องเริ่มในเดือนใด
(1) กันยายน
(2) กรกฎาคม
(3) มีนาคม
(4) มกราคม
(5) พฤษภาคม
ตอบ 5 หน้า 123, (คําบรรยาย) การอนุมัติงบประมาณ เป็นการพิจารณาอนุมัติร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจําปีโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา ซึ่งปกตินั้นจะเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม

75. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(2) บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) ผลิตเหรียญกษาปณ์
(4) ออกธนบัตร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 57 – 58 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2485 เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและหน้าที่ ดังนี้
1. ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร
2. กําหนดและดําเนินนโยบายการเงิน เช่น กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ย
3. บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
4. เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล
5. เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน
6. กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
7. บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและสินทรัพย์ในทุนสํารองเงินตรา ฯลฯ

76.“เงินประจํางวด” หมายถึงอะไร
(1) แผนการใช้จ่ายเงิน
(2) รายงานทางการเงิน
(3) เงินของราชการส่วนภูมิภาค
(4) เงินในหมวดรายจ่ายประจํา
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 84, 126, (คําบรรยาย เงินประจํางวด (Apportionment) หมายถึง เงินที่จะจัดสรร ให้กับส่วนราชการหนึ่ง ๆ ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ ถือเป็นแผนการใช้จ่ายเงินและเป็น เครื่องมือในการควบคุมให้ส่วนราชการต่าง ๆ ปฏิบัติงานตามแผนที่กําหนด และสามารถนําเงินไปใช้จ่ายได้ทันปีงบประมาณ ซึ่งอํานาจในการกําหนดระยะเวลาของเงินประจํางวด เป็นของสํานักงบประมาณ

77. พลเมืองมีสิทธิปฏิเสธการทํางานของรัฐบาลได้หลายวิธี ยกเว้นข้อใด
(1) การทําลายทรัพย์สินของทางราชการ
(2) การไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
(3) การไม่จ่ายภาษีให้รัฐบาล
(4) การเดินขบวนประท้วง
(5) การทําอารยะขัดขืน
ตอบ 1 หน้า 28 ในทางรัฐศาสตร์ รัฐบาลและพลเมืองจะต้องมีจริยธรรมด้วยกันทั้งคู่จึงจะทําให้ การบริหารประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น หากรัฐบาลไม่คํานึงถึงผลประโยชน์ของพลเมืองโดยส่วนรวม พลเมืองย่อมมีสิทธิปฏิเสธการทํางานของรัฐบาล ซึ่งสามารถทําได้หลายวิธี เช่น การไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การไม่จ่ายภาษีให้รัฐบาล การเดินขบวนประท้วง การทําอารยะขัดขืน เป็นต้น

78. ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปีใด
(1) ปี พ.ศ. 2485
(2) ปี พ.ศ. 2495
(3) ปี พ.ศ. 2480
(4) ปี พ.ศ. 2490
(5) ปี พ.ศ. 2500
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

79. ส่วนราชการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของตนจากหน่วยงานใด
(1) สํานักงบประมาณ
(2) ธนาคารกรุงไทย
(3) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(4) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 128 เมื่อส่วนราชการต้องการรับเงินงบประมาณของตนเพื่อนําไปใช้ในการบริหารงานส่วนราชการจะต้องทําฎีกาขอเบิกเงินตามงบประมาณยื่นต่อกรมบัญชีกลางในกรณีของราชการ ส่วนกลาง และยื่นต่อสํานักงานคลังจังหวัดในกรณีของราชการส่วนภูมิภาค โดยกรมบัญชีกลาง และสํานักงานคลังจังหวัดจะเป็นผู้อนุมัติฎีกาและสั่งจ่ายเงินประจํางวดที่ได้รับอนุมัติแล้วที่เรียกว่า เงินจัดสรร (Budget Allotment) ให้กับส่วนราชการนั้น ๆ เป็นคราว ๆ ไป

80. ในยุคที่มีความเชื่อว่า… “งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือในการควบคุมความซื่อสัตย์ในการใช้จ่าย ของรัฐบาล…” งบประมาณแผ่นดินจะให้ความสําคัญไปที่
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ
(2) รายละเอียดของทรัพยากรที่หน่วยงานเสนอของบประมาณมา
(3) แผนของรัฐในรูปตัวเงินที่แสดงประสิทธิภาพของการใช้เงินตามแผนนั้น
(4) โครงการต่าง ๆ ซึ่งเสนอขอรายจ่ายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์โครงการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

81. ตัวอย่างของงบประมาณที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะกับการวางแผนวางโครงการของหน่วยงาน
(1) PPBS
(2) Line-Item Budget
(3) Performance Budget
(4) Program Budget
(5) Program Budget was Performance Budget
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

82. ข้อใดไม่ใช่หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(1) การดํารงเงินกองทุน
(2) การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง
(3) ธรรมาภิบาล
(4) การเปิดเผยข้อมูล
(5) ความโปร่งใสของข้อมูล
ตอบ 5 หน้า 61 หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีดังนี้
1. ธรรมาภิบาล
2. การดํารงเงินกองทุน
3. การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง
4. กระบวนการด้านสินเชื่อ
5. การกํากับลูกหนี้รายใหญ่และการบัญชี
6. การเปิดเผยข้อมูล

83.สภาวะ “เศรษฐกิจตกต่ํา สินค้าล้นตลาด ประชาชนว่างงาน” รัฐบาลควรใช้นโยบายงบประมาณแบบใด
(1) สมดุล
(2) เกินดุล
(3) ขาดดุล
(4) เกินดุลควบคู่กับนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง
(5) ขาดดุลควบคู่กับนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ตอบ 5(คําบรรยาย) ภาวะเงินฝืด หมายถึง ภาวะที่อุปสงค์ด้านสินค้าและบริการน้อยกว่าอุปทาน ด้านสินค้าและบริการ หรือเป็นภาวะที่มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป ทําให้เศรษฐกิจตกต่ํา สินค้าล้นตลาด และประชาชนว่างงาน ดังนั้นรัฐบาลควรจะแก้ปัญหา ด้วยการเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น โดยการนํานโยบายงบประมาณแบบขาดดุล และการลดอัตราภาษีอากรมาใช้ควบคู่กับนโยบายการเงินดังต่อไปนี้
1. ซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากประชาชน
2. ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์
3. ลดอัตราเงินสดสํารองของธนาคารพาณิชย์
4. ลดอัตราส่วนลดเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยเงินกู้มากขึ้น ฯลฯ

84. ภาษีชนิดใดคํานวณจากยอดภาษีขายหักด้วยยอดภาษีซื้อ
(1) ภาษีเงินได้
(2) ภาษีศุลกากร
(3) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
(4) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

85. หน่วยงานใดเป็นผู้กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย
(1) ธนาคารกรุงไทย
(2) กระทรวงพาณิชย์
(3) คณะกรรมการนโยบายการเงิน
(4) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(5) กระทรวงการคลัง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

86. นักทฤษฎีการคลังยุค Adam Smith เชื่อว่า
(1) งบประมาณเกินดุลดีที่สุด
(2) งบประมาณสมดุลดีที่สุด
(3) งบประมาณเกินดุล ขาดดุล หรือสมดุล ต่างมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้น
(4) งบประมาณขาดดุลดีที่สุด
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 74, (คําบรรยาย) อดัม สมิธ (Adam Smith) เป็นนักทฤษฎีการคลังสมัยเก่าหรือยุคคลาสสิก (Classical Theory of Public Finance) ที่มีความเชื่อว่า นโยบายงบประมาณสมดุล เป็นนโยบายที่ดีที่สุด โดยรัฐบาลควรจะใช้จ่ายเงินตามความสามารถในการหารายได้ของตน ไม่ควรแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีบ่อย ๆ และไม่ควรก่อหนี้สาธารณะ

87. กลไกตลาดภาครัฐคืออะไร
(1) กลไกการบริหารจัดการระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(2) กลไกการทํางานระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(3) กลไกการประสานงานระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(4) กลไกการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(5) กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับประชาชน
ตอบ 4 หน้า 21 กลไกตลาดภาครัฐ คือ กลไกการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่าง ภาครัฐในฐานะผู้ประกอบการกับประชาชนในฐานะผู้บริโภค

88.“ปีภาษี” หมายถึงระยะเวลาในช่วงใด
(1) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม
(2) ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 มีนาคม
(3) ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 31 พฤษภาคม
(4) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 30 กันยายน
(5) ระหว่างวันที่ 14 เมษายน – 31 ธันวาคม
ตอบ 1 หน้า 31, (คําบรรยาย) ปีภาษี ตามความหมายของประมวลรัษฎากร คือ ปีปฏิทิน ซึ่งเป็น รอบระยะเวลาที่ใช้สําหรับคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยปีภาษีจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคมของปีนั้น ๆ

89. ในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับเท่าไร
(1) ร้อยละ 0 ต่อปี
(2) ร้อยละ 0.5 ต่อปี
(3) ร้อยละ 0.25 ต่อปี
(4) ร้อยละ 5 ต่อปี
(5) ร้อยละ 0.75 ต่อปี
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 0.5 ต่อปี

90. ปัจจัยสําคัญที่จะสนับสนุนการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่
(1) ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลง
(2) การปรับตัวขึ้นของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
(3) การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
(4) การลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญที่จะสนับสนุนหรือมีผลต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่
1. ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลง
2. การเพิ่มค่าใช้จ่ายของภาครัฐ
3. การลดราคาขายปลีกน้ํามัน
4. การลดอัตราภาษีอากร ฯลฯ

91. องค์ประกอบที่สําคัญของ “กลไกราคา” คือสิ่งใด
(1) มติมหาชนและรัฐบาล
(2) ปริมาณสินค้าและความต้องการบริโภค
(3) นโยบายสาธารณะและรัฐสภา
(4) รัฐบาลและรัฐสภา
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 65, (คําบรรยาย) สินค้าเอกชน (Private Goods) เป็นสินค้าและบริการที่ประชาชน ทุกคนสามารถซื้อมาใช้เป็นการส่วนตัวได้ โดยจะมีมูลค่าที่สามารถวัดได้ด้วยกลไกราคา (Price Mechanism) คือ วัดด้วยปริมาณสินค้าและความต้องการบริโภคของคนทั่วไป

92. ตัวอย่างของงบประมาณที่เน้นระบบการบริหารองค์การ และการปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงาน
(1) Program Budget
(2) Performance Budget
(3) Line-Item Budget
(4) PPBS
(5) Program Budget was Performance Budget
ตอบ 5 หน้า 90, (คําบรรยาย) Allen Schick ได้แบ่งพัฒนาการของงบประมาณเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. ช่วงแรกเป็นการเน้นที่กฎ ระเบียบ และการควบคุมให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบนั้น ได้แก่ งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budget) หรืองบประมาณแบบเก่า (Conventional Budget) หรืองบประมาณแบบประเพณี (Traditional Budget)
2. ช่วงที่ 2 เป็นการเน้นที่ระบบการบริหารองค์การ คํานึงถึงประสิทธิภาพขององค์การ และ การปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงาน ได้แก่ งบประมาณแบบโครงการ (Program Budget) หรืองบประมาณแบบแสดงผลงาน (Performance Budget)
3. ช่วงที่ 3 เป็นการเน้นที่การวางแผนวางโครงการ ได้แก่ งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ (PPBS)

93. ภาษีรถยนต์นั่ง มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ฐานความมั่งคั่ง
(2) ฐานรายได้
(3) ฐานการบริโภค
(4) ฐานรายได้และฐานการบริโภค
(5) ฐานการบริโภคและฐานความมั่งคั่ง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

94. ภาษีน้ำหอมต่างประเทศ มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ฐานรายได้
(2) ฐานความมั่งคั่ง
(3) ฐานการบริโภค
(4) ฐานรายได้และฐานความมั่งคั่ง
(5) ฐานความมั่งคั่งและฐานการบริโภค
ตอบ 3หน้า 5 – 6, 23, 38 ฐานการบริโภค (Consumption Base) เป็นฐานภาษีที่เก็บจาก การใช้จ่ายเพื่อบริโภคของประชาชน รวมถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่าง ๆ ตัวอย่างภาษีที่จัดเก็บโดยใช้ฐานการบริโภค เช่น ภาษีการขาย ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษี สรรพสามิต (เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ ภาษีน้ํามัน ภาษีเครื่องดื่ม ภาษีไฟ ภาษีน้ําหอม) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสินค้าขาเข้า เป็นต้น

95. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
(2) การบริหารความเสี่ยงที่ดี
(3) ส่งเสริมการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน
(4) เสถียรภาพและความมั่นคง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

96. ใครเป็นผู้มีหน้าที่ชําระภาษีสรรพสามิต
(1) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมในสินค้าสรรพสามิต
(2) ผู้นําเข้าสินค้าสรรพสามิต
(3) ผู้ดัดแปลงรถยนต์
(4) ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 38 ผู้ที่มีหน้าที่ชําระภาษีสรรพสามิต มีดังนี้
1. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมในสินค้าสรรพสามิต
2. ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ
3. ผู้นําเข้าสินค้าสรรพสามิต
4. ผู้ดัดแปลงรถยนต์
5. เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน ฯลฯ

97. บุคคลใดดํารงตําแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) นายวิรไท สันติประภพ
(2) นายเศรษฐวุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ
(3) นายอุตตม สาวนายน
(4) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(5) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน คือ นายเศรษฐวุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

98. ข้อใดไม่นับว่าเป็นเงิน
(1) ศิลปวัตถุ
(2) เหรียญกษาปณ์
(3) เช็ค
(4) ตั๋วแลกเงิน
(5) บัตรเครดิต
ตอบ 1 หน้า 54 เงิน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจจะอยู่ในหลายรูปแบบ เช่น ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ เช็ค ตั๋วแลกเงิน บัตรเครดิต เป็นต้น

99. เงินได้พึงประเมินหมายถึงเงินได้ของบุคคลที่เกิดขึ้นในระยะเวลาใด
(1) ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 มีนาคม
(2) ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 31 พฤษภาคม
(3) ระหว่างวันที่ 14 เมษายน – 31 ธันวาคม
(4) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 30 กันยายน
(5) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม
ตอบ 5 หน้า 31 เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้ของบุคคลใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่าง วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคมของปีใด ๆ หรือเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่
1. เงิน
2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน
3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน
4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกําหนด

100. ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สามารถวัดได้โดย
(1) ดูอัตราเงินเฟ้อ
(2) ดูการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลรวม
(3) ดูจํานวนประชากร
(4) ดูราคาของผลผลิตต่อหน่วยในสินค้าเกษตร
(5) เปรียบเทียบรายได้ของคนในชุมชนเมืองกับในชุมชนชนบท
ตอบ 2 หน้า 73 – 74, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินจะต้องเป็นไปเพื่อ
1. สร้างความเจริญเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจหรือความมั่งคั่งของชาติ ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลรวม
2. สร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูอัตราการว่างงาน อัตราเงินฝืด และอัตราเงินเฟ้อ
3. สร้างประสิทธิภาพในการทํางาน ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูผลผลิตต่อหน่วย
4. สร้างความเสมอภาคหรือการกระจายทางเศรษฐกิจ หรือการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ให้กับสังคม ซึ่งสามารถวัดได้โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของรายได้ อัตราการใช้จ่าย และทรัพย์สินที่มี

POL3300 การบริหารการคลัง s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา POL3300 การบริหารการคลัง
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ข้อใดไม่ใช่บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) ผลิตเหรียญกษาปณ์
(3) ออกธนบัตร
(4) กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(5) ออกธนบัตรและตรวจสอบสถาบันการเงิน
ตอบ 2 หน้า 57 – 58 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2485 เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและหน้าที่ ดังนี้
1. ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร
2. กําหนดและดําเนินนโยบายการเงิน เช่น กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ย
3. บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
4. เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล
5. เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน
6. กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
7. บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและสินทรัพย์ในทุนสํารองเงินตรา ฯลฯ

2. ปัจจัยสําคัญที่จะสนับสนุนการหดตัวของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่
(1) ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
(2) การลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ
(3) การลดค่าใช้จ่ายภาครัฐและการลดราคาขายปลีกน้ำมัน
(4) การลดราคาขายปลีกน้ำมัน
(5) ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นและการลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญที่จะสนับสนุนหรือมีผลต่อการหดตัวของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่
1. ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
2. การลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ
3. การเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมัน
5. การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ฯลฯ
4. การเพิ่มอัตราภาษีอากร

3. ในปัจจุบันบุคคลใดดํารงตําแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ
(2) นายวิรไท สันติประภพ
(3) นายอุตตม สาวนายน
(4) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(5) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน คือ นายเศรษฐวุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

4. ที่ว่า “งบประมาณแผ่นดินเป็นเงื่อนไขของการเป็นรัฐบาล” หมายความว่าอย่างไร
(1) รัฐบาลต้องเป็นผู้พิจารณาอนุมัติวงเงินงบประมาณ
(2) ผู้จัดเตรียมงบประมาณต้องเป็นผู้ใช้เงินงบประมาณ
(3) ถ้างบประมาณไม่ผ่านสภารัฐบาลจะบริหารประเทศต่อไปไม่ได้
(4) รัฐบาลต้องเป็นผู้พิจารณาอนุมัติวงเงินงบประมาณและผู้จัดเตรียมงบประมาณต้องเป็นผู้ใช้เงินงบประมาณ
(5) งบประมาณแผ่นดินเป็นกฎหมายอย่างหนึ่ง
ตอบ 3 หน้า 64, 82, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินเป็นเงินของประชาชนที่มอบให้กับรัฐบาลในรูปของภาษีอากรและการกู้ยืมเพื่อนําไปใช้ในการบริหารประเทศ ดังนั้นการใช้จ่ายงบประมาณ จึงต้องได้รับการอนุมัติหรือยินยอมจากประชาชนเสียก่อน แต่เนื่องจากการบริหารราชการในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ประชาชนได้มอบอํานาจการตัดสินใจให้กับรัฐสภาไปแล้วงบประมาณแผ่นดินซึ่งการจัดทําเป็นหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะจึงจําเป็นต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาโดยต้องทําเป็นกฎหมายก่อนที่จะนําไปใช้ เพราะถ้างบประมาณไม่ได้รับ การรับรองจากสภา รัฐบาลก็จะบริหารประเทศต่อไปไม่ได้ ดังนั้นจึงถือว่างบประมาณเป็น เครื่องมือ เงื่อนไข หรือกลไกรับรองการเป็นรัฐบาลหรือการจัดตั้งรัฐบาลในประเทศที่ปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

5. ภาษีมูลค่าเพิ่มมีรอบการชําระภาษีอย่างไร
(1) รายปี
(2) รายไตรมาส
(3) รายวัน
(4) รายเดือน
(5) รายสัปดาห์
ตอบ 4 หน้า 36 ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่ขายสินค้าหรือบริการเป็นอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคคล ซึ่งมีรายได้หรือยอดขายเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี (150,000 บาทต่อเดือน) โดยต้องยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และคํานวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ และต้องชําระภาษีเป็นรายเดือน โดยยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

6. ข้อใดเป็นปัญหาทางการเงินในปัจจุบัน
(1) สภาพคล่องล้นเกิน
(2) เงินเดินสะพัดช้า
(3) เงินฝืด
(4) เงินเดินสะพัดเร็ว
(5) เงินเฟ้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบันทําให้เกิดภาวะเงินฝืด ซึ่งหมายถึง ภาวะที่อุปสงค์ด้านสินค้าและบริการน้อยกว่าอุปทานด้านสินค้าและบริการ หรือเป็นภาวะที่มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป จึงทําให้เศรษฐกิจตกต่ำ สินค้าล้นตลาดและประชาชนว่างงานเป็นจํานวนมาก

7.คํากล่าว “Taxes are the price of democracy” สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งใด
(1) ภาษีกับประชาธิปไตย
(2) ภาษีกับกลไกราคา
(3) การใช้จ่ายกับภาระภาษี
(4) การใช้จ่ายในระบอบประชาธิปไตย
(5) ภาษีกับการใช้จ่าย
ตอบ 1 หน้า 24 คํากล่าว “Taxes are the price of democracy” สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ ระหว่างภาษีกับประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี ซึ่งคํากล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่าประชาชนมีหน้าที่จ่ายภาษีให้กับรัฐเพื่อแลกเปลี่ยนกับการมีรัฐบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตยซึ่งทําหน้าที่จัดบริการสาธารณะให้กับประชาชน

8.ความต้องการถือเงินของภาคครัวเรือน เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากข้อใด
(1) ความต้องการจับจ่ายใช้สอย
(2) การสร้างความมั่นคงและหลักประกันในการดําเนินชีวิต
(3) การสร้างหลักประกันในการดําเนินชีวิต
(4) ความต้องการจับจ่ายใช้สอยและสร้างหลักประกันในการดําเนินชีวิต
(5) การสร้างความมั่นคง
ตอบ 1 หน้า 54 เงินเป็นสิ่งสําคัญและมีบทบาทอย่างสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากลักษณะของการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนของเงินนั่นเอง ซึ่งทําให้ภาคครัวเรือน เกิดความต้องการถือเงินเมื่อมีความต้องการจับจ่ายใช้สอย

9. สถาบันที่ทําหน้าที่ “จ่ายเงินตามงบประมาณให้กับส่วนราชการต่าง ๆ”
(1) กรมบัญชีกลาง
(2) สํานักงบประมาณ
(3) กรมสรรพากร
(4) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(5) ในบรรดาตัวเลือกทั้งหมดไม่มีหน่วยงานใดที่ทําหน้าที่จ่ายเงินงบประมาณให้กับส่วนราชการต่าง ๆ
ตอบ 1 หน้า 128 เมื่อส่วนราชการต้องการรับเงินงบประมาณของตนเพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน ส่วนราชการจะต้องทําฎีกาขอเบิกเงินตามงบประมาณยื่นต่อกรมบัญชีกลางในกรณีของราชการ ส่วนกลาง และยื่นต่อสํานักงานคลังจังหวัดในกรณีของราชการส่วนภูมิภาค โดยกรมบัญชีกลาง และสํานักงานคลังจังหวัดจะเป็นผู้อนุมัติฎีกาและสั่งจ่ายเงินประจํางวดที่ได้รับอนุมัติแล้วที่เรียกว่า เงินจัดสรร (Budget Allotment) ให้กับส่วนราชการนั้น ๆ เป็นคราว ๆ ไป

10. ใน “Budget Cycle” ข้อใดต่อไปนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังข้ออื่น ๆ
(1) เงินประจํางวด
(2) การพิจารณาวาระที่ 1
(3) วงเงินงบประมาณ
(4) การแถลงนโยบายต่อสภา
(5) การเทียบราคากลาง
ตอบ 1หน้า 84 จากโจทย์นั้น เงินประจํางวดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังข้ออื่น ๆ โดยเงินประจํางวด(Apportionment) หมายถึง เงินที่จะจัดสรรให้กับส่วนราชการหนึ่ง ๆ ภายในช่วงระยะเวลา หนึ่ง ๆ ถือเป็นเครื่องมือในการควบคุมให้ส่วนราชการต่าง ๆ ปฏิบัติงานตามแผนที่กํา และสามารถนําเงินไปใช้จ่ายได้ทันปีงบประมาณ ซึ่งอํานาจในการกําหนดระยะเวลาของ เงินประจํางวดเป็นของสํานักงบประมาณกําหนด

11. ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ฐานรายได้
(2) ฐานความมั่งคั่ง
(3) ฐานการบริโภค
(4) ฐานรายได้ ฐานความมั่งคั่ง และฐานการบริโภค
(5) ฐานความมั่งคั่งและฐานการบริโภค
ตอบ 3 หน้า 5 – 6, 23 ฐานการบริโภค (Consumption Base) เป็นฐานภาษีที่เก็บจากการใช้จ่าย เพื่อบริโภคของประชาชน รวมถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่าง ๆ ตัวอย่างภาษี ที่จัดเก็บโดยใช้ฐานการบริโภค เช่น ภาษีการขาย ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต (เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ ภาษีน้ํามัน ภาษีเครื่องดื่ม ภาษีไฟ) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสินค้าขาเข้า เป็นต้น

12. หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแล “นโยบายการเงิน”
(1) กรมบัญชีกลาง
(2) กรมสรรพากร
(3) สํานักงบประมาณ
(4) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(5) ในบรรดาตัวเลือกทั้งหมดไม่มีหน่วยงานใดที่ดูแลนโยบายการเงิน
ตอบ 4 หน้า 8, 54, 57, (คําบรรยาย) นโยบายการเงิน (Monetary Policy) หมายถึง นโยบายที่ เกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ทางเศรษฐกิจ เช่น การควบคุม/กํากับอัตราดอกเบี้ย การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท การควบคุม กํากับดูแลสินเชื่อ การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล การออกระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ทางการเงิน เป็นต้น โดยหน่วยงานที่ทําหน้าที่ดูแลนโยบายการเงินก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย

13. การเพิ่มอัตราภาษีในสินค้าจําเป็น จะเกิดผลต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างไร
(1) ทํานายไม่ได้
(2) เศรษฐกิจคงตัว
(3) เกิดภาวะเงินเฟ้อ
(4) เศรษฐกิจหดตัว
(5) เศรษฐกิจขยายตัว
ตอบ 3หน้า 76 – 77, (คําบรรยาย) ผลกระทบที่เกิดจากวิธีการหารายได้และการใช้จ่ายของรัฐ มีดังนี้
1. การเก็บภาษีทรัพย์สินเป็นการเก็บภาษีซ้ํากับภาษีเงินได้
2. การเก็บภาษีในอัตราคงที่จะทําให้คนส่วนใหญ่ที่มีรายได้น้อยต้องรับภาระมากกว่า คนกลุ่มน้อยที่มีรายได้มาก ซึ่งทําให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
3. การเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าจะช่วยสร้างความเสมอภาคต่อคนในสังคม ถ้าจัดเก็บในอัตราสูงจะทําให้เศรษฐกิจหดตัว แต่ถ้าจัดเก็บในอัตราต่ําจะทําให้เศรษฐกิจขยายตัว
4. การเพิ่มอัตราภาษีในสินค้าจําเป็นจะทําให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ เพราะทําให้สินค้ามีราคาสูง แต่ความต้องการที่จะบริโภคสินค้านั้นไม่ได้ลดลง
5. ถ้ารายจ่ายของรัฐให้ประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ที่มีรายได้น้อยจะทําให้เศรษฐกิจขยายตัว แต่ถ้า รายจ่ายของรัฐให้ประโยชน์เพียงคนกลุ่มน้อยที่มีรายได้มากจะทําให้เศรษฐกิจคงตัว ฯลฯ

14. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ฐานความมั่งคั่งและฐานการบริโภค
(2) ฐานความร่ำรวย
(3) ฐานการบริโภค
(4) ฐานรายได้
(5) ฐานความมั่งคั่ง
ตอบ 4 หน้า 5, 22, (คําบรรยาย) ฐานรายได้ (Income Base) เป็นฐานภาษีที่วัดจากความสามารถ ในการเสียภาษี (Ability to Pay) ของประชาชนแต่ละคน โดยพิจารณาจากเงินได้ของบุคคลหรือ หน่วยภาษีต่าง ๆ ภาษีที่จัดเก็บโดยใช้ฐานรายได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้ นิติบุคคล และภาษีหัก ณ ที่จ่าย

15. ถ้ารายจ่ายของรัฐให้ประโยชน์เพียงคนกลุ่มน้อยที่มีรายได้มาก จะเกิดผลต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างไร
(1) เศรษฐกิจขยายตัว
(2) เกิดภาวะเงินฝืด
(3) เศรษฐกิจหดตัว
(4) เกิดภาวะเงินเฟ้อ
(5) ไม่มีข้อใดในบรรดาตัวเลือกทั้งหมดที่ถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

16. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ
(1) การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
(2) การเป็นเครื่องชี้วัดสถานภาพทางสังคมและมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า
(3) การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า
(4) การเป็นเครื่องชี้วัดสถานภาพทางสังคม
(5) การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
ตอบ 4 หน้า 54 บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ คือ
1. การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2. การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
3. การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า

17. หากนักศึกษาเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และมีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร นักศึกษาต้องเลือก เดินเข้าประเทศผ่านช่องทางใด
(1) Black Line
(2) Pink Line
(3) Red Line
(4) Blue Line
(5) Green Line
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หากนักศึกษาเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และมีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร นักศึกษาต้องเลือกเดินเข้าประเทศผ่านช่อง Red Line

18. บทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดในพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ที่กําหนดขีดจํากัด
ของการก่อหนี้สาธารณะสําหรับประเทศไทย
(1) มาตรา 9 ทวี
(2) มาตรา 8 ทวิ
(3) มาตรา 9
(4) มาตรา 9 ตรี
(5) มาตรา 8
ตอบ 1 หน้า 48 บทบัญญัติในมาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ได้กําหนดขีดจํากัดของการก่อหนี้สาธารณะสําหรับประเทศไทยไว้ว่า การกู้เงินในปีงบประมาณจะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของจํานวนเงินงบประมาณรายจ่ายและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมหรือของจํานวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วกับอีกร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สําหรับชําระคืนต้นเงินกู้

19. ภาษีเป็นกลไกตลาดภาครัฐที่เหมาะสําหรับใช้จัดบริการหรือผลิตสินค้าประเภทใด
(1) สินค้าผสม
(2) สินค้าสาธารณะขั้นพื้นฐาน
(3) สินค้ากึ่งสาธารณะ
(4) สินค้าสโมสร
(5) สินค้าเอกชน
ตอบ 2 หน้า 21 ภาษีเป็นกลไกตลาดภาครัฐที่เหมาะสําหรับใช้จัดบริการหรือผลิตสินค้าสาธารณะ ขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นสินค้าและบริการที่มีความจําเป็นต่อประชาชนทุกคนภายในประเทศ เช่น การรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในสังคม การศึกษาขั้นพื้นฐาน การควบคุมดูแล ด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

20. พฤติกรรมในข้อใดผิดกฎหมาย
(1) Tax Refund
(2) Tax Avoidance
(3) Tax Compliance
(4) Tax Audit
(5) Tax Evasion
ตอบ 5 หน้า 28 พฤติกรรมการหนีภาษี (Tax Evasion) คือ การไม่ยินยอมเสียภาษีให้กับรัฐเป็นการกระทําที่มีเจตนาจงใจละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายเพื่อไม่ต้องเสียภาษี หรือเสียภาษี ให้น้อยลงโดยวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย

21. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) ผลิตเหรียญกษาปณ์
(3) กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(4) ออกธนบัตร
(5) ไม่มีข้อใดที่ไม่ใช่บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

22. คุณสมบัติของสินค้าสาธารณะแท้ (Pure Public Goods) ที่ครบถ้วนที่สุดคือข้อใด
(1) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภคและแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้
(2) ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้
(3) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค แบ่งแยกการบริโภคจากกันไม่ได้ และไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่ม
(4) ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า แบ่งแยกการบริโภคจากกันได้ และเป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(5) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
ตอบ 3 หน้า 11 – 12, 14, (คําบรรยาย) สินค้าหรือบริการสาธารณะ (Public Goods) หรือเรียกว่า สินค้าสาธารณะแท้หรือสินค้าสาธารณะที่สมบูรณ์ (Pure Public Goods) มีคุณสมบัติดังนี้
1. ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค (Non-Rival Consumption) หรือกีดกันไม่ให้ผู้ใดเข้าถึง สินค้าหรือบริการนั้นไม่ได้
2. ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้ (Non-Excludable) หรือไม่สามารถใช้ราคา เป็นเครื่องมือกีดกันผู้อื่นไม่ให้ใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้

3. ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้าหรือบริการ คือ ต้นทุนส่วนเพิ่มเมื่อมีผู้ซื้อสินค้า หรือบริการเพิ่มขึ้นนั้นมีค่าเท่ากับศูนย์ (Zero-Marginal Cost)
ตัวอย่างเช่น ไฟฟ้าหรือโคมไฟบนถนนสาธารณะ แสงไฟจากประภาคารสาธารณะ แม่น้ำ ลําน้ำสาธารณะ
การดําเนินนโยบายต่างประเทศ การป้องกันและรักษาความปลอดภัยของ ประเทศ การทําความสะอาดถนนสาธารณะ การควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายหลักสวัสดิการ แห่งรัฐ โครงการชิมช้อปใช้ นโยบายป้องกันประเทศจาก COVID เป็นต้น

23. ในปัจจุบันบุคคลใดดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(1) นายปรีดี พนมยงค์
(2) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(3) นายปรีดี ดาวฉาย
(4) นายปรีดี บุญชื่อ
(5) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปัจจุบัน คือ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

24. เครื่องมือในการควบคุมให้ส่วนราชการต่าง ๆ ปฏิบัติงานตามแผนที่กําหนด ทําให้ใช้จ่ายได้ทันปีงบประมาณ
(1) การตรวจการจ้าง
(2) ยอดวงเงิน
(3) เงินจัดสรร
(4) เงินประจํางวด
(5) คู่มือจําแนกประเภทและชนิดการใช้จ่าย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

25. ใครเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
(1) นิติบุคคลผู้ขายสินค้าเป็นอาชีพ มียอดขายเกินกว่า 100,000 บาทต่อเดือน
(2) บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้ขายสินค้าเป็นอาชีพ แต่มีรายได้ค่านายหน้าจากการขายสินค้า เกินกว่า 150,000 บาทต่อเดือน
(3) บุคคลธรรมดาผู้ขายสินค้าเป็นอาชีพ มียอดขายเกินกว่า 150,000 บาทต่อเดือน
(4) บุคคลธรรมดาให้บริการเป็นอาชีพ มีรายได้เกินกว่า 80,000 บาทต่อเดือน
(5) นิติบุคคลผู้ให้บริการเป็นอาชีพ มีรายได้เกินกว่า 100,000 บาทต่อเดือน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

26. ข้อใดเป็นคํานิยามของพันธบัตรที่ถูกต้อง
(1) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกินสิบสองเดือน
(2) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่ยี่สิบสี่เดือนขึ้นไป
(3) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบสองเดือนขึ้นไป
(4) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบแปดเดือนขึ้นไป
(5) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกินหกเดือน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พันธบัตร คือ เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออก ตั้งแต่สิบสองเดือนขึ้นไป

27. ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังไม่อาจกู้เงินเพื่อการใด
(1) พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
(2) ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
(3) ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
(4) ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
(5) พัฒนาตลาดทุนในประเทศ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังกู้เงินได้ เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1. ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ หรือ เมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้
2. พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
3. ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
4. ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
5. พัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ

28. กลไกตลาดภาครัฐคืออะไร
(1) กลไกการบริหารจัดการระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(2) กลไกความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(3) กลไกการประสานงานระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(4) กลไกการทํางานระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(5) กลไกการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างภาครัฐกับประชาชน
ตอบ 5 หน้า 21 กลไกตลาดภาครัฐ คือ กลไกการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่าง ภาครัฐในฐานะผู้ประกอบการกับประชาชนในฐานะผู้บริโภค

29. “ความพยายามที่จะเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนในการดําเนินงาน และผลงานที่ได้รับ”
คือข้อใด
(1) การวิเคราะห์โครงการ
(2) การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์
(3) การวิเคราะห์ทางนโยบาย
(4) การวิเคราะห์ระบบ
(5) ในบรรดาตัวเลือกทั้งหมดไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 89 – 90, 92 – 93 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Analysis) เป็นการ วิเคราะห์ในเชิงเศรษฐกิจที่พยายามเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนในการดําเนินงาน กับผลงานที่ได้รับ ซึ่งเทคนิคนี้เป็นวิธีการที่ใช้ในการจัดทํางบประมาณแบบที่ในประสิทธิภาพ ของการบริหาร หรือเรียกว่างบประมาณแบบโครงการ (Program Budget) หรืองบประมาณ แบบแสดงผลงาน (Performance Budget)

30. งบประมาณแบบใดที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการวัดผลสัมฤทธิ์ของงานหรือโครงการ
(1) งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ
(2) งบประมาณแบบมุ่งประสิทธิภาพ
(3) งบประมาณแบบโครงการ
(4) งบประมาณแบบแสดงรายการ
(5) ทั้งงบประมาณแบบโครงการและงบประมาณแบบมุ่งประสิทธิภาพ
ตอบ 1 หน้า 93 – 94, 97, 101 – 102, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ (Planning Programming Budgeting System : PPBS) เป็นระบบงบประมาณที่ ในด้านการวางแผนวางโครงการโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ระยะยาว ระบบงบประมาณแบบนี้จะมีการวางแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายและตั้งวงเงินงบประมาณตามแต่ละแผนงาน มีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจผสมกับหลักเหตุผล (Limited Rationality หรือ Mixed Scanning) มีการแบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงสร้างแผนงาน หรือโครงการ (Program Structure) มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ในการวิเคราะห์โครงการเพื่อศึกษาถึงโครงสร้างแผนงานหรือโครงการที่จัดทําว่ามีความสัมพันธ์กับ โครงการใด ๆ บ้าง มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างนโยบายสาธารณะ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการวางแผนวางโครงการของหน่วยงานมีการกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ของแผนงานหรือโครงการเพื่อการติดตามประเมินผล และที่สําคัญระบบนี้จะต้องมีการจัดทําแผนงานและแผนทางการเงินระยะยาว (อาจเป็น 3 ปี หรือ 5 ปี) เพื่อประกอบการจัดทําโครงการด้วย

31. ข้อใดเป็นลักษณะของภาษีที่ดีตามหลักสวัสดิการสังคม
(1) เปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษีบ่อยครั้ง
(2) ภาษีได้รับการเห็นชอบจากประชาชน
(3) จัดเก็บภาษีน้อยที่สุดเพื่อนําไปใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
(4) ประชาชนแบกรับภาระภาษีอย่างเท่าเทียม
(5) จัดเก็บตามความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay)
ตอบ 3 หน้า 26 – 27 ภาษีที่ดีตามหลักสวัสดิการสังคม คือ ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บจากประชาชน น้อยที่สุดเพื่อนําไปใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยรัฐบาลต้องเปรียบเทียบกัน ระหว่างภาระภาษีกับผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับคืนมาจากการเสียภาษี ลดความสูญเสีย จากการจัดเก็บภาษี (Deadweight Loss) หรือลดภาระภาษีส่วนเกินให้เหลือน้อยที่สุดหรือ ไม่มีภาระภาษีส่วนเกิน (Excess Burden)

32. ข้อใดคือความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับ
การก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ในต่างประเทศ
(1) อัตราดอกเบี้ย
(2) ระยะเวลาชําระคืน
(3) ผู้ที่รับภาระหนี้
(4) วงเงิน
(5) ไม่ใช่ทั้งวงเงิน ระยะเวลาชําระคืน อัตราดอกเบี้ย และผู้ที่รับภาระหนี้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การก่อหนี้สาธารณะต้องคํานึงถึงผู้ที่รับภาระหนี้ วงเงิน ระยะเวลาชําระคืน และ อัตราดอกเบี้ย โดยที่อัตราดอกเบี้ยคือความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับต่างประเทศ เนื่องจากต้องใช้คืนทั้งต้นเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยที่ผันผวนตามค่าเงิน

33. เทคนิคที่สําคัญของการจัดเตรียมงบประมาณแบบ Line-Item Budget ได้แก่
(1) Incrementalism
(2) System Analysis
(3) Program Analysis
(4) Zero-Base Budget
(5) ทั้ง Incrementalism และ Zero-Base Budget
ตอบ 1 หน้า 87 – 88, 90 – 92, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budget) หรืองบประมาณแบบเก่า (Conventional Budget) หรืองบประมาณแบบประเพณี (Traditional Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ในด้านการควบคุมเพื่อมุ่งตรวจสอบความถูกต้องและความซื่อสัตย์สุจริตของการใช้จ่ายเงินของรัฐ หรือให้ความสําคัญกับความถูกต้องของ “ปัจจัย นําเข้า (Inputs) หรือการจัดสรร “ทรัพยากร” ของงานหรือโครงการ โดยเน้นกฎ ระเบียบ และการควบคุมให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบนั้น หรือให้ความสําคัญกับมาตรฐานของทรัพยากร ที่หน่วยราชการได้ใช้ไป ดังนั้นงบประมาณจึงถูกแบ่งออกตามหน่วยราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ (Agencies Classification หรือ Organizations Classification) โดยเฉพาะในระดับกรม และมีการแบ่งตามประเภทและชนิดของการใช้จ่าย (Objects of Expenditure Classification) โดยพิจารณาจากคู่มือการจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่ายซึ่งแบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น หมวดเงินเดือน หมวดสาธารณูปโภค หมวดครุภัณฑ์ ฯลฯ นอกจากนี้ในการจัดเตรียม งบประมาณก็จะต้องมีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจ (Muddling Through) หรือการวิเคราะห์เฉพาะส่วนที่เพิ่ม (Incrementalism) เป็นเกณฑ์ด้วย

34. คุณสมบัติของสินค้าเอกชนแท้ (Pure Private Goods) ที่ครบถ้วนที่สุดคือข้อใด
(1) แบ่งแยกการบริโภคจากกันได้ มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า และเป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(2) เป็นปรปักษ์ในการบริโภค ไม่สามารถแยกการบริโภคจากกันได้ และไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการผลิตสินค้า

(3) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(4) ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้
(5) ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า
ตอบ 1 หน้า 13, (คําบรรยาย) สินค้าเอกชน (Private Goods) หรือสินค้าเอกชนแท้ (Pure Private Goods) เป็นสินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค สามารถแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้ และ มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า ซึ่งได้แก่สินค้าหรือบริการทั่วไปที่ซื้อขายกันตามท้องตลาด เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า อาหาร เป็นต้น

35. ข้อใดไม่ใช่เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร
(1) เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
(2) เบี้ยประชุม
(3) เงินบํานาญ
(4) เงินค่าจ้าง
(5) เงินเดือน
ตอบ 2 หน้า 31 เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ตามประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินได้เนื่องจาก การจ้างแรงงาน ดังนี้
1. เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ
2. เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
3. เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า ฯลฯ

36. ข้อใดไม่ใช่รายได้ของรัฐบาลไทย
(1) ค่าสัมปทาน
(2) ภาษีเงินได้
(3) การขายสิ่งของ
(4) ค่าบริการ
(5) การขายหุ้น
ตอบ 5 หน้า 15 – 20, (คําบรรยาย) แหล่งรายรับของรัฐบาลไทย มาจาก 2 ส่วน คือ 1. รายรับที่เป็นรายได้ ได้แก่ ภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ (เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าสัมปทาน ค่าบริการ ค่าเช่าทรัพย์สินของรัฐ ค่าขายของกลางที่ยึด มาจากคดี) รัฐพาณิชย์ และรายได้อื่น ๆ เช่น ค่าแสตมป์ฤชากร ค่าปรับ เป็นต้น 2. รายรับที่ไม่เป็นรายได้ ได้แก่ การกู้เงิน การใช้เงินคงคลัง การขายหุ้น เป็นต้น

37.ระยะเวลาของการ “ใช้จ่ายเงินตามที่กําหนดไว้ในปีงบประมาณ” เรียกว่า
(1) การอนุมัติงบประมาณ
(2) การตรวจสอบงบประมาณ
(3) การจัดเตรียมงบประมาณ
(4) การประเมินผลงบประมาณ
(5) การบริหารงบประมาณ
ตอบ 5 หน้า 83, (คําบรรยาย) การควบคุมหรือการบริหารงบประมาณ คือ ระยะเวลาของการใช้จ่ายเงิน ตามที่กําหนดไว้ในปีงบประมาณ ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะต้องหาหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อควบคุมให้การใช้จ่ายเงินของโครงการต่าง ๆ เป็นไปตามแผนที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี

38. ข้อใดไม่ใช่ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ
(1) บัตรเงินฝาก
(2) ตั๋วเงินคลังและพันธบัตร
(3) ตั๋วเงินคลัง
(4) พันธบัตร
(5) ตั๋วสัญญาใช้เงิน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ คือ
1. ตั๋วเงินคลัง 2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน 3. พันธบัตร

39. ในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับเท่าไร
(1) ร้อยละ 0.25 ต่อปี
(2) ร้อยละ 1.5 ต่อปี
(3) ร้อยละ 1.0 ต่อปี
(4) ร้อยละ 0.5 ต่อปี
(5) ร้อยละ 0.75 ต่อปี
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 0.5 ต่อปี

40. นักศึกษาทํางานเป็นพนักงานประจําที่บริษัทแห่งหนึ่ง ได้รับเงินเดือน 10,000 บาท นักศึกษาต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
(1) ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี
(2) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราภาษี 5%
(3) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราภาษี 15%
(4) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราภาษี 20%
(5) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราภาษี 10%
ตอบ 1

41. นักทฤษฎีการคลังสมัยใหม่ เชื่อว่า
(1) งบประมาณเกินดุล ขาดดุล หรือสมดุล ต่างมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้น
(2) งบประมาณเกินดุลดีที่สุด
(3) งบประมาณสมดุลดีที่สุด
(4) งบประมาณขาดดุลดีที่สุด
(5) ในบรรดาตัวเลือกทั้งหมดไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 75 นักทฤษฎีการคลังสมัยใหม่หรือยุคนีโอคลาสสิก เชื่อว่า งบประมาณเกินดุล ขาดดุล หรือสมดุล ต่างมีผลกระทบต่อระบบทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น ซึ่งผลกระทบจะเป็นเช่นใดย่อมขึ้นอยู่กับ วิธีการหารายได้และการใช้จ่ายเงินของรัฐ และไม่เชื่อว่านโยบายงบประมาณจะเป็นเครื่องมือ ทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ แต่เชื่อว่าเครื่องมือทางการคลังที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นจากการจัดระบบการบริหารรายได้และรายจ่ายของรัฐให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของสังคม

42. ภาษีรถยนต์ มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ฐานการบริโภค
(2) ฐานรายได้
(3) ฐานความมั่งคั่งและฐานรายได้
(4) ฐานความมั่งคั่งและฐานการบริโภค
(5) ฐานความมั่งคั่ง
ตอบ 5 หน้า 6, 23, (คําบรรยาย) ฐานความมั่งคั่ง (Wealth Base) เป็นฐานภาษีที่พิจารณาจาก รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินที่บุคคลได้ครอบครองอยู่ ตัวอย่างภาษีที่จัดเก็บ โดยใช้ฐานความมั่งคั่ง เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีโรงแรม ภาษีโรงงาน ภาษีป้าย ภาษีรถยนต์ ภาษีมรดก ภาษีดอกเบี้ย เป็นต้น

43. ส่วนขาดดุลทางการคลังเกิดจากข้อใด
(1) รัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้
(2) รัฐบาลมีรายได้มากกว่ารายจ่าย
(3) รายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
(4) รัฐบาลมีรายจ่ายเท่ากับรายได้
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 45 ส่วนขาดดุลทางการคลัง (Fiscal Deficit) เกิดจากรัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ซึ่งรัฐบาลสามารถชดเชยการขาดดุลได้โดยใช้วิธีการก่อหนี้สาธารณะ

44.ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(1) การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
(2) เสถียรภาพและความมั่นคง
(3) การบริหารความเสี่ยงที่ดี
(4) ส่งเสริมการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน
(5) ไม่มีข้อใดที่ไม่ใช่เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
ตอบ 5 หน้า 60 เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
ได้แก่
1. ระบบการเงินมีเสถียรภาพและความมั่นคง
2. การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
3. การบริหารความเสี่ยงที่ดี
4. ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน
5. การเข้าถึงบริการทางการเงินเป็นไปอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

45. ข้อใดคือลักษณะที่สําคัญที่สุดของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายทางการเงิน
(1) รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสีย
(2) มุ่งหากําไรสูงสุด
(3) มีอํานาจเด็ดขาด
(4) หลีกเลี่ยงการแทรกแซงตลาดการเงิน
(5) มีอิสระจากฝ่ายการเมือง
ตอบ 5 หน้า 55 ลักษณะที่สําคัญที่สุดของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายทางการเงิน คือ มีอิสระ จากฝ่ายการเมือง เนื่องจากการดําเนินนโยบายทางการเงินนั้นมีเป้าหมายที่จะรักษาเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจเป็นสําคัญ ดังนั้นการดําเนินนโยบายโดยหน่วยงานที่มีอิสระจากฝ่ายการเมืองย่อมจะเป็นผลดีต่อการบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินมากกว่าการกําหนดนโยบายโดยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง

46. ภาษีป้าย มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ผู้ขายสินค้า
(2) ฐานเงินได้
(3) ฐานความยั่งยืนและมั่งคั่ง
(4) ฐานการบริโภค
(5) ฐานรายได้
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

47. ใครเป็นผู้แบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง
(1) ฐานความมั่งคั่ง
(2) ผู้จัดจําหน่ายสินค้า
(3) ผู้โกงสินค้า
(4) ผู้ผลิตสินค้า
(5) ผู้บริโภคสินค้า
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีทางอ้อมที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการสามารถผลักภาระ ภาษีไปให้ผู้บริโภคได้โดยการบวกเพิ่มเข้าไปในสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ดังนั้นผู้แบกรับภาระ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงก็คือ ผู้บริโภคสินค้าหรือบริการนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันมีการจัดเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7%

48. ทุกข้อจัดเป็น “เงินนอกงบประมาณแผ่นดิน” ยกเว้น
(1) เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
(2) งบประมาณของเทศบาล
(3) งบประมาณของอัยการ
(4) เงินรายได้ของกองทุนหมุนเวียน
(5) งบรายได้ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
ตอบ 3 หน้า 7, 67 – 68, (คําบรรยาย) เงินนอกงบประมาณ หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่มีมูลค่า ซึ่งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจหามาได้เองด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่ใช่มาจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เป็นเงินที่แยกออกจากความเป็นศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน ซึ่งได้แก่ เงินทุนหมุนเวียน งบประมาณของรัฐวิสาหกิจ (เช่น งบประมาณของ ขสมก.) เงินช่วยเหลือ จากต่างประเทศ เงินกู้ยืมทั้งในและต่างประเทศ งบประมาณของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น (ได้แก่ งบประมาณของ อบต. อบจ. เทศบาล กทม. และเมืองพัทยา) เงินรายได้ของสถาบัน การศึกษา และเงินรายได้ของสถาบันสาธารณสุข

49. ภาษีไฟ มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ฐานรายได้
(2) ฐานความมั่งคั่งและฐานการบริโภค
(3) ฐานการบริโภค
(4) ฐานรายได้และฐานความมั่งคั่ง
(5) ฐานความมั่งคั่ง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

50. ลักษณะที่เรียกว่า “เป็นศูนย์รวมเงิน” ได้แก่
(1) ดําเนินการภายใต้กฎข้อบังคับเดียวกัน
(2) ดําเนินการภายใต้กฎข้อบังคับเดียวกันและการดูแลของสถาบันต่าง ๆ เดียวกัน
(3) ดําเนินการภายใต้การดูแลของสถาบันต่าง ๆ เดียวกัน
(4) ทั้งดําเนินการภายใต้กฎข้อบังคับเดียวกัน ภายใต้การดูแลของสถาบันต่าง ๆ เดียวกัน
และเป็นการใช้จ่ายตามที่กําหนดไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจําปี
(5) เป็นการใช้จ่ายตามที่กําหนดไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจําปี
ตอบ 4 หน้า 67, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินมีลักษณะเป็นศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน หมายความว่า ในปีงบประมาณหนึ่ง ๆ จะต้องมีการบูรณาการแผนทางการเงินของส่วนราชการต่าง ๆ ให้เป็น แผนเดียวกัน มีการจัดเตรียมและอนุมัติงบประมาณเพียงครั้งเดียว มีการใช้จ่ายตามที่กําหนดไว้ใน งบประมาณรายจ่ายประจําปี หากไม่มีความจําเป็นจะไม่มีการจัดทํางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม รวมทั้งกระบวนการงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ จะต้องดําเนินไปภายใต้กฎข้อบังคับ เดียวกัน ใช้บทบัญญัติเดียวกัน และมีสถาบันหรือหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในขั้นตอนต่างๆ ของการบริหารงบประมาณเดียวกัน

51. พันธบัตรรุ่นล่าสุดที่รัฐบาลออกจําหน่ายแก่ประชาชนมีชื่อว่าอะไร
(1) เราชนะ
(2) ไทยช่วยไทย
(3) คนละครึ่ง
(4) ไทยชนะ
(5) เราไม่ทิ้งกัน
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) พันธบัตรรุ่นล่าสุดที่รัฐบาลออกจําหน่ายแก่ประชาชน คือ พันธบัตรออมทรัพย์ พิเศษรุ่น “เราชนะ” โดยวัตถุประสงค์ของการออกพันธบัตรนี้ก็เพื่อระดมทุนในการแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19

52. ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงิน
(1) การควบคุมปริมาณเงิน
(2) การควบคุมปริมาณเงินและกําหนดอัตราดอกเบี้ย
(3) การเก็บภาษีศุลกากร
(4) การควบคุมเงินที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ
(5) การกําหนดอัตราดอกเบี้ย
ตอบ 3 หน้า 55 – 56 เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง ประกอบด้วย 3 เครื่องมือ คือ การควบคุมปริมาณเงิน การกําหนดอัตราดอกเบี้ย และการควบคุมเงิน ที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ

53. การจัดเตรียมงบประมาณที่ใช้แนวทางของ Zero-Base Budget จะทําให้เกิดการตัดสินใจในลักษณะใด (1) Incrementalism และ Muddling Through
(2) Pure Rationality
(3) Muddling Through
(4) Incrementalism
(5) Limited Rationality
ตอบ 2 หน้า 96, 99 – 100, (คําบรรยาย) งบประมาณฐานศูนย์ (Zero-Base Budget : ZBB) เป็นระบบ งบประมาณที่อาศัยหลักของเหตุผล (Pure Rationality) ในการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งกําหนดให้ โครงการหรืองานที่เสนอของบประมาณในทุก ๆ ปีงบประมาณจะต้องได้รับการตรวจสอบวิเคราะห์ ทั้งระบบ ทั้งงานหรือโครงการเดิมที่เคยทํามาแล้ว และงานหรือโครงการใหม่ ๆ ที่กําลังจะเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อต้องการให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีเหตุผล แต่วิธีการนี้มักจะก่อให้เกิดความล่าช้าหรืออาจทําไม่ได้ในทางปฏิบัติ

54. สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้สังกัดของหน่วยงานใด
(1) สํานักนายกรัฐมนตรี
(2) สํานักเศรษฐกิจการคลัง
(3) สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(4) สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
(5) ไม่สังกัดหน่วยงานใด
ตอบ 4 หน้า 48 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 อยู่ภายใต้สังกัดของ สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดําเนินการเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การผูกพันหนี้ การบริหารหนี้ และการชําระหนี้ ในประเทศและต่างประเทศของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งที่ค้ําประกันและไม่ค้ําประกัน

55. ตัวอย่างของระบบงบประมาณที่เน้นที่ “การจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย”
(1) งบประมาณแบบแสดงรายการ
(2) งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ
(3) งบประมาณแบบโครงการ
(4) งบประมาณแบบมุ่งประสิทธิภาพ
(5) งบประมาณแบบโครงการและแบบมุ่งประสิทธิภาพ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

56. ข้อใดไม่นับเป็นหนี้สาธาร
(1) หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน
(2) หนี้ของรัฐบาล
(3) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
(4) หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นและไม่เป็นสถาบันการเงิน
(5) หนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์
ตอบ 5 หน้า 45, 50, (คําบรรยาย) หนี้สาธารณะ ได้แก่
1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศ
2. หนี้ของรัฐวิสาหกิจ (ไม่เป็นสถาบันการเงิน) ที่รัฐบาลค้ําประกันและไม่ค้ำประกัน
3. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ําประกัน
4. หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
5. หนี้ หนี้ของหน่วยงานอื่นของรัฐ

57. ระยะเวลาในการ “อนุมัติ” งบประมาณของไทยมีระยะเวลาประมาณกี่เดือน
(1) 5 เดือน
(2) 3 เดือน
(3) 8 เดือน
(4) 12 เดือน
(5) มากกว่า 12 เดือน

ตอบ 2 หน้า 79 ระยะเวลาของการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน เรียกว่า วงจรงบประมาณ (Budget Cycle) ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุด โดยวงจรงบประมาณ ของประเทศไทยนั้นจะใช้เวลาประมาณ 22 เดือน ประกอบด้วยกิจกรรมหรือการกระทํา 3 ขั้นตอน คือ การจัดเตรียมประมาณ 6 – 7 เดือน การอนุมัติประมาณ 3 – 4 เดือน และ การควบคุมหรือการบริหารเป็นเวลา 12 เดือน

58. ณ สิ้นเดือนเมษายน 2560 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยอยู่ที่ประมาณร้อยละเท่าไร
(1) 60
(2) 40
(3) 10
(4) 20
(5) 15
ตอบ 2 หน้า 51 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน เมษายน 2560 มีจํานวน 6,267,920.88 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.64 ของ GDP

59. สินค้าที่ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค และแยกการบริโภคออกจากกันได้ จัดเป็นสินค้าประเภทใด
(1) สินค้าอุตสาหกรรม
(2) สินค้าสโมสร
(3) สินค้าอุปโภคบริโภค
(4) สินค้าเอกชน
(5) สินค้าสาธารณะ
ตอบ 2

60.“การจัดทํางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม” ควรทําเมื่อใด
(1) เกิดภัยสงคราม
(2) ต้องการปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้เมื่อหาเสียงเลือกตั้ง
(3) วางแผนการใช้จ่ายผิดพลาด เกิดความเสียหาย และเกิดภัยสงคราม
(4) วางแผนการใช้จ่ายผิดพลาด เกิดความเสียหาย เกิดภัยสงคราม และต้องการปฏิบัติตามสัญญา ที่ให้ไว้เมื่อหาเสียงเลือกตั้ง
(5) วางแผนการใช้จ่ายผิดพลาด และเกิดความเสียหาย
ตอบ 3 หน้า 132, (คําบรรยาย) การจัดทํางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ควรทําเมื่อ
1. เกิดวิกฤติต่าง ๆ เช่น เกิดสงครามระหว่างประเทศ เกิดปัญหาอย่างรุนแรงทางเศรษฐกิจ
2. งบประมาณรายจ่ายประจําปีที่ได้รับอนุมัติแล้วยังไม่เพียงพอเนื่องจากวางแผนการใช้จ่าย ผิดพลาด และถ้าไม่ได้รับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ
3. ไม่สามารถโอนงบประมาณจากส่วนราชการอื่น หรืองานอื่นมาใช้ในส่วนราชการที่จําเป็น จะต้องของบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมได้
4. รัฐบาลมีรายได้จากภาษีอากร หรือรายได้อื่นใดสูงกว่าที่ได้ประมาณการไว้ตอนต้น

61. ภาษีบํารุงท้องถิ่นจากโรงแรม น้ํามัน ยาสูบ มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ฐานรายได้
(2) ฐานความมั่งคั่ง
(3) ฐานรายได้และฐานความมั่งคั่ง
(4) ฐานการบริโภค
(5) ฐานความมั่งคั่งและฐานการบริโภค
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 11. และ 42. ประกอบ

62. ภาษีธุรกิจเฉพาะ มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ฐานความมั่งคั่ง
(2) ฐานรายได้
(3) ฐานรายได้และฐานความมั่งคั่ง
(4) ฐานความมั่งคั่งและฐานการบริโภค
(5) ฐานการบริโภค
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

63. ข้อใดไม่นับว่าเป็นเงิน
(1) ตั๋วแลกเงิน
(2) เหรียญกษาปณ์
(3) ศิลปวัตถุ
(4) บัตรเครดิต
(5) เช็ค
ตอบ 3 หน้า 54 เงิน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจจะอยู่ในหลายรูปแบบ เช่น ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ เช็ค ตั๋วแลกเงิน บัตรเครดิต เป็นต้น

64. คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะประกอบด้วยกรรมการจํานวนทั้งสิ้นที่ตําแหน่ง
(1) 13
(2) 11
(3) 12
(4) 10
(5) 9
ตอบ 1 หน้า 50, (คําบรรยาย) คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ ประกอบด้วยกรรมการจํานวนทั้งสิ้น 13 ตําแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเป็นรองประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ผู้อํานวยการ สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้อํานวยการสํานักงานบริหาร หนี้สาธารณะ และกรรมการผู้คุณวุฒิ 3 ตําแหน่ง

65. ข้อใดที่จัดเป็นลักษณะของ Traditional Budget
(1) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(2) จัดทําโครงสร้างแผนงาน
(3) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลัก Incrementalism และแบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(4) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการและจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(5) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลัก Incrementalism
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

66. ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปีใด
(1) ปี พ.ศ. 2480
(2) ปี พ.ศ. 2485
(3) ปี พ.ศ. 2500
(4) ปี พ.ศ. 2495
(5) ปี พ.ศ. 2490
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

67. การแบ่งรายจ่ายออกเป็นหมวด เช่น หมวดเงินเดือน หมวดสาธารณูปโภค หมวดครุภัณฑ์
เป็นการจําแนกงบประมาณที่เรียกว่า
(1) Agencies Classification
(2) Functional Classification
(3) Objective Classification
(4) Objective Classification as Functional Classification
(5) ไม่ใช่ทั้ง Objective Classification, Agencies Classification และ Functional Classification
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

68. คุณลักษณะที่สําคัญของงบประมาณแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตย คือ
(1) เป็นแผนทางการเงิน
(2) เป็นกฎหมาย
(3) ไม่เป็นกฎหมาย ไม่เป็นแผนทางการเงิน และไม่เป็นกลไกรับรองการเป็นรัฐบาล
(4) เป็นแผนทางการเงินและเป็นกฎหมาย
(5) เป็นกลไกรับรองการเป็นรัฐบาล
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

69. หน่วยงานใดเป็นผู้กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย
(1) คณะกรรมการนโยบายการเงิน
(2) ธนาคารกรุงไทย
(3) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(4) กระทรวงการคลัง
(5) กระทรวงพาณิชย์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

70. เทคนิคที่สําคัญของการกําหนด “ยอดวงเงิน” ของ Line-Item Budget ได้แก่
(1) Program Analysis

(2) System Analysis
(3) Incrementalism
(4) Zero-Base Budget
(5) ทั้ง Incrementalism และ Zero-Base Budget
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

71. สินค้าและบริการในข้อใดที่มีลักษณะของสินค้าสรรพสามิตครบทุกข้อ
(1) สินค้าที่ขัดต่อศีลธรรมอันดี มีความฟุ่มเฟือย และไม่สร้างผลเสียต่อสุขภาพ
(2) สินค้าบริโภคแล้วเกิดผลเสียต่อสุขภาพ ได้รับประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ ไม่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย
(3) สินค้าที่ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และเกิดผลเสียต่อสุขภาพ
(4) สินค้าที่ขัดต่อศีลธรรมอันดี มีความฟุ่มเฟือย และบริโภคแล้วเกิดผลเสียต่อสุขภาพ
(5) สินค้าที่มีความฟุ่มเฟือย ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี ไม่ได้รับประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ
ตอบ 4 หน้า 38 สินค้าสรรพสามิต คือ สินค้าและบริการที่บริโภคแล้วก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ขัดต่อศีลธรรมอันดี มีความฟุ่มเฟือย และได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ เช่น สุรา ยาสูบ ไพ่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม เรือ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ น้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน น้ําหอม เจลแอลกอฮอลล์ สนามกอล์ฟ สนามแข่งม้า ไนท์คลับและดิสโก้เธค เป็นต้น

72. กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้สาธารณะ เรียกว่าอะไร
(1) กฎกระทรวงการคลัง
(2) กฎเหล็กทางการคลัง
(3) วินัยทางการคลัง
(4) ความยั่งยืนทางการคลัง
(5) วินัยทางการคลัง กฎเหล็กทางการคลัง ความยั่งยืนทางการคลัง และกฎกระทรวงการคลัง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้สาธารณะ เรียกว่า วินัยทางการคลัง

73. วิธีการงบประมาณแบบใดที่ให้ความสําคัญกับ “Inputs” ของหน่วยงาน
(1) แบบแผนงาน
(2) แบบโครงการ
(3) แบบแสดงรายการ
(4) แบบแผนงานและแบบโครงการ
(5) ไม่ใช่ทั้งแบบแผนงาน แบบแสดงรายการ และแบบโครงการ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

74. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับร้อยละเท่าไร
(1) 15.28
(2) 25.74
(3) 18.25
(4) 7.12
(5) 15.26
ตอบ 4 หน้า 52 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.12

75. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ฐานการบริโภค
(2) ฐานรายได้
(3) ฐานการบริโภคและฐานรายได้
(4) ฐานความมั่งคั่ง
(5) ฐานความมั่งคั่งและฐานการบริโภค
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

76. ไฟฟ้าบนถนนสาธารณะจัดเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าชนิดใด
(1) การไฟฟ้านครหลวง
(2) รถยนต์ส่วนบุคคล
(3) วิทยุกระจายเสียง
(4) นโยบายป้องกันประเทศจาก COVID
(5) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

77. กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารหนี้สาธารณะคือข้อใด
(1) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2550
(2) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2546
(3) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2547
(4) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2545
(5) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548
ตอบ 5 (คําบรรยาย) กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหาร หนี้สาธารณะ คือ พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งประกาศ บังคับใช้ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร

78. ตัวอย่างของระบบงบประมาณที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะกับการวางแผนวางโครงการ
ของหน่วยงาน
(1) งบประมาณแบบแสดงรายการ
(2) งบประมาณแบบโครงการ
(3) งบประมาณแบบโครงการและงบประมาณแบบมุ่งประสิทธิภาพ
(4) งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ
(5) งบประมาณแบบมุ่งประสิทธิภาพ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

79. เงินได้พึงประเมินหมายถึงเงินได้ของบุคคลที่เกิดขึ้นในระยะเวลาใด
(1) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม
(2) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 30 กันยายน
(3) ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 31 พฤษภาคม
(4) ระหว่างวันที่ 14 เมษายน – 31 ธันวาคม
(5) ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 มีนาคม
ตอบ 1 หน้า 31 เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้ของบุคคลใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคมของปีใด ๆ หรือเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่
1. เงิน
2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน
3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน
4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกําหนด

80. หลักการที่ว่า “ผู้ที่มีความสามารถในการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ควรเสียภาษีแตกต่างกัน”เป็นหลักความเสมอภาคในรูปแบบใด
(1) ความเสมอภาคระหว่างบุคคล
(2) ความเสมอภาคในแนวตั้ง
(3) ความเสมอภาคในเชิงเปรียบเทียบ
(4) ความเสมอภาคในแนวระนาบ
(5) ความเสมอภาคในแนวนอน

ตอบ 2 หน้า 26 หลักความเสมอภาคในแนวตั้งหรือแนวดิ่ง (Vertical Equity) มีสาระสําคัญว่า ผู้มีความสามารถในการเสียภาษีหรืออยู่ในสภาวการณ์ในการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ควรจะ เสียภาษีในลักษณะที่แตกต่างกัน ในลักษณะที่ว่า “Unequal Should Be Treated Unequally”

81. ปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลกในช่วงทศวรรษ 1930 เรียกว่าอะไร
(1) Crisis
(2) Hamburger Crisis
(3) The Great Storm
(4) The Great Depression
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 46 – 47 (คําบรรยาย) ในช่วงทศวรรษ 1930 เกิดปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลก หรือที่เรียกว่า The Great Depression ซึ่งทฤษฎีของเคนส์ได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหานี้ โดยการเสนอให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ คือการให้รัฐบาลใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ที่มีอยู่เพื่อเป็นการ ยกระดับอุปสงค์มวลรวม (Aggregate Demand)

82. พลเมืองมีสิทธิปฏิเสธการทํางานของรัฐบาลได้หลายวิธี ยกเว้นข้อใด
(1) การทําลายทรัพย์สินของทางราชการ
(2) การทําอารยะขัดขืน
(3) การไม่จ่ายภาษีให้รัฐบาล
(4) การเดินขบวนประท้วง
(5) การไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ตอบ 1 หน้า 28 ในทางรัฐศาสตร์ รัฐบาลและพลเมืองจะต้องมีจริยธรรมด้วยกันทั้งคู่ จึงจะทําให้ การบริหารประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น หากรัฐบาลไม่ได้คํานึงถึงผลประโยชน์ของพลเมืองโดยส่วนรวม พลเมืองย่อมมีสิทธิปฏิเสธการทํางานของรัฐบาล ซึ่งสามารถทําได้หลายวิธี เช่น การไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การไม่จ่ายภาษีให้รัฐบาล การเดินขบวนประท้วง การทําอารยะขัดขืน เป็นต้น

83. พฤติกรรมในข้อใดเป็นพฤติกรรมที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย
(1) การเสียภาษีโดยสมัครใจ
(2) การเสียภาษีอย่างจํายอม
(3) การเลี่ยงภาษี
(4) การต่อต้านภาษี
(5) การหนีภาษี
ตอบ 3 หน้า 27 พฤติกรรมการเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance) คือ การที่พลเมืองผู้มีหน้าที่เสียภาษี ใช้วิธีการใด ๆ ตามกฎหมายที่มุ่งสร้างให้เกิดผลต่อภาระภาษีของผู้เสียภาษี เพื่อที่จะได้มี ภาระภาษีที่จะต้องเสียต่ำกว่าเดิม หรือใช้วิธีการบิดเบือนเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่ง การเลี่ยงภาษีนี้เป็นพฤติกรรมที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย และ ส่งผลโดยตรงให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

84. ตามแนวคิดในการจัดสรรทรัพยากรแบบเสรีนิยม “กิจกรรมที่ถ้าให้เอกชนจัดทําแล้วประชาชน อาจเสียประโยชน์” ได้แก่
(1) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(2) กิจการไฟฟ้า
(3) บริการด้านการรักษาพยาบาล
(4) การช่วยเหลือคนว่างงาน
(5) บริการการป้องกันประเทศ
ตอบ 3 หน้า 71 – 72 ตามแนวคิดในการจัดสรรทรัพยากรแบบเสรีนิยมนั้น กิจกรรมที่เอกชนจัดทําแล้ว ประชาชนอาจเสียประโยชน์ ได้แก่ บริการด้านการศึกษา (การจัดการศึกษาภาคบังคับ) บริการ ด้านสาธารณสุข (การรักษาพยาบาล การป้องกันโรคติดต่อ การให้ความรู้เกี่ยวกับสาธารณสุข ขั้นมูลฐาน) เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมประเภทนี้รัฐจะต้องเข้าไปควบคุมมาตรฐานเพื่อความถูกต้องเหมาะสม

85. ในปัจจุบันบุคคลใดดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง
(1) นายสมชัย สัจจพงษ์
(2) นายประสงค์ พูนธเนศ
(3) นายวิรไท สันติประภพ
(4) นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(5) ไม่มีบุคคลใดในตัวเลือกที่ดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวงการคลังในปัจจุบัน
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ปลัดกระทรวงการคลังในปัจจุบัน คือ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

86. ภาษีเงินได้นิติบุคคล มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ฐานการบริโภค
(2) ฐานรายได้
(3) ฐานความมั่งคั่ง
(4) ฐานความมั่งคั่งและฐานความยั่งยืน
(5) ฐานความยั่งยืน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

87. ข้อใดไม่นับเป็นเป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) การบริหารความเสี่ยงที่ดี
(2) ส่งเสริมการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน
(3) การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
(4) เสถียรภาพและความมั่นคง
(5) ในบรรดาตัวเลือกทั้งหมดไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ

88. นักเศรษฐศาสตร์สํานักใดไม่ยอมรับการก่อหนี้สาธารณะ
(1) นีโอลิเบอรัล
(2) เคนส์เซียน
(3) พาณิชย์นิยม
(4) เสรีนิยม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 46 นักเศรษฐศาสตร์สํานักคลาสสิก (Classical Economist) หรือสํานักเสรีนิยม (Liberalist) มองว่า บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจควรเป็นไปอย่างจํากัด (Minimalist State) คือ รัฐบาลควรใช้จ่ายงบประมาณอย่างจํากัด ดังนั้นการใช้จ่ายเกินตัวของรัฐบาลซึ่งนําไปสู่การก่อหนี้สาธารณะจึงเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์สํานักนี้

89. “กรมศุลกากร” เป็นหน่วยงานในสังกัดใด
(1) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
(2) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
(3) สํานักนายกรัฐมนตรี
(4) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(5) ในบรรดาตัวเลือกทั้งหมดไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 37, (คําบรรยาย) กรมศุลกากร เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง มีหน้าที่ ในการจัดเก็บภาษีศุลกากร ซึ่งเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการนําสินค้าเข้าจากต่างประเทศ หรือส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร โดยจะจัดเก็บตามราคาหรือร้อยละของมูลค่าสินค้า และจัดเก็บตามสภาพของสินค้า ตามปริมาณ น้ำหนัก ความยาว หรือปริมาตร เป็นต้น

90. ข้อใดเป็นโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทย
(1) โครงสร้างแบบถดถอย
(2) โครงสร้างแบบก้าวหน้า
(3) โครงสร้างแบบเร่งรัด
(4) โครงสร้างแบบสัดส่วน
(5) โครงสร้างแบบพื้นฐาน
ตอบ 2 หน้า 30 (คําบรรยาย) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามกฎหมายและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กําหนด โดยปกติประเทศไทยจะมีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นรายปีโดยใช้อัตราภาษี แบบก้าวหน้า (Progressive Tax Rate)

91. ในช่วงการสอบปลายภาคมักมีผู้ใช้บริการห้องสมุดเป็นจํานวนมาก ห้องสมุดในช่วงเวลาดังกล่าว
จัดเป็นสินค้าประเภทใด
(1) Pure Public Goods
(2) Price-Excludable Public Goods
(3) Common Goods
(4) Pure Private Goods
(5) Club Goods
ตอบ 3 หน้า 13, 40 สินค้าทั่วไป (Common Goods) หรือสินค้ากึ่งสาธารณะประเภท Congestible Public Goods เป็นสินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภคแต่แบ่งแยกการบริโภคออกจากกันไม่ได้หรือการเข้ามาของผู้บริโภครายใหม่อาจทําให้ความพึงพอใจของผู้บริโภครายเดิมลดน้อยลงแต่ไม่สามารถกีดกันให้บุคคลอื่นไม่สามารถเข้ามาเป็นผู้บริโภคได้ เช่น สนามหลวง สนามกีฬา แห่งชาติ ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ถนนสาธารณะ (เช่น ถนนพระราม 9) ทางด่วน เป็นต้น (ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ)

92. ข้อใดเป็น “นโยบายการเงิน”
(1) กํากับอัตราดอกเบี้ย และปรับอัตราภาษี
(2) กํากับอัตราดอกเบี้ย
(3) ปรับอัตราภาษี
(4) ขายพันธบัตรรัฐบาล
(5) ปรับอัตราภาษี และขายพันธบัตรรัฐบาล
ตอบ 2, 4 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

93. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ฐานความมั่นคง
(2) ฐานรายได้
(3) ฐานหลักประกัน
(4) ฐานการบริโภค
(5) ฐานความมั่งคั่ง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

94. “ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย” เป็นฐานภาษีของภาษีชนิดใด
(1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(3) ภาษีศุลกากร
(4) ภาษีสรรพสามิต
(5) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตอบ 5 หน้า 34 ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีที่จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยทั่วไปฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ กําไรสุทธิ แต่เพื่อความเป็นธรรมแก่นิติบุคคล และอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษี จึงได้มีการบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกัน ออกไปตามลักษณะของรายได้ เช่น จากกําไรสุทธิ จากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย จากเงินได้ ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย จากการจําหน่ายเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย เป็นต้น

95. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทําให้เกิดภาพลวงตาทางการคลัง (Fiscal Illusion)
(1) มีโครงสร้างภาษีทางอ้อมในสัดส่วนที่สูง
(2) มีอัตราการจัดเก็บภาษีรูปแบบเดียวกันอัตราเดียว
(3) รัฐบาลจัดเก็บภาษีหลากหลายประเภท
(4) มีการจัดเก็บภาษีในฐานร่วม (Shared Taxes)
(5) การมีข้อลดหย่อนยกเว้นที่ซับซ้อน
ตอบ 2 หน้า 26 Buchanan ได้ระบุไว้ว่า การจัดเก็บภาษีที่มีความซับซ้อนนั้น อาจทําให้เกิด ปรากฏการณ์ภาพลวงตาทางการคลัง (Fiscal Illusion) ขึ้นได้ ซึ่งความซับซ้อนของ
ระบบภาษีและการหารายได้ของรัฐอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
1. รัฐบาลจัดเก็บภาษีหลายประเภท หลายอัตรา
2. การมีข้อลดหย่อนยกเว้นที่ซับซ้อนหรือมีรายการลดหย่อนจํานวนมาก
3. มีโครงสร้างภาษีทางอ้อมในสัดส่วนที่สูง
4. มีการจัดเก็บภาษีในฐานร่วม (Shared Taxes)

96. ระบบงบประมาณแบบใดที่ให้ความสําคัญที่การจัดทํา Program Structure และการวางแผนระยะยาว
(1) งบประมาณแบบโครงการ
(2) งบประมาณแบบมุ่งประสิทธิภาพ
(3) ทั้งงบประมาณแบบโครงการและงบประมาณแบบมุ่งประสิทธิภาพ
(4) งบประมาณแบบแสดงรายการ
(5) งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

97. ความมั่งคั่งของชาติ สามารถวัดได้โดย
(1) ดูขนาดของผลผลิตมวลรวม และดูอัตราเงินเฟ้อ
(2) ดูขนาดของผลผลิตมวลรวม
(3) ดูอัตราเงินเฟ้อ
(4) เปรียบเทียบรายได้ของคนในชุมชนเมืองกับในชุมชนชนบท และดูขนาดของผลผลิตมวลรวม
(5) เปรียบเทียบรายได้ของคนในชุมชนเมืองกับในชุมชนชนบท
ตอบ 2 หน้า 73 – 74, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินจะต้องเป็นไปเพื่อ
1. สร้างความเจริญเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจหรือความมั่งคั่งของชาติ ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลรวม
2. สร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูอัตราการว่างงาน
อัตราเงินฝืด และอัตราเงินเฟ้อ
3. สร้างประสิทธิภาพในการทํางาน ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูผลผลิตต่อหน่วย
4. สร้างความเสมอภาคหรือการกระจายทางเศรษฐกิจ หรือการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ให้กับสังคม ซึ่งสามารถวัดได้โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของรายได้ อัตราการใช้จ่าย และทรัพย์สินที่มี

98. ระบบงบประมาณแบบใดให้ความสําคัญที่ “การจําแนกเงินออกตามหน่วยงาน
(1) งบประมาณแบบแสดงรายการ
(2) งบประมาณแบบมุ่งประสิทธิภาพ
(3) งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ
(4) งบประมาณแบบโครงการ
(5) ทั้งงบประมาณแบบโครงการและงบประมาณแบบมุ่งประสิทธิภาพ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

99. ในการอนุมัติงบประมาณ ที่เรียกว่า “Budget Documents” หมายถึง
(1) ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี
(2) ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี และคําแถลงประกอบงบประมาณแสดงฐานะและนโยบายทางการคลัง
(3) คําแถลงประกอบงบประมาณแสดงฐานะและนโยบายทางการคลัง
(4) คู่มือจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย
(5) ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี คําแถลงประกอบงบประมาณแสดงฐานะและนโยบายทางการคลัง และคู่มือจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย
ตอบ 2 หน้า 81 – 82 เอกสารงบประมาณประจําปี (Budget Documents) ของไทยมีส่วนประกอบดังนี้
1. คําแถลงประกอบงบประมาณแสดงฐานะและนโยบายทางการคลังและการเงินของประเทศ
2. ตารางแสดงรายรับรายจ่ายเปรียบเทียบ
3. รายละเอียดของหน่วยงาน โครงการ และงานต่าง ๆ ของราชการและรัฐวิสาหกิจ
4. รายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของรัฐวิสาหกิจ
5. รายละเอียดเกี่ยวกับหนี้สินของรัฐบาล
6. ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี

100. FED เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด
(1) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์
(2) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา
(3) ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(4) ธนาคารกลางแห่งฝรั่งเศส
(5) ธนาคารกลางแห่งแอฟริกา
ตอบ 2 หน้า 55 ในปัจจุบันธนาคารกลางที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ได้แก่ ธนาคารกลางแห่งยุโรป (European Central Bank : ECB) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve Bank : FED) เป็นต้น

POL3100 กระบวนการนิติบัญญัติ 1/2566

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL3100 กระบวนการนิติบัญญัติ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. พรรคการเมืองที่ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมากที่สุดในการเลือกตั้งเมื่อวันที่
14 พฤษภาคม 2566 คือพรรคใด และได้จํานวนกี่คน
(1) พรรคก้าวไกล 29 คน
(2) พรรคก้าวไกล 39 คน
(3) พรรคเพื่อไทย 29 คน
(4) พรรคเพื่อไทย 39 คน
(5) พรรคก้าวไกล 51 คน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 นั้น พบว่าพรรคการเมืองที่ ได้จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อมากที่สุด คือ พรรคก้าวไกล (39 คน) รองลงมาคือ พรรคเพื่อไทย (23 คน) พรรครวมไทยสร้างชาติ (13 คน) พรรคภูมิใจไทย (3 คน) พรรคประชาธิปัตย์ (3 คน) และพรรคประชาชาติ (2 คน) ตามลําดับ

2. ในการลงคะแนนเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีในวาระแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กําหนดให้ผู้ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีต้องได้คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีอยู่ของรัฐสภา
คือจํานวนเท่าใด
(1) 251 เสียง
(2) 351 เสียง
(3) 276 เสียง
(4) 376 เสียง
(5) 500 เสียง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 บทเฉพาะกาล มาตรา 272 กําหนดให้ ในระหว่างห้าปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ผู้ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีคะแนนเสียง มากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา (รัฐสภา) ซึ่งหมายความว่า ในวาระแรกให้สมาชิกรัฐสภาประกอบด้วย ส.ส. จํานวน 500 คน และ ส.ว. จํานวน 250 คน รวมสมาชิกทั้งสองสภาเป็นจํานวนทั้งสิ้น 750 คน ดังนั้นในส่วนของมติให้ความเห็นชอบในการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี คือจํานวน 376 เสียงขึ้นไป

3. ประธานสภาผู้แทนราษฎรในการลงคะแนนเลือกของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 คือใคร (1) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
(2) นายวิโรจน์ เปาอินทร์
(3) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
(4) นายปฏิพัทธ์ สันติภาดา
(5) นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ดํารงตําแหน่งประธานรัฐสภาของไทยคนปัจจุบัน เนื่องจากได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 และ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

4.ข้อใดคือประชาธิปไตยทางตรง
(1) การรับฟังความคิดเห็นจากประธานชุมชน
(2) การเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(3) การสรรหาวุฒิสภา
(4) การรับฟังข่าวสาร
(5) การไปลงประชามติ
ตอบ 5(คําบรรยาย) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นรูปแบบการปกครองโดยที่พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจใด ๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง หรือผู้ทําหน้าที่แทนตน เช่น การไปลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมาย เป็นต้น

5. ขั้นตอนใดของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่มีการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณารายละเอียดสาระของ
ร่างพระราชบัญญัติ
(1) เมื่อมีการลงประชามติเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติเรียบร้อยแล้ว
(2) เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 2 ใน 3 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแล้ว
(3) เมื่อที่ประชุมเห็นชอบหลักการของร่างพระราชบัญญัติแล้ว
(4) เมื่อที่ประชุมเห็นชอบเนื้อหาแต่ละมาตราของพระราชบัญญัติแล้ว
(5) เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรรับร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ แล้ว
ตอบ 3 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 1
เป็นการพิจารณาหลักการทั่วไปของร่างพระราชบัญญัติว่าสมควรจะลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้นถ้าที่ประชุมเห็นชอบหลักการของร่างพระราชบัญญัติแล้วก็จะเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 2 คือการพิจารณาในรายละเอียดสาระของร่างพระราชบัญญัติ โดยคณะกรรมาธิการที่สภาตั้งหรือคณะกรรมาธิการเต็มสภา แต่ถ้าที่ประชุมไม่เห็นชอบหลักการ ร่างพระราชบัญญัตินั้นก็เป็นอันตกไป

6. การกําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมากขึ้น แสดงนัยยะสําคัญอะไร
(1) อํานาจของประชาชนมากขึ้น
(2) อํานาจของประชาชนน้อยลง
(3) โอกาสการเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้น
(4) ไม่มีนัยยะสําคัญ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) สามารถแสดงออก ผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ในหลายลักษณะ เช่น
1. กําหนดสัดส่วนของตัวแทนประชาชนในรัฐสภาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด
2. กําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจํานวนมากขึ้น (แสดงนัยยะสําคัญ ว่าอํานาจของประชาชนน้อยลง) เป็นต้น

7. ประเทศไทยได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อใด
(1) 24 ธันวาคม 2475
(2) 24 มิถุนายน 2475
(3) 10 ธันวาคม 2475
(4) 14 ตุลาคม 2475
(5) 6 ตุลาคม 2475
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรก ของประเทศไทย ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

8. กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา เรียกว่าอะไร
(1) พระราชกฤษฎีกา
(2) พระราชานุญาต
(3) พระราชบัญญัติ
(4) พระราชกําหนด
(5) พระราชดําริ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนํา และยินยอมของรัฐสภา กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่ต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบของ รัฐสภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก่อน จึงนําขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลง พระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

9.การตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องเสียงส่วนน้อย คือข้อใด
(1) Secular State
(2) Human Rights
(3) Parliamentary System
(4) Social Contract
(5) Majority Rule and Minority Rights
ตอบ 5 (คําบรรยาย) Majority Rule and Minority Rights หมายถึง หลักการปกครองโดยเสียง ข้างมากโดยเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการตัดสินใจ ด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อยนั่นเอง

10. ประเทศใดที่สามารถนํา “ตํารากฎหมายที่สําคัญ” มาเป็นหลักในการพิจารณาคดีได้
(1) อังกฤษ
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) สวีเดน
(4) ฝรั่งเศส
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ที่มาของหลักในการพิจารณาคดีของอังกฤษ ได้แก่ ตํารากฎหมายที่สําคัญ กฎหมายจารีตประเพณี ขนบธรรมเนียมหรือหลักปฏิบัติ เป็นต้น

11. การกําหนดความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” มักยึดหลักความได้สัดส่วน และความเหมาะสมระหว่างข้อใด
(1) ความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ
(2) ประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ
(3) อํานาจของรัฐสภากับอํานาจองค์กรอิสระ
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 หน้า 13, (คําบรรยาย) การกําหนดพื้นฐานความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชน ในฐานะปัจเจก” นั้นมักยึดหลักแห่งความได้สัดส่วนและหลักแห่งความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อ
1. เป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ
2. สร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

12. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของยุครู้แจ้ง (Enlightenment)
(1) การยอมรับระบบเหตุผล
(2) ปฏิเสธอํานาจในการปกครองของศาสนจักร
(3) การมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์
(4) การเชื่อในบารมีของผู้นําสูงสุด
(5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุครู้แจ้ง (Enlightenment) หรือ “ยุคเรืองปัญญา” คือ ยุคที่มีการเคลื่อนไหวทาง
วัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคม ส่งเสริมการมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้มีการยอมรับระบบเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต การเชื่อในบารมีของผู้นําสูงสุดและการเปิดเผยจากพระเจ้า ซึ่งส่งผลให้ศาสนจักรไม่มีอิทธิพลต่อความคิดและถือเป็นการปฏิเสธอํานาจ ในการปกครองของศาสนจักรนั่นเอง

13. ข้อใดไม่ใช่ปัญหาของการทําประชาพิจารณ์ในประเทศไทย
(1) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสีย
(2) จัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ
(3) ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน
(4) ผู้มาร่วมบางส่วนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการได้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัญหาของการทําประชาพิจารณ์ในประเทศไทย ได้แก่
1. การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสีย
2. รัฐตัดสินใจดําเนินโครงการก่อนจัดทําประชาพิจารณ์
3. ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน
4. ผู้มาร่วมบางส่วนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการใต้
5. ความไม่เป็นกลางของคณะกรรมการประชาพิจารณ์
6. ปัญหาในเรื่องงบประมาณ เป็นต้น

14. คํากล่าวที่ว่า “เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน” คือข้อใด
(1) ประชาธิปไตยผูกโยงกับจํานวนประชาชน
(2) เสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก
(3) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่ไม่สามารถไปด้วยกัน
(4) ประชาธิปไตยไม่สามารถทําให้เกิดเผด็จการรัฐสภาได้
(5) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เนื่องจากประชาธิปไตยนั้นจะผูกโยง กับจํานวนประชาชน (เน้นส่วนใหญ่) ส่วนเสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก แต่อย่างไร ก็ตามทั้งสองด้านจะเป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกัน

15. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) รัฐมีอํานาจมาก ประชาชนจะมีอํานาจน้อยลง
(2) รัฐถูกจํากัดอํานาจมาก ประชาชนจะมีเสรีภาพมากขึ้น
(3) ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการครอบครองของรัฐได้โดยสะดวกถ้ามิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับ
ความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับตามกฎหมายบัญญัติ
(4) บุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการเกิด รัฐไทยไม่สามารถถอนสัญชาติแต่สามารถเนรเทศได้
(5) ประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานรัฐเมื่อถูกบุคลากรของรัฐละเมิดได้
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชนในสาระสําคัญของรัฐธรรมนูญ สามารถพิจารณา ได้ดังนี้
1. สิทธิและเสรีภาพของประชาชน เช่น รัฐมีอํานาจมาก ประชาชนจะมีอํานาจน้อยลง
2. จํากัดอํานาจรัฐต่อประชาชนอย่างไร เช่น รัฐถูกจํากัดอํานาจมาก ประชาชนจะมีเสรีภาพมากขึ้น
3. ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องกับรัฐได้อย่างไร เช่น ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการครอบครอง ของรัฐได้โดยสะดวกถ้ามิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับตามกฎหมายบัญญัติประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานรัฐเมื่อถูกบุคลากรของรัฐละเมิดได้ เป็นต้น

16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้เมื่อใด
(1) 5 พ.ค. 2560
(2) 6 เมษายน 2560
(3) 24 มิถุนายน 2460
(4) 10 ธันวาคม 2560
(5) 10 มิถุนายน 2460
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ของ ประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10) ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ

17. ข้อใดถูกในที่มาของนายกรัฐมนตรีของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
(1) นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น
(2) ให้วุฒิสภาสามารถลงคะแนนเสียงในการเลือกนายกฯ วาระแรกตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 ได้
(3) ไม่จําเป็นต้องถูกนําเสนอจากพรรคการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไป
(4) ต้องมาจากพรรคที่ได้คะแนนเสียงจาก การเลือกตั้งสูงสุดเท่านั้น
(5) สามารถแต่งตั้งบุคคลที่ไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ถูกเสนอจากพรรคการเมืองได้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ที่มาของนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้
1. ผู้ที่จะดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ต้องเป็นผู้ที่พรรคการเมืองเสนอชื่อไว้ในบัญชี กล่าวคือ ในการเลือกตั้งทั่วไป ให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแจ้งรายชื่อบุคคล ซึ่งพรรคการเมืองนั้นมีมติว่าจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกิน 3 รายชื่อต่อ กกต. ก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง
2. บุคคลที่ถูกเสนอชื่อจากพรรคการเมืองนั้นต้องมี ภายใต้เงื่อนไขสมาชิกได้รับเลือกเป็น ส.ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
3. การเสนอชื่อบุคคลที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของ จํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
4. ให้วุฒิสภาสามารถลงคะแนนเสียงในการเลือกนายกรัฐมนตรีวาระแรกตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 ได้ เป็นต้น (ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ)

18. วาระแรกของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาจํานวนกี่คน
(1) 500
(2) 600
(3) 650
(4) 700
(5) 750
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

19. ผู้ใดไม่มีคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี
(1) มีสัญชาติไทยโดยการโอนสัญชาติ
(2) อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี
(3) สําเร็จการศึกษาเทียบเท่าปริญญาตรี
(4) เคยต้องคําพิพากษาให้จําคุกในความผิดฐานหมิ่นประมาท
(5) ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 160 กําหนดให้ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม
ของนายกรัฐมนตรี มีดังนี้
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี
3. มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
4. สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
5. ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
6. ไม่เป็นผู้ต้องคําพิพากษาให้จําคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่ ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
7. ไม่เป็นข้าราชการและพนักงานของรัฐที่มีเงินเดือนประจํา ข้าราชการการเมืองอื่น ๆ หรือ ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เป็นต้น

20. จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ลงชื่อร่วมกันเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
ต้องไม่น้อยกว่ากี่คน
(1) 10 คน
(2) 15 คน
(3) 20 คน
(4) 25 คน
(5) 30 คน
ตอบ 3 หน้า 54, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 133 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติ ให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย
1. คณะรัฐมนตรี
2. ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน
3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน เข้าชื่อเสนอกฎหมายตามหมวด 3 สิทธิและ เสรีภาพปวงชนชาวไทย และหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
4. ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม 2. หรือ 3. เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วย การเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคํารับรองของนายกรัฐมนตรี

21. สมาชิกวุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไปให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
(1) 30 วัน
(2) 60 วัน
(3) 90 วัน
(4) 120 วัน
(5) 150 วัน
ตอบ 2 หน้า 55, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 136 กําหนดให้ วุฒิสภาต้องพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมาโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็น ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน หากวุฒิสภายังพิจารณาไม่เสร็จ ภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้น หรือร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาแล้วนั่นเอง

22. หากวุฒิสภาไม่เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จะมีการ
ดําเนินการอย่างไร
(1) ส่งกลับไปให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาใหม่
(2) ถือว่าร่างกฎหมายนั้นตกไป
(3) ตั้งกรรมาธิการร่วมของ 2 สภาเพื่อพิจารณาแก้ไขร่วมกัน
(4) ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
(5) รอพ้น 180 วัน สามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้เลย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 137 (2) และ 138 กําหนดให้ ในกรณีที่วุฒิสภาได้ พิจารณาร่าง พ.ร.บ. เสร็จแล้ว ถ้าไม่เห็นชอบด้วยกับร่าง พ.ร.บ. ที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อน และส่งร่าง พ.ร.บ. นั้นคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร สภา ผู้แทนราษฎรจะยกร่าง พ.ร.บ. นั้นมาพิจารณาใหม่ได้เมื่อพ้น 180 วันนับแต่วันที่วุฒิสภาส่ง ร่าง พ.ร.บ. นั้นคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร

23. หากร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่ามีหลักการขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถรวมตัวกันเสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา โดยใช้จํานวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันเป็นจํานวนเท่าใด
(1) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
(2) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
(3) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10
(4) ไม่น้อยกว่า 3 ใน 5
(5) ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 148 (1) ระบุไว้ว่า หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่ กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

24. ร่างกฎหมายหมวดใดที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กําหนดให้สมาชิกวุฒิภาในวาระแรกมีอํานาจพิจารณา ร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร
(1) หมวด 2 พระมหากษัตริย์
(2) หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ
(3) หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
(4) หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น
(5) หมวด 16 การปฏิรูประเทศ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 270 วรรค 2 และ 3 กําหนดให้ ร่าง พ.ร.บ. ที่จะตรา ขึ้นเพื่อดําเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ให้เสนอและพิจารณาร่วมกันของรัฐสภา… หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเห็นว่าร่าง พ.ร.บ. นั้นร่าง พ.ร.บ. ที่จะตราขึ้น เพื่อดําเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา
จํานวนไม่น้อยกว่า1 ใน 5 ของแต่ละสภา อาจเข้าชื่อกันร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้วินิจฉัย การยื่นคําร้องดังกล่าวต้องยื่นก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี จะพิจารณาร่าง พ.ร.บ. นั้นแล้วเสร็จ

25. ใครไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้มีอํานาจเสนอพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
(1) คณะรัฐมนตรีโดยลําพัง
(2) คณะรัฐมนตรีโดยข้อเสนอแนะของศาลฎีกา
(3) คณะรัฐมนตรีโดยข้อเสนอแนะของศาลรัฐธรรมนูญ
(4) คณะรัฐมนตรีโดยข้อเสนอแนะขององค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง
(5) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ 1 หน้า 53, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 131 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย
1. คณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง
2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

26. ข้อใดไม่ใช่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
(1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
(2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(3) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
(4) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจําปี
(5) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
ตอบ 4 หน้า 52 – 53 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 130 กําหนดให้มี พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ
ดังต่อไปนี้
1. พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2. พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
3. พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
4. พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
5. พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
6. พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
7. พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

27. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ รัฐสภาต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จในระยะเวลาเท่าใด
(1) 60 วัน
(2) 90 วัน
(3) 120 วัน
(4) 150 วัน
(5) 180 วัน
ตอบ 5 หน้า 53, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 132 (1) กําหนดให้ การเสนอร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญให้เสนอต่อรัฐสภา และให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในเวลา 180 วัน หากยังพิจารณาไม่เสร็จภายในระยะเวลา ที่กําหนดไว้ ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบตามร่างที่เสนอ

28. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ตามหมวดใดบ้างตามรัฐธรรมนูญ
(1) หมวด 1 และ 3
(2) หมวด 3 และ 16
(3) หมวด 3 และ 5
(4) หมวด 5 และ 16
(5) หมวด 1 และ 5
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

29. ข้อใดคือการดําเนินการหลังจากรัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแล้ว
(1) ส่งไปยังศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความเห็นภายใน 15 วัน
(2) ส่งให้นายกรัฐมนตรีเตรียมทูลเกล้าถวายพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยภายใน 15 วัน
(3) ให้ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องภายใน 15 วันหลังรับร่างฯ
(4) นายกรัฐมนตรีรับความเห็นของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระมาแก้ไขร่างฯ
(5) ให้รัฐสภารอหลัง 30 วัน ถ้าไม่มีผู้ใดมีความเห็นขัดแย้งจึงส่งร่างฯให้นายกรัฐมนตรี
ตอบ 1 หน้า 53, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 132 (2) กําหนดให้ ภายใน 15 วันนับแต่ วันที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ให้รัฐสภาส่งร่าง พ.ร.บ. ประกอบ รัฐธรรมนูญนั้นไปยังศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความเห็น ในกรณีที่ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง ไม่มีข้อทักท้วงภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างดังกล่าว ให้รัฐสภาดําเนินการต่อไป

30. เรื่องใดต่อไปนี้ถ้าจะตรากฎหมายจะถือเป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน
(1) การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายแผ่นดิน
(2) การค้ำประกันเงินกู้
(3) การเปลี่ยนแปลงระเบียบอันเกี่ยวกับภาษี
(4) การเพิ่มเก็บอัตราภาษีสุรา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 56, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 134 กําหนดให้ ร่าง พ.ร.บ. เกี่ยวด้วย การเงิน หมายความถึงร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. การตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับเกี่ยวกับภาษีหรืออากร
2. การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน
3. การกู้เงิน การค้ําประกัน การใช้เงินกู้ หรือการดําเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ
4. เงินตรา

31. ข้อใดไม่ใช่ปัญหาของการทําประชาพิจารณ์ในประเทศไทย
(1) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสีย
(2) จัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ
(3) ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน
(4) ผู้มาร่วมบางส่วนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการได้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัญหาของการทําประชาพิจารณ์ในประเทศไทย ได้แก่
1. การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสีย
2. รัฐตัดสินใจดําเนินโครงการก่อนจัดทําประชาพิจารณ์
3. ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน
4. ผู้มาร่วมบางส่วนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการได้
5. ความไม่เป็นกลางของคณะกรรมการประชาพิจารณ์
6. ปัญหาในเรื่องงบประมาณ เป็นต้น

32. คําว่า “Speaker” ในบริบทการเมืองอังกฤษ หมายถึง
(1) ประธานสภาขุนนาง
(2) ประธานสภาผู้แทนราษฎร
(3) โฆษกพรรค
(4) ผู้นําฝ่ายค้าน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “Speaker” ในบริบทการเมืองอังกฤษ หมายถึง ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมักจะเลือกมาจากประธานสภาคนเดิมหรือคนที่เคยทําหน้าที่เป็นรองประธานสภามาแล้ว โดยประธานสภานี้ไม่จําเป็นจะต้องเป็นบุคคลที่สังกัดพรรคเสียงข้างมากในสภาหรืออยู่ในฐานะที่จะต้องถูกควบคุมโดยมติของพรรคแต่อย่างใด

33. สมาชิกสภาขุนนาง (House of Lords) ของอังกฤษ มีวาระดํารงตําแหน่งกี่ปี
(1) วาระ 2 ปี
(2) วาระ 3 ปี
(3) วาระ 4 ปี
(4) วาระ 5 ปี
(5) ตลอดชีพ
ตอบ 5 หน้า 80 – 81, (คําบรรยาย) รัฐสภาของประเทศอังกฤษ ประกอบด้วย 2 สภา คือ
1. วุฒิสภา (สภาสูง) ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “สภาขุนนาง” (House of Lords) มีวาระดํารง ตําแหน่งตลอดชีพ
2. สภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “สภาสามัญชน” (House of Commons)
มีวาระดํารงตําแหน่ง 5 ปี

34. ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในการตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 (1) นายมีชัย ฤชุพันธ์ (ประธาน คกก. ร่างรัฐธรรมนูญ)
(2) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี)
(3) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ประธานองคมนตรี)
(4) นายพรเพชร วิชิตชลชัย (ประธาน สนช.)
(5) นายวีระพล ตั้งสุวรรณ (ประธานศาลฎีกา)
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

35. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 กําหนดให้มีสมาชิกวุฒิสภาในวาระแรกจํานวนกี่คน
(1) 200 คน
(2) 250 คน
(3) 300 คน
(4) 350 คน
(5) 400 คน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

36. ข้อใดคือความหมายของหลักนิติรัฐ
(1) องค์กรเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบควรมีอํานาจเด็ดขาดทั้งบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ
(2) ปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด
(3) เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถต่อสู้ป้องกันสิทธิของตนเท่าที่ผู้ปกครองกําหนด
(4) กระบวนการพิจารณาไต่สวนคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่
(5) กฎหมายต้องมีความชัดเจนและมีความแน่นอนมากพอที่ประชาชนจะเข้าใจได้
ตอบ 2 หน้า 19, (คําบรรยาย) หลักนิติรัฐ หมายถึง การปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายของรัฐต่อ ประชาชนในรัฐอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคในคนทุกกลุ่ม โดยรัฐทุกรัฐมุ่งหวังให้ประชาชน ปฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้ภายในรัฐ ซึ่งในความหมายอย่างแคบนั้นจะไม่คํานึงถึงที่มาของ กฎหมาย กล่าวคือ ประชาชนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

37. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ
(1) อายุไม่เกิน 70 ปี
(2) มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) เคยเป็น ส.ส. เมื่อ 12 ปีก่อน
(4) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี
(5) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 201, 202 และ 216 กําหนดให้ ผู้ดํารงตําแหน่ง ในองค์กรอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไปดังต่อไปนี้
1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี
2. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
3. สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
4. มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
5. มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นหรือเคยเป็น ส.ส. ส.ว. ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิก
สภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

38. แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) บอกว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพในเงื่อนไขใด
(1) ในรัฐแบบใดก็ได้
(2) ในรัฐสวัสดิการเท่านั้น
(3) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น
(4) ในรัฐสังคมนิยมเท่านั้น
(5) ในรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ของ ซากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน แห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้น บรรลุถึงเสรีภาพได้ สัญญาประชาคมจึงเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญที่ต้องอยู่เพื่อทุกส่วนในสังคมดังนั้นการบรรลุเสรีภาพจะเกิดขึ้นในเงื่อนไขการปกครองแบบประชาธิปไตยเท่านั้น

39. การเสนอพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินต้องได้รับความเห็นชอบจากใครก่อนจึงจะสามารถเสนอเข้าสู่
การพิจารณาของรัฐสภาได้
(1) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
(2) นายกรัฐมนตรี
(3) กระทรวงการคลัง
(4) ป.ป.ช.
(5) เมื่อผู้เสนอ พ.ร.บ. นั้นเป็นผู้มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแล้วไม่จําเป็นต้องมีผู้เห็นชอบ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

40. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกามีวาระการดํารงตําแหน่งกี่ปี
(1) 2 ปี
(2) 4 ปี
(3) 5 ปี
(4) 6 ปี
(5) 7 ปี
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐสภาหรือสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 2 สภา คือ
1. สภาผู้แทนราษฎรที่มีสมาชิกจํานวน 435 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 2 ปี
2. วุฒิสภาที่มีสมาชิกจํานวน 100 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปี

41. ข้อใดถูกต้อง
(1) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
(2) นายกรัฐมนตรีของอังกฤษมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
(3) นายกรัฐมนตรีของรัสเซียมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
(4) นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศสมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย)
ข้อเลือก 1 ผิด ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทาง คณะผู้เลือกตั้ง (Electorat College)
ข้อเลือก 2 ผิด นายกรัฐมนตรีอังกฤษนั้นมาจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากในสภาโดยการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์
ข้อเลือก 3 ผิด นายกรัฐมนตรีรัสเซียนั้นมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี
ข้อเลือก 4 ผิด นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสนั้นมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี

42. ในความขัดแย้งทางการเมืองไทยตั้งแต่ช่วง 2540 จนถึงปัจจุบันมีการใช้สัญลักษณ์ทาง “ตัวแทน กลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มต่าง ๆ” คําว่า “สลิ่ม” มีจุดเริ่มต้นจากผู้ชุมนุมกลุ่มใด
(1) กปปส.
(2) นปช.
(3) พธม.
(4) กปปส. และ นปช. รวมกัน
(5) ประชาชนพิทักษ์ชาติ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) “สลิ่ม” มีจุดเริ่มต้นมาจากผู้ชุมนุมกลุ่มประชาชนพิทักษ์ชาติ (ไม่แบ่งสี) โดยการนํา ของ นพ. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ซึ่งเรียกตัวเองว่าเป็น “กลุ่มเสื้อหลากสี” การเคลื่อนไหวของกลุ่มได้สร้าง ปฏิกิริยาโต้ตอบจากคนเสื้อแดง พรรคเพื่อไทยว่าคนเสื้อหลากสีก็คือเสื้อเหลืองจําแลง เพราะเห็นว่า ทั้งอุดมการณ์ การกระทํา และการแสดงออกไม่ต่างกับเสื้อเหลือง การดูแคลนคนเสื้อหลากสีของ คนเสื้อแดงจึงแทนด้วยคําว่า สลิม ด้วยเหตุผลที่ว่าสลิ่ม ซาหริ่ม) เป็นขนมที่มีเส้นหลากหลายสีสัน และเป็นการล้อไปกับสภาพเสื้อที่หลากหลายของกลุ่มเสื้อหลากสีนั่นเอง

43. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร วาระใดเป็นการพิจารณารับหลักการ
(1) วาระที่ 3
(2) วาระที่ 1
(4) วาระที่ 2
(3) วาระที่ 4
(5) วาระการนําเสนอของกรรมาธิการ
ตอบ 2 หน้า 50, 54 – 55 กระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายในสภาผู้แทนราษฎร จะต้องพิจารณา เป็น 3 วาระ คือ
1. ขั้นรับหลักการ
2. ขั้นพิจารณาในรายละเอียดของร่างกฎหมาย (การพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการ, การพิจารณารายมาตรา) 3. ขั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบ

44. เจตจํานงของประชาชนสามารถแสดงออกได้ทางใดบ้าง
(1) ประชาพิจารณ์
(2) ประชามติ
(3) การเลือกตั้ง
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เจตจํานงของประชาชนถือเป็นที่มามูลฐานแห่งอํานาจของรัฐบาล ซึ่งประชาชนนั้น สามารถแสดงออกได้โดยการลงประชามติ (การรับร่างรัฐธรรมนูญ การออกจากสมาชิก EU)
และการเลือกตั้ง (ส.ส. ส.ว.)

45. พื้นที่ส่วนบุคคลหมายถึงข้อใด
(1) บาทวิถีหน้าบ้าน
(2) เฟซบุ๊ค
(3) สวนรถไฟ
(4) ห้อง Study ในห้องสมุด
(5) การคลุมฮิญาบ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พื้นที่ส่วนบุคคลหรือพื้นที่ในพรมแดนส่วนตัว (Private Sphere) เป็นพื้นที่ที่ถูกใช้ โดยคนหนึ่งคนใด และมีลักษณะแบ่งแยกกันเด็ดขาด ซึ่งมักเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นปัจเจกบุคคล เข้าถึงได้ยากเพราะต้องการความเป็นส่วนตัว เช่น ศาสนา (การคลุมฮิญาบ) ชีวิตครอบครัวรสนิยม งานอดิเรก ห้องนอน e-mail ฯลฯ

46. สภาขุนนางอังกฤษประเภทนักบวช มีวาระการดํารงกี่ปี
(1) 4 ปี
(2) 5 ปี
(3) ตามระยะเวลาการบวช
(4) ตามระยะเวลาที่อยู่ในตําแหน่งที่กําหนด
(5) ตลอดชีพ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สภาขุนนางของอังกฤษ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. ขุนนางสืบเชื้อสาย (Hereditary Peers) มาจากการสืบทอดตําแหน่งทางสายโลหิตและมีวาระการดํารงตําแหน่งตลอดชีพ
2. ขุนนางตลอดชีพ (Life Peers) มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี และสามารถดํารง ตําแหน่งได้ตลอดชีวิต แต่สืบทอดให้ทายาทไม่ได้
3. ขุนนางโดยตําแหน่งที่เป็นนักบวช (Spiritual Peers) มาจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ เช่น บิชอปและอาร์ชบิชอปต่าง ๆ โดยจะมีวาระตามระยะเวลาที่อยู่ในตําแหน่งที่กําหนด
4. ขุนนางกฎหมาย (Law Lorcis) เป็นสมาชิกที่มีความรู้ด้านกฎหมายและทําหน้าที่เป็นตุลาการ ศาลสูงสุด โดยจะมีวาระการดํารงตําแหน่งตลอดชีพ และถือเป็นขุนนางประเภทเดียวเท่านั้น ที่ได้รับเงินเดือน ในขณะที่ขุนนางประเภทอื่น ๆ จะได้รับเพียงสวัสดิการเท่านั้น

47.Brexit คืออะไร
(1) กระบวนการรับฟังความคิดเห็นเรื่องการออกจากสหภาพยุโรปของประชาชนชาวอังกฤษ
(2) โครงการรณรงค์เพื่อเรียกร้องให้อังกฤษถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป
(3) กระบวนการประชามติของประชาชนชาวอังกฤษต่อกรณีแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป
(4) กระบวนการประชามติของประชาชนชาวอังกฤษต่อกรณีการรับผู้ลี้ภัยจากตะวันออกกลาง
(5) โครงการรณรงค์เพื่อต่อต้านการสร้างมัสยิดในอังกฤษ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Brexit (มาจากคําว่า British + Exit) คือ กระบวนการประชามติของประชาชน ชาวอังกฤษต่อกรณีแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปหรืออียู (EU)

48. ข้อใดมิใช่หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
(1) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(2) แต่งตั้งเอกอัครราชทูต
(3) คัดเลือกผู้พิพากษาศาลสูงสุด
(4) บริหารระบบภัยพิบัติของมลรัฐที่ประสบภัย
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้แก่
1. ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
2. คัดเลือกและแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุด
3. แต่งตั้งเอกอัครราชทูต
4. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
5. ยับยั้งร่างกฎหมาย
6. ทําสนธิสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น

49. “พฤฒิสภา” ที่ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2489 เปรียบเทียบได้กับองค์กรใด
(1) องคมนตรี
(2) ศาลรัฐธรรมนูญ
(3) วุฒิสภา
(4) สภาพัฒนาการเมือง
(5) สนช.
ตอบ 3 หน้า 23 วุฒิสภาเกิดขึ้นครั้งแรกในชื่อ “พฤฒิสภา” ซึ่งกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ 2489 และต่อมาในรัฐธรรมนูญฯ 2490 จึงเปลี่ยนเป็น “วุฒิสภา” โดยพบว่าที่มาของ ส.ว. ตั้งแต่ เริ่มปรากฏจนกระทั่งปัจจุบันนั้นรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่จะกําหนดให้มาจากการแต่งตั้ง ยกเว้น รัฐธรรมนูญฯ 2540 (มาจากการเลือกตั้ง) รัฐธรรมนูญฯ 2550 (มาจากการเลือกตั้งและสรรหา) และรัฐธรรมนูญฯ 2560 (มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม)

50. “ด้อมส้ม” หมายถึงข้อใด
(1) กลุ่มประชาชนที่แสดงออกถึงการสนับสนุนพรรคก้าวไกล
(2) กลุ่มวัยรุ่นที่ชื่นชอบและติดตามไอดอลที่ชื่อส้ม
(3) กลุ่มประชาชนที่เป็นผู้ผลิตส้มส่งออก
(4) กลุ่มวัยรุ่นที่กําหนดกิจกรรมร่วมกันโดยใช้สัญลักษณ์เสื้อสีส้ม
(5) ไม่มีความหมายใด ๆ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) “ด้อมส้ม” หมายถึง กลุ่มประชาชนที่แสดงออกถึงการสนับสนุนพรรคก้าวไกล โดยคําว่า “อ้อม” เป็นคําย่อมาจากคําว่า”แฟนด้อม” หรือ Fandom ซึ่งเป็นการผสมคําระหว่าง คําว่า Fanclub (แฟนคลับ) และ Kingdom (อาณาจักร) จนกลายมาเป็นคําว่า Fandom ที่มี ความหมายว่า กลุ่มแฟนคลับของศิลปิน แต่ในวงการการเมืองนั้นคําว่า ด้อมส้ม ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้างจากพรรคก้าวไกล และชื่อน้อมนั้นมีความเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับทางสีประจําพรรคอย่างสีส้มนั่นเอง

51. รัฐธรรมนูญฉบับใดใช้ระยะเวลาในการร่างรัฐธรรมนูญนานที่สุด
(1) ฉบับที่ 1
(2) ฉบับที่ 8
(3) ฉบับที่ 3
(4) ฉบับที่ 7
(5) ฉบับที่ 16
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 (ฉบับที่ 8) เป็นรัฐธรรมนูญที่ ใช้เวลาในการร่างนานที่สุด โดยเริ่มร่างเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2502 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2511 ใช้เวลาทั้งหมด 9 ปีเศษ และได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511

52. การขัดกันแห่งผลประโยชน์คือข้อใด
(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ดํารงตําแหน่งในหน่วยราชการใด ๆ
(2) สมาชิกสภานิติบัญญัติยังดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง
(3) บุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ จากหน่วยราชการที่นอกเหนือไปจาก การปฏิบัติต่อบุคคลอื่น ๆ ในธุรกิจการงานปกติ
(4) รัฐมนตรีแจ้ง ป.ป.ช. ว่า โอนหุ้นของบริษัทให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ผู้อื่นถือแทน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตัวอย่างการขัดกันแห่งผลประโยชน์ มีดังนี้
1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังดํารงตําแหน่งในหน่วยราชการ
2. สมาชิกสภานิติบัญญัติยังดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง
3. บุตรของผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานได้รับสัมปทานงานจากหน่วยงานนั้น ๆ
4. รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่ได้แจ้ง ป.ป.ช. ว่าโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นถือแทน (รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 187 วรรค 2) ฯลฯ

53. ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กรณีพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติหรือมิได้พระราชทาน คืนให้กับรัฐสภา จะสามารถประกาศเป็นกฎหมายได้หรือไม่ อย่างไร
(1) ไม่ได้ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชบัญญัติ
(2) ได้ เมื่อรัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด
(3) ไม่ได้ เพราะต้องมีพระปรมาภิไธยเท่านั้นจึงจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้
(4) ได้ เมื่อนายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าอีกครั้ง และหากมิได้ลงพระปรมาภิไธยใน 30 วัน นายกรัฐมนตรีสามารถนําพระราชบัญญัตินั้นไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้
(5) ข้อ 2 และ 4
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 146 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติใดพระมหากษัตริย์ ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีก ครั้งหนึ่ง และหากมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติ นั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

54. ตําแหน่งใดต่อไปนี้ที่ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน
(1) ส.ส. ทุกคน
(2) ส.ว. ทุกคน
(3) ปลัดกระทรวง
(4) อธิการบดี
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ปลัดกระทรวง อธิการบดี รองอธิการบดี ฯลฯ

ข้อ 55 – 65. ให้พิจารณาข้อความต่อไปนี้ และใช้คําตอบต่อไปนี้ในการเลือกตอบคําถาม
(1) ถูก
(2) ผิด

55. หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรีมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ได้ยุติลง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 265 วรรค 2 กําหนดให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงมีหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557… นั่นแสดงว่า หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ 2560 อํานาจของ นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ยังคงอยู่

56. การแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 จะกระทําไม่ได้ถ้ามีวุฒิสมาชิกเห็นชอบจํานวนน้อยกว่า 1 ใน 3 ของ วุฒิสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 256 (3) กําหนดให้ การออกเสียงลงคะแนนใน วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียง เห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ซึ่งในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภา (วุฒิสมาชิก) เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

57. บุคคลที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท สามารถไปสมัครเป็นผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระได้ทุกคน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 201, 202 และ 216 กําหนดให้ ผู้ดํารงตําแหน่ง ในองค์กรอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไปดังต่อไปนี้
1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี
2. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
3. สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
4. มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
5. มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นหรือเคยเป็น ส.ส. ส.ว. ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิก
สภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

58. โทมัส ฮอบส์ เชื่อว่าเมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้
ตอบ 1 หน้า 9, (คําบรรยาย) องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค นั้นแตกต่างกันในประเด็นเรื่อง “การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ” โดยโทมัส ฮอบส์ เห็นว่า เมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้ ไม่ว่าเขาจะควบคุมชีวิตเรา มากแค่ไหนก็ตาม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าอํานาจดังกล่าวสามารถเพิกถอนได้ เมื่อเห็นว่าองค์อธิปัตย์ไม่อาจดูแลปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของตนได้

59. “หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร” ไม่เคยถูกขุดขึ้นมาก่อน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับ พื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ซึ่งภายหลังได้ถูกปรับเปลี่ยนและเคยถูก ขุดขึ้นมาหลายครั้ง เช่น มีการนําสีดํามาราดทับ ถูกขีดจนเป็นรอยจํานวนมาก เคยถูกขุดและ หายไปในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และถูกนํากลับมาในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นต้น

60. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ข้าราชการไม่สามารถดํารงตําแหน่งวุฒิสภาได้ ยกเว้นเฉพาะในวาระแรกเท่านั้น
ตอบ 1 หน้า 24, (คําบรรยาย) ลักษณะต้องห้ามของผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้
1. เป็นข้าราชการ
2. เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
3. เป็นหรือเคยเป็นรัฐมนตรี เว้นแต่พ้นจากตําแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง ฯลฯ ยกเว้นเฉพาะในวาระแรกเท่านั้นที่สมาชิกวุฒิสภาสามารถเป็นข้าราชการ ดํารงตําแหน่งหรือ หน้าที่ในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตําแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นได้

61. จอห์น ล็อค และโทมัส ฮอบส์ เห็นว่าสภาพธรรมชาติ (State of Nature) เป็นสภาวะสงคราม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) โทมัส ฮอบส์ เห็นว่า ภาวะธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นภาวะสงคราม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าภาวะธรรมชาติของมนุษย์เป็นภาวะที่มนุษย์มีความสมบูรณ์และมีเสรีภาพเต็มที่ที่จะใช้ชีวิตอย่างที่ต้องการโดยคนอื่นไม่สามารถเข้ามารุกล้ําได้

62. รัฐสภาของอังกฤษไม่สามารถยกเลิกกฎหมายของรัฐสภาสกอตแลนด์ได้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐสภาสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) สามารถยกเลิกกฎหมายของสถาบันนิติบัญญัติ ลําดับรองได้ ซึ่งสถาบันนิติบัญญัติลําดับรองได้แก่ รัฐสภาสกอตแลนด์ รัฐสภาแห่งเวลส์ และ รัฐสภาไอร์แลนด์เหนือ

63. คณะกู้บ้านกู้เมืองและกบฏบวรเดช คือกลุ่มเดียวกัน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กบฏบวรเดช หรือ “คณะกู้บ้านกู้เมือง” เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในรัฐไทยสมัยใหม่ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่อง เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติของนายปรีดี พนมยงค์ และชนวนสําคัญที่สุดคือ ข้อโต้แย้งในเรื่อง พระเกียรติยศและพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ ซึ่งเป็นผลนําไปสู่การนํา กําลังทหารก่อกบฏโดยมี พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นแม่ทัพ

64. องค์กรที่มีอํานาจถอดถอนนายกรัฐมนตรีคือวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 270 วรรค 1 กําหนดให้ ผู้ดํารงตําแหน่ง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาล ปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด…. วุฒิสภามีอํานาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตําแหน่งได้

65. ผู้ที่จะได้รับความไว้วางใจให้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ต้องได้รับ ความไว้วางใจจํานวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 159 วรรค 3 กําหนดให้ มติของสภาผู้แทนราษฎร ที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องกระทําโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผยและมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

ข้อ 66. – 70. ให้พิจารณาข้อความต่อไปนี้ว่าเกี่ยวข้องกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ฉบับใดในคําตอบต่อไปนี้
(1) พระราชบัญญัติฯ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(2) พระราชบัญญัติฯ ว่าด้วยพรรคการเมือง
(3) พระราชบัญญัติฯ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(4) พระราชบัญญัติฯ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(5) พระราชบัญญัติฯ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

66. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคล
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กําหนดให้ ใน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ “สิทธิมนุษยชน” หมายความว่า ศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคล

67. การตรวจบัญชี ตรวจการรับ การใช้จ่าย การใช้ประโยชน์ การเก็บรักษา และการบริหารทรัพย์สิน
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน กําหนดให้ใน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ “ตรวจสอบ” หมายความว่า การตรวจบัญชี ตรวจการรับ การใช้จ่าย การใช้ประโยชน์ การเก็บรักษา และการบริหารซึ่งเงิน ทรัพย์สิน สิทธิ และผลประโยชน์ของ หน่วยรับตรวจที่ได้มาจากเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ เงินกู้ เงินอุดหนุน เงินบริจาค และเงินช่วยเหลือจากแหล่งในประเทศหรือต่างประเทศอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามวัตถุประสงค์ของหน่วยรับตรวจ

68. การมีทรัพย์สินมากผิดปกติ หรือการมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กําหนดให้ใน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ “ร่ํารวยผิดปกติ” หมายความว่า การมีทรัพย์สิน มากผิดปกติ หรือการมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ หรือการมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติ หรือได้ ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติตามหน้าที่หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหน้าที่

69. การให้ทรัพย์สินหรือเงินแก่พรรคการเมือง นอกจากค่าธรรมเนียมและค่าบํารุงพรรคการเมือง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กําหนดให้ ใน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ “การบริจาค” หมายความว่า การให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ที่คํานวณเป็นเงินได้แก่พรรคการเมืองหรือสมาชิกเพื่อการดําเนินกิจการของพรรคการเมือง หรือเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมและค่าบํารุง พรรคการเมืองตามข้อบังคับของพรรคการเมือง

70. ควบคุมและดําเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้ง และประกาศผลการเลือกตั้ง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง กําหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ควบคุมและดําเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติตามที่กฎหมาย กําหนดให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
2. ออกข้อกําหนดเป็นแนวทางปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติ
3. ดําเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งสําหรับการเลือกตั้งที่ใช้วิธีการแบ่งเขตเลือกตั้ง และจัดให้มีบัญชี
รายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
4. สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใดหน่วยเลือกตั้งหนึ่งหรือทุกหน่วยเลือกตั้ง หรือสั่งให้มีการนับคะแนนใหม่ เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้ง หรือการออกเสียงประชามติในหน่วยเลือกตั้งนั้น ๆ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
5. ประกาศผลการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติ เป็นต้น

ข้อ 71 – 87. เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการ ให้นักศึกษาพิจารณา 2 ข้อความ และ เลือกตอบคําถามดังนี้
(1) ข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ

71.(1) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอํานาจเลือกสมาชิก ของแต่ละสภา ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 บัญญัติให้กรรมาธิการสามัญ ซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละ
พรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 1 และ 8 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภามีอํานาจเลือกสมาชิกแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ… กรรมาธิการสามัญ ซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

72.(1) การดําเนินการของคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุม สภาผู้แทนราษฎรและตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคหนึ่ง
(2) กรณีคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะต้องดําเนินการตามรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคสอง ด้วย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 128 วรรค 1 และ 2 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภามีอํานาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด…. ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภา ผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่ามีสาระสําคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือ ทุพพลภาพ ต้องกําหนดให้บุคคลประเภทดังกล่าวหรือผู้แทนองค์กรเอกชนที่ทํางานเกี่ยวกับ บุคคลประเภทนั้นโดยตรง ร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย….

73.(1) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่องหรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่าย ของรัฐบาล
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภามีบทบาทเท่ากับเป็นรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)
ตอบ 3 (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมา เพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล โดยคณะกรรมาธิการของรัฐสภานั้นจะมีบทบาท คล้ายกับรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

74. (1) การแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา ได้แบ่งตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ เช่น
1. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย หรือการพิจารณาร่างกฎหมาย
2. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา
3. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตรา และสอดคล้องการปฏิบัติงานรัฐบาล
(2) คณะกรรมาธิการในรัฐสภา อาจมีการแต่งตั้งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
ตอบ 2 หน้า 27, 31 คณะกรรมาธิการในรัฐสภามี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ นอกจากนี้เราอาจจะแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภาได้ ตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ ดังนี้
1. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
2. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานคลัง
3. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติงานของรัฐบาล เป็นต้น

75. (1) ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา คณะกรรมาธิการมักมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติอย่างชัดแจ้ง
โดยเฉพาะความสามารถในการทํางานอย่างรวดเร็ว
(2) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการ เนื่องจากการทํางานของรัฐสภาตามความเป็นจริงนั้น
จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับหลักความต้องการของนักการเมือง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการมีอยู่ 4 ประการ คือ
1. เพื่อการแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา
2. จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับความต้องการของราษฎร
3. เป็นการละลายความเป็นพรรคการเมือง
4. การสอบสวนข้อเท็จจริงและรับเรื่องราวร้องทุกข์ (ถือเป็น “หน้าที่พิเศษ” ของคณะกรรมาธิการ ในประเทศไทย) ซึ่งในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนานั้นพบว่า คณะกรรมาธิการมักไม่ค่อยมีอิทธิพล ต่อกระบวนการนิติบัญญัติมากนัก เนื่องจากความสามารถในการทํางานค่อนข้างต่ำ

76. (1) การทํางานในขั้น “คณะกรรมาธิการ” ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในคณะกรรมาธิการชุดเดียวกัน
มักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง
(2) “หน้าที่พิเศษ” ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ประจําตามปกติธรรมดาของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย คือ
การแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) “การละลายความเป็นพรรคการเมือง” หนึ่งในเหตุผลของการที่ต้องมีคณะ กรรมาธิการนั้นพบว่า การทํางานในขั้นคณะกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญหรือ คณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางาน ในกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง (ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ)

77.(1) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ
1. แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา
2. แต่งตั้งโดยรัฐสภา
(2) การปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการ ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใดมิได้
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลก
มีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ
1. แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา
2. แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการพิเศษที่มีอํานาจในการคัดเลือก
3. แต่งตั้งโดยรัฐสภา ซึ่งการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการนั้นถือว่าเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้

78. (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็นผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้
(2) กรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรส จะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่ง ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ ความมีอาวุโสเป็นหลัก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้“ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ” เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่ เป็นผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้ ส่วนคณะกรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรสนั้นจะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของ สมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ และความมีอาวุโสเป็นหลัก

79. (1) ในระบบรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา หากเป็นร่างรัฐบัญญัติธรรมดาเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้ว คณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session) เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการเต็มสภา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา มี 5 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
3. คณะกรรมาธิการร่วม
4. คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา
5. คณะกรรมาธิการเต็มสภา
ซึ่งในระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ หากเป็นร่างรัฐบัญญัติที่มีความสลับซับซ้อน (เรื่องใหญ่ เรื่องที่ ประชาชนสนใจมาก เข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการ จัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session) เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

80.(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการเต็มสภา คณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการร่วม และคณะกรรมาธิการร่วมพระราชบัญญัติมหาชน
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมาธิการสามัญ สกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ มี 5 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการเต็มสภา
2. คณะกรรมาธิการสามัญ
3. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
4. คณะกรรมาธิการร่วม
5. คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติเอกชน
นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมาธิการสามัญสกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

81.(1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ 1. คณะกรรมาธิการสมัยประชุม
2. คณะกรรมาธิการชั่วคราว
(2) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ จะเป็นคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้ง มาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถ แบ่งย่อยได้ 3 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสมัยประชุม
2. คณะกรรมาธิการชั่วคราว
3. คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
ส่วนคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษนั้นจะเป็นคณะกรรมาธิการ ที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

82.(1) ระบบคณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ และคณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม
(2) คณะกรรมาธิการสามัญของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาล
หรือสภาร้องขอให้พิจารณา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส มี 3 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องหลัก ๆ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่ รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา
3. คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถ ดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อสภา ซึ่งมักเข้าไป เกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันที ที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

83.(1) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถ ดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อประธานาธิบดี (2) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม ของฝรั่งเศส มักเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงาน เดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการ พิจารณาอยู่
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

84.(1) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติ ที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน
(2) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่นอาจขอให้รัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุม คณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติ รายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งอาจขอให้รัฐมนตรี หรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

85.(1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(2) ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภาญี่ปุ่นจะมาจากการแต่งตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการ ด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
โดยประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นจะมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

86.(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ)
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสี่ บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสารจาก บุคคลใด หรือเรียกผู้พิพากษาหรือตุลาการมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทํา หรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญ ประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ) โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 4 บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสาร จากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ

87. (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา จะต้อง
คํานึงถึงหลักการกระจายอํานาจเป็นหลัก
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสาม บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการ จะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยนั้นมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับ การประชุมของสภา ซึ่งจะต้องคํานึงถึงหลักแบ่งงานกันทําเป็นหลัก โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 3 บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

ข้อ 88. – 95. จงพิจารณาประเภทของคณะกรรมาธิการรัฐสภาไทย แล้วเลือกตอบคําถามที่มี ความสัมพันธ์กับประเภทดังกล่าวให้ถูกต้อง ดังนี้
(1) คณะกรรมาธิการสามัญ
(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(3) คณะกรรมาธิการร่วม
(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว

88. คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น
ตอบ 1 หน้า 27 – 28 คณะกรรมาธิการสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น และตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจาณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

89. คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้
ตอบ 2 หน้า 31 คณะกรรมาธิการวิสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็น หรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้ เป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ โดยจะแต่งตั้งขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยื่นญัตติขอให้ตั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะและจะสลายตัวเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ

90. กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และวุฒิสภาก็ได้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการร่วม หมายถึง กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา แต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะ กรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา

91. คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการ โดยประธานในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุม จะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

92. คณะกรรมาธิการ….จะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93. คณะกรรมาธิการ….จะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วย กับการแก้ไขของวุฒิสภา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

94. คณะกรรมาธิการ….แต่งตั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 89. ประกอบ

95. คณะกรรมาธิการ….ตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

ข้อ 96. – 100 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติในฝ่ายนิติบัญญัติ : การตราพระราชบัญญัติ ให้นักศึกษาพิจารณาข้อความดังต่อไปนี้
(1) ถ้าข้อความนี้ ถูก
(2) ถ้าข้อความนี้ ผิด
(3) ถ้าข้อความนี้ ไม่เกี่ยวกับวิชานี้

96. รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 133 บัญญัติว่า ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย 1. คณะรัฐมนตรี 2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน 3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน และต้องเป็นไปตามมาตรา 77 ด้วย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

97. กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรได้กําหนดขั้นตอนเป็น 4 วาระ คือ 1. ขั้นรับหลักการ 2. ขั้นพิจารณา 3. ขั้นแปรบัญญัติ 4. ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา
ตอบ 2 หน้า 54 – 55 กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยสภา ผู้แทนราษฎรนั้นจะพิจารณาเป็น 3 วาระ คือ
1. ขั้นรับหลักการ
2. ขั้นพิจารณาหรือขั้นแปรญัตติ
3. ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

98. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา กรณีเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไปต้องพิจารณา ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

99. หากประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

100. ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ก็ทรงมีอํานาจยับยั้งได้ โดยส่งร่างพระราชบัญญัติ นั้นคืนมายังรัฐสภา หรือเก็บร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้โดยไม่ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา จนล่วงพ้นเวลา 90 วันไปแล้ว
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

 

POL3100 กระบวนการนิติบัญญัติ s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL3100 กระบวนการนิติบัญญัติ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ข้อใดไม่ใช่เหตุผลของการเข้าร่วมทางการเมือง
(1) แสดงออกถึงการสนับสนุนผู้ที่ตนเองชื่นชอบ
(2) คํานึงถึงประโยชน์สูงสุด
(3) เป็นรูปแบบพฤติกรรมที่ควรสร้างให้เกิด
(4) โกรธและตอบโต้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลของการเข้าร่วมทางการเมือง ได้แก่
1. ต้องเคารพบรรทัดฐานของระบอบประชาธิปไตย
2. เป็นรูปแบบพฤติกรรมที่ควรสร้างให้เกิด
3. แสดงออกถึงการสนับสนุนผู้ที่ตนเองชื่นชอบ
4. การคํานึงถึงประโยชน์สูงสุด

2.คุณสมบัติของการมีส่วนร่วมคือข้อใด
(1) เข้าร่วมในกิจกรรมของสาธารณะโดยทางตรงหรือทางอ้อม
(2) ต้องสามารถตัดสินใจในการดําเนินกิจกรรมนั้นได้เท่านั้น
(3) มีสิ่งตอบแทนจากการเข้าร่วมในทางใดทางหนึ่ง
(4) ต้องรวมกลุ่มให้มีจํานวนเหมาะสม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คุณสมบัติของการมีส่วนร่วม มีดังนี้
1. เข้าร่วมในกิจกรรมของสาธารณะโดยทางตรงหรือทางอ้อม
2. เข้าร่วมในฐานะปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคนหรือองค์กรประชาชน
3. กิจกรรมที่ถือเป็นการมีส่วนร่วม อาจเป็นไปได้ตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมตัดสินใจ
4. เป็นการอาสา สมัครใจ เป็นต้น

3. ข้อใดคือจุดอ่อนของประชาธิปไตยแบบตัวแทน
(1) ผลประโยชน์ของตัวแทนไม่สอดคล้องกับประชาชนเจ้าของอํานาจ
(2) ตัวแทนอาจไม่มีเจตจํานงเดียวกับประชาชนเจ้าของอํานาจ
(3) ประชาชนไม่จําเป็นต้องติดตามเรื่องต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) จุดอ่อนของประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Democracy) คือ
1. ผลประโยชน์ของตัวแทนไม่สอดคล้องกับประชาชนเจ้าของอํานาจ
2. ตัวแทนอาจไม่มีเจตจํานงเดียวกับประชาชนเจ้าของอํานาจ

4. กฎหมายคืออะไร
(1) เครื่องมือสร้างระเบียบการอยู่ร่วมกันของสังคม
(2) เครื่องมือลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตาม
(3) เครื่องมือแก้ปัญหาของสังคมโดยมีเจตนาเฉพาะ
(4) เป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องเคารพ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 2, (คําบรรยาย กฎหมาย คือ เครื่องมือในการสร้างระเบียบในการอยู่ร่วมกันของสังคม ซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สังคมแต่ละสังคมสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาของสังคมโดยมีเจตนา เฉพาะ และมีการบังคับใช้กับประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาคกัน กฎหมายจึงควรคํานึงถึงผู้ที่จะ ถูกบังคับใช้อย่างเท่าเทียมกันด้วยเช่นกัน ดังนั้นเมื่อรัฐหรือผู้ปกครองออกกฎหมายใด ๆ มาแล้ว การจับกุมลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามจะเป็นที่ยอมรับในเบื้องต้นของคนในสังคม ทั้งนี้เพราะกฎหมาย เป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องเคารพและปฏิบัติตาม

5. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการตรากฎหมาย
(1) มาจากเจ้าของอํานาจอธิปไตยเท่านั้น
(2) ผ่านความเห็นชอบจากประชาชนทุกคนเท่านั้น
(3) เป็นอํานาจหน้าที่ของรัฐสภา
(4) ผ่านความเห็นชอบของศาลรัฐธรรมนูญทุกฉบับ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) อํานาจหน้าที่ของรัฐสภา ได้แก่
1. การตรากฎหมาย
2. การควบคุมบริหารราชการแผ่นดิน (การตั้งกระทู้ถาม, การขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ)
3. การให้ความเห็นชอบในเรื่องสําคัญ (การประกาศสงคราม, การทําสัญญาระหว่างประเทศ)
4. การให้การรับรองตําแหน่งสําคัญ ฯลฯ

6. ขั้นตอนใดของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่มีการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณารายละเอียดสาระของ
ร่างพระราชบัญญัติ
(1) เมื่อที่ประชุมเห็นชอบหลักการของร่างพระราชบัญญัติแล้ว
(2) เมื่อที่ประชุมเห็นชอบเนื้อหาแต่ละมาตราของพระราชบัญญัติแล้ว
(3) เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรรับร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ แล้ว
(4) เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 2 ใน 3 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแล้ว
(5) เมื่อมีการลงประชามติเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติเรียบร้อยแล้ว
ตอบ 1 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 1
เป็นการพิจารณาหลักการทั่วไปของร่างพระราชบัญญัติว่าสมควรจะลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น ถ้าที่ประชุมเห็นชอบหลักการของร่างพระราชบัญญัติแล้ว ก็จะเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 2 คือการพิจารณาในรายละเอียดสาระของร่างพระราชบัญญัติ โดยคณะกรรมาธิการที่สภาตั้งหรือคณะกรรมาธิการเต็มสภา แต่ถ้าที่ประชุมไม่เห็นชอบหลักการ ร่างพระราชบัญญัตินั้นก็เป็นอันตกไป

7.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของเผด็จการเบ็ดเสร็จ
(1) ควบคุมกิจกรรมของประชาชนและสถาบันต่าง ๆ ทุกกิจกรรม
(2) อ้างความชอบธรรมการใช้อํานาจผ่านเรื่องความมั่นคงของรัฐ
(3) ประชาชนต้องทําตามและแสดงความภักดีต่อรัฐ
(4) ให้อิสระกับสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคม
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของเผด็จการเบ็ดเสร็จ ได้แก่
1. ควบคุมกิจกรรมของประชาชนและสถาบันต่าง ๆ ทุกกิจกรรม
2. อ้างความชอบธรรมการใช้อํานาจผ่านเรื่องความมั่นคงของรัฐ
3. ประชาชนต้องทําตามและแสดงความภักดีต่อรัฐ
4. ควบคุมทุกสถาบัน รัฐกําหนดแนวปฏิบัติ เป็นต้น

8.ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์วัดความเป็นประชาธิปไตยของ Freedom House
(1) ความรับผิดชอบทางการเมือง
(2) การแข่งขันทางการเมือง
(3) ความมีเสรีภาพทางการเมือง
(5) ไม่มีข้อถูก
(4) ความเท่าเทียมทางการเมือง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เกณฑ์ในการวัดความเป็นประชาธิปไตยของ Freedom House ได้แก่
1. ความรับผิดชอบทางการเมือง
2. การแข่งขันทางการเมือง
3. ความมีเสรีภาพทางการเมือง
4. ความเท่าเทียมทางการเมือง

9. ข้อใดคือเกณฑ์ที่ Freedom House ใช้การกําหนดระดับความเป็น Establish Democracy
(1) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อเนื่อง 10 ปี ขึ้นไป
(2) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อเนื่อง 20 ปี ขึ้นไป
(3) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อเนื่อง 30 ปี ขึ้นไป
(4) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อเนื่อง 40 ปี ขึ้นไป
(5) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อเนื่อง 50 ปี ขึ้นไป
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เกณฑ์ที่ Freedom House ใช้การกําหนดระดับความเป็นประชาธิปไตยตั้งมั่น(Establish Democracy) คือ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อเนื่อง 40 ปี ขึ้นไป ตัวอย่าง ของประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยตั้งมั่น ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย เป็นต้น

10. ข้อใดไม่ใช่อํานาจของรัฐบาลมลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา
(1) การศึกษา
(2) การสาธารณสุข
(3) การป้องกันประเทศ
(4) การดูแลเรื่องอาชญากรรม
(5) การสาธารณูปโภค
ตอบ 3 (คําบรรยาย) อํานาจของรัฐบาลมลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ การดูแลเรื่องการศึกษา
การสาธารณสุข อาชญากรรม การสาธารณูปโภค เป็นต้น

11. ข้อใดคือการถ่วงดุลอํานาจระหว่างอํานาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการของประเทศสหรัฐอเมริกา
(1) ศาลสูงตั้งโดยประธานาธิบดีโดยความเห็นชอบของวุฒิสภา
(2) รัฐสภาสามารถถอดถอนประธานาธิบดีได้
(3) ประธานาธิบดีสามารถยับยั้งกฎหมายที่ผ่านจากฝ่ายนิติบัญญัติได้
(4) ศาลสูงสามารถตีความกฎหมายที่ผ่านสภาว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การถ่วงดุลอํานาจระหว่างอํานาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการของประเทศ สหรัฐอเมริกา มีดังนี้
1. ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมาย ประธานาธิบดีสามารถยับยั้งกฎหมายได้ แต่ฝ่ายนิติบัญญัติ สามารถยืนยันด้วยเสียง 2 ใน 3 ของทั้งสองสภาเพื่อให้กฎหมายผ่าน
2. ศาลสูงสามารถตีความกฎหมายที่ผ่านสภาและได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดีว่า
ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
3. ศาลสูงมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดีโดยความเห็นชอบของวุฒิสภา
4. รัฐสภาสามารถถอดถอนประธานาธิบดีได้ เป็นต้น

12. ข้อใดผิดเกี่ยวกับสมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา
(1) มาจากการเลือกตั้งระดับมลรัฐ
(2) วาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปี
(3) มีการเลือกตั้งทุก 2 ปี
(4) การสิ้นสุดสถานภาพของวุฒิสมาชิกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ครั้งละ 1/3 ของจํานวนทั้งหมด
(5) ไม่มีข้อผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกามาจากการเลือกตั้งระดับมลรัฐ มลรัฐละ 2 คน โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปี แต่จะมีการเลือกตั้งทุก 2 ปี ดังนั้นการสิ้นสุดสถานภาพของวุฒิสมาชิกจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม นั่นคือ จะมีสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดอายุทุก ๆ 2 ปี ครั้งละ 1/3 ของ จํานวนทั้งหมด

13. ความเชื่อมโยงของรัฐสภาสกอตแลนด์กับรัฐสภาอังกฤษคือข้อใด
(1) รัฐสภาอังกฤษสามารถเพิกถอน พ.ร.บ. ที่ตราโดยรัฐสภาสกอตแลนด์ได้
(2) รัฐสภาสกอตแลนด์สามารถเพิกถอน พ.ร.บ. ที่ตราโดยรัฐสภาอังกฤษได้
(3) กฎหมายที่ตราโดยรัฐสภาอังกฤษสามารถไม่บังคับใช้ที่สกอตแลนด์ได้ด้วย
(4) กฎหมายที่ตราโดยรัฐสภาสกอตแลนด์สามารถบังคับใช้ที่อังกฤษได้ด้วย
(5) ไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างทั้งสองรัฐสภา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความเชื่อมโยงของรัฐสภาสกอตแลนด์กับรัฐสภาอังกฤษ จะเห็นได้จากกรณี ที่รัฐสภาอังกฤษสามารถเพิกถอนพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่ตราโดยรัฐสภาสกอตแลนด์ได้ ถ้าเห็นว่าขัดกับกฎหมายของอังกฤษ

14. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับรัฐสภาอังกฤษ
(1) การเสนอ พ.ร.บ. ของรัฐสภาอังกฤษในขั้นแรกต้องเสนอที่สภาผู้แทนราษฎร (สภาสามัญ) เท่านั้น
(2) การเสนอ พ.ร.บ. ทุกชนิดต่อรัฐสภาอังกฤษสามารถเสนอได้ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและสภาขุนนาง
(3) สภาขุนนางอังกฤษสามารถยับยั้งกฎหมายได้ไม่เกิน 2 ปี
(4) การเสนอ พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงินต้องเสนอผ่านสภาผู้แทนราษฎรก่อน
(5) พ.ร.บ. ใด ๆ ที่ผ่านความเห็นชอบของสภาสามัญแล้วถือเป็นที่สุด เพราะมาจากการเลือกตั้ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ของรัฐสภาอังกฤษ อาจมีการเสนอใน สภาใดก็ได้ แต่ พ.ร.บ. ที่มีความสําคัญมักเสนอในสภาผู้แทนราษฎร (สภาสามัญ) โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการเสนอ พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงินต้องเสนอผ่านสภาผู้แทนราษฎรก่อน เนื่องจาก รัฐสภาให้อํานาจสูงสุดของฝ่ายนิติบัญญัติอยู่กับสภาผู้แทนราษฎร ทําให้ร่างพระราชบัญญัติบางประเภทสามารถนําขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบของสภาขุนนาง ซึ่งเป็นผลทําให้สภาขุนนางไม่มีสิทธิยับยั้งกฎหมายได้ มีเพียงหน้าที่ให้ความเห็นชอบยืนตามสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น

15. ข้อใดไม่ใช่สถาบันทางการเมืองของจีน
(1) สภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ
(2) พรรคคอมมิวนิสต์
(3) คณะที่ปรึกษาประชาชน
(4) คณะรัฐบาล
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สถาบันทางการเมืองของจีน ได้แก่ พรรคคอมมิวนิสต์จีน (Chinese Communist Party : CCP) สภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ ประธานาธิบดี คณะรัฐบาล (นายกรัฐมนตรีและ คณะรัฐบาล)

16. ข้อใดคือลักษณะของรัฐสภาอิหร่าน
(1) สมาชิกรัฐสภามาจากการแต่งตั้งจากประมุขสูงสุด
(2) มีอํานาจในการเลือกสรรประธานาธิบดี
(3) เป็นระบบสภาเดียว
(4) สามารถตรวจสอบและควบคุมสื่อต่าง ๆ
(5) สายการบังคับบัญชาขึ้นตรงกับประมุขสูงสุด
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ลักษณะของรัฐสภาอิหร่าน คือ มีสภานิติบัญญัติ (Majlis) เป็นระบบสภาเดียว ประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 290 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระการ ดํารงตําแหน่ง 4 ปี ซึ่งจะทําหน้าที่เสนอและพิจารณากฎหมาย นอกจากนี้ยังมีประธานาธิบดี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน แต่อยู่ในการควบคุมของสภาผู้พิทักษ์ โดยสภาผู้พิทักษ์ นี้จะมาจากการแต่งตั้งจากประมุขสูงสุดนั่นเอง

17. ICC ที่รัฐบาลสหรัฐก่อตั้งขึ้นในช่วงฟื้นฟูเศรษฐกิจ ย่อมาจาก
(1) Interstate Commerce Commission
(2) Interstate Commission Committee
(3) International Commerce Commission
(4) International Commission Committee
(5) Internal Commerce Committee
ตอบ 1 หน้า 32, (คําบรรยาย) การจัดตั้งองค์กรอิสระนั้นเป็นแนวคิดที่เกิดในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็น ช่วงเวลาของการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยสภาคองเกรสได้อนุมัติการก่อตั้ง Interstate Commerce Commission หรือ ICC ขึ้นในปี ค.ศ. 1887 โดยเป็นคณะทํางานที่แยกออกจากคณะทํางาน ของประธานาธิบดี เพื่อป้องกันการแทรกแซงของประธานาธิบดี รวมทั้งเพื่อลดขั้นตอนที่ล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพของสํานักงานเลขาของประธานาธิบดี

18. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะความเป็นอิสระขององค์กรอิสระ
(1) อิสระในเรื่องการกําหนดนโยบาย
(2) อิสระในเรื่องการเข้าสู่อํานาจของผู้มาทําหน้าที่
(3) อิสระในเรื่องงบประมาณ
(4) อิสระในการถูกตรวจสอบจากรัฐบาล
(5) มีสํานักงานที่เป็นอิสระ
ตอบ 4 หน้า 32 – 33, (คําบรรยาย) ความเป็นอิสระขององค์กรอิสระ มีลักษณะดังนี้
1. อิสระในเรื่องที่มาและการเข้าสู่อํานาจของผู้มาทําหน้าที่
2. อิสระในเรื่องการกําหนดนโยบายและการดําเนินงานขององค์กร
3. อิสระในเรื่องงบประมาณ
4. มีหน่วยธุรการหรือสํานักงานที่เป็นอิสระ

19. ความเป็นกลางขององค์กรอิสระ คือข้อใด
(1) คณะกรรมการฯ ได้ยืนยันในความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
(2) ประชาชนและสาธารณะยอมรับในความเป็นกลาง
(3) การมีคุณสมบัติครบตามที่รัฐธรรมนูญกําหนด
(4) การไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ๆ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 33, (คําบรรยาย) ความเป็นกลางขององค์กรอิสระ ได้แก่
1. ไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง เช่น การไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ๆ เป็นต้น
2. ปราศจากอคติ ไม่ลําเอียงเพราะรัก โกรธ หลง กลัว

20. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
(1) เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง
(2) เป็นกรรมการที่มาจากการคัดเลือกกันเองขององค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง
(3) เป็นกรรมการที่มาจากการคัดเลือกของรัฐสภา
(4) เป็นกรรมการที่มาจากการคัดเลือกของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตาม
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง
2. เป็นกรรมการที่มาจากการคัดเลือกของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด
3. เป็นกรรมการที่มาจากการคัดเลือกกันเองขององค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง

21. สมาชิกวุฒิสภาอังกฤษประเภทใดที่ได้รับเงินเดือน
(1) แบบสืบเชื้อสายจากตระกูลเก่า
(2) ขุนนางที่ได้รับแต่งตั้ง
(3) พระสังฆาธิราช
(4) หัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สภาขุนนางของอังกฤษ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. ขุนนางสืบเชื้อสาย (Hereditary Peers) มาจากการสืบทอดตําแหน่งทางสายโลหิต
และมีวาระการดํารงตําแหน่งตลอดชีพ
2. ขุนนางตลอดชีพ (Life Peers) มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี และสามารถดํารง ตําแหน่งได้ตลอดชีวิต แต่สืบทอดให้ทายาทไม่ได้
3. ขุนนางโดยตําแหน่งที่เป็นนักบวช (Spiritual Peers) มาจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ เช่น บีชอปและอาร์ชบิชอปต่าง ๆ โดยจะมีวาระตามระยะเวลาที่อยู่ในตําแหน่งที่กําหนด
4. ขุนนางกฎหมาย (Law Lords) เป็นขุนนางฝ่ายกฎหมาย ซึ่งจะดํารงตําแหน่งตลอดชีพและ ได้รับเงินเดือน เช่น หัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็นต้น ในขณะที่ขุนนางประเภทอื่น ๆจะได้รับเพียงสวัสดิการเท่านั้น

22. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
(1) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(2) แต่งตั้งเอกอัครราชทูต
(3) คัดเลือกผู้พิพากษาศาลสูงสุด
(4) บริหารระบบภัยพิบัติของมลรัฐที่ประสบภัย
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้แก่
1. ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
2. คัดเลือกและแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุด
3. แต่งตั้งเอกอัครราชทูต
4. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
5. ยับยั้งร่างกฎหมาย
6. ทําสนธิสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น

23. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของรัฐธรรมนูญ
(1) การบริหารราชการของส่วนราชการต่าง ๆ
(2) คุณสมบัติผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
(3) อํานาจของฝ่ายยุติธรรม
(4) ข้อ 2 และ 3
(5) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
1. ระยะเวลาที่จะจัดให้มีการเลือกตั้ง
2. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
3. สิทธิและหน้าที่พลเมือง
4. ขอบเขตและขีดจํากัดของอํานาจรัฐบาล
5. อํานาจของฝ่ายยุติธรรม
6. แนวทางการจัดตั้งรัฐบาล การเข้าสู่และพ้นตําแหน่ง
7. บทบาทและอํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นต้น

24. ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย
(1) ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง
(2) ทุกพรรคการเมืองมีอิสระในการหาเสียงเลือกตั้ง
(3) ประชาชนสามารถจัดชุมนุมแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้
(4) การลงคะแนนเลือกตั้ง 1 สิทธิ 1 เสียงเท่ากัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย มีดังนี้
1. ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง (Political Accountability)

2. การแข่งขันทางการเมือง (Political Competition) โดยทุกพรรคการเมืองมีอิสระ ในการหาเสียงเลือกตั้ง
3. ความมีเสรีภาพทางการเมือง (Political Freedom) ประชาชนสามารถจัดชุมนุม แสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้
4. ความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality) ซึ่งจะเห็นได้จากการลงคะแนนเลือกตั้ง 1 สิทธิ 1 เสียงเท่ากัน

25. Majority Rule and Minority Rights หมายความว่า
(1) ตัดสินใจทางการเมืองด้วยเสียงเกินครึ่งหนึ่งของผู้มาลงคะแนน
(2) ตัดสินใจทางการเมืองด้วยเสียงของชนชั้นนําในสังคม
(3) ตัดสินใจทางการเมืองด้วยเสียงส่วนใหญ่ได้ทุกเรื่อง
(4) ตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อย
(5) ตัดสินใจด้วยการใช้กําลังบีบบังคับ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) Majority Rule and Minority Rights หมายถึง หลักการปกครองโดยเสียง ข้างมากโดยเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างว่าเป็นการตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อยนั่นเอง

26. ประเทศใดมีระบบรัฐสภาเดี่ยว
(1) อังกฤษ
(2) อเมริกา
(3) อินโดนีเซีย
(4) จีน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) อินโดนีเซีย (Indonesia) เป็นประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีระบบรัฐสภาเดี่ยว คือ “สภาผู้แทนราษฎร”

27. อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน แสดงออกผ่านรัฐธรรมนูญอย่างไร
(1) สัดส่วนของตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด
(2) สัดส่วนของตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกกันเองของสภาวิชาชีพมากที่สุด
(3) สัดส่วนของตัวแทนในรัฐสภามาจากการสรรหามากที่สุด
(4) จํานวนประชาชนที่สามารถเสนอกฎหมายมีจํานวนมาก
(5) ข้อ 1 และ 4
ตอบ 5 (คําบรรยาย) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) สามารถแสดงออก ผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ในหลายลักษณะ เช่น
1. กําหนดสัดส่วนของตัวแทนประชาชนในรัฐสภาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด
2. กําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจํานวนมากขึ้น (แสดงนัยยะสําคัญ ว่าอํานาจของประชาชนน้อยลง) เป็นต้น

28. ข้อใดมีคุณูปการใหญ่หลวงต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในอังกฤษ
(1) Magna Carta
(2) Erasmus Mundus
(3) Jurassic Rex
(4) Bill of Rights
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 4
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งที่เป็นคุณูปการใหญ่หลวงต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในอังกฤษ คือ
1. Magna Carta ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นแห่งรัฐธรรมนูญอังกฤษ และเป็นกุญแจสําคัญในการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยอ้างถึงสิทธิทางการเมืองทั่ว ๆ ไป สิทธิของเสรีชน ช่วยให้อํานาจค่อย ๆ เปลี่ยนมือจากกษัตริย์มาสู่ตัวแทนของประชาชน
2. Bill of Rights หรือ “บัตรแห่งสิทธิ” คือ กฎหมายหรือบทบัญญัติที่เป็นการเปิดประตู แห่งความเป็นประชาธิปไตยในอังกฤษให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งพลเมืองจะมีสิทธิต่าง ๆ ติดตัวในฐานะเป็นประชาชนคนธรรมดา

29. การที่มีข้อบัญญัติรับรองว่า กษัตริย์จะไม่จับกุมผู้แทนราษฎรระหว่างการประชุมโดยไม่มีเหตุอันควร เพื่อป้องกันไม่ให้กษัตริย์ใช้อํานาจมากเกินไป ได้กลายมาเป็นหลักการใดในโลกสมัยใหม่
(1) การให้สิทธิเดินทางฟรี
(2) การได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูต
(3) เอกสิทธิ์คุ้มครอง
(4) สวัสดิการสมาชิกสภา
(5) กฎหมายการคุ้มครองพยาน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการเอกสิทธิ์คุ้มครอง เกิดขึ้นครั้งแรกในอังกฤษ อันเป็นผลมาจากการมี ข้อบัญญัติรับรองว่า “กษัตริย์จะไม่จับกุมผู้แทนราษฎรระหว่างการประชุมโดยไม่มีเหตุอันควรเพื่อป้องกันไม่ให้กษัตริย์ใช้อํานาจมากเกินไป” ซึ่งได้กลายมาเป็นหลักการสําคัญในโลกสมัยใหม่ (ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 125)

30. ลักษณะสําคัญของการใช้อํานาจร่วมระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารคือ
(1) สมาชิกวุฒิสภาสามารถดํารงตําแหน่งราชการประจําได้
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถดํารงตําแหน่งราชการประจําได้
(3) นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(4) นายกรัฐมนตรีต้องไม่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) เป็นลักษณะของการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Powers) หรือการใช้อํานาจร่วมระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร โดยจะให้ สถาบันนิติบัญญัติ (รัฐสภา) เป็นสถาบันหลัก มีอํานาจควบคุมฝ่ายบริหาร และฝ่ายบริหารจะต้องมา จากฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น กรณีที่นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น

31. หากจะยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติภายหลังการรัฐประหาร จะต้องตราพระราชบัญญัติเพื่อยกเลิกสภาพบังคับเพราะประกาศคณะปฏิวัติเป็น
(1) พระบรมราชโองการ
(2) คําสั่งของรัฏฐาธิปัตย์
(3) คําสั่งในทางปกครอง
(4) คําสั่งของเผด็จการ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประกาศของคณะปฏิวัติถือว่าเป็นคําสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ (ผู้มีอํานาจสูงสุดในการ ปกครองประเทศ) และมีฐานะเป็นกฎหมาย ซึ่งจะมีสภาพบังคับเทียบเท่ารัฐธรรมนูญหรือ พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นการจะยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัตินั้นจะต้อง ดําเนินการเช่นเดียวกับการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายธรรมดาทั่วไป คือ ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติออกมายกเลิก

32. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (House of Commons) ของไทย มีวาระการดํารงตําแหน่งกี่ปี
(1) วาระ 2 ปี
(2) วาระ 3 ปี
(3) วาระ 4 ปี
(4) วาระ 5 ปี
(5) ตลอดชีพ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 (แก้ไขเพิ่มเติม) มาตรา 83 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎร (House of Commons) ของไทย ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จํานวน 400 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จํานวน 100 คน รวมทั้งสิ้นจํานวน 500 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 4 ปี

33. พระราชกําหนดมีศักดิ์เทียบเท่ากับ
(1) พระราชบัญญัติ
(2) พระบรมราชโองการ
(3) พระราชกฤษฎีกา
(4) ข้อบัญญัติท้องถิ่น
(5) เทศบัญญัติ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พระราชกําหนด คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนําและ ยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอํานาจตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ เมื่อประกาศใช้แล้ว จะต้องเสนอให้รัฐสภาผ่านความเห็นชอบมีผลบังคับใช้เป็นพระราชบัญญัติต่อไป ดังนั้นจึงมีศักดิ์เทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ แต่ถ้ารัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบพระราชกําหนดนั้นก็จะ สิ้นสุดสภาพการบังคับใช้

34. หากวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสภาผู้แทนราษฎรไม่ทันภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญจะเกิดผลเช่นไร
(1) วุฒิสภาจะถูกตัดเงินเดือน
(2) ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
(3) ร่างพระราชบัญญัตินั้นต้องถูกนําเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
(4) ให้ถือร่างพระราชบัญญัตินั้นเสมือนว่าผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาแล้ว
(5) ร่างพระราชบัญญัตินั้นจะต้องถูกนํามาพิจารณาในการประชุมวุฒิสภาสมัยถัดไป
ตอบ 4 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 136 กําหนดให้ วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ที่เสนอมาโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วย การเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็น กรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน หากวุฒิสภายังพิจารณาไม่เสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้น หรือร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ผ่าน การพิจารณาของวุฒิสภาแล้วนั่นเอง

35. ในการควบคุมการทํางานของฝ่ายบริหารด้วยการตั้งกระทู้ถาม ผู้ตั้งกระทู้สามารถกําหนดวิธีให้ผู้ถูกถาม
ตอบกระทู้ได้ดังนี้
(1) ตอบด้วยวาจาในสภาผู้แทนราษฎร
(2) ตอบด้วยวาจาในที่ประชุมกรรมาธิการ
(3) ตอบในราชกิจจานุเบกษา
(4) เฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการควบคุมการทํางานของฝ่ายบริหารด้วยการตั้งกระทู้ถาม สมาชิกผู้ตั้งกระทู้ จะเป็นผู้กําหนดว่าต้องการให้ผู้ถูกถามตอบกระทู้ด้วยวาจาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร หรือตอบในราชกิจจานุเบกษาเป็นลายลักษณ์อักษร

36. การกําหนดความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” มักยึดหลักความได้สัดส่วน และความเหมาะสมระหว่างข้อใด
(1) ความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ
(2) ประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ
(3) อํานาจของรัฐสภากับอํานาจองค์กรอิสระ
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 หน้า 13, (คําบรรยาย) การกําหนดพื้นฐานความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชน ในฐานะปัจเจก” นั้นมักยึดหลักแห่งความได้สัดส่วนและหลักแห่งความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อ
1. เป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ
2. สร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

37. รัฐธรรมนูญ มีนัยยะสําคัญในเรื่องใด
(1) จํากัดอํานาจของผู้ปกครอง
(2) แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน
(3) สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 4 – 5, (คําบรรยาย) นัยยะสําคัญของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
1. จํากัดอํานาจและการกระทําของผู้ปกครอง
2. แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน
3. สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐบาล
4. อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
5. สถานะสูงสุดที่ไม่มีกฎหมายอื่นใดขัดหรือแย้ง ฯลฯ

38. การประชุมลับของสภาผู้แทนราษฎรจะดําเนินการได้ด้วยเงื่อนไขอะไร
(1) คณะรัฐมนตรีร้องขอให้ประชุมลับ
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 1 ใน 4 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ร้องขอให้ประชุมลับ
(3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 1 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ร้องขอให้ประชุมลับ
(4) ไม่สามารถประชุมลับได้เพราะเป็นสิทธิของประชาชนที่จะติดตามการประชุม
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 127 กําหนดให้ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภา และการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่ กําหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละสภา แต่ถ้าคณะรัฐมนตรีร้องขอให้ประชุมลับ หรือ สมาชิกของแต่ละสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน มีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของ จํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา หรือจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ ทั้งสองสภา แล้วแต่กรณี ร้องขอให้ประชุมลับ ก็ให้ประชุมลับ

39. การเสนอญัตติที่สภาต้องการให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเข้าประชุม จะต้องมีสมาชิกลงชื่อรับรอง
ไม่น้อยกว่ากี่คน
(1) 10
(2) 15
(3) 20
(4) 25
(5) 30
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ญัตติที่ต้องมีสมาชิกลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน ได้แก่
1. ญัตติขอให้สภามีมติให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ใดเข้าร่วมประชุมในเรื่องใดในที่ประชุม
2. ญัตติขอให้สภามีมติว่ากรณีมีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจของสภา ตามมาตรา 210 (2) ของรัฐธรรมนูญ
3. ญัตติขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการหรือขอให้คณะกรรมาธิการสามัญคณะใดคณะหนึ่ง กระทํากิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในหน้าที่และอํานาจ ของสภา ตามมาตรา 129 ของรัฐธรรมนูญ

40. ข้อใดเป็นเงื่อนไขสําคัญอันเป็นเหตุผลที่คณะรัฐมนตรีสามารถเสนอให้พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกําหนดได้
(1) เพื่อการรักษาความปลอดภัยของประเทศ
(2) เพื่อความปลอดภัยของสาธารณะ
(3) เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
(4) เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 57 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 172 วรรค 2 กําหนดให้ การตราพระราชกําหนดให้กระทําได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้

41. หากร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่ามีหลักการขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถรวมตัวกันเสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา โดยใช้จํานวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภา รวมกันเป็นจํานวน….ของทั้งสองสภารวมกัน
(1) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
(2) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
(3) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10
(4) ไม่น้อยกว่า 3 ใน 5
(5) ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 148 (1) ระบุไว้ว่า หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่ กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

42. การเข้าชื่อเพื่อเสนอยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีต้องใช้เสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน
(1) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
(2) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4
(3) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
(4) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 6
(5) ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 151 วรรค 1 กําหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิ เข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ

43. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่าง พ.ร.บ. ที่ผ่านรัฐสภาแล้ว รัฐสภาจะต้องทําอย่างไร
(1) ปรึกษากัน แล้วแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ทรงมีพระราชกระแส
(2) ปรึกษากัน หากยืนยันตามร่างเดิมต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภา
(3) ไม่นําขึ้นพิจารณาอีก เพราะกระทําไม่ได้
(4) ตั้งร่าง พ.ร.บ. ขึ้นมาพิจารณาใหม่
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 146 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติใดพระมหากษัตริย์ ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีก ครั้งหนึ่ง และหากมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติ นั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

44. การกําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมากขึ้น แสดงนัยยะสําคัญอะไร
(1) อํานาจของประชาชนมากขึ้น
(2) อํานาจของประชาชนน้อยลง
(3) โอกาสการเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้น
(4) ไม่มีนัยยะสําคัญ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

45. ข้อใดคือเกณฑ์การได้มาซึ่งวุฒิสมาชิกของไทยหลังจากวุฒิสภาชุดแรกหมดวาระ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
(1) การเลือกตั้ง
(2) การเลือกจากบัญชีรายชื่อ
(3) การเลือกตั้งตามกลุ่มอาชีพ
(4) การเลือกโดยคณะกรรมการสรรหา
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เกณฑ์การได้มาซึ่งวุฒิสมาชิกของไทยหลังจากวุฒิสภาชุดแรกหมดวาระตาม รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 107 และ 109 กําหนดให้ วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา แบบเลือกตั้งโดยอ้อม (เลือกกันเองของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือผลประโยชน์ร่วมกัน) จํานวน 200 คน ซึ่งมีวาระการดํารงตําแหน่ง 5 ปี

46. ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 อํานาจนิติบัญญัติอยู่ที่องค์กรใด
(1) สภาปฏิรูปแห่งชาติ
(2) รัฐสภา
(3) หัวหน้า คสช.
(4) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(5) ข้อ 3 และ 4
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 อํานาจนิติบัญญัติอยู่ที่สภานิติบัญญัติ แห่งชาติ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นสําคัญ โดยมีคณะรัฐมนตรีชั่วคราว รับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน และมีกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญทําหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

47. ข้อใดเป็นความแตกต่างระหว่างประชาพิจารณ์กับประชามติ
(1) ประชามติเป็นการแสดงอํานาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน
(2) ประชาพิจารณ์เป็นแนวทางที่รัฐใช้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
(3) ประชามติกําหนดให้รัฐต้องผูกพันปฏิบัติตามผลการออกเสียงประชามติ
(4) ประชาพิจารณ์ต้องการความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องนั้น ๆ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างประชาพิจารณ์กับประชามติ มีดังนี้
1. ประชาพิจารณ์ตั้งอยู่บนฐานคติของการรักษาผลประโยชน์แก่ประชาชน ส่วนประชามติ จะตั้งอยู่บนฐานคติของการแสดงอํานาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน
2. ประชาพิจารณ์เป็นแนวทางที่รัฐใช้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งส่วนประชามติจะเป็นกระบวนการที่รัฐขอปรึกษาหารือประชาชน เพื่อกําหนดแนวทางปฏิบัติ
3. ประชาพิจารณ์นั้นรัฐจะไม่ผูกพันและไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม ส่วนประชามติกําหนดให้รัฐ ต้องผูกพันปฏิบัติตามผลการออกเสียงประชามติ
4. ประชาพิจารณ์ต้องการความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องนั้น ๆ เพื่อลดความขัดแย้ง จากการตัดสินใจของรัฐ ส่วนประชามตินั้นต้องการมติของประชาชนว่าจะให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบในเรื่องนั้น ๆ

48. ข้อใดไม่ใช่หลักการของการทําประชาพิจารณ์
(1) มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับที่ประชุม
(2) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ที่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(3) จัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ
(4) หน่วยงานรัฐต้องหยุดดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่จะทําประชาพิจารณ์ทั้งหมด
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการของการทําประชาพิจารณ์ มีดังนี้
1. จะต้องกระทําก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ
2. มีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ที่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3. มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับที่ประชุม
4. การดําเนินการประชาพิจารณ์ต้องเป็นไปโดยเที่ยงตรงและเปิดเผย
5. ข้อสรุปจากการทําประชาพิจารณ์เป็นเพียงข้อเสนอแนะ หน่วยงานของรัฐไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม

49. ข้อใดเป็นอํานาจหน้าที่ของรัฐสภา
(1) การตรากฎหมาย
(2) การควบคุมบริหารราชการแผ่นดิน
(3) การให้ความเห็นชอบในเรื่องสําคัญ
(4) เฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

50. กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา เรียกว่าอะไร
(1) พระราชกําหนด
(2) พระราชกฤษฎีกา
(3) พระราชานุญาต
(4) พระราชดําริ
(5) พระราชบัญญัติ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนํา และยินยอมของรัฐสภา กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่ต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบของ รัฐสภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก่อน จึงนําขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลง พระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

51. ประเทศไทยได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อใด
(1) 14 ตุลาคม 2475
(2) 6 ตุลาคม 2475
(3) 10 ธันวาคม 2475
(4) 24 ธันวาคม 2475
(5) 24 มิถุนายน 2475
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรก ของประเทศไทย ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

52. พรรคการเมืองใดจงใจไม่ลงสมัครแข่งขันในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557
(1) พรรคกิจสังคม
(2) พรรคประชาธิปัตย์
(3) พรรคอนาธิปัตย์
(4) พรรคเพื่อไทย
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 นั้น พบว่ามีพรรคการเมืองที่ ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมดจํานวน 53 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคชาติพัฒนา พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อไทย พรรคพลังชล พรรคภูมิใจไทย พรรครักประเทศไทย ฯลฯ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์นั้นถือเป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวที่ประกาศไม่ลงสมัครแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งนี้

53. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของยุคแห่งการรู้แจ้ง (Enlightenment)
(1) การยอมรับระบบเหตุผล
(2) ศาสนจักรไม่มีอิทธิพลต่อความคิด
(3) อิทธิพลของพุทธศาสนา
(4) การมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 4
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การเสื่อมถอยของทฤษฎีครองอํานาจแบบลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine Right Theory) เกิดจากการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมให้มีการยอมรับระบบเหตุผล มากกว่าการใช้หลักจารีต ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า ทําให้ศาสนจักรไม่มีอิทธิพลต่อ ความคิด รวมไปถึงส่งเสริมการมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ หรือที่รู้จักกันในนามยุคเรืองปัญญา หรือยุคแห่งการรู้แจ้ง (Enlightenment)

54. แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) บอกว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพในเงื่อนไขใด
(1) ในรัฐสังคมนิยมเท่านั้น
(2) ในรัฐสวัสดิการเท่านั้น
(3) ในรัฐแบบใดก็ได้
(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ซอง จากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน แห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้น บรรลุถึงเสรีภาพได้ สัญญาประชาคมจึงเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญที่ต้องอยู่เพื่อทุกส่วนในสังคมดังนั้นการบรรลุเสรีภาพจะเกิดขึ้นในเงื่อนไขการปกครองแบบประชาธิปไตยเท่านั้น

55. เจตจํานงทั่วไป (General Will) ในทางทฤษฎี หมายถึง
(1) การมีส่วนร่วมทางการเมือง
(2) การเข้าไปใช้อํานาจการเมือง
(3) การยอมรับตัวแทนทางการเมือง
(4) การมีส่วนร่วมและกําหนดทิศทางของชุมชนที่สังกัด
(5) การมีส่วนร่วมทางการเมืองและยอมรับผู้นําการเมือง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เจตจํานงทั่วไป (General Will) ในทางทฤษฎี หมายถึง การมีส่วนร่วมและ กําหนดทิศทางของชุมชนที่สังกัด ซึ่งเป็นเรื่องของความเห็นพ้องต้องกันหรือมติเอกฉันท์ ของทุกคนในสังคม หรือบางครั้งอาจเป็นการตัดสินโดยเสียงข้างมากก็ถือว่าเป็นการเพียงพอ แต่ต้องเป็นเสียงข้างมากที่มุ่งผลประโยชน์ของคนทุกคนหรือผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

56. ข้อใดไม่เป็นพื้นที่ในพรมแดนส่วนตัว (Private Sphere)
(1) การคลุมฮิญาบ
(2) E-mail
(3) รสนิยม
(4) ห้องทํางานส่วนตัวในมหาวิทยาลัย
(5) งานอดิเรก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พื้นที่ในพรมแดนส่วนตัว (Private Sphere) เป็นพื้นที่ที่ถูกใช้โดยคนหนึ่งคนใด และมีลักษณะแบ่งแยกกันเด็ดขาด มักเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นปัจเจกบุคคล เข้าถึงได้ยาก เพราะต้องการความเป็นส่วนตัว เช่น ศาสนา (การคลุมฮิญาบ) ชีวิตครอบครัว รสนิยม งานอดิเรก ห้องนอน E-mail ฯลฯ

57. รัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง
(1) รัฐที่แยกพื้นที่ส่วนตัวออกจากพื้นที่สาธารณะ
(2) รัฐที่เอาหลักศาสนามาปกครอง
(3) รัฐที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์การปกครอง
(4) รัฐที่นําเอานักบวชมาปกครอง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐฆราวาสหรือรัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง รัฐหรือประเทศที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์การปกครองหรือกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการแยกศาสนจักร ออกจากฝ่ายอาณาจักรในโลกตะวันตก (โดยเฉพาะกรณีของอังกฤษ) โดยทั่วไปรัฐฆราวาสจะมี แนวทางบริหารประเทศโดยใช้หลักทั่วไปทางโลกมาเป็นรากฐานของการปกครอง ไม่ต่อต้าน ความเชื่อหรือจํากัดศาสนาใด ๆ ตัวอย่างของรัฐดังกล่าวนี้ ได้แก่ ไทย เนปาล ฯลฯ

58. ข้อใดเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550
(1) เข้าชื่อเสนอกฎหมาย
(2) เข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
(3) พิจารณากฎหมายเกี่ยวกับเด็ก สตรี เยาชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(4) เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มผลประโยชน์ เช่น กลุ่มอาชีพ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 ได้แก่
1. การออกเสียงเลือกตั้ง
2. การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (ร่าง พ.ร.บ. ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และ หมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ)
3. การเข้าชื่อเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
4. การเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
5. การมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับเด็ก สตรี เยาชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
6. การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มผลประโยชน์ เช่น กลุ่มอาชีพ เป็นต้น

59. กระบวนการที่ประชาชนของประเทศอังกฤษออกเสียงสนับสนุนให้อังกฤษออกจากการเป็นสมาชิก
สหภาพยุโรป เรียกว่า
(1) ประชาพิจารณ์
(2) มหาชนสมมุติ
(3) ประชามติ
(4) เลือกตั้ง
(5) ประชาสังคม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559 อังกฤษและกลุ่มประเทศในสหราชอาณาจักร ได้มีการลงประชามติออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปหรืออียู (EU) ซึ่งผลปรากฏว่า คะแนนที่ต้องการออกจากอียูคิดเป็นร้อยละ 51.89 ส่วนคะแนนที่ต้องการอยู่กับอียูคิดเป็นร้อยละ 48.11

60. การที่ประชาชนชาวยูเครนร่วมมือกับรัฐบาลยูเครนในการต่อสู้การรุกรานเพื่อยึดครองของรัสเซียเป็นการ
แสดงออกซึ่งการยืนยันในอํานาจอะไร
(1) อํานาจอธิปไตย
(2) อํานาจรัฐบาล
(3) อํานาจอียูและสหรัฐ
(4) อํานาจทางการทหาร
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การแสดงออกซึ่งอํานาจอธิปไตย โดยประชาชนเป็นเจ้าของอํานาจ ซึ่งจะต้องได้รับการยินยอม ประชาชนสามารถใช้อํานาจของตนโดยตรงหรือโดยอ้อม ตัวอย่างของ การแสดงออกซึ่งเป็นการยืนยันในอํานาจอธิปไตย เช่น กรณีที่ประชาชนชาวยูเครนร่วมมือกับ รัฐบาลยูเครนในการต่อสู้การรุกรานเพื่อยึดครองของรัสเซีย เป็นต้น

61. ต้องใช้จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนเท่าใดของจํานวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาฯ จึงจะสามารถเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติได้
(1) จํานวน 1 ใน 3
(2) จํานวน 1 ใน 4
(3) จํานวน 1 ใน 10
(4) กึ่งหนึ่ง
(5) มากกว่ากึ่งหนึ่ง
ตอบ 3(คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 152 กําหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร จะเข้าชื่อกัน เพื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรีโดยไม่มีการลงมติก็ได้

62. ข้อใดไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
(1) กกต.
(2) ป.ป.ช.
(3) คตง.
(4) สตง.
(5) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ตอบ 4 หน้า 35 – 39 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย 5 องค์กร ได้แก่
1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
2. ผู้ตรวจการแผ่นดิน
3. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
4. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)
5. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

63. การปฏิรูปประเทศ เป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใด
(1) พ.ศ. 2540
(2) พ.ศ. 2550
(3) พ.ศ. 2557
(4) พ.ศ. 2560
(5) ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) “การปฏิรูปประเทศ” เป็นหมวด 16 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งการปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ต้องการดําเนินการในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผลดังนี้ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและด้านอื่นๆ

64. รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุดมีลักษณะอย่างไร
(1) การแก้กฎหมายทําได้ง่าย
(2) กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
(3) เป็นไปตามเจตจํานงของผู้ปกครองสูงสุด
(4) ลําดับชั้นของกฎหมายไม่มีความจําเป็น
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 6 รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุด มีลักษณะดังนี้
1. กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
2. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทําได้ยาก

65. ข้อใดแสดงว่าอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย
(1) ตัวแทนจากวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งกันเองของสภาวิชาชีพ
(2) ตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด
(3) จํานวนประชากรที่ลงชื่อเสนอกฎหมายได้ต้องใช้จํานวนมากที่สุด
(4) ประชาชนออกเสียงประชามติแล้วให้รัฐแก้ไขได้เล็กน้อย
(5) การประกาศตัวเป็นองค์อธิปัตย์ของแกนนํากลุ่มผู้ชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมชุมนุมจํานวนมาก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

66. การปกครองระบบรัฐสภามีหลักการสําคัญคือการดุลอํานาจ หมายความว่าอย่างไร
(1) มีการแยกอํานาจการออกกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย และการลงโทษตามกฎหมาย
(2) มีการแยกฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายข้าราชการออกจากกัน
(3) มีการแยกกรรมาธิการเป็นหลายคณะเพื่อแบ่งความรับผิดชอบ
(4) มีการแยกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาออกจากกัน
(5) มีการแยกการปกครองออกเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาคออกจากกัน
ตอบ 1 หน้า 19, (คําบรรยาย) หลักการสําคัญของการปกครองระบบรัฐสภา ได้แก่
1. หลักการดุลอํานาจ หมายถึง เมื่อมีการแยกอํานาจออกเป็น 3 อํานาจ นั่นคือ อํานาจ การออกกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย และการลงโทษตามกฎหมาย แต่ละอํานาจ จะมีอิสระในตัวเอง และมีความสัมพันธ์กับอํานาจอื่นตามหลักแห่งการดุลอํานาจ
2. หลักแห่งความรับผิดชอบทางการเมือง หมายถึง การที่บุคคลที่ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สามารถยืนยันผลการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง หากไม่สามารถยืนยันได้ย่อมไม่ชอบธรรม
ที่จะบริหารประเทศต่อไป

67. คํากล่าวที่ว่า “เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน” คือข้อใด
(1) ประชาธิปไตยผูกโยงกับจํานวนประชาชน
(2) เสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก
(3) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่ไม่สามารถไปด้วยกัน
(4) ประชาธิปไตยไม่สามารถทําให้เกิดเผด็จการรัฐสภาได้
(5) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เนื่องจากประชาธิปไตยนั้น จะผูกโยงกับจํานวนประชาชน (เน้นส่วนใหญ่) ส่วนเสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐ ต่อปัจเจก แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองด้านจะเป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกัน

68. ใครเป็นผู้มีสิทธิในการเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกสภาฯ ที่มีอยู่
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกสองสภาที่มีอยู่
(3) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้มีสิทธิเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้
1. คณะรัฐมนตรี
2. ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
3. ส.ส. และ ส.ว. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
4. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อ
เสนอกฎหมาย

69. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนเท่าใดที่จะสามารถเข้าซื้อกล่าวหา ป.ป.ช. เกี่ยวกับการปฏิบัติตามอํานาจและหน้าที่ได้
(1) 10,000 ชื่อ
(2) 20,000 ชื่อ
(3) 30,000 ชื่อ
(4) 40,000 ชื่อ
(5) 50,000 ชื่อ
ตอบ 2(คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 236 วรรค 1 กําหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภาจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน สามารถเข้าซื้อกล่าวหา ป.ป.ช. เกี่ยวกับการปฏิบัติตามอํานาจและหน้าที่ได้

70. องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค ต่างกันอย่างไร
(1) การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ
(2) ความเป็นเจ้าชีวิตของประชาชน
(3) การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 9, (คําบรรยาย) องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค นั้นแตกต่างกันในประเด็นเรื่อง “การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ” โดยโทมัส ฮอบส์ เห็นว่า เมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้ ไม่ว่าเขาจะควบคุมชีวิตเรา มากแค่ไหนก็ตาม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าอํานาจดังกล่าวสามารถเพิกถอนได้ เมื่อเห็นว่าองค์อธิปัตย์ไม่อาจดูแลปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของตนได้

ข้อ 71 – 87. เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการ ให้นักศึกษาพิจารณา 2 ข้อความ และเลือกตอบคําถาม ดังนี้
(1) ข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ

71. (1) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอํานาจเลือกสมาชิก ของแต่ละสภา ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 บัญญัติให้กรรมาธิการสามัญ ซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละ
พรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 1 และ 8 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภามีอํานาจเลือกสมาชิกแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ… กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

72.(1) การดําเนินการของคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุม สภาผู้แทนราษฎรและตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคหนึ่ง
(2) กรณีคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะต้องดําเนินการตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคสอง ด้วย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 128 วรรค 1 และ 2 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภามีอํานาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด…. ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภา ผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่ามีสาระสําคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือ ทุพพลภาพ ต้องกําหนดให้บุคคลประเภทดังกล่าวหรือผู้แทนองค์กรเอกชนที่ทํางานเกี่ยวกับ บุคคลประเภทนั้นโดยตรง ร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย….

73.(1) การแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา ได้แบ่งตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ เช่น
1. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย หรือการพิจารณาร่างกฎหมาย
2. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา
3. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตรา และสอดคล้องการปฏิบัติงานรัฐบาล
(2) คณะกรรมาธิการในรัฐสภา อาจมีการแต่งตั้งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
ตอบ 2 หน้า 27, 31 คณะกรรมาธิการในรัฐสภามี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ นอกจากนี้เราอาจจะแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภาได้ ตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ ดังนี้
1. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
2. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานคลัง
3. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติงานของรัฐบาล เป็นต้น

74. (1) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่องหรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่าย ของรัฐบาล
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภามีบทบาทเท่ากับเป็นรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)
ตอบ 3 (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้ง คณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมา เพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล โดยคณะกรรมาธิการของรัฐสภานั้นจะมีบทบาท คล้ายกับรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

75. (1) ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา คณะกรรมาธิการมักมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติอย่างชัดแจ้ง
โดยเฉพาะความสามารถในการทํางานอย่างรวดเร็ว
(2) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการ เนื่องจากการทํางานของรัฐสภาตามความเป็นจริงนั้น
จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับหลักความต้องการของนักการเมือง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการมีอยู่ 4 ประการ คือ
1. เพื่อการแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา
2. จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับความต้องการของราษฎร
3. เป็นการละลายความเป็นพรรคการเมือง
4. การสอบสวนข้อเท็จจริงและรับเรื่องราวร้องทุกข์ (ถือเป็น “หน้าที่พิเศษ” ของคณะกรรมาธิการ ในประเทศไทย) ซึ่งในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนานั้นพบว่า คณะกรรมาธิการมักไม่ค่อยมีอิทธิพล ต่อกระบวนการนิติบัญญัติมากนัก เนื่องจากความสามารถในการทํางานค่อนข้างต่ํา

76.(1) การทํางานในขั้น “คณะกรรมาธิการ” ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในคณะกรรมาธิการชุดเดียวกัน มักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง
(2) “หน้าที่พิเศษ” ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ประจําตามปกติธรรมดาของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย คือ
การแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) “การละลายความเป็นพรรคการเมือง” หนึ่งในเหตุผลของการที่ต้องมี คณะกรรมาธิการนั้นพบว่า การทํางานในขั้นคณะกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางาน ในกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง (ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ)

77.(1) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ
1. แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา
2. แต่งตั้งโดยรัฐสภา
(2) การปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการ ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใดมิได้
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลก มีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ
1. แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา
2. แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการพิเศษที่มีอํานาจในการคัดเลือก
3. แต่งตั้งโดยรัฐสภา ซึ่งการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการนั้นถือว่าเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้

78.(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็นผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้
(2) กรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรส จะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่ง ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ ความมีอาวุโสเป็นหลัก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ “ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ” เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็น ผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้ ส่วนคณะกรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรสนั้นจะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ และความมีอาวุโสเป็นหลัก

79.(1) ในระบบรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา หากเป็นร่างรัฐบัญญัติธรรมดาเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้ว คณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session)
เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ
คณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการเต็มสภา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา มี 5 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
3. คณะกรรมาธิการร่วม
4. คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา
5. คณะกรรมาธิการเต็มสภา
ซึ่งในระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ หากเป็นร่างรัฐบัญญัติที่มีความสลับซับซ้อน (เรื่องใหญ่ เรื่องที่ ประชาชนสนใจมาก เข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการ จัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session) เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

80.(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการเต็มสภา คณะกรรมาธิการสามัญคณะกรรมาธิการร่วม และคณะกรรมาธิการร่วมพระราชบัญญัติมหาชน
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมาธิการสามัญ สกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ มี 5 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการเต็มสภา
2. คณะกรรมาธิการสามัญ
3. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
4. คณะกรรมาธิการร่วม
5. คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติเอกชน
นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมาธิการสามัญสกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

81. (1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสมัยประชุม
2. คณะกรรมาธิการชั่วคราว
(2) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ จะเป็นคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้ง มาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถ
แบ่งย่อยได้ 3 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสมัยประชุม
2. คณะกรรมาธิการชั่วคราว
3. คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
ส่วนคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษนั้นจะเป็นคณะกรรมาธิการ ที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

82. (1) ระบบคณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ และคณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม
(2) คณะกรรมาธิการสามัญของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาล
หรือสภาร้องขอให้พิจารณา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส มี 3 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องหลัก ๆ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่ รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา
3. คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถ ดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อสภา ซึ่งมักเข้าไป เกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันที ที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

83. (1) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติ ที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน
(2) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่นอาจขอให้รัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธาน
คณะกรรมาธิการขอมาก็ได้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุม คณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติ รายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งอาจขอให้รัฐมนตรี หรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

84. (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(2) ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภาญี่ปุ่นจะมาจากการแต่งตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการ ด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ
ตอบ 1
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
โดยประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นจะมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

85. (1) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถ ดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อประธานาธิบดี
(2) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส มักเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงาน เดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการ พิจารณาอยู่
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

86. (1)ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ)
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสี่ บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสารจาก บุคคลใด หรือเรียกผู้พิพากษาหรือตุลาการมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทํา หรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญ ประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ) โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 4 บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสาร จากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ

87.(1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา จะต้อง คํานึงถึงหลักการกระจายอํานาจเป็นหลัก
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสาม บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการ จะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยนั้นมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับ การประชุมของสภา ซึ่งจะต้องคํานึงถึงหลักแบ่งงานกันทําเป็นหลัก โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 3 บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือ มอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

ข้อ 88. – 95. จงพิจารณาประเภทของคณะกรรมาธิการรัฐสภาไทย แล้วเลือกตอบคําถามที่มี ความสัมพันธ์กับประเภทดังกล่าวให้ถูกต้อง ดังนี้
(1) คณะกรรมาธิการสามัญ
(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(3) คณะกรรมาธิการร่วม
(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว

88. คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการ โดยประธานในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุม จะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

89. คณะกรรมาธิการ….จะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

90. คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น
ตอบ 1 หน้า 27 – 28 คณะกรรมาธิการสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น และตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจาณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

91. คณะกรรมาธิการ ตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

92. คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้
ตอบ 2 หน้า 31 คณะกรรมาธิการวิสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็น หรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้ เป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ โดยจะแต่งตั้งขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยื่นญัตติขอให้ตั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะและจะสลายตัวเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ

93. คณะกรรมาธิการ….แต่งตั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

94. กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และวุฒิสภาก็ได้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการร่วม หมายถึง กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา แต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะ กรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา

95. คณะกรรมาธิการ….จะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วย กับการแก้ไขของวุฒิสภา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 94. ประกอบ

ข้อ 96. – 100. เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติในฝ่ายนิติบัญญัติ : การตราพระราชบัญญัติ ให้นักศึกษาพิจารณาข้อความดังต่อไปนี้
(1) ถ้าข้อความนี้ ถูก
(2) ถ้าข้อความนี้ ผิด
(3) ถ้าข้อความนี้ ไม่เกี่ยวกับวิชานี้

96. รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 133 บัญญัติว่า ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย 1. คณะรัฐมนตรี 2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน 3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน และต้องเป็นไปตามมาตรา 77 ด้วย
ตอบ 2 หน้า 54 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 133 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อ สภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย
คือ
1. คณะรัฐมนตรี
2. ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน
3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม 2. หรือ 3. เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคํารับรองของนายกรัฐมนตรี

97. กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรได้กําหนดขั้นตอนเป็น 4 วาระ คือ
1. ขั้นรับหลักการ
2. ขั้นพิจารณา
3. ขั้นแปรบัญญัติ
4. ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา
ตอบ 2 หน้า 54 – 55 กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
โดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นจะพิจารณาเป็น 3 วาระ คือ
1. ขั้นรับหลักการ
2. ขั้นพิจารณาหรือขั้นแปรญัตติ
3. ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

98. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา กรณีเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไปต้องพิจารณา ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

99. หากประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

100. ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ก็ทรงมีอํานาจยับยั้งได้ โดยส่งร่างพระราชบัญญัติ นั้นคืนมายังรัฐสภา หรือเก็บร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้โดยไม่ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา จนล่วงพ้นเวลา 90 วันไปแล้ว
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

WordPress Ads
error: Content is protected !!