CDM2204 MCS1250 (MCS2200) การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS1250 (MCS 2200) การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 จริยธรรมสูงสุดในงานวารสารศาสตร์คือข้อใด
(1) ความเป็นกลาง
(2) ความซื่อสัตย์
(3) การไม่เลือกปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์
(4) การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความเป็นกลาง (Objectivity) คือ จริยธรรมสูงสุดในงานวารสารศาสตร์
ประกอบด้วย
1 การแยกตนเองออกจากสิ่งที่กําลังรายงาน
2 การไม่เข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
3 ยึดเฉพาะข้อเท็จจริง
4 มีจิตสํานึกของความสมดุล หรือความเสมอภาคในการนําเสนอ
5 ใช้รูปแบบพีระมิดหัวกลับในการเขียนข่าว คือ การยึดมั่นในหลักการของความเป็นจริง ความถูกต้องเที่ยงตรง และความถ่องแท้ครบถ้วน

2 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของนักวารสารศาสตร์และความเป็นกลางในงานข่าว
(1) อยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย
(2) ความรู้เฉพาะด้านนั้น ๆ
(3) ความสํานึกต่อความรับผิดชอบ
(4) ความคิดสร้างสรรค์และมีไหวพริบ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คุณลักษณะของนักวารสารศาสตร์และความเป็นกลางในงานข่าว มีดังนี้
1 ความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ช่างสงสัยจนเป็นนิสัย
2 ความไวต่อข่าว และหนักแน่นอดทน
3 ความรอบรู้ รู้รอบ และมีจินตนาการ
4 ความสํานึกต่อความรับผิดชอบ
5 ความคิดสร้างสรรค์และมีไหวพริบ ฯลฯ

3 การเสนอข่าวอย่างไม่อคติ คือ การไม่ควรเอาอคติส่วนตัวต่อบุคคลในข่าวที่เราเรียกว่า หลัก 3 R
ข้อใดไม่ได้อยู่ในหลัก 3 R
(1) เชื้อชาติ (Race)
(2) ศาสนา (Religion)
(3) สถาบันพระมหากษัตริย์ (Royal)
(4) ความสัมพันธ์ (Relationship)
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่ควรคํานึงในเรื่องกระบวนการรายงานข่าวประการหนึ่ง คือ การเสนอข่าว แบบไม่มีอคติ ได้แก่ ไม่ควรมีอคติส่วนตัวต่อบุคคลในข่าวที่เกิดจากเชื้อชาติ (Race) ศาสนา (Religion) และสถาบันกษัตริย์ (Royal) ซึ่งเรียกว่า “หลัก 3 R

4 หนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ (Broadsheet Newspaper) มีความกว้างยาวกี่นิ้ว
(1) กว้าง 20 นิ้ว ยาว 30 นิ้ว
(2) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
(3) กว้าง 11 นิ้ว ยาว 14.5 นิ้ว
(4) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
ตอบ 2 หน้า 7 – 8 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์แบ่งตามรูปแบบออกได้เป็น 2 ขนาด ดังนี้
1 หนังสือพิมพ์ขนาดมาตรฐาน (Standard Size) หรือหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ (Broadsheet Newspaper) จะมีความกว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
2 หนังสือพิมพ์ขนาดแท็บลอยด์ (Tabloid Newspaper) หรือหนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก มักจะ มีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ คือ กว้าง 11 ½ นิ้ว ยาว 14 ½ นิ้ว

5 หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (Tabloid Newspaper) มีความกว้างยาวกี่นิ้ว
(1) กว้าง 20 นิ้ว ยาว 30 นิ้ว
(2) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
(3) กว้าง 11 ½ นิ้ว ยาว 14 ½ นิ้ว
(4) กว้าง 14 ½ นิ้ว ยาว 23 ½ นิ้ว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

6 ต่อไปนี้เรื่องใดปกติไม่ปรากฏที่หน้า 1 ของหนังสือพิมพ์รายวัน
(1) ชื่อหนังสือพิมพ์ พร้อมสัญลักษณ์
(2) ปีที่ ฉบับที่ วันที่ เดือน ปี
(3) บทนํา
(4) ภาพประกอบข่าวและภาพข่าว
ตอบ 3 หน้า 145 – 148 หน้าแรกหรือหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ (เปรียบเสมือนปก หรือตู้โชว์ในการ “ขายข่าว”) ถือเป็นหน้าสําคัญที่มีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์มากที่สุด ประกอบด้วย
1 ชื่อหนังสือพิมพ์ พร้อมทั้งสัญลักษณ์ (Logo) คําขวัญ (Slogan) และอาจมีข้อมูลต่าง ๆ ใต้ตัวอักษรชื่อหนังสือพิมพ์ เช่น ปีที่ ฉบับที่ วันที่ เดือน ปี ฯลฯ
2 ส่วนข้างหัวหนังสือพิมพ์ (Ears)
3 ข่าว (ถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญที่สุด)
4 ภาพประกอบข่าวและภาพข่าว
5 สารบัญข่าว
6 โฆษณา
7 คอลัมน์ประจํา (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) เช่น จดหมายเปิดผนึก ตอบปัญหา ฯลฯ

7 ฉบับแยกส่วน (Section) ของหนังสือพิมพ์ จัดทําเพื่อประโยชน์ใด
(1) แจกฟรีผู้อ่าน
(2) จัดสัดส่วนเพื่อความสะดวกแก่ผู้อ่าน
(3) แบ่งข่าวหนักกับข่าวเบาออกจากกัน
(4) สะดวกในการโฆษณาสินค้าต่าง ๆ
ตอบ 2 หน้า 31 – 32 การที่ธุรกิจหนังสือพิมพ์ขยายตัวและมีการแข่งขันสูงขึ้น ประกอบกับผู้บริโภค ต้องการข่าวสารมากขึ้น ทําให้หนังสือพิมพ์มีเนื้อหาและมีความหนามากเกินไป ดังนั้นจึงมีฉบับ แยกส่วน (Section) ของหนังสือพิมพ์ ซึ่งจัดสัดส่วนของเรื่องให้เป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวก ของผู้อ่าน ทําให้อ่านได้ง่าย ไม่สับสน และรู้สึกว่าหนังสือพิมพ์มีจํานวนหน้ามากขึ้นจนคุ้มค่า ต่อการซื้อหามาอ่าน

8 หนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวแวดวงสังคม และ Celebrity เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด
(1) Hard News Newspaper
(2) Combination Newspaper
(3) Soft News Newspaper
(4) Specialized Newspaper
ตอบ 3 หน้า 41, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวเบา (Soft News Newspaper) คือ การเสนอข่าวที่เน้นองค์ประกอบด้านความน่าสนใจมากกว่าองค์ประกอบอย่างอื่น ซึ่งมักจะ สนองความอยากรู้อยากเห็นของผู้อ่านมากกว่าที่จะมีสาระสําคัญจนมีผลกระทบต่อสังคม เช่น ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวประกวดนางงาม ข่าวบันเทิง ข่าวแวดวงสังคม และ Celebrity ฯลฯ

9 ข้อดีของการมีสภาวิชาชีพสื่อสารมวลชน คือ
(1) การทําข่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
(2) ไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนักข่าวก็ได้
(3) ป้องกันการแทรกแซงจากรัฐ ทุน การเมือง
(4) สามารถโต้แย้งรัฐได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อดีของการมีสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ คือ ทําให้สื่อมวลชนทําข่าว เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติมีอํานาจหน้าที่ในการออกใบอนุญาตและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จึงอาจทําให้สื่อมวลชนที่กลัวเดือดร้อน หรือถูกกระทบจากผู้มีอํานาจออกใบอนุญาต นําเสนอข่าวที่ปลอดภัยแบบเดียวกันทุกสื่อ

10 สมาชิกสภาวิชาชีพใดที่ต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
(1) สื่อออนไลน์
(3) วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
(2) นิตยสาร
(4) ภาพยนตร์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลังจากที่ประชุมสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ผ่านร่าง กฎหมายควบคุมสื่อฉบับล่าสุดได้มีเนื้อหาให้สมาชิกสภาวิชาชีพสื่อออนไลน์ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และต้องมาขึ้นทะเบียนเหมือนกับสื่อประเภทอื่น

11 กลไกการกํากับดูแลร่วม หมายถึงอะไร
(1) ออกแบบให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม
(2) ออกแบบให้รัฐเข้ามามีส่วนร่วม
(3) ออกแบบให้เอกชนและรัฐเข้ามามีส่วนร่วม
(4) ออกแบบให้นักวิชาการเข้ามามีส่วนร่วม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) กลไกการกํากับดูแลร่วม (Co – regulation) หมายถึง กลไกที่ออกแบบให้ เอกชนและรัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการทําหน้าที่กํากับดูแลวิชาชีพสื่อ โดยให้องค์กรสื่อมวลชน กํากับดูแลในชั้นที่ 1, องค์การวิชาชีพสื่อมวลชนกํากับดูแลในชั้นที่ 2 และให้ “สภาวิชาชีพ สื่อมวลชนแห่งชาติ” เป็นกลไกการกํากับดูแลร่วมในขั้นที่ 3

12 การแสวงหาวัตถุดิบ รวบรวม ตระเตรียม ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงต้นฉบับสําหรับพิมพ์ เป็นหน้าที่
ของฝ่ายใด
(1) ฝ่ายบรรณาธิการ
(2) ฝ่ายบริหารจัดการ
(3) ฝ่ายบริหารการผลิต
(4) ฝ่ายประสานงาน
ตอบ 1หน้า 120 – 121, (คําบรรยาย) ฝ่ายบรรณาธิการ เป็นฝ่ายที่มีความสําคัญที่สุดในการบริหาร งานข่าว และเป็นจุดศูนย์รวมอันสําคัญยิ่งของกระบวนการข่าวทั้งหมด เพราะฝ่ายบรรณาธิการ มีภาระหน้าที่โดยตรงในการผลิตข้อมูล ข้อเท็จจริง ด้วยการแสวงหาวัตถุดิบ รวบรวม ตระเตรียม ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงต้นฉบับสําหรับพิมพ์ เพื่อนําเสนอต่อสาธารณชน ดังนั้นบุคลากรในฝ่ายบรรณาธิการจึงต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารกระบวนการข่าวให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะทําได้

13 Deadtine หมายถึง
(1) แหล่งข่าวถึงแก่ชีวิตอย่างกะทันหัน
(2) งานทุกชิ้นต้องเสร็จภายในเวลาที่กําหนด
(3) เหตุการณ์เสียชีวิตที่ไม่มีใครคาดคิด
(4) เวลาวางจําหน่ายหนังสือพิมพ์แต่ละกรอบ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “Deadline” แปลว่า เส้นตาย ซึ่งหมายถึง งานทุกชิ้นทุกขั้นตอนต้อง ทําให้เสร็จภายใต้เงื่อนเวลาที่กําหนดไว้ เพราะหนังสือพิมพ์เป็นงานที่ทํากันเป็นทีม (Team Work) ต้องการความรวดเร็วและเที่ยงตรง เพื่อแข่งกับเวลาให้ทันต่อการรายงานเหตุการณ์ ชนิดวันต่อวัน หรือชั่วโมงต่อชั่วโมง

14 หน้าที่ของ Copy Desk คือ
(1) ค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต
(2) พิจารณาความถูกต้องของภาษาและไวยากรณ์
(3) ถ่ายเอกสารจากศูนย์ข้อมูล
(4) จัดทําสําเนาต้นฉบับให้บรรณาธิการ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ฝ่ายบรรณาธิกร (Copy Desk) ทําหน้าที่จัดการต้นฉบับให้เสร็จเรียบร้อย ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต ซึ่งประกอบด้วย การตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ของต้นฉบับ การพิจารณาความถูกต้องของภาษา ไวยากรณ์ ตัวสะกด/ตัวการันต์ และลีลาการเขียน การปรับปรุงเนื้อหาให้กระชับชัดเจน ฯลฯ

15 Clipping หมายถึง
(1) การเรียบเรียงข้อมูลข่าว
(2) การนําภาพและข่าวมาตัดต่อเผยแพร่ออนไลน์
(3) การถอดเทปเสียงสัมภาษณ์แหล่งข่าว
(4) ข่าวตัดที่เคยนําเสนอในหนังสือพิมพ์แล้ว
ตอบ 4 หน้า 125, (คําบรรยาย) Clipping หมายถึง ชิ้นข่าวตัดที่เคยนําเสนอในหนังสือพิมพ์ไปแล้ว ซึ่งบรรณารักษ์ของห้องสมุดหนังสือพิมพ์ได้ตัดมาจากหนังสือพิมพ์เก่า ๆ แล้วเก็บเข้าแฟ้มเป็นเรื่องๆ เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลที่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้อีกในภายหลังเมื่อมีการอ้างอิงหรือนํามาประกอบการเขียนข่าวเพื่อให้ภูมิหลังกับข่าวที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

16 ฝ่ายใดถือเป็นเส้นเลือดหลักขององค์กรหนังสือพิมพ์
(1) ฝ่ายบรรณาธิการ
(2) ฝ่ายบริหารจัดการ
(3) ฝ่ายโฆษณา
(4) ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
ตอบ 3 หน้า 15, 123, 159 – 160, (คําบรรยาย) ฝ่ายโฆษณา (Advertising Department) ถือเป็น เส้นเลือดหลักขององค์กรหนังสือพิมพ์ เพราะการที่หนังสือพิมพ์จะดําเนินธุรกิจอยู่ได้ย่อมต้อง อาศัยเงินจากค่าโฆษณา ซึ่งมีจํานวนประมาณ 2 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมด ดังนั้นโฆษณาจึงเป็นแหล่งรายได้หลักที่สําคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์

17 ลักษณะเด่นของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ คือ
(1) ทันเหตุการณ์
(2) ไม่ต้องเสียเงินอ่าน
(3) มีข่าวหลากหลาย
(4) เข้าถึงผู้อ่านจํานวนมาก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อสรุปลักษณะเด่นของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ มีดังนี้
1 ทันเหตุการณ์
2 โต้ตอบได้
3 ใช้ง่ายและสะดวก
4 ไม่จํากัดพื้นที่
5 สร้างสํานึกการมีส่วนร่วม
6 ขยายเป้าหมายองค์กร
7 สร้างความเชื่อถือ
8 รวดเร็วทันใจ

18 สิ่งที่นักวารสารศาสตร์ต้องทําอย่างมากเมื่อมาทําข่าวออนไลน์
(1) ต้องทําข่าวตลอด 24 ชั่วโมง
(2) ต้องไม่ลืมกลั่นกรองคุณภาพข้อมูลตลอดเวลา
(3) ต้องทําตัวเป็นกลาง
(4) ต้องทําข่าวทุกขั้นตอนด้วยตัวคนเดียว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ข้อจํากัดของสื่อใหม่ คือ ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสาร เพราะสื่อใหม่เป็นการนําเสนอข้อมูลข่าวสารโดยไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ คัดเลือก และคัดกรองจากบรรณาธิการ ดังนั้นสิ่งที่นักวารสารศาสตร์ต้องทําอย่างมากเมื่อมาทําข่าวออนไลน์ก็คือ ต้องไม่ลืมกลั่นกรองคุณภาพข้อมูลตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูลที่ นําเสนอ อันจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สู่สาธารณชน

19 Ohmynews เป็นการทําข่าวของผู้สื่อข่าวประเภทใด
(1) ผู้สื่อข่าวการเมือง
(2) ผู้สื่อข่าวประจํา
(3) ผู้สื่อข่าวบันเทิง
(4) ผู้สื่อข่าวพลเมือง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) วารสารศาสตร์พลเมือง (Citizen Journalism) คือ ประชาชนมีส่วนร่วมในการ รายงานข่าว โดยใช้สื่อพลเมือง (Citizen Media) เป็นช่องทางให้ประชาชนเป็นผู้รายงานข่าว แสดงความคิดเห็น และโต้ตอบบนเว็บเพจในอินเทอร์เน็ตได้ในลักษณะ Online Journalism เช่น Ohmynews เป็นลักษณะการทําข่าวของผู้สื่อข่าวพลเมืองในประเทศเกาหลีใต้ที่ประสบ ความสําเร็จเป็นอย่างมาก เป็นต้น

20 การใช้วิจารณญาณในการคัดเลือกข่าว เป็นการทําหน้าที่ใดของหนังสือพิมพ์
(1) Informer
(2) Watchdog
(3) Gatekeeper
(4) Changing Agent
ตอบ 3หน้า 16 บทบาทการเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) คือ การควบคุมการไหลของ ข่าวสารไปสู่สาธารณชน โดยหนังสือพิมพ์จะมีนายทวารประจําด่านอยู่เป็นจํานวนมาก เช่น นักข่าว ช่างภาพ บรรณาธิการ ฯลฯ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองข่าว ประเมินคุณค่า และตรวจเนื้อหาของข่าวสาร ก่อนที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านทางหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ยังทําหน้าที่ตัดสินใจว่าจะเลือกทําข่าวใด หรือจะคัดเลือกข่าวนั้น ๆ เพื่อตีพิมพ์ หรือไม่ โดยคํานึงถึงพื้นฐานของความถูกต้องเที่ยงตรงของข่าวสาร

21 สารคดีแตกต่างจากบทความในเรื่องใด
(1) สารคดีเขียนจากความคิดเห็นของผู้เขียน
(2) สารคดีเขียนจากความจริง
(3) สารคดีเขียนจากความทรงจําของผู้เขียน
(4) สารคดีเขียนจากจินตนาการ
ตอบ 2 หน้า 45 สิ่งที่สารคดีแตกต่างจากบทความ คือ สารคดีเขียนจากความจริง มิใช่เกิดจาก จินตนาการ จึงต่างจากบทความตรงที่ว่า บทความเน้นการแสดงความคิดเห็น แต่สารคดี เน้นการให้ความรู้ให้ข้อมูลที่เป็นสาระของเรื่อง

22. ผู้สื่อข่าวที่ได้รับมอบหมายให้ไปประจําที่ทําเนียบรัฐบาล เรียกว่า
(1) ผู้สื่อข่าวประจํา
(2) ผู้สื่อข่าวทั่วไป
(3) ผู้สื่อข่าวพิเศษ
(4) บรรณาธิการ
ตอบ 1 หน้า 130 ผู้สื่อข่าวประจํา (Beat Reporter) หมายถึง ผู้สื่อข่าวที่ได้รับมอบหมายให้ทําข่าว ประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น ข่าวการศึกษา ข่าวอาชญากรรม ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สื่อข่าวที่เพิ่ง เข้ามาทํางานใหม่และมีประสบการณ์น้อยจะได้รับมอบหมายให้สื่อข่าวแต่ละประเภทหมุนเวียน กันไป โดยจะอยู่ประจําตามแหล่งข่าวต่าง ๆ เช่น ผู้สื่อข่าวประจําที่ทําเนียบรัฐบาล กระทรวง สถานีตํารวจ เป็นต้น

23 ข้อจํากัดของสื่อใหม่ คือ
(1) ความรวดเร็ว
(2) คลังข้อมูล
(3) ความรู้
(4) ความถูกต้อง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 18, ประกอบ

24 ฝ่ายใดเป็นผู้จัดขึ้นโฆษณาลงบนหน้าพิมพ์
(1) ฝ่ายบรรณาธิการ
(2) ฝ่ายศิลป์
(3) ฝ่ายผลิต
(4) ฝ่ายจัดการ
ตอบ 4 หน้า 123, 163 การจัดวางชิ้นงานโฆษณาลงบนหน้าพิมพ์ส่วนใหญ่ มักจะเป็นหน้าที่ของฝ่าย โฆษณา ซึ่งอยู่ในส่วนของฝ่ายจัดการมากกว่าจะเป็นหน้าที่ของฝ่ายบรรณาธิการโดยตรง ทั้งนี้ ฝ่ายโฆษณาจะจัดหน้าในส่วนของโฆษณาให้มีเนื้อที่เหมาะสมสําหรับตีพิมพ์ข่าวอยู่แล้ว แต่หากจําเป็นต้องมีการปรับ บรรณาธิการฝ่ายจัดหน้าจะเป็นผู้ประสานงานกับฝ่ายโฆษณาต่อไป

25 ข้อจํากัดของการแสวงหาความจริง (Search for Truth)
(1) การนําเสนอด้วยความรวดเร็ว
(2) การกระตุ้นสถานะการเงินหนังสือพิมพ์
(3) ข้อมูลข่าวสารไม่มีประโยชน์ต่อสังคม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อจํากัดของการแสวงหาความจริง (Search for Truth) คือ การที่สื่อมวลชน นําเสนอข่าวด้วยความรวดเร็วในลักษณะวันต่อวัน และต้องทํางานแข่งกับเวลาเพื่อให้ทันเวลาปิดข่าว ทําให้อาจเกิดอุปสรรคต่อการแสวงหาข้อเท็จจริงได้อย่างครบถ้วนรอบด้าน

26 ข้อใดคือแนวทางรายงานข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid)
(1) สนองความอยากรู้ของผู้อ่าน
(2) จัดหน้าหนังสือพิมพ์ได้สะดวก
(3) สะดวกต่อการบรรณาธิการและพาดหัวข่าว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวทางการรายงานข่าวแบบที่เรียกว่า พีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid)
จะประกอบไปด้วย
1 การให้ความสะดวกแก่ผู้อ่าน
2 สนองความอยากรู้ของผู้อ่าน หนังสือพิมพ์
3 อํานวยความสะดวกสําหรับการจัดหน้าของ
4 สะดวกต่อการบรรณาธิการและพาดหัวข่าว

27 “ความเป็นกลาง” ที่ประกอบด้วย การนําเสนอเนื้อหาเฉพาะข้อเท็จจริง และความไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
เป็นทัศนะบางส่วนของใคร
(1) เบน แบ็กดิเกียน
(2) คอนราด ฟังก์
(3) เฮมานุส
(4) คาร์ล มาร์ก
ตอบ 3(คําบรรยาย) เฮมานุส (Pertti Hemanus) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ประจําคณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยแทมแพร์ (Tampere) ประเทศฟินแลนด์ ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ความเป็นกลาง” ประกอบด้วย คุณลักษณะสําคัญ 2 ประการ ดังนี้
1 เนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริง (Matter of Fact Character)
2 ความไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Impartiality)

28 Interactive Media คือสื่อประเภทไหน
(1) วิทยุกระจายเสียง
(2) ภาพยนตร์
(3) วิทยุโทรทัศน์
(4) อินเทอร์เน็ต
ตอบ 4 (คําบรรยาย) อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อประเภท Interactive Media คือ เอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร เพราะเป็นสื่อที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารสามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ โดยผ่านช่องทางการสื่อสารตอบกลับทั้งแบบทันทีทันใด และไม่ใช่ลักษณะทันทีทันใด ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึงเป็นสื่อที่เอื้อต่อการสื่อสารแบบสองทาง (Two Way Communication)

29 การเกิดขึ้นของ Social Media ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทําข่าวสําคัญข้อใด
(1) ผู้สื่อข่าวต้องเป็นนายทวารข่าวสารด้วยตัวเอง
(2) ผู้สื่อข่าวไม่ต้องทําข่าวเอง
(3) ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวได้ทันที
(4) มีการจ้างผู้สื่อข่าวน้อยลง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การเกิดขึ้นของ Social Media ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทําข่าว ที่สําคัญ คือ ผู้สื่อข่าวจะต้องเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) ด้วยตัวเอง โดยทําหน้าที่ คัดเลือก คัดกรอง และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวก่อนที่จะนําเสนอไปสู่สาธารณชน ดังนั้นสื่อใหม่จึงลดบทบาทการทําหน้าที่ของบรรณาธิการข่าวหรือหัวหน้าข่าว (News Editor) ซึ่งเคยเป็นนายทวารข่าวสารในองค์กรสื่อแบบดั้งเดิม

30 ผู้นําหนังสือข่าวมาเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรก คือ
(1) Fred S. Siebert
(2) Dan Beach Bradley
(3) Mark Zuckerberg
(4) Bill Gates
ตอบ 2 หน้า 2, 100, (คําบรรยาย) ตามประวัติการหนังสือพิมพ์นั้น หนังสือข่าวเกิดขึ้นเพื่อประกาศ ข่าวการเดินเรือและขนส่งสินค้า โดยหมอสอนศาสนาบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) เป็น ผู้นําหนังสือข่าวมาเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2437 คือ หนังสือจดหมายเหตุกรุงเทพ หรือบางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder)

31 องค์ประกอบของข่าว คือ
(1) ความสําคัญ/ความน่าสนใจ
(2) ความใกล้ชิด/ความเด่น
(3) ข้อเท็จจริง/ประเด็นซับซ้อน
(4) ความผิดปกติ/ความสนใจตามปุถุชนวิสัย
ตอบ 1 หน้า 39 – 40, (คําบรรยาย) องค์ประกอบของข่าวที่ควรพิจารณา คือ ข่าวนั้นต้องเป็นสิ่งที่ ประชาชนอยากรู้ (Want to know) เป็นเรื่องที่ประชาชนควรรู้ (Ought to know) และเป็น สิ่งที่ประชาชนต้องรู้ (Have to know) ดังนั้นข่าวที่มีคุณค่าสูงจึงมักมีองค์ประกอบของข่าว คือ ความสําคัญ (Significance) และความน่าสนใจ (Interest) ในตัวเอง

32 การพัฒนาบทบาทหนังสือพิมพ์เริ่มในยุคใด
(1) รัชกาลที่ 4
(2) รัชกาลที่ 5
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 7
ตอบ 3 หน้า 106 – 109, (คําบรรยาย) การพัฒนาบทบาทหนังสือพิมพ์เริ่มขึ้นในยุครัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นยุคที่รากฐานเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ได้เริ่มขึ้นในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กล่าวคือ เป็นยุคที่นักหนังสือพิมพ์กล้าแสดงออกทางความคิด และกล้าคัดค้านในเรื่องที่ ตนเองไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบข้าราชการ เป็นหูเป็นตาแทนรัฐบาลด้วยการเสนอข่าวสารข้อมูล

33 ส่วนประกอบการเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ คือ
(1) ส่วนนํา, ส่วนเชื่อม, เนื้อหา
(2) ส่วนเชื่อม, เนื้อหา, ส่วนสรุป
(3) ส่วนนํา, เนื้อหา, ส่วนสรุป
(4) ส่วนภาพ, เนื้อหา, ส่วนสรุป
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ส่วนประกอบของการเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) มีดังต่อไปนี้
1 ความนําหรือส่วนนํา (Lead)
2 ส่วนเชื่อม (Bridge)
3 เนื้อหา (Body)

34 สื่อใหม่ลดบทบาทการทําหน้าที่ใดในกองบรรณาธิการ
(1) ผู้สื่อข่าว
(2) หัวหน้าข่าว
(3) ช่างภาพ
(4) คอลัมน์นิสต์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

35 “สินค้า” ของหนังสือพิมพ์มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
(1) สด รวดเร็ว
(2) เนื้อหาสาระ
(3) ยกระดับคุณภาพของสาธารณชน
(4) เสรีภาพในการนําเสนอ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข่าวเปรียบเสมือน “สินค้า” ของหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงาน เหตุการณ์/ข้อเท็จจริงที่มีความสําคัญและน่าสนใจ โดยมีเสรีภาพในการแสวงหาและนําเสนอข่าวสารไปสู่สาธารณชน

36 หนังสือพิมพ์ประเภทไหนเน้น News Value เป็นอันดับแรก
(1) ข่าวประเด็นซับซ้อน
(2) ข่าวสืบสวน
(3) ข่าวสาระหนัก
(4) ข่าวประเด็นเดียว
ตอบ 3 หน้า 41, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ประเภทข่าวสาระหนัก (Hard News) เน้นองค์ประกอบ ของคุณค่าข่าว (News Value) ด้านความสําคัญ (Significance) เป็นอันดับแรก ประกอบด้ว
1 ผลกระทบ (Consequence)
2 ความขัดแย้ง (Conflict)
3 ความลึกลับซับซ้อน (Suspense)

37 วารสารศาสตร์ที่ได้รับความสนใจ เพื่อนํามาใช้พัฒนาคุณภาพในสังคมโลกาภิวัตน์ คือ
(1) วารสารศาสตร์แนวใหม่ (New Journalism)
(2) วารสารศาสตร์เพื่อสังคม (Advocacy Journalism)
(3) วารสารศาสตร์เชิงวิจัย (Precision Journalism)
(4) วารสารศาสตร์เชิงบริการ (Service Journalism or Marketing Approach to News)
ตอบ 3 (คําบรรยาย) วารสารศาสตร์เชิงวิจัย (Precision Journalism) ถือเป็นวารสารศาสตร์ที่ได้รับ ความสนใจ เพื่อนํามาใช้พัฒนาคุณภาพในสังคมโลกาภิวัตน์ เพราะเป็นวารสารศาสตร์ที่สามารถ เข้าสู่ความเป็นกลางได้มากที่สุดกว่าวารสารศาสตร์แบบอื่น

38 กรณีใดถือว่าเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน
(1) นักข่าวบันเทิงแสดงภาพยนตร์
(2) นักข่าวอสังหาฯ รับสิทธิจองคอนโดก่อน
(3) นักข่าวการเมืองได้สิทธิจอดรถในทําเนียบ
(4) นักข่าวอาหารรับประทานอาหารฟรี
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์ทับซ้อน หรือการขัดกันของผลประโยชน์ คือ สถานการณ์ที่บุคคล ผู้ดํารงตําแหน่งอันเป็นที่ไว้วางใจ (เช่น ทนายความ นักการเมือง ผู้บริหาร นักข่าว ฯลฯ) ได้เกิด ความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ทางวิชาชีพ จนส่งผลให้เกิดปัญหาที่ เขาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นกลาง เช่น นักข่าวหุ้นรับหุ้นราคาพาร์, นักข่าวอสังหาฯ รับสิทธิจองคอนโดก่อน เป็นต้น

39 หลักความเป็นกลางในงานวารสารศาสตร์ คือ
(1) รักษาไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ
(2) ความสมดุลในการนําเสนอ
(3) เวทีความคิดของผู้อ่านและสมาชิกในสังคม
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

40. บทวิจารณ์ที่เรียกว่า “พินิจ” (Review) คือ
(1) สรุปสาระใจความของเนื้อหา
(2) แสดงความคิดเห็น
(3) ชี้แนะเชิงเปรียบเทียบ
(4) ไม่มีเงื่อนไขเรื่องเวลา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สุภา ศิริมานนท์ ได้ให้ทัศนะต่อบทวิจารณ์ที่เรียกว่า “พินิจ” (Review) คือ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลงานที่เขียนถึงด้วยการสรุปสาระใจความของเนื้อหา/ผลงานชิ้นนั้น

41 จุดเปลี่ยนสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อหนังสือพิมพ์ภายหลังของการเกิดสื่อใหม่ คือ
(1) คนอ่านหนังสือพิมพ์น้อยลง
(2) ยอดโฆษณาลดลง
(3) หนังสือพิมพ์พิมพ์ได้รวดเร็วขึ้น
(4) เกิดหนังสือพิมพ์เฉพาะมากขึ้น
ตอบ 1(คําบรรยาย) จุดเปลี่ยนสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อหนังสือพิมพ์ภายหลังของการเกิดสื่อใหม่ คือ คนอ่านหนังสือพิมพ์กระดาษน้อยลง เพราะการเกิดขึ้นของสื่อใหม่โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต ทําให้ คนหันไปอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ หรือรับข่าวสารจากเครือข่ายสังคมออนไลน์อื่น ๆ มากขึ้น เช่น Facebook, Line, Twitter ฯลฯ

42 การแยกตัวเองออกจากสิ่งที่ตัวเองรายงาน เป็นไปตามหลักจริยธรรมข้อใด
(1) ความเป็นกลาง
(2) ความซื่อสัตย์
(3) การคัดลอกแหล่งข้อมูล
(4) การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

ข้อ 43 – 47 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) สารคดี โฆษณา
(2) บทความ จดหมายจากผู้อ่าน
(3) การ์ตูนล้อการเมือง เสียงจากหนังสือพิมพ์อื่น
(4) ภาพข่าว โฆษณา

43 ข้อใดควรจัดไว้หน้า 1
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

44 ข้อใดควรจัดไว้หน้าบรรณาธิการ
ตอบ 3 หน้า 167 – 170 หน้าบรรณาธิการ มักจะสะท้อนถึงนโยบายของหนังสือพิมพ์ได้ดีที่สุด ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1 บทบรรณาธิการ
2 ภาพล้อ (Editorial Cartoon) เช่น ภาพการ์ตูนล้อการเมือง ฯลฯ
3 จดหมายถึงบรรณาธิการ
4 เสียงจากหนังสือพิมพ์อื่น (Press Digest) 5. องค์ประกอบเบ็ดเตล็ด ได้แก่ ข่าว โคลงกลอน ตลกขําขัน การ์ตูนที่เป็นเรื่องสั้น ๆ (Comic Strips) โฆษณา และบทความแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ เป็นต้น

45 ข้อใดควรจัดไว้หน้าตรงข้ามหน้าบรรณาธิการ
ตอบ 2 หน้า 161, 171 หน้าพิมพ์ที่อยู่ตรงข้ามหน้าบรรณาธิการ เรียกว่า “Op-ed” (Opposite Editorial Page) จะเป็นหน้าซ้ําที่มีลักษณะเหมือนกับหน้าบรรณาธิการทุกประการ ดังนั้น ข้อเขียนที่ควรจัดไว้ในหน้านี้ ซึ่งเป็นหน้าที่เกี่ยวกับเวทีทัศนะ ได้แก่ บทความ และจดหมาย จากผู้อ่านที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น

46 ข้อใดควรจัดไว้หน้าใน
ตอบ 1 หน้า 159 – 162 องค์ประกอบของหน้าใน มีดังนี้
1 โฆษณา
2 ภาพ
3 หัวเรื่อง
4 คอลัมน์ต่าง ๆ เช่น คอลัมน์วิเคราะห์ข่าว บทความ สารคดี แนะนํา ขําขัน ข่าวสังคม ฯลฯ

47 ข้อใดมีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์มากที่สุด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

48 ต.ว.ส.วัณณาโภหรือเทียนวรรณ ได้ออกหนังสือพิมพ์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและให้ความรู้ทางการเมืองชื่ออะไร
(1) สยามประเภท
(2) ตุลยวิภาคพจนกิจ
(3) ศิริพจนรายเดือน
(4) บางกอกรีคอร์เดอร์
ตอบ 2 หน้า 104 – 105, (คําบรรยาย) ต.ว.ส.วัณณาโภหรือเทียนวรรณ ได้ออกหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อว่า “ตุลยวิภาคพจนกิจ” เป็นหนังสือพิมพ์รายเดือนเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและให้ความรู้ทางการเมือง ซึ่งชื่อหนังสือพิมพ์มีความหมายว่า การเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมาดุจตาชั่ง

49 “ยุคมืดแห่งวงการหนังสือพิมพ์” อยู่ในสมัยนายกรัฐมนตรีท่านใด
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลถนอม กิตติขจร
(3) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(4) นายสัญญา ธรรมศักดิ์
ตอบ 3 หน้า 114 ยุคมืดแห่งวงการหนังสือพิมพ์ไทยอย่างแท้จริง คือ ยุคที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2501 – 2506) เนื่องจากมีการใช้อํานาจด้านกฎหมายของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 17 (ปว. 17) และใช้อิทธิพลบีบบังคับหนังสือพิมพ์ไม่ให้แสดงความคิดเห็น ได้อย่างเสรี รวมทั้งยังมีการใช้กําลังคุกคาม จับกุม กักขังนักหนังสือพิมพ์และประชาชนทั่วไป ในข้อหามีการกระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์

50 จุดด่างทางการเมือง คือเหตุการณ์ใด
(1) “ไฮด์ปาร์ค”
(2) “วันมหาวิปโยค”
(3) “สําลักประชาธิปไตย”
(4) “พฤษภาทมิฬ”
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ระหว่าง 17 – 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ในยุค รัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร ถือเป็นโศกนาฏกรรมทางการเมือง และเป็นจุดด่างดําของ ประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะหากสื่อมวลชนในยุคนั้นมีเสรีภาพในการรายงานข่าวสารได้อย่างอิสระและโปร่งใสก็จะไม่เกิดความรุนแรงจนทําให้ประชาชนเสียชีวิตเป็นจํานวนมาก

51 ข้อใดเป็นจริยธรรมของหนังสือพิมพ์
(1) ไม่สอดแทรกความคิดเห็นนักข่าว
(2) ไม่ลอกข่าวหนังสือพิมพ์อื่น
(3) เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงข่าว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2559 ได้มีมติให้ยกเลิก ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2541 เนื่องจากประกาศใช้มานาน ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จึงให้ใช้ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2559 แทน เช่น ข้อ 11 หนังสือพิมพ์ต้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ถูกกล่าวหาแสดงข้อเท็จจริง…. ข้อ 22 หนังสือพิมพ์ต้องไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว, ข้อ 26 หนังสือพิมพ์ต้องบอก ที่มาของข้อความที่คัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือไปจากการขออนุญาตจาก แหล่งข้อมูลนั้นแล้ว เป็นต้น

52 หนังสือพิมพ์ที่นําเนื้อหาข่าวในเว็บไซต์ด้วยการคัดลอกจากเนื้อหาในกระดาษ เรียกว่าอะไร
(1) Cyber Society
(2) E-news
(3) Shovelware
(4) Sidebars
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Shovelware คือ รูปแบบจากหนังสือพิมพ์กระดาษลงสู่เว็บไซต์โดยไม่ได้ปรับ เนื้อหา หรือหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่นําเสนอเนื้อหาข่าวในเว็บไซต์ด้วยการคัดลอกจากเนื้อหา ในกระดาษ เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ (Thairath Online) เป็นต้น

53 ระบบการปกครองแบบใดมีนโยบายการใช้สื่อที่เน้นการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ของสังคม หลีกเลี่ยงเรื่องที่เป็นพิษภัยร้ายแรงต่อสังคม
(1) โซเวียตคอมมิวนิสต์
(2) อิสรภาพนิยม
(3) ความรับผิดชอบทางสังคม
(4) อํานาจนิยม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม มีลักษณะดังนี้
1 การควบคุม คือ องค์กรหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อสาธารณะ
2 นโยบายการใช้สื่อ คือ เน้นการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ของสังคม และหลีกเลี่ยงเรื่องที่เป็นพิษภัยร้ายแรงต่อสังคม
3 ประเทศโลกที่ 1 (Free World) ที่ใช้ระบบนี้ คือ สหรัฐฯ และประเทศแองโกลอเมริกันอื่น

54 ข้อใดไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(1) วิทยุ
(2) นิตยสาร
(3) โทรทัศน์
(4) เว็บข่าว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารพัฒนาขึ้น ทําให้การสื่อสารมวลชนพัฒนาขึ้นตามมา จนแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่
1 สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ
2 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เว็บข่าว ฯลฯ

55 กระบวนการรายงานข่าวในทางวารสารศาสตร์ ให้ความสําคัญกับอะไรมากที่สุด
(1) ต้องนําเสนออย่างถูกต้อง
(2) รวดเร็ว
(3) กระชับ ได้ใจความ
(4) ให้ความสําคัญทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คําว่า “วารสารศาสตร์” (Journalism) เป็นคําที่พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้ทรงประทานไว้ แต่เดิมมีความหมายถึง วิชาการเกี่ยวกับ การหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีความหมายเฉพาะถึงกระบวนการรายงานข่าว การตีความ และแสดง ความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวสารเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน โดยให้ความสําคัญอย่างมาก ในเรื่องที่ต้องนําเสนอข่าวอย่างถูกต้อง รวดเร็ว กระชับ และได้ใจความ

56 คอลัมน์นิสต์ท่านใดเป็นผู้เขียนคอลัมน์ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมินในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
(1) สํานักข่าวหัวเขียว
(2) ชัย ราชวัตร
(3) ลมเปลี่ยนทิศ
(4) ธนูเทพ
ตอบ 2 หน้า 47, 147, 161, (คําบรรยาย) คอลัมน์ประจํา คือ ข้อเขียนที่ตีพิมพ์ทุกวัน หรือตีพิมพ์ เป็นประจําในบางวันของสัปดาห์ก็ได้ เช่น ทุกวันอาทิตย์ ฯลฯ ซึ่งข้อเขียนประเภทนี้มักจะมี ผู้เขียนประจํา เรียกว่า “คอลัมน์นิสต์” (Columnist) หมายถึง ผู้เขียนบทความในคอลัมน์ หนังสือพิมพ์เป็นประจํา โดยลงชื่อผู้เขียนไว้ (อาจใช้นามจริงหรือนามแฝงก็ได้) เช่น คอลัมน์ การ์ตูนการเมือง “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ของชัย ราชวัตร ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นต้น

57 บทความที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะของหนังสือพิมพ์ เรียกว่า
(1) บทปริทัศน์
(2) บทวิจารณ์
(3) บทบรรณาธิการ
(4) บทวิเคราะห์ข่าว
ตอบ 3 หน้า 42 – 43, 168, (คําบรรยาย) บทบรรณาธิการ (Editorial) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “บทนํา” เป็นบทความที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะ ความเชื่อ หรือนโยบายของหนังสือพิมพ์ ทั้งฉบับ มิใช่เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จําเป็นต้องลงชื่อผู้เขียนประจํา อีกทั้งยังเป็น บทความที่มีความสําคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ ซึ่งทําหน้าที่ในการให้ความรู้และความคิดเห็น ในเรื่องสําคัญ ๆ ต่อสาธารณชน เพื่อสะท้อนถึงจุดยืนของหนังสือพิมพ์ที่มีต่อเรื่องที่เขียน

58 ข้อใดเป็นความสัมพันธ์กับแหล่งข่าวที่ไม่เหมาะสม
(1) นักข่าวเป็นญาติกับแหล่งข่าว
(2) นักข่าวเคยพูดคุยกับแหล่งข่าว
(3) นักข่าวกินเหล้ากับแหล่งข่าว
(4) นักข่าวให้แหล่งข่าวเป็นเจ้าภาพแต่งงาน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์กับแหล่งข่าวที่ไม่เหมาะสม คือ นักข่าวกินเหล้ากับแหล่งข่าว เพราะตามประมวลจรรยามารยาท นักหนังสือพิมพ์ต้องบําเพ็ญตนให้สมเกียรติแก่วิชาชีพและต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณอันสุภาพให้สมเกียรติแก่ฐานะของตนในสังคม

59 พ.ร.บ. การพิมพ์ไม่ใช้บังคับสิ่งพิมพ์ใด
(1) ใบเสร็จรับเงิน
(2) แผนที่
(3) แผ่นเสียง แผ่นซีดี
(4) บทเพลง
ตอบ 1(คําบรรยาย) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 5 ระบุว่า พระราชบัญญัตินี้ ไม่ใช้บังคับกับสิ่งพิมพ์ดังต่อไปนี้
1 สิ่งพิมพ์ของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
2 บัตร บัตรอวยพร ตราสาร แบบพิมพ์ และรายงานซึ่งใช้กันตามปกติในการส่วนตัว การสังคม การเมือง การค้า หรือสิ่งพิมพ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น เช่น แผ่นพับหรือ แผ่นโฆษณา ใบเสร็จรับเงิน ฯลฯ

3 สมุดบันทึก สมุดแบบฝึกหัด หรือสมุดภาพระบายสี
4 วิทยานิพนธ์ เอกสารคําบรรยาย หลักสูตรการเรียนการสอน หรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ทํานองเดียวกันที่เผยแพร่ในสถานศึกษา

60 คําว่า “ข่าวสาร คือ อํานาจ” มีความหมายมาจากปัจจัยใด
(1) ข้อมูลข่าวสารทรัพยากรที่ช่วยให้วงการการศึกษาพัฒนา
(2) ข้อมูลข่าวสาร คือ สิ่งที่ทําให้ผู้มีความรู้ใช้ในการวางแผนนโยบาย
(3) ข้อมูลข่าวสารทรัพยากรที่มีคุณค่า สามารถใช้ต่อรองแข่งขันทางธุรกิจได้
(4) ข้อมูลข่าวสารมีอิทธิพลต่อการปกครองประเทศ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข่าวสาร คือ อํานาจ (Information is Power) หมายถึง ใครก็ตามที่มีข้อมูล ข่าวสารทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่า ทันสมัย มีความต่อเนื่องทันเหตุการณ์ ก็จะสามารถ ควบคุมหรือต่อรองในเรื่องต่าง ๆ ได้ และฝ่ายที่มีข้อมูลข่าวสารทรัพยากรสารสนเทศมากกว่า มักจะได้เปรียบคู่แข่งเสมอ

61 องค์ประกอบในกระบวนการสื่อสารที่เรียกย่อว่า SMCR (E) มีความหมายตามข้อใด
(1) ผู้ส่งสาร : สื่อกลาง : ช่องทางสาร : ผู้รับสาร : ผลกระทบที่เกิดจากการสื่อสาร
(2) ผู้ส่งสาร : เนื้อสาร : ช่องทางสาร : ผู้รับสาร : ผลกระทบที่เกิดจากการสื่อสาร
(3) เอกสาร : เนื้อสาร : สื่อกลาง : ผู้รับสาร : ประเมินผลจากการสื่อสาร
(4) ผู้ส่งสาร : สื่อกลาง : ช่องทางสาร : ผู้รับสาร : ประเมินผลจากการสื่อสาร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร เรียกโดยย่อว่า SMCR (E) ประกอบด้วย
1 ผู้ส่งสาร (Source/Sender)
2 เนื้อหาสาร (Message)
3 ช่องทางสาร (Channel)
4 ผู้รับสาร (Receiver)
5 ผลกระทบที่เกิดจากการสื่อสาร (Effect)

62 ข้อใดไม่ใช่ตัวกลางหรือสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างคนสองคน
(1) ความรู้สึก
(2) คําพูด
(3) ท่าทาง
(4) หนังสือพิมพ์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สื่อ (Medium) คือ ตัวกลางหรือสื่อกลางระหว่างสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งสื่อที่ ใช้สําหรับการสื่อสารระหว่างคนสองคน ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิด ท่าทาง ข้อมูลข่าวสาร คําพูด ฯลฯ มักจะไม่มีกลไกซับซ้อนมากกว่าเท่ากับการสื่อสารสาธารณะหรือสื่อสารมวลชน

63 กลุ่มบุคคลจํานวนมาก ไม่สามารถระบุได้อย่างเฉพาะเจาะจงว่าเป็นใคร อยู่ที่ใดบ้าง คือกลุ่มคนใด
(1) ชุมชน
(2) ประชาชน
(3) มวลชน
(4) มหาชน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) มวลชน คือ กลุ่มบุคคลจํานวนมากกระจายอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ไม่สามารถ ระบุได้อย่างเฉพาะเจาะจงว่าเป็นใคร อยู่ที่ใดบ้าง

64 ปัจจัยใดเป็นตัวแปรสําคัญที่สุดในการทําให้การสื่อสารมวลชนพัฒนาขึ้นจนแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก
(1) เทคโนโลยี
(2) เศรษฐกิจ
(3) การเมือง
(4) การขนส่ง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

65 ข้อใดคือคุณลักษณะของการสื่อสารมวลชน
(1) คัดเลือกข่าวสารให้เป็นไปตามผู้สนับสนุน
(2) นําเสนอเนื้อหาตามผู้สนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) เผยแพร่ข่าวสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมายที่สุด
(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) คุณลักษณะของการสื่อสารมวลชน นอกจากจะเกี่ยวข้องกับเทคนิคการใช้ สื่อสารมวลชน และคัดเลือกสารให้เหมาะสมแล้ว ยังต้องรู้ว่าตนหรือองค์กรจะสื่อสารอะไร เผยแพร่ข่าวสารอย่างไร
จึงจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด

66 ใครคือผู้ประทานคําและความหมายของคําว่า “วารสารศาสตร์”
(1) พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) พลตรี หม่อมสนิทวงศ์เสนี
(3) พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
(4) แดน บีช บรัดเลย์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55, ประกอบ

67 ข้อใดไม่ใช่ความหมายเฉพาะของคําว่า วารสารศาสตร์
(1) วิชาการเกี่ยวกับการหนังสือพิมพ์
(2) กระบวนการรายงานข่าว
(3) การนําเสนอเฉพาะข่าวที่น่าสนใจ
(4) การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ

68 ข้อใดไม่ใช่งานทางด้านวารสารศาสตร์
(1) หนังสือนวนิยาย
(2) บทวิเคราะห์ในหนังสือพิมพ์กีฬา
(3) การรายงานข่าวบันเทิงในนิตยสาร
(4) การสัมภาษณ์นักแสดงในรายการโทรทัศน์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) งานวารสารศาสตร์ในภายหลังจะมีความหมายครอบคลุมไปถึงกระบวนการ
รายงานข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบันของสื่อมวลชนทุกแขนง นอกเหนือไปจากแค่สื่อสิ่งพิมพ์ ดังนั้นวารสารศาสตร์จึงได้แตกแขนงออกเป็นสาขาต่าง ๆ ตามสื่อมวลชนนั้น ๆ เช่น Print
Journalism, Broadcast Journalism, Online Journalism, Political Journalism 29

69 ข้อใดไม่จัดว่าเป็นนักวารสารศาสตร์
(1) ผู้สื่อข่าว
(2) ผู้ประกาศข่าว
(3) นักเขียนบทละคร
(4) ช่างภาพข่าว
ตอบ 3 (คําบรรยาย) นักวารสารศาสตร์ (Journalist) คือ นักข่าว (Reporter) หรือนักหนังสือพิมพ์ ซึ่งทําหน้าที่สื่อข่าวหรือรายงานข่าวที่อยู่ในความสนใจของประชาชน (ส่วนนักเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร หรือบันเทิงคดีอื่น ๆ ไม่ถือว่าเป็นนักวารสารศาสตร์)

70 ระบบการเมืองแบบโซเวียตคอมมิวนิสต์ จะถูกใช้ในกลุ่มประเทศใด
(1) กลุ่มประเทศโลกที่ 1
(2) กลุ่มประเทศโลกที่ 2
(3) กลุ่มประเทศโลกที่ 3
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์ มีลักษณะดังนี้
1 การควบคุม คือ รัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์
2 นโยบายการใช้สื่อ คือ เน้นการถ่ายทอดลัทธิคอมมิวนิสต์ ระดมให้ประชาชนสนับสนุนรัฐ และสร้างเสริมรสนิยมทางวัฒนธรรมของมวลชน
3 ประเทศโลกที่ 2 (Second World) ที่ใช้ระบบนี้ คือ โซเวียตและประเทศคอมมิวนิสต์

71 ระบบการปกครองแบบใดมีนโยบายการใช้สื่อที่เน้นเสรีภาพทางความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ
(1) โซเวียตคอมมิวนิสต์
(2) อิสรภาพนิยม
(3) ความรับผิดชอบทางสังคม
(4) อํานาจนิยม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอิสรภาพนิยม (Libertarian) มีลักษณะดังนี้
1 การควบคุม คือ รัฐบาลไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาล
2 นโยบายการใช้สื่อ คือ เน้นเสรีภาพทางความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ
3 ประเทศโลกที่ 1 (Free World) ที่ใช้ระบบนี้ คือ ประเทศในยุโรปตะวันตก และ ในทวีปอเมริกาเหนือบางประเทศ

72 ข้อใดไม่ใช่ภาระหน้าที่หลักของสื่อมวลชน
(1) การยึดมั่นกับหลักการทางวิชาชีพอย่างรับผิดชอบ
(2) การเสนอข้อเท็จจริง ทําความจริงให้ปรากฏต่อสาธารณชน
(3) การสร้างประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างแท้จริง
(4) การเสนอความคิดเห็นในเรื่องที่ตนสนใจ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ภาระหน้าที่หลักของสื่อมวลชน คือ การยึดมั่นกับหลักการทางวิชาชีพอย่าง รับผิดชอบด้วยการนําเสนอความคิดเห็น ข้อเท็จจริง ทําความจริงให้ปรากฏต่อสาธารณชน เพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง

73 บทบาทหน้าที่ใดของสื่อมวลชนที่เปรียบเสมือนเป็นการสร้างทางเลือกแก่ผู้บริโภค
(1) รายงานข่าวสารความเคลื่อนไหวในสังคม (To Inform)
(2) เสนอความคิดเห็นเหตุการณ์ในสังคม (To Give Opinion)
(3) ให้ความผ่อนคลาย (To Entertain)
(4) เป็นสื่อกลางโฆษณาสินค้า (To Advertise)
ตอบ 4 หน้า 14 – 15, (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในสังคมประชาธิปไตย มีดังนี้
1 รายงานข่าวสารความเคลื่อนไหวในสังคม (To Inform)
2 เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ในสังคม (To Give Opinion)
3 ให้ความผ่อนคลายด้วยสาระบันเทิงแก่ผู้อ่าน (To Entertain)
4 เป็นสื่อกลางโฆษณาสินค้าให้ผู้บริโภคมีทางเลือก (To Advertise)

74 ธุรกิจหนังสือพิมพ์จัดเป็นธุรกิจประเภทใด
(1) องค์กรมหาชน
(2) รัฐวิสาหกิจ
(3) กึ่งสถาบันสาธารณะ
(4) องค์กรของรัฐ
ตอบ 3 หน้า 11, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจประเภทหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นสถาบัน สาธารณะ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็น “ธุรกิจกึ่งสถาบันสาธารณะ” (Quasi Public Institution) ดังนั้นจึงต้องดําเนินกิจการเพื่อความอยู่รอดควบคู่กันไปกับการรับใช้สังคม

75 ข้อใดไม่ใช่การทําหน้าที่ของหนังสือพิมพ์จากการปฏิบัติพันธกิจ
(1) สุนัขเฝ้าบ้าน
(2) สายตรวจพลเมือง
(3) นายด่านข่าวสาร
(4) ผู้กําหนดวาระสังคม
ตอบ 2(คําบรรยาย) การทําหน้าที่ของหนังสือพิมพ์สามารถสะท้อนรูปธรรมจากการปฏิบัติพันธกิจ คือ
1 สุนัขเฝ้าบ้าน (Social Watchdog)
2 นายด่านข่าวสาร (Gatekeeper)
3 ผู้กําหนดวาระสังคม (Agenda Setter)

76 ระบบการปกครองแบบใดมีนโยบายการใช้สื่อที่เน้นไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ใช้ระบบเซ็นเซอร์
เนื้อหาและรายการ
(1) โซเวียตคอมมิวนิสต์
(2) อิสรภาพนิยม
(3) ความรับผิดชอบทางสังคม
(4) อํานาจนิยม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอํานาจนิยม (Authoritarian) มีลักษณะดังนี้
1 การควบคุม คือ สาธารณชน องค์กรเอกชนที่ขึ้นต่อรัฐ
2 นโยบายการใช้สื่อ คือ ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ใช้ระบบเซ็นเซอร์เนื้อหาและรายการ
3 ประเทศที่ใช้ระบบนี้ คือ ประเทศยุโรปในสมัยแรก ๆ และประเทศในโลกที่ 3 (Third World)

77 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการผลิตข่าว
(1) การจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับภาระหน้าที่ในฝ่ายต่าง ๆ
(2) การแสวงหาข้อเท็จจริง
(3) การประเมินคุณค่าข่าว
(4) การรวบรวมข้อคิดเห็น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การข่าว หมายถึง กระบวนการผลิตข่าว ซึ่งเป็นกระบวนการทํางานต่อเนื่อง อย่างสัมพันธ์กัน ประกอบด้วย
1 การจัดสรรขอบเขตความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
2 การจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับภาระหน้าที่ในฝ่ายต่าง ๆ
3 การแสวงหาข้อเท็จจริง
4 การประเมินคุณค่าข่าว
5 การรวบรวมข้อเท็จจริง ฯลฯ

78 ฝ่ายใดมีความสําคัญที่สุดในการบริหารงานข่าว
(1) ฝ่ายเรียบเรียงข่าว
(2) ฝ่ายบรรณาธิการ
(3) ฝ่ายบรรณารักษ์
(4) ฝ่ายผู้สื่อข่าว
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

79 จากประโยคที่ว่า “ข่าวก็คือข่าว” สะท้อนถึงระดับความเชื่อถือต่อข่าวที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์และ สื่อมวลชนอย่างไร
(1) ความเชื่อถือศรัทธาต่อหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนเพิ่มมากขึ้น
(2) ความเชื่อถือศรัทธาต่อหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนลดน้อยลง
(3) นักหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนปรับวิธีการนําเสนอเนื้อหาให้แตกต่างไปจากเดิม
(4) นักหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนคัดกรองเฉพาะประเด็นปัญหาสังคมเพิ่มมากขึ้น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จากประโยคที่ว่า “ข่าวก็คือข่าว” ได้สะท้อนถึงระดับความเชื่อถือต่อข่าวที่ ปรากฏในหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน คือ แนวโน้มด้านความเชื่อถือศรัทธาต่อหนังสือพิมพ์ และสื่อมวลชนลดน้อยลง จึงเป็นเหตุให้บุคลากรในงานข่าว รวมถึงนักวิเคราะห์สื่อพยายาม เรียกความน่าเชื่อถือกลับมาจากสังคม

80 ข้อใดไม่ใช่แนวทางสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่งานการข่าวและนักวารสารศาสตร์
(1) เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะอย่างกว้างขวาง
(2) ต้องนําเสนอข่าวในสัดส่วนที่เหมาะสมในรูปแบบที่เข้าใจง่าย
(3) ทําหน้าที่อย่างอิสระภายใต้การควบคุมตรวจสอบจากอํานาจรัฐ
(4) ยึดมั่นต่อการเปิดเผยความจริง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) แนวทางสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่งานการข่าวและนักวารสารศาสตร์ มีดังนี้
1 การเสนอแต่เรื่องที่เป็นจริง ถือเป็นเงื่อนไขข้อแรกของงานวารสารศาสตร์
2 หัวใจสําคัญของงานวารสารศาสตร์ คือ การยึดมั่นต่อการเปิดเผยความจริง
3 ทําหน้าที่อย่างอิสระในการตรวจสอบอํานาจรัฐ
4 เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ
อย่างกว้างขวาง
5 นําเสนอข่าวในสัดส่วนที่เหมาะสมในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ฯลฯ

81 ข้อใดเป็นบทบาทของการข่าวในด้านเศรษฐกิจ
(1) ศูนย์กลางข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงอุตสาหกรรมการผลิต
(2) ศูนย์กลางข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงการศึกษา สังคม และการเมือง
(3) เชื่อมโยงองค์ประกอบทางเศรษฐศาสตร์ที่มีผลต่อการรายงานข่าวอย่างมีประสิทธิภาพ
(4) เชื่อมโยงองค์ประกอบทางการเมืองและบรรทัดฐานที่มีผลต่อการรายงานข่าวอย่างมีประสิทธิภาพ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) บทบาทของการข่าวทางด้านเศรษฐกิจจะเห็นได้ชัดจากการเป็นศูนย์กลาง ข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงธุรกิจ อุตสาหกรรมการผลิต การตลาด และการโฆษณา โดยเป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค

82 ให้เรียงลําดับประเภทสื่อต่อไปนี้จากสื่อที่มีการเย็บเล่มคงทนถาวรมากที่สุดไปถึงน้อยที่สุด
(1) หนังสือเล่ม > นิตยสาร > หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
(2) นิตยสาร > หนังสือพิมพ์รายวัน > หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
(3) หนังสือเล่ม > หนังสือพิมพ์รายวัน > นิตยสาร
(4) หนังสือเล่ม > หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ > นิตยสาร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีการเย็บเล่มคงทนถาวรมากที่สุดไปถึงน้อยที่สุด เรียงลําดับได้ดังนี้
1 หนังสือเล่ม เย็บเล่มอย่างคงทนถาวร มีรูปแบบ/ลําดับเรื่องชัดเจน
2 นิตยสาร เย็บสันเพื่อให้แข็งแรงเหมาะสมแก่การพกพา
3 หนังสือพิมพ์ (รายวัน/ราย 3 วัน/รายสัปดาห์) จะไม่เย็บเล่ม ไม่มีปก

83 ข้อใดเป็นปัจจัยที่สําคัญในการทําให้สื่อวารสารศาสตร์แพร่หลายเป็นวงกว้าง
(1) ความรวดเร็วของสื่อ
(2) ราคาของสื่อ
(3) ความถูกต้องของสื่อ
(4) ชื่อเสียงของสื่อ
ตอบ 1(คําบรรยาย) ปัจจัยที่สําคัญในการทําให้สื่อวารสารศาสตร์แพร่หลายไปยังผู้รับสารเป็น วงกว้าง คือ ความรวดเร็วของสื่อในการรายงานข่าว ยิ่งเทคโนโลยีด้านการสื่อสารพัฒนา ยิ่งช่วยให้การเสนอรายการเกี่ยวกับข่าวสารความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

84 สถานีโทรทัศน์ใดไม่ได้แพร่ภาพในรูปแบบโทรทัศน์ดิจิทัลความละเอียดสูง (HD)
(1) PPTV
(2) Workpoint TV
(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
(4) Amarin TV
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Workpoint TV เป็นสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลช่องวาไรตี้ ประเภทความคมชัด ระดับปกติ (SD) หรือความคมชัดมาตรฐาน (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นแพร่ภาพในระบบ HD)

85 ข้อใดไม่ใช่บริการที่ทําการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต
(1) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
(2) หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
(3) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(4) วงจรอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตทําได้หลากหลายบริการ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail), การสนทนาออนไลน์ (Online Conversation/Chat), หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (E-newspaper), การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ฯลฯ

86 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะเฉพาะของอินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับสารจากสื่อของผู้บริโภค
(1) พฤติกรรมผู้รับสารสื่อออนไลน์ไม่แตกต่างจากพฤติกรรมคนอ่านหนังสือพิมพ์ทั่วไป
(2) ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร
(3) Real Time Reporting เป็นวิธีการที่สามารถเอาชนะคู่แข่งได้
(4) ผู้อ่านบางประเภทคาดหวังความถูกต้องเที่ยงตรงของข้อมูลข่าวในจังหวะที่รีบเร่งจากสื่อออนไลน์

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คุณลักษณะเฉพาะของอินเทอร์เน็ตที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการรับสารจากสื่อ ของผู้บริโภค มีดังนี้
1 พฤติกรรมผู้รับสารสื่อออนไลน์แตกต่างจากพฤติกรรมคนอ่านหนังสือพิมพ์ทั่วไป
2 ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร
3 อินเทอร์เน็ตได้สร้างกลุ่มผู้บริโภคข่าวสารหลายประเภท
4 ผู้อ่านบางประเภทคาดหวังความถูกต้องเที่ยงตรงของข้อมูลข่าวในจังหวะที่รีบเร่งจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์
5 Real Time Reporting เป็นวิธีการที่สามารถเอาชนะคู่แข่งได้ในระดับหนึ่ง ฯลฯ

87 ไทยรัฐพิมพ์วันละ 6 กรอบ และแบ่งกรอบเขตจําหน่ายตามจํานวนดาว โดยกรอบเขตใดมีจํานวนดาวมากที่สุด
(1) เขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล
(2) เขตภาคกลาง
(3) เขตภาคใต้
(4) เขตจังหวัดห่างไกล
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพิมพ์วันละ 6 กรอบ ตามจํานวนดาว ดังนี้
1 หนึ่งดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคอีสานและภาคตะวันออก
2 สองดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคเหนือ
3 สามดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคใต้
4 สี่ดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตจังหวัดห่างไกล และเป็นกรอบบ่ายของกรุงเทพฯ
5 ห้าดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคกลาง
6 หกดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล

88 พื้นที่ส่วนใดในหนังสือพิมพ์ที่เปรียบเสมือนตู้โชว์ในการ “ขายข่าว”
(1) หน้าใน
(2) หน้าหนึ่ง
(3) ฉบับแยกส่วน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

89 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด
(1) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ
(2) หนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น
(3) หนังสือพิมพ์ภูมิภาค
(4) หนังสือพิมพ์ชุมชน
ตอบ 1 หน้า 7, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ (National Newspaper) หรือที่บางคนเรียกว่า “หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง” หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่ออกในเขตเมืองหลวงหรือส่วนกลาง โดยมี ตลาดการจําหน่ายไปทั่วประเทศ และมียอดจํานวนจําหน่ายสูง เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มติชน ข่าวสด เดลินิวส์ ฯลฯ

90 ข้อใดไม่เป็นข้อบัญญัติจริยธรรมวิชาชีพนักวารสารศาสตร์
(1) ยึดถือข้อเท็จจริง และความครบถ้วนเฉพาะด้าน
(2) ไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว
(3) ไม่อวดอ้างหรืออาศัยตําแหน่งหน้าที่
(4) นําเสนอข่าวเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ตอบ 1 หน้า 230 – 231, (คําบรรยาย) ตัวอย่างข้อบัญญัติจริยธรรมวิชาชีพนักวารสารศาสตร์ ได้แก่
1 ยึดถือข้อเท็จจริง ความถูกต้อง และความครบถ้วนในทุกแง่ทุกมุม
2 นําเสนอข่าวเพื่อประโยชน์สาธารณะ
3 ไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว
4 ไม่อวดอ้างหรืออาศัยตําแหน่งหน้าที่ เพื่อเรียกร้องสิทธิหรือผลประโยชน์ที่ไม่ชอบธรรม ฯล

91 บุคคลที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย หมายถึง
(1) บุคคลธรรมดา
(2) นิติบุคคล
(3) นายกรัฐมนตรี
(4) รัฐมนตรี

ตอบ 1 (คําบรรยาย) บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ส่วนนิติบุคคล หมายถึง บุคคลที่ถูกสมมุติขึ้นตามกฎหมาย โดยกฎหมายรับรองให้มีสิทธิและหน้าที่ได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา

92 บุคคลที่ถูกสมมุติขึ้นตามกฎหมาย หมายถึง
(1) บุคคลธรรมดา
(2) นิติบุคคล
(3) นายกรัฐมนตรี
(4) รัฐมนตรี
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 ข้อมูลข่าวสารใดที่รัฐต้องเปิดเผย
(1) แผนงานและงบประมาณประจําปี
(2) สัมปทานที่มีลักษณะผูกขาดตัดตอน
(3) ผลการพิจารณาคําวินิจฉัยเกี่ยวกับการประมูลโครงการ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 188, 190 ข้อมูลข่าวสารที่รัฐต้องเปิดเผย (ต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้) ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 9 มีดังนี้
1 ผลการพิจารณาหรือคําวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน (เช่น ผลการประมูลโครงการ)
2 แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจําปี
3 คู่มือหรือคําสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ
4 สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชน ในการจัดทําบริการสาธารณะ 5. มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน ฯลฯ

94 ข้อใดเป็นแนวคิดของ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว
(1) พิจารณาโดยผู้พิพากษาที่มีประสบการณ์
(2) พิจารณาคดีโดยลดโทษกึ่งหนึ่งเสมอ
(3) ใช้หลักการพิทักษ์เด็ก ซึ่งกระทําผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 213, (คําบรรยาย) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 ได้ให้เหตุผล ที่ต้องแยกการพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนออกจากการพิจารณาคดีทั่ว ๆ ไปว่า เพื่อเป็นการ พิทักษ์คุ้มครองเด็กและเยาวชนมิให้ถูกรังเกียจ มีปมด้อย หรือถูกตราหน้าว่าได้กระทําความผิด ทางอาญา และเพื่อให้การช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กและเยาวชนที่อาจกระทําความผิด เนื่องจาก ยังไม่เจริญด้วยวุฒิภาวะ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถูกบังคับ หรือด้วยความจําเป็นบางประการ

95 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะที่เป็นการก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรําคาญ จะมีความผิดถูกลงโทษอย่างไร
(1) ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 11 วรรค 2 ระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ ตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

96 ผู้ใดฝากร้านใน Facebook หรือ IG จะมีความผิดอย่างไร
(1) ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ

97 ผู้ที่นําข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีความผิดตามมาตรา 14 ต้องระวางโทษอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 ได้ระบุเอาไว้ว่า ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา

98 ถ้าใครโพสภาพ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ทําให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียง จะมีความผิดอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท (คําบรรยาย)
ตอบ 3 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 16 ระบุว่า ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจจะเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

ถ้าการกระทําตามวรรค 1 เป็นการกระทําต่อภาพของผู้ตาย และการกระทํานั้น น่าจะทําให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง หรือ ได้รับความอับอาย ผู้กระทําต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 1…

99 นําภาพผู้อื่นมาตัดต่อแล้วโพสลง Facebook ทําให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 98 ประกอบ

100 นักศึกษาใช้เอกสารใดในการอ่านเตรียมสอบ (คะแนนฟรี)
(1) สไลด์ประกอบการสอนในรายวิชา
(2) ตําราการหนังสือพิมพ์เบื้องต้น
(3) หนังสือวารสารศาสตร์เบื้องต้น
(4) ชีทแดงหน้ารามฯ
ตอบ ข้อใดก็ได้ นักศึกษาเลือกตอบข้อใดก็ได้คะแนนฟรี

CDM2204 MCS1250 (MCS2200) การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1250 (MCS 2200) การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1 ผู้สื่อข่าวที่ได้รับมอบหมายให้ไปประจําที่ทําเนียบรัฐบาล เรียกว่า

(1) ผู้สื่อข่าวประจํา
(2) ผู้สื่อข่าวทั่วไป
(3) ผู้สื่อข่าวพิเศษ
(4) บรรณาธิการ
ตอบ 1 หน้า 130 ผู้สื่อข่าวประจํา (Beat Reporter) หมายถึง ผู้สื่อข่าวที่ได้รับมอบหมายให้ทําข่าว ประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น ข่าวการศึกษา ข่าวอาชญากรรม ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สื่อข่าวที่เพิ่ง เข้ามาทํางานใหม่และมีประสบการณ์น้อยจะได้รับมอบหมายให้สื่อข่าวแต่ละประเภทหมุนเวียน กันไป โดยจะอยู่ประจําตามแหล่งข่าวต่าง ๆ เช่น ผู้สื่อข่าวประจําที่ทําเนียบรัฐบาล กระทรวง
สถานีตํารวจ เป็นต้น

2 หนังสือพิมพ์ฉบับใดเป็น Regional Newspaper
(1) กรุงเทพธุรกิจ
(2) ไทยนิวส์
(3) สยามรัฐ
(4) มติชน
ตอบ 2 หน้า 7 หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ซึ่งบางครั้ง อาจเรียกว่า “หนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค” (Regional Newspaper) เช่น หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ จ.เชียงใหม่ เป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นทางภาคเหนือ เป็นต้น

3 องค์ประกอบปุถุชนวิสัย (Human Interest) อยู่ในคุณลักษณะเนื้อหาประเภทใด
(1) ข่าวหนัก
(2) ขาวเบา
(3) ข่าวกึ่งหนัก
(4) ขาวเนื้อหาเฉพาะด้าน

 

 

ตอบ 2 หน้า 39, 41, (คําบรรยาย) ข่าวสาระเบา (Soft News) จะมีองค์ประกอบในคุณค่าด้าน
ความน่าสนใจ (Interest) ซึ่งประกอบด้วย
1 ความสนใจของปุถุชน หรือปุถุชนวิสัย (Human Interest)
2 ความขัดแย้ง (Conflict)
3 ความผิดปกติ (Unusualness)
4 ความเด่น (Prominence)
5 ความใกล้ชิด (Proximity)
6 เพศ (Sex)

4 สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทใดที่ทําหน้าที่เชื่อมช่องว่างด้านความรู้ (Knowledge Based Society)
(1) หนังสือพิมพ์
(2) หนังสือเล่ม
(3) นิตยสาร
(4) นวนิยาย วรรณกรรม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่ทําหน้าที่เชื่อมช่องว่างด้านความรู้ (Knowledge Based Society) ให้แก่ผู้อ่าน เนื่องจากการเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ของหนังสือพิมพ์จะเป็นการถ่ายทอด วิทยาการจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งถ้าเราย้อนไปศึกษาเนื้อหาหนังสือพิมพ์ในอดีต เราจะพบประวัติศาสตร์ทางความคิดของสังคมในยุคที่ผ่าน ๆ มาเป็นจํานวนมาก ดังคํากล่าว ที่ว่า “หนังสือพิมพ์เป็นกระจกสะท้อนภาพสังคม”

5 ข้อจํากัดของสื่อใหม่ คือ
(1) ความรวดเร็ว
(2) คลังข้อมูล
(3) ความรู้
(4) ความถูกต้อง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข้อจํากัดของสื่อใหม่ คือ ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสาร เพราะสื่อใหม่เป็นการนําเสนอข้อมูลข่าวสารโดยไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ คัดเลือก และคัดกรองจากบรรณาธิการ ดังนั้นสิ่งที่นักวารสารศาสตร์ต้องทําอย่างมากเมื่อมาทําข่าวออนไลน์ก็คือ ต้องไม่ลืมกลั่นกรองคุณภาพข้อมูลตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูลที่ นําเสนอ อันจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สู่สาธารณชน

6 ข้อจํากัดของการแสวงหาความจริง (Search for Truth)
(1) การนําเสนอด้วยความรวดเร็ว
(2) การกระตุ้นสถานะการเงินหนังสือพิมพ์
(3) ข้อมูลข่าวสารไม่มีประโยชน์ต่อสังคม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อจํากัดของการแสวงหาความจริง (Search for Truth) คือ การที่สื่อมวลชน นําเสนอข่าวด้วยความรวดเร็วในลักษณะวันต่อวัน และต้องทํางานแข่งกับเวลาเพื่อให้ทันเวลาปิดข่าว ทําให้อาจเกิดอุปสรรคต่อการแสวงหาข้อเท็จจริงได้อย่างครบถ้วนรอบด้าน

7 อุดมการณ์ข่าว (News Ideology) คือ
(1) ความสําคัญ
(2) ความน่าสนใจ
(3) การแสวงหาความจริง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3(คําบรรยาย) อุดมการณ์ข่าว (News Ideology) คือ การตัดสินใจกลั่นกรอง เริ่มตั้งแต่การที่ สื่อแสวงหาหรือรวบรวมข้อมูล/ข้อเท็จจริง (Researching) การวินิจฉัยคุณค่า (Judgment) และการนําเสนอ (Presentation) ข้อเท็จจริงของบุคลากรข่าว ซึ่งตามทัศนะของคาร์ล มาร์ก (Karl Marx) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของนักวารสารศาสตร์ คือ การแสวงหาความจริง (Search for Truth) ให้ปรากฏ

8 การจัดวางภาพไว้ส่วนล่างของหน้าพิมพ์มีประโยชน์อย่างไร
(1) เปิดโอกาสให้วางโฆษณาบริเวณส่วนบนของหน้าพิมพ์ได้
(2) จัดหน้าง่าย
(3) เป็นการเฉลี่ยความสนใจไปทั่วหน้าพิมพ์
(4) เหมาะกับการจัดหน้า ซึ่งมีภาพจํานวนน้อย
ตอบ 3 หน้า 160 การจัดวางภาพไว้ตรงส่วนล่างของหน้าพิมพ์จะทําให้เกิดความสมดุล เป็นการเฉลี่ย ความสนใจไปทั่วหน้าพิมพ์ และยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงโฆษณาอีกด้วย เพราะภาพจะช่วยดึง สายตาของผู้อ่านไปยังโฆษณาหรือบริเวณใกล้เคียงกับโฆษณาตรงส่วนล่างได้เป็นอย่างดี

9 ข้อใดสามารถสร้างเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ได้ดีที่สุด
(1) วิธีการจัดหน้า
(2) ขนาดของหนังสือพิมพ์
(3) คําขวัญของหนังสือพิมพ์
(4) ชื่อหนังสือพิมพ์
ตอบ 1หน้า 141 เอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์จะเกิดขึ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏบนหน้าพิมพ์
เพื่อให้ผู้อ่านเคยชินและจําหนังสือพิมพ์ได้ โดยที่ผู้อ่านไม่จําเป็นต้องดูชื่อหนังสือพิมพ์ ได้แก่ ขนาดของหนังสือพิมพ์ (มีผลต่อเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์น้อยที่สุด) จํานวนหน้า รูปแบบ ของตัวอักษร สี แนวของภาพที่เสนอ แนวของถ้อยคําที่ใช้พาดหัวข่าว และที่สําคัญที่สุดก็คือ รูปแบบหรือวิธีการจัดหน้า ซึ่งสามารถสร้างเอกลักษณ์ได้ดีที่สุด ทั้งนี้เพราะว่าหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับจะมีแนวการจัดหน้าของตนเองโดยเฉพาะ

10 ข้อใดคือแนวทางรายงานข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid)
(1) สนองความอยากรู้ของผู้อ่าน
(2) จัดหน้าหนังสือพิมพ์ได้สะดวก
(3) สะดวกต่อการบรรณาธิการและพาดหัวข่าว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวทางการรายงานข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) ประกอบด้วย
1 การให้ความสะดวกแก่ผู้อ่าน
2 สนองความอยากรู้ของผู้อ่าน
3 อํานวยความสะดวกสําหรับการจัดหน้าหนังสือพิมพ์
4 สะดวกต่อการบรรณาธิการและพาดหัวข่าว

11. “ความเป็นกลาง” ที่ประกอบด้วย การนําเสนอเนื้อหาเฉพาะข้อเท็จจริง และความไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดเป็นทัศนะบางส่วนของใคร
(1) เบน แบ็กดีเกียน
(2) คอนราด ฟังก์
(3) เฮมานุส
(4) คาร์ล มาร์ก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เฮมานุส (Pertti Hemanus) ศาสตราจารย์ประจําคณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยแทมแพร์ (Tampere) ประเทศฟินแลนด์ ได้กล่าวว่า “ความเป็นกลาง” ประกอบด้วย คุณลักษณะสําคัญ 2 ประการ ดังนี้
1 เนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริง (Matter of Fact Character)
2 ความไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Impartiality)

12 Interactive Media คือสื่อประเภทไหน
(1) วิทยุกระจายเสียง
(2) วิทยุโทรทัศน์
(3) ภาพยนตร์
(4) อินเทอร์เน็ต
ตอบ 4(คําบรรยาย) อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อประเภท Interactive Media คือ เอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร เพราะเป็นสื่อที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารสามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้โดยผ่านช่องทางการสื่อสารตอบกลับทั้งแบบทันทีทันใด และไม่ใช่ลักษณะทันทีทันใด ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึงเป็นสื่อที่เอื้อต่อการสื่อสารแบบสองทาง (Two Way Communication)

13 การดําเนินธุรกิจหนังสือพิมพ์รูปแบบใดมีอิทธิพลของกระแสทุนเป็นแรงผลักดัน
(1) รูปแบบธุรกิจร่วมทุน
(2) รูปแบบธุรกิจหลายกิจการ
(3) รูปแบบบริษัท จํากัด
(4) รูปแบบธุรกิจข้ามสื่อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รูปแบบธุรกิจหลายกิจการ (Conglomerate Ownership) เป็นรูปแบบการ เป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ที่มีอิทธิพลของกระแสทุนเป็นแรงผลักดัน เช่น กลุ่มทรูวิชั่น (True Vision Group) เป็นต้น

14 ข้อใดเป็นความสัมพันธ์กับแหล่งข่าวที่ไม่เหมาะสม
(1) นักข่าวเป็นญาติกับแหล่งข่าว
(2) นักข่าวให้แหล่งข่าวเป็นเจ้าภาพแต่งงาน
(3) นักข่าวแต่งงานกับแหล่งข่าว
(4) นักข่าวกินเหล้ากับแหล่งข่าว
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์กับแหล่งข่าวที่ไม่เหมาะสม คือ นักข่าวกินเหล้ากับแหล่งข่าว เพราะตามประมวลจรรยามารยาท นักหนังสือพิมพ์ต้องบําเพ็ญตนให้สมเกียรติแก่วิชาชีพและต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณอันสุภาพให้สมเกียรติแก่ฐานะของตนในสังคม

15 ข้อใดถือว่าเป็นการร่วมกิจกรรมทางการเมืองที่ขัดจริยธรรม
(1) จัดสัมมนาชําแหละ คสช.
(2) วิพากษ์วิจารณ์การเมืองในโทรทัศน์
(3) รับโฆษณาพรรคการเมือง
(4) รับจ้างทําประชาสัมพันธ์ให้นักการเมือง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การร่วมกิจกรรมทางการเมืองที่ขัดจริยธรรม คือ รับจ้างทําประชาสัมพันธ์ ให้นักการเมือง ซึ่งสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ออกข้อพึงระวังของ สื่อมวลชน อาทิ ห้ามรับเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้มุ่งรายงาน ข่าวด้านดีแก่พรรคหรือผู้สมัคร หรือมุ่งรายงานข่าวแง่ร้ายแก่คู่แข่ง (ส่วนการรับโฆษณา พรรคการเมืองสามารถทําได้ตามหลักเกณฑ์ที่ กกต. กําหนด)

16 “สินค้า” ของหนังสือพิมพ์มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
(1) สด รวดเร็ว
(2) เนื้อหาสาระ
(3) ยกระดับคุณภาพของสาธารณชน
(4) เสรีภาพในการนําเสนอ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข่าวเปรียบเสมือน “สินค้า” ของหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงาน เหตุการณ์/ข้อเท็จจริงที่มีความสําคัญและน่าสนใจ โดยมีเสรีภาพในการแสวงหาและนําเสนอ
ข่าวสารไปสู่สาธารณชน

17 จากรูปข้างล่างเป็นโครงสร้างกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อะไร

(1) มติชน
(2) ไทยรัฐ
(3) เดลินิวส์
(4) The Nation
ตอบ 1 (คําบรรยาย) จากรูปเป็นโครงสร้างของกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน

18 การเกิดขึ้นของ Social Media ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทําข่าวสําคัญข้อใด
(1) ผู้สื่อข่าวต้องเป็นนายทวารข่าวสารด้วยตัวเอง
(2) ผู้สื่อข่าวไม่ต้องทําข่าวเอง
(3) ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวได้ทันที
(4) มีการจ้างผู้สื่อข่าวน้อยลง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การเกิดขึ้นของ Social Media ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทําข่าว ที่สําคัญ คือ ผู้สื่อข่าวจะต้องเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) ด้วยตัวเอง โดยทําหน้าที่ คัดเลือก คัดกรอง และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวก่อนที่จะนําเสนอไปสู่สาธารณชน ดังนั้นสื่อใหม่จึงลดบทบาทการทําหน้าที่ของบรรณาธิการข่าวหรือหัวหน้าข่าว (News Editor) ซึ่งเคยเป็นนายทวารข่าวสารในองค์กรสื่อแบบดั้งเดิม

19 ผู้นําหนังสือข่าวมาเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรก คือ
(1) Fred S. Siebert
(2) Dan Beach Bradley
(3) Mark Zuckerberg
(4) Bill Gates
ตอบ 2 หน้า 2, 100, (คําบรรยาย) ตามประวัติการหนังสือพิมพ์นั้น หนังสือข่าวเกิดขึ้นเพื่อประกาศ ข่าวการเดินเรือและขนส่งสินค้า โดยหมอสอนศาสนาบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) เป็น ผู้นําหนังสือข่าวมาเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2437 คือ หนังสือจดหมายเหตุ กรุงเทพ หรือบางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder)

20 องค์ประกอบของข่าว คือ
(1) ความสําคัญ/ความน่าสนใจ
(2) ความใกล้ชิด/ความเด่น
(3) ข้อเท็จจริง/ประเด็นซับซ้อน
(4) ความผิดปกติ/ความสนใจตามปุถุชนวิสัย
ตอบ 1 หน้า 39 – 40, (คําบรรยาย) องค์ประกอบของข่าวที่ควรพิจารณา คือ ข่าวนั้นต้องเป็นสิ่งที่ ประชาชนอยากรู้ (Want to know) เป็นเรื่องที่ประชาชนควรรู้ (Ought to know) และเป็น สิ่งที่ประชาชนต้องรู้ (Have to know) ดังนั้นข่าวที่มีคุณค่าสูงจึงมักมีองค์ประกอบของข่าว คือ ความสําคัญ (Significance) และความน่าสนใจ (Interest) ในตัวเอง

21 หนังสือพิมพ์ประเภทไหนเน้น News Value เป็นอันดับแรก
(1) ข่าวประเด็นซับซ้อน
(2) ข่าวสืบสวน
(3) ข่าวสาระหนัก
(4) ข่าวประเด็นเดียว
ตอบ 3 หน้า 41, (คําบรรยาย, หนังสือพิมพ์ประเภทข่าวสาระหนัก (Hard News) เน้นองค์ประกอบ ของคุณค่าข่าว (News Value) ด้านความสําคัญ (Significance) เป็นอันดับแรก ประกอบด้วย
1 ผลกระทบ (Consequence)
2 ความขัดแย้ง (Conflict)
3 ความลึกลับซับซ้อน (Suspense)

22 วารสารศาสตร์ที่ได้รับความสนใจ เพื่อนํามาใช้พัฒนาคุณภาพในสังคมโลกาภิวัตน์ คือ
(1) วารสารศาสตร์แนวใหม่ (New Journalism)
(2) วารสารศาสตร์เพื่อสังคม (Advocacy Journalism)
(3) วารสารศาสตร์เชิงวิจัย (Precision Journalism)
(4) วารสารศาสตร์เชิงบริการ (Service Journalism or Marketing Approach to News)
ตอบ 3 (คําบรรยาย) วารสารศาสตร์เชิงวิจัย (Precision Journalism) ถือเป็นวารสารศาสตร์ที่ได้รับ ความสนใจ เพื่อนํามาใช้พัฒนาคุณภาพในสังคมโลกาภิวัตน์ เพราะเป็นวารสารศาสตร์ที่สามารถ เข้าสู่ความเป็นกลางได้มากที่สุดกว่าวารสารศาสตร์แบบอื่น

23 คอลัมน์ใดที่เป็นพื้นที่แสดงความคิดและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมเป็นอย่างมาก
(1) คอลัมน์แนะนํา
(2) คอลัมน์จดหมายจากผู้อ่าน
(3) คอลัมน์จิปาถะ
(4) คอลัมน์บทความทั่วไป
ตอบ 4 หน้า 161, (คําบรรยาย) คอลัมน์บทความทั่วไป เป็นคอลัมน์ที่เปิดโอกาสให้ผู้อ่าน นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญส่งข้อเขียนมาร่วมแสดงความรู้ ความคิดเห็นในเรื่องที่สนใจ จึงถือเป็นคอลัมน์ที่เปิดพื้นที่แสดงความคิดและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมเป็นอย่างมาก

24 บทวิจารณ์ที่เรียกว่า “พินิจ” (Review) คือ
(1) สรุปสาระใจความของเนื้อหา
(2) แสดงความคิดเห็น
(3) ชี้แนะเชิงเปรียบเทียบ
(4) ไม่มีเงื่อนไขเรื่องเวลา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สุภา ศิริมานนท์ ได้ให้ทัศนะต่อบทวิจารณ์ที่เรียกว่า “พินิจ” (Review) คือ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลงานที่เขียนถึงด้วยการสรุปสาระใจความของเนื้อหา/ผลงานชิ้นนั้น

25 จุดเปลี่ยนสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อหนังสือพิมพ์ภายหลังของการเกิดสื่อใหม่ คือ
(1) คนอ่านหนังสือพิมพ์น้อยลง
(2) ยอดโฆษณาลดลง
(3) หนังสือพิมพ์พิมพ์ได้รวดเร็วขึ้น
(4) เกิดหนังสือพิมพ์เฉพาะมากขึ้น
ตอบ 1(คําบรรยาย) จุดเปลี่ยนสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อหนังสือพิมพ์ภายหลังของการเกิดสื่อใหม่ คือ คนอ่านหนังสือพิมพ์กระดาษน้อยลง เพราะการเกิดขึ้นของสื่อใหม่โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต ทําให้ คนหันไปอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ หรือรับข่าวสารจากเครือข่ายสังคมออนไลน์อื่น ๆ มากขึ้น เช่น Facebook, Line, Twitter ฯลฯ

26 การเสนอข่าวลําเอียงเพราะกลัวอิทธิพล ผิดจรรยาบรรณข้อใด
(1) ขาดความมีเสรีภาพ
(2) ขาดความเป็นไท
(3) ขาดความจริงใจ
(4) ขาดความเที่ยงธรรม
ตอบ 4 หน้า 227 สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้กําหนดจริยธรรมของนักหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2510 ข้อ 5 ความเที่ยงธรรม ได้แก่ ความไม่ลําเอียงหรือความไม่เข้าใครออกใคร ตรงกับ หลักธรรมในพุทธศาสนา คือ ความไม่มีอคติ 4 ประการ ดังนี้
1 ฉันทาคติ ลําเอียงเพราะรัก)
2 โทสาคติ ลําเอียงเพราะซัง)
3 โมหาคติ ลําเอียงเพราะหลง)
4 ภยาคติ ลําเอียงเพราะกลัว)

27 ข้อใดไม่ใช่สิทธินามธรรม
(1) เกียรติยศชื่อเสียง
(2) ความยอมรับนับถือ
(3) สิทธิการเป็นข้าราชการ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สิทธิ หมายถึง หลักเสรีภาพหรือการให้สิทธิทางกฎหมาย สังคม หรือจริยศาสตร์ แบ่งออกเป็น
1 สิทธินามธรรม (จับต้องหรือสัมผัสไม่ได้) เช่น ความยอมรับนับถือ เกียรติยศ ชื่อเสียง ฯลฯ
2 สิทธิรูปธรรม (จับต้องหรือสัมผัสได้) เช่น สิทธิการเป็นข้าราชการ ฯลฯ

28 การพัฒนาบทบาทหนังสือพิมพ์เริ่มในยุคใด
(1) รัชกาลที่ 4
(2) รัชกาลที่ 5
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 7
ตอบ 3 หน้า 106 – 109, (คําบรรยาย) การพัฒนาบทบาทหนังสือพิมพ์เริ่มขึ้นในยุครัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นยุคที่รากฐานเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ได้เริ่มขึ้นในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กล่าวคือ เป็นยุคที่นักหนังสือพิมพ์กล้าแสดงออกทางความคิด และกล้าคัดค้านในเรื่องที่ ตนเองไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบข้าราชการ เป็นหูเป็นตาแทนรัฐบาลด้วยการเสนอข่าวสารข้อมูล

29 ส่วนประกอบการเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ คือ
(1) ส่วนนํา, ส่วนเชื่อม, เนื้อหา
(2) ส่วนเชื่อม, เนื้อหา, ส่วนสรุป
(3) ส่วนนํา, เนื้อหา, ส่วนสรุป
(4) ส่วนภาพ, เนื้อหา, ส่วนสรุป
ตอบ 1(คําบรรยาย) ส่วนประกอบของการเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid)
มีดังนี้
1 ความนําหรือส่วนนํา (Lead)
2 ส่วนเชื่อม (Bridge)
3 เนื้อหา (Body)

30 ต.ว.ส.วัณณาโกหรือเทียนวรรณ ได้ออกหนังสือพิมพ์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและให้ความรู้ทางการเมืองชื่ออะไร
(1) สยามประเภท
(2) ตุลยวิภาคพจนกิจ
(3) ศิริพจนรายเดือน
(4) บางกอกรีคอร์เดอร์
ตอบ 2 หน้า 104 – 105, (คําบรรยาย) ต.ว.ส.วัณณาโกหรือเทียนวรรณ ได้ออกหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อว่า “ตุลยวิภาคพจนกิจ” เป็นหนังสือพิมพ์รายเดือนเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและให้ความรู้ทางการเมือง ซึ่งชื่อหนังสือพิมพ์มีความหมายว่า การเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมาดุจตาชั่ง

31 “ยุคมืดแห่งวงการหนังสือพิมพ์” อยู่ในสมัยนายกรัฐมนตรีท่านใด
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลถนอม กิตติขจร
(3) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(4) นายสัญญา ธรรมศักดิ์
ตอบ 3 หน้า 114 ยุคมืดแห่งวงการหนังสือพิมพ์ไทยอย่างแท้จริง คือ ยุคที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2501 – 2506) เนื่องจากมีการใช้อํานาจด้านกฎหมายของประกาศ คณะปฏิวัติฉบับที่ 17 (ปว. 17) และใช้อิทธิพลบีบบังคับหนังสือพิมพ์ไม่ให้แสดงความคิดเห็น ได้อย่างเสรี รวมทั้งยังมีการใช้กําลังคุกคาม จับกุม กักขังนักหนังสือพิมพ์และประชาชนทั่วไป ในข้อหามีการกระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์

32 จุดด่างทางการเมือง คือเหตุการณ์ใด
(1) “ไฮด์ปาร์ค”
(2) “วันมหาวิปโยค”
(3) “สําลักประชาธิปไตย”
(4) “พฤษภาทมิฬ”
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ระหว่าง 17 – 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ในยุค รัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร ถือเป็นโศกนาฏกรรมทางการเมือง และเป็นจุดด่างดําของ ประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะหากสื่อมวลชนในยุคนั้นมีเสรีภาพในการรายงานข่าวสาร ก็จะไม่เกิดความรุนแรงจนทําให้ประชาชนเสียชีวิตเป็นจํานวนมากได้อย่างอิสระและโปร่งใส

33 ข้อใดเป็นจริยธรรมของหนังสือพิมพ์
(2) ไม่ลอกข่าวหนังสือพิมพ์อื่น
(1) ไม่สอดแทรกความคิดเห็นนักข่าว
(3) เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงข่าว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2559 ได้มีมติให้ยกเลิก ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2541 เนื่องจากประกาศใช้มานาน ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จึงให้ใช้ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2559 แทน เช่น ข้อ 11 หนังสือพิมพ์ต้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ถูกกล่าวหาแสดงข้อเท็จจริง…. ข้อ 22 หนังสือพิมพ์ต้องไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว, ข้อ 26 หนังสือพิมพ์ต้องบอก ที่มาของข้อความที่คัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือไปจากการขออนุญาตจาก แหล่งข้อมูลนั้นแล้ว เป็นต้น

34 ข้อใดไม่ใช่บทบาทหนังสือพิมพ์ของระบบสังคมประชาธิปไตย
(1) การเป็นกระบอกเสียงให้รัฐบาล
(2) การเป็นนายทวารข่าวสาร
(3) การเป็นสุนัขยาม
(4) การเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง
ตอบ 1 หน้า 16 หนังสือพิมพ์จะมีบทบาทในระบบสังคมประชาธิปไตย ดังนี้
1 การเป็นนายทวารข่าวสาร หรือนายด่านข่าวสาร
2 การเป็นผู้แจ้งข่าวสาร
3 การเป็นสุนัขยาม หรือสุนัขเฝ้าบ้าน
4 การรับเรื่องราวร้องทุกข์
5 การเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง

35 ต้นแบบของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติมาจากประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ฟินแลนด์
(3) สวีเดน
(4) ญี่ปุ่น
ตอบ 3 หน้า 229, (คําบรรยาย) สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระที่ทําหน้าที่ควบคุม กันเอง เพื่อส่งเสริมเสรีภาพ ความรับผิดชอบ สถานภาพของผู้ประกอบวิชาชีพ และกิจการ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ โดยมีต้นแบบมาจากประเทศสวีเดน ซึ่งมีสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ทําหน้าที่ควบคุมกันเองมากว่า 250

36 เทคโนโลยีข่าวสารยุคโลกาภิวัตน์ คือ
(1) อํานาจ
(2) คลังข้อมูล
(3) รายได้
(4) การสื่อสารไร้พรมแดน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เทคโนโลยีข่าวสารยุคโลกาภิวัตน์ คือ การสื่อสารไร้พรมแดน เนื่องจากสื่อใหม่
โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต เป็นสื่อที่เชื่อมต่อข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ใช้งานในลักษณะเครือข่ายที่ครอบคลุมถึงกันทั่วโลก ส่งผลให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยไม่มีพรมแดนทางภูมิศาสตร์ขวางกั้น

37 ข้ออ้างที่เป็นตัวแปรของปัญหาในทางปฏิบัติเรื่องจริยธรรม คือ
(1) ความเป็นกลาง
(2) ความถูกต้อง
(3) ความเที่ยงธรรม
(4) ความอยู่รอด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ข้ออ้างที่เป็นตัวแปรของปัญหาในทางปฏิบัติเรื่องจริยธรรม คือ ระดับของ ความตระหนักถึงจริยธรรมจะลดลงเมื่อต้องตัดสินใจนําเสนอข่าวที่มีลักษณะคาบเกี่ยวกับ จริยธรรม โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับความถูกต้องตามความเป็นจริง และความเชื่อถือได้

38 การควบคุมหนังสือพิมพ์แนวทางใดมีประสิทธิภาพมากที่สุด
(1) การควบคุมโดยกฎหมาย
(2) การควบคุมโดยผู้บริโภค
(3) การควบคุมกันเอง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) แนวทางการควบคุมหนังสือพิมพ์มีอยู่ 3 ประเภท ดังนี้
1 การควบคุมโดยกฎหมาย
2 การควบคุมกันเอง
3 การควบคุมโดยผู้บริโภค (เป็นการควบคุมหนังสือพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด)

39 หลัก 3 R อยู่ในกระบวนการรายงานข่าวข้อใด
(1) ความไม่ลําเอียง
(2) การใช้ภาษา
(3) การเสนอข่าวแบบไม่มีอคติ
(4) การไม่ใส่ความเห็นในข่าว
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สิ่งที่ควรคํานึงในเรื่องกระบวนการรายงานข่าวประการหนึ่ง คือ การเสนอข่าว แบบไม่มีอคติ ได้แก่ ไม่ควรมีอคติส่วนตัวต่อบุคคลในข่าวที่เกิดจากเชื้อชาติ (Race) ศาสนา (Religion) และสถาบันกษัตริย์ (Royal) ซึ่งเรียกว่า “หลัก 3 R”

40 “Shovelware” คือ
(1) Line TV
(2) Netflix
(3) Thairath Online
(4) YouTube
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Shovelware คือ รูปแบบจากหนังสือพิมพ์กระดาษลงสู่เว็บไซต์โดยไม่ได้ปรับ เนื้อหา หรือหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่นําเสนอเนื้อหาข่าวในเว็บไซต์ด้วยการคัดลอกจากเนื้อหา ในกระดาษ เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ (Thairath Online) เป็นต้น

41 สื่อมวลชนประเภทใดที่ใช้ทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะที่มีอยู่อย่างจํากัด
(1) หนังสือพิมพ์
(2) วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
(3) สื่อออนไลน์
(4) เรด้า

ตอบ 2 (คําบรรยาย) วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อมวลชนที่อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะที่มีอยู่อย่างจํากัด เพื่อใช้ในการส่งสัญญาณ ภาพและเสียงออกไปสู่เครื่องรับที่กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ

42 สังคมต้องการอะไรจากสื่อมวลชน
(1) ความรับผิดชอบ
(2) ข้อเท็จจริง
(3) ความเป็นกลาง
(4) โปร่งใส
ตอบ 1(คําบรรยาย) ความรับผิดชอบ เป็นเงื่อนไขสําคัญที่สังคมคาดหวังจากนักวิชาชีพสื่อมวลชน และหนังสือพิมพ์ ดังนั้นความรับผิดชอบต่อข้อเท็จจริงของสื่อมวลชนจึงถือเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่มีบทบาทสําคัญต่อคุณภาพการผลิตข่าว

43 สื่อใหม่ลดบทบาทการทําหน้าที่ใดในกองบรรณาธิการ
(1) ผู้สื่อข่าว
(2) หัวหน้าข่าว
(3) ช่างภาพ
(4) คอลัมน์นิสต์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

44 บุคคลที่ถูกสมมุติขึ้นตามกฎหมาย หมายถึง
(1) บุคคลธรรมดา
(2) นิติบุคคล
(3) นายกรัฐมนตรี
(4) รัฐมนตรี
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “บุคคลธรรมดา” หมายถึง บุคคลที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ส่วนคําว่า “นิติบุคคล” หมายถึง บุคคลที่ถูกสมมุติขึ้นตามกฎหมาย โดยกฎหมายรับรอง ให้มีสิทธิและหน้าที่ได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา

45 ข้อมูลข่าวสารใดที่รัฐต้องเปิดเผย
(1) แผนงานและงบประมาณประจําปี
(2) สัมปทานที่มีลักษณะผูกขาดตัดตอน
(3) ผลการพิจารณาคําวินิจฉัยเกี่ยวกับการประมูลโครงการ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 188, 190 ข้อมูลข่าวสารที่รัฐต้องเปิดเผย (ต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้) ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 9 มีดังนี้
1 ผลการพิจารณาหรือคําวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน (เช่น ผลการประมูลโครงการ)
2 แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจําปี
3 คู่มือหรือคําสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ
4 สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชน ในการจัดทําบริการสาธารณะ
5 มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน ฯลฯ

46 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะที่เป็นการก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรําคาญ จะมีความผิดถูกลงโทษอย่างไร
(1) ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 11 วรรค 2 ระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ ตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

47 ผู้ใดฝากร้านใน Facebook หรือ IG จะมีความผิดอย่างไร
(1) ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

48 ผู้ที่นําข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีความผิดตามมาตรา 14 ต้องระวางโทษอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 ได้ระบุเอาไว้ว่า ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา…

49 ถ้าใครโพสภาพ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ทําให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียง จะมีความผิดอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 16 ระบุว่า ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจจะเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท ถ้าการกระทําตามวรรค 1 เป็นการกระทําต่อภาพของผู้ตาย และการกระทํานั้น น่าจะทําให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง หรือ ได้รับความอับอาย ผู้กระทําต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 1…

50 นําภาพผู้อื่นมาตัดต่อแล้วโพสลง Facebook ทําให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

51 สื่อมวลชนเก่าแก่ที่สุด คือ
(1) หลักศิลาจารึก
(2) หนังสือพิมพ์
(3) นิตยสาร
(4) วารสาร
ตอบ 2 หน้า 1, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกิดขึ้นก่อนสื่อชนิดอื่น ๆ และได้ชื่อว่า เป็นสื่อมวลชนที่เก่าแก่ที่สุด กําเนิดขึ้นเพื่อสนองเนื้อหาด้วยวิธีการพิมพ์ตัวอักษรบนกระดาษหรือวัสดุชนิดใดชนิดหนึ่งที่เอื้อให้ผู้อ่านเปิดและพกพาได้สะดวก

52 วารสารศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยอะไร
(1) หลักการทําวารสาร
(2) หลักการทําหนังสือพิมพ์
(3) หลักการเสนอข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน
(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แต่เดิมคําว่า “วารสารศาสตร์” (Journalism) หมายถึง วิชาการเกี่ยวกับการ ทําหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และวารสาร แต่ภายหลังงานวารสารศาสตร์มีความหมายครอบคลุมไปถึงกระบวนการรายงานข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบันของสื่อมวลชนทุกแขนง นอกเหนือไปจาก แค่สื่อสิ่งพิมพ์ ดังนั้นวารสารศาสตร์จึงได้แตกแขนงออกเป็นสาขาต่าง ๆ ตามสื่อมวลชนนั้น ๆ Oulun Print Journalism, Broadcast Journalism, Online Journalism, Political Journalism ฯลฯ

53 ข้อใดเป็นสาขาของวารสารศาสตร์
(1) Print Journalism
(2) Online Journalism
(3) Broadcast Journalism
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

54. ใครคือนักวารสารศาสตร์
(1) นักเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย
(2) นักข่าว
(3) นักแต่งเพลง
(4) นักเขียนบทละครโทรทัศน์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) นักวารสารศาสตร์ (Journalist) คือ นักข่าว (Reporter) หรือนักหนังสือพิมพ์ ซึ่งทําหน้าที่สื่อข่าวหรือรายงานข่าวที่อยู่ในความสนใจของประชาชน (ส่วนนักเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร หรือบันเทิงคดีอื่น ๆ ไม่ถือว่าเป็นนักวารสารศาสตร์)

55 สื่อมวลชนในระบบใดที่ปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาล
(1) Soviet – Communist
(2) Libertarian
(3) Authoritarian
(4) Social Responsibility
ตอบ 2
(คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอิสรภาพนิยม (Libertarian) มีลักษณะดังนี้
1 การควบคุม คือ รัฐบาลไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาล
2 นโยบายการใช้สื่อ คือ เน้นเสรีภาพทางความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ
3 ประเทศ “โลกที่ 1” (Free World) ที่ใช้ระบบนี้ คือ ประเทศในยุโรปตะวันตกและในทวีปอเมริกาเหนือบางประเทศ

56 วารสารศาสตร์เปรียบเสมือนกระบอกเสียงในการถ่ายทอดอุดมการณ์ของผู้ปกครอง และสร้าง
ความน่าเชื่อถือศรัทธาในรัฐบาลและผู้นํา เป็นวารสารศาสตร์ของประเทศใด
(1) วารสารศาสตร์ของประเทศโลกที่ 1
(2) วารสารศาสตร์ของประเทศโลกที่ 2
(3) วารสารศาสตร์ของประเทศโลกที่ 3
(4) วารสารศาสตร์ของประเทศโลกที่ 4
ตอบ 2 (คําบรรยาย) วารสารศาสตร์ของประเทศโลกที่ 2 (Second World) ได้แก่ โซเวียตและ ประเทศคอมมิวนิสต์ จะมีนโยบายการใช้สื่อในลักษณะเป็นกระบอกเสียงในการถ่ายทอด อุดมการณ์ของผู้ปกครอง (ลัทธิคอมมิวนิสต์) และสร้างความน่าเชื่อถือศรัทธาในรัฐบาลและ ผู้นํา ตลอดจนสร้างเสริมรสนิยมทางวัฒนธรรมของมวลชน

57 ปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น เป็นการทําหน้าที่ด้านใดของหนังสือพิมพ์
(1) เฝ้าระวัง/สังเกตการณ์สังคม
(2) เชื่อมโยงหน่วยต่าง ๆ ในสังคม
(3) ถ่ายทอดมรดกของสังคมจากรุ่นสู่รุ่น
(4) คลายความเครียด ให้ความบันเทิง
ตอบ 1(คําบรรยาย) บทบาทการเฝ้าระวัง/สังเกตการณ์สังคม (Social Surveillance) ของฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) คือ การแสวงหาและเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกสังคม โดยจะทําหน้าที่เฝ้าระวังหรือคอยสังเกตการณ์ปัญหา ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในสังคม และรายงานให้ประชาชนรับรู้ เช่น ปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น ฯลฯ

58 ข้อใดเป็นบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในสังคมประชาธิปไตย
(1) รายงานข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังคม
(2) เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ในสังคม
(3) ให้ความผ่อนคลายด้วยสาระบันเทิงแก่ผู้อ่าน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 14 – 15, (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในสังคมประชาธิปไตย มีดังนี้
1 รายงานข่าวสารความเคลื่อนไหวในสังคม (To Inform)
2 เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ในสังคม (To Give Opinion)
3 ให้ความผ่อนคลายด้วยสาระบันเทิงแก่ผู้อ่าน (To Entertain)
4 เป็นสื่อกลางโฆษณาสินค้าให้ผู้บริโภคมีทางเลือก (To Advertise)

59 เหตุผลสําคัญที่มีโฆษณาของหนังสือพิมพ์ในสังคมระบบทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย
(1) ปลอดจากการควบคุมสั่งการโดยรัฐหรือกลุ่มบุคคลใดโดยเฉพาะ
(2) แสวงหากําไร
(3) ให้ผู้อ่านได้มีทางเลือกในการบริโภคสินค้า
(4) ใช้เป็นต้นทุนในการผลิตหนังสือพิมพ์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ

60. หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจประเภทใด
(1) ธุรกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะ
(2) ธุรกิจกึ่งสาธารณะ
(3) ธุรกิจเพื่อประโยชน์ของนายทุน
(4) ธุรกิจของบรรณาธิการและนักข่าว
ตอบ 2 หน้า 11, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจประเภทหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นสถาบัน สาธารณะ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็น “ธุรกิจกึ่งสถาบันสาธารณะ” (Quasi Public Institution)
ดังนั้นจึงต้องดําเนินกิจการเพื่อความอยู่รอดควบคู่กันไปกับการรับใช้สังคม

61 การติดตามรายงานข่าวคดีล่าเสือดําของเจ้าของบริษัทใหญ่อย่างไม่ลดละ เป็นการทําหน้าที่ใด
(1) Gatekeeper
(2) Agenda Setter
(3) Nose for News
(4) Social Watchdog
ตอบ 4 หน้า 17, (คําบรรยาย) บทบาทการเป็นสุนัขเฝ้าบ้าน (Social Watchdog) คือ การพิทักษ์ ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน โดยเฝ้าจับตาดูแลสอดส่องหรือติดตามการปฏิบัติงานของ รัฐบาล เจ้าหน้าที่ และกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดทุจริตคอร์รัปชั่น การเลี่ยงภาษี หรือการกระทําที่ไม่ถูกต้องต่าง ๆ จึงถือเป็นบทบาทที่มีผลต่อการทํางานของนักข่าวมากที่สุด เพราะต้องทําหน้าที่เสมือนกับการเป็นหมาเฝ้าบ้านที่คอยจับตาและส่งเสียงเตือนภัยเมื่อเกิด เหตุการณ์ผิดปกติที่จะส่งผลกระทบต่อสังคม เช่น เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ภาวะเศรษฐกิจ ถดถอย คลื่นยักษ์สึนามิแผ่นดินไหว พายุรุนแรง น้ําท่วม โรคระบาด ฯลฯ

62 หนังสือพิมพ์เปรียบเหมือนมหาวิทยาลัยของประชาชน เป็นคํากล่าวของใคร
(1) พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) อิศรา อมันตกุล
(3) ศ.พิเศษ เสถียร พันธรังษี
(4) สุภา ศิริมานนท์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ศ.พิเศษ เสถียร พันธรังษี กล่าวถึงหนังสือพิมพ์ในฐานะเป็นสื่อมวลชนสําคัญ ในการให้ความรู้แก่ประชาชนไว้ว่า “หนังสือพิมพ์เปรียบเหมือนมหาวิทยาลัยของประชาชน” คือ เป็นแหล่งให้ความรู้ทั่วไป ซึ่งหนังสือพิมพ์ต้องปฏิบัติตามเสมือนหนึ่งว่า เป็นครูบาอาจารย์ ของศิษย์ทั้งหลาย ในที่นี้ก็คือ ผู้อ่านหนังสือพิมพ์

63 หนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด
(1) Soft News Newspaper
(2) Hard News Newspaper
(3) Combination Newspaper
(4) Specialized Newspaper
ตอบ 2 หน้า 41, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวหนัก (Hard News Newspaper) คือ หนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวที่ให้น้ําหนักต่อความสําคัญของเรื่องมากกว่าอย่างอื่น ซึ่งผู้อ่านจะต้อง ใช้ความรู้ความเข้าใจในการอ่านพอสมควร เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ฯลฯ

64 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด
(1) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ
(2) หนังสือพิมพ์ชุมชน
(3) หนังสือพิมพ์ภูมิภาค
(4) หนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น
ตอบ 1 หน้า 7, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ (National Newspaper) หรือที่บางคนเรียกว่า “หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง” หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่ออกในเขตเมืองหลวงหรือส่วนกลาง โดยมี ตลาดการจําหน่ายไปทั่วประเทศ และมียอดจํานวนจําหน่ายสูง เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มติชน ข่าวสด เดลินิวส์ ฯลฯ

65 หนังสือพิมพ์ข่าวรามคําแหง เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด
(1) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ
(2) หนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น
(3) หนังสือพิมพ์ภูมิภาค
(4) หนังสือพิมพ์ในสถานศึกษา
ตอบ 4 หน้า 8, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ในสถานศึกษา (School Newspaper) คือ หนังสือพิมพ์ ที่จัดทําขึ้นเพื่อเผยแพร่ข่าวสารในสถานศึกษานั้น ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ข่าวรามคําแหง เป็นต้น หรือหนังสือพิมพ์ที่จัดทําขึ้นโดยนิสิต นักศึกษา และมีอาจารย์เป็นผู้ควบคุมดูแล ซึ่งสถาบันที่มี การเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์และวารสารศาสตร์ มักมีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาได้ลงมือฝึกปฏิบัติผลิตหนังสือพิมพ์จริง นอกเหนือไปจากการเรียนภาคทฤษฎีแต่เพียงอย่างเดียว เช่น หนังสือพิมพ์ฝึกหัดอาร์ยูนิวส์ (RU News) ของ ม.รามคําแหง เป็นต้น

66 หนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ (Broadsheet Newspaper) มีความกว้างยาวกี่นิ้ว
(1) กว้าง 20 นิ้ว ยาว 30 นิ้ว
(2) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
(3) กว้าง 111/2 นิ้ว ยาว 141/2 นิ้ว
(4) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
ตอบ 2 หน้า 7 – 8 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์แบ่งตามรูปแบบออกได้เป็น 2 ขนาด ดังนี้
1 หนังสือพิมพ์ขนาดมาตรฐาน (Standard Size) หรือหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ (Broadsheet Newspaper) จะมีความกว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
2 หนังสือพิมพ์ขนาดแท็บลอยด์ (Tabloid Newspaper) หรือหนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก มักจะ มีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ คือ กว้าง 111/2 นิ้ว ยาว 141/2 นิ้ว

67 หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (Tabloid Newspaper) มีความกว้างยาวกี่นิ้ว
(1) กว้าง 20 นิ้ว ยาว 30 นิ้ว
(2) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
(3) กว้าง 111/2 นิ้ว ยาว 141/2 นิ้ว
(4) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 1/2 นิ้
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

68 ต่อไปนี้เรื่องใดปกติไม่ปรากฏที่หน้า 1 ของหนังสือพิมพ์รายวัน
(1) ชื่อหนังสือพิมพ์ พร้อมสัญลักษณ์
(2) ปีที่ ฉบับที่ วันที่ เดือน ปี
(3) บทนํา
(4) ภาพประกอบข่าวและภาพข่าว

ตอบ 3 หน้า 145 – 148 หน้าแรกหรือหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ (เปรียบเสมือนปก) เป็นหน้าสําคัญ ที่มีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์มากที่สุด ประกอบด้วย
1 ชื่อหนังสือพิมพ์ พร้อมทั้งสัญลักษณ์ (Logo) คําขวัญ (Slogan) และอาจมีข้อมูลต่าง ๆ ใต้ตัวอักษรชื่อหนังสือพิมพ์ เช่น ปีที่ ฉบับที่ วันที่ เดือน ปี ฯลฯ
2 ส่วนข้างหัวหนังสือพิมพ์ (Ears)
3 ข่าว (ถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญที่สุด)
4 ภาพประกอบข่าวและภาพข่าว
5 สารบัญข่าว
6 โฆษณา
7 คอลัมน์ประจํา (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) เช่น จดหมายเปิดผนึก ตอบปัญหา หรือคอลัมน์ส่วนตัว
ของบรรณาธิการ ฯลฯ

69 ฉบับแยกส่วน (Section) ของหนังสือพิมพ์ จัดทําเพื่อประโยชน์ใด
(1) แจกฟรีผู้อ่าน
(2) จัดสัดส่วนเพื่อความสะดวกแก่ผู้อ่าน
(3) แบ่งข่าวหนักกับข่าวเบาออกจากกัน
(4) สะดวกในการโฆษณาสินค้าต่าง ๆ
ตอบ 2 หน้า 31 – 32 การที่ธุรกิจหนังสือพิมพ์ขยายตัวและมีการแข่งขันสูงขึ้น ประกอบกับผู้บริโภค ต้องการข่าวสารมากขึ้น ทําให้หนังสือพิมพ์มีเนื้อหาและมีความหนามากเกินไป ดังนั้นจึงมีฉบับ แยกส่วน (Section) ของหนังสือพิมพ์ ซึ่งจัดสัดส่วนของเรื่องให้เป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวก ของผู้อ่าน ทําให้อ่านได้ง่าย ไม่สับสน และรู้สึกว่าหนังสือพิมพ์มีจํานวนหน้ามากขึ้นจนคุ้มค่า ต่อการซื้อหามาอ่าน

70 ข้อใดไม่ใช่บุคคลสาธารณะ (Public Figure)
(1) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
(2) แจ็ค หม่า
(3) โดนัลด์ ทรัมป์
(4) แดจังกึม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) บุคคลสาธารณะ (Public Figure) คือ บุคคลที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชน ทั่วไป ซึ่งบุคคลประเภทนี้ถือว่าได้สละสิทธิ์ที่จะดําเนินชีวิตโดยปราศจากการสังเกตจับตามอง และจะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายในความเป็นส่วนตัวที่น้อยกว่าบุคคลทั่วไป เช่น ดารา นักแสดง ผู้นําประเทศ นักการเมือง นักธุรกิจชั้นนําของโลก ฯลฯ

71 หลักคิดในการกํากับดูแลสื่อของประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย คือ
(1) รัฐกํากับดูแลสื่อ
(2) รัฐให้เสรีภาพ ไม่มีการกํากับใด ๆ
(3) สื่อมวลชนกํากับดูแลกันเอง
(4) รัฐออกกฎหมายบังคับ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สิ่งที่แสดงถึงธรรมาภิบาลจากภาครัฐ คือ การไม่ออกกฎหมายควบคุมสื่อ ดังนั้น หลักคิดในการกํากับดูแลสื่อของประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยก็คือสื่อมวลชนกํากับดูแลกันเอง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเกณฑ์กํากับนักหนังสือพิมพ์ให้ทําหน้าที่สื่อข่าวอย่าง อิสระ เป็นธรรม และเป็นกลาง โดยมีความรับผิดชอบเป็นตัวชี้วัดคุณภาพและประสิทธิภาพ ของสื่อมวลชน

72 หลักการข้อใดไม่ใช่หลักการพิจารณาว่า อาชีพใดควรจัดเป็นวิชาชีพวารสารศาสตร์
(1) มีองค์ความรู้เฉพาะของตน
(2) มีความอิสระในการประกอบวิชาชีพ
(3) มีการกําหนดรายได้สูงต่ำตามตําแหน่ง
(4) มีจรรยาบรรณที่ตราไว้เพื่อประพฤติตน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการที่ใช้ในการพิจารณาอาชีพที่ควรจัดเป็นวิชาชีพวารสารศาสตร์ ได้แก่
1 มีองค์ความรู้เฉพาะของตน
2 มีอิสระในการประกอบวิชาชีพ
3 มีจรรยาบรรณที่ตราไว้เพื่อประพฤติปฏิบัติตน ฯลฯ

73 ตัวแปรสําคัญที่ผลักดันให้หนังสือพิมพ์ควบคุมดูแลกันเอง คือ
(1) มุ่งแสวงหาผลกําไร
(3) อํานาจรัฐ
(2) แรงกดดันจากสังคม
(4) เสรีภาพที่ไม่มีข้อจํากัด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตัวแปรสําคัญที่เป็นแรงผลักดันให้หนังสือพิมพ์ควบคุมดูแลกันเองได้ คือ
พลังประชาชน สภาพแวดล้อมทางการเมือง และแรงกดดันจากสังคม

74 สภาวิชาชีพสื่อสารมวลชน แตกต่างจากสภาวิชาชีพอื่นอย่างไร
(1) ผู้ประกอบวิชาชีพต้องสําเร็จการศึกษาสื่อสารมวลชน
(2) เป็นองค์กรวิชาชีพที่ไม่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของฝ่ายปกครอง
(3) มีผู้แทนผู้ประกอบการและผู้แทนนักข่าวในสภาวิชาชีพ
(4) ไม่อนุญาตให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในสภาวิชาชีพ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สิ่งที่ทําให้สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติแตกต่างจากสภาวิชาชีพอื่น คือ การกําหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องสําเร็จการศึกษาสื่อสารมวลชน โดยต้องมาขึ้นทะเบียน และขอใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ จึงจะมีคุณสมบัติประกอบวิชาชีพได้

75 ข้อดีของการมีสภาวิชาชีพสื่อสารมวลชน คือ
(1) การทําข่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
(2) ไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนักข่าวก็ได้
(3) ป้องกันการแทรกแซงจากรัฐ ทุน การเมือง
(4) สามารถโต้แย้งรัฐได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ข้อดีของการมีสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ คือ ทําให้สื่อมวลชนทําข่าว เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติมีอํานาจหน้าที่ในการออกใบอนุญาตและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จึงอาจทําให้สื่อมวลชนที่กลัวเดือดร้อน หรือถูกกระทบจากผู้มีอํานาจออกใบอนุญาต นําเสนอข่าวที่ปลอดภัยแบบเดียวกันทุกสื่อ

76 สมาชิกสภาวิชาชีพใดที่ต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
(1) สื่อออนไลน์
(2) นิตยสาร
(3) วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
(4) ภาพยนตร์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลังจากที่ประชุมสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ผ่านร่าง กฎหมายควบคุมสื่อฉบับล่าสุด ได้มีเนื้อหาให้สมาชิกสภาวิชาชีพสื่อออนไลน์ต้องมีใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพ และต้องมาขึ้นทะเบียนเหมือนกับสื่อประเภทอื่น

77 กลไกการกํากับดูแลร่วม หมายถึงอะไร
(1) ออกแบบให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม
(2) ออกแบบให้รัฐเข้ามามีส่วนร่วม
(3) ออกแบบให้เอกชนและรัฐเข้ามามีส่วนร่วม
(4) ออกแบบให้นักวิชาการเข้ามามีส่วนร่วม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) กลไกการกํากับดูแลร่วม (Co – regulation) หมายถึง กลไกที่ออกแบบให้ เอกชนและรัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการทําหน้าที่กํากับดูแลวิชาชีพสื่อ โดยให้องค์กรสื่อมวลชน กํากับดูแลในชั้นที่ 1, องค์การวิชาชีพสื่อมวลชนกํากับดูแลในชั้นที่ 2 และให้ “สภาวิชาชีพ สื่อมวลชนแห่งชาติ” เป็นกลไกการกํากับดูแลร่วมในชั้นที่ 3

78 สื่อมวลชนประเภทใดที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้วงกว้างที่สุด ข้อจํากัดน้อยที่สุด
(1) หนังสือพิมพ์
(2) สื่อออนไลน์
(3) วิทยุโทรทัศน์
(4) วิทยุกระจายเสียง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อมวลชนที่มีจุดเด่นในการแพร่กระจายข่าวและภาพอย่าง ไม่มีขอบเขตจํากัด และมีศักยภาพในการส่งสารเข้าถึงผู้ชมได้ทันทีทันใดในวงกว้าง ตราบเท่าที่รัศมีคลื่นไฟฟ้าสามารถส่งผ่านไปถึงผู้รับ

79 ข้อใดแสดงถึงธรรมาภิบาลจากภาครัฐ
(1) ไม่ออกกฎหมายควบคุมสื่อ
(2) ป้องกันแทรกแซงด้วยวิธีการซื้อสื่อ
(3) จัดห้องพักนักข่าวที่ทําเนียบรัฐบาล
(4) แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีทุกสัปดาห์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

80 พฤติกรรมใดต่อไปนี้ถือว่าผิดจริยธรรม
(1) กินเหล้าหลังเลิกงาน
(2) แสดงบัตรนักข่าวเมื่อจราจรเรียก
(3) ไม่แสดงตัวว่าเป็นนักข่าวขณะทําข่าว
(4) ทะเลาะวิวาทกับเพื่อนร่วมงาน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2559 ข้อ 23 ได้ระบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ต้องไม่อวดอ้างหรืออาศัยตําแหน่ง หน้าที่เพื่อเรียกร้องสิทธิหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ไม่ชอบ

81 กรณีใดถือว่าเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน
(1) นักข่าวบันเทิงแสดงภาพยนตร์
(2) นักข่าวอาชญากรรมค้ายาบ้า
(3) นักข่าวหุ้นรับหุ้นราคาพาร์
(4) นักข่าวอาหารรับประทานอาหารฟรี
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2559 ข้อ 24 ระบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ต้องละเว้นการรับอามิสสินจ้างอันมีค่า หรือผลประโยชน์ใด ๆ เพื่อให้กระทําการหรือไม่กระทําการใดอันจะขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องรอบด้าน

82 กรณีใดถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
(1) แอบถ่ายหรือสะกดรอยตาม
(2) วิพากษ์วิจารณ์เรื่องส่วนตัวดารานักแสดง
(3) เข้าไปในเคหสถานของผู้ต้องสงสัย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (Privacy) ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 34 ได้ระบุว่า สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับ ความคุ้มครอง การกล่าวหรือทําให้ข้อความหรือภาพเผยแพร่อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าด้วยวิธีใด ไปยังสาธารณชน เป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทํามิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

83 * * * สามดาวของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หมายถึงหนังสือพิมพ์ที่วางจําหน่ายภาคใด
(1) ภาคใต้
(2) ภาคเหนือ
(3) ภาคกลาง
(4) กรุงเทพมหานคร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพิมพ์วันละ 6 กรอบ ตามจํานวนดาว ดังนี้
1 หนึ่งดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคอีสานและภาคตะวันออก
2 สองดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคเหนือ
3 สามดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคใต้
4 สี่ดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตจังหวัดห่างไกล และเป็นกรอบบ่ายของกรุงเทพฯ
5 ห้าดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคกลาง
6 หกดาว คือ กรอบจําหน่ายในเขตกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล

84 หนังสือพิมพ์ที่นําเสนอเนื้อหาข่าวในเว็บไซต์ด้วยการคัดลอกจากเนื้อหาในกระดาษ เรียกว่า
(1) Sidebars
(2) Shovelware
(3) Online Newspaper
(4) Cyber Society
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ

85 หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ เน้นเสนอข่าวประเภทใด
(1) ข่าวชาวบ้าน
(2) ข่าวส่วนตัวของบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคม
(3) ข่าวนักการเมือง
(4) ข่าวในสถาบันการศึกษา
ตอบ 2 หน้า 8 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (Tabloid Newspaper) เน้นเสนอข่าวส่วนตัว ของบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคมมากกว่าหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ ส่วนหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ใน บ้านเราจะมีบุคลิกและเนื้อหาต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะเน้นนําเสนอเนื้อหาที่ลึกซึ้ง ค่อนข้างเป็นทางการ และไม่เร้าใจเท่าหนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวเบา

86 การแสวงหาวัตถุดิบ รวบรวม ตระเตรียม ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงต้นฉบับสําหรับพิมพ์ เป็นหน้าที่
ของฝ่ายใด
(1) ฝ่ายบรรณาธิการ
(2) ฝ่ายบริหารจัดการ
(3) ฝ่ายบริหารการผลิต
(4) ฝ่ายประสานงาน
ตอบ 1หน้า 120 – 121, 124 – 125, (คําบรรยาย) ฝ่ายบรรณาธิการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ เรื่องราวสําหรับอ่าน ซึ่งปรากฏตีพิมพ์บนหน้าหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับ โดยจะทําหน้าที่แสวงหา วัตถุดิบ รวบรวม ตระเตรียม ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงต้นฉบับสําหรับพิมพ์ นอกจากนี้ ยังดูแลเรื่องการใช้ภาพ การถ่ายภาพข่าว การใช้ขนาดและแบบของตัวอักษร การจัดหน้า การพาดหัวข่าว การพิสูจน์อักษรหรือตรวจปรู๊ฟ ฯลฯ

87 Deadline หมายถึง
(1) แหล่งข่าวถึงแก่ชีวิตอย่างกะทันหัน
(2) งานทุกชิ้นต้องเสร็จภายในเวลาที่กําหนด
(3) เหตุการณ์เสียชีวิตที่ไม่มีใครคาดคิด
(4) เวลาวางจําหน่ายหนังสือพิมพ์แต่ละกรอบ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “Deadline” แปลว่า เส้นตาย ซึ่งหมายถึง งานทุกชิ้นทุกขั้นตอนต้อง ทําให้เสร็จภายใต้เงื่อนเวลาที่กําหนดไว้ เพราะหนังสือพิมพ์เป็นงานที่ทํากันเป็นทีม (Team Work) ต้องการความรวดเร็วและเที่ยงตรง เพื่อแข่งกับเวลาให้ทันต่อการรายงานเหตุการณ์ ชนิดวันต่อวัน หรือชั่วโมงต่อชั่วโมง

88 หน้าที่ของ Copy Desk คือ
(1) ค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต
(2) พิจารณาความถูกต้องของภาษาและไวยากรณ์
(3) ถ่ายเอกสารจากศูนย์ข้อมูล
(4) จัดทําสําเนาต้นฉบับให้บรรณาธิการ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ฝ่ายบรรณาธิกร (Copy Desk) ทําหน้าที่จัดการต้นฉบับให้เสร็จเรียบร้อย ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต ซึ่งประกอบด้วย การตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ของต้นฉบับ การพิจารณาความถูกต้องของภาษา ไวยากรณ์ ตัวสะกด/ตัวการันต์ และลีลาการเขียน การปรับปรุงเนื้อหาให้กระชับชัดเจน ฯลฯ

89 Clipping หมายถึง
(1) การเรียบเรียงข้อมูลข่าว
(2) การนําภาพและข่าวมาตัดต่อเผยแพร่ออนไลน์
(3) การถอดเทปเสียงสัมภาษณ์แหล่งข่าว
(4) ข่าวตัดที่เคยนําเสนอในหนังสือพิมพ์แล้ว
ตอบ 4 หน้า 125, (คําบรรยาย) Clipping หมายถึง ชิ้นข่าวตัดที่เคยนําเสนอในหนังสือพิมพ์ไปแล้ว ซึ่งบรรณารักษ์ของห้องสมุดหนังสือพิมพ์ได้ตัดมาจากหนังสือพิมพ์เก่า ๆ แล้วเก็บเข้าแฟ้มเป็นเรื่อง ๆ เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลที่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้อีกในภายหลังเมื่อมีการอ้างอิงหรือนํามาประกอบการเขียนข่าวเพื่อให้ภูมิหลังกับข่าวที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

90 ฝ่ายใดถือเป็นเส้นเลือดหลักขององค์กรหนังสือพิมพ์
(1) ฝ่ายบรรณาธิการ
(2) ฝ่ายบริหารจัดการ
(3) ฝ่ายโฆษณา
(4) ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
ตอบ 3 หน้า 15, 123, 159 – 160, (คําบรรยาย) ฝ่ายโฆษณา (Advertising Department) ถือเป็น เส้นเลือดหลักขององค์กรหนังสือพิมพ์ เพราะการที่หนังสือพิมพ์จะดําเนินธุรกิจอยู่ได้ย่อมต้อง อาศัยเงินจากค่าโฆษณา ซึ่งมีจํานวนประมาณ 2 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมด ดังนั้นโฆษณาจึงเป็น
แหล่งรายได้หลักที่สําคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์

91 Citizen Journalism คือ
(1) ผู้สื่อข่าวพิเศษ
(2) ประชาชนมีส่วนร่วมในการรายงานข่าว
(3) ผู้สื่อข่าวภาคสนาม
(4) การใช้สื่อใหม่ในการรายงานข่าว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) วารสารศาสตร์พลเมือง (Citizen Journalism) คือ ประชาชนมีส่วนร่วมในการ รายงานข่าว โดยใช้สื่อพลเมือง (Citizen Media) เป็นช่องทางให้ประชาชนเป็นผู้รายงานข่าว แสดงความคิดเห็น และโต้ตอบบนเว็บเพจในอินเทอร์เน็ตได้ในลักษณะ Online Journalism เช่น Ohmynews เป็นลักษณะการทําข่าวของผู้สื่อข่าวพลเมืองในประเทศเกาหลีใต้ที่ประสบ ความสําเร็จเป็นอย่างมาก เป็นต้น

92 ลักษณะเด่นของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ คือ
(1) ทันเหตุการณ์
(2) ไม่ต้องเสียเงินอ่าน
(3) มีข่าวหลากหลาย
(4) เข้าถึงผู้อ่านจํานวนมาก
ตอบ 1(คําบรรยาย) ข้อสรุปลักษณะเด่นของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ มีดังนี้
1 ทันเหตุการณ์
2 โต้ตอบได้
3 ใช้ง่ายและสะดวก
4 ไม่จํากัดพื้นที่
5 สร้างสํานึกการมีส่วนร่วม
6 ขยายเป้าหมายองค์กร
7 สร้างความเชื่อถือ
8 รวดเร็วทันใจ

93 สิ่งที่นักวารสารศาสตร์ต้องทําอย่างมากเมื่อมาทําข่าวออนไลน์
(1) ต้องทําข่าวตลอด 24 ชั่วโมง
(2) ต้องไม่ลืมกลั่นกรองคุณภาพข้อมูลตลอดเวลา
(3) ต้องทําตัวเป็นกลาง
(4) ต้องทําข่าวทุกขั้นตอนด้วยตัวคนเดียว
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

94 Ohmynews เป็นการทําข่าวของผู้สื่อข่าวพลเมืองในประเทศใด

(1) ประเทศสิงคโปร์
(2) ประเทศญี่ปุ่น
(3) ประเทศจีน
(4) ประเทศเกาหลีใต้
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

95 การใช้วิจารณญาณในการคัดเลือกข่าว เป็นการทําหน้าที่ใดของหนังสือพิมพ์
(1) Informer
(2) Watchdog
(3) Gatekeeper
(4) Changing Agent
ตอบ 3หน้า 16 บทบาทการเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) คือ การควบคุมการไหลของ ข่าวสารไปสู่สาธารณชน โดยหนังสือพิมพ์จะมีนายทวารประจําด่านอยู่เป็นจํานวนมาก เช่น นักข่าว ช่างภาพ บรรณาธิการ ฯลฯ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองข่าว ประเมินคุณค่า และตรวจเนื้อหาของข่าวสารก่อนที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านทางหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ยังทําหน้าที่ตัดสินใจว่าจะเลือกทําข่าวใด หรือจะคัดเลือกข่าวนั้น ๆ เพื่อตีพิมพ์ หรือไม่ โดยคํานึงถึงพื้นฐานของความถูกต้องเที่ยงตรงของข่าวสาร

96. บทความที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะของหนังสือพิมพ์ เรียกว่า
(1) บทปริทัศน์
(3) บทบรรณาธิการ
(2) บทวิจารณ์
(4) บทวิเคราะห์ข่าว
ตอบ 3 หน้า 42 – 43, 168, คําบรรยาย) บทบรรณาธิการ (Editorial) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “บทนํา” เป็นบทความที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะ ความเชื่อ หรือนโยบายของหนังสือพิมพ์ ทั้งฉบับ มิใช่เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จําเป็นต้องลงชื่อผู้เขียนประจํา อีกทั้งยังเป็น บทความที่มีความสําคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ ซึ่งทําหน้าที่ในการให้ความรู้และความคิดเห็น ในเรื่องสําคัญ ๆ ต่อสาธารณชน เพื่อสะท้อนถึงจุดยืนของหนังสือพิมพ์ที่มีต่อเรื่องที่เขียน

97 คอลัมน์นิสต์ท่านใดเป็นผู้เขียนคอลัมน์ “เหะหะพาที” ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
(1) สํานักข่าวหัวเขียว
(2) ซูม
(3) ลมเปลี่ยนทิศ
(4) ธนูเทพ
ตอบ 2 หน้า 47, 147, 161, คําบรรยาย) คอลัมน์ประจํา คือ ข้อเขียนที่ตีพิมพ์ทุกวัน หรือตีพิมพ์ เป็นประจําในบางวันของสัปดาห์ก็ได้ เช่น ทุกวันอาทิตย์ ฯลฯ ซึ่งข้อเขียนประเภทนี้มักจะมี ผู้เขียนประจํา เรียกว่า “คอลัมน์นิสต์” (Columnist) หมายถึง ผู้เขียนบทความในคอลัมน์ หนังสือพิมพ์เป็นประจํา โดยลงชื่อผู้เขียนไว้ (อาจใช้นามจริงหรือนามแฝงก็ได้) เช่น คอลัมน์ “เหะหะพาที” เขียนโดยซูม ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นคอลัมน์ที่เขียนแบบมีลีลาเฉพาะตัว และใช้สํานวนคมคาย เป็นต้น

98 สารคดีแตกต่างจากบทความในเรื่องใด
(1) สารคดีเขียนจากความคิดเห็นของผู้เขียน
(2) สารคดีเขียนจากความจริง
(3) สารคดีเขียนจากความทรงจําของผู้เขียน
(4) สารคดีเขียนจากจินตนาการ
ตอบ 2 หน้า 45 สิ่งที่สารคดีแตกต่างจากบทความ คือ สารคดีเขียนจากความจริง มิใช่เกิดจาก จินตนาการ จึงต่างจากบทความตรงที่ว่า บทความเน้นการแสดงความคิดเห็น แต่สารคดี เน้นการให้ความรู้ให้ข้อมูลที่เป็นสาระของเรื่อง

99 เลือกวิธีการศึกษาบทเรียนวิชานี้มากที่สุดของท่านเพียงข้อเดียว (คะแนนฟรี)
(1) ฟังบรรยายในชั้นเรียน
(2) ฟังบรรยายทางเน็ต
(3) อ่านหนังสือ
(4) ชีทหน้าราม
ตอบ ข้อใดก็ได้ นักศึกษาเลือกตอบข้อใดก็ได้ (เอาที่สบายใจ)

100 จํานวนครั้งในการเข้าฟังบรรยายวิชานี้ MCS 1250 (MCS 2200) วารสารศาสตร์เบื้องต้นคือ (คะแนนฟรี)
(1) ทุกครั้งที่มีบรรยาย
(2) 1 ครั้ง – 5 ครั้ง
(3) 6 ครั้ง – 11 ครั้ง
(4) ไม่เคยเข้าฟังบรรยาย
ตอบ ข้อใดก็ได้ นักศึกษาเลือกตอบข้อใดก็ได้ (เอาที่สบายใจ)

 

CDM2204 MCS1250 (MCS2200) การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น s/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS1250 (MCS 2200) การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1 ข้อใดมิใช่วารสารศาสตร์
(1) นิตยสาร “สารคดี”
(2) หนังสือพิมพ์ “ข่าวสด”
(3) แผ่นพับประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง
(4) ข่าวเจ็ดโมงเช้าทางสถานีวิทยุกระจายเสียง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คําว่า Journalism แปลตรงตัวว่า ความรู้ที่เกี่ยวกับสารที่ออกตามวาระ โดยพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้บัญญัติศัพท์ของ Journalism เป็นภาษาไทยว่า “วารสารศาสตร์” หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ออกตามวาระ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ที่ออกตามวาระชนิดแรก ต่อมาจึงเกิดนิตยสารและวารสารตามมา ตลอดจน รายการข่าวทางวิทยุและโทรทัศน์ (ยกเว้นรายการเล่าข่าว) ก็จัดเป็นวารสารศาสตร์เช่นกัน แต่จะใช้คําว่า “Broadcast Journalism”

2 ข้อใดเป็นแนวคิดหลักของงานวารสารศาสตร์
(1) รู้ความเป็นไปของสังคม
(2) ช่วยในการตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ
(3) ทําให้เป็นคนใจกว้าง
(4) ทําให้เป็นคนทันสมัย
ตอบ 2 หน้า 29 (คําบรรยาย) แนวคิดหลักของงานวารสารศาสตร์ ซึ่งถือเป็นประโยชน์ที่สําคัญที่สุด คือ ทําให้สามารถใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อช่วยในการตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ข้อมูลเหล่านั้นต้องเป็นจริง เป็นกลาง และมากพอ

3 ข้อใดมีรูปแบบเฉพาะที่แตกต่างจากข้ออื่น
(1) หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
(2) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
(3) หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
(4) หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
ตอบ 4 หน้า 4 — 5 หนังสือพิมพ์สามารถแบ่งตามเนื้อเรื่องได้ ดังนี้
1 หนังสือพิมพ์ทั่วไป (General Newspaper) จะมีความหลากหลายในการเสนอเนื้อหาที่ น่าสนใจในแต่ละวันทุก ๆ ด้าน เพื่อกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม เช่น หนังสือพิมพ์คมชัดลึก, สยามรัฐ, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ข่าวสด ฯลฯ
2 หนังสือพิมพ์เฉพาะเรื่อง (Specialized Newspaper) จะมีเนื้อหาเฉพาะด้านเพื่อ กลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม เช่น หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, Student Weekly, ผู้จัดการ, ฐานเศรษฐกิจ, ข่าวพาณิชย์, สยามกีฬา ฯลฯ

4 เหตุใดจึงเปรียบเทียบว่าหนังสือพิมพ์เป็นกระจก
(1) หนังสือพิมพ์เสนอข่าวสารสะท้อนความจริง
(2) หนังสือพิมพ์เสนอข่าวสารสะท้อนสิ่งที่ประชาชนอยากรู้
(3) หนังสือพิมพ์เสนอข่าวสารสะท้อนมุมมองของผู้สื่อข่าว
(4) หนังสือพิมพ์เสนอข่าวสารสะท้อนการทํางานของบรรณาธิการ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์เปรียบเสมือนกระจกสะท้อนสังคม กล่าวคือ หนังสือพิมพ์มีหน้าที่หลัก
ในการเสนอข่าวสารเพื่อสะท้อนความจริงในสังคม โดยข่าวสารที่นําเสนอทางหนังสือพิมพ์นั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน เที่ยงตรง และเป็นธรรม เพื่อให้ผู้อ่านได้รับทราบ เหตุการณ์ทั้งหมดอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

5 หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจ ดังนั้นต้องมีองค์ประกอบใด
(1) การลงทุน การผลิต การจําหน่าย
(2) การลงทุน การผลิต การตลาด
(3) การผลิต การจัดการ การโฆษณา
(4) การตลาด การผลิต การจัดการ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจที่ต้องดําเนินการโดยเอกชนเช่นเดียวกับองค์กรทางธุรกิจ ทั่วไป ซึ่งนับว่าเป็นการลงทุนทางธุรกิจชนิดหนึ่ง โดยจะประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่
1 การลงทุน
2 การผลิต
3 การตลาด

6 ข้อใดเป็นหน้าที่ของหนังสือพิมพ์
(1) เสนอการ์ตูน
(2) เสนอสารคดี
(3) เสนอโฆษณา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 14 – 15 หน้าที่ของหนังสือพิมพ์ มีดังนี้
1 หน้าที่การให้ข่าวสาร (To Inform) ได้แก่ การเสนอข่าวสารต่าง ๆ
2 หน้าที่การให้ความคิดเห็น (To Give Opinion) ได้แก่ การเสนอบทบรรณาธิการ บทความ บทวิจารณ์ และคอลัมน์ ฯลฯ
3 หน้าที่การให้ความรู้ (To Educate) ได้แก่ การเสนอสารคดี ความรู้ทางกฎหมาย ฯลฯ
4 หน้าที่การให้ความบันเทิง (To Entertain) ได้แก่ การเสนอการ์ตูน นิยาย เรื่องสั้น ฯลฯ
5 หน้าที่การเป็นสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ (To Advertise and Public Relations) ได้แก่ การเสนอโฆษณาสินค้า การรับสมัครงาน ฯลฯ

7 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของหนังสือพิมพ์
(1) มีจ่าหน้าชื่อเดียวกัน
(2) ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอ
(3) มีการเย็บเล่ม
(4) พัฒนามาจากสังคมที่เจริญแล้ว
ตอบ 3หน้า 2 – 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 4 ระบุว่า หนังสือพิมพ์ หมายถึง สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน (มีชื่อเดียวกัน) และออกหรือเจตนาจะออก ตามลําดับเรื่อยไป มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม… ส่วน Encyclopedia Americana อธิบายว่า หนังสือพิมพ์ หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้เย็บเล่ม ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ําเสมอ…, Collier’s Encyclopedia กล่าวว่า หนังสือพิมพ์พัฒนา มาจากสังคมที่เจริญแล้ว…….

8 ข้อใดเป็นลักษณะของข่าวหนัก (Hard News)
(1) ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
(2) ให้คุณค่าแก่ผู้อ่านในระยะยาว (Delayed Reward)
(3) ให้คุณค่าแก่ผู้อ่านอย่างรวดเร็ว (Immediate Reward)
(4) ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ขนาดมาตรฐาน
ตอบ 2 หน้า 4, 41, (คําบรรยาย) ข่าวหนัก (Hard News) คือ ข่าวที่ให้น้ําหนักต่อความสําคัญของ เรื่องมากกว่าอย่างอื่น ส่วนใหญ่มักเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์คุณภาพ ซึ่งมักจะเป็นเรื่องราวที่ให้ ผลตอบแทนหรือให้คุณค่าแก่ผู้อ่านในระยะยาว (Delayed Reward) ดังนั้นผู้อ่านจึงต้องใช้ ความรู้ความเข้าใจในการอ่านพอสมควร เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวปัญหาสังคม ฯลฯ

9 สาเหตุสําคัญที่ทําให้หนังสือพิมพ์มีหลายกรอบ ได้แก่
(1) รักษายอดขายของหนังสือพิมพ์
(2) สนองการทําข่าวตลอด 24 ชั่วโมง
(3) ตีพิมพ์ข่าวที่เกิดขึ้นล่าสุดได้
(4) เป็นนโยบายของหนังสือพิมพ์ฉบับใหญ่ ๆ

ตอบ 3 หน้า 5, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์รายวันโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ที่มียอดจําหน่ายสูง มักจะมี ข้อจํากัดในเรื่องของเวลาปิดข่าว ซึ่งผู้สื่อข่าวจะต้องเขียนข่าวให้เสร็จภายในเวลาที่กําหนดเพื่อจะได้ จัดพิมพ์ให้ทันจําหน่าย ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์ของข่าวนั้นยังคงดําเนินต่อไป ดังนั้นหนังสือพิมพ์ จึงอาจตีพิมพ์วันละหลายกรอบเพื่อให้สะดวกต่อการจําหน่าย เพื่อให้สามารถตีพิมพ์ข่าวที่เกิดขึ้นล่าสุดได้ และเพื่อสนองความต้องการของผู้อ่านในแต่ละพื้นที่ได้อย่างหลากหลายทําให้เนื้อหาบางส่วนของหนังสือพิมพ์วันเดียวกัน แต่คนละกรอบจึงอาจแตกต่างกันได้

10 ข้อใดสอดคล้องกับหนังสือพิมพ์ดิจิทัล
(1) ได้รับความนิยมสูง
(2) เป็นหนังสือพิมพ์คุณภาพ
(3) มักจะบริการโดยไม่คิดมูลค่า
(4) เป็นหนังสือพิมพ์ที่ฉบับกระดาษมียอดจําหน่ายสูง
ตอบ 3 หน้า 9 – 10, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์หรือหนังสือพิมพ์ดิจิทัล จัดเป็นสื่อใหม่ ที่เผยแพร่ผ่านจอคอมพิวเตอร์โดยใช้ระบบอินเทอร์เน็ต เนื่องจากสื่อประเภทนี้เกิดจากการบรรจบกัน ของเทคโนโลยีสื่อ (Convergence) คือ เทคโนโลยีการพิมพ์ เทคโนโลยีการกระจายเสียง-ภาพ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถนํามาใช้ในเครื่องมือเดียวกันได้ ทั้งนี้ข้อเด่นที่สําคัญที่สุด ของหนังสือพิมพ์ดิจิทัล คือ ประหยัดกระดาษ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่ทันสมัย ซึ่งให้บริการอ่านฟรี โดยไม่คิดมูลค่า ผู้อ่านสามารถอ่านได้ทุกที่ทุกเวลา และเปลี่ยนข่าวได้รวดเร็ว

ข้อ 11. – 14. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) To Inform
(2) To Entertain
(3) To Advertise
(4) To Give Opinion

11 การตีพิมพ์ข่าวมหาวิทยาลัยรามคําแหงจัดงานพระราชทานปริญญาบัตร
ตอบ 1 หน้า 14, (ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ) หน้าที่การให้ข่าวสาร (To Inform) คือ การสืบเสาะ แสวงหาข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน และนําเสนอให้ประชาชนได้รับทราบ ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ฯลฯ โดยจะไม่มี การวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ เช่น ข่าวสังคม ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการเมือง ข่าวการศึกษา ข่าวอาชญากรรม ฯลฯ

12 หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์ข้อมูลคดีคนร้ายปล้นร้านปืน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

13 การตีพิมพ์ข้อเสนอแนะของนักวิชาการต่อการร่างรัฐธรรมนูญ
ตอบ 4 หน้า 14, 161 – 162, (ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ) หน้าที่การให้ความคิดเห็น หรือให้ ข้อเสนอแนะ (To Give Opinion) คือ การวิเคราะห์และแปลความออกมาเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ หรือให้ความเห็นต่อสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการให้คุณค่าของข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยอาจเป็นความคิดเห็นของคนในกองบรรณาธิการหรือเป็นคนนอกก็ได้ เช่น ข่าวสัมภาษณ์ ความคิดเห็นของบุคคล องค์กร หรือประเทศต่าง ๆ บทวิจารณ์ บทความ บทบรรณาธิการ คอลัมน์จดหมายจากผู้อ่านหรือจดหมายถึงบรรณาธิการ คอลัมน์ตอบปัญหาชีวิต ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมถึงการชุมนุมหรือปราศรัยแสดงความคิดเห็นทางการเมือง

14 หลายประเทศเสนอให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเตือนภัยแผ่นดินไหว
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

15 หน่วยงานด้านวารสารศาสตร์ ควรจัดองค์กรแบบใด
(1) มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ
(2) เป็นบริษัทมหาชน
(3) เป็นห้างหุ้นส่วน
(4) เอกชนเป็นเจ้าของ
ตอบ 4 หน้า 11 – 12, (คําบรรยาย) การจัดองค์กรหนังสือพิมพ์ หรือหน่วยงานด้านวารสารศาสตร์ ในประเทศเสรีประชาธิปไตย ส่วนใหญ่จะนิยมให้อยู่ในรูปแบบเอกชนเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งเป็น รูปแบบองค์กรที่นักหนังสือพิมพ์ประสงค์ โดยแบ่งการดําเนินงานออกได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
1 เจ้าของเป็นผู้ประกอบการเองหรือเป็นกิจการของครอบครัว ซึ่งรูปแบบนี้เกิดขึ้นในสมัยแรก ๆ
2 ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ซึ่งหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบนี้กันมาก
3 บริษัทมหาชน ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ธุรกิจหนังสือพิมพ์ได้ขยายตัวขึ้นมากในปัจจุบัน

ข้อ 16. – 18. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Watchdog
(2) Gatekeeper
(3) Informer
(4) Ombudsman

16 การเตือนภัยภาวะโรคระบาดหลังภัยแผ่นดินไหว
ตอบ 1 หน้า 17, (คําบรรยาย) บทบาทการเป็นสุนัขยาม (Watchdog) คือ การพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ ของประชาชน โดยเฝ้าจับตาดูแลสอดส่อง/ติดตามการปฏิบัติงานของรัฐบาล เจ้าหน้าที่ และ กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น การเลี่ยงภาษี หรือการกระทํา อันไม่ถูกต้องต่าง ๆ จึงถือเป็นบทบาทที่มีผลต่อการทํางานของนักข่าวมากที่สุด เพราะต้องทํา หน้าที่เสมือนการเป็นหมาเฝ้าบ้านที่คอยจับตาและส่งเสียงเตือนภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติที่ จะส่งผลกระทบต่อสังคม เช่น เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย คลื่นยักษ์สึนามิ แผ่นดินไหว พายุรุนแรง น้ําท่วม โรคระบาด ฯลฯ

17 นักข่าวเลือกไปทําข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรีแทนที่จะทําข่าวการโยกย้ายตํารวจ
ตอบ 2 หน้า 16 บทบาทการเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) คือ การควบคุมการไหลของ ข่าวสารสู่สาธารณชน โดยหนังสือพิมพ์จะมีนายทวารประจําด่านอยู่เป็นจํานวนมาก เช่น นักข่าว ช่างภาพ บรรณาธิการ ฯลฯ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง ประเมินคุณค่า และตรวจเนื้อหาของข่าวสาร ก่อนให้นําเสนอเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ยังทําหน้าที่ ตัดสินใจว่าจะเลือกทําข่าวอะไร หรือจะคัดเลือกข่าวนั้น ๆ เพื่อตีพิมพ์หรือไม่ โดยคํานึงถึงพื้นฐาน ของความถูกต้องเที่ยงตรงของข่าวสาร

18 การรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดไฟ
ตอบ 4 หน้า 18, 161, 169 บทบาทการรับเรื่องราวร้องทุกข์ (Ombudsman) ได้แก่
1 การที่หนังสือพิมพ์ปฏิบัติตนเป็นแหล่งรับแจ้งเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ จากประชาชนที่ได้รับ การปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนรู้เห็น จากนั้นหนังสือพิมพ์ต้องไป สืบหาข้อมูล แล้วนํามารายงานเป็นข่าว บทความ สารคดี คอลัมน์ตอบจดหมายหรือ จดหมายถึงบรรณาธิการ ฯลฯ เพื่อทําให้สังคมมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น
2 การรณรงค์ให้สังคมดีขึ้นเมื่อสังคมหรือประเทศชาติประสบปัญหา เช่น การรณรงค์ให้ ประชาชนประหยัดน้ํามัน ประหยัดไฟ และประหยัดน้ํา, การรณรงค์ให้ช่วยบริจาคสิ่งของ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย, การตีพิมพ์ข่าวสาร บทความ เรียกร้องให้คนไทยสามัคคี ฯลฯ

19 กลุ่มใดมีบทบาทน้อยในการตัดสินใจเชิงนโยบายของสังคม
(1) กลุ่มนักศึกษา
(2) กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะ
(3) กลุ่มนักการเมือง
(4) กลุ่มข้าราชการประจํา

ตอบ 1 หน้า 19, 21, 29 กลุ่มคนที่มีบทบาทในการตัดสินใจเชิงนโยบายของสังคม จําแนกออกเป็น
3 กลุ่มหลัก ได้แก่
1 กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะ เช่น กลุ่มลูกจ้างรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงาน, กลุ่มเรียกร้องสิทธิผู้บริโภค ฯลฯ 2 กลุ่มนักการเมือง
3 กลุ่มข้าราชการประจํา

20. ข้อใดเป็นอํานาจเชิงโครงสร้างของหนังสือพิมพ์
(1) หนังสือพิมพ์เสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา
(2) หนังสือพิมพ์เข้าถึงมวลชนอันหลากหลายได้อย่างรวดเร็ว
(3) หนังสือพิมพ์ขุดคุ้ยเรื่องที่ไม่ยุติธรรมมาตีแผ่
(4) หนังสือพิมพ์มักได้รับความเกรงใจจากคนทุกกลุ่ม
ตอบ 2 หน้า 24 หนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่มีอํานาจในตัวเอง ซึ่งอํานาจนี้แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
1 อํานาจเชิงโครงสร้าง คือ หนังสือพิมพ์มีความเป็นสถาบันสาธารณะ จึงสามารถเข้าถึง มวลชน ประชาชนที่มีขนาดใหญ่และหลากหลายได้ในเวลาอันรวดเร็ว
2 อํานาจเชิงจิตวิทยา คือ หนังสือพิมพ์มีหน้าที่เสนอข่าวสารข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ไม่แอบแฝงอย่างนักการเมือง จึงมีความน่าเชื่อถือมากกว่านักการเมือง
3 อํานาจเชิงปทัสถาน คือ หนังสือพิมพ์ถูกมองว่าเป็นผู้สืบเสาะแสวงหาข่าวสารมานําเสนอ อย่างเป็นกลาง และขุดคุ้ยเรื่องที่ไม่ยุติธรรมมาตีแผ่ จึงได้รับความไว้วางใจจากสังคม

ข้อ 21. – 24. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) บทบรรณาธิการ
(2) บทปริทัศน์
(3) บทวิจารณ์
(4) สารคดี

21 บทความใดสําคัญที่สุด
ตอบ 1 หน้า 42 – 43, 168, คําบรรยาย) บทบรรณาธิการ (Editorial) เป็นบทความที่เขียนขึ้น เพื่อแสดงทัศนะ ความเชื่อ หรือนโยบายของหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับ มิใช่ความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จําเป็นต้องลงชื่อผู้เขียนประจํา อีกทั้งยังเป็นบทความที่สําคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ ซึ่งทําหน้าที่ให้ความรู้และความคิดเห็นในเรื่องสําคัญ ๆ ต่อสาธารณชน เพื่อสะท้อนถึงจุดยืน ของหนังสือพิมพ์ที่มีต่อเรื่องที่เขียน

22 เป็นการแสดงความเห็นและประเมินคุณค่าของสิ่งที่เขียนถึง
ตอบ 3 หน้า 44, (คําบรรยาย) บทวิจารณ์ (Criticism) หมายถึง งานเขียนที่มีการใช้ความรู้อย่างมีศิลปะ เพื่อการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของชิ้นงานต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องเป็นผู้ที่ มีความรู้ในเรื่องที่จะวิจารณ์เป็นอย่างดี โดยควรวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีจรรยาบรรณ สร้างสรรค์ และควรวิจารณ์ทั้งในแง่บวกและลบ รวมทั้งมีเหตุผลประกอบการแสดงความคิดเห็น เพื่อมุ่งให้ ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจลึกซึ้ง และสามารถพิจารณาข้อดี-ข้อเสียในชิ้นงานนั้น ๆ ได้

23 เน้นองค์ประกอบด้าน Human Interest มากกว่าความสด
ตอบ 4 หน้า 45 มาลี บุญศิริพันธ์ อธิบายว่า สารคดี (Features) คือ ข้อเขียนที่ผู้เขียนมีเจตนาเบื้องต้น เพื่อรายงานเรื่องที่เป็นความจริง มิใช่เกิดจากจินตนาการ เรียบเรียงอย่างสละสลวย โดยเน้น องค์ประกอบด้านความสนใจของมนุษย์ (Human Interest) มากกว่าองค์ประกอบของความสด ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข่าวสาร ความรู้ และในเวลาเดียวกันก็เน้นให้ผู้อ่านรู้สึกผ่อนคลายหายเครียด

24 เน้นให้ผู้อ่านรู้สึกผ่อนคลายหายเครียด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

ข้อ 25 – 28. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Official Gazette
(2) News Letters
(3) Pamphlets
(4) News Sheets

25 เป็นต้นกําเนิดของข่าวเศรษฐกิจและการค้าในหนังสือพิมพ์
ตอบ 2 หน้า 55 จดหมายเหตุการค้า (News Letters) เกิดจากพ่อค้าชาวยิวในสมัยกลางมีความคิดว่า ในการทําการค้านั้นพ่อค้าจะต้องรู้ข่าวสารบ้านเมืองควบคู่กันไป จึงมีการรวบรวมข่าวสารบ้านเมือง และข่าวการค้าขายในรูปแบบจดหมายเหตุการค้าส่งให้แก่กันและกัน โดยเน้นเพื่อประโยชน์ทางการค้าเป็นหลัก ดังนั้นจึงถือเป็นต้นกําเนิดของข่าวเศรษฐกิจและการค้าในหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน

26 เป็นต้นกําเนิดของข่าวการเมืองในหนังสือพิมพ์
ตอบ 1 หน้า 53 – 55, (คําบรรยาย) หนังสือข่าวสารของทางราชการ (Official Gazette) ได้แก่ เอกสารที่รัฐบาลจากส่วนกลางเขียนหรือพิมพ์ขึ้นในลักษณะ “ใบบอกข่าว” (Acta Diurna) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข่าวสารของชนชั้นปกครอง ซึ่งนับเป็นต้นแบบหนังสือพิมพ์กําแพง (Wall Newspaper) โดยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าอาณาจักรโรมันและจีนใช้ สื่อประเภทนี้ก่อนใคร ดังนั้นจึงจัดเป็นสื่อที่เกิดขึ้นก่อนสิ่งพิมพ์ชนิดอื่น ๆ และถือเป็นต้นกําเนิดของข่าวราชการและขาวการเมืองในหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน

27 เป็นต้นกําเนิดของการโฆษณาในหนังสือพิมพ์
ตอบ 4 หน้า 55 ใบปลิวข่าว (News Sheets) เป็นเรื่องที่ผู้พิมพ์หรือผู้ว่าจ้างเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ แก่คนทั่วไป จึงต้องการแจ้งข่าวสารให้คนจํานวนมากได้รับรู้ โดยมักจะแจกจ่ายฟรีมากกว่าขาย ซึ่งเป็นต้นกําเนิดของการโฆษณาสินค้าในหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน

28 เป็นต้นกําเนิดของบทความและบทวิจารณ์ในหนังสือพิมพ์
ตอบ 3 หน้า 55 จุลสาร (Pamphlets) เป็นเอกสารที่มีเนื้อหาสาระเน้นหนักในด้านการวิพากษ์วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปกครองและการนับถือศาสนา โดยผู้เขียนบทความส่วนใหญ่ จะเป็นผู้มีความรู้ จึงถือเป็นต้นกําเนิดของการเขียนบทความ ได้แก่ บทบรรณาธิการ (Editorial) และบทวิจารณ์ (Criticism) ในหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน

ข้อ 29 – 31. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) John Walter I
(2) John Wilkes
(3) Rupert Murdoch
(4) William Carter

29 คนแรกในประวัติศาสตร์หนังสือพิมพ์อังกฤษที่ถูกแขวนคอเพราะใช้หนังสือพิมพ์ต่อต้านรัฐบาล
ตอบ 4 หน้า 57 ในปี ค.ศ. 1584 วิลเลี่ยม คาร์เตอร์ (William Carter) ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในบรรดาผู้ออก จุลสารต่อต้านทางราชการในยุคอํานาจนิยม ได้ถูกฝ่ายบ้านเมืองลงโทษด้วยการแขวนคอในข้อหา ตีพิมพ์จุลสารสนับสนุนนิกายต้องห้าม ดังนั้นจึงนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์หนังสือพิมพ์ของอังกฤษที่มีนักหนังสือพิมพ์ถูกสังเวยชีวิตเพื่อเสรีภาพของหนังสือพิมพ์

30 เป็นผู้เรียกร้องให้นักหนังสือพิมพ์เข้าไปรายงานข่าวการประชุมรัฐสภาได้สําเร็จ
ตอบ 2 หน้า 59 – 60 ในปี ค.ศ. 1762 จอห์น วิลค์ส (John Wilkes) ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์นอร์ธ ไบรตัน (North Briton) ได้เรียกร้องสิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ โดยขอให้รัฐบาลอังกฤษยินยอมให้ นักหนังสือพิมพ์เข้าไปฟัง (รายงาน) ข่าวการประชุมรัฐสภาเพื่อเป็นตัวแทนของประชาชน ซึ่งต่อมารัฐสภาอังกฤษต้องยินยอมทําตามข้อเรียกร้องนี้ในปี ค.ศ. 1771 จึงทําให้เขาได้รับ การยกย่องว่าเป็นสัญลักษณ์ของนักต่อสู้เพื่อเสรีภาพของหนังสือพิมพ์

31 เป็นผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ The Times
ตอบ 1 หน้า 61, (คําบรรยาย) จอห์น วอลเตอร์ที่ 1 (John Walter I) คือ ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ “The Times” ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายวันคุณภาพที่เก่าแก่ที่สุด และได้รับความเชื่อมั่นศรัทธา จากประชาชนผู้อ่านทั่วโลกไว้ได้อย่างไม่เสื่อมคลาย ทั้งนี้เพราะการประกาศนโยบายเป็นกลาง ไม่เป็นแนวร่วมกับกลุ่มการเมืองใด ทําให้ The Times ก้าวมายืนในตําแหน่งผู้นําของสื่อสิ่งพิมพ์ ที่เป็นสัญลักษณ์ของความมีจริยธรรม พร้อมกับได้รับการสรรเสริญว่า “เป็นแบบอย่างที่แท้จริง ของสิ่งที่เป็นหรือจะเป็นประชามติของชาวอังกฤษ

32 ข้อความว่า “ถ้าหากการรายงานข่าวนั้นเป็นความจริง และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนแล้ว ไม่ถือว่า หมิ่นประมาท” สําคัญอย่างไร
(1) เป็นคดีตัวอย่างเกี่ยวกับการทํางานของหนังสือพิมพ์ที่ขัดแย้งกับรัฐบาล
(2) เป็นเนื้อหาสําคัญของกฎหมายหมิ่นประมาท
(3) เป็นก้าวแรกของการทํางานอย่างมีเสรีภาพของหนังสือพิมพ์อเมริกัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 73 ข้อความข้างต้นเป็นหลักการที่แอนดรูว์ แฮมิลตัน ทนายความชื่อดังจากฟิลาเดลเฟีย ใช้ต่อสู้คดีให้กับจอห์น ปีเตอร์ แซงเออร์ นักหนังสือพิมพ์ที่เขียนบทความโจมตีรัฐบาลอังกฤษ และถูกจับกุมตัวไปดําเนินคดีในศาล จนได้รับชัยชนะ และตั้งแต่นั้นมาการต่อสู้ในคดีตัวอย่าง เกี่ยวกับการทํางานของหนังสือพิมพ์ที่ขัดแย้งกับรัฐบาลดังกล่าวก็กลายเป็นเนื้อหาสําคัญของ กฎหมายลักษณะหมิ่นประมาทที่หนังสือพิมพ์มักประสบปัญหาอยู่เสมอ และนับเป็นก้าวแรก ที่สําคัญในการทํางานอย่างมีเสรีภาพของหนังสือพิมพ์อเมริกัน

33 Join or Die คืออะไร
(1) ภาพการ์ตูนการเมือง
(2) บทความต่อต้านรัฐบาลอังกฤษที่ปกครองชาวอเมริกัน
(3) หัวข้อข่าวที่มีชื่อเสียงในยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองของอเมริกา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 74 – 75, 168 — 169 ในปี ค.ศ. 1754 หนังสือพิมพ์ Pennsylvania Gazette ของ เบนจามิน แฟรงคลิน ได้ตีพิมพ์ภาพการ์ตูนล้อเลียนการเมืองภาพแรก เป็นภาพงูที่มีลําตัว แยกเป็น 8 ชิ้น แต่ละชิ้นหมายถึงอาณานิคมแต่ละรัฐของอเมริกา และมีคําบรรยายเขียนว่า Join or Die ซึ่งเป็นการรณรงค์เรียกร้องให้ชาวอาณานิคมร่วมมือกันต่อต้านอังกฤษที่ปกครอง ชาวอเมริกัน และต้องการให้รวมอาณานิคมทั้ง 8 เข้าด้วยกัน เพื่อการปกครองตนเองของ สหรัฐอเมริกา

34 Yellow Journalism คืออะไร
(1) บทความการเมืองที่มีชื่อเสียงในหนังสือพิมพ์อเมริกัน
(2) หนังสือพิมพ์ยุคขาดจรรยาบรรณ
(3) การ์ตูนล้อเลียนการเมือง
(4) การรับสินบนของหนังสือพิมพ์
ตอบ 2 หน้า 81, 83, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ยุคขาดจรรยาบรรณ (Yellow Journalism) หมายถึง
การที่หนังสือพิมพ์ดําเนินการโดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ของส่วนรวมซึ่งเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 ทั้งนี้คําว่า Yellow Journalism ยังคงใช้ต่อมาในปัจจุบันกับหนังสือพิมพ์ที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย

35 หนังสือพิมพ์เครือข่ายเกิดขึ้นสมัยใด
(1) ยุคปลายศตวรรษที่ 18
(2) ยุคปลายศตวรรษที่ 19
(3) ยุคปลายศตวรรษที่ 20
(4) ยุคขึ้นปี ค.ศ. 2000
ตอบ 2 หน้า 84 ในช่วงปลายของยุค Yellow Journalism (ยุคปลายศตวรรษที่ 19) หนังสือพิมพ์ ก็ได้เข้าสู่ยุคหนังสือพิมพ์ลูกโซ่หรือหนังสือพิมพ์เครือข่ายเป็นครั้งแรก ได้แก่ การเป็นเจ้าของ หนังสือพิมพ์หลาย ๆ ฉบับในขณะเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะของหนังสือพิมพ์ในศตวรรษที่ 20 โดยบุคคลแรกที่ริเริ่มกิจการหนังสือพิมพ์เครือข่าย คือ สองพี่น้องตระกูล Scripps

36 The Big Three of Japan คืออะไร
(1) ความเจริญด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษาของญี่ปุ่น
(2) นโยบายการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น 3 ประการ
(3) หนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียง 3 ฉบับในญี่ปุ่น
(4) นโยบายความร่วมมือกับต่างประเทศ 3 ประเภท ได้แก่ ประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศกําลังพัฒนา และประเทศด้อยพัฒนา
ตอบ 3 หน้า 89, (คําบรรยาย) The Big Three of Japan คือ หนังสือพิมพ์ขนาดยักษ์ใหญ่ที่มี ชื่อเสียง 3 ฉบับในญี่ปุ่น ได้แก่ อาซาฮี (Asahi), ไมนิชิ (Mainichi) และโยมิอุริ (Yomiuri) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่ส่งเสริมการนําเสนอข้อมูลข่าวสารที่เที่ยงตรงอย่างกว้างขวาง

ข้อ 37 – 40. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) รัชกาลที่ 4
(2) รัชกาลที่ 5
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 7

37 เทียนวรรณ และ ก.ศ.ร.กุหลาบ เป็นนักหนังสือพิมพ์ในสมัยใด
ตอบ 2 หน้า 104 – 105 นักหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งได้รับการกล่าวขวัญว่ามีความคิด ก้าวหน้า (หัวสมัยใหม่) ฝีปากคม กล้าพูด ตรงไปตรงมา โดยไม่เกรงกลัวผู้ใด มีอยู่ 2 คน คือ 1. ต.ว.ส.วัณณาโภ มีนามปากกาว่าเทียนวรรณ เจ้าของหนังสือพิมพ์ตุลยวิภาคพจนกิจ 2. ก.ศ.ร.กุหลาบ เจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ

38 สิ่งพิมพ์ด้านนิตยสารเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด
ตอบ 2 หน้า 105 – 106 กิจการหนังสือเล่มที่เรียกว่า “นิตยสาร” (Magazine) เริ่มมีขึ้นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนิตยสารซึ่งเป็นที่รู้จักกันในสมัยนั้น ได้แก่ จดหมายเหตุแสงอรุณ ยุทธโกฐิ ธรรมจักษุ ธรรมศาสตร์วินิจฉัย นารีรมย์ วิทยาจารย์ และเทศาภิบาล

39 การเขียนข่าวแบบสัมภาษณ์ของหนังสือพิมพ์ไทยเริ่มขึ้นในสมัยใด
ตอบ 4 หน้า 110 – 111 วิวัฒนาการของกิจการหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 มีดังนี้
1 มีหนังสือพิมพ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า แทบลอยด์ (Tabloid)
2 มีการพาดหัวข่าวสําคัญในหน้าแรก
3 มีการเขียนวรรคนํา (Lead)
4 เริ่มมีภาพประกอบทั้งภาพถ่าย ภาพล้อ และการ์ตูน
5 มีการสัมภาษณ์เพื่อนํามาเขียนข่าวเป็นครั้งแรกของหนังสือพิมพ์ไทย

40 กฎหมายการพิมพ์ฉบับแรกของไทยถูกตราขึ้นในสมัยใด
ตอบ 3 หน้า 109, 112 รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ตรา พ.ร.บ. ว่าด้วยสมุด เอกสาร และหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2465 ขึ้นเป็น พ.ร.บ. การพิมพ์หรือกฎหมายการพิมพ์ฉบับแรกของไทย เพื่อจะได้ทราบ จํานวนและเจ้าของหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้เพราะสมัยนั้นมีหนังสือพิมพ์ออกมาเป็นจํานวนมากทําให้ยากต่อการควบคุมดูแลโดยบางฉบับตีพิมพ์ข่าวรุนแรงเกินกว่าเหตุแต่ไม่สามารถหาตัว บรรณาธิการได้ ดังนั้นจึงนับว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้สามารถควบคุมดูแลหนังสือพิมพ์ได้ในระดับหนึ่ง

41 หนังสือพิมพ์ไทยยุคใดที่ถูกรัฐบาลสั่งห้ามการตีพิมพ์เป็นเวลา 5 วัน
(1) ยุคมืด พ.ศ. 2501 – 2512
(2) ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
(3) ยุคเริ่มต้นเสรีภาพ
(4) ยุคสําลักเสรีภาพ
ตอบ 2 หน้า 117, (คําบรรยาย) ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2519 – 2522 นับได้ว่าเป็นยุคมืด ของวงการหนังสือพิมพ์อีกครั้งหนึ่ง เพราะมีคําสั่งห้ามการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ทุกฉบับ เป็นเวลา 5 วัน นอกจากนี้ยังมีการประกาศใช้ ปร.42 เพื่อควบคุมการทํางานของหนังสือพิมพ์ โดยตรง และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข่าวสาร เพื่อตรวจข่าว (เซ็นเซอร์) หนังสือพิมพ์

42 ใครเป็นผู้รับผิดชอบต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์
(1) บรรณาธิการใหญ่
(2) เจ้าของ, ผู้ลงทุน
(3) บรรณาธิการบริหาร
(4) หุ้นส่วน, ผู้ลงทุน
ตอบ 1 หน้า 120, 127 บรรณาธิการใหญ่ (Editor-in-Chief) ถือเป็นตําแหน่งบริหารสูงสุดของ องค์กรหนังสือพิมพ์ ซึ่งจะรับผิดชอบดูแลด้านการวางนโยบายของหนังสือพิมพ์ วางแผนธุรกิจ กําหนดทิศทางของหนังสือพิมพ์ และมีอํานาจหน้าที่สั่งการควบคุมทุกหน่วยงานในองค์กร หนังสือพิมพ์ให้สามารถอยู่รอดทางด้านธุรกิจ โดยที่ยังคงสามารถนําเสนอเนื้อหาที่ดีได้

43 ตามสายการเดินทางของข่าวต่างประเทศ ขั้นตอนสุดท้ายของงานคืออะไร
(1) ประชุมกองบรรณาธิการ
(2) จัดจําหน่ายหนังสือพิมพ์
(3) จัดหน้าหนังสือพิมพ์
(4) พาดหัวข่าว
ตอบ 2 หน้า 132, 135 ตามสายการเดินทางของข่าวต่างประเทศจะมีขั้นตอนการทํางาน ดังนี้
1 บรรณาธิการรับข่าวจากผู้สื่อข่าว สํานักข่าวต่างประเทศ หนังสือพิมพ์/นิตยสาร/วารสารต่างประเทศ และสํานักข่าวไทย รวบรวม เรียบเรียงข่าว
2 ส่งให้บรรณาธิการข่าวต่างประเทศคัดเลือก
3 แปลข่าว
4 ประชุมข่าว บรรณาธิกรณ์ข่าว
5 บรรณาธิการจัดหน้า
6 ฝ่ายผลิต
7 ฝ่ายจัดจําหน่ายหนังสือพิมพ์

44 ตามสายการเดินทางของข่าวกีฬา ขั้นตอนแรกของงานได้แก่
(1) ประชุมกองบรรณาธิการ
(2) บ.ก. รับข่าวจากผู้สื่อข่าว
(3) การออกไปสื่อข่าว
(4) พาดหัวข่าว
ตอบ 3 หน้า 132, 136 – 137 ตามสายการเดินทางของข่าวอื่น ๆ เช่น ข่าวการเมือง ข่าวสังคม ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวกีฬา ข่าวบันเทิง ฯลฯ จะมีขั้นตอนการทํางานที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
1 ผู้สื่อข่าวออกไปสื่อข่าว หรือบรรณาธิการรับข่าวจากผู้สื่อข่าว สํานักข่าว หรือจากสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
2 บรรณาธิการข่าวนั้น ๆ คัดเลือก รวบรวม เรียบเรียงข่าว ฯลฯ
3 ประชุมข่าว บรรณาธิกรณ์ข่าว
4 บรรณาธิการจัดหน้า
5 ฝ่ายผลิต
6 ฝ่ายจัดจําหน่ายหนังสือพิมพ์

ข้อ 45 – 49. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) สารคดี โฆษณา
(2) บทความ จดหมายจากผู้อ่าน
(3) การ์ตูนล้อการเมือง เสียงจากหนังสือพิมพ์อื่น
(4) ภาพข่าว โฆษณา

45 ข้อใดควรจัดไว้หน้า 1
ตอบ 4 หน้า 145 – 148 หน้าแรกหรือหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ (เปรียบเสมือนปก) ถือเป็นหน้า สําคัญที่มีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์มากที่สุด โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1 ชื่อหนังสือพิมพ์
2 ส่วนข้างหัวหนังสือพิมพ์ (Ears)
3 ข่าว (ถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญที่สุด)
4 ภาพข่าว
5 สารบัญข่าว
6 โฆษณา
7 คอลัมน์ประจํา (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) เช่น จดหมายเปิดผนึก ตอบปัญหา หรือคอลัมน์ ส่วนตัวของบรรณาธิการ

46 ข้อใดควรจัดไว้หน้าบรรณาธิการ
ตอบ 3 หน้า 167 – 170 หน้าบรรณาธิการ มักจะสะท้อนถึงนโยบายของหนังสือพิมพ์ได้ดีที่สุด ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1 บทบรรณาธิการ
2 ภาพล้อ (Editorial Cartoon) เช่น ภาพการ์ตูนล้อการเมือง ฯลฯ
3 จดหมายถึงบรรณาธิการ
4 เสียงจากหนังสือพิมพ์อื่น (Press Digest)
5 องค์ประกอบเบ็ดเตล็ด ได้แก่ ข่าว โคลงกลอน ตลกขําขัน การ์ตูนที่เป็น เรื่องสั้น ๆ (Comic Strips) โฆษณา และบทความแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ เป็นต้น

47 ข้อใดควรจัดไว้หน้าตรงข้ามหน้าบรรณาธิการ
ตอบ 2 หน้า 161, 171 หน้าพิมพ์ที่อยู่ตรงข้ามหน้าบรรณาธิการ เรียกว่า Op-ed (Opposite Editorial Page) จะเป็นหน้าซ้ําที่มีลักษณะเหมือนกับหน้าบรรณาธิการทุกประการ ดังนั้นข้อเขียนที่ ควรจัดไว้ในหน้านี้ ซึ่งเป็นหน้าที่เกี่ยวกับเวทีทัศนะ ได้แก่ บทความ และจดหมายจากผู้อ่าน ที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น

48 ข้อใดควรจัดไว้หน้าใน
ตอบ 1 หน้า 159 – 162 องค์ประกอบของหน้าใน มีดังนี้
1 โฆษณา
2 ภาพ
3 หัวเรื่อง
4 คอลัมน์ต่าง ๆ เช่น คอลัมน์วิเคราะห์ข่าว บทความ สารคดี แนะนํา ขําขัน ข่าวสังคม ฯลฯ

49 ข้อใดมีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์มากที่สุด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

50 ธุรกิจหนังสือพิมพ์แตกต่างจากธุรกิจอื่นในข้อใด
(1) หนังสือพิมพ์มุ่งขายข่าวสาร ธุรกิจขายสินค้า
(2) หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม
(3) หนังสือพิมพ์ต้องมีความเป็นกลาง
(4) หนังสือพิมพ์มีอิทธิพลต่อผู้อ่าน
ตอบ 1 หน้า 119 หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ โดยทั่วไป ในด้านของตัวสินค้าที่เสนอขายแก่ประชาชน คือ หนังสือพิมพ์มุ่งขายข่าวสาร ส่วนธุรกิจ จะมุ่งขายสินค้า ทั้งนี้เพราะการที่ผู้อ่านหรือลูกค้าซื้อหนังสือพิมพ์ก็เพื่อรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ ทั้งข่าว บทความ สารคดี บทวิจารณ์ ฯลฯ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของผู้รับสาร ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

51 คอลัมน์ คืออะไร
(1) การแบ่งพื้นที่ของหนังสือพิมพ์ตามแนวนอน
(3) การจัดภาพลงบนพื้นที่ที่กําหนด
(2) การแบ่งพื้นที่ของหนังสือพิมพ์ตามแนวตั้ง
(4) การจัดเรื่องลงบนพื้นที่ที่กําหนด
ตอบ 2 หน้า 139 – 140, (คําบรรยาย) คอลัมน์ คือ การแบ่งพื้นที่ของหนังสือพิมพ์ตามแนวตั้ง โดยจะแบ่งข้อความออกเป็นช่วง ๆ ซึ่งแต่ละช่วงจะกว้างเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ที่คิดจากความสะดวกในการอ่านและการจัดหน้าเป็นหลัก ดังนั้นคอลัมน์จึงมีความสําคัญ ตรงที่ทําให้หนังสือพิมพ์สามารถจัดเรื่องลงบนพื้นที่ที่กําหนดได้ง่ายขึ้น

52 ข้อใดไม่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบรรณาธิการ
(1) การจัดหน้า
(2) การเรียงพิมพ์
(3) การพาดหัวข่าว
(4) การพิสูจน์อักษร
ตอบ 2 หน้า 120 – 121, 124 – 125 ฝ่ายบรรณาธิการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องราวสําหรับอ่าน ซึ่งปรากฏตีพิมพ์บนหน้าหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับ นอกจากนี้ยังดูแลการใช้ภาพ การถ่ายภาพข่าว การใช้ขนาดและแบบของตัวอักษร การพาดหัวข่าว การพิสูจน์อักษรหรือตรวจปรู๊ฟ การจัดหน้า และการออกระเบียบการทํางานของผู้สื่อข่าว ฯลฯ ซึ่งเมื่อฝ่ายบรรณาธิการเตรียมต้นฉบับเสร็จแล้ว ก็จะส่งให้กับฝ่ายผลิตเพื่อดําเนินการเรียงพิมพ์และจัดพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือพิมพ์ จากนั้น
ฝ่ายจัดการจะรับผิดชอบด้านธุรกิจในการจัดจําหน่ายต่อไป

53 ข้อใดไม่จําเป็นต้องอยู่ในห้องข่าว
(1) โต๊ะข่าวกีฬา
(2) ห้องบรรณาธิการ
(3) ห้องภาพ
(4) ห้องสมุด
ตอบ 4 หน้า 124 – 125, (คําบรรยาย) ห้องข่าว (News Room) หรือฝ่ายข่าว เป็นห้องที่เตรียมข่าวสาร และมีกิจกรรมการสื่อข่าวทุกประเภท มีการพิมพ์งาน ตลอดจนการติดต่อสื่อสารและรับข่าว จากผู้ที่ไปสื่อข่าวภายนอก ประกอบด้วย โต๊ะข่าวต่าง ๆ (Copydesk) ห้องบรรณาธิการ (Editorial Room) และห้องภาพ (Picture Division) ร่วมประสานงานอย่างใกล้ชิดภายในห้องเดียวกัน (ส่วนห้องสมุดจะเป็นสถานที่เก็บข่าวหรือหลักฐานที่ใช้แล้ว ซึ่งแยกออกไปอย่างเอกเทศ)

54 ผู้ใดไม่จําเป็นต้องประชุมกองบรรณาธิการ
(1) บรรณาธิการบริหาร
(2) บรรณาธิการข่าว
(3) บรรณาธิการโต๊ะข่าว
(4) ผู้สื่อข่าว
ตอบ 1 หน้า 133, 137, (คําบรรยาย) การประชุมข่าวหรือการประชุมกองบรรณาธิการ ถือเป็นขั้นตอน ที่สําคัญที่สุดตามสายการเดินทางของข่าวทุกประเภท ซึ่งจะประกอบด้วย หัวหน้ากองบรรณาธิการ เป็นประธานโดยหน้าที่ พร้อมด้วยบรรณาธิการข่าว บรรณาธิการโต๊ะข่าวต่าง ๆ บรรณาธิการภาพ หัวหน้าฝ่ายจัดหน้า รวมทั้งผู้สื่อข่าวที่เกี่ยวข้อง เข้าประชุมเพื่อคัดเลือกข่าวสําคัญ โดยมี วัตถุประสงค์ คือ
1 คัดเลือกข่าวหน้าหนึ่ง (ถือเป็นวัตถุประสงค์หลักในการประชุม)
2 พิจารณาจัดลําดับความสําคัญของข่าว
3 วิเคราะห์แง่มุม ประเด็นข่าว และเสนอแนะ ให้แง่คิดในการติดตามข่าว
4 พิจารณาเรื่องการเขียนบทบรรณาธิการ

55 โต๊ะข่าวใดมีขนาดใหญ่ที่สุด
(1) โต๊ะข่าวเศรษฐกิจ
(2) โต๊ะข่าวการเมือง
(3) โต๊ะข่าวกีฬา
(4) โต๊ะข่าวในประเทศ
ตอบ 4 หน้า 127, 134 หนังสือพิมพ์จะให้ความสําคัญต่อโต๊ะข่าวในประเทศหรือโต๊ะข่าวหน้า 1 มากที่สุด กล่าวคือ เมื่อโต๊ะข่าวต่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ฯลฯ มีข่าวใดซึ่งกําลังได้รับ ความสนใจจากประชาชนมากที่สุด ก็จะส่งมายังโต๊ะข่าวในประเทศเพื่อประชุมข่าวและพิจารณา ตีพิมพ์ต่อไป ดังนั้นจึงถือว่าโต๊ะข่าวในประเทศมีความสําคัญมากที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุด

56 งานใดมิได้อยู่ในฝ่ายจัดการ
(1) การจัดจําหน่ายหนังสือพิมพ์
(2) การรับงานพิมพ์จากภายนอก
(3) การขอโฆษณา
(4) การออกระเบียบการทํางานของผู้สื่อข่าว
ตอบ 4 หน้า 123, (คําบรรยาย) งานที่สําคัญของฝ่ายจัดการมี 2 ด้านใหญ่ ๆ ได้แก่
1 งานด้านบริหารธุรการ เช่น งานบริหารบุคลากร งานการเงิน บัญชี งานพัสดุ ฯลฯ
2 งานด้านธุรกิจ เช่น งานจัดจําหน่ายหนังสือพิมพ์ และงานโฆษณา (การขอโฆษณาถือเป็น งานที่สําคัญที่สุดของฝ่ายจัดการ เพราะเป็นแหล่งรายได้หลักที่สําคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์) รวมทั้งงานการพิมพ์ ซึ่งเป็นการรับงานพิมพ์จากภายนอกในช่วงที่เครื่องพิมพ์ว่างเว้นจาก การพิมพ์หนังสือพิมพ์ ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ)

ข้อ 57. – 61. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การจัดหน้าแนวนอน
(2) การจัดหน้าสมดุลแตกต่าง
(3) การจัดหน้าแบบเน้นจุดสนใจ
(4) การจัดหน้าแบบไร้ระเบียบ

57 จัดหน้าง่ายที่สุด
ตอบ 1 หน้า 149 – 150 การจัดหน้าแบบแนวนอน (Horizontal) เป็นการจัดวางหัวข่าวให้ยาว ตลอดหน้าหรือหลายคอลัมน์ตามขวางของหน้า ซึ่งมีประโยชน์หลายประการ เช่น จัดหน้า ได้ง่ายที่สุด สามารถพาดหัวข่าวที่ดึงดูดใจผู้อ่าน ใช้ตัวอักษรด้วยขนาดและแบบต่าง ๆ กัน ได้หลายแบบหลายขนาด นอกจากนี้สิ่งที่สําคัญ คือ สามารถจัดระดับข่าวและองค์ประกอบ ต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าการจัดหน้าแบบแนวดิ่ง

58 นิยมใช้ในการจัดหน้ามากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 150 การจัดหน้าแบบสมดุลแตกต่าง (Informal Balance) เป็นวิธีการจัดหน้า ที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะสามารถเน้นความแตกต่างในสาระสําคัญของข่าวได้อย่างชัดเจน ทําให้หนังสือพิมพ์ดูมีชีวิตชีวา น่าตื่นเต้น มีความหลากหลายในการเสนอข่าว และสามารถ เร้าความสนใจได้มากกว่าการจัดหน้าแบบสมดุลแท้จริง ซึ่งจะดูเรียบเกินไป

59 ใช้จัดหน้ากรณีมีข่าวโดดเด่นมาก ๆ เพียงข่าวเดียว
ตอบ 3 หน้า 150 – 151 การจัดหน้าแบบเน้นจุดสนใจ (Brace หรือ Focus) มักใช้ในกรณีมีข่าวใหญ่ ที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ หรือข่าวใดข่าวหนึ่งมีความสําคัญและโดดเด่นมากกว่าข่าวอื่น ๆ ในหน้าเดียวกัน ซึ่งควรกําหนดวางหัวข่าวใหญ่ไว้ที่มุมบนขวามือหรือมุมบนซ้ายมือ เพื่อดึงดูด ความสนใจและเน้นความสําคัญของข่าว จากนั้นจึงเสริมด้วยภาพหรือข่าวอื่นที่มีความสําคัญน้อยลงมา โดยจัดวางตําแหน่งของข่าวให้ลดหลั่นลงมาในรูปแบบขั้นบันไดตามแนวเส้นทแยงมุม

60 ใช้จัดหน้ากรณีมีข่าวโดดเด่นหลาย ๆ ข่าว
ตอบ 4 หน้า 151 การจัดหน้าแบบไร้ระเบียบหรือแบบละครสัตว์ (Broken หรือ Circus) เป็นการจัดหน้า ที่ค่อนข้างตามสบาย ไม่มีรูปแบบกฎเกณฑ์ตายตัว ใช้ลักษณะการพาดหัวข่าวและจัดคอลัมน์ ให้มีความหลากหลายในหน้าเดียวกัน ซึ่งอาจสับสนบ้างแต่ก็ดึงดูดความสนใจจากผู้อ่านได้มาก ทั้งนี้มักใช้ในกรณีที่มีข่าวโดดเด่นหลาย ๆ ข่าว โดยถือว่าข่าวทุกข่าวนั้นมีความสําคัญเท่าเทียมกัน

61 ใช้ตัวอักษรได้หลายแบบหลายขนาด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ

62 ผู้ใดทําหน้าที่ตรวจความถูกต้องของข้อเท็จจริงในข่าว
(1) Editor
(2) Copy Reader
(3) Proof Reader
(4) Reporter
ตอบ 2 หน้า 124 – 125, 132 ผู้ตรวจข่าว (Copy Reader) หรือบรรณาธิการต้นฉบับ จะทําหน้าที่ เป็นผู้ตรวจทานข่าวต่อจากบรรณาธิการข่าวอีกครั้งหนึ่ง โดยตรวจทานการใช้คํา การใช้ภาษา และตัวสะกดให้ถูกต้อง นอกจากนี้ยังทําหน้าที่สืบค้นและตรวจความถูกต้องของข้อเท็จจริงในข่าว ตกแต่งต้นฉบับ และเขียนพาดหัวข่าวประกอบข่าวทุกข่าวที่จะตีพิมพ์ ฯลฯ

63 หน่วยงานใดมีบุคลากรในกองบรรณาธิการน้อยที่สุด
(1) หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
(2) หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก
(3) หนังสือพิมพ์เฉพาะประเภท
(4) หนังสือพิมพ์ฝึกหัดของสถาบันการศึกษา
ตอบ 1 หน้า 124 – 126 บุคลากรของฝ่ายบรรณาธิการ เช่น ห้องข่าว โต๊ะข่าว ฯลฯ จะมีจํานวนมาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดของหนังสือพิมพ์ กล่าวคือ หนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่จะแบ่งบุคลากรใน กองบรรณาธิการมากที่สุด ส่วนหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์จะมีบุคลากรในกองบรรณาธิการน้อยที่สุด โดยจะมีบุคลากรเพียงผู้พิมพ์ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว (อาจมีเพียงคนเดียวหรือสองคน)

64 หลักการใดไม่ใช่การจัดหน้าในของหนังสือพิมพ์
(1) การจัดแบบพีระมิดซีกขวา
(2) การจัดแบบพีระมิดซีกซ้าย
(3) การจัดแบบ Well หน้าเดี่ยว
(4) การจัดแบบ Well สองหน้าคู่
ตอบ 2 หน้า 164 – 167, (คําบรรยาย) หลักการจัดหน้าในหรือการจัดหน้าโฆษณาของหนังสือพิมพ์ มีดังนี้
1 แบบพีระมิดครึ่งซีกด้านขวา (Pyramided to the Right)
2 แบบ Well หน้าเดี่ยว
3 แบบ Welt สองหน้าคู่
4 แบบ Island (แบบเกาะ)
5 แบบแนวนอนล่าง
6 แบบพีระมิดสองด้านหรือสองซีก (Double Pyramid)

65 หลักการจัดหน้าบรรณาธิการข้อใดสําคัญที่สุด
(1) ความสวยงาม
(2) ความสมดุล
(3) ความเด่น
(4) ความหลากหลาย
ตอบ 2 หน้า 171 – 172 รูปแบบการจัดหน้าบรรณาธิการควรใช้หลักการทางศิลปะควบคู่กับ หลักการทางวารสารศาสตร์เช่นเดียวกับการจัดหน้าอื่น ๆ คือ ๆ
1 การใช้หลักความสมดุล ซึ่งนิยมให้หน้าพิมพ์สมดุลแบบไม่เท่ากัน (Informal Balance)
2 การลําดับความสําคัญของเรื่อง

66 ฝ่ายใดเป็นผู้จัดชั้นโฆษณาลงบนหน้าพิมพ์
(1) ฝ่ายบรรณาธิการ
(2) ฝ่ายศิลป์
(3) ฝ่ายผลิต
(4) ฝ่ายจัดการ
ตอบ 4 หน้า 123, 163, (ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ) การจัดวางชิ้นงานโฆษณาลงบนหน้าพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของฝ่ายโฆษณา ซึ่งอยู่ในส่วนของฝ่ายจัดการมากกว่าจะเป็นหน้าที่ของ ฝ่ายบรรณาธิการโดยตรง ทั้งนี้ฝ่ายโฆษณามักจะจัดหน้าในส่วนของโฆษณาให้มีเนื้อที่เหมาะสม สําหรับตีพิมพ์ข่าวอยู่แล้ว แต่หากจําเป็นต้องมีการปรับ บรรณาธิการฝ่ายจัดหน้าจะเป็น ผู้ประสานงานกับฝ่ายโฆษณาต่อไป

67 หน้าใดไม่นิยมให้มีโฆษณา
(1) หน้าบรรณาธิการ
(2) หน้ากลาง
(3) หน้าใน
(4) หน้าสุดท้าย

ตอบ 1 หน้า 171 หนังสือพิมพ์ไม่นิยมให้มีโฆษณาในหน้าบรรณาธิการ แต่ถ้าจําเป็นต้องมีก็ควรจัด
ตําแหน่งให้อยู่ครึ่งล่างของหน้าพิมพ์ โดยควรหลีกเลี่ยงโฆษณาขนาดใหญ่ที่มีความเด่นมาก ๆ และควรเป็นโฆษณาที่ปราศจากภาพถ่ายหรือภาพเขียนที่มีความเข้มหรือดําจัด ทั้งนี้เพื่อมิให้ โฆษณาเด่นกว่าข้อความอื่น ๆ ของหน้า

68 โต๊ะข่าวใดมีความสําคัญมากที่สุด
(1) โต๊ะข่าวการเมือง
(2) โต๊ะข่าวสังคม
(3) โต๊ะข่าวเศรษฐกิจ
(4) โต๊ะข่าวในประเทศ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

69 Size คืออะไร
(1) แบบของพาดหัวข่าว
(2) ขนาดของพื้นที่สําหรับหัวข่าว
(3) ขนาดของตัวอักษร
(4) ขนาดของคอลัมน์
ตอบ 3 หน้า 176 – 177 Size คือ ขนาดของตัวอักษร ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นพอยท์หรือปอยท์ (Point) โดยการวัดพื้นที่ของตัวพิมพ์จะวัดจากด้านบนถึงฐาน (ความสูงของตัวพิมพ์) ซึ่ง 1 พอยท์ จะมีค่าเท่ากับ 1/72 นิ้ว ดังนั้นตัวอักษรขนาด 72 พอยท์ จึงสูง 1 นิ้ว (2.54 ซม.)

70 ตัวอักษรขนาดใดนิยมใช้เขียนเนื้อข่าว
(1) 12 Point
(2) 14 Point
(3) 16 Point
(4) 18 Point
ตอบ 2 หน้า 179, 181, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์จะใช้ขนาดของตัวอักษร (Size) ในการพาดหัวข่าว เขียนความนํา และเนื้อข่าว มีขนาดใหญ่เล็กลดหลั่นกันไป เช่น เนื้อข่าวนิยมใช้ตัวอักษรขนาด 14 Point, ความนําและบทบรรณาธิการใช้ตัวอักษรขนาด 16 Point, พาดหัวข่าวใช้ตัวอักษร ขนาดมากกว่า 16 Pcint ไปจนถึง 100 Point ขึ้นไป

71 ตัวอักษร 1 นิ้ว เท่ากับกี่ Point
(1) 60 Point
(2) 72. Point
(3) 80 Point
(4) 84 Point
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

72 งานหลักของ Rewriter คือข้อใด
(1) ช่วยบรรณาธิการตรวจข่าว และเรียบเรียงข่าวใหม่
(2) เขียนพาดหัวข่าว
(3) เขียนข่าวที่มีผู้ส่งมาจากภายนอกสํานักงาน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 131 ผู้เรียบเรียงข่าว (Rewriter) คือ ผู้ที่อยู่ประจําสํานักพิมพ์เพื่อทําหน้าที่เรียบเรียงข่าว ที่ส่งเข้ามาจากภายนอกสํานักงาน โดยจะเขียนข่าวให้อยู่ในรูปแบบของข่าวก่อนส่งไปพิมพ์ทั้งนี้ผู้เรียบเรียงข่าวมักจะเป็นผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในการสื่อข่าวมาก่อน จึงทําให้สามารถจับประเด็นข่าวได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

73 โดยทั่วไปการจัดหน้าในของหนังสือพิมพ์ นิยมวางภาพโฆษณาไว้ที่ตําแหน่งใด
(1) ด้านซ้ายบนของหน้าพิมพ์
(3) วางไว้บริเวณกลาง ๆ ของหน้าพิมพ์
(2) ด้านซ้ายล่างของหน้าพิมพ์
(4) ด้านขวาล่างของหน้าพิมพ์
ตอบ 4 หน้า 160 คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ทั่วไปมักจัดหน้าในโดยวางภาพไว้ตรงมุมซ้ายและขวา ของหน้า เพราะถือว่าบริเวณนี้มีความสําคัญที่สุด โดยภาพซึ่งวางตรงมุมซ้ายด้านบนจะเป็น สิ่งที่มาถ่วงน้ําหนักกับภาพโฆษณาที่นิยมวางอยู่ด้านขวาล่างของหน้าพิมพ์นั้น แต่บางครั้งอาจวางภาพไว้ตรงส่วนล่างของหน้าก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสําหรับหน้าหนังสือพิมพ์ที่มีโฆษณา จํานวนน้อย (เพียง 2 หรือ 3 ชิ้น)

74 การจัดวางภาพไว้ส่วนล่างของหน้าพิมพ์มีประโยชน์อย่างไร
(1) จัดหน้าง่าย
(2) เปิดโอกาสให้วางโฆษณาบริเวณส่วนบนของหน้าพิมพ์ได้
(3) เป็นการเฉลี่ยความสนใจไปทั่วหน้าพิมพ์
(4) เหมาะกับการจัดหน้า ซึ่งมีภาพจํานวนน้อย
ตอบ 3 หน้า 160 การจัดวางภาพไว้ตรงส่วนล่างของหน้าพิมพ์จะทําให้เกิดความสมดุล เป็นการเฉลี่ย ความสนใจไปทั่วหน้าพิมพ์ และยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงโฆษณาอีกด้วย เพราะภาพจะช่วย ดึงสายตาของผู้อ่านไปยังโฆษณาหรือบริเวณใกล้เคียงกับโฆษณาตรงส่วนล่างได้เป็นอย่างดี

75 คอลัมน์แบบเปิดมีประโยชน์อย่างไร
(1) แบ่งข้อความได้อย่างเป็นสัดส่วน
(2) จัดข้อความเป็นรูปแท่งสี่เหลี่ยมได้ง่าย
(3) จัดง่ายกว่าคอลัมน์แบบปิด
(4) ดูโปร่ง สบายตา น่าอ่าน
ตอบ 4หน้า 149, (คําบรรยาย) การจัดรูปแบบคอลัมน์ แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
1 คอลัมน์แบบเปิด (Open Format) คือ การใช้พื้นที่ว่างสีขาว (ช่องไฟหรือเนื้อที่ข่าว) เป็นแนวกั้นหรือแยกระหว่างคอลัมน์โดยไม่มีเส้นคั่น ซึ่งมีข้อดีคือ ทําให้ดูโปร่ง สบายตา และน่าอ่าน ส่วนข้อเสียคือ การจัดเนื้อที่ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ทําให้จัดหน้าได้ยาก และ อาจทําให้ผู้อ่านหลงข่าวได้
2 คอลัมน์แบบปิด (Close Format) คือ การใช้เส้นตรงบาง ๆ เป็นแนวกั้นระหว่างคอลัมน์ ซึ่งมีข้อดีคือ ทําให้แบ่งข้อความได้อย่างเป็นสัดส่วน หรือแยกเนื้อหาต่าง ๆ ได้ชัดเจน จึงจัดหน้า ได้ง่ายกว่า ส่วนข้อเสียคือ จะดูแน่นและรกตา จึงมักใช้กับเนื้อความสั้น ๆ ที่ไม่ละเอียดมากนัก

76 ข้อใดสามารถสร้างเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ได้ดีที่สุด
(1) วิธีการจัดหน้า
(2) ขนาดของหนังสือพิมพ์
(3) คําขวัญของหนังสือพิมพ์
(4) ชื่อหนังสือพิมพ์
ตอบ 1 หน้า 141 เอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์จะเกิดขึ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏบนหน้าพิมพ์
เพื่อให้ผู้อ่านเคยชินและจําหนังสือพิมพ์ได้ โดยที่ผู้อ่านไม่จําเป็นต้องดูชื่อหนังสือพิมพ์ ได้แก่ ขนาดของหนังสือพิมพ์ (มีผลต่อเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์น้อยที่สุด) จํานวนหน้า รูปแบบ ของตัวอักษร สี แนวของภาพที่เสนอ แนวของถ้อยคําที่ใช้พาดหัวข่าว และที่สําคัญคือ รูปแบบ หรือวิธีการจัดหน้า ซึ่งสามารถสร้างเอกลักษณ์ได้ดีที่สุด เพราะหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับนั้นจะมีแนวการจัดหน้าของตนเองโดยเฉพาะ

77 หนังสือพิมพ์มติชน แบ่งหน้าเป็นคอลัมน์
(1) 8 คอลัมน์
(2) 10 คอลัมน์
(3) 1.2 คอลัมน์
(4) 14 คอลัมน์
ตอบ 3 หน้า 139, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ (Full Size) หรือหนังสือพิมพ์มาตรฐาน (Standard Size) จะมีจํานวนคอลัมน์มาก (8 – 12 คอลัมน์) เช่น หนังสือพิมพ์มติชนแบ่งหน้าพิมพ์ เป็น 12 คอลัมน์ ฯลฯ ส่วนหนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (Tabloid) จะมีจํานวนคอลัมน์น้อยกว่า (4 – 8 คอลัมน์) เช่น หนังสือพิมพ์ฝึกหัดอาร์ยูนิวส์ (RU News) และหนังสือพิมพ์ข่าวรามคําแหง แบ่งหน้าพิมพ์เป็น 6 คอลัมน์ ฯลฯ

78 ข้อใดจัดวางตําแหน่งชื่อของหนังสือพิมพ์แบบคงที่
(1) ไทยรัฐ
(2) มติชน
(3) สยามรัฐ
(4) คมชัดลึก

ตอบ 3 หน้า 146, (คําบรรยาย) ชื่อหนังสือพิมพ์ (Name Plate) เปรียบเสมือนเครื่องหมายการค้า ซึ่งต้องการให้เป็นที่รู้จัก เป็นที่จดจํา และสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ โดยสามารถ จัดได้ 2 รูปแบบ คือ
1 แบบคงที่ เป็นการวางชื่อหนังสือพิมพ์ที่เดิมทุกวัน ๆ เช่น หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ไทยโพสต์ โพสต์ทูเดย์ ฯลฯ
2 แบบไม่คงที่ เป็นการเปลี่ยนที่วางชื่อหนังสือพิมพ์ไปทุกวัน เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มติชน ข่าวสด เดลินิวส์ คมชัดลึก หนังสือพิมพ์ฝึกหัดอาร์ยูนิวส์ ฯลฯ

79 การจัดแบ่งส่วนเนื้อหา (Section) ของหนังสือพิมพ์มีประโยชน์อย่างไร
(1) หนังสือพิมพ์มีความหนามากขึ้น
(2) จัดเรื่องให้เป็นหมวดหมู่ได้ง่าย
(3) ราคาจําหน่ายสูงขึ้น
(4) หนังสือพิมพ์มีความน่าสนใจมากขึ้น
ตอบ 2 หน้า 31 – 32 การที่ธุรกิจหนังสือพิมพ์ขยายตัวและมีการแข่งขันสูงขึ้น ประกอบกับผู้บริโภค ต้องการข่าวสารมากขึ้น ทําให้หนังสือพิมพ์มีเนื้อหาและมีความหนามากเกินไป ดังนั้นจึงมีการ จัดแบ่งส่วนเนื้อหา (Section) ของหนังสือพิมพ์ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้สามารถจัดเรื่องให้เป็น หมวดหมู่ได้ง่าย ทําให้อ่านง่ายไม่สับสน และรู้สึกว่าหนังสือพิมพ์มีจํานวนหน้ามากขึ้นจนคุ้มค่า ต่อการซื้อหามาอ่าน

80 ช่องคอลัมน์ใหญ่ (กว้าง) มีประโยชน์อย่างไร
(1) จัดหน้าง่าย
(2) หนังสือพิมพ์มีความสวยงามกว่าการจัดแบบช่องคอลัมน์เล็ก (แคบ)
(3) เหมาะกับเรื่องที่มีเนื้อหาสั้น
(4) เหมาะกับเรื่องที่มีเนื้อหายาว
ตอบ 4 หน้า 141, (คําบรรยาย) การแบ่งจํานวนคอลัมน์น้อยจะทําให้ช่องคอลัมน์ใหญ่ (กว้าง) ขึ้น ซึ่งจะเหมาะกับเรื่องที่มีเนื้อหายาว แต่ไม่สามารถลงข่าวที่หลากหลาย และการจัดควบหรือ จัดแทรกจะทําได้ยาก ในขณะที่การแบ่งจํานวนคอลัมน์มากจะทําให้ช่องคอลัมน์เล็ก (แคบ) ขึ้น ซึ่งจะทําให้บรรจุเรื่องราวที่สั้น ๆ ได้หลายเรื่อง และแทรกเนื้อหาได้ง่าย แต่ก็จะอ่านยากกว่า

81 พระราชบัญญัติการพิมพ์ที่ถือว่าเป็นพระราชบัญญัติการพิมพ์ฉบับแรก คือ
(1) พระราชบัญญัติว่าด้วยสมุด เอกสาร และหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2465
(2) พระราชบัญญัติว่าด้วยสมุด เอกสาร และหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2470
(3) พระราชบัญญัติว่าด้วยสมุด เอกสาร และหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2475
(4) จดหมายเหตุรัชกาลที่ 4
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

82 พระราชบัญญัติการพิมพ์ฉบับที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ
(1) พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2482
(2) พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2483
(3) พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2550
(4) พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2551
ตอบ 3(คําบรรยาย) พ.ร.บ. เกี่ยวกับการพิมพ์ฉบับที่ทันสมัยที่สุดและใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. 2550 หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 ซึ่งถือเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการพิมพ์ฉบับล่าสุดที่ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา และ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป

83 ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ ข้อใดจะเป็นนิติบุคคลไม่ได้
(1) ผู้พิมพ์
(2) ผู้โฆษณา
(3) เจ้าของหนังสือพิมพ์
(4) บรรณาธิการ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 7 วรรคสอง ระบุว่า ในกรณีนิติบุคคล เป็นผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณา กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลนั้น ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่งด้วย และมาตรา 16 ระบุว่า เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ ที่เป็นนิติบุคคลต้องมีบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของหุ้นทั้งหมด และต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนกรรมการทั้งหมดเป็นผู้มีสัญชาติไทยด้วย (ส่วนบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องเป็นบุคคลธรรมดา จะเป็นนิติบุคคลไม่ได้)

84 พระราชบัญญัติการพิมพ์ไม่ใช้บังคับสิ่งพิมพ์ใด
(1) ใบเสร็จรับเงิน
(2) แผนที่
(3) แผ่นเสียง แผ่นซีดี
(4) บทเพลง
ตอบ 1(คําบรรยาย) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 5 ระบุว่า พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้ บังคับกับสิ่งพิมพ์ดังต่อไปนี้ คือ
1 สิ่งพิมพ์ของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
2 บัตร บัตรอวยพร ตราสาร แบบพิมพ์ และรายงานซึ่งใช้กันตามปกติในการส่วนตัว การสังคม การเมือง การค้า หรือสิ่งพิมพ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น เช่น แผ่นพับหรือแผ่นโฆษณา ใบเสร็จรับเงิน ฯลฯ
3 สมุดบันทึก สมุดแบบฝึกหัด หรือสมุดภาพระบายสี
4 วิทยานิพนธ์ เอกสารคําบรรยาย หลักสูตรการเรียนการสอน หรือสิ่งพิมพ์อื่นทํานองเดียวกัน ที่เผยแพร่ในสถานศึกษา

85 ผู้ใดมีอํานาจสั่งระงับการนําสิ่งพิมพ์เข้ามาในราชอาณาจักร
(1) อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
(2) อธิบดีกรมราชทัณฑ์
(3) ผู้บัญชาการสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 10 ระบุว่า ให้ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ มีอํานาจออกคําสั่งโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ห้ามสั่งเข้าหรือนําเข้าเพื่อเผยแพร่ ในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งพิมพ์ใด ๆ ที่เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทหรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์

86 บุคคลที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย หมายถึง
(1) บุคคลธรรมดา
(2) นิติบุคคล
(3) นายกรัฐมนตรี
(4) รัฐมนตรี
ตอบ 1(คําบรรยาย) “บุคคลธรรมดา” หมายถึง บุคคลที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ส่วน “นิติบุคคล” หมายถึง บุคคลที่ถูกสมมุติขึ้นตามกฎหมาย โดยกฎหมายรับรองให้มีสิทธิ และหน้าที่ได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา

87 บุคคลที่ถูกสมมุติขึ้นตามกฎหมาย หมายถึง
(1) บุคคลธรรมดา
(2) นิติบุคคล
(3) นายกรัฐมนตรี
(4) รัฐมนตรี
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

88 ข้อมูลข่าวสารใดที่รัฐต้องเปิดเผย
(1) แผนงานและงบประมาณประจําปี
(2) สัมปทานที่มีลักษณะผูกขาดตัดตอน
(3) ผลการพิจารณาคําวินิจฉัยเกี่ยวกับการประมูลโครงการ
(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 188, 190 ข้อมูลข่าวสารที่รัฐต้องเปิดเผย (ต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้) ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 9 มีดังนี้
1 ผลการพิจารณาหรือคําวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน (เช่น ผลการประมูลโครงการ)
2 แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจําปี
3 คู่มือหรือคําสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ
4 สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชน ในการจัดทําบริการสาธารณะ
5 มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน ฯลฯ

89 ข้อใดอยู่ใน พ.ร.บ. การพิมพ์
(1) การตีพิมพ์จุลสารต้องขออนุญาต
(2) การขายแผ่นเสียงหรือซีดีต้องได้รับลิขสิทธิ์
(3) การรับโฆษณาสินค้าใดต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด
(4) ต้องส่งสิ่งพิมพ์ให้หอสมุดแห่งชาติ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 9 ระบุว่า ให้ผู้พิมพ์ส่งสิ่งพิมพ์ ตามมาตรา 8 จํานวน 2 ฉบับ ให้หอสมุดแห่งชาติภายใน 30 วัน นับแต่วันเผยแพร่

90 การพิจารณาคดีโดยใช้ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว มีข้อดีอย่างไร
(1) พิจารณาโดยผู้พิพากษาที่มีประสบการณ์
(2) พิจารณาโดยลดโทษกึ่งหนึ่งเสมอ
(3) ใช้หลักการพิทักษ์เด็ก ซึ่งกระทําผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 213, (คําบรรยาย) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 ได้ให้เหตุผลที่ ต้องแยกการพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนออกจากการพิจารณาคดีทั่ว ๆ ไปว่า เพื่อเป็น การพิทักษ์คุ้มครองเด็กและเยาวชนมิให้ถูกรังเกียจ มีปมด้อย หรือถูกตราหน้าว่าได้กระทํา ความผิดทางอาญา และเพื่อให้การช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กและเยาวชนที่อาจกระทําความผิด เนื่องจากยังไม่เจริญด้วยวุฒิภาวะ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถูกบังคับ หรือด้วยความจําเป็นบางประการ

91 ข้อใดไม่อยู่ในบทบัญญัติของกฎหมาย
(1) ห้ามบันทึกภาพของเด็กและเยาวชนที่กระทําความผิด
(2) ห้ามโฆษณาชื่อตัว ชื่อสกุลของเยาวชนนั้น
(3) ให้พิจารณาคดีในห้องพิเศษที่ไม่ใช่ห้องพิจารณาคดีธรรมดา
(4) ให้พิจารณาคดีโดยรวดเร็ว เพื่อพิทักษ์เด็กและเยาวชน
ตอบ 4 หน้า 214 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 72 ระบุว่า การพิจารณา คดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจําเลย ให้กระทําในห้องที่มิใช่ห้องพิจารณาคดีธรรมดา…. และ มาตรา 93 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดบันทึกภาพ แพร่ภาพ พิมพ์รูป หรือบันทึกเสียง แพร่เสียงของ เด็กหรือเยาวชน ซึ่งต้องหาว่ากระทําความผิด หรือโฆษณาข้อความที่อาจทําให้บุคคลอื่นรู้จักตัว ชื่อตัว ชื่อสกุล ของเด็กหรือเยาวชนนั้น หรือโฆษณาข้อความเปิดเผยประวัติการกระทําความผิด หรือสถานที่อยู่ สถานที่ทํางาน หรือสถานที่ศึกษาของเด็กหรือเยาวชนนั้น

92 ท่านใดร่าง “ประมวลจรรยามรรยาทของนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย”
(1) พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
(2) พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(3) รัชกาลที่ 5
(4) รัชกาลที่ 6

ตอบ 2 หน้า 217 – 218 พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ และนักหนังสือพิมพ์ที่มี ชื่อเสียงอีกหลายท่าน เช่น นายเฉลิม วุฒิโฆสิต, นายสถิตย์ เสมานิล, นายมาลัย ชูพินิจ, นายเสลา เลขะรุจิ ฯลฯ ได้ร่วมกันยกร่าง “ประมวลจรรยามรรยาทของนักหนังสือพิมพ์แห่ง ประเทศไทย” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2486

93 จริยธรรม คืออะไร
(1) หลักแห่งความประพฤติของนักหนังสือพิมพ์
(2) แนวการปฏิบัติของคนในวงวิชาชีพ
(3) หลักปฏิบัติที่ตราขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 217, (คําบรรยาย) สุภา ศิริมานนท์ ได้ให้ความหมายว่า จริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติหรือพฤติกรรมอันตั้งไว้ชอบ หรือความประพฤติอันถูกธรรมหรือ ความประพฤติที่เป็นธรรมของนักหนังสือพิมพ์ ส่วนฉอ้าน วุฑฒิกรรมรักษา อธิบายไว้ว่าจริยธรรมเน้นที่จิตสํานึกของบุคคลในการประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร

ข้อ 94 – 95. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
(2) สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย
(3) สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
(4) สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

94 จริยธรรมของนักวิชาชีพที่มีความเป็นสากลที่สุด
ตอบ 4 หน้า 229, (คําบรรยาย) สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ถือเป็นสถาบันที่ดูแลเรื่องจริยธรรมและ จรรยาบรรณของนักหนังสือพิมพ์ได้ดีที่สุดในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่ง วิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2541 ซึ่งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติได้ตราขึ้นนั้น ได้รับยกย่องว่า มีความครอบคลุมและเป็นสากลมากที่สุด

95 จริยธรรมของสมาคมใดใช้หลักการเดียวกับพุทธศาสนา
ตอบ 3 หน้า 227 สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้กําหนดจริยธรรมของนักหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2510 โดยใช้หลักการเดียวกับพุทธศาสนา ดังนี้
1 ความรับผิดชอบ (กิจญาณ)
2 ความมีเสรีภาพ (ปวารณา หรือธรรมาธิปไตย)
3 ความเป็นไท (ความไม่ตกเป็นทาสของอกุศลมูล)
4 ความจริงใจ (สัจจะ)
5 ความเที่ยงธรรม (ความไม่มีอคติ 4 ประการ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ)
6 ความมีใจเป็นนักกีฬา (สุปฏิบัติ)
7 ความมีมารยาท (โสเจยยะ หรืออาจารสมบัติ)

96 ข้อใดไม่ใช่จริยธรรมของหนังสือพิมพ์
(1) ไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว
(2) ไม่ลอกข่าวจากหนังสือพิมพ์อื่น
(3) เปิดโอกาสให้ผู้เสียหายได้ชี้แจงประเด็นข่าว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 229 – 230 ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2541 ของ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ข้อ 9 ระบุว่า หนังสือพิมพ์ต้องไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว, ข้อ 10 ระบุว่า เมื่อคัดลอกข้อความใดจากหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ต้องบอก ที่มาของข้อความนั้น และข้อ 11 ระบุว่า การเสนอข่าวที่มีการพาดพิง อันอาจเกิดความเสียหาย แก่บุคคลหรือองค์กรใด ๆ ต้องแสดงถึงความพยายามในการเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ถูกกล่าวหา แสดงข้อเท็จจริงด้วย

97 เหตุใดนักหนังสือพิมพ์จึงต้องมีจริยธรรม
(1) ควรจะต้องควบคุมกันเอง
(2) มีส่วนได้ส่วนเสียต่อผลประโยชน์ของสังคมมาก
(3) มีหลายแห่งทําให้ยากต่อการควบคุม
(4) เป็นวิชาชีพอิสระ
ตอบ 2 หน้า 232 ผู้ที่ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ย่อมมีส่วนได้ส่วนเสียต่อผลประโยชน์ของสังคมมาก ดังนั้นนักหนังสือพิมพ์จึงต้องมีจริยธรรมเป็นเครื่องควบคุมความประพฤติและกํากับการทํางาน ของสมาชิก โดยเมื่อมีการประพฤติผิดจริยธรรมและจรรยาบรรณก็จะมีหลักเกณฑ์การลงโทษซึ่งเป็นโทษทางสังคมมากกว่าโทษทางกฎหมาย ทั้งนี้เพราะจริยธรรมเป็นเรื่องของจิตใจ

98 ท่านใดเริ่มแนวคิดการจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์
(1) นายชวน หลีกภัย
(2) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
(3) รัชกาลที่ 6
(4) นายอานันท์ ปันยารชุน
ตอบ 2 หน้า 116 เมื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เป็นนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2518 ก็ได้เล็งเห็นถึง ความจําเป็นที่หนังสือพิมพ์จะต้องมีเสรีภาพควบคู่ไปกับความรับผิดชอบ จึงได้ร่าง พ.ร.บ. การพิมพ์ฉบับใหม่ขึ้นมา เพื่อให้เสรีภาพแก่หนังสือพิมพ์ในการควบคุมกันเองมากขึ้น ซึ่งร่าง พ.ร.บ. การพิมพ์ดังกล่าวได้เริ่มเสนอแนวคิดให้มีการจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์ (Press Council) ขึ้นมา

99 ใครเป็นประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติคนแรก
(1) นายชวน หลีกภัย
(2) นายอานันท์ ปันยารชุน
(3) นายมานิจ สุขสมจิตร
(4) นายบุญเลิศ ช้างใหญ่
ตอบ 3 หน้า 229, 232, (คําบรรยาย) สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระที่ทําหน้าที่ ควบคุมกันเอง เพื่อส่งเสริมเสรีภาพ ความรับผิดชอบ สถานภาพของผู้ประกอบวิชาชีพและ กิจการหนังสือพิมพ์ ฯลฯ โดยมีนายมานิจ สุขสมจิตร เป็นประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ คนแรก (พ.ศ. 2541)

100 ข้อใดเป็น “อกุศลมูล
(1) ใช้ภาษาและภาพที่หยาบโลน
(2) รายงานข่าวด้วยความลําเอียง
(3) รายงานข่าวโดยรับอามิสสินจ้าง
(4) รายงานข่าวโดยไม่ถือประโยชน์ของคนส่วนใหญ่
ตอบ 3 หน้า 227, (ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ) ความเป็นไท ได้แก่ ความไม่ตกเป็นทาสของใคร ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ว่าจะโดยอามิสสินจ้างอื่นใด ซึ่งตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ ความไม่ตกเป็นทาสของ “อกุศลมูล” (คําว่า “อกุศลมูล” หมายถึง การตกเป็นทาสของสิ่งใด ทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น การรายงานข่าวโดยรับอามิสสินจ้างอันมีค่าหรือผลประโยชน์อื่นใด)

 

CDM2204 MCS1250 (MCS2200) การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1250 (MCS 2200) การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดเป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์
(1) พกพาสะดวก อ่านได้ทุกที่ทุกเวลา
(2) ออกเผยแพร่สม่ําเสมอ เน้นเสนอข่าว
(3) นําเสนอข่าวสารทั้งทางกระดาษและอิเล็กทรอนิกส์
(4) บันทึกเหตุการณ์ทุกวัน เปรียบเหมือนบันทึกทางประวัติศาสตร์
ตอบ 2 หน้า 1 – 2, 5 – 6, (คําบรรยาย) คุณสมบัติที่สําคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ คือ หนังสือพิมพ์ เน้นเสนอข่าวสารเป็นหลัก และเป็นสิ่งพิมพ์ที่ออกเผยแพร่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอาจเป็นหนังสือพิมพ์รายวัน หรือไม่ใช่รายวันก็ได้

2 การติดตามข้อมูลข่าวสาร มีประโยชน์อย่างไร
(1) รู้ความเป็นไปของสังคม
(2) ช่วยในการตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ
(3) ทําให้เป็นคนใจกว้าง
(4) ทําให้เป็นคนทันสมัย
ตอบ 2 หน้า 29 (คําบรรยาย) ประโยชน์ของการติดตามข้อมูลข่าวสารนั้น นอกจากจะทําให้เรารู้ และมีส่วนร่วมในความเป็นไปของสังคมแล้ว ยังทําให้เราเป็นคนที่ทันสมัย มีความรู้ความคิด เท่าทันโลก และที่สําคัญที่สุดคือ ทําให้มีข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะต้องเป็นความจริง มีความเป็นกลาง และมีจํานวนมากพอ

3 ข้อใดไม่ใช่หนังสือพิมพ์ประชานิยม
(1) หนังสือพิมพ์มติชน
(2) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
(3) หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
(4) หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ตอบ 1 หน้า 4, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ประชานิยม (Popular Newspaper) หรือเรียกว่า หนังสือพิมพ์ปริมาณ จะมีเนื้อหาเป็นข่าวเร้าอารมณ์ (Sensational News) ซึ่งมักเป็นข่าวที่ให้ ผลตอบสนองทางอารมณ์ได้ทันที และเป็นข่าวที่คนทั่วไปสนใจตามปุถุชนวิสัย (Human Interest) ดังนั้นจึงมีจํานวนพิมพ์สูงสุดและมียอดจําหน่ายที่ค่อนข้างสูงกว่าหนังสือพิมพ์ประเภทอื่น เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, ข่าวสด, เดลินิวส์, คมชัดลึก ฯลฯ (ส่วนหนังสือพิมพ์มติชนเป็น หนังสือพิมพ์คุณภาพ)

4 เหตุใดจึงเปรียบเทียบว่าหนังสือพิมพ์เป็นกระจก
(1) หนังสือพิมพ์เสนอข่าวสารสะท้อนความจริง
(2) หนังสือพิมพ์เสนอข่าวสารสะท้อนสิ่งที่ประชาชนอยากรู้
(3) หนังสือพิมพ์เสนอข่าวสารสะท้อนมุมมองของผู้สื่อข่าว
(4) หนังสือพิมพ์เสนอข่าวสารสะท้อนการทํางานของบรรณาธิการ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์เปรียบเสมือนกระจกสะท้อนสังคม กล่าวคือ หนังสือพิมพ์มีหน้าที่หลัก ในการเสนอข่าวสารเพื่อสะท้อนความจริงในสังคม โดยข่าวสารที่นําเสนอทางหนังสือพิมพ์นั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน เที่ยงตรง และเป็นธรรม เพื่อให้ผู้อ่านได้รับทราบ เหตุการณ์ทั้งหมดอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

5 หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจ ดังนั้นต้องมีองค์ประกอบใด
(1) การลงทุน การผลิต การจําหน่าย
(2) การลงทุน การผลิต การตลาด
(3) การผลิต การจัดการ การโฆษณา
(4) การตลาด การผลิต การจัดการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจที่ต้องดําเนินการโดยเอกชนเช่นเดียวกับองค์กรทางธุรกิจ ทั่วไป ซึ่งนับว่าเป็นการลงทุนทางธุรกิจชนิดหนึ่ง โดยจะประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่
1 การลงทุน 2 การผลิต 3 การตลาด

6 ข้อใดเป็นการบริการชุมชนในหนังสือพิมพ์
(1) การ์ตูน
(2) สารคดี
(3) โฆษณา
(4) บทความ
ตอบ 3 หน้า 2, 15 การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ (To Advertise and Public Relations) ถือเป็น การบริการชุมชนอย่างหนึ่งของหนังสือพิมพ์ โดยการเป็นสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์เรื่องราวที่เป็น ประโยชน์ต่อสาธารณชน เช่น การอุทิศเนื้อที่เพื่อการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง การรับบริจาคเงิน เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุภัยพิบัติ ตลอดจนการตีพิมพ์โฆษณาทั้งโฆษณาในท้องถิ่น โฆษณาย่อย และโฆษณาทั่วไป เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ

7 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของหนังสือพิมพ์
(1) มีจ่าหน้าชื่อเดียวกัน
(2) ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ําเสมอ
(3) มีการเย็บเล่ม
(4) พัฒนามาจากสังคมที่เจริญแล้ว
ตอบ 3 หน้า 2 – 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 4 ระบุว่า หนังสือพิมพ์ หมายถึง สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน (มีชื่อเดียวกัน) และออกหรือเจตนาจะออก ตามลําดับเรื่อยไป มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม… ส่วน Encyclopedia Americana อธิบายว่า หนังสือพิมพ์ หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้เย็บเล่ม ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ําเสมอ…., Collier’s Encyclopedia กล่าวว่า หนังสือพิมพ์พัฒนา มาจากสังคมที่เจริญแล้ว…

8 ข้อใดเป็นลักษณะของข่าวหนัก (Hard News)
(1) ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
(2) ให้คุณค่าแก่ผู้อ่านในระยะยาว (Delayed Reward)
(3) ให้คุณค่าแก่ผู้อ่านอย่างรวดเร็ว (Immediate Reward)
(4) ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ขนาดมาตรฐาน
ตอบ 2 หน้า 4, 41, (คําบรรยาย) ข่าวหนัก (Hard News) คือ ข่าวที่ให้น้ําหนักต่อความสําคัญของเรื่อง มากกว่าอย่างอื่น ส่วนใหญ่มักเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์คุณภาพ ซึ่งมักจะเป็นเรื่องราวที่ให้ ผลตอบแทนหรือให้คุณค่าแก่ผู้อ่านในระยะยาว (Delayed Reward) ดังนั้นผู้อ่านจึงต้องใช้ ความรู้ความเข้าใจในการอ่านพอสมควร เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวปัญหาสังคม ฯลฯ

9 สาเหตุสําคัญที่ทําให้หนังสือพิมพ์มีหลายกรอบ ได้แก่
(1) รักษายอดขายของหนังสือพิมพ์
(2) สนองการทําข่าวตลอด 24 ชั่วโมง
(3) ตีพิมพ์ข่าวที่เกิดขึ้นล่าสุดได้
(4) เป็นนโยบายของหนังสือพิมพ์ฉบับใหญ่ ๆ
ตอบ 3 หน้า 5, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์รายวันโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ที่มียอดจําหน่ายสูง มักจะมี ข้อจํากัดในเรื่องของเวลาปิดข่าว ซึ่งผู้สื่อข่าวจะต้องเขียนข่าวให้เสร็จภายในเวลาที่กําหนด เพื่อจะได้จัดพิมพ์ให้ทันจําหน่าย ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์ของข่าวนั้นยังคงดําเนินต่อไป ดังนั้น หนังสือพิมพ์จึงอาจตีพิมพ์วันละหลายกรอบเพื่อให้สะดวกต่อการจําหน่าย เพื่อให้สามารถตีพิมพ์ข่าวที่เกิดขึ้นล่าสุดได้ และเพื่อสนองความต้องการของผู้อ่านในแต่ละพื้นที่ได้ หลากหลาย ทําให้เนื้อหาบางส่วนของหนังสือพิมพ์วันเดียวกัน แต่คนละกรอบจึงอาจแตกต่างกันได้

10 หนังสือพิมพ์ใดนิยมตีพิมพ์วันละหลายกรอบ
(1) หนังสือพิมพ์ประชานิยม
(2) หนังสือพิมพ์คุณภาพ
(3) หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก
(4) หนังสือพิมพ์ที่มียอดจําหน่ายสูง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

ข้อ 11. – 14. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) To Inform
(2) To Entertain
(3) To Advertise
(4) To Give Opinion

11 การเปิดคอลัมน์การ์ตูนล้อการเมือง
ตอบ 2 หน้า 15, 46, (คําบรรยาย) หน้าที่การให้ความบันเทิง (To Entertain) คือ การนําเสนอเนื้อหา เพื่อให้ผู้อ่านผ่อนคลายความเคร่งเครียดจากเนื้อหาหนัก ๆ ซึ่งเนื้อหาเพื่อความบันเทิงอาจ ปรากฏในรูปแบบของการ์ตูน เรื่องสั้น การนําเรื่องราวของละครโทรทัศน์มาตีพิมพ์ล่วงหน้า คอลัมน์ซุบซิบต่าง ๆ และคอลัมน์พยากรณ์ชะตาชีวิต เป็นต้น

12 หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์ข้อความและภาพดารากําลังดื่มแอลกอฮอล์
ตอบ 3 หน้า 15, 46, (คําบรรยาย) หน้าที่เป็นสื่อในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ (To Advertise and Public Relations) คือ การเป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค เพื่อให้ได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการในด้านของการโฆษณา เช่น การตีพิมพ์การรับสมัครงาน การตีพิมพ์ตารางการฉายภาพยนตร์ของโรงภาพยนตร์ การตีพิมพ์ข้อความและภาพดารากําลังดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจัดเป็นโฆษณาแฝง ฯลฯ และหน้าที่เป็นสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์เรื่องราว ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน เช่น การตีพิมพ์สารคดีส่งเสริมการท่องเที่ยว การเสนอ โครงการเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

13 การตีพิมพ์ภาพกราฟิกแสดงโรดแมปเส้นทางรัฐธรรมนูญ
ตอบ 1 หน้า 14 หน้าที่การให้ข่าวสาร (To Inform) คือ การสืบเสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน และนําเสนอให้ประชาชนได้รับทราบตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทั้งทางด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ฯลฯ โดยจะไม่วิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ เช่น ข่าว สารคดี ประกาศแจ้งความ หรืออื่น ๆ

14 ประเทศจีนเสนอให้ประเทศไทยขุดคอคอดกระ
ตอบ 4 หน้า 14, 161 – 162 หน้าที่การให้ความคิดเห็น หรือให้ข้อเสนอแนะ (To Give Opinion) คือ การวิเคราะห์และแปลความออกมาเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือให้ความเห็นต่อสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการให้คุณค่าของข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยอาจเป็นความคิดเห็นของ คนในกองบรรณาธิการหรือเป็นคนนอกก็ได้ เช่น ข่าวสัมภาษณ์ความคิดเห็นของบุคคล องค์กร หรือประเทศต่าง ๆ บทบรรณาธิการ บทวิจารณ์ บทความ คอลัมน์จดหมายจากผู้อ่านหรือ จดหมายถึงบรรณาธิการ คอลัมน์ตอบปัญหาชีวิต ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมถึงการชุมนุมหรือ ปราศรัยแสดงความคิดเห็นทางการเมือง

15 ในประเทศประชาธิปไตย หนังสือพิมพ์มักจัดองค์กรแบบใด
(1) รัฐบาลเป็นเจ้าของ
(2) เป็นบริษัทมหาชน
(3) เป็นห้างหุ้นส่วน
(4) เอกชนเป็นเจ้าของ

ตอบ 4 หน้า 11 – 12, (คําบรรยาย) การจัดองค์กรหนังสือพิมพ์ในประเทศเสรีประชาธิปไตย ส่วนใหญ่จะนิยมให้อยู่ในรูปแบบเอกชนเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งถือเป็นรูปแบบองค์กรที่ นักหนังสือพิมพ์ประสงค์ โดยแบ่งการดําเนินงานออกได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
1 เจ้าของเป็นผู้ประกอบการเองหรือเป็นกิจการของครอบครัว ซึ่งรูปแบบนี้เกิดขึ้นในสมัยแรก
2 ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ซึ่งหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบนี้กันมาก
3 บริษัทมหาชน ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ธุรกิจหนังสือพิมพ์ได้ขยายตัวขึ้นมากในปัจจุบัน

ข้อ 16. – 18 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Watchdog
(2) Gatekeeper
(3) Informer
(4) Ombudsman

16 การเตือนภัยน้ําท่วมเนื่องจากพายุฝน
ตอบ 1 หน้า 17, (คําบรรยาย) บทบาทการเป็นสุนัขยาม (Watchdog) คือ การพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ ของประชาชน โดยเฝ้าจับตาดูแลสอดส่อง/ติดตามการปฏิบัติงานของรัฐบาล เจ้าหน้าที่ และ กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น การเลี่ยงภาษี หรือการกระทํา อันไม่ถูกต้องต่าง ๆ จึงถือเป็นบทบาทที่มีผลต่อการทํางานของนักข่าวมากที่สุด เพราะต้องทํา หน้าที่เสมือนการเป็นหมาเฝ้าบ้านที่คอยจับตาและส่งเสียงเตือนภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ ที่จะส่งผลกระทบต่อสังคม เช่น เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย คลื่นยักษ์สึนามิ แผ่นดินไหว พายุรุนแรง น้ําท่วม โรคระบาด ฯลฯ

17 นักข่าวเลือกไปทําข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรีแทนที่จะทําข่าวการโยกย้ายตํารวจ
ตอบ 2 หน้า 16 บทบาทการเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) คือ การควบคุมการไหลของข่าวสาร สู่สาธารณชน โดยหนังสือพิมพ์จะมีนายทวารประจําด่านอยู่เป็นจํานวนมาก เช่น นักข่าว ช่างภาพ บรรณาธิการ ฯลฯ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง ประเมินคุณค่า และตรวจ เนื้อหาของข่าวสาร ก่อนให้นําเสนอเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ยังทําหน้าที่ตัดสินใจว่า จะเลือกทําข่าวอะไร หรือจะคัดเลือกข่าวนั้น ๆ เพื่อตีพิมพ์หรือไม่ โดยคํานึงถึงพื้นฐานของ ความถูกต้องเที่ยงตรงของข่าวสาร

18 การรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดไฟต่อเนื่อง แม้ราคาน้ํามันจะลดลง
ตอบ 4 หน้า 18, 161, 169 บทบาทการรับเรื่องราวร้องทุกข์ (Ombudsman) ได้แก่
1 การที่หนังสือพิมพ์ปฏิบัติตนเป็นแหล่งรับแจ้งเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ จากประชาชนที่ได้รับ การปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนรู้เห็น จากนั้นหนังสือพิมพ์ต้องไป สืบหาข้อมูล แล้วนํามารายงานเป็นข่าว บทความ สารคดี คอลัมน์ตอบจดหมายหรือ จดหมายถึงบรรณาธิการ ฯลฯ เพื่อทําให้สังคมมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น
2 การรณรงค์ให้สังคมดีขึ้นเมื่อสังคมหรือประเทศชาติประสบปัญหา เช่น การรณรงค์ให้ ประชาชนประหยัดน้ํามัน ประหยัดไฟ และประหยัดน้ํา, การรณรงค์ให้ช่วยบริจาคสิ่งของ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย, การตีพิมพ์ข่าวสาร บทความ เรียกร้องให้คนไทยสามัคคี ฯลฯ

19 กลุ่มใดมีบทบาทน้อยในการตัดสินใจเชิงนโยบายของสังคม
(1) กลุ่มนักศึกษา
(2) กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะ
(3) กลุ่มนักการเมือง
(4) กลุ่มข้าราชการประจํา

ตอบ 1 หน้า 19, 21, 29 กลุ่มคนที่มีบทบาทในการตัดสินใจเชิงนโยบายของสังคมจําแนกออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
1 กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะ เช่น กลุ่มลูกจ้างรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงาน กลุ่มเรียกร้องสิทธิผู้บริโภค ฯลฯ
2 กลุ่มนักการเมือง
3 กลุ่มข้าราชการประจํา

20 ข้อใดเป็นอํานาจเชิงโครงสร้างของหนังสือพิมพ์
(1) หนังสือพิมพ์เสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา
(2) หนังสือพิมพ์เข้าถึงมวลชนอันหลากหลายได้อย่างรวดเร็ว
(3) หนังสือพิมพ์ขุดคุ้ยเรื่องที่ไม่ยุติธรรมมาตีแผ่
(4) หนังสือพิมพ์มักได้รับความเกรงใจจากคนทุกกลุ่ม
ตอบ 2 หน้า 24 หนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่มีอํานาจในตัวเอง ซึ่งอํานาจนี้แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
1 อํานาจเชิงโครงสร้าง คือ หนังสือพิมพ์มีความเป็นสถาบันสาธารณะ จึงสามารถเข้าถึง มวลชน ประชาชนที่มีขนาดใหญ่และหลากหลายได้ในเวลาอันรวดเร็ว
2 อํานาจเชิงจิตวิทยา คือ หนังสือพิมพ์มีหน้าที่เสนอข่าวสารข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ไม่แอบแฝงอย่างนักการเมือง จึงมีความน่าเชื่อถือมากกว่านักการเมือง
3 อํานาจเชิงปทัสถาน คือ หนังสือพิมพ์ถูกมองว่าเป็นผู้สืบเสาะแสวงหาข่าวสารมานําเสนอ อย่างเป็นกลาง และขุดคุ้ยเรื่องที่ไม่ยุติธรรมมาตีแผ่ จึงได้รับความไว้วางใจจากสังคม

ข้อ 21. – 24. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) บทบรรณาธิการ
(2) บทปริทัศน์
(3) บทวิจารณ์
(4) สารคดี

21 บทความใดสะท้อนนโยบายของหนังสือพิมพ์
ตอบ 1 หน้า 42 – 43, 168, (คําบรรยาย) บทบรรณาธิการ (Editorial) เป็นบทความที่เขียนขึ้น เพื่อแสดงทัศนะ ความเชื่อ หรือนโยบายของหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับ มิใช่ความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จําเป็นต้องลงชื่อผู้เขียนประจํา อีกทั้งยังเป็นบทความที่สําคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ ซึ่งทําหน้าที่ให้ความรู้และความคิดเห็นในเรื่องสําคัญ ๆ ต่อสาธารณชน เพื่อสะท้อนถึงจุดยืน ของหนังสือพิมพ์ที่มีต่อเรื่องที่เขียน

22 เป็นการแสดงความเห็นและประเมินคุณค่าของสิ่งที่เขียนถึง
ตอบ 3 หน้า 44, (คําบรรยาย) บทวิจารณ์ (Criticism) หมายถึง งานเขียนที่มีการใช้ความรู้อย่างมีศิลปะ เพื่อการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของชิ้นงานต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องเป็นผู้ที่ มีความรู้ในเรื่องที่จะวิจารณ์เป็นอย่างดี โดยควรวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีจรรยาบรรณ สร้างสรรค์ และควรวิจารณ์ทั้งในแง่บวกและลบ รวมทั้งมีเหตุผลประกอบการแสดงความคิดเห็น เพื่อมุ่งให้ ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจลึกซึ้ง และสามารถพิจารณาข้อดี-ข้อเสียในชิ้นงานนั้น ๆ ได้

23 เน้นองค์ประกอบด้าน Human Interest มากกว่าความสด
ตอบ 4 หน้า 45 มาลี บุญศิริพันธ์ อธิบายว่า สารคดี (Features) คือ ข้อเขียนที่ผู้เขียนมีเจตนาเบื้องต้น
เพื่อรายงานเรื่องที่เป็นความจริง มิใช่เกิดจากจินตนาการ เรียบเรียงอย่างสละสลวย โดยเน้น องค์ประกอบด้านความสนใจของมนุษย์ (Human Interest) มากกว่าองค์ประกอบของความสด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข่าวสาร ความรู้ และในเวลาเดียวกันก็เน้นให้ผู้อ่านรู้สึกผ่อนคลายหายเครียด

24 เน้นให้ผู้อ่านรู้สึกผ่อนคลายหายเครียด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

ข้อ 25. – 28 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Official Gazette
(2) News Letters
(3) Pamphlets
(4) News Sheets

25 เป็นต้นกําเนิดของข่าวเศรษฐกิจและการค้าในหนังสือพิมพ์
ตอบ 2 หน้า 55 จดหมายเหตุการค้า (News Letters) เกิดจากพ่อค้าชาวยิวในสมัยกลางมีความคิดว่า ในการทําการค้านั้นพ่อค้าจะต้องรู้ข่าวสารบ้านเมืองควบคู่กันไป จึงมีการรวบรวมข่าวสารบ้านเมือง และข่าวการค้าขายในรูปแบบจดหมายเหตุการค้าส่งให้แก่กันและกัน โดยเน้นเพื่อประโยชน์
ทางการค้าเป็นหลัก ดังนั้นจึงถือเป็นต้นกําเนิดของข่าวเศรษฐกิจและการค้าในหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน

26 เป็นต้นกําเนิดของข่าวการเมืองในหนังสือพิมพ์
ตอบ 1 หน้า 53 – 55, (คําบรรยาย) หนังสือข่าวสารของทางราชการ (Official Gazette) ได้แก่ เอกสาร ที่รัฐบาลจากส่วนกลางเขียนหรือพิมพ์ขึ้นในลักษณะ “ใบบอกข่าว” (Acta Diurna) เพื่อใช้เป็น เครื่องมือในการเผยแพร่ข่าวสารของชนชั้นปกครอง ซึ่งนับเป็นต้นแบบหนังสือพิมพ์กําแพง (Wall Newspaper) โดยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าอาณาจักรโรมันและจีนใช้สื่อ ประเภทนี้ก่อนใคร ดังนั้นจึงจัดเป็นสื่อที่เกิดขึ้นก่อนสิ่งพิมพ์ชนิดอื่น ๆ และถือเป็นต้นกําเนิดของข่าวราชการและข่าวการเมืองในหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน

27 เป็นต้นกําเนิดของการโฆษณาในหนังสือพิมพ์
ตอบ 4 หน้า 55 ใบปลิวข่าว (News Sheets) เป็นเรื่องที่ผู้พิมพ์หรือผู้ว่าจ้างเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ แก่คนทั่วไป จึงต้องการแจ้งข่าวสารให้คนจํานวนมากได้รับรู้ โดยมักจะแจกจ่ายฟรีมากกว่าขาย ซึ่งเป็นต้นกําเนิดของการโฆษณาสินค้าในหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน

28 เป็นต้นกําเนิดของบทความและบทวิจารณ์ในหนังสือพิมพ์
ตอบ 3 หน้า 55 จุลสาร (Pamphlets) เป็นเอกสารที่มีเนื้อหาสาระเน้นหนักในด้านการวิพากษ์วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปกครองและการนับถือศาสนา โดยผู้เขียนบทความส่วนใหญ่ จะเป็นผู้มีความรู้ จึงถือเป็นต้นกําเนิดของการเขียนบทความ ได้แก่ บทบรรณาธิการ (Editorial) และบทวิจารณ์ (Criticism) ในหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน

ข้อ 29 – 31. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) John Walter I
(2) John Wilkes
(3) Rupert Murdoch
(4) William Carter

29 คนแรกในประวัติศาสตร์หนังสือพิมพ์อังกฤษที่ถูกแขวนคอเพราะใช้หนังสือพิมพ์ต่อต้านรัฐบาล
ตอบ 4 หน้า 57 ในปี ค.ศ. 1584 วิลเลี่ยม คาร์เตอร์ (William Carter) ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในบรรดาผู้ออก จุลสารต่อต้านทางราชการในยุคอํานาจนิยม ได้ถูกฝ่ายบ้านเมืองลงโทษด้วยการแขวนคอในข้อหา ตีพิมพ์จุลสารสนับสนุนนิกายต้องห้าม ดังนั้นจึงนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์หนังสือพิมพ์ของอังกฤษที่มีนักหนังสือพิมพ์ถูกสังเวยชีวิตเพื่อเสรีภาพของหนังสือพิมพ์

30 เป็นผู้เรียกร้องให้นักหนังสือพิมพ์เข้าไปรายงานข่าวการประชุมรัฐสภาได้สําเร็จ
ตอบ 2 หน้า 59 – 60 ในปี ค.ศ. 1762 จอห์น วิลค์ส (John Wilkes) ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์นอร์ธ ไบรตัน (North Briton) ได้เรียกร้องสิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ โดยขอให้รัฐบาลอังกฤษยินยอมให้ นักหนังสือพิมพ์เข้าไปฟัง (รายงาน) ข่าวการประชุมรัฐสภาเพื่อเป็นตัวแทนของประชาชน ซึ่งต่อมารัฐสภาอังกฤษต้องยินยอมทําตามข้อเรียกร้องนี้ในปี ค.ศ. 1771 จึงทําให้เขาได้รับ การยกย่องว่าเป็นสัญลักษณ์ของนักต่อสู้เพื่อเสรีภาพของหนังสือพิมพ์

31 เป็นผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ The Times
ตอบ 1 หน้า 61, (คําบรรยาย) จอห์น วอลเตอร์ที่ 1 (John Walter I) คือ ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ “The Times” ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายวันคุณภาพที่เก่าแก่ที่สุด และได้รับความเชื่อมั่นศรัทธา จากประชาชนผู้อ่านทั่วโลกไว้ได้อย่างไม่เสื่อมคลาย ทั้งนี้เพราะการประกาศนโยบายเป็นกลาง ไม่เป็นแนวร่วมกับกลุ่มการเมืองใด ทําให้ The Times ก้าวมายืนในตําแหน่งผู้นําของสื่อสิ่งพิมพ์ ที่เป็นสัญลักษณ์ของความมีจริยธรรม พร้อมกับได้รับการสรรเสริญว่า “เป็นแบบอย่างที่แท้จริง ของสิ่งที่เป็นหรือจะเป็นประชามติของชาวอังกฤษ”

32 ข้อความว่า “ถ้าหากการรายงานข่าวนั้นเป็นความจริง และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนแล้ว ไม่ถือว่า หมิ่นประมาท” สําคัญอย่างไร
(1) เป็นคดีตัวอย่างเกี่ยวกับการทํางานของหนังสือพิมพ์ที่ขัดแย้งกับรัฐบาล
(2) เป็นเนื้อหาสําคัญของกฎหมายหมิ่นประมาท
(3) เป็นก้าวแรกของการทํางานอย่างมีเสรีภาพของหนังสือพิมพ์อเมริกัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 73 ข้อความข้างต้นเป็นหลักการที่แอนดรูว์ แฮมิลตัน ทนายความชื่อดังจากฟิลาเดลเฟีย ใช้ต่อสู้คดีให้กับจอห์น ปีเตอร์ แซงเออร์ นักหนังสือพิมพ์ที่เขียนบทความโจมตีรัฐบาลอังกฤษ และถูกจับกุมตัวไปดําเนินคดีในศาล จนได้รับชัยชนะ และตั้งแต่นั้นมาการต่อสู้ในคดีตัวอย่าง เกี่ยวกับการทํางานของหนังสือพิมพ์ที่ขัดแย้งกับรัฐบาลดังกล่าวก็กลายเป็นเนื้อหาสําคัญของ กฎหมายลักษณะหมิ่นประมาทที่หนังสือพิมพ์มักประสบปัญหาอยู่เสมอ และนับเป็นก้าวแรก ที่สําคัญในการทํางานอย่างมีเสรีภาพของหนังสือพิมพ์อเมริกัน

33 Join or Die คืออะไร
(1) ภาพการ์ตูนการเมือง
(2) บทความต่อต้านรัฐบาลอังกฤษที่ปกครองชาวอเมริกัน
(3) หัวข้อข่าวที่มีชื่อเสียงในยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองของอเมริกา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 74 – 75, 168 – 169 ในปี ค.ศ. 1754 หนังสือพิมพ์ Pennsylvania Gazette ของ เบนจามิน แฟรงคลิน ได้ตีพิมพ์ภาพการ์ตูนล้อเลียนการเมืองภาพแรก เป็นภาพงูที่มีลําตัวแยกเป็น ชิ้น แต่ละชิ้นหมายถึงอาณานิคมแต่ละรัฐของอเมริกา และมีคําบรรยายเขียนว่า Join or Die ซึ่งเป็นการรณรงค์เรียกร้องให้ชาวอาณานิคมร่วมมือกันต่อต้านอังกฤษที่ปกครองชาวอเมริกัน และต้องการให้รวมอาณานิคมทั้ง 8 เข้าด้วยกัน เพื่อการปกครองตนเองของสหรัฐอเมริกา

34 Yellow Journalism คืออะไร
(1) บทความการเมืองที่มีชื่อเสียงในหนังสือพิมพ์อเมริกัน
(2) หนังสือพิมพ์ยุคขาดจรรยาบรรณ
(3) การ์ตูนล้อเลียนการเมือง
(4) การรับสินบนของหนังสือพิมพ์
ตอบ 2 หน้า 81, 83, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ยุคขาดจรรยาบรรณ (Yellow Journalism) หมายถึง การที่หนังสือพิมพ์ดําเนินการโดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งเกิดขึ้น ในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 ทั้งนี้คําว่า Yellow Journalism ยังคงใช้ต่อมา ในปัจจุบันกับหนังสือพิมพ์ที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย

35 หนังสือพิมพ์เครือข่ายเกิดขึ้นสมัยใด
(1) ยุคปลายศตวรรษที่ 18
(2) ยุคปลายศตวรรษที่ 19
(3) ยุคปลายศตวรรษที่ 20
(4) ยุคขึ้นปี ค.ศ. 2000

ตอบ 2 หน้า 84 ในช่วงปลายของยุค Yellow Journalism (ยุคปลายศตวรรษที่ 19) หนังสือพิมพ์ ก็ได้เข้าสู่ยุคหนังสือพิมพ์ลูกโซ่หรือหนังสือพิมพ์เครือข่ายเป็นครั้งแรก ได้แก่ การเป็นเจ้าของ หนังสือพิมพ์หลาย ๆ ฉบับในขณะเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะของหนังสือพิมพ์ในศตวรรษที่ 20 โดยบุคคลแรกที่ริเริ่มกิจการหนังสือพิมพ์เครือข่าย คือ สองพี่น้องตระกูล Scripps

36 The Big Three of Japan สําคัญอย่างไร
(1) ส่งเสริมความเจริญด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษาของญี่ปุ่น
(2) ส่งเสริมนโยบายการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น 3 ประการ
(3) ส่งเสริมการนําเสนอข้อมูลข่าวสารที่เที่ยงตรงอย่างกว้างขวาง
(4) ส่งเสริมนโยบายความร่วมมือกับต่างประเทศ 3 ประเภท ได้แก่ ประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศกําลังพัฒนา
และประเทศด้อยพัฒนา
ตอบ 3 หน้า 89, (คําบรรยาย) The Big Three of Japan คือ หนังสือพิมพ์ขนาดยักษ์ใหญ่ที่มี ชื่อเสียง 3 ฉบับในญี่ปุ่น ได้แก่ อาซาฮี (Asahi), ไมนิชิ (Mainichi) และโยมิอุริ (Yomiuri) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่ส่งเสริมการนําเสนอข้อมูลข่าวสารที่เที่ยงตรงอย่างกว้างขวาง

ข้อ 37. – 40. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) รัชกาลที่ 4
(2) รัชกาลที่ 5
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 7

37 มีหนังสือพิมพ์ขนาดเล็กเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
ตอบ 4 หน้า 110 – 111 วิวัฒนาการของกิจการหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 มีดังนี้ 1. มีหนังสือพิมพ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า แทบลอยด์ (Tabloid) 2. มีการพาดหัวข่าวสําคัญ ในหน้าแรก 3. มีการเขียนวรรคนํา (Lead) 4. เริ่มมีภาพประกอบทั้งภาพถ่าย ภาพล้อ และการ์ตูน 5. มีการสัมภาษณ์เพื่อนํามาเขียนข่าวเป็นครั้งแรกของหนังสือพิมพ์ไทย

38 มีสิ่งพิมพ์ด้านนิตยสารเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
ตอบ 2 หน้า 105 – 106 กิจการหนังสือเล่มที่เรียกว่า “นิตยสาร” (Magazine) เริ่มมีขึ้นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนิตยสารซึ่งเป็นที่รู้จักกันในสมัยนั้น ได้แก่ จดหมายเหตุแสงอรุณ ยุทธโกฐิ ธรรมจักษุ ธรรมศาสตร์วินิจฉัย นารีรมย์ วิทยาจารย์ และเทศาภิบาล

39 ทรงเคยเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์
ตอบ 1 หน้า 102 – 103 ในปี พ.ศ. 2401 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้มีการออกหนังสือพิมพ์ของ คนไทยเป็นครั้งแรกชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา” เป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ที่ตีพิมพ์แจกจ่ายใน วงราชการและราษฎร โดยพระองค์ทรงเป็นบรรณาธิการเอง แต่ออกได้แค่ปีเดียวก็ต้องเลิกไป และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทําซ้ําขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2417 โดยให้ออกเป็นรายสัปดาห์

40 กฎหมายการพิมพ์ฉบับแรกของไทยถูกตราขึ้นในสมัยใด
ตอบ 3 หน้า 109, 112 รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ตรา พ.ร.บ. ว่าด้วยสมุด เอกสาร และหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2465 ขึ้นเป็น พ.ร.บ. การพิมพ์หรือกฎหมายการพิมพ์ฉบับแรกของไทย เพื่อจะได้ทราบ จํานวนและเจ้าของหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้เพราะสมัยนั้นมีหนังสือพิมพ์ออกมาเป็นจํานวนมากทําให้ยาก ต่อการควบคุมดูแล โดยบางฉบับตีพิมพ์ข่าวรุนแรงเกินกว่าเหตุแต่ไม่สามารถหาตัวบรรณาธิการได้ ดังนั้นจึงนับว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้สามารถควบคุมดูแลหนังสือพิมพ์ได้ในระดับหนึ่ง

41 หนังสือพิมพ์ไทยยุคใดที่กฎหมายให้เซ็นเซอร์หนังสือพิมพ์ได้
(1) ยุคก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย
(2) ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
(3) ยุคเริ่มต้นเสรีภาพ
(4) ยุคสําลักเสรีภาพ
ตอบ 2 หน้า 117, (คําบรรยาย) ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2519 – 2522 นับได้ว่าเป็นยุคมืด ของวงการหนังสือพิมพ์อีกครั้งหนึ่ง เพราะมีคําสั่งห้ามการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ทุกฉบับ เป็นเวลา 5 วัน นอกจากนี้ยังมีการประกาศใช้ ปร.42 เพื่อควบคุมการทํางานของหนังสือพิมพ์ โดยตรง และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข่าวสาร เพื่อตรวจข่าว (เซ็นเซอร์) หนังสือพิมพ์

42 ใครเป็นผู้รับผิดชอบต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์
(1) บรรณาธิการใหญ่
(2) เจ้าของ, ผู้ลงทุน
(3) บรรณาธิการบริหาร
(4) หุ้นส่วน, ผู้ลงทุน
ตอบ 1 หน้า 120, 127 บรรณาธิการใหญ่ (Editor-in-Chief) ถือเป็นตําแหน่งบริหารสูงสุดของ องค์กรหนังสือพิมพ์ ซึ่งจะรับผิดชอบดูแลด้านการวางนโยบายของหนังสือพิมพ์ วางแผนธุรกิจ กําหนดทิศทางของหนังสือพิมพ์ และมีอํานาจหน้าที่สั่งการควบคุมทุกหน่วยงานในองค์กร หนังสือพิมพ์ให้สามารถอยู่รอดทางด้านธุรกิจ โดยที่ยังคงสามารถนําเสนอเนื้อหาที่ดีได้

43 ตามสายการเดินทางของข่าวบันเทิง ขั้นตอนสุดท้ายของงานคืออะไร
(1) ประชุมกองบรรณาธิการ
(2) จัดจําหน่ายหนังสือพิมพ์
(3) จัดหน้าหนังสือพิมพ์
(4) พาดหัวข่าว
ตอบ 2 หน้า 132, 136 – 137 ตามสายการเดินทางของข่าวอื่น ๆ เช่น ข่าวการเมือง ข่าวสังคม ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวกีฬา ข่าวบันเทิง ฯลฯ จะมีขั้นตอนการทํางานที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
1 ผู้สื่อข่าวออกไปสื่อข่าว หรือบรรณาธิการรับข่าวจากผู้สื่อข่าว สํานักข่าว หรือจากสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
2 บรรณาธิการข่าวนั้น ๆ คัดเลือก รวบรวม เรียบเรียงข่าว ฯลฯ
3 ประชุมข่าว บรรณาธิกรณ์ข่าว
4 บรรณาธิการจัดหน้า
5 ฝ่ายผลิต
6 ฝ่ายจัดจําหน่ายหนังสือพิมพ์

44 ตามสายการเดินทางของข่าวกีฬา ขั้นตอนแรกของงานได้แก่
(1) ประชุมกองบรรณาธิการ
(2) บ.ก. รับข่าวจากผู้สื่อข่าว
(3) การออกไปสื่อข่าว
(4) พาดหัวข่าว

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

ข้อ 45. – 49.จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) สารคดี โฆษณา
(2) บทความ จดหมายจากผู้อ่าน
(3) การ์ตูนล้อการเมือง เสียงจากหนังสือพิมพ์อื่น
(4) ภาพข่าว โฆษณา

45 ข้อใดควรจัดไว้หน้า 1
ตอบ 4 หน้า 145 – 148 หน้าแรกหรือหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ (เปรียบเสมือนปก) ถือเป็นหน้าสําคัญ ที่มีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์มากที่สุด โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1 ชื่อหนังสือพิมพ์
2 ส่วนข้างหัวหนังสือพิมพ์ (Ears)
3 ข่าว (ถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญที่สุด)
4 ภาพข่าว
5 สารบัญข่าว
6 โฆษณา
7 คอลัมน์ประจํา (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) เช่น จดหมายเปิดผนึก ตอบปัญหา หรือคอลัมน์ส่วนตัว ของบรรณาธิการ

46 ข้อใดควรจัดไว้หน้าบรรณาธิการ
ตอบ 3 หน้า 167 – 170 หน้าบรรณาธิการ มักจะสะท้อนถึงนโยบายของหนังสือพิมพ์ได้ดีที่สุด ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1 บทบรรณาธิการ
2 ภาพล้อ (Editorial Cartoon) เช่น ภาพการ์ตูนล้อการเมือง ฯลฯ
3 จดหมายถึงบรรณาธิการ
4 เสียงจากหนังสือพิมพ์อื่น (Press Digest)
5 องค์ประกอบเบ็ดเตล็ด ได้แก่ ข่าว โคลงกลอน ตลกขําขัน การ์ตูนที่เป็นเรื่องสั้น ๆ (Comic Strips) โฆษณา และบทความแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ เป็นต้น

47 ข้อใดควรจัดไว้หน้าตรงข้ามหน้าบรรณาธิการ
ตอบ 2 หน้า 161, 171 หน้าพิมพ์ที่อยู่ตรงข้ามหน้าบรรณาธิการ เรียกว่า Op-ed (Opposite Editorial Page) จะเป็นหน้าซ้ําที่มีลักษณะเหมือนกับหน้าบรรณาธิการทุกประการ ดังนั้นข้อเขียนที่ ควรจัดไว้ในหน้านี้ ซึ่งเป็นหน้าที่เกี่ยวกับเวทีทัศนะ ได้แก่ บทความ และจดหมายจากผู้อ่าน ที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น

48 ข้อใดควรจัดไว้หน้าใน
ตอบ 1 หน้า 159 – 162 องค์ประกอบของหน้าใน มีดังนี้
1 โฆษณา
2 ภาพ
3 หัวเรื่อง
4 คอลัมน์ต่าง ๆ เช่น คอลัมน์วิเคราะห์ข่าว บทความ สารคดี แนะนํา ขําขัน ข่าวสังคม ฯลฯ ๆ

49 ข้อใดมีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์มากที่สุด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

50 ธุรกิจหนังสือพิมพ์แตกต่างจากธุรกิจอื่นในข้อใด
(1) หนังสือพิมพ์มุ่งขายข่าวสาร ธุรกิจขายสินค้า
(2) หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม
(3) หนังสือพิมพ์ต้องมีความเป็นกลาง
(4) หนังสือพิมพ์มีอิทธิพลต่อผู้อ่าน
ตอบ 1 หน้า 119 หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ โดยทั่วไป ในด้านของตัวสินค้าที่เสนอขายแก่ประชาชน คือ หนังสือพิมพ์มุ่งขายข่าวสาร ส่วนธุรกิจ จะมุ่งขายสินค้า ทั้งนี้เพราะการที่ผู้อ่านหรือลูกค้าซื้อหนังสือพิมพ์ก็เพื่อรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ ทั้งข่าว บทความ สารคดี บทวิจารณ์ ฯลฯ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของผู้รับสาร ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

51 คอลัมน์ คืออะไร
(1) การแบ่งพื้นที่ของหนังสือพิมพ์ตามแนวนอน
(2) การแบ่งพื้นที่ของหนังสือพิมพ์ตามแนวตั้ง
(3) การจัดภาพลงบนพื้นที่ที่กําหนด
(4) การจัดเรื่องลงบนพื้นที่ที่กําหนด
ตอบ 2 หน้า 139 – 140, (คําบรรยาย) คอลัมน์ คือ การแบ่งพื้นที่ของหนังสือพิมพ์ตามแนวตั้ง โดยจะแบ่งข้อความออกเป็นช่วง ๆ ซึ่งแต่ละช่วงจะกว้างเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ที่คิดจากความสะดวกในการอ่านและการจัดหน้าเป็นหลัก ดังนั้นคอลัมน์จึงมีความสําคัญ ตรงที่ทําให้หนังสือพิมพ์สามารถจัดเรื่องลงบนพื้นที่ที่กําหนดได้ง่ายขึ้น

52 ข้อใดไม่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบรรณาธิการ
(1) การจัดหน้า
(2) การเรียงพิมพ์
(3) การพาดหัวข่าว
(4) การพิสูจน์อักษร

ตอบ 2 หน้า 120 – 121, 124 – 125 ฝ่ายบรรณาธิการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องราวสําหรับอ่าน ซึ่งปรากฏตีพิมพ์บนหน้าหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับ นอกจากนี้ยังดูแลการใช้ภาพ การถ่ายภาพข่าว การใช้ขนาดและแบบของตัวอักษร การพาดหัวข่าว การพิสูจน์อักษรหรือตรวจปรู๊ฟ การจัดหน้า และการออกระเบียบการทํางานของผู้สื่อข่าว ฯลฯ ซึ่งเมื่อฝ่ายบรรณาธิการเตรียมต้นฉบับ เสร็จแล้วก็จะส่งให้กับฝ่ายผลิตเพื่อดําเนินการเรียงพิมพ์และจัดพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือพิมพ์ จากนั้นฝ่ายจัดการจะรับผิดชอบด้านธุรกิจในการจัดจําหน่ายต่อไป

53 ข้อใดไม่จําเป็นต้องอยู่ในห้องข่าว
(1) โต๊ะข่าวกีฬา
(2) ห้องบรรณาธิการ
(3) ห้องภาพ
(4) ห้องสมุด
ตอบ 4 หน้า 124 – 125, (คําบรรยาย) ห้องข่าว (News Room) หรือฝ่ายข่าว เป็นห้องที่เตรียมข่าวสาร และมีกิจกรรมการสื่อข่าวทุกประเภท มีการพิมพ์งาน ตลอดจนการติดต่อสื่อสารและรับข่าวจาก ผู้ที่ไปสื่อข่าวภายนอก ประกอบด้วย โต๊ะข่าวต่าง ๆ (Copydesk) ห้องบรรณาธิการ (Editorial Room) และห้องภาพ (Picture Division) ร่วมประสานงานอย่างใกล้ชิดภายในห้องเดียวกัน (ส่วนห้องสมุดจะเป็นสถานที่เก็บข่าวหรือหลักฐานที่ใช้แล้ว ซึ่งแยกออกไปอย่างเอกเทศ)

54 ผู้ใดไม่จําเป็นต้องประชุมกองบรรณาธิการ
(1) บรรณาธิการบริหาร
(2) บรรณาธิการข่าว
(3) บรรณาธิการโต๊ะข่าว
(4) ผู้สื่อข่าว
ตอบ 1 หน้า 133, 137, (คําบรรยาย) การประชุมข่าวหรือการประชุมกองบรรณาธิการ ถือเป็นขั้นตอนที่สําคัญที่สุดตามสายการเดินทางของข่าวทุกประเภท ซึ่งจะประกอบด้วย หัวหน้ากองบรรณาธิการ เป็นประธานโดยหน้าที่ พร้อมด้วยบรรณาธิการข่าว บรรณาธิการโต๊ะข่าวต่าง ๆ บรรณาธิการภาพ หัวหน้าฝ่ายจัดหน้า รวมทั้งผู้สื่อข่าวที่เกี่ยวข้อง เข้าประชุมเพื่อคัดเลือกข่าวสําคัญ โดยมี วัตถุประสงค์ คือ
1 คัดเลือกข่าวหน้าหนึ่ง (ถือเป็นวัตถุประสงค์หลักในการประชุม)
2 พิจารณาจัดลําดับความสําคัญของข่าว ให้แง่คิดในการติดตามข่าว
3 วิเคราะห์แง่มุม ประเด็นข่าว และเสนอแนะ
4 พิจารณาเรื่องการเขียนบทบรรณาธิการ

55 โต๊ะข่าวใดมีขนาดใหญ่ที่สุด
(1) โต๊ะข่าวเศรษฐกิจ
(2) โต๊ะข่าวการเมือง
(3) โต๊ะข่าวกีฬา
(4) โต๊ะข่าวในประเทศ
ตอบ 4 หน้า 127, 134 หนังสือพิมพ์จะให้ความสําคัญต่อโต๊ะข่าวในประเทศหรือโต๊ะข่าวหน้า 1 มากที่สุด กล่าวคือ เมื่อโต๊ะข่าวต่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ฯลฯ มีข่าวใดซึ่งกําลังได้รับ ความสนใจจากประชาชนมากที่สุด ก็จะส่งมายังโต๊ะข่าวในประเทศเพื่อประชุมข่าวและพิจารณา ตีพิมพ์ต่อไป ดังนั้นจึงถือว่าโต๊ะข่าวในประเทศมีความสําคัญมากที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุด

56 งานใดมิได้อยู่ในฝ่ายจัดการ
(1) การจัดจําหน่ายหนังสือพิมพ์
(2) การรับงานพิมพ์จากภายนอก
(3) การขอโฆษณา
(4) การออกระเบียบการทํางานของผู้สื่อข่าว
ตอบ 4 หน้า 123, (คําบรรยาย) งานที่สําคัญของฝ่ายจัดการมี 2 ด้านใหญ่ ๆ ได้แก่
1 งานด้านบริหาร-ธุรการ เช่น งานบริหารบุคลากร งานการเงิน บัญชี งานพัสดุ ฯลฯ
2 งานด้านธุรกิจ เช่น งานจัดจําหน่ายหนังสือพิมพ์ และงานโฆษณา (การขอโฆษณาถือเป็น งานที่สําคัญที่สุดของฝ่ายจัดการ เพราะเป็นแหล่งรายได้หลักที่สําคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์) รวมทั้งงานการพิมพ์ ซึ่งเป็นการรับงานพิมพ์จากภายนอกในช่วงที่เครื่องพิมพ์ว่างเว้นจาก การพิมพ์หนังสือพิมพ์ ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ)

ข้อ 57. – 61. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การจัดหน้าแนวนอน
(2) การจัดหน้าสมดุลแตกต่าง
(3) การจัดหน้าแบบเน้นจุดสนใจ
(4) การจัดหน้าแบบไร้ระเบียบ

57 จัดหน้าง่ายที่สุด
ตอบ 1 หน้า 149 – 150 การจัดหน้าแบบแนวนอน (Horizontal) เป็นการจัดวางหัวข่าวให้ยาว ตลอดหน้าหรือหลายคอลัมน์ตามขวางของหน้า ซึ่งมีประโยชน์หลายประการ เช่น จัดหน้า ได้ง่ายที่สุด สามารถพาดหัวข่าวที่ดึงดูดใจผู้อ่าน ใช้ตัวอักษรด้วยขนาดและแบบต่าง ๆ กัน ได้หลายแบบหลายขนาด นอกจากนี้สิ่งที่สําคัญ คือ สามารถจัดระดับข่าวและองค์ประกอบ ต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าการจัดหน้าแบบแนวดิ่ง

58 นิยมใช้ในการจัดหน้ามากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 150 การจัดหน้าแบบสมดุลแตกต่าง (Informal Balance) เป็นวิธีการจัดหน้าที่ นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะสามารถเน้นความแตกต่างในสาระสําคัญของข่าวได้อย่างชัดเจน ทําให้หนังสือพิมพ์ดูมีชีวิตชีวา น่าตื่นเต้น มีความหลากหลายในการเสนอข่าว และสามารถ เร้าความสนใจได้มากกว่าการจัดหน้าแบบสมดุลแท้จริง ซึ่งจะดูเรียบเกินไป

59 ใช้จัดหน้ากรณีมีข่าวโดดเด่นมาก ๆ เพียงข่าวเดียว
ตอบ 3 หน้า 150 – 151 การจัดหน้าแบบเน้นจุดสนใจ (Brace หรือ Focus) มักใช้ในกรณีมีข่าวใหญ่ ที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ หรือข่าวใดข่าวหนึ่งมีความสําคัญและโดดเด่นมากกว่าข่าวอื่น ๆ ในหน้าเดียวกัน ซึ่งควรกําหนดวางหัวข่าวใหญ่ไว้ที่มุมบนขวามือหรือมุมบนซ้ายมือ เพื่อดึงดูด ความสนใจและเน้นความสําคัญของข่าว จากนั้นจึงเสริมด้วยภาพหรือข่าวอื่นที่มีความสําคัญน้อยลงมา โดยจัดวางตําแหน่งของข่าวให้ลดหลั่นลงมาในรูปแบบขั้นบันไดตามแนวเส้นทแยงมุม

60 ใช้จัดหน้ากรณีมีข่าวโดดเด่นหลาย ๆ ข่าว
ตอบ 4 หน้า 151 การจัดหน้าแบบไร้ระเบียบหรือแบบละครสัตว์ (Broken หรือ Circus) เป็นการจัดหน้า ที่ค่อนข้างตามสบาย ไม่มีรูปแบบกฎเกณฑ์ตายตัว ใช้ลักษณะการพาดหัวข่าวและจัดคอลัมน์ ให้มีความหลากหลายในหน้าเดียวกัน ซึ่งอาจสับสนบ้างแต่ก็ดึงดูดความสนใจจากผู้อ่านได้มาก ทั้งนี้มักใช้ในกรณีที่มีข่าวโดดเด่นหลาย ๆ ข่าว โดยถือว่าข่าวทุกข่าวนั้นมีความสําคัญเท่าเทียมกัน

61 ใช้ตัวอักษรได้หลายแบบหลายขนาด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 57 ประกอบ

62 ผู้ใดทําหน้าที่ตรวจความถูกต้องของข้อเท็จจริงในข่าว
(1) Editor
(2) Copy Reader
(3) Proof Reader
(4) Reporter
ตอบ 2 หน้า 124 – 125, 132 ผู้ตรวจข่าว (Copy Reader) หรือบรรณาธิการต้นฉบับ จะทําหน้าที่ เป็นผู้ตรวจทานข่าวต่อจากบรรณาธิการข่าวอีกครั้งหนึ่ง โดยตรวจทานการใช้คํา การใช้ภาษา และตัวสะกดให้ถูกต้อง นอกจากนี้ยังทําหน้าที่สืบค้นและตรวจความถูกต้องของข้อเท็จจริงในข่าว ตกแต่งต้นฉบับ และเขียนพาดหัวข่าวประกอบข่าวทุกข่าวที่จะตีพิมพ์ ฯลฯ

63 หน่วยงานใดมีบุคลากรในกองบรรณาธิการน้อยที่สุด
(1) หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
(2) หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก
(3) หนังสือพิมพ์เฉพาะประเภท
(4) หนังสือพิมพ์ฝึกหัดของสถาบันการศึกษา

ตอบ 1 หน้า 124 – 126 บุคลากรของฝ่ายบรรณาธิการ เช่น ห้องข่าว โต๊ะข่าว ฯลฯ จะมีจํานวนมาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดของหนังสือพิมพ์ กล่าวคือ หนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่จะแบ่งบุคลากรใน กองบรรณาธิการมากที่สุด ส่วนหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์จะมีบุคลากรในกองบรรณาธิการน้อยที่สุด โดยจะมีบุคลากรเพียงผู้พิมพ์ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว (อาจมีเพียงคนเดียวหรือสองคน) เท่านั้น

64 หลักการใดไม่ใช่การจัดหน้าในของหนังสือพิมพ์
(1) การจัดแบบพีระมิดซีกขวา
(2) การจัดแบบพีระมิดซีกซ้าย
(3) การจัดแบบ Well หน้าเดี่ยว
(4) การจัดแบบ Well สองหน้าคู่
ตอบ 2 หน้า 164 – 167, (คําบรรยาย) หลักการจัดหน้าในหรือการจัดหน้าโฆษณาของหนังสือพิมพ์ มีดังนี้
1 แบบพีระมิดครึ่งซีกด้านขวา (Pyramided to the Right)
2 แบบ Well หน้าเดี่ยว
3 แบบ Well สองหน้าคู่
4 แบบ Island (แบบเกาะ)
5 แบบแนวนอนล่าง
6 แบบพีระมิดสองด้านหรือสองซีก (Double Pyramid)

65 หลักการจัดหน้าบรรณาธิการข้อใดสําคัญที่สุด
(1) ความสวยงาม
(2) ความสมดุล
(3) ความเด่น
(4) ความหลากหลาย
ตอบ 2 หน้า 171 – 172 รูปแบบการจัดหน้าบรรณาธิการควรใช้หลักการทางศิลปะควบคู่กับหลักการ ทางวารสารศาสตร์เช่นเดียวกับการจัดหน้าอื่น ๆ คือ 1. การใช้หลักความสมดุล ซึ่งนิยมให้ หน้าพิมพ์สมดุลแบบไม่เท่ากัน (Informat Balance) 2. การลําดับความสําคัญของเรื่อง

66 ฝ่ายใดเป็นผู้จัดชั้นโฆษณาลงบนหน้าพิมพ์
(1) ฝ่ายบรรณาธิการ
(2) ฝ่ายศิลป์
(3) ฝ่ายผลิต
(4) ฝ่ายจัดการ
ตอบ 4 หน้า 123, 163, (ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ) การจัดวางชิ้นงานโฆษณาลงบนหน้าพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของฝ่ายโฆษณา ซึ่งอยู่ในส่วนของฝ่ายจัดการมากกว่าจะเป็นหน้าที่ของ ฝ่ายบรรณาธิการโดยตรง ทั้งนี้ฝ่ายโฆษณามักจะจัดหน้าในส่วนของโฆษณาให้มีเนื้อที่เหมาะสม สําหรับตีพิมพ์ข่าวอยู่แล้ว แต่หากจําเป็นต้องมีการปรับ บรรณาธิการฝ่ายจัดหน้าจะเป็น ผู้ประสานงานกับฝ่ายโฆษณาต่อไป

67 หน้าใดไม่นิยมให้มีโฆษณา
(1) หน้าบรรณาธิการ
(2) หน้ากลาง
(3) หน้าใน
(4) หน้าสุดท้าย
ตอบ 1 หน้า 171 หนังสือพิมพ์ไม่นิยมให้มีโฆษณาในหน้าบรรณาธิการ แต่ถ้าจําเป็นต้องมีก็ควรจัด
ตําแหน่งให้อยู่ครึ่งล่างของหน้าพิมพ์ โดยควรหลีกเลี่ยงโฆษณาขนาดใหญ่ที่มีความเด่นมาก ๆ และควรเป็นโฆษณาที่ปราศจากภาพถ่ายหรือภาพเขียนที่มีความเข้มหรือดําจัด ทั้งนี้เพื่อมิให้ โฆษณาเด่นกว่าข้อความอื่น ๆ ของหน้า ๆ

68 โต๊ะข่าวใดมีบุคลากรน้อยที่สุด
(1) โต๊ะข่าวการเมือง
(2) โต๊ะข่าวสังคม
(3) โต๊ะข่าวเศรษฐกิจ
(4) โต๊ะข่าวต่างประเทศ
ตอบ 4 หน้า 128, (คําบรรยาย) โต๊ะข่าวต่างประเทศจะมีบุคลากรน้อยที่สุด เพราะข่าวต่างประเทศ ส่วนใหญ่ได้มาจากการเป็นสมาชิกสํานักข่าว ซึ่งจะส่งข่าวให้สมาชิกผ่านทางโทรพิมพ์หรือการสื่อสารดาวเทียม นอกจากนี้แหล่งข่าวต่างประเทศอาจได้มาจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารต่างประเทศ ส่วนการมีผู้สื่อข่าวประจําในต่างประเทศจะมีค่าใช้จ่ายสูง นอกจากกรณี ที่เป็นข่าวใหญ่และสําคัญมากจริง ๆ หนังสือพิมพ์อาจส่งผู้สื่อข่าวไปทําข่าวต่างประเทศที่ตนสนใจ

69 Size คืออะไร
(1) แบบของพาดหัวข่าว
(2) ขนาดของพื้นที่สําหรับหัวข่าว
(3) ขนาดของตัวอักษร
(4) ขนาดของคอลัมน์
ตอบ 3หน้า 176 – 177 Size คือ ขนาดของตัวอักษร ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นพอยท์หรือปอยท์ (Point) โดยการวัดพื้นที่ของตัวพิมพ์จะวัดจากด้านบนถึงฐาน (ความสูงของตัวพิมพ์) ซึ่ง 1 พอยท์ จะมีค่าเท่ากับ 1/72 นิ้ว ดังนั้นตัวอักษรขนาด 72 พอยท์ จึงสูง 1 นิ้ว (2.54 ซม.)

70 ข้อใดไม่ใช่แบบของตัวอักษร
(1) ตัวหนา
(2) ตัวเอียง
(3) ตัวยก
(4) ตัวธรรมดา
ตอบ 3หน้า 175, 179, (คําบรรยาย) แบบของตัวอักษรที่ใช้พิมพ์ (Font) ได้แก่ รูปร่างลักษณะของ ตัวอักษรที่เกิดจากการออกแบบ ซึ่งปัจจุบันหนังสือพิมพ์มักนิยมจัดหน้าโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมบรรจุแบบของตัวอักษรที่มีอยู่มากมายหลายแบบและตั้งชื่อไว้ต่าง ๆ กัน เช่น Angsana UPC, Cordia UPC ฯลฯ โดยแต่ละแบบจะมีทั้งตัวธรรมดา (มักใช้กับเนื้อข่าว) ตัวหนา (มักใช้กับพาดหัวข่าวและความนํา) และตัวเอียง (ตัวเอน)

71 ข้อใดเป็นหน่วยวัดขนาดของตัวอักษร
(1) ไพก้า (Pica)
(2) พอยท์ (Point)
(3) นิ้ว
(4) เซนติเมตร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ

72 งานหลักของ Rewriter คือข้อใด
(1) ช่วยบรรณาธิการตรวจข่าว และเรียบเรียงข่าวใหม่
(2) เขียนพาดหัวข่าว
(3) เขียนข่าวที่มีผู้ส่งมาจากภายนอกสํานักงาน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 131 ผู้เรียบเรียงข่าว (Rewriter) คือ ผู้ที่อยู่ประจําสํานักพิมพ์เพื่อทําหน้าที่เรียบเรียงข่าว ที่ส่งเข้ามาจากภายนอกสํานักงาน โดยจะเขียนข่าวให้อยู่ในรูปแบบของข่าวก่อนส่งไปพิมพ์ทั้งนี้ผู้เรียบเรียงข่าวมักจะเป็นผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในการสื่อข่าวมาก่อน จึงทําให้สามารถจับประเด็นข่าวได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

73 ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของการวางภาพไว้ด้านล่างของหน้าพิมพ์
(1) สะดวกต่อการจัดหน้า
(2) สามารถพิมพ์ภาพเพิ่มได้ง่าย กรณีมีภาพจํานวนมาก
(3) ช่วยกระจายความน่าสนใจของหน้าหนังสือพิมพ์
(4) แล้วแต่นโยบายของฝ่ายจัดหน้า
ตอบ 3 หน้า 160 การจัดวางภาพไว้ตรงส่วนล่างของหน้าพิมพ์จะทําให้เกิดความสมดุล เป็นการเฉลี่ย ความสนใจไปทั่วหน้าพิมพ์ และยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงโฆษณาอีกด้วย เพราะภาพจะช่วย ดึงสายตาของผู้อ่านไปยังโฆษณาหรือบริเวณใกล้เคียงกับโฆษณาตรงส่วนล่างได้เป็นอย่างดี

74 การจัดหน้าแบบใดได้รับความนิยมมากที่สุด
(1) จัดหน้าแนวดิ่ง
(2) จัดหน้าแนวนอน
(3) จัดหน้าสมดุลเท่ากัน
(4) จัดหน้าสมดุลแตกต่าง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ

75 คอลัมน์แบบเปิดมีประโยชน์อย่างไร
(1) แบ่งข้อความได้อย่างเป็นสัดส่วน
(3) จัดง่ายกว่าคอลัมน์แบบปิด
(2) จัดข้อความเป็นรูปแท่งสี่เหลี่ยมได้ง่าย
(4) ดูโปร่ง สบายตา น่าอ่าน

ตอบ 4 หน้า 149, (คําบรรยาย) การจัดรูปแบบคอลัมน์ แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
1 คอลัมน์แบบเปิด (Open Format) คือ การใช้พื้นที่ว่างสีขาว (ช่องไฟหรือเนื้อที่ข่าว) เป็นแนวกั้นหรือแยกระหว่างคอลัมน์โดยไม่มีเส้นคั่น ซึ่งมีข้อดีคือ ทําให้ดูโปร่ง สบายตา และน่าอ่าน ส่วนข้อเสียคือ การจัดเนื้อที่ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ทําให้จัดหน้าได้ยาก และ อาจทําให้ผู้อ่านหลงข่าวได้
2 คอลัมน์แบบปิด (Close Format) คือ การใช้เส้นตรงบาง ๆ เป็นแนวกั้นระหว่างคอลัมน์ ซึ่งมีข้อดีคือ ทําให้แบ่งข้อความได้อย่างเป็นสัดส่วน หรือแยกเนื้อหาต่าง ๆ ได้ชัดเจน จึงจัดหน้า ได้ง่ายกว่า ส่วนข้อเสียคือ จะดูแน่นและรกตา จึงมักใช้กับเนื้อความสั้น ๆ ที่ไม่ละเอียดมากนัก

76 ข้อใดสามารถสร้างเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ได้ดีที่สุด
(1) วิธีการจัดหน้า
(2) ขนาดของหนังสือพิมพ์
(3) คําขวัญของหนังสือพิมพ์
(4) ชื่อหนังสือพิมพ์
ตอบ 1หน้า 141 เอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์จะเกิดขึ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏบนหน้าพิมพ์
เพื่อให้ผู้อ่านเคยชินและจําหนังสือพิมพ์ได้ โดยที่ผู้อ่านไม่จําเป็นต้องดูชื่อหนังสือพิมพ์ ได้แก่ ขนาดของหนังสือพิมพ์ (มีผลต่อเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์น้อยที่สุด) จํานวนหน้า รูปแบบของ ตัวอักษร สี แนวของภาพที่เสนอ แนวของถ้อยคําที่ใช้พาดหัวข่าว และที่สําคัญคือ รูปแบบหรือ วิธีการจัดหน้า ซึ่งสามารถสร้างเอกลักษณ์ได้ดีที่สุด เพราะหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับนั้นจะมีแนวการจัดหน้าของตนเองโดยเฉพาะ

77 หนังสือพิมพ์มติชน จัดหน้าแบบกี่คอลัมน์
(1) 8 คอลัมน์
(2) 10 คอลัมน์
(3) 11 คอลัมน์
(4) 12 คอลัมน์
ตอบ 4 หน้า 139, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ (Full Size) หรือหนังสือพิมพ์มาตรฐาน (Standard Size) จะมีจํานวนคอลัมน์มาก (8 – 12 คอลัมน์) เช่น หนังสือพิมพ์มติชน แบ่งหน้าพิมพ์เป็น 12 คอลัมน์ ฯลฯ ส่วนหนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (Tabloid) จะมีจํานวน คอลัมน์น้อยกว่า (4 – 8 คอลัมน์) เช่น หนังสือพิมพ์ฝึกหัดอาร์ยูนิวส์ (RU News) และ หนังสือพิมพ์ข่าวรามคําแหง แบ่งหน้าพิมพ์เป็น 6 คอลัมน์ ฯลฯ

78 ข้อใดจัดวางตําแหน่งชื่อของหนังสือพิมพ์แบบคงที่
(1) ไทยรัฐ
(2) มติชน
(3) สยามรัฐ
(4) เดลินิวส์
ตอบ 3 หน้า 146, (คําบรรยาย) ชื่อหนังสือพิมพ์ (Name Plate) เปรียบเสมือนเครื่องหมายการค้า ซึ่งต้องการให้เป็นที่รู้จัก เป็นที่จดจํา และสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ โดยสามารถ จัดได้ 2 รูปแบบ คือ
1 แบบคงที่ เป็นการวางชื่อหนังสือพิมพ์ที่เดิมทุกวัน ๆ เช่น หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ไทยโพสต์ โพสต์ทูเดย์ ฯลฯ
2 แบบไม่คงที่ เป็นการเปลี่ยนที่วางชื่อหนังสือพิมพ์ไปทุกวัน เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มติชน ข่าวสด เดลินิวส์ หนังสือพิมพ์ฝึกหัดอาร์ยูนิวส์ ฯลฯ

79 การจัดแบ่งส่วนเนื้อหา (Section) ของหนังสือพิมพ์มีประโยชน์อย่างไร
(1) หนังสือพิมพ์มีความหนามากขึ้น
(2) จัดเรื่องให้เป็นหมวดหมู่ได้ง่าย
(3) ราคาจําหน่ายสูงขึ้น
(4) หนังสือพิมพ์มีความน่าสนใจมากขึ้น

ตอบ 2 หน้า 31 – 32 การที่ธุรกิจหนังสือพิมพ์ขยายตัวและมีการแข่งขันสูงขึ้น ประกอบกับผู้บริโภค ต้องการข่าวสารมากขึ้น ทําให้หนังสือพิมพ์มีเนื้อหาและมีความหนามากเกินไป จึงมีการจัดแบ่ง ส่วนเนื้อหา(Section) ของหนังสือพิมพ์ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้สามารถจัดเรื่องให้เป็นหมวดหมู่ ได้ง่าย ทําให้อ่านง่ายไม่สับสน และรู้สึกว่าหนังสือพิมพ์มีจํานวนหน้ามากขึ้นจนคุ้มค่าต่อการ ซื้อหามาอ่าน

80 ช่องคอลัมน์ใหญ่ (กว้าง) มีประโยชน์อย่างไร
(1) จัดหน้าง่าย
(2) หนังสือพิมพ์มีความสวยงามกว่าการจัดแบบช่องคอลัมน์เล็ก (แคบ)
(3) เหมาะกับเรื่องที่มีเนื้อหาสั้น
(4) เหมาะกับเรื่องที่มีเนื้อหายาว
ตอบ 4 หน้า 141, (คําบรรยาย) การแบ่งจํานวนคอลัมน์น้อยจะทําให้ช่องคอลัมน์ใหญ่ (กว้าง) ขึ้น ซึ่งจะเหมาะกับเรื่องที่มีเนื้อหายาว แต่ไม่สามารถลงข่าวที่หลากหลาย และการจัดควบหรือ จัดแทรกจะทําได้ยาก ในขณะที่การแบ่งจํานวนคอลัมน์มากจะทําให้ช่องคอลัมน์เล็ก (แคบ) ขึ้น ซึ่งจะทําให้บรรจุเรื่องราวที่สั้น ๆ ได้หลายเรื่อง และแทรกเนื้อหาได้ง่าย แต่ก็จะอ่านยากกว่า

81 ข้อใดเป็นเหตุผลสําคัญในการตราพระราชบัญญัติการพิมพ์ฉบับแรก
(1) ยังไม่เคยมีกฎหมายการพิมพ์มาก่อนเลย
(2) เพื่อการตรวจเนื้อหาในหนังสือพิมพ์
(3) เพื่อให้ทราบจํานวนและเจ้าของหนังสือพิมพ์
(4) เพื่อทําทะเบียนหนังสือพิมพ์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

82 พระราชบัญญัติการพิมพ์ฉบับที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ
(1) พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2549
(2) พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2550
(3) พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2551
(4) พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2552
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. เกี่ยวกับการพิมพ์ฉบับที่ทันสมัยที่สุดและใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. 2550 หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 ซึ่งถือเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการพิมพ์ฉบับล่าสุดที่ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา และ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป

83 ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ ข้อใดจะเป็นนิติบุคคลไม่ได้
(1) ผู้พิมพ์
(2) ผู้โฆษณา
(3) เจ้าของหนังสือพิมพ์
(4) บรรณาธิการ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 7 วรรคสอง ระบุว่า ในกรณีนิติบุคคล เป็นผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณา กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลนั้น ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่งด้วย และมาตรา 16 ระบุว่า เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ ที่เป็นนิติบุคคลต้องมีบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของหุ้นทั้งหมด และต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนกรรมการทั้งหมดเป็นผู้มีสัญชาติไทยด้วย (ส่วนบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องเป็นบุคคลธรรมดา จะเป็นนิติบุคคลไม่ได้)

84 พระราชบัญญัติการพิมพ์ไม่ใช้บังคับสิ่งพิมพ์ใด
(1) ใบเสร็จรับเงิน
(2) แผนที่
(3) แผ่นเสียง แผ่นซีดี
(4) บทเพลง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 5 ระบุว่า พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับ กับสิ่งพิมพ์ดังต่อไปนี้ คือ
1 สิ่งพิมพ์ของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
2 บัตร บัตรอวยพร ตราสาร แบบพิมพ์ และรายงานซึ่งใช้กันตามปกติในการส่วนตัว การสังคม การเมือง การค้า หรือสิ่งพิมพ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น เช่น แผ่นพับหรือแผ่นโฆษณา ใบเสร็จรับเงิน ฯลฯ
3 สมุดบันทึก สมุดแบบฝึกหัด หรือสมุดภาพระบายสี
4 วิทยานิพนธ์ เอกสารคําบรรยาย หลักสูตรการเรียนการสอน หรือสิ่งพิมพ์อื่นทํานองเดียวกัน ที่เผยแพร่ในสถานศึกษา

85 ผู้ใดมีอํานาจสั่งระงับการนําสิ่งพิมพ์เข้ามาในราชอาณาจักร
(1) อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
(2) อธิบดีกรมราชทัณฑ์
(3) ผู้บัญชาการสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 10 ระบุว่า ให้ผู้บัญชาการตํารวจ แห่งชาติมีอํานาจออกคําสั่งโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ห้ามสั่งเข้าหรือนําเข้าเพื่อเผยแพร่ ในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งพิมพ์ใด ๆ ที่เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทหรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์

86 บุคคลที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย หมายถึง
(1) บุคคลธรรมดา
(2) นิติบุคคล
(3) นายกรัฐมนตรี
(4) รัฐมนตรี
ตอบ 1(คําบรรยาย) “บุคคลธรรมดา” หมายถึง บุคคลที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ส่วน “นิติบุคคล” หมายถึง บุคคลที่ถูกสมมุติขึ้นตามกฎหมาย โดยกฎหมายรับรองให้มีสิทธิ และหน้าที่ได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา

87 บุคคลที่ถูกสมมุติขึ้นตามกฎหมาย หมายถึง
(1) บุคคลธรรมดา
(2) นิติบุคคล
(3) นายกรัฐมนตรี
(4) รัฐมนตรี
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

88 ข้อมูลข่าวสารใดที่รัฐต้องเปิดเผย
(1) แผนงานและงบประมาณประจําปี
(2) สัมปทานที่มีลักษณะผูกขาดตัดตอน
(3) ผลการพิจารณาคําวินิจฉัยเกี่ยวกับการประมูลโครงการ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 188, 190 ข้อมูลข่าวสารที่รัฐต้องเปิดเผย (ต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้) ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 9 มีดังนี้

1 ผลการพิจารณาหรือคําวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน (เช่น ผลการประมูลโครงการ)
2 แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจําปี
3 คู่มือหรือคําสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ
4 สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชน ในการจัดทําบริการสาธารณะ
5 มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน ฯลฯ

89 ข้อใดอยู่ใน พ.ร.บ. การพิมพ์
(1) การตีพิมพ์จุลสารต้องขออนุญาต
(2) การขายแผ่นเสียงหรือซีดีต้องได้รับลิขสิ
(3) การรับโฆษณาสินค้าใดต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด
(4) ต้องส่งสิ่งพิมพ์ให้หอสมุดแห่งชาติ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 9 ระบุว่า ให้ผู้พิมพ์ส่งสิ่งพิมพ์ ตามมาตรา 8 จํานวน 2 ฉบับ ให้หอสมุดแห่งชาติภายใน 30 วัน นับแต่วันเผยแพร่

90 การพิจารณาคดีโดยใช้ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว มีข้อดีอย่างไร
(1) พิจารณาโดยผู้พิพากษาที่มีประสบการณ์
(2) พิจารณาโดยลดโทษกึ่งหนึ่งเสมอ
(3) ใช้หลักการพิทักษ์เด็ก ซึ่งกระทําผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 213, (คําบรรยาย) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 ได้ให้เหตุผล ที่ต้องแยกการพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนออกจากการพิจารณาคดีทั่ว ๆ ไปว่า เพื่อเป็น การพิทักษ์คุ้มครองเด็กและเยาวชนมิให้ถูกรังเกียจ มีปมด้อย หรือถูกตราหน้าว่าได้กระทํา ความผิดทางอาญา และเพื่อให้การช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กและเยาวชนที่อาจกระทําความผิด เนื่องจากยังไม่เจริญด้วยวุฒิภาวะ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถูกบังคับ หรือด้วยความจําเป็นบางประการ

91 ข้อใดไม่อยู่ในบทบัญญัติของกฎหมาย
(1) ห้ามบันทึกภาพของเด็กและเยาวชนที่กระทําความผิด
(2) ห้ามโฆษณาชื่อตัว ชื่อสกุลของเยาวชนนั้น
(3) ให้พิจารณาคดีในห้องพิเศษที่ไม่ใช่ห้องพิจารณาคดีธรรมดา
(4) ให้พิจารณาคดีโดยรวดเร็ว เพื่อพิทักษ์เด็กและเยาวชน
ตอบ 4 หน้า 214 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 72 ระบุว่า การพิจารณา คดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจําเลย ให้กระทําในห้องที่มิใช่ห้องพิจารณาคดีธรรมดา…. และ มาตรา 93 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดบันทึกภาพ แพร่ภาพ พิมพ์รูป หรือบันทึกเสียง แพร่เสียงของเด็ก หรือเยาวชน ซึ่งต้องหาว่ากระทําความผิด หรือโฆษณาข้อความที่อาจทําให้บุคคลอื่นรู้จักตัว ชื่อตัว ชื่อสกุล ของเด็กหรือเยาวชนนั้น หรือโฆษณาข้อความเปิดเผยประวัติการกระทํา ความผิด หรือสถานที่อยู่ สถานที่ทํางาน หรือสถานที่ศึกษาของเด็กหรือเยาวชนนั้น

92 ท่านใดร่าง “ประมวลจรรยามรรยาทของนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย”
(1) พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
(2) พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(3) รัชกาลที่ 5
(4) รัชกาลที่ 6
ตอบ 2 หน้า 217 – 218 พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ และนักหนังสือพิมพ์ ที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน เช่น นายเฉลิม วุฒิโฆสิต, นายสถิตย์ เสมานิล, นายมาลัย ชูพินิจ, นายเสลา เลขะรุจิ ฯลฯ ได้ร่วมกันยกร่าง “ประมวลจรรยามรรยาทของนักหนังสือพิมพ์ แห่งประเทศไทย” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2486

93 จริยธรรม คืออะไร
(1) หลักแห่งความประพฤติของนักหนังสือพิมพ์
(2) แนวการปฏิบัติของคนในวงวิชาชีพ
(3) หลักปฏิบัติที่ตราขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 217, (คําบรรยาย) สุภา ศิริมานนท์ ได้ให้ความหมายว่า จริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติหรือพฤติกรรมอันตั้งไว้ชอบ หรือความประพฤติอันถูกธรรมหรือ ความประพฤติที่เป็นธรรมของนักหนังสือพิมพ์ ส่วนฉอ้าน วุฑฒิกรรมรักษา อธิบายไว้ว่าจริยธรรมเน้นที่จิตสํานึกของบุคคลในการประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร

ข้อ 94 – 95. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
(2) สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย
(3) สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
(4) สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

94 จริยธรรมของนักวิชาชีพที่มีความเป็นสากลที่สุด
ตอบ 4 หน้า 229, (คําบรรยาย) สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ถือเป็นสถาบันที่ดูแลเรื่องจริยธรรม และจรรยาบรรณของนักหนังสือพิมพ์ได้ดีที่สุดในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรม แห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2541 ซึ่งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติได้ตราขึ้นนั้น ได้รับยกย่องว่า มีความครอบคลุมและเป็นสากลมากที่สุด

95 จริยธรรมของสมาคมใดใช้หลักการเดียวกับพุทธศาสนา
ตอบ 3 หน้า 227 สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้กําหนดจริยธรรมของนักหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2510 โดยใช้หลักการเดียวกับพุทธศาสนา ดังนี้
1 ความรับผิดชอบ (กิจญาณ)
2 ความมีเสรีภาพ (ปวารณา หรือธรรมาธิปไตย)
3 ความเป็นไท (ความไม่ตกเป็นทาสของอกุศลมูล)
4 ความจริงใจ (สัจจะ)
5 ความเที่ยงธรรม (ความไม่มีอคติ 4 ประการ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ)
6 ความมีใจเป็นนักกีฬา (สุปฏิบัติ)
7 ความมีมารยาท (โสเจยยะ หรืออาจารสมบัติ)

96 ข้อใดไม่ใช่จริยธรรมของหนังสือพิมพ์
(1) ไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว
(2) ไม่ลอกข่าวจากหนังสือพิมพ์อื่น
(3) เปิดโอกาสให้ผู้เสียหายได้ชี้แจงประเด็นข่าว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 229 – 230 ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2541 ของ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ข้อ 9 ระบุว่า หนังสือพิมพ์ต้องไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว ข้อ 10 ระบุว่า เมื่อคัดลอกข้อความใดจากหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ต้องบอกที่มาของข้อความนั้น และข้อ 11 ระบุว่า การเสนอข่าวที่มีการพาดพิง อันอาจเกิด ความเสียหายแก่บุคคลหรือองค์กรใด ๆ ต้องแสดงถึงความพยายามในการเปิดโอกาสให้ ฝ่ายที่ถูกกล่าวหาแสดงข้อเท็จจริงด้วย

97 เหตุใดนักหนังสือพิมพ์จึงต้องมีจริยธรรม
(1) ควรจะต้องควบคุมกันเอง
(2) มีส่วนได้ส่วนเสียต่อผลประโยชน์ของสังคมมาก
(3) มีหลายแห่งทําให้ยากต่อการควบคุม
(4) เป็นวิชาชีพอิสระ
ตอบ 2 หน้า 232 ผู้ที่ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ย่อมมีส่วนได้ส่วนเสียต่อผลประโยชน์ของสังคมมาก ดังนั้นนักหนังสือพิมพ์จึงต้องมีจริยธรรมเป็นเครื่องควบคุมความประพฤติและกํากับการทํางาน ของสมาชิก โดยเมื่อมีการประพฤติผิดจริยธรรมและจรรยาบรรณก็จะมีหลักเกณฑ์การลงโทษซึ่งเป็นโทษทางสังคมมากกว่าโทษทางกฎหมาย ทั้งนี้เพราะจริยธรรมเป็นเรื่องของจิตใจ

98 ท่านใดเริ่มแนวคิดการจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์
(1) นายชวน หลีกภัย
(2) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
(3) รัชกาลที่ 6
(4) นายอานันท์ ปันยารชุน
ตอบ 2 หน้า 116 เมื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เป็นนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2518 ก็ได้เล็งเห็นถึง ความจําเป็นที่หนังสือพิมพ์จะต้องมีเสรีภาพควบคู่ไปกับความรับผิดชอบ จึงได้ร่าง พ.ร.บ. การพิมพ์ ฉบับใหม่ขึ้นมา เพื่อให้เสรีภาพแก่หนังสือพิมพ์ในการควบคุมกันเองมากขึ้น ซึ่งร่าง พ.ร.บ. การพิมพ์ ดังกล่าวได้เริ่มเสนอแนวคิดให้มีการจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์ (Press Council) ขึ้นมา

99 ใครเป็นประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติคนแรก
(1) นายชวน หลีกภัย
(2) นายอานันท์ ปันยารชุน
(3) นายมานิจ สุขสมจิตร
(4) นายบุญเลิศ ช้างใหญ่
ตอบ 3 หน้า 229, 232, (คําบรรยาย) สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระที่ทําหน้าที่ ควบคุมกันเอง เพื่อส่งเสริมเสรีภาพ ความรับผิดชอบ สถานภาพของผู้ประกอบวิชาชีพและ กิจการหนังสือพิมพ์ ฯลฯ โดยมีนายมานิจ สุขสมจิตร เป็นประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ คนแรก (พ.ศ. 2541) และมีนายภัทระ คําพิทักษ์ บรรณาธิการจากเครือบางกอกโพสต์ เป็นประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติคนปัจจุบัน (พ.ศ. 2558)

100 ข้อใดเป็น “อกุศลมูล
(1) ใช้ภาษาและภาพที่หยาบโลน
(2) รายงานข่าวด้วยความลําเอียง
(3) รายงานข่าวโดยรับอามิสสินจ้าง
(4) รายงานข่าวโดยไม่ถือประโยชน์ของคนส่วนใหญ่
ตอบ 3 หน้า 227, (ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ) ความเป็นไท ได้แก่ ความไม่ตกเป็นทาสของใคร ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ว่าจะโดยอามิสสินจ้างอื่นใด ซึ่งตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ ความไม่ตกเป็นทาสของ “อกุศลมูล” (คําว่า “อกุศลมูล” หมายถึง การตกเป็นทาสของสิ่งใด ทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น การรายงานข่าวโดยรับอามิสสินจ้างอันมีค่าหรือผลประโยชน์อื่นใด)

cdm2403 (mcs3151) การสื่อสารเพื่อจัดการความสัมพันธ์ 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565

ข้อสอบกระบวนวิชา CDM 2403 (MCS 3151) การสื่อสารเพื่อการจัดการความสัมพันธ์

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดไม่ใช่ความหมายทางวิชาการของคําว่า “มนุษยสัมพันธ์”
(1) การติดต่อเกี่ยวข้องกัน เพื่อเป็นสะพานทอดไปสู่ความเป็นมิตร
(2) การพัฒนาตนเองให้เป็นที่รักใคร่ชอบพอ และได้รับความร่วมมือ/สนับสนุนจากผู้อื่น
(3) กระบวนการปรับปรุงแก้ไขบุคคลอื่น เพื่อให้ได้มาซึ่งความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล
(4) ศาสตร์และศิลป์ในการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล
ตอบ 3 (PDF ครั้งที่ 1) ความหมายทางวิชาการของคําว่า “มนุษยสัมพันธ์” มีดังนี้
1 การติดต่อเกี่ยวข้องกัน เพื่อเป็นสะพานทอดไปสู่ความเป็นมิตร รวมทั้งพัฒนาตนเองให้เป็น ที่รักใคร่ชอบพอ และได้รับความร่วมมือ/สนับสนุนจากผู้อื่น
2 วิชาการว่าด้วยศาสตร์และศิลป์ในการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล เพื่อให้ ได้มาซึ่งความรักใคร่ นับถือ จงรักภักดี และความร่วมมือ ตลอดจนอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่าง มีความสุข
3 วิชาที่ว่าด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีของบุคคล เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ เป็นอันหนึ่งเดียวกัน ฯลฯ

2 คําว่า “มนุษยสัมพันธ์” ในภาษาอังกฤษ คือคําใด
(1) Human Relations
(2) Human Relationship
(3) Human Resource
(4) Human Relevance
ตอบ 1 (PDF ครั้งที่ 1) มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) มาจากคําว่า Human + Relations คือ
1 Human หมายถึง มนุษย์
2 Relations หมายถึง ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน

3 ข้อใดคือคุณลักษณะของมนุษยสัมพันธ์
(1) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามกลไกทางนิเวศชีววิทยา
(2) ไม่มีใครมีมนุษยสัมพันธ์ที่สมบูรณ์แบบ
(3) เป็นเรื่องเข้าใจง่าย และมีองค์ประกอบที่ไม่ซับซ้อน
(4) อธิบายได้จากแนวคิดทางวัฒนธรรมและความเป็นอยู่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ตอบ 2(PDF ครั้งที่ 1) คุณลักษณะของมนุษยสัมพันธ์ มีดังนี้
1 มนุษยสัมพันธ์เกิดจากการสร้างของบุคคล ไม่ใช่ทักษะความสามารถที่ติดตัวมาแต่กําเนิด ไม่ใช่คุณลักษณะที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ และไม่ใช่เป็นพรสวรรค์ของบุคคล
2 การสร้างมนุษยสัมพันธ์อาจสูญสลายไปได้ ถ้าหากไม่รู้จักพัฒนาความสัมพันธ์ให้คงอยู่กับ
ตัวเราตลอดไป
3 มนุษยสัมพันธ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
4 แต่ละบุคคลมีลักษณะของมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง แต่มีไม่เหมือนกันหรือไม่เท่าเทียมกัน 5. ไม่มีใครมีมนุษยสัมพันธ์ที่สมบูรณ์แบบ
*** หมายเหตุ PDF (Download : www.mac.ru.ac.th) (ข้อ 1. – 50.) ***
เอกสารประกอบการสอน โดย อ.วิชชุตา มังคะลี (ข้อ 51. – 100.)

4 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของมนุษยสัมพันธ์
(1) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามกลไกทางนิเวศชีววิทยา
(2) มนุษยสัมพันธ์เป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างของบุคคล
(3) เมื่อสร้างให้เกิดขึ้นได้แล้ว ต้องรู้จักพัฒนาให้มนุษย์สัมพันธ์คงอยู่กับตัวเราตลอดไป
(4) ข้อ 2 และ 3 กล่าวถูกต้อง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

5 การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ หรือการสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์ จะต้องอาศัยกระบวนการสื่อสาร
แบบใดมากที่สุด
(1) กระบวนการสื่อสารเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Communication)
(2) กระบวนการสื่อสารแบบโน้มน้าวใจ (Persuasive Communication)
(3) กระบวนการสื่อสารแบบเอกวิธี (One-way Communication)
(4) กระบวนการสื่อสารแบบยุคลวิธี (Two-way Communication)
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 1) รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากกระบวนการ สื่อสารแบบเอกวิธี (One-way Communication) มาเป็นกระบวนการสื่อสารแบบยุคลวิธี (Two-way Communication) ทําให้มนุษย์ต้องเรียนรู้แนวคิดและหลักการสื่อสารเพื่อสร้าง ความสัมพันธ์ หรือการสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์

6. แนวคิดในการทํางานเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องมนุษยสัมพันธ์อย่างไร
(1) การรวมตัวของผู้ใช้แรงงานที่เพิ่มมากขึ้น
(2) การให้ความสําคัญต่อแนวคิดการให้บริการลูกค้า
(3) การทํางานเป็นทีม (Teamwork) เพิ่มความจําเป็นให้ทุกฝ่ายต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 1) แนวคิดในการทํางานที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไป ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่อ มนุษยสัมพันธ์ ดังนี้
1 การรวมตัวของผู้ใช้แรงงานที่เพิ่มมากขึ้น
2 การให้ความสําคัญต่อแนวคิดการให้บริการลูกค้า (Customer Service)
3 การทํางานเป็นทีม (Teamwork) เพิ่มความจําเป็นให้ทุกฝ่ายต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่สอดคล้อง กับหลักการของมนุษยสัมพันธ์

7 ข้อใดไม่ใช่ความจําเป็นในการศึกษาเรื่องมนุษยสัมพันธ์
(1) มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม
(2) ทําให้รู้จักและเข้าใจผู้อื่นรอบตัวเรา
(3) ทําให้สามารถปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมของผู้อื่นได้อย่างเป็นระบบ
(4) ทําให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจตนเอง ก่อนจะก้าวไปมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น
ตอบ 3 (PDF ครั้งที่ 1) ความจําเป็นในการศึกษาเรื่องมนุษยสัมพันธ์ มีดังนี้
1 มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม
2 ทําให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจตนเอง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสําคัญก่อนที่จะก้าวไปมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น
3 ทําให้รู้จักและเข้าใจผู้อื่นรอบตัวเรา

8 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายในการศึกษามนุษยสัมพันธ์
(1) เพื่อสร้างเงื่อนไขในการดํารงชีวิตร่วมกัน
(2) เพื่อให้เกิดความรักใคร่ร่วมมือในการทํางาน
(3) เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ในองค์กรระหว่างผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับ
(4) เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกันในความเป็นมนุษย์ของตนเองและบุคคลอื่น
ตอบ 1 (PDF ครั้งที่ 1) จุดมุ่งหมายในการศึกษามนุษยสัมพันธ์ มีดังนี้
1 เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกัน
2 เพื่อให้เกิดความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ของตนเองและบุคคลอื่น
3 เพื่อให้เกิดความรักใคร่ร่วมมือในการทํางาน
4 เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธานิยมยกย่องบุคคลที่ติดต่อสัมพันธ์
5 เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ในองค์กรระหว่างผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับ

9 ข้อใดคือประโยชน์ของมนุษยสัมพันธ์ที่มีต่อผู้บริหาร
(1) เป็นเครื่องช่วยแก้ปัญหา ลดการขัดแย้ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในองค์กรได้
(2) เป็นเครื่องมือกระตุ้นให้บุคลากรมีความรัก ความภูมิใจที่เป็นสมาชิกในองค์กร
(3) เป็นเครื่องมือที่ทําให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงบุคลากรได้ทุกระดับ และสามารถครองใจบุคลากร เหล่านั้นได้
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 1) ประโยชน์ของมนุษยสัมพันธ์ที่มีต่อผู้บริหาร มีดังนี้
1 เป็นเครื่องมือที่ทําให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงบุคลากรได้ทุกระดับ และสามารถครองใจ บุคลากรเหล่านั้นได้ จึงส่งผลให้ผู้บริหารได้รับความรัก ความศรัทธา และความร่วมมือ ในการทํางานเป็นอย่างดี
2 เป็นเครื่องมือกระตุ้นให้บุคลากรมีความรัก ความภูมิใจที่เป็นสมาชิกในองค์กร ซึ่งก่อให้
เกิดความภักดีต่อองค์กร
3 เป็นการจูงใจและกระตุ้นให้คนร่วมมือในการทํางานอย่างมีความสุข มีความพอใจในการ ทํางาน ก่อให้เกิดผลงานอันมีประสิทธิภาพ
4 เป็นเครื่องช่วยแก้ปัญหา ลดการขัดแย้ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในองค์กรได้ ฯลฯ

10 ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกิดขึ้นในยุคใด
(1) ยุคล่าอาณานิคม
(2) ยุคเสรีทางการค้า
(3) ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
(4) ยุคสังคมเกษตรกรรม
ตอบ 3(PDF ครั้งที่ 2) ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เครื่องจักรกลเข้ามาแทนที่แรงงานคน ทําให้คนงาน สูญเสียความสําคัญของตนเอง เพราะคนที่เคยภาคภูมิใจในผลงานของตนเองกลับลดคุณค่ามา นั่งเฝ้าเครื่องจักร อีกทั้งยังต้องทําตามความต้องการของนายจ้าง ทําให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างคนงาน และมีผลกระทบต่อการผลิต ดังนั้นจึงมีบุคคลหลายท่านได้ ริเริ่มในการนําหลักมนุษยสัมพันธ์มาใช้ในสังคม

ข้อ 11. – 14. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Andrew Ure แอนดรู ยูรี
(2) Frederick Taylor เฟรเดอริก เทย์เลอร์
(3) Robert Owen โรเบิร์ต โอเวน
(4) Henry Laurence Gantt เฮนรี่ ลอเรนส์ แกนต์

11 นักคิดชาวตะวันตกคนใดเป็นผู้ให้ความสําคัญกับคนงาน โดยปรับปรุงสวัสดิการเป็นคนแรก และต่อต้าน
การใช้แรงงานเด็ก
ตอบ 3 (PDF ครั้งที่ 2) โรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen) เป็นเจ้าของกิจการชาวเวลส์คนแรกตาม ประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมของอังกฤษที่มีความคิดริเริ่มเอาใจใส่ความเป็นอยู่ของคนงาน โดยยอมรับว่าต้องให้ความสําคัญกับจิตใจและความต้องการของคนงาน ซึ่งเขาได้พยายาม ปรับปรุงสวัสดิการต่าง ๆ ของลูกจ้าง เช่น ปรับปรุงสถานที่ทํางานและสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ปรับปรุงสภาพในการทํางานให้ดีกว่าที่เคยเป็นอยู่ และเป็นนายจ้างคนแรกที่ต่อต้านการใช้
แรงงานเด็ก ฯลฯ

12 นักคิดชาวตะวันตกคนใดเป็นผู้กําหนดให้มนุษย์เป็นองค์ประกอบสําคัญ 1 ใน 3 ของการผลิตสินค้า อุตสาหกรรม (Man, Machine, Management) และเสนอสวัสดิการรักษาพยาบาล
ตอบ 1 (PDF ครั้งที่ 2) แอนดรู ยูรี (Andrew Ure) ได้เขียนบทความเรื่อง “ปรัชญาแห่งการผลิต สินค้าอุตสาหกรรม” (The Philosophy of Manufactures) โดยเขาได้ให้ความสําคัญแก่ มนุษย์ว่าเป็น 1 ใน 3 องค์ประกอบสําคัญในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (Man : คนงาน, Machine : เครื่องจักร, Management : การจัดการ) และยังเป็นผู้ที่ริเริ่มการให้สวัสดิการ รักษาพยาบาลแก่คนงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
1 จัดให้มีชั่วโมงพักระหว่างการทํางาน
2 ปรับสถานที่ทํางานให้ถูกสุขลักษณะ
3 เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย คนงานจะต้องได้รับ
การดูแลรักษาพยาบาล และได้รับค่าจ้างระหว่างหยุดพักรักษาตัวด้วย
4 ส่งเสริมให้คนงานมีสุขภาพดี โดยจัดสนามและอุปกรณ์การออกกําลังกายแก่คนงาน

13 นักคิดชาวตะวันตกคนใดเป็นผู้เรียกร้องให้ผู้บริหารสนใจสภาพการทํางานของคนงาน และเสนอมาตรฐานเวลาในการทํางาน
ตอบ 2 (PDF ครั้งที่ 2) เฟรเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) เป็นผู้ทําการทดลองวิธีการทํางานที่ ถูกต้องกับคนกลุ่มหนึ่งแล้วพบว่า การทํางานที่ถูกวิธีจะทําให้ผลผลิตสูงขึ้น โดยเขาเป็นคนแรก ที่เรียกร้องให้ผู้บริหารสนใจสภาพการทํางานของคนงาน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญในการผลิต และเสนอมาตรฐานเวลาในการทํางาน ได้แก่
1 วางมาตรฐานเวลาที่ใช้ในการทํางานแต่ละอย่างที่ต้องใช้เครื่องจักรกล
2 ศึกษาว่าคนงานควรทํางานวันละกี่ชั่วโมงจึงจะเหมาะสม
3 ศึกษาระยะเวลาพักงาน ฯลฯ

14 นักคิดชาวตะวันตกคนใดเป็นผู้เพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานของคนงาน โดยการให้รางวัลหรือโบนัสพิเศษ
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 2) ในปี ค.ศ. 1912 เฮนรี่ ลอเรนส์ แกนต์ (Henry Laurence Gantt) เป็นวิศวกร หนุ่มที่คิดหาวิธีจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานของคนงาน โดยเขาได้ขยายแนวคิดของ เฟรเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) มาผสมผสานกับของตัวเอง เช่น สนับสนุนให้เกิดการ ทํางานเป็นทีม โดยทดลองเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของคนงานด้วยการให้เงินโบนัสหรือเงิน รางวัลพิเศษ เพื่อเป็นแรงจูงใจแก่คนงานที่สามารถทํางานเสร็จก่อนเวลาที่กําหนด

15 การศึกษาฮอร์ธอน (Hawthorne Experiment) เป็นผลการศึกษาของนักวิชาการท่านใด
(1) Henry Laurence Gantt เฮ็นรี่ ลอเรนส์ แกนต์
(2) Frederick Taylor เฟรเดอริก เทย์เลอร์
(3) George Elton Mayo จอร์จ เอลตัน เมโย
(4) Robert Owen โรเบิร์ต โอเวน

ตอบ 3 (PDF ครั้งที่ 2) ศาสตราจารย์เอลตัน เมโย (Elton Mayo) เป็นหัวหน้าคณะผู้ที่ศึกษากรณี ฮอร์ธอน (Hawthorne Experiment) หมายถึง การศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพในการ ทํางานของคนงาน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับสภาพทางกายภาพของการทํางาน

16 การศึกษาฮอร์ธอน (Hawthorne Experiment) เบื้องต้นเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นใด
(1) ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารกับสภาพจิตวิทยาของการทํางาน
(2) ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับสภาพจิตวิทยาของการทํางาน
(3) ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับสภาพทางกายภาพของการทํางาน
(4) ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารกับสภาพทางกายภาพของการทํางาน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

17 ข้อใดไม่ใช่ผลการศึกษาฮอร์ธอน (Hawthorne Experiment)
(1) คนงานมีทัศนคติที่ดีต่อผู้บริหารที่ให้อิสระแก่คนงาน
(2) คนที่ได้หยุดระหว่างทํางานสร้างผลผลิตได้มากกว่าคนที่ไม่ได้หยุดพัก
(3) คนงานที่รวมตัวขึ้นมาอย่างไม่เป็นทางการมีข้อขัดแย้งกับกลุ่มทางการ
(4) ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มของแสงสว่าง
ตอบ 2 (PDF ครั้งที่ 2) ผลการศึกษาฮอร์ธอน (Hawthorne Experiment) แบ่งเป็น 5 ประเด็น คือ
1 ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มของแสงสว่าง แต่จะไม่ลดลงเมื่อความเข้มของแสงสว่างลดลง
2 ผลผลิตของคนงานที่ได้หยุดพักระหว่างการทํางานกับที่ไม่ได้หยุดพักไม่แตกต่างกัน
3 คนงานจะมีทัศนคติที่ดีต่อนายจ้างหรือผู้บริหารที่ให้อิสระในการทํางาน
4 มีการรวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการของคนงาน ซึ่งมีความสําคัญอย่างมากต่อการเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการทํางาน
5 กลุ่มคนงานที่รวมตัวอย่างไม่เป็นทางการมีความขัดแย้งกับกลุ่มที่เป็นทางการ ฯลฯ

18 การสรุปผลกรณีฮอร์ธอน (The Conclusion of Hawthorne Experiment) มีข้อสรุปอย่างไร
(1) การทํางานที่มีประสิทธิภาพไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางกายภาพเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับ
สภาพแวดล้อมในการทํางาน
(2) ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกที่มีการรวมตัว
แบบไม่เป็นทางการ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทํางาน
(3) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (PDF ครั้งที่ 2) การสรุปผลกรณีฮอร์ธอน (The Conclusion of Hawthorne Experiment) คือ การทํางานที่มีประสิทธิภาพไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางกายภาพเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมในการทํางาน โดยความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกที่มีการรวมตัวแบบไม่เป็นทางการ จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทํางาน

19 ข้อใดไม่ใช่ข้อเสนอแนะจากกรณีศึกษาฮอร์ธอน (Hawthorne Experiment)
(1) การพัฒนาโครงสร้างทางกายภาพ และสิ่งแวดล้อมในการทํางานมีความสําคัญที่สุด
(2) เมื่อการสื่อสารดีขึ้น ผลผลิตของโรงงาน/ประสิทธิภาพในการทํางานจะสูงขึ้น
(3) คนนับเป็นปัจจัยสําคัญอย่างหนึ่งในการผลิตที่แตกต่างจากปัจจัยอื่น
(4) นายจ้างควรให้ความสําคัญแก่คนงานในด้านจิตใจและความต้องการ

ตอบ 1 (PDF ครั้งที่ 2) ข้อเสนอแนะจากกรณีศึกษาฮอร์ธอน (Hawthorne Experiment) มีดังนี้
1 นายจ้างควรให้ความสําคัญแก่คนงานในด้านจิตใจและความต้องการ ตลอดจนควรเข้าใจ คนงานว่า
คนนับเป็นปัจจัยสําคัญอย่างหนึ่งในการผลิตที่แตกต่างจากปัจจัยอื่น
2 ปรับปรุงวิธีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างคนงาน ซึ่งผลที่ได้รับ คือ เมื่อการ สื่อสารดีขึ้น ผลผลิตของโรงงาน/ประสิทธิภาพในการทํางานจะสูงขึ้น

20 จากผลการศึกษาฮอร์ธอน (Hawthorne) ก่อให้เกิดผลสําคัญใดต่อแวดวงด้านมนุษยสัมพันธ์ คือ
(1) เกิดแนวคิดเรื่องการสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์ขึ้นครั้งแรกของโลก
(2) เกิดเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และข้อกําหนดในสถานที่ทํางาน
(3) เกิดการรวมตัวของลูกจ้าง และการก่อตั้งสหภาพแรงงานขึ้น
(4) เกิดวิชามนุษยสัมพันธ์ และเปิดสอนเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 2) จากผลการศึกษาฮอร์ธอน (Hawthorne) ก่อให้เกิดผลสําคัญต่อแวดวงด้าน มนุษยสัมพันธ์ คือ ศาสตราจารย์เอลตัน เมโย (Elton Mayo) ผู้เป็นบิดาแห่งวิชามนุษยสัมพันธ์ ได้ริเริ่มเปิดสอนวิชามนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) ขึ้นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) ซึ่งอีก 10 ปีต่อมาวิชานี้ก็กลายเป็นวิชา บังคับในหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัย

21 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
(1) สภาพแวดล้อม
(2) การอบรมสั่งสอน
(3) ประสบการณ์
(4) สถานภาพ
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่
1 สภาพแวดล้อม ถือเป็นปัจจัยเริ่มแรก เช่น สายใยรักในครอบครัว ความรักความเอาใจใส่ ในครอบครัว การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ฯลฯ
2 การอบรมสั่งสอน เช่น การรับฟังความรู้หรือข้อแนะนําเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออก ที่เหมาะสมจากพ่อแม่ ครู และญาติพี่น้อง ฯลฯ
3 ประสบการณ์ที่ได้รับ เช่น ปฏิกิริยาตอบกลับ ปฏิกิริยาป้อนกลับ หรือปฏิกิริยาโต้ตอบ (Feedback) จากคู่สื่อสารหรือคนรอบตัว ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่สื่อสาร และคําวิพากษ์ วิจารณ์จากบุคคลอื่น

22 ข้อใดไม่ใช่อุปสรรคที่มีผลต่อความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
(1) ผลประโยชน์ขัดกัน
(2) ผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ
(3) ความแตกต่างในด้านความคิดเห็น
(4) ความแตกต่างในด้านประสบการณ์/ภูมิหลัง
ตอบ 2(PDF ครั้งที่ 2) สาเหตุที่เป็นอุปสรรคต่อความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่
1 ความแตกต่างด้านประสบการณ์และภูมิหลัง เช่น อายุ เพศ อาชีพ การศึกษา สถานภาพ ทางเศรษฐกิจและสังคม ฯลฯ
2 ความแตกต่างด้านความคิดเห็น เป็นความแตกต่างของสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาของ บุคคลในลักษณะที่เป็นนามธรรม เช่น ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และรสนิยม ฯลฯ ซึ่งหากไม่ยอมรับกันแล้ว ความเข้าใจระหว่างกันก็จะเกิดขึ้นได้ยาก
3 ความแตกต่างด้านผลประโยชน์ คือ ผลประโยชน์ขัดกัน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งในรูปของสิ่งของ วัตถุ เงินทอง ชื่อเสียง ลาภ ยศ ฯลฯ มักทําให้เกิดความไม่พอใจและความแตกแยกได้ง่าย เพราะธรรมชาติของมนุษย์จะไม่ยอมเสียเปรียบผู้อื่น

23 ข้อใดไม่นับว่าเป็นองค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์
(1) การติดต่อสื่อสารและการบริหารความขัดแย้ง
(3) การจูงใจและความไว้วางใจ
(2) การรู้จักตนเองและยอมรับตนเอง
(4) การเข้าใจตนเองและผู้อื่น
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 2) องค์ประกอบสําคัญในการศึกษาวิชามนุษยสัมพันธ์
1 การติดต่อสื่อสาร (Communication)
2 การรู้ตนเอง หรือการรู้จักตนเอง (Self Awareness)
3 การยอมรับตนเอง (Self Acceptance)
4 การจูงใจ (Motivation)
5 ความไว้วางใจ (Trust)
6 การเปิดเผยตนเอง (Self Disclosure)
7 การบริหารจัดการความขัดแย้ง (Conflict Management)

24 ข้อใดคือความหมายของธรรมชาติของมนุษย์
(1) ลักษณะโดยรวมของมนุษย์ทั่วไปที่ส่วนใหญ่ทุกคนมี ทุกคนเป็น
(2) เป็นโครงสร้างในเชิงชีววิทยาและชีววิถีของมนุษย์ตามธรรมชาติ
(3) ภาพรวมของมนุษย์ทั้งในด้านบุคลิกภาพภายนอกและภายใน
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูกต้อง
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 3) ธรรมชาติของมนุษย์ หมายถึง ลักษณะโดยรวมของมนุษย์ทั่วไปที่ส่วนใหญ่ ทุกคนมี ทุกคนเป็น ดังนั้นจึงเป็นภาพโดยรวมของมนุษย์ทั้งในด้านบุคลิกภาพภายนอกและบุคลิกภาพภายใน

25 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบตามธรรมชาติของมนุษย์
(1) ส่วนประกอบทางร่างกาย
(3) อินทรียวัตถุ และอนินทรียวัตถุ
(2) นิสัยใจคอ มุมมอง อารมณ์ความรู้สึก
(4) พฤติกรรม และการแสดงออก
ตอบ 3 (PDF ครั้งที่ 3) องค์ประกอบตามธรรมชาติของมนุษย์ (An Elements of Human Nature)
มีดังต่อไปนี้
1 ส่วนประกอบทางร่างกาย
2 นิสัยใจคอ มุมมอง อารมณ์ความรู้สึก
3 พฤติกรรม และการแสดงออก

26 ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์
(1) เพื่อศึกษากลไกทางชีววิทยาที่ส่งผลต่อคุณสมบัติตามธรรมชาติของมนุษย์
(2) เพื่อศึกษาธรรมชาติความสัมพันธ์ระหว่างเรากับบุคคลอื่น
(3) เพื่อทําให้เข้าใจถึงลักษณะนิสัยใจคอและพฤติกรรมของมนุษย์ในภาพรวม
(4) เพื่อศึกษาถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างตามธรรมชาติของมนุษย์
ตอบ 1 (PDF ครั้งที่ 3) วัตถุประสงค์ของการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ในด้านมนุษยสัมพันธ์ มีดังนี้
1 เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เนื่องจากมนุษยสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวเรากับบุคคลอื่น ซึ่งต่างก็เป็นมนุษย์ด้วยกัน
2 เพื่อทําให้เข้าใจถึงลักษณะนิสัยใจคอและพฤติกรรมของมนุษย์ในภาพรวม ซึ่งเป็นประโยชน์ ต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลต่าง ๆ
3 เพื่อศึกษาถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างตามธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งสัดส่วนของความคล้ายคลึงจะมีน้อยกว่าความแตกต่าง ดังนั้นการเข้าใจในเรื่องความคล้ายคลึงและ ความแตกต่างของมนุษย์ จึงมีส่วนช่วยให้เรายอมรับบุคคลอื่นได้ง่ายขึ้น และลดปัญหา ในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ให้น้อยลง

27 การเข้าใจเรื่องความคล้ายคลึงและความแตกต่างของมนุษย์ มีส่วนช่วยในเรื่องใด
(1) ทําให้มองเห็นสัดส่วนของความแตกต่าง และช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการเผชิญความต่างนั้น
(2) ทําให้เราเข้าถึงตัวตนของบุคคลอื่น แล้วช่วยให้เราสามารถปรับปรุงแก้ไขตัวตนผู้อื่นได้
(3) ทําให้เรายอมรับบุคคลอื่นได้ง่ายขึ้น และลดปัญหาในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ให้น้อยลง
(4) ทําให้เราสามารถเลือกสร้างความสัมพันธ์ โดยเฉพาะกับผู้ที่มีความคล้ายคลึงได้ง่ายมากขึ้น
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

28 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับความคล้ายคลึงและความแตกต่างของมนุษย์
(1) สัดส่วนความคล้ายคลึงมีน้อยกว่าความแตกต่าง
(2) สัดส่วนความคล้ายคลึงมีมากกว่าความแตกต่าง
(3) สัดส่วนความคล้ายคลึงมีเท่า ๆ กันกับความแตกต่าง
(4) สัดส่วนความคล้ายคลึงและความแตกต่าง ขึ้นอยู่กับบริบทแวดล้อม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

29 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการเรียนรู้ธรรมชาติของมนุษย์ที่มีต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์
(1) ทําให้รู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่นในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง
(2) ทําให้สามารถควบคุมตนเองและควบคุมผู้อื่นได้ตามธรรมชาติ
(3) ทําให้รู้จักวิธีสร้างความสัมพันธ์ที่เหมาะสมตามหลักมนุษยสัมพันธ์
(4) ทําให้เกิดการยอมรับตนเองและยอมรับบุคคลอื่นตามธรรมชาติของแต่ละฝ่าย
ตอบ 2 (PDF ครั้งที่ 3) การเรียนรู้ธรรมชาติของมนุษย์เป็นประโยชน์ต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ดังนี้
1 ทําให้รู้จักและเข้าใจตนเองในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง
2 ทําให้รู้จักและเข้าใจผู้อื่นในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง
3 ทําให้เกิดการยอมรับตนเองและยอมรับบุคคลอื่นตามธรรมชาติของแต่ละฝ่าย
4 ทําให้รู้จักวิธีสร้างความสัมพันธ์ที่เหมาะสมตามหลักมนุษยสัมพันธ์

30 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะทั่วไปตามธรรมชาติของมนุษย์
(1) ชอบความสะดวกสบาย ไม่ขอบระเบียบข้อบังคับ
(2) ชอบการทําลาย โหดร้ายทารุณ ป่าเถื่อน ชอบซ้ําเติม
(3) ไม่ชอบเห็นใครดีกว่าตนเอง
(4) ไม่กังวลต่อความทุกข์ทรมาน ความลําบาก และไม่กลัวความตาย
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 3) ลักษณะทั่วไปตามธรรมชาติของมนุษย์ มีดังนี้
1 ไม่ชอบเห็นคนอื่นดีกว่าตนเอง
2 ชอบการทําลายและความหายนะ
3 ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
5 หวาดกลัวภัยอันตรายต่าง ๆและกลัวความตาย
4 มีความต้องการทางเพศ
6 กลัวความทุกข์ทรมาน ความลําบาก
7 โหดร้ายทารุณ ป่าเถื่อน ชอบซ้ําเติม
8 ชอบความสะดวกสบาย ไม่ชอบระเบียบข้อบังคับ
9 ชอบความตื่นเต้น การผจญภัย

31 ข้อใดไม่ใช่ชุดความเชื่อเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ตามหลักปรัชญาตะวันออก
(1) มนุษย์นั้นล้วนมีแต่ความว่างเปล่า
(3) มนุษย์มีความดีติดตัวมาตั้งแต่เกิด
(2) ธรรมชาติของมนุษย์ไม่ดีไม่ชั่ว
(4) ตามธรรมชาติแล้วมนุษย์ชั่วร้าย

ตอบ 1 (PDF ครั้งที่ 3) ธรรมชาติของมนุษย์ตามหลักปรัชญาตะวันออก มีดังนี้
1 เม่งจื้อ นักปรัชญาชาวจีน เชื่อว่า มนุษย์มีความดีที่ติดตัวมาแต่กําเนิด บริสุทธิ์เหมือนผ้าขาว
2 ซุ่นจื้อ นักปรัชญาชาวจีน เชื่อว่า ตามธรรมชาติแล้วมนุษย์ชั่วร้าย ดํามืด แต่เกิดมาพร้อมกับ สติปัญญา ซึ่งสติปัญญานี้ทําให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงสภาพหยาบกระด้างที่เป็นธรรมชาติของ มนุษย์ให้มีบุคลิกภาพอันงดงามสมบูรณ์ได้ โดยการฝึกอบรม
3 เล่าจื้อ นักปรัชญาชาวจีน เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นไม่ดีและไม่ชั่ว (เปรียบได้ดั่งสีเทา) ซึ่งเหมือนกับกระแสน้ำที่รวนเร ดังนั้นความดี ความเลว จึงเป็นสิ่งที่คู่กันในตัวมนุษย์
4 ท่านพุทธทาสภิกขุ เชื่อว่า คนหรือมนุษย์ยังเป็นผู้บกพร่อง เพราะต้องเรียนรู้แสวงหาหนทาง
ในการดําเนินชีวิต

32 ข้อใดไม่ใช่ชุดความเชื่อเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ตามหลักปรัชญาตะวันตก
(1) ธรรมชาติของมนุษย์เป็นคนดี
(2) ความไม่ดีในตัวมนุษย์เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อม
(3) ธรรมชาติของมนุษย์นั้นป่าเถื่อน เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ หยาบคาย และอายุสั้น
(4) มนุษย์ยังเป็นผู้บกพร่อง เพราะต้องเรียนรู้แสวงหาหนทางในการดําเนินชีวิต
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 3), (ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ) นักจิตวิทยาและนักปรัชญาชาวตะวันตก ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ไว้ ดังนี้
1 โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นป่าเถื่อน เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ หยาบคาย และอายุสั้น
2 จอห์น ล็อก (John Locke) เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นคนดี ไม่เห็นแก่ตัว หากมีความไม่ดีในตัวมนุษย์ก็เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อม
3 คาร์ล อาร์, โรเจอร์ (Carl Ransom Roger) เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์มีความคล้ายคลึงกัน

ข้อ 33 – 35. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
(3) กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)
(2) กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)
(4) กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)

33 ความเชื่อที่ว่า “มนุษย์มีสติปัญญา มีการพัฒนาการตามวุฒิภาวะ มีความสามารถในการเรียนรู้ และ การปรับตัว” เป็นของสํานักใด
ตอบ 2 (PDF ครั้งที่ 3) กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism) ได้แก่ เลวิน (Lewin) พี่อาเจท์ (Piaget) และโคลเบิร์ก (Kolhberg) มีความเชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์เกิดจากผลของการปรับตัว ในสภาพแวดล้อม ซึ่งมนุษย์มีสติปัญญา มีการพัฒนาการตามวุฒิภาวะ จึงมีความสามารถ ในการเรียนรู้ และการปรับตัว

34 ความเชื่อที่ว่า “การแสดงออกของมนุษย์เกิดจากสภาพแวดล้อม จึงสามารถกําหนดแนวทางการพัฒนา พฤติกรรมมนุษย์ได้ โดยการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม” เป็นของสํานักใด
ตอบ 1 (PDF ครั้งที่ 3) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ได้แก่ กลุ่มฮัล (Hull) และสกินเนอร์ (Skinner) มีความเชื่อว่า พฤติกรรม (ที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์) เกิดจากจากสภาพแวดล้อม จึงสามารถกําหนดแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ได้ โดยจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ดังนั้นมนุษย์จึงเป็นผลิตผลของสิ่งแวดล้อม

35 ความเชื่อที่ว่า “ธรรมชาติของมนุษย์นั้นดีด้วยตนเอง พฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลจากการตอบสนอง ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์” เป็นของสํานักใด
ตอบ 3 (PDF ครั้งที่ 3) กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism) ได้แก่ โรเจอร์ (Roger) และมาสโลว์ (Maslow) มีความเชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นดีได้ด้วยตนเอง โดยพฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และเชื่อว่ามนุษย์ดีโดยกําเนิด

36 ความเชื่อที่ว่า “ธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์นั้นมีความเลวมาแต่กําเนิด พฤติกรรมของมนุษย์มาจาก ความต้องการพื้นฐานของจิตใต้สํานึก” เป็นของสํานักใด
(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
(2) กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)
(3) กลุ่มมนุษยนิยม (Humanismn)
(4) กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 3) กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ซึ่งได้แก่ ฟรอยด์ (Freud) และฟรอม (Fromm) เชื่อในเรื่องจิตและพฤติกรรมภายในว่า พฤติกรรมของมนุษย์มาจากความต้องการ พื้นฐานของจิตใต้สํานึก และเชื่อว่าธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์นั้นมีความเลวมาแต่กําเนิด

ข้อ 37 – 39. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) คนเรามีนิสัยไม่ชอบทํางาน ถ้ามีโอกาสหลบหลีกการทํางานได้ก็จะหลีกเลี่ยงทันที
(2) การใช้สมองในการทํางานเป็นของธรรมดาเหมือนกับการเล่น หรือการพักผ่อน
(3) การศึกษามนุษย์นั้นต้องดูภาพรวมทั้งหมดในฐานะเป็นบุคคลหนึ่ง
(4) มนุษย์เป็นผู้ที่ตั้งใจทํางานที่ตนรับผิดชอบและประนีประนอมให้งานบรรลุเป้าหมาย

37 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีการจูงใจในการบริหารของแมกเกรเกอร์ ตามหลักทฤษฎี X
ตอบ 1 (PDF ครั้งที่ 4) ทฤษฎีการจูงใจในการบริหารของแมกเกรเกอร์ กล่าวถึง ธรรมชาติของมนุษย์ ตามทฤษฎี X มีลักษณะทั่วไปดังนี้
1 คนเรามีนิสัยไม่ชอบทํางาน ถ้ามีโอกาสหลบหลีกการทํางานได้ก็จะหลีกเลี่ยงทันที หรือมักจะ ทํางานแบบ “เช้าชามเย็นชาม”
2 เพราะมีนิสัยไม่ชอบทํางาน จึงต้องใช้แรงเสริมทางลบเพื่อจูงใจให้ทํางาน คือ ใช้การบังคับ ควบคุม และมีบทลงโทษ เพื่อให้ทํางานจนบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
3 ชอบทํางานตามนายสั่ง ขาดความรับผิดชอบ และขาดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติหน้าที่การงาน แต่ต้องการความมั่นคงและปลอดภัยเหนือสิ่งอื่นใด

38 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีการจูงใจในการบริหารของแมกเกรเกอร์ ตามหลักทฤษฎี Y
ตอบ 2 (PDF ครั้งที่ 4) ทฤษฎีการจูงใจในการบริหารของแมกเกรเกอร์ กล่าวถึง ธรรมชาติของมนุษย์ ตามทฤษฎี Y มีลักษณะทั่วไปดังนี้
1 การออกแรงกายและการใช้สมองในการทํางาน เป็นของธรรมดาเหมือนกับการเล่นหรือ การพักผ่อน ซึ่งจะทําให้มนุษย์มีทัศนคติที่ดี เกิดความรักในงาน พึงพอใจและมีความสุข
ในการทํางาน
2 คนเราจะทํางานในหน้าที่ด้วยการสั่งงานและควบคุมตนเอง
3 ควรใช้แรงเสริมทางบวกเป็นสิ่งตอบแทนเพื่อจูงใจให้บุคคลทํางาน คือ การยกย่องชมเชย การให้รางวัลเพื่อเป็นกําลังใจกับผลสําเร็จของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีโอกาส แสดงผลงานและความสามารถในการทํางานตามที่เขาต้องการ ฯลฯ

39 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีการจูงใจในการบริหารของแรดดิน ตามหลักทฤษฎี Z
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 4) ทฤษฎีการจูงใจในการบริหารของแรดดิน กล่าวถึง ธรรมชาติของมนุษย์ตาม ทฤษฎี Y มีลักษณะทั่วไปดังนี้
1 มนุษย์เป็นผู้ที่ตั้งใจทํางานที่ตนรับผิดชอบและประนีประนอมให้งานบรรลุเป้าหมาย
2 มนุษย์มีสติปัญญา มีวุฒิภาวะ และมีเหตุผลของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นแรงจูงใจในการทํางาน
3 มนุษย์ยอมรับพฤติกรรมความไม่ดีที่เกิดจากการกระทําจากสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่
เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในชีวิต
4 มนุษย์ทุกคนจะต้องติดต่อเกี่ยวข้องและพึ่งพาอาศัยกัน โดยได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม

40 ข้อใดคือความหมายของความต้องการขั้นต้น (Primary Needs) ของมนุษย์
(1) เป็นความต้องการเชิงอารมณ์และจิตใจที่มีลักษณะไม่ชัดเจน
(2) เป็นความต้องการทางด้านร่างกายที่ต้องการให้ชีวิตอยู่รอดและดํารงเผ่าพันธุ์ต่อไป
(3) แต่ละบุคคลมีความต้องการในขั้นนี้ที่ไม่เหมือนกัน
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูกต้อง
ตอบ 2 (PDF ครั้งที่ 4) ความต้องการทางสรีระ (Physiologicat Needs) หรือความต้องการขั้นต้น (Primary Needs) เป็นความต้องการด้านร่างกายที่ต้องการให้ชีวิตอยู่รอดและดํารงเผ่าพันธุ์ สืบต่อไป เช่น ความต้องการปัจจัยสี่ของมนุษย์ ซึ่งได้แก่ อาหาร/น้ํา ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ตลอดจนความต้องการทางเพศ ความต้องการพักผ่อน ความต้องการอุณหภูมิ ที่เหมาะสม ความต้องการขับถ่าย ฯลฯ

41 ข้อใดคือความหมายของความต้องการขั้นรอง (Secondary Needs) ของมนุษย์
(1) เป็นความต้องการเชิงอารมณ์และจิตใจที่มีลักษณะไม่ชัดเจน
(2) เป็นความต้องการทางด้านร่างกายที่ต้องการให้ชีวิตอยู่รอดและดํารงเผ่าพันธุ์ต่อไป
(3) แต่ละบุคคลมีความต้องการในขั้นนี้ที่ไม่เหมือนกัน
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูกต้อง
ตอบ – 4 (PDF ครั้งที่ 4) ความต้องการทางด้านสังคม หรือด้านจิตวิทยา หรือความต้องการขั้นรอง (Secondary Needs) เป็นความต้องการเชิงอารมณ์และจิตใจที่มีลักษณะไม่ชัดเจน เช่น ความต้องการมีศักดิ์ศรี ความต้องการการยอมรับ การยกย่อง ความรัก ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะที่สามารถสรุปได้ดังนี้
1 มักเกิดจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
2 แต่ละบุคคลมีความต้องการขั้นรองแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน
3 เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ แม้แต่ในบุคคลคนเดียวกัน
4 มักเกิดขึ้นเมื่อบุคคลอยู่ในกลุ่มสังคมมากกว่าอยู่คนเดียว
5 บุคคลมักไม่แสดงออกอย่างเปิดเผยและซ่อนเร้นความต้องการในขั้นนี้ไว้
6 บางครั้งมีลักษณะเป็นนามธรรมและไม่ชัดเจน ไม่เหมือนความต้องการขั้นต้น
7 มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์

42 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์
(1) มีปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงและส่งอิทธิพลต่อกันมากมาย
(2) พฤติกรรมของมนุษย์ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจ
(3) ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์มีอยู่ 2 ปัจจัย
(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พฤติกรรม (Behaviors) หมายถึง การกระทําต่าง ๆ ของมนุษย์ทั้งด้านจิตใจ (ไม่สามารถสังเกตได้) และด้านการแสดงออก (สามารถสังเกตได้) ซึ่งการกระทําทั้ง 2 ด้านนี้ เกิดจากการควบคุมสั่งการของระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อให้เกิดความรู้สึก เกิดการรับรู้ คิด และตัดสินใจกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงและส่ง อิทธิพลต่อกันมากมาย แต่ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์มีอยู่ 2 ปัจจัย ได้แก่
1 ปัจจัยภายนอก
2 ปัจจัยภายใน

ข้อ 43 – 46. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) เม่งจื้อ
(2) ซุ่นจื้อ
(3) เล่าจื้อ
(4) ขงจอ

43 ตามธรรมชาติแล้วมนุษย์ชั่วร้าย ดํามืด แต่เกิดมาพร้อมกับสติปัญญา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

44 มนุษย์นั้นเหมือนสายน้ำที่รวนเร ความดี ความเลวนั้น เป็นสิ่งที่คู่กันในตัวมนุษย์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

45 มนุษย์นั้นมีความดีติดตัวแต่กําเนิด บริสุทธิ์เหมือนผ้าขาว
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

46 ธรรมชาติของมนุษย์ไม่ดี ไม่ชั่ว (เปรียบได้กับสีเทา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

ข้อ 47. – 50. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ความต้องการด้านร่างกาย
(2) ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง
(3) ความต้องการด้านความรักและการยอมรับ
(4) ความต้องการการยกย่องสรรเสริญ

47 ต้องการมิตรภาพ ความสัมพันธ์แบบลึกซึ้ง ความสัมพันธ์ในครอบครัว
ตอบ 3 (PDF ครั้งที่ 5) ความต้องการความรักและร่วมกิจกรรมในสังคม (Belonging and Social Activity Needs) คือ ความต้องการความรักและการยอมรับ ต้องการมิตรภาพ ความสัมพันธ์ แบบลึกซึ้ง ความสัมพันธ์ในครอบครัว รวมถึงความต้องการแสดงตัวและมีส่วนร่วมในกิจกรรม ของสังคม โดยจะเกิดขึ้นในลักษณะของการยอมปฏิบัติตนตามกรอบกติกามารยาทของสังคมหรือการมีพฤติกรรมตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกําหนด ทั้งนี้การสร้างมนุษยสัมพันธ์ของบุคคลก็เป็น การตอบสนองความต้องการในลําดับขั้นนี้

48 ต้องการปัจจัยสี่ (น้ํา อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค) เพื่อการดํารงชีพ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ

49 ต้องการมีสถานะทางสังคม การได้รับเกียรติยศ ศักดิ์ศรี การนับหน้าถือตา
ตอบ 4 (PDF ครั้งที่ 5) ความต้องการเกียรติยศ ชื่อเสียง และตําแหน่งหน้าที่ (Esteem and Status Needs) คือ ความต้องการการยกย่องสรรเสริญ ต้องการมีสถานะทางสังคม การได้รับเกียรติยศ ศักดิ์ศรี การนับหน้าถือตา และยอมรับตนว่าเป็นคนสําคัญของกลุ่มสมาชิก มนุษย์จึงพยายาม พัฒนาศักยภาพของตนให้เหนือกว่าคนอื่น โดยการสร้างสมความรู้ความสามารถ ทําตนให้เป็นที่รู้จัก และแก่งแย่งแข่งขันกันเพื่อให้ได้รับความต้องการในขั้นนี้

50 ต้องการสุขภาพที่ดี การมีเสถียรภาพทางการเงิน การงานอาชีพ
ตอบ 2 (PDF ครั้งที่ 5) ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง (Safety and Security Needs) คือ ความต้องการความปลอดภัย หรือความรู้สึกมั่นคงในชีวิตด้านต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ บุคคลมีปัจจัยสี่เพียงพอในระดับหนึ่งแล้ว เขาจะพัฒนาขึ้นไปต้องการมีความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน เช่น ต้องการมีสุขภาพที่ดี การมีเสถียรภาพทางการเงิน มีหน้าที่การงาน อาชีพที่มั่นคง ฯลฯ

51 “เราไม่สามารถแก้ปัญหาที่เราสร้างขึ้นด้วยความคิดแบบเดิม เมื่อเราต้องการผลลัพธ์ใหม่” เป็นคํากล่าว
ของใคร
(1) เดวิด โบห์ม
(2) อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
(3) แมคลูฮัน
(4) ปีเตอร์ รัสเซลล์
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 13) ในหัวข้อเรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในที่นําไปสู่การเปลี่ยนแปลง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้กล่าวไว้ว่า “เราไม่สามารถแก้ปัญหาที่เราสร้างขึ้นด้วยความคิดแบบเดิม เมื่อเราต้องการผลลัพธ์ที่ต่างออกไป”

52 เป้าหมายของทฤษฎีตัวยู (U-Theory) คืออะไร
(1) การยอมรับเชิงประจักษ์
(2) การสนับสนุนความเชื่อเดิม
(3) การอธิบายระดับการรับรู้ความจริง
(4) การสร้างความน่าเชื่อถือผ่านแรงกระตุ้น
ตอบ 3 (เอกสาร หน้า 13) การเกิดกระบวนทัศน์ใหม่หรือโลกทัศน์ใหม่ เกิดจากกระบวนการที่ทําให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในระดับลึก ซึ่งออตโต ชาร์เมอร์ (Otto Scharmer) ได้พัฒนาทฤษฎี ตัวยู (U-Theory) เพื่ออธิบายถึงระดับของการรับรู้และการเปลี่ยนแปลง โดยใช้ลักษณะของ ตัวยูมาอธิบายความลึกของระดับการรับรู้ความจริงและระดับการกระทําที่เกิดจากการรับรู้นั้น

53 ทฤษฎีตัวยู (U-Theory) เป็นของใคร
(1) Otto Scharmer
(2) Ken Willber
(3) Peter Russell
(4) David Bohm
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

54 Observing ต่างจาก Suspending อย่างไร
(1) การห้อยแขวนอคติ
(2) สังเกตการณ์โดยไม่ตัดสินสิ่งต่าง
(3) การตัดสินสิ่งต่าง ๆ จากข้อมูลเดิม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 14) ตามทฤษฎีรูปตัวยู (U-Theory) นั้น อธิบายว่า การที่เราเฝ้าสังเกต (Observing) สถานการณ์ใด ๆ หรือเรื่องใดโดยรู้ตัว โดยวางไว้ไม่ตัดสิน (Suspending) มองด้วยสายตาใหม่สดและลงไปสัมผัสกับเรื่องนั้น ๆ อย่างลึกซึ้ง (Deep Dive) ทําให้เรา มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนของพฤติกรรม(Redesign) ของตัวเองจากความคุ้นชินเดิม ๆ และนําไปสู่การเปลี่ยนกรอบของตัวเองที่เคยมีมาแต่เดิม (Reframe)

55 “Open Will” คือกระบวนการใด
(1) สภาวะการแสดงออกด้วยการกระทําหรือคําพูด
(2) สภาวะยูขาลง
(3) การปรับเปลี่ยนแบบแผนของพฤติกรรม
(4) สภาวะยูขาขึ้น
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 13), (คําบรรยาย) จากภาพทฤษฎีรูปตัวยู (U-Theory) อธิบายได้ว่า สภาวะ ยูขาลงในขั้นตอนที่ 4 “Open Will” หรือ “Presencing” คือ การอยู่กับปัจจุบันที่สุด เราจะ เห็นคําตอบมากมาย ทางเลือกหลากหลาย และความเป็นได้ทุกทางในอนาคต

56 ข้อใดคือส่วนที่สําคัญของการคิด วิเคราะห์ แยกแยะในการฟัง
(1) Suspending
(2) Bias
(3) Information
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 16), (คําบรรยาย) การห้อยแขวน (Suspending) คือ งดเว้นจากการตัดสิน ให้คุณค่าเรื่องที่ฟัง เว้นจากการประเมินหรือตัดสินเรื่องของคู่สนทนา รวมทั้งการไม่ใช้ทัศนะ ขั้วตรงข้าม กล่าวคือ การมองและเข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ นั้นแบ่งออกเป็นสองด้านที่ตรงข้ามกัน เมื่อเกิดการห้อยแขวนจะทําให้เกิดปัญญา ซึ่งถือเป็นส่วนที่สําคัญของการคิด วิเคราะห์ และแยกแยะในการฟัง

57 ข้อใดคือปัญหาของการสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์ในกระแสทุนนิยม
(1) สังคมมีการแข่งขันจนยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
(2) สังคมออกแบบเน้นการเรียนรู้เพื่อนําไปประกอบอาชีพ
(3) ปัจเจกบุคคลเห็นแก่ประโยชน์ตนเอง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (เอกสาร หน้า 4), (คําบรรยาย) ปัญหาของการสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์ในกระแสทุนนิยม และกระแสโลกาภิวัตน์ ได้แก่
1 สังคมออกแบบเน้นการเรียนรู้เพื่อนําไปประกอบอาชีพ
2 สังคมมีการแข่งขันจนยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
3 ปัจเจกบุคคลเห็นแก่ประโยชน์ตนเอง ไม่เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวม
4 ให้ความสําคัญกับการพัฒนาวัตถุ แต่ลดทอนความสําคัญเรื่องคุณธรรม ฯลฯ

58 เคน วิลเบอร์ (Ken Willber) อธิบายการพัฒนาระดับจิตของมนุษย์ว่าอย่างไร
(1) มนุษย์ควรเริ่มจากจิตภายในตน สังคม และวัฒนธรรม
(2) มนุษย์ควรเริ่มจากสังคม วัฒนธรรม และจิตภายในตน
(3) มนุษย์ควรเริ่มจากจิตภายในตน วัฒนธรรม และสังคม
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 4) เคน วิลเบอร์ (Ken Wilber) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “จิตวิทยาบูรณาการ” อธิบายว่า การพัฒนาระดับจิตของมนุษย์ไม่อาจมองข้ามบริบทต่าง ๆ ทางสังคม วัฒนธรรม และระบบสมองของมนุษย์ไปได้ ดังนั้นวิธีการส่งเสริมการพัฒนาจิตภายในของมนุษย์ จึงควร กระทําจากทั้งระดับจิตมนุษย์ การพัฒนาสมอง รวมถึงสังคม และวัฒนธรรมร่วมกันไป

59 ข้อใดคือปรากฏการณ์ที่ทําให้เกิดการมองโลกใหม่ของปีเตอร์ รัสเซลล์ (Peter Russell)
(1) การใช้ชีวิตของมนุษย์หมุนช้าขึ้น
(2) การมีจิตสํานึกไม่ถูกต้อง
(3) การเปลี่ยนแปลงทางวัตถุและจิตสํานึกพร้อมกัน
(4) นําเสนอนามธรรมของจิตวิวัฒน์
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 4 – 5) ปรากฏการณ์ปัจจุบันที่ทําให้เกิดการมองโลกในแง่มุมใหม่ ๆ ของปีเตอร์ รัสเซลล์ (Peter Russell) นักฟิสิกส์และจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้แก่
1 วิถีการดําเนินชีวิตของมนุษย์ที่นับวันจะดูเหมือนหมุนเร็วขึ้นไปทุกที ทําให้เกิดผลกระทบ อันไม่พึงปรารถนาในทุกระบบของสังคมและสิ่งแวดล้อม
2 วิเคราะห์ว่ารากเหง้าของปัญหาที่แท้จริง คือ การมีจิตสํานึกไม่ถูกต้อง
3 ทางออกของปรากฏการณ์นั้นไม่ได้อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงทางวัตถุกลไกภายนอก แต่ต้องเปลี่ยนแปลงจากภายใน เป็นการเปลี่ยนจิตสํานึกอย่างลุ่มลึก
4 นําเสนอแนวทางรูปธรรมของการขยายจิตสํานึกจากจิตอันคับแคบส่วนตัวไปสู่การมีจิตเผื่อแผ่กว้างใหญ่มีจิตวิวัฒน์

60 ข้อใดคือวัตถุประสงค์สําคัญในการปรับค่านิยม อุดมการณ์ในสังคมไทย
(1) การอยู่ร่วมกันกับความแตกต่างอย่างเป็นปึกแผ่น
(2) การปรับทัศนคติให้กลมกลืนได้อย่างเปิดกว้าง
(3) มีความเป็นเอกภาพท่ามกลางความขัดแย้ง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (เอกสาร หน้า 5) ระบบการศึกษา ตลอดจนการจัดระบบการเรียนรู้ในสังคมถือเป็นเรื่องใหญ่ และมีความสําคัญอย่างมีนัยในการปรับค่านิยม วัฒนธรรม แนวคิด และอุดมการณ์ของคนไทย ให้สามารถผสมกลมกลืนกันได้ ทั้งนี้เพื่อความเป็นปึกแผ่นท่ามกลางแนวคิดที่หลากหลาย และ มีความเป็นเอกภาพท่ามกลางความขัดแย้งที่แตกต่างในปัจจัยต่าง ๆ

61 แนวคิดแบบจิตตปัญญาศึกษา ต้องการพัฒนาด้านใดของมนุษย์
(1) สามารถประกอบอาชีพที่หลากหลาย
(2) สามารถพัฒนาความสมดุลด้านความรู้และจิตใจ
(3) สามารถสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา
(4) สามารถพัฒนาทักษะวิชาชีพได้ดี
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 5) แนวคิดแบบจิตตปัญญาศึกษา เป็นความพยายามที่จะพลิกฟื้นการศึกษาให้ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุลทั้งด้านความรู้และจิตใจอย่างที่ควรจะเป็น เพื่อให้เป็น ผู้ที่มีคุณธรรมความดีงาม รู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น สามารถอยู่ร่วมกันและมีชีวิตที่ก่อประโยชน์ เกื้อกูลกับสังคมได้อย่างมีความสุข ย่อมก่อให้เกิดผลการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ที่จะนําไปสู่สังคม ที่มีดุลยภาพต่อไป

62 ข้อใดคือลักษณะเรื่องกระบวนการเรียนรู้ของวิจักษณ์ พานิช
(1) การฟังโดยใช้ประสบการณ์ตนเองในการตัดสิน
(2) การใคร่ครวญด้วยการเปิดใจฟังอย่างยืดหยุ่น
(3) กระบวนการเรียนรู้เกิดจากการได้ยินผ่านหู
(4) การดูเหตุการณ์โดยไม่ต้องเชื่อมโยง
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 6) วิจักขณ์ พานิช อธิบายว่า การเอาใจใส่จิตใจในกระบวนการเรียนรู้สามารถ
ทําได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
1 การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) คือ การฟังด้วยหัวใจ ด้วยความตั้งใจอย่างสัมผัสได้ถึง รายละเอียดของสิ่งที่เราฟังอย่างลึกซึ้งด้วยจิตที่ตั้งมั่น ด้วยการเปิดใจฟังอย่างยืดหยุ่น ในที่นี้ ยังหมายถึง การรับรู้ในทางอื่น ๆ ด้วย เช่น การมองเห็น การอ่าน การสัมผัส ฯลฯ
2 การน้อมสู่ใจอย่างใคร่ครวญ (Contemplation) เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการฟังอย่าง ลึกซึ้ง ร่วมกับประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตทางอื่น ๆ เมื่อเข้ามาสู่ใจแล้วมีการน้อมนํามา คิดใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง ซึ่งต้องอาศัยความสงบเย็นของจิตใจเป็นพื้นฐาน จากนั้นก็ลองนําไป ปฏิบัติเพื่อให้เห็นผลจริง
3 การเฝ้ามองเห็นตามที่เป็นจริง (Meditation) การปฏิบัติธรรมหรือการภาวนา คือ การเฝ้าดู ธรรมชาติที่แท้ของจิต คือ การเปลี่ยนแปลงไม่คงที่

63 ข้อใดคือ Action-Oriented
(1) การเขียนให้เฉพาะเจาะจง แคบลงชัดเจนขึ้น
(2) สามารถวัดได้ แจกแจง ระบุการบรรลุได้
(3) ยึดการกระทําเป็นหลัก
(4) เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริง
ตอบ 3 (เอกสาร หน้า 42) ลักษณะของเป้าหมายที่ดี (SMART) ควรมีองค์ประกอบดังนี้
1 Specific (เฉพาะเจาะจง)
2 Measurable (สามารถวัดได้)
3 Action-Oriented (ยึดการกระทําเป็นหลัก)
4 Realistic (เป็นจริง)
5 Time and resource constrained (เวลาและข้อจํากัดด้านทรัพยากร)

64 การกําหนดเป้าหมายแบบกว้างและแบบเจาะจง เป็นการยกตัวอย่างของใคร
(1) Wallace & Master
(2) David Bohm
(3) Habermas
(4) Peter Russelle
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 43) Wallace & Masters ได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับการกําหนดเป้าหมายที่มี ลักษณะกว้างกับเป้าหมายที่มีลักษณะเจาะจง ดังนี้
1 แบบกว้าง : เป็นคนมีการศึกษาดี, แบบเจาะจง : ได้รับปริญญาโททางการสื่อสารมวลชน
2 แบบกว้าง : มีความสามารถทางการเป็นผู้นํา, แบบเจาะจง : ได้รับตําแหน่งเป็นหัวหน้างาน

65 การวางเป้าหมายช่วยให้บรรลุดุลยภาพแห่งชีวิตอย่างไร
(1) สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรู้เท่าทัน
(2) ทําให้รู้ว่าเดินถูกทางตามที่คิดไว้
(3) ชีวิตได้ความสมดุลในด้านต่าง ๆ ของชีวิต
(4) รู้ถึงความต้องการของชีวิต
ตอบ 3 (เอกสาร หน้า 37 – 38) ความสําคัญของเป้าหมายประการหนึ่ง ได้แก่ การวางเป้าหมาย ช่วยให้บรรลุดุลยภาพแห่งชีวิต คือ ชีวิตมีเป้าหมายหลายอย่างที่ต้องทําให้สําเร็จ ซึ่งการตั้ง เป้าหมายที่ครอบคลุมทุกด้านของชีวิต ทําให้ชีวิตได้ความสมดุลในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ชีวิตจะ ประสบความสําเร็จอย่างแท้จริงต่อเมื่อบรรลุเป้าหมายด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีดุลยภาพ และนั่นอาจเรียกว่า เป็นคนเก่ง

66 อุปสรรคใดที่ทําให้เป้าหมายไม่สําเร็จ
(1) ไม่ตั้งเป้าหมาย
(2) ไม่รู้วิธีการตั้งเป้าหมาย
(3) ขาดความเชื่อมั่น
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (เอกสาร หน้า 38 – 39) อุปสรรคขวางการบรรลุเป้าหมาย มีดังนี้
1 ไม่ตั้งเป้าหมาย
2 ไม่รู้วิธีการตั้งเป้าหมาย
3 เคยลองแล้วพลาด
4 ความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
5 ชีวิตนี้คงไม่มีหวัง
6 ปฏิเสธทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิต ฯลฯ

67 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการในการบรรลุเป้าหมาย
(1) นึกถึงสิ่งที่อยากมีในอนาคต
(2) ระบุความต้องการให้ชัดเจนว่า จะสําเร็จได้อย่างไร
(3) เขียนสิ่งที่อยากทํา
(4) เขียนแผนปฏิบัติหลังสํารวจความเป็นไปได้ของเป้าหมาย
ตอบ 4 (เอกสาร หน้า 40) Rouillard ได้ให้หลักการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งมีกระบวนการตามลําดับดังนี้
1 เขียนรายการของสิ่งที่อยากทํา หรือสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจ เช่น ต้องการรวย มีเงินเยอะ ๆ
2 นําสิ่งที่เขียนเป็นเป้าหมาย เช่น ต้องการมีเงินล้าน
3 ขยายเนื้อความของเป้าหมาย โดยระบุความต้องการให้ชัดเจนว่า จะสําเร็จได้อย่างไร เมื่อไร
4 แปลงเป็นแผน ปฏิบัติตามแผน หลังจากนั้นสํารวจทรัพยากรต่าง ๆ ว่า เป็นไปตามเป้าหมาย ที่กําหนดไว้หรือไม่เพียงใด

68 Action Plan ของ Wallace & Master อธิบายอย่างไร
(1) ตั้งวัตถุประสงค์, กําหนดเป้าหมาย, สภาพแห่งความสําเร็จ แผนปฏิบัติการ
(2) กําหนดเป้าหมาย, แผนปฏิบัติการ, สภาพแห่งความสําเร็จ, ตั้งวัตถุประสงค์
(3) ตั้งวัตถุประสงค์, กําหนดเป้าหมาย, แผนปฏิบัติการ สภาพแห่งความสําเร็จ
(4) กําหนดเป้าหมาย, แผนปฏิบัติการ, ตั้งวัตถุประสงค์ สภาพแห่งความสําเร็จ

ตอบ 3 (เอกสาร หน้า 40) Action Plan หรือ Plan of Action ของ Wallace & Master มีขั้นตอน
ประกอบด้วย
1 ตั้งวัตถุประสงค์
2 กําหนดเป้าหมาย
3 แผนปฏิบัติการ
4 สภาพแห่งความสําเร็จ

69 ข้อใดคือลักษณะของเป้าหมายที่ดี
(1) SMART
(2) SMILE
(3) SMOCK
(4) SMACT
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

70 เป้าหมายในการสื่อสารมีความสําคัญอย่างไร
(1) แผนที่การดําเนินชีวิต
(2) การเชื่อมโยงโลกภายในสู่โลกภายนอก
(3) การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 36 – 37) เป้าหมายทางการสื่อสารในที่นี้จะกล่าวเน้นถึงการตั้งเป้าหมายของ ชีวิตและการทํางานเป็นหลัก โดยความสําคัญของเป้าหมาย คือ เป้าหมายให้ทิศทางหรือแผนที่ ในการดําเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน ทําให้รู้ว่าต้องเดินทางไปถึงจุดใด ชี้ให้เห็นระดับวุฒิภาวะ และปรับดุลยภาพของชีวิต

71 Aldag & Kazuhara นิยาม “เป้าหมาย” ไว้อย่างไร
(1) ความฝันที่มีเส้นตาย
(2) ข้อความที่แสดงความปรารถนา
(3) ผลลัพธ์สุดท้ายจากการทุ่มเท
(4) จุดหมายปลายทาง
ตอบ 3 (เอกสาร หน้า 36) Aldag & Kazuhara ได้นิยาม “เป้าหมาย” ไว้ว่า หมายถึง ผลตอนสุดท้าย ที่ต้องการจากการทุ่มเทพลังบวกบางอย่างไป

72 คํานิยามที่มีความหมายใกล้เคียงกับ “เป้าหมาย” คือข้อใด
(1) Purpose
(2) Objective
(3) Target
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (เอกสาร หน้า 36 – 37) คํานิยามที่มีความหมายใกล้เคียงกับ “เป้าหมาย” เช่น เป้าประสงค์(Purpose), วัตถุประสงค์ (Objective), เป้าหมาย (Goal), จุดมุ่งหมาย (Aim) และจุดหมาย (Target) เป็นต้น

73 เป้าหมายเป็นป้ายบอกทางชีวิตอย่างไร
(1) ทําให้รู้ว่าเดินไปถูกทาง
(2) บรรลุเป้าหมายอย่างมีดุลยภาพ
(3) รู้ว่ามีความเป็นผู้ใหญ่เพียงใด
(4) การปรับชีวิตให้เหมาะกับเหตุการณ์อย่างรู้เท่าทัน
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 37) ความสําคัญของเป้าหมายประการหนึ่ง ได้แก่ เป้าหมายเป็นป้ายบอกทาง ให้ชีวิต คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าชีวิตของตนเดินได้ถูกทางที่ต้องการ ดังนั้นการทําเป้าหมายให้ สําเร็จไปเรื่อย ๆ ตลอดทาง จึงทําให้รู้ว่าเดินไปได้ถูกทาง เพื่อเป้าหมายที่ใหญ่กว่าหรือสําคัญ มากกว่า ซึ่งอยู่ข้างหน้า

74 สิ่งซ่อนเร้น (Tactice) หมายถึงข้อใด
(1) สิ่งที่ไม่ได้เอ่ยเป็นคําพูด
(2) การแสดงออกจากการพูด
(3) การโต้แย้ง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 19) สิ่งซ่อนเร้น (Tactice) หมายถึง สิ่งที่ไม่ได้เอ่ยเป็นคําพูด ไม่อาจอธิบายได้
เหมือนความรู้ที่จะใช้ขี่จักรยานเป็นตัวความรู้ที่แท้จริง แต่อาจกลมกลืนหรือไม่ก็ได้

75 ข้อใดคือต้นตอของปัญหาของความคิด
(1) ขาดการตระหนักรู้ในความคิด
(2) ความคิดเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
(3) ถูกทั้ง 2 ข้อ
(4) ผิดทั้ง 2 ข้อ
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 20) ต้นตอของปัญหาของความคิด เกิดขึ้นเพราะเราขาดการตระหนักรู้ใน ความคิด การที่เรายับยั้งมันไว้จึงเป็นโอกาสให้เราได้เกิดการตระหนักรู้ในความคิด เป็นการ สร้างกระจกเงา เพื่อสะท้อนให้เห็นผลที่เกิดจากความคิดของเราเอง

76 ข้อใดคือผลกระทบเมื่อเราไม่รับรู้สาเหตุการเกิดของความคิด
(1) เราจะกลับเข้าไปในวังวนของความคิด
(2) ความคิดจะคอยสร้างปัญหา
(3) จะเกิดการแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4(เอกสาร หน้า 20 – 21) ผลกระทบเมื่อเราไม่รับรู้สาเหตุการเกิดของความคิด มีดังนี้
1 ความคิดจะคอยสร้างปัญหาอยู่เสมอ
2 เราจะกลับเข้าไปในวังวนของความคิดที่มักชักนําไป นั่นคือ การไม่รับรู้ตนเอง
3 เกิดการแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด เพราะไม่ตระหนักว่าความคิด คือ ผู้สร้างปัญหา

77 ข้อใดคือปัญหาในวงสุนทรียสนทนา
(1) บทบาทต่าง ๆ ของสมาชิกในกลุ่มสนทนา
(2) การพูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างไหลลื่น
(3) การฟังโดยปราศจากอคติ
(4) ช่วงเงียบคิดของกลุ่มสนทนา
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 21 – 22) ปัญหาในวงสุนทรียสนทนา คือ บทบาทต่าง ๆ ของสมาชิกในกลุ่ม สนทนา ซึ่งมาจากรากฐานความคิดเห็นและสมมุติฐานต่าง ๆ ที่จะไปขัดขวางการดําเนินของ สุนทรียสนทนา อันเป็นสาเหตุที่ทําให้การสื่อสารล่มสลายได้ ดังนั้นการลดบทบาทผู้เล่าเรื่อง หรือการเว้นพื้นที่ว่างให้ทุกคนได้มีโอกาสพูด จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดความยุ่งยากในการใช้ สุนทรียสนทนา เพื่อให้สามารถดําเนินต่อไปได้

78 ข้อใดคือเครื่องมือลดความยุ่งยากในการใช้สุนทรียสนทนา
(1) การฟังอย่างลึกซึ้ง
(2) การใช้ประสบการณ์ของสมาชิกในกลุ่มมาแก้ไขปัญหา
(3) การลดบทบาทผู้เล่าเรื่อง
(4) การสรุปเล่าเรื่องจากสมาชิกกลุ่ม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

79 ข้อใดไม่ใช่ความละเอียดอ่อนในสุนทรียสนทนา
(1) เฝ้าสังเกตการณ์ความรู้สึกอย่างละเอียด
(2) การเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษากาย
(3) รับรู้ได้ว่าเราได้รับข้อมูลได้จากการฟัง
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3(เอกสาร หน้า 22 – 23) ความละเอียดอ่อนในสุนทรียสนทนา มีดังนี้
1 อาการที่รู้ว่าเมื่อใดควรพูดหรือไม่ควรพูด เป็นเฝ้าสังเกตการณ์ความรู้สึกอย่างละเอียด
2 การเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษากาย
3 เรื่องราวเป็นตัวเชื่อมให้ผู้ฟังรับรู้ความหมาย

80 ข้อใดคือความละเอียดอ่อนของสุนทรียสนทนา
(1) การเล่าเรื่องทําให้เราเดาเหตุการณ์ได้
(2) ผู้ฟังสามารถปะติดปะต่อเรื่องราวของผู้เล่าได้
(3) เรื่องราวเป็นตัวเชื่อมให้ผู้ฟังรับรู้
(4) ผู้ฟังซาบซึ้งจนน้ําตาไหล
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

81 ข้อใดคือสุนทรียสนทนาแบบจํากัด
(1) การใช้อํานาจเชิงกายภาพ
(2) การใช้อํานาจเชิงโครงสร้างครอบครัว
(3) การใช้อํานาจเชิงการสื่อสาร
(4) การใช้อํานาจเชิงวิทยาศาสตร์
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 23) สุนทรียสนทนาแบบจํากัดจะเกิดขึ้นตามกลุ่มในลักษณะเชิงลําดับ
อํานาจ เช่น การใช้อํานาจเชิงโครงสร้างครอบครัว เพราะตามปกติครอบครัวจะมีลักษณะของ
การบังคับบัญชาตามลําดับชั้นที่อยู่บนหลักการของการใช้อํานาจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับ
สุนทรียสนทนา ดังนั้นครอบครัวจึงเป็นโครงสร้างที่อาจยากจะทําให้เกิดสุนทรียสนทนาได้

82 ข้อใดคือแนวทางการแก้ปัญหาสุนทรียสนทนาแบบจํากัด
(1) รับฟังความคิดเห็นของแต่ละคนอย่างให้คุณค่า
(2) จิตที่ผ่อนคลายและเปิดกว้าง
(3) การแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ความคิดเห็นระหว่างกัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (เอกสาร หน้า 24) แนวทางการแก้ปัญหาสุนทรียสนทนาแบบจํากัด มีดังนี้
1 รับฟังความคิดเห็นของแต่ละคนอย่างให้คุณค่า
2 มีจิตที่ผ่อนคลายและเปิดกว้างมากขึ้น พร้อมที่จะมองดูทุก ๆ ความคิดเห็น
3 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นระหว่างกัน และรับฟังสมมุติฐานต่าง ๆ ของกันและกัน

83 ข้อใดคือความหมายของคําว่า “สังเกต” ในสุนทรียสนทนา
(1) การเก็บรวบรวมจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ สู่สมอง โดยค่อยเป็นค่อยไป
(2) การเก็บรวบรวมจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ สู่สมอง โดยสรุปข้อมูล
(3) การเก็บรวบรวมจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ สู่สมอง โดยกระชับเวลา
(4) การเก็บรวบรวมจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ สู่สมอง โดยใช้ประสบการณ์ตนเอง
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 24 – 25) คําว่า “สังเกต” ในสุนทรียสนทนา หมายถึง การเก็บรวบรวมจาก ประสาทสัมผัสต่าง ๆ สู่สมอง จากนั้นนํามารวมกันโดยการสรุปข้อมูลและประสานจัดการให้ เกิดความหมาย โดยคุณลักษณะที่ดีของผู้สังเกต คือ การเป็นคนขี้สงสัย

84 ข้อใดคือคุณลักษณะที่ดีของผู้สังเกต
(1) คนขี้ระแวง
(2) คนขี้สงสัย
(3) คนประนีประนอม
(4) คนชอบแสดงความคิดเห็น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 83 ประกอบ

85 ข้อใดคือปฏิกิริยาของมนุษย์ที่แสดงขั้นตอนของอาการที่จะก่อให้เกิดระดับความรุนแรงของความรู้สึก
(1) หัวใจเต้นเร็ว
(2) จามมีน้ำมูก
(3) อาการคันตามร่างกาย
(4) ปวดหัวตึ๊บ ๆ
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 26) ปฏิกิริยาทางร่างกายของมนุษย์ที่แสดงขั้นตอนของอาการที่จะก่อให้เกิด ระดับความรุนแรงของความรู้สึก เช่น หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง อาการหายใจถี่ ร่างกาย เกร็งเครียด เป็นต้น

86 “Proprioception” ในความหมายของเดวิด โบห์ม คือข้อใด
(1) ต้องสามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของความคิดตนเองได้
(2) การรับรู้ความคิดด้วยตนเอง
(3) ความคิดที่รับรู้การกระทําของตนเอง
(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสาร หน้า 27) คําว่า “Proprioception” เป็นศัพท์เฉพาะ หมายถึง การรับรู้ความคิด ด้วยตนเอง การตระหนักรู้ในความคิดแห่งตน หรือความคิดที่รับรู้การกระทําของตนเอง แต่ใน ความหมายของเดวิด โบห์ม (David Bohm) คือ ไม่ว่าเราจะใช้คําใด เราต้องสามารถรับรู้การ เคลื่อนไหวของความคิดตนเองได้ ตระหนักถึงการเคลื่อนไหวของความคิดตนเองได้

87 ข้อใดคือลักษณะพิเศษของสื่อบุคคลที่แตกต่างจากสื่ออื่น ๆ
(1) สื่อสารแบบสองทิศทาง มีความยืดหยุ่นสูง
(2) แพร่กระจายข่าวสารได้กว้าง
(3) สามารถเป็นตัวแทนจําหน่ายผลิตภัณฑ์ได้
(4) สื่อสารโดยไม่รู้จักผู้รับสารได้
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 68) สื่อบุคคลมีลักษณะที่พิเศษเมื่อเทียบกับสื่ออื่น ๆ โดยเฉพาะสื่อมวลชน คือ ความเป็นมนุษย์ เพราะสื่อบุคคลมีคุณลักษณะที่มีความยืดหยุ่นสูง สื่อสารกันแบบเห็นหน้ากัน และสองทิศทาง จึงทําให้เหมาะกับการพัฒนาบนกระบวนทัศน์กระแสทางเลือก

ข้อ 88 – 91. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) สื่อบุคคลยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์
(2) สื่อบุคคลสื่อสารแนวตั้ง แนวระนาบ และ 2 ทิศทาง
(3) สื่อบุคคลเหมาะกับการพัฒนาตามแบบกระบวนทัศน์ทางเลือก
(4) สื่อบุคคลเป็นสื่อที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาได้

88 การถ่ายทอดและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ดี
ตอบ 3 (เอกสาร หน้า 68) สื่อบุคคลเป็นสื่อที่เหมาะกับการพัฒนาตามแบบกระบวนทัศน์ทางเลือก คือ
สื่อบุคคลได้รับการหยิบมาใช้ตั้งแต่ยุคแรกของการพัฒนา แต่เน้นการถ่ายทอดข่าวสารเท่านั้น หมายถึง การถ่ายทอดเพียงความรู้และอาจปรับเปลี่ยนทัศนคติ แต่การพัฒนาบนกระบวนทัศน์ กระแสทางเลือกที่มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น สื่อบุคคลได้รับยกย่องว่า เป็นสื่อที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้อย่างดีอีกด้วย

89 สามารถปรับเนื้อหาและกระบวนการสื่อสารได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 68) สื่อบุคคลมีลักษณะยืดหยุ่น สร้างสรรค์ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ คือ สื่อบุคคลมีลักษณะเป็นมนุษย์ จึงมีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งเมื่อเทียบกับสื่อมวลชนแล้ว สื่อบุคคลจะ สามารถปรับเปลี่ยนเนื้อหากระบวนการสื่อสารได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

90 ทําหน้าที่สร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนได้อย่างดี
ตอบ 4 (เอกสาร หน้า 68) สื่อบุคคลเป็นสื่อที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาได้ คือ จากทัศนะที่มองว่า มนุษย์สามารถพัฒนาทําให้เกิดการมองว่า หากมีการเสริมพลัง (Empowerment) ก็ย่อม ทําให้มนุษย์พัฒนาขึ้น ดังนั้นมนุษย์ธรรมดาก็สามารถเสริมพลังให้กลายเป็น “สื่อบุคคล” ที่ทําหน้าที่เป็นผู้สื่อสารการสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนได้อย่างดี

91 ทําหน้าที่เป็นตัวเชื่อมในบริบทต่าง ๆ ทําให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้ดีกว่าการสื่อสารทางเดียว
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 68) สื่อบุคคลใช้ในการสื่อสารแนวตั้ง แนวระนาบ และการสื่อสารสองทิศทาง คือ สื่อบุคคลมีทิศทางการสื่อสารได้ทั้งแนวตั้งและแนวระนาบ หากเป็นกระบวนทัศน์ทางเลือก สื่อบุคคลจะเริ่มทําหน้าที่เป็นตัวเชื่อมในบริบทต่าง ๆ และสื่อบุคคลยังมีการสื่อสารสองทิศทาง ทําให้การเปิดโอกาสรับฟังปัญหาจากชุมชนเกิดผลสัมฤทธิ์ได้ดีกว่าการสื่อสารทิศทางเดียว

92 ข้อใดคือการพัฒนาของสื่อบุคคลที่ทําให้ผู้รับสารเข้าใจเป้าหมายการทํางาน ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพ
การสื่อสารได้
(1) สื่อบุคคลมีเจตนา มีแรงจูงใจ
(2) สื่อบุคคลมีลักษณะหลายโฉมหน้า
(3) สื่อบุคคลยืดหยุ่น สร้างสรรค์
(4) สื่อบุคคลเป็นสื่อที่มีศักยภาพ
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 70) สื่อบุคคลมีคุณลักษณะที่มีเจตนา มีแรงจูงใจ ด้วยความเป็นมนุษย์ ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่สื่อบุคคลจะมีเจตนา มีแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งด้านหนึ่งหากมีแรงจูงใจ เจตนาที่ดีก็จะทําให้สามารถใช้การสื่อสารเพื่อการพัฒนาได้เป็นอย่างดี รวมถึงหากสื่อบุคคล สามารถระบุเจตนาของตนออกไปได้ก็จะช่วยทําให้ผู้รับสารได้เข้าใจเป้าหมายการทํางาน และ
จะส่งผลทําให้เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสารได้ในอีกทางหนึ่ง

93 สื่อบุคคลมีคุณสมบัติในการมีสติ สมาธิ การไตร่ตรองประเด็น เป็นคุณลักษณะระดับใดของการสื่อสาร
(1) ระดับการสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) ระดับการสื่อสารภายในตนเอง
(3) ระดับการสื่อสารสาธารณะ
(4) ระดับการสื่อสารผ่านสื่อมวลชน
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 69) ในระดับการสื่อสารภายในตนเอง สื่อบุคคลจะมีคุณสมบัติสําคัญในการ มีสติ สมาธิ การไตร่ตรองประเด็นต่าง ๆ ก่อนที่จะสื่อสาร ในส่วนนี้เป็นสิ่งที่สื่อบุคคลเท่านั้นจึงจะทําได้

94 ข้อใดคือปัจจัยเสริมและอุปสรรคต่อการทําหน้าที่ของสื่อบุคคล
(1) ชุมชนและสังคม
(2) การสื่อสารแนวตั้ง
(3) ชีวิตส่วนตัวและชีวิตการงาน
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 (เอกสาร หน้า 70) สื่อบุคคลมีทั้งชีวิตส่วนตัวและชีวิตการงาน คือ การใช้สื่อบุคคลอาจต้อง พิจารณาถึงลักษณะของชีวิตส่วนตัวและชีวิตการงานควบคู่กันไป เพื่อจะพิจารณาว่าอะไร คือ ปัจจัยเสริมและอะไรเป็นอุปสรรคขวางกั้นการทําหน้าที่ของสื่อบุคคล เพราะในหลายครั้งชีวิตการงานและชีวิตส่วนตัวก็อาจมีความขัดแย้งกัน

95 ข้อใดคือ ความหมายคําว่า “สื่อบุคคล” ตามกระบวนทัศน์การพัฒนากระแสหลัก (Dominant Paradigm) (1) บุคคลที่สามารถถ่ายทอดข้อมูลระหว่างกัน
(2) บุคคลที่ทําหน้าที่สื่อสารเป็นตัวกลางระหว่างรัฐกับชุมชน
(3) บุคคลที่ถ่ายทอดความรู้ภายในตนต่อบุคคลอื่นได้โดยอิสระ
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 (เอกสาร หน้า 65) คําว่า “สื่อบุคคล” ตามกระบวนทัศน์การพัฒนากระแสหลัก (Dominant Paradigm) ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาจากรัฐส่วนกลาง และเน้นความทันสมัย จะหมายถึง “บุคคล ที่ทําหน้าที่สื่อสาร ถ่ายทอดข่าวสารความรู้จากส่วนกลาง” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ “การเป็นตัวกลางหรือสะพานเชื่อมระหว่างรัฐกับชุมชน”

96 ข้อใดคือความหมายของ “สื่อบุคคล” ในทางปฏิบัติ ตามทัศนะของกาญจนา แก้วเทพ และอมรรัตน์ ทิพย์เลิศ
(1) บุคคลที่มีศักยภาพเป็นนักสื่อสารได้
(2) บุคคลที่ถ่ายทอดข่าวสารความรู้จากส่วนกลาง
(3) บุคคลที่เป็นทั้งผู้ส่งสาร เนื้อหา สื่อ/ช่องทาง และผู้รับสาร
(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (เอกสาร หน้า 66) ความหมายของ “สื่อบุคคล” ในทางปฏิบัติ ตามทัศนะของกาญจนา แก้วเทพ และอมรรัตน์ ทิพย์เลิศ ได้ขยายความว่า สื่อบุคคลยังเป็นไปได้มากกว่าเป็นแค่ “สื่อ” แต่สามารถแสดงบทบาทได้มากขึ้น กล่าวคือ บุคคลที่เป็นทั้งผู้ส่งสาร เนื้อหา สื่อ/ ช่องทาง และผู้รับสาร

97 ข้อใดคือเครื่องมือที่สําคัญที่สุดในการสร้างความน่าสนใจของผู้สื่อสาร
(1) เนื้อหา
(2) ภาษาพูด
(3) ภาษากาย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3(เอกสาร หน้า 82) สิ่งที่สร้างความน่าสนใจในนักนําเสนอ มีดังนี้
1 ภาษากาย 55% (ถือเป็นเครื่องมือที่สําคัญที่สุดในการสร้างความน่าสนใจของผู้สื่อสาร)
2 ภาษาพูด 38%
3 เนื้อหา 7%

98 ข้อใดไม่ใช่การนําเสนอที่ดี
(1) สั้นและสื่อความหมายไม่ชัดเจน
(2) กระชับและเชื่อมโยง
(3) เข้าใจง่ายและอยู่ในความทรงจํา
(4) สื่อสารให้ผู้ฟังเชื่อตามได้
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 82) การนําเสนอที่ดีจะต้องมีลักษณะดังนี้
1 สั้นและสื่อความหมายชัดเจน
2 กระชับและเชื่อมโยง
3 เข้าใจง่าย
4 อยู่ในความทรงจํา
5 โน้มน้าวจิตใจหรือสื่อสารให้ผู้ฟังเชื่อตามได้

99 ผู้สื่อสารไม่ควรใช้สายตาแบบใด
(1) มองผู้ฟังเพียงคนเดียว
(2) มองเป็นแบบแผน
(3) มองสื่ออื่นหรือมองแบบผ่าน ๆ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (เอกสาร หน้า 83) ทักษะการใช้สายตาในการพูดนําเสนอ มีดังนี้
1 มองไปยังผู้ฟังให้ทั่วถึง แต่ไม่ควรมองผู้ฟังเพียงคนเดียว มองเป็นแบบแผน และมองสื่ออื่น
หรือมองแบบผ่าน ๆ
2 หยุดคิด
3 พูดกับผู้ฟัง (3 – 5 วินาที)

100 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการใช้สายตา
(1) สามารถควบคุมพฤติกรรมผู้ฟังได้
(2) ส่งสารได้อย่างชัดเจน
(3) ลําดับขั้นตอนการคิด
(4) ควบคุมความประหม่า
ตอบ 1 (เอกสาร หน้า 82) ประโยชน์ของการใช้สายตา มีดังนี้
1 ควบคุมความประหม่า
2 ส่งสารได้อย่างชัดเจน
3 เข้าใจถึงความรู้สึกของผู้ฟัง
4 ลําดับขั้นตอนการคิด

cdm2403 (mcs3151) การสื่อสารเพื่อจัดการความสัมพันธ์ s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา cdm2403 (mcs3151) การสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ปัจจัยเริ่มต้นของการสร้างมนุษยสัมพันธ์ คือข้อใด
(1) ตนเอง
(2) คู่สื่อสาร
(3) ครอบครัว
(4) สังคม
ตอบ 1 หน้า 3, 17, 19, (คําบรรยาย) ปัจจัยหรือจุดเริ่มต้นของการสร้างมนุษยสัมพันธ์ คือ ตนเอง โดยเริ่มจากการรู้จักและเข้าใจตนเอง ขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักและเข้าใจผู้อื่นด้วย ทั้งนี้บุคคล จะต้องรู้จักมองโลกในแง่ดีหรือมีทัศนคติ/แนวคิดเชิงบวก (Positive Thinking) ทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสิ่งต่าง ๆ เช่น การยอมรับความแตกต่างของบุคคล เป็นต้น

2 ข้อใดคือความหมายของมนุษยสัมพันธ์
(1) การสื่อสารของมนุษย์
(2) การปรับตัวของมนุษย์
(3) ธรรมชาติของมนุษย์
(4) ความต้องการของมนุษย์
ตอบ 2หน้า 1 – 4, 23 นักวิชาการได้ให้ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) เอาไว้ อย่างมากมาย แต่ความหมายที่สั้นและตรงที่สุดเห็นจะได้แก่ความหมายที่ว่า การติดต่อสัมพันธ์ ระหว่างผู้คน ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างมนุษย์ หรือทักษะในการปรับตัว เพื่อให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

3 ข้อใดคือ “การเสริม” ในความหมายของมนุษยสัมพันธ์
(1) การสร้างความสัมพันธ์
(2) การพัฒนาความสัมพันธ์
(3) การขยายความสัมพันธ์
(4) การเริ่มต้นความสัมพันธ์
ตอบ 2หน้า 3, (คําบรรยาย) คําว่า “การสร้างเสริม” ในความหมายของมนุษยสัมพันธ์ หมายถึง มนุษยสัมพันธ์เป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างของบุคคล และเมื่อสร้างให้เกิดขึ้นได้แล้วก็ต้องรู้จักการเสริม คือ การดูแลรักษาและรู้จักพัฒนาความสัมพันธ์ให้คงอยู่กับตัวเราตลอดไป

4 ข้อใดแสดงถึงลักษณะของมนุษยสัมพันธ์
(1) บุคคลมีลักษณะของมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง
(2) มนุษยสัมพันธ์เกิดจากพรสวรรค์ของบุคคล
(3) บุคคลมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์เท่าเทียมกัน
(4) เมื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์ได้แล้วจะดํารงอยู่ตลอดไป
ตอบ 1 หน้า 3, 15, (คําบรรยาย) ลักษณะของมนุษยสัมพันธ์ มีดังนี้
1 มนุษยสัมพันธ์เกิดจากการสร้างของบุคคล ไม่ใช่ทักษะความสามารถที่ติดตัวมาแต่กําเนิด ไม่ใช่คุณลักษณะที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ และไม่ใช่เป็นพรสวรรค์ของบุคคล
2 การสร้างมนุษยสัมพันธ์อาจสูญสลายไปได้ ถ้าหากไม่รู้จักพัฒนาความสัมพันธ์ให้คงอยู่กับตัวเราตลอดไป
3 มนุษยสัมพันธ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
4 แต่ละบุคคลมีลักษณะของมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง แต่มีไม่เหมือนกันหรือไม่เท่าเทียมกัน
5 ไม่มีใครมีมนุษยสัมพันธ์ที่สมบูรณ์แบบ

5 ข้อความใดไม่สอดคล้องกับแนวคิดในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
(1) อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูมิรู้หาย
(2) ไผ่ยังต่างปล้อง พี่น้องยังต่างใจ
(3) เป็นธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ
(4) ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข้อความที่มีความหมายไม่สอดคล้องกับแนวคิดในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ คือ สํานวนไทยที่ว่า “ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่” หมายถึง ให้รู้จักพิจารณาผู้หญิงที่จะเลือกเป็น คู่ครอง โดยดูจากนิสัยใจคอและความประพฤติของมารดา (ส่วนบทกลอนที่ว่า “อันอ้อยตาล หวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูมิรู้หาย” หมายถึง สร้างความพึงพอใจให้กับคนอื่นด้วย คําพูดที่ไพเราะอ่อนหวาน, “ไผ่ยังต่างปล้อง พี่น้องยังต่างใจ” หมายถึง ต่างคนต่างมีความเห็น ไม่เหมือนกัน จึงควรยอมรับความเป็นปัจเจกบุคคล, “เป็นธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ ใครมา ถึงเรือนชานต้องต้อนรับ” หมายถึง ต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมด้วยมิตรไมตรี ยิ้มแย้มแจ่มใส)

6 การอยู่ร่วมกันของมนุษย์เมื่อเริ่มรวมตัวเป็นกลุ่มสังคม มีลักษณะอย่างไร
(1) อยู่ร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นไปโดยอัตโนมัติ
(2) อยู่ร่วมกันอย่างเป็นทางการ และไม่เสมอภาค
(3) อยู่ร่วมกันอย่างมีปฏิสัมพันธ์ และเป็นกันเอง
(4) อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
ตอบ 1 หน้า 9 ความสัมพันธ์ของมนุษย์ในยุคที่เริ่มอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มสังคมนั้นจะมีลักษณะของการ อยู่ร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นไปโดยอัตโนมัติ แต่เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมใหญ่ สังคมมนุษย์ได้แตกเป็นกลุ่มเป็นสถาบันย่อย ๆ ตามความจําเป็น ทําให้ลักษณะความสัมพันธ์ ในการอยู่ร่วมกันเป็นไปในรูปแบบที่เป็นทางการมากขึ้น แต่ก็เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เสมอภาคเพราะมีการเอารัดเอาเปรียบกัน

7 ความเป็นมาของการศึกษาวิชามนุษยสัมพันธ์เริ่มต้นจากข้อใด
(1) สถาบันครอบครัว
(2) สถาบันการศึกษา
(3) โรงงานอุตสาหกรรม
(4) สภาขุนนาง
ตอบ 2 หน้า 14 ความเป็นมาของการศึกษาวิชามนุษยสัมพันธ์ได้เริ่มต้นขึ้นจากสถาบันการศึกษา เมื่อศาสตราจารย์เอลตัน เมโย (Elton Mayo) บิดาแห่งวิชามนุษยสัมพันธ์ ได้ริเริ่มเปิดสอน วิชามนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) ขึ้นเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศ สหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) ซึ่งอีก 10 ปีต่อมาวิชานี้ก็กลายเป็นวิชาบังคับ ในหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัย

ข้อ 8. – 10. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) แอนดรู ยูรี
(2) โรเบิร์ต โอเวน
(3) เอลตัน เมโย
(4) เฮ็นรี่ แกนต์

8 ใครคือนายจ้างที่ใช้เงินรางวัลพิเศษในการจูงใจให้คนงานเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน
ตอบ 4 หน้า 13 ในปี ค.ศ. 1912 เฮนรี่ แอล. แกนต์ (Henry L. Gantt) เป็นวิศวกรหนุ่มที่ได้คิดหา วิธีจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานของคนงาน โดยเขาได้ขยายแนวคิดของเฟเดอริก ดับบลิว. เทย์เลอร์ (Federick W. Taylor) มาผสมผสานกับของตัวเอง เช่น สนับสนุนให้เกิด การทํางานเป็นทีม โดยทดลองเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของคนงานด้วยการให้เงินโบนัส หรือเงินรางวัลพิเศษ เพื่อเป็นแรงจูงใจแก่คนงานที่สามารถทํางานเสร็จก่อนเวลาที่กําหนด

9 ใครคือนายจ้างที่เขียนบทความชี้ให้เห็นว่า คนงานเป็น 1 ใน 3 ปัจจัยที่มีความสําคัญในการผลิตสินค้า
อุตสาหกรรม
ตอบ 1 หน้า 12 แอนดรู ยูรี (Andrew Ure) ได้เขียนบทความเรื่อง “ปรัชญาแห่งการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม” (The Philosophy of Manufactures) โดยเขาได้ให้ความสําคัญแก่มนุษย์ หรือคนงานว่าเป็น 1 ใน 3 ปัจจัยที่มีความสําคัญในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ส่วนปัจจัย อีก 2 อย่าง คือ เครื่องจักรกล และพาณิชยการหรือการจัดการด้านการขาย

10 ใครคือผู้ริเริ่มเปิดสอนวิชา Human Relations
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

11 ผลการศึกษาฮอธอร์น พบว่า ปัจจัยใดมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน
(1) แสงสว่างในที่ทํางาน
(2) ระยะเวลาหยุดพักในการทํางาน
(3) อุณหภูมิที่เหมาะสม
(4) การรวมกลุ่มของคนงานที่ไม่เป็นทางการ
ตอบ 4 หน้า 13 – 14 ข้อค้นพบจากกรณี Hawthorne Studies แบ่งออกเป็น 5 ประเด็น คือ
1 ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มของแสงสว่าง แต่จะไม่ลดลงเมื่อความเข้มของแสงสว่างลดลง
2 ผลผลิตของคนงานที่ได้หยุดพักระหว่างการทํางานกับที่ไม่ได้หยุดพักไม่แตกต่างกัน
3 คนงานจะมีทัศนคติที่ดีต่อนายจ้างหรือผู้บริหารที่ให้อิสระในการทํางาน
4 มีการรวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการของคนงาน ซึ่งมีความสําคัญอย่างมากต่อการเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการทํางาน
5 กลุ่มคนงานที่รวมตัวอย่างไม่เป็นทางการมีความขัดแย้งกับกลุ่มที่เป็นทางการ ดังนั้นสิ่งที่เสนอแนะให้นายจ้างทํา คือ ปรับปรุงวิธีการติดต่อสื่อสารในการทํางานระหว่างนายจ้าง กับลูกจ้างคนงาน ซึ่งส่งผลให้การสื่อสารดีขึ้นและผลผลิตของโรงงานสูงขึ้น ฯลฯ

12 ข้อใดไม่ใช่ผลจากการศึกษาฮอธอร์น
(1) ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มของแสงสว่าง และผลผลิตไม่ลดลงเมื่อความเข้มของแสงสว่างลดลง
(2) ผลผลิตของคนงานที่ได้หยุดพักระหว่างการทํางาน และที่ไม่ได้หยุดพักไม่แตกต่างกัน
(3) คนงานที่รวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการ ทํางานร่วมกันอย่างราบรื่นกับกลุ่มที่เป็นทางการ
(4) คนงานมีทัศนคติที่ดีกับผู้บริหารที่ให้อิสระแก่คนงาน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

13 สายใยรักในครอบครัว นําไปสู่ปัจจัยใดที่ทําให้มีความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
(1) การอบรมสั่งสอน
(2) สภาพแวดล้อม
(3) ประสบการณ์ที่ได้รับ
(4) พันธุกรรม
ตอบ 2 หน้า 15, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ทําให้บุคคลมีความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่
1 สภาพแวดล้อม ถือเป็นปัจจัยเริ่มแรก เช่น สายใยรักในครอบครัว ความรักความเอาใจใส่ ในครอบครัว การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ฯลฯ
2 การอบรมสั่งสอน เช่น การรับฟังความรู้หรือข้อแนะนําเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออก ที่เหมาะสมจากพ่อแม่ ครู และญาติพี่น้อง ฯลฯ
3 ประสบการณ์ที่ได้รับ เช่น ปฏิกิริยาตอบกลับ ปฏิกิริยาป้อนกลับ หรือปฏิกิริยาโต้ตอบ (Feedback) จากคู่สื่อสารหรือคนรอบตัว ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่สื่อสาร และคําวิพากษ์ วิจารณ์จากบุคคลอื่น

14 คํากล่าวที่ว่า “เงินทองไม่เข้าใครออกใคร” แสดงถึงสาเหตุใดที่เป็นอุปสรรคในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
(1) ความแตกต่างด้านประสบการณ์
(2) ความแตกต่างด้านภูมิหลัง
(3) ความแตกต่างด้านความคิดเห็น
(4) ความแตกต่างด้านผลประโยชน์
ตอบ 4 หน้า 16, 79, (คําบรรยาย) สาเหตุที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น คือ
1 ความแตกต่างด้านประสบการณ์และภูมิหลัง เช่น อายุ เพศ อาชีพ การศึกษา สถานภาพ ทางเศรษฐกิจและสังคม ฯลฯ
2 ความแตกต่างด้านความคิดเห็น เป็นความแตกต่างของสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาของ บุคคลในลักษณะที่เป็นนามธรรม เช่น ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และรสนิยม ฯลฯ ซึ่งหากไม่ยอมรับกันแล้ว ความเข้าใจระหว่างกันก็จะเกิดขึ้นได้ยาก
3 ความแตกต่างด้านผลประโยชน์ คือ ผลประโยชน์ขัดกัน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งในรูปของสิ่งของ วัตถุ เงินทอง ชื่อเสียง ลาภ ยศ ฯลฯ มักทําให้เกิดความไม่พอใจและความแตกแยกได้ง่าย เพราะธรรมชาติของมนุษย์จะไม่ยอมเสียเปรียบผู้อื่น

ข้อ 15 – 17. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Communication
(2) Self Acceptance
(3) Motivation
(4) Trust

15 การทําให้บุคคลมีทัศนคติตรงกัน ต้องอาศัยองค์ประกอบใด
ตอบ 3
หน้า 18, (คําบรรยาย) การจูงใจ (Motivation) ถือเป็นคุณสมบัติที่นักมนุษยสัมพันธ์จึงสร้าง ให้เกิดขึ้นกับตนเอง เพราะมีส่วนสําคัญมากในการกระตุ้นให้แต่ละบุคคลมีความกระตือรือร้น และแสดงออกซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้การจูงใจยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน และมีผลต่อความสําเร็จขององค์กร ดังนั้นสมาชิกในสังคมจึงจําเป็นต้องสร้างแรงจูงใจต่อกัน เพื่อกระตุ้นให้มีทัศนคติตรงกัน มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน มีระเบียบ และมีความรับผิดชอบ

16 องค์ประกอบใดนําไปสู่การพัฒนาตนเอง
ตอบ 2 หน้า 17 – 18, 54 – 55 แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง (Self Concept) ประการหนึ่ง ได้แก่ การยอมรับตนเอง (Self Acceptance) คือ การรู้ว่าตนเองเป็นคนอย่างไร ทําให้เกิดการ รับรู้เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งจะช่วยให้บุคคลสามารถแยกแยะข้อดีข้อเด่นและข้อด้อยของตนเอง เพื่อหาทางปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ดังนั้นการยอมรับตนเองจึงนําไปสู่การพัฒนาตนเองและยอมรับในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวเรา

17 องค์ประกอบใดเปรียบเสมือนหัวใจในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
ตอบ 1 หน้า 17 การติดต่อสื่อสาร (Communication) ถือว่ามีความสําคัญเป็นอย่างยิ่งในการสร้าง มนุษยสัมพันธ์ จนมีผู้เปรียบว่าการติดต่อสื่อสารเป็นหัวใจของมนุษยสัมพันธ์ เพราะการสื่อสาร คือ สิ่งที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์ (Communication is the human connection) เป็นเครื่องมือที่ทําให้เข้าใจตนเองและผู้อื่น เนื่องจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตัวเรา กับบุคคลอื่นต้องกระทําผ่านการติดต่อสื่อสาร

18 ข้อใดแสดงถึงประโยชน์ในการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์
(1) เข้าใจความคิดของมนุษย์
(2) เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์
(3) รู้จักนิสัยของมนุษย์
(4) รู้จักวิธีที่เหมาะสมในการสร้างมนุษยสัมพันธ์

ตอบ 4 หน้า 24 การศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติของมนุษย์มีประโยชน์ต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ดังนี้
1 ทําให้รู้จักและเข้าใจตนเองในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง
2 ทําให้รู้จักและเข้าใจบุคคลอื่นในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งเช่นกัน
3 เกิดการยอมรับตนเองและบุคคลอื่นตามธรรมชาติของแต่ละฝ่าย
4 ทําให้รู้จักวิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่เหมาะสมตามหลักมนุษยสัมพันธ์

19 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะตามธรรมชาติของมนุษย์
(1) ชอบความสะดวกสบาย
(2) ชอบความตื่นเต้น
(3) ชอบระเบียบแบบแผน
(4) ชอบชาเติม
ตอบ 3 หน้า 23 – 24 ลักษณะทั่วไปตามธรรมชาติของมนุษย์ที่คล้ายคลึงกัน มีดังนี้
1 อิจฉาริษยา ไม่ชอบเห็นคนอื่นดีกว่าตน
2 มีสัญชาตญาณแห่งการทําลาย
3 ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
4 มีความต้องการทางเพศ
5 หวาดกลัวภัยอันตรายต่าง ๆ
6 กลัวความเจ็บปวด
7 โหดร้าย ป่าเถื่อน ชอบซ้ำเติม
8 ชอบความสะดวกสบาย มักง่าย ไม่ชอบระเบียบและการถูกบังคับ
9 ชอบความตื่นเต้น ชอบการผจญภัย ฯลฯ

ข้อ 20 – 22 ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) เก้าจื๊อ
(2) เม่งจื๊อ
(3) ซุ่นจื้อ
(4) ขงจื้อ

20 นักปรัชญาชาวจีนท่านใดเชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์มีความเมตตากรุณาอยู่ในตนเอง
ตอบ 2 หน้า 26, (คําบรรยาย) เม่งจื้อ มีความเชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนนั้นจะมีความดี ที่ติดตัวมาโดยกําเนิด ได้แก่
1 มีความรู้สึกเมตตากรุณา หมายถึง ความมีมนุษยธรรม
2 มีความรู้สึกละอายและรังเกียจต่อบาป หมายถึง การยึดมั่นในหลักศีลธรรมความดีงาม
3 มีความรู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตน หมายถึง การปฏิบัติตนอันเหมาะสม ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะ ที่แสดงถึงการมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง
4.มีความรู้สึกในสิ่งที่ถูกและผิด หมายถึง ความมีสติปัญญารู้จักแยกแยะสิ่งที่ถูกและสิ่งที่ผิดไม่เห็นกงจักรเป็นดอกบัว

21 นักปรัชญาชาวจีนท่านใดเชื่อว่า แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนั้นควรปรับเปลี่ยนตนเองดีกว่าไป ปรับเปลี่ยนผู้อื่น
ตอบ 4 หน้า 32, (คําบรรยาย) ขงจื้อ กล่าวว่า “เราไม่สามารถห้ามนกบินข้ามหัวเราได้ แต่เราสามารถ ทําให้นกไม่ขี้รดหัวเราได้ด้วยการหาหมวกมาใส่” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ ที่ให้ความสําคัญกับการยอมรับธรรมชาติของผู้อื่น คือ ถ้าหากเราต้องการจะอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ได้อย่างมีความสุขแท้จริงแล้ว ก็สมควรแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ถูกต้อง โดยการปรับเปลี่ยน หรือปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่ตนเอง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่สาเหตุหรือต้นเหตุ ดีกว่าที่จะไปแก้ไข หรือพยายามปรับเปลี่ยนบุคคลอื่นซึ่งเป็นเรื่องยาก และเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุมากกว่า

22 นักปรัชญาชาวจีนท่านใดเปรียบธรรมชาติของมนุษย์เหมือนกระแสน้ำที่รวนเร
ตอบ 1 หน้า 26, 28, (คําบรรยาย) เก้าอื้อ มองว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นไม่ดีและไม่ชั่ว ซึ่งเปรียบ ได้กับกระแสน้ําที่รวนเร (ไม่รู้จักทิศทาง) โดยถ้าเปิดทางทิศตะวันออก น้ำก็จะไหลไปทางทิศ ตะวันออก แต่ถ้าเปิดทางทิศตะวันตก น้ำก็จะไหลไปทางทิศตะวันตก จึงสอดคล้องกับความเชื่อของนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมที่ว่า มนุษย์เกิดมาไม่ดีและไม่เลว เมื่อเกิดมาแล้วจะดีหรือ ไม่ดีก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นมนุษย์จึงเป็นผลิตผลของสิ่งแวดล้อม ดังคําพังเพยที่กล่าวว่า “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล

23 ข้อใดแสดงถึงธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดของโรเจอร์
(1) มนุษย์ป่าเถื่อน
(2) มนุษย์เป็นคนดี
(3) มนุษย์มีศักดิ์ศรี
(4) มนุษย์ชอบโอ้อวด
ตอบ 3 หน้า 27 คาร์ล อาร์. โรเจอร์ (Cart R. Rogers) เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์ที่เหมือนกันนั้น จะมีอยู่ 5 ประการ ได้แก่
1 มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรี มีคุณค่า
2 พื้นฐานของมนุษย์นั้นมีความดี เชื่อถือ และไว้วางใจได้
3 มนุษย์ทุกคนมีเหตุผล สามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้ และมีความเฉลียวฉลาดในการปรับตัว
4 มนุษย์ทุกคนต้องการความเป็นอิสระในการพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้า
5 มนุษย์ทุกคนเป็นศูนย์กลางของประสบการณ์ต่าง ๆ รอบตัว

ข้อ 24. – 25. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) กลุ่มปัญญานิยม
(2) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(3) กลุ่มมนุษยนิยม
(4) กลุ่มจิตวิเคราะห์

24 นักจิตวิทยากลุ่มใดเชื่อว่า มนุษย์เป็นผลิตผลของสิ่งแวดล้อม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ

25 นักจิตวิทยากลุ่มใดเชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลมาจากการตอบสนองความต้องการของตน
ตอบ 3 หน้า 28 (คําบรรยาย) กลุ่มมนุษยนิยม ได้แก่ โรเจอร์ (Roger) และมาสโลว์ (Maslow) เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นดีได้ด้วยตนเอง หรือมนุษย์ดีโดยกําเนิด ซึ่งพฤติกรรมของ มนุษย์เป็นผลิตผลมาจากการตอบสนองความต้องการ (Needs) พื้นฐานของตนเอง และ ความต้องการของมนุษย์นี่เองที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ขึ้นมา

ข้อ 26 – 27. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) บุคคลย่อมมีความแตกต่าง
(2) การศึกษาบุคคลในลักษณะผลรวม
(3) พฤติกรรมของบุคคลย่อมมีสาเหตุ
(4) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

26 แนวคิดด้านสิทธิมนุษยชน สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ข้อใด
ตอบ 4 หน้า 2, 29 – 30, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดพื้นฐานของการสร้าง มนุษยสัมพันธ์ประการหนึ่ง คือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) ซึ่งมนุษย์ควร ติดต่อสัมพันธ์กันด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด ด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ ดังนั้นจึงไม่ควรแบ่งแยกฐานะชนชั้น แต่ควร ยกย่องให้เกียรติและยอมรับนับถือในฐานะที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน

27 แนวคิดข้อใดนําไปสู่การยอมรับธรรมชาติของแต่ละบุคคล
ตอบ 1 หน้า 29, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดพื้นฐานของการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ประการหนึ่ง คือ บุคคลย่อมมีความแตกต่าง (Individual Difference) ซึ่งบุคคลแต่ละคนนั้น ล้วนมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว จึงไม่ควรพยายามเปลี่ยนแปลงคนอื่นให้ต้องคิดหรือทําทุกอย่าง เหมือนตนเอง แต่ควรยอมรับและเคารพในความเป็นปัจเจกบุคคล หรือยอมรับธรรมชาติของ แต่ละบุคคล (ทั้งของตนเองและผู้อื่น)

ข้อ 28 – 29. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X
(2) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y
(3) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Z
(4) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดมานุษยวิทยา

28 แนวคิดใดเชื่อว่า มนุษย์มีเหตุผลเป็นแรงจูงใจให้ทํางาน
ตอบ 3 หน้า 31 ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Z ของเรดดิน เชื่อว่า มนุษย์มีความซับซ้อน แต่จะมีลักษณะทั่วไป คือ
1 มีความตั้งใจทํางานที่ตนรับผิดชอบเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย
2 มีสติปัญญา มีวุฒิภาวะ และมีเหตุผลของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นแรงจูงใจในการทํางาน
3 ยอมรับพฤติกรรมความดีและไม่ดี อันเกิดจากการกระทําของตนเอง สถานการณ์และสิ่งแวดล้อม
4 มนุษย์ทุกคนจะต้องติดต่อเกี่ยวข้องและพึ่งพาอาศัยกัน โดยได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม

29 แนวคิดใดเชื่อว่า มนุษย์มีทัศนคติที่ดีและมีความสุขในการทํางาน
ตอบ 2 หน้า 30 – 31, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y มีลักษณะทั่วไป คือ
1 การออกแรงกายและการใช้สมองในการทํางาน เป็นของธรรมดาเหมือนกับการเล่นหรือ การพักผ่อน ซึ่งจะทําให้มนุษย์มีทัศนคติที่ดี เกิดความรักในงาน พึงพอใจและมีความสุข ในการทํางาน
2 บุคคลจะทํางานในหน้าที่ด้วยการสั่งงานและควบคุมตนเอง
3 ควรใช้แรงเสริมทางบวกเป็นสิ่งตอบแทนเพื่อจูงใจให้บุคคลทํางาน คือ การยกย่องชมเชย การให้รางวัลเพื่อเป็นกําลังใจกับผลสําเร็จของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีโอกาส แสดงผลงานและความสามารถในการทํางานตามที่เขาต้องการ ฯลฯ

ข้อ 30. – 34. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Survival Needs
(2) Primary Needs
(3) Secondary Needs
(4) Wants

30 ความฟุ่มเฟือยของมนุษย์ เป็นผลมาจากความต้องการข้อใด
ตอบ 4 หน้า 34, (คําบรรยาย) ความปรารถนา (Wants) เป็นความต้องการที่ไม่ใช่ความจําเป็นขั้นต้น สําหรับมนุษย์ เพราะเป็นสิ่งที่เราต้องการจะมี แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ตาย จึงเป็นสิ่งที่ทําให้มนุษย์เกิด กิเลสตัณหา และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย เช่น ซื้อรถยนต์ เสื้อผ้าสวย ๆ หรือบ้านสวย ๆ ฯลฯ แต่ความปรารถนาก็เป็นแรงจูงใจสําคัญที่ทําให้บุคคลทํางาน และอาจจะทํางานหนักกว่าคนอื่นเพราะความปรารถนาในสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นหากมนุษย์ใช้ชีวิตตามแนวคิดความพอเพียงก็จะ ช่วยลดความต้องการขั้นนี้ได้

31 แรงจูงใจที่ทําให้บุคคลเกิดพฤติกรรมเพื่อความอยู่รอด แสดงถึงความต้องการข้อใด
ตอบ 1 หน้า 34 การอยู่รอด (Survival Needs) ถือเป็นแรงจูงใจสําคัญอันหนึ่งที่ทําให้บุคคลทํางาน ซึ่งการอยู่รอดมิใช่ความปรารถนาของมนุษย์ แต่เป็นพฤติกรรมที่ทําเพื่อความอยู่รอดของชีวิต เช่น เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพง โดยแท้จริงแล้วบุคคลบางคนไม่ได้ต้องการปลูกผัก และพืชสวนครัว แต่เนื่องจากว่าเงินที่หามาได้จากการทํางานอย่างอื่นนั้นไม่เพียงพอที่จะหาซื้อ ก็เลยต้องทําเพื่อการอยู่รอด เพราะถ้าไม่ทําก็อาจไม่มีจะกิน

32 ความต้องการข้อใดที่บุคคลไม่แสดงออกอย่างเปิดเผย
ตอบ 3 หน้า 34 – 35 ความต้องการทางด้านสังคม (Social Needs) หรือความต้องการทางด้าน จิตวิทยา (Psychological Needs) หรือบางทีเรียกว่า “ความต้องการขั้นรอง” (Secondary Needs) มีลักษณะที่สรุปได้ดังนี้
1 มักเกิดจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
2 แต่ละบุคคลจะมีความต้องการและความเข้มข้นไม่เท่ากัน
3 เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ แม้แต่ในบุคคลคนเดียวกัน
4 มักเกิดขึ้นเมื่อบุคคลอยู่ในกลุ่มสังคมมากกว่าอยู่คนเดียว
5 บุคคลมักไม่แสดงออกอย่างเปิดเผยและซ่อนเร้นความต้องการในขั้นนี้ไว้
6 บางครั้งมีลักษณะเป็นนามธรรมและไม่ชัดเจน ไม่เหมือนความต้องการด้านร่างกาย
7 มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์

33 การนอนหลับพักผ่อน แสดงถึงความต้องการข้อใด
ตอบ 2 หน้า 34 – 35, 38 ความต้องการทางด้านสรีระหรือร่างกาย (Physiological Needs) หรือบางทีเรียกว่า “ความต้องการขั้นต้น” (Primary Needs) เป็นความต้องการที่จําเป็นขั้นพื้นฐาน ของมนุษย์ ซึ่งจะสอดคล้องกับความต้องการทางกายหรือทางวัตถุตามแนวคิดของศาสนาพุทธ คือ ความต้องการปัจจัยสี่ของมนุษย์ ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค นอกจากนั้นความต้องการในขั้นนี้ยังรวมไปถึงความต้องการทางเพศเพื่อการดํารงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์สืบต่อไป การขับถ่าย และการนอนหลับพักผ่อนเพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยด้วย

34. ความต้องการข้อใดมักมีลักษณะเป็นนามธรรม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

ข้อ 35 – 36. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ลาภ
(2) ยศ
(3) สรรเสริญ
(4) สุข

35 ปริญญาบัตร แสดงถึงความต้องการข้อใดในอิฏฐารมณ์
ตอบ 2 หน้า 36 – 37 อิฏฐารมณ์ เป็นธรรมหมวดหนึ่งที่กล่าวถึงสิ่งซึ่งเป็นที่ปรารถนาของมนุษย์
ทุก ๆ คน ประกอบด้วย
1 ลาภ คือ ทรัพย์สินเงินทองและสิ่งของต่าง ๆ
2 ยศ คือ ตําแหน่งหน้าที่ เหรียญตรา ปริญญาบัตร หรือวิทยฐานะ
3 สรรเสริญ คือ คํายกย่องชมเชย ความเคารพนับถือรักใคร่จากผู้อื่น
4 สุข (ทั้งกายและใจ) คือ มีความสะดวกสบายทางกาย มีความสมหวัง และไม่มีความกังวล ใด ๆ เพราะเพียบพร้อมสมบูรณ์ไปทุกอย่าง

36. คนไทยอยากถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 แสดงถึงความต้องการข้อใดในอิฏฐารมณ์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

ข้อ 37 – 42. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Physiological Needs
(2) Esteem and Status Needs
(3) Belonging and Social Activity Needs
(4) Safety and Security Needs

37 การติดตั้งกล้องวงจรปิด เป็นการตอบสนองความต้องการข้อใด
ตอบ 4 หน้า 38, (คําบรรยาย) ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง (Safety and Security Needs) ในด้านต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้
1 ด้านอาชีพการงาน ได้แก่ นโยบายการปรับเงินเดือนผู้ที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท,
นโยบายปรับเงินเดือนข้าราชการเท่ากับเอกชน ฯลฯ
2 ด้านร่างกาย โดยไม่ถูกทําร้ายหรือถูกคุกคาม ได้แก่ การทําประกันชีวิต, การรณรงค์เรื่อง โทรไม่ขับ เมาไม่ขับ, การรณรงค์ให้กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง และล้างมือบ่อย ๆ, การให้ ความคุ้มครองประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ฯลฯ
3 ด้านที่อยู่อาศัย ได้แก่ โครงการฝากบ้านไว้กับตํารวจ, โครงการหอพักติดดาว/เพื่อนบ้าน เตือนภัย, การเตรียมกระสอบทรายเพื่อป้องกันน้ําท่วมบ้าน, การติดตั้งกล้องวงจรปิด, การทําประกันอัคคีภัย ฯลฯ
4. ด้านชีวิตความเป็นอยู่และทรัพย์สิน ได้แก่ การทําประกันภัยรถยนต์, นโยบายที่รัฐบาลทํา บัตรสวัสดิการให้แก่ผู้ที่มีรายได้น้อย, นโยบายเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน, นโยบายแก้หนี้ นอกระบบ, นโยบายเรียนฟรี 15 ปี, นโยบายประชานิยมของพรรคการเมืองต่าง ๆ ฯลฯ

38 พฤติกรรมที่แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในสังคม นําไปสู่ความต้องการข้อใด
ตอบ 3 หน้า 38 – 39, (คําบรรยาย) ความต้องการความรักและร่วมกิจกรรมในสังคม (Belonging and Social Activity Needs) คือ ความต้องการแสดงตัวและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม โดยจะเกิดขึ้นในลักษณะของการยอมปฏิบัติตนตามกรอบกติกามารยาทของสังคม หรือการมี พฤติกรรมตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกําหนด ได้แก่ การเคารพกฎหมาย จารีตประเพณี และค่านิยม เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมและให้สังคมยอมรับเข้าเป็นสมาชิกหรือเป็นหมู่พวกเดียวกัน ซึ่งก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทั้งนี้การสร้างมนุษยสัมพันธ์ ของบุคคลก็เป็นการตอบสนองความต้องการในลําดับขั้นนี้

39 ความมั่นใจในศักยภาพของตนเอง นําไปสู่การตอบสนองความต้องการข้อใด
ตอบ 2 หน้า 38 – 39, (คําบรรยาย) ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียงและตําแหน่งหน้าที่ (Esteem and Status Needs) คือ ความต้องการให้สังคมยกย่องนับถือและยอมรับตนว่าเป็นคนสําคัญ ของกลุ่มสมาชิก ซึ่งบุคคลนั้นต้องมีองค์ประกอบสําคัญ คือ การมีความรู้ความสามารถ ประสบ ผลสําเร็จในกิจการงาน มีตําแหน่งหน้าที่การงานสูง มีฐานะมั่นคง มีความเชื่อมั่นหรือมั่นใจใน ศักยภาพของตนเอง ฯลฯ ดังนั้นมนุษย์จึงพยายามพัฒนาศักยภาพของตนให้เหนือกว่าคนอื่น โดยการสร้างสมความรู้ความสามารถ ทําตนให้เป็นที่รู้จัก และแก่งแย่งแข่งขันกันเพื่อให้ได้รับ ความต้องการในขั้นนี้ เช่น การได้รับรางวัลจากการประกวดหรือแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เป็นต้น

40 ความต้องการทางวัตถุในแนวคิดศาสนาพุทธ สอดคล้องกับความต้องการข้อใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

41 โครงการ “หอพักติดดาว” ของ มร. เป็นการตอบสนองความต้องการข้อใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ

42 การมีพฤติกรรมตามกฎเกณฑ์ของสังคม นําไปสู่ความต้องการข้อใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

43 ศาสนาพุทธเปรียบคนที่มีสติปัญญาฉลาดน้อยกับดอกบัวข้อใด
(1) ดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำ
(2) ดอกบัวที่กําลังจะโผล่พ้นน้ำ
(3) ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ
(4) ดอกบัวที่อยู่ในโคลนตม
ตอบ 3 หน้า 43 – 44, (คําบรรยาย) พุทธศาสนาได้เปรียบเทียบสติปัญญาที่แตกต่างกันของมนุษย์
ไว้กับดอกบัว 4 เหล่า คือ
1 ดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำพร้อมที่จะบาน เปรียบได้กับคนที่มีความเฉลียวฉลาด สามารถเข้าใจ และเรียนรู้ได้เร็วในสิ่งที่รู้เห็นหรือการอบรมสั่งสอน และปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกต้อง
2 ดอกบัวที่กําลังโผล่พ้นน้ำ เปรียบได้กับคนที่ฉลาดปานกลาง
3 ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ เปรียบได้กับคนที่ฉลาดน้อย
4 ดอกบัวที่อยู่ในโคลนตม เปรียบได้กับคนที่มีสติปัญญาโง่ทึบ

44 ผลสํารวจจากโพลต่าง ๆ แสดงถึงความแตกต่างของมนุษย์ในด้านใด
(1) อารมณ์
(2) ทัศนคติ
(3) พฤติกรรม
(4) รสนิยม
ตอบ 2 หน้า 43, 79 – 81, (คําบรรยาย) ทัศนคติ (Attitude) เป็นท่าทีหรือความรู้สึกที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล ซึ่งจะแสดงออกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางบวกหรือลบ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย พอใจหรือไม่พอใจ ชอบหรือไม่ชอบ ฯลฯ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ไม่มีการประเมินว่า ถูกหรือผิด ซึ่งเมื่อเรามีทัศนคติไปในทิศทางใดก็จะมีพฤติกรรมการแสดงออกที่สอดคล้องกับ ทิศทางนั้น เช่น ผลสํารวจความคิดเห็นของประชาชนจากโพลต่าง ๆ เป็นต้น

ข้อ 45 – 47. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) โครงสร้างแบบหลวม ๆ
(2) โครงสร้างที่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี
(3) โครงสร้างที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ
(4) โครงสร้างสังคมเกษตร

45 คํากล่าวที่ว่า “แข่งเรือแข่งพายแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้” เป็นผลมาจากโครงสร้างใดของ
สังคมไทย
ตอบ 3 หน้า 47, (คําบรรยาย) โครงสร้างที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ คือ ความเปลี่ยนแปลงของ ชีวิตความเป็นอยู่และสถานะทางสังคมมีน้อย โดยความเปลี่ยนแปลงมักจะเกิดขึ้นกับคนที่อยู่ในเมืองหลวงมากกว่าในชนบท จึงทําให้คนไทยขาดความทะเยอทะยาน ขาดความกระตือรือร้น ไม่ชอบการแข่งขัน ยอมรับชีวิตตามสภาพที่เป็นอยู่ และมักยอมรับในชะตากรรมที่เกิดขึ้นหรือ ยอมรับเรื่อง “ชะตาฟ้าลิขิต” เช่น เกิดมาจนก็ต้องจนต่อไป, แข่งเรือแข่งพายแข่งได้ แข่งบุญ แข่งวาสนาแข่งไม่ได้ ฯลฯ

46 คนไทยมักไม่เคร่งครัดในเรื่องเวลานัดหมาย เป็นผลมาจากโครงสร้างใดของสังคม
ตอบ 4 หน้า 47, (คําบรรยาย) โครงสร้างสังคมเกษตร คือ มีลักษณะการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่เคร่งครัดในเรื่องเวลาหรือไม่ให้ความสําคัญกับเวลาที่นัดหมาย ไม่เร่งรีบหรือมีพิธีรีตอง ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ไม่หักหาญน้ำใจกัน และไม่ให้ความสําคัญกับวัตถุ โดยถือว่าไม่มีเงินก็อยู่ได้ ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจแบบพอเพียง

47 คํากล่าวที่ว่า “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่” แสดงถึงโครงสร้างใดของสังคมไทย
ตอบ 1 หน้า 47, (คําบรรยาย) โครงสร้างแบบหลวม ๆ คือ บุคคลที่อยู่ในสังคมสามารถเลือกปฏิบัติ ในสิ่งที่ตนพอใจได้ โดยไม่ต้องเคร่งครัดในกฎระเบียบมากนัก ทําให้คนไทยมีความยืดหยุ่นสูง

ไม่ยึดอะไรเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว และชอบประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งมีข้อดี คือ สามารถปรับตัว และอยู่ร่วมกันด้วยความประนีประนอม รอมชอม และอะลุ้มอล่วยต่อกัน แต่บางทีก็มีข้อเสีย คือ การขาดระเบียบวินัยในการดําเนินชีวิต ไม่เคารพกฎกติกา และมักทําอะไรตามอําเภอใจ เช่น ทําอะไรตามใจคือไทยแท้, ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน ฯลฯ

ข้อ 48 – 50. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม

(1) ชอบยศศักดิ์
(2) เคารพผู้อาวุโส
(3) ชอบความโก้หรู
(4) นับถือศาสนาพุทธ

48 คนไทยชอบให้ลูกหลานรับราชการ เป็นผลมาจากค่านิยมใด

ตอบ 1 หน้า 48 – 49, (คําบรรยาย) ค่านิยมของสังคมไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีอยู่มากมาย ได้แก่
1 นับถือศาสนาพุทธ คือ ยึดถือหลักคําสอนของพระพุทธเจ้า หรือยอมรับในกฎแห่งกรรม เช่น ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว คิดดี ทําดี, เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร, เวรกรรมมีจริง ฯลฯ
2 ชอบยศศักดิ์ คือ ชอบคนมียศและตําแหน่ง จึงนิยมให้ลูกหลานเข้ารับราชการ
3 เคารพผู้อาวุโส คือ การปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี เชื่อฟังคําสั่งสอน ยกย่องและให้เกียรติ ผู้อาวุโส เช่น การจัดงานมุทิตาจิตผู้เกษียณอายุ ฯลฯ
4 ชอบความโก้หรู คือ นิยมจัดงานพิธีการใหญ่โตในลักษณะ “ตําน้ําพริกละลายแม่น้ํา” ฯลฯ

49 คนไทยเชื่อว่า เวรกรรมมีจริง เป็นผลมาจากค่านิยมใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

50 การจัดงานมุทิตาจิตผู้เกษียณอายุ เป็นผลมาจากค่านิยมใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

51 ข้อใดแสดงถึงธรรมชาติของคนไทย
(1) มีความกระตือรือร้น
(2) มีความอดทน
(3) มีระเบียบวินัย
(4) มีความสุภาพเรียบร้อย
ตอบ 4 หน้า 47 – 49, (คําบรรยาย) การศึกษาธรรมชาติของคนไทย โดยพิจารณาจากค่านิยมของ สังคมไทย ทําให้รู้ว่าคนไทยส่วนใหญ่มีความกตัญญูสูง มีเมตตากรุณาต่อผู้อื่น มีความสุภาพ เรียบร้อย มีน้ําใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และชอบความสนุกสนาน แต่ข้อเสียก็คือ คนไทยส่วนใหญ่ ยังชอบการเสี่ยงโชค ลืมง่าย ขาดความ
กระตือรือร้น ขาดความอดทน และขาดระเบียบวินัย

52 ธรรมชาติของคนไทยชอบช่วยเหลือผู้มีความทุกข์ เป็นพฤติกรรมที่สอดคล้องกับหลักพรหมวิหารสี่ข้อใด (1) เมตตา
(2) กรุณา
(3) มุทิตา
(4) อุเบกขา
ตอบ 2 หน้า 23 – 24, 49, (คําบรรยาย) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กล่าวถึงธรรมชาติของคนไทยที่ สอดคล้องกับหลักพรหมวิหารสี่ว่า คนไทยมีความเมตตา คือ มีความรักและเอ็นดู ปรารถนาจะ ให้ผู้อื่นเป็นสุข และมีความกรุณา คือ มีความสงสารหวั่นไหว หรือเอาใจช่วยเหลือเมื่อเห็นผู้อื่น ได้รับความทุกข์ แต่ขาดมุทิตา คือ ขาดความมีจิตยินดีในลาภ ยศ และสรรเสริญของผู้อื่น หรือ มีความอิจฉาริษยา ไม่ชอบเห็นใครดีกว่าตนเอง และขาดอุเบกขา คือ ขาดความมีใจเป็นกลาง ขาดความวางเฉย เพราะคนไทยหากไม่ยินดีก็ยินร้าย

53 ข้อใดแสดงถึงประโยชน์ของการศึกษาตนเองตามแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์
(1) ทําให้เกิดการพัฒนาตนเอง
(2) ทําให้ภูมิใจในศักยภาพของตนเอง
(3) ทําให้ยอมรับในข้อบกพร่องของตนเอง
(4) ทําให้วิเคราะห์ตนเองได้ถูกต้อง

ตอบ 1 หน้า 53 – 54, 78, (คําบรรยาย) การศึกษาตนเองตามแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนตามลําดับ ดังนี้
1 การรู้จักตนเอง (To Know) คือ การสํารวจตัวเองในด้านต่าง ๆ ว่าเป็นอย่างไร
2 การเข้าใจตนเอง (To Understand) คือ การวิเคราะห์ตนเองเพื่อหาสาเหตุว่า ทําไมเรา จึงมีลักษณะเช่นนั้น ซึ่งจะนําไปสู่ขั้นตอนการยอมรับตนเอง
3 การยอมรับตนเอง (To Accept) คือ การยอมรับหรือรับรู้ศักยภาพและข้อดีข้อด้อยของ ตนเอง ซึ่งเมื่อยอมรับได้แล้วก็จะนําไปสู่ขั้นตอนการพัฒนาตนเอง
4 การพัฒนาตนเอง (To Develop) คือ การแก้ไขปรับปรุงจุดด้อย จุดอ่อน และข้อบกพร่อง ของตัวเอง ซึ่งถือเป็นเป้าหมายและประโยชน์ของการศึกษาตนเอง

ข้อ 54 – 55. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) To Know
(2) To Understand
(3) To Accept
(4) To Develop

54 การศึกษาตนเองในขั้นตอนใด นําไปสู่เป้าหมายของการศึกษาตนเอง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

55 การรู้จักวิเคราะห์ตนเอง นําไปสู่ขั้นตอนใดในการศึกษาตนเอง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

ข้อ 56. – 57.ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม

(1) Self Awareness
(2) Self Acceptance
(3) Self Actualization
(4) Self Disclosure

56 บุคคลที่รู้ถึงพลังความสามารถของตนเอง เป็นผลมาจาก Self Concept ข้อใด
ตอบ 3 หน้า 52, 54 – 55 แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง (Self Concept) ประการหนึ่ง คือ การรู้จักตนเอง (Self Actualization) ซึ่งเป็นผลมาจากการรู้ตนเองและยอมรับตนเอง อันเป็นความเติบโตใน รูปแบบหนึ่งที่นําไปสู่ความพร้อมที่จะผลักดันตนเองไปให้ถึงเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ โดยคนที่รู้จัก ตนเองจะรู้ถึงพลังความสามารถของตนเองและสามารถเทียบเคียงได้ว่า อะไรที่ตนสามารถทําได้ อะไรที่ทําไม่ได้ อะไรควร อะไรไม่ควร ดังคํากล่าวที่ว่า “จงดูตัวเองให้ออก บอกตัวเองให้ได้ และ จงใช้ตัวเองให้เป็น

57 การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น นําไปสู่ Self Concept ข้อใด
ตอบ 1 หน้า 17, 53 – 54 แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง (Self Concept) ประการหนึ่ง ได้แก่ การรู้ตนเอง (Self Awareness) คือ การรู้ตนเองว่าเป็นใคร มีลักษณะอย่างไร ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจาก ประสบการณ์ และการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นหรือการได้รับปฏิกิริยาป้อนกลับจากคู่สื่อสาร แต่มีข้อควรระวัง คือ ไม่ควรมองตนเองสูงหรือต่ํากว่าความเป็นจริง เพราะมีผลต่อประสิทธิภาพ ของการสื่อสาร ดังนั้นแนวคิดเกี่ยวกับตนเองและการรู้ตนเองนี้จึงเป็นพื้นฐานในการเปิดตนเอง ออกสู่การติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น

ข้อ 58. – 59.ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Labeling
(2) Social Comparison
(3) Interpersonal Relationships
(4) Significant Others

58 แนวคิดข้อใดแสดงถึงการเรียนรู้ตนเองจากบุคคลที่ใกล้ชิด
ตอบ 4 หน้า 60 การยอมรับของบุคคลที่มีความสําคัญต่อเรา (Significant Others) คือ การเรียนรู้ ตนเองจากการยอมรับหรือไม่ยอมรับของบุคคลที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับตนเอง เช่น พ่อ แม่ ครู พี่น้อง คนรัก ฯลฯ ซึ่งมีความสําคัญมาก เพราะการที่เราให้ความสําคัญกับบุคคลที่ใกล้ชิดนั้นจะทําให้เรามีความรู้สึกพึงพอใจหรือเจ็บปวดมากหากได้รับปฏิกิริยาโต้ตอบจากบุคคลใกล้ชิดเหล่านี้ ดังนั้นการกระทําต่าง ๆ ของบุคคลใกล้ชิดจึงสามารถกําหนดพฤติกรรมของเราได้

59 พฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามค่านิยม แสดงถึงการเรียนรู้ตนเองตามแนวคิดข้อใด
ตอบ 1 หน้า 59, (คําบรรยาย) การกําหนดของสังคม (Labeling) คือ การปฏิบัติตัวและมีพฤติกรรม ไปตามบรรทัดฐานของสังคม ได้แก่ กฎหมาย กฎเกณฑ์ กติกามารยาทต่าง ๆ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ค่านิยมของสังคม ฯลฯ โดยการกําหนดตัวเองจากการกระทําของเราว่าเข้ากับข้อกําหนดของสังคมในรูปแบบใด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1 สิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ เช่น การคดโกง ความก้าวร้าว การทุจริตคอร์รัปชั่น ฯลฯ
2 สิ่งที่สังคมยอมรับ เช่น การเคารพกฎหมาย การแต่งกายที่สุภาพเหมาะกับกาลเทศะ การประพฤติตนเป็นคนดีของสังคม ฯลฯ

ข้อ 60 – 61. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Superior
(2) Equal
(3) Inferior
(4) Introvert

60. สถานภาพที่ต่ํากว่าคู่สื่อสาร นําไปสู่การยอมรับตนเองตามแนวคิดใด
ตอบ 3 หน้า 60, (คําบรรยาย) Inferior คือ การยอมรับว่าตนเองต่ําต้อยกว่าคนอื่น หรือมีสถานภาพ ต่ํากว่าคู่สื่อสาร ซึ่งจะทําให้มีความมั่นใจในตัวเองต่ํา และมีคุณค่าของตนเองต่ํากว่าผู้อื่น ดังนั้น จึงทําให้เกิดพฤติกรรมอ่อนน้อมถ่อมตน ยอมรับฟังความคิดเห็น ให้เกียรติ เชื่อฟัง คล้อยตาม โดยไม่โต้แย้ง เพื่อให้ผู้ที่สื่อสารด้วยเกิดความพึงพอใจ เกิดความประทับใจ และรู้สึกว่าตนเอง มีคุณค่า เช่น พฤติกรรมการหาเสียงของนักการเมืองหรือรัฐบาลที่เน้นว่าประชาชนสําคัญที่สุด แนวคิดทางธุรกิจที่เน้นว่า “ลูกค้าคือพระเจ้า ลูกค้าถูกเสมอ”, แนวคิดของเจ้าหน้าที่ตํารวจที่ว่า “โรงพักเพื่อประชาชน/ตํารวจ…ผู้รับใช้ชุมชน” ฯลฯ

61 คู่สื่อสารที่แสดงออกตามความรู้สึกที่แท้จริง เป็นผลมาจากการยอมรับตนเองตามแนวคิดใด
ตอบ 2 หน้า 60, (คําบรรยาย) Equal คือ การมีความคิดและยอมรับตามหลักการสิทธิมนุษยชนว่า เราเท่าเทียมหรือเสมอภาคเท่ากับผู้อื่น โดยจะมีความเป็นเพื่อนกัน มีความคล้ายคลึงกันหรือ มีอะไรที่ใกล้เคียงกัน ทําให้มีความสบายใจในการแสดงออก กล้าพูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ส่งผลให้คู่สื่อสารสามารถเปิดเผยตนเอง สามารถสื่อสารและแสดงออกตามความรู้สึกที่แท้จริงได้อย่างอิสระ จึงเป็นการยอมรับตนเองของคู่สื่อสารที่นําไปสู่สัมพันธภาพที่ดี และสามารถที่จะ สร้างมนุษยสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การพูดคุยอย่างสนิทสนมในหมู่เพื่อนฝูง ฯลฯ

ข้อ 62 – 63. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ศึกษาและประเมินตนเอง
(2) ยอมรับและตระหนักในความต้องการที่จะปรับปรุงตนเอง
(3) มีแรงจูงใจในการปรับปรุงตนเอง
(4) วางแผนในการปรับปรุงตนเอง

62 ความต้องการมีเสน่ห์ นําไปสู่ขั้นตอนใดในการพัฒนาตนเอง
ตอบ 3 หน้า 64, (คําบรรยาย) มีแรงจูงใจในการปรับปรุงตนเอง ถือเป็นการตอบสนองความต้องการ ส่วนบุคคลของตนเอง ดังนี้
1 ความต้องการมีบุคลิกภาพที่ดีและเป็นที่ดึงดูดใจของเพศตรงข้าม ทําให้บุคคลต้องการที่จะปรับปรุงตนเองในระดับสูง เช่น การดูแลรูปร่างผิวพรรณให้มีเสน่ห์ ฯลฯ
2 ความต้องการเป็นที่ชื่นชมหรือได้รับการยกย่องจากสังคม คือ ต้องการให้เป็นที่รัก ที่ชื่นชม
และเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม
3 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในอาชีพและสังคม ทําให้บุคคลต้องปรับปรุงตนเองด้าน การแต่งกาย กิริยามารยาท ความขยัน ความตั้งใจ และมีความรับผิดชอบในการทํางาน
4 ความต้องการอํานาจ เพื่อให้มีสง่าราศี น่าเชื่อถือ และน่ายําเกรง

63 การรู้จักสังเกตตนเอง นําไปสู่ขั้นตอนใดในการพัฒนาตนเอง
ตอบ 1. หน้า 63, (คําบรรยาย) การศึกษาและประเมินตนเอง มีวิธีการดังนี้
1 การรู้จักสังเกตตนเอง โดยการส่องกระจกดูรูปร่างหน้าตา การแต่งกาย กิริยาท่าทาง การแสดงสีหน้าและแววตา
2 การรับฟังคําวิจารณ์จากผู้อื่น โดยให้ผู้อื่นวิจารณ์หรือบอกจุดบอดที่เรามองไม่เห็น เช่น เวลาพูดยักคิ้วไปด้วยหรือไม่ เป็นต้น
3 การใช้แบบประเมินตนเอง ได้แก่ แบบสอบถาม แบบวัดทางจิตวิทยา เช่น แบบสํารวจ ร่างกายและสุขภาพ ความรับผิดชอบ ความเชื่อมั่นในตนเอง ฯลฯ

64 ข้อใดเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้องในการสนทนา
(1) ไม่พูดเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น
(2) พูดคุยเรื่องที่สนุกสนาน
(3) พูดถึงจุดเด่นของคู่สนทนา
(4) พูดในเรื่องที่ตนถนัดและสนใจ
ตอบ 4หน้า 66 – 68 แนวทางการพัฒนาตนเองในด้านการพูดหรือสนทนา มีดังนี้
1 พูดจาด้วยถ้อยคําที่สุภาพ เหมาะกับกาลเทศะและบุคคล
2 มีน้ำเสียงนุ่มนวล อ่อนโยน
3 ฝึกการใช้คําถามให้เหมาะสม
4 พูดในเรื่องที่ผู้ฟังชอบ พอใจและสนใจ ไม่ควรพูดในสิ่งที่ตนเองถนัด ชอบและสนใจ
5 เลือกส่วนดีเด่นของคู่สนทนามาพูด
6 พูดอย่างมีเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ในการพูด
7 ใช้ศิลปะในการสนทนา เช่น ไม่อธิบายรายละเอียดของแต่ละเรื่องมากเกินไป, ไม่ควรขัดคอ หรือโต้แย้งความคิดของคู่สนทนาทันที, หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น, รู้จักสรรหาเรื่อง ที่สนุกสนานมาพูดคุยกันในวงสนทนา, ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสนทนา ฯลฯ

65 ข้อใดแสดงถึงการใช้คําพูดเชิงบวกกับคู่สนทนาที่มีนิสัยขี้เหนียว
(1) เป็นคนคิดก่อนใช้
(2) เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว
(3) เป็นคนใช้เงินเป็น
(4) เป็นคนมัธยัสถ์
ตอบ 4 หน้า 68, (คําบรรยาย) การใช้ศิลปะในการสนทนาประการหนึ่ง คือ หลีกเลี่ยงคําพูดที่ทําให้ ผู้อื่นสะเทือนใจ ไม่พูดถึงปมด้อยของผู้อื่น แต่ถ้าจําเป็นต้องพูดก็ควรใช้คําพูดในเชิงบวกแทน เช่น เมื่อพูดถึงคนตัวดําก็ควรใช้ว่า คนผิวสีเข้ม, เมื่อพูดถึงคู่สนทนาที่มีนิสัยขี้เหนียวก็ควรใช้ว่า เป็นคนมัธยัสถ์ รู้จักใช้เงิน และเมื่อพูดถึงคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (คนอวบอ้วน) ก็ควรใช้ว่าคนจ้ำม่ำเป็นต้น

66 ฟ้ารดาเป็นคนที่ชอบตามใจตัวเอง แสดงถึงการขาดการพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกการเอาชนะตนเอง
(2) ฝึกการรักตนเอง
(3) ฝึกการใช้อํานาจเหนือผู้อื่น
(4) ฝึกเป็นผู้มีใจสงบ
ตอบ 1 หน้า 69 – 70 ฝึกการเอาชนะตนเอง คือ ความสามารถในการควบคุมตนเองได้ในเรื่องของ อารมณ์และความอยาก เนื่องจากปกติแล้วคนเรามักชอบตามใจตนเอง เจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจ โลภมาก และสุรุ่ยสุร่าย ซึ่งในทางจิตวิทยาถือว่าการเอาชนะตนเองจะทําให้บุคคลกลายเป็น คนที่มีเหตุผลมากขึ้น เพราะเป็นการควบคุมพฤติกรรมการแสดงออกของตนเองให้ทําสิ่งต่าง ๆ ไปตามเป้าหมายในทางที่ถูกต้อง ดีงาม และเหมาะสม

67. แม่บัวพอใจในสิ่งที่ตนเองเป็นอยู่ เป็นผลมาจากการพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกการเอาชนะตนเอง
(2) ฝึกการรักตนเอง
(3) ฝึกการตั้งเป้าหมายในชีวิต
(4) ฝึกความเชื่อมั่นในตนเอง
ตอบ 2หน้า 69, (คําบรรยาย) ฝึกให้รักตนเองตามสภาพที่เป็นอยู่ คือ การฝึกให้รู้จักรักตนเอง รู้จัก ให้คุณค่า รู้จักพึงพอใจในตนเองและสภาพที่ตนเองเป็นอยู่ ดังคํากล่าวที่ว่า “จงพอใจในสิ่งที่ ตนเองมีอยู่เป็นอยู่” โดยพยายามพัฒนาตนเองให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น แล้วจะทําให้เรารู้จักรักและ พึงพอใจผู้อื่น ชื่นชมยินดี และเห็นคุณค่าของผู้อื่นได้ นอกจากนี้ยังต้องรู้จักให้คุณค่าแก่ตนเอง ด้วยการมองภาพพจน์ของตนเองในเชิงบวก ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลเกิดความรักและภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น

68 ดวงดาวมักทําให้คู่สนทนารู้สึกว่าเขาเป็นบุคคลสําคัญ นําไปสู่การพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกการแสดงออกที่เหมาะสม
(2) ฝึกการให้ความรักผู้อื่น
(3) ฝึกการให้ในสิ่งที่ผู้อื่นต้องการ
(4) ฝึกการสร้างความประทับใจ
ตอบ 4 หน้า 74 ฝึกการสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น จะมีเคล็ดลับอยู่หลากหลายวิธี เช่น การแต่งกายงดงาม การพูดจาไพเราะอ่อนหวาน มีน้ําเสียงนุ่มนวล และการให้ความช่วยเหลือ ผู้อื่น แต่สิ่งที่สําคัญที่สุด คือ การทําให้ผู้อื่นรู้สึกตัวว่าเขาเป็นคนสําคัญ มีคุณค่า มีความหมาย นอกจากนี้ยังควรรู้จักหมั่นฝึกพูดคําว่า “ขอบคุณ” และ “ขอโทษ” ในโอกาสที่เหมาะสม และ ถูกต้องตามกาลเทศะ เป็นต้น

69 รวิศชอบโต้เถียงเพื่อเอาชนะคนอื่น แสดงถึงการขาดการพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกการให้อภัยผู้อื่น
(2) ฝึกความอดทนอดกลั้นและเข้าใจผู้อื่น
(3) ฝึกใช้อํานาจเหนือผู้อื่นให้น้อยลง
(4) ฝึกจัดการกับความโกรธและความเกลียด
ตอบ 3 หน้า 72, (คําบรรยาย) ฝึกการใช้อํานาจเหนือผู้อื่นให้น้อยลง คือ การเปลี่ยนการโต้เถียงผู้อื่น ให้เป็นการอภิปรายแทน การหัดยอมแพ้แม้ว่าจะเป็นฝ่ายถูกก็ตาม และรู้จักกล่าวคําขอโทษ ทันทีเมื่อมีผู้อื่นกระทําให้เราเดือดร้อนหรือลําบากใจโดยไม่ได้เจตนา ซึ่งจะเหมาะกับบุคคลที่ ชอบใช้อํานาจเหนือผู้อื่น ไม่ยอมแพ้ ชอบโต้เถียงเพื่อเอาชนะ และพยายามควบคุมพฤติกรรม ของผู้อื่นเพราะคิดว่าตนเองสําคัญ ทั้งนี้เพื่อให้รู้จักคิดถึง ยอมรับ และเห็นด้วยกับผู้อื่นมากขึ้น

70 เป้าหมายของการศึกษาบุคคลอื่นตามแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ คือข้อใด
(1) รู้จัก
(2) เข้าใจ
(3) ยอมรับ
(4) พัฒนา

ตอบ 3 หน้า 78, (คําบรรยาย) เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์สําคัญในการศึกษาบุคคลอื่นตามแนวคิด ทางด้านมนุษยสัมพันธ์ คือ การยอมรับตัวตนตามลักษณะที่เป็นจริงหรือตามธรรมชาติของ บุคคลอื่น โดยต้องตั้งอยู่บนแนวคิดพื้นฐานสําคัญที่ว่า มนุษย์มีความแตกต่างกัน ซึ่งเมื่อเรา ยอมรับในเรื่องความแตกต่างของบุคคลได้แล้ว ก็จะทําให้การสร้างความสัมพันธ์นั้น ๆ ดีและ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งยังทําให้ตัวเราปรับตัวเข้ากับบุคคลนั้น ๆ ได้อีกด้วย

71 นักศึกษารามคําแหงไหว้ขอพรพ่อขุนฯ ขอให้สอบได้ กรณีนี้เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาข้อใด
(1) ความเชื่อ
(2) ทัศนคติ
(3) ค่านิยม
(4) การรับรู้
ตอบ 1 หน้า 81, (คําบรรยาย) ความเชื่อ (Belief) จะมีลักษณะคล้ายกับค่านิยม แต่ผูกพันกับคุณค่า ความดีหรือไม่ดีน้อยกว่าค่านิยม และความเชื่ออาจสร้างได้โดยใช้ระยะเวลานานกว่าทัศนคติ ดังนั้นความเชื่อจึงไม่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ และบางครั้งความเชื่อก็มีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมของมนุษย์ตั้งแต่อดีตตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ความเชื่อทางด้านโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ ทรงเจ้าเข้าผี การบนบานศาลกล่าว กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ

ข้อ 72 – 76. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Open Area
(2) Blind Area
(3) Hidden Area
(4) Unknown Area

72 พฤติกรรมเก็บกดของบุคคล เป็นผลมาจากพฤติกรรมส่วนใด
ตอบ 3 หน้า 84 บริเวณซ่อนเร้น (Hidden Area) หมายถึง บริเวณที่เป็นพฤติกรรมลึกลับ หรือเป็นความรู้สึกนึกคิดหรือความลับบางอย่างที่บุคคลเก็บกดซ่อนไว้ในใจ ไม่เปิดเผยหรือไม่แสดงออก ให้ผู้อื่นรู้ แต่ตนเองเท่านั้นที่จะรู้ และพฤติกรรมนี้มักจะเป็นพฤติกรรมภายในของบุคคล เช่น ความจํา ความเชื่อ ทัศนคติ ฯลฯ ซึ่งบุคคลจะไม่แสดงพฤติกรรมดังกล่าวออกไปเพราะต้องการ ปิดบัง และอาจแสดงพฤติกรรมอย่างอื่นกลบเกลื่อนความรู้สึกที่แท้จริง เช่น บางคนอาจจะมี ความรู้สึกหมั่นไส้ อิจฉา และไม่พอใจผู้อื่น แต่ก็เสแสร้งยิ้มและพูดโกหกแสดงความยินดี ฯลฯ

73 ความคุ้นเคยของคู่สื่อสาร นําไปสู่พฤติกรรมส่วนใด
ตอบ 1 หน้า 83 – 85, (คําบรรยาย) บริเวณเปิดเผย (Open Area) หมายถึง บริเวณพฤติกรรม ภายนอกที่บุคคลตั้งใจแสดงออกอย่างเปิดเผย มักจะเกิดขึ้นในการสื่อสารระหว่างบุคคลแบบ เผชิญหน้า ซึ่งทําให้คู่สื่อสารรับรู้พฤติกรรมและเจตนาของแต่ละฝ่ายได้ ทั้งนี้เมื่อคู่สื่อสารเริ่ม รู้จักหรือยังไม่คุ้นเคยกัน บริเวณเปิดเผยจะลดลงเพราะยังสงวนท่าทีกันอยู่ แต่หากคู่สื่อสาร สนิทสนมคุ้นเคยและจริงใจต่อกัน บริเวณเปิดเผยก็จะเปิดกว้างมากขึ้น โดยพฤติกรรมส่วนนี้ จะเป็นประโยชน์และมีความจําเป็นต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ เพราะทําให้คู่สื่อสารมีปฏิกิริยา โต้ตอบต่อกัน มีการเปิดเผยตนเอง และจริงใจต่อกันมากขึ้น ดังคํากล่าวที่ว่า “มองตาก็รู้ใจ”

74 พฤติกรรมลึกลับของบุคคลที่ยังไม่มีใครรู้จัก หมายถึงพฤติกรรมส่วนใด
ตอบ 4 หน้า 84, (คําบรรยาย) บริเวณมืดมน (Unknown Area) หมายถึง บริเวณพฤติกรรมลึกลับ หรือความรู้สึกฝังลึกบางอย่างที่บุคคลแสดงออกโดยไม่รู้ตัว ซึ่งตนเองและบุคคลอื่นก็ไม่เคย รู้จัก ไม่เคยเข้าใจมาก่อน จึงเป็นพฤติกรรมที่ทําให้บุคคลไม่รู้จักตนเองมากที่สุด และคนอื่น ก็ไม่รู้จักตัวเราด้วย เพราะอาจจะเป็นทักษะความสามารถพิเศษ หรือพรสวรรค์ในด้านต่าง ๆ ที่คาดไม่ถึงและยังค้นไม่พบ จนกว่าจะเกิดเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่คับขันบางอย่างมา กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมนี้ เช่น พรสวรรค์ทางด้านดนตรี ศิลปะ กีฬา ฯลฯ

75 บุคคลที่ชอบพูดมากกว่ารับฟังคนอื่น จะมีพฤติกรรมส่วนใดมากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 87, (คําบรรยาย) บุคคลที่ให้ข้อติชมมาก แต่รับข้อติชมจากผู้อื่นน้อย (พูดมากกว่าฟัง) คือ บุคคลที่ไม่ยอมรับฟังคําวิจารณ์ของผู้อื่น แต่ชอบพูดวิจารณ์ผู้อื่นมากกว่า (ชอบประเมินคนอื่น โดยไม่สนใจที่จะประเมินตนเอง) จะมีพฤติกรรมบริเวณจุดบอด (Blind Area) มากที่สุด แต่จะ มีพฤติกรรมบริเวณซ่อนเร้น (Hidden Area) น้อยที่สุด

76 การรู้จักวิจารณ์คนอื่น จะช่วยลดพฤติกรรมส่วนใด
ตอบ 3 หน้า 83, 86 การพยายามลดพฤติกรรมบริเวณซ่อนเร้น (Hidden Area) ให้น้อยลง โดยใช้ วิธีการขยายพฤติกรรมบริเวณเปิดเผยตามแนวดิ่ง (4) มีอยู่ 2 วิธี คือ
1 ให้ความเชื่อถือไว้วางใจ โดยการเปิดเผยความในใจ หรือเปิดเผยข้อบกพร่องของตนเอง ให้แก่คนอื่นหรือคู่สื่อสารทราบ เพื่อจะได้ช่วยกันแก้ไข
2 มีความหวังดีต่อกัน โดยการรู้จักวิจารณ์ข้อบกพร่องของคนอื่น

ข้อ 77. – 82. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) พฤติกรรมแบบพ่อแม่
(2) พฤติกรรมแบบผู้ใหญ่
(3) พฤติกรรมแบบเด็ก
(4) พฤติกรรมที่เป็นพิธีการ

77 บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบหุ่นยนต์ เป็นผลมาจากพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 2 หน้า 89 – 90, (คําบรรยาย) พฤติกรรมแบบผู้ใหญ่ (Adult Ego State : A) เป็นพฤติกรรมที่ มักแสดงออกในลักษณะตรงไปตรงมา มีเหตุผล ยึดข้อเท็จจริง ไม่ใช้อารมณ์หรือความคิดเห็น ส่วนตัว เมื่อพูดถึงสิ่งใดก็จะใช้ข้อเท็จจริงและเหตุผลเป็นเครื่องตัดสิน ดังนั้นจึงมักเปรียบเทียบ บุคลิกภาพแบบนี้ว่าคล้ายกับหุ่นยนต์ ไม่มีความรู้สึกส่วนตัว เห็นทุกสิ่งเป็นไปตามผลกรรม

78 จินตนาการของบุคคล นําไปสู่พฤติกรรมข้อใด
ตอบ 3 หน้า 89 – 90, (คําบรรยาย) พฤติกรรมแบบเด็ก (Child Ego State : C) มักจะแสดงออกใน ลักษณะที่มีจินตนาการสร้างสรรค์ มีอารมณ์สุนทรีย์หรืออารมณ์ศิลปิน สดชื่น มีชีวิตชีวา และ กล้าหาญ ซึ่งจะทําให้โลกนี้มีสิ่งแปลกใหม่ มีสิ่งประดิษฐ์ที่งดงามแปลกตา มีนักเขียน นักกลอน มีผลงานทางด้านศิลปะต่าง ๆ และทําให้โลกมีชีวิตชีวาด้วยเสียงเพลง เสียงดนตรี เสียงหัวเราะ การแสดงท่าทางขบขัน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมที่แสดงถึงความดื้อรั้น สนใจแต่ความสุข ของตนเอง เอาแต่ใจ ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล ไม่ควบคุมตนเอง แต่คําพูดที่แสดงออกมาจะ เปิดเผย อิสระ และตรงไปตรงมา

79 การกล่าวคําทักทายว่า “สวัสดี” เมื่อเจอกัน แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 4 หน้า 93, (คําบรรยาย) พฤติกรรมที่เป็นพิธีการ คือ การกระทําเพื่อมารยาทหรือการกระทํา ตามกฎเกณฑ์ของสังคม เช่น การรู้จักไปลามาไหว้ การจับมือ การทักทายปราศรัยหรือกล่าว คําว่า “สวัสดี” เมื่อเจอกัน การกล่าวต้อนรับ การเลี้ยงต้อนรับ การปรบมือให้กําลังใจแก่ผู้พูด การกล่าวคําอวยพรเมื่อไปร่วมงานวันเกิดหรืองานเทศกาลปีใหม่ การรดน้ําขอพรจากผู้ใหญ่ใน วันสงกรานต์ และการจัดงานในเทศกาลสําคัญ ๆ ฯลฯ

80 ผู้บริหารที่ต้องการให้ลูกน้องยกย่องให้เกียรติ เป็นผลมาจากพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 1 หน้า 89, 91 – 92 ผู้บริหารที่มีพฤติกรรมแบบพ่อแม่ (Parent Ego State : P) มีลักษณะดังนี้

1 ถือว่าลูกน้องเหมือนลูกหลานที่จะอบรมสั่งสอนได้
2 เอาใจใส่ดูแลการทํางานของลูกน้องอย่างใกล้ชิด
3 มีความเป็นกันเอง มีอารมณ์ขัน
4 เห็นอกเห็นใจ เป็นห่วงลูกน้อง และมักจะให้ความช่วยเหลือ
5 ร่วมคิด ร่วมปรึกษากับลูกน้องที่มีพฤติกรรมแบบเด็กเท่านั้น
6 ถือว่างานต้องมาก่อนความสนุกสนานบันเทิง
7 ต้องการให้ลูกน้องยกย่องให้เกียรติ
8 มักชอบใช้อํานาจเหนือลูกน้องจนกลายเป็นเผด็จการ

81 ผู้บริหารที่เคร่งครัดในกฎเกณฑ์ เป็นผลมาจากพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 2 หน้า 89, 92 ผู้บริหารที่มีพฤติกรรมแบบผู้ใหญ่ (Adult Ego State : A) มีลักษณะดังนี้
1 มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทํางานตามข้อมูลและข้อเท็จจริง
2 ยึดถือว่างานสําคัญกว่าการเล่น
3 ยึดความถูกต้องและระเบียบแบบแผนมากกว่าความคิดสร้างสรรค์
4 เป็นคนมีเหตุผล
5 เคร่งครัดในกฎระเบียบและกฎเกณฑ์

82 บุคคลที่ดื้อรั้น เอาแต่ใจตัวเอง เป็นผลมาจากพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78 ประกอบ

83 การรับรู้เกี่ยวกับตนเองและผู้อื่นข้อใดนําไปสู่ประสิทธิภาพในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
(1) I’m not OK., You’re OK.
(2) I’m OK., You’re not OK.
(3) I’m not OK., You’re not OK.
(4) I’m OK., You’re OK.
ตอบ 4 หน้า 94 ฉันดีคุณก็ดีด้วย (I’m OK., You’re OK.) ถือเป็นทัศนคติที่บ่งบอกให้เราทราบว่า เป็นบุคคลที่มีสุขภาพจิตสมบูรณ์และประสบความสําเร็จในชีวิต เพราะมองตนเอง ผู้อื่น และ สิ่งแวดล้อมในแง่ดี (Positive Thinking) โดยยอมรับว่าทุกคนมีค่าหรือมีส่วนดีด้วยกันทั้งนั้น จึงเป็นทัศนคติที่นําไปสู่ประสิทธิภาพในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ทําให้สามารถติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งก็จะทําให้ชีวิตมีความสุขไปด้วย

84 ตามแนวคิดของเชลดัน บุคลิกภาพที่ล่ําสันจะมีลักษณะอย่างไร
(1) สนุกสนานร่าเริง
(2) มีน้ำใจนักกีฬา
(3) ชอบวิตกกังวล
(4) เคร่งขรึม
ตอบ 2 หน้า 95 เชลดัน (Sheldon) ได้จัดแบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1 รูปร่างอ้วน (Endomorphy) มักชอบสนุกสนานร่าเริง และโกรธง่ายหายเร็ว ฯลฯ
2 รูปร่างล่ำสัน (Mesomorphy) แข็งแรง มีร่างกายสมส่วน เป็นคนคล่องแคล่วว่องไว มีน้ำใจนักกีฬา มีเพื่อนมาก และชอบช่วยเหลือผู้อื่น ฯลฯ
3 รูปร่างผอม (Ectomorphy) มักเคร่งขรึม เอาการเอางาน ใจน้อย ชอบวิตกกังวล ไม่ชอบการต่อสู้ และชอบอยู่ตามลําพัง ฯลฯ

85 ข้อใดแสดงถึงลักษณะของบุคลิกภาพแบบ Introvert
(1) ยึดตัวเองเป็นใหญ่
(2) ชอบแสดงตน
(3) อารมณ์ดี
(4) ปรับตัวเก่ง
ตอบ 1 หน้า 95, (คําบรรยาย) คาร์ล จี. จุง (Cart G. Jung) แบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 ชอบเก็บตัว (Introvert) เป็นพวกเชื่อมั่นในตนเอง ยึดตัวเองเป็นใหญ่ ขี้อาย เก็บความรู้สึก ชอบอยู่ตามลําพัง ปรับตัวยาก เห็นแก่ตัว ฯลฯ

2 ชอบแสดงตัว (Extrovert) เป็นพวกไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอน เปิดเผย เข้าสังคมเก่ง อารมณ์ดี ชอบทํากิจกรรม ฯลฯ
3 ประเภทกลาง ๆ (Ambivert) เป็นพวกไม่เก็บตัวหรือแสดงตัวมากเกินไป ปรับตัวเก่งหรือ ปรับตัวได้ตามสถานการณ์ และมักมีนิสัยเรียนรู้การอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จึงเป็นบุคลิกภาพที่แสดงถึงทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

ข้อ 86 – 88. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) เต่า
(2) ตุ๊กตาหมี
(3) สุนัขจิ้งจอก
(4) นกฮูก

86 สัญลักษณ์ใดแสดงถึงผู้บริหารที่มีมนุษยสัมพันธ์กับลูกน้อง
ตอบ 4 หน้า 97, (คําบรรยาย) ผู้บริหารประเภทใจเย็น (Team Manager) มีสัญลักษณ์เป็น “นกฮูก” คือ เป็นบุคคลที่พยายามศึกษาความต้องการของตนเองและผู้อื่น แล้วแก้ปัญหาความขัดแย้ง ด้วยการควบคุมอารมณ์ รับฟังลูกน้องด้วยความเข้าใจ พูดจาไพเราะ และแสดงความคิดเห็น เพื่อแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาหลาย ๆ ทาง จึงถือว่าเป็นผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพและ แนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ในการทํางาน ทําให้สามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์กับลูกน้องได้ดีที่สุด

87 สัญลักษณ์ใดแสดงถึงผู้บริหารที่ขาดความรับผิดชอบ
ตอบ 1 หน้า 96 ผู้บริหารประเภทไม่เอาไหน (Impoverished Manager) มีสัญลักษณ์เป็น “เต่า” เพราะไม่กล้าเผชิญปัญหา และเมื่อมีความผิดเกิดขึ้นก็มักจะโทษผู้อื่นหรือโยนความผิดให้กับ ลูกน้อง ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ยอมตามผู้อื่นด้วยความขุ่นเคืองใจ มองผู้อื่นในแง่ร้าย โดยจะบริหารงานแบบสบาย ๆ ไม่สนใจลูกน้องและงาน ชอบอยู่เฉย ๆ ใครจะทําอะไรก็ทําไป และเมื่อเกิดความผิดพลาดจะไม่รับผิดชอบไม่ว่ากรณีใด ๆ

88 สัญลักษณ์ใดแสดงถึงผู้บริหารที่ยอมตามใจลูกน้อง
ตอบ 2 หน้า 96 ผู้บริหารประเภทยอมตาม (Country Club Manager) มีสัญลักษณ์เป็น “ตุ๊กตาหมี” คือ เป็นบุคคลที่ยอมผู้อื่นอย่างไม่มีเงื่อนไข ให้ความร่วมมือด้วยความเต็มใจโดยไม่ปริปากบ่น ทั้งต่อหน้าและลับหลัง มีความเสียสละ มักยอมให้คนอื่นทําสิ่งต่าง ๆ ก่อนเสมอ มองคนในแง่ดี สนใจคนมากกว่างาน เอาอกเอาใจและกลัวลูกน้อง มักชอบสร้างบารมีให้ลูกน้องรัก เนื่องจาก ขาดความสามารถในการทํางาน โดยมีวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้ง คือ ยอมตามใจลูกน้องเสมอ

ข้อ 89. – 91. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) การรับรู้ด้วยความประทับใจ
(2) การรับรู้ด้วยการประเมินคนอื่น
(3) อิทธิพลทางสังคม
(4) ความสัมพันธ์ทางสังคม

89 ทัศนคติที่คล้ายกันของคู่สื่อสาร นําไปสู่แนวคิดข้อใด
ตอบ 4 หน้า 133, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความดึงดูดใจทางสังคมของคู่สื่อสาร จนนําไปสู่ แนวคิดความสัมพันธ์ทางสังคม มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้
1 ความใกล้ชิดทางกายภาพ คือ ความใกล้ชิดกันทางด้านสถานที่ เช่น ในห้องเรียน หรือ เพื่อนร่วมงานในที่ทํางานเดียวกัน
2 ทัศนคติที่คล้ายคลึงกัน คือ มีความสนใจร่วมกัน หรือมีทัศนคติหลาย ๆ อย่างตรงกันมาก่อน
3 รูปร่างหน้าตา หรือบุคลิกภาพที่ดี นับเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากขึ้นในปัจจุบัน

90 การโน้มน้าวใจผู้รับสารให้คล้อยตาม แสดงถึงแนวคิดข้อใด
ตอบ 3 หน้า 131 – 132, (คําบรรยาย) อิทธิพลทางสังคมจะเน้นพฤติกรรมของบุคคลที่เปลี่ยนไป ในทางที่ดีขึ้นหรือเลวลง เนื่องจากการกระทําของบุคคลอื่น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1 การส่งเสริมโดยสังคม (Social Facilitation) ได้แก่ การอยู่ในสายตาของผู้อื่นจะทําให้ การทํางานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
2 การคล้อยตามผู้อื่น หรือการถูกโน้มน้าวใจให้คล้อยตาม ได้แก่ การคล้อยตามบุคคลที่ เราเชื่อถือหรือสนิทสนม การคล้อยตามบรรทัดฐาน และการคล้อยตามที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมีเรื่องของอํานาจเข้ามากํากับ

91 การให้ความสําคัญกับปรากฏการณ์ภายนอกของผู้อื่น นําไปสู่แนวคิดข้อใด
ตอบ 1 หน้า 127 – 129, 155, (คําบรรยาย) การรับรู้ทางสังคมโดยความรู้สึกประทับใจมักจะเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1 ความประทับใจครั้งแรก ประสบการณ์ครั้งแรก หรือปรากฏการณ์ครั้งแรกของคู่สื่อสาร คือ การรับรู้ว่าชอบหรือไม่ชอบบุคคลที่เราพบเห็นเป็นครั้งแรก
2 ปรากฏการณ์ภายนอก คือ บุคลิกภาพภายนอกของบุคคล ได้แก่ รูปร่างหน้าตา
3 การสื่อสารเชิงอวัจนะหรือพฤติกรรมการแสดงออกทางอวัจนภาษา (ภาษากาย) คือ การสื่อสารกันโดยไม่ต้องใช้คําพูด เช่น สีหน้า สายตา อากัปกิริยาท่าทางและการสัมผัสน้ำเสียง เป็นต้น

92 คนชราที่เข้าวัดและปฏิบัติธรรม ทําให้ได้รับการยอมรับจากสังคมตามแนวคิดข้อใด
(1) อ้างความด้อยของตนเอง
(2) อ้างชื่อเสียงของกลุ่ม
(3) การสวมบทบาทตามเพศ
(4) การสวมบทบาทตามคุณลักษณะที่ไม่พึงปรารถนา
ตอบ 4 หน้า 135, (คําบรรยาย) การสวมบทบาทตามคุณลักษณะที่ไม่พึงปรารถนาหรือไม่พึงประสงค์ ของตน ได้แก่ ความพิการทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ความยากจน และความชรา โดยบุคคล ที่มีคุณลักษณะเหล่านี้มักจะถูกบังคับให้กระทําตามบทบาทของตนทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ เพื่อให้ผู้อื่นประทับใจและสังคมยอมรับ เช่น ผู้สูงอายุ/ผู้อาวุโสที่เข้าวัดเพื่อฟังพระเทศน์ธรรมะ, คนชราที่เข้าวัดเพื่อทําบุญ ตักบาตร ปฏิบัติธรรม และฝึกนั่งสมาธิอย่างสม่ําเสมอ, คนจนที่ใช้ ชีวิตอย่างพอเพียง ฯลฯ

ข้อ 93. – 95.ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) การชดเชย
(2) การกลบเกลื่อน
(3) การถอยหนี
(4) การถดถอย

93 การลดความวิตกกังวล โดยแสดงพฤติกรรมแบบเด็ก ๆ เป็นการป้องกันตนเองข้อใด
ตอบ 4 หน้า 138, (คําบรรยาย) การถดถอย (Regression) คือ กลไกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลตกอยู่ใน ภาวะวิตกกังวลและไม่อาจจะขจัดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นได้ จึงหาทางออกโดยการย้อนไป แสดงพฤติกรรมแบบเด็ก ๆ เพื่อลดความวิตกกังวล เช่น ร้องไห้ ปัสสาวะรดที่นอน กระทืบเท้า แลบลิ้น อ่านหนังสือการ์ตูน ฯลฯ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่บุคคลเคยทําในอดีตสมัยเด็ก ๆ และนํากลับมาใช้ใหม่เมื่อตนเองมีปัญหาในการปรับตัว

94 พฤติกรรม “ปากปราศรัย น้ําใจเชือดคอ” เป็นการป้องกันตนเองข้อใด
ตอบ 2 หน้า 137 – 138, (คําบรรยาย) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน (Reaction – Formation) คือ กลไกที่ แสดงปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมตรงกันข้ามกับความรู้สึกที่แท้จริง เพื่อให้ตัวเองสบายใจขึ้นและเพื่อป้องกันความรู้สึกผิดหรือการที่บุคคลมีความคิดเห็นที่เป็นอันตรายหรือไม่เป็นที่ปรารถนาต่อบุคคลอื่น ซึ่งจัดว่าเป็นลักษณะการแสดงออกแบบ “หน้าเนื้อใจเสือ” หรือ “ปากปราศรัย น้ําใจเชือดคอ” เช่น เมื่ออยู่ต่อหน้าเพื่อนบ้านทําเป็นคุยด้วยกันอย่างมีมิตรภาพ แต่ลับหลังแล้ว กลับมีพฤติกรรมจ้องทําลาย เป็นต้น

95 การสร้างความเด่นเพื่อเอาชนะความด้อยของตนเอง เป็นการป้องกันตนเองข้อใด
ตอบ 1 หน้า 139, (คําบรรยาย) การชดเชย (Compensation) คือ กลไกที่บุคคลพยายามจะเอาชนะ ข้อบกพร่องหรือความด้อยของตนเองทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย บุคลิกภาพ และฐานะทาง เศรษฐกิจ โดยใช้วิธีสร้างความเด่นหรือความสําเร็จด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อชดเชยความบกพร่อง จุดอ่อน และความด้อยของตัวเอง เช่น การเล่นกีฬาให้เก่งชดเชยการเรียนไม่เก่ง หรือคนที่ไม่ โอกาสเรียนสูง ๆ จะพยายามส่งเสียให้ลูกเรียนจนจบการศึกษาขั้นสูงที่สุด ฯลฯ

96 การสื่อสารระหว่างบุคคลทําให้มีอิทธิพลเหนือผู้รับสาร เป็นผลมาจากวัตถุประสงค์ของการสื่อสารระหว่าง
บุคคลข้อใด
(1) เพื่อค้นพบตนเอง
(2) เพื่อค้นพบโลกภายนอก
(3) เพื่อสร้างความสัมพันธ์
(4) เพื่อการโน้มน้าวใจ
ตอบ 4 หน้า 152, (คําบรรยาย) เพื่อการโน้มน้าวใจ หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรม ของผู้รับสาร (Changing Attitudes and Behaviors) คือ การสื่อสารระหว่างบุคคลทําให้ มีอิทธิพลเหนือผู้รับสารเนื่องจากสามารถโน้มน้าวใจผู้อื่นให้คล้อยตามหรือให้เปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการสื่อสารชนิดอื่น ๆ เพราะเป็นการ สื่อสารที่เผชิญหน้ากัน สื่อสารด้วยคําพูด จึงส่งผลให้การโน้มน้าวใจเป็นไปได้ง่ายและได้ผลดี

97 ข้อใดแสดงถึงการใช้วัจนภาษาที่มีประสิทธิภาพในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
(1) เลือกใช้ถ้อยคําที่เข้าใจง่าย
(2) หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์ทางวิชาการ
(3) หลีกเลี่ยงถ้อยคําที่คลุมเครือ
(4) เลือกใช้ถ้อยคําที่ทําให้ผู้รับสารพึงพอใจ
ตอบ 4หน้า 153 การใช้วัจนสารหรือวัจนภาษาที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อสร้าง มนุษยสัมพันธ์นั้น นอกจากจะมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันแล้ว ยังต้องการให้เกิด ความพึงพอใจของคู่สื่อสารด้วย ดังนั้นผู้ส่งสาร (ผู้พูด) จึงต้องเลือกใช้ถ้อยคําต่าง ๆ ที่จะทําให้ ผู้รับสาร (ผู้ฟัง) มีความพึงพอใจ เพื่อนําไปสู่การเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ให้เกิดความรักใคร่ชอบพอกัน และอยากคบหากันต่อไป

98 ข้อใดเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้องในการใช้การสื่อสารเชิงอวัจนะ
(1) การสื่อสารเชิงอวัจนะทําให้การสื่อสารชัดเจนขึ้น
(2) การสื่อสารเชิงอวัจนะสามารถแสดงออกได้อย่างไร้ขอบเขต
(3) การสื่อสารเชิงอวัจนะเกิดจากความตั้งใจของผู้ส่งสาร
(4) การสื่อสารเชิงอวัจนะแสดงถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

ตอบ 3 หน้า 153 – 154 แนวคิดที่ถูกต้องของการสื่อสารเชิงอวัจนะหรือการใช้อวัจนสาร (Nonverbal Communication) มีดังนี้
1 แสดงถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
2 มีแทรกอยู่ในทุกสถานการณ์ของการสื่อสารที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าพฤติกรรมนั้น
จะแสดงโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
3 มีความครอบคลุมกว้างขวางแทบจะไม่มีขอบเขตจํากัด (ไร้ขอบเขต) ไม่ว่าจะเป็นการ แสดงออกทางด้านน้ำเสียง ท่าทาง หรือสีหน้า
4 มีหน้าที่ในการสื่อสาร
ทําให้การสื่อสารชัดเจนถูกต้องและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

99 การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา แสดงถึงพฤติกรรมใดในการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างบุคคล
(1) Honesty
(2) Positiveness
(3) Empathy
(4) Equality
ตอบ 3 หน้า 161 – 162 พฤติกรรมความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) หรือความสามารถในการ เอาใจเขามาใส่ใจเรา หมายถึง ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หรือความสามารถในการรับรู้ และเข้าใจความรู้สึกและความคิดเห็นของคู่สื่อสารในแต่ละสถานการณ์ได้เสมือนเป็นคนนั้น ซึ่งช่วยให้คู่สื่อสารปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการสื่อสารของตนให้เป็นที่พอใจซึ่งกันและกันได้

100 การพูดจาไพเราะกับคู่สื่อสาร แสดงถึงปัจจัยส่งเสริมการสื่อสารระหว่างบุคคลข้อใด
(1) ลักษณะดึงดูดใจของคู่สื่อสาร
(2) การให้แรงเสริมแก่คู่สื่อสาร
(3) ความใกล้ชิดของคู่สื่อสาร
(4) ความคล้ายคลึงกันของคู่สื่อสาร
ตอบ 2 หน้า 158, 160 การให้แรงเสริมแก่คู่สื่อสาร (Reinforcement) คือ คนเรามีแนวโน้มจะ สื่อสารกับคนที่ให้สิ่งที่ตนพอใจหรือคนที่ให้แรงเสริมแก่ตน โดยแรงเสริมนั้นอาจเป็นวัตถุ สิ่งของหรือตัวเสริมแรงทางสังคม ได้แก่ การพูดจาไพเราะ การยกย่องชมเชย ซึ่งจะต้องมี ลักษณะของความจริงใจ ไม่เสแสร้ง และไม่แอบแฝงผลประโยชน์ เช่น คนเรามักไม่อยาก สนทนากับเพื่อนที่ชอบขัดคอหรือโต้แย้งความคิดของตน แต่มักชอบพูดคุยกับเพื่อนที่ยินดี และแสดงความนับถือยกย่องในความสําเร็จของเรา เป็นต้น

 

cdm2403 (mcs3151) การสื่อสารเพื่อจัดการความสัมพันธ์ s/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 3151 (MCS 3100) การสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ปัจจัยเริ่มต้นของมนุษยสัมพันธ์คือข้อใด
(1) ครอบครัว
(2) สังคม
(3) ตนเอง
(4) บุคคลอื่น
ตอบ 3 หน้า 3, 17, 19, (คําบรรยาย) ปัจจัยหรือจุดเริ่มต้นของการสร้างมนุษยสัมพันธ์ คือ ตนเอง โดยเริ่มจากการรู้จักและเข้าใจตนเอง ขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักและเข้าใจผู้อื่นด้วย ทั้งนี้บุคคล ต้องรู้จักมองโลกในแง่ดีหรือมีทัศนคติ/แนวคิดเชิงบวก (Positive Thinking) ทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสิ่งต่าง ๆ เช่น การยอมรับความแตกต่างของบุคคล เป็นต้น

2 การประกอบอาชีพในยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมมีลักษณะอย่างไร
(1) ระบบเครือญาติ
(2) ระบบนายจ้างลูกจ้าง
(3) ระบบศักดินา
(4) ระบบนายทุน
ตอบ 1 หน้า 10, (คําบรรยาย) การประกอบอาชีพในยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมจะมีลักษณะเป็น ระบบเครือญาติ (Clan) คือ มนุษย์แต่ละคนแต่ละกลุ่มเล็ก ๆ ในระดับครอบครัวจะทํางานอยู่ ที่บ้านในลักษณะครบวงจร ไม่มีการแบ่งงานกันทํา ทุกคนทุกครอบครัวต้องทํากันเองทุกอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาชีพเป็นชาวไร่ชาวนา เกษตรกร หรือเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพด้านหัตถกรรม (Hand Craft)

3 ความสัมพันธ์ของมนุษย์เมื่ออยู่ร่วมกันเป็นสังคมใหญ่มีลักษณะอย่างไร
(1) อยู่ร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ และรวมกันโดยอัตโนมัติ
(2) อยู่ร่วมกันในรูปแบบที่เป็นทางการ และขาดความเสมอภาค
(3) อยู่ร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการและเอารัดเอาเปรียบกัน
(4) อยู่ร่วมกันด้วยความสมัครใจ และสงบสุข
ตอบ 2 หน้า 9 ความสัมพันธ์ของมนุษย์ในยุคที่เริ่มอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มสังคมนั้นจะมีลักษณะของการ อยู่ร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นไปโดยอัตโนมัติ แต่เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมใหญ่ สังคมมนุษย์ได้แตกเป็นกลุ่มเป็นสถาบันย่อย ๆ ตามความจําเป็น ทําให้ลักษณะความสัมพันธ์ ในการอยู่ร่วมกันเป็นไปในรูปแบบที่เป็นทางการมากขึ้น แต่ก็เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เสมอภาคเพราะมีการเอารัดเอาเปรียบกัน

ข้อ 4. – 6.ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) แอนดรู ยูร
(2) เอลตัน เมโย
(3) เฮ็นรี่ แกนต์
(4) โรเบิร์ต โอเวน

4 บุคคลใดได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการบริหารงานบุคคล
ตอบ 4 หน้า 11 – 12, (คําบรรยาย) โรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen) ถือว่าเป็นเจ้าของกิจการ ชาวเวลส์คนแรกตามประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมของอังกฤษที่มีความคิดริเริ่มในการเอาใจใส่ต่อความเป็นอยู่ของคนงาน โดยยอมรับว่าต้องให้ความสําคัญกับจิตใจและความต้องการของ ลูกจ้างคนงาน ซึ่งเขาได้พยายามปรับปรุงสวัสดิการต่าง ๆ ของลูกจ้าง เช่น ปรับปรุงสถานที่ ทํางานและสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ปรับปรุงสภาพในการทํางานให้ดีกว่าที่เคยเป็นอยู่ และเป็นนายจ้างคนแรกที่ต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก ฯลฯ ดังนั้นเขาจึงเป็นผู้จุดประกายและเริ่มต้น แนวคิดการสร้างสัมพันธภาพระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างเป็นคนแรก จนได้รับการยกย่องว่าเป็น“บิดาแห่งการบริหารงานบุคคล”

5 บุคคลใดเป็นผู้เปิดสอนวิชามนุษยสัมพันธ์
ตอบ 2
หน้า 14 ความเป็นมาของการศึกษาวิชามนุษยสัมพันธ์ได้เริ่มต้นขึ้นจากสถาบันการศึกษา เมื่อศาสตราจารย์เอลตัน เมโย (Elton Mayo) บิดาแห่งวิชามนุษยสัมพันธ์ ได้ริเริ่มเปิดสอน วิชามนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) ขึ้นเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศ สหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) ซึ่งอีก 10 ปีต่อมาวิชานี้ก็กลายเป็นวิชาบังคับ ในหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัย และเป็นแขนงวิชาหรือศาสตร์ที่เด่นชัดแพร่หลายไป ทุกวงการภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

6. บุคคลใดริเริ่มให้มีสวัสดิการการรักษาพยาบาล
ตอบ 1
หน้า 12 แอนดรู ยูรี (Andrew Ure) ได้เขียนบทความที่ให้ความสําคัญแก่ “มนุษย์” และ เป็นผู้ที่ริเริ่มการให้สวัสดิการแก่คนงาน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ซึ่งเขาได้เสนอให้ปรับปรุงการจัดสวัสดิการต่าง ๆ ดังนี้
1 จัดให้มีชั่วโมงพักระหว่างการทํางาน
2 ปรับสถานที่ทํางานให้ถูกสุขลักษณะ
3 เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย คนงานต้องได้รับการดูแลรักษาพยาบาล และได้รับค่าจ้างระหว่าง หยุดพักรักษาตัวด้วย
4 ส่งเสริมให้คนงานมีสุขภาพดี โดยจัดสนามและอุปกรณ์การออกกําลังกายแก่คนงาน

7 ข้อใดแสดงถึงความหมายของมนุษยสัมพันธ์
(1) การสื่อสารของมนุษย์
(3) ธรรมชาติของมนุษย์
(2) ความต้องการของมนุษย์
(4) การปรับตัวของมนุษย์
ตอบ 4 หน้า 1 – 4, 23 นักวิชาการได้ให้ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) เอาไว้ อย่างมากมาย แต่ความหมายที่สั้นและตรงที่สุดเห็นจะได้แก่ความหมายที่ว่า การติดต่อสัมพันธ์ ระหว่างผู้คน ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างมนุษย์ หรือทักษะในการปรับตัว เพื่อให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

8 ข้อความใดแตกต่างจากแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์
(1) รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
(2) มีเงินนับเป็นน้อง มีทองนับเป็นพี่
(3) ไผ่ยังต่างปล้อง พี่น้องยังต่างใจ
(4) จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง
ตอบ 2 หน้า 29 – 30, (คําบรรยาย) คีท เดวิส (Keith Davis) กล่าวถึง ธรรมชาติของมนุษย์เพื่อเป็น แนวคิดพื้นฐานในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ไว้ 4 ประการ ดังนี้
1 บุคคลย่อมมีความแตกต่าง มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว จึงไม่ควรพยายามเปลี่ยนแปลงคนอื่น ให้ต้องคิดหรือทําทุกอย่างเหมือนตนเอง แต่ควรยอมรับความเป็นปัจเจกบุคคลหรือยอมรับ ตัวตนของตนเองและผู้อื่น ดังคํากล่าวที่ว่า “ไผ่ยังต่างปล้อง พี่น้องยังต่างใจ”, “รู้จักเอาใจ เขามาใส่ใจเรา” และ “ลางเนื้อชอบลางยา”
2 การศึกษาบุคคลในลักษณะผลรวม จึงไม่ควรตัดสินบุคคลแค่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง

3 พฤติกรรมของบุคคลย่อมมีสาเหตุ มนุษย์จึงต้องการแรงจูงใจ (Motivation) อันเป็นพื้นฐาน ไปสู่การจูงใจบุคคลอื่นให้คล้อยตาม หรือจูงใจให้บุคคลเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานได้
4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จะมีความเสมอภาคและเท่าเทียมกันโดยต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของ สิทธิด้านมนุษยชนของสหประชาชาติ จึงไม่ควรแบ่งแยกชนชั้น แต่ควรยกย่องให้เกียรติและ ยอมรับนับถือกัน ดังคํากล่าวที่ว่า “จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง”

9 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของมนุษยสัมพันธ์
(1) แต่ละบุคคลมีลักษณะของมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตัวเอง
(2) มนุษยสัมพันธ์เป็นศาสตร์และศิลป์
(4) ไม่มีใครมีมนุษยสัมพันธ์ที่สมบูรณ์แบบ
(3) มนุษยสัมพันธ์เป็นทักษะที่ติดตัวบุคคลมา
ตอบ 3 หน้า 3, 15, (คําบรรยาย) ลักษณะของมนุษยสัมพันธ์ มีดังนี้
1 มนุษยสัมพันธ์เกิดจากการ สร้างของบุคคล ไม่ใช่ทักษะความสามารถที่ติดตัวมาแต่กําเนิด ไม่ใช่คุณลักษณะที่ถ่ายทอดทาง กรรมพันธุ์ และไม่ใช่เป็นพรสวรรค์ของบุคคล
2 การสร้างมนุษยสัมพันธ์อาจสูญสลายไปได้ หากไม่รู้จักพัฒนาความสัมพันธ์ให้คงอยู่กับตัวเราตลอดไป
3 มนุษยสัมพันธ์เป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์
4 แต่ละบุคคลมีลักษณะของมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง แต่มีไม่เหมือนกันหรือ ไม่เท่าเทียมกัน
5 ไม่มีใครมีมนุษยสัมพันธ์ที่สมบูรณ์แบบ

10 บุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์จะมีลักษณะอย่างไร
(1) มีพฤติกรรมที่สุภาพอ่อนน้อม
(2) พูดจาไพเราะน่าฟัง
(3) แสดงพฤติกรรมได้ตามวัตถุประสงค์
(4) แสดงพฤติกรรมได้สอดคล้องกับสถานการณ์
ตอบ 4 หน้า 1, (คําบรรยาย) คุณลักษณะของบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์นั้นย่อมจะเข้าใจในเรื่องของการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมีทักษะในการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่เหมาะสมกับบุคคลและ สอดคล้องกับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังต้องรู้จักกาลเทศะและปรับตัวให้เข้ากับ สถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

11 พื้นฐานการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี คือความสัมพันธ์ในลักษณะใด
(1) ความพึงพอใจ
(2) ความนับถือ
(3) ความศรัทธา
(4) ความเกรงใจ
ตอบ 1 หน้า 18, 217, (คําบรรยาย) การสื่อสารแบบมนุษยสัมพันธ์ ถือเป็นการสื่อสารที่ต้องอาศัย ความเข้าใจและความพึงพอใจระหว่างกันเป็นพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี นอกจากนี้ ยังต้องอาศัยความไว้วางใจ (Trust) ของคู่สื่อสารเพื่อนําไปสู่มนุษยสัมพันธ์อีกด้วย

12 ข้อใดคือปัจจัยที่นายจ้างต้องการให้ศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตจากกรณีฮอธอร์น
(1) ความต้องการของคนงาน
(2) ความสัมพันธ์ของคนงาน
(3) ระยะเวลาหยุดพักในการทํางาน
(4) การรวมกลุ่มของคนงาน
ตอบ 3 หน้า 13 – 14, (คําบรรยาย) ศาสตราจารย์เอลตัน เมโย (Elton Mayo) เป็นหัวหน้าคณะผู้ที่
ศึกษากรณีฮอธอร์น (Hawthorne Studies) คือ การศึกษาปัจจัยแห่งประสิทธิภาพของการ ทํางานในโรงงานแห่งหนึ่ง โดยศึกษาปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ ระยะเวลา หยุดพักในการทํางาน และแสงสว่างหรืออุณหภูมิในที่ทํางาน รวมทั้งศึกษาปัจจัยด้านทัศนคติ ของลูกจ้างที่มีต่อนายจ้าง (ส่วนปัจจัยที่ไม่ได้ตั้งใจศึกษา คือ การรวมกลุ่มของคนงานที่ไม่เป็น ทางการ แต่ปัจจัยดังกล่าวดึงดูดความสนใจของคณะผู้ศึกษาวิจัย จึงทําการศึกษาต่อ)

13 ข้อใดเป็นข้อค้นพบจากกรณีฮอธอร์น
(1) ผลผลิตของคนงานที่ได้หยุดพักระหว่างการทํางานกับที่ไม่ได้หยุดพักไม่แตกต่างกัน
(2) ผลผลิตจะลดลงตามความเข้มของแสงสว่างที่ลดลง
(3) คนงานมีทัศนคติที่ดีกับนายจ้างที่ควบคุมงานอย่างใกล้ชิด
(4) การรวมกลุ่มของคนงานอย่างไม่เป็นทางการ ไม่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิต
ตอบ 1 หน้า 13 – 14 ข้อค้นพบจากกรณี Hawthorne Studies แบ่งออกเป็น 5 ประเด็น คือ
1 ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มของแสงสว่าง แต่จะไม่ลดลงเมื่อความเข้มของแสงสว่างลดลง
2 ผลผลิตของคนงานที่ได้หยุดพักระหว่างการทํางานกับที่ไม่ได้หยุดพักไม่แตกต่างกัน
3 คนงานจะมีทัศนคติที่ดีต่อนายจ้างหรือผู้บริหารที่ให้อิสระในการทํางาน
4 มีการรวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการของคนงาน ซึ่งมีความสําคัญอย่างมากต่อการเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการทํางาน
5 กลุ่มคนงานที่รวมตัวอย่างไม่เป็นทางการมีความขัดแย้งกับกลุ่มที่เป็นทางการ ดังนั้นสิ่งที่เสนอแนะให้นายจ้างทํา คือ ปรับปรุงวิธีการติดต่อสื่อสารในการทํางานระหว่างนายจ้าง กับลูกจ้างคนงาน ซึ่งส่งผลให้การสื่อสารดีขึ้นและผลผลิตของโรงงานสูงขึ้น ฯลฯ

14 ข้อใดคือข้อเสนอแนะแก่นายจ้างจากกรณีฮอธอร์น
(1) เพิ่มค่าตอบแทน
(2) เพิ่มสวัสดิการ
(3) ปรับปรุงวิธีการสื่อสารในการทํางาน
(4) ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทํางาน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

15 สายใยรักในครอบครัว แสดงถึงปัจจัยใดที่ทําให้บุคคลมีความสามารถในด้านมนุษยสัมพันธ์
(1) สภาพแวดล้อม
(2) การอบรมสั่งสอน
(3) ทัศนคติ
(4) ประสบการณ์ที่ได้รับ
ตอบ 1 หน้า 15, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ทําให้บุคคลมีความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่
1 สภาพแวดล้อม ถือเป็นปัจจัยเริ่มแรก เช่น สายใยรักในครอบครัว ความรักความเอาใจใส่ ในครอบครัว การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ฯลฯ
2 การอบรมสั่งสอน เช่น การรับฟังความรู้หรือข้อแนะนําเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออก ที่เหมาะสมจากพ่อแม่ ครู และญาติพี่น้อง ฯลฯ
3 ประสบการณ์ที่ได้รับ เช่น ปฏิกิริยาตอบกลับ ปฏิกิริยาป้อนกลับ หรือปฏิกิริยาโต้ตอบ (Feedback) จากคู่สื่อสารหรือคนรอบตัว ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่สื่อสาร และคําวิพากษ์ วิจารณ์จากบุคคลอื่น

16 ความเชื่อของบุคคล แสดงถึงอุปสรรคข้อใดในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
(1) ความแตกต่างด้านประสบการณ์
(3) ความแตกต่างด้านความคิดเห็น
(2) ความแตกต่างด้านภูมิหลัง
(4) ความแตกต่างด้านผลประโยชน์
ตอบ 3 หน้า 16, 79, (คําบรรยาย) สาเหตุที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น คือ
1 ความแตกต่างด้านประสบการณ์และภูมิหลัง เช่น อายุ เพศ อาชีพ การศึกษา สถานภาพ ทางเศรษฐกิจและสังคม ฯลฯ
2 ความแตกต่างด้านความคิดเห็น เป็นความแตกต่างของสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาของ บุคคลในลักษณะที่เป็นนามธรรม เช่น ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และรสนิยม ฯลฯ ซึ่งหากไม่ยอมรับกันแล้ว ความเข้าใจระหว่างกันก็จะเกิดขึ้นได้ยาก

3 ความแตกต่างด้านผลประโยชน์ คือ ผลประโยชน์ขัดกัน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งในรูปของสิ่งของ วัตถุ เงินทอง ชื่อเสียง ลาภ ยศ ฯลฯ มักทําให้เกิดความไม่พอใจและความแตกแยกได้ง่าย เพราะธรรมชาติของมนุษย์จะไม่ยอมเสียเปรียบผู้อื่น

ข้อ 17. – 19. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Motivation
(2) Communication
(3) Trust
(4) Self Disclosure

17 การทําให้สมาชิกในสังคมมีทัศนคติตรงกัน ต้องอาศัยองค์ประกอบใด
ตอบ 1 หน้า 18, (คําบรรยาย) การจูงใจ (Motivation) ถือเป็นคุณสมบัติที่นักมนุษยสัมพันธ์จึงสร้าง ให้เกิดขึ้นกับตนเอง เพราะมีส่วนสําคัญมากในการกระตุ้นให้แต่ละบุคคลมีความกระตือรือร้น และแสดงออกซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้การจูงใจยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน และมีผลต่อความสําเร็จขององค์กร ดังนั้นสมาชิกในสังคมจึงจําเป็นต้องสร้างแรงจูงใจต่อกัน เพื่อกระตุ้นให้มีทัศนคติตรงกัน มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน มีระเบียบ และมีความรับผิดชอบ

18 องค์ประกอบใดแสดงถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์
ตอบ 2 หน้า 17 การติดต่อสื่อสาร (Communication) ถือว่ามีความสําคัญเป็นอย่างยิ่งในการสร้าง มนุษยสัมพันธ์ จนมีผู้เปรียบว่าการติดต่อสื่อสารเป็นหัวใจของมนุษยสัมพันธ์ เพราะการสื่อสาร คือ สิ่งที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์ (Communication is the human connection) เป็นเครื่องมือที่ทําให้เข้าใจตนเองและผู้อื่น เนื่องจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตัวเรา กับบุคคลอื่นต้องกระทําผ่านการติดต่อสื่อสาร

19 การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นผลมาจากองค์ประกอบใด
ตอบ 4 หน้า 18, 55, (คําบรรยาย) การเปิดเผยตนเอง (Self Disclosure) เป็นขั้นตอนที่ช่วยพัฒนา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพราะเป็นการแสดงออกถึงสิ่งที่อยู่ภายในตัวเราให้ผู้อื่นได้ทราบ เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ทัศนคติ ความคิดเห็น และปฏิกิริยาโต้ตอบที่มีต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นการเปิดเผยตนเองจึงทําให้คู่สื่อสารรู้จักและเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น ทําให้สามารถคาดคะเนความคิด รวมทั้งเป็นตัวกําหนดพฤติกรรมการสื่อสารกับผู้อื่นให้ตรงเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ

20 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะตามธรรมชาติของมนุษย์
(1) มักง่าย
(2) ชอบการผจญภัย
(3) ไม่ชอบซ้ำเติม
(4) ไม่ชอบการถูกบังคับ
ตอบ 3 หน้า 23 – 24 ลักษณะทั่วไปตามธรรมชาติของมนุษย์ที่คล้ายคลึงกัน มีดังนี้
1 อิจฉาริษยา ไม่ชอบเห็นคนอื่นดีกว่าตน
2 มีสัญชาตญาณแห่งการทําลายล้าง
3 ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
4 มีความต้องการทางเพศ
5 หวาดกลัวภัยอันตรายต่าง ๆ
6 กลัวความเจ็บปวด
7 โหดร้าย ชอบซ้ำเติม
8 ชอบความสะดวกสบาย มักง่าย ไม่ชอบระเบียบ และไม่ชอบการถูกบังคับ
9 ชอบความตื่นเต้น ชอบการผจญภัย ฯลฯ

ข้อ 21. – 23. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ขงจื้อ
(2) เม่งจื่อ
(3) ซุ่นจื้อ
(4) เก้าจื๊อ

21 คํากล่าวที่ว่า “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล” สอดคล้องกับแนวคิดของใคร ตอบ 4 หน้า 26, 28, (คําบรรยาย) เก้าอื้อ มองว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นไม่ดีและไม่ชั่ว ซึ่งเปรียบ ได้กับกระแสน้ำที่รวนเร (ไม่รู้จักทิศทาง) โดยถ้าเปิดทางทิศตะวันออกน้ําก็จะไหลไปทางทิศตะวันออก แต่ถ้าเปิดทางทิศตะวันตกน้ำก็จะไหลไปทางทิศตะวันตก จึงสอดคล้องกับความเชื่อ ของนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมที่ว่า มนุษย์เกิดมาไม่ดีและไม่เลว เมื่อเกิดมาแล้วจะดีหรือ ไม่ดีก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นมนุษย์จึงเป็นผลิตผลของสิ่งแวดล้อม ดังคําพังเพยที่กล่าวว่า คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล

22 นักปรัชญาท่านใดมีแนวคิดที่ว่า การเปลี่ยนแปลงคนอื่นเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ
ตอบ 1 หน้า 32, (คําบรรยาย) ขงจื้อ กล่าวว่า “เราไม่สามารถห้ามนกบินข้ามหัวเราได้ แต่เราสามารถ ทําให้นกไม่ขี้รดหัวเราได้ด้วยการหาหมวกมาใส่” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ ที่ให้ความสําคัญกับการยอมรับธรรมชาติของผู้อื่น คือ ถ้าเราต้องการจะอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ได้อย่างมีความสุขแท้จริงแล้ว ก็สมควรแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ถูกต้อง โดยปรับปรุงแก้ไข ปัญหาที่ตนเอง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่สาเหตุหรือต้นเหตุ ดีกว่าที่จะไปแก้ไขหรือพยายามเปลี่ยนแปลงบุคคลอื่นซึ่งเป็นเรื่องยาก และเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุมากกว่า

23 นักปรัชญาท่านใดเชื่อว่า มนุษย์เกิดมามีสติปัญญาที่ทําให้สามารถพัฒนาตนเองจากความหยาบกระด้าง ที่ติดตัวมา
ตอบ 3 หน้า 26 ซุ่นจื้อ มองว่า ธรรมชาติของมนุษย์เป็นคนไม่ดีเป็นทุนเดิมติดตัวมา แต่การที่มนุษย์ เป็นคนดี เพราะสภาพแวดล้อมที่ดีพัฒนามนุษย์ให้เป็นคนดีขึ้นมาได้ และท่านยังมีความเห็นว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมกับสติปัญญาและความหยาบกระด้าง ซึ่งสติปัญญานี้สามารถพัฒนาสภาพหยาบกระด้างที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ให้มาเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพอันงดงามและสมบูรณ์ได้ด้วยการฝึกอบรม

24 ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดของเม่งจื๊อข้อใดที่แสดงว่า มนุษย์มีลักษณะมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง
(1) การมีมนุษยธรรม
(2) ความอ่อนน้อมถ่อมตน
(3) การยึดหลักศีลธรรม
(4) การรู้จักแยกแยะผิดถูก
ตอบ 2หน้า 26, (คําบรรยาย) เม่งจื้อ มีความเชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนนั้นจะมีความดี ที่ติดตัวมาโดยกําเนิด ซึ่งได้แก่
1 มีความรู้สึกเมตตากรุณา หมายถึง ความมีมนุษยธรรม
2 มีความรู้สึกละอายและรังเกียจต่อบาป หมายถึง การยึดมั่นในหลักศีลธรรมความดีงาม
3 มีความรู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตน หมายถึง การปฏิบัติตนอันเหมาะสม ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะ ที่แสดงถึงการมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง
4 มีความรู้สึกในสิ่งที่ถูกและผิด หมายถึง ความมีสติปัญญารู้จักแยกแยะผิดถูก ไม่เห็นกงจักร เป็นดอกบัว

ข้อ 25 – 26. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) กลุ่มปัญญานิยม
(2) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(3) กลุ่มมนุษยนิยม
(4) กลุ่มจิตวิเคราะห์

25 นักจิตวิทยากลุ่มใดเชื่อว่า มนุษย์เป็นผลิตผลของสิ่งแวดล้อม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

26 หลักการของมาสโลว์สอดคล้องกับแนวคิดกลุ่มใด
ตอบ 3 หน้า 28, (คําบรรยาย) กลุ่มมนุษยนิยม ได้แก่ โรเจอร์ (Roger) และมาสโลว์ (Maslow) เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นดีได้ด้วยตนเอง หรือมนุษย์ดีโดยกําเนิด ซึ่งพฤติกรรมของ มนุษย์เป็นผลิตผลมาจากการตอบสนองความต้องการ (Needs) พื้นฐานของตนเอง และ ความต้องการของมนุษย์นี่เองที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ขึ้นมา

ข้อ 27. – 29. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) บุคคลย่อมมีความแตกต่าง
(2) การศึกษาบุคคลในลักษณะผลรวม
(3) พฤติกรรมของบุคคลย่อมมีสาเหตุ
(4) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

27 หลักการด้านสิทธิมนุษยชน สอดคล้องกับแนวคิดข้อใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

28 การยอมรับตัวตนของตนเองและผู้อื่น เป็นผลมาจากแนวคิดข้อใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

29 แนวคิดข้อใดนําไปจูงใจบุคคลอื่นได้
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

ข้อ 30 – 31. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X
(2) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y
(3) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Z
(4) ธรรมชาติของมนุษย์ในด้านมานุษยวิทยา

30 การมอบรางวัลพนักงานดีเด่น เป็นการจูงใจบุคลากรที่สอดคล้องกับแนวคิดใด
ตอบ 2 หน้า 30 – 31, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y มีลักษณะทั่วไป คือ
1 การออกแรงกายและการใช้สมองในการทํางาน เป็นของธรรมดาเหมือนกับการเล่นหรือ การพักผ่อน ซึ่งจะทําให้มนุษย์มีทัศนคติที่ดี เกิดความรักในงาน พึงพอใจและมีความสุข ในการทํางาน
2 บุคคลจะทํางานในหน้าที่ด้วยการสั่งงานและควบคุมตนเอง
3 ควรใช้แรงเสริมทางบวกเป็นสิ่งตอบแทนเพื่อจูงใจให้บุคคลทํางาน คือ การยกย่องชมเชย การให้รางวัลเพื่อเป็นกําลังใจกับผลสําเร็จของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีโอกาส แสดงผลงานและความสามารถในการทํางานตามที่เขาต้องการ
4 บุคคลจะพยายามเรียนรู้ โดยการยอมรับตามเงื่อนไข และแสวงหาความรับผิดชอบ ฯลฯ

31 แนวคิดใดเชื่อว่า มนุษย์มีความตั้งใจทํางานที่รับผิดชอบเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย
ตอบ 3 หน้า 31 ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี 7 ของเรดดิน เชื่อว่า มนุษย์มีความซับซ้อน แต่จะมีลักษณะทั่วไป คือ
1 มีความตั้งใจทํางานที่ตนรับผิดชอบเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย
2 มีสติปัญญา มีวุฒิภาวะ และมีเหตุผลของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นแรงจูงใจในการทํางาน
3. ยอมรับพฤติกรรมความดีและไม่ดี อันเกิดจากการกระทําของตนเอง สถานการณ์และสิ่งแวดล้อม
4 มนุษย์ทุกคนจะต้องติดต่อเกี่ยวข้องและพึ่งพาอาศัยกัน โดยได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม

ข้อ 32. – 36. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Survival Needs
(2) Primary Needs
(3) Secondary Needs
(4) Wants

32 บุคคลที่มีนิสัยสุรุ่ยสุร่าย เป็นผลมาจากความต้องการข้อใด
ตอบ 4 หน้า 34, (คําบรรยาย) ความปรารถนา (Wants) เป็นความต้องการที่ไม่ใช่ความจําเป็น ขั้นต้นสําหรับมนุษย์ เพราะเป็นสิ่งที่เราต้องการจะมี แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ตาย จึงเป็นสิ่งที่ทําให้ มนุษย์เกิดกิเลสตัณหา และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย เช่น ซื้อรถยนต์ เสื้อผ้าสวย ๆ หรือบ้านสวย ๆ ฯลฯ แต่ความปรารถนาก็เป็นแรงจูงใจสําคัญที่ทําให้บุคคลทํางาน และ อาจจะทํางานหนักกว่าคนอื่นเพราะความปรารถนาในสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นหากมนุษย์ใช้ชีวิต ตามแนวคิดความพอเพียงก็จะช่วยลดความต้องการขั้นนี้ได้

33 พฤติกรรมที่ทําเพื่อความอยู่รอด แสดงถึงความต้องการข้อใด
ตอบ 1 หน้า 34 การอยู่รอด (Survival Needs) เป็นแรงจูงใจสําคัญอันหนึ่งที่ทําให้บุคคลทํางาน ซึ่งการอยู่รอดมิใช่ความปรารถนาของมนุษย์ แต่เป็นพฤติกรรมที่ทําเพื่อความอยู่รอดของชีวิต เช่น เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพง โดยแท้จริงแล้วบุคคลบางคนไม่ได้ต้องการปลูกผัก และพืชสวนครัว แต่เนื่องจากว่าเงินที่หามาได้จากการทํางานอย่างอื่นไม่เพียงพอที่จะหาซื้อ ก็เลยต้องทําเพื่อการอยู่รอด เพราะถ้าไม่ทําก็อาจไม่มีจะกิน

34 ความต้องการข้อใดมีลักษณะที่ไม่ชัดเจน
ตอบ 3 หน้า 34 – 35 ความต้องการทางด้านสังคม (Social Needs) หรือความต้องการทางด้าน จิตวิทยา (Psychological Needs) หรือบางทีเรียกว่า “ความต้องการขั้นรอง” (Secondary Needs) มีลักษณะที่สรุปได้ดังนี้
1 มักเกิดจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
2 แต่ละบุคคลจะมีความต้องการและความเข้มข้นไม่เท่ากัน
3 เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ แม้แต่ในบุคคลคนเดียวกัน
4 มักเกิดขึ้นเมื่อบุคคลอยู่ในกลุ่มสังคมมากกว่าอยู่คนเดียว
5 บุคคลมักไม่แสดงออกอย่างเปิดเผยและซ่อนเร้นความต้องการในขั้นนี้ไว้
6 บางครั้งมีลักษณะเป็นนามธรรมและไม่ชัดเจน ไม่เหมือนความต้องการด้านร่างกาย
7 มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์

35 ความต้องการข้อใดมักเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในกลุ่มสังคม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

36 ความต้องการการดํารงเผ่าพันธุ์สืบต่อไป แสดงถึงความต้องการข้อใด
ตอบ 2 หน้า 34 – 35, 38 ความต้องการทางด้านสรีระหรือร่างกาย (Physiological Needs) หรือ บางทีเรียกว่า “ความต้องการขั้นต้น” (Primary Needs) เป็นความต้องการที่จําเป็นขั้นพื้นฐาน ของมนุษย์ ซึ่งจะสอดคล้องกับความต้องการทางกายหรือทางวัตถุตามแนวคิดของศาสนาพุทธ คือ ความต้องการปัจจัยสี่ของมนุษย์ ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค นอกจากนั้นความต้องการในขั้นนี้ยังรวมถึงความต้องการทางเพศเพื่อการดํารงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์สืบต่อไป การขับถ่าย และการนอนหลับพักผ่อนเพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยด้วย

37 ความพึงพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง ที่น่าสัมผัส แสดงถึงความต้องการข้อใดในหลักศาสนาพุทธ
(1) กามตัณหา
(2) ภวตัณหา
(3) วิภวตัณหา
(4) อิฏฐารมณ์
ตอบ 1 หน้า 36 กามตัณหา คือ ความอยากได้อยากมีในกาม ได้แก่ อยากได้อยากมีในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ (มโนภาพ) ที่น่าใคร่ น่าชอบใจ รวมทั้งอยากได้ลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข เพื่อมาบํารุงความสุขและความสําราญของตน จึงเป็นความอยากด้วยอํานาจตัณหา เป็นความหิวทางจิตใจ หรือเป็นความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุดและไม่รู้จักพอ

38 ความต้องการมีสุขภาพที่ดี แสดงถึงความต้องการข้อใดในหลักศาสนาพุทธ
(1) อายุ
(2) วัณโณ
(3) สุขัง
(4) พลัง
ตอบ 4 หน้า 35 – 37 ความต้องการทางจิตใจหรือนามธรรมตามแนวคิดของศาสนาพุทธ
ซึ่งมีแทรกอยู่ในตอนท้ายของบทสวดมนต์และให้พรของพระสงฆ์ มีความหมายดังนี้
1 อายุ หมายถึง ให้มีอายุยืนยาว
2 วัณโณ หรือวรรณะ หมายถึง ให้มีสุขภาพผิวพรรณสวยงาม สง่า สมประกอบ
3 สุขัง หรือสุข หมายถึง ให้มีความสุขทั้งทางกายและทางใจ
4 พลัง หมายถึง ให้มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

ข้อ 39 – 44. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Esteem and Status Needs
(2) Belonging and Social Activity Needs
(3) Safety and Security Needs
(4) Physiological Needs

39 การสร้างมนุษยสัมพันธ์ เป็นการตอบสนองความต้องการข้อใด
ตอบ 2 หน้า 38 – 39, (คําบรรยาย) ความต้องการความรักและร่วมกิจกรรมในสังคม (Belonging and Social Activity Needs) คือ ความต้องการแสดงตัวและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม โดยจะเกิดขึ้นในลักษณะของการยอมปฏิบัติตนตามกรอบกติกามารยาทของสังคม หรือการมี พฤติกรรมตามที่สังคมกําหนด ได้แก่ การเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย จารีตประเพณี และ ค่านิยม (เช่น การแสดงความกตัญญูต่อบิดามารดา ฯลฯ) เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคม และให้สังคมยอมรับเข้าเป็นสมาชิกหรือเป็นหมู่เป็นพวกเดียวกัน ซึ่งก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทั้งนี้การสร้างมนุษยสัมพันธ์ของบุคคลก็จัดว่าเป็นการตอบสนองความต้องการในลําดับขั้นนี้

40 นักว่ายน้ำลูกพ่อขุนฯ คว้าเหรียญทอง ทุบสถิติฟรีสไตล์ 400 เมตร กรณีนี้ทําให้ได้รับการตอบสนอง
ความต้องการข้อใด
ตอบ 1 หน้า 38 – 39, (คําบรรยาย) ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียงและตําแหน่งหน้าที่ (Esteem and Status Needs) คือ ความต้องการให้สังคมยกย่องนับถือและยอมรับตนว่าเป็นคนสําคัญ ของกลุ่มสมาชิก ซึ่งบุคคลนั้นจะต้องมีองค์ประกอบที่สําคัญ ได้แก่ การมีความรู้ความสามารถ จนประสบผลสําเร็จในกิจการงานด้านต่าง ๆ มีตําแหน่งหน้าที่การงานสูง มีฐานะที่มั่นคง และ มีความเชื่อมั่นหรือมั่นใจในศักยภาพของตนเอง ฯลฯ ดังนั้นมนุษย์จึงพยายามพัฒนาศักยภาพ ของตนเองให้เหนือกว่าคนอื่น โดยการสร้างสมความรู้ความสามารถ ทําตนให้เป็นที่รู้จัก และ แก่งแย่งแข่งขันกันเพื่อให้ได้รับความต้องการในขั้นนี้ เช่น การได้รับรางวัลจากการประกวด หรือจากการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เป็นต้น

41 รัฐบาลทําบัตรสวัสดิการแก่ผู้มีรายได้น้อย เพื่อตอบสนองความต้องการข้อใดของประชาชน
ตอบ 3 หน้า 38, (คําบรรยาย) ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง (Safety and Security Needs) ในด้านต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้
1 ด้านอาชีพการงาน ได้แก่ นโยบายการปรับเงินเดือนผู้ที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท, นโยบายปรับเงินเดือนข้าราชการเท่ากับเอกชน ฯลฯ
2 ด้านร่างกาย โดยไม่ถูกทําร้ายหรือถูกคุกคาม ได้แก่ การทําประกันชีวิต, การรณรงค์เรื่อง โทรไม่ขับ เมาไม่ขับ, การรณรงค์ให้กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง และล้างมือบ่อย ๆ, การให้ ความคุ้มครองประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ฯลฯ
3 ด้านที่อยู่อาศัย ได้แก่ โครงการฝากบ้านไว้กับตํารวจ, โครงการหอพักติดดาว เพื่อนบ้าน เตือนภัย, การเตรียมกระสอบทรายเพื่อป้องกันน้ําท่วมบ้าน, การติดตั้งกล้องวงจรปิด, การทําประกันอัคคีภัย ฯลฯ
4 ด้านชีวิตความเป็นอยู่และทรัพย์สิน ได้แก่ การทําประกันภัยรถยนต์, นโยบายที่รัฐบาลทํา บัตรสวัสดิการให้แก่ผู้ที่มีรายได้น้อย, นโยบายเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน, นโยบายแก้หนี้ นอกระบบ, นโยบายเรียนฟรี 15 ปี

42 นโยบายประชานิยมของพรรคการเมืองต่าง ๆ ฯลฯ การแสดงความกตัญญูต่อบิดามารดา แสดงถึงความต้องการข้อใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 39 ประกอบ

43 ความต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพเหนือผู้อื่น แสดงถึงความต้องการข้อใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ

44 ผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวในไต้หวัน มีความต้องการเร่งด่วนในข้อใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

ข้อ 45 – 47. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) มีการแบ่งชนชั้น
(2) โครงสร้างแบบหลวม ๆ
(3) โครงสร้างสังคมเกษตร
(4) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ

45 คนไทยมักใช้ชีวิตแบบไม่เร่งรีบ เป็นผลมาจากโครงสร้างใดของสังคม
ตอบ 3 หน้า 47, (คําบรรยาย) โครงสร้างสังคมเกษตร คือ มีลักษณะการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่เคร่งครัดในเรื่องเวลาหรือไม่ให้ความสําคัญกับเวลาที่นัดหมาย ไม่เร่งรีบหรือมีพิธีรีตอง ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ไม่หักหาญน้ําใจกัน และไม่ให้ความสําคัญกับวัตถุ โดยถือว่าไม่มีเงินก็อยู่ได้ ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจแบบพอเพียง

46 สังคมไทยอยู่ร่วมกันด้วยความประนีประนอม รอมชอม เป็นผลมาจากโครงสร้างใด
ตอบ 2 หน้า 47, (คําบรรยาย) โครงสร้างแบบหลวม ๆ คือ บุคคลที่อยู่ในสังคมสามารถเลือกปฏิบัติ ในสิ่งที่ตนพอใจได้ โดยไม่ต้องเคร่งครัดในกฎระเบียบมากนัก ทําให้คนไทยมีความยืดหยุ่นสูง ไม่ยึดอะไรเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว และชอบประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถปรับตัว และอยู่ร่วมกันด้วยความประนีประนอม รอมชอม และอะลุ้มอล่วยต่อกัน แต่ก็มีข้อเสียคือ ขาดระเบียบวินัยในการดําเนินชีวิต ไม่เคารพกฎกติกา และมักทําอะไรตามอําเภอใจ เช่น ทําอะไรตามใจคือไทยแท้, ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน ฯลฯ

47 คนไทยมักยอมรับชะตากรรม เป็นผลมาจากโครงสร้างใดของสังคม
ตอบ 4 หน้า 47, (คําบรรยาย) โครงสร้างที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ คือ ความเปลี่ยนแปลง ของชีวิตความเป็นอยู่และสถานะทางสังคมมีน้อย โดยความเปลี่ยนแปลงมักเกิดขึ้นกับคนที่อยู่ในเมืองหลวงมากกว่าในชนบท จึงทําให้คนไทยขาดความทะเยอทะยาน ขาดความกระตือรือร้น ไม่ชอบการแข่งขัน ยอมรับชีวิตตามสภาพที่เป็นอยู่ ยอมรับในชะตากรรมที่เกิดขึ้น และยอมรับ ใน “ชะตาฟ้าลิขิต” หรือ “บุญทํากรรมแต่ง” เช่น แข่งเรือแข่งพายแข่งได้ แข่งวาสนาแข่งไม่ได้ เกิดมาจนก็ต้องจนต่อไป ฯลฯ

ข้อ 48. – 50. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ขาดระเบียบวินัย
(2) กตัญญู
(3) เคารพผู้อาวุโส
(4) เชื่อถือโชคลาง

48 คํากล่าวที่ว่า “ผู้ใหญ่อาบน้ําร้อนมาก่อน” สอดคล้องกับค่านิยมใดของสังคมไทย
ตอบ 3 หน้า 48 – 49, (คําบรรยาย) ค่านิยมของสังคมไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีอยู่มากมาย ดัง
1 นับถือศาสนาพุทธ คือ ยึดถือหลักคําสอนของพระพุทธเจ้า เชื่อในบาปบุญคุณโทษ และ ยอมรับในกฎแห่งกรรม เช่น ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว, คิดดี ทําดี, เวรกรรมมีจริง, เวรย่อม ระงับด้วยการไม่จองเวร ฯลฯ
2 เคารพผู้อาวุโส คือ การปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี เชื่อฟังคําสั่งสอน ยกย่องและให้เกียรติ ผู้อาวุโส ดังคํากล่าวที่ว่า “ผู้ใหญ่อาบน้ําร้อนมาก่อน”
3 กตัญญู คือ ความเป็นผู้รู้คุณที่บุคคล สังคม หรือประเทศชาติได้ทําให้แก่ตน ดังคํากล่าวที่ว่า ตักน้ำจากบ่อ อย่าลืมคนขุดบ่อ”
4 เชื่อถือโชคลาง คือ ชอบเสี่ยงโชค ชอบอธิษฐานขอสิ่งต่าง ๆ จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์
5 ขาดระเบียบวินัย คือ ไม่เคร่งครัดในกฎระเบียบ ชอบทําตามอําเภอใจ ฯลฯ

49 คนไทยชอบทําตามอําเภอใจ เป็นผลมาจากค่านิยมใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 46 และ 48 ประกอบ

50 คนไทยชอบอธิษฐานขอให้สมหวังในสิ่งที่คิด เป็นผลมาจากค่านิยมใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

51 ข้อใดแสดงถึงธรรมชาติของคนไทย
(1) มีความอดทน
(2) มีน้ำใจ
(3) มีความรับผิดชอบ
(4) มีความกระตือรือร้น
ตอบ 2 หน้า 23 – 24, 49, (คําบรรยาย) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กล่าวถึง ธรรมชาติของคนไทยที่ สอดคล้องกับหลักพรหมวิหารสี่ว่า คนไทยมีความเมตตา คือ มีความรักและเอ็นดู ปรารถนา จะให้ผู้อื่นเป็นสุข และมีความกรุณา คือ มีความสงสารหวั่นไหว หรือมีน้ําใจช่วยเหลือเมื่อเห็น ผู้อื่นได้รับความทุกข์ แต่ขาดมุทิตา คือ ขาดความมีจิตยินดีในลาภ ยศ สรรเสริญของผู้อื่น หรือ มีความอิจฉาริษยา ไม่ชอบเห็นใครดีกว่าตนเอง และขาดอุเบกขา คือ ขาดความมีใจเป็นกลาง ขาดความวางเฉย เพราะคนไทยหากไม่ยินดีก็ยินร้ายในเรื่องของคนอื่น

52 คนไทยมักสงสารและช่วยเหลือผู้ประสบชะตากรรม แสดงถึงหลักพรหมวิหารสี่ข้อใด
(1) เมตตา
(2) กรุณา
(3) มุทิตา
(4) อุเบกขา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

53 ข้อใดเป็นแนวคิดที่ถูกต้องในการศึกษาตนเอง
(1) มองตนเองอย่างมั่นใจเพื่อจะได้เห็นคุณค่าของตน
(2) มองตนเองอย่างถ่อมตนเพื่อให้ได้รับการยอมรับ
(3) มองตนเองให้ได้ข้อมูลตามตัวตนที่เป็นจริง
(4) มองตนเองจากปฏิกิริยาป้อนกลับของผู้อื่น
ตอบ 3 หน้า 53 แนวคิดที่ถูกต้องในการศึกษาตนเอง คือ การพยายามทําความรู้จักตนเองให้ใกล้เคียง กับข้อเท็จจริงของตัวเราให้มากที่สุด อย่าเข้าข้างหรือมีอคติกับตนเอง ดังนั้นจึงควรมองตนเอง ตามข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่เพื่อให้ได้ข้อมูลตามตัวตนที่แท้จริง โดยควรพิจารณาดูว่าสิ่งที่เราคิดว่า ตัวเราเป็นคนอย่างไรนั้น สอดคล้องกับสิ่งที่บุคคลอื่นมองเราหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการตรวจสอบเบื้องต้นว่าเราสามารถรู้จักตนเองได้อย่างถูกต้อง

54 การสํารวจลักษณะต่าง ๆ ของตนเอง แสดงถึงขั้นตอนใดในการศึกษาตนเอง
(1) To Know
(2) To Understand
(3) To Accept
(4) To Develop
ตอบ 1หน้า 53 – 54, 78, (คําบรรยาย) การศึกษาตนเองตามแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนตามลําดับ ดังนี้
1 การรู้จักตนเอง (To Know) คือ การสํารวจลักษณะต่าง ๆ ของตนเองว่าเป็นอย่างไร
2 การเข้าใจตนเอง (To Understand) คือ การวิเคราะห์ตนเองเพื่อหาสาเหตุว่า ทําไมเราจึงมีลักษณะเช่นนั้น ซึ่งจะนําไปสู่ขั้นตอนการยอมรับตนเอง
3 การยอมรับตนเอง (To Accept) คือ การยอมรับหรือรับรู้ศักยภาพและข้อดีข้อด้อย ของตนเอง ซึ่งเมื่อยอมรับได้แล้วก็จะนําไปสู่ขั้นตอนการพัฒนาตนเอง
4 การพัฒนาตนเอง (To Develop) คือ การแก้ไขปรับปรุงจุดด้อย จุดอ่อน และ ข้อบกพร่องของตัวเอง ซึ่งถือเป็นเป้าหมายและประโยชน์ของการศึกษาตนเอง

ข้อ 55 – 56. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม

(1) Self Awareness
(2) Self Acceptance
(3) Self Actualization
(4) Self Disclosure

55 บุคคลที่เชื่อในการตัดสินใจของตนเอง เป็นผลมาจาก Self Concept ข้อใด
ตอบ 3 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง (Self Concept) ประการหนึ่ง ได้แก่ การรู้จักตนเอง (Self Actualization) จะมีลักษณะสําคัญ 3 ประการ ดังนี้
1 เต็มใจที่จะยืนหยัดอยู่ด้วยตนเอง
2 ไว้วางใจตนเองหรือเชื่อมั่นในตนเอง คือ เชื่อในการตัดสินใจของตนเอง
3 เป็นคนที่มีความยืดหยุ่นและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เมื่อพบว่าการตัดสินใจของตนนั้น เป็นสิ่งที่ผิด

56 ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น นําไปสู่ Self Concept ข้อใด
ตอบ 1 หน้า 17, 53 – 54 แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง (Self Concept) ประการหนึ่ง ได้แก่ การรู้ตนเอง (Self Awareness) คือ การรู้ตนเองว่าเป็นใคร มีลักษณะอย่างไร ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจาก ประสบการณ์ และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือการได้รับปฏิกิริยาป้อนกลับจากคู่สื่อสาร แต่มี

ข้อควรระวัง คือ ไม่ควรมองตนเองสูงหรือต่ํากว่าความเป็นจริง เพราะจะมีผลต่อประสิทธิภาพ
ดังนั้นแนวคิดเกี่ยวกับตนเองและการรู้ตนเองนี้จึงเป็นพื้นฐานในการเปิดตนเองของการสื่อสาร ออกสู่การติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น

ข้อ 57 – 58. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม

(1) Labeling
(2) Social Comparison
(3) Interpersonal Relationships
(4) Significant Others

57 การเรียนรู้ตนเองจากการยอมรับของบุคคลที่ใกล้ตัว สอดคล้องกับแนวคิดข้อใด
ตอบ 4 หน้า 60 การยอมรับของบุคคลที่มีความสําคัญต่อเรา (Significant Others) คือ การเรียนรู้ ตนเองจากการยอมรับหรือไม่ยอมรับของบุคคลที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับตนเอง เช่น พ่อ แม่ ครู พี่น้อง คนรัก ฯลฯ ซึ่งมีความสําคัญมาก เพราะการที่เราให้ความสําคัญกับบุคคลที่ใกล้ชิดนั้นจะทําให้เรามีความรู้สึกพึงพอใจหรือเจ็บปวดมากหากได้รับปฏิกิริยาโต้ตอบจากบุคคลใกล้ชิดเหล่านี้ ดังนั้นการกระทําต่าง ๆ ของบุคคลใกล้ชิดจึงสามารถกําหนดพฤติกรรมของเราได้

58 นักศึกษาหญิงไม่ใส่กางเกงเมื่อเข้าห้องสอบ เป็นการเรียนรู้ตนเองที่สอดคล้องกับแนวคิดใด
ตอบ 1 หน้า 59, (คําบรรยาย) การกําหนดของสังคม (Labeling) คือ การปฏิบัติตัวและมีพฤติกรรม ไปตามบรรทัดฐานของสังคม ได้แก่ กฎหมาย กฎเกณฑ์ กติกามารยาทต่าง ๆ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ค่านิยมของสังคม ฯลฯ โดยกําหนดตัวเองจากการกระทําของเราว่าเข้ากับ ข้อกําหนดของสังคมในรูปแบบใด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1 สิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ เช่น การคดโกง ความก้าวร้าว การทุจริตคอร์รัปชั่น ฯลฯ
2 สิ่งที่สังคมยอมรับ เช่น การเคารพกฎหมาย การแต่งกายที่สุภาพเหมาะกับกาลเทศะ การประพฤติตนเป็นคนดีของสังคม ฯลฯ

ข้อ 59. – 60. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม

(1) ศึกษาและประเมินตนเอง
(2) ยอมรับและตระหนักในความต้องการที่จะปรับปรุงตนเอง
(3) มีแรงจูงใจในการปรับปรุงตนเอง
(4) วางแผนในการปรับปรุงตนเอง

59 การทําความดีเพื่อให้สังคมยกย่อง แสดงถึงขั้นตอนใดในการพัฒนาตนเอง
ตอบ 3 หน้า 64, (คําบรรยาย) มีแรงจูงใจในการปรับปรุงตนเอง ถือเป็นการตอบสนองความต้องการ ส่วนบุคคลของตนเอง ดังนี้
1 ความต้องการมีบุคลิกภาพที่ดีและเป็นที่ดึงดูดใจของเพศตรงข้าม ทําให้บุคคลต้องการที่จะปรับปรุงตนเองในระดับสูง เช่น การดูแลรูปร่างผิวพรรณให้มีเสน่ห์ ฯลฯ
2 ความต้องการเป็นที่ชื่นชมหรือได้รับการยกย่องจากสังคม คือ ต้องการให้เป็นที่รัก ที่ชื่นชม
และเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม
3 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในอาชีพและสังคม ทําให้บุคคลต้องปรับปรุงตนเองด้าน การแต่งกาย กิริยามารยาท ความขยัน ความตั้งใจ และมีความรับผิดชอบในการทํางาน 4. ความต้องการอํานาจ เพื่อให้มีสง่าราศี น่าเชื่อถือ และน่ายําเกรง

60 การหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนํามาปรับปรุงตนเอง แสดงถึงขั้นตอนใดในการพัฒนาตนเอง
ตอบ 2 หน้า 63 – 64 ยอมรับและตระหนักในความต้องการที่จะปรับปรุงตนเอง คือ การยอมรับข้อบกพร่องและตระหนักถึงความสําคัญของบุคลิกภาพว่า เป็นเครื่องมือที่นําไปสู่การยอมรับ นับถือ ศรัทธา ความสัมพันธ์อันดี และความสําเร็จ พร้อมกันนี้ก็มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนข้อบกพร่องของตนเอง โดยการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ และวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อนํามาปรับปรุงตนเอง เช่น ปรึกษาแพทย์ ผู้รู้ อ่านหนังสือ บทความ หรือเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพและศักยภาพตามความเหมาะสม

ข้อ 61. – 62. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Inferior
(2) Superior
(3) Equal
(4) Introvert

61 ความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อน เป็นผลมาจากการยอมรับตนเองตามแนวคิดใด
ตอบ 3 หน้า 60, (คําบรรยาย) Equal คือ การมีความคิดและยอมรับตามหลักการสิทธิมนุษยชนว่า เราเท่าเทียมหรือเสมอภาคเท่ากับผู้อื่น โดยจะมีความเป็นเพื่อนกัน มีความคล้ายคลึงกันหรือ มีอะไรที่ใกล้เคียงกัน ทําให้มีความสบายใจในการแสดงออก กล้าพูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ส่งผลให้คู่สื่อสารสามารถเปิดเผยตนเอง สามารถสื่อสารและแสดงออกตามความรู้สึกที่แท้จริงได้อย่างอิสระ จึงเป็นการยอมรับตนเองของคู่สื่อสารที่นําไปสู่สัมพันธภาพที่ดี และสามารถที่จะ สร้างมนุษยสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การพูดคุยอย่างสนิทสนมในหมู่เพื่อนฝูง ฯลฯ

62 รัฐบาลมุ่งมั่นทํางานหนักเพื่อประชาชน แสดงถึงการยอมรับตนเองของรัฐบาลตามแนวคิดใด
ตอบ 1 หน้า 60, (คําบรรยาย) Inferior คือ การยอมรับว่าตนเองต่ําต้อยกว่าคนอื่น หรือมีสถานภาพ ต่ํากว่าคู่สื่อสาร ซึ่งจะทําให้มีความมั่นใจในตัวเองต่ํา และตีคุณค่าของตนเองต่ํากว่าผู้อื่น ดังนั้น จึงทําให้เกิดพฤติกรรมอ่อนน้อมถ่อมตน ยอมรับฟังความคิดเห็น ให้เกียรติ เชื่อฟัง คล้อยตาม โดยไม่โต้แย้ง เพื่อให้ผู้ที่สื่อสารด้วยเกิดความพึงพอใจ เกิดความประทับใจ และรู้สึกว่าตนเอง มีคุณค่า เช่น พฤติกรรมหาเสียงของนักการเมืองหรือรัฐบาลที่เน้นว่าประชาชนสําคัญที่สุด แนวคิดทางธุรกิจที่เน้นว่า “ลูกค้าคือพระเจ้า ลูกค้าถูกเสมอ”, แนวคิดของเจ้าหน้าที่ตํารวจ ที่ว่า “โรงพักเพื่อประชาชน/ตํารวจ….ผู้รับใช้ชุมชน” และแนวคิดที่ว่า “ข้าราชการ คือ ผู้ที่ทํางานให้ประชาชนชื่นใจ” ฯลฯ

63 ข้อใดไม่ใช่แนวทางการพัฒนาตนเองในด้านการพูด
(1) ไม่พูดเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น
(2) ใช้อารมณ์ในการพูดเพื่อให้คล้อยตาม
(3) พูดในเรื่องที่ผู้ฟังสนใจ
(4) พูดคุยด้วยเรื่องที่สนุกสนาน
ตอบ 2หน้า 66 – 68 แนวทางการพัฒนาตนเองในด้านการพูดหรือสนทนา มีดังนี้
1 พูดจาด้วยถ้อยคําที่สุภาพ เหมาะกับกาลเทศะและบุคคล
2 มีน้ำเสียงนุ่มนวล อ่อนโยน
3 ฝึกการใช้คําถามให้เหมาะสม
4 พูดในเรื่องที่ผู้ฟังชอบ พอใจและสนใจ ไม่ควรพูดในสิ่งที่ตนเองถนัด ชอบและสนใจ
5 เลือกส่วนดีเด่นของคู่สนทนามาพูด
6 พูดอย่างมีเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ในการพูด
7 ใช้ศิลปะในการสนทนา เช่น ไม่อธิบายรายละเอียดของแต่ละเรื่องมากเกินไป, ไม่ควรขัดคอ หรือโต้แย้งความคิดของคู่สนทนาทันที, หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น, รู้จักสรรหา เรื่องที่สนุกสนานมาพูดคุยกันในวงสนทนา, ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสนทนา ฯลฯ

64 การสื่อสารที่นําไปสู่มนุษยสัมพันธ์ ต้องทําให้ผู้รับสารเกิดความรู้สึกในข้อใด
(1) เกรงใจ
(2) พึงพอใจ
(3) เชื่อใจ
(4) นับถือ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

65 การรู้จักเกรงใจผู้อื่น นําไปสู่การพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกเป็นคนคล่องแคล่วว่องไว
(2) ฝึกเป็นคนตรงต่อเวลา
(3) ฝึกใช้อํานาจเหนือผู้อื่นให้น้อยลง
(4) ฝึกให้มีความมั่นใจในตนเอง
ตอบ 2 หน้า 71, (คําบรรยาย) ฝึกเป็นคนตรงต่อเวลา คือ การแสดงออกถึงการมีวินัย มีความซื่อสัตย์ และมีความรับผิดชอบ โดยเริ่มต้นจากการไม่เป็นคนผัดวันประกันพรุ่ง และทําตัวให้เป็นคนที่เตรียมพร้อมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ ไม่เป็นคนประมาทหรือละเลยต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดฝัน รวมทั้งฝึกเป็นคนเคารพต่อกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด และรู้จัก เกรงใจผู้อื่น ไม่ทําให้ผู้อื่นรอคอยโดยไม่จําเป็น

66 ขวัญเป็นคนเจ้าอารมณ์และตามใจตนเอง แสดงถึงการขาดการพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกการรักตนเอง
(2) ฝึกความอดทนและเข้าใจผู้อื่น
(3) ฝึกเป็นผู้มีใจสงบ
(4) ฝึกการเอาชนะตนเอง
ตอบ 4 หน้า 69 – 70 ฝึกการเอาชนะตนเอง คือ ความสามารถในการควบคุมตนเองได้ในเรื่องของ อารมณ์และความอยาก เนื่องจากปกติแล้วคนเรามักชอบตามใจตนเอง เจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจ โลภมาก และสุรุ่ยสุร่าย ซึ่งในทางจิตวิทยาถือว่าการเอาชนะตนเองจะทําให้บุคคลกลายเป็น คนที่มีเหตุผลมากขึ้น เพราะเป็นการควบคุมพฤติกรรมการแสดงออกของตนเองให้ทําสิ่งต่าง ๆ ไปตามเป้าหมายในทางที่ถูกต้อง ดีงาม และเหมาะสม

67 การยอมรับว่าความผิดพลาดเกิดขึ้นได้กับทุกคน นําไปสู่การพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกการให้ความรักผู้อื่น
(2) ฝึกใช้อํานาจเหนือผู้อื่นให้น้อยลง
(3) ฝึกการให้อภัยคนอื่น
(4) ฝึกการคิดอย่างมีเหตุผล
ตอบ 3 หน้า 73 ฝึกการให้อภัยผู้อื่นและตนเอง คือ การไม่ลงโทษผู้อื่นและตนเองเมื่อกระทําผิดพลาด ทั้งนี้เพราะการไม่ให้อภัยผู้อื่นและตนเองย่อมทําให้เกิดความทุกข์ทรมานใจ ดังนั้นบุคคลจึงควร พิจารณาตนเองว่า การกระทําของตนเองเหมาะสมถูกต้องหรือไม่ เมื่อกระทําอะไรลงไปแล้ว ผู้อื่นพอใจหรือไม่ และเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นก็ควรยอมรับสภาพที่เกิดขึ้นแล้วพยายามลืมโดยถือว่าความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน

68 การรู้จักพูดคําว่า “ขอบคุณ” “ขอโทษ” อย่างเหมาะสม นําไปสู่การพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกเป็นคนอารมณ์ดีและเบิกบาน
(2) ฝึกสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้น
(3) ฝึกการให้อภัยคนอื่น
(4) ฝึกการให้ในสิ่งที่ผู้อื่นต้องการ
ตอบ 2 หน้า 74 ฝึกการสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น จะมีเคล็ดลับอยู่หลากหลายวิธี เช่น การแต่งกายงดงาม การพูดจาไพเราะอ่อนหวาน มีน้ําเสียงนุ่มนวล และการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น แต่สิ่งที่สําคัญที่สุด คือ การทําให้ผู้อื่นรู้สึกตัวว่าเขาเป็นคนสําคัญ มีคุณค่า มีความหมาย นอกจากนี้ยังควรรู้จักหมั่นฝึกพูดคําว่า “ขอบคุณ” และ “ขอโทษ” ในโอกาสที่เหมาะสม และถูกต้องตามกาลเทศะ เป็นต้น

69 การรู้จักมองโลกในแง่ดีและมีความพึงพอใจในผู้อื่น นําไปสู่การพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกการให้ความรักผู้อื่น
(2) ฝึกสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้น
(3) ฝึกเป็นคนอารมณ์ดีและเบิกบาน
(4) ฝึกการรักตนเอง
ตอบ 3 หน้า 71 ฝึกเป็นคนอารมณ์ดีและเบิกบาน คือ การลดความโกรธและความไม่พอใจให้น้อยลง โดยการฝึกมองโลกในแง่ดี มีความหวังดี มีความพึงพอใจผู้อื่น ไม่เคร่งเครียดหรือยึดกฎเกณฑ์ มากเกินไป หมั่นคบคนที่มีอารมณ์ดี อารมณ์ขัน ฝึกให้พอใจกับสภาพที่ตนเองเป็นอยู่ และรู้จัก ให้ความรักแก่เพื่อนมนุษย์ในสังคม

70 ข้อใดแสดงถึงเป้าหมายในการศึกษาบุคคลอื่นตามแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์
(1) To Know
(2) To Understand
(3) To Accept
(4) To Develop
ตอบ 3 หน้า 78, (คําบรรยาย) เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์สําคัญในการศึกษาบุคคลอื่นตามแนวคิด ทางด้านมนุษยสัมพันธ์ คือ การยอมรับ (To Accept) ตัวตนตามลักษณะที่เป็นจริงหรือตาม ธรรมชาติของบุคคลอื่น โดยต้องตั้งอยู่บนแนวคิดพื้นฐานสําคัญที่ว่ามนุษย์มีความแตกต่างกันซึ่งเมื่อเรายอมรับในเรื่องความแตกต่างของบุคคลได้แล้ว ก็จะทําให้การสร้างความสัมพันธ์นั้น ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งยังทําให้ตัวเราปรับตัวเข้ากับบุคคลนั้น ๆ ได้อีกด้วย

ข้อ 71 – 72. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ทัศนคติ
(2) ค่านิยม
(3) การรับรู้
(4) ความเชื่อ

71 ผลสํารวจโพลต่าง ๆ แสดงถึงสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาข้อใด
ตอบ 1 หน้า 43, 79 – 81, (คําบรรยาย) ทัศนคติ (Attitude) เป็นท่าทีหรือความรู้สึกที่แตกต่างกัน ของแต่ละบุคคล ซึ่งจะแสดงออกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางบวกหรือลบ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย พอใจหรือไม่พอใจ ชอบหรือไม่ชอบ ฯลฯ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ไม่มีการประเมินว่า ถูกหรือผิด ซึ่งเมื่อเรามีทัศนคติในทิศทางใดก็จะมีพฤติกรรมการแสดงออกที่สอดคล้องกับ ทิศทางนั้น เช่น ผลสํารวจความคิดเห็นของประชาชนจากโพลต่าง ๆ เป็นต้น

72 การยอมรับบาปบุญคุณโทษ แสดงถึงสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาข้อใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

ข้อ 73 – 77. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Open Area
(2) Blind Area
(3) Hidden Area
(4) Unknown Area

73 ความรู้สึกอิจฉาเพื่อนที่แสดงออกไม่ได้ หมายถึงพฤติกรรมส่วนใด
ตอบ 3 หน้า 84 บริเวณซ่อนเร้น (Hidden Area) หมายถึง บริเวณที่เป็นพฤติกรรมลึกลับ หรือเป็น ความรู้สึกนึกคิดหรือความลับบางอย่างที่บุคคลเก็บกดซ่อนไว้ในใจ ไม่เปิดเผยหรือไม่แสดงออก ให้ผู้อื่นรู้ แต่ตนเองเท่านั้นที่จะรู้ และพฤติกรรมนี้มักจะเป็นพฤติกรรมภายในของบุคคล เช่น ความจํา ความเชื่อ ทัศนคติ ฯลฯ ซึ่งบุคคลจะไม่แสดงพฤติกรรมดังกล่าวออกไปเพราะต้องการ ปิดบัง และอาจแสดงพฤติกรรมอย่างอื่นกลบเกลื่อนความรู้สึกที่แท้จริง เช่น บางคนอาจจะมี ความรู้สึกหมั่นไส้ อิจฉา และไม่พอใจผู้อื่น แต่ก็เสแสร้งยิ้มและพูดโกหกแสดงความยินดี ฯลฯ

74 พฤติกรรมส่วนโตมักเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในภาวะคับขัน
ตอบ 4 หน้า 84, (คําบรรยาย) บริเวณมืดมน (Unknown Area) หมายถึง บริเวณพฤติกรรมลึกลับ หรือความรู้สึกฝังลึกบางอย่างที่บุคคลแสดงออกโดยไม่รู้ตัว ซึ่งตนเองและบุคคลอื่นก็ไม่เคย รู้จัก ไม่เคยเข้าใจมาก่อน จึงเป็นพฤติกรรมที่ทําให้บุคคลไม่รู้จักตนเองมากที่สุด และคนอื่น ก็ไม่รู้จักตัวเราด้วย เพราะอาจจะเป็นทักษะความสามารถพิเศษ หรือพรสวรรค์ในด้านต่าง ๆ ที่คาดไม่ถึงและยังค้นไม่พบ จนกว่าจะเกิดเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่คับขันบางอย่างมา กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมนี้ เช่น พรสวรรค์ทางด้านดนตรี ศิลปะ กีฬา ฯลฯ

75 พฤติกรรมส่วนใดมีความจําเป็นต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์
ตอบ 1 หน้า 83 – 85, (คําบรรยาย) บริเวณเปิดเผย (Open Area) หมายถึง บริเวณพฤติกรรม ภายนอกที่บุคคลตั้งใจแสดงออกอย่างเปิดเผย มักจะเกิดขึ้นในการสื่อสารระหว่างบุคคลแบบเผชิญหน้า ซึ่งทําให้คู่สื่อสารรับรู้พฤติกรรมและเจตนาของแต่ละฝ่ายได้ ทั้งนี้เมื่อคู่สื่อสารเริ่มรู้จักหรือยังไม่คุ้นเคยกัน บริเวณเปิดเผยจะลดลงเพราะยังสงวนท่าทีกันอยู่ แต่หากคู่สื่อสาร สนิทสนมคุ้นเคยและจริงใจต่อกัน บริเวณเปิดเผยก็จะเปิดกว้างมากขึ้น โดยพฤติกรรมส่วนนี้ จะเป็นประโยชน์และมีความจําเป็นต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ เพราะทําให้คู่สื่อสารมีปฏิกิริยา โต้ตอบต่อกัน มีการเปิดเผยตนเอง และจริงใจต่อกันมากขึ้น ดังคํากล่าวที่ว่า “มองตาก็รู้ใจ”

76 ปฏิกิริยาป้อนกลับจากคู่สื่อสารจะช่วยลดพฤติกรรมส่วนใด
ตอบ 2 หน้า 83, 86 การพยายามลดพฤติกรรมบริเวณจุดบอด (Blind Area) ให้น้อยลง โดยใช้ วิธีการขยายพฤติกรรมบริเวณเปิดเผยตามแนวนอน (1) คือ การรับข้อมูลย้อนกลับหรือ ปฏิกิริยาป้อนกลับจากคู่สื่อสาร รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่าง ๆ หรือให้คนอื่นบอก ข้อบกพร่องของตนเองแล้วนํามาแก้ไข

77 บุคคลประเภทเปิดเผยจะมีพฤติกรรมส่วนใดน้อยที่สุด
ตอบ 4 หน้า 88 บุคคลประเภทเปิดเผยจะมีพฤติกรรมบริเวณเปิดเผย (Open Area) มากที่สุด แต่พฤติกรรมบริเวณมืดมน (Unknown Area) จะน้อยที่สุด คือ บุคคลจะเปิดเผยมาก มีความจริงใจ พูดถึงส่วนดีและส่วนบกพร่องของตนเอง และรับฟังคําวิจารณ์ของผู้อื่น พร้อมกับนํามาแก้ไขปรับปรุงตนเองให้มีความเจริญงอกงามเป็นที่ปรารถนาของสังคม

ข้อ 78 – 82. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) พฤติกรรมแบบพ่อแม่
(2) พฤติกรรมแบบผู้ใหญ่
(3) พฤติกรรมแบบเด็ก
(4) พฤติกรรมที่ขัดแย้ง

78 เสียงเพลง เสียงดนตรี แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 3 หน้า 89 – 90, (คําบรรยาย) พฤติกรรมแบบเด็ก (Child Ego State : C) มักแสดงออกใน ลักษณะที่มีจินตนาการสร้างสรรค์ มีอารมณ์สุนทรีย์หรืออารมณ์ศิลปิน สดชื่น มีชีวิตชีวา และ กล้าหาญ ซึ่งจะทําให้โลกนี้มีสิ่งแปลกใหม่ มีสิ่งประดิษฐ์ที่งดงามแปลกตา มีนักเขียน นักกลอน มีผลงานทางด้านศิลปะต่าง ๆ และทําให้โลกมีชีวิตชีวาด้วยเสียงเพลง เสียงดนตรี เสียงหัวเราะ การแสดงท่าทางขบขัน ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความดื้อรั้น สนใจแต่ ความสุขของตนเอง เอาแต่ใจ ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล ไม่ควบคุมตนเอง แต่คําพูดที่แสดงออก จะเปิดเผย อิสระ และตรงไปตรงมา

79 ผู้บริหารที่ยึดถือกฎเกณฑ์เคร่งครัด แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 2 หน้า 89, 92 ผู้บริหารที่มีพฤติกรรมแบบผู้ใหญ่ (Adult Ego State : A) จะมีลักษณะดังนี้
1 มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทํางานตามข้อมูลและข้อเท็จจริง
2 ยึดถือว่างาน สําคัญกว่าการเล่น
3 ยึดความถูกต้องและระเบียบแบบแผนมากกว่าความคิดสร้างสรรค์
4 เป็นคนมีเหตุผล 5. เคร่งครัดในกฎระเบียบและกฎเกณฑ์

80 บุคลิกภาพแบบหุ่นยนต์ เป็นผลมาจากพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 2 หน้า 89 – 90, (คําบรรยาย) พฤติกรรมแบบผู้ใหญ่ (Adult Ego State : A) เป็นพฤติกรรมที่ มักแสดงออกในลักษณะตรงไปตรงมา มีเหตุผล ยึดข้อเท็จจริง ไม่ใช้อารมณ์หรือความคิดเห็น ส่วนตัว เมื่อพูดถึงสิ่งใดก็จะใช้ข้อเท็จจริงและเหตุผลเป็นเครื่องตัดสิน ดังนั้นจึงมักเปรียบเทียบ บุคลิกภาพแบบนี้ว่าคล้ายกับหุ่นยนต์ ไม่มีความรู้สึกส่วนตัว เห็นทุกสิ่งเป็นไปตามผลกรรม

81 การให้กําลังใจแก่บุคคลที่เผชิญกับปัญหา แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 1 หน้า 89 – 90, (คําบรรยาย) พฤติกรรมแบบพ่อแม่ (Parent Ego State : P) จะแสดงออก ในลักษณะของพฤติกรรมทางบวก เช่น ความรักใคร่ อบรมสั่งสอน ห่วงใย หวังดี ให้กําลังใจ ปลอบประโลม ฯลฯ ในขณะเดียวกันก็จะมีลักษณะของพฤติกรรมทางลบด้วย เช่น เกรี้ยวกราด ดุด่าว่ากล่าว ใช้อํานาจสั่งการเหนือผู้อื่น ตําหนิติเตียน ประชดประชัน เยาะเย้ย เจ้ากี้เจ้าการ และชอบควบคุมพฤติกรรมของผู้อื่น ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการยึดถือระเบียบแบบแผน จารีตประเพณี และเชื่อถือคติโบราณ จึงมักทําให้มีบุคลิกภาพแบบหัวโบราณ ไม่ยอมรับการ เปลี่ยนแปลงของสังคม แต่จะมีความเมตตากรุณา

82 บุคคลที่ดื้อรั้น เอาแต่ใจตัวเอง เป็นผลมาจากพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78 ประกอบ

83 บุคคลที่ต้องการกําลังใจจากผู้อื่น เป็นผลมาจากการรับรู้ข้อใด
(1) I’m not OK., You’re OK.
(2) I’m OK., You’re not OK.
(3) I’m not OK., You’re not OK.
(4) I’m OK., You’re OK.
ตอบ 1หน้า 93 ฉันเลวแต่คุณดี (I’m not OK, You’re OK.) เป็นทัศนคติที่แสดงถึงภาวะจิตของ คนที่ไม่มีความสุข จึงเป็นบุคคลที่ต้องการกําลังใจ ต้องการความสนใจและเอาใจใส่จากผู้อื่น หรือผู้บังคับบัญชา ดังนั้นจึงมักมองตนเองในแง่ลบ ชอบตําหนิตนเอง แต่กลับมองผู้อื่นในแง่ดี และยกย่องชมเชยผู้อื่น เช่น คําพูดที่ว่า “ฉันเป็นดอกหญ้าที่ไร้ค่าแต่เธอเป็นดอกฟ้าผู้สูงส่ง “ทําอย่างไรฉันถึงจะเก่งได้เหมือนเธอ” เป็นต้น

84 ตามแนวคิดของเชลตัน บุคคลที่โกรธง่ายหายเร็ว จะมีบุคลิกภาพแบบใด
(1) ผอม
(2) ล่ำสัน
(3) อ้วน
(4) สมส่วน
ตอบ 3 หน้า 95 เชลดัน (Sheldon) ได้จัดแบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1 รูปร่างอ้วน (Endomorphy) มักชอบสนุกสนานร่าเริง และโกรธง่ายหายเร็ว ฯลฯ
2 รูปร่างล่ำสัน (Mesomorphy) แข็งแรง มีร่างกายสมส่วน เป็นคนคล่องแคล่วว่องไว มีน้ําใจเป็นนักกีฬา มีเพื่อนมาก และชอบช่วยเหลือผู้อื่น ฯลฯ
3 รูปร่างผอม (Ectomorphy) มักเคร่งขรึม เอาการเอางาน ใจน้อย ชอบวิตกกังวล ไม่ชอบการต่อสู้ และชอบอยู่ตามลําพัง ฯลฯ

85 ข้อใดแสดงถึงบุคลิกภาพแบบ Introvert
(1) อารมณ์ดี
(2) ขี้อาย
(3) ชอบทํากิจกรรม
(4) ปรับตัวเก่ง
ตอบ 2หน้า 95, (คําบรรยาย) คาร์ล จี. จุง (Cart G. Jung) แบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 ชอบเก็บตัว (Introvert) เป็นพวกเชื่อมั่นในตนเอง ยึดตัวเองเป็นใหญ่ ขี้อาย เก็บความรู้สึก ชอบอยู่ตามลําพัง ปรับตัวยาก เห็นแก่ตัว ฯลฯ
2 ชอบแสดงตัว (Extrovert) เป็นพวกไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอน เปิดเผย เข้าสังคมเก่ง อารมณ์ดี ชอบทํากิจกรรม ฯลฯ
3 ประเภทกลาง ๆ (Ambivert) เป็นพวกไม่เก็บตัวหรือแสดงตัวมากเกินไป ปรับตัวเก่งหรือ ปรับตัวได้ตามสถานการณ์ และมักจะมีนิสัยเรียนรู้การอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จึงเป็นบุคลิกภาพที่แสดงถึงทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

ข้อ 86 – 88. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) เต่า
(2) ฉลาม
(3) สุนัขจิ้งจอก
(4) นกฮูก

86 สัญลักษณ์ใดแสดงถึงบุคลิกภาพของผู้บริหารที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
ตอบ 2 หน้า 96 – 97 ผู้บริหารประเภทชอบใช้อํานาจ (Authoritarian Manager) จะมีสัญลักษณ์เป็น “ฉลาม” คือ บุคคลที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ดุร้าย ชอบใช้อํานาจเหนือลูกน้องในการแก้ปัญหา โดยไม่คํานึงถึงความรู้สึกของคนอื่น เน้นความต้องการของตนเอง และมักจะแก้ปัญหาด้วยการ กล้าเผชิญหน้า กล้าที่จะฟาดฟันเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง และช่วงชิงผลประโยชน์ของ ผู้อื่น จึงมักนําไปสู่การต่อสู้และทําร้าย

87 สัญลักษณ์ใดแสดงถึงบุคลิกภาพของผู้บริหารที่รู้จักควบคุมอารมณ์และรับฟังผู้อื่น
ตอบ 4 หน้า 97, (คําบรรยาย) ผู้บริหารประเภทใจเย็น (Team Manager) จะมีสัญลักษณ์เป็น “นกฮูก” คือ เป็นบุคคลที่พยายามศึกษาความต้องการของตนเองและผู้อื่น แล้วแก้ปัญหา ความขัดแย้งด้วยการควบคุมอารมณ์ รับฟังลูกน้องด้วยความเข้าใจ พูดจาไพเราะ และแสดง ความคิดเห็นเพื่อแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาหลาย ๆ ทาง จึงถือว่าเป็นผู้บริหารที่มี บุคลิกภาพและแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ในการทํางาน ทําให้สามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์กับลูกน้องได้ดีที่สุด

88 สัญลักษณ์ใดแสดงถึงบุคลิกภาพของผู้บริหารที่ขาดความรับผิดชอบ
ตอบ 1 หน้า 96 ผู้บริหารประเภทไม่เอาไหน (Impoverished Manager) จะมีสัญลักษณ์เป็น “เต่า” เพราะไม่กล้าเผชิญปัญหา และเมื่อมีความผิดเกิดขึ้นก็มักจะโทษผู้อื่นหรือโยนความผิดให้กับ ลูกน้อง ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ยอมตามผู้อื่นด้วยความขุ่นเคืองใจ มองผู้อื่นในแง่ร้าย โดยจะบริหารงานแบบสบาย ๆ ไม่สนใจลูกน้องและงาน ชอบอยู่เฉย ๆ ใครจะทําอะไรก็ทําไป และเมื่อเกิดความผิดพลาดจะไม่รับผิดชอบไม่ว่ากรณีใด ๆ

ข้อ 89. – 90. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) การรับรู้ทางสังคมด้วยความประทับใจ
(2) การรับรู้ทางสังคมโดยการประเมินคนอื่น
(3) อิทธิพลทางสังคม
(4) ความสัมพันธ์ทางสังคม

89 การคล้อยตามผู้อื่น สอดคล้องกับแนวคิดใด
ตอบ 3 หน้า 131 – 132, (คําบรรยาย) อิทธิพลทางสังคมจะเน้นพฤติกรรมของบุคคลที่เปลี่ยนไป ในทางที่ดีขึ้นหรือเลวลง เนื่องจากการกระทําของบุคคลอื่น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1 การส่งเสริมโดยสังคม (Social Facilitation) ได้แก่ การอยู่ในสายตาของผู้อื่นจะทําให้ การทํางานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
2 การคล้อยตามผู้อื่น หรือการถูกโน้มน้าวใจให้คล้อยตาม ได้แก่ การคล้อยตามบุคคลที่ เราเชื่อถือหรือสนิทสนม การคล้อยตามบรรทัดฐาน และการคล้อยตามที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมีเรื่องของอํานาจเข้ามากํากับ

90 การให้ความสําคัญกับสิ่งที่ไม่ใช่คําพูด แสดงถึงแนวคิดใด
ตอบ 1 หน้า 127 – 129, 155, (คําบรรยาย) การรับรู้ทางสังคมโดยความรู้สึกประทับใจมักจะ เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ ๆ
1 ความประทับใจครั้งแรก ประสบการณ์ครั้งแรก หรือปรากฏการณ์ครั้งแรกของคู่สื่อ คือ การรับรู้ว่าชอบหรือไม่ชอบบุคคลที่เราพบเห็นเป็นครั้งแรก
2 ปรากฏการณ์ภายนอก คือ บุคลิกภาพภายนอกของบุคคล ได้แก่ รูปร่างหน้าตา
3 การสื่อสารเชิงอวัจนะหรือพฤติกรรมการแสดงออกทางอวัจนภาษา (ภาษากาย) คือ การสื่อสารกันโดยไม่ต้องใช้คําพูด เช่น สีหน้า สายตา อากัปกิริยาท่าทางและการสัมผัส น้ําเสียง เป็นต้น

91 คนจนที่ใช้ชีวิตด้วยความพอเพียง ทําให้ได้รับการยอมรับจากสังคมตามแนวคิดข้อใด
(1) อ้างความด้อยของตนเอง
(2) อ้างชื่อเสียงของกลุ่ม
(3) การสวมบทบาทตามเพศ
(4) การสวมบทบาทตามคุณลักษณะที่ไม่พึงประสงค์
ตอบ 4 หน้า 135, (คําบรรยาย) การสวมบทบาทตามคุณลักษณะที่ไม่พึงปรารถนาหรือไม่พึงประสงค์ ของตน ได้แก่ ความพิการทั้งทางกายและทางจิต ความยากจน และความชรา โดยบุคคลที่มีคุณลักษณะเหล่านี้มักจะถูกบังคับให้กระทําตามบทบาทของตนทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ เพื่อให้ผู้อื่นประทับใจและสังคมยอมรับ เช่น ผู้สูงอายุหรือผู้อาวุโสที่เข้าวัดเพื่อฟังพระเทศน์ ธรรมะ, คนชราที่เข้าวัดเพื่อทําบุญ ตักบาตร ปฏิบัติธรรม และฝึกนั่งสมาธิอย่างสม่ําเสมอ คนจนที่ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ฯลฯ

ข้อ 92 – 94. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) การถดถอย
(2) การเก็บกด
(3) การถอยหนี
(4) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน

92 การลดความวิตกกังวลโดยแสดงพฤติกรรมเหมือนเด็ก ๆ เป็นการป้องกันตนเองข้อใด
ตอบ 1 หน้า 138, (คําบรรยาย) การถดถอย (Regression) คือ กลไกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลตกอยู่ใน ภาวะวิตกกังวลและไม่อาจจะขจัดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นได้ จึงหาทางออกโดยการย้อนไป แสดงพฤติกรรมแบบเด็ก ๆ เพื่อลดความวิตกกังวล เช่น ร้องไห้ ปัสสาวะรดที่นอน กระทืบเท้า แลบลิ้น อ่านหนังสือการ์ตูน ฯลฯ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่บุคคลเคยทําในอดีตสมัยเด็ก ๆ และนํากลับมาใช้ใหม่เมื่อตนเองมีปัญหาในการปรับตัว

93 พฤติกรรม “ปากปราศรัย น้ําใจเชือดคอ” แสดงถึงการป้องกันตนเองข้อใด
ตอบ 4 หน้า 137 – 138, (คําบรรยาย) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน (Reaction – Formation) คือ กลไกที่ แสดงปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมตรงกันข้ามกับความรู้สึกที่แท้จริง เพื่อให้ตัวเองสบายใจขึ้นและเพื่อป้องกันความรู้สึกผิดหรือการที่บุคคลมีความคิดเห็นที่เป็นอันตรายหรือไม่เป็นที่ปรารถนา ต่อบุคคลอื่น ซึ่งจัดว่าเป็นลักษณะการแสดงออกแบบ “หน้าเนื้อใจเสือ” หรือ “ปากปราศรัย น้ําใจเชือดคอ” เช่น เมื่ออยู่ต่อหน้าเพื่อนบ้านทําเป็นคุยด้วยกันอย่างมีมิตรภาพ แต่ลับหลัง กลับมีพฤติกรรมจ้องทําลายเป็นต้น

94 คนที่ชอบตื่นเวทีจะหลีกเลี่ยงการพูดในที่ชุมนุมชน แสดงถึงการป้องกันตนเองข้อใด
ตอบ 3 หน้า 137, (คําบรรยาย) การถอยหนี (Withdrawal) คือ กลไกที่บุคคลพยายามหลีกหนีจาก สถานการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา หรือหนีไปจากสิ่งที่ทําให้เกิดความไม่สบายใจ เช่น คนที่พูดไม่เก่ง มีอาการประหม่า หรือชอบตื่นเวทีจะหลีกเลี่ยงการพูดในที่ชุมนุมชน ฯลฯ

95 ทักษะการปรับตัวให้เข้ากับสังคม เป็นผลมาจากวัตถุประสงค์ของการสื่อสารระหว่างบุคคลข้อใด
(1) เพื่อค้นพบตัวเอง
(2) เพื่อค้นพบโลกภายนอก
(3) เพื่อสร้างความสัมพันธ์
(4) เพื่อการโน้มน้าวใจ
ตอบ 1 หน้า 151 เพื่อค้นพบตัวเอง (Personal Discovery) คือ การได้มีโอกาสสื่อสารกับบุคคลอื่น โดยเฉพาะการสื่อสารแบบเผชิญหน้า จะทําให้เราได้รู้จักตนเองด้วยการสังเกตจากปฏิกิริยา ป้อนกลับของผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลให้ได้รู้ความคิดของตนเองว่าแตกต่างจากผู้อื่นในสังคมอย่างไร ดังนั้นการสื่อสารระหว่างบุคคลจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนรู้จักการปรับตัวให้เข้ากับสังคมรวมทั้งได้พิจารณาข้อบกพร่องและข้อได้เปรียบของตน

96 ข้อใดเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้องของการสื่อสารเชิงอวัจนะ
(1) การสื่อสารเชิงอวัจนะแสดงถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
(2) การสื่อสารเชิงอวัจนะมีแทรกอยู่ในทุกสถานการณ์ของการสื่อสาร
(3) การสื่อสารเชิงอวัจนะเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจของผู้ส่งสาร
(4) การสื่อสารเชิงอวัจนะแสดงออกได้อย่างไม่มีขอบเขตจํากัด
ตอบ 3 หน้า 153 – 154 แนวคิดที่ถูกต้องของการสื่อสารเชิงอวัจนะหรือการใช้อวัจนสาร (Nonverbal Communication) มีดังนี้
1 แสดงถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
2 มีแทรกอยู่ในทุกสถานการณ์ของการสื่อสารที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าพฤติกรรมนั้น
3 มีความครอบคลุมกว้างขวางแทบจะไม่มี ขอบเขตจํากัด (ไร้ขอบเขต) ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกทางด้านน้ําเสียง ท่าทาง หรือสีหน้า จะแสดงโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
4 มีหน้าที่ในการสื่อสาร ทําให้การสื่อสารชัดเจนถูกต้องและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
5 อาจเกิดขึ้น โดยไม่ตั้งใจหรือไม่รู้ตัว ทําให้ขาดการควบคุม และแสดงออกได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ
6. สามารถส่งผลกระทบและมีอิทธิพลต่อผู้รับสารมากกว่าวจนสารถึง 5 เท่า ฯลฯ

97 ข้อใดเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้องในการใช้ Eye Contact
(1) ผู้พูดจะสบตากับผู้ฟังมากกว่าผู้ฟังสบตากับผู้พูด
(2) เพศหญิงมีการสบตามากกว่าเพศชาย
(3) ผู้พูดควรสบตากับผู้ฟังประมาณ 60% ของเวลาในการสนทนา
(4) คู่สื่อสารจะสบตากันน้อยลงเมื่อสนทนาเรื่องส่วนตัว

ตอบ 1 หน้า 156 แนวคิดที่ถูกต้องในการประสานสายตาหรือการสบตา (Eye Contact) ของคู่สื่อสาร มีดังนี้
1 ผู้ฟังจะประสานสายตากับผู้พูดมากกว่าผู้พูดประสานสายตากับผู้ฟัง
2 การประสานสายตาจะมีน้อยลงเมื่อสนทนาเรื่องส่วนตัว
3 เพศหญิงจะประสานสายตามากกว่าเพศชาย และในบางวัฒนธรรมจะห้ามการประสาน สายตา เช่น เด็กจะไม่ค่อยกล้าจ้องหน้าประสานสายตากับผู้ใหญ่
4 คู่สนทนาที่เป็นมิตรจะประสานสายตากันมากกว่าคู่สนทนาที่เป็นศัตรูหรือเป็นปฏิปักษ์กัน
5 ผู้พูดควรประสานสายตากับผู้ฟังประมาณ 60 – 70% ของช่วงเวลาที่มีการสนทนากัน

ข้อ 98. – 99. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Empathy
(2) Positiveness
(3) Supportiveness
(4) Equality

98 คู่สื่อสารที่ไม่เป็นปฏิปักษ์กัน แสดงถึงพฤติกรรมใดในการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างบุคคล
ตอบ 3 หน้า 162, (คําบรรยาย) การได้รับการสนับสนุน (Supportiveness) คือ การสื่อสารจะ ดําเนินไปได้อย่างสนุกสนานและราบรื่นต่อเมื่อคู่สื่อสารรู้สึกว่า คนที่ตนกําลังสื่อสารด้วยนั้นไม่ได้เป็นปฏิปักษ์กับตน ดังนั้นการสื่อสารที่ดีจึงควรเปิดโอกาสให้คู่สื่อสารแสดงความคิดเห็น ของตนอย่างเสรี และหลีกเลี่ยงความคิดที่ขัดแย้งของแต่ละฝ่ายโดยไม่จําเป็น

99 ความสามารถในการรับรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่นในสถานการณ์ต่าง ๆ แสดงถึงพฤติกรรมใดในการ
เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างบุคคล
ตอบ 1 หน้า 161 – 162 พฤติกรรมความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) หรือความสามารถในการเอาใจ เขามาใส่ใจเรา คือ ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หรือความสามารถในการรับรู้และเข้าใจถึง ความรู้สึกและความคิดเห็นของคู่สื่อสารในแต่ละสถานการณ์ได้เสมือนเป็นคน ๆ นั้น ซึ่งจะช่วยให้คู่สื่อสารปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการสื่อสารของตนให้เป็นที่พอใจซึ่งกันและกันได้

100 การยกย่องชมเชยคู่สื่อสาร เป็นปัจจัยใดในการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างบุคคล
(1) ลักษณะดึงดูดใจของคู่สื่อสาร
(2) ความใกล้ชิดของคู่สื่อสาร
(3) การให้แรงเสริมแก่คู่สื่อสาร
(4) ความคล้ายคลึงกันของคู่สื่อสาร
ตอบ 3หน้า 158, 160 การให้แรงเสริมแก่คู่สื่อสาร (Reinforcement) คือ คนเรามักมีแนวโน้มที่จะสื่อสารกับคนที่ให้สิ่งที่ตนพอใจหรือคนที่ให้แรงเสริมแก่ตน โดยแรงเสริมนั้นอาจเป็นวัตถุสิ่งของ หรือตัวเสริมแรงทางสังคม ได้แก่ การพูดจาไพเราะ การยกย่องชมเชย และการให้เกียรติกัน ซึ่งจะต้องมีลักษณะของความจริงใจ ไม่เสแสร้ง และไม่แอบแฝงผลประโยชน์ เช่น คนเรามัก ไม่อยากสนทนากับเพื่อนที่ชอบขัดคอหรือโต้แย้ง แต่มักชอบพูดคุยกับเพื่อนที่ยินดีและแสดง ความนับถือยกย่องในความสําเร็จของเรา เป็นต้น

 

LAW2106 (LAW 2006) กฎหมายอาญา1 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2106 (LAW 2006) กฎหมายอาญา 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายเสือต้องการฆ่านายช้าง ขณะที่นายช้างเผลอนายเสือได้แอบใส่ยาพิษชนิดร้ายแรงลงในถ้วย กาแฟของนายช้าง นายช้างดื่มโดยไม่รู้ ต่อมายาพิษออกฤทธิ์ทําให้นายช้างหมดสติ นายเสือเข้าใจ ว่านายข้างถึงแก่ความตายแล้ว จึงเอาร่างของนายช้างไปแขวนคอไว้กับกิ่งไม้ใหญ่หลังบ้านเพื่อ เป็นการอําพรางว่านายช้างฆ่าตัวตาย นายช้างถึงแก่ความตายเพราะถูกแขวนคอ

ดังนี้ อยากทราบว่าความตายของนายช้างเป็นผลที่สัมพันธ์กับการกระทําด้วยเจตนาฆ่าในตอนแรก ของนายเสือหรือไม่ และนายเสื้อต้องรับผิดอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้ กระทําโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาทหรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น

ถ้าผู้กระทํามิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าผู้กระทําประสงค์ต่อผล หรือ
ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้นมิได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเสือต้องการฆ่านายช้าง ขณะที่นายช้างเผลอนายเสือได้แอบใส่ยาพิษ ชนิดร้ายแรงลงในถ้วยกาแฟของนายช้าง นายช้างดื่มโดยไม่รู้ ต่อมายาพิษออกฤทธิ์ทําให้นายช้างหมดสตินั้น การกระทําของนายเสือในตอนแรกนี้ ถือเป็นการกระทําโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะนายเสือได้กระทํา โดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกัน นายเสือประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น นายเสือจึงต้องรับผิด ในทางอาญาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง

ส่วนการกระทําในตอนหลังของนายเสือที่ได้เอาร่างของนายช้างไปแขวนคอไว้กับกิ่งไม้ใหญ่หลังบ้าน เพื่อเป็นการอําพรางว่านายช้างฆ่าตัวตาย จนนายช้างถึงแก่ความตายเพราะถูกแขวนคอนั้น แม้การกระทําในครั้งหลัง ของนายเสือไม่ถือว่านายเรือมีเจตนาฆ่านายช้าง เพราะเข้าใจว่านายช้างได้ตายไปแล้ว สิ่งที่นายเสือกระทํานั้น นายเสือไม่รู้ว่าได้กระทําต่อผู้อื่น คิดว่ากําลังกระทํากับศพ จึงถือว่านายเสือมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบ ของความผิด จะถือว่านายเสือประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้นมิได้ตามมาตรา 59 วรรคสาม
แต่อย่างไรก็ตาม การที่นายเสือได้เอาร่างของนายช้างไปแขวนไว้กับกิ่งไม้ใหญ่จนนายช้างถึงแก่ ความตายเพราะถูกแขวนคอนั้น ถือเป็นเหตุแทรกแซงอันเกิดจากการกระทําของนายเสือเองและเป็นเหตุแทรกแซง ที่ไม่เกินความคาดหมายซึ่งผู้กระทําความผิดจะกระทําเช่นนั้น ดังนั้น เมื่อเป็นเหตุแทรกแซงที่คาดหมายได้ ผลคือ ความตายของนายช้างจึงมีความสัมพันธ์กับการกระทําด้วยเจตนาฆ่าในตอนแรกของนายเสือ การกระทําโดย เจตนาฆ่าของนายเสือจึงเป็นความผิดสําเร็จ ดังนั้น นายเสือจึงต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา

สรุป ความตายของนายช้างเป็นผลที่มีความสัมพันธ์กับการกระทําด้วยเจตนาฆ่าในตอนแรกของ นายเสือ นายเสือจึงต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา

ข้อ 2 นายเดชารู้สึกรําคาญนายเดโชที่นั่งดื่มสุราอยู่ที่โต๊ะอาหารข้าง ๆ เพราะเมาสุราพูดจาเอะอะโวยวาย
จึงชักปืนลูกซองออกมาเล็งยิงไปที่ขวดสุราบนโต๊ะอาหารที่นายเดโชนั่งอยู่ ลูกกระสุนปืน ถูกขวดสุราของนายเดโชแตกและกระสุนปืนยังกระจายไปถูกนายเดโชได้รับอันตรายสาหัส นอกจากนี้ลูกกระสุนปืนยังกระจายไปถูกนายเดชชาติที่อุ้มลูกสุนัขของนายเดชชัยที่เดินเข้ามา ในร้านอาหารพอดี เป็นเหตุให้นายเดชชาติถึงแก่ความตาย และลูกสุนัขของนายเดชชัยที่อุ้มมา ตกพื้นตายเช่นกัน นายเดชามีความผิดฐานใดบ้าง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญา ก็ต่อเมื่อได้กระทําโดย เจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาทหรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น”

มาตรา 60 “ผู้ใดเจตนาที่จะกระทําต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทําเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง โดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทํานั้น แต่ในกรณีที่กฎหมาย บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้น เพราะฐานะของบุคคลหรือเพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทํากับบุคคลที่ได้รับผลร้าย
มิให้นํากฎหมายนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทําให้หนักขึ้น”

มาตรา 80 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดลงมือกระทําความผิดแต่กระทําไปไม่ตลอด หรือกระทําไปตลอดแล้ว แต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทําความผิด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายเดชามีความผิดฐานใดบ้างนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 การที่นายเดชาชักปืนลูกซองออกมาเล็งยิงไปที่ขวดสุราบนโต๊ะอาหารที่นายเดโชนั่งอยู่ ลูกกระสุนปืนถูกขวดสุราของนายเดโชแตกนั้น การกระทําของนายเดชาเป็นการกระทําโดยรู้สํานึกในการกระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น การกระทําของนายเดชาจึงเป็นการกระทําโดย เจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง ดังนั้น นายเดชาจึงมีความผิดฐานเจตนาทําให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายตาม มาตรา 358 ประกอบมาตรา 59 วรรคหนึ่ง

2 การกระทําของนายเดชาที่ใช้ปืนลูกซองยิงไปที่ขวดสุราดังกล่าวนั้น นอกจากลูกกระสุนปืน จะถูกขวดสุราของนายเดโชแตกแล้ว ลูกกระสุนปืนยังกระจายไปถูกนายเตโชได้รับอันตรายสาหัสอีกด้วยนั้น กรณีนี้ถือว่า นายเดชาย่อมเล็งเห็นผลของการกระทําของตนอยู่แล้วว่า กระสุนปืนอาจถูกนายเดโชได้ ดังนั้น เมื่อกระสุนปืนที่นายเดชาได้ยิงไปนั้นถูกนายเดโชการกระทําของนายเดชาต่อนายเดโชดังกล่าวจึงเป็นการกระทําโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะเป็นการกระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกัน ผู้กระทําย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น และเมื่อนายเดโชได้รับอันตรายสาหัสไม่ถึงแก่ความตาย การกระทํา ของนายเดชาจึงเป็นการกระทําที่ได้กระทําไปตลอดแล้ว แต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผล นายเดชาจึงมีความผิด ฐานพยายามฆ่านายเดโชตามมาตรา 288 และมาตรา 80 ประกอบมาตรา 59 วรรคหนึ่ง

3 การที่นายเดชาได้ใช้ปืนยิงขวดสุราของนายเดโชนั้น นอกจากกระสุนปืนจะถูกนายเดโชแล้ว ลูกกระสุนปืนยังกระจายไปถูกนายเดชชาติที่อุ้มลูกสุนัขของนายเดชชัยที่เดินเข้ามาในร้านอาหารพอดีเป็นเหตุให้ นายเดชชาติถึงแก่ความตายนั้น ถือว่าผลของการกระทําที่เกิดกับนายเดชชาตินั้น เป็นผลที่เกิดขึ้นโดยพลาดไปจึง ต้องถือว่านายเดชาได้กระทําโดยเจตนาต่อนายเดชชาติบุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทํานั้นด้วยตามมาตรา 60 ดังนั้น นายเดชาจึงต้องรับผิดฐานฆ่านายเดชชาติตายโดยเจตนาตามมาตรา 288 ประกอบมาตรา 59 วรรคหนึ่งและมาตรา 60

4 การที่กระสุนปืนที่นายเดชามีเจตนาที่จะยิงไปที่ขวดสุรานั้น นอกจากจะถูกขวดสุราแตก แล้วยังกระจายไปถูกนายเดชชาติที่อุ้มลูกสุนัขของนายเดชชัย ทําให้ลูกสุนัขตกพื้นตายนั้น ผลของการกระทําที่ เกิดกับลูกสุนัขดังกล่าวเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยพลาดไป จึงต้องถือว่านายเดชากระทําโดยเจตนาต่อลูกสุนัขของนาย เดชชัย ซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทํานั้นด้วยตามมาตรา 60 ดังนั้น นายเดชาจึงมีความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ โดยพลาดต่อนายเดชชัยตามมาตรา 358 ประกอบมาตรา 59 วรรคหนึ่ง และมาตรา 60

สรุป นายเดชามีความผิดฐานเจตนาทําให้ทรัพย์ของนายเดโชเสียหายโดยเจตนาประสงค์ต่อผล มีความผิดฐานพยายามฆ่านายเดโชโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผล มีความผิดฐานฆ่านายเดชชาติโดยพลาด และมีความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์โดยพลาดต่อนายเดชชัย

หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 บัญญัติว่า “ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย ทําให้ เสื่อมค่า หรือทําให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทําความผิดฐานทําให้
เสียทรัพย์…”

ข้อ 3 นายโก๋เห็นนายจอมกําลังยืนคุยอยู่กับนางสาวปุยฝ้ายสาวที่ตนหลงรัก นายโก้โมโหต้องการจะฆ่า นายจอม จึงชักปืนพกขึ้นจ้องเล็งจะยิงนายจอม นายศักดิ์กับนายศรีเห็นเหตุการณ์เกรงว่านายจอม จะถูกยิงตาย นายศักดิ์จึงกระโดดถีบนายจอมเพื่อให้หลบกระสุนปืน นายจอมส้มลงหน้ากระแทกพื้น ได้รับบาดเจ็บ ส่วนนายศรีใช้ปืนยิงถูกข้อมือของนายโก๋ได้รับบาดเจ็บปืนหลุดจากมือ ดังนี้ นายศักดิ์และนายศรี จะต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทําโดย เจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น”

มาตรา 67 “ผู้ใดกระทําความผิดด้วยความจําเป็น

(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อํานาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ

(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน

ถ้าการกระทํานั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ”

มาตรา 68 “ผู้ใดจําต้องกระทําการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทําพอสมควรแก่เหตุ การกระทํานั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด”

วินิจฉัย

การกระทําที่จะถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งจะมีผลทําให้ผู้กระทําไม่มีความผิด
และไม่ต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา 68 ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ คือ

(1) มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย

(2) ภยันตรายนั้นเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง

(3) ผู้กระทําจําต้องกระทําเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายนั้น (4) ต้องได้กระทําไปพอสมควรแก่เหตุ

กรณีตามอุทาหรณ์ นายศักดิ์และนายศรีจะต้องรับผิดทางอาญาอย่างไร หรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

กรณีของนายศักดิ์

การที่นายโก๋ได้ชักปืนพกขึ้นต้องเล็งจะยิงนายจอมด้วยเจตนาจะฆ่านายจอม นายศักดิ์ซึ่งเห็น เหตุการณ์เกรงว่านายจอมจะถูกยิงตายจึงได้กระโดดถีบนายจอมเพื่อให้หลบกระสุนปืน จนทําให้นายจอมล้มลงหน้ากระแทกพื้นได้รับบาดเจ็บนั้น ถือว่านายศักดิ์ได้กระทําผิดฐานทําร้ายร่างกายนายจอมโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะเป็นการกระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ต่อผลของ การกระทํานั้น ดังนั้นนายศักดิ์จึงต้องรับผิดในทางอาญาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม การกระทําของนายศักดิ์เป็นการกระทําเพื่อให้นายจอมพ้นจากภยันตรายที่ ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ และเป็นภยันตรายที่มิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน การกระทําดังกล่าวของนายศักดิ์จึงเป็นการกระทําด้วยความจําเป็นตามมาตรา 67 (2) และเมื่อเป็นการกระทํา ที่พอสมควรแก่เหตุ นายศักดิ์จึงไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานทําร้ายร่างกายนายจอม และในกรณีดังกล่าว นายศักดิ์ จะอ้างว่าการกระทําของตนเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อให้ตนไม่ต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา 68 ไม่ได้ เพราะนายศักดิ์มิได้กระทําต่อนายโก๋ ผู้ก่อภัย

กรณีของนายศรี

การที่นายศรีซึ่งเห็นเหตุการณ์เช่นเดียวกับนายศักดิ์ได้ใช้ปืนยิงถูกข้อมือนายโก๋หักได้รับบาดเจ็บนั้นแม้นายศรีจะได้กระทําโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง และโดยหลักจะต้องรับผิดตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่เมื่อการกระทําของนายศรีนั้น เป็นกรณีที่นายศรีต้องกระทําเพื่อป้องกันสิทธิของผู้อื่นให้พ้นจากภยันตราย
ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง เมื่อนายศรีได้กระทําไปพอสมควร แก่เหตุ การกระทําของนายศรีจึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 68 ดังนั้น นายศรีจึงไม่มีความผิดและไม่ต้องรับโทษ

สรุป นายศักดิ์มีความผิดฐานทําร้ายร่างกายนายจอมแต่ไม่ต้องรับโทษ เพราะเป็นการกระทําผิด ด้วยความจําเป็นตามมาตรา 67 (2) ส่วนนายศรีไม่มีความผิดและไม่ต้องรับโทษเพราะเป็นการกระทําเพื่อป้องกัน โดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 68

ข้อ 4 ประชากับสมเดชร่วมกันวางแผนฆ่าชุมพร โดยตกลงกันให้ประชาไปหลอกชุมพรออกมาจากบ้านมาให้สมเดชยิง อรสาแอบได้ยินประชากับสมเดชวางแผนฆ่าชุมพร และทราบว่าสมเดชไม่มีอาวุธปืน อรสาจึงได้ฝากอาวุธปืนแก่วัลลภมาให้สมเดช โดยสมเดชไม่ทราบว่าเป็นปืนของอรสา ระหว่างที่ ประชาเดินทางไปบ้านชุมพร สมเดชพบชุมพรโดยบังเอิญจึงยิ่งชุมพรตายเสียก่อนที่ประชาจะพบกับชุมพร

ดังนี้ ประชาและอรสาต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทําโดย เจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์
ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น”

มาตรา 83 “ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทําของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วม กระทําความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น”

มาตรา 86 “ผู้ใดกระทําด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการ ที่ผู้อื่นกระทําความผิดก่อน หรือขณะกระทําความผิด แม้ผู้กระทําความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือ หรือให้ ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทําความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กําหนดไว้ สําหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่สมเดชใช้อาวุธปืนยิงชุมพรตาย ถือว่าเป็นการกระทําโดยรู้สํานึกในการที่ กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น การกระทําของสมเดชจึงเป็นการกระทํา โดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง ดังนั้น สมเดชจึงต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง (ในความผิด ฐานฆ่าชุมพรตายโดยเจตนา)

สําหรับประชาและอรสา จะต้องรับผิดทางอาญาในความผิดที่สมเดชยังชุมพรตายอย่างไรหรือไม่
แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของประชา

แม้ประชาจะได้ร่วมวางแผนกับสมเดชเพื่อที่จะฆ่าชุมพร แต่ในขณะที่สมเดชใช้ปืนยิงชุมพรถึงแก่ความตายนั้น ประชาไม่ได้อยู่ร่วมด้วย จึงถือว่าประชาขาดเจตนาที่จะร่วมกันกระทําความผิด ดังนั้นประชาจึงไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการตามมาตรา 83

แต่อย่างไรก็ตาม การที่ประชาได้ร่วมกันวางแผนเพื่อฆ่าชุมพร โดยตกลงให้ประชาไปหลอกชุมพร ออกมาจากบ้านเพื่อให้สมเดชยิ่งนั้น ถือเป็นการกระทําอันเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่น กระทําความผิด ดังนั้นประชาจึงต้องรับผิดทางอาญาฐานเป็นผู้สนับสนุนตามมาตรา 86

กรณีของอรสา

การที่อรสาแอบได้ยินประชากับสมเดชวางแผนฆ่าชุมพร และทราบว่าสมเดชไม่มีอาวุธปืนจึงได้ฝากอาวุธปืนแก่วัลลภเพื่อนํามาให้สมเดชนั้น แม้สมเดชจะไม่ทราบว่าเป็นปืนของอรสาก็ตาม การกระทําของอรสา ถือเป็นการกระทําอันเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทําความผิด ดังนั้นอรสาจึงต้อง รับผิดทางอาญาฐานเป็นผู้สนับสนุนตามมาตรา 86

สรุป ประชาและอรสาจะต้องรับผิดทางอาญาฐานเป็นผู้สนับสนุน ตามมาตรา 86

LAW2106 (LAW2006) กฎหมายอาญา1 s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2106 (LAW 2006) กฎหมายอาญา 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายชนะชลได้ชวนนางสาวเมขลาซึ่งเป็นคู่รักไปเที่ยวนั่งรถชมวิวด้วยกัน โดยให้นางสาวเมขลา ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ที่นายชนะชลเป็นผู้ขับขี่ซึ่งนายชนะชลขับด้วยความเร็วสูงมาก
และเมื่อขับมาถึงทางโค้งก็ไม่ได้ลดความเร็วลง ทําให้รถคันดังกล่าวล้มลงเป็นเหตุให้นางสาวเมขลา ตกจากรถได้รับอันตรายสาหัสนอนหมดสติในพงหญ้าข้างทาง นายชนะชลตกใจกับเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น โดยหลบหนีไปไม่ให้ความช่วยเหลือและไม่ได้แจ้งให้ผู้ใดทราบ นางสาวเมขลานอนหมดสติ ในที่เกิดเหตุเป็นเวลา 5 วัน จนพลเมืองดีมาพบและแจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาช่วยเหลือพานางสาวเมขลาไปช่วยเหลือจนรอดชีวิต

จงวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาของนายชนะชล

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคห้า “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้ กระทําโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดย ประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทําและในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น

การกระทํา ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทํา เพื่อป้องกันผลนั้นด้วย”

มาตรา 80 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดลงมือกระทําความผิดแต่กระทําไปไม่ตลอด หรือกระทําไปตลอดแล้ว แต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทําความผิด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายชนะชลได้ชวนนางสาวเมขลาซึ่งเป็นคู่รักไปเที่ยวนั่งรถชมวิวด้วยกัน และเมื่อขับรถมาถึงทางโค้งนายชนะชลก็ไม่ได้ลดความเร็วลง ทําให้รถคันดังกล่าวล้มลงเป็นเหตุให้นางสาวเมขลา ตกจากรถได้รับอันตรายสาหัสนอนหมดสติในพงหญ้าข้างทางนั้น ย่อมถือว่าการที่นางสาวเมขลาได้รับอันตรายสาหัส และนอนหมดสติซึ่งอาจถึงแก่ความตายได้นั้น เกิดจากการกระทําโดยประมาทของนายชนะชล อีกทั้งนางสาวเมขลา ก็มีความสัมพันธ์เป็นพิเศษกับนายชนะชลในฐานะคู่รัก จึงเป็นหน้าที่ของนายชนะชลที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ เพื่อป้องกันมิให้นาวสาวเมขลาถึงแก่ความตายโดยให้นางสาวเมขลาซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ที่นายชนะชลเป็นผู้ขับขี่ซึ่งนายชนะชลขับด้วยความเร็วสูงมาก

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายชนะชลได้หลบหนีไปไม่ให้ความช่วยเหลือและไม่ได้แจ้งให้ผู้ใดทราบ
ย่อมถือว่านายชนะชลได้งดเว้นการที่จักต้องกระทําหรือหน้าที่ที่ต้องกระทําเพื่อป้องกันผลนั้น ซึ่งตามมาตรา 59 วรรคห้า ถือว่าเป็นการกระทําต่อนางสาวเมขลาด้วย และเมื่อเป็นการกระทําโดยเจตนาเพราะเป็นการ
กระทํา โดยรู้สํานึกในการที่กระทํานั้น และในขณะเดียวกันผู้กระทําย่อมเล็งเห็นผลของการกระทําได้ว่านางสาวเมขลา อาจจะถึงแก่ความตายได้ ดังนั้น นายชนะชลจึงต้องรับผิดทางอาญาฐานกระทําโดยเจตนาฆ่านางสาวเมขลา

โดยหลักย่อมเล็งเห็นผลตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคห้า และเมื่อนางสาวเมขลาไม่ตายเนื่องจาก มีพลเมืองดีมาพบและแจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาช่วยเหลือจนนางสาวเมขลารอดชีวิต การกระทําของนายชนะชลซึ่งได้กระทําไปตลอดแล้วแต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผล นายชนะชลจึงต้องรับผิดทางอาญาฐานพยายามฆ่าผู้อื่น โดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคห้า ประกอบมาตรา 30 วรรคหนึ่ง (คือมีความผิดฐาน พยายามฆ่านางสาวเมขลา ตามมาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง)

สรุป นายชนะชลมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคห้า ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง

ข้อ 2 นายพายุคึกคะนองจึงได้ใช้ก้อนหินที่มีน้ําหนักถึงหนึ่งกิโลกรัมเศษและครึ่งกิโลกรัมจํานวนหลายก้อน
ทุ่มลงมาจากสะพานข้ามแม่น้ําซึ่งอยู่สูงจากระดับพื้นน้ํา 9 เมตร ลงไปยังเรือโดยสารลําหนึ่ง ซึ่งมีผู้โดยสารอยู่เป็นจํานวนมาก ในขณะที่เรือแล่นลอดใต้สะพาน หินก้อนหนึ่งถูกนายสายฟ้า ผู้โดยสารในเรือลํานั้นได้รับอันตรายสาหัส และหินอีกก้อนหนึ่งได้กระเด็นไปถูกนายฝนตกผู้โดยสารในเรืออีกลําหนึ่งซึ่งแล่นสวนทางมาถูกบริเวณตาข้างซ้ายซึ่งทําให้นายฝนตกตาบอด

จงวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาของนายพายุ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทําโดย เจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทําและในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์
ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น”

มาตรา 60 “ผู้ใดเจตนาที่จะกระทําต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทําเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง โดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทํานั้น….”

มาตรา 80 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดลงมือกระทําความผิดแต่กระทําไปไม่ตลอด หรือกระทําไปตลอดแล้ว แต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทําความผิด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายพายุคึกคะนองจึงได้ใช้ก้อนหินที่มีน้ําหนักถึงหนึ่งกิโลกรัมเศษและครึ่งกิโลกรัมจํานวนหลายก้อนทุ่มลงมาจากสะพานข้ามแม่น้ําซึ่งอยู่สูงจากระดับพื้นน้ํา 9 เมตร ลงไปยังเรือโดยสาร ลําหนึ่งซึ่งมีผู้โดยสารอยู่เป็นจํานวนมากและอยู่ในพื้นที่จํากัดขณะที่เรือแล่นลอดใต้สะพานนั้น นายพายุย่อม เล็งเห็นผลของการกระทํานั้นได้ว่าก้อนหินอาจไปถูกศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสําคัญของร่างกายของคนในเรือลํานั้น และอาจเป็นผลทําให้ถึงตายได้ จึงถือได้ว่านายพายุมีเจตนาฆ่าคนในเรือลํานั้นตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งและ วรรคสอง เมื่อก้อนหินก้อนหนึ่งถูกนายสายฟ้าผู้โดยสารในเรือลํานั้นจนได้รับอันตรายสาหัส นายพายุจึงมีความผิด ฐานพยายามฆ่านายสายฟ้าตามมาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง

และเมื่อถือว่านายพายุมีเจตนาฆ่านายสายฟ้า การที่ก้อนหินอีกก้อนหนึ่งกระเด็นไปถูกนายฝนตก ผู้โดยสารในเรืออีกลําหนึ่งซึ่งแล่นสวนทางมาถูกบริเวณตาข้างซ้ายซึ่งทําให้นายฝนตกตาบอด ก็ต้องถือว่านายพายุ มีเจตนาฆ่านายฝนตกด้วย เพราะเป็นการกระทําโดยพลาดตามมาตรา 60 ดังนั้น นายพายุจึงมีความผิดฐาน พยายามฆ่านายฝนตกตามมาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง และมาตรา 60

สรุป นายพายุมีความผิดฐานพยายามฆ่านายสายฟ้าตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ประกอบมาตรา 30 วรรคหนึ่ง และมีความผิดฐานพยายามฆ่านายฝนตกตามมาตรา 60 และมาตรา 80 วรรคหนึ่ง

ข้อ 3 นายนี้เวียต้องการฆ่านางวาสลีน จึงวางแผนฆ่านางวาสลีนด้วยการหาซื้อยาเบื่อหนู โดยนํายาเบื่อหนู ใส่ไปในโอ่งน้ําดื่มของนางวาสลีน นายเจอร์เก้นน้องชายของนางวาสลีนเห็นเหตุการณ์มาโดยตลอดจึงตะโกนร้องบอกนางวาสลีนพี่สาวของตนในทันทีไม่ให้ดื่มน้ําในโอ่งนั้น นายนีเวียตกใจที่ความแตก จึงรีบวิ่งหนี นายเจอร์เก้นโกรธที่นายนีเวียกระทํากับพี่สาวของตน จึงวิ่งไล่ยิงนายนีเวียไปทันที ขณะที่นายนีเวียวิ่งหนีไปตามทางแคบ ๆ มีรถจักรยานยนต์ของนายยูเซอรีนจอดขวางทางอยู่ นายนีเวียจึงวิ่งชนรถคันนั้นเพื่อไม่ให้โดนยิง ทําให้รถล้มลงและได้รับความเสียหาย โดยนายเจอร์เก้น ยิ่งถูกนายนีเวียได้รับบาดเจ็บสาหัส

จงวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาของนายนีเวียและนายเจอร์เก้น

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทําโดย เจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาท หรือ
เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทําและในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์
ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น

มาตรา 67 “ผู้ใดกระทําความผิดด้วยความจําเป็น

(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อํานาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ

(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้น
โดยวิธีอื่นใดได้เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน

ถ้าการกระทํานั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ”

มาตรา 72 “ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทํา ความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้”

มาตรา 80 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดลงมือกระทําความผิดแต่กระทําไปไม่ตลอด หรือกระทําไปตลอดแล้ว
แต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทําความผิด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ความผิดทางอาญาของนายนีเวียและนายเจอร์เก้น แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

ความรับผิดทางอาญาของนายนี้เวีย

การที่นายนีเวียซึ่งต้องการฆ่านางวาสลีน ได้วางแผนฆ่านางวาสลีนด้วยการหาซื้อยาเบื่อหนู โดย นํายาเบื่อหนูใส่ไปในโอ่งน้ําดื่มของนางวาสลีนนั้น การกระทําของนายนีเวียเป็นการกระทําโดยเจตนาประสงค์ต่อผล ตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะเป็นการกระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผลของการกระทํานั้น (คือความตายของนางวาสลีน) ดังนั้น นายนีเวียจึงต้องรับผิดทางอาญาต่อนางวาสลีน ตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทําโดยเจตนา….”

แต่อย่างไรก็ดี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านางวาสลีนไม่ตายตามประสงค์ของนายนีเวีย เนื่องจาก นายเจอร์เก้นน้องชายของนางวาสลีนเห็นเหตุการณ์มาโดยตลอดจึงได้ตะโกนร้องบอกนางวาสลีนพี่สาวทันทีเพื่อไม่ให้ดื่มน้ำในโอ่งนั้น จึงเป็นกรณีที่นายนีเวียได้ลงมือกระทําความผิดและได้กระทําไปตลอดแล้ว แต่การกระทํานั้น
ไม่บรรลุผล ดังนั้น นายนีเวียจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่านางวาสลีนตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง (มีความผิดฐานพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามมาตรา 289 (4) ประกอบ มาตรา 80 วรรคหนึ่ง)

ส่วนการที่นายนีเวียตกใจที่ความแตก จึงรีบวิ่งหนีเนื่องจากถูกนายเจอร์เก้นวิ่งไล่ยิง และได้วิ่ง ไปชนรถจักรยานยนต์ของนายยูเซอรีนที่จอดขวางทางอยู่ ทําให้รถล้มและได้รับความเสียหายนั้น นายนีเวียย่อม มีความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์เพราะเป็นการกระทําโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง โดย นายนีเวียจะอ้างว่าเป็นการกระทําความผิดด้วยความจําเป็น เพราะเพื่อให้ตนเองพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง และไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ตามมาตรา 67 (2) เพื่อให้ตนไม่ต้องรับโทษมิได้ เนื่องจากภยันตราย ที่เกิดขึ้นนั้นตนได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน

ความรับผิดทางอาญาของนายเจอร์เก้น

การที่นายเจอร์เก้นโกรธที่นายนีเวียกระทําต่อพี่สาวของตนจึงวิ่งไล่ยิงนายนีเวียไปทันทีนั้น ถือว่า นายเจอร์เก้นได้กระทําต่อนายนีเวียโดยเจตนา เพราะเป็นการกระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกัน ผู้กระทําประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น (คือความตายของนายนีเวีย) นายเจอร์เก้นจึงต้องรับผิดทางอาญาต่อ นายนีเวียตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แต่เมื่อการกระทําของนายเจอร์เก้นซึ่งได้ลงมือกระทําความผิด ไปตลอดแล้ว แต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผล เพราะนายนีเวียไม่ตายเพียงแต่ได้รับบาดเจ็บสาหัสนั้น ดังนั้น นายเจอร์เก้นจึงมีความผิดทางอาญาฐานพยายามฆ่านายนี้เวียตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ประกอบ มาตรา 80 วรรคหนึ่ง (มีความผิดฐานพยายามฆ่าตามมาตรา 288 ประกอบมาตรา 30 วรรคหนึ่ง)

แต่อย่างไรก็ดี การที่นายเจอร์เก้นได้กระทําต่อนายนิเวียนั้น เป็นเพราะนายเจอร์เก้นโกรธที่ นายนีเวียจะฆ่าพี่สาวของตน จึงถือได้ว่านายเจอร์เก้นได้ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม และเมื่อนายเจอร์เก้นได้กระทําต่อนายนีเวียผู้ข่มเหงในขณะนั้น นายเจอร์เก้นย่อมสามารถอ้างได้ว่าตนได้กระทําความผิดเพราะเหตุบันดาลโทสะ เพื่อให้ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น เพียงใดก็ได้ตามมาตรา 72

สรุป นายนีเวียมีความผิดฐานพยายามฆ่านางวาสลีนโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และมีความผิดฐาน ทําให้เสียทรัพย์ โดยจะอ้างว่าความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์เป็นการกระทําด้วยความจําเป็นไม่ได้

นายเจอร์เก้นมีความผิดฐานพยายามฆ่านายนีเวีย แต่อ้างเหตุบันดาลโทสะเพื่อให้ศาลลดหย่อนผ่อนโทษได้

ข้อ 4 นายเตารีดไอน้ําจ้างนายหม้อทอดไร้น้ํามันไปฆ่านายพัดลมไอเย็น นายหม้อทอดไร้น้ํามันไปบ้าน นายพัดลมไอเย็นเห็นนายพัดลมไอเย็นยืนคุยกับนายเครื่องซักผ้าฝาบน แต่นายหม้อทอดไร้น้ํามัน ไม่รู้จักนายพัดลมไอเย็นมาก่อนจึงถามนายพัดลมไอเย็นว่าคนไหนคือนายพัดลมไอเย็น นายพัดลมไอเย็นรู้ว่านายหม้อทอดไร้น้ำมันเป็นมือปืนรับจ้างจะมาฆ่าตน จึงได้ชี้ไปที่นายเครื่องซักผ้าฝาบนและบอกว่านี่คือนายพัดลมไอเย็น นายหม้อทอดไร้น้ํามันเข้าใจผิดว่านายเครื่องซักผ้าฝาบนเป็นนายพัดลมไอเย็นจึงใช้ปืนยิงนายเครื่องซักผ้าฝาบนถึงแก่ความตาย

จงวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาของนายเตารีดไอน้ํา นายหม้อทอดไร้น้ำมัน และนายพัดลมไอเย็น

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทําโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาท หรือ

เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนากระทําโดยเจตนา ได้แก่กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทําและในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น

มาตรา 61 “ผู้ใดเจตนาจะกระทําต่อบุคคลหนึ่ง แต่ได้กระทําต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสําคัญผิด ผู้นั้นจะยกเอาความสําคัญผิดเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทําโดยเจตนาหาได้ไม่”

มาตรา 67 “ผู้ใดกระทําความผิดด้วยความจําเป็น

(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อํานาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ

(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้น
โดยวิธีอื่นใดได้เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน ถ้าการกระทํานั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ”

มาตรา 84 “ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทําความผิดไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือยุยง ส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทําความผิด

ถ้าความผิดมิได้กระทําลง ไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทํา ยังไม่ได้กระทําหรือเหตุอื่นใด ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียงหนึ่งในสามของโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น

ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทําความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ….”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายเตารีดไอน้ํา นายหม้อทอดไร้น้ํามัน และนายพัดลมไอเย็น จะต้องรับผิดทางอาญา ดังนี้

ความรับผิดทางอาญาของนายเตารีดไอน้ำ

การที่นายเตารีดไอน้ำจ้างนายหม้อทอดไร้น้ํามันไปฆ่านายพัดลมไอเย็นนั้น ถือเป็นการ “ก่อ ให้ผู้อื่นไปกระทําความผิดแล้วตามมาตรา 84 วรรคหนึ่ง นายเตารีดไอน้ําจึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ และเมื่อ นายหม้อทอดไร้น้ํามันได้กระทําความผิดตามที่นายเตารีดไอน้ําได้ใช้แล้ว นายเตารีดไอน้ำจึงต้องรับโทษเสมือน
เป็นตัวการตามมาตรา 84 วรรคสาม (คือรับโทษฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามมาตรา 289 (4) ประกอบ มาตรา 84 วรรคหนึ่งและวรรคสาม) และแม้ว่านายหม้อทอดไร้น้ํามันจะได้ฆ่านายเครื่องซักผ้าฝาบนเนื่องจาก สําคัญผิดว่าเป็นนายพัดลมไอเย็นก็ตาม ก็ไม่ถือว่าเป็นกรณีที่ผู้ถูกใช้ได้กระทําเกินขอบเขตที่ใช้แต่อย่างใด

ความรับผิดทางอาญาของนายหม้อทอดไร้น้ำมัน

การที่นายหม้อทอดไร้น้ํามันใช้ปืนยิงนายเครื่องซักผ้าฝาบนถึงแก่ความตายนั้น ถือว่านายหม้อทอดไร้น้ำมันได้กระทําต่อนายเครื่องซักผ้าฝาบนโดยเจตนา เพราะเป็นการกระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และ ในขณะเดียวกันก็ได้ประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น (คือความตายของนายเครื่องซักผ้าฝาบน) ตามมาตรา 59 วรรคสอง และแม้ข้อเท็จจะปรากฏว่า การที่นายหม้อทอดไร้น้ํามันใช้ปืนยิงนายเครื่องซักผ้าฝาบนนั้นเป็นเพราะ เข้าใจผิดว่านายเครื่องซักผ้าฝาบนเป็นนายพัดลมไอเย็น นายหม้อทอดไร้น้ํามันจะยกเอาความสําคัญผิดในตัวบุคคล มาเป็นข้อแก้ตัวว่าไม่ได้มีเจตนากระทําต่อนายเครื่องซักผ้าฝาบนไม่ได้ ดังนั้น นายหม้อทอดไร้น้ํามันจึงต้องรับผิด ทางอาญาฐานฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ประกอบมาตรา 61 (เป็นความผิด ฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามมาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 61)

ความรับผิดทางอาญาของนายพัดลมไอเย็น

การที่นายหม้อทอดไร้น้ำมันไม่รู้จักนายพัดลมไอเย็น และได้ถามนายพัดลมไอเย็นว่าคนไหนคือนายพัดลมไอเย็น นายพัดลมไอเย็นซึ่งรู้ว่านายหม้อทอดไร้น้ำมันเป็นมือปืนรับจ้างจะมาฆ่าตน จึงชี้ไปที่นายเครื่องซักผ้าฝาบนและบอกว่านี่คือนายพัดลมไอเย็น ทําให้นายหม้อทอดไร้น้ํามันเข้าใจผิดว่านายเครื่องซักผ้าฝาบน
เป็นนายพัดลมไอเย็น จึงใช้ปืนยิงนายเครื่องซักผ้าฝาบนถึงแก่ความตายนั้น การกระทําของนายพัดลมไอเย็นนั้น ถือว่าเป็นการ “ก่อ” ให้ผู้อื่นกระทําความผิดตามมาตรา 84 วรรคหนึ่งแล้ว เพราะแม้ว่านายหม้อทอดไร้น้ำมันจะมีเจตนาที่จะฆ่าคน แต่ก็ไม่มีเจตนาที่จะฆ่านายเครื่องซักผ้าฝาบนเลย แต่ต้องการฆ่าเฉพาะนายพัดลมไอเย็นเท่านั้น ดังนั้น การที่นายพัดลมไอเย็นหลอกว่านายเครื่องซักผ้าฝาบนคือนายพัดลมไอเย็น จึงถือว่าเป็นการก่อให้ นายหม้อทอดไร้น้ํามันกระทําความผิดต่อนายเครื่องซักผ้าฝาบนนั่นเอง นายพัดลมไอเย็นจึงเป็นผู้ใช้และต้อง รับโทษเสมือนเป็นตัวการตามมาตรา 84 วรรคหนึ่งและวรรคสาม (คือต้องรับโทษฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามมาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 84 วรรคหนึ่งและวรรคสาม)

และกรณีดังกล่าว นายพัดลมไอเย็นจะอ้างเหตุจําเป็นตามมาตรา 67 (2) เพื่อไม่ต้องรับโทษก็ไม่ได้ เช่นกัน เพราะถือว่าภยันตรายที่ใกล้จะถึงดังกล่าวนั้นตนสามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้

สรุป นายเตารีดไอน้ำและนายพัดลมไอเย็นมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ และต้องรับโทษเสมือนเป็น
ตัวการตามมาตรา 84 วรรคหนึ่งและวรรคสาม

ส่วนนายหม้อทอดไร้น้ำมันมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ประกอบมาตรา 61

 

LAW2006 กฎหมายอาญา1 s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2006 กฎหมายอาญา 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายต๋อยขับรถด้วยความเร็วสูงเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกําหนด ในคืนวันที่ฝนตกถนนลื่น ขณะ นายต๋อยขับรถเลี้ยวในทางโค้ง นายต่อยไม่ได้ชะลอความเร็ว ยังคงขับรถเกินอัตราที่กฎหมาย กําหนดไว้ นายต๋อยเห็นนายต๋องกําลังหาบเต้าหู้ขายและกําลังเดินข้ามถนนจะพ้นอยู่แล้ว นายต๋อย จึงรีบห้ามล้อทันทีแต่ไม่ทันเพราะรถได้ลื่นไปชนหาบเต้าหู้ของนายต๋อง หาบเต้าหู้ของนายต๋อง เสียหายทั้งหมด แต่ตัวนายต้องไม่เป็นอะไรเลย

จงวินิจฉัยความรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญาของนายต่อย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่ง วรรคสองและวรรคสี่ “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทํา โดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาทหรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น

กระทําโดยประมาท ได้แก่ กระทําความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทําโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทําอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้
แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายต๋อยขับรถด้วยความเร็วสูงเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกําหนด ในคืน วันที่ฝนตกถนนลื่น และขณะที่นายต้อยขับรถเลี้ยวในทางโค้งก็ไม่ได้ชะลอความเร็ว ยังคงขับรถเกินอัตราที่ กฎหมายกําหนดไว้ เป็นเหตุให้ห้ามล้อไม่ทันจนทําให้ชนหาบเต้าหู้ของนายต้องเสียหายทั้งหมดนั้น ถือว่านายต่อย
มิได้มีเจตนากระทําให้ทรัพย์ของนายต้องเสียหาย เนื่องจากนายต๋อยไม่ได้ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลที่ เกิดขึ้นนั้นตามมาตรา 59 วรรคสอง

แต่อย่างไรก็ดี การกระทําของนายต่อยดังกล่าวนั้น ถือเป็นการกระทําโดยปราศจากความระมัดระวัง ตามภาวะวิสัยของคนขับรถในพฤติการณ์เช่นนั้น ซึ่งนายต๋อยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้ เพียงพอไม่ การกระทําของนายต่อยจึงเป็นการกระทําโดยประมาทตามมาตรา 59 วรรคสี เป็นเหตุให้ทรัพย์สิน คือหาบเต้าหู้ของนายต้องเสียหาย แต่เนื่องจากการกระทําโดยประมาททําให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายนั้น กฎหมาย อาญามิได้บัญญัติเป็นความผิด ดังนั้น นายต๋อยจึงไม่ต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง

สรุป นายต่อยไม่ต้องรับผิดในทางอาญาต่อนายต้อง

ข้อ 2 นายเดชารู้สึกรําคาญนายเดโชที่นั่งดื่มสุราอยู่ที่โต๊ะอาหารข้าง ๆ เพราะเมาสุราพูดจาเอะอะโวยวาย จึงชักปืนลูกซองออกมาเล็งยิ่งไปที่ขวดสุราบนโต๊ะอาหารที่นายเตโชนั่งอยู่ ลูกกระสุนปืนถูก ขวดสุราของนายเดโซแตกและกระสุนปืนยังกระจายไปถูกนายเดโชได้รับอันตรายสาหัส นอกจากนี้ ลูกกระสุนปืนยังกระจายไปถูกนายเดชชาติที่อุ้มลูกสุนัขของนายเดชชัยที่เดินเข้ามาในร้านอาหารพอดี เป็นเหตุให้นายเดชชาติถึงแก่ความตาย และลูกสุนัขของนายเดชชัยที่อุ้มมาตกพื้นตายเช่นกัน นายเดชามีความผิดฐานใดบ้าง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญา ก็ต่อเมื่อได้กระทําโดย เจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาทหรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชักให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น”

มาตรา 60 “ผู้ใดเจตนาที่จะกระทําต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทําเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง โดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําโดยเจตนา แก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทํานั้น แต่ในกรณีที่กฎหมาย บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้น เพราะฐานะของบุคคลหรือเพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทํากับบุคคลที่ได้รับผลร้าย
มิให้นํากฎหมายนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทําให้หนักขึ้น”

มาตรา 80 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดลงมือกระทําความผิดแต่กระทําไปไม่ตลอด หรือกระทําไปตลอดแล้ว แต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทําความผิด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายเดชา มีความผิดฐานใดบ้างนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 การที่นายเดชาชักปืนลูกซองออกมาเล็งยิงไปที่ขวดสุราบนโต๊ะอาหารที่นายเดโชนั่งอยู่ ลูกกระสุนปืนถูกขวดสุราของนายเดโชแตกนั้น การกระทําของนายเดชาเป็นการกระทําโดยรู้สํานึกในการกระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น การกระทําของนายเดชาจึงเป็นการกระทําโดย เจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง ดังนั้น นายเดชาจึงมีความผิดฐานเจตนาทําให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายตาม มาตรา 358 ประกอบมาตรา 59 วรรคหนึ่ง

2 การกระทําของนายเดชาที่ใช้ปืนลูกซองยิงไปที่ขวดสุราดังกล่าวนั้น นอกจากลูกกระสุนปืน จะถูกขวดสุราของนายเดโชแตกแล้ว ลูกกระสุนปืนยังกระจายไปถูกนายเดโชได้รับอันตรายสาหัสอีกด้วยนั้น

กรณีนี้ถือว่า นายเตชาย่อมเล็งเห็นผลของการกระทําของตนอยู่แล้วว่า กระสุนปืนอาจถูกนายเดโชได้ ดังนั้น เมื่อกระสุนปืนที่นายเดชาได้ยิงไปนั้นถูกนายเดโช การกระทําของนายเดชาต่อนายเดโชดังกล่าวจึงเป็นการกระทํา โดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะเป็นการกระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกัน ผู้กระทําย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น และเมื่อนายเดโชได้รับอันตรายสาหัสไม่ถึงแก่ความตาย การกระทํา ของนายเดชาจึงเป็นการกระทําที่ได้กระทํา ปตลอดแล้ว แต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผล นายเดชาจึงมีความผิด ฐานพยายามฆ่านายเดโชตามมาตรา 288 และมาตรา 80 ประกอบมาตรา 59 วรรคหนึ่ง

3 การที่นายเดชาได้ใช้ปืนยิงขวดสุราของนายเดโชนั้น นอกจากกระสุนปืนจะถูกนายเดโชแล้ว ลูกกระสุนปืนยังกระจายไปถูกนายเดชชาติที่อุ้มลูกสุนัขของนายเดชชัยที่เดินเข้ามาในร้านอาหารพอดีเป็นเหตุให้ นายเดชชาติถึงแก่ความตายนั้น ถือว่าผลของการกระทําที่เกิดกับนายเดชชาตินั้น เป็นผลที่เกิดขึ้นโดยพลาดไปจึง ต้องถือว่านายเดชาได้กระทําโดยเจตนาต่อนายเดชชาติบุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทํานั้นด้วยตามมาตรา 60 ดังนั้น นายเดชาจึงต้องรับผิดฐานฆ่านายเดชชาติตายโดยเจตนาตามมาตรา 288 ประกอบมาตรา 59 วรรคหนึ่ง และมาตรา 60

4 การที่กระสุนปืนที่นายเดชามีเจตนาที่จะยิงไปที่ขวดสุรานั้น นอกจากจะถูกขวดสุราแตก แล้วยังกระจายไปถูกนายเดชชาติที่อุ้มลูกสุนัขของนายเดชชัย ทําให้ลูกสุนัขตกพื้นตายนั้น ผลของการกระทําที่ เกิดกับลูกสุนัขดังกล่าวเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยพลาดไป จึงต้องถือว่านายเดชากระทําโดยเจตนาต่อลูกสุนัขของนาย เดชชัย ซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทํานั้นด้วยตามมาตรา 60 ดังนั้น นายเดชาจึงมีความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ โดยพลาดต่อนายเดชชัยตามมาตรา 358 ประกอบมาตรา 59 วรรคหนึ่ง และมาตรา 60

สรุป นายเดชามีความผิดฐานเจตนาทําให้ทรัพย์ของนายเดโชเสียหายโดยเจตนาประสงค์ต่อผล มีความผิดฐานพยายามฆ่านายเดโชโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผล มีความผิดฐานฆ่านายเดชชาติโดยพลาด และมี ความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์โดยพลาดต่อนายเดชชัย

หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 บัญญัติว่า “ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย ทําให้ เสื่อมค่า หรือทําให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทําความผิดฐานทําให้ เสียทรัพย์…”

ข้อ 3 นายโยธินเป็นคู่อริกับนายนาวิน นายโยธินจึงลอบเข้าไปในบ้านของนายนาวินและเล็งปืนไปยัง นายนาวิน ขณะเดียวกันนายนาวินได้หยิบปืนขึ้นมาทําความสะอาดอยู่พอดี เห็นนายโยธินกําลัง เล็งปืนมาที่ตน นายนาวินเลยใช้ปืนกระบอกนั้นยิงไปที่นายโยธิน นายโยธินถึงแก่ความตายทันที

จงวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาของนายนาวิน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทําโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาทหรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น”

มาตรา 68 “ผู้ใดจําต้องกระทําการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทําพอสมควรแก่เหตุ การกระทํานั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด”

วินิจฉัย

การกระทําที่จะถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งจะมีผลทําให้ผู้กระทําไม่มีความผิด
และไม่ต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา 68 ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ คือ

(1) มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย

(2) ภยันตรายนั้นเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง

(3) ผู้กระทําจําต้องกระทําเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายนั้น

(4) ต้องได้กระทําไปพอสมควรแก่เหตุ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายนาวินใช้ปืนยิงไปที่นายโยธินจนนายโยธินถึงแก่ความตายทันทีนั้น ถือว่านายนาวินได้กระทําต่อนายโยธินโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะเป็นการกระทําโดยรู้สํานึก ในการกระทํา และในขณะเดียวกันนายนาวินก็ได้ประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น ซึ่งโดยหลักแล้วนายนาวิน
จะต้องรับผิดทางอาญาฐานฆ่านายโยธินตายโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม การที่นายนาวินใช้ปืนยิงนายโยธินนั้น เป็นเพราะนายโยธินได้ลอบเข้าไปในบ้าน ของนายนาวินและเล็งปืนไปยังนายนาวิน ซึ่งลักษณะการกระทําของนายโยธินนั้นย่อมถือได้ว่ามีภยันตรายซึ่งเกิดจาก การประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายเกิดขึ้นกับนายนาวินแล้ว และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง นายนาวินจึงต้อง กระทําเพื่อป้องกันสิทธิของตนคือการใช้ปืนยิงไปที่นายโยธิน และเมื่อเป็นการกระทําไปพอสมควรแก่เหตุ การกระทํา ดังกล่าวของนายนาวินจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ของการกระทําอันเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 68

ดังนั้น นายนาวินจึงไม่มีความผิดและไม่ต้องรับผิดทางอาญา

สรุป นายนาวินไม่ต้องรับผิดทางอาญาเพราะเป็นการกระทําเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

ข้อ 4 นายมาเฟียเป็นศัตรูกับนายเจ้าพ่อ นายมาเฟียจ้างนายมือปืนไปฆ่านายเจ้าพ่อ นายมือปืนได้ สมคบกันกับนายลูกปืนจะไปฆ่านายเจ้าพ่อ โดยให้นายมือปืนเป็นผู้ยิง นายลูกปืนจะช่วยดูต้นทางให้ ระหว่างที่รอนายเจ้าพ่อ นายระเบิดเดินผ่านมาทางนี้พอดี นายลูกปืนสนิทกับนายระเบิดจึงเล่าเรื่อง ให้นายระเบิดฟัง และให้ช่วยดูต้นทางอีกคน นายระเบิดตกลงกับนายลูกปืนสองคน ระหว่างรอนั้น มีคนจะเดินไปทางที่นายมือปืนซุ่มรอนายเจ้าพ่อพอดี นายระเบิดจึงเดินไปบอกคนนั้นให้เดินไป ทางอื่นเพราะถนนไม่ดี เมื่อนายเจ้าพ่อมาถึงจุดดักยิง นายมือปืนจึงยิงนายเจ้าพ่อสําเร็จ นายเจ้าพ่อ ถึงแก่ความตายทันทีในที่เกิดเหตุ

จงวินิจฉัยความรับผิดของนายมาเฟีย นายลูกปืน และนายระเบิด พร้อมอัตราโทษตามกฎหมาย สําหรับการเป็นผู้ร่วมกระทําความผิดด้วย

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

ธงคําตอบ

มาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทําโดย เจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาท หรือ
เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น”

มาตรา 83 “ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทําของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ ร่วมกระทําความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น”

มาตรา 84 วรรคหนึ่งและวรรคสาม “ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทําความผิดไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้างวาน หรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทําความผิด ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทําความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ….”

มาตรา 86 “ผู้ใดกระทําด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ ผู้อื่นกระทําความผิดก่อน หรือขณะกระทําความผิด แม้ผู้กระทําความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือ หรือให้ความ สะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทําความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กําหนดไว้ สําหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายมือปืนยิงนายเจ้าพ่อถึงแก่ความตายนั้น ถือเป็นการกระทําโดย รู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น การกระทําของนายมือปืน จึงเป็นการกระทําโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง ดังนั้น นายมือปืนจึงต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง ในความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา

สําหรับ นายมาเฟีย นายลูกปืน และนายระเบิด จะต้องรับผิดทางอาญาในความผิดที่นายมือปืน ยิงนายเจ้าพ่อถึงแก่ความตายอย่างไรหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของนายมาเฟีย

การที่นายมาเฟียจ้างนายมือปืนให้ไปฆ่านายเจ้าพ่อนั้น ถือเป็นการ “ก่อ” ให้ผู้อื่นกระทําความผิดแล้ว
ตามมาตรา 84 วรรคหนึ่ง นายมาเฟียจึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ และเมื่อนายมือปืนได้ลงมือกระทําความผิดนั้น จนเป็นผลสําเร็จตามที่ถูกใช้แล้ว นายมาเฟียจึงต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการตามมาตรา 84 วรรคสาม

กรณีของนายลูกปืน

การที่นายลูกปืนได้สมคบกันกับนายมือปืนเพื่อไปฆ่านายเจ้าพ่อ โดยให้นายมือปืนเป็นผู้ยิงและ นายลูกปืนจะช่วยดูต้นทางให้นั้น ถือว่านายลูกปืนและนายมือปืนได้ร่วมกันเพื่อกระทําความผิดตั้งแต่แรกจนถึง ขั้นลงมือกระทําความผิดแล้วโดยเป็นการแบ่งหน้าที่กันทํา ดังนั้น เมื่อนายมือปืนยิงนายเจ้าพ่อถึงแก่ความตาย นายลูกปืนจึงต้องรับผิดทางอาญาร่วมกับนายมือปืนในฐานเป็นตัวการตามมาตรา 83 ในความผิดฐานฆ่าคนตาย
โดยเจตนา

กรณีของนายระเบิด

การที่นายระเบิดเดินผ่านมาในทางที่นายลูกปืนและนายมือปืนดักยิงนายเจ้าพ่อ นายลูกปืนซึ่งสนิทกับ นายระเบิดจึงเล่าเรื่องให้นายระเบิดฟังและให้นายระเบิดช่วยดูต้นทางให้อีกคนนั้น แม้นายระเบิดจะได้ตกลงกับ นายลูกปืนสองคน โดยนายมือปืนผู้ลงมือกระทําความผิดจะไม่รู้ถึงเจตนาของนายระเบิดก็ตาม แต่เนื่องจากนายระเบิดมีเจตนาร่วมกับนายลูกปืนและมีการกระทําร่วมกับนายลูกปืน โดยนายระเบิดจะคอยบอกให้คนที่จะเดินทาง ไปในทางที่นายมือปืนซุ่มรอนายเจ้าพ่อให้เดินไปทางอื่น และเมื่อนายเจ้าพ่อเดินมาถึงจุดดักยิงนายมือปืนจึงยิ่ง นายเจ้าพ่อถึงแก่ความตายสําเร็จนั้น การกระทําของนายระเบิดมิใช่เป็นเพียงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวก

ในการที่ผู้อื่นกระทําความผิดก่อนหรือขณะกระทําความผิดอันเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามมาตรา 86 แต่ถือว่านายระเบิดมีเจตนาร่วมกันกับนายลูกปืนและมีการกระทําร่วมกันกับนายลูกปืนแล้ว และเมื่อนายมือปืนยิง นายเจ้าพ่อถึงแก่ความตายสําเร็จ จึงถือว่านายระเบิด นายลูกปืน และนายมือปืนได้ร่วมกันเพื่อกระทําความผิด ตั้งแต่แรกจนถึงขั้นลงมือกระทําความผิดโดยเป็นการแบ่งหน้าที่กันทํา ดังนั้น นายระเบิดจึงเป็นตัวการร่วมกัน กับนายลูกปืนและนายมือปืนในการกระทําความผิดฐานฆ่านายเจ้าพ่อตายโดยเจตนาตามมาตรา 83

สรุป นายมาเฟียต้องรับผิดทางอาญาฐานเป็นผู้ใช้และต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการตามมาตรา 84 วรรคหนึ่งและวรรคสาม

นายลูกปืนและนายระเบิดต้องรับผิดทางอาญาฐานเป็นตัวการตามมาตรา 83 และต้องรับโทษตามที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาเช่นเดียวกับนายมือปืน

WordPress Ads
error: Content is protected !!