CDM2402 MCS2150 MCS2100 การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น s/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2150 (MCS 2100) การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 คําใดต่อไปนี้พูดถึง “การประชาสัมพันธ์” ถูกต้อง
(1) ต้อนรับผู้คนอย่างสุภาพ ประทับใจ
(2) สร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดี
(3) พูดเก่ง ยิ้มหวาน ทํางานดี
(4) สร้างสรรค์สินค้าบริการ มีกําไร
ตอบ 2 หน้า 7, 10 การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) หมายถึง วิธีการของสถาบันหรือองค์การ
ที่มีแผนการและกระทําต่อเนื่องกันไปในอันที่จะสร้างหรือรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างสถาบันกับกลุ่มประชาชนเพื่อให้สถาบันกับกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจ ให้ความสนับสนุนร่วมมือซึ่งกันและกัน และเพื่อให้งานของสถาบันดําเนิน ไปด้วยดี โดยมีประชามติเป็นแนวบรรทัดฐาน

2 ข้อใดเป็นความเข้าใจผิดว่าสิ่งนี้คือ “การประชาสัมพันธ์”
(1) ยาวิเศษแก้ไขได้ทุกปัญหาของหน่วยงาน
(2) มีการวางแผนอย่างดีต่อเนื่องยาวนาน
(3) สร้างความสัมพันธ์กับทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
(4) ต้องใช้ข้อมูลวิจัยเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาองค์การ
ตอบ 1 หน้า 7 การประชาสัมพันธ์ไม่ใช่ยาวิเศษที่จะแก้ไขได้ทุกปัญหาของหน่วยงานเหมือนสิ่งมหัศจรรย์
แต่เป็นเพียงงานบริหารที่จะแก้ไขปัญหาได้เพียงเฉพาะอย่างเท่านั้น ดังนั้นการวางแผน ประชาสัมพันธ์จึงต้องวางแผนระยะยาว มีการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าวิจัย และการประเมินผล จึงไม่อาจเห็นผลได้ในชั่วระยะเวลาอันสั้น แต่ต้องดําเนินการปฏิบัติงานติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน

3 ในสังคมโลกาภิวัตน์สิ่งใดจะเป็นตัวช่วยกระจายข่าวสารให้ทั่วถึง
(1) บุคคลทั่วไป
(2) สื่อมวลชน
(3) รัฐบาล
(4) นักการเมือง
ตอบ 2(คําบรรยาย) ในปัจจุบันเป็นยุคสังคมโลกาภิวัตน์ได้มีการพัฒนาทําสารประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ อย่างแพร่หลาย เนื่องจากสื่อมวลชนมีคุณสมบัติเด่น คือ สามารถช่วยกระจายข่าวสารให้เข้าถึงคนจํานวนมาก ที่มีความแตกต่างกัน และอยู่ในที่ต่าง ๆ กันทั่วประเทศหรือทั่วโลกได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว

4 ข้อใดกล่าวถึง “การโฆษณาชวนเชื่อ” (Propaganda) ได้ดีที่สุด
(1) เท็จก็ว่าจริง ควบคุม ปลุกปั่น เพื่อให้ได้ผลที่ต้องการ
(2) ชักจูงใจด้วยข้อมูลหลากหลายให้เชื่อ ยอมรับ สนับสนุน
(3) สร้างความล่อใจ เสนอแนะ ให้ตัดสินใจซื้อ
(4) แก้ไขความเข้าใจผิดให้ถูก ปลูกความนิยมอุดมการณ์ ศิลปวัฒนธรรม
ตอบ 1 หน้า 14 การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) คือ การเผยแพร่ลัทธินิยมโดยเจตนาที่จะโน้มน้าว ชักจูงใจคนด้วยกลวิธีต่าง ๆ ให้หลงเชื่อ ให้เห็นดีเห็นงาม หรือให้เป็นปรปักษ์กับสิ่งหรือคนที่ ต้องการประณาม โดยจะพยายามควบคุม ปลุกปั่น และเป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อที่จะ ให้ได้ผลตามที่ต้องการ ซึ่งมีลักษณะสําคัญคือ พูดเอาแต่ได้ เรื่องเท็จก็ว่าจริง อ้างว่าเป็นเรื่อง หรือข้อคิดของคนส่วนใหญ่ และพยายามปิดซ่อนที่มาของแหล่งข่าว

5 จากข้อ 4. ข้อใดกล่าวถึง “การโฆษณา” (Advertising)
ตอบ 3 หน้า 15 – 16 การโฆษณา (Advertising) ที่ดีจะต้องมีการวางแผนล่อใจแฝงไว้ด้วย “การเสนอแนะ” และ “ส่งเสริม” ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของการกระทําหรือชักนําความเชื่อ และ สร้างศรัทธาด้วยการดึงดูดถึงเหตุผลของการโฆษณาหรืออารมณ์จากผู้พบเห็น จนกลายเป็น เรื่องของการสร้างความล่อใจ (Persuasion) เพื่อให้ผู้บริโภคต้องการและตัดสินใจซื้อสินค้า
หรือบริการของตน

6 จากข้อ 4. จุดมุ่งหมายของ “การสารนิเทศ” (Information Service) คือข้อใด
ตอบ 4 หน้า 17 – 18 การสารนิเทศ (Information Service) คือ การให้ข่าวสารข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ให้ชาวต่างชาติได้รู้จักประเทศไทย เช่น ข่าวสารทั่วไปเกี่ยวกับเมืองไทย นโยบาย ของรัฐบาล ตลอดจนการให้ความสะดวก ช่วยเหลือ ปรับความเข้าใจ แก้ไขความเข้าใจผิด ให้ถูก และการแสดงอัธยาศัยไมตรีหรือผูกสัมพันธไมตรี ปลูกความนิยมในอุดมการณ์และ ศิลปวัฒนธรรมของชาติตน ฯลฯ ซึ่งประเทศไทยได้ทําการสารนิเทศมานานแล้ว โดยมี สํานักงานแถลงข่าวไทยในสังกัดของกรมประชาสัมพันธ์ อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ลอนดอน ฯลฯ

7 การส่งเสริมการจําหน่าย (Sale Promotion) เป็นส่วนหนึ่งของงานอะไร
(1) การประชาสัมพันธ์
(2) การโฆษณา
(3) การตลาด
(4) การโน้มน้าวจิตใจ
ตอบ 3 หน้า 18 การส่งเสริมการจําหน่าย (Sale Promotion) เป็นกิจกรรมทางการตลาดที่น่าสนใจ ได้นํามาช่วยส่งเสริมให้ได้ผลเป็นการขายเกิดขึ้น ซึ่งการส่งเสริมการจําหน่ายจะไม่ใช่วิธีการขาย โดยพนักงานหรือการโฆษณา แต่เป็นวิธีการขายในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น การจัดแสดงสินค้า, การจัดแสดง ณ แหล่งขาย, การจัดแสดงภายในร้าน, การจัดตู้โชว์สินค้า ฯลฯ

8 องค์การใดต่อไปนี้ทํางานเกี่ยวกับกิจการสาธารณะ (Public Affairs)
(1) คลินิกรักษาผู้ป่วย
(2) ห้างสรรพสินค้ารอบริการลูกค้า
(3) องค์การตลาดขายสินค้าเกษตร
(4) กองทัพบกพบประชาชน
ตอบ 4 หน้า 18 (คําบรรยาย) กิจการสาธารณะ (Public Affairs) เป็นการให้ข่าวสารเฉพาะกิจ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมส่วนย่อยของงานประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องเป็นกรณีพิเศษในเรื่องของ
ความสัมพันธ์กับชุมชน รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ องค์การสาธารณกุศล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานทางทหารที่จัดตั้งกิจการสาธารณะเพื่อดําเนินการเผยแพร่ข่าวสาร นโยบาย คําสั่ง
ชี้แจง และแถลงผลงานของกองทัพ เช่น กองทัพบกพบประชาชน เป็นต้น

9 ข้อใดคือชื่อหน่วยงาน “การสารนิเทศ” ระดับชาติของไทย
(1) สํานักนายกรัฐมนตรี
(2) สํานักงานแถลงข่าวไทย
(3) สํานักข่าวไทย
(4) สถาบันสารนิเทศไทย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

10 ใครเป็นผู้กล่าว “การกระทําสําคัญกว่าคําพูด ดังนั้นประชาสัมพันธ์ คือ ปรัชญาแห่งการกระทํา”
(1) Abraham Lincoln
(3) Paul W. Garrett
(2) Lvy Lee
(4) Edward L. Bernays
ตอบ 3 หน้า 21 Paul W. Garrett นักประชาสัมพันธ์ผู้มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน ได้กล่าวไว้ว่า “การกระทํานั้นสําคัญกว่าคําพูด ดังนั้นการประชาสัมพันธ์จึงหมายถึง ปรัชญาแห่งการกระทํา ในสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นชอบและลงมือทําในแนวทางที่ประชาชนต้องการ

11 จากข้อ 10. ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการประชาสัมพันธ์ คือท่านใด
ตอบ 2 หน้า 66, 71 ผู้บุกเบิกแนวทางของการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ คือ ไอวี่ ลี (Ivy Lee) นักหนังสือพิมพ์หนุ่มชาวอเมริกัน ซึ่งถือเป็นบุคคลสําคัญผู้หนึ่งของสหรัฐอเมริกาในฐานะที่ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่” (Father of Modern Public Relations) หรือผู้วางรากฐานของวิชาชีพประชาสัมพันธ์ในสหรัฐอเมริกา

12 จากข้อ 10. ใครคือผู้ให้ความสําคัญต่อการสื่อสารแบบสองทิศทาง
ตอบ 4 หน้า 71 Edward L. Bernays เป็นผู้ที่ให้ความสําคัญและได้ชี้แจงทฤษฎีการติดต่อสื่อสาร แบบสองทิศทางให้กระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น โดยได้เผยแพร่อย่างกว้างขวางทั่วไปจนบังเกิดความเข้าใจ ถึงวิธีการติดต่อสองทิศทาง ซึ่งหลังจากเบอร์แนร์ได้ย้ําให้เห็นถึงการติดต่อสื่อสารแบบสองทิศทาง ว่าเป็นหลักสําคัญของการประชาสัมพันธ์ และได้นําไปดําเนินการอย่างได้ผลสําเร็จแล้ว ทําให้วงการประชาสัมพันธ์ตื่นตัวและเป็นที่รู้จักในวงการธุรกิจอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ

13 องค์การรัฐวิสาหกิจใดที่มีการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดี
(1) องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.)
(2) ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน (RBS)
(3) สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
(4) มูลนิธิกระจกเงา
ตอบ 1หน้า 213 จินตภาพหรือภาพลักษณ์ (Image) หมายถึง ภาพที่เกิดขึ้นในจิตใจที่มีต่อหน่วยงาน หรือองค์การ ซึ่งไม่อาจสร้างขึ้นมาได้ด้วยการบังคับ กดดัน หรือการออกคําสั่งขู่เข็ญ แต่การ สร้างจินตภาพที่ดีงามขององค์การจะมาจากรากฐานของการให้ข่าวสารที่เป็นความจริง และ ที่เกิดขึ้นจากความประทับใจอย่างแท้จริงของบุคคลหรือมวลชนในสังคม ซึ่งตัวอย่าง องค์การรัฐวิสาหกิจที่มีการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดี ได้แก่ องค์การสื่อสารมวลชนแห่ง ประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) เป็นต้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจาก

14 งานประชาสัมพันธ์เป็นงานเน้นด้านใดเป็นหลัก
(1) ด้านความรู้
(2) ด้านสํารวจความคิด
(3) ด้านทักษะ
(4) ด้านบริการ
ตอบ 4 หน้า 27 งานประชาสัมพันธ์เป็นงานด้านขายบริการเป็นหลัก มิใช่ขายสินค้าหรือวัตถุดิบ แต่เป็นบริการในด้านการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันกับสังคมภายนอก เพื่อให้ประชาชนเกิดจินตภาพที่ดีต่อสถาบัน ดังนั้นจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่ายในสังคม

15 ใครเป็นผู้ระบุว่า “จงทําตัวให้ใกล้ชิดสนิทสนมกับประชาชนให้มากที่สุด”
(1) Ivy Ledbetter Lee
(2) Abraham Lincoln
(3) Voltaire
(4) Hollow Stephen
ตอบ 2 หน้า 113 Abraham Lincoln อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ถือเป็นผู้มีวิญญาณของ นักประชาสัมพันธ์สูง เนื่องจากท่านได้เคยเสนอแนะไว้ว่า “จงทําตัวให้ใกล้ชิดสนิทสนมกับ ประชาชนให้มากที่สุด” และตัวของท่านเองก็ได้ปฏิบัติตามข้อความดังกล่าวข้างต้นตลอด ชั่วชีวิตของท่าน

16 จากข้อ 15. ใครเป็นผู้กล่าวว่า “ถ้าอยากให้เขาพูดดี ๆ กับเราก็จงทําดีกับเขา ซึ่งใช้กับงานประชาสัมพันธ์”

ตอบ 3 หน้า 213 Voltaire นักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียง ได้กล่าวไว้ว่า “ถ้าอยากให้เขาพูดดี ๆ กับเรา ก็จงทําดีกับเขา” ซึ่งนํามาใช้ได้ผลเป็นอย่างดีในการทํางานประชาสัมพันธ์

17 ความสําคัญของประชาสัมพันธ์ในการสร้างสรรค์สังคม คือข้อใด
(1) ช่วยให้วงการธุรกิจและอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่ม
(2) ช่วยให้ธุรกิจสื่อมวลชนเข้าตลาดหลักทรัพย์
(3) ทบทวนการลงทุนรถไฟฟ้าและขนส่งมวลชน
(4) ชาวบ้านมีทางเลือกในการซื้อขาย
ตอบ 1 หน้า 35 ความสําคัญในอาชีพการประชาสัมพันธ์ที่จําเป็นในการสร้างสรรค์สังคม ได้แก่
1 ช่วยให้วงการธุรกิจและอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
2 ก่อให้เกิดการพัฒนาทางสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง
3 เกิดการลงทุนในวงการอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว
4 เกิดการกระตือรือร้นและแข่งขันกันในการดําเนินงานต่าง ๆ ซึ่งมีผลให้เกิดประชามติและการสนับสนุนของประชาชนในสังคม

18 หน่วยงานที่ไม่ได้จัดว่าเป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ คือข้อใด
(1) สํานักงานเผยแพร่ข่าวสาร (Press Agent)
(2) บริษัทรับจ้างทําประชาสัมพันธ์ (Public Relations Agency)
(3) สํานักงานที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ (Public Relations Counseling Firm)
(4) ฝ่ายประชาสัมพันธ์และโฆษณา (Public Relations & Advertising Department)
ตอบ 1 หน้า 35 – 36, (คําบรรยาย) หน่วยงานที่จัดเป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ ได้แก่
1 บริษัทรับจ้างทําประชาสัมพันธ์ (Public Relations Agency)
2 สํานักงานที่ปรึกษาทางด้านการประชาสัมพันธ์ (Public Relations Counseling Firm)
3 ฝ่ายประชาสัมพันธ์และโฆษณา (Public Relations & Advertising Department) (ส่วนสํานักงานบริการเผยแพร่ข่าว (Press Agent) ไม่ใช่งานประชาสัมพันธ์ แต่เป็นการ เผยแพร่ข่าวสารหรือข่าวแจก)

19 ในปี 1969 บริษัทยักษ์ใหญ่อันดับแรกที่มีกิจการใหญ่โตด้านประชาสัมพันธ์ คือใคร
(1) Carl Byoir & Associates
(3) Ruder & Finn
(2) Hill and Knowlton
(4) Densu Agency
ตอบ 2 หน้า 37 – 38, 69 ในปี ค.ศ. 1969 บริษัทยักษ์ใหญ่อันดับแรกที่มีกิจการใหญ่โตด้าน ประชาสัมพันธ์ คือ บริษัท Hill and Knowlton หรือเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า H & K โดยมี John W. Hill อดีตนักหนังสือพิมพ์อเมริกัน เป็นผู้ก่อตั้งสํานักงานที่ปรึกษาทางด้าน การประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่โตเป็นอันดับ 1 ของโลกในยุคบุกเบิก

20 การจัดอันดับปี 2015 บริษัทยักษ์ใหญ่อันดับแรกด้านประชาสัมพันธ์ คือใคร
(1) Edelman
(2) Weber Shandwick
(3) Hill & Knowlton Strategies
(4) Ogilvy PR
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในปี ค.ศ. 2015 ได้มีการจัดอันดับบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับแรกของโลกด้าน ประชาสัมพันธ์ คือ บริษัท Edelman ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีรายได้จากการรับจ้างทําประชาสัมพันธ์ ถึงปีละประมาณ 812,300,000 ดอลลาร์ โดยมีจํานวนเจ้าหน้าที่และพนักงานทั้งหมด 5,500 คน

21 ความรู้สึกอยากเข้าทํางานในองค์การชั้นนําหรือองค์การที่รู้จักชื่นชอบมาจากเหตุใด
(1) ภาพลักษณ์ขององค์การดี
(2) ชื่อเสียงของสถาบันดี
(3) เชื่อมั่นศรัทธาองค์การ
(4) ทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความรู้สึกอยากเข้าทํางานในองค์การชั้นนําหรือองค์การที่รู้จักชื่นชอบมาจาก
สาเหตุ ดังนี้
1 ภาพลักษณ์ขององค์การดี
2 ชื่อเสียงขององค์การหรือสถาบันดี
3 ความเชื่อมั่นเลื่อมใสศรัทธาในองค์การ
4 ความนิยมชมชอบในองค์การ ฯลฯ

22 ข้อใดระบุถึงจรรยาบรรณของวิชาชีพประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับค่าตอบแทน
(1) ไม่เปิดเผยความลับนายจ้างและลูกค้าทั้งอดีตและปัจจุบัน
(2) ระลึกว่าลูกค้าของเราเป็นฝ่ายถูกเสมอ เพราะเป็นผู้จ่ายค่าจ้าง
(3) ไม่เรียกร้องสิ่งมีค่า/ค่าธรรมเนียมมากกว่าที่ทําสัญญา
(4) อนุญาตให้รับค่าตอบแทนจากนายจ้างได้หลายคน
ตอบ 3 หน้า 43 – 44 จรรยาบรรณของวิชาชีพประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับค่าตอบแทน ได้แก่ ข้อ 12 ระบุว่า ไม่รับค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนใด ๆ จากบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งไม่ใช่ลูกค้า หรือนายจ้างของตน โดยปราศจากความเห็นชอบจากนายจ้าง และข้อ 13. ระบุว่า เมื่องาน ประสบความสําเร็จ นักประชาสัมพันธ์ต้องไม่เรียกร้องสิ่งมีค่าหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ มากไปกว่า ที่ได้ทําสัญญากันไว้กับลูกค้าและผู้ว่าจ้าง

23 เหตุใดนักประชาสัมพันธ์ต้องมีมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพ
(1) นักประชาสัมพันธ์ตกลงกัน
(2) มวลชนเกิดความเข้าใจอาชีพ
(3) เป็นมาตรฐานการบริการร่วมกัน
(4) เป็นอาชีพพิเศษ
ตอบ 3หน้า 42 – 43 สมาคมนักประชาสัมพันธ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา (PRSA) ได้ริเริ่มก่อตั้ง หลักจรรยาบรรณของนักประชาสัมพันธ์ (The PRSA Code) ขึ้นมาเป็นประเทศแรกในปี ค.ศ. 1954 เพื่อเป็นหลักมาตรฐานของวิชาชีพการประชาสัมพันธ์ในการให้บริการร่วมกัน ในระดับที่ดีเด่นกับประชาชน และเป็นที่ยอมรับนับถือโดยทั่วไป

24 ประเทศแรกที่ประกาศหลักจรรยาบรรณวิชาชีพประชาสัมพันธ์ คือใคร
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) ซาอุดิอาระเบีย
(4) อเมริกา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

25 นักประชาสัมพันธ์ที่ทํางานประจําและให้คําปรึกษาผู้บริหารองค์การ มีชื่อเรียกว่า

(1) นักประชาสัมพันธ์ประจําองค์การ
(2) นักประชาสัมพันธ์อิสระ
(3) นักประชาสัมพันธ์รับจ้างประจํา
(4) นักประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าว
ตอบ 1หน้า 90, 94, (คําบรรยาย) นักประชาสัมพันธ์แบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. นักประชาสัมพันธ์ประจําองค์การหรือหน่วยงาน คือ นักประชาสัมพันธ์ที่ทํางานประจําและ ให้คําปรึกษาแนะนําแก่ผู้บริหารองค์การ ซึ่งต้องดําเนินงานตามแต่ละขั้นตอนของการ วางแผนประชาสัมพันธ์ภายในองค์การนั้น ๆ
2. นักประชาสัมพันธ์อิสระ คือ นักประชาสัมพันธ์จากภายนอกองค์การ ซึ่งเป็นผู้ที่รับจ้าง ทํางานประชาสัมพันธ์ โดยมีการคิดค่าธรรมเนียมการให้คําปรึกษาประชาสัมพันธ์ ดังนั้น
จึงถือเป็นผู้ที่ทํารายได้สุทธิต่อปีสูงสุดในการจัดอันดับการทํางานประชาสัมพันธ์

26 จากข้อ 25. ใครคือผู้ที่ทํางานแล้วต้องคิดค่าธรรมเนียมการให้คําปรึกษาประชาสัมพันธ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

27 จากข้อ 25. ผู้ที่ทํารายได้สุทธิต่อปีสูงสุดในการจัดอันดับการทํางานประชาสัมพันธ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

28 ข้อใดแสดงถึงประโยค “งานจะไม่ชะงักโดยที่งบประมาณหมด
(1) วางแผน
(2) งบประมาณ
(3) วิจัยและรับฟัง
(4) ประเมินผล

ตอบ 1 หน้า 136 – 137 ปัจจัยสําคัญที่จะทําให้การดําเนินการประชาสัมพันธ์ไม่หยุดชะงักหรือ ขาดตอนไป คือ การวางแผนกําหนดค่าใช้จ่ายไว้อย่างรอบคอบและถูกต้อง โดยการวางแผน ตั้งงบประมาณก็ควรมีการยืดหยุ่นพอสมควรเผื่อไว้สําหรับค่าใช้จ่ายในส่วนที่มองไม่เห็น เพื่อประโยชน์ที่ว่า “งานจะไม่ชะงักโดยที่งบประมาณหมด

29 เหตุที่นักประชาสัมพันธ์ได้ชื่อว่าเป็น “นักบริหาร” คือข้อใด
(1) ทํางานควบคู่กับการบริหาร
(2) มีความคิดสร้างสรรค์แบบนักบริหาร
(3) กําหนดนโยบายและแผนร่วมกับผู้บริหาร
(4) ประสานงานทุกหน่วยในองค์การ
ตอบ 3 หน้า 3, 7, 12, (คําบรรยาย) งานประชาสัมพันธ์เป็นงานระดับบริหาร และเป็นเครื่องมือ ของการบริหารงาน ดังนั้นหน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์จึงควรอยู่ในตําแหน่งผู้บริหาร หรือ ผู้ช่วยผู้บริหาร เนื่องจากนักประชาสัมพันธ์ต้องกําหนดนโยบายและวางแผนร่วมกับผู้บริหาร เพื่อให้ได้รับผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นฝ่ายบริหาร (Executive) หรือฝ่ายจัดการจึงถือว่า การประชาสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของงานในภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของตน

30 นักประชาสัมพันธ์ต้องเผชิญกับสิ่งใดตลอดเวลา
(1) รับฟังคําติชมข้อเสนอแนะของมวลชน
(2) ประสานงานกับสื่อมวลชน
(3) สร้างสรรค์กิจกรรมในองค์การ
(4) สร้างความมั่นใจให้ผู้ถือหุ้น
ตอบ 1 หน้า 54, 199, (คําบรรยาย) นักประชาสัมพันธ์จะต้องมีความรู้และความเข้าใจในมติมหาชน โดยการรับฟังคําติชมหรือข้อเสนอแนะของมวลชนอยู่ตลอดเวลา เพื่อนํามาพิจารณาปรับปรุง แผนงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งเป็นหัวใจของการดําเนินงานต่าง ๆ ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

31 จากข้อ 30. ข้อใดคือ ประชาสัมพันธ์ภายในองค์การ
ตอบ 3 หน้า 50, (คําบรรยาย) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายในองค์การ คือ กิจกรรมที่สร้าง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันกับกลุ่มมวลชนภายในองค์การ ได้แก่
1 กําหนดแผนงานประชาสัมพันธ์
2 ตั้งที่ติดต่อสอบถาม (Information)
3 ตั้งแผงปิดประกาศ
4 ออกวารสารข่าวภายใน เช่น แผ่นปลิวประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
5 จัดงานพิเศษหรือสร้างสรรค์กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับมวลชนภายในองค์การ ฯลฯ

32 จากข้อ 30. สื่อมวลชนสัมพันธ์ คือข้อใด
ตอบ 2 หน้า 36, 323, (คําบรรยาย) สื่อมวลชนสัมพันธ์ หรือหนังสือพิมพ์สัมพันธ์ (Press Relations) หมายถึง วิธีการประชาสัมพันธ์ที่มุ่งสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในวงการหนังสือพิมพ์และประสานงาน กับสื่อมวลชนต่าง ๆ เพื่อให้การเสนอข่าวหรือเนื้อหาของหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนนั้น เป็นประโยชน์แก่การสร้างความเข้าใจอันดีกับชุมชน

33 จินตภาพ หมายถึงอะไร
(1) สร้างภาพ
(2) มองเห็นเป็นภาพ
(3) ภาพในใจ
(4) ลีลาของภาพ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

34 จากข้อ 33. ข้อใดที่ไม่ส่งเสริม “การประชาสัมพันธ์” ในระยะยาว
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในปัจจุบันยุคสมัยการประชาสัมพันธ์แบบ “จัดฉากตีปี๊บ” คือ การสร้างภาพ ในลักษณะโฆษณาชวนเชื่อแล้วเผยแพร่ผ่านทางสื่อมวลชนได้หมดลงไปแล้ว ดังนั้นหลักสําคัญ ของงานประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นแบบ “มีดีต้องตีปี๊บ” คือ มีสิ่งดี เกิดขึ้นในองค์การต้องเผยแพร่ผ่านทางสื่อมวลชน โดยต้องให้ข้อเท็จจริงกับประชาชนเท่านั้น

35 บุคคลใดเป็นผู้กล่าวว่า “The Public be damned” (ประชาชนโง่!) ทําให้อเมริกันชนโกรธ
(1) Ivy Lee
(2) William Van Derbilt
(3) John W. Hill
(4) Paul W. Garrett
ตอบ 2 หน้า 65 ในปี ค.ศ. 1879 สมัยที่นายวิลเลี่ยม แวน เดอร์บิลท์ (Wittiam Van Derbilt) เป็น ผู้อํานวยการรถไฟในนิวยอร์ก เขาได้ถูกนักข่าวถามว่าทําไมถึงเลิกรถไฟด่วนสายนิวยอร์กกับชิคาโก แต่นายวิลเลี่ยมตอบว่ากิจการรถไฟขาดทุน ไม่คุ้มกับรายจ่ายของบริษัท (ทั้งที่ความจริงแล้ว กิจการรถไฟขาดคุณภาพ บริการไม่ดี แต่จะเอากําไรมาก ๆ) และเขาได้ตอบนักข่าวไปอีกว่า “The Public be darnned” (ประชาชนนั้นโง่ ไม่มีความจําเป็นจะต้องรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ การบริหารงานขององค์การ) ซึ่งเมื่อคําพูดนี้เผยแพร่ออกไปก็ได้สร้างความโกรธแค้นให้ ชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก

36 จากข้อ 35. “The Public be informed” ในยุคแสงสว่างของประชาสัมพันธ์ ใครเป็นผู้พูด
ตอบ 1 หน้า 66 – 67 ไอวี่ ลี (Ivy Lee) เป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันที่ทําให้ความเชื่อเก่า ๆ ที่ว่า ประชาชนโง่เขลา ไม่จําเป็นต้องรู้อะไรเลย (The Public be damned) เปลี่ยนไปเป็นประชาชน ควรรู้ข่าวสารต่าง ๆ (The Public be informed) ซึ่งถือเป็นยุคแสงสว่างของการประชาสัมพันธ์ อย่างแท้จริง กล่าวคือ การทํางานจะมีประสิทธิภาพได้จะต้องได้รับความสนับสนุนจากประชาชน โดยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างจริงใจ ตรงไปตรงมา เพราะการปกปิดข้อมูลต่อประชาชนนั้นเป็นความคิดที่ผิด

37 จากข้อ 35. เหตุการณ์ดังกล่าวที่ทําให้เขาพูดได้เช่นนั้น คือเหตุการณ์อะไร
(1) นายทุนทํางานให้ผู้ถือหุ้นไม่ใช่ผู้สื่อข่าว
(2) กิจการรถไฟขาดคุณภาพ ขาดทุน แต่อยากได้กําไรสูง
(3) ไกล่เกลี่ยการประท้วงหยุดงานคนงานเหมืองถ่านหิน
(4) เสนอบริการข่าวแจกให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

38 คํากล่าว “The Public be informned” แสดงถึงความคิดใดต่อไปนี้
(1) การทํางานต้องได้รับความสนับสนุนจากประชาชน
(2) เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตรงไปตรงมา จริงใจ ประชาชนย่อมสนับสนุน
(3) ปกปิดข้อมูลต่อประชาชนเป็นความคิดที่ผิด
(4) ข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

39 บุคคลแรกที่ประกาศหลักการ “Declaration of Principles
(1) Ivy Lee
(2) Edward L. Bernays
(3) John W. Hill
(4) Paul W. Garrett

ตอบ 1 หน้า 67 ไอวี่ ลี (Ivy Lee) ได้ประกาศหลักการ (Declaration of Principles) ไว้ในจดหมายที่มี ไปถึงหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ว่า “สํานักงานของเราไม่ใช่สํานักงานสื่อข่าวที่มีกิจการลับ งานทุกอย่าง จะดําเนินการอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา เรามีจุดประสงค์ที่จะเผยแพร่ข่าวสาร ไม่ใช่สํานักงาน รับจ้างทําการโฆษณา… รายละเอียดเพิ่มเติมเรายินดีส่งให้ทันทีและยินดีที่จะช่วยชี้แจงรายละเอียด ของเรื่องราวที่เป็นความจริงเสมอ กล่าวโดยย่อแผนงานของเราเปิดเผยทุกอย่าง…”

40 จากข้อ 39. ผู้ที่เรียกตัวเองว่า ที่ปรึกษาการโฆษณาเผยแพร่ (Publicity Man)
ตอบ 1 หน้า 69 ในระยะเวลาที่ไอวี่ ลี (Ivy Lee) ยังมีชีวิตอยู่ เขาไม่ได้ใช้คําว่า “การประชาสัมพันธ์” แต่เขาชอบเรียกตัวเองว่า “ที่ปรึกษาการโฆษณาเผยแพร่” (Publicity Man) ดังนั้นเขาจึงเป็น บุคคลแรกที่กําหนดใช้คําว่า “การโฆษณาเผยแพร่” (Publicity) กับคําว่า “การโฆษณาหรือ การแจ้งความ” (Advertising) เพื่อชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างกับคําว่า “การประชาสัมพันธ์” (Public Relations)

41 จากข้อ 39. ผู้ก่อตั้งสถาบันที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์อันดับ 1 ของโลกในยุคบุกเบิก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

42 จากข้อ 39. นักประชาสัมพันธ์บุกเบิกประชาสัมพันธ์ในธุรกิจรถยนต์ เจนเนอรัล มอเตอร์
ตอบ 4 หน้า 70 ในระยะปี ค.ศ. 1920 เป็นยุคที่การประชาสัมพันธ์แพร่หลายอย่างสูงสุดและเป็นที่ รู้จักกันโดยทั่วไป ซึ่งนักประชาสัมพันธ์ที่ช่วยบุกเบิกงานประชาสัมพันธ์เพื่อธุรกิจให้กับบริษัท รถยนต์ เจนเนอรัล มอเตอร์ คือ Paul W. Garrett

43 จากข้อ 39. ผู้ค้นพบว่าประชาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสถาบันการเมืองและประชามติ คือใคร
ตอบ 2 หน้า 70 Edward L. Bernays เป็นผู้ที่ได้ศึกษางานประชาสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งและพบว่า การประชาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสถาบันทางการเมือง โดยมีสาเหตุมาจากประชามติ (Public Opinion) ดังนั้นเขาจึงจัดพิมพ์หนังสือเล่มแรกในชีวิตชื่อว่า “Crystallizing Public Opinion” ขึ้น ในปี ค.ศ. 1923 และในปีเดียวกันนี้เขาก็ได้เปิดหลักสูตรบรรยายวิชาการประชาสัมพันธ์ขึ้น ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ซึ่งนับว่าเป็นการเปิดบรรยายวิชาการประชาสัมพันธ์ขึ้นเป็นครั้งแรก ในระดับมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา

44 จากข้อ 39. อาจารย์เปิดหลักสูตรการประชาสัมพันธ์แห่งแรกในมหาวิทยาลัย คือใคร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

45 หลักสูตรการประชาสัมพันธ์แห่งแรกเกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยใด
(1) นิวยอร์ก
(2) ฮาร์วาร์ด
(3) พรินส์ตัน
(4) รามคําแหง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

46 ข้อใดอธิบายถึง “1 แสนคนรู้ข่าวว่ารถไฟลอยฟ้าสายสีม่วงเปิดบริการให้ประชาชนขึ้นฟรี”
(1) Audience Coverage เข้าถึงประชาชน
(2) Audience Response ปฏิกิริยาของประชาชน
(3) Communication Impact ผลกระทบที่เกิดจากการสื่อสาร
(4) Process of Influence อิทธิพลของกระบวนการสื่อสาร

ตอบ 1 หน้า 184 Audience Coverage หมายถึง การเข้าถึงประชาชน หรือเข้ากับประชาชนได้ เป็นอย่างดี ถือเป็นความสําเร็จในการปฏิบัติการสื่อสาร ซึ่งผู้สํารวจจะต้องรู้ว่ากลุ่มประชาชน เป้าหมายมีจํานวนคนมากน้อยเท่าใด เขาเหล่านั้นมีลักษณะอย่างไร มีทัศนคติอะไรบ้าง และ อัตราส่วนของประชาชนที่ได้ดําเนินการสื่อสารนั้นเป็นอัตราส่วนเท่าใดของเป้าหมายที่ต้องการ

47 การประชาสัมพันธ์เปรียบเสมือนสะพาน หมายถึงข้อใด
(1) Two Way Communication
(2) Public Opinion
(3) Co-operate
(4) Voice of Population
ตอบ 1 หน้า 8, 11, (คําบรรยาย) ความหมายของการประชาสัมพันธ์ สรุปได้ดังนี้
1 การประชาสัมพันธ์เสมือนสะพานที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับประชาชน ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การสื่อสารสองทาง (Two Way Communication)
2 การประชาสัมพันธ์เสมือนแสงสว่างที่ส่องให้ประชาชนมองเห็นองค์การ และองค์การมองเห็น ประชาชน โดยใช้ประชามติ (Public Opinion)
3 การประชาสัมพันธ์เสมือนน้ําในร่างกายที่ทําให้ทุกส่วนเคลื่อนไหวราบรื่น โดยใช้การประสาน ทุกฝ่ายเข้าด้วยกัน (Co-operate)

48 จากข้อ 47. อะไรเสมือนน้ำในร่างกายให้ทุกส่วนเคลื่อนไหวราบรื่นเช่นเดียวกับประชาสัมพันธ์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ

49 จากข้อ 47. แสงสว่างส่องให้ประชาชนมองเห็นองค์การ องค์การเห็นประชาชน คือข้อใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ

50 ข้อใดเป็นเครื่องมือการสํารวจความคิดเห็นในการประชาสัมพันธ์
(1) แบบสอบถาม
(2) คูปองแลกสินค้า
(3) แบบรับสมาชิก
(4) อีเมลข่าวสารถึงลูกค้า
ตอบ 1 หน้า 203, (คําบรรยาย) แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือการสํารวจความคิดเห็นในการวิจัย ประชาสัมพันธ์ โดยเป็นแบบการสํารวจท่าทีของประชาชนกลุ่มเป้าหมายว่าชอบหรือไม่ชอบ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร ทั้งนี้การนําแบบสอบถามมาทดลองใช้กับประชากรหลายกลุ่ม จะทําให้ได้ทราบถึงปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น เพื่อหาทางแก้ไขได้อย่างสมบูรณ์

51 ข้อใดเป็นการทําชุมชนสัมพันธ์
(1) Big Cleaning Day ทําความสะอาดในเขตบ้านเรือนใกล้องค์การ
(2) Smart English สอนภาษาอังกฤษให้น้อง ๆ มัธยมศึกษา
(3) Warmly Blanket มอบผ้าห่มให้มูลนิธิเด็กอ่อน
(4) Thanks Press Meeting จัดเลี้ยงขอบคุณนักข่าวและบรรณาธิการทุกหน่วย
ตอบ 1 หน้า 346, (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์ในชุมชน หรือชุมชนสัมพันธ์ หมายถึง การเสริมสร้าง ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างองค์การหรือสถาบันกับชุมชน เป็นการให้ความสนใจ เอาใจใส่ถึงความต้องการและทัศนคติของสมาชิกทุกคนในชุมชน โดยชุมชนในที่นี้ หมายถึง กลุ่มมวลชนที่ได้พักพิงอาศัยอยู่ในท้องถิ่นเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับองค์การ ซึ่งตัวอย่างของ การทําชุมชนสัมพันธ์ ได้แก่ กิจกรรม Big Cleaning Day ทําความสะอาดในเขตบ้านเรือน ใกล้องค์การ เป็นต้น

52 ข้อใดเป็นสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอก
(1) รายงานประจําปี
(2) อนุสาร
(3) วารสารข้าราชการ
(4) ทุกข้อที่กล่าว
ตอบ 4 หน้า 271 – 275, 279 – 280 ลักษณะที่สําคัญของเอกสารประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 เอกสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ภายใน เช่น วารสารพนักงาน วารสารผู้ถือหุ้น ฯลฯ
2 เอกสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ภายนอก เช่น วารสารผู้บริโภค ฯลฯ
3 เอกสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอก เช่น วารสารของข้าราชการ วารสารของสมาคม มูลนิธิ รายงานประจําปี อนุสาร (Booklets) ฯลฯ

53 วารสารผู้ถือหุ้น จัดเป็นสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ประเภทใด
(1) สื่อภายใน
(2) สื่อภายนอก
(3) สื่อผสม
(4) สื่อภายในและภายนอก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

54 สิ่งที่มี “พลัง” สูงสุดในการประชาสัมพันธ์และได้ผลเวลาใช้ คืออะไร
(1) การแสดงออก
(2) การพูด
(3) การคิด
(4) การฟัง
ตอบ 2 หน้า 244, (คําบรรยาย) คําพูด (Spoken Words) เป็นสื่อที่สําคัญยิ่งของมนุษย์ซึ่งมีมาแต่กําเนิด และใช้กันอย่างแพร่หลายมากกว่าสื่อในการประชาสัมพันธ์อื่น ๆ ดังนั้นสื่อคําพูดจึงนับเป็น เครื่องมือในการสื่อสารเพื่องานประชาสัมพันธ์ที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง จัดได้ว่าเป็นสื่อพื้นฐาน ของมนุษย์ที่ถูกนํามาใช้อย่างกว้างขวางและแพร่หลายมากที่สุด ทั้งนี้เพราะการพูดเป็นสิ่งที่มี พลังสูงสุดในการประชาสัมพันธ์และได้ผลเวลาใช้

ข้อ 55 – 63. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามเกี่ยวกับสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์
(1) ประเภทวัสดุ (Audio Visual)
(2) ประเภทเครื่องมือ (Audio Visual Equipment)
(3) ประเภทกิจกรรม (Activity)
(4) ประเภทสื่อสารพบปะ (Meeting)

55 โปสเตอร์ “ขี่ตรง ไม่ขี่ย้อน” เป็นสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ประเภทใด
ตอบ 1 หน้า 242 – 245 สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ที่น่าสนใจ มีดังนี้
1 ประเภทวัสดุ (Audio Visual) ได้แก่ กราฟ กระดานนิเทศ โปสเตอร์ ใบปลิว แผนที่ พิพิธภัณฑ์ ฟิล์มภาพยนตร์ ภาพถ่าย ฯลฯ
2 ประเภทเครื่องมือ (Audio Visual Equipment) ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ
3 ประเภทกิจกรรม (Activity) ได้แก่ นิทรรศการ การเล่นแบบละคร การสาธิต ฯลฯ
4 ประเภทสื่อสารพบปะ (Meeting) ได้แก่ การประชุม สัมมนา กล่าวสุนทรพจน์ ฯลฯ
56. ภาพยนตร์รณรงค์ “อ่านทวนก่อนสอบ” นับเป็นสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ประเภทใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

57 กระดานนิเทศ (Bulletin Board) รณรงค์ “เรียนรู้ภาษาอังกฤษ & อาเซียน”
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

58 เครื่องเล่นแผ่นเสียง (Record Player) ในร้านน้ําชา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

59 พิพิธภัณฑ์ (Museum) แสดงการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

60 ใบปลิว บอกวันรับสมัครนักศึกษา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

61 การเล่นแบบละคร (Dramatization) ในโครงการเดินทางปลอดภัยวันสงกรานต์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

62 นิทรรศการ (Exhibition) “ลดขยะพลาสติกลดโลกร้อน”
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

63 กล่าวสุนทรพจน์ (Speech) ของนายกรัฐมนตรี
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

64 หลักการที่ก้าวไปสู่การเป็นนักพูดชํานาญการ คือข้อใด
(1) หลักผู้ฟังและโอกาสที่พูด
(2) หลักการแสดงต่อที่สาธารณะ
(3) หลักโน้มน้าวใจ
(4) หลักปฏิบัติคู่กับทฤษฎี
ตอบ 1 หน้า 251 หลักการที่ก้าวไปสู่การเป็นนักพูดชํานาญการหรือนักแสดงปาฐกถา มีดังนี้
1 หลักที่ว่าด้วยตัวผู้ฟังและโอกาสที่พูด
2 หลักที่ว่าด้วยตัวผู้พูดและจุดมุ่งหมายในการพูด

65. ขั้นตอนแรกของ 7 ขั้นการพูดสู่ความสําเร็จ คืออะไร
(1) วางแนวเรื่องที่จะพูด
(2) หาตัวอย่างสนับสนุน
(3) ซักซ้อมการพูด
(4) ค้นคว้าหาข้อมูล
ตอบ 4หน้า 251 – 252 ขั้นตอนสําคัญที่จะก้าวไปสู่การเป็นนักพูดที่ประสบความสําเร็จนั้น แบ่งออก เป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้
1 ค้นคว้าหารายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะพูดมาให้มากที่สุด
2 วางแนวเรื่องที่จะพูด
3 ค้นหาตัวอย่างมาเป็นข้อสนับสนุน
4 เตรียมข้อความเริ่มต้นหรือการแนะนําตัว
5 การสรุปความตอนจบ
6 การซักซ้อมพูดเพื่อให้เกิดความชํานาญ
7 ขึ้นเวทีแสดงปาฐกถาจริง ๆ

66 ข้อใดทําให้ท่าน/องค์การดูแย่ในโอกาสกล่าวสุนทรพจน์เพื่อประชาสัมพันธ์องค์การ
(1) พูดสุนทรพจน์สั้น ๆ
(2) หาโอกาสจัดประชุมกล่าวสุนทรพจน์
(3) ใช้วิธีการหลอกลวงผู้ฟัง
(4) แสดง/พูดตามบุคลิกของตัวเอง
ตอบ 3 หน้า 259, (คําบรรยาย) สิ่งที่ไม่ควรทําในการใช้การพูดเพื่อประชาสัมพันธ์องค์การ คือ
1 ให้การพูดผิดพลาดเกิดขึ้น โดยขาดการพิจารณาถึงความต้องการและทัศนคติของผู้ฟัง
2 พูดไปผิด ๆ โดยไม่มีการเตรียมตัวให้พร้อม
3 ลืมกล่าวสรุปความโดยย่อทุกตอนที่สําคัญ
4 ใช้วิธีการหลอกล่อหรือโกหกหลอกลวงผู้ฟัง ฯลฯ

67 ข่าวประชาสัมพันธ์มีลักษณะพิเศษดังนี้
(1) ข่าวภายใน ข่าวภายนอก
(2) ข่าวภาพ ข่าวเนื้อหา
(3) ข่าวไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน ข่าวเตรียมการล่วงหน้า
(4) ข่าวเกี่ยวกับหน่วยงาน ข่าวเสริมภาพลักษณ์หน่วยงาน
ตอบ 3 หน้า 144, 267, 329 ลักษณะพิเศษของข่าวประชาสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1 ข่าวที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน หรือไม่ได้คาดหวังว่าจะเกิดขึ้น มักเป็นข่าวในกรณี อุบัติเหตุและฉุกเฉิน ซึ่งจะปรากฏขึ้นอย่างฉับพลันหรือไม่คาดคิด เช่น เกิดระเบิด น้ําท่วม แผ่นดินไหว พายุรุนแรง ไฟไหม้ และภัยพิบัติต่าง ๆ ฯลฯ
2 ข่าวที่ได้เตรียมการดําเนินงานไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะถูกนํามาเขียนเป็นข่าวประชาสัมพันธ์บ่อยมาก เช่น ข่าวการจัดประชุม ข่าวกิจกรรมพิเศษของสถาบัน ภาพข่าวแนะนําผลิตภัณฑ์ใหม่ ฯลฯ

68 “ภาพข่าวสมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดใช้งานง่าย ราคาไม่แพง” เกี่ยวกับคําตอบในข้อ 67. ข้อใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ

69 ความสําคัญของการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ ได้แก่ข้อใด
(1) ข้อมูลถูกต้องและน่าสนใจ
(2) เป็นเหตุการณ์ของหน่วยงาน
(3) อนุญาตให้มีความเห็นส่วนตัวในข่าว
(4) ทุกข้อข้างต้นที่กล่าวมา
ตอบ 4หน้า 268 – 269, (คําบรรยาย) ความสําคัญของการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 ข่าวนั้นต้องเป็นเหตุการณ์ของหน่วยงานหรือสถาบัน
2 ควรเป็นข่าวสดใหม่ และทันต่อเหตุการณ์
3 ข้อมูลข่าวควรมีความถูกต้องและน่าสนใจ
4 ข้อเขียนที่เป็นการแสดงความคิดเห็นที่ดีควรเป็นข้อคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเพียงเรื่องเดียว
5 เขียนข่าวโดยปราศจากอคติ ฯลฯ

70 การใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ต้องคํานึงถึงเรื่องใด
(1) ตรงกลุ่มเป้าหมาย
(2) ผลสัมฤทธิ์ในการสื่อสาร
(3) งบประมาณ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 241, (คําบรรยาย) การเลือกใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ต้องพิจารณาถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1 จุดประสงค์ที่จะใช้สื่อ
2 ตรงกับผู้รับสารกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ โดยคํานึงถึงความสามารถ รับรู้ของผู้รับสาร และความนิยมของสังคมนั้น
3 สถานการณ์ในช่วงเวลาที่ใช้สื่อ
4 งบประมาณ
5 ผลสัมฤทธิ์ในการสื่อสารที่ต้องการภายหลัง ฯลฯ

71 การเขียนโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์ให้บรรลุเป้าหมายต้องมีสิ่งใด
(1) วัตถุประสงค์ชัดเจน
(2) งบประมาณเพียงพอ
(3) ใช้สื่อตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
(4) ต้องใช้ทุกข้อดังกล่าว
ตอบ 4หน้า 129 – 130) (คําบรรยาย) หัวใจของการวางแผนในการเขียนโครงการเพื่องานประชาสัมพันธ์ ให้บรรลุเป้าหมาย มีดังนี้
1 กําหนดจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
2 กําหนดกลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มเป้าหมายรอง (Themes/Big Idea)
3 กําหนดหัวข้อประชาสัมพันธ์
4 กําหนดจังหวะหรือช่วงเวลาที่เหมาะสม
5 กําหนดใช้สื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
6 กําหนดงบประมาณให้เพียงพอ

72 ประชามติ หมายถึงอะไร
(1) ความเห็นของคนจํานวนมาก
(2) ความรู้สึกทั้งบวกและลบเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
(3) ความรู้สึกนึกคิดที่แสดงออกของมวลชนต่อเหตุการณ์สําคัญ
(4) ความชอบและไม่ชอบของมวลชนต่อปัญหาต่าง ๆ
ตอบ 3 หน้า 197 ประชามติ (Public Opinion) หมายถึง ทัศนคติหรือความรู้สึกนึกคิดของมวลชนที่ได้ แสดงออกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ปัญหาใดปัญหาหนึ่งที่มีความสําคัญต่อสังคมโดยรวม หรือเหตุการณ์ใด เหตุการณ์หนึ่งโดยเฉพาะ และตัวเองย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีผลได้ผลเสียร่วมอยู่ด้วย

73 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเงื่อนไขการเกิดประชามติ
(1) ปัญหาเรียกความสนใจของมวลชน
(2) เวทีแสดงความคิด
(3) ผู้นําทางจิตวิญญาณ
(4) รัฐบาล
ตอบ 1หน้า 197 ประชามติจะก่อตัวขึ้นเมื่อมีเงื่อนไข ดังนี้
1 ต้องมีปัญหาที่เรียกร้องความสนใจ ของประชาชนทั่วไปเกิดขึ้น
2 ความรอบรู้และประสบการณ์ของผู้เสนอข้อคิดเห็น
3 ระเบียบกฎหมายและสังคมเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น
4 ความหนาแน่นของประชาชน
5 อุปกรณ์การสื่อสาร
6 มาตรการทางสังคมและตัวบทกฎหมาย

74 ใครเป็นผู้ชี้ให้เห็นว่า “ประชามติกับประชาสัมพันธ์” เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด
(1) รองศาสตราจารย์วิรัช สภิรัตนกุล
(2) รองศาสตราจารย์วัฒนา พุทธางกูรานนท์
(3) Ivy Lee
(4) Albert Sullivan
ตอบ 3 หน้า 199 ไอวี่ ลี (Ivy Lee) เป็นผู้ชี้ให้เห็นว่า “ประชามติกับงานประชาสัมพันธ์” มีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด โดยนักประชาสัมพันธ์ต้องรับรู้ถึงปฏิกิริยา ความคิดเห็น ท่าที เจตนารมณ์ ตลอดจนความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม เพื่อหาทางตอบสนองประชามติ หรือความต้องการในสิ่งที่ถูกทีชอบของเขาเหล่านั้น ซึ่งถือเป็นหลักสําคัญยิ่งของการปฏิบัติการของงานประชาสัมพันธ์

75 “ประชามติ” เรียกอีกอย่างว่าอะไร
(1) เสียงของมวลชน
(2) มติมหาชน
(3) การลงคะแนนเสียง
(4) การสํารวจเสียงประชาชน
ตอบ 2 หน้า 198 ประชามติเป็นข้อคิดเห็นเพื่อแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งประชามติจะยังไม่เกิดขึ้น จนกว่าจะมีคนนําความรู้และข้อคิดเห็นนั้นเผยแพร่ต่อ ๆ ไปยังบุคคลอื่น โดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด ซึ่งถ้าข้อคิดเห็นนั้น ๆ เป็นที่ยอมรับจึงเรียกว่า “ประชามติ” หรือเรียกอีกอย่างว่า “มติมหาชน”

76 เราจะยึดถือประชามติตลอดไปได้หรือไม่ เพราะอะไร
(1) ได้ เพราะนั่นคือเสียงของประชาชนส่วนรวม
(2) ได้ เพราะทุกคนมีมติเห็นชอบในปัญหาร่วมกัน
(3) ไม่ได้ เพราะเป็นความเห็นของกลุ่มคนส่วนหนึ่งเท่านั้น
(4) ไม่ได้ เพราะความรู้สึกนึกคิดของคนไม่ใช่สิ่งที่คงทนแน่นอน
ตอบ 4 หน้า 199, (คําบรรยาย) ประชามติไม่ใช่สิ่งที่จะยึดถือได้ตลอดไป เพราะไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่อย่าง คงทนแน่นอน แต่เป็นเพียงความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อถือ ซึ่งอาจจะมีเหตุผลหรืออาจเป็น ความเข้าใจผิดหรือหลงผิดไปบางขณะก็ได้ จึงอยู่ในดุลพินิจหรือความรับผิดชอบของนักประชาสัมพันธ์ที่จะชี้แนะหรือปรับปรุงแก้ไขประชามติไปในทางที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง

77 วิธีการรวบรวมเสียงประชามติ ได้แก่วิธีใด
(1) ลงคะแนนเสียง
(2) สํารวจในชั้นเรียน
(3) โทรศัพท์เข้ามาในรายการวิทยุ
(4) ส่งไปรษณียบัตรถึงหน่วยงาน
ตอบ 1 หน้า 201 วิธีการรวบรวมเสียงประชามติหรือเสียงจากประชาชนมีอยู่ 4 วิธี คือ
1 การลงคะแนน (Votes)
2 วิเคราะห์เสียงแสดงความคิดเห็นจากสื่อมวลชนอื่น ๆ
3 ตั้งหน่วยรับฟังความคิดเห็น
4 ออกไปสอบถามและบันทึกความคิดเห็นของประชาชนแต่ละคน

78 ข้อใดเป็นการสํารวจทางอ้อมเพื่อประชามติ
(1) สัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า
(2) สํารวจทัศนคติ
(3) หน่วยรับความคิดเห็นถามปัญหา
(4) เข้าถึงผู้นําทางความคิด
ตอบ 4 หน้า 201 – 203, (คําบรรยาย) การสํารวจประชามติ แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1 การสํารวจทางตรง คือ การตรวจสอบประชามติไปยังกลุ่มประชาชนโดยตรง เช่น การลงคะแนน (Votes), การตั้งหน่วยรับฟังความคิดเห็น, การสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า การสํารวจทัศนคติทางโทรศัพท์, การที่แฟนบอลส่งไปรษณียบัตรทายผลฟุตบอลโลก ฯลฯ
2 การสํารวจทางอ้อม คือ การตรวจสอบประชามติจากข้อมูลที่มีผู้ทําไว้ก่อนแล้ว เช่น การตรวจสอบจากข่าว บทวิจารณ์ ตําราวิชาการต่าง ๆ, การวิเคราะห์เสียงแสดง ความคิดเห็นจากสื่อมวลชน, การเข้าถึงผู้นําทางความคิด ฯลฯ

79 การลงคะแนนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ เป็นการรวบรวมประชามติแบบใด
(1) สํารวจทางตรง
(2) สํารวจทางอ้อม
(3) สํารวจใกล้ชิด
(4) สํารวจผ่านเครื่องมือ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

80 จากข้อ 79. แฟนบอลส่งไปรษณียบัตรทายผลทีมฟุตบอลโลกชิงชนะเลิศ จัดเป็นประชามติในรูปแบบใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

81 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับประชามติมีความสําคัญต่อองค์การ
(1) ประชามติเป็นกระจกส่ององค์การ
(2) ข้อมูลจากประชามติครั้งเดียวใช้กับการตัดสินใจได้ตลอด
(3) ใช้ประชามติเป็นเครื่องมือสื่อสารกับคนในองค์การ
(4) ประชามติสามารถประยุกต์ใช้กับการตลาดเท่านั้น
ตอบ 1 หน้า 107, (คําบรรยาย) ประชามติเปรียบเหมือนกระจกส่ององค์การ เพราะประชามติจะ สะท้อนภาพความรู้สึกนึกคิดของประชาชนที่มีต่อองค์การให้เห็นอย่างเด่นชัด ในทํานองเดียวกัน กระจกอันนั้นย่อมสะท้อนกลับถึงพฤติกรรมขององค์การว่ามีผลกระทบต่อมวลชนอย่างไรบ้าง

ข้อ 82 – 85. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามเกี่ยวกับการทําประชาสัมพันธ์
(1) วิจัยและรับฟัง
(2) วางแผนการสื่อสาร
(3) ติดต่อสื่อสาร
(4) ประเมินผล

82 ขั้นแรกของการทําประชาสัมพันธ์ คือข้อใด
ตอบ 1 หน้า 99 – 101, 106 -107, (คําบรรยาย) ขั้นการวิจัยและรับฟัง (Research Listening) ถือเป็นขั้นแรกของการทําประชาสัมพันธ์ โดยเป็นขั้นตอนของการสํารวจดูตัวเองเพื่อแก้ไข ข้อผิดพลาดที่เราไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตนเอง และรับฟังข้อมูลย้อนกลับตามแนวทางของ การติดต่อสื่อสารแบบยุคลวิถี จึงเป็นขั้นของการค้นหาว่า “ปัญหาของเราคืออะไร” เช่น บริษัทผลิตนม Opinion Research Corporation สํารวจความคิดเห็นของประชาชนว่า มีทัศนคติอย่างไรต่อบริษัท หลังจากบริษัทถูกฟ้องข้อหาผูกขาดการผลิตนม เป็นต้น

83 การเลือกใช้สื่อป้ายไวนิลเพื่อให้ข้อมูลประชาชน อยู่ในขั้นตอนใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

84 บริษัท Opinion Research Corporation สํารวจความคิดเห็นของประชาชน หลังบริษัทถูกฟ้องข้อหา ผูกขาดการผลิตนม เหตุการณ์นี้อยู่ในขั้นตอนใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

85 การรับฟังข้อมูลย้อนกลับ เกี่ยวข้องกับกระบวนการข้อใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

ข้อ 86. – 90. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามเกี่ยวกับกระบวนการประชาสัมพันธ์
(1) ขั้นการวิจัย
(2) ขั้นวางแผน
(3) ขั้นปฏิบัติการ
(4) ขั้นประเมินผล

86 “สํารวจตัวเองเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด” ควรอยู่ในขั้นตอนใดของการทําประชาสัมพันธ์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

87 การบริหารภาวะวิกฤติของสายการบิน Nok จะแก้ไขได้ดี เมื่อทําเช่นไร
ตอบ 2 หน้า 133, 144, (คําบรรยาย) แนวความคิดในการวางแผนประชาสัมพันธ์มีอยู่ 2 ระยะ คือ
1 การวางแผนระยะสั้น เหมาะสําหรับแผนงานที่ใช้เวลาไม่นาน (3 – 6 เดือน หรือ 1 ปี) อาจเป็นโครงการพิเศษ หรือโครงการที่ต้องการคําตอบโดยรีบด่วน ได้แก่ การวางแผนงาน ในกรณีเกิดภาวะวิกฤติหรือเกิดอุบัติเหตุและฉุกเฉิน การจัดงานพิธี งานประกวด การแข่งขันกีฬา การชักชวนให้มาสมัครเรียนตามระยะเวลาที่กําหนด ฯลฯ
2 การวางแผนระยะยาว เหมาะสําหรับโครงการที่มีรายละเอียดมากมายหลายขั้นตอน ถือเป็น งานสําคัญยิ่งของสถาบัน เป็นงานที่กว้างขวางและไม่มีที่สิ้นสุด (5 – 10 ปีขึ้นไป) ซึ่งข้อมูล ที่ได้รับจะเป็นแนวทางค้นคว้าและวิเคราะห์สภาพปัญหาของการวางแผนในครั้งต่อ ๆ ไป

88 Boomerang Effect เกิดขึ้นเมื่อวิเคราะห์ปฏิกิริยาผู้ชมภาพยนตร์ อยู่ในขั้นตอนใด
ตอบ 4 หน้า 176, 178 – 179 ขั้นการประเมินผล (Evaluation) มีอยู่ 2 วิธีการ คือ
1. Pre-testing เป็นการวัดผลล่วงหน้าก่อนที่จะดําเนินการตามแผนประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกัน การเกิด “Boomerang Effect” หมายถึง ผลกระทบย้อนกลับที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติการ สื่อสารที่ผิดพลาดหรือล้มเหลว และยังส่งผลต่อเนื่องกลับมาหาผู้ส่งสารในทางที่มีผลเสียหาย หรือมีผลร้ายมากกว่าผลดี
2 Post-testing เป็นการวัดผลภายหลังปฏิบัติการประชาสัมพันธ์ตามแผนไปแล้ว เพื่อปรับปรุง แผนงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

89 การวัดผลหลังปฏิบัติการประชาสัมพันธ์แล้ว อยู่ในขั้นตอนใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

90 George Creet ใช้ทฤษฎีรูปตัว T เพื่อขอความสนับสนุนจากพันธมิตรช่วงสงคราม เกี่ยวข้องกับข้อใด ตอบ 3 หน้า 149, 156 – 158 ขั้นปฏิบัติการ (Action) จะต้องอาศัยกระบวนการติดต่อสื่อสาร (Communication) เป็นหลักสําคัญที่จะนําไปสู่การปฏิบัติการที่ได้รับผลสมบูรณ์ โดยได้ กล่าวถึงทฤษฎีการติดต่อสื่อสารที่สําคัญ ได้แก่

1. ทฤษฎีการติดต่อแบบสองทิศทาง (The Two-step Flow Theory) ซึ่งได้รับความสนใจ มาตั้งแต่สมัยที่ไอวี่ ลี (Ivy Lee) ได้ทําการบุกเบิกวิชาการประชาสัมพันธ์
2. ทฤษฎีรูปตัว T ซึ่งผู้อํานวยการประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลสหรัฐฯ คือ George Creet ได้นํามาใช้ เพื่อขอความร่วมมือสนับสนุนจากประเทศในเครือสัมพันธมิตรในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ฯลฯ

91 เดล คาร์เนกี เสนอขายความคิดด้วยวิธีการชนะมิตรและจูงใจคนไว้อย่างไร
(1) ให้โอกาสคนรักษาหน้า
(2) ทําเท่ากับพูด
(3) พูดดีกว่าทํา
(4) ให้แนวทางเป็นมิตร
ตอบ 1 หน้า 140 – 141 เดล คาร์เนกี ได้เสนอการขายความคิดโดยวิธีชนะมิตรและจูงใจคนไว้ ดังนี้
1 ให้โอกาสเขารักษาหน้า โดยพยายามพูดตะล่อมความคิดให้เข้าจุดที่เราต้องการ เพื่อให้เขารู้สึกว่า ความคิดนั้นเป็นของเขา แต่ถ้าความคิดในการแก้ปัญหานั้นตรงกับสิ่งที่เราคิดเอาไว้ก็ให้รีบยอมรับทันที
2 อ้างความรู้ทางเทคนิคหรือวิชาการ
3 สร้างเครดิตและความเป็นผู้นําให้น่าเชื่อถือ
4 ในกรณีที่ไม่มีเวลาพอและเป็นเรื่องรีบด่วน ให้ใช้วิธีออกคําสั่งเพื่อให้ปฏิบัติตาม

92 ข้อใดเป็น Fact Finding
(1) เข้าห้องสมุดมหาวิทยาลัยรามคําแหงค้นหาข้อมูล
(2) ชุมชนยื่นข้อเสนอให้องค์การ
(3) รายการทีวีสัมภาษณ์ผู้บริหาร
(4) ประชุมผู้ถือหุ้น
ตอบ 1หน้า 110 Fact Finding คือ การรวบรวมข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน โดยจะมีหน่วยงาน ของตนเองที่เรียกว่า Fact File เป็นแหล่งของข้อมูลและหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้รวบรวมไว้เป็น หมวดหมู่ อาจอยู่ในรูปของห้องสมุดขนาดย่อมที่เรียกว่า “ห้องสมุดเฉพาะ หรือห้องสมุดของ องค์การ” ซึ่งมีลักษณะเป็นที่สะสมตํารา เอกสารวิชาการ เอกสารข่าว และข้อมูลอ้างอิงอื่น ๆ ดังนั้นหน่วยงานนี้จึงเป็นเหมือนกับศูนย์กลางของข่าวสารสถาบันที่หน่วยงานอื่น ๆ ในสถาบันสามารถพึ่งพาอาศัยสอบถามได้ตลอดเวลา

93 การเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยที่ทุกคนมีโอกาสเท่ากันที่จะเป็นตัวอย่างในการสอบถามข้อมูล
เรียกอีกอย่างว่าอะไร
(1) Quota Sample
(2) Probability Sample
(3) Non–probability Sample
(4) Area Sample
ตอบ 2 หน้า 120, (คําบรรยาย) Probability Sample หมายถึง การเลือกกลุ่มบุคคลที่จะมาเป็น กลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ซึ่งจะใช้วิธี Random คือ ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน โดยทุกคนมีโอกาส เท่ากันที่จะเป็นตัวอย่างในการสอบถามข้อมูล

94 นักประชาสัมพันธ์ทําหน้าที่อะไรบ้าง
(1) ให้คําปรึกษาผู้บริหาร
(2) วางแผนการสื่อสาร
(3) สร้างความเชื่อถือศรัทธา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 83, 97 – 98, (คําบรรยาย) หน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์โดยตรง คือ เป็นผู้ที่ให้คําปรึกษา แนะนําแก่ผู้บริหาร ผู้ร่วมงาน ตลอดจนสร้างความเข้าใจอันดีและความเชื่อถือศรัทธากับประชาชน ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ยังทําหน้าที่วางแผนประชาสัมพันธ์ สํารวจวิจัย ปฏิบัติการสื่อสาร และประเมินผลงานประชาสัมพันธ์

95 ทําไมต้องวิจัยเพื่อทําประชาสัมพันธ์
(1) เน้นคุณค่าการรับฟังและสื่อสารแบบยุคลวิถี
(2) ส่องกระจกดูตัวเองรู้ปัญหา
(3) ช่วยรายงานข่าวกรองต่อผู้บริหาร
(4) ทุกข้อที่กล่าวข้างต้น
ตอบ 4 หน้า 102 – 109, (คําบรรยาย) สาเหตุที่ต้องมีการวิจัยเพื่อทําประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 การวิจัยโดยวิธีทางสังคมศาสตร์จะให้คําตอบที่สังเกตได้ชัดเจน ผู้คนยอมรับ และเป็น
หลักฐานมั่นคงเชิงประจักษ์
2 การวิจัยทําให้สามารถนําความรู้จากข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรงและถูกต้อง
3 การวิจัยเน้นคุณค่าของการรับฟังและการสื่อสารแบบยุคลวิถี
4 การวิจัยทําให้สถาบันมีโอกาสส่องกระจกดูตัวเองเพื่อให้รู้ปัญหา
5 การวิจัยช่วยรายงานข่าวกรองเสนอต่อผู้บริหารระดับสูง ฯลฯ

96 ข้อใดเป็นวิจัยไม่เป็นทางการเพื่อทํางานประชาสัมพันธ์
(1) วิจัยทางวิทยาศาสตร์
(2) พูดคุยติดต่อขอคําปรึกษากับบุคคลต่างๆ
(3) วิจัยผู้บริโภคติดต่อกันหลายครั้ง
(4) วิเคราะห์เนื้อหาสาระข่าวสารจากสื่อ

ตอบ 2 หน้า 114 – 116, (คําบรรยาย) วิธีการวิจัยอย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้
1 การติดต่อส่วนตัว (Personal Contacts) หรือพูดคุยติดต่อขอคําปรึกษากับบุคคลต่าง ๆ
2 การรวบรวมความคิดเห็นและการแลกเปลี่ยนสนทนากัน (Idea Juries Panels)
3 การวิเคราะห์ทางไปรษณีย์ (Mail Analysis)
4 การเสนอข่าวสารผ่านสื่อมวลชน (Media Reports)
5.การใช้บันทึกการขาย (Sale Record) ฯลฯ

97 ข้อใดเป็นการวางแผนประชาสัมพันธ์ระยะสั้น
(1) รณรงค์ไม่มีคอร์รัปชั่น
(2) ชวนให้แม่บ้านเลิกใช้ถุงพลาสติก
(3) รณรงค์แก้ปัญหาจราจรไม่ขี่ย้อนศร
(4) ชวนให้นักเรียนมาสมัครเรียนรามคําแหง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ

98 ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายของการวางแผนประชาสัมพันธ์เพื่อ “ก่อ” หรือสร้าง
(1) บริษัทปากกามาร์คเกอร์จัดโครงการ Penfriend Prograrn เขียนจดหมายหากัน
(2) ธนาคารโคลัมเบียรับคนผิวดําทํางาน แก้ปัญหาผิวสี
(3) บริษัท G.C. Reitinger รับผิดชอบผู้บาดเจ็บเสียชีวิตจากการระเบิด
(4) บริษัท V.K. แก้ไขรายงานการผลิตรถยนต์ปล่อยควันพิษลดลง
ตอบ 1 หน้า 55, 134, (คําบรรยาย) ความมุ่งหมายของงานประชาสัมพันธ์มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1 เพื่อสร้างความนิยม (Goodwill) คือ การประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่แสดงออกให้ประชาชน เห็นถึงการดําเนินกิจการของสถาบัน เพื่อก่อหรือสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชน กับสถาบัน เช่น บริษัทปากกามาร์คเกอร์จัดโครงการ Penfriend Program เขียนจดหมาย หากัน, การจัดกิจกรรมช่วยเหลือสังคม หรือกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ ฯลฯ
2 เพื่อป้องกันชื่อเสียง (Reputation) คือ การประชาสัมพันธ์เชิงรับที่พยายามขจัดความขัดแย้ง ต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ประชาชน ดังที่ Sam Black ได้กล่าวว่า “การประชาสัมพันธ์ คือ การกระทําเพื่อค้นหาและทําลายเสียซึ่งที่มาของความเข้าใจผิด” เช่น การแถลงข่าวแสดงความเสียใจเมื่อเกิดวิกฤติการณ์ร้ายแรงในองค์การ ฯลฯ

99 การบอกว่าคุ้มค่าเงินหรือไม่ในการประชาสัมพันธ์ คือการยอมรับอะไร
(1) การวางแผน
(2) การติดต่อสื่อสาร
(3) การวิจัย
(4) การประเมิน
ตอบ 4 หน้า 173 – 174 การประเมินผลการวิจัย เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทําประชาสัมพันธ์ โดยเป็นขั้นของการประเมินค่าหรือสรุปผลการดําเนินงานการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ตามแผน การประชาสัมพันธ์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ได้ผลดีหรือมีผลเสียต่อสถาบันอย่างไร และสถาบันได้รับผลตอบแทนคุ้มค่าเงินที่ได้อนุมัติเพื่อโครงการประชาสัมพันธ์หรือไม่

100 Goodwill หมายถึงความมุ่งหมายประชาสัมพันธ์ในข้อใด
(1) ป้องกันชื่อเสียง
(2) สร้างภาพลักษณ์
(3) สร้างความนิยม
(4) เสริมความแข็งแกร่งให้องค์การ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

CDM2402 MCS2150 MCS2100 การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น s/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS2150 (MCS2100) การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 นักประชาสัมพันธ์ต้องใช้ทักษะด้านใดในการสื่อสารที่ดี
(1) การใช้ใบหน้าที่ขาวสะอาด
(2) ใช้ภาษาที่ถูกต้อง
(3) การใช้การเขียน
(4) การใช้การพูด
(5) การใช้ความคิด
ตอบ 2 หน้า 234 – 235, (คําบรรยาย) คุณสมบัติอันจําเป็นของนักประชาสัมพันธ์ด้านความรู้ มีดังนี้
1 มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสื่อมวลชน
2 มีทักษะในการติดต่อสื่อสารที่ดี คือ การใช้ภาษาที่ถูกต้อง เช่น การเขียน การพูด การสนทนา ฯลฯ
3 มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องประชามติ การตลาด เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ
4 มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร เชื่อมั่นและเข้าใจงานประชาสัมพันธ์ ฯลฯ

2 หน้าที่หลักสําคัญของนักประชาสัมพันธ์ คือ
(1) ทักษะการเขียนถูกต้อง
(2) การเขียนข่าวแจก
(3) การเขียนรายงานข่าว
(4) การเผยแพร่บทความวิชาการ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 85 ภาระหน้าที่หลักของนักประชาสัมพันธ์ประการหนึ่ง ได้แก่ การเขียน (Writing) คือ มีทักษะในการเขียนที่ถูกต้อง เช่น การเขียนรายงานข่าว การเขียนข่าวแจก (News Release) เอกสารเผยแพร่บทความทางวิทยุและโทรทัศน์ การปาฐกถา บทภาพยนตร์ของสถาบัน วารสาร หนังสือ การเผยแพร่บทความทางวิชาการและทางเทคนิคอื่น ๆ ฯลฯ

3 การติดต่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกับผู้สื่อข่าว จัดเป็น…….ของนักประชาสัมพันธ์
(1) ภาพลักษณ์
(2) ภาระหน้าที่
(3) ขอบเขตสถาบัน
(4) การสื่อสาร
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2หน้า 85 ภาระหน้าที่หลักของนักประชาสัมพันธ์ประการหนึ่ง ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร (Placement) คือ การติดต่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกับผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ตลอดจนวารสาร อนุสาร หนังสือพิมพ์ฉบับพิเศษ บรรณาธิการข่าวพาณิชย์ และอื่น ๆ เพื่อ ศึกษาถึงนโยบาย ลักษณะการดําเนินงาน จํานวนจําหน่าย ความสนใจ และมวลชนเป้าหมาย ของสื่อมวลชนดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันในการดําเนินงานประชาสัมพันธ์ ให้ได้รับผลอย่างสมบูรณ์

4 การจัดงานเลี้ยงขอบคุณสื่อมวลชน สัมพันธ์กับข้อใด
(1) การติดต่อสื่อมวลชน
(2) การจัดทําข่าว
(3) การส่งเสริมเผยแพร่ในโอกาสพิเศษ
(4) เปิดตัวสื่อมวลชน
(5) การสร้างความสัมพันธ์กับผู้สื่อข่าว
ตอบ 3หน้า 85, 303 – 308 การส่งเสริมเผยแพร่ (Promotion) หมายถึง การจัดงานในกรณีพิเศษ หรือในโอกาสพิเศษเพื่อผลงานประชาสัมพันธ์ หรือเพื่อช่วยส่งเสริมเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของสถาบัน เช่น การจัดเฉลิมฉลองวันครบรอบปี วันสัปดาห์หรือเดือนพิเศษ การเปิดให้ชมกิจการ การจัดแสดงต่าง ๆ นิทรรศการ ปีใหม่ เทศกาล การจัดงานเลี้ยงขอบคุณสื่อมวลชน งานแนะนํา ผลิตภัณฑ์ใหม่ งานประกวดและให้รางวัลผู้มีเกียรติ ตลอดจนงานออกร้านและอื่น

5 Placement ตรงกับความหมายในข้อใด
(1) การติดต่อกับสื่อ
(2) การติดต่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกับผู้สื่อข่าว
(3) การจัดกิจกรรมพิเศษ
(4) ส่งเสริมเผยแพร่กิจกรรม
(5) นโยบายสื่อมวลชน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

6 การโฆษณาสถาบัน มีความหมายตรงกับข้อใด
(1) การสร้างชื่อเสียงให้องค์กร
(2) การสร้างความเชื่อถือศรัทธาให้กับสถาบัน
(3) การเผยแพร่องค์กร
(4) การเผยแพร่ผลงาน
(5) การโฆษณาสถาบัน
ตอบ 2 หน้า 86 การโฆษณาสถาบัน (Institutional Advertising) คือ การสร้างความเชื่อถือศรัทธา และเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณให้กับสถาบัน เช่น การซื้อเวลาของการโฆษณาทางวิทยุและ โทรทัศน์ การซื้อหน้าหนังสือพิมพ์และวารสารเพื่อเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ ซึ่งวิธีการโฆษณา สถาบันและวิธีการโฆษณาเพื่องานประชาสัมพันธ์จะสําเร็จได้นั้น ต้องร่วมมือร่วมใจกันระหว่างแผนกโฆษณาและฝ่ายประชาสัมพันธ์

7 Speaking ตรงกับความหมายข้อใด
(1) การสร้างชื่อเสียงให้องค์กร
(2) การสร้างความเชื่อถือศรัทธาให้กับสถาบัน
(3) การเผยแพร่องค์กร
(4) การเผยแพร่ผลงาน
(5) การโฆษณาสถาบัน
ตอบ 2 หน้า 86, 248 – 250, (คําบรรยาย) ปาฐกถา (Speaking) เป็นการพูดโน้มน้าวใจหรือดึงดูดใจ มวลชนเพื่อสร้างความเชื่อถือศรัทธาให้กับสถาบัน โดยจะอยู่ในความรับผิดชอบของแผนกการพูด ของสถาบันในการปรากฏตัวและกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมชน รวมทั้งการจัดเตรียมสุนทรพจน์ ให้ผู้บริหารและการเผยแพร่สุนทรพจน์ที่สําคัญไปยังสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป

8 องค์ประกอบของการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ ตรงกับข้อใด
(1) การจัดทําแผนงานประชาสัมพันธ์อย่างมีระบบ
(2) การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและกําหนดนโยบาย
(3) การดําเนินการสร้างแรงจูงใจในการประชาสัมพันธ์
(4) การพัฒนาปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 205, (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้
1 การจัดทําแผนงานประชาสัมพันธ์อย่างมีระบบ
2 การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและกําหนดนโยบาย
3 การดําเนินการสื่อสารและสร้างแรงจูงใจในการประชาสัมพันธ์
4 การพัฒนาปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง

9 ผู้ใดเชื่อมั่นว่าชื่อเสียงของสถาบันจะอยู่เคียงข้างกับมวลชนได้ ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของประชาสัมพันธ์โดยตรง
(1) General
(2) Motors
(3) Anthony
(4) Anthony De
(5) Anthony De Lorenzo
ตอบ 5 หน้า 206 Anthony De Lorenzo รองประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์บริษัท General Motors
เชื่อมั่นว่าชื่อเสียงของสถาบันจะอยู่เคียงข้างกับมวลชนได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบ โดยตรงของฝ่ายประชาสัมพันธ์ของสถาบันนั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานประชาสัมพันธ์ จะเป็นฝ่ายที่สร้างรากฐานของความเชื่อถือและไว้วางใจให้กับสถาบัน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของสถาบันในสังคม

10 ข้อใดต่อไปนี้ตรงกับคุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์
(1) มีทักษะในการสื่อสาร เช่น การเขียน การพูด การสนทนา
(2) มีความรู้เรื่องการตลาด เศรษฐกิจ สังคม
(3) มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร
(4) มีความเชื่อมั่นและเข้าใจงานประชาสัมพันธ์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

11 Spoken Words หมายถึง
(1) สื่อที่สําคัญของมนุษย์มีมาแต่กําเนิด
(2) คําพูดเป็นสื่อที่สําคัญในการประชาสัมพันธ์
(3) เครื่องมือสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์
(4) การประชาสัมพันธ์ที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอน 5 หน้า 244 คําพูด (Spoken Words) เป็นสื่อที่สําคัญยิ่งของมนุษย์ซึ่งมีมาแต่กําเนิด และใช้กัน อย่างแพร่หลายมากกว่าสื่อในการประชาสัมพันธ์อื่น ๆ ดังนั้นสื่อคําพูดจึงนับเป็นเครื่องมือ ในการสื่อสารเพื่องานประชาสัมพันธ์ที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง จัดได้ว่าเป็นสื่อพื้นฐานของมนุษย์ ที่ถูกนํามาใช้อย่างกว้างขวางและแพร่หลายมากที่สุด

12 การสื่อสารที่ทําให้คนมาร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติต่อกัน คือ
(1) การจัดกิจกรรมสาธารณะ
(2) การสร้างความนิยม
(3) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
(4) การเสนอความเห็น
(5) การประชุมพบปะกัน
ตอบ 5 หน้า 245 การประชุมพบปะกัน (Meetings) หรือสังสรรค์กัน เป็นวิธีการสื่อสารที่ได้นําผู้คน ให้มาอยู่ร่วมกันเพื่อได้พูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติต่อกัน ดังนั้นจึงเป็นการสื่อสารในลักษณะ สองทิศทางที่ทําให้ผู้พูดและผู้ฟังได้มีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ทําให้ได้รับความรู้อย่างกว้างขวางกว่าเดิม

13 Public Relations Men หรือที่เรียกว่า
(1) นักหนังสือพิมพ์
(2) นักโฆษณา
(3) นักประชาสัมพันธ์
(4) นักข่าว
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 71, 323, (คําบรรยาย) คําว่า “Public Relations Men” หมายถึง นักประชาสัมพันธ์ ซึ่งอาจมีชื่อเรียกได้อีกหลายอย่าง ได้แก่
1 เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ (Public Relations Officer : PR Officer)
2 ที่ปรึกษาการประชาสัมพันธ์ (Public Relations Counselor : PR Counselor)

14 การสร้างความเข้าใจอันดีกับชุมชน ตรงกับการใช้สื่อใด
(1) Radio
(2) Television
(3) Press Relations
(4) Press Agent
(5) Publicity Man
ตอบ 3 หน้า 323 การหนังสือพิมพ์สัมพันธ์ (Press Relations) หรือการสร้างความสัมพันธ์อันดีงาม กับหนังสือพิมพ์ หมายถึง วิธีการประชาสัมพันธ์ที่มุ่งสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในวงการหนังสือพิมพ์ และสื่อสารมวลชน เพื่อให้การเสนอข่าวและเนื้อหาของหนังสือพิมพ์และสื่อสารมวลชนนั้นเป็นประโยชน์แก่การสร้างความเข้าใจอันดีกับชุมชน

15 การเข้าถึงสื่อสิ่งพิมพ์ต้องศึกษาอะไรในข้อต่อไปนี้
(1) นโยบายและความต้องการของหนังสือพิมพ์แต่ละชนิด
(2) การดําเนินงานของหนังสือพิมพ์
(3) รวบรวมข้อมูล
(4) ผลกระทบของสื่อ
(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 327 – 328 ในการเข้าถึงสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ นักประชาสัมพันธ์จะต้องศึกษาถึง นโยบายและความต้องการของหนังสือพิมพ์แต่ละชนิดว่าเน้นหนักไปในแนวทางใด เพราะ หนังสือพิมพ์แต่ละชนิดจะมีจุดมุ่งหมายในการดําเนินงานและฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกันนักประชาสัมพันธ์จึงต้องศึกษาข้อมูลดังกล่าวอย่างละเอียด เพื่อเป็นแนวทางในการเข้าถึง ประชาชนเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อ 16. – 28. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) เทพีแห่งสันติภาพ
(2) การย้ำข่าวสารข้อมูล
(3) การประชาสัมพันธ์
(4) Two-way Street Concept
(5) ข่าวประชาสัมพันธ์/ประชาสัมพันธ์กรณีฉุกเฉิน ใบแทรกเอกสารข่าว/บรรณาธิการเอกสารประชาสัมพันธ์

16 …….การนําเสนอข่าวโดยไม่มีการปิดกั้นข้อมูล
ตอบ 5 หน้า 54, 67, 329 – 331 ข่าวประชาสัมพันธ์หรือเอกสารข่าวแจก (News Releases or Press Releases) เป็นการนําเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของสถาบันโดยยึดหลักความจริง ไม่ปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร และต้องคํานึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นจุดมุ่งหมายที่สําคัญไม่ควรคิดแต่ผลกําไรของสถาบันแต่เพียงอย่างเดียว เพราะถ้าหากขาดความเชื่อถือศรัทธาจากประชาชนแล้ว สถาบันก็ไม่สามารถยืนหยัดอยู่ในสังคมได้

17…….. บทบาทภาระหน้าที่ในการตัดสินใจเสนอข้อมูล
ตอบ 5 หน้า 276 – 277, (คําบรรยาย) กองบรรณาธิการของเอกสารประชาสัมพันธ์ ถือเป็นหัวใจสําคัญ ที่ช่วยเป็นหลักในการดําเนินงานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารขององค์กรให้เป็นไปด้วยดี ดังนั้นหน้าที่และตําแหน่งบรรณาธิการจึงเปรียบเสมือนนักประชาสัมพันธ์ระดับสูง ซึ่งมีบทบาทภาระหน้าที่หลายฝ่ายตั้งแต่วางแผนประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ตัดสินใจเสนอข้อมูลและจัดทําเอกสารประชาสัมพันธ์ ไปจนถึงการให้คําปรึกษาแนะนํากับฝ่ายบริหาร

18 ……..การย้ำเตือนผู้รับสารในการยอมรับข่าวสาร
ตอบ 2 หน้า 154 การย้ําข่าวสารข้อมูล (Repetition of Message) คือ การติดต่อสื่อสารในกรณีที่ ผู้รับฟังได้ยินไม่ชัดเจนหรือขาดการติดต่อกันไป หรือต้องการย้ําเพื่อความแน่ใจว่าข่าวสารนั้น ถึงเป้าหมายแน่นอนหรือไม่ โดยในบางครั้งจะใช้ในกรณีเตือนความจําผู้รับสารให้มั่นใจ เชื่อถือ และยอมรับในข่าวสารจนนําไปปฏิบัติการในที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่มักจะนําไปใช้ในการโฆษณาสินค้า

19……. การโฆษณาสินค้ามีความจําเป็นต้องใช้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

20……. การพูดคุยโดยตรงกับประชาชนชาวอเมริกันของประธานาธิบดีแฟรงกินส์ รูสเวลส์
ตอบ 4 หน้า 106 ผลสําเร็จอันยิ่งใหญ่ของประธานาธิบดีแฟรงกินส์ รูสเวลส์ ในการวิจัยทัศนคติของ ชาวอเมริกัน คือ การเปิดรับฟังความคิดเห็นโดยการติดต่อสื่อสารกับประชาชนผ่านสื่อมวลชน เช่น การแสดงประชามติ และการได้พูดคุยโดยตรงกับประชาชนชาวอเมริกัน ดังนั้นวิธีการวิจัย ที่มีประสิทธิภาพก็คือ การสื่อสารแบบสองทิศทาง (The Two-way Street Concept) หรือ การรับฟังข้อมูลย้อนกลับตามแนวทางการติดต่อสื่อสารแบบยุคลวิถี

21 ……..มีเอกลักษณ์ในการประชาสัมพันธ์
ตอบ 1 หน้า 168 – 169 สัญลักษณ์ของสถาบันเป็นสิ่งสําคัญที่ใช้แทนภาษาได้อย่างดียิ่ง เมื่อผู้ใดเห็น ย่อมเข้าใจอย่างลึกซึ้ง โดยควรมีลักษณะที่สําคัญ คือ ควรอยู่ในความทรงจําของคนทั่วไปให้นานที่สุด เป็นสัญลักษณ์ที่ง่ายแก่การจดจํา เหมาะสมกับสถานการณ์ และมีเอกลักษณ์ในการประชาสัมพันธ์ ให้เห็นเด่นชัด เช่น อนุสาวรีย์เทพีแห่งสันติภาพที่นิวยอร์ก เป็นต้น

22 ……..การรับฟังข้อมูลในแนวทางแบบยุคลวิถี
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

23 ……..สัญลักษณ์ที่ง่ายต่อการจดจํา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

24 ………Repetition of Message
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

25 …….แข่งขันกันด้วยความคิดและการวางแผน
ตอบ 3หน้า 12, 54 – 55, (คําบรรยาย) การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) เป็นงานที่ต้องแข่งขันกัน ด้วยความคิด มีการวางแผนงานและการกระทําที่ต่อเนื่องกันไป รวมทั้งมีการประเมินผล เช่นเดียวกับงานระดับบริหารอื่น ๆ โดยเป้าหมายของการวางแผนงานประชาสัมพันธ์ คือ ต้องการ สร้างและรักษาความเข้าใจอันดีระหว่างสถาบันกับประชาชน ซึ่งการที่จะบรรลุเป้าหมายได้นั้น ต้องอาศัยเวลาดําเนินงานเป็นขั้น ๆ ไปให้ต่อเนื่องกัน

26 ………การจัดแถลงข่าวสื่อมวลชน
ตอบ 5 หน้า 144 – 146 การวางแผนประชาสัมพันธ์ในกรณีอุบัติเหตุและฉุกเฉินของบริษัท G.C. Reitinger มีดังนี้
1 ส่งเจ้าหน้าที่มายังที่เกิดเหตุภายใน 7 ชม. หลังจากเกิดอุบัติเหตุ
2 จัดแถลงข่าวผ่านสื่อมวลชน
3 ส่งคณะกรรมการของบริษัทไปเยี่ยมครอบครัว
4 ให้เงินช่วยเหลือตามความจําเป็นของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ
5 จดหมายฉบับพิเศษเขียนด้วยลายมือประธานบริษัท ส่งไปถึงครอบครัวของผู้เสียชีวิต ฯลฯ

27………นักประชาสัมพันธ์นําไปใช้ในการรณรงค์ทางการเมือง
ตอบ 5 หน้า 284 ใบแทรกและเอกสารข่าว มักถูกสอดมาในหนังสือพิมพ์หรือใบเสร็จต่าง ๆ และจะใช้
เมื่อบริษัทต้องการเผยแพร่นโยบายหรือเกิดปัญหาสําคัญที่จะมีผลกระทบกระเทือนต่อการ ดําเนินงานขององค์กร หรือในบางครั้งก็อาจจะเป็นการโฆษณาสถาบัน เช่น แจกรูปบุคคลสําคัญ รูปภาพฉลองวันพิเศษขององค์กร ฯลฯ ซึ่งมีข้อดีคือ ราคาถูก น้ําหนักเบา ประหยัดค่าไปรษณีย์ และมักถูกนํามาใช้ในกิจกรรมขององค์กรสาธารณประโยชน์ การรณรงค์ทางการเมืองและสังคม

28 ………ดําเนินงานการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสาร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ

29 ข้อใดตรงกับคุณสมบัติที่ดีของนักประชาสัมพันธ์
(1) กระตือรือร้น
(2) ซื่อสัตย์
(3) ยิ้มเสมอเมื่อให้บริการ
(4) มั่นใจในตนเอง
(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 228 – 230 Cutlip and Center ได้กล่าวถึงคุณสมบัติที่ดีของนักประชาสัมพันธ์ไว้ดังนี้
1 ควรมีบุคลิกที่ดี ซึ่งสิ่งสําคัญก็คือควรมีความเชื่อมั่นหรือมั่นใจในตนเอง ยิ้มแย้มแจ่มใสเสมอ เมื่อให้บริการ 2 อุปนิสัยดี ควรมีจริยธรรมในใจ เป็นคนดี ซื่อสัตย์ ยุติธรรม อดทน
3 มีความเฉลียวฉลาด กระตือรือร้น
4 มีการศึกษาและประสบการณ์
5 มีความสามารถในการบริหารงานยินดีบริการและช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ

30 ข้อใดคือข่าวประชาสัมพันธ์ที่เกิดฉุกเฉิน
(1) รัฐบาลมาเลเซียให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหว
(2) นักเขียนจีรนันท์ พิตรปรีชา บริจาคหนังสือ
(3) น้ำดื่มสิงห์จัดการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย
(4) นิสสันจัดแข่งรถการกุศล
(5) โตโยต้าบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือคนพิการ
ตอบ 1 หน้า 144, 267 ลักษณะพิเศษของข่าวประชาสัมพันธ์แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1 ข่าวที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน หรือไม่ได้คาดหวังว่าจะเกิดขึ้น มักเป็นข่าวในกรณี อุบัติเหตุและฉุกเฉิน ซึ่งจะปรากฏขึ้นอย่างฉับพลันหรือไม่คาดคิด เช่น เกิดระเบิด น้ําท่วม แผ่นดินไหว พายุรุนแรง ไฟไหม้ และภัยพิบัติต่าง ๆ ฯลฯ
2 ข่าวที่ได้เตรียมการดําเนินงานไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะถูกนํามาเขียนเป็นข่าวประชาสัมพันธ์บ่อยมาก เช่น ข่าวการจัดประชุม ข่าวการบริจาคเงินหรือแจกทุน ข่าวกิจกรรมพิเศษของสถาบัน ฯลฯ

ข้อ 31. – 42. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายนอกองค์กร
(2) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายใน
(3) ภาพข่าวประชาสัมพันธ์
(4) Press Kits
(5) Press Party/Two-way Process/Two Step Flow of Communication/ข่าวรามคําแหง

31 ……นักประชาสัมพันธ์มืออาชีพ กล่าวไว้ว่า
“จงออกไปฟังเสียงประชาชน มิใช่คอยจนมีเสียงจากประชาชนเข้ามาต่อว่าเรา”
ตอบ 5 หน้า 8, 53, 68, 71, (คําบรรยาย) การประชาสัมพันธ์เป็นกระบวนการแบบสองทิศทางหรือ ระบบยุคลวิถี (Two-way Process) คือ วิธีการสื่อสารจากองค์กรไปสู่กลุ่มประชาชน และ ในขณะเดียวกันก็ฟังเสียงสะท้อนกลับของประชาชนมาสู่องค์กรด้วย ดังนั้นวิธีการประชาสัมพันธ์แบบ Two-way Process จึงมุ่งหวังที่จะสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่องค์กรและประชาชนทั้งสองฝ่าย โดยวิธีติดตามผลหรือตรวจสอบกระแสประชามติ ดังที่นักประชาสัมพันธ์มืออาชีพ กล่าวไว้ว่า “จงออกไปฟังเสียงประชาชน มิใช่คอยจนมีเสียงจากประชาชนเข้ามาต่อว่าเรา”

32 ……..ผู้นํากลุ่มเป็นผู้ส่งสารและผู้รับสารในขณะเดียวกัน
ตอบ 5 หน้า 158 – 159 ทฤษฎีการติดต่อสองทิศทางในรูปของ Two Step Flow of Communication ที่นํามาใช้ได้ผลดี คือ
1 ผู้นํากลุ่มหรือผู้นําทางความคิด (Opinion Leaders) เช่น ผู้นําความคิด ทางการเมือง เศรษฐกิจ ผู้นําทางศาสนา ฯลฯ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของประชาชน
2 ผู้นํากลุ่มปฏิบัติการอย่างแข็งขัน เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารในขณะเดียวกัน
3 การสื่อสารในรูปของปากต่อปาก เป็นข่าวสารที่สมาชิกในกลุ่มได้แลกเปลี่ยนทัศนคติและ ได้ตัดสินใจร่วมกันที่จะปฏิบัติตามมติของมวลสมาชิก

33 ……..การสื่อสารจากองค์กรไปสู่กลุ่มประชาชนโดยฟังเสียงสะท้อนกลับ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

34 ……..มุ่งหวังที่จะสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่องค์กรและประชาชนทั้งสองฝ่ายโดยวิธีติดตามผล
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

35 ………หลวงพ่อคูณที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของประชาชน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

36 ……….งานแสดงสินค้า OTOP ทุกภาคของประเทศไทย ผู้เข้าชมต่างยกนิ้วให้ว่ามีคุณภาพมาก ๆ
ตอบ 1หน้า 52, (คําบรรยาย) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายนอกองค์กร คือ กิจกรรมที่สร้าง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันกับกลุ่มมวลชนภายนอกองค์กร ได้แก่
1 ออกหนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ เพื่อเผยแพร่ภายนอก
2 จัดประชุมผู้สื่อข่าว
3 จัดงานพิเศษ งานแข่งขันกีฬา นิทรรศการ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับมวลชนภายนอกองค์กร
4 บริการให้ประชาชนเข้าชมหน่วยงาน
5 ถ่ายภาพ สไลด์ ทําภาพโปสเตอร์ และจัดทําภาพยนตร์ออกเผยแพร่ ฯลฯ

37 ……….การเผยแพร่ข่าวที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงอาหารกลางวัน และเดินรับประทานอาหารเพื่อสร้าง
ความคุ้นเคยในโอกาสต่อ ๆ ไป
ตอบ 5 หน้า 337 การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลในวงการหนังสือพิมพ์ ถือเป็นหัวใจสําคัญของ การหนังสือพิมพ์สัมพันธ์ โดยนักประชาสัมพันธ์จะมีหน้าที่คอยประสานงาน ได้แก่ จัด Press Party หรือเข้าสังคมพบปะผู้คนอยู่เสมอ เช่น จัดงานเลี้ยงอาหารกลางวัน จัดงานเลี้ยงอาหารค่ําหรือ น้ำชาในบางโอกาส ฯลฯ เพื่อสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกันในโอกาสต่อ ๆ ไป และทําให้ได้ รู้จักบุคคลในวงการสื่อมวลชนมากยิ่งขึ้น

38 ………วิธีนี้ไม่ใช่การส่งข่าวหรือการแจกข่าว แต่เป็นการกําหนดมุมของข่าวให้สื่อ
ตอบ 4 หน้า 332, (คําบรรยาย) การจัดทําสมุดคู่มือหรือเอกสารแจกผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ (Press Kits) เป็นสําเนารายละเอียดของข่าว ข้อมูลเพิ่มเติมประกอบข่าวแจกที่นักหนังสือพิมพ์ได้รับ เช่น รูปภาพประกอบข่าว สําเนาข่าวแจกที่นักข่าวอาจจะจดรายละเอียดไม่ทัน แผนภูมิ สถิติ ประวัติบุคคล ฯลฯ ดังนั้นสมุดคู่มือจึงไม่ใช่การส่งข่าวหรือการแจกข่าว แต่เป็นการกําหนดมุม ของข่าวให้สื่อ เพื่อช่วยให้นักข่าวเขียนข่าวได้รวดเร็วและง่ายขึ้น ข่าวของสถาบันจึงมีความสมบูรณ์ แม่นยํา ไม่ผิดพลาด

39 ……….ภาพข่าวประชาสัมพันธ์ไม่ควรมีขนาดเล็กกว่าขนาดโปสเตอร์
ตอบ 3 หน้า 332 ภาพข่าวประชาสัมพันธ์ไม่ควรมีขนาดเล็กกว่าขนาดโปสเตอร์และควรเป็นแบบขัดมัน โดยต้องมีลักษณะจูงใจให้ผู้อ่านสนใจ มีสีสันสะดุดตา ชัดเจน มีเนื้อหาแสดงให้ผู้ชม-ผู้อ่านเกิด ความเข้าใจและรู้เรื่องได้ดี นอกจากนี้ควรมีคําอธิบายภาพให้ถูกต้องตามหลักวิชาการหนังสือพิมพ์ คือ รูปของใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร

40 ……….ถ้าสิ่งที่เราส่งไปเป็นสิ่งใหม่ไม่เคยมีมาก่อน เราก็มีโอกาสได้รับการตีพิมพ์
ตอบ 5 หน้า 268, 274 – 275, (คําบรรยาย) ข่าวรามคําแหง เป็นเอกสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน เพื่อใช้เผยแพร่ข่าวสารของมหาวิทยาลัยให้ผู้สนใจทั้งภายใน และภายนอกสถาบันได้รับรู้ โดยข่าวของสถาบันที่เผยแพร่นั้นควรเป็นข่าวใหม่ทันต่อเหตุการณ์ เป็นข่าวสด และถ้าหากข่าวนั้นเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ก็ยิ่งมีโอกาสได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่

41 ……..ประกาศของมหาวิทยาลัยรามคําแหงให้อาจารย์ ข้าราชการทุกคณะ ร่วมมือกันออกกําลังกาย
ช่วงเวลาเย็น อาทิตย์ละครั้ง
ตอบ 2 หน้า 50, (คําบรรยาย) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร คือ กิจกรรมที่สร้าง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันกับกลุ่มมวลชนภายในองค์กร ได้แก่
1. กําหนดแผนงานประชาสัมพันธ์
3. ตั้งแผงปิดประกาศ
2. ตั้งที่ติดต่อสอบถาม (Information)
4. ออกวารสารข่าวภายใน เช่น แผ่นปลิวประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
5. จัดงานพิเศษที่เกี่ยวข้องกับมวลชนภายในองค์กร
6. ให้หยุดพักผ่อน ให้ประกันสุขภาพ หรือให้ทุนการศึกษาแก่บุตรของพนักงาน

42 ………เอกสารแจกผู้สื่อข่าว
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

43 การรับฟังข้อมูลย้อนกลับตามแนวทางการสื่อสารแบบแฟรงกินส์ รูสเวลส์
(1) จดหมายข่าว
(2) ยุคลวิถี
(3) พื้นที่โฆษณา
(4) พูดโน้มน้าวใจ
(5) สื่อสารตรงไปตรงมา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

44 การวางแผนชนิดใดที่เหมาะสมที่สุดกับการเผยแพร่งานศิลปวัฒนธรรม
(1) การกําหนดภาพลักษณ์ประชาสัมพันธ์
(2) การทําแผนงานประชาสัมพันธ์
(3) การกําหนดสื่อ
(4) การเผยแพร่รูปภาพ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 129 – 130, (คําบรรยาย) หัวใจของการวางแผนงานประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 กําหนดจุดมุ่งหมายในการทําแผนงานประชาสัมพันธ์
2 กําหนดกลุ่มประชาชนเป้าหมาย
3 กําหนดหัวข้อประชาสัมพันธ์เป็นคําพูดที่กินใจ หรือกําหนดเป็นภาพลักษณ์ประชาสัมพันธ์
4 กําหนดจังหวะ หรือช่วงเวลาให้เหมาะสม
5 กําหนดสื่อ เช่น การเผยแพร่รูปภาพในสื่อสิ่งพิมพ์ หรือการใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ
6 กําหนดงบประมาณ

45 สื่อการประชาสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมในสมัยสุโขทัย ตรงกับข้อใด
(1) วรรณคดีสรรเสริญพระมหากษัตริย์
(2) เพลงกล่อมเด็ก
(3) ผูกใบลาน
(4) จารลงบนดินเหนียว
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 77 สื่อการประชาสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมในสมัยสุโขทัย ได้แก่ งานก่อสร้างสถานที่สําคัญ
ทางศาสนา ปราสาทราชวัง การจัดระเบียบการปกครอง การสร้างวรรณคดีทางศาสนา การประชุมราษฎร การสร้างนิยายปรัมปราเพื่อสรรเสริญคุณความดีและความสามารถของ ผู้เป็นประมุข ซึ่งตัวอย่างที่สําคัญก็คือ หลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคําแหง

46 การประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อใด
(1) ชุมชนบริเวณลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยา
(2) อาณาจักรล้านนา
(3) ภาพเขียนในถ้ำ
(4) กําเนิดชนชาติไทย
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 58, 76 – 77 ประวัติความเป็นมาของงานประชาสัมพันธ์มีมาพร้อมกับมนุษย์ ดังนั้น การประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยจึงเกิดขึ้นมาพร้อมกับการกําเนิดของชนชาติไทย โดยสื่อ ประชาสัมพันธ์ของไทยในสมัยดั้งเดิม ได้แก่ การใช้คําพูดปลุกใจ การประชุมป่าวร้อง การใช้ เพลงปลุกใจและสรรเสริญวีรกรรมของบรรพบุรุษ และการสร้างนิยายที่แสดงถึงชาติกําเนิด ของชนชาติไทย ฯลฯ

47 งานเฉลิมฉลองสินค้า OTOP มหากุศลแด่มหาราชินี เป็นกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในข้อใด
(1) Promotion
(2) Press Relations
(3) Press
(4) Advertising
(5) Production
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

48 การส่งเสริมเผยแพร่ (Promotion) หมายถึงอะไร
(1) การจัดงานในกรณีพิเศษ
(2) การส่งเสริมเผยแพร่ชื่อเสียงของสถาบัน
(3) การจัดเฉลิมฉลองวันครบรอบปี
(4) การจัดนิทรรศการวันแห่งบิดากฎหมาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

49 ข้อใดคือเครื่องมือในการค้นหาคําตอบของแผนกติดต่อสอบถามคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) โทรทัศน์ ภาพ
(2) ข่าวแจก
(3) การจัดงานพิเศษ
(4) แฟ้มระเบียบ คําสั่ง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 96 เครื่องมือในการค้นหาคําตอบของแผนกติดต่อสอบถามที่เป็นหน่วยงานใหญ่
ควรมีการจัดทําบัตรค้นหรือแฟ้มคู่มือค้นหาคําตอบของเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ แฟ้มรายชื่อราชการ เรียงตามตัวอักษร พร้อมหน่วยงาน บ้านที่อยู่ เลขหมายโทรศัพท์ติดต่อภายในและภายนอก, แฟ้มหน้าที่ส่วนราชการภายใน, แฟ้มระเบียบ คําสั่ง ประกาศ นอกจากนี้ควรมีเครื่องมือ ติดต่อสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ เพื่อใช้ติดต่อทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน

50 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่กรรมวิธีการวางแผนการประชาสัมพันธ์
(1) ผู้วิจัยค้นคว้าและรับฟัง
(2) ผู้วางแผนและตัดสินใจ
(3) ผู้นําเสนอประชามติ
(4) ผู้ประเมินผล
(5) เป็นผู้ติดต่อสื่อสาร
ตอบ 3 หน้า 99 กรรมวิธีของการวางแผนงานประชาสัมพันธ์ เพื่อดําเนินโครงการให้ได้รับผลสําเร็จ มีหลักพื้นฐานอยู่ 4 ขั้นตอน คือ
1 เป็นผู้วิจัยค้นคว้าและรับฟัง (Research Listening)
2 เป็นผู้วางแผนและตัดสินใจ (Planning Decision Making) หรือผู้ให้คําปรึกษาแนะนํา (Counselor)
3 เป็นผู้ติดต่อสื่อสาร (Communication)
4 เป็นผู้ประเมินผล (Evaluation)

51 นิยามของ “การประชาสัมพันธ์” ข้อใดถูกที่สุด
(1) การสร้างความเข้าใจอันดีกับสาธารณะ
(2) การสร้างค่านิยมที่ดีแก่สาธารณะ
(3) การสร้างภาพพจน์ที่ดีแก่มวลชน
(4) สิ่งที่องค์กรจะต้องดําเนินการตามข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 4(เอกสารบทที่ 1) นิยามหรือคําจํากัดความของ “การประชาสัมพันธ์” เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างองค์กรกับสาธารณะ ซึ่งอาจเป็นองค์กร คนหรือกลุ่มคน หน่วยงานทั้งภายในหรือภายนอก องค์กร เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดี (Good Image) ค่านิยมที่ดี (Good Will) และความเข้าใจอันดี (Good Understand) กับสาธารณะหรือมวลชน

52 การประชาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) คน
(2) กลุ่มคน
(3) องค์กร
(4) หน่วยงานภายใน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

53 วลีในข้อใดเกี่ยวข้องกับคําจํากัดความของการประชาสัมพันธ์
(1) Good Image
(2) Good Will
(3) Good Understand
(4) Good Job
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

54 “การประชาสัมพันธ์” ตามภาษาชาวบ้าน ตรงกับข้อใด
(1) พูดไม่หมด
(2) พูดแต่สิ่งดี ๆ
(3) พูดแต่ความถูกต้อง
(4) พูดทุกอย่าง
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) คําว่า “การประชาสัมพันธ์” ตามภาษาชาวบ้าน หมายถึง การพูดไม่หมด โดยให้พูดแต่สิ่งดี ๆ และพูดแต่ความถูกต้อง ส่วนการประชาสัมพันธ์ตามจิตวิทยาความมั่นคง หมายถึง การพูดตามสถานการณ์ เพื่อให้สังคมหรือประเทศสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

55 “การประชาสัมพันธ์” ตามแนวความมั่นคง ตรงกับข้อใด
(1) พูดไม่หมด
(2) พูดแต่สิ่งดี ๆ
(3) พูดตามสถานการณ์
(4) พูดทุกอย่าง
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

56 ความรับผิดชอบงาน “การประชาสัมพันธ์” ตรงกับข้อใด
(1) วิเคราะห์แนวโน้ม
(2) พยากรณ์ผลกระทบ
(3) ให้บริการสาธารณะ
(4) แนะนําผู้บริหาร
(5) ถูกทั้งหมดข้างต้น
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 1), (คําบรรยาย) ความรับผิดชอบและหน้าที่ของการประชาสัมพันธ์นั้น เป็นการวิเคราะห์แนวโน้ม การพยากรณ์ผลกระทบ การแนะนําให้คําปรึกษาผู้บริหารหรือ ฝ่ายบริหาร การปฏิบัติตามแผนหรือนําแผนกลยุทธ์มาดําเนินการ การบริการผลประโยชน์และ ให้บริการสาธารณะ ดังนั้นหน้าที่งานการประชาสัมพันธ์จึงเกี่ยวข้องกับการควบคุมมวลประชา หรือชี้นําประชาชนไปในทางที่ต้องการ เพื่อให้ได้รับผลสัมฤทธิ์ทั้งองค์กรและสาธารณะ

57 หน้าที่งาน “การประชาสัมพันธ์” ตรงกับข้อใด
(1) การควบคุมมวลประชา
(2) การชี้นําประชาชนไปในทางที่ต้องการ
(3) ทําให้ได้รับผลสัมฤทธิ์ทั้งองค์กรและสาธารณะ
(4) ถูกทั้ง 3 ข้อข้างต้น
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้องชัดเจน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ

58 “การประชาสัมพันธ์” ต้องการสิ่งใด
(1) ภาพพจน์องค์กรที่ดี
(2) ความรู้สึกที่ดีต่อองค์กร
(3) สื่อกล่าวถึงองค์กรในทางที่ดี
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 รวมกันถูกที่สุด
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 1), (คําบรรยาย) การประชาสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดี (Good Image) ความรู้สึกที่ดี (Good Will) ความเข้าใจอันดี (Good Understanding) และ ให้สื่อกล่าวถึงองค์กรในทางที่ดีหรือทางบวก (Good Mentioned by Media)

59 วัตถุประสงค์ของ “การประชาสัมพันธ์” สอดคล้องกับข้อใด
(1) Good Will
(2) Good Image
(3) Good Mentioned by Media
(4) Good Understanding
(5) ถูกทั้งหมดข้างต้นรวมกัน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

60 องค์ประกอบของ “การประชาสัมพันธ์” ตรงกับข้อใด
(1) Understanding News
(2) PR Writing
(3) Media Relation
(4) External Relation
(5) ถูกทั้งหมดข้างต้นรวมกัน
(เอกสารบทที่ 1) องค์ประกอบของการประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย
1 ความเข้าใจในข่าวหรือกระบวนการข่าว (Understanding News)
2 การเขียนเพื่องานการประชาสัมพันธ์ (PR Writing)
3 สื่อมวลชนสัมพันธ์ (Media Relation)
4 ความสัมพันธ์ภายนอก (External Relation)
5 สื่อใหม่ (New Media) หรือไม่ใช่สื่อดั้งเดิม

61 หน้าที่ของ “การประชาสัมพันธ์” ข้อใดถูกที่สุด
(1) พยากรณ์ผลกระทบ
(2) ให้คําปรึกษาผู้บริหาร
(3) นําแผนกลยุทธ์มาปฏิบัติ
(4) บริการผลประโยชน์แก่สาธารณะ
(5) ถูกทั้งหมดข้างต้นรวมกัน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ

62 นักประชาสัมพันธ์ควรมีคุณสมบัติตามข้อใด
(1) มีความสามารถในการสื่อสาร
(2) มีความสามารถในการจัดระเบียบ
(3) มีความสามารถเข้ากับผู้คนได้
(4) มีภาพลักษณ์ที่ดี
(5) ถูกทั้งหมดข้างต้นรวมกัน
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 1) คุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1. มีความสามารถในการสื่อสาร
2. มีความสามารถในการจัดระเบียบ
3. มีความสามารถในการเข้ากับคนหรือกลุ่มคน
4. เป็นผู้มีความเพียบพร้อมหรือสมบูรณ์ในตน
5. เป็นผู้ที่มีภาพพจน์หรือภาพลักษณ์ที่ดี
6. มีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา หรือใส่ใจศึกษาเรียนรู้อยู่เป็นนิตย์

63 ความพร้อมความสมบูรณ์ มีความตั้งใจเรียนรู้ตลอดเวลา หรือใส่ใจเรียนรู้อยู่เป็นนิตย์ สอดคล้องกับข้อใด
(1) ผู้อํานวยการ
(2) ผู้จัดการ
(3) นักประชาสัมพันธ์
(4) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ
(5) ถูกทั้งหมดข้างต้นรวมกัน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

64 ทําไมต้องให้ความรู้ (Knowledge) กับประชาชนเป้าหมาย
(1) การต่อต้าน
(2) ความอคติ
(3) ความเฉยเมย
(4) ความไม่รู้
(5) ถูกทั้งหมดข้างต้นรวมกัน
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 1) เหตุผลที่การประชาสัมพันธ์ต้องให้ความรู้ (Knowledge) คือ ความอคติ ความเฉยเมยหรือไม่แยแส ความไม่รู้หรือความเขลา และการต่อต้านของประชาชนเป้าหมาย ส่วนการสร้างความเข้าใจ (Understanding) ในการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดความสนใจ การยอมรับ ความเป็นพวกหรือเห็นอกเห็นใจ และการใส่ใจของสาธารณชนหรือกลุ่มเป้าหมาย

65 ทําไมต้องสร้างความเข้าใจ (Understanding)
(1) ความสนใจ
(2) การยอมรับ
(3) ความเป็นพวก
(4) การใส่ใจ
(5) ถูกทั้งหมดข้างต้นรวมกัน

66 บทบาท “นักประชาสัมพันธ์” สอดคล้องกับข้อใด
(1) เป็นเจ้าหน้าที่
(2) เป็นนักแก้ไขปัญหา
(3) เป็นผู้ผลิตและเผยแพร่จดหมายข่าว
(4) ถูกทั้ง 3 ข้อข้างต้น
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 64. ประกอบ
ตอบ 4 (เอกสารบทที่ 1), (คําบรรยาย) บทบาทการประชาสัมพันธ์ คือ สามารถสร้างภาพพจน์ สร้างความตระหนัก ให้ความรู้ความเข้าใจ สร้างความศรัทธาและความน่าเชื่อถือ ยกระดับ ความเข้าใจ เปลี่ยนพฤติกรรม และจัดการผู้นําความคิดให้เป็นพวกเดียวกัน ดังนั้นบทบาทของ นักประชาสัมพันธ์จึงอยู่ในตําแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ให้คําปรึกษาแนะนํา ควบคุมการปฏิบัติการตามแผน เป็นนักแก้ไขปัญหา ตลอดจนเป็นผู้ผลิตและเผยแพร่จดหมายข่าว

67 ทฤษฎีการประชาสัมพันธ์ที่น่าสนใจ คือ
(1) ทฤษฎีเชิงการโน้มน้าว
(2) ทฤษฎีเชิงการจูงใจ
(3) ทฤษฎีเชิงพฤติกรรม
(4) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทฤษฎีการประชาสัมพันธ์ (PR Theory) เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ กับมวลชน (The Management of Population) โดยทฤษฎีการประชาสัมพันธ์ที่น่าสนใจ และเกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่
1 ทฤษฎีเชิงการโน้มน้าว (Persuade)
2 ทฤษฎีเชิงการจูงใจ (Motivation)
3 ทฤษฎีเชิงพฤติกรรม (Behaviour)

68 ทฤษฎีเชิงการโน้มน้าวจูงใจและพฤติกรรม มีสาระสําคัญสอดคล้องกับข้อใด
(1) การเรียนรู้สังคม
(2) การแลกเปลี่ยน
(3) ความคิดเห็น
(4) ทัศนคติและความเชื่อ
(5) ถูกทั้งหมดที่กล่าวข้างต้นรวมกัน
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 2) ทฤษฎีเชิงการโน้มน้าวจูงใจและพฤติกรรม มีทฤษฎีสําคัญที่ควรศึกษา ได้แก่
1. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
2. ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน
3. ทฤษฎีความคิดเห็น ทัศนคติ และความเชื่อศรัทธา
4. ทฤษฎีการเผยแพร่

69 ทฤษฎีการประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงมากที่สุด คือข้อใด
(1) การสื่อสาร
(2) การโน้มน้าว
(3) การชี้ชวน
(4) แลกเปลี่ยน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ

70 แบบจําลองเชิงการเผยแพร่ข่าวสาร มีสาระสําคัญสอดคล้องกับข้อใด
(1) มุ่งเน้นเผยแพร่ข้อมูลองค์กร
(2) เผยแพร่ข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์
(3) เผยแพร่ข้อมูลด้านบริการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 (เอกสารบทที่ 2), (คําบรรยาย) แบบจําลองเชิงการเผยแพร่ข่าวสาร มีสาระสําคัญคือ เป็นลักษณะเชิงโฆษณาชวนเชื่อ โดยมุ่งเน้นเผยแพร่ข้อมูลองค์กรในลักษณะการสื่อสารทางเดียว จากแหล่งสารไปยังผู้รับสาร

71 แบบจําลองเชิงการประชาสนเทศ มีสาระสําคัญสอดคล้องกับข้อใด
(1) เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความจริง
(2) เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน
(3) เผยแพร่ข้อมูลเท่าที่จําเป็น
(4) เผยแพร่ข้อมูลที่สร้างภาพพจน์
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 1 (เอกสารบทที่ 2) แบบจําลองเชิงการประชาสนเทศ มีสาระสําคัญคือ เน้นการเผยแพร่ข้อสนเทศ ที่เป็นความจริง (Fact) ในลักษณะการสื่อสารทางเดียวจากแหล่งสารไปยังผู้รับสาร

72 แบบจําลองเชิงการสื่อสารสองทางแบบสมดุล มีสาระสําคัญสอดคล้องกับข้อใด
(1) พัฒนาความเข้าใจระหว่างองค์กรกับสาธารณะ
(2) มุ่งสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์กร
(3) มุ่งสร้างความศรัทธาต่อองค์กร
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 (เอกสารบทที่ 2) แบบจําลองเชิงการสื่อสารสองทางแบบสมดุล มีสาระสําคัญคือ มุ่งเน้น
พัฒนาความเข้าใจระหว่างองค์กรกับสาธารณะในลักษณะการสื่อสารสองทางแบบสมดุล จากกลุ่มผู้ส่งไปยังกลุ่มผู้รับ และมีการตอบกลับ

73 แบบจําลองเชิงการสื่อสารสองทางแบบอสมดุล มีสาระสําคัญสอดคล้องกับข้อใด
(1) มุ่งโน้มน้าวสาธารณะให้ยอมรับแนวคิดองค์กร
(2) มุ่งสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์กร
(3) มุ่งสร้างความศรัทธาต่อองค์กร
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 (เอกสารบทที่ 2) แบบจําลองเชิงการสื่อสารสองทางแบบอสมดุล มีสาระสําคัญคือ มุ่งเน้น การโน้มน้าวสาธารณะให้ยอมรับแนวคิดองค์กรในลักษณะการสื่อสารแบบสองทางที่ไม่เท่าเทียมกัน จากแหล่งสารไปยังผู้รับสาร และมีการตอบกลับ

74 ทฤษฎีเชิงการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) มีสาระสอดคล้องกับข้อใด
(1) ศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมมวลชน
(2) การเปลี่ยนและสร้างทัศนคติ
(3) การให้และการรับ
(4) การให้ความตระหนักและสนใจ
(5) ถูกทุกข้อข้างต้น
ตอบ 1 (เอกสารบทที่ 2) สาระสําคัญของทฤษฎีเชิงการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) คือ เป็นการศึกษาด้านทัศนคติและพฤติกรรมมวลชน

75 ผู้ใดเป็นผู้บุกเบิกแนวทางของการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่
(1) Ivy Lee
(2) Thomas J. Lipton
(3) Boston
(4) H & K
(5) Napoleon
ตอบ 1 หน้า 66, 71 ผู้บุกเบิกแนวทางของการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ คือ ไอวี่ ลี (Ivy Lee) นักหนังสือพิมพ์หนุ่มชาวอเมริกัน ซึ่งถือเป็นบุคคลสําคัญผู้หนึ่งของสหรัฐอเมริกาในฐานะที่ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่” (Father of Modern Public Relations) หรือผู้วางรากฐานของวิชาชีพประชาสัมพันธ์ในสหรัฐอเมริกา

76 ทฤษฎีเชิงการแลกเปลี่ยน (Exchange Theory) มีสาระสอดคล้องกับข้อใด
(1) ศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมมวลชน
(2) การเปลี่ยนและสร้างทัศนคติ
(3) การให้และการรับ
(4) การให้ความตระหนักและสนใจ
(5) ถูกทุกข้อข้างต้น
ตอบ 3 (เอกสารบทที่ 2) สาระสําคัญของทฤษฎีเชิงการแลกเปลี่ยน (Exchange Theory) คือ การให้ ความสนใจทางด้านการให้และการรับในประเด็นเรื่องการให้ความรักความใยดี ให้การเคารพนับถือ ซึ่งกันและกัน ให้การช่วยเหลือด้านแรงงาน ให้การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ

77 ทฤษฎีเชิงความคิดเห็น ทัศนคติ และความเชื่อศรัทธา (Opinion, Attitude, Belief) มีสาระสอดคล้อง
กับข้อใด
(1) ศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมมวลชน
(2) การเปลี่ยนและสร้างทัศนคติ
(3) การให้และการรับ
(4) การให้ความตระหนักและสนใจ
(5) ถูกทุกข้อข้างต้น
ตอบ 2 (เอกสารบทที่ 2) สาระสําคัญของทฤษฎีเชิงความคิดเห็น ทัศนคติ และความเชื่อศรัทธา (Opinion, Attitude, Belief) คือ การให้ความสนใจเกี่ยวกับการรณรงค์ เพื่อการเปลี่ยนแปลง และสร้างความคิดเห็น ทัศนคติ และความเชื่อ นําไปสู่ความต้องการที่ประสงค์

78 ทฤษฎีเชิงการเผยแพร่ (Diffusion Theory) มีสาระสอดคล้องกับข้อใด
(1) ศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมมวลชน
(2) การเปลี่ยนและสร้างทัศนคติ
(3) การให้และการรับ
(4) การให้ความตระหนักและสนใจ
(5) ถูกทุกข้อข้างต้น
ตอบ 4 (เอกสารบทที่ 2) สาระสําคัญของทฤษฎีเชิงการเผยแพร่ (Diffusion Theory) คือ การเน้นเรื่อง
การให้ความตระหนักและสนใจ

79 ทฤษฎีเชิงการใช้และความพอใจ (Use and Gratification Theory) มีสาระสอดคล้องกับข้อใด
(1) มวลชนใช้สื่อมุ่งเน้นต่างกัน
(2) มวลชนใช้สื่อต่างวัตถุประสงค์
(3) มวลชนใช้สื่อเฉพาะกรณี
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 2) สาระสําคัญของทฤษฎีเชิงการใช้และความพอใจ (Use and Gratification Theory) คือ การให้ความสนใจมวลชนในการใช้สื่อที่มุ่งเน้นต่างกันและใช้ต่างวัตถุประสงค์ หรือเป็นการใช้สื่อเฉพาะกรณีไป

80 ทฤษฎีเชิงการกรุประเด็น (Agenda Setting Theory) มีสาระสอดคล้องกับข้อใด
(1) สื่อมีอิทธิพลต่อมวลชน
(2) สื่อสามารถสร้าง/กรุประเด็น
(3) สื่อกรุประเด็นแบบมีคุณธรรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 2) สาระสําคัญของทฤษฎีเชิงการกรุประเด็น (Agenda Setting Theory) คือ การเน้นในเรื่องสื่อมีอิทธิพลต่อมวลชน จึงสามารถสร้าง/กรุประเด็นแบบมีคุณธรรมได้

81 ทฤษฎีเชิงผู้ส่งสาร/ผู้รับสาร (Sender/Receiver Theory) มีสาระสอดคล้องกับข้อใด
(1) Source
(2) Message & Message Transmitted
(3) Message Received
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 2) สาระสําคัญของทฤษฎีเชิงผู้ส่งสารและผู้รับสาร (Sender and Receiver Theory) คือ การให้ความสนใจในแหล่งสาร (Source) สาร (Message) การถ่ายทอดสาร (Message Transmitted) และสารที่ได้รับ (Message Received)

82 คําพยางค์สําคัญ “นิยาม” การวิจัยประชาสัมพันธ์ สอดคล้องกับข้อใด
(1) รวบรวมข้อมูล
(2) เข้าใจสถานการณ์
(3) ตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่หรือขาดหาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5(เอกสารบทที่ 5) นิยามของการวิจัยประชาสัมพันธ์ หมายถึง การรวบรวมข้อมูลเพื่อให้เข้าใจ สถานการณ์ การตรวจสอบสมมุติฐานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะ รวมทั้งผลกระทบที่เกี่ยวกับ การประชาสัมพันธ์ และตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่หรือที่ขาดหายให้มีความมั่นใจและมีความเชื่อถือได้

83 ความสําคัญของการวิจัยประชาสัมพันธ์ สอดคล้องกับข้อใด
(1) ส่วนหนึ่งของการวางแผนงานประชาสัมพันธ์
(2) พัฒนาปรับปรุงโครงการงานประชาสัมพันธ์
(3) เป็นกระบวนการประเมินงานประชาสัมพันธ์
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5) ความสําคัญของการวิจัยประชาสัมพันธ์ คือ เป็นการให้ข้อมูลนําหน้าหรือ ล่วงหน้า (Feedforward) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนงานประชาสัมพันธ์ และพัฒนา ปรับปรุงโครงการงานประชาสัมพันธ์ รวมทั้งยังเป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อ เป็นกระบวนการประเมินและวัดประเมินผลงานประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ผลรับ ผลกระทบ และประสิทธิผลทั้งหมดเพื่อการวางแผนการประชาสัมพันธ์ทั้งโครงการใหม่และกิจกรรมทั้งหลาย

84 วัตถุประสงค์ของการวิจัยประชาสัมพันธ์ สอดคล้องกับข้อใด
(1) การวางแผน/พัฒนา/ปรับปรุงงานประชาสัมพันธ์
(2) ติดตามงานประชาสัมพันธ์
(3) ผลกระทบ/ประสิทธิผลของแผนงานการประชาสัมพันธ์
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5) วัตถุประสงค์ของการวิจัยประชาสัมพันธ์ ได้แก่
1 เพื่อการวางแผน การพัฒนา และการปรับปรุงงานประชาสัมพันธ์สําหรับโครงการใหม่ แผนกลยุทธ์ และแผนกิจกรรม
2 เพื่อการติดตามงานประชาสัมพันธ์และกิจกรรมทั่วไป

3 เพื่อการวัดการประเมินผลลัพธ์ ผลกระทบ และประสิทธิผลของแผนโครงการประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการเผยแพร่และส่งเสริมกิจกรรม

85 ประโยชน์ของการวิจัยประชาสัมพันธ์ สอดคล้องกับข้อใด
(1) การบริหารจัดการการสื่อสาร
(2) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
(4) ชุมชนสัมพันธ์
(5) ถูกทุกข้อที่กล่าวข้างต้น
(3) สร้างภาพลักษณ์องค์กร
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5) ประโยชน์ของการวิจัยประชาสัมพันธ์ คือ เพื่อการบริหารจัดการการสื่อสาร ชิ้นงานประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การสร้างภาพลักษณ์หรืออัตลักษณ์องค์กร การวิเคราะห์เนื้อหา ชุมชนสัมพันธ์ โฆษณาสถาบัน รวมทั้งการเงินสัมพันธ์

86 เทคนิคสําคัญของการวิจัยประชาสัมพันธ์ สอดคล้องกับข้อใด
(1) การใช้สื่อเผยแพร่
(2) การเฝ้าติดตาม
(3) การสํารวจทางโทรศัพท์
(4) การสัมภาษณ์เจาะลึก
(5) ถูกทุกข้อที่กล่าวข้างต้น
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5) เทคนิคสําคัญของการวิจัยประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 การใช้สื่อเผยแพร่
2. การติดตามหรือเฝ้าดู
3. การสํารวจทางโทรศัพท์
4. การตรวจสอบการสื่อสาร
5. การสัมภาษณ์เจาะลึก
6. การสํารวจ
7. การสังเกต
8. การศึกษาเฉพาะกรณี

87 วิธีการวิจัยประชาสัมพันธ์มีอะไรบ้าง
(1) Formal Research for Public Relations
(2) Informal Research for Public Relations
(3) Survey Research for Public Relations
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารบทที่ 5) วิธีการวิจัยประชาสัมพันธ์ แบ่งออกได้ดังนี้
1 การวิจัยประชาสัมพันธ์ที่เป็นทางการ (Format Research for Public Relations)
2 การวิจัยประชาสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ (Informal Research for Public Relations)

88 การวิจัยประชาสัมพันธ์แบบทางการมีอะไรบ้าง
(1) วิจัยเชิงปริมาณ
(2) วิจัยเชิงคุณภาพ
(3) วิจัยสํารวจ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5) การวิจัยประชาสัมพันธ์แบบทางการ ประกอบด้วย
1 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
2. การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)
3. การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research)

89 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงปริมาณมีอะไรบ้าง
(1) Survey Research
(2) Content Analysis
(3) Delphi Technique
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 (เอกสารบทที่ 5), (คําบรรยาย) เทคนิคการวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงปริมาณ ได้แก่ การวิจัยสํารวจ (Survey Research) และการทดลอง (Experiment)

90 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงคุณภาพมีอะไรบ้าง
(1) Focus Group
(2) In-depth Interview
(3) Case Studies
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5), (คําบรรยาย) เทคนิคการวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) การศึกษาเผ่าพันธุกรรม (Ethnography Studies) การศึกษาเฉพาะกรณี (Case Studies) การวิจัยอนาคต (Futures Research) การสังเกตโดยตรง (Direct Observation) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และประวัติศาสตร์ความเป็นมา (Historical)

91 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงสํารวจ มีสาระสอดคล้องกับข้อใด
(1) การสังเกตการณ์ทางสังคมศาสตร์
(2) การใช้สถิติวิเคราะห์
(3) ใช้แบบสอบถาม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5), (คําบรรยาย) เทคนิคการวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงสํารวจ ได้แก่ การสังเกตการณ์ ทางสังคมศาสตร์ การใช้สถิติวิเคราะห์ การใช้แบบสอบถาม การสํารวจทางจดหมาย จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล โทรศัพท์ แฟกซ์ แฟกซ์ตามอุปสงค์ จดหมายข่าว และสื่อสังคม

92 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงสํารวจ มีแนวทางดําเนินการตามข้อใด
(1) สํารวจทางจดหมาย/อีเมล
(2) สํารวจทางโทรศัพท์
(3) สํารวจกลุ่มเป้าหมายโดยตรง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงคุณภาพ มีแนวทางดําเนินการตามข้อใด
(1) การสังเกตโดยตรง
(2) การวิเคราะห์เนื้อหา
(3) ประวัติศาสตร์
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

94 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงอนาคตมีอะไรบ้าง
(1) Delphi Technique
(2) Ethnographic Futures Research
(3) Ethnographic-Delphi Futures Research
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5), (คําบรรยาย) เทคนิคการวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงอนาคต มีดังนี้
1. การวิจัยอนาคตแบบเดลฟาย (Delphi Technique)
2. การวิจัยอนาคตแบบ Ethnographic Futures Research (EFR)
3. การวิจัยอนาคตแบบ Ethnographic-Delphi Futures Research (EDFR)

95 การวิจัยประชาสัมพันธ์แบบเดลฟาย มีสาระสอดคล้องกับข้อใด
(1) รอบแรก ส่งคําถามปลายเปิด
(2) รอบที่สอง คําถามปลายปิดสรุปจากรอบแรก
(3) รอบที่สาม คําถามปลายปิดยืนยัน/เปลี่ยนใจ
(4) รอบที่สี่ คําถามปลายปิดสรุปจากรอบ 3
(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการวิจัยประชาสัมพันธ์แบบเดลฟาย ผู้วิจัยจะส่งแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญ
1 ส่งเป็นคําถามปลายเปิด (อัตนัย) ให้ผู้เชี่ยวชาญที่เลือกสรรแล้วเพื่อตอบคําถาม
2 ส่งเป็นคําถามปลายปิด (ปรนัย) สรุปจากรอบแรก
3 ส่งเป็นคําถามปลายปิดเพื่อยืนยัน/เปลี่ยนใจ
4 ส่งเป็นคําถามปลายปิดสรุปจากรอบสาม
ตอบ 4 รอบ ดังนี้

96 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงติดตามผล มีสาระสําคัญตามข้อใด
(1) พิจารณาปัจจัยนําเข้าและส่งออก
(2) กําหนดผลลัพธ์
(3) ได้ข้อมูลกําหนดแผนกลยุทธ์และแผนงาน
(4) นักประชาสัมพันธ์ได้จัดทําแผนนําทาง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5) สาระสําคัญของการวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงติดตามผล คือ การให้ ความสําคัญในเรื่องการพิจารณาปัจจัยนําเข้าและส่งออก การกําหนดผลลัพธ์ การจัดการ เส้นทางดําเนินการหรือแผนนําทางที่เหมาะสมในประเด็นตัวบ่งชี้ ปัญหา/โอกาสที่เป็นจริง การรับรู้ ความเชื่อในสาธารณะ และกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งเครื่องมือหรือวิธีการสื่อสารที่ช่วย ให้องค์กรมีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย เพื่อให้ได้ข้อมูลกําหนดแผนกลยุทธ์และแผนโครงการ

97 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงประเมินสรุป มีสาระสําคัญตามข้อใด
(1) ติดตามความก้าวหน้า
(2) กําหนดวัตถุประสงค์/เป้าหมาย
(3) วัดผลสําเร็จและดูความผิดพลาด
(4) พิจารณาปรับปรุงงบประมาณ/ค่าใช้จ่าย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5) สาระสําคัญของการวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงประเมินสรุป คือ การให้ความสําคัญ เรื่องการติดตามความก้าวหน้าตามที่ได้กําหนดวัตถุประสงค์/เป้าหมายไว้ การเรียนรู้เรื่องการ วัดผลสําเร็จและดูความผิดพลาดของแผนประชาสัมพันธ์เพื่อแก้ไขปัญหาในคราวต่อไป รวมทั้ง การพิจารณาปรับปรุงงบประมาณและค่าใช้จ่ายในงานประชาสัมพันธ์

98 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงติดตามผลมีอะไรบ้าง
(1) Exploratory Research
(2) Development Research
(3) Benchmarking Research
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5) วิธีการวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงติดตามผล มีดังนี้
1 การสํารวจตรวจสอบ (Exploratory Research)
2 การวิจัยเชิงพัฒนา (Development Research)
3 การวิจัยหามาตรฐาน (Benchmarking Research)

99 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงประเมินสรุปมีอะไรบ้าง
(1) Analysis of Existing Data
(2) Benchmarking Research
(3) Focus Group Discuss
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5) วิธีการวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงประเมินสรุป มีดังนี้
1 การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่จริง (Analysis of Existing Data)
2 การวิจัยหามาตรฐาน (Benchmarking Research)
3 การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discuss)

100 แผนงานการประชาสัมพันธ์มีอะไรบ้าง
(1) Strategic Planning
(2) Program Planning
(3) Project Planning
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 7) แผนงานการประชาสัมพันธ์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1 แผนการประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)
2 แผนการประชาสัมพันธ์เชิงโครงการ (Program Planning or Project Planning)

CDM2105 MCS2390 เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารมวลชน 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2390 (MCS 2108) เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารมวลชน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) สื่อวิทยุกระจายเสียง
(2) www.youtube.com
(3) ภาษาดิจิทัล
(4) เทคโนโลยี

1 กลไกในการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือข้อใด
ตอบ 3 หน้า 35 – 50, 109, (คําบรรยาย) สื่อใหม่ (New Media) ได้แก่ อินเทอร์เน็ต, สื่อออนไลน์, เว็บไซต์ (เช่น www.youtube.com), อีเมล (E-mail) ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะสําคัญดังนี้
1 มีการใช้ภาษาระบบตัวเลขหรือภาษาดิจิทัล (Digital Language) เป็นกลไกในการสื่อสาร ข้อมูลและกระบวนการทํางานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2 ผู้รับสารมีลักษณะ Active Seeker คือ ผู้รับสารกระตือรือร้นเสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสาร ด้วยตัวเองตามความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นของตัวเองอย่างอิสรเสรี
3 มีช่องทางการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารในลักษณะของการสื่อสารแบบ สองทาง (Two-way Communication) ฯลฯ

2 ข้อใดเป็นสื่อที่นําเสนอเนื้อหาสารในรูปภาษาพูด
ตอบ 1 หน้า 30, (คําบรรยาย) คุณลักษณะของสื่อวิทยุกระจายเสียง (Radio) มีดังนี้
1 ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวาง เข้าถึงผู้รับสารได้อย่างครอบคลุม
2 มีความรวดเร็ว ทําให้ผู้ฟังได้รับข่าวสารทันต่อเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real Time)
3 เป็นสื่อที่นําเสนอเนื้อหาสารในรูปภาษาพูด จึงสามารถทําลายข้อจํากัดในการอ่านออก
เขียนได้ของผู้รับสาร
4 เป็นสื่อที่มีความคงทนต่ํา คือ ผู้รับสารไม่สามารถย้อนกลับไปเปิดรับเนื้อหาสารได้ซ้ําครั้ง ตามที่ตนต้องการ ฯลฯ

3 สื่อข้อใดมีช่องทางในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

4สื่อข้อใดที่ทําลายข้อจํากัดในการอ่านออกเขียนได้ของผู้รับสาร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

5 ข้อใดคือกลไกการทํางานของสื่อใหม่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

6 ข้อใดช่วยให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความประหยัดต่อกระบวนการผลิตหรือระบบการทํางาน ตอบ 4 หน้า 3 โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อกระบวนการผลิตหรือระบบการ
ทํางานใด ๆ ก็ตามอยู่ 3 ประการ ได้แก่
1 ประสิทธิภาพ (Efficiency)
2 ประสิทธิผล (Productivity)
3 ประหยัด (Economy)

7 ข้อใดจัดเป็นสื่อสารมวลชนในกลุ่ม New Media
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

8 การนําความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการผลิต หมายถึงข้อใด
ตอบ 4 หน้า 1 – 2, (ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ) บราวน์ (Brown) ให้ความหมายของ “เทคโนโลยี” (Technology) ว่า การนําวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์ ส่วนพจนานุกรม เว็บสเตอร์ (Webster) ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ประการหนึ่ง คือ การใช้ทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม

9 ผู้รับสารของสื่อข้อใดที่มีลักษณะเป็น Active Seeker
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

10 ผู้รับสารของสื่อข้อใดที่มีลักษณะเป็น Passive Audience
ตอบ 1 หน้า 17, 27, 32 – 33 สื่อดั้งเดิม (Traditional Media) ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ (เช่น หนังสือพิมพ์ จดหมายข่าว (News Letter), นิตยสาร, วารสาร ฯลฯ) สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อภาพยนตร์ ฯลฯ มีลักษณะของผู้รับสารดังนี้
1 ผู้รับสารในสังคมคุ้นเคยและมีทัศนคติเชิงบวกต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อดั้งเดิม
2 ผู้รับสารมีลักษณะ Passive Audience คือ มีหน้าที่เปิดรับข้อมูลข่าวสาร และจะได้รับ ข้อมูลข่าวสารก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารนําเสนอหรือส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางในการสื่อสารมาสู่ ผู้รับสารเท่านั้น เช่น ผู้อ่านจะได้อ่านสิ่งพิมพ์ก็ต่อเมื่อตีพิมพ์เสร็จและวางแผง เป็นต้น
3 มีลักษณะการสื่อสารไปยังผู้รับสารแบบทางเดียว (One-way Communication) ดังนั้น จึงแทบไม่มีช่องทางในการรับรู้ปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ของผู้รับสาร ฯลฯ

11 การใช้สัญญาณควันไฟเพื่อสื่อสารไปยังคนหมู่มากในชุมชน เป็นรูปแบบการสื่อสารในยุคใด
(1) ยุคการใช้ตัวอักษร
(2) ยุคก่อนการใช้ตัวอักษร
(3) ยุคการพิมพ์
(4) ยุคสื่อไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
(5) ยุคการสื่อสารผ่านเครือข่ายและสื่อดิจิทัล
ตอบ 2 หน้า 11 – 12 รูปแบบและวิธีการสื่อสารมวลชนของมนุษย์ยุคแรก ๆ ก่อนที่จะมีการใช้ ตัวอักษรนั้น จะเป็นวิธีการสื่อสารอย่างง่าย เช่น การใช้สัญญาณควันไฟเพื่อสื่อสารไปยังคน หมู่มากในชุมชน การใช้เสียงกลอง การขีดเขียนสัญลักษณ์ หรือภาพเขียนตามผนังถ้ํา ฯลฯ

12 มนุษย์เรียนรู้การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) ตั้งแต่เมื่อใด
(1) ตั้งแต่ยุคที่มนุษย์คิดค้นการใช้ตัวอักษรในการสื่อสาร
(2) ตั้งแต่ยุคที่มีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์
(3) ตั้งแต่ยุคที่มนุษย์มีที่อยู่อาศัยรวมกันเป็นหลักแหล่ง
(4) ตั้งแต่ยุคที่มีการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
(5) ตั้งแต่ยุคที่มีการสื่อสารด้วยภาษาระบบตัวเลข
ตอบ 3 หน้า 11 การสื่อสารไปสู่กลุ่มคนจํานวนมากในลักษณะของการสื่อสารมวลชนได้เกิดขึ้นมา นานแล้ว นับตั้งแต่ยุคที่มนุษย์มีที่อยู่อาศัยรวมกันเป็นหลักแหล่ง โดยมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม สังคมและชุมชน จนกระทั่งมีความจําเป็นต้องแจ้งข่าวสารจากผู้นํากลุ่มสังคมไปยังคนในกลุ่ม จึงได้หาวิธีการส่งข้อมูลข่าวสารไปยังคนจํานวนมากเพื่อให้ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้พร้อมกัน

13 นักวิทยาศาสตร์ผู้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์และนําตัวอักษรมาเรียงบนแท่นพิมพ์เพื่อจัดพิมพ์บนกระดาษ คือผู้ใด
(1) กูกลิเอลโม มาร์โคนี
(2) ลี เดอ ฟอเรสต์
(3) โจฮัน กูเตนเบิร์ก
(4) เฮนริช รูดอล์ฟ เฮิรตซ์
(5) เจมส์ คลาร์ค แม็กซ์เวล
ตอบ 3 หน้า 13 – 15 เมื่อประมาณ ค.ศ. 1450 ได้เกิดการพิมพ์แบบอุตสาหกรรมขึ้นในทวีปยุโรป
กล่าวคือ โจฮัน กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) ชาวเยอรมัน เป็นผู้คิดประดิษฐ์แท่นพิมพ์ ที่สามารถพิมพ์ได้ครั้งละมาก ๆ อันเป็นแบบอย่างของระบบการพิมพ์ในปัจจุบัน และสามารถ นําตัวอักษรมาเรียงบนแท่นพิมพ์เพื่อจัดพิมพ์บนกระดาษได้สําเร็จ

14 ข้อใดคือลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media)
(1) เป็นสื่อที่มีความคงทนต่ำ
(2) เป็นสื่อที่ทําลายข้อจํากัดในการอ่านออกเขียนได้ของผู้รับสาร
(3) เป็นสื่อที่มีความคงทนสูง
(4) เป็นสื่อที่มีช่องทางปฏิสัมพันธ์
(5) เป็นสื่อที่นําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะ Real Time
ตอบ 3 หน้า 17, 27 – 28, 33 คุณลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media) เช่น วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร จดหมายข่าว (News Letter) ฯลฯ ซึ่งจัดเป็นสื่อแบบดั้งเดิม มีดังนี้
1 เป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มผู้รับสารได้อย่างกว้างขวาง
2 นําเสนอเนื้อหาสารในรูปภาษาเขียน (ตัวอักษร) และภาพ
3 ผู้จัดทําเนื้อหาสารในฐานะผู้ส่งสารสามารถจัดทําเนื้อหาที่เหมาะสม สอดคล้องกับผู้รับสาร
เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4 เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือสูง จึงมักถูกใช้เป็นสื่อเพื่อการอ้างอิง (Referenced Media)
5 เป็นสื่อที่มีความคงทนสูง คือ ผู้รับสารสามารถย้อนกลับไปเปิดรับเนื้อหาสารจากสื่อได้ซ้ําครั้ง ตามที่ผู้รับสารต้องการ
6 จัดเป็นสื่อสารมวลชนสื่อแรกที่มีความเก่าแก่ที่สุด ฯลฯ

15 Nipcow Disc เป็นการทดลองแพร่ภาพเคลื่อนไหวโดยใช้เทคโนโลยีในข้อใด
(1) เทคโนโลยีจักรกล
(2) เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
(3) เทคโนโลยีดิจิทัล
(4) เทคโนโลยีสื่อประสม
(5) เทคโนโลยีแรงคน
ตอบ 1 หน้า 22 ใน ค.ศ. 1884 พอล นิปโคว์ (Paul Nipkow) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ที่ประสบความสําเร็จในการทดลองแพร่ภาพเคลื่อนไหวด้วยเทคโนโลยีจักรกลเป็นครั้งแรกเพราะเขาได้ค้นพบการสแกนภาพจากจานหมุนที่ถูกตั้งชื่อว่า “Nipcow Disc” ซึ่งนําไปสู่ การประดิษฐ์สื่อวิทยุโทรทัศน์จักรกลในยุคแรก แต่ก็มีข้อจํากัดหลายประการ เช่น เสียงดังมีขนาดใหญ่ และยังมีระบบการทํางานที่ไม่สัมพันธ์กันระหว่างจานรับกับจานส่ง

16 “กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล” ตรงกับคําใด
(1) Digital Evolution
(2) Digitization
(3) Digital Revolution
(4) Digital Innovation
(5) Digitalization
ตอบ 2 หน้า 36 การปฏิวัติแห่งระบบดิจิทัล หรือการปฏิวัติแห่งระบบตัวเลข (Digital Revolution) หมายถึง ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ในรูปของข้อความ เสียง รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว ถูกแปลง ให้เป็นภาษารูปแบบเดียวกัน คือ ภาษาดิจิทัล (Digital Language) ซึ่งรูปแบบของกระบวนการ แปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล ตรงกับคําว่า “การทําให้เป็นภาษา ระบบตัวเลข” (Digitization)

17 “ผู้อ่านจะได้อ่านสิ่งพิมพ์ก็ต่อเมื่อตีพิมพ์เสร็จและวางแผง” คือลักษณะของผู้รับสารจากสื่อประเภทใด
(1) Local Media
(2) New Media
(3) Traditional Media
(4) Alternative Media
(5) Social Media
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

18 ลักษณะของผู้รับสารในข้อ 17. ตรงกับคําใด
(1) Active Seeker
(2) Active Receiver
(3) Passive Audience
(4) Passive Seeker
(5) Negative Audience
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

19 สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้ผู้รับสารเปิดรับสารได้ซ้ําครั้ง ตรงกับคําใด
(1) มีความเสถียรสูง
(2) มีความน่าเชื่อถือสูง
(3) มีความคงทนสูง
(4) มีความยั่งยืนสูง
(5) ความเป็นมิตรต่อผู้รับสารสูง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

20 ข้อใดคือความหมายของคําว่า “การปฏิวัติแห่งระบบดิจิทัล” (Digital Revolution)
(1) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ถูกแปลงให้เป็นภาษาดิจิทัล
(2) ข้อมูลข่าวสารในรูปภาษาดิจิทัล ถูกแปลงให้อยู่ในรูปข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
(3) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ ถูกแปลงให้เป็นสัญญาณเสียง
(4) ข้อมูลข่าวสารในรูปสัญญาณเสียง ถูกแปลงให้อยู่ในรูปข้อความ
(5) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ ถูกแปลงให้อยู่ในรูปสัญญาณภาพเคลื่อนไหว
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

21 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ New Media
(1) เป็นสื่อที่เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกัน
(2) มีรูปแบบการสื่อสารแบบทางเดียว
(3) มีรูปแบบการสื่อสารแบบสองทาง
(4) ส่งสารผ่านช่องทางสื่อสารได้หลายอย่างพร้อมกัน
(5) มีความรวดเร็วในการนําเสนอเนื้อหาสารไปสู่ผู้รับปลายทาง
ตอบ 2 หน้า 38 Burnett, R. and Marshall (2003) ได้นิยามสื่อใหม่ (New Media) ว่า เป็นสื่อที่ เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกัน และสื่อยังทําหน้าที่ส่งสาร ผ่านช่องทางการสื่อสารได้หลาย ๆ อย่างพร้อมกัน คือ ภาพ เสียง และข้อความ โดยการรวม เทคโนโลยีของสื่อดั้งเดิมเข้ากับความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสัมพันธ์ ทําให้มีรูปแบบการ สื่อสารแบบสองทางผ่านทางระบบเครือข่ายและมีศักยภาพเป็นสื่อแบบประสม (Multimedia)

22 Freedom from geological boundaries หมายถึง ความเป็นอิสระด้านใดของสื่อใหม่
(1) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านรูปแบบ
(2) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านขนาด
(3) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านเวลา
(4) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพรมแดน
(5) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพื้นที่
ตอบ 4 หน้า 38 – 39 Kent Wertime and Lan Fenwick กล่าวว่า ลักษณะสําคัญของเนื้อหา ในรูปแบบดิจิทัล ประกอบด้วย ความเป็นอิสระ 5 ประการ ได้แก่
1 ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านเวลา (Freedom from scheduling)

2 ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพรมแดน (Freedom from geological boundaries)
3 ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านขนาด (Freedom to scale)
4 ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านรูปแบบ (Freedom from formats)
5 ความเป็นอิสระจากยุคนักการตลาดสร้างเนื้อหา มาสู่ยุคนักบริโภคริเริ่มสร้างและควบคุม เนื้อหาเอง (Freedom from marketer-driven to consumer-initiated, created and controlled)

23 ด้วยคุณลักษณะข้อใดที่ส่งผลให้อินเทอร์เน็ต (Internet) ถูกนับเป็นสื่อสารมวลชน (Mass Media)
(1) สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วไปสู่ผู้รับสารในวงกว้าง
(2) มีช่องทางให้ผู้รับสารสามารถสื่อสารตอบกลับแบบสองทาง
(3) นําเสนอเนื้อหาสารได้ทุกลักษณะของสื่อแบบดั้งเดิม
(4) ใช้ภาษาดิจิทัลเป็นกลไกในกระบวนการทํางาน
(5) ส่งเนื้อหาสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อแบบเครือข่าย
ตอบ 3 หน้า 40, 55, (คําบรรยาย) สื่ออินเทอร์เน็ตถูกจัดเป็นสื่อสารมวลชนหรือสื่อมวลชน (Mass Communication/Mass Media) ด้วยศักยภาพทางเทคโนโลยีที่สามารถนําเสนอเนื้อ เอหาสาร ได้ในลักษณะเดียวกันกับสื่อมวลชนแบบดั้งเดิมทุกประเภททั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และภาพยนตร์

24 IOS จัดเป็นข้อใด
(1) Mobile Telephone
(2) Mobile Platform
(3) Mobile Game
(4) Mobile Computing
(5) Mobile Network
ตอบ 2 หน้า 41 เทคโนโลยีสําหรับอุปกรณ์พกพาหรือแพลตฟอร์มเคลื่อนที่ (Mobile Platform) หมายถึง ระบบปฏิบัติการสําหรับอุปกรณ์พกพา ซึ่งประกอบไปด้วย ระบบปฏิบัติการของ โทรศัพท์เคลื่อนที่หรืออุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่อื่น ๆ โดยมีผู้ให้บริการเทคโนโลยีในระบบ ปฏิบัติการหลากหลายเครือข่ายการสื่อสาร เช่น ระบบปฏิบัติการ IOS, ระบบปฏิบัติการ Android, ระบบปฏิบัติการ Windows Phone 7 ฯลฯ

25 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จัดเป็น New Media ตรงกับคําในข้อใด
(1) E-mail
(2) E-banking
(3) E-commerce
(4) E-book
(5) E-document
ตอบ 3 หน้า 66 สื่ออินเทอร์เน็ตมักถูกใช้เป็นช่องทางประกอบธุรกรรมทางธุรกิจทั้งการซื้อขายสินค้า ออนไลน์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ออนไลน์ การโอนเงินออนไลน์ การจองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ และยังเป็นช่องทางสําคัญที่ผู้ประกอบการใช้ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคําว่า “E-Commerce” (Electronic Commerce) หรือที่เราเรียกกันใน ภาษาไทยว่า “การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” เช่น www.lazada.com, www.alibaba.com, www.shopee.co.th, www.tarad.com ฯลฯ

26 ส่วนที่ใช้ในการเชื่อมต่อเว็บเพจเข้าหากัน และเป็นส่วนที่ให้ผู้ใช้สามารถเปิดเว็บเพจหน้าถัดไป หมายถึง
ข้อใด
(1) Upload
(2) Download
(3) Streaming
(4) Browser
(5) Link

ตอบ 5 หน้า 40, (คําบรรยาย) การเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) ซึ่งมักเรียกกันย่อ ๆ ว่า “Link” หมายถึง ส่วนที่ใช้ในการเชื่อมต่อเว็บเพจเข้าหากัน และเป็นส่วนที่ให้ผู้ใช้สามารถเปิดเว็บเพจ หน้าถัดไป ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นข้อความ ปุ่มกด หรือรูปภาพที่ผู้ใช้สามารถคลิกเพื่อให้เกิดการ เชื่อมโยงไปสู่เว็บเพจหน้าอื่นที่กําหนดไว้ แทนที่จะพิมพ์ในแถบที่อยู่ของเว็บบราวเซอร์โดยตรง

ข้อ 27. – 29. จงจับคู่ตัวเลือกต่อไปนี้กับข้อความ
(1) Teletext
(2) Videotext
(3) Podcast

27 เนื้อหาในรูปของข้อมูลเสียง (Content Audio) ที่จัดทําขึ้นและเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ 3 หน้า 44 พอดแคสต์ (Podcast) หมายถึง เนื้อหาที่อยู่ในรูปของข้อมูลที่เป็นเสียง
(Content Audio) ซึ่งจัดทําขึ้นและเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

28 การนําเสนอข่าวสารของสื่อสิ่งพิมพ์โดยส่งข้อมูลไปพร้อมกับการส่งสัญญาณคลื่นโทรทัศน์
ตอบ 1 หน้า 67 ในปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) ประเทศอังกฤษได้คิดค้นวิธีการนําเสนอข่าวสารของ สื่อสิ่งพิมพ์โดยส่งข้อมูลไปพร้อมกับการส่งคลื่นสัญญาณโทรทัศน์ และได้เรียกสื่อดังกล่าวนี้ว่า“โทรภาพสาร” (Teletext)

29 การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโดยเชื่อมโยงระบบโทรศัพท์สาธารณะเข้ากับศูนย์ข้อมูลและเชื่อมต่อเข้ากับ อุปกรณ์ปลายทางของผู้ใช้ ปรากฏเนื้อหาในรูปข้อความและภาพบนเครื่องรับปลายทาง
ตอบ 2 หน้า 67 – 68 บริษัท British Telecom ประเทศอังกฤษ ได้พัฒนาเทคโนโลยีการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารในรูปวิดีสาร (Videotext) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระบบโทรศัพท์สาธารณะเข้ากับ ศูนย์ข้อมูลและเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ปลายทางของผู้ใช้ โดยที่เครื่องรับจะมีเครื่องแปลงรหัสที่สามารถแปลงรหัสให้ปรากฏบนจอรับปลายทางได้ทั้งในลักษณะข้อความและภาพ ต่อมาใน พ.ศ. 2523 องค์กรหนังสือพิมพ์ได้นําเนื้อหาข่าวเผยแพร่สู่ประชาชนผ่านสื่อวิดีสารเป็นครั้งแรก

ข้อ 30 – 34. จงจับคู่ตัวเลือกต่อไปนี้กับข้อความ
(1) Virtual Space
(2) Metaverse
(3) System Software
(4) Application Software
(5) Connectivity

30 ซอฟต์แวร์ระบบ
ตอบ 3 หน้า 42 ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นชุดคําสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์
ทํางานซึ่งจะทําหน้าที่เสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software, Operating Software : OS)
2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

31 จักรวาลนฤมิต
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จักรวาลนฤมิต (Metaverse) มาจากคําว่า “Meta + Verse” ซึ่งรวมแล้วจะได้ ความหมายว่า “จักรวาลที่อยู่เหนือจินตนาการ” ปรากฏครั้งแรกในนวนิยาย Sci-Fi ที่มีชื่อว่า “Snow Crash” โดยจักรวาลนฤมิตหรือ Metaverse นี้จะกลายมาเป็นโลกอีกใบที่ให้ผู้คนได้ เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันผ่านการจําลองเป็นตัวละครต่าง ๆ (Avatar) ด้วยการใช้เทคโนโลยี คือ Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR)

32 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 30 ประกอบ

33 สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยง่าย
ตอบ 5 หน้า 47 กาญจนา แก้วเทพ (2555) นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ได้กล่าวถึงคุณลักษณะ สําคัญของสื่อใหม่ (New Media) ว่ามีคุณสมบัติในเชิงเทคนิค เชิงสังคม และอื่น ๆ ดังนี้
1 การมีปฏิสัมพันธ์ได้ง่าย (Interactivity) เพราะเป็นสื่อที่มีรูปแบบการสื่อสารแบบสองทาง
2 มีความสามารถเคลื่อนที่ได้สูง (Mobility) (Two-way Communication)
3 สามารถดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ (Convertibility)
4 สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยง่าย (Connectivity)
5 สามารถหาได้หรือใช้ประโยชน์ในทุกที่ (Ubiquity)
6 มีความรวดเร็วในการสื่อสาร (Speed of Communication)
7 มีลักษณะที่ไร้พรมแดน (Absence of Boundaries)
8 มีความเป็นดิจิทัล (Digitization)

34 พื้นที่เสมือน
ตอบ 1 หน้า 42, (คําบรรยาย) Cyber Space หมายถึง พื้นที่เสมือน (Virtual Space) ซึ่งเป็นพื้นที่ อิเล็กทรอนิกส์หรือภูมิประเทศเสมือนที่อยู่บนการสื่อสารแบบออนไลน์

35 ข้อใดไม่ใช่คําอธิบายของคําว่า Media Convergence
(1) การบรรจบกันของเทคโนโลยีสื่อแบบดั้งเดิมกับสื่อใหม่
(2) การหลอมรวมเนื้อหาของสื่อแบบดั้งเดิมให้ปรากฏบนสื่ออินเทอร์เน็ต
(3) การหลอมรวมระหว่างสื่อ
(4) การรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว
(5) การหลอมรวมเนื้อหาดิจิทัลผ่านสื่อแบบดั้งเดิม
ตอบ 5 หน้า 50 – 51 Media Convergence หมายถึง การบรรจบกันของเทคโนโลยีสื่อแบบดั้งเดิม กับสื่อใหม่ หรือเป็นการรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว จนต่อมาได้มี ผู้นิยามศัพท์ว่า “การหลอมรวมระหว่างสื่อ หรือการหลอมรวมสื่อ” อันเป็นผลมาจากศักยภาพ ในการแปลงเนื้อหาจากแหล่งสารต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปข้อมูลดิจิทัลหรือภาษาดิจิทัล พร้อมกับการ แปลงข้อมูลดิจิทัลให้ปรากฏในลักษณะเดียวกันกับรูปแบบเนื้อหาสารจากแหล่งสารที่นําเสนอผ่านสื่อแบบดั้งเดิม

36 พนม ยีรัมย์ ถูกทาบทามให้ร่วมแสดงในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด เป็นปรากฏการณ์ข้อใด
(1) Global Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Functional Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 1 หน้า 54 Global Convergence หมายถึง ปรากฏการณ์การหลอมรวมระดับโลกจนส่งผล ให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม อันเป็นผลมาจากการเผยแพร่เนื้อหาสื่อระหว่างกันของ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น การนําดาราชาวเอเชียมาร่วมแสดงในภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ด ซึ่งเป็นผลมาจากการเผยแพร่ผลงานภาพยนตร์เอเชียไปทั่วโลก เป็นต้น

37 การนําเนื้อหาของนวนิยายเรื่อง Jungle Book ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ หนังสือการ์ตูน และเกมออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างกว่าเดิม เป็นปรากฏการณ์ที่ตรงกับข้อใด

(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Economic Convergence
(5) Cultural Convergence

ตอบ 4 หน้า 53 Economic Convergence หมายถึง ปรากฏการณ์การหลอมรวมธุรกิจสื่อเพื่อขยาย พื้นที่หรือฐานทางการตลาดให้กว้างขวางขึ้น เช่น การนํานวนิยายเรื่อง Jungle Book ไปสร้าง เป็นภาพยนตร์ หนังสือการ์ตูน และเกมออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างกว่าเดิม เป็นต้น

38 บริษัท A ผู้ประกอบการสื่อใหม่ ควบรวมกิจการกับบริษัท B ผู้ประกอบการสื่อแบบดั้งเดิม โดยมุ่งให้บริการ เนื้อหาผ่านสื่อใหม่และสื่อแบบดั้งเดิมอย่างครอบคลุม ลักษณะนี้ตรงกับคําใด
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Economic Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 2 หน้า 52 Corporate Convergence หมายถึง การหลอมรวมองค์กร ซึ่งปรากฏการณ์นี้ เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1980 – 1989 เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในธุรกิจทางการ สื่อสาร จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจทางการสื่อสารหันมาควบรวมกิจการในลักษณะการหลอมรวมองค์กรด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า “หนึ่งองค์กรสามารถให้บริการได้ทุกอย่างพร้อมสรรพ เช่น บริษัท A ผู้ประกอบการสื่อใหม่ ได้ควบรวมกิจการกับบริษัท B ผู้ประกอบการสื่อแบบ ดั้งเดิม โดยมุ่งให้บริการเนื้อหาผ่านสื่อใหม่และสื่อแบบดั้งเดิมอย่างครอบคลุม เป็นต้น

39 ไทยรัฐรวมศูนย์ข่าวไว้ที่เดียวเพื่อให้บริการข้อมูลข่าวผ่านทุกสื่อในเครือไทยรัฐ ลักษณะนี้ตรงกับคําว่า
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Economic Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 1 หน้า 52 Operational Convergence หมายถึง การรวมศูนย์การปฏิบัติงานไว้ในที่เดียว หรือศูนย์เดียว โดยผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจสื่อหลากหลายประเภทพยายามรวมศูนย์การ ปฏิบัติงานไว้ที่เดียวกัน เช่น ไทยรัฐและเนชั่นรวมศูนย์ข่าวไว้ที่เดียวเพื่อให้บริการข้อมูลข่าว ผ่านทุกสื่อในเครือ เป็นต้น

40 สมาร์ทโฟนเครื่องเดียวรวมรูปแบบการใช้งานของสื่อต่าง ๆ ทั้งกล้องถ่ายภาพ โปรแกรมอัดวิดีโอ โปรแกรมเล่นเกม โปรแกรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต สิ่งนี้ตรงกับคําว่า
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Economic Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 3 หน้า 51 Technological or Device Convergence หมายถึง การแปลงเนื้อหาของสื่อ ทุกประเภททั้งตัวอักษร ภาพ เสียง ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล และนําเทคโนโลยีของสื่อแต่ละ ประเภทมารวมเอาไว้ในสื่อหรืออุปกรณ์เดียว เช่น สมาร์ทโฟนเครื่องเดียวหลอมรวมรูปแบบ การใช้งานของสื่อต่าง ๆ ทั้งกล้องถ่ายภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว โปรแกรมอัดวิดีโอ โปรแกรม เล่นเกม โปรแกรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

41 รูปนี้มีหน้าที่ทําข่าวเพื่อเผยแพร่ทางสื่อสิ่งพิมพ์ ถ่ายภาพข่าว ตัดต่อภาพและเสียงเพื่อเผยแพร่ข่าวผ่าน สื่อวิทยุกระจายเสียงและสื่อออนไลน์ในองค์กรที่เธอสังกัด การทํางานของรูปนี้ตรงกับข้อใด
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Functional Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 4 หน้า 53 Functional Convergence หมายถึง การหลอมรวมหลากหลายหน้าที่เอาไว้ ในบุคคลเดียว เช่น ผู้สื่อข่าวคนเดียวจัดทําเนื้อหาข่าวสารเพื่อเผยแพร่ทั้งบนสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง สื่อออนไลน์ เป็นต้น

42 เครือข่ายที่ศึกษาวิจัยการสื่อสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ในลักษณะเชื่อมต่อกันแบบเครือข่ายกระทั่งประสบ ผลสําเร็จและแพร่หลายไปทั่วโลก คือเครือข่ายในข้อใด
(1) เครือข่ายโซเชียลเน็ต
(2) เครือข่ายอุลตราเน็ต
(3) เครือข่ายอาร์พาเน็ต
(4) เครือข่ายสปาร์ตาเน็ต
(5) เครือข่ายยูยูเน็ต
ตอบ 3 หน้า 55 – 56 (คําบรรยาย) สื่ออินเทอร์เน็ตเริ่มใช้งานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยองค์กร ที่มีชื่อว่า “ARPANET” (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งอยู่ในสังกัด กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อใช้ทางการทหาร เรียกว่า “เครือข่ายอาร์พาเน็ต” เพื่อให้ทําหน้าที่ศึกษาวิจัยการสื่อสารผ่านทางสื่อคอมพิวเตอร์ ในลักษณะเชื่อมต่อกันแบบเครือข่าย จนกระทั่งประสบผลสําเร็จและแพร่หลายไปทั่วโลก

43 อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อครอบคลุมระหว่างกันทั่วโลก ด้วยโปรโตคอล TCP/IP คําว่า “โปรโตคอล” หมายถึงข้อใด
(1) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัล
(2) ข้อกําหนดด้านรูปแบบการสื่อสารเฉพาะเพื่อให้การสื่อสารในระบบเครือข่ายทํางานด้วยกันทั้งระบบ
(3) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านสื่อสารสนเทศ
(4) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย
(5) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านระบบการสื่อสารสากล
ตอบ 2 หน้า 40, 55, (คําบรรยาย) โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง ข้อกําหนดด้านรูปแบบการ สื่อสารเฉพาะระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจสอบ ข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องทั้ง 2 เครื่อง ทั้งนี้เพื่อให้การสื่อสารในระบบเครือข่ายทํางานได้ด้วยกันทั้งระบบ และมีมาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างกันที่เป็นสากลหนึ่งเดียวทั่วโลก ซึ่งนั่นก็คือ โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

44 อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในประเทศไทย โดยเริ่มจากสถาบันอุดมศึกษา 2 แห่ง เป็นผู้นําร่องใช้รูปแบบการสื่อสารใด
(1) การสื่อสารผ่านเว็บบล็อก
(2) การจัดทําเว็บไซต์
(3) การส่งและรับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(4) การสนทนาออนไลน์
(5) เว็บบอร์ด
ตอบ 3 หน้า 57 อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (PSU) กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ได้ใช้บริการส่งและรับจดหมายหรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) เป็นครั้งแรก โดยได้รับความร่วมมือจากประเทศออสเตรเลีย

45 รูปแบบการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สถาบันอุดมศึกษาทั้ง 2 แห่ง เป็นผู้เริ่มนํามาใช้งาน ในประเทศไทย (ตามข้อ 44.) ได้รับความร่วมมือจากประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) ออสเตรเลีย
(4) เยอรมนี
(5) แคนาดา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ

46 เครือข่ายการสื่อสารใดที่มีประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Gateway) เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
(1) เครือข่ายยูยูเน็ต
(2) เครือข่ายไทยสาร
(3) เครือข่ายไทยเน็ต
(4) เครือข่ายจุฬาเน็ต
(5) เครือข่ายอาร์พาเน็ต
ตอบ 3 หน้า 58 ในปี พ.ศ. 2535 เครือข่ายไทยเน็ตถือเป็นเครือข่ายที่มีเกตเวย์ (Gateway) หรือ ประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์กลาง ต่อมาในปีเดียวกัน NECTEC ได้จัดตั้งเครือข่ายไทยสารเป็นเกตเวย์สู่เครือข่าย อินเทอร์เน็ตแห่งที่ 2 ของประเทศไทย

47 www.ru.ac.th เป็นลักษณะการกําหนดชื่ออ้างอิงของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตในข้อใด
(1) IP System
(2) TCP/IP System
(3) Domain Name System
(4) Protocol System
(5) E-mail System
ตอบ 3 หน้า 60 ระบบโดเมนเนม (Domain Name System : DNS) คือ ระบบการตั้งชื่อหรือใช้ ตัวอักษรแทนหมายเลข IP Address เนื่องจากตัวเลข IP Address เป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก และ อาจจําสับสนหรือจําผิดได้ ดังนั้นจึงมีการหาทางออกโดยการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ เพื่อให้สะดวกในการจดจํา เช่น ระบบ DNS ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงชื่อ ru.ac.th

48 ข้อใดคือระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตส่วนบุคคล
(1) LAN
(2) MAN
(3) CAN
(4) WAN
(5) PAN
ตอบ 5 หน้า 61 เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน (Personal Area Network : PAN) เป็นระบบ เครือข่ายระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล เช่น โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งอาจอยู่ใน ลักษณะใช้สายหรือไร้สายก็ได้

49 “การใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างภาพและจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ เพื่อสื่อความหมายของข้อมูลต่าง ๆ
ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น” หมายถึงข้อใด
(1) ดาต้ากราฟิก
(2) อินโฟกราฟิก
(3) โมชั่นกราฟิก
(4) กราฟิกดีไซน์
(5) คอมพิวเตอร์กราฟิก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) คอมพิวเตอร์กราฟิก คือ การใช้คอมพิวเตอร์ในสร้างภาพและจัดการเกี่ยวกับ รูปภาพ เพื่อใช้สื่อความหมายของข้อมูลต่าง ๆ ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น การใช้กราฟนําเสนอ ข้อมูลยอดขายสินค้าในแต่ละปี, การสร้างสื่อการสอน (CAI), การใช้ภาพกราฟิกประกอบ การโฆษณาสินค้าต่าง ๆ, การสร้างเว็บเพจ, การสร้างการ์ตูน เป็นต้น

50 “การสนทนาบนอินเทอร์เน็ต โดยผู้สนทนาส่งข้อมูลถึงกันโดยทันใดและสามารถส่งสัญลักษณ์ต่าง ๆ อาทิ รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย” หมายถึงข้อใด
(1) Webboard
(2) Web Chat
(3) Tetnet
(4) Instant Messaging
(5) Bulletin Board

ตอบ 4 หน้า 63, (คําบรรยาย) การสนทนาออนไลน์โดยตรงระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เป็นรูปแบบ การสนทนาออนไลน์ที่ไม่ต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์กลาง เรียกว่า “การรับส่งสารแบบทันทีทันใด” (Instant Messaging) ซึ่งนอกจากผู้สนทนาจะสามารถส่งข้อมูลถึงกันโดยทันใดแล้ว ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย เช่น โปรแกรม ICQ, MSN Messenger, Yahoo Messenger, Windows Messenger เป็นต้น

51 File Transfer Protocol หรือ FTP เป็นการให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในลักษณะใด
(1) การให้บริการในรูปกระดานสนทนา
(2) การให้บริการสนทนาออนไลน์โดยตรง
(3) การให้บริการสืบค้นข้อมูลบนระบบเครือข่าย
(4) การให้บริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย
(5) การให้บริการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล
ตอบ 4 หน้า 65 การขนถ่ายหรือการโอนถ่ายไฟล์ (File Transfer Protocol : FTP) เป็นบริการ คัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย โดยใช้ส่งข้อมูลจากเครื่องลูกข่าย (Client) ไปยังเครื่องแม่ข่าย (Server) และใช้ดาวน์โหลด (Download) ข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายมาไว้ที่เครื่องลูกข่าย ซึ่งบริการดังกล่าวสามารถกระทําได้ทั้งผู้ที่เป็นสมาชิก FTP Server และบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นสมาชิก

52 ข้อใดต่อไปนี้ไม่นับเป็นรูปแบบการใช้งานในลักษณะ E-Commerce บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(1) การซื้อขายสินค้าออนไลน์
(2) การโอนเงินออนไลน์
(3) พนันบอลออนไลน์
(4) การโฆษณาออนไลน์
(5) การส่งเสริมการตลาดออนไลน์
ตอบ 3 หน้า 66 สื่ออินเทอร์เน็ตมักถูกใช้เป็นช่องทางประกอบธุรกรรมทางธุรกิจทั้งการซื้อขายสินค้า ออนไลน์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ออนไลน์ การโอนเงินออนไลน์ การจองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ และยังเป็นช่องทางสําคัญที่ผู้ประกอบการใช้ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคําว่า “E-commerce” (Electronic Commerce) หรือที่เราเรียกกันใน ภาษาไทยว่า “การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” เช่น www.lazada.com, www.alibaba.com, www.shopee.co.th, www.tarad.com ฯลฯ

53 ผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารในรูปหนังสือพิมพ์ออนไลน์แห่งแรกในประเทศไทย คือ
(1) หนังสือพิมพ์มติชน
(2) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
(3) หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
(4) หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์
(5) หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
ตอบ 4 หน้า 69 หนังสือพิมพ์ออนไลน์ในประเทศไทยเกิดขึ้นจากกระแสความนิยมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจากต่างประเทศ ประกอบกับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลก ส่งผลให้ ผู้ประกอบการไทยสนใจจัดทําเนื้อหาหนังสือพิมพ์เผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์เป็นองค์กรแรกที่ให้บริการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2539

54 ผู้ให้บริการในข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารที่มีฐานมาจากการเป็นผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์
แบบดั้งเดิมมาก่อน
(1) www.thairath.co.th
(2) www.dailynews.co.th
(3) www.matichon.co.th
(4) www.prachathai.com
(5) www.bangsaenpost.com
ตอบ 4 หน้า 71 – 72 ผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่มีฐานมาจากผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์
แบบกระดาษ (แบบดั้งเดิม) มีดังนี้

1 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง เช่น www.thairath.co.th, www.dailynews.co.th,
www.matichon.co.th ฯลฯ
2 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค เช่น www.bangsaenpost.com, www.koratdaily.corn ฯลฯ
3 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยในต่างประเทศ เช่น www.sereechai.com ฯลฯ(ส่วน wwww.prachathai.com, www.andamannews.com เป็นเว็บไซต์ของผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่ให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)

55 ข้อใดไม่ใช่เหตุผลในการให้บริการข้อมูลข่าวสารในรูปสิ่งพิมพ์ออนไลน์
(1) เพื่อเพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับผู้รับสาร
(2) เพื่อเพิ่มช่องทางในการแสวงหารายได้จากค่าโฆษณา
(3) เพื่อเป็นช่องทางนําเสนอนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารประเทศ
(4) เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ความทันสมัยทางเทคโนโลยีแก่องค์กร
(5) เพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ตอบ 3 หน้า 69 – 70 เหตุผลในการให้บริการข้อมูลข่าวสารในรูปของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ (Online Newspaper) มีดังนี้
1 เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ความทันสมัยทางเทคโนโลยีแก่องค์กร
2 เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการเสนอข่าว
3 เพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
4 เพื่อเพิ่มช่องทางติดต่อสื่อสารกับผู้รับสาร
5 เพื่อเพิ่มช่องทางด้านการตลาด เช่น การขายพื้นที่โฆษณาบนเว็บไซต์, การหารายได้เสริมจากค่าสมาชิก ค่าธรรมเนียม ฯลฯ

56 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไว้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการทํางานของ Streaming Server
(1) ต้องคัดลอกแฟ้มข้อมูลมายังผู้ใช้งานให้ครบก่อนจึงเริ่มแสดงผล
(2) ข้อมูลถูกส่งมายังเครื่องลูกข่ายต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์จนครบ
(3) มีการส่งสัญญาณในลักษณะ Real Time จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องลูกข่าย
(4) เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะประสานสื่อ
(5) เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) ทําหน้าที่ผู้ผลิตรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ออนไลน์ได้
ตอบ 1 หน้า 76 – 77 Streaming Server คือ เครื่องให้บริการกระจายสัญญาณแบบสายธาร ซึ่งเป็น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่บริการข้อมูลในลักษณะสื่อประสมหรือประสานสื่อ (Multimedia) โดยข้อมูล จะถูกส่งมายังเครื่องลูกข่ายอย่างต่อเนื่อง และไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลด (Download) ไฟล์จาก เซิร์ฟเวอร์จนครบแล้วจึงเริ่มแสดงผล ดังนั้นจึงเป็นการส่งสัญญาณเสียงและภาพเคลื่อนไหวใน ลักษณะทันต่อเวลา (Real Time) จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องลูกข่ายที่ได้รับความนิยมอยู่ ในปัจจุบัน นอกจากนี้ Streaming Server ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) สามารถทําหน้าที่ เป็นผู้ผลิตรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ออนไลน์ได้อีกด้วย

57 ข้อใดคือความหมายของสื่อออนไลน์
(1) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อดิจิทัล
(2) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อประสม
(3) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(4) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลและเปิดรับข้อมูลแบบสองทาง
(5) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ตอบ 3 หน้า 81 สื่อออนไลน์ หมายถึง ช่องทางของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ โดยผู้ส่งสารใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลและผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตข่าวสาร ส่วนผู้รับสารก็จะใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารเช่นกัน

58 ข้อใดคือสํานักข่าวที่จัดทําขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(1) เว็บไซต์สํานักข่าวไอเอ็นเอ็น
(2) เว็บไซต์สํานักข่าวไทย
(3) เว็บไซต์สํานักข่าวซีเอ็นเอ็น
(4) เว็บไซต์สํานักข่าวพีเพิลยูนิตี้
(5) เว็บไซต์สํานักข่าวอิศรา
ตอบ 4 หน้า 83 สํานักข่าวออนไลน์ที่จัดทําขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่
1 เว็บไซต์สํานักข่าวพีเพิลยูนิตี้ (People Unity News Agency)
2 เว็บไซต์สํานักข่าวทีนิวส์
3 เว็บไซต์เฟซบุ๊ก นิวส์ไวร์ (FB Newswire)
4 เว็บไซต์สํานักข่าวอาร์วายทีไนน์ ฯลฯ
(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสํานักข่าวออนไลน์ที่มีฐานจากสํานักข่าวแบบดั้งเดิม)

59 รูปแบบของเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่สนทนา พูดคุยอภิปรายในสังคมออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ ผู้ใช้งานเลือกเข้าสังกัดกลุ่มคนที่มีพื้นฐานความสนใจร่วมกัน คือข้อใด
(1) News Group
(2) Webboard
(3) Online News Clipping
(4) Social Network
(5) Online News Agency
ตอบ 2 หน้า 63, 83 – 85 กระดานข่าว (Webboard) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนบทสนทนา พูดคุย อภิปรายในสังคมออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) เลือกเข้าสังกัดกลุ่มคนที่มีพื้นฐานความสนใจร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องราวหรือประเด็น ทางสังคม อันนําไปสู่การรวมกลุ่มกันในลักษณะชุมชนออนไลน์ (Online Communities) เช่น www.pantip.com, www.MThai.com (MThai Talk) ฯลฯ

60 รูปแบบของเว็บไซต์ที่จัดทําในรูปกลุ่มสนทนา แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในหัวข้อต่าง ๆ โดยแบ่งหมวดหมู่ และกําหนดชื่อของกลุ่มตามประเภทของกลุ่มข่าว คือข้อใด
(1) News Group
(2) Webboard
(4) Social Network
(3) Online News Clipping
(5) Online News Agency
ตอบ 1 หน้า 85 – 86 กลุ่มข่าวสาร (News Group) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่จัดทําขึ้นในรูปของ กลุ่มสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในหัวข้อต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานทุกคน มีส่วนร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้อย่างอิสระ โดยมีการแบ่งหมวดหมู่ และกําหนดชื่อของกลุ่มตามประเภทของกลุ่มข่าว ทั้งนี้กลุ่มข่าวต่าง ๆ จะถูกแบ่งหมวดหมู่ และเก็บไว้ในบอร์ดข่าวสารขนาดใหญ่ เรียกว่า “User’s Network” (Usenet) และข่าวใน กลุ่มข่าวทั้งหมดจะถูกเก็บไว้บน Usenet Server

61 กฤตภาคข่าวออนไลน์ เป็นการให้บริการข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตรงกับคําใด
(1) News Group
(2) Webboard
(3) Online News Clipping
(4) Social Network
(5) Online News Agency

ตอบ 3 หน้า 86 – 87 กฤตภาคข่าวออนไลน์ (Online News Clipping) คือ บริการข่าวตัดออนไลน์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยตัดข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ พร้อมกับระบุแหล่งที่มา ของหนังสือพิมพ์ ซึ่งตัวอย่างของเว็บไซต์กฤตภาคข่าวออนไลน์ในประเทศไทยที่เปิดให้บริการ อยู่ในปัจจุบัน เช่น ห้องสมุดข่าวมติชน (Matichon E-library), iQNewsClip, นิวส์เซ็นเตอร์ (Newscenter) เป็นต้น

ข้อ 62 – 64. จงจับคู่ตัวเลือกต่อไปนี้กับข้อความ
(1) Passion Network
(2) Creative Network
(3) Collaboration Network

62 www.youtube.com
ตอบ 2 หน้า 88 – 90 ประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีดังนี้
1 สร้างและประกาศตัวตน (Identity Network) เช่น Web Blog, Twitter, Instagram ฯลฯ
2 สร้างและประกาศผลงาน (Creative Network) เช่น www.youtube.com, Multiply, Flickr, Photobucket, Slideshare ฯลฯ
3 ความชอบในสิ่งเดียวกัน (Passion Network) เช่น Digg, Zickr, Catch, Reddit ฯลฯ
4 เวทีทํางานร่วมกัน (Collaboration Network) เช่น Wikipedia, Google Maps ฯลฯ
5 ประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Reality) มีลักษณะเป็นเกมออนไลน์ (Online Game) เช่น Audition, Second Life, Ragnarok, Pangya, World of Warcraft ฯลฯ
6 เว็บท่า (Portal Website) ที่รวบรวมลิงค์ของสื่อออนไลน์ประเภทต่าง ๆ เช่น www.sanook.com, www.kapook.com ฯลฯ

63 www.wikipedia.com
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

64 www.reddit.com
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

ข้อ 65 – 74. ข้อใดที่กล่าวไว้ถูกต้องให้ระบายตัวเลือก 1 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องให้ระบายตัวเลือก 2

65 YouTube ถูกออกแบบให้ผู้ใช้งานสร้างสรรค์เนื้อหาในลักษณะ User-Generated Content
ตอบ 1 หน้า 88, 90 – 91 พื้นที่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่มุ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะ ที่เรียกว่า “User-Generated Content” (UGC) กล่าวคือ ผู้ใช้งานสื่อเป็นผู้ผลิตเนื้อหาเอง สืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีการผลิตเนื้อหาสารค่อนข้างสะดวกในการใช้งาน ประกอบกับกล้อง ดิจิทัลมีราคาถูกลง อีกทั้งเว็บไซต์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้แบ่งปันภาพและวิดีโอ เช่น YouTube, Flickr, Blog ฯลฯ ต่างก็ถูกออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถ Upload เนื้อหาได้อย่างง่ายดาย

66 การสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์มุ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะ Web 1.0
ตอบ 2 หน้า 88 การสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์จะมุ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะ Web 2.0 คือ เว็บไซต์เชิงสังคมที่มุ่งให้ผู้ใช้งานสร้างเนื้อหาได้เอง แบ่งปันเนื้อหาให้กัน และมีส่วนร่วม ระหว่างกัน โดยจุดเด่นของ Web 2.0 ก็คือ การที่ผู้ใช้งานสามารถสร้างเนื้อหาได้เอง เรียกว่า User-Generated Content (UGC) ซึ่งมีข้อดี คือ ทําให้มีการผลิตเนื้อหาเผยแพร่บนพื้นที่ เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นจํานวนมาก และมีความหลากหลายของมุมมองทางความคิด

67 Web 2.0 เป็นเว็บเชิงสังคม มุ่งให้ผู้ใช้งานสร้างเนื้อหา แบ่งปันเนื้อหา และมีส่วนร่วมระหว่างกัน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

68 www.sanook.com จัดเป็นเว็บไซต์ประเภทเว็บท่า (Portal Website)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

69 www.pantip.com จัดเป็นการให้บริการข้อมูลข่าวสารออนไลน์ในลักษณะ Online News Clipping
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 59. และ 61. ประกอบ

70 ข่าวสารออนไลน์ที่จัดทําโดยสํานักข่าวออนไลน์ เรียกชื่อว่า กฤตภาคข่าวออนไลน์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

71 www.instagram.com เป็นเว็บไซต์ประเภทเครือข่ายทางสังคม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

72 ปัจจุบันสถานีวิทยุกระจายเสียงคลื่นต่าง ๆ ในประเทศไทยกระจายสัญญาณในระบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ ตอบ 2หน้า 21, (คําบรรยาย) ในปัจจุบันสถานีวิทยุกระจายเสียงคลื่นต่าง ๆ ในประเทศไทยยังคง เป็นวิทยุแบบแอนะล็อก (มีระบบ AM และ FM) แต่ได้เริ่มทดสอบกระจายสัญญาณในระบบ ดิจิทัลบ้างแล้ว โดย กสทช. เป็นผู้รับผิดชอบโครงการตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2559 – 2563)

73 คุณลักษณะของข้อมูลข่าวสารที่นําเสนอผ่านสื่อออนไลน์ คือ สามารถนําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสารได้อย่าง รวดเร็วตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real Time)
ตอบ 1 หน้า 91 คุณลักษณะของข้อมูลข่าวสารที่นําเสนอผ่านสื่อออนไลน์ประการหนึ่ง ได้แก่ ทันกาล (Real Time) คือ สามารถนําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง เช่น การนําเสนอข่าวที่เพิ่งเกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ บนเว็บไซต์ขององค์กรสื่อสารมวลชนหรือบนเว็บไซต์สํานักข่าว เป็นต้น

74 คาดว่าแนวโน้มของรูปแบบการให้บริการข้อมูลข่าวสารออนไลน์ในอนาคต จะมุ่งจัดทําเนื้อหาตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีมากขึ้น
ตอบ 2 หน้า 92 แนวโน้มการให้บริการข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ในอนาคต มีดังนี้
1 จัดทําเนื้อหาหลากประเภทมากขึ้น เพื่อมุ่งสนองตอบต่อความต้องการใช้งานของ ผู้ใช้งานอย่างเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
2 เชื่อมต่อข้อมูลข่าวสารผ่านเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคมอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
3 ใช้คุณสมบัติด้านการประสานสื่อ (Multimedia) และใช้ภาพกราฟิกในการนําเสนอ ข้อมูลข่าวสารออนไลน์มากขึ้น

75 E-banking เป็นตัวย่อที่มาจากคําใด
(1) Elective Banking
(2) Electronic Banking
(4) External Banking
(3) Evaluated Banking
(5) Excessive Bankin
ตอบ 2 (คําบรรยาย) E-banking มาจากคําว่า “Electronic Banking” ซึ่งศัพท์บัญญัติภาษาไทย
ได้แก่ การธนาคารอิเล็กทรอนิกส์

76 ข้อใดกล่าวไว้ถูกต้อง
(1) สื่อออนไลน์เป็นสื่อใหม่ และเป็นสื่อที่มีความคงทนต่ํา
(2) สื่อวิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อแบบดั้งเดิม และเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง
(3) สื่อภาพยนตร์เป็นสื่อใหม่ และเป็นสื่อที่มีความคงทนต่ํา
(4) สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อแบบดั้งเดิม และเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง
(5) สื่อวิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อใหม่ และเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

77 สัมพันธภาพของผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ตรงกับคําว่า
(1) องค์กรออนไลน์
(2) บรรษัทออนไลน์
(3) ชุมชนออนไลน์
(4) หุ้นส่วนออนไลน์
(5) สายสัมพันธ์ออนไลน์
ตอบ 3 หน้า 85 การรวมกลุ่มกันในลักษณะของ “ชุมชนออนไลน์” (Online Communities) เช่น Webboard, Facebook, Instagram, YouTube ฯลฯ จัดเป็นรูปแบบของสัมพันธภาพของ ผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยที่สมาชิกของชุมชนออนไลน์มีคุณลักษณะสําคัญ ดังนี้
1 มีความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relationship)
2 มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

78 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของ “ข้อมูลข่าวสารออนไลน์”
(1) ทันกาล
(2) ไร้กาล
(3) อนาคตกาล
(4) ประสานสื่อ
(5) มีช่องทางปฏิสัมพันธ์
ตอบ 3หน้า 91 คุณลักษณะของข้อมูลข่าวสารที่นําเสนอผ่านสื่อออนไลน์ มีดังนี้
1 ทันกาล (Reat Time)
2 ไร้กาล (Shifted Time)
3 ประสานสื่อ (Multimedia)
4 มีช่องทางปฏิสัมพันธ์ (Interactive)

79 แนวคิด Medium is the Message มีสาระสําคัญว่าอย่างไร
(1) สภาพแวดล้อมทางสังคมปั้นแต่งวิถีการสื่อสารของผู้คน
(2) วิถีการสื่อสารของผู้คนปั้นแต่งสภาพแวดล้อมทางสังคม
(3) เทคโนโลยีการสื่อสารปั้นแต่งวิถีการสื่อสารของคนในสังคม
(4) วิถีสื่อสารของคนในสังคมปั้นแต่งเทคโนโลยีการสื่อสาร
(5) คนในสังคมปั้นแต่งวิถีของเทคโนโลยีการสื่อสาร
ตอบ 3 หน้า 109 Marshall McLuhan นักวิชาการสื่อสารมวลชนชาวอเมริกัน เป็นผู้ที่คิดแนวคิด “สื่อ คือ สาร” (Medium is the Message) และมีความเชื่อว่า สื่อเป็นสิ่งกําหนดหรือปั้นแต่ง วัฒนธรรมทางการสื่อสารของมนุษย์ หรือรูปแบบทางเทคโนโลยีปั้นแต่งและกําหนดวิถีทางการ สื่อสารของคนในสังคม ตลอดจนเปลี่ยนธรรมชาติในการสื่อสารของมนุษย์ทั้งสิ่งที่สื่อ วิธีที่สื่อและการรับรู้เกี่ยวกับรูปแบบการสื่อสารของคนในสังคม

80 ผู้ใดเป็นเจ้าของแนวคิด Medium is the Message
(1) มาร์แชล แมคเกรเกอร์
(2) มาร์แชล แมคลูฮาน
(3) มาร์แชล แมคโดนัลด์
(4) มาร์แชล แมคมาร์เกอร์
(5) มาร์แชล โอโดแนลด์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

81 สื่อใหม่ในข้อใดต่อไปนี้ที่จัดอยู่ในประเภท Virtual Reality
(1) E-mail
(2) Crowd Source
(3) Website
(4) Online Game
(5) E-book
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

82 อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ ก่อให้เกิดผลกระทบ
ด้านต่าง ๆ ยกเว้นข้อใด
(1) เปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีทางเลือกในการเปิดรับข่าวสารในประเด็นที่สื่อแบบดั้งเดิมไม่ได้นําเสนอ
(2) เป็นแหล่งสารของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อแบบดั้งเดิม
(3)ผู้ใช้งานตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารอย่างเข้มงวดก่อนเผยแพร่
(4) ผู้ใช้งานสามารถส่งผ่านข้อมูลจากระดับบุคคลไปสู่กลุ่มคนต่างเครือข่าย
(5) ทุกคนทําหน้าที่นําาเสนอข้อมูลข่าวสารไปสู่สาธารณะอย่างเสรี
ตอบ 3 หน้า 95, 99 – 100 ผลกระทบด้านลบจากการที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ คือ ผู้ใช้งานนําเสนอข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่ต้องผ่าน กระบวนการตรวจสอบ คัดเลือก คัดกรอง จากบรรณาธิการ จึงทําให้ข้อมูลข่าวสารผิดพลาด ได้ง่าย จนอาจจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สู่สาธารณชน(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นผลกระทบด้านบวก)

83 แนวโน้มในอนาคตของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน คือ ประกาศความเป็นมืออาชีพให้เป็นที่ประจักษ์
โดย…
(1) นําเสนอข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพแตกต่างจากผู้ใช้งานทั่วไป
(2) นําเสนอข้อมูลข่าวสารภายใต้กรอบจริยธรรมและจรรยาบรรณ
(3) ส่งเสริมบุคลิกภาพความเป็นนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนให้แตกต่างจากผู้ใช้งานทั่วไป
(4) นําเสนออัตลักษณ์ของตนให้แตกต่างจากผู้ใช้งานทั่วไป
(5) นําเสนอข้อมูลข่าวสารที่ฉับไว เพื่อสนองความต้องการของผู้รับสารอย่างทันท่วงที
ตอบ 2 หน้า 100 – 101 แนวโน้มที่เกี่ยวกับบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนในอนาคต จะมีลักษณะอยู่ประการหนึ่ง ได้แก่ การประกาศความเป็นนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนมืออาชีพ (Professional) ให้เป็นที่ประจักษ์ชัด กล่าวคือ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนต้องทําหน้าที่ นําเสนอข้อมูลข่าวสารภายใต้กรอบปฏิบัติด้านวิชาชีพ กรอบจริยธรรม และจรรยาบรรณทาง วิชาชีพสื่อสารมวลชน อันจะนําไปสู่การยอมรับ เชื่อถือ และเชื่อมั่นจากผู้เปิดรับข้อมูลข่าวสารในสังคมต่อไป

84 ปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Cyber Crime) เป็นประเด็นปัญหาจริยธรรมทางการสื่อสารผ่าน สื่ออินเทอร์เน็ตข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility
(5) Information Literacy
ตอบ 4 หน้า 118 – 119 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมการเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) คือ การก่อปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หรืออาชญากรรมไซเบอร์ (Computer Crime or Cyber Crime) เช่น การพยายามเจาะเข้าสู่ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ การเจาะเข้าสู่ระบบรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคล ฯลฯ

85 การคัดเลือก คัดกรอง และตรวจสอบความถูกต้องก่อนเผยแพร่เนื้อหาผ่านสื่อ คือ การทําหน้าที่ใดของ
ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน
(1) Goalkeeper
(2) Housekeeper

(3) Gatekeeper
(4) Scorekeeper
(5) Groundskeeper
ตอบ 3 หน้า 100, 110 ด้วยเหตุที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของ ตนเองสู่สาธารณะ โดยไม่มีผู้ทําหน้าที่เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper) ส่งผลให้เกิด ผลกระทบต่อวิชาชีพวารสารศาสตร์ของสื่อแบบดั้งเดิมที่ให้ความสําคัญกับผู้เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper) ซึ่งก็คือ บรรณาธิการผู้ทําหน้าที่คัดเลือก คัดกรอง และตรวจสอบ ความถูกต้องของเนื้อหาสารก่อนนําเสนอสู่ผู้รับสารในสังคม

86 การรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อนําไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นใหม่ แล้วนําไปขายให้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สิ่งนี้ขัดกับจริยธรรมการสื่อสารข้อใด
(1) Information Accuracy
(2) Information Privacy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 2 หน้า 115 – 116 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) เช่น การลักลอบเข้าไปเปิดอ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ของผู้อื่น, การใช้ข้อมูลของ ลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด, การรวบรวมหมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ของอีเมล และข้อมูลส่วนตัว เพื่อนําไปใช้สร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้า ขึ้นใหม่ แล้วนําไปขายให้แก่บริษัทอื่น ฯลฯ

87 ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กโพสเนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทบุคคลอื่น สิ่งนี้ขัดกับจริยธรรมข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) จริยธรรมของผู้ใช้สื่อ
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 4 หน้า 119 – 120 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมของผู้ใช้สื่อ เช่น ผู้ใช้งาน (User) หรือ ผู้เปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อ ได้นําเสนอเนื้อหาหรือข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทบน พื้นที่การใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การใช้โปรแกรม Camfrog ซึ่งผู้ใช้งานสามารถ เห็นหน้าค่าตากันในระหว่างพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อมุ่งสร้างความรู้สึกเสมือนอยู่ใกล้ชิดกัน แต่ผู้ใช้งานบางคนกลับใช้เป็นช่องทางในการจัดทําและให้บริการเนื้อหาหรือ ภาพลามกอนาจารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

88 คําว่า Citizen Reporter ในภาษาไทยใช้คําใด
(1) พลเมืองนักข่าว
(2) นักข่าวพลเมือง
(3) ประชากรนักข่าว
(4) พลเมืองนักวารสารศาสตร์
(5) นักวารสารศาสตร์พลเมือง
ตอบ 1 หน้า 95, 104 นักข่าวพลเมือง ผู้สื่อข่าวภาคพลเมือง หรือผู้สื่อข่าวภาคประชาชน (Citizen Reporter) หมายถึง ผู้ใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตทุกคน ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้ส่งสารผ่านพื้นที่ของ ตนเองไปสู่สาธารณะได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยจะมีบทบาทเป็นผู้รายงานข่าวสารคล้ายกับ บทบาทของผู้สื่อข่าว (News Reporter) ในองค์กรสื่อสารมวลชนแบบดั้งเดิม เช่น อาณิก มีอาชีพเป็นแม่ค้าออนไลน์ และได้นําเสนอข่าวสารด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ่านทาง เว็บบล็อก (Web Blog) เป็นต้น

89 บุคคลในข้อใดต่อไปนี้จัดเป็น Citizen Reporter
(1) อาจินต์เป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ที่เผยแพร่ข่าวผ่านสื่อออนไลน์อีกทางหนึ่ง
(2) อารมณ์เป็นผู้สื่อข่าวที่มุ่งเข้าถึงแหล่งข่าวประชาชนทั่วไป
(3) อาณิกมีอาชีพแม่ค้าออนไลน์ และนําเสนอข่าวสารด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ่านเว็บบล็อก
(4) อานนท์เป็นผู้สื่อข่าวที่รายงานข่าวสารด้านสํามะโนประชากร
(5) อากรเป็นผู้สื่อข่าวผ่านสื่อออนไลน์ และรายงานข่าวผ่านสิ่งพิมพ์แบบกระดาษด้วย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

90 อินเทอร์เน็ตก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิชาชีพวารสารศาสตร์ของสื่อแบบดั้งเดิมที่ให้ความสําคัญกับผู้เฝ้า ประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper) ด้วยเหตุที่
(1) เปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสาร – ผู้รับสารโดยเท่าเทียม
(2) เปิดโอกาสให้ทุกคนมีโอกาสสื่อสารตอบกลับผ่านรูปแบบการสื่อสารสองทาง
(3) เปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ
(4) เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่จํากัด
(5) เปิดโอกาสให้ทุกคนสื่อสารผ่านเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ

91 การกํากับดูแลเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทย อยู่ในอํานาจหน้าที่ของหน่วยงานใด
(1) สภาวิชาชีพกิจการแพร่ภาพการกระจายเสียง (ประเทศไทย)
(2) สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
(3) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
(4) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(5) กระทรวงมหาดไทย
ตอบ 4 หน้า 124, (คําบรรยาย) การกํากับดูแลเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต อยู่ในอํานาจ หน้าที่ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที (ปัจจุบัน คือ กระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) โดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งมุ่งเน้นในการกํากับดูแลเกี่ยวกับการกระทําความผิดต่อกฎหมายเป็นสําคัญ

92 ดูแลเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต อยู่ในอํานาจหน้าที่ของหน่วยงานในข้อ 91 โดยอาศัยอํานาจตามความในกฎหมายฉบับใด
(1) พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
(2) พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2538
(3) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2551
(4) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
(5) พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2552
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93 ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ข้อใดถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
(1) ข่าวประจําวัน
(2) คําพิพากษา คําวินิจฉัยของทางราชการ
(3) งานดนตรีกรรม
(4) รัฐธรรมนูญ
(5) ระเบียบ ข้อบังคับของกระทรวง

ตอบ 3 หน้า 127, 129 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 7 ระบุว่า สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงาน อันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. นี้
1 ข่าวประจําวันและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนก วรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
2 รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
3 ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง คําชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
4 คําพิพากษา คําสั่ง คําวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5 คําแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม 1. – 4. ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงาน อื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทําขึ้น

94 ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ระบุว่า งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น โดยการรับจ้างบุคคลอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของใคร
(1) ผู้รับจ้าง
(2) องค์กร
(3) ผู้ว่าจ้าง
(4) ทั้งผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้าง
(5) ทั้งองค์กรและผู้ว่าจ้าง
ตอบ 3 หน้า 130 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 10 ระบุว่า งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น โดยการรับจ้างบุคคลอื่น ให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้าง จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

95 ลายน้ำที่ประทับบนภาพถ่ายดิจิทัล ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 จัดเป็นข้อใด
(1) ข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) มาตรการทางเทคโนโลยี
(3) มาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) มาตรการทางข้อมูลการบริหารสิทธิ
ตอบ 1 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (2) ระบุไว้ว่า “ข้อมูลการบริหาร สิทธิ” หมายความว่า ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์ นักแสดง การแสดง เจ้าของ ลิขสิทธิ์ หรือระยะเวลาและเงื่อนไขในการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ตลอดจนตัวเลขหรือรหัสแทน ข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลเช่นว่านี้ติดอยู่หรือปรากฏเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึก การแสดง (เช่น การจัดทําเครื่องหมายลายน้ําบนรูปภาพ ธนบัตร, เลขมาตรฐานสากลประจํา หนังสือ หรือ International Standard Book Number : ISBN เป็นต้น)

96 “การตั้งรหัสในการเข้ารับฟังเพลงต่าง ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยกําหนดให้ผู้ที่ต้องการฟังเพลงหรือ ดาวน์โหลดเพลงต้องจ่ายเงิน เพื่อให้ได้รหัสในการฟังหรือดาวน์โหลดเพลงนั้น ๆ” ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 การตั้งรหัสในการเข้ารับฟังเพลงดังกล่าว จัดเป็นข้อใด
(1) ข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) มาตรการทางเทคโนโลยี
(3) มาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) ข้อมูลบ่งชี้กรรมสิทธิ์
ตอบ 2 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (3) ระบุไว้ว่า “มาตรการทาง เทคโนโลยี” หมายความว่า เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการทําซ้ําหรือควบคุมการ เข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง โดยเทคโนโลยีเช่นที่ว่านี้ได้นํามาใช้กับงาน อันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

97 จากข้อ 96. หากนายเก่งกาจหาวิธีการเข้าไปฟังเพลงหรือดาวน์โหลดเพลงฟรี (ไม่จ่ายเงินตามเงื่อนไข)
กล่าวได้ว่าการกระทําของนายเก่งกาจเข้าข่ายข้อใด
(1) ละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) หลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี
(3) หลบเลี่ยงมาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ละเมิดข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) ละเมิดข้อมูลบ่งชี้กรรมสิทธิ์
ตอบ 2 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (4) ระบุว่า “การหลบเลี่ยง มาตรการทางเทคโนโลยี” หมายความว่า การกระทําด้วยประการใด ๆ ที่ทําให้มาตรการ ทางเทคโนโลยีไม่เกิดผล (ดูคําอธิบายข้อ 96. ประกอบ)

98 International Standard Book Number : ISBN หรือเลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 จัดเป็นข้อใด
(1) ข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) มาตรการทางเทคโนโลยี
(3) มาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) มาตรการทางข้อมูลการบริหารสิทธิ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

99 ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 “ข้อมูล ข้อความ คําสั่ง ชุดคําสั่งหรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย”
หมายถึงข้อใด
(1) ระบบคอมพิวเตอร์
(2) ข้อมูลคอมพิวเตอร์
(3) ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
(4) ระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์
(5) ระบบจราจรทางคอมพิวเตอร์
ตอบ 2 หน้า 159 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 3 (2)
ระบุไว้ว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายถึง ข้อมูล ข้อความ คําสั่ง ชุดคําสั่งหรือสิ่งอื่นใดบรรดา ที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความ รวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

100 ตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ระบุว่า “ผู้ใดส่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการ
ส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข” กําหนดโทษเช่นไร

(1) ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกินเจ็ดหมื่นบาท
(3) ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
(4) ปรับไม่เกินสองแสนบาท
(5) ปรับไม่เกินสามแสนบาท
ตอบ 3 หน้า 160 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 11 ได้ระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

CDM2105 MCS2390 เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารมวลชน s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2390 (MCS2108) เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารมวลชน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) จุลสาร
(2) www.sanook.com
(3) Digital Language
(4) เทคโนโลยี

1 การนําความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ประโยชน์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านอุตสาหกรรม
ตอบ 4 หน้า 1 – 2 บราวน์ (Brown) ให้ความหมายของ “เทคโนโลยี” (Technology) ว่า เป็นการ นําวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์ ส่วนพจนานุกรมเว็บสเตอร์ (Webster) ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ประการหนึ่ง คือ การใช้ทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม

2 จัดเป็นสื่อสารมวลชนประเภท New Media
ตอบ 2 หน้า 35 – 50, 109, (คําบรรยาย) สื่อใหม่ (New Media) ได้แก่ อินเทอร์เน็ต, สื่อออนไลน์, เว็บไซต์ (เช่น www.sanook.com), อีเมล (E-mail) ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะสําคัญดังนี้
1 มีการใช้ภาษาระบบตัวเลขหรือภาษาดิจิทัล (Digital Language) เป็นกลไกในการสื่อสาร ข้อมูลและกระบวนการทํางานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2 ผู้รับสารมีลักษณะ Active Seeker คือ ผู้รับสารกระตือรือร้นเสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสาร ด้วยตัวเองตามความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นของตัวเองอย่างอิสรเสรี
3 มีช่องทางการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารในลักษณะของการสื่อสารแบบ สองทาง (Two-way Communication) ฯลฯ

3 ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัดในระบบการทํางาน
ตอบ 4 หน้า 3 โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อกระบวนการผลิตหรือระบบ
การทํางานใด ๆ ก็ตามอยู่ 3 ประการ ได้แก่
1 ประสิทธิภาพ (Efficiency)
2 ประสิทธิผล (Productivity)
3 ประหยัด (Economy)

4 ผู้รับสารมีลักษณะเป็น Active Seeker
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

5 ผู้รับสารมีลักษณะเป็น Passive Audience
ตอบ 1 หน้า 17, 27, 32 – 33 สื่อดั้งเดิม (Traditional Media) ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ (เช่น หนังสือพิมพ์
จดหมายข่าว (News Letter), นิตยสาร, จุลสาร ฯลฯ) สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อวิทยุกระจายเสียง
สื่อภาพยนตร์ ฯลฯ มีลักษณะของผู้รับสารดังนี้
1 ผู้รับสารในสังคมคุ้นเคยและมีทัศนคติเชิงบวกต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อดั้งเดิม เนื่องจากเป็นสื่อที่มีบทบาทในกระบวนการสื่อสารมวลชนในสังคมมายาวนาน

2 ผู้รับสารมีลักษณะ Passive Audience คือ มีหน้าที่เปิดรับข้อมูลข่าวสาร และจะได้รับ ข้อมูลข่าวสารก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารนําเสนอหรือส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางการสื่อสารมาสู่ผู้รับสารเท่านั้น
3 มีลักษณะการสื่อสารไปยังผู้รับสารแบบทางเดียว (One-way Communication) ดังนั้น จึงแทบไม่มีช่องทางในการรับรู้ปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ของผู้รับสาร ฯลฯ

6 กลไกในการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

7 นําเสนอเนื้อหาสารในรูปภาษาเขียน
ตอบ 1 หน้า 17, 27 – 28, 33 คุณลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media) เช่น วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร จดหมายข่าว (News Letter) ฯลฯ ซึ่งจัดเป็นสื่อแบบดั้งเดิม มีดังนี้
1 เข้าถึงกลุ่มผู้รับสารได้อย่างกว้างขวาง
2 นําเสนอเนื้อหาสารในรูปภาษาเขียน (ตัวอักษร) และภาพ
3 มีความน่าเชื่อถือสูง จึงมักถูกใช้เป็นสื่อเพื่อการอ้างอิง (Referenced Media)
4 มีความคงทนสูง คือ ผู้รับสารสามารถย้อนกลับไปเปิดรับเนื้อหาสารจากสื่อได้ซ้ําครั้ง ตามที่ตนต้องการ
5 จัดเป็นสื่อสารมวลชนสื่อแรกที่มีความเก่าแก่ที่สุด ฯลฯ

8 มีช่องทางในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

9 สื่อแบบดั้งเดิม มีความคงทนสูง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

10 ภาษาระบบตัวเลข
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

11 ภาษาแรกของมนุษยชาติ คือ
(1) ภาษาเขียน
(2) ภาษาพูด
(3) ภาษากาย
(4) ภาษาสัญลักษณ์
(5) ภาษาระบบตัวเลข
ตอบ 2 หน้า 6 – 7 ภาษาพูด ถือเป็นวัจนภาษาที่ถูกบันทึกไว้ว่า เป็นภาษาแรกเริ่มของมนุษยชาติ ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้อวัยวะที่ติดตัวมาแต่กําเนิดในการสร้าง “สาร” ในรูปของเสียง และสร้างความหมายในรูปของคําพูด เพื่อสื่อสารระหว่างกัน

12 นับตั้งแต่มนุษย์มีที่อยู่อาศัยรวมกันเป็นหลักแหล่ง มนุษย์เรียนรู้ที่จะสื่อสารกันในลักษณะใด
(1) สื่อสารระหว่างบุคคล
(2) สื่อสารด้วยภาษากาย
(3) สื่อสารมวลชน
(4) สื่อสารด้วยภาษาเขียน
(5) สื่อสารด้วยภาษาพูด
ตอบ 1 หน้า 7 การสื่อสารระหว่างบุคคล ถือเป็นรูปแบบการสื่อสารพื้นฐานของมนุษย์ นับตั้งแต่ มนุษย์ถือกําเนิดขึ้นบนโลก เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องมีที่อยู่อาศัย รวมกันเป็นหลักแหล่ง ดังนั้นการสื่อสารจึงเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในการ ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก ความต้องการ ความรู้ และประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อดํารงชีวิตอยู่ร่วมกันในชุมชนหรือสังคม

13 ข้อใดคือความหมายที่ถูกต้องของสื่อแบบดั้งเดิม (Traditional Media)
(1) สื่อที่เกิดขึ้นมาเนิ่นนานแล้ว แต่ปัจจุบันไม่มีบทบาทอีกต่อไป
(2) สื่อที่มีเทคโนโลยีการใช้งานแบบดั้งเดิม ไม่ทันยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง
(3) สื่อที่เคยมีบทบาทในสังคมมนุษย์ แต่ปัจจุบันกําลังลดบทบาทลง
(4) สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารตัวหนังสือหรือเสียงหรือภาพเพียงอย่างเดียวผ่านช่องทางการสื่อสาร
(5) สื่อที่มีรูปแบบการส่งสารผ่านช่องทางการสื่อสารแบบแอนะล็อก
ตอบ 4 หน้า 14 นิยามของสื่อแบบดั้งเดิม (Traditional Media) ประกอบด้วย
1 สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารเพียงอย่างเดียว หมายถึง สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารในรูปตัวหนังสือ หรือเสียงหรือภาพเพียงอย่างเดียวผ่านช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อวิทยุกระจายเสียง
2 สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารสองอย่าง หมายถึง สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารทั้งในรูปภาพและเสียง พร้อมกันผ่านช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ สื่อวิทยุโทรทัศน์ และสื่อภาพยนตร์

14 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media)
(1) มีความคงทนสูง
(2) เป็นสื่อที่คนทุกรุ่นในสังคมคุ้นเคย
(3) มีความน่าเขือถือสูง
(4) เป็นสื่อสารมวลชนที่เก่าแก่ที่สุด
(5) สามารถนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะ Real Time
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 5 และ 7 ประกอบ

15 Nipcow Disc เป็นการทดลองแพร่ภาพเคลื่อนไหวโดยใช้เทคโนโลยีในข้อใด
(1) เทคโนโลยีจักรกล
(2) เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
(3) เทคโนโลยีดิจิทัล
(4) เทคโนโลยีสื่อประสม
(5) เทคโนโลยีแรงคน
ตอบ 1 หน้า 22 ใน ค.ศ. 1884 พอล นิปโคว์ (Paul Nipkow) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน
ที่ประสบความสําเร็จในการทดลองแพร่ภาพเคลื่อนไหวด้วยเทคโนโลยีจักรกลเป็นครั้งแรก
เพราะเขาได้ค้นพบการสแกนภาพจากจานหมุนที่ถูกตั้งชื่อว่า “Nipcow Disc ซึ่งนําไปสู่ การประดิษฐ์สื่อวิทยุโทรทัศน์จักรกลในยุคแรก แต่ก็มีข้อจํากัดหลายประการ เช่น เสียงดัง มีขนาดใหญ่ และยังมีระบบการทํางานที่ไม่สัมพันธ์กันระหว่างจานรับกับจานส่ง

16 ผู้ฟังจะได้รับฟังก็ต่อเมื่อสถานีเปิดและออกอากาศ คือ ลักษณะของผู้รับสารจากสื่อประเภทใด
(1) Local Media
(2) New Media
(3) Traditional Media
(4) Alternative Media
(5) Social Media
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

17 ลักษณะของผู้รับสารในข้อ 16. ตรงกับคําใด
(1) Active Seeker
(2) Active Receiver
(3) Passive Audience
(4) Passive Seeker
(5) Negative Audience
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

18 กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่างๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล ตรงกับคําใด
(1) Digital Evolution
(2) Digitization
(3) Digital Revolution
(4) Digital Innovation
(5) Digitalization

ตอบ 2 หน้า 36 การปฏิวัติแห่งระบบดิจิทัล หรือการปฏิวัติแห่งระบบตัวเลข (Digital Revolution) หมายถึง ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ในรูปของข้อความ เสียง รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว ถูกแปลง ให้เป็นภาษารูปแบบเดียวกัน คือ ภาษาดิจิทัล (Digital Language) ซึ่งรูปแบบของกระบวนการ แปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล ตรงกับคําว่า “การทําให้เป็นภาษา ระบบตัวเลข” (Digitization)

19 สื่อนิตยสารเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง หมายความว่าอย่างไร
(1) เป็นสื่อที่มีอายุการใช้งานยาวนาน
(2) เป็นสื่อที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีความเสถียรสูง
(3) เป็นสื่อที่ผู้รับสารสามารถเปิดรับสารได้ซ้ําครั้ง
(4) เป็นสื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีน้อยมาก
(5) เป็นสื่อที่ไม่ถูกคุกคามจากปัจจัยภายนอกได้อย่างง่ายดาย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

20 ข้อใดคือความหมายของคําว่า การปฏิวัติแห่งระบบดิจิทัล (Digital Revolution)
(1) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ถูกแปลงให้เป็นภาษาดิจิทัล
(2) ข้อมูลข่าวสารในรูปภาษาดิจิทัล ถูกแปลงให้อยู่ในรูปข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
(3) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ ถูกแปลงให้เป็นสัญญาณเสียง
(4) ข้อมูลข่าวสารในรูปสัญญาณเสียง ถูกแปลงให้อยู่ในรูปข้อความ
(5) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ ถูกแปลงให้อยู่ในรูปสัญญาณภาพเคลื่อนไหว
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

21 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ New Media
(1) เป็นสื่อที่เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกัน
(2) มีรูปแบบการสื่อสารแบบทางเดียว
(3) มีรูปแบบการสื่อสารแบบสองทาง
(4) ส่งสารผ่านช่องทางสื่อสารได้หลายอย่างพร้อมกัน
(5) มีศักยภาพเป็นสื่อแบบประสม
ตอบ 2 หน้า 38 Burnett, R. and Marshall (2003) ได้นิยามสื่อใหม่ (New Media) ว่า เป็นสื่อที่
เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกัน และสื่อยังทําหน้าที่ส่งสาร ผ่านช่องทางการสื่อสารได้หลาย ๆ อย่างพร้อมกัน คือ ภาพ เสียง และข้อความ โดยการรวม เทคโนโลยีของสื่อดั้งเดิมเข้ากับความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสัมพันธ์ ทําให้มีรูปแบบการ สื่อสารแบบสองทางผ่านทางระบบเครือข่ายและมีศักยภาพเป็นสื่อแบบประสม (Multimedia)

22 Freedom from formats หมายถึง ความเป็นอิสระด้านใดของสื่อใหม่
(1) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านรูปทรง
(2) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านขนาด
(3) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านรูปแบบ
(4) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพรมแดน
(5) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพื้นที่
ตอบ 3 หน้า 38 – 39 Kent Wertime and Lan Fenwick กล่าวว่า ลักษณะสําคัญของเนื้อหาใน รูปแบบดิจิทัล ประกอบด้วย ความเป็นอิสระ 5 ประการ ได้แก่

1 ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านเวลา (Freedom from scheduling)
2 ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพรมแดน (Freedom from geological boundaries)
3 ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านขนาด (Freedom to scale)
4 ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านรูปแบบ (Freedom from formats)
5 ความเป็นอิสระจากยุคนักการตลาดสร้างเนื้อหา มาสู่ยุคนักบริโภคริเริ่มสร้างและควบคุม
เนื้อหาเอง (Freedom from marketer-driven to consumer-initiated, created and controlled)

23 การทําให้เป็นภาษาระบบตัวเลข (Digitization) หมายถึงข้อใด
(1) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในระบบแอนะล็อก
(2) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสื่อแอนะล็อก
(3) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล
(4) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสื่อดิจิทัล
(5) การแปลงข้อมูลข่าวสารจากระบบดิจิทัลให้อยู่ในระบบแอนะล็อก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

24 ด้วยคุณลักษณะข้อใดที่ส่งผลให้อินเทอร์เน็ต (Internet) ถูกจัดเป็นสื่อสารมวลชน
(1) เป็นสื่อที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วไปสู่ผู้รับสารในวงกว้าง
(2) เป็นสื่อที่มีช่องทางให้ผู้รับสารสามารถสื่อสารตอบกลับแบบสองทาง
(3) เป็นสื่อที่นําเสนอเนื้อหาสารได้ในลักษณะเดียวกันกับสื่อแบบดั้งเดิมทุกประเภท
(4) เป็นสื่อที่ใช้ภาษาดิจิทัลเป็นกลไกในกระบวนการทํางาน
(5) เป็นสื่อที่มีการส่งเนื้อหาสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในลักษณะเครือข่าย
ตอบ 3 หน้า 40, 55, (คําบรรยาย) สื่ออินเทอร์เน็ตถูกจัดเป็นสื่อสารมวลชนหรือสื่อมวลชน (Mass Communication/Mass Media) ด้วยศักยภาพทางเทคโนโลยีที่สามารถนําเสนอเนื้อหาสาร ได้ในลักษณะเดียวกันกับสื่อมวลชนแบบดั้งเดิมทุกประเภททั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และภาพยนตร์

25 IOS จัดเป็นระบบปฏิบัติการในข้อใด
(1) Mobile Telephone
(2) Mobile Platform
(3) Mobile Game
(4) Mobile Computing
(5) Mobile Network
ตอบ 2 หน้า 41 เทคโนโลยีสําหรับอุปกรณ์พกพาหรือแพลตฟอร์มเคลื่อนที่ (Mobile Platform) หมายถึง ระบบปฏิบัติการสําหรับอุปกรณ์พกพา ซึ่งประกอบไปด้วย ระบบปฏิบัติการของ โทรศัพท์เคลื่อนที่หรืออุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่อื่น ๆ โดยมีผู้ให้บริการเทคโนโลยีในระบบ ปฏิบัติการหลากหลายเครือข่ายการสื่อสาร เช่น ระบบปฏิบัติการ IOS, ระบบปฏิบัติการ Android, ระบบปฏิบัติการ Windows Phone 7 ฯลฯ

26 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จัดเป็น New Media ตรงกับคําในข้อใด
(1) E-business
(2) E-marketing
(3) E-buying
(4) E-banking
(5) E-commerce
ตอบ 5 หน้า 66 สื่ออินเทอร์เน็ตมักถูกใช้เป็นช่องทางประกอบธุรกรรมทางธุรกิจทั้งการซื้อข อขายสินค้า ออนไลน์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ออนไลน์ การโอนเงินออนไลน์ การจองตั๋วเครื่องบินออนไลน์
และยังเป็นช่องทางสําคัญที่ผู้ประกอบการใช้ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคําว่า “E-commerce” (Electronic Commerce) หรือที่เราเรียกกันใน ภาษาไทยว่า “การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” เช่น www.lazada.com, www.alibaba.com, www.shopee.co.th, www.tarad.com ฯลฯ

27 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บไซต์
ที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ คือข้อใด
(1) Upload
(2) Download
(3) Streaming
(4) Web browser
(5) Link
ตอบ 4 หน้า 41, (คําบรรยาย) โปรแกรมค้นดูเว็บ (Web browser) คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บไซต์ที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษา HTML เป็นต้น ทั้งนี้โปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือในการติดต่อกับ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า World Wide Web ตัวอย่างของเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer, Mozila Firefox, Google Chrome เป็นต้น

ข้อ 28. – 30. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Digital
(2) Analog
(3) Mobile Platform

28 ระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

29 สัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) มีขนาดของสัญญาณไม่คงที่
ตอบ 2 หน้า 37 สัญญาณแอนะล็อก (Analog Signal) คือ สัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) มีขนาดของสัญญาณไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกัน โดยการส่งสัญญาณแบบแอนะล็อกจะถูกรบกวนให้มีการ แปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เช่น สัญญาณโทรศัพท์, สัญญาณวิทยุกระจายเสียง, สัญญาณ วิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น

30 สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ที่มีขนาดแน่นอน
ตอบ 1 หน้า 37 สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) คือ สัญญาณข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ที่มีขนาดแน่นอน ซึ่งอยู่ระหว่างค่า 2 ค่า ได้แก่ สัญญาณระดับสูงสุด (แทนค่าด้วยเลข 1) และ สัญญาณระดับต่ําสุด (แทนค่าด้วยเลข 0) โดยเป็นระบบสัญญาณที่ใช้ในการทํางานและติดต่อ สื่อสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ เมื่อนํามาใช้ในระบบการส่งสัญญาณผ่านสื่ออื่น ๆ ทั้งวิทยุโทรทัศน์ และวิทยุกระจายเสียง พบว่า ก่อให้เกิดผลดีทั้งในแง่ของความแม่นยํา รวมทั้งความชัดเจนของ สัญญาณภาพและเสียง

31 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่นิยามของคําว่า Media Convergence
(1) การบรรจบกันของเทคโนโลยีสื่อแบบดั้งเดิมกับสื่อใหม่
(2) การแปลงเนื้อหาจากแหล่งสารต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล พร้อมกับแปลงข้อมูลดิจิทัล ให้ปรากฏในลักษณะเดียวกันกับเนื้อหาสารจากแหล่งสาร
(3) การหลอมรวมระหว่างสื่อ
(4) การรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว
(5) การหลอมรวมเนื้อหาดิจิทัลผ่านสื่อแบบดั้งเดิม

ตอบ 5 หน้า 50 – 51 Media Convergence หมายถึง การบรรจบกันของเทคโนโลยีสื่อแบบดั้งเดิม กับสื่อใหม่ หรือเป็นการรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว จนต่อมาได้มี ผู้นิยามศัพท์ว่า “การหลอมรวมระหว่างสื่อ หรือการหลอมรวมสื่อ” อันเป็นผลมาจากศักยภาพ ในการแปลงเนื้อหาจากแหล่งสารต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปข้อมูลดิจิทัลหรือภาษาดิจิทัล พร้อมกับการ แปลงข้อมูลดิจิทัลให้ปรากฏในลักษณะเดียวกันกับรูปแบบเนื้อหาสารจากแหล่งสารที่นําเสนอ
ผ่านสื่อแบบดั้งเดิม

32 หลี หมิง ดาราชาวจีนถูกทาบทามให้ร่วมแสดงในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด เป็นปรากฏการณ์ใด
(1) Corporate Convergence
(2) Global Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Functional Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 2 หน้า 54 Global Convergence หมายถึง ปรากฏการณ์การหลอมรวมระดับโลกจนส่งผล ให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม อันเป็นผลมาจากการเผยแพร่เนื้อหาสื่อระหว่างกันของ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น การนําดาราชาวเอเชียมาร่วมแสดงอยู่ในภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ด ซึ่งเป็นผลมาจากการเผยแพร่ผลงานภาพยนตร์เอเชียไปทั่วโลก เป็นต้น

33 การนํานวนิยายเรื่อง A Jungle Book ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ หนังสือการ์ตูน และเกมออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างกว่าเดิม เป็นปรากฏการณ์ที่ตรงกับข้อใด
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Economic Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 4 หน้า 53 Economic Convergence หมายถึง ปรากฏการณ์ในการหลอมรวมธุรกิจสื่อ เพื่อขยายพื้นที่หรือฐานทางการตลาดให้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม เช่น การนํานวนิยายเรื่อง A Jungle Book ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ หนังสือการ์ตูน และเกมออนไลน์ เพื่อขยายฐาน ลูกค้าให้กว้างกว่าเดิม เป็นต้น

34 เดลินิวส์รวมศูนย์ข่าวไว้ที่เดียวเพื่อให้บริการข้อมูลข่าวผ่านทุกสื่อในเครือ ตรงกับคําใด
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(5) Cultural Convergence
(4) Social Convergence

ตอบ 1 หน้า 52 Operational Convergence หมายถึง การรวมศูนย์การปฏิบัติงานไว้ในที่เดียว หรือศูนย์เดียว โดยผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจสื่อหลากหลายประเภทพยายามรวมศูนย์การ ปฏิบัติงานไว้ที่เดียวกัน เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ และเนชั่น รวมศูนย์ข่าวไว้ที่เดียวเพื่อให้บริการ ข้อมูลข่าวผ่านทุกสื่อในเครือ เป็นต้น

35 สมาร์ทโฟนเครื่องเดียวรวมรูปแบบการใช้งานของสื่อต่าง ๆ ทั้งกล้องถ่ายภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว โปรแกรมเล่นเกม โปรแกรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต สิ่งนี้ตรงกับคําว่า
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Social Convergence
(5) Cultural Convergence

ตอบ 3 หน้า 51 Technological or Device Convergence หมายถึง การแปลงเนื้อหาของสื่อ ทุกประเภททั้งตัวอักษร ภาพ เสียง ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล และนําเทคโนโลยีของสื่อแต่ละ ประเภทมารวมเอาไว้ในสื่อหรืออุปกรณ์เดียว เช่น สมาร์ทโฟนเครื่องเดียวหลอมรวมรูปแบบ การใช้งานของสื่อต่าง ๆ ทั้งกล้องถ่ายภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว โปรแกรมอัดวิดีโอ โปรแกรม เล่นเกม โปรแกรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

36 กิตติเป็นผู้สื่อข่าวที่สามารถทําข่าวเพื่อเผยแพร่ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง สื่อออนไลน์ ในองค์กรสื่อที่ เขาสังกัด ลักษณะการทํางานของกิตติตรงกับข้อใด
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(4) Functional Convergence
(3) Technological Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 4 หน้า 53 Functional Convergence หมายถึง การหลอมรวมหลากหลายหน้าที่เอาไว้ ในบุคคลเดียว เช่น ผู้สื่อข่าวคนเดียวจัดทําเนื้อหาข่าวสารเพื่อเผยแพร่ทั้งบนสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง สื่อออนไลน์ เป็นต้น

37 ARPANET เป็นองค์กรผู้พัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อยู่ในสังกัดหน่วยงานใดของสหรัฐอเมริกา
(1) กระทรวงมหาดไทย
(2) กระทรวงการต่างประเทศ
(3) กระทรวงกลาโหม
(4) กระทรวงศึกษาธิการ
(5) กระทรวงวิทยาศาสตร์
ตอบ 3หน้า 55 สื่ออินเทอร์เน็ตเริ่มใช้งานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยองค์กรที่มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของ สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อใช้ทางการทหาร และสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ได้อย่างไม่ผิดพลาด

38 อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อครอบคลุมระหว่างกันทั่วโลก ด้วยโปรโตคอล TCP/IP คําว่า “โปรโตคอล” หมายถึง
(1) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัล
(2) ข้อกําหนดด้านรูปแบบการสื่อสารเฉพาะเพื่อให้การสื่อสารในระบบเครือข่ายทํางานด้วยกันทั้งระบบ
(3) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านสื่อสารสนเทศ
(4) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย
(5) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านระบบการสื่อสารสากล
ตอบ 2 หน้า 40, 55, (คําบรรยาย) โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง ข้อกําหนดด้านรูปแบบการ สื่อสารเฉพาะระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจสอบ ข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องทั้ง 2 เครื่อง ทั้งนี้เพื่อให้การสื่อสารในระบบเครือข่ายทํางานได้ด้วยกันทั้งระบบ และมีมาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างกันที่เป็นสากลหนึ่งเดียวทั่วโลก ซึ่งนั่นก็คือ โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

39 รูปแบบการสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตที่นํามาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย คือ
(1) การจัดทําเว็บไซต์
(2) การสื่อสารผ่านเว็บบล็อก
(3) การส่งและรับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(5) เว็บบอร์ด
(4) การสนทนาออนไลน์

ตอบ 3 หน้า 57 อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (PSU) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ได้ใช้บริการส่งและรับจดหมายหรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) เป็นครั้งแรก โดยได้รับความร่วมมือจากประเทศออสเตรเลีย

40 รูปแบบการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สถาบันอุดมศึกษาทั้งสองแห่งเป็นผู้เริ่มนํามาใช้งานใน ประเทศไทย (ตามข้อ 39.) ได้รับความร่วมมือจากประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) ออสเตรเลีย
(4) เยอรมนี
(5) แคนาดา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 39 ประกอบ

41 เครือข่ายการสื่อสารใดที่เป็นประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Gateway) แห่งแรกของประเทศไทย
(1) เครือข่ายยูเน็ต
(2) เครือข่ายไทยสาร
(3) เครือข่ายไทยเน็ต
(4) เครือข่ายจุฬาเน็ต
(5) เครือข่ายอาร์พาเน็ต
ตอบ 3 หน้า 58 ในปี พ.ศ. 2535 เครือข่ายไทยเน็ตถือเป็นเครือข่ายที่มีเกตเวย์ (Gateway) หรือ ประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์กลาง ต่อมาในปีเดียวกัน NECTEC ได้จัดตั้งเครือข่ายไทยสารเป็นเกตเวย์สู่เครือข่าย อินเทอร์เน็ตแห่งที่ 2 ของประเทศไทย

42 IP Address มีความสําคัญต่อการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างไร
(1) เป็นข้อมูลบ่งชี้ประเภทคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน
(2) เป็นข้อมูลบ่งชี้ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของผู้ใช้งาน
(3) เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อใช้ติดต่อกับผู้ใช้งานอื่น ๆ ในเครือข่าย
(4) เป็นข้อมูลบ่งชี้ประเภทองค์กรผู้ใช้งาน
(5) เป็นข้อมูลบ่งชี้ระบบเครือข่ายของผู้ใช้งาน
ตอบ 3 หน้า 59 เครื่องคอมพิวเตอร์ทุก ๆ เครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น จะต้อง มีหมายเลขประจําเครื่อง เรียกว่า “IP Address” (Internet Protocol Address) เป็นข้อมูล อ้างอิงเพื่อที่จะใช้ติดต่อกับผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่าย ซึ่งในช่วงแรกเริ่มนั้น
IP Address จะถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่ง มีขนาด 32 บิต (Bit)

43 ในช่วงแรกเริ่ม IP Address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่ง มีขนาดกี่บิต
(1) 40 บิต
(2) 44 บิต
(3) 48 บิต
(4) 32 บิต
(5) 36 บิต
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

44 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในเขตนครหลวง คือข้อใด
(1) MAN
(2) LAN
(3) CAN
(4) WAN
(5) PAN
ตอบ 1 หน้า 61, (คําบรรยาย) ระบบเครือข่ายงานบริเวณนครหลวงหรือมหานคร (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีระยะทางการเชื่อมต่อไกล กว่าระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) แต่ระยะทางยังคงใกล้กว่าระบบเครือข่ายวงกว้าง (WAN) เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันภายในเมืองหรือเขตพื้นที่มหานคร หรือภายในจังหวัด เดียวกัน หรือในเขตเดียวกัน เป็นต้น

45 ระบบส่งข้อความทันที เป็นรูปแบบการให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตรงกับคําใด
(1) Web board
(2) Web Chat
(3) Telnet
(4) Instant Messaging
(5) Bulletin Board
ตอบ 4 หน้า 63 การสนทนาออนไลน์โดยตรงระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เป็นรูปแบบของการสนทนา ออนไลน์ในลักษณะที่ไม่ต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์กลาง ซึ่งเรียกว่า “การรับส่งสารแบบทันที ทันใด” (Instant Messaging) เช่น โปรแกรม ICQ, MSN Messenger, Yahoo Messenger, Windows Messenger เป็นต้น

46 บริการขอเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกล โดยผู้ใช้บริการต้องติดต่อผ่านเครือข่ายที่ได้รับอนุญาต
คือข้อใด
(1) Web board
(2) Web Chat
(3) Telnet
(4) Instant Messaging
(5) Bulletin Board
ตอบ 3 หน้า 64 บริการเข้าระบบระยะไกล (Telnet) เป็นการให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อขอเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกล โดยผู้ใช้บริการต้องติดต่อผ่านเครือข่ายที่ได้รับอนุญาต และไม่จําเป็นที่ผู้ใช้บริการต้องนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น

47 ผู้ใช้บริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย (File Transfer Protocol) ประเภท Anonymous คือ
(1) ผู้ใช้บริการแบบระบุตัวตน
(2) ผู้ใช้บริการแบบไม่ระบุตัวตน
(3) ผู้ใช้บริการแบบไม่มีตัวตน
(5) ผู้ใช้บริการแบบอ้างตัวตน
(4) ผู้ใช้บริการแบบปรากฏตัวตน
ตอบ 2 หน้า 65 ผู้ใช้บริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย (File Transfer Protocol : FTP) สามารถ
แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ได้แก่
1 ผู้ใช้บริการแบบไม่ระบุตัวตน (Anonymous)
2 ผู้ใช้บริการแบบระบุตัวตน ซึ่งต้องมี User Name และ Password ในการเข้าใช้บริการ

48 ข้อใดต่อไปนี้ไม่นับเป็นรูปแบบการให้บริการ E-commerce บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(1) ซื้อขายสินค้าออนไลน์
(2) โอนเงินออนไลน์
(3) คาสิโนออนไลน์
(4) โฆษณาออนไลน์
(5) จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

49 ข้อใดไม่ใช่เหตุผลในการให้บริการข้อมูลข่าวสารบน Online Newspaper
(1) เพื่อเพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับผู้รับสาร
(2) เพื่อเพิ่มช่องทางในการแสวงหารายได้จากค่าโฆษณา
(3) เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ความทันสมัยทางเทคโนโลยีแก่องค์กร
(4) เพื่อรักษากลุ่มเป้าหมายของหนังสือพิมพ์แบบกระดาษให้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น
(5) เพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ตอบ 4 หน้า 69 – 70 เหตุผลในการให้บริการข้อมูลข่าวสารในรูปของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ (Online Newspaper) มีดังนี้
1 เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ความทันสมัยทางเทคโนโลยีแก่องค์กร
2 เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการเสนอข่าว
3 เพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
4 เพื่อเพิ่มช่องทางติดต่อสื่อสารกับผู้รับสาร 5. เพื่อเพิ่มช่องทางด้านการตลาด เช่น การขายพื้นที่โฆษณาบนเว็บไซต์, การหารายได้เสริมจากค่าสมาชิก ค่าธรรมเนียม ฯลฯ

50 ผู้ให้บริการในข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารที่มีฐานมาจากการเป็นผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์
แบบดั้งเดิมมาก่อน
(1) www.thairath.co.th
(2) www.dailynews.co.th
(3) www.matichon.co.th
(4) www.prachathai.com
(5) www.bangsaenpost.com
ตอบ 4หน้า 71 – 72 ผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่มีฐานมาจากผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์ แบบกระดาษ (แบบดั้งเดิม) มีดังนี้
1 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง เช่น www.thairath.co.th, www.dailynews.co.th, www.matichon.co.th ฯลฯ
2 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค เช่น www.bangsaenpost.com, www.koratdaily.com ฯลฯ
3 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยในต่างประเทศ เช่น www.sereechai.com ฯลฯ (ส่วน www.prachathai.com, www.andamannews.com เป็นเว็บไซต์ของผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่ให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)

51 ข้อใดเป็นเว็บไซต์ของผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ไทยในต่างประเทศ
(1) www.thairath.co.th
(2) www.sereechai.com
(3) www.matichon.co.th
(4) www.andamannews.com
(5) www.bangsaenpost.com
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ

52 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะการส่งสัญญาณเสียงและภาพเคลื่อนไหวผ่าน Streaming Server
(1) ต้องคัดลอกแฟ้มข้อมูลผ่านเครือข่ายมายังผู้ใช้งานให้ครบก่อนจึงเริ่มแสดงผล
(2) ข้อมูลถูกส่งมายังเครื่องลูกข่ายอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์จนครบ
(3) เป็นการส่งสัญญาณในลักษณะ Real Time จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องลูกข่าย
(4) เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะประสานสื่อ
(5) เป็นการส่งสัญญาณที่ถูกเรียกขานว่า การส่งสัญญาณแบบสายธาร
ตอบ 1 หน้า 76 – 77 Streaming Server คือ เครื่องให้บริการกระจายสัญญาณแบบสายธาร ซึ่งเป็น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่บริการข้อมูลในลักษณะสื่อประสมหรือประสานสื่อ (Multimedia) โดยข้อมูล จะถูกส่งมายังเครื่องลูกข่ายอย่างต่อเนื่อง และไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลด (Download) ไฟล์จาก เซิร์ฟเวอร์จนครบแล้วจึงเริ่มแสดงผล ดังนั้นจึงเป็นการส่งสัญญาณเสียงและภาพเคลื่อนไหวใน ลักษณะทันต่อเวลา (Real Time) จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องลูกข่ายที่ได้รับความนิยมอยู่ ในปัจจุบัน นอกจากนี้ Streaming Server ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) สามารถทําหน้าที่ เป็นผู้ผลิตรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ออนไลน์ได้อีกด้วย

53 ข้อใดคือความหมายของสื่อออนไลน์
(1) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(2) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อแบบประสม
(3) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อดิจิทัล
(4) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและเปิดรับข้อมูลข่าวสารแบบสองทาง
(5) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ตอบ 1 หน้า 81 สื่อออนไลน์ หมายถึง ช่องทางของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ส่งสารใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลและ ข่าวสาร ส่วนผู้รับสารก็จะใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารเช่นกัน

54 ข้อใดคือสํานักข่าวที่จัดทําขึ้นเพื่อให้บริการแรกเริ่มบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(1) เว็บไซต์สํานักข่าวไอเอ็นเอ็น
(2) เว็บไซต์สํานักข่าวไทย
(3) เว็บไซต์สํานักข่าวซีเอ็นเอ็น
(4) เว็บไซต์สํานักข่าวพีเพิลยูนิตี้
(5) เว็บไซต์สํานักข่าวอิศรา
ตอบ 4 หน้า 83 สํานักข่าวออนไลน์ที่จัดทําขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่
1 เว็บไซต์สํานักข่าวพีเพิลยูนิตี้ (People Unity News Agency)
2 เว็บไซต์สํานักข่าวทีนิวส์
3 เว็บไซต์เฟซบุ๊ก นิวส์ไวร์ (FB Newswire)
4 เว็บไซต์สํานักข่าวอาร์วายทีไนน์ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสํานักข่าวออนไลน์ที่มีฐานจากสํานักข่าวแบบดั้งเดิม)

55 รูปแบบของเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนบทสนทนา อภิปรายในสังคมออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานเลือกเข้าสังกัดกลุ่มคนที่มีพื้นฐานความสนใจร่วมกัน คือ
(1) News Group
(2) Web board
(3) Online News Clipping
(4) Social Network
(5) Online News Agency
ตอบ 2 หน้า 63, 83 – 85 กระดานข่าว (Web board) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนบทสนทนา พูดคุย อภิปรายในสังคมออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) เลือกเข้าสังกัดกลุ่มคนที่มีพื้นฐานความสนใจร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องราวหรือประเด็น ทางสังคม อันนําไปสู่การรวมกลุ่มกันในลักษณะชุมชนออนไลน์ (Online Communities) เช่น www.pantip.com, www.MThai.com (MThai Talk) ฯลฯ

56 รูปแบบของเว็บไซต์ที่จัดทําในรูปกลุ่มสนทนา แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในหัวข้อต่าง ๆ โดยแบ่งหมวดหมู่ และกําหนดชื่อของกลุ่มตามประเภทของกลุ่มข่าว คือข้อใด
(1) Web board
(2) Online News Clipping
(3) News Group
(4) Social Network
(5) Online News Agency
ตอบ 3 หน้า 85 – 86 กลุ่มข่าวสาร (News Group) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่จัดทําขึ้นในรูปของ กลุ่มสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในหัวข้อต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานทุกคน มีส่วนร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้อย่างอิสระ โดยมีการแบ่งหมวดหมู่ และกําหนดชื่อของกลุ่มตามประเภทของกลุ่มข่าว ทั้งนี้กลุ่มข่าวต่าง ๆ จะถูกแบ่งหมวดหมู่ และเก็บไว้ในบอร์ดข่าวสารขนาดใหญ่ เรียกว่า “User’s Network” (Usenet) และข่าวใน กลุ่มข่าวทั้งหมดจะถูกเก็บไว้บน Usenet Server

57 Online News Clipping เป็นรูปแบบการให้บริการข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ต ตรงกับคําใด
(1) สํานักข่าวออนไลน์
(2) กฤตภาคข่าวออนไลน์
(3) กระดานข่าว
(4) เครือข่ายสังคมออนไลน์
(5) ข่าวแจกออนไลน์
ตอบ 2 หน้า 86 – 87 กฤตภาคข่าวออนไลน์ (Online News Clipping) คือ บริการข่าวตัดออนไลน์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยตัดข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ พร้อมกับระบุแหล่งที่มา ของหนังสือพิมพ์ ซึ่งตัวอย่างของเว็บไซต์กฤตภาคข่าวออนไลน์ในไทยปัจจุบัน เช่น ห้องสมุดข่าว มติชน (Matichon E-Library), iQNewsClip, นิวส์เซ็นเตอร์ (Newscenter) เป็นต้น

ข้อ 58 – 61. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Creative Network
(2) Peer to Peer
(3) Identity Network
(4) Virtual Reality

58 www.youtube.com
ตอบ 1 หน้า 88 – 90 ประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีดังนี้

1 สร้างและประกาศตัวตน (Identity Network) เช่น Web Blog, www.twitter.com ซึ่งจะนําเสนอเนื้อหาในลักษณะ Micro Blog โดยมุ่งให้ผู้ใช้โพสต์ข้อความสั้น ๆ ไม่เกิน
140 ตัวอักษร ฯลฯ
2 สร้างและประกาศผลงาน (Creative Network) เช่น www.youtube.com, Flickr, Multiply, Photobucket, Slideshare ฯลฯ
3 ความชอบในสิ่งเดียวกัน (Passion Network) เช่น Digg, Zickr, Catch, Reddit ฯลฯ
4 เวทีทํางานร่วมกัน (Collaboration Network) เช่น Google Earth, Google Maps ฯลฯ
5 ประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Reality) ซึ่งมีลักษณะเป็นเกมออนไลน์ เช่น Audition, Second Life, Ragnarok, Pangya, World of Warcraft “a”
6 เครือข่ายเพื่อการประกอบอาชีพ (Professional Network) เช่น Linkedin ฯลฯ
7 เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันระหว่างผู้ใช้ (Peer to Peer : P2P) เช่น Skype, BitTorrent ฯลฯ
8 เว็บท่า (Portal Website) ที่รวบรวมลิงค์ของสื่อออนไลน์ประเภทต่าง ๆ เช่น www.sanook.com, www.kapook.com ฯลฯ

59 Skype
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ

60 Pangya
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

61 www.twitter.com
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

ข้อ 62 – 65. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Web 2.0
(2) Web board
(3) User-Generated Content
(4) Web 1.0

62 เนื้อหาที่ผู้ใช้งานสื่อเป็นผู้ผลิตเอง
ตอบ 3 หน้า 88, 90 พื้นที่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่จะมุ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะที่ เรียกว่า “User-Generated Content” (UGC) กล่าวคือ ผู้ใช้งานสื่อเป็นผู้ผลิตเนื้อหาเอง เช่น Myspace เป็นเว็บไซต์ที่บริษัท นิวส์คอร์ปอเรชั่น ซื้อกิจการมาดําเนินการในราคา 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมี Flickr ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ Yahoo ซื้อกิจการมาดําเนินการ ในราคา 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นต้น

63 MThai.com
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ

64 เว็บไซต์ที่แสดงเนื้อหามุ่งให้ผู้ใช้งานอ่านแต่เพียงอย่างเดียว
ตอบ 4 หน้า 88 การกําเนิดขึ้นและการเติบโตของเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นผลมาจากการพัฒนา ทางเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจาก Web 1.0 คือ เว็บไซต์ที่แสดงเนื้อหามุ่งให้ผู้ใช้งานอ่านแต่เพียง อย่างเดียว มาสู่ Web 2.0 ซึ่งก็คือ เว็บไซต์เชิงสังคมที่มุ่งให้ผู้ใช้งานสร้างเนื้อหาเองได้ แบ่งปัน เนื้อหาให้กัน และมีส่วนร่วมระหว่างกัน

65 เว็บไซต์เชิงสังคมที่มุ่งให้ผู้ใช้งานสร้างเนื้อหาเองได้ แบ่งปันเนื้อหา และมีส่วนร่วมระหว่างกัน ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 64. ประกอบ

ข้อ 66. – 75. ข้อใดที่กล่าวไว้ถูกต้องให้ระบายตัวเลือก 1 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องให้ระบายตัวเลือก 2

66 www.facebook.com เป็นเว็บไซต์ประเภทเครือข่ายทางสังคมที่นําเสนอเนื้อหาในลักษณะ Micro Blog ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

67 พื้นที่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่มุ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะ User-Generated Content ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

68 iQNewsClip จัดเป็นการให้บริการข้อมูลข่าวสารในลักษณะ Online News Clipping
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ

69 การนําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์สามารถนําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสารได้ในลักษณะ Shifted Time หมายถึง นําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสารได้ในลักษณะทันต่อเวลาที่เกิดขึ้นจริง
ตอบ 2 หน้า 91 คุณลักษณะของข้อมูลข่าวสารที่นําเสนอผ่านสื่อออนไลน์ประการหนึ่ง ได้แก่ ไร้กาล (Shifted Time) กล่าวคือ อยู่เหนือข้อจํากัดด้านเวลาในการนําเสนอเนื้อหาสาร โดยผู้จัดทํา นําเสนอเนื้อหาสารทั้งในลักษณะทันกาล และจัดเก็บเนื้อหาสารเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถสืบค้น
ย้อนหลังได้ด้วย

70 การสื่อสารบน YouTube จัดเป็นรูปแบบการสื่อสารที่เปิดให้ผู้ใช้งานรวมกลุ่มกันในลักษณะชุมชนออนไลน์ (Online Communities)
ตอบ 1 หน้า 85 การรวมกลุ่มกันในลักษณะของ “ชุมชนออนไลน์” (Online Communities) เช่น Web board, Facebook, Instagram, YouTube ฯลฯ จัดเป็นรูปแบบของสัมพันธภาพของ ผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยที่สมาชิกของชุมชนออนไลน์มีคุณลักษณะสําคัญ ดังนี้
1 มีความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relationship) เช่น มีความสนใจเกี่ยวกับข่าว เรื่องราว หรือประเด็นทางสังคมในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
2 มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยที่ในโลกความเป็นจริง ผู้ใช้งาน (User) อาจไม่ได้อาศัยอยู่ใกล้กันทางกายภาพ แต่อาจเป็นคนหลายเชื้อชาติ และมีภูมิลําเนาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

71 สื่อออนไลน์เป็นสื่อใหม่ และเป็นสื่อที่มีความคงทนต่ํา ส่วนสื่อนิตยสารเป็นสื่อแบบดั้งเดิม และเป็นสื่อที่ มีความคงทนสูง
ตอบ 2 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 2. และ 7. ประกอบ) สื่อออนไลน์เป็นสื่อใหม่ที่ไม่มีข้อจํากัด ด้านเวลาในการเข้าถึง ทําให้ผู้ใช้งานเปิดรับข้อมูลข่าวสารได้ซ้ําครั้งตามที่ตนต้องการในเวลา อันรวดเร็ว ดังนั้นสื่อออนไลน์จึงมีความคงทนสูงพอ ๆ กับสื่อนิตยสาร ซึ่งเป็นสื่อแบบดั้งเดิม

72 Online News Clipping คือ การให้บริการข่าวตัดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ

73 การให้บริการในรูปกลุ่มข่าวสาร (News Group) กลุ่มข่าวต่าง ๆ จะถูกแบ่งหมวดหมู่และเก็บไว้ในบอร์ด ข่าวสารขนาดใหญ่ เรียกว่า User’s Network (Usenet)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ

74 Electronic Magazine คือ การให้บริการเนื้อหาวารสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ 2 หน้า 72 นิตยสารออนไลน์ (Online Magazine) หรือนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Magazine) คือ การให้บริการเนื้อหานิตยสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีทั้งรูปแบบที่เป็น การเปิดหน้ากระดาษคล้ายหนังสือจริง (Flip Page) โดยผู้อ่านต้องดาวน์โหลดไฟล์ของนิตยสาร ออนไลน์มาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเปิดอ่าน และยังจัดทําในรูปแบบเว็บไซต์ที่เป็นทางการ ขององค์กร (Official Website)

75 ปัจจุบันสื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์เข้ามาแทนที่สื่อหนังสือพิมพ์แบบกระดาษแล้วอย่างสิ้นเชิง
ตอบ 2 หน้า 72, (คําบรรยาย) ในปัจจุบันผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์แบบกระดาษส่วนใหญ่จัดทํา เว็บไซต์ในรูปหนังสือพิมพ์ออนไลน์ เพื่อเป็นช่องทางในการให้บริการข้อมูลข่าวสารออนไลน์ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่องทาง ซึ่งถึงแม้สื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์จะได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถทําให้สื่อหนังสือพิมพ์แบบกระดาษหายไปได้อย่างสิ้นเชิง

76 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail มาจากคําว่าอะไร
(1) Elective Mail
(2) Electronic Mail
(3) Evaluated Mail
(4) External Mail
(5) Excessive Mail
ตอบ 2 หน้า 41, 62, (ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ) E-mail, Email มาจากคําว่า “Electronic Mail” ซึ่งศัพท์บัญญัติภาษาไทย ได้แก่ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

77 ข้อใดกล่าวไว้ถูกต้อง
(1) สื่อออนไลน์เป็นสื่อใหม่ และเป็นสื่อที่มีความคงทนต่ํา
(2) สื่อวิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อแบบดั้งเดิม และเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง
(3) สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อแบบดั้งเดิม และเป็นสื่อที่มีความคงทนต่ํา
(4) สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อแบบดั้งเดิม และเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง
(5) สื่อวิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อใหม่ และเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 7. และ 71. ประกอบ

78 รูปแบบของสัมพันธภาพของผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ นําสู่คําเรียกขานว่าอะไร
(1) องค์กรออนไลน์
(2) ชุมชนออนไลน์
(3) บรรษัทออนไลน์
(4) หุ้นส่วนออนไลน์
(5) สายสัมพันธ์ออนไลน์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

79 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของ “ข้อมูลข่าวสารออนไลน์”
(1) ทันกาล
(2) ไร้กาล
(3) ประสานสื่อ
(4) นําเสนอเนื้อหาสารแบบทางเดียว
(5) มีช่องทางปฏิสัมพันธ์

ตอบ 4 หน้า 91 คุณลักษณะของข้อมูลข่าวสารที่นําเสนอผ่านสื่อออนไลน์ มีดังนี้
1 ทันกาล (Real Time)
2 ไร้กาล (Shifted Time)
3 ประสานสื่อ (Multimedia)
4 มีช่องทางปฏิสัมพันธ์ (Interactive)

80 สื่อเป็นสิ่งกําหนดหรือปั้นแต่งวัฒนธรรมทางการสื่อสารของมนุษย์ คือสาระสําคัญของแนวคิดใด
(1) Message is the Medium
(2) Medium is the Message
(3) Medium as the Message
(5) Medium of the Message
(4) Message as the Medium
ตอบ 2 หน้า 109 Marshall McLuhan นักวิชาการสื่อสารมวลชนชาวอเมริกัน เป็นผู้ที่คิดแนวคิด “สื่อ คือ สาร” (Medium is the Message) และมีความเชื่อว่า สื่อเป็นสิ่งกําหนดหรือปั้นแต่ง วัฒนธรรมทางการสื่อสารของมนุษย์ หรือรูปแบบทางเทคโนโลยีปั้นแต่งและกําหนดวิถีทางการ สื่อสารของคนในสังคม ตลอดจนเปลี่ยนธรรมชาติในการสื่อสารของมนุษย์ทั้งสิ่งที่สื่อ วิธีที่สื่อและการรับรู้เกี่ยวกับรูปแบบการสื่อสารของคนในสังคม

81 อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองการทํางานของทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ด้วยศักยภาพในการนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะใด
(1) Mega Media
(2) Multimedia
(3) Transmedia
(4) Social Media
(5) Virtual Media
ตอบ 2 หน้า 81 – 82 ด้วยศักยภาพในการนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะประสานสื่อ (Multimedia) ซึ่งมีทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตสามารถตอบสนอง การทํางานของสื่อแบบดั้งเดิมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และภาพยนตร์

82 ข้อใดไม่ใช่ผลจากการที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ
(1) เปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีทางเลือกเปิดรับข้อมูลข่าวสารในประเด็นที่สื่อแบบดั้งเดิมไม่ได้นําเสนอ
(2) เป็นแหล่งสารของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อแบบดั้งเดิม
(3) ผู้ใช้งานเข้มงวดในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารก่อนเผยแพร่
(4) ผู้ใช้งานสามารถส่งผ่านข้อมูลจากระดับบุคคลไปสู่กลุ่มคนต่างเครือข่าย
(5) ทุกคนทําหน้าที่นําเสนอข้อมูลข่าวสารไปสู่สาธารณะอย่างเสรี
ตอบ 3 หน้า 95, 99 – 100 ผลกระทบด้านลบจากการที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ คือ ผู้ใช้งานนําเสนอข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่ต้องผ่าน กระบวนการตรวจสอบ คัดเลือก คัดกรอง จากบรรณาธิการ จึงทําให้ข้อมูลข่าวสารผิดพลาดได้ง่าย จนอาจจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สู่สาธารณชน (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นผลกระทบด้านบวก)

83 ด้วยข้อจํากัดของสื่อแบบดั้งเดิมข้อใดที่ส่งผลให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนมีอํานาจผูกขาดในการ
ทําหน้าที่ผู้ส่งสาร
(1) ความรวดเร็วในการนําเสนอข้อมูลข่าวสาร
(2) ช่องทางการสื่อสารตอบกลับ
(3) ความหลากหลายในการนําเสนอเนื้อหาสารของสื่อแต่ละประเภท
(4) ขอบเขตทางภูมิศาสตร์ในการกระจายเนื้อหาสาร
(5) การเชื่อมต่อการสื่อสารในลักษณะเครือข่าย

ตอบ 4 หน้า 93, 98, (คําบรรยาย) ในอดีตผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนแบบดั้งเดิมมีอํานาจผูกขาด ในการทําหน้าที่ผู้ส่งสาร เพราะขอบเขตทางภูมิศาสตร์ในการกระจายเนื้อหาสารแบบทางเดียว (One-way Communication) ในลักษณะจากบนลงล่าง (Top-Down Communication) กล่าวคือ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนในฐานะผู้ส่งสารจะมีอํานาจเบ็ดเสร็จในการจัดทําและนําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในสังคม โดยที่ผู้รับสารจะได้รับข่าวสารก็ต่อเมื่อผู้ส่งสาร ส่งข่าวสารผ่านสื่อมาสู่ผู้รับสารปลายทางเท่านั้น

84 การพยายามเข้าไปอ่านอีเมลในเมลบอกซ์ของผู้อื่น สิ่งนี้ขัดกับจริยธรรมการสื่อสารข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 2 หน้า 115 – 116 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) เช่น การลักลอบเข้าไปเปิดอ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ของผู้อื่น, การใช้ข้อมูลของ ลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด, การรวบรวมหมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ของอีเมล และข้อมูลส่วนตัว เพื่อนําไปใช้สร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้า ขึ้นใหม่ แล้วนําไปขายให้แก่บริษัทอื่น ฯลฯ

85 การนําข้อมูลลงสู่ระบบฐานข้อมูลโดยไม่ตรวจตราความถูกต้องอย่างเข้มงวด ส่งผลให้สารสนเทศบน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ถูกต้อง สิ่งนี้ขัดกับจริยธรรมการสื่อสารข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
(4) Data Accessibility
ตอบ 2 หน้า 116 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมความถูกต้อง (Information Accuracy) คือ ความผิดพลาดของข้อมูลที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง อันเป็นผลมาจากการไม่มีผู้ทําหน้าที่ตรวจสอบหรือคัดกรองความถูกต้องของข้อมูลก่อนจัดเก็บเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล ส่งผลให้สารสนเทศ ที่จัดเก็บและเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ถูกต้อง

86 กรณี User จัดทําและให้บริการเนื้อหาหมิ่นประมาทบุคคลอื่นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สิ่งนี้ขัดกับ
จริยธรรมข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) จริยธรรมของผู้ใช้สื่อ
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 4 หน้า 119 – 120 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมของผู้ใช้สื่อ เช่น ผู้ใช้งาน (User) หรือ ผู้เปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อ ได้นําเสนอเนื้อหาหรือข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทบน พื้นที่การใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การใช้โปรแกรม Camfrog ซึ่งผู้ใช้งานสามารถ เห็นหน้าค่าตากันในระหว่างพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อมุ่งสร้างความรู้สึกเสมือนอยู่ใกล้ชิดกัน แต่ผู้ใช้งานบางคนกลับใช้เป็นช่องทางในการจัดทําและให้บริการเนื้อหาหรือ ภาพลามกอนาจารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

87 การทําซ้ําหรือเผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภท Copyright ขัดกับจริยธรรมข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ

ตอบ 3 หน้า 117 – 118 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมเรื่องความเป็นเจ้าของ (Information Property) คือ การละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ซอฟต์แวร์) ดังนี้
1 Copyright or Software License คือ ซอฟต์แวร์ที่ซื้อลิขสิทธิ์มาแล้วมีสิทธิใช้งานเท่านั้น ห้ามทําซ้ำหรือเผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ลิขสิทธิ์ทุกกรณี
2 Shareware คือ ซอฟต์แวร์ที่ให้ทดลองใช้ได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งมีสิทธิใช้ในระยะเวลา ที่กําหนดเท่านั้น เป็นต้น
3 Freeware คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ฟรี คัดลอก และเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้

88 เหตุผลข้อใดที่ทําให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนยุคปัจจุบันจําเป็นต้องมีทักษะทางเทคโนโลยี
(1) เพื่อจะได้รู้เท่าทันเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต
(2) เพื่อจะได้เข้าใจสถานการณ์การแข่งขันระหว่างสื่อใหม่และสื่อแบบดั้งเดิม
(3) เพื่อจะได้สามารถใช้งานสื่อใหม่ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่องทาง
(4) เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการสื่อสาร
(5) เพื่อประโยชน์ต่อการกําหนดมาตรฐานจริยธรรมการสื่อสารให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
ตอบ 3 หน้า 94 – 95 ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนในยุคปัจจุบัน จําเป็นต้องมีทักษะทางด้าน เทคโนโลยีควบคู่กับทักษะด้านวิชาชีพสื่อสารมวลชน เพื่อจะได้สามารถใช้งานสื่อใหม่ในการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่องทาง เช่น ต้องมีความรู้เรื่องการอัปโหลด (Upload) ข้อมูลข่าวสารให้ปรากฏบนเว็บไซต์ขององค์กร, มีความรู้เรื่องโปรแกรมการใช้งานเพื่อเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ ฯลฯ

89 จากการที่สื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในฐานะช่องทางหนึ่งขององค์กรสื่อแบบดั้งเดิม ส่งผลให้
ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อแบบดั้งเดิมต้องปรับตัวในการทํางาน ยกเว้นข้อใด
(1) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการทํางาน
(2) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องยอมรับอินเทอร์เน็ตเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร
(3) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องฝึกทักษะในการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยตนเอง
(4) ผู้ประกอบวิชาชีพในองค์กรจําเป็นต้องปรับโครงสร้างการทํางานในองค์กรที่แตกต่างจากเดิม
(5) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องนําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ แบบบูรณาการ
ตอบ 3 หน้า 105 – 106 การปรับตัวของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนแบบดั้งเดิม มีดังนี้
1 ยอมรับสื่ออินเทอร์เน็ตเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร
2 ปรับโครงสร้างการทํางานภายในองค์กรที่ต่างจากเดิม โดยจัดให้มีฝ่ายจัดทําและเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ หรืออาจใช้บุคลากรร่วมกับสื่อแบบดั้งเดิม
3 เรียนรู้และฝึกฝนทักษะการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการทํางาน
4 นําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ แบบบูรณาการ ฯลฯ

90 เพราะเหตุใดอินเทอร์เน็ตจึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิชาชีพวารสารศาสตร์ของสื่อแบบดั้งเดิม ที่ให้ความสําคัญต่อผู้เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper)
(1) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารโดยเท่าเทียม
(2) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนมีโอกาสสื่อสารตอบกลับในลักษณะการสื่อสารสองทาง
(3) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ
(4) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่จํากัด
(5) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถสื่อสารผ่านเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก

ตอบ 3 หน้า 100, 110 ด้วยเหตุที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของ ตนเองสู่สาธารณะ โดยไม่มีผู้ทําหน้าที่เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper) ส่งผลให้เกิด ผลกระทบต่อวิชาชีพวารสารศาสตร์ของสื่อแบบดั้งเดิมที่ให้ความสําคัญกับผู้เฝ้าประตูข้อมูล ข่าวสาร (Gatekeeper) ซึ่งก็คือ บรรณาธิการผู้ทําหน้าที่คัดเลือก คัดกรอง และตรวจสอบ ความถูกต้องของเนื้อหาสารก่อนนําเสนอสู่ผู้รับสารในสังคม

91 ข้อใดคือความหมายของ Citizen Reporter
(1) ผู้ใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตทุกคน ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้ส่งสารผ่านพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ
(2) ผู้สื่อข่าวสื่อแบบดั้งเดิมที่ใช้สื่อใหม่เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร
(3) ประชาชนทั่วไปที่ทําหน้าที่รายงานข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อแบบดั้งเดิม
(4) ผู้สื่อข่าวผ่านสื่อใหม่ที่ทําหน้าที่รายงานข่าวผ่านสื่อแบบดั้งเดิมด้วย
(5) ผู้สื่อข่าวของสื่อแบบดั้งเดิมที่ทํางานร่วมกับประชาชนในสังคม
ตอบ 1 หน้า 95, 104 ผู้สื่อข่าวภาคพลเมือง (Citizen Reporter) หรือผู้สื่อข่าวภาคประชาชน หมายถึง ผู้ใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตทุกคน ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้ส่งสารผ่านพื้นที่ของตนเองไปสู่ สาธารณะได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยจะมีบทบาทเป็นผู้รายงานข่าวสารคล้ายกับบทบาทของ ผู้สื่อข่าว (News Reporter) ในองค์กรสื่อสารมวลชนแบบดั้งเดิม เช่น สมศรีมีอาชีพครูและ นําเสนอข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมชุมชนผ่านทางเว็บบล็อก (Web Blog) เป็นต้น

92 จากความหมายในข้อ 91. บุคคลในข้อใดต่อไปนี้จัดเป็น Citizen Reporter
(1) สมหมายเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ที่เผยแพร่ข่าวผ่านสื่อออนไลน์อีกทางหนึ่งด้วย
(2) สมบัติเป็นผู้สื่อข่าวที่มุ่งเข้าถึงแหล่งข่าวที่เป็นประชาชนทั่วไป
(3) สมศรีมีอาชีพครูและนําเสนอข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมชุมชนผ่านเว็บบล็อก
(4) สมใจเป็นผู้สื่อข่าวที่มุ่งรายงานข่าวสารด้านประชากรศาสตร์
(5) สมทรงเป็นผู้สื่อข่าวผ่านเว็บไซต์และรายงานข่าวผ่านสิ่งพิมพ์แบบกระดาษด้วย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93 ข้อใดต่อไปนี้คือหน้าที่สําคัญของ Gatekeeper
(1) จัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องหลังจากเผยแพร่
(2) คัดกรองความถูกต้องของข่าวสารก่อนเผยแพร่
(3) แก้ไขข่าวสารที่ผิด ๆ ซึ่งเผยแพร่ไปแล้วให้ถูกต้อง
(4) เลือกรูปแบบตัวอักษรที่เหมาะสมในการพาดหัวข่าวก่อนพิมพ์เผยแพร่
(5) ติดตามผลกระทบของข่าวสารหลังจากเผยแพร่
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

94 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ถูกยกเลิกตามประกาศ พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 โดยจัดตั้งกระทรวงใดขึ้นมาแทน
(1) กระทรวงดิจิทัลเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
(2) กระรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(3) กระทรวงดิจิทัลเพื่อสารสนเทศและการสื่อสาร
(4) กระทรวงดิจิทัลเพื่อสังคมและเศรษฐกิจ
(5) กระทรวงดิจิทัลเพื่อการสื่อสารและสารสนเทศ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตามประกาศ พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 ระบุว่า ให้ยกเลิกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และจัดตั้งกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีหน้าที่ในการวางแผน ส่งเสริม และพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

95 ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ระบุว่า งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้าง บุคคลอื่น ให้ผู้ใดเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(1) ผู้สร้างสรรค์
(2) ผู้ว่าจ้าง
(4) องค์กรของผู้สร้างสรรค์
(3) องค์กรของผู้ว่าจ้าง
(5) ผู้ว่าจ้างและองค์กร
ตอบ 2 หน้า 130 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 10 ระบุว่า งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น โดยการรับจ้างบุคคลอื่น ให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้าง จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

96 เครื่องหมายลายน้ําบนภาพถ่ายดิจิทัล ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 จัดเป็นข้อใด
(1) ข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) มาตรการทางเทคโนโลยี
(3) มาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) มาตรการทางข้อมูลการบริหารสิทธิ
ตอบ 1 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (2) ระบุไว้ว่า “ข้อมูลการบริหาร สิทธิ” หมายความว่า ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์ นักแสดง การแสดง เจ้าของ ลิขสิทธิ์ หรือระยะเวลาและเงื่อนไขในการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ตลอดจนตัวเลขหรือรหัสแทน ข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลเช่นว่านี้ติดอยู่หรือปรากฏเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึก การแสดง (เช่น การจัดทําเครื่องหมายลายน้ําบนรูปภาพ ธนบัตร, เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ หรือ International Standard Book Number : ISBN เป็นต้น)

97 “การตั้งรหัสในการเข้ารับฟังเพลงต่าง ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยกําหนดให้ผู้ที่ต้องการฟังเพลงหรือ ดาวน์โหลดเพลงต้องจ่ายเงิน เพื่อให้ได้รหัสในการฟังหรือดาวน์โหลดเพลงนั้น ๆ” ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 การตั้งรหัสในการเข้ารับฟังเพลงดังกล่าว จัดเป็นข้อใด
(1) ข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) มาตรการทางเทคโนโลยี
(3) มาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) ข้อมูลบ่งชี้กรรมสิทธิ์
ตอบ 2 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (3) ระบุไว้ว่า “มาตรการทาง เทคโนโลยี” หมายความว่า เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการทําซ้ําหรือควบคุมการ เข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง โดยเทคโนโลยีเช่นว่านี้ได้นํามาใช้กับงานอัน มีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

98 จากข้อ 97. หากนายเก่งกาจหาวิธีการเข้าไปฟังเพลงหรือดาวน์โหลดเพลงฟรี (ไม่จ่ายเงินตามเงื่อนไข)
กล่าวได้ว่าการกระทําของนายเก่งกาจเข้าข่ายข้อใด
(1) ละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) หลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี
(3) หลบเลี่ยงมาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ละเมิดข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) ละเมิดข้อมูลบ่งชี้กรรมสิทธิ์
ตอบ 2 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (4) ระบุว่า “การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี” หมายความว่า การกระทําด้วยประการใด ๆ ที่ทําให้มาตรการ ทางเทคโนโลยีไม่เกิดผล (ดูคําอธิบายข้อ 97. ประกอบ)

99 ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ระบุว่า “ผู้ใด เข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้
มีไว้สําหรับตน” กําหนดโทษเช่นไร
(1) จําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(2) จําคุกไม่เกินห้าเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(3) จําคุกไม่เกินแปดเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(4) จําคุกไม่เกินสิบเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(5) จําคุกไม่เกินเก้าเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ตอบ 1 หน้า 160 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 5 ระบุว่า ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

100 ตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ระบุว่า “ผู้ใดส่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการ
ส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข” กําหนดโทษเช่นไร (1) ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกินเจ็ดหมื่นบาท
(3) ปรับไม่เกินแปดหมื่นบาท
(4) ปรับไม่เกินเก้าหมื่นบาท
(5) ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
ตอบ 5 หน้า 160 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 11 ได้ระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

CDM2105 MCS2390 เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารมวลชน s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2390 (MCS 2108) เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารมวลชน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
ข้อ 1. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) News Letter
(2) www.kapook.com
(3) Digital Language
(4) Spoken Language

1 ภาษาแรกเริ่มของมนุษยชาติ
ตอบ 4 หน้า 1, 6 – 7 เทคโนโลยีทางการสื่อสารพื้นฐานของมนุษยชาติ คือ การเรียนรู้การใช้อวัยวะ ที่ติดตัวมาตั้งแต่กําเนิดเป็นเครื่องมือหรือช่องทางในการสื่อสารระหว่างกัน อันได้แก่ ภาษากาย (Body Language) และภาษาพูด (Spoken Language) ซึ่งเกิดขึ้นในลําดับเวลาใกล้เคียงกัน แต่อย่างไรก็ดีภาษาพูด (Spoken Language) ที่ถือเป็นวัจนภาษา (Verbal Language) ได้ถูก บันทึกว่าเป็นภาษาแรกเริ่มของมนุษยชาติ

2 จัดเป็น New Media
ตอบ 2 หน้า 35 – 50, 109, (คําบรรยาย) สื่อใหม่ (New Media) ได้แก่ อินเทอร์เน็ต, สื่อออนไลน์, เว็บไซต์ (เช่น www.kapook.com), อีเมล (E-mail) ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะสําคัญดังนี้
1 มีการใช้ภาษาระบบตัวเลขหรือภาษาดิจิทัล (Digital Language) เป็นกลไกในการสื่อสาร ข้อมูลและกระบวนการทํางานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2 ผู้รับสารมีลักษณะ Active Seeker คือ ผู้รับสารกระตือรือร้นเสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสาร ด้วยตัวเองตามความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นของตัวเองอย่างอิสรเสรี
3 มีช่องทางการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารในลักษณะของการสื่อสารแบบ
สองทาง (Two-way Communication) ฯลฯ

3 เทคโนโลยีทางการสื่อสารพื้นฐานของมนุษยชาติ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

4 ผู้รับสารมีลักษณะเป็น Active Seeker
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

5 ผู้รับสารมีลักษณะเป็น Passive Audience
ตอบ 1 หน้า 17, 27, 32 – 33 สื่อดั้งเดิม (Traditional Media) ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ (เช่น หนังสือพิมพ์ จดหมายข่าว (News Letter), นิตยสาร, วารสาร ฯลฯ) สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อภาพยนตร์ ฯลฯ มีลักษณะของผู้รับสารดังนี้
1 ผู้รับสารในสังคมคุ้นเคยและมีทัศนคติเชิงบวกต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อดั้งเดิม
2 ผู้รับสารมีลักษณะ Passive Audience คือ มีหน้าที่เปิดรับข้อมูลข่าวสาร และจะได้รับข้อมูล ข่าวสารก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารนําเสนอหรือส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางการสื่อสารมาสู่ผู้รับสารเท่านั้น
3 มีลักษณะการสื่อสารไปยังผู้รับสารแบบทางเดียว (One-way Communication) ดังนั้น จึงแทบไม่มีช่องทางในการรับรู้ปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ของผู้รับสาร ฯลฯ

6 กลไกในการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

7 นําเสนอเนื้อหาสารในรูปภาษาเขียน
ตอบ 1 หน้า 17, 27 – 28, 33 คุณลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media) เช่น วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร จดหมายข่าว (News Letter) ฯลฯ ซึ่งจัดเป็นสื่อแบบดั้งเดิม มีดังนี้
1 เข้าถึงกลุ่มผู้รับสารได้อย่างกว้างขวาง
2 นําเสนอเนื้อหาสารในรูปภาษาเขียน (ตัวอักษร) และภาพ
3 มีความน่าเชื่อถือสูง จึงมักถูกใช้เป็นสื่อเพื่อการอ้างอิง (Referenced Media)
4 มีความคงทนสูง คือ ผู้รับสารสามารถย้อนกลับไปเปิดรับเนื้อหาสารจากสื่อได้ซ้ำครั้งตามที่ตนต้องการ
5 จัดเป็นสื่อสารมวลชนสื่อแรกที่มีความเก่าแก่ที่สุด ฯลฯ

8 มีช่องทางในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

9 สื่อแบบดั้งเดิม มีความคงทนสูง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

10 ภาษาระบบตัวเลข
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

11 ในยุคแรกเริ่ม มนุษย์เรียนรู้ที่จะใช้เสียงในการสร้างภาษาพูด มนุษย์ยังเรียนรู้ที่จะ………..ในการ
สื่อความหมายด้วย (เติมคําในช่องว่าง)
(1) ภาษาเขียน
(4) ภาษาสัญลักษณ์
(2) ภาษาปาก
(5) ภาษาระบบตัวเลข
(3) ภาษากาย
ตอบ 3 หน้า 6 – 7 ในยุคแรกเริ่ม มนุษย์เรียนรู้ที่จะใช้เสียงในการสร้างภาษาพูด มนุษย์ยังเรียนรู้ที่ จะใช้ภาษากายในการสื่อความหมายด้วย ได้แก่ ภาษาท่าทาง เช่น การแสดงออกทางสีห การใช้มือสื่อความหมาย เป็นต้น

12 นับตั้งแต่มนุษย์มีที่อยู่อาศัยรวมกันเป็นหลักแหล่ง มนุษย์ก็ได้เรียนรู้ที่จะสื่อสารกันในลักษณะใด
(1) สื่อสารระหว่างบุคคล
(2) สื่อสารด้วยภาษากาย
(3) สื่อสารมวลชน
(4) สื่อสารด้วยภาษาเขียน
(5) สื่อสารด้วยภาษาพูด
ตอบ 1หน้า 7 การสื่อสารระหว่างบุคคล ถือเป็นรูปแบบการสื่อสารพื้นฐานของมนุษย์ นับตั้งแต่ มนุษย์ถือกําเนิดขึ้นบนโลก เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องมีที่อยู่อาศัย รวมกันเป็นหลักแหล่ง ดังนั้นการสื่อสารจึงเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในการ ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก ความต้องการ ความรู้ และประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อดํารงชีวิตอยู่ร่วมกันในชุมชนหรือสังคม

13 ข้อใดคือความหมายที่ถูกต้องที่สุดของคําว่า สื่อแบบดั้งเดิม (Traditional Media)
(1) สื่อที่เกิดขึ้นและมีบทบาทในสังคมมนุษย์มาเนิ่นนาน
(2) สื่อที่มนุษย์ในสังคมส่วนใหญ่มีความคุ้นเคย
(3) สื่อที่เคยมีบทบาทในสังคมมนุษย์ แต่ปัจจุบันกําลังลดบทบาทลง
(4) สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารตัวหนังสือหรือเสียงหรือภาพเพียงอย่างเดียวผ่านช่องทางการสื่อสาร
(5) สื่อที่มีรูปแบบการส่งสารผ่านช่องทางการสื่อสารแบบแอนะล็อก

ตอบ 4 หน้า 14 นิยามของสื่อแบบดั้งเดิม (Traditional Media) ประกอบด้วย
1 สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารเพียงอย่างเดียว หมายถึง สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารในรูปตัวหนังสือ หรือเสียงหรือภาพเพียงอย่างเดียวผ่านช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อวิทยุกระจายเสียง
2 สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารสองอย่าง หมายถึง สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารทั้งในรูปภาพและเสียง พร้อมกันผ่านช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ สื่อวิทยุโทรทัศน์ และสื่อภาพยนตร์

14 ไอโคโนสโคป (Iconoscope) เป็นอุปกรณ์ในระบบการทํางานของสื่อใด
(1) โทรทัศน์จักรกล
(2) โทรทัศน์อิเล็กทรอนิกส์
(3) โทรทัศน์ระบบดิจิทัล
(4) สื่อวิทยุกระจายเสียง
(5) สื่อภาพยนตร์
ตอบ 2 หน้า 23 – 24 นักประดิษฐ์ที่มีบทบาทสําคัญในการพัฒนาระบบโทรทัศน์อิเล็กทรอนิกส์ คือ วลาดิเมียร์ คอสมิช ซวอริกิน (Vladimir Kozmich Zworykin) ผู้ค้นพบหลอดจับภาพ ที่เรียกว่า “ไอโคโนสโคป” (Iconoscope) และได้จดทะเบียนใน ค.ศ. 1923 จึงนับเป็นผู้ที่ คิดค้นอุปกรณ์ในระบบโทรทัศน์ที่เป็นต้นแบบการพัฒนาโทรทัศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

15 Hertzian Wave เป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่นําสู่การประดิษฐ์สื่อใด
(1) สื่อวิทยุกระจายเสียง
(2) สื่อสิ่งพิมพ์
(3) สื่อภาพยนตร์
(4) สื่ออินเทอร์เน็ต
(5) สื่อคอมพิวเตอร์
ตอบ 1 หน้า 20 ในปี ค.ศ. 1887 Henrich Rudolf Hertz ได้ค้นคว้าทดลองตามหลักการของ Maxwell โดยออกแบบการทดลองแพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุด้วยการใช้ไฟฟ้า กระแสสลับ ความถี่สูง และในปี ค.ศ. 1888 เขาได้ตั้งชื่อว่า “Hertzian Wave” ซึ่งก็คือ คลื่นวิทยุ อันจะนําไปสู่การประดิษฐ์สื่อวิทยุกระจายเสียงในเวลาต่อมา

16 ข้อใดคือคุณลักษณะของสื่อวิทยุกระจายเสียง (Radio)
(1) มีความคงทนสูง
(2) สามารถนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะ Shifted Time
(3) ผู้รับสารต้องอาศัยทักษะในการอ่านออกเขียนได้ในการเปิดรับสาร
(4) สามารถนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะ Multimedia
(5) ทําลายข้อจํากัดในการอ่านออกเขียนได้ของผู้รับสาร
ตอบ 5 หน้า 30 (คําบรรยาย) คุณลักษณะของสื่อวิทยุกระจายเสียง (Radio) มีดังนี้
1 ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวาง เข้าถึงผู้รับสารได้อย่างครอบคลุม
2 มีความรวดเร็ว ทําให้ผู้ฟังได้รับข่าวสารทันต่อเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real Time)
3 เป็นสื่อที่ทําลายข้อจํากัดในการอ่านออกเขียนได้ของผู้รับสาร
4 เป็นสื่อที่มีความคงทนต่ํา คือ ผู้รับสารไม่สามารถย้อนกลับไปเปิดรับเนื้อหาสารได้ซ้ำครั้ง ตามที่ตนต้องการ ฯลฯ

17 มีรูปแบบการสื่อสารในลักษณะ One-way Communication คือลักษณะของสื่อใด
(1) Local Media
(2) New Media
(3) Traditional Media
(4) Alternative Media
(5) Social Media
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

18 ลักษณะของผู้รับสารในข้อ 17 ตรงกับคําใด
(1) Active Seeker
(2) Active Receiver
(3) Passive Audience
(4) Passive Seeker
(5) Negative Audience
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

19 สื่อนิตยสารเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง หมายความว่าอย่างไร
(1) เป็นสื่อที่มีอายุการใช้งานยาวนาน
(2) เป็นสื่อที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีความเสถียรสูง
(3) เป็นสื่อที่ผู้รับสารสามารถเปิดรับสารได้ซ้ําครั้ง
(4) เป็นสื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีน้อยมาก
(5) เป็นสื่อที่ไม่ถูกคุกคามจากปัจจัยภายนอกได้อย่างง่ายดาย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

20 ข้อใดคือความหมายของคําว่า การปฏิวัติแห่งระบบดิจิทัล (Digital Revolution)
(1) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ถูกแปลงให้เป็นภาษาดิจิทัล
(2) ข้อมูลข่าวสารในรูปภาษาดิจิทัล ถูกแปลงให้อยู่ในรูปข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
(3) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ ถูกแปลงให้เป็นสัญญาณเสียง
(4) ข้อมูลข่าวสารในรูปสัญญาณเสียง ถูกแปลงให้อยู่ในรูปข้อความ
(5) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ ถูกแปลงให้อยู่ในรูปสัญญาณภาพเคลื่อนไหว
ตอบ 1 หน้า 36 การปฏิวัติแห่งระบบดิจิทัล หรือการปฏิวัติแห่งระบบตัวเลข (Digital Revolution) หมายถึง ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ในรูปของข้อความ เสียง รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว ถูกแปลง ให้เป็นภาษารูปแบบเดียวกัน คือ ภาษาดิจิทัล (Digital Language) ทั้งนี้รูปแบบของการแปลง ข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล อาจจะเรียกอีกอย่างได้ว่า “การทําให้เป็น ภาษาระบบตัวเลข” (Digitization)

21 การทําให้เป็นภาษาระบบตัวเลข (Digitization) หมายถึงข้อใด
(1) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในระบบแอนะล็อก
(2) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสื่อแอนะล็อก
(3) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล
(4) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสื่อดิจิทัล
(5) การแปลงข้อมูลข่าวสารจากระบบดิจิทัลให้อยู่ในระบบแอนะล็อก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

22 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ New Media
(1) เป็นสื่อที่เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกัน
(2) มีรูปแบบการสื่อสารแบบทางเดียว
(4) มีศักยภาพเป็นสื่อแบบประสม
(3) มีรูปแบบการสื่อสารแบบสองทาง
(5) ส่งสารผ่านช่องทางสื่อสารได้หลายอย่างพร้อมกัน
ตอบ 2 หน้า 38 Burnett, P. and Marshalt (2003) ได้นิยามสื่อใหม่ (New Media) ว่า เป็นสื่อที่
เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกัน และสื่อยังทําหน้าที่ส่งสาร ผ่านช่องทางการสื่อสารได้หลาย ๆ อย่างพร้อมกัน คือ ภาพ เสียง และข้อความ โดยการรวมเทคโนโลยีของสื่อดั้งเดิมเข้ากับความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสัมพันธ์ ทําให้มีรูปแบบการ สื่อสารแบบสองทางผ่านทางระบบเครือข่ายและมีศักยภาพเป็นสื่อแบบประสม (Multimedia)

23 Freedom from geological boundaries หมายถึง ความเป็นอิสระด้านใดของสื่อใหม่
(1) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านรูปแบบ
(2) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านขนาด
(3) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านเวลา
(4) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพรมแดน
(5) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพื้นที่
ตอบ 4 หน้า 38 ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดทางด้านพรมแดน (Freedom from geological boundaries) คือ เนื้อหาในรูปแบบดิจิทัลเป็นเนื้อหาที่รับข้อมูลข่าวสารได้ทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็ว จึงทําให้ผู้บริโภคสามารถเลือกรับหรือค้นหาข้อมูลข่าวสารจากประเทศใดก็ได้แล้วแต่ความต้องการของบุคคลแต่ละคน

24 ด้วยคุณลักษณะข้อใดที่ส่งผลให้อินเทอร์เน็ต (Internet) ถูกจัดเป็นสื่อสารมวลชน
(1) เป็นสื่อที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วไปสู่ผู้รับสารในวงกว้าง
(2) เป็นสื่อที่มีช่องทางให้ผู้รับสารสามารถสื่อสารตอบกลับแบบสองทาง
(3) เป็นสื่อที่นําเสนอเนื้อหาสารได้ในลักษณะเดียวกันกับสื่อแบบดั้งเดิมทุกประเภท
(4) เป็นสื่อที่ใช้ภาษาดิจิทัลเป็นกลไกในกระบวนการทํางาน
(5) เป็นสื่อที่มีการส่งเนื้อหาสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในลักษณะเครือข่าย
ตอบ 3 หน้า 40, 55, (คําบรรยาย) สื่ออินเทอร์เน็ตถูกจัดเป็นสื่อสารมวลชนหรือสื่อมวลชน (Mass Communication/Mass Media) ด้วยศักยภาพทางเทคโนโลยีที่สามารถนําเสนอเนื้อหาสาร ได้ในลักษณะเดียวกันกับสื่อมวลชนแบบดั้งเดิมทุกประเภททั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และภาพยนตร์

25 Android จัดเป็นระบบปฏิบัติการในข้อใด
(1) Mobile Telephone
(2) Mobile Platform
(3) Mobile Game
(4) Mobile Computing
(5) Mobile Network
ตอบ 2 หน้า 41 แพลตฟอร์มเคลื่อนที่ (Mobile Platform) หมายถึง ระบบปฏิบัติการสําหรับอุปกรณ์ พกพา ประกอบด้วย ระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์เคลื่อนที่หรืออุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่อื่น ๆ โดยมีผู้ให้บริการเทคโนโลยีในระบบปฏิบัติการดังกล่าวหลากหลายเครือข่ายการสื่อสาร เช่น ระบบปฏิบัติการ IOS), ระบบปฏิบัติการ Android, ระบบปฏิบัติการ Windows Phone 7 ฯลฯ

26 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จัดเป็น New Media ตรงกับคําในข้อใด
(1) E-business
(2) E-marketing
(3) E-commercial
(4) E-banking
(5) E-commerce
ตอบ 5 หน้า 66 สื่ออินเทอร์เน็ตมักถูกใช้เป็นช่องทางประกอบธุรกรรมทางธุรกิจทั้งการซื้อขายสินค้า ออนไลน์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ออนไลน์ การโอนเงินออนไลน์ การจองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ และยังเป็นช่องทางสําคัญที่ผู้ประกอบการใช้ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคําว่า “E-commerce” (Electronic Commerce) หรือที่เราเรียกกันใน ภาษาไทยว่า “การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” เช่น www.lazada.com, www.alibaba.com, www.shopee.co.th, www.tarad.com ฯลฯ

27 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บไซต์
ที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ ตรงกับคําว่า
(1) Upload
(2) Download
(3) Streaming
(4) Link
(5) Web browser
ตอบ 5 หน้า 41, (คําบรรยาย) โปรแกรมค้นดูเว็บ (Web browser) คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บไซต์ที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษา HTML เป็นต้น ทั้งนี้โปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือในการติดต่อกับ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า World Wide Web ตัวอย่างของเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer, Mozilla Firefox, Google Chrome เป็นต้น

ข้อ 28 – 30. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Cinematograph
(2) Radio Telephony
(3) Podcast

28 เนื้อหาในรูปของข้อมูลเสียง (Content Audio) ที่จัดทําขึ้นและเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตอบ 3 หน้า 44 พอดแคสต์ (Podcast) หมายถึง เนื้อหาที่อยู่ในรูปของข้อมูลที่เป็นเสียง (Content Audio) ซึ่งจัดทําขึ้นและเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

29 เครื่องฉายภาพยนตร์ให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ เพื่อให้ชมได้พร้อมกันหลาย ๆ คน ตอบ 1 หน้า 19 ซีเนมาโตกราฟ (Cinematograph) คือ เครื่องฉายภาพยนตร์ให้ปรากฏขึ้นบน จอขนาดใหญ่ เพื่อให้ชมได้พร้อมกันหลาย ๆ คน ซึ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1895 โดยพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้พัฒนาขึ้นมา ทําให้คําว่า “ซีเนมา” (Cinema) กลายเป็นคําที่สื่อความหมายเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่อยมา จวบจนถึงปัจจุบัน

30 วิทยุโทรศัพท์
ตอบ 2 หน้า 20 เรจินัลด์ เอ. เฟสเซนเดน (Riginald A. Fessenden) และลี เดอ ฟอเรสต์ (Lee de Forest) ชาวอเมริกัน ประสบผลสําเร็จในการส่งสัญญาณเสียงพูดจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับ เครื่องหนึ่งในระยะไกล เรียกว่า “วิทยุโทรศัพท์” (Radio Telephony)

ข้อ 31. – 35. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Virtual Room
(2) Virtual World
(3) System Software
(4) Application Software
(5) Connectivity

31 ซอฟต์แวร์ระบบ
ตอบ 3 หน้า 42 ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นชุดคําสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ ทํางาน ซึ่งจะทําหน้าที่เสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software, Operating Software : OS) 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

32 โลกเสมือนจริง
ตอบ 2 หน้า 41 – 42 โลกเสมือนจริง (Virtual World) หมายถึง โลกเสมือนสามมิติที่ถูกสร้างขึ้น ใน Cyber Space โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปผ่านการเชื่อมโยงทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ เพื่อมุ่งให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้งานทั่วโลกสามารถติดต่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกันได้หลายรูปแบบ ได้แก่

1 เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Hi5, Facebook ฯลฯ
2 เครือข่ายฝูงชน เช่น Crowd Source, Wikipedia ฯลฯ
3 เครือข่ายแบ่งปันข้อมูล เช่น YouTube, Flickr ฯลฯ
4 เครือข่ายสร้างห้องเสมือน (Virtual Room) เช่น Camfrog, Video Conference ฯลฯ

33 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

34 สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยง่าย
ตอบ 5 หน้า 47 กาญจนา แก้วเทพ (2555) นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ได้กล่าวถึงคุณลักษณะ สําคัญของสื่อใหม่ (New Media) ว่ามีคุณสมบัติในเชิงเทคนิค เชิงสังคม และคุณสมบัติอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
1 การมีปฏิสัมพันธ์ได้ง่าย (Interactivity) เพราะเป็นสื่อที่มีรูปแบบการ สื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication)
2 มีความสามารถเคลื่อนที่ได้สูง (Mobility)
3 สามารถดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ (Convertibility)
4 สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยง่าย (Connectivity)
5 สามารถหาได้หรือใช้ประโยชน์ในทุกที่ (Ubiquity)
6 มีความรวดเร็วในการสื่อสาร (Speed of Communication)
7 มีลักษณะที่ไร้พรมแดน (Absence of Boundaries)
8 มีความเป็นดิจิทัล (Digitization)

35 เครือข่ายห้องเสมือน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

36 ต่อไปนี้คือนิยามของคําว่า Media Convergence ยกเว้นข้อใด
(1) การบรรจบกันของเทคโนโลยีสื่อแบบดั้งเดิมกับสื่อใหม่
(2) การแปลงเนื้อหาจากแหล่งสารต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล พร้อมกับแปลงข้อมูลดิจิทัล ให้ปรากฏในลักษณะเดียวกันกับสารจากแหล่งสาร
(3) การหลอมรวมระหว่างสื่อ
(4) การรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว
(5) การหลอมรวมเนื้อหาดิจิทัลผ่านสื่อระบบเครือข่าย
ตอบ 5 หน้า 50 – 51 Media Convergence หมายถึง การบรรจบกันของเทคโนโลยีสื่อแบบดั้งเดิม กับสื่อใหม่ หรือเป็นการรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว จนต่อมาได้มี ผู้นิยามศัพท์ว่า “การหลอมรวมระหว่างสื่อ หรือการหลอมรวมสื่อ” อันเป็นผลมาจากศักยภาพ ในการแปลงเนื้อหาจากแหล่งสารต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปข้อมูลดิจิทัลหรือภาษาดิจิทัล พร้อมกับการ แปลงข้อมูลดิจิทัลให้ปรากฏในลักษณะเดียวกันกับสารจากแหล่งสาร

37 จางซิยี่ ดาราชาวจีนถูกทาบทามให้ร่วมแสดงในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด เป็นปรากฏการณ์ข้อใด
(1) Global Corvergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Functional Convergence
(5) Cultural Convergence

ตอบ 1 หน้า 54 Global Convergence หมายถึง ปรากฏการณ์การหลอมรวมระดับโลกจนส่งผล ให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม อันเป็นผลมาจากการเผยแพร่เนื้อหาสื่อระหว่างกันของ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น การนําดาราชาวเอเชียมาร่วมแสดงอยู่ในภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ด ซึ่งเป็นผลมาจากการเผยแพร่ผลงานภาพยนตร์เอเชียไปทั่วโลก เป็นต้น

38 การนํานวนิยายเรื่อง A Jungle Book ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ หนังสือการ์ตูน และเกมออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างกว่าเดิม เป็นปรากฏการณ์ที่ตรงกับข้อใด
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Economic Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 4 หน้า 53 Economic Convergence หมายถึง ปรากฏการณ์ในการหลอมรวมธุรกิจสื่อ เพื่อขยายพื้นที่หรือฐานทางการตลาดให้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม เช่น การนํานวนิยายเรื่อง A Jungle Book ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ หนังสือการ์ตูน และเกมออนไลน์ เพื่อขยายฐาน ลูกค้าให้กว้างกว่าเดิม เป็นต้น

39 ไทยรัฐรวมศูนย์ข่าวไว้ที่เดียวเพื่อให้บริการข้อมูลข่าวผ่านทุกสื่อในเครือ ลักษณะนี้ตรงกับคําว่า
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Social Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 1 หน้า 52 Operational Convergence หมายถึง การรวมศูนย์การปฏิบัติงานไว้ในที่เดียว หรือศูนย์เดียว โดยผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจสื่อหลากหลายประเภทพยายามรวมศูนย์การ ปฏิบัติงานไว้ที่เดียวกัน เช่น ไทยรัฐและเนชั่นรวมศูนย์ข่าวไว้ที่เดียวเพื่อให้บริการข้อมูลข่าว ผ่านทุกสื่อในเครือ เป็นต้น

40 สมาร์ทโฟนเครื่องเดียวรวมรูปแบบการใช้งานของสื่อต่าง ๆ ทั้งกล้องถ่ายภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว โปรแกรมเล่นเกม โปรแกรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต สิ่งนี้ตรงกับคําว่า
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Social Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 3 หน้า 51 Technological or Device Convergence หมายถึง การแปลงเนื้อหาของสื่อ ทุกประเภททั้งตัวอักษร ภาพ เสียง ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล และนําเทคโนโลยีของสื่อแต่ละ ประเภทมารวมเอาไว้ในสื่อหรืออุปกรณ์เดียว เช่น สมาร์ทโฟนเครื่องเดียวหลอมรวมรูปแบบ การใช้งานของสื่อต่าง ๆ ทั้งกล้องถ่ายภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว โปรแกรมอัดวิดีโอ โปรแกรม เล่นเกม โปรแกรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

41 อรจิราเป็นผู้สื่อข่าวที่สามารถทําข่าวเพื่อเผยแพร่ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง สื่อออนไลน์ ในองค์กรสื่อ ที่เธอสังกัด ลักษณะการทํางานของอรจิราตรงกับข้อใด
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Functional Convergence
(5) Cultural Convergence

ตอบ 4 หน้า 53: Functional Convergence หมายถึง การหลอมรวมหลากหลายหน้าที่เอาไว้ ในบุคคลเดียว เช่น ผู้สื่อข่าวคนเดียวจัดทําเนื้อหาข่าวสารเพื่อเผยแพร่ทั้งบนสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง สื่อออนไลน์ เป็นต้น

42 ARPANET เป็นองค์กรผู้พัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อยู่ในสังกัดหน่วยงานใดของสหรัฐอเมริกา
(1) กระทรวงมหาดไทย
(2) กระทรวงการต่างประเทศ
(3) กระทรวงกลาโหม
(4) กระทรวงศึกษาธิการ
(5) กระทรวงวิทยาศาสตร์
ตอบ 3 หน้า 55 สื่ออินเทอร์เน็ตเริ่มใช้งานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยองค์กรที่มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของ สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อใช้ทางการทหาร และสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ได้อย่างไม่ผิดพลาด

43 อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อครอบคลุมระหว่างกันทั่วโลก ด้วยโปรโตคอล TCP/IP คําว่า “โปรโตคอล” หมายถึง
(1) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัล
(2) ข้อกําหนดด้านรูปแบบการสื่อสารเฉพาะเพื่อให้การสื่อสารในระบบเครือข่ายทํางานด้วยกันทั้งระบบ
(3) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านสื่อสารสนเทศ
(4) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย
(5) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านระบบการสื่อสารสากล
ตอบ 2 หน้า 40, 55, (คําบรรยาย) โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง ข้อกําหนดด้านรูปแบบการ สื่อสารเฉพาะระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจสอบ ข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องทั้ง 2 เครื่อง ทั้งนี้เพื่อให้การสื่อสารในระบบเครือข่ายทํางานได้ด้วยกันทั้งระบบ และมีมาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างกันที่เป็นสากลหนึ่งเดียวทั่วโลก ซึ่งนั่นก็คือ โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

44 รูปแบบการสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตที่นํามาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย คือ
(1) การจัดทําเว็บไซต์
(2) การสื่อสารผ่านเว็บบล็อก
(3) การส่งและรับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(4) การสนทนาออนไลน์
(5) เว็บบอร์ด
ตอบ 3หน้า 57 อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (PSU) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ได้ใช้บริการส่งและรับจดหมายหรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) เป็นครั้งแรก โดยได้รับความร่วมมือจากประเทศออสเตรเลีย

45 รูปแบบการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สถาบันอุดมศึกษาทั้งสองแห่งเป็นผู้เริ่มนํามาใช้งานใน ประเทศไทย (ตามข้อ 44.) ได้รับความร่วมมือจากประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) เอสเตรเลีย
(4) เยอรมนี
(5) แคนาดา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ

46 เครือข่ายการสื่อสารใดที่เป็นประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Gateway) แห่งที่สองของประเทศไทย
(1) เครือข่ายยูเน็ต
(2) เครือข่ายไทยสาร
(3) เครือข่ายไทยเน็ต
(4) เครือข่ายจุฬาเน็ต
(5) เครือข่ายอาร์พาเน็ต
ตอบ 2 หน้า 58 ในปี พ.ศ. 2535 เครือข่ายไทยเน็ตถือเป็นเครือข่ายที่มีเกตเวย์ (Gateway) หรือ ประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์กลาง ต่อมาในปีเดียวกัน NECTEC ได้จัดตั้งเครือข่ายไทยสารเป็นเกตเวย์สู่เครือข่าย อินเทอร์เน็ตแห่งที่ 2 ของประเทศไทย

47 IP Address มีความสําคัญต่อการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างไร
(1) เป็นข้อมูลบ่งชี้ประเภทคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน
(2) เป็นข้อมูลบ่งชี้ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของผู้ใช้งาน
(3) เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อใช้ติดต่อกับผู้ใช้งานอื่น ๆ ในเครือข่าย
(4) เป็นข้อมูลบ่งชี้ประเภทองค์กรผู้ใช้งาน
(5) เป็นข้อมูลบ่งชี้ระบบเครือข่ายของผู้ใช้งาน
ตอบ 3 หน้า 59 เครื่องคอมพิวเตอร์ทุก ๆ เครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น จะต้อง มีหมายเลขประจําเครื่อง เรียกว่า “IP Address” (Internet Protocol Address) เป็นข้อมูล อ้างอิงเพื่อที่จะใช้ติดต่อกับผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่าย ซึ่งในช่วงแรกเริ่มนั้น IP Address จะถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่ง มีขนาด 32 บิต (Bit)

48 ในช่วงแรกเริ่ม IP Address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่ง มีขนาดกี่บิต
(1) 32 บิต
(2) 36 บิต
(3) 40 บิต
(4) 44 บิต
(5) 48 บิต
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

49. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้เชื่อมโยงในพื้นที่นครหลวง คือข้อใด
(1) MAN
(2) LAN
(3) CAN
(4) WAN
(5) PAN
ตอบ 1 หน้า 61, (คําบรรยาย) ระบบเครือข่ายงานบริเวณนครหลวงหรือมหานคร (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีระยะทางการเชื่อมต่อไกล กว่าระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) แต่ระยะทางยังคงใกล้กว่าระบบเครือข่ายวงกว้าง (WAN) เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันภายในเมืองหรือเขตพื้นที่มหานคร หรือภายในจังหวัด เดียวกัน หรือในเขตเดียวกัน เป็นต้น

50 ระบบส่งข้อความทันที เป็นรูปแบบการให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตรงกับคําใด
(1) web board
(2) Web Chat
(3) Telnet
(4) Instant Messaging ตอบ 4
(5) Bulletin Board
หน้า 63 การสนทนาออนไลน์โดยตรงระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เป็นรูปแบบของการสนทนา ออนไลน์ในลักษณะที่ไม่ต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์กลาง ซึ่งเรียกว่า “การรับส่งสารแบบต้นต ทันใด” (Instant Messaging) เช่น โปรแกรม ICQ, MSN Messenger, Yahoo Messenger, Windows Messenger เป็นต้น

51 บริการขอเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกล โดยผู้ใช้บริการต้องติดต่อผ่านเครือข่ายที่ได้รับอนุญาต
คือข้อใด
(1) Web board
(2) Web Chat
(3) Telnet
(4) Instant Messaging
(5) Bulletin Board

ตอบ 3 หน้า 64 บริการเข้าระบบระยะไกล (Telnet) เป็นการให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อขอเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกล โดยผู้ใช้บริการต้องติดต่อผ่านเครือข่ายที่ได้รับอนุญาต และไม่จําเป็นที่ผู้ใช้บริการต้องนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น

52 ผู้ใช้บริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย (File Transfer Protocol) ประเภท Anonymous คือ
(1) ผู้ใช้บริการแบบไม่ระบุตัวตน
(2) ผู้ใช้บริการแบบระบุตัวตน
(3) ผู้ใช้บริการแบบไม่มีตัวตน
(4) ผู้ใช้บริการแบบปรากฏตัวตน
(5) ผู้ใช้บริการแบบอ้างตัวตน
ตอบ 1 หน้า 65 ผู้ใช้บริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย (File Transfer Protocol : FTP) สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ได้แก่
1 ผู้ใช้บริการแบบไม่ระบุตัวตน (Anonymous)
2 ผู้ใช้บริการแบบระบุตัวตน ซึ่งต้องมี User Name และ Password ในการเข้าใช้บริการ

53 ข้อใดต่อไปนี้ไม่นับเป็นรูปแบบการให้บริการ E-Commerce บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(1) การซื้อขายสินค้าออนไลน์
(2) การโอนเงินออนไลน์
(3) พนันฟุตบอลออนไลน์
(4) การโฆษณาออนไลน์
(5) การจองตั๋วเครื่องบินออนไลน์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

54 ข้อใดไม่ใช่เหตุผลในการให้บริการข้อมูลข่าวสารบน Online Newspaper
(1) เพื่อเพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับผู้รับสาร
(2) เพื่อเพิ่มช่องทางในการแสวงหารายได้จากค่าโฆษณา
(3) เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ความทันสมัยทางเทคโนโลยีแก่องค์กร
(4) เพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
(5) เพื่อเป็นช่องทางนําเสนอข่าวสารของผู้นําประเทศ
ตอบ 5 หน้า 69 – 70 เหตุผลในการให้บริการข้อมูลข่าวสารในรูปของหนังสือพิมพ์ออนไลน์
(Online Newspaper) มีดังนี้
1 เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ความทันสมัยทางเทคโนโลยีแก่องค์กร
2 เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการเสนอข่าว
3 เพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
4 เพื่อเพิ่มช่องทางติดต่อสื่อสารกับผู้รับสาร
5 เพื่อเพิ่มช่องทางด้านการตลาด เช่น การขายพื้นที่โฆษณาบนเว็บไซต์, การหารายได้เสริมจากค่าสมาชิก ค่าธรรมเนียม ฯลฯ

55 ผู้ให้บริการในข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารที่มีฐานมาจากการเป็นผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์
แบบดั้งเดิมมาก่อน
(1) www.thairath.co.th
(2) www.dailynews.co.th
(3) www.matichon.co.th
(4) www.prachathai.com
(5) www.bangsaenpost.com
ตอบ 4 หน้า 71 – 72 ผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่มีฐานมาจากผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์ แบบกระดาษ (แบบดั้งเดิม) มีดังนี้
1 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง เช่น www.thairath.co.th, www.dailynews.co.th, www.matichon.co.th ฯลฯ
2 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค เช่น www.bangsaenpost.com, wwwww.koratdaily.corn ฯลฯ
3 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยในต่างประเทศ เช่น www.sereechai.com ฯลฯ

ส่วน www.prachathai.com, www.andamannews.com เป็นเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ
หนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่ให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)

56 ข้อใดเป็นเว็บไซต์ของผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ไทยในต่างประเทศ
(1) www.thairath.co.th
(2) www.sereechai.com
(3) www.matichon.co.th
(4) www.andamannews.corn
(5) www.bangsaenpost.com
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

57 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะการส่งสัญญาณเสียงและภาพเคลื่อนไหวผ่าน Streaming Server
(1) ต้องคัดลอกแฟ้มข้อมูลผ่านเครือข่ายมายังผู้ใช้งานให้ครบก่อนจึงเริ่มแสดงผล
(2) ข้อมูลถูกส่งมายังเครื่องลูกข่ายอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์จนครบ
(3) เป็นการส่งสัญญาณในลักษณะ Real Time จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องลูกข่าย
(4) เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะประสานสื่อ
(5) เป็นการส่งสัญญาณที่ถูกเรียกขานว่า เป็นการส่งสัญญาณแบบสายธาร
ตอบ 1 หน้า 76 – 77 Streaming Server คือ เครื่องให้บริการกระจายสัญญาณแบบสายธาร ซึ่งเป็น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่บริการข้อมูลในลักษณะสื่อประสมหรือประสานสื่อ (Multimedia) โดยข้อมูล จะถูกส่งมายังเครื่องลูกข่ายอย่างต่อเนื่อง และไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลด (Download) ไฟล์จาก เซิร์ฟเวอร์จนครบแล้วจึงเริ่มแสดงผล ดังนั้นจึงเป็นการส่งสัญญาณเสียงและภาพเคลื่อนไหวใน ลักษณะทันต่อเวลา (Real Time) จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องลูกข่ายที่ได้รับความนิยมอยู่ ในปัจจุบัน นอกจากนี้ Streaming Server ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) สามารถทําหน้าที่ เป็นผู้ผลิตรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ออนไลน์ได้อีกด้วย

58 ข้อใดคือความหมายของสื่อออนไลน์
(1) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(2) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อแบบประสม
(3) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อดิจิทัล
(4) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและเปิดรับข้อมูลข่าวสารแบบสองทาง
(5) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 1 หน้า 81 สื่อออนไลน์ หมายถึง ช่องทางของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ส่งสารใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลและ ข่าวสาร ส่วนผู้รับสารก็จะใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารเช่นกัน

59 ข้อใดคือสํานักข่าวที่จัดทําขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(1) เว็บไซต์สํานักข่าวไอเอ็นเอ็น
(2) เว็บไซต์สํานักข่าวไทย
(3) เว็บไซต์สํานักข่าวซีเอ็นเอ็น
(4) เว็บไซต์สํานักข่าวพีเพิลยูนิตี้
(5) เว็บไซต์สํานักข่าวอิศรา
ตอบ 4 หน้า 83 สํานักข่าวออนไลน์ที่จัดทําขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่
1 เว็บไซต์สํานักข่าว พีเพิลยูนิตี้ (People Unity News Agency)
2 เว็บไซต์เฟซบุ๊ก นิวส์ไวร์ (FB Newswire)
3 เว็บไซต์สํานักข่าวทีนิวส์
4 เว็บไซต์สํานักข่าวอาร์วายที่ไนน์ ฯลฯ
(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสํานักข่าวออนไลน์ที่มีฐานจากสํานักข่าวแบบดั้งเดิม)

60 รูปแบบของเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนบทสนทนา อภิปรายในสังคมออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานเลือกเข้าสังกัดกลุ่มคนที่มีพื้นฐานความสนใจร่วมกัน คือ
(1) News Group
(2) web board
(3) Online News Clipping
(4) Social Network
(5) Online News Agency
ตอบ 2หน้า 63, 83 – 85 กระดานข่าว (web board) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนบทสนทนา พูดคุย อภิปรายในสังคมออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) เลือกเข้าสังกัดกลุ่มคนที่มีพื้นฐานความสนใจร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องราวหรือประเด็น ทางสังคม อันนําไปสู่การรวมกลุ่มกันในลักษณะชุมชนออนไลน์ (Online Communities) เช่น www.pantip.com, MThai Talk ฯลฯ

61 รูปแบบของเว็บไซต์ที่จัดทําในรูปกลุ่มสนทนา แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในหัวข้อต่าง ๆ โดยแบ่งหมวดหมู่ และกําหนดชื่อของกลุ่มตามประเภทของกลุ่มข่าว คือข้อใด
(1) web board
(2) Online News Clipping
(3) News Group
(4) Social Network
(5) Online News Agency
ตอบ 3 หน้า 85 – 86 กลุ่มข่าวสาร (News Group) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่จัดทําขึ้นในรูปของ กลุ่มสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในหัวข้อต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานทุกคน มีส่วนร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้อย่างอิสระ โดยมีการแบ่งหมวดหมู่ และกําหนดชื่อของกลุ่มตามประเภทของกลุ่มข่าว ทั้งนี้กลุ่มข่าวต่าง ๆ จะถูกแบ่งหมวดหมู่ และเก็บไว้ในบอร์ดข่าวสารขนาดใหญ่ เรียกว่า “User’s Network” (Usenet) และข่าวใน กลุ่มข่าวทั้งหมดจะถูกเก็บไว้บน Usenet Server

62 Online News Clipping เป็นรูปแบบการให้บริการข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ต ตรงกับคําใด
(1) สํานักข่าวออนไลน์
(2) กฤตภาคข่าวออนไลน์
(3) กระดานข่าว
(4) เครือข่ายสังคมออนไลน์
(5) ข่าวแจกออนไลน์
ตอบ 2หน้า 86 – 87 กฤตภาคข่าวออนไลน์ (Online News Clipping) คือ บริการข่าวตัดออนไลน์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยตัดข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ พร้อมกับระบุแหล่งที่มา ของหนังสือพิมพ์ ซึ่งตัวอย่างของเว็บไซต์กฤตภาคข่าวออนไลน์ในประเทศไทยที่เปิดให้บริการ อยู่ในปัจจุบัน เช่น ห้องสมุดข่าวมติชน (Matichon E-library), iQNewsClip, นิวส์เซ็นเตอร์ (News center) เป็นต้น

ข้อ 63. – 66. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Identity Network
(2) Creative Network
(3) Peer to Peer
(4) Virtual Reality

63 www.youtube.com
ตอบ 2 หน้า 88 – 90 ประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีดังนี้
1 สร้างและประกาศตัวตน (Identity Network) เช่น Web Blog, www.twitter.com ซึ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะ Micro Blog โดยมุ่งให้ผู้ใช้โพสต์ข้อความสั้น ๆ ไม่เกิน 140 ตัวอักษร ฯลฯ

2 สร้างและประกาศผลงาน (Creative Network) เช่น www.youtube.com, Flickr, Multiply, Photobucket, Slideshare a
3 ความชอบในสิ่งเดียวกัน (Passion Network) เช่น Digg, Zickr, Catch, Reddit ฯลฯ
4 เวทีทํางานร่วมกัน (Collaboration Network) เช่น Google Earth, Gocgle Maps ฯลฯ
5 ประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Reality) ซึ่งมีลักษณะเป็นเกมออนไลน์ เช่น Audition, Second Life, Ragnarok, Pangya, World of Warcraft ฯลฯ
6 เครือข่ายเพื่อการประกอบอาชีพ (Professional Network) เช่น Linkedin ฯลฯ
7 เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันระหว่างผู้ใช้ (Peer to Peer : P2P) เช่น Skype, BitTorrent ฯลฯ 8. เว็บท่า (Portal Website) ที่รวบรวมลิงค์ของสื่อออนไลน์ประเภทต่าง ๆ เช่น www.sanook.com, www.kapook.com ฯลฯ

64 Skype
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

65 Pangya
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 63, ประกอบ

66 www.twitter.com
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

ข้อ 67. – 70. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Web 1.0
(2) Web 2.0
(3) web board
(4) User-Generated Content

67 เนื้อหาที่ผู้ใช้งานสื่อเป็นผู้ผลิตเอง
ตอบ 4 หน้า 88, 90 พื้นที่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่จะมุ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะที่ เรียกว่า “User-Generated Content” (UGC) กล่าวคือ ผู้ใช้งานสื่อเป็นผู้ผลิตเนื้อหาเอง เช่น Myspace เป็นเว็บไซต์ที่บริษัท นิวส์คอร์ปอเรชั่น ซื้อกิจการมาดําเนินการในราคา 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมี Flickr ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ Yahoo ซื้อกิจการมาดําเนินการ ในราคา 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นต้น

68 เว็บไซต์ที่แสดงเนื้อหามุ่งให้ผู้ใช้งานอ่านแต่เพียงอย่างเดียว
ตอบ 1 หน้า 88 การกําเนิดขึ้นและการเติบโตของเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นผลมาจากการพัฒนา ทางเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจาก Web 1.0 คือ เว็บไซต์ที่แสดงเนื้อหามุ่งให้ผู้ใช้งานอ่านแต่เพียง อย่างเดียว มาสู่ Web 2.0 ซึ่งก็คือ เว็บไซต์เชิงสังคมที่มุ่งให้ผู้ใช้งานสร้างเนื้อหาเองได้ แบ่งปัน เนื้อหาให้กัน และมีส่วนร่วมระหว่างกัน

69 เว็บไซต์เชิงสังคมที่มุ่งให้ผู้ใช้งานสร้างเนื้อหาเองได้ แบ่งปันเนื้อหา และมีส่วนร่วมระหว่างกัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ

70 MThai Talk
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

ข้อ 71 – 80. ข้อใดที่กล่าวไว้ถูกต้องให้ระบายตัวเลือก 1 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องให้ระบายตัวเลือก 2

71 www.amazon.com เป็นเว็บไซต์ประเภทเครือข่ายทางสังคมที่นําเสนอเนื้อหาในลักษณะ Micro Blog ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

72 พื้นที่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่มุ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะ User-Generated Content ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ

73 Youtube เป็นเว็บไซต์ที่บริษัท นิวส์คอร์ปอเรชั่น ซื้อกิจการมาดําเนินการด้วยราคา 580 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ

74. การนําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์สามารถนําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสารได้ในลักษณะ Shifted Time หมายถึง นําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสารได้ในลักษณะทันต่อเวลาที่เกิดขึ้นจริง
ตอบ 2 หน้า 91 คุณลักษณะของข้อมูลข่าวสารที่นําเสนอผ่านสื่อออนไลน์ประการหนึ่ง ได้แก่ ไร้กาล (Shifted Time) กล่าวคือ อยู่เหนือข้อจํากัดด้านเวลาในการนําเสนอเนื้อหาสาร โดยผู้จัดทํา นําเสนอเนื้อหาสารทั้งในลักษณะทันกาล และจัดเก็บเนื้อหาสารเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถสืบค้น
ย้อนหลังได้ด้วย

75 การสื่อสารบน Instagram จัดเป็นรูปแบบการสื่อสารที่เปิดให้ผู้ใช้งานรวมกลุ่มกันในลักษณะชุมชนออนไลน์ (Online Communities)
ตอบ 1 หน้า 85 การรวมกลุ่มกันในลักษณะ “ชุมชนออนไลน์” (Online Communities) เช่น web board, Facebook, Instagram ฯลฯ จัดเป็นรูปแบบของสัมพันธภาพของผู้ใช้งาน เครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยที่สมาชิกของชุมชนออนไลน์มีคุณลักษณะสําคัญ ดังนี้
1 มีความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relationship) เช่น มีความสนใจเกี่ยวกับข่าว เรื่องราว หรือประเด็นทางสังคมในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
2 มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยที่ในโลกความเป็นจริง ผู้ใช้งาน (User) อาจไม่ได้อาศัยอยู่ใกล้กันทางกายภาพ แต่อาจเป็นคนหลายเชื้อชาติ และมีภูมิลําเนาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

76 สื่อออนไลน์เป็นสื่อใหม่ และเป็นสื่อที่มีความคงทนต่ํา ส่วนสื่อหนังสือพิมพ์เป็นสื่อแบบดั้งเดิม และเป็น สื่อที่มีความคงทนสูง
ตอบ 2 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 2. และ 7. ประกอบ) สื่อออนไลน์เป็นสื่อใหม่ที่ไม่มีข้อจํากัด ด้านเวลาในการเข้าถึง ทําให้ผู้ใช้งานสามารถเปิดรับข้อมูลข่าวสารได้ซ้ําครั้งตามที่ตนต้องการ ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นสื่อออนไลน์จึงนับเป็นสื่อที่มีความคงทนสูงพอ ๆ ซึ่งเป็นสื่อแบบดั้งเดิม

77 Online News Clipping คือ การให้บริการข่าวตัดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 62

78 การให้บริการในรูปกลุ่มข่าวสาร (News Group) กลุ่มข่าวต่าง ๆ จะถูกแบ่งหมวดหมู่และเก็บไว้ในบอร์ด ข่าวสารขนาดใหญ่ เรียกว่า User’s Network (Usenet)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

79 Electronic Journal คือ การให้บริการเนื้อหาวารสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ 1 หน้า 73 วารสารออนไลน์ (Online journal) หรือวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Journal) คือ การให้บริการเนื้อหาวารสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือว่าเป็นวารสาร รูปแบบใหม่ที่มีการจัดเก็บ บันทึก และพิมพ์เผยแพร่สารสนเทศทางวิชาการไว้ในรูปของ แฟ้มคอมพิวเตอร์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีกําหนดออกแน่นอนสม่ำเสมอ

80 สื่อวิทยุออนไลน์เข้ามาแทนที่สื่อวิทยุกระจายเสียงแบบดั้งเดิมแล้วอย่างสิ้นเชิง
ตอบ 2 หน้า 74 – 77, (คําบรรยาย) ในปัจจุบันผู้ประกอบการสื่อวิทยุกระจายเสียงแบบดั้งเดิมได้ จัดทําเว็บไซต์ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และรายการวิทยุออนไลน์ควบคู่กันไปกับช่องทางเดิม เพื่อให้ผู้ฟังมีทางเลือกในการรับฟังที่หลากหลาย ซึ่งถึงแม้สื่อวิทยุออนไลน์จะได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถเข้ามาแทนที่สื่อวิทยุกระจายเสียงแบบดั้งเดิมได้อย่างสิ้นเชิง

81 อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองการทํางานของทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ด้วยศักยภาพในการนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะใด
(1) Mega Media
(2) Multimedia
(3) Trans media
(4) Social Media
(5) Virtual Media
ตอบ 2 หน้า 81 – 82 ด้วยศักยภาพในการนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะประสานสื่อ (Multimedia) ซึ่งมีทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตสามารถตอบสนอง การทํางานของสื่อแบบดั้งเดิมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และภาพยนตร์

82 ด้วยข้อจํากัดทางเทคโนโลยีการสื่อสารของสื่อแบบดั้งเดิมข้อใด ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบวิชาชีพ สื่อสารมวลชนมีอํานาจผูกขาดในการทําหน้าที่ผู้ส่งสาร
(1) ความรวดเร็วในการนําเสนอข้อมูลข่าวสาร
(2) ช่องทางการสื่อสารตอบกลับ
(3) ความหลากหลายในการนําเสนอเนื้อหาสารของสื่อแต่ละประเภท
(4) ขอบเขตทางภูมิศาสตร์ในการกระจายเนื้อหาสาร
(5) การเชื่อมต่อการสื่อสารในลักษณะเครือข่าย
ตอบ 4 หน้า 93, 98, (คําบรรยาย) ในอดีตผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนแบบดั้งเดิมมีอํานาจผูกขาด ในการทําหน้าที่ผู้ส่งสาร เพราะขอบเขตทางภูมิศาสตร์ในการกระจายเนื้อหาสารแบบทางเดียว (One-way Communication) ในลักษณะจากบนลงล่าง (Top-Down Communication) กล่าวคือ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนในฐานะผู้ส่งสารจะมีอํานาจเบ็ดเสร็จในการจัดทําและนําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในสังคม โดยที่ผู้รับสารจะได้รับข่าวสารก็ต่อเมื่อผู้ส่งสาร ส่งข่าวสารผ่านสื่อมาสู่ผู้รับสารปลายทางเท่านั้น

83 ข้อใดไม่ใช่ผลจากการที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ
(1) เปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีทางเลือกเปิดรับข้อมูลข่าวสารในประเด็นที่สื่อแบบดั้งเดิมไม่ได้นําเสนอ
(2) เป็นแหล่งสารของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อแบบดั้งเดิม
(3) ผู้ใช้งานเข้มงวดในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารก่อนเผยแพร่
(4) ผู้ใช้งานสามารถส่งผ่านข้อมูลจากระดับบุคคลไปสู่กลุ่มคนต่างเครือข่าย
(5) ทุกคนทําหน้าที่นําเสนอข้อมูลข่าวสารไปสู่สาธารณะอย่างเสรี

ตอบ 3 หน้า 95, 99 – 100 ผลกระทบด้านลบจากการที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ คือ ผู้ใช้งานนําเสนอข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่ต้องผ่าน กระบวนการตรวจสอบ คัดเลือก คัดกรอง จากบรรณาธิการ จึงทําให้ข้อมูลข่าวสารผิดพลาด ได้ง่าย จนอาจจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สู่สาธารณชน (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นผลกระทบด้านบวก)

84 เหตุผลข้อใดที่ทําให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนยุคปัจจุบันจําเป็นต้องมีทักษะทางเทคโนโลยี
(1) เพื่อจะได้รู้เท่าทันเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต
(2) เพื่อจะได้เข้าใจสถานการณ์การแข่งขันระหว่างสื่อใหม่และสื่อแบบดั้งเดิม
(3) เพื่อจะได้สามารถใช้งานสื่อใหม่ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่องทาง
(4) เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการสื่อสาร
(5) เพื่อประโยชน์ต่อการกําหนดมาตรฐานจริยธรรมการสื่อสารให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
ตอบ 3 หน้า 94 – 95 ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนในยุคปัจจุบัน จําเป็นต้องมีทักษะทางด้าน เทคโนโลยีควบคู่กับทักษะด้านวิชาชีพสื่อสารมวลชน เพื่อจะได้สามารถใช้งานสื่อใหม่ในการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่องทาง เช่น ต้องมีความรู้เรื่องการอัปโหลด (Upload) ข้อมูลข่าวสารให้ปรากฏบนเว็บไซต์ขององค์กร, มีความรู้เรื่องโปรแกรมการใช้งานเพื่อเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ ฯลฯ

85 จากการที่สื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในฐานะช่องทางหนึ่งขององค์กรสื่อแบบดั้งเดิม ส่งผลให้
ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อแบบดั้งเดิมต้องปรับตัวในการทํางาน ยกเว้นข้อใด
(1) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการทํางาน
(2) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องยอมรับอินเทอร์เน็ตเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร
(3) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องฝึกทักษะในการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยตนเอง
(4) ผู้ประกอบวิชาชีพในองค์กรจําเป็นต้องปรับโครงสร้างการทํางานในองค์กรที่แตกต่างจากเดิม
(5) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องนําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ แบบบูรณาการ
ตอบ 3 หน้า 105 – 106 การปรับตัวของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนแบบดั้งเดิม มีดังนี้
1 ยอมรับสื่ออินเทอร์เน็ตเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร
2 ปรับโครงสร้างการทํางานภายในองค์กรที่ต่างจากเดิม โดยจัดให้มีฝ่ายจัดทําและเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ หรืออาจใช้บุคลากรร่วมกับสื่อแบบดั้งเดิม
3 เรียนรู้และฝึกฝนทักษะการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการทํางาน
4 นําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ แบบบูรณาการ ฯลฯ

86 การพยายามเข้าไปอ่านอีเมลในเมลบอกซ์ของผู้อื่น ขัดกับจริยธรรมการสื่อสารข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 1 หน้า 115 – 116 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) เช่น การลักลอบเข้าไปเปิดอ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ของผู้อื่น, การใช้ข้อมูลของ ลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด, การรวบรวมหมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ของอีเมล และข้อมูลส่วนตัว เพื่อนําไปใช้สร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้า ขึ้นใหม่ แล้วนําไปขายให้แก่บริษัทอื่น ฯลฯ

87 การนําข้อมูลลงสู่ระบบฐานข้อมูลโดยไม่ตรวจตราความถูกต้องอย่างเข้มงวด ส่งผลให้สารสนเทศบน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ถูกต้อง กล่าวได้ว่าสิ่งนี้ขัดกับจริยธรรมการสื่อสารข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility.
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 2 หน้า 116 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมครามถูกต้อง (Information Accuracy) คือ ความผิดพลาดของข้อมูลที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง อันเป็นผลมาจากการไม่มีผู้ทําหน้าที่ตรวจสอบหรือคัดกรองความถูกต้องของข้อมูลก่อนจัดเก็บเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล ส่งผลให้สารสนเทศ ที่จัดเก็บและเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ถูกต้อง

88 กรณี User จัดทําและให้บริการเนื้อหาลามกอนาจารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กล่าวได้ว่าสิ่งนี้ขัดกับ จริยธรรมข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) จริยธรรมของผู้ใช้สื่อ
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 4 หน้า 119 – 120 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมของผู้ใช้สื่อ เช่น ผู้ใช้งาน (User) หรือ ผู้เปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อ ได้นําเสนอเนื้อหาหรือข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทบน พื้นที่การใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การใช้โปรแกรม Camfrog ซึ่งผู้ใช้งานสามารถ เห็นหน้าค่าตากันในระหว่างพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อมุ่งสร้างความรู้สึกเสมือนอยู่ใกล้ชิดกัน แต่ผู้ใช้งานบางคนกลับใช้เป็นช่องทางในการจัดทําและให้บริการเนื้อหาหรือ ภาพลามกอนาจารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

89 การทําซ้ำหรือเผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภท Copyright ขัดกับจริยธรรมข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 3 หน้า 117 – 118 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมเรื่องความเป็นเจ้าของ (Information Property) คือ การละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ซอฟต์แวร์) ดังนี้
1 Copyright or Software License คือ ซอฟต์แวร์ที่ซื้อลิขสิทธิ์มาแล้วมีสิทธิใช้งานเท่านั้น ห้ามทําซ้ําหรือเผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ลิขสิทธิ์ทุกกรณี
2 Shareware คือ ซอฟต์แวร์ที่ให้ทดลองใช้ได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งมีสิทธิใช้ในระยะเวลา ที่กําหนดเท่านั้น เป็นต้น
3 Freeware คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ฟรี คัดลอก และเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้

90 เพราะเหตุใดอินเทอร์เน็ตจึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิชาชีพวารสารศาสตร์ของสื่อแบบดั้งเดิม ที่ให้ความสําคัญต่อผู้เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper)
(1) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารโดยเท่าเทียม
(2) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนมีโอกาสสื่อสารตอบกลับในลักษณะการสื่อสารสองทาง
(3) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ
(4) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่จํากัด
(5) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถสื่อสารผ่านเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก

ตอบ 3 หน้า 100, 110 ด้วยเหตุที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของ ตนเองสู่สาธารณะ โดยไม่มีผู้ทําหน้าที่เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper) ส่งผลให้เกิด ผลกระทบต่อวิชาชีพวารสารศาสตร์ของสื่อแบบดั้งเดิมที่ให้ความสําคัญกับผู้เฝ้าประตูข้อมูล ข่าวสาร (Gatekeeper) ซึ่งก็คือ บรรณาธิการผู้ทําหน้าที่คัดเลือก คัดกรอง และตรวจสอบ ความถูกต้องของเนื้อหาสารก่อนนําาเสนอสู่ผู้รับสารในสังคม

91 ข้อใดคือความหมายของ Citizen Reporter
(1) ผู้ใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตทุกคน ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้ส่งสารผ่านพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ
(2) ผู้สื่อข่าวสื่อแบบดั้งเดิมที่ใช้สื่อใหม่เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร
(3) ประชาชนทั่วไปที่ทําหน้าที่รายงานข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อแบบดั้งเดิม
(4) ผู้สื่อข่าวผ่านสื่อใหม่ที่ทําหน้าที่รายงานข่าวผ่านสื่อแบบดั้งเดิมด้วย
(5) ผู้สื่อข่าวของสื่อแบบดั้งเดิมที่ทํางานร่วมกับประชาชนในสังคม
ตอบ 1 หน้า 95, 104 ผู้สื่อข่าวภาคพลเมือง (Citizen Reporter) หรือผู้สื่อข่าวภาคประชาชน หมายถึง ผู้ใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตทุกคน ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้ส่งสารผ่านพื้นที่ของตนเองไปสู่ สาธารณะได้อย่างเขาเทียมกัน โดยจะมีบทบาทเป็นผู้รายงานข่าวสารคล้ายกับบทบาทของ ผู้สื่อข่าว (News Reporter) ในองค์กรสื่อสารมวลชนแบบดั้งเดิม เช่น อาณัติมีอาชีพครูและ นําเสนอข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมชุมชนผ่านทางเว็บบล็อก (Web Blog) เป็นต้น

92 จากความหมายในข้อ 91. บุคคลในข้อใดต่อไปนี้จัดเป็น Citizen Reporter
(1) อารีเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ที่เผยแพร่ข่าวผ่านสื่อออนไลน์อีกทางหนึ่งด้วย
(2) อาจินต์เป็นผู้สื่อข่าวที่มุ่งเข้าถึงแหล่งข่าวที่เป็นประชาชนทั่วไป
(3) อาณัติมีอาชีพครูและนําเสนอข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมชุมชนผ่านเว็บบล็อก
(4) อากรเป็นผู้สื่อข่าวที่มุ่งรายงานข่าวสารด้านสํามะโนประชากร
(5) อารัญเป็นผู้สื่อข่าวผ่านเว็บไซต์และรายงานข่าวผ่านสิ่งพิมพ์แบบกระดาษด้วย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93 Gatekeeper หมายถึงผู้ทําหน้าที่ใดในองค์กรสื่อสารมวลชน
(1) จัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องหลังจากเผยแพร่
(2) คัดกรองความถูกต้องของข่าวสารก่อนเผยแพร่
(3) ตกแต่งข่าวสารให้สละสลวยก่อนเผยแพร่
(4) ติดตามผลกระทบของข่าวสารหลังจากเผยแพร่
(5) แก้ไขข่าวสารที่ผิด ๆ ซึ่งเผยแพร่ไปแล้วให้ถูกต้อง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

94 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ถูกยกเลิกตามประกาศ พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 โดยจัดตั้งกระทรวงใดขึ้นมาแทน
(1) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(2) กระทรวงดิจิทัลเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
(3) กระทรวงดิจิทัลเพื่อสังคมและเศรษฐกิจ
(4) กระทรวงดิจิทัลเพื่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ
(5) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามประกาศ พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 ระบุว่า ให้ยกเลิกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และจัดตั้งกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีหน้าที่ในการวางแผน ส่งเสริม และพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

95 ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ข้อใดไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
(1) งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม
(2) กฎหมาย
(3) งานสร้างสรรค์ประเภทดนตรีกรรม
(4) โปรแกรมคอมพิวเตอร์
(5) งานสร้างสรรค์ประเภทสิ่งบันทึกเสียง
ตอบ 2 หน้า 127, 129 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 7 ระบุว่า สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงาน อันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. นี้
1 ข่าวประจําวันและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนก วรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
2 รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
3 ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง คําชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
4 คําพิพากษา คําสั่ง คําวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5 คําแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม 1. – 4. ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงาน อื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทําขึ้น

96 ลายน้ำบนรูปภาพดิจิทัล ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 จัดเป็นข้อใด
(1) ข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) มาตรการทางเทคโนโลยี
(3) มาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) มาตรการทางข้อมูลการบริหารสิทธิ
ตอบ 1 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (2) ระบุไว้ว่า “ข้อมูลการบริหาร สิทธิ” หมายความว่า ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์ นักแสดง การแสดง เจ้าของ ลิขสิทธิ์ หรือระยะเวลาและเงื่อนไขในการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ตลอดจนตัวเลขหรือรหัสแทน ข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลเช่นว่านี้ติดอยู่หรือปรากฏเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึก การแสดง (เช่น การจัดทําลายน้ําบนรูปภาพ ธนบัตร, เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ หรือ International Standard Book Number : ISBN เป็นต้น)

97 โปรแกรมเกมออนไลน์ Magic Tank มีระบบป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ระบบป้องกันดังกล่าวตรงกับข้อใด
(1) ข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) มาตรการทางเทคโนโลยี
(3) มาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) ข้อมูลบ่ง กรรมสิทธิ์
ตอบ 2 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (3) ระบุไว้ว่า “มาตรการทาง เทคโนโลยี” หมายความว่า เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการทําซ้ําหรือควบคุมการ เข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง โดยเทคโนโลยีเช่นว่านี้ได้นํามาใช้กับงานอัน มีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

98 จากข้อ 97. หากนายสามารถกระทําการเพื่อทําให้ระบบป้องกันการเข้าถึงของโปรแกรมเกม Magic Tank ใช้การไม่ได้ กล่าวได้ว่าการกระทําของนายสามารถเข้าข่ายข้อใด
(1) การละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี
(3) การหลบเลี่ยงมาตรการการบริหารสิทธิ
(4) การละเมิดข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) การละเมิดข้อมูลบ่งชี้กรรมสิทธิ์

ตอบ 2 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (4) ระบุว่า “การหลบเลี่ยง มาตรการทางเทคโนโลยี” หมายความว่า การกระทําด้วยประการใด ๆ ที่ทําให้มาตรการ ทางเทคโนโลยีไม่เกิดผล (ดูคําอธิบายข้อ 97. ประกอบ)

99 มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ระบุว่า “ผู้ใดล่วงรู้ มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าว ไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น” กําหนดโทษเช่นไร
(1) จําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(2) จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(3) จําคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(4) จําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(5) จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ตอบ 4 หน้า 158, 160 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 6 ระบุว่า ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นต้อง ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

100 มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ระบุว่า “ผู้ใดเข้าถึงโดย มิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตนกําหนดโทษเช่นไร
(1) จําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(2) จําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(4) จําคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(5) จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ตอบ 2 หน้า 158, 160 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 7 ระบุว่า ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตนจะต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

 

CDM2105 MCS2390 เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารมวลชน s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2390  เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารมวลชน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Digital Language
(2) วิทยุกระจายเสียง
(3) เทคโนโลยี
(4) www.google.com

1 ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัดต่อกระบวนการผลิตหรือระบบการทํางาน
ตอบ 3 หน้า 3 โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อกระบวนการผลิตหรือระบบ การทํางานใด ๆ ก็ตามอยู่ 3 ประการ ได้แก่
1 ประสิทธิภาพ (Efficiency)
2 ประสิทธิผล (Productivity)
3 ประหยัด (Economy)

2 ผู้รับสารมีลักษณะเป็น Active Seeker
ตอบ 4 หน้า 35 – 50, 109, (คําบรรยาย) สื่อใหม่ (New Media) ได้แก่ อินเทอร์เน็ต, เว็บไซต์ (เช่น www.google.corn), อีเมล์, สื่อออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะสําคัญดังนี้
1 มีการใช้ภาษาระบบตัวเลขหรือภาษาดิจิทัล (Digital Language) เป็นกลไกในการสื่อสาร ข้อมูลและกระบวนการทํางานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2 ผู้รับสารมีลักษณะ Active Seeker คือ ผู้รับสารกระตือรือร้นเสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสาร ด้วยตัวเองตามความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นของตัวเองอย่างอิสรเสรี
3 มีช่องทางการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารในลักษณะของการสื่อสารแบบ สองทาง (Two-way Communication) ฯลฯ

3 ผู้รับสารมีลักษณะเป็น Passive Audience
ตอบ 2 หน้า 27, 33 สื่อดั้งเดิม (Traditional Media) ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ (เช่น หนังสือพิมพ์), สื่อภาพยนตร์, สื่อวิทยุกระจายเสียง, สื่อวิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ มีลักษณะของผู้รับสารดังนี้
1 ผู้รับสารในสังคมคุ้นเคยและมีทัศนคติเชิงบวกต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อดั้งเดิม
2 ผู้รับสารมีลักษณะ Passive Audience คือ มีหน้าที่เปิดรับข้อมูลข่าวสาร และจะได้รับ ข้อมูลข่าวสารก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารนําเสนอหรือส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางการสื่อสารมาสู่ผู้รับสารเท่านั้น

4 กลไกในการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

5 ภาษาระบบตัวเลข
ตอบ 1 หน้า 36, (ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ) การปฏิวัติแห่งระบบดิจิทัล หรือการปฏิวัติแห่งระบบ ตัวเลข (Digital Revolution) หมายถึง ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ในรูปข้อความ เสียง รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว ถูกแปลงให้เป็นภาษารูปแบบเดียวกัน คือ ภาษาดิจิทัล (Digital Language) ซึ่งรูปแบบของการแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัลนี้ อาจจะเรียก อีกอย่างได้ว่า “การทําให้เป็นภาษาระบบตัวเลข” (Digitization)

6 เป็นสื่อที่ทําลายข้อจํากัดในการอ่านออกเขียนได้
ตอบ 2 หน้า 30 – 31, (คําบรรยาย) คุณลักษณะของสื่อวิทยุกระจายเสียง (Radio) มีดังนี้
1 ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวาง เข้าถึงผู้รับสารได้อย่างครอบคลุม
2 มีความรวดเร็ว ทําให้ผู้ฟังได้รับข่าวสารทันต่อเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real Time)
3 เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดผลทางจิตวิทยาต่อผู้ฟังสูงด้วยการใช้น้ำเสียง ลีลาในการพูด การแสดง อารมณ์ด้วยน้ำเสียง และการใช้เสียงประกอบ ซึ่งทําให้ผู้ฟังเกิดจินตนาการคล้อยตามได้ดี
4 เป็นสื่อที่ทําลายข้อจํากัดในการอ่านออกเขียนได้ของผู้รับสาร
5 เป็นสื่อที่สะดวกต่อการพกพาติดตัว
6 เป็นสื่อที่มีข้อด้อย คือ มีความคงทนต่ำ ซึ่งหมายถึง ผู้รับสารไม่สามารถย้อนกลับไปเปิดรับ เนื้อหาสารได้ซ้ำครั้งตามต้องการ ฯลฯ

7 มีช่องทางในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

8 สื่อแบบดั้งเดิม มีความคงทนต่ำ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. และ 6 ประกอบ

9 การนําความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ประโยชน์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ตอบ 3 หน้า 1 หน้า 1 – 2 บราวน์ (Brown) ให้ความหมายของ “เทคโนโลยี” (Technology) ว่า เป็นการ นําวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์ ส่วนพจนานุกรมเว็บสเตอร์ (Webster) ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ประการหนึ่ง คือ การใช้ทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม

10 จัดเป็น New Mecia
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

11 นับตั้งแต่มนุษย์มีที่อยู่อาศัยรวมกันเป็นหลักแหล่ง มนุษย์ก็ได้เรียนรู้ที่จะสื่อสารกันในลักษณะใด
(1) สื่อสารระหว่างบุคคล
(2) สื่อสารด้วยภาษากาย
(3) สื่อสารมวลชน
(4) สื่อสารด้วยภาษาเขียน
(5) สื่อสารด้วยภาษาพูด
ตอบ 1 หน้า 7 การสื่อสารระหว่างบุคคล ถือเป็นรูปแบบการสื่อสารพื้นฐานของมนุษย์ นับตั้งแต่ มนุษย์ถือกําเนิดขึ้นบนโลก เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องมีที่อยู่อาศัย รวมกันเป็นหลักแหล่ง ดังนั้นการสื่อสารจึงเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในการ ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก ความต้องการ ความรู้ และประสบการณ์ต่าง เพื่อดํารงชีวิตอยู่ร่วมกันในชุมชนหรือสังคม

12 ภาษาแรกของมนุษยชาติ คือ
(1) ภาษาเขียน
(2) ภาษ พูด
(3) ภาษากาย
(4) ภาษาสัญลักษณ์
(5) ภาษาระบบตัวเลข
ตอบ 2 หน้า 6 – 7 ภาษาพูด ถือเป็นวัจนภาษาที่ถูกบันทึกไว้ว่า เป็นภาษาแรกเริ่มของมนุษยชาติ ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้อวัยวะที่ติดตัวมาแต่กําเนิดในการสร้าง “สาร” ในรูปของเสียง และสร้างความหมายในรูปของคําพูด เพื่อสื่อสารระหว่างกัน

13 ข้อใดคือนิยามของสื่อแบบดั้งเดิม (Traditional Media)
(1) สื่อที่เกิดขึ้นและมีบทบาทในสังคมมนุษย์มาแต่แรกเริ่มและยังคงมีบทบาทสําคัญอยู่ในปัจจุบัน
(2) สื่อที่มนุษย์ในสังคมทุกรุ่นมีความคุ้นเคย
(3) สื่อที่เคยมีบทบาทในสังคมมนุษย์แต่ปัจจุบันกําลังลดบทบาทลง
(4) สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารตัวหนังสือหรือเสียงหรือภาพเพียงอย่างเดียวผ่านช่องทางการสื่อสาร
(5) สื่อที่มีรูปแบบการส่งสารผ่านช่องทางการสื่อสารแบบโบราณ
ตอบ 4 หน้า 14 นิยามของสื่อแบบดั้งเดิม (Traditional Media) ประกอบด้วย
1 สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารเพียงอย่างเดียว หมายถึง สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารในรูปตัวหนังสือ หรือเสียงหรือภาพเพียงอย่างเดียวผ่านช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อวิทยุกระจายเสียง
2 สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารสองอย่าง หมายถึง สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารทั้งในรูปภาพและเสียง พร้อมกันผ่านช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ สื่อวิทยุโทรทัศน์ และสื่อภาพยนตร์

14 ผู้รับสารเป็นผู้กระตือรือร้นในการเสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสารด้วยตัวเอง คือลักษณะของผู้รับสารของสื่อใด
(1) Locat Media
(2) New Media
(3) Traditional Media
(4) Alternative Media
(5) Social Media
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

15 ลักษณะของผู้รับสารในข้อ 14. ตรงกับคําใด
(1) Active Seeker
(2) Active Receiver
(3) Passive Audience
(4) Passive Seeker
(5) Negative Audience
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

16 หลักการภาพติดตา เป็นการค้นพบที่นําไปสู่การประดิษฐ์สื่อใด
(1) สื่อวิทยุกระจายเสียง
(2) สื่อสิ่งพิมพ์
(3) สื่อภาพยนตร์
(4) สื่ออินเทอร์เน็ต
(5) สื่อคอมพิวเตอร์
ตอบ 3หน้า 18 สื่อภาพยนตร์นับเป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการนําภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพเรียงติดต่อกัน อย่างต่อเนื่อง โดยใช้หลักการที่เรียกว่า “การเห็นภาพติดตา” และเมื่อนําเอาภาพนิ่งเหล่านั้น มาฉายดูทีละภาพด้วยอัตราความเร็วในการฉายต่อภาพเท่า ๆ กัน สายตามนุษย์จะยังคงรักษา ภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 1 ส่วน 3 นาที

17 ข้อใดคือคุณลักษณะของสื่อวิทยุโทรทัศน์ (Television)
(1) สามารถนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะ Real Time
(2) สามารถนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะ Shifted Time
(3) มีความคงทนสูง
(4) สามารถนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะ Multimedia
(5) ทําลายข้อจํากัดในการอ่านออกเขียนได้ของผู้รับสาร
ตอบ 1.5 หน้า 31 – 32 คุณลักษณะของสื่อวิทยุโทรทัศน์ (Television) มีดังนี้
1 ส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวาง และเข้าถึงผู้รับสารได้อย่างครอบคลุม
2 เร้าความสนใจของผู้รับสารได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถนําเสนอทั้งภาพเคลื่อนไหว
และเสียงได้พร้อมกัน

3 มีความรวดเร็วในการส่งข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะการนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะ ทันต่อเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real Time)
4 เป็นสื่อที่ทําลายข้อจํากัดในการอ่านออกเขียนได้ของผู้รับสาร

18 ไอโคโนสโคป (Iconoscope) เป็นอุปกรณ์ในระบบการทํางานของสื่อใด
(1) โทรทัศน์จักรกล
(2) โทรทัศน์อิเล็กทรอนิกส์
(3) โทรทัศน์ระบบดิจิทัล
(4) สื่อวิทยุกระจายเสียง
(5) สื่อภาพยนตร์
ตอบ 2 หน้า 23 – 24 นักประดิษฐ์ที่มีบทบาทสําคัญในการพัฒนาระบบโทรทัศน์อิเล็กทรอนิกส์ คือ วลาดิเมียร์ คอสมิช เวอร์กิน (Vladimir Kozrich Zwoiykin) ผู้ค้นพบหลอดจับภาพ ที่เรียกว่า “ไอโคโนสโคป” (Iconoscope) และได้จดทะเบียนใน ค.ศ. 1923 จึงนับเป็นผู้ที่ คิดค้นอุปกรณ์ในระบบโทรทัศน์ที่เป็นต้นแบบการพัฒนาโทรทัศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

19 การทําให้เป็นภาษาระบบตัวเลข (Digitization) หมายถึงข้อใด
(1) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในระบบอนาล็อก
(2) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสื่ออนาล็อก
(3) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล
(4) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสื่อดิจิทัล
(5) การแปลงข้อมูลข่าวสารจากระบบดิจิทัลให้อยู่ในระบบอนาล็อก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

20 ข้อใดคือนิยามของคําว่า การปฏิวัติแห่งระบบดิจิทัล (Digital Revolution)
(1) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ถูกแปลงให้เป็นภาษาดิจิทัล
(2) ข้อมูลข่าวสารในรูปภาษาดิจิทัล ลูกแปลงให้อยู่ในรูปข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
(3) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ ถูกแปลงให้เป็นสัญญาณเสียง
(4) ข้อมูลข่าวสารในรูปสัญญาณเสียง ถูกแปลงให้อยู่ในรูปข้อความ
(5) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ ถูกแปลงให้เป็นสัญญาณภาพเคลื่อนไหว
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

21 สื่อนิตยสารเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง คํานี้หมายความว่าอย่างไร
(1) เป็นสื่อที่มีอายุการใช้งานยาวนาน
(2) เป็นสื่อที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่เสถียร
(3) เป็นสื่อที่ผู้รับสารสามารถเปิดรับสารได้ซ้ำครั้ง
(4) เป็นสื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
(5) เป็นสื่อที่ไม่ถูกคุกคามจากปัจจัยภายนอกได้อย่างง่ายดาย
ตอบ 3 หน้า 27 – 28, 33 คุณลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media) เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร ฯลฯ ซึ่งจัดเป็นสื่อแบบดั้งเดิมมีดังนี้
1 เข้าถึงกลุ่มผู้รับสารได้อย่างกว้างขวาง
2 นําเสนอเนื้อหาสารในรูปภาษาเขียน (ตัวอักษร) และภาพ
3 มีความน่าเชื่อถือสูง จึงมักถูกใช้เป็นสื่อเพื่อการอ้างอิง (Referenced Media)
4 มีความคงทนสูง หมายถึง ผู้รับสารสามารถย้อนกลับไปเปิดรับเนื้อหาสารจากสื่อได้ซ้ำครั้งตามต้องการ
5 จัดเป็นสื่อสารมวลชนสื่อแรกที่เก่าแก่ที่สุด ฯลฯ

22 Freedom from geological boundaries หมายถึง ความเป็นอิสระด้านใดของสื่อใหม่
(1) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านรูปแบบ
(2) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านขนาด
(3) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านเวลา
(4) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพรมแดน
(5) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพื้นที่
ตอบ 4 หน้า 38 ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดทางด้านพรมแดน (Freedom from geological
boundaries) คือ เนื้อหาในรูปแบบดิจิทัลเป็นเนื้อหาที่รับข้อมูลข่าวสารได้ทั่วโลกในเวลา อันรวดเร็ว จึงทําให้ผู้บริโภคสามารถเลือกรับหรือค้นหาข้อมูลข่าวสารจากประเทศใดก็ได้แล้วแต่ความต้องการของบุคคลแต่ละคน

23 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของสื่อใหม่ (New Media)
(1) เป็นสื่อที่เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกัน
(2) มีรูปแบบการสื่อสารแบบทางเดียว
(3) มีรูปแบบการสื่อสารแบบสองทาง
(4) ส่งสารผ่านช่องทางสื่อสารได้หลายอย่างพร้อมกัน
(5) มีศักยภาพเป็นสื่อแบบประสม
ตอบ 2 หน้า 38 Burnett, R. and Marshalt (2003) ได้นิยามสื่อใหม่ (New Media) ว่า เป็นสื่อที
เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกัน และสื่อยังทําหน้าที่ส่งสาร ผ่านช่องทางการสื่อสารได้หลาย ๆ อย่างพร้อมกัน คือ ภาพ เสียง และข้อความ โดยการรวม เทคโนโลยีของสื่อดั้งเดิมเข้ากับความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสัมพันธ์ ทําให้มีรูปแบบการ สื่อสารแบบสองทางผ่านทางระบบเครือข่ายและมีศักยภาพเป็นสื่อแบบประสม (Multimedia)

24 อินเทอร์เน็ต (Internet) ถูกจัดเป็นสื่อสารมวลชน เพราะเหตุผลข้อใด
(1) เป็นสื่อที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วไปสู่ผู้รับสารในวงกว้าง
(2) เป็นสื่อที่มีช่องทางให้ผู้รับสารสามารถสื่อสารตอบกลับแบบสองทาง
(3) เป็นสื่อที่นําเสนอเนื้อหาสารได้ในลักษณะเดียวกันกับสื่อแบบดั้งเดิมทุกประเภท
(4) เป็นสื่อที่ใช้ภาษาดิจิทัลเป็นกลไกในกระบวนการทํางาน
(5) เป็นสื่อที่มีการส่งเนื้อหาสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในลักษณะเครือข่าย
ตอบ 3 หน้า 40, 55, (คําบรรยาย) สื่ออินเทอร์เน็ตถูกจัดเป็นสื่อสารมวลชนหรือสื่อมวลชน (Mass Communication/Niass Media) ด้วยศักยภาพทางเทคโนโลยีที่สามารถนําเสนอเนื้อหาสาร ได้ในลักษณะเดียวกันกับสื่อมวลชนแบบดั้งเดิมทุกประเภททั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และภาพยนตร์

25 E-commerce จัดเป็น New Media ตรงกับข้อใด
(1) การตลาดอิเล็กทรอนิกส์
(2) การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์
(3) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(4) การคลังอิเล็กทรอนิกส์
(5) การเงินอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 3 หน้า 66 สื่ออินเทอร์เน็ตมักถูกใช้เป็นช่องทางประกอบธุรกรรมทางธุรกิจทั้งการซื้อขายสินค้า ออนไลน์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ออนไลน์ การโอนเงินออนไลน์ รวมทั้งยังเป็นช่องทางสําคัญ ที่ผู้ประกอบการใช้ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคําว่า “E-commerce” (Electronic Commerce) หรือเรียกว่า “การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” เช่น www.lazada.com, www.alibaba.com, www.shopee.co.th, www.tarad.com ฯลฯ

26 เว็บไซต์ต่อไปนี้เป็นเว็บประเภท E-commerce ยกเว้นข้อใด
(1) www.tarad.com
(2) www.lazada.com
(3) www.alibaba.com
(4) www.sanook.com
(5) www.shopee.co.th
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

27 IOS จัดเป็นระบบปฏิบัติการในข้อใด
(1) Mobile Telephone
(2) Mobile Platform
(3) Mobile Game
(4) Mobile Computing
(5) Mobile Network
ตอบ 2 หน้า 41 เทคโนโลยีสําหรับอุปกรณ์พกพาหรือแพลตฟอร์มเคลื่อนที่ (Mobile Platform) หมายถึง ระบบปฏิบัติการสําหรับอุปกรณ์พกพา ซึ่งประกอบไปด้วย ระบบปฏิบัติการของ โทรศัพท์เคลื่อนที่หรืออุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่อื่น ๆ โดยมีผู้ให้บริการเทคโนโลยีในระบบ ปฏิบัติการหลากหลายเครือข่ายการสื่อสาร เช่น ระบบปฏิบัติการ IOS, ระบบปฏิบัติการ Android, ระบบปฏิบัติการ Windows Phone 7 ฯลฯ

ข้อ 28 – 30. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Teletext
(2) Videotext
(3) Streaming Server

28 เครื่องให้บริการกระจายสัญญาณแบบสายธาร
ตอบ 3 หน้า 76 – 77 Streaming Server คือ เครื่องให้บริการกระจายสัญญาณแบบสายธาร ซึ่งเป็น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่บริการข้อมูลในลักษณะสื่อประสมหรือประสานสื่อ (Multimedia) โดยข้อมูล จะถูกส่งมายังเครื่องลูกข่ายอย่างต่อเนื่อง และไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลด (Download) ไฟล์จาก เซิร์ฟเวอร์จนครบแล้วจึงเริ่มแสดงผล ดังนั้นจึงเป็นการส่งสัญญาณเสียงและภาพเคลื่อนไหวใน ลักษณะทันต่อเวลา (Real Time) จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องลูกข่ายที่ได้รับความนิยมอยู่ ในปัจจุบัน นอกจากนี้ Streaming Server ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) สามารถทําหน้าที่ เป็นผู้ผลิตรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ออนไลน์ได้อีกด้วย

29 โทรภาพสาร
ตอบ 1 หน้า 67 ในปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) ประเทศอังกฤษได้คิดค้นวิธีการนําเสนอข่าวสารของ สื่อสิ่งพิมพ์โดยส่งข้อมูลไปพร้อมกับการส่งคลื่นสัญญาณโทรทัศน์ และได้เรียกสื่อดังกล่าวนี้ว่า
“โทรภาพสาร” (Teletext)

30 วิดีสาร
ตอบ 2 หน้า 67 – 68 บริษัท British Telecom ประเทศอังกฤษ ได้พัฒนาเทคโนโลยีการเผยแพร่
ข้อมูลข่าวสารในรูปวิดีสาร (Videotext) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระบบโทรศัพท์สาธารณะเข้ากับ ศูนย์ข้อมูลและเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ปลายทางของผู้ใช้ โดยที่เครื่องรับจะมีเครื่องแปลงรหัสที่สามารถแปลงรหัสให้ปรากฏบนจอรับปลายทางได้ทั้งในลักษณะข้อความและภาพ ต่อมาใน พ.ศ. 2523 องค์กรหนังสือพิมพ์ได้นําเนื้อหาข่าวเผยแพร่สู่ประชาชนผ่านสื่อวิดีสารเป็นครั้งแรก

ข้อ 31. – 35. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) System Software
(2) Application Software
(3) Virtual Classroom
(4) Virtual World
(5) Connectivity

31 โลกเสมือนจริง
ตอบ 4 หน้า 41 – 42 โลกเสมือนจริง (Virtual World) หมายถึง โลกเสมือนสามมิติที่ถูกสร้างขึ้น ใน Cyber Space โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปผ่านการเชื่อมโยงทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ เพื่อมุ่งให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้งานทั่วโลกสามารถติดต่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกันได้หลายรูปแบบ ดังนี้
1 เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Hi5, Facebook
2 เครือข่ายฝูงชน เช่น Crowd Source, Wikipedia
3 เครือข่ายแบ่งปันข้อมูล เช่น YouTube, Flickr
4 เครือข่ายห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หรือเครือข่ายสร้างห้องเสมือน

32 ซอฟต์แวร์ระบบ
(Virtual Room) เช่น Camfrog, Video Conference ฯลฯ
ตอบ 1 หน้า 42 ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นชุดคําสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ ทํางาน ซึ่งจะทําหน้าที่เสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software,Operating Software : OS)
2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

33 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

34 สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยง่าย
ตอบ 5 หน้า 47 กาญจนา แก้วเทพ (2555) นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ระบุถึงคุณลักษณะสําคัญ ของสื่อใหม่ (New Media) ไว้ดังนี้
1 การมีปฏิสัมพันธ์ได้ง่าย (Interactivity)
2 สามารถเคลื่อนที่ได้สูง (Mobility)
3 สามารถดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ (Convertibility)
4 สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยง่าย (Connectivity)
5 สามารถหาได้หรือใช้ประโยชน์ในทุกที่ (Ubiquity) ฯลฯ

35 เครือข่ายห้องเรียนเสมือน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

36 การนําการ์ตูนเรื่อง The Mask ไปสร้างเป็นภาพยนตร์และเกมออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้าง
กว่าเดิม เป็นปรากฏการณ์ที่ตรงกับข้อใด
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Economic Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 4 หน้า 53 Economic Convergence หมายถึง ปรากฏการณ์การหลอมรวมธุรกิจสื่อเพื่อขยาย พื้นที่หรือฐานทางการตลาดให้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม เช่น การนําหนังสือการ์ตูนเรื่อง The Mask ไปสร้างเป็นภาพยนตร์และเกมออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างกว่าเดิม เป็นต้น

37 เนชั่นรวมศูนย์ข่าวไว้ที่เดียวเพื่อให้บริการข้อมูลข่าวผ่านทุกสื่อในเครือ สิ่งนี้ตรงกับข้อใด
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergerice
(4) Social Convergence
(5) Cultural Convergence

ตอบ 1 หน้า 52 Operational Convergence หมายถึง การรวมศูนย์การปฏิบัติงานไว้ในที่เดียว หรือศูนย์เดียว โดยผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจสื่อหลากหลายประเภทพยายามรวมศูนย์การ ปฏิบัติงานไว้ที่เดียวกัน เช่น ไทยรัฐและเนชั่นรวมศูนย์ข่าวไว้ที่เดียวเพื่อให้บริการข้อมูลข่าว ผ่านทุกสื่อในเครือ เป็นต้น

38 หลี่ เหลียนเจี๋ย ดาราชาวจีนถูกทาบทามให้ร่วมแสดงในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด เป็นปรากฏการณ์ข้อใด
(1) Global Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Functional Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 1 หน้า 54 Global Convergence หมายถึง ปรากฏการณ์การหลอมรวมระดับโลกจนส่งผล ให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม อันเป็นผลมาจากการเผยแพร่เนื้อหาสื่อระหว่างกันของ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น การนําดาราชาวเอเชียมาร่วมแสดงในภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ด ซึ่งเป็นผลมาจากการเผยแพร่ผลงานภาพยนตร์เอเชียไปทั่วโลก เป็นต้น

39 โปรแกรมกล้องถ่ายภาพ บันทึกวีดีโอ เล่นเกม ฟังวิทยุกระจายเสียง การใช้งานอินเทอร์เน็ต รวมอยู่ใน อุปกรณ์สมาร์ทโฟนเครื่องเดียว สิ่งนี้ตรงกับคําว่า
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Social Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 3 หน้า 51 Technological or Device Convergence หมายถึง การแปลงเนื้อหาของสื่อ ทุกประเภททั้งตัวอักษร ภาพ เสียง ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล และนําเทคโนโลยีของสื่อแต่ละ ประเภทมารวมเอาไว้ในสื่อหรืออุปกรณ์เดียว เช่น สมาร์ทโฟนเครื่องเดียวหลอมรวมรูปแบบ การใช้งานของสื่อต่าง ๆ ทั้งกล้องถ่ายภาพ โปรแกรมอัดวิดีโอ โปรแกรมเล่นเกม โปรแกรม ฟังวิทยุ – ดูโทรทัศน์ โปรแกรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

40 ARPANET เป็นองค์กรผู้พัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อยู่ในสังกัดหน่วยงานใดของสหรัฐอเมริกา
(1) กระทรวงมหาดไทย
(2) กระทรวงการต่างประเทศ
(3) กระทรวงกลาโหม
(4) กระทรวงศึกษาธิการ
(5) กระทรวงวิทยาศาสตร์
ตอบ 3 หน้า 55 สื่ออินเทอร์เน็ตเริ่มใช้งานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยองค์กรที่มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของ สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อใช้ทางการทหาร และสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ได้อย่างไม่ผิดพลาด

41 ข้อใดต่อไปนี้คือนิยามของคําว่า Media Convergence
(1) การหลอมรวมของสื่อดิจิทัล
(2) การหลอมรวมของสื่อแบบดั้งเต็ม
(3) การหลอมรวมระหว่างสื่อ
(4) การหลอมรวมข้ามสื่อ
(5) การหลอมรวมมวลสื่อ
ตอบ 3 หน้า 50 – 51 Media Convergence หมายถึง การบรรจบกันของเทคโนโลยีสื่อแบบดั้งเดิม กับสื่อใหม่ หรือเป็นการรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว จนต่อมาได้มี ผู้นิยามศัพท์ว่า “การหลอมรวมระหว่างสื่อ หรือการหลอมรวมสื่อ” อันเป็นผลมาจากศักยภาพ ในการแปลงเนื้อหาจากแหล่งสารต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปข้อมูลดิจิทัลหรือภาษาดิจิทัล พร้อมกับการ แปลงข้อมูลดิจิทัลให้ปรากฏในลักษณะเดียวกันกับสารจากแหล่งสาร

42 สมหมายเป็นผู้สื่อข่าวที่ทําข่าวเพื่อเผยแพร่ผ่านทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ ในองค์กรสื่อ ที่เขาสังกัด รูปแบบการทํางานของสมหมายตรงกับข้อใด
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Functional Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 4 หน้า 53 Functional Convergence หมายถึง การหลอมรวมหลากหลายหน้าที่ไว้ในบุคคล คนเดียว เช่น ผู้สื่อข่าวคนเดียวจัดทําเนื้อหาข่าวสารเพื่อเผยแพร่ทั้งบนสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง และสื่อออนไลน์ เป็นต้น

43 เครือข่ายการสื่อสารใดที่เป็นประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Gateway) แห่งแรกของประเทศไทย
(1) เครือข่ายยูเน็ต
(2) เครือข่ายไทยสาร
(3) เครือข่ายไทยเน็ต
(4) เครือข่ายจุฬาเน็ต
(5) เครือข่ายอาร์พาเน็ต
ตอบ 3 หน้า 58 ในปี พ.ศ. 2535 เครือข่ายไทยเน็ตถือเป็นเครือข่ายที่มีเกตเวย์ (Gateway) หรือ ประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์กลาง ต่อมาในปีเดียวกัน NECTEC ได้จัดตั้งเครือข่ายไทยสารเป็นเกตเวย์สู่เครือข่าย อินเทอร์เน็ตแห่งที่ 2 ของประเทศไทย

44 IP Address มาจากคําในข้อใด
(1) Internet Programming Address
(2) Internet Protocol Address
(3) Internet Processing Address
(4) Internet Proceeding Address
(5) Internet Procedure Address
ตอบ 2 หน้า 59 เครื่องคอมพิวเตอร์ทุก ๆ เครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น จะต้อง มีหมายเลขประจําเครื่อง เรียกว่า “IP Address” (Internet Protocol Address) เป็นข้อมูล อ้างอิงเพื่อใช้ติดต่อกับผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่าย ซึ่งในช่วงแรกเริ่มนั้น IP Address จะถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่ง มีขนาด 32 บิต (Bit)

45 รูปแบบการสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตที่นํามาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย คือ
(1) การจัดทําเว็บไซต์
(2) การสื่อสารผ่านเว็บบล็อก
(3) การส่งและรับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(4) การสนทนาออนไลน์
(5) เว็บบอร์ด
ตอบ 3 หน้า 57 อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (FSU) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ได้ใช้บริการส่งและรับจดหมายหรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) เป็นครั้งแรก โดยได้รับความร่วมมือจากประเทศออสเตรเลีย

46 รูปแบบการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สถาบันอุดมศึกษาทั้งสองแห่งเป็นผู้เริ่มนํามาใช้งาน ในประเทศไทย (ตามข้อ 45.) ได้รับความร่วมมือจากประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) ออสเตรเลีย
(4) เยอรมนี
(5) แคนาดา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

47 ในช่วงแรกเริ่ม IP Address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่ง มีขนาดที่บิต
(1) 32 บิต
(2) 36 บิต
(3) 40 บิต
(4) 44 บิต
(5) 48 บิต
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ

48 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้เชื่อมโยงกันในพื้นที่มหานคร คือข้อใด
(1) LAN
(2) MAN
(3) CAN
(4) WAN
(5) PAN
ตอบ 2หน้า 61, (คําบรรยาย) ระบบเครือข่ายงานบริเวณนครหลวงหรือมหานคร (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีระยะทางการเชื่อมต่อไกล กว่าระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) แต่ระยะทางยังคงใกล้กว่าระบบเครือข่ายวงกว้าง (WAN) เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันภายในเมืองหรือเขตพื้นที่มหานคร หรือภายในจังหวัด เดียวกัน หรือในเขตเดียวกัน เป็นต้น

49 อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อครอบคลุม ระหว่างกันทั่วโลกด้วยโปรโตคอล TCP/IP คําว่า “โปรโตคอล” หมายถึง
(1) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัล
(2) ข้อกําหนดด้านรูปแบบการสื่อสารเฉพาะเพื่อให้การสื่อสารในระบบเครือข่ายทํางานด้วยกันทั้งระบบ
(3) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านสื่อสารสนเทศ
(4) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย
(5) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านระบบการสื่อสารสากล
ตอบ 2 หน้า 40, 55, (คําบรรยาย) โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง ข้อกําหนดด้านรูปแบบการ สื่อสารเฉพาะระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจสอบ ข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องทั้ง 2 เครื่อง ทั้งนี้เพื่อให้การสื่อสารในระบบเครือข่ายทํางานได้ด้วยกันทั้งระบบ และมีมาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างกันที่เป็นสากลหนึ่งเดียวทั่วโลก ซึ่งนั่นก็คือ โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

50 รูปแบบการสนทนาออนไลน์โดยไม่ต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์กลาง คือข้อใด
(1) Webboard
(2) Web Chat
(3) Telnet
(4) Instant Messaging
(5) Bulletin Board
ตอบ 4หน้า 63 การสนทนาออนไลน์โดยตรงระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เป็นรูปแบบของการสนทนา ออนไลน์ในลักษณะที่ไม่ต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์กลาง ซึ่งเรียกว่า “การรับส่งสารแบบทันที ทันใด” (Instant Messaging) เช่น โปรแกรม ICO, MSN Messenger, Yahoo Messenger, Windows Messenger เป็นต้น

51 Instant Messaging หมายถึงข้อใด
(1) ระบบส่งข้อความทันที
(2) ระบบส่งข้อความทันเวลา
(3) ระบบส่งข้อความทันใจ
(4) ระบบส่งข้อความทันสมัย
(5) ระบบส่งข้อความทันเหตุการณ์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ

52 ผู้ให้บริการในข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารที่มีฐานมาจากการเป็นผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์
แบบดั้งเดิมมาก่อน
(1) www.thairath.co.th
(2) www.dailynews.co.th
(3) www.matichon.co.th
(4) www.andamannews.com
(5) www.bangsaenpost.com

ตอบ 4 หน้า 71 – 72 ผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่มีฐานมาจากผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์ แบบกระดาษ (แบบดั้งเดิม) มีดังนี้
1 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง เช่น www.thairath.co.th, www.dailynews.co.th, www.matichon.co.th ฯลฯ
2 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค เช่น www.bangsaenpost.com, www.koratdaily.com ฯลฯ
3 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยในต่างประเทศ เช่น www.sereechai.com ฯลฯ (ส่วน www.prachathai.com, www.andamannews.com เป็นเว็บไซต์ของผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่ให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)

53 ข้อใดเป็นเว็บไซต์ของผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ไทยในต่างประเทศ
(1) www.thairath.co.th
(2) www.sereechai.com
(3) www.matichon.co.th
(4) www.andamannews.com
(5) www.bangsaenpost.com
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

54 ผู้ใช้บริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย (File Transfer Protocol) ประเภท Anonymous คือ
(1) ผู้ใช้บริการแบบไม่ระบุตัวตน
(2) ผู้ใช้บริการแบบระบุตัวตน
(3) ผู้ใช้บริการแบบไม่มีตัวตน
(4) ผู้ใช้บริการแบบปรากฏตัวตน
(5) ผู้ใช้บริการแบบอ้างตัวตน
ตอบ 1 หน้า 65 ผู้ใช้บริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย (File Trarisfer Protocol : FTP) จะมีอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่
1 ผู้ใช้บริการแบบไม่ระบุตัวตน (Anonymous)
2 ผู้ใช้บริการแบบระบุตัวตน ซึ่งจําเป็นต้องมี User Name และ Password ในการเข้าใช้บริการ

55 ข้อใดไม่ใช่เหตุผลในการให้บริการข้อมูลข่าวสารในรูปหนังสือพิมพ์ออนไลน์
(1) เพื่อเพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับผู้รับสาร
(2) เพื่อเพิ่มช่องทางในการแสวงหารายได้จากค่าโฆษณา
(3) เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ความทันสมัยทางเทคโนโลยีแก่องค์กร
(4) เพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
(5) เพื่อเป็นช่องทางนําเสนอข่าวสารของผู้นําประเทศ
ตอบ 5 หน้า 59 – 70 เหตุผลในการให้บริการข้อมูลข่าวสารในรูปหนังสือพิมพ์ออนไลน์ มีดังนี้
1 เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ความทันสมัยทางเทคโนโลยีแก่องค์กร
2 เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการเสนอข่าว
3 เพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
4 เพื่อเพิ่มช่องทางติดต่อสื่อสารกับผู้รับสาร
5.เพื่อเพิ่มช่องทางด้านการตลาด เช่น การขายพื้นที่โฆษณาบนเว็บไซต์, การหารายได้เสริม จากค่าสมาชิก ค่าธรรมเนียม ฯลฯ

56 หนังสือพิมพ์ผู้ให้บริการเนื้อหาผ่านสื่อออนไลน์ฉบับแรกในประเทศไทย คือ
(1) เดอะเนชั่น
(2) มติชน
(3) บางกอกโพสต์
(4) ไทยรัฐ
(5) เดลินิวส์

ตอบ 3 หน้า 69 หนังสือพิมพ์ออนไลน์ในประเทศไทยเกิดขึ้นจากกระแสความนิยมด้านเทคโนโลยี สารสนเทศจากต่างประเทศ ประกอบกับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ส่งผลให้ ผู้ประกอบการไทยสนใจจัดทําเนื้อหาหนังสือพิมพ์เผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยหนังสือพิมพ์ “บางกอกโพสต์” ถือเป็นองค์กรแรกที่ให้บริการเนื้อหาผ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์เป็นฉบับแรก ในประเทศไทย เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2539

57 รูปแบบของเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนบทสนทนา อภิปรายในสังคมออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานเลือกเข้าสังกัดกลุ่มคนที่มีพื้นฐานความสนใจร่วมกัน คือ
(1) News Group
(2) Webboard
(3) Online News Clipping
(4) Social Network
(5) Online News Agency
ตอบ 2 หน้า 63, 83 – 85 กระดานข่าว (Webboard) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ เป็นพื้นทีแลกเปลี่ยนบทสนทนา พูดคุย อภิปรายในสังคมออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) เลือกเข้าสังกัดกลุ่มคนที่มีพื้นฐานความสนใจร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องราวหรือประเด็น ทางสังคม อันนําไปสู่การรวมกลุ่มกันในลักษณะชุมชนออนไลน์ (Online Communities) เช่น www.pantip.com, www.mthai.com ฯลฯ

58 รูปแบบของเว็บไซต์ที่จัดทําในรูปาลุ่มสนทนา แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในหัวข้อต่าง ๆ โดยแบ่งหมวดหมู่ และกําหนดชื่อของกลุ่มตามประเภทของกลุ่มข่าว คือข้อใด
(1) News Group
(2) Webboard
(3) Online News Clipping
(4) Social Network
(5) Online News Agency
ตอบ 1 หน้า 85 – 86 กลุ่มข่าวสาร (News Group) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่จัดทําขึ้นในรูปของ กลุ่มสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในหัวข้อต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานทุกคน มีส่วนร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้อย่างอิสระ โดยมีการแบ่งหมวดหมู่ และกําหนดชื่อของกลุ่มตามประเภทของกลุ่มข่าว ทั้งนี้กลุ่มข่าวต่าง ๆ จะถูกแบ่งหมวดหมู่ และเก็บไว้ในบอร์ดข่าวสารขนาดใหญ่ เรียกว่า “User’s Network” (Usenet) และข่าวใน กลุ่มข่าวทั้งหมดจะถูกเก็บไว้บน Usenet Server

59 ข้อใดคือสํานักข่าวที่จัดทําขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(1) เว็บไซต์สํานักข่าวไอเอ็นเอ็น
(2) เว็บไซต์สํานักข่าวไทย
(3) เว็บไซต์สํานักข่าวซีเอ็นเอ็น
(4) เว็บไซต์สํานักข่าวพีเพิลยูนิตี้
(5) เว็บไซต์สํานักข่าวอิศรา
ตอบ 4 หน้า 83 สํานักข่าวออนไลน์ที่จัดทําขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่
1 เว็บไซต์สํานักข่าวพีเพิลยูนิตี้ (People Unity News Agency)
2 เว็บไซต์เฟซบุ๊ก นิวส์ไวร์ (FB Newswire)
3 เว็บไซต์สํานักข่าวทีนิวส์
4 เว็บไซต์สํานักข่าวอาร์วายทีไนน์ ฯลฯ
(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสํานักข่าวออนไลน์ที่มีฐานจากสํานักข่าวแบบดั้งเดิม)

60 กฤตภาคข่าวออนไลน์เป็นรูปแบบการให้บริการข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ต ตรงกับคําใด
(1) News Group
(2) Webboard
(3) Online News Clipping
(4) Social Network
(5) Online News Agency

ตอบ 3 หน้า 86 – 87 กฤตภาคข่าวออนไลน์ (Online News Clipping) คือ บริการข่าวตัดออนไลน์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยตัดข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ พร้อมกับระบุแหล่งที่มา ของหนังสือพิมพ์ ซึ่งตัวอย่างของเว็บไซต์กฤตภาคข่าวออนไลน์ในประเทศไทยที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน เช่น ห้องสมุดข่าวมติชน (Matichon E-Library), iQNewsClip, นิวส์เซ็นเตอร์ (Newscenter) เป็นต้น

61 ข้อใดคือความหมายของสื่อออนไลน์
(1) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(2) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อแบบประสม
(3) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อดิจิทัล
(4) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและเปิดรับข้อมูลข่าวสารแบบสองทาง
(5) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 1 หน้า 81 สื่อออนไลน์ หมายถึง ช่องทางของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ส่งสารใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลและ ข่าวสาร ส่วนผู้รับสารที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารเช่นกัน

62 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะการส่งสัญญาณเสียงและภาพเคลื่อนไหวผ่าน Streaming Server
(1) ต้องคัดลอกแฟ้มข้อมูลผ่านเครือข่ายมายังผู้ใช้งานให้ครบก่อนจึงเริ่มแสดงผล
(2) ข้อมูลถูกส่งมายังเครื่องลูกข่ายอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์จนครบ
(3) เป็นการส่งสัญญาณในลักษณะ Real Time จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องลูกข่าย
(4) เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะประสานสื่อ
(5) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการส่งสัญญาณแบบสายธาร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

ข้อ 63 – 66. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Creative Network
(2) Passion Network
(3) Professional Network
(4) Identity Network

63 www.youtube.com
ตอบ 1 หน้า 28 – 90 ประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีดังนี้
1 สร้างและประกาศตัวตน (Identity Network) เช่น Web Blog, www.twitter.com ซึ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะ Micro Blog โดยมุ่งให้ผู้ใช้โพสต์ข้อความสั้น ๆ ไม่เกิน 140 ตัวอักษร ฯลฯ
2 สร้างและประกาศผลงาน (Creative Network) เช่น www.youtube.com ฯลฯ
3 ความชอบในสิ่งเดียวกัน (Passion Network) เช่น Digg, Zickr, Catchh, Reddit ฯลฯ
4 เวทีทํางานร่วมกัน (Collaboration Network) เช่น Google Earth, Google Maps ฯลฯ
5 ประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Reality) ซึ่งมีลักษณะเป็นเกมออนไลน์ เช่น Audition, Second Life, Raynarok, Pangya, Worlc of Warcraft ฯลฯ
6 เครือข่ายเพื่อการประกอบอาชีพ (Professional Network) เช่น Linkedin ฯลฯ
7 เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันระหว่างผู้ใช้ (Peer to Peer : P2P) เช่น Skype, BitTorrent ฯลฯ

8 เว็บท่า (Portal Website) ที่รวบรวมลิงค์ของสื่อออนไลน์ประเภทต่าง ๆ เช่น
www.sanook.com, www.kapook.com ฯลฯ

64 Reddit
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

65 Web Blog
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

66 Linkedin
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

ข้อ 67. – 70. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Cyber Terrorist
(2) Information Privacy
(3) Information Property
(4) Information Accuracy

67 จริยธรรมความเป็นเจ้าของ
ตอบ 3 หน้า 115 – 118 จริยธรรม (Ethics) ที่เกี่ยวกับการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ได้แก่
1 ความเป็นส่วนตัว (Information Frivacy)
2 ความถูกต้อง (Information Accuracy)
3 ความเป็นเจ้าของ Information Froperty)
4 การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)

68 จริยธรรมความเป็นส่วนตัว
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

69 ผู้กระทําการก่อการร้ายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ตอบ 1 หน้า 119 Hacktivist หรือ Cyber Terrorist หมายถึง ผู้กระทําการก่อการร้ายโดยใช้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการกระทําการดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่ จะมีวัตถุประสงค์เพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเมืองเป็นสําคัญ

70 จริยธรรมความถูกต้อง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

ข้อ 71. – 80. ข้อใดที่กล่าวไว้ถูกต้องให้ระบายตัวเลือก 1 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องให้ระบายตัวเลือก 2

71 อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อใหม่ และเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง ส่วนสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อแบบดั้งเดิม และเป็นสื่อที่มี ความคงทนต่ำ
ตอบ 2 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 2. และ 21. ประกอบ) สื่ออินเทอร์เน็ต จัดเป็นสื่อใหม่ที่ไม่มี ข้อจํากัดด้านเวลาในการเข้าถึง ดังนั้นจึงเป็นสื่อที่มีความคงทนสูงพอ ๆ กับสื่อสิ่งพิมพ์

72 Online News Clipping คือ การให้บริการข่าวตัดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 60 ประกอบ

73 Google เป็นเว็บไซต์ที่บริษัท นิวส์คอร์ปอเรชั่น ซื้อกิจการมาดําเนินการในราคา 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตอบ 2 หน้า 88, 90 พื้นที่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่นั้นจะมุ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะ ที่เรียกว่า “User-Generated Content” (UGC) กล่าวคือ ผู้ใช้งานสื่อเป็นผู้ผลิตเนื้อหาเอง เช่น Myspace เป็นเว็บไซต์ที่บริษัท นิวส์คอร์ปอเรชั่น ซื้อกิจการมาดําเนินการในราคา 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมี Flickr ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ Yahoo ซื้อกิจการมาดําเนินการ ในราคา 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นต้น

74 การนําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์สามารถนําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสารได้ในลักษณะ Real Time หมายถึง นําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสารได้ในลักษณะทันต่อเวลาที่เกิดขึ้นจริง
ตอบ 1 หน้า 91 คุณลักษณะของข้อมูลข่าวสารที่นําเสนอผ่านสื่อออนไลน์ประการหนึ่ง ได้แก่ ทันกาล (Real Time) คือ สามารถนําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง เช่น การนําเสนอข่าวที่เพิ่งเกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ บนเว็บไซต์ขององค์กรสื่อสารมวลชนหรือบน เว็บไซต์สํานักข่าว เป็นต้น

75 การสื่อสารบน Facebook จัดเป็นรูปแบบการสื่อสารที่เปิดให้ผู้ใช้งานรวมกลุ่มกันในลักษณะชุมชน ออนไลน์ (Online Communities)
ตอบ 1 หน้า 85 การรวมกลุ่มกันในลักษณะ “ชุมชนออนไลน์” (Online Communities) เช่น Webboard, Facebook ฯลฯ จัดเป็นรูปแบบของสัมพันธภาพของผู้ใช้งานเครือข่ายสังคม ออนไลน์ โดยที่สมาชิกของชุมชนออนไลน์มีคุณลักษณะสําคัญ ดังนี้
1 มีความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relationship) เช่น มีความสนใจเกี่ยวกับข่าว เรื่องราว หรือประเด็นทางสังคมในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
2 มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยที่ในโลกความเป็นจริง ผู้ใช้งาน (User) อาจไม่ได้อาศัยอยู่ใกล้กันทางกายภาพ แต่อาจเป็นคนหลายเชื้อชาติ และมีภูมิลําเนาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

76 การให้บริการในรูปกลุ่มข่าวสาร (News Group) กลุ่มข่าวต่าง ๆ จะถูกแบ่งหมวดหมู่และเก็บไว้ในบอร์ด ขาวสารขนาดใหญ่ เรียกว่า User ‘s Network (Usenet)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ

77 www.twitter.com เป็นเว็บไซต์ประเภทเครือข่ายทางสังคมที่นําเสนอเนื้อหาในลักษณะ Micro Blog
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

78 พื้นที่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่มุ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะ User-Generated Content ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

79 Electronic Magazine คือ การให้บริการเนื้อหาวารสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ 2 หน้า 72 นิตยสารออนไลน์ (Online Magazine) หรือนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Magazine) คือ การให้บริการเนื้อหานิตยสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีทั้งรูปแบบที่เป็น การเปิดหน้ากระดาษคล้ายหนังสือจริง (Flip Page) โดยผู้อ่านต้องดาวน์โหลดไฟล์ของนิตยสาร ออนไลน์มาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเปิดอ่าน และยังจัดทําในรูปแบบเว็บไซต์ที่เป็นทางการขององค์กร (Officia: Website)

80 ปัจจุบันสือหนังสือพิมพ์ออนไลน์เข้ามาแทนที่สื่อหนังสือพิมพ์แบบกระดาษอย่างสิ้นเชิง
ตอบ 2หน้า 72, (คําบรรยาย) ในปัจจุบันผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์แบบกระดาษส่วนใหญ่จัดทํา เว็บไซต์ในรูปหนังสือพิมพ์ออนไลน์ เพื่อเป็นช่องทางในการให้บริการข้อมูลข่าวสารออนไลน์ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่องทาง ซึ่งถึงแม้สื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์จะได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถเข้ามาแทนที่สื่อหนังสือพิมพ์แบบกระดาษได้อย่างสิ้นเชิง

81 การพยายามเจาะเข้าสู่ฐานข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ ขัดกับจริยธรรมการสื่อสารข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 4 หน้า 118 – 119 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมการเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) คือ การก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หรือการก่ออาชญากรรมไซเบอร์ (Computer Crime or Cyber Crime) เช่น การพยายามเจาะเข้าสู่ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ การเจาะเข้าสู่ระบบรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคล ฯลฯ

82 ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนมีบทบาทเป็นผู้กําหนดวาระในการนําเสนอข่าวสารสู่มวลชนในสังคม
ตรงกับค่าใด
(1) Agenda Seeking
(2) Agenda Making
(3) Agenda Setting
(4) Agenda Dcing
(5) Agenda Thinking
ตอบ 3 หน้า 93 ในอดีตผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนและคณะทํางานในกองบรรณาธิการ ในฐานะผู้ส่งสาร จะมีบทบาทเป็นผู้กําหนดวาระในการนําเสนอข้อมูลข่าวสาร (Agenda Setting) ไปสู่มวลชน กล่าวคือ บทบาทในการร่วมกันตัดสินใจเกี่ยวกับการกําหนดระดับ ความสําคัญของเนื้อหาสาร และวาระแห่งการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผู้รับสารในสังคม

83 เหตุผลข้อใดที่ทําให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนยุคปัจจุบันจําเป็นต้องมีทักษะทางเทคโนโลยี
(1) เพื่อจะได้รู้เท่าทันเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต
(2) เพื่อจะได้เข้าใจสถานการณ์การแข่งขันระหว่างสื่อใหม่และสื่อแบบดั้งเดิม
(3) เพื่อจะได้สามารถใช้งานสื่อใหม่ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่องทาง
(4) เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการสื่อสาร
(5) เพื่อจะได้เกิดประโยชน์ต่อการกําหนดมาตรฐานจริยธรรมการสื่อสารให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
ตอบ 3 หน้า 94 – 95 ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนในยุคปัจจุบัน จําเป็นต้องมีทักษะทางด้าน เทคโนโลยีควบคู่กับทักษะด้านวิชาชีพสื่อสารมวลชน เพื่อจะได้สามารถใช้งานสื่อใหม่ในการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งของทาง เช่น ต้องมีความรู้เรื่องการอัปโหลด (Upload) ข้อมูลข่าวสารให้ปรากฏบนเว็บไซต์ขององค์กร, มีความรู้เรื่องโปรแกรมการใช้งานเพื่อเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ ฯลฯ

84 อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองการทํางานของทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ด้วยศักยภาพในการนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะใด
(1) Mega Media
(2) Multimedia
(3) Transmedia
(4) Social Media
(5) Virtual Media
ตอบ 2 หน้า 81 – 82 ด้วยศักยภาพในการนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะประสานสื่อ (Multimedia) ซึ่งมีทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตสามารถตอบสนองการทํางานของสื่อแบบดั้งเดิมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และภาพยนตร์

85 ผลจากการที่สื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในฐานะช่องทางหนึ่งขององค์กรสื่อแบบดั้งเดิม ส่งผลให้
ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อแบบดั้งเดิมต้องปรับตัวในการทํางาน ยกเว้นข้อใด
(1) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการทํางาน
(2) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องยอมรับอินเทอร์เน็ตเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร
(3) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องฝึกทักษะในการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบด้วยตนเอง
(4) ผู้ประกอบวิชาชีพในองค์กรจําเป็นต้องปรับโครงสร้างการทํางานภายในองค์กรที่แตกต่างจากเดิม
(5) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องนําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ ในลักษณะบูรณาการ
ตอบ 3 หน้า 105 – 106 การปรับตัวของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนแบบดั้งเดิม มีดังนี้
1 ยอมรับสื่ออินเทอร์เน็ตเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร
2 ปรับโครงสร้างการทํางานภายในองค์กรที่ต่างจากเดิม โดยจัดให้มีฝ่ายจัดทําและเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะหรืออาจใช้บุคลากรร่วมกับสื่อแบบดั้งเดิม
3 เรียนรู้และฝึกฝนทักษะการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการทํางาน
4 นําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ แบบบูรณาการ ฯลฯ

86 ผลจากการที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ ก่อให้เกิด
ผลกระทบด้านต่าง ๆ ยกเว้นข้อใด
(1) เปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีทางเลือกเปิดรับข้อมูลข่าวสารในประเด็นที่สื่อแบบดั้งเดิมไม่ได้นําเสนอ
(2) เป็นแหล่งสารของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อแบบดั้งเดิม
(3) ผู้ใช้งานตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารอย่างเข้มงวดก่อนเผยแพร่
(4) ผู้ใช้งานสามารถส่งผ่านข้อมูลจากระดับบุคคลไปสู่กลุ่มคนต่างเครือข่าย
(5) ทุกคนทําหน้าที่นําเสนอข้อมูลข่าวสารไปสู่สาธารณะอย่างเสรี เอื้อต่อบรรยากาศประชาธิปไตย
ตอบ 3 หน้า 95, 99.- 100 ผลกระทบด้านลบจากการที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ คือ ผู้ใช้งานนําเสนอข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่ต้องผ่าน กระบวนการตรวจสอบ คัดเลือก คัดกรอง จากบรรณาธิการ จึงทําให้ข้อมูลข่าวสารผิดพลาด ได้ง่าย จนอาจจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สู่สาธารณชน (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นผลกระทบด้านบวก)

87 เพราะเหตุใดอินเทอร์เน็ตจึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิชาชีพวารสารศาสตร์ของสื่อแบบดั้งเดิม ที่ให้ความสําคัญต่อผู้เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper)
(1) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารโดยเท่าเทียม
(2) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนมีโอกาสสื่อสารตอบกลับในลักษณะการสื่อสารสองทาง
(3) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ
(4) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่จํากัด
(5) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถสื่อสารผ่านเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก
ตอบ 3 หน้า 100, 110 ด้วยเหตุที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของ ตนเองสู่สาธารณะ โดยไม่มีผู้ทําหน้าที่เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper) ส่งผลให้เกิด ผลกระทบต่อวิชาชีพวารสารศาสตร์ของสื่อแบบดั้งเดิมที่ให้ความสําคัญกับผู้เฝ้าประตูข้อมูล ข่าวสาร (Gatekeeper) ซึ่งก็คือ บรรณาธิการผู้ทําหน้าที่คัดเลือก คัดกรอง และตรวจสอบ ความถูกต้องของเนื้อหาสารก่อนนําเสนอสู่ผู้รับสารในสังคม

88 ผู้สื่อข่าวภาคพลเมือง (Citizen Reporter) หมายถึงข้อใด
(1) ผู้ใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตทุกคน ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้ส่งสารผ่านพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ
(2) ผู้สื่อข่าวสื่อแบบดั้งเดิมที่ใช้สื่อใหม่เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร
(3) ประชาชนทั่วไปที่ทําหน้าที่รายงานข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อแบบดั้งเดิม
(4) ผู้สื่อข่าวผ่านสื่อใหม่ที่ทําหน้าที่รายงานข่าวผ่านสื่อแบบดั้งเดิมด้วย
(5) ผู้สื่อข่าวของสื่อแบบดั้งเดิมที่ทํางานร่วมกับประชาชนในสังคม
ตอบ 1 1 หน้า 95, 104 ผู้สื่อข่าวภาคพลเมือง (Citizen Reporter) หรือผู้สื่อข่าวภาคประชาชน หมายถึง ผู้ใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตทุกคน ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้ส่งสารผ่านพื้นที่ของตนเองสู่ สาธารณะ โดยจะมีบทบาทเป็นผู้รายงานข่าวสารคล้ายกับบทบาทของผู้สื่อข่าว (News Reporter) ในองค์กรสื่อสารมวลชนแบบดั้งเดิม เช่น สมศรีมีอาชีพเป็นแม่ค้าและรายงาน ข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมชุมชนผ่านทางเว็บบล็อก (Web Blog) ของเธอ และมีผู้ที่ติดตาม อ่านเป็นจํานวนมาก เป็นต้น

89 จากความหมายในข้อ 88 บุคคลในข้อใดต่อไปนี้จัดเป็น Citizen Reporter
(1) สมใจเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ที่เผยแพร่ข่าวผ่านสื่อออนไลน์อีกทางหนึ่งด้วย
(2) สมทรงเป็นผู้สื่อข่าวที่มุ่งเข้าถึงแหล่งข่าวที่เป็นประชาชนทั่วไป
(3) สมศรีมีอาชีพเป็นแม่ค้าและรายงานข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมชุมชนผ่านเว็บบล็อกของเธอ
และมีผู้ติดตามอ่านจํานวนมาก
(4) สมชายเป็นผู้สื่อข่าวที่มุ่งรายงานข่าวสารด้านประชากรศาสตร์
(5) สมศักดิ์เป็นผู้สื่อข่าวผ่านเว็บไซต์และรายงานข่าวผ่านสิ่งพิมพ์แบบกระดาษด้วย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

90 กรณีที่ผู้ใช้งานนําเสนอเนื้อหาหรือข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทบนพื้นที่การใช้งานบนเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต กล่าวได้ว่าสิ่งนี้ขัดกับจริยธรรมข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) จริยธรรมของผู้ใช้สื่อ
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 4 หน้า 119 – 120 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมของผู้ใช้สื่อ เช่น ผู้ใช้งาน (User) หรือ ผู้เปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อได้นําเสนอเนื้อหาหรือข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทบน พื้นที่การใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การใช้โปรแกรม Camfrog ซึ่งผู้ใช้งานสามารถ เห็นหน้าค่าตากันในระหว่างพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อมุ่งสร้างความรู้สึกเสมือนอยู่ใกล้ชิดกัน แต่ผู้ใช้งานบางคนกลับใช้เป็นช่องทางในการแสดงภาพลามกอนาจาร ฯลฯ

91 การนําข้อมูลลงสู่ระบบฐานข้อมูล โดยไม่ตรวจตราความถูกต้องอย่างเข้มงวด ส่งผลให้สารสนเทศบน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตคลาดเคลื่อนจากความถูกต้อง กล่าวได้ว่าสิ่งนี้ขัดกับจริยธรรมการสื่อสารข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 2 หน้า 116 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมความถูกต้อง (Information Accuracy) คือ ความผิดพลาดของข้อมูลที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง อันเป็นผลมาจากการไม่มีผู้ทําหน้าที่ตรวจสอบหรือคัดกรองความถูกต้องของข้อมูลก่อนจัดเก็บเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล ส่งผลให้สารสนเทศ ที่จัดเก็บและเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ถูกต้อง

92 ผู้ทําหน้าที่เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper) คือบุคคลในข้อใด
(1) พนักงานตรวจพิสูจน์อักษร
(2) บรรณาธิการ
(3) ช่างภาพข่าว
(4) ช่างเรียงพิมพ์
(5) ผู้ออกแบบจัดวางหน้าสิ่งพิมพ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ

93 การทําซ้ําหรือเผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ลิขสิทธิ์ ขัดกับจริยธรรมข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 3 หน้า 117 – 118 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมเรื่องความเป็นเจ้าของ (Information Property) คือ การละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ซอฟต์แวร์) ดังนี้
1 Copyright or Software License คือ ซอฟต์แวร์ที่ซื้อลิขสิทธิ์มาแล้วมีสิทธิใช้งานเท่านั้น ห้ามทําซ้ําหรือเผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ลิขสิทธิ์ทุกกรณี
2 Shareware คือ ซอฟต์แวร์ที่ให้ทดลองใช้ได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งมีสิทธิใช้ในระยะเวลา ที่กําหนดเท่านั้น เป็นต้น
3 Freeware คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ฟรี คัดลอก และเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้

94 ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 สิ่งใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
(1) งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม
(2) ข่าวประจําวัน
(3) งานสร้างสรรค์ประเภทดนตรีกรรม
(4) โปรแกรมคอมพิวเตอร์
(5) งานสร้างสรรค์ประเภทสิ่งบันทึกเสียง
ตอบ 2หน้า 127, 129พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 7 ระบุว่า สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น งานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. นี้
1 ข่าวประจําวันและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงขาวสาร อันมิใช่งานในแผนก วรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
2 รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
3 ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง คําชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
4 คําพิพากษา คําสั่ง คําวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5 คําแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม 1. – 4. ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงาน อื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทําขึ้น

95 ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ระบุว่า งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น โดยการรับจ้างบุคคลอื่น ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของบุคคลใด
(1) ผู้ว่าจ้าง
(2) ผู้สร้างสรรค์
(3) องค์กร
(4) ผู้ว่าจ้างและผู้สร้างสรรค์
(5) องค์กรและผู้ว่าจ้าง
ตอบ 1 หน้า 130 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 10 ระบุว่า งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น โดยการรับจ้างบุคคลอื่น ให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

96 ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ หรือ International Standard Book Number : ISBN จัดเป็นข้อใด
(1) มาตรการทางเทคโนโลยี
(2) ข้อมูลการบริหารสิทธิ
(3) มาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) มาตรการทางข้อมูลการบริหารสิทธิ
ตอบ 2 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (2) ระบุไว้ว่า “ข้อมูลการบริหาร สิทธิ” หมายความว่า ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์ นักแสดง การแสดง เจ้าของ ลิขสิทธิ์ หรือระยะเวลาและเงื่อนไขในการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ตลอดไปจนตัวเลขหรือรหัสแทน ข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลเช่นว่านี้ติดอยู่หรือปรากฏเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึก การแสดง (เช่น การจัดทําลายน้ําบนรูปภาพ ธนบัตร, เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ หรือ International Stardard Book Number : ISBN เป็นต้น)

97 โปรแกรมเกมออนไลน์ Iron Marine มีระบบป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ระบบป้องกันดังกล่าวตรงกับคําใด
(1) ข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) มาตรการทางเทคโนโลยี
(3) มาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) ข้อมูลบ่งชี้กรรมสิทธิ์
ตอบ 2 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (3) ระบุไว้ว่า “มาตรการทาง เทคโนโลยี” หมายความว่า เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการทําซ้ําหรือควบคุมการ เข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง โดยเทคโนโลยีเช่นว่านี้ได้นํามาใช้กับงานอัน มีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

98 จากข้อ 97 หากนายอุกอาจกระทําการเพื่อทําให้ระบบป้องกันการเข้าถึงของโปรแกรมเกม Iron Marine ใช้การไม่ได้ กล่าวได้ว่าการกระทําของนายอุกอาจตรงกับข้อใด
(1) การละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) การหลบเลียงมาตรการทางเทคโนโลยี
(3) การหลบเลี่ยงมาตรการการบริหารสิทธิ
(4) การละเมิดข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) การละเมิดข้อมูลบ่งชี้กรรมสิทธิ์
ตอบ 2 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (4) ระบุว่า “การหลบเลียง มาตรการทางเทคโนโลยี” หมายความว่า การกระทําด้วยประการใด ๆ ที่ทําให้มาตรการ ทางเทคโนโลยีไม่เกิดผล (ดูคําอธิบายข้อ 97. ประกอบ)

99 กฎหมายฉบับใดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ งานอันมีลิขสิทธิ์ และคุ้มครองสิทธิในข้อมูลที่เจ้าของลิขสิทธิ์ใช้บริหารจัดการสิทธิของตน
(1) พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
(2) พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
(3) พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
(4) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
(5) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

ตอบ 2 หน้า 135 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิเพื่อ ส่งเสริมการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ และคุ้มครองสิทธิในข้อมูลที่เจ้าของลิขสิทธิ์ใช้บริหารจัดการสิทธิของตน คุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของลิขสิทธิ์นํามาใช้ปกป้องงาน อันมีลิขสิทธิ์ของตน กําหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทําซ้ําชั่วคราว (Exception for Temporary Reproduction) เพิ่มเติมเรื่องการกําหนดข้อจํากัดความรับผิดชอบผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (Liability Limitation of ISP)…

100 ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ระบุว่า “ผู้ใดล่วงรู้ มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไป เปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น” กําหนดโทษเช่นไร
(1) จําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(2) จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(3) จําคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(4) จําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(5) จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ตอบ 4 หน้า 158, 160 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 6 ระบุว่า ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นต้อง ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

CDM2105 MCS2390 เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารมวลชน 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2390 (MCS 2108) เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารมวลชน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หนังสือพิมพ์
(2) www.instragram.com
(3) Digital Language
(4) เทคโนโลยี

1 การนําความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ประโยชน์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ตอบ 4 หน้า 1 – 2 บราวน์ (Brown) ให้ความหมายของ “เทคโนโลยี” (Technology) ว่า เป็นการ นําวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์ ส่วนพจนานุกรมเว็บสเตอร์ (Webster) ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ประการหนึ่ง คือ การใช้ทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม

2 จัดเป็น New Media
ตอบ 2 หน้า 35 – 50, 109, คําบรรยาย) สื่อใหม่ (New Media) ได้แก่ อินเทอร์เน็ต, เว็บไซต์ (เช่น www.instragram.com), อีเมล์, สื่อออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะสําคัญดังนี้
1 มีการใช้ภาษาระบบตัวเลขหรือภาษาดิจิทัล (Digital Language) เป็นกลไกในการสื่อสาร ข้อมูลและกระบวนการทํางานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2 ผู้รับสารมีลักษณะ Active Seeker คือ ผู้รับสารกระตือรือร้นเสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสาร ด้วยตัวเองตามความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นของตัวเองอย่างอิสรเสรี
3 มีช่องทางการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารในลักษณะของการสื่อสารแบบ
สองทาง (Two-way Communication) ฯลฯ

3 ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัดต่อกระบวนการผลิตหรือระบบการทํางาน
ตอบ 4 หน้า 3 โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อกระบวนการผลิตหรือระบบ การทํางานใด ๆ ก็ตามอยู่ 3 ประการ ได้แก่
1 ประสิทธิภาพ (Efficiency)
2 ประสิทธิผล (Productivity)
3 ประหยัด (Economy)

4 ผู้รับสารมีลักษณะเป็น Active Seeker
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

5 ผู้รับสารมีลักษณะเป็น Passive Audience
ตอบ 1 หน้า 27, 33 สื่อดั้งเดิม (Traditional Media) ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ (เช่น หนังสือพิมพ์), สื่อภาพยนตร์, สื่อวิทยุกระจายเสียง, สื่อวิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ มีลักษณะของผู้รับสารดังนี้
1 ผู้รับสารในสังคมคุ้นเคยและมีทัศนคติเชิงบวกต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อดั้งเดิม
2 ผู้รับสารมีลักษณะ Passive Audience คือ มีหน้าที่เปิดรับข้อมูลข่าวสาร และจะได้รับ ข้อมูลข่าวสารก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารนําเสนอหรือส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางการสื่อสารมาสู่ผู้รับสารเท่านั้น

6 กลไกในการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

7 นําเสนอเนื้อหาสารในรูปภาษาเขียน
ตอบ 1 หน้า 27 – 28, 33 คุณลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media) เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร ฯลฯ ซึ่งจัดเป็นสื่อแบบดั้งเดิมมีดังนี้
1 เข้าถึงกลุ่มผู้รับสารได้อย่างกว้างขวาง
2 นําเสนอเนื้อหาสารในรูปภาษาเขียน (ตัวอักษร) และภาพ
3 มีความน่าเชื่อถือสูง จึงมักถูกใช้เป็นสื่อเพื่อการอ้างอิง (Referenced Media)
4 มีความคงทนสูง คือ ผู้รับสารสามารถย้อนกลับไปเปิดรับเนื้อหาสารจากสื่อได้ซ้ําครั้ง
ตามต้องการ
5 จัดเป็นสื่อสารมวลชนสื่อแรกที่เก่าแก่ที่สุด ฯลฯ

8 มีช่องทางในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

9 สื่อแบบดั้งเดิม มีความคงทนสูง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

10 ภาษาระบบตัวเลข
ตอบ 3 หน้า 36, (ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ) การปฏิวัติแห่งระบบดิจิทัล หรือการปฏิวัติแห่งระบบ ตัวเลข (Digital Revolution) หมายถึง ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ในรูปข้อความ เสียง รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว ถูกแปลงให้เป็นภาษารูปแบบเดียวกัน คือ ภาษาดิจิทัล (Digital Language) ซึ่งรูปแบบของการแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัลนี้ อาจจะเรียก อีกอย่างได้ว่า “การทําให้เป็นภาษาระบบตัวเลข” (Digitization)

11 มนุษย์เรียนรู้จากสิ่งที่ติดตัวมาแต่กําเนิดในการสร้าง “สาร” อันเป็นภาษาแรกของมนุษยชาติ คือ
(1) ภาษาเขียน
(2) ภาษาพูด
(3) ภาษากาย
(4) ภาษาสัญลักษณ์
(5) ภาษาระบบตัวเลข
ตอบ 2 หน้า 6 – 7 ภาษาพูด ถือเป็นวัจนภาษาที่ถูกบันทึกว่า เป็นภาษาแรกเริ่มของมนุษยชาติ ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้อวัยวะที่ติดตัวมาแต่กําเนิดในการสร้าง “สาร” ในรูปของเสียง และสร้างความหมายในรูปของคําพูด เพื่อสื่อสารระหว่างกัน

12 นับตั้งแต่มนุษย์มีที่อยู่อาศัยรวมกันเป็นหลักแหล่ง มนุษย์ก็ได้เรียนรู้ที่จะสื่อสารกันในลักษณะใด
(1) สื่อสารระหว่างบุคคล
(2) สื่อสารด้วยภาษากาย
(3) สื่อสารมวลชน
(4) สื่อสารด้วยภาษาเขียน
(5) สื่อสารด้วยภาษาพูด
ตอบ 1 หน้า 7 การสื่อสารระหว่างบุคคล ถือเป็นรูปแบบการสื่อสารพื้นฐานของมนุษย์ นับตั้งแต่ มนุษย์ถือกําเนิดขึ้นบนโลก เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องมีที่อยู่อาศัย รวมกันเป็นหลักแหล่ง ดังนั้นการสื่อสารจึงเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในการ ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก ความต้องการ ความรู้ และประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อดํารงชีวิตอยู่ร่วมกันในชุมชนหรือสังคม

13 สื่อแบบดั้งเดิม (Traditional Media) ตรงกับข้อใด
(1) สื่อที่เกิดขึ้นและมีบทบาทในสังคมมนุษย์มาแต่แรกเริ่ม และยังคงมีบทบาทสําคัญอยู่ในปัจจุบัน
(2) สื่อที่มนุษย์ในสังคมทุกรุ่นมีความคุ้นเคย
(3) สื่อที่เคยมีบทบาทในสังคมมนุษย์ แต่ปัจจุบันกําลังลดบทบาทลง
(4) สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารตัวหนังสือหรือเสียงหรือภาพเพียงอย่างเดียวผ่านช่องทางการสื่อสาร
(5) สื่อที่มีรูปแบบการส่งสารผ่านช่องทางการสื่อสารแบบโบราณ
ตอบ 4 หน้า 14 นิยามของสื่อแบบดั้งเดิม (Traditional Media) ประกอบด้วย
1 สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารเพียงอย่างเดียว หมายถึง สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารในรูปตัวหนังสือ หรือเสียงหรือภาพเพียงอย่างเดียวผ่านช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ และ
สื่อวิทยุกระจายเสียง
2 สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารสองอย่าง หมายถึง สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารทั้งในรูปภาพและเสียง พร้อมกันผ่านช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ สื่อวิทยุโทรทัศน์ และสื่อภาพยนตร์

14 ไอโคโนสโคป (Iconoscope) เป็นอุปกรณ์ในระบบการทํางานของสื่อใด
(1) โทรทัศน์จักรกล
(2) โทรทัศน์อิเล็กทรอนิกส์
(3) โทรทัศน์ระบบดิจิทัล
(4) สื่อวิทยุกระจายเสียง
(5) สือภาพยนตร์
ตอบ 2 หน้า 23 – 24 นักประดิษฐ์ที่มีบทบาทสําคัญในการพัฒนาระบบโทรทัศน์อิเล็กทรอนิกส์ คือ วลาดิเมียร์ คอสมิช ซวอริกัน (Vladimir Kozmich Zworykin) ผู้ค้นพบหลอดจับภาพ ที่เรียกว่า “ไอโคโนสโคป” (Iconoscope) และได้จดทะเบียนใน ค.ศ. 1923 จึงนับเป็นผู้ที่ คิดค้นอุปกรณ์ในระบบโทรทัศน์ที่เป็นต้นแบบในการพัฒนาโทรทัศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

15 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่นําสู่การประดิษฐ์สื่อใด
(1) สื่อวิทยุกระจายเสียง
(2) สื่อสิ่งพิมพ์
(3) สื่อภาพยนตร์
(4) สื่ออินเทอร์เน็ต
(5) สื่อคอมพิวเตอร์
ตอบ 1 หน้า 20 วิทยุกระจายเสียง นับเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อที่ใช้ไฟฟ้า ซึ่งถือกําเนิดขึ้น ภายหลังจากเจมส์ เคลิร์ก แม็กซ์เวล (James Clerk Maxwelt) นักฟิสิกส์ชาวสก็อตแลนด์ ได้ค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุใน ค.ศ. 1865

16 ข้อใดคือคุณลักษณะของสื่อวิทยุกระจายเสียง (Radio)
(1) มีความคงทนสูง
(2) สามารถนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะ Shifted Time
(3) ผู้รับสารต้องอาศัยทักษะในการอ่านออกเขียนได้ในการเปิดรับสาร
(4) สามารถนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะ Multimedia
(5) ทําลายข้อจํากัดในการอ่านออกเขียนได้ของผู้รับสาร
ตอบ 5 หน้า 30, (คําบรรยาย) คุณลักษณะของสื่อวิทยุกระจายเสียง (Radio) มีดังนี้
1 ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวาง เข้าถึงผู้รับสารได้อย่างครอบคลุม
2 มีความรวดเร็ว ทําให้ผู้ฟังได้รับข่าวสารทันต่อเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real Time)
3 เป็นสื่อที่ทําลายข้อจํากัดในการอ่านออกเขียนได้ของผู้รับสาร
4 เป็นสื่อที่มีความคงทนต่ำ คือ ผู้รับสารไม่สามารถย้อนกลับไปเปิดรับเนื้อหาสารได้ซ้ำครั้ง
ตามต้องการ ฯลฯ

17 จะได้รับข้อมูลข่าวสารก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารส่งสารผ่านสื่อไปสู่ผู้รับสารปลายทาง คือลักษณะของผู้รับสาร
ของสื่อใด
(1) Locat Media
(2) New Media
(3) Traditional Media
(4) Alternative Media
(5) Social Media
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

18 ลักษณะของผู้รับสารในข้อ 17 ตรงกับคําใด
(1) Active Seeker
(2) Active Receiver
(3) Passive Audience
(4) Passive Seeker
(5) Negative Audience
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

19 สื่อวิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อที่มีความคงทนต่ํา คํานี้หมายความว่าอย่างไร
(1) เป็นสื่อที่มีอายุการใช้งานสั้น
(2) เป็นสื่อที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ไม่เสถียร
(3) เป็นสื่อที่ผู้รับสารไม่สามารถเปิดรับสารได้ซ้ําครั้ง
(4) เป็นสื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
(5) เป็นสื่อที่ถูกคุกคามจากปัจจัยภายนอกได้อย่างง่ายดาย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

20 ข้อใดคือความหมายของคําว่า การปฏิวัติแห่งระบบดิจิทัล (Digital Revolution)
(1) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ถูกแปลงให้เป็นภาษาดิจิทัล
(2) ข้อมูลข่าวสารในรูปภาษาดิจิทัล ถูกแปลงให้อยู่ในรูปข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
(3) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ ถูกแปลงให้เป็นสัญญาณเสียง
(4) ข้อมูลข่าวสารในรูปสัญญาณเสียง ถูกแปลงให้อยู่ในรูปข้อความ
(5) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ ถูกแปลงให้เป็นสัญญาณภาพเคลื่อนไหว
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

21 การทําให้เป็นภาษาระบบตัวเลข (Digitization) หมายถึงข้อใด
(1) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในระบบอนาล็อก
(2) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสื่ออนาล็อก
(3) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล
(4) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสื่อดิจิทัล
(5) การแปลงข้อมูลข่าวสารจากระบบดิจิทัลให้อยู่ในระบบอนาล็อก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

22 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของสื่อใหม่ (New Media)
(1) เป็นสื่อที่เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกัน
(2) มีรูปแบบการสื่อสารแบบทางเดียว
(3) มีรูปแบบการสื่อสารแบบสองทาง
(4) ส่งสารผ่านช่องทางสื่อสารได้หลายอย่างพร้อมกัน
(5) มีศักยภาพเป็นสื่อแบบประสม
ตอบ 2 หน้า 38 Burnett, R. and Marshall (2003) ได้นิยามสื่อใหม่ (New Media) ว่า เป็นสื่อที่
เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกัน และสื่อยังทําหน้าที่ส่งสาร
ผ่านช่องทางการสื่อสารได้หลาย ๆ อย่างพร้อมกัน คือ ภาพ เสียง และข้อความ โดยการรวม เทคโนโลยีของสื่อดั้งเดิมเข้ากับความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสัมพันธ์ ทําให้มีรูปแบบการ สื่อสารแบบสองทางผ่านทางระบบเครือข่ายและมีศักยภาพเป็นสื่อแบบประสม (Multimedia)

23 Freedom from geological boundaries หมายถึง ความเป็นอิสระด้านใดของสื่อใหม่
(1) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านรูปแบบ
(2) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านขนาด
(3) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านเวลา
(4)ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพรมแดน
(5) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพื้นที่
ตอบ 4 หน้า 38 ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดทางด้านพรมแดน (Freedom from geological boundaries) คือ เนื้อหาในรูปแบบดิจิทัลเป็นเนื้อหาที่รับข้อมูลข่าวสารได้ทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็ว จึงทําให้ผู้บริโภคสามารถเลือกรับหรือค้นหาข้อมูลข่าวสารจากประเทศใดก็ได้แล้วแต่ความต้องการของบุคคลแต่ละคน

24 ด้วยคุณลักษณะข้อใดที่ส่งผลให้อินเทอร์เน็ต (Internet) ถูกจัดเป็นสื่อสารมวลชน
(1) เป็นสื่อที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วไปสู่ผู้รับสารในวงกว้าง
(2) เป็นสื่อที่มีช่องทางให้ผู้รับสารสามารถสื่อสารตอบกลับแบบสองทาง
(3) เป็นสื่อที่นําเสนอเนื้อหาสารได้ในลักษณะเดียวกันกับสื่อแบบดั้งเดิมทุกประเภท
(4) เป็นสื่อที่ใช้ภาษาดิจิทัลเป็นกลไกในกระบวนการทํางาน
(5) เป็นสื่อที่มีการส่งเนื้อหาสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในลักษณะเครือข่าย
ตอบ 3 หน้า 40, 55, (คําบรรยาย) สื่ออินเทอร์เน็ตถูกจัดเป็นสื่อสารมวลชนหรือสื่อมวลชน (Mass Communication/Mass Media) ด้วยศักยภาพทางเทคโนโลยีที่สามารถนําเสนอเนื้อหาสาร ได้ในลักษณะเดียวกันกับสื่อมวลชนแบบดั้งเดิมทุกประเภททั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง
วิทยุโทรทัศน์ และภาพยนตร์

25 Windows Phone จัดเป็นระบบปฏิบัติการในข้อใด
(1) Mobile Telephone
(2) Mobile Platform
(3) Mobile Game
(4) Mobile Computing
(5) Mobile Network
ตอบ 2 หน้า 41 เทคโนโลยีสําหรับอุปกรณ์พกพาหรือแพลตฟอร์มเคลื่อนที่ (Mobile Platform) หมายถึง ระบบปฏิบัติการสําหรับอุปกรณ์พกพา ซึ่งประกอบไปด้วย ระบบปฏิบัติการของ โทรศัพท์เคลื่อนที่หรืออุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่อื่น ๆ โดยมีผู้ให้บริการเทคโนโลยีในระบบ ปฏิบัติการหลากหลายเครือข่ายการสื่อสาร เช่น ระบบปฏิบัติการ IOS, ระบบปฏิบัติการ Android, ระบบปฏิบัติการ Windows Phone 7 ฯลฯ

26 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จัดเป็น New Media ตรงกับข้อใด
(1) E-commerce
(2) E-banking
(3) E-mail
(4) E-book
(5) E-document
ตอบ 3 หน้า 41, 62 E-mail, Email มาจากคําว่า “Electronic Mail” ซึ่งศัพท์บัญญัติภาษาไทย ได้แก่ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

27 การรับข้อมูล แฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ ตรงกับคําว่า
(1) Upload
(2) Download
(3) Streaming
(4) Browser
(5) Link
ตอบ 2 หน้า 65, (คําบรรยาย) การขนถ่ายหรือการโอนถ่ายไฟล์ (File Transfer Protocol : FTP)
เป็นบริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

1 ใช้ส่งข้อมูลจากเครื่องลูกข่าย (Client) ไปยังเครื่องแม่ข่าย (Server) เรียกว่า “Upload
2 ใช้รับข้อมูล แฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมจากเครื่องแม่ข่ายเข้าสู่เครื่องลูกข่ายหรือคอมพิวเตอร์ ที่เราใช้อยู่ เรียกว่า “Download

ข้อ 28 – 30. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Cinematograph
(2) Radio Telephony
(3) Podcast

28 เนื้อหาในรูปของข้อมูลเสียง (Content Audio) ที่จัดทําขึ้นและเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ 3 หน้า 44 พอดแคสต์ (Podcast) หมายถึง เนื้อหาที่อยู่ในรูปของข้อมูลที่เป็นเสียง (Content Audio) ซึ่งจัดทําขึ้นและเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

29 เครื่องฉายภาพยนตร์ให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ เพื่อให้ชมได้พร้อมกันหลาย ๆ คน
ตอบ 1 หน้า 19 ซีเนมาโตกราฟ (Cinematograph) คือ เครื่องฉายภาพยนตร์ให้ปรากฏขึ้นบน จอขนาดใหญ่ เพื่อให้ชมได้พร้อมกันหลาย ๆ คน ซึ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1895 โดยพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้พัฒนาขึ้นมา ทําให้คําว่า “ซีเนมา” (Cinema) กลายเป็นคําที่สื่อความหมายเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่อยมา จวบจนถึงปัจจุบัน

30 วิทยุโทรศัพท์
ตอบ 2 หน้า 20 เรจินัลด์ เอ. เฟสเซนเดน (Riginald A. Fessenden) และลี เดอ ฟอเรสต์ (Lee de Forest) ชาวอเมริกัน ประสบผลสําเร็จในการส่งสัญญาณเสียงพูดจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับ เครื่องหนึ่งในระยะไกล เรียกว่า “วิทยุโทรศัพท์” (Radio Telephony)

ข้อ 31. – 35. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Virtual Room
(2) Virtual World
(3) System Software
(5) Connectivity
(4) Application Software

31 ซอฟต์แวร์ระบบ
ตอบ 3 หน้า 42 ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นชุดคําสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ ทํางาน
ซึ่งจะทําหน้าที่เสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software, Operating Software : OS)
2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

32 โลกเสมือนจริง
ตอบ 2 หน้า 41 – 42 โลกเสมือนจริง (Virtual World) หมายถึง โลกเสมือนสามมิติที่ถูกสร้างขึ้น ใน Cyber Space โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปผ่านการเชื่อมโยงทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ เพื่อมุ่งให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้งานทั่วโลกสามารถติดต่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกันได้หลากหลายรูปแบบ ได้แก่
1 เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Hi5, Facebook
2 เครือข่ายฝูงชน เช่น Crowd Source, Wikipedia
3 เครือข่ายแบ่งปันข้อมูล เช่น YouTube, Flickr
4 เครือข่ายสร้างห้องเสมือน (Virtual Room) เช่น Camfrog, Video Conference ฯลฯ

33 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

34 สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยง่าย
ตอบ 5 หน้า 47 กาญจนา แก้วเทพ (2555) นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน กล่าวถึงคุณลักษณะ สําคัญของสื่อใหม่ (New Media) ไว้ดังนี้
1 การมีปฏิสัมพันธ์ได้ง่าย (Interactivity)
2 สามารถเคลื่อนที่ได้สูง (Mobility)
3 สามารถดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ (Convertibility)
4 สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยง่าย (Connectivity)
5 สามารถหาได้หรือใช้ประโยชน์ในทุกที่ (Ubiquity) ฯลฯ

35 เครือข่ายห้องเสมือน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

36 ต่อไปนี้คือนิยามของคําว่า Media Convergence ยกเว้นข้อใด
(1) การบรรจบกันของเทคโนโลยีสื่อแบบดั้งเดิมกับสื่อใหม่
(2) การแปลงเนื้อหาจากแหล่งสารต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล พร้อมกับแปลงข้อมูลดิจิทัล ให้ปรากฏในลักษณะเดียวกันกับสารจากแหล่งสาร
(3) การหลอมรวมระหว่างสื่อ
(4) การรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว
(5) การหลอมรวมเนื้อหาดิจิทัลผ่านสื่อระบบเครือข่าย
ตอบ 5 หน้า 50 – 51 Media Convergence หมายถึง การบรรจบกันของเทคโนโลยีสื่อแบบดั้งเดิม กับสื่อใหม่ หรือเป็นการรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว จนต่อมาได้มี ผู้นิยามศัพท์ว่า “การหลอมรวมระหว่างสื่อ หรือการหลอมรวมสื่อ” อันเป็นผลมาจากศักยภาพ ในการแปลงเนื้อหาจากแหล่งสารต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปข้อมูลดิจิทัลหรือภาษาดิจิทัล พร้อมกับ แปลงข้อมูลดิจิทัลให้ปรากฏในลักษณะเดียวกันกับสารจากแหล่งสาร

37 พนม ยีรัมย์ ดาราชาวไทยถูกทาบทามให้ร่วมแสดงในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด เป็นปรากฏการณ์ข้อใด
(1) Global Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Functional Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 1 หน้า 54 Global Convergence หมายถึง ปรากฏการณ์การหลอมรวมระดับโลกจนส่งผล ให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม อันเป็นผลมาจากการเผยแพร่เนื้อหาสื่อระหว่างกันของ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น การนําดาราชาวเอเชียมาร่วมแสดงในภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ด ซึ่งเป็นผลมาจากการเผยแพร่ผลงานภาพยนตร์เอเชียไปทั่วโลก เป็นต้น

38 การนําการ์ตูนเรื่อง Death Note ไปสร้างเป็นภาพยนตร์และเกมออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้าง
กว่าเดิม เป็นปรากฏการณ์ที่ตรงกับข้อใด
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Converger ce
(4) Economic Convergence
(5) Cultural Convergence

ตอบ 4 หน้า 53 Economic Convergence หมายถึง ปรากฏการณ์การหลอมรวมธุรกิจสื่อเพื่อ ขยายพื้นที่หรือฐานทางการตลาดให้กว้างขวางขึ้น เช่น การนําหนังสือการ์ตูนเรื่อง Death Note ไปสร้างเป็นภาพยนตร์และเกมออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างกว่าเดิม เป็นต้น

39 ไทยรัฐรวมศูนย์ข่าวไว้ที่เดียวเพื่อให้บริการข้อมูลข่าวผ่านทุกสื่อในเครือ ลักษณะนี้ตรงกับคําว่า
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Social Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 1 หน้า 52 Operational Convergence หมายถึง การรวมศูนย์การปฏิบัติงานไว้ในที่เดียว หรือศูนย์เดียว โดยผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจสื่อหลากหลายประเภทพยายามรวมศูนย์การ ปฏิบัติงานไว้ที่เดียวกัน เช่น ไทยรัฐและเนชั่นรวมศูนย์ข่าวไว้ที่เดียวเพื่อให้บริการข้อมูลข่าว ผ่านทุกสื่อในเครือ เป็นต้น

40 สมาร์ทโฟนเครื่องเดียวรวม รูปแบบการใช้งานของสื่อต่าง ๆ ทั้งกล้องถ่ายภาพ โปรแกรมอัดวิดีโอ โปรแกรมเล่นเกม โปรแกรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต สิ่งนี้ตรงกับคําว่า
(1) Operational Convergence
(3) Technological Convergence
(5) Cultural Convergence
(2) Corporate Convergence
(4) Social Convergence
ตอบ 3 หน้า 51 Technological or Device Convergence หมายถึง การแปลงเนื้อหาของสื่อ ทุกประเภททั้งตัวอักษร ภาพ เสียง ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล และนําเทคโนโลยีของสื่อแต่ละ ประเภทมารวมเอาไว้ในสื่อหรืออุปกรณ์เดียว เช่น สมาร์ทโฟนเครื่องเดียวหลอมรวมรูปแบบ การใช้งานของสื่อต่าง ๆ ทั้งกล้องถ่ายภาพ โปรแกรมอัดวิดีโอ โปรแกรมเล่นเกม โปรแกรม การใช้งานอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

41 สมพรเป็นผู้สื่อข่าวที่ทําข่าวเพื่อเผยแพร่ผ่านทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง สื่อออนไลน์ ในองค์กรสื่อ ที่เธอทํางาน รูปแบบการทํางานของสมพรตรงกับข้อใด
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Functional Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 4 หน้า 53 Functional Convergence หมายถึง การหลอมรวมหลากหลายหน้าที่ไว้ ในบุคคลเดียว เช่น ผู้สื่อข่าวคนเดียวจัดทําเนื้อหาข่าวสารเพื่อเผยแพร่ทั้งบนสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง สื่อออนไลน์ เป็นต้น

42 ARPANET เป็นองค์กรผู้พัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อยู่ในสังกัดหน่วยงานใดของสหรัฐอเมริกา
(1) กระทรวงมหาดไทย
(2) กระทรวงการต่างประเทศ
(3) กระทรวงกลาโหม
(4) กระทรวงศึกษาธิการ
(5) กระทรวงวิทยาศาสตร์
ตอบ 3 หน้า 55 สื่ออินเทอร์เน็ตเริ่มใช้งานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยองค์กรที่มีชื่อว่า ARPANET
(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของ สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อใช้ทางการทหาร และสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ได้อย่างไม่ผิดพลาด

43 อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อครอบคลุมระหว่างกันทั่วโลก ด้วยโปรโตคอล TCP/IP คําว่า “โปรโตคอล” หมายถึง
(1) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัล
(2) ข้อกําหนดด้านรูปแบบการสื่อสารเฉพาะเพื่อให้การสื่อสารในระบบเครือข่ายทํางานด้วยกันทั้งระบบ
(3) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านสื่อสารสนเทศ
(4) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย
(5) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านระบบการสื่อสารสากล
ตอบ 2 หน้า 40, 55, (คําบรรยาย) โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง ข้อกําหนดด้านรูปแบบการ สื่อสารเฉพาะระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจสอบ ข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องทั้ง 2 เครื่อง ทั้งนี้เพื่อให้การสื่อสารในระบบเครือข่ายทํางานได้ด้วยกันทั้งระบบ และมีมาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างกันที่เป็นสากลหนึ่งเดียวทั่วโลก นั่นก็คือ โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

44 รูปแบบการสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตที่นํามาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย คือ
(1) การจัดทําเว็บไซต์
(2) การสื่อสารผ่านเว็บบล็อก
(3) การส่งและรับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(4) การสนทนาออนไลน์
(5) เว็บบอร์ด
ตอบ 3หน้า 57 อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (PSU) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ได้ใช้บริการส่งและรับจดหมายหรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) เป็นครั้งแรก โดยได้รับความร่วมมือจากประเทศออสเตรเลีย

45 รูปแบบการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สถาบันอุดมศึกษาทั้งสองแห่งเป็นผู้เริ่มนํามาใช้งาน ในประเทศไทย (ตามข้อ 44.) ได้รับความร่วมมือจากประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) ออสเตรเลีย
(4) เยอรมนี
(5) แคนาดา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ

46 เครือข่ายการสื่อสารใดที่เป็นประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Gateway) แห่งที่สองของประเทศไทย
(1) เครือข่ายยูเน็ต
(2) เครือข่ายไทยสาร
(3) เครือข่ายไทยเน็ต
(4) เครือข่ายจุฬาเน็ต
(5) เครือข่ายอาร์พาเน็ต
ตอบ 2 หน้า 58 ในปี พ.ศ. 2535 เครือข่ายไทยเน็ตถือเป็นเครือข่ายที่มีเกตเวย์ (Gateway) หรือ ประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์กลาง ต่อมาในปีเดียวกัน NECTEC ได้จัดตั้งเครือข่ายไทยสารเป็นเกตเวย์สู่เครือข่าย อินเทอร์เน็ตแห่งที่ 2 ของประเทศไทย

47 IP Address มีความสําคัญต่อการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างไร
(1) เป็นข้อมูลบ่งชี้ประเภทคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน
(2) เป็นข้อมูลบ่งชี้ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของผู้ใช้งาน
(3) เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อใช้ติดต่อกับผู้ใช้งานอื่น ๆ ในเครือข่าย
(4) เป็นข้อมูลบ่งชี้ประเภทองค์กรผู้ใช้งาน
(5) เป็นข้อมูลบ่งชี้ระบบเครือข่ายของผู้ใช้งาน

ตอบ 3 หน้า 59 เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น จะต้อง มีหมายเลขประจําเครื่อง เรียกว่า “IP Address” เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อใช้ติดต่อกับผู้ใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่าย ซึ่งในช่วงแรกเริ่ม IP Address จะถูกจัดเป็นตัวเลข ชุดหนึ่ง มีขนาด 32 บิต (Bit)

48 ในช่วงแรกเริ่ม IP Address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่ง มีขนาดกี่บิต
(1) 32 บิต
(2) 36 บิต
(3) 40 บิต
(4) 44 บิต
(5) 48 บิต
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ

49 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้เชื่อมโยงกันภายในอาคารเดียวกัน คือข้อใด
(1) LAN
(2) MAN
(3) CAN
(4) WAN
(5) PAN
ตอบ 1 หน้า 60 เครือข่ายภายใน หรือแลน (Local Area Network : LAN) บางครั้งก็เรียกว่า “เครือข่ายท้องถิ่น” เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงกันภายในพื้นที่ ใกล้เคียงกัน เช่น อยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน เป็นต้น

50 รูปแบบการสนทนาออนไลน์โดยไม่ต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์กลาง คือข้อใด
(1) Webboard
(2) Web Chat
(3) Telnet
(4) Instant Messaging
(5) Bulletin Board
ตอบ 4หน้า 63 การสนทนาออนไลน์โดยตรงระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เป็นรูปแบบการสนทนา ออนไลน์ที่ไม่ต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์กลาง ซึ่งเรียกว่า “การรับส่งสารแบบทันทีทันใด” (Instant Messaging) เช่น โปรแกรม ICQ, MSN Messenger, Yahoo Messenger, Windows Messenger เป็นต้น

51 บริการขอเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกล โดยผู้ใช้บริการต้องติดต่อผ่านเครือข่ายที่ได้รับอนุญาต
คือข้อใด
(1) Webboard
(2) Web Chat
(3) Telnet
(4) Instant Messaging
(5) Bulletin Board
ตอบ 3 หน้า 64 บริการเข้าระบบระยะไกล (Telnet) เป็นการให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อขอเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกล โดยผู้ใช้บริการต้องติดต่อผ่านเครือข่ายที่ได้รับอนุญาต และไม่จําเป็นที่ผู้ใช้บริการต้องนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น

52 ผู้ใช้บริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย (File Transfer Protocol) ประเภท Anonymous คือ
(1) ผู้ใช้บริการแบบไม่ระบุตัวตน
(2) ผู้ใช้บริการแบบระบุตัวตน
(3) ผู้ใช้บริการแบบไม่มีตัวตน
(4) ผู้ใช้บริการแบบปรากฏตัวตน
(5) ผู้ใช้บริการแบบอ้างตัวตน
ตอบ 1 หน้า 65 ผู้ใช้บริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย (File Transfer Protocol : FTP) จะมีอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่
1 ผู้ใช้บริการแบบไม่ระบุตัวตน (Anonymous)
2 ผู้ใช้บริการแบบระบุตัวตน ซึ่งจําเป็นต้องมี User Name และ Password ในการเข้าใช้บริการ

53 ต่อไปนี้เป็นผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารออนไลน์ในรูปแบบ E-Commerce ยกเว้นข้อใด
(1) www.lazada.com
(2) www.sanook.com
(3) www.alibaba.com
(4) www.shopee.co.th
(5) www.tarad.com

ตอบ 2 หน้า 66, 90 สื่ออินเทอร์เน็ตจะถูกใช้เป็นช่องทางประกอบธุรกรรมทางธุรกิจทั้งการซื้อขาย สินค้าออนไลน์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ออนไลน์ การโอนเงินออนไลน์ รวมทั้งเป็นช่องทาง สําคัญที่ผู้ประกอบการใช้ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นที่มาของ คําว่า “E-commerce” (Electronic Commerce) หรือ “การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” เช่น www.lazada.com, www.alibaba.com, www.shopee.co.th, www.tarad.com ฯลฯ (ส่วน www.sanook.com เป็นเว็บท่าที่รวบรวมลิงค์ประเภทต่าง ๆ)

54 ข้อใดไม่ใช่เหตุผลในการให้บริการข้อมูลข่าวสารในรูปหนังสือพิมพ์ออนไลน์
(1) เพื่อเพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับผู้รับสาร
(2) เพื่อเพิ่มช่องทางในการแสวงหารายได้จากค่าโฆษณา
(3) เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ความทันสมัยทางเทคโนโลยีแก่องค์กร
(4) เพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
(5) เพื่อเป็นช่องทางนําเสนอข่าวสารของผู้นําประเทศ
ตอบ 5 หน้า 69 – 70 เหตุผลในการให้บริการข้อมูลข่าวสารในรูปหนังสือพิมพ์ออนไลน์ มีดังนี้
1 เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ความทันสมัยทางเทคโนโลยีแก่องค์กร
2 เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการเสนอข่าว
3 เพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
4 เพื่อเพิ่มช่องทางติดต่อสื่อสารกับผู้รับสาร
5 เพื่อเพิ่มช่องทางด้านการตลาด เช่น การขายพื้นที่โฆษณาบนเว็บไซต์, การหารายได้เสริม จากค่าสมาชิก ค่าธรรมเนียม ฯลฯ

55 ผู้ให้บริการในข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารที่มีฐานมาจากการเป็นผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์
แบบดั้งเดิมมาก่อน
(1) www.thairath.co.th
(2) www.dailynews.co.th
(3) www.matichon.co.th
(4) www.andamannews.com
(5) www.bangsaenpost.com
ตอบ 4 หน้า 71 – 72 ผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่มีฐานมาจากผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์ แบบกระดาษ (แบบดั้งเดิม) มีดังนี้
1 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง เช่น www.thairath.co.th, www.dailynews.co.th, www.matichon.co.th ฯลฯ
2 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค เช่น www.bangsaenpost.com, www.koratdaily.com ฯลฯ
3 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยในต่างประเทศ เช่น www.sereechai.com ฯลฯ (ส่วน www.prachathai.com, www.andamannews.com เป็นเว็บไซต์ของผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่ให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)

56 ข้อใดเป็นเว็บไซต์ของผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ไทยในต่างประเทศ
(1) www.thairath.co.th
(2) www.sereechai.com
(3) www.matichon.co.th
(4) www.andamannews.com
(5) www.bangsaenpost.com
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

57 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะการส่งสัญญาณเสียงและภาพเคลื่อนไหวผ่าน Streaming Server
(1) ต้องคัดลอกแฟ้มข้อมูลผ่านเครือข่ายมายังผู้ใช้งานให้ครบก่อนจึงเริ่มแสดงผล
(2) ข้อมูลถูกส่งมายังเครื่องลูกข่ายอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์จนครบ
(3) เป็นการส่งสัญญาณในลักษณะ Real Time จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องลูกข่าย
(4) เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะประสานสื่อ
(5) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการส่งสัญญาณแบบสายธาร
ตอบ 1 หน้า 76 – 77 Streaming Server คือ เครื่องให้บริการกระจายสัญญาณแบบสายธาร ซึ่งเป็น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่บริการข้อมูลในลักษณะสื่อประสมหรือประสานสื่อ (Multimedia) โดยข้อมูล จะถูกส่งมายังเครื่องลูกข่ายอย่างต่อเนื่อง และไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลด (Download) ไฟล์จาก เซิร์ฟเวอร์จนครบแล้วจึงเริ่มแสดงผล ดังนั้นจึงเป็นการส่งสัญญาณเสียงและภาพเคลื่อนไหวใน ลักษณะทันต่อเวลา (Real Time) จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องลูกข่ายที่ได้รับความนิยม ในปัจจุบัน นอกจากนี้ Streaming Server ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) สามารถทําหน้าที่ เป็นผู้ผลิตรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ออนไลน์ได้อีกด้วย

58 ข้อใดคือความหมายของสื่อออนไลน์
(1) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(2) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อแบบประสม
(3) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อดิจิทัล
(4) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและเปิดรับข้อมูลข่าวสารแบบสองทาง
(5) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 1 หน้า 81 สื่อออนไลน์ หมายถึง ช่องทางของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ส่งสารใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลและ ข่าวสาร ส่วนผู้รับสารที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารเช่นกัน

59 ข้อใดคือสํานักข่าวที่จัดทําขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(1) เว็บไซต์สํานักข่าวไอเอ็นเอ็น
(2) เว็บไซต์สํานักข่าวไทย
(3) เว็บไซต์สํานักข่าวซีเอ็นเอ็น
(4) เว็บไซต์สํานักข่าวพีเพิลยูนิตี้
(5) เว็บไซต์สํานักข่าวอิศรา
ตอบ 4 หน้า 83 สํานักข่าวออนไลน์ที่จัดทําขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่
1 เว็บไซต์สํานักข่าวพีเพิลยูนิตี้ (People Unity News Agency)
2 เว็บไซต์เฟซบุ๊ก นิวส์ไวร์ (FB Newswire)
3 เว็บไซต์สํานักข่าวทีนิวส์
4 เว็บไซต์สํานักข่าวอาร์วายทีไนน์ ฯลฯ
(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสํานักข่าวออนไลน์ที่มีฐานจากสํานักข่าวแบบดั้งเดิม)

60 รูปแบบของเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนบทสนทนา อภิปรายในสังคมออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานเลือกเข้าสังกัดกลุ่มคนที่มีพื้นฐานความสนใจร่วมกัน คือ
(1) News Group
(2) Webboard
(3) Online News Clipping
(4) Social Network
(5) Online News Agency
ตอบ 2 หน้า 63, 83 – 85 กระดานข่าว (Webboard) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนบทสนทนา พูดคุย อภิปรายในสังคมออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) เลือกเข้าสังกัดกลุ่มคนที่มีพื้นฐานความสนใจร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องราวหรือประเด็นทางสังคม อันนําไปสู่การรวมกลุ่มกันในลักษณะชุมชนออนไลน์ (Online Communities) เช่น www.pantip.com, www.mthai.com ฯลฯ

61 รูปแบบของเว็บไซต์ที่จัดทําในรูปกลุ่มสนทนา แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในหัวข้อต่าง ๆ โดยแบ่งหมวดหมู่ และกําหนดชื่อของกลุ่มตามประเภทของกลุ่มข่าว คือข้อใด
(1) News Group
(2) Webboard
(3) Online News Clipping
(4) Social Network
(5) Online News Agency
ตอบ 1 หน้า 85 – 86 กลุ่มข่าวสาร (News Group) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่จัดทําขึ้นในรูปของ กลุ่มสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในหัวข้อต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานทุกคน มีส่วนร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้อย่างอิสระ โดยมีการแบ่งหมวดหมู่ และกําหนดชื่อของกลุ่มตามประเภทของกลุ่มข่าว ทั้งนี้กลุ่มข่าวต่าง ๆ จะถูกแบ่งหมวดหมู่ และเก็บไว้ในบอร์ดข่าวสารขนาดใหญ่ เรียกว่า “User’s Network” (Usenet) และข่าวใน กลุ่มข่าวทั้งหมดจะถูกเก็บไว้บน Usenet Server

62 กฤตภาคข่าวออนไลน์เป็นรูปแบบการให้บริการข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ต ตรงกับคําใด
(1) News Group
(2) Webboard
(3) Online News Clipping
(4) Social Network
(5) Online News Agency
ตอบ 3 หน้า 86 – 87 กฤตภาคข่าวออนไลน์ (Online News Clipping) คือ บริการข่าวตัดออนไลน์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยตัดข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ พร้อมกับระบุแหล่งที่มา ของหนังสือพิมพ์ ซึ่งตัวอย่างของเว็บไซต์กฤตภาคข่าวออนไลน์ในประเทศไทยที่เปิดให้บริการ ในปัจจุบัน เช่น ห้องสมุดข่าวมติชน (Matichon E-Library), iQNewsClip, นิวส์เซ็นเตอร์ (Newscenter) เป็นต้น

ข้อ 63 – 66. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Identity Network
(2) Creative Network
(3) Peer to Peer
(4) Virtual Reality

63 www.youtube.com
ตอบ 2 หน้า 88 – 90 ประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีดังนี้
BitTorrent
1 สร้างและประกาศตัวตน (Identity Network) เช่น www.twitter.com ซึ่งนําเสนอเนื้อหา ในลักษณะ Micro Blog โดยมุ่งให้ผู้ใช้โพสต์ข้อความสั้น ๆ ไม่เกิน 140 ตัวอักษร
2 สร้างและประกาศผลงาน (Creative Network) เช่น www.youtube.com
3 ประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Reality) ซึ่งมีลักษณะเป็นเกมออนไลน์ เช่น Second Life, Audition, Ragnarok, Pangya, World of Warcraft ฯลฯ
4 เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันระหว่างผู้ใช้ (Peer to Peer : P2P) เช่น Skype, BitTorrent ฯลฯ

64 BitTorrent
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

65 Ragnarok
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

66 www.twitter.com
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

ข้อ 67 – 70. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Web 1.0
(2) Web 2.0
(3) Webboard
(4) User-Generated Content

67 ผู้ใช้งานสื่อเป็นผู้ผลิตเนื้อหาเอง
ตอบ 4 หน้า 88, 90 พื้นที่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่จะมุ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะที่ เรียกว่า “User-Generated Content” (UGC) กล่าวคือ ผู้ใช้งานสื่อเป็นผู้ผลิตเนื้อหาเอง เช่น Myspace เป็นเว็บไซต์ที่บริษัท นิวส์คอร์ปอเรชั่น ซื้อกิจการมาดําเนินการในราคา 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมี Flickr ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ Yahoo ซื้อกิจการมาดําเนินการ ในราคา 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นต้น

68 เว็บไซต์ที่แสดงเนื้อหามุ่งให้ผู้ใช้งานอ่านแต่เพียงอย่างเดียว
ตอบ 1 หน้า 88 การกําเนิดขึ้นและการเติบโตของเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นผลมาจากการพัฒนา ทางเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจาก Web 1.0 คือ เว็บไซต์ที่แสดงเนื้อหามุ่งให้ผู้ใช้งานอ่านแต่เพียง อย่างเดียว มาสู่ Web 2.0 ซึ่งก็คือ เว็บไซต์เชิงสังคมที่มุ่งให้ผู้ใช้งานสร้างเนื้อหาเองได้ แบ่งปัน เนื้อหาให้กัน และมีส่วนร่วมระหว่างกัน

69 เว็บไซต์เชิงสังคมที่มุ่งให้ผู้ใช้งานสร้างเนื้อหาเองได้ แบ่งปันเนื้อหา และมีส่วนร่วมระหว่างกัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ

70. www.pantip.com
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

ข้อ 71 – 80. ข้อใดที่กล่าวไว้ถูกต้องให้ระบายตัวเลือก 1 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องให้ระบายตัวเลือก 2

71 www.twitter.com เป็นเว็บไซต์ประเภทเครือข่ายทางสังคมที่นําเสนอเนื้อหาในลักษณะ Micro Blog

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

72 พื้นที่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่มุ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะ User-Generated Content

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

73 Youtube เป็นเว็บไซต์ที่บริษัท นิวส์คอร์ปอเรชั่น ซื้อกิจการมาดําเนินการด้วยราคา 580 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

74 การนําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์สามารถนําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสารได้ในลักษณะ Real Time หมายถึง นําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสารได้ในลักษณะทันต่อเวลาที่เกิดขึ้นจริง
ตอบ 1 หน้า 91 คุณลักษณะของข้อมูลข่าวสารที่นําเสนอผ่านสื่อออนไลน์ประการหนึ่ง ได้แก่ ทันกาล (Real Time) กล่าวคือ สามารถนําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วตาม เวลาที่เกิดขึ้นจริง เช่น การนําเสนอข่าวที่เพิ่งเกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ บนเว็บไซต์ขององค์กรสื่อสารมวลชนหรือบนเว็บไซต์สํานักข่าว เป็นต้น

75 การสื่อสารบน Facebook จัดเป็นรูปแบบการสื่อสารที่เปิดให้ผู้ใช้งานรวมกลุ่มกันในลักษณะชุมชน ออนไลน์ (Online Communities)
ตอบ 1 หน้า 85 การรวมกลุ่มกันในลักษณะ “ชุมชนออนไลน์” (Online Communities) เช่น Webboard, Facebook ฯลฯ จัดเป็นรูปแบบของสัมพันธภาพของผู้ใช้งานเครือข่ายสังคม ออนไลน์ โดยที่สมาชิกของชุมชนออนไลน์มีคุณลักษณะสําคัญ ดังนี้
1 มีความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relationship) ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
2 มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

76 สื่อออนไลน์เป็นสื่อใหม่ และเป็นสื่อที่มีความคงทนต่ํา ส่วนสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อแบบดั้งเดิม และเป็นสื่อที่ มีความคงทนสูง
ตอบ 2 หน้า 45 – 46, (คําบรรยาย) สื่อออนไลน์เป็นสื่อใหม่ที่ไม่มีข้อจํากัดด้านเวลาในการเข้าถึง จึงเป็นสื่อที่มีความคงทนสูงพอ ๆ กับสื่อสิ่งพิมพ์ (ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ)

77 Online News Clipping คือ การให้บริการข่าวตัดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

78 การให้บริการในรูปกลุ่มข่าวสาร (News Group) กลุ่มข่าวต่าง ๆ จะถูกแบ่งหมวดหมู่และเก็บไว้ในบอร์ด ข่าวสารขนาดใหญ่ เรียกว่า User’s Network (Usenet)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

79 Electronic Journal คือ การให้บริการเนื้อหาวารสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ 1 หน้า 73 วารสารออนไลน์ (Online Journal) หรือวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Journal) คือ การให้บริการเนื้อหาวารสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นวารสาร รูปแบบใหม่ที่มีการจัดเก็บ บันทึก และพิมพ์เผยแพร่สารสนเทศทางวิชาการไว้ในรูปของ แฟ้มคอมพิวเตอร์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีกําหนดออกแน่นอนสม่ําเสมอ

80 ปัจจุบันสื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์เข้ามาแทนที่สื่อหนังสือพิมพ์แบบกระดาษอย่างสิ้นเชิงแล้ว
ตอบ 2 หน้า 72, (คําบรรยาย) ในปัจจุบันผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์แบบกระดาษส่วนใหญ่จัดทํา เว็บไซต์ในรูปหนังสือพิมพ์ออนไลน์ เพื่อเป็นช่องทางในการให้บริการข้อมูลข่าวสารออนไลน์ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่องทาง ซึ่งถึงแม้สื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์จะได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถเข้ามาแทนที่สื่อหนังสือพิมพ์แบบกระดาษได้อย่างสิ้นเชิง

81 อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองการทํางานของทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ด้วยศักยภาพในการนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะใด
(1) Mega Media
(2) Multimedia
(3) Transmedia
(4) Social Media
(5) Virtual Media
ตอน 2 หน้า 81 – 82 ด้วยศักยภาพในการนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะประสานสื่อ (Multimedia) ซึ่งมีทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตสามารถตอบสนอง การทํางานของสื่อแบบดั้งเดิมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และภาพยนตร์

82 ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนมีบทบาทเป็นผู้กําหนดวาระในการนําเสนอข่าวสารสู่มวลชนในสังคม
ตรงกับคําใด
(1) Agenda Seeking
(2) Agenda Making
(3) Agenda Setting
(4) Agenda Dcing
(5) Agenda Thinking

ตอบ 3 หน้า 93 ในอดีตผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนและคณะทํางานในกองบรรณาธิการ ในฐานะผู้ส่งสาร จะมีบทบาทเป็นผู้กําหนดวาระในการนําเสนอข้อมูลข่าวสาร (Agenda Setting) ไปสู่มวลชน กล่าวคือ บทบาทในการร่วมกันตัดสินใจเกี่ยวกับการกําหนดระดับ ความสําคัญของเนื้อหาสาร และวาระแห่งการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผู้รับสารในสังคม

83 ผลจากการที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ ก่อให้เกิดผลกระทบด้านต่าง ๆ ยกเว้นข้อใด
(1) เปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีทางเลือกเปิดรับข้อมูลข่าวสารในประเด็นที่สื่อแบบดั้งเดิมไม่ได้นําเสนอ
(2) เป็นแหล่งสารของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อแบบดั้งเดิม
(3) ผู้ใช้งานตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารอย่างเข้มงวดก่อนเผยแพร่
(4) ผู้ใช้งานสามารถส่งผ่านข้อมูลจากระดับบุคคลไปสู่กลุ่มคนต่างเครือข่าย
(5) ทุกคนทําหน้าที่นําเสนอข้อมูลข่าวสารไปสู่สาธารณะอย่างเสรี เอื้อต่อบรรยากาศประชาธิปไตย
ตอบ 3หน้า 95, 99 – 100 ผลกระทบด้านลบจากการที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ คือ ผู้ใช้งานนําเสนอข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่ต้องผ่าน กระบวนการตรวจสอบ คัดเลือก คัดกรอง จากบรรณาธิการ จึงทําให้ข้อมูลข่าวสารผิดพลาด ได้ง่าย จนอาจจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สู่สาธารณชน (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นผลกระทบด้านบวก)

84 เหตุผลข้อใดที่ทําให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนยุคปัจจุบันจําเป็นต้องมีทักษะทางเทคโนโลยี
(1) เพื่อจะได้รู้เท่าทันเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต
(2) เพื่อจะได้เข้าใจสถานการณ์การแข่งขันระหว่างสื่อใหม่และสื่อแบบดั้งเดิม
(3) เพื่อจะได้สามารถใช้งานสื่อใหม่ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่องทาง
(4) เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการสื่อสาร
(5) เพื่อจะได้เกิดประโยชน์ต่อการกําหนดมาตรฐานจริยธรรมการสื่อสารให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
ตอบ 3 หน้า 94 – 95 ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนในยุคปัจจุบัน จําเป็นต้องมีทักษะทางด้าน เทคโนโลยีควบคู่กับทักษะด้านวิชาชีพสื่อสารมวลชน เพื่อจะได้สามารถใช้งานสื่อใหม่ในการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่องทาง เช่น ต้องมีความรู้เรื่องการอัปโหลด (Upload) ข้อมูลข่าวสารให้ปรากฏบนเว็บไซต์ขององค์กร, มีความรู้เรื่องโปรแกรมการใช้งานเพื่อเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ ฯลฯ

85 ผลจากการที่สื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในฐานะช่องทางหนึ่งขององค์กรสื่อแบบดั้งเดิม ส่งผลให้
ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อแบบดั้งเดิมต้องปรับตัวในการทํางาน ยกเว้นข้อใด
(1) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการทํางาน
(2) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องยอมรับอินเทอร์เน็ตเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร
(3) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องฝึกทักษะในการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบด้วยตนเอง
(4) ผู้ประกอบวิชาชีพในองค์กรจําเป็นต้องปรับโครงสร้างการทํางานภายในองค์กรที่แตกต่างจากเดิม
(5) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องนําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ ในลักษณะบูรณาการ
ตอบ 3 หน้า 105 – 106 การปรับตัวของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนแบบดั้งเดิม มีดังนี้
1 ยอมรับสื่ออินเทอร์เน็ตเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร
2 ปรับโครงสร้างการทํางานภายในองค์กรที่ต่างจากเดิม

3 เรียนรู้และฝึกฝนทักษะการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการทํางาน
4 นําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ แบบบูรณาการ ฯลฯ

86 การพยายามเจาะเข้าสู่ฐานข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ ขัดกับจริยธรรมการสื่อสารข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 4 หน้า 118 – 119 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมการเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) คือ การก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หรือการก่ออาชญากรรมไซเบอร์ (Computer Crime or Cyber Crime) เช่น การพยายามเจาะเข้าสู่ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ การเจาะเข้าสู่ระบบรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคล ฯลฯ

87 การนําข้อมูลลงสู่ระบบฐานข้อมูลโดยไม่ตรวจตราความถูกต้องอย่างเข้มงวด ส่งผลให้สารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตคลาดเคลื่อนจากความถูกต้อง กล่าวได้ว่าสิ่งนี้ขัดกับจริยธรรมการสื่อสารข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 2 หน้า 116 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมความถูกต้อง (Information Accuracy) คือ ความผิดพลาดของข้อมูลที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง อันเป็นผลมาจากการไม่มีผู้ทําหน้าที่ตรวจสอบหรือคัดกรองความถูกต้องของข้อมูลก่อนจัดเก็บเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล ส่งผลให้สารสนเทศ ที่จัดเก็บและเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ถูกต้อง

88 กรณี User นําเสนอเนื้อหาหรือข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทบนพื้นที่การใช้งานบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต กล่าวได้ว่าสิ่งนี้ขัดกับจริยธรรมข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) จริยธรรมของผู้ใช้สื่อ
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 4 หน้า 119 – 120 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมของผู้ใช้สื่อ เช่น ผู้ใช้งาน (User) หรือ ผู้เปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อ ได้นําเสนอเนื้อหาหรือข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทบน พื้นที่การใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การใช้โปรแกรม Camfrog ซึ่งผู้ใช้งานสามารถ เห็นหน้าค่าตากันในระหว่างพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อมุ่งสร้างความรู้สึกเสมือนอยู่ใกล้ชิดกัน แต่ผู้ใช้งานบางคนกลับใช้เป็นช่องทางในการแสดงภาพลามกอนาจาร ฯลฯ

89 การทําซ้ําหรือเผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ลิขสิทธิ์ ขัดกับจริยธรรมข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 3 หน้า 117 – 118 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมเรื่องความเป็นเจ้าของ (Information Property) คือ การละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ซอฟต์แวร์) ดังนี้
1 Copyright or Software License คือ ซอฟต์แวร์ที่ซื้อลิขสิทธิ์มาแล้วมีสิทธิ์ใช้งานเท่านั้น ห้ามทําซ้ําหรือเผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ลิขสิทธิ์ทุกกรณี
2 Shareware คือ ซอฟต์แวร์ที่ให้ทดลองใช้ได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งมีสิทธิใช้ในระยะเวลา ที่กําหนดเท่านั้น เป็นต้น
3 Freeware คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ฟรี คัดลอก และเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้

90 เพราะเหตุใดอินเทอร์เน็ตจึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิชาชีพวารสารศาสตร์ของสื่อแบบดั้งเดิม ที่ให้ความสําคัญต่อผู้เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper)
(1) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารโดยเท่าเทียม
(2) เพราะอินเตอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนมีโอกาสสื่อสารตอบกลับในลักษณะการสื่อสารสองทาง
(3) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ
(4) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่จํากัด
(5) เพราะอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถสื่อสารผ่านเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก
ตอบ 3 หน้า 100, 110 ด้วยเหตุที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของ ตนเองสู่สาธารณะ โดยไม่มีผู้ทําหน้าที่เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper) ส่งผลให้เกิด ผลกระทบต่อวิชาชีพวารสารศาสตร์ของสื่อแบบดั้งเดิมที่ให้ความสําคัญกับผู้เฝ้าประตูข้อมูล ข่าวสาร (Gatekeeper) ซึ่งก็คือ บรรณาธิการผู้ทําหน้าที่คัดเลือก คัดกรอง และตรวจสอบ ความถูกต้องของเนื้อหาสารก่อนนําเสนอสู่ผู้รับสารในสังคม

91 ผู้สื่อข่าวภาคพลเมือง (Citizen Reporter) หมายถึงข้อใด
(1) ผู้ใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตทุกคน ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้ส่งสารผ่านพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ
(2) ผู้สื่อข่าวสื่อแบบดั้งเดิมที่ใช้สื่อใหม่เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร
(3) ประชาชนทั่วไปที่ทําหน้าที่รายงานข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อแบบดั้งเดิม
(4) ผู้สื่อข่าวผ่านสื่อใหม่ที่ทําหน้าที่รายงานข่าวผ่านสื่อแบบดั้งเดิมด้วย
(5) ผู้สื่อข่าวของสื่อแบบดั้งเดิมที่ทํางานร่วมกับประชาชนในสังคม
ตอบ 1 หน้า 95, 104 ผู้สื่อข่าวภาคพลเมือง (Citizen Reporter) หรือผู้สื่อข่าวภาคประชาชน หมายถึง ผู้ใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตทุกคน ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้ส่งสารผ่านพื้นที่ของตนเองสู่ สาธารณะ โดยจะมีบทบาทเป็นผู้รายงานข่าวสารคล้ายกับบทบาทของผู้สื่อข่าว (News Reporter) ในองค์กรสื่อสารมวลชนแบบดั้งเดิม เช่น สุชาติมีอาชีพเป็นพ่อค้าและรายงาน ข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมชุมชนผ่านทางเว็บบล็อก (Web Blog) ของเขา และมีผู้ที่ติดตาม อ่านเป็นจํานวนมาก เป็นต้น

92 จากความหมายในข้อ 91. บุคคลในข้อใดต่อไปนี้จัดเป็น Citizen Reporter
(1) สุพจน์เป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ที่เผยแพร่ข่าวผ่านสื่อออนไลน์อีกทางหนึ่งด้วย
(2) สุวรรณเป็นผู้สื่อข่าวที่มุ่งเข้าถึงแหล่งข่าวที่เป็นประชาชนทั่วไป
(3) สุชาติมีอาชีพเป็นพ่อค้าและรายงานข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมชุมชนผ่านเว็บบล็อกของเขา
และมีผู้ติดตามอ่านจํานวนมาก
(4) สุทัศน์เป็นผู้สื่อข่าวที่มุ่งรายงานข่าวสารด้านประชากรศาสตร์
(5) สุธรรมเป็นผู้สื่อข่าวผ่านเว็บไซต์และรายงานข่าวผ่านสิ่งพิมพ์แบบกระดาษด้วย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93 ผู้ทําหน้าที่เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper) คือบุคคลในข้อใด
(1) ผู้สื่อข่าว
(2) บรรณาธิการ
(3) ช่างภาพข่าว
(4) ช่างเรียงพิมพ์
(5) ผู้ออกแบบจัดวางหน้าสิ่งพิมพ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

94 ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 สิ่งใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
(1) งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม
(2) คําพิพากษา คําสั่ง คําวินิจฉัยของทางราชการ
(3) งานสร้างสรรค์ประเภทดนตรีกรรม
(4) โปรแกรมคอมพิวเตอร์
(5) งานสร้างสรรค์ประเภทสิ่งบันทึกเสียง
ตอบ 2 หน้า 127, 129 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 7 ระบุว่า สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น งานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. นี้
1 ข่าวประจําวันและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนก วรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
2 รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
3 ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง คําชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
4 คําพิพากษา คําสั่ง คําวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5 คําแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม 1. – 4. ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงาน อื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

95 ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ระบุว่า งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ โดยการรับจ้างบุคคลอื่น ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของบุคคลใด
(1) ผู้ว่าจ้าง
(2) ผู้สร้างสรรค์
(3) องค์กร
(5) ทั้งองค์กรและผู้ว่าจ้าง
(4) ทั้งผู้ว่าจ้างและผู้สร้างสรรค์
ตอบ 1 หน้า 130 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 10 ระบุว่า งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น โดยการรับจ้างบุคคลอื่น ให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้าง จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

96 กฎหมายฉบับใดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ งานอันมีลิขสิทธิ์ และคุ้มครองสิทธิในข้อมูลที่เจ้าของลิขสิทธิ์ใช้บริหารจัดการสิทธิของตน
(1) พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
(2) พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
(3) พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558
(4) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
(5) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
ตอบ 2 หน้า 135 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิเพื่อ ส่งเสริมการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ และคุ้มครองสิทธิในข้อมูลที่เจ้าของลิขสิทธิ์ใช้บริหาร จัดการสิทธิของตน…

97 ลายน้ำบนภาพถ่ายดิจิทัล ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 จัดเป็นข้อใด
(1) มาตรการทางเทคโนโลยี
(2) ข้อมูลการบริหารสิทธิ
(3) มาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) มาตรการทางข้อมูลการบริหารสิทธิ

ตอบ 2 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (2) ระบุไว้ว่า “ข้อมูลการบริหาร สิทธิ” หมายความว่า ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์ นักแสดง การแสดง เจ้าของ ลิขสิทธิ์ หรือระยะเวลาและเงื่อนไขในการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ตลอดจนตัวเลขหรือรหัสแทน ข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลเช่นว่านี้ติดอยู่หรือปรากฏเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึก การแสดง (เช่น การจัดทําลายน้ําบนรูปภาพ ธนบัตร, เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ หรือ International Standard Book Number : ISBN เป็นต้น)

98 โปรแกรมเกมออนไลน์ Black Desert มีระบบป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ระบบป้องกันดังกล่าวตรงกับคําใด
(1) ข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) มาตรการทางเทคโนโลยี
(3) มาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) ข้อมูลบ่งชี้กรรมสิทธิ์
ตอบ 2 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (3) ระบุไว้ว่า “มาตรการทาง เทคโนโลยี” หมายความว่า เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการทําซ้ําหรือควบคุมการ เข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง โดยเทคโนโลยีเช่นว่านี้ได้นํามาใช้กับงานอัน มีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

99 จากข้อ 98. หากนายสุพัฒน์กระทําการเพื่อทําให้ระบบป้องกันการเข้าถึงของโปรแกรมเกม Black Desert ใช้การไม่ได้ กล่าวได้ว่าการกระทําของนายสุพัฒน์ตรงกับข้อใด
(1) การละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี
(3) การหลบเลี่ยงมาตรการการบริหารสิทธิ
(4) การละเมิดข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) การละเมิดข้อมูลบ่งชี้กรรมสิทธิ์
ตอบ 2 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (4) ระบุว่า “การหลบเลี่ยง มาตรการทางเทคโนโลยี” หมายความว่า การกระทําด้วยประการใด ๆ ที่ทําให้มาตรการ ทางเทคโนโลยีไม่เกิดผล (ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ)

100 ตามประกาศ พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 ให้ยกเลิกกระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และจัดตั้งกระทรวงใดขึ้นมาแทน
(1) กระทรวงดิจิทัลเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
(2) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(3) กระทรวงดิจิทัลเพื่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ
(4) กระทรวงดิจิทัลเพื่อสังคมและเศรษฐกิจ
(5) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตามประกาศ พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 ระบุว่า ให้ยกเลิกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และจัดตั้งกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยให้มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม และพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

CDM2105 MCS2390 เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารมวลชน s/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2390 (MCS 2108) เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารมวลชน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว –

ข้อ 1. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ภาษาระบบตัวเลข
(2) เทคโนโลยี
(3) สื่อวิทยุโทรทัศน์
(4) อินเทอร์เน็ต

1 ผู้รับสารเป็นผู้กระตือรือร้นเสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสารด้วยตนเอง
ตอบ 4 หน้า 35 – 50, 109, คําบรรยาย) สื่อใหม่ (New Media) ได้แก่ อินเทอร์เน็ต, เว็บไซต์ (เช่น www.twitter.com), อีเมล์, สื่อออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะสําคัญดังนี้
1 มีการใช้ภาษาระบบตัวเลขหรือภาษาดิจิตอล (Digital Language) เป็นกลไกในการสื่อสาร ข้อมูลและกระบวนการทํางานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2 ผู้รับสารมีลักษณะ Active Seeker คือ ผู้รับสารกระตือรือร้นเสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสาร ด้วยตัวเองตามความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นของตัวเองอย่างอิสรเสรี
3 มีช่องทางการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารในลักษณะของการสื่อสารแบบ
สองทาง (Two–way Communication) ฯลฯ

2 ผู้รับสารได้รับข้อมูลข่าวสารต่อเมื่อผู้ส่งสารนําเสนอสารผ่านช่องทางการสื่อสาร
ตอบ 3 หน้า 27, 33 สื่อดั้งเดิม (Traditional Media) ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ (เช่น หนังสือพิมพ์), สื่อภาพยนตร์, สื่อวิทยุกระจายเสียง, สื่อวิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ มีลักษณะของผู้รับสารดังนี้
1 ผู้รับสารในสังคมคุ้นเคยและมีทัศนคติเชิงบวกต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อดั้งเดิม
2 ผู้รับสารมีลักษณะ Passive Audience คือ มีหน้าที่เปิดรับข้อมูลข่าวสาร และจะได้รับ ข้อมูลข่าวสารก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารนําเสนอหรือส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางการสื่อสารมาสู่ผู้รับสารเท่านั้น

3 จัดเป็นสื่อแบบดั้งเดิม (Traditional Media) และมีความคงทนต่ำ
ตอบ 3 หน้า 32, (ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ) ข้อด้อยของสื่อวิทยุโทรทัศน์ มีดังนี้
1 ราคาเครื่องรับค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อวิทยุกระจายเสียง ซึ่งเป็นสื่อที่มีเทคโนโลยี
คล้ายคลึงกัน
2 เป็นสื่อที่มีความคงทนต่ํา กล่าวคือ ผู้รับสารไม่สามารถเปิดรับเนื้อหาสารที่นําเสนอผ่าน สื่อวิทยุโทรทัศน์ได้ซ้ำครั้ง

4 กลไกในการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

5 การนําความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ประโยชน์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม
ตอบ 2 หน้า 1 – 2 บราวน์ (Brown) ให้ความหมายของ “เทคโนโลยี” (Technology) ว่า เป็นการ
นําวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์ ส่วนพจนานุกรมเว็บสเตอร์ (Webster) ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ประการหนึ่ง คือ การใช้ทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม

6 จัดเป็นสื่อสารมวลชนประเภท New Media
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

7 ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัดต่อกระบวนการผลิตหรือระบบการทํางาน
ตอบ 2 หน้า 3 เทคโนโลยีช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อกระบวนการผลิตหรือระบบการทํางาน
3 ประการ ได้แก่
1 ประสิทธิภาพ (Efficiency)
2 ประสิทธิผล (Procuctivity)
3 ประหยัด (Economy)

8 Digital Language
ตอบ 1 หน้า 36, (ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ) การปฏิวัติแห่งระบบดิจิตอล หรือการปฏิวัติแห่ง ระบบตัวเลข (Digital Revolution) หมายถึง ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ในรูปข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว รูปภาพ ถูกแปลงให้เป็นภาษารูปแบบเดียวกัน นั่นคือ ภาษาดิจิตอล (Digital Language) ซึ่งรูปแบบของการแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิตอล อาจเรียกได้อีกอย่างว่า “การทําให้เป็นภาษาระบบตัวเลข” (Digitization)

9 เป็นสื่อที่ทําลายข้อจํากัดในการอ่านออกเขียนได้ของผู้รับสาร
ตอบ 3 หน้า 31 – 32 คุณลักษณะของสื่อวิทยุโทรทัศน์ มีดังนี้
1 ส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ใต้กว้างขวาง และเข้าถึงผู้รับสารได้อย่างครอบคลุม
2 เร้าความสนใจของผู้รับสารได้เป็นอย่างดี
3 มีความรวดเร็วในการส่งข้อมูลข่าวสาร
4 เป็นสื่อที่ทําลายข้อจํากัดในการอ่านออกเขียนได้ของผู้รับสาร

10 มีช่องทางในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

11 มนุษย์เรียนรู้การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) ตั้งแต่เมื่อใด
(1) ตั้งแต่ยุคที่มนุษย์คิดค้นการใช้ตัวอักษรในการสื่อสาร
(2) ตั้งแต่ยุคที่มีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์
(4) ตั้งแต่ยุคที่มีการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
(3) ตั้งแต่มนุษย์มีที่อยู่อาศัยรวมกันเป็นหลักแหล่ง
(5) ตั้งแต่ยุคที่มีการสื่อสารด้วยภาษาระบบตัวเลข
ตอบ 3 หน้า 11 การสื่อสารไปสู่กลุ่มคนจํานวนมากในลักษณะของการสื่อสารมวลชนได้เกิดขึ้นมา นานแล้ว นับตั้งแต่ยุคที่มนุษย์มีที่อยู่อาศัยรวมกันเป็นหลักแหล่ง โดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มสังคม และชุมชน จนกระทั่งเมื่อมีความจําเป็นต้องแจ้งข่าวสารจากผู้นํากลุ่มสังคมไปยังคนในกลุ่ม จึงได้หาวิธีการส่งข้อมูลข่าวสารไปยังคนจํานวนมากเพื่อให้ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้พร้อมกัน

12 นักวิทยาศาสตร์ผู้ใดต่อไปนี้คือ ผู้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์
(1) กูกลิเอลโม มาร์โคนี
(2) ซี. ฟรานซิส เจนกินส์
(3) โจฮัน กูเตนเบิร์ก
(4) เฮนริช รูดอล์ฟ เฮิรตซ์
(5) เจมส์ คลาร์ค แม็กซ์เวล
ตอบ 3 หน้า 13 – 15 เมื่อประมาณ ค.ศ. 1450 ได้เกิดการพิมพ์แบบอุตสาหกรรมขึ้นในทวีปยุโรป กล่าวคือ โจฮัน กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) ชาวเยอรมัน เป็นผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษร แบบเรียงพิมพ์ และได้สร้างแท่นพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ได้ครั้งละมาก ๆ อันเป็นแบบอย่างของ ระบบการพิมพ์ในปัจจุบัน

13 ข้อใดคือความหมายของสื่อแบบดั้งเดิม (Traditional Media)
(1) สื่อที่เกิดขึ้นและมีบทบาทในสังคมมนุษย์มาแต่แรกเริ่มและยังคงมีบทบาทสําคัญอยู่ในปัจจุบัน
(2) สื่อที่มนุษย์ในสังคมทุกรุ่นมีความคุ้นเคย
(3) สื่อที่เคยมีบทบาทในสังคมมนุษย์แต่ปัจจุบันกําลังลดบทบาทลง
(4) สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารตัวหนังสือหรือเสียงหรือภาพเพียงอย่างเดียวผ่านช่องทางการสื่อสาร
(5) สื่อที่มีรูปแบบการส่งสารผ่านช่องทางการสื่อสารแบบโบราณ
ตอบ 4 หน้า 14 นิยามของสื่อแบบดั้งเดิม (Traditional Media) ประกอบด้วย
1 สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารเพียงอย่างเดียว หมายถึง สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารในรูปตัวหนังสือหรือเสียง หรือภาพเพียงอย่างเดียวผ่านช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อวิทยุกระจายเสียง
2 สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารสองอย่าง หมายถึง สื่อที่ทําหน้าที่ส่งสารทั้งในรูปภาพและเสียงพร้อมกัน ผ่านช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ สื่อวิทยุโทรทัศน์ และสื่อภาพยนตร์

14 เป็นผู้ที่เสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสารด้วยตนเองด้วยปัจจัยเอื้อทางเทคโนโลยีของสื่อ คือลักษณะของ
ผู้รับสารของสื่อประเภทใด
(1) Local Media
(2) New Media
(3) Traditional Media
(4) Alternative Media
(5) Social Media
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

15 ลักษณะของผู้รับสารในข้อ 14 ตรงกับคําใด
(1) Active Seeker
(2) Active Receiver
(3) Passive Audience
(4) Passive Seeker
(5) Negative Audience
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

16 Nipcow Disc เป็นการทดลองที่นําสู่การประดิษฐ์สื่อใด
(1) สื่อภาพยนตร์
(2) สื่อวิทยุกระจายเสียง
(3) สื่อวิทยุโทรทัศน์
(4) สื่อคอมพิวเตอร์
(5) สื่อสิ่งพิมพ์
ตอบ 3 หน้า 22 ใน ค.ศ. 1884 พอล นิปโคว์ (Paul Nipkow) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันที่ ประสบความสําเร็จในการทดลองแพร่ภาพด้วยเทคโนโลยีจักรกลเป็นครั้งแรก เพราะเขาได้ ค้นพบการสแกนภาพจากจานหมุนที่ถูกตั้งชื่อว่า “Nipcow Disc” ซึ่งนําไปสู่การประดิษฐ์ สื่อวิทยุโทรทัศน์จักรกลในยุคแรก ๆ

17 การค้นพบหลักการใดที่นําสู่การผลิตสื่อภาพยนตร์
(1) หลักการภาพต่อเนื่อง
(2) หลักการตัดต่อภาพ
(3) หลักการภาพติดตา
(4) หลักการภาพเคลื่อนไหว
(5) หลักการภาพนิ่งสู่ภาพเคลื่อนไหว
ตอบ 3 หน้า 18 สื่อภาพยนตร์เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการนําภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพเรียงติดต่อกัน อย่างต่อเนื่อง โดยใช้หลักการที่เรียกว่า “การเห็นภาพติดตา” และเมื่อนําเอาภาพนิ่งเหล่านั้น มาฉายดูทีละภาพด้วยอัตราความเร็วในการฉายต่อภาพเท่า ๆ กัน สายตามนุษย์จะยังคงรักษา ภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 1 ส่วน 3 วินาที

18 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media)
(1) มีความคงทนสูง
(2) เป็นสื่อที่คนทุกรุ่นในสังคมคุ้นเคย
(3) มีความน่าเชื่อถือสูง
(4) เป็นสื่อสารมวลชนที่เก่าแก่ที่สุด
(5) สามารถนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะ Real Time

ตอบ 5 หน้า 27 – 28, 33 คุณลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media) เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ ซึ่งจัดเป็นสื่อสารมวลชนสื่อแรกที่เก่าแก่ที่สุด มีดังนี้
1 เข้าถึงกลุ่มผู้รับสารได้อย่างกว้างขวาง
2 มีความน่าเชื่อถือสูง จึงมักถูกใช้เป็นสื่อเพื่อการอ้างอิง (Referenced Media)
3 มีความคงทนสูง คือ ผู้รับสารสามารถย้อนกลับไปเปิดรับสารจากสื่อได้ซ้ําครั้งตามต้องการ
4. เป็นสื่อที่ผู้รับสารในสังคมคุ้นเคยและมีทัศนคติเชิงบวกต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ

19 ข้อใดเป็นคําอธิบายของคําว่า การทําให้เป็นภาษาระบบตัวเลข (Digitization)
(1) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในระบบอนาล็อก
(2) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสื่ออนาล็อก
(3) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิตอล
(4) การแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสื่อดิจิตอล
(5) การแปลงข้อมูลข่าวสารจากระบบดิจิตอลให้อยู่ในระบบอนาล็อก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

20 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของสื่อใหม่ (New Media)
(1) เป็นสื่อที่เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกัน
(2) มีรูปแบบการสื่อสารแบบทางเดียว
(3) มีรูปแบบการสื่อสารแบบสองทาง
(4) ส่งสารผ่านช่องทางสื่อสารได้หลายอย่างพร้อมกัน
(5) มีศักยภาพเป็นสื่อแบบประสม
ตอบ 2 หน้า 38 Burnett, R. and Marshall (2003) ได้นิยามสื่อใหม่ (New Media) ว่า เป็นสื่อที่ เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกัน และสื่อยังทําหน้าที่ส่งสาร ผ่านช่องทางการสื่อสารได้หลาย ๆ อย่างพร้อมกัน คือ ภาพ เสียง และข้อความ โดยการร่วม เทคโนโลยีของสื่อดั้งเดิมเข้ากับความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสัมพันธ์ ทําให้มีรูปแบบการ สื่อสารแบบสองทางผ่านทางระบบเครือข่ายและมีศักยภาพเป็นสื่อแบบประสม (Multimedia)

21 Freedom from geological boundaries หมายถึง ความเป็นอิสระด้านใดของสื่อใหม่ (New Media)
(1) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านเวลา
(2) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านขนาด
(3) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านรูปแบบ
(4) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพรมแดน
(5) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพื้นที่
ตอบ 4 หน้า 38 ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดทางด้านพรมแดน (Freedom from geological boundaries) คือ เนื้อหาในรูปแบบดิจิตอลเป็นเนื้อหาที่รับข้อมูลข่าวสารได้ทั่วโลกในเวลา อันรวดเร็ว จึงทําให้ผู้บริโภคสามารถเลือกรับหรือค้นหาข้อมูลข่าวสารจากประเทศใดก็ได้แล้วแต่ความต้องการของบุคคลแต่ละคน

22 สื่ออินเทอร์เน็ต (Internet) ถูกจัดเป็นสื่อสารมวลชน เพราะเหตุผลข้อใด
(1) เป็นสื่อที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วผ่านระบบเครือข่าย
(2) เป็นสื่อที่มีช่องทางการสื่อสารตอบกลับ เอื้อต่อการสื่อสารแบบสองทาง
(3) เป็นสื่อที่สามารถนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะเดียวกันกับสื่อแบบดั้งเดิมทุกประเภท
(4) เป็นสื่อที่ใช้ภาษาดิจิตอลเป็นกลไกในกระบวนการทํางาน
(5) มีการส่งเนื้อหาสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในลักษณะเครือข่าย

ตอบ 3 หน้า 40, 55, (คําบรรยาย) อินเทอร์เน็ตถูกนับเป็นสื่อสารมวลชนหรือสื่อมวลชน (Mass Communication/Mass Media) ด้วยศักยภาพทางเทคโนโลยีที่สามารถนําเสนอเนื้อหาสาร ได้ในลักษณะเดียวกันกับสื่อมวลชนแบบดั้งเดิมทุกประเภททั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และภาพยนตร์

23 สื่อวิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อที่มีความคงทนต่ำ คํานี้หมายความว่าอย่างไร
(1) เป็นสื่อที่มีอายุการใช้งานสั้น
(2) เป็นสื่อที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ไม่เสถียร
(3) เป็นสื่อที่ผู้รับสารไม่สามารถเปิดรับสารได้ซ้ำครั้ง
(4) เป็นสื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
(5) เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือน้อย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

24 “อินเทอร์เน็ตแปลงเนื้อหาสารของสื่อแบบดั้งเดิมให้อยู่ในรูปภาษาดิจิตอล แล้วประมวลผลให้ปรากฏเป็น เนื้อหาสารในลักษณะเดียวกันกับเนื้อหาสารที่นําเสนอผ่านสื่อแบบดั้งเดิม” ตรงกับข้อใด
(1) Digital Revolution
(2) Digital Evolution
(3) Digital Solution
(4) Digital Innovation
(5) Digital Renovation
ตอบ 1 หน้า 51, (ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ) ผลจากการปฏิวัติแห่งระบบดิจิตอล หรือการปฏิวัติ แห่งระบบตัวเลข (Digital Revolution) ได้ทําให้ข้อมูลข่าวสารที่นําเสนอผ่านสื่อแบบดั้งเดิม ถูกแปลงให้อยู่ในรูปของภาษาดิจิตอลหรือภาษาระบบตัวเลข และส่งผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ที่ เชื่อมต่อกันในลักษณะเครือข่าย ซึ่งเรียกสื่อดังกล่าวว่า “อินเทอร์เน็ต” พร้อมกับแปลงภาษา ดิจิตอลให้ปรากฏในลักษณะเดียวกันกับรูปแบบเนื้อหาสารที่นําเสนอผ่านสื่อแบบดั้งเดิม

ข้อ 25 – 27 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Software
(2) Kiosk Information
(3) Blogger

25 ผู้ใช้งานที่สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองบนโปรแกรมการใช้งานของเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง
ตอบ 3 หน้า 43 บล็อก (Blog) เป็นคําที่เกิดจากการผสมของคําว่า “WEB” (World Wide Web) และคําว่า “LOG” (บันทึก) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เจ้าของ/ผู้ใช้งานหรือที่เรียกกันว่า “Blogger” สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองบนโปรแกรมการใช้งานได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ผู้อ่านเนื้อหา ในบล็อกและผู้เขียนหรือบล็อกเกอร์ (Blogger) สามารถโต้ตอบกันได้ในลักษณะการสื่อสาร แบบสองทาง โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายเนื้อหาที่นําเสนอ

26 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมข้อมูลขององค์กรสําหรับบริการให้แก่ลูกค้า
ตอบ 2 หน้า 43 ตู้ให้บริการสารสนเทศ (Kiosk Information) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รวบรวม ข้อมูลขององค์กรสําหรับบริการให้แก่ลูกค้าหรือบุคคลผู้สนใจทั่วไป ซึ่งมีการต่อเป็นระบบ เครือข่ายได้หลายเครื่อง โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สําหรับให้บริการข้อมูล (Server) เพียง เครื่องเดียวผ่านระบบการเชื่อมต่อเครือข่ายภายในหรือ LAN (Local Area Network)

27 ชุดคําสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทํางาน
ตอบ 1 หน้า 42 ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นชุดคําสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ ทํางาน ซึ่งจะทําหน้าที่เสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software, Operating Software : OS)
2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

28 ระบบปฏิบัติการ IOS จัดเป็นประเภทหนึ่งของสื่อใหม่ โดยจัดเป็นระบบหนึ่งของข้อใดต่อไปนี้
(1) Mobile Telephone
(2) Mobile Platform
(3) Mobile Game
(4) Mobile Computing
(5) Mobile Network
ตอบ 2 หน้า 41 เทคโนโลยีสําหรับอุปกรณ์พกพาหรือแพลตฟอร์มเคลื่อนที่ (Mobile Platform) หมายถึง ระบบปฏิบัติการสําหรับอุปกรณ์พกพา ซึ่งประกอบไปด้วย ระบบปฏิบัติการของ โทรศัพท์เคลื่อนที่หรืออุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่อื่น ๆ โดยมีผู้ให้บริการเทคโนโลยีในระบบ ปฏิบัติการหลากหลายเครือข่ายการสื่อสาร เช่น ระบบปฏิบัติการ IOS, ระบบปฏิบัติการ Android, ระบบปฏิบัติการ Windows Phone 7 ฯลฯ

29 สื่อใหม่ในข้อใดต่อไปนี้ที่จัดอยู่ในประเภท Virtual World
(1) E-mail
(2) Crowd Source
(3) Website
(4) Internet Protocol Television
(5) E-book
ตอบ 2 หน้า 41 – 42 โลกเสมือนจริง (Virtual World) หมายถึง โลกเสมือนสามมิติที่ถูกสร้างขึ้นใน Cyber Space โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปผ่านการเชื่อมโยงทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ เพื่อมุ่งให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้งานทั่วโลกสามารถติดต่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกันได้หลากหลายรูปแบบ
ได้แก่
1 เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Hi5, Facebook
2 เครือข่ายฝูงชน เช่น Crowd Source, Wikipedia
3 เครือข่ายแบ่งปันข้อมูล เช่น YouTube, Flickr
4 เครือข่ายการพูดคุยกัน เช่น MSN, ICQ, Skype
5 เครือข่ายสร้างห้องเสมือน (Virtual Room) เช่น Camfrog, Video Conference ฯลฯ

30 CD ROM เป็นจานบันทึกจัดเก็บข้อมูลในรูปดิจิตอล มาจากคําว่าอะไร
(1) Compact Disk Read Only Memory
(2) Compact Disk Run Only Memory
(3) Compact Disk Reach Only Memory
(4) Compact Disk Route Only Memory
(5) Compact Disk Review Only Memory
ตอบ 1 หน้า 42 CD ROM มาจากคําว่า “Compact Disk Read Only Memory” ซึ่งมีลักษณะ คล้ายจานบันทึกซีดีที่ใช้เป็นสื่อสําหรับจัดเก็บข้อมูลในรูปข้อความ ภาพ หรือเสียง นิยมใช้ จัดเก็บฐานข้อมูลของห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ โดยจานบันทึกประเภทนี้จะใช้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว (Read Only)

31 ต่อไปนี้คือนิยามของคําว่า Media Convergence ยกเว้นข้อใด
(1) การบรรจบกันของเทคโนโลยีสื่อแบบดั้งเดิมกับสื่อใหม่
(2) การแปลงเนื้อหาจากแหล่งสารต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิตอล พร้อมกับแปลงข้อมูลดิจิตอล ให้ปรากฏในลักษณะเดียวกันกับสารจากแหล่งสาร
(3) การหลอมรวมระหว่างสื่อ
(4) การรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว
(5) การหลอมรวมเนื้อหาดิจิตอลผ่านสื่อระบบเครือข่าย

ตอบ 5 หน้า 50 – 51 Media Convergence หมายถึง การบรรจบกันของเทคโนโลยีสื่อแบบดั้งเดิม กับสื่อใหม่ หรือเป็นการรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว จนต่อมาได้มี ผู้นิยามศัพท์ว่า “การหลอมรวมระหว่างสื่อ หรือการหลอมรวมสื่อ” อันเป็นผลมาจากศักยภาพ ในการแปลงเนื้อหาจากแหล่งสารต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปข้อมูลดิจิตอลหรือภาษาดิจิตอล พร้อมกับ แปลงข้อมูลดิจิตอลให้ปรากฏในลักษณะเดียวกันกับสารจากแหล่งสาร

ข้อ 32 – 36. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Cyber Terrorist
(2) Information Privacy
(3) Information Property
(4) Information Accuracy
(5) Data Accessibility

32 จริยธรรมการเข้าถึงข้อมูล
ตอบ 5 หน้า 115 – 118 จริยธรรมเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ได้แก่
1 ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
2 ความถูกต้อง (Information Accuracy)
3 ความเป็นเจ้าของ (Information Property) 4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)

33 จริยธรรมความถูกต้อง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

34 จริยธรรมความเป็นเจ้าของ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

35 ผู้กระทําการก่อการร้ายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ตอบ 1 หน้า 119 Hacktivist หรือ Cyber Terrorist หมายถึง ผู้กระทําการก่อการร้ายโดยใช้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการกระทําการดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่ จะมีวัตถุประสงค์เพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเมืองเป็นสําคัญ

36 จริยธรรมความเป็นส่วนตัว
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

37 การแปลงเนื้อหาของสื่อทุกประเภททั้งตัวอักษร ภาพ เสียง ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิตอล และนําเทคโนโลยี ของสื่อแต่ละประเภทมารวมไว้ในอุปกรณ์เดียว ตรงกับคําว่า
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(5) Cultural Convergence
(4) Social Convergence
ตอบ 3 หน้า 51 Technological Convergence หรือ Device Convergence หมายถึง การแปลง เนื้อหาของสื่อทุกประเภททั้งตัวอักษร ภาพ เสียง ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิตอล และนําเทคโนโลยี ของสื่อแต่ละประเภทมารวมไว้ในสื่อหรืออุปกรณ์เดียว เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงเครื่องเดียว ได้หลอมรวมรูปแบบการใช้งานของสื่อต่าง ๆ ทั้งกล้องถ่ายภาพ โปรแกรมอัดวิดีโอ โปรแกรมเล่นเกม โปรแกรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

38 ARPANET เป็นองค์กรผู้พัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกระทั่งประสบผลสําเร็จ และแพร่หลายไปทั่วโลก
อยู่ในสังกัดหน่วยงานใดของสหรัฐอเมริกา
(1) กระทรวงมหาดไทย
(2) กระทรวงการต่างประเทศ
(3) กระทรวงกลาโหม
(4) กระทรวงศึกษาธิการ
(5) กระทรวงวิทยาศาสตร์
ตอบ 3 หน้า 55 สื่ออินเทอร์เน็ตเริ่มใช้งานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยองค์กรที่มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของ สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อใช้ทางการทหาร และสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ได้อย่างไม่ผิดพลาด

39 อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อครอบคลุมระหว่างกันทั่วโลก ด้วยโปรโตคอล TCP/IP คําว่า “โปรโตคอล” หมายถึงอะไร
(1) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านสื่อดิจิตอล
(2) ข้อกําหนดสําหรับรูปแบบการสื่อสารเฉพาะเพื่อให้การสื่อสารในระบบเครือข่าย
ทํางานได้ด้วยกันทั้งระบบ
(3) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านสื่อสารสนเทศ
(4) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย
(5) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านระบบการสื่อสารสากล
ตอบ 2 หน้า 40, 55, (คําบรรยาย) โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง ข้อกําหนดสําหรับรูปแบบการ สื่อสารเฉพาะระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจสอบ ข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องทั้ง 2 เครื่อง ทั้งนี้เพื่อให้การสื่อสารในระบบเครือข่ายทํางานได้ด้วยกันทั้งระบบ และมีมาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างกันที่เป็นสากลหนึ่งเดียวทั่วโลก นั่นก็คือ โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

40 ปัจจุบันผู้ประกอบการในองค์กรสื่อสารมวลชนมีหลากหลายช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ในองค์กรเดียว เช่น สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ลักษณะเช่นนี้ตรงกับคําใด
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Social Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 1 หน้า 52 Operational Convergence หมายถึง การรวมศูนย์การปฏิบัติงานไว้ในที่เดียว หรือศูนย์เดียว โดยผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจสื่อหลากหลายประเภทพยายามรวมศูนย์การ ปฏิบัติงานไว้ที่เดียวกัน เช่น เนชั่นรวมศูนย์ข่าวไว้ในองค์กรเดียว เพื่อให้มีหลากหลายช่องทาง ในการบริการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทุกสื่อในเครือ ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น

41 การรวมศูนย์การปฏิบัติงานไว้ในที่เดียวหรือศูนย์เดียว ตรงกับคําว่า
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Social Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 40 ประกอบ

42 ผู้สื่อข่าวคนเดียวทําข่าวเพื่อเผยแพร่ผ่านทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ สื่อออนไลน์ สิ่งนี้ตรงกับคําว่า
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(5) Cultural Convergence
(4) Functional Convergence
ตอบ 4 หน้า 53 Functional Convergence หมายถึง การหลอมรวมหลากหลายหน้าที่ไว้ ในบุคคลเดียว เช่น ผู้สื่อข่าวคนเดียวจัดทําเนื้อหาข่าวสารเพื่อเผยแพร่ทั้งบนสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง สื่อออนไลน์ เป็นต้น

43 การนําดาราเอเชียร่วมแสดงในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด เป็นปรากฏการณ์ที่ตรงกับข้อใด
(1) Global Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Functional Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 1 หน้า 54 Global Convergence หมายถึง ปรากฏการณ์การหลอมรวมระดับโลกจนส่งผล ให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม อันเป็นผลมาจากการเผยแพร่เนื้อหาสื่อระหว่างกันของ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น การนําดาราชาวเอเชียมาร่วมแสดงในภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ด ซึ่งเป็นผลมาจากการเผยแพร่ผลงานภาพยนตร์เอเชียไปทั่วโลก เป็นต้น

44 ข้อใดคือระบบเครือข่ายระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล
(1) LAN.
(2) MAN
(3) CAN
(4) WAN
(5) PAN
ตอบ 5 หน้า 61 – เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน (Personal Area Network : PAN) เป็นระบบ เครือข่ายระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล เช่น โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งอาจอยู่ใน ลักษณะใช้สายหรือไร้สายก็ได้

45 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้เชื่อมโยงกันภายในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เรียกชื่อย่อว่าอะไร
(1) LAN
(2) MAN
(3) CAN
(4) WAN
(5) PAN
ตอบ 1 หน้า 60 เครือข่ายภายใน หรือแลน (Local Area Network : LAN) บางครั้งก็เรียกว่า “เครือข่ายท้องถิ่น” เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงกันภายในพื้นที ใกล้เคียงกัน เช่น อยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน เป็นต้น

46 บริการขอเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกล โดยผู้ใช้บริการต้องติดต่อผ่านเครือข่ายที่ได้รับ
อนุญาต คือข้อใด
(1) Webboard
(2) Web Chat
(3) Telnet
(4) Instant Messaging
(5) Bulletin Board
ตอบ 3 หน้า 64 บริการเข้าระบบระยะไกล (Telnet) เป็นการให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อขอเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกล โดยผู้ใช้บริการต้องติดต่อผ่านเครือข่ายที่ได้รับอนุญาต และไม่จําเป็นที่ผู้ใช้บริการต้องนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น

47 File Transfer Protocol หรือ FTP เป็นการให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในลักษณะใด
(1) การให้บริการในรูปกระดานสนทนา
(2) การให้บริการสนทนาออนไลน์โดยตรง
(3) การให้บริการสืบค้นข้อมูลบนระบบเครือข่าย
(4) การให้บริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย
(5) การให้บริการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิตอล

ตอบ 4 หน้า 6.5 การขนถ่ายหรือการโอนถ่ายไฟล์ (File Transfer Protocol : FTP) เป็นบริการ คัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย โดยใช้ส่งข้อมูลจากเครื่องลูกข่าย (Client) ไปยังเครื่องแม่ข่าย (Server) และใช้ดาวน์โหลด (Download) ข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายมาไว้ที่เครื่องลูกข่าย ซึ่งบริการดังกล่าวสามารถกระทําได้ทั้งผู้ที่เป็นสมาชิก FTP Server และบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นสมาชิก

48 เมื่อปี พ.ศ. 2530 อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เป็นผู้นําร่องใช้รูปแบบการสื่อสารในข้อใด
(1) การจัดทําเว็บไซต์
(2) การสื่อสารผ่านเว็บบล็อก
(3) การส่งและรับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(4) การสนทนาออนไลน์
(5) เว็บบอร์ด
ตอบ 3 หน้า 57 อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (PSU) กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ได้ใช้บริการส่งและรับจดหมายหรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) เป็นครั้งแรก โดยได้รับความร่วมมือจากประเทศออสเตรเลีย

49 รูปแบบการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สถาบันอุดมศึกษาทั้งสองแห่งเป็นผู้เริ่มนํามาใช้งาน ในประเทศไทย (ตามข้อ 48) ได้รับความร่วมมือจากประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) ออสเตรเลีย
(4) เยอรมนี
(5) แคนาดา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

50 เครือข่ายการสื่อสารใดที่มีประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Gateway) เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
(1) เครือข่ายยูเน็ต
(2) เครือข่ายไทยสาร
(3) เครือข่ายไทยเน็ต
(4) เครือข่ายจุฬาเน็ต
(5) เครือข่ายอาร์พาเน็ต
ตอบ 3 หน้า 58 ในปี พ.ศ. 2535 เครือข่ายไทยเน็ตถือเป็นเครือข่ายที่มีเกตเวย์ (Gateway) หรือ ประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์กลาง ต่อมาในปีเดียวกัน NECTEC ได้จัดตั้งเครือข่ายไทยสารเป็นเกตเวย์สู่เครือข่าย อินเทอร์เน็ตแห่งที่ 2 ของประเทศไทย

51 dusit.ac.th เป็นการกําหนดชื่ออ้างอิงของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ตรงกับข้อใด
(1) IP System
(2) TCP/IP System
(3) Domain Name System
(4) Protocol System
(5) E-mail System
ตอบ 3 หน้า 60 ระบบโดเมนเนม (Domain Name System : DNS) คือ ระบบการตั้งชื่อหรือใช้ ตัวอักษรแทนหมายเลข IP Address เนื่องจากตัวเลข IP Address เป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก และ อาจจําสับสนหรือจําผิดได้ ดังนั้นจึงมีการหาทางออกโดยการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ เพื่อให้สะดวกในการจดจํา เช่น IP Address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th

52 รูปแบบการสนทนาออนไลน์โดยผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์กลาง โดยทุกคนที่ติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์สามารถ ได้รับข้อความพร้อม ๆ กัน คือข้อใด
(1) Webboard
(2) Web Chat
(3) Telnet
(4) Instant Messaging
(5) Bulletin Board

ตอบ 2 หน้า 63 เว็บแชท (Web Chat) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ห้องสนทนา” (Chat Room) เป็นการสนทนาออนไลน์โดยผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์กลาง (เซิร์ฟเวอร์ หรือ Server คือ เครื่อง คอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์ให้บริการข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต) ซึ่งจะทําให้เกิดกลุ่มสนทนา โดยทุกคนที่ติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์สามารถได้รับข้อความพร้อม ๆ กัน

53 ข้อใดไม่ใช่เหตุผลในการให้บริการข้อมูลข่าวสารในรูปสิ่งพิมพ์ออนไลน์
(1) เพื่อเพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับผู้รับสาร
(2) เพื่อเพิ่มช่องทางในการแสวงหารายได้จากค่าโฆษณา
(3) เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ความทันสมัยทางเทคโนโลยีแก่องค์กร
(4) เพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
(5) เพื่อเป็นช่องทางนําเสนอข่าวสารของผู้บริหารประเทศ
ตอบ 5 หน้า 69 – 70 เหตุผลในการให้บริการข้อมูลข่าวสารในรูปสิ่งพิมพ์ออนไลน์ มีดังนี้
1 เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ความทันสมัยทางเทคโนโลยีแก่องค์กร
2 เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการเสนอข่าว
3 เพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
4 เพื่อเพิ่มช่องทางติดต่อสื่อสารกับผู้รับสาร
5 เพื่อเพิ่มช่องทางด้านการตลาด เช่น การขายพื้นที่โฆษณาบนเว็บไซต์, การหารายได้เสริม จากค่าสมาชิก ค่าธรรมเนียม ฯลฯ

54 ต่อไปนี้เป็นลักษณะการส่งสัญญาณเสียงและภาพเคลื่อนไหวผ่าน Streaming Server ยกเว้นข้อใด
(1) ต้องคัดลอกแฟ้มข้อมูลผ่านเครือข่ายมายังผู้ใช้งานให้ครบก่อนจึงเริ่มแสดงผล
(2) ข้อมูลถูกส่งมายังเครื่องลูกข่ายต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์จนครบ
(3) เป็นการส่งสัญญาณในลักษณะ Real Time จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องลูกข่าย
(4) เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะประสานสื่อ
(5) เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) ทําหน้าที่ผู้ผลิตรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ออนไลน์ได้
ตอบ 1 หน้า 76 – 77 Streaming Server คือ เครื่องให้บริการกระจายสัญญาณแบบสายธาร ซึ่งเป็น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่บริการข้อมูลในลักษณะสื่อประสมหรือประสานสื่อ (Multimedia) โดยข้อมูล จะถูกส่งมายังเครื่องลูกข่ายอย่างต่อเนื่อง และไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลด (Download) ไฟล์จาก เซิร์ฟเวอร์จนครบแล้วจึงเริ่มแสดงผล ดังนั้นจึงเป็นการส่งสัญญาณเสียงและภาพเคลื่อนไหวใน ลักษณะทันต่อเวลา (Real Time) จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องลูกข่ายที่ได้รับความนิยม ในปัจจุบัน นอกจากนี้ Streaming Server ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) สามารถทําหน้าที่ เป็นผู้ผลิตรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ออนไลน์ได้อีกด้วย

55 ผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารในรูปหนังสือพิมพ์ออนไลน์แห่งแรกในประเทศไทย คือ
(1) หนังสือพิมพ์มติชน
(2) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
(3) หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
(4) หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์
(5) หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
ตอบ 4 หน้า 69 หนังสือพิมพ์ออนไลน์ในประเทศไทยเกิดขึ้นจากกระแสความนิยมด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศจากต่างประเทศ ประกอบกับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยสนใจจัดทําเนื้อหาหนังสือพิมพ์เผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์เป็นองค์กรแรกที่ให้บริการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2539

56 ผู้ให้บริการในข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารที่มีฐานมาจากการเป็นผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์
แบบดั้งเดิมมาก่อน
(1) www.thairath.co.th
(2) www.dailynews.co.th
(3) www.matichon.co.th
(4) www.prachathai.com
(5) www.bangsaenpost.com
ตอบ 4 หน้า 71 – 72 ผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่มีฐานมาจากผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์ แบบกระดาษ (แบบดั้งเดิม) มีดังนี้
1 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง เช่น www.thairath.co.th, www.dailynews.co.th, www.matichon.co.th ฯลฯ
2 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค เช่น www.bangsaenpost.com, www.koratdaily.com ฯลฯ
3 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยในต่างประเทศ เช่น www.sereechai.com ฯลฯ (ส่วน www.prachathai.com, www.andamannews.com เป็นเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่ให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)

57 ข้อใดคือความหมายของสื่อออนไลน์
(1) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(2) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อแบบประสม
(3) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อดิจิตอล
(4) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและเปิดรับข้อมูลข่าวสารแบบสองทาง
(5) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 1 หน้า 81 สื่อออนไลน์ หมายถึง ช่องทางของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ส่งสารใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลและ ข่าวสาร ส่วนผู้รับสารที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารเช่นกัน

58 ข้อใดต่อไปนี้ไม่นับเป็นรูปแบบการใช้งานในลักษณะ E-commerce บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(1) การซื้อขายสินค้าออนไลน์
(2) การโอนเงินออนไลน์
(3) การพนันออนไลน์
(4) การโฆษณาออนไลน์
(5) การส่งเสริมการตลาดออนไลน์
ตอบ 3หน้า 66 สื่ออินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นช่องทางประกอบธุรกรรมทางธุรกิจทั้งการซื้อขายสินค้า ออนไลน์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ออนไลน์ การโอนเงินออนไลน์ รวมทั้งเป็นช่องทางสําคัญ ที่ผู้ประกอบการใช้ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิผล อันเป็นที่มาของคําว่า “E-commerce” (Exectronic Commerce) หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ข้อ 59 – 61 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Peer to Peer
(2) Creative Network
(3) Collaboration Network

59 www.youtube.com
ตอบ 2 หน้า 88 – 90 ประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีดังนี้
1 สร้างและประกาศตัวตน (Identity Network) เช่น www.twitter.com ฯลฯ
2 สร้างและประกาศผลงาน (Creative Network) เช่น www.youtube.com ฯลฯ
3 เวทีทํางานร่วมกัน (Collaboration Network) เช่น Google Earth, Google Maps ฯลฯ

4 ประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Reality) ซึ่งมีลักษณะเป็นเกมออนไลน์ เช่น
Second Life, Audition, Ragnarok, Pangya, World of Warcraft ฯลฯ
5 เครือข่ายเพื่อการประกอบอาชีพ (Professional Network) เช่น Linkedin ฯลฯ
6 เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันระหว่างผู้ใช้ (Peer to Peer : P2P) เช่น Skype, BitTorrent ฯลฯ
7 เว็บท่า (Portal Website) ที่รวบรวมลิงค์ของสื่อออนไลน์ประเภทต่าง ๆ เช่น www.sanook.com, www.kapook.com ฯลฯ

60 Google Maps
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

61 Skype
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

ข้อ 62 – 71 ข้อใดที่กล่าวไว้ถูกต้องให้ระบายตัวเลือก 1 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องให้ระบายตัวเลือก 2

62 Web 1.0 เป็นเว็บเชิงสังคม มุ่งให้ผู้ใช้งานสร้างเนื้อหา แบ่งปันเนื้อหา และมีส่วนร่วมระหว่างกัน
ตอบ 2 หน้า 88 การกําเนิดขึ้นและการเติบโตของเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นผลมาจากการพัฒนา ทางเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจาก Web 1.0 คือ เว็บไซต์ที่แสดงเนื้อหามุ่งให้ผู้ใช้งานอ่านแต่เพียง อย่างเดียว มาสู่ Web 2.0 ซึ่งก็คือ เว็บไซต์เชิงสังคมที่มุ่งให้ผู้ใช้งานสร้างเนื้อหาเองได้ แบ่งปัน เนื้อหาให้กัน และมีส่วนร่วมระหว่างกัน

63 www.sanook.com จัดอยู่ในประเภทเว็บท่า (Portal Website)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

64 iQNewsClip จัดเป็นการให้บริการข้อมูลข่าวสารออนไลน์ในลักษณะ Online News Clipping ตอบ 1 หน้า 86 – 87 กฤตภาคข่าวออนไลน์ (Online News Clipping) คือ บริการข่าวตัดออนไลน์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยตัดข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ พร้อมกับระบุแหล่งที่มา ของหนังสือพิมพ์ ซึ่งตัวอย่างของเว็บไซต์กฤตภาคข่าวออนไลน์ในประเทศไทยที่เปิดให้บริการ ในปัจจุบัน เช่น ห้องสมุดข่าวมติชน (Matichon E-library), iQNewsClip, นิวส์เซ็นเตอร์ (Newscenter) เป็นต้น

65 เว็บไซต์ประเภท User-Generated Content หมายถึง เว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานสื่อเป็นผู้ผลิตเนื้อหาเอง
ตอบ 1 หน้า 88, 90 พื้นที่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่จะมุ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะที่ เรียกว่า “User-Generated Content” (UGC) กล่าวคือ ผู้ใช้งานสื่อเป็นผู้ผลิตเนื้อหาเอง เช่น Myspace เป็นเว็บไซต์ที่บริษัท นิวส์คอร์ปอเรชั่น ซื้อกิจการมาดําเนินการในราคา 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมี Flickr ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ Yahoo ซื้อกิจการมาดําเนินการ ในราคา 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นต้น

66 พื้นที่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่มุ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะ User-Generated Content ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ

67 กฤตภาคข่าวออนไลน์ หมายถึง บริการข่าวตัดออนไลน์นั่นเอง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

68 คุณลักษณะของข้อมูลข่าวสารที่นําเสนอผ่านสื่อออนไลน์ คือ สามารถนําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างรวดเร็วตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real Tirne)
ตอบ 1 หน้า 91 คุณลักษณะของข้อมูลข่าวสารที่นําเสนอผ่านสื่อออนไลน์ประการหนึ่ง ได้แก่ ทันกาล (Real Time) กล่าวคือ สามารถนําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วตาม เวลาที่เกิดขึ้นจริง เช่น การนําเสนอข่าวที่เพิ่งเกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ บนเว็บไซต์ขององค์กร สื่อสารมวลชนหรือบนเว็บไซต์สํานักข่าว เป็นต้น

69 คาดว่าแนวโน้มของรูปแบบการให้บริการข้อมูลข่าวสารออนไลน์ในอนาคต จะมุ่งจัดทําเนื้อหาตาม
นโยบายของผู้บริหารประเทศมากขึ้น
ตอบ 2 หน้า 92 แนวโน้มการให้บริการข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ในอนาคต มีดังนี้
1 จัดทําเนื้อหาหลากประเภทมากขึ้น เพื่อมุ่งสนองตอบต่อความต้องการใช้งานของ ผู้ใช้งานอย่างเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
2 เชื่อมต่อข้อมูลข่าวสารผ่านเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคมอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
3 ใช้คุณสมบัติด้านการประสานสื่อ (Multimedia) และใช้ภาพกราฟิกในการนําเสนอ ข้อมูลข่าวสารออนไลน์มากขึ้น

70 www.youtube.com เป็นเว็บไซต์ประเภทเครือข่ายทางสังคม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

71 Google เป็นเว็บไซต์ที่บริษัท นิวส์คอร์ปอเรชั่น ซื้อกิจการมาดําเนินการในราคา 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ

72 ข้อใดคือสํานักข่าวที่จัดทําขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(1) เว็บไซต์สํานักข่าวไอเอ็นเอ็น
(2) เว็บไซต์สํานักข่าวไทย
(3) เว็บไซต์สํานักข่าวซีเอ็นเอ็น
(4) เว็บไซต์สํานักข่าวพีเพิลยูนิตี้
(5) เว็บไซต์สํานักข่าวอิศรา
ตอบ 4 หน้า 83 สํานักข่าวออนไลน์ที่จัดทําขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่
1 เว็บไซต์สํานักข่าวพีเพิลยูนิตี้ (People Unity News Agency)
2 เว็บไซต์เฟซบุ๊ก นิวส์ไวร์ (FB Newswire)
3 เว็บไซต์สํานักข่าวทีนิวส์
4 เว็บไซต์สํานักข่าวอาร์วายทีไนน์ ฯลฯ
(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสํานักข่าวออนไลน์ที่มีฐานจากสํานักข่าวแบบดั้งเดิม)

73 รูปแบบของเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นพื้นที่สนทนา างขึ้นเพื่อใช้เป็นพื้นที่สนทนา พูดคุย อภิปรายในสังคมออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ ผู้ใช้งานเลือกเข้าสังกัดกลุ่มคนที่มีพื้นฐานความสนใจร่วมกัน คือข้อใด
(1) News Group
(2) Webboard
(3) Online News Clipping
(4) Social Network
(5) Online News Agency
ตอบ 2 หน้า 63, 83 – 85 กระดานข่าว (Webboard) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็น พื้นที่แลกเปลี่ยนบทสนทนา พูดคุย อภิปรายในสังคมออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) เลือกเข้าสังกัดกลุ่มคนที่มีพื้นฐานความสนใจร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องราวหรือประเด็นทางสังคม อันนําไปสู่การรวมกลุ่มกันในลักษณะชุมชนออนไลน์ (Online Communities)

74 รูปแบบของเว็บไซต์ที่จัดทําในรูปกลุ่มสนทนา แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในหัวข้อต่าง ๆ โดยแบ่งหมวดหมู่ และกําหนดชื่อของกลุ่มตามประเภทของกลุ่มข่าว คือข้อใด
(1) News Group
(2) Webboard
(3) Online News Clipping
(4) Social Network
(5) Online News Agency
ตอบ 1 หน้า 85 – 86 กลุ่มข่าวสาร (News Group) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่จัดทําขึ้นในรูปของ กลุ่มสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในหัวข้อต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานทุกคน มีส่วนร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้อย่างอิสระ โดยมีการแบ่งหมวดหมู่ และกําหนดชื่อของกลุ่มตามประเภทของกลุ่มข่าว ทั้งนี้กลุ่มข่าวต่าง ๆ จะถูกแบ่งหมวดหมู่ และเก็บไว้ในบอร์ดข่าวสารขนาดใหญ่ เรียกว่า “ User’s Network” (Usenet) และข่าวใน กลุ่มข่าวทั้งหมดจะถูกเก็บไว้บน Usenet Server

75 กฤตภาคข่าวออนไลน์เป็นการให้บริการข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตรงกับคําใด
(1) News Group
(2) Webboard
(3) Online News Clipping
(4) Social Network
(5) Online News Agency
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

76 สื่อเป็นสิ่งกําหนดหรือปั้นแต่งวัฒนธรรมทางการสื่อสารของมนุษย์ คือสาระสําคัญของแนวคิดใด
(1) Message is the Medium
(2) Medium is the Message
(3) Medium as the Message
(4) Message as the Medium
(5) Medium of the Message
ตอบ 2 หน้า 109 Marshalt McLuhan นักวิชาการสื่อสารมวลชนชาวอเมริกัน เป็นผู้ที่คิดแนวคิด “สื่อ คือ สาร” (Medium is the Message) และมีความเชื่อว่า สื่อเป็นสิ่งกําหนดหรือปั้นแต่ง วัฒนธรรมทางการสื่อสารของมนุษย์ หรือรูปแบบทางเทคโนโลยีปั้นแต่งและกําหนดวิถีทางการ สื่อสารของคนในสังคม ตลอดจนเปลี่ยนธรรมชาติในการสื่อสารของมนุษย์ทั้งสิ่งที่สื่อ วิธีที่สื่อและการรับรู้เกี่ยวกับรูปแบบการสื่อสารของคนในสังคม

77 ผลจากการที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ ก่อให้เกิด
ผลกระทบด้านต่าง ๆ ยกเว้นข้อใด
(1) เปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีทางเลือกในการเปิดรับข่าวสารในประเด็นที่สื่อแบบดั้งเดิมไม่ได้นําเสนอ
(2) เป็นแหล่งสารของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อแบบดั้งเดิม
(3) ผู้ใช้งานตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารอย่างเข้มงวดก่อนเผยแพร่
(4) ผู้ใช้งานสามารถส่งผ่านข้อมูลจากระดับบุคคลไปสู่กลุ่มคนต่างเครือข่าย
(5) ทุกคนทําหน้าที่นําเสนอข้อมูลข่าวสารไปสู่สาธารณะอย่างเสรี เอื้อต่อบรรยากาศประชาธิปไตย
ตอบ 3 หน้า 95, 99 – 100 ผลกระทบด้านลบจากการที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ คือ ผู้ใช้งานนําเสนอข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่ต้องผ่าน กระบวนการตรวจสอบ คัดเลือก คัดกรอง จากบรรณาธิการ จึงทําให้ข้อมูลข่าวสารผิดพลาด ได้ง่าย จนอาจจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สู่สาธารณชน (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นผลกระทบด้านบวก)

78 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail มาจากคําว่าอะไร
(1) Elective Mail
(2) Electronic Mail
(3) Evaluated Mail
(4) External Mail
(5) Excessive Mail
ตอบ 2 หน้า 41, 62 E-mail, Email มาจากคําว่า “Electronic Mail” ซึ่งศัพท์บัญญัติภาษาไทย ได้แก่ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

79 ข้อใดกล่าวไว้ถูกต้อง
(1) สื่อออนไลน์เป็นสื่อใหม่ และเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง
(2) สื่อวิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อแบบดั้งเดิม และเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง
(3) สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อแบบดั้งเดิม และเป็นสื่อที่มีความคงทนต่ำ
(4) สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อแบบดั้งเดิม และเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง
(5) สื่อวิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อใหม่ และเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2 และ 18 ประกอบ

80 รูปแบบของสัมพันธภาพของผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ นําสู่คําเรียกขานว่าอะไร
(1) ชุมชนออนไลน์
(2) องค์กรออนไลน์
(3) บรรษัทออนไลน์
(4) หุ้นส่วนออนไลน์
(5) สายสัมพันธ์ออนไลน์
ตอบ 1หน้า 85 การรวมกลุ่มกันในลักษณะ “ชุมชนออนไลน์” (Online Communities) จัดเป็น รูปแบบของสัมพันธภาพของผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยที่สมาชิกของชุมชนออนไลน์ มีคุณลักษณะสําคัญ ดังนี้
1 มีความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relationship) ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
2 มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

81 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของ “ข้อมูลข่าวสารออนไลน์”
(1) ทันกาล
(2) ไร้กาล
(3) ประสานสื่อ
(4) นําเสนอเนื้อหาสารแบบทางเดียว
(5) มีช่องทางปฏิสัมพันธ์
ตอบ 4 หน้า 91 คุณลักษณะของข้อมูลข่าวสารที่นําเสนอผ่านสื่อออนไลน์ มีดังนี้
1 ทันกาล (Real Time)
2 ไร้กาล (Shifted Time)
3 ประสานสื่อ (Multimedia)
4 มีช่องทางปฏิสัมพันธ์ (Interactive)

82 ปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Cyber Crime) ขัดกับจริยธรรมการสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility
(5) Information Literacy
ตอบ 4 หน้า 118 – 119, (ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ) ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมการเข้าถึง ข้อมูล (Data Accessibility) คือ การก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หรืออาชญากรรมไซเบอร์ (Computer Crime or Cyber Crime) เช่น การพยายามเจาะเข้าฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ของ ผู้อื่นโดยมิชอบ, การเจาะเข้าสู่ระบบรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคล ฯลฯ

83 อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองการทํางานของทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ด้วยศักยภาพในการนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะใด
(1) Mega Media
(2) Multimedia
(3) Transmedia
(4) Social Media
(5) Virtual Media

ตอบ 2 หน้า 81 – 82 ด้วยศักยภาพในการนําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะประสานสื่อ (Multimedia) ซึ่งมีทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตสามารถตอบสนอง การทํางานของสื่อแบบดั้งเดิมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และภาพยนตร์

84 ผลจากการที่สื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในฐานะช่องทางหนึ่งขององค์กรสื่อแบบดั้งเดิม
ส่งผลให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อแบบดั้งเดิมต้องปรับตัวด้านต่าง ๆ ยกเว้นข้อใด
(1) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการทํางาน
(2) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องยอมรับอินเทอร์เน็ตเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร
(3) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
(4) ผู้ประกอบวิชาชีพในองค์กรจําเป็นต้องปรับโครงสร้างการทํางานภายในองค์กรที่แตกต่างจากเดิม
(5) ผู้ประกอบวิชาชีพจําเป็นต้องนําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ ในลักษณะบูรณาการ
ตอบ 3 หน้า 105 – 106 การปรับตัวของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนแบบดั้งเดิม มีดังนี้
1 ยอมรับสื่ออินเทอร์เน็ตเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร
2 ปรับโครงสร้างการทํางานภายในองค์กรที่ต่างจากเดิม
3 เรียนรู้และฝึกฝนทักษะการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการทํางาน
4 นําเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ แบบบูรณาการ ฯลฯ

85 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้อใดต่อไปนี้ที่กําหนดให้ใช้งานเท่านั้น ห้ามทําซ้ําหรือเผยแพร่
(1) Freeware
(2) Shareware
(3) Spyware
(4) Copyright
(5) Malware
ตอบ 4 หน้า 117 – 118 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมความเป็นเจ้าของ (Information Property) คือ การละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ซอฟต์แวร์) ดังนี้
1 Copyright or Software License คือ ซอฟต์แวร์ที่ซื้อลิขสิทธิ์มาแล้วมีสิทธิใช้งานเท่านั้น ห้ามทําซ้ําหรือเผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ลิขสิทธิ์ทุกกรณี
2 Shareware คือ ซอฟต์แวร์ที่ให้ทดลองใช้ได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งมีสิทธิใช้ในระยะเวลา ที่กําหนดเท่านั้น เป็นต้น
3 Freeware คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ฟรี คัดลอก และเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้

86 การทําซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลิขสิทธิ์ ขัดกับจริยธรรมการสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility
(5) Information Literacy
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 85 ประกอบ

87 ในอดีตผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนมีบทบาทเป็นผู้กําหนดวาระในการนําเสนอข้อมูลข่าวสารสู่มวลชน ในสังคม คําว่า “กําหนดวาระในการนําเสนอข้อมูลข่าวสาร” ตรงกับคําใด
(1) Agenda Seeking
(2) Agenda Making
(3) Agenda Setting
(4) Agenda Getting
(5) Agenda Thinking
ตอบ 3 หน้า 93 ในอดีตผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนและคณะทํางานในกองบรรณาธิการ ในฐานะผู้ส่งสาร จะมีบทบาทเป็นผู้กําหนดวาระในการนําเสนอข้อมูลข่าวสาร (Agenda Setting) ไปสู่มวลชน กล่าวคือ บทบาทในการร่วมกันตัดสินใจเกี่ยวกับการกําหนดระดับ ความสําคัญของเนื้อหาสาร และวาระแห่งการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผู้รับสารในสังคม

88 แนวโน้มในอนาคตของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน คือ ประกาศความเป็นนักวิชาชีพสื่อฯ มืออาชีพ ให้เป็นที่ประจักษ์ชัด ซึ่งทําได้โดย
(1) นําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพแตกต่างจากผู้ใช้งานทั่วไป
(2) นําเสนอข้อมูลข่าวสารภายใต้กรอบปฏิบัติด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณ
(3) ส่งเสริมบุคลิกภาพความเป็นนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนให้แตกต่างจากผู้ใช้งานทั่วไป
(4) นําเสนออัตลักษณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนให้แตกต่างจากผู้ใช้งานทั่วไป
(5) ทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ 2 หน้า 100 – 101 แนวโน้มเกี่ยวกับบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนในอนาคต จะมีลักษณะประการหนึ่ง ได้แก่ ประกาศความเป็นนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนมืออาชีพให้เป็น ที่ประจักษ์ชัด กล่าวคือ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนต้องทําหน้าที่นําเสนอข้อมูลข่าวสาร ภายใต้กรอบปฏิบัติด้านวิชาชีพ กรอบจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพสื่อสารมวลชน อันจะนําไปสู่การยอมรับ เชื่อถือ และเชื่อมั่นจากผู้เปิดรับข้อมูลข่าวสารในสังคมต่อไป

89 การกํากับดูแลเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต อยู่ในอํานาจหน้าที่ของหน่วยงานใด
(1) สภาวิชาชีพกิจการแพร่ภาพการกระจายเสียง (ประเทศไทย)
(2) สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
(3) กระทรวงมหาดไทย
(4) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(5) กระทรวงยุติธรรม
ตอบ 4 หน้า 124, (คําบรรยาย) การกํากับดูแลเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต อยู่ในอํานาจ หน้าที่ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที (ปัจจุบัน คือ กระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) โดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งมุ่งเน้นในการกํากับดูแลเกี่ยวกับการกระทําความผิดต่อ กฎหมายเป็นสําคัญ

90 การกํากับดูแลเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต อยู่ในอํานาจหน้าที่ของหน่วยงานในข้อ 89. โดยอาศัยอํานาจตามความในกฎหมายฉบับใด
(1) พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
(2) พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2538
(3) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
(4) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
(5) พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2552
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 89 ประกอบ

91 อินเทอร์เน็ตก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิชาชีพวารสารศาสตร์ของสื่อแบบดั้งเดิมที่ให้ความสําคัญต่อ ผู้เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper) ด้วยเหตุที่
(1) อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารโดยเท่าเทียม
(2) อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนมีโอกาสสื่อสารตอบกลับผ่านรูปแบบการสื่อสารสองทาง
(3) อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ
(4) อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่จํากัด
(5) อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถสื่อสารผ่านเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก

ตอบ 3 หน้า 100, 110 ด้วยเหตุที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของ ตนเองสู่สาธารณะ โดยไม่มีผู้ทําหน้าที่เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper) ส่งผลให้เกิด ผลกระทบต่อวิชาชีพวารสารศาสตร์ของสื่อแบบดั้งเดิมที่ให้ความสําคัญกับผู้เฝ้าประตูข้อมูล ข่าวสาร (Gatekeeper) ซึ่งก็คือ บรรณาธิการผู้ทําหน้าที่คัดเลือก คัดกรอง และตรวจสอบ ความถูกต้องของเนื้อหาสารก่อนนําเสนอสู่ผู้รับสารในสังคม

92 ผู้เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper) หมายถึง บุคคลใดในองค์กรสื่อสารมวลชน
(1) ผู้สื่อข่าว
(2) บรรณาธิการ
(3) ช่างภาพข่าว
(4) พนักงานตรวจพิสูจน์อักษร
(5) ผู้ออกแบบจัดวางหน้าสิ่งพิมพ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 คําว่า Citizen Reporter เป็นคําที่เรียกขานผู้ใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นผลมาจากข้อใด
(1) อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารได้โดยเท่าเทียม
(2) อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้รับสารได้โดยเท่าเทียม
(3) อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถสื่อสารกันได้ในลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง
(4) อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารได้โดยเท่าเทียม
(5) อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนเชื่อมต่อการสื่อสารผ่านเครือข่ายที่ครอบคลุมถึงกันทั่วโลก
ตอบ 1 หน้า 95 การสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ก่อให้เกิดคําว่า “ผู้สื่อข่าวภาคประชาชน หรือผู้สื่อข่าวภาคพลเมือง” (Citizen Reporter) ด้วยเหตุที่สื่ออินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ ทุกคนมีบทบาทเป็นผู้ส่งสารผ่านพื้นที่ของตนเองไปสู่สาธารณะใต้โดยเท่าเทียมกัน

94 ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 “ข้อมูล ข้อความ คําสั่ง ชุดคําสั่งหรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย”
หมายถึงข้อใด
(1) ระบบคอมพิวเตอร์
(2) ข้อมูลคอมพิวเตอร์
(3) ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
(4) ระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์
(5) ระบบจราจรทางคอมพิวเตอร์
ตอบ 2 หน้า 159 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 3 (2) ระบุไว้ว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายถึง ข้อมูล ข้อความ คําสั่ง ชุดคําสั่งหรือสิ่งอื่นใดบรรดา ที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความ รวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

95 ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ระบุว่า “ผู้ใดล่วงรู้ มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไป เปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น” กําหนดโทษเช่นไร
(1) จําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(2) จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(3) จําคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(4) จําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(5) จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ตอบ 4 หน้า 158, 160 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 6 ระบุว่า ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

96 ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ข้อใดไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
(1) งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม
(2) คําพิพากษา คําสั่ง คําวินิจฉัย รายงานของทางราชการ
(3) งานสร้างสรรค์ประเภทดนตรีกรรม
(4) โปรแกรมคอมพิวเตอร์
(5) งานสร้างสรรค์ประเภทสิ่งบันทึกเสียง
ตอบ 2 หน้า 129 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 7 ระบุว่า สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมี
ลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. นี้
1 ข่าวประจําวันและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนก วรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
2 รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
3 ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง คําชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
4 คําพิพากษา คําสั่ง คําวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5. คําแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม 1. – 4. ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทําขึ้น

97 ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงาน หรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของใคร
(1) นายจ้าง
(2) ผู้สร้างสรรค์
(3) องค์กร
(4) ทั้งนายจ้างและผู้สร้างสรรค์
(5) ทั้งองค์กรและนายจ้าง
ตอบ 2 หน้า 130 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 9 ระบุว่า งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้น เป็นของผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธินํางานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามที่เป็น วัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานนั้น

98 International Standard Book Number : ISBN หรือเลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 จัดเป็นข้อใด
(1) ข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) มาตรการทางเทคโนโลยี
(3) มาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) มาตรการทางข้อมูลการบริหารสิทธิ
ตอบ 1 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (2) ระบุไว้ว่า “ข้อมูลการบริหาร สิทธิ” หมายความว่า ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์ นักแสดง การแสดง เจ้าของ ลิขสิทธิ์ หรือระยะเวลาและเงื่อนไขในการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ตลอดจนตัวเลขหรือรหัสแทน ข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลเช่นว่านี้ติดอยู่หรือปรากฏเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึก การแสดง (เช่น การจัดทําลายน้ําบนรูปภาพ ธนบัตร, เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ หรือ Internationat Standard Book Number : ISBN เป็นต้น)

99 โปรแกรมเกมออนไลน์ RAGNAROK มีระบบป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ระบบป้องกันดังกล่าวตรงกับคําใด
(1) ข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) มาตรการทางเทคโนโลยี
(3) มาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) ข้อมูลบ่งชี้กรรมสิทธิ์
ตอบ 2 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (3) ระบุไว้ว่า “มาตรการทาง เทคโนโลยี” หมายความว่า เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการทําซ้ําหรือควบคุมการ เข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง โดยเทคโนโลยีเช่นว่านี้ได้นํามาใช้กับงานอันมี ลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

100 จากข้อ 99. หากนายสมปองกระทําการเพื่อทําให้ระบบป้องกันการทําซ้ำของโปรแกรมเกม RAGNAROK ใช้การไม่ได้ กล่าวได้ว่าการกระทําของนายสมปองตรงกับข้อใด
(1) การละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี
(3) การหลบเลี่ยงมาตรการการบริหารสิทธิ
(4) การละเมิดข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) การละเมิดข้อมูลบ่งชี้กรรมสิทธิ์
ตอบ 2 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (4) ระบุว่า “การหลบเลี่ยง มาตรการทางเทคโนโลยี” หมายความว่า การกระทําด้วยประการใด ๆ ที่ทําให้มาตรการ ทางเทคโนโลยีไม่เกิดผล (ดูคําอธิบายข้อ 99. ประกอบ)

CDM2204 MCS1250 (MCS2200) การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1250 (MCS 2200) การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 องค์ประกอบในกระบวนการสื่อสารที่เรียกย่อว่า SMCR (E) มีความหมายตามข้อใด
(1) ผู้ส่งสาร : สื่อกลาง : ช่องทางสาร : ผู้รับสาร : ผลกระทบที่เกิดจากการสื่อสาร
(2) ผู้ส่งสาร : เนื้อสาร : ช่องทางสาร : ผู้รับสาร : ผลกระทบที่เกิดจากการสื่อสาร
(3) เอกสาร : เนื้อสาร : สื่อกลาง : ผู้รับสาร : ประเมินผลจากการสื่อสาร
(4) ผู้ส่งสาร : สื่อกลาง : ช่องทางสาร : ผู้รับสาร : ประเมินผลจากการสื่อสาร
ตอบ 2 (PDF บทที่ 1) องค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร เรียกโดยย่อว่า SMCR (E) ประกอบด้วย
1 ผู้ส่งสาร (Source/Sender)
2 เนื้อหาสาร (Message)
3 ช่องทางสสาร (Channel)
4 ผู้รับสาร (Receiver)
5 ผลกระทบที่เกิดจากการสื่อสาร (Effect)

2 กลุ่มบุคคลจํานวนมาก ไม่สามารถระบุได้อย่างเฉพาะเจาะจงว่าเป็นใคร อยู่ที่ใดบ้าง คือกลุ่มใด
(1) ชุมชน
(2) ประชาชน
(3) มวลชน
(4) มหาชน
ตอบ 3 (PDF บทที่ 1) มวลชน คือ กลุ่มบุคคลจํานวนมากกระจายอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ไม่สามารถ ระบุได้อย่างเฉพาะเจาะจงว่าเป็นใคร อยู่ที่ใดบ้าง

3 ใครคือผู้ประทานคําและความหมายของคําว่า “วารสารศาสตร์
(1) พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) พลตรี หม่อมสนิทวงศ์เสนี
(3) พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
(4) แดน บีช บรัดเลย์
ตอบ 1 (PDF บทที่ 1) คําว่า “วารสารศาสตร์” (Journalism) เป็นคําที่พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้ทรงประทานไว้ แต่เดิมมีความหมายถึง วิชาการเกี่ยวกับ การหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีความหมายเฉพาะถึงกระบวนการรายงานข่าว การตีความ และแสดง ความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวสารเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน โดยให้ความสําคัญอย่างมาก ในเรื่องที่ต้องนําเสนอข่าวอย่างถูกต้อง รวดเร็ว กระชับ และได้ใจความ

4 ข้อใดไม่ใช่ความหมายเฉพาะของคําว่า “วารสารศาสตร์”
(1) วิชาการเกี่ยวกับการหนังสือพิมพ์
(2) กระบวนการรายงานข่าว
(3) การนําเสนอเฉพาะข่าวที่น่าสนใจ
(4) การแสดงความคิดเห็นของผู้สื่อข่าว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

5 ข้อใดไม่ใช่งานทางด้านวารสารศาสตร์
(1) หนังสือนวนิยาย
(2) บทวิเคราะห์ในหนังสือพิมพ์กีฬา
(3) การรายงานข่าวบันเทิงในนิตยสาร
(4) การสัมภาษณ์นักแสดงในรายการทีวี

ตอบ 1 (PDF บทที่ 1) งานวารสารศาสตร์ในภายหลังจะมีความหมายครอบคลุมไปถึงกระบวนการ
รายงานข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบันของสื่อมวลชนทุกแขนง นอกเหนือไปจากแค่สื่อสิ่งพิมพ์ ดังนั้นวารสารศาสตร์จึงได้แตกแขนงออกเป็นสาขาต่าง ๆ ตามสื่อมวลชนนั้น ๆ เช่น Print
Journalism, Broadcast Journalism, Ontine Journalism, Political Journalism. ฯลฯ

6 ข้อใดไม่จัดว่าเป็นนักวารสารศาสตร์
(1) ผู้สื่อข่าว
(2) ผู้ประกาศข่าว
(3) นักเขียนบทละคร
(4) ช่างภาพข่าว
ตอบ 3 (PDF บทที่ 1) นักวารสารศาสตร์ (Journalist) คือ นักข่าว (Reporter) หรือนักหนังสือพิมพ์ ซึ่งทําหน้าที่สื่อข่าวหรือรายงานข่าวที่อยู่ในความสนใจของประชาชน (ส่วนนักเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร หรือบันเทิงคดีอื่น ๆ ไม่ถือว่าเป็นนักวารสารศาสตร์)

7 ระบบการเมืองแบบโซเวียตคอมมิวนิสต์ จะถูกใช้ในกลุ่มประเทศใด
(1) กลุ่มประเทศโลกที่ 1
(2) กลุ่มประเทศโลกที่ 2
(3) กลุ่มประเทศโลกที่ 3
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 2 (PDF บทที่ 1) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์ มีลักษณะดังนี้
1 การควบคุม คือ รัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์
2 นโยบายการใช้สื่อ คือ เน้นการถ่ายทอดลัทธิคอมมิวนิสต์ ระดมให้ประชาชนสนับสนุนรัฐ และสร้างเสริมรสนิยมทางวัฒนธรรมของมวลชน
3 ประเทศโลกที่ 2 (Second World) ที่ใช้ระบบนี้ คือ โซเวียตและประเทศคอมมิวนิสต์

8 ระบบการปกครองแบบใดมีนโยบายการใช้สื่อที่เน้นเสรีภาพทางความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ
(1) โซเวียตคอมมิวนิสต์
(2) อิสรภาพนิยม
(3) ความรับผิดชอบทางสังคม
(4) อํานาจนิยม
ตอบ 2 (PDF บทที่ 1) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอิสรภาพนิยม (Libertarian) มีลักษณะดังนี้
1 การควบคุม คือ รัฐบาลไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาล
2 นโยบายการใช้สื่อ คือ เน้นเสรีภาพทางความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ
3 ประเทศโลกที่ 1 (Free World) ที่ใช้ระบบนี้ คือ ประเทศในยุโรปตะวันตก และ ในทวีปอเมริกาเหนือบางประเทศ

9 สื่อมวลชนเก่าแก่ที่สุด คือ
(1) หลักศิลาจารึก
(2) หนังสือพิมพ์
(3) นิตยสาร
(4) วารสารวิชาการ
ตอบ 2 (PDF บทที่ 1), (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกิดขึ้นก่อนสื่อชนิดอื่น ๆ และได้ชื่อว่าเป็นสื่อมวลชนที่เก่าแก่ที่สุด กําเนิดขึ้นเพื่อสนองเนื้อหาด้วยวิธีการพิมพ์ตัวอักษรบนกระดาษหรือวัสดุชนิดใดชนิดหนึ่งที่เอื้อให้ผู้อ่านเปิดและพกพาได้สะดวก

10 สื่อมวลชนในระบบใดที่ปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาล
(1) Soviet – Communist
(2) Libertarian
(3) Social Responsibility
(4) Authoritarian
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

11 การใช้วิจารณญาณในการคัดเลือกข่าว เป็นการทําหน้าที่ใดของหนังสือพิมพ์
(1) Informer
(2) Watchdog
(3) Gatekeeper
(4) Charging Agent

ตอบ 3 หน้า 16, (PDF บทที่ 1) บทบาทการเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) คือ การควบคุม การไหลของข่าวสารไปสู่สาธารณชน โดยหนังสือพิมพ์จะมีนายทวารประจําด่านจํานวนมาก เช่น นักข่าว ช่างภาพ บรรณาธิการ ฯลฯ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะใช้วิจารณญาณกลั่นกรองข่าว ประเมินคุณค่า และตรวจเนื้อหาของข่าวสาร ก่อนที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านทางหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ยังทําหน้าที่ตัดสินใจว่าจะเลือกทําข่าวชิ้นใด หรือจะคัดเลือกข่าวนั้น ๆ เพื่อตีพิมพ์ หรือไม่ โดยคํานึงถึงพื้นฐานของความถูกต้องเที่ยงตรงของข่าวสาร

12 ข้อใดไม่ใช่บทบาทหนังสือพิมพ์ของระบบสังคมประชาธิปไตย
(1) การเป็นกระบอกเสียงให้รัฐบาล
(2) การเป็นนายทวารข่าวสาร
(3) การเป็นสุนัขเฝ้าบ้าน
(4) การเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง
ตอบ 1หน้า 16 หนังสือพิมพ์จะมีบทบาทในระบบสังคมประชาธิปไตย ดังนี้
1 การเป็นนายทวารข่าวสาร หรือนายด่านข่าวสาร
2 การเป็นผู้แจ้งข่าวสาร
3 การเป็นสุนัขยาม หรือสุนัขเฝ้าบ้าน
4 การรับเรื่องราวร้องทุกข์
5 การเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง

13 สมาชิกสภาวิชาชีพใดที่ต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
(1) สื่อออนไลน์
(2) นิตยสาร
(3) วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
(4) ภาพยนตร์
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลังจากที่ประชุมสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ผ่านร่าง กฎหมายควบคุมสื่อฉบับล่าสุด ได้มีเนื้อหาให้สมาชิกสภาวิชาชีพสื่อออนไลน์ต้องมีใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพ และต้องมาขึ้นทะเบียนเหมือนกับสื่อประเภทอื่น

14 ข้อจํากัดของสื่อใหม่ คือ สิ่งใดที่มักเกิดความผิดพลาดในการรายงานข่าว
(1) ความรวดเร็ว
(2) คลังข้อมูล
(3) ความรู้
(4) ความถูกต้อง
ตอบ 4(PDF บทที่ 2) ข้อจํากัดของสื่อใหม่ คือ ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสาร เพราะสื่อใหม่เป็นการนําเสนอข้อมูลข่าวสารโดยไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ คัดเลือก และคัดกรองจากบรรณาธิการ ดังนั้นสิ่งที่นักวารสารศาสตร์ต้องทําอย่างมากเมื่อมาทําข่าวออนไลน์ ก็คือ ต้องไม่ลืมกลั่นกรองคุณภาพข้อมูลตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูลที่ นําเสนอ อันจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สู่สาธารณชน

15 สื่อสิ่งพิมพ์ชนิดใดมีลักษณะการเย็บเล่มที่คงทนที่สุด
(1) หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
(2) นิตยสาร
(3) หนังสือเล่ม
(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 3 (PDF บทที่ 2) สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีการเย็บเล่มคงทนถาวรมากที่สุดไปจนถึงน้อยที่สุด เรียงลําดับ ได้ดังนี้ 1 หนังสือเล่ม เย็บเล่มอย่างคงทนถาวร มีรูปแบบ/ลําดับเรื่องชัดเจน
2 นิตยสาร เย็บสันเพื่อให้แข็งแรงเหมาะสมแก่การพกพา
3 หนังสือพิมพ์ (รายวัน/ราย 3 วัน/รายสัปดาห์) จะไม่เย็บเล่ม ไม่มีปก

16 ถ้าต้องการอ่านข่าวสารที่ทันเหตุการณ์ที่สุด ควรเลือกสื่อสิ่งพิมพ์ใด
(1) หนังสือพิมพ์รายวัน
(2) หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
(3) นิตยสาร
(4) หนังสือเดินเรือ

ตอบ 1 หน้า 5, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์รายวัน เป็นหนังสือพิมพ์ที่ออกจําหน่ายเป็นประจําทุกวัน อายุของหนังสือพิมพ์จึงสั้น เมื่อหมดวัน หนังสือพิมพ์ฉบับเดิมจะล้าสมัยลงทันที และมีฉบับใหม่ ออกมาแทนที่ ดังนั้นความเด่นของหนังสือพิมพ์รายวันจึงอยู่ที่ความรวดเร็ว ความสด และการ นําเสนอข่าวสารที่ทันเหตุการณ์ที่สุด

17 Podcast เป็นสื่อใหม่ที่มีความคล้ายคลึงสื่อดั้งเดิมชนิดใดมากที่สุด
(1) โทรทัศน์
(2) ภาพยนตร์
(3) วิทยุ
(4) หนังสือพิมพ์
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) Podcast คือ รายการเผยแพร่เสียงผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยจะมี ผู้ดําเนินรายการออกมาเล่าเรื่องต่าง ๆ หรืออาจเป็นการให้สัมภาษณ์ จึงมีความคล้ายคลึงกับ การฟังรายการวิทยุมากที่สุด แต่ใช้เวลาฟังไม่นาน เพราะมีเนื้อหาที่กระชับและตรงประเด็น ดังนั้นจึงนับเป็นช่องทางการรับข่าวสารผ่านเสียงที่กําลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน

18 สถานีโทรทัศน์ใดต่อไปนี้เผยแพร่ภาพในระบบดิจิทัลด้วยความชัดแบบ High Definition
(1) Workpoint TV
(2) Nation TV
(3) MCOT
(4) MONO29
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่เผยแพร่ภาพในระบบดิจิทัลด้วยความชัดแบบ HD (High Definition) ได้แก่ ททบ.5, NBT2, Thai PBS, MCOT, ONE, ไทยรัฐทีวี, PPTV, 3HD, THD และอมรินทร์ทีวี

19 ช่องทางในข้อใดไม่ใช่การรายงานข่าวแบบ Real Time Reporting
(1) ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์
(2) Facebook Live
(3) รายงานการจราจรวิทยุ จส.100
(4) หนังสือพิมพ์ออนไลน์
ตอบ 4 (PDF บทที่ 2), (คําบรรยาย) คุณลักษณะเฉพาะของอินเทอร์เน็ตที่ได้ส่งผลต่อพฤติกรรม การรับสารจากสื่อของผู้บริโภคประการหนึ่ง คือ การรายงานสด (Real Time Reporting) เป็นวิธีการที่สามารถเอาชนะคู่แข่งได้ในระดับหนึ่ง เช่น รายงานการจราจรวิทยุ จส.100, การถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์, Facebook Live, Twitter Live ฯลฯ

20 ประโยคใดต่อไปนี้ถือว่าเป็นคัมภีร์ของผู้ปฏิบัติงานทางด้านวารสารศาสตร์
(1) ความรู้คู่คุณธรรม
(2) เสรีภาพคู่กับความรับผิดชอบ
(3) สด ใหม่ ว่องไว
(4) เจาะลึก ชัดเจน เป็นธรรม
ตอบ 2 (PDF บทที่ 2) คัมภีร์ของผู้ปฏิบัติงานทางด้านวารสารศาสตร์ที่จะละเลยไม่ได้เป็นอันขาด คือ ประโยคที่ว่า “เสรีภาพควบคู่กับความรับผิดชอบ”

21 หน่วยงานใดที่มีหน้าที่กํากับการทําหน้าที่ของสื่อและสถานีโทรทัศน์
(1) กสพท.
(2) อสมท.
(3) กสทช.
(4) อสมร.
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) หน่วยงานอิสระของรัฐที่ทําหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับดูแล การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ได้แก่ กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ)

22 การข่าว หมายถึง
(1) ภารกิจหน้าที่ของการทําข่าว
(2) กระบวนการผลิตข่าว
(3) สถานการณ์ในการรายงานข่าว
(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (PDF บทที่ 3) การข่าว หมายถึง กระบวนการผลิตข่าว ซึ่งเป็นกระบวนการทํางานต่อเนื่อง อย่างสัมพันธ์กัน ประกอบด้วย
1 การจัดสรรขอบเขตความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
2 การจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับภาระหน้าที่ในฝ่ายต่าง ๆ
3 การแสวงหาข้อเท็จจริง
4 การประเมินคุณค่าข่าว
5 การรวบรวมข้อเท็จจริง ฯลฯ

23 ประโยคว่า “ข่าวก็คือข่าว” สะท้อนถึงระดับความเชื่อถือต่อข่าวที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน
ที่เป็นไปในทิศทางใด
(1) เชื่อถือเพิ่มขึ้น
(2) เชื่อถือเหมือนเดิม
(3) เชื่อถือลดลง
(4) ไม่เกี่ยวข้องกับความน่าเชื่อถือ
ตอบ 3 (PDF บทที่ 3) จากประโยคที่ว่า “ข่าวก็คือข่าว” ได้สะท้อนถึงระดับความเชื่อถือต่อข่าวที่ ปรากฏในหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน คือ แนวโน้มด้านความเชื่อถือศรัทธาต่อหนังสือพิมพ์ และสื่อมวลชนลดน้อยลง จึงเป็นเหตุให้บุคลากรในงานข่าว รวมถึงนักวิเคราะห์สื่อพยายาม เรียกความน่าเชื่อถือกลับคืนมาจากสังคม

24 ข้อใดไม่ใช่เงื่อนไขทางวิชาชีพเกี่ยวกับการข่าว
(1) การเสนอแต่เรื่องที่เป็นจริง
(2) มีความภักดีต่อประชาชน
(3) ทําหน้าที่ในการสนับสนุนรัฐ
(4) สามารถวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นสาธารณะ
ตอบ 3 (PDF บทที่ 3) เงื่อนไขทางวิชาชีพเกี่ยวกับการข่าว ได้กล่าวถึงแนวทางสร้างความน่าเชื่อถือ ให้แก่งานการข่าวและนักวารสารศาสตร์ ตามข้อสรุปที่ได้จากหนังสือ “The Elements of Journalism” ไว้ดังนี้
1 การเสนอแต่เรื่องที่เป็นจริง ถือเป็นเงื่อนไขข้อแรกของงานวารสารศาสตร์
2 เป้าหมายเบื้องต้นของงานวารสารศาสตร์ คือ ความภักดีต่อประชาชน
3 หัวใจสําคัญของงานวารสารศาสตร์ คือ การยึดมั่นต่อการเปิดเผยความจริง
4 นักวารสารศาสตร์ต้องทําหน้าที่อย่างอิสระในการตรวจสอบอํานาจรัฐ
5 หนังสือพิมพ์/สื่อมวลชนต้องเปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับประเด็นสาธารณะอย่างกว้างขวาง
6 นักวารสารศาสตร์ต้องนําเสนอข่าวในสัดส่วนที่เหมาะสมในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ฯลฯ

25 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของการข่าวต่อสังคมทั้ง 3 ด้าน
(1) ด้านศาสนา
(2) ด้านการเมือง
(3) ด้านเศรษฐกิจ
(4) ด้านสังคม
ตอบ 1(PDF บทที่ 3) การข่าวย่อมมีบทบาทช่วยพัฒนาสังคมในทางที่ถูกที่ควรได้อย่างมหาศาล ซึ่งบทบาทของการข่าวต่อสังคมแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่
1 ด้านการเมือง
2 ด้านเศรษฐกิจ
3 ด้านสังคม

26 หนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด
(1) Soft News Newspaper
(2) Hard News Newspaper
(3) Combination Newspaper
(4) Specialized Newspaper
ตอบ 2 หน้า 41, (PDF บทที่ 4) หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวหนัก (Hard News Newspaper) คือ
หนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวที่ให้น้ําหนักต่อความสําคัญของเรื่องมากกว่าอย่างอื่น ซึ่งผู้อ่านจะต้อง ใช้ความรู้ความเข้าใจในการอ่านพอสมควร เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ

27 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด
(1) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ
(2) หนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น
(3) หนังสือพิมพ์ภูมิภาค
(4) หนังสือพิมพ์ชุมชน
ตอบ 1 หน้า 7, (PDF บทที่ 4) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ (National Newspaper) หรือบางคนเรียกว่า “หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง” หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่ออกในเขตเมืองหลวงหรือส่วนกลาง โดยมี ตลาดการจําหน่ายไปทั่วประเทศ และมียอดจํานวนจําหน่ายสูง เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มติชน ข่าวสด เดลินิวส์ ฯลฯ

28 หนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์ เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด
(1) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ
(2) หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
(3) หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง
(4) หนังสือพิมพ์ส่วนราชการ
ตอบ 2 หน้า 7, (PDF บทที่ 4) หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น (Local Newspaper) จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ซึ่งบางครั้งอาจเรียกว่า “หนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค” (Regional Newspaper) เช่น หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์, หนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์ เป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ทางภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่) เป็นต้น

29 หนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ (Broadsheet Newspaper) มีความกว้างยาวกี่นิ้ว
(1) กว้าง 20 นิ้ว ยาว 30 นิ้ว
(2) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
(3) กว้าง 11 นิ้ว ยาว 141/2 นิ้ว
(4) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
ตอบ 2 หน้า 7 – 8 (PDF บทที่ 4), (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์แบ่งตามรูปแบบออกได้ 2 ขนาด ดังนี้
1 หนังสือพิมพ์ขนาดมาตรฐาน (Standard Size) หรือหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ (Broadsheet Newspaper) จะมีความกว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
2 หนังสือพิมพ์ขนาดแท็บลอยด์ (Tabloid Newspaper) หรือหนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก มักจะ มีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ คือ กว้าง 11 ½ นิ้ว ยาว 14 ½ นิ้ว

30 หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (Tabloid Newspaper) มีความกว้างยาวกี่นิ้ว
(1) กว้าง 20 นิ้ว ยาว 30 นิ้ว
(2) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
(3) กว้าง 11 ½ นิ้ว ยาว 14 ½ นิ้ว
(4) กว้าง 14 ½ นิ้ว ยาว 23 ½ นิ้ว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

31 ต่อไปนี้เรื่องใดปกติไม่ปรากฏที่หน้า 1 ของหนังสือพิมพ์รายวัน
(1) ชื่อหนังสือพิมพ์ พร้อมสัญลักษณ์
(2) ปีที่ ฉบับที่ วันที่ เดือน ปี
(3) บทนํา
(4) ภาพประกอบข่าวและภาพข่าว
ตอบ 3 หน้า 145 – 148 หน้าแรกหรือหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ (เปรียบเสมือนปก หรือตู้โชว์ในการ “ขายข่าว”) ถือเป็นหน้าสําคัญที่มีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์มากที่สุด ประกอบด้วย
1 ชื่อหนังสือพิมพ์ พร้อมทั้งสัญลักษณ์ (Logo) คําขวัญ (Slogan) และอาจมีข้อมูลต่าง ๆ ใต้ตัวอักษรชื่อหนังสือพิมพ์ เช่น ปีที่ ฉบับที่ วันที่ เดือน ปี ฯลฯ
2 ส่วนข้างหัวหนังสือพิมพ์ (Ears)
3 ข่าว (ถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญที่สุด)
4 ภาพประกอบข่าวและภาพข่าว
5 สารบัญข่าว
6 โฆษณา
7 คอลัมน์ประจํา (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) เช่น จดหมายเปิดผนึก ตอบปัญหา ฯลฯ

32 หกดาวของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่วางจําหน่ายเขตใด
(1) ภาคใต้
(2) ภาคเหนือ
(3) ภาคกลาง
(4) กรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล
ตอบ 4 (PDF บทที่ 4) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพิมพ์วันละ 6 กรอบ ตามจํานวนดาว ดังนี้
1 * คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคอีสานและภาคตะวันออก
2 * * คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคเหนือ
3 * * * คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคใต้
4 * * * * คือ กรอบจําหน่ายในเขตจังหวัดห่างไกล และเป็นกรอบบ่ายของกรุงเทพฯ
5 * * * * * คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคกลาง
6 * * * * * * คือ กรอบจําหน่ายในเขตกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล

33 หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ เน้นเสนอข่าวประเภทใด
(1) ข่าวชาวบ้าน
(2) ข่าวส่วนตัวของบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคม
(3) ข่าวนักการเมือง
(4) ข่าวในสถาบันการศึกษา
ตอบ 2 หน้า 3, (PDF บทที่ 4) หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (Tabloid Newspaper) เน้นเสนอข่าวส่วนตัว ของบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคมมากกว่าหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ ส่วนหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ใน บ้านเราจะมีบุคลิกและเนื้อหาต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะเน้นนําเสนอเนื้อหาที่ลึกซึ้ง ค่อนข้างเป็นทางการ และไม่เร้าใจเท่าหนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวเบา

34 หนังสือพิมพ์ฉบับใด คือ Regional Newspaper
(1) กรุงเทพธุรกิจ
(2) ไทยนิวส์
(3) สยามรัฐ
(4) มติชน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ

35 ผู้นําหนังสือข่าวมาเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรก คือ
(1) Fred S. Siebert
(2) Dan Beach Bradley
(3) Mark Zuckerberg
(4) Bill Gates
ตอบ 2 หน้า 2, 100, (PDF บทที่ 4) ตามประวัติการหนังสือพิมพ์นั้น หนังสือข่าวเกิดขึ้นเพื่อประกาศ ข่าวการเดินเรือและขนส่งสินค้า โดยหมอสอนศาสนา บรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) เป็นผู้นํา หนังสือข่าวมาเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2437 คือ หนังสือจดหมายเหตุกรุงเทพ หรือบางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder)

36 หนังสือพิมพ์ใดมีเอกลักษณ์การจัดหน้าโดยใช้สีชมพูเป็นหลัก
(1) ข่าวสด
(2) มติชน
(3) บ้านเมือง
(4) เดลินิวส์
ตอบ 4หน้า 141, (PDF บทที่ 4) เอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏ บนหน้าพิมพ์ เพื่อให้ผู้อ่านเคยชินและจําหนังสือพิมพ์ได้ โดยที่ผู้อ่านไม่จําเป็นต้องดูชื่อของ หนังสือพิมพ์ ได้แก่ ขนาดของหนังสือพิมพ์ (มีผลต่อเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์น้อยที่สุด) จํานวนหน้า รูปแบบของตัวอักษร สี แนวของภาพที่เสนอ แนวของถ้อยคําที่ใช้พาดหัวข่าว และที่สําคัญที่สุดก็คือ รูปแบบหรือวิธีการจัดหน้า ซึ่งสามารถสร้างเอกลักษณ์ได้ดีที่สุด ทั้งนี้เพราะหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับจะมีแนวการจัดหน้าของตนเองโดยเฉพาะ เช่น หนังสือพิมพ์เดลินิวส์มีเอกลักษณ์การจัดหน้าโดยใช้สีชมพูเป็นหลัก เป็นต้น

37 พฤติกรรมใดต่อไปนี้ถือว่าผิดจริยธรรม
(1) กินเหล้าหลังเลิกงาน
(2) แสดงบัตรนักข่าวเมื่อจราจรเรียก
(3) ไม่แสดงตัวว่าเป็นนักข่าวขณะทําข่าว
(4) ทะเลาะวิวาทกับเพื่อนร่วมงาน
ตอบ 2 (PDF บทที่ 11) ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์ แห่งชาติ พ.ศ. 2559 ข้อ 23 ได้ระบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ต้องไม่อวดอ้างหรือ อาศัยตําแหน่งหน้าที่เพื่อเรียกร้องสิทธิหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ไม่ชอบ

38 กรณีใดถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
(1) แอบถ่ายหรือสะกดรอยตาม
(2) วิพากษ์วิจารณ์เรื่องส่วนตัวดารานักแสดง
(3) เข้าไปในเคหสถานของผู้ต้องสงสัย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4(PDF บทที่ 11), (คําบรรยาย) การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (Privacy) ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 32 ได้ระบุว่า บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และ ครอบครัว การกระทําอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือการ นําข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จําเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ

39 ข้อใดเป็นจริยธรรมของหนังสือพิมพ์
(1) ไม่สอดแทรกความคิดเห็นนักข่าว
(2) ไม่ลอกข่าวหนังสือพิมพ์อื่น
(3) เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงข่าว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (PDF บทที่ 11), (คําบรรยาย) คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2559 ได้มีมติให้ยกเลิกข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2541 เนื่องจาก ประกาศใช้มานาน ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จึงให้ใช้ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพ หนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2559 แทน เช่น ข้อ 11 หนังสือพิมพ์ต้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ถูกกล่าวหา แสดงข้อเท็จจริง…, ข้อ 22 หนังสือพิมพ์ต้องไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว, ข้อ 26 หนังสือพิมพ์ต้องบอกที่มาของข้อความที่คัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เป็นต้น

40 การเสนอข่าวลําเอียงเพราะกลัวอิทธิพล ผิดจรรยาบรรณข้อใด
(1) ขาดความมีเสรีภาพ
(2) ขาดความเป็นไท
(3) ขาดความจริงใจ
(4) ขาดความเที่ยงธรรม
ตอบ 4หน้า 227 สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้กําหนดจริยธรรมของนักหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2510 ข้อ 5 ความเที่ยงธรรม ได้แก่ ความไม่ลําเอียงหรือความไม่เข้าใครออกใคร ตรงกับ หลักธรรมในพุทธศาสนา คือ ความไม่มีอคติ 4 ประการ ดังนี้
1 ฉันทาคติ (ลําเอียงเพราะรัก)
2 โทสาคติ (ลําเอียงเพราะชัง)
3 โมหาคติ (ลําเอียงเพราะหลง)
4 ภยาค (ลําเอียงเพราะกลัว)

41 R หลัก 3 R อยู่ในกระบวนการรายงานข่าวข้อใด
(1) ความไม่ลําเอียง
(2) การใช้ภาษา
(3) การเสนอข่าวแบบไม่มีอคติ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3(PDF บทที่ 11) สิ่งที่ควรคํานึงในเรื่องของกระบวนการรายงานข่าวประการหนึ่ง คือ การเสนอข่าวแบบไม่มีอคติ ได้แก่ ไม่ควรมีอคติส่วนตัวต่อบุคคลในข่าวที่เกิดจากเชื้อชาติ (Race) ศาสนา (Religion) และสถาบันกษัตริย์ (Royal) ซึ่งเรียกว่า “หลัก 3 R

42 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะที่เป็นการก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรําคาญ จะมีความผิดถูกลงโทษอย่างไร
(1) ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 (PDF จริยธรรมสื่อ) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 11 วรรค 2 ระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อ ปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

43 ผู้ที่นําข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีความผิดตามมาตรา 14 ต้องระวางโทษอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 (PDF จริยธรรมสื่อ) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2560 มาตรา 14 ได้ระบุว่า ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา…

44 หนังสือพิมพ์ที่นําเสนอเนื้อหาข่าวในเว็บไซต์ด้วยการคัดลอกจากเนื้อหาในกระดาษ เรียกว่าอะไร
(1) Cyber Society
(2) E-news
(3) Shovelware
(4) Sidebars
ตอบ 3 (PDF บทที่ 12) Shovelware คือ รูปแบบจากหนังสือพิมพ์กระดาษลงสู่เว็บไซต์โดยไม่ได้ ปรับเนื้อหา หรือหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่นําเสนอเนื้อหาข่าวในเว็บไซต์ด้วยการคัดลอกจาก เนื้อหาในกระดาษ เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ (Thairath Online) เป็นต้น

45 การเกิดขึ้นของ Social Media ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทําข่าวสําคัญข้อใด
(1) ผู้สื่อข่าวต้องเป็นนายทวารข่าวสารด้วยตัวเอง
(2) ผู้สื่อข่าวไม่ต้องทําข่าวเอง
(3) ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวได้ทันที
(4) มีการจ้างผู้สื่อข่าวน้อยลง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การเกิดขึ้นของ Social Media ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทําข่าว ที่สําคัญ คือ ผู้สื่อข่าวจะต้องเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) ด้วยตัวเอง โดยทําหน้าที่ คัดเลือก คัดกรอง และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวก่อนที่จะนําเสนอไปสู่สาธารณชน ดังนั้นสื่อใหม่จึงลดบทบาทการทําหน้าที่ของบรรณาธิการข่าวหรือหัวหน้าข่าว (News Editor) ซึ่งเคยเป็นนายทวารข่าวสารในองค์กรสื่อแบบดั้งเดิม

46 Interactive Media คือสื่อประเภทไหน
(1) วิทยุกระจายเสียง
(2) ภาพยนตร์
(3) วิทยุโทรทัศน์
(4) อินเทอร์เน็ต
ตอบ 4 (คําบรรยาย) อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อประเภท Interactive Media คือ เอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร เพราะเป็นสื่อที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารสามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ โดยผ่านช่องทางการสื่อสารตอบกลับทั้งแบบทันทีทันใด และไม่ใช่ลักษณะทันทีทันใด ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึงเป็นสื่อที่เอื้อต่อการสื่อสารแบบสองทาง (Two Way Communication)

47 Ohmynews เป็นการทําข่าวของผู้สื่อข่าวพลเมืองในประเทศใด
(1) ประเทศสิงคโปร์
(2) ประเทศญี่ปุ่น
(3) ประเทศจีน
(4) ประเทศเกาหลีใต้
ตอบ 4 (PDF บทที่ 12) วารสารศาสตร์พลเมือง (Citizen Journalism) คือ ประชาชนมีส่วนร่วม ในการรายงานข่าว โดยใช้สื่อพลเมือง (Citizen Mecia) เป็นช่องทางเพื่อให้ประชาชนเป็น ผู้รายงานข่าว แสดงความคิดเห็น และโต้ตอบบนเว็บเพจในอินเทอร์เน็ตได้ในลักษณะของ Online Journalism เช่น Ohmynews เป็นลักษณะการทําข่าวของผู้สื่อข่าวพลเมืองใน ประเทศเกาหลีใต้ที่ประสบความสําเร็จเป็นอย่างมาก เป็นต้น

48 สิ่งที่นักวารสารศาสตร์ต้องทําอย่างมากเมื่อมาทําข่าวออนไลน์
(1) ต้องทําข่าวตลอด 24 ชั่วโมง
(2) ต้องไม่ลืมกลั่นกรองคุณภาพข้อมูลตลอดเวลา
(3) ต้องรายงานแบบ Realtime เสมอ
(4) ต้องทําข่าวทุกขั้นตอนด้วยตัวคนเดียว
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

49 Citizen Journalism คือ
(1) ผู้สื่อข่าวพิเศษ
(2) ประชาชนมีส่วนร่วมในการรายงานข่าว
(3) ผู้สื่อข่าวภาคสนาม
(4) การใช้สื่อใหม่ในการรายงานข่าว
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

50 สํานักข่าวใดถือว่าเป็นสํานักข่าวออนไลน์โดยเฉพาะ (ไม่มีช่องทางเผยแพร่ในสื่อกระแสหลัก)
(1) The Reporter
(2) The Standard
(3) Thairath
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 (PDF ลักษณะหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์) สื่อออนไลน์ในปัจจุบัน แบ่งออกได้ดังนี้
1 สื่อออนไลน์ที่มาจากองค์กรสื่อดั้งเดิม และทําสื่อออนไลน์เพิ่ม เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์,
ข่าวสด, คมชัดลึก, บางกอกโพสต์, ไทยพีบีเอส เป็นต้น
2 สื่อออนไลน์ที่เกิดขึ้นใหม่ และจัดเป็นสํานักข่าวออนไลน์โดยเฉพาะ (ไม่มีช่องทางเผยแพร่ ในสื่อกระแสหลัก) เช่น Workpoint Today, The Reporter, The Standard, สํานักข่าว อิศรา, ลงทุนแมน เป็นต้น

51 ข้อใดไม่ใช่จุดเด่นของหนังสือพิมพ์ที่เน้นข่าวหนัก
(1) เน้นข่าวประเภทเร้าอารมณ์
(2) เน้นผลกระทบของเหตุการณ์
(3) จัดเรียงหน้าไม่หวือหวา
(4) เน้นผลกระทบทางเศรษฐกิจ การเมือง
ตอบ 1 (PDF ลักษณะหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์), (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ) จุดเด่นของหนังสือพิมพ์ที่เน้นข่าวหนัก (Hard News Newspaper) ได้แก่
1 มีองค์ประกอบข่าวด้านผลกระทบต่อสังคมในมิติเก มิติกว้าง มิติไกล โดยเน้นผลกระทบ
ทางเศรษฐกิจและการเมือง
2 เน้นแง่มุมที่มีความสําคัญในการสะท้อนถึงผลกระทบของเหตุการณ์และ/หรือสถานการณ์
กลไกทางสังคมระดับต่าง ๆ
3 เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นข่าวประจําวัน
4 จัดหน้าแบบเรียบง่าย ไม่หวือหวา

52 ข้อใดไม่ใช่การแบ่งประเภทของหนังสือพิมพ์ที่ถูกต้อง
(1) หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวเบา
(2) หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวหนัก
(3) หนังสือพิมพ์ประเภทกึ่งข่าวเบาข่าวหนัก
(4) หนังสือพิมพ์ประเภทข่าวทั่วไป
ตอบ 4 (PDF ลักษณะหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์) ประเภทของหนังสือพิมพ์ แบ่งออกได้ดังนี้
1 หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวเบา (Soft News Newspaper)
2 หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวหนัก (Hard News Newspaper)
3 หนังสือพิมพ์ประเภทกึ่งข่าวเบาข่าวหนัก (Combination Newspaper)
4 หนังสือพิมพ์ประเภทเนื้อหาเฉพาะด้าน (Specialized Newspaper)

53 หนังสือพิมพ์ในอดีตส่วนมากใช้สัญลักษณ์อะไรในการแบ่งการจัดจําหน่ายในแต่ละภูมิภาค
(1) สี่เหลี่ยม
(2) สามเหลี่ยม
(3) ดาว
(4) หกเหลี่ยม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

54 หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น จัดอยู่ในประเภทหนังสือพิมพ์แบบใด
(1) หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวเบา
(2) หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวหนัก
(3) หนังสือพิมพ์ประเภทเนื้อหาเฉพาะด้าน
(4) หนังสือพิมพ์ประเภทกึ่งข่าวเบาข่าวหนัก
ตอบ 3 (PDF ลักษณะหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์), (ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ) หนังสือพิมพ์ ประเภทเนื้อหาเฉพาะด้าน (Specialized Newspaper) จะมีเนื้อหาเจาะจงเฉพาะด้านตาม ความสนใจของผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม ได้แก่ หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจ (เช่น ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหุ้น) หนังสือพิมพ์กีฬา (เช่น สยามกีฬา สปอร์ตพูล) เป็นต้น

55 สํานักข่าวใดที่เป็นองค์กรสื่อดั้งเดิมและทําสื่อออนไลน์เพิ่ม
(1) 101 เวิลด์
(2) เดอะ แมทเทอร์
(3) เดอะ รีพอร์ตเตอร์
(4) ไทยรัฐ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 50 ประกอบ

56 สํานักข่าวใดที่เป็นองค์กรสื่อที่ทําข่าวบนสื่อออนไลน์อย่างเดียว
(1) ไทยพีบีเอส
(2) เวิร์คพอยท์ ทูเดย์
(3) เดลินิวส์
(4) บางกอกโพสต์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 50 ประกอบ

57 สํานักข่าวออนไลน์ใดที่เน้นข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน
(1) สํานักข่าวบางกอกโพสต์
(2) สํานักข่าวไทยรัฐ
(3) สํานักข่าวอิศรา
(4) สํานักข่าวคมชัดลึก
ตอบ 3 (PDF ลักษณะหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์), (ดูคําอธิบายข้อ 50 ประกอบ) สํานักข่าว อิศรา เป็นสํานักข่าวที่เน้นข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน โดยมีศูนย์ข่าวสืบสวนเพิ่มเติมขึ้นมาใน ภายหลัง เพื่อนําเสนอข่าวเชิงลึก และเน้นเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริงที่มีผลต่อการตรวจสอบ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต

58 หนังสือพิมพ์ฉบับใดที่ยุติการพิมพ์แบบกระดาษแล้ว
(1) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
(2) หนังสือพิมพ์ข่าวสด
(3) หนังสือพิมพ์มติชน
(4) หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) หนังสือพิมพ์บ้านเมืองได้ยุติการผลิตหนังสือพิมพ์แบบกระดาษนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ทั้งนี้หนังสือพิมพ์บ้านเมืองได้ดําเนินธุรกิจมาถึง 44 ปี และ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 โดยบริษัท บ้านเมืองการพิมพ์ จํากัด ซึ่งมีที่มาจาก การรวมตัวกันของนักหนังสือพิมพ์และนักธุรกิจกลุ่มหนึ่ง

59 ข้อใดเป็นจุดเด่นของการรับข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์
(1) สามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นได้แบบทันทีทันใด
(2) ใช้งบประมาณในการผลิตและดําเนินการสูง
(3) ทิศทางการไหลของข่าวสารไปในทิศทางเดียว
(4) ไม่สามารถกลับไปฟังย้อนหลังได้หรือฟังซ้ําได้อีก
ตอบ 1 (PDF ช่องทางในการนําเสนอเนื้อหาทางวารสารศาสตร์ในปัจจุบัน) ข้อดีของการนําเสนอข่าว ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) มีดังนี้
1 เข้าถึงเนื้อหาข่าวสารได้จากทุกที่และตลอดเวลา โดยต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2 แบ่งปันเนื้อหาแบบมัลติมีเดีย ทั้งภาพและวีดิโอจากหลายแหล่ง
3 แบ่งปันเนื้อหาจากสื่อโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มหนึ่งไปยังอีกแพลตฟอร์มหนึ่งได้
4 สามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นได้แบบทันทีทันใด และระดมความคิดเห็นจาก ผู้รับสาร โดยการเปิดพื้นที่ให้โยนประเด็นมา
5 สามารถดูย้อนหลังหรือดูซ้ําได้

60 ข้อใดคือช่องทางการรับข่าวสารผ่านเสียงที่กําลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน
(1) พอดคาสต์
(2) บอร์ดคาสต์
(3) มีคาสต์
(4) ซาวด์คาสต์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ

ข้อ 61 – 65 จงใช้ภาพด้านล่างตอบคําถามต่อไปนี้

 

 

61 จากภาพ A หมายถึงข้อใด
(1) หัวข่าวรอง
(2) หัวหนังสือพิมพ์
(3) คําบรรยายภาพ
(4) วรรคนํา
ตอบ 2

62 จากภาพ B หมายถึงข้อใด
(1) หัวข่าวรอง
(2) คําบรรยายภาพ
(3) หัวข่าว
(4) ภาพข่าว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

63 จากภาพ C หมายถึงข้อใด
(1) ข้อความแจ้งหน้าต่อ
(2) หัวข่าวรอง
(3) หัวข่าว
(4) ภาพข่าว
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

64 จากภาพ D หมายถึงข้อใด
(1) หัวข่าว
(2) คําบรรยายภาพ
(3) วรรคนํา
(4) ภาพข่าว
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

65 จากภาพ E หมายถึงข้อใด
(1) หัวข่าวรอง
(2) หัวหนังสือพิมพ์
(3) ภาพข่าว
(4) คําบรรยายภาพ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

66 บริการ Line Today ทําพาร์ตเนอร์กับสํานักข่าวกองค์กร
(1) 20
(2) 120
(3) 220
(4) 320
ตอบ 2 (PDF ช่องทางในการนําเสนอเนื้อหาทางวารสารศาสตร์ในปัจจุบัน) แพลตฟอร์มไลน์ (Line) ได้เปิดให้บริการ Line Today ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มกลางในการรวบรวมข่าว (News Portal Platform) จากพาร์ตเนอร์ที่เป็นองค์กรสื่อประมาณ 120 องค์กร เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งให้ กลุ่มสื่อดั้งเดิม (Traditional Media) ได้เข้าถึงฐานผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้มากขึ้น

67 สื่อสังคมออนไลน์ใดที่มีบัญชีผู้ใช้มากที่สุดในประเทศไทย
(1) ทวิตเตอร์
(2) ยูทูบ
(3) เฟซบุ๊ก
(4) อินสตาแกรม
ตอบ 3 (PDF ช่องทางในการนําเสนอเนื้อหาทางวารสารศาสตร์ในปัจจุบัน) สื่อสังคมออนไลน์ที่มี บัญชีผู้ใช้มากที่สุดในประเทศไทยตามผลการสํารวจในปี ค.ศ. 2020 เรียงตามลําดับได้ดังนี้
1 Facebook มีบัญชีผู้ใช้ 58 ล้านคน
2 Line มีบัญชีผู้ใช้ 45 ล้านคน
3 YouTube มีบัญชีผู้ใช้ 40 ล้านคน
4 TikTok มีบัญชีผู้ใช้ 18 ล้านคน
5 Instagram มีบัญชีผู้ใช้ 16 ล้านคน
6 Twitter มีบัญชีผู้ใช้ 7.15 ล้านคน

68 องค์กรสื่อดั้งเดิมในปัจจุบันมีการเพิ่มฝ่ายใด เพื่อให้เข้าถึงผู้รับสารได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
(1) ฝ่ายโทรทัศน์
(2) ฝ่ายวิทยุ
(3) ฝ่ายข่าว
(4) ฝ่ายดิจิทัลแพลตฟอร์ม
ตอบ 4 (PDF โครงสร้างองค์กรหนังสือพิมพ์ และองค์กรสื่อรูปแบบต่าง ๆ ในปัจจุบัน) ฝ่ายดิจิทัล แพลตฟอร์ม ถือเป็นสายงานใหม่ที่เกิดขึ้นและมีความสําคัญอย่างมากขององค์กรสื่อดั้งเดิม ในปัจจุบัน เนื่องจากภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการที่ผู้รับสารนิยมรับสื่อผ่าน แพลตฟอร์มดิจิทัล หรือแพลตฟอร์มออนไลน์มากยิ่งขึ้น ทําให้องค์กรสื่อต้องขยายช่องทาง ที่สามารถทําให้เข้าถึงผู้รับสารที่อยู่ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้หลากหลายมากที่สุด

69 แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ใดที่สํานักข่าวต้องนําเสนอขนาดภาพแบบแนวตั้งเท่านั้น
(1) ติ๊กต็อก
(2) เฟซบุ๊ก
(3) ทวิตเตอร์
(4) อินสตาแกรม
ตอบ 1 (PDF ช่องทางในการนําเสนอเนื้อหาทางวารสารศาสตร์ในปัจจุบัน) TikTok เป็นแพลตฟอร์ม ที่นําเสนอภาพเคลื่อนไหวหรือคลิปวิดีโอสั้น ๆ แบบแนวตั้ง ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้ไทยราว 18 ล้านคน ทําให้องค์กรสื่อหันมาใช้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเข้าถึงผู้รับสาร แต่ต้องนําเสนอขนาดภาพแบบแนวตั้งเท่านั้น

70 แพลตฟอร์มออนไลน์ใหม่ของช่อง 33HD คือ
(1) CH3Plus
(2) One HD
(3) TrueID
(4) Bright TV
ตอบ 1 (PDF โครงสร้างองค์กรหนังสือพิมพ์ และองค์กรสื่อรูปแบบต่าง ๆ ในปัจจุบัน) สถานีวิทยุ โทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (ช่อง 33HD) ได้พัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์รองรับทุกความต้องการ ของผู้ชมบนโลกดิจิทัล ภายใต้แบรนด์ “CH3Thailaric” และ “CH3Plus” ดําเนินงานบริหาร โดยบริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอร์เรชั่น จํากัด ภายใต้กลุ่มบริษัท บีอีซี เวิลด์

71 พาดหัวข่าวใดที่มีคุณค่าข่าวตรงกับเรื่องความสะเทือนอารมณ์
(1) กู้ภัยขอโทษ ศพห่อผ้าขาวหล่นกลางถนน ทําชาวบ้านแตกตื่น
(2) ข่าวปลอม! เสลดพังพอนตัวผู้ ใช้รักษาโรคมะเร็งเต้านม
(3) “ป๊อกบา” ขู่ฟ้องสื่อลงข่าวมั่วเลิกเล่นทีมชาติ เพราะเรื่องศาสนา
(4) ข่าวจริง! กรมบัญชีกลางเพิ่มวงเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 500 บาท
ตอบ 1 (PDF ความหมายและอุดมการณ์ข่าว) ความสะเทือนอารมณ์ (Human Interest/Emotion) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วทําให้ผู้รับสารสนใจเป็นอย่างมาก โดยประเด็นจากเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจกับผู้รับสาร เช่น พาดหัวข่าว “กู้ภัยขอโทษ ศพห่อผ้าขาวหล่น กลางถนน ทําชาวบ้านแตกตื่น” เป็นต้น

72 ข้อใดไม่ใช่โครงสร้างของกองบรรณาธิการ
(1) ฝ่ายภาพ/กราฟฟิก
(2) ฝ่ายการเงิน
(3) ฝ่ายบรรณาธิกรณ์
(4) ฝ่ายศูนย์ข้อมูล
ตอบ 2

73 ข้อใดไม่ใช่คุณค่าข่าว
(1) ความขัดแย้ง
(2) มีบุคคลที่มีชื่อเสียง
(3) เป็นเรื่องไกลตัว
(4) ความสดใหม่
ตอบ 3 (PDF ความหมายและอุดมการณ์ข่าว) คุณค่าข่าว (News Value) จะเป็นหลักอ้างอิงได้ว่า สิ่งที่เราจะนําเสนอให้เป็นข่าวมีคุณค่าเพียงพอหรือไม่ โดยคุณค่าข่าวมีอยู่ 10 ข้อ ได้แก่
1 ความสดใหม่
2 มีผลกระทบกระเทือน
3 เป็นเรื่องใกล้ตัว
4 มีบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือบุคคลสําคัญ
5 ความขัดแย้ง
6 ความสะเทือนอารมณ์
7 ความมีเงื่อนงํา
8 มีความแปลก
9 เรื่องเกี่ยวกับเพศ
10 ความก้าวหน้าทางวิทยาการ

74 พาดหัวข่าวนี้ “ชมภาพจากยาน Curiosity โชว์ภาพสภาพท้องฟ้าบนดาวอังคาร” มีคุณค่าข่าวใดมากที่สุด
(1) มีเงื่อนงํา
(2) ความแปลก
(3) เรื่องเพศ
(4) ความก้าวหน้าทางวิทยาการ
ตอบ 4 (PDF ความหมายและอุดมการณ์ข่าว), (ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ) ความก้าวหน้าทาง วิทยาการ (Progress) เป็นเหตุการณ์ที่ทําให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และ วิทยาการทางการแพทย์ ทางวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ชีววิทยา หรือสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยถูกค้นพบมาก่อน

75 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของการรายงานข่าวที่ดี
(1) สมดุลและเที่ยงธรรม
(2) ความเสมอต้นเสมอปลาย
(3) ถูกต้องครบถ้วน
(4) ง่าย กะทัดรัด และชัดเจน

ตอบ 2 (PDF ความหมายและอุดมการณ์ข่าว) คุณลักษณะของการรายงานข่าวที่ดี ประกอบด้วย
5 ข้อสําคัญ ได้แก่
1 ถูกต้องครบถ้วน
2 สมดุลและเที่ยงธรรม
3 เที่ยงตรงหรือภววิสัย
4 ง่าย กะทัดรัด และชัดเจน
5 ทันต่อเหตุการณ์

76 พาดหัวข่าวนี้ “อุตุนิยมวิทยาเตือน “โมลาเบ” ฝนถล่ม 44 จังหวัดหนัก” ไม่มีคุณค่าข่าวใด
(1) เรื่องใกล้ตัว
(2) มีผลกระทบกระเทือน
(3) ความก้าวหน้าทางวิทยาการ
(4) ความสดใหม่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 73. และ 74. ประกอบ

77 อะไรคือความเป็นกลางของ “เฮมานุส”
(1) ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและทันต่อเหตุการณ์
(2) เนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริงและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
(3) ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและเข้าใจง่าย
(4) เนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริงและเข้าใจง่าย
ตอบ 2 (PDF ความจริง ข้อมูล ความคิดเห็น และความเป็นกลางในงานวารสารศาสตร์) เฮมานุส (Pertti Hemanus) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ประจําคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยแทมแพร์ (Tampere) ประเทศฟินแลนด์ ได้กล่าวไว้ว่า “ความเป็นกลาง” ประกอบด้วย คุณลักษณะสําคัญ 2 ประการ ดังนี้
1 เนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริง (Matter of Fact Character)
2 ความไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Impartiality)

78 ข้อใดไม่ใช่นักคิดด้านวารสารศาสตร์ที่พูดถึงเรื่องความเป็นกลาง
(1) เบน แบ็กติเกียน
(2) คอนราด ฟังก์
(3) เฮมานุส
(4) แจ็ค โรบินสัน
ตอบ 4(PDF ความจริง ข้อมูล ความคิดเห็น และความเป็นกลางในงานวารสารศาสตร์) นักคิดด้าน วารสารศาสตร์ที่พูดถึงเรื่องความเป็นกลาง ได้แก่
1 เบน แบ็กดิเกียน (Ben H. Bagdikian)
2 คอนราด ฟิงก์ (Conrad C. Fink)
3 เฮมานุส (Pertti Hemanus)
4 จอห์น ซี. เมอร์ริล (John C. Merrill)

79 ข้อใดคือการรายงานข่าวที่สมดุลและเที่ยงธรรม
(1) เปิดพื้นที่ให้บุคคลในข่าวได้ให้ข้อมูลอย่างเต็มที่
(2) ปราศจากอคติของผู้รายงาน
(3) เขียนให้เข้าใจง่าย
(4) ทันต่อเหตุการณ์
ตอบ 1 (PDF ความหมายและอุดมการณ์ข่าว), (ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ) สมดุลและเที่ยงธรรม (Balance and Fairness) คือ ข่าวที่นําเสนอจะต้องให้พื้นที่กับบุคคลที่เป็นข่าวอย่างเป็นธรรม และสมดุล หมายถึง การเปิดพื้นที่ให้บุคคลที่เป็นข่าวได้มีพื้นที่ในการให้ข้อมูลอย่างเต็มที่ และ ถ้าหากเป็นกรณีที่มีคู่ขัดแย้งกันในข่าวก็ต้องให้พื้นที่กับทั้ง 2 ฝ่าย ได้นําเสนอข้อมูลอย่างเต็มที่
และมีความสมดุลกัน

80 ข้อใดเป็นกลยุทธ์การแสดงให้เห็นถึงความเป็นกลาง
(1) นําเสนอหลักฐานสนับสนุนข้อเท็จจริง
(2) เข้าใจง่าย
(3) ไม่ลําเอียง
(4) ปราศจากอคติ
ตอบ 1 (PDF ความจริง ข้อมูล ความคิดเห็น และความเป็นกลางในงานวารสารศาสตร์) กลยุทธ์ การแสดงให้เห็นความเป็นกลางของหนังสือพิมพ์มีอยู่ 4 ลักษณะ ดังนี้
1 เปิดโอกาสให้เสนอข้อเท็จจริง ความคิดเห็นในกรณีขัดแย้งหลายฝ่าย โดยให้ผู้อ่านตัดสิน จากข้อมูลเหล่านั้นเอง

2 นําเสนอหลักฐานสนับสนุนข้อเท็จจริง
3 ความชอบธรรมในการคัดลอกหรือโค้ดคําพูดของแหล่งข่าว
4 ลําดับความสําคัญของข้อเท็จจริงตามโครงสร้างที่เหมาะสม เช่น โครงสร้างการเขียนข่าว
รูปพีระมิดหัวกลับ

81 ข้อใดไม่ใช่แนวคิด “ความเป็นกลาง” ของจอห์น ซี. เมอร์ริล
(1) ไม่ใส่ความเห็น
(2) เข้าใจง่าย
(3) ไม่ลําเอียง
(4) ปราศจากอคติ
ตอบ 2 (PDF ความจริง ข้อมูล ความคิดเห็น และความเป็นกลางในงานวารสารศาสตร์), (ดูคําอธิบาย ข้อ 78. ประกอบ) จอห์น ซี. เมอร์ริล (John C. Merrill) ศาสตราจารย์ทางวารสารศาสตร์ใน สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การรายงานข่าวอย่างเป็นกลาง คือ รายงานที่รู้จักแยกแยะ ปราศจาก อคติ ไม่ใส่ความเห็น ไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ลําเอียง รอบคอบ และไม่ผิดพลาด โดยผู้สื่อข่าวต้อง รายงานสิ่งที่เป็นความจริงทั้งหมด

82 ข้อใดคือความหมายของคําว่า “จริยธรรมสื่อมวลชน”
(1) กฎหมายบังคับของสื่อมวลชน
(2) ข้อตกลงของสื่อมวลชน
(3) ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติของสื่อมวลชน
(4) ข้อห้ามของสื่อมวลชน
ตอบ 3 (PDF จริยธรรมสื่อ) จริยธรรมสื่อมวลชน คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติของสื่อมวลชน

83 อะไรคือความแตกต่างระหว่าง “บทความ” และ “ข่าว
(1) เน้นข้อมูลจากแหล่งข่าว
(2) เน้นความคิดเห็นของผู้เขียน
(3) เน้นข้อเท็จจริง
(4) เน้นข้อมูลสถิติ
ตอบ 2 (PDF ความจริง ข้อมูล ความคิดเห็น และความเป็นกลางในงานวารสารศาสตร์) บทความ เป็นงานเขียนอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้อ่านเห็นได้บ่อยในปัจจุบัน และหลายครั้งผู้อ่านก็ไม่สามารถ แยกออกได้ว่า เป็นงานเขียนประเภท “ข่าว” หรือ “บทความ” ซึ่งรุจน์ โกมลบุตร (2556) ได้สรุปว่า บทความ คือ งานเขียนที่เน้นแสดงความคิดเห็นของผู้เขียน และใช้ข้อมูลสนับสนุน เพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้อ่านคล้อยตามความคิดเห็น

84 ข้อใดไม่ใช่ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ โดยสภาการหนังสือพิมพ์
(1) การได้มาซึ่งข้อมูลโดยไม่ละเมิด
(2) เน้นข้อมูลที่เป็นความคิดเห็น
(3) ความสมดุลและเป็นธรรม
(4) ความรับผิดชอบในการแก้ข่าว
ตอบ 2 (PDF จริยธรรมสื่อ) ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์ แห่งชาติ พ.ศ. 2559 หมวด 2 ว่าด้วยหลักจริยธรรมทั่วไป ได้แก่ ความถูกต้องและข้อเท็จจริง, ประโยชน์สาธารณะ, ความสมดุลและเป็นธรรม ตลอดจนการเคารพสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ ส่วนหมวด 3 หลักกระบวนการทํางาน ได้แก่ การปกปิดและเคารพแหล่งข่าว ความรับผิดชอบในการแก้ข่าว, การแยกแยะข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น, การละเว้นอามิสสินจ้าง และผลประโยชน์ทับซ้อน, การได้มาซึ่งข้อมูลโดยไม่ละเมิด, โฆษณาที่ไม่แอบแฝงและงมงาย

85 ข้อใดเป็นปัญหาจริยธรรมของสื่อออนไลน์
(1) ให้พื้นที่ข่าวอย่างเท่าเทียม
(2) ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
(3) นําเสนอข่าวรอบด้าน
(4) นําเสนอเนื้อหาจากสื่อออนไลน์โดยไม่ขออนุญาตเจ้าของ

ตอบ 4 (PDF จริยธรรมสื่อ) ปัญหาเชิงจริยธรรมของสื่อออนไลน์ มีดังนี้
1 การนําเสนอข่าวไม่รอบด้าน
2 การละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ตกเป็นข่าว
3 การนําเสนอเนื้อหาจากสื่อสังคมออนไลน์โดยไม่มีการบอกแหล่งที่มา หรือไม่ได้ขออนุญาต
จากเจ้าของเนื้อหานั้น

86 “เผยชีวิตบั้นปลาย “โอ-วรุฒ” ตกอับ-ของานทํา” พาดหัวข่าวนี้ผิดจริยธรรมข้อใด
(1) ความรับผิดชอบในการแก้ข่าว
(2) การปกปิดและเคารพแหล่งข่าว
(3) โฆษณาที่ไม่แอบแฝงและงมงาย
(4) การเคารพสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ตอบ 4 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 84. ประกอบ) ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2559 การเคารพสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ข้อ 13 หนังสือพิมพ์ต้องเสนอข่าวโดยคํานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลที่ตกเป็นข่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องให้ความคุ้มครองอย่างเคร่งครัดต่อสิทธิมนุษยชนของเด็ก สตรี ผู้ด้อย โอกาส รวมทั้งต้องไม่เป็นการซ้ำเติมความทุกข์หรือโศกนาฏกรรมอันเกิดแก่เด็ก สตรี ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีอัตลักษณ์แตกต่างในสังคม

87 ข่าว “น้องอินฝ่าฝนจากพัทยาไปหาสาวทอม โทร.งอนกันระหว่างทาง คาดไม่ชินถนนชนสยอง” พาดหัวข่าวนี้ผิดจริยธรรมสื่อข้อใด
(1) ความสมดุลและเป็นธรรม
(2) ความรับผิดชอบในการแก้ข่าว
(3) โฆษณาที่ไม่แอบแฝงและงมงาย
(4) การแยกแยะข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น
ตอบ 1 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 84. ประกอบ) ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2559 ความสมดุลและเป็นธรรม ข้อ 10 หนังสือพิมพ์ต้อง แสดงความพยายามในการให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

88 ในประเด็นเรื่องความเป็นกลางทางวารสารศาสตร์ ความลําเอียงของผู้อ่านขึ้นอยู่กับอะไร
(1) ประสบการณ์ของผู้รับสาร
(2) อ่านอย่างรอบด้าน
(3) อ่านด้วยใจเป็นกลาง
(4) ความเห็นจากผู้อื่น
ตอบ 1 (PDF ความจริง ข้อมูล ความคิดเห็น และความเป็นกลางในงานวารสารศาสตร์) ในประเด็น เรื่องความเป็นกลางทางวารสารศาสตร์นั้น ความลําเอียงของผู้อ่านขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
1 ประสบการณ์ของผู้รับสาร
2 ข้อมูลที่มีอยู่ก่อนหน้าการอ่านข่าวนั้น ๆ

89 การนําเสนอใบหน้าผู้เสียหายในคดีอาญา หรือภาพการเสียชีวิตมานําเสนอข่าว อาจผิดกฎหมายในประมวล กฎหมายอาญามาตราใด
(1) มาตรา 40
(2) มาตรา 300
(3) มาตรา 326
(4) มาตรา 256
ตอบ 3 (PDF จริยธรรมสื่อ) การเปิดเผยใบหน้าของผู้เสียหายในคดีอาญา หรือนําภาพการเสียชีวิต ของบุคคลมาประกอบการเสนอข่าว อาจจะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

90 “แม่ลูกจันทร์” มั่นใจว่าศึกเลือกตั้งชิงนายก อบจ. 76 จังหวัดครั้งนี้จะดุเดือดถึงพริกถึงขิงไม่แพ้ศึกเลือกตั้ง ส.ส. อย่างแน่นอน” ข้อความนี้จัดอยู่ในงานเขียนประเภทใด
(1) บทบรรณาธิการ
(2) ข่าว
(3) บทนํา
(4) บทความวิจารณ์
ตอบ 4 (PDF ความจริง ข้อมูล ความคิดเห็น และความเป็นกลางในงานวารสารศาสตร์) คุณมาลี บุญศิริพันธ์ (2548) ได้แบ่งประเภทของบทความตามประเภทของคอลัมน์ที่ปรากฏอยู่ใน หนังสือพิมพ์ทั่วไป ได้แก่
1 บทบรรณาธิการ หรือบทนํา
2 บทความวิจารณ์ เช่น คอลัมน์สํานักข่าวหัวเขียว โดย “แม่ลูกจันทร์”
3 บทความวิเคราะห์
4 บทความเชิงวิชาการ
5 บทความแนะนําปฏิบัติ
6 บทความสร้างอารมณ์ขัน
7 บทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป

91 ข้อใดไม่ใช่ข้อเขียนประเภท “บทความ
(1) บทบรรณาธิการ
(2) ข่าว
(3) บทนํา
(4) บทความวิจารณ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

92 ข้อใดเป็นความหมายของการ “รายงานข่าวอย่างเป็นกลาง”
(1) เลือกยืนอยู่บนความถูกต้องและแสดงออกจุดยืนชัดเจน
(2) การให้พื้นที่แหล่งข่าวที่มีความเห็นต่าง แสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน
(3) การปกปิดข้อมูล และใช้ทุกวิธีโดยไม่ต้องคํานึงถึงการปกป้องสิทธิเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ลึกที่สุด
(4) การแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในการนําเสนอข่าว
ตอบ 2

93 ข้อใดต่อไปนี้ไม่สะท้อนถึงการทําหน้าที่บนจริยธรรม
(1) สุดามอนิเตอร์ประเด็นบนสื่อออนไลน์ แล้วนําข้อมูลไปตรวจสอบข้อเท็จจริงจากแหล่งข่าวที่ยืนยันได้
ก่อนรายงานข่าว
(2) นพพรใช้ช่องทางเพจข่าว เพื่อให้คนมาแสดงความเห็นต่อประเด็นสังคมอย่างมีเหตุมีผล
(3) ทิพย์รายงานข่าวด้วยการใช้อารมณ์ความรู้สึกร่วม เพื่อให้คนอยากติดตามข่าวจํานวนมาก
(4) รักษ์เปิดเผยกระบวนการได้ข้อมูลการตรวจสอบทุจริตที่นํามารายงานข่าว และไม่บิดเบือนข้อมูล
ในการนําเสนอ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

94 ข่าวใดต่อไปนี้เป็นข่าว Soft News
(1) “แอปเปิล” หุ้นร่วงหลังยอดขายในจีนตกผู้บริโภคชะลอ
(2) จับตารัฐ “สวิงสเตท” ชี้ขาดศึกเลือกตั้งสหรัฐฯ ทรัมป์-ไบเดน ใครจะคว้าชัย
(3) “บิ๊กป้อม” ลงภูเก็ตอนุรักษ์ชายหาด กระตุ้นท่องเที่ยว
(4) มารีประกาศชัด โสดจีบได้ เคลียร์ชัดสถานะไฮโซหนุ่มทายาทร้านทอง
ตอบ 4 (PDF ลักษณะหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์) หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวเบา (Soft News Newspaper) คือ การเสนอข่าวประเภทเร้าอารมณ์ เน้นความสนใจของปุถุชนวิสัย (Human Interest) และเน้นปริมาณความเสียหายเป็นหลัก ได้แก่ ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวประกวดนางงาม ข่าวบันเทิง ข่าวแวดวงสังคม และ Celebrity ฯลฯ ตัวอย่างของหนังสือพิมพ์ที่เน้นข่าวเบา เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด ฯลฯ

95 ข้อใดคือการรายงานข่าวที่คํานึงถึง “สิทธิของผู้อยู่ในข่าว”
(1) ให้โอกาสแหล่งข่าวพูดในสิ่งเขาต้องการมากที่สุด
(2) ไม่นําเสนอชื่อ แหล่งที่อยู่ หรือข้อมูลที่ระบุตัวตนของแหล่งข่าว
(3) ตัดต่อภาพให้แหล่งข่าวดูดีที่สุด โดยไม่คํานึงถึงข้อเท็จจริง
(4) บอกรายละเอียดส่วนตัวของแหล่งข่าวให้ละเอียดที่สุด เพื่อเป็นการให้เกียรติ
ตอบ 2 (PDF บทที่ 11) ตัวอย่างข้อบัญญัติจริยธรรมวิชาชีพประการหนึ่ง ได้แก่ ปกปิดชื่อและฐานะ ของบุคคลที่ให้ข่าวเป็นความลับ เพื่อความมั่นใจและความปลอดภัยของบุคคลที่ให้ข่าว

96 ข้อดีของการนําเสนอข่าวผ่านเว็บไซต์ คือข้อใด
(1) รวดเร็ว พื้นที่ไม่จํากัด ปฏิสัมพันธ์ได้ เชื่อมโยงข้อมูลให้ลึกรอบด้านได้
(2) เสียงสร้างจินตนาการ ปฏิสัมพันธ์ได้
(3) เก็บสะสม มีเวลาที่แน่นอนในการนําเสนอข่าวสาร
(4) ใช้ทรัพยากร กําลังคนจํานวนมากในการทํางาน
ตอบ 1 (PDF ช่องทางในการนําเสนอเนื้อหาทางวารสารศาสตร์ในปัจจุบัน) ข้อดีของการนําเสนอข่าว ผ่านเว็บไซต์ (Website) มีดังนี้
1 นําเสนอเนื้อหาในรูปแบบมัลติมีเดียได้ คือ ใส่ตัวหนังสือ ภาพนิ่ง กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว
2 สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลาและจากทุกพื้นที่
3 เป็นช่องทางการสื่อสารแบบสองทางได้รวดเร็ว
4 มีรูปแบบหลากหลาย เนื้อหาเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
5 เป็นสื่อที่มีความเป็น Interactive คือ ผู้ใช้สามารถมีปฏิสัมพันธ์บนเว็บไซต์ได้ ฯลฯ

97 ข้อใดคือหนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวเบา
(1) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
(2) หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น
(3) หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
(4) หนังสือพิมพ์สยามสปอร์ต
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 94 ประกอบ

98 ทําไมโซเชียลมีเดียจึงเป็นช่องทางในการสื่อข่าวที่ดี
(1) รวดเร็ว ผิดได้ ไม่มีคนสนใจ
(2) สามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นได้แบบทันทีทันใด
(3) ข้อมูลจํานวนมาก ไม่จําเป็นต้องตรวจสอบข้อมูล ทําให้มีคนอ่านเพิ่ม
(4) ราคาถูก ทุกคนเป็นเจ้าของได้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

99 ข้อใดเป็นลักษณะของการสื่อข่าวบนโซเชียลมีเดีย
(1) ใช้ในการส่งต่อข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง
(2) ต้องเน้นข้อความและการทําข่าวแบบที่ต้องใช้เวลานาน
(3) ใช้เสียงในการนําเสนอเป็นหลัก
(4) ระดมความคิดเห็นจากผู้รับสาร เปิดพื้นที่ให้โยนประเด็นมา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

100 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของสื่อออนไลน์ที่เกิดขึ้นใหม่
(1) มีเนื้อหาที่หลากหลายตามแต่จุดเด่นของสํานักข่าวนั้น
(2) มีเนื้อหาในการนําเสนอเฉพาะเรื่องอย่างชัดเจน
(3) พื้นที่จํากัด หารายได้ไม่ได้
(4) นําเสนอบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่หลากหลายช่องทาง
ตอบ 3 (PDF ลักษณะหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์) ลักษณะของสื่อออนไลน์ที่เกิดขึ้นใหม่ ได้แก่
1 มีเนื้อหาที่หลากหลายตามแต่จุดเด่นของสํานักข่าวนั้น
2 บางสํานักข่าวมีเนื้อหาในการนําเสนอเฉพาะเรื่องอย่างชัดเจน
3 มีการนําเสนอบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่หลากหลายช่องทาง
4 เนื้อหาสดใหม่ รวดเร็ว

CDM2204 MCS1250 (MCS2200) การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น s/63

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1250 (MCS 2200) การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 องค์ประกอบในกระบวนการสื่อสารที่เรียกย่อว่า SMCR (E) มีความหมายตามข้อใด
(1) ผู้ส่งสาร : สื่อกลาง : ช่องทางสาร : ผู้รับสาร : ผลกระทบที่เกิดจากการสื่อสาร
(2) ผู้ส่งสาร : เนื้อสาร : ช่องทางสาร : ผู้รับสาร : ผลกระทบที่เกิดจากการสื่อสาร
(3) เอกสาร : เนื้อสาร : สื่อกลาง : ผู้รับสาร : ประเมินผลจากการสื่อสาร
(4) ผู้ส่งสาร : สื่อกลาง : ช่องทางสาร : ผู้รับสาร : ประเมินผลจากการสื่อสาร
ตอบ 2 (PDF บทที่ 1) องค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร เรียกโดยย่อว่า SMCR (E) ประกอบด้วย
1 ผู้ส่งสาร (Source/Sender)
2 เนื้อหาสาร (Message)
4 ผู้รับสาร (Receiver)
3 ช่องทางสาร (Channel)
5 ผลกระทบที่เกิดจากการสื่อสาร (Effect)

2 กลุ่มบุคคลจํานวนมาก ไม่สามารถระบุได้อย่างเฉพาะเจาะจงว่าเป็นใคร อยู่ที่ใดบ้าง คือกลุ่มใด
(1) ชุมชน
(2) ประชาชน
(3) มวลชน
(4) มหาชน
ตอบ 3 (PDF บทที่ 1) มวลชน คือ กลุ่มบุคคลจํานวนมากกระจายอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ไม่สามารถ ระบุได้อย่างเฉพาะเจาะจงว่าเป็นใคร อยู่ที่ใดบ้าง

3 ใครคือผู้ประทานคําและความหมายของคําว่า “วารสารศาสตร์”
(1) พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(2) พลตรี หม่อมสนิทวงศ์เสนี
(3) พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
(4) แดน บีช บรัดเลย์
ตอบ 1 (PDF บทที่ 1) คําว่า “วารสารศาสตร์” (Journalism) เป็นคําที่พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้ทรงประทานไว้ แต่เดิมมีความหมายถึง วิชาการเกี่ยวกับ การหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีความหมายเฉพาะถึงกระบวนการรายงานข่าว การตีความ และแสดง ความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวสารเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน โดยให้ความสําคัญอย่างมากในเรื่องที่ต้องนําเสนอข่าวอย่างถูกต้อง รวดเร็ว กระชับ และได้ใจความ

4 ข้อใดไม่ใช่ความหมายเฉพาะของคําว่า “วารสารศาสตร์”
(1) วิชาการเกี่ยวกับการหนังสือพิมพ์
(2) กระบวนการรายงานข่าว
(3) การนําเสนอเฉพาะข่าวที่น่าสนใจ
(4) การแสดงความคิดเห็นของผู้สื่อข่าว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

5 ข้อใดไม่ใช่งานทางด้านวารสารศาสตร์
(1) หนังสือนวนิยาย
(2) บทวิเคราะห์ในหนังสือพิมพ์กีฬา
(3) การรายงานข่าวบันเทิงในนิตยสาร
(4) การสัมภาษณ์นักแสดงในรายการโทรทัศน์

ตอบ 1 (PDF บทที่ 1) งานวารสารศาสตร์ในภายหลังจะมีความหมายครอบคลุมไปถึงกระบวนการ
รายงานข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบันของสื่อมวลชนทุกแขนง นอกเหนือไปจากแค่สื่อสิ่งพิมพ์ ดังนั้นวารสารศาสตร์จึงได้แตกแขนงออกเป็นสาขาต่าง ๆ ตามสื่อมวลชนนั้น ๆ เช่น Print Journalism, Broadcast Journalism, Online Journalism, Political Journalism ฯลฯ

6 ข้อใดไม่จัดว่าเป็นนักวารสารศาสตร์
(1) ผู้สื่อข่าว
(2) ผู้ประกาศข่าว
(3) นักเขียนบทละคร
(4) ช่างภาพข่าว
ตอบ 3 (PDF บทที่ 1) นักวารสารศาสตร์ (Journalist) คือ นักข่าว (Reporter) หรือนักหนังสือพิมพ์ ซึ่งทําหน้าที่สื่อข่าวหรือรายงานข่าวที่อยู่ในความสนใจของประชาชน (ส่วนนักเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร หรือบันเทิงคดีอื่น ๆ ไม่ถือว่าเป็นนักวารสารศาสตร์)

7 ระบบการเมืองแบบโซเวียตคอมมิวนิสต์ จะถูกใช้ในกลุ่มประเทศใด
(1) กลุ่มประเทศโลกที่ 1
(2) กลุ่มประเทศโลกที่ 2
(3) กลุ่มประเทศโลกที่ 3
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 2(PDF บทที่ 1) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์ มีลักษณะดังนี้
1 การควบคุม คือ รัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์
2 นโยบายการใช้สื่อ คือ เน้นการถ่ายทอดลัทธิคอมมิวนิสต์ ระดมให้ประชาชนสนับสนุนรัฐ และสร้างเสริมรสนิยมทางวัฒนธรรมของมวลชน
3 ประเทศโลกที่ 2 (Second World) ที่ใช้ระบบนี้ คือ โซเวียตและประเทศคอมมิวนิสต์

8 ระบบการปกครองแบบใดมีนโยบายการใช้สื่อที่เน้นเสรีภาพทางความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ
(1) โซเวียตคอมมิวนิสต์
(2) อิสรภาพนิยม
(3) ความรับผิดชอบทางสังคม
(4) อํานาจนิยม
ตอบ 2 (PDF บทที่ 1) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอิสรภาพนิยม (Libertarian) มีลักษณะดังนี้
1 การควบคุม คือ รัฐบาลไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาล
2 นโยบายการใช้สื่อ คือ เน้นเสรีภาพทางความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ
3 ประเทศโลกที่ 1 (Free World) ที่ใช้ระบบนี้ คือ ประเทศในยุโรปตะวันตก และในทวีปอเมริกาเหนือบางประเทศ

9 สื่อมวลชนเก่าแก่ที่สุด คือ
(1) หลักศิลาจารึก
(2) หนังสือพิมพ์
(3) นิตยสาร
(4) วารสารวิชาการ
ตอบ 2 (PDF บทที่ 1), (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกิดขึ้นก่อนสื่อชนิดอื่น ๆ และ ได้ชื่อว่าเป็นสื่อมวลชนที่เก่าแก่ที่สุด กําเนิดขึ้นเพื่อสนองเนื้อหาด้วยวิธีการพิมพ์ตัวอักษรบนกระดาษหรือวัสดุชนิดใดชนิดหนึ่งที่เอื้อให้ผู้อ่านเปิดและพกพาได้สะดวก

10 สื่อมวลชนในระบบใดที่ปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาล
(1) Soviet – Communist
(2) Libertarian
(3) Social Responsibility
(4) Authoritarian
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

11 การใช้วิจารณญาณในการคัดเลือกข่าว เป็นการทําหน้าที่ใดของหนังสือพิมพ์
(1) Informer
(2) Watchdog
(3) Gatekeeper
(4) Changing Agent

ตอบ 3 หน้า 16, (PDF บทที่ 1) บทบาทการเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) คือ การควบคุม การไหลของข่าวสารไปสู่สาธารณชน โดยหนังสือพิมพ์จะมีนายทวารประจําด่านจํานวนมาก เช่น นักข่าว ช่างภาพ บรรณาธิการ ฯลฯ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะใช้วิจารณญาณกลั่นกรองข่าว ประเมินคุณค่า และตรวจเนื้อหาของข่าวสาร ก่อนที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านทางหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ยังทําหน้าที่ตัดสินใจว่าจะเลือกทําข่าวชิ้นใด หรือจะคัดเลือกข่าวนั้น ๆ เพื่อตีพิมพ์ หรือไม่ โดยคํานึงถึงพื้นฐานของความถูกต้องเที่ยงตรงของข่าวสาร

12 ข้อใดไม่ใช่บทบาทหนังสือพิมพ์ของระบบสังคมประชาธิปไตย
(1) การเป็นกระบอกเสียงให้รัฐบาล
(2) การเป็นนายทวารข่าวสาร
(3) การเป็นสุนัขเฝ้าบ้าน
(4) การเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง
ตอบ 1 หน้า 16 หนังสือพิมพ์จะมีบทบาทในระบบสังคมประชาธิปไตย ดังนี้
1 การเป็นนายทวารข่าวสาร หรือนายด่านข่าวสาร
2 การเป็นผู้แจ้งข่าวสาร
3 การเป็นสุนัขยาม หรือสุนัขเฝ้าบ้าน
4 การรับเรื่องราวร้องทุกข์
5 การเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง

13 สมาชิกสภาวิชาชีพใดที่ต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
(1) สื่อออนไลน์
(2) นิตยสาร
(3) วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
(4) ภาพยนตร์
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลังจากที่ประชุมสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ผ่านร่าง กฎหมายควบคุมสื่อฉบับล่าสุด ได้มีเนื้อหาให้สมาชิกสภาวิชาชีพสื่อออนไลน์ต้องมีใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพ และต้องมาขึ้นทะเบียนเหมือนกับสื่อประเภทอื่น

14 ข้อจํากัดของสื่อใหม่ คือ สิ่งใดที่มักเกิดความผิดพลาดในการรายงานข่าว
(1) ความรวดเร็ว
(2) คลังข้อมูล
(3) ความรู้
(4) ความถูกต้อง
ตอบ 4 (PDF บทที่ 2) ข้อจํากัดของสื่อใหม่ คือ ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสาร เพราะสื่อใหม่เป็นการนําเสนอข้อมูลข่าวสารโดยไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ คัดเลือก และคัดกรองจากบรรณาธิการ ดังนั้นสิ่งที่นักวารสารศาสตร์ต้องทําอย่างมากเมื่อมาทําข่าวออนไลน์ ก็คือ ต้องไม่ลืมกลั่นกรองคุณภาพข้อมูลตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูลที่ นําเสนอ อันจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สู่สาธารณชน

15 สื่อสิ่งพิมพ์ชนิดใดมีลักษณะการเย็บเล่มที่คงทนที่สุด
(1) หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
(2) นิตยสาร
(3) หนังสือเล่ม
(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 3 (PDF บทที่ 2) สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีการเย็บเล่มคงทนถาวรมากที่สุดไปจนถึงน้อยที่สุด เรียงลําดับ ได้ดังนี้ 1 หนังสือเล่ม เย็บเล่มอย่างคงทนถาวร มีรูปแบบ/ลําดับเรื่องชัดเจน
2 นิตยสาร เย็บสันเพื่อให้แข็งแรงเหมาะสมแก่การพกพา
3 หนังสือพิมพ์ (รายวัน/ราย 3 วัน รายสัปดาห์) จะไม่เย็บเล่ม ไม่มีปก

16 ถ้าต้องการอ่านข่าวสารที่ทันเหตุการณ์ที่สุด ควรเลือกสื่อสิ่งพิมพ์ใด
(1) หนังสือพิมพ์รายวัน
(2) หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
(3) นิตยสาร
(4) หนังสือเดินเรือ

ตอบ 1 หน้า 5, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์รายวัน เป็นหนังสือพิมพ์ที่ออกจําหน่ายเป็นประจําทุกวัน อายุของหนังสือพิมพ์จึงสั้น เมื่อหมดวัน หนังสือพิมพ์ฉบับเดิมจะล้าสมัยลงทันที และมีฉบับใหม่ ออกมาแทนที่ ดังนั้นความเด่นของหนังสือพิมพ์รายวันจึงอยู่ที่ความรวดเร็ว ความสด และการ นําเสนอข่าวสารที่ทันเหตุการณ์ที่สุด

17 Podcast เป็นสื่อใหม่ที่มีความคล้ายคลึงสื่อดั้งเดิมชนิดใดมากที่สุด
(1) โทรทัศน์
(2) ภาพยนตร์
(3) วิทยุ
(4) หนังสือพิมพ์
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) Podcast คือ รายการเผยแพร่เสียงผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยจะมีผู้ดําเนินรายการออกมาเล่าเรื่องต่าง ๆ หรืออาจเป็นการให้สัมภาษณ์ จึงมีความคล้ายคลึงกับการฟังรายการวิทยุมากที่สุด แต่ใช้เวลาฟังไม่นาน เพราะมีเนื้อหาที่กระชับและตรงประเด็น ดังนั้นจึงนับเป็นช่องทางการรับข่าวสารผ่านเสียงที่กําลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน

18 สถานีโทรทัศน์ใดต่อไปนี้เผยแพร่ภาพในระบบดิจิทัลด้วยความชัดแบบ High Definition
(1) Workpoint TV
(2) Nation TV
(3) MCOT
(4) MONO29
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่เผยแพร่ภาพในระบบดิจิทัลด้วยความชัดแบบ HD (High Definition) ได้แก่ ททบ.5, NBT2, Thai PBS, MCOT, ONE, ไทยรัฐทีวี, PPTV, 3HD, THD และอมรินทร์ทีวี

19 ช่องทางในข้อใดไม่ใช่การรายงานข่าวแบบ Real Time Reporting
(1) ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์
(2) Facebook Live
(3) รายงานการจราจรวิทยุ จส.100
(4) หนังสือพิมพ์ออนไลน์
ตอบ 4 (PDF บทที่ 2) (คําบรรยาย) คุณลักษณะเฉพาะของอินเทอร์เน็ตที่ได้ส่งผลต่อพฤติกรรม การรับสารจากสื่อของผู้บริโภคประการหนึ่ง คือ การรายงานสด (Real Time Reporting) เป็นวิธีการที่สามารถเอาชนะคู่แข่งได้ในระดับหนึ่ง เช่น รายงานการจราจรวิทยุ จส.100, การถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์, Facebook Live, Twitter Live ฯลฯ

20 ประโยคใดต่อไปนี้ถือว่าเป็นคัมภีร์ของผู้ปฏิบัติงานทางด้านวารสารศาสตร์
(1) ความรู้คู่คุณธรรม
(2) เสรีภาพคู่กับความรับผิดชอบ
(3) สด ใหม่ ว่องไว
(4) เจาะลึก ชัดเจน เป็นธรรม
ตอบ 2 (PDF บทที่ 2) คัมภีร์ของผู้ปฏิบัติงานทางด้านวารสารศาสตร์ที่จะละเลยไม่ได้เป็นอันขาด คือ ประโยคที่ว่า “เสรีภาพควบคู่กับความรับผิดชอบ”

21 หน่วยงานใดที่มีหน้าที่กํากับการทําหน้าที่ของสื่อและสถานีโทรทัศน์
(1) กสพท.
(2) อสมท.
(3) กสทช.
(4) อสมร.
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) หน่วยงานอิสระของรัฐที่ทําหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับดูแล การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ได้แก่ กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ)

22 การข่าว หมายถึง
(1) ภารกิจหน้าที่ของการทําข่าว
(2) กระบวนการผลิตข่าว
(3) สถานการณ์ในการรายงานข่าว
(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (PDF บทที่ 3) การข่าว หมายถึง กระบวนการผลิตข่าว ซึ่งเป็นกระบวนการทํางานต่อเนื่อง อย่างสัมพันธ์กัน ประกอบด้วย
1 การจัดสรรขอบเขตความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
2 การจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับภาระหน้าที่ในฝ่ายต่าง ๆ
3 การแสวงหาข้อเท็จจริง
4 การประเมินคุณค่าข่าว
5 การรวบรวมข้อเท็จจริง ฯลฯ

23 ประโยคว่า “ข่าวก็คือข่าว” สะท้อนถึงระดับความเชื่อถือต่อข่าวที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน
ที่เป็นไปในทิศทางใด
(1) เชื่อถือเพิ่มขึ้น
(2) เชื่อถือเหมือนเดิม
(3) เชื่อถือลดลง
(4) ไม่เกี่ยวข้องกับความน่าเชื่อถือ
ตอบ 3 (PDF บทที่ 3) จากประโยคที่ว่า “ข่าวก็คือข่าว” ได้สะท้อนถึงระดับความเชื่อถือต่อข่าวที่ ปรากฏในหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน คือ แนวโน้มด้านความเชื่อถือศรัทธาต่อหนังสือพิมพ์ และสื่อมวลชนลดน้อยลง จึงเป็นเหตุให้บุคลากรในงานข่าว รวมถึงนักวิเคราะห์สื่อพยายาม เรียกความน่าเชื่อถือกลับคืนมาจากสังคม

24 ข้อใดไม่ใช่เงื่อนไขทางวิชาชีพเกี่ยวกับการข่าว
(1) การเสนอแต่เรื่องที่เป็นจริง
(2) มีความภักดีต่อประชาชน
(3) ทําหน้าที่ในการสนับสนุนรัฐ
(4) สามารถวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นสาธารณะ
ตอบ 3 (PDF บทที่ 3) เงื่อนไขทางวิชาชีพเกี่ยวกับการข่าว ได้กล่าวถึงแนวทางสร้างความน่าเชื่อถือ ให้แก่งานการข่าวและนักวารสารศาสตร์ ตามข้อสรุปที่ได้จากหนังสือ “The Elements of Journalism” ไว้ดังนี้
1 การเสนอแต่เรื่องที่เป็นจริง ถือเป็นเงื่อนไขข้อแรกของงานวารสารศาสตร์
2 เป้าหมายเบื้องต้นของงานวารสารศาสตร์ คือ ความภักดีต่อประชาชน
3 หัวใจสําคัญของงานวารสารศาสตร์ คือ การยึดมั่นต่อการเปิดเผยความจริง
4 นักวารสารศาสตร์ต้องทําหน้าที่อย่างอิสระในการตรวจสอบอํานาจรัฐ
5 หนังสือพิมพ์/สื่อมวลชนต้องเปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับประเด็นสาธารณะอย่างกว้างขวาง
6 นักวารสารศาสตร์ต้องนําเสนอข่าวในสัดส่วนที่เหมาะสมในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ฯลฯ

25 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของการข่าวต่อสังคมทั้ง 3 ด้าน
(1) ด้านศาสนา
(2) ด้านการเมือง
(3) ด้านเศรษฐกิจ
(4) ด้านสังคม
ตอบ 1 (PDF บทที่ 3) การข่าวย่อมมีบทบาทช่วยพัฒนาสังคมในทางที่ถูกที่ควรได้อย่างมหาศาล ซึ่งบทบาทของการข่าวต่อสังคมแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่
1 ด้านการเมือง
2 ด้านเศรษฐกิจ
3 ด้านสังคม

26 หนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด
(1) Soft News Newspaper
(2) Hard News Newspaper
(3) Combination Newspaper
(4) Specialized Newspaper
ตอบ 2 หน้า 41, (PDF บทที่ 4) หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวหนัก (Hard News Newspaper) คือ
หนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวที่ให้น้ําหนักต่อความสําคัญของเรื่องมากกว่าอย่างอื่น ซึ่งผู้อ่านจะต้อง ใช้ความรู้ความเข้าใจในการอ่านพอสมควร เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ

27 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด
(1) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ
(2) หนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น
(3) หนังสือพิมพ์ภูมิภาค
(4) หนังสือพิมพ์ชุมชน
ตอบ 1 หน้า 7, (PDF บทที่ 4) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ (National Newspaper) หรือบางคนเรียกว่า “หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง” หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่ออกในเขตเมืองหลวงหรือส่วนกลาง โดยมี ตลาดการจําหน่ายไปทั่วประเทศ และมียอดจํานวนจําหน่ายสูง เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มติชน ข่าวสด เดลินิวส์ ฯลฯ

28 หนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์ เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด
(1) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ
(2) หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
(3) หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง
(4) หนังสือพิมพ์ส่วนราชการ
ตอบ 2 หน้า 7, (PDF บทที่ 4) หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น (Local Newspaper) จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน ไปตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ซึ่งบางครั้งอาจเรียกว่า “หนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค” (Regional Newspaper) เช่น หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์, หนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์ เป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ทางภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่) เป็นต้น

29 หนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ (Broadsheet Newspaper) มีความกว้างยาวกี่นิ้ว
(1) กว้าง 20 นิ้ว ยาว 30 นิ้ว
(2) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
(3) กว้าง 11 ½ นิ้ว ยาว 14 ½ นิ้ว
(4) กว้าง 14 ½ นิ้ว ยาว 23 ½ นิ้ว
ตอบ 2 หน้า 7 – 8 (PDF บทที่ 4), (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์แบ่งตามรูปแบบออกได้ 2 ขนาด ดังนี้
1 หนังสือพิมพ์ขนาดมาตรฐาน (Standard Size) หรือหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ (Broadsheet Newspaper) จะมีความกว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
2 หนังสือพิมพ์ขนาดแท็บลอยด์ (Tabloid Newspaper) หรือหนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก มักจะ มีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ คือ กว้าง 11 ½ นิ้ว ยาว 14 ½ นิ้ว

30 หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (Tabloid Newspaper) มีความกว้างยาวกี่นิ้ว
(1) กว้าง 20 นิ้ว ยาว 30 นิ้ว
(2) กว้าง 14 นิ้ว ยาว 23 นิ้ว
(3) กว้าง 11 ½ นิ้ว ยาว 14 ½ นิ้ว
(4) กว้าง 14 ½ นิ้ว ยาว 23 ½ นิ้ว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

31 ต่อไปนี้เรื่องใดปกติไม่ปรากฏที่หน้า 1 ของหนังสือพิมพ์รายวัน
(1) ชื่อหนังสือพิมพ์ พร้อมสัญลักษณ์
(2) ปีที่ ฉบับที่ วันที่ เดือน ปี
(3) บทนํา
(4) ภาพประกอบข่าวและภาพข่าว
ตอบ 3 หน้า 145 – 148 หน้าแรกหรือหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ (เปรียบเสมือนปก หรือตู้โชว์ในการ “ขายข่าว”) ถือเป็นหน้าสําคัญที่มีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์มากที่สุด ประกอบด้วย
1 ชื่อหนังสือพิมพ์ พร้อมทั้งสัญลักษณ์ (Logo) คําขวัญ (Slogan) และอาจมีข้อมูลต่าง ๆ ใต้ตัวอักษรชื่อหนังสือพิมพ์ เช่น ปีที่ ฉบับที่ วันที่ เดือน ปี ฯลฯ
2 ส่วนข้างหัวหนังสือพิมพ์ (Ears)
4 ภาพประกอบข่าวและภาพข่าว
3 ข่าว (ถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญที่สุด)
5 สารบัญข่าว
6 โฆษณา
7 คอลัมน์ประจํา (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) เช่น จดหมายเปิดผนึก ตอบปัญหา ฯลฯ

32 หกดาวของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หมายถึงหนังสือพิมพ์ที่วางจําหน่ายเขตใด
(1) ภาคใต้
(2) ภาคเหนือ
(3) ภาคกลาง
(4) กรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล
ตอบ 4 (PDF บทที่ 4) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพิมพ์วันละ 6 กรอบ ตามจํานวนดาว ดังนี้
1 * คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคอีสานและภาคตะวันออก
2 * * คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคเหนือ
3 * * * คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคใต้
4 * * * * คือ กรอบจําหน่ายในเขตจังหวัดห่างไกล และเป็นกรอบบ่ายของกรุงเทพฯ
5 * * * * * คือ กรอบจําหน่ายในเขตภาคกลาง
6 * * * * * * คือ กรอบจําหน่ายในเขตกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล

33 หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ เน้นเสนอข่าวประเภทใด
(1) ข่าวชาวบ้าน
(2) ข่าวส่วนตัวของบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคม
(3) ข่าวนักการเมือง
(4) ข่าวในสถาบันการศึกษา
ตอบ 2 หน้า 8, (PDF บทที่ 4) หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (Tabloid Newspaper) เน้นเสนอข่าวส่วนตัว ของบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคมมากกว่าหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ ส่วนหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ใน บ้านเราจะมีบุคลิกและเนื้อหาต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะเน้นนําเสนอเนื้อหาที่ลึกซึ้ง ค่อนข้างเป็นทางการ และไม่เร้าใจเท่าหนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวเบา

34 หนังสือพิมพ์ฉบับใดเป็น Regional Newspaper
(1) กรุงเทพธุรกิจ
(2) ไทยนิวส์
(3) สยามรัฐ
(4) มติชน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ

35 ผู้นําหนังสือข่าวมาเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรก คือ
(1) Fred S. Siebert
(2) Dan Beach Bradley
(3) Mark Zuckerberg
(4) Bill Gates
ตอบ 2 หน้า 2, 100, (PDF บทที่ 4) ตามประวัติการหนังสือพิมพ์นั้น หนังสือข่าวเกิดขึ้นเพื่อประกาศ ข่าวการเดินเรือและขนส่งสินค้า โดยหมอสอนศาสนาบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) เป็นผู้นํา หนังสือข่าวมาเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2437 คือ หนังสือจดหมายเหตุกรุงเทพ หรือบางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder)

36 หนังสือพิมพ์ใดมีเอกลักษณ์การจัดหน้าโดยใช้สีชมพูเป็นหลัก
(1) ข่าวสด
(2) มติชน
(3) บ้านเมือง
(4) เดลินิวส์
ตอบ 4หน้า 141, (PDF บทที่ 4) เอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏ บนหน้าพิมพ์ เพื่อให้ผู้อ่านเคยชินและจําหนังสือพิมพ์ได้ โดยที่ผู้อ่านไม่จําเป็นต้องดูชื่อของ หนังสือพิมพ์ ได้แก่ ขนาดของหนังสือพิมพ์ (มีผลต่อเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์น้อยที่สุด) จํานวนหน้า รูปแบบของตัวอักษร สี แนวของภาพที่เสนอ แนวของถ้อยคําที่ใช้พาดหัวข่าว และที่สําคัญที่สุดก็คือ รูปแบบหรือวิธีการจัดหน้า ซึ่งสามารถสร้างเอกลักษณ์ได้ดีที่สุด ทั้งนี้ เพราะหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับจะมีแนวการจัดหน้าของตนเองโดยเฉพาะ เช่น หนังสือพิมพ์เดลินิวส์มีเอกลักษณ์การจัดหน้าโดยใช้สีชมพูเป็นหลัก เป็นต้น

37 พฤติกรรมใดต่อไปนี้ถือว่าผิดจริยธรรม
(1) กินเหล้าหลังเลิกงาน
(2) แสดงบัตรนักข่าวเมื่อจราจรเรียก
(3) ไม่แสดงตัวว่าเป็นนักข่าวขณะทําข่าว
(4) ทะเลาะวิวาทกับเพื่อนร่วมงาน
ตอบ 2 (PDF บทที่ 11) ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์ แห่งชาติ พ.ศ. 2559 ข้อ 23 ได้ระบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ต้องไม่อวดอ้างหรือ อาศัยตําแหน่งหน้าที่เพื่อเรียกร้องสิทธิหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ไม่ชอบ

38 กรณีใดถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
(1) แอบถ่ายหรือสะกดรอยตาม
(2) วิพากษ์วิจารณ์เรื่องส่วนตัวดารานักแสดง
(3) เข้าไปในเคหสถานของผู้ต้องสงสัย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4(PDF บทที่ 11), (คําบรรยาย) การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (Privacy) ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 32 ได้ระบุว่า บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และ ครอบครัว การกระทําอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือการ นําข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จําเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ

39 ข้อใดเป็นจริยธรรมของหนังสือพิมพ์
(1) ไม่สอดแทรกความคิดเห็นนักข่าว
(2) ไม่ลอกข่าวหนังสือพิมพ์อื่น
(3) เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงข่าว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (PDF บทที่ 11), (คําบรรยาย) คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2559 ได้มีมติให้ยกเลิกข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2541 เนื่องจาก ประกาศใช้มานาน ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จึงให้ใช้ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพ หนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2559 แทน เช่น ข้อ 11 หนังสือพิมพ์ต้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ถูกกล่าวหา แสดงข้อเท็จจริง…. ข้อ 22 หนังสือพิมพ์ต้องไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว, ข้อ 26 หนังสือพิมพ์ต้องบอกที่มาของข้อความที่คัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เป็นต้น

40 การเสนอข่าวลําเอียงเพราะกลัวอิทธิพล ผิดจรรยาบรรณข้อใด
(1) ขาดความมีเสรีภาพ
(2) ขาดความเป็นไท
(3) ขาดความจริงใจ
(4) ขาดความเที่ยงธรรม
ตอบ 4 หน้า 227 สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้กําหนดจริยธรรมของนักหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2510 ข้อ 5 ความเที่ยงธรรม ได้แก่ ความไม่ลําเอียงหรือความไม่เข้าใครออกใคร ตรงกับ หลักธรรมในพุทธศาสนา คือ ความไม่มีอคติ 4 ประการ ดังนี้
1 ฉันทาคติ (ลําเอียงเพราะรัก)
2 โทสาคติ (ลําเอียงเพราะชัง)
3 โมหาคติ (ลําเอียงเพราะหลง)
4 ภยาคติ ลําเอียงเพราะกลัว)

41 หลัก 3 R อยู่ในกระบวนการรายงานข่าวข้อใด
(1) ความไม่ลําเอียง
(2) การใช้ภาษา
(3) การเสนอข่าวแบบไม่มีอคติ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (PDF บทที่ 11) สิ่งที่ควรคํานึงในเรื่องของกระบวนการรายงานข่าวประการหนึ่ง คือ การเสนอข่าวแบบไม่มีอคติ ได้แก่ ไม่ควรมีอคติส่วนตัวต่อบุคคลในข่าวที่เกิดจากเชื้อชาติ (Race) ศาสนา (Religion) และสถาบันกษัตริย์ (Royal) ซึ่งเรียกว่า “หลัก 3 R

42 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะที่เป็นการก่อให้เกิด
ความเดือดร้อนรําคาญ จะมีความผิดถูกลงโทษอย่างไร
(1) ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 (PDF จริยธรรมสื่อ) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 11 วรรค 2 ระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

43 ผู้ที่นําข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีความผิดตามมาตรา 14 ต้องระวางโทษอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 (PDF จริยธรรมสื่อ) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2560 มาตรา 14 ได้ระบุว่า ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา….

44 หนังสือพิมพ์ที่นําเสนอเนื้อหาข่าวในเว็บไซต์ด้วยการคัดลอกจากเนื้อหาในกระดาษ เรียกว่าอะไร
(1) Cyber Society
(2) E-news
(3) Shovelware
(4) Sidebars
ตอบ 3 (PDF บทที่ 12) Shovelware คือ รูปแบบจากหนังสือพิมพ์กระดาษลงสู่เว็บไซต์โดยไม่ได้ ปรับเนื้อหา หรือหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่นําเสนอเนื้อหาข่าวในเว็บไซต์ด้วยการคัดลอกจาก เนื้อหาในกระดาษ เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ (Thairath Online) เป็นต้น

45 การเกิดขึ้นของ Social Media ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทําข่าวสําคัญข้อใด
(1) ผู้สื่อข่าวต้องเป็นนายทวารข่าวสารด้วยตัวเอง
(2) ผู้สื่อข่าวไม่ต้องทําข่าวเอง
(3) ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวได้ทันที
(4) มีการจ้างผู้สื่อข่าวน้อยลง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การเกิดขึ้นของ Social Media ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทําข่าว ที่สําคัญ คือ ผู้สื่อข่าวจะต้องเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) ด้วยตัวเอง โดยทําหน้าที่ คัดเลือก คัดกรอง และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวก่อนที่จะนําเสนอไปสู่สาธารณชน ดังนั้นสื่อใหม่จึงลดบทบาทการทําหน้าที่ของบรรณาธิการข่าวหรือหัวหน้าข่าว (News Editor)ซึ่งเคยเป็นนายทวารข่าวสารในองค์กรสื่อแบบดั้งเดิม

46 Interactive Media คือสื่อประเภทไหน
(1) วิทยุกระจายเสียง
(2) ภาพยนตร์
(3) วิทยุโทรทัศน์
(4) อินเทอร์เน็ต
ตอบ 4 (คําบรรยาย) อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อประเภท Interactive Media คือ เอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร เพราะเป็นสื่อที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารสามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ โดยผ่านช่องทางการสื่อสารตอบกลับทั้งแบบทันทีทันใด และไม่ใช่ลักษณะทันทีทันใด ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึงเป็นสื่อที่เอื้อต่อการสื่อสารแบบสองทาง (Two Way Communication)

47 Ohmynews เป็นการทําข่าวของผู้สื่อข่าวพลเมืองในประเทศใด
(1) ประเทศสิงคโปร์
(2) ประเทศญี่ปุ่น
(3) ประเทศจีน
(4) ประเทศเกาหลีใต้
ตอบ 4 (PDF บทที่ 12) วารสารศาสตร์พลเมือง (Citizen Journalism) คือ ประชาชนมีส่วนร่วม ในการรายงานข่าว โดยใช้สื่อพลเมือง (Citizen Media) เป็นช่องทางเพื่อให้ประชาชนเป็น ผู้รายงานข่าว แสดงความคิดเห็น และโต้ตอบบนเว็บเพจในอินเทอร์เน็ตได้ในลักษณะของ Online Journalism เช่น Ohmynews เป็นลักษณะการทําข่าวของผู้สื่อข่าวพลเมืองใน ประเทศเกาหลีใต้ที่ประสบความสําเร็จเป็นอย่างมาก เป็นต้น

48 สิ่งที่นักวารสารศาสตร์ต้องทําอย่างมากเมื่อมาทําข่าวออนไลน์
(1) ต้องทําข่าวตลอด 24 ชั่วโมง
(2) ต้องไม่ลืมกลั่นกรองคุณภาพข้อมูลตลอดเวลา
(3) ต้องรายงานแบบ Realtime เสมอ
(4) ต้องทําข่าวทุกขั้นตอนด้วยตัวคนเดียว
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

49 Citizen Journalism คือ
(1) ผู้สื่อข่าวพิเศษ
(2) ประชาชนมีส่วนร่วมในการรายงานข่าว
(3) ผู้สื่อข่าวภาคสนาม
(4) การใช้สื่อใหม่ในการรายงานข่าว
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

50 สํานักข่าวใดถือว่าเป็นสํานักข่าวออนไลน์โดยเฉพาะ (ไม่มีช่องทางเผยแพร่ในสื่อกระแสหลัก)
(1) The Reporter
(2) The Standard
(3) Thairath
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 (PDF ลักษณะหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์) สื่อออนไลน์ในปัจจุบัน แบ่งออกได้ดังนี้
1 สื่อออนไลน์ที่มาจากองค์กรสื่อดั้งเดิม และทําสื่อออนไลน์เพิ่ม เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์,ข่าวสด, คมชัดลึก, บางกอกโพสต์, ไทยพีบีเอส เป็นต้น
2 สื่อออนไลน์ที่เกิดขึ้นใหม่ และจัดเป็นสํานักข่าวออนไลน์โดยเฉพาะ (ไม่มีช่องทางเผยแพร่ ในสื่อกระแสหลัก) เช่น Workpoint Today, The Reporter, The Standard, สํานักข่าว อิศรา, ลงทุนแมน เป็นต้น

51 ข้อใดไม่ใช่จุดเด่นของหนังสือพิมพ์ที่เน้นข่าวหนัก
(1) เน้นข่าวประเภทเร้าอารมณ์
(2) เน้นผลกระทบของเหตุการณ์
(3) จัดเรียงหน้าไม่หวือหวา
(4) เน้นผลกระทบทางเศรษฐกิจ การเมือง
ตอบ 1 (PDF ลักษณะหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์), (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ) จุดเด่นของหนังสือพิมพ์ที่เน้นข่าวหนัก (Hard News Newspaper) ได้แก่
1 มีองค์ประกอบข่าวด้านผลกระทบต่อสังคมในมิติลึก มิติกว้าง มิติไกล โดยเน้นผลกระทบ
ทางเศรษฐกิจและการเมือง
2 เน้นแง่มุมที่มีความสําคัญในการสะท้อนถึงผลกระทบของเหตุการณ์และ/หรือสถานการณ์
กลไกทางสังคมระดับต่าง ๆ
3 เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นข่าวประจําวัน
4 จัดหน้าแบบเรียบง่าย ไม่หวือหวา

52 ข้อใดไม่ใช่การแบ่งประเภทของหนังสือพิมพ์ที่ถูกต้อง
(1) หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวเบา
(2) หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวหนัก
(3) หนังสือพิมพ์ประเภทกึ่งข่าวเบาข่าวหนัก
(4) หนังสือพิมพ์ประเภทข่าวทั่วไป
ตอบ 4 (PDF ลักษณะหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์) ประเภทของหนังสือพิมพ์ แบ่งออกได้ดังนี้
1 หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวเบา (Soft News Newspaper)
2 หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวหนัก (Hard News Newspaper)
3 หนังสือพิมพ์ประเภทกึ่งข่าวเบาข่าวหนัก (Combination Newspaper)
4 หนังสือพิมพ์ประเภทเนื้อหาเฉพาะด้าน (Specialized Newspaper)

53 หนังสือพิมพ์ในอดีตส่วนมากใช้สัญลักษณ์อะไรในการแบ่งการจัดจําหน่ายในแต่ละภูมิภาค
(1) สี่เหลี่ยม
(2) สามเหลี่ยม
(3) ดาว
(4) หกเหลี่ยม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

54 หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น จัดอยู่ในประเภทหนังสือพิมพ์แบบใด
(1) หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวเบา
(2) หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวหนัก
(3) หนังสือพิมพ์ประเภทเนื้อหาเฉพาะด้าน
(4) หนังสือพิมพ์ประเภทกึ่งข่าวเบาข่าวหนัก
ตอบ 3 (PDF ลักษณะหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์), (ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ) หนังสือพิมพ์ ประเภทเนื้อหาเฉพาะด้าน (Specialized Newspaper) จะมีเนื้อหาเจาะจงเฉพาะด้านตาม ความสนใจของผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม ได้แก่ หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจ (เช่น ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหุ้น), หนังสือพิมพ์กีฬา (เช่น สยามกีฬา สปอร์ตพูล) เป็นต้น

55 สํานักข่าวใดที่เป็นองค์กรสื่อดั้งเดิมและทําสื่อออนไลน์เพิ่ม
(1) 101 เวิลด์
(2) เดอะ แมทเทอร์
(3) เดอะ รีพอร์ตเตอร์
(4) ไทยรัฐ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 50 ประกอบ

56 สํานักข่าวใดที่เป็นองค์กรสื่อที่ทําข่าวบนสื่อออนไลน์อย่างเดียว
(1) ไทยพีบีเอส
(2) เวิร์คพอยท์ ทูเดย์
(3) เดลินิวส์
(4) บางกอกโพสต์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 50 ประกอบ

57 สํานักข่าวออนไลน์ใดที่เน้นข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน
(1) สํานักข่าวบางกอกโพสต์
(2) สํานักข่าวไทยรัฐ
(3) สํานักข่าวอิศรา
(4) สํานักข่าวคมชัดลึก
ตอบ 3 (PDF ลักษณะหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์), (ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ) สํานักข่าว อิศรา เป็นสํานักข่าวที่เน้นข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน โดยมีศูนย์ข่าวสืบสวนเพิ่มเติมขึ้นมาใน ภายหลัง เพื่อนําเสนอข่าวเชิงลึก และเน้นเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริงที่มีผลต่อการตรวจสอบ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต

58 หนังสือพิมพ์ฉบับใดที่ยุติการพิมพ์แบบกระดาษแล้ว
(1) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
(2) หนังสือพิมพ์ข่าวสด
(3) หนังสือพิมพ์มติชน
(4) หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) หนังสือพิมพ์บ้านเมืองได้ยุติการผลิตหนังสือพิมพ์แบบกระดาษนับตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ทั้งนี้หนังสือพิมพ์บ้านเมืองได้ดําเนินธุรกิจมาถึง 44 ปี และก่อตั้งขึ้นเมื่อ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 โดยบริษัท บ้านเมืองการพิมพ์ จํากัด ซึ่งมีที่มา จากการรวมตัวกันของนักหนังสือพิมพ์และนักธุรกิจกลุ่มหนึ่ง

59 ข้อใดเป็นจุดเด่นของการรับข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์
(1) สามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นได้แบบทันทีทันใด
(2) ใช้งบประมาณในการผลิตและดําเนินการสูง
(3) ทิศทางการไหลของข่าวสารไปในทิศทางเดียว
(4) ไม่สามารถกลับไปฟังย้อนหลังได้หรือฟังซ้ําได้อีก
ตอบ 1 (PDF ช่องทางในการนําเสนอเนื้อหาทางวารสารศาสตร์ในปัจจุบัน)
ข้อดีของการนําเสนอข่าวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) มีดังนี้
1 เข้าถึงเนื้อหาข่าวสารได้จากทุกที่และตลอดเวลา โดยต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2 แบ่งปันเนื้อหาแบบมัลติมีเดีย ทั้งภาพและวีดิโอจากหลายแหล่ง
3 แบ่งปันเนื้อหาจากสื่อโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มหนึ่งไปยังอีกแพลตฟอร์มหนึ่งได้
4 สามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นได้แบบทันทีทันใด และระดมความคิดเห็นจาก ผู้รับสาร โดยการเปิดพื้นที่ให้โยนประเด็นมา
5 สามารถดูย้อนหลังหรือดูซ้ําได้

60 ข้อใดคือช่องทางการรับข่าวสารผ่านเสียงที่กําลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน
(1) พอดคาสต์
(2) บอร์ดคาสต์
(3) มีคาสต์
(4) ซาวด์คาสต์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ

ข้อ 61. – 65. จงใช้ภาพด้านล่างตอบคําถามต่อไปนี้

 

 

61 จากภาพ A หมายถึงข้อใด
(1) หัวข่าวรอง
(2) หัวหนังสือพิมพ์
(3) คําบรรยายภาพ
(4) วรรคนํา
ตอบ 2

62 จากภาพ B หมายถึงข้อใด
(1) หัวข่าวรอง
(2) คําบรรยายภาพ
(3) หัวข่าว
(4) ภาพข่าว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

63 จากภาพ C หมายถึงข้อใด
(1) ข้อความแจ้งหน้าต่อ
(2) หัวข่าวรอง
(3) หัวข่าว
(4) ภาพข่าว
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

64 จากภาพ D หมายถึงข้อใด
(1) หัวข่าว
(2) คําบรรยายภาพ
(3) วรรคนํา
(4) ภาพข่าว
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

65 จากภาพ E หมายถึงข้อใด
(1) หัวข่าวรอง
(2) หัวหนังสือพิมพ์
(3) ภาพข่าว
(4) คําบรรยายภาพ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

66 บริการ Line Today ทําพาร์ตเนอร์กับสํานักข่าวกองค์กร
(1) 20
(2) 120
(3) 220
(4) 320
ตอบ 2 (PDF ช่องทางในการนําเสนอเนื้อหาทางวารสารศาสตร์ในปัจจุบัน) แพลตฟอร์มไลน์ (Line) ได้เปิดให้บริการ Line Today ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มกลางในการรวบรวมข่าว (News Portal Platform) จากพาร์ตเนอร์ที่เป็นองค์กรสื่อประมาณ 120 องค์กร เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งให้ กลุ่มสื่อดั้งเดิม (Traditional Media) ได้เข้าถึงฐานผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้มากขึ้น

67 สื่อสังคมออนไลน์ใดที่มีบัญชีผู้ใช้มากที่สุดในประเทศไทย
(1) ทวิตเตอร์
(2) ยูทูบ
(3) เฟซบุ๊ก
(4) อินสตาแกรม
ตอบ 3 (PDF ช่องทางในการนําเสนอเนื้อหาทางวารสารศาสตร์ในปัจจุบัน) สื่อสังคมออนไลน์ที่มี บัญชีผู้ใช้มากที่สุดในประเทศไทยตามผลการสํารวจในปี ค.ศ. 2020 เรียงตามลําดับได้ดังนี้
1 Facebook มีบัญชีผู้ใช้ 58 ล้านคน
2 Line มีบัญชีผู้ใช้ 45 ล้านคน
3 YouTube มีบัญชีผู้ใช้ 40 ล้านคน
4 TikTok มีบัญชีผู้ใช้ 18 ล้านคน
5 Instagram มีบัญชีผู้ใช้ 16 ล้านคน
6 Twitter มีบัญชีผู้ใช้ 7.15 ล้านคน

68 องค์กรสื่อดั้งเดิมในปัจจุบันมีการเพิ่มฝ่ายใด เพื่อให้เข้าถึงผู้รับสารได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
(1) ฝ่ายโทรทัศน์
(2) ฝ่ายวิทยุ
(3) ฝ่ายข่าว
(4) ฝ่ายดิจิทัลแพลตฟอร์ม
ตอบ 4 (PDF โครงสร้างองค์กรหนังสือพิมพ์ และองค์กรสื่อรูปแบบต่าง ๆ ในปัจจุบัน) ฝ่ายดิจิทัล แพลตฟอร์ม ถือเป็นสายงานใหม่ที่เกิดขึ้นและมีความสําคัญอย่างมากขององค์กรสื่อดั้งเดิม ในปัจจุบัน เนื่องจากภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการที่ผู้รับสารนิยมรับสื่อผ่าน แพลตฟอร์มดิจิทัล หรือแพลตฟอร์มออนไลน์มากยิ่งขึ้น ทําให้องค์กรสื่อต้องขยายช่องทาง ที่สามารถทําให้เข้าถึงผู้รับสารที่อยู่ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้หลากหลายมากที่สุด

69 แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ใดที่สํานักข่าวต้องนําเสนอขนาดภาพแบบแนวตั้งเท่านั้น
(1) ติ๊กต็อก
(2) เฟซบุ๊ก
(3) ทวิตเตอร์
(4) อินสตาแกรม
ตอบ 1 (PDF ช่องทางในการนําเสนอเนื้อหาทางวารสารศาสตร์ในปัจจุบัน) TikTok เป็นแพลตฟอร์ม ที่นําเสนอภาพเคลื่อนไหวหรือคลิปวิดีโอสั้น ๆ แบบแนวตั้ง ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้ไทยราว 18 ล้านคน ทําให้องค์กรสื่อหันมาใช้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเข้าถึงผู้รับสาร แต่ต้องนําเสนอขนาดภาพแบบแนวตั้งเท่านั้น

70 แพลตฟอร์มออนไลน์ใหม่ของช่อง 33HD คือ
(1) CH3Plus
(2) One HD
(3) TrueID
(4) Bright TV
ตอบ 1 (PDF โครงสร้างองค์กรหนังสือพิมพ์ และองค์กรสื่อรูปแบบต่าง ๆ ในปัจจุบัน) สถานีวิทยุ โทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (ช่อง 33HD) ได้พัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์รองรับทุกความต้องการ ของผู้ชมบนโลกดิจิทัล ภายใต้แบรนด์ “CH3Thailand” และ “CH3Plus” ดําเนินงานบริหาร โดยบริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอร์เรชั่น จํากัด ภายใต้กลุ่มบริษัท บีอีซี เวิลด์

71 พาดหัวข่าวใดที่มีคุณค่าข่าวตรงกับเรื่องความสะเทือนอารมณ์
(1) กู้ภัยขอโทษ ศพห่อผ้าขาวหล่นกลางถนน ทําชาวบ้านแตกตื่น
(2) ข่าวปลอม! เสลดพังพอนตัวผู้ใช้รักษาโรคมะเร็งเต้านม
(3) “ป๊อกบา” ขู่ฟ้องสื่อลงข่าวมั่วเลิกเล่นทีมชาติ เพราะเรื่องศาสนา
(4) ข่าวจริง! กรมบัญชีกลางเพิ่มวงเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 500 บาท
ตอบ 1 (PDF ความหมายและอุดมการณ์ข่าว) ความสะเทือนอารมณ์ (Human Interest/Emotion) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วทําให้ผู้รับสารสนใจเป็นอย่างมาก โดยประเด็นจากเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจกับผู้รับสาร เช่น พาดหัวข่าว “กู้ภัยขอโทษ ศพห่อผ้าขาวหล่นกลางถนน ทําชาวบ้านแตกตื่น” เป็นต้น

72 ข้อใดไม่ใช่โครงสร้างของกองบรรณาธิการ
(1) ฝ่ายภาพ/กราฟฟิก
(2) ฝ่ายการเงิน
(3) ฝ่ายบรรณาธิกรณ์
(4) ฝ่ายศูนย์ข้อมูล
ตอบ 2

73. ข้อใดไม่ใช่คุณค่าข่าว
(1) ความขัดแย้ง
(2) มีบุคคลที่มีชื่อเสียง
(3) เป็นเรื่องไกลตัว
(4) ความสดใหม่
ตอบ 3 (PDF ความหมายและอุดมการณ์ข่าว) คุณค่าข่าว (News Value) จะเป็นหลักอ้างอิงได้ว่า สิ่งที่เราจะนําเสนอให้เป็นข่าวมีคุณค่าเพียงพอหรือไม่ โดยคุณค่าข่าวมีอยู่ 10 ข้อ ได้แก่
1 ความสดใหม่
2 มีผลกระทบกระเทือน
3 เป็นเรื่องใกล้ตัว
4 มีบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือบุคคลสําคัญ
5 ความขัดแย้ง
6 ความสะเทือนอารมณ์
7 ความมีเงื่อนงํา
8 มีความแปลก
9 เรื่องเกี่ยวกับเพศ
10 ความก้าวหน้าทางวิทยาการ

74 พาดหัวข่าวนี้ “ชมภาพจากยาน Curiosity โชว์ภาพสภาพท้องฟ้าบนดาวอังคาร” มีคุณค่าข่าวใดมากที่สุด
(1) มีเงื่อนงํา
(2) ความแปลก
(3) เรื่องเพศ
(4) ความก้าวหน้าทางวิทยาการ
ตอบ 4 (PDF ความหมายและอุดมการณ์ข่าว), (ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ) ความก้าวหน้าทาง วิทยาการ (Progress) เป็นเหตุการณ์ที่ทําให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และ วิทยาการทางการแพทย์ ทางวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ชีววิทยา หรือสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็น สิ่งที่ไม่เคยถูกค้นพบมาก่อน

75 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของการรายงานข่าวที่ดี
(1) สมดุลและเที่ยงธรรม
(2) ความเสมอต้นเสมอปลาย
(3) ถูกต้องครบถ้วน
(4) ง่าย กะทัดรัด และชัดเจน

ตอบ 2 (PDF ความหมายและอุดมการณ์ข่าว) คุณลักษณะของการรายงานข่าวที่ดี ประกอบด้วย
5 ข้อสําคัญ ได้แก่
1 ถูกต้องครบถ้วน
2 สมดุลและเที่ยงธรรม
3 เที่ยงตรงหรือภววิสัย
4 ง่าย กะทัดรัด และชัดเจน
5 ทันต่อเหตุการณ์

76 พาดหัวข่าวนี้ “อุตุนิยมวิทยาเตือน “โมลาเบ” ฝนถล่ม 44 จังหวัดหนัก” ไม่มีคุณค่าข่าวใด
(1) เรื่องใกล้ตัว
(2) มีผลกระทบกระเทือน
(3) ความก้าวหน้าทางวิทยาการ
(4) ความสดใหม่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 73 และ 74 ประกอบ

77 อะไรคือความเป็นกลางของ “เฮมานุส”
(1) ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและทันต่อเหตุการณ์
(2) เนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริงและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
(3) ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและเข้าใจง่าย
(4) เนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริงและเข้าใจง่าย
ตอบ 2 (PDF ความจริง ข้อมูล ความคิดเห็น และความเป็นกลางในงานวารสารศาสตร์) เฮมานุส (Pertti Hemanus) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ประจําคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยแทมแพร์ (Tampere) ประเทศฟินแลนด์ ได้กล่าวไว้ว่า “ความเป็นกลาง” ประกอบด้วย คุณลักษณะสําคัญ 2 ประการ ดังนี้
1 เนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริง (Matter of Fact Character)
2 ความไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Impartiality)

78 ข้อใดไม่ใช่นักคิดด้านวารสารศาสตร์ที่พูดถึงเรื่องความเป็นกลาง
(1) เบน แบ็กดีเกียน
(2) คอนราด ฟังก์
(3) เฮมานุส
(4) แจ็ค โรบินสัน
ตอบ 4 (PDF ความจริง ข้อมูล ความคิดเห็น และความเป็นกลางในงานวารสารศาสตร์) นักคิดด้าน วารสารศาสตร์ที่พูดถึงเรื่องความเป็นกลาง ได้แก่
1 เบน แบ็กเทียน (Ben H. Bagdikian)
2 คอนราด ฟิงก์ (Conrad C. Fink)
3 เฮมานุส (Pertti Hemanus)
4 จอห์น ซี. เมอร์ริล (John C. Merrill)

79 ข้อใดคือการรายงานข่าวที่สมดุลและเที่ยงธรรม
(1) เปิดพื้นที่ให้บุคคลในข่าวได้ให้ข้อมูลอย่างเต็มที่
(2) ปราศจากอคติของผู้รายงาน
(3) เขียนให้เข้าใจง่าย
(4) ทันต่อเหตุการณ์
ตอบ 1 (PDF ความหมายและอุดมการณ์ข่าว), (ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ) สมดุลและเที่ยงธรรม (Balance and Fairness) คือ ข่าวที่นําเสนอจะต้องให้พื้นที่กับบุคคลที่เป็นข่าวอย่างเป็นธรรม และสมดุล หมายถึง การเปิดพื้นที่ให้บุคคลที่เป็นข่าวได้มีพื้นที่ในการให้ข้อมูลอย่างเต็มที่ และ ถ้าหากเป็นกรณีที่มีคู่ขัดแย้งกันในข่าวก็ต้องให้พื้นที่กับทั้ง 2 ฝ่าย ได้นําเสนอข้อมูลอย่างเต็มที่และมีความสมดุลกัน

80 ข้อใดเป็นกลยุทธ์การแสดงให้เห็นถึงความเป็นกลาง
(1) นําเสนอหลักฐานสนับสนุนข้อเท็จจริง
(2) เข้าใจง่าย
(3) ไม่ลําเอียง
(4) ปราศจากอคติ
ตอบ 1(PDF ความจริง ข้อมูล ความคิดเห็น และความเป็นกลางในงานวารสารศาสตร์) กลยุทธ์ การแสดงให้เห็นความเป็นกลางของหนังสือพิมพ์มีอยู่ 4 ลักษณะ ดังนี้
1 เปิดโอกาสให้เสนอข้อเท็จจริง ความคิดเห็นในกรณีขัดแย้งหลายฝ่าย โดยให้ผู้อ่านตัดสิน จากข้อมูลเหล่านั้นเอง

2 นําเสนอหลักฐานสนับสนุนข้อเท็จจริง
3 ความชอบธรรมในการคัดลอกหรือโค้ดคําพูดของแหล่งข่าว
4 ลําดับความสําคัญของข้อเท็จจริงตามโครงสร้างที่เหมาะสม เช่น โครงสร้างการเขียนข่าว
รูปพีระมิดหัวกลับ

81 ข้อใดไม่ใช่แนวคิด “ความเป็นกลาง” ของจอห์น ซี. เมอร์ริล
(1) ไม่ใส่ความเห็น
(2) เข้าใจง่าย
(3) ไม่ลําเอียง
(4) ปราศจากอคติ
ตอบ 2 (PDF ความจริง ข้อมูล ความคิดเห็น และความเป็นกลางในงานวารสารศาสตร์), (ดูคําอธิบาย ข้อ 78. ประกอบ) จอห์น ซี. เมอร์ริล (John C. Merrill) ศาสตราจารย์ทางวารสารศาสตร์ใน สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การรายงานข่าวอย่างเป็นกลาง คือ รายงานที่รู้จักแยกแยะ ปราศจาก อคติ ไม่ใส่ความเห็น ไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ลําเอียง รอบคอบ และไม่ผิดพลาด โดยผู้สื่อข่าวต้อง รายงานสิ่งที่เป็นความจริงทั้งหมด

82 ข้อใดคือความหมายของคําว่า “จริยธรรมสื่อมวลชน”
(1) กฎหมายบังคับของสื่อมวลชน
(2) ข้อตกลงของสื่อมวลชน
(3) ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติของสื่อมวลชน
(4) ข้อห้ามของสื่อมวลชน
ตอบ 3 (PDF จริยธรรมสื่อ) จริยธรรมสื่อมวลชน คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติของสื่อมวลชน

83 อะไรคือความแตกต่างระหว่าง “บทความ” และ “ข่าว”
(1) เน้นข้อมูลจากแหล่งข่าว
(2) เน้นความคิดเห็นของผู้เขียน
(3) เน้นข้อเท็จจริง
(4) เน้นข้อมูลสถิติ
ตอบ 2 (PDF ความจริง ข้อมูล ความคิดเห็น และความเป็นกลางในงานวารสารศาสตร์) บทความ เป็นงานเขียนอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้อ่านเห็นได้บ่อยในปัจจุบัน และหลายครั้งผู้อ่านก็ไม่สามารถ แยกออกได้ว่า เป็นงานเขียนประเภท “ข่าว” หรือ “บทความ” ซึ่งรุจน์ โกมลบุตร (2556) ได้สรุปว่า บทความ คือ งานเขียนที่เน้นแสดงความคิดเห็นของผู้เขียน และใช้ข้อมูลสนับสนุน เพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้อ่านคล้อยตามความคิดเห็น

84 ข้อใดไม่ใช่ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ โดยสภาการหนังสือพิมพ์
(1) การได้มาซึ่งข้อมูลโดยไม่ละเมิด
(2) เน้นข้อมูลที่เป็นความคิดเห็น
(3) ความสมดุลและเป็นธรรม
(4) ความรับผิดชอบในการแก้ข่าว
ตอบ 2 (PDF จริยธรรมสื่อ) ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์ แห่งชาติ พ.ศ. 2559 หมวด 2 ว่าด้วยหลักจริยธรรมทั่วไป ได้แก่ ความถูกต้องและข้อเท็จจริง ประโยชน์สาธารณะ, ความสมดุลและเป็นธรรม ตลอดจนการเคารพสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ ส่วนหมวด 3 หลักกระบวนการทํางาน ได้แก่ การปกปิดและเคารพแหล่งข่าว ความรับผิดชอบในการแก้ข่าว, การแยกแยะข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น, การละเว้นอามิสสินจ้าง และผลประโยชน์ทับซ้อน, การได้มาซึ่งข้อมูลโดยไม่ละเมิด, โฆษณาที่ไม่แอบแฝงและงมงาย

85 ข้อใดเป็นปัญหาจริยธรรมของสื่อออนไลน์
(1) นําเสนอเนื้อหาจากสื่อออนไลน์โดยไม่ขออนุญาตเจ้าของ
(2) นําเสนอข่าวรอบด้าน
(3) ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
(4) ให้พื้นที่ข่าวอย่างเท่าเทียม

ตอบ 1 (PDF จริยธรรมสื่อ) ปัญหาเชิงจริยธรรมของสื่อออนไลน์ มีดังนี้
1 การนําเสนอข่าวไม่รอบด้าน
2 การละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ตกเป็นข่าว
3 การนําเสนอเนื้อหาจากสื่อสังคมออนไลน์โดยไม่มีการบอกแหล่งที่มา หรือไม่ได้ขออนุญาต จากเจ้าของเนื้อหานั้น ๆ

86 “เผยชีวิตบั้นปลาย “โอ-วรุฒ” ตกอับ-ของานทํา” พาดหัวข่าวนี้ผิดจริยธรรมข้อใด
(1) ความรับผิดชอบในการแก้ข่าว
(2) การปกปิดและเคารพแหล่งข่าว
(3) โฆษณาที่ไม่แอบแฝงและงมงาย
(4) การเคารพสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ตอบ 4 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 84. ประกอบ) ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2559 การเคารพสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ข้อ 13 หนังสือพิมพ์ต้องเสนอข่าวโดยคํานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลที่ตกเป็นข่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องให้ความคุ้มครองอย่างเคร่งครัดต่อสิทธิมนุษยชนของเด็ก สตรี ผู้ด้อย โอกาส รวมทั้งต้องไม่เป็นการซ้ำเติมความทุกข์หรือโศกนาฏกรรมอันเกิดแก่เด็ก สตรี ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีอัตลักษณ์แตกต่างในสังคม

87 ข่าว “น้องอินฝ่าฝนจากพัทยาไปหาสาวทอม โทร.งอนกันระหว่างทาง คาดไม่ชินถนนชนสยอง”
พาดหัวข่าวนี้ผิดจริยธรรมสื่อข้อใด
(1) ความสมดุลและเป็นธรรม
(2) ความรับผิดชอบในการแก้ข่าว
(3) โฆษณาที่ไม่แอบแฝงและงมงาย
(4) การแยกแยะข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น
ตอบ 1 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 84. ประกอบ) ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2559 ความสมดุลและเป็นธรรม ข้อ 10 หนังสือพิมพ์ต้อง แสดงความพยายามในการให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

88 ในประเด็นเรื่องความเป็นกลางทางวารสารศาสตร์ ความลําเอียงของผู้อ่านขึ้นอยู่กับอะไร
(1) ประสบการณ์ของผู้รับสาร
(2) อ่านอย่างรอบด้าน
(3) อ่านด้วยใจเป็นกลาง
(4) ความเห็นจากผู้อื่น
ตอบ 1 (PDF ความจริง ข้อมูล ความคิดเห็น และความเป็นกลางในงานวารสารศาสตร์) ในประเด็น เรื่องความเป็นกลางทางวารสารศาสตร์นั้น ความลําเอียงของผู้อ่านขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
1 ประสบการณ์ของผู้รับสาร
2 ข้อมูลที่มีอยู่ก่อนหน้าการอ่านข่าวนั้น ๆ

89 การนําเสนอใบหน้าผู้เสียหายในคดีอาญา หรือภาพการเสียชีวิตมานําเสนอข่าว อาจผิดกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญามาตราใด
(1) มาตรา 40
(2) มาตรา 300
(3) มาตรา 326
(4) มาตรา 256
ตอบ 3 (PDF จริยธรรมสื่อ) การเปิดเผยใบหน้าของผู้เสียหายในคดีอาญา หรือนําภาพการเสียชีวิต ของบุคคลมาประกอบการเสนอข่าว อาจจะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

90 “แม่ลูกจันทร์” มั่นใจว่าศึกเลือกตั้งชิงนายก อบจ. 76 จังหวัดครั้งนี้จะดุเดือดถึงพริกถึงขิงไม่แพ้ศึกเลือกตั้ง ส.ส. อย่างแน่นอน” ข้อความนี้จัดอยู่ในงานเขียนประเภทใด
(1) บทบรรณาธิการ
(2) ข่าว
(3) บทนํา
(4) บทความวิจารณ์
ตอบ 4 (PDF ความจริง ข้อมูล ความคิดเห็น และความเป็นกลางในงานวารสารศาสตร์) คุณมาลี บุญศิริพันธ์ (2548) ได้แบ่งประเภทของบทความตามประเภทของคอลัมน์ที่ปรากฏอยู่ใน หนังสือพิมพ์ทั่วไป ได้แก่
1 บทบรรณาธิการ หรือบทนํา
2 บทความวิจารณ์ เช่น คอลัมน์สํานักข่าวหัวเขียว โดย “แม่ลูกจันทร์”
3 บทความวิเคราะห์
4 บทความเชิงวิชาการ
5 บทความแนะนําปฏิบัติ
6 บทความสร้างอารมณ์ขัน
7 บทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป

91 ข้อใดไม่ใช่ข้อเขียนประเภท “บทความ”
(1) บทบรรณาธิการ
(2) ข่าว
(3) บทนํา
(4) บทความวิจารณ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

92 ข้อใดเป็นความหมายของการ “รายงานข่าวอย่างเป็นกลาง”
(1) เลือกยืนอยู่บนความถูกต้องและแสดงออกจุดยืนชัดเจน
(2) การให้พื้นที่แหล่งข่าวที่มีความเห็นต่าง แสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน
(3) การปกปิดข้อมูล และใช้ทุกวิธีโดยไม่ต้องคํานึงถึงการปกป้องสิทธิเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ลึกที่สุด
(4) การแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในการนําเสนอข่าว
ตอบ 2

93 ข้อใดต่อไปนี้ไม่สะท้อนถึงการทําหน้าที่บนจริยธรรม
(1) สุดามอนิเตอร์ประเด็นบนสื่อออนไลน์ แล้วนําข้อมูลไปตรวจสอบข้อเท็จจริงจากแหล่งข่าวที่ยืนยันได้
ก่อนรายงานข่าว
(2) นพพรใช้ช่องทางเพจข่าว เพื่อให้คนมาแสดงความเห็นต่อประเด็นสังคมอย่างมีเหตุมีผล
(3) ทิพย์รายงานข่าวด้วยการใช้อารมณ์ความรู้สึกร่วม เพื่อให้คนอยากติดตามข่าวจํานวนมาก
(4) รักษ์เปิดเผยกระบวนการได้ข้อมูลการตรวจสอบทุจริตที่นํามารายงานข่าว และไม่บิดเบือนข้อมูล
ในการนําเสนอ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

94 ข่าวใดต่อไปนี้เป็นข่าว Soft News
(1) “แอปเปิล” หุ้นร่วงหลังยอดขายในจีนตกผู้บริโภคชะลอ
(2) จับตารัฐ “สวิงสเตท” ชี้ขาดศึกเลือกตั้งสหรัฐฯ ทรัมป์-ไบเดน ใครจะคว้าชัย
(3) “บิ๊กป้อม” ลงภูเก็ตอนุรักษ์ชายหาด กระตุ้นท่องเที่ยว
(4) มารีประกาศชัด โสดจีบได้ เคลียร์ชัดสถานะไฮโซหนุ่มทายาทร้านทอง
ตอบ 4 (PDF ลักษณะหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์) หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวเบา (Soft News Newspaper) คือ การเสนอข่าวประเภทเร้าอารมณ์ เน้นความสนใจของปุถุชนวิสัย (Human Interest) และเน้นปริมาณความเสียหายเป็นหลัก ได้แก่ ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวประกวดนางงาม ข่าวบันเทิง ข่าวแวดวงสังคม และ Celebrity ฯลฯ ตัวอย่างของหนังสือพิมพ์ที่เน้นข่าวเบา เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด ฯลฯ

95 ข้อใดคือการรายงานข่าวที่คํานึงถึง “สิทธิของผู้อยู่ในข่าว”
(1) ให้โอกาสแหล่งข่าวพูดในสิ่งเขาต้องการมากที่สุด
(2) ไม่นําเสนอชื่อ แหล่งที่อยู่ หรือข้อมูลที่ระบุตัวตนของแหล่งข่าว
(3) ตัดต่อภาพให้แหล่งข่าวดูดีที่สุด โดยไม่คํานึงถึงข้อเท็จจริง
(4) บอกรายละเอียดส่วนตัวของแหล่งข่าวให้ละเอียดที่สุด เพื่อเป็นการให้เกียรติ
ตอบ 2 (PDF บทที่ 11) ตัวอย่างข้อบัญญัติจริยธรรมวิชาชีพประการหนึ่ง ได้แก่ ปกปิดชื่อและฐานะ ของบุคคลที่ให้ข่าวเป็นความลับ เพื่อความมั่นใจและความปลอดภัยของบุคคลที่ให้ข่าว

96 ข้อดีของการนําเสนอข่าวผ่านเว็บไซต์ คือข้อใด
(1) รวดเร็ว พื้นที่ไม่จํากัด ปฏิสัมพันธ์ได้ เชื่อมโยงข้อมูลให้ลึกรอบด้านได้
(2) เสียงสร้างจินตนาการ ปฏิสัมพันธ์ได้
(3) เก็บสะสม มีเวลาที่แน่นอนในการนําเสนอข่าวสาร
(4) ใช้ทรัพยากร กําลังคนจํานวนมากในการทํางาน
ตอบ 1 (PDF ช่องทางในการนําเสนอเนื้อหาทางวารสารศาสตร์ในปัจจุบัน) ข้อดีของการนําเสนอข่าว ผ่านเว็บไซต์ (Website) มีดังนี้
1 นําเสนอเนื้อหาในรูปแบบมัลติมีเดียได้ คือ ใส่ตัวหนังสือ ภาพนิ่ง กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว
2 สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลาและจากทุกพื้นที่
3 เป็นช่องทางการสื่อสารแบบสองทางได้รวดเร็ว
4 มีรูปแบบหลากหลาย เนื้อหาเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
5 เป็นสื่อที่มีความเป็น Interactive คือ ผู้ใช้สามารถมีปฏิสัมพันธ์บนเว็บไซต์ได้ ฯลฯ

97 ข้อใดคือหนังสือพิมพ์ประเภทเน้นข่าวเบา
(1) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
(2) หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น
(3) หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
(4) หนังสือพิมพ์สยามสปอร์ต
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 94 ประกอบ

98. ทําไมโซเชียลมีเดียจึงเป็นช่องทางในการสื่อข่าวที่ดี
(1) รวดเร็ว ผิดได้ ไม่มีคนสนใจ
(2) สามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นได้แบบทันทีทันใด
(3) ข้อมูลจํานวนมาก ไม่จําเป็นต้องตรวจสอบข้อมูล ทําให้มีคนอ่านเพิ่ม
(4) ราคาถูก ทุกคนเป็นเจ้าของได้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

99 ข้อใดเป็นลักษณะของการสื่อข่าวบนโซเชียลมีเดีย
(1) ใช้ในการส่งต่อข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง
(2) ต้องเน้นข้อความและการทําข่าวแบบที่ต้องใช้เวลานาน
(3) ใช้เสียงในการนําเสนอเป็นหลัก
(4) ระดมความคิดเห็นจากผู้รับสาร เปิดพื้นที่ให้โยนประเด็นมา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

100 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของสื่อออนไลน์ที่เกิดขึ้นใหม่
(1) มีเนื้อหาที่หลากหลายตามแต่จุดเด่นของสํานักข่าวนั้น
(2) มีเนื้อหาในการนําเสนอเฉพาะเรื่องอย่างชัดเจน
(3) พื้นที่จํากัด หารายได้ไม่ได้
(4) นําเสนอบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่หลากหลายช่องทาง
ตอบ 3 (PDF ลักษณะหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์) ลักษณะของสื่อออนไลน์ที่เกิดขึ้นใหม่ ได้แก่
1 มีเนื้อหาที่หลากหลายตามแต่จุดเด่นของสํานักข่าวนั้น
2 บางสํานักข่าวมีเนื้อหาในการนําเสนอเฉพาะเรื่องอย่างชัดเจน
3 มีการนําเสนอบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่หลากหลายช่องทาง
4 เนื้อหาสดใหม่ รวดเร็ว

WordPress Ads
error: Content is protected !!