การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1003 การเตรียมเพื่อการพูดและการเขียน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1. ทําไมการพูดจึงมีความสําคัญในชีวิตประจําวัน
(1) เพื่อการใช้ภาษาในการสื่อสาร
(2) เพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ
(3) เพื่อความเข้าใจระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3
การพูดนับเป็นการสื่อสารที่มีความสําคัญต่อชีวิตประจําวัน ชีวิตความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพของมนุษย์เป็นอันมาก เพราะมนุษย์จะต้องใช้การพูด โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง ซึ่งถ้าสื่อสารเข้าใจกันได้ดีการกระทํากิจการงานต่าง ๆ จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Advertisement

2. “คนที่เกิดมาพูดเก่ง หรือเสียงดีก็ใช่ว่าจะต้องเหนือกว่าคนพูดไม่เก่ง หรือเสียงไม่ดี ขอเพียงฝ่ายหลังมานะพยายาม ฝึกอบรมพูดอย่างมีหลักเกณฑ์ และเป็นไปตามขั้นตอนเท่านั้นก็พูดเก่งได้” เกี่ยวข้องกับ เรื่องใดเป็นสําคัญ
(1) วาทศาสตร์
(2) วาทศิลป์
(3) ศาสตร์และศิลป์ในการพูด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4
ข้อความที่ เรศ นโรปกรณ์ กล่าวไว้ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า การที่จะพูดให้ได้ผลจําเป็นต้องฝึกฝนโดยอาศัยหลักวิชาการพูดที่เรียกว่า “วาทการ วาทศาสตร์ หรือวาทศิลป์”ทั้งนี้เพราะการพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่สามารถเรียนรู้และฝึกทักษะได้ ยิ่งฝึกมากความชํานาญในการพูดยิ่งพัฒนาขึ้นตามลําดับ

3. ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) พูดดี คือ การใช้ภาษาได้ดี
(2) พูดดี คือ พูดแล้วทําให้ผู้ฟังเชื่อถือ
(3) พูดเป็นต้องทําให้ผู้ฟังนิยมชมชอบ
(4) พูดเป็น คือ การใช้ปิยวาจา
ตอบ 3
การพูดโดยทั่วไปมีอยู่ 3 ระดับ ได้แก่
1. พูดได้ คือ พูดเป็นประโยคได้ดี รู้จักพูดคุย ซักถาม หรือโต้ตอบได้ 2. พูดเป็น คือ พูดให้ผู้ฟังนิยมชมชอบ เชื่อถือ คล้อยตาม และนําไปปฏิบัติได้ 3. พูดดี คือ การใช้ปิยวาจา หรือวาจาเป็นที่รัก ดูดดื่มน้ําใจ ซาบซึ้งใจ ซึ่งนับว่าเป็นการพูดที่ดีที่สุด

4. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายในการพูด
(1) พูดได้ พูดเป็น และพูดดี
(2) ให้ความรู้ โน้มน้าวใจ และสร้างความเพลิดเพลิน
(3) ให้ความรู้ ชี้แนะ และตอบคําถาม
(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4
จุดมุ่งหมายในการพูดโดยทั่วไป มีดังนี้
1. ให้ความรู้หรือข้อเท็จจริง 2. โน้มน้าวจิตใจผู้ฟัง 3. สร้างความบันเทิง ความเพลิดเพลิน หรือจรรโลงใจ 4. แก้ปัญหาหรือตอบคําถามต่าง ๆ 5. แนะนําและชี้แนะเรื่องต่าง ๆ

5. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการทักทายผู้ฟัง
(1) เมื่อทักทายประธานในที่ประชุมสภาฯ ต้องพูดว่า “กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ
(2) เมื่อทักทายแฟนเพลงควรใช้คําว่า “สวัสดี แฟนเพลงที่รักของชมพู่”
(3) ทักทายตามสถานการณ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
คําปฏิสันถารหรือการกล่าวทักทายผู้ฟังมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. ชนิดที่เป็นพิธีการ จะไม่นิยมใช้คําที่แสดงความรู้สึกปนเข้ามา เช่น คําว่า เคารพนับถือ ที่รัก ฯลฯ มักใช้ในงานที่เป็นทางการ งานรัฐพิธีและศาสนพิธีต่าง ๆ ได้แก่ งานวางศิลาฤกษ์งานแจกวุฒิบัตร คํากล่าวเปิดงาน การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ
2. ชนิดที่ไม่เป็นพิธีการ จะนิยมใช้คําที่แสดงความรู้สึกปนเข้ามาด้วย เพื่อแสดงความเป็นกันเองหรือความใกล้ชิดสนิทสนม มักใช้ในงานที่ไม่เป็นทางการมากนัก ได้แก่ การแสดงคอนเสิร์ตงานวันเกิด การรายงานหน้าชั้นเรียน การแสดงปาฐกถา ฯลฯ

6. เมื่อได้รับเชิญไปพูดในเรื่องที่ไม่ถนัด ท่านควรทําเช่นไร
(1) หาข้อมูลความรู้ในเรื่องนั้นให้มากที่สุด
(2) ขอโทษหรือออกตัวกับผู้ฟัง
(3) ปฏิเสธแล้วพยายามขอพูดในหัวข้อที่ถนัด
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1
เมื่อต้องพูดในเรื่องที่ไม่ถนัดหรือไม่เชี่ยวชาญ นักพูดไม่ควรขอโทษ หรือออกตัวกับผู้ฟังก่อนพูด แต่ควรเตรียมตัวค้นคว้าหาข้อมูลและความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ให้พร้อมมากที่สุด โดยสามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อการพูดที่ดีได้ ดังนี้ 1. ความรู้และประสบการณ์ของผู้พูดเอง 2. การอ่านหนังสือในห้องสมุด 3. การติดตามข่าวสารที่ทันสมัย ซึ่งเกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จะพูด 4. การสนทนากับผู้รู้ 5. การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พูด หรือผู้รู้ที่เชี่ยวชาญ

7. ประโยชน์สําคัญของการพิจารณาวัตถุประสงค์ในการพูด คืออะไร
(1) ช่วยให้เตรียมเนื้อหาได้อย่างเพียงพอ
(2) ทําให้การพูดน่าสนใจ
(3) ช่วยในการประเมินผู้ฟัง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ผู้พูดควรจะต้องกําหนดจุดมุ่งหมายในการพูดให้ชัดเจนว่า การพูดครั้งนั้นมีความมุ่งหมายอย่างไร เพราะประโยชน์สําคัญของการพิจารณาวัตถุประสงค์ในการพูดก็คือ เพื่อจะได้เตรียมเนื้อหา เหตุผล ข้ออ้างอิง ถ้อยคําภาษา ฯลฯ ได้อย่างเพียงพอและถูกต้องตาม วัตถุประสงค์ เพราะการพูดด้วยจุดประสงค์และโอกาสที่ต่างกัน ย่อมจะใช้คําปฏิสันถาร เนื้อหาคําลงท้าย และภาษาที่แตกต่างกันไป

8. “ท่านผู้ฟังทุกท่านครับ สําหรับผมเงินไม่สําคัญกับชีวิตแต่จําเป็นครับ” เป็นคํานําแบบใด
(1) กระตุ้นให้คิด
(2) ยกข้อความเร้าใจ
(3) จี้จุดสําคัญ
(4) สําแดงคุณโทษ
ตอบ 3
คํานําหรือการขึ้นต้นแบบจี้จุดสําคัญของเรื่องนั้น ๆ คือ การพุ่งเข้าสู่จุดโดยไม่ต้องอ้อมค้อม เพราะผู้ฟังก็รู้เรื่องอยู่แล้ว เป็นการแสดงทัศนะของผู้พูดเท่านั้น

9. “ท้ายที่สุดนี้ ผมขอย้ำว่าที่ผมอาสามาทํางานก็อาสามารับผิดชอบครับ” เป็นการสรุปเรื่องพูดแบบใด
(1) เชิญชวนให้เข้าใจ
(2) ทิ้งท้ายเป็นภาพเด่นชัด
(3) ประกาศเจตจํานง
(4) ยกอุทาหรณ์
ตอบ 3
การสรุปหรือลงท้ายแบบประกาศเจตจํานงส่วนตัวในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ผู้พูดต้องเป็นคนสําคัญ หรือคนที่กําหัวใจของเรื่องนั้น ๆ อยู่

10. ลักษณะทางจิตวิทยาข้อใดของผู้ฟังที่ผู้พูดต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
(1) กลุ่มอาชีพและกลุ่มสังคม
(2) เชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม
(3) ทัศนคติ ความเชื่อ และคุณค่าที่ผู้ฟังยึดถือ
(4) ความต้องการพื้นฐานของผู้ฟัง
ตอบ 2
ลักษณะทางจิตวิทยาของผู้ฟังที่ผู้พูดต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ เชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม เพราะผู้ที่มีเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมที่ต่างกัน ย่อมมีความรู้สึกนึกคิด อุดมการณ์ และความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนั้นเวลาไปพูดผู้พูดจึงควรระมัดระวังไม่ไปโจมตีหรือดูหมิ่นถากถางความเชื่อที่ผู้ฟังยึดถือ

11. การฝึกพูดวิธีการใดดีที่สุด
(1) ฝึกพูดโดยมีผู้แนะนํา
(2) ฝึกพูดโดยศึกษาจากทฤษฎีการพูด
(3) ฝึกพูดคนเดียวหน้ากระจก
(4) ฝึกพูดจากบุคลิกของผู้ฝึกซ้อม
ตอบ 1
การฝึกพูดโดยมีผู้แนะนํา คือ มีพี่เลี้ยงหรือครูอาจารย์ดี ๆคอยแนะนําให้เป็นการส่วนตัว หรือจัดเป็นกลุ่ม มีการฝึกพูดกันเป็นประจํา หรือสมัครเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพูด ดังนั้นจึงจัดเป็นวิธีฝึกพูดที่ดีที่สุด ทําให้นักพูดมีความก้าวหน้าและเห็นผลได้รวดเร็วที่สุด โดยเฉพาะเมื่อฝึกพูดครั้งแรก เพราะผู้แนะนําจะชี้แจงข้อบกพร่องและให้ข้อแนะนําวิธีพูดที่ถูกต้อง ซึ่งจะทําให้ทราบว่าผู้พูดยังบกพร่องในเรื่องใด และควรปรับปรุงแก้ไขตนเองในข้อใด

12. เคล็ดลับที่สําคัญในการฝึกพูด คือ
(1) กําจัดอาการตื่นเวที
(2) ฝึกนิสัยรักการอ่าน
(3) ปลูกฝังความกล้า
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3
เคล็ดลับในการฝึกหัดพูด ได้แก่ 1. จงปลูกฝังความกล้าหาญทุกขณะที่จะพูด 2. ฝึกหัดพูดคนเดียวให้คล่องและแพรวพราว โดยอาจจะฝึกหน้ากระจกบานใหญ่ 3. จงขจัดความกลัวออกไปจากจิตใจ

13. เมื่อท่านฝึกซ้อมการพูดในระยะเริ่มแรก ท่านจะ
(1) ซ้อมพูดโดยใช้เครื่องบันทึกเสียงตั้งแต่ต้นจนจบ
(2) ซ้อมพูดโดยใช้เครื่องบันทึกเสียงทีละขั้นตอน
(3) ซ้อมพูดโดยใช้วิดีโอตั้งแต่ต้นจนจบ
(4) ซ้อมพูดโดยใช้วิดีโอทีละขั้นตอน
ตอบ 2
การใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการซ้อมพูด มีดังนี้
1. การใช้เครื่องบันทึกเสียง เป็นวิธีฝึกซ้อมพูดในระยะเริ่มแรก ซึ่งจะทําให้ผู้พูดได้รู้ถึงน้ำเสียงของตน แต่ควรจํากัดเวลาด้วย โดยแบ่งการฝึกซ้อมออกเป็นตอนสั้น ๆ และควรฝึกซ้อมทีละขั้นตอนเริ่มจากการกล่าวเปิดก่อน 2. การใช้วิดีโอหรือวีดิทัศน์ เป็นวิธีที่สามารถไว้ใจได้มาก เพราะภาพจากวิดีโอหรือวีดิทัศน์จะบอกผู้ฝึกได้ทั้งลักษณะการพูด ท่าทาง และภาษาท่าทาง แต่วิธีนี้ควรใช้เมื่อได้ผ่านขั้นตอนการฝึกซ้อมอย่างอื่นมาแล้ว

14. ข้อใดคือหลักปฏิบัติในการฝึกพูด
(1) ฝึกหัดพูดคนเดียวให้คล่องและแพรวพราว
(2) ฝึกขจัดความกลัวออกไปจากจิตใจ
(3) ฝึกการพูดให้เป็นสําเนียงการพูด
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3
หลักปฏิบัติในการฝึกพูด มีดังนี้
1. ฝึกตนเองให้รู้จักแสวงหาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ 2. ฝึกการพูดให้เป็นสําเนียงภาษาพูด 3. ฝึกความเชื่อมั่นในตัวเอง 4. ฝึกตนให้เป็นคนมีความอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ 5. ฝึกการพัฒนาบุคลิกภาพในการพูด

15. ข้อใดคือการฝึกพัฒนาบุคลิกภาพในการพูด
(1) ฝึกการควบคุมอารมณ์
(2) ฝึกการใช้เสียงและท่าทาง
(3) ฝึกจดจําเรื่องราวต่าง ๆ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
การฝึกพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีในการพูดมีอยู่ 2 ประการ คือ
1. บุคลิกภาพภายนอก เป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัด จึงแก้ไขได้ง่าย ใช้เวลาฝึกฝนน้อย และ วัดผลได้ทันที ได้แก่ รูปร่าง หน้าตา สีหน้า การแต่งกาย การปรากฏตัว กิริยาท่าทางการสบสายตา การใช้น้ำเสียง จังหวะในการพูด และถ้อยคําภาษา ฯลฯ
2. บุคลิกภาพภายใน เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น จึงแก้ไขได้ค่อนข้างยาก ใช้เวลาฝึกฝนมาก และวัดผลลําบาก ได้แก่ ความมั่นใจ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความกระตือรือร้น ความรอบรู้ ความคิดริเริ่ม ความจริงใจ ปฏิภาณไหวพริบ ความรับผิดชอบ ความจํา และอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ เช่น อารมณ์ขัน ฯลฯ

16. ข้อใดคือบุคลิกภาพภายใน
(1) กิริยาท่าทาง
(2) การแต่งกาย
(3) อารมณ์ขัน
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

17. เมื่อท่านต้องขึ้นพูดเพื่อไว้อาลัยต่อการจากไปของบุคคลอันเป็นที่รัก ท่านจะ (1) ใช้สีหน้าสํารวม หรี่ตาลงเล็กน้อย
(2) ใช้สีหน้าวางเฉย ลดสายตาลงต่ำ
(3) ใช้สีหน้าวางเฉย หลับตาลงช้า ๆ
(4) ใช้สีหน้าสํารวม ลดสายตาลงต่ำ
ตอบ 4
เมื่อต้องขึ้นพูดเพื่อไว้อาลัยต่อการจากไปของบุคคลอันเป็นที่รัก ผู้พูดจะต้องแสดงสีหน้าสํารวมเพื่อบ่งบอกถึงความสุขุม ความเชื่อมั่นในการพูด และจะต้องลดสายตาลงเบื้องต่ำ เมื่อต้องการแสดงความสุภาพ ความนับถือ แต่จงระวังอย่าแสดงอาการหลุกหลิก เลิกคิ้ว หลิ่วตาขยับแก้มขยับคางหรือกัดริมฝีปาก เพราะเป็นอากัปกิริยาที่ไม่เรียบร้อย

18. ข้อใดคือการใช้ภาษาท่าทางแบบพื้นฐาน
(1) อย่าให้เสื้อผ้าพูดแทนเนื้อหา
(2) ยิ้ม ยิ้ม และยิ้ม
(3) ใช้ความสงบสยบทุกเหตุการณ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
การใช้ภาษาท่าทางในการพูดจะช่วยแก้ไขอาการตื่นเวทีของผู้พูด หรือสามารถเอาชนะความประหม่าได้ ดังนั้นเวลาพูดจึงควรมีการเคลื่อนไหวร่างกายบ้าง แต่ต้องไม่มาก จนก่อให้เกิดความรําคาญแก่ผู้ฟัง จงใช้ท่าทางไปตามธรรมชาติ และการใช้ภาษาท่าทางแบบพื้นฐานที่ผู้พูดจะละเลยไม่ได้ คือ การยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ ซึ่งนับเป็นการสร้างความอบอุ่นต่อการพูด ช่วยสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร และความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ฟัง

19. ข้อใดใช้ภาษามือถูกต้อง
(1) สรยุทธ์อ่านข่าวโทรทัศน์แล้วผายมือ
(2) เชอรี่ชี้หน้านักข่าวที่ตั้งคําถาม
(3) หนูนิดแสดงความจริงจังจึงกํามือ
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3
การใช้ภาษามือต้องใช้ให้เป็นจังหวะ เหมาะกับเรื่องและโอกาส เพื่อบอกจํานวน ขนาด รูปร่าง และทิศทาง ซึ่งจะทําให้การพูดมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น เช่น 1. เมื่อแสดงความหนาแน่นจริงจังให้กํามือ 2. เมื่อแสดงความเป็นมิตรหรือบริสุทธิ์ใจให้แบมือทั้ง 2 ข้างแล้วผายออก 3. เมื่อบอกทิศทางให้ชี้นิ้วไปในตําแหน่งที่ต้องการ ฯลฯ

20. วิธีการแก้ไขอาการตื่นเวทีได้ดีที่สุด คือ
(1) หายใจลึก ๆ แล้วนึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือ
(2) หายใจลึก ๆ แล้ววิ่งวนรอบเวที
(3) หายใจลึก ๆ แล้วนึกถึงคําพูดแรก ๆ ในการพูด
(4) ขึ้นอยู่กับบุคคลที่พูด
ตอบ 3
ข้อแนะนําเมื่อเกิดอาการตื่นเวที มีดังนี้
1. เตรียมตัวให้พร้อม ฝึกซ้อมพูดจนมั่นใจ ถือเป็นวิธีป้องกันแก้ไขอาการตื่นเวทีที่ดีที่สุดเพราะถ้าเตรียมสองประการนี้ไม่ดีก็เท่ากับประสบความล้มเหลวก่อนขึ้นเวทีเสียแล้ว 2. สร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง พยายามคิดว่าผู้ฟังทุกคนเป็นมิตรกับเรา 3. สร้างทัศนคติที่ดี ต้องคิดว่าเรามีความรู้ในเรื่องที่จะพูดมากเพียงพอ 4. สูดลมหายใจลึก ๆ ยาว ๆ เพื่อผ่อนคลาย แล้วนึกถึงคําพูดแรก ๆ ในการพูด

21. ข้อใดคือการพูดแบบไม่เป็นทางการ
(1) วรชัยรับโทรศัพท์ในที่ทํางาน
(2) กันยาอภิปรายเรื่องภาวะโลกร้อน
(3) อมรสัมภาษณ์ประธานสภาผู้แทนฯ
(4) สัญญากล่าวอวยพรคู่สมรส
ตอบ 1
การสื่อสารด้วยการพูดในสังคมมีรูปแบบสําคัญ 2 ประการ คือ
1. การพูดแบบไม่เป็นทางการ ได้แก่ การทักทาย การแนะนําตัว การสนทนา การเล่าเรื่อง การพูดและรับโทรศัพท์ และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ
2. การพูดแบบเป็นทางการ ได้แก่ การสัมภาษณ์ การบรรยาย การประชุม การอภิปรายการโต้วาที การพูดแบบปาฐกถา การกล่าวสุนทรพจน์ และการพูดในโอกาสสําคัญ(เช่น งานมงคลสมรส ฯลฯ)

22. การพูดแบบใดที่มักจะใช้แทรกในการพูดแบบต่าง ๆ
(1) การสนทนา
(2) การบรรยาย
(3) การเล่าเรื่อง
(4) การแนะนําตัว
ตอบ 3
การเล่าเรื่อง คือ การที่บุคคลหนึ่งได้เห็นหรือได้ยินเรื่องราวบางอย่างมา แล้วนํามาถ่ายทอดให้คนอื่นฟัง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ฟังได้รับรู้เรื่องราวนั้นด้วย โดยศิลปะของการเล่าเรื่องก็คือ การทําให้ผู้ฟังติดใจ อยากฟัง ดังนั้นจึงเป็นวิธีการพูดที่สําคัญอย่างหนึ่ง และมักนํามาแทรกไว้ในการพูดแบบอื่น ๆ เพื่อทําให้การพูดนั้นน่าสนใจขึ้น

23. การพูดแบบใดที่มีบทบาทสําคัญในชีวิตประจําวันมากที่สุด
(1) มารยาทในการฟัง
(2) การสนทนา
(3) การสัมภาษณ์งาน
(4) การแนะนําตัว
ตอบ 2
การสนทนา จัดเป็นการส่งสารและรับสารที่ง่ายที่สุด สามารถทําได้รวดเร็วที่สุดและมีบทบาทสําคัญมากที่สุดในชีวิตประจําวัน เพราะมนุษย์เราจะต้องพบปะพูดคุยกับผู้อื่น เพื่อปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด หรือประสบการณ์ เพื่อความสนุกสนานและ ผ่อนคลายความเครียด

24. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) นักข่าวสัมภาษณ์พี่ดารา คือ การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ
(2) การสัมมนาต้องมีการนําผลไปเป็นแนวทางปฏิบัติ
(3) การอภิปรายต้องเป็นเรื่องทางวิชาการ
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3
การอภิปราย คือ การพูดแสดงความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ของบุคคลกลุ่มหนึ่งตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อปรึกษาหารือกันและออกความคิดเห็น เพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่ หรือเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดในเรื่องที่กําหนดให้ ดังนั้นความหมายของการอภิปราย ที่ครอบคลุมเนื้อหาสาระมากที่สุดน่าจะเป็น “กระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข่าวสารของบุคคลจํานวนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือมากกว่านั้น…”

25. ข้อใดคือการอภิปรายกลุ่ม
(1) นักศึกษาปี 1 ทุกคนรับฟังการอภิปรายทางวิชาการ
(2) สรพงษ์กล่าวอภิปรายที่สนามหลวง
(3) นักวิชาการแบ่งกลุ่มประชุมโลกร้อน
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3
การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) คือ การอภิปรายที่ทุกคนในกลุ่มเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการอภิปราย โดยทั่วไปจะมีจํานวนสมาชิกในกลุ่ม 5 – 20 คน ซึ่งสมาชิกใน กลุ่มทุกคนมีสิทธิ์พูดเพื่อแสดงความรู้ ความคิดเห็น โดยจะผลัดกันพูด ผลัดกันฟัง ไม่มีผู้ฟังที่เป็นบุคคลภายนอก จึงมักใช้ประชุมปรึกษาหารือเพื่อดําเนินงานในขอบเขตของผู้ร่วมอภิปราย

26. การพูดแบบใดที่ผู้พูดได้รับการยอมรับว่าเชี่ยวชาญในเรื่องที่พูด
(1) กล่าวปาฐกถา
(2) กล่าวสุนทรพจน์
(3) การบรรยาย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1
การพูดแบบปาฐกถา คือ การพูดที่บุคคลคนเดียวแสดงถึงความรู้ความคิดเห็นของตนเองให้ผู้ฟังจํานวนมาก เป็นการพูดแบบบรรยาย หรืออธิบายขยายความให้ผู้ฟังได้ เข้าใจเรื่องที่พูดอย่างเจ่มแจ้ง โดยอาจเป็นการพูดเกี่ยวกับวิชาการหรือเป็นความรู้ทั่ว ๆ ไปก็ได้ ดังนั้นผู้พูดจึงต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่พูดอย่างเชี่ยวชาญ

27. การพูดแบบใดที่ผู้พูดสามารถอ่านตามต้นร่างได้โดยไม่เสียมารยาท
(1) พูดจากต้นร่าง
(2) กล่าวสุนทรพจน์
(3) กล่าวปาฐกถา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
การพูดโดยอาศัยอ่านจากร่างหรือต้นฉบับ คือ การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับที่มีการเตรียมไว้ล่วงหน้าแล้วอย่างดี ส่วนมากจะเป็นการพูดที่เป็นพิธีการสําคัญต่าง ๆ เช่น การกล่าวเปิดงาน การกล่าวรายงาน การกล่าวเปิดประชุม การกล่าวรายงานการประชุม การกล่าวสดุดี การปราศรัย การให้โอวาท การกล่าวสุนทรพจน์ของบุคคลสําคัญ คําแถลงหรือประกาศต่าง ๆของทางราชการ ฯลฯ

28. วิธีการพูดแบบใดที่เหมาะสมสําหรับทุกโอกาส
(1) การพูดแบบท่องจําจากร่าง
(2) การพูดโดยอาศัยอ่านจากร่าง
(3) การพูดจากความทรงจํา
(4) การพูดแบบท่องจําจากร่าง
ตอบ 3
การพูดจากความทรงจํา ถือเป็นการพูดจากใจและจากความรู้สึกที่แท้จริงของผู้พูด จึงเป็นวิธีการพูดที่ดีที่สุด นิยมมากที่สุด และเหมาะสมที่สุดกับการพูดในทุก ๆ โอกาส ซึ่งคนที่จะพูดแบบนี้ได้ดีจะต้องเป็นตัวของตัวเอง มีความจําดี จดจําทุกสิ่งทุกอย่างไว้ ในสมอง มีปฏิภาณไหวพริบ มีความรอบรู้ และสามารถนําเรื่องราวต่าง ๆ มาประสานกันได้อย่างดี เช่น การเล่าเรื่องชีวิตของตนเอง หรือประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ประสบพบเจอ

ข้อ 29. – 30. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การพูดแบบให้ความรู้
(2) การพูดแบบจูงใจ
(3) การพูดแบบให้ความบันเทิง
(4) การพูดแบบให้กําลังใจ

29. การพูดแบบใดที่ผู้พูดต้องให้ความสําคัญกับผู้ฟังมากกว่าการพูดแบบอื่น
ตอบ 2
วิธีปฏิบัติในการพูดแบบจูงใจหรือชักชวน มีดังนี้
1. ผู้พูดต้องให้ความสําคัญกับผู้ฟังมากกว่าการพูดแบบอื่น โดยพูดยกย่องผู้ฟังหรืออธิบายว่าผู้ฟังจะได้ประโยชน์มากขึ้น
2. ผู้พูดต้องพูดให้ผู้ฟังเห็นว่า ผู้พูดอยู่ฝ่ายเดียวกับผู้ฟังและเห็นอกเห็นใจผู้ฟัง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความไว้วางใจ
3. ผู้พูดต้องยกตัวอย่าง ยกเหตุผลข้อเท็จจริงต่าง ๆ มาอ้างอิง เพื่อให้ผู้ฟังเห็นด้วย
4. ผู้พูดต้องใช้ศิลปะการพูดต่าง ๆ พูดอย่างมีชีวิตจิตใจ ฯลฯ

30. การพูดแบบใดที่หากพูดคนเดียวต้องใช้เวลาไม่เกิน 45 นาที
ตอบ 3
หลักการพูดแบบให้ความบันเทิง มีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ผู้พูดควรจํากัดเวลาในการพูด เพราะถ้าพูดนานจะทําให้ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่าย โดยถ้ามีผู้พูดหลายคน แต่ละคนไม่ควรพูดเกิน 10 นาที แต่ถ้าพูดคนเดียวก็อาจใช้เวลาประมาณ35 – 45 นาที
2. ผู้พูดต้องพูดให้ตรงเป้าหมายและพูดให้ได้เรื่องราวที่เหมาะสม
3. เรื่องที่พูดต้องเป็นเรื่องสนุกสนาน เบาสมอง และให้ความบันเทิงจริง ๆ ถ้าหากจะมีเรื่องตลกขบขันแทรกก็ต้องเป็นเรื่องที่ไม่หยาบโลน

31. องค์ประกอบหนึ่งของการพูดที่ดี คือ
(1) การฝึกซ้อมการพูดสม่ำเสมอ
(2) การพูดด้วยถ้อยคําที่ดี
(3) การแสวงหาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
ดร.นิพนธ์ ศศิธร กล่าวว่า การพูดที่ดี (การพูดต่อชุมนุมชน) มีองค์ประกอบที่สําคัญอยู่ 4 ประการ คือ 1. การพูดที่มีถ้อยคําดี 2. การพูดที่มีความเหมาะสม 3. การพูดที่มีความมุ่งหมาย 4. การพูดที่มีศิลปะการแสดงดี

32. ทัศนคติในทางลบที่ต้องกําจัดในเรื่องการพูด คืออะไร
(1) การใช้คําพูดซ้ำ ๆ
(2) การกล่าวย้ำคําพูดที่สําคัญ
(3) ความเบื่อหน่ายในการพูด
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3
ทัศนคติของผู้พูดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ทัศนคติในทางลบ ซึ่งมีผลเสียต่อผู้ฟัง ได้แก่ ความรู้สึกเบื่อหน่าย ความรู้สึกว่าตนเองเหนือกว่าผู้ฟัง และความรู้สึกกลัว
2. ทัศนคติในทางบวก ซึ่งช่วยให้ผู้พูดประสบความสําเร็จในการพูดมากขึ้น ได้แก่ความปรารถนาที่จะพูด ความสนใจในเรื่องที่พูดและความสนใจในคนฟัง รวมทั้งความมั่นใจของผู้พูด

33. ทัศนคติในทางบวกที่ต้องส่งเสริมในเรื่องการพูด คืออะไร
(1) การฝึกซ้อมการพูดอยู่เสมอ
(2) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ฟัง
(3) ความสนใจในเรื่องที่พูดและสนใจในคนฟัง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

34. การพูดในที่สาธารณะมีลักษณะเป็นรูปแบบไหน
(1) วงกลม
(2) เส้นตรง
(3) สามเหลี่ยม
(4) แล้วแต่สถานการณ์
ตอบ 1
การพูดในที่สาธารณะโดยทั่วไป ผู้พูดมักจะคิดว่ามีลักษณะการสื่อสารเป็นเส้นตรงคือ เป็นแบบที่ผู้พูดส่งสารทางเดียว แต่ความจริงแล้วมีลักษณะการสื่อสารเป็นวงกลมมากกว่าเป็นเส้นตรง คือ ผู้ฟังจะต้องมีปฏิกิริยาโต้ตอบกลับมาด้วย ซึ่งเรียกว่า การตอบสนองหรือผลที่เกิดจากการพูด คือ สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้พูดถ่ายทอดสารมาให้ผู้ฟัง

35. Empathy หมายถึงอะไรในแวดวงการพูด
(1) ความสัมพันธ์ที่ผู้ฟังมีต่อผู้พูด
(2) การเข้าถึงจิตใจผู้อื่น
(3) ความสัมพันธ์ที่ดีของทุกฝ่าย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
สิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการโต้ตอบระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ซึ่งจะทําให้กระบวนการพูดกับการฟังได้ผลดี มีอยู่ 2 ประการ ดังนี้ 1. การเข้าถึงจิตใจของผู้อื่น (Empathy) คือ ความพยายามของผู้พูดและผู้ฟังที่จะรับรู้ในสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกัน โดยต้องเห็นในสิ่งที่เขาเห็น รู้สึกในสิ่งที่เขารู้สึก 2. การมีความสัมพันธ์ที่ดี (Rapport) คือ การที่ทั้งผู้พูดและผู้ฟังเข้ากันได้ มีการยอมรับร่วมกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าถึงจิตใจของผู้อื่น (Empathy)

36. ลีลาของการพูด หมายถึงอะไร
(1) ท่วงท่าในการสื่อสาร
(2) วิธีการสื่อสารของการพูด
(3) การใช้ภาษาท่าทาง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
ลีลาของการพูด คือ วิธีการสื่อสารของการพูด หรือวิธีการที่จะส่งสารหรือคําพูดออกไป เป็นการแสดงถึงความคิดและบุคลิกลักษณะของตัวผู้พูดเอง ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้พูดที่เลียนแบบกันได้ยาก จึงเปรียบเสมือนเป็นลายเซ็นของมนุษย์ โดยมีลักษณะสําคัญก็คือ เป็นการแสดงออกซึ่งความคิด ความกระจ่างชัด ความน่าสนใจ และน่าจดจํา

37. การย่อความในการพูด หมายถึง
(1) พูดให้สั้น
(2) พูดให้ได้ใจความ
(3) พูดโดยใช้ภาษาได้น่าสนใจ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1
การย่อความ หมายถึง ลีลาการพูดให้สั้น รวบรัด สามารถรวมเอาความคิดต่าง ๆไว้ในข้อความสั้น ๆ ซึ่งมักทําให้ผู้ฟังพอใจมากกว่าผู้พูดที่พูดเพ้อเจ้อ ถ้าหากผู้พูดจะใช้ลีลาการพูดแบบนี้ก็ต้องมีความมั่นใจด้วยว่าผู้ฟังจะสามารถเข้าใจเรื่องราวไปพร้อม ๆ กับผู้พูด ดังนั้น การรวบรวมความคิดจึงควรตรงประเด็น กินความหมายได้มาก และน่าสนใจ

38. วิธีการอ้างอิงคําพูดของผู้อื่นทําอย่างไร
(1) ระบุที่มาของคําพูด
(2) บอกชื่อหนังสือที่ได้อ่านมา
(3) ไม่ต้องอ้างอิง
(4) บอกชื่อผู้เป็นเจ้าของคําพูด
ตอบ 4
ชาคริต อนันทราวัน ได้กล่าวถึงมารยาทในการพูด สรุปได้ดังนี้
1. ไม่ควรสูบบุหรี่ อมลูกอม เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือหยิบยาอมขึ้นมาใส่ปากในขณะที่พูด
2. หากรู้สึกโกรธขึ้นมาในขณะที่พูด นักพูดควรหยุดนิ่งและระงับสติอารมณ์ให้ได้
3. ต้องตรงต่อเวลาในการพูด คือ พูดและสรุปให้จบก่อนหมดเวลา 1 – 2 นาที
4. ถ้ามีการอ้างอิงคําพูดของผู้อื่น ต้องบอกชื่อผู้เป็นเจ้าของคําพูดด้วย ฯลฯ

39. Be Complete ในการตอบคําถาม หมายถึงอะไร
(1) ตอบให้สมบูรณ์
(2) ตอบให้ถูกต้อง
(3) ตอบให้มั่นใจ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1
กฏเกณฑ์ของการตอบคําถาม ซึ่งเรียกว่า 4 BS มีดังนี้
1. มีความถูกต้อง (Be Accurate) 2. มีความสมบูรณ์ (Be Complete)
3. มีความสุภาพ (Be Polite) 4. มีความมั่นใจ (Be Confident)

40. จงใช้ภาษาของผู้ฟัง หมายถึงสิ่งใด
(1) ใช้ภาษาเดียวกับเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ส่วนใหญ่ของผู้ฟัง
(2) ใช้ภาษาให้เหมาะกับการรับฟังของกลุ่มผู้ฟัง
(3) ใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
จงใช้ภาษาของผู้ฟัง หมายถึง ผู้พูดใช้ภาษาให้เหมาะกับการรับฟังของกลุ่มผู้ฟัง หรือใช้ภาษาให้สอดคล้องกับพื้นฐานของผู้ฟัง โดยผู้พูดต้องศึกษาว่าผู้ฟังเป็นใคร เพื่อปรับความยากง่ายของถ้อยคําภาษาของตนให้เข้ากับผู้ฟัง หรือเป็นภาษาของกลุ่มผู้ฟัง ไม่ใช้ศัพท์ยากเกินไป ถ้าใช้ศัพท์ยากหรือใช้ภาษาที่ผู้ฟังไม่อาจเข้าใจก็จะทําให้การพูดนั้นไร้ประโยชน์

ข้อ 41, – 45.
ข้อใดเป็นภาษาพูดให้เลือกข้อ 1
ข้อใดเป็นภาษาเขียนให้เลือกข้อ 2

41. ทมยันตี เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงและมีผลงานมากมายเป็นที่ยอมรับของผู้อ่าน ตอบ 2
การใช้คําในภาษาเขียนย่อมพิถีพิถันมากกว่าภาษาพูด โดยเฉพาะภาษาเขียนในระดับแบบแผนด้วยแล้ว ผู้เขียนย่อมทบทวนกันอย่างละเอียดเพื่อที่จะใช้คําให้หมดจด เช่น ทมยันตี เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงและมีผลงานมากมายเป็นที่ยอมรับของผู้อ่าน, ชาวบ้านผูกพันกับวิถีการผลิตตามแบบธรรมชาติ ดังนั้นการเกษตรกรรมจึงทําให้ชาวบ้านรู้สึกว่าตนเองใกล้ชิดกับธรรมชาติ เป็นต้น

42. ชาวบ้านผูกพันกับวิถีการผลิตตามแบบธรรมชาติ ดังนั้นการเกษตรกรรมจึงทําให้ชาวบ้านรู้สึกว่าตนเองใกล้ชิดกับธรรมชาติ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

43. สมัยนี้ความงามดูจะเป็นเรื่องใหญ่ที่ผู้หญิงทุกคนสนใจเป็นพิเศษ
ตอบ 1
ภาษาพูดเป็นภาษาที่มุ่งสื่อเพื่อความเข้าใจระหว่างกันอย่างรวดเร็วจึงอาจไม่คํานึงถึงหลักไวยากรณ์มากนัก และอาจมีการใช้คําซ้ำ คําสแลง คําภาษาปาก ฯลฯ เช่น สมัยนี้ความงามดูจะเป็นเรื่องใหญ่ที่ผู้หญิงทุกคนสนใจเป็นพิเศษ, พรุ่งนี้คุณแม่นัดเพื่อนที่ ห้างสรรพสินค้าเวลาเก้าโมงเช้า, ที่มหาวิทยาลัยรามคําแหงมีรถเมล์วิ่งผ่านหลายสาย เป็นต้น

44. พรุ่งนี้คุณแม่นัดเพื่อนที่ห้างสรรพสินค้าเวลาเก้าโมงเช้า
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

45. ที่มหาวิทยาลัยรามคําแหงมีรถเมล์วิ่งผ่านหลายสาย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

46. ข้อใดไม่ใช่ข้อบกพร่องเกี่ยวกับการฟัง
(1) เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา
(2) ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด
(3) สีซอให้ควายฟัง
(4) ไปไหนมาสามวาสองศอก
ตอบ 3
สํานวน “สีซอให้ควายฟัง” = สั่งสอนแนะนําคนโง่มักจะไม่ได้ผล เสียเวลาเปล่า (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นข้อบกพร่องเกี่ยวกับการฟัง ได้แก่ “เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา” = บอกหรือสอนไม่ได้ผล “ ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด” = ฟังไม่ได้ความแจ่มชัดแล้วเอาไปพูดต่อ, “ไปไหนมาสามวาสองศอก” = ถามอย่างหนึ่งตอบไปอีกอย่างหนึ่ง)

47. ข้อใดแสดงอารมณ์ไม่พอใจของผู้พูดที่เด่นชัดที่สุด
(1) จะทําอะไรก็รีบไปทําให้เสร็จ
(2) ฉันทําอะไรให้คุณก็ไม่ถูกใจสักที
(3) คุณใช้เวลาทํางานชิ้นนี้นานไปหน่อยนะ
(4) แหม…ให้ดิฉันรอตั้งครึ่งวัน แล้วมาบอกให้กลับก่อน
ตอบ 4
ข้อความในตัวเลือกข้อ 4 แสดงอารมณ์ไม่พอใจของผู้พูดเด่นชัดที่สุด เพราะมีการใช้คําอุทาน(แหม) และบอกสาเหตุที่ไม่พอใจอย่างชัดเจน

48. ข้อใดเป็นคําพูดที่เหมาะสมที่สุด
(1) ท่านที่ยังไม่ได้ตอบแบบสอบถาม ขอความกรุณาตอบด้วยค่ะ ส่วนท่านที่ตอบแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งเชิญส่งได้ที่หน้าโต๊ะลงทะเบียนนะคะ
(2) ดิฉันดีใจ และดีใจที่การอบรมในครั้งนี้สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี และขอกราบขอบพระคุณท่านผู้ฟังทุกท่านที่อุตส่าห์นั่งฟังจนจบรายการ ขอขอบพระคุณอีกครั้ง ขอบพระคุณค่ะ
(3) ในฐานะที่ดิฉันเป็นผู้ดําเนินรายการ ดิฉันจะให้เวลาท่านวิทยากรแต่ละคนพูด 2 รอบ ๆ ละ 10 นาทีหากเกินเวลาดิฉันจะขอตัดทันที การอภิปรายจะได้เสร็จทันตามเวลา
(4) เอกสารที่อาจารย์แจกให้ อาจารย์จัดทํามาเอง มีจํานวนจํากัด หมดแล้วหมดเลย ไม่ต้องมาขอกับอาจารย์อีกนะ
ตอบ 1 ข้อความในตัวเลือกข้อ 1 ใช้คําพูดเหมาะสมที่สุด เพราะเป็นการพูดให้ผู้ฟังปฏิบัติตามอย่างสุภาพ จนก่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง

ข้อ 49. – 50. จงเลือกคําเติมในช่องว่างให้ถูกต้อง

49. คุณครูประจําชั้นกําลังพูด………..ให้นักเรียนที่ทะเลาะวิวาทหันมาปรองดอง อีกทั้งยังกําลังพยายาม……….ให้ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของโรงเรียน
(1) เกลี้ยกล่อม, ไกล่เกลี่ย
(2) ไกล่เกลี่ย, เกลี้ยกล่อม
(3) ชักชวน, เกลี้ยกล่อม
(4) เกลี้ยกล่อม, ชักชวน
ตอบ 2
คําว่า “ไกล่เกลี่ย” = พูดจาให้ปรองดองกัน พูดจาให้ตกลงกัน, “เกลี้ยกล่อม” = ชักชวนจูงใจให้ร่วมพวก พูดจูงใจให้คล้อยตามหรือปฏิบัติตาม (ส่วนคําว่า “ชักชวน” = ชวนให้ทําด้วยกัน)

50. สมชายเป็นคนนิสัยไม่ค่อยดี ชอบ…………ในขณะที่ฉันกําลังพิมพ์งาน บางครั้งก็คอย………..ฉันในขณะที่พูดกับเจ้านาย
(1) ขัดจังหวะ, ขัดขวาง
(2) ขัดคอ, ขัดจังหวะ
(3) ขัดจังหวะ, ขัดคอ
(4) ขัดจังหวะ, ขัด
ตอบ 3
คําว่า “ขัดจังหวะ” = แทรกเข้ามาในขณะที่คนอื่นกําลังทําอะไรอยู่, “ขัดคอ” = พูดแย้งขวางเข้ามา พูดแทรก ไม่ให้พูดได้โดยสะดวก (ส่วนคําว่า “ขัดขวาง” = ทําให้ไม่สะดวก ทําให้ติดขัด, “ขัด” = ไม่ทําตาม ฝ่าฝืน ขึ้นไว้)

ข้อ 51. – 54. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การประชุมปรึกษา
(2) การประชุมปฏิบัติงาน
(3) การประชุมซินดิเคต
(4) การประชุมแบบโต้แย้ง

51. การประชุมเพื่อการพัฒนาบุคคล ตลอดจนแก้ไขปัญหาของหน่วยงานนั้น
ตอบ 3
การประชุมซินดิเคต (Syndicate) คือ การประชุมแบบที่ใช้เพื่อการพัฒนาบุคคลและแก้ไขปัญหาที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงของหน่วยงานหรือสถาบันแห่งนั้น เป็นการมุ่งแก้ไขปัญหาเป็นจุด

52. การประชุมโดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม
ตอบ 1
การประชุมปรึกษา (Conference) คือ การประชุมปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม โดยมีจุดประสงค์คือ วางหลักการเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมนําไปใช้เป็นหลักปฏิบัติต่อไป

53. การประชุมที่มีลักษณะคล้ายกับการโต้วาที คือ มีระเบียบหัวข้อ ผู้เสนอ ผู้ค้าน ตอบ 4
การประชุมแบบโต้แย้ง (Debate) คือ การประชุมที่มีลักษณะคล้ายกับการโต้วาทีโดยเป็นการประชุมโต้เถียงกันอย่างมีระเบียบตามหัวข้อที่กําหนด มีการตัดสินแพ้ชนะ มีผู้เสนอ ผู้ค้าน และมีประธานเป็นผู้รักษาระเบียบในการโต้ ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างก็ยกเหตุผลมาโต้เถียงและหักล้างกัน

54. การประชุมที่สถาบันจัดขึ้นโดยเอื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อให้ผู้ประชุมได้ใช้แก้ไขปัญหา ตอบ 2
การประชุมปฏิบัติงาน (Work Shop) คือ การประชุมที่สถาบันจัดให้มีขึ้น และจัดอํานวยความสะดวาในด้านวัสดุและอุปกรณ์การศึกษาให้พร้อม เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้ใช้แก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งโดยเฉพาะ และให้ได้ร่วมปฏิบัติการหรือลงมือทําเพื่อให้ได้ผลงานตามที่กําหนดไว้

55. การประชุมแบบแผง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร
(1) Convention
(2) Debate
(3) Seminar
(4) Panel
ตอบ 4
ประเภทของการประชุม มีดังนี้
1. การประชุมปรึกษา (Conference)
2. การประชุมมีกําหนด (Convention)
3. การประชุมคณะอภิปราย หรือการประชุม แบบแผง (Panel)
4. การประชุมแลกความรู้ (Symposium)
5. การประชุมปฏิบัติงาน (Work Shop)
6. การประชุมแบบโต้แย้ง (Debate)
7. การประชุมซินดิเคต (Syndicate)
8. การสัมมนา (Seminar)

56. บุคคลใดมีบทบาทสําคัญที่สุดในการอภิปราย
(1) ผู้ดําเนินการอภิปราย
(2) ผู้อภิปราย
(3) ผู้ร่วมอภิปราย
(4) ผู้สังเกตการณ์
ตอบ 1
บุคคลผู้ทําหน้าที่ต่าง ๆ ในการอภิปราย ประกอบด้วย
1. ผู้ดําเนินการอภิปราย เป็นผู้ที่มีบทบาทสําคัญที่สุด ทําหน้าที่เป็นประธานในการอภิปราย
2. ผู้อภิปราย หมายถึง บุคคลในคณะที่ขึ้นเวทีอภิปราย
3. ผู้ร่วมอภิปราย หมายถึง บุคคลภายนอกคณะผู้อภิปราย ซึ่งเป็นผู้ที่มาฟังการอภิปราย

57. คําตอบข้อใดคือ “วลีฆาตกร” มากที่สุด
(1) สีนี้สวยนะแต่ยังไม่เห็นเหมาะ
(2) ไม่ควรเอาไว้นะเพราะไม่มีประโยชน์
(3) ใครเลือกมานี่ ไร้รสนิยมสิ้นดี
(4) เขาไม่เอาแต่เราเอานะ
ตอบ 3
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท ได้เรียกการใช้ภาษาที่จะทําลายบรรยากาศอันดีในที่ประชุม และทําลายความคิดสร้างสรรค์ของผู้เข้าประชุมว่า “วลีฆาตกร” (Killer Phrases) คือ การใช้ภาษาที่อาจทําให้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบในทางปฏิปักษ์ นอกจากนี้วลีฆาตกรยังสามารถ เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจําวัน หากเป็นการใช้วาจาที่ก้าวร้าว ไม่สุภาพ จนก่อให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง เช่น ใครเลือกมานี่ ไร้รสนิยมสิ้นดี เป็นต้น

58. การอภิปรายรูปแบบใดที่มีจุดมุ่งหมายมุ่งไปทางวิชาการมากที่สุด
(1) การอภิปรายแบบระดมสมอง
(2) การอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้
(3) การอภิปรายเป็นคณะ
(4) การอภิปรายแบบโต๊ะกลม
ตอบ 2
การอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้ (Symposium Discussion) เป็นการอภิปรายทางวิชาการมากกว่าการอภิปรายอื่น ๆ โดยจะมุ่งถ่ายทอดความรู้ ทัศนะและประสบการณ์ ของผู้รอบรู้ในสาขาต่าง ๆ ให้แก่ผู้ฟัง ซึ่งผู้อภิปรายแต่ละคนจะมีความรู้อย่างลึกซึ้งในแง่มุม หรือเรื่องราวเฉพาะเรื่องเป็นอย่างดี และจะพูดเฉพาะเรื่องที่ตนมีความรู้ความชํานาญ หรือเรื่องที่ได้รับมอบหมายให้พูดเพียงประเด็นใดประเด็นหนึ่งของการอภิปรายเท่านั้น

ข้อ 59, 60. จงเติมคําในช่องว่างให้เหมาะสม

59. การประชุมนี้ดูท่าทางน่าจะ……….
(1) ยืดยาว
(2) ยืดเยื้อ
(3) ยืดยาด
(4) ยืดหยุ่น
ตอบ 2
คําว่า “ยืดเยื้อ” = ยาวนาน ไม่ใคร่จะจบสิ้นง่าย ๆ เช่น คดียืดเยื้อ การประชุมยืดเยื้อ ฯลฯ (ส่วนคําว่า “ยืดยาว” = ยาวมาก (ใช้ประกอบถ้อยคํา ข้อความ หรือเรื่องราวต่าง ๆ), “ยืดยาด” = ชักช้า นานเวลา, “ยึดหยุ่น” = รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว ไม่ตายตัว)

60. สังคมไทยในเวลานี้กําลังเข้าสู่ยุค……………..
(1) โลกาภิวัตน์
(2) โลกาภิวัฒน์
(3) โลกานุวัตร
(4) โลกานุวัตน์
ตอบ 1
คําว่า “โลกาภิวัตน์” = การแพร่กระจายไปทั่วโลก การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด ก็สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ (ส่วนคําว่า “โลกานุวัตร” = ความประพฤติตามโลก, “โลกาภิวัฒน์ โลกานุวัตน์” เป็นคําที่เขียนผิด)

61. ข้อใดอธิบายลักษณะของการเลือกหัวข้อเรื่องผิด
(1) การเลือกหัวข้อเรื่อง หมายถึง การตั้งชื่อเรื่องให้โก้เก๋
(2) การเลือกหัวข้อเรื่องต้องพิจารณาเนื้อหาใดเหมาะสมนํามากล่าว
(3) การเลือกหัวข้อเรื่องไม่ต้องคํานึงถึงประโยคใจความสําคัญของเรื่อง
(4) การเลือกหัวข้อเรื่อง คือ ขั้นตอนแรกก่อนการเขียนหรือพูด
ตอบ 1
ก่อนที่จะพูดหรือเขียน เราต้องเลือกหัวข้อเรื่องที่จะพูดหรือเขียนก่อนสิ่งอื่นใดซึ่งการเลือกหัวข้อเรื่อง หมายถึง การพิจารณาเนื้อหาสาระของเรื่องว่ามีความเหมาะสมที่จะ นํามากล่าวหรือไม่ ดังนั้นการเลือกหัวข้อเรื่องจึงไม่ใช่สิ่งเดียวกับประโยคใจความ และไม่ได้หมายถึง การเลือกชื่อเรื่องหรือการตั้งชื่อเรื่องให้โก้เก๋ แต่ต้องคํานึงถึงเนื้อหาหรือสาระสําคัญของเรื่องเป็นหลัก

62. หัวข้อเรื่องใดที่เหมาะสมมากที่สุดสําหรับวัยรุ่นทั้งเพศชายและหญิง
(1) เรียนอย่างไรให้ได้เกียรตินิยม
(2) สไตล์แต่งตัวโดนใจวัยรุ่น
(3) การค้นหาความสําเร็จของชีวิต
(4) สวยใสบาดตา คมเข้มบาดใจ
ตอบ 1
หลักการเลือกหัวข้อเรื่องประการหนึ่ง คือ หัวข้อเรื่องนั้นเหมาะกับผู้ฟังผู้อ่านหรือไม่ ซึ่งหัวข้อเรื่องที่เลือกควรมีเนื้อหาที่ตรงกับความสนใจ รสนิยม อารมณ์ และระดับ สติปัญญาของผู้รับสารนั้น ๆ เพราะการเลือกหัวข้อเรื่องที่มีเนื้อหาซึ่งผู้ฟังและผู้อ่านไม่เข้าใจ ย่อมไม่ต่างกับการยัดเยียดสิ่งที่เขาไม่ต้องการให้แก่เขา ผลการสื่อสารย่อมจะได้ประโยชน์น้อยกว่าที่คาดคิดเอาไว้

63. ขั้นตอนใดเป็นขั้นตอนที่ต่อมาจากการจัดลําดับความคิด
(1) ขั้นจัดหมวดหมู่ความคิด
(2) ขั้นระดมความคิด
(3) ขั้นขยายความคิด
(4) ขั้นเขียนโครงเรื่อง
ตอบ 3
ขั้นตอนการจัดระเบียบความคิด มีดังนี้
1. ขั้นวิเคราะห์ความคิด เป็นขั้นตอนแรกที่ทําต่อเนื่องจากการเขียนประโยคกล่าวนํา 2. ขั้นเลือกสรรความคิด
3. ขั้นจัดหมวดหมู่ความคิดของเรื่อง
4. ขั้นจัดลําดับความคิด
5. ขั้นขยายความคิดของเรื่อง

64. การอ่านหนังสือชนิดใดจะต้องอาศัยการสร้างภาพในใจในขณะที่อ่าน
(1) นวนิยาย
(2) สารคดี
(3) เรื่องย่อละคร
(4) กวีนิพนธ์
ตอบ 4
นิสัยการอ่านที่ดีประการหนึ่ง ได้แก่ มีนิสัยสร้างภาพพจน์ขึ้นในใจ คือ หลับตานึกดูภาพที่เกิดขึ้นตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่านมา หรือเขียนแผนภาพเพื่อประกอบความคิดซึ่งมักใช้ในการอ่านบทกวีนิพนธ์ที่มีการเปรียบเทียบ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดภาพในใจในขณะที่อ่าน

65. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของประโยคกล่าวนํา
(1) บอกวัตถุประสงค์ของสิ่งที่จะเขียน
(2) อนุมานเนื้อหาสําคัญของเรื่อง
(3) คาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียน
(4) คลุมความคิดหรือใจความสําคัญ
ตอบ 1
ประโยคกล่าวนําจะทําหน้าที่ในการอนุมานหรือคาดการณ์เนื้อหาสําคัญของเรื่องไว้ล่วงหน้าว่าจะเป็นอย่างไร นอกจากนี้ประโยคกล่าวนํายังบอกสาระสําคัญของเรื่องที่จะเขียนโดยต้องคลุมความคิดหรือใจความสําคัญของเรื่องทั้งหมด

66. ถ้านักศึกษาได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนกล่าวคําอําลา นักศึกษาจะต้องใช้โครงเรื่องแบบใดในการเตรียมตัว
(1) โครงเรื่องแบบหัวข้อ
(2) โครงเรื่องแบบไม่มีพิธีรีตอง
(3) โครงเรื่องแบบย่อหน้า
(4) โครงเรื่องแบบประโยค
ตอบ 2
โครงเรื่องแบบไม่มีพิธีรีตอง จะเขียนอย่างคร่าว ๆ ด้วยคําหรือวลีแบบหยาบ ๆ เพื่อวางแนวเรื่องที่สั้น ๆ หรือเรื่องที่ต้องพูดหรือเขียนอย่างทันควันในเวลาอันจํากัด โดยไม่ต้องคํานึงถึงระเบียบแบบแผนใด ๆ เพียงแต่ต้องการให้เรื่องที่จะกล่าวเรียงลําดับกัน ไม่สับสนเท่านั้น เช่น การเตรียมตอบคําถามหรือทําข้อสอบแบบอัตนัย หรือการถูกเชิญให้กล่าวในเวลาอันกะทันหัน ฯลฯ

67. คําตอบในข้อใดอธิบายหลักในการเขียนโครงเรื่องผิด
(1) หัวข้อที่มีความสําคัญให้เขียนระดับตรงกัน
(2) ใช้ตัวเลขหรืออักษรย่อของหัวข้อแบบเดียวกันจนจบ
(3) หัวข้อที่มีรายละเอียดสนับสนุนข้อเดียว ไม่ต้องแยกอีกหัวข้อ
(4) ขึ้นต้นหัวข้อใหม่ให้เว้นวรรค 3 เคาะ เพื่อความเป็นระเบียบ
ตอบ 4
หลักในการเขียนโครงเรื่องแบบหัวข้อและแบบประโยค มีดังนี้
1. หัวข้อที่มีความสําคัญเท่ากันให้เขียนระดับตรงกัน ส่วนหัวข้อที่มีความสําคัญรองลงไปหรือหัวข้อที่สนับสนุนหัวข้ออื่น ให้เขียนย่อเว้าเข้าไปทางขวามือนิดหนึ่ง
2. ใช้ตัวเลขหรืออักษรย่อของหัวข้อแบบเดียวกันจนจบการรายงาน
3. หัวข้อย่อยที่แบ่งออกมาต้องมี 2 หัวข้อเป็นอย่างน้อย ถ้าหัวข้อใดที่มีรายละเอียดสนับสนุนข้อเดียว ไม่ต้องแยกอีกหัวข้อ ฯลฯ

ข้อ 68. – 70. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) โครงเรื่องแบบย่อหน้า
(2) โครงเรื่องแบบประโยค
(3) โครงเรื่องแบบไม่มีพิธีรีตอง
(4) โครงเรื่องแบบหัวข้อ

68. โครงเรื่องที่เขียนด้วยข้อความที่เป็นประโยคสมบูรณ์
ตอบ 2
โครงเรื่องแบบประโยค จะเขียนด้วยข้อความที่เป็นประโยคสมบูรณ์และชัดเจน มีเลขหรืออักษรย่อกํากับทุกประโยคที่เป็นประเด็นของเรื่องนั้น จึงเป็นโครงเรื่องที่บอกขอบข่ายและรายละเอียดของแต่ละประเด็นไว้ครบถ้วน ง่ายต่อการนําไปเขียนขยายเป็นย่อหน้าหรือเนื้อความ จึงเหมาะสําหรับผู้เริ่มหัดเขียน และมักใช้กับเรื่องที่มีรายละเอียดมากซึ่งต้องใช้เวลานานในการศึกษาค้นคว้า เช่น การทํารายงานทางวิชาการ การวิจัย ฯลฯ

69. โครงเรื่องที่รวมกลุ่มประโยคหลาย ๆ ประโยคเป็นย่อหน้า
ตอบ 1
โครงเรื่องแบบย่อหน้า ประกอบด้วยกลุ่มประโยคหลายกลุ่มประโยครวมกันในรูปของย่อหน้า โดยไม่ต้องแยกเป็นหัวข้อลงในบรรทัดใหม่ แต่จะกล่าวถึงทุกประเด็นปนกันไปในย่อหน้าเดียวกัน เนื่องจากโครงเรื่องแบบนี้ไม่แยกประเด็นความคิดของเนื้อหาออกอย่างชัดเจน จึงไม่เป็นที่นิยมกันโดยทั่วไป

70. โครงเรื่องที่มีตัวเลขหรืออักษรย่อกํากับทุกประเด็นด้วยคําวลี
ตอบ 4
โครงเรื่องแบบหัวข้อ จะเขียนด้วยคําหรือวลีสั้น ๆ หรืออาจเป็นอนุประโยคที่ไม่ได้ความครบถ้วนในตัวเอง โดยมีตัวเลขหรืออักษรย่อกํากับทุกประเด็นที่สังเขปด้วยคําวลีหรืออนุประโยคนั้น ๆ จึงเป็นโครงเรื่องที่ไม่ได้บอกแนวทางไว้ชัดเจน และผู้เขียนต้องรีบเขียนด้วยเวลาอันจํากัด เพราะหากทิ้งไว้นาน ๆ อาจลืมได้ว่าหัวข้อนั้นจะขยายความอย่างไร ทั้งนี้โครงเรื่องแบบหัวข้อควรใช้ถ้อยคําให้ขนานเป็นแนวเดียวกันโดยตลอด คือ ถ้าหัวข้อแรกขึ้นต้นด้วยคํานามหรือคํากริยา หัวข้อต่อไปก็ควรขึ้นต้นด้วยคํานามหรือคํากริยาด้วย

71. ประโยคใจความมีหน้าที่ทําอะไร
(1) ควบคุมการเขียนย่อหน้า
(2) ควบคุมเนื้อหาในย่อหน้า
(3) ควบคุมโครงเรื่องให้กระชับ
(4) ควบคุมการเขียนประโยคกล่าวนํา
ตอบ 2
ประโยคใจความไม่ควรทําหน้าที่แต่เพียงว่าในย่อหน้ากล่าวถึงเรื่องอะไร แต่จะต้องทําหน้าที่ชัดเจนลงไปว่าในย่อหน้าไม่ควรกล่าวถึงอะไรด้วย ดังนั้นการเขียนประโยคใจความ ที่ดีจึงต้องสามารถควบคุมเนื้อหาในย่อหน้าได้เป็นอย่างดี โดยต้องพยายามเขียนให้แคบและจํากัดประเด็นที่จะกล่าวอย่างแท้จริง

ข้อ 72 – 73. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมมียอดบรรจบกัน
(2) ย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมมีฐานบรรจบกัน
(3) ย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
(4) ย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่วหัวกลับ

72. ย่อหน้าที่เริ่มต้นด้วยการให้รายละเอียดกว้าง ๆ แล้วสรุปใจความสําคัญ ก่อนจะขยายเป็นข้อความต่อไปเราเรียกย่อหน้านี้ว่าอะไร
ตอบ 1
ย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมมียอดบรรจบกัน คือ ย่อหน้าที่เริ่มต้นด้วยการให้รายละเอียดกว้าง ๆ แล้วสรุปใจความสําคัญลงกลางย่อหน้า ก่อนจะค่อย ๆ ขยายความจากกลางย่อหน้า เป็นข้อความต่อไป กล่าวคือ มีประโยคใจความอยู่กลาง ๆ ย่อหน้า และมีประโยคสนับสนุนอยู่ตอนต้นกับตอนท้ายย่อหน้า

73. ย่อหน้าที่เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ อย่างคลุม ๆ จากนั้นจึงค่อยขมวดความคิด เราเรียกย่อหน้านี้ว่าอะไร
ตอบ 4
ย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่วหัวกลับ คือ ย่อหน้าที่มีประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนท้าย เป็นการสรุปเอาสาระสําคัญทั้งหมดลงในตอนท้าย โดยกล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ อย่างคลุม ๆ ได้แก่ กล่าวถึงประโยคสนับสนุนหลักและประโยคสนับสนุนรองไว้ก่อนในตอนต้น แล้วจึงค่อยขมวดความคิดหรือใจความสําคัญเอาไว้ในตอนจบ ซึ่งจะตรงข้ามกับย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

ข้อ 74 – 75. จงอ่านข้อความต่อไปนี้และหาประโยคใจความสําคัญว่าอยู่ส่วนใดของย่อหน้า

74. เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแปลวรรณกรรมของประเทศเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงออกเป็นภาษาไทย ดังนั้นจึงมีการประชุมนักปราชญ์ ราชบัณฑิต แปลพงศาวดารจีนเรื่องสามก๊กและไซ่ฮั่น และพงศาวดารมอญเรื่องราชาธิราช น่าสังเกตว่า วรรณกรรมแปลในสมัยรัชกาลที่ 1 มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสงครามและยุทธวิธีในการรบ
(1) ใจความสําคัญอยู่ตอนต้น
(2) ใจความสําคัญอยู่ตอนท้าย
(3) ใจความสําคัญอยู่ตอนต้นและท้าย
(4) ไม่ปรากฏใจความสําคัญ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

75. การสร้างสรรค์ภาษาหรือการเปลี่ยนแปลงการใช้ภาษาของคนรุ่นใหม่ยังคงมีอยู่เสมอ กลุ่มวัยรุ่นรุ่นเก่าเมื่อก้าวสู่วัยผู้ใหญ่คงลดความคึกคะนองลง มีความสุขุมลุ่มลึกขึ้น เด็กรุ่นใหม่ที่ก้าวเป็นวัยรุ่นใหม่คงมีความคึกคะนองตามอุปนิสัยของคนในวัยนี้เหมือนเดิม สื่อมวลชนยังคงมุ่งมั่นสร้างความเร้าใจในการใช้ ภาษาแก่ผู้ใช้บริการอยู่ทุก ๆ วัน นักวิชาการก็คงทําหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์ตําหนิติเตียนอยู่ร่ำไป
(1) ใจความสําคัญอยู่ตอนต้น
(2) ใจความสําคัญอยู่ตอนท้าย
(3) ใจความสําคัญอยู่ตอนต้นและท้าย
(4) ใจความสําคัญอยู่ตรงกลาง
ตอบ 1
ย่อหน้าข้างต้นเป็นแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว คือ ย่อหน้าที่มีประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนต้นย่อหน้า แล้วมีประโยคสนับสนุนหลักและประโยคสนับสนุนรองวางอยู่ในตําแหน่งถัดไป จึงทําให้จัดลําดับความคิดได้ง่ายที่สุด เพราะเป็นการขยายความคิดจากประโยคใจความสําคัญไปสู่รายละเอียดที่จะนํามาสนับสนุน

ข้อ 76, – 90. ข้อความต่อไปนี้เป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน แต่แบ่งไว้เป็นข้อ ๆ จํานวน 15 ข้อ จงอ่านให้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน แล้วพิจารณาว่าแต่ละข้อเข้าลักษณะใด
จากคําตอบข้างล่างนี้ ให้ระบายข้อที่เลือกในกระดาษคําตอบ

คําตอบ
– ถ้าข้อความนั้นเป็นประโยคใจความให้เลือกตอบข้อ 1
– ถ้าข้อความนั้นเป็นประโยคสนับสนุนหลักให้เลือกตอบข้อ 2
– ถ้าข้อความนั้นเป็นประโยคสนับสนุนรองให้เลือกตอบข้อ 3
– ถ้าข้อความนั้นทําให้เสียเนื้อความในย่อหน้าให้เลือกตอบข้อ 4

(1) การจะสอนเด็กให้ปฏิบัติตามคําสอนของผู้ใหญ่ได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบระเบียบ สิ่งสําคัญที่สุด คือ แนวการสอน (2) แนวการสอนของผู้ใหญ่อาจมีหลายรูปแบบ เช่น (3) การยกนิทาน อุทาหรณ์ (4) หรือตัวอย่างที่พบเห็นในประจําวันมากล่าวประกอบการสอน (5) การใช้เครื่องมือประเภท รูปภาพ (6) หรือการกล่าวสุภาษิต (7) และภาษิตแทรกในระหว่างการสอน (8) อาจกล่าวได้ว่าตัวอย่าง แนวการสอนเหล่านี้มิได้เป็นอุปกรณ์ในการที่สอนให้เด็กเชื่อฟัง (9) หรือปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเพียง เท่านั้น (10) หากยังต้องเข้าถึงเด็กด้วยวิธีการสอนอันชาญฉลาด (11) กล่าวคือ ผู้ใหญ่จะต้องเข้าใจ ธรรมชาติและวิสัยของเด็กว่ามักไม่ชอบการบังคับ (12) หรือการใช้อารมณ์รุนแรง (13) ผู้ใหญ่จึงต้องมีลีลาการสอนที่นุ่มนวล มีน้ำเสียงในการสอนที่อ่อนโยน (14) ไม่แสดงการบังคับให้เด็กคิดว่าคําสอน เป็นเหมือนคําสั่ง (15) ทําให้เด็กตระหนักถึงประโยชน์ของคําสอนและนําไปปฏิบัติ
(สหะโรจน์ กิตติมหาเจริญ, “ทุคคตะสอนบุตรกับเศรษฐีสอนบุตร” : สาระคําสอนและกลวิธีการสอน จาก “พ่อ” ถึง “ลูก”. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย ปีที่ 25 ธันวาคม 2551), หน้า 167)

76. ข้อความหมายเลข 1
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 1
ประโยคใจความหรือประโยคสําคัญ คือ ข้อความที่เป็นตอนนําซึ่งเป็นส่วนที่มีความหมายครอบคลุมข้อความทั้งหมดในย่อหน้า หรือเป็นส่วนที่มีความหมาย เด่นชัดและมีน้ำหนักมากที่สุด โดยจะกล่าวถึงสาระสําคัญของเนื้อความในย่อหน้านั้นทั้งหมด หรือจํากัดขอบข่ายประเด็นที่จะพูดถึงในย่อหน้า อาจมีตําแหน่งอยู่ในตอนต้น ตอนกลาง หรือ ตอนปลายของย่อหน้าก็ได้

77. ข้อความหมายเลข 2
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 2
ประโยคสนับสนุนหลัก คือ ข้อความส่วนที่เป็นตอนอภิปราย หรือประเด็นความคิดหลัก ซึ่งจะทําหน้าที่นํารายละเอียดของเนื้อหาไปสนับสนุนหรือขยายประโยคใจความ ของย่อหน้า ดังนั้นการเขียนประโยคชนิดนี้จึงต้องวิเคราะห์ประโยคใจความ และจํากัดความคิดที่จําเป็นต้องนํามาสนับสนุนใจความในย่อหน้าเสียก่อน

78. ข้อความหมายเลข 3
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3
ประโยคสนับสนุนรอง คือ ข้อความที่เป็นตอนอภิปราย หรือความคิดย่อยในประเด็นความคิดหลัก ซึ่งจะให้รายละเอียดหรือขยายความในประเด็นความคิดหลักหรือประโยคสนับสนุนหลัก (ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ)

79. ข้อความหมายเลข 4
(1) ข้อ 1.
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

80. ข้อความหมายเลข 5
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

81. ข้อความหมายเลข 6
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

82. ข้อความหมายเลข 7
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

83. ข้อความหมายเลข 8
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 4
ประเด็นความคิดที่อยู่นอกขอบข่ายเนื้อหา คือ รายการความคิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับประโยคใจความหรือประโยคสําคัญ ประโยคสนับสนุนหลักหรือประเด็นความคิดหลัก และประโยคสนับสนุนรองหรือประเด็นความคิดย่อย เพราะเมื่อปนเข้ามาก็จะทําให้เนื้อความของเรื่องหรือของย่อหน้านั้นเสียไป

84. ข้อความหมายเลข 9
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 83. ประกอบ

85. ข้อความหมายเลข 10
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

86. ข้อความหมายเลข 11
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

87. ข้อความหมายเลข 12
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

88. ข้อความหมายเลข 13
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

89. ข้อความหมายเลข 14
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

90. ข้อความหมายเลข 15
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

91. ข้อใดเป็นประโยคไม่สมบูรณ์
(1) บริษัทมีเฉพาะพนักงานผู้ชาย
(2) ผู้ชายก็มีหัวใจนะจะบอกให้
(3) ฉันผู้ชายนะยะ
(4) ฉันก็เป็นผู้หญิงนะคะ
ตอบ 3
ประโยคไม่สมบูรณ์ คือ ประโยคที่ขาดคํานามหรือคําสรรพนามที่ทําหน้าที่เป็นประธานในประโยค หรือขาดคํากริยา เช่น ฉันผู้ชายนะยะ (ขาดคํากริยา) จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น ฉันเป็นผู้ชายนะยะ

92. ข้อใดเป็นประโยคสมบูรณ์
(1) แมวมอง
(2) นกต่อ
(3) ไก่ชน
(4) ยุงลาย
ตอบ 3
ประโยคที่สมบูรณ์ในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคประธานหรือผู้กระทํา และภาคแสดง (กริยา + กรรม) ซึ่งอาจมีโครงสร้างเป็นประโยค 2 ส่วน ได้แก่ ประธาน + กริยา (อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) หรือเป็นประโยค 3 ส่วน ได้แก่ ประธาน + กริยา + กรรม (อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น ไก่ชน อาจเป็นได้ทั้งประโยค 2 ส่วน ได้แก่ ไก่ (ประธาน) + ชน (กริยา หมายถึง ให้ต่อสู้กัน) หรืออาจใช้เป็นคํานามที่เอาไว้เรียกไก่อูที่เลี้ยงไว้ชนกันก็ได้ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีแต่คํานามที่เป็นภาคประธาน ไม่มีภาคแสดง)

93. ข้อใดมีความหมายตรงกับคําว่า “เทวดา”
(1) สุระ
(2) คเชนทร์
(3) หิรัญ
(4) ดาเรศ
ตอบ 1
คําว่า “สุร-” (สุระ) = เทวดา (ส่วนคําว่า “คเชนทร์” = พญาช้าง, “หิรัญ” = เงิน, “ดาเรศ” = ไม่มีบัญญัติในพจนานุกรม)

94. ข้อต่อไปนี้หมายถึง “สวย” ยกเว้นข้อใด
(1) สิริ
(2) รางชาง
(3) อันแถ้ง
(4) มาศ
ตอบ 4
คําว่า “สิริ/รางชาง/อันแถ้ง” = สวย, งาม (ส่วนคําว่า “มาศ” = ทอง, กํามะถัน)

95. ข้อใดมีความหมายไม่ตรงกัน
(1) หัวเรื่อง = ชื่อเรื่อง
(2) หัวเรือ = หัวของเรือ
(3) โซม = เปียกทั่ว
(4) ขลิบ = ตัดให้เสมอกัน
ตอบ 4
คําว่า “ขลิบ” = เย็บหุ้มริมผ้าและของอื่น ๆ เพื่อกันลุ่ยหรือเพื่อให้งาม

96. ข้อใดเป็นประโยคไม่มีกริยา
(1) คุณครูอายุราว 90 ปี
(2) ครูก้าวลงจากรถด้วยความดีใจ
(3) ครูของฉันเป็นคนใจดี
(4) ฉันชอบแกล้งครู
ตอบ 1
(ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ) ประโยค “คุณครูอายุราว 90 ปี” (ขาดคํากริยา) จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น คุณครูมีอายุราว 90 ปี

97. ข้อต่อไปนี้ใช้สํานวนต่างประเทศยกเว้นข้อใด
(1) ครูอ้อยทําโทษนักเรียนที่ขี้เกียจ
(2) นักเรียนที่ขี้เกียจถูกทําโทษโดยครูอ้อย
(3) บันทึกของครูอ้อยง่ายต่อการเข้าใจ
(4) สองนักศึกษาชักชวนกันไปเที่ยวต่างจังหวัด
ตอบ 1
ประโยคในตัวเลือกข้อ 2 – 4 เรียงคําไม่เป็นสํานวนไทย หรือใช้ประโยคที่เลียนแบบสํานวนต่างประเทศ (สํานวนพันทาง) จึงควรเรียงคําให้เป็นสํานวนไทย โดยใช้ว่า ครูอ้อยทําโทษนักเรียนที่ขี้เกียจ, บันทึกของครูอ้อยเข้าใจง่าย, นักศึกษา 2 คน ชักชวนกันไปเที่ยวต่างจังหวัด

98. ข้อต่อไปนี้เป็นประโยคฟุ่มเฟือยยกเว้นข้อใด
(1) เขาให้ความช่วยเหลือเพื่อนในการทําการบ้าน
(2) อาจารย์มีความยินดีมากที่เธอสอบผ่าน
(3) ความสามัคคีนํามาซึ่งความหายนะ
(4) เราชื่นชมความซื่อสัตย์ของคุณมาก
ตอบ 4
ประโยคในตัวเลือกข้อ 1 – 3 เรียงคําไม่กระชับ ใช้คําฟุ่มเฟือยหรือใช้คําอย่างไม่ประหยัด เพราะว่าคําบางคํามีความหมายสมบูรณ์ในตัวอยู่แล้ว จึงไม่จําเป็นต้อง ใช้คําขยายมาเพิ่มเติมอีก เนื่องจากจะทําให้ประโยคยืดยาด ดังนั้นจึงควรใช้คําอย่างประหยัด เพื่อให้กระชับ โดยใช้ว่า เขาช่วยเหลือเพื่อนทําการบ้าน, อาจารย์ยินดีมากที่เธอสอบผ่าน,ความสามัคคีนําความหายนะ

99. ข้อใดไม่ใช่ประโยคกรรม
(1) หนังสือเล่มนี้เขาชอบมาก
(2) ฉันถูกแม่ตีอีกแล้ว
(3) ปากกาด้ามนี้ใครซื้อ
(4) ฉันซื้อหนังสือเล่มนี้เมื่อวาน
ตอบ 4
ประโยคกรรม คือ กรรมทําหน้าที่เป็นประธานในประโยค และมักมีกริยาวลี “ถูก” ตามหลังประธาน เช่น ฉันถูกแม่ตีอีกแล้ว, ฉันถูกนายจ้างไล่ออกจากงาน ฯลฯ หรือกรรมมีตําแหน่งอยู่หน้าประธานและกริยา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการเน้นกรรมมากกว่า เช่น หนังสือเล่มนี้เขาชอบมาก, ปากกาด้ามนี้ใครซื้อ, ปากกาด้ามนี้คุณแม่จะทิ้งทําไม ฯลฯ

100. ข้อใดเป็นประโยคการิต
(1) ฉันและเธอต่างให้อภัยกัน
(2) การให้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์
(3) แม่ให้ฉันตักบาตรในวันเกิด
(4) เพื่อนซื้อนาฬิกาเป็นของขวัญให้ฉัน
ตอบ 3
ประโยคการิต คือ ประโยคประธานหรือประโยคกรรมซึ่งมีผู้รับใช้แทรกเข้ามา เรียกว่า การิตการก (เป็นทั้งผู้ถูกกระทําและผู้กระทํา) กล่าวคือ ในประโยคจะมีบุคคล 2 คน คนหนึ่งจะเป็นผู้สั่งหรือผู้ชี้แนะ (ผู้กระทํา) ในขณะที่อีกคนหนึ่งจะเป็นผู้รับใช้ (ผู้ถูกกระทํา) เช่น แม่ให้ฉันตักบาตรในวันเกิด ฯลฯ

ข้อ 101. – 107. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ประโยคความเดียว
(2) ประโยคความรวม
(3) ประโยคความซ้อน
(4) ประโยคกรรม

101. ปากกาด้ามนี้คุณแม่จะทิ้งทําไม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 99. ประกอบ

102. ของที่หายเพราะเธอวางไม่เป็นที่
ตอบ 2
ประโยคความรวม (อเนกรรถประโยค) คือ ประโยคที่มีใจความสําคัญหลายใจความ เพราะเป็นประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียวเข้าด้วยกัน แล้วเชื่อมด้วยคําสันธาน ซึ่งประกอบด้วยคําต่อไปนี้
1. เนื้อความคล้อยตามกัน ได้แก่ แล้ว, และ, กับ, ถ้า…ก็, เมื่อ…ก็, พอ…ก็, ครั้น…จึง ฯลฯ
2. เนื้อความขัดแย้งกัน ได้แก่ แต่, แต่ทว่า, ถึง…ก็, กว่า…ก็ ฯลฯ
3. เนื้อความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ หรือ, หรือไม่, หรือไม่เช่นนั้น, มิฉะนั้น ฯลฯ
4. เนื้อความเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน ได้แก่ เพราะ จึง, ดังนั้น เพราะฉะนั้น เพราะฉะนั้น…จึง เพราะ…จึง ฯลฯ

103. เขามองแหวนที่คุณสวมใส่
ตอบ 3
ประโยคความซ้อน หรือประโยคปรุงแต่ง (สังกรประโยค) หมายถึง ประโยคความเดียวที่มีประโยคย่อยเข้ามาแทรกอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อแยกประโยคความซ้อน ออกจากกันสองประโยคจะมีน้ำหนักไม่เท่ากัน กล่าวคือ ประโยคความเดียวที่เป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) จะมีใจความสําคัญเพียงประโยคเดียว และมีประโยคย่อย (อนุประโยค) มาช่วย ขยายความ เช่น เขามองแหวนที่คุณสวมใส่ (ประโยคย่อยขยายนาม “แหวน”), ฉันกลับถึงบ้านเมื่อเธอกําลังหลับ (ประโยคย่อยขยายกริยา “กลับ”) ฯลฯ

104. เด็กผู้หญิงคนนั้นจูงสุนัขสีดําสนิท
ตอบ 1
ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค) คือ ประโยคเล็ก ๆ หรือประโยคสามัญที่มีความหมายอย่างเดียว หรือมีความหมายเฉพาะอย่างหนึ่ง มักมีโครงสร้างประกอบด้วย ประธาน + กริยา (อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) หรือประกอบด้วย ประธาน + กริยา + กรรม (อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น เด็กผู้หญิงคนนั้นจูงสุนัขสีดําสนิท เป็นต้น

105. กว่าคุณพ่อจะกลับมาคุณแม่ก็หลับไปแล้ว
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 102. ประกอบ

106. ฉันกลับถึงบ้านเมื่อเธอกําลังหลับ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 103. ประกอบ

107. ฉันถูกนายจ้างไล่ออกจากงาน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 99. ประกอบ

108. ข้อใดไม่มีความหมายกํากวม
(1) คุณแม่ชอบอ่านหนังสือพิมพ์ใหม่ ๆ
(2) ขนมจีนร้านนี้อร่อยมาก
(3) ผู้จัดการบริษัทสัมภาษณ์ผู้สมัครงานคนเดียว
(4) กลิ่นน้ำหอมอบอวลไปทั่วห้องประชุม ,
ตอบ 4
ประโยคในตัวเลือกข้อ 1 – 3 ใช้คําที่ไม่ชัดเจนหรือใช้คําไม่กระจ่าง จึงทําให้สื่อความหมายกํากวม และตีความหมายได้หลายทาง จนก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไขว้เขว ดังนั้น จึงควรเขียนให้ชัดเจนและกระจ่าง โดยใช้ว่า คุณแม่ชอบอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่ ๆ, ขนมจีนกับน้ำยาของร้านนี้อร่อยมาก, ผู้จัดการบริษัทเพียงคนเดียวสัมภาษณ์ผู้สมัครงาน ฯลฯ

109. ข้อใดมีความหมายกํากวม
(1) คนเจ็บถูกส่งโรงพยาบาลอย่างกะทันหัน
(2) เจ้าหน้าที่เข็นรถคนไข้ออกไปแล้ว
(3) แพทย์อนุญาตให้คนไข้ที่บาดเจ็บเล็กน้อยกลับบ้านได้
(4) ผู้ป่วยใหม่กรุณาทําบัตรก่อนเข้ารับรักษา
ตอบ 2
ประโยคในตัวเลือกข้อ 2 ควรเขียนให้ชัดเจนและกระจ่างโดยใช้ว่า เจ้าหน้าที่เข็นรถเข็นของคนไข้ออกไปแล้ว

110. ข้อใดใช้สํานวนต่างประเทศ
(1) ผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่เห็นว่าน้ำยาล้างจานที่ทํามาจากสมุนไพรคุณภาพดีที่สุด
(2) การสื่อสารเป็นกิจกรรมที่สําคัญที่สุดของมนุษย์
(3) สุขุมวิทเป็นย่านที่ปนเปื้อนไปด้วยมลพิษทางอากาศมากที่สุด
(4) มนุษย์เป็นทรัพยากรที่สําคัญที่สุดของโลก
ตอบ 3
ประโยคในตัวเลือกข้อ 3 ควรเรียงคําให้เป็นสํานวนไทยโดยใช้ว่า สุขุมวิทเป็นย่านที่มีมลพิษทางอากาศมากที่สุด

111. ข้อใดใช้ภาษาไม่เหมาะสมในการเขียนงานทางวิชาการ
(1) ผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งส่วนใหญ่มาจากความเครียด
(2) ปัจจุบันเมืองไทยมีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในหลายสถานที่
(3) มีการห้ามสูบบุหรี่ในร้านอาหาร ในโรงพยาบาล และในสถานศึกษา
(4) ผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมาย กําหนดโทษทั้งจําและปรับไว้อย่างชัดเจน
ตอบ 2
ภาษาระดับแบบแผน คือ คําที่ใช้ในระดับทางการ ซึ่งเป็นคําที่เลือกสรรใช้ด้วยความประณีต มีความถูกต้องทั้งในด้านหลักภาษา ความชัดเจน และมารยาท ในการใช้โดยสมบูรณ์ ได้แก่ ภาษาที่ใช้ในการเขียนเชิงวิชาการและการเขียนเป็นทางการจะนิยมใช้ ภาษาแบบแผนและคําศัพท์บาลี สันสกฤต หรือเขมร แทนคําไทยที่เป็นภาษาพูด แต่ไม่นิยมใช้คําซ้ำ เช่น ปัจจุบันเมืองไทยมีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในหลายสถานที่ (ใช้ภาษาเขียนไม่เหมาะสม)จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายห้ามสูบบุหรีในหลายสถานที่ ฯลฯ

112. ข้อความต่อไปนี้เรียงลําดับชนิดของประโยคตามข้อใด
“กว่าฉันกับพี่จะเก็บของเสร็จก็มืดค่ำแล้ว ฟ้ามืดสนิทไปทุกทิศทาง พี่สาวของฉันปูเสื่อลงตรงมุมห้อง แล้วหลับสนิทไปด้วยความอ่อนเพลีย”
(1) ประโยคความซ้อน ประโยคความเดียว ประโยคความรวม
(2) ประโยคความรวม ประโยคความเดียว ประโยคความรวม
(3) ประโยคความซ้อน ประโยคความรวม ประโยคความเดียว
(4) ประโยคความเดียว ประโยคความรวม ประโยคความซ้อน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 102. และ 104. ประกอบ

113. คําในข้อใดมีความหมายตรงข้าม
(1) ขึ้น – ลง, เข้า – ออก
(2) เช็ด – ถู, ขุด – กลบ
(3) เพิ่ม – เติม, ชาย – หญิง
(4) แคะ – แงะ, ยืด – หด
ตอบ 1 คําที่มีความหมายตรงข้าม ได้แก่ ขึ้น – ลง, เข้า – ออก, ขุด – กลบ, ชาย – หญิง, ยืด – หด

114. ส่วนใดแบ่งส่วนภาคประธานและภาคแสดงได้ถูกต้อง
(1) แม่ของเพื่อนคนสวยของฉันคนนี้/สนิทกับแม่ของฉันมาก
(2) แม่ของเพื่อนคนสวยของฉันคนนี้สนิทกับแม่ของฉันมาก
(3) แม่ของเพื่อนคนสวยของฉันคนนี้สนิท/กับแม่ของฉันมาก
(4) แม่ของเพื่อนคนสวย/ของฉันคนนี้สนิทกับแม่ของฉันมาก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

115. “คนไทยรุ่นใหม่ทุกคนในทศวรรษนี้ต้องเก่งเทคโนโลยี” ประโยคที่กําหนดให้ส่วนใดเป็นส่วนขยายประธาน
(1) รุ่นใหม่ทุกคน
(2) ทุกคนในทศวรรษนี้
(3) รุ่นใหม่ทุกคนในทศวรรษนี้
(4) รุ่นใหม่ทุกคนในทศวรรษนี้ต้อง
ตอบ 3
ส่วนขยาย ทําหน้าที่เสริมความในประโยคให้สมบูรณ์และชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้ แบ่งออกเป็น
1. ส่วนขยายประธาน หรือส่วนขยายกรรม เรียกว่า “คุณศัพท์” จะอยู่หลังประธาน หรืออยู่หลังกรรม เช่น คนไทยรุ่นใหม่ทุกคนในทศวรรษนี้ต้องเก่งเทคโนโลยี (ส่วนขยายประธาน“คนไทย”), พนักงานทุกคนที่นั่งอยู่ในห้องประชุมสวมเสื้อสีฟ้า (ส่วนขยายกรรม “เสื้อ”) ฯลฯ
2. ส่วนขยายกริยา เรียกว่า “กริยาวิเศษณ์” มักอยู่หลังกริยาที่ไปขยาย หรืออยู่หลังกรรมก็ได้ เช่น ลุงสมพงษ์กับป้าสมศรีกําลังปลูกต้นไม้อย่างขะมักเขม้น (ส่วนขยายกริยา “ปลูก”) ฯลฯ

116. ข้อใดมีส่วนขยายกริยา
(1) ลุงสมพงษ์กับป้าสมศรีกําลังปลูกต้นไม้อย่างขะมักเขม้น
(2) เด็กนักเรียนสองสามคนกําลังเล่นฟุตบอล
(3) เรือของคุณพ่อกําลังเดินทางไปสร้างฐานขุดเจาะในอ่าวไทย
(4) ฉันกับเพื่อน ๆ กําลังจะไปเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 115. ประกอบ

117. ข้อใดมีส่วนขยายกรรม
(1) เลขานุการบริษัทกําลังรับประทานอาหารอย่างเอร็ดอร่อย
(2) พนักงานทุกคนที่นั่งอยู่ในห้องประชุมสวมเสื้อสีฟ้า
(3) เลขานุการของคุณพ่อเหมือนคุณครูของฉัน
(4) พนักงานหลายคนกําลังจัดนิทรรศการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 115. ประกอบ

118. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการเรียงลําดับคําในพจนานุกรม
(1) รูปสระ ตัวอักษร และวรรณยุกต์
(2) ตัวอักษร รูปสระ และวรรณยุกต์
(3) วรรณยุกต์ รูปสระ และตัวอักษร
(4) ตัวอักษร วรรณยุกต์ และรูปสระ
ตอบ 2
119. การเรียงพจนานุกรมตามรูปสระ สระใดเป็นสระตัวแรก และสระใดเป็นสระตัวสุดท้าย
(1) สระอะ, สระโอ
(2) สระเอ, สระใอ
(3) สระอา, สระเอื้อ
(4) สระอะ, สระไอ
ตอบ 4

120. คําอธิบายอักษรย่อที่อยู่ในวงเล็บในพจนานุกรมข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) (บ.) หมายถึง คําที่รับมาจากภาษาบาลี
(2) (ข.) หมายถึง คําที่รับมาจากภาษาเขมร
(3) (ญิ.) หมายถึง คําที่รับมาจากภาษาญี่ปุ่น
(4) (ล.) หมายถึง คําที่รับมาจากภาษาละติน
ตอบ 1 พจนานุกรมจะบอกที่มาหรือประวัติของคํา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคํายืมที่รับมาจากชนชาติอื่น โดยใช้อักษรย่ออยู่ในวงเล็บ วางไว้หลังข้อความที่บอกความหมาย ดังนี้

1. (ข.) = คําที่รับมาจากภาษาเขมร
2. (ญิ.) = คําที่รับมาจากภาษาญี่ปุ่น
3. (ฝ.) = คําที่รับมาจากภาษาฝรั่งเศส
4. (อ.) = คําที่รับมาจากภาษาอังกฤษ
5. (จ.) = คําที่รับมาจากภาษาจีน
6. (ป.) = คําที่รับมาจากภาษาบาลี – บาลี
7. (บ.) = คําที่รับมาจากภาษาเบงคอลี
8. (ล.) = คําที่รับมาจากภาษาละติน
9. (ญ.) = คําที่รับมาจากภาษาญวน
10. (ส.) = คําที่รับมาจากภาษาสันสกฤต ฯลฯ

Advertisement