การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1003 การเตรียมเพื่อการพูดและการเขียน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1. ข้อใดอธิบายลักษณะของการเลือกหัวข้อเรื่องได้ถูก
(1) การเลือกหัวข้อเรื่องให้โก้เก๋
(2) การเลือกหัวข้อเรื่อง คือ การตั้งชื่อเรื่อง
(3) การเลือกหัวข้อต้องคํานึงถึงสาระสําคัญ
(4) การเลือกหัวข้อเรื่อง คือ การตั้งประเด็นความคิด
ตอบ 3
การเลือกหัวข้อเรื่อง หมายถึง การพิจารณาเนื้อหาสาระของเรื่องว่ามีความเหมาะสมที่จะนํามากล่าวหรือไม่ ดังนั้นการเลือกหัวข้อเรื่องจึงไม่ได้หมายถึง การเลือกชื่อเรื่องหรือการตั้งชื่อเรื่องให้โก้เก๋ แต่ต้องคํานึงถึงเนื้อหาหรือสาระสําคัญของเรื่องเป็นหลัก

Advertisement

2. การเลือกหัวข้อเรื่องควรมีเนื้อหาตรงกับสิ่งใดมากที่สุด
(1) รสนิยม
(2) วัตถุประสงค์
(3) ความรู้สึก
(4) ประสบการณ์
ตอบ 1
หลักการเลือกหัวข้อเรื่องประการหนึ่ง คือ หัวข้อเรื่องนั้นเหมาะกับผู้ฟังผู้อ่านหรือไม่ซึ่งหัวข้อเรื่องที่เลือกควรมีเนื้อหาตรงกับความสนใจ รสนิยม อารมณ์ และระดับสติปัญญาของผู้รับสารนั้น ๆ เพราะการเลือกหัวข้อเรื่องที่มีเนื้อหาซึ่งผู้ฟังและผู้อ่านไม่เข้าใจ ย่อมไม่ต่างกับการยัดเยียดสิ่งที่เขาไม่ต้องการให้แก่เขา ผลการสื่อสารย่อมจะได้ประโยชน์น้อยกว่าที่คาดคิดเอาไว้

3. ข้อใดไม่ใช่แหล่งที่มาของหัวข้อเรื่อง
(1) การสังเกต
(2) การคิด
(3) การคาดคะเน
(4) การฟัง
ตอบ 3
แหล่งที่มาของหัวข้อเรื่องอาจได้มาจากหลายทาง เช่น จากการอ่าน การฟัง การสังเกต การคิดนึกตรึกเอา หรือได้มาจากประสบการณ์ตรง ฯลฯ แต่หัวข้อเรื่อง ส่วนใหญ่มักได้มาจากการอ่านหนังสือต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นแหล่งที่มาของหัวข้อเรื่องที่สําคัญที่สุด เพราะการอ่านเป็นการสั่งสมความรู้ที่ดีที่สุด และยังเป็นการพัฒนาตนเองในด้านความรู้ได้เร็วและรวบรัดที่สุดอีกด้วย

4. เมื่อเราจํากัดขอบข่ายของเนื้อหาแล้ว กระบวนการใดในข้อต่อไปนี้คือสิ่งที่จะต้องทําต่อไป
(1) การเขียนประโยคกล่าวนํา
(2) การเขียนย่อหน้า
(3) การเขียนรายการความคิด
(4) การตั้งจุดมุ่งหมายหัวข้อเรื่อง
ตอบ 4
ขั้นตอนในการเตรียมเนื้อหา ประกอบด้วย 1. การเลือกหัวข้อเรื่อง
2. แหล่งที่มาของหัวข้อเรื่อง 3. การจํากัดขอบข่ายเนื้อหาของหัวข้อเรื่อง
4. การตั้งจุดมุ่งหมายของหัวข้อเรื่อง 5. การเขียนประโยคกล่าวนํา

5. ประโยคที่เจาะจงขมวดเนื้อหาทั้งหมด เราเรียกประโยคนี้ว่าอะไร
(1) ประโยคกล่าวนํา
(2) ประโยคสนับสนุน
(3) ประโยคใจความ
(4) ประโยคสรุปความ
ตอบ 1
ประโยคกล่าวนํา คือ ประโยคที่เจาะจงขมวดเนื้อหาของหัวข้อเรื่องนั้นเอาไว้ทั้งหมดโดยรวม ๆ ซึ่งมีประโยชน์ ดังนี้ 1. เพื่อเจาะจงขมวดเนื้อหาทั้งหมดในภาพรวม มา 2. เพื่อช่วยเลือกสรรเนื้อหาที่จะมาเขียนได้ถูกต้อง 3. เพื่อช่วยเตือนความคิดของผู้เขียนให้มั่นคง 4. เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เขียนเนื้อหาออกนอกเรื่อง

6. ข้อใดอธิบายความหมายของโครงเรื่องผิด
(1) โครงเรื่อง คือ การจัดระเบียบความคิด
(2) โครงเรื่อง คือ การเขียนรายการความคิด
(3) โครงเรื่อง คือ การจํากัดขอบข่ายความคิด
(4) โครงเรื่อง คือ การถ่ายทอดความคิด
ตอบ 4
โครงเรื่อง คือ การเขียนรายการความคิดหรือใจความสําคัญของเรื่องให้เป็นขั้นตอนว่าควรจะกล่าวถึงเนื้อหาอะไร หรือประเด็นใดก่อนหลังตามลําดับ โดยยึดจุดมุ่งหมายและขอบข่ายของเรื่องเป็นสําคัญ ดังนั้นการเขียนโครงเรื่องจึงเป็นการจํากัด ขอบข่ายความคิด และจัดระเบียบความคิดลงไปให้เด่นชัด เพื่อวางแนวทางหรือกรอบเนื้อหาของเรื่องที่เขียนให้ดําเนินไปตามลําดับขั้นตอน ไม่สับสนวกวน

ข้อ 7. – 10. จงใช้คําตอบต่อไปนี้จับคู่กับลักษณะการเขียนโครงเรื่อง
(1) โครงเรื่องแบบไม่มีพิธีรีตอง
(2) โครงเรื่องแบบย่อหน้า
(3) โครงเรื่องแบบประโยค
(4) โครงเรื่องแบบหัวข้อ

7. เขียนด้วยคําหรือวลีสั้น ๆ
ตอบ 4
โครงเรื่องแบบหัวข้อ จะเขียนด้วยคําหรือวลีสั้น ๆ หรืออาจเป็นอนุประโยคที่ไม่ได้ความครบถ้วนในตัวเอง โดยมีตัวเลขหรืออักษรย่อกํากับทุกประเด็น จึงเป็นโครงเรื่องที่ไม่ได้บอกแนวทางไว้ชัดเจน และผู้เขียนต้องรีบเขียนด้วยเวลาอันจํากัด เพราะถ้าทิ้งไว้นาน ๆ อาจลืมได้ว่าหัวข้อนั้นจะขยายความอย่างไร ทั้งนี้โครงเรื่องแบบหัวข้อควรใช้ถ้อยคําให้ขนานเป็นแนวเดียวกันโดยตลอด คือ ถ้าหัวข้อแรกขึ้นต้นด้วยคํานามหรือคํากริยา หัวข้อต่อไปก็ควรขึ้นต้นด้วยคํานามหรือคํากริยาด้วย

8. เขียนด้วยข้อความที่สมบูรณ์
ตอบ 3
โครงเรื่องแบบประโยค จะเขียนด้วยข้อความที่เป็นประโยคสมบูรณ์และชัดเจน มีเลขหรืออักษรย่อกํากับทุกประโยคที่เป็นประเด็นของเรื่องนั้น จึงเป็นโครงเรื่องที่ บอกขอบข่ายและรายละเอียดของแต่ละประเด็นไว้ครบถ้วน ง่ายต่อการนําไปเขียนขยายเป็นย่อหน้าหรือเนื้อความ จึงเหมาะสําหรับผู้เริ่มหัดเขียน และมักใช้กับเรื่องที่มีรายละเอียดมากซึ่งต้องใช้เวลานานในการศึกษาค้นคว้า เช่น การทํารายงานทางวิชาการ การวิจัย ฯลฯ

9. เขียนอย่างคร่าว ๆ ด้วยคําหรือวลีแบบหยาบ ๆ
ตอบ 1
โครงเรื่องแบบไม่มีพิธีรีตอง จะเขียนอย่างคร่าว ๆ ด้วยคําหรือวลีแบบหยาบ ๆ เพื่อวางแนวเรื่องที่สั้น ๆ หรือเรื่องที่ต้องพูดหรือเขียนอย่างทันควันในเวลาอันจํากัด โดยไม่ต้องคํานึงถึงระเบียบแบบแผนใด ๆ เพียงแต่ต้องการให้เรื่องที่จะกล่าวเรียงลําดับกัน ไม่สับสนเท่านั้น เช่น การเตรียมตอบคําถามหรือทําข้อสอบแบบอัตนัย หรือการถูกเชิญให้กล่าว ในเวลาอันกะทันหัน ฯลฯ

10. เขียนด้วยกลุ่มประโยคหลายประโยค
ตอบ 2
โครงเรื่องแบบย่อหน้า ประกอบด้วยกลุ่มประโยคหลายกลุ่มประโยครวมกันในรูปของย่อหน้า โดยไม่ต้องแยกเป็นหัวข้อลงในบรรทัดใหม่ แต่จะกล่าวถึงทุกประเด็น ปนกันไปในย่อหน้าเดียวกัน เนื่องจากโครงเรื่องแบบนี้ไม่แยกประเด็นความคิดของเนื้อหา ออกอย่างชัดเจน จึงไม่เป็นที่นิยมกันโดยทั่วไป

11. คําตอบในข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการเขียนย่อหน้า
(1) เอกภาพ
(2) สัมพันธภาพ
(3) สารัตถภาพ
(4) มโนภาพ
ตอบ 4
หลักสําคัญเบื้องต้นในการเขียนย่อหน้า มีดังนี้
1. ในย่อหน้าหนึ่ง ๆ ควรมีสารัตถภาพ คือ การแสดงความคิดหรือเน้นความคิดที่เป็นสาระสําคัญเพียงอย่างเดียว 2. ย่อหน้าควรมีเอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยย่อหน้าจะต้องกล่าวถึงเรื่องราวอย่างเดียวกัน มีจุดมุ่งหมายสําคัญเพียงอย่างเดียว และมีความสมบูรณ์ในตัวเอง 3. ย่อหน้าควรมีสัมพันธภาพ คือความสัมพันธ์และความต่อเนื่องกัน 4. ย่อหน้าควรจะขยายความอย่างเพียงพอและหมดจด

12. คําตอบในข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ส่วนประกอบของย่อหน้า
(1) ประโยคกล่าวนํา
(2) ประโยคใจความ
(3) ประโยคสนับสนุน
(4) ประโยคสรุป
ตอบ 1
ส่วนประกอบของย่อหน้ามีอยู่ทั้งหมด 4 ส่วน ดังนี้
1. ประโยคใจความหรือประโยคสําคัญ 2. ประโยคสนับสนุน 3. ประโยคสรุป 4. ประโยคส่งความหรือประโยคเชื่อมความ

ข้อ 13. – 15. จงหาใจความสําคัญว่าอยู่ส่วนใดของย่อหน้า
(1) ประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนต้น
(2) ประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนท้าย
(3) ประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนต้นและท้าย
(4) ประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนกลาง

13. ความสมบูรณ์ของชีวิตมาจากความเข้าใจชีวิตเป็นพื้นฐาน คือ เข้าใจธรรมชาติ เข้าในความเป็นมนุษย์ และเข้าใจความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติ มีความรักความเมตตาต่อ เพื่อนมนุษย์และธรรมชาติอย่างจริงใจ
ตอบ 1
ย่อหน้าข้างต้นเป็นแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว คือ ย่อหน้าที่มีประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนต้นย่อหน้า แล้วมีประโยคสนับสนุนหลักและประโยคสนับสนุนรองวางอยู่ในตําแหน่งถัดไป จึงทําให้จัดลําดับความคิดได้ง่ายที่สุด เพราะเป็นการขยายความคิดจากประโยคใจความสําคัญไปสู่รายละเอียดที่จะนํามาสนับสนุน

14. คนโบราณท่านแบ่งการปกครองในบ้านไว้ดังนี้คือ สามีเป็นใหญ่นอกบ้าน ซึ่งหมายความว่า สามีเป็นผู้มีภาระหน้าที่ทํางานภายนอกบ้านหาเงินเลี้ยงครอบครัว ส่วนภรรยานั้นเป็นใหญ่ในบ้าน หมายถึง รับผิดชอบดูแลกิจการในบ้านหรืออาจจํากัดความได้ว่า “สามีเป็นผู้หา (เงิน) ภรรยาเป็นผู้เก็บ (เงิน)” การแบ่งหน้าที่ของสามีและภรรยาเช่นนี้จึงทําให้คนสมัยก่อนอยู่อย่างมีความสุข
ตอบ 3
ย่อหน้าข้างต้นเป็นแบบสามเหลี่ยมมีฐานบรรจบกัน คือ ย่อหน้าที่มีประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนต้น แล้วขยายความให้รายละเอียดด้วยประโยคสนับสนุนหลักและ ประโยคสนับสนุนรอง ต่อจากนั้นก็ค่อย ๆ สรุปรายละเอียดต่าง ๆ ให้แคบลง และจบลงด้วยประโยคใจความสําคัญในตอนท้ายอีกครั้งหนึ่ง จึงมีลักษณะเป็นย่อหน้าที่ขยายความให้กว้างออกแล้วสรุปความให้แคบเข้า โดยมีประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนต้นและท้าย

15. ความเครียดทําให้เพิ่มฮอร์โมนอะดรีนาลินในเลือด ทําให้หัวใจเต้นเร็ว เส้นเลือดบีบตัว กล้ามเนื้อเขม็งตึงระบบย่อยเกิดอาการผิดปกติ เกิดอาการปวดหัว ปวดท้อง ใจสั่น ขาอ่อนแรง ความเครียดจึงเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทําให้แก่เร็ว
ตอบ 2
ย่อหน้าข้างต้นเป็นแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่วหัวกลับ คือ ย่อหน้าที่มีประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนท้าย เป็นการสรุปเอาสาระสําคัญทั้งหมดลงในตอนท้าย โดยกล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่เป็นประโยคสนับสนุนหลักและประโยคสนับสนุนรองไว้ก่อนในตอนต้น แล้วจึงขมวดความคิดหรือใจความสําคัญเอาไว้ในตอนจบ ซึ่งจะตรงข้ามกับย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

ข้อ 16. – 30. ข้อความต่อไปนี้เป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน แต่แบ่งไว้เป็นข้อ ๆ จํานวน 15 ข้อ จงอ่านให้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน แล้วพิจารณาว่าแต่ละข้อเข้าลักษณะใด จากคําตอบข้างล่างนี้ ให้ระบายข้อที่เลือกในกระดาษคําตอบ

คําตอบ
– ถ้าข้อความนั้นเป็นประโยคใจความ ให้เลือกตอบข้อ 1
-ถ้าข้อความนั้นเป็นประโยคสนับสนุนหลัก ให้เลือกตอบข้อ 2
– ถ้าข้อความนั้นเป็นประโยคสนับสนุนรอง ให้เลือกตอบข้อ 3
– ถ้าข้อความนั้นทําให้เสียความในย่อหน้า ให้เลือกตอบข้อ 4

(1) ในสมัยปัจจุบันนี้การอ่านนวนิยายเป็นสิ่งที่มนุษย์ที่อ่านหนังสือออกทั่ว ๆ ไปทํากันเป็นปรกติ (2) ผู้ที่มีการศึกษาต่างระดับต่างการอบรมก็มีรสนิยมต่างกัน (3) คนที่ได้รับการศึกษาไม่มากนักก็นิยม นวนิยายชนิดหนึ่ง (4) โดยมากที่อ่านง่าย ๆ ไม่ต้องใช้ความคิด (5) คนที่ได้รับการศึกษาสูงขึ้นไป (6) นิยมอ่าน นวนิยายเพื่อพิจารณาศึกษาในฐานะเป็นศิลปกรรม (7) คนกลุ่มนี้เพ่งเล็งถึงกลวิธีการแต่ง (8) สํานวนภาษา (9) แนวคิด (10) และสิ่งอื่นที่มีในนวนิยาย (11) และอาจเปรียบเทียบนวนิยายเล่มหนึ่งของนักประพันธ์ คนเดียวกันนั้น (12) หรือเปรียบเทียบนวนิยายของนักประพันธ์คนหนึ่งกับของอีกคนหนึ่ง (13) หรือศึกษา ในด้านอื่น ๆ อีกก็ได้ (14) นวนิยายบางเรื่องของนักประพันธ์บางคนได้รับการยกย่องเป็นวรรณคดีมีผู้รู้จัก ทั่วโลก (15) เช่น นวนิยายของลีโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy) นักประพันธ์ชาติรัสเซีย (ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ. 2529. “แนะแนวทางอ่านนวนิยาย” ในแว่นวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: อ่านไทย,หน้า 134 135)

16. ข้อความหมายเลข 1
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 4
ประเด็นความคิดที่อยู่นอกขอบข่ายเนื้อหา คือ รายการความคิดที่ไม่เกี่ยวข้องกัประบโยคใจความหรือประโยคสําคัญ ประโยคสนับสนุนหลักหรือประเด็นความคิดหลัก และประโยคสนับสนุนรองหรือประเด็นความคิดย่อย เพราะเมื่อปนเข้ามาก็จะทําให้เนื้อความของเรื่องหรือของย่อหน้านั้นเสียไป

17. ข้อความหมายเลข 2
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 1
ประโยคใจความหรือประโยคสําคัญ คือ ข้อความที่เป็นตอนนําซึ่งเป็นส่วนที่มีความหมายครอบคลุมข้อความทั้งหมดในย่อหน้า หรือเป็นส่วนที่มีความหมาย เด่นชัดและมีน้ำหนักมากที่สุด โดยจะกล่าวถึงสาระสําคัญของเนื้อความในย่อหน้านั้นทั้งหมด หรือจํากัดขอบข่ายประเด็นที่จะพูดถึงในย่อหน้า ทั้งนี้ย่อหน้าข้างต้นเป็นแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ซึ่งมีประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนต้น (ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ)

18. ข้อความหมายเลข 3
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 2
ประโยคสนับสนุนหลัก คือ ข้อความที่เป็นตอนอภิปราย หรือประเด็นความคิดหลัก ซึ่งจะทําหน้าที่นํารายละเอียดของเนื้อหาไปสนับสนุนหรือขยายประโยคใจความ ของย่อหน้า ดังนั้นการเขียนประโยคชนิดนี้จึงต้องวิเคราะห์ประโยคใจความ และจํากัดความคิดที่จําเป็นต้องนํามาสนับสนุนใจความในย่อหน้าเสียก่อน

19. ข้อความหมายเลข 4
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3
ประโยคสนับสนุนรอง คือ ข้อความที่เป็นตอนอภิปราย หรือความคิดย่อยในประเด็นความคิดหลัก ซึ่งจะให้รายละเอียดหรือขยายความในประเด็นความคิดหลักหรือประโยคสนับสนุนหลัก (ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ)

20. ข้อความหมายเลข 5
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

21. ข้อความหมายเลข 6
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

22. ข้อความหมายเลข 7
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

23.ข้อความหมายเลข 8
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

24. ข้อความหมายเลข 9
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

25. ข้อความหมายเลข 10
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ
26. ข้อความหมายเลข 11
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

27. ข้อความหมายเลข 12
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

28. ข้อความหมายเลข 13
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

29. ข้อความหมายเลข 14
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

30. ข้อความหมายเลข 15
(1) ข้อ 1
(2) ข้อ 2
(3) ข้อ 3
(4) ข้อ 4
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

ข้อ 31, – 42. ข้อใดบกพร่องตรงกับตัวเลือกต่อไปนี้
(1) การใช้คําขัดแย้งกัน
(2) ใช้คําผิดความหมาย
(3) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ

31. มันเป็นเวลาที่สายแล้วเมื่อฉันได้เดินทางมาถึงมหาวิทยาลัย
ตอบ 4
ประโยคดังกล่าวเรียงคําไม่เป็นสํานวนไทย หรือใช้ประโยคที่เลียนแบบสํานวนต่างประเทศ (สํานวนพันทาง) จึงควรเรียงคําให้เป็นสํานวนไทย โดยใช้ว่า ฉันมาถึงมหาวิทยาลัยเวลาสาย

32. ดิฉันไม่เคยคิดว่าเหตุการณ์แบบนี้จะวิบัติขึ้นในบ้าน
ตอบ 2
ประโยคดังกล่าวใช้คําไม่ตรงความหมาย หรือใช้คําผิดความหมาย เพราะว่าคําบางคํามีความหมายคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกัน แต่ละคํามีความหมายโดยตรงที่ใช้เฉพาะความหมาย คํานั้น จึงควรใช้คําให้ถูกต้องตรงความหมาย โดยใช้ว่า ดิฉันไม่เคยคิดว่าเหตุการณ์แบบนี้จะอุบัติขึ้นในบ้าน (คําว่า “อุบัติ” หมายถึง เกิด ส่วนคําว่า “วิบัติ” หมายถึง พิบัติ ฉิบหาย)

33. สําหรับในประเทศไทยอุปกรณ์ชนิดนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับ
ตอบ 3
ประโยคดังกล่าวใช้คําอย่างไม่ประหยัดหรือใช้คําฟุ่มเฟือย เพราะว่าคําบางคํามีความหมายสมบูรณ์ในตัวอยู่แล้ว จึงไม่จําเป็นต้องใช้คําขยายมาเพิ่มเติมอีก เนื่องจาก จะทําให้ประโยคมีความยืดยาด ดังนั้นจึงควรใช้คําอย่างประหยัดเพื่อให้กระชับ โดยใช้ว่า ในประเทศไทยอุปกรณ์ชนิดนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับ (ตัดคําว่า “สําหรับ” ซึ่งเป็นบุรพบทเกี่ยวกับการให้การรับทิ้งไป เพราะห้ามใช้บุรพบทนําหน้าประโยคในไวยากรณ์ไทย)

34. คุณแม่ฉันกุลีกุจอเดินออกจากบ้านไปเมื่อกี้นี้
ตอบ 1
ประโยคดังกล่าวใช้คําขัดแย้งกัน ทําให้ข้อความไม่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ดังนั้นจึงควรใช้คําให้สอดคล้องเป็นไปในแนวเดียวกัน โดยใช้ว่า คุณแม่ฉันกุลีกุจอวิ่งออกจากบ้านไป เมื่อกี้นี้ การใช้คําว่า “กุลีกุจอ” ในที่นี้หมายถึง รีบมาก ซึ่งควรใช้กับคําว่า “วิ่ง” หมายถึงก้าวเร็วยิ่งกว่าเดิน จึงจะทําให้ประโยคไม่ขัดแย้งกัน)

35. จากการที่ได้เกิดฝนตกหนักทําให้น้ำท่วมทั่วกรุงเทพมหานคร
ตอบ 4
(ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ) ประโยคดังกล่าวควรเรียงคําให้เป็นสํานวนไทย โดยใช้ว่าฝนตกหนักทําให้น้ำทวมทั่วกรุงเทพมหานคร

36. นักสืบสะกดรอยตามผู้ร้ายไม่ให้คลาดเคลื่อนสายตา
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ) ประโยคดังกล่าวควรใช้คําให้ถูกต้องตรงความหมาย โดยใช้ว่านักสืบสะกดรอยตามผู้ร้ายไม่ให้คลาดสายตา (คําว่า “คลาด” หมายถึง ไม่พบ เคลื่อนจากที่หมายส่วนคําว่า “คลาดเคลื่อน” หมายถึง ผิดจากความเป็นจริง)

37. สุภาวดีถูกเชิญให้ไปนําเสนอผลงานที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ) ประโยคดังกล่าวเป็นประโยคกรรมการกในภาษาอังกฤษ ทําให้กริยาวลี “ถูก” กลับนิยมในข้อความที่ดี ทั้ง ๆ ที่ตามหลัภาษาไทยถือว่า มีความหมายไปในทางไม่ดี จึงควรเรียงคําให้เป็นสํานวนไทย เพื่อให้มีความหมายไปในทางที่ดีโดยใช้ว่า สุภาวดีได้รับเชิญให้ไปนําเสนอผลงานที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

38. เจ้าหน้าที่ตํารวจได้นําศพคนตายผ่าพิสูจน์ที่สถาบันนิติเวช
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ) ประโยคดังกล่าวควรใช้คําอย่างประหยัดเพื่อให้กระชับ โดยใช้ว่าเจ้าหน้าที่ตํารวจได้นําศพผ่าพิสูจน์ที่สถาบันนิติเวช (ตัดคําว่า “คนตาย” ทิ้งไป เพราะศพก็คือคนที่ตายแล้ว)

39. การเดินทางไปดอยอ่างขางไม่ลําบากนัก เรียกว่าตกทุกข์ได้ยากทีเดียว
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ) ประโยคดังกล่าวควรใช้คําให้สอดคล้องเป็นไปในแนวเดียวกันโดยใช้ว่า การเดินทางไปดอยอ่างขางไม่ลําบากนัก เรียกว่าสะดวกสบายที่เดียว การใช้คําว่า “ไม่ลําบาก/สะดวกสบาย” ในที่นี้เป็นคําที่ไม่ขัดแย้งกัน เพราะหมายถึง ไม่เดือดร้อน ไม่ติดขัดคล่อง ส่วนคําว่า “ตกทุกข์ได้ยาก” หมายถึง ตกระกําลําบาก)

40. เรื่องนี้อาจารย์ได้ทําการศึกษาค้นคว้ามาเป็นเวลานานกว่ายี่สิบปีมาแล้ว
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ) ประโยคดังกล่าวควรใช้คําอย่างประหยัดเพื่อให้กระชับ โดยใช้ว่าเรื่องนี้อาจารย์ได้ศึกษาค้นคว้ามาเป็นเวลานานกว่ายี่สิบปีมาแล้ว (ตัดคําว่า “ทําการ” ทิ้งไป เพราะเป็นคําที่ไม่มีความหมายอะไร ถึงแม้จะตัดออกไปก็ไม่ได้ทําให้ความหมายของข้อความนั้นเปลี่ยนแปลงไป)

41. ดวงตาของหล่อนวาววามราวกับหมู่ดาวในท้องฟ้า
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ) ประโยคดังกล่าวควรใช้คําให้สอดคล้องเป็นไปในแนวเดียวกันโดยใช้ว่า นัยน์ตาของหล่อนวาววามราวกับหมู่ดาวในท้องฟ้า (การใช้คําว่า “นัยน์ตา/วาววาม” ในที่นี้เป็นคําที่ไม่ขัดแย้งกัน เพราะหมายถึง มีแสงวูบวาบอยู่ภายในตา ส่วนคําว่า “ดวงตา”มักใช้เป็นคําเปรียบเทียบเรียกหญิงที่รักหรือลูกที่รัก)

42. น้ำท่วมกรุงเทพมหานครในคราวนั้นทําให้ชาวบ้านเดือดร้อนมากมายพอสมควร ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ) ประโยคดังกล่าวควรใช้คําให้สอดคล้องเป็นไปในแนวเดียวกันโดยใช้ว่า น้ำท่วมกรุงเทพมหานครในคราวนั้นทําให้ชาวบ้านเดือดร้อนมากมายเหลือเกิน (การใช้คําว่า “มากมาย” ในที่นี้หมายถึง มากเหลือหลาย ซึ่งควรใช้กับคําว่า “เหลือเกิน” หมายถึง ยิ่งนัก เกินควร เต็มที่ จึงจะทําให้ประโยคไม่ขัดแย้งกัน ส่วนคําว่า “พอสมควร” หมายถึง พอประมาณ)

43. ข้อใดใช้คําตรงตามหลักไวยากรณ์
(1) คุณแม่บริจาคเงินกับเด็กกําพร้าเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ
(2) สมชายเป็นคนสุภาพแต่สํารวมตนเสมอเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่
(3) โบราณสถานที่สําคัญทุกชิ้นในประเทศไทยควรได้รับการดูแล
(4) ศาสนาทุกศาสนาสอนให้เราเป็นคนดีและความดีก็จะคุ้มครองเรา
ตอบ 4
ประโยคในตัวเลือกข้อ 4 ใช้คําได้ถูกต้องตรงตามระเบียบของภาษา (หลักภาษาหรือไวยากรณ์) คือ ใช้คําสันธานถูกต้อง ได้แก่ คําว่า “และ” ซึ่งใช้เชื่อม เนื้อความที่คล้อยตามกัน (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นควรใช้คําให้ตรงตามหลักไวยากรณ์ โดยใช้ว่า คุณแม่บริจาคเงินแก่เด็กกําพร้าเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ, สมชายเป็นคนสุภาพและสํารวมตนเสมอเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่, โบราณสถานที่สําคัญทุกแห่งในประเทศไทยควรได้รับการดูแล)

44. ข้อใดเป็นคําไวพจน์ของพระอินทร์
(1) วัชรินทร์
(2) ราเชนทร์
(3) มานพ
(4) ธาดา
ตอบ 1
การหลากคํา หรือเรียกว่า “คําไวพจน์” คือ คําที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันมาก ซึ่งจัดเป็นคําพ้องความหมาย เช่น คําว่า “วัชรินทร์/วัชรี/วัชเรนทร์” หมายถึง พระอินทร์ เป็นต้น ส่วนคําว่า “ราเชนทร์” หมายถึงพระเจ้าแผ่นดิน, “มานพ” หมายถึง คน, “ธาดา” หมายถึง พระพรหมผู้สร้าง)

45. ข้อใดมีความหมายตรงกันข้ามกับคําว่า ประกอบ
(1) แยกแยะ
(2) กระจาย
(3) คัดแยก
(4) งัดออก
ตอบ 3 คําว่า “ประกอบ” หมายถึง เอาชิ้นส่วนต่าง ๆ มารวมหรือคุมกันเข้าเป็นรูปร่างตามที่ต้องการซึ่งจะมีความหมายตรงกันข้ามกับคําว่า “คัดแยก” หมายถึง เลือกและแยกสิ่งที่รวมกันอยู่ (ส่วนคําว่า “แยกแยะ” หมายถึง กระจายออกให้เห็นชัดเจน เช่น แยกแยะปัญหาให้เห็น เป็นประเด็น ๆ ไป “กระจาย” หมายถึง ทําให้แพร่หรือแตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ “งัดออก” หมายถึง ทําให้เผยอหรือเคลื่อนที่ออกมา โดยใช้วัตถุยาวงัด)

46. ข้อใดมีความหมายทั้งโดยตรงและโดยแฝง
(1) แมวมอง ยกยอ
(2) ฉีกหน้า-ฉีกกระดาษ
(3) จับเข่าคุยกัน-จับมือถือแขน
(4) ลิง-ลิงสยาม
ตอบ 2 คําที่มีความหมายทั้งโดยตรงและโดยแฝง ได้แก่
1. ความหมายโดยตรง (Denotation) หมายถึง ความหมายเดิม ความหมายประจํา หรือความหมายกลาง ซึ่งเป็นความหมายตามพจนานุกรมที่ทุกคนเข้าใจได้ตรงกัน เช่น คําว่า “ฉีกกระดาษ” หมายถึง ทําให้กระดาษขาดหรือแยกออกจากกัน เป็นต้น
2. ความหมายโดยแฝง (Connotation) หมายถึง ความหมายโดยนัยหรือความหมายเปรียบเทียบ ความหมายเพิ่มหรือความหมายสมทบที่ต้องอาศัยการตีความประกอบ เช่นคําว่า “ฉีกหน้า” หมายถึง ทําให้ได้รับความอับอาย เป็นต้น
(ส่วนตัวเลือกข้อ 1 และ 3 เป็นความหมายโดยแฝง, ตัวเลือกข้อ 4 เป็นความหมายโดยตรง)

47. ข้อใดใช้สํานวนเปรียบเทียบไม่เหมาะสม
(1) หน้าของเธอซีดราวไก่ต้ม
(2) ความยินดีเหล่านี้มันแฝงอยู่แล้วในทุกตัวอักษร
(3) พี่ชายของฉันกับพี่สาวของเธอสมกันเหมือนกิ่งทองใบหยก
(4) ผมเป็นครูมานานแล้วใคร ๆ ก็เรียกผมว่า พ่อพิมพ์ของชาติ
ตอบ 4
ประโยคในตัวเลือกข้อ 4 ใช้สํานวนเปรียบเทียบไม่เหมาะสม ได้แก่ สํานวนว่า “พ่อพิมพ์ของชาติ” จึงควรแก้ไขให้ถูกต้อง โดยใช้ว่า ผมเป็นครูมานานแล้วใคร ๆ ก็เรียกผมว่า แม่พิมพ์ของชาติ เพราะถึงแม้ครูจะเป็นผู้ชาย เขาก็เรียกว่าแม่พิมพ์ทุกเพศ (คําว่า แม่พิมพ์ หมายถึง ครูอาจารย์ที่ถือเป็นแบบอย่างความประพฤติ)

48. ข้อใดเป็นประโยค
(1) สุดหล้าฟ้าเขียว
(2) เมฆสีดําทะมึน
(3) ฝนเทลงมา
(4) แสงสว่างวาววับ
ตอบ 3
ความแตกต่างระหว่างวลี (กลุ่มคํา) และประโยค ได้แก่
1. วลี หมายถึง กลุ่มคําที่เรียงต่อกัน เกิดความหมายไม่สมบูรณ์ เพราะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งในภาคประธานหรือภาคแสดง แต่ก็สามารถสื่อความหมายได้ และใช้ประกอบคําหรือกลุ่มคําอื่น ๆ จนกลายเป็นประโยค เช่น สุดหล้าฟ้าเขียว, เมฆสีดําทะมึน, แสงสว่างวาววับ เป็นต้น
2. ประโยค หมายถึง ถ้อยคําที่มีเนื้อความสมบูรณ์ ประกอบด้วย ภาคประธานและภาคแสดงอาจจะมีส่วนขยายหรือไม่มีก็ได้ เช่น ฝนเทลงมา (ประธาน + กริยา + ส่วนขยาย) เป็นต้น

49. ข้อใดเป็นประโยคสองส่วน
(1) พี่สาวของฉันร้องเพลงเพราะ
(2) พี่สาวของฉันไปโรงพยาบาล
(3) หนังสือเล่มนี้มีราคาแพงมาก
4) พี่สาวคนสวยของฉันรักพี่ชายของเธอ
ตอบ 1 ข้อสังเกตเกี่ยวกับประโยค อาจมีลักษณะดังนี้
1. ประโยค 2 ส่วน ได้แก่ ประธาน + กริยา (อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น พี่สาวของฉันร้องเพลงเพราะ, เพื่อน ๆ หัวเราะอย่างสนุกสนาน, ฉันนั่งยิ้มอย่างมีความสุขทุกวัน, เพื่อน ๆ ของฉันอ้วนท้วนสมบูรณ์ดีทุกคน เป็นต้น
2. ประโยค 3 ส่วน ได้แก่ ประธาน + กริยา + กรรม (อาจมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่นพี่สาวของฉันไปโรงพยาบาล, หนังสือเล่มนี้มีราคาแพงมาก, พี่สาวคนสวยของฉันรักพี่ชายของเธอ, ใครก็ได้ร้องเพลงให้ฉันฟังหน่อย เป็นต้น

50. ข้อใดเป็นประโยคสามส่วน
(1) เพื่อน ๆ หัวเราะอย่างสนุกสนาน
(2) ใครก็ได้ร้องเพลงให้ฉันฟังหน่อย
(3) ฉันนั่งยิ้มอย่างมีความสุขทุกวัน
(4) เพื่อน ๆ ของฉันอ้วนท้วนสมบูรณ์ดีทุกคน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

ข้อ 51 – 55. ข้อใดตรงกับคําตอบที่กําหนดให้
(1) ประโยคความรวม
(2) ประโยคความซ้อน
(3) ประโยคกรรม
(4) ประโยคการิต

51. โทรศัพท์ที่วางอยู่บนโต๊ะซื้อมาจากต่างประเทศ
ตอบ 2
ประโยคความซ้อน หรือประโยคปรุงแต่ง (สังกรประโยค) หมายถึง ประโยคความเดียวที่มีประโยคย่อยเข้ามาแทรกอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อแยกประโยคความซ้อนออกจากกันสองประโยคจะมีน้ำหนักไม่เท่ากัน กล่าวคือ ประโยคความเดียวที่เป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) จะมีใจความสําคัญเพียงประโยคเดียว และมีประโยคย่อย (อนุประโยค) มาช่วย ขยายความ เช่น โทรศัพท์ที่วางอยู่บนโต๊ะซื้อมาจากต่างประเทศ, ดอกไม้ที่ฉันชอบมากที่สุด คือ ดอกบัว ฯลฯ (คําที่ขีดเส้นใต้เป็นประโยคย่อยทําหน้าที่ขยายนาม โดยมีคําว่า “ที่” เป็นคําเชื่อม แทนคํานามที่อยู่ข้างหน้า)

52. เสื้อยืดตัวนี้ฉันซื้อไว้เอง
ตอบ 3
ประโยคกรรม คือ กรรมทําหน้าที่เป็นประธานในประโยค และมีกริยาวลี“ถูก” ตามหลังประธาน เช่น ฉันถูกครูตําหนิอีกแล้ว ฯลฯ หรือกรรมมีตําแหน่งอยู่หน้าประธานและกริยา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการเน้นกรรมมากกว่า เช่น เสื้อยืดตัวนี้ฉันซื้อไว้เอง ฯลฯ

53. คุณครูให้ฉันเช็ดโต๊ะอาหาร
ตอบ 4 หน้
ประโยคการิต คือ ประโยคประธานหรือประโยคกรรมซึ่งมีผู้รับใช้แทรกเข้ามา เรียกว่า การิตการก (เป็นทั้งผู้ถูกกระทําและผู้กระทํา) กล่าวคือ ในประโยคจะมีบุคคล 2 คน คนหนึ่งจะเป็นผู้สั่งหรือผู้ชี้แนะ (ผู้กระทํา) ในขณะที่อีกคนหนึ่งจะเป็นผู้รับใช้(ผู้ถูกกระทํา) เช่น คุณครูให้ฉันเช็ดโต๊ะอาหาร ฯลฯ

54. เธอจะต้องมาเรียนมิฉะนั้นเธอจะต้องทํารายงาน 20 หน้า
ตอบ 1
ประโยคความรวม(อเนกรรถประโยค) คือ ประโยคที่มีใจความสําคัญหลายใจความ เพราะเป็นประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียวเข้าด้วยกัน แล้วเชื่อมด้วยคําสันธาน ได้แก่ ประโยคความรวมที่เนื้อความ ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง มักมีคําสันธานคือ หรือ, หรือไม่ หรือไม่เช่นนั้น, มิฉะนั้น ฯลฯ เช่น เธอจะต้องมาเรียนมิฉะนั้นเธอจะต้องทํารายงาน 20 หน้า เป็นต้น

55. ดอกไม้ที่ฉันชอบมากที่สุด คือ ดอกบัว
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

56. ข้อใดสะกดผิดทุกคํา
(1) โควตา กะเทย
(2) ต่าง ๆ นา ๆ ผัดไทย
(3) ผาสุก พะแนง
(4) ข้าวเหนียวมูล ใบกระเพรา
ตอบ 4 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ต่าง ๆ นา ๆ ข้าวเหนียวมูล ใบกระเพรา ซึ่งที่ถูกต้องคือ ต่าง ๆ นานา ข้าวเหนียวมูน ใบกะเพรา

สุกานดาจบปริญญาตรีนิเทศน์ศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เธอเป็นคนที่มี ความคิดสร้างสรรค์ แต่ชอบทํางานผลัดวันประกันพรุ่งและเปลี่ยนงานมาหลายบริษัท ล่าสุดเธอทํางาน เป็นเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธุ์ที่คลินิคแถวถนนประชาอุทิศน์

57. ข้อความที่กําหนดให้มีคําผิดกี่คํา
(1) 3 คํา
(2) 4 คํา
(3) 5 คํา
(4) 6 คํา
ตอบ 3
ข้อความที่กําหนดให้มีคําที่สะกดผิด 5 คํา ได้แก่ นิเทศน์ศาสตร์บัณฑิต ผลัดวันประกันพรุ่งประชาสัมพันธุ์ คลินิค ประชาอุทิศน์ ซึ่งที่ถูกต้องคือ นิเทศศาสตรบัณฑิต ผัดวันประกันพรุ่ง ประชาสัมพันธ์ คลินิก ประชาอุทิศ

58. ข้อใดต่อไปนี้อ่านถูกต้อง
(1) ปรมาจารย์ อ่านว่า ประ-ระ-มา-จาน
(2) วิตถาร อ่านว่า วิด-ถาน
(3) พฤหัสบดี อ่านว่า พะ-รึ-หัด-สะ-บอ-ดี
(4) ศากยวงศ์ อ่านว่า สา-กะ-ยะ-วง
ตอบ 2, 3
คําที่อ่านถูกต้อง ได้แก่ วิตถาร อ่านว่า วิด-ถาน และพฤหัสบดี อ่านว่า พะ-รึ-หัด-สะ-บอ-ดี, พรึ-หัด-สะ-บอ-ดี (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นอ่านผิด ซึ่งที่ถูกต้องคือ ปรมาจารย์ อ่านว่า “ ปะ-ระ-มา-จาน, ศากยวงศ์ อ่านว่า สาก-กะ-ยะ-วง)

59. ข้อใดถูกต้อง
(1) คุณพ่อจะไปปทุมวัน ๆ นี้
(2) เขาเคยมาทุกวัน ๆ นี้ไม่มา
(3) เขาซื้อสี 5 กระป๋อง ๆ ละ 50 บาท
(4) เราจัดทัวร์ไปเที่ยวที่ที่สวยธรรมชาติ
ตอบ 4
คําซ้ำ คือ คําคําเดียวกันที่นํามากล่าวซ้ำ 2 ครั้ง มีความหมายเน้นหนักหรือบางที่ต่างกันไปกับคําเดี่ยวเพียงคําเดียว ซึ่งในภาษาไทย จะใช้ไม้ยมก (ๆ) แทนคําท้ายที่ซ้ำกับคําต้น เช่น สีดํา ๆ, เด็กตัวเล็ก ๆ เป็นต้น ไม่ควรใช้ไม้ยมก ในกรณีที่เป็นคําคนละบทคนละความ เช่น คุณพ่อจะไปปทุมวันวันนี้, เขาเคยมาทุกวันวันนี้ไม่มา เขาซื้อสี 5 กระป๋อง กระป๋องละ 50 บาท, เราจัดทัวร์ไปเที่ยวที่ที่สวยธรรมชาติ เป็นต้น

60. คําในข้อใดเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษผิด
(1) Broccoli = บ๊อกโคลี
(2) Pattern = แพตเทิร์น
(3) Snoopy = สนูปปี
(4) Booking = บุกกิง
ตอบ 1
คําทับศัพท์ หมายถึง คําภาษาต่างประเทศที่นํามาใช้ในภาษาไทยโดยวิธีการถ่ายเสียงและถอดอักษร ซึ่งการเขียนคําทับศัพท์ที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถาน ได้แก่ บรอกโคลี (Broccoli), แพตเทิร์น (Pattern), สนูปปี (Snoopy), บุกกิง (Booking) เป็นต้น

61. ทําไมการพูดจึงมีความสําคัญในชีวิตประจําวัน
(1) เพื่อการใช้ภาษาในการสื่อสาร
(2) เพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ
(3) เพื่อความเข้าใจระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3
การพูดนับเป็นการสื่อสารที่มีความสําคัญต่อชีวิตประจําวันชีวิตความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพของมนุษย์เป็นอันมาก เพราะมนุษย์จะต้องใช้การพูด โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง ซึ่งถ้าสื่อสารเข้าใจกันได้ดีการกระทํากิจการงานต่าง ๆ จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

62. “คนที่เกิดมาพูดเก่ง หรือเสียงดีก็ใช่ว่าจะต้องเหนือกว่าคนพูดไม่เก่ง หรือเสียงไม่ดี ขอเพียงฝ่ายหลังมานะพยายาม ฝึกอบรมพูดอย่างมีหลักเกณฑ์ และเป็นไปตามขั้นตอนเท่านั้นก็พูดเก่งได้” เกี่ยวข้องกับเรื่องใดเป็นสําคัญ
(1) วาทศาสตร์
(2) วาทศิลป์
(3) ศาสตร์และศิลป์ในการพูด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4
ข้อความที่นเรศ นโรปกรณ์ กล่าวไว้ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า การที่จะพูดให้ได้ผลจําเป็นต้องฝึกฝนโดยอาศัยหลักวิชาการพูดที่เรียกว่า “วาทการ วาทศาสตร์ หรือวาทศิลป์” ทั้งนี้เพราะการพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่สามารถเรียนรู้และฝึกทักษะได้ ยิ่งฝึกมากความชํานาญในการพูดยิ่งพัฒนาขึ้นตามลําดับ

63. ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) พูดดี คือ การใช้ภาษาได้ดี
(2) พูดดี คือ พูดแล้วทําให้ผู้ฟังเชื่อถือ
(3) พูดเป็นต้องทําให้ผู้ฟังนิยมชมชอบ
(4) พูดเป็น คือ การใช้ปิยวาจา
ตอบ 3 หน้า 157 การพูดโดยทั่วไปมีอยู่ 3 ระดับ ได้แก่
1. พูดได้ คือ พูดเป็นประโยคได้ดี รู้จักพูดคุย ซักถาม หรือโต้ตอบได้
2. พูดเป็น คือ พูดให้ผู้ฟังนิยมชมชอบ เชื่อถือ คล้อยตาม และนําไปปฏิบัติได้
3. พูดดี คือ การใช้ปิยวาจา หรือวาจาเป็นที่รัก ดูดดื่มน้ำใจ ซาบซึ้งใจ ซึ่งนับว่าเป็นการพูดที่ดีที่สุด

64. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายในการพูด
(1) พูดได้ พูดเป็น และพูดดี
(2) ให้ความรู้โน้มน้าวใจ และสร้างความเพลิดเพลิน
(3) ให้ความรู้ ชี้แนะ และตอบคําถาม
(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4
จุดมุ่งหมายในการพูดโดยทั่วไป มีดังนี้
1. ให้ความรู้หรือข้อเท็จจริง
2. โน้มน้าวจิตใจผู้ฟัง
3. สร้างความบันเทิง ความเพลิดเพลิน หรือจรรโลงใจ
4. แก้ปัญหาหรือตอบคําถามต่าง ๆ
5. แนะนําและชี้แนะเรื่องต่าง ๆ

65. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการทักทายผู้ฟัง
(1) เมื่อทักทายประธานในที่ประชุมสภาฯ ต้องพูดว่า “กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ
(2) เมื่อทักทายแฟนเพลงควรใช้คําว่า “สวัสดี แฟนเพลงที่รักของปุ๊กกี้”
(3) ทักทายตามสถานการณ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
คําปฏิสันถารหรือการกล่าวทักทายผู้ฟังมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. ชนิดที่เป็นพิธีการ จะไม่นิยมใช้คําที่แสดงความรู้สึกปนเข้ามา เช่น คําว่า เคารพ นับถือ ที่รัก ฯลฯ มักใช้ในงานที่เป็นทางการ งานรัฐพิธีและศาสนพิธีต่าง ๆ ได้แก่ งานวางศิลาฤกษ์ งานแจกวุฒิบัตร คํากล่าวเปิดงาน การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ
2. ชนิดที่ไม่เป็นพิธีการ จะนิยมใช้คําที่แสดงความรู้สึกปนเข้ามาด้วย เพื่อแสดงความเป็นกันเองหรือความใกล้ชิดสนิทสนม มักใช้ในงานที่ไม่เป็นทางการมากนัก ได้แก่ งานวันเกิดการแสดงคอนเสิร์ต การรายงานหน้าชั้นเรียน การแสดงปาฐกถา ฯลฯ

66. เมื่อได้รับเชิญไปพูดในเรื่องที่ไม่ถนัด ท่านควรทําเช่นไร
(1) หาข้อมูลความรู้ในเรื่องนั้นให้มากที่สุด
(2) ขอโทษหรือออกตัวกับผู้ฟัง
(3) ปฏิเสธแล้วพยายามขอพูดในหัวข้อที่ถนัด
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1
เมื่อต้องพูดในเรื่องที่ไม่ถนัดหรือไม่เชี่ยวชาญ นักพูดไม่ควรขอโทษ หรือออกตัวกับผู้ฟังก่อนพูด แต่ควรเตรียมตัวค้นคว้าหาข้อมูลและความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ให้พร้อมมากที่สุด โดยสามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อการพูดที่ดีได้ ดังนี้ 1. ความรู้และประสบการณ์ของผู้พูดเอง 2. การอ่านหนังสือในห้องสมุด 3. การติดตามข่าวสารที่ทันสมัย ซึ่งเกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จะพูด 4. การสนทนากับผู้รู้ 5. การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พูด หรือผู้รู้ที่เชี่ยวชาญ

67. ประโยชน์สําคัญของการพิจารณาวัตถุประสงค์ในการพูด คืออะไร ”
(1) ช่วยให้เตรียมเนื้อหาได้อย่างเพียงพอ
(2) ทําให้การพูดน่าสนใจ
(3) ช่วยในการประเมินผู้ฟัง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1
ผู้พูดควรกําหนดจุดมุ่งหมายในการพูดให้ชัดเจนว่า การพูดครั้งนั้นมีความมุ่งหมายอย่างไร ซึ่งประโยชน์สําคัญของการพิจารณาวัตถุประสงค์ในการพูด คือ เพื่อจะได้ เตรียมเนื้อหา เหตุผล ข้ออ้างอิง ถ้อยคําภาษา ฯลฯ ได้อย่างเพียงพอและถูกต้องตามวัตถุประสงค์ เพราะการพูดด้วยจุดประสงค์และโอกาสที่ต่างกัน ย่อมจะใช้คําปฏิสันถาร เนื้อหา คําลงท้ายและภาษาที่แตกต่างกันไป

68. “ท่านผู้ฟังทุกท่านครับ สําหรับผมเงินไม่สําคัญกับชีวิตแต่จําเป็นในการใช้ชีวิตครับ” เป็นคํานําแบบใด
(1) กระตุ้นให้คิด
(2) ยกข้อความเร้าใจ
(3) จี้จุดสําคัญ
(4) สําแดงคุณโทษ
ตอบ 3
คํานําหรือการขึ้นต้นแบบจี้จุดสําคัญของเรื่องนั้น ๆ คือ การพุ่งเข้าสู่จุดโดยไม่ต้องอ้อมค้อม เพราะผู้ฟังก็รู้เรื่องอยู่แล้ว เป็นการแสดงทัศนะของผู้พูดเท่านั้น

69. “ท้ายที่สุดนี้ ผมขอย้ำว่าที่ผมอาสามาทํางานก็อาสามารับผิดชอบครับ” เป็นการสรุปเรื่องพูดแบบใด
(1) เชิญชวนให้เข้าใจ
(2) ทิ้งท้ายเป็นภาพเด่นชัด
(3) ประกาศเจตจํานง
(4) ยกอุทาหรณ์
ตอบ 3
การสรุปหรือลงท้ายแบบประกาศเจตจํานงส่วนตัวในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ผู้พูดต้องเป็นคนสําคัญ หรือคนที่กําหัวใจของเรื่องนั้น ๆ อยู่

70. ลักษณะทางจิตวิทยาข้อใดของผู้ฟังที่ผู้พูดต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
(1) กลุ่มอาชีพและกลุ่มสังคม
(2) เชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม
(3) ทัศนคติ ความเชื่อ และคุณค่าที่ผู้ฟังยึดถือ
(4) ความต้องการพื้นฐานของผู้ฟัง
ตอบ 2
ลักษณะทางจิตวิทยาของผู้ฟังที่ผู้พูดต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ เชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม เพราะผู้ที่มีเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมที่ต่างกัน ย่อมมีความรู้สึกนึกคิด อุดมการณ์ และความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนั้นเวลาไปพูดผู้พูดจึงควรระมัดระวังไม่ไปโจมตีหรือดูหมิ่นถากถางความเชื่อที่ผู้ฟังยึดถือ

71. การฝึกพูดวิธีการใดดีที่สุด
(1) ฝึกพูดโดยมีผู้แนะนํา
(2) ฝึกพูดโดยศึกษาจากทฤษฎีการพูด
(3) ฝึกพูดคนเดียวหน้ากระจก
(4) ฝึกพูดจากบุคลิกของผู้ฝึกซ้อม
ตอบ 1
การฝึกพูดโดยมีผู้แนะนํา คือ มีพี่เลี้ยงหรือครูอาจารย์ดี ๆคอยแนะนําให้เป็นการส่วนตัว หรือจัดเป็นกลุ่ม มีการฝึกพูดกันเป็นประจํา หรือสมัครเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพูด จัดเป็นวิธีฝึกพูดที่ดีที่สุด ทําให้นักพูดมีความก้าวหน้าและเห็นผล เร็วที่สุด โดยเฉพาะเมื่อฝึกพูดครั้งแรก เพราะผู้แนะนําจะชี้แจงข้อบกพร่องและให้ข้อแนะนํา วิธีพูดที่ถูกต้อง ซึ่งจะทําให้ทราบว่าผู้พูดยังบกพร่องในเรื่องใด และควรปรับปรุงแก้ไขตนเองในข้อใด

72. เคล็ดลับที่สําคัญในการฝึกพูดคือ
(1) กําจัดอาการตื่นเวที
(2) ฝึกนิสัยรักการอ่าน
(3) ปลูกฝังความกล้า
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 196 เคล็ดลับในการฝึกหัดพูด ได้แก่ 1. จงปลูกฝังความกล้าหาญทุกขณะที่จะพูด 2. ฝึกหัดพูดคนเดียวให้คล่องและแพรวพราว โดยอาจจะฝึกหน้ากระจกบานใหญ่ 3. จงขจัดความกลัวออกไปจากจิตใจ

73. เมื่อท่านฝึกซ้อมการพูดในระยะเริ่มแรก ท่านจะ
(1) ซ้อมพูดโดยใช้เครื่องบันทึกเสียงตั้งแต่ต้นจนจบ
(2) ซ้อมพูดโดยใช้เครื่องบันทึกเสียงทีละขั้นตอน
(3) ซ้อมพูดโดยใช้วิดีโอตั้งแต่ต้นจนจบ
(4) ซ้อมพูดโดยใช้วิดีโอทีละขั้นตอน
ตอบ 2
การใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการซ้อมพูด มีดังนี้ 1. การใช้เครื่องบันทึกเสียงเป็นวิธีฝึกซ้อมพูดในระยะเริ่มแรก ซึ่งจะทําให้ผู้พูดได้รู้ถึงน้ำเสียงของตน แต่ควรจํากัดเวลาด้วย โดยแบ่งการฝึกซ้อมออกเป็นตอนสั้น ๆ และควรฝึกซ้อมทีละขั้นตอนเริ่มจากการกล่าวเปิดก่อน 2. การใช้วิดีโอหรือวีดิทัศน์ เป็นวิธีที่สามารถไว้ใจได้มาก เพราะภาพจากวิดีโอหรือวีดิทัศน์ จะบอกผู้ฝึกได้ทั้งลักษณะการพูด ท่าทาง และภาษาท่าทาง แต่วิธีนี้ควรใช้เมื่อได้ผ่านขั้นตอน การฝึกซ้อมอย่างอื่นมาแล้ว

74. ข้อใดคือหลักปฏิบัติในการฝึกพูด
(1) ฝึกหัดพูดคนเดียวให้คล่องและแพรวพราว
(2) ฝึกขจัดความกลัวออกไปจากจิตใจ
(3) ฝึกการพูดให้เป็นสําเนียงการพูด
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3
หลักปฏิบัติในการฝึกพูด มีดังนี้ 1. ฝึกตนเองให้รู้จักแสวงหาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ 2. ฝึกการพูดให้เป็นสําเนียงภาษาพูด 3. ฝึกความเชื่อมั่นในตัวเอง 4. ฝึกตนให้เป็นคนมีความอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ 5. ฝึกการพัฒนาบุคลิกภาพในการพูด

75. ข้อใดคือการฝึกพัฒนาบุคลิกภาพในการพูด
(1) ฝึกการควบคุมอารมณ์
(2) ฝึกการใช้เสียงและท่าทาง
(3) ฝึกจดจําเรื่องราวต่าง ๆ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
การฝึกพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีในการพูดมีอยู่ 2 ประการ คือ
1. บุคลิกภาพภายนอก เป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัด จึงแก้ไขได้ง่าย ใช้เวลาฝึกฝนน้อยและวัดผลได้ทันที ได้แก่ รูปร่าง หน้าตา สีหน้า การแต่งกาย การปรากฏตัว กิริยาท่าทาง การสบสายตา การใช้น้ำเสียง จังหวะในการพูด และถ้อยคําภาษา ฯลฯ 2. บุคลิกภาพภายใน เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น จึงแก้ไขได้ค่อนข้างยาก ใช้เวลาฝึกฝนมากและวัดผลลําบาก ได้แก่ ความมั่นใจ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความกระตือรือร้น ความรอบรู้ ความคิดริเริ่ม ความจริงใจ ปฏิภาณไหวพริบ ความรับผิดชอบ ความจําและอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ เช่น อารมณ์ขัน ฯลฯ

76. ข้อใดคือบุคลิกภาพภายใน
(1) กิริยาท่าทาง
(2) การแต่งกาย
(3) อารมณ์ขัน
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3

77. เมื่อท่านต้องขึ้นพูดเพื่อไว้อาลัยต่อการจากไปของบุคคลอันเป็นที่รัก ท่านจะ
(1) ใช้สีหน้าสํารวม หรี่ตาลงเล็กน้อย
(2) ใช้สีหน้าวางเฉย ลดสายตาลงต่ำ
(3) ใช้สีหน้าวางเฉย หลับตาลงช้า ๆ
(4) ใช้สีหน้าสํารวม ลดสายตาลงต่ำ
ตอบ 4
เมื่อต้องขึ้นพูดเพื่อไว้อาลัยต่อการจากไปของบุคคลอันเป็นที่รัก ผู้พูดจะต้องแสดงสีหน้าสํารวมเพื่อบ่งบอกถึงความสุขุม ความเชื่อมั่นในการพูด และต้องลดสายตาลงเบื้องต่ำ เมื่อต้องการแสดงความสุภาพ ความนับถือ แต่จงระวังอย่าแสดงอาการหลุกหลิก เลิกคิ้ว หลิ่วตา ขยับแก้มขยับคางหรือกัดริมฝีปาก เพราะเป็นอากัปกิริยาที่ไม่เรียบร้อย

78. ข้อใดคือการใช้ภาษาท่าทางแบบพื้นฐาน
(1) อย่าให้เสื้อผ้าพูดแทนเนื้อหา
(2) ยิ้ม ยิ้ม และยิ้ม
(3) ใช้ความสงบสยบทุกเหตุการณ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
การใช้ภาษาท่าทางในการพูดจะช่วยแก้ไขอาการตื่นเวทีของผู้พูด หรือสามารถเอาชนะความประหม่าได้ ดังนั้นเวลาพูดจึงควรมีการเคลื่อนไหวร่างกายบ้าง แต่ต้องไม่มากจนก่อให้เกิด ความรําคาญแก่ผู้ฟัง จงใช้ท่าทางไปตามธรรมชาติ และการใช้ภาษาท่าทางแบบพื้นฐานที่ผู้พูด จะละเลยไม่ได้ก็คือ การยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ ซึ่งนับเป็นการสร้างความอบอุ่นต่อการพูด ช่วยสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร และความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ฟัง

79. ข้อใดใช้ภาษามือถูกต้อง
(1) สมชายอ่านข่าวโทรทัศน์แล้วผายมือ
(2) สมหญิงชี้หน้านักข่าวที่ตั้งคําถาม
(3) สมพรแสดงความจริงจังจึงกํามือ
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3
การใช้ภาษามือต้องใช้ให้เป็นจังหวะ เหมาะกับเรื่องและโอกาสเพื่อบอกจํานวนขนาด รูปร่าง และทิศทาง ซึ่งจะทําให้การพูดมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น เช่น 1. เมื่อแสดงความหนักแน่นจริงจังให้กํามือ 2. เมื่อแสดงความเป็นมิตรหรือบริสุทธิ์ใจให้แบมือทั้ง 2 ข้างแล้วผายออก 3. เมื่อบอกทิศทางให้ชี้นิ้วไปในตําแหน่งที่ต้องการ ฯลฯ

80. วิธีการแก้ไขอาการตื่นเวทีได้ดีที่สุดคือ
(1) หายใจลึก ๆ แล้วนึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือ
(2) หายใจลึก ๆ แล้ววิ่งวนรอบเวที
(3) หายใจลึก ๆ แล้วนึกถึงคําพูดแรก ๆ ในการพูด
(4) ขึ้นอยู่กับบุคคลที่พูด
ตอบ 3
ข้อแนะนําเมื่อเกิดอาการตื่นเวที มีดังนี้
1. เตรียมตัวให้พร้อม ฝึกซ้อมพูดจนมั่นใจ ถือเป็นวิธีป้องกันแก้ไขอาการตื่นเวทีที่ดีที่สุดเพราะถ้าเตรียมสองประการนี้ไม่ดีก็เท่ากับประสบความล้มเหลวก่อนขึ้นเวทีเสียแล้ว 2. สร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง พยายามคิดว่าผู้ฟังทุกคนเป็นมิตรกับเรา 3. สร้างทัศนคติที่ดี ต้องคิดว่าเรามีความรู้ในเรื่องที่จะพูดมากเพียงพอ 4. สูดลมหายใจลึก ๆ ยาว ๆ เพื่อผ่อนคลาย แล้วนึกถึงคําพูดแรก ๆ ในการพูด

81. ข้อใดคือการพูดแบบไม่เป็นทางการ
(1) วณิชยารับโทรศัพท์ในที่ทํางาน
(2) เอกพงษ์อภิปรายเรื่องภาวะโลกร้อน
(3) สุทธิดาสัมภาษณ์ประธานสภาผู้แทนฯ
(4) วันดีกล่าวอวยพรคู่สมรส
ตอบ 1
การสื่อสารด้วยการพูดในสังคมมีรูปแบบสําคัญ 2 ประการ คือ
1. การพูดแบบไม่เป็นทางการ ได้แก่ การทักทาย การแนะนําตัว การสนทนา การเล่าเรื่อง การพูดและรับโทรศัพท์ และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ 2. การพูดแบบเป็นทางการ ได้แก่ การสัมภาษณ์ การบรรยาย การประชุม การอภิปราย การโต้วาที่ การพูดแบบปาฐกถา การกล่าวสุนทรพจน์ และการพูดในโอกาสสําคัญ (เช่น งานมงคลสมรส ฯลฯ)

82. การพูดแบบใดที่มักจะใช้แทรกในการพูดแบบต่าง ๆ
(1) การสนทนา
(2) การบรรยาย
(3) การเล่าเรื่อง
(4) การแนะนําตัว
ตอบ 3
การเล่าเรื่อง คือ การที่บุคคลหนึ่งได้เห็นหรือได้ยินเรื่องราวบางอย่างมา แล้วนํามาถ่ายทอดให้คนอื่นฟัง เพื่อให้ผู้ฟังได้รับรู้เรื่องราวนั้นด้วย โดยศิลปะของการเล่าเรื่องก็คือ การทําให้ผู้ฟังติดใจ อยากฟัง ดังนั้นจึงเป็นวิธีการพูดที่สําคัญอย่างหนึ่ง และมักนํามาแทรกไว้ในการพูดแบบอื่น ๆ เพื่อทําให้การพูดนั้นน่าสนใจขึ้น

83. การพูดแบบใดที่มีบทบาทสําคัญในชีวิตประจําวันมากที่สุด
(1) มารยาทในการฟัง
(2) การสนทนา
(3) การสัมภาษณ์งาน
(4) การแนะนําตัว
ตอบ 2
การสนทนา เป็นการส่งสารและรับสารที่ง่ายที่สุด ทําได้รวดเร็วที่สุด และมีบทบาทสําคัญมากที่สุดในชีวิตประจําวัน เพราะมนุษย์เราจะต้องพบปะพูดคุยกับผู้อื่นเพื่อปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด หรือประสบการณ์ เพื่อความสนุกสนานและผ่อนคลายความเครียด

84. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) นักข่าวสัมภาษณ์พี่ดารา คือ การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ
(2) การสัมมนาต้องมีการนําผลไปเป็นแนวทางปฏิบัติ
(3) การอภิปรายต้องเป็นเรื่องทางวิชาการ
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 การอภิปราย คือ การพูดแสดงความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ของบุคคลกลุ่มหนึ่งตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อปรึกษาหารือกันและออกความคิดเห็น เพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่ หรือเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดในเรื่องที่กําหนดให้ ดังนั้นความหมายของการอภิปรายที่ ครอบคลุมเนื้อหาสาระมากที่สุดน่าจะเป็น“กระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข่าวสารของบุคคลจํานวนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือมากกว่านั้น…”

85. ข้อใดคือการอภิปรายกลุ่ม ”
(1) นักศึกษาปี 1 ทุกคนรับฟังการอภิปรายทางวิชาการ
(2) สมภพกล่าวอภิปรายที่สนามหลวง
(3) นักวิชาการแบ่งกลุ่มประชุมโลกร้อน
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3
การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) คือ การอภิปรายที่ทุกคนในกลุ่มเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการอภิปราย โดยทั่วไปจะมีจํานวนสมาชิกในกลุ่ม 5 – 20 คน ซึ่งสมาชิกในกลุ่มทุกคนมีสิทธิ์พูดเพื่อแสดงความรู้ ความคิดเห็น โดยจะผลัดกันพูด ผลัดกันฟัง ไม่มีผู้ฟังที่เป็นบุคคลภายนอก จึงมักใช้ประชุมปรึกษาหารือเพื่อดําเนินงานในขอบเขตของผู้ร่วมอภิปราย

86. การพูดแบบใดที่ผู้พูดได้รับการยอมรับว่าเชี่ยวชาญในเรื่องที่พูด
(1) กล่าวปาฐกถา
(2) กล่าวสุนทรพจน์
(3) การบรรยาย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1
การพูดแบบปาฐกถา คือ การพูดที่บุคคลคนเดียวแสดงถึงความรู้ความคิดเห็นของตนเองให้ผู้ฟังจํานวนมาก เป็นการพูดแบบบรรยาย หรืออธิบายขยายความให้ผู้ฟังได้เข้าใจ เรื่องที่พูดอย่างแจ่มแจ้ง โดยอาจเป็นการพูดเกี่ยวกับวิชาการหรือเป็นความรู้ทั่ว ๆ ไปก็ได้ ดังนั้นผู้พูดจึงต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่พูดอย่างเชี่ยวชาญ

87. การพูดแบบใดที่ผู้พูดสามารถอ่านตามต้นร่างได้โดยไม่เสียมารยาท
(1) พูดจากต้นร่าง
(2) กล่าวสุนทรพจน์
(3) กล่าวปาฐกถา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2
การพูดโดยอาศัยอ่านจากร่างหรือต้นฉบับ คือ การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับที่เตรียมไว้ล่วงหน้าแล้วอย่างดี ส่วนมากจะเป็นการพูดที่เป็นพิธีการสําคัญต่าง ๆ เช่น การกล่าวเปิดงาน การกล่าวรายงาน การกล่าวเปิดประชุม การกล่าวรายงานการประชุม การกล่าวสดุดี การปราศรัย การให้โอวาท การกล่าวสุนทรพจน์ของบุคคลสําคัญ คำแถลงหรือประกาศต่าง ๆ ของทางราชการ ฯลฯ

88. วิธีการพูดแบบใดที่เหมาะสมสําหรับทุกโอกาส
(1) การพูดแบบท่องจําจากร่าง
(2) การพูดโดยอาศัยอ่านจากร่าง
(3) การพูดจากความทรงจํา
(4) การพูดแบบท่องจําจากร่าง
ตอบ 3
การพูดจากความทรงจํา ถือเป็นการพูดจากใจและจากความรู้สึกที่แท้จริงของผู้พูด จึงเป็นวิธีการพูดที่ดีที่สุด นิยมมากที่สุด และเหมาะสมที่สุดกับการพูดในทุกโอกาส ซึ่งคนที่จะพูดแบบนี้ได้ดีจะต้องเป็นตัวของตัวเอง มีความจําดี จดจําทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในสมอง มีปฏิภาณไหวพริบ มีความรอบรู้ และสามารถนําเรื่องราวต่าง ๆ มาประสานกันได้อย่างดี เช่น การเล่าเรื่องชีวิตของตนเอง หรือประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ประสบพบเจอ

ข้อ 89 – 90, จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การพูดแบบให้ความรู้
(2) การพูดแบบจูงใจ
(3) การพูดแบบให้ความบันเทิง
(4) การพูดแบบให้กําลังใจ

89. การพูดแบบใดที่ผู้พูดต้องให้ความสําคัญกับผู้ฟังมากกว่าการพูดแบบอื่น
ตอบ 2
วิธีปฏิบัติในการพูดแบบจูงใจหรือชักชวน มีดังนี้
1. ผู้พูดต้องให้ความสําคัญกับผู้ฟังมากกว่าการพูดแบบอื่น โดยพูดยกย่องผู้ฟังหรืออธิบายว่าผู้ฟังจะได้ประโยชน์มากขึ้น 2. ผู้พูดต้องพูดให้ผู้ฟังเห็นว่า ผู้พูดอยู่ฝ่ายเดียวกับผู้ฟังและเห็นอกเห็นใจผู้ฟัง เพื่อให้ผู้ฟังไว้วางใจ 3. ผู้พูดต้องยกตัวอย่าง ยกเหตุผลข้อเท็จจริงต่าง ๆ มาอ้างอิง เพื่อให้ผู้ฟังเห็นด้วย 4. ผู้พูดต้องใช้ศิลปะการพูดต่าง ๆ พูดอย่างมีชีวิตจิตใจ ฯลฯ

90. การพูดแบบใดที่หากพูดคนเดียวต้องใช้เวลาไม่เกิน 45 นาที
ตอบ 3
หลักการพูดแบบให้ความบันเทิง มีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ผู้พูดควรจํากัดเวลาในการพูด เพราะถ้าพูดนานจะทําให้ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่าย โดยถ้ามีผู้พูดหลายคน แต่ละคนไม่ควรพูดเกิน 10 นาที แต่ถ้าพูดคนเดียวก็อาจใช้เวลาประมาณ 35 – 45 นาที
2. ผู้พูดต้องพูดให้ตรงเป้าหมายและพูดให้ได้เรื่องราวที่เหมาะสม
3. เรื่องที่พูดต้องเป็นเรื่องสนุกสนาน เบาสมอง และให้ความบันเทิงจริง ๆ ถ้ามีเรื่องตลกขบขันแทรกก็ต้องเป็นเรื่องที่ไม่หยาบโลน

91. ปัญหาที่มักเกิดในการพูด คือข้อใด
(1) ผู้ฟังอาจเกิดความเข้าใจผิด
(2) ผู้พูดอาจพูดผิดไปโดยพลั้งเผลอ
(3) ผู้พูดไม่ทันรู้สึกว่าตนผิดพลาดไป
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4
ปัญหาที่มักเกิดขึ้นในการพูดสื่อสารแต่ละครั้ง คือ การพูดนั้นได้ทําให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจผิดได้บ่อย ๆ ซึ่งมีสาเหตุดังนี้
1. ผู้พูดมีความสามารถไม่เพียงพอที่จะพูดให้ผู้ฟังเข้าใจได้ชัดเจน หรือพูดบางสิ่งบางอย่างผิดไป รายงานโดยพลั้งเผลอ ไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ทันรู้สึกว่าตนผิดพลาดไป
2. ผู้พูดไม่ทราบว่าสิ่งที่พูดนั้นมีผลกระทบต่อผู้ฟัง หรือไม่คิดว่าผู้ฟังจะเข้าใจผิดและ มีความหมายผิดไปจึงไม่ได้แก้ไข
3. ภาษาพูดไม่ค่อยปรากฏหลักฐานเหมือนภาษาเขียน เมื่อพูดแล้วก็จบไปเลย ไม่มีการทบทวนใหม่ในสิ่งที่พูด

92. การพูดที่มีถ้อยคําดี คืออย่างไร
(1) ถ้อยคําที่จริงใจและเป็นประโยชน์
(2) ถ้อยคําที่ใช้ภาษาที่ดีและถูกต้อง
(3) ถ้อยคําที่ทําให้ผู้ฟังพึงพอใจ
(4) ถ้อยคําที่เหมาะแก่ทุกโอกาส
ตอบ 1
การพูดที่มีถ้อยคําดี คือ การพูดที่ประกอบด้วยถ้อยคําที่เป็นความจริง ซึ่งเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นและสําคัญที่สุดของการพูด โดยควรเป็นถ้อยคําที่จริงใจหรือออกมาจากใจจริง และควรให้เป็นประโยชน์ต่อผู้พูดและผู้ฟัง นอกจากนี้ถ้อยคําที่พูดนี้ควรทําให้ผู้ฟังพึงพอใจด้วย

93. ความมุ่งหมายของการพูดมี 2 แบบ คืออย่างไร
(1) ความมุ่งหมายที่เป็นทางการกับไม่เป็นทางการ
(2) ความมุ่งหมายทั่วไปและความมุ่งหมายเฉพาะ
(3) ความมุ่งหมายเพื่อโน้มน้าวและความมุ่งหมายเพื่อเกลี้ยกล่อม
(4) ความมุ่งหมายเพื่อแสดงออกและความมุ่งหมายเพื่อให้ความบันเทิง
ตอบ 2
การพูดที่มีความมุ่งหมาย คือ ผู้พูดจะต้องทราบแน่ชัดว่าพูดเพื่ออะไร โดยทั่วไปความมุ่งหมายในการพูดมี 2 แบบ ได้แก่ 1. ความมุ่งหมายทั่วไปสําหรับการพูดทุกครั้ง จะเหมือนกันหมด คือ ทําให้ผู้ฟังสนใจและตั้งใจฟัง ฟังเข้าใจและถูกเร้าใจในเรื่องที่พูด 2. ความมุ่งหมายเฉพาะสําหรับการพูดแต่ละครั้ง เพื่อจะได้จัดข้อความ ถ้อยคํา และวิธีการพูดให้สอดคล้องต่อไป เช่น การพูดเพื่อให้ข่าวสารความรู้ให้ความบันเทิง หรือเพื่อเกลี้ยกล่อม

94. การพูดที่มีศิลปะการแสดงดี หมายถึงการแสดงในข้อใด
(1) การเตรียมเนื้อหาและจัดระเบียบความคิด
(2) การใช้น้ำเสียงและกิริยาท่าทาง
(3) การสร้างอารมณ์และสร้างบรรยากาศ
(4) การจัดข้อความและถ้อยคําให้สอดคล้องกับวิธีการพูด
ตอบ 2
การพูดที่มีศิลปะการแสดงดี ซึ่งสิ่งที่สําคัญที่สุดของการแสดงในการพูด คือ การใช้ศิลปะในด้านน้ำเสียงมากที่สุด นอกจากนี้ก็มีการใช้มือ และกิริยาท่าทางของผู้พูด ประกอบ ได้แก่ การแสดงสีหน้า การเคลื่อนไหว การวางท่า และการสบสายตากับผู้ฟัง เพื่อสร้างอารมณ์ สร้างบรรยากาศ ฯลฯ โดยจะต้องแสดงออกมาให้เป็นธรรมชาติ ไม่ประหม่า เพื่อช่วยเน้นความรู้สึก และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง

95. ทัศนคติข้อใดของผู้พูดที่จะทําให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกต่อต้านมากที่สุด
(1) ความรู้สึกกลัว
(2) ความรู้สึกเบื่อหน่าย
(3) ความรู้สึกว่าตนเองเหนือกว่าผู้ฟัง
(4) ความไม่มั่นใจในความสามารถของตน
ตอบ 3
ความรู้สึกหรือความคิดว่าตนเองอยู่เหนือกว่าผู้ฟัง ถือเป็นทัศนคติในทางลบของผู้พูดที่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในทางลบและเป็นผลเสียต่อผู้ฟังมากที่สุด เพราะว่าหากผู้พูดมีทัศนคติในแง่นี้แล้ว ผู้พูดอาจจะมองผู้ฟังอย่างสงสาร สมเพทเวทนา ซึ่งส่วนมากจะ แสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง ในกรณีเช่นนี้ผู้ฟังจะพยายามป้องกันไม่ให้ตนเองอยู่ในสภาพนั้นและขณะเดียวกันก็จะไม่ยอมรับหรือเกิดความรู้สึกต่อต้านในตัวผู้พูดมากที่สุดด้วย

96. การเข้าถึงจิตใจของผู้อื่น (Empathy) สัมพันธ์กับข้อใดในกระบวนการพูดกับการฟัง
(1) การมีความสัมพันธ์ที่ดี (Raprport)
(2) การเชื่อมั่นในตัวเอง (Self-confidence)
(3) การปฏิสัมพันธ์ (Interaction)
(4) ทัศนคติของผู้ฟัง (Attitude)
ตอบ 1
สิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการโต้ตอบระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ซึ่งจะทําให้กระบวนการพูดกับการฟังได้ผลดี มีอยู่ 2 ประการ ดังนี้ 1. การเข้าถึงจิตใจของผู้อื่น (Empathy) คือ ความพยายามของผู้พูดและผู้ฟังที่จะรับรู้ในสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกัน โดยต้องเห็นในสิ่งที่เขาเห็น รู้สึกในสิ่งที่เขารู้สึก 2. การมีความสัมพันธ์ที่ดี (Rapport) คือ การที่ทั้งผู้พูดและผู้ฟังเข้ากันได้ มีการยอมรับร่วมกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าถึงจิตใจของผู้อื่น (Empathy)

97. ข้อใดที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง
(1) ผู้พูดสํารวจสถานที่ โพเดียม และเครื่องเสียง
(2) ผู้พูดคํานวณอย่างรวดเร็วว่าจะใช้เวลาพูดกี่นาที
(3) ผู้พูดต้องให้ความสนใจในเรื่องที่ตนเองกําลังพูด
(4) ผู้พูดระมัดระวังในเรื่องบุคลิกภาพของตนอยู่ตลอดเวลา
ตอบ 3
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง มีลักษณะดังนี้
1. ผู้พูดจะต้องให้ความสนใจในเรื่องที่ตนเองกําลังพูดอยู่ และให้ความสนใจในตัวผู้ฟัง 2. ผู้พูดจะต้องให้ความคิดผูกพันอยู่กับเรื่องที่พูด และต้องพูดในสิ่งที่ตนเองคิด 3. ปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังเป็นสิ่งที่สําคัญมาก 4. การใช้เสียงถ่ายทอดความหมายและความรู้สึก 5. การใช้สายตาจับจ้องไปยังผู้ฟัง 6. การหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนที่จะขัดขวางความสนใจในการพูดของผู้พูด

98. การพูดให้มองเห็นภาพพจน์ได้ ขึ้นอยู่กับอะไร
(1) ประสาททั้งหก
(2) การใช้ถ้อยคํา
(3) ความเข้าใจของผู้ฟัง
(4) บรรยากาศในการฟัง
ตอบ 1
การพูดให้สามารถมองเห็นภาพพจน์ได้ คือ การที่ผู้พูดใช้วิธีอุปมาเปรียบเทียบหรือสร้างภาพที่ต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้งหก เพื่อทําให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้อยู่ตรงหน้า หรือได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้จริง ๆ โดยการพูดแบบนี้อาจใช้แต่คําพูดหรือแสดงท่าทางให้ผู้ฟังสามารถเห็นจริงเห็นจังตามไปด้วยก็ได้

99. กฎของการตอบคําถาม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
(1) ถูกต้อง สมบูรณ์ สุภาพ มั่นใจ
(2) ชัดเจน ถูกต้อง แม่นตรง เชื่อได้
(3) สุภาพ ตอบตรง แจ่มแจ้ง เตรียมพร้อม
(4) เชื่อมั่น พูดดี เรียบร้อย เหมาะสม
ตอบ 1 กฏเกณฑ์ของการตอบคําถาม ซึ่งเรียกว่า 4 Bs มีดังนี้
1. มีความถูกต้อง (Be Accurate) 2. มีความสมบูรณ์ (Be Complete)
3. มีความสุภาพ (Be Polite) 4. มีความมั่นใจ (Be Confident)

100. การใช้ท่าทางประกอบการพูดจะทําให้การพูดเป็นแบบใด
(1) ดึงดูดผู้ฟัง
(2) มีชีวิตชีวา
(3) ผู้พูดไม่เครียด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4
การใช้ท่าทางประกอบการพูดจะช่วยส่งเสริมให้การใช้ถ้อยคําพูดมีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น ทําให้การพูดมีชีวิตชีวาและช่วยดึงดูดใจผู้ฟัง นอกจากนี้ ยังช่วยทําให้ผู้พูดเกิดความมั่นใจ และสามารถลดความตึงเครียดทั้งของผู้พูดและผู้ฟัง แต่ผู้พูดต้องระวังให้การใช้ท่าทางสอดคล้องกับความคิด คําพูดหรือเรื่องที่จะพูด และวิธีการถ่ายทอดโดยควรใช้ท่าทางให้พอดีและเป็นไปตามธรรมชาติ

101. ผู้ที่จะใช้ภาษาได้ดีควรมีความรู้เรื่องใด
(1) ไวยากรณ์และกฎเกณฑ์
(2) หลักและการใช้ภาษา
(3) โครงสร้างของประโยค
(4) ภาษาและวัฒนธรรม
ตอบ 4
ผู้ที่จะใช้ภาษาพูดได้ดีควรมีความรู้ด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ความรู้ในเรื่องหลักภาษา เป็นความรู้เรื่องการสร้างประโยค การใช้ถ้อยคํา ความหมายของคําและรู้จักเลือกใช้ภาษาที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก
2. ความรู้ในเรื่องการใช้ภาษาพูดให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม เป็นความรู้เรื่องระดับของคําที่ใช้กับบุคคลบางคนหรือบางกลุ่ม เช่น คําพูดที่ใช้กับบุคคลที่อาวุโส พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ พระภิกษุ ฯลฯ

102. เพศชายและเพศหญิงใช้ภาษาต่างกันในข้อใดมากที่สุด
(1) คําสรรพนาม
(2) คําแบ่งแยกเพศ
(3) คําลงท้าย
(4) คําตอบรับ
ตอบ 1
การใช้ภาษาพูดของเพศหญิงและเพศชายจะต่างกันในเรื่องของการใช้คําสรรพนามมากที่สุด ซึ่งทําให้สามารถแยกการใช้ภาษาพูดของเพศหญิงและเพศชาย ได้ชัดเจน เช่น คําสรรพนาม (เพศชายใช้ผม/กระผม ส่วนเพศหญิงใช้ฉัน/ดิฉัน) รองลงมาคือคําลงท้ายและคําตอบรับ (เพศชายใช้ครับ ส่วนเพศหญิงใช้ค่ะ) เป็นต้น

103. ปัญหาในการใช้ภาษาพูดเรื่องใหญ่ที่สุด คือเรื่องใด
(1) การใช้วรรณยุกต์
(2) การสร้างตัวอักษรและเครื่องหมายต่าง ๆ
(3) การใช้ภาษาพูดในกลุ่มย่อย
(4) การออกเสียงและการใช้ถ้อยคํา
ตอบ 4
ปัญหาในการใช้ภาษาพูดแยกได้เป็นเรื่องใหญ่ ๆ 2 เรื่อง ดังนี้
1. การออกเสียง ซึ่งเป็นปัญหาที่สําคัญที่สุด และถือเป็นปัญหาใหญ่ในการพูดปัจจุบันโดยเฉพาะการออกเสียง ร ที่เป็นเสียงพยัญชนะต้นเป็นเสียง ล และออกเสียง ร ล ว ที่เป็น เสียงควบกล้ำไม่ชัดเจน การใช้ถ้อยคํา ซึ่งภาษาพูดที่ดีต้องเป็นถ้อยคําที่ชัดเจน สื่อความหมายได้ดี มีประสิทธิภาพถูกต้องและเหมาะสม

104. ข้อใดเป็นความสับสนในการออกเสียง ร กับ ล
(1) ลดราวาศอก ออกเสียงเป็น ลดราวาศอก
(2) ลอดหลอดตา ออกเสียงเป็น รอดหูรอดตา
(3) ละล่ำละลัก ออกเสียงเป็น ระล่ำระลัก
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3
สิ่งที่พบมากในการออกเสียง ร กับ ล ก็คือ ความสับสนในการออกเสียง ร กับ ล สลับกัน จนส่งผลให้ใช้ภาษาผิดและความหมายไม่ถูกต้อง ได้แก่ 1. รอดหูรอดตา (หลงหูหลงตาไป) ออกเสียงผิดเป็น ลอดหูลอดตา 2. ลดราวาศอก (อ่อนข้อ ยอมผ่อนปรนให้) ออกเสียงผิดเป็น ลดลาวาศอก 3. ละล่ำละลัก (อาการที่พูดไม่ได้เร็วอย่างใจ กระอีกกระอัก) ออกเสียงผิดเป็น ระล่ำระลัก 4. ร่ำลา (อําลา ลา) ออกเสียงผิดเป็น ล่ำลา ฯลฯ

105. ข้อใดที่มีความหมายโดยนัยแอบแฝงอยู่
(1) น้องสวมเสื้อสีขาว
(2) สีขาว คือ สีฮู้ดของนิติศาสตร์
(3) โตโยต้ารณรงค์เรื่องถนนสีขาว
(4) โรงเรียนทาสีขาวดูสว่างและกว้างขวาง
ตอบ 3
ความหมายโดยนัย หมายถึง ความหมายที่เปลี่ยนไปจากความหมายเดิม โดยใช้นัยแห่งความเดิมมาเปลี่ยนความหมาย บางทีก็เรียกว่าความหมายเชิงอุปมา คือ การนําคําที่ใช้สําหรับสิ่งหนึ่งตามปกติ ไปใช้กับอีกสิ่งหนึ่งที่เห็นว่ามีลักษณะคล้ายกันหรือเข้ากันได้ เช่น โตโยต้ารณรงค์เรื่องถนนสีขาว สีขาว หมายถึง ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ) เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่น สีขาว หมายถึง สี เป็นความหมายโดยตรง) (ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ)

106. การใช้สุภาษิต คําพังเพยในการพูด มีวิธีการใช้อย่างไร
(1) ต้องใช้ในตอนขมวดเรื่องจบ
(2) ต้องใช้ให้เหมาะกับเรื่องที่พูด
(3) ต้องใช้กับผู้ฟังที่มีการศึกษา
(4) ต้องใช้ในการพูดทุกครั้ง
ตอบ 2
หลักเกณฑ์การใช้สํานวนโวหาร สุภาษิต คําพังเพย และคําคมในการพูด คือ ต้องใช้ให้เหมาะกับเรื่องที่พูด ไม่ขัดกับเนื้อความที่พูด ใช้ให้เหมาะกับระดับบุคคล และเชื่อมโยงกับเรื่องที่พูด โดยไม่ควรยกมากล่าวลอย ๆ หรือใช้อย่างพร่ำเพรื่อ ซึ่งคําเหล่านี้หากผู้พูดนํามาใช้ประกอบการพูดในที่ที่เหมาะสมจะทําให้การพูดคมคาย ประทับใจผู้ฟัง และผู้ฟังจดจําได้ง่าย

107. ถ้อยคําแบบใดที่ไม่ควรใช้ในการพูดยกเว้นเมื่อจําเป็น
(1) ภาษาถิ่น
(2) ภาษาต่างประเทศ
(3) คําเฉพาะอาชีพ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4
ถ้อยคําที่ไม่ควรใช้ในภาษาพูด นอกจากคําต่ำ คําหยาบ คําผวนที่หยาบคาย คําที่ใช้กันอยู่ในวงแคบ คํายาก และคําใหม่ ๆ ในอินเทอร์เน็ต ก็ยังมีคําเหล่านี้ซึ่งหากจําเป็นต้องใช้ ก็จะต้องอธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจ ได้แก่ 1. คําสแลง 2. คําเฉพาะอาชีพ หรือคําเฉพาะกลุ่ม 3. ศัพท์บัญญัติ 4. ภาษาถิ่น 5. คําภาษาต่างประเทศ

108. การเว้นจังหวะในการพูด คือการหยุดพูดเมื่อใด
(1) เมื่อจบหัวข้อหนึ่งแล้ว
(2) เมื่อขจัดคําพูดที่ไม่จําเป็น
(3) เมื่อออกเสียงไม่ชัด ต้องหยุดแล้วพูดใหม่
(4) เมื่อกําลังจะยกตัวอย่าง
ตอบ 1
การรู้จักเว้นจังหวะในการพูด เป็นการเว้นวรรคตอนตรงข้อความที่ควรจะหยุดซึ่งการเว้นจังหวะโดยทั่วไปคือ การหยุดพูดเมื่อพูดจบหัวข้อหนึ่ง ๆ ก่อนที่จะพูดในหัวข้อใหม่ ต่อไป นอกจากนี้ก็ให้หยุดท้ายคําถาม หยุดท้ายกลุ่มคํา หยุดก่อนที่จะกล่าวคําหรือเรื่องสําคัญและหยุดเมื่อถึงคําสันธาน

109. ข้อความใดที่นับว่าเป็นวลีฆาตกร
(1) ผมว่าควรจะชะลอโครงการนี้ไว้ก่อนดีกว่า
(2) ผมว่าหากทําโครงการนี้ก็อาจจะเกิดผลเสียได้
(3) ผมว่าโครงการนี้สู้โครงการของเพื่อนคุณไม่ได้
(4) ผมว่าโครงการแบบนี้ยังไม่ควรจะได้รับการสนับสนุน
ตอบ 4
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท ได้เรียกการใช้ภาษาที่จะทําลายบรรยากาศอันดีในที่ประชุมและทําลายความคิดสร้างสรรค์ของผู้เข้าประชุมว่า “วลีฆาตกร” (Kitter Phrases) คือ ภาษา ที่อาจทําให้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบในทางปฏิปักษ์ ได้แก่ เราไม่เคยทําแบบนี้มาก่อน, แพงเกินไป ผมมองไม่เห็นทางสําเร็จ, คุณคิดว่าคุณเป็นใคร, คุณเป็นศูนย์กลางของจักรวาลหรือ, ผมว่า โครงการแบบนี้ยังไม่ควรจะได้รับการสนับสนุน ฯลฯ นอกจากนิ้วลีฆาตกรยังสามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจําวัน เช่น จ่อย ซุ่มซ่ามเหลือเกินนะ (เป็นการพูดตําหนิติเตียนผู้อื่น) เป็นต้น

110. สถานการณ์ในการพูดเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
(1) บุคคลและโอกาส
(2) โอกาสและสถานที่
(3) บุคคลและกาลเทศะ
(4) สถานภาพทางสังคมของผู้พูด
ตอบ 2
สถานการณ์ในการพูด คือ กาลเทศะ ซึ่งประกอบด้วย เวลา โอกาส สถานที่ และสิ่งแวดล้อมในขณะที่พูด

111. การประชุมแบบปฏิบัติงาน เรียกว่าการประชุมแบบใด
(1) Seminar
(2) Debate
(3) Syndicate
(4) Work Shop
ตอบ 4
ประเภทของการประชุม มีดังนี้
1. การประชุมปรึกษา (Conference) 2. การประชุมมีกําหนด(Convention) 3. การประชุมคณะอภิปราย หรือการประชุมแบบแผง (Panel) 4. การประชุมแลกความรู้ (Symposium) 5. การประชุมปฏิบัติงาน (Work Shop) 6. การประชุมแบบโต้แย้ง (Debate) 7. การประชุมซินดิเคต (Syndicate) 8. การสัมมนา (Seminar)

112. การอภิปรายแบบใดที่ให้ความรู้และความคิดแก่ผู้ฟัง
(1) การอภิปรายหมู่หรือการอภิปรายเป็นคณะ
(2) การอภิปรายแบบโต้วาที
(3) การอภิปรายแบบระดมสมอง
(4) การอภิปรายแบบโต๊ะกลม
ตอบ 1
การอภิปรายหมู่หรือการอภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion) คือ การอภิปรายที่มุ่งให้ความรู้และความคิดแก่ผู้ฟัง ตลอดทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดในหมู่สมาชิกที่ร่วมอภิปรายด้วยกันด้วย โดยจะแบ่งบุคคลออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ฟังกลุ่มหนึ่ง และผู้อภิปรายอีก กลุ่มหนึ่ง อันประกอบด้วย ผู้ดําเนินการอภิปราย 1 คน และผู้ร่วมอภิปราย 2 – 6 คน รวมเป็น 3 – 7 คน

113. จุดมุ่งหมายหลักของการอภิปราย คืออะไร
(1) หาข้อยุติและเสนอแนวทางในการแก้ไข
(2) ร่วมแสดงความคิดเห็น ความรู้ และแลกเปลี่ยนทัศนะ
(3) เสนอข้อเท็จจริงและข้อเสนอแนะที่ดีที่สุด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4
การอภิปรายโดยทั่วไปมีจุดมุ่งหมายหลัก ดังนี้ 1. เพื่อเสนอปัญหาหรือเรื่องบางเรื่องที่น่าสนใจ 2. เพื่อให้คนกลุ่มหนึ่งมาร่วมแสดงความคิดเห็น ความรู้ และแลกเปลี่ยน ทัศนะอย่างมีหลักเกณฑ์มีเหตุผล 3. ผู้อภิปรายได้มีโอกาสเสนอข้อเท็จจริง ให้ข้อเสนอแนะ และช่วยกันหาข้อแก้ไขที่ดีที่สุด 4. หาข้อยุติของปัญหาที่อภิปราย 5. ให้ข้อคิดและทัศนคติแก่ผู้ฟังเพื่อให้เข้าใจปัญหา และเสนอแนวทางในการแก้ไขต่อไป 3

ข้อ 114. – 120. จงเติมคําที่เหมาะสมลงในช่องว่าง

114. น้องดาว……….ไปทําการบ้านอย่าง………..
(1) กุลีกุจอ กระตือรือร้น
(2) กระต้วมกระเตี้ยม กระปรี้กระเปร่า
(3) ขมีขมัน ขะมักเขม้น
(4) ขะมิดขะเมี้ยน ขะมุกขะมอม
ตอบ 3
คําว่า “ขมีขมัน” = รีบเร่งในทันทีทันใด, “ขะมักเขม้น” = ตั้งใจทําอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้วเสร็จไป ก้มหน้าก้มตาทํา (ส่วนคําว่า “กุลีกุจอ” = ช่วยจัด ช่วยทําอย่างเอาจริงเอาจัง, “กระตือรือร้น” – รีบร้อน เร่งรีบ ขมีขมัน มีใจฝักใฝ่เร่งร้อน, “กระต้วมกระเตี้ยม” = อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ, “กระปรี้กระเปร่า” = คล่องแคล่วว่องไว เพราะมีกําลังวังชา, “ขะมิดขะเบี้ยน” ไม่มีบัญญัติไว้ในพจนานุกรม มีแต่ “กระมิดกระเมี้ยน”, “ขะมุกขะมอม” = เปรอะเปื้อนมอซอ)

115. คุณครูพูดอย่าง……….และ………น่าเบื่อ
(1) ยืดเยื้อ ยืดยาว
(2) ยึดยาว ยืดยาด
(3) ยืดยาด ยืดเยื้อ
(4) ยั่งยืน ยึกยัก
ตอบ 2
คําว่า “ยืดยาว” = ยาวมาก ใช้ประกอบถ้อยคํา ข้อความหรือเรื่องราวต่าง ๆ, “ยืดยาด” = ชักช้า นานเวลา (ส่วนคําว่า “ยืดเยื้อ” = ยาวนาน ไม่ใคร่จะจบสิ้นง่าย ๆ เช่น คดียืดเยื้อ, “ยั่งยืน” = ยืนยง อยู่นาน, “ยึกยัก” = ขยุกขยิก ยักไปยักมา)

116. ตํารวจ……….พนักงานธนาคารที่ถูกโจร……..
(1) สอบสวน ขู่ฆ่า
(2) ไต่สวน ขู่เข็ญ
(3) ไต่ถาม ปล้นจี้
(4) สอบถาม คาดโทษ
ตอบ 3
คําว่า “ไต่ถาม” = สอบถาม, “ปล้นจี้” = ใช้อาวุธขู่ให้ทําตามและแย่งชิงเอาทรัพย์ไป (ส่วนคําว่า “สอบสวน” – รวบรวมพยานหลักฐานและดําเนินการอย่างอื่น ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทําไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา, “ขู่ฆ่า” = ทําให้กลัวโดยทําร้ายให้ตาย“ไต่สวน” = สอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อวินิจฉัยว่าถูกต้องหรือไม่ มักใช้ในกรณีที่ศาลซักถามจําเลย, “ขู่เข็ญ” = ทําให้กลัวโดยบังคับ, “สอบถาม” = ถามเพื่อขอทราบข้อมูลที่ต้องการ, “คาดโทษ” = หมายไว้ว่าถ้ากระทําผิดอีกจะลงโทษเท่าใด)

117. เด็กสาวคนนี้ประพฤติตัว……….ทําให้พ่อแม่เสียใจ
(1) นอกรีตนอกรอย
(2) นอกคอก
(3) นอกลู่นอกทาง
(4) นอกแนวทาง
ตอบ 3
คําว่า “นอกลู่นอกทาง” = ไม่ประพฤติตามแนวทางที่พ่อแม่ครูอาจารย์ได้เคยดําเนินมา (ส่วนคําว่า “นอกรีตนอกรอย” = ไม่ประพฤติตามจารีตประเพณี, “นอกคอก” = ประพฤติไม่ตรงตามแบบตามธรรมเนียมประเพณีของบรรพบุรุษ “นอกแนวทาง” ไม่มีบัญญัติไว้ในพจนานุกรม)

118. ไอ้หมอนี่เคยทําร้ายฉัน…….. ฉันต้อง……… มันให้ได้
(1) แทบตาย แก้ลํา
(2) ปางตาย แก้แค้น
(3) เจียนตาย แก้เผ็ด
(4) เกือบตาย แก้หน้า
ตอบ 2
คําว่า “ปางตาย” = จวนตาย, “แก้แค้น” = ทําตอบด้วยความแค้นให้สาสมกับความพยาบาทหรือเพื่อให้หายแค้น (ส่วนคําว่า “แทบตาย” = จวนเจียนจะตาย, “แก้ลํา” = ใช้ชั้นเชิงตอบโต้ให้เท่าเทียมกันหรือหนักมือขึ้น, “เจียนตาย” = เกือบตาย, “แก้เผ็ด” = ทําตอบแก่ผู้ที่เคยทําความเจ็บปวดให้แก่ตัวไว้เพื่อให้สาสมกัน, “เกือบตาย” = แทบตาย, “แก้หน้า” = ทําให้พ้นอาย)

119. หุงข้าวเสีย…………….หม้อ จะกินยังไงหมด
(1) เต็ม
(2) กลบ
(3) กบ
(4) ล้น
ตอบ 3
คําว่า “กบ” = เต็มมาก เต็มแน่น เช่น หุงข้าวเสียกบหม้อ มะละกอมีลูกกบคอ (ส่วนคําว่า “เต็ม” = มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งบรรจุอยู่จนไม่มีที่ว่าง, “กลบ” = กิริยาที่เอาสิ่งที่เป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่เป็นหลุมเป็นบ่อหรือแอ่งเพื่อให้เต็มหรือไม่เห็นร่องรอย เช่น ขุดหลุมแล้วกลบ เต่าใหญ่ไข่กลบ ฯลฯ โดยปริยายหมายความว่าปิดบัง เช่น กลบความ กลบคํา, “ล้น” = พ้นหรือเลยระดับที่เปี่ยมอยู่แล้วจนไหลออกมา)

120. เขาไป………..ความรู้ให้คนในชุมชนเกี่ยวกับเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น
(1) เผยแผ่
(2) เผยแพร่
(3) แพร่กระจาย
(4) กระจายข่าว
ตอบ 2 หน้า 277, (คําบรรยาย) คําว่า “เผยแพร่” = โฆษณาให้แพร่หลาย เช่น เผยแพร่ความรู้(ส่วนคําว่า “เผยแผ่” = ทําให้ขยายออกไป เช่น เผยแผ่พระศาสนา, “แพร่กระจาย” = แผ่กระจายออกไป, “กระจายข่าว” = ทําให้ข่าวแพร่ไปในที่ต่าง ๆ)

Advertisement