การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1.ข้อใดไม่สะท้อนลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดดชัดเจนที่สุด
(1) นักร้องสุดสวยขับรถหรูสีขาว
(2) แมวจ้องมองดูปลาย่างบนจาน
(3) เขาสั่งผัดผักบุ้งหมูกรอบตั้งสิบกล่อง
(4) คนน่ารักมักใจดีทุกคน
ตอบ 1 หน้า 2, 5 – 6 (62204), 2 – 3 (H), (คําบรรยาย) ลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดด มีดังนี้
1. คําแต่ละคําต้องออกเสียงพยางค์เดียว และอาจเป็นคําควบกล้ำก็ได้
2. ต้องเป็นภาษาไทยเท่านั้น ไม่ใช่คํายืมจากภาษาอื่น
3. มีตัวสะกดตรงตามมาตรา
4. มีระบบวรรณยุกต์ หรือมีระบบเสียงสูงต่ำ ฯลฯ
(คําว่า “รถ” ในตัวเลือกข้อ 1 มีตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา)
2. “พลายลูกหว้ามีน้ำหนักมาก เพราะกินกล้วยวันละสามต้น” ข้อความนี้ไม่ปรากฏลักษณะภาษาไทยแบบใด
(1) มีระบบเสียงสูงต่ำ
(2) บอกพจน์
(3) บอกเพศ
(4) ใช้คําลักษณนาม
ตอบ 1 หน้า 2 (62204), 6 – 10 (H) ข้อความข้างต้นปรากฏลักษณะของภาษาไทย ดังนี้
1. บอกเพศ คือ ชาย/หญิง หรือตัวผู้ตัวเมีย เช่น พลาย (ช้างตัวผู้)
2. บอกพจน์ คือ จํานวน เช่น สาม (ใช้คําบอกจํานวนนับ)
3. ใช้คําลักษณนาม ซึ่งมากับคําขยายบอกจํานวนนับ เช่น สองตัน ฯลฯ
3. รูปพยัญชนะไทยลําดับที่ 43 ตรงกับข้อใด
(1) อ
(2) ฬ
(3) ฮ
(4) ห
ตอบ 1 (คําบรรยาย) อ = รูปพยัญชนะไทยลําดับที่ 43 เรียกว่า “ออ อ่าง” เป็นอักษรกลาง ใช้เป็น พยัญชนะต้น, ใช้นําตัว ย ให้ผันอย่างอักษรกลาง มี 4 คํา คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็นรูปสระออ เช่น รอ ปอ และประสมเป็นสระอือ เอือ เออ เช่น มือ เถือ เธอ
4.“เหล่านักรบเตรียมพร้อมเข้าสู่สมรภูมิรบแล้ว” ข้อความนี้ปรากฏลักษณะของภาษาไทยแบบใด
(1) มีระบบเสียงสูงต่ำ
(2) บอกเพศ
(3) บอกพจน์
(4) บอกมาลา
ตอบ 3 หน้า 77, 110 (62204), 76, 98 (H) การแสดงพจน์ (จํานวน) จะมีอยู่หลายวิธี แต่ก็ต้องดูความหมายของประโยคด้วย ดังนี้
1. ใช้คําบอกจํานวนหนึ่ง (เอกพจน์) ได้แก่ โสด เดียว หนึ่ง โทน ฯลฯ
2. ใช้คําบอกจํานวนมากกว่าหนึ่ง (พหูพจน์) ได้แก่ คู่แฝด (จํานวนสองที่กําหนดไว้เป็นชุด), กลุ่ม/หมู่ ฝูง/เหล่า/พวก/ขบวนช่อ (มีจํานวนมากกว่าสองขึ้นไป) ฯลฯ และยังสามารถใช้ คําขยาย ได้แก่ มาก หลาย ฯลฯ ใช้คําบอกจํานวนนับ ได้แก่ สอง สี่ ห้า โหล ฯลฯ, ใช้คําซ้ำ ได้แก่ เด็ก ๆ หนุ่ม ๆ ฯลฯ และใช้คําซ้อน ได้แก่ ลูกเด็กเล็กแดง (เด็กเล็ก ๆ หลายคน) ฯลฯ
5. ข้อใดไม่เป็นสระเดี่ยว
(1) ถ้ำ
(2) ขาย
(3) หลบ
(4) ท้อง
ตอบ 2 หน้า 8, 13 – 14 (62204), 17, 24 – 30 (H) เสียงสระในภาษาไทยมี 28 เสียง ดังนี้
1. สระเดี่ยว 18 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 9 เสียง ได้แก่ อะ อิ อี อุ เอะ แอะ เออะ โอะ เอาะ และเสียงยาว 9 เสียง ได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ เออ โอ ออ
2. สระผสม 10 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 5 เสียง ได้แก่ เอียะ เอือะ อัวะ เอา ไอ และเสียงยาว 5 เสียง ได้แก่ เอีย เอื้อ อัว อาว อาย
(ยกเว้นคําใดที่ลงท้ายด้วย ยาว ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระ อาจเป็นได้ทั้งตัวสะกด ยาว หรือเป็น สระผสม 2 เสียง หรือ 3 เสียงก็ได้)
6. “เช้านี้พ่อค้าขายน้ำพริกหนุ่มได้ตั้งสามกระปุก” ข้อความนี้มีสระเดี่ยวกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) 7 เสียง
(2) 6 เสียง
(3) 5 เสียง
(4) 4 เสียง
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีสระเดี่ยว 6 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่
1. สระอี = นี้
2. สระออ – พ่อ
3. สระอา – ค้า/สาม
4. สระอะ = น้ำ/ตั้ง/กระ
5. สระอิ = พริก
6. สระอุ = หนุ่ม/ปุก
7.ข้อใดมีเสียงสระตรงกับคําว่า “เหตุ”
(1) เพลิน
(2) เลข
(3) เป็ด
(4) เบา
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ) คําว่า “เหตุ/เลข” – สระเอ (ส่วนคําว่า “เพลิน” – สระเออ “เป็ด” – สระเอะ, “เบา” – สระเอา)
8.ข้อใดไม่เป็นสระกลาง
(1) แทรก
(2) เชิญ
(3) ศัพท์
(4) ลิม
ตอบ 1 หน้า 9 – 10 (62204), 18 – 19 (H) สระเดี่ยวที่จําแนกตามส่วนต่าง ๆ ของลิ้นที่ทําหน้าที่ ซึ่งจะต้องมีสภาพของริมฝีปากประกอบด้วย ได้แก่
1. สระกลาง ได้แก่ อา คือ เออ อะ อึ เออะ
2. สระหน้า ได้แก่ อี เอ แอ อิ เอะ แอะ
3. สระหลัง ได้แก่ อู โอ ออ อุ โอะ เอาะ
9.ข้อใดไม่เป็นสระผสม
(1) เลี้ยง
(2) ปราชญ์
(3) เปลี่ยน
(4) เฉย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ
10. ข้อใดเป็นสระผสม 2 เสียง
(1) เศษ
(2) เก็บ
(3) แขว
(4) สร้าง
ตอบ 3 หน้า 14 (62204), 26 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ) คําว่า “แซว” ลงท้ายด้วย 2 ซึ่งเป็น พยัญชนะกึ่งสระ จึงอาจเป็นได้ทั้งตัวสะกด 2 หรือเป็นสระผสม 2 เสียง ประกอบด้วย แอ + ว (แอ + อู) = แอว (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสระเดี่ยว)
11. ข้อใดไม่เป็นสระผสม
(1) ตรวจ
(2) เสือ
(3) ชาว
(4) แหลก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ
12. ข้อใดไม่มีเสียงสระอุ
(1) เก่า
(2) เอว
(3) ปลุก
(4) โชว์
ตอบ 2 หน้า 13 – 15 (62204), 24 – 25 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ) คําว่า “เอว” ประกอบด้วย เอ + ว (เอ + อู) = เอว (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีเสียงสระอุ เช่น คําว่า “เก่า” ประกอบด้วย อะ + ว (อะ + อุ) = เอา, “ปลุก” – สระอุ, “โชว์” ประกอบด้วย โอ + ว (โอ + อุ) = โอ)
13. ข้อใดประกอบด้วยเสียงสระอู + อา + อี
(1) หลุยส์
(2) สวน
(3) ห้วย
(4) ทรวง
ตอบ 3 หน้า 14 (62204), 23, 28, 30 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ) คําว่า “ห้วย” ประกอบด้วย อัว + ย (อู + อา + อี) = อวย (ส่วนตัวเลือกข้ออื่น เช่น คําว่า “หลุยส์” ประกอบด้วย อุ + ย (อุ + อิ) = อุย, “สวน/ทรวง” ประกอบด้วย อู + อา = อ้ว)
14. พยัญชนะต้นในข้อใดเกิดที่ฐานคอ
(1) มีด
(2) อวย
(3) คอก
(4) ร้อน
ตอบ 2 หน้า 17 – 18 (62204), 37 – 38 (H) พยัญชนะต้นที่จําแนกตามฐานกรณ์ (ที่เกิดหรือที่ตั้งของเสียง) สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. ฐานคอ (คอหอย) มี 2 เสียง คือ ห (ฮ) อ
2. ฐานเพดานอ่อน มี 3 เสียง คือ ก ค (ข ฆ) ง
3. ฐานเพดานแข็ง มี 5 เสียง คือ จ ช (ฉ ณ) ส (ซ ศ ษ) ย (ญ) ร
4. ฐานฟัน มี 5 เสียง คือ ด (ฎ) ต (ฏ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) น (ณ) ล (ฬ)
5. ฐานริมฝีปาก ได้แก่ ริมฝีปากบนกับล่างประกบกัน มี 5 เสียง คือ บ ป พ (ผ ภ) ม ว และริมฝีปากล่างประกบกับฟันบน มี 1 เสียง คือ ฟ (ฝ)
15. พยัญชนะต้นในข้อใดเป็นประเภทกึ่งเสียดแทรก
(1) เย็น
(2) ช่วย
(3) นิ่ง
(4) เทียน
ตอบ 2 หน้า 19 – 21 (62204), 39 – 43 (H), (คําบรรยาย) พยัญชนะต้นของไทยที่มีการจําแนกตาม รูปลักษณะของเสียง แบ่งออกได้ดังนี้
1. พยัญชนะระเบิด (พยัญชนะกัก) = ก ค (ข ฆ) จ ด (ฎ) ต (ฏ) ท ถ ฐ ฑ ฒ ธ) บ ป พ (ผ ภ) อ
2. พยัญชนะนาสิก = ง น (ณ) ม
3. พยัญชนะเสียดแทรก = ส (ซ. ศ ษ) ฟ (ฝ)
4. พยัญชนะกึ่งเสียดแทรก = ช (ฉ ฌ)
5. พยัญชนะกึ่งสระ = ย ว
6. พยัญชนะเหลว – ร ล
7. พยัญชนะเสียงหนัก = ห (ฮ) รวมทั้งพยัญชนะที่มีเสียง ห ผสมอยู่ด้วย = ค (ข) ช (ฉ) ท (ถ) พ (ผ)
16. ข้อใดเป็นพยัญชนะเคียงกันมา
(1) พลังงาน
(2) บ้านเรือน
(3) สหกรณ์
(4) ล่อกแลก
ตอบ 1 หน้า 22 (62204), 44 (H), (คําบรรยาย) การออกเสียงแบบตามกันมา หรือเคียงกันมา (การออกเสียงแบบเรียงพยางค์) คือ พยัญชนะคู่ที่ออกเสียงแต่ละเสียงเต็มเสียง และเสียง ทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้ถ้าหากคําใดที่มีเสียงสระอะ อา อิ อี อุ อู อยู่กลางคํา และพยางค์หน้าออกเสียงเต็มเสียงทุกคําให้ถือเป็นพยัญชนะคู่แบบเคียงกันมา เช่น อุปมา (อุปะมา), กิจกรรม (กิดจะกํา), พลังงาน (พะลังงาน) ฯลฯ
17. ข้อใดเป็นพยัญชนะนํากันมา
(1) บัญชา
(2) ตํานา
(3) สะท้าน
(4) ถวาย
ตอบ 4 หน้า 22 (62204), 44 (H) การออกเสียงแบบนํากันมา (อักษรนํา) คือ พยัญชนะคู่ที่พยัญชนะ ตัวหน้ามีอํานาจเหนือพยัญชนะตัวหลัง โดยที่พยัญชนะตัวหน้าจะออกเสียงเพียงครึ่งเสียง และพยัญชนะตัวหลังก็เปลี่ยนเสียงตาม ซึ่งจะออกเสียงเหมือนกับเสียงที่มี “ห” นํา เช่น อยู่ (หยู่), ทหาร (ทะหาน), สหาย (สะหาย), ถวาย (ถะหวาย), ไหน, ใหม่, หน้า ฯลฯ
18. ข้อใดไม่ใช่พยัญชนะควบกันมา
(1) คลอง
(2) ทราบ
(3) ไหน
(4) แสร้ง
ตอบ 3 หน้า 22 – 26 (62204), 44 – 49 (H) การออกเสียงแบบควบกันมา หรืออักษรควบ คือ พยัญชนะคู่ที่ออกเสียง 2 เสียงควบกล้ําไปพร้อมกัน แบ่งออกเป็น
1. อักษรควบกล้ำแท้ หรือเสียงกล้ํากันสนิท โดยเสียงทั้งสองจะร่วมเสียงสระและวรรณยุกต์ เดียวกัน เช่น กลับ, คลอง, ความ ฯลฯ
2. อักษรควบกล้ำไม่แท้ หรือเสียงกล้ำกันไม่สนิท เช่น ทราบ (ซาบ), แสร้ง (แสง), จริง (จึง) ฯลฯ (ส่วนคําว่า “ไหน” เป็นพยัญชนะนํากันมา) (ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ)
19. ข้อใดไม่มีพยัญชนะคู่
(1) ข้ารับทราบความจริงแล้ว
(2) ข้ามิอาจสะกดความดีใจต่อหน้าเขาได้
(3) ข้าไปสอดส่องเจ้าแต่เมื่อใดกัน
(4) ข้าน้อยสมควรกลับไปทบทวนบทเรียนใหม่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 17. และ 18. ประกอบ
20. ข้อใดไม่มีเสียงพยัญชนะสะกดทุกคํา
(1) เกาะเต่า
(2) กระแส
(3) เสียขวัญ
(4) ไม่ซื้อ
ตอบ 2 หน้า 27 – 29 (62204), 50 – 53 (H) พยัญชนะสะกดของไทยจะมีเพียง 8 เสียงเท่านั้น ได้แก่
1. แม่กก = ก ข ค ฆ
2. แม่กด – จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส
3. แม่กบ – บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ
4. แม่กน = น ณ ร ล ฬ ญ
5. แม่กง – ง
6. แม่กม – ม
7. แม่เกย = ย
8. แม่เกอว – ว
นอกจากนี้สระอํา (อัม) = แม่กม, สระไอ/โอ (อัย) = แม่เกย และสระเอา (อาว) = แม่เกอว (คําว่า “เกาะเต่า” – แม่เกอว “เสียขวัญ” – แม่กน “ไม่ซื้อ” – แม่เกย
21. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกดเหมือนกัน
(1) โต๊ะหมู่
(2) เจ้าบ้าน
(3) หัวขาว
(4) สํารวม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ
22. “พี่ชายคนนั้นซื้อสายสร้อยทั้งสามเส้น” ข้อความนี้มีพยัญชนะสะกดที่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) 5 เสียง
(2) 4 เสียง
(3) 3 เสียง
(4) 6 เสียง
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ) ข้อความนี้ปรากฏพยัญชนะสะกด 4 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) คือ
1. แม่เกย = ชาย, สาย, สร้อย
2. แม่กน – คน, นั้น, เส้น
3. แม่กง = ตั้ง
4. แม่กม = สาม
(ส่วนคําที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด ได้แก่ พี่, ซื้อ)
23. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกดที่เป็นคําเป็นทุกคํา
(1) เพชรพลอย
(2) โชคลาภ
(3) ศักดิ์สิทธิ์
(4) หอยสังข์
ตอบ 4 หน้า 28 (62204), 51 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 5. และ 20. ประกอบ) การพิจารณาลักษณะของ คําเป็นกับคําตาย มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. คําเป็น คือ คําที่สะกดด้วยแม่กง กน กม เกย เกอว และคําที่ไม่มีตัวสะกด ใช้สระเสียงยาว รวมทั้งสระอํา ใอ ไอ เอา (เพราะออกเสียงเหมือนมีตัวสะกดเป็นแม่กม เกย เกอว)
2. คําตาย คือ คําที่สะกดด้วยแม่กก กด กบ และคําที่ไม่มีตัวสะกด ใช้สระเสียงสั้น
24. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ต่างจากข้ออื่น
(1) กล้า
(2) น้อง
(3) ต้ม
(4) ขว้าง
ตอบ 2 หน้า 33 – 37 (62204), 55 – 60 (H) เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยจะมี 5 เสียง 4 รูป ได้แก่ เสียงสามัญ (ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ), เสียงเอก ( ่ ), เสียงโท ( ้ ), เสียงตรี ( ๊ ) และเสียง จัตวา ( ๋ ) ซึ่งในคําบางคํา รูปและเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน จึงควรเขียนรูปวรรณยุกต์ให้ ถูกต้อง เช่น คําว่า “น้อง” มีเสียงวรรณยุกต์ตรี แต่ใช้ไม้โท (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีรูปและเสียง วรรณยุกต์โท)
25. ข้อใดไม่มีเสียงวรรณยุกต์สามัญ
(1) ยา
(2) ลอย
(3) หยิบ
(4) ฟรี
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ) คําว่า “หยิบ” มีเสียงวรรณยุกต์เอก แต่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีเสียงวรรณยุกต์สามัญ)
26. ข้อใดไม่มีเสียงวรรณยุกต์โท
(1) นิ่ม
(2) เป้า
(3) ล้าง
(4) ใช่
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ) คําว่า “ล้าง” มีเสียงวรรณยุกต์ตรี แต่ใช้ไม้โท (ส่วนตัวเลือก ข้ออื่นมีเสียงวรรณยุกต์โท)
27. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เอก
(1) คลั่ง
(2) ผัก
(3) งด
(4) พริก
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ) คําว่า “ผัก” มีเสียงวรรณยุกต์เอก แต่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ (ส่วนคําว่า “คลั่ง/งด/พริก” – โท/ตรี/ตรี)
28. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ตรี
(1) เพื่อน
(2) หลาย
(3) กลับ
(4) มัด
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ) คําว่า “มัด” มีเสียงวรรณยุกต์ตรี แต่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ (ส่วนคําว่า “เพื่อน/หลาย/กลับ” = เอก/จัตวา/เอก)
29. “ใครสั่งข้าวขาหมูเจ็ดจานนะ” ข้อความนี้ปรากฏเสียงวรรณยุกต์กี่เสียง (ไม่นับเสียง)
(1) 5 เสียง
(2) 2 เสียง
(3) 4 เสียง
(4) 3 เสียง
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง ดังนี้
1. เสียงสามัญ = ใคร/จาน
2. เสียงเอก = สั่ง/เจ็ด
3. เสียงโท = ข้าว
4. เสียงตรี = นะ
5. เสียงจัตวา = ขา/หมู
30. “กุ้งฝอย หอยลวก กุ้งย่าง ปลาเผา น้ําพริกหนุ่ม อยู่ในท้องเราแน่” ข้อความนี้มีเสียงวรรณยุกต์ใด
น้อยที่สุด (ไม่นับคําซ้ำ)
(1) โท
(2) สามัญ
(3) เอก
(4) จัตวา
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง ดังนี้
1. เสียงสามัญ = ปลา/ใน/เรา
2. เสียงเอก = หนุ่ม/อยู่
3. เสียงโท = กุ้งลวก/ย่างแน่
4. เสียงตรี = น้ำ/พริก/ท้อง
5. เสียงจัตวา = ฝอย/หอย/เผา
31. “ใครว่าข้อสอบวิชานี้ง่ายนะ บอกเลยว่า ช่างหินมากมาย” คําว่า “หิน” จัดเป็นความหมายประเภทใด
(1) ความหมายแฝง
(2) การแยกเสียงแยกความหมาย
(3) ความหมายอุปมา
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 48 – 49 (62204), 64 (H) คําอุปมา คือ คําที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อพรรณนาบอกลักษณะ ให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความหมายใหม่เกิดขึ้นอีกความหมายหนึ่ง มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
1. คําอุปมาที่ได้มาจากคําที่มีใช้อยู่แล้ว เช่น ไข่มุก (สตรีที่งดงาม บริสุทธิ์ และสูงค่า), เทวดา/ นางฟ้า (ดี สวย), หิน (ยากมาก), ล้างมือ (เลิกยุ่งเกี่ยวอีกต่อไป) ฯลฯ
2. คําอุปมาที่สร้างขึ้นใหม่ ส่วนมากเป็นคําประสม เช่น แมวนอนหวด (ซื่อจนเซ่อ) ฯลฯ
32. “เขารวบเงินทั้งหมดมาวางกองรวมกันทันที” คําว่า “รวบ – รวม” จัดเป็นการแยกเสียงแยกความหมาย
ในลักษณะใด
(1) พยัญชนะต้นบางเสียงต่างกัน
(2) เสียงสั้นยาวต่างกัน
(3) เสียงสูงต่ำต่างกัน
(4) พยัญชนะสะกดต่างกัน
ตอบ 4 หน้า 51, 56 (62204), 65 – 66 (H) การแยกเสียงแยกความหมาย คือ การเปลี่ยนแปลงเสียง ในคําบางคําที่มีความหมายหลายอย่างให้แตกต่างกันบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนได้ว่าคํานั้น มีความหมายว่าอย่างไรในที่นั้น ๆ โดยความหมายย่อยและที่ใช้อาจจะแตกต่างกัน เช่น คําว่า “รวบ – รวม” (พยัญชนะตัวสะกดต่างกัน “แม่กบ” กับ “แม่กม”) หมายถึง นํามาไว้ด้วยกัน แต่ “รวบ” จะใช้มือทั้งสองข้างกวาดเข้าหาตัว ส่วน “รวม” นั้นของอาจไม่ได้อยู่ที่เดียวกัน หรือ ถ้าอยู่ที่เดียวกันก็ต้องห่าง ๆ กันขนาดเอามือกวาดเข้ามาไม่ได้
33. ข้อใดเป็นคําซ้อน
(1) เฒ่าแก่
(2) แผ่นดิน
(3) ปากเกร็ด
(4) ใจเย็น
ตอบ 1 หน้า 62 – 76 (62204), 67 – 76 (H) คําซ้อน คือ คําเดี่ยว 2, 4 หรือ 6 คํา ที่มีความหมาย หรือมีเสียงที่ใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทํานองเดียวกัน ซ้อนเข้าด้วยกันเพื่อทําให้เกิดคําใหม่ ที่มีความหมายใหม่ขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. คําซ้อนเพื่อความหมาย (มุ่งที่ความหมายเป็นสําคัญ) ซึ่งอาจเป็นคําไทยซ้อนเข้าด้วยกัน เช่น เฒ่าแก่, หูตา, ต้นเค้า, ตายาย, ซื้อขาย ฯลฯ หรืออาจเป็นคําไทยซ้อนกับคําภาษาอื่น เช่น รากฐาน (ไทย + บาลีสันสกฤต) ฯลฯ
2. คําซ้อนเพื่อเสียง (มุ่งที่เสียงเป็นสําคัญ) เช่น ทบทวน, เว้นว่าง, ยอดเยี่ยม, แยกย้าย ฯลฯ
34. ข้อใดเป็นคําซ้อน
(1) หูฟัง
(2) หูกวาง
(3) หูตา
(4) หูเบา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ
35. ข้อใดไม่เป็นคําซ้อน
(1) ทบทวน
(2) ต้นเค้า
(3) เว้นว่าง
(4) ข้อมือ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ (คําว่า “ข้อมือ” เป็นคําประสม)
36. ข้อใดเป็นคําประสม
(1) ยอดเยี่ยม
(2) ซื้อขาย
(3) แยกย้าย
(4) ขายปลีก
ตอบ 4 หน้า 80 – 89 (62204), 78 – 82 (H) คําประสม คือ คําตั้งแต่ 2 คําขึ้นไปมาประสมเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้คําใหม่ที่มีความหมายใหม่มาใช้ในภาษา ซึ่งความหมายสําคัญจะอยู่ที่คําต้น (คําตัวตั้ง) ส่วนที่ตามมาเป็นคําขยาย ซึ่งไม่ใช่คําที่ขยายคําต้นจริง ๆ แต่จะช่วยให้คําทั้งคํามีความหมาย จํากัดเป็นนัยเดียว เช่น ขายปลีก, คู่รัก, ผู้การ, พี่ชาย, หัวใจ, ยาบํารุง ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่น เป็นคําซ้อน) (ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ)
37. ข้อใดไม่เป็นคําประสม
(1) คู่รัก
(2) ผู้การ
(3) พี่ชาย
(4) ตายาย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 33. และ 36. ประกอบ
38. “หล่อนดื่มยาบํารุงหัวใจไปหลายขนาน” ข้อความนี้มีคําประสมคํา
(1) 4 คํา
(2) 2 คํา
(3) 1 คำ
(4) 3 คํา
ตอบ 2(ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ) จากข้อความมีคําประสม 2 คํา ได้แก่
1. ยาบํารุง = ยาที่ช่วยรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี
2. หัวใจ = อวัยวะภายในสําหรับฉีดเลือดให้หมุนเวียนเลี้ยงร่างกาย
39. ข้อใดเป็นคําซ้ําแบบแยกเป็นส่วน ๆ
(1) ไป ๆ มา ๆ ก็ทําข้อสอบไม่ได้
(2) หนู ๆ ทําข้อสอบได้ไหม
(3) เขาซื้อขนมมาแจกเป็นถุง ๆ
(4) คนดี ๆ จะไม่ทุจริตในการสอบ
ตอบ 3 หน้า 76 – 80 (62204), 76 – 78 (H) คําซ้ํา คือ คําคําเดียวกันที่นํามากล่าว 2 ครั้ง เพื่อให้ มีความหมายเน้นหนักขึ้น หรือเพื่อให้มีความหมายแตกต่างจากคําเดี่ยว ซึ่งวิธีการสร้างคําซ้ำ ก็เหมือนกับการสร้างคําซ้อน แต่ใช้คําคําเดียวมาซ้อนกันโดยมีเครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) กํากับ เช่น เขาซื้อขนมมาแจกเป็นถุง ๆ (คําซ้ำที่ซ้ำคํานามหรือคําบอกจํานวนนับที่แยกความหมาย ออกเป็นส่วน ๆ เมื่อมีคําว่า “เป็น” มาข้างหน้า) เป็นต้น
40. ข้อใดกล่าวผิด
(1) สะใภ้ กร่อนเสียงมาจากคําว่า “สาวใต้”
(2) ตะม่อ กร่อนเสียงมาจากคําว่า “ตอม่อ
(3) สะดึง กร่อนเสียงมาจากคําว่า “สาวดึง
(4) มะอึก กร่อนเสียงมาจากคําว่า “หมากอีก”
ตอบ 3 หน้า 93 – 95 (62204), 83 – 84 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง มักเป็นคําที่ กร่อนเสียงพยางค์ต้นให้เป็นเสียง “อะ” ได้แก่
1. “มะ” ที่นําหน้าชื่อไม้ผล ไม่ใช่ไม้ผล และหน้าคําบอกกําหนดวัน เช่น หมากม่วง – มะม่วง,หมากเฟือง – มะเฟือง, หมากอีก – มะอึก, เมื่อคืน – มะรืน
2. “ตะ” นําหน้าชื่อสัตว์ ต้นไม้ และคําที่มีลักษณะคล้ายตา เช่น ตัวเพียน – ตะเพียน ตอม่อ – ตะม่อ ตาวัน – ตะวัน, ต้นขบ – ตะขบ, ต้นเคียน – ตะเคียน
3. “สะ” เช่น สายดือ – สะดือ, สายดึง – สะดึง, สาวใภ้ – สะใภ้
4. “ฉะ” เช่น ฉันนั้น – ฉะนั้น ฉันนี้ – ฉะนี้ เฉื่อย ๆ – ฉะเฉื่อย, ฉาด ๆ – ฉะฉาด
5. “ยะ/ระ/ละ/วะ” เช่น เยือก ๆ – ยะเยือก, รัว ๆ – ระรัว, รี่ ๆ – ระรี่, เรื่อ ๆ – ระเรื่อ, ลิบๆ – ละลิบ, วับ ๆ – วะวับ, วาบ ๆ – วะวาบ, วาว ๆ – วะวาว
6. “อะ” เช่น อันไร/อันใด – อะไร, อันหนึ่ง – อนึ่ง
7. “จะ” เช่น เจื้อยเจื้อย — จะเจื้อย, แจ้วแจ้ว – จะแจ้ว, จ้อจ้อ – จะจ้อ
สําหรับคําอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามนี้ ได้แก่ ผู้ญาณ – พยาน, ชาตา – ชะตา, ช้าพลู – ชะพลู, เฌอเอม – ชะเอม, ชีผ้าขาว – ชีปะขาว, คํานึง – คะนึง เป็นต้น
41.“กระเสือกกระสน” เป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดใด
(1) แบ่งคําผิด
(2) เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกัน
(3) เทียบแนวเทียบผิด
(4) เลียนแบบภาษาเขมร
ตอบ 2 หน้า 95 (62204), 85 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกัน คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ว่า “กระ”) เข้าไป 2 เสียงในคําซ้อนเพื่อเสียงที่หน้าพยางค์ต้น และหน้าพยางค์ท้าย ซึ่งมีเสียงเสมอกันและเป็นคําที่สะกดด้วย “ก” เหมือนกัน ได้แก่
1. ดุกดิก – กระดุกกระดิก
2. ยึกยัก – กระยึกกระยัก
3. เลือกสน – กระเสือกกระสน
4. โตกตาก – กระโตกกระตาก
5. โชกชาก – กระโชกกระชาก
6. อักอ่วน – กระอักกระอ่วน
7. ปลูกเปลี้ย – กะปลกกะเปลี้ย
8. โดกเดก – กระโดกกระเดก ฯลฯ
42.“แรงหัตถ์กวัดแกว่งซึ่งสรรพ์ ศัสตราวุธอันวะวาบวะวาวขาวคม ฯ” ข้อความนี้มีคําอุปสรรคเทียมชนิดใด
(1) เทียบแนวเทียบผิด
(2) เลียนแบบภาษาเขมร
(3) แบ่งคําผิด
(4) กร่อนเสียง
ตอบ 4 คําอธิบายข้อ 40. ประกอบ (คําอุปสรรคเทียมชนิดกร่อนเสียง ได้แก่ วะวาบ, วะวาว)
43. ข้อใดมีคําอุปสรรคเทียมชนิดแบ่งคําผิด
(1) ดอกบัวจับบัวบินสม คู่เคล้าคลึงชม ชะแซ่ซะซ้อร่อกัน
(2) กระทาจับคนทาวัน คล้าจับคล้าปั่น เหยื่อป้อนแล้วร่อนชมไพร
(3) หมู่สูงจับยอดยูงไสว แผ่แพนฟ้อนใน ยอดพฤกษ์ร้องก้องดง
(4) ยางจับยางยืนงวยงง แล้วบากบินลง ยังห้วยละหานหาปลา
ตอบ 2 หน้า 94 (62204), 84 – 85 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการแบ่งคําผิด เกิดจากการพูดเพื่อให้ เสียงต่อเนื่องกัน โดยเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ว่า “กระ”) เข้าไป 1 เสียงในคําที่พยางค์แรกสะกดด้วยเสียง “ก” ได้แก่
1. นกทา – นกกระทา
2. นกสา – นกกระสา
4. ผักเฉด – ผักกระเฉด
5. ผักสัง – ผักกระสัง
6. ลูกสุน – ลูกกระสุน ฯลฯ
44. คําใดเป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดเทียบแนวเทียบผิด
(1) กระโดกกระเดก
(2) กระโชกกระชาก
(3) กระชุ่มกระชวย
(4) กระอักกระอ่วน
ตอบ 3 หน้า 94 – 96 (62204), 85 – 86 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิด คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ว่า “กระ”) เข้าไป 2 เสียง ในคําซ้อนเพื่อเสียงที่หน้าพยางค์ต้น และหน้าพยางค์ท้ายไม่ได้สะกดด้วย “ก” ซึ่งยึดการใช้อุปสรรคเทียมที่เพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกันมาเป็นแนวเทียบ แต่เป็นการเทียบแนวเทียบผิด เช่น
1. เจิดเจิง – กระเจิดกระเจิง
2. จุ๋มจิ๋ม – กระจุ๋มกระจิ๋ม
3. พรวดพราด – กะพรวดกะพราด
4. ชุ่มช่วย – กระชุ่มกระชวย
5. ปริดปรอย – กะปริดกะปรอย
6. แอมไอ – กระแอมกระไอ ฯลฯ
45. ข้อใดมีคําอุปสรรคเทียมที่เรียงตามลําดับดังนี้ “กร่อนเสียง เทียบแนวผิด แบ่งคําผิด เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกัน”
(1) มะม่วง กระแอมกระไอ ชะพลู กระโดกกระเดก
(2) ฉะฉาด กระจิ๋มกระจิ๋ม กระสา กระปลกกระเปลี้ย
(3) วะวับ กระโตกกระตาก กระเฉด พะรุงพะรัง
(4) กระสัง กระเจิดกระเจิง ชะตา กระพรวดกระพราด
ตอบ 2 กลุ่มคําในตัวเลือกข้อ 2 เรียงลําดับคําอุปสรรคเทียมตามโจทย์ได้อย่างถูกต้อง ดังนี้
1. ชนิดกร่อนเสียง ได้แก่ ฉาด ๆ – ฉะฉาด (ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ)
2. ชนิดเทียบแนวเทียบผิด ได้แก่ จุ๋มจิ๋ม – กระจุ๋มกระจิ๋ม (ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ)
3. ชนิดแบ่งคําผิด ได้แก่ นกสา – นกกระสา (ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ)
4. ชนิดเพิ่มเสียงไม่ให้คอนกัน เช่น ปลูกเปลี้ย – กะปลกกะเปลี้ย (ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ)
46. ข้อใดไม่เป็นความหมายแฝง
(1) นอน
(2) ตะโกน
(3) เขยิบ
(4) ลูบ
ตอบ 1 หน้า 44 – 47 (62204), 62 – 63 (H) ความหมายแฝง หมายถึง ความหมายย่อยที่แฝงอยู่ใน ความหมายใหญ่ ซึ่งจะแนะรายละเอียดบางอย่างไว้ในความหมายนั้น ๆ ได้แก่ ความหมายแฝง บอกการเคลื่อนจากที่ เช่น ขยับ เขยิบ ย้าย, ความหมายแฝงบอกการเคลื่อนไปเคลื่อนมา เช่น กลอก เขย่า ลูบ, ความหมายแฝงในคํากริยาที่ใช้กับเสียง เช่น ตะโกน (เรียกด้วยเสียงดัง) ฯลฯ
47. “ห้ามนักศึกษาติดต่อสื่อสาร ปรึกษา หรือดําเนินการอื่นใดเพื่อให้ได้มาซึ่งคําตอบด้วยวิธีการที่มิชอบ” ประโยคนี้เป็นประโยคชนิดใด
(1) ขอร้อง
(2) คําสั่ง
(3) คําถาม
(4) บอกเล่า
ตอบ 2 หน้า 102 (62204), 91 – 92 (H) ประโยคคําสั่ง คือ ประโยคที่ต้องการให้ผู้ฟังทําตามคําสั่ง มักละประธานและขึ้นต้นด้วยคํากริยา เช่น ไปได้แล้ว แต่ถ้าหากจะมีประธานก็จะระบุชื่อหรือ เน้นตัวบุคคลเพื่อให้คนที่ถูกสั่งรู้ตัว เช่น แดงออกไป นอกจากนี้ประโยคคําสั่งอาจมีกริยาช่วย “อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อสั่งให้ทําหรือไม่ให้ทําก็ได้
48. “ส่วนฉันชอบเธอแบบนี้ แบบที่เธอเป็นทุกอย่าง” ประโยคนี้เป็นประโยคชนิดใด
(1) ขอร้อง
(2) คําสั่ง
(3) คําถาม
(4) บอกเล่า
ตอบ 4 หน้า 103 – 104 (62204), 90 – 91, 93 – 94 (H) ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่บอกเล่า เรื่องราวตามธรรมดา ซึ่งอาจใช้ในทางตอบรับหรือตอบปฏิเสธก็ได้ เช่น ไปแล้วจ้า, ไม่ได้ไปค่ะ ฯลฯ แต่บางครั้งประโยคที่มีคําแสดงคําถามว่า “ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร” อาจจะ ใช้ในประโยคบอกเล่าก็ได้ หากไม่ได้แสดงความสงสัยหรือไม่ได้ต้องการคําตอบ แต่จะเป็นการ กล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ โดยทั่วไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง
49. “โปรดให้ความร่วมมือกับการคัดกรองสุขภาพ โดยการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าอาคารที่ทําการ ทุกแห่ง” ประโยคนี้เป็นประโยคชนิดใด
(1) คําสั่ง
(2) ขอร้อง
(3) บอกเล่า
(4) คําถาม
ตอบ 2 หน้า 102 (62204), 92 – 93 (H) ประโยคขอร้องหรือชักชวน คือ ประโยคที่ผู้พูดต้องการ ขอร้องหรือชักชวนให้ผู้ฟังทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ตามที่ตนต้องการ ซึ่งการใช้คําพูดนั้นจะคล้ายกับ ประโยคคําสั่งแต่นุ่มนวลกว่า โดยในภาษาเขียนมักจะมีคําว่า “โปรดกรุณา” อยู่หน้าประโยค ส่วนในภาษาพูดนั้นอาจมีคําลงท้ายประโยค ได้แก่ เถอะ เถิด นะ นะ หน่อย ซิ ซี ฯลฯ
50. “ถึงทุกข์ใครในโลกที่โศกเศร้า ไม่เหมือนเราภุมรินถวิลหา” ประโยคนี้เป็นประโยคชนิดใด
(1) คําสั่ง
(2) บอกเล่า
(3) ขอร้อง
(4) คําถาม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ
51. ข้อใดใช้รูปแบบการเรียงคําในภาษาไทยที่เป็นไปตามกฎ
(1) ครม. ทั้ง 2 อธิบดีพาณิชย์
(2) น้อยคนนักที่จะเดินทางไปถึง
(3) หมาบ้ากัดเด็กเล็กเป็นแผล
(4) หนังสือนี้ใครเขียน
ตอบ 3 หน้า 105 (62204), 94 (H) ประโยคที่สมบูรณ์ในภาษาไทยจะมีการเรียงลําดับคํา ประกอบด้วย ภาคประธาน + ภาคแสดง (กริยา และกรรม) ซึ่งทั้ง 2 ภาคอาจมีคําขยายเข้ามาเสริมความให้ สมบูรณ์ด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น หมา (ประธาน) บ้า (ส่วนขยายประธาน) กัด (ภริยา) เด็ก (กรรม) เล็ก (ส่วนขยายกรรม) เป็นแผล (ส่วนขยายกริยา)
52. คําว่า “รัก” คําใดทําหน้าที่เป็นคํานาม
(1) รักกันไว้เถิด
(2) รักฉันนาน ๆ
(3) รักแล้วรอหน่อย
(4) รัก คือ ดวงจันทร์
ตอบ 4 หน้า 108 – 109 (62204) คํากริยาที่ทําหน้าที่อย่างคํานาม ได้แก่ หาบ คอน นอน นั่ง รัก ฯลฯ เช่น หาบดีกว่าคอน, นอนดีกว่านั่ง, รักแท้แพ้เงิน, รัก คือ ดวงจันทร์ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่น คําว่า “รัก” เป็นคํากริยา = มีใจผูกพันด้วยความห่วงใย ด้วยความเสน่หา มีใจผูกพันฉันชู้สาว)
53. “มาแล้วลูกจ่า ชุดโกโกวาทีหนูอยากได้” ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับประโยคนี้
(1) มีคํานามบอกพจน์จํานวน 2 คํา
(2) มีคําสรรพนามบุรุษที่ 1 จํานวน 2 คํา
(3) มีคําสรรพนามบุรุษที่ 2 จํานวน 2 คํา
(4) มีคํานามบอกเพศจํานวน 2 คํา
ตอบ 3 หน้า 112 – 113 (62204), 99 (H)สรรพนามบุรุษที่ 2 คือ คําที่ใช้แทนตัวผู้ที่พูดด้วย เช่น
คุณ เธอ ท่าน เรา หล่อน หนู เจ้า แก เอ็ง มึง ฯลฯ นอกจากนี้ยังอาจใช้คํานามอื่น ๆ แทนตัว ผู้ที่พูดด้วย เพื่อแสดงความสนิทสนมรักใคร่ ได้แก่
1. ใช้ตําแหน่งเครือญาติแทน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก ตา ยาย ปู่ ย่า ฯลฯ
2. ใช้ตําแหน่งหน้าที่แทน เช่น ครู อาจารย์ หัวหน้า ฯลฯ
3. ใช้เรียกบรรดาศักดิ์แทน เช่น ท่านขุน คุณหลวง เจ้าคุณ คุณหญิง ฯลฯ
4. ใช้ชื่อผู้พูดทั้งชื่อเล่นชื่อจริงแทน เช่น คุณสมบัติ คุณสมศรี คุณสมร นุช แดง ฯลฯ (จากโจทย์ข้างต้นมีคําสรรพนามบุรุษที่ 2 จํานวน 2 คํา ได้แก่ ลูก, หนู)
54. “พี่ดูพลางเดินพลางมากลางหาด” ข้อความนี้มีคํากริยาวิเศษณ์ชนิดใด
(1) บอกความแบ่งแยก
(2) บอกความไม่ชี้เฉพาะ
(3) บอกความชี้เฉพาะ
(4) บอกประมาณ
ตอบ 1 หน้า 139 (62204), 103 (H) คํากริยาวิเศษณ์บอกความแบ่งแยก ได้แก่ บ้าง ด้วย พลาง กัน ต่าง ต่าง ๆ ต่างหาก เช่น พี่ดูพลางเดินพลางมากลางหาด, ทําข้อสอบพลางก็คิดไปพลาง (ทํากริยา 2 อย่างไปพร้อมกัน) เป็นต้น
55. ข้อใดมีคําคุณศัพท์ที่แสดงคําถาม
(1) อะไรที่ควรทําก็รีบทํา
(2) วิธีใดช่วยลดน้ําหนักได้ดีที่สุด
(3) ใดใดในโลกล้วนอนิจจัง
(4) ใครบ้างที่ยังไม่ฉีดวัคซีน
ตอบ 2 หน้า 135 – 137 (62204), 102 (H) คุณศัพท์ที่เป็นคําถาม ได้แก่ ใด อะไร ไหน ไร ใคร
ซึ่งเป็นคํากลุ่มเดียวกันกับคุณศัพท์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจง แต่คุณศัพท์ที่เป็นคําถาม จะใช้ถามคําถาม และต้องมีนามมาข้างหน้า เช่น วิธีใดช่วยลดน้ำหนักได้ดีที่สุด ฯลฯ
56. ข้อใดสามารถละบุรพบทได้
(1) น้ำเสียงของเธอแหบพร่า
(2) เธอพูดกับเขาด้วยความตกใจ
(3) เธอเห็นคนร้ายมากับตา
(4) เธอวิ่งลงมาจากบันไดเลื่อน
ตอบ 1 หน้า 142 – 144 (62204), 104 – 106 (H) คําบุรพบทไม่มีความสําคัญมากเท่ากับคํานาม คํากริยา และคําวิเศษณ์ ดังนั้นบางแห่งไม่ใช้บุรพบทเลยก็ยังพอฟังเข้าใจได้ ซึ่งบุรพบทที่ละได้ แต่ความหมายยังเหมือนเดิม ได้แก่ ของ แก่ ต่อ สู่ ยัง ที่ บน ฯลฯ เช่น น้ำเสียงของเธอแหบพร่า – น้ำเสียงเธอแหบพร่า ฯลฯ แต่บุรพบทบางคําก็ละไม่ได้ เพราะละแล้วความจะเสียไม่รู้เรื่อง ถ้าหากจะละบุรพบทได้ก็ต้องดูความในประโยคด้วยว่า ความหมายต้องไม่เปลี่ยนไปจากเดิม (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นไม่สามารถละบุรพบท “กับ, จาก” ได้)
57. “ผมดันบังเอิญเจอแม่บังอร สวยเหมือนนางเอกละคร” ประโยคนี้มีคําสันธานชนิดใด
(1) เชื่อมความไม่สละสลวย
(2) เชื่อมความคล้อยตามกัน
(3) เชื่อมเป็นเหตุเป็นผล
(4) เชื่อมความเปรียบเทียบ
ตอบ 4 หน้า 157 (62204), 107 (H) คําสันธานที่เชื่อมความเปรียบเทียบกัน ได้แก่ เหมือน เหมือนว่า ราว, ราวกับ อย่างกับ
58. คําอุทานในข้อใดแสดงอารมณ์เสียใจ
(1) ชิซะเจ็บรักนี้หนักหนา ยิ่งฝืนฝ่าก็ยิ่งท้ออารมณ์หมาย
(2) อุเหม่ถึงจะหมายมาต่อที่ เอาชีวีออกมาล้างเสียกลางไพร
(3) จึงร้องว่าเหวยมนุษย์น้อย กระจ้อยร่อยเท่านิ้วหัตถา
(4) อนิจจาไม่รู้ว่ายังไรเลย พุทโธ่เอ๋ยเหมือนจะเป็นสเป็นกัน
ตอบ 4 หน้า 158 – 160 (62204), 109 (H) คําอุทาน คือ คําที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ต่าง ๆ
ซึ่งคําอุทานบางคําก็กําหนดไม่ได้ว่าคําไหนใช้แสดงอารมณ์อะไรแน่นอนแล้วแต่การออกเสียง และสถานการณ์ เช่น คําว่า “อุเหม่เหม่เหม่/ดูด/เหวยเหวย /ซิซะ/ฮี” แสดงอารมณ์โกรธหรือ ไม่ชอบใจ, “โธ่ถัง พุทโธ่เอ๋ย/โถ/อนิจจา” แสดงอารมณ์เสียใจหรือสงสาร เป็นต้น
59. ข้อใดใช้ลักษณนามผิด
(1) งาช้าง 2 งา
(2) เนกไท 1 เส้น
(3) ขันโตก 2 ลูก
(4) คาถา 1 บท
ตอบ 1 หน้า 160 – 165 (62204), 109 – 110 (H) คําลักษณนาม คือ คําที่ตามหลังคําบอกจํานวนนับ เพื่อบอกรูปลักษณะและชนิดคํานามที่อยู่ข้างหน้าคําบอกจํานวนนับ มักจะเป็นคําพยางค์เดียว แต่เป็นคําที่สร้างขึ้นมาใหม่โดยอาศัยการอุปมาเปรียบเทียบ การเลียนเสียงธรรมชาติ การเทียบ แนวเทียบ และการใช้คําซ้ำกับคํานามนั้นเอง (กรณีที่ไม่มีลักษณนามโดยเฉพาะ) ได้แก่ งาช้าง (กิ่ง), เนกไท (เส้น), ขันโตก (ลูก/ใบ), คาถา (บท), กรมธรรม์ (ฉบับ) ฯลฯ
60. ข้อใดคือลักษณนามของคําว่า “กรมธรรม์”
(1) เล่ม
(2) ฉบับ
(3) ชุด
(4) ใบ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ
61. “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี……แก่ผู้สําเร็จการศึกษา” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) ประทานพระโอวาท
(2) พระราชทานพระราโชวาท
(3) ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท
(4) พระราชทานพระบรมราโชวาท
ตอบ 2 หน้า 113 (H) พระราชทาน – ให้ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2, พระราโชวาท – คําสอน ใช้เฉพาะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระราชวงศ์ลําดับ 2 มักใช้ในโอกาสพิธีพระราชทานปริญญาบัตร หรือเมื่อมีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทาน (ห้ามเติม “ทรง” ซ้อนคํากริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว)
62. “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี ทรงลง…….”ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) พระนาม
(2) พระปรมาภิไธย
(3) พระปรมาภิไธยและพระนามาภิไธย ตามลําดับ
(4) พระนามาภิไธยและพระนาม ตามลําดับ
ตอบ 3 ทรงลงพระปรมาภิไธย = ลงชื่อ ใช้กับพระมหากษัตริย์, ทรงลงพระนามาภิไธย = ลงชื่อ ใช้กับ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2
63. “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน…….ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กับเจ้าจอมมารดาวาด” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) ทรงเป็นพระโอรส
(2) ทรงเป็นพระราชโอรส
(3) เป็นพระราชโอรส
(4) เป็นพระโอรส
ตอบ 3 หน้า 117 (H) คํากริยา “มีเป็น” เมื่อใช้เป็นราชาศัพท์มีข้อสังเกต ดังนี้
1. หากคําที่ตามหลัง “มีเป็น” เป็นนามราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องเติม “ทรง” หน้าคํากริยา “มีเป็น” อีก เช่น มีพระราชดํารัส (มีคําพูด), เป็นพระราชโอรส (เป็นลูกชาย) ฯลฯ
2. หากคําที่ตามหลัง “มีเป็น” เป็นคําสามัญ ให้เติม “ทรง” หน้าคํากริยา “มีเป็น เพื่อทําให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงมีลูกสุนัข, ทรงเป็นผู้แทนพระองค์ ฯลฯ
64. “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว……..สักการะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) ถวายพวงมาลัย
(2) ถวายพระมาลา
(3) ทรงถวายพวงมาลัย
(4) ทรงถวายพระมาลา
ตอบ 1 หน้า 113 (H) ถวายพวงมาลัย = มอบพวงมาลัย (ห้ามเติม “ทรง” ซ้อนคํากริยาที่เป็นราชาศัพท์ อยู่แล้ว) (ส่วนคําว่า “พระมาลา” – หมวก)
65. “สาส์นสมเด็จ เป็นหนังสือที่รวมรวม…….ที่เขียนโต้ตอบกันระหว่างสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรา
นุวัดติวงศ์กับสมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) พระราชสาส์น
(2) ลายพระหัตถ์
(3) ลายพระราชหัตถ์
(4) พระราชหัตถเลขา
ตอบ 2 ลายพระหัตถ์ = จดหมาย ใช้กับพระราชวงศ์ลําดับ 2 (ส่วนคําว่า “พระราชสาส์น – จดหมาย
ของพระมหากษัตริย์ที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, “ลายพระราชหัตถ์” ไม่มี ที่ใช้ “พระราชหัตถเลขา” = จดหมาย ใช้กับพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ)
66. “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี…………..เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) เสด็จพระบรมราชสมภพ
(2) ประสูติ
(3) เสด็จพระราชสมภพ
(4) พระบรมราชสมภพ
ตอบ 3 เสด็จพระราชสมภพ = เกิด ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2 (ส่วนคําว่า “เสด็จพระบรมราชสมภพ/พระบรมราชสมภพ” ไม่มีที่ใช้“ประสูติ” – เกิด ใช้กับพระราชวงศ์ทั่วไป)
67. “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี………..โดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) เสด็จ
(2) ทรงเสด็จพระราชดําเนิน
(3) เสด็จพระราชดําเนิน
(4) ทรงพระราชดําเนิน
ตอบ 3 หน้า 113 (H) เสด็จพระราชดําเนิน (เสด็จฯ) = เดินทางโดยยานพาหนะ ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2 (ห้ามเติม “ทรง” ซ้อนคํากริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว)
68. “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุหร่ายน้ําพระพุทธมนต์ที่สรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแก่
ประชาชนที่มา……..”ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) เข้าเฝ้า
(2) เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
(3) ถวายการต้อนรับ
(4) เฝ้าทูลละอองพระบาท
ตอบ 2 หน้า 114 (H) “เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท” = เข้าพบ/รับเสด็จฯ/ ถวายการต้อนรับ ใช้กับ
พระมหากษัตริย์ และพระราชินี (ถ้าหากเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ระดับรองลงมา ควรใช้ว่า “เฝ้าทูลละอองพระบาท”)
69. “หม่อมเจ้าอากาศดําเกิง รพีพัฒน์……..เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2475” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) สิ้นชีพิตักษัย
(2) สิ้นพระชนม์
(3) ถึงแก่อนิจกรรม
(4) ถึงแก่พิราลัย
ตอบ 1 “สิ้นชีพิตักษัย” – ตาย ใช้กับหม่อมเจ้า
(ส่วนคําว่า “สิ้นพระชนม์” – ตาย ใช้กับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระสังฆราช สมเด็จเจ้าฟ้า เจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า
ถึงแก่อนิจกรรม – ตาย ใช้กับพระยา,
“ถึงแก่พิราลัย” – ตาย ใช้กับสมเด็จเจ้าพระยาและเจ้าประเทศราช)
70. “กรรมการและเหรัญญิกมูลนิธิชัยพัฒนา เฝ้าทูลละอองพระบาท……โฉนดที่ดิน” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) ทูลถวาย
(2) น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย
(3) ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
(4) น้อมถวาย
ตอบ 3 หน้า 176 (62204), 116 (H) ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ทูลเกล้าฯ ถวาย) = ถวายสิ่งของขนาดเล็ก (ของที่ยกได้) หรือถวายสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น ทูลเกล้าฯ ถวายโฉนดที่ดิน, ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้ ฯลฯ ส่วนน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย น้อมเกล้าฯ ถวาย) – ถวายสิ่งของขนาดใหญ่ (ของที่ยกขึ้นไม่ได้) หรือถวายสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น น้อมเกล้าฯ ถวาย รถพยาบาล, น้อมเกล้าฯ ถวายพระพร ฯลฯ
ข้อ 71. – 80, อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม
เราคงจะสังเกตได้นะครับว่า ทุกวันนี้คนไทยให้ความสําคัญกับประเด็นด้าน “ความเป็นไทย”มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ครั้งหนึ่งผมมีโอกาสไปบรรยายให้กับครูทั่วประเทศในประเด็นด้านเอกลักษณ์แห่งชาติซึ่งหลากหลายคนเมื่อถามไปว่า
ความเป็นไทย คือ อะไร? หรือความเป็นไทยเป็นอย่างไร?
สิ่งที่ได้รับกลับคืนมา คือ เสียงเงียบสงัด หรือไม่ก็คําตอบประมาณว่า ธงชาติไทย หรือศิลปวัฒนธรรมไทย
ทั้งนี้ในมุมมองของผม ความเป็นไทยนั้นต้องศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ กล่าวคือ เข้าใจที่มาและ ที่ไปของเชื้อชาติและความดิ้นรนของบรรพบุรุษหลายร้อยปีกว่าจะสามารถสร้างแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นดั่งทุกวันนี้
การที่เราจะเข้าใจประวัติศาสตร์ได้ ผู้ศึกษามีความจําเป็นต้องมีทักษะในการเรียนรู้ และ ที่สําคัญก็คือ เข้าใจการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
คือ อ่านออกเขียนได้ แต่เท่านี้ยังไม่พอ ผมขอเพิ่มเติมไว้ด้วยว่าต้องสามารถใช้ภาษาไทยได้ อย่างถูกต้องด้วยเช่นกัน
เราคงต้องยอมรับว่าภาษาไทยในวันนี้ผิดเพี้ยนและแตกต่างไปจากเดิมไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะ มีคําศัพท์แปลก ๆ ออกมาแบบที่ตั้งตัวไม่ติด อาทิ เดี๋ยวนี้ได้รับเอสเอ็มเอสแปลก ๆ ประมาณว่าใช้ ภาษาไทยแบบวัยรุ่น อาทิ จึงดี แปลว่า จริงเหรอ มาแว้ว แปลว่า มาแล้ว หรือ ชิมิ ชิมิ ซึ่งตีความหมาย ออกมาเป็น ใช่ไหม ใช่ไหม
บางทีคุยกับเด็กรุ่นใหม่เวลาเห็นผู้หญิงสวยก็พูดออกมาว่า “โอ้โฮแหล่มจริง ๆ เธอคนนั้น ท่านมาก ๆ” แปลว่า เธอคนนั้นสุดยอด สวยจริง ๆ
แต่ที่ฮิตล่าสุดคือ พูดแบบเหวงเหวง ซึ่งไม่รู้ว่าอ้างอิงจากใคร แต่มีความหมายสะท้อนถึง ความไม่ชัดเจน ไม่ตรงประเด็น โหวงเหวง นั่นแหละครับ
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างการใช้ภาษาไทยในสังคมยุคปัจจุบัน แต่จะว่าไปแล้วแทบจะ ทุกสังคมและทุกวัฒนธรรมย่อมมีความผิดเพี้ยนทางด้านภาษาอยู่แล้ว
เพียงแต่จะมากหรือน้อยก็เท่านั้นเอง
เพราะภาษามีความเป็นพลวัตของตัวเอง ต้องทันตามบริบทของสังคม และปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมและการแสดงออกของผู้คนในสังคม
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ภาษาไทยจะผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่ประเด็นที่ผมต้องการนําเสนอ คือ แก่นของความเป็นภาษาไทยจะถูกทําลายและละเลยไปมากกว่านี้หรือไม่
สุดท้ายเราคงได้แต่หวังว่าภาษาไทยที่ถูกต้องอย่างเป็นทางการควรที่จะได้รับการดํารงรักษาให้ลูกหลานในอนาคตได้สืบทอดต่อไป มิใช่ค่อย ๆ ถูกกลืนด้วยแนวทางและการใช้ศัพท์ใหม่ ๆ
วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดําเนินไปทรง อภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คําไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดํารัสตอนหนึ่งความว่า “เราโชคดี ที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีอยู่หลายประการ
อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่ง ต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คํามาประกอบประโยคนับเป็นปัญหาที่สําคัญ
ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคําของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ํารวยพอ จึงต้องมีการ บัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ สําหรับคําใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจําเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคําที่ง่าย ๆ ก็ควร จะมี ควรจะใช้คําเก่า ๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก”
ดังนั้นวัตถุประสงค์ของวันภาษาไทยแห่งชาติได้แลเห็นว่า เป็นวันที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อกระตุ้น และปลุกจิตสํานึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสําคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจทํานุบํารุงส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ําค่าของ ชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
สังคมไทยในปัจจุบันอยู่ท่ามกลางยุคโลกาภิวัตน์ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม และไม่ใช่วัฒนธรรมของประเทศไทยเราอย่างเดียว แต่เป็นวัฒนธรรมต่างแดน เราคงบอกไม่ได้ว่า ห้ามให้ คนรุ่นใหม่บริโภควัฒนธรรมของเขา
แต่คําถามสําคัญก็คือ เราจะสามารถทําให้คนรุ่นใหม่แลเห็นถึงความสําคัญของความเป็นไทยได้ อย่างไร เพราะบางทีมันเป็นเรื่องยากในการดํารงรักษาภาษาไทยให้ดี มันเป็นความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่เรา บริโภคทุกวัน กับสิ่งที่เราควรระลึกถึง ซึ่งเป็นเรื่องของการสร้างความสมดุลระหว่างโลกที่เปลี่ยนแปลงกับ ความสวยงามในอดีต เอาแค่นักร้องบางคนเมื่อก่อนร้องเพลงไทยชัดมากเสียเหลือเกิน
แต่เดี๋ยวนี้ต้องลากเสียงจะได้ฟังแล้วเนียน ซึ่งบางทีมันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะขนาดบทความ ของผมชิ้นนี้ก็ยังมีการใช้ภาษาที่แตกต่างและอาจจะไม่มีในพจนานุกรมก็ได้ แต่อย่างน้อยสิ่งสําคัญอยู่ที่การ เข้าใจความสําคัญของภาษาไทย การใช้ภาษาไทยอย่างถูกวิธี
71. โวหารการเขียนเป็นแบบใด
(1) บรรยาย
(2) อธิบาย
(3) อภิปราย
(4) พรรณนา
ตอบ 3 หน้า 74 (54351), (คําบรรยาย) โวหารเชิงอภิปราย คือ โวหารที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ โดยผู้เขียนจะแสดงทัศนะรอบด้านทั้งในด้านบวกและลบ เพื่อโน้มน้าว จิตใจผู้อ่านให้คล้อยตามความคิดเห็นนั้น ๆ จนนําไปสู่ข้อสรุปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทิ้งท้ายให้ผู้อ่านเก็บไปคิด
72. ท่วงทํานองเขียนเป็นแบบใด
(1) ภาษาเขียน
(2) ภาษาพูด
(3) ภาษาปาก
(4) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 58 (54351) ผู้เขียนใช้ท่วงทํานองเขียนแบบเรียบง่าย คือ ท่วงทํานองเขียนที่ใช้คําง่าย ๆ ชัดเจน การผูกประโยคไม่ซับซ้อน ทําให้อ่านง่ายและเข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาขบคิด มากนัก แต่จะมีการใช้ภาษาพูดและภาษาปากเป็นส่วนใหญ่
73. คําใดใช้ผิดจากความหมายเดิม
(1) ซึ่งเป็นสิ่งดี
(2) ตระหนักถึง
(3) แลเห็นว่า
(4) ประมาณว่า
ตอบ 4 ประมาณ = กะหรือคะเนให้ใกล้เคียงจํานวนจริงหรือให้พอเหมาะพอควร เช่น ราคาประมาณ 800 บาท ฯลฯ แต่ในปัจจุบันได้นําไปใช้ผิดจากความหมายเดิม และกลายเป็นคําฟุ่มเฟือยไป ซึ่งหากตัดออกก็ไม่ทําให้ความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม ดังข้อความ… สิ่งที่ได้รับกลับคืนมา คือ เสียงเงียบสงัด หรือไม่ก็คําตอบประมาณว่า ธงชาติไทย หรือศิลปวัฒนธรรมไทย…
74. ข้อความที่ให้อ่านเป็นวรรณกรรมประเภทใด
(1) ข่าว
(2) บทความ
(3) เรียงความ
(4) ปาฐกถา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปาฐกถา หมายถึง งานเขียนที่แสดงความคิดเห็นโดยคนคนเดียว หรืออาจจะเป็นความรู้และความคิดที่ได้มาจากวิทยากรเพียงคนเดียว
75. จุดประสงค์ที่ผู้เขียนนําเสนอคืออะไร
(1) ให้ความรู้
(2) ให้ความรู้และความรู้สึก
(3) ให้ข้อมูลและความคิด
(4) วิเคราะห์และวิจารณ์
ตอบ 3 ผู้เขียนมีจุดประสงค์ในการนําเสนอ คือ ให้ข้อมูลและแสดงความคิดของตนเองเกี่ยวกับประเด็น เรื่องความเป็นไทยและการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
76. สารัตถะสําคัญของเรื่องคืออะไร
(1) ภาษาไทยสําคัญกว่าธงชาติไทย
(2) ภาษาไทยสําคัญกว่าศิลปวัฒนธรรมไทย
(3) การใช้ภาษาไทยให้ถูกตามหลักภาษาและกาลเทศะเป็นเรื่องควรคํานึง
(4) ความสําคัญของความเป็นไทยท่ามกลางอิทธิพลวัฒนธรรมต่างชาติเป็นเรื่องสําคัญ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) แนวคิดหลัก (Theme) คือ สารัตถะ แก่นเรื่อง หรือสาระสําคัญของเรื่องที่ผู้เขียน มุ่งจะสื่อถึงผู้อ่าน เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชื่อเรื่อง โดยจะมีใจความครอบคลุมรายละเอียด ทั้งหมดและมีลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งแนวคิดหลักหรือสารัตถะสําคัญของเรื่องนี้ ได้แก่ การใช้ภาษาไทยให้ถูกตามหลักภาษาและกาลเทศะเป็นเรื่องควรคํานึง
77. ข้อความใดไม่ถูกต้อง
(1) ทุกภาษาย่อมมีความผิดเพี้ยน
(2) ภาษาต้องเปลี่ยนตามบริบทของสังคม
(3) วันภาษาไทยแห่งชาติ คือ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505
(4) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทย
ตอบ 3 จากข้อความ… วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึง เหตุการณ์ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช เสด็จพระราชดําเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คําไทย” ร่วมกับ ผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย…
78. คําตอบของผู้รับฟังคําบรรยาย เรื่องเอกลักษณ์ไทยเป็นอย่างไร
(1) ถูกต้อง
(2) ถูกต้องเกินครึ่ง
(3) แตกต่างจากทัศนะของผู้บรรยาย
(4) แตกต่างจากความเชื่อที่สืบต่อกันมา
ตอบ 3 จากข้อความ…. ครั้งหนึ่งผมมีโอกาสไปบรรยายให้กับครูทั่วประเทศในประเด็นด้านเอกลักษณ์ แห่งชาติ ซึ่งหลากหลายคนเมื่อถามไปว่า ความเป็นไทย คือ อะไร? หรือความเป็นไทยเป็น
อย่างไร? สิ่งที่ได้รับกลับคืนมา คือ เสียงเงียบสงัด หรือไม่ก็คําตอบประมาณว่า ธงชาติไทย หรือศิลปวัฒนธรรมไทย ทั้งนี้ในมุมมองของผม ความเป็นไทยนั้นต้องศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ กล่าวคือ เข้าใจที่มาและที่ไปของเชื้อชาติและความดิ้นรนของบรรพบุรุษหลายร้อยปีกว่าจะสามารถสร้างแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นดั่งทุกวันนี้….
79. ภาษาไทยในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงเรื่องใดบ้าง
(1) ความหมายและการออกเสียง
(2) โครงสร้างของประโยค
(3) การสะกดการันต์
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 จากข้อความ…. เราคงต้องยอมรับว่าภาษาไทยในวันนี้ผิดเพี้ยนและแตกต่างไปจากเดิมไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะมีคําศัพท์แปลก ๆ ออกมาแบบที่ตั้งตัวไม่ติด อาทิ ชิมิ ชิมิ ซึ่งตีความหมาย ออกมาเป็น ใช่ไหม ใช่ไหม… ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่ง ต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน… เอาแค่นักร้องบางคน เมื่อก่อนร้องเพลงไทยชัดมากเสียเหลือเกิน แต่เดี๋ยวนี้ต้องลากเสียงจะได้ฟังแล้วเนียน…
80. ข้อความที่ให้อ่านเป็นผลงานของผู้ใด
(1) เอกลักษณ์ ยิ้มวิไล
(2) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน
(3) เอกลักษณ์ ยิ้มวิไล และอาจารย์ผู้บรรยาย
(4) ไม่มีข้อมูลของผู้เขียน
ตอบ 4 ข้อความที่ให้อ่านไม่มีข้อมูลของผู้เขียน ทําให้ไม่สามารถทราบได้ว่าเป็นผลงานของใคร
81. ข้อใดเป็นสํานวนทั้งหมด
(1) นกสองหัว, กินบุญเก่า, หนอนหนังสือ
(2) พูดเป็นไฟ, น้ำนิ่งไหลลึก, ชี้โพรงให้กระรอก
(3) น้ำตาตกใน, หมาในรางหญ้า, ชนกบนปลายไม้
(4) นกรู้, ได้หน้าลืมหลัง, หมาเห่าใบตองแห้ง
ตอบ 1 หน้า 119 – 121 (H) สํานวน หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นอย่างกะทัดรัด ใช้คําน้อยแต่ กินความหมายมาก และเป็นความหมายโดยนัยหรือโดยเปรียบเทียบ ได้แก่
1. นกสองหัว = คนที่ทําตัวฝักใฝ่เข้าด้วยทั้ง 2 ฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังเพื่อประโยชน์ตน
2. กินบุญเก่า = ได้รับผลแห่งความดีที่ทําไว้แต่ปางก่อน
3. หนอนหนังสือ = คนที่ชอบหมกมุ่นอยู่กับการอ่านหนังสือ
4. น้ําตาตกใน = เศร้าโศกเสียใจอย่างมาก แต่ไม่แสดงให้ปรากฏ
5. นกรู้ = ผู้ที่มีไหวพริบ รู้เท่าทันเหตุการณ์หรือภัยที่จะมาถึงตน
6. โค้งสุดท้าย = ช่วงสุดท้ายของการแข่งขัน ซึ่งมีความพยายามที่จะเอาชนะกันอย่างเต็มที่ ฯลฯ
82. ข้อใดเป็นคําพังเพยทั้งหมด
(1) ผักชีโรยหน้า, พายเรือทวนน้ํา, งงเป็นไก่ตาแตก
(2) ลิ้นกับฟัน, ถ่านไฟเก่า, หมาหวงก้าง
(3) ผีพลอย, ผ้าขี้ริ้วห่อทอง, ปากหวานก้นเปรี้ยว
(4) สองหน้า, เกลือจิ้มเกลือ, รู้มากยากนาน
ตอบ 3 หน้า 119 – 121 (H) คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อตีความ สรุปเหตุการณ์
สภาวการณ์ บุคลิก และอารมณ์ให้เข้ากับเรื่อง มีความหมายกลาง ๆ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่จะ แฝงคติเตือนใจให้นําไปปฏิบัติหรือไม่ให้นําไปปฏิบัติ ได้แก่
1. ผีซ้ำพลอย = ถูกซ้ำเติมเมื่อพลาดพลั้ง
2. ผ้าขี้ริ้วห่อทอง – คนมั่งมีแต่แต่งตัวซอมซ่อ
3. ปากหวานก้นเปรี้ยว = พูดจาอ่อนหวานแต่ไม่จริงใจ
4. พายเรือทวนน้ำ – ทําด้วยความยากลําบาก
5. เกลือจิ้มเกลือ – ไม่ยอมเสียเปรียบกัน
6. รู้มากยากนาน – รู้มากเกินไปจนทําให้ยุ่งยากใจ
7. ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง = พยายามทําให้มีเรื่องมีราวขึ้นมา ฯลฯ
83. ข้อใดเรียงลําดับถูกต้องตั้งแต่สํานวน คําพังเพย และสุภาษิต
(1) คว่ำบาตร, ศิษย์นอกครู, หนีเสือปะจระเข้
(2) กินน้ำใต้ศอก, หญ้าปากคอก, ตําข้าวสารกรอกหม้อ
(3) โค้งสุดท้าย, ปล้ําผีลุกปลุกผีนั่ง, ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่
(4) นอกคอก, สูงเสียดฟ้า, เห็นผิดเป็นชอบ
ตอบ 3 หน้า 119 – 121 (H) สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อสั่งสอนโดยตรง ซึ่งอาจเป็น คติ ข้อติติง คําจูงใจ หรือคําห้าม และเนื้อความที่สั่งสอนก็เป็นความจริง เป็นความดีที่ยอมรับกัน โดยทั่วไป ได้แก่ ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ = ให้รู้จักพิจารณาผู้หญิงที่จะเลือกเป็นคู่ครองโดย ดูจากนิสัยใจคอและความประพฤติของมารดา เป็นต้น
(ตัวเลือกข้อ 3 เรียงลําดับถูกต้องตั้งแต่สํานวน = โค้งสุดท้าย, คําพังเพย – ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง และสุภาษิต = ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่) (ดูคําอธิบายข้อ 81. และ 82.ประกอบ)
84. ข้อใดมีความหมายว่า “เมื่อหมดอํานาจความชั่วที่ทําไว้ก็ปรากฏ”
(1) เนื้อเต่ายําเตา
(2) บนข้าวผี ที่ข้าวพระ
(3) น้ำลดตอผุด
(4) ฝนตกขี้หมูไหล
ตอบ 3 น้ำลดตอผุด – เมื่อหมดอํานาจความชั่วที่ทําไว้ก็ปรากฏ (ส่วนเนื้อเต่ายําเต่า – นําเอาทรัพย์สิน ในส่วนที่เป็นกําไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนต่อไปอีก โดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม, บนข้าวผี ที่ข้าวพระ ขอร้องให้ผีสางเทวดาช่วยเหลือ โดยจะแก้บนเมื่อประสบผลสําเร็จแล้ว, ฝนตกขี้หมูไหล – พลอยเหลวไหลไปด้วยกัน)
85. ข้อใดมีความหมายว่า “คนกลับกลอก”
(1) มะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีใครกลึง
(2) กินเกลือกินกะปิ
(3) กินน้ำไม่เผื่อแล้ง
(4) มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก
ตอบ 4 มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก = คนกลับกลอก พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลงไปมาจนจับคําพูด ไม่ทัน (ส่วนมะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีใครกลึง – คนที่มีปฏิภาณไหวพริบในตัวเอง โดยที่ไม่ต้อง มีใครสอน, กินเกลือกินกะปิ = อดทนต่อความลําบากยากแค้น, กินน้ําไม่เผื่อแล้ง = มีอะไร ใช้หมดทันทีไม่คิดถึงวันข้างหน้า)
86. “คนขี้เกียจทํางานอย่าง หากินแค่พอกินไปมื้อหนึ่ง ๆ” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) ตําข้าวสารกรอกหม้อ
(2) ขี่ช้างจับตั๊กแตน
(3) ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
(4) ตําน้ำพริกละลายแม่น้ำ
ตอบ 1 ตําข้าวสารกรอกหม้อ = หาเพียงแค่พอกินไปมื้อหนึ่ง ๆ หรือทําพอให้เสร็จไปชั่วครั้งหนึ่ง ๆ (ส่วนขี่ช้างจับตั๊กแตน – ลงทุนมาก แต่ได้ผลนิดหน่อย, ฝนทั่งให้เป็นเข็ม = เพียรพยายาม สุดความสามารถจนกว่าจะสําเร็จผล, ตําน้ำพริกละลายแม่น้ำ – ลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน หรือใช้จ่ายทรัพย์ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์)
87. ข้อใดมีความหมายว่า “ดีแต่พูดแต่ทําไม่ได้”
(1) หมาเห่าใบตองแห้ง
(2) ปลาหมอตายเพราะปาก
(3) พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตําลึงทอง
(4) ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
ตอบ 4 ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก = ดีแต่พูดแต่ทําไม่ได้ (ส่วนหมาเห่าใบตองแห้ง = คนที่ชอบพูดเอะอะ แสดงว่าเก่ง แต่ไม่กล้าจริง, ปลาหมอตายเพราะปาก = คนที่พูดพล่อยจนได้รับอันตราย, พูดไป สองไพเบี้ย นิ่งเสียตําลึงทอง = พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า)
88. ข้อใดมีความหมายเหมือนกับ “เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ”
(1) เอาทองไปปูกระเบื้อง
(2) สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ
(3) สอนหนังสือสังฆราช
(4) เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน
ตอบ 1 เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ/เอาทองไปสู่กระเบื้อง – โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาลหรือคนที่ มีฐานะต่ำกว่า เป็นการไม่สมควร (ส่วนสอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ = สอนสิ่งที่เขารู้ดีหรือสิ่งที่เขา ถนัดอยู่แล้ว, สอนหนังสือสังฆราช = สอนสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว, เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน แสดงความรู้หรืออวดรู้กับผู้ที่รู้เรื่องดีกว่า)
89. ข้อใดมีคําที่สะกดผิดปรากฏอยู่ด้วย
(1) ตระเวน ถั่วพู เบญจเพส
(2) อเนก ผาสุก อาเพศ
(3) โน๊ตบุ๊ค อานิสงส์ เกล็ดปลา
(4) ผลัดผ้า อาเจียน ผุดลุกผุดนั่ง
ตอบ 3 คําที่สะกดผิด ได้แก่ โน๊ตบุ๊ค ซึ่งที่ถูกต้องคือ โน้ตบุ๊ก
90. ข้อใดมีคําที่สะกดผิดสลับกับคําที่สะกดถูก
(1) เสื้อเชิ๊ต รื่นรมย์ ปราณีต ไล่เลี่ย
(2) พรรณนา พังทลาย พิสดาร ลิดรอน
(3) คุกกี้ มืดมน ร่ำลือ มาตรการ
(4) บรรทุก เผ่าพันธุ์ พังทลาย แบ่งสันปันส่วน
ตอบ 1 คําที่สะกดผิด ได้แก่ เสื้อเชิ๊ต ปราณีต
ซึ่งที่ถูกต้องคือ เสื้อเชิ้ต ประณีต
91. ข้อใดมีคําที่สะกดผิดปรากฏอยู่ด้วย
(1) สิงโต รื่นรมย์ จัตุรัส
(2) ลําไย กะทัดรัด เกล็ดปลา
(3) หงส์ ราญรอน รกชัฏ
(4) ร่ำลือ ร้างลา กระทันหัน
ตอบ 4 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ร้างลา กระทันหัน
ซึ่งที่ถูกต้องคือ ร้างรา กะทันหัน
92. ข้อใดสะกดถูกทุกคํา
(1) ร่ำลา สาบแข่ง ลาดยางถนน
(2) ลําใย เซ็นต์ชื่อ สังเกตุ
(3) สีสัน ผัดเวร โลกาภิวัฒน์
(4) จัตุรัส อนุญาต ปิกนิก
ตอบ 4 คําที่สะกดผิด ได้แก่ สาบแช่ง ลาดยางถนน ลําใย เซ็นต์ชื่อ
สังเกตุ ผัดเวร โลกาภิวัฒน์
ซึ่งที่ถูกต้องคือ สาปแช่ง ราดยางถนน ลําไย เซ็นชื่อ สังเกต
ผลัดเวร โลกาภิวัตน์
93. ข้อใดสะกดถูกทุกคํา
(1) กงศุล กระเพรา กระตือรือร้น
(2) ถั่วพู เครื่องราง บิณฑบาต
(3) กะเพรา เลือนราง ถนนราดยาง
(4) คั่นช่าย มาตราการ ข้าวกลบหม้อ
ตอบ 2 คําที่สะกดผิด ได้แก่ กงศุล กระเพรา ถนนราดยาง คื่นชาย มาตราการ ข้าวกลบหม้อ
ซึ่งทีถูกต้องคือ กงสุล กะเพรา ถนนลาดยาง ขึ้นฉ่าย มาตรการ ข้าวกบหม้อ
94. ข้อใดมีคําที่สะกดไม่ถูกต้อง
(1) ฉันช๊อบชอบ กินอิ๊มอิ่ม
(2) ไปบ๊อยบ่อย เขาจ๊นจน
(3) ต๊ายตาย ชีวิตดี๊ดี
(4) ผ้าเก๊าเก่า ตัวโต๊โต
ตอบ 1 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ฉันช๊อบชอบ ซึ่งที่ถูกต้องคือ ฉันช้อบชอบ
95. ข้อใดมีคําที่สะกดถูกสลับกับคําที่สะกดผิด
(1) บรรทุก แบ่งสันปันส่วน เผ่าพันธุ์ พังทลาย
(2) เกล็ดปลา แบหลา แท็กซี่ พรางตา
(3) ผัดวันประกันพรุ่ง ลาดยางถนน ต้มโคล้ง จตุรัส
(4) คํานวณ เข็ญใจ ข้นแค้น เกร็ดความรู้
ตอบ 3 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ลาดยางถนน จตุรัส
ซึ่งที่ถูกต้องคือ ราดยางถนน จัตุรัส
96. ข้อใดมีคําที่สะกดผิดสลับกับคําที่สะกดถูก
(1) ผลัดผ้า ผลัดเวร ผัดหนี้ ผัดแป้งแต่งหน้า
(2) ผลัดเปลี่ยน ข้าวผัด ผลัดผ้า ทหารเกณฑ์ผลัดสอง
(3) วิ่งผลัด ผัดเวร ใบไม้ผลัดใบ ผลัดแป้งแต่งหน้า
(4) ผลัดหนี้ ผัดผ่อน ผัดเปลี่ยน ผัดวันประกันพรุ่ง
ตอบ 4 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ผัดเวร ผลัดแป้งแต่งหน้า ผลัดหนี้ ผัดเปลี่ยน
ซึ่งที่ถูกต้องคือ ผลัดเวร ผัดแป้งแต่งหน้า ผัดหนี้ ผลัดเปลี่ยน
97.“พนักงานสอบสวนพยายามจะ……..ให้คู่กรณียอมความกัน” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) เกลี้ยกล่อม
(2) บอกกล่าว
(3) ไกล่เกลี่ย
(4) ตัดสิน
ตอบ 3 คําว่า “ไกล่เกลี่ย” – พูดจาให้ปรองดองกัน พูดจาให้ตกลงกัน (ส่วนคําว่า “เกลี้ยกล่อม พูดจูงใจให้คล้อยตามหรือปฏิบัติตาม “บอกกล่าว” = ร้องบอกให้ผู้อื่นเป็นพยานรับรู้ไว้ “ตัดสิน” = ลงความเห็นชี้ขาด)
98. “วันนี้ฝนตก……..ข้าว……….คงสดชื่นขึ้นมาได้” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) บ่อย ๆ นาปลัง
(2) ปรอย ๆ นาปลัง
(3) บ่อย ๆ นาปรัง
(4) ปรอย ๆ นาปรัง
ตอบ 4 คําว่า “ปรอย ๆ” – ที่ตกเป็นระยะ ๆ ไม่หนาเม็ด (ใช้กับฝน) เช่น ฝนตกปรอย ๆ, “นาปรัง” นาทีที่ทําในฤดูแล้งนอกฤดูทํานา (ส่วนคําว่า “บ่อย ๆ /นาปลัง” เป็นคําที่เขียนผิด)
99. “โบราณสถานหลังนี้มี……….ทางประวัติศาสตร์มาก” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) ค่า
(2) คุณค่า
(3) คุณประโยชน์
(4) คุณ
ตอบ 2 คําว่า “คุณค่า” หมายถึง สิ่งที่มีประโยชน์หรือมีมูลค่าสูง (ส่วนคําว่า “ค่า” หมายถึง มูลค่า หรือราคาของสิ่งใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม, “คุณประโยชน์” หมายถึง ลักษณะที่ เป็นประโยชน์, “คุณ” หมายถึง ความดีที่มีประจําอยู่ในสิ่งนั้น ๆ)
100. “ผู้ใหญ่บ้าน……และชาวบ้าน……เงินสร้างอาคาร…………” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) กํานัล เรี่ยไร เอนกประสงค์
(2) กํานัน เรี่ยไร อเนกประสงค์
(3) กํานัล เรี่ยราย อเนกประสงค์
(4) กํานัน เรี่ยราย เอนกประสงค์
ตอบ 2 คําว่า “กํานัน” – ตําแหน่งพนักงานฝ่ายปกครอง ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ปกครองราษฎรที่อยู่ ในเขตตําบล, “เรี่ยไร” – ขอร้องให้ช่วยออกเงินทําบุญตามสมัครใจ, “อเนกประสงค์” – ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างแล้วแต่ความต้องการ (ส่วนคําว่า “กํานัล” = การให้ของกัน ด้วยความนับถือ, “เรี่ยราย” – กระจายเกลื่อนไป, “เอนกประสงค์” เป็นคําที่เขียนผิด)
101. “เด็กวัยรุ่นที่ทําความผิด ควรส่งตัวไป………..คุมความประพฤติ” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) กัก
(2) จําคุก
(3) กักกัน
(4) กักขัง
ตอบ 4 คําว่า “กักขัง” = โทษทางอาญาสถานหนึ่งที่ให้กักตัวผู้ต้องโทษไว้ในสถานที่ซึ่งกําหนดไว้อันมิใช่ เรือนจํา (ส่วนคําว่า “กุ๊ก” – ไม่ให้ล่วงพ้นเขตที่กําหนดไว้, “จําคุก” – โทษทางอาญาสถานหนึ่ง = ที่ให้เอาตัวผู้ต้องโทษไปคุมขังไว้ในเรือนจํา, “กักกัน” – วิธีการเพื่อความปลอดภัยอย่างหนึ่งที่ ศาลใช้ในกรณีที่ให้ควบคุมผู้กระทําความผิดติดนิสัยไว้ภายในเขตกําหนด เพื่อป้องกันการกระทํา ความผิด เพื่อดัดนิสัย และเพื่อฝึกหัดอาชีพ)
102. “เวลายืน ห้ามเอามือ……..หลัง” ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) ไพล
(2) ไพร่
(3) ไพล่
(4) ไพ่
ตอบ 3 คําว่า “ไพล” = ไขว้ เช่น ห้ามเอามือไพล่หลัง (ส่วนคําว่า “ไพล” หมายถึง ชื่อไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง ต้นและใบคล้ายขิง เหง้าสีเหลืองอมเขียวใช้ทํายาได้, “ไพร่” หมายถึง ชาวเมือง พลเมืองสามัญ, “ไฟ” = เครื่องเล่นการพนันชนิดหนึ่ง ทําด้วยกระดาษค่อนข้างแข็งหรือพลาสติก)
103. “พ่อเหวี่ยงแหลงในแม่น้ำที่ไหลเชี่ยว……….จับปลาได้ก็รีบขอด……….. ควรเติมคําใดลงในช่องว่าง
(1) กราด เกร็ดปลา
(2) กราก เกล็ดปลา
(3) กลาด เกล็ดปลา
(4) กราก เกร็ดปลา
ตอบ 2 คําว่า “กราก” – รวดเร็ว เช่น น้ําไหลเชี่ยวกราก, “เกล็ดปลา” = ส่วนที่มีลักษณะเป็นแผ่น ซ้อนเหลี่ยมกันห่อหุ้มตัวปลา (ส่วนคําว่า “กราด” – กวดให้แน่น เช่น กราดลิ่ม, “เกร็ดปลา” เป็นคําที่เขียนผิด, “กลาด” – ดาษดื่น)
104. การใช้ภาษาลักษณะใดทําให้นักศึกษาเกิดความรู้และความคิด
(1) พูดและฟัง
(2) เขียนและพูด
(3) ฟังและอ่าน
(4) อ่านและเขียน
ตอบ 3 หน้า 2, 81 (54351) การฟังและการอ่านเป็นการใช้ภาษาในการรับรู้เรื่องราวเพื่อจะได้เกิด องค์ความรู้ ความจํา ความเข้าใจ ความคิด และความบันเทิง ส่วนการพูดและการเขียนนั้น เป็นการใช้ภาษาในการนําความรู้ ความคิด หรือความต้องการของเราถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ
105. ปัญหาการใช้ภาษาที่เห็นได้ชัดเจน คือข้อใด
(1) พูดและฟัง
(2) เขียนและพูด
(3) ฟังและอ่าน
(4) อ่านและเขียน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัญหาการใช้ภาษาที่สามารถเห็นได้ชัดเจน คือ การเขียนและการพูด ซึ่งถือเป็น กระบวนการภายนอก เพราะเป็นการใช้ภาษาที่ปรากฏออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด ส่วนการฟัง และอ่านถือเป็นกระบวนการภายใน เพราะเป็นการใช้ภาษาที่สังเกตเห็นได้ยาก กล่าวคือ ผู้พูด และผู้เขียนมิอาจทราบได้ว่าผู้ฟังและผู้อ่านเข้าใจสารที่ตนส่งหรือสื่อออกไปหรือไม่ เพียงไร
106. การทําให้ประโยครัดกุม ควรใช้วิธีการเขียนแบบใด
(1) รวบความ
(2) ขยายความ
(3) ทําให้ประโยคมีน้ำหนัก
(4) จับประเด็นใจความสําคัญ
ตอบ 1 หน้า 39 – 40, 47 (54351) การผูกประโยคให้กระชับรัดกุมมีสิ่งที่จะต้องพิจารณา คือ
1. การรวบความให้กระชับ
2. การลําดับความให้รัดกุม
3. การจํากัดความ
107. คําว่า “สระอา, สระน้ำ” คําว่า “สระ” เป็นคําประเภทใด
(1) คําคล้าย
(2) คําพ้องรูป
(3) คําพ้องเสียง
(4) คําเปรียบเทียบ
ตอบ 2 หน้า 14 (54351) คําพ้องรูป คือ คําที่เขียนเหมือนกัน แต่ความหมายและการออกเสียงจะ ต่างกัน ดังนั้นจึงต้องออกเสียงให้ถูกต้อง เพราะหากออกเสียงผิด ความหมายก็จะผิดไปด้วย เช่น คําว่า “สระอา” (สระ อ่านว่า สะหระ) หมายถึง เสียงสระ ซึ่งในที่นี้คือ สระอา ส่วนคําว่า “สระน้ํา” (สระ อ่านว่า สะ) หมายถึง แอ่งน้ําขนาดใหญ่ เป็นต้น
108. คําว่า “คัน, ครรภ์” เป็นคําประเภทใด
(1) คําเหมือนกัน
(2) คําพ้องรูป
(3) คําพ้องเสียง
(4) คําพ้องความหมาย
ตอบ 3 หน้า 14 (54351) คําพ้องเสียง คือ คําที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายและการเขียน (รูป) ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเวลาเขียนจึงต้องเขียนให้ถูกต้อง เพราะถ้าเขียนผิด ความหมายก็จะ ผิดไปด้วย เช่น คําว่า “คัน” (แนวดินหรือแนวทรายที่พูนสูงขึ้นเป็นแนวยาว), “ครรภ์” (ท้อง ใช้เฉพาะผู้หญิงที่มีลูกอยู่ในท้อง) เป็นต้น
109. “เขาเรียนอยู่คณะนิติ รามคําแหง” เป็นภาษาประเภทใด
(1) ภาษาพูด
(2) ภาษาเขียน
(3) ภาษาหนังสือพิมพ์
(4) ภาษาเฉพาะกลุ่ม
ตอบ 1 หน้า 6 – 7 (54351) ระดับของคําในภาษาไทยมีศักดิ์ต่างกัน เวลานําไปใช้ก็ใช้ในที่ต่างกัน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาใช้คําให้เหมาะสม กล่าวคือ
1. คําที่ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ ได้แก่ คําที่ใช้ในภาษาแบบแผน หรือภาษาเขียนของ ทางราชการ เช่น ธนาคารปิดทําการแล้ว ฯลฯ
2. ค่าที่ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ คําที่ใช้ในภาษาพูด หรือการเขียนจดหมาย ส่วนตัวถึงบุคคลที่สนิทสนมกัน ซึ่งในบางครั้งก็มักจะตัดคําให้สั้นลง เช่น เขาเรียนอยู่คณะนิติ รามคําแหง ฯลฯ
110. คําว่า “ฟิล์ม, ฟิวส์, ฟาร์ม” เป็นคําประเภทใด
(1) คํายืม
(2) คําทับศัพท์
(3) คําศัพท์บัญญัติ
(4) คําศัพท์แปลกใหม่
ตอบ 2 หน้า 123 – 125 (H) คําทับศัพท์ หมายถึง คําภาษาต่างประเทศที่นํามาใช้ในภาษาไทยโดยวิธีการถ่ายเสียงและถอดอักษร เช่น ฟิล์ม (Film), ฟิวส์ (Fuse), ฟาร์ม (Farm) ฯลฯ
111. หน่วยงานใดเป็นผู้จัดทําพจนานุกรม
(1) รัฐสภา
(2) ราชบัณฑิตยสถาน
(3) สํานักนายกรัฐมนตรี
(4) กระทรวงวัฒนธรรมฯ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ราชบัณฑิตยสถาน เป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกรม เป็นหน่วยงานที่จัดทําพจนานุกรม ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมคําที่มีใช้อยู่ใน ภาษาไทย โดยให้ความรู้และกําหนดในเรื่องอักขรวิธี (บอกคําเขียน) การออกเสียงคําอ่าน (บอกคําอ่าน) นิยามความหมาย (บอกความหมาย) และบอกประวัติของคําเท่าที่จําเป็น
112. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับล่าสุดเป็นปี พ.ศ. ใด
(1) พ.ศ. 2525
(2) พ.ศ. 2542
(3) พ.ศ. 2554
(4) พ.ศ. 2564
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พจนานุกรมฉบับทางการที่ออกมาฉบับล่าสุดและใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
113. คําว่า “ทัศนวิสัย, วิสัยทัศน์, โลกทัศน์” เป็นคําประเภทใด
(1) คําไวพจน์
(2) คําภาษาต่างประเทศ
(3) คําศัพท์บัญญัติ
(4) คําทับศัพท์
ตอบ 3 หน้า 9 (54351), (คําบรรยาย) คําศัพท์บัญญัติ คือ คําศัพท์เฉพาะวิชาที่ราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติจากภาษาต่างประเทศ เพื่อกําหนดใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนเอกสารทางราชการและการเรียนการสอนสําหรับสาขาวิชาแขนงหนึ่งแขนงใดโดยเฉพาะ ซึ่งจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ เช่น ทัศนวิสัย (Visibility), วิสัยทัศน์ (Vision), โลกทัศน์ (World View) เป็นต้น
114. “เขาทําการปิดประตูใส่กุญแจอย่างแน่นหนา” ข้อความนี้บกพร่องอย่างไร
(1) เรียงลําดับประโยคไม่ถูก
(2) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(3) ใช้คํากํากวม
(4) ใช้คําฟุ่มเฟือย
ตอบ 4 หน้า 18 – 19, 39 (54351) การใช้คําฟุ่มเฟือยหรือการใช้คําที่ไม่จําเป็นจะทําให้คําโดยรวม ไม่มีน้ําหนักและข้อความขาดความหนักแน่น ไม่กระชับรัดกุม เพราะเป็นคําที่ไม่มีความหมาย อะไร แม้จะตัดออกไปก็ไม่ได้ทําให้ความหมายของข้อความนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่กลับทําให้ ดูรุงรังยิ่งขึ้น เช่น เขาทําการปิดประตูใส่กุญแจอย่างแน่นหนา (ใช้คําฟุ่มเฟือย) จึงควรแก้ไขเป็น เขาปิดประตูใส่กุญแจอย่างแน่นหนา
115. “บ้านของผู้คนตั้งอยู่ริมแม่น้ําเจ้าพระยา” ข้อความนี้บกพร่องอย่างไร
(1) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(2) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(3) ใช้คํากํากวม
(4) ใช้คําขยายความผิดที่
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 114. ประกอบ) ข้อความที่ว่า บ้านของผู้คนตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ใช้คํา ฟุ่มเฟือย) จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น บ้านตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (คําว่า “บ้าน” – สิ่งที่คน ปลูกสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย)
116. “มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทยจํานวนมาก” ข้อความนี้บกพร่องอย่างไร
(1) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(2) ใช้คํากํากวม
(3) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(4) ใช้คําขยายความผิดที่
ตอบ 4 หน้า 37 (54351) การเรียงลําดับประโยคให้ถูกที่ คือ การวางประธาน กริยา กรรม และส่วนขยายให้ตรงตามตําแหน่ง เพราะถ้าหากวางไม่ถูกที่จะทําให้ข้อความนั้นไม่ชัดเจน หรือ
มีความหมายไม่ตรงกับที่เราต้องการ เช่น มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทยจํานวน มาก (วางส่วนขยายผิดที่ หรือใช้คําขยายไม่ถูกต้อง) จึงควรแก้ไขเป็น มีนักศึกษาจํานวนมากลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทย
117. “มหาวิทยาลัยแห่งนี้เต็มไปด้วยสุนัขจรจัด” ข้อความนี้บกพร่องอย่างไร
(1) ใช้คํากํากวม
(2) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(3) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(4) เรียงลําดับประโยคไม่ถูก
ตอบ 3 หน้า 38 (54351) การใช้คําตามแบบภาษาไทย คือ การทําให้ข้อความที่ผูกขึ้นมีลักษณะ เป็นภาษาไทย ไม่เลียนแบบภาษาต่างประเทศ ซึ่งจะทําให้ข้อความกะทัดรัด เข้าใจง่าย และ ไม่เคอะเขิน เช่นมหาวิทยาลัยแห่งนี้เต็มไปด้วยสุนัขจรจัด (ใช้สํานวนต่างประเทศ) จึงควร แก้ไขเป็น สุนัขจรจัดอยู่เต็มมหาวิทยาลัยแห่งนี้
118. “อาจารย์บรรยายให้นักศึกษาฟังเรื่องการใช้ภาษา” ข้อความนี้บกพร่องอย่างไร
(1) ใช้คํากํากวม
(2) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(3) เรียงลําดับประโยคไม่ถูก
(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 116. ประกอบ) ข้อความที่ว่า อาจารย์บรรยายให้นักศึกษาฟังเรื่องการใช้ ภาษา (วางส่วนขยายผิดที่ หรือใช้คําขยายไม่ถูกต้อง) จึงควรแก้ไขด้วยการเรียงลําดับประโยค ให้ถูกต้องเป็น อาจารย์บรรยายเรื่องการใช้ภาษาให้นักศึกษาฟัง
119. “น้ำถูกทําให้แห้งไปจากถนน” ประโยคนี้บกพร่องอย่างไร
(1) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(2) ใช้คําขยายไม่ถูก
(3) ใช้คําไม่ถูกต้อง
(4) ใช้คําไม่เป็นเหตุเป็นผล
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 117. ประกอบ) ข้อความที่ว่า น้ําถูกทําให้แห้งไปจากถนน (ใช้สํานวน ต่างประเทศ) จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น น้ำแห้งไปจากถนน
120. “เขาทําลายไทย” ข้อความนี้บกพร่องอย่างไร
(1) ใช้คําขยายความผิดที่
(2) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(3) ใช้คํากํากวม
(4) ใช้คําไม่เป็นเหตุเป็นผล
ตอบ 3 หน้า 11 (54351) การใช้คําที่มีความหมายหลายอย่างจะต้องคํานึงถึงถ้อยคําแวดล้อมด้วย เพื่อให้เกิดความแจ่มชัด ไม่กํากวม เพราะคําชนิดนี้ต้องอาศัยถ้อยคําที่แวดล้อมอยู่เป็นเครื่องช่วย กําหนดความหมาย เช่น เขาทําลายไทย (ใช้คํากํากวม) จึงควรแก้ไขให้มีความหมายแน่ชัดลงไป โดยใช้ถ้อยคําแวดล้อมเสียใหม่เป็น เขาทําลายประเทศไทย/เขาทําศิลปะรูปลายไทย