การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา THA1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องทีสุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ

  1. “สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้งยามสาย” ข้อความนี้แสดงลักษณะใดของภาษาไทย
  2. มีระบบเสียงสูงต่ำ
  3. มีการใช้คำสุภาพตามฐานะของบุคคล
  4. คำเดียวกันใช้ได้หลายหน้าที่
  5. มีลักษณนามมากับคำขยายบอกจำนวนนับ

ตอบ 3 หน้า 2 (52067), 4 – 5 (H) ลักษณะ ภาษาไทที่เป็นภาษาคำโดดประการหนึ่ง คือ คำคำเดียวกันอาจมีความหายใช้ได้หลายหน้าที่โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงรูปคำเลย จะรู้ความหมายและหน้าที่ได้ก็ด้วยการดูตำแหน่งในประโยค เช่น ข้อความข้างต้นมีคำว่า “สาย” และ “หยุด” อย่างละ 2 คำ ซึ่งแต่ละคำจะมีความหมายและหน้าที่แตกต่างกันไป

  1. ประโยคใดแสดงกาล
  2. ทำไมไม่ไปกินข้าว
  3. เขากินข้าวแล้ว
  4. เขายังไม่ได้กินข้าว
  5. เขากินข้าวกับใคร

ตอบ 2 หน้า 212 – 123 (52067) การแสดงกาล คือ การแสดงให้รู้ว่ากริยากระทำเมื่อไร ซึ่งต้องอาศัยกริยาช่วยเพื่อบอกกาลเวลาที่ต่างกันดังนี้

  1. บอกปัจจุบัน ได้แก่ อยู่, กำลัง, กำลัง.. อยู่, กำลัง…อยู่แล้ว
  2. บอกอนาคต ได้แก่ จะ, กำลังจะ, กำลังจะ..อยู่, กำลังจะ…อยู่แล้ว
  3. บอกอดีต ได้แก่ ได้, แล้ว, ได้..แล้ว, ได้…อยู่แล้ว, เพิ่ง, มา
  4. ข้อใดใช้สระเดี่ยวเสียงสั้น
  5. ใต้
  6. เต่า
  7. ต้อง
  8. ตก

ตอบ 4 หน้า 8 -14 (52067), 17 (H) เสียงสระในภาษาไทย ถ้านับทั้งเสียงสั้นและเสียงยาวจะมีอยู่28 เสียง คือ 1. สระเดี่ยว 18 เสียง ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ เออะ โอะ เอาะ (เสียงสั้น) อา อี อื อู เอ แอ เออ โอ ออ (เสียงยาว) 2. สระผสม 10 เสียง ได้แก่ เอียะ เอือะ อัวะ เอา ไอ (เสียงสั้น) เอีย เอือ อัว อาว อาย (เสียงยาว)

  1. ข้อใดใช้สระเดี่ยวเสียงยาวทุกคำ
  2. เรือ รอด
  3. รีด แรง
  4. ไร่ ร้าย
  5. เรื่อย ร้อง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

  1. คำใดสะกดด้วยสระ อา + อี
  2. ขาด
  3. เขา
  4. ไข่
  5. ขาย

ตอบ 4 หน้า 14 (52067), 24,27 (H) คำว่า “ขาย” ลงท้ายด้วย ย ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระ จึงอาจพิจารณาได้ 2 ลักษณะ คือ อาจเป็นตัวสะกด ย เช่น อา + ย หรือเป็นสระผสม 2 เสียงก็ได้ เช่น อา + อี = อาย เช่น ขาย ราย (ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ)

  1. คำใดใช้สระผสมเสียงสั้น
  2. ใส่
  3. สาย
  4. สูญ
  5. เสื่อม

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

  1. คำใดใช้สระผสมเสียงยาว
  2. โกรธ
  3. กรีด
  4. กรอบ
  5. เกรียม

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

  1. คำว่า “เปรี้ยว” มีเสียงสระใด
  2. อี + อา + อุ
  3. อี + อา + อู
  4. อู + อา + อี
  5. อื + อา + อี

ตอบ 2 หน้า 14 (52067), 24,26 (H) คำว่า “เปรี้ยว” ลงท้ายด้วย ว ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระ จึงอาจพิจารณาได้ 2 ลักษณะ คือ อาจเป็นตัวสะกด ว เช่น เอีย + ว หรือเป็นสระผสม 3 เสียงก็ได้ เช่น อี + อา + อู = เอียว เช่น เปรี้ยว เคี้ยว

  1. คำว่า “กระ” ข้อใดออกเสียงยาวกว่าคำอื่น
  2. กระดาษ
  3. ผิดตกกระ
  4. กระดำกระด่าง
  5. กระกานดำ

ตอบ 2 หน้า 15 – 16 , 40 – 42, 90 – 91 (52067), 33 – 34 , 60 – 61 , 80 – 81 (H) อัตรา การออกเสียงสั้นยาวตามภาษาพูดมาตรฐานจะใช้มาตราในการวัดความยาวของเสียง คือ สระเสียงสั้นออกเสียง 1 มาตรา สระเสียงยาวออกเสียง 2 มาตรา นอกจากนี้ถ้าเป็นคำหลายพยางค์หรือคำประสม มักจะลงเสียงเน้นที่พยางค์หรือคำท้าย (ออกเสียงยาว 2 มาตรา) ส่วนคำที่ไม่ได้ลงเสียงเน้นก็มักจะสั้นลง (ออกเสียงสั้นเพียง 1 มาตรา) เช่น คำว่า “ผิวตกกระ” เป็นคำประสม จึงออกเสียงพยางค์หลัง คือ “กระ” ยาว 2 มาตรา (ส่วนคำว่า “กระ” ในตัวเลือกข้ออื่นไม่ใช่ประสม และเป็นสระเสียงสั้นจึงออกเสียงเพียง 1 มาตรา)

  1. ข้อใดกล่าวถึงคำว่า “แหนหวง” ถูกต้อง
  2. พยางค์แรกใช้ “หน” เป็นพยัญชนะต้น
  3. พยางค์ที่สองใช้ “หว” เป็นพยัญชนะต้น
  4. ทั้งสองพยางค์ใช้ “ห” เป็นพยัญชนะต้น
  5. พยางค์แรกใช้ “หน” พยางค์ที่สองใช้ “ห” เป็นพยัญชนะต้น

ตอบ 3 หน้า 17 – 18, 21 – 22 (52067),37 , 44 (H) พยัญชนะต้น คือ พยัญชนะที่วางอยู่ต้นพยางค์หรือหน้าพยางค์ แบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้

  1. พยัญชนะเดี่ยว คือ พยัญชนะต้นที่มีเสียงเดียว เช่น คำว่า “แหนหวง” จะใช้ “ห” เป็นพยัญชนะต้นทั้งสองพยางค์ และออกเสียง “ห” เพียงเสียงเดียว
  2. พยัญชนะ คู่ คือ พยัญชนะต้น 2 ตัวเรียงกันและออกเสียงทั้งคู่ หรือออกเสียงเพียงเสียงเดียวก็ได้ เช่น คำว่า “หนาม” จะใช้ “หน” เป็นพยัญชนะต้นและออกเสียงทั้งคู่
  3. พยัญชนะต้นข้อใดเป็นเสียงเสียดแทรก
  4. ฟ้า
  5. ค้า
  6. ม้า
  7. ล้า

ตอบ 1 หน้า 19 (52067), 40 – 41 (H) พยัญชนะเสียงเสียดแทรก คือ พยัญชนะต้นที่เสียงถูกขัดขวางบางส่วน เพราะเมื่อลมหายใจผ่านช่องอวัยวะที่เบียดชิดกันมาก แล้วถูกกักไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของปาก แต่ก็ยังมีทางเสียดแทรกออกมาได้ เป็นเสียงที่ออกติดต่อกันได้นานกว่าเสียงระเบิด ได้แก่ พยัญชนะต้น ส (ซ ศ ษ) และ ฟ (ฝ)

  1. ข้อใดมีพยัญชนะที่เป็นอักษรควบแท้
  2. จริง
  3. สร้าง
  4. ขวาน
  5. ทราบ

ตอบ 3 หน้า 22 – 26 (52067), 44 – 49 (H) การออกเสียงควบกล้ำในภาษาไทยมีอยู่ 2 ลักษณะดังนี้

  1. เสียงกล้ำ กันสนิท (อักษรควบแท้) คือ พยัญชนะคู่ที่ออกเสียงสองเสียงควบกล้ำไปพร้อมกันโดยเสียงทั้งสองจะร่วมเสียง สระและเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ซึ่งมีเพียงประเภทเดียวคือเมื่อพยัญชนะระเบิดนำแล้วตามด้วยพยัญชนะเหลวหรือ กึ่งสระ (ร ล ว) เช่น กวาง,ขวักไขว่,ขวาน,ขลัง,ขลาด,โขลง,ผลุด ฯลฯ
  2. เสียงกล้ำกันไม่สนิท (อักษรควบไม่แท้) คือ พยัญชนะคู่ที่มาด้วยกันแต่ไม่ได้ออกเสียงทั้งสองเสียงกล้ำไปพร้อมกัน และไม่ได้ร่วมเสียงสระและเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน เช่น จริง (จิง),สร้าง,(ส้าง),สระ (สะ),แทรก (แซก),ทราบ (ซาบ) ฯลฯ
  3. ข้อใดเขียนตัวควบกล้ำถูกต้อง
  4. เธอรูปร่างกระทัดรัด
  5. เธอรีบไปกะทันหัน
  6. ฝนตกกระปริบประปรอย
  7. เธอชอบกินหมูกระทะ

ตอบ 2 คำที่เขียนตัวควบกล้ำผิด ได้แก่ กะทัดรัด กระปริบกระปรอย กระทะ ซึ่งที่ถูกต้องคือ กะทัดรัด กะปริบกะปรอย กระทะ

  1. ข้อใดใช้ตัวสะกดเดียวกับคำว่า “รัก”
  2. มาส
  3. มาร
  4. มารค
  5. มาตร

ตอบ 3 หน้า 27 – 29 (52067), 50 – 53 (H) คำ ว่า “เกียรติ์” (ออกเสียงว่า เกียน)และคำว่า(ส่วนเสียงที่ไม่ต้องการออกเสียงจะใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตฆ่า เสียงเสีย)โดยพยัญชนะตัวสะกดของไทยจะมีทั้งหมดเพียง 8 เสียงเท่านั้น ดังนั้น

  1. แม่กก ได้แก่ ก ข ค ฆ
  2. แม่กด ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส

3.แม่กบ ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ

  1. แม่กน ได้แก่ น ณ ร ล ฬ ญ
  2. แม่กง ได้แก่ ง
  3. แม่กม ได้แก่ ม
  4. แม่เกย ได้แก่ ย
  5. แม่เกอว ได้แก่ ว
  6. ข้อใดเขียนรูปวรรณยุกต์ถูกต้อง
  7. ที่นี่ขายขนมคุกกี้
  8. ที่นี่ขายโน๊ตบุ๊ค
  9. ที่นี่ขายเสื้อเชิ๊ต
  10. ที่นี่ขายขนมเค๊ก

ตอบ 1 หน้า 33 – 37 (56067), 55 – 60 (H) เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 5 เสียง 4 รูป คือ เสียงสามัญ (ไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ), เสียงเอก ( ก่ ),เสียงโท ( ก้ ),เสียงตรี( ก๊ ),และเสียงจัตวา ( ก๋ )ซึ่งในคำบางคำ รูปและเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน จึงควรเขียนรูปวรรณยุกต์ให้ถูกต้อง เช่น ที่นี่ขายขนมคุกกี้(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นใช้รูปวรรณยุกต์ผิดจึงควรแก้ไขให้ ถูกต้องเป็น ที่นี่ขายโน้ตบุ๊ค,ที่นี่ขายเสื้อเชิ้ต,ที่นี่ขายขนมเค้ก

  1. “สระว่ายน้ำ” คำว่า สระ อ่านออกเสียงแบบใด
  2. อ่านแบบอักษรนำ
  3. อ่านแบบเรียงพยางค์
  4. อ่านแบบควบกล้ำแท้
  5. อ่านแบบอักษรนำ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ

  1. ข้อใดออกเสียงแบบเคียงกันมา
  2. สง่า ฉวี สนอง
  3. พิทยา นิรชา รจนา
  4. ปริศนา ดลยา สยาม
  5. วาสนา มรกต สนิท

ตอบ 2 หน้า 22 (52067), 44 (H) การออกเสียงแบบตามกันมา หรือเคียงกันมา (การออกเสียงแบบเรียบพยางค์) คือ การออกเสียงแต่ละเสียงเต็มเสียง และเสียงทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เช่น พิทยา (พิด –ทะ-ยา),นิรชา (นิ- ระ- ชา), รจนา (รด- จะ –นา),ดลยา (ดน – ละ- ยา),มรกต (มอ – ระ –กด) เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคำที่ออกเสียงแบบนำกันมาหรืออักษรนำหรือมีเสียง ห นำ)

  1. ข้อใดออกเสียงแบบนำกันมา (อักษรนำ)
  2. เขม่น ขลัง ขยาด ขมัง
  3. ขนม ขนาด ขนาน แขนง
  4. เขม่า ขยาย โขมง ขลาด
  5. โขลง ขนุน เขยื้อน ขยี้

ตอบ 2 หน้า 22 (52067), 44 (H) การออกเสียงแบบนำกันมา (อักษร) คือ พยัญชนะคู่ที่พยัญชนะตัวหน้าทีอำนาจเหนือพยัญชนะตัวหลัง โดยที่พยัญชนะตัวหน้าจะออกเสียงเพียงครึ่งเสียง และพยัญชนะตัวหลังก็จะเปลี่ยนเสียงตาม ซึ่งจะออกเสียงเหมือนกับเสียงที่มี ห นำ เช่น ขนม (ขะ – หนม),ขนาด (ขะ –หนาด), ขนาน (ขะ – หนาน), แขนง (ขะ – แหนง), เขม่น (ขะ –เหม่น), ขยาด (ขะ – หยาด), ขมัง (ขะ – หมัง), เขม่า (ขะ – เหม่า), ขยาย (ขะ – หยาย),โขมง (ขะ – โหมง), ขนุน (ขะ – หนุน), เขยื้อน (ขะ – เหยื้อน), ขยี้ (ขะ – หยี้) เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคำที่ออกเสียงแบบควบกล้ำแท้) (ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ)

  1. ข้อใดมีคำเป็นทุกคำ
  2. ยืด ยัน ยาม
  3. ยาง แยม ย่อย
  4. ยักษ์ ยศ ยับ
  5. ใย ยูง ยอด

ตอบ 2 หน้า 28 (52067), 51 – 53 (H) คำเป็น คือ คำที่สะกดด้วยแม่กง แม่กน แม่กม แม่เกย และแม่เกอว ส่วนคำตาย คือ คำที่สะกดด้วยแม่กก แม่กด และแม่กบ (ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ)

  1. ข้อใดมีคำตายมากที่สุด
  2. เปลี่ยนเคราะห์เป็นโชคลาภ
  3. เปลี่ยนโรคเป็นครู
  4. เปลี่ยนแพ้เป็นสู้
  5. เปลี่ยนหดหู่เป็นกำลัง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ

  1. จากข้อ 20. คำตอบข้อใดมีคำเป็นทุกคำ
  2. ข้อ 1
  3. ข้อ 2
  4. ข้อ 3
  5. ข้อ 4

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ

  1. “ฉันเห็นใบไม้จำนวนมากร่วง….ลงไปในน้ำ”ควรเติมคำใดลงในช่องว่าง
  2. กรู
  3. พรู
  4. ตก
  5. หล่น

ตอบ 2 คำ ว่า “พรู” หมายถึง ร่วมลงมาพร้อมกันมาก ๆ เช่น ดอกพิกุลร่วงพรู (ส่วนคำวา “กรู” หมายถึง อาการที่ไปพร้อม ๆกันโดยเร็ว เช่น วิ่งกรูกันไป, “ตก” หมายถึง กิริยาที่ลดลงสู่ระดับต่ำในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง, “หล่น” หมายถึง ตกลงมา ร่วงลง)

  1. ข้อใดใช้คำอุปมาสื่อความหมาย
  2. กินใจ
  3. กินข้าว
  4. กินมาก
  5. กินมูมมาม

ตอบ 1 หน้า 48 – 49 , 86 (52067), 64, 80 (H) คำอุปมา คือ คำที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อพรรณนาบอกลักษณะให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความหมายใหม่เกิดขึ้นอีกความหมายหนึ่งซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. คำ อุปมาที่ได้มาจากคำที่มีใช้อยู่แล้ว เช่น ตุ๊กตา (นิ่ง ไม่กระดุกกระดิก), ปลิง (เกาะไม่ยอมปล่อยเพื่อถือประโยชน์จากคนอื่น โดยที่ตัวเองไม่ต้องทำอะไร)ฯลฯ
  2. คำอุปมาที่สร้างขึ้นใหม่ เช่น กินใจ (แคลงใจ สงสัย ไม่วางใจสนิท), แมวนอนหวด (ซื่อจนเซ่อ),แมวขโมย (คอยจ้องฉกฉวยลูกเมียเขาเวลาเขาเผลอ)ฯลฯ
  3. คำว่า “ราด – ลาด” เป็นคำประเภทใด
  4. คำประสม
  5. คำไม่แยกเสียงไม่แยกความหมาย
  6. คำแยกเสียงแยกความหมาย
  7. คำไม่แยกเสียงแต่แยกความหมาย

ตอบ 3 หน้า 51, 53 – 55 (52067), 65 – 66 (H) การแยกเสียงแยกความหมาย คือ การ เปลี่ยนแปลงเสียงในคำบางคำที่มีความหมายหลายอย่างให้แตกต่างกันบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนว่าคำนั้นมีความหมายว่าอย่างไรในที่นั้น ๆ โดยความหมายย่อยและที่ใช้อาจจะแตกต่างกัน ได้แก่ พยัญชนะต้น ร กลับ ล มีเสียงต่างกัน เช่น “ราด – ลาด” แปลว่าทำให้แผ่กระจายออกไปเหมือนกัน แต่ “ราด”เป็นการเทของเหลว เช่น น้ำให้กระจายแผ่ไปหรือให้เรี่ยราดไปทั่ว ส่วน “ลาด” เป็นการปูให้แผ่ออกไป เช่น ลาดพรม ปูลาดอาสนะ เป็นต้น

  1. ข้อใดมีคำซ้อนเพื่อความหมาย
  2. ดูเนื้อตัวซิสกปรกน่าดู
  3. อย่าเป็นคนเกะกะเกเร
  4. ไปตัดเสื้อที่หน้าปากซอย
  5. มัวแต่บ่นงึมงำอยู่นั้นแหละ

ตอบ 1 หน้า 62 – 64, 67 – 70 (52067), 67 – 74 (H) คำซ้อน คือ คำ เดี่ยว 2, 4 หรือ 6 คำ ที่มีความหมายหรือมีเสียงใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทำนาองเดียวกัน ซ้อนเข้าด้วยกันเพื่อทำให้เกิดคำใหม่ขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

  1. คำ ซ้อนเพื่อความหมาย (มุ่งที่ความหมายเป็นสำคัญ)ซึ่งอาจเป็นคำไทยซ้อนเข้าด้วยกัน เช่น เนื้อตัว,เดือดร้อน ฯลฯ หรืออาจเป็นคำไทยซ้อนกับคำภาษาอื่น เช่น เงียบสงัด (ไทย + เขมร)ฯลฯ หรือเป็นคำภาษาอื่นซ้อนกันเอง เช่น สนุกสนาน (เขมร + บาลีสันสกฤต)ฯลฯ
  2. คำ ซ้อนเพื่อเสียง (มุ่งที่เสียงเป็นสำคัญ) เช่น เกะกะ (สระเอะ + อะ), เกเร (สระเอ + เอ), งึมงำ (สระอึ + อำ), โอ้เอ้ (สระโอ + เอ) ฯลฯ
  3. ข้อใดใช้คำซ้อนเพื่อเสียง
  4. อย่าเป็นคนหลายใย
  5. อย่ามัวสนุกสนานให้มากนัก
  6. อย่ามัวโอ้เอ้อยู่เลย
  7. อย่าสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

  1. ข้อใดใช้ไม้ยมก (ๆ) ถูกต้อง
  2. แผนที่ ๆ จะเดินทาง
  3. คนดี ๆ น้ำใจใช้ใบหน้า
  4. วันหนึ่ง ๆ เธอทำอะไรบ้าง
  5. เจ้าหน้าที่ ๆ จะเดินทาง

ตอบ 3 หน้า 76 – 78, 132 (52067), 76 – 77 (H) คำ ซ้ำ คือ คำคำเดียวกันที่นำมากล่าว 2 ครั้ง เพื่อให้มีความหมายเน้นหนักขึ้น หรือเพื่อให้มีความหมายต่างจากคำเดี่ยว ซึ่งวิธีการสร้างคำซ้ำก็เหมือนกับการสร้างคำซ้อน แต่ใช้คำคำเดียวมาซ้อนกันโดยมีเครื่องหมายไม้ยมกกำกับ ได้แก่ คำซ้ำที่ซ้ำคำนามหรือคำบอกจำนวนนับ เช่น วันหนึ่ง ๆ หมายถึง ทีละวัน ๆ ไป และมีหลายวัน (แต่ถ้าใช้ “วันหนึ่ง” เป็นคำเดี่ยวจะหมายถึงวันเดียว แต่ไม่กำหนดแน่ว่าวันไหน)

  1. ประโยคใดใช้คำประสม
  2. เขานั่งรถไฟตู้นอน
  3. เขานั่งรถไปท่องเที่ยว
  4. เขานั่งเรือข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
  5. เขาชอบเดินทางทางเรือ

ตอบ 1,3 หน้า 80 – 81, 85 – 86, 88 (52067), 78 – 81 (H) คำประสม คือ คำตั้งแต่ 2 คำ ขึ้นไปมาประสมเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้คำใหม่ที่มีความหมายใหม่มาใช้ในภาษา ซึ่งความหมายสำคัญจะอยู่ที่คำต้น (คำตัวตั้ง) ส่วนที่ตามมาเป็นคำขยาย ซึ่งไม่ใช่คำที่ขยายคำต้นจริง ๆ แต่จะช่วยให้คำทั้งคำมีความหมายจำกัดเป็นนัยเดียว ได้แก่

  1. คำประสมที่ใช้เป็นคำนาม เช่น รถไฟตู้นอน แม่น้ำ ฯลฯ
  2. คำประสมที่ใช้เป็นคำกริยา และมีความหมายไปในเชิงอุปมา เช่น ตัดเสื้อ อกหัก ฯลฯ
  3. คำประสมที่ใช้เป็นคำกริยาวิเศษณ์ เช่น นอกหน้า คอตก ฯลฯ
  4. “ชาดคนตัดเสื้อนั่งคอตกเพราะอกหัก” มีคำประเภทใดอยู่มากที่สุด
  5. คำซ้อน
  6. คำประสม
  7. คำซ้ำ
  8. คำภาษาต่างประเทศ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ

  1. ข้อใดใช้คำว่า “ผัด” ไม่ถูกต้อง
  2. ผัดเวร
  3. ผัดหน้า
  4. ผัดผ่อน
  5. ผัดวันประกันพรุ่ง

ตอบ 1 คำ ว่า “ผัด” หมายถึง ขอเลื่อนเวลาไป เช่น ผัดวัน ผัดหนี้, เอาแป้งลูบหน้าเพื่อให้หน้านวล เช่น ผัดหน้า, ผัดพอให้ทุเลาหรือหย่อนคลายลง เช่น ผัดผ่อน,ขอเลื่อนเวลาออกไปครั้งแล้วครั้งเล่า เช่น ผัดวันประกันพรุ่ง ( ส่วนคำว่า “ผลัด” หมายถึง เปลี่ยนแทนที่ เช่น ผลัดเสื้อผ้า ผลัดเวร ผลัดใบ ผลัดขน)

  1. กระป้ำประเป๋อ เป็นคำอุปสรรคเทียมชนิดใด
  2. กร่อนเสียง
  3. แบ่งคำผิด
  4. เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกัน
  5. เทียบแนวเทียบผิด

ตอบ 4 หน้า 94 – 96 (52067), 85 – 86 (H) อุปสรรค เทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิดเป็นการเพิ่มเสียง “กะ” (หรือ “กระ”) เข้าไปในคำซ้อนเพื่อเสียงที่พยางค์ต้นและพยางค์ท้ายไม่ได้สะกดด้วย “กะ” ซึ่งยึดการใช้อุปสรรคเทียมที่เพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกันมาเป็นแนว เทียบแต่เป็นการเทียบแนวเทียบผิด เช่น ป้ำเป๋อ กระป้ำประเป๋อ, ปุ่มป่ำ กระปุ่มกระป่ำ,ทบทั่ง กระทบกระทั่ง,ฉับเฉง กระฉับกระเฉง, ฯลฯ

  1. ข้อใดเป็นคำอุปสรรคเทียมชนิดกร่อนเสียงทั้ง 2 คำ
  2. อนึ่ง กระเฉด
  3. ละลิบ ระคน
  4. ตะคร้อ อะไร
  5. ฉะฉาด ขยิก

ตอบ 3 หน้า 93 – 95 (52067), 83 – 84 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง เป็นการกร่อนเสียงพยางค์ต้นให้เป็นเสียง “อะ”ได้แก่

  1. “มะ” ที่นำหน้าชื่อไม้ผล ไม่ใช้ไม้ผล และหน้าคำบอกกำหนดวัน เช่น หมากแว้ง มะแว้ง,หมากขาม มะขาม,หมากค่า มะค่า, เมื่อรืน มะรืน
  2. “ตะ” นำหน้าชื่อสัตว์ ต้นไม้ และคำที่มีลักษณะคล้ายตา เช่น ตัวขาบ ตะขาบ,

ต้นขบ ตะขบ,ตาวัน ตะวัน,ต้นคร้อ ตะคร้อ

  1. “สะ” เช่น สายดือ สะดือ,สาวใภ้ สะใภ้,สายดึง สะดึง
  2. “ฉะ” เช่น ฉันนั้น ฉะนั้น,ฉาด ๆ ฉะฉาด,เฉื่อย ๆ ฉะเฉื่อย
  3. “ยะ” / ระ / ละ เช่น รื่น ๆ ระรื่น,ยิบ ๆ ยับ ๆ ยะยิบยะยับ,ลิบ ๆ ละลิบ
  4. “อะ” เช่น อันไร / อันใด อะไร,อันหนึ่ง อนึ่ง ส่วนคำอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามนี้ได้แก่ ผู้ญาณ พยาน, ช้าพลู ชะพลู,เฌอเอม ชะเอม,ชีผ้าขาว ชีปะขาว เป็นต้น
  5. ข้อใดเป็นคำอุปสรรคชนิดเดียวกันทั้ง 2 คำ
  6. กระทบกระทั่ง กระโชกกระชาก
  7. กระดุกกระดิก กระฉับกระแฉง
  8. กระปุ่มกระป่ำ กระจู๋กระจี๋
  9. กระปอดดกระแปด กระอักกระอ่วน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคำอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกัน คือ การเพิ่มเสียง “กะ หรือกระ” เข้าไปในคำซ้อนเพื่อเสียงที่หน้าพยางค์ต้นและหน้าพยางค์ท้าย ซึ่งมีเสียงเสมอกันและสะกดด้วย “กะ” เหมือนกัน เช่นโชกชาก กระโชกกระชาก, ดุกดิก กระดุกกระดิก, อักอ่วน กระอักกระอ่วน ฯลฯ)

  1. คำอุปสรรคในข้อใดมีความหมายเป็นการีต ที่แปลว่าทำให้
  2. ขยุกขยิก
  3. ชะดีชะร้าย
  4. ประเดี๋ยว
  5. สะสวย

ตอบ 1 หน้า 96 – 98 (52067), 86 – 87 (H) อุปสรรค เทียมเลียนแบบภาษาเขมร เป็นวิธีการแผลงคำของเขมรที่ใช้นำหน้าคำเพื่อประโยชน์ทางไวยากรณ์ ซึ่งจะทำให้ความหมายและหน้าที่ของคำเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ได้แก่

  1. “ชะ / ระ / ปะ / ประ / พะ / สม / สะ” เช่น ชะดีชะร้าย,ระคน,ระคาย,ระย่อ,ปะปน, ปะติดปะต่อ,ประเดี๋ยว,ประท้วง,พะรุงพะรัง,พะเยิบ,สมยอม,สะสาง,สะพรั่ง,สะสวย ฯลฯ
  2. ใช้ “ ข ค ป ผ พ๐ มานำหน้าคำนามและกริยาวิเศษณ์ เพื่อให้มีความหมายเป็นการีต แปลว่า “ทำให้” เช่น ขยุกขยิก,ขยิบ,ขยี้,ขยำ,ปลุก,ปลด,ปละ,ปรุ ฯลฯ
  3. ข้อใดเป็นประโยคคำสั่ง
  4. ลูกชิ้นกินอร่อย
  5. ลวกลูกชิ้นให้สุก ๆ
  6. ลูกชิ้นอะไรน่ะ
  7. ใส่ลูกชิ้นด้วยนะ

ตอบ 2 หน้า 102 (52067), 91 – 92 (H) ประโยค คำสั่ง หมายถึง ประโยคที่ต้องการให้ผู้ฟังทำตามความประสงค์ของผู้พูดอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง มักเป็นประโยคที่ละประธานหรือผู้ทำไว้ในฐานที่เข้าใจและขึ้นต้นด้วยคำกริยา บางครั้งอาจจะมีกริยาช่วย “อย่า ห้าม จง ต้อง” มานำหน้ากริยาแท้เพื่อแสดงการสั่งไม่ให้ทำหรือให้ทำก็ได้ แต่ถ้ามีประธานก็จะเป็นการระบุชื่อหรือเน้นตัวบุคคลเพื่อให้คนที่ถูกสั่งรู้ ตัว

  1. ข้อใดเป็นประโยคขอร้องหรือชักชวน
  2. ห้ามกลับรถ
  3. อย่าแซงทางโค้ง
  4. ขับรถถูกกฎ ลดอุบัติเหตุ
  5. ม.รามคำแหง 100 เมตร

ตอบ 3 หน้า 102 (52067), 92 – 93 (H) ประโยค ขอร้องหรือชักชวน คือ ประโยคที่ผู้พูดต้องการขอร้องหรือชักชวนให้ผู้ฟังทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ตาม ที่ตนต้องการ ซึ่งการใช้คำพูดนั้นจะคล้ายกับประโยคคำสั่ง แต่นุ่มนวลกว่า โดยในภาษาเขียนมักจะมีคำว่า “โปรด,กรุณา” อยู่ข้างหน้าประโยคส่วนในภาษาพูดนั้นมักจะมีคำว่า “เถอะ,น่ะ,นะ,ซิ,ซี, เถอะนะ,น่า ฯลฯ” อยู่ในประโยคด้วย

  1. ข้อใดเป็นประโยคชนิดเดียวกันทั้ง 2 ประโยค
  2. เล่นเกมแก้กลุ้ม – ไม่ไปไม่ได้หรือ
  3. เล่นเกมทำไม – ไปด้วยกันหน่อย
  4. เล่นเกมด้วนกันนะ – อย่าออกไป
  5. เลิกเล่นเกมเดี๋ยวนี้ – ออกไปได้แล้ว

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 35. ประกอบ

ข้อ 38. – 40. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม

  1. เจาะสนาม 2. ข่าวภาคค่ำ 3. คุณพระช่วย 4. ชิมไปบ่นไป
  2. ข้อใดมีภาคกรรม

ตอบ 1 หน้า 105 (52067), 94 – 96 (H) คำในประโยคแบ่งออกเป็น 4 ภาค ได้แก่

  1. ภาคผู้กระทำหรือประธาน มักอยู่หน้าคำกริยา ส่วนจะอยู่ที่ใดของประโยคไม่จำกัด เช่น คุณพระช่วย ฯลฯ
  2. ภาคแสดงหรือกริยา มักอยู่หลังประธานและอยู่หน้ากรรม แต่จะไม่มีกรรมก็ได้ เช่น คุณพระช่วย,เจาะสนาม ฯลฯ และกริยาอาจมีมากกว่าหนึ่งก็ได้ เช่น ชิมไปบ่นไป (มีเฉพาะภาคกริยา)
  3. ภาคผู้ถูกกระทำหรือกรรม มักอยู่หลังกริยา เช่น เจาะสนาม ฯลฯ ภาคขยาย แบ่งออกเป็น ส่วนขยายประธานหรือกรรม (คุณศัพท์) เช่น ข่าวภาคค่ำ (ขยายประธาน),นักร้องร้องเพลงไทยเดิม (ขยายกรรม) ฯลฯ และส่วนขยายกริยา (กริยาวิเศษณ์) เช่น นักร้องร้องเพลงเพราะ ฯลฯ
  4. ข้อใดมีภาคประธานกับกริยา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ

  1. ข้อใดมีเฉพาะภาคกริยาเพียงอย่างเดียว

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ

  1. คำกริยาในข้อใดทำหน้าที่คำนาม
  2. ขี้เกียจได้ดี
  3. ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์
  4. ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม
  5. รักแท้ย่อมแพ้เงิน

ตอบ 4 หน้า 108 – 109 (52067), คำกริยาที่ทำหน้าที่ได้อย่างคำนาม เช่น หาบดีกว่าคอน นอนดีกว่านั่ง รักแท้ย่อมแพ้เงิน ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคำวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่ได้อย่างคำนาม เช่น ขี้เกียจได้ดี,ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์,ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม ฯลฯ )

  1. คำนาม “แดง” ในข้อใดเป็นกรรมของประโยค
  2. แดงดีใจมาก
  3. แดงได้รับคำชม
  4. แดงขอบคุณครู
  5. แดงเป็นเด็กดี

ตอบ 2 หน้า 110 (52067), (คำบรรยาย) การแสดงการก หมายถึง ความ สัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างคำในประโยค ซึ่งสามารถดูได้จากตำแหน่งของคำที่เรียงกันในประโยค แต่บางกรณีคำนามที่เป็นประธานหรือกรรมอาจเปลี่ยนที่ไปได้ คือ ประธานไปอยู่หลังกรรม กรรมมาอยู่หน้ากริยาได้ถ้าต้องการเน้น เช่น ประโยค “แดงได้รับคำชม” ย้ายกรรมมาไว้ที่ต้นประโยคหน้าคำกริยาแล้วละประธานของประโยคไว้ เพราะจริง ๆ แล้วต้องมีผู้ที่ให้คำชมแดง เพียงแต่ว่าคนนั้นไม่ปรากฏในประโยค(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นคำนาม “แดง” เป็นประธานของประโยค)

  1. “นิด” ในข้อใดเป็นสรรพนามบุรุษที่ 2
  2. พ่อไปหานิดมา
  3. นิดกินข้าวหรือยัง
  4. นิดอยู่บ้านยายน้อย
  5. นิดแกเป็นเด็กเรียนเก่ง

ตอบ 2 หน้า 112 – 113 (52067), 99 (H) สรรพนามบุรุษที่ 2 คือ คำที่ใช้แทนตัวผู้ที่พูดด้วย เช่น คุณ เธอ ท่าน เรา เจ้า แก ฯลฯ นอกจากนี้ยังอาจใช้คำนามอื่น ๆ แทนตัวผู้ที่พูดด้วยเพื่อแสดงความสนิทสนมรักใคร่ ได้แก่

  1. ใช้ตำแหน่งเครือญาติแทน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก ตา ยาย ฯลฯ
  2. ใช้ตำแหน่งหน้าที่แทน เช่น ครู อาจารย์ หัวหน้า ฯลฯ
  3. ใช้เรียกบรรดาศักดิ์แทน เช่น ท่านขุน คุณหลวง เจ้าคุณ คุณหญิง ฯลฯ
  4. ใช้ชื่อผู้พูดทั้งชื่อเล่นชื่อจริงแทน เช่น ติ๋ว ต๋อย นิด แดง เป้ ฯลฯ

(ส่วนตัวเลือกข้ออื่น “นิด” เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้ที่พูดถึง)

  1. ข้อใดเป็นสรรพนามที่บอกคำถาม
  2. ทำอะไรถึงมาสาย
  3. ใคร ๆ ก็ไม่รักผม
  4. อะไรก็ดูดีไปหมด
  5. ไหน ๆ เรื่องก็แดงขึ้นแล้ว

ตอบ 1 หน้า 111, 116 – 118 (52067), 99 (H) สรรพนาม ที่บอกคำถาม ได้แก่ ใคร อะไร ใด ไหน ซึ่งเป็นคำกลุ่มเดียวกันกับสรรพนามที่บอกความไม่จำเพาะเจาะจง แต่สรรพนามที่แสดงคำถามจะใช้สร้างประโยคคำถาม เช่น ใครมา, ทำอะไร, ข้อใดผิด, ไปไหนมา ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสรรพนามที่บอกความไม่จำเพาะเจาะจง ซึ่งจะกล่าวถึงบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่แบบลอย ๆ ไม่ชี้เฉพาะเจาะจงว่าเป็นใคร อะไรหรือที่ไหน และไม่ได้เป็นการถาม)

  1. ข้อใดเป็นสรรพนามที่บอกความเฉพาะเจาะจง
  2. บ้างร้องบ้างเต้น
  3. ต่างคนต่างอยู่
  4. ที่เธอพูดมาเป็นเรื่องจริง
  5. นั่นแหละเธอควรรับไปพิจารณา

ตอบ 4 หน้า 111, 116 – 118 (52067), 99 (H) สรรพนามที่บอกความเฉพาะเจาะจง ได้แก่ นี้, นั้น, โน้น, นี่,นั่น, โน่น ฯลฯ ซึ่งคำทั้งหมดนี้ใช้แทนสิ่งที่พูดถึง อะไรก็ได้เพราะไม่ได้ระบุชื่อในขณะนั้นนอกจากนี้ยังมีคำที่สร้างขึ้นใหม่ ได้แก่ นั่นแน่, นั่นแน่ะ,นั่นซิ,นั่นแหละ,นั่นไง,นั่นเป็นไร ฯลฯ ซึ่งใช้เป็นคำอุทานโดยส่วนมาก และแต่ละคำก็มีความหมายเฉพาะเจาะจงแตกต่างกันไป

  1. คำว่า “ไป” ในข้อใดเป็นกริยาช่วย
  2. จะไปไหม
  3. เป็นอะไรไป
  4. ไปด้วยกันไหม
  5. ฉันไปไม่ได้

ตอบ 2 หน้า 120 – 122 (52067), 100 – 101 (H) คำ ว่า “ไป” เป็นได้ทั้งกริยาแท้และกริยาช่วยดังนั้นถ้าจะดูว่าเป็นกริยาแท้หรือกริยา ช่วยต้องดูที่ตำแหน่งในประโยค และเสียงหนักเบาของคำนั้น ๆ กล่าวคือ ถ้าเป็นกริยาช่วยจะมีตำแหน่งอยู่หลังกริยาแท้ และจะมีเสียงเบาและสั้นกว่ากริยาแท้ เช่น เป็นอะไรไป,ทำไป,กินไป ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นคำว่า “ไป” เป็นกริยาแท้ หมายถึง เคลื่อนออกจากที่)

  1. ข้อใดไม่มีกริยาช่วย
  2. เด็กดีต้องตั้งใจเรียน
  3. น้องจะสอบพรุ่งนี้
  4. ครูสอนหนังสือ
  5. แดงกำลังอ่านหนังสือ

ตอบ 3 หน้า 120 (52067), 100 – 101 (H) คำ กริยาช่วย คือ คำที่ช่วยบอกเนื้อความของกริยาแท้ให้แจ่มแจ้งชัดเจน โดยจะบอกให้รู้เกี่ยวกับกาล (เวลา) มาลา (ภาวะหรืออารมณ์) และวาจา (ความสัมพันธ์ระหว่างคำกริยากับคำอื่นในประโยค) ซึ่งแต่ละคำจะมีความหมายต่างกันไป ได้แก่ คง อาจ น่าจะ กำลัง ควร ต้อง ได้ จะ แล้ว อยู่ อยาก ฯลฯ

  1. คำกริยาในข้อใดไม่ได้ความบริบูรณ์
  2. ฝนตก
  3. นกร้อง
  4. แมวกิน
  5. รถวิ่ง

ตอบ 3 หน้า 120 (52067), 100 (H) คำกริยาแท้แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ 1. คำกริยาที่ได้ความบริบูรณ์อยู่ในตัว ไม่ต้องมีกรรมมาช่วย เช่น ฝนตก , น้องร้อง, รถวิ่ง, ฯลฯ 2. คำกริยาที่ยังไม่ได้ความบริบูรณ์ ต้องมีกรรมมาช่วย เช่น แมวกิน (ปลา) ฯลฯ หรือต้องมีส่วนเสริมความ ถ้าเป็นกริยา “เป็น / เหมือน / คล้าย / เท่า” เช่น เขาเป็นคน, เราเหมือนแม่, เธอคล้ายพ่อ, ตัวเขาสูงเท่าเธอ ฯลฯ

ข้อ 49. – 50 จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม

  1. ของเหลือ เกลือขาด
  2. หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

3.ฟ้าสูง แผ่นดินต่ำ

  1. บางคนร้อง บางคนเต้น
  2. ข้อใดมีคำคุณศัพท์บอกภาวะ

ตอบ 4 หน้า 130 (52067), 102 (H) คำคุณศัพท์บอกลักษณะหรือภาวะ (ลักษณคุณศัพท์) แบ่งออกเป็น

  1. บอกลักษณะ ได้แก่ สูง ต่ำ ดำ ขาว ดี เลว งาม สวย น่ารัก แข็ง อ้วน ผอม ล่ำสัน กำยำ อดทน ฯลฯ
  2. บอกภาวะ ได้แก่ เจ็บ ป่วย ตาย เป็น หัก พัง แตก เดาะ ทรุด เซ เท เอียง บอบช้ำ ฟกช้ำ ร้อง เต้น ฯลฯ ซึ่งบางคำอาจใช้เป็นคำกริยาได้
  3. ข้อใดมีคำคุณศัพท์บอกจำนวนนับไม่ได้

ตอบ 1 หน้า 130 – 132 (52067), 102 (H) คำคุณศัพท์บอกจำนวนนับ แบ่งออกเป็น 1. บอกจำนวนนับได้ ได้แก่ หนึ่ง สอง สาม สี่ ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ เดียว เดี่ยว คี่ โสด คู่ ฯลฯ 2. บอกจำนวนนับไม่ได้ หรือบอกจำนวนประมาณ ได้แก่ มาก น้อย นิด หน่อย ครบ พอ เกิน เหลือ ขาด ถ้วน ครบถ้วน หมด ทั้งหลาย ทั้งหมด ทั้งสิ้น ทั้งนั้น ฯลฯ

  1. “รักน้อย ๆ แต่รักนาน ๆ” ประโยคนี้ใช้คำกริยาวิเศษณ์ชนิดใด
  2. บอกเวลา
  3. บอกประมาณ
  4. บอกความแบ่งแยก
  5. บอกความชี้เฉพาะ

ตอบ 2 หน้า 139 (52067), 103 (H) คำ กริยาวิเศษณ์บอกประมาณ ได้แก่ มาก น้อย นิดหน่อย มากมาย เหลือเกิน พอ ครบ ขาด หมด สิ้น แทบ เกือบ จวน เสมอ บ่อย นาน ฯลฯ ซึ่งคำเหล่านี้สามารถใช้เป็นคุณศัพท์ได้แทบทุกคำ

  1. ข้อใดละบุรพบทได้
  2. เธอต้องไปกับฉัน
  3. แดงกำลังคุยกับครู
  4. เขาชอบกินข้าวกับแกงจืด
  5. เขาชอบอยู่กับบ้าน

ตอบ 4 หน้า 143 – 144 (52067), 104 – 105 (H) คำ บุรพบทไม่สำคัญมากเท่ากับคำนาม คำกริยาและคำวิเศษณ์ ดังนั้นบางแห่งไม่ใช้บุรพบทเลยก็ยังฟังเข้าใจได้ ซึ่งบุรพบทที่อาจละได้แล้วความหมายยังเหมือนเดิม ได้แก่ ของ แก่ ต่อ สู่ ยัง ที่ บน ฯลฯ แต่บุรพบทบางคำก็ละไม่ได้เพราะละแล้วความจะเสีย ไม่รู้เรื่อง เช่น เธอต้องไปกับฉัน, แดงกำลังคุยกับครู, เขาชอบกินข้าวกับแกงจืด ฯลฯ จะละบุรพบทได้ก็ต้องดูความในประโยคว่าความหมายต้องไม่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เขาชอบอยู่กับบ้าน (เขาชอบอยู่บ้าน) เป็นต้น

  1. ข้อใดใช้คำบุรพบทอื่นแทนได้
  2. เรื่องนี้จบลงด้วยดี
  3. หนังสือของเธอหายไป
  4. ครูให้ขนมแก่นักเรียน
  5. ปล่อยมันไปตามยถากรรม

ตอบ 1 หน้า 144 – 145 (52067), คำบุรพบทที่นำหน้าคำวิเศษณ์ “ด้วยดี” จะมีความหมายคล้าย “โดยดี” จึงสามารถใช้แทนกันได้ เช่น เรื่องนี้จบลงด้วย / โดยดี ฯลฯ แต่ในบางกรณี “ด้วยดี” กับ “โดยดี” ก็ยังไม่เหมือนกันทีเดียวนัก เช่น พูดจากกันด้วยดี (พูดกันด้วยสันถวไมตรีด้วยอัธยาศัยไมตรี), พูดจากกันโดยดี (ยอมพูดจาปรึกษาหารือ หรือประนีประนอมกันในกรณีที่เกิดการขัดแย้งกันขึ้น) เป็นต้น

ข้อ 54. – 56. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม

  1. เมื่อเห็นหน้าเพื่อน เขาก็นึกถึงเรื่องเก่า ๆ
  2. ถ้าเพื่อนไม่โทรมา เขาก็อาจเป็นฝ่ายโทรไป
  3. เขาคิดถึงเพื่อน เพราะไม่ได้พบกันมานาน
  4. กว่าเพื่อนจะมาถึงบ้าน เขาก็หลับไปแล้ว
  5. คำสันธานใดเชื่อมความขัดแย้งไปคนละทาง

ตอบ 4 หน้า 155 – 156 (52067), 106 (H) คำสันธานที่เชื่อมความที่ขัดแย้งกันไปคนละทาง ได้แก่ แต่, แต่ว่า, แต่ทว่า, จริงอยู่…แต่, ถึง..ก็, กว่า…ก็

  1. คำสันธานใดเชื่อมความแบ่งรับแบ่งสู้

ตอบ 2 หน้า 156 – 157 (52067), 107 (H) คำสันธานที่เชื่อมความคาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้ ได้แก่ ถ้า, ถ้า..ก็, ถ้า..จึง, ถ้าหากว่า, แม้…แต่, แม้ว่า, เว้นแต่ , นอกจาก

  1. คำสันธานใดเชื่อมความคล้อยตามกัน

ตอบ 1 หน้า 153 – 154 (52067), 106 (H) คำ สันธานที่เชื่อมความคล้อยตามกัน ทำนองเดียวกันไม่ขัดแย้งกัน โดยทำหน้าที่เชื่อมความที่เกี่ยวกับเวลา ได้แก่ ก็, แล้ว..ก็, แล้ว..จึง,ครั้น..ก็, เมื่อ..ก็, ครั้น..จึง, เมื่อ..จึง, พอ..ก็ ส่วนที่ทำหน้าที่เชื่อมความให้รวมเข้าด้วยกัน ได้แก่ ทั้ง, ทั้ง..ก็, ทั้ง..และ, ก็ได้, ก็ดี, กับ, และ

  1. ข้อใดใช้คำอุทานในฐานะคำกริยาไม่ถูกต้อง
  2. ชาวบ้านพากันพุทโธที่ผู้ร้ายใจอำมหิตถูกจับ
  3. ฉันไม่อยากขัดใจเพื่อนจึงเออออไปด้วย
  4. เขาเสียคนเพราะถูกผู้ใหญ่โอ๋มาตั้งแต่เด็ก
  5. ผู้คนต่างตกใจที่ได้ยินเสียงเอะอะ

ตอบ 1 หน้า 159 (52067), 109 (H) คำอุทานที่ได้เลื่อนมาเป็นคำกริยา ได้แก่

  1. เออออห่อหมก หมายถึง ตกลงเห็นคล้อยตามไปด้วย
  2. เอออวย หมายถึง พลอยเห็นตามไปด้วย 3. เอะอะ หมายถึง ทำเสียงดังโวยวาย
  3. โอ๋ หมายถึง เอาใจ อย่างเอาใจเด็ก
  4. พุทโธ หมายถึง สงสาร เห็นใจ (ใช้เป็นปฏิเสธว่า ไม่พุทโธ)
  5. โอละพ่อ หมายถึง กลับตรงกันข้าม ผิดคาด
  6. ข้อใดคือลักษณนามของคำว่า “โครงการ”
  7. เรื่อง
  8. บท
  9. สำนวน
  10. โครงการ

ตอบ 4 หน้า 162 (52067), 110 (H) คำ ลักษณนามที่เป็นคำซ้ำกันคำที่มาข้างหน้าคำบอกจำนวนนับเนื่องจากมีคำเป็นอัน มากที่ไม่มีลักษณนามโดยเฉพาะ จึงต้องใช้คำคำเดียวกับคำที่มาข้างหน้าคำบอกจำนวนนับนั้น เช่น โครงการ 1 โครงการ, สะพาน 2 สะพาน ฯลฯ

  1. คำใดใช้คำลักษณนามเดียวกันคำว่ารถยนต์
  2. ไวโอลิน
  3. เลื่อย
  4. เคียว
  5. เครื่องยนต์

ตอบ 1 หน้า 162, 164 (52067), คำลักษณนามที่เป็นการอนุโลมตามแนวเทียบ เช่น คำลักษณนาม “คัน”ใช้สำหรับรถยนต์ ไวโอลัน ช้อน เบ็ด จักร ร่ม ซอ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นใช้ลักษณนามดังนี้ เลื่อย ปื้น, เคียว เล่ม, เครื่องยนต์ เครื่อง)

  1. ข้อใดใช้คำลักษณนามเดียวกันทั้ง 2 คำ
  2. คูหา – ห้องนอน
  3. สักวา – ลำนำ
  4. เครื่องแบบ – เครื่องบันทึกเสียง
  5. คำร้อง – คำขวัญ

ตอบ 2 คำลักษณนาม “บท” ใช้สำหรับสักวา (กลอน) ลำนำ สุภาษิต เสภา กาพย์ โคลง บทเรียน บทเพลง ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นใช้ลักษณนามดังนี้ คูหา คูหา , ห้องนอน ห้อง, เครื่องแบบ ชุด,เครื่องบันทึกเสียง เครื่อง, คำร้อง ฉบับ, คำขวัญ คำขวัญ)

ข้อ 61. – 65. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม

  1. พลอยฟ้าพลอยฝน, ฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า, ฝนตกอย่าเชื่อดาว มีเมียสาวอย่าเชื่อแม่ยาย
  2. น้ำไหลไฟดับ, น้ำซึมบ่อทราย, น้ำหนึ่งใจเดียวกัน
  3. น้ำมาปลากันมด น้ำลดมดกินปลา, ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน, ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
  4. น้ำน้อยแพ้ไฟ, น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ, น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก
  5. ข้อใดเป็นสำนวนทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 119 – 121 (H) ข้อแตกต่างของสำนวน คำพังเพย และสุภาษิต มีดังนี้

  1. สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นอย่างกะทัดรัด ใช้คำน้อยแต่กินความหมายมากและเป็นความหมายโดยนัยหรือโดยเปรียบเทียบ เช่น น้ำไหลไฟดับ (เร็วและคล่องใช้กับกริยาพูด), น้ำซึมบ่อทราย (หามาได้เรื่อย ๆ),น้ำหนึ่งใจเดียวกัน (มีความคิดเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน),พลอยฟ้าพลอยฝน(ไม่ได้เกี่ยวข้องแต่ ก็ร่วมรับเคราะห์ไปกับเขาด้วย)
  2. คำ พังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อตีความ สรุปเหตุการณ์ สภาวการณ์ บุคลิกและอารมณ์ให้เขากับเรื่อง มีความหมายกลาง ๆ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่แฝงคติเตือนใจให้นำไปปฏิบัติหรือไม่ให้นำไปปฏิบัติ เช่น น้ำมาปลากันมด น้ำลดมดกินปลา (ทีใครทีมัน),ฝนตกขี้หมู่ไหล คนจัญไรมาพบกัน (พลอยเหลวไหลไปด้วยกัน),ฝนทั่งให้เป็นเข็ม(เพียรพยายามสุดความสามารถจนกว่า จะสำเร็จผล),ฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า (การทำอะไร ๆ จะให้ถูกใจคนทั้งหมดนั้นเป็นไปไม่ได้)
  3. สุภาษิต หมาย ถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อสั่งสอนโดยตรง ซึ่งอาจเป็นคติ ข้อติติงคำจูงใจ หรือคำห้าม และเนื้อความที่สั่งสอนก็เป็นความจริง เป็นความดีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น น้ำน้อยแพ้ไฟ (ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้างมาก),น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ(อย่าขัดขวางผู้ที่ มีอำนาจ), น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก (แม้จะไม่พอใจก็ต้องแสดงสีหน้ายิ้มแย้ม),ฝนตกอย่าเชื่อดาว มีเมียสาวอย่าเชื่อแม่ยาย (อย่าไว้วางใจใครหรืออะไรจนเกินไป)
  4. ข้อใดมีแต่คำพังเพย

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

  1. ข้อใดล้วนเป็นสุภาษิตทั้งสิ้น

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

  1. ข้อใดเรียงลำดับตั้งแต่สำนวน คำพังเพย และสุภาษิต

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

  1. “ฝน” ในข้อใดที่มีความหมายแตกต่างจาก “ฝน”อื่น ๆ ในกลุ่มตัวเลือกข้อ 1. กับ 3. ข้างต้น

ตอบ 3 “ฝน”ในตัวเลือกข้อ 3 คือ “ฝนทั่งให้เป็นเข็ม” เป็นคำกริยาที่มีความหมายว่า ลับ เช่น ฝนมีด ฝนทั่ง (ทั่ง : แท่งเหล็กสำหรับช่างใช้รองรับในการตีโลหะ) ส่วน “ฝน” ในประโยคอื่นเป็นคำนามที่มีความหมายว่า น้ำที่ตกลงมาจากเมฆเป็นเม็ด ๆ

ข้อ 66. – 75. อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม โดยให้สัมพันธ์กับข้อความที่ให้อ่าน

น้ำเหนือหลากมาไหลบ่าพัดวนเจิ่งล้นท่วมฝั่ง

สายชลไหลหลั่งระลอกพลิ้วลงใต้

ฝนเหนือตั้งเค้าทั่วไป เมฆดำคร่ำฟ้ารำไร

แมกไม้ผลิใบรอฝนมา

เพลง น้ำเหนือบ่า

ประพันธ์เพลง ไพบูลย์ บุตรขัน

ขับร้อง ทูล ทองใจ

บทเพลงแห่งฤดูน้ำหลาก เปลี่ยน ความลำบากเป็นเสียงเพลง บรรเลงอารมณ์สุนทรีย์ไปกับสายน้ำในยามหลากหลั่งประเดประดัง ทั้งน้ำเหนือหลากมา น้ำทะเลหนุนดัน และน้ำฝนดีเปรสชั่นฉ่ำโชก กรุงเทพฯซึ่งอยู่เกือบปลายสุดของแม่น้ำเจ้าพระยาจึงถึงเวลาได้เล่นเพลงเรือ บนทางด่วน..ยังไม่ถึงขนาดนั้นหรอกน่า

สมัยยังไม่มีเขื่อน ฤดูน้ำหลากเป็นฤดูหนึ่งเมื่อถึงเวลากลางหรือปลายฤดูฝน น้ำหลากต้องมาท่วมท้นคนก็ถือเป็นปกติ เป็นปกติคือมีการปรับชีวิตความเป็นอยู่ให้ไม่เดือดร้อนกับน้ำท่วม เช่น เตรียมโคกหรือดินดอนไว้เป็นที่อพยพหมูหมาวัวควายไก่กาไปไว้ หมู่บ้านของผมที่ปทุมธานีอันเป็นที่ราบลุ่มตอนล่างพื้นที่จะต่ำกว่าที่ราบลุ่มตอนบนกลางหมู่บ้านเขาจะขุดดินมาถมเป็นโคกสูงกว้าง พอน้ำท่วมมาทุกครัวเรือนก็สามารถไปใช้บริการโคกเนินนี้ได้

ยังไม่นับการเป็นอยู่ที่สอดคล้องกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม ปลูกบ้านใต้ถุนสูง – สูงมาก ในฤดูอื่นก็ใช้ใต้ถุนบ้านเป็นที่อาศัยอยู่สบาย อากาศเย็น ราวกับติดแอร์ด้วยความเย็นจากพื้นดินและไอน้ำในคลอง เดินทางไปไหนมาไหนก็ใช้เรือพายหรือเรือหางยาวอยู่แล้ว น้ำจะท่วมไม่ท่วมก็ไม่เดือดร้อนเรื่องเดินทาง ตรงกันข้ามในฤดูน้ำหลาก การเดินทางทางเรือยิ่งสะดวก เพราะไปได้ถึงไหนๆ ไม่ติดกั้นคันคูคลอง

ฤดูน้ำหลากยังมีผักหญ้าปลาปูอุดมสมบูรณ์ ชดเชยกับผักหญ้าที่ถูกท่วมไป เช่น มีบัวสายนานาชนิดดอกสันตะวาที่แกงส้มเสนอร่อย มีดอกโสน ผักบุ้ง กระจับ ฯลฯ ส่วนปลานั้นหายห่วง มีชุกชุมชนิดแทบจะเอื้อมหยิบเอาตรงข้างสำรับได้เลย เพราะน้ำท่วม ปลา ก็จะว่ายเวียนมาเลาะหากินอยู่แถวข้างครัวปลาสร้อยว่ายมาเป็นฝูง ๆ เป็นพันเป็นหมื่นตัวให้ยกยอเอามาหมักทำน้ำปลา เด็ดกว่าอื่นใดคือ มีกุ้งก้ามกรามตัวโต ๆ ก้ามสีคราม ๆ ม่วง ๆ ว่ายมาตามแม่น้ำให้คนจับกินจับขาย

เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้ว่าน้ำท่วมบางปีถึงขั้นนาล่ม พืชผักเสียหาย แต่ขณะเดียวกันธรรมชาติก็ชดเชยให้ด้วยผักปลาที่มีมากับน้ำหลาก ใช้ชีวิตพออยู่ได้ไม่อับจน

และหากน้ำท่วมนานเป็นเดือน คนเราก็คิดหาวิธีปลูกพริกผักสวนครัว โดยเอาผักตบชวามาถมทับกันเป็นแพหนา ๆ แล้วงมดินเลนมาโปะทับอีกที กลายเป็นแปลงดินลอยน้ำอยู่ได้เป็น 2 – 3 เดือน พอจะปลูกพืชผักสวนครัว หรือกระทั่งปลูกอ้อยก็ยังได้ ผักตบชวาที่เน่าเปื่อยก็เป็นปุ๋ยไปในตัว…ฉลาดดีไหมภูมิปัญญาชาวบ้านยุคไม่มีเขื่อน

ไม่ว่าปทุมธานี หรือกรุงเทพฯ ผู้คนยุคก่อนก็ตั้งหลักปักฐานบนพื้นฐานความคิดว่า เราเป็นเมืองลุ่มถึงฤดูน้ำต้องหลากท่วม ยิ่งเป็นเมืองลุ่มต่ำเท่าไรน้ำยิ่งท่วมสูง

แต่เมื่อเปลี่ยนจากเดินทางด้วยเรือมาใช้รถใช้ถนน จากไม่มีเขื่อนมามีเขื่อนที่บางปีน้ำก็ไม่หลากหากฝนไม่ตกมากพอ ครั้นปีใดน้ำหลากท่วมมันจึงเป็นเรื่องผิดปกติ เดือดร้อนลำเค็ญแล้วจะเป็นเช่นใด

กลายเป็นความอีหลักอีเหลื่อของคนร่วมยุคสมัย บ้างก็เสนอให้สร้างเขื่อน ถ้า สร้างอีกสักสิบเขื่อนน้ำจะยังท่วมอีกไหม…ก็ยังท่วมอยู่ดีแหละถ้าฝนตกหนัก ๆ อีกฝ่ายก็บอกสร้างเขื่อนแต่ละครั้ง ป่าเขาก็จมน้ำเป็นแถบ ๆ สายชีวิตสัตว์น้ำก็ถูกทำลาย ฯลฯ

อีหลักอีเหลื่ออย่างนี้ยังจะมีอารมณ์ร้องเพลง น้ำเหนือบ่า ตามทูล ทองใจ อีกไหมนี่

(จากคอลัมน์ คมเคียวคมปากกา โดยไผ่เสี้ยว นาน้ำใส หนังสือพิมพ์ คม – ชัด – ลึก ประจำวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2545)

  1. ในเรื่องน้ำหลากประเด็นใดที่แตกต่างกันระหว่างอดีตกับปัจจุบัน
  2. ฤดูกาล
  3. ความรู้
  4. ความรู้สึก
  5. ความคิด

ตอบ 4 จากข้อความ…. ไม่ว่าปทุมธานี หรือกรุงเทพฯ ผู้คนยุคก่อนก็ตั้งหลักปักฐานบนพื้นฐานความคิดว่าเราเป็นเมืองลุ่ม ถึงฤดูน้ำต้องหลากท่วม ยิ่งเป็นเมืองลุ่มต่ำเท่าไรน้ำยิ่งท่วมสูง แต่ เมื่อเปลี่ยนจากเดินทางด้วยเรือมาใช้รถใช้ถนน จากไม่มีเขื่อนมามีเขื่อนที่บางปีน้ำก็ไม่หลากหากฝนไม่ตกมากพอครั้นปีใดน้ำ หลากท่วมมันจึงเป็นเรื่องผิดปกติ เดือดร้อนลำเค็ญแล้วจะเป็นเช่นใด

  1. ข้อใดสรุปพฤติกรรมของคนในอดีตเมื่อถึงฤดูน้ำหลากได้อย่างถูกต้อง
  2. เป็นฤดูที่อากาศดีที่สุด
  3. เป็นฤดูที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด
  4. เป็นช่วงที่สามารถปรับวิกฤตให้เป็นโอกาสได้
  5. เป็นโอกาสเดียวที่ชาวบ้านจะได้แสดงภูมิปัญญาท้องถิ่น

ตอบ 3 จากข้อความ.. ฤดูน้ำหลากยังมีผักหญ้าปลาปูอุดมสมบูรณ์ ชดเชยกับผักหญ้าที่ถูกท่วมไป เช่น มีบัวสายนานาชนิดดอกสันตะวาที่แกงส้มเสนอร่อย มีดอกโสน ผักบุ้ง กระจับ ฯลฯ ส่วนปลานั้นหายห่วง มีชุกชุม…เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้ว่าน้ำท่วมบางปีถึงขั้นนาล่ม พืชผักเสียหาย แต่ขณะเดียวกันธรรมชาติก็ชดเชยให้ด้วยผักปลาที่มีมากับน้ำหลาก ใช้ชีวิตพออยู่ได้ไม่อับจน

  1. ผู้เขียนมีทัศนะต่อ “บ้านใต้ถุนสูง”อย่างไร
  2. ล้าสมัยเหมาะสมเฉพาะในอดีต
  3. ปรับให้เป็นประโยชน์ได้ทุกฤดู
  4. เป็นที่นิยมแต่ในต่างจังหวัด
  5. สิ้นเปลืองทั้งค่าวัสดุและแรงงานก่อสร้าง

ตอบ 2 จากข้อความ…ปลูกบ้านใต้ถุนสูง – สูงมาก ในฤดูอื่นก็ใช้ใต้ถุนบ้านเป็นที่อาศัยอยู่สบาย อากาศเย็น ราวกับติดแอร์ด้วยความเย็นจากพื้นดินและไอน้ำในคลอง เดินทางไปไหนมาไหนก็ใช้เรือพายหรือเรือหางยาวอยู่แล้ว น้ำจะท่วมไม่ท่วมก็ไม่เดือดร้อนเรื่องเดินทาง ตรงกันข้ามในฤดูน้ำหลาก การเดินทางทางเรือยิ่งสะดวก เพราะไปได้ถึงไหน ๆ ไม่ติดกั้นคันคูคลอง

  1. น้ำหลากมีผลอย่างไรต่อพืชพันธุ์ธัญญาหาร
  2. ฤดูน้ำท่วมเสียหาย
  3. ได้ประโยชน์จากพันธุ์ไม้น้ำ
  4. มีทั้งที่งอกงามและเสียหาย
  5. ชาวบ้านใช้ภูมิปัญญาปลูกพืชลอยน้ำ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 67. ประกอบ

  1. สิ่งใดในโลกปัจจุบันที่มีใช้ต่างจากอดีตและได้รับผลกระทบจากฤดูน้ำหลากมากที่สุด
  2. อาหาร
  3. อากาศ
  4. พาหนะ
  5. พาหะนำโรค

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 66. และ 68. ประกอบ

  1. ผู้เขียนมีทัศนะอย่างไรต่อเขื่อน
  2. ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม
  3. ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ
  4. ธรรมชาติยังมีอิทธิพลมากกว่าเขื่อน
  5. เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณเขื่อน

ตอบ 3 จากข้อความ….กลายเป็นความอีหลักอีเหลื่อของคนร่วมยุคสมัย บ้างก็เสนอให้สร้างเขื่อน ถ้า สร้างอีกสักสิบเขื่อนน้ำจะยังท่วมอีกไหม…ก็ยังท่วมอยู่ดีแหละถ้าฝนตกหนัก ๆ อีกฝ่ายก็บอกสร้างเขื่อนแต่ละครั้ง ป่าเขาก็จมน้ำเป็นแถบ ๆ สายชีวิตสัตว์น้ำก็ถูกทำลาย ฯลฯ

  1. แนวคิดหลักของข้อความที่ให้อ่านคืออะไร
  2. ความสัมพันธ์ระหว่างเพลงกับฤดูกาล
  3. ธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจในการประพันธ์
  4. ความเข้าใจธรรมชาติย่อมเป็นการปรับตัวที่ให้ผลดี
  5. ธรรมชาติก็คือธรรมชาติหาความแน่นอนใด ๆ มิได้

ตอบ 3 (คำบรรยาย) แนวคิดหลัก (Theme) คือ สารัตถะ แก่นเรื่อง หรือสาระสำคัญของเรื่องที่ผู้เขียนมุ่งจะสื่อถึงผู้อ่าน เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชื่อเรื่อง โดยจะมีใจความครอบคลุมรายละเอียดทั้งหมดและมีลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งแนวคิดหลักหรือสารัตถะสำคัญของเรื่องนี้ ได้แก่ ความเข้าใจธรรมชาติย่อมเป็นการปรับตัวที่ให้ผลดี

  1. วรรณกรรมที่ให้อ่านจัดเป็นประเภทใด
  2. ข่าว
  3. บทวิจารณ์
  4. ปาฐกถา
  5. ความเรียง

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ความเรียง คือ งานเขียนที่มีการนำเสนอข้อมูลที่ได้มาจากการสังเกตหรือประสบการณ์ ซึ่งอาจจะเป็นข้อเท็จจริง ทัศนคติ ข้อคิดเห็น หรือข้อความที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกจากนั้นจึงสรุปให้เห็นความสำคัญของเรื่อง พร้อมทั้งเสนอข้อคิดให้ผู้อ่านนำไปพิจารณา

  1. โวหารการเขียนส่วนใหญ่เป็นแบบใด
  2. บรรยาย
  3. อธิบาย
  4. อภิปราย
  5. พรรณนา

ตอบ 2 หน้า 72 (46134), (คำบรรยาย) โวหารเชิงอธิบาย คือ โวหารที่ใช้ในการชี้แจงเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ซึ่งเป็นการให้ความรู้หรือข้อมูลเพียงด้านเดียวอาจจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบก็ได้ โดยมีการชี้แจงแสดงเหตุและผล การยกตัวอย่างประกอบการเปรียบเทียบ และการจำแนกแจกแจง เช่น การอธิบายกฎเกณฑ์ ทฤษฎี และวิธีการต่าง ๆ

  1. ท่วงทำนองเขียนจัดเป็นแบบใด
  2. เป็นภาษาพูด ใช้คำมีภาพพจน์
  3. เรียบง่าย
  4. กระชับรัดกุม
  5. สละสลวย

ตอบ 1 หน้า 42,57,63(46134), ผู้เขียนมีท่วงทำนองเขียนแบบที่ใช้ภาษาพูดหรือภาษาปากเป็นส่วนใหญ่และมีการใช้คำที่มีภาพพจน์ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกนึกเห็นเป็นภาพขึ้นในใจ ส่งผลให้ท่วงทำนองเขียนมีน้ำหนัก สามารถเร้าให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกสนใจและประทับใจ

  1. ข้อใดสะกดถูกทุกคำ
  2. การประปา ปราชญ์เปรื่อง
  3. ประสีประสา ปราศัย ปฏิสันถาร
  4. ปกฏิหาริย์ ไปรษณียบัตร ประสบการณ์
  5. ปล้นสะดม ปลาสเตอร์ ปะแล่ม ๆ

ตอบ 4 คำที่สะกดผิด ได้แก่ ปราชญ์เปรื่อง ปราศัย ไปรษณีย์บัตร ซึ่งที่ถูกต้องคือ ปราดเปรื่อง ปราศรัย ไปรษณียบัตร

  1. ข้อใดสะกดผิดทุกคำ
  2. บำเหน็จ สูจิบัตร บรรเทา
  3. บุคคลากร บิณฑบาต เบญจเพศ
  4. เบรก แบ่งสันปันส่วน บูรณปฏิสังขรณ์
  5. บังสุกุล บันลือ บาดทะยัก

ตอบ 2 คำที่สะกดผิด ได้แก่ บุคคลากร บิณฑบาตร เบญจเพศ บูรณปฏิสังขรณ์ ซึ่งที่ถูกต้องคือ บุคลากร บิณฑบาต เบญจเพส บูรณปฏิสังขรณ์

  1. ข้อใดมีคำที่สะกดถูกขนาบคำที่สะกดผิด
  2. สเปน เวิร์ลด์ อิเล็กโทน
  3. ไอศกรีม เอเชีย วิดีโอ
  4. อาคเนย์ อาเซีย วีดิทัศน์
  5. หญ้าฝรั่น สนุกเกอร์ เทคนิค

ตอบ 1 คำที่สะกดผิด ได้แก่ เวิร์ลด์ วิดีโอ ซึ่งที่ถูกต้องคือ เวิลด์ วีดิโอ

  1. ข้อใดมีคำที่สะกดถูกสลับกับคำที่สะกดผิด
  2. มหรสพ มัธยัสถ์ มุขเด็จ มุตเกิด
  3. เรื่องมโนสาเร่ ภูตผี อยู่ในภวังค์ ภารกิจ
  4. เภทภัย แมงกะพรุน เชือกมนิลา มลทิน
  5. มลายู ยุงก้นปล่อง มาตรการ มังสะวิรัติ

ตอบ 4 คำที่สะกดผิด ได้แก่ ยุงก้นป่อง มังสะวิรัติ ซึ่งที่ถูกต้องคือ ยุงก้นปล่อง มังสวิรัติ

  1. ข้อใดมีคำที่สะกดผิดขนาบคำที่สะกดถูก
  2. วิกฤตการณ์ รักษาการ อุบัติการณ์
  3. ปรากฏการณ์ รักษาการณ์ โครงการ
  4. เห็นกาลไกล แผนการ อุดมการณ์
  5. ดนตรีการ สถานการณ์ สังเกตการณ์

ตอบ 3 คำที่สะกดผิด ได้แก่ เห็นกาลไกล อุดมการ ซึ่งที่ถูกต้องคือ เห็นการณ์ไกล อุดมการณ์

ข้อ 81. – 90. เลือกราชาศัพท์หรือคำที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุดในแต่ละข้อเพื่อเติมลงในช่องว่างระหว่างข้อความต่อไปนี้

การแข่งขันกีฬา (81.) ไม่เพียงแต่จะเป็นที่สนใจของคนรักที่กีฬาจากทั่วโลก บรรดาเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงในยุโรปก็ (82.) เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น (83.) ของกษัตริย์ (84.) ซึ่ง (85.) ในประเทศกรีซไต้ (86.) เพื่อ (87.) ฟุตบอล เจ้าฟ้าหญิงแอนน์ (88.) (89.) (90.) สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2แห่งอังกฤษเสด็จทรงเชียร์การแข่งขันเรือแคนู

  1. 1. โอลิมปิค
  2. โอริมปิค
  3. โอลิมปิก
  4. โอริมปิก

ตอบ 3 โอลิมปิก หมายถึง การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศซึ่งจัดให้มีขึ้นทุก ๆ 4 ปี ในประเทศต่าง ๆ ตามแต่จะตกลงกัน

  1. 1. สนใจ
  2. ทรงสนใจ
  3. สนพระทัย
  4. ทรงสนพระหทัย

ตอบ 3 หน้า 111 , 113 (H) (คำบรรยาย) การเติม “ทรง” หน้ากริยาราชาศัพท์ ตามหลักเกณฑ์จะเติมเพื่อทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระราชสมภพ (เกิด), ทรงพระดำเนิน (เดิน) ฯลฯ แต่ห้ามเติม “ทรง” ซ้อนคำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น สนพระทัย (สนใจ),เสด็จ พระราชดำเนิน / เสด็จฯ(เดินทางไปโดยยานพาหนะ), ทอดพระเนตร (ดู/ชม) เป็นต้น (ซึ่งในข้อนี้บรรดาเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงยุโรป เป็นเจ้านายในราชวงศ์ต่างประเทศ จึงต้องใช้คำราชาศัพท์)

  1. 1. ชายา
  2. พระชายา
  3. มเหสี
  4. พระมเหสี

ตอบ 4 พระมเหสี หมายถึง ชายาของพระเจ้าแผ่นดิน โดยต้องมีคำว่า “พระ” นำหน้าคำนามสามัญเพื่อให้แตกต่างจากสามัญชนโดยทั่วไป (ส่วนคำว่า “พระชายา” หมายถึง พระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์)

  1. 1. เสปน
  2. เสปญ
  3. สเปน
  4. สเปญ

ตอบ 3 สเปน เป็นชื่อเรียกประเทศประเทศหนึ่งในยุโรปใต้ มีเมืองหลวงชื่อ มาดริด และมีประชากรประมาณ 40.1 ล้านคน (ข้อมูล ปี พ.ศ. 2553)

  1. 1. ทรงประสูติ
  2. ทรงพระราชสมภพ
  3. มีพระประสูติกาล
  4. มีพระประสูติการ

ตอบ 2 (ดูคำอธิบายข้อ 82. ประกอบ) คำว่า “ทรงพระราชสมภพ” หมายถึง เกิด ใช้กับพระมหากษัตริย์พระราชินี และพระราชวงศ์ลำดับ 2 (ส่วนคำว่า “ประสูติ” = เกิด ใช้กับสมเด็จเจ้าฟ้าลงไป, “มีพระประสูติกาล” = เวลาเกิด, “มีพระประสูติการ” = การเกิด)

  1. 1. เสด็จ
  2. เสด็จฯ
  3. ทรงพระดำเนิน
  4. ทรงเสด็จพระราชดำเนิน

ตอบ 2 (ดูคำอธิบายข้อ 82. ประกอบ) คำว่า “เสด็จพระราชดำเนิน / เสด็จฯ” หมายถึง เดินทางไปโดยยานพาหนะ ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลำดับ 2 (ส่วนคำว่า “เสด็จ” = เดินทางไปโดยยานพาหนะ ใช้กับสมเด็จเจ้าฟ้าลงไป)

  1. 1. ทรงชม
  2. ทรงดู
  3. ทอดพระเนตร
  4. ทรงทอดพระเนตร

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 82. ประกอบ

  1. 1. ธิดา
  2. พระธิดา
  3. พระราชธิดา
  4. สมเด็จพระราชธิดา

ตอบ 3 พระราชธิดา หมายถึง ลูก สาวของพระเจ้าแผ่นดิน โดยต้องมีคำว่า “พระราช” นำหน้าคำนามสามัญเพื่อใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์และพระราชินี (ซึ่งในข้อนี้มีความหมายว่าเป็นธิดาของสมเด็จพระราชินีนาถ จึงต้องใช้ราชาศัพท์ว่า พระราชธิดา)

  1. 1. ท่านเดียว
  2. องค์เดียว
  3. องก์เดียว
  4. พระองค์เดียว

ตอบ 4 หน้า 174 (52067) คำสรรพนามราชาศัพท์ที่ใช้แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ 3) ได้แก่

  1. พระองค์ ใช้แทนพระเจ้าแผ่นดิน พระราชินี พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้า เจ้าฟ้าและเหนือขึ้นไป (จะไม่ใช้คำว่า พระองค์ท่าน)
  2. ทูลกระหม่อม ใช้แทนเจ้านายชั้นเจ้าฟ้าที่มีพระราชชนนีเป็นอัครมเหสี
  3. เสด็จ ใช้แทนเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าที่เป็นลูกเธอและหลานเธอ ซึ่งมีพระอัยการเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
  4. ท่าน ใช้แทนเจ้านายทั่วไป ขุนนาง พระสงฆ์ ฯลฯ
  5. 1. แห่ง
  6. ของ
  7. ใน

ตอบ 3 หน้า 151 – 152 (52067) คำว่า “ใน” หมายถึง แห่ง ของ ใช้เป็นคำสุภาพนำหน้าคำแสดงความเป็นเจ้าของสำหรับเจ้านายในราชวงศ์ (ส่วนคำว่า “ของ” ใช้นำหน้านามที่เป็นผู้ครอบครองซึ่งเป็นบุคคลสามัญ “แห่ง” ใช้นำหน้าคำแสดงความเป็นเจ้าของโดยเฉพาะที่เป็นนามธรรม, “ณ” เป็นคำบ่งเวลาหรือสถานที่ว่าตรงนั้นตรงนี้)

ข้อ 91. – 95. จงเลือกคำที่มีความหมายต่างจากคำอื่น ๆ

  1. 1. บทความ
  2. สารคดี
  3. วารสาร
  4. นวนิยาย

ตอบ 3 คำว่า “วารสสาร” หมายถึง หนังสือ ที่ออกตามกำหนดเวลา เช่น วารสารราชบัณฑิตยสถานวารสารศิลปากร วารสารกรมการแพทย์ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นวรรณกรรมหรือข้อเขียนในรูปร้อยแก้วประเภทต่าง ๆ)

  1. 1. สวมแว่น
  2. สวมรอย
  3. สวมเสื้อ
  4. สวมหมวก

ตอบ 2 คำว่า “สวมรอย” หมายถึง เข้าแทนที่คนอื่นโดยทำเป็นทีให้เข้าใจว่าตนเองเป็นตัวจริง (ส่วน ตัวเลือกข้ออื่นเป็นกิริยาที่เอาของที่เป็นโพรงเป็นวงครอบลงบนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น สวมหมวก, นุ่ง, เช่น สวมกางเกง, ใส่ เช่น สวมเสื้อ สวมแว่น ฯลฯ)

  1. 1. พัดชา
  2. พัดชัก
  3. พัดโบก
  4. พัดยศ

ตอบ 1 คำว่า “พัดชา” หมายถึง ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง ชื่อท่ารำท่าหนึ่ง (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ใบกลม หรือพัดให้เย็น)

  1. 1. สีขาว
  2. สีเข้ม
  3. สีขาบ
  4. สีเขียว

ตอบ 2 คำว่า “สีเข้ม” หมายถึง ลักษณะของสีที่แก่จัด (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นชนิดของสี เช่น สีขาว = มีสีอย่างสำลี, สีขาบ = สีน้ำเงินแก่อมม่วง, สีเขียว = มีสีอย่างใบไม้สด เป็นต้น)

  1. 1. ทำนา
  2. ทำไร่
  3. ทำสวน
  4. ทำเหมือง

ตอบ 4 คำว่า “ทำเหมือง” หมายถึง การ ประกอบอาชีพขุดแร่หรือหาแร่ในลักษณะที่เป็นอุตสาหกรรมซึ่งต้องใช้ทุนและแรง งานในการผลิตจำนวนมาก (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นการใช้ที่ดินเพาะปลูกพืชชนิดต่าง ๆ)

  1. ลักษณนามของ “ซอ” คืออะไร
  2. เล่ม
  3. อัน
  4. คัน
  5. ด้าม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 59. ประกอบ

  1. ลักษณนามของ “ลูกคิด” คืออะไร
  2. ลูก
  3. เครื่อง
  4. อัน
  5. ราง

ตอบ 4 คำลักษณนาม “ราง” จะใช้เฉพาะสิ่งที่มีลักษณะเป็นราง เช่น ลูกคิดรางหนึ่ง, ระนาด 2 ราง, รางรถไฟ 3 ราง เป็นต้น

  1. “คนขยันไม่ย่อท้อ…..ความยกลำบาก” ใช้บุรพบทคำใด
  2. กับ
  3. ต่อ
  4. ใน
  5. แก่

ตอบ 2 หน้า 146 (52067), 105 – 106 (H) คำ ว่า “ต่อ” เป็นบุรพบทที่ใช้นำหน้าคำที่เกี่ยวกับการใช้การรับแต่มักจะใช้นำหน้าความที่ เป็นผู้รับต่อหน้า เผชิญหน้าเป็นที่ประทุษร้าย เช่น คนขยันไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก (ความยากลำบากที่เห็นอยู่ต่อหน้า)

  1. “เขาเน้นเสมอว่ากลัวอะไร..ความจน” ใช้บุรพบทใด
  2. ต่อ
  3. ซึ่ง
  4. ใน
  5. กับ

ตอบ 4 หน้า 144 (52067), 105 (H) คำว่า “กับ” เป็นบุรพบทที่ใช้นำหน้าคำที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น ได้ยินกับหู เขียนกับมือ ฯลฯ หรือใช้นำหน้าคำที่เป็นเครื่องประกอบ เครื่องเกี่ยวเนื่องกัน เช่น พูดกับเพื่อน กลัวอะไรกับความจน ฯลฯ

  1. “เขามาโรงเรียน…ไม่เรียนหนังสือจึงสอบตก” ใช้สันธานใด
  2. กับ
  3. ด้วย
  4. แต่
  5. มิฉะนั้น

ตอบ 3 (ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ) คำว่า “แต่” เป็นสันธานที่ใช้เชื่อมความที่ขัดแย้งกัน ซึ่งใช้เชื่อมได้ทั้งที่ประธานคนเดียวกันทำกริยาต่างกัน เช่น เขามาโรงเรียนแต่ไม่เรียนหนังสือ ฯลฯ หรือประธานคนละคนกันก็ได้ เช่น ฉันชอบแมวแต่น้องชอบหมา ฯลฯ

  1. ความสำเร็จของการใช้ภาษาขึ้นอยู่กับสิ่งใด
  2. ผู้รับภาษา
  3. ผู้ส่งภาษา
  4. ลักษณะของภาษา
  5. ทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 1 (46134) ประสิทธิภาพหรือความสำเร็จของการใช้ภาษาย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่อไปนี้

  1. ผู้ส่งภาษา ซึ่งจะใช้ภาษาโดยการพูดและการเขียน
  2. สาร (ลักษณะของภาษา)
  3. ผู้รับภาษา ซึ่งจะให้ภาษาโดยการฟังและการอ่าน
  4. ผู้รับภาษาใช้ภาษาในลักษณะใด
  5. พูดและฟัง
  6. ฟังและเขียน
  7. อ่านและฟัง
  8. เขียนและอ่าน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 101. ประกอบ

  1. ปัญหาการใช้ภาษาที่เห็นได้ชัดเจนคือข้อใด
  2. อ่านและเขียน
  3. เขียนและพูด
  4. ฟังและอ่าน
  5. พูดและฟัง

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ปัญหาการใช้ภาษาที่สามารถเห็นได้ชัดเจน คือ การ เขียนและพูดซึ่งถือเป็นกระบวนการภายนอก เพราะเป็นการใช้ภาษาที่ปรากฏออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด ส่วนการฟังและอ่านถือเป็นกระบวนการภายใน เพราะเป็นการใช้ภาษา ที่สังเกตเห็นได้ยาก กล่าวคือ ผู้พูดและผู้เขียนมิอาจทราบได้ว่าผู้ฟังและผู้อ่านเข้าใจสารที่ตนส่งหรือ สื่อออกไปหรือไม่ เพียงไร

  1. การใช้ภาษาลักษณะใดที่ทำให้เกิดความรู้ความคิด
  2. เขียนและอ่าน
  3. ฟังและอ่าน
  4. พูดและฟัง
  5. ฟังและเขียน

ตอบ 2 หน้า 2, 81 (46134) การฟังและการอ่านเป็นการใช้ภาษาในการรับรู้เรื่องราวเพื่อจะได้เกิดความจำ ความเข้าใจ ความรู้ ความ คิด และความบันเทิง ส่วนการพูดและการเขียนนั้นเป็นการใช้ภาษาในการนำความรู้ ความคิด หรือความต้องการของเราถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ

  1. การใช้ภาษาคือการใช้สิ่งใด
  2. ภาพ
  3. เสียงพูด
  4. ตัวอักษร
  5. ระบบสัญลักษณ์

ตอบ 4 หน้า 1 (46134), (คำบรรยาย) การใช้ภาษา หมายถึง การ สื่อสารทำความเข้าใจกันโดยใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียน อันเป็นระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์ใช้เป็นสื่อหรือเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร ถึงกันดังนั้นการใช้ภาษาจึงหมายถึงการใช้ระบบสัญลักษณ์ ซึ่งก็คือ หลักภาษา ลักษณะภาษาหรือไวยากรณ์ต่าง ๆ ที่จัดขึ้นอย่างมีระบบระเบียบ

  1. หน้าที่ของคำในประโยคเกี่ยวข้องกับเรื่องใด
  2. ระดับของคำ
  3. น้ำหนักของคำๆ
  4. ความหมายของคำ
  5. ทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 5 (46134) หน้าที่ ขอคำในประโยคจะเกี่ยวข้องกับความหมายของคำ เพราะตามปกติคำมีความหมายอย่างไรนั้นย่อมขึ้นอยู่กับตำแหน่งหรือหน้าที่ของ คำในข้อความที่เรียบเรียงขึ้นนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความเข้าใจหรือการแปล ความหมายของผู้ใช้อีกด้วย

  1. การใช้ภาษาให้ถูกระดับเกี่ยวข้องกับสิ่งใด
  2. กาละ
  3. เทศะ
  4. บุคคล
  5. ทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 6 – 10 , 15 – 16 (46134) คำในภาษาไทยมีระดับต่างกัน นั่นคือ มี การกำหนดคำให้ใช้แตกต่างกันไปตามความหมายเหมาะสมแก่บุคคลและการเทศะ ซึ่งจะต้องรู้ว่าในโอกาสใด สถานที่เช่นไร และกับบุคคลใดจะใช้คำหรือข้อความใดจึงจะเหมาะสม ดังนั้นจึงมีการแบ่งคำเพื่อนำไปใช้ในที่สูงต่ำต่างหันตามความหมายเหมาะสมหรือตามการยอมรับของสังคมเป็น 2 ระดับ คือ

  1. คำที่ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ ได้แก่ คำราชาศัพท์ คำสุภาพ และคำเฉพาะวิชาหรือศัพท์บัญญัติ
  2. คำที่ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ สามารถใช้คำได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นคำปากหรือคำตลาด คำสแลง คำเฉพาะอาชีพ คำโฆษณา คำภาษาถิ่น ฯลฯ และคำที่ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ
  3. คำสแลงเป็นคำที่ใช้ในภาษาระดับใด
  4. ทางการ
  5. กึ่งทางการ
  6. ไม่เป็นทางการ
  7. ทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 107. ประกอบ

  1. ในโอกาสไม่เป็นทางการสามารถใช้คำประเภทใดได้
  2. คำปาก
  3. คำสุภาพ
  4. คำภาษาถิ่น
  5. ทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 107. ประกอบ

  1. ภาษาระดับใดที่มีปัญหาในการใช้มากที่สุด
  2. ทางการ
  3. กึ่งทางการ
  4. ไม่เป็นทางการ
  5. ข้อ 1 และ 2

ตอบ 1 หน้า 7 (46134),(คำบรรยาย) ภาษาระดับทางการ คือ คำ ที่ใช้กันในภาษาที่เป็นแบบแผนหรือภาษาของทางราชการ เช่น การแสดงปาฐกถา การเขียนหนังสือราชการ ฯลฯ จึงเป็นระดับภาษาที่มีปัญหาในการใช้มากที่สุด เพราะผู้ใช้ต้องคำนึงถึงหลักภาษาและมีระเบียบแบบแผนในการใช้อย่างเคร่งครัด (ดูคำอธิบายข้อ 107. ประกอบ)

  1. การใช้คำเปรียบเทียบมุ่งให้เกิดผลอย่างไร
  2. ชัดเจน
  3. ถูกต้อง
  4. เหมาะสม
  5. มีน้ำหนัก

ตอบ 4 หน้า 19 (46134) การใช้คำเปรียบเทียบ คำพังเพย และสุภาษิต จะ ช่วยให้ข้อความกะทัดรัดและมีน้ำหนักมากขึ้น เนื่องจากคำประเภทนี้เป็นคำหรือข้อความที่มีความหมายหนักแน่นและเป็นที่เข้า ใจกันดีอยู่แล้ว แต่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับข้อความนั้น ๆ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องรู้จักและเข้าใจความหมายของคำเหล่านั้นให้ดีเสียก่อน

  1. คำชนิดใดที่ความหมายขึ้นอยู่กับการออกเสียง
  2. คำพ้อง
  3. คำพ้องรูป
  4. คำพ้องเสียง
  5. คำเปรียบเทียบ

ตอบ 2 หน้า 14 (46134) คำพ้องรูป คือ คำ ที่เขียนเหมือนกัน แต่ความหมายและการออกเสียงจะต่างกัน ดังนั้นจึงต้องออกเสียงให้ถูกต้อง เพราะหากออกเสียงผิด ความหมายก็จะผิดไปด้วย เช่น “เพลา” อาจจะอ่านว่า “ เพ – ลา” (กาล คราว) หรือ “เพลา” (แกนสำหรับสอดในดุมรถหรือดุมเกวียน) ฯลฯ

  1. “ตำรวจตามจับ 2 มหาโจร” ข้อความนี้มีลักษณะอย่างไร
  2. เรียงคำไม่ถูก
  3. ขยายความไม่ถูก
  4. ไม่มีกริยาสำคัญ
  5. ไม่ใช้ลักษณนาม

ตอบ 4 หน้า 167 (52067), 12 – 13 (46134) การใช้ลักษณนามจะต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลัก คือ รู้ว่าจะใช้กับคำนามคำใดและใช้ที่ใด ซึ่งลักษณนามจะใช้ตามหลังจำนวนนับ เช่น หนังสือ 5 เล่ม ฯลฯ และใช้ตามหลังนามเมื่อต้องการเน้นข้อความนั้น เช่น หนังสือเล่มนั้น ฯลฯ หากใช้ลักษณนามไม่ถูกต้องก็จะทำให้เข้าใจความหมายผิดและทำให้เสียลักษณะ เฉพาะของภาษา เช่น ตำรวจตามจับ 5 มหาโจร (ไม่ใช้ลักษณนาม) จึงควรแก้ไขเป็น ตำรวจตามจับมหาโจร 5 คน

  1. “เขาเป็นนักกีฬาและทุกเช้าจะไปตลาด” ข้อความนี้มีลักษณะอย่างไร
  2. ไม่มีกริยาสำคัญ
  3. ไม่กระชับ
  4. ไม่รัดกุม
  5. ไม่เกี่ยวข้องกัน

ตอบ 4 หน้า 40 (46134) ข้อ ความในประโยคหนึ่ง ๆ ควรจะมีเพียงอย่างเดียว หรือควรจะต้องเกี่ยวข้องกันไม่ควรให้กระจังกระจายไปเป็นคนละเรื่อง ดังนั้นการใช้ประโยคหรือข้อความซ้อนกันจึงต้องระมัดระวังเรื่องใจความให้ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เช่น เขาเป็นนักกีฬาและทุกเช้าจะไปตลาด (ข้อความไม่เกี่ยวข้องกัน) จึงควรแก้ไขเป็น เขาเป็นนักกีฬาและทุกเช้าจะไปวิ่งออกกำลังกาย

  1. “ห้ามคนอย่าให้เข้าไปในเขตนั้น” ข้อความนี้มีลักษณะอย่างไร
  2. ขยายความไม่ถูก
  3. ใช้คำฟุ่มเฟือย
  4. ไม่เกี่ยวข้องกัน
  5. ทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 18 – 19 (46134) การ ใช้คำฟุ่มเฟือยหรือการใช้คำที่ไม่จำเป็น จะทำให้คำโดยรวมไม่มีน้ำหนักและข้อความก็จะขาดความหนักแน่น เพราะเป็นคำที่ไม่มีความหมายอะไร แม้ตัดออกไปก็ไม่ได้ทำให้ความหมายของข้อความนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่กลับทำให้ดูรุงรังยิ่งขึ้น เช่น ห้ามคนอย่าให้เข้าไปในเขตนั้น (ใช้คำฟุ่มเฟือย) จึงควรแก้ไขเป็น ห้ามคนเข้าไปในเขตนั้น

  1. การใช้ประโยคเพ่งเล็งแง่ใดมากที่สุด
  2. มีน้ำหนัก
  3. รัดกุม
  4. ถูกต้อง
  5. กระชับ

ตอบ 3 หน้า 35 – 36, 44 (46134) สิ่ง ที่ควรเพ่งเล็งและคำนึงถึงมากที่สุดในการใช้ประโยคทั้งในการพูดและการเขียน คือ ความถูกต้อง เพราะถ้าหากใช้คำหรือประโยคไม่ถูกต้องจะทำให้ไม่สามารถสื่อความหมายตามที่ ต้องการได้ รวมทั้งยังทำให้ผู้ฟังและผู้อ่านไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่ตรงกันกับผู้พูดและ ผู้เขียนอีกด้วย

  1. การรวบความทำให้ประโยคมีลักษณะอย่างไร
  2. ถูกต้อง
  3. รัดกุม
  4. มีน้ำหนัก
  5. มีภาพพจน์

ตอบ 2 หน้า 39 – 40, 47 (46134) การผูกประโยคให้กระชับรัดกุมมีสิ่งที่จะต้องพิจารณา คือ

  1. การรวบความให้กระชับ
  2. การลำดับความให้รัดกุม
  3. การจำกัดความ
  4. ความถูกต้องชัดเจนของประโยคขึ้นอยู่กับสิ่งใด
  5. การเรียงคำ
  6. การเว้นวรรค
  7. การขยายความ
  8. ทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 37 – 38 , 47 (46134) การผูกประโยคให้ถูกต้องชัดเจนขึ้นอยู่กับการกระทำดังนี้คือ

  1. การเรียงคำให้ถูกที่
  2. การขยายความให้ถูกที่
  3. การใช้คำตามแบบภาษาไทย
  4. การใช้คำให้สิ้นกระแสความ
  5. การเว้นวรรคตอนให้ถูกต้อง
  6. ข้อเขียนใดที่ควรใช้ประโยคที่มีน้ำหนักและภาพพจน์
  7. ข่าว
  8. ตำรา
  9. บทความ
  10. ทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 44 (46134), (คำบรรยาย) ประโยค ที่มีน้ำหนักและภาพพจน์นั้นมักนำไปใช้กับข้อเขียนประเภทบทความ โดยควรน้ำไปใช้ก็ต่อเมื่อรู้สึกว่าจะทำให้เรื่องราวดีขึ้น และควรใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะถ้านำไปใช้อย่างพร่ำเพรื่อและใช้อย่างไม่พิจารณาแล้วจะทำให้เฝือและรู้สึกขัดเขิน

  1. “เขาพบตัวเองอยู่ในบ้างร้าง” ประโยคนี้มีลักษณะอย่างไร
  2. ถูกต้อง
  3. เรียงคำไม่ถูก
  4. ใช้คำขยายไม่ถูก
  5. ไม่ใช้คำตามแบบภาษาไทย

ตอบ 4 หน้า 38 (46134), (ดูคำอธิบายข้อ 118. ประกอบ) การ ใช้คำตามแบบภาษาไทย คือ การให้ข้อความที่ผูกขึ้นมีลักษณะเป็นภาษาไทย ไม่เลียนแบบภาษาต่างประเทศ เช่น เขาพบตัวเองอยู่ในบ้านร้าง(เป็นสำนวนภาษาต่างประเทศ) จึงควรแก้ไขเป็น เขาอยู่ในบ้านร้าง ซึ่งจะทำให้ข้อความกะทัดรัดเข้าใจง่าย และไม่เคอะเขิน

 

Advertisement