การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1. “เทอมนี้เธอตั้งใจเรียนดีมากเลย” ข้อความนี้สะท้อนลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดดกี่คํา
(1) 6 คํา
(2) 7 คํา
(3) 8 คํา
(4) 9 คํา
ตอบ 3 หน้า 2, 5 – 6 (62204), 2 – 3 (H), (คําบรรยาย) ลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดด มีดังนี้
1. คําแต่ละคําต้องออกเสียงพยางค์เดียว และอาจเป็นคําควบกล้ำก็ได้
2. ต้องเป็นภาษาไทยเท่านั้น ไม่ใช่คํายืมจากภาษาอื่น
3. มีตัวสะกดตรงตามมาตรา
4. มีระบบวรรณยุกต์ หรือมีระบบเสียงสูงต่ำ ฯลฯ
(ข้อความนี้สะท้อนลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดด 8 คํา ได้แก่ นี้เธอตั้งใจเรียนดีมากเลย ยกเว้นคําว่า “เทอม” ที่เป็นคํายืมมาจากภาษาอังกฤษ =Term)
2. “ลุงขอชานมสองถ้วยได้ไหม” ข้อความนี้ไม่ปรากฏภาพสะท้อนลักษณะของภาษาไทยประเภทใด
(1) บอกเพศ
(2) บอกมาลา
(3) บอกพจน์
(4) ใช้คําลักษณนาม
ตอบ 2 หน้า 2 (62204), 6 – 9 (H) ข้อความข้างต้นปรากฏลักษณะของภาษาไทย ดังนี้
1. บอกเพศ คือ ชาย/หญิง หรือตัวผู้ตัวเมีย เช่น ลุง (เพศชาย)
2. บอกพจน์ คือ จํานวน เช่น สอง (ใช้คําบอกจํานวนนับ)
3. ใช้คําลักษณนาม ซึ่งมากับคําขยายบอกจํานวนนับ เช่น สองถ้วย ฯลฯ (ส่วนบอกมาลา คือ ภาวะหรืออารมณ์ในขณะที่พูด ซึ่งอาจนําคําอื่นมาช่วยประกอบคํากริยา)
3.ข้อใดไม่มีคําบอกเพศ
(1) น้องคนสวยชอบกินไอติม
(2) พี่สาวไปเที่ยวตรัง
(3) อาสามกําลังจะไปบ้านย่า
(4) พลายทองดําเดินริมลําธาร
ตอบ 3 หน้า 2, 109 – 110, 112 (62204), 6 – 7, 97 – 98 (H) คํานามในภาษาไทยบางคําก็แสดง เพศได้ชัดเจนในตัวของมันเอง เช่น คําที่บอกเพศชาย ได้แก่ พ่อ พระภิกษุ เณร ทิด เขย ชาย หนุ่ม บ่าว ปู่ ตา ผม นาย ลุง พลาย (ช้างตัวผู้) ฯลฯ และคําที่บอกเพศหญิง ได้แก่ ดิฉัน สะใภ้ แม่ หญิง สาว นาง ชี ป้า ย่า ยาย พัง (ข้างตัวเมีย) ฯลฯ แต่คําบางคําที่เป็นคํารวมทั้งสองเพศ เช่น พี่ น้อง เด็ก น้า อา ลูก หลาน เพื่อน ฯลฯ เมื่อต้องการแสดงเพศให้ชัดเจนตามแบบภาษา คําโดดก็จะต้องใช้คําบ่งเพศมาประกอบเข้าข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง หรืออาจนํามาประสมกัน ตามแบบคําประสมบ้าง เช่น พี่สาว น้องคนสวย เด็กผู้หญิง น้าชาย อาหญิง หลานชาย ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้อ 3 คําว่า “อา” แสดงเพศไม่ชัดเจนว่าเป็นอาชายหรืออาหญิง)
4.ข้อใดเป็นสระเดี่ยว
(1) แชร์
(2) เผย
(3) ซ้าย
(4) เป้า
ตอบ 1 หน้า 8, 13 – 14 (62204), 17, 24 – 30 (H) เสียงสระในภาษาไทยมี 28 เสียง ดังนี้
1. สระเดี่ยว 18 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 9 เสียง ได้แก่ อะ อิ อี อุ เอะ แอะ เออะ โอะ เอาะ และเสียงยาว 9 เสียง ได้แก่ อา อี คือ อู เอ แอ เออ โอ ออ
2. สระผสม 10 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 5 เสียง ได้แก่ เอียะ เอือะ อัวะ เอา ไอ และเสียงยาว 5 เสียง ได้แก่ เอีย เอือ อัว อาว อาย
(ยกเว้นคําใดที่ลงท้ายด้วย ย/ว ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระ อาจเป็นได้ทั้งตัวสะกด ยาว หรือเป็น สระผสม 2 เสียง หรือ 3 เสียงก็ได้)
5.ข้อใดเป็นสระหน้า
(1) เปิด
(2) แสง
(3) จับ
(4) เหมาะ
ตอบ 2 หน้า 9 – 10 (62204), 18 – 19 (H) สระเดี่ยวที่จําแนกตามส่วนต่าง ๆ ของลิ้นที่ทําหน้าที่ ซึ่งต้องมีสภาพของริมฝีปากประกอบด้วย ได้แก่
1. สระกลาง ได้แก่ อา อือ เออ อะ อี เออะ
2. สระหน้า ได้แก่ อี เอ แอ อิ เอะ แอะ
3. สระหลัง ได้แก่ อู โอ ออ อุ โอะ เอาะ
6. ข้อใดมีเสียงสระเดี่ยวตรงกับคําที่ขีดเส้นใต้ว่า “คนธรรพ์”
(1) โลภ
(2) ชอล์ก
(3) พราหมณ์
(4) ลักษณ์
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) คําว่า “ธรรพ์ (ทัน)/ลักษณ์” = สระอะ, “โลภ” = สระโอ “ชอล์ก” = สระเอาะ, “พราหมณ์” = สระอา
7. “นมโหลนี้มีราคาตั้ง 50 บาทเชียว” ข้อความข้างต้นมีเสียงสระเดี่ยวกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ํา)
(1) 4 เสียง
(2) 5 เสียง
(3) 6 เสียง
(4) 7 เสียง
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีสระเดี่ยว 6 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่
1. สระโอะ = นม
2. สระโอ = โหล
3. สระอี = นี้/มี
4. สระอา = ราคา/ห้า/บาท
5. สระอะ = ตั้ง
6. สระอิ = สิบ
8.ข้อใดเป็นสระผสม
(1) ครรภ์
(2) ฟิวส์
(3) คริสต์
(4) โชว์
ตอบ 2 หน้า 13 (62204), 25 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) คําว่า “ฟิวส์” (ฟิว) ลงท้ายด้วย ว ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระ จึงอาจเป็นได้ทั้งตัวสะกด 2 หรือเป็นสระผสม 2 เสียง ประกอบด้วย อิ + ว (อิ + อุ) = อิว (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสระเดี่ยว)
9.ข้อใดไม่มีเสียงสระอา
(1) ขาว
(2) ลวด
(3) เรือ
(4) แจว
ตอบ 4 หน้า 12 – 14 (62204), 23 – 26 (H) คําว่า “แจว” ประกอบด้วย แอ + ว (แอ + อู) = แอว (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีเสียงสระอา ได้แก่ คําว่า “ขาว” ประกอบด้วย อา + ว (อา + อู) = อาว “ลวด” ประกอบด้วย อู + อา = อัว, “เรือ” ประกอบด้วย อือ + อา = เอือ)
10. ข้อใดไม่เป็นสระผสม
(1) ฤกษ์
(2) เศียร
(3) เสาร์
(4) ไวน์
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) คําว่า “ฤกษ์” = สระเออ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสระผสม ได้แก่ คําว่า “เศียร” = สระเอีย “เสาร์” = สระเอา, “ไวน์” = สระไอ)
11. ข้อใดประกอบด้วยเสียงสระอี + อา + อู
(1) เรียน
(2) เปรย
(3) เกี่ยว
(4) เลื่อย
ตอบ 3 หน้า 14 (62204), 26 (H) คําว่า “เกี่ยว” ประกอบด้วย เอีย + ว (อี + อา + อู) = เอียว
12. รูปพยัญชนะในภาษาไทยลําดับที่ 27 ตรงกับข้อใด
(1) ผ
(2) บ
(3) ฑ
(4) ป
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ป = รูปพยัญชนะในภาษาไทยลําดับที่ 27 เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากบหรือแม่กบ เช่น บาป เนปจูน สัปดาห์ ฯลฯ
13. พยัญชนะต้นในข้อใดเป็นประเภทเหลว
(1) ออก
(2) ลาย
(3) หิว
(4) ว่า
ตอบ 2 หน้า 19 – 21 (62204), 39 – 43 (H), (คําบรรยาย) พยัญชนะต้นของไทยที่มีการจําแนกตาม รูปลักษณะของเสียง แบ่งออกได้ดังนี้
1. พยัญชนะระเบิด (พยัญชนะกัก) = ก ค (ขฆ) จ ด (ฎ) ต (ฏ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) บ ป พ (ผ) อ
2. พยัญชนะนาสิก = ง น (ณ) ม
3. พยัญชนะเสียดแทรก = ส (ซ ศ ษ) ฟ (ฝ)
4. พยัญชนะกึ่งเสียดแทรก = ช (ฉ ฌ)
5. พยัญชนะกึ่งสระ = ย ว
6. พยัญชนะเหลว = รส
7. พยัญชนะเสียงหนัก = ห (ฮ) รวมทั้ง
พยัญชนะที่มีเสียง ห ผสมอยู่ด้วย = ค (ข) ช (ฉ) ท (ถ) พ (ผ)
14. พยัญชนะต้นในข้อใดเกิดที่ฐานคอ
(1) เบา
(2) กอด
(3) อึ่ง
(4) ธาตุ
ตอบ 3 หน้า 17 – 18 (62204), 37 – 38 (H) พยัญชนะต้นที่จําแนกตามฐานกรณ์ (ที่เกิดหรือที่ตั้งของเสียง) สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. ฐานคอ (คอหอย) มี 2 เสียง คือ ห (ฮ) อ
2. ฐานเพดานอ่อน มี 3 เสียง คือ ก ค (ข ฆ) ง
3. ฐานเพดานแข็ง มี 5 เสียง คือ จ ช (ฉ ฌ) ส (ซ ศ ษ) ย (ญ) ร
4. ฐานฟัน มี 5 เสียง คือ ด (ฎ) ต (ฏ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) น (ณ) ล (ฬ)
5. ฐานริมฝีปาก ได้แก่ ริมฝีปากบนกับล่างประกบกัน มี 5 เสียง คือ บ ป พ (ผ 4) ม ว และริมฝีปากล่างประกบกับฟันบน มี 1 เสียง คือ ฟ (ฝ)
15. ข้อใดเป็นพยัญชนะนํากันมา
(1) หลาน
(2) สกัด
(3) กระทบ
(4) แสดง
ตอบ 1 หน้า 22 (62204), 44 (H) การออกเสียงแบบนํากันมา (อักษรนํา) คือ พยัญชนะคู่ที่พยัญชนะ ตัวหน้ามีอํานาจเหนือพยัญชนะตัวหลัง โดยที่พยัญชนะตัวหน้าจะออกเสียงเพียงครึ่งเสียง และพยัญชนะตัวหลังก็เปลี่ยนเสียงตาม ซึ่งจะออกเสียงเหมือนกับเสียงที่มี “ห” นํา เช่น อยู่ (หมู่), หลาน, หวัด, แถลงการณ์ (ถะแหลงกาน), ถวาย (ถะหวาย), สวรรค์ (สะหวัน) อย่าง (หย่าง), เหนือ, หน้า ฯลฯ
16. ข้อใดเป็นพยัญชนะเคียงกันมา
(1) ภาคภูมิ
(2) แถลงการณ์
(3) นิ่มนวล
(4) สรรพนาม
ตอบ 4 หน้า 22 (62204), 44 (H), (คําบรรยาย) การออกเสียงแบบตามกันมา หรือเคียงกันมา (การออกเสียงแบบเรียงพยางค์) คือ พยัญชนะคู่ที่ออกเสียงแต่ละเสียงเต็มเสียง และเสียง ทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้ถ้าหากคําใดที่มีเสียงสระอะ อา อิ อี อุ อู อยู่กลางคํา และพยางค์หน้าออกเสียงเต็มเสียงทุกคําให้ถือเป็นพยัญชนะคู่แบบเคียงกันมา เช่น สรรพนาม (สับพะนาม), สถานการณ์ (สะถานะกาน), กิจกรรม (กิดจะกํา), จักรวาล (จักกะวาน) ฯลฯ
17. ข้อใดเป็นพยัญชนะควบกันมา
(1) ถวาย
(2) ทราบ
(3) เนตร
(4) หวัด
ตอบ 2 หน้า 22 – 26 (62204), 44 – 49 (H) การออกเสียงแบบควบกันมา หรืออักษรควบ คือ พยัญชนะคู่ที่ออกเสียง 2 เสียงควบกล้ําไปพร้อมกัน แบ่งออกเป็น
1. อักษรควบกล้ำแท้ หรือเสียงกล้ำกันสนิท โดยเสียงทั้งสองจะร่วมเสียงสระและวรรณยุกต์ เดียวกัน เช่น ความสุข, กระเป๋า ฯลฯ
2. อักษรควบกล้ำไม่แท้ หรือเสียงกล้ํากันไม่สนิท เช่น ทราบ (ซาบ), สร้าง (ร้าง) ฯลฯ
18. ข้อใดมีพยัญชนะคู่ประเภทเคียงกันมา ควบกันมา และนํากันมา เรียงตามลําดับ
(1) สวรรค์ซื้อกับข้าวสามอย่าง
(2) สถานการณ์น้ําท่วมภาคเหนือกําลังวิกฤต
(3) กิจกรรมที่สร้างความสุข คือ การนอน
(4) จักรวาลนํากระเป๋าออกมาขายที่หน้าบ้าน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 15, 16. และ 17. ประกอบ
19. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกดตรงกับคําว่า “ข้าวสวย”
(1) เฝ้าทรัพย์
(2) อ่าวจันทร์
(3) เท่าใด
(4) ทั่วไทย
ตอบ 3 หน้า 27 – 29 (62204), 50 – 53 (H) พยัญชนะสะกดของไทยจะมีเพียง 8 เสียงเท่านั้น ได้แก่
1. แม่กก = ก ข ค ฆ
2. แม่กด จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส
3. แม่กบ = บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ
4. แม่กน = น ณ ร ล ฬ ญ
5. แมกง = ง
6. แมกม = ม
7. แม่เกย = ย
8. แม่เกอว = ว
นอกจากนี้สระอํา (อัม) = แม่กม, สระไอ ไอ (อัย) = แม่เกย และสระเอา (ยาว) = แม่เกอว
(คําว่า “ข้าวสวย, เท่าใด” = แม่เกอว /แม่เกย ส่วนคําว่า “เฝ้าทรัพย์” = แม่เกอว/ แม่กบ “อ่าวจันทร์” = แม่เกอว/ แม่กน “ทั่วไทย” = ไม่มีตัวสะกด/แม่เกย)
20. ข้อใดมีคําที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด
(1) ผิวเสีย
(2) นำหอม
(3) สามพัน
(4) อกไก่
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ) คําที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด ได้แก่ เสีย (ส + เอีย)
21. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกดที่ต่างจากข้ออื่น
(1) โลภ
(2) กอปร
(3) ลาภ
(4) วรรค
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ
22. “ดอกไม้ช่อนี้เป็นของใคร” จากข้อความมีพยัญชนะสะกดกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ํา)
(1) 2 เสียง
(2) 3 เสียง
(3) 4 เสียง
(4) 5 เสียง
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏพยัญชนะสะกด 4 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ํา) ได้แก่ 1. แม่กก = ดอก
2. แม่เกย = ไม้, ใคร
3. แม่กน = เป็น
4. แม่กง = ของ
(ส่วนคําที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด ได้แก่ ช่อ, นี้)
23. “อยากจะร้องตะโกนไปทั่วฟ้าว่า ทําข้อสอบได้จริง ๆ นะ” จากข้อความมีพยัญชนะสะกดที่เสียง
(ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) 5 เสียง
(2) 6 เสียง
(3) 7 เสียง
(4) 8 เสียง
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏพยัญชนะสะกด 6 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
ได้แก่
1. แม่กก = อยาก
2. แม่กง = ร้อง, จริง
3. แม่กน = โกน
4. แม่เกย = ไป, ได้
5. แม่กม = ทํา
6. แม่กบ = สอบ
(ส่วนคําที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด ได้แก่ จะ, ตะ, ทั่ว, ฟ้า, ว่า, ข้อ, นะ)
24. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เอก
(1) มั่น
(2) วิ่ง
(3) สุ่ม
(4) ยั่ว
ตอบ 3 หน้า 33 – 37 (62204), 55 – 60 (H) เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยจะมี 5 เสียง 4 รูป ได้แก่ เสียงสามัญ (ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ), เสียงเอก ( ่ ), เสียงโท ( ้), เสียงตรี ( ๊ ) และเสียง จัตวา ( ๋ ) ซึ่งในคําบางคํา รูปและเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน จึงควรเขียนรูปวรรณยุกต์ให้ ถูกต้อง เช่น คําว่า “สุ่ม” มีรูปและเสียงวรรณยุกต์เอกตรงกัน (ส่วนคําว่า “มั่น/ วิ่ง/ยั่ว” มีเสียง วรรณยุกต์โททั้งหมด)
25. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์โท
(1) ม้า
(2) ใหญ่
(3) สิทธิ์
(4) ว่าง
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ) คําว่า “ว่าง” มีเสียงวรรณยุกต์โท แต่ใช้ไม้เอก (ส่วนคําว่า “ม้า/ใหญ่/สิทธิ์” = ตรี/เอก/เอก)
26. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ต่างจากข้ออื่น
(1) แห่ง
(2) ผิด
(3) กิ่ง
(4) สระ
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ) คําว่า “แท่ง” มีเสียงวรรณยุกต์โท แต่ใช้ไม้เอก
(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีเสียงวรรณยุกต์เอก)
27. ข้อใดไม่มีเสียงวรรณยุกต์เอก
(1) แม้ไม่ใช่คนโปรด
(2) อย่างคนอื่นเขา
(3) แม้จะดูว่างเปล่า
(4) ในสายตาเธอนะ
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ) คําที่มีเสียงวรรณยุกต์เอก ได้แก่ โปรด, อย่าง, อื่น, จะ, เปล่า
28.“อดข้าวมาเกือบสองวัน” จากข้อความไม่ปรากฏวรรณยุกต์เสียงใด
(1) โท
(2) จัตวา
(3) ตรี
(4) เอก
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีเสียงวรรณยุกต์ 4 เสียง ดังนี้
1. เสียงสามัญ = มา/วัน
2. เสียงเอก = อด/เกือบ
3. เสียงโท = ข้าว
4. เสียงจัตวา = สอง
29. “สาธุ ขอให้ลูกช้างถูกหวยสักงวดเถิด” จากข้อความมีวรรณยุกต์กี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) 3 เสียง
(2) 4 เสียง
(3) 5 เสียง
(4) 6 เสียง
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีเสียงวรรณยุกต์ 4 เสียง ดังนี้
1. เสียงเอก = ถูก/สัก/เถิด
2. เสียงโท = ให้/ลูก/งวด
3. เสียงตรี = ธุ/ช้าง
4. เสียงจัตวา = สา/ขอ/หวย
30. “เปิดมุมมองใหม่ ไร้ขีดจํากัด” จากข้อความมีเสียงวรรณยุกต์โทกเสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)
(1) 0 เสียง
(2) 1 เสียง
(3) 2 เสียง
(4) 4 เสียง
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีเสียงวรรณยุกต์ 3 เสียง ดังนี้
1. เสียงสามัญ = มุม/มอง/จํา
2. เสียงเอก = เปิด/ใหม่/ขีด/กัด
3. เสียงตรี = ไร้ (ข้อความข้างต้นไม่มีเสียงวรรณยุกต์โทและจัตวา)
31.คําที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดเป็นความหมายแฝง
(1) สาวงามยิ้มสวย
(2) ดอกไม้อยู่ในแจกัน
(3) น้องเหมือนพี่มาก
(4) นักมวยเตะก้านคอโจร
ตอบ 4 หน้า 44, 48 (62204), 62 – 63 (H) ความหมายแฝง หมายถึง ความหมายย่อยที่แฝงอยู่ในความหมายใหญ่ ซึ่งจะแนะรายละเอียดบางอย่างไว้ในความหมายนั้น ๆ ได้แก่ ความหมายแฝง ในคํากริยาที่เป็นไปรุนแรง เช่น เตะ (ใช้เท้าเหวี่ยงหรือดีดไปอย่างแรง), กระทืบ (ยกเท้ากระแทก ลงไป), สะบัด (สลัดแรง ๆ เพื่อให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดออกไป) เป็นต้น
32. คําที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดเป็นความหมายอุปมา
(1) เหล่านางฟ้าต่างอยู่บนสวรรค์
(2) เขาล้างมือจากวงการเซียนพระแล้ว
(3) น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ
(4) ความรักช่างหวานจนน้ําตาลเรียกพี่
ตอบ 2 หน้า 48 – 49 (62204), 64 (H) คําอุปมา คือ คําที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อพรรณนาบอกลักษณะ ให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความหมายใหม่เกิดขึ้นอีกความหมายหนึ่ง มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
1. คําอุปมาที่ได้มาจากคําที่มีใช้อยู่แล้ว เช่น ไข่มุก (สตรีที่งดงาม บริสุทธิ์ และสูงค่า), เทวดา/ นางฟ้า (ดี สวย), หิน (ยากมาก), ล้างมือ (เลิกยุ่งเกี่ยวอีกต่อไป) ฯลฯ
2. คําอุปมาที่สร้างขึ้นใหม่ ส่วนมากเป็นคําประสม เช่น แมวนอนหวด (ชื่อจนเซ่อ) ฯลฯ (ส่วนคําว่า “นางฟ้า” ในตัวเลือกข้อ 1 เป็นความหมายโดยตรง ไม่ใช่คําอุปมาเปรียบเทียบ)
33. ข้อใดปรากฏการแยกเสียงแยกความหมายแบบเสียงสูงต่่ำต่างกัน
(1) วับ – วาบ
(2) บาด – ปาด
(3) เดียว – เดี่ยว
(4) เบะปาก – แบะปาก
ตอบ 3 หน้า 51 – 52 (62204), 65 (H) การแยกเสียงแยกความหมาย คือ การเปลี่ยนแปลงเสียง ในคําบางคําที่มีความหมายหลายอย่างให้แตกต่างกันบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนว่าคํานั้น มีความหมายว่าอย่างไรในที่นั้น ๆ โดยความหมายย่อยและที่ใช้อาจจะแตกต่างกันบ้าง ได้แก่ “เดียว – เดี่ยว” (เสียงสูงต่ำต่างกัน) ต่างก็แปลว่าหนึ่ง เช่น มาเดี่ยว มาคนเดียว แต่จะนํามา ใช้แทนกันไม่ได้ เพราะ “เดียว” หมายถึง หนึ่งเท่านั้น แต่ “เดี่ยว” หมายถึง ไม่มีคู่ ไม่ได้นําคู่ของตนมาด้วย เป็นต้น
34. ข้อใดเป็นคําซ้ำไม่ได้
(1) คําว่าไม่ ๆ ต้องอธิบายแล้ว
(2) ขอข้อสอบง่าย ๆ บ้างเถิด
(3) ยารสขม ๆ กินยากจัง
(4) ลองเดา ๆ ดู ใจอาจตรงกันก็ได้
ตอบ 1 หน้า 76 – 80 (62204), 76 – 78 (H) คําซ้ํา คือ คําคําเดียวกันที่นํามากล่าว 2 ครั้ง เพื่อให้ มีความหมายเน้นหนักขึ้น หรือเพื่อให้มีความหมายแตกต่างจากคําเดี่ยว ซึ่งวิธีการสร้างคําซ้ํา ก็เหมือนกับการสร้างคําซ้อน แต่ใช้คําคําเดียวมาซ้อนกันโดยมีเครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) กํากับ เช่น ขอข้อสอบง่าย ๆ บ้างเถิด, ยารสขม ๆ กินยากจัง, ลองเดา ๆ ดู ใจอาจตรงกันก็ได้ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้อ 1 ไม่ใช่คําซ้ำ เพราะเป็นคําที่พูดติดต่อเป็นความเดียวกัน จึงไม่ควรใช้ไม้ยมก)
35. ข้อใดเป็นคําซ้อน
(1) หน้าผา
(2) ทบทวน
(3) ลูกรัก
(4) ของชําร่วย
ตอบ 2 หน้า 62 – 76 (62204), 67 – 76 (H) คําซ้อน คือ คําเดียว 2, 4 หรือ 6 คํา ที่มีความหมาย หรือมีเสียงที่ใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทํานองเดียวกัน ซ้อนเข้าด้วยกันเพื่อทําให้เกิดคําใหม่ ที่มีความหมายใหม่ขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. คําซ้อนเพื่อความหมาย (มุ่งที่ความหมายเป็นสําคัญ) ซึ่งอาจเป็นคําไทยซ้อนเข้าด้วยกัน เช่น ตื้นเขิน, ว่างเปล่า, ช้านาน, บีบคั้น ว่ากล่าว, ขาแข้ง ฯลฯ หรืออาจจะเป็นคําไทยซ้อนกับคําที่ มาจากภาษาอื่น เช่น รูปร่าง (บาลีสันสกฤต + ไทย), รากฐาน (ไทย + บาลี), สาบสูญ (ไทย + บาลีสันสกฤต) ฯลฯ
2. คําซ้อนเพื่อเสียง (มุ่งที่เสียงเป็นสําคัญ) เช่น ทบทวน, ทัดทาน,อวดอ้าง ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําประสม)
36. ข้อใดเป็นคําซ้อน
(1) รูปลักษณ์
(2) รูปถ่าย
(3) รูปปั้น
(4) รูปร่าง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ
37. ข้อใดไม่เป็นคําซ้อน
(1) ตื้นเขิน
(2) ต้นทุน
(3) ว่างเปล่า
(4) ทัดทาน
ตอบ 2 หน้า 80 – 89 (62204), 78 – 82 (H) คําประสม คือ คําตั้งแต่ 2 คําขึ้นไปมาประสมเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้คําใหม่ที่มีความหมายใหม่มาใช้ในภาษา ซึ่งความหมายสําคัญจะอยู่ที่คําต้น (คําตัวตั้ง ส่วนที่ตามมาเป็นคําขยาย ซึ่งไม่ใช่คําที่ขยายคําต้นจริง ๆ แต่จะช่วยให้คําทั้งคํามีความหมาย จํากัดเป็นนัยเดียว เช่น ต้นทุน, คนรัก, ไก่ย่าง, หมูอบ, เสือร้องไห้, ต้นตาล, ความดี, ชาวไร่, เครื่องมือ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําซ้อน) (ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ)
38. ข้อใดเป็นคําประสม
(1) คนรัก
(2) ช้านาน
(3) บีบคั้น
(4) รากฐาน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35 และ 37. ประกอบ
39. ข้อใดไม่เป็นคําประสม
(1) ไก่ย่าง
(2) หมูอบ
(3) นกบิน
(4) เสือร้องไห้
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 37. ประกอบ) คําว่า “นกบิน” ไม่เป็นคําประสม แต่เป็นคําเดี่ยวเรียงกัน ประกอบด้วย ประธาน + กริยา (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําประสมที่เป็นชื่ออาหาร)
40. ข้อใดเป็นคําประสมทุกคํา
(1) อวดอ้าง ต้นตาล
(2) ว่ากล่าว สาบสูญ
(3) ความดี ขาแข้ง
(4) ชาวไร่ เครื่องมือ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35. และ 37. ประกอบ
41. คําใดกร่อนเสียงมาจากคําเดิมว่า “สาว”
(1) สะดึง
(2) สะดือ
(3) สะใภ้
(4) สะสวย
ตอบ 3 หน้า 93 – 95 (62204), 83 – 84 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง มักเป็นคําที่ กร่อนเสียงพยางค์ต้นให้เป็นเสียง “อะ” ได้แก่
1. “มะ” ที่นําหน้าชื่อไม้ผล ไม่ใช่ไม้ผล และหน้าคําบอกกําหนดวัน เช่น หมากม่วง – มะม่วง, หมากเฟือง – มะเฟือง, หมากไฟ – มะไฟ, เมื่อคืน – มะรืน
2. “ตะ” นําหน้าชื่อสัตว์ ต้นไม้ และคําที่มีลักษณะคล้ายตา เช่น ตัวขาบ – ตะขาบ,ตอม่อ – ตะม่อ ตาราง – ตะราง, ต้นโก – ตะโก, ต้นเคียน – ตะเคียน ་
3. “สะ” เช่น สายดือ – สะดือ, สายดึง – สะดึง, สาวใภ้ – สะใภ้
4. “ฉะ” เช่น ฉันนั้น – ฉะนั้น, ฉันนี้ – ฉะนี้, เฉื่อย ๆ – ฉะเฉื่อย, ฉาด ๆ – ฉะฉาด
5. “ยะ/ระ/ละ” เช่น เยือก ๆ – ยะเยือก, เรื่อย ๆ – ระเรื่อย, รี่ ๆ – ระรี่, ลิบๆ – ละลิบ
6. “อะ” เช่น อันไร/อันใด – อะไร, อันหนึ่ง + อนึ่ง
7. “จะ” เช่น เจื้อยเจื้อย – จะเจื้อย, แจ้วแจ้ว – จะแจ้ว, จ้อจ้อ – จะจ้อ
สําหรับคําอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามนี้ ได้แก่ ผู้ญาณ – พยาน, ชาตา – ชะตา, ช้าพลู – ชะพลู, เฌอเอม – ชะเอม, ชีผ้าขาว – ชีปะขาว, คํานึง – คะนึง เป็นต้น
42. ข้อใดมีคําอุปสรรคเทียมชนิดแบ่งคําผิด
(1) ดุเหว่าแว่วแล้วเลื้อยระเรื่อยร้อง ประสานซ้องก้องดงพลางส่งเสียง
(2) นกกระสาจับกระสั่งเสียงวังเวง ร้องครื้นเครงก้องฟ้าพนาวัน
(3) รุกขชาติดาษสร้างริมทางไป มะเฟืองมะไฟตูมตาดดาษดา
(4) ยะเยือกเย็นเส้นหญ้าเป็นป่าชัฏ พระพายพัดเย็นในฤทัยหวน
ตอบ 2 หน้า 94 (62204), 84 – 85 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการแบ่งคําผิด เกิดจากการพูดเพื่อให้
เสียงต่อเนื่องกัน โดยเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ว่า “กระ” ) เข้าไป 1 เสียงในคําที่พยางค์แรกสะกดด้วยเสียง “ก” ได้แก่
1. นกสา – นกกระสา
2. นกเต็น – นกกระเต็น
3. นกจาบ – นกกระจาบ
4. ลูกสุน – ลูกกระสุน
5. ผักสัง – ผักกระสัง ฯลฯ
(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําอุปสรรคเทียมชนิดกร่อนเสียง) (ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ)
43. คําใดเป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดเทียบแนวเทียบผิด
(1) กระโดกกระเดก
(2) กระโชกกระชาก
(3) กระชุ่มกระชวย
(4) กระอักกระอ่วน
ตอบ 3 หน้า 94 – 96 (62204), 85 – 86 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิด คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ว่า “กระ”) เข้าไป 2 เสียง ในคําซ้อนเพื่อเสียงที่หน้าพยางค์ต้น และหน้าพยางค์ท้ายไม่ได้สะกดด้วย “ก” ซึ่งยึดการใช้อุปสรรคเทียมที่เพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียง คอนกันมาเป็นแนวเทียบ แต่เป็นการเทียบแนวเทียบผิด เช่น มิดเพี้ยน – กระมิดกระเมี้ยน หืดหอบ – กระหืดกระหอบ, ชุ่มชวย – กระชุ่มกระชวย, จุ๋มจิ๋ม – กระจุ๋มกระจิ๋ม ฯลฯ
44. “เสียงสรวลระนี้ เสียงแก้วพี่หรือเสียงใคร” ข้อความนี้มีคําอุปสรรคเทียมชนิดใด
(1) แบ่งคําผิด
(2) กร่อนเสียง
(3) เทียบแนวเทียบผิด
(4) เพิ่มเสียงไม่ให้เสียงคอนกัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ
45. ข้อใดถูก
(1) กระเต็น เป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดกร่อนเสียง มาจากคําว่า “นกเต็น
(2) พะรุงพะรัง เป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดเลียนแบบภาษาเขมร
(3) กระจุ๋มกระจิ๋ม เป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดเพิ่มเสียงไม่ให้เสียงคอนกัน
(4) ตะม่อ เป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดกร่อนเสียง มาจากคําว่า “ต้นม่อ”
ตอบ 2 หน้า 96 – 98 (62204), 86 – 87 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 41, 42, และ 43. ประกอบ) อุปสรรคเทียมเลียนแบบภาษาเขมร เป็นวิธีการแผลงคําของเขมรที่ใช้นําหน้าคําเพื่อประโยชน์ ทางไวยากรณ์ แบ่งออกได้ดังนี้
1. “ชะ/ระ/ปะ/ประ/พะ/สม/สะ” เช่น ชะดีจะร้าย, ระคน, ระคาย, ระย่อ, ปะปน, ประเดี่ยว, ปะติดปะต่อ, ประท้วง, ประหวั่น, พะรุงพะรัง, พะเยิบ สมรู้, สมยอม, สมสู่, สะสาง, สะพรั่ง, สะสวย, สะพรึบ ฯลฯ
2. ใช้ “ข ค ป ผ พ” มานําหน้าคํานามและกริยาวิเศษณ์ เพื่อให้มีความหมายเป็นการีต แปลว่า “ทําให้” เช่น ขยุกขยิก, ขยิบ, ขยี้, ขยํา, ปลุก, ปลง, ปลด, ปละ, ปราบ, ผละ, พร่ํา ฯลฯ
ข้อ 46 – 50. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม
(1) ประโยคบอกเล่า
(2) ประโยคคําถาม
(3) ประโยคคําสั่ง
(4) ประโยคขอร้อง
46. “ห้ามผู้อภิปรายแสดงกิริยาหรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 3 หน้า 102 (62204), 91 – 92 (H) ประโยคคําสั่ง คือ ประโยคที่ต้องการให้ผู้ฟังทําตามคําสั่ง มักละประธานและขึ้นต้นด้วยคํากริยา เช่น ไปได้แล้ว แต่ถ้าหากจะมีประธานก็จะระบุชื่อหรือ เน้นตัวบุคคลเพื่อให้คนที่ถูกสั่งรู้ตัว เช่น แดงออกไป นอกจากนี้ประโยคคําสั่งอาจมีกริยาช่วย “อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อสั่งให้ทําหรือไม่ให้ทําก็ได้
47. “โปรดมีสมาธิในการทําข้อสอบครับ” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 4 หน้า 102 (62204), 92 – 93 (H) ประโยคขอร้องหรือชักชวน คือ ประโยคที่ผู้พูดต้องการ ขอร้องหรือชักชวนให้ผู้ฟังทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ตามที่ตนต้องการ ซึ่งการใช้คําพูดนั้นจะคล้ายกับ ประโยคคําสั่งแต่นุ่มนวลกว่า โดยในภาษาเขียนมักจะมีคําว่า “โปรดกรุณา” อยู่หน้าประโยค ส่วนในภาษาพูดนั้นอาจมีคําลงท้ายประโยค ได้แก่ เถอะ เถิด นะ นะ หน่อย ซี ซี ฯลฯ
48. “อยู่ที่ไหน ช่วยบอกได้ไหมใจ ใยถึงไม่คืนกลับมา” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 2 หน้า 102 – 103 (62204), 93 – 94 (H) ประโยคคําถาม คือ ประโยคที่ต้องการคําตอบ อาจมี คําแสดงคําถาม ได้แก่ ใคร อะไร ที่ไหน ทําไม เมื่อไร อย่างไร หรือเปล่า หรือไม่ ไหม บ้าง ฯลฯ
49. “จงจําไว้ว่ารักใคร อย่าทําให้ใจต้องเจ็บ” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ
50.“ถ้าเขาจะรัก ยืนเฉย ๆ เขาก็รัก ถ้าเขาจะรัก ไม่ต้องทักเขาก็ทัก” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
ตอบ 1 หน้า 103 – 104 (62204), 90 – 91, 93 – 94 (H) ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่บอกเล่าเรื่องราวตามธรรมดา ซึ่งอาจใช้ในทางตอบรับหรือตอบปฏิเสธก็ได้ เช่น ไปแล้วจ้า, ไม่ได้ไปค่ะ ฯลฯ แต่บางครั้งประโยคที่มีคําแสดงคําถามว่า “ใคร อะไรที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร” อาจจะใช้ในประโยคบอกเล่าก็ได้ หากไม่ได้แสดงความสงสัยหรือไม่ได้ต้องการคําตอบ แต่จะเป็นการ กล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ โดยทั่วไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง
51. ข้อใดมีคํานามบอกเพศต่างจากข้ออื่น
(1) ผู้ใหญ่บ้านกําลังให้สัมภาษณ์
(2) นักเรียนรวมตัวกันที่สนามกีฬา
(3) ภิกษุกําลังเทศนาบนธรรมาสน์
(4) อาจารย์กําลังลุ้นคะแนนของนักศึกษา
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ) คํานามบางคําเป็นคํารวมทั้งสองเพศ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน, นักเรียน อาจารย์, นักศึกษา ฯลฯ ซึ่งคําเหล่านี้เมื่อต้องการระบุเพศให้ชัดเจนก็ต้องใช้คําบ่งเพศเข้ามา ประกอบข้างหลัง เช่น ผู้ใหญ่บ้านหญิง, นักเรียนชาย, อาจารย์ชาย, นักศึกษาหญิง ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้อ 3 คําว่า “ภิกษุ” เป็นคําที่บอกเพศชายได้ชัดเจนในตัวเอง)
52. ข้อใดมีคํานามบอกพจน์ที่ต่างจากข้ออื่น
(1) ฝูงญาติแลฝูงชน ก็ชื่นชมแลสมปอง
(2) ภาษาสมัยใหม่ ของถูกใจพวกนักเรียน
(3) พิศดูหมู่มัจฉา ว่ายแหวกมาในสาคร
(4) ทั้งวังเขายังนัก แต่พี่รักเจ้าคนเดียว
ตอบ 4 หน้า 77, 110 (62204), 76, 98 (H) การแสดงพจน์ (จํานวน) จะมีอยู่หลายวิธี แต่ก็ต้องดูความหมายของประโยคด้วย ดังนี้
1. ใช้คําบอกจํานวนหนึ่ง (เอกพจน์) ได้แก่ โสด เดียว หนึ่ง โทน ฯลฯ
2. ใช้คําบอกจํานวนมากกว่าหนึ่ง (พหูพจน์) ได้แก่ คู่แฝด (จํานวนสองที่กําหนดไว้เป็นชุด), กลุ่ม/หมู่/ฝูง/พวก/ขบวนช่อ (มีจํานวนมากกว่าสองขึ้นไป) ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ คําขยาย ได้แก่ มาก หลาย ฯลฯ ใช้คําบอกจํานวนนับ ได้แก่ สอง สี่ โหล ฯลฯ ใช้คําซ้ำ ได้แก่ เด็ก ๆ หนุ่ม ๆ สาว ๆ น้อง ๆ หลาน ๆ ฯลฯ และใช้คําซ้อน ได้แก่ ลูกเด็กเล็กแดง (เด็กเล็ก ๆ หลายคน) ฯลฯ
53. ข้อใดมีคําสรรพนามเรียกชื่อเล่นแทนบุรุษที่ 1
(1) ใครเห็นโหน่งบ้าง
(2) ขอโหน่งนั่งตรงนี้ด้วยคนนะ
(3) โหน่งไปเที่ยวไหนมา
(4) เมื่อไหร่จะได้เจอโหน่งอีก
ตอบ 2 หน้า 112 (62204), 99 (H) สรรพนามบุรุษที่ 1 คือ คําที่ใช้แทนตัวผู้พูดเอง เช่น ฉัน ดิฉัน อิฉัน ผม กระผม ข้าพเจ้า เรา ฯลฯ นอกจากนี้ยังอาจใช้คํานามอื่น ๆ แทนตัวผู้พูดเพื่อแสดง ความสนิทสนมรักใคร่ ได้แก่ ใช้ตําแหน่งเครือญาติ เช่น พ่อ แม่ ฯลฯ, ใช้ตําแหน่งในการงาน เช่น ครู หัวหน้า ฯลฯ หรือใช้ชื่อของผู้พูดเอง เช่น ตั๋ว นุช โหน่ง ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้อ 1 คําว่า “โหน่ง” เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3, ตัวเลือกข้อ 3 – 4 คําว่า “โหน่ง” เป็นสรรพนามบุรุษที่ 2)
54. ข้อใดไม่มีสรรพนามแสดงความไม่เจาะจง
(1) ใครจะไปกล้าลอกข้อสอบในห้องสอบล่ะเธอ
(2) ใคร ๆ ก็รู้ว่าพวกคุณไม่ทุจริตในการสอบหรอก
(3) คุณจะเลือกอะไรก็ได้ที่คุณเห็นว่ามันเป็นค่าตอบที่ถูกต้อง
(4) ว่าแต่คุณจะเลือกคําตอบอะไร
ตอบ 4 หน้า 111, 116 – 118 (62204), 99 (H) คําสรรพนามที่บอกความไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ “ใคร/อะไร/ใดไหน” ซึ่งเป็นคํากลุ่มเดียวกันกับสรรพนามที่บอกคําถาม แต่สรรพนามที่บอก ความไม่เฉพาะเจาะจงจะกล่าวถึงบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่แบบลอย ๆ ไม่ชี้เฉพาะเจาะจงว่า เป็นใคร อะไร ที่ไหน และไม่ได้เป็นการถาม เช่น ใครจะไปกล้าลอกข้อสอบในห้องสอบล่ะเธอ, ใคร ๆ ก็รู้ว่าพวกคุณไม่ทุจริตในการสอบหรอก, คุณจะเลือกอะไรก็ได้ที่คุณเห็นว่ามันเป็นคําตอบ ที่ถูกต้อง ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้อ 4 คําว่า “อะไร” เป็นสรรพนามที่บอกคําถาม)
55. ข้อใดใช้สรรพนามที่ใช้ขยายคํานามข้างหน้าเพื่อแสดงความเป็นกันเอง
(1) หลาน ๆ เขาออกไปเที่ยวเล่นกัน
(2) เพื่อน ๆ มันรุมแกล้งฉัน
(3) คุณทวดของฉันท่านมาจากเมืองจีน
(4) ลุงแกดูมีพิรุธนะ
ตอบ 2 หน้า 114 – 115 (62204), 99 (H) คําว่า “มัน” เป็นคําสรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้ที่พูดถึง ซึ่งต่ำกว่าผู้พูด เช่น สุนัขข้างบ้านมันชอบกัดกัน ฯลฯ หรือผู้ที่ไม่ถูกใจกันนัก แต่บางคนก็ใช้กับ ผู้ที่เป็นลูกศิษย์ ลูกน้อง เพื่อนสนิท เพื่อแสดงความเป็นกันเอง เช่น เพื่อน ๆ มันรุมแกล้งฉัน ฯลฯ
56. ข้อใดมีคํากริยาช่วยที่แสดงกาลบอกปัจจุบัน
(1) เขาสอบวิชานี้ผ่านไปตั้งนานแล้ว
(2) เขาจะมาแก้บนเร็ว ๆ นี้
(3) เขากําลังเตรียมข้าวของไปไหว้พระ
(4) เขาได้ชวนฉันไปไหว้พระด้วยล่ะ
ตอบ 3 หน้า 2, 121 – 123 (62204), 7 – 8, 100 – 101 (H) การแสดงกาล คือ การแสดงให้รู้ว่า กริยานั้นกระทําเมื่อไร ซึ่งนอกจากจะต้องอาศัยกริยาช่วยเพื่อบอกกาลเวลาที่ต่างกันแล้ว เช่น คําว่า “จะกําลังจะ” (บอกอนาคต), “กําลัง/อยู่” (บอกปัจจุบัน), “ได้แล้ว” (บอกอดีต) ฯลฯ ก็ยังมีคํากริยาวิเศษณ์หรือกริยาบางคําที่ช่วยแสดงกาล โดยอาศัยเหตุการณ์และสภาพแวดล้อม เป็นเครื่องชี้ ดังนี้
1. บอกปัจจุบัน ได้แก่ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ ตอนนี้ วันนี้ ฯลฯ
2. บอกอนาคต ได้แก่ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ ปีหน้า เดือนหน้า เร็ว ๆ นี้ ฯลฯ
3. บอกอดีต ได้แก่ เมื่อวานนี้ เมื่อก่อนนี้ เมื่อปีก่อน เพิ่งมา ฯลฯ
57. “แกควรจะไปผ่อนคลายเที่ยวเล่นบ้างนะเกลอเอ๋ย” ประโยคนี้มีคํากริยาช่วยที่แสดงเจตนาในเรื่องใด
(1) แสดงการคาดคะเน
(2) แสดงความมั่นใจของผู้พูด
(3) แสดงการบังคับ
(4) แสดงความเห็นในทางที่ถูกหรือเหมาะสม
ตอบ 4 หน้า 123 – 126 (62204), 101 (H) คําที่บอกมาลา (แสดงภาวะหรืออารมณ์) อาจจะใช้กริยาช่วย ได้แก่ คง จึง ควร จง ต้อง อาจ โปรด ย่อม เห็นจะ ฯลฯ หรือใช้คําอื่น ๆ ได้แก่ น่า นา เถอะ เถิด ซิ ซี ซินะ นะ นะ ละ ล่ะ เล่า หรอก ดอก ฯลฯ มาช่วยแสดง เช่น แกควรจะไปผ่อนคลายเที่ยวเล่นบ้างนะเกลอเอ๋ย (แสดงความเห็นในทางที่ถูกหรือเหมาะสม) ฯลฯ
58. ข้อใดมีคํากริยาช่วยแสดงกรรมวาจก
(1) ถูกใจไปหมดทุกสิ่ง
(3) ที่เธอพูดมานั้นถูกต้อง
(2) ของถูกต้องรีบไปซื้อ
(4) เธอถูกตรวจวัดอุณหภูมิ
ตอบ 4 หน้า 126 (62204) ในภาษาไทยไม่นิยมใช้คํากริยาช่วย “ถูก” แสดงกรรมวาจก นอกจากจะ ใช้ในเรื่องไม่ดีเท่านั้น เช่น เธอถูกตรวจวัดอุณหภูมิ, ผู้ตัดสินถูกคนดูโห่ไล่ ฯลฯ หากเป็นเรื่องดี ก็มักจะละคํากริยาช่วย “ถูก” หรือไม่ก็ใช้คําอื่นหรือเปลี่ยนรูปประโยคให้เป็นอย่างอื่นไป เช่น ทีมฟุตบอลถูกชื่นชม – ทีมฟุตบอลได้รับการชื่นชม ฯลฯ
59. กริยาในข้อใดที่มีความบริบูรณ์อยู่ในตัว
(1) เราเป็นคนไทย
(2) เขาวิ่งเล่น
(3) ฉันอยากผอมมาก
(4) เธอเปิดหน้าต่าง
ตอบ 2 หน้า 120 (62204), 100 – 101 (H) คํากริยาแบ่งออกได้ 3 ชนิด ดังนี้
1. คํากริยาที่ได้ความบริบูรณ์ในตัว ไม่ต้องมีกรรมมาช่วย ได้แก่ นกบิน, เขาวิ่งเล่น ฯลฯ
2. คํากริยาที่ยังไม่ได้ความบริบูรณ์ ต้องมีกรรมมาช่วย ได้แก่ ฉันอยากผอมมาก, เธอเปิดหน้าต่าง ฯลฯ หรือมีส่วนเสริมความถ้าเป็นกริยา “เป็นเหมือนคล้าย/เท่า”
3. คํากริยาช่วย คือ คําที่ช่วยบอกเนื้อความของกริยาให้แจ่มแจ้งชัดเจน ได้แก่ คง อาจ น่าจะ กําลัง ควร ต้อง ได้ จะ แล้ว อยู่ ฯลฯ
60. “พบไม้งามเมื่อขวานบิน” ประโยคนี้ใช้คําคุณศัพท์ชนิดใด
(1) บอกลักษณะหรือภาวะ
(2) บอกความชี้เฉพาะ
(3) บอกความแบ่งแยก
(4) บอกความไม่ชี้เฉพาะ
ตอบ 1 หน้า 130 (62204), 102 (H) คําคุณศัพท์ที่บอกลักษณะหรือบอกภาวะ (ลักษณคุณศัพท์) แบ่งออกได้ดังนี้
1. บอกลักษณะ ได้แก่ สูง ต่ำ ดํา ขาว ดี เลว งาม สวย น่ารัก แข็ง อ้วน ผอม ล่ำสัน กํายํา อดทน ฯลฯ
2. บอกภาวะ ได้แก่ เจ็บ ป่วย ตาย เป็น หัก พัง บิน แตก เซ เดาะ ทรุด เท เอียง บอบช้ำ ฟกช้ํำ เหี่ยวเฉา ร่วงโรย ฯลฯ ซึ่งบางคําอาจใช้เป็นคํากริยาได้
61. ข้อใดมีคําคุณศัพท์ที่เป็นคําถาม
(1) อะไรอยู่ตรงนั้น
(2) หนังสืออะไรก็ได้ที่จะอ่าน
(3) ลูกใครหนอเก่งจริง ๆ
(4) ใครทําข้อสอบนี้ได้บ้าง
ตอบ 3 หน้า 135 – 137 (62204), 102 (H) คุณศัพท์ที่เป็นคําถาม ได้แก่ ใด อะไร ไหน ไร ใคร ซึ่งเป็นคํากลุ่มเดียวกันกับคุณศัพท์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจง แต่คุณศัพท์ที่เป็นคําถาม จะใช้ถามคําถาม และต้องมีนามมาข้างหน้า เช่น ลูกใครหนอเก่งจริง ๆ ฯลฯ
62. ข้อใดมีคํากริยาวิเศษณ์ที่บอกความแบ่งแยก
(1) พูดน้อยกินน้อย
(2) วิ่งพลางเดินพลาง
(3) มาเช้ากลับเย็น
(4) ซื้อง่ายขายง่าย
ตอบ 2 หน้า 139 (62204), 103 (H) คํากริยาวิเศษณ์บอกความแบ่งแยก ได้แก่ บ้าง ด้วย พลาง กัน ต่าง ต่าง ๆ ต่างหาก เช่น วิ่งพลางเดินพลาง (วิ่งและเดินไปพร้อม ๆ กัน) เป็นต้น
63. “เนื้อหมูหนักเกือบสิบกิโล” ประโยคนี้มีคํากริยาวิเศษณ์ชนิดใด
(1) บอกอาการ
(2) บอกภาวะ
(3) บอกประมาณ
(4) บอกความแบ่งแยก
ตอบ 3 หน้า 139 (62204), 103 (H) คํากริยาวิเศษณ์บอกประมาณ ได้แก่ มาก น้อย ทั้ง นิดหน่อย มากมาย เหลือเกิน พอ ครบ ขาด หมด สิ้น แทบ เกือบ จวน เสมอ บ่อย ฯลฯ ซึ่งคําเหล่านี้ ต้องวางอยู่หลังคํากริยา คุณศัพท์ หรือกริยาวิเศษณ์เอง เช่น เนื้อหมูหนักเกือบสิบกิโล ฯลฯ
64. ประโยคในข้อใดไม่ใช้คําบุรพบท
(1) เมื่อเช้าวันจันทร์ เขาเดินออกจากบ้าน
(2) เขากับลูกชายไปขึ้นรถที่สถานีรถไฟฟ้า
(3) เขาเตรียมปลูกต้นไม้ไว้มากเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว
(4) เขามาลงที่สถานีรถไฟฟ้าสวนจตุจักร เพราะจะมาเลือกซื้อต้นไม้
ตอบ 3 หน้า 142 – 152 (62204), 104 – 109 (H) คําบุรพบท หมายถึง คําที่นําหน้านามหรือคําที่ ทําหน้าที่ได้อย่างนาม เพื่อให้ข้อความต่อเนื่องกันและได้ความสมบูรณ์ แต่คําบางคําอาจเป็นได้ ทั้งบุรพบทและสันธาน ขึ้นอยู่กับข้อความที่มันไปเชื่อม เช่น คําว่า “เพื่อ” ถ้าหากเป็นบุรพบท จะนําหน้าคําที่เกี่ยวกับการให้การรับ เช่น เขาทํางานหนักเพื่อลูก ฯลฯ แต่ถ้าเป็นคําสันธานจะ ใช้เชื่อมความที่เป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น เขาเตรียมปลูกต้นไม้ไว้มากเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นใช้คําบุรพบท ได้แก่ จาก ที่)
65.“เธอแวะซื้อขนมจากจากตลาดหนองมน เดินทางจากชลบุรีจนถึงบ้านที่บางจาก” ประโยคนี้มีคําว่า “จาก”
ที่เป็นคําบุรพบทที่คํา
(1) 1 คํา
(2) 2 pin
(3) 3 pin
(4) 4 คํา
ตอบ 2 หน้า 144, 147 (62204) คําว่า “จาก” เป็นบุรพบทที่นําหน้าคําที่เป็นแดนออก แดนพรากไป แยกไป ออกไป โดยใช้นําหน้านามของต้นทางที่มา เช่น เธอแวะซื้อขนมจากจากตลาดหนองมน เดินทางจากชลบุรีจนถึงบ้านที่บางจาก ฯลฯ (ส่วนคําว่า “ขนมจาก/บางจาก” เป็นคําประสม)
66. “รักก็คือรัก หลงก็คือหลง ถ้าถามชาวประมงก็คงไม่เข้าใจ” ประโยคที่ขีดเส้นใต้มีคําสันธานชนิดใด
(1) เชื่อมความขัดแย้งไปคนละทาง
(2) เชื่อมความเป็นเหตุเป็นผล
(3) เชื่อมความบอกความคาดคะเน
(4) เชื่อมความเปรียบเทียบกัน
ตอบ 3 หน้า 156 – 157 (62204), 107 (H) คําสันธานที่เชื่อมความคาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้ ได้แก่ ถ้า, หาก, ถ้า…ก็, ถ้า…จึง, ถ้าหากว่า, แม้แต่, แม้ว่า, เว้นแต่, นอกจาก
67. ข้อใดใช้คําสันธานที่เชื่อมความที่คล้อยตามไปในทางเดียวกัน
(1) แต่ฉันเป็นทะเลไม่ใช่เขา
(2) ต่อให้ทํายังไงเธอคงจะไม่รักเรา เพราะเขานั้นคือทุกสิ่งที่ทําให้เธอไม่เหงา
(3) อยากมีรักเหมือนเขาสักที แต่ไม่เคยจะมีสักคนมาสนใจ
(4) พอแดดร้อนเธอก็มาหา พอตอนเย็นตกดึกเธอก็หายหน้า
ตอบ 4 หน้า 153 – 155 (62204), 106, 108 (H) คําสันธานที่เชื่อมความคล้อยตามกัน ทํานอง เดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน โดยทําหน้าที่เชื่อมความที่เกี่ยวกับเวลา ได้แก่ ก็, แล้วก็, แล้ว….จึง ครั้น…ก็, เมื่อ, เมื่อ….ก็, ครั้น…จึง, เมื่อ…จึง, พอ…ก็ ส่วนที่ทําหน้าที่เชื่อมความให้สอดคล้อง หรือรวมเข้าด้วยกัน ได้แก่ ทั้ง ทั้ง…ก็, ทั้ง และ, ก็ได้, ก็ดี, กับ, และ
68. ข้อใดคือลักษณนามของคําว่า “แถลงการณ์
(1) ฉบับ
(2) ใบ
(3) เล่ม
(4) ชุด
ตอบ 1 หน้า 160 – 165 (62204), 109 – 110 (H) คําลักษณนาม คือ คําที่ตามหลังคําบอกจํานวนนับ เพื่อบอกรูปลักษณะและชนิดคํานามที่อยู่ข้างหน้าคําบอกจํานวนนับ มักจะเป็นคําพยางค์เดียว แต่เป็นคําที่สร้างขึ้นมาใหม่โดยอาศัยการอุปมาเปรียบเทียบ การเลียนเสียงธรรมชาติ การเทียบ แนวเทียบ และการใช้คําซ้ํากับคํานามนั้นเอง (กรณีไม่มีลักษณนามโดยเฉพาะ) เช่น แถลงการณ์ (ฉบับ), เนกไท/ยางรถ (เส้น), ร่ม (คัน), ตะเกียง (ดวง) ฯลฯ
69. ข้อใดใช้ลักษณนามผิด
(1) ยางรถ 1 เส้น
(2) ร่ม 5 คัน
(3) เนกไท 1 สาย
(4) ตะเกียง 2 ดวง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ
70. คําอุทานใดมาจากอารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างจากข้ออื่น
(1) เหม่เหม่ดูดู๊ไอ้ทรพี มาอ้างอวดฤทธิ์ว่ากล้าหาญ
(2) อนิจจาไม่รู้ว่ายังไรเลย พุทโธ่เอ๋ยเหมือนจะเป็นสะเป็นกัน
(3) ชี้หน้าแล้วร้องเยาะเย้ย เหวยเหวยไอ้ชาติเดียรัจฉาน
(4) ชิชะไมยราพขุนยักษ์ มาลอบลักสะกดกูได้
ตอบ 2 หน้า 158 – 160 (62204), 109 (H) คําอุทาน คือ คําที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งคําอุทานบางคําก็กําหนดไม่ได้ว่าคําไหนใช้แสดงอารมณ์อะไรแน่นอน แล้วแต่การออกเสียง และสถานการณ์ เช่น คําว่า “อุเหม่/เหม่เหม่/ดูด/เหวยเหวย/ชิชะ/ฮึ” แสดงอารมณ์โกรธหรือ ไม่ชอบใจ, “โธ่ถัง/พุทโธ่เอ๋ย/โถ/อนิจจา” แสดงอารมณ์เสียใจหรือสงสาร เป็นต้น
ข้อ 71 – 77. เลือกคําราชาศัพท์ที่ถูกต้องเติมในช่องว่างต่อไปนี้
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ___71___ดังนี้ วันนี้ เวลา 8 นาฬิกา 49 นาที สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ___72___ ไปยังหอประชุมพ่อขุนรามคําแหงมหาราช มหาวิทยาลัย รามคําแหง เขตบางกะปิ ในการนี้ ___73.___ โล่รางวัลต่าง ๆ อาทิ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น, นักวิทยาศาสตร์ รุ่นใหม่, ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น และนักเรียนชนะเลิศโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับประเทศ พร้อมกับ ___74.___ เปิดการประชุมวิชาการนานาชาติวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 46 ซึ่งมหาวิทยาลัยรามคําแหง ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 ถึง 7 ตุลาคมนี้ ในหัวข้อ “พลังของวิทยาศาสตร์สู่เป้าหมายการพัฒนาแบบยั่งยืน”
…………………………….
จากนั้น เวลา 13 นาฬิกา 53 นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ___75.___ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ___76.___ ไปยังมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม ในการพระราชทานปริญญาบัตร และประกาศนียบัตรแก่ผู้สําเร็จ การศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันสบทบ ประจําปีการศึกษา 2562 เป็นวันแรก ซึ่งสภา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ ___77.___ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชากายภาพบําบัด แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงให้การ ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือและดูแลแก่เด็กพิเศษ รวมถึงผู้พิการ และผู้มีปัญหา ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย และผู้สูงอายุป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในโครงการต่าง ๆ (ที่มา : ปรับปรุงจากข่าวในพระราชสํานัก วันที่ 5 ตุลาคม 2563 https://ch3thailandnews.bectero.com/news/211545)
71.
(1) ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจ
(2) ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ
(3) ปฏิบัติพระกรณียกิจ
(4) ปฏิบัติพระราชกรณียกิจ
ตอบ 2 หน้า 173 (62204), 113 (H), (คําบรรยาย) ตามหลักเกณฑ์การเติมคําว่า “ทรง” หน้ากริยา ราชาศัพท์นั้น จะเติม “ทรง” หน้าคํานามหรือคํากริยาสามัญเพื่อทําให้คํานั้นเป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงปฏิบัติ, ทรงวิ่ง, ทรงทะนุบํารุง ฯลฯ และเติม “ทรง” หน้านามราชาศัพท์เพื่อทําให้ กลายเป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้, ทรงพระอักษร ฯลฯ แต่ห้ามเติม “ทรง” ซ้อนกับคํากริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น เสด็จพระราชดําเนิน พระราชทาน ทอดพระเนตร ฯลฯ ส่วนราชาศัพท์ที่มีคําว่า “ราช” จะใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับที่ 2 เท่านั้น (ในข้อนี้จึงใช้ว่า ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ – กระทําภารกิจ)
72.
(1) เสด็จพระราชดําเนิน
(2) ทรงเสด็จพระราชดําเนิน
(3) ทรงพระดําเนิน
(4) เสด็จ
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ) เสด็จพระราชดําเนิน (เสด็จฯ) = เดินทางไปโดยยานพาหนะ
73.
(1) ทรงพระราชทาน
(2) ทรงประทาน
(3) พระราชทาน
(4) ทรงมอบ
ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ) พระราชทาน = ให้
74.
(1) มีพระราชดํารัส
(2) ทรงมีพระราชดํารัส
(3) มีพระดํารัส
(4) ทรงมีพระดํารัส
ตอบ 1 หน้า 117 (H) คํากริยา “มี/เป็น” เมื่อใช้เป็นราชาศัพท์มีข้อสังเกต ดังนี้
1. หากคําที่ตามหลัง “มี/เป็น” เป็นนามราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องเติม “ทรง” หน้าคํากริยา “มี/เป็น” อีก เช่น มีพระราชดํารัส (มีคําพูด), เป็นพระราชธิดา (เป็นลูกสาว) ฯลฯ
2. หากคําที่ตามหลัง “มี/เป็น” เป็นคําสามัญ ให้เติม “ทรง” หน้าคํากริยา “มี/เป็น เพื่อทําให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงมีลูกสุนัข, ทรงเป็นผู้แทนพระองค์ ฯลฯ
75.
(1) ทรงให้
(2) ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าให้
(3) ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้
(4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ (ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้) = มีความกรุณาและพอพระราชหฤทัยให้ (ใช้กับพระมหากษัตริย์ ซึ่งในที่นี้คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)
76.
(1) เสด็จแทนพระองค์
(2) เสด็จพระราชดําเนินแทนพระองค์
(3) ทรงเสด็จแทนพระองค์
(4) ทรงเสด็จพระราชดําเนินแทนพระองค์
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ) เสด็จพระราชดําเนินแทนพระองค์ (เสด็จฯ แทนพระองค์) = เดินทางไปโดยยานพาหนะแทนพระมหากษัตริย์ ซึ่งในที่นี้คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
77.
(1) ถวาย
(2) ทูลถวาย
(3) น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย
(4) ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
ตอบ 4 หน้า 176 (62204), 116 (H) ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ทูลเกล้าฯ ถวาย) = ถวายสิ่งของขนาดเล็ก (ของที่ยกได้) หรือถวายสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น ทูลเกล้าฯ ถวายเงิน, ทูลเกล้าฯ ถวาย ปริญญา ฯลฯ ส่วนน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย น้อมเกล้าฯ ถวาย) = ถวายสิ่งของขนาดใหญ่ (ของที่ยกขึ้นไม่ได้) หรือถวายสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน, น้อมเกล้าฯ ถวาย รถพยาบาล, น้อมเกล้าฯ ถวายพระพร ฯลฯ
ข้อ 77 – 80. เลือกคําที่ถูกต้องเติมในช่องว่างต่อไปนี้
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ___78.___ เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2454 ในเรือกลาง แม่น้ำเจ้าพระยา ณ ตําบลบ้านม้า อําเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ดํารงตําแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2518 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ___79.___ ด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ณ โรงพยาบาลสมิติเวช รวม ___80.___ 84 ปี 172 วัน
78.
(1) ประสูติ
(2) สมภพ
(3) ทรงประสูติ
(4) เกิด
ตอบ 4 หน้า 111 – 112 (H) ราชาศัพท์เป็นถ้อยคําที่ใช้กับพระบรมวงศานุวงศ์ไทยในระดับหม่อมเจ้า และเหนือขึ้นไป ส่วนเจ้านายในระดับหม่อมราชวงศ์ (ม.ร.ว.) และหม่อมหลวง (ม.ล.) จะไม่ใช้ ราชาศัพท์ แต่ใช้เพียงคําสุภาพทั่วไปเท่านั้น
79.
(1) สิ้นพระชนม์
(2) สิ้นชีพิตักษัย
(3) ถึงแก่อสัญกรรม
(4) ถึงแก่กรรม
ตอบ 3 ถึงแก่อสัญกรรม = ตาย ใช้กับผู้ตายที่มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา หรือผู้ดํารงตําแหน่ง ประธานองคมนตรี องคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภา ฯลฯ (ส่วนสิ้นพระชนม์ ตาย ใช้กับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระสังฆราช สมเด็จเจ้าฟ้า เจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า สิ้นชีพิตักษัย = ตาย ใช้กับหม่อมเจ้า, ถึงแก่กรรม = ตาย ใช้กับสุภาพชนทั่วไป)
80.
(1) พระชนมายุ
(2) อายุ
(3) พระชันษา
(4) ชันษา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ
ข้อ 81 – 91. อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม
วิทยาศาสตร์ พบว่า พรหมลิขิตอาจไม่ได้ลิขิตชีวิตมนุษย์เสียแล้ว หากแต่น่าจะเป็นดินฟ้า อากาศต่างหากที่ลิขิตให้มนุษย์แต่ละคนมีบุคลิกภาพต่าง ๆ กัน ตลอดจนสุขภาพเมื่อตอนเติบโตขึ้นด้วย
หนังสือพิมพ์ “เดอะซันเดย์ เทเลกราฟ” ชื่อดังของอังกฤษรายงานว่า คณะนักวิจัยมหาวิทยาลัย เฮิร์ทฟอร์ดเชียร์ของอังกฤษศึกษา พบว่า ฤดูเกิดมีอิทธิพลลิขิตนิสัยสันดานคนต่าง ๆ กัน
อย่างเช่น ผู้หญิงทางซีกโลกเหนือที่เกิดในเดือนพฤษภาคมมักจะเป็นคนใจร้อน ในขณะที่ผู้ที่เกิดในฤดูใบไม้ร่วง เดือนพฤศจิกายน จะเป็นคนช่างพินิจพิจารณา ขณะที่ถ้าเป็นชายเกิดในฤดูใบไม้ผลิ จะเป็นคนที่มีความอดกลั้นต่างกับผู้ที่เกิดในฤดูหนาว
ผู้ที่เกิดตรงกับฤดูใบไม้ร่วงจะเป็นคนแข็งแรงว่องไว เหมาะกับจะเป็นนักฟุตบอล ส่วนผู้ที่เกิดในฤดูใบไม้ผลิก็จะเป็นผู้มีสติปัญญาดี มีฝีไม้ลายมือดีในการเล่นหมากรุก
ในทํานองเดียวกัน ผู้ที่เกิดช่วงระหว่างเดือนกันยายนและธันวาคมมักจะเป็นคนที่อาจเกิดมีอาการหวาดกลัวหรือหวาดผวาสุดขีด พร้อมทั้งกําลังมีหลักฐานเพิ่มขึ้นว่า ผู้ที่เกิดปลายฤดูหนาวและ ต้นฤดูใบไม้ผลิมักจะเจ็บป่วยเป็นโรคจิตเภทกันสูง
ศาสตราจารย์ริชาร์ด ไวส์แมน หัวหน้าคณะ กล่าวว่า “ท่านอาจพอจะคาดได้ว่า ตัวการเป็นเพราะอุณหภูมินั่นเอง ดังนั้นผลหลายอย่างจะกลับกันอยู่ในซีกโลกทั้งสอง” พร้อมกันนั้นศาสตราจารย์จอห์น อีเกิล มหาวิทยาลัยอะเบอร์ดีน ยังให้ความเห็นว่า “ตัวการใหญ่มีอยู่ 2 ตัว คือ อาหารกับความแปรผันของโภชนาการ และโรคภัยไข้เจ็บที่ซุกอยู่ในฤดูหนาว นอกจากนั้นสาเหตุทางกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม อย่างอื่นก็มีส่วนด้วย ดังนั้นฤดูกาลในการเกิดเป็นเพียงปัจจัยเสริมเท่านั้น”
(หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550 หน้า 7)
81. โวหารการเขียนเป็นแบบใด
(1) บรรยาย
(2) อภิปราย
(3) อธิบาย
(4) พรรณนา
ตอบ 3 หน้า 72 (54351), (คําบรรยาย) โวหารเชิงอธิบาย คือ โวหารที่ใช้ในการชี้แจงเพื่อให้ผู้อ่าน เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ซึ่งเป็นการให้ความรู้หรือข้อมูลแต่เพียงด้านเดียว อาจจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบก็ได้ โดยมีการชี้แจงแสดงเหตุและผล การยกตัวอย่างประกอบ การเปรียบเทียบ และการจําแนกแจกแจง เช่น การอธิบายความหมายของคํา กฎเกณฑ์ ทฤษฎี และวิธีการต่าง ๆ
82. ข้อความที่อ่านจัดเป็นวรรณกรรมประเภทใด
(1) บทความ
(2) สรุปผลงานวิจัย
(3) สรุปผลการค้นคว้า
(4) บทคัดย่อวิทยานิพนธ์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) บทความ คือ งานเขียนที่มีการนําเสนอข้อมูลที่ได้มาจากเอกสารทางวิชาการ หรือผลงานการวิจัย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นเพื่อให้ข้อมูลหรือความรู้ และมีการสรุป ให้เห็นความสําคัญของเรื่อง พร้อมทั้งเสนอข้อคิดให้ผู้อ่านนําไปพิจารณา
83. ท่วงทํานองเขียนเป็นแบบใด
(1) เรียบง่าย
(2) วกวน
(3) สละสลวย
(4) กระชับรัดกุม
ตอบ 1 หน้า 58 (54351) ผู้เขียนใช้ท่วงทํานองเขียนแบบเรียบง่าย คือ ท่วงทํานองเขียนที่ใช้คําง่าย ๆ ชัดเจน การผูกประโยคไม่ซับซ้อน ทําให้อ่านง่ายและเข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาในการ ขบคิดมากนัก
84. ยังมีสิ่งใดอีกที่แสดงอิทธิพลของฤดูกาลนอกเหนือจากบุคลิกและสุขภาพ
(1) รสนิยม
(2) โรคภัยไข้เจ็บ
(3) อาหารการกิน
(4) การกีฬา
ตอบ 2 จากข้อความ… ในทํานองเดียวกัน ผู้ที่เกิดช่วงระหว่างเดือนกันยายนและธันวาคมมักจะเป็นคนที่อาจเกิดมีอาการหวาดกลัวหรือหวาดผวาสุดขีด พร้อมทั้งกําลังมีหลักฐานเพิ่มขึ้นว่า ผู้ที่เกิดปลายฤดูหนาวและต้นฤดูใบไม้ผลิมักจะเจ็บป่วยเป็นโรคจิตเภทกันสูง
85. น้ำเสียงของคณะผู้วิจัยเป็นอย่างไร
(1) มั่นใจ
(2) ภูมิใจ
(3) ลังเล
(4) คาดคะเน
ตอบ 4 น้ําเสียงของคณะผู้วิจัยจากข้อความที่อ่านเป็นแบบคาดคะเน หรือคาดหมายว่าน่าจะเป็น
เช่นนั้นโดยส่วนใหญ่
86. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคนที่เกิดในฤดูใบไม้ร่วง
(1) เป็นคนช่างพิจารณา
(2) มักมีอาการหวาดผวา
(3) เป็นผู้แข็งแรงว่องไว
(4) เหมาะที่จะเป็นนักกีฬาฟุตบอล
ตอบ 2 จากข้อความ… อย่างเช่น ผู้หญิงทางซีกโลกเหนือที่เกิดในเดือนพฤษภาคมมักจะเป็นคนใจร้อน ในขณะที่ผู้ที่เกิดในฤดูใบไม้ร่วง เดือนพฤศจิกายน จะเป็นคนช่างพินิจพิจารณา ขณะที่ถ้าเป็นชายเกิดในฤดูใบไม้ผลิจะเป็นคนที่มีความอดกลั้นต่างกับผู้ที่เกิดในฤดูหนาว ผู้ที่เกิดตรงกับฤดูใบไม้ร่วงจะเป็นคนแข็งแรงว่องไว เหมาะกับจะเป็นนักฟุตบอล ส่วนผู้ที่เกิดในฤดูใบไม้ผลิก็จะเป็นผู้มีสติปัญญาดี มีฝีไม้ลายมือดีในการเล่นหมากรุก
87. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยหลักในการกําหนดบุคลิกและสุขภาพ
(1) ฤดูกาลในการเกิด
(2) โรคภัยในบางฤดู
(3) กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม
(4) ความเปลี่ยนแปลงทางโภชนาการ
ตอบ 1 จากข้อความ… ศาสตราจารย์จอห์น อีเกิล มหาวิทยาลัยอะเบอร์ดีน ยังให้ความเห็นว่า ตัวการ ใหญ่มีอยู่ 2 ตัว คือ อาหารกับความแปรผันของโภชนาการ และโรคภัยไข้เจ็บที่ซุกอยู่ในฤดูหนาว นอกจากนั้นสาเหตุทางกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมอย่างอื่นก็มีส่วนด้วย ดังนั้นฤดูกาลในการเกิดเป็นเพียงปัจจัยเสริมเท่านั้น
88. เหตุใดจึงจําแนกบุคลิกและสุขภาพของแต่ละคนตามฤดูใบไม้ร่วง ใบไม้ผลิ ฯลฯ
(1) เพราะธรรมชาติมีอิทธิพลต่อชีวิต
(2) เพราะคณะวิจัยเป็นชาวอังกฤษ
(3) เพราะเป็นที่คุ้นเคยต่อชีวิตประจําวัน
(4) เพราะธรรมชาติส่งผลต่อความเป็นอยู่
ตอบ 1 จากข้อความ… วิทยาศาสตร์ พบว่า พรหมลิขิตอาจไม่ได้ลิขิตชีวิตมนุษย์เสียแล้ว หากแต่น่าจะเป็นดินฟ้าอากาศต่างหากที่ลิขิตให้มนุษย์แต่ละคนมีบุคลิกภาพต่าง ๆ กัน ตลอดจนสุขภาพ เมื่อตอนเติบโตขึ้นด้วย หนังสือพิมพ์ “เดอะซันเดย์ เทเลกราฟ” ชื่อดังของอังกฤษรายงานว่า คณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยเฮิร์ทฟอร์ดเชียร์ของอังกฤษศึกษา พบว่า ฤดูเกิดมีอิทธิพลลิขิตนิสัยสันดานคนต่าง ๆ กัน
89. ข้อใดกล่าวถึงผู้ที่เกิดในต้นฤดูใบไม้ผลิได้ถูกต้อง
(1) เป็นผู้มีสติปัญญาดี
(2) เป็นผู้มีความอดกลั้น
(3) มีโอกาสเป็นโรคจิตเภทสูง
(4) เป็นผู้เล่นหมากรุกได้ดี
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 84. ประกอบ
90. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) ผู้ที่เกิดในฤดูหนาว จะเป็นคนที่ไม่มีความอดกลั้น
(2) ผู้ที่เกิดในฤดูใบไม้ผลิ จะเป็นคนที่ไม่มีความอดกลั้น
(3) ผู้ที่เกิดในฤดูใบไม้ร่วง จะเป็นคนที่ไม่มีความอดกลั้น
(4) ผู้ที่เกิดในปลายฤดูหนาว ต้นฤดูใบไม้ผลิ จะเป็นคนที่ไม่มีความอดกลั้น
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ
91.ศาสตราจารย์จอห์น อีเกิล มหาวิทยาลัยอะเบอร์ดีน กล่าวว่า ตัวการใดที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์น้อยที่สุด
(1) กรรมพันธุ์
(2) อาหาร
(3) ฤดูกาล
(4) โรคภัยไข้เจ็บ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ
92. ข้อใดมีคําที่สะกดผิดปรากฏอยู่ด้วย
(1) เบรก โลกาภิวัตน์ ล็อกล้อ
(2) ผาสุก เบญจเพศ โน้ตดนตรี
(3) คลินิก อานิสงส์ ผุดลุกผุดนั่ง
(4) เภทภัย ผลัดเปลี่ยน เจตนารมณ์
ตอบ 2 คําที่สะกดผิด ได้แก่ เบญจเพศ ซึ่งที่ถูกต้องคือ เบญจเพส
93. ข้อใดมีคําที่สะกดถูกขนาบคําที่สะกดผิด
(1) สีสัน บุคลิก บิดพลิ้ว
(3) ไอศกรีม ผลัดผ้า รื่นรมย์
(2) ผัดผ่อน คํานวณ กระทะ
(4) อิสรภาพ อนุญาติ ทะเลสาบ
ตอบ 4 คําที่สะกดผิด ได้แก่ อนุญาติ ซึ่งที่ถูกต้องคือ อนุญาต
94. ข้อใดสะกดถูกทุกคํา
(1) ถั่วพู บิณฑบาต ข้าวกบหม้อ
(2) กงศุล กะเพาะ กระตือรือร้น
(3) กะเพรา บังสุกุล กระทัดรัด
(4) เครื่องราง กระทันหัน เกร็ดพงศาวดาร
ตอบ 1 คําที่สะกดผิด ได้แก่ กงศุล กระทัดรัด กระทันหัน
ซึ่งที่ถูกต้องคือ กงสุล กะทัดรัด กะทันหัน
95. ข้อใดสะกดผิดทุกคํา
(1) หงส์ ต้มโคล้ง ตระเวน
(2) กากบาท ขนมเค้ก เกษียณอายุ
(3) กร้าวร้าว ขนมคุ้กกี้ ถนนราดยาง
(4) เสื้อเชิ้ต ราดยางถนน บิณฑบาต
ตอบ 3 คําที่สะกดผิด ได้แก่ กร้าวร้าว ขนมคุ้กกี้ ถนนราดยาง
ซึ่งที่ถูกต้องคือ ก้าวร้าว ขนมคุกกี้ ถนนลาดยาง
96. ข้อใดมีคําที่สะกดถูกสลับกับคําที่สะกดผิด
(1) กะโหลก กระจิริด ลําไย กําเนิด
(2) เกล็ดปลา รถแท็กซี รสชาติ พรางตา
(3) บรรทุก บ้านจัดสรร เผ่าพันธุ์ พังทลาย
(4) ปิกนิก สี่เหลี่ยมจตุรัส พึมพํา ผลัดวันประกันพรุ่ง
ตอบ 4 คําที่สะกดผิด ได้แก่ สี่เหลี่ยมจตุรัส ผลัดวันประกันพรุ่ง
ซึ่งที่ถูกต้องคือ สี่เหลี่ยมจัตุรัส ผัดวันประกันพรุ่ง
ข้อ 97 – 100. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ปล่อยเสือเข้าป่า ปากหวานก้นเปรี้ยว ชิงสุกก่อนห่าม
(2) ปากหวาน กระดี่ได้น้ำ ฆ้องปากแตก
(3) คลื่นใต้น้ำ ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา
(4) น้ำขึ้นให้รีบตัก ช้าๆ ได้พร้าสองเล่มงาม น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก
97. ข้อใดมีแต่สํานวน
ตอบ 2 หน้า 119 – 121 (H) ข้อแตกต่างของสํานวน คําพังเพย และสุภาษิต มีดังนี้
1. สํานวน หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นอย่างกะทัดรัด ใช้คําน้อยแต่กินความหมายมาก และเป็นความหมายโดยนัยหรือโดยเปรียบเทียบ เช่น ปากหวาน (พูดจาไพเราะ มักใช้ในทางที่ ล่อใจหรือไม่จริงใจ), กระดี่ได้น้ำ (ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจตื่นเต้นจนตัวสั่น), ฆ้องปากแตก (ปากโป้ง เก็บความลับไม่ค่อยจะอยู่), คลื่นใต้น้ำ (เหตุการณ์ที่คุกรุ่นอยู่ภายใน แต่ภายนอกดูเหมือนสงบเรียบร้อย), นกสองหัว (คนที่ทําตัวฝักใฝ่เข้าด้วยทั้ง 2 ฝ่ายที่ไม่เป็น มิตรกัน โดยหวังเพื่อประโยชน์ตน) เป็นต้น
2. คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อตีความ สรุปเหตุการณ์ สภาวการณ์ บุคลิก และอารมณ์ให้เข้ากับเรื่อง มีความหมายกลาง ๆ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่แฝงคติเตือนใจให้ นําไปปฏิบัติหรือไม่ให้นําไปปฏิบัติ เช่น ปล่อยเสือเข้าป่า (ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทําร้าย ภายหลังอีก), ปากหวานก้นเปรี้ยว (พูดจาอ่อนหวานแต่ไม่จริงใจ), ชิงสุกก่อนห่าม (ทําสิ่งที่ ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา หมายถึง การลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน), ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก (ทําการใหญ่ไม่ควรตระหนี่) เป็นต้น
3. สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อสั่งสอนโดยตรง ซึ่งอาจเป็นคติ ข้อติติง คําจูงใจ หรือคําห้าม และเนื้อความที่สั่งสอนก็เป็นความจริง เป็นความดีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น น้ำขึ้นให้รีบตัก (มีโอกาสดีก็ควรรีบทํา), ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม (ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทํา แล้วจะสําเร็จผล), น้ำอุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก (แม้จะไม่พอใจก็ควรแสดงสีหน้ายิ้มแย้ม), รักดี หามจั่ว รักชั่วหามเสา (ใฝ่ดีมีความสุขความเจริญ ใฝ่ชั่วก็จะได้รับความลําบาก) เป็นต้น
98.ข้อใดมีแต่คําพังเพย
ตอบ 1. ดูคําอธิบายข้อ 97. ประกอบ
99. ข้อใดเป็นสุภาษิตทั้งหมด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 97. ประกอบ
100. ข้อใดเรียงลําดับถูกต้องตั้งแต่สํานวน คําพังเพย และสุภาษิต
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 97. ประกอบ
101. “นกสองหัว” เป็นถ้อยคําประเภทใด
(1) คําซ้อน
(2) สุภาษิต
(3) คําพังเพย
(4) สํานวน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 97. ประกอบ
102. “ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่” ตรงกับความหมายใด
(1) ยกตัวเองให้พ้นจากความผิดที่ก่อขึ้น
(2) ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันและกัน
(3) ให้รู้จักพิจารณาคนที่เลือกมาเป็นคู่ครอง
(4) คนเราย่อมเห็นข้อบกพร่องของผู้อื่นชัดเจนกว่าของตนเอง
ตอบ 2 ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ = ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันและกัน
103. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับความหมายที่ว่า “บ้าๆ บอ ๆ มีสติไม่สมบูรณ์”
(1) ไม่เต็มเต็ง
(2) ไม่เข้ายา
(3) ไม่เต็มบาท
(4) สองสลึงเฟื้อง
ตอบ 2 ไม่เข้ายา = ไม่ได้เรื่อง ไม่ได้ความ (ส่วนไม่เต็มเต็ง/ไม่เต็มบาท = บ้า ๆ บอ ๆ มีสติไม่สมบูรณ์ มีจิตใจใกล้ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ, สองสลึงเฟือง หรือสามสลึงเฟื้องก็ว่า)
104. ข้อใดมีความหมายว่า “คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่ง แต่ไม่กล้าจริง”
(1) หมาในรางหญ้า
(2) หมาเห่าใบตองแห้ง
(3) เอามือซุกหีบ
(4) ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
ตอบ 2 หมาเห่าใบตองแห้ง = คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่ง แต่ไม่กล้าจริง (ส่วนหมาในรางหญ้า = คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้, เอามือซุกหีบ = หาเรื่อง เดือดร้อนใส่ตัวโดยใช่ที่, ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก = ดีแต่พูดแต่ทําไม่ได้)
105. ข้อใดมีความหมายตรงกับ “ซื้อของไม่คํานึงถึงกาลเวลา ย่อมได้ของแพง”
(1) ขี่ช้างจับตั๊กแตน
(2) ตําน้ำพริกละลายแม่น้ำ
(3) ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเห็น
(4) ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ
ตอบ 4 ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ = ซื้อของไม่คํานึงถึงกาลเวลา ย่อมได้ของแพง, ทําอะไรที่ ไม่เหมาะกับกาลเวลา ย่อมได้รับความเดือดร้อน (ส่วนขี่ช้างจับตั๊กแตน = ลงทุนเอาไว้มาก แต่ได้ผลนิดหน่อย, ตําน้ําพริกละลายแม่น้ำ = ลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน, ลอด ตาช้าง ห่างลอดตาเล็น = ดูเหมือนรอบคอบถี่ถ้วน แต่ไม่รอบคอบถี่ถ้วนจริง)
106. “ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก” ตรงกับข้อใด
(1) ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก
(2) ดีแต่พูดแต่ทําไม่ได้
(3) พูดอย่างหนึ่งแต่ทําอีกอย่างหนึ่ง
(4) พูดดีแต่ใจคิดร้าย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 104. ประกอบ
107. คนงานเตรียม………………………ผลไม้
(1) ร่อง
(2) ล่อง
(3) รอง
(4) ลอง
ตอบ 1 คําว่า “ร่อง” = รอยลึกเป็นช่องทางไปตามยาว, สันดินระหว่างท้องร่องสําหรับเพาะปลูก เช่น ร่องผัก ร่องมัน (ส่วนคําว่า “ล่อง” = ช่องตามพื้นที่ทําไว้สําหรับให้สิ่งของลอดลงได้, “รอง” = รับรวมของเหลวหรือสิ่งอื่นที่ไหลตกลงมา เช่น รองน้ำไว้ดื่ม, “ลอง” = กระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร)
108. คนป่วยมีอาการ……..เต็มที่แล้ว
(1) ร่อแล่
(2) ร่อแร่
(3) ล่อแร่
(4) ล่อแล่
ตอบ 2 คําว่า “ร่อแร่” – อาการหนักจวนตาย เช่น อยู่ในอาการร่อแร่ (ส่วนคําว่า “พ่อแม่” = พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ความ, “ร่อแล่/ล่อแร่” เป็นคําที่เขียนผิด)
109. พอเห็นเธอแต่งชุดงาม……..ก็ตกตะลึง……..
(1) พิ้ง พรึงเพริด
(2) ทิ้ง พึงเพริด
(3) พริ้ง พรึงเพริด
(4) พริ้ง พึงเพริด
ตอบ 3 คําว่า “พริ้ง” = งามงอน สะสวยมาก ชอบแต่งตัวให้งดงามและทันสมัยอยู่เสมอ, “พรึงเพริด” (ในคําว่า ตะลึงพรึงเพริด) = ตะลึงจนลืมตัว (ส่วนคําว่า “พิ้ง/จึงเพริด” เป็นคําที่เขียนผิด)
110 ผู้ใหญ่บ้าน…….เงิน สร้างศาลา…..…
(1) เรี่ยไร การเปรียน
(2) เรี่ยราย การเปรียน
(3) เรี่ยไร การเปรียญ
(4) เรี่ยราย การเปรียญ
ตอบ 3 คําว่า “เรี่ยไร” = ขอร้องให้ช่วยออกเงินทําบุญตามสมัครใจ, “ศาลาการเปรียญ” = ศาลาวัด สําหรับพระสงฆ์แสดงธรรม (ส่วนคําว่า “เรี่ยราย” = กระจายเกลื่อนไป, “การเปรียน” เป็นคําที่เขียนผิด)
111. เขามีรูปร่างสูง………มีฐานะดี คุณสมบัติ…….ทุกอย่าง
(1) เพียว เพียบพร้อม
(2) เพียว เพรียบพร้อม
(3) เพรียว เพียบพร้อม
(4) เพรียว เพรียบพร้อม
ตอบ 3 คําว่า “เพรียว” = เปรียว ฉลวย เรียว เช่น รูปร่างสูงเพรียว, “เพียบพร้อม” = เต็มเปี่ยมครบทุกอย่าง (ส่วนคําว่า “เพียว/เพรียบพร้อม” เป็นคําที่เขียนผิด)
112. วันนี้ฝนตก…………………………ขึ้นมาได้
(1) ปอย ๆ นาปลัง
(2) ปอย ๆ นาปรัง
(3) ปรอย ๆ นาปลัง
(4) ปรอย ๆ นาปรัง
ตอบ 4 คําว่า “ปรอย ๆ” = ที่ตกเป็นระยะ ๆ ไม่หนาเม็ด (ใช้กับฝน) เช่น ฝนตกปรอย ๆ, “นาปรัง” = นาที่ทําในฤดูแล้งนอกฤดูทํานา (ส่วนคําว่า “ปอย ๆ /นาปลัง” เป็นคําที่เขียนผิด)
113. “วิทยากรบรรยายให้นักศึกษาฟังเรื่องโรคระบาด” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(2) วางส่วนขยายผิดที่
(3) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(4) ใช้คําต่างศักดิ์กัน
ตอบ 2 หน้า 37 (54351) การเรียงลําดับประโยคให้ถูกที่ หมายถึง การวางประธาน กริยา กรรม และส่วนขยายให้ตรงตามตําแหน่ง เพราะถ้าหากวางไม่ถูกที่จะทําให้ข้อความนั้นไม่ชัดเจน หรือมีความหมายไม่ตรงตามต้องการ เช่น วิทยากรบรรยายให้นักศึกษาฟังเรื่องโรคระบาด (วางส่วนขยายผิดที่ หรือใช้คําขยายไม่ถูกต้อง) จึงควรแก้ไขโดยวางส่วนขยายให้ถูกต้องเป็น วิทยากรบรรยายเรื่องโรคระบาดให้นักศึกษาฟัง
114. ข้อใดใช้ภาษาเขียน
(1) เมื่อไหร่เขาจะเลิกงาน
(2) เขาเข้าสอบเวลา 9.30 น.
(3) เขาเป็นเพื่อนที่ดีมาก ๆ
(4) ยังไงฉันก็จะรอเขาอยู่ที่นี่
ตอบ 2 หน้า 6 – 7 (54351), (คําบรรยาย) ระดับของคําในภาษาไทยมีศักดิ์ต่างกัน เวลานําไปใช้ก็ใช้ ในที่ต่างกัน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาใช้คําให้เหมาะสม กล่าวคือ
1. คําที่ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ ได้แก่ คําที่ใช้ในภาษาแบบแผน หรือภาษาเขียนของ ทางราชการ เช่น เมื่อใด เหตุใด อย่างไร เท่าไร ฯลฯ
2. คําที่ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ คําที่ใช้ในภาษาพูด หรือการเขียนจดหมายส่วนตัว ถึงบุคคลที่สนิทสนมกัน เช่น เมื่อไหร่ ยังไง เท่าไหร่ ฯลฯ ซึ่งในบางครั้งก็มักจะใช้คําซ้ำ เช่น เขาเป็นเพื่อนที่ดีมาก ๆ ฯลฯ หรือตัดคําให้สั้นลง เช่น มหาลัย คณะวิศวะ คณะมนุษย์ นายก โรงบาล มอไซค์ ฯลฯ
115. “บนถนนที่เต็มไปด้วยผู้ชุมนุมจํานวนมาก” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) ใช้คําฟุ่มเฟือย
(2) ใช้คํากํากวม
(3) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(4) วางส่วนขยายผิดที่
ตอบ 3 หน้า 38 (54351) การใช้คําตามแบบภาษาไทย คือ การทําให้ข้อความที่ผูกขึ้นมีลักษณะเป็นภาษาไทย ไม่เลียนแบบภาษาต่างประเทศ ซึ่งจะทําให้ข้อความกะทัดรัด เข้าใจง่าย และ ไม่เคอะเขิน เช่น บนถนนที่เต็มไปด้วยผู้ชุมนุมจํานวนมาก (ใช้สํานวนต่างประเทศ) จึงควรแก้ไขเป็นผู้ชุมนุมจํานวนมากอยู่บนถนน
116. “เขาเป็นคนเรียนเก่งเพราะพ่อเขาเป็นทูต” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) ใช้คํากํากวม
(2) ใช้คําต่างประเทศ
(3) วางส่วนขยายผิดที่
(4) ประโยคไม่มีเอกภาพ
ตอบ 4 หน้า 40 (54351), (คําบรรยาย) การจํากัดความให้ประโยคมีเอกภาพ คือ การใช้ประโยคหรือ ข้อความซ้อนกันต้องให้ใจความเกี่ยวข้องหรือเป็นเหตุเป็นผลกัน ไม่ควรให้กระจัดกระจายไป
เป็นคนละเรื่อง ถ้าหากใจความใดไม่สัมพันธ์กันก็ควรแยกออกเป็นคนละข้อความเสียเลย เช่น เขาเป็นคนเรียนเก่งเพราะพ่อเขาเป็นทูต (ประโยคไม่มีเอกภาพ) จึงควรแก้ไขเป็น เขาเป็นคน เรียนเก่งเพราะขยันอ่านหนังสือ
117. “ข้าพเจ้ามีจุดมุ่งหมายจะเรียนต่อที่คณะนิติศาสตร์” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด
(1) ใช้คําต่างศักดิ์กัน
(2) วางส่วนขยายผิดที่
(3) ใช้สํานวนต่างประเทศ
(4) ใช้คําขยายไม่ถูกต้อง
ตอบ 1 หน้า 6 (54351) คําในภาษาไทยมีระดับไม่เท่ากัน หรือเรียกว่ามีศักดิ์ต่างกัน หมายถึง มีการ แบ่งคําออกไปใช้ในที่สูงต่ําต่างกันตามความเหมาะสม เช่น ข้าพเจ้ามีจุดมุ่งหมายจะเรียนต่อที่ คณะนิติศาสตร์ (ใช้คําต่างศักดิ์กัน) จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น ข้าพเจ้ามีจุดมุ่งหมายจะศึกษา ต่อที่คณะนิติศาสตร์
118. ประโยคใดวางส่วนขยายผิดที่
(1) ข้อสอบวิชานี้ไม่ง่ายเหมือนที่ฉันคิดไว้เลย
(2) มหาวิทยาลัยรามคําแหงจัดการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา
(3) อาทิตย์หน้าฉันกับเพื่อน ๆ จะไปทัศนศึกษาที่จังหวัดเชียงใหม่ ๆ
(4) กรรมการคุมสอบแจ้งให้นักศึกษาทราบเรื่องกฎระเบียบในห้องสอบ
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 113. ประกอบ) ประโยคที่ว่า “กรรมการคุมสอบแจ้งให้นักศึกษาทราบเรื่อง กฎระเบียบในห้องสอบ” (วางส่วนขยายผิดที่ หรือใช้คําขยายไม่ถูกต้อง) จึงควรแก้ไขโดยการวางส่วนขยายให้ถูกที่เป็น กรรมการคุมสอบแจ้งเรื่องกฎระเบียบในห้องสอบให้นักศึกษาทราบ
119. “พอพระเทศน์จบกัณฑ์หนึ่ง ก็มีคนนํามันเทศมาแจกกินกัน” คําที่ขีดเส้นใต้เป็นคําประเภทใด
(1) คําเหมือน
(2) คําพ้องเสียง
(3) คําพ้องรูป
(4) คําไวพจน์
ตอบ 2 หน้า 14 (54351) คําพ้องเสียง คือ คําที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายและการเขียน (รูป) ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเวลาเขียนจึงต้องเขียนให้ถูกต้อง เพราะถ้าหากเขียนผิด ความหมาย ก็จะผิดไปด้วย เช่น คําว่า
“เทศน์” = การแสดงธรรมสั่งสอนในทางศาสนา,
“เทศ” (ในคําว่ามันเทศ) = ชื่อมันชนิดหนึ่ง
“กัณฑ์” = ข้อความที่แต่งเป็นคําเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่ได้จบลงในคราวหนึ่ง
“กัน”= คําประกอบท้ายกริยาของผู้กระทําตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แสดงการกระทําร่วมกัน
อย่างเดียวกัน หรือต่อกัน เป็นต้น
120. คําว่า “หวงแหน จอกแหน” คําที่ขีดเส้นใต้เป็นคําประเภทใด
(1) คําเหมือน
(2) คําพ้องเสียง
(3) คําพ้องรูป
(4) คําไวพจน์
ตอบ 3 หน้า 14 (54351) คําพ้องรูป คือ คําที่เขียนเหมือนกัน แต่ความหมายและการออกเสียง จะต่างกัน ดังนั้นจึงต้องออกเสียงให้ถูกต้อง เพราะถ้าหากออกเสียงผิด ความหมายก็จะผิดไปด้วย เช่น คําว่า
“แหน” อ่านว่า “แหนฺ” (ใช้เข้าคู่กับคําอื่นในคําว่า “หวงแหน แห่แหน เฝ้าแหน”) หรืออาจอ่านว่า “แหฺน” (ชื่อไม้น้ำหลายชนิดในวงศ์ Lemnaceae ใบกลมเล็ก ๆ ลอยอยู่ตาม น้ำนิ่ง เช่น แหนเล็ก แหนใหญ่ จอกแหน) เป็นต้น