การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา SOC 1003 สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเบื้องต้น
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. มาร์กซ์ (Marx) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Critique of Political Economy มีทัศนะในการศึกษาสังคมอย่างไร
(1) การขัดกับระหว่างคน 2 กลุ่มในแต่ละสังคมเป็นไปตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
(2) สังคมไม่จำเป็นต้องมีดุลยภาพ
(3) สังคมมีโครงสร้างเหมือนร่างกายมนุษย์
(4) สังคมไม่จำเป็นต้องมีความขัดแย้ง
ตอบ 1 หน้า 7 คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ได้มองสังคมในแง่ของการ“ขัดกัน” ของคนในสังคม โดยเขากล่าวไว้ในหนังสือชื่อ Critique of Political Economy ว่า การขัดกันระหว่างคน 2 กลุ่มในแต่ละสังคมเกิดขึ้นตลอดเวลาในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ กล่าวคือ สังคมเศรษฐกิจโบราณมีการขัดแย้งกันระหว่างทาสกับนายทาส ในสังคมเศรษฐกิจ สมัยกลางมีการขัดแย้งกันระหว่างข้าติดที่ดินกับเจ้าของที่ดิน และในสังคมเศรษฐกิจทุนนิยม มีการขัดแย้งกันระหว่างชนชั้นกรรมาชีพ (กรรมกร) กับนายทุน ซึ่งความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนี้ จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จนกระทั่งกลายเป็นสังคมนิยมและสังคมคอมมิวนิสต์
2. มนุษย์มีความคล้ายคลึงกับสัตว์ในด้านใดมากที่สุด
(1) รู้จักสื่อความหมาย
(2) มีการย้ายที่อยู่
(3) รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
(4) รู้จักพึ่งพาอาศัยกัน
ตอบ 1 หน้า 81 มนุษย์มีความคล้ายคลึงกับสัตว์ในด้านการรู้จักสื่อความหมายมากที่สุด มนุษย์มีการ ติดต่อสื่อสารโดยใช้สัญลักษณ์ ภาษา และยังมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมถึงกันได้ในขณะที่สัตว์ ประเภทต่าง ๆ ก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้บ้างแต่เป็นไปในระดับต่ำมาก
3. ตัวเลือกใดเป็นความรู้แบบสามัญสำนึก
(1) ปรากฏการณ์ที่สามารถมองเห็นและประสบได้ด้วยประสาทสัมผัส
(2) ปรากฏการณ์ที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์
(3) ปรากฏการณ์ที่สามารถจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ได้
(4) ปรากฏการณ์ที่สามารถจัดระเบียบหาความสัมพันธ์ระหว่างกันได้
ตอบ 1 หน้า 2 ความรู้แบบสามัญสำนึก (Common Sense) คือ ปรากฏการณ์ทางสังคมที่สามารถ มองเห็นและประสบได้ด้วยประสาทสัมผัส ทั้งนี้การศึกษาเกี่ยวกับ “คนและสังคม” ในระยะ เริ่มแรกมีลักษณะเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้รับมาในรูปของสามัญสำนึก
4. เพราะเหตุใดจึงต้องศึกษาสังคม
(1) เพื่อเข้าใจลักษณะ รูปแบบ และโครงสร้างของสังคม
(2) เพื่อให้สามารถสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้
(3) เพื่อชี้แนวทางการแก้ไขปัญหาสังคม
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 4-5 สาเหตุที่ต้องศึกษาสังคมก็เพราะจะได้รับประโยชน์ดังนี้
1. เพื่อให้เข้าใจลักษณะ รูปแบบ และโครงสร้างของสังคมตนเองและสังคมอื่นที่สัมพันธ์ด้วย ทำให้ทราบถึงกลไกการทำงานของสังคมและแนวทางประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคม กำหนดขึ้น
2. เพื่อให้สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลอื่น/ต่อสมาชิกร่วมสังคมและสมาชิกร่วมโลก เข้าใจสถานภาพและบทบาทของตนเองและผู้อื่น เนื่องจากมนุษย์จะแยกตัวอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้
3. เพื่อให้เข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมที่เป็นโทษและสาเหตุที่กำหนดพฤติกรรมเบี่ยงเบน เข้าใจปัญหาและสามารถชี้แนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมได้
4. เกิดประโยชน์ต่อทุกวิชาชีพ โดยใช้เป็นวิชาความรู้ควบคู่กับการศึกษาวิชาอื่น ๆ เพราะ ทุกฝ่ายต่างจะต้องใข้วิชาชีพนั้น ๆ กับคนในสังคมทั้งสิ้น
5. เพราะเหตุใดสังคมวิทยาจึงเน้นการศึกษาสังคมโดยการสุ่มตัวอย่าง
(1) ง่ายและสะดวกต่อการศึกษา (2) เน้นการสังเกตส่วนบุคคล
(3) เพื่อทำนายปรากฏการณ์ในอนาคต (4) ศึกษาสังคมปัจจุบันซึ่งมีขนาดใหญ่
ตอบ 4 หน้า 49 – 50, (คำบรรยาย) สังคมวิทยามีแนวโน้มศึกษาสังคมปัจจุบัน สังคมที่รู้หนังสือ และสังคมเชิงซ้อน โดยมีแนวโน้มที่จะใช้วิธีการศึกษาแบบสุ่มตัวอย่าง (Sampling) มากกว่า การศึกษาเป็นรายกรณี (Case Studies) ทั้งนี้เพราะการสุ่มตัวอย่างจะเน้นในเรื่องจำนวน (เนื่องจากสังคมปัจจุบันมีขนาดใหญต้องใช้วิธีสุ่มตัวอย่างจึงจะสามารถทำได้) ส่วนการศึกษา เป็นรายกรณีจะเน้นในเรื่องเวลาและความถี่ถ้วน
6. ประเพณีบวชนาค ฉัตร และการบวงสรวงเทวดา เป็นตัวอย่างการศึกษาสังคมแบบใด
(1) การแข่งขัน (2) สัญลักษณ์ (3) ดุลยภาพทางสังคม (4) พฤติกรรมเฉพาะกิจ
ตอบ 2 หน้า 8 วิธีการศึกษาสังคมโดยมองพฤติกรรมในรูปของ “สัญลักษณ์” (Symbol) เช่น ในสังคมที่มีกษัตริย์จะมีฉัตรหรือสัญลักษณ์ที่แตกต่างจากคนธรรมดาทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ ประเพณีการบวชนาค การแห่นางแมว หรือการบวงสรวงเทวดาของคนในบางสังคมนั้น จะเป็นการแสดงออกในรูปลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความหมายที่สำคัญบางอย่างของสังคม ในบางสังคมสีดำหมายถึง ความโศกเศร้า และบางสังคมใช้ดอกกุหลาบเป็นสื่อที่แสดง ความหมายถึงความรัก ความสดชื่น เป็นต้น
7. คำว่า Sociology มาจากคำในภาษาใด
(1) อังกฤษกับฝรั่งเศส (2) ละตินกับผ่รั่งเศส (3) ละดินกับกรีก (4) กรืกกับอังกฤษ
ตอบ 3 หน้า 16 สังคมวิทยา (Sociology) มาจากศัพท์ 2 คำ คือ คำว่า Socius ซึ่งเป็นภาษาละติน มีความหมายว่า “เพื่อน” (Companion) และคำว่า Logos ซึ่งเป็นภาษากรีก มีความหมายว่า “ถ้อยคำ” (Word) เมื่อรวมคำทั้ง 2 เข้าด้วยกันก็จะแปลว่า การพูดคุยเกี่ยวกับสังคม
8. ใครเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง “กฎระเบียบเกี่ยวกับวิธีการทางสังคมวิทยา”
(1) ค้องท์ (Comte) (2) เวเบอร์ (Weber)
(3) เดอร์ไคม์ (Durkheim) (4) สเปนเซอร์ (Spencer)
ตอบ 3 หน้า 20 อิมิลี เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) เป็นนักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสที่สนใจศึกษา สังคมวิทยาเปรียบเทียบ (Comparative Sociology) โดยเขาได้เขียนหนังสือเรื่อง “กฎหรือ ระเบียบเกี่ยวกับวิธีการทางสังคมวิทยา”
9. เพลโต (Plato) บรรยายสภาพสังคมเลอเลิศที่สุดไว้ในหนังสือชื่ออะไร
(1) อุตมรัฐ (2) อุดมคติรัฐ (3) อุดมการณ์รัฐ (4) อมตรัฐ
ตอบ 1 หน้า 17 – 18 ข้อเขียนของเพลโต (Plato) มีหลักสังคมวิทยาอยู่มาก โดยเฉพาะในหนังสือชื่อ The Republic (อุตมรัฐ) ซึ่งเขียนขึ้นมาเพื่อบรรยายสภาพสังคมที่เลอเลิศที่สุด เป็นรัฐในอุดมคติ ที่ประชาชนมีแต่ความผาสุก เพราะผู้ปกครองเป็น “ราชาปราชญ์” (Philosopher King) คือเป็นทั้งราชาที่มีอำนาจและเป็นปราซญ์ที่ทรงไว้ซึ่งความรู้
10. ใครเป็นผู้สนับสนุนการใช้วิธีการศึกษาที่เรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า “แวร์สเตเฮ็น” (Verstehen)
(1) เดอร์ไคม์ (Durkheim) (2) มาร์กซ์ (Marx)
(3) ค้องท์ (Comte) (4) เวเบอร์ (Weber)
ตอบ 4 หน้า 20 เวเบอร์ (Weber) เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมันที่สนับสนุนการใช้วิธีการศึกษาที่ เรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า “แวร์สเตเฮ็น” (Verstehen) แปลว่า Understanding (ความเข้าใจ) ซึ่งเป็นวิธีการที่เน้นความเข้าใจรวม ๆ กันมากกว่าในรายละเอียดของปรากฏการณ์ทางสังคม
11. สังคมสถิตตามทัศนะของค้องท์ (Comte) หมายถึงอะไร
(1) โครงสร้าง-หน้าที่ของสังคม
(2) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
(3) สภาวะสมบูรณภาพของสังคม
(4) วิวัฒนาการของสังคม
ตอบ 1 หน้า 18 – 19 ค้องท์ (Comte) ได้แบ่งการศึกษาทางสังคมวิทยาออกเป็น 2 สาขา ได้แก่
1. สังคมสถิต (Social Statics) เป็นการศึกษาเรื่องราวภายในสังคม คือ ศึกษาส่วนย่อย ได้แก่ โครงสร้าง-หน้าที่ของสถาบันต่าง ๆ ทางสังคม เช่น สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันครอบครัว สถาบันการเมือง สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา ฯลฯ
2. สังคมพลวัต (Social Dynamics) เป็นการศึกษาสังคมทั้งสังคม โดยเน้นการศึกษาในเรื่อง ที่ว่าสังคมเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และมีวิวัฒนาการความเป็นมาหรือเป็นไปอย่างไร ซึ่งเป็น การศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
12. หลักตรรกศาสตร์ในทางสังคมศาสตร์ที่นำมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม ได้แก่วิธีการแบบใด
(1) นิรนัยและตรรกนัย
(2) อุปนัยและตรรกนัย
(3) นิรนัยและอัตนัย
(4) นิรนัยและอุปนัย
ตอบ 4 หน้า 43 ในทางสังคมศาสตร์ได้นำเอาหลักดรรกวิทยา (ตรรกศาสตร์) มาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม ดังนี้
1. วิธีนิรนัย (Deductive Method) เป็นการอธิบายส่วนใหญ่มาหาส่วนน้อย
2. วิธีอุปนัย (Inductive Method) เป็นการอธิบายในเชิงเป็นไปได้ เมื่อรู้ว่าส่วนน้อยเป็นอย่างไร ก็นำไปอธิบายส่วนใหญ่
13. การตื่นตัวในวัฒนธรรมประจำชาติโดยจะมีการพูดถึง “เอกลักษณ์ของชาติหรือวัฒนธรรมอันดีงาม”มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด
(1) ต้องการเอกราช (2) เกิดการสู้รบกับประเทศเพื่อนบ้าน
(3) วัฒนธรรมต่างชาติกำลังแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามา (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 55 การตื่นตัวในทางวัฒนธรรมประจำชาติมักมีมากในช่วงที่มีความรู้สึกว่าวัฒนธรรม ต่างชาติกำลังแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามา ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวนี้จะมีการพูดถึง “ เอกลักษณ์ ของชาติ” หรือ “วัฒนธรรมอันดีงาม” ของชาติอยู่บ่อย ๆ
14. ตัวเลือกใดเป็นความหมายของวัฒนธรรมตามนัยแห่งสังคมศาสตร์
(1) ความเชื่อ (2) ขนบธรรมเนียมและประเพณีต่าง ๆ
(3) ทุกสิ่งที่ดีงาม (4) ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นผลงานของมนุษย์
คอบ 4 หน้า 58 – 59 วัฒนธรรมตามนัยแห่งสังคมศาสตร์มีความหมายกว้างขวางมากที่สุด คือ ครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นผลผลิตหรือผลงานหรือผลแห่งการกระทำของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมทางวัตถุหรือทางอวัตถุ และมีขอบเขตเกินกว่าการเป็นสิ่งที่ดีงาม หรือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ
15. ตัวอย่างใดที่มีความหมายว่า “หายนะธรรม” (Decadence)
(1) บทประพันธ์เรื่องขุนข้างขุนแผน (2) ดนตรีของไชคอฟสกี้
(3) บทละครของเชคสเปียร์ (Shakespeare) (4) ความฟุ้งเฟ้อและฟุ่มเฟือยปลายจักรวรรดิโรมัน
ตอบ 4 หน้า 57 วัฒนธรรมตามความหมายตามรากศัพท์เดิมมาจากศัพท์ “วัฒนะ” หรือ “พัฒนะ” ซึ่งแปลว่า “เจริญ” ดังนั้นจึงตรงข้ามกับคำว่า “หายนะธรรม” (Decadence) ซึ่งเป็นการ ประพฤติอันนำไปสู่ความเสื่อมหรือเป็นการเจริญลง ตัวอย่างเช่น ความฟุ้งเฟ้อและฟุ่มเฟือย ปลายจักรวรรดิโรมัน เป็นยุคที่มีการประพฤติปฏิบัติอย่างโหดร้ายทารุณ อันเป็นผลทำให้ จักรวรรดิโรมันแตกสลายในที่สุด ฯลฯ
16. พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นประเพณีเกี่ยวข้องกับอะไร
(1) ชีวิตบุคคล (2) อำนาจพระมหากษัตริย์ (3) การปกครอง (4) การทำมาหากิน
ตอบ 4 หน้า 57 – 58, (คำบรรยาย) ขนบรรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับ
1. วาระสำคัญของชีวิตบุคคล การดำเนินขีวิตของบุคคลตั้งแต่เกิดจนกระทั่งสิ้นชีวิต
2. ประเพณีต่าง ๆ ของสังคมเอง ซึ่งเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่และการทำมาหากินหรือ การประกอบอาชีพของคนในสังคม เช่น พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ฯลฯ
17. ข้อใดเป็นลักษณะของวัฒนธรรมตามคำนิยามมาตรฐาน
(1) เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ (2) เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากสัญชาตญาณ
(3) เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ (4) เป็นปฏิกิริยาทางสรีระ
ตอบ 3 หน้า 61 ลักษณะของวัฒนธรรมตามคำนิยามมาตรฐาน มี 6 ลักษณะ คือ
1. เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ (ไม่เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ ไม่เป็นพฤติกรรม ที่เกิดจากสัญชาตญาณ และไม่เป็นปฏิกิริยาทางสรีระ)
2. เป็นรูปแบบหรือกระสวนแห่งพฤติกรรมอันเกิดจากการเรียนรู้
3. เป็นผลหรือผลิตผลของพฤติกรรม (ทั้งที่มองไม่เห็นสัมผัสไม่ได้หรือมองเห็นสัมผัสได้)
4. เป็นสิงที่สมาชิกของสังคมรู้สึกว่ามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของไม่มากก็น้อย
5. มีการถูกส่งต่อหรือได้รับการถ่ายทอดมา 6. มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิจศีล
18. สังคมใดมีความแตกต่างกันในเรื่องอนุวัฒนธรรมของแต่ละอาชีพอย่างมาก จนก่อให้เกิดระบบวรรณะขึ้นมา
(1) สหรัฐอเมริกา (2) อินเดีย (3) ทิเบต (4) ปากิสถาน
ตอบ 2 หน้า 87 อนุวัฒนธรรมทางอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่ประกอบอาชีพแต่ละอาชีพมักจะมีแบบหรือวิถีการดำรงชีวิตแตกต่างกัน เช่น ในสังคมอินเดียความแตกต่างในเรื่องอนุวัฒนธรรมของแต่ละอาชีพ มีอย่างมากจนก่อให้เกิดระบบวรรณะขึ้นมา โดยวรรณะใหญ่ ๆ ของอินเดียมีด้วยกันทั้งหมด 4 วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ (พ่อค้า) และศูทร (ผู้ใช้แรงงาน)
19. ผู้ใดบัญญัติศัพท์ “ความล้าทางวัฒนธรรม”
(1) เช็คสเปียร์ (Shakespeare) (2) โครเบอร์ (Kroeber)
(3) อ็อกเบิร์น (Ogburn) (4) ริสแมน (Riesman)
ตอบ 3 หน้า 92 ผู้บัญญัติศัพท์ “ความล้าหรือความเฉื่อยทางวัฒนธรรม” คือ อ็อกเบิร์น (Ogburn) นักวิชาการชาวอเมริกัน โดยเขาให้คานิยามไว้ว่า ความล้าหรือความเฉื่อยทางวัฒนธรรม ได้แก่ ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่ยังคงอยู่จนเกินเลยเวลาที่เป็นประโยชน์ได้ โดยล้าหลังหรือตามไม่ทัน วัฒนธรรมส่วนอื่น ๆ ซึ่งแต่ก่อนนี้เคยเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน
20. ความหมายของกลุ่มสังคมได้แก่ตัวเลือกใด
(1) กลุ่มคนที่กำลังรอคอยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (2) กลุ่มคนที่มีการโต้ตอบกันทางสังคม
(3) กลุ่มคนที่มีลักษณะบางอย่างเหมือนกัน (4) กลุ่มคนที่ขาดระเบียบ
ตอบ 2 หน้า 98 กลุ่มสังคม หมายถึง กลุ่มคนที่มีการกระทำโต้ตอบซึ่งกันและกัน มีการติดต่อสัมพันธ์กัน ตามสถานภาพและบทบาท มีความรู้สึกสำนึกเป็นพวกเดียวกัน และมีความเชื่อในด้านคุณค่า ร่วมกันหรือคล้ายคลึงกัน เช่น ครอบครัว กลุ่มเพื่อน กลุ่มอาชีพ กลุ่มเชื้อชาติ ฯลฯ
21. กลุ่มชนิดใดที่ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนที่อยู่ห่างไกล
(1) กลุ่มปฐมภูมิ
(2) กลุ่มทุติยภูมิ
(3) กลุ่มอ้างอิง
(4) กลุ่มเอ็นจีโอ
ตอบ 1 หน้า 98 – 99 กลุ่มปฐมภูมิ (Primary Group) มีความสำคัญดังนี้
1. เป็นกลุ่มแรกที่มนุษย์เป็นสมาชิก คือ ครอบครัว
2. เป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่อบรมขัดเกลาทางสังคม (Socialization)
3. เป็นกลุ่มสำคัญที่ส่งเสริมหรือต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ เช่น เอื้อประโยชน์หรือ ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนที่อยู่ห่างไกล
4. เป็นประโยชน์ในด้านการสร้างขวัญกำลังใจ
22. กลุ่มซึ่งมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีประเพณีและวัฒนธรรมเหมือนกัน หมายถึงกลุ่มใด
(1) กลุ่มทุติยภูมิ
(2) กลุ่มสมาคม
(3) กลุ่มอ้างอิง
(4) กลุ่มชาติพันธุ์
ตอบ 4 หน้า 100 กลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic Group) เป็นกลุ่มคนซึ่งมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีประเพณีและวัฒนธรรมเหมือนกัน เช่น พวกชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ซึ่งมีความแตกต่างจาก คนกลุ่มใหญ่ในแง่เชื้อชาติ ประเพณี และวัฒนธรรม
23. กลุ่มชาติพันธุ์เป็นตัวอย่างของกลุ่มใด
(1) กลุ่มชนชั้น (2) กลุ่มอาชีพ (3) กลุ่มอ้างอิง (4) กลุ่มทุติยภูมิ
ตอบ 4 หน้า 99 – 100 กลุ่มทุติยภูมิ (Secondary Group) เป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ มีการติดต่อทาง สังคมที่ห่างเหิน ระยะสั้น การติดต่อสัมพันธ์เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดหรือตามหน้าที่ ขาดความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขาดความสนิทสนมคุ้นเคยเป็นส่วนตัว การติดต่อมุ่งให้ได้ ประโยชน์มากกว่าความรู้สึกส่วนตัว ความคิดเห็นของกลุ่มมุ่งที่เหตุผลและเน้นด้านประสิทธภาพ โดยกลุ่มทุติยภูมิแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
1. กลุ่มสมาคมหรือองค์การ 2. กลุ่มชาติพันธุ์
3. กลุ่มชนชั้น
24. ระยะห่างทางสังคมเป็นการวัดอะไร
(1) ระยะทาง
(2) ระยะเวลา (3) ระดับความใกล้ชิดหรือการยอมรับ (4) ระดับการพัฒนาสังคม
ตอบ 3 หน้า 103, (คำบรรยาย) ระยะห่างทางสังคม (Social Distance) เป็นการวัดระดับของ ความใกล้ชิดสนิทสนม หรือการยอมรับ หรืออคติที่เรามีความรู้สึกต่อคนกลุ่มอื่น และ สามารถนำมาใช้วัดความเป็นกลุ่มเรากลุ่มเขาได้เป็นอย่างดี โดยแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. ระดับแนวราบ (แนวนอน) เป็นความสัมพันธ์ของคนที่มีสถานภาพเท่าเทียมกันหรืออยู่ใน ระดับเดียวกัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา ญาติพี่น้อง เพื่อน ผู้ร่วมงาน ฯลฯ
2. ระดับแนวดิ่ง (แนวตั้ง) เป็นความสัมพันธ์ของคนที่มีสถานภาพต่างกัน เช่น ความสัมพันธ์ ระหว่างพ่อแม่กับลูก นายจ้างกับลูกจ้าง เจ้านายกับลูกน้อง ฯลฯ
25. สถาบันที่เก่าแก่ที่สุดของสังคมได้แก่สถาบันอะไร
(1) ศาสนา (2) การปกครอง (3) ครอบครัว (4) เศรษฐกิจ
ตอบ 3 หน้า 107 ในทางสังคมวิทยาถือว่า ครอบครัวมีลักษณะที่มีความเป็นสถาบัน 3 ประการ คือ
1. เป็นสถาบันทางสังคม ซึ่งมีรูปแบบหรือแบบแผนที่เป็นกระสวนทางพฤติกรรมตามหน้าที่ ตามที่สังคมกำหนดขึ้น และมีโครงสร้างทางสังคมที่เป็นตัวกำหนดค่านิยมที่แท้จริง
2. เป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดของสังคม มีมาพร้อมกับมนุษย์ และคงอยู่กับมนุษย์ตลอดเวลา
3. เป็นสถาบันสากล เนื่องจากมีปรากฏในทุกสังคม
26. ตัวเลือกใดคือครอบครัวที่จัดตามลักษณะและหน้าที่
(1) ครอบครัวเล็ก
(2) ครอบครัวปฐมนิเทศ (3) ครอบครัวสร้างสมาชิกใหม่ (4) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 114 ประเภทครอบครัวจัดตามลักษณะและหน้าที่ มี 2 ประการ ดังนี้
1. ครอบครัวปฐมนิเทศ (Family of Orientation) เป็นครอบครัวอาศัยเกิด คือ ครอบครัวของ บิดามารดาของเรานั่นเอง
2. ครอบครัวสร้างสมาชิกใหม่ (Family of Procreation) คือ ครอบครัวที่เกิดจากตัวของเราเอง โดยการสมรส และการมีบุตรสืบสกุล
27. ครอบครัวที่ชายหญิงสามารถมีคู่สมรสได้มากกว่า 1 คน เรียกว่าอะไร
(1) หลายผัวหลายเมีย (2) คู่ครองร่วม (3) พหุคู่ครอง (4) ข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า115-116 ครอบครัวประกอบร่วมหรือครอบครัวซ้อนเป็นระบบครอบครัวที่ชายหญิง สามารถมีคู่สมรสได้มากกว่า 1 คนที่เรียกว่าหลายผัวหลายเมีย (พหุคู่ครอง) ซึ่งแยกออกเป็น
1. ชายมีภรรยาหลายคน (พหุภรรยา)
2. หญิงมีสามีหลายคน (พหุสามี) ซึ่งยังปรากฏอยู่ในชาวทิเบตบางกลุ่ม
3. ครอบครัวที่เกิดจากการสมรสหมู่ ซึ่งปัจจุบันได้สูญหายไปจากโลกนี้แล้ว เหลือเพียงหลักฐาน เพื่อการศึกษาเท่านั้น
4. ครอบครัวภาระหรือครอบครัวภาวะจำยอม
28. องค์การสหประชาชาติกำหนดสถานะการสมรสของมนุษย์ไว้อย่างไร
(1) โสด สมรส แยกกันอยู่ (2) โสด สมรส หย่า
(3) โสด สมรส หย่า ร้าง (4) โสด สมรส แยกกันอยู่ ร้าง หย่า หม้าย
ตอบ 4 หน้า 118, (คำบรรยาย) องค์การสหประชาชาติได้มีมติกำหนดสถานะการสมรสของมนุษย์ ไว้ 6 ประการ คือ
1. โสด เป็นสถานะการสมรสที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน
2. สมรส (แตงงาน) 3. แยกกันอยู่ 4. ร้าง 5. หย่า 6. หม้าย
29. การศึกษาครอบครัวโดยเน้นการอยู่ร่วมกับของชายหญิงเพื่อต้องการมีบุตรไว้สืบสกุล เป็นแนวการศึกษาด้านใด
(1) มานุษยวิทยา (2) สังคมวิทยา (3) จิตวิทยา (4) เพศศึกษา
ตอบ 1 หน้า 108 การศึกษาครอบครัวตามแนวมานุษยวิทยา เป็นการศึกษาครอบครัวโดยเริ่มจาก การที่หญิงหนึ่งคนหรือมากกว่านั้นอยู่ร่วมกับชายหนึ่งคนหรือมากกว่านั้นและมีบุตรด้วยกัน มีความสัมพันธ์ทางเพศอันเป็นที่ยอมรับกันทางสังคม โดยมีวัตถุประสงคัในการอยู่ร่วมกัน เพื่อต้องการมีบุตรไว้สืบสกุล อันเป็นเรื่องของวิวัฒนาการของมนุษย์เอง
30. ตัวเลือกใดคือตัวอย่างของศาสนาธรรมชาติ
(1) ลัทธิเต๋า (2) ศาสนาชินโต
(3) การเคารพบูขารุกขเทวดา (4) ศาสนาพราหมณ์
ตอบ 3 หน้า 129 – 130 ความเป็นมาของศาสนาโดยวิวัฒนาการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ศาสนาธรรมชาติ เป็นระบบความเชื่อที่บริสุทธิ์ ไม่มีการดัดแปลงแก้ไข เช่น การนับถือผี นับถือวิญญาณ นับถือเจ้าป่าเจ้าเขา การเคารพบูขารุกขเทวดา ฯลฯ
2. ศาสนาสถาบันหรือศาสนาหลัก เป็นระบบความเชื่อที่เกิดขึ้นจากข้อกำหนดของสังคม โดยนำศาสนาธรรมชาติมาปรับปรุงแก้ไขและจัดรูปแบบให้มีความสมบูรณ์ยิงขึ้น เช่น ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ ชินโต ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ ฯลฯ
31. มาลินอฟสกี้ (Malinowski) มีความเห็นต่อศาสนาอย่างไร
(1) ทำให้เกิดความงมงาย
(2) เป็นยาเสพติด
(3) ช่วยปลอบใจยามทุกข์ยาก
(4) เกิดขึ้นเพราะมนุษย์ไม่แน่ใจในธรรมชาติ
ตอบ 4 หน้า 133,350 ความสำคัญของศาสนาในทางสังคมวิทยานั้น ได้มีผู้แสดงความเห็นไว้ดังนี้
1. ฟรอยด (Freud) เห็นว่า ศาสนามีประโยชน์ในด้านเป็นเครื่องปลอบประโลมใจในยามทุกข์ยาก
2. มาร์กซ์ (Marx) ถือว่า ศาสนาเป็นยาเสพติด เพราะก่อให้เกิดความงมงาย และเป็นอุปสรรค ต่อการปฏิวัติทางการเมือง ซึ่งเป็นการมองศาสนาไปในแง่ร้าย
3. มาลินอฟสกี้ (Malinowski) เห็นว่า ศาสนาและพิธีกรรมมักเกี่ยวพันกับความไม่แน่ใจ ในเรื่องธรรมชาติ ความเกรงกลัวในสิ่งที่ไม่แน่นอน/สิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ ทำให้คนมุ่งไปที่ ศาสนาหรือพิธีกรรม
32. เพราะเหตุใดมนุษย์จึงจำเป็นต้องมีศาสนา
(1) ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
(2) ไม่เข้าใจสภาวะแวดล้อมที่แท้จริง
(3) เพื่อนำศาสนามาควบคุมพฤติกรรม
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 133 – 134 ความจำเป็นที่มนุษย์ต้องมีศาสนาเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ กัน 3 ประการ คือ
1. มนุษย์ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จึงแสวงหาวิธีการมาช่วยปลอบประโลมใจ
2. มนุษย์ไม่เข้าใจสภาวะแวดล้อมที่แท้จริง จึงพยายามหาสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
3. มนุษย์ต้องการนำศาสนามาควบคุมพฤติกรรมของสังคม เพื่อให้สังคมอยู่ด้วยความสงบสุข
33. การจัดประเภทความเชื่อทางศาสนาเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ข้อใด
(1) เอกเทวนิยม และพหุเทวนิยม (2) พหุเทวนิยม และอเทวนิยม
(3) เทวนิยม และอเทวนิยม (4) เอกเทวนิยม และอเทวนิยม
ตอบ 3 หน้า 139 – 140 การจัดประเภทความเชื่อทางศาสนา มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. เทวนิยม (Theism) เป็นระบบความเชื่อทว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก แบ่งออกเป็น เอกเทวนิยม (เชื่อว่ามีพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว) เช่น ศาสนาคริสต์ อิสลาม ฯล*า, พหุเทวนิยม (นับถือ พระเจ้าหลายพระองค์) เช่น ศาสนาฮินดู ๆลา, สัพพัตถเทวนิยม (เชื่อว่าพระเจ้าและจักรวาล เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน) เช่น เชื่อว่าแผ่นดินมีแม่พระธรณีเป็นผู้ดูแลปกปักรักษา ฯลฯ
2. อเทวนิยม (Atheism) เป็นระบบความเชื่อที่อาศัยเหตุผลและความเป็นจริงเป็นสำคัญ โดยไม่ผูกพันอยู่กับเทพเจ้า เช่น ศาสนาพุทธ เชน เต๋า ฯลฯ
34. ศาสนาใดเป็นศาสนาประเภทพหุเทวนิยม
(1) คริสต์ (2) อิสลาม (3) ฮินดู (4) พุทธ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ
35. ในอารยธรรมกรีกโบราณ การศึกษาผูกพันกับเพเดีย (Paedeia) หมายความว่าอย่างไร
(1) การศึกษาผูกพันกับผู้สอน (2) การศึกษาผูกพันกับปัญญา
(3) การศึกษาผูกพันกับคุณธรรม (4) การศึกษาผูกพันกับเทพเจ้า
ตอบ 3 หน้า 152 – 153 ในอารยธรรมกรีกโบราณ การศึกษาผูกพันกับคุณธรรม (ภาษากรีกเรียกว่า Paedeia) ซึ่งคำว่าการศึกษาในภาษากรีก หมายถึง การเรียนคุณธรรม โดยสรุปการศึกษา ในทัศนะกรีกโบราณ หมายถึง การเป็นคนดีและเป็นพลเมืองดี
36. กระบวนการอันเกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ที่เรียกว่า “ปฏิจจสมุปบาท” หมายถึงข้อใด
(1) สิ่งทั้งหลายยอมอาศัยซึ่งกันและกัน (2) สิ่งทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
(3) สิ่งทั้งหลายย่อมเป็นอัตตา (4) สิ่งทั้งหลายศึกษาได้ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา
ตอบ 1 หน้า 152 พระพุทธศาสนาถือว่าความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้มนุษย์หลุดพ้นจาก ความทุกข์ พระพุทธองค์ทรงถือว่าอวิชชา (ความไม่รู้) เป็นต้นเหตุแห่งวัฏสงสารอันเป็นการ เวียนว่ายตายเกิดในห้วงแห่งทุกข์ วัฏสงสารจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อพ้นจากอวิชชาอันเป็นจุดเริ่มต้น แห่งกระบวนการอันเกี่ยวเนื่องเป็นลูกโซ่ที่เรียกว่า ‘’ปฏิจจสมุปบาท” (การที่สิ่งทั้งหลายอาศัย ซึ่งกันและกัน) ดังนั้นการศึกษาในเชิงพุทธศาสตร์จึงมีความหมายเพื่อให้หลุดพ้นจากอวิชชา หรือความไม่รู้เพื่อชีวิตจะได้ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก
37. ผู้สำเร็จการศึกษาที่เน้นความเลอเลิศทางปัญญามักถูกเปรียบเทียบกับคุณลักษณะใด
(1) เหยียบขี้ไก่ไม่ผ่อ (2) เข็นครกขึ้นภูเขา
(3) ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด (4) เขียนเสือให้วัวกลัว
ตอบ 3 หน้า 164 – 167 ผลิตผลของปรัชญาการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เน้นความเลอเลิศทางปัญญา โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ที่มีต่อสังคม คือ การสร้างนักคิดและนักวิชาการประเภทเคร่งทฤษฎี จนกระทั่งมีฉายาว่าเป็นนักวิชาเกิน หากมหาวิทยาลัยใดนิยมปรัชญาแนวนี้ย่อมทำให้สถาบัน มีลักษณะเป็นแบบหอวิมานงาช้างหรือ “ปัญญาปราสาท” ที่ให้ความสำคัญกับวิชาการและวิชาชื่นชอบโดยไม่ได้อยู่ในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษามักถูกเปรียบเทียบได้ กับคุณลักษณะดังคำพังเพยของไทยที่ว่า “ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด” คือ มีความรู้มาก แต่ไม่สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
38. มุกติศึกษาหมายถึงข้อใด
(1) ผู้หลุดพ้นจากวัฏสงสาร (2) ผู้เข้าถึงปัญญา
(3) ผู้มีคุณธรรม (4) ผู้เป็นอิสระจากอคติหรือความเชื่อที่ปราศจากเหตุผล
ตอบ 4 หน้า 165 ปรัชญาการศึกษาแนวแรกที่เน้นหนักไปทาง “ศิลปศาสตร์ศึกษา” (Liberal Education) ซึ่งบางครั้งเรียกว่า Liberal Arts หมายถึง ศิลปวิทยาการที่ทำให้คนมีเสรี ได้มีบางท่านใช้ศัพท์ “มุกติศึกษา” หมายถึง การหลุดออกหรือการเป็นอิสระจากอคติหรือ ความเชื่อต่าง ๆ ที่ปราศจากเหตุผล
39. มหาวิทยาลัยเปิดแบบตลาดวิชาแห่งแรกของไทยคือมหาวิทยาลัยใด
(1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(2) สุโขทัยธรรมาธิราช (3) รามคำแหง (4) ธรรมศาสตร์และการเมือง
ตอบ 4 หน้า 174 – 175 มหาวิทยาลัยเปิดหรือตลาดวิชาแห่งแรกของไทย คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งได้รับการสถาปนาเมื่อ พ.ศ. 2476 โดยจัดการศึกษาในระยะเริ่มแรกเป็นแบบ “ใครใคร่เรียนเรียน” คือ ผู้ที่ประสงค์จะเรียนสามารถเข้าเรียนได้โดยไม่จำกัดวุฒิการศึกษา
40. มหาวิทยาลัยใดมีปรัชญาการศึกษาที่เน้นการแก้ปัญหาเพื่อสวัสดิการของปวงชน
(1) มหาวิทยาลัยเปิดของประเทศอังกฤษ (2) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
(3) มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ (4) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ตอบ 3 หน้า 177 – 178 ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสหประชาชาติจะเน้นในเรื่องความเข้าใจกัน ระหว่างมวลมนุษย์ การอยู่ร่วมกันของคนต่างชาติต่างภาษาและต่างวัฒนธรรม การดำรงรักษาไว้ ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง โดยมีปรัชญาหลัก คือ การมุ่งแก้ป้ญหาที่เกี่ยวข้องกับความเป็น ความตายของมนุษยชาติ และเพื่อสรรค์สร้างสวัสดิการของปวงชน
41. วิชาประชากรศาสตร์เกิดขึ้นเนื่องจากอะไร
(1) อัตราการเกิดสูง
(2) อัตราการตายสูง
(3) การอพยพย้ายถิ่นสูงขึ้น
(4) อัตราการเพิ่มชองประชากรโลกสูงขึ้น
ตอบ 4 หน้า 185 ประชากรศาสตร์ เป็นสาสตร์สาขาใหม่ของสังคมศาสตร์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เอง สืบเนื่องจากในปี ค.ศ. 1949 องค์การสหประชาชาติได้จัดประชุมสัมมนาเกี่ยวกับทรัพยากรของโลก และมีการสำรวจประชากรในฐานะผู้บริโภคด้วย ซึ่งผลจาก การประชุมพบว่าทรัพยากรต่าง ๆ ของโลกได้ถูกทำลายอย่างมากมาย ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่ ประชากรมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เกิดการตื่นตัวศึกษาเกี่ยวกับประชากรมากขึ้น
42. หลังปี ค.ศ. 1950 ประชากรโลกเพิ่มขึ้นมากในภูมิภาคใด
(1) ยุโรป
(2) เอเชีย
(3) แอฟริกา
(4) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 188 – 189 การเพิ่มของประชากรโลกก่อนปี ค.ศ. 1950 มีอัตราการเพิ่มอย่างสูงในบริเวณ ภูมิภาคแถบยุโรป และบริเวณที่ชาวยุโรปเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่เท่านั้น แต่หลังจากปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา อัตราการเพิ่มขึ้นอย่างสูงของประชากรโลกได้มาเกิดขึ้นใบบริเวณภูมิภาคแถบเอเชีย ลาตินอเมริกา และแอฟริกา ซึ่งในปัจจุบันอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในภูมิภาคแถบเอเชียและลาตินอเมริกา
43. ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้วมีลักษณะอย่างไร
(1) อัตราการตายสูง (2) ประชากรวัยชราเพิ่มขึ้น
(3) อัตราการเกิดสูงขึ้น (4) ประชากรวัยชราลดลง
ตอบ 2 หน้า 190, 195, (คำบรรยาย) หากพิจารณาในภาพรวม ประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ จะมีการเปลี่ยนแปลงทางประชากรในลักษณะที่อัตราการเกิดและอัตราการตายลดลงอยู่ใน ระดับตํ่าเท่าเทียมกัน และประชากรวัยชราเพิ่มขึ้น ส่วนประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่จะมี การเปลี่ยนแปลงทางประชากรในลักษณะที่อัตราการเกิดยังสูงอยู่แต่อัตราการตายลดต่ำลง
44. กระบวนการทางประชากรที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ได้แก่ข้อใด
(1) ครอบครัว การศึกษา และความเชื่อ (2) สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
(3) การเกิด การตาย และการย้ายถิ่น (4) สถานภาพ บทบาท และสถาบัน
ตอบ 3 หน้า 185 – 187 กระบวนการทางประชากรที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางประชากร ได้แก่
1. การเจริญพันธุ์ (การเกิด) หมายถึง จำนวนประชากรที่ให้กำเนิดบุตรได้จริง ๆ โดยวัดได้จาก การคำนวณหาอัตราการเกิดของประชากร ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุเมื่อแรกสมรส การอยู่เป็นโสด อย่างถาวร การไม่สมรสใหม่ของหญิงหม้ายและหย่าร้าง การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์โดยสมัครใจหรือไม่สมัครใจ การคุมกำเนิดโดยวิธีการต่าง ๆ และการตายของเด็กทารก
2. การตาย 3. การอพยพหรือย้ายถิ่น
45. ปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการปฏิวัติทางครอบครัว (Family Revolution) ได้แก่ข้อใด
(1) หนุ่มสาวจะแต่งงานช้าลงหรือไม่แต่งงานเลย (2) จำนวนบุตรต่อครอบครัวสูงกว่าระดับทดแทน
(3) เพศหญิงเป็นผู้นำครอบครัว (4) มีแนวโน้มเป็นครอบครัวขยายมากขึ้น
ตอบ 1 หน้า 188 – 189 นักประชากรชาวยุโรปเห็นพ้องต้องกันว่า สภาวการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านคุณค่าและแบบแผนการดำเนินชีวิต นอกจากนี้วิธีการควบคุม การเกิดหรือการคุมกำเนิดยังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สตรีออกทำงานนอกบ้านมากขึ้น ค่าเช่าบ้านแพงขึ้นและมีขนาดเล็กลง และยังมีแนวโน้มว่า คนหนุ่มสาวจะแต่งงานช้าลงหรือไม่ แต่งงานเลย ซึ่งนักประชากรเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การปฏิวัติครอบครัว (Family Revolution)
46. การแบ่งช่วงชั้นในยุโรปสมัยกลางใช้ระบบใด
(1) ชนชั้น (2) วรรณะ (3) ฐานันดร (4) สถานภาพ
ตอบ 3 หน้า 199 ฐานันดร (Estate) เป็นระบบการแบ่งช่วงชั้นทางสังคมที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกลาง ของยุโรป เดิมมีเพิยง 2 ฐานันดร ได้แก่ นักบวช (พระ) และขุนนาง ต่อมามีเพิ่มขึ้นอีก เช่น พ่อค้า สามัญชน เป็นระบบที่มีกฎหมายกำหนดสิทธิหน้าที่ของคนแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยูกับความสัมพันธ์ของบุคคลต่อที่ดิน โดยการเขยิบฐานะเป็นไปได้ และไม่มีศาสนาค้ำจุนเหมือน ระบบวรรณะ
47. ตัวเลือกใดเป็นสถานภาพติดตัวของบุคคล
(1) การเป็นสมาชิกของสังคม
(2) ชาติตระกูล (3) สิทธิของคนในสังคม (4) ศักดิ์ศรีที่แต่ละคนมีอยู่
ตอบ 2 หน้า 25, 197 – 198 สถานภาพของบุคคล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สถานภาพติดตัว (Ascribed Status) คือ สถานภาพที่บุคคลได้รับมาโดยอัตโนมัติ อันมี รากฐานมาจากการถือกำเนิด เช่น อายุ เพศ ผิวพรรณ ชาติตระกูล ความเป็นลูก ฯลฯ
2. สถานภาพสัมฤทธิ์ (Achieved Status) คือ สถานภาพที่บุคคลได้รับมาจากการกระทำ หรือผลสำเร็จจากการกระทำตามวิถีทางของบุคคลนั้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความสามารถและ ประสิทธิภาพที่บุคคลแสดงออกเมื่อมีโอกาส จึงมีส่วนทำให้บุคคลมีฐานะทางสังคม เช่น การศึกษา อาชีพ รายได้ อำนาจ ฯลฯ
48. ตัวเลือกใดเป็นการจัดช่วงชั้นโดยอิทธิพลของศาสนา
(1) วรรณะ (2) ฐานันดร (3) ชนชั้น (4) ศักดินา
ตอบ 1 หน้า 198 – 199 วรรณะ (Caste) เป็นระบบการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคมโดยมีอิทธิพล ของศาสนาเข้ามาเกื้อหนุน และเน้นถึงความสัมพันธ์ของสถานภาพของบุคคลในสังคม ซึ่ง จำกัดบุคคลไม่ให้ได้รับสถานภาพสูงขึ้นกว่าเมื่อเขาเกิด ดังนั้นระบบวรรณะจึงเป็นระบบช่วงชั้น ซึ่งมีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว (ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ)
49. เกณฑ์ใดใช้วัดการจัดลำดับชนชั้น (Class) ของสังคม
(1) เกียรติยศศักดิ์ศรี (2) อำนาจ (3) ศาสนา (4) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 200 – 201 เกณฑ์ที่ใช้วัดการจัดลำดับชนชั้น (Class) ของสังคม ได้แก่ เกียรติยศศักดิ์ศรี ของครอบครัวซึ่งตกทอดมาถึงลูกหลาน อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ความมั่งคั่ง อำนาจ การมีเวลาว่าง ระดับการศึกษา ความสามารถและการประสบความสำเร็จ ถิ่นที่อยู่อาศัย รสนิยม การแสดงตนและการยอมรับ เป็นต้น
50. ตัวอย่างใดเป็นการจราจรภาพทางสังคมในแนวดิ่ง (Vertical Mobility)
(1) สามัญชนแต่งงานกับเจ้านาย (2) ช่างปูนเปลี่ยนอาชีพเป็นช่างทาสี
(3) แม่ค้าหาบเร่ย้ายไปขายในห้างสรรพสินค้า (4) กระเป๋ารถได้เลื่อนเป็นคนขับโดยสาร
ตอบ 1 หน้า 205 – 206 การจราจรภาพทางสังคมในแนวดิ่งหรือแนวตั้ง (Vertical Mobility)ซึ่งเป็นไปได้ใน 2 ทาง คือ 1. การจราจรภาพในทางตํ่าลง ตัวอย่างเช่น บุคคลซึ่งเคยดำรง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเปลี่ยนไปเป็นบุคคลธรรมดา ฯลฯ 2. การจราจรภาพในทางสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น สามัญชนไปแต่งงานกับเจ้านาย ฯลฯ
51. การควบคุมทางสังคมคืออะไร
(1) กรรมวิธีในการควบคุมไม่ให้สมาชิกแสดงพฤติกรรมฝืนสังคม
(2) กระบวนการในการสร้างกลไกป้องกันพฤติกรรมเบี่ยงเบน
(3) รูปแบบสถิตแห่งสังคม
(4) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 215 การควบคุมทางสังคม หมายถึง กรรมวิธีหรือกระบวนการต่าง ๆ ในการควบคุมสังคม เพื่อป้องกันพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนจากปกติหรือพฤติกรรมที่ฝืนสังคมมิให้เกิดขึ้น หรือป้องกัน มิให้พฤติกรรมดังกล่าวที่เกิดขึ้นแล้วมีผลเสียหายอย่างรุนแรงต่อสังคม
52. ตัวอย่างใดเป็นรูปแบบการอบรมขั้นปฐมภูมิ (Primary Socialization)
(1) ครอบครัวอบรมสั่งสอนเรื่องหน้าที่ในสังคมให้กับสมาชิก
(2) หน่วยงานจัดอบรมความรู้และทักษะเฉพาะตำแหน่งให้พนักงาน
(3) โรงเรียนจัดหลักสูตรพระพุทธศาสนาในชีวิตประจำวันให้นักเรียน
(4) กรรมกรรวมกลุ่มกันเพื่อเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสูงขึ้น
ตอบ 1 หน้า 241 การอบรมทางสังคม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. การอบรมขั้นปฐมภูมิ (Primary Socialization) เริ่มตั้งแต่ครอบครัวทำหน้าที่ให้การอบรม สั่งสอนเด็กในเรื่องความรัก หน้าที่ และสิทธิต่าง ๆ เพื่อให้เด็กเข้ากับคนอื่น ๆ ในสังคมได้
2. การอบรมขั้นทุติยภูมิ (Secondary Socialization) จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้ผ่านกระบวนการ อบรมทางสังคมขั้นปฐมภูมิแล้ว และต้องการเข้ากลุ่มสังคมหรือเปลี่ยนสภาพทางสังคม
53. ตัวเลือกใดเป็นการควบคุมทางสังคมที่เป็นกลไกทางวัฒนธรรม
(1) สถานภาพและบทบาท
(2) การถอนตัว (3) การบังคับใช้ (4) ข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 222 – 223 กลไกทางวัฒนธรรมที่ใช้ในการควบคุมทางสังคม ประกอบด้วย
1. บรรทัดฐาน ได้แก่ กฎหมาย ข้อบังคับ ข้อห้าม อารีต ประเพณี วิถีประชา (เช่น มารยาท ทางสังคมต่าง ๆ หรือสมบัติผู้ดี) ฯลฯ 2. การบังคับใช้ 3. สถานภาพและบทบาท
4. การเข้ากลุ่มและการเข้าสังคม 5. ความแตกต่างทางสังคมและขั้นทางสังคม
54. ข้อใดเป็นการควบคุมทางสังคมที่เป็นกลไกการใช้อุบาย
(1) การใช้เทคโนโลยี
(2) การใช้กฎระเบียบ ข้อบังคับ (3) การใช้ถ้อยคำภาษา (4) การใช้คนจำนวนมากต่อรอง
ตอบ 3 หน้า 234 กลไกกลอุบายที่ใช้ในการควบคุมทางสังคม แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
กลอุบายที่ใช้ถ้อยคำภาษา และกลอุบายที่ไม่ใช้ถ้อยคำภาษา
55. ข้อใดคือตัวอย่างของวิธีการควบคุมทางสังคมที่เป็นสัญลักษณ์เชิงปฎิฐาน
(1) การให้รางวัลเป็นเงิน (2) การลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไร้คุณธรรม
(3) การให้อำนาจ (4) การให้เหรียญตรา
ตอบ 4 หน้า 217 วิธีการควบคุมทางสังคมที่เป็นสัญลักษณ์เชิงปฏิฐาน (เชิงบวก) ได้แก่ การซุบซิบในทางดี การจูงใจและการโฆษณาชวนเชื่อ การโฆษณา การยกย่องสรรเสริญเยินยอ และการให้ เหรียญตราเกียรติยศที่เป็นสิ่งแสดงสถานภาพที่สูงขึ้น เช่น การมอบครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฯลฯ
56. สังคมวิทยาการเมืองเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาใด
(1) สังคมวิทยากับภูมิศาสตร์
(2; สังคมวิทยากับรัฐศาสตร์ (3) สังคมวิทยากับปรัชญา (4) สังคมวิทยากับมานุษยวิทยา
ตอบ 2 หน้า 247 สังคมวิทยาการเมือง เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาสังคมวิทยาและรัฐศาสตร์โดยสังคมวิทยาเน้นศึกษาถึงพฤติกรรมความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มสังคม ส่วนรัฐศาสตร์เน้นศึกษาถึงพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์ การปกครอง การใช้อำนาจ และสภาวะทางการเมืองที่มีผลต่อรัฐหรือประเทศหรือสังคมโดยส่วนรวม
57. สังคมที่พัฒนาแล้ว เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา มักใช้การจัดองค์กรทางการเมืองแบบใด
(1) อนาธิปไตย (2) สังคมนิยม (3) ประชาธิปไตย (4) ประธานาธิปไตย
ตอบ 3 หน้า 442 – 443, (คำบรรยาย) ลักษณะวัฒนธรรมในสังคมตะวันตกหรือสังคมที่พัฒนาแล้ว ดังเช่นประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปและดินแดนที่ชาวยุโรปอพยพไปตั้งถิ่นฐาน เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ มักจะให้ความสำคัญกับระบอบประชาธิปไตย ยกย่อง ผู้ประสบความสำเร็จด้วยตนเอง เน้นความสำคัญของตัวบุคคล (Individualism) มีประชาธิปไตย ทำงานตามระเบียบกฎเกณฑ์หรือหน้าที่อย่างเคร่งครัด และนิยมวัตถุ (Materialism)
58. ข้อใดคือปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางการเมือง
(1) การออกเสียงเลือกตั้ง (2) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมือง
(3) การสนับสบุนหรือคัดค้านทางการเมือง (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 248 สังคมวิทยาการเมืองศึกษาถึงปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางการเมือง เช่น การออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง การเข้าร่วม กิจกรรมทางการเมือง รวมทั้งการสนับสนุนหรือคัดค้านกลุ่มการเมืองและพรรคการเมือง ฯลฯ
59. ข้อใดไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในยุโรปสมัยกลาง
(1) ศาสนา รัฐ และลังคมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
(2) ศาสนจักรครองอำนาจทางการเมืองและอำนาจทางศาสนา
(3) การถกเถียงเกี่ยวกับสังคมและรัฐว่าใครควรมีอำนาจมากกว่ากัน
(4) แนวคิดเรื่องพลเมือง (Citizen) ยังไม่เกิดขึ้น
ตอบ 4 หน้า 248 – 249 ในสมัยกลางของยุโรปซึ่งเป็นยุคของการรวมตัวกันเป็นจักรวรรดิ พระเป็น ผู้มีบทบาทสำคัญมากทั้งทางโลก (อาณาจักร) และทางธรรม (ศาสนจักร) ซึ่งทั้ง 2 องค์กรนี้ รวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มิได้แยกจากกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า พระในศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะสันตะปาปามีบทบาทมากทั้งทางสังคม การเมืองการปกครอง และการศาสนา มีหน้าที่ควบคุมดูแลประชาชน และบริหารงาบบ้านเมืองไปด้วยในขณะเดียวกัน ต่อมาได้มีการถกเถียงเกี่ยวกับสังคมและรัฐว่าใครควรมีอำนาจมากกว่ากัน ดังนั้นสังคมวิทยาการเมือง จึงพยายามเข้ามามีบทบาทในการประสานและยุติข้อถกเถียง โดยนำเอาศาสตร์ทางด้าน สังคมวิทยาและรัฐศาสตร์มาศึกษาพิจารณาประกอบกัน
60. ตามทัศนะของมาร์กซ์ (Marx) ความขัดแย้งที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมคือตัวเลือกใด
(1) ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ (2) ความขัดแย้งระหว่างเพศ
(3) ความขัดแย้งระหว่างอาชีพ (4) ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น
ตอบ 4 หน้า 250, 320 – 322 ตามทัศนะของมาร์กซ์ (Marx) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางสังคม คือ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น โดยสังคมจะปราศจากการขัดแย้งก็ต่อเมื่อเป็น สังคมคอมมิวนิสต์ที่แท้จริง นั่นคือ ไม่มีรัฐ ไม่มีรัฐบาล เพราะตราบใดที่มีรัฐนั่นก็จะหมายถึง มีการใช้อำนาจรัฐบังคับกดขี่
61. พฤติกรรมฝูงชนเกิดจากอะไร
(1) กลุ่มคนที่ขาดระเบียบอย่างทันทีทันใด
(2) สมากชิกลุ่มมีความผูกพันกันมากเกินไป
(3) ใช้บรรทัดฐานทางสังคมที่เข้มงวดเกินไป
(4) สมาชิกกลุ่มมีความคาดหวังสูง
ตอบ 1 หน้า 253 พฤติกรรมฝูงชน เป็นปรากฏการณ์หนึ่งทางสังคม เป็นพฤติกรรมที่เป็นไปเอง โดยปกติวิสัย ซึ่งเกิดจากกลุ่มคนที่ขาดระเบียบอย่างทันทีทันใด โดยไม่มีการวางแผน และ ไม่ได้มีการคาดหมายหรือทำนายไว้ไล่วงหน้า แต่สภาวการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมขณะนั้นส่งเสริม
62. ฝูงชนที่บ้าคลั่ง (Mob) มีลักษณะอย่างไร
(1) มีสถานการณ์ให้เกิดความตื่นเต้น
(2) มีจุดสนใจอยู่ที่สิ่งเร้าภายนอก
(3) มีการแสดงออกถึงพฤติกรรมรุนแรง
(4) มีจุดประสงค์สร้างแบบแผนใหม่
ตอบ 3 หน้า 256 ฝูงชนที่บ้าคลั่ง (Mob) เป็นฝูงชนที่ถูกกระตุ้นหรือเร้าอารมณ์ให้แสดงออกถึง พฤติกรรมที่ก้าวร้าว รุนแรง เชิงทำลาย และเร่งด่วนในการปฏิบัติการ โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อระบายความเครียด ความอัดอั้นตันใจ ความเคียดแค้น และความกลัว
63. ในสถานการณ์ที่ทำให้เกิดตกใจกลัว เช่น นํ้าท่วม ก่อให้เกิดฝูงชนประเภทใด
(1) Riot
(2) Orgy
(3) Panic
(4) Audience
ตอบ 3 หบ้า 257 ฝูงชนที่แตกตื่น (Panic) เป็น Mob หรือฝูงชนที่บ้าคลั่งประเภทที่ตื่นตกใจกลัว การระบาดทางอารมณ์เกิดขึ้นโดยไม่ต้องมีสิ่งเร้า เพราะสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจะทำให้เกิด ความตื่นกลัวโดยไม่ได้คาดเอาไว้ล่วงหน้า เช่น ไฟไหม้ เรือล่ม นํ้าท่วม ฯลฯ โดยสเมลเซอร์ (Smelser) เป็นนักสังคมวิทยาที่กล่าวว่า “ฝูงชนที่แตกตื่นเป็นฝูงชนที่รู้สึกตัวว่าอยู่ในอันตราย อันยิ่งใหญ่ ไม่มีทางหนี หรือมีทางหนีมากมายแต่หนีไม่ได้”
64. ฝูงชนแสดงออก (Expressive Crowd) มีชื่อเรียกอย่างอื่นว่าอะไร
(1) ฝูงชนลงประชาทัณฑ์ (2) ฝูงชนเต้นรำ
(3) ม็อบ (4) ฝูงชนลงมือกระทำ
ตอบ 2 หน้า 256 ฝูงชนแสดงออก (Expressive Crowd) เป็นฝูงชนที่แสดงออกถึงอารมณ์ที่ตื่นเต้น สนุกสนาน เฮอา ป่าเถื่อน และมัวเมา เช่น การเต้นรำ กระทืบเท้า หรือปรบมือให้จังหวะ และ การมั่วสุมทางเพศ ฯลฯ ซึ่งฝูงชนประเภทนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฝูงชนเต้นรำ (Dancing Crowd)
65. การรุมประชาทัณฑ์เป็นพฤติกรรมฝูงชนประเภทใด
(1) Orgy (2) Lynching Mob
(3) Audience (4) Convention
ตอบ 2 หน้า 256 – 257 ประเภทของฝูงชนที่บ้าคลั่งหรือฝูงชนวุ่นวาย (Mob) สามารถแบ่งออก ตามจุดประสงค์และความรุนแรง ได้ดังนี้
1. Lynching Mob เช่น การรุมประชาทัณฑ์ การจับผู้ที่คิดว่ากระทำผิดแขวนคอ ฯลฯ
2. การจลาจล (Riot) เช่น การจลาจลด้านเชื้อชาติ ศาสนา และความยุติธรรม ฯลฯ
3. Orgy เช่น การมั่วสุมทางเพศ การคลั่งเต้นรำ กินเหล้า ฯลฯ
4. ฝูงชนที่แตกตื่น (Panic) เช่น ไฟไหม้ เรือล่ม นํ้าท่วม ฯลฯ
66. คำกล่าวที่ว่า “มนุษย์เกิดความคับแค้นเพราะมีความต้องการมากแต่สมปรารถนาน้อย” เป็นคำกล่าว ที่บ่งถึงสิ่งใด *
(1) สาเหตุของปัญหาสังคม (2) ประเภทปัญหาสังคม
(3) แนวทางแก้ไขปัญหาสังคม (4) แนวทางป้องกันปัญหาสังคม
ตอบ 1 หน้า 261, (คำบรรยาย) อุดม โปษะกฤษณะ ได้กล่าวถึงสาเหตุของปัญหาสังคมไว้ว่าความรุนแรงและความคุกรุ่นของคนต่อป่ญหาต่าง ๆ จะแอบแฝงอยู่กับผู้ที่มีความคับแค้น เพราะมีความต้องการมากแต่ได้รับความสมปรารถนาน้อย การจะบรรเทาเบาบางปัญหาหรือ ลดปัญหาต่าง ๆ ลง คนเราจะต้องตัดไฟความปรารถนา ตัณหา ความโลภ และพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่
67. ปัญหาสังคมได้แก่ตัวเลือกใด
(1) ความยากจน และการแบ่งชนชั้น
(2) การว่างงาน และการแบ่งวรรณะ
(3) การแบ่งชนชั้น และการฉ้อราษฎร์บังหลวง
(4) ความยากจน การว่างงาน และการฉ้อราษฎร์บังหลวง
ตอบ 4 หน้า 262, (คำบรรยาย) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มีทัศนะว่า ปัญหาสังคมของไทยในปัจจุบัน จะเกี่ยวพันประดุจลูกโซ่ สิ่งแรกที่เป็นปัญหาสังคมของไทยคือ ปัญหาชลประทาน ตามมาด้วย ปัญหาระบบการเกษตร การว่างงาน การบุกรุกป่าสงวน อัตราการเกิดสูง ป็ญหาการลงทุน ฯลฯ นอกจากนี้ปัญหาสังคมของไทยยังได้แก่ ปัญหาความยากจน และการฉ้อราษฎร์บังหลวง ฯลฯ
68. การนำเสื้อผ้าอาหารไปแจกผู้ประสบภัยน้ำท่วมเป็นการแก้ไขป้ญหาสังคมแบบใด
(1) แบบย่อย (2) แบบรวมถ้วนทั่ว (3) แบบวางแผน (4) แบบป้องกัน
ตอบ 1 หน้า 261 แนวทางในการแก้ไขปัญหาสังคม แบ่งออกเป็นหลักใหญ่ ๆ ได้ 2 ประการ คือ
1. การแก้ไขปัญหาแบบย่อย (Piecemeal) เป็นการแก้ป้ญหาระยะสั้นหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยไม่มีการวางแผนมาก่อน เช่น การแก้ปัญหาความยากจน ความอดอยากขาดแคลน และช่วยผู้ประสบภัยด้วยการแจกสิ่งของ เสื้อผ้า อาหาร และยารักษาโรค ฯลฯ
2. การแก้ไขปัญหาแบบรวมถ้วนทั่ว (Wholesale) เป็นการแก้ปัญหาระยะยาวแบบมีการวางแผน มาก่อน (แก้ปัญหาที่ต้นตอหรือสาเหตุของปัญหา) มีการประเมินผล มีการตรวจสอบ และ ปัญหานั้น ๆ จะไม่เกิดขึ้นมาอีก เช่น การแก้ปัญหาความยากจนด้วยการฝึกอาชีพให้ ฯลฯ
69. ปัญหาใดสัมพันธ์กับความไม่เสมอภาคและโอกาสในการทำมาหากิน ทำให้เกิดการขาดแคลนปัจจัย ในการดำรงชีพ
(1) โรคจิตโรคประสาท (2) ยาเสพติด (3) การทำแท้ง (4) ความยากจน
ตอบ 4 หน้า 268 ความยากจน หมายถึง การขาดแคลนปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต ความรู้สึกไม่พอใจในสภาพความเป็นอยู่ของตนในปัจจุบันที่มีสภาพแร้นแค้น การกินอยู่อดอยาก ไม่มีความสุขสบายเท่าที่ควร ซึ่งสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของปัญหาความยากจนเกิดจากความไม่เสมอภาคและโอกาสในการทำมาหากิน จึงทำให้เกิดการขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีพ
70. ตัวเลือกใดเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด
(1) การรักษาโดยวิธีหักดิบ (2) การพักฟื้นทางกาย ใจ และฝึกอาชีพ
(3) การติดตามผล (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 275 แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติด มีดังนี้
1. รักษาโดยใช้วิธีหักดิบ หรือใช้วิธีให้ยาเมทาดัน หรือใช้สมุนไพร หรือการให้สัจจะ
2. ระยะพักฟื้น มีการพักฟื้นร่างกาย ฟื้นฟูจิตใจ ช่วยแก้ป้ญหาให้ และฝึกอาชีพให้
3. ระยะติดตามผล ติดตามดูว่าหลังจากรับการบำบัดแล้ว ผู้ติตยาหันไปเสพอีกหรือไม่
71. เกณฑ์ใดใช้จำแนกชนกลุ่มน้อย
(1) เชื้อชาติ
(2) วัฒนธรรม
(3) กลุ่มโลหิต
(4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 286 – 287 เกณฑ์ที่ใช้จำแนกชนกลุ่มน้อยพิจารณาได้จากองค์ประกอบ 3 ลักษณะ คือ
1. องค์ประกอบด้านเชื้อชาติ/เผ่าพันธ์/ชาติพันธ์ (Race) ซึ่งเป็นความแตกต่างด้านพันธุ์กรรมที่แสดงออกมาเป็นลักษณะทางกายภาพ เช่น รูปร่าง สีผม สีผิว (ได้แก่ ผิวขาวหรือคอเคซอยด์ ผิวเหลืองหรือมองโกลอยด์ ผิวดำหรือนิกรอยด์)
2. ความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ยึดถือปฏิบัติ (Ethnicity) เช่น ภาษา ศาสนา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี รูปแบบความสัมพันธ์ การจัดลำดับขั้นทางสังคม ฯลฯ
3. ความแตกต่างของกลุ่มโลหิต (Blood Group) ซึ่งถูกกำหนดโดยพันธุกรรม แต่เนื่องจาก เป็นเกณฑ์ที่ไม่สะดวกในการนำมาใช้ปฏิบัติจึงไม่เป็นที่นิยมใช้กัน ส่วนใหญ่จึงพิจารณา จากเกณฑ์ที่ 1 และ 2 เป็นสำคัญ
72. ชนกลุ่มน้อยมีความหมายตรงข้ามกับตัวเลือกใด
(1) กลุ่มอาณานิคม
(2) กลุ่มใต้ครอบครอง
(3) กลุ่มอิทธิพล
(4) กลุ่มผลประโยชน์
ตอบ 3 หน้า 285 ชนกลุ่มน้อย (Minority Group) หรือชนต่างวัฒนธรรม หมายถึง กลุ่มชนที่มีการ ยึดถือวัฒนธรรมในรูปแบบที่แตกต่างไปจากชนกลุ่มใหญ่ (Majority Group) หรือกลุ่มอิทธิพล (Dominant Group) และเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดในเรื่องจำนวน นักวิชาการบางท่าน จึงเรียกชนกลุ่มใหญ่ว่า “กลุ่มครอบครอง” และเรียกชนกลุ่มน้อยว่า “กลุ่มใต้ครอบครอง” เพราะชนกลุ่มใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลและมีบทบาททั้งทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ดังนั้นชนกลุ่มใหญ่จึงเป็นผู้ที่กำหนดว่ากลุ่มใดเป็นชนกลุ่มน้อย เช่น ชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาอาศัยรวมอยู่กับเจ้าของถิ่นหรือเจ้าของประเทศจัดเป็นชนกลุ่มน้อย ส่วนเจ้าของถิ่นหรือ เจ้าของประเทศจัดเป็นชนกลุ่มใหญ่ ฯลฯ
73. คอเคซอยด์ มองโกลอยด์ และนิกรอยด์ เกี่ยวข้องกับเกณฑ์การจำแนกชนกลุ่มน้อยแบบใด
(1) องด์ประกอบชาติพันธุ์ (2) อารยันและไมใช่อารยัน
(3) ความแตกต่างทางวัฒนธรรม (4) ความแตกต่างกลุ่มโลหิต
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 71. ประกอบ
74. ตัวอย่างใดเป็นความรู้สึกชาติพันธุ์นิยมที่เกิดภายในกลุ่มสมาชิกของชนกลุ่มน้อย
(1) คนนิโกรเรียกตัวเองว่าอาฟโรอเมริกัน (2) คนจีนถูกเรียกว่าเจ๊ก
(3) คนอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นถูกเรียกว่าแจ๊ป (4) คนอินเดียถูกเรียกว่าแขก
ตอบ 1 หน้า 287 – 288 ภายในหมู่ชนกลุ่มน้อยและชนกลุ่มใหญ่ อาจเกิดความรู้สึกที่เรียกว่า การมีอคติต่อเชื้อชาติหรือชาติพันธุนิยม (Ethnocentrism) โดยจะแสดงพฤติกรรมดังนี้
1. อคติของชนกลุ่มใหญ่ที่มีต่อชนกลุ่มมน้อย ด้วยการขนานนามกลุ่มอื่นในทางที่ไม่ดี เช่น คนจีนถูกเรียกว่า เจ๊ก, คนอินเดียถูกเรียกว่า แขก, พวกนิโกรถูกเรียกว่า นิกเกอร์,คนญวนถูกเรียกว่า แกว, คนอเมริกันเชื้อสายญี่ป่นถูกเรียกว่า แจ๊บ ฯลฯ
2. อคติของชนกลุ่มน้อยที่มีต่อชนกลุ่มใหญ่ ดัวยการเรียกกลุ่มของตนในทางที่ดี เช่น คนนิโกร เรียกกลุ่มของตนเองว่า อาฟโรอเมริกัน, คนอเมริกาเชื้อสายเม็กซิกันเรียกตนเองว่า ชิคาโน ฯลฯ
75. ประเทศไทยใช้นโยบายใดในการแก้ไขปัญหาชาวเขา
(1) การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม (2) การแยกพวก
(3) การยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม (4) การผสมผสานชาติพันธุ์
ตอบ 1 หน้า 299 การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม (Assimilation) เป็นนโยบายที่ประเทศไทยใช้ใน การแกไขปัญหาขาวเขา ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้เกิดความเข้าใจและใกล้ชิดติดต่อกันมากขึ้น ทำให้ ชาวเขาไม่เกิดความรู้สึกแตกแยกโดดเดี่ยว และทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
76. ตามแนวคิดของริสแมน (Riesman) รูปแบบการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยเป็นอย่างไร
(1) เปลี่ยนแปลงจากผู้อื่นนำสู่ประเพณีนำ (2) เปลี่ยนแปลงจากประเพณีนำสู่สำนึกนำ
(3) เปลี่ยนแปลงจากผู้อื่นนำสู่สำนึกนำ (4) เปลี่ยนแปลงจากประเพณีนำสู่ผู้อื่นนำ
ตอบ 4 หน้า 331 – 332 รูปแบบสังคมตามทัศนะของริสแมน (Riesman) แบ่งเป็น 3 รูปแบบและ เปลี่ยนแปลงเป็นขั้นตอนดังนี้ 1. สังคมประเพณีนำ 2. สังคมสำนึกนำ 3. สังคมผู้อื่นนำ ซึ่งสังคมอเมริกันจะเป็นไปตามรูปแบบที่ริสแมนได้กล่าวไว้ ส่วนสังคมไทยข้ามขั้นตอนจาก รูปแบบสังคมประเพณีนำไปสูสังคมผู้อื่นนำ โดยขาดขั้นสังคมสำนึกนำ
77. แนวคิดสำคัญของทฤษฎีวัฏจักรคืออะไร
(1) อารยธรรมจะพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง (2) อารยธรรมจะคงอยู่ตลอดกาล
(3) อารยธรรมเมื่อมีการรุ่งเรื่องกย่อมมีการล่มสลาย (4) มนุษย์เป็นผู้สร้างอารยธรรม
ตอบ 3 หน้า 309 – 312 ทฤษฎีวัฏจักร เป็นแนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงในเชิงวัฏจักรหรือการสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่เสมอ ไม่มีความถาวรของ ยุคใดยุคหนึ่งหรือสังคมใดสังคมหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อมีจุดเริ่มต้นก็ต้องมีจุดสิ้นสุด เมื่อถึงจุดสิ้นสุด ก็จะกลับมาจุดเริ่มต้น หรือเมื่อมีการเจริญรุ่งเรืองก็ย่อมมีการล่มสลาย และเมื่อมีการล่มสลาย ก็จะกลับมาเจริญรุ่งเรืองสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่เสมอ
78. แนวคิดของสเปนเซอร์ (Spencer) จัดอยู่ในทฤษฎีใด
(1) ทฤษฎีจิตวิทยาสังคม (2) ทฤษฎีวัฏจักร (3) ทฤษฎีการหน้าที่ (4) ทฤษฎีวิวัฒนาการ
ตอบ 4 หน้า 315 แนวคิดของสเปนเซอร์ (Spencer) จัดอยู่ในทฤษฎีวิวัฒนาการ โดยเขากล่าวถึง การวิวัฒนาการว่าเป็นเสมือนกระบวนการแห่งการเติบโต ทั้งนี้โดยการเปรียบเทียบสังคมว่า เป็นเสมือนสิ่งมีชีวิต
79. กระบวนการเปลี่ยนแปลง 3 ขั้นตอน “จุดยืน จุดแย้ง จุดยุบ” เป็นแนวความคิดของใคร
(1) มาร์กซ์ (Marx) (2) ทอยน์บี (Toynbee) (3) ค้องท์ (Comte) (4) พาร์สัน (Parson)
ตอบ 1 หน้า 320 – 321 ทฤษฎีการขัดแย้งเป็นแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ซึ่งได้อธิบาย การเปลี่ยนแปลงหรือปรากฏการณต่าง ๆ โดยกระบวนการ 3 อย่าง คือ
1. Thesis (จุดยืน) ได้แก่ สภาพที่เป็นอยู่แล้ว
2. Antithesis (จุดแย้ง) ได้แก่ สภาพที่ตรงข้ามหรือขัดแย้งกับสิ่งที่มีอยู่หรือเป็นอยู่แล้ว
3. Synthesis (จุดยุบ) ได้แก่ ผลแห่งการปะทะกันหรือขัดแย้งกันของ 2 กระบวนการแรก
80. การปกครองในทัศนะของมาร์กซ์ (Marx) รูปแบบใด สังคมจึงหยุดเปลี่ยนแปลง
(1) ระบบสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ (2) ระบบทาสบรรพกาล
(3) ระบบศักดินา (4) ระบบนายทุน
ตอบ 1 หน้า 321 – 322 รูปแบบการเมืองการปกครองตามทัศนะของมาร์กซ์ (Marx) มี 5 รูปแบบ ดังนี้
1. ระบบคอมมิวนิสต์ดั้งเดิม 2. ระบบทาสบรรพกาล 3. ระบบศักดินา
4. ระบบนายทุน (ทุนนิยม) 5. ระบบสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ (หยุดการเปลี่ยนแปลง)
81. ตามความคิดของเพลโต (Plato) “การเปลี่ยนแปลงจากราชาธิปไตย วีรชนาธิปไตย คณาธิปไตย ประชาธิปไตยและทุชนาธิปไตย” เป็นไปตามทฤษฎีใด
(1) ทฤษฎีการใช้อำนาจ
(2) ทฤษฎีวิวัฒนาการ
(3) ทฤษฎีวัฎจักร
(4) ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่
ตอบ 3 หน้า 310 – 311 ตามทฤษฎีวัฏจักรหรือการหมุนเวียนนั้น เพลโต (Plato) ได้แบ่งการเปลี่ยนแปลงของรัฐออกเป็น 5 ยุค ดังนี้ 1. อภิชนาธิปไตยหรือราชาธิปไตย 2. วีรชนาธิปไตย 3.คณาธิปไตย 4. ประชาธิปไตย 5. ทุชนาธิปไตย
82. ตัวเลือกใดเป็นสาเหตุจากภายนอกที่ทำให้สังคมชนบทเกิดการเปลี่ยนแปลง
(1) การแปรปรวนของธรรมชาติ
(2) การตาย
(3) การพัฒนา
(4) การอพยพย้ายถิ่น
ตอบ 3 หน้า 358 – 359 สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมชนบทเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยภายในสังคมชนบทเอง เช่น การเกิด การตาย การย้ายถิ่น การแปรปรวนของธรรมชาติ ผู้ร้ายหรือการสู้รบ การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ (ภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกิดจากนวัตกรรม) ฯลฯ
2. ปัจจัยภายนอกสังคมชนบท เช่น การผสมผสานทางวัฒนธรรม การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม การคมนาคมติดต่อลี่อสาร การเลียนแบบ การขอยืมวัฒนธรรม การพัฒนา ฯลฯ
83. ในการพัฒนาชนบทต้องพัฒนาอะไรเป็นอันดับแรก
(1) การศึกษา (2) เศรษฐกิจ (3) สภาพแวดล้อม (4) คุณภาพของคน
ตอบ 4 หน้า 338 ใบการพัฒนาชนบทนั้น ต้องมุ่งพัฒนาคน (คุณภาพของคน) เป็นอันดับแรกและการพัฒนาคนนั้นต้องพัฒนาความคิดของเขา อะไรคือตัวบงการให้คนชนบทคิดเช่นนั้น ทำเช่นนั้น ค่านิยมหรือวัฒนธรรม ซึ่วการศึกษาสังคมชนบทจะช่วยให้เราเข้าใจได้
84. สังคมวิทยาชนบทมักศึกษาเปรียบเทียบวิชาใด
(1) สังคมวิทยาบ้านนา
(2) สังคมวิทยาการพัฒนา (3) สังคมวิทยาอุตสาหกรรม (4) สังคมวิทยานคร
ตอบ 4 หน้า 335, 363 สังคมวิทยาชนบทมักจะนิยมศึกษาเปรียบเทียบกับสังคมวิทยานครหรือสังคมวิทยานาครหรือสังคมวิทยาเมือง โดยจะศึกษาถึงความเกี่ยวพันกับสังคมเมือง เพราะปรากฏการณ์ในสังคมเมืองอาจจะส่งผลสะท้อนไปสู่ชนบท ทำให้ชนบทเปลี่ยนแปลงไป เป็นการหาวิธีเสริมสร้างชีวิตชนบทให้มั่นคง
85. การตั้งถิ่นฐานของชาวชนบทไทยส่วนมากมีลักษณะใด
(1) หมู่บ้านสหกรณ์ (2) นิคมสร้างตนเอง (3) หมู่บ้านเกษตรกรรม (4) หมู่บ้านเศรษฐกิจ
ตอบ 3 หน้า 346 การตั้งถิ่นฐานของชาวชนบทไทยส่วนมากมีลักษณะเป็นการตั้งถิ่นฐานที่ไม่มีการ วางแผน มีการตั้งถิ่นฐานแบบหมูบ้านเกษตรกรรม ซึ่งตั้งบ้านเรือนตามที่ลุ่มที่ดอน ที่เนิน ชายป่า ชายเขา ตามเส้นทางคมนาคม และตามริมฝั่งน้ำ
86. คุณสมบัติดั้งเดิมของชนบทคืออะไร
(1) ตั้งถิ่นฐานแบบโดดเดี่ยว (2) มีวิถีชีวิตคล้ายคลึงกัน
(3) ครอบครัวเป็นแหล่งผลิตและบริโภค (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 340 – 341, (คำบรรยาย) คุณสมบัติดั้งเดิมของชุมชนชนบท มีลักษณะดังนี้
1. ความโดดเดี่ยว (Isolation) มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนกระจัดกระจายกันอยู่ตามไร่นา
2. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Homogeneity) หรือความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นทั้งในด้าน เชื้อชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณ์ และภูมิหลังทางวัฒนธรรม
3. การใช้แรงงานเพื่อการเกษตร (Agricultural Employment) มีวิถีชีวิตคล้ายคลึงกันหรือ มีความเหมือนในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งจะเกี่ยวพันกับการเกษตรกรรมไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
4. การเศรษฐกิจเพื่อการบริโภค (Subsistence Economy) หรือเศรษฐกิจพอเพียง โดยครอบครัวจะเป็นทั้งหน่วยผลิตและหน่วยบริโภค มีทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์
87. นักวิชาการท่านใดได้รับการยกย่องว่าเป็นนักสังคมวิทยาชนบทคนแรกของโลก
(1) รัสเซลล์ (Russell) (2) เลอเปล (Le Play)
(3) เจฟเฟอร์สัน (Jefferson) (4) มาลินอฟสกี้ (Malinowski)
ตอบ 2 หน้า 336 ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักสังคมวิทยาชนบทคนแรกของโลกคือ เลอเปล (Le Play) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับครอบครัวชนบทและองค์การต่าง ๆ ในชนบท โดยการใช้หลักสังเกตการณ์ การเก็บและการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ด้วยวิธีการทาง วิทยาศาสตร์
88. ทฤษฎีใดกล่าวว่า “เมืองจะขยายตัวจากศูนย์กลางไปตามเส้นทางการคมนาคมขนส่ง”
(1) ทฤษฎีหลายศูนย์กลาง (2) ทฤษฎีรูปวงกลม
(3) ทฤษฎีรูปดาว (4) ทฤษฎีรูปสามเหลี่ยม
ตอบ 3 หน้า 374 ทฤษฎีรูปดาว (Star Theory) เป็นทฤษฎีการขยายตัวของเมืองเริ่มแรกที่เก่าแก่ที่สุด เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1903โดยอาร์.เอ็ม. เฮิร์ด (R.M. Hurd) ได้ศึกษาพบว่า “เมืองจะขยายตัว ออกจากศูนย์กลางไปตามเส้นทางการคมนาคมขนส่ง” ซึ่งทำให้เป็นรูปคล้ายดาวหรือแมงกะพรุน
89. ทฤษฎีการขยายตัวของเมืองในข้อใดเป็นทฤษฎีเริ่มแรก
(1) ทฤษฎีรูปดาว (2) ทฤษฎีรูปพาย (3) ทฤษฎีรูปสามเหลี่ยม (4) ทฤษฎีรูปคันธนู
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 88. ประกอบ
90. ตัวเลือกใดไม่ใช่การดำรงชีวิตแบบเมือง
(1) มีรายได้เป็นรายเดือน
(2) มีแบบแผนการใช้เวลา (3) มีอาชีพให้บริการ (4) มีความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิ
ตอบ 4 หน้า 365 – 366, (คำบรรยาย) การดำรงชีวิตแบบเมือง ได้แก่ ไม่ได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม(การเพาะปลูกอยู่กับดินทราย) อาชีพส่วนใหญ่จะเป็นอาชีพบริการ การค้าและอุตสาหกรรม ที่มีรายได้เป็นรายเดือน มีแบบแผนการใช้เวลา และมีความสัมพันธ์แบบทุติยภูมิ คือ มีความสัมพันธ์กันตามสถานภาพและบทบาท
91. เมืองไมอามี่ เป็นเมืองประเภทใด
(1) เมืองพักผ่อนตากอากาศ
(2) เมืองท่า
(3) เมืองศูนย์รวมการคมนาคมขนส่ง
(4) เมืองศูนย์กลางการขายส่งและปลีก
ตอบ 1 หน้า 370 – 371 เมืองซึ่งเกิดจากหน้าที่พิเศษ คือ เมืองที่เกิดขึ้นเนื่องจากการให้บริการ บางอย่าง เช่น เหมืองแร่ โรงงานอุตสาหกรรม หรือการพักผ่อน ฯลฯ หรือเป็นเมืองที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติเฉพาะอย่าง เช่น เมืองไมอามี่ (เป็นเมืองพักผ่อนตากอากาศ) สแกนตัน พิทส์เบิร์ก พัทยา ฯลฯ
92. ตามทัศนะของคูลีย์ (Cooley) ปัจจัยใดที่ก่อให้เกิดเมืองมากที่สุด
(1) การปกครองและศาสนา
(2) เหมืองแร่
(3) จำนวนประชากร
(4) เมื่อมีการหยุดพักขนสินค้า
ตอบ 4 หน้า 370 ปัจจัยที่ทำให้เกิดเมืองในทัศนะของคูลีย์ (Cooley) คือ การหยุดพักเพื่อขนส่งสินค้าโดยเขากล่าวว่า เส้นทางคมนาคมขนส่งไม่ได้ทำให้เกิดเมือง แต่เมื่อมีการหยุดพักเพื่อขนส่งสินค้า ก็จะทำให้เกิดเมือง ได้แก่ เมืองท่าบางเมือง เช่น ฮ่องกง และโคเปนเฮเกน ฯลฯ
93. “เยาวราช” จัดอยู่ในเขตใด
(1) เขตเมือง (2) เขตอุตสาหกรรม (3) เขตขานเมือง (4) เขตปริมณฑล
ตอบ 1 หน้า 382 – 383 พื้นที่ของกรุงเทพมหานคร แบ่งออกได้เป็น 3 เขตใหญ่ ๆ ดังนี้
1. เขตเมือง (Urban Area) ได้แก่ บริเวณอันเป็นที่ตั้งของสถานธุรกิจการค้าและบริการต่าง ๆ เช่น ถนนเจริญกรุง เยาวราช บางลำพู ราชประสงค์ ประตูน้ำ ฯลฯ
2. เขตชานเมือง (Suburban Area) ได้แก่ บริเวณรอบนอกของเขตในเมือง ฃึ่งมีประชากร อาศัยกันอยู่อย่างเบาบางกว่าในเขตเมือง และมักจะเป็นที่อยู่อาศัยมากกว่าย่านธุรกิจการค้า
3. เขตชนบท (Rural Area) ได้แก่ เขตที่ถัดจากชานเมืองออกไป ซึ่งมีประชากรประกอบอาชีพ เกษตรกรรม และมีวิถีซีวิตเช่นเดียวกับชาวชนบท
94. ตัวอย่างใดจัดอยู่ในระบบนิเวศน์แบบ Mature Natural Ecosystems
(1) สวนสาธารณะ (2) ภูเขา (3) ฟาร์ม (4) ทุ่งเลี้ยงสัตว์
ตอบ 2 หน้า 391 – 392 ระบบนิเวศน์ของมนุษย์ (มนุษยนิเวศวิทยา) แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. Mature Natural Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่อยู่ในสภาพธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่มีคนอยู่อาศัย เช่น ป่า ภูเขา ทะเลทราย ฯลฯ
2. Managed Natural Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง และดัดแปลง เช่น สวนสาธารณะ อุทยาน อุทยานแห่งชาติ ฯลฯ
3. Productive Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง เพื่อให้ได้ผลิตผลและทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ฟาร์ม ปศุสัตว์ เหมืองแร, ฯลฯ
4. Urban Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์ได้อาศัยประกอบกิจการทำงานต่าง ๆ เช่น บริเวณย่านอุตสาหกรรม บริเวณเมืองเล็กและเมืองใหญ่ ฯลฯ
95. ระดับเสียงที่เหมาะสมกับสุขภาพของมนุษย์ควรอยู่ในระดับใด
(1)ไม่ควรเกิน 30 เดซิเบล
(2) ไม่ควรเกิน 40 เดซิเบล (3) ไม่ควรเกิน 50 เดซิเบล (4) ไม่ควรเกิน 85 เดซิเบล
ตอบ 4 หน้า 403 ระดับปกติของเสียงที่เหมาะสมกับสุขภาพของมนุษย์ควรจะอยู่ในระดับไม่เกิน85 เดซิเบล เพราะถ้าเกิน 85 เดซิเบล นับว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยในต่างประเทศได้ มีกฎหมายกำหนดระดับเสียงในโรงงานไม่ให้ดังเกิน 85 เดซิเบล
96. “ทะเลทราย” จัดเป็นระบบนิเวศน์ของมนุษย์ประเภทใด
(1) Mature Natural Ecosystems (2) Managed Natural Ecosystems
(3) Productive Natural Ecosystems (4) Urban Ecosystems
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 94. ประกอบ
97. พลังงานไฮโดรอิเล็กตริกเกิดจากอะไร
(1) การสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า (2) ก๊าซธรรมชาติ
(3) แสงอาทิตย์ (4) นํ้ามัน
ตอบ 1 หน้า 395 พลังงานไฮโดรอิเล็กตริก เป็นพลังงานที่ได้จากทารสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งพลังงานนี้ถูกนำมาใช้ในโลกได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นเมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานที่ได้จากนํ้ามัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้เพราะการสร้างเขื่อนมีข้อจำกัดอยู่ที่สถานที่ที่จะต้องเลือกใช้ และอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศของป่าไม้ได้
98. ปัญหาอากาศเสียเกิดจากสาเหตุใดมากที่สุด
(1) ขยะมูลฝอย (2) การขนส่ง (3) ยาปราบศัตรูพืฃ (4) อุตสาหกรรม
ตอบ 2 หน้า 399 สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะจากอากาศเสียมากที่สุด คือ การขนส่ง 55% รองลงมา ได้แก่ โรงงานพลังงาน 17% อุตสาหกรรม 14% ขยะมูลฝอย 4% และอื่น ๆ 10%
99. วิชามานุษยวิทยาถือกำเนิดขึ้นในทวีปใด
(1) ลาตินอเมริกา (2) ยุโรป (3) แอฟริกา (4) เอเชีย
ตอบ 2 (คำบรรยาย) วิชามานุษยวิทยา (Anthropology) ถือกำเนิดขึ้นในสังคมยุโรป ประมาณปลาย- ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการล่าอาณานิคม โดยในระยะแรกนี้จะเน้นการศึกษาสังคมดั้งเดิม ที่ไม่ใช่สังคมของคนผิวขาวและสังคมตะวันตก เช่น สังคมดั้งเดิมของแอฟริกาและเอเชีย เป็นต้น
100. “มนุษย์ชวา มนุษย์ปักกิ่ง” เป็นตัวอย่างวิวัฒนาการของมนุษย์ในขั้นใด
(1) Australopithecines (2) Pithecanthropus Erectus
(3) Neanderthal Man (4) Cro-Magnon Man
ตอบ 2 หน้า 417 Pithecanthropus Erectus จะมีลักษณะเป็นมนุษย์ที่คล้ายกับวานรและเดินตัวตรง ตัวอย่างของมนุษย์วานรนี้ได้แก่ มนุษย์ชวา มนุษย์ปักกิง และมนุษย์ไฮเดลเบอร์ก ฯลฯ
101. ตัวเลือกใดเป็นตัวอย่างของสายสกุล Homo Sapiens
(1) มนุษย์
(2) ชิมแปนซี
(3) กอริลลา
(4) อุรังอุตัง
ตอบ 1 หน้า 409 คำว่า “มนุษย์” เป็นคำที่ใช้รียกสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่ในสายสกุลที่เรียกว่า Homo Sapiens อันเป็นสัตว์เลือดอุ่นจำพวก 2 มือ 2 เท้า ไม่มีหาง
102. กลุ่มชนใดที่ไม่ใช่กลุ่มชนที่นักมานุษยวิทยารุ่นบุกเบิกสนใจศึกษา
(1) คนป่าในคองโก
(2) คนพื้นเมืองในออสเตรเลีย
(3) อินเดียนแดงในอเมริกาเหนือ
(4) ชาวนาบนเกาะชวา
ตอบ 4 หน้า 423, (คำบรรยาย) กลุ่มชนที่นักมานุษยวิทยาในยุคบุกเบิกสนใจศึกษา คือ สังคมดั้งเดิม (Primitive Societies) หมายถึง สังคมที่มีโครงสร้างไม่สลับซับซ้อน มีการใช้เครื่องมือหรือ เทคโนโลยีแบบง่าย ๆ มีจำนวนคนในสังคมไม่มากนัก มีความรู้สึกนึกคิด/ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมเดียวกัน การแบ่งงานกันทำมีน้อย ตัวอย่างของสังคมชนิดนี้ เช่น พวกคนป่า ชาวเขา ชาวเกาะ พวกอินเดียนแดง คนพื้นเมืองในออสเตรเลีย ฯลฯ โดยสาเหตุที่นักมานุษยวิทยา ให้ความสนใจกลุ่มคนพวกนี้ก็เพราะสามารถศึกษาถึงต้นกำเนิดของวัฒนธรรมนั้น ๆ และ สามารถเข้าใจถึงหน้าที่ประโยชน์ของวัฒนธรรมแต่ละประเภทได้ง่าย
103. การศึกษาวิชามานุษยวิทยาวัฒนธรรมมีแนวทางอย่างไร
(1) ศึกษาสังคมอย่างเป็นองค์รวมและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสังคม
(2) การศึกษาแบบมีส่วนร่วม (3) เน้นการออกแบบสอบถามและสุ่มตัวอย่าง
(4) เน้นการศึกษาเฉพาะกรณีหรือรายกรณี
ตอบ 4 หน้า 432 – 433 การศึกษาวิชามานุษยวิทยาวัฒนธรรม ตามปกตินักมานุษยวิทยาจะสนใจ ศึกษาสังคมเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ห่างไกลอารยธรรมที่เจริญ วิธีการศึกษามักจะนิยมศึกษาเฉพาะกรณี หรือรายกรณี (Case Study) ของแต่ละสังคม โดยเลือกสังคมที่ต้องการศึกษาแล้วเข้าไปอาศัย อยูในสังคมนั้นระยะเวลาหนึ่งด้วยตนเอง หรือที่เรียกว่าการศึกษางานสนาม โดยใช้เครื่องมือ ในการทดสอบแบบเฝ้าสังเกต การตีความหมาย และการเปรียบเทียบ
104. ตัวเลือกใดเป็นตัวอย่างของมนุษย์ชาติพันธุผิวเหลือง
(1) อียิปต์ จีน (2) อินเดียนแดง กรีก (3) กรีก อียิปต์ 14) จีน อินเดียนแดง
ตอบ 4 หน้า 420 มนุษย์ชาติพันธุผิวเหลือง (Mongoloid) แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ดังนี้
1. พวกมองโกลอยด์ อยู่แถบทวีปเอเชียตะวันออก เช่น จีน ทิเบต และมองโกเลีย
2. พวกอินเดียนแดง อยู่แถบทวีปอเมริกาเหนือและใต้
3. พวกเอสกีโม อยู่แถบเหนือสุดของทวีปอเมริกา (รัฐอลาสก้าและตอนเหนือของแคนาดา)
4. พวกมาลายัน เช่น มลายู ขวา ไทย และบาหลี
105. ตัวเลือกใดไม่ใช่ลักษณะวัฒนธรรมตะวันตก
(1) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย (2) เน้นความสำคัญของตัวบุคคล
(3) เชื่อฟังผู้มีอำนาจ ผู้มีอาวุโส (4) นิยมวัตถุ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ
106. ข้อใดคืออารยธรรมกระแสหลักของเอเชีย
(1) จีน (2) ญี่ปุน (3) อินเดีย (4) ข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 452 อารยธรรมกระแสหลักของเอเชีย ส่วนใหญ่แล้วรับมาจาก 2 แห่ง คือ
1. อารยธรรมจีน ได้รับอิทธิพลจากขงจื๊อ นิยมการทำตามประเพณี
2. อารยธรรมอินเดีย ได้รับอิทธิพลจากศาสนาต่าง ๆ ที่ถือกำเนิดจากอินเดีย
107. ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการแบ่งช่วงชั้นทางสังคมในวัฒนธรรมอเมริกาใต้ สอดคล้องกับค่านิยมตามคำกล่าวใด
(1) ทองแท้ไม่แพ้ไฟ
(2) มีเงินนับเป็นน้อง มีทองนับเป็นพี่ (3) เงินทองของนอกกาย (4) เงินคือพระเจ้า
ตอบ 2 หน้า 448 ชาวอเมริกาใต้มักมีคำขวัญทำนองไทย ๆ ว่า มีเงินนับเป็นน้อง มีทองนับเป็นพี่หรือเงินทำให้ผิวคนขาวขึ้น ไพร่ดูเป็นผู้ดี คนไม่สวยดูเป็นคนสวย ความรํ่ารวยทำให้คนผิวดำ ชาวนิโกรผิวขาวขึ้น แลดูเป็นผู้ดีน่าคบหาสมาคม ส่วนคนผิวขาวที่ยากจน คือ คนผิวดำที่ได้รับ การรังเกียจกีดกันทั่วไป คนร่ำรวยมีอำนาจได้รับการยกย่อง
108. ตัวเลือกใดสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอเมริกันน้อยที่สุด
(1) ฮ่องกงดีสนีย์แลนด์
(2) คำว่า Hot Dog, Freeway, Color (3) อาหารจานด่วน (4) วัฒนธรรมไวน์
ตอบ 4 (คำบรรยาย) วัฒนธรรมอเมริกัน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ถือกำเนิดและถูกถ่ายทอดมาจากอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นแนวทางการดำรงชีวีต ระเบียบประเพณี ค่านิยม ภาษาหรือ คำศัพท์ต่าง ๆ ตลอดจนอาหารการกินต่าง ๆ เช่น อาหารจานด่วน (Fast Food) คำว่า “Hot Dog”, “Freeway”, “Color” ภาพยนตร์ฮอลีวูด (Hollywood) สวนสนุกขนาดใหญ่ (Disneyland) ๆลฯ ส่วนวัฒนธรรมไวน์ เป็นวัฒนธรรมฝรั่งเศส
109. ชาวอินเดียนแดงในทวีปอเมริกาใต้เรียกตัวเองว่าอะไร
(1) อารยัน (2) อินคา (3) เซเมติก (4) นิกริโต
ตอบ 2 หน้า 446 วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมในภูมิภาคอเมริกาใต้ (ลาตินอเมริกา) คือ สเปนและโปรตุเกส ซึ่งแต่เดิมนั้นประเทศในภูมิภาคนี้ได้รับวัฒนธรรมจากพวกอินเดียนแดง ที่เรียกตัวเองว่า อินคา หรือลูกพระอาทิตย์
110. ตัวเลือกใดคือลักษณะของภาพพิมพ์
(1) มักมีแนวโน้มในทางลบ (2) ภาพรวมของชนชาติใดชาติหนึ่ง
(3) เป็นภาพแบบเดียวกัน (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 457 ภาพพิมพ์ (Stereotype) คือ การมองภาพรวมหรืออุปนิสัยประจำชาติของชนชาติใดชาติหนึ่งว่ามีลักษณะเป็นภาพแบบเดียวกัน ซึ่งมักมีแนวโน้มถูกมองไปในทางลบ หรือเชิงนิเสธ เช่น ภาพพิมพ์ของคนบางชาติมีระเบียบวินัย, คนบางชาติอยู่สบาย ๆ ไม่ค่อย มีหลักเกณฑ์อะไรนัก, คนบางชาติ (เช่น อังกฤษ) เป็นคนประเภท “เก็บตัว” ไม่สนิทกับ คนแปลกหน้าได้ง่าย ฯลฯ
111. การมองภาพรวมหรืออุปนิสัยประจำชาติมักมีแนวโน้มไปลักษณะใด
(1) เชิงนิเสธ
(2) สร้างสรรค์
(3) เป็นกลาง
(4) เชิงปฏฐาน
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 110. ประกอบ
112. ตัวเลือกใดเป็นการมองอุปนิสัยประจำชาติในเชิงนิเสธ
(1) คนแอฟริกันด้อยพัฒนา
(2) คนญี่ปุ่นมีวินัย
(3) คนไทยใจดี
(4) คนจีนค้าขายเก่ง
ตอบ 1 หน้า 461 – 462 การมองอุปนิสัยประจำชาติของชาติอื่นในทางนิเสธ เช่น
1. ชาวตะวันตกมักมองคนเอเชียและคนแอฟริกันว่าเป็นชาติด้อยพัฒนาไม่สนใจในความเจริญ
2. คนอเมริกันมักมองคนยุโรปโดยเฉพาะคนอังกฤษว่าเป็นคนหัวเก่า
3. คนอังกฤษและอเมริกันมักมองพวกลาติน สเปน อิตาลี อเมริกาใต้ ว่าเป็นพวกเชื่อถือไม่ได้ และเจ้าอารมณ์ ฯลฯ
113. ผู้ใดแต่งหนังสือเรือง “ดอกเบญจมาศและดาบ” เพื่อศึกษาอุปนิสัยประจำชาติ
(1) โบแอส (Boas) (2) มี้ด (Mead) (3) เบเนติกท์ (Benedict) (4) เวนย์ (Wayne)
ตอบ 3 หน้า 459 รุธ เบเนดิทท์ (Ruth Benedict) ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลอเมริกันให้ศึกษาลักษณะนิสัยของคนญี่ปุ่นซึ่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีผลงานเชียนชื่อ “ดอกเบญจมาศ และดาบซามูไร” โดยเห็นว่า บุคลิกของคนญี่ปุ่นจะเป็นเสมือนดอกเบญจมาศและดาบซามูไร คือ จะอ่อนน้อมภายนอกแต่จะแข็งแกร่งภายใน
114. นัทวิชาการท่านใดให้ทัศนะว่า “คนไทยชอบสนุกและมีโครงสร้างทางบุคลิกภาพและทางสังคมหลวม ๆคือ ขาดวินัย”
(1) เอมบรี (Embree)
(2) ทอคเกอวิลล์ (Tocqueville) (3) คูเวียร์ (Cuvier) (4) บาร์เกอร์ (Barker)
ตอบ 1 หน้า 464 จอห์น เอมบรี (Embree) นักมานุษยวิทยาตะวันตก กล่าวว่า “คนไทยชอบสนุกและมีโครงสร้างทางบุคลิกภาพและทางสังคมหลวม ๆ คือ ขาดวินัย”
115. อุปสรรคในการศึกษาอุปนิสัยประจำชาติได้แก่อะไร
(1) ปรัชญาความเชื่อ (2) ความรู้สึกชาตินิยม (3) ชนกลุ่มน้อย (4) จำนวนประชากร
ตอบ 2 หน้า 461 ปัญหาหรืออุปสรรคในการศึกษาลักษณะอุปนิสัยประจำชาติประการหนึ่ง คือการมองและการตัดสินว่าสิ่งใดเป็นลักษณะอุปนิสัยประจำชาติของคนชาติอื่นเป็นไปอย่างผิวเผิน และมักมีอคติในใจ โดยเฉพาะในยุคที่ความรู้สึกชาตินิยมมีมาก หรือการมีความรู้สึกว่ากลุ่มตน ดีกว่ากลุ่มอื่น (Ethnocentrism) ย่อมทำให้เห็นว่าวัฒนธรรมชองชาติตนเองสูงกว่าชาติอื่น มองเห็นแต่ลักษณะนิสัยที่ไม่ดีของชาติอื่น และมีการบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อให้เข้าได้กับ ความเชื่อเดิมของตน อันเป็นผลทำให้มีการดูถูกและเกิดการเข้าใจผิดกันระหว่างชาติ
116. การสังคมสงเคราะห์ถือกำเนิดขึ้นในประเทศใด
(1) อิตาลี (2) ฝรั่งเศส (3) เยอรมัน (4) อังกฤษ
ตอบ 4 หน้า 481 – 482, (คำบรรยาย) ประเทศอังกฤษนับว่าเป็นประเทศแรกที่ริเริ่มและถือเป็นแม่แบบ ในการจัดการสังคมสงเคราะห์ โดยจะเห็นได้จากการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความผาสุก ของส่วนรวมเป็นลายลักษณ์อักษร เช่นในปี ค.ศ. 1601 พระนางเจ้าอสิซาเบธที่ 1ได้ทรง ออกกฎหมายเพื่อซ่วยเหลือคนจนที่เรียกว่า Elizabethan Poor Law ซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บท ในการวางรากฐานด้านการสังคมสงเคราะห์
117. องค์ความรู้ด้านใดที่นำมาประยุกต์ใช้ในงานสังคมสงเคราะห์
(1) เศรษฐศาสตร์ (2) รัฐศาสตร์ (3) จิตวิทยา (4) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 484 ในการดำเนินงานทางสังคมสงเคราะห์ย่อมเกี่ยวพันกับปัญหาหลายด้าน และต้อง อาศัยองค์ความรู้จากศาสตร์ต่างๆ นำมาประยุกต์ใช้ในงานสังคมสงเคราะห์ เช่น สังคมวิทยา จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ เป็นต้น
118. กฎหมายที่ถือว่าเป็นแม่บทของงานสังคมสงเคราะห์ในประเทศอังกฤษกำหนดให้ความช่วยเหลือบุคคลกลุ่มใด
(1) เด็กกำพร้า (2) คนยากจน (3) คนชรา (4) หญิงหม้าย
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 116. ประกอบ
119. ขั้นตอนการปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์ ขั้นตอนใดที่จะได้ทราบว่า ผู้มีปัญหา (Client) มีความเป็นมา และประวัติอย่างไร มีปัญหาเดือดร้อนอะไร
(1) การหาข้อเท็จจริง (2) การวางแผน (3) การวิเคราะห์ (4) การประเมินผล
ตอบ 1 หน้า 488 – 489 ขั้นตอนการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง เป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานของ
นักสังคมสงเคราะห์ขั้นแรกที่จะต้องทำก่อนงานอื่นโดยพยายามรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้มีปัญหา (Client) ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมาหรือปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งข้อเท็จจริงที่ได้จะเป็นแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับปัญหาของ Client
120. วิธีการสังคมสงเคราะห์ข้อใดที่ใช้กิจกรรมเป็นสื่อในการพัฒนาความต้องการความสามารถของสมาชิก
(1) การสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย (2) การสังคมสงเคราะห์กลุ่ม
(3) การพัฒนาชุมชน (4.) การจัดองค์การชุมชน
ตอบ 2 หน้า 483 การสังคมสงเคราะห์กลุ่ม (Social Group Work) โดยนักสังคมสงเคราะห์จะเป็นผู้นำในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ซึ่งอาศัยกิจกรรมต่าง ๆ เป็นสื่อ เพื่อเป็นการพัฒนาความต้องการและความสามารถของสมาชิก