การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา SOC 1003 สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเบื้องต้น

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1. คำกล่าวของอริสโตเติล (Aristotle) ที่ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” มีหมายความว่าอย่างไร

(1) มนุษย์มีชีวิตอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่า

(2) มนุษย์มีความสามารถสร้างวัฒนธรรม

(3) มนุษย์มีสมองมากกว่าสัตว์อื่น ๆ

(4) มนุษย์มีการปกครองสมาชิกในสังคม

ตอบ 1 หน้า 1 อริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาชาวกรีภ ได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” (Social Animal) หมายความว่า มนุษย์จะมีชีวิตอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่า มีความเกี่ยวข้อง และสัมพันธ์กันในหมู่มวลสมาชิก มีความจำเป็นต้องติดต่อและเกี่ยวข้องกับผู้อื่นอยู่เสมอ

2. การศึกษาสังคมของนักสังคมวิทยายุคแรกใช้แนวทางใดในการศึกษา

(1) ประวัติศาสตร์ของสังคม

(2) วิวัฒนาการของสังคม

(3) การแก้ไขปัญหาของสังคม

(4) ความขัดแย้งของสังคม

ตอบ 2 หน้า 6 การศึกษาสังคมวิทยาในระยะแรกนั้น ค้องท์ (Comte) และสเปนเซอร์ (Spencer)เป็นนักสังคมวิทยารุ่นแรกที่สนใจศึกษาการกำเนิดของสังคม วิวัฒนาการของสังคม และสังคม ในอนาคตว่าน่าจะเป็นเช่นไร ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิวัฒนาการของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักชีววิทยาชาวอังกฤษ

3. นักคิดท่านใดทำให้ความรู้เกี่ยวกับคนและสังคมกลายเป็นวิทยาศาสตร์ทางสังคม

(1) เพลโต (Plato) และค้องท์ (Comte) (2) เวเบอร์ (Weber) และสเปนเซอร์ (Spencer)

(3) เวเบอร์ (Weber) และเพลโต (Plato) (4) ค้องท์ (Comte) และสเปนเซอร์ (Spencer)

ตอบ 4 หน้า 3 ค้องท์ (Comte) และสเปนเซอร์ (Spencer) เป็นนักคิดนักวิชาการกลุ่มแรกที่ได้พยายาม ทำให้องค์ความรู้เกี่ยวกับคนและสังคมกลายเป็น “วิทยาศาสตร์ทางสังคม” ขึ้นมา โดยพยายาม ใช้วิธีการศึกษาทุกขั้นตอนเหมือนกับการทดลองวิทยาศาสตร์ธรรมชาติในการแสวงหาความรู้ และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการศึกษามนุษย์และสังคมมนุษย์อย่างเป็นระบบ

4. ข้อใดกล่าวไว้ถูกต้องถึงผลที่ได้รับจากการศึกษาเกี่ยวกับสังคมมนุษย์

(1) ทราบกลไกการทำงานของสังคม (2) ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก

(3) เข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมที่เป็นโทษ (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 4-5 ผลที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสังคมมนุษย์ มีดังนี้

1. เข้าใจลักษณะ รูปแบบ และโครงสร้างของสังคมตนเองและสังคมอื่น ๆ ซึ่งทำให้ทราบถึง กลไกการทำงานของสังคม และแนวทางประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดขึ้น

2. สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสมาชิกร่วมสังคมและสมาชิกร่วมโลก เข้าใจสถานภาพ และบทบาทของตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้ก็เนื่องจากมนุษย์จะแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ได้

3. เข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมที่เป็นโทษและสาเหตุที่กำหนดพฤติกรรมเบี่ยงเบน

4. เกิดประโยชน์ต่อทุกวิชาชีพ โดยใช้เป็นวิชาความรู้ควบคู่กับการศึกษาวิชาอื่น ๆ เพราะ ทุกฝ่ายต่างจะต้องใช้วิชาชีพนั้น ๆ กับคนในสังคมทั้งสิ้น

5. ก่อนปรากฏการณ์การปฏิวัติอุตสาหกรรม การศึกษาสังคมใช้แนวทางใด

(1) วิทยาศาสตร์ (2) สามัญสำนึก (3) วิทยาศาสตร์ทางสังคม (4) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 หน้า 2-3, (คำบรรยาย) การใช้สามัญสำนึก (Common Sense) ศึกษาสังคม เกิดขึ้น ในช่วงระยะเริ่มแรกก่อนที่วิชาสังคมวิทยาจะกำเนิดขึ้น คือ ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ต่อมาในราวปลายศตวรรษที่ 18 (หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม) การศึกษาสังคมก็เปลี่ยน จากการใช้สามัญสำนึกมาเป็นวิทยาศาสตร์ทางสังคม (Social Sciense)

6. เพราะเหตุใดสังคมวิทยาจึงได้รับสมญาว่า “ราชินีแห่งศาสตร์”

(1) สังคมวิทยามีกำเนิดมายาวนาน (2) สังคมวิทยาแตกแขนงเป็นหลายสาขา

(3) สังคมวิทยามีความเป็นวิทยาศาสตร์ (4) สังคมวิทยาสามารถแก้ไขปัญหาสังคม

ตอบ 2 หน้า 18, 151 ออกัส ค้องท์ (Auguste Comte) ที่ถือกันว่าเป็นปฐมาจารย์ (อาจารย์คนแรก) ของสังคมวิทยาในสมัยปัจจุบัน คือ สังคมวิทยาในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์แห่งสังคม โดยค้องท์ เป็นผู้ให้ฉาายาสังคมวิทยาว่าเป็น “ราชินีแห่งศาสตร์” ทั้งนี้เนื่องจากสังคมวิทยาเป็นศาสตร์ที่แตกแขนงออกไปเป็นหลายสาขา ซึ่งเปรียบเสมือนสตรีผู้สูงศักดิ์ที่มีบุตรธิดามาก และยังหมายถึง การมีความสำคัญแทรกอยู่ในบรรดาวิทยาการต่าง ๆ

7. คำว่า Sociology มาจากคำในภาษาใด

(1) ฝรั่งเศสกับอังกฤษ

(2) กรีกกับอังกฤษ (3) ละตินกับกริก (4) ละตินกับฝรั่งเศส

ตอบ 3 หน้า 16 Sociology (สังคมวิทยา) มาจากศัพท์ 2 คำ คือ คำว่า Socius ซึ่งเป็นภาษาละติน มีความหมายว่า “เพื่อน” (Companion) และคำว่า Logos ซึ่งเป็นภาษากรีก มีความหมายว่า “ถ้อยคำ” (Word) เมื่อรวมคำทั้ง 2 เข้าด้วยกันก็จะแปลว่า การพูดคุยเกี่ยวกับสังคม

8. ใครคือปฐมาจารย์ทางสังคมวิทยา

(1) ค้องท์ (Comte)

(2) เวเบอร์ (Weber) (3) เดอร์ไคม์ (Durkheim) (4) สเปนเซอร์ (Spenecr)

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

9. ข้อใดมิใช่ลักษณะของสังคมวิทยา

(1) รูปธรรม

(2) วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (3) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (4) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 13-15 ลักษณะของสังคมวิทยา มีดังนี้ 1. เป็นศาสตร์ว่าด้วยสังคมหรือเป็นวิทยาศาสตร์ทางสังคม และเป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

2. เป็นวิชาที่เกียวข้องกับหลักการที่ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น (บอกสาเหตุของผลที่เกิดขึ้น)

3. เป็นนามธรรม 4. เป็นศาสตร์ที่มีเหตุผลและอาศัยการพิสูจน์ทดลองเชิงประจักษ์

5. เป็นวิทยาศาสตร์ทั่วไป ไม่ใช่วิทยาศาสตร์เฉพาะ 6. เป็นสังคมศาสตร์ทั่วไป

10. ใครเป็นผู้สนับสนุนการใช้วิธีการศึกษาที่เรียกเป็นภาษาเยอรมันวา “แวร์สเตเฮ็น” (Verstehen)

(1) ค้องท์ (Comte) (2) มาร์กซ์ (Marx)

(3) เดอร์ไคม์ (Durkheim) (4) เวเบอร์ (Weber)

ตอบ 4 หน้า 20 เวเบอร์ (Weber) เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมันที่สนับสนุนการใช้วิธีการศึกษาที่ เรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า “แวร์สเตเฮ็น” (Verstehen) แปลว่า Understanding (ความเข้าใจ) ซึ่งเป็นวิธีการที่เน้นความเข้าใจรวม ๆ กันมากกว่าในรายละเอียดของปรากฏการณ์ทางสังคม

11. ศาสตร์ใดกำเนิดขึ้นร่วมสมัยกับสังคมวิทยา

(1) รัฐศาสตร์

(2) นิติศาสตร์

(3) เศรษฐศาสตร์

(4) จิตวิทยา

ตอบ 4 หน้า 16 จุดเริ่มแรกของสังคมวิทยาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็คือ วิทยาศาสตร์ได้กำเนิดเกิดขึ้นมาใหม่พร้อมกัน 2 สาขา ได้แก่

1. จิตวิทยา (Psychology) ซึ่งเป็นศาสตร์ว่าด้วยพฤติกรรมของมนุษย์

2. สังคมวิทยา (Sociology) ซึ่งเป็นศาสตร์เกี่ยวกับสังคมมนุษย์

12. ข้อใดกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างสังคมวิทยากับมานุษยวิทยาได้ถูกต้อง

(1) สังคมวิทยามีแนวโน้มศึกษาสังคมง่าย ๆ ส่วนมานุษยวิทยาศึกษาสังคมเชิงซ้อน

(2) สังคมวิทยามีแนวโน้มศึกษาสังคมปัจจุบัน ส่วนมานุษยวิทยาศึกษาธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ โดยเฉพาะในสังคมดั้งเดิม

(3) สังคมวิทยามีแนวโน้มศึกษาเป็นรายกรณี ส่วนมานุษยวิทยาศึกษาแบบสุ่มตัวอย่าง

(4) สังคมวิทยามีแนวโน้มศึกษาสังคมไม่มีภาษา ส่วนมานุษยวิทยาศึกษาสังคมรู้หนังสือ

ตอบ 2 หน้า 49 ข้อแตกต่างระหว่างสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มีดังนี้

1. สังคมวิทยามีแนวโน้มศึกษาสังคมปัจจุบัน ส่วนมนุษยวิทยาสนใจศึกษาขนบธรรมเนียม ประเพณีต่าง ๆ โดยเฉพาะในสังคมดั้งเดิม

2. สังคมวิทยามีแนวโน้มศึกษาสังคมที่รู้หนังสือ ส่วนมานุษยวิทยาสนใจสังคมที่ยังไม่มีภาษาเขียน

3. สังคมวิทยามีแนวโน้มศึกษาสังคมเชิงซ้อน ส่วนมานุษยวิทยาสนใจสังคมที่มีโครงสร้างง่าย ๆ

4. สังคมวิทยามีแนวโน้มศึกษาแบบสุ่มตัวอย่าง ส่วนมานุษยวิทยาสนใจศึกษาเป็นรายกรณี

13. ผู้ใดริเริ่มใช้ศัพท์ “วัฒนธรรม” ขึ้นในปี พ.ศ. 2475

(1) พระมหาพูล

(2) กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

(3) พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร

(4) เสฐียรโกเศศ

ตอบ 3 หน้า 56 พ.ศ. 2475 พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงค์ประพันธ์ขณะทรงพระยศเป็น พระองค์เจ้าวรรณไวทยากรทรงเป็นผู้ริเริ่มบัญญัติศัพท์คำว่า ‘”วัฒนธรรม” ขึ้นเป็นคนแรก

14. ข้อใดคือความหมายของ “วัฒนธรรม” ตามนัยแห่งสังคมศาสตร์

(1) พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ (2) ขนบธรรมเนียมประเพณี

(3) สิ่งที่ดีงาม (4) สิ่งที่ได้รับการยอมรับเป็นเวลานาน

ตอบ 1 หน้า 56-61 ความหมายของวัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 3 ความหมายใหญ่ ๆ ดังนี้

1. ความหมายตามรากศัพท์เดิม วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ได้รับการปรุงแต่งให้ดีแล้ว หรือสิ่งที่ได้รับการยอมรับและยกย่องมาเป็นเวลานานแล้ว

2. วัฒนธรรม คือ ขนบธรรมเนียมประเพณี

3. ความหมายตามนัยแห่งสังคมศาสตร์ วัฒนธรรมมีความหมายกว้างขวางมาก คือ ครอบคลุม ถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นผลผลิต/ผลงาน/ผลแห่งการกระทำของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นทางวัตถุ หรืออวัตถุ รวมถึงพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้

15. ความหมายของ “วัฒนธรรม” ตามนัยใดที่กว้างขวางครอบคลุมทุกสิ่งที่เป็นผลผลิตของมนุษย์

(1) รากศัพท์เดิม (2) สิ่งดีงาม (3) ขนบธรรมเนียมประเพณี (4) ทางสังคมศาสตร์

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ

16. พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นประเพณีเกี่ยวข้องกับอะไร

(1) การปกครอง

(2) การทำมาหากิน (3) ชีวิตบุคคล (4) อำนาจพระมหากษัตริย์

ตอบ 2 หน้า 57 – 58, (คำบรรยาย) ขบบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เป็นวัฒนธรรมพี่เกี่ยวกับ

1. วาระสำคัญของชีวิตบุคคล การดำเนินชีวิตของบุคคลตั้งแต่เกิดจนกระทั่งสิ้นชีวิต

2. ประเพณีต่าง ๆ ของสังคมเอง ซึ่งเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่และการทำมาหากินหรือ การประกอบอาชีพของคนในสังคม เช่น พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ฯลฯ

17. สังคมใดมีความแตกต่างกันในเรื่องอนุวัฒนธรรมของแต่ละอาชีพอย่างมาก จนก่อให้เกิดระบบวรรณะขึ้นมา

(1) ทิเบต (2) อินเดีย (3) สหรัฐอเมริกา (4) ปากีสถาน

ตอบ 2 หน้า 87 อนุวัฒนธรรมทางอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่ประกอบอาชีพแต่ละอาชีพมักจะมีแบบหรือวิถี การดำรงชีวิตแตกต่างกัน เช่น ในสังคมอินเดียความแตกต่างในเรื่องอนุวัฒนธรรมของแต่ละ อาชีพมีอย่างมากจนก่อให้เกิดระบบวรรณะขึ้นมา โดยวรรณะใหญ่ ๆ ของอินเดียมีด้วยกัน ทั้งหมด 4 วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ (พ่อค้า) และศูทร (ผู้ใช้แรงงาน)

18. ผู้ใดบัญญัติศัพท์ “ความล้าทางวัฒนธรรม”

(1) อ็อกเบิร์น (Ogburn) (2) ริสแมน (Riesman)

(3) เช็คสเปียร์ (Shakespeare) (4) โครเบอร์ (Kroeber)

ตอบ 1 หน้า 92 ผู้บัญญัติศัพท์ “ความล้าหรือความเฉื่อยทางวัฒนธรรม” คือ อ็อกเบิร์น (Ogburn) นักวิชาการชาวอเมริกัน โดยเขาให้คำนิยามไว้ว่า ความล้าหรือความเฉื่อยทางวัฒนธรรม ได้แก่ ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพี่ยังคงอยู่จนเกินเลยเวลาพี่เป็นประโยชน์ได้โดยล้าหลังหรือตามไม่ทัน วัฒนธรรมส่วนอื่น ๆ ซึ่งแต่ก่อนนี้เคยเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน

19. ข้อใดคือกลุ่มสังคม

(1) กลุ่มคนที่ขาดระเบียบ (2) กลุ่มคนที่ถูกจำแนกประเภท

(3) กลุ่มคนที่กำลังรอคอยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (4) กลุ่มคนที่มีการกระทำโต้ตอบกันทางสังคม

ตอบ 4 หน้า 98 กลุ่มสังคม หมายถึง กลุ่มคนที่มีการกระทำโต้ตอบซึ่งกันและกัน มีการติดต่อสัมพันธ์กันตามสถานภาพและบทบาท มีความรู้สึกสำนึกเป็นพวกเดียวกัน และมีความเชื่อใน ด้านคุณค่าร่วมกันหรือคล้ายคลึงกัน เช่น ครอบครัว กลุ่มเพื่อน กลุ่มอาชีพ กลุ่มเชื้อชาติ ฯลฯ

20. การจัดกลุ่มนักศึกษา เช่น ธรรมศาสตร์ รามคำแหง เกษตรศาสตร์ จุฬาฯ เป็นการจัดกลุ่มลักษณะใด

(1) จำนวนรวม (2) จำแนกพวก (3) กลุ่มสังคม (4) กลุ่มอ้างอิง

ตอบ 2 หน้า 97 กลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกับจำแนกพวก (Category) หมายถึง คนจำนวนหนึ่งที่มีลักษณะ บางอย่างเหมือนกัน เช่น เพศเดียวกัน เป็นนักศึกษาเหมือนกัน เป็นเศรษฐีเหมือนกัน เป็นต้น

21. “GeseUschaft” มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มประเภทใด

(1) ปฐมภูมิ

(2) ทุติยภูมิ

(3) อ้างอิง

(4) ชนชั้น

ตอบ 2 หน้า 103 – 104 เฟอร์ดินันด์ ทอนนี (Ferdinand Tonnies) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ได้ให้ความหมายว่า Gemeinschaft คือ ชุมชน (Community) จะมีลักษณะความสัมพันธ์ คล้ายคลึงกับกลุ่มแบบปฐมภูมิมาก เช่น หมู่บ้านชาวนา สังคมชนบท ชุมชนในสมัยศักดินา ฯลฯ ส่วน GeseUschaft คือ สังคม (Society) จะมีลักษณะความสัมพันธ์คล้ายคลึงกับกลุ่มแบบ ทุติยภูมิมาก เช่น สังคมสมัยใหม่โดยทั่วไป สังคมอุตสาหกรรม สังคมเมือง ฯลฯ

22. การติดต่อสัมพันธ์ของกลุ่มประเภทใดที่เน้นหน้าที่และผลประโยชน์เป็นหลัก

(1) ครอบครัว

(2) สมาคมและองค์กร

(3) เพื่อนเล่น

(4) กลุ่มเด็กวัยรุ่น

ตอบ 2 หน้า 99, 101 กลุ่มทุติยภูมิ (Secondary Group) เป็นกลุ่มขนาดใหญ่ มีการติดต่อทางสังคมห่างเหิน ระยะสั้น การติดต่อสัมพันธ์แบบเป็นทางการหรือเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนด หรือตามหน้าที่ โดยเน้นหน้าที่และผลประโยชน์เป็นหลัก ไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัว โดยจะสัมพันธ์กัน เฉพาะเรื่องเฉพาะด้าน การตัดสินใจใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ เช่น สมาคม องค์กร บริษัท ฯลฯ

23. ข้อใดคือความสัมพันธ์ในกลุ่มทุติยภูมิ

(1) สัมพันธ์กันทุกด้าน

(2) สนิทสนมทุกเรื่อง

(3) สัมพันธ์แบบเป็นทางการ

(4) ใช้ความรู้สึกอารมณ์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 22. ประกอบ

24. สถาบันทางสังคมแรกสุดของมนุษย์คือสถาบันใด

(1) เศรษฐกิจ (2) ศาสนา (3) ครอบครัว (4) การเมือง

ตอบ 3 หน้า 107 ในทางสังคมวิทยาถือว่า ครอบครัวมีลักษณะที่มีความเป็นสถาบัน 3 ประการ คือ

1. เป็นสถาบันทางสังคม ซึ่งมีรูปแบบหรือแบบแผนที่เป็นกระสวนทางพฤติกรรมตามหน้าที่ ตามที่สังคมกำหนดขึ้น และมีโครงสร้างทางสังคมที่เป็นตัวกำหนดค่านิยมที่แท้จริง

2. เป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดของสังคม เป็นสถาบันทางสังคมแรกสุดที่มีมาพร้อมกับมนุษย์

3. เป็นสถาบันสากล เนื่องจากมีปรากฏในทุกสังคม

25. การศึกษาวิวัฒนาการของครอบครัว เช่น การมีบุตรสืบสกุล จัดเป็นแนวการศึกษาอะไร

(1) เพศศึกษา (2) กายวิภาค (3) สังคมวิทยา (4) มาบุษยวิทยา

ตอบ 4 หน้า 108 การศึกษาครอบครัวตามแนวมานุษยวิทยา เป็นการศึกษาครอบครัวโดยเริ่มจาก การที่หญิงหนึ่งคนหรือมากกว่านั้นอยู่ร่วมกับชายหนึ่งคนหรือมากกว่านั้นและมีบุตรด้วยกัน มีความสัมพันธ์ทางเพศอันเป็นที่ยอมรับกันทางสังคม โดยมีวัตถุประสงค์ในการอยู่ร่วมกัน เพื่อต้องการมีบุตรไว้สืบสกุล อันเป็นเรื่องของวิวัฒนาการของมนุษย์เอง

26. ความจำเป็นที่มนุษย์ต้องมีครอบครัวคืออะไร

(1) การเป็นทารกนาน (2) การดำรงเผ่าพันธุ์

(3) การตอบสนองความต้องการทางเพศ (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 113 ความจำเป็นที่มนุษย์ต้องมีครอบครัว เนื่องจากเหตุผลต่าง ๆ ดังนี้คือ

1. ในแง่ชีววิทยา เช่น การเป็นทารกนาน ฯลฯ 2. ด้านวิวัฒนาการ

3. การดำรงเผ่าพันธุ์ 4. การตอบสนองความต้องการทางเพศ

5. มนุษย์รู้จักปรับตัวให้สามารถเข้ากับธรรมชาติได้ 6. มนุษย์มีมันสมองสลับซับซ้อนมาก

27. ข้อใดไม่ใช่การจัดครอบครัวตามขนาดและรูปแบบ

(1) ครอบครัวปฐมนิเทศ (2) ครอบครัวขยาย

(3) ครอบครัวหน่วยกลาง (4) ครอบครัวประกอบร่วม

ตอบ 1 หน้า 114 – 115 การจัดประเภทครอบครัว สามารถจัดเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. จัดตามลักษณะและหน้าที่ มี 2 ประการ คือ ครอบครัวปฐมนิเทศ และครอบครัวสร้างสมาชิกใหม่

2. จัดตามขนาดและรูปแบบ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ครอบครัวหน่วยกลาง ครอบครัวขยาย และครอบครัวประกอบร่วม (ครอบครัวซ้อน)

28. ข้อห้ามการสมรส (Incest Taboo) เป็นการห้ามการสมรสระหว่างบุคคลใด

(1) ลูกพี่ลูกน้อง

(2) พี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน (3) บุคคลที่ร่วมนามสกุลเดียวกัน (4) บุคคลที่ร่วมบ้านเดียวกัน

ตอบ 2 หน้า 119 – 120 ข้อห้ามการสมรส (Incest Taboo) คือ ห้ามสมรสกับบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันทางสายโลหิต หรือห้ามสมรสกับญาติสนิทในครอบครัวหน่วยกลาง ซึ่งมี 2 ลักษณะ ดังนี้

1. ญาติแนวดิ่ง/แนวตั้ง ซึ่งสืบสายโลหิตกันโดยตรง ได้แก่ บิดา/มารดากับบุตร

2. ญาติแนวราบ/แนวนอน ซึ่งร่วมสายโลหิตเดียวกัน ได้แก่ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมเฉพาะบิดา และพี่น้องร่วมเฉพาะมารดา

29. ข้อใดเป็นการแบ่งศาสนาตามการยอมรับ

(1) ศาสนาสถาบัน (2) ศาสนาจุลภาค (3) ศาสนาธรรมชาติ (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 129 – 130 ศาสนา เป็นระบบความเชื่อที่มีความเป็นมา ดังนี้

1. โดยวิวัฒนาการ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ศาสนาธรรมชาติ และศาสนาสถาบัน/ศาสนาหลัก

2. โดยการยอมรับ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ศาสนามหัพภาค และศาสนาจุลภาค

30. ข้อใดเป็นการจัดประเภทของศาสนาโดยวิวัฒนาการ

(1) ศาสนาธรรมชาติ (2) ศาสนาสถาบัน (3) ศาสนามหัพภาค (4) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ

31. นักวิชาการท่านใดมีทัศนะว่า ศาสนามีประโยชน์ในด้านปลอบประโลมใจในยามทุกข์ยาก

(1) ฟรอยด์ (Freud)

(2) มาร์กซ์ (Marx)

(3) มาลินอฟสกี้ (Malinowski)

(4) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 1 หน้า 133,350 ความสำคัญของศาสนาในทางสังคมวิทยานั้น ได้มีผู้แสดงความเห็นไว้ดังนี้

1. ฟรอยด์ (Freud) เห็นว่า ศาสนามีประโยชน์ในด้านเป็นเครื่องปลอบประโลมใจในยามทุกข์ยาก

2. มาร์กซ์ (Marx) ถือว่า ศาสนาเป็นยาเสพติด เพราะก่อให้เกิดความงมงาย และเป็นอุปสรรค ต่อการปฏิวัติทางการเมือง ซึ่งเป็นการมองศาสนาไปในแง่ร้าย

3. มาลินอฟสกี้ (Malinowski) เห็นว่า ศาสนาและพิธีกรรมมักเกี่ยวพันกับความไม่แน่ใจใน เรื่องธรรมชาติ ความเกรงกลัวในสิ่งที่ไม่แน่นอน/สิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ ทำให้คนมุ่งไปที่ ศาสนาหรือพิธีกรรม

32. ข้อใดคือวิธีการปฏิบัติพื้นฐานของมนุษย์ที่แสดงถึงการยอมรับเอาศาสนามาใช้ในสังคม

(1) การให้สินบน

(2) การเคารพบูชา

(3) การเซ่นสังเวย

(4) การทำทุกรกิริยา

ตอบ 2 หน้า 135 – 136 วิธีการต่าง ๆ ที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติเพื่อแสดงว่ายอมอยู่ใต้อำนาจของศาสนา มี 3 วิธี ดังนี้ 1. การเคารพบูชา ซึ่งถือเป็นวิธีการปฏิบัติพื้นฐานของมนุษย์ที่แสดงถึงการยอมรับ เอาศาสนามาใช้ในสังคม 2. การเซ่นสังเวย 3. การทำทุกรกิริยา

33. การจัดประเภทความเชื่อทางศาสนาแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ตามข้อใด

(1) เอกเทวนิยมและพหุเทวนิยม

2) พหุเทวนิยมและสัพพัตถเทวนิยม

(3) เทวนิยมและอเทวนิยม

(4) เอกเทวนิยมและอเทวนิยม

ตอบ 3 หน้า 139 – 140 การจัดประเภทความเชื่อทางศาสนา มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. เทวนิยม (Theism) เป็นระบบความเชื่อที่ว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก แบ่งออกเป็น

1.1 เอกเทวนิยม (เชื่อว่ามีพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว) เช่น ศาสนาคริสต์ อิสลาม ฯลฯ

1.2 พหุเทวนิยม (นับถือพระเจ้าหลายพระองค์) เช่น ศาสนาฮินดู ฯลฯ

1.3 สัพพัตถเทวนิยม (เชื่อว่าพระเจ้าและจักรวาลเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน) เช่น เชื่อว่า แม่นํ้ามีแม่คงคาและแผ่นดินมีแม่พระธรณีเป็นผู้ดูแลปกปักรักษา ฯลฯ

2. อเทวนิยม (Atheism) เป็นระบบความเชื่อที่อาศัยเหตุผลและความเป็นจริงเป็นสำคัญ โดยไม่ผูกพันอยู่กับเทพเจ้า เช่น ศาสนาพุทธ เชน เต๋า ฯลฯ

34. หลักกาลามสูตรในทางพระพุทธศาสนามีจุดประสงค์เพื่ออะไร

(1) เพื่อให้มนุษย์ประพฤติตามแบบแผนที่ตั้งไว้ (2) เพื่อให้มนุษย์เคารพบูชาต่อพระพุทธรูปต่าง ๆ

(3) เพื่อให้มนุษย์มีวิจารณญาณไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ (4) เพื่อให้มนุษย์เชื่อในสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ

ตอบ 3 หน้า 140 หลักกาลามสูตรในทางพระพุทธศาสนานั้น เน้นสอนให้รู้จักการใช้วิจารณาญาณ คือ การไม่เชื่อใครง่าย ๆ แต่ให้เชื่อโดยใช้หลักเหตุผล และให้ศึกษาพิจารณาไตร่ตรองโดยถ่องแท้ ด้วยสติปัญญาของตนเอง ซึ่งหลักในกาลามสูตรมีด้วยกัน 10 ข้อ

35. นักปราชญ์ท่านใดมีความเห็นว่าการศึกษาควรมีจุดหมายเพื่อให้เกิดบุคลิกภาพที่พึงปรารถนา 4 ประการ

(1) เพลโต (Plato) (2) เบคอน (Bacon) (3) โซเครติส (Socrates) (4) รัสเซลล์ (Russell)

ตอบ 4 หน้า 152 – 153 ปราชญ์หลายท่านให้ทัศนะเกี่ยวกับความสำคัญของการศึกษาไว้ต่าง ๆ กับ เช่น

1. พระพุทธเจ้า ทรงถือว่า ความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ และการศึกษาคือการให้พ้นอวิชชา (ความไม่รู้) เพื่อมุ่งให้ชีวิตหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

2. อริสโตเติล (Aristotle) กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่เยาวชนมีผลกระทบต่อชะตากรรม (ความเจริญและความเสื่อม) แห่งอาณาจักร และเป้าหมายสูงสุดหรืออุดมคติของการศึกษา คือ การเตรียมบุคคลให้รู้จักหาความสุขอย่างถูกต้อง กล่าวคือ การเข้าถึงปัญญาอันเป็นทิพย์

3. เบคอน (Bacon) กล่าวว่า ความรู้คืออำนาจ ความรู้และอำนาจของมนุษย์เป็นของอย่างเดียวกัน

4. รัสเซลล์ (Russell) เห็นว่า การศึกษาควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดบุคลิกภาพที่พึงปรารถนา 4 ประการ ได้แก่ พละ (Vitality) ธิติ (Courage) สุขุมสัญญา (Sensitiveness) และปัญญา (Intelligence)

36. ในอารยธรรมกรีกโบราณ การศึกษาผูกพันกับเพเดีย (Paedeia) หมายความว่าอย่างไร

(1) การศึกษาผูกพันกับผู้สอน (2) การศึกษาผูกพันกับปัญญา

(3) การศึกษาผูกพันกับคุณธรรม (4) การศึกษาผูกพันกับเทพเจ้า

ตอบ 3 หน้า 152 – 153 ในอารยธรรมกรีกโบราณ การศึกษาผูกพันกับคุณธรรม (ภาษากรีก เรียกว่า Paedeia) ซึ่งคำว่าการศึกษาในภาษากรีก หมายถึง การเรียนคุณธรรม โดยสรุป การศึกษาในทัศนะกรีกโบราณ หมายถึง การเป็นคนดีและเป็นพลเมืองดี

37. ข้อใดคือจุดเน้นของการศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์

(1) เหตุแห่งทุกข์ (2) พิธีกรรม (3) วัฏสงสาร (4) การหลุดพ้นจากอวิชชา

ตอบ 4 หน้า 152 พระพุทธศาสนาถือว่าความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้มนุษย์หลุดพ้นจาก ความทุกข์ พระพุทธองค์ทรงถือว่าอวิชชา (ความไม่รู้) เป็นต้นเหตุแห่งวัฏสงสารอันเป็นการ เวียนว่ายตายเกิดในห้วงแห่งทุกข์วัฏสงสารจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อพ้นจากอวิชชาอันเป็นจุดเริ่มต้น แห่งกระบวนการอันเกี่ยวเนื่องเป็นลูกโซ่ที่เรียกว่า “ปฎิจจสมุปบาท” (การที่สิ่งทั้งทลายอาศัย ซึ่งกันและกัน) ดังนั้นเป้าหมายของการศึกษาในเชิงพุทธศาสตร์จึงมีความหมายเพื่อให้หลุดพ้น จากอวิชชาหรือความไม่รู้เพื่อชีวิตจะได้ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก

38. กระบวนการอันเกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ที่เรียกว่า “ปฏิจจสมุปบาท” หมายถึงข้อใด

(1) สิ่งทั้งหลายย่อมเป็นอัตตา (2) สิ่งทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

(3) สิ่งทั้งหลายย่อมอาศัยซึ่งกันและกัน (4) สิ่งทั้งหลายศึกษาได้ด้วยศีล ลมาธิ ปัญญา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ

39. มุกติศึกษาหมายถึงข้อใด

(1) ผู้ที่มีคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม (2) ผู้ที่หลุดพ้นจากวัฏสงสาร

(3) ผู้ที่มีคุณธรรมและเข้าถึงซึ่งปัญญา (4) ผู้ที่เป็นอิสระจากอคติหรือความเชื่อที่ปราศจากเหตุผล

ตอบ 4 หน้า 165 ปรัชญาการศึกษาแนวแรกที่เน้นหนักไปทาง “ศิลปศาสตร์ศึกษา” (Liberal Education) ซึ่งบางครั้งเรียกว่า Liberal Arts หมายถึง ศิลปะวิทยาการที่ทำให้คนมีเสรี ได้มีบางท่านใช้ศัพท์ “มุกติศึกษา” หมายถึง การหลุดออกหรือการเป็นอิสระจากอคติหรือ ความเชื่อต่าง ๆ ที่ปราศจากเหตุผล

40. ผู้สำเร็จการศึกษาตามแนวปรัชญาที่เน้นความเลอเลิศทางปัญญาหรือคุณภาพชีวิตโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ ใช้สอย มักถูกเปรียบเทียบกับคุณลักษณะข้อใด

(1) เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ (2) กินบนเรือนขี้รดบนหลังคา

(3) เห็นช้างขี้ขี้ตามช้าง (4) ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

ตอบ 4 หน้า 164 – 167 ผลิตผลของปรัชญาการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เน้นความเลอเลิศทางปัญญา โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและประโยชน์ที่มีต่อสังคม คือ การสร้างนักคิดและนักวิชาการ ประเภทเคร่งทฤษฎีจนกระทั่งมีฉายาว่าเป็นนักวิชาเกิน หากมหาวิทยาลัยใดนิยมปรัชญาแนวนี้ ย่อมทำให้สถาบันมีลักษณะเป็นแบบหอวิมานงาช้างหรือ “ปัญญาปราสาท” ที่ให้ความสำคัญ กับวิชาการและวิชาชื่นชอบโดยไม่ได้อยู่ในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษามักถูก เปรียบเทียบได้กับคุณลักษณะดังคำพังเพยของไทยที่ว่า “ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด” คือ มีความรู้มาก แต่ไม่สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

41. วิชาประชากรศาสตร์เกิดขึ้นเนื่องจากอะไร

(1) อัตราการเกิดเพิ่มสูงขึ้น

(2) อัตราการตายเพิ่มสูงขึ้น

(3) อัตราการอพยพย้ายถิ่นเพิ่มสูงขึ้น

(4) อัตราการเพิ่มของประชากรโลกสูงขึ้น

ตอบ 4 หน้า 185 ประชากรศาสตร์ เป็นศาสตร์สาขาใหม่ของสังคมคาสตร์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เอง สืบเนื่องจากในปี ค.ค. 1949 องค์การสหประชาชาติได้จัดประชุม สัมมนาเกี่ยวกับทรัพยากรของโลก และมีการสำรวจประชากรในฐานะผู้บริโภคด้วย ซึ่งผลจากการประชุมพบว่าทรัพยากรต่าง ๆ ของโลกได้ถูกทำลายอย่างมากมาย ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่ประชากรมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเพิ่มขึ้นอย่างมากมายของจำนวนประชากรนี้ ทำให้เกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมา จึงทำให้เกิดการตื่นตัวศึกษาเกี่ยวกับประชากรมากขึ้น

42. ประชากรศาสตร์เน้นศึกษาอะไร

(1) ประเพณี วัฒนธรรม

(2) โครงสร้างของสังคม

(3) จำนวนคน

(4) พฤติกรรมของคนในสังคม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ

43. ในปี ค.ศ. 2013 อัตราการตายอย่างหยาบของประเทศหนึ่งมีค่าเท่ากับ 15 หมายความว่าอย่างไร

(1) ภาวะเจริญพันธุ์อยู่ในระดับทดแทน

(2) ในปีนั้นจากประชากร 100 คน มีคนตาย 15 คน

(3) ในปีนั้นจากประชากร 1,000 คน มีคนตาย 15 คน

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 186 อัตราการตายอย่างหยาบ (Crude Death Rate : CDR) เป็นการคำนวณหาจำนวนคนตาย/ประชากร 1,000 คน/ปี ดังนั้นอัตราการตายอย่างหยาบของประชากรมีค่าเท่ากับ 15 ก็หมายความว่า ในปีนั้น ประชากร 1,000 คน มีคนตาย 15 คน

44. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราการเพิ่มของประชากรไทยเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

(1) การลดลงของอัตราการตายอย่างรวดเร็ว (2) การเพิ่มขึ้นของอัตราการเกิด

(3) การลดลงของอัตราการเกิด (4) การเพิ่มขึ้นของอัตราการตาย

ตอบ 1 หน้า 191 – 192 การเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศไทยนั้นมีลักษณะเช่นเดียวกับการเพิ่มขึ้น ของประชากรในภูมิภาคแถบเอเชียและลาตินอเมริกา โดยจะเพิ่มช้าในตอนแรกแล้วค่อย ๆ เร็วขึ้น ในตอนหลัง โดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสาเหตุที่ไทยมีอัตราเพิ่มของประชากรเร็ว ก็เนื่องมาจากอัตราการตายลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่อัตราการเกิดยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้ง การขยายงานด้านสาธารณสุขทำให้คนมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น

45. ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “การปฏิวัติทางครอบครัว” (Family Revolution) ได้แก่ข้อใด

(1) เพศหญิงเป็นผูนำครอบครัว (2) มีแนวโน้มเป็นครอบครัวขยายมากขึ้น

(3) หนุ่มสาวแต่งงานช้าลงหรือไม่แต่งงานเลย (4) จำนวนบุตรต่อครอบครัวสูงกว่าระดับ

ตอบ 3 หน้า 188 – 189 นักประชากรชาวยุโรปเห็นพ้องต้องกันว่า สภาวการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านคุณค่าและแบบแผนการดำเนินชีวิต นอกจากนี้วิธีการควบคุม การเกิดหรือการคุมกำเนิดยังได้รับความนิยมอยางแพร่หลาย สตรีออกทำงานนอกบ้านมากขึ้น ค่าเช่าบ้านแพงขึ้นและมีขนาดเล็กลง และยังมีแนวโน้มว่า คนหนุ่มสาวแต่งงานช้าลงหรือไม่แต่งงานเลย ซึ่งนักประชากรเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การปฏิวัติครอบครัว (Family Revolution)

46. การแบ่งช่วงชั้นในยุโรปสมัยกลางใช้ระบบใด

(1) ชนชั้น (2) วรรณะ (3) ฐานันดร (4) สถานภาพ

ตอบ 3 หน้า 199 ฐานันดร (Estate) เป็นระบบการแบ่งช่วงชั้นทางสังคมที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกลาง ของยุโรป เดิมมีเพียง 2 ฐานันดร ได้แก่ นักบวช (พระ) และขุนนาง ต่อมามีเพิ่มขึ้นอีก เช่น พ่อค้า สามัญชน เป็นระบบที่มีกฎหมายกำหนดสิทธิหน้าที่ของคนแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ ของบุคคลต่อที่ดิน โดยการเขยิบฐานะเป็นไปได้ และไม่มีศาสนาคํ้าจุนเหมือนระบบวรรณะ

47. ตัวเลือกใดเป็นสถานภาพติดตัวของบุคคล

(1) ชาติตระกูล

(2) การเป็นสมาชิกของสังคม (3) สิทธิของคนในสังคม (4) ศักดิ์ศรีที่แต่ละคนมีอยู่

ตอบ 1 หน้า 25, 197 – 198 สถานภาพของบุคคล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. สถานภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (Ascribed Status) เป็นสถานภาพที่ได้รับมาโดยอัตโนมัติ อันมีรากฐานมาจากการถือกำเนิด เช่น เพศ อายุ ผิวพรรณ ชาติตระกูล วรรณะ ศาสนา ฯลฯ

2. สถานภาพสัมฤทธิ์ (Achieved Status) เป็นผลสำเร็จจากการกระทำตามวิถีทางของ แต่ละบุคคลที่ขึ้นอยู่กับความสามารถ เช่น การศึกษา อาชีพ อำนาจ รายได้ ฯลฯ

48. ตัวเลือกใดเป็นการจัดช่วงชั้นโดยอิทธิพลของศาสนา

(1) ชนชั้น (2) ศักดินา (3) วรรณะ (4) ฐานันดร

ตอบ 3 หน้า 198 – 199 วรรณะ (Caste) เป็นระบบการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคมโดยมีอิทธิพล ของศาสนาคํ้าจุนหรือเกื้อหนุน และเน้นถึงความสัมพันธ์ของสถานภาพของบุคคลในสังคม ซึ่งจำกัดบุคคลใม่ให้ได้รับสถานภาพสูงขึ้นกว่าเมื่อเขาเกิด ดังนั้นระบบวรรณะจึงเป็นระบบ ช่วงชั้นซึ่งมีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว (ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ)

49. เกณฑ์ใดใช้วัดการจัดลำดับชนชั้น (Class) ของสังคม

(1) ศาสนา (2) อำนาจ (3) เกียรติยศศักดิ์ศรี (4) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 200 – 201 เกณฑ์ที่ใช้วัดการจัดลำดับชนชั้น (Class) ของสังคม ได้แก่ เกียรติยศ ศักดิ์ศรีของครอบครัวซึ่งตกทอดมาถึงลูกหลาน อาชีพ ความมั่งคั่ง อำนาจ การมีเวลาว่าง ระดับการศึกษา การประสบความสำเร็จ ถิ่นที่อยู่อาศัย รสนิยม และการยอมรับ เป็นต้น

50. ตัวอย่างใดเป็นการจราจรภาพทางสังคมในแนวดิ่ง (Vertical Mobility)

(1) สามัญชนแต่งงานกับเจ้านาย (2) ช่างปูนเปลี่ยนอาชีพเป็นช่างทาสี

(3) กระเป๋ารถได้เลื่อนเป็นคนขับโดยสาร (4) แม่ค้าหาบเร่ย้ายไปขายในห้างสรรพสินค้า

ตอบ 1 หน้า 205 – 206 การจราจรภาพทางสังคมในแนวดิ่งหรือแนวตั้ง (Vertical Mobility) ซึ่งเป็นไปได้ใน 2 ทาง คือ

1. การจราจรภาพในทางตํ่าลง ตัวอย่างเช่น บุคคลซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เปลี่ยนไปเป็นบุคคลธรรมดา ฯลฯ

2. การจราจรภาพในทางสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น สามัญชนไปแต่งงานกับเจ้านาย ฯลฯ

51. ข้อใดคือผลของการจราจรภาพทางสังคม

(1) เกิดความขัดแย้งในบทบาท

(2) เกิดการขาดความสัมพันธ์ที่เคยมีมาก่อน

(3) โอกาสเข้าสู่สถานภาพสัมฤทธิ์ลดลง

(4) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 208 ผลของการจราจรภาพทางสังคม ได้แก่

1. มีความสุขและสำนึกถึงความรับผิดชอบในตำแหน่งใหม่ที่ได้รับ

2. ก่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการเลือกสรรบุคคลให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่สุด

3. ผลด้านอื่น ๆ เช่น เกิดการขัดแย้งในบทบาท เกิดการขาดความสัมพันธ์ที่เคยมีมาก่อน เกิดความสำนึกต่าง ๆ ฯลฯ

52. ระบบของสังคมตามแนวคิดของเลนสกี้และเลนสกี้ (Lenski and Lenski) ได้แก่ตัวเลือกใด

(1) ระบบการสื่อสาร และระบบการผลิต

(2) ระบบการสืบแทน และระบบการควบคุมทางสังคม

(3) ระบบการสื่อสาร ระบบการผลิต และระบบการป้องกัน

(4) ระบบการสื่อสาร ระบบการผลิต ระบบการป้องกัน ระบบการสืบแทน ระบบการควบคุมทางสังคม และระบบการจำหน่ายจ่ายแจก

ตอบ 4 หน้า 214 เลนสกี้และเลนสกี้ (Lenski and Lenski) ได้จำแนกระบบต่างๆที่จำเป็นของสังคมไว้ 6 ประการ คือ 1. ระบบการสื่อสาร 2. ระบบการผลิต 3. ระบบการจำหน่ายจ่ายแจก

4. ระบบการป้องกัน 5. ระบบการสืบแทน 6. ระบบการควบคุมทางสังคม

53. ข้อใดเป็นการควบคุมทางสังคมที่เป็นกลไกกฎระเบียบ

(1) การจัดระเบียบบริหารงาน

(2) การถอนตัว

(3) การบังคับใช้

(4) สถานภาพและบทบาท

ตอบ 1 หน้า 221, 234 กลไกกฎระเบียบ ประกอบด้วย 1. การจัดระเบียบบริหารงาน 2. การทำให้เป็นผู้ชำนาญการ 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

54. ข้อใดเป็นการควบคุมทางสังคมที่เป็นกลไกกลอุบาย

(1) เทคโนโลยี

(2) การรวมกำลัง (3) การใช้ถ้อยคำภาษา (4) การทำให้เป็นผู้ชำนาญการ

ตอบ 3 หน้า 221, 234 กลไกกลอุบาย ประกอบด้วย 1. กลอุบายที่ใช้ถ้อยคำภาษา

2. กลอุบายที่ไม่ใช้ถ้อยคำภาษา

55. ข้อใดคือตัวอย่างของวิธีการควบคุมทางสังคมที่เป็นสัญลักษณ์เชิงปฏิฐาน

(1) การให้อำนาจ (2) การให้เงินรางวัล

(3) การให้เหรียญตรา (4) การเลื่อนตำแหน่งผู้ใต้บังคับบัญชา

ตอบ 3 หน้า 217 วิธีการควบคุมทางสังคมที่เป็นสัญลักษณ์เชิงปภิฐาน (เชิงบวก) ได้แก่ การซุบซิบในทางดี การจูงใจและการโฆษณาชวนเชื่อ การโฆษณา การยกย่องสรรเสริญเยินยอ และการให้ เหรียญตราเกียรติยศที่เป็นสิ่งแสดงสถานภาพที่สูงขึ้น เขช่น การมอบครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฯลฯ

56. สังคมวิทยาการเมืองสนใจศึกษาเรื่องอะไร

(1) อิทธิพลของสังคมต่อกระบวบการทางการเมือง

(2) สภาพของสังคมต่อการจัดรูปแบบทางการเมือง

(3) ปัจจัยทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมทางการเมือง

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 247 – 248 สังคมวิทยาการเมืองสนใจศึกษาเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1. อิทธิพลของสังคมที่มีต่อกระบวนการทางการเมือง

2. โครงสร้างของสังคมกับสถาบันทางการเมือง

3. ปัจจัยทางสังคมที่มืผลต่อการจัดระบบ รูปแบบ และนโยบายทางการเมือง

4. ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางการเมือง เช่น การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส.ส.

5. สภาพของสังคมต่อการจัดรูปแบบทางการเมืองการปกครอง

6. ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมกับการเมืองที่ก่อให้เกิดการพัฒนา ฯลฯ

57. ข้อใดจัดเป็นพฤติกรรมทางการเมือง

(1) การวางผังเมือง (2) การเลื่อนตำแหน่งทางการเมือง

(3) การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(4) การขยายตัวของเมือง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 56. ประกอบ

58. สังคมใดกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ทอคเกอวิลล์ (Tocqueville) สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย

(1) เยอรมนี (2) ฝรั่งเศส (3) อังกฤษ (4) สหรัฐอเมริกา

ตอบ 4 หน้า 250, 459 สังคมอเมริกันกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ทอคเกอวิลล์ (Tocqueville)สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้นมา โดยเขาต้องการสนับสนุนให้ มีระบบการเมืองแบบกลุ่มหลากหลายขึ้นในสังคม คือ ให้มีความแตกต่างและอิสระในการ ปกครองท้องถิ่น ไม่ใช่ปล่อยให้อำนาจไปรวมอยู่ที่รัฐ ซึ่งเป็นศูนย์กลางแต่เพียงแห่งเดียว

59. นักสังคมวิทยาท่านใดมีทัศนะว่า “รัฐสำคัญกว่าสังคม”

(1) มาร์กซ์ (Marx) (2) เฮเกล (Hegel) (3) โบแดง (Bodin) (4) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 250, (คำบรรยาย) โบแดง (Bodin) และเฮเกล (Hegel) เป็นนักสังคมวิทยาที่มีทัศนะ และแนวคิดเหมือนกันว่า “รัฐ (State) มีอำนาจและมีความสำคัญมากกว่าสังคม (Society)” ส่วนมาร์กซ์ (Marx) เป็นผู้ที่มีแนวคิดขัดแย้งว่า “สังคมมีอำนาจและมีความสำคัญมากกว่ารัฐ”

60. ตามทัศนะของมาร์กซ์ (Marx) ความขัดแย้งที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมคือข้อใด

(1) ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ (2) ความขัดแย้งทางเพศ

(3) ความขัดแย้งระหว่างอาชีพ (4) ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น

ตอบ 4 หน้า 250, 320 – 322 ตามทัศนะของมาร์กซ์ (Marx) ปัจจัยทส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางสังคม คือ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น (นายทาสกับทาส เจ้าขุนมูลนายกับไพร่ นายทุนกับ กรรมกร) โดยสังคมจะปราศจากการขัดแย้งก็ต่อเมื่อเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ที่แท้จริง นั่นคือ ไม่มีรัฐ ไม่มีรัฐบาล เพราะตราบใดที่มีรัฐนั่นก็จะหมายถึงมีการใช้อำนาจรัฐบังคับกดขี่

61. การรุมประชาทัณฑ์เป็นตัวอย่างของพฤติกรรมฝูงชนรูปแบบใด

(1) Orgy

(2) Audience

(3) Panic

(4) Lynching Mob

ตอบ 4 หน้า 256 – 257 ประเภทของฝูงชนที่บัาคลั่งหรือฝูงชนวุ่นวาย (Mob) สามารถแบ่งออก ตามจุดประสงค์และความรุนแรง ได้ดังนี้

1. Lynching Mob เช่น การรุมประชาทัณฑ์ การจับผู้ที่คิดว่ากระทำผิดแขวนคอ ฯลฯ

2. การจลาจล (Riot) เช่น การจลาจลด้านเชื้อซาติ ศาสนา และความยุติธรรม ฯลฯ

3. Orgy เช่น การมัวสุมทางเพศ การคลั่งเต้นรำ กินเหล้า ฯลฯ

4. ฝูงชนที่แตกตื่น (Panic) เช่น ไฟไหม้ เรือล่ม นํ้าท่วม ฯลฯ

62. ลักษณะของฝูงชนได้แก่ตัวเลือกใด

(1) ไม่ทราบจำนวนสมาชิกที่แน่นอน

(2) ไม่มีตัวตน

(3) เกิดกะทันหันแบบทันทีทันใด

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 253 – 254 ลักษณะของพฤติกรรมฝูงชน มีดังนี้

1. เกิดขึ้นแบบทันทีทันใดและดำรงอยู่ในระยะเวลาอันสั้น

2. ไม่มีโครงสร้าง (ไม่มีการกำหนดสถานภาพและบทบาท) เกิดขึ้นแบบไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า

3. สมาชิกที่เข้าร่วมมีจำนวนไม่แน่นอน 4. ไม่มีบรรทัดฐานทางสังคมควบคุม

5. ไม่มีตัวตน 6. ไม่มีการเจาะจงตัวบุคคล

7. อยู่ในสภาวะที่ชักจูงได้ง่าย 8. มีการระบาดทางอารมณ์

63. “เมื่อเกิดเหตุจลาจล ประชาชนผู้บริสุทธิ์ถูกฆ่า แต่ไร้ร่องรอยฆาตกร” ข้อความดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะข้อใดของพฤติกรรมฝูงชน

(1) เกิดขึ้นทันทีทันใด

(2) การระบาดทางอารมณ์

(3) ไม่มีตัวตน

(4) ไร้บรรทัดฐาน

ตอบ 3 หน้า 254 เหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมฝูงชนในลักษณะที่ไม่มีตัวตน เพราะ ฝูงชนประกอบด้วยคนหลายคนไปอยู่ร่วมกัน แต่ละคนจะไม่สนใจกันเป็นส่วนตัว แต่จะถึอว่า ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และพฤติกรรมของกลุ่มที่แสดงออกมากไม่มีคนต้องรับผิดชอบ เช่น การทำร้ายร่างกายและฆ่าฟันกัน การเผาตึก การทำลายสิ่งของหรือสาธารณสมบัติ ฯลฯ

64. กลไกสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมฝูงชนได้แก่อะไร

(1) การระบาดทางอารมณ์ (2) การกำหนดสถานภาพและบทบาท

(3) การกำหนดจำนวนสมาชิก (4) การควบคุมด้วยปทัสถานทางสังคม

ตอบ 1 หน้า 254 – 255 การระบาดทางอารมณ์ (Emotional Contagion) เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ เกิดพฤติกรรมฝูงชน เพราะฝูงชนเป็นกลุ่มคนที่อยู่ใกล้ชิดกันในด้านร่างกาย ดังนั้นการติดต่อกัน ทางอารมณ์จึงเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้อารมณ์รุนแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ฝูงชนยังมี อิทธิพลมาก สามารถครอบงำความรู้สึกนึกคิดของกลุ่มคนที่เข้าร่วมในฝูงชนให้มีอารมณ์และมี พฤติกรรมคล้อยตามกัน โดยปราศจากเหตุผลและความมีสติ

65. ขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยบบเกาะฮ่องกง อาจจัดได้ว่าคือฝูงชนประเภทใด

(1) Casual Crowd (2) Acting Crowd

(3) Conventional Crowd (4) Expressive Crowd

ตอบ 2 หน้า 255 ฝูงชนลงมือกระทำ (Acting Crowd) เป็นฝูงชนที่มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ และพร้อมที่จะแสดงออกถึงความก้าวร้าว รุนแรง เชิงทำลาย ซึ่งฝูงชนประเภทนี้จะได้รับความสนใจ จากนักสังคมวิทยาและนักรัฐศาสตร์มาก เพราะการระบาดทางอารมณ์จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเร่งด่วนในการปฏิบัติการ โดยฝูงชนประเภทนี้ได้แก่ Mob ประเภทต่าง ๆ

66. คำกล่าวที่ว่า “มนุษย์เกิดความคับแค้นเพราะมีความต้องการมากแต่สมปรารถนาน้อย” เป็นคำกล่าวที่บ่งถึงสิ่งใด

(1) สาเหตุของปัญหาสังคม (2) ประเภทปัญหาสังคม

(3) แนวทางแก้ไขปัญหาสังคม (4) แนวทางป้องกันปัญหาสังคม

ตอบ 1 หน้า 261, (คำบรรยาย) อุดม โปษะกฤษณะ กล่าวถึงสาเหตุของปัญหาสังคมว่า ความรุนแรง และความคุกรุ่นของคนต่อปัญหาต่าง ๆ จะแอบแฝงอยู่กับผู้ที่มีความคับแค้น เพราะมีความ ต้องการมากแต่ได้รับความสมปรารถนาน้อย การจะบรรเทาเบาบางหรือลดปัญหาต่าง ๆ ลง คนเราจะต้องตัดไฟความปรารถนา ตัณหา ความโลภ และพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่

67. ปัญหาสังคมได้แก่ตัวเลือกใด

(1) การว่างงาน และการแบ่งวรรณะ

(2) ความยากจน และการแบ่งชนชั้น (3) การแบ่งชนชั้น และการฉ้อราษฎร์บังหลวง

(4) ความยากจน การว่างงาน และการฉ้อราษฎร์บังหลวง

ตอบ 4 หน้า 261 – 282 ปัญหาสังคม (Social Problems) หมายถึง สภาวะหรือสถานการณ์ที่กำหนด ได้ว่าเป็นข้อขัดข้องหรือมีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนหนึ่ง และเป็นจำนวนมากพอที่จะคิดว่าไม่อาจทนอยู่ในสภาพเช่นนี้ได้ตลอดไป ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เอาชนะหรือปรับตัวตาม เช่น ปัญหาภาวะการครองชีพ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน ปัญหาโรคจิตโรคประสาท ปัญหายาเสพติด ปัญหาการทำแท้ง ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ฯลฯ

68. การนำเสื้อผ้า/อาหารไปแจกผู้ประสบภัยน้ำท่วมเป็นการแก้ไขปัญหาสังคมแบบใด

(1) แบบย่อย (2) แบบป้องกัน

(3) แบบวางแผน (4) แบบรวมถ้วนทั่ว

ตอบ 1 หน้า 261 แนวทางในการแก้ไขปัญหาสังคม แบ่งออกเป็นหลักใหญ่ ๆ ได้ 2 ประการ คือ

1. การแก้ไขปัญหาแบบย่อย (Piecemeal) เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยไม่มีการวางแผนมาก่อน เช่น การแก้ปัญหาความยากจน ความอดอยากขาดแคลน และช่วยผู้ประสบภัยด้วยการแจกสิ่งของ เสื้อผ้า อาหาร นํ้าดื่ม และยารักษาโรค ฯลฯ

2. การแก้ไขปัญหาแบบรวมถ้วนทั่ว (Wholesale) เป็นการแก้ปัญหาระยะยาวแบบมี การวางแผนมาก่อน (แก้ปัญหาที่ต้นตอหรือสาเหตุของปัญหา) มีการประเมินผลมีการตรวจสอบ และปัญหานั้น ๆ จะไม่เกิดขึ้นมาอีก เช่น การแก้ปัญหาความยากจน ด้วยการฝึกอาชีพให้ ฯลฯ

69. ปัญหาใดสัมพันธ์กับความไม่เสมอภาคและโอกาสในการทำมาหากิน ทำให้เกิดการขาดแคลนปัจจัย ในการดำรงชีพ

(1) การทำแท้ง (2) ยาเสพติด

(3) โรคจิตโรคประสาท (4) ความยากจน

ตอบ 4 หน้า 268 ความยากจน หมายถึง การขาดแคลนปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต ความรู้สึกไม่พอใจใน สภาพความเป็นอยู่ของตนในปัจจุบันที่มีสภาพแร้นแค้น การกินอยู่อดอยาก ไม่มีความสุขสบาย เท่าที่ควร ซึ่งสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของปัญหาความยากจนเกิดจากความไม่เสมอภาคและ โอกาสในการทำมาหากิน จึงทำให้เกิดการขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีพ

70. ปัญหาความยากจนในอดีตไม่จัดเป็นปัญหาสังคมเพราะมีความเชื่ออย่างไร

(1) เพราะเชื่อว่าคนยากจนประพฤติผิดกฎเกณฑ์ของระเบียบประเพณีศีลธรรม

(2) เพราะความไม่เสมอภาคทางด้านการทำมาหาเลี้ยงชีพ

(3) เพราะความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและสังคม

(4) ประเทศที่ยากจนไม่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ตอบ 1 หน้า 268 ปัญหาความยากจนในอดีตไม่จัดเป็นปัญหาสังคม เพราะเชื่อกันว่า ผู้ยากจนนั้น ได้เคยประพฤติในสิ่งที่ไม่ดี ประพฤติผิดกฎเกณฑ์ของระเบียบประเพณีศีลธรรม เช่น อกตัญญู ต่อผู้มีคุณ ฆ่าคนตาย พระเจ้าจึงลงโทษให้เกิดมาไม่เหมือนผู้อื่น ดังนั้นคนยากจนจึงต้องไปเกิดกลางป่ากลางเขา หนาวเย็นและไม่มีเสื้อผ้าให้ความอบอุ่นเพียงพอ

71. เกณฑ์ข้อใดไม่นิยมใช้จำแนกชนกลุ่มน้อย

(1) เชื้อชาติ

(2) สีผิว

(3) ภาษา

(4) กลุ่มโลหิต

ตอบ 4 หน้า 286 – 287 เกณฑ์ที่ใช้จำแนกชนกลุ่มน้อยพิจารณาได้จากองค์ประกอบ 3 ลักษณะ คือ

1. องค์ประกอบด้านเชื้อชาติ/เผ่าพันธุ์/ชาติพันธุ์ (Race) ซึ่งเป็นความแตกต่างด้านพันธุกรรมที่ แสดงออกมาเป็นลักษณะทางกายภาพ เช่น รูปร่าง สีผม สีผิว (ได้แก่ ผิวขาวหรือคอเคซอยด์/ Caucasoid, ผิวเหลืองหรือมองโกลอยด์/Mongoloid, ผิวดำหรือนิกรอยด์/Negroid)

2. ความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ยึดถือปฏิบัติ (Ethnicity) เช่น ภาษา ศาสนา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี รูปแบบความสัมพันธ์ การจัดลำดับชั้นทางสังคม ฯลฯ

3. ความแตกต่างของกลุ่มโลหิต (Blood Group) ซึ่งถูกกำหนดโดยพันธุกรรม แต่เนื่องจาก เป็นเกณฑ์ที่ไม่สะดวกในการนำมาใช้ปฏิบัติจึงไม่เป็นที่นิยมใช้กัน (ส่วนใหญ่จึงพิจารณา จากเกณฑ์ที่ 1. และ 2. เป็นสำคัญ)

72. “‘ชนกลุ่มน้อย” มีความหมายเป็นเช่นเดียวกับกับตัวเลือกใด

(1) กลุ่มใต้ครอบครอง

(2) ชนต่างวัฒนธรรม

(3) กลุ่มอิทธิพล

(4) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 285 ชนกลุ่มน้อย (Minority Group) หรือชนต่างวัฒนธรรม หมายถึง กลุ่มชนที่มีการ ยึดถือวัฒนธรรมในรูปแบบที่แตกต่างไปจากชนกลุ่มใหญ่ (Majority Group) หรือกลุ่มอิทธิพล (Dominant Group) และเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดในเรื่องจำนวน นักวิขาการบางท่านจึงเรียกชนกลุ่มใหญ่ว่า “กลุ่มครอบครอง” และเรียกชนกลุ่มน้อยว่า “กลุ่มใต้ครอบครอง” ทั้งนี้เพราะ ชนกลุ่มใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลและมีบทบาททั้งทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ดังนั้น ชนกลุ่มใหญ่จึงเป็นผู้ที่กำหนดว่ากลุ่มใดเป็นชนกลุ่มน้อย เช่น ชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาอาศัย รวมอยู่กับเจ้าของถิ่นหรือเจ้าของประเทศจัดเป็นชนกลุ่มน้อย ส่วนเจ้าของถิ่นหรือเจ้าของประเทศ จัดเป็นชนกลุ่มใหญ่ ฯลฯ

73. ข้อใดคือปฏิกิริยาของชนกลุ่มน้อยต่อชนกลุ่มใหญ่

(1) วางเฉย (2) ปรับตัวเข้าหาและยอมอ่อนน้อม

(3) ยอมรับการถูกผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 288 – 289 ปฏิกิริยาของชนกลุ่มน้อยต่อชนกลุ่มใหญ่ มีดังนี้ 1. ปรับตัวเข้าหา และยอมอ่อนน้อม 2. ยอมรับการถูกผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมหรือเชื้อชาติ

3. หลบและแยกตัวออก 4. ถอนตัว 5. รู้สึกโกรธและเจ็บแค้น

6. รู้สึกหวาดกลัวและระแวง 7. คัดค้าน/ต่อต้านและต่อสู้ 8. รู้สึกเป็นปมด้อย

9. ยึดมั่นในคุณค่าแห่งวัฒนธรรมและกลุ่มพวกของตนอย่างเคร่งครัด 10. วางเฉย

74. การศึกษา “ชนต่างวัฒนธรรม” ควรเน้นการพิจารณาในประเด็นใด

(1) ความสัมพันธ์ระหว่างชนกลุ่มน้อยกับชนกลุ่มใหญ่

(2) อคติ ความไม่เท่าเทียม ความขัดแย้ง ปฏิกิริยาระหว่างกลุ่มใต้ครอบครองและกลุ่มครอบครอง

(3) กฎหมายของชนกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มครอบครอง (4) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 287 – 288 ประเด็นที่ควรเน้นพิจารณาศึกษาชนกลุ่มน้อย/ชนต่างวัฒนธรรม ได้แก่

1. ความสัมพันธ์ระหว่างชนกลุ่มน้อยกับชนกลุ่มใหญ่

2. ชนกลุ่มน้อยมักด้อยอิทธิพลทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมากกว่าชนกลุ่มใหญ่

3. ชนกลุ่มน้อยมักได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมจากชนกลุ่มใหญ่ ทำให้เกิดความขัดแย้ง และปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างกลุ่มชนทั้ง 2 ฝ่าย

4. การมือคติต่อเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ หรือชาติพันธุ์นิยมระหว่างชนกลุ่มน้อยกับชนกลุ่มใหญ่ ฯลฯ

75. การหลงวัฒนธรรมหรือการยึดวัฒนธรรมของตนเป็นศูนย์กลาง (Ethnocentrism) มีผลให้เกิดสิ่งใด

(1) การยอมรับในเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ (2) การปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียม

(3) การขัดแย้งทางวัฒนธรรม (4) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 287, (คำบรรยาย) การหลงหรือยึดวัฒนธรรมของตนเองเป็นศูนย์กลางจะมีผลให้เกิด อคติ/ไม่ยอมรับในต่อเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์หรือชาติพันธุ์นิยม (Ethnocentrism) เกิดการปฏิบัติ ที่ไม่เท่าเทียมกัน เกิดปฏิกิริยาต่อต้านตอบโต้ และเกิดการขัดแย้งทางวัฒนธรรม ทั้งนี้เพราะ คนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน (อาจเป็นชนกลุ่มน้อยหรือชนกลุ่มใหญ่) จะมีความรู้สึกว่าเชื้อชาติหรือ วัฒนธรรมของกลุ่มตนดีกว่า และมองกลุ่มอื่นว่าด้อยกว่า จึงเกิดอคติและดูถูกกีดกันกลุ่มอื่น

76. ตามแนวคิดของริสแมน (Riesman) รูปแบบการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยเป็นอย่างไร

(1) เปลี่ยนแปลงจากสำนึกนำสู่ผู้อื่นนำ (2) เปลี่ยนแปลงจากประเพณีนำสู่สำนึกนำ

(3) เปลี่ยนแปลงจากผู้อื่นนำสู่สำนึกนำ (4) เปลี่ยนแปลงจากประเพณีนำสู่ผู้อื่นนำ

ตอบ 4 หน้า 331 – 332 รูปแบบสังคมตามทัศนะของริสแมน (Riesman) แบ่งเป็น 3 รูปแบบและ เปลี่ยนแปลงเป็นขั้นตอนดังนี้ 1. สังคมประเพณีนำ 2. สังคมสำนึกนำ 3. สังคมผู้อื่นนำ ซึ่งสังคมอเมริกันจะเป็นไปตามรูปแบบที่ริสแมนได้กล่าวไว้ ส่วนสังคมไทยข้ามขั้นตอนจาก รูปแบบสังคมประเพณีนำไปสู่สังคมผู้อื่นนำ โดยขาดขั้นสังคมสำนึกนำ

77. นโยบายใดที่นำมาใช้กับ “ชนชาวจีนในประเทคไทย”

(1) การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม

(2) การแยกพวก (3) ทำลายล้างเผ่าพันธุ์ (4) กีดกันให้อยู่แยก

ตอบ 1 หน้า 303 ชนต่างวัฒนธรรมที่มีการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมไทยได้ดีที่สุด คือ ชาวจีน โดยรัฐบาลไทยสามารถใช้นโยบายการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมกับชาวจีนได้ผลดีมาก ทำให้คนไทยกับคนจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่มีความรู้สึกว่าเป็นคนละเชื้อชาติและ คนละรูปแบบวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ของชนทั้ง 2 กลุ่มจึงไม่มีปัญหารุนแรงเกิดขึ้น จนนักวิชาการหลายท่านมองว่าไม่ควรจัดคนจีนเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคมไทย

78. “สภาพสังคมที่สลับซับซ้อนถือว่าเป็นความก้าวหน้า” เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของทฤษฎีใด

(1) ทฤษฎีวัฎจักร (2) ทฤษฎีวิวัฒนาการ (3) ทฤษฎีการหน้าที่ (4) ทฤษฎีการขัดแย้ง

ตอบ 2 หน้า 313 ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary Theory) เป็นทฤษฎีที่นิยมกันมากในโลกตะวันตกโดยเชื่อว่า สังคมก้าวหน้าขึ้นจากสภาพที่อยู่กันง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อนและขยายตัวไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีความซับซ้อนหรือสภาวะเชิงซ้อนสูงขึ้น ซึ่งการมีสภาพสังคมที่สลับซับซ้อนขึ้นนั้น ถือว่าเป็นความก้าวหน้า

79. สังคมแบบใดที่มีการเปลี่ยนแปลงง่ายที่สุด

(1) ครอบครัว (2) สถาบัน (3) องค์การ (4) ประเทศ

ตอบ 1 หน้า 308, (คำบรรยาย) การเปลี่ยนแปลง หมายถืง การที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งแปรเปลี่ยนสภาพ จากเดิมไปสู่สภาพใหม่ที่แตกต่างออกไป โดยอาศัยองค์ประกอบของเวลาเป็นเครื่องกำหนด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นได้ง่ายหรือยากนั้นก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของสังคมนั้น ๆ ด้วย จากตัวเลือกที่โจทย์ให้มานั้น จะเห็นว่าสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงง่ายที่สุด คือ ครอบครัว รองลงมา ได้แก่ องค์การ สถาบัน ประเทศ และทวีป ตามลำดับ

80. ตามทัศนะของมาร์กซ์ (Marx) สังคมรูปแบบใดยุติการเปลี่ยนแปลง

(1) ระบบศักดิ์นา

(2) ระบบนายทุน (3) ระบบสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ (4) ระบบทาสบรรพกาล

ดรบ 3 หน้า 321 – 322 รูปแบบการเมืองการปกครองตามทัศนะของมาร์กซ์ (Marx) มี 5 รูปแบบ ดังนี้

1. ระบบคอมมิวนิสต์ดั้งเดิม 2. ระบบทาสบรรพกาล 3. ระบบศักดินา

4. ระบบนายทุน (ทุนนิยม) 5. ระบบสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ (หยุดการเปลี่ยนแปลง)

81. กระบวนการใดที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม

(1) การประดิษฐ์และการขอยืม

(2) การค้นพบและการกระจาย

(3) การประดิษฐ์และการแพร่กระจาย

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 324 – 326 กระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรได้แก่

1. การขอยืม 2. นวัตกรรม 3. การค้นพบ 4. การประดิษฐ์ 5. การกระจาย

82. ข้อใดคือคุณสมบัติดั้งเดิมของชุมชนชนบท

(1) เศรษฐกิจแบบตลาด

(2) เศรษฐกิจเพื่อการบริโภค

(3) การเกษตรเพื่อการค้า

(4) หน่วยทางสังคมที่ทำหน้าที่เฉพาะด้านมีน้อย

ตอบ 2 หน้า 340 – 341 คุณสมบัติดั้งเดิมของชุมชนชนบท มีดังนี้ 1. ความโดดเดี่ยว

2. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 3. การใช้แรงงานเพื่อการเกษตร 4. การเศรษฐกิจเพื่อการบริโภค

83. ข้อใดเป็นสาเหตุจากภายนอกที่ทำให้สังคมชนบทเกิดการเปลี่ยนแปลง

(1) การเกิด

(2) การตาย

(3) การพัฒนา

(4) การย้ายถิ่น

ตอบ 3 หน้า 358 – 359 สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงใบสังคมชนบทเกิดจาก 2 ปัจจัยสัาคัญ คือ

1. สาเหตุจากภายในสังคมชนบทเอง เช่น การเกิด การตาย การย้ายถิ่น การแปรปรวน ของธรรมชาติ ผู้ร้ายหรือการสู้รบ การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ฯลฯ

2. สาเหตุจากภายบอกสังคมชนบท เช่น การผสมผสานทางวัฒนธรรม การแพร่กระจาย ทางวัฒนธรรม การคมนาคมติดต่อสื่อสาร การเลียนแบบ การพัฒนา ฯลฯ

84. “ชนบทคือชีวิต ส่วนเมืองนั้นคือกาฝาก” หมายถึงอะไร

(1) เมืองต้องพึ่งพาผลผลิตทางการเกษตรกรรมจากชนบท

(2) ชีวิตในชนบทสนุกสนานมีชีวิตชีวามากกว่าชีวิตในเมือง

(3) ชนบทต้องพึ่งพิงเมืองเพื่อความอยู่รอด

(4) ชนบทและเมืองต่างก็พึ่งตนเอง

ตอบ 1 หน้า 366 มีคำโบราณกล่าวว่า ชนบทคือชีวิต ส่วนเมืองนั้นคือกาฝาก หมายความว่าเมืองคือที่รวมของมนุษย์ที่ต้องพึ่งพาผลผลิตทางการเกษตรกรรมและแรงงานจากชนบท เพื่อการอยู่รอดของตนเอง ความต้องการอาหารทุกวันทำให้เมืองต้องขึ้นอยู่กับเขตชนบท

85. ครอบครัวชนบทไทยมีแนวโน้มเป็นแบบใดมากขึ้น

(1) ครอบครัวขยาย (2) ครอบครัวเดี่ยว (3) ครอบครัวร่วม (4) ครอบครัวขยายชั่วคราว

ตอบ 2 หน้า 348 – 349 ครอบครัวชนบทไทยมีลักษณะเด่นดังนี้

1. เป็นครอบครัวขยายชั่วคราว แต่ปัจจุบันมีแนวโน้มเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น

2. เป็นครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียว การสืบสกุลถือข้างฝ่ายบิดาเป็นหลัก

3. มีความเข้มข้นของความสัมพันธ์ทางสายโลหิต

4. ยึดมั่นในขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และไม่ค่อยสนใจกิจการบ้านเมือง ฯลฯ

86. เราศึกษาชุมชนชนบทเพื่ออะไร

(1) เข้าใจวิถีชีวิตของชาวชนบท (2) เปลี่ยนแปลงให้เป็นสังคมเมือง

(3) ดัดแปลงเป็นบ้านที่ 2 ของคนเมือง (4) รัฐบาลจะได้ควบคุมได้ทั่วถึง

ตอบ 1 หน้า 337 – 338 สาเหตุที่ต้องมีการศึกษาสังคมวิทยาชนบท มีดังนี้

1. เนื่องจากชาวโลกส่วนใหญ่เป็นชาวชนบท ประกอบอาชีพทางการเกษตร

2. เพื่อต้องการทราบและเข้าใจในวิถีชีวิตความเป็นธยู่ที่แท้จริง ประเพณี วัฒนธรรม

สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของชาวชนบท

3. เพื่อประโยชน์ในด้านการพัฒนาชนบท

4. เพื่อทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับชนบท เช่น เมืองต้องพึ่งพาชนบทในด้านผลิตผล การเกษตร ส่วนชนบทก็ต้องพึ่งพาเมืองในด้านเครื่องมือเครื่องใช้ด้านการเกษตร ฯลฯ

87. การตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านชนบทไทยส่วนมากมีลักษณะใด

(1) หมู่บ้านเกษตรกรรม (2) หมู่บ้านสหกรณ์

(3) นิคมสร้างตนเอง (4) หมู่บ้านป่าไม้

ตอบ 1 หน้า 346 การตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านชนบทไทยโดยทั่วไปจะเป็นแบบไม่มีการวางแผน โดยมี การตั้งถิ่นฐานแบบหมู่บ้านเกษตรกรรม ซึ่งจะตั้งบ้านเรือนตามที่ลุ่ม ที่ดอน ที่เนิน ชายป่า ชายเขา เส้นทางคมนาคม และส่วนใหญ่จะตั้งตามริมฝั่งนํ้า (ส่วนการตั้งถิ่นฐานชนิดที่มีการวางแผนนั้น นับว่ามีน้อยมาก คงมีแต่เฉพาะหมู่บ้านสหกรณ์ นิคมสร้างตนเองและหมู่บ้านป่าไม้ที่รัฐบาลจัดตั้ง ขึ้นมาเท่านั้น)

88. เมืองจะขยายตัวจากศูนย์กลางไปตามเส้นทางการคมนาคม คือ สาระสำคัญของทฤษฎีใด

(1) รูปดาว (2) รูปวงรี (3) รูปพาย (4) รูปวงกลม

ตอบ 1 หน้า 374 ทฤษฎีรูปดาว (Star Theory) เป็นทฤษฎีการขยายตัวของเมืองที่เก่าแก่ที่สุด เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1903 โดย อาร์.เอ็ม. เฮิร์ด (R.M. Hurd) ได้ศึกษาพบว่า เมืองจะขยายตัว ออกจากศูนย์กลางไปตามเส้นทางการคมนาคมขนส่ง ซึ่งทำให้เป็นรูปคล้ายดาวหรือแมงกะพรุน

89. ทฤษฎีการขยายตัวของเมืองในข้อใดเป็นทฤษฎีเริ่มแรก

(1) รูปดาว (2) รูปวงรี (3) รูปพาย (4) รูปวงกลม

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 88. ประกอบ

90. ตัวเลือกใดไม่ใช่การดำรงชีวิตแบบเมือง

(1) มีอาชีพให้บริการ (2) มีแบบแผนการใช้เวลา

(3) มีรายได้เป็นรายเดือน (4) มีความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิ

ตอบ 4 หน้า 365 – 366, (คำบรรยาย) การดำรงชีวิตแบบเมือง ได้แก่ ไม่ได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม(การเพาะปลูกอยู่กับดินทราย) อาชีพส่วนใหญ่จะเป็นอาชีพบริการ การค้าและอุตสาหกรรมที่มี รายได้เป็นรายเดือน มีแบบแผนการใช้เวลา และมีความสัมพันธ์แบบทุติยภูมิคือ มีความสัมพันธ์กัน ตามสถานภาพและบทบาท

91. เมืองไมอามี่ เป็นเมืองประเภทใด

(1) เมืองท่า

(2) เมืองพักผ่อนตากอากาศ

(3) ศูนย์รวมการคมนาคมขนส่ง

(4) ศูนย์กลางของการขายส่งและขายปลีก

ตอบ 2 หน้า 370 – 371 เมืองซึ่งเกิดจากหน้าที่พิเศษ คือ เมืองที่เกิดขึ้นเนื่องจากการให้บริการบางอย่าง เช่น เหมืองแร่ โรงงานอุตสาหกรรม หรือการพักผ่อน ฯลฯ หรือเป็นเมืองที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติเฉพาะอย่าง เช่น เมืองไมอามี (เป็นเมืองพักผ่อนตากอากาศ) สแกนตัน พิทส์เบิร์ก พัทยา ฯลฯ

92. ตามทัศนะของคูลีย์ (Cooley) ปัจจัยใดที่ก่อให้เกิดเมืองมากที่สุด

(1) จำนวนประชากร

(2) เหมืองแร่

(3) การปกครองและศาสนา

(4) เมื่อมีการหยุดพักขนสินค้า

ตอบ 4 หน้า 370 ปัจจัยที่ทำไห้เกิดเมืองในทัศนะของคูลีย์ (Cooley) คือ การหยุดพักเพื่อขนส่งสินค้า โดยเขากล่าวว่า เส้นทางคมนาคมขนส่งไม่ได้ทำให้เกิดเมือง แต่เมื่อมีการหยุดพักเพื่อขนส่งสินค้า ก็จะทำให้เกิดเมือง ได้แก่ เมืองท่าบางเมือง เช่น ฮ่องกง และโคเปนเฮเกน ฯลฯ

93. “เกาะรัตนโกสินทร์” จัดอยู่ในเขตใด

(1) เขตเมือง

(2) เขตปริมณฑล

(3) เขตชานเมือง

(4) เขตอุตลาหกรรม

ตอบ 1 หน้า 382 – 383 พื้นที่ของกรุงเทพมหานคร แบ่งออกได้เป็น 3 เขตใหญ่ ๆ ดังนี้

1. เขตเมือง (Urban Area) ได้แก่ บริเวณอันเป็นที่ตั้งของชุมชนเก่าแก่ เช่น เกาะรัตนโกสินทร์ สถานธุรกิจการค้าและบริการต่าง ๆ เช่น เยาวราช บางลำพู ราชประสงค์ ประตูนํ้า ฯลฯ

2. เขตชานเมือง (Suburban Area) ได้แก่ บริเวณรอบนอกของเขตในเมือง ซึ่งมีประชากร ยาศัยกันอยู่อย่างเบาบางกว่าในเขตเมือง และมักจะเป็นที่อยู่อาศัยมากกว่าย่านธุรกิจการค้า

3. เขตชนบท (Rural Area) ได้แก่ เขตที่ถัดจากชานเมืองออกไป ซึ่งมีประชากรประกอบอาชีพ เกษตรกรรม และมีวิถีขีวิตเช่นเดียวกับชาวขนบท

94. ข้อใดจัดอยู่ใบระบบนิเวศน์แบบ “Productive Ecosystems”

(1) สวนสาธารณะ (2) ภูเขา (3) ฟาร์ม (4) ย่านอุตสาหกรรม

ตอบ 3 หน้า 391 – 392 ระบบนิเวศน์ของมนุษย์ (มนุษยนิเวศวิทยา) แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

1. Mature Natural Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่อยู่ในสภาพธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่มีคนอยู่อาศัย เช่น ป่า ภูเขา ทะเลทราย ฯลฯ

2. Managed Natural Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง โดยดัดแปลงและปรับปรุง เช่น สวนสาธารณะ วนอุทยาน อุทยานแหงชาติ ฯลฯ

3. Productive Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์ได้ใช้ประโยขน์อย่างแท้จริง เพื่อให้ได้ผลิตผลและทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ฟาร์ม ปศุสัตว์ เหมืองแร่ ฯลฯ

4. Urban Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์ได้อาศัยประกอบกิจการทำงานต่าง ๆ เช่น บริเวณย่านอุตสาหกรรม บริเวณเมืองเล็กและเมืองใหญ่ ฯลฯ

95. “วนอุทยาน สวนสาธารณะ” เป็นตัวอย่างของระบบนิเวศน์ประเภทใด

(1) ประเภทที่มนุษย์ได้เกี่ยวข้องโดยดัดแปลงปรับปรุง (2) ประเภทธรรมชาติที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยฃน์

(3) ประเภทที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์จริง (4) ประเภทที่มนุษย์อาศัยและประกอบกิจการงาน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 94. ประกอบ

96. ข้อใดคือตัวอย่างของการใช้พลังงานไฮโดรอีเล็กตริก

(1) บ่อนํ้ามันที่ฝาง (2) เหมืองลิกไนต์ที่ลำปาง

(3) เขื่อนภูมิพล (4) โรงงานก๊าซธรรมชาติที่บางปะกง

ตอบ 3 หน้า 395 พลังงานไฮโดรอีเล็กตริก เป็นพลังงานที่ได้จากการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งพลังงานนี้ถูกนำมาใช้ในโลกได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นเมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานที่ได้จาก นํ้ามัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้เพราะการสร้างเขื่อนมีข้อจำกัดอยู่ที่สถานที่ที่จะต้องเลือกใช้ และอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศของป่าไม้ได้

97. ข้อใดคือแหล่งน้ำใต้ดิน

(1) นํ้าฝน (2) นํ้าท่า (3) นํ้าบาดาล (4) นํ้าทะเล

ตอบ 3 หน้า 398 ทรัพยากรนํ้าที่มนุษย์ใช้หมุนเวียนอยู่ในโลกนี้ส่วนใหญ่เป็นนํ้าทะเล (97%) ส่วนที่เหลือ เป็นนํ้าจืด (3%)โดยนํ้าธรรมชาติที่มนุษย์ใช้สอยเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ นํ้าฝน, นํ้าท่า (นํ้าที่อยู่ผิวดิน), นํ้าบาดาล (น้ำใต้ดิน) และนํ้าทะเล

98. ปัญหาอากาศเสียเกิดจากสาเหตุใดมากที่สุด

(1) ขยะมูลฝอย (2) การขนส่ง (3) ยาปราบศัตรูพืช (4) อุตสาหกรรม

ตอบ 2 หน้า 399 สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะจากอากาศเสียมากที่สุด คือ การขนส่ง 55% รองลงมา ได้แก่ โรงงานพลังงาน 17% อุตสาหกรรม 14% ขยะมูลฝอย 4% และอื่น ๆ 10%

99. วิชามานุษยวิทยาถือกำเนิดขึ้นในทวีปใด

(1) เอเชีย (2) ยุโรป (3) แอฟริกา (4) ลาตินอเมริกา

ตอบ 2 (คำบรรยาย) วิชามานุษยวิทยา (Anthropology) ถือกำเนิดขึ้นในสังคมยุโรป ประมาณ ปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงที่มีบรรยากาศของการล่าอาณานิคม โดยในระยะแรกนี้ จะเน้นศึกษาสังคมดั้งเดิมที่ไม่ใช่สังคมของคนผิวขาวและสังคมตะวันตก เช่น สังคมดั้งเดิม ของแอฟริกาและเอเชีย เป็นต้น

100. การศึกษาวิจัยทางมานุษยวิทยาในยุคบุกเบิกได้รับอิทธิพลจากกระแสความคิดใด

(1) วิวัฒนาการ (2) หน้าที่นิยม

(3) โครงสร้าง-หน้าที่นิยม (4) พฤติกรรมนิยม

ตอบ 1 หน้า 414 – 415, (คำบรรยาย) การศึกษาวิจัยทางมานุษยวิทยาในยุคบุกเบิกได้รับอิทธิพล จากกระแสความคิดวิวัฒนาการของดาร์วิน (Darwin) ที่กล่าวถึงหลักฐานการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต แนวความคิดเกี่ยวกับการเลือกสรรตามธรรมชาติ และวิวัฒนาการของมนุษยชาติ

101. ข้อใดเป็นตัวอย่างของสายสกุล Homo Sapiens

(1) ชิมแปนซี

(2) กิบบอน

(3) กอริลลา

(4) มนุษย์

ตอบ 4 หน้า 409 คำว่า “มนุษย์” เป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่ในสายสกุลที่เรียกว่า Homo Sapiens อันเป็นสัตว์เลือดอุ่นจำพวก2 มือ 2เท้าไม่มีหาง

102. มนุษย์จำพวกใดมีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกับมนุษย์ปัจจุบัน

(1) มนุษย์ชวา

(2) มนุษย์นีแอนเดอร์ธัล

(3) มนุษย์โครมันยอง

(4) มนุษย์ปักกิ่ง

ตอบ 3 หน้า 417 – 418 มนุษย์โครมันยอง (Cro-magnon Man) มีชีวิตอยู่ราว 40,000 ปีมานี้เอง และเชื่อกันว่ามีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับมนุษย์ปัจจุบันมากที่สุด ดังนั้น จึงมีลักษณะเป็นตัวแทนหรือเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบันโดยมนุษย์เหล่านี้จะมีชื่อเรียก ต่าง ๆ กันตามระยะเวลาของการมีชีวิตอยู่ เช่น Swanscombe Man, Fontechevade Man, Kanam Man และ Kanjera Man เป็นต้น

103. ข้อใดคือตัวอย่างของมนุษย์กลุ่มผิวเหลือง (Mongoloid)

(1) อารยัน

(2) เอสกิโม

(3) แฮมิติก

(4) เซมิติก

ตอบ 2 หน้า 420 มนุษย์ชาติพันธุ์ผิวเหลือง (Mongoloid) แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ดังนี้

1. พวกมองโกลอยด์ อยู่แถบทวีปเอเชียตะวันออก เช่น จีน ทิเบต และมองโกเลีย

2. พวกอินเดียนแดง อยู่แถบทวีปอเมริกาเหนือและใต้

3. พวกเอสกิโม อยู่แถบเหนือสุดของทวีปอเมริกา (รัฐอลาสก้าและตอนเหนือของแคนาดา)

4. พวกมาลายัน เช่น มลายู ชวา ไทย และบาหลี

104. มานุษยวิทยากายภาพศึกษาด้านใด

(1) โบราณคดี (2) ศึกษาสรีรวิทยาของคน

(3) ชาติพันธุ์วิทยา (4) ชาติพันธุ์วรรณนา

ตอบ 2 หน้า 412 มานุษยวิทยากายภาพ (Physical Anthropology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการ กำเนิดของมนุษย์ในแง่สรีรวิทยา โดยมุ่งเน้นศึกษาสัตว์ตระกูล Homo Sapiens ชนิดต่าง ๆ ในด้านโครงสร้างของอวัยวะทางร่างกายอย่างละเอียด ซึ่งได้พยายามค้นคว้าศึกษาวิวัฒนาการ จากจุดเริ่มต้นที่เรียกกันว่า ไพรเมท (Primate) หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มาจนกระทั่งถึง การมีลักษณะที่เป็นรูปร่างเหมือนกับมนุษย์ในปัจจุบัน

105. ตัวเลือกใดไม่ใข่ลักษณะวัฒนธรรมตะวันตก

(1) ปกครองด้วยระบอบประชาซิปไตย (2) เน้นความสำคัญของตัวบุคคล

(3) เชื่อฟังผู้มีอำนาจ ผู้มีอาวุโส (4) นิยมวัตถุ

ตอบ 3 หน้า 442 – 443, (คำบรรยาย) ลักษณะวัฒนธรรมในสังคมตะวันตกหรือสังคมที่พัฒนาแล้ว ดังเช่นประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปและดินแดนที่ชาวยุโรปอพยพไปตั้งถินฐาน เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ มักจะให้ความสำคัญกับระบอบประชาธิปไตย ยกย่อง ผู้ประสบความสำเร็จด้วยตนเอง เน้นความสำคัญของตัวบุคคล (Individualism) มีประชาธิปไตย ทำงานตามระเบียบกฎเกณฑ์หรือหน้าที่อย่างเคร่งครัด และนิยมวัตถุ (Materialism)

106. ตัวเลือกใดคืออารยธรรมกระแสหลักของเอเชีย

(1) จีน (2) ญี่ปุ่น (3) อินเดีย (4) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 452 อารยธรรมกระแสหลักของเอเชีย ส่วนใหญ่แล้วรับมาจาก 2 แห่ง คือ

1. อารยธรรมจีน ได้รับอิทธิพลจากขงจื๊อ นิยมการทำตามประเพณี

2. อารยธรรมอินเดีย ได้รับอิทธิพลจากศาสนาต่าง ๆ ที่ถือกำเนิดจากอินเดีย

107. ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการแบ่งช่วงชั้นทางสังคมในวัฒนธรรมอเมริกาใต้ สอดคล้องกับค่านิยมตามคำกล่าวใด

(1) ทองแท้ไม่แพ้ไฟ (2) เงินคือพระเจ้า

(3) เงินทองของนอกกาย (4) มีเงินนับเป็นน้อง มีทองนับเป็นพี่

ตอบ 4 หน้า 448 ชาวอเมริกาใต้มักมีคำขวัญทำนองไทย ๆ ว่า มีเงินนับเป็นน้อง มีทองนับเป็นพี่ หรือเงินทำให้ผิวคนขาวขึ้น ไพร่ดูเป็นผู้ดี คนไม่สวยดูเป็นคนสวย ความรํ่ารวยทำให้คนผิวดำ ชาวนิโกรผิวขาวขึ้น แลดูเป็นผู้ดีน่าคบหาสมาคม ส่วนคนผิวขาวที่ยากจน คือ คนผิวดำที่ได้รับ การรังเกียจกีดกันทัวไป คนรํ่ารวยมีอำนาจได้รับการยกย่อง

108. แม้ว่าสังคมยุโรปจะก้าวสู่ความทันสมัยแต่ประเพณีหรือวิถีชีวิตใดยังคงดำรงอยู่

(1) การดื่มชา (2) การเต้นรำ

(3) การรับประทานแฮมเบอร์เกอร์ (4) การชมละคร

ตอบ 1 หน้า 444, (คำบรรยาย) ในบริเวณที่ได้ชื่อว่าทันสมัยที่สุดในยุโรป ประเพณีเก่า ๆ ยังคงได้รับ การสงวนรักษาไว้ นั่นคือ ร้านน้ำชา/กาแฟของคนสามัญที่ทุกคนจะเข้ามาดื่มชา/กาแฟดำ (Black Coffee) ไม่ใส่นม/นํ้าตาล นั่งรับประทานอาหารเบา ๆ และสนทนากันด้วยเรื่อง การเมือง ความเป็นไปในโลกปัจจุบัน ปรัชญา ศิลปะ การละคร ซึ่งเป็นการสังสรรค์ที่ให้ ทั้งความรอบรู้ ข่าวสาร และความสบายใจโดยไม่ต้องเสียเงินมากนัก

109. “ชาวอินเดียนแดงในทวีปอเมริกาใต้เรียกตัวเองว่าอะไร

(1) อารยัน (2) อินคา (3) เซเมติก (4) นิกริโต

ตอบ 2 หน้า 446 วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมในภูมิภาคอเมริกาใต้ (ลาตินอเมริกา) คือ สเปนและโปรตุเกส ซึ่งแต่เดิมนั้นประเทศในภูมิภาคนี้ได้รับวัฒนธรรมจากพวกอินเดียนแดง ที่เรียกตัวเองว่า อินคา หรือลูกพระอาทิตย์

110. ตามทัศนะชของจอห์น เอมบรี (John Embree) นักมานุษยวิทยาตะวันตกเห็นว่าลักษณะอุปนิสัยของคนไทย คือข้อใด

(1) รักสนุก (2) ขาดวินัย (3) เคารพผู้อาวุโส (4) ใจนักเลง

ตอบ 2 หน้า 464 จอห์น เอมบรี (Embree) นักมานุษยวิทยาตะวันตก กล่าวว่า “คนไทยชอบสนุกและมีโครงสร้างทางบุคลิกภาพและทางสังคมหลวม ๆ คือ ขาดวินัย”

111. การมองภาพรวมหรืออุปนิสัยประจำชาติมักมีแนวโน้มไปในลักษณะใด

(1) นิเสธ

(2) ปฏิฐาน

(3) เป็นกลาง

(4) ยืดหยุ่น

ตอบ 1 หน้า 457 ภาพพิมพ์ (Stereotype) คือ การมองภาพรวมหรืออุปนิสัยประจำชาติของชนชาติใดชาติหนึ่งว่ามีลักษณะเป็นภาพแบบเดียวกัน ซึ่งมักมีแนวโน้มถูกมองไปในทางลบ หรือเชิงนิเสธ เช่น ภาพพิมพ์ของคนบางชาติมีระเบียบวินัย, คนบางชาติอยู่สบาย ๆ ไม่ค่อย มีหลักเกณฑ์อะไรนัก, คบบางชาติ (เช่น อังกฤษ) เป็นคบประเภท “เก็บตัว” มักไม่สนิทกับ คนแปลกหน้าได้ง่าย, ชาวยิวมีภาพพจน์ว่า “ตระหนี่” ฯลฯ

112. ลักษณะอุปนิสัยของคนไทยประการหนึ่งคือ “การประสานประโยชน์” หมายถึงข้อใด

(1) ชอบสนุก

(2) เล็งผลปฏิบัติ

(3) การไม่ชอบเบียดเบียนผู้อื่น

(4) การมีความอดกลั้น

ตอบ 2 หน้า 464 – 465 ลักษณะอุปนิสัยของคนไทยตามทัศนะของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มี 3 ประการ ได้แก่

1. การรักความเป็นไท คือ การรักอิสรภาพเสรี ดังคำกล่าวที่ว่า “พูดได้ตามใจคือไทยแท้”

2. การปราศจากวิหิงสา คือ การไม่ชอบเบียดเบียน มีความอดกลั้น และมีขันติธรรม

3. การประสานประโยชน์ คือ การรู้จักประนีประนอม มีการโอนอ่อนและอะลุ่มอล่วย มีลักษณะเล็งผลปฏิบัติหรือสัมฤทธิคติ

113. ข้อใดกล่าวไว้ถูกต้องเกี่ยวกับ “อุปนิสัยประจำชาติ”

(1) ระบบบุคลิกภาพซึ่งมีอยู่ในสมาชิกส่วนใหญ่ของสังคม

(2) ลักษณะเด่นสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสังคมหนึ่งกับสังคมหนึ่ง

(3) โครงสร้างแห่งบุคลิกภาพซึ่งวางอยู่บนสมมติฐานที่ว่าเป็นลักษณะของสมาชิกของสังคมเดียวกัน

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 458 ลักษณะประจำชาติหรืออุปนิสัยบระจำชาติ มีความหมายดังต่อไปนี้

1. ระบบบุคลิกภาพซึ่งมีอยู่ในสมาชิกส่วนใหญ่ของสังคม และจัดเป็นเอกลักษณ์หรือลักษณะ ที่เด่นพิเศษอันทำให้นานาชาติแตกต่างกัน

2. ลักษณะเด่นอันทำให้สามารถแยกแยะความแตกด่างระหว่างสังคมหนึ่งกับอีกสังคมหนึ่งได้

3. โครงสร้างแห่งบุคลิกภาพซึ่งวางอยู่บนสมมติฐานที่ว่าเป็นลักษณะของสมาชิกของสังคมเดียวกัน

114. ตามทัศนะของ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ค่านิยมใคที่ไม่ส่งเสริมให้คนไทยเป็นนักคิดแบบนามธรรม

(1) ความเฉื่อย (2) การเล็งผลปฏิบัติ

(3) การถือฐานานุรูป (4) การถือหลักเกณฑ์

ตอบ 2 หน้า 472 ค่านิยมที่เด่นชัดอีกอย่างหนึ่งของคนไทยตามทัศนะของ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ คือ การเล็งผลปฏิบัติหรือสัมฤทธิคติ กล่าวคือ คนไทยมักไม่ยึดถือสิ่งที่ไม่เห็นผลหรือไม่สอดคล้อง กับประโยชน์ของตน นักคิดไทยมักจะแสดงความคิดออกมาในรูปซึ่งจับต้องได้ ดังนั้นจึงทำให้ เป็นการยากแก่คนไทยที่จะเป็นนักคิดแบบนามธรรม (Abstract Thinker)

115. ผู้ใดได้รับมอบหมายจากรัฐบาลอเมริกันให้ศึกษาลักษณะนิสัยของคนญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

(1) ทอคเกอวิลล์ (Tocqueville) (2) เบเนดิกท์ (Benedict)

(3) วิลสัน (Wilson) (4) ลินตัน (Linton)

ตอบ 2 หน้า 459 รุธ เบเนดิกท์ (Ruth Benedict) ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลอเมริกันให้ศึกษา ลักษณะนิสัยของคนญี่ปุ่น ซึ่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีผลงานเขียนชื่อ “ดอกเบญจมาศ และดาบซามูไร” โดยเห็นว่า บุคลิกของคนญี่ปุ่นจะเป็นเสมือนดอกเบญจมาศและดาบซามูไร คือ จะอ่อนน้อมภายนอกแต่จะแข็งแกร่งภายใน

116. ทำไมลักษณะอุปนิสัยประจำชาติจึงแตกต่างกัน

(1) ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ (2) ความแตกต่างทางค่านิยม

(3) ความแตกต่างทางประวัติศาสตร์ (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 460 ลักษณะอุปนิสัยประจำชาติของคนในแต่ละประเทศมักแตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะ มีลักษณะบางอย่างของตนเองซึ่งไม่เหมือนกับประเทศอื่น เช่น ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ค่านิยม ศาสนา ความเชื่อ และปรัชญาชีวิต ฯลฯ

117. ข้อใดจัดว่าคือวิธีการสังคมสงเคราะห์ที่ให้บริการโดยตรง

(1) การสังคมสงเคราะห์กลุ่ม (2) การสำรวจวิจัยทางสังคมสงเคราะห์

(3) การจัดระเบียบชุมชน (4) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 482 – 483 วิธีการของสังคมสงเคราะห์ มี 5 วิธีการ ได้แก่

1. การสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย 2. การสังคมสงเคราะห์กลุ่ม

3. การจัดระเบียบชุมชน 4. การสำรวจวิจัยทางสังคมสงเคราะห์

5. การบริหารงานสวัสดิการสังคม

โดย 3 วิธีการแรก (1. – 3.) จัดเป็นการให้บริการโดยตรง (Direct Service)

ส่วน 2 วิธีการหลัง (4. – 5.) จัดเป็นการให้บริการทางอ้อม (Indirect Service)

118. วิธีการสังคมสงเคราะห์ใดที่ใช้กิจกรรมเป็นสื่อในการพัฒนาความต้องการและความสามารถของสมาชิก

(1) การสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย (2) การสังคมสงเคราะห์กลุ่ม

(3) การจัดระเบียบชุมชน (4) การจัดองค์การชุมชน

ตอบ 2 หน้า 483 การสังคมสงเคราะห์กลุ่ม (Social Group Work) โดยนักสังคมสงเคราะห์จะเป็นผู้นำในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ซึ่งอาศัยกิจกรรมต่าง ๆ เป็นสื่อ เพื่อเป็นการพัฒนาความต้องการและความสามารถของสมาชิก

119. ขั้นตอนการปฎิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์ ขั้นตอนใดที่จะได้ทราบว่า ผู้รับบริการ (Client) มีความเป็นมา และประวัติอย่างไร มีปัญหาเดือดร้อนอะไร เมื่อใด

(1) การค้นคว้าข้อเท็จจริง (2) การวินิจฉัยและการวิเคราะห์

(3) การประเมินผล (4) การให้แก้ไข

ตอบ 1 หน้า 488 – 489 ขั้นตอนการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง เป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานของ นักสังคมสงเคราะห์ขั้นแรกที่จะต้องทำก่อนงานอื่น โดยพยายามรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ผู้รับบริการ/ผู้มีปัญหา (Client) ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมา หรือปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งข้อเท็จจริงที่ได้จะเป็นแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับปัญหาของ Client

120. องค์การสหประชาชาติได้พิจารณาข้อตกลงใด เพื่อความเป็นธรรมของประชากรโลกและเป็นแม่บทของงานสังคมสงเคราะห์

(1) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (2) สิทธิมบุษยชน

(3) มนุษยธรรม (4) ธรรมาภิบาล

ตอบ 2 หน้า 493 – 494 องค์การสหประชาชาติได้พิจารณาร่างข้อตกลงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนขึ้น เพื่อความเป็นธรรมของประชากรทั่วโลก อาจกล่าวได้ว่า สิทธิมนุษยชนนี้เป็น “แม่บท” ของงานสังคมสงเคราะห์ โดยมีสาระสำคัญ เช่น ให้มีการคุ้มครองป้องกันต่อเด็กทุกคนในสังคม ให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือมารดาทั้งก่อนและหลังคลอด ฯลฯ

 

Advertisement