การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา SOC 1003 สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเบื้องต้น

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1. นักปรัชญาท่านใดกล่าวว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม”

(1) เพลโต (Plato)

(2) อริสโตเติล (Aristotle)

(3) ค้องท์ (Comte)

(4) เวเบอร์ (Weber)

(5) มาร์กซ์ (Marx)

ตอบ 2 หน้า 1 อริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาชาวกรีก ได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” (Social Animal) หมายความว่า มนุษย์จะมีชีวิตอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่า มีความเกี่ยวข้อง และสัมพันธ์กันในหมู่มวลสมาชิก มีความจำเป็นต้องติดต่อและเกี่ยวข้องกับผู้อื่นอยู่เสมอ

2. การศึกษาก่อนที่วิชาสังคมวิทยากำเนิดขึ้นเป็นแบบใด

(1) ใช้หสักวิทยาศาสตร์

(2) ใช้สามัญสำนึก

(3) ใช้หลักการคาดคะเน

(4)ใช้หลักเหตุผล

(5) ใช้จิตใต้สำนึก

ตอบ 2 หน้า 2-3, (คำบรรยาย) การใช้สามัญสำนึก (Common Sense) ศึกษาสังคม เกิดขึ้น ในช่วงระยะเริ่มแรกก่อนที่วิชาสังคมวิทยาจะกำเนิดขึ้น คือ ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ต่อมาในราวปลายศตวรรษที่ 18 (หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม) การศึกษาสังคมก็เปลี่ยน จากการใช้สามัญสำนึกมาเป็นวิทยาศาสตร์ทางสังคม (Social Sciense)

3. ผู้ที่พยายามทำให้ความรู้เกี่ยวกับคนและสังคมเป็นวิทยาศาสตร์ทางสังคมเป็นคนแรกคือผู้ใด

(1) ค้องท์ (Comte)

(2) ลีช (Leach)

(3) ริกกส์ (Riggs)

(4) เวเบอร์ (Weber)

(5) มาร์กซ์ (Marx)

ตอบ 1 หน้า 3 ค้องท์ (Comte) และสเปนเซอร์ (Spencer) เป็นนักคิดนักวิชาการกลุ่มแรกที่ได้พยายามทำให้องค์ความรู้เกี่ยวกับคนและสังคมให้กลายเป็น “วิทยาศาศตร์ทางสังคม” ขึ้นมา โดยพยายามใช้วิธีการศึกษาทุกขั้นตอนเหมือนกับการทดลองวิทยาศาสตร์ธรรมชาติในการ แสวงหาความรู้และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมนุษย์และสังคมมนุษย์อย่างเป็นระบบ

4. ผู้แต่งหนังสือชื่อ Critique of Political Economy คือใคร

(1) ค้องท์ (Comte) (2) มาร์กซ์ (Marx) (3) เวเบอร์ (Weber)

(4) เดอร์ไคม์ (Durkheim) (5) สเปนเซอร์ (Spencer)

ตอบ 2 หน้า 7 คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ได้มองสังคมในแง่ของการ“ขัดกัน” ของคนในสังคม โดยเขากล่าวไว้ในหนังสือชื่อ Critique of Political Economy ว่า การขัดกันระหว่างคน 2 กลุ่มในแต่ละสังคมเกิดขึ้นตลอดเวลาในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ กล่าวคือ สังคมเศรษฐกิจโบราณมีการขัดแย้งกันระหว่างทาสกับนายทาส ในสังคมเศรษฐกิจ สมัยกลางมีการขัดแย้งกับระหว่างข้าติดที่ดินกับเจ้าของที่ดิน และในสังคมเศรษฐกิจทุนนิยม มีการขัดแย้งกันระหว่างชนชั้นกรรมาชีพ (กรรมกร) กับนายทุน ซึ่งความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนี้ จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จนกระทั่งกลายเป็นสังคมนิยมและสังคมคอมมิวนิสต์

5. การศึกษาแบบ “สายใยพฤติกรรมเฉพาะกิจ” มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีใด

(1) ทฤษฎีการแข่งขัน (2) ทฤษฎีความขัดแย้ง (3) ทฤษฎีโครงสร้าง

(4) ทฤษฎีหน้าที่ (5) ทฤษฎีดุลยภาพทางสังคม

ตอบ 1 หน้า 7-8 วิธีการศึกษาแบบ “สายใยของพฤติกรรมเฉพาะกิจ” เป็นทฤษฎีที่พยายามจะหลีกเลี่ยงการศึกษาสังคมโดยเน้นแบบแผนของพฤติกรรมของคนทั้งสังคมว่าเป็นแบบใดแบบหนึ่ง ตามกฎเกณฑ์ของสังคมที่วางไว้ ซึ่งทฤษฎีนี้มีพื้นฐานมาจาก “ทฤษฎีการแข่งขัน’’

6. คำว่า Socius กับ Logos ที่นำมาผสมกันเป็น Sociology มีรากศัพท์มาจากภาษาใด

(1) เยอรมันกับกรีก (2) เยอรมันกับละติน (3) ละตินกับกรีก

(4) กรีกกับอังกฤษ (5) ละตินกับอังกฤษ

ตอบ 3 หน้า 16 Sociology (สังคมวิทยา) มาจากศัพท์ 2 คำ คือ คำว่า Socius ซึ่งเป็นภาษาละติน มีความหมายว่า “เพื่อน” (Companion) และคำว่า Logos ซึ่งเป็นภาษากรีก มีความหมายว่า “ถ้อยคำ” (Word) เมื่อรวมคำทั้ง 2 เข้าด้วยกันก็จะแปลว่า การพูดคุยเกี่ยวกับสังคม

7. ข้อใดไม่ใช่สาระของวิชาสังคมวิทยา

(1) ความสัมพันธ์ของบุคคล (2) สังคมมนุษย์ (3) สถาบันทางสังคม

(4) รากศัพท์ของภาษาพูด (5) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 21-22 สาระของวิชาสังคมวิทยาจะศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ดังนี้

1. ความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคม เช่น ระหว่างสามีภริยา มารดากับบุตร พี่กับน้อง ฯลฯ

2. สังคมมนุษย์ทั้งสังคม เช่น โครงสร้างของสังคม ลักษณะภายในของสังคม ฯลฯ

3. สถาบันทางสังคม เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา ฯลฯ

8. ข้อใดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดวิชาสังคมวิทยา

(1) การปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป (2) ชาวชนบทอพยพเข้าเมือง

(3) ชาวไร่ชาวนากลายเป็นกรรมกร (4) ชนบทกลายเป็นเมือง (5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 17 องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดวิชาสังคมวิทยา คือ ผลสะท้อนของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ทำให้โครงสร้างของสังคมตะวันตกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ได้แก่ ชาวชนบทอพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่ในเมือง ชาวไร่ชาวนากลายเป็นกรรมกร และ หมู่บ้านชนบทกลายเป็นเมือง

9. คาสตร์สาขาใดเกิดขึ้นพร้อมกับสังคมวิทยา

(1) วิทยาศาสตร์

(2) โหราคาสตร์ (3) จิตวิทยา (4) รัฐคาสตร์ (5) ปรัชญา

ตอบ 3 หน้า 16 จุดเริ่มแรกของสังคมวิทยาในปลายคริสต่คตวรรษที่ 18 และคริสติศตวรรษที่ 19 ก็คือ วิทยาคาสตร์ได้เกิดขึ้นมาใหม่พร้อมกัน 2 สาขา ได้แก่

1. จิตวิทยา (Psychology) ซึ่งเป็นศาสตร์ว่าด้วยพฤติกรรมของมนุษย์

2. สังคมวิทยา (Sociology) ซึ่งเป็นศาสตร์เกี่ยวกับสังคมมนุษย์

10. เวเบอร์ (Weber) เป็นนักสังคมวิทยาชนชาติใด

(1) ฝรั่งเศส

(2) อังกฤษ (3) เยอรมัน (4) สเปน (5) ออสเตรีย

ตอบ 3 หน้า 20 เวเบอร์ (Weber) เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมันที่สนับสนุนการใช้วิธีการศึกษาที่ เรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า “แวร์สเตเฮน” (Verstehen) แปลว่า Understanding (ความเข้าใจ) ซึ่งเป็นวิธีการที่เน้นความเข้าใจรวม ๆ กันมากกว่าในรายละเอียดของปรากฏการณ์ทางสังคม

11. สาขาวิขาใดเป็นศาสตร์บริสุทธิ์

(1) บริหารธุรกิจ

(2) สังคมสงเคราะห์

(3) แพทยศาสตร์

(4) สังคมวิทยา

(5) วิศวกรรมศาสตร์

ตอบ 4 หน้า 14 วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ได้แก่ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา รัฐศาสตร์ เศรษฐคาสตร์ สังคมวิทยา ฯลฯ (ส่วนวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ การบัญชี เภสัชกรรม แพทยศาสตร์ การเมือง กฎหมาย บริหารธุรกิจ การสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ)

12. ทฤษฎีสัญญาสังคมเชื่อว่า เดิมมนุษย์มีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร

(1) อยู่รวมกันเป็นสังคมเหมือนปัจจุบัน

(2) ไม่ได้อยู่รวมกันเป็นสังคมเหมือนปัจจุบัน

(3) มีความสุขสูงสุด

(4) มนุษย์กับสังคมแยกกันเป็นคนละส่วน

(5) มีการแบ่งงานกันทำ

ตอบ 2 หน้า 33 ทฤษฎีสัญญาสังคมจะเน้นถึงสภาพธรรมชาติ โดยเชื่อว่า มนุษย์แต่ดั้งเดิมนั้นอาศัยอยู่ตามสภาพธรรมชาติ มิได้รวมกันอยู่ในสังคมเช่นปัจจุบัน แต่เนื่องจากความชั่วร้าย ความยุ่งยากสับสน การเพิ่มจำนวนของมนุษย์ ตลอดจนอารยธรรมเป็นเหตุให้มนุษย์จำต้อง ละทิ้งสภาพธรรมชาติและสัญญาด้วยความสมัครใจที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม ทั้งนี้โดยมุ่งหวัง ที่จะได้รับความคุ้มครองและประโยชน์สุขเป็นการตอบแทน

13. ผู้ใดบัญญัติศัพท์ Culture ว่า “ภูมิธรรม”

(1) พระมหาพูล

(2) สุนทรภู่ (3) จางวางหรำ

(4) พระยาอุปกิตศิลปสาร (5) พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร

ตอบ 1 หน้า 55 – 56 ก่อนที่จะมีศัพท์คำว่า “วัฒนธรรม” ขึ้นมานั้น ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่ง คือ พระมหาพูล แห่งวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ ได้ทดลองใช้คำว่า “ภูมิธรรม” เพื่อแปลคำว่า Culture จากศัพท์ภาษาอังกฤษ

14. ความหมายของวัฒนธรรมตามรากศัพท์เดิม ได้แก่ตัวเลือกใด

(1) สิ่งประดิษฐ์

(2) สิ่งดีงาม (3) วิถีชีวิต (4) ทัศนคติ (5) ความเชื่อ

ตอบ 2 หน้า 56 ความหมายของวัฒนธรรมตามรากศัพท์เดิม ได้แก่ สิ่งดีงาม สิ่งที่ได้รับการปรุงแต่ง ให้ดีแล้ว หรือสิ่งที่ได้รับการยอมรับและยกย่องมาเป็นเวลานานแล้ว

15. วัฒนธรรมในความหมายใดคือสิ่งที่ได้รับการยอมรับและยกย่องเป็นเวลานาน

(1) ตามรากศัพท์เดิม

(2) ประเพณี (3) วิถีชีวิต (4) ตามนัยสังคมศาสตร์ (5) ทัศนคติ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ

16. ตัวอย่างของสภาวะแห่งการเป็นวัฒนธรรมสากลคือข้อใด

(.1) ความแตกต่างกันเรื่องศาสนา (2) ความแตกต่างด้านการสมรสและครอบครัว

(3) ทุกสังคมมีการปกครองหรือรัฐบาล (4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 76 – 78 สภาวะแห่งการเป็นวัฒนธรรมสากลหรือความเหมือนกันของวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้แก่

1. ทุกสังคมมีภาษาพูด 2. ทุกสังคมมีระบบการสมรส ระบบครอบครัว และระบบเครือญาติ

3. ทุกสังคมมีการแบ่งมนุษย์ตามอายุและเพศ 4. ทุกสังคมมีการปกครองหรือมีรัฐบาล 5. ทุกสังคมมีศาสนา (ระบบความเชื่อ) 6. ทุกสังคมมีระบบความรู้

7. ทุกสังคมมีระบบเศรษฐกิจ 8. ทุกสังคมมีกิจกรรมเกียวกับการนันทนาการ

9. ทุกสังคมมีศิลปะ

17. ตัวเลือกใดคือวัฒนธรรมตามนัยสังคมศาสตร์

(1) การอ่านหนังสือก่อนสอบ

(2) การเข้าแถวซื้อตั๋วรถไพ่ฟ้า (3) การค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

(4) การส่งข้อความทางไลน์ (5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 58, (คำบรรยาย) วัฒนธรรมตามนัยแห่งสังคมศาสตร์ ได้แก่ วัฒนธรรมที่เข้ารูปแบบ หรือมีลักษณะเบ็เนกระสวน (รูปแบบอันเกิดขึ้นจากการกระทำซํ้า ๆ กัน) ซึ่งมีการส่งต่อถ่ายทอด โดยใช้สัญลักษณ์ เช่น การทักทาย การพูดคุย การโทรศัพท์ การส่งข้อความทางไลน์ การเขียนหนังสือ การอ่านหนังสือ การค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต การเข้าแถว การดูหนัง/ฟังเพลง ฯลฯ

18. ในสังคมใด ระบบวรรณะก่อให้เกิดอนุวัฒนธรรมทางอาชีพ (Occupational Subculture)

(1) สหรัฐอเมริกา (2) อินเดีย (3) ทิเบต (4) ปากีสถาน (5) จีน

ตอบ 2 หน้า 87 อนุวัฒนธรรมทางอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่ประกอบอาชีพแต่ละอาชีพมักจะมีแบบหรือวิถี การดำรงชีวิตแตกต่างกัน เช่น ในสังคมอินเดียความแตกต่างในเรื่องอนุวัฒนธรรมของแต่ละอาชีพ มีอย่างมากจนก่อให้เกิดระบบวรรณะขึ้นมา โดยวรรณะใหญ่ ๆ ของอินเดียมีด้วยกันทั้งหมด 4 วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ (พ่อค้า) และศูทร (ผู้ใช้แรงงาน)

19. วัฒนธรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร

(1) การเรียนรู้

(2) พันธุกรรม (3) การวิเคราะห์ (4) การสังเกต (5) กฎแห่งกรรม

ตอบ 1 หน้า 61 วัฒนธรรมตามคำนิยามมาตรฐาน มี 6 ลักษณะ คือ

1. เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ (ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม/กฎแห่งกรรม/ฟ้าลิขิต)

2. เป็นรูปแบบหรือกระสวนแห่งพฤติกรรมอันเกิดขึ้นจากการเรียนรู้

3. เป็นผลหรือผลิตผลแห่งการเรียนรู้ 4. เป็นสิ่งที่สมาชิกของสังคมมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ 5. มีการถูกส่งต่อหรือได้รับการถ่ายทอดมา 6. มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิจศีล

20. การจัดกลุ่มนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รามคำแหง เกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นการจัดกลุ่มในลักษณะใด

(1) จำนวนรวม

(2) จำแนกพวก (3) กลุ่มสังคม (4) กลุ่มอ้างอิง (5) กลุ่มฝูงชน

ตอบ 2 หน้า 97 กลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกับจำแนกพวก (Category) หมายถึง คนจำนวนหนึ่งที่มีลักษณะ บางอย่างเหมือนกัน เช่น เพศเดียวกัน เป็นนักศึกษาเหมือนกัน เป็นเศรษฐีเหมือนกัน เป็นต้น

21. กลุ่มประเภทใดเป็นความสัมพันธ์แบบชุมชน

(1) Association

(2) Reference Group

(3) Secondary Group

(4) Gemeinschaft

(5) Gesellschaft

ตอบ 4 หน้า 103 – 104 เพ่อร์ดินันด์ ทอนนี (Ferdinand Tonnies) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ได้ให้ความหมายว่า Gemeinschaft คือ ชุมชน (Community) จะมีลักษณะความสัมพันธ์ คล้ายคลึงกับกลุ่มแบบปฐมภูมิมาก เช่น หมู่บ้านชาวนา สังคมชนบท ชุมชนในสมัยศักดินา ฯลฯ ส่วน Gesellschaft คือ สังคม (Society) จะมีลักษณะความสัมพันธ์คล้ายคลึงกับกลุ่มแบบ ทุติยภูมิมาก เช่น สังคมสมัยใหม่โดยทั่วไป สังคมอุตสาหกรรม สังคมเมือง ฯลฯ

22. กลุ่มชนิดใดมีการติดต่อสัมพันธ์โดยเน้นหน้าที่และผลประโยชน์เป็นหลัก

(1) ครอบครัว

(2) องค์กรบริษัท

(3) เพื่อนเล่น

(4) เด็กวัยรุ่น

(5) เพื่อนสนิท

ตอบ 2 หน้า 99, 101 กลุ่มทุติยภูมิ (Secondary Group) เป็นกลุ่มขนาดใหญ่ มีการติดต่อทางสังคม ห่างเหิน ระยะสั้น การติดต่อสัมพันธ์เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดหรือตามหน้าที่ โดยเน้น หน้าที่และผลประโยชน์เป็นหลักหรือมุ่งประโยชน์มากกว่าความรู้สึกส่วนตัว โดยจะสัมพันธ์กัน เฉพาะเรื่องเฉพาะส่วน การตัดสินใจใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ เช่น สมาคม องค์กร บริษัท ฯลฯ

23. ตัวเลือกใดเป็นความสัมพันธ์ในกลุ่มทุติยภูมิ

(1) สัมพ์นธ์กันทุกเรื่อง

(2) สัมพันธ์แบบเครือญาติ

(3) สัมพันธ์เฉพาะเรื่อง

(4) ใช้อารมณ์ความรู้สึก

(5) สัมพันธ์กันลึกซึ้ง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 22. ประกอบ

24. ผู้ใดบัญญัติศัพท์คำว่า “ระยะห่างทางสังคม”

(1) ทอนนี (Tonnies) (2) คูลีย์ (Cooley) (3) บอกาดัส (Bo§ardus)

(4) เวเบอร์ (Weber) (5) มาร์กซ์ (Marx)

ตอบ 3 หน้า 103 ระยะห่างทางสังคม (Social Distance) เป็นศัพท์ทางจิตวิทยาสังคม โดยผู้ตั้งศัพท์นี้ คือ บอกาดัส (Bogardus) ซึ่งระยะห่างทางสังคม เป็นการวัดระดับของความใกล้ชิด หรือ การยอมรับ หรืออคติที่เรารู้สึกต่อคนกลุ่มอื่น และสามารถนำมาใช้วัดความเป็นกลุ่มเรา กลุ่มเขาได้เป็นอย่างดี

25. ตัวเลือกใดเป็นการจัดประเภทของครอบครัวตามลักษณะและหน้าที่

(1) ครอบครัวปฐมนิเทศ (2) ครอบครัวสร้างสมาชิกใหม (3) ครอบครัวหน่วยกลาง

(4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 114 การจัดประเภทของครอบครัวตามลักษณะและหน้าที่ มี 2 ประการ ดังนี้

1. ครอบครัวปฐมนิเทศ (Family of Orientation) เป็นครอบครัวอาศัยเกิด คือ ครอบครัว ของบิดามารดาของเรานั่นเอง 2. ครอบครัวสร้างสมาชิกใหม่ (Family of Procreation)เป็นครอบครัวที่เกิดจากตัวของเราเอง โดยการสมรส และการมีบุตรสืบสกุล

26. ครอบครัวขนาดเล็กที่สุคคือครอบครัวชนิดใด

(1) ครอบครัวขยาย (2) ครอบครัวร่วม (3) ครอบครัวประกอบร่วม

(4) ครอบครัวหน่วยกลาง (5) ครอบครัวภาวะจำยอม

ตอบ 4 หน้า 114 – 115 การจัดประเภทครอบครัวตามขนาดและรูปแบบ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1. ครอบครัวหน่วยกลาง เป็นครอบครัวขนาดเล็กที่สุด 2. ครอบครัวขยาย 3. ครอบครัวประกอบร่วม

27. ครอบครัวที่สูญหายไปแล้วเหลือเพียงหลักฐานว่าเคยมีอยู่ ได้แก่ครอบครัวประเภทใด

(1) ครอบครัวสมรสหมู่ (2) ครอบครัวปฐมนิเทศ (3) ครอบครัวภาวะจำยอม

(4) ครอบครัวสามีหลายคน (5) ครอบครัวประกอบร่วม

ตอบ 1 หน้า 115 – 116 ครอบครัวประกอบร่วมหรือครอบครัวซ้อน เป็นระบบครอบครัวที่ชายหญิง สามารถมีคู่สมรสได้มากกว่า 1 คนที่เรียกว่าหลายผัวหลายเมีย (พหุคู่ครอง) ซึ่งแยกออกเป็น 1. ชายมีภรรยาหลายคน (พหุภรรยา) 2. หญิงมีสามีหลายคน (พหุสามี) ซึ่งยังปรากฏอยู่ในชาวทิเบตบางกลุ่ม 3. ครอบครัวที่เกิดจากการสมรสหมู่ ซึ่งปัจจุบันได้สูญหายไปจากโลกนี้แล้ว เหลือเพียงหลักฐานเพื่อการศึกษาเท่านั้น 4. ครอบครัวภาระหรือครอบครัวภาวะจำยอม

28. การสิ้นสภาพครอบครัวโดยกติกาทางสังคม ได้แก่ตัวเลือกใด

(1) ตาย

(2) หย่า (3) ศาลสั่ง (4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 117 การสิ้นสภาพครอบครัว มี 2 ประการ คือ 1. การสิ้นโดยธรรมชาติ เป็นการสิ้นสภาพครอบครัวในรูปของความตาย 2. การสิ้นโดยกติกาทางสังคม (การสิ้นตามกฎหมาย) แบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ การหย่า และศาลสั่ง (สั่งให้การสมรสสิ้นสุดลง)

29. ตัวเลือกใดคือการเลือกคู่สมรสที่มีรสนิยมตรงกัน

(1) Endogamy

(2) Exogamy (3) Homogamy (4) Heterogamy (5) Polygamy

ตอบ 3 หน้า 119 การเลือกคู่จากความพอใจของคู่สมรสเอง มีเกณฑ์ที่ควรพิจารณา 2 ประการ คือ

1. มีรสนิยมตรงกัน (Homogamv) เป็นการเลือกคู่จากคนที่มีความคล้ายคลึงกันกับตน ในด้านต่าง ๆ เช่น อุปนิสัย ทัศนคติ รสนิยม สติปัญญา การศึกษา เชื้อชาติ ศาสนา ฯลฯ

2. มีรสนิยมต่างกัน (Heterogamy) เช่น การเลือกคู่จากคนต่างเชื้อชาติต่างศาสนา ฯลฯ

30. หากพิจารณาความเป็นมาโดยวิวัฒนาการ พระพุทธศาสนาจัดเป็นคาสนาประเภทใด (1) ศาสนาธรรมชาติ

(2) ศาสนาสถาบัน (3) ศาสนาของโลก (4) ศาสนามหัพภาค (5) ศาสนาจุลภาค

ตอบ 2 หน้า 129 – 130 ความเป็นมาของศาสนาโดยวิวัฒนาการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ศาลนาธรรมชาติ เป็นระบบความเชื่อที่บริสุทธิ์ ไม่มีการดัดแปลงแก้ไข เช่น การนับถือผี นับถือวิญญาณ นับถือเจ้าป่าเจ้าเขา การเคารพบูชารุกขเทวดา ฯลฯ

2. ศาสนาสถาบันหรือศาสนาหลัก เป็นระบบความเชื่อที่เกิดขึ้นจากข้อกำหนดของสังคม โดยนำศาสนาธรรมชาติมาปรับปรุงแก้ไขและจัดรูปแบบให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ ชินโต ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ ฯลฯ

31. มาร์กซ์ (Marx) มีทัศนะต่อศาสนาว่าอย่างไร

(1) มีประโยชน์ด้านปลอบประโลมใจ

(2) เป็นอุปสรรคต่อการปฏิวัติทางการเมือง

(3) เป็นยาเสพติด

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 133.350 ความสำคัญของศาสนาในทางสังคมวิทยานั้น ได้มีผู้แสดงความเห็นไว้ดังนี้

1. ฟรอยด์ (Freud) เห็นว่า ศาสนามีประโยชน์ในด้านเป็นเครื่องปลอบประโลมใจในยามทุกข์ยาก

2. มาร์กซ์ (Marx) ถือว่า ศาสนาเป็นยาเสพติด เพราะก่อให้เกิดความงมงาย และเป็นอุปสรรค ต่อการปฏิวัติทางการเมือง ซึ่งเป็นการมองศาสนาไปในแง่ร้าย

3. มาลินอฟสกี้ (Malinowski) เห็นว่า ศาสนาและพิธีกรรมมักเกี่ยวพันกับความไม่แน่ใจ ในเรื่องธรรมชาติ ความเกรงกลัวในสิ่งที่ไม่แน่นอน/สิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ ทำให้คนมุ่งไปที่ ศาสนาหรือพิธีกรรม

32. เพราะเหตุใดมนุษย์จึงสร้างศาสนาขึ้นมา

(1) มนุษย์ต้องการควบคุมธรรมชาติ

(2) มนุษย์ไม่เข้าใจสภาพแวดล้อมที่แท้จริง

(3) มนุษย์ยึดตัวเองเป็นสรณะ

(4) มนุษย์ต้องการแสดงความสามารถ

(5) มนุษย์เข้าใจตนเอง

ตอบ 2 หน้า 133 – 134 ความจำเป็นที่มนุษย์ต้องมีศาสนาเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ กัน 3 ประการ คือ

1. มนุษย์ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จึงแสวงหาวิธีการมาช่วยปลอบประโลมใจ

2. มนุษย์ไม่เข้าใจสภาวะแวดล้อมที่แท้จริง จึงพยายามหาสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ

3. มนุษย์ต้องการนำศาสนามาควบคุมพฤติกรรมของสังคม เพื่อให้สังคมอยู่ด้วยความสงบสุข

33. พฤติกรรมใดจัดว่าเป็นการยอมรับศาสนาของมนุษย์

(1) การยึดถือคำสอนของศาสดา

(2) การเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ

(3) การบูขาพระแม่คงคา

(4) การบูชารูปเคารพ

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 135 – 136 พฤติกรรมที่จัดว่าเป็นการยอมรับศาสนาของมนุษย์ มี 3 วิธี คือ

1. การบูชารูปเคารพ ซึ่งถือเป็นวิธีการปฏิบัติพื้นฐานของมนุษย์ที่แสดงถึงการยอมรับเอาศาสนา มาใช้ในสังคม ได้แก่ การสร้างรูปเคารพที่เป็นรูปคน (มนุษย์สรีระ) เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ฯลฯ

2. การเซ่นสรวงสังเวย 3. การทำทุกรกิริยา

34. “หลักกาลามสูตร” ในพระพุทธศาสนา สอนเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) การมีความซื่อสัตย์ (2) การใช้วิจารณญาณ (3) การมีความเพียร

(4) การบริหารเวลา (5) การประพฤติผิดทางเพศ

ตอบ 2 หน้า 140 หลักกาลามสูตรในทางพระพุทธศาสนานั้น เน้นสอนให้รู้จักการใช้วิจารณาญาณ คือ การไม่เชื่อใครง่าย ๆ แต่ให้เชื่อโดยใช้หลักเหตุผล และให้ศึกษาพิจารณาไตร่ตรองโดยถ่องแท้ ด้วยสติปัญญาของตนเอง ซึ่งหลักในกาลามสูตรมีด้วยกัน 10 ข้อ

35. นักปราชญ์ท่านใดมีความเห็นว่าการศึกษาควรมีจุดหมายเพื่อให้เกิดบุคลิกภาพที่พึงปรารถนา 4 ประการ

(1) เพลโต (Plato) (2) เบคอน (Bacon) (3) ค้องท์ (Comte)

(4) รัสเซลล์ (Russell) (5) โซเครติส (Socrates)

ตอบ 4 หน้า 152 – 153 ปราชญ์หลายท่านให้ทัศนะเกี่ยวกับความสำคัญของการศึกษาไว้ต่าง ๆ กัน เช่น

1. พระพุทธเจ้า ทรงถือว่า ความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ และการศึกษาคือการให้พ้นอวิชชา (ความไม่รู้) เพื่อมุ่งให้ชีวิตหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

2. อริสโตเติล (Aristotle) กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่เยาวชนมีผลกระทบต่อชะตากรรม (ความเจริญและความเสื่อม) แห่งอาณาจักร และเป้าหมายสูงสุดหรืออุดมคติของการศึกษา คือ การเตรียมบุคคลให้รู้จักหาความสุขอย่างถูกต้อง กล่าวคือ การเข้าถึงปัญญาอันเป็นทิพย์

3. เบคอน (Bacon) กล่าวว่า ความรู้คืออำนาจ ความรู้และอำนาจของมนุษย์เป็นของอย่างเดียวกัน

4. รัสเซลล์ (Russell) เห็นว่า การศึกษาควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดบุคลิกภาพที่พึงปรารถนา 4 ประการ ได้แก่ พละ ธิติ สุขุมสัญญา และปัญญา

36. ตัวเลือกใดคือเป้าหมายของการศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์

(1) เทวโองการ

(2) พิธีกรรม (พิธีการ) (3) สังสารวัฏ (4) โมกษะ (5) การพ้นจากอวิชชา

ตอบ 5 หน้า 152 พระพุทธศาศนาถือว่าความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ พระพุทธองค์ทรงถือว่าอวิชชา (ความไม่รู้) เป็นต้นเหตุแห่งวัฏสงสารอันเป็นการ เวียนว่ายตายเกิดในห้วงแห่งทุกข์ วัฏสงสารจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อพ้นจากอวิชชาอันเป็นจุดเริ่มต้น แห่งกระบวนการอันเกี่ยวเนื่องเป็นลูกโซ่ที่เรียกว่า “ปฏิจจสมุปบาท” (การที่สิ่งทั้งหลายอาศัย ซึ่งกับและกัน) ดังนั้นเป้าหมายของการศึกษาในเชิงพุทธศาสตร์จึงมีความหมายเพื่อให้หลุดพ้น จากอวิชชาหรือความไม่รู้เพื่อชีวิตจะได้ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก

37.. การจัดองค์การทางการศึกษาของไทยมีลักษณะเป็นแบบใด

(1) รัฐบาลเป็นผู้จัดการ (2) ส่วนใหญ่เอกชนเป็นผู้จัดการ

(3) ท้องถิ่นเป็นผู้จัดการ (4) ภูมิภาคเป็นผู้จัดการ (5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 160 การจัดองค์การทางการศึกษาของประเทศไทยมีลักษณะเป็นแบบ “เอกรัฐ” คือ ระบบการศึกษาจะขึ้นอยู่กับรัฐบาลกลางเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะต่างจากประเทศที่เป็นสหพันธรัฐ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ฯลฯ ที่จะให้มลรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้จัดการศึกษา

38. ปรัชญาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในปัจจุบัน เน้นด้านใด

(1) ความเป็นเลิศทางวิชาการ (2) การศึกษาเพื่อนำไปสร้างทฤษฏี (3) ด้านศิลปวัฒนธรรม

(4) ศิลปศาสตร์ศึกษา (5) การประยุกต์วิชาการให้สอดคล้องกับสภาพสังคม

ตอบ 5 หน้า 166 – 167, (คำบรรยาย) ปรัชญาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในปัจจุบันจะมุ่งเน้นใน ด้านการประยุกต์วิชาการให้สอดคล้องกับสภาพสังคม นั่นคือ มีลักษณะในเชิงเล็งผลปฏิบัติ หรือเชิงสัมฤทธคติ โดยมุ่งให้เรียนรู้วิชาอันนำไปประกอบอาชีพได้

39. มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของประเทศไทยคือมหาวิทยาลัยใด

(1) ธรรมศาสตร์และการเมือง

(2) รามคำแหง (3) สุโขทัยธรรมาธิราช (4) เชียงใหม่ (5) นเรศวร

ตอบ 1 หน้า 174 – 175 มหาวิทยาลัยเปิดหรือตลาดวิชาแห่งแรกของไทย คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการเมือง ซึ่งได้รับการสถาปนาเมื่อ พ.ศ. 2476 โดยจัดการศึกษาในระยะเริ่มแรกเป็นแบบ “ใครใคร่เรียนเรียน’’ คือ ผู้ที่ประสงค์จะเรียนสามารถเข้าเรียนได้โดยไม่จำกัดวุฒิการศึกษา

40. การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสหประชาชาติเน้นปรัชญาการศึกษาตามตัวเลือกใด

(1) มุ่งควบคุมจำนวนบัณฑิตของโลก (2) มุ่งวิจัยความสามารถของบัณฑิต

(3) มุ่งผลิตนักวิจัย (4) มุ่งผลิตบัณฑิตเพื่อไปพัฒนาสังคม

(5) มุ่งวิจัยเกี่ยวกับความเป็นความตายของมนุษยชาติ

ตอบ 5 หน้า 177 – 178 การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสหประชาชาติเน้นปรัชญาการศึกษา คือ การมุงแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของมนุษยชาติ และเพื่อสวัสดิการของ ปวงชน ซึ่งลักษณะของมหาวิทยาลัยนี้เป็นคล้ายสถาบันวิจัยมากกว่าการเป็นสถานศึกษา แม้ชื่อจะระบุว่าเป็นมหาวิทยาลัย แต่ไม่มีการสอบและไม่มีการประสาทปริญญา

41. วิชาประชากรศาสตร์เกิดขึ้นเมื่อใด

(1) ก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม

(2) กลางศตวรรษที่ 20

(3) ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2

(4) ต้นศตวรรษที่ 20

(5) อัตราการเกิดสูงขึ้น

ตอบ 2 หน้า 185 ประชากรศาสตร์ เป็นศาสตร์สาขาใหม่ของสังคมศาสตร์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณกลางศตวรรษที่ 20 นี้เอง สืบเนื่องจากในปี ค.ศ. 1949 องค์การสหประชาชาติได้จัดประชุมสัมมนา เกี่ยวกับทรัพยากรของโลก และมีการสำรวจประชากรในฐานะผู้บริโภคด้วย ผลจากการประชุม พบวาทรัพยากรต่าง ๆ ของโลกได้ถูกทำลายอย่างมากมาย ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่ประชากร มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จีงทำให้เกิดการตื่นตัวศึกษาเกี่ยวกับประชากรมากขึ้น

42. กระบวนการทางประชากรที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประชากร ได้แก่ข้อใด

(1) วัฒนธรรม คำนิยม อุดมการณ์

(2) สังคม เศรษฐกิจ การเมือง

(3) การเกิด การตาย การย้ายถิ่น

(4) สถานภาพ บทบาท สถาบัน

(5) ครอบครัว การศึกษา ความเชื่อ

ตอบ 3 หน้า 185 – 187 กระบวนการทางประชากรที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางประชากร ได้แก่

1. การเจริญพันธุ์ (การเกิด) หมายถึง จำนวนประชากรที่ให้กำเนิดบุตรได้จริง ๆ

2. การตาย 3. การอพยพหรือย้ายถิ่น

43. เดวิส (Davis) และเบลก (Blake) เสนอทัศนะเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลายเป็นเมือง (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการเกิด

(3) ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการตาย (4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการย้ายถิ่น

(5) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยืนยาวของชีวิตมนุษย์

ตอบ 2 หน้า 185 – 186 เดวิส (Davis) และเบลก (Blake) ได้เสนอทัศนะเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อ อัตราการเกิดว่าขึ้นอยู่กับอายุเมื่อแรกสมรส การอยู่เป็นโสดอย่างถาวร การไม่สมรสใหม่ของ หญิงหม้ายและหย่าร้าง การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์โดยสมัครใจหรือไม่สมัครใจ การคุมกำเนิด โดยวิธีการต่าง ๆ และการตายของเด็กทารก

44. แบบแผนการเพิ่มของประชากรใบประเทศไทยมีลักษณะอย่างไร

(1) เพิ่มเร็วในตอบแรกแล้วช้าลงในตอนหลัง

(2) เพิ่มช้าตอนแรกแล้วเร็วขึ้นในตอนหลัง ปัจจุบันชะลอตัวช้าลง

(3) ลักษณะเดียวกับการเพิ่มขึ้นของประชากรประเทศแถบเอเชียและลาตินอเมริกา

(4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 191, (คำบรรยาย) แบบแผนการเพิ่มของประชากรในประเทศไทยมีลักษณะเช่นเดียวกับ การเพิ่มของประชากรในภูมิภาคแถบเอเชียและลาตินอเมริกา ซึ่งมีลักษณะเพิ่มช้าในตอนแรกแล้ว ค่อย ๆ เร็วขึ้นในตอนหลัง (โดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) และในปัจจุบันได้ชะลอตัวช้าลง

45. ในปัจจุบันประเทศที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมสูงจะมีลักษณะทางประชากรอย่างไร

(1) อัตราการเกิดสูง อัตราการตายสูง (2) อัตราการเกิดตํ่า อัตราการตายสูง

(3) อัตราการเกิดสูง อัตราการตายตํ่า (4) อัตราการเกิดตํ่า อัตราการตายตํ่า

(5) อัตราการอพยพจากเมืองไปสู่ชนบทมากกว่าจากชนบทสู่เมือง

ตอบ 4 หน้า 195 ในปัจจุบันประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมสูงส่วนใหญ่จะมีลักษณะ ทางประชากรที่ทั้งอัตราการเกิดและอัตราการตายลดลงอยู่ในระดับที่ต่ำเท่าเทียมกัน ดังนั้น ประชากรจึงเพิ่มขึ้นช้ามาก ซึ่งเห็นได้ชัดในสังคมส่วนใหญ่ของยุโรป

46. ตัวเลือกใดคือตัวอย่างของสถานภาพที่ติดมาแต่กำเนิด (Ascribed Status)

(1) อายุ (2) เพศ (3) ระดับการศึกษา

(4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 25, 197 – 198 สถานภาพของบุคคล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. สถานภาพที่ติดมาแต่กำเนิด (Ascribed Status) เป็นสถานภาพที่ได้รับมาโดยอัตโนมัติ อันมีรากฐานมาจากการถือกำเนิด เช่น เพศ อายุ ผิวพรรณ ชาติตระกูล วรรณะ ศาสนา ฯลฯ

2. สถานภาพสัมฤทธิ์ (Achieved Status) เป็นผลสำเร็จจากการกระทำตามวิถีทางของ แต่ละบุคคลที่ขึ้นอยู่กับความสามารถ เช่น การศึกษา อาชีพ อำนาจ รายได้ ฯลฯ

47. ตัวเลือกใดคือรูปแบบของการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม

(1) วรรณะ (2) ฐานันดร (3)กลุ่มสังคม

(4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 198 รูปแบบการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม มี 3 ประเภท คือ 1. วรรณะ (Caste) 2. ฐานันดร (Estate) 3. ชนชั้น (Class)

48. ตัวเลือกใดเป็นวิธีการศึกษาการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม

(1) การศึกษาแบบวัตถุวิสัย (2) การศึกษาแบบอัตวิสัย

(3) การศึกษาโดยดูจากชาติพันธุ์ (4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 201 วิธีการศึกษาการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม มีหลักเกณฑ์ที่ใช้ศึกษา 3 วิธี คือ

1. การศึกษาแบบวัตถุวิสัย 2. การศึกษาแบบอัตวิสัย 3. การศึกษาโดยดูจากชื่อเสียง

49. ชนชั้น สถานภาพ และพรรค (Class, Status, Party) เป็นแนวคิดการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคมของผู้ใด

(1) ไซท์ (Sites) (2) ค้องท์ (Comte) (3) วอร์เนอร์ (Warner)

(4) มาร์กซ์ (Marx) (5) เวเบอร์ (Weber)

ตอบ 5 หน้า 203 ทัศนะหรือแนวคิดการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคมของแม็ก เวเบอร์ (Max Weber) คือ ชนชั้น สถานภาพ และพรรค (Class, Status, Party) โดยเวเบอร์มุ่งความสนใจของเขาไป ที่สังคมอุตสาหกรรม และโดยเฉพาะสังคมระบบทุนนิยม

50. นักวิชาการท่านใดที่มีทัศนะว่า “ การจัดช่วงชั้นทางสังคมถูกกำหนดโดยปัจจัยทางเศรษฐกิจ ”

(1) ไซท์ (Sites) (2) ค้องท์ (Comte) (3) วอร์เนอร์ (Warner)

(4) มาร์กซ์ (Marx) (5) เวเบอร์ (Weber)

ตอบ 4 หน้า 202 – 203 มาร์กซ์ (Marx) เป็นนักวิชาการที่อธิบายการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคมด้วย ทฤษฎี “ตัวกำหนดทางเศรษฐกิจ” เช่น ระบบการผลิต การแลกเปลี่ยน ผู้ผลิต ผู้บริโภค ฯลฯ โดยมาร์กซ์ให้ทัศนะว่า ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนมีบทบาท ได้แก่ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ

51. ตัวเลือกใดคือจุดมุ่งหมายของระบบการควบคุมทางสังคม

(1) เพื่อควบคุมภาวะทางการเมือง

(2) เพื่อควบคุมภาวะทางเศรษฐกิจ

(3) เพื่อความเป็นธรรมในสังคม

(4) เพื่อแก้ปัญหาในสังคม

(5) เพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่สังคมคาดหวัง

ตอบ 5 หน้า 215 จุดมุ่งหมายของระบบการควบคุมทางสังคม คือ เพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติ

ในสิ่งที่สังคมคาดหวัง โดยระบบการควบคุมทางสังคมอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ประการ คือ

1. เป็นระบบของกฎระเบียบและค่านิยมที่ต้องยอมรับไปปฏิบัติ และระบบของความเชื่อที่ เป็นเหตุผลของกฎระเบียบและค่านิยมดังกล่าว

2. ระบบการให้รางวัลและการลงโทษ เพื่อจูงใจให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตามในสิ่งที่สังคมยอมรับ

52. หากสังคมไม่สามารถสนองตอบความต้องการของมนุษย์ได้ จะเกิดผลอย่างไรกับสังคม

(1) ดุลยภาพของสังคม

(2) สังคมสลายตัว

(3) เครือข่ายทางสังคม

(4) บูรณาการสังคม

(5) การยึดเหนี่ยวทางสังคม

ตอบ 2 หน้า 213 หากสังคมไม่สามารถตอบสนองความต้องการเบื้องต้นหรือความต้องการมูลฐาน (Basic Needs) ของมนุษย์ได้ ก็จะทำให้สังคมสลายตัว (Disorganization of Society) ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของสังคมที่พึงต้องสนองตอบความต้องการข้างต้นเพื่อป้องกันการสลายตัวของสังคม

53. การควบคุมทางสังคมด้วยกลอุบายใช้ถ้อยคำภาษา ได้แก่ตัวเลือกใด

(1) การปิดบังข่าวสาร

(2) การเปลี่ยนกฎระเบียบ

(3) การโฆษณาชวนเชื่อ

(4) การเกณฑ์เอาเป็นพวก

(5) การหนีปัญหา

ตอบ 3 หน้า 234 – 237 กลวิธีการใช้กลอุบาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. กลอุบายทื่ใช้ถ้อยคำ ภาษา เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ เรื่องตลกขบขัน การพูดปดมดเท็จ การให้สมญา และการใช้ ภาษาเฉพาะ 2. กลอุบายที่ไม่ใช้ถ้อยคำภาษา เช่น การจัดฉากและการแสดง การปิดบังข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ การหนีปัญหา และการเกณฑ์เอาเป็นพวก

54. ตัวเลือกใดเป็นการควบคุมทางสังคมที่เป็นกลไกทางวัฒนธรรม

(1) ปทัสถานทางสังคม

(2) การประนีประนอม (3) การปรับปรน (4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 221, 222 กลไกทางวัฒนธรรมที่ใช้ในการควบคุมทางสังคม ประกอบด้วย

1. บรรทัดฐานหรือปทัสถานทางสังคม 2. การบังคับใช้ 3. สถานภาพและบทบาท

4. การเข้ากลุ่มและการเข้าสังคม 5. การจำแนกความแตกต่างและชั้นทางสังคม

55. กลุ่มสังคมที่ไม่เป็นทางการ (Informal Groups) จะใช้กลไกควบคุมสังคมแบบใด

(1) กลไกกฎระเบียบ (2) กลไกการแลกเปลี่ยน (3) กลไกทางวัฒนธรรม

(4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 243 ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ (Informal Groups) และ กลุ่มที่เป็นทางการ (Formal Groups) คือ กลุ่มที่มีโครงสร้างแบบไม่เป็นทางการจะไม่ใช้ กลไกกฎระเบียบ แต่กลุ่มที่มีโครงสร้างแบบทางการมักใช้กลไกเกี่ยวกับกฎระเบียบเสมอ ส่วนกลไกที่มักใช้กับทั้งกลุ่มทางการและกลุ่มไม่เป็นทางการ ได้แก่ กลไกการแลกเปลี่ยน กลไกกลอุบาย กลไกการรวมตัวเข้าด้วยกัน กลไกทางวัฒนธรรม กลไกบังคับใช้ เป็นต้น

56. สังคมวิทยาการเมืองสนใจศึกษาเรื่องอะไร

(1) อิทธิพลของสังคมต่อกระบวนการทางการเมือง

(2) สภาพของสังคมต่อการจัดรูปแบบทางการเมือง

(3) ปัจจัยทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมทางการเมือง

(4) โครงสร้างทางสังคมกับสถาบันทางการเมือง (5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 247 – 248 สังคมวิทยาการเมืองสนใจศึกษาเรื่องต่างๆ ดังนี้ 1. อิทธิพลของสังคม ที่มีต่อกระบวนการทางการเมือง 2. โครงสร้างของสังคมกับสถาบันทางการเมือง

3. ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อการจัดระบบ รูปแบบ และนโยบายทางการเมือง

4. ปัจจัยทางสังคมที่มีผลตอพฤติกรรมทางการเมือง

5. สภาพของสังคมต่อการจัดรูปแบบทางการเมืองการปกครอง ฯลฯ

57. “กฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย” เป็นแนวคิดของผู้ใด

(1) มิเชลส์ (Michels)

(2) เวเบอร์ (Weber) (3) มาร์กซ์ (Marx) (4) เฮเกล (Hegel) (5) โบแดง (Bodin)

ตอบ 1 หน้า 251 มิเชลส์ (Michels) พบว่า ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย ก็คือ กฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย (Iron Law of Oligarchy) ซึ่งมีปรากฏอยู่ในพรรคการเมืองแบบ สังคมนิยม ที่อำนาจอยู่ในมือบุคคลกลุ่มน้อย ผู้บริหารมีอำนาจมาก และไม่ต้องการจะออกจาก ตำแหน่งเดิม เพราะเกรงว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะทำให้ตนเองเกิดความเดือดร้อนและ ปราศจากการมีตำแหน่งอำนาจ

58. การศึกษาทางสังคมวิทยาการเมืองตามทัศนะเวเบอร์ (Weber) ได้แก่ตัวเลือกใด

(1) การใช้อำนาจรัฐกดขี่ผู้อยู่ใต้ปกครอง (2) การมีดุลยภาพของสังคม

(3) ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น (4) การจัดระบบราชการกับประชาธิปไตย

(5) การมีดุลยภาพระหว่างความเข้าใจกับความขัดแย้ง

ตอบ 4 หน้า 250 เวเบอร์ (Weber) เป็นผู้เสนอแนวคิดโดยมุ่งประเด็นไปที่การจัดระบบแบบราชการ (Bureaucratization) ทั้งนี้เพราะระบบราชการมีทั้งความประสานและความขัดแย้งเกิดขึ้นในตัว โดยยึดถือมาตรฐานความเป็นกลางและความเสมอภาค มีส่วนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสถาบันสังคม และมีผลต่อการพัฒนาสถาบันประชาธิปไตยโดยเฉพาะในระยะแรก ๆ

59. สังคมวิทยาการเมืองเกิดขึ้นในสมัยใด

(1) ก่อนคริสตกาล (2) ต้นคริสตกาล

(3) ยุโรปสมัยกลาง (4) หลังยุคกลางของยุโรป (5) คริสต์ศตวรรษที่ 20

ตอบ 4 หน้า 248 สังคมวิทยาการเมืองเริ่มมีจุดกำเนิดมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและการศาสนาหลังสมัยกลางของยุโรป (ประมาณศตวรรษที่ 16) โดยได้มีการก่อตัวเป็นศาสตร์ ที่เริ่มการศึกษาและวิเคราะห์กันอย่างจริงจัง หลังจากที่ได้มีการแบ่งแยกกันระหว่างสังคมกับ การเมืองหรือสังคมกับรัฐ

60. ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย จากการค้นพบของมิเชลล์ (Michels)ได้แก่ตัวเลือกใด

(1) สหจิต (Consensus)

(2) ความขัดแย้ง (Conflict) (3) การจัดองค์การ (Organization)

(4) กฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย (Iron Law of Oligarchy)

(5) การจัดระเทียบบริหารแบบราชการ (Bureaucracy)

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ

61. พฤติกรรมฝูงชนเกิดจากอะไร

(1) กลุ่มคนที่ขาดระเบียบอย่างทันทีทันใด

(2) มีการวางแผนล่วงหน้านานเกินไป

(3) สมาชิกกลุ่มมีความคาดหวังสูง

(4) ใช้บรรทัดฐานทางสังคมเข้มงวดเกินไป

(5) สมาชิกกลุ่มมีความผูกพันกันมากเกินไป

ตอบ 1 หน้า 253 – 254 พฤติกรรมฝูงชนเป็นปรากฏการณ์หนึ่งทางสังคมที่เกิดจากกลุ่มคนที่ขาดระเบียบ อย่างทันทีทันใด โดยไม่ได้มีการคาดหมายไว้ล่วงหน้า แต่สภาวการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมขณะนั้น ส่งเสริม และเป็นพฤติกรรมที่ไม่มีบรรทัดฐานทางสังคมควบคุม

62. เมื่อเกิดเหตุชุมนุมประท้วง “ตู้โทรศัพท์สาธารณะจำนวนมากถูกทำลายแต่จับผู้กระทำผิดไม่ได้”แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมฝูงชนในลักษณะใด

(1) เกิดขึ้นทันทีทันใด

(2) การระบาดทางอารมณ์

(3) ไม่มีตัวตน

(4) ไร้บรรทัดฐาน

(5) ไม่มีการกำหนดสถานภาพและบทบาท

ตอบ 3 หน้า 254 เหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมฝูงชนในลักษณะที่ไม่มีตัวตนเพราะฝูงชนประกอบด้วยคนหลายคนไปอยู่ร่วมกัน โดยแต่ละคนจะไม่มีการสนใจกันเป็น ส่วนตัว แต่จะถือว่าทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และพฤติกรรมของกลุ่มที่แสดงออกมา ก็ไม่มีคนต้องรับผิดชอบ เช่น การเผาตึก การทำลายสิ่งของหรือสาธารณสมบัติ ฯลฯ

63. ตัวเลือกใดเป็นตัวอย่างของฝูงชนประเภทสนุกสนานรื่นเริง

(1) Orgy

(2) Riot

(3) Panic

(4) Lynching

(5) Acting

ตอบ 1 หน้า 257 Orgy เป็นฝูงชนประเภทที่สนุกสนานรื่นเริงไปในทิศทางที่เสเพล และนำไปสู่ความสนุกสนานที่เลยเถิด เป็นการปลดปล่อยความตึงเครียด ซึ่งเกิดจากบรรทัดฐานทางสังคม ที่ควบคุมพฤติกรรมอยู่ เช่น การมั่วสุมทางเพศ การคลั่งเต้นรำ กินเหล้า ฯลฯ

64. ข้อใดคือรูปแบบของพฤติกรรมฝูงชน (Crowd)

(1) ผู้ดูหรือผู้ฟัง

(2) ม็อบ (Mob) (3) การประชุมสัมมนา (4) ข้อ 1 และ 2 (5) ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 256 รูปแบบหรือชนิดของพฤติกรรมฝูงชน (Crowd) แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

1. ผู้ดูหรือผู้ฟัง (Audience) 2. ฝูงชนที่บ้าคลั่งหรือม็อบ (Mob)

65. ผู้ดูกีฬาหรือคอนเสิร์ตเป็นฝูงชนประเภทใด (1) Expressive Crowd

(2) Casual Crowd (3) Orgy (4) Acting Crowd (5) Conventional Crowd

ตอบ 5 หน้า 255 Conventional Crowd (ฝูงชนชุมนุม) หมายถึง ฝูงชนที่มารวมตัวกันโดยจะมีสัญลักษณ์บางอย่าง (แบบแผนหรือความสำนึกเป็นพวกเดียวกัน) ควบคุมอยู่ เช่น การดูกีฬา ภาพยนตร์ ดนตรีหรือคอนเสิร์ต การอภิปราย ปาฐกถา ฯลฯ ซึ่งจะมีการกำหนดเวลาและ สถานที่เอาใว้ล่วงหน้า โดยสมาชิกที่เข้าร่วมจะต้องปฏิบัติตามแบบแผนที่กำหนดไว้

66. “ภาวะหรือสถานการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนหนึ่ง และเป็นจำนวนมากพอที่จะคิดว่า ไม่อาจทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นตลอดไป” หมายถึงอะไร

(1) สถานภาพ

(2) บทบาท (3) ปัญหาสังคม (4) บรรทัดฐาน (5) ค่านิยม

ตอบ 3 หน้า 261 – 282 ปัญหาสังคม (Social Problems) หมายถึง สภาวะหรือสถานการณ์ที่กำหนด ได้ว่าเป็นข้อขัดข้องหรือมีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนหนึ่ง และเป็นจำนวนมากพอที่จะคิดว่า ไม่อาจทนอยู่ในสภาพเช่นนี้ได้ตลอดไป ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เอาชนะหรือปรับตัวตาม เช่น ปัญหาน้ำมันและภาวะการครองซีพ ปัญหาดุลการค้า ปัญหายาเสพติด ปัญหาความยากจน ปัญหาโรคจิตโรคประสาท ปัญหาการทำแท้ง ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ฯลฯ

67. “สถานการณ์ที่กำหนดได้ว่าเป็นข้อขัดข้องที่จะต้องแก้ไข เอาชนะหรือปรับตัวตาม” จัดเป็นแนวความคิดตามตัวเลือกใด

(1) ความหมายของสังคม

(2) ความหมายของปัญหา (3) ประเภทของปัญหา

(4) แนวทางแก้ไขปัญหา (5) แนวทางการวิเคราะห์ปัญหาของสังคม

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 66. ประกอบ

68. “การเอาของไปแจกให้กลุ่มผู้ยากจน” เป็นแนวทางแก้ปัญหาแบบใด

(1) แบบตัดไฟแต่ต้นลม (2) แบบวัวหายล้อมคอก (3) แบบเฉพาะหน้า

(4) แบบระยะยาว (5) แบบผสมผสาน

ตอบ 3 หน้า 261 แนวทางในการแก้ไขปัญหาสังคม แบ่งออกเป็นหลักใหญ่ๆ ได้ 2 ประการ คือ

1. การแก้ไขปัญหาแบบย่อย (Piecemeal) เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยไม่มีการวางแผนมาก่อน เช่น การแก้ปัญหาความยากจน ความอดอยากขาดแคลน และช่วยผู้ประสบภัยด้วยการแจกสิ่งของ เสื้อผ้า อาหาร และยารักษาโรค ฯลฯ

2. การแก้ไขปัญหาแบบรวมถ้วนทั่ว (Wholesale) เป็นการแก้ปัญหาระยะยาวแบบมีการวางแผน มาก่อน (แก้ปัญหาที่ต้นตอหรือสาเหตุของปัญหา) มีการประเมินผล มีการตรวจสอบ และปัญหานั้น ๆ จะไม่เกิดขึ้นมาอีก เช่น การแก้ปัญหาความยากจนด้วยการฝึกอาชีพให้ ฯลฯ

69. “การโกงประชาชน การเบียดบังหลวง การใช้เวลาราชการไปทำงานส่วนตัว และการเลือกที่รักมักที่ชัง”หมายถึงตัวเลือกใด

(1) การฉ้อราษฎร์ (2) การบังหลวง

(3) การฉ้อหลวง (4) การฉ้อฉล (5) การฉ้อราษฎร์บังหลวง

ตอบ 5 หน้า 281 “การฉ้อราษฎร์” หมายถึง การเบียดบังเอาผลประโยชน์ของราษฎร (ประชาชน)ไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (การโกงราษฎร), “การบังหลวง” หมายถึง การกระทำด้วยวิธีหนึ่ง วิธีใดที่นำเอาผลประโยชน์จากราชการไปใช้ส่วนตัว หรือการเบียดบังของหลวงไปเป็นสมบัติ ของตนเอง, “การฉ้อราษฎร์บังหลวง” ครอบคลุมไปถึงการใช้เวลาราชการไปทำงานส่วนตัว การเอาของราชการไปใช้ส่วนตัว การเลือกที่รักมักที่ชัง และการกินสินบน

70. ข้อใดเป็นปัญหาสังคม

(1) ปัญหาความยากจน (2) ปัญหายาเสพติด

(3) ปัญหานํ้ามันและภาวะการครองชีพ (4) ข้อ 1 และ 2 (5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 66. ประกอบ

71. นโยบายที่ไทยใข้กับชาวจีนในประเทคไทยได้แก่นโยบายใด

(1) การแยกพวก

(2) การทำลายเผ่าพันธุ์

(3) การกีดกันให้แยกอยู่

(4) การแบ่งแยกดินแดน

(5) การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม

ตอบ 5 หน้า 293 – 294, 297, 299, 301 นโยบายที่ใช้แก้ปัญหาชนกลุ่มน้อย แบ่งเป็น 2 แนว คือ

1. นโยบายที่ค่อนข้างรุนแรง ขัดกับหลักมนุษยธรรม และไม่นิยมใช้ ได้แก่ การแยกพวก การทำลายล้าง การเนรเทศ การกีดกันให้อยู่แยก การแบ่งแยกดินแดน และการเอาเป็นเชลย

2. นโยบายที่นุ่มนวล ตรงตามหลักศีลธรรม หลักเสมอภาค และนิยมใช้ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ได้แก่ การรวมพวก (ใช้กับชาวไทยมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้) การผสมผสานชาติพันธุ์ การยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม (ใช้กับ ชาวจีนและชาวเขาในประเทศไทย)

72. “ชนกลุ่มหนึ่งอพยพมาอาศัยรวมอยู่กับเจ้าของถิ่นหรือเจ้าของประเทศ” หมายถึงตัวเลือกใด

(1) ชนกลุ่มอิทธิพล

(2) ชนกลุมลี้ภัย

(3) ชนกลุ่มน้อย

(4) ชนกลุ่มใหญ่

(5) ชนกลุ่มพลัดถิ่น

ตอบ 3 หน้า 285 ชนกลุ่มน้อย (Minority Group) หรือชนต่างวัฒนธรรม หมายถึง กลุ่มชนที่มีการ ยึดถือวัฒนธรรมในรูปแบบที่แตกต่างไปจากชนกลุ่มใหญ (Majority Group) หรือกลุ่มอิทธิพล (Dominant Group) และเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดในเรื่องจำนวน นักวิชาการบางท่าน จึงเรียกชนกลุ่มใหญ่ว่า “กลุ่มครอบครอง” และเรียกชนกลุ่มน้อยว่า “กลุ่มใต้ครอบครอง” เพราะชนกลุ่มใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลและมีบทบาททั้งทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ดังนั้นชนกลุ่มใหญ่จึงเป็นผู้ที่กำหนดว่ากลุ่มใดเป็นชนกลุ่มน้อย เช่น ชนกลุ่มน้อยที่อพยพ เข้ามาอาศัยรวมอยู่กับเจ้าของถิ่นหรือเจ้าของประเทศจัดเป็นชนกลุ่มน้อย ส่วนเจ้าของถิ่น หรือเจ้าของประเทศจัดเป็นชนกลุ่มใหญ่ ฯลฯ

73. คอเคซอยด์ (Caucasoid) มองโกลอยด์ (Mongoloid) นิกรอยด์ (Negroid) เป็นการจำแนกโดยใช้เกณฑ์ใด

(1) เชื้อชาติ (2) กลุ่มโลหิต (3) บรรทัดฐาน (4) วัฒนธรรม (5) ข้อ 2 และ 4

ตอบ 1 หน้า 286 – 287 เกณฑ์ที่ใช้จำแนกชนกลุ่มน้อยพิจารณาได้จากองค์ประกอบ 3 ลักษณะ คือ

1. องค์ประกอบด้านเชื้อชาติ/เผ่าพันธุ์/ชาติพันธุ์ (Race) ซึ่งเป็นความแตกต่างด้านพันธุกรรมที่แสดงออกมาเป็นลักษณะทางกายภาพ เช่น รูปร่าง สีผม สีผิว (ได้แก่ ผิวขาวหรือคอเคซอยด์ /Caucasoid, ผิวเหลืองหรือมองโกลอยด์/Mongoloid, ผิวดำหรือนิกรอยด์/Negroid)

2. ความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ยึดถือปฏิบัติ (Ethnicity) เช่น ภาษา ศาสนา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี รูปแบบความสัมพันธ์ การจัดลำดับชั้นทางสังคม ฯลฯ

3. ความแตกต่างของกลุ่มโลหิต (Blood Group) ซึ่งถูกกำหนดโดยพันธุกรรม แต่เนื่องจาก เป็นเกณฑ์ที่ไม่สะดวกในการนำมาใช้ปฏิบัติจึงไม่เป็นที่นิยมใช้กัน (ส่วนใหญ่จึงพิจารณา จากเกณฑ์ที่ 1 และ 2 เป็นสำคัญ)

74. การหลงวัฒนธรรมหรือยึดวัฒนธรรมของตนเป็นศูนย์กลาง (Ethnocentrism) มีผลให้เกิดสิ่งใด

(1) อคติต่อเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ (2) การปฏิบัติไม่เท่าเทียม

(3) การขัดแย้งทางวัฒนธรรม (4) ข้อ 1 และ 2 (5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 287, (คำบรรยาย) การหลงหรือยึดวัฒนธรรมของตนเองเป็นศูนย์กลางจะมีผลให้เกิด อคติต่อเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์หรือชาติพันธุ์นิยม (Ethnocentrism) เกิดการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกัน เกิดปฏิกิริยาต่อต้านตอบโต้ และเกิดการขัดแย้งทางวัฒนธรรม ทั้งนี้เพราะคนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน (อาจเป็นชนกลุ่มน้อยหรือชนกลุ่มใหญ่) จะมีความรู้สึกว่าเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมซองกลุ่มตนดีกว่า และมองกลุ่มอื่นว่าด้อยกว่า จึงเกิดอคติและดูถูกกีดกันกลุ่มอื่น

75. สหรัฐอเมริกาและสวิตเซอร์แลนด์ จัดเป็นสังคมแบบใด

(1) สังคมปฐมฐาน (2) สังคมวัฒนธรรมเดียว (3) สังคมทวิวัฒนธรรม

(4) สังคมสมานรูป (5) พหุสังคมหรือสังคมหลากหลาย

ตอบ 5 หน้า 289 – 291 สังคมลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดจากการมีชนต่างวัฒนธรรม มีดังนี้

1. สังคมหลากหลายหรือพหุสังคม (Plural Society) คือ สังคมที่มีคนหลายเชื้อชาติ หลายภาษา หลายศาสนา และหลายวัฒนธรรม หรือมีลักษณะแบบพหุวัฒนธรรม (Plural Culture) อาศัยรวมอยู่ปะปนกัน เช่น สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น

2. สังคมแบบทวิวัฒนธรรม (Cultural Dualism) คือ สังคมที่มีประชากรส่วนใหญ่สืบเชื้อสาย มาจาก 2 เชื้อชาติหรือ 2 วัฒนธรรม เช่น แคนาดา ประชากรส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจาก อังกฤษและฝรั่งเศส เป็นต้น

76. การรับเอาวัฒนธรรมของสังคมอื่นเข้ามาผสมกับวัฒนธรรมของตน เรียกว่าอะไร

(1) การผสมผสานทางวัฒนธรรม (2) การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม

(3) ความเฉื่อยทางวัฒนธรรม (4) การปฏิวัติวัฒนธรรม

(5) ความล้าทางวัฒนธรรม

ตอบ 1 หน้า 326 การผสมผสานทางวัฒนธรรม (Acculturation) คือ เมื่อมีการกระจายเผยแพร่ ทางวัฒนธรรมแล้ว สังคมที่รับเอาวัฒนธรรมนั้น ๆ ไปจะต้องมีการปรับปรุงผสมผสานให้เข้า กันได้กับวัฒนธรรมเดิมที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ด้วย

77. อะไรคือแนวคิดสำคัญของทฤษฎีวัฏจักร

(1) อารยธรรมจะพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง

(2) อารยธรรมจะคงอยู่ตลอดกาล (3) อารยธรรมจะอยู่คู่อาณาจักรแต่ละแห่ง

(4) มนุษย์เป็นผู้สร้างอารยธรรม (5) อารยธรรมเมื่อมีการรุ่งเรืองย่อมมีการล่มสลาย

ตอบ 5 หน้า 309 – 312 ทฤษฎีวัฏจักร เป็นแนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงวัฏจักรหรือการสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่เสมอ ไม่มีความถาวรของ ยุคใดยุคหนึ่งหรือสังคมใดสังคมหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อมีจุดเริ่มต้นก็ต้องมีจุดสิ้นสุด เมื่อถึงจุดสิ้นสุด ก็จะกลับมาจุดเริ่มต้น หรือเมื่อมีการเจริญรุ่งเรืองก็ย่อมมีการล่มสลาย และเมื่อมีการล่มสลาย ก็จะกลับมาเจริญรุ่งเรืองสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่เสมอ

78. แนวคิดของสเปนเซอร์ (Spencer) จัดอยู่ในทฤษฎีใด

(1) ทฤษฎีขัดแย้ง (2) ทฤษฎีวัฏจักร (3) ทฤษฎีการหน้าที่

(4) ทฤษฎีวิวัฒนาการทางสังคม (5) ทฤษฎีจิตวิทยาสังคม

ตอบ 4 หน้า 315 แนวคิดของสเปนเซอร์ (Spencer) จัดอยู่ในทฤษฎีวิวัฒนาการ (ทฤษฎีวิวัฒนาการ ทางสังคม) โดยเขากล่าวถึงการวิวัฒนาการว่าเป็นเสมือนกระบวนการแห่งการเติบโต ทั้งนี้ โดยการเปรียบเทียบสังคมว่าเป็นเสมื่อนสิ่งมีชีวิต

79. ในทฤษฎีของมาร์กซ์ (Marx) คำว่า Thesis หมายถึงตัวเลือกใด

(1) สภาพที่เป็นอยู่แล้ว (2) สภาพตรงข้าม (3) ดุลยภาพ

(4) สภาพที่ไม่เป็นอยู่ (5) สภาพคล้ายคลึง

ตอบ 1 หน้า 320 – 321 ทฤษฎีการขัดแย้งเป็นแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ซึ่งได้อธิบาย การเปลี่ยนแปลงหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยกระบวนการ 3 อย่าง คือ

1. Thesis (จุดยืน)ได้แก่ สภาพที่เป็นอยู่แล้ว

2. Antithesis (จุดแย้ง) ได้แก่ สภาพที่ตรงข้ามหรือขัดแย้งกับสิ่งที่มีอยู่หรือเป็นอยู่แล้ว

3. Synthesis (จุดยุบ) ได้แก่ ผลแห่งการปะทะกันหรือขัดแย้งกันของ 2 กระบวนการแรก

80. ข้อความใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีโครงสร้าง-การหน้าที่

(1) การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเพราะแรงผลักดันทางวัตถุ

(2) การเปลี่ยนแปลงมีกระบวนการเริ่มจากจุดยืน (Thesis)

(3) การเปลี่ยนแปลงสามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบในสภาพการสมดุลแห่งพลวัต

(4) การเปลี่ยนแปลงเกิดจากการมีปัจจัยทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

(5) การเปลี่ยนแปลงเกิดความคิดที่เป็นนามธรรม

ตอบ 3 หน้า 317 – 318 ทฤษฎีโครงสร้างและการหน้าที่ อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรมไว้ประการหนึ่ง คือ ระบบสังคมมีสภาพเป็น “การสมดุลแห่งพลวัต” นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงสามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบโดยมีการเปลี่ยนแปลงแต่เพียงเล็กน้อย

81. กระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ตัวเลือกใด

(1) การขอยืม

(2) การค้นพบ

(3) การประดิษฐ์

(4) การกระจาย

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 324 – 326 กระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ 1. การขอยืม 2. นวัตกรรม 3. การค้นพบ 4. การประดิษฐ์ 5. การกระจาย

82. นักวิชาการท่านใดได้รับการยกย่องว่าเป็นนักสังคมวิทยาชนบทคนแรกของโลก

(1) ค้องท์ (Comte)

(2) สเปนเซอร์ (Spencer)

(3) เวเบอร์ (Weber)

(4) เลอเปล (Le Play)

(5) เจฟเฟอร์สัน (Jefferson)

ตอบ 4 หน้า 336 ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักสังคมวิทยาชนบทคนแรกของโลกคือ เลอเปล (Le Play) ชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับครอบครัวชนบทและองค์การต่าง ๆ ในชนบท โดยการใช้หลักสังเกตการณ์ การเก็บและการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

83. ตัวเลือกใดคือคุณสมบัติดั้งเดิมของชุมชนชนบท

(1) ผลิตเพื่อการค้า

(2) ผลิตเพื่อบริโภค (3) การให้บริการ (4) พึ่งพาตนเองน้อย (5) เศรษฐกิจแบบตลาด

ตอบ 2 หน้า 340 – 341 คุณสมบัติดั้งเดิมของชุมชนชนบท มีดังนี้ 1. ความโดดเดี่ยว (Isolation) 2. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Homogeneity) 3. การใช้แรงงานเพื่อการเกษตร (Agricultural Employment) 4. การเศรษฐกิจเพื่อการบริโภค (Subsistence Economy)

84. ตัวเลือกใดเป็นสาเหตุภายนอกที่ทำให้สังคมชนบทเกิดการเปลี่ยนแปลง

(1) การเกิด (2) การย้ายถิ่น (3) การเลียนแบบ

(4) การประดิษฐ์สิ่งใหม่ (5) การแปรปรวนของธรรมชาติ

ตอบ 3 หน้า 358 – 359 สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมชนบทเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ

1. ปัจจัยภายในสังคมชนบทเอง เช่น การเกิด การตาย การย้ายถิ่น การแปรปรวนของธรรมชาติ ผู้ร้ายหรือการสู้รบ การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ (ภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกิดจากนวัตกรรม) ฯลฯ

2. ปัจจัยภายนอกสังคมชนบท เช่น การผสมผสานทางวัฒนธรรม การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม การคมนาคมติดต่อสื่อสาร การเลียบแบบ (การขอยืมวัฒนธรรม) การพัฒนา ฯลฯ

85. การตั้งถิ่นฐานของชาวชนบทไทยส่วนมากมีลักษณะใด

(1) หมู่บ้านสหกรณ์

(2) นิคมสร้างตนเอง (3) หมู่บ้านวงกลม (4) หมู่บ้านเศรษฐกิจ (5) หมู่บ้านเกษตรกรรม

ตอบ 5 หน้า 346 การตั้งถิ่นฐานของชาวชนบทไทยส่วนมากมีลักษณะเป็นการตั้งถิ่นฐานที่ไม่มี การวางแผน มีการตั้งถิ่นฐานแบบหมู่บ้านเกษตรกรรม ซึ่งตั้งบ้านเรือนตามที่ลุ่มที่ดอน ที่เนิน ชายปา ชายเขา ตามเส้นทางคมนาคม และตามริมฝั่งน้ำ

86. วิถีชีวิตของชาวชนบทเกี่ยวข้องกับอะไรมาก

(1) ศาสนา

(2) การศึกษา (3) การผลิต (4) การเมือง (5) การให้บริการ

ตอบ 3 หน้า 340 – 341, (คำบรรยาย) คนชนบทจะมีการใช้แรงงานเพื่อการเกษตร เกือบทุกคน ในชนบทจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกษตร ถ้าไม่ปลูกพืชก็เลี้ยงสัตว์หรือทำการประมง ดังนั้น ลักษณะวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของนบชนบทจึงเกี่ยวพันกับการเกษตรกรรม หรือเกี่ยวข้องกับการผลิต (ผลิตผลทางการเกษตร) ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมเป็นอย่างมาก

87. เพราะเหตุใดเมืองและชนบทจึงอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้

(1) เมืองต้องพึ่งผลผลิตด้านเกษตรจากชนบท

(2) ชนบทต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากเมือง (3) ชนบทต้องพึ่งพาแรงงานจากเมือง

(4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 366 เมือง คือ ที่รวมของมนุษย์ที่ต้องพึ่งพาผลผลิตทางเกษตรกรรมและแรงงาน จากชนบทเพื่อความอยู่รอดของตนเอง ซึ่งชนบทก็จะได้ผลตอบแทนหรือการพึ่งพาเมือง ในด้านความคุ้มครองทางด้านการทหารและเทคโนโลยีหรือสิ่งฟุ่มเฟือยต่าง ๆ ดังนั้นเมือง และชนบทจึงอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้ ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

88. ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับสังคมวิทยานคร

(1) ศึกษาชีวิตของผู้ที่อยู่ในเขตเมือง

(2) ศึกษากระบวนการกลายเป็นเมือง (3) เปรียบเทียบกับสังคมวิทยาชนบท

(4) ศึกษาโครงสร้างของเมือง (5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 363 สังคมวิทยานคร (Urban Sociology) บางครั้งจะเรียกว่า สังคมวิทยานาครหรือสังคมวิทยาเมือง เป็นการศึกษาทางสังคมโดยเน้นหนักถีงการศึกษาชีวิตของมนุษย์ที่อยู่ ในเขตเมือง ศึกษาระบบสังคม วัฒนธรรม โครงสร้าง หน้าที่ และกระบวนการกลายเป็นเมือง ซึ่งมักจะศึกษาเปรียบเทียบกับสังคมวิทยาชนบท (Rural Sociology)

89. ทฤษฎีใดกล่าวว่า “เมืองจะขยายตัวจากศูนย์กลางไปตามเส้นทางการคมนาคมขนส่ง”

(1) ทฤษฎีรูปพาย (2) ทฤษฎีรูปวงกลม (3) ทฤษฎีรูปดาว

(4) ทฤษฎีรูปเหลี่ยม (5) ทฤษฎีหลายศูนย์กลาง

ตอบ 3 หน้า 374 ทฤษฎีรูปดาว (Star Theory) เป็นทฤษฎีการขยายตัวของเมืองที่เก่าแก่ที่สุด เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1903โดย อาร์.เอ็ม. เฮิร๎ด (R.M. Hurd) ได้ศึกษาพบว่า เมืองจะขยายตัว ออกจากศูนย์กลางไปตามเส้นทางการคมนาคมขนส่ง ซึ่งทำให้เป็นรูปคล้ายดาวหรือแมงกะพรุน

90. การขยายตัวของเมืองตามทฤษฎีรูปวงกลม เขตพื้นที่ชั้นในนสุด (วงที่ 1) คือเขตอะไร

(1) ศูนย์กลางของเมือง (2) แหล่งเสื่อมโทรม (3) แหล่งคนยากจน

(4) ที่อยู่อาศัยของชนชั้นกลาง (5) ที่อยู่อาศัยของคนชั้นสูง

ตอบ 1 หน้า 374 – 375 ทฤษฎีรูปวงกลม (Concentric Zone Theory) อธิบายว่า นครใหญ่ ๆ ประกอบด้วยเขตต่าง ๆ เป็นรูปวงกลมซ้อนกัน 5 วง จากเขตพื้นที่ชั้นในสุดมานอกสุดดังนี้ วงที่ 1 เป็นเขตศูนย์กลางของเมือง, วงที่ 2 เป็นเขตผ่านหรือเขตเสื่อมโทรม,วงที่ 3 เป็นเขตที่อยูอาศัยของคนยากจน, วงที่ 4 เป็นเขตที่อยู่อาศัยของชนชั้นกลาง,วงที่ 5 เป็นเขตที่อยู่อาศัยของชนชั้นสูง

91. ตามทัศนะของคูลีย์ (Cooley) ปัจจัยใดที่ก่อให้เกิดเมืองมากที่สุด

(1) เส้นทางคมนาคมขนส่ง

(2) จำนวนประชากร

(3) เหมืองแร่

(4) การปกครองและศาสนา

(5) เมื่อมีการหยุดพักขนสินค้า

ตอบ 5 หน้า 370 ปัจจัยที่ทำให้เกิดเมืองในทัศนะของคูลีย์ (Cooley) คือ การหยุดพักเพื่อขนส่งสินค้า โดยเขากล่าวว่า เส้นทางคมนาคมขนส่งไม่ได้ทำให้เกิดเมือง แต่เมื่อมีการหยุดพักเพื่อขนส่งสินค้า ก็จะทำให้เกิดเมือง ได้แก่ เมืองท่าบางเมือง เช่น ฮ่องกง และโคเปนเฮเกน ฯลฯ

92. ตัวเลือกใดเป็นลักษณะของเมืองในประเทศกำลังพัฒนา

(1) มีความเป็นเมืองมากเกินไป

(2) มีลักษณะแบบเอกนครชัดเจน

(3) การขยายขนาดของเมืองมีอัตราสูงกว่าการขยายตัวทางอุตสาหกรรม

(4) การขยายขนาดของเมืองขึ้นอยู่กับการย้ายถิ่นเข้ามาอยูในเมืองของชาวชนบท

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 380 ลักษณะความเป็นเมืองและการขยายขนาดของเมืองในประเทศกำลังพัฒนา มีดังนี้

1. การขยายขนาดของเมืองเป็นไปใบอัตราสูงกว่าการขยายตัวทางอุตสาหกรรม

2. การขยายขนาดของเมืองขึ้นอยู่กับผลของการเพิ่มโดยธรรมชาติ (ผลต่างระหว่างจำนวน การเกิดและการตาย) ของประชากรในเมืองร่วมกับผลจากการย้ายถิ่นเข้าของชาวชนบท

3. การย้ายถิ่นเข้าสู่เมืองมีสาเหตุผลักดันจากชนบทมากกวาแรงดึงดูดของเมือง

4. มีความเป็นเมืองมากเกินไป

5. มีลักษณะเป็นแบบเอกนครอย่างชัดเจน

93. ออยท์ (Hoyt) เป็นเจ้าของแนวความคิดเกี่ยวกับการขยายตัวของเมืองในลักษณะใด

(1) รูปดาว (2) รูปพาย (3) รูปวงรี

(4) รูปสามเหลี่ยม (5) รูปวงกลม

ตอบ 2 หน้า 376 ทฤษฎีรูปพาย (Sector Theory) ของโฮเบอร์ ฮอยท์ (Homer Hoyt) อธิบายว่า ส่วนต่าง ๆ ของเมืองประกอบด้วยกิจกรรมและประชากรในส่วนต่าง ๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องแบ่งเขต เป็นรูปวงกลมซ้อนกันเสมอไป กล่าวคือ บริเวณเขตอุตสาหกรรมไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นโดยรอบ อาณาบริเวณศูนย์กลางของเมือง แต่อาจเจริญหรือขยายตัวตามริมทางรถไฟเป็นแนวตรง หรือ ส่วนต่าง ๆ อาจจะมีจุดเริ่มต้นจากศูนย์กลางของเมืองแล้วขยายไปตามแนวยาวออกไปสู่ชานเมือง

94. ศาสตร์ที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ตัวเลือกใด

(1) นิเวศวิทยา (2) มนุษยนิเวศวิทยา (3) ชีววิทยา

(4) พฤกษศาสตร์ (5) ภูมิศาสตร์

ตอบ 2 หน้า 391 มบุษยนิเวศวิทยา เป็นวิชาหนึ่งในแขนงสาขาสังคมวิทยาที่มีขอบเขตการศึกษา เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม โดยมนุษย์นิเวศวิทยาได้นำเอาความรู้และประสบการณ์จากหลายสาขาวิชาเข้ามารวมในศาสตร์นี้ เช่น เคมี เศรษฐศาสตร์ การเมือง สังคม และจริยศาสตร์ รวมทั้งชีววิทยา (ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องมากที่สุด)

95. ข้อใดจัดอยู่ใบระบบนิเวศน์แบบ Mature Natural Ecosystems

(1) ทุ่งเลี้ยงสัตว์ (2) ย่านอุตสาหกรรม (3) ภูเขา

(4) สวนสาธารณะ (5) ฟาร์ม

ตอบ 3 หน้า 391 – 392 ระบบนิเวศน์ของมนุษย์ (มนุษยนิเวศวิทยา) แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

1. Mature Natural Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่อยู่ในสภาพธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่มีคนอยู่อาศัย เช่น ป่า ภูเขา ทะเลทราย ฯลฯ

2. Managed Natural Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง และตัดแปลง เช่น สวนสาธารณะ อุทยาน อุทยานแห่งชาติ ฯลฯ

3. Productive Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง เพื่อให้ได้ผลิตผลและทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ฟาร์ม ปศุสัตว์ เหมืองแร่ ฯลฯ

4. Urban Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์ได้อาศัยประกอบกิจการทำงานต่าง ๆ เช่น บริเวณย่านอุตสาหกรรม บริเวณเมืองเล็กและเมืองใหญ่ ฯลฯ

96. ตัวอย่างการใช้พลังงานไฮโดรอีเล็กตริก ได้แก่ตัวเลือกใด

(1) บ่อน้ำมันที่ฝาง (2) เขื่อนภูมิพล (3) โรงไฟฟ้าวัดเลียบ

(4) เหมืองลิกไนท์ที่ลำปาง (5) โรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติที่บางปะกง

ตอบ 2 หน้า 395 พลังงานไฮโดรอีเล็กตริก เป็นพลังงานที่ได้จากการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งพลังงานนี้ถูกนำมาใช้ในโลกได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นเมื่อเปรียบเทียบกับพลังงาบที่ได้จากน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้เพราะการสร้างเขื่อนมีข้อจำกัดอยู่ที่สถานที่ที่จะต้องเลือกใช้ และอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศของป่าไม้ได้

97. พลังงานจากแหล่งใดที่มนุษย์นำมาใช้มากที่สุด

(1) ถ่านหิน

(2) นํ้ามัน (3) ลม (4) นิวเคลียร์ (5) แสงอาทิตย์

ตอบ 2 หน้า 395 แหล่งพลังงานในด้านต่าง ๆ ของโลกที่มนุษย์นำมาใช้มากที่สุด คือ น้ำมัน (42.7%) รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ ถ่านหิน (36.6%), ก๊าซธรรมชาติ (18.3%), ไฮโดรอีเล็กตริก (2.1%) และนิวเคลียร์ (0.3%)

98. ตัวเลือกใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “น้ำ”

(1) 97% ของนํ้าในโลกเป็นน้ำทะเล

(2) สามารถใช้พลังนํ้าผลิตพลังงานได้ (3) น้ำฝนเป็นน้ำที่อยู่บนผิวดิน

(4) น้ำเป็นทรัพยากรที่มีการหมุนเวียน (5) นํ้าเสียเกิดจากอินทรียสารซึ่งถูกย่อยสลายได้

ตอบ 3 หน้า 398 นํ้าเป็นทรัพยากรที่มีการหมุนเวียน ส่วนใหญ่ของนํ้าในโลกเป็นนํ้าทะเล 97%ที่เหลืออีก 3% เป็นนํ้าจืด นํ้าเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากการสร้างเขื่อน นํ้าธรรมชาติแบ่งเป็น 4 ประเภท คอ น้ำฝน, น้ำท่า (น้ำที่อยู่ผิวดิน), นํ้าบาดาล (น้ำใต้ดิน)และน้ำทะเล โดยนํ้าเสียเกิดจากอินทรียสารซึ่งถูกย่อยสลายได้

99. วิชามานุษยวิทยาถือกำเนิดขึ้นในบรรยากาศทางสังคมแบบใด

(1) การปฏิวัติเกษตรกรรม (2) การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (3) การปฏิรูปศาสนา

(4) การล่าอาณานิคม (5) การปฏิวัติอุตสาหกรรม

ตอบ 4 (คำบรรยาย) วิชามานุษยวิทยา (Anthropology) ถือกำเนิดขึ้นในสังคมยุโรป ประมาณ ปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงที่มีบรรยากาศของการล่าอาณานิคม โดยในระยะแรกนี้จะ เน้นการศึกษาสังคมดั้งเดิมที่ไม่ใช่สังคมของคนผิวขาวและสังคมตะวันตก เช่นสังคมดั้งเดิม ของแอฟริกาและเอเชีย เป็นต้น

100. มานุษยวิทยากายภาพศึกษาด้านใด

(1) โบราณคดี

(2) สรีระของมนุษย์ (3) ชาติวงศ์ชองมนุษย์ (4) ภาษาของมนุษย์ (5) ชาติพันธุ์วรรณนา

ตอบ 2 หน้า 412 มานุษยวิทยากายภาพ (Physical Anthropology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการกำเนิดของมนุษย์ในแง่สรีรวิทยา โดยมุ่งเน้นศึกษาสัตว์ตระกูล Homo Sapiens ชนิดต่าง ๆ ในด้านโครงสร้างของอวัยวะทางร่างกายอย่างละเอียด ซึ่งได้พยายามค้นคว้าศึกษาวิวัฒนาการ จากจุดเริ่มต้นที่เรียกกันว่า ไพรเมท (Primate) หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มาจนกระทั่งถึง การมีลักษณะที่เป็นรูปร่างเหมือนกับมนุษย์ในปัจจุบัน

101. ผู้ใดเป็นผู้ริเริ่มจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นจำพวกต่าง ๆ

(1) ดาร์วิน (Darwin)

(2) ลามาร์ค (Lamarck)

(3) ลินเน (Linne)

(4) เมนเดล (Mendel)

(5) วอลเลซ (Wallace)

ตอบ 3 หน้า 414, (คำบรรยาย) ลินเน (Linne) นักชีววิทยาชาวสวีเดน เป็นผู้ที่ริเริ่มจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นจำพวกต่าง ๆ ด้วยการจัดระบบวิธีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial) ไว้ในหนังสือชื่อ System of Nature โดยลักษณะของชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด จะประกอบด้วยชื่อ Genus (สกุล) และ species (ชนิด)

102. “การให้การศึกษา” เป็นการโต้ตอบทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ด้านใด

(1) การถ่ายทอดทางวัฒนธรรม

(2) การติดต่อสื่อสาร

(3) ความเจริญด้านวัตถุ

(4) การทำกิจกรรมร่วมกัน

(5) การควบคุมทางสังคม

ตอบ 1 หน้า 424 มาลินอฟสกี้ (Malinowski) ได้กล่าวถึงความสอดคล้องระหว่างความต้องการของ มนุษย์กับสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เกิดตามมา ดังนี้ การให้การศึกษา เป็นการโต้ตอบทางวัฒนธรรมเพื่อสนองตอบความต้องการด้านการถ่ายทอดทางวัฒนรรรม ภาษาเป็นการโต้ตอบทางวัฒนธรรมเพื่อสนองตอบความต้องการด้านการติดต่อสื่อสาร กฎเกณฑ บทลงโทษ และประเพณีเป็นการโต้ตอบทางวัฒนธรรมเพื่อสนองตอบความต้องการ ด้านการควบคุมทางสังคม ฯลฯ

103. ปัจจัยใดที่ทำให้มนุษย์แตกต่างกันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในยีนส์ (Genes)

(1) การแยกเผ่า (2) การผสมเป็นพันธุ์ใหม่ (3) การผ่าเหล่า

(4) การแยกอยู่โดดเดี่ยว (5) การเลือกสรรพันธุ์โดยธรรมชาติ

ตอบ 3 หน้า 418 การผ่าเหล่า (Mutation) เป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์มีความแตกต่างกันเนื่องจาก เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในยีนส์ (Genes) ที่สืบทอดผ่านทางพันธุกรรม โดยอณู ของโปรตีนจำนวนมากซึ่งเป็นองค์ประกอบทางชีวเคมีเข้าไปปรุงแต่งพื้นฐานทางพันธุกรรม ทำให้ลูกหลานที่เกิดฃึ้นมีลักษณะแตกต่างกันออกไป

104. ปรมาจารย์ทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรมท่านใดสอนให้ศิษย์ทำหน้าที่เสมือน “กล้องถ่ายรูป” ในการจับภาพวัฒนธรรมของสังคมแต่ละสังคม

(1) เบเนดิกท์ (Benedict)

(2) ไทเลอร์ (Tylor) (3) โบแอส (Boas)

(4) มาลินอฟสกี้ (Malinowski) (5) เรดคลิฟฟ์-บราวน์ (Radcliffe-Brown)

ตอบ 3 หน้า 429 – 430 โบแอส (Boas) เป็นปรมาจารย์ทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรมที่ได้พร่ำสอน ลูกศิษย์ให้ทำหน้าที่เสมือนเป็น “กล้องถ่ายรูป” ในการจับภาพวัฒนธรรมของสังคมแต่ละสังคม โดยยํ้าว่านักมานุษยวิทยาควรจะเรียนรู้ภาษาพื้นเมืองของกลุ้มคนที่ต้องการไปศึกษา เพื่อจะได้รับความรู้จากสังคมนั้น ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง

105. การนอนหลับพักผ่อนหลังอาหารมื้อกลางวัน (Siesta) เป็นวัฒนธรรมของภูมิภาคใด

(1) เอเชียเหนือ (2) ยุโรปเหนือ (3) ยุโรปใต้ (4) อเมริกากลาง (5) เอเชียใต้

ตอบ 3 หน้า 444 ปัจจุบันความนิยมในการหยุดกิจการ 2 ชั่วโมง เพื่อนอนหลับพักผ่อนหลังอาหาร มื้อกลางวัน แล้วจึงเปิดกิจการใหม่ในตอนบ่ายจนถึงคำ ยังคงมีอยู่ในยุโรปทางตอนใต้ ได้แก่ อิตาลี กรีซ และสเปน ทั้งนี้เนื่องจากยุโรปทางตอนใต้นั้นอากาศร้อนเกินไป

106. ตัวเลือกใดไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมอเมริกัน

(1) วัฒนธรรมยีนส์ (2) ร้านกาแฟสตาร์บัค (3) แมคโดบัล

(4) ไก่ทอดเคเอฟชี (5) วรรณกรรมและภาพยนตร์เรื่องแฮรี่ พอตเตอร์

ตอบ 5 (คำบรรยาย) วัฒนธรรมอเมริกัน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ถือกำเนิดและถูกถ่ายทอดมาจาก อเมริกาไม่ว่าจะเป็นแนวทางการดำรงชีวิต ระเบียบประเพณี ค่านิยม ภาษาหรือคำศัพท์ต่าง ๆ ตลอดจนอาหารการกิน เป็นต้นว่าอาหารจานด่วน (Fast Food) เช่น กาแฟสตาร์บัค, ไก่ทอด เคเอฟชี, แฮมเบอร์เกอร์แมคโดบัล ฯลฯ วัฒนธรรมยีนส์, การ์ตูนเป็ดโดนัลและหนูมิกกี้เมาส์, คำว่า “hot dog” “ weekend” “freeway” ส่วนวรรณกรรมและภาพยนตร์เรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ เป็นวัฒนธรรมของยุโรป (อังกฤษ)

107. ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกานับถือศาสนาใด

(1) อิสลาม

(2) คริสต์ (3) ฮินดู (4) ซิกข์ (5) ยูดาย

ตอบ 2 หน้า 448 ประชากรสวนใหญ่ในทวีปแอฟริกานับถือศาสนาคริสต์ รองลงมาคือ อิสลาม ส่วนศาสนาพุทธเกือบไม่มีเลย

108. ตัวเลือกใดไม่ใช่ลักษณะของวัฒนธรรมแอฟริกา

(1) ชายแต่งงานกับหญิงได้หลายคน

(2) ร่วมมือกันทำงานเป็นกลุ่ม (3) นิยมดูการต่อสู้กับวัวกระทิง

(4) เคารพเครือญาติผู้ใหญ่ (5) ชอบดนตรีประเภทตึงตังโครมคราม

ตอบ 3 หน้า 449 – 450 ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมแอฟริกา ได้แก่

1. ให้เกียรติผู้สูงอายุ เคารพญาติผู้ใหญ่

2. ชอบดนตรีและเพลงประเภทตึงตังโครมคราม (Jazz)

3. การทำงานเพื่อประโยชน์ฃองสาธารณชนมักมีการร่วมมือกันเป็นกลุ่ม

4. ชายชาวแอฟริกันคนหนึ่งอาจแต่งงานกับภรรยาได้หลาย ๆ คน

5. ผู้หญิงเมื่อแต่งงานแล้วจะต้องมาอยู่บ้านสามีและทำงานให้ครอบครัวของสามี ฯลฯ

109. ตามทัศนะซองมาลินอฟสกี้ (Malinowski) มนุษย์สร้างวัฒนธรรมด้านใดเพื่อตอบสนองความต้องการในการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม

(1) ระบบเครือญาติ

(2) สันทนาการ (3) ศิลปะ (4) การศึกษา (5) เศรษฐกิจ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 102. ประกอบ

110. ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับ “อุปนิสัยประจำชาติ”

(1) ระบบบุคลิกภาพซึ่งมีอยู่ในสมาชิกส่วนใหญ่ของสังคม

(2) ลักษณะเด่นพิเศษที่ทำให้นานาชาติแตกต่างกัน

(3) ลักษณะเด่นที่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสังคมหนึ่งกับสังคมอื่น

(4) โครงสร้างแห่งบุคลิกภาพ บนสมมติฐานว่า เป็นลักษณะของสมาชิกในสังคมเดียวกัน

(5) ถูกทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 458 ลักษณะประจำชาติหรืออุปนิสัยประจำชาติ มีความหมายดังต่อไปนี้

1. ระบบบุคลิกภาพซึ่งมีอยู่ในสมาชิกส่วนใหญ่ของสังคม และจัดเป็นเอกลักษณ์หรือลักษณะ ที่เด่นพิเศษอันทำให้นานาชาติแตกต่างกัน

2. ลักษณะเด่นอันทำให้สามารถแยกแยะความแตกด่างระหว่างสังคมหนึ่งกับอีกสังคมหนึ่งได้

3. โครงสร้างแห่งบุคลิกภาพซึ่งวางอยู่บนสมมติฐานที่ว่าเป็นลักษณะของสมาชิกของสังคมเดียวกัน

111. เอมบรี (Embree) มีทัศนะว่าลักษณะอุปนิสัยของคนไทยเป็นอย่างไร

(1) รักความเป็นธรรม

(2) ขาดวินัย

(3) ใจนักเลง

(4) ชอบอิสรภาพ

(5) เคารพผู้อาวุโส

ตอบ 2 หน้า 464 จอห์น เอมบรี (Embree) นักมานุษยวิทยาตะวันตก กล่าวว่า “คนไทยชอบสนุก และมีโครงสร้างทางบุคลิกภาพและทางสังคมหลวม ๆ คือ ขาดวินัย”

112. ลักษณะอุปนิสัยการประสานประโยชน์ของคนไทย หมายถึงตัวเลือกใด

(1) ชอบสนุกสนาน

(2) เล็งผลปฏิบัติ

(3) รักอิสรภาพ

(4) มีความอดกลั้น

(5) ไม่ชอบเบียดเบียนผู้อื่น

ตอบ 2 หน้า 464 – 465 ลักษณะอุปนิสัยซองคนไทยตามทัศนะของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มี 3 ประการ ได้แก่

1. การรักความเป็นไท คือ การรักอิสรภาพเสรี ดังคำกล่าวทีว่า “พูดได้ตามใจคือไทยแท้”

หรือ “ทำอะไรได้ตามใจคือไทยแท้”

2. การปราศจากวิหิงสา คือ การไม่ชอบเบียดเบียน มีความอดกลั้น และมีขันติธรรม

3. การประสานประโยชน์ คือ การรู้จักประนีประนอม มีการโอนอ่อนและอะลุ่มอล่วย มีลักษณะเล็งผลปฏิบัติหรือสัมฤทธิคติ

113. คำกล่าวว่า “ทำอะไรได้ตามใจคือไทยแท้” ซชี้ให้เห็นลักษณะนิสัยของคนไทยข้อใด

(1) ความมักน้อย (2) ประสานประโยชน์ (3) รักความเป็นอิสรภาพ

(4) ปราศจากวิหิงสา (5) จิตใจนักเลง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 112. ประกอบ

114. ตัวเลือกใดเป็นค่านิยมในสังคมอุตสาหกรรม

(1) ถืออำนาจ (2) ถือประโยชน์ตนเอง (3) ถือหลักเกณฑ์

(4) ถือฐานานุรูป (5) ความเฉื่อย

ตอบ 3 หน้า 473 ตามทัศนะของ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ค่านิยมในสังคมอุตสาหกรรม ได้แก่ 1. ความฉับพลัน 2. การถือความสามารถ 3. การถือหลักเกณฑ์ 4. การถือประโยชน์ส่วนรวม 5. การถือเสรีภาพ

ซึ่งจะตรงกันข้ามกับค่านิยมในสังคมเกษตร ได้แก่

1. ความเฉื่อย 2. การถือฐานานุรูป 3. การถือความสัมพันธ์ส่วนตัว

4. การถือประโยชน์ตนเอง 5. การถืออำนาจ

115. ตามทัศนะของ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ค่านิยมใดที่ไม่ส่งเสริมให้คนไทยเป็นนักคิดแบบนามธรรม

(1) ความเฉื่อย (2) การเล็งผลปฏิบัติ (3) การถือฐานานุรูป

(4) การถือหลักเกณฑ์ (5) การถือประโยชน์ตนเอง

ตอบ 2 หน้า 472 ค่านิยมที่เด่นชัดอีกอย่างหนึ่งของคนไทยตามทัศนะของ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ คือ การเล็งผลปฏิบัติหรือสัมฤทธิคติ กล่าวคือ คนไทยมักไม่ยึดถือสิ่งที่ไม่เห็นผลหรือไม่สอดคล้อง กับประโยชน์ของตน นักคิดไทยมักจะแสดงความคิดออกมาในรูปซึ่งจับต้องได้ ดังนั้นจึงทำให้ เป็นการยากแก่คนไทยที่จะเป็นนักคิดแบบนามธรรม (Abstract Thinker)

116. ตัวเลือกใดกล่าวไว้ถูกต้อง

(1) การสังคมสงเคราะห์มีวิวัฒนาการมาจากการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

(2) การสังคมสงเคราะห์มีวิวัฒนาการมาจากสภากาชาดสากล

(3) การสังคมสงเคราะห์มีวิวัฒนาการมาจากสนธิสัญญาแวร์ชาย

(4) การสังคมสงเคราะห์มีวิวัฒนาการมาจากสันนิบาตชาติ

(5) การสังคมสงเคราะห์มีวิวัฒนาการมาจากสหประชาชาติ

ตอบ 1 หน้า 481 หากพิจารณาในแง่หลักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่สนับสนุนการสังคมสงเคราะห์ แล้ว การสังคมสงเคราะห์มีวิวัฒนาการมาจากแนวความคิดซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ของมนุษย์ 3 ประการ ดังนี้ 1. ความรู้สึกที่จะอยู่ร่วมกัน

2. ต้องการความคุ้มครองปกป้องร่วมกัน 3. ต้องการความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

117. ตัวเลือกใดตรงกับคำว่า Client ของงานสังคมสงเคราะห์

(1) ผู้รับบริการ

(2) ผู้ป่วย (3) ผู้ให้คำปรึกษา (4) ผู้ให้บริการ (5) นักจิตวิทยา

ตอบ 1 หน้า 483, 485, 487 คำว่า Client ในงานสังคมสงเคราะห์ หมายถึง ผู้รับบริการ ซึ่งเป็นผู้ที่มีปัญหา และต้องการคำแนะนำ/ปรึกษา ดังนั้นการปฏิบัติงานของการสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย จึงเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ

118. ข้อใดไม่ใช่หลักของการสัมภาษณ์ในงานสังคมสงเคราะห์

(1) Person

(2) Problem (3) Place (4) Process (5) Predict

ตอบ 5 หน้า 489 “4D” คือ หลักที่นักสังคมสงเคราะห์ใช้ทำการสัมภาษณ์เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง ในงานสังคมสงเคราะห์ ซึ่งมีดังนี้

1. Person หมายถึง ผู้รับบริการและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง

2. Problem หมายถึง ต้องจับประเด็นที่เป็นปัญหาให้ได้

3. Place หมายถึง สถานที่หรือองค์การหรือหน่วยงานสังคมสงเคราะห์ที่ให้บริการ

4. Process หมายถึง มีลำดับขั้นตอนในการซักถาม

119. งานสังคมสงเคราะห์ในสหรัฐอเมริกาได้รับอิทธิพลจากประเทศใด

(1) อังกฤษ

(2) ฮังการี (3) เยอรมัน (4) ฝรั่งเศส (5) ออสเตรีย

ตอบ 1 หน้า 482 ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การสังคมสงเคราะห์ได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากแบบอย่างของประเทศอังกฤษ

120. วิธีการสังคมสงเคราะห์ใดที่ใช้กิจกรรมเป็นสื่อในการพัฒนาความต้องการความสามารถของสมาชิก

(1) การจัดระเบียบชุมชน (2) การสังคมสงเคราะห์กลุ่ม

(3) การพัฒนาชุมซน (4) การจัดองค์การชุมชน

(5) การสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย

ตอบ 2 หน้า 483 การสังคมสงเคราะห์กลุ่ม (Social Group Work) โดยนักสังคมสงเคราะห์จะเป็นผู้นำในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ซึ่งอาศัยกิจกรรมต่าง ๆ เป็นสื่อ เพื่อเป็นการพัฒนาความต้องการและความสามารถของสมาชิก

Advertisement