การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2552
ข้อสอบกระบวนวิชา SOC1003 สังคมวิทยาและมนุษยวิทยาเบื้องต้น
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. ตัวเลือกใดไม่ใช่ความเห็นว่าทำไมมนุษย์จึงต้องมาอยู่รวมกันเป็นสังคม
(1) มนุษย์ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ในระยะเริ่มต้น
(2) มนุษย์ต้องอาศัยความร่วมมือและแบ่งงานกันทำ
(3) แต่ละบุคคลมีความสามารถควบคุมธรรมชาติได้
(4) แต่ละบุคคลมีความสามารถจำกัดเฉพาะตัว
(5) การถ่ายทอดวัฒนธรรมต้องทำต่อเนื่องกันไปไม่ขาดระยะ
ตอบ 3 ปัจจัยที่ทำให้มนุษย์ต้องมาอยู่รวมกันเป็นสังคม ได้แก่
1.มนุษย์มีระยะแห่งการเป็นทารกนานและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ในระยะเริ่มต้นของชีวิต จึงจำเป็นต้องมีผู้เลี้ยงดูในขณะที่เป็นทารก
2.มนุษย์มีความสามารถด้านสมอง สามารถคิดค้นและควบคุมธรรมชาติได้ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือและแบ่งงานกันทำกับคนอื่น ๆ ในสังคม เพราะการควบคุมธรรมชาตินั้นบุคคลคนเดียวไม่สามารถที่จะกระทำได้ และแต่ละบุคคลก็มีความสามารถจำกัดเฉพาะตัว
3.มนุษย์สามารถสร้างและถ่ายทอดวัฒนธรรม ซึ่งการถ่ายทอดวัฒนธรรมเป็นกระบวนการที่จะต้องกระทำต่อเนื่องกันไปไม่ขาดระยะ ทำให้มีความจำเป็นที่มนุษย์ต้องมาอยู่ร่วมกันตลอดไป
2. ผู้ใดทำให้สังคมวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ทางสังคม
(1) ค้องท์ (Comte) และบาร์นส์ (Barnes)
(2) บาร์นส์ (Barnes) และสเปนเซอร์ (Spencer)
(3) สเปนเซอร์ (Spencer) และค้องท์ (Comte)
(4) มาลินอฟสกี้ (Malinowski) และมาร์กซ์ (Marx)
(5) เวเบอร์ (Weber) และเดอร์ไคม์ (Durkherm)
ตอบ 3 สเปนเซอร์ (Spencer) และค้องท์ (Comte) เป็นผู้ที่ทำให้ความรู้เกี่ยวกับคนและสังคมหรือสังคมวิทยากลายเป็น “วิทยาศาสตร์ทางสังคม” ขึ้นมา โดยพยายามใช้วิธีการศึกษาทุกขั้นตอนเหมือนกับการทดลองวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการศึกษามนุษย์และสังคมมนุษย์
3. การศึกษาสังคมในระยะเริ่มแรกเป็นแบบใด
(1) สามัญสำนึก (2) ตั้งและทดสอบสมมติฐาน
(3) วิเคราะห์เชิงเหตุผล (4) อธิบายด้วยทฤษฎี (5) สรุปตามข้อเท็จจริง
ตอบ 1 ในระยะเริ่มแรกของการศึกษาสังคมนั้น ความรู้ที่ได้รับมักจะออกมาในรูปของสามัญสำนึก(Common Sense) คือ เป็นข้อสรุปที่เกิดจากความรู้สำนึกคิดของแต่ละคนว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งทำให้การตั้งกฏเกณฑ์และทฤษฎีของการศึกษาในสังคมในสมัยนั้นยังไม่สามารถจัดได้ว่าเป็นศาสตร์ (Science)
4. นักวิชาการท่านใดเปรียบสังคมเหมือนร่างกายมนุษย์ อวัยวะทุกส่วนจะแสดงอาการหรือพฤติกรรมที่ได้รับมอบหมาย
(1) อริสโตเติล (Aristotle) และดาร์วิน (Darwin)
(2) ค้องท์ (Comte) และบาร์นส (Barnes)
(3) เดอร์ไคม์ (DurKheim) และเวเบอร์ (Weber)
(4) มาร์กซ์ (Marx) และลีซ (Leach)
(5) เรดคลิฟฟ์-บราวน์ (Radcliffe-Brown) และมาลินอฟสกี้ (Malinowski)
ตอบ 5 เรดคลิฟฟ์-บราวน์ (Radcliffe-Brown) และมาลินอฟสกี้ (Malinowski) เป็นนักวิชาการที่
ได้ศึกษาสังคมโดยเน้นการศึกษาด้านโครงสร้างและหน้าที่ ด้วยการเปรียบเทียบว่าสังคมเป็น
เสมือนร่างกายมนุษย์ โดย “โครงสร้าง” ทางด้านร่างกายเมื่อประกอบกันแล้วก็จะเป็นร่างกาย
มนุษย์ที่สมบูรณ์ อวัยวะทุกส่วนจะมี “หน้าที่” และจะแสดงกิริยาอาการหรือพฤติกรรมที่ได้รับ
มอบหมาย สังคมก็เป็นเช่นเดียวกัน โดยมีการแบ่งระบบความสัมพันธ์ของคนออกเป็นส่วนต่าง
ๆ และแต่ละส่วนก็จะมีหน้าที่แสดงไปตามบทบาทที่ถูกกำหนดไว้
5. ตัวเลือกใดไม่ใช่ผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสังคมมนุษย์
(1) ทำให้มนุษย์สามารถแยกตัวอยู่โดดเดี่ยวได้
(2) ทราบแนวทางประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายที่สังคมกำหนดขึ้น
(3) เข้าใจโครงสร้างและรูปแบบของสังคม
(4) เกิดประโยชน์ต่อทุกวิชาชีพเพราะต้องสัมพันธ์กับสังคม
(5) เข้าใจสาเหตุที่กำหนดพฤติกรรมเบี่ยงเบน
ตอบ 1 ผลที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสังคมมนุษย์ มีดังนี้
1.เข้าใจลักษณะ รูปแบบ และโครงสร้างของสังคมตนเองและสังคมอื่น ๆ ซึ่งทำให้ทราบถึงแนวทางประพฤติปฏิบัติตามกเกณฑ์ที่สังคมได้กำหนดขึ้น
2.สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสมาชิกร่วมสังคมและสมาชิกร่วมโลก เข้าใจสถานภาพและบทบาทของตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้ก็เนื่องจากมนุษย์จะแยกตัวอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้
3.เข้าใจสาเหตุที่กำหนดพฤติกรรมเบี่ยงเบน และปรากฏการณ์ทางสังคมที่เป็นโทษ
4.เกิดประโยชน์ต่อทุกวิชาชีพ เพราะทุกฝ่ายต่างจะต้องใช้วิชาชีพนั้น ๆ กับคนในสังคมทั้งสิ้น
6. ตัวเลือกใดไม่ใช่สาระของสังคมวิทยา
(1) ศึกษาความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคม (2) ศึกษาสังคมมนุษย์ทั้งสังคม
(3) ศึกษาสังคมทั้งในส่วนย่อยของสังคมและส่วนใหญ่ (4) ศึกษาว่าสังคมประเภทใดสามารถคงอยู่ได้นาน
(5) ศึกษาสถาบันต่าง ๆ ตั้งแต่สถาบันครอบครัว จนถึงสถาบันการเมืองแต่ไม่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ
ตอบ 5 สาระของสังคมวิทยา มีดังนี้
1.ศึกษาความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคม เช่น ระหว่างบิดามารดากับบุตร พี่กับน้อง ฯลฯ
2.ศึกษาสังคมมนุษย์ทั้งสังคมโดยพยายามศึกษาสังคมทั้งในส่วนย่อยของสังคมและส่วนใหญ่คือ ศึกษาภาวะหรือโครงสร้างภายในของสังคม และลักษณะภายในของสังคมต่าง ๆ เช่นศึกษาว่าสังคมประเภทใดสามารถคงอยู่ได้นาน
3.ศึกษาสถาบันต่าง ๆ ตั้งแต่สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันเศรษฐกิจจนถึงสถาบันการเมืองระดับรัฐ
7. สังคมวิทยาเกิดขึ้นมาเพราะสาเหตุใด
(1) ความสนใจสภาพแวดล้อมของชนบทที่เปลี่ยนไป เพราะการปฏิวัติทางการเกษตร
(2) คนสังคมยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีมากเกินไป ทำให้สังคมภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมมีปัญหา
(3)ชาวไร่ชาวนาขยายพื้นที่เกษตรกรรมมากขึ้นภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม
(4)ชาวชนบทมีสิทธิเสรีภาพในความเป็นอยู่มากเกินไป สังคมจึงเกิดปัญหา
(5)เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนโครงสร้างของสังคม
ตอบ 5 สังคมวิทยาเกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อวิกฤตการณ์และปัญหาของประเทศยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่19 โดยมีองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดวิชาสังคมวิทยาก็คือ ผลสะท้อนของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมตะวันตกเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งก่อให้เกิดความหวังและความตื่นตระหนกในเรื่องชีวิตอนาคต ดังนั้นสังคมวิทยาจึงเกิดขึ้นมาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนโครงสร้างของสังคม
8. ฉายาของสังคมวิทยาว่า “ราชินีแห่งศาสตร์” มีความหมายอย่างไร
(1) ศาสตร์ที่มีทฤษฎีมากกว่าศาสตร์ชนิดอื่น (2) ศาสตร์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์
(3) ศาสตร์ที่มีวิธีการศึกษาหลากหลาย (4) ศาสตร์ที่แตกแขนงออกไปหลายสาขา
(5) ศาสตร์ที่มีผู้นิยมศึกษามาก
ตอบ 4 ออกัส ค้องท์ (Comte) เป็นผู้ให้ฉายาสังคมวิทยาว่าเป็น “ราชินีแห่งศาสตร์” ทั้งนี้เนื่องจากสังคมวิทยาเป็นศาสตร์ที่แตกแขนงออกไปเป็นหลายสาขา ซึ่งเปรียบเสมือนสตรีผู้สูงศักดิ์ที่มีบุตรธิดามาก และยังหมายถึงการมีความสำคัญแทรกอยู่ในบรรดาวิทยาการต่าง ๆ
9. ความสัมพันธ์กันทางสังคมแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามตัวเลือกใด
(1) สถานภาพ และค่านิยม (2) บทบาท และโครงสร้างสังคม
(3) สถานภาพ และบทบาท (4) โครงสร้างสังคม และค่านิยม
(5) โครงสร้างสังคม และการปะทะสังสรรค์ทางสังคม
ตอบ 3 ความสัมพันธ์กันทางสังคม (Social Relations) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. สถานภาพ (Status) 2. บทบาท (Role)
10. ตัวเลือกใดไม่ใช่รูปแบบของกระบวนการทางสังคมตามแนวคิดของปาร์ค และเบอร์เกรส (Park andBurgress)
(1) การร่วมมือกันปฏิบัติงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
(2) การดิ้นรนสู่เป้าหมายเดียวกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
(3) กระบวนการที่บุคคลตกลงยินยอมปรับตัวให้เข้ากัน
(4) ทัศนคติหรือความเห็นของบุคคล 2 ฝ่าย ไม่ตรงกัน
(5) กระบวนการเปลี่ยนแปลงตามวัยของบุคคลในสังคม
ตอบ 5 Park และ Burgress แบ่งกระบวนการทางสังคมออกเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้
1.การร่วมมือ เป็นกระบวนการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปปฏิบัติตามหรือร่วมมือกันปฏิบัติงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
2.การแข่งขัน เป็นการดิ้นรนสู่เป้าหมายเดียวกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
3.การสมานลักษณ์ เป็นกระบวนการที่บุคคลตกลงยินยอมที่จะปรับตัวให้เข้ากัน
4.การกลืนกลายหรือการปรับปรน เป็นกระบวนการผสมกลืนกลนของบุคคลแต่ละกลุ่มในเรื่องทัศนคติ ความเชื่อ วัฒนธรรม ฯลฯ
5.การขัดกัน เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อทัศนคติหรือความเห็นของบุคคล 2 ฝ่าย ไม่ตรงกัน
11. ตัวเลือกใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการอบรมให้รู้ระเบียบสังคม
(1) ปลูกฝังระเบียบวินัย (2) ปลูกฝังความมุ่งหวัง (3) ให้รู้จักบทบาททางสังคม
(4) ให้เกิดทักษะความรู้ความชำนาญที่จะร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น
(5) ให้รู้จักใช้ไหวพริบหลบหลีกปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม
ตอบ 5 จุดมุ่งหมายของการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบของสังคม ได้แก่ การปลูกฝังระเบียบวินัยปลูกฝังความมุ่งหวัง สอนให้คนรู้จักบทบาททางสังคมและทัศนคติต่าง ๆ รวมทั้งเพื่อให้เกิดทักษะหรือความรู้ความชำนาญที่จะร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น
12. การอธิบายโดยวิธีอุปนัย (Inductive Method) หมายถึงตัวเลือกใด
(1) เลือกประชากรส่วนหนึ่งมาศึกษาแล้วสรุปว่าประชากรทั้งหมดมีลักษณะอย่างไร
(2) ศึกษาประชากรทั้งหมดแล้วสรุปว่าประชากรส่วนย่อยมีลักษณะอย่างไร
(3) ศึกษาประชากรทั้งหมดแล้วสรุปว่าประชากรทั้งหมดมีลักษณะอย่างไร
(4) ศึกษาประชากรส่วนหนึ่งแล้วสรุปว่าประชากรส่วนนั้นมีลักษณะอย่างไร
(5) เลือกประชากรส่วนหนึ่งมาศึกษาแล้วนำไปเปรียบเทียบกับลักษณะของประชากรส่วนใหญ่หรือทั้งหมด
ตอบ 1 หลักตรรกวิทยาที่สำคัญ มีดังนี้
1. วิธีนิรนัย (Deductive Method) เป็นการอธิบายส่วนใหญ่มาหาส่วนน้อย
2. วิธีอุปนัย (Inductive Method) เป็นการอธิบายในเชิงเป็นไปได้ เมื่อรู้ว่าส่วนน้อยเป็นอย่างไรก็นำไปอธิบายส่วนใหญ่ โดยจะเลือกจำนวนประชากรจำนวนหนึ่งมาศึกษาแล้วสรุปว่าจำนวนประชากรทั้งหมดมีลักษณะอย่างเดียวกับตัวอย่างที่ศึกษา
13. การลงแขกช่วยกันทำนา คือวัฒนธรรมตามตัวเลือกใด
(1) ขนบธรรมเนียมประเพณี
(2) สิ่งที่ได้รับการยอมรับและยกย่องมาเป็นเวลานานแล้ว
(3) สิ่งที่ดีงามได้รับการปรุงแต่งให้ดีแล้ว
(4) มาจากรากศัพท์ “วัฒน” หรือ “พัฒนะ” ซึ่งแปลว่าเจริญ
(5) ความประพฤติล้าหลังนำไปสู่ความเสื่อม
ตอบ 1 ความหมายของ “วัฒนธรรม” แบ่งออกเป็น 3 ความหมายใหญ่ ๆ ดังนี้ คือ
1.วัฒนธรรมตามรากศัพท์เดิม หมายถึง สิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ได้รับการปรุงแต่งให้ดีแล้ว
2.วัฒนธรรม คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เช่น การหมั้น การสมรส การขึ้นบ้านใหม่การบวชนาค การลงแขกช่วยกันทำนา การแห่นางแมวขอฝน ฯลฯ
3.วัฒนธรรมตามนัยแห่งสังคมศาสตร์ ถือว่ามีความหมายกว้างขวางที่สุด เพราะมีขอบเขตเกินกว่าการเป็นสิ่งดีงามหรือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี
14. ตัวเลือกใดไม่ใช่วัฒนธรรมอันเป็นผลจากการเรียนรู้
(1) การใช้ศัพท์สแลงที่นิยมพูดกัน (2) การแปรงฟัน
(3) การใช้โทรศัพท์มือถือรุ่นล่าสุด (4) การสัมผัสมือแสดงการทักทาย
(5) การกะพริบตาเพื่อไล่เหงื่อที่ไหลเข้าตา
ตอบ 5 วัฒนธรรมเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ ได้แก่ การใส่ผมปลอม การจงใจกะพริบตาการจงใจทำตาหลิ่ว การแปรงฟัน การเข้าคิว การไปดูภาพยนตร์ การใช้ศัพท์สแลง การใช้โทรศัพท์ การสัมผัสมือแสดงการทักทาว ฯลฯ ส่วนพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาของร่างกาย
15. ตัวเลือกใดไม่ใช่วัฒนธรรมที่มีการส่งต่อหรือได้รับถ่ายทอด
(1) การบังคับให้เลิกกินหมากในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) การแต่งกายตามแบบนักร้องนักแสดง
(3) การอบรมให้รู้จักประเพณีการไหว้
(4) การที่สุนัขหรือแมวได้รับการฝึกให้ถ่ายในพื้นที่ที่กำหนด
(5) การใช้คำภาษาอังกฤษแทนคำภาษาไทย
ตอบ 4 วัฒนธรรมที่มีการส่งต่อหรือได้รับการถ่ายทอดนั้น อาจเป็นโดยเจตนาคือโดยจงใจ เช่น การอบรมให้รู้จักประเพณีการไหว้ การบังคับให้คนไทยใส่หมวกและให้เลิกกินหมากในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ฯลฯ หรือไม่จงใจก็ได้ เช่น การนิยมทรงผมหรือการแต่งตัวแบบดารา การใช้คำภาษาอังกฤษแทนคำภาษาไทย ฯลฯ (โดยวัฒนธรรมไม่มีในสังคมที่ต่ำกว่ามนุษย์)
16. พัฒนาการ (Development) หมายถึงตัวเลือกใด
(1) การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อสังคมและศาสนาอย่างมาก
(2) การเปลี่ยนแปลงที่มีการวางแผนหรือจงใจให้มีการเปลี่ยนแปลง
(3) การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
(4) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ เป็นไปได้โดยธรรมชาติ
(5) การรัฐประหารเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ตอบ 2 ศัพท์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม มีดังนี้
1.วิวัฒนาการ (Evolution) คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นช้า ๆ เป็นไปโดยธรรมชาติและกิจวัตร
2.พัฒนาการ (Development) คือ การเปลี่ยนแปลงที่มีการวางแผนหรือจงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น
3.การปฏิรูป (Reform) คือ การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบมากของสังคมและศาสนา
4.การปฏิวัติ (Revolution) คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างขนานใหญ่มีผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
17. วัฒนธรรมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิจ ตรงกับคำกล่าวใด
(1) ท่านไม่อาจกระโดดลงไปในแม่น้ำเดิมได้ 2 ครั้ง
(2) น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา
(3) งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา
(4) น้ำขึ้นให้รีบตัก
(5) น้ำมีสภาพที่ไหลลงสู่ที่ต่ำเสมอ
ตอบ 1 ข้อความที่แสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิจและมีมานานแล้วคือ You can’t jump into the same river twice แปลว่า “ท่านไม่อาจกระโดดลงไปในแม่น้ำสายเก่าได้ 2 ครั้ง” กล่าวคือ วัฒนธรรมเปรียบเสมือนกับแม่น้ำซึ่งไม่อยู่คงที่ และตัวผู้กระโดดเองก็เปลี่ยนแปลงจากเดิมแม้จะห่างกันเพียง 1 นาที
18. ตัวเลือกใดเป็นอนุวัฒนธรรมท้องถิ่น (Regional Subculture)
(1) ชาวนามีวิถีการดำรงชีวิตต่างจากชาวประมง
(2) คนวรรณะศูทรในแคว้นปัญจาบมีขนบปฏิบัติต่างจากคนวรรณะอื่น
(3) ชาวเหนือมีการผูกข้อมือหรือทำบายศรีสู่ขวัญ
(4) ชาวชนบทในเอมริกาใช้เครื่องทุ่นแรงแทนแรงงานคนหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม
(5) คนเชื้อสายมอญจัดงานสงกรานต์ต่างจากคนท้องถิ่นอื่น
ตอบ 3 อนุวัฒนธรรมท้องถิ่น (Regional Subculture) เป็นอนุวัฒนธรรมชนิดหนึ่งซึ่งมองในแง่ภูมิศาสตร์ กล่าวคือ สภาพทางภูมิศาสตร์มีส่วนทำให้ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา สำเนียงพูดการแต่งกาย อาหาร ลักษณะเคหสถาน การประกอบอาชีพ อุปนิสัยใจคอแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคเหนือมีการผูกข้อมือหรือทำบายศรีสู่ขวัญ ภาคอีสานมีการเล่นบ้องไฟภาคกลางนิยมเพลงเรือ ฯลฯ
19. ตัวเลือกใดแสดงถึงความเฉื่อยทางวัฒนธรรมด้านวัตถุกับวัตถุ
(1) ถนนสร้างได้ช้ากว่าปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น
(2) เครื่องจักรสำหรับลักลอบตัดไม้พัฒนาเร็วกว่ากฎหมาย
(3) โจรผู้ร้ายพัฒนากรรมวิธีโจรกรรมได้ไวกว่าการปราบปราม
(4) ความเจริญทำให้มีระบบโรงงาน ส่งผลให้คนทำงานนอกบ้านมากขึ้น
(5) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พัฒนาช้ากว่าการผลิตอาวุธสงคราม
ตอบ 1 ความเฉื่อยทางวัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.อัตราการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรมด้านวัตถุกับวัตถุ เช่น รถยนต์มีเพิ่มมากขึ้นในอัตราที่สูงกว่าเนื้อที่ถนน กระสุนปืนสามารถผลิตได้เร็วกว่าตัวปืน ฯลฯ
2.อัตราการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรมด้านวัตถุกับอวัตถุ เช่น เครื่องจักรตัดไม้ทันสมัยยิ่งขึ้นแต่กฎหมายควบคุมการทำลายป่าเกิดขึ้นช้าโจรกรรมวิธีใหม่ ๆ แต่วิธีการปราบปรามยังล้าหลังตามไม่ค่อยทัน ฯลฯ
20. ข้อใดเป็นลักษณะของกลุ่มคน
(1) เป็นจำนวนรวม (2) มีแบบแผนบางอย่างร่วมกัน
(3) มีความรู้สึกสำนึกเป็นพวกเดียวกัน (4) มีการติดต่อกันตามสภาพและบทบาท
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 ลักษณะของ “กลุ่ม” เป็นสังกัปที่นักสังคมวิทยาให้ความหมายไว้แตกต่างกัน เช่น
1.คนจำนวนหนึ่งมาอยู่รวมกัน หรือกำลังรอคอยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ“จำนวนรวม”
2.คนจำนวนหนึ่งที่มีลักษณะบางอย่างเหมือนกัน ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ “จำนวนพวก”
3.คนจำนวนหนึ่งซึ่งมีแบบแผนบางอย่างร่วมกัน มีการกระทำโต้ตอบซึ่งกันและกัน และมีการติดต่อสัมพันธ์กันตามสภาพและบทบาท
4.กลุ่มสังคมหรือกลุ่มคนจำนวนหนึ่งซึ่งมีความรู้สึกสำนึกเป็นพวกเดียวกัน ฯลฯ
21. ข้อใดเป็นตัวอย่างของกลุ่มทุติยภูมิ
(1) ครอบครัว
(2) กลุ่มเพื่อนเล่น
(3) เพื่อนบ้านละแวกเดียว
(4) ชมรมอนุรักษ์นกเงือก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 กลุ่มทุติยภูมิ (Secondary Group) เป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ มีการติดต่อทางสังคมที่ห่างเหินและระยะสั้น การติดต่อสัมพันธ์เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดหรือตามหน้าที่ การติดต่อมุ่งให้ได้ประโยชน์มากกว่าความรู้สึกส่วนตัวโดยกลุ่มทุติยภูมิแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
1.กลุ่มสมาคมหรือองค์การ เช่น สมาคมศิษย์เก่า ชมรมอนุรักษ์นกเงือก ฯลฯ
2. กลุ่มชาติพันธุ์ 3. กลุ่มชนชั้น
22. นักวิชาการท่านใดบัญญัติศัพท์คำว่า “กลุ่มปฐมภูมิ” (Primary Group)
(1) คูลีย์ (Cooley)
(2) ค้องท์ (Comte)
(3) เดอร์ไคม์ (Durkheim)
(4) มาร์กซ์ (Marx)
(5) เวเบอร์ (Weber)
ตอบ 1 กลุ่มปฐมภูมิ (Primary Group) เป็นกลุ่มคนที่มีขนาดเล็ก และมีการติดต่อกันทางสังคมใกล้ชิดสนิทสนม กระทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีจุดหมายร่วมกัน และมักจะใช้ความรู้สึกทางสังคมใกล้ชิดสนิทสนม กระทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีจุดหมายร่วมกัน และมักจะใช้ความรู้สึกอารมณ์ มากกว่าเหตุผล ตัวอย่างของกลุ่ม เช่น ครอบครัว เพื่อนเล่น เพื่อนบ้าน ฯลฯ โดยผู้บัญญัติศัพท์คำว่า Primary Group ก็คือ คูลีย์ (Cooley) นักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน
23. ข้อใดเปรียบได้กับกลุ่ม “Gemeischaft”
(1) กลุ่มปฐมภูมิ (2) กลุ่มชนชั้น (3) กลุ่มชาติพันธุ์
(4) สมาคมศิษย์เก่า (5) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 1 ผู้บัญญัติศัพท์คำว่า Gemeinschaft และ Gesellschaft คือ ทอนนีย์ (Tonnies) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน โดยได้ให้ความหมายไว้อย่างหยาบ ๆ ว่า Gemeinschaft คือ ชุมชน(Community) ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มปฐมภูมิ เช่น กลุ่มคนในชนบท หรือชุมชนใน
24. ระยะห่างทางสังคมเป็นเกณฑ์วัดอะไร
(1) การวัดระดับความใกล้ชิด (2) การยอมรับ (3) อคติที่มีต่อกลุ่มอื่น
(4) การวัดกลุ่มเรา-กลุ่มเขา (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 ระยะห่างทางสังคม (Social Distance) เป็นศัพท์ทางจิตวิทยาสังคม เป็นการวัดระดับของ
ความใกล้ชิด หรือการยอมรับ หรืออคติที่เรารู้สึกต่อคนกลุ่มอื่น และสามารถนำมาใช้วัดความ
เป็นกลุ่มเรา-กลุ่มเขาได้เป็นอย่างดี
25. สถาบันทางสังคมที่เก่าแก่ที่สุดคือข้อใด
(1) ครอบครัว
(2) ศาสนา
(3) การศึกษา
(4) การเมือง (5) เศรษฐกิจ
ตอบ 1 ในทางสังคมวิทยาถือว่า ครอบครัวมีลักษณะที่มีความเป็นสถาบันอยู่ 3 ประการด้วยกัน คือ
1.เป็นสถาบันทางสังคม หมายถึง มีรูปแบบที่เป็นกระสวนทางพฤติกรรมตามหน้าที่อย่างที่สังคมกำหนด และมีโครงสร้างทางสังคมที่เป็นตัวกำหนดค่านิยม
2.เป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดของสังคม มีมาพร้อมกับมนุษย์ และคงอยู่กับมนุษย์ตลอดเวลา
3.เป็นสถาบันสากล เนื่องจากมีปรากฏในทุกสังคม
26. การศึกษา “เพศศึกษา” และ “เพศสัมพันธ์” จัดเป็นการศึกษาครอบครัวแบบใด
(1) สุขศาสตร์ (2) จิตวิทยา (3) สังคมวิทยา (4) มานุษยวิทยา (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 1 แนวการศึกษาครอบครัว แบ่งออกเป็น 2 แนว คือ
1.แนวสังคมศาสตร์ เป็นหลักวิชาที่ต้องศึกษาเน้นหนักถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทางสังคมในด้านมานุษยวิทยา สังคมวิทยา และจิตวิทยา
2.แนวสุขศาสตร์ เป็นการศึกษาเพื่อประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นซึ่งมุ่งเน้นที่ตนเองเป็นหลักโดยจะให้ความสนใจในเรื่องการศึกษาเพศศึกษา (Sex Education) เพศสัมพันธ์ (SexRelation)
27. ครอบครัวประเภทใดให้สิทธิ์อำนาจแก่ผู้อาวุโส
(1) ครอบครัวเดียว (2) ครอบครัวขยาย (3) ครอบครัวประกอบร่วม
(4) ครอบครัวพหุคู่ครอง (5) ครอบครัวภาวะจำยอม
ตอบ 2 ครอบครัวขยาย มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.เป็นครอบครัวร่วม ซึ่งประกอบด้วยครอบครัวหน่วยกลางตั้งแต่ 2 ครอบครัวขึ้นไป หรือเป็นครอบครัวที่มีสมาชิกช่วงวัย
2.อำนาจสิทธิ์ขาดภายในครอบครัวขึ้นอยู่กับระบบอาวุโสสูงสุดจะได้รับการยกย่องจากสมาชิกครอบครัว
3.ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกจะกระจายมากกว่าครอบครัวหน่วยกลางซึ่งส่วนใหญ่มักปรากฏในสังคมเกษตรกรรมหรือสังคมดั้งเดิม อันเป็นสังคมล้าหลัง
28. หน้าที่ของครอบครัวคือข้อใด
(1) สร้างสมาชิกใหม่ให้สังคม (2) หล่อหลอมสมาชิกให้เป็นสมาชิกที่ดีทางสังคม
(3) ปลูกฝังบุคลิกภาพ (4) ทำหน้าที่แทนสถาบันอื่น ๆ
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 หน้าที่ของครอบครัว มีดังนี้
1.ช่วยสร้างสมาชิกใหม่ให้กับสังคม
2.เป็นแหล่งหล่อหลอมให้สมาชิกของครอบครัวสามารถดำรงตนเป็นสมาชิกที่ดีและอยู่ในสังคมได้
3.ช่วยเสริมสร้างและปลูกผังบุคลิกภาพให้กับสมาชิกในครอบครัว
4.ช่วยทำหน้าที่แทนสถาบันทางสังคมอื่น
29. ข้อใดคือการสิ้นสภาพครอบครัว
(1) ตาย (2) หย่า (3) การมีภรรยาน้อย
(4) ข้อ 1 และ 2 (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 การสิ้นสภาพครอบครัว มี 2 ประการ คือ
1.การสิ้นโดยธรรมชาติ เป็นการสิ้นสภาพครอบครัวในรูปของความตาย
2.การสิ้นโดยกติกาทางสังคม (การสิ้นตามกฎหมาย) แบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ การหย่า และศาลสั่ง (สั่งให้การสมรสสิ้นสุดลง)
30. ศาสนาประกอบด้วยลักษณะตามตัวเลือกใด
(1) มีศาสดาผู้ก่อตั้ง (2) มีคำสอน (3) มีหลักความเชื่อ
(4) มีพิธีกรรม (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 ศาสนาต้องประกอบด้วยลักษณะทั้งหมดหรือส่วนมาก ดังต่อไปนี้
1. มีศาสดาผู้ก่อตั้ง 2. มีคำสอนเกี่ยวกับหลักศีลธรรมจรรยา 3. มีหลักความเชื่อถือ อันเป็นที่หมาย 4. มีพิธีกรรม 5. มีสถาบันทางศาสนา
31. ศาสนาจุลภาค หมายถึงข้อใด
(1) ศาสนาหลัก
(2) ศาสนาสถาบัน
(3) การผูกพันอยู่กับสภาวะเหนือธรรมชาติ
(4) ความเชื่อที่มีรูปแบบมั่นคง
(5) ความเชื่อจากข้อกำหนดของสังคม
ตอบ 3 ศาสนาโดยการยอมรับ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
1.ศาสนามหัพภาค หมายถึง ศาสนาหลักหรือศาสนาสถาบัน ซึ่งเป็นระบบความเชื่อที่เกิดขึ้น
จากข้อกำหนดของสังคม และมีรูปแบบความเชื่อที่มั่งคง มักเป็นศาสนาของโลกหรือเป็นที่
ยอมรับกันทั่วโลก เช่น ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ฯลฯ
2.ศาสนาจุลภาค หมายถึง ศาสนาย่อยหรือศาสนาธรรมชาติ ซึ่งเป็นระบบความเชื่อที่ผูกพันอยู่
กับสภาวะเหนือธรรมชาติ โดยจะยอมรับนับถือกันเฉพาะคนบางกลุ่มบางเหล่าเท่านั้น เช่น
การนับถือผีบรรพบุรุษ การนับถือวิญญาณ การนับถือไสยศาสตร์ เครื่องราง ฯลฯ
32. ท่านใดกล่าวถึงความสำคัญของศาสนาว่า “มีประโยชน์ในด้านปลอบประโลมใจในยามทุกข์ยาก”
(1) ฟรอยด์ (Freud)
(2) มาร์กซ์ (Marx)
(3) เวเบอร์ (Weber)
(4) มาลินอฟสกี้ (Malinowski)
(5) วอร์เนอร์ (Warner)
ตอบ 1 ความสำคัญของศาสนาในทางสังคมวิทยานั้น ได้มีผู้แสดงความเห็นไว้ดังนี้
1.ฟรอยด์ (Freud) เห็นว่า ศาสนามีประโยชน์ในด้านเป็นเครื่องปลอบประโลมใจในยามทุกข์ยาก
2.มาร์กซ์ (Marx) ศาสนาเป็นยาเสพติด เพราะก่อให้เกิดความงมงาย และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิวัติทางการเมือง ซึ่งเป็นการมองศาสนาไปในแง่ร้าย
3.มาลินนอฟสกี้ (Malinowski) เห็นว่า ศาสนาและพิธีกรรมมักเกี่ยวพันกับความไม่แน่ใจในเรื่องธรรมชาติ ความเกรงกลัวในสิ่งที่ไม่แน่นอนหรือสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ ทำให้คนมุ่งไปที่ศาสนาหรือพิธีกรรม
33. ข้อใดไม่ใช่ความเชื่อประเภทอเทวนิยม
(1) อาศัยเหตุผล
(2) เน้นความเป็นจริง
(3) พิสูจน์ได้ตามหลักเหตุผล
(4) ผูกพันกับเทพเจ้า
(5) เกิดจากสติปัญญาของมนุษย์
ตอบ 4 อเทวนิยม เป็นระบบความเชื่อที่อาศัยเหตุผลและความจริงเป็นสำคัญโดยไม่ผูกพันอยู่กับเทพเจ้าหรือไม่ผูกพันอยู่กับสภาวะเหนือธรรมชาติ เน้นหลักคำสอนทางศาสนาที่มีอยู่ตามความเป็นจริงเป็นวิทยาศาสตร์ และเป็นระบบความเชื่อที่เกิดจากความก้าวหน้าด้านสติปัญญาของมนุษย์
34. พุทธศาสนามีคำสอนให้รู้จักใช้วิญญาณ ไม่เชื่อใครง่าย ๆ ใช้หลักเหตุผลคือข้อใด
(1) กาลามสูต (2) กาลามสูตร (3) กาลลามสูต (4) กาลลามสูตร (5) พระไตรปิฎก
ตอบ 2 พระพุทธศาสนามีคำสอนปรากฏใน “กาลามสูตร” ซึ่งสอนให้รู้จักการใช้วิจารณญาณโดยการไม่เชื่อใครง่าย ๆ แต่ให้ใช้หลักเหตุผล และเชื่อโดยไตร่ตรองด้วยสติปัญญา โดยมีหลัก 10 ข้อเช่น 1. อย่าเชื่อโดยได้รับฟังกันมา 2. อย่าเชื่อโดยเห็นว่าเป็นของเก่า 3. อย่าเชื่อโดยเป็นข่าวลือ 4. อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา เป็นต้น
35. ใครเป็นคนกล่าวว่า “การให้การศึกษาแก่เยาวชนมีผลกระทบต่อชะตากรรม”
(1) ค้องท์ (Comte) (2) อริสโตเติล (Aristotle) (3) เบคอน (Bacon)
(4) เพลโต (Plato) (5) ซอคคราติส (Socrates)
ตอบ 2 ปราชญ์หลายท่านให้ทัศนะเกี่ยวกับความสำคัญของการศึกษาไว้ต่าง ๆ กัน เช่น
1.พระพุทธเจ้า ทรงถือว่า ความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์และการศึกษาคือการให้พ้นอวิชชา (ความไม่รู้) เพื่อมุ่งให้ชีวิตหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
2.อริสโตเติล (Aristotle) กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่เยาวชนมีผลกระทบต่อชะตากรรมแห่งอาณาจักร
3.ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) กล่าวว่า ความรู้คืออำนาจ ความรู้และอำนาจของมนุษย์เป็นของอย่างเดียวกัน
4.รัสเซลล์ (Russell) เห็นว่า การศึกษาควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดบุคลิกภาพที่พึงปรารถนา 4 ประการ ได้แก่ พละ ธิติ สุขุมสัญญา และปัญญา
36. ข้อใดเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับการเมือง
(1) การวิจัยเพื่อทำให้เกิดการพัฒนาในโรงงาน
(2) ประเทศสหรัฐอเมริกาปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาเพื่อเน้นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(3) สังคมอุตสาหกรรมต้องการผู้ที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยี
(4) เทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการในสถานประกอบการ
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 2 กรณีตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับการเมือง ได้แก่
1.ประเทศเยอรมันในยุคฮิตเลอร์ ได้มีการสังหารหมู่คนเชื้อสายยิวเป็นจำนวนมากซึ่งทำให้คนที่มีความรู้ความสามารถหลบหนีออกจากประเทศไปอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา เช่น ไอน์สไตน์ผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพ
2.ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นผลอันเนื่องมาจากสหภาพโซเวียตสามารถส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรรอบโลกได้เป็นชาติแรกทำให้รัฐบาลอเมริกันรู้สึกเสียเกียรติภูมิในวงการเมืองระหว่างประเทศ ฯลฯ
37. ข้อใดแสดงถึงประเภทความรู้ของ “ปรัชญาการอุดมศึกษา” เพื่อความเลอเลิศทางปัญญา
(1) วิชาการ (2) วิชาชีพ (3) วิชาชื่นชอบ
(4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 ปรัชญาการอุดมศึกษา แบ่งออกเป็น 2 แนว ดังนี้
1.ปรัชญาการอุดมศึกษาแนวที่หนึ่ง ให้ความสำคัญกับวิชาการและวิชาชื่นชอบเป็นอันดับแรกโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความเลิศเลอทางปัญญาหรือความเป็นเลิศทางวิชาการ
2.ปรัชญาการอุดมศึกษาแนวที่สอง เน้นวิชาชีพและวิชาชูชาติหรือวิชาช่วยชุมชน โดยมีลักษณะในเชิงเล็งผลปฏิบัติหรือสัมฤทธิ์คติ เพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์
38. ข้อใดคือมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาในปัจจุบัน
(1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(3) มหาวิทยาลัยมหิดล (4) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
(5) มหาวิทยาลัยทักษิณ
ตอบ 4 มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาของไทยซึ่งได้เปิดสอนครั้งแรกในปีพ.ศ. 2514 โดยมีลักษณะของการเป็นมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาคือ เปิดกว้างในแง่จำนวน เปิดกว้างในแง่อายุ และเปิกกว้างในแง่ความหลากหลายของประสบการณ์
39. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ “การศึกษาควรเป็นการสัมผัสกับความจริง”
(1) การศึกษาเพื่อการพัฒนา (2) การศึกษาเพื่อสร้างนักวิชาการ
(3) การศึกษาควรสนใจหาความรู้ทุกเรื่อง (4) การศึกษาควรเรียนรู้จากทฤษฎี
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 1 ชูมัคเกอร์ (Schumacher) เห็นด้วยกับแนวคิด “การศึกษาเพื่อการพัฒนา”โดยเขากล่าวว่าประเด็นหลักของการศึกษาควรเป็นการเกี่ยวพันหรือการสัมผัสกับความเป็นจริง
40. สำนักงานใหญ่ของ “มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ” ตั้งอยู่ที่เมืองใด
(1) นิวยอร์ก (2) โตเกียว (3) ลอนดอน (4) ปารีส (5) โรม
ตอบ 2 มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ (United University: UNU) มีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ มหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการริเริ่มให้มีสถาบันแห่งนี้ขึ้นคือ นายอูถั่น (U Thant) อดีตเลขาธิการขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นชาวพม่า
41. การเปลี่ยนแปลงทางประชากรในแต่ละสังคมเกิดจากอะไร
(1) การเกิด
(2) การตาย
(3) การย้ายถิ่น
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 กระบวนการทางประชากรที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางประชากร ได้แก่
1. การเกิดหรือการเจริญพันธุ์ 2. การตาย 3. การอพยพหรือย้ายถิ่น
42. การเพิ่มของประชากรโลกก่อนปี ค.ศ. 1950 เกิดขึ้น ณ ภูมิภาคใด
(1) เอเชีย
(2) ยุโรป
(3) ลาตินอเมริกา
(4) แอฟริกา
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 2 การเพิ่มของประชากรโลกก่อนปี ค.ศ. 1950 มีอัตราการเพิ่มอย่างสูงในบริเวณภูมิภาคยุโรป และบริเวณที่ชาวยุโรปเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่เท่านั้น แต่หลังจากปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา อัตราการเพิ่มขึ้นอย่างสูงของประชากรโลกได้มาเกิดขึ้นในบริเวณภูมิภาคแถบเอเชีย ลาตินอเมริกา และแอฟริกา ซึ่งในปัจจุบันอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในภูมิภาคแถบเอเชียและลาตินอเมริกา
43. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ “การกระจายตัวของประชากรโลก” ในอนาคต
(1) ประเทศที่พัฒนามีจำนวนประชากรมากกว่าประเทศกำลังพัฒนา
(2) ประชากรที่อยู่ในเมืองมีจำนวนประชากรมากกว่าชนบท
(3) เมืองในประเทศกำลังพัฒนาจะกลายเป็นเมืองขนาดยักษ์ที่มีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่น
(4) เมืองไนประเทศที่พัฒนาแล้วจะกลายเป็นเมืองขนาดยักษ์ที่มีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่น
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 แนวโน้มการกระจายตัวของประชากรโลกในอนาคตนั้นพบว่า “ประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองจะมีจำนวนประชากรมากกว่าชนบท” โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการอพยพจากชนบทเข้าสู่เมือง ทำให้เกิดปัญหาการเติบโตของเมืองต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่เมืองขนาดยักษ์ (Gigantism) ซึ่งในปัจจุบันก็กำลังกลายเป็นปัญหาร่วมระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา
44. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการเพิ่มประชากรในประเทศไทย
(1) ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชากรไทยมีอัตราเพิ่มสูง
(2) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชากรไทยมีอัตราเพิ่มสูง
(3) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชากรไทยมีอัตราการตายลดลง
(4) ข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 การเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศไทยนั้นมีลักษณะเช่นเดียวกับการเพิ่มขึ้นของประชากรในภูมิภาคแถบเอเชียและลาตินอเมริกา โดยจะเพิ่มช้าในตอนแรกแล้วค่อย ๆ เร็วขึ้นในตอนหลังโดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสาเหตุที่ไทยมีอัตราเพิ่มของประชากรเร็วก็เนื่องมาจากอัตราการตายลดลงอย่างรวดเร็วและอัตราการเกิดยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งการขยายงานด้านสาธารณสุขทำให้คนมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น
45. ประชากรสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นอย่างไร
(1) เกิดสูง ตายสูง (2) เกิดสูง ตายต่ำ (3) เกิดต่ำ ตายสูง
(4) เกิดต่ำ ตายต่ำ (5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 การเปลี่ยนแปลงทางประชากรประกอบด้วยขั้นหรือระดับความผันแปรได้ 4 – 5 ขั้น คือ
1.ขั้นที่อัตราการเกิดสูงและอัตราการตายสูง ซึ่งประชากรสูง ซึ่งประชากรต่อสู้เพื่อการมีชีวิตรอดในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
2.ขั้นที่อัตราการเกิดสูงและอัตราการตายลดลง ซึ่งปรากฏในยุโรปราวศตวรรษที่ 17 – 18
3.ขั้นที่อัตราการเกิดเริ่มลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าอัตราการตาย ปรากฏเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกาในตอนปลายศตวรรษที่ 19
4.ขั้นที่ทั้งอัตราการเกิดและอัตราการตายลดลงอยู่ในระดับต่ำเท่าเทียมกัน พบได้ในสังคมส่วนใหญ่ของยุโรปและประเทศที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมสูง
5.ขั้นที่อัตราการตายสูงกว่าอัตราการเกิด พบในเยอรมันตะวันตก
46. สังคมลักษณะใดที่มีการจัดระดับช่วงชั้นอย่างซับซ้อน
(1) สังคมชนเผ่าเร่ร่อน (2) สังคมเพาะปลูก (3) สังคมอุตสาหกรรม
(4) สังคมชนบท (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 3 การจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม เป็นระบบซึ่งใช้เพื่อแบ่งแยกระดับความแตกต่างของแต่ละบุคคลตลอดจนการเปลี่ยนแปลงระดับของคนในแต่ละสังคมและแต่ละกลุ่ม ยิ่งสังคมเจริญมากขึ้นหรือความแตกต่างของคนมีมากขึ้นแล้ว จะเป็นผลทำให้มีการจัดลำดับช่วงชั้นซับซ้อนตามด้วย
47. ข้อใดเป็นระบบช่วงชั้น ซึ่งมีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว
(1) ชนชั้น (2) ฐานันดร (3) วรรณะ (4) ข้อ 1 และ 2 (5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 3 วรรณะ (Caste) เป็นระบบการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคมโดยเน้นถึงความสัมพันธ์ของสถานภาพซึ่งจำกัดบุคคลที่จะให้ได้รับสถานภาพสูงขึ้นกว่าเมื่อเขาเกิด โดยระบบวรรณะเป็นระบบช่วงชั้นซึ่งมีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว
48. วิธีการใดที่ใช้ศึกษาการจำลำดับช่วงชั้นของคนในสังคมโดยดูจากชื่อเสียง
(1) การประเมินค่าบุคคลโดยบุคคลอื่น (2) การวิเคราะห์บทบาทที่บุคคลแสดงอยู่
(3) การสุ่มตัวอย่าง (4) การประเมินตนเองว่าอยู่ในชนชั้นใด
(5) การศึกษาเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคล
ตอบ 1 หลักเกณฑ์ที่ใช้ศึกษาการจัดลำดับช่วงชั้นของคนในสังคมมี 3 วิธี คือ
1.การศึกษาแบบวัตถุวิสัย ซึ่งศึกษาโดยการวิเคราะห์ปัจจัยเกี่ยวกับรายได้ อาชีพ อำนาจตำแหน่ง และทรัพย์สมบัติ
2.การศึกษาแบบอัตวิสัย ซึ่งขึ้นอยู่กับความรู้สึกของบุคคลที่คิดว่าตนเองอยู่ในชนชั้นใดของสังคม
3.การศึกษาโดยดูจากชื่อเสียง ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินค่าบุคคลโดยบุคคลอื่น
49. “บุคคลที่เกิดในตระกูลเก่าแก่ มั่งคั่ง ผู้ดีเก่า” ในทัศนะของวอร์เนอร์ (Warner) จัดอยู่ในชนชั้นใด
(1) ชนชั้นสูงระดับสูง (2) ชนชั้นสูงระดับกลาง (3) ชนชั้นสูงระดับต่ำ
(4) ชนชั้นกลางระดับสูง (5) ชนชั้นกลางระดับต่ำ
ตอบ 1 วอร์เนอร์ (Warner) ได้แบ่งระดับชั้นทางสังคมออกเป็น 6 ชนชั้น ดังนี้
1.ชนชั้นสูงระดับสูง ได้แก่ พวกปัญญาชนที่มีตระกูลเก่าแก่ มีความมั่งคั่ง ผู้ดีเก่า
2.ชนชั้นสูงระดับต่ำ ได้แก่ พวกเศรษฐีใหม่ กิริยามารยาทยังไม่สุภาพ มีการศึกษาไม่สูงนัก
3.ชนชั้นกลางระดับสูง ได้แก่ ครอบครัวที่ประสบความสำเร็จในอาชีพปานกลาง
4.ชนชั้นกลางระดับต่ำ ได้แก่ พวกเสมียน พนักงาน คนงานมีฝีมือ
5.ชนชั้นต่ำระดับสูง ได้แก่ คนงานกรรมกรที่ไม่ค่อยมีฝีมือ ให้ความเชื่อถือได้
6.ชนชั้นต่ำระดับต่ำ ได้แก่ คนงานกรรมกรที่ไม่มีฝีมือ
50. ข้อใดเป็น “การจราจรภาพทางสังคม” แบบแนวดิ่ง
(1) กรรมกรที่ไร้ฝีมือเปลี่ยนเป็นกรรมกรที่มีฝีมือ
(2) ช่างไม้เปลี่ยนเป็นช่างปูน
(3) พนักงานขายเสื้อผ้าเปลี่ยนเป็นพนักงานขายเครื่องสำอาง
(4) ชาวนาเปลี่ยนเป็นชาวไร่
(5) พนักงานดูแลความปลอดภัยทำหน้าที่ดูแลตึกสูง 8 ชั้น
ตอบ 1 การจราจรภาพทางแนวดิ่งหรือแนวตั้ง อาจเป็นไปได้ 2 ทาง คือ
1.การจราจรภาพในทางที่ต่ำลง เช่น บุคคลซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเปลี่ยนไปเป็นบุคคลธรรมดาไม่มีตำแหน่งใด ๆ การเป็นอาจารย์เปลี่ยนมาเป็นคนขายของ ฯลฯ
2.การจราจรภาพในทางที่สูงขึ้น เช่น สามัญชนไปแต่งงานกับกษัตริย์ก็จะเปลี่ยนสถานภาพในทางที่สูงขึ้น กรรมกรที่ไร้ฝีมือเปลี่ยนเป็นกรรมกรที่มีฝีมือ ฯลฯ
51. “บุคคล กลุ่มสังคม พยายามควบคุมพฤติกรรมตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น ด้วยวิธีการสื่อความหมายต่าง ๆ โดยแต่ละแบบมีเจตนาซ่อนเร้นเหตุผล เพื่อทำให้ผู้รับข่าวสารจักได้เกิดความเชื่อถือในเรื่องนั้น ๆ” เป็นหลักการของกลไกอะไร
(1) วัฒนธรรม
(2) กลอุบาย
(3) แลกเปลี่ยน
(4) กฎระเบียบ
(5) บังคับ
ตอบ 2 กลไกกลอุบาย เป็นหลักการซึ่งใช้โดยบุคคลหรือกลุ่มเพื่อพยายามที่จะควบคุมพฤติกรรมตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นด้วยวิธีการสื่อความหมายต่าง ๆ โดยแต่ละแบบนั้นการสื่อข้อความจะมีเจตนาที่พยายามซ่อนเร้นเหตุผลที่แท้จริง เพื่อทำให้ผู้รับข่าวสารเกิดความเชื่อถือในเรื่องนั้น ๆ
52. กลไกอะไรจัดเป็นกลไกกลอุบายแบบใช้ถ้อยคำภาษา (Verbal Manipulation)
(1) การโฆษณาชวนเชื่อ (2) เรื่องตลกขบขัน การใช้ภาษาเฉพาะ
(3) การพูดโกหก การให้สมญา (4) ข้อ 2 และ 3 (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 การควบคุมทางสังคมด้วยกลไกกลอุบาย มี 2 วิธี คือ
1.กลอุบายที่ใช้ถ้อยคำภาษา (Verbal Manipulation) ได้แก่ การโฆษณาชวนเชื่อเรื่องตลกขบขัน การพูดปดมดเท็จ การให้สมญา (เช่น เฒ่าหัวงู ใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง) และการใช้ภาษาเฉพาะ
2.กลอุบายที่ไม่ใช่ถ้อยคำภาษา (Nonverbal Manipulation) ได้แก่ การจัดฉากและการแสดง การปิดบังข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ การหนีปัญหาและการเกณฑ์เอาเป็นพวก
53. “ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อ ชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ…” จัดเป็นผลมาจากกลไกอะไร
(1) การรวมตัวอย่างถาวร (Permanent Unification)
(2) การรวมตัวชั่วคราว (Temporary Unification)
(3) การรวมเป็นบางส่วน (Partial Unification)
(4) แลกเปลี่ยน (Exchange)
(5) กลอุบาย (Manipulative)
ตอบ 1 การรวมตัวอย่างถาวร (Permanent Unification) เป็นกลไกที่จะนำมาใช้เมื่อบุคคลกลุ่มหรือสังคมต่าง ๆ ได้ตัดสินใจมารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทุก ๆ เรื่อง ซึ่งได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการรวมกันจะเป็นการรวมพลังที่ก่อให้เกิดความมั่นคง และจะมีสิ่งสูญเสียเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีสิ่งสูญเสียเลย ดังจะเห็นได้จากเนื้อเพลงชาติไทยที่ว่า “ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ…”
54. วิธีการควบคุมสังคมให้มีระเบียบตามแนวคิดของนักสังคมวิทยาคืออะไร
(1) การให้รางวัลโดยตรง (2) การให้รางวัลด้วยสัญลักษณ์
(3) การลงโทษด้วยสัญลักษณ์ (4) การลงโทษทางร่างกายโดยตรง
(5) การให้รางวัล (Rewards) และการลงโทษ (Punishments)
ตอบ 5 การให้รางวัล (Rewards) และการลงโทษ (Punishments) เป็นวิธีการควบคุมสังคมให้มีระเบียบและจูงใจให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตามในสิ่งที่สังคมยอมรับซึ่งนักสังคมวิทยาเน้นว่าในทางปฏิบัติไม่มีระบบการควบคุมใดมีประสิทธิภาพเท่ากับการบังคับใช้ (Sanctions) ซึ่งก็คือการให้รางวัลและการลงโทษนั่นเอง
55. “บรรทัดฐาน สถานภาพและบทบาท การบังคับใช้ กลุ่ม ความแตกต่างและช่วงชั้นทางสังคม”จัดเป็นกลยุทธ์ในการควบคุมสังคมแบบใด
(1) กลไกทางวัฒนธรรม (Cultural Strategies)
(2) กลไกแลกเปลี่ยน (Exchange Strategies)
(3) กลไกกฎระเบียบ (Procedural Strategies)
(4) กลไกกลอุบาย (Manipulative Strategies)
(5) กลไกบังคับ (Coercive Strategies)
ตอบ 1 กลไกทางวัฒนธรรม (Cultural Strategies) ที่ใช้ในการควบคุมทางสังคมประกอบด้วย
1.บรรทัดฐาน 2. การบังคับใช้ 3. สถานภาพและบทบาท 4. การเข้ากลุ่มและการเข้าสังคม 5. ความแตกต่างทางสังคมและชั้นทางสังคม
56. ผู้ใดเห็นว่ารัฐ (State) สำคัญกว่าสังคม (Society)
(1) มาร์กซ์ (Marx) (2) โบแดง (Bodin) (3) เฮเกล (Hegel)
(4) ข้อ 2 และ 3 (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 โบแดง (Bodin) และเฮเกล (Hegel) เป็นผู้ที่เห็นตรงกันข้ามว่า “รัฐมีอำนาจและมีความสำคัญมากกว่ารัฐ” ส่วนมาร์กซ์ (Marx) เป็นผู้ที่เห็นตรงกันข้ามว่า “สังคมมีอำนาจและมีความสำคัญมากกว่ารัฐ”
57. แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เห็นว่าการจัดระเบียบบริหารงานแบบราชการ (Bureaucracy) มีลักษณะอย่างไร
(1)ยึดถือมาตรฐานความเป็นกลางหรือยึดระบบคุณธรรม (Merit System)
(2)ยึดความเสมอภาคที่ว่า “ทุกคนเท่าเทียมกัน ; All men are created equal”
(3)ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสถาบันสังคมและการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยระยะแรก
(4)ข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เห็นว่า การจัดระเบียบบริหารงานแบบราชการ(Bureaucracy) จะมีลักษณะทั้งความประสานและความขัดแย้งเกิดขึ้นในตัวยึดมาตรฐานความเป็นกลางหรือระบบคุณธรรม (Merit System) และยึดความเสมอภาคที่ว่า “ทุกคนเท่าเทียมกัน” (All men are created equal) ซึ่งมีส่วนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสถาบันสังคม และมีผลต่อการพัฒนาสถาบันประชาธิปไตยโดยเฉพาะในระยะแรก ๆ แต่ถ้าใช้ระบบราชการเกินขอบเขตก็จะทำให้เกิดผลเสียต่อประชาธิปไตย เพราะรัฐจะกลายเป็นผู้มีอำนาจมากเกินไป เช่นเดียวกับระบบสังคมนิยม ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามเสรีภาพส่วนบุคคลและทำลายเสถียรภาพทางการเมืองอย่างมาก
58. แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เห็นว่า “การจัดระเบียบบริหารงานแบบราชการ ; Bureaucracy”ในเชิงที่เป็นโทษต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย คืออะไร
(1) หากนำสิ่งดังกล่าวมาใช้เกินขอบเขตจะทำให้รัฐมีอำนาจมาก
(2) เมื่อรัฐมีอำนาจมากจักนำสังคมไปสู่ระบบสังคมนิยม
(3) รัฐมีอำนาจมากเป็นภัยคุกคามเสรีภาพส่วนบุคคล การดังกล่าวเป็นการทำลายเสถียรภาพทางการเมือง
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ
59. ปัจจัยอะไรสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย
(1) ระดับการศึกษา (2) ฐานะทางเศรษฐกิจ (3) การมีลักษณะเป็นเมือง
(4) ข้อ 1 และ 2 (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 ปัจจัยที่สนับสนุนหรือเอื้อต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่
1. ระดับการศึกษาของประชาชน 2. การพัฒนาทางเศรษฐกิจ 3. บุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย
4. เสถียรภาพของสถาบันทางการเมือง 5. พัฒนาทางการปกครองและการบริหาร
60. การปกครองระบอบประชาธิปไตยจะมีเสถียรภาพ ตามแนวความคิดของทอคเกอวิลล์ (Alexis de
Tocqueville) เห็นว่าควรจะมีสิ่งใด
(1) สหจิต (Consensus)
(2) ความขัดแย้ง (Conflict)
(3) กฎเหล็กแห่งคณาธิไตย (Iron Law of Oligarchy)
(4) สหจิต (Consensus) และความขัดแย้ง (Conflict)
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 ทอคเกอวิลล์ (Tocqueville) มองว่า การเมืองแบบประชาธิปไตยจะอยู่รอดได้ก็ต่อเมื่อมีดุลยภาพระหว่างความเข้าใจกันได้หรือสหจิต (Consensus) และความขัดแย้ง (Conflict) ดังนั้นเพื่อก่อให้เกิดดุลยภาพดังกล่าวเขาจึงต้องการสนับสนุนให้มีระบบการเมืองแบบกลุ่มหลากหลายขึ้นในสังคม คือ ให้มีอิสระและมีความแตกต่างในการปกครองท้องถิ่น ไม่ใช่ปล่อยให้อำนาจไปรวมอยู่ที่รัฐซึ่งเป็นศูนย์กลางแต่เพียงแห่งเดียว
61. ลักษณะพฤติกรรมฝูงชนที่ “ไม่มีโครงสร้าง” หมายถึงในฝูงชนไม่มีสิ่งใดที่ได้กำหนดไว้ก่อน
(1) บรรทัดฐาน
(2) สถานภาพและบทบาท
(3) การให้รางวัลและการลงโทษ
(4) ข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 2 พฤติกรรมฝูงชน มีลักษณะที่สำคัญดังนี้
1.เกิดขึ้นแบบทันทีทันใดและดำรงอยู่ในระยะเวลาอันสั้น
2.ไม่มีโครงสร้าง หมายถึง ไม่มีการกำหนดสถานภาพ บทบาท และความสัมพันธ์ของสมาชิก
3.สมาชิกที่เข้าร่วมมีจำนวนไม่แน่นอน
4. ไม่มีบรรทัดฐานทางสังคมควบคุม
5. ไม่มีตัวตน
6. ไม่มีการเจาะจงตัวบุคคล
7. อยู่ในสภาวะที่ชักจูงได้ง่าย
8. มีการระบาดทางอารมณ์
62. ลักษณะของพฤติกรรมฝูงชนคืออะไร
(1) ไม่มีโครงสร้าง
(2) จำนวนสมาชิกไม่แน่นอน
(3) ไม่มีบรรทัดฐาน ชักจูงง่ายและมีการระบาดทางอารมณ์อย่างรวดเร็ว
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ
63. ฝูงชนวุ่นวาย (Mob) ได้แก่ตัวเลือกใด
(1) การลงประชาทัณฑ์ (Lynching Mob) (2) การจลาจล (Riot)
(3) ออร์จี (Orgy) (4) ความแตกตื่น (Panic)
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 ประเภทของฝูงชนที่บ้าคลั่งหรือฝูงชนวุ่นวาย (Mob) ซึ่งแบ่งออกตามจุดประสงค์และความรุนแรง ได้แก่
1.Lynching Mob เช่น การรุมประชาทัณฑ์ การจับผู้ที่คิดว่ากระทำผิดแขวนคอ
2.การจลาจล (Riot) เช่น การจลาจลด้านเชื้อชาติ ศาสนา และความยุติธรรม
3.Orgy เช่น การมั่วสุมทางเพศ การคลั่ง เต้นรำ กินเหล้า
4.ฝูงชนที่แตกตื่น (Panic) เช่น ไฟไหม้ เรือล่ม น้ำท่วม
64. วิธีการควบคุมพฤติกรรมฝูงขนที่ไม่นิยมนำมาใช้เพราะอาจลุกลามจนยากที่จะควบคุมได้แก่ตัวเลือกใด
(1) ให้สติสมาชิกที่เข้าร่วมฝูงชน เพื่อมีปัญญาไม่เกิดอารมณ์คล้อยตาม
(2) การเกณฑ์ผู้นำมาเป็นพวก
(3) ใช้กำลังบังคับ
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 3 การควบคุมพฤติกรรมฝูงชนที่จัดเป็นการควบคุมจากภายนอก ได้แก่
1. โดยสภาพดินฟ้าอากาศ 2. โดยการเข้าแทรกแซงเพื่อแยกฝูงชนให้เป็นกลุ่มเล็ก ๆ
3. โดยการใช้กำลังบังคับ ซึ่งเป็นวิธีที่รุนแรงจึงไม่นิยมนำมาใช้เพราะอาจลุกลามไปสู่เรื่องอื่นๆได้
65. ประโยชน์ของพฤติกรรมฝูงชนคืออะไร
(1) ผ่อนคลายพิธีการที่ตึงเครียดลง เช่น ฝูงชนชุมนุม ดูกีฬา ฟังเพลง
(2) ใช้สภาวการณ์ฝูงสนับสนุนอาชีพหรือความสำคัญของตนเองในรูปของ “หน้าม้า”
(3) เปลี่ยนกลุ่มเขาหรือกลุ่มวงนอกให้เป็นกลุ่มเราหรือกลุ่มวงใน
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 ประโยชน์ของพฤติกรรมฝูงชน ได้แก่
1.เป็นการผ่อนคลายพิธีการที่ตึงเครียดลง เพราะบรรยากาศเป็นกันเอง เช่น ฝูงชนงานเลี้ยงงาน เต้นรำ การแข่งขันกีฬา
2.อาศัยสภาวการณ์ของฝูงชนที่สนับสนุนอาชีพหรือความสำคัญของตนเอง โดยนักแสดงหรือนักพูดบางคนจะลงทุนจ้าง “หน้าม้า” มาเป็นผู้นำในการปรบมือโห่ร้อง
3.เป็นการสร้างความสัมพันธร์ ะหว่างบุคคลขึ้น จากการเป็นกลุ่มเขาหรือกลุ่มวงนอก(Out-Group) มาเป็นกลุ่มเราหรือกลุ่มวงใน (In-Group)
66. “พฤติกรรมของกลุ่มในลักษณะที่บุคคลทั้งหลายในกลุ่มนั้น กระทำด้วยแรงจูงใจ ความรู้สึกและทัศนคติที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เสมือนว่ากลุ่มนั้นคือ คนคนเดียว” เป็นความหมายของอะไร
(1) จำนวนรวม (Aggregation)
(2) จำแนกพวก (Collective Behavior)
(3) กลุ่มสังคม (Social Group)
(4) พฤติกรรมรวมหมู่ (Collective Behavior)
(5) กลุ่มอ้างอิง (Reference Group)
ตอบ 4 พฤติกรรมรวมหมู่ (Collective Behavior) เป็นพฤติกรรมการแสดงออกของฝูงชนในลักษณะที่บุคคลทั้งหลายภายในกลุ่มนั้น กระทำด้วยแรงจูงใจ ความรู้สึก และทัศนคติที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เสมือนว่ากลุ่มนั้นคือ คนคนเดียว ดังนั้น สภาพแห่งการเป็นพฤติกรรมรวมหมู่จึงมีผลทางจิตวิทยาสังคม ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมกันว่าทุก ๆ คนจะมีอารมณ์ ความหวังและวัตถุประสงค์เดียวกันในการกระทำใด ๆ
67. ข้อใดคือการแก้ปัญหาสังคมแบบย่อย (Piecemeal)
(1) การแก้ปัญหาความยากจนโดยแจกอาหาร
(2) การแก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยการแจกถุงยังชีพ
(3) การแก้ปัญหาไฟไหม้โดยสร้างที่พักชั่วคราว
(4) การแก้ปัญหาโรคระบาดโดยแจกยา
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 แนวทางในการแก้ไขปัญหาสังคม อาจแบ่งออกเป็นหลักใหญ่ ๆ ได้ 2 ประการ คือ
1.การแก้ไขปัญหาแบบย่อย (Piecemeal) เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยไม่มีการวางแผนมาก่อน เช่น การแก้ปัญหาความยากจน ความอดอยากขาดแคลนและช่วยผู้ประสบภัยด้วยการแจกสิ่งของ อาหาร ยารักษาโรค และการสร้างที่พักชั่วคราวฯลฯ
2.การแก้ไขปัญหาแบบรวมถ้วนทั่ว (Wholesale) เป็นการแก้ปัญหาระยะยาวแบบมีการวางแผนมาก่อน (แก้ปัญหาที่ต้นตอหรือสาเหตุของปัญหา) มีการประเมินผล มีการตรวจสอบและปัญหานั้น ๆ จะไม่เกิดขึ้นมาอีก เช่น การแก้ปัญหาความยากจนด้วยการฝึกอาชีพให้ ฯลฯ
68. ปัจจัยใดที่ทำให้เกิดปัญหาความยากจนในภูมิภาคเอเชีย
(1) การว่างงาน
(2) สภาพของดินฟ้าอากาศ
(3) คนร่ำรวยมีโอกาสเพิ่มพูนรวยได้มากกว่าคนยากจน
(4) ความเชื่อทางด้านไสยศาสตร์และโชคลาง
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาความยากจนในประเทศกำลังพัฒนา มีดังนี้
1. สภาพของดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวย ทำให้ได้ผลิตผลต่ำ
2. ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมและสังคม เช่น มีความเชื่อถือทางด้านไสยศาสตร์ และโชคลางของขลังมากเกินไป
4.การพัฒนาเศรษฐกิจยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะคนร่ำรวยมีโอกาสเพิ่มพูนรายได้ของตนมากกว่าคนยากจน
5.ขาดดุลการค้ามาก 5. การว่างงาน 6. การกระจายรายได้ยังใช้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร
69. เมื่อ 400 ปีก่อนคริสตกาลหมอชาวกรีก ฮิปโปเครตีส ค้นพบน้ำยาสกัดจากฝิ่นสามารถใช้รักษาโรคใด
(1) หอบหืด (2) หัวใจ (3) ทางเดินอาหาร
(4) ขจัดความเจ็บปวด (5) หวัด
ตอบ 4 เมื่อ 400 ปีก่อนคริสตกาล มีหมอชาวกรีกชื่อ ฮิปโปเครตีส ได้ค้นพบน้ำยาชนิดที่สกัดจากฝิ่นสามารถใช้รักษาโรคได้ โดยชาวอียิปต์และชาวจีนใช้ยานี้เพื่อรักษาและขจัดความเจ็บปวด ดังนั้นแต่เดิมมนุษย์เราจึงรู้จักแต่ส่วนดีของยาเสพติด
70. สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เสนอวิธีการใดในการแก้ปัญหาสังคม
(1) จ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเป็นที่ปรึกษา
(2) ส่งนักวิชาการไทยไปศึกษาต่างประเทศให้มากขึ้น
(3) พัฒนาแบบไทย ๆ ไม่ลอกเลียนต่างชาติ
(4) เปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศให้มากขึ้น
(5) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น
ตอบ 3 สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เห็นว่า ความยากจนทำให้เกิดปัญหาสังคม และในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคม การเมือง ควรพัฒนาในแบบไทย ๆ ไม่ควรลอกเลียนต่างชาติมากเกินไป
71. ข้อใดคือโรคประสาทนิวราสธิเนีย (Neurasthenia)
(1) กลัววัตถุสิ่งของและทุกสิ่งทุกอย่าง
(2) วิตกกังวลกลัวว่าจะได้พบในสิ่งที่ตัวเกลียด
(3) ย้ำคิดย้ำทำ
(4) คิดว่าตนเองเจ็บป่วย
(5) มึนศีรษะ หงุดหงิด คิดว่าโลกนี้มีแต่ความทุกข์ไม่น่าอยู่
ตอบ 5 โรคประสาท สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ประเภท คือ
1. โรคประสาทหวาดกังวล มักวิตกกังวลกลัวว่าจะได้พบในสิ่งที่ตัวเกลียด
2. โรคประสาทตื่นกลัว มักกลัววัตถุสิ่งของและทุกสิ่งทุกอย่าง
3. โรคประสาทย้ำคิดย้ำทำ
4. โรคประสาทเศร้า
5. โรคประสาทนิวราสธิเนีย (Neurastyenia) มักมึนศีรษะ หงุดหงิด นอนไม่หลับ และคิดว่าโลกนี้มีแต่ความทุกข์ไม่น่าอยู่
6. โรคประสาทดีเปอร์ซันนัลไลเซชั่น (Depersonalization) มักรู้สึกว่าสภาพแวดล้อมรอบตัวไม่น่าอยู่
7.โรคประสาทสุขภาพ มักคิดว่าตนเองเจ็บป่วย
8.โรคประสาทฮีสทีเรีย (Hysteria) มักทำงานอย่างใจลอย อ่อนเพลี ไม่มีแรง เพราะขาดแรงจูงใจและแรงกระตุ้น
72. ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาการทำแท้งคืออะไร
(1) การจัดการเรียนแบบสหศึกษา
(2) การเปิดสอนเพศศึกษาในระดับมัธยมศึกษา
(3) พ่อแม่ปล่อยปละละเลยทำแต่งานไม่มีเวลาให้ลูก
(4) คลินิกเถื่อนมีมาก
(5) ยาเสพติด
ตอบ 5 ยาเสพติดเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาการทำแท้งขึ้น ทั้งนี้เพราะเมื่อเสพเข้าไปแล้ว พอยาออกฤทธิ์จะรู้สึกว่าอะไร ๆ ก็สวยงามไปหมด โลกนี้น่าอยู่ จนลืมความทุกข์ยากทรมานและลืมปัญหาต่าง ๆ ที่กำลังประสบอยู่
73. เกณฑ์ใดที่นิยมนำมาจำแนกชนกลุ่มน้อย
(1) ความทันสมัย (2) ชาติพันธุ์ (3) ระดับการศึกษา
(4) ฐานะทางการเมือง (5) รายได้
ตอบ 2 เกณฑ์ที่ใช้จำแนกชนกลุ่มน้อยพิจารณาได้จากองค์ประกอบ 3 ลักษณะ คือ
1.ความแตกต่างด้านเชื้อชาติหรือเผ่าพันธุ์ (Race) ซึ่งแสดงออกมาเป็นลักษณะ ทางกายภาพเช่น รูปร่าง สีผิว สีผม ฯลฯ
2.ความแตกต่างด้านวัฒนธรรมที่ยึดถือปฏิบัติ (Ethnicity) เช่น ภาษา ศาสนาขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ รูปแบบความสัมพันธ์ การจัดลำดับชั้นทางสังคม ฯลฯ
3.ความแตกต่างด้านกลุ่มโลหิต (Blood Group) ซึ่งถูกกำหนดโดย พันธุกรรม แต่เนื่องจากเป็นเกณฑ์ที่ไม่สะดวกในการนำมาใช้ปฏิบัติจึงไม่เป็นที่นิยมใช้กัน (ส่วนใหญ่จึงพิจารณาจากเกณฑ์ที่ 1 และ 2 เป็นสำคัญ)
74. ข้อใดคือชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งของชนกลุ่มน้อย
(1) กลุ่มด้วยอิทธิพล (2) กลุ่มมวลชน (3) คนชายขอบ
(4) ชนต่างวัฒนธรรม (5) กลุ่มถูกลิดรอนผลประโยชน์
ตอบ 4 ชนกลุ่มน้อย (Minority Group) หรือชนต่างวัฒนธรรม หมายถึง กลุ่มชนที่มีการยึดถือวัฒนธรรมในรูปแบบที่แตกต่างไปจากชนกลุ่มใหญ่ (Majority Group) และเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดในเรื่องจำนวนนักวิชาการบางท่านจึงเรียกชนกลุ่มใหญ่ว่า “กลุ่มครอบครอง” และเรียกชนกลุ่มน้อยว่า “กลุ่มใต้ครอบครอง” เพราะชนกลุ่มใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลและมีบทบาททั้งทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ดังนั้นชนกลุ่มใหญ่จึงเป็นกลุ่มที่กำหนดว่ากลุ่มใดเป็นชนกลุ่มน้อย
75. สังคมแบบทวิวัฒนธรรมที่ชัดเจนที่สุดได้แก่ข้อใด
(1) ไทย (2) จีน (3) สวิตเซอร์แลนด์ (4) สหรัฐอเมริกา (5) แคนาดา
ตอบ 5 สังคมลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดจากการมีชนต่างวัฒนธรรมในสังคมนั้น ๆ มีดังนี้
1.สังคมหลากหลายหรือพหุสังคม (Plural Society) คือ สังคมที่มีคนหลายเชื้อชาติ หลายภาษา หลายศาสนา และหลายวัฒนธรรม อาศัยรวมอยู่ปะปนกัน จึงเกิดมีบริเวณวัฒนธรรมและอนุวัฒนธรรมที่แตกต่างกันขึ้นมา เช่น สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น
2.สังคมแบบทวิวัฒนธรรม (Cultural Dualism) คือ สังคมที่มีประชากรส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจาก 2 เชื้อชาติ หรือ 2 วัฒนธรรม เช่น แคนาดา ประชากรส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากอังกฤษและฝรั่งเศส เป็นต้น
76. ชนกลุ่มน้อยในข้อใดขนานนามตนเองว่า “ชิคาโน”
(1) อเมริกันนิโกร (2) อเมริกันเชื้อสายยิว (3) อเมริกาเชื้อสายเม็กซิกัน
(4) อเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น (5) อเมริกันเชื้อสายโปรตุเกส
ตอบ 3 ภายในหมู่ชนกลุ่มน้อยและชนกลุ่มใหญ่ อาจเกิดความรู้สึกและมีการแสดงพฤติกรรมออกมาใน2 รูปแบบ คือ
1. อคติของชนกลุ่มใหญ่ที่มีต่อชนกลุ่มน้อย ด้วยการขนานนามกลุ่มอื่นในทางที่ไม่ดี เช่น คนจีนถูกเรียกว่าเจ๊ก คนอินเดียถูกเรียกว่าแขก คนม้งถูกเรียกว่าแม้ว คนข่าถูกเรียกว่าผีตองเหลือง ฯลฯ
2.อคติของชนกลุ่มน้อยทีมีต่อชนกลุ่มใหญ่ ด้วยการเรียกกลุ่มของตนในทางที่ดี เช่นคนนิโกรเรียกกลุ่มของตนเองว่าอาฟโรอเมริกา คนอเมริกันเชื้อสายเม็กซิกันเรียกตนเองว่าชิคาโนฯลฯ
77. ข้อใดคือความหมายของพหุสังคม (Plural Society)
(1) สังคมที่มีคนหลายเชื้อชาติหลายภาษา (2) สังคมที่มีคนหลายศาสนาและวัฒนธรรม
(3) สังคมที่มีอนุวัฒนธรรมแตกต่างกัน (4) สังคมที่มีบริเวณวัฒนธรรมแตกต่างกัน
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 75. ประกอบ
78. นโยบายใดเหมาะสมแก่การแก้ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดภาคใต้
(1) การแยกพวก (2) การกีดกันให้อยู่แยก (3) การผสมผสานชาติพันธุ์
(4) การรวมพวก (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 นโยบายรวมพวก (Integration) หมายถึง การที่รัฐบาลยอมให้ชนต่างวัฒนธรรมยึดถือและปฏิบัติตามวัฒนธรรมรูปแบบเดิมของตนได้ และในขณะเดียวกันทั้งชนกลุ่มน้อยและชนกลุ่มใหญ่ก็ยังมีการติดต่อสัมพันธ์กันอย่างดีในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้ชนกลุ่มน้อยเกิดความรู้สึกผูกพันว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ต้องให้ความซื่อสัตย์และความจงรักภักดี เช่น นโยบายแก้ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดภาคใต้
79. ทฤษฎีที่นิยมกันมากในโลกตะวันตก
(1) วิวัฒนาการ (2) โครงสร้าง – การหน้าที่ (3) วัฏจักร
(4) การขัดแย้ง (5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary Theory) เป็นทฤษฎีที่นิยมกันมากในโลกตะวันตกโดยเชื่อว่า สังคมก้าวหน้าขึ้นจากสภาพที่อยู่กันง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อนและขยายตัวไปเรื่อย ๆจนกระทั่งมีความซับซ้อนสูงขึ้น ซึ่งการมีสภาพสังคมที่สลับซับซ้อนขึ้นนั้นถือว่าเป็นความก้าวหน้า
80. แนวคิดเชิงวัฏจักรกล่าวถึงการกำเนิดของอารยธรรมว่าเกี่ยวกับความสามารถใน “การสนองตอบที่ประสบความสำเร็จต่อการท้าทายต่าง ๆ” เป็นแนวคิดของใคร
(1) มาร์กซ์ (Marx) (2) ทอยนบี (Toynbee) (3) สเปนเซอร์ (Spencer)
(4) เมอร์ตัน (Merton) (5) โซโรคิน (Sorokin)
ตอบ 2 ทอยนบี (Toynbee) กล่าวว่า การกำเนิดของอารยธรรมนั้นเกี่ยวกับความสามารถใน“การสนองตอบที่ประสบความสำเร็จต่อการท้าทายต่าง ๆ” กล่าวคือ อารยธรรมจะเติบโตหรือพัฒนาขึ้น หลังจากมีการสนองที่ประสบความสำเร็จต่อ ๆ กันเป็นช่วง ๆ ซึ่งการตอบสนองที่ได้ผลนี้ถือเป็นผลงานของกลุ่มน้อยหรือคนส่วนน้อยที่มีนฤมิตกรรม
81. ความเชื่อที่ว่าของที่เกิดขึ้นมาภายหลังย่อมดีกว่าของที่มีอยู่เดิมเป็นผลมาจากทฤษฎีใด
(1) การขัดแย้ง
(2) โครงสร้างและการหน้าที่
(3) วัฏจักร
(4) วิวัฒนาการ
(5) การขึ้นและลง
ตอบ 4 ทฤษฎีวิวัฒนาการทำให้เกิดความเชื่อที่ว่า ของที่เกิดขึ้นมาภายหลังย่อมดีกว่าของที่มีอยู่เดิมเข้าทำนองว่าของ “ใหม่” ดีกว่าของ “เก่า” ดังจะเห็นได้จากการโฆษณาสินค้าทุกวันนี้มักหนักไปในทางที่ว่าเป็นของรุ่นใหม่หรือรุ่นล่าสุดโดยยึดข้อสมมติฐานว่าย่อมดีกว่ารุ่นเก่า
82. ทฤษฎีใดที่ไม่สนใจเรื่องความเป็นมาและการคาดการณ์ความเป็นไปในอนาตตแต่สนใจการทำหน้าที่ หรือการให้ประโยชน์ต่าง ๆ
(1)การขัดแย้ง (2) โครงสร้างและการหน้าที่ (3) วัฏจักร
(4) วิวัฒนาการ (5) ความทันสมัย
ตอบ 2 ทฤษฎีการหน้าที่หรือทฤษฎีโครงสร้างและการหน้าที่ จะเน้นในเรื่องบทบาทของแต่ละสังคมและการทำหน้าที่หรือการให้ประโยชน์ต่าง ๆ โดยไม่สนใจที่จะตั้งคำถามว่าสังคมจะผ่านกระบวนการในรูปใด ไม่สนใจเรื่องความเป็นมาและการคาดการณ์ความเป็นไปในอนาคต
83. อ็อกเบิร์น (Ogburn) ย้ำว่านวัตกรรมขึ้นอยู่กับปัจจัยใด
(1) ความสามารถทางสมอง (2) ความจำเป็น (3) ความรู้ที่มีอยู่
(4) ข้อ 1 และ 2 (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 อ็อกเบิร์น (Ogburn) ได้ย้ำว่า นวัตกรรมขึ้นอยู่กับความสามารถทางสมอง ความต้องการ(หรือความจำเป็น) และความรู้เดิมที่มีอยู่ ดังนั้นเมื่อเป็นความต้องการของสังคมจึงได้มีการค้นคว้าศึกษาโดยใช้ความรู้ที่มีอยู่พร้อมทั้งความสามารถทางปัญญาที่จะใช้ศึกษาค้นคว้า
84. “สภาพสังคมที่สลับซับซ้อนถือว่าเป็นความก้าวหน้า” เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของทฤษฎีใด
(1) วัฏจักร (2) วิวัฒนาการ (3) โครงสร้าง – การหน้าที่
(4) การขัดแย้ง (5) การขึ้นและลง
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 79. ประกอบ
85. ใครเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักสังคมวิทยาชนบทคนแรกของโลก
(1) ค้องท์ (Comte) (2) สเปนเซอร์ (Spencer) (3) เจฟเฟอสัน (Jefferson)
(4) เลอเปล (Le Play) (5) เวเบอร์ (Weber)
ตอบ 4 ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักสังคมวิทยาชนบทคนแรกของโลกคือ เลอเปล (Le Play)นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับครอบครัวชนบทและองค์การต่าง ๆในชนบท โดยการใช้หลักสังเกตการณ์ การเก็บ และการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
86. ตัวเลือกใดที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาข้อแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท
(1) ประชากร (2) นิเวศน์ (3) สังคมและวัฒนธรรม
(4) ข้อ 1 และ 2 (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 หลักเกณฑ์ในการพิจารณาข้อแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท มีดังนี้
1.ด้านประชากร ได้แก่ ขนาดและความหนาแน่น ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรสและระดับรายได้
2.ด้านนิเวศน์ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม การแบ่งพื้นที่ทำประโยชน์ สิ่งแวดล้อมในการทำงานการพึ่งพาระหว่างหน่วยของสังคม และอาชีพ
3.ด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ สิ่งแวดล้อมด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณี การเคลื่อนย้าย ฯลฯ
87. ข้อใดคือคุณสมบัติดั้งเดิมของชุมชนชนบท
(1) แต่ละหมู่บ้านมักอยู่โดดเดี่ยว (2) มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
(3) ประกอบอาชีพด้านการเกษตร (4) ผลิตเพื่อบริโภค
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 คุณสมบัติดั้งเดิมของชุมชนชนบท มีดังนี้
1.ความโดดเดี่ยว (Isolation)
2.ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Homogeneity)
3.การใช้แรงงานเพื่อการเกษตร (Agricultural Employment)
4.การเศรษฐกิจ (ผลิต) เพื่อการบริโภค (Subsistence Economy)
88. การตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านชนบทไทยโดยทั่วไปมีลักษณะใด
(1) หมู่บ้านเกษตรกรรม (2) แบบไม่มีการวางแผน (3) หมู่บ้านป่าไม้
(4) หมู่บ้านสหกรณ์ (5) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 การตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านชนบทไทยโดยทั่วไปจะเป็นแบบไม่มีการวางแผนโดยมีการตั้งถิ่นฐานแบบหมู่บ้านเกษตรกรรม ซึ่งจะตั้งบ้านเรือนตามที่ลุ่ม ที่ดอน เนิน ชายป่า ชายเขา เส้นทางคมนาคม และส่วนใหญ่จะตั้งตามริมฝั่งน้ำ (ส่วนการตั้งถิ่นฐานชนิดที่มีการวางแผนนั้นนับว่ามีน้อยมาก คงมีแต่เฉพาะหมู่บ้านสหกรณ์ นิคมสร้างตนเองและหมู่บ้านป่าไม้ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นมาเท่านั้น)
89. ข้อใดเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสังคมชนบทที่เกิดจากภายในสังคมชนบท
(1) การผสมผสานทางวัฒนธรรม (2) การเลียนแบบ (3) การพัฒนา
(4) การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม (5) การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่
ตอบ 5 สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในสังคมชนบทเกิดจากปัจจัย 2 ประการ คือ
1.สาเหตุจากภายในสังคมชนบทเอง เช่น การเกิด การตาย การย้ายถิ่น การแปรปรวนของธรรมชาติ ผู้ร้ายหรือการสู้รบ การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ฯลฯ
2.สาเหตุจากภายนอกสังคมชนบท เช่น การผสมผสานทางวัฒนธรรม การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม การคมนาคมติดต่อสื่อสาร การเลียนแบบ การพัฒนา ฯลฯ
90. สังคมวิทยานคร ตรงกับคำศัพท์ใดในภาษาอังกฤษ
(1) Rural Sociology (2) Urban Sociology (3) Gender Sociology
(4) Climate Sociology (5) Paleo Sociology
ตอบ 2 สังคมวิทยานคร (Urban Sociology) บางครั้งจะเรียกว่า สังคมวิทยานาครหรือสังคมวิทยาเมือง เป็นการศึกษาทางสังคมโดยเน้นหนักถึงการศึกษาชีวิตของมนุษย์ในเมืองและกระบวนการการกลายเป็นเมือง ซึ่งมักจะศึกษาเปรียบเทียบกับสังคมวิทยาชนบท (Rural Sociology)
91. ตัวอย่างใดที่มีลักษณะเป็นเอกนคร (Primate City)
(1) มะนิลา
(2) จาการ์ตา
(3) พนมเปญ
(4) กรุงเทพฯ
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 เอกนคร (Primate City) เป็นลักษณะของเมืองในประเทศใดประเทศหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่มากใหญ่กว่าเมืองในขนาดรอง ๆ ลงไปอย่างมากเหลือเกิน โดยที่ความเจริญของเมืองไม่ได้มาจากสาเหตุของการขยายตัวทางอุตสาหกรรม แต่มาจากการเป็นศูนย์รวมของทุกสิ่งทุกอย่างทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตัวอย่างของเมืองที่มีลักษณะเป็นเอกนคร เช่น กรุงเทพมหานครมะนิลา จาการ์ตา พนมเปญ โคลัมโบ ฯลฯ
92. “บริเวณรอบนอกของเขตในเมือง ซึ่งประชากรอาศัยอยู่เบาบางกว่าเขตเมืองมักจะเป็นที่อยู่อาศัยมากกว่าย่านธุรกิจการค้า” เรียกว่าอะไร
(1) เขตเมือง (2) เขตชานเมือง (3) เขตชนบท
(4) เขตเอกบุรี (5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 พื้นที่ของกรุงเทพมหานคร แบ่งออกได้เป็น 3 เขตใหญ่ ๆ ดังนี้
1.เขตเมือง (Urban Area) ได้แก่ บริเวณอันเป็นที่ตั้งของสถานธุรกิจการค้าและบริการต่าง ๆ เช่น ถนนเจริญกรุง เยาวราช บางลำพู ฯลฯ
2.เขตชานเมือง (Suburban Area) ได้แก่ บริเวณรอบนอกของเขตในเมือง ซึ่งมีประชากรอาศัยกันอยู่อย่างเบาบางกว่าในเมือง และมักจะเป็นที่อยู่อาศัยมากกว่าย่านธุรกิจการค้า
3.เขตชนบท (Rural Area) ได้แก่ เขตที่ถัดจากชานเมืองออกไป ซึ่งมีประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรม และมีวิถีชีวิตเช่นเดียวกับชาวชนบท
93. ทฤษฎีการขยายตัวของเมืองที่เก่าแก่ที่สุด ได้แก่ ทฤษฎีใด
(1) ทฤษฎีรูปดาว (2) ทฤษฎีรูปวงกลม (3) ทฤษฎีรูปพาย
(4) ทฤษฎีหลายศูนย์กลาง (5) ทฤษฎีเงา
ตอบ 1 ทฤษฎีรูปดาว (Star Theory) เป็นทฤษฎีการขยายตัวของเมืองที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นในปีค.ศ. 1903 โดยอาร์.เอ็ม.เฮิร์ด (R.M. Hurd) ได้ศึกษาพบว่า เมืองจะขยายตัวออกจากศูนย์กลางไปตามเส้นทางการคมนาคมขนส่ง ซึ่งทำให้เป็นรูปคล้ายดาวหรือแมงกะพรุน
94. เวอเนอร์ สอมบารท์ (Werner Sombart) มีทัศนะเกี่ยวกับเมืองอย่างไร
(1) เมืองคือสถานที่ธนาคารและร้านค้าตั้งอยู่
(2) เมืองเป็นจุดศูนย์กลางสำคัญที่ทุกอย่างเกิดขึ้น
(3) ชาวเมืองส่วนใหญ่จะใช้เวลาส่วนใหญ่ทำงานในเมือง
(4) ธรรมชาติของเมืองจะต้องเป็นกาฝากของชนบท
(5) ถนนทุกสายมุ่งสู่เมือง
ตอบ 4 ในทัศนะเกี่ยวกับเมืองที่ว่า “ธรรมชาติของเมืองจะต้องเป็นกาฝากของชนบท” นั้นเวอเนอร์ สอมบารท์ (Werner Sombart) กล่าวว่า เมืองคือที่รวมของมนุษย์ที่ต้องพึ่งพาผลผลิตทางการเกษตรกรรมและแรงงานจากชนบทเพื่อความอยู่รอดของตนเอง ความต้องการอาหารทุกวันทำให้เมืองต้องขึ้นอยู่กับเขตชนบท จึงมักจะมีคำโบราณว่า “ชนบทคือชีวิต ส่วนเมืองนั้นคือกาฝาก”
95. ความรู้ทางนิเวศวิทยามีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณแล้ว หรือเรียกสาขาวิชานี้ว่าอะไร
(1) ชีววิทยา (2) ชีววิทยาสิ่งแวดล้อม (3) โบราณคดีศึกษา
(4) มานุษยวิทยาโบราณ (5) โบราณคดี
ตอบ 2 ความรู้ทางด้านนิเวศวิทยานั้นมีมานับตั้งแต่สมัยกรีกโบราณแล้ว ซึ่งเห็นได้จากข้อเขียนของนักปรัชญากรีกในสมัยก่อน แต่นิเวศวิทยาได้ถูกพิจารณาให้เป็นศาสตร์โดยอิสระเมื่อต้นศตวรรษนี้เอง โดยปกติวิชานี้ถือเป็นสาขาหนึ่งของชีววิทยา หรือบางครั้งเรียกว่า “ชีววิทยาทางสิ่งแวดล้อม”
96. “ป่า ภูเขา ทะเลทราย” เป็นตัวอย่างระบบนิเวศน์ประเภทใด
(1) Rural Ecosystems
(2) Urban Ecosystems
(3) Productive Ecosystems
(4) Managed Natural Ecosystems
(5) Mature Natural Ecosystems
ตอบ 5 ระบบนิเวศน์ของมนุษย์แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. Mature Natural Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่อยู่ในสภาพธรรมชาติอย่างแท้จริงไม่มีผู้คนอยู่อาศัย เช่น ป่า ภูเขา ทะเลทราย
2. Managed Natural Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง และดัดแปลง เช่น สวนสาธารณะ อุทยาน
3. Productive Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงเพื่อให้ได้ผลิตผลต่าง ๆ เช่น ฟาร์ม ปศุสัตว์ เหมืองแร่
4. Urban Ecosystems เป็นระบบนิเวศน์ที่มนุษย์ได้อาศัยประกอบกิจการทำงานต่าง ๆเช่น บริเวณย่านอุตสาหกรรม บริเวณเมืองเล็กและเมืองใหญ่
97. พื้นที่ดินของโลก 58.4 ล้านตารางไมล์ นั้น มีพื้นที่เหมาะสมในการเพาะปลูกหรือการกสิกรรมได้ในสัดส่วนเท่าใด
(1) 1 ต่อ 5 (2) 1 ต่อ 4 (3) 1 ต่อ 3
(4) 2 ต่อ 3 (5) 3 ต่อ 5
ตอบ 3 พื้นที่ดินของโลกมีทั้งหมด 58.4 ล้านตารางไมล์ ประกอบด้วยพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกหรือการกสิกรรม 30% (คิดเป็นสัดส่วน 1 ต่อ 3 ของพื้นที่ทั้งหมด), เป็นภูเขา 20%, เป็นทะเลทรายที่ราบสูง 20%, อยู่ใต้น้ำแข็งหรือหิมะ 20% และเป็นที่ดินประเภทอื่น ๆ อีก 10%
98. ข้อใดจัดเป็นมลพิษ (Pollutant)
(1) ตะกั่ว
(2) ปรอท
(3) กัมมันตรังสี
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 มลพิษ (Pollutant) อาจเป็นสารประกอบทางเคมีชนิดเดียว เช่น ตะกั่ว ปรอท ฯลฯ หรือสารประกอบทางเคมีหลายชนิด เช่น ดีดีที คาร์บอนมอนอกไซด์ ฯลฯ หรือการรวมตัวที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นของวัตถุต่าง ๆ เช่น ตะกอนหรือของเสียจากท่อน้ำทิ้ง เสียง กัมมันตรังสี ความร้อน ฯลฯ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นมลพิษทั้งสิ้น
99. น้ำทะเลมีปริมาณร้อยละเท่าใดของน้ำที่มีอยู่บนโลกทั้งหมด
(1) 97 (2) 60 (3) 25 (4) 14 (5) 3
ตอบ 1 ปริมาณร้อยละของน้ำที่มีอยู่บนโลก แบ่งเป็น น้ำทะเล 97% และน้ำจืด 3%
100. คำว่า “Anthropology” มีความหมายตามรากศัพท์ว่าอะไร
(1) ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของมนุษย์
(2) ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตพวกไพรเมท
(3) ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับกำเนิดและวิวัฒนาการของมนุษย์
(4) ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์
(5) ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์
ตอบ 5 มนุษย์วิทยา (Anthropology) หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ โดยคำว่าAnthropology นั้นมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ ได้แก่ Anthropos แปลว่า มนุษย์และ Logia แปลว่า ความรู้ที่จัดไว้เป็นระเบียบแบบแผนแล้วหรือเป็นศาสตร์
101. ข้อใดไม่ใช่สาขาของวิชามนุษย์วิทยาวัฒนธรรม
(1) มานุษยวิทยาสังคม
(2) มานุษยวิทยาภาษาศาสตร์
(3) ชาติพันธุ์วิทยา
(4) ชาติพันธุ์วรรณนา
(5) โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
ตอบ 5 วิชามานุษยวิทยา แบ่งออกเป็น 2 สาขาใหญ่ คือ
1. มานุษยวิทยากายภาพ
2. มานุษยวิทยาวัฒนธรรม ซึ่งแบ่งแยกย่อยออกเป็น โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์มานุษยวิทยาภาษาศาสตร์ มานุษยวิทยาสังคม ชาติพันธุ์วิทยา และชาติพันธุ์วรรณนา
102. มานุษยวิทยากายภาพศึกษาสิ่งมีชีวิตเริ่มจากสัตว์จำพวกใด
(1) ปลาวาฬ (2) ช้าง (3) กุ้ง (4) ไพรเมท (5) ไซโตซีน
ตอบ 4 มานุษยวิทยากายภาพ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการกำเนิดของมนุษย์ในแง่สรีรวิทยา โดยมุ่งเน้นการศึกษาสัตว์ตระกูล Homo Sapiens ชนิดต่าง ๆ ในด้านโครงสร้างของอวัยวะทางร่างกายอย่างละเอียด ซึ่งได้พยายามค้นคว้าศึกษาวิวัฒนาการจากจุดเริ่มต้นที่เรียกกันว่า ไพรเมท(Primate) หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มาจนกระทั่งถึงการมีลักษณะที่เป็นรูปร่างเหมือนกับมนุษย์ในปัจจุบัน
103. มนุษย์จำพวกใดมีลักษณะทางกายภาพใกล้เคียงกับมนุษย์ปัจจุบันมากที่สุด
(1) นีแอนเดอร์ธัล (2) โครมันยอง (3) มนุษย์ปักกิ่ง
(4) ออสตราโลพิเธซัน (5) มนุษย์ชวา
ตอบ 2 มนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon Man) มีชีวิตอยู่ราว 40,000 ปีมานี้เอง และเชื่อกันว่ามีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับมนุษย์ปัจจุบันมากที่สุด ดังนั้นจึงมีลักษณะเป็นตัวแทนของมนุษย์ปัจจุบัน โดยมนุษย์เหล่านี้จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามระยะเวลาของการมีชีวิตอยู่ เช่น Swanscombe Man, Kanam Man และ Kanjera Man เป็นต้น
104. ใครคือผู้ให้กำเนิดทฤษฎีวิวัฒนาการ
(1) ไทเลอร์ (Tilor) (2) เมนเดล (Mendel) (3) ลินเน่ (Linne)
(4) ดาร์วิน (Darwin) (5) ปาสเตอร์ (Pasteur)
ตอบ 4 ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Darwin) เป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีวิวัฒนาการ และได้รับยกย่องว่าเป็น“บิดาแห่งทฤษฎีวิวัฒนาการ” ซึ่งเขาได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ On the Origin of Species by Means of Natural Selection โดยได้กล่าวถึงหลักฐานการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและแนวความคิดเกี่ยวกับการเลือกสรรตามธรรมชาติ
105. ในระยะแรกเริ่ม (ปลายศตวรรษที่ 19) นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมเน้นศึกษาและวิเคราะห์วิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมใด
(1) สังคมอุตสาหกรรม (2) สังคมดั้งเดิม (3) สังคมเมือง
(4) สังคมเกษตรกรรม (5) สังคมชนบท
ตอบ 2 ในระยะแรกเริ่ม (ปลายศตวรรษที่ 19) นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมได้เน้นศึกษาและวิเคราะห์ขนบธรรมเนียมประเพณี ลักษณะชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมดั้งเดิม (Primitive Societies)
106. ข้อใดคือชนชั้นในลาตินอเมริกา
(1) ชนชั้นสูง (2) ชนชั้นกลาง (3) ชนชั้นต่ำ
(4) ข้อ 1 และ 3 (5) ข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 ในลาตินอเมริกามีชนชั้นอยู่ 3 ชนชั้น คือ ชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นต่ำ โดยชนชั้นต่ำจะรับการขนานนามตามคำสเปนว่า Pueblo และคำโปรตุเกสว่า Povo ซึ่งชนชั้นที่คนทั่วไปรังเกียจ คือ คนนิโกรและคนอินเดีย
107. ปัญหาสังคมในลาตินอเมริกาเกี่ยวข้องกับปัจจัยใดน้อยที่สุด
(1) ชนชั้น (2) เชื้อชาติ (3) การศึกษาอาชีพ
(4) รายได้ (5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 สังคมในลาตินอเมริกานั้นไม่มีปัญหาเชื้อชาติ แต่มักมีปัญหาในเรื่องการแบ่งชนชั้นการศึกษาอาชีพ รายได้ และกิริยามารยาท ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ต้องระวังในการยึดถือปฏิบัติ
108. คนเอเชียเชื้อชาติใดที่ได้ชื่อว่ามีความผูกพันกับชาติของตนเองมากที่สุด
(1) ญี่ปุ่น (2) อินโดนีเซีย (3) กัมพูชา
(4) อินเดีย (5) เกาหลี
ตอบ 1 คนเอเชียส่วนใหญ่นั้นจะไม่ค่อยมีความผูกพันและไม่ค่อยภาคภูมิใจกับชาติของตนเท่าที่ควรและมักจะไม่ค่อยนิยมใช้ของที่ผลิตในประเทศ แต่ชอบใช้ของใช้ที่มาจากต่างประเทศ ยกเว้นเพียงชาวญี่ปุ่นเท่านั้นที่ได้ชื่อว่ามีความผูกพันกับชาติของตนเองมากที่สุด
109. ข้อใดคือลักษณะภาพแบบเดียวกัน (Stereotype) ของวัฒนธรรมเอเชีย
(1) ความกลมกลืนกับธรรมชาติ (2) นิยมหาความสุขทางใจ
(3) เชื่อฟังผู้มีอำนาจ (4) นิยมใช้สันติวิธี
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 ลักษณะภาพแบบเดียวกัน (Stereotype) ของวัฒนธรรมเอเชีย คือ นิยมใช้สันติวิธี ทำอะไรมักจะอะลุ่มอล่วยกัน มีความกลมกลืนกับธรรมชาติ นิยมหาความสุขทางด้านจิตใจ ทำบุญให้ทานเพื่อความสบายในบั้นปลายของชีวิตทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เชื่อฟังผู้มีอำนาจ ผู้มีอาวุโสและถือความสำคัญของกลุ่ม
110. ศาสนาใดมีผู้นับถือมากที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง
(1) พุทธ (2) คริสต์ (3) อิสลาม (4) ฮินดู (5) ซิกซ์
ตอบ 3 ศาสนาที่ประชาชนในตะวันออกกลางนับถือศรัทธามากที่สุด คือ ศาสนาอิสลาม ซึ่งชาวตะวันออกกลาง ได้แก่ จอร์แดน เลบานอน อิสราเอล ซีเรีย อิรัก อิหร่าน คูเวต บาเรนซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ โอมาน เยเมน สหรัฐอาหรับอีมิเรต ฯลฯ
111. ชนชาติใดที่มี “ภาพพิมพ์” เป็นคน “ตระหนี่”
(1) อิสราเอล
(2) อิหร่าน
(3) อินเดีย
(4) จีน
(5) ไต้หวัน
ตอบ 1 ภาพพิมพ์หรือภาพแบบเดียวกัน (Stereotype) ของชนชาติใด ชนชาติหนึ่งมักมีแนวโน้มที่จะถูกมองไปในทางลบ เช่น คนแขก (อินเดีย) ถูกมองว่าขี้โกงหรือชอบเอาเปรียบ, คนยิวหรืออิสราเอลถูกมองว่าเป็นคนตระหนี่, คนอังกฤษถูกมองว่าหัวเก่าเก็บตัวและเย่อหยิ่ง, คนยุโรปมองคนอเมริกันว่าฝึกมารยาทมาน้อยและไร้รสนิยมด้านศิลปะ หรือความสวยงาม, คนอังกฤษมองพวกลาติน (สเปน อิตาลี อเมริกาใต้) ว่าเชื่อถือไม่ได้ และเจ้าอารมณ์ ฯลฯ
112. ข้อใดคือความหมายของ “ลักษณะอุปนิสัยประจำชาติ”
(1) ลักษณะทางบุคลิกภาพที่ค่อนข้างมีอยู่ประจำ
(2) ลักษณะพิเศษอันทำให้แต่ชาติแตกต่างกัน
(3) ระบบบุคลิกภาพซึ่งมีอยู่ในสมาชิกส่วนใหญ่ในสังคม
(4) ข้อ 1 และ 2 (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 ลักษณะประจำชาติหรืออุปนิสัยประจำชาติ มีความหมายต่าง ๆ กัน ดังนี้
1.ระบบบุคลิกภาพซึ่งมีอยู่ในสมาชิกส่วนส่วนใหญ่ในสังคม หรือลักษณะที่เด่นพิเศษ อันทำให้นานาชาติแตกต่างกัน
2.ลักษณะบุคลิกภาพที่ค่อนข้างจะมีอยู่เป็นประจำ
3.โครงสร้างแห่งบุคลิกภาพ ซึ่งวางอยู่บนสมมติฐานที่ว่าเป็นลักษณะของสมาชิกของสังคมเดียวกัน
113. วัฒนธรรมมีอิทธิพลในการหล่อหลอมบุคลิกภาพโดยผ่านกระบวนการใด
(1) สังคมประกฤติ (Socialization)
(2) การเลียนแบบ (Imitation)
(3) การยึดติด (Attachment)
(4) การสร้างความนิยมชมชอบ (Popularity)
(5) การป้องกันตนเอง (Self-Defense)
ตอบ 1 ในเรื่องวัฒนธรรมและบุคลิกภาพนั้น คนในแต่ละสังคมได้สร้างวัฒนธรรมของตนเองขึ้นมาและวัฒนธรรมนี้ได้มีอิทธิพลในการหล่อหลอมบุคลิกภาพหรือมีอิทธิพลเหนือบุคลิกภาพของบุคคลทั่วไปในสังคมทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านกระบวนการสังคมกรณ์หรือสังคมประกฤติ (Socialization)
114. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รุธ เบเนดิกท์ (Ruth Benedict) ได้ศึกษาอุปนิสัยของชนชาติใดในเอเชีย
(1) จีน (2) ญี่ปุ่น (3) อินเดีย (4) ปากีสถาน (5) ศรีลังกา
ตอบ 2 รุธ เบเนดิกท์ (Ruth Benedict) นักมานุษยวิทยาทางวัฒนธรรมชาวอเมริกัน ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับอุปนิสัยประจำชาติของคนญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นมา ชื่อว่า “ดอกเบญจมาศและดาบ (ซามูไร)” โดยเขาเห็นว่า บุคลิกภาพของคนญี่ปุ่นนั้นจะเป็นเสมือนดอกเบญจมาศและดาบซามูไร คือ จะอ่อนน้อมภายนอกแต่แข็งแกร่งภายใน
115. ตามทัศนะของเอมบรี (Embree) เห็นว่าอุปนิสัยประจำชาติของคนไทยเป็นอย่างไร
(1) ขาดเมตตา (2) ขาดความสามัคคี (3) ขาดวินัย
(4) รู้จักประสานประโยชน์ (5) ชาตินิยม
ตอบ 3 จอห์น เอมบลี (Embree) นักมานุษยวิทยาตะวันตก กล่าวว่า “คนไทยชอบสนุกและมีโครงสร้างทางบุคลิกภาพและทางสังคมหลวม ๆ คือ ขาดวินัย
116. ข้อใดเป็นค่านิยมของสังคมไทยซึ่งเป็นลักษณะของสังคมเกษตรกรรม
(1) การถือฐานานุรูป (2) การถือประโยชน์ของตนเอง (3) การถืออำนาจ
(4) ข้อ 1 และ 2 (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 ตามทัศนะของ ดร. อดุล วิเชียรเจริญ ค่านิยมในสังคมเกษตร ได้แก่
1. ความเฉื่อย 2. การถือฐานานุรูป 3. การถือความสัมพันธ์ส่วนตัว
4. การถือประโยชน์ตนเอง 5. การถืออำนาจซึ่งจะตรงกันข้ามกับค่านิยมในสังคมอุตสาหกรรม ได้แก่
(1). ความฉับพลัน (2). การถือความสามารถ (3). การถือหลักเกณฑ์
(4). การถือประโยชน์ส่วนรวม (5). การถือเสรีภาพ
117. ประเทศใดถือเป็นแม่แบบในการจัดการสังคมสงเคราะห์
(1) สหรัฐอเมริกา (2) อังกฤษ (3) ฝรั่งเศส (4) อิตาลี (5) กรีก
ตอบ 2 ประเทศอังกฤษนับว่าเป็นประเทศแรกที่ริเริ่มและถือเป็นแม่แบบในการจัดการสังคมสงเคราะห์โดยจะเห็นได้จากการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความผาสุกของส่วนร่วมเป็นลายลักษณ์อักษรเช่น ในปี ค.ศ. 1601 สมัยพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 1 ได้ทรงออกกฎหมายเพื่อช่วยเหลือคนจนที่เรียกว่า Elizabethan Poor Law เป็นต้น
118. ข้อใดคือวิธีการของสังคมสงเคราะห์ที่จัดเป็นการให้บริการโดยอ้อม (Indirect Service)
(1) การสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย (2) การสังคมสงเคราะห์กลุ่ม
(3) การสำรวจวิจัยทางสังคมสงเคราะห์ (4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 1 และ 3
ตอบ 3 วิธีการของสังคมสงเคราะห์ มี 5 วิธีการ ได้แก่
1. การสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย (Social Case Work)
2. การสังคมสงเคราะห์กลุ่ม (Social Group Work)
3. การจัดระเบียบชุมชน (Community Organization)
4. การสำรวจวิจัยทางสังคมสงเคราะห์ (Social Research)
5. การบริหารงานสวัสดิการสังคม (Social Welfare Administration)
โดย 3 วิธีแรกจัดเป็นการให้บริการโดยตรง (Direct Service)
ส่วน 2 วิธีการหลังจัดเป็นการให้บริการทางอ้อม (Indirect Service)
119. ความรู้ใดบ้างที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์
(1) หลักความจริงและทฤษฎี (2) ความรู้ทางสังคมศาสตร์
(3) ความรู้ทางสังคมวิทยา (4) ความรู้ทางจิตวิทยา (5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 ความรู้ที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์นั้น ได้แก่
1.หลักความจริงและทฤษฎีในงานสังคมสงเคราะห์
2. ความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ เช่น ความรู้ทางสังคมวิทยา จิตวิทยา จิตวิทยาสังคมเศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ฯลฯ
120. สาระใดของ “สิทธิมนุษยชน” ที่พิจารณาได้ว่าเกี่ยวข้องกับการสังคมสงเคราะห์
(1) การคุ้มครองป้องกันเด็กทุกคนในสังคมไทย
(2) การช่วยเหลือเด็กในทุกครอบครัวในสังคม
(3) การช่วยเหลือผู้หญิงที่มีบุตรยากโดยใช้การแพทย์ที่ทันสมัย
(4) ข้อ 1 และ 2 (5) ข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 สาระสำคัญของ “สิทธิมนุษยชน” ที่เกี่ยวข้องกับการสังคมสงเคราะห์ ได้แก่
1.ให้มีการคุ้มครองป้องกันต่อเด็กทุกคนในสังคม
2.ให้มีการช่วยเหลืออย่างเต็มที่แก่เด็กทุกครอบครัวในสังคม
3.ให้มีการสงเคราะห์ช่วยเหลือสำหรับผู้เป็นมารดาทั้งก่อนและหลังคลอด ฯลฯ