การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา RAM 1301 (RAM 1000) คุณธรรมคู่ความรู้
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1.สีประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง สีน้ำเงิน – สีทอง มีความหมายถึงอะไร
(1) พระมหากษัตริย์และผู้เรียน
(2) ประชาชนและแหล่งความรู้
(3) ความรู้และคุณธรรม
(4) พระมหากษัตริย์และความเจริญรุ่งเรือง
ตอบ 4หน้า 22 สีประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ “สีน้ำเงิน – ทอง” หมายถึง
1. สีน้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ คือ พ่อขุนรามคําแหง
2. สีทอง เป็นเครื่องหมายของความอุดมสมบูรณ์และเจริญรุ่งเรือง สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรือง ของอาณาจักรสุโขทัย
2. ในปี พ.ศ. 2565 นี้ จะครบรอบปีในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) ครบรอบ 51 ปี
(2) ครบรอบ 40 ปี
(3) ครบรอบ 55 ปี
(4) ครบรอบ 45 ปี
ตอบ 1หน้า 1, 23 มหาวิทยาลัยรามคําแหงก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคําแหงเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ดังนั้นในปี พ.ศ. 2565 จะครบรอบ 51 ปี ในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง
3. ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคําแหงใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคําแหงในปี พ.ศ. ใด
(1) พ.ศ. 2514
(2) พ.ศ. 2516
(3) พ.ศ. 2541
(4) พ.ศ. 2544
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคําแหงใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคําแหง พ.ศ. 2541 ซึ่งให้ไว้ ณ วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2541 เพื่อใช้บังคับแทนกฎหมายฉบับเดิม
4.มหาวิทยาลัยรามคําแหงอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงใด
(1) กระทรวงศึกษาธิการ
(2) กระทรวงอุดมศึกษา
(3) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม
(4) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) แต่เดิมมหาวิทยาลัยรามคําแหงอยู่ภายใต้สังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมา ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562 ทําให้ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคําแหงจึงอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
5. อธิการบดีคนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) รศ.สุขุม นวลสกุล
(2) รศ.รังสรรค์ แสงสุข
(3) ผศ.ดร.สืบพงษ์ ปราบใหญ่
(4) รศ.คิม ไชยแสนสุข
ตอบ 3 หน้า 24 ผศ.ดร.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ให้เป็น อธิการบดีคนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยรามคําแหงเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563 (ปัจจุบัน ศาลปกครองกลางมีคําสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ ผศ.ดร.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ กลับมาปฏิบัติหน้าที่ ในตําแหน่งอธิการบดี มีผลตั้งแต่วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566)
6.เครื่องหมายราชการของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) สัญลักษณ์พ่อขุนราม
(2) ศิลาจารึกและตราพ่อขุน
(3) ศิลาจารึก
(4) ตราพ่อขุน
ตอบ 2 หน้า 21, (ความรู้ทั่วไป) ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 100 ตอนที่ 148 วันที่ 16 กันยายน
พ.ศ. 2535 (ฉบับพิเศษ หน้า 1 – 3) ระบุว่า เครื่องหมายราชการของมหาวิทยาลัย รามคําแหง* (ตราประจํามหาวิทยาลัย) คือ “พระรูปพ่อขุนรามคําแหงมหาราช และศิลาจารึก พ่อขุนรามคําแหงมหาราช (ศิลาจารึกหลักที่ 1)
7. มหาวิทยาลัยรามคําแหงก่อตั้งด้วยวัตถุประสงค์ใด
(1) เพื่อลดช่องว่างในการเรียนรู้
(2) เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี
(3) เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา
(4) เพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ว่างเปล่าของรัฐ
ตอบ 3 หน้า 1 จุดกําเนิดของมหาวิทยาลัยรามคําแหงนั้นแตกต่างจากมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งอื่น ๆ ตรงที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เกิดจากความต้องการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้มองเห็นปัญหา จํานวนที่เรียนไม่เพียงพอในมหาวิทยาลัยปิดต่าง ๆ เพราะในยุคนั้นมีนักเรียนที่พลาดหวังจาก การสอบเข้ามหาวิทยาลัยปิดปีละจํานวนไม่น้อย ส่วนผู้ที่มีฐานะก็ต้องส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อ ต่างประเทศ ดังนั้น ส.ส. จึงได้ร่วมกันเสนอร่าง พ.ร.บ. ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ เพื่อขยาย โอกาสทางการศึกษา อันเป็นการแก้ไขปัญหานักศึกษาไม่มีที่เล่าเรียนจะได้หมดสิ้นไป
8.“ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” คล้องจองกับพุทธศาสนสุภาษิตข้อใด
(1) “ปุญญา เว ธเนน เสยโย”
(2) “พาโล อปุริณายโก”
(3) “ททมาโน ปิโย โหติ
(4) “อัตตาหิ อตฺตโน นาโถ
ตอบ 4 หน้า 23 คติพจน์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ “อัตตาหิ อตฺตโน นาโถ” แปลว่า ตนเป็น ที่พึ่งแห่งตน (เป็นวลีในยุคแรกเมื่อปี พ.ศ. 2514 ที่ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ เป็นอธิการบดี โดยใช้ วลีนี้ในข่าวรามคําแหง)
9.วันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี มีความสําคัญอย่างไรกับมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย
(2) วันพ่อขุนรามคําแหงมหาราช
(3) วันพระราชทานปริญญาบัตร ปี พ.ศ. 2514
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 32 (ความรู้ทั่วไป) รัชกาลที่ 9 และสมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดําเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคําแหงมหาราชที่มหาวิทยาลัยรามคําแหง (หัวหมาก) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 พร้อมทั้งพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่บัณฑิตรุ่นแรก ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นเวลารวม 2 วัน ได้แก่ วันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ดังนั้นในวโรกาสมหามงคลยิ่งนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหงจึงได้ถือเอาวันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
10.ต้นไม้ประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง คือข้อใด
(1) กระถินณรงค์
(2) ชมพูพันทิพย์
(3) เหลืองปรีดียาธร
(4) สุพรรณิการ์
ตอบ 4 หน้า 22, (ความรู้ทั่วไป) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ หรือ ฝ้ายคํา เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งในขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้า อาคารหอประชุมพ่อขุนรามคําแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2542
11. อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือข้อใด
(1) รศ.สุขุม นวลสกุล
(2) รศ.รังสรรค์ แสงสุข
(3) รศ.ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(4) รศ.คิม ไชยแสนสุข
ตอบ 3หน้า 22 – 23 อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ รศ.ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ ดํารงตําแหน่ง 3 วาระ ดังนี้
1. 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (วาระที่ 1)
2. 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 – 22 มิถุนายน พ.ศ. 2516 (วาระที่ 2)
3. 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (วาระที่ 3)
12. คําขวัญแรกของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือข้อใด
(1) รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ
(2) สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม
(3) เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง
(4) ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
ตอบ 1 หน้า 22 – 23 คําขวัญมหาวิทยาลัยรามคําแหงได้มีขึ้นตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย จวบจนปัจจุบัน ตามลําดับดังนี้
1. “รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ” เป็นคําขวัญแรกที่อดีตอธิการบดีคนแรก ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ เป็นผู้คิดขึ้นเมื่อระยะแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย
2. “เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง” เป็นคําขวัญที่ชนะการประกวดเมื่อปี พ.ศ. 2527 3. “สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม” เป็นคําขวัญที่ชนะการประกวดคําขวัญเนื่องใน โอกาส 40 ปี รามคําแหง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ฯลฯ
13. คําทักทาย “ต้องห้าม” เพราะอาจทําให้เสียบรรยากาศ
(1) แป้ง หมู่นี้ไปทําอะไรมาสวยขึ้นเป็นกองเลย
(2) หมู่นี้แต่งตัวเปรี้ยวทันสมัย ตามเทรนเลยนะยิ่ง
(3) ตุ๊กตา เราเพิ่งรู้ว่าเธอแต่งงาน ไม่บอกกันเลยจะได้ไปแสดงความยินดีด้วย
(4) นิตยา แต่งงานมาตั้งนานแล้ว เมื่อไหร่จะซื้อบ้านซื้อรถสักทีล่ะ
ตอบ 4 หน้า 128, (คําบรรยาย) การทักทายของคนไทยมักจะเริ่มต้นด้วยการกล่าวคําว่า “สวัสดีค่ะ ครับ” และกล่าวต่อไปว่า “สบายดีหรือคะ/ครับ” หรือพูดถึงเรื่องทั่วไปในชีวิตประจําวัน เช่น เรื่องดินฟ้าอากาศ ถามถึงสารทุกข์สุขดิบ หรือการทํามาหากิน ฯลฯ ไม่ควรพูดวิจารณ์รูปร่าง หน้าตา สถานะทางการเงิน ฯลฯ ของคู่สนทนาในแง่ลบ ดูหมิ่น และไม่ให้เกียรติผู้อื่น
14. มารยาทในการรับประทานอาหาร
(1) นาน ๆ เจอกันที จิ๊บกับมินมักจะคุยไปกินไปอย่างสนุกสนาน
(2) อ๊อดชอบกินเป็ดปักกิ่งมาก จึงตักแต่เป็ดปักกิ่งโดยไม่ส่งต่อให้ผู้อื่นตักด้วย
(3) นิดมีธุระ พอทานข้าวเสร็จก็ลุกออกจากโต๊ะโดยไม่บอกกล่าวใคร
(4) งานเลี้ยงอาหารบุฟเฟต์ สุภาพมักจะไปตักทานอาหารเอง โดยเลือกตักอาหารที่ชอบ ไม่มากเกิน ไม่น้อยเกิน
ตอบ 4 หน้า 140 มารยาทในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟต์ มีดังนี้
1. ควรลุกไปตักอาหารเองโดยยืนต่อแถว ไม่ตักอาหารเพื่อคนอื่น และอย่าตักอาหารมากเกินไป ถ้าไม่พอสามารถไปเติมใหม่ได้
2. ไม่พูดคุยขณะที่ตักอาหาร รีบตักอาหารเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ผู้อื่นได้ตักอาหารบ้าง
3. ตักอาหารเป็นอย่าง ๆ อย่าวางสุมทับกัน ถ้าของเป็นชิ้นควรหยิบเพียง 1 ชิ้น
4. อาหารที่ตักมาต้องรับประทานให้หมด
5. ไม่เบียดหรือแซงคิวผู้อื่นขนาดไปยืนรอตักอาหาร ควรรอจังหวะให้ผู้อื่นตักเสร็จเสียก่อน
6. เมื่อรับประทานเสร็จ ต้องเขียนเศษอาหารในจานให้อยู่รวมกัน แล้วรวบรวมช้อนส้อม ให้เรียบร้อย ฯลฯ
15. การแต่งกาย บ่งบอกถึง
(1) อุปนิสัยของผู้แต่ง ระดับการศึกษา ฐานะความเป็นอยู่ เชื้อชาติและวัฒนธรรมประจําชาติ
(2) บุคลิกภาพ อุปนิสัย สภาพแวดล้อม และความเป็นอยู่
(3) การได้รับการอบรม การเลี้ยงดู ฐานะ ค่านิยม
(4) ความสวยงาม
ตอบ 1 หน้า 142 ความสําคัญของการแต่งกาย มีดังนี้
1. ช่วยบ่งบอกถึงอุปนิสัยของผู้แต่ง
2. ช่วยบอกถึงระดับการศึกษา
3. ช่วยบอกถึงฐานะความเป็นอยู่
4. ช่วยบอกถึงเชื้อชาติและวัฒนธรรมประจําชาติ
16. มารยาทในสังคมที่ไม่ควรทํา
(1) ไม่ควรแสดงกิริยาละเมิดหรือดูหมิ่นสถาบันเกี่ยวกับชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ไทย
(2) พระพุทธรูปเป็นสิ่งที่คนไทยให้ความเคารพ ไม่ควรกระทําการใด ๆ ที่แสดงถึงการลบหลู่ดูหมิ่น
(3) ไม่ควรกระทําการใด ๆ ให้ผู้อื่นรู้สึกอับอายเสียหน้าในที่สาธารณะ หรือต่อหน้าสาธารณชน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 156 มารยาทในสังคมไทยที่ไม่ควรทํา ได้แก่
1. ไม่ควรแสดงกิริยาละเมิดหรือดูหมิ่นสถาบันเกี่ยวกับชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ไทย
2. คนไทยถือศีรษะเป็นสิ่งสูงสุด ไม่ควรจับหรือส่งสิ่งของข้ามศีรษะ ซึ่งถือว่าไม่สุภาพ
3. คนไทยถือว่าเท้าเป็นของต่ํา ไม่ควรใช้เท้าเขี่ย หรือเดินข้ามบุคคลหรือสิ่งของ เช่น อาหาร หนังสือ เป็นต้น
4. พระพุทธรูปเป็นสิ่งที่คนไทยให้ความเคารพ ไม่ควรกระทําการใด ๆ ที่แสดงถึงการลบหลู่ ดูหมิ่น เช่น การปีนป่าย หรือนําไปวางในที่ที่ไม่เหมาะสม
5. ไม่ควรกระทําการใด ๆ ให้ผู้อื่นรู้สึกอับอายเสียหน้าในที่สาธารณะ หรือต่อหน้าสาธารณชน
6. ไม่ควรทักทายคนไทย โดยเฉพาะสุภาพสตรีด้วยการโอบกอด หรือจูบ ฯลฯ
17. คํากล่าวขอบพระคุณ ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) ใช้กับผู้ที่เป็นผู้ใหญ่กว่า
(2) ใช้กับผู้ที่เป็นเด็กกว่า
(3) ใช้กับเพื่อน
(4) ใช้ได้กับทุกระดับ
ตอบ 1 หน้า 128 คํากล่าว “ขอบคุณ” เป็นคําที่ใช้เมื่อมีผู้อื่นให้สิ่งของ ให้ความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะ โดยหน้าที่ของเขา หรือมีน้ําใจหรือไม่ก็ตาม ถ้ากล่าวกับผู้ที่อาวุโสกว่า หรือมีวัยเสมอกันจะใช้ คําว่า “ขอบคุณ” แต่ถ้ากล่าวกับคนที่มีอายุน้อยกว่าจะใช้คําว่า “ขอบใจ” ส่วนระดับของการ
ขอบคุณจะใช้คําว่า “ขอบคุณ ขอบคุณมาก ขอบพระคุณมาก”, “ขอบใจ ขอบใจมาก” ซึ่งจะ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้พูดต่อสิ่งที่ทําให้หรือได้รับ โดยเฉพาะคําว่า “ขอบพระคุณมาก” นั้น จะใช้กับผู้อาวุโส มิใช่แค่คําพูด แต่น้ำเสียงที่พูด กิริยาท่าทางที่พูด จะบอกว่าผู้นั้นพูดออกมา จากความรู้สึกที่อยู่ในใจจริง ๆ หรือพูดออกมาตามหน้าที่
18. การดําเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(1) ใช้ความเป็นตัวตนของตนเอง อย่าเชื่อใคร
(2) ใช้ทรัพยากรของส่วนรวมเป็นหลัก
(3) รู้จักประหยัด ลดการใช้จ่ายที่ไม่จําเป็นในการดํารงชีวิต
(4) ใครเป็นใครไม่สนใจ ขอให้เป็นตัวของตัวเอง
ตอบ 3 หน้า 259, 261 การดําเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ รู้จัก ประหยัด ลดการใช้จ่ายที่ไม่จําเป็นในการดํารงชีวิต ยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้ ไม่สร้างหนี้สินแต่ให้สร้างวินัยการใช้เงิน และออมเงินส่วนที่เหลือจ่าย
19. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของคําว่า “มารยาท”
(1) กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ
(2) การแสดงออกที่มีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติ
(3) ได้รับการอบรมให้งดงามแห่งสังคม ได้มาจากสิ่งแวดล้อม การศึกษา
(4) สาวชอบไปทําบุญที่วัดกับสมใจ
ตอบ 4 หน้า 127 พรทิพย์ เกยุรานนท์ (2559) กล่าวถึง “มารยาท” (Etiquette or good manners) หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ หรือการแสดงออกที่มีแบบแผนในการ ประพฤติปฏิบัติ โดยได้รับการอบรมให้งดงามแห่งสังคม ทั้งนี้มารยาทไม่ได้ติดตัวมาแต่กําเนิด แต่ได้มาจากสิ่งแวดล้อม มีการศึกษาอบรมเป็นสําคัญ ซึ่งเมื่อดูกิริยาวาจาแล้วพอคาดได้ว่า ผู้นั้น ได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างไร นอกจากนี้พื้นฐานที่สําคัญที่สุดของมารยาท คือ ความสุภาพ และสํารวม โดยมารยาทที่ถือเป็นคุณลักษณะประจําตัวของบุคคล ได้แก่
1. การมีสัมมาคารวะ
2. ความสุภาพอ่อนน้อม
3. ความมีวินัยและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น
20. มารยาทที่ไม่ใช่คุณลักษณะประจําตัวของบุคคล ได้แก่
(1) มีความเป็นตัวเองสูง ไม่ชอบยุ่งกับใคร
(2) มีความสุภาพอ่อนน้อม
(3) มีวินัยและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น
(4) มีสัมมาคารวะ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ
21. มารยาททางสังคม ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) การ์ตูนไม่ชอบเป็นมิตรกับใคร เพราะหวาดระแวง เห็นผู้อื่นเป็นศัตรู
(2) นิตยาไม่ชอบแสดงความคิดเห็น หรือแสดงความช่วยเหลือเพื่อนในห้องเรียน
(3) พัชราชอบซื้อของไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ในโอกาสต่าง ๆ เสมอ
(4) สนิทไม่เคยขอบคุณ ขอโทษ หรือตอบรับการทักทายจากใคร เพราะกลัวเสียศักดิ์ศรี
ตอบ 3 หน้า 126 คําว่า “มารยาททางสังคม” หมายถึง กรอบหรือระเบียบแบบแผนที่ควรประพฤติ หรือควรละเว้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น รวมทั้งชุมชนหรือคนหมู่มาก ด้วยเหตุที่มนุษย์เรานั้น ไม่สามารถอยู่ลําพังคนเดียวในโลกได้ ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่มากก็น้อย จึงต้องมีกฎ
กติกาเพื่อกําหนดแบบแผนในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งทุกประเทศต่างก็มีแบบอย่างทางวัฒนธรรมที่ เรียกกันว่า “มารยาททางสังคม” ทั้งสิ้น เพียงแต่รายละเอียดอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง
22.ความหมายของมารยาททางสังคม คือ
(1) กรอบหรือระเบียบแบบแผนที่ควรประพฤติปฏิบัติ
(2) กรอบหรือแนวคิดที่นํามาใช้ในการประพฤติปฏิบัติ
(3) กรอบหรือแนวทางที่นํามาใช้ในการดํารงชีวิต
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
23. ระดับของการขอบคุณนั้นจะใช้อย่างไรถูกต้องที่สุด
(1) ขอบคุณ ขอบใจ ขอบพระคุณ
(2) ขอบคุณ ขอบคุณมาก ขอบพระคุณมาก
(3) ขอบใจ ขอบใจ ขอบใจมาก
(4) ขอบพระคุณ ขอบคุณมาก ขอบคุณ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ
24. การแนะนําบุคคลให้รู้จักกัน
(1) นิสาแนะนําผู้อาวุโสให้รู้จักกับน้องสาวของตนก่อน
(2) จันทร์แนะนําเพื่อนให้รู้จักกับลูกตนก่อน
(3) จิตแนะนําแฟนให้รู้จักและสวัสดีคุณพ่อของตัวเอง
(4) อนันต์แนะนําผู้เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ให้รู้จักกับพ่อแม่ของตนเองก่อน
ตอบ 3 หน้า 129 การแนะนําบุคคลให้รู้จักกันนั้น ตามหลักโดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะแนะนําผู้อาวุโสมาก ก่อนผู้ที่มีอาวุโสน้อยกว่า หรือแนะนําผู้เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ หรือมีตําแหน่งระดับสูงกว่าก่อน ผู้อื่น ถ้ามีสถานภาพเสมอกันก็ให้แนะนําตามความเหมาะสม อาจแนะนําผู้ที่มาก่อนก็ได้
25. เมื่อเพื่อนเรียนจบก่อนเรา และเราร่วมยินดีด้วยจากใจจริง แสดงถึงหลักคุณธรรมในข้อใด
(1) อุเบกขา
(2) กรุณา
(3) จิตตะ
(4) มุทิตา
ตอบ 4 หน้า 42, 223, (คําบรรยาย) พรหมวิหาร 4 หรือเรียกว่า “พรหมวิหารธรรม” ถือเป็นหลัก
คุณธรรมประจําใจ ประกอบด้วย
1. เมตตา คือ ความรักปรารถนาดีเป็นมิตร อยากให้ผู้อื่นพบความสุข
2. กรุณา คือ ความสงสารอยากช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา คือ ความพลอยยินดีพร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนผู้ที่ประสบความสําเร็จให้มีความสุข ไม่คิดอิจฉาริษยาในความดีของผู้อื่น
4. อุเบกขา คือ การวางตัว การวางใจเป็นกลางเพื่อรักษาธรรม
26. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด
(1) สุตตะ คือ การคิด
(2) ศีล 5 เป็นระดับคุณธรรมของสภาวะพ้นโลก
(3) ลิขิต คือ การถาม
(4) ลอยกระทง คือ แหล่งที่มาของคุณธรรมจริยธรรมประเภทสังคม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แหล่งที่มาของคุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่
1. ปรัชญา (ความรักในความรู้) คือ วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง
2. ศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม หรือศาสนาอื่น ๆ
3. วรรณคดี เป็นหนังสือที่มีมาตรฐานทั้งด้านเนื้อหาสาระ คุณค่า และวิธีแต่ง เป็นที่ยอมรับกัน โดยทั่วไป ซึ่งมีแนวคิดคําสอนที่เป็นแนวปฏิบัติได้ เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ ฯลฯ
4. สังคม คือ สิ่งที่สังคมกําหนดนับถือร่วมปฏิบัติด้วยกัน ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเป็นข้อกําหนดที่ถือปฏิบัติกันในสังคมและยอมรับสืบทอดกันมา
5. การเมืองการปกครอง ซึ่งได้กําหนดข้อบังคับ ระเบียบ กฎหมายของบ้านเมือง รวมทั้ง จรรยาบรรณต่าง ๆ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และเพื่อความยุติธรรมโดยทั่วกัน
27. การเกิดคุณธรรม จริยธรรมแบบ “บําเพ็ญประโยชน์” สามารถเกิดขึ้นได้ในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) จิตสาธารณะ
(2) เศรษฐกิจพอเพียง
(3) วัยใสใจสะอาด
(4) ปัญญาประดิษฐ์
ตอบ 1 หน้า 225, (คําบรรยาย) การเกิดคุณธรรมจริยธรรมแบบบําเพ็ญประโยชน์และพันธะสัญญา ประชาคม เป็นการปฏิบัติตามระเบียบ ซึ่งก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของ ประชาชาติ มีความสัมพันธ์เป็นมิตรไมตรี ต่างปฏิบัติตามบทบาท และใช้สิทธิหน้าที่ทําให้เกิด ความสงบสุขและความสามัคคี ซึ่งการเกิดคุณธรรมจริยธรรมแบบ “บําเพ็ญประโยชน์” นี้มักจะ เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีอุตสาธารณะมากที่สุด
28. ความกรุณา เป็นส่วนหนึ่งของหลักธรรมในข้อใดต่อไปนี้
(1) พรหมวิหาร 4
(2) อิทธิบาท 4
(3) มงคลชีวิต
(4) กาลามสูตร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ
29.“บวร” เกี่ยวข้องกับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) การสร้างในตนเอง
(2) มโนธรรม
(3) พันธสัญญาประชาคม
(4) การเลียนแบบ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเกิดคุณธรรมจริยธรรมจากการเลียนแบบ เป็นกระบวนการที่เกิดจากการ เรียนรู้ การยอมรับ การเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่แวดล้อมตนอยู่ แล้วนํามาปรับเข้ากับ ตนเอง ดังนั้นจึงถือเป็นกระบวนการที่มีความสําคัญต่อพัฒนาการของเด็ก นิสิต และนักศึกษา ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในครอบครัว โรงเรียน กลุ่มเพื่อน และชุมชน (“บ้าน วัด โรงเรียน” ซึ่งทั้ง 3 สถาบันนี้ รวมเรียกย่อ ๆ ว่า “บวร”)
30. ตู้ปันสุข มาจากพื้นฐานของการมีหลักธรรมในข้อใด
(1) จาคะ
(2) อุเบกขา
(3) มุทิตา
(4) วิริยะ
ตอบ 1 หน้า 74, (คําบรรยาย) จาคะ (ความเสียสละ) หมายถึง การตัดใจจากกรรมสิทธิ์หรือการตัดใจ จากความยึดครองของตนไปให้ผู้อื่น ซึ่งเป็นการเสียสละแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วยกําลังกาย กําลังทรัพย์ และกําลังสติปัญญา โดยความเสียสละมีอยู่ 2 ประการ คือ
1. สละวัตถุ คือ การสละทรัพย์หรือสิ่งของของตน เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
2. สละอารมณ์ คือ การปล่อยวางหรือรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเองที่ทําให้จิตใจไม่สงบ รวมไปถึงการสละความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่ ความโลภ โกรธ หลง ฯลฯ
31.พระอรหันต์ ถือเป็นระดับคุณธรรมจริยธรรมประเภทใด
(1) สภาวะเนื่องกับโลก
(2) โลกิยธรรม
(3) ผู้พ้นจากกิเลส
(4) ธรรมขั้นต้น
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การวัดระดับของคุณธรรมจริยธรรมทําได้ 2 ระดับ ดังนี้
1. ระดับโลกิยธรรม ได้แก่ ธรรมอันเป็นวิสัยของมนุษย์โลก สภาวะเนื่องกับโลก จัดเป็นธรรม ขั้นต้น เช่น ศีล 5 เป็นต้น ซึ่งการปฏิบัติตามโลกิยธรรมจะมุ่งให้บุคคลในสังคมอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสันติสุข ไม่ทําชั่ว ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
2. ระดับโลกุตรธรรม ได้แก่ ธรรมอันมิใช่โลก สภาวะพ้นโลก จัดเป็นธรรมชั้นสูง เช่น มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ซึ่งผู้ที่บรรลุจริยธรรมระดับนี้จัดเป็นอริยบุคคล คือ ผู้พ้นจากกิเลส ซึ่งแบ่ง ออกเป็น 4 ระดับ จากระดับต่ําไปสู่ระดับสูง ได้แก่ โสดาบันอริยบุคคล สกทาคามีอริยบุคคล อนาคามีอริยบุคคล และอรหันตอริยบุคคล
32. ธรรมทั้งหลายมี …….. เป็นเยี่ยมยอด
(1) จริยธรรม
(2) ปัญญา
(3) อวิชชา
(4) อุเบกขา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในองค์ประกอบของจริยธรรมทั้ง 3 ส่วน คือ ปัญญา จิตใจ และพฤติกรรม จะเห็นได้ว่า “ปัญญา” เป็นองค์ประกอบที่สําคัญที่สุด ซึ่งจะชี้นําให้จิตใจและพฤติกรรมของ มนุษย์ให้ดําเนินไปอย่างถูกต้องตามครรลองครองธรรม ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า “สพเพ ธมฺมา ปญฺญุตตา” แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีปัญญาเป็นเยี่ยมยอด
33. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึง “ความเสียสละ”
(1) จินตะ
(2) จาคะ
(3) มุทิตา
(4) วิมังสา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ
34. แหล่งที่มาของคุณธรรมจริยธรรมในข้อใดที่เกี่ยวกับ “ความรักในความรู้”
(1) ศาสนา
(2) วรรณคดี
(3) ปรัชญา
(4) สังคม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ
35. มโนธรรม สอดคล้องกับการเกิดคุณธรรมจริยธรรมในข้อใดน้อยที่สุด
(1) การสร้างในตนเอง
(2) การเลียนแบบ
(3) การรู้จักรับผิดชอบชั่วดี
(4) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ) การเกิดคุณธรรมจริยธรรมจากการสร้างใน ตนเอง โดยตัวเองเป็นผู้กําหนดขึ้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องของมโนธรรม เหตุผลหรืออารมณ์ของมนุษย์ ในลักษณะการรู้จักปรับตัวในสภาพธรรมชาติ แล้วเลือกเอาแนวทางที่ดีมาเป็นหลัก ในการดําเนินชีวิต เกิดจากการเรียนรู้ระบบสังคม จริยธรรม ค่านิยมที่ได้จากการวิเคราะห์ คุณค่าความถูกผิดชั่วดี จนกลายเป็นหลักการ กฎเกณฑ์ ข้อกําหนด และแนวศีลธรรม
36. “คดในข้อ งอในกระดูก” เกี่ยวข้องกับคุณธรรมพื้นฐานในข้อใดมากที่สุด
(1) ประหยัด
(2) สามัคคี
(3) วินัย
(4) ซื่อสัตย์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ให้แก่เยาวชนไทย โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนี้
1. ขยัน
2. ประหยัด
3. ซื่อสัตย์
4. มีวินัย
5. สุภาพ
6. สะอาด
7. สามัคคี
8. มีน้ําใจ
(สํานวน “คดในข้องอในกระดูก” – คนไม่ซื่อสัตย์ มีนิสัยคดโกงเอาเปรียบผู้อื่นจนเป็นสันดาน)
37. ข้อใดกล่าวถึงความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
(1) แสดงถึงวิวัฒนาการการเรียนรู้
(2) ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์
(3) บ่งบอกถึงวัฒนธรรมการดําเนินชีวิตของมนุษย์
(4) สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างรอบด้าน
ตอบ 2 หน้า 293, (คําบรรยาย) พันธ์ประภา พูนสิน ได้กล่าวว่า ในการดําเนินชีวิตปัจจุบันนั้น แหล่งการเรียนรู้มีความสําคัญสําหรับผู้เรียน ดังนี้
1. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสภาพชีวิตจริง สามารถนําความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ ช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน ครอบครัว และท้องถิ่น
2. ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต
3. ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นสู่ความรู้สากล
4. ผู้เรียนเห็นความสําคัญของการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย สร้างเสริมประสบการณ์ในการลงมือ ปฏิบัติจริง ทําให้เกิดทักษะการแสวงหาความรู้ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ฯลฯ
38.Open Educational Resources หมายถึงข้อใด
(1) ระบบการเรียนรู้รายบุคคล
(2) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
(3) การจัดการศึกษาแบบเปิด
(4) คลังทรัพยากรการเรียนรู้แบบปิด
ตอบ 4 หน้า 296, 298 คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Educational Resources : OER) คือ แหล่งการเรียนรู้ทางด้านการศึกษาที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือค่าธรรมเนียม การใช้ ดังนั้นจึงเป็นแหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ สนับสนุน และมีเป้าหมายใช้เพื่อการศึกษาไม่ใช่เพื่อการค้า ซึ่งผู้นําไปใช้อาจจะเป็นการเรียนรู้ เพื่อตนเอง ใช้เป็นเอกสารอ้างอิง หรือเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น เช่น สื่อมัลติมีเดียใหม่ ๆ วิดีโอบรรยาย ตําราเรียน ฯลฯ
39. เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึงข้อใด
(1) ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา
(2) ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า
(3) ห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องเผยแพร่งานดัดแปลง โดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน
(4) ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลง
ตอบ 2 หน้า 301 เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว เป็นการกําหนดสัญญาอนุญาตโดยการ ระบุเงื่อนไขร่วมกัน ได้แก่ Attribution CC – BY – NC – ND หมายถึง อนุญาตให้เผยแพร่ได้ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า
40. เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึงข้อใด
(1) แสดงที่มา/อ้างอิงที่มา
(2) ใช้เพื่อการค้า
(3) อนุญาตแบบเดียวกัน
(4) อนุญาตให้ใช้แต่ต้องไม่ดัดแปลง
ตอบ 1 หน้า 285 – 286, (คําบรรยาย) ความรู้ 2 ประเภท มีดังนี้
1. ความรู้ฝังลึก หรือความรู้ที่ซ่อนเร้นไม่เปิดเผย (Tacit Knowledge) คือ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ ในตัวคนหรืออยู่ในสมองของคน โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของบุคคลที่สั่งสมมาอย่าง ยาวนาน จึงเป็นความรู้ติดตัวที่เรียนรู้จากการสั่งสมประสบการณ์การทํางานต่าง ๆ รวมทั้ง ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งจะไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ทั้งหมด เช่น เชฟทําอาหาร, นักกีฬา ฟุตบอลทีมชาติ, ครูสอนหนังสือ ฯลฯ
2. ความรู้ชัดแจ้ง หรือความรู้ที่เปิดเผย (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ชัดแจ้งที่สามารถ สัมผัสหรือจับต้องได้ ซึ่งจะถ่ายทอดออกมาในรูปของตํารา หนังสือพิมพ์ นวนิยาย ภาพวาด รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ
46. ความรู้ในลักษณะ Soft Skill คือข้อใด
(1) สมหมายเก๋งขับรถยนต์
(2) สมคิดมีความคิดสร้างสรรค์และเป็นผู้นํา
(3) สมหวังเก่งการถ่ายภาพ
(4) สมควรเรียนหนังสือเก่งมาก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประเภทของความรู้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1. ความรู้ที่มีอยู่ในรูปแบบของสื่อหรือเอกสาร (Hard Skills) ที่เราถ่ายทอด ปฏิบัติ หรือได้รับ การฝึกฝนมา เช่น การเขียนหนังสือหรือตํารา, การขับรถยนต์เก่ง, การถ่ายภาพสวย ฯลฯ
2. ความรู้ที่มีอยู่ในตัวตนของเรา (Soft Skills) หรือเรียกว่า “พรสวรรค์” รวมทั้งทักษะในด้าน ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นยุคปัจจุบัน เช่น ทักษะด้านการถ่ายทอดสื่อสารข้อมูล, ความคิดสร้างสรรค์ และการเป็นผู้นํา, การจัดการแก้ปัญหา, การมีคุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ
47. Global Village แสดงถึงแนวคิดที่เกี่ยวข้องในเรื่องใด
(1) การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต
(2) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
(3) กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์
(4) สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หมู่บ้านโลก (Global Village) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากความเจริญก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม โดยเฉพาะการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต ทําให้สังคมโลก
ไร้พรมแดน โลกทั้งโลกเป็นเสมือนหมู่บ้านเดียวกัน สมาชิกของหมู่บ้านคนใดทําอะไรก็สามารถ รับรู้ได้ทั่วโลก หรือสิ่งใดที่มากระทบประเทศหนึ่งก็ย่อมกระทบไปถึงประเทศอื่น ๆ ไปด้วยอย่าง มิอาจหลีกเลี่ยงได้
48. ถ้านักศึกษาต้องการสําเนาสื่อคําบรรยายกระบวนวิชา แหล่งเรียนรู้ใดของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
ให้ประโยชน์มากที่สุด
(1) www.techno.ru.ac.th/new
(2) www.computer.ru.ac.th
(3) www.e-learning.ru.ac.th
(4) www.ram2.ru.ac.th
ตอบ 1 หน้า 294, (คําบรรยาย) ศูนย์กลางแหล่งสืบค้นข้อมูลแห่งใหญ่ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ สํานักเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรแห่งการผลิต พัฒนา และให้บริการสื่อการศึกษา ที่มีคุณภาพ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยรามคําแหงทุกแขนงวิชา ดังนั้น สํานักเทคโนโลยีการศึกษาจึงถือเป็นแหล่งรวมของสื่อการศึกษาที่มีความหลากหลายในทุกสาขา วิชาและทุกชั้นปี ผ่านทาง www.techno.ru.ac.th/new/ เช่น ให้บริการสําเนาสื่อคําบรรยาย กระบวนวิชาต่าง ๆ ด้วย DVD และ Flash Drive, ให้บริการยืมสื่อการศึกษา, การผลิตรายการ RU Radio Podcast: แนะแนวการศึกษา “มีคําถาม มีคําตอบ” ฯลฯ
49. สิ่งที่อาสาสมัครพึงมี พึงปฏิบัติ
(1) พรหมวิหาร 4
(2) กรุณา
(3) วางใจเป็นหนึ่งเดียว
(4) มุทิตา
ตอบ 1 หน้า 220, 223 เมื่อกล่าวถึงคําว่า “อาสาสมัคร” จะมีอีกคําหนึ่งที่มักจะถูกกล่าวถึงควบคู่กัน อยู่เสมอ นั่นคือ คําว่า “จิตอาสา” อย่างไรก็ตามเราสามารถอธิบายโดยเปรียบอาสาสมัครว่า เป็นงานที่เกิดจากผู้ที่มีจิตอาสา ซึ่งชลลดา ทองทวี (2549) ได้กล่าวถึงความหมายของจิตอาสา ไว้ว่า “จิตอาสา” คือ กิจกรรมอาสาสมัครที่เป็นกระบวนการของการฝึกการให้ที่ดีเพื่อขัดเกลา ละวางตัวตน และบ่มเพาะการรักผู้อื่นโดยไม่มีเงื่อนไข ยอมสละตนเพื่อรับใช้และช่วยเหลือผู้ที่ ประสบกับความทุกข์ยากลําบากในวิถีของพรหมวิหาร 4 (ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ)
50. ข้อใดไม่ใช่พฤติกรรมหลักทั้ง 3 ด้าน ของจิตอาสา
(1) การเสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
(2) การช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
(3) มุ่งมั่นพัฒนาสิ่งรอบตัวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
(4) พูดจาสุภาพอ่อนหวาน
ตอบ 4 หน้า 222 – 223, (คําบรรยาย) พฤติกรรมหลักทั้ง 3 ด้าน ของจิตอาสา มีดังนี้
1. การเสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
2. การช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
3. การมุ่งมั่นพัฒนาสิ่งรอบตัวเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
51. ข้อใดไม่ใช่ความหมายเกี่ยวกับ “จิตสํานึก” ที่ถูกต้อง
(1) จิตส่วนที่รู้ตัว รู้ว่าทําอะไร อยู่ที่ไหน เป็นอย่างไร ขณะที่ตื่นอยู่นั่นเอง
(2) เป็นคุณธรรมประการหนึ่งสําหรับพลเมือง
(3) Conscious
(4) รู้จักการประมาณตน ครองตน
ตอบ 4 หน้า 108, (คําบรรยาย) ความหมายเกี่ยวกับ “จิตสํานึก” ที่ถูกต้อง ได้แก่
1. จิตสํานึก (Conscious) เป็นจิตระดับที่มนุษย์เราแสดงออกยามเมื่อรู้ตัว มีสติตลอดเวลา รู้ว่า ตนเองเป็นใคร ต้องการอะไร กําลังทําอะไร อยู่ที่ไหน รู้สึกอย่างไร ขณะที่ตื่นอยู่นั่นเอง
2. จิตสํานึกสาธารณะเป็นคุณธรรมประการหนึ่งของพลเมืองที่ดี เพราะการเป็นพลเมืองดีจะมุ่ง สร้างจิตสํานึกเพื่อส่วนร่วมหรือจิตสํานึกสาธารณะให้เกิดขึ้นกับประชาชน ฯลฯ
52. การเสริมสร้างจิตสาธารณะของคนในสังคมจําต้องอาศัยสถาบันทางสังคมหลายส่วนเข้ามาร่วมมือกัน ได้แก่
(1) สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันครอบครัว สื่อมวลชน
(2) สถาบันทางสังคม สถาบันทางเศรษฐกิจ สถาบันครอบครัว
(3) สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันทางทหาร
(4) สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันการเมือง
ตอบ 1 หน้า 235 รัญจวน อินทรกําแหง (2528) เสนอแนวทางในการเสริมสร้างจิตสํานึกสาธารณะ ของคนในสังคมว่า จําเป็นที่จะต้องอาศัยสถาบันทางสังคมหลายส่วนเข้ามาร่วมมือกัน ดังนี้
1. สถาบันครอบครัว ถือเป็นจุดเริ่มต้นหรือแหล่งเรียนรู้แห่งแรกในชีวิต
2. สถาบันการศึกษา ได้แก่ โรงเรียน มหาวิทยาลัย ฯลฯ
3. สถาบันศาสนา
4. สื่อมวลชน
53. “จิตสาธารณะ” ตรงกับภาษาอังกฤษข้อใด
(1) Public Mite
(2) Public Mind
(3) Public Service
(4) Publication
ตอบ 2 หน้า 223, (คําบรรยาย) คําว่า “จิตสาธารณะ” เป็นคําที่มีผู้ให้ความหมายไว้ต่าง ๆ นานา เนื่องจากยังเป็นคําใหม่ที่สังคมไทยเริ่มใช้กัน โดยภาษาอังกฤษจะใช้คําว่า “Public Mind / Mind Service / Service Mind” และมีคําใกล้เคียงกัน คือ คําว่า “จิตสํานึกสาธารณะ” หรือ “Public Consciousness
54. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะทั่วไปของบุคคลที่มีจิตสาธารณะ
(1) ปิ่นเป็นคนทํางานทุ่มเทและอุทิศตนเสมอ
(2) บ้านเป็นคนมีเหตุผลและเคารพความแตกต่างของแต่ละบุคคลเสมอ
(3) ปุ๊กชอบวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น เพียงเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาทางอ้อม
(4) ไปป์ชอบทํางานเพื่อผู้อื่น เพื่อองค์กรของตน และเกิดผลต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง
ตอบ 3 หน้า 233 ยุทธนา วรุณปิติกุล กล่าวถึง บุคคลที่มีจิตสาธารณะต้องมีคุณลักษณะดังนี้
1. ทุ่มเทและอุทิศตน มีความรับผิดชอบต่อสังคม และเป็นผู้ที่เสียสละ
2. เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. คํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
4. การลงมือกระทํา
55. ผู้ที่มีจิตสาธารณะ จิตอาสา คือ ผู้ที่มีหลักธรรมในข้อใดมากที่สุด
(1) มุทิตา
(2) อุเบกขา
(3) จาคะ
(4) วิริยะ
ตอบ 3 หน้า 219, 223, (ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ) ผู้ที่มีจิตสาธารณะ จิตอาสา คือ ผู้ที่มีหลักธรรม จาคะ” (ความเสียสละ) มากที่สุด เพราะผู้ที่มีจิตสาธารณะ จิตอาสา ถือเป็นบุคคลที่พร้อมจะ เสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม โดยแสดงออกทางพฤติกรรมที่ เสียสละเวลา แรงกาย และสติปัญญา เพื่อบําเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
56. จิตสาธารณะ หมายถึง
(1) ความรู้สึกตระหนักต่อส่วนรวม
(2) การคิดจะทําการใดโดยคิดถึงงานส่วนรวมเป็นหลัก
(3) มีความรับผิดชอบต่อประโยชน์ของสังคมโดยรวม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 225, 237 จิตสาธารณะ คือ ความรู้สึกตระหนักถึงส่วนรวม หรือเป็นการตระหนักรู้ตน ที่จะกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อรับผิดชอบต่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก
57. ข้อใดที่ไม่ใช่ลักษณะของผู้ที่มีจิตสาธารณะ
(1) ทุ่มเทอุทิศตน
(2) คํานึงถึงประโยชน์ส่วนตน
(3) รับผิดชอบต่อสังคม
(4) เป็นผู้ที่เสียสละ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ
58. ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับแนวคิดที่ใช้ในการพัฒนาจิตสาธารณะที่ดีที่สุด
(1) หลักเศรษฐกิจพอเพียง
(2) หลักความสมดุล
(3) หลักความมีเหตุผล
(4) หลักความพอประมาณ
ตอบ 1 หน้า 230, 238, (คําบรรยาย) แนวคิดที่ใช้ในการพัฒนาจิตสาธารณะที่ดีที่สุด คือ หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตนเองของผู้มีจิตสาธารณะอย่างแท้จริง
59. เกี่ยวกับจิตสาธารณะ ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) การไม่ทิ้งขยะลงบนถนน
(2) จิตสาธารณะควรมีมาแต่กําเนิด
(3) การปล้นคนรวยมาช่วยคนจน
(4) การปลูกฝังจิตสาธารณะควรสั่งสมทํามาตั้งแต่วัยเด็ก
ตอบ 4 หน้า 234, 238 จิตสาธารณะเป็นสิ่งที่เกิดจากการสะสมของประสบการณ์ในวัยเด็ก และจะพัฒนาไปอย่างช้า ๆ ในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเกิดจากการสั่งสอนฝึกฝนจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ ดังนั้นการปลูกฝังจิตสาธารณะของคนในสังคม ควรเริ่มขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก โดยต้องอาศัยสถาบันทางสังคมหลายส่วนเข้ามาร่วมมือกัน ได้แก่ สถาบันครอบครัว การศึกษา ศาสนา และสื่อมวลชน (ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ)
60. จิตสาธารณะ” ตรงกับภาษาอังกฤษข้อใด
(1) Volunteer
(2) Victory
(3) Olimpeer
(4) Mind Service
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ
61. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความสําคัญของการเป็น “พลเมืองดี”
(1) การเมือง
(2) เศรษฐกิจ
(3) สังคม
(4) ประวัติศาสตร์
ตอบ 4 หน้า 112 ณัฐนันท์ ศิริเจริญ (2555) ได้กล่าวถึงความสําคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย ควรมีแนวทางในการปฏิบัติตน 3 ด้าน ดังนี้
1. ด้านสังคม
2. ด้านเศรษฐกิจ
3. ด้านการเมืองการปกครอง
62. ในฐานะที่เป็นคนไทย ทุกคนปฏิบัติตนเป็นคนดีของสังคมได้ ข้อใดถูกต้อง
(1) ทุกคนจะต้องเสียภาษีเท่ากัน
(2) ทุกคนสามารถรับราชการทหารเพื่อรับใช้ชาติได้
(3) ทุกคนสามารถปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมืองได้
(4) ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในฐานะที่เป็นคนไทย ทุกคนสามารถปฏิบัติตนเป็นคนดีของสังคมได้ คือ ทุกคน สามารถปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมืองอย่างเคร่งครัด และต้องเสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
63. หลักการของประชาธิปไตย พลเมืองสามารถชุมนุมเพื่อแสดงความคิดเห็นของสังคม ข้อใดถูกต้อง
(1) การชุมนุมโดยการใช้ความคิด ความเชื่อของตนเองที่เป็นที่ตั้ง
(2) การชุมนุมกันอย่างสันติ มีเหตุผล ไม่ใช้กําลังรุนแรง
(3) ชุมนุมเรียกร้องตามที่กลุ่มต้องการ ทําให้ถึงที่สุด
(4) การชุมนุมโดยการปิดทําเนียบ ปิดสนามบิน ปิดถนน เพื่อกดดันคณะรัฐบาล
ตอบ 2 หน้า 120, (คําบรรยาย) ตามหลักการของประชาธิปไตยนั้น พลเมืองสามารถชุมนุมเพื่อแสดงความคิดเห็นของสังคมได้โดยการเคารพกติกา และยอมรับผลของการละเมิดกติกา คือ ชุมนุมกันอย่างสันติ มีเหตุผล ไม่ใช้กําลังรุนแรง ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 44 ได้ระบุว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและ ปราศจากอาวุธ
64. ข้อใดถูกต้องตามหลักการความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship)
(1) การเป็นพลเมืองที่มีความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการ ควบคุม กํากับตน
(2) ผิด รู้ถูก และรู้เท่าทัน เป็นบรรทัดฐานในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม
(3) ความรับผิดชอบ เรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดและปลอดภัย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 120 – 121, (คําบรรยาย) ความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) คือ พลเมือง ที่มีความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการ ควบคุม กํากับตน รู้ผิด รู้ถูก และ รู้เท่าทัน เป็นบรรทัดฐานในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบ เรียนรู้ ที่จะใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดและปลอดภัย พลเมืองดิจิทัลจึงต้องตระหนักถึงโอกาสและความเสี่ยงในโลกดิจิทัล เข้าใจถึงสิทธิและความรับผิดชอบในโลกออนไลน์
65. ข้อใดไม่ใช่พลเมืองดีของสังคม 8 ประการ
(1) ประหยัด อดออม ไม่แบ่งปันให้ใคร
(2) มีวินัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม
(3) รับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเอง
(4) คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พลเมืองดีของสังคม 8 ประการ มีลักษณะดังนี้
1. การคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
2. มีวินัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม
3. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเอง
4. มีความอดทน
5. ประหยัดและอดออม ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
6. การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
7. มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ไม่มีอคติ
8. การอนุรักษ์ความเป็นไทย
66. การปฏิบัติตนเป็นนักศึกษาที่ดีของมหาวิทยาลัย ข้อใดเหมาะสมที่สุด
(1) การเข้าเรียนทุกครั้งเมื่อมีเวลาว่าง
(2) การตั้งใจศึกษาเล่าเรียนแข่งขันกับเพื่อน
(3) การแต่งตัวให้ถูกต้องตามระเบียบการเข้าสอบของมหาวิทยาลัย
(4) การช่วยเก็บของตามริมทางของมหาวิทยาลัย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การปฏิบัติตนเป็นนักศึกษาที่ดีของมหาวิทยาลัย คือ ปฏิบัติตามกฎระเบียบของ มหาวิทยาลัย เช่น แต่งตัวให้ถูกต้องตามระเบียบการเข้าสอบของมหาวิทยาลัย โดยแต่งกายให้
สุภาพเรียบร้อยตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ไม่สวมรองเท้าแตะเข้ามาในห้องสอบ นักศึกษาชายไม่สวมเสื้อที่ไม่มีคอปก ชายเสื้อสอดไว้ในกางเกง นักศึกษาหญิงต้องสวมกระโปรง ห้ามสวมกางเกงหรือกระโปรงกางเกง เป็นต้น
67. พลเมืองที่ดีควรปฏิบัติตนอย่างไร
(1) ปฏิบัติตามใจตนเอง
(2) มีความซื่อสัตย์
(3) มีความกระตือรือร้น
(4) มีความมีระเบียบ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ
68. การปฏิบัติตนเป็นนักศึกษาที่ดีของมหาวิทยาลัย ควรปฏิบัติตนอย่างไร
(1) มีน้ำใจโอบอ้อมอารีต่อเพื่อนมนุษย์
(2) ปฏิบัติตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
(3) มีความรู้ความสามารถในการสอบ
(4) มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้สอน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ
69.“พลเมือง” (Citizen) หมายถึง
(1) ประชาชนจํานวนมากในประเทศหนึ่ง
(2) บุคคลในสังคมที่แสดงถึงความเป็นผู้มีสิทธิและเสรีภาพอย่างอิสระในการอยู่ร่วมกันในสังคม
(3) ประชากรที่ดําเนินชีวิตในประเทศหนึ่ง ๆ ตามกฎหมาย
(4) การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
ตอบ 2 หน้า 103 – 104, (คําบรรยาย) “พลเมือง” (Citizen) หมายถึง คนที่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะ ประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือประชาชนที่อยู่ภายใต้ผู้ปกครองเดียวกัน มักจะมีดังนั้นพลเมืองจึงเป็นบุคคลในสังคมที่แสดงถึงความเป็นผู้มีสิทธิและเสรีภาพวัฒนธรรมเดียวกัน อย่างอิสระในการอยู่ร่วมกันในสังคม
70. พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย เมื่อมีอายุครบเท่าไรต้องไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
(1) 15 ปี
(2) 18 ปี
(3) 20 ปี
(4) 25 ปี
ตอบ 4 หน้า 113 – 114, (คําบรรยาย) พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย กําหนดให้บุคคลที่มีสิทธิ์ เลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฯ ฉบับปัจจุบัน จะต้องเป็นผู้ที่มีอายุ ไม่ต่ำกว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง
71. การรักษาไว้ซึ่งชาติของพลเมืองดี ควรทําโดยวิธีใด
(1) ร้องเพลงชาติทุกวัน
(2) นําธงชาติไปปราศรัยหน้าบ้าน
(3) การป้องกันดูแลไม่ให้เกิดความแตกแยก
(4) การร่วมชุมนุมประท้วงรัฐบาล
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การปฏิบัติตัวเป็นพลเมืองดีของประเทศ มีดังนี้
1. ธํารงรักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยต้องช่วยกันป้องกันดูแลไม่ให้เกิดความแตกแยกหรือแตกความสามัคคีในประเทศ
2. เสียภาษีอากรให้แก่รัฐอย่างครบถ้วน
3. ปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมืองอย่างเคร่งครัด
4. มีส่วนร่วมในหน่วยราชการทหารหรือการป้องกันประเทศ เมื่ออายุครบเกณฑ์
5. รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่สังคมยอมรับว่า เป็นสิ่งดีงามควรอนุรักษ์ไว้ ฯลฯ
72. ข้อใดไม่ใช่การปฏิบัติตนของบุคคลที่ถือว่าได้ทําหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี
(1) นายแก้วเสียภาษีครบถ้วน
(2) นายเลิศสมัครเข้ารับราชการทหาร เมื่ออายุครบเกณฑ์
(3) นางสายใจปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมืองอย่างเคร่งครัด
(4) นายศรีอนันต์เป็นผู้ที่รักษาประเพณีโบราณ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ
73. ข้อใดไม่ใช่ทฤษฎีภาวะผู้นําแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มสําคัญ ดังนี้
(1) ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะและคุณสมบัติ
(2) ทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ
(3) ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม
(4) ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์
ตอบ 2 หน้า 167 ทฤษฎีภาวะผู้นําแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มสําคัญดังนี้
1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ (Trait) และคุณสมบัติ (Qualities) ของผู้นําที่มีประสิทธิผล
(Trait Theories)
2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม (Behavior Theories)
3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์ (Situational Theories)
74. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับบทบาทของผู้นํา
(1) การกําหนดแนวทางหลัก (Pathfinding)
(2) การสร้างระบบการทํางานที่มีประสิทธิผล (Aligning)
(3) การมอบอํานาจ (Empowering)
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 170 – 171 บทบาทของผู้นําแบ่งอย่างกว้าง ๆ ออกเป็น 4 ประการดังนี้
1. การกําหนดแนวทางหลัก (Pathfinding)
2. การสร้างระบบการทํางานที่มีประสิทธิผล (Aligning)
3. การมอบอํานาจ (Empowering)
4. การสร้างตัวแบบ (Modeling)
75. ผู้นําในสังคมยุคใหม่ ควรมีลักษณะอย่างไร
(1) มีความจริงใจ คิดออก ทําได้ ทําจริง มีบทบาทให้คุณให้โทษได้
(2) เปลี่ยนแปลงปรับปรุงองค์กรจากเดิมให้ทันสมัย ก้าวล้ํานําหน้ามากกว่าคนอื่น ๆ
(3) ผู้นําที่สามารถวางแผนและบริหารองค์กร ซึ่งเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร รู้จักการใช้เทคโนโลยี
(4) ผู้นําต้องมีบทบาทการประสานงานร่วมมือช่วยเหลือให้สําเร็จได้
ตอบ 3 หน้า 171 172 ลักษณะของผู้นําในยุคสมัยใหม่จะต้องเป็นผู้นําที่สามารถวางแผนและบริหาร องค์กร ซึ่งเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร ผู้นําต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล รู้จักการใช้เทคโนโลยีด้าน ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร นอกจากนี้ ผู้นําในสังคมยุคใหม่ยังต้องสามารถทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมกันแก้ไขปัญหาได้อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งถ้าหากเป็นองค์กรขนาดใหญ่และสลับซับซ้อน จําเป็นต้องมีผู้นําที่มีความสามารถ ต้องเป็นนักพัฒนาสามารถสร้างความร่วมมือร่วมใจ เพื่อให้ ทุกคนขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสําเร็จ
76. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของผู้นํายุคใหม่ ข้อใดถูกต้อง
(1) ตามทฤษฎีการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกโดยทั่วไป (PEST Analysis)
(2) ไม่เห็นความสําคัญของสิ่งแวดล้อมภายนอก
(3) โดยทั่วไปเป็นปัจจัยในระดับแคบ
(4) ไม่มีอิทธิพลหรือผลกระทบต่อการปฏิบัติการขององค์กร
ตอบ 1 หน้า 172 – 174 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของผู้นํายุคใหม่ ตามทฤษฎีการวิเคราะห์ สิ่งแวดล้อมภายนอกโดยทั่วไป (PEST Analysis) เห็นว่า สิ่งแวดล้อมภายนอกโดยทั่วไป เป็นปัจจัยในระดับกว้างที่มีอิทธิพลหรือผลกระทบต่อการปฏิบัติการขององค์กร ดังนี้
1. ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย (Political and Legal Factors)
2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economic Factors)
3. ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม (Social culture Factors)
4. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี (Technological Factors)
77. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของผู้นํายุคใหม่
(1) ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย
(2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
(3) ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ
78. ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ 21 : Thailand 4.0 ควรมีลักษณะใด
(1) การวางแผน การจัดองค์กร การบังคับบัญชา การประสานงาน การควบคุม
(2) การจัดองค์กร การบังคับบัญชา การประสานงาน การควบคุม การติดตาม
(3) การบังคับบัญชา การประสานงาน การควบคุม การติดตาม การประเมินผล
(4) การวางแผน การประสานงาน การบังคับบัญชา การควบคุม การติดตาม
ตอบ 1 หน้า 176 ทักษะของภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ 21 : Thailand 4.0 ที่จะประสบ ความสําเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรได้นั้น ต้องมีการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิผลสูง สามารถแก้ปัญหา โดยมีแนวทางดังนี้
1. การวางแผน (Planning)
2. การจัดองค์กร (Organizing)
3. การบังคับบัญชา (Commanding)
4. การประสานงาน (Coordinating)
5. การควบคุม (Controlling)
79.Webster (1985) ให้ความหมายของผู้นํา ข้อใดถูกต้อง
(1) บุคคลที่มีอํานาจสั่งการ
(2) บุคคลที่สามารถลงโทษ เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชากระทําผิด
(3) บุคคลที่เป็นหัวหน้าทําหน้าที่ในการสั่งการ แนะนํา หรือชี้แนะให้กลุ่มปฏิบัติตาม
(4) บุคคลที่มีบทบาทการประสานงาน ช่วยเหลือการปฏิบัติการต่าง ๆ
ตอบ 3 หน้า 160 Webster (1985) ให้ความหมายของ “ผู้นํา” ไว้ว่า บุคคลที่เป็นหัวหน้าทําหน้าที่ ในการสั่งการ แนะนํา หรือชี้แนะให้กลุ่มปฏิบัติตาม หรือมีบทบาทในการนําด้านการปฏิบัติการ แสดงความคิดเห็น ตลอดจนความเคลื่อนไหวต่าง ๆ
80. ข้อใดผิดเมื่อกล่าวถึง “ภาวะผู้นํา ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
(1) ภาวะผู้นํา เป็นคําผสมระหว่างคําว่า “ภาวะ” กับ “ผู้นํา”
(2) ภาวะ เป็นคํานาม แปลว่า “ความมี หรือความเป็น หรือความปรากฏ
(3) “ผู้นํา” ไม่ได้บัญญัติในพจนานุกรมโดยตรง แต่มีคําที่ใกล้เคียงกันมาก คือ คําว่า “หัวหน้า”
(4) ความหมายสรุปรวม คือ ผู้บริหาร
ตอบ 4 หน้า 161 “ภาวะผู้นํา” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 อธิบายว่า ภาวะผู้นํา เป็นคําผสมระหว่างคําว่า “ภาวะ” กับ “ผู้นํา” โดยคําว่า “ภาวะ” เป็นคํานาม แปลว่า “ความมี หรือความเป็น หรือความปรากฏ” ส่วนคําว่า “ผู้นํา” ไม่ได้บัญญัติไว้ใน พจนานุกรมโดยตรง แต่มีคําที่ใกล้เคียงกันมาก คือ คําว่า “หัวหน้า” เป็นคํานาม แปลว่า ผู้ใหญ่ในหมู่หนึ่ง ๆ และที่บัญญัติไว้อีกคําหนึ่ง คือ “ผู้จัดการ” เป็นคํานาม แปลว่า บุคคล ที่มีหน้าที่บริหารและควบคุมดูแลกิจการ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรากศัพท์ที่กล่าวไปแล้วพอจะ สรุปได้ว่า “ภาวะผู้นํา” หมายถึง ความเป็นหัวหน้าของกลุ่มหนึ่ง
81. แนวคิดผู้นําที่มีประสิทธิภาพ (Efficiency) ต้องมีลักษณะอย่างไร
(1) ไม่คํานึงถึงผลการทํางานที่บรรลุเป้าหมาย แต่คํานึงถึงความเป็นผู้นํา
(2) การจัดสรรทรัพยากรขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เป็นอยู่
(3) พิจารณาจากการประหยัดเงิน ทรัพยากร แรงงาน เวลา และคนปฏิบัติงานมีความพึงพอใจ
(4) ผู้นําต้องมีมนุษยสัมพันธ์กับลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชา
ตอบ 3 หน้า 163 แนวคิดภาวะผู้นําที่มี “ประสิทธิภาพ” (Efficiency) หมายถึง ผลการทํางานที่ บรรลุเป้าหมายและต้องการให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยมองความสัมพันธ์ระหว่างความสําเร็จของงานกับการใช้ทรัพยากร พิจารณาจากการประหยัดเงิน ทรัพยากร แรงงาน เวลา และคน ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจ ส่วน “ประสิทธิผล” (Effectiveness) หมายถึง ผลของการทํางาน ที่สําเร็จตามที่คาดหวังไว้ เป็นการพิจารณาผลลัพธ์ คือ ผลงานที่ออกมาว่าบรรลุตามเป้าหมาย ที่กําหนดไว้หรือไม่
82. Likert (1984) เชื่อว่า ภาวะผู้นําที่มีประสิทธิภาพ ข้อใดถูกต้อง
(1) ผู้นําต้องมีวิสัยทัศน์
(2) พฤติกรรมการแสดงออกของผู้นําที่ต้องการทั้งผลงานและความสุข ความร่วมมือร่วมใจของผู้ร่วมงาน
(3) องค์กรจะประสบความสําเร็จ ถ้ามีผู้นําที่มีความรู้ความสามารถ
(4) การจัดองค์กรโดยมีการปรับโครงสร้างเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับผู้นํา
ตอบ 2 หน้า 163 Likert (1984) เชื่อว่า ภาวะผู้นําที่มีประสิทธิภาพ คือ พฤติกรรมการแสดงออก ของผู้นําที่ต้องการทั้งผลงานและความสุข ความร่วมมือร่วมใจของผู้ร่วมงาน จึงต้องการผู้นํา ที่มุ่งสร้างทีมงาน โดยใช้กิจกรรมสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วม พึ่งพาอาศัยกัน ตลอดจนหลีกเลี่ยง ความขัดแย้ง และเห็นว่า ภาวะผู้นําที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เป็นรากฐานของการสร้าง ความสําเร็จของงานต่าง ๆ
83. ข้อใดไม่ใช่ 7 ลักษณะของผู้นําที่มีประสิทธิผล
(1) คุณลักษณะเบื้องต้นลําดับแรกของผู้นํา คือ ต้องมีวิสัยทัศน์
(2) ผู้นําจะกระตุ้นให้ทีมงานมีการแข่งขันในด้านความสามารถ
(3) ผู้นําจะถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ให้แก่
(4) ผู้นําต้องเข้าใจความต้องการขององค์กร
ตอบ 4 หน้า 163 – 164 คุณลักษณะ 7 ประการ ของผู้นําที่มีประสิทธิผล ได้แก่
1. คุณลักษณะเบื้องต้นลําดับแรกของผู้นํา คือ ต้องมีวิสัยทัศน์
2. ผู้นําจะกระตุ้นให้ทีมงานมีการแข่งขันในด้านความสามารถ
3. ผู้นําจะถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ให้แก่ทีมงาน
4. ผู้นําจะกํากับการดําเนินการของทีม
5. ผู้นําจะให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วม
6. คุณสมบัติที่สําคัญของผู้นํานอกจากต้องมีความรู้ความสามารถแล้ว ก็จะต้องมีความทุ่มเท เสียสละ ลดความเสี่ยงในการทํางานให้น้อยที่สุด
7. สิ่งสําคัญที่ผู้นําประสบความสําเร็จ คือ เข้าใจความต้องการของผู้อื่น เสียสละในการทํางาน โดยคํานึงถึงว่าความสําเร็จขององค์กรต้อง อาศัยความร่วมมือของคนในองค์กรเป็นสําคัญ
84. หลักการใช้อํานาจของผู้นําตามทฤษฎีของเลวิน ลิฟฟิตต์ และไวท์ (Lewin Lippitt & White) 3 แบบ คือ (1) แบบสั่งการ, แบบรวมอํานาจ, แบบประชาธิปไตย
(2) แบบประชาธิปไตย, แบบความสามารถ, แบบสั่งการ
(3) แบบประชาธิปไตย, แบบอัตตาธิปไตย, แบบตามสบาย
(4) แบบสั่งการ, แบบประชาธิปไตย, แบบวิสัยทัศน์
ตอบ 3 หน้า 164 – 165 อาคม วัดไธสง (2547, หน้า 26) ได้อธิบายการศึกษาเกี่ยวกับหลักการ ใช้อํานาจของผู้นําตามทฤษฎีของเลวิน ลิฟฟิตต์ และไวท์ (Lewin Lippitt & White) ซึ่งได้ จําแนกผู้นําเป็น 3 แบบ ได้แก่
1. แบบประชาธิปไตย (Democratic)
2. แบบอัตตาธิปไตย Autocratic)
3. แบบตามสบาย (Laissez – fair)
85. การดําเนินกิจกรรมข้อใดต้องอาศัยความรอบรู้ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาวางแผนและปฏิบัติการ
ตามแผนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังอย่างยิ่ง เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) เงื่อนไขคุณธรรม
(2) เป้าประสงค์
(3) เงื่อนไขหลักวิชา
(4) เงื่อนไขชีวิต
ตอบ 3 หน้า 250 เงื่อนไขหลักวิชาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดําเนินกิจกรรมใดต้องอาศัย
ความรอบรู้เชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาวางแผนและปฏิบัติการตามแผนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการดําเนินการ เพราะ การวางแผนที่อาศัยความรู้ที่เป็นหลักวิชาย่อมมีโอกาสประสบความสําเร็จสูง และถ้าได้ปฏิบัติ ตามแผนอย่างระมัดระวัง โอกาสผิดพลาดก็จะเกิดขึ้นน้อยมาก
86. การที่บุคคลมีการดําเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติและปัญญา แก้ไขปัญหาและบริหารจัดการ ชีวิต โดยใช้หลักวิชาและหลักคุณธรรมเป็นหลักพื้นฐาน ย่อมส่งผลให้ชีวิตมีคุณภาพและมีความสุข เกี่ยวข้อง
กับข้อใด
(1) เงื่อนไขคุณธรรม
(2) เป้าประสงค์
(3) เงื่อนไขหลักวิชา
(4) เงื่อนไขชีวิต
ตอบ 4 หน้า 250, (คําบรรยาย) เงื่อนไขชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การที่บุคคลดําเนินชีวิต ด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติและปัญญา แก้ไขปัญหาและบริหารจัดการชีวิต โดยใช้หลัก วิชาและหลักคุณธรรมเป็นหลักพื้นฐาน ย่อมส่งผลให้ชีวิตมีคุณภาพและมีความสุข เนื่องจาก สามารถเข้าใจชีวิตและทําให้รับได้กับทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามา ไม่ว่าจะร้ายหรือดี
87. การที่บุคคลมีการช่วยกันดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบของสภาพแวดล้อมโดยรอบ การช่วยกัน
ดูแลความสงบและความปลอดภัย และการให้ความร่วมมือสร้างเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ ได้อย่างเหมาะสม เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
(2) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(3) ความพอเพียงระดับชุมชน
(4) ความพอเพียงระดับประเทศ
ตอบ 3 หน้า 230, 264 – 265, (คําบรรยาย) ความพอเพียงระดับชุมชน คือ การสร้างเครือข่าย เพื่อการพัฒนาชุมชน ซึ่งมีผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ประกอบด้วย
1. สวัสดิการชุมชน
2. การช่วยกันดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบของสภาพแวดล้อมโดยรอบ
3. การช่วยกันดูแลความสงบและความปลอดภัย
4. การให้ความร่วมมือสร้างเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม
88. การสร้างงบประมาณให้สมดุล ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผน ด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และสามารถรับได้ เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านจิตใจ
(3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
(4) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านเศรษฐกิจ คือ การสร้างงบประมาณ ให้สมดุล สร้างลักษณะนิสัยอุปโภคบริโภคแต่พอควร ไม่ใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะ และไม่ลงทุน เกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผนด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถรับได้
89. เกษตรกรมีการรวมกลุ่มหรือสหกรณ์ในการร่วมแรงร่วมใจในการดําเนินกิจการด้านการผลิต การตลาด สวัสดิการชุมชน การศึกษา สังคม และศาสนา เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นใด
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
(2) ทฤษฎีใหม่ชั้นที่สอง
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่
ตอบ 2 หน้า 261, (คําบรรยาย) ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 2 หลังจากที่เกษตรกรได้ปฏิบัติ
ตามหลักการในขั้นที่ 1 จนได้ผลแล้ว ก็จะเริ่มพัฒนาไปสู่ขั้นของการรวมพลังเกษตรกรในชุมชน ให้เป็นกลุ่มหรือสหกรณ์ เพื่อร่วมแรงร่วมใจกันดําเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ ได้แก่
1. การผลิต
2. การตลาด
3. ความเป็นอยู่ของครอบครัว
4. สวัสดิการชุมชน
5. การศึกษา
6. สังคมและศาสนา
90. การตระหนักถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากภายนอกชุมชน ด้วยการติดต่อหน่วยงานที่สามารถ สนับสนุนด้านการลงทุนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นใด
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
(2) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่
ตอบ 3 หน้า 261, (คําบรรยาย) ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 3 คือ การตระหนักถึงการสร้าง เครือข่ายความร่วมมือจากภายนอกชุมชน โดยการติดต่อหน่วยงานที่สามารถสนับสนุนในด้าน การลงทุนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ได้แก่
1. หน่วยงานที่สนับสนุนด้านการวิจัย เพื่อการพัฒนาผลผลิตให้ได้คุณภาพดีขึ้น ต้นทุนต่ำลง
2. ธนาคารที่จะให้การสนับสนุนเงินทุนด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงเกินไปนัก
3. บริษัทเอกชนที่รับซื้อผลผลิตโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลาง
91. ข้อใดกล่าวถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(1) พอประมาณ สมดุล มีเหตุผล
(2) มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน มั่นคง
(3) พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน
(4) มีเหตุผล มั่นคง ยืนได้ด้วยตนเอง
ตอบ 3 หน้า 254, (คําบรรยาย) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอเพียงประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ (3 ห่วง) ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง นอกจากนี้การตัดสินใจและการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะต้องอาศัย 2 เงื่อนไข คือ
1. เงื่อนไขความรู้
2. เงื่อนไขคุณธรรม
92. หากนักศึกษาจะปฏิบัติตามหลักความพอเพียง ควรเริ่มจากข้อใด
(1) ตนเอง
(2) เพื่อน
(3) ครอบครัว
(4) ประเทศ
ตอบ 1 หน้า 270, (คําบรรยาย) การปฏิบัติตนหรือดํารงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มจาก ตนเองก่อนเป็นลําดับแรก เมื่อตนเองสามารถยืนหยัดอยู่ได้แล้วก็ย่อมจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ ผู้อื่นนําไปประพฤติปฏิบัติตาม จากนั้นจึงเป็นครอบครัว ชุมชน รัฐหรือประเทศชาติ
93. นักศึกษามีแนวทางการดํารงชีวิตและการปฏิบัติตนให้ดําเนินการไปในทางสายกลาง เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 1 หน้า 229 แนวคิดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทางสายกลาง หมายถึง แนวทาง การดํารงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึง ระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
94. ผู้ที่มีการสร้างสมดุลและมีความพร้อมในการรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เป้าประสงค์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลก ภายนอกได้เป็นอย่างดี โดยเป้าประสงค์ในการพัฒนาตนเองนั้นต้องสามารถสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในวิถีของการพัฒนาได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ
95. การที่นักศึกษามีการวางแผนทบทวนบทเรียนอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ และต้องมีการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อความพร้อมในการเข้าสอบ เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะความพอเพียงในข้อใด
(1) ความพอประมาณ
(2) ความมีเหตุผล
(3) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
(4) ความไม่ประมาท
ตอบ 3 หน้า 229, 247, 2553. 256, (คําบรรยาย) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้ พร้อมรับกับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านวัตถุ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น โดยคํานึงถึงความเป็นไปได้ และต้องประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ ล่วงหน้าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เพื่อให้ สามารถปรับตัวและพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพด้วยเวลาที่เหมาะสม เช่น การที่นักศึกษาวางแผนการทบทวนบทเรียนอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ และดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงเพื่อความพร้อมในการเข้าสอบ เป็นต้น
96. องค์ประกอบหลักที่กล่าวว่า “จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการ นําวิชาต่าง ๆ มาใช้ในการดําเนินการทุกขั้นตอน และการเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ” เกี่ยวข้อง
กับข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 4 หน้า 229, 244, 250, (คําบรรยาย) เงื่อนไขพื้นฐานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการต่าง ๆ มาใช้วางแผน และดําเนินการทุกขั้นตอน และต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติทุกระดับให้มีจิตสํานึก ในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ
97. ต่อไปนี้คือลักษณะของคนที่มีระบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง ยกเว้นข้อใด
(1) ไม่แยกแยะตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
(2) เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
(3) เห็นประโยชน์ส่วนตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม
(4) เห็นประโยชน์เครือญาติสําคัญกว่าประโยชน์พวกพ้อง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของคนที่มีระบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง มีดังนี้
1. ไม่สามารถแยกแยะประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมได้
2. ไม่แยกแยะตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
3. เอาประโยชน์ส่วนรวมไปตอบแทนบุญคุณส่วนตน
4. เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
5. เห็นประโยชน์ส่วนตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม หรือเห็นประโยชน์เครือญาติพวกพ้อง สําคัญกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ
98. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่แนวคิดของระบบคิด “ฐานสอง Digital”
(1) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถเลือกได้เพียง 2 ทางเท่านั้น
(2) เป็นระบบที่มีค่าตัวเลข คือ 0 (ศูนย์) กับ 1 (หนึ่ง)
(3) มีโอกาสที่จะเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ใช้กับไม่ใช่, เท็จกับจริง, ทําได้กับทําไม่ได้
(4) สามารถแยกประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์พวกพ้องได้อย่างเด็ดขาด
ตอบ 4 หน้า 314, (คําบรรยาย) ระบบคิดฐานสอง (Digital) เป็นระบบของการคิดวิเคราะห์ข้อมูล ที่สามารถเลือกได้เพียง 2 ทางเท่านั้น คือ 0 (ศูนย์) กับ 1 (หนึ่ง) และอาจหมายถึง โอกาสที่ จะเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ใช้กับไม่ใช่, เท็จกับจริง, ทําได้กับทําไม่ได้ ฯลฯ จึงเป็นระบบคิด ที่สามารถแยกแยะประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมได้อย่างเด็ดขาด ไม่กระทําการ ที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม
99. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของการคิดได้
(1) คิดถึงผู้ที่ได้รับบทลงโทษจากการทุจริต
(2) คิดถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวม
(3) คิดก่อนทํา
(4) คิดถึงผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้จากการตัดสินใจทํา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของการคิดได้ มีดังนี้
1. คิดก่อนทํา (ก่อนกระทําการทุจริต)
2. คิดถึงผลเสียผลกระทบต่อประเทศชาติ (ความเสียหายต่อส่วนรวมในทุก ๆ ด้าน)
3. คิดถึงผู้ที่ได้รับบทลงโทษจากการกระทําการทุจริต (เอามาเป็นบทเรียน)
4. คิดถึงผลเสียผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง (จะต้องอยู่กับความเสี่ยงที่จะถูกร้องเรียน ถูกลงโทษไล่ออก และติดคุก)
100. การลงโทษทางสังคมมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) หมายความถึงตามข้อใด
(1) มีทั้งด้านดีและด้านร้ายอยู่ภายในความหมาย
(2) มีทั้งด้านภายในและด้านภายนอกอยู่ภายในความหมาย
(3) มีทั้งด้านส่วนตัวและด้านส่วนรวมอยู่ภายในความหมาย
(4) มีทั้งด้านบวกและด้านลบอยู่ภายในความหมาย
ตอบ 4 หน้า 314, (คําบรรยาย) การลงโทษทางสังคมมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) คือ มีทั้งด้าน บวกและด้านลบอยู่ภายในความหมายของตัวเอง ดังนี้
1. การลงโทษทางสังคมเชิงบวก ได้แก่ ให้การสนับสนุน, สร้างแรงจูงใจ และให้รางวัล
2. การลงโทษทางสังคมเชิงลบ ได้แก่ การว่ากล่าวตักเตือน, การกดดันและบีบบังคับ และการต่อต้าน ประท้วง
101. ต่อไปนี้เป็นการลงโทษทางสังคมเชิงบวก ยกเว้นข้อใด
(1) ให้การสนับสนุน
(2) ให้รางวัล
(3) สร้างแรงจูงใจ
(4) ชื่นชมตักเตือน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 100. ประกอบ
102. มีวินัย เป็นคุณธรรม 8 ประการ ที่บุคคลทั่วไปควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต ซึ่งหมายความว่าอะไร
(1) ความตั้งใจเพียรพยายามทําหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ อดทนไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องควบคู่กับการใช้สติปัญญาแก้ปัญหา จนเกิดผลงานสําเร็จตามความมุ่งหมาย
(2) ประพฤติตรงไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลําเอียงหรืออคติ
(3) การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งต้องมีวินัยในตนเองและมีวินัยต่อสังคม
(4) ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่เจริญตา ทําให้เกิด ความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คุณธรรม 8 ประการ ที่บุคคลทั่วไปควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต ข้อ 4 มีวินัย หมายถึง การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งจะต้องมีวินัยใน ตนเองและมีวินัยต่อสังคม
103. ข้อใดไม่ใช่การฝึกตนให้มีความพอเพียง ซึ่งถือเป็นวิธีการพัฒนาตนด้านคุณธรรมจริยธรรมด้วยตนเองขั้นสูง
(1) การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน
(2) การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาพุทธ
(3) การทําสมาธิ
(4) ฝึกการเป็นผู้ให้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การฝึกตนให้มีความพอเพียง เป็นวิธีการพัฒนาตนในด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้วยตนเองขั้นสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย
1. การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน เช่น ความขยันหมั่นเพียร การพึ่งตนเอง ฯลฯ
2. การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาของตน
3. การทําสมาธิ
4. ฝึกการเป็นผู้ให้ เช่น การรู้จักให้อภัย รู้จักการแบ่งปันความรู้ ฯลฯ
104. ขันติเป็นหนึ่งในฆราวาสธรรม 4 ประการ หมายถึงตามข้อใด
(1) ความจริง คือ ดํารงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทําจริง จะทําอะไรก็ให้เป็นที่เชื่อถือ
ไว้วางใจได้
(2) การข่มใจ คือ บังคับควบคุมตนเองได้ รู้จักปรับตัวและแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้าดีงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ (3) อดทน คือ มุ่งหน้าทําหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทนไม่หวั่นไหว ไม่ท้อถอย มั่นคงในจุดหมาย
(4) เสียสละ คือ มีน้ําใจเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน บําเพ็ญประโยชน์ สละโลภ ละทิฐิมานะได้ ร่วมงาน กับผู้อื่นได้ ไม่ใจแคบเห็นแก่ตัวหรือเอาแต่ใจตน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ฆราวาสธรรม 4 เป็นหลักคุณธรรมสําหรับฆราวาส หรือหลักการครองชีวิต ให้มีความสุข ถูกต้องและเหมาะสม ประกอบด้วย
1. สัจจะ (ความจริง) คือ ดํารงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทําจริง จะทําอะไร ก็ให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้
2. ทมะ (การข่มใจ) คือ บังคับควบคุมตนเองได้ รู้จักปรับตัวและแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้า ดีงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ
3. ขันติ (อดทน) คือ มุ่งหน้าทําหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทน ไม่หวั่นไหว มั่นคงในจุดหมาย ไม่ท้อถอย
4. จาคะ (เสียสละ) คือ มีน้ําใจเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน บําเพ็ญประโยชน์ สละโลภ
ละทิฐิมานะได้ ร่วมงานกับผู้อื่นได้ ไม่ใจแคบเห็นแก่ตัวหรือเอาแต่ใจตน
105. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคม ของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ ในความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(1) หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
(2) หลักความโปร่งใส (Accountability)
(3) หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
(4) หลักความรับผิด (Responsibility)
ตอบ 4 หน้า 191 – 192, (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นแนวทางการ จัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถ อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานของการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประการ ได้แก่
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
2. หลักคุณธรรม (Morality)
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility)
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)
106. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหนึ่งใน 7 หลักการของหลักนิติธรรม
(1) หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
(2) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
(3) หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
(4) หลักความเป็นกฎหมายมหาชนของรัฐธรรมนูญ
ตอบ 4 หน้า 191, (คําบรรยาย) หลักนิติธรรม (The Rule of Law) ประกอบด้วย 7 หลักการ ได้แก่
1. หลักการแบ่งแยกอํานาจ
2. หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
3. หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
4. หลักความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา
5. หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
6. หลัก “ไม่มีความผิด และไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย
7. หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
107. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ความโปร่งใสด้านการให้โทษ
(1) มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
(2) มีวิธีการพิจารณาลงโทษผู้ทําผิดอย่างรุนแรง
(3) มีการลงโทษจริงจัง หนักเบาตามเหตุแห่งการกระทําผิด
(4) มีระบบการฟ้องร้องผู้กระทําผิดที่มีประสิทธิภาพ
ตอบ 2 หน้า 191, (คําบรรยาย) ความโปร่งใสด้านการให้โทษ ประกอบด้วยพฤติการณ์ต่อไปนี้
1. มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
2. มีวิธีการพิจารณาลงโทษผู้ทําผิดอย่างยุติธรรม
3. มีการลงโทษจริงจัง หนักเบาตามเหตุแห่งการกระทําผิด
4. มีระบบการฟ้องร้องผู้กระทําผิดที่มีประสิทธิภาพ
5. หัวหน้างานลงโทษผู้ทุจริตอย่างจริงจัง ฯลฯ
108. หลักการมีส่วนร่วมประกอบไปด้วยหลักการสําคัญ 4 หลักการต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) ระดับการให้ข้อมูล
(2) ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน
(3) ระดับการวางแผนของผู้บริหาร และการตัดสินใจ
(4) ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน
ตอบ 3 หน้า 192, (คําบรรยาย) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) ประกอบด้วย 4 หลักการ ดังนี้
1. ระดับการให้ข้อมูล เป็นระดับต่ําที่สุดและเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดของการติดต่อสื่อสาร
ระหว่างผู้วางแผนโครงการกับประชาชน
2. ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าระดับแรก
3. ระดับการวางแผนร่วมกัน และการตัดสินใจ เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าการปรึกษาหารือ
4. ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน จัดเป็น ระดับขั้นสูงที่สุดของการมีส่วนร่วม
109. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ใน 6 ยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปี
(1) ความมั่นคง
(2) การสร้างความสามารถในการอยู่รอด
(3) การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
(4) การปรับสมดุลและพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งชาติ ได้วางกรอบยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) โดยมีกรอบวิสัยทัศน์ คือ ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และ เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีคติพจน์ ประจําชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. ความมั่นคง
2. การสร้างความสามารถในการแข่งขัน
3. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
4. การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
5. การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
6. การปรับสมดุลและพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐ
110. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ใน 6 ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3
(พ.ศ. 2560 – 2564)
(1) สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
(2) พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรับ
(3) ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
(4) ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์ชาติที่ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) กําหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต” (Zero Tolerance & Clean Thailand) แบ่งออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์หลัก ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้น กระบวนการปรับสภาพทางสังคมให้เกิดภาวะ “ไม่ทนต่อการทุจริต” ได้แก่
1. สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
2. ยกระดับเจตจํานงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
3. สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
4. พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก
5. ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
6. ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
111. การสร้างฐานคิดจิตพอเพียงต่อต้านการทุจริตให้เกิดขึ้น เป็นพื้นฐานความคิดของปัจเจกบุคคล โดยมีการ ประยุกต์หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนา โดยตัวอักษร G ในหลัก STRONG คืออะไร
(1) Generosity
(2) Generality
(3) Genocide
(4) Geography
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมของ
หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย
1. S = Sufficient (ความพอเพียง)
2. T = Transparent (ความโปร่งใส)
3. R = Realize (ความตื่นรู้)
4. O = Onward (การมุ่งไปข้างหน้า)
5. N = KNowledge (ความรู้)
6. G = Generosity (ความเอื้ออาทร)
112. เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริอยู่เหนือกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของตะวันตก เพราะครอบคลุม
มิติ 4 ด้าน ดังต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) มิติด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต
(2) มิติด้านเศรษฐกิจ
(3) มิติด้านสังคม
(4) มิติด้านการดําเนินการ
ตอบ 4หน้า 244 เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริ อยู่เหนือกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของ ตะวันตก ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องวัตถุที่เป็นรูปธรรม เช่น เงิน ทรัพย์สิน กําไร ฯลฯ ไม่เกี่ยวกับเรื่อง จิตใจอันเป็นนามธรรม แต่เศรษฐกิจพอเพียงมีขอบเขตกว้างกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเพราะ ครอบคลุมมิติ 4 ด้าน ดังนี้
1. มิติด้านเศรษฐกิจ
2. มิติด้านจิตใจ
3. มิติด้านสังคม
4. มิติด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต (Way of Life) ของประชาชน
113. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ประเภทของรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชันที่กําหนดโดยคณะกรรมการวิสามัญพิจารณา สอบสวน และศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตของวุฒิสภา
(1) การทุจริตต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
(2) การทุจริตในการคัดเลือกบุคคล
(3) การทุจริตในการให้สัมปทาน
(4) การทุจริตโดยการทําลายระบบตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาสอบสวน และศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต ของวุฒิสภา ได้แบ่งรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชันออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. การทุจริตเชิงนโยบาย
2. การทุจริตต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
3. การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
4. การทุจริตในการให้สัมปทาน
5. การทุจริตโดยการทําลายระบบตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
114. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นสาเหตุของการทุจริต
(1) กฎหมายและประมวลจริยธรรมไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย
(2) การออกกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับ
(3) ประชากรในประเทศยังคงจําเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอยู่เป็นจํานวนมาก
(4) มีสถานการณ์หรือโอกาสที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตได้เป็นจํานวนมาก และมีกฎระเบียบต่าง ๆ
ที่อาจนําไปสู่การทุจริต
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สาเหตุของการทุจริต ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายในต่าง ๆ ที่เอื้อหรือสนับสนุนต่อ การเกิดการทุจริต มีดังนี้
1. แรงขับเคลื่อนที่ทําให้อยากมีรายได้เป็นจํานวนมาก
2. มีสถานการณ์หรือโอกาสที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตได้เป็นจํานวนมาก และมีกฎระเบียบ ต่าง ๆ ที่อาจนําไปสู่การทุจริต
3. การออกกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เข้มแข็ง
4. กฎหมายและประมวลจริยธรรมไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย
5. ประชากรในประเทศยังคงจําเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอยู่เป็นจํานวนมาก 6. ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และเจตจํานงทางการเมืองที่ไม่เข้มแข็ง
115. ข้อใดไม่ถือว่าเป็นการคิดแบบ Analog
(1) ติดสินบนเพื่อนําเงินเข้ารัฐ
(2) เห็นประโยชน์ส่วนตนมาหลังประโยชน์ส่วนรวม
(3) ทุจริตบ้างไม่เป็นไร ถ้าเกิดประโยชน์
(4) ยอมรับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะไม่ทําให้ใครเสียหาย
ตอบ 2 หน้า 314, (คําบรรยาย) ระบบคิดฐานสิบ (Analog) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่มี ตัวเลขหลายตัว หรือโอกาสที่จะเลือกได้หลายทาง จึงเป็นระบบการคิดที่แยกประโยชน์ส่วน บุคคลและประโยชน์ส่วนรวมออกจากกันไม่ได้ โดยมีลักษณะการคิดดังนี้
1. ยอมรับกับคําพูดที่ว่า “ทุจริตบ้างไม่เป็นไร ถ้าเราได้ประโยชน์”
2. ยอมรับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน การติดสินบน และการทุจริตคอร์รัปชัน
3. ยอมรับระบบอุปถัมภ์ ชอบนําความสัมพันธ์ส่วนตัวมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง
4. เห็นประโยชน์ส่วนตนมาก่อนประโยชน์ส่วนรวม ฯลฯ
116. นายโคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลความสําเร็จสูงสุด ด้านการพัฒนามนุษย์ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (The Human Development Lifetime Achievement Award) แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อเทิด พระเกียรติเป็นกรณีพิเศษในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันเดือนปีใด
(1) 26 พฤษภาคม 2549
(2) 5 ธันวาคม 2550
(3) 26 พฤษภาคม 2550
(4) 5 ธันวาคม 2549
ตอบ 1 หน้า 319 ในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 นายโคฟี อันนั้น ซึ่งเป็นเลขาธิการองค์การ สหประชาชาติ (UN) ในขณะนั้น ได้ขอพระราชทานพระราชวโรกาสเข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวาย รางวัลความสําเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP : The Human Development Lifetime Achievement Award) แด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อเทิดพระเกียรติเป็นกรณีพิเศษในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
117. ความละอายไม่กล้าที่จะทําในสิ่งที่ผิด เนื่องจากกลัวว่าเมื่อตนเองได้ทําลงไปแล้วจะมีคนรับรู้ ถือเป็น
ความละอายระดับใด
(1) ความละอายระดับสูง
(2) ความละอายระดับภายนอก
(3) ความละอายระดับต่ำ
(4) ความละอายระดับต้น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของความละอายสาม สามารถแบ่งได้ 2 ระดับ ได้แก่
1. ความละอายระดับต้น หมายถึง ความละอายไม่กล้าที่จะทําในสิ่งที่ผิด เนื่องจากกลัวว่า เมื่อตนเองได้ทําลงไปแล้วจะมีคนรับรู้ หากถูกจับได้จะได้รับการลงโทษ
2. ความละอายระดับที่สูง หมายถึง แม้ว่าจะไม่มีใครรับรู้หรือเห็นในสิ่งที่ตนเองได้ทําลงไป ก็ไม่กล้าที่จะทําผิด เพราะนอกจากตนเองจะได้รับผลกระทบแล้ว ครอบครัว สังคมก็จะ ได้รับผลกระทบตามไปด้วย
118. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นรูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยจิตพอเพียง
(1) ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ
(2) ภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจ
(3) ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาคเอกชน
(4) ภูมิคุ้มกันทางสังคม
ตอบ 3 หน้า 319, (คําบรรยาย) การสร้างภูมิคุ้มกันสังคมไทยด้วยจิตพอเพียงมีอยู่ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. ภูมิคุ้มกันทางสังคม
2. ภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจ
3. ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ
119. การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ตรงกับคําในภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) Conflict of Common
(2) Conflict of Personal
(3) Conflict of Advantage
(4) Conflict of Interest
ตอบ 4 หน้า 311, (คําบรรยาย) การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม หรือ เรียกว่า “Conflict of Interest” จะมีลักษณะทํานองเดียวกันกับกฎศีลธรรม จารีตประเพณี ขนบธรรมเนียม หลักคุณธรรม จริยธรรม กล่าวคือ การกระทําใด ๆ ที่เป็นการขัดกันระหว่าง ประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ควรจะกระทํา แต่บุคคล แต่ละคน แต่ละกลุ่มสังคมอาจเห็นว่า เรื่องใดเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับ
ประโยชน์ส่วนรวมแตกต่างกันออกไป
120. ดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือ CPI ซึ่งย่อมาจากคําว่าอะไร
(1) Corruption Period Indicator
(2) Corruption Perceptions Index
(3) Corruption Perceptions Indicator
(4) Cooperation Perceptions Index
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือ CPI ย่อมาจากคําเต็มที่เป็นภาษาอังกฤษว่า
“Corruption Perceptions Index”