การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา RAM 1000 (RU 100) ความรู้คู่คุณธรรม
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
ในกรณีที่ไม่มีตัวเลือกใดถูกต้องให้นักศึกษาตอบตัวเลือกที่ 5 (แต่ละข้อมี 4 ตัวเลือก)
1.ปัจจุบันราคาค่าหน่วยกิตระบบ Pre Degree ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) 50 บาท
(2) 60 บาท
(3) 40 บาท
(4) 30 บาท
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันราคาค่าลงทะเบียนหน่วยกิตระบบ Pre Degree ของมหาวิทยาลัย รามคําแหง คือ หน่วยกิตละ 50 บาท (จํานวนเงินขึ้นอยู่กับหน่วยกิตที่ลงทะเบียน)
2. แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีคุณธรรมอะไรบ้าง
(1) พอเพียง, วินัย, จิตอาสา, ซื่อสัตย์
(2) พอเพียง, วินัย, สุจริต, จิตอาสา
(3) พอเพียง, สามัคคี, จิตอาสา, วินัย
(4) พอเพียง, ซื่อสัตย์, ขยัน, สามัคคี
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม กรมการศาสนา ซึ่งเป็นผู้ร่างหลักการนําเสนอ “แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1” (พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2564) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ได้กําหนดคุณธรรม ที่พึงประสงค์สําหรับสังคมไทย เพื่อนําไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ 4 ประการ ได้แก่
1. พอเพียง
2. วินัย
3. สุจริต
4. จิตอาสา
3.หัวใจสําคัญของหลักประชาธิปไตย ข้อใดถูกต้องมากที่สุด
(1) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
(2) การปกครองเป็นของประชาชนและเพื่อประชาชน
(3) มีเสรีภาพ
(4) ฟังเสียงข้างมาก
ตอบ 1(คําบรรยาย) หลักการทางประชาธิปไตยที่สําคัญที่สุด ได้แก่
1. หลักอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
2. หลักความเสมอภาค
3. หลักนิติธรรม
4. หลักเหตุผล
5. หลักการถือเสียงข้างมาก
6. หลักการประนีประนอม
4.หน้าที่ของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
(1) เข้าร่วมกิจกรรมของสังคม
(2) รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
(3) เข้าร่วมโครงการของรัฐบาล
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หน้าที่ของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย มีดังนี้
1. เคารพกฎหมายและกติกาของสังคม
2. เคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
3. มีเหตุผลและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
5. มีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
6. เข้าร่วมกิจกรรมการเมืองการปกครอง เช่น การกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม, การกล้าเสนอตนเองในการทําหน้าที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้ง ฯลฯ
5.สถานที่ตั้งชั่วคราวของมหาวิทยาลัยรามคําแหง เป็นของหน่วยงานใดในขณะนั้น
(1) หน่วยงานของราชการ
(2) หน่วยงานของเอกชน
(3) หน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 16 สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติในคราวประชุมเมื่อวันที่
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 เป็นมติให้อาศัยสถานที่แสดงสินค้าของทางการที่ตําบลหัวหมาก เป็นสถานที่ชั่วคราว โดยเป็นการใช้สถานที่ร่วมกันกับกรมเศรษฐสัมพันธ์ ซึ่งเป็นส่วนราชการที่ ดูแลสถานที่แสดงสินค้าในขณะนั้น
6. ข้อใดคือหลักความสําคัญของการเป็นพลเมืองดี
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านสังคม
(3) ด้านการเมือง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4(คําบรรยาย) หลักความสําคัญของการเป็นพลเมืองดี ได้แก่
1. ความสําคัญในด้านการเมือง คือ ประชาธิปไตยจะประสบความสําเร็จได้ ประชาชนจะต้อง เป็นพลเมืองดี
2. ความสําคัญในด้านเศรษฐกิจ คือ เกิดความเป็นธรรมในการผลิต การบริโภค การกระจาย การแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ นํามาซึ่งความกินดีอยู่ดีของคนในสังคม
3. ความสําคัญในด้านสังคม คือ ทําให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความรักและ ความสามัคคีในหมู่คณะ สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
7.ก่อนจะมาเป็นชื่อ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคําแหง ร่าง พ.ร.บ. ฉบับแรก ในขณะนั้นมีชื่อว่า
(1) ร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.
(2) ร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ.
(3) ร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรัตนาธิเบศร์ พ.ศ.
(4) ร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยสวรรคโลก พ.ศ.
ตอบ 1 หน้า 7 ในวาระที่ 2 ของการประชุมพิจารณาร่างกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง มีประเด็นที่สําคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ชื่อร่าง พ.ร.บ.” ไม่มีผู้แปรญัตติ แต่มีการแก้ไขโดย คณะกรรมาธิการวิสามัญจากร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัย…….พ.ศ……. เป็นร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ…….
8. วันสําคัญของมหาวิทยาลัยที่มีการจัดงานทุกวันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี
(1) วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย
(2) วันที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคําแหงมหาราช
(3) วันพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตรุ่นแรก ปี พ.ศ. 2518
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 32 รัชกาลที่ 9 และสมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดําเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคําแหงมหาราชที่มหาวิทยาลัยรามคําแหง (หัวหมาก) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 พร้อมทั้งพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่บัณฑิตรุ่นแรก ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นเวลารวม 2 วัน ได้แก่ วันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ดังนั้นในวโรกาสมหามงคลยิ่งนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหงจึงได้ถือเอาวันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
9. สถานที่ที่ใช้เป็นสํานักงานอธิการบดีของมหาวิทยาลัยรามคําแหงแห่งแรก คือ
(1) LA3
(2) NB5
(3) SO2
(4) AD1
ตอบ 4 หน้า 20 เมื่อกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงได้ประกาศใช้แล้ว คณะกรรมการ เตรียมการฯ ได้ย้ายที่ทําการไปใช้อาคารหอประชุมเดิมของสถานแสดงสินค้า ซึ่งต่อมาจะ เรียกว่า อาคารเอดี 1 (ADI) เป็นที่ตั้งของสํานักงานอธิการบดี โดยชั้นบนเป็นห้องทํางาน ของอธิการบดีและห้องประชุมผู้บริหาร ส่วนชั้นล่างเป็นห้องทํางานของฝ่ายธุรการ
10. ข้อใดไม่ใช่มารยาทในการขับรถ
(1) ขับรถแซงทางโค้ง
(2) ขับรถช้าแต่มาอยู่ในเลนขวาสุด
(3) ขับรถเร็วเกินกําหนดมาตรฐาน
(4) ขับรถจี้กระชั้นชิด
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) มารยาทในการขับรถบนท้องถนนที่ควรรู้ ได้แก่
1. ขับรถช้าไม่ควรอยู่ในเลนขวาสุด
2. ไม่ขับรถแซงทางโค้ง
3. ไม่ขับรถจี้กระชั้นชิด หรือไม่ขับทิ้งช่วงห่างระหว่างคันหน้ามากจนเกินไป
4. รักษาเลนของตัวเองเวลาเลี้ยว
5. ไม่ควรเปิดไฟสูงขณะขับรถสวนกัน
6. ขับรถในความเร็วที่ปลอดภัย และขับตามการจํากัดความเร็วที่กฎหมายกําหนด ฯลฯ
11. คําที่ควรใช้ให้ติดปากในการพูด
(1) สวัสดี
(2) ขอบคุณ
(3) ขอโทษ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คําที่ควรใช้ให้ติดปากในการพูดเพื่อสร้างทัศนคติที่ดี และถือเป็นมารยาทในการ พูดจา ได้แก่ การฝึกพูดคําว่า “สวัสดี” ซึ่งเป็นคําทักทายของคนไทย โดยจะใช้เมื่อแรกพบกัน หรือเมื่อต้องการบอกลา, “ขอบคุณ” เมื่อมีผู้แสดงคุณต่อตน, “ขอโทษ” เมื่อตนทําพลาดพลั้ง สิ่งใดแก่บุคคลใด และ “ไม่เป็นไร” แสดงถึงการให้อภัย เมื่อมีผู้อื่นทําพลาดพลั้งสิ่งใดแก่ตัวเรา
12. ลักษณะสําคัญของการเป็นพลเมืองดี
(1) เข้าใจระบอบประชาธิปไตย
(2) รับผิดชอบต่อสังคม
(3) ไม่เห็นด้วยกับความแตกต่าง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คุณลักษณะสําคัญของการเป็นพลเมืองดี ได้แก่
1. มีความกตัญญูกตเวที
2. มีค่านิยมประชาธิปไตย
3. มีคุณธรรมจริยธรรม
4. มีความขยันหมั่นเพียร
5. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานของตนเอง ครอบครัว และสังคม
6. มีความเสียสละทําประโยชน์แก่ส่วนรวม หรือมีจิตสาธารณะ
7. ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม
8. มีความซื่อสัตย์สุจริต
13. คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ข้อใดปรากฏอยู่ในแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1
(1) พอเพียง
(2) ซื่อสัตย์
(3) จิตอาสา
(4) วินัย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ให้แก่เยาวชนไทย โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนี้
1. ขยัน
2. ประหยัด
3. ซื่อสัตย์
5. สุภาพ
6. สะอาด
7. สามัคคี
4. มีวินัย
8. มีน้ำใจ
(วินัย เป็นหนึ่งในคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ซึ่งปรากฏอยู่ในแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรม
แห่งชาติ ฉบับที่ 1 ด้วย) (ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ)
14. ข้อใดไม่ใช่มารยาทในการรับประทานอาหารที่เหมาะสม
(1) ไม่นั่งเท้าคางบนโต๊ะอาหาร
(2) ไม่พูดขณะรับประทานอาหาร
(3) ไม่ใช้ช้อนกลางทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
(4) ไม่เล่าเรื่องที่ไม่เหมาะสมขณะรับประทานอาหาร
ตอบ 3 (คําบรรยาย) มารยาทในการรับประทานอาหารที่สําคัญประการหนึ่ง คือ การใช้ช้อนกลาง เพื่อตักอาหารหรือกับข้าวที่เป็นของกลางมาใส่จานข้าวของตน ไม่ใช้เครื่องใช้ที่เป็นส่วนของตนเองตักอาหารซึ่งเป็นของกลางเป็นอันขาด โดยประโยชน์จากการใช้ช้อนกลางก็คือ ป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อ
15. ข้อใดคือความหมายของ “ธรรมะ”
(1) การกระทําที่แสดงออกมา
(2) การกระทําที่มีความหมายเป็นรูปธรรม
(3) การกระทําที่มีความหมายเป็นนามธรรม
(4) การกระทําที่สังคมยอมรับว่ามีศีลธรรม
ตอบ 2 หน้า 40 คําว่า “คุณธรรมจริยธรรม” มักถูกใช้ควบคู่กันเสมอ แต่ที่แท้จริงแล้วเป็นคํา 2 คํา ที่แยกออกจากกันและมีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ ความหมายของคําว่า “คุณ” (คุณะ) หมายถึง ความดี ซึ่งเป็นความหมายทางนามธรรมและเป็นเรื่องของจิตใจ ส่วนคําว่า “ธรรม” (ธรรมะ) หมายถึง การกระทําที่มีความหมายเป็นรูปธรรม
16. มหาวิทยาลัยรามคําแหงสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติของต่างประเทศมีกี่ประเทศ
(1) 36 ประเทศ
(2) 32 ประเทศ
(3) 41 ประเทศ
(4) 34 ประเทศ
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) มหาวิทยาลัยรามคําแหงได้ทําการขยายการเรียนการสอนไปสู่ต่างประเทศ ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2546 จนกระทั่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคําแหงสาขา วิทยบริการเฉลิมพระเกียรติของต่างประเทศมีอยู่ 32 ประเทศทั่วโลก
17. พระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เปรียบเทียบความรู้และคุณธรรมอย่างไร
(1) ความรู้เหมือนเครื่องยนต์ ส่วนคุณธรรมเสมือนหนึ่งกลไกการทํางานของเครื่องยนต์
(2) ความรู้เหมือนสติปัญญา ส่วนคุณธรรมเสมือนหนึ่งสภาพคุณงามความดี
(3) ความรู้เหมือนกลไก ส่วนคุณธรรมเป็นเสมือนหนึ่งระบบของสังคม
(4) ความรู้เหมือนเครื่องยนต์ ส่วนคุณธรรมเสมือนหนึ่งพวงมาลัยหรือหางเสือ
ตอบ 4 หน้า 38 พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ (รัชกาลที่ 9) ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราช ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2525 ความว่า “ความรู้นั้นเสมือนเครื่องยนต์ที่ทําให้ยวดยานเคลื่อนที่ไปได้ ประการเดียว ส่วนคุณธรรมดังกล่าวแล้วเป็นเสมือนหนึ่งพวงมาลัยหรือหางเสือ ซึ่งเป็นปัจจัย ที่นําทางให้ยวดยานดําเนินไปถูกทางด้วยความสวัสดี คือ ปลอดภัย บรรลุจุดประสงค์…”
18. แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. ใด
(1) พ.ศ. 2559 – 2561
(2) พ.ศ. 2559 – 2563
(3) พ.ศ. 2559 – 2564
(4) พ.ศ. 2559 – 2562
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ
19. ข้อใดไม่ใช่มารยาทในการประชุม
(1) ษาจดบันทึกขณะฟังการประชุม
(2) คู่มาประชุมตรงต่อเวลา
(3) แมวยกมือขออนุญาตเพื่อแสดงความคิดเห็น
(4) ดาวส่งไลน์หาเพื่อนในขณะประชุม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) มารยาทในการประชุมที่ต้องรักษาไว้ มีดังนี้
1. การตรงต่อเวลาในการประชุม
2. การขออนุญาตที่ประชุมเมื่อเข้าประชุมสาย หรือออกจากห้องประชุมก่อนกําหนด
3. การยกมือขวาขึ้นเพื่อขอแสดงความคิดเห็น หรือต้องการถาม
4. การเป็นผู้ฟังที่ดี รู้จักอดทนฟังเรื่องราวให้จบ และจดบันทึกขณะฟังการประชุม
5. เคารพกฎกติกาและเคารพมติของที่ประชุม
6. ไม่พูดแทรกหรือตัดบทไม่ให้พูดขณะที่ผู้อื่นกําลังแสดงความคิดเห็น
7. ไม่คุยเรื่องส่วนตัว คุยเสียงดัง หรือวิพากษ์วิจารณ์ นินทาผู้อื่นในขณะประชุม ฯลฯ
20. พลเมืองดีของสังคมข้อใดถูกที่สุด
(1) มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว
(2) มีวินัย มีความอดทน ประหยัด อดออม และอยู่อย่างพอเพียง
(3) คํานึงถึงพ่อแม่ผู้มีพระคุณเป็นหลัก
(4) มีน้ำใจต่อคนในครอบครัว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พลเมืองดีของสังคมมีลักษณะดังนี้
1. การคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
2. มีวินัย
3. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
4. มีความอดทน
5. ประหยัดและอดออม ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
6. การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
7. มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ไม่มีอคติ
8. การอนุรักษ์ความเป็นไทย
21. ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับแนวคิดในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) ขยายสถานที่เรียนที่กําลังขาดแคลนในขณะนั้น
(2) ขยายโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้แก่ประชาชน
(3) ขยายเวลาให้ผู้สนใจสมัครเรียนได้มีโอกาสเข้ามาเรียนได้มากขึ้น
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 1 – 2 จากปัญหาสั่งสมเรื่องนักเรียนตกค้างไม่มีที่เรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐเรื่อยมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ทําให้กลุ่มนักการเมืองที่เป็น ส.ส. พรรคสหประชาไทย โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค และมาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2511 ซึ่งสมาชิกใน กลุ่มนี้หลายคนเป็นผู้ที่เคยศึกษาในมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา (มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง) มาก่อน จึงได้ร่วมกันปรึกษาริเริ่มให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา (ต่อมาคือ มหาวิทยาลัยรามคําแหง) เพื่อขยายสถานที่เรียนที่กําลังขาดแคลนในขณะนั้น อันเป็นการแก้ไขปัญหานักศึกษาไม่มีที่เล่าเรียนจะได้หมดสิ้นไป
22. พลเมืองดีของสังคมข้อใดถูกที่สุด
(1) มีน้ำใจต่อคนในครอบครัว
(2) มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว
(3) คํานึงถึงพ่อแม่ผู้มีพระคุณเป็นหลัก
(4) มีวินัย มีความอดทน ประหยัด อดออม และอยู่อย่างพอเพียง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ
23. ข้อใดไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้องของ “พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย”
(1) ไม่เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา
(2) ไม่มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
(3) ไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดํารงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย หมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะสําคัญ คือ ต้องเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต ปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดํารงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
24. สถานที่ใช้ประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งแรกของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) มหาวิทยาลัยรามคําแหง
(2) สนามกีฬาศุภชลาศรัย
(3) ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล
(4) สนามกีฬาหัวหมาก
ตอบ 3 หน้า 22 วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2514 เป็นวันประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคําแหงครั้งแรก ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในฐานะนายก สภามหาวิทยาลัยรามคําแหงคนแรก เป็นประธาน
25. คุณสมบัติของพลเมืองดี
(1) มีจิตสาธารณะ
(2) มีหลักคุณธรรมประจําใจ
(3) ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ
26. คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ข้อใดถูกต้อง
(1) อดทน, มีน้ำใจ, มีวินัย
(2) สามัคคี, ประหยัด, มีวินัย
(3) สามัคคี, สุภาพ, ไม่เห็นแก่ตัว
(4) รับผิดชอบ, สามัคคี, ตรงต่อเวลา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ
27. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ให้ความหมายของคุณธรรม คือ
(1) คุณธรรม คือ ธรรมที่มีกรอบปฏิบัติที่ดีงามและถูกต้องชอบธรรม
(2) คุณธรรม คือ ธรรมที่เป็นคุณความดีงาม สภาพที่เกื้อกูลที่เกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์
(3) คุณธรรม คือ ทําให้เป็นผู้มีจิตใจที่สูงกว่าผู้อื่นที่พบเห็น
(4) คุณธรรม คือ หลักการพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมให้ดีงาม
ตอบ 2 หน้า 41 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ หรือพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) กล่าวไว้ว่า คุณธรรม คือ ธรรมที่เป็นคุณความดีงาม หรือสภาพที่เกื้อกูลซึ่งเกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์ เพื่อเสริมสร้าง คุณสมบัติทางจิตใจให้ดีงาม ทําให้เป็นผู้มีจิตใจที่สูง ประณีต และประเสริฐแก่ผู้ที่พบเห็นหรือ ได้อยู่ด้วย ประกอบด้วย 1. เมตตา 2. กรุณา 3. มุทิตา 4. อุเบกขา 5. จาคะ
28. ข้อใดเป็นการแต่งกายที่เหมาะสมกับการไปงานมากที่สุด
(1) แต่งชุดดําไปงานแต่งงาน
(2) แต่งชุดสีแดงไปงานศพ
(3) แต่งชุดเปิดร่องอกไปดูหนังกับแฟน
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4(คําบรรยาย) วิธีการพัฒนาบุคลิกภายนอกด้านบุคลิกภาพการแต่งกายที่ดี มีดังนี้
1. วิเคราะห์บุคลิกและรูปลักษณ์เป็นรายบุคคล เพื่อการเลือกสรรเสื้อผ้าและรองเท้า ที่มีความเหมาะสมกับงานที่จะไป
2. ใช้ความรู้พื้นฐานในเรื่องลายเส้นและแบบที่เหมาะสมกับรูปร่าง
3. แต่งกายให้สุภาพ เหมาะสมกับสถานภาพ วัย และกาลเทศะ
4. แต่งกายให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรม ฯลฯ
29. “คุณะ” มีความหมายตรงตามข้อใด
(1) ความดี เป็นความหมายทางรูปธรรมและเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมา
(2) ความดี เป็นความหมายของความถูกต้องชอบธรรม
(3) ความดี เป็นความหมายทางนามธรรมและเป็นเรื่องของจิตใจ
(4) ความดี เป็นความหมายของอารมณ์และความรู้สึก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ
30. หัวใจสําคัญของหลักประชาธิปไตย ข้อใดถูกต้องมากที่สุด
(1) ฟังเสียงข้างมาก
(2) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
(3) มีเสรีภาพ
(4) การปกครองเป็นของประชาชนและเพื่อประชาชน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ
31. พลเมืองดี หมายถึง
(1) ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน
(2) ทั้งกิจที่ต้องทํา
(3) กิจที่ควรทํา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คําว่า “พลเมืองดี” หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้อย่างครบถ้วน ทั้งกิจที่ ต้องทําและกิจที่ควรทํา
32. คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี
(1) การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
(2) การขาดระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่
(3) การเห็นแก่ประโยชน์ครอบครัวตนเอง
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1(คําบรรยาย) คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี มีดังนี้
1. ความเอื้อเฟื้อ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
2. การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
3. รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน และเคารพในมติของเสียงส่วนมาก
4. ความซื่อสัตย์สุจริต
5. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทําชั่ว
6. ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง
7. ความสามัคคี
8. การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอํานาจ ฯลฯ
33. สิ่งที่ไม่ควรถามเมื่อเจอกับเพื่อนหรือคนรู้จัก
(1) สวัสดีค่ะ ทานข้าวมาหรือยังคะ
(2) สวัสดีค่ะ ไม่สบายหรือเปล่าดูซูบไปนะคะ
(3) สวัสดีค่ะ วันนี้ว่างไปทานข้าวด้วยกันไม้คะ
(4) สวัสดีค่ะ สบายดีนะคะ
ตอบ 2 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ) การทักทายของคนไทยนั้นมักจะเริ่มต้นด้วยการ กล่าวคําปฏิสันถารว่า “สวัสดีค่ะ/ครับ” และกล่าวต่อไปว่า “สบายดีหรือคะ/ครับ” หรือพูดถึง เรื่องทั่วไปในชีวิตประจําวัน เช่น เรื่องดินฟ้าอากาศ ถามถึงสารทุกข์สุขดิบ หรือการทํามาหากิน แต่ไม่ควรพูดเกี่ยวกับรูปร่าง หน้าตา หรือสีผิวของคู่สนทนา ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดี
34. คําว่า “พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย” หมายถึง
(1) ไม่เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา
(2) ไม่มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
(3) ไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดํารงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ
35. พลเมือง หมายถึงข้อใด
(1) คนที่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง
(2) ประชาชนที่อยู่ภายใต้ผู้ปกครองเดียวกัน มักมีวัฒนธรรมเดียวกัน
(3) ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คําว่า “พลเมือง” ในประเทศไทย น่าจะถูกนํามาใช้ในสมัยหลังเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ. 2475 โดยพจนานุกรมนักเรียนฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมาย ของคําว่า “พลเมือง” หมายถึง ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน
36. วันสําคัญของมหาวิทยาลัยรามคําแหงที่มหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการได้จัดงานรัฐพิธีขึ้นพร้อมกันทุกปี
(1) วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย
(2) วันพ่อขุนรามคําแหงมหาราช วันที่ 17 มกราคม ของทุกปี
(3) วันพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตรุ่นแรก พ.ศ. 2518
(4) วันปฐมนิเทศนักศึกษารุ่นแรก
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 รัฐบาลไทยได้มีมติอนุมัติและประกาศให้ วันที่ 17 มกราคมของทุกปี เป็นวันพ่อขุนรามคําแหงมหาราช ทั้งนี้เพราะเป็นวันที่รัชกาลที่ 4 ทรงค้นพบหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคําแหงเป็นครั้งแรกในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2376 ดังนั้นจึงถือว่าเป็นวันสําคัญของมหาวิทยาลัยรามคําแหงที่มหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการได้จัดงานรัฐพิธีขึ้นพร้อมกันทุกปี
37. หน้าที่ของพลเมือง หมายถึงข้อใด
(1) เคารพกฎหมาย
(2) เสียภาษี
(3) ยึดมั่นในชาติ ศาสน์ กษัตริย์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หน้าที่ของพลเมืองที่มีต่อชาติบ้านเมือง ได้แก่ การป้องกันประเทศและรักษา ผลประโยชน์ของชาติ, การเข้ารับราชการทหาร, การเสียภาษีอากร, การปฏิบัติตนให้อยู่ใน ศีลธรรมตามหลักของศาสนา, การเคารพกฎหมาย, การยึดมั่นในชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ฯลฯ
38. ถ้านักศึกษาต้องการสําเนาสื่อคําบรรยายกระบวนวิชา แหล่งเรียนรู้ใดของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
ให้ประโยชน์มากที่สุด
(1) www.techno.ru.ac.th/new
(2) www.computer.ru.ac.th
(3) www.e-learning.ru.ac.th
(4) www.ram2.ru.ac.th
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ศูนย์กลางแหล่งสืบค้นข้อมูลแห่งใหญ่ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ สํานัก เทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรแห่งการผลิต พัฒนา และบริการสื่อการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยทุกแขนงวิชา ดังนั้นสํานักเทคโนโลยีการศึกษา จึงถือเป็นแหล่งรวมของสื่อการศึกษาที่มีความหลากหลายในทุกสาขาวิชาและทุกชั้นปี ผ่านทาง www.techno.ru.ac.th/new/ เช่น บริการสําเนาสื่อคําบรรยายกระบวนวิชาต่าง ๆ ด้วย DVD และ Flash Drive, บริการยืมสื่อการศึกษา ฯลฯ
39. องค์ประกอบของคุณธรรมจริยธรรมของกรมวิชาการ คือ
(1) ด้านการกระทํา
(2) ด้านความสามารถ
(3) ด้านความรู้
(4) ด้านสติปัญญา
ตอบ 3 หน้า 49 กรมวิชาการ ได้จัดทําเอกสารการประชุมเกี่ยวกับจริยธรรมไทย และสรุปว่า คุณธรรมจริยธรรมของบุคคลมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. ด้านความรู้
2. ด้านอารมณ์ความรู้สึก
3. ด้านพฤติกรรม
40. สี่องค์ประกอบหลักของแนวคิดการพัฒนาประเทศตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่เท่าไร
(1) ฉบับที่ 8
(2) ฉบับที่ 10
(3) ฉบับที่ 12
(4) ฉบับที่ 15
ตอบ 2 – หน้า 63 – 66 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ประมวล
หลักแนวคิดการพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 โดยจําแนกออกเป็น 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้
1. แนวคิดหลัก
2. เป้าประสงค์
3. หลักการ
4. เงื่อนไขพื้นฐาน
41. ความรู้ในลักษณะ Soft Skill คือข้อใด
(1) สมคิดมีความคิดสร้างสรรค์และเป็นผู้นํา
(2) สมหวังเก่งการถ่ายภาพ
(3) สมหมายเก๋งขับรถยนต์
(4) สมควรเรียนหนังสือเก่งมาก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประเภทของความรู้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1. ความรู้ที่มีอยู่ในรูปแบบของสื่อหรือเอกสาร (Hard Skills) ที่เราถ่ายทอด ปฏิบัติ หรือได้รับ การฝึกฝนมา เช่น การเขียนหนังสือหรือตํารา, การขับรถยนต์เก่ง, การถ่ายภาพสวย ฯลฯ
2. ความรู้ที่มีอยู่ในตัวตนของเรา (Soft Skills) หรือเรียกว่า “พรสวรรค์” รวมทั้งทักษะในด้าน ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นยุคปัจจุบัน เช่น ทักษะด้านการถ่ายทอดสื่อสารข้อมูล, ความคิดสร้างสรรค์ และการเป็นผู้นํา, การจัดการแก้ปัญหา, การมีคุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ
42. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับเงื่อนไขหลักวิชา
(1) ติวหนังสือให้เพื่อน
(2) ขยันทบทวนบทเรียนจนสอบผ่าน
(3) ไม่ทุจริตในการสอบ
(4) วางแผนการจ่ายเงินโดยใช้ความรู้ด้านบัญชี
ตอบ 4 หน้า 66 เงื่อนไขหลักวิชาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดําเนินกิจกรรมใดต้องอาศัยความรอบรู้เชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาวางแผนและปฏิบัติการตามแผนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการดําเนินการ เพราะ การวางแผนที่อาศัยความรู้ที่เป็นหลักวิชาย่อมมีโอกาสประสบความสําเร็จสูง และถ้าได้ปฏิบัติ ตามแผนอย่างระมัดระวัง โอกาสผิดพลาดก็จะเกิดขึ้นน้อยมาก เช่น วางแผนการใช้จ่ายเงินโดย มีความรู้ด้านบัญชีพื้นฐาน, วางแผนการออมและการลงทุนโดยใช้ความรู้ด้านการเงิน เป็นต้น
43. การรักษาวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม ถือว่าเป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในสังคมระดับใด
(1) ระดับธุรกิจ
(2) ระดับชุมชน
(3) ระดับบุคคลและครอบครัว
(4) ระดับประเทศ
ตอบ 3 หน้า 68 ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว คือ ครอบครัวเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของ สังคม แต่เป็นหน่วยที่สําคัญที่สุดในการสร้างคนที่มีคุณภาพ ดังนั้นหัวหน้าครอบครัวจึงต้อง ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสง่างาม เหมาะสมกับที่จะเป็นต้นแบบให้สมาชิกคนอื่น ๆ ได้เลียนแบบ และปฏิบัติตาม โดยหัวหน้าครอบครัวจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. รับผิดชอบดูแลครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพสุจริต
2. บริหารจัดการรายรับและรายจ่ายให้เกิดความสมดุล
3. รู้จักประหยัดด้วยการใช้สิ่งของอย่างรู้คุณค่า
4. มีการออมเงิน แต่ไม่ตระหนี่
5. มีการแบ่งปันตามสมควร
6. ลดละเลิกอบายมุข
7. รักษาวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม
8. อยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม
44. ป้ายชื่อมหาวิทยาลัยรามคําแหงเดิมแรกเริ่มทําด้วย
(1) เหล็ก
(2) ไม้
(3) ผ้า
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ป้ายชื่อมหาวิทยาลัยรามคําแหง เมื่อแรกเริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2514 ทําด้วยหินแกรนิต (Granite) หรือหินแกรไนท์ สีน้ําเงินเกล็ดมุก และตัวอักษรที่ประดับป้าย คําว่า “มหาวิทยาลัยรามคําแหง” ด้านหน้าทํามาจากโลหะสีทองบรอนซ์ ส่วนด้านหลังป้าย มีคําว่า “รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุนฯ สนองคุณชาติ” ซึ่งเป็นคําขวัญแรกที่คิดขึ้นโดย ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
45.Global Village แสดงถึงแนวคิดที่เกี่ยวข้องในเรื่องใด
(1) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
(2) สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้
(3) กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์
(4) การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หมู่บ้านโลก (Global Village) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากความเจริญก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม โดยเฉพาะการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต ทําให้สังคมโลก
ไร้พรมแดน โลกทั้งโลกเป็นเสมือนหมู่บ้านเดียวกัน สมาชิกของหมู่บ้านคนใดทําอะไรก็สามารถ รับรู้ได้ทั่วโลก หรือสิ่งใดที่มากระทบประเทศหนึ่งก็ย่อมกระทบไปถึงประเทศอื่น ๆ ไปด้วยอย่าง มิอาจหลีกเลี่ยงได้
46. ระดับของคุณธรรมและจริยธรรม มีอะไรบ้าง
(1) ศีลธรรมและคําสอนของศาสนา
(2) โลกิยธรรมและโลกุตรธรรม
(3) การเลียนแบบและการสร้างด้วยตนเอง
(4) สติปัญญาและความรู้สึก
ตอบ 2 หน้า 48, (คําบรรยาย) การวัดระดับของคุณธรรมจริยธรรมทําได้ 2 ระดับ ดังนี้
1. ระดับโลกิยธรรม ได้แก่ ธรรมอันเป็นวิสัยของมนุษย์โลก สภาวะเนื่องกับโลก จัดเป็นธรรม ขั้นต้น เช่น ศีล 5 ได้แก่ ห้ามฆ่าสัตว์, ห้ามลักขโมย, ห้ามประพฤติผิดในกาม, ห้ามพูดปด และห้ามดื่มน้ําเมา เป็นต้น โดยมุ่งให้บุคคลอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ไม่ทําชั่ว ไม่เบียดเบียน ซึ่งกันและกัน สร้างแต่คุณงามความดี และทําจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส
2. ระดับโลกุตรธรรม ได้แก่ ธรรมอันมิใช่โลก สภาวะพ้นโลก จัดเป็นธรรมชั้นสูง เช่น มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ซึ่งผู้ที่บรรลุจริยธรรมระดับนี้จัดเป็นอริยบุคคล คือ ผู้พ้นจากกิเลส
47. ข้อใดคือ รูปแบบการถ่ายทอดความรู้ในลักษณะ Explicit Knowledge
(1) นายเอเป็นนักเขียน
(2) นายบีเป็นนักวาดภาพ
(3) นายซีเป็นนักเขียนข่าว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความรู้ 2 ประเภท มีดังนี้
1. ความรู้ฝังลึก หรือความรู้ที่ซ่อนเร้นไม่เปิดเผย (Tacit Knowledge) คือ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ ในตัวคนหรืออยู่ในสมองของคน โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของบุคคลที่สั่งสมมาอย่าง ยาวนาน จึงเป็นความรู้ติดตัวที่เรียนรู้จากการสั่งสมประสบการณ์การทํางานต่าง ๆ รวมทั้ง ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งจะไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ทั้งหมด เช่น เซฟทําอาหาร, นักกีฬา ฟุตบอลทีมชาติ, ครูสอนหนังสือ ฯลฯ
2. ความรู้ชัดแจ้ง หรือความรู้ที่เปิดเผย (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ชัดแจ้งที่สามารถ สัมผัสหรือจับต้องได้ ซึ่งจะถ่ายทอดออกมาในรูปของตํารา หนังสือพิมพ์ นวนิยาย ภาพวาด รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ
48. บทเรียนออนไลน์ คือแหล่งเรียนรู้ลักษณะใด
(1) แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต
(2) แหล่งเรียนรู้ออฟไลน์
(3) แหล่งเรียนรู้แบบเปิด
(4) แหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสื่อสารสนเทศ เช่น สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ สื่ออินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น และนวัตกรรมต่าง ๆ
49.การ Reskill หมายถึงข้อใด
(1) การเพิ่มความสามารถในการทํางาน
(2) การพัฒนาทักษะจากงานเดิม
(3) การเสริมทักษะจากงานเดิม
(4) การสร้างทักษะใหม่ในการทํางาน
ตอบ 4(คําบรรยาย) การ Reskill คือ การสร้างทักษะใหม่ในการทํางานที่แตกต่างไปจากงานเดิม ที่ทําอยู่ เป็นการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เพื่อนําไปใช้กับบริบทอื่นของตําแหน่งงาน และเพื่อให้ สามารถตอบโจทย์กับการทํางานในยุคที่เทคโนโลยีและดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา (ส่วนการ Upskill คือ การเสริมและพัฒนาทักษะจากงานเดิม เพื่อเพิ่มความสามารถในการ ทํางาน และส่วนใหญ่เป็นการนําเทคโนโลยีหรือดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อให้เข้ากับการทํางาน เช่น เรียนรู้เทคโนโลยีเพิ่มเติม เมื่อบริษัทนั้นนําเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการ ทํางานใหม่ เป็นต้น)
50. แหล่งที่มาของคุณธรรมและจริยธรรม คือข้อใด
(1) การเลียนแบบ
(2) การจินตนาการ
(3) สร้างในตนเองได้
(4) ปรัชญา
ตอบ 4 หน้า 46 – 47 แหล่งที่มาของคุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่
1. วิชาปรัชญา คือ วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง
2. ศาสนาต่าง ๆ
3. วรรณคดี ซึ่งจะมีแนวคิดคําสอนที่เป็นแนวปฏิบัติได้ เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ และ สุภาษิตสอนหญิง
4. สังคม ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี
5. การเมืองการปกครอง
51. สุภาษิตของไทยในข้อใดที่มีความสอดคล้องกับเรื่องของเงื่อนไขชีวิตของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(1) ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
(2) ดินพอกหางหมู
(3) ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง
(4) ตําน้ำพริกละลายแม่น้ำ
ตอบ 1 หน้า 66 – 67 เงื่อนไขชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดําเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติและปัญญา แก้ไขปัญหาและบริหารจัดการชีวิต โดยใช้หลักวิชาและหลัก คุณธรรมเป็นหลักพื้นฐาน ย่อมส่งผลให้ชีวิตมีคุณภาพและมีความสุข เพราะสามารถเข้าใจ ชีวิตและทําให้รับได้กับทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาไม่ว่าจะร้ายหรือดี ซึ่งสอดคล้องกับสุภาษิตของไทยที่ว่า “ฝนทั่งให้เป็นเข็ม” (เพียรพยายามสุดความสามารถจนกว่าจะสําเร็จผล)
52. การเกิดคุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน อาจเกิดจากลักษณะใด
(1) ศาสนา
(2) วรรณคดี
(3) สังคม
(4) การเลียนแบบ
ตอบ 4 หน้า 47 คุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้
1. เกิดจากการเลียนแบบ
2. เกิดจากการสร้างในตนเอง
3. เกิดจากการบําเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม (Utility and Social Contract)
53. เหตุการณ์ใดดังต่อไปนี้ที่ทําให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงถูกกล่าวถึง และถูกนํามาใช้เป็นแนวทางในการใช้ ชีวิตให้ดํารงอยู่ได้อย่างมั่นคงยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์
(1) การแพร่ระบาดไข้หวัดนก
(2) สึนามิภาคใต้
(3) วิกฤติต้มยํากุ้ง
(4) พฤษภาทมิฬ
ตอบ 3 หน้า 59 – 60 เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ําหรือวิกฤติการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 เรียกว่า “วิกฤติต้มยํากุ้ง” เป็นช่วงเวลาที่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสําคัญอย่างเด่นชัดและถูกนํามาพิจารณาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตให้สามารถดํารงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์
54. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่คุณลักษณะของความพอเพียง
(1) ความมีเหตุผล
(2) ความเมตตา
(3) ความพอประมาณ
(4) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ตอบ 2 หน้า 65 ความพอเพียงประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้
1. ความพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง
55. “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้เป็นประโยชน์เฉพาะกับประเทศ แต่เป็นประโยชน์กับทุกประเทศ
ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน” ใครเป็นผู้กล่าวข้อความนี้
(1) ประเวศ วะสี
(2) โคฟี อันนัน
(3) พระธรรมปิฎก
(4) มหาตมะ คานธี
ตอบ 2 หน้า 62 นายโคฟี อันนั้น ซึ่งเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้กราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ (รัชกาลที่ 9) ว่า “ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงไม่ได้เป็นประโยชน์เฉพาะกับประเทศ แต่เป็นประโยชน์กับทุกประเทศที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน”
56. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการเรียนรู้
(1) ผู้สอน
(2) แหล่งเรียนรู้
(3) ผู้เรียน
(4) สภาพแวดล้อม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการเรียนรู้ มีดังนี้
1. ผู้สอน คือ แหล่งเรียนรู้ชนิดหนึ่ง
2. ผู้เรียน
3. สื่อ/แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น ตํารา หนังสือ สื่อออนไลน์ สถานที่ต่าง ๆ ฯลฯ
57. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริของในหลวงรัชกาลที่ 9
(1) ควรมีสถานศึกษาในชุมชนในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2
(2) ควรแบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1
(3) ควรหาธนาคารที่จะสนับสนุนการเงินในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3
(4) ควรหาหน่วยงานสนับสนุนการวิจัยในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3
ตอบ 2 หน้า 72 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 1 คือ การแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็น 4 ส่วน ด้วยอัตรา 30 : 30 : 30 : 10 โดยมีการบริหารจัดการดังนี้
1. ขุดเป็นสระสําหรับใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน เพื่อใช้ปลูกพืชในฤดูแล้ง รวมทั้งเลี้ยงปลาและ พืชน้ำต่าง ๆ 30%
2. ปลูกข้าวในฤดูฝน 30%
3. ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ 30%
4. ปลูกเป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ (เช่น เป็ด ไก่ ฯลฯ) ถนน ทางเดิน และโรงเรือนอื่น ๆ 10%
58. การไม่ทุจริตในการสอบ ถือว่านักศึกษามีความพอเพียงในเงื่อนไขใด
(1) เงื่อนไขชีวิต
(2) เงื่อนไขคุณธรรม
(3) เงื่อนไขพื้นฐาน
(4) เงื่อนไขหลักวิชา
ตอบ 2 หน้า 66 เงื่อนไขคุณธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของตน ให้เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้รักสามัคคี ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ และรู้จักแบ่งปันให้กับผู้อื่น เช่น การที่นักศึกษาแบ่งปันความรู้ให้กับเพื่อน ไม่ทุจริตในการสอบ และพึงพอใจในผลสอบที่ตนเองได้รับ เป็นต้น
59. พฤติกรรมการเลียนแบบ มีความสําคัญต่อการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในสังคมระดับใดมากที่สุด (1) ระดับบุคคลและครอบครัว
(2) ระดับธุรกิจ
(3) ระดับประเทศ
(4) ระดับชุมชน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ
60. การไม่ลักขโมยสิ่งของคนอื่นมาเป็นของตน คือ ระดับของคุณธรรมจริยธรรมข้อใด
(1) โลกายธรรม
(2) ศีล 5
(3) โลกุตรธรรม
(4) โลกิยธรรม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ
61. เมื่อนักศึกษายินดีกับความสําเร็จของบุคคลอื่น ไม่อิจฉาริษยา นักศึกษามีคุณธรรมข้อใด
(1) อุเบกขา
(2) กรุณา
(3) มุทิตา
(4) เมตตา
ตอบ 3 หน้า 41, (คําบรรยาย) พรหมวิหาร 4 หรือเรียกกันว่า “พรหมวิหารธรรม” ถือเป็นหลักธรรม ประจําใจ เพื่อให้ตนดํารงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่น “พรหม” ซึ่งประกอบด้วย
1. เมตตา คือ ความรักปรารถนาดีเป็นมิตร อยากให้ผู้อื่นพบความสุข
2. กรุณา คือ ความสงสารอยากช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา คือ ความพลอยยินดีพร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนผู้ที่ประสบความสําเร็จให้มีความสุข ไม่คิดอิจฉาริษยาในความดีของผู้อื่น
4. อุเบกขา คือ การวางตัว การวางใจเป็นกลางเพื่อรักษาธรรม
62. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องความพอเพียง
(1) ทุกครอบครัวต้องทอเสื้อผ้าใส่เอง
(2) ผลิตอาหารแล้วนําไปขายภายในหมู่บ้าน
(3) ใช้ของหรูหราได้โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 60 รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดํารัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงแก่พสกนิกรไทยตอนหนึ่ง ความว่า “ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้อง ทอเสื้อผ้าใส่เองอย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอําเภอต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้อง เสียค่าขนส่งมากนัก….พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียน คนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ…”
63. ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมในการประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ชัดเจน เรียกว่าอะไร
(1) ทฤษฎีเงื่อนไข
(2) ทฤษฎีใหม่
(3) ทฤษฎีความพอเพียง
(4) ทฤษฎีทางสายกลาง
ตอบ 2 หน้า 71, (คําบรรยาย) ทฤษฎีใหม่ คือ ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมในการประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงที่ชัดเจน เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาความยากจน และให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ที่ประสบปัญหาจากการผันแปรของธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อการเกษตรให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
64. ข้อใดต่อไปนี้อธิบายเกี่ยวกับหลักของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้องที่สุด
(1) ความพอเพียงต้องอาศัยเงื่อนไข 3 ประการ คือ เงื่อนไขคุณธรรม เงื่อนไขหลักวิชา และเงื่อนไขเหตุผล (2) ความพอประมาณ คือ การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง
(3) การลดละเลิกอบายมุข ปฏิบัติได้ตั้งแต่ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ
65. แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 หน่วยงานใดเป็นผู้ร่างหลักการขึ้นมา
(1) กระทรวงวัฒนธรรม
(2) กระทรวงมหาดไทย
(3) กระทรวงศึกษาธิการ
(4) สํานักพระพุทธศาสนา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ
66. บุคคลใดต่อไปนี้เป็นผู้ที่ขาดภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
(1) สมชายชวนเพื่อนมาปาร์ตี้ที่บ้านทุกวันศุกร์
(2) ตะวันหมั่นทบทวนบทเรียนสม่ำเสมอ
(3) มานั่งดเดินทางไปต่างหวัดในช่วงโควิดระบาด
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1หน้า 65, 82, (คําบรรยาย) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับกับ ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านวัตถุ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่จะเกิดขึ้น โดยต้องคํานึงถึงความเป็นไปได้และ ประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ ล่วงหน้าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เพื่อให้สามารถ ปรับตัวและพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ได้ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพด้วยเวลาที่เหมาะสม เช่น ตะวันวางแผนการทบทวนบทเรียนอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ และดูแลสุขภาพร่างกายของ ตัวเองให้แข็งแรงเพื่อความพร้อมในการเข้าสอบ, มานั่งดไปปาร์ตี้สังสรรค์กับเพื่อน และงดการ เดินทางไปต่างหวัดในช่วงโควิดระบาด เป็นต้น
67. ข้อใดต่อไปนี้คือ หลักที่ควรคํานึงถึงของความมีเหตุผลตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(1) หลักวิชาการ
(2) หลักกฎหมาย
(3) หลักจริยธรรม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 65 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยคํานึงถึงระดับ ความพอเพียงอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักจริยธรรม และวัฒนธรรม อันดีงามของท้องถิ่น โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องตระหนักถึงผลที่ จะเกิดขึ้นจากการดําเนินการดังกล่าวอย่างรอบคอบ
68. เพียเจต์ (Piaget) เชื่อว่า การเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากอะไร
(1) พัฒนาการของมนุษย์มีสภาวะหยุดนิ่ง ไม่มีความต่อเนื่อง
(2) ความสามารถของมนุษย์เองที่จะเรียนรู้
(3) มนุษย์เรียนรู้จากประสบการณ์ในชีวิตจริงและจากสังคมด้วยเช่นกัน
(4) การปรับตัวและการสร้างสมดุลระหว่างสติปัญญากับสภาวะแวดล้อม
ตอบ 4 หน้า 50 เพียเจต์ (Piaget) เชื่อว่า การเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากการปรับตัวและการสร้าง สมดุลระหว่างสติปัญญากับสภาพแวดล้อมที่จะทําให้มนุษย์ดํารงชีวิตอยู่ โดยพัฒนาการของมนุษย์มีความต่อเนื่องและเจริญขึ้นตามวุฒิภาวะ
69. แหล่งเรียนรู้มีความสําคัญอย่างไร
(1) ช่วยพัฒนาสถาบันการศึกษา
(2) แสดงถึงความก้าวหน้าทางวัฒนธรรม
(3) บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของมนุษย์
(4) สามารถถ่ายทอดความรู้แบบต่าง ๆ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ มีดังนี้
1. เป็นแหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย
2. เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. เป็นแหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
4. เป็นแหล่งที่ใช้สร้างเสริมความรู้ความคิด วิทยาการ และประสบการณ์ ผ่านการถ่ายทอดความรู้ในแบบวิธีต่าง ๆ
5. เป็นแหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ
70. ตัวอย่างความหมายของ “จริยธรรม” คือ
(1) ข้อประพฤติปฏิบัติอันดีงาม ตามหลักคําสอนของแต่ละศาสนา
(2) ข้อประพฤติปฏิบัติตามหลักศีลธรรม กฎศีลธรรม และรวมถึงกฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์
(3) ข้อประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม สภาพคุณงามความดีที่คนในสังคมยอมรับและปฏิบัติต่อกัน
(4) ข้อประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม ศีลธรรมอันดีในสังคม
ตอบ 2 หน้า 42 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2538 ให้ความหมายของ “จริยธรรม” คือ ข้อประพฤติปฏิบัติตามหลักศีลธรรม กฎศีลธรรม และรวมถึงกฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ ที่เกิดจากธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งมาจากหลักการที่มีเหตุมีผล ทําให้ผู้เข้าใจมีมโนธรรม และรู้จัก แยกแยะความถูก/ผิด ควรไม่ควร ได้อย่างเหมาะสม ถูกต้องกับการดําเนินชีวิต
71. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตรงกับภาษาอังกฤษว่าอย่างไร (1) Self – sufficiency of Thailand
(2) Self – Economy
(3) Self – sufficiency
(4) Self – sufficiency of Economy
ตอบ 4 หน้า 61 รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดํารัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงแก่พสกนิกรไทยตอนหนึ่ง ความว่า “เศรษฐกิจพอเพียง คือ ทําเป็น Self – sufficiency มันไม่ใช่ความหมาย ไม่ใช่แบบที่ ฉันคิด ที่ฉันคิดคือ เป็น Self – sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดูทีวีก็ควรให้เขา มีดู ไม่ใช่ไปจํากัดเขาไม่ให้ซื้อทีวีดู เขาต้องการดูเพื่อความสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกล ๆ ที่ฉันไป เขามีทีวีดูแต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มีทีวีเขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือน คนไม่มีสตางค์ไปตัดสูทใส่ และยังใส่เนคไทเวอร์ซาเช่ อันนี้ก็เกินไป….”
72. ข้อใดคือ รูปแบบการถ่ายทอดความรู้ในลักษณะ Tacit Knowledge
(1) นายเอเป็นครูสอนหนังสือ
(2) นายที่เป็นนักเขียนนวนิยาย
(3) นายชอบเขียนบทความลงเว็บไซต์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ
73. การที่เราไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด ถือได้ว่าเป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในด้านใด
(1) ด้านสิ่งแวดล้อม
(2) ด้านสังคม
(3) ด้านเศรษฐกิจ
(4) ด้านจิตใจ
ตอบ 3 หน้า 70, (คําบรรยาย) การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านเศรษฐกิจ คือ การสร้าง งบประมาณให้สมดุล สร้างลักษณะนิสัยอุปโภคบริโภคแต่พอควร ไม่ใช้จ่ายเกินตัวเกินฐานะ ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผนด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถรับได้
74. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของการคิดได้
(1) คิดก่อนทํา
(2) คิดถึงผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้จากการตัดสินใจทํา
(3) คิดถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวม
(4) คิดถึงผู้ที่ได้รับบทลงโทษจากการทุจริต
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ลักษณะของการคิดได้ มีดังนี้
1. คิดก่อนทํา (ก่อนกระทําการทุจริต)
2. คิดถึงผลเสียผลกระทบต่อประเทศชาติ (ความเสียหายต่อส่วนรวมในทุก ๆ ด้าน)
3. คิดถึงผู้ที่ได้รับบทลงโทษจากการกระทําการทุจริต (เอามาเป็นบทเรียน)
4. คิดถึงผลเสียผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง (จะต้องอยู่กับความเสี่ยงที่จะถูกร้องเรียน ถูกลงโทษไล่ออก และติดคุก)
75. ข้อใดไม่ใช่ความเสี่ยงที่พบเป็นประจําของเกษตรกรไทย
(1) ภาวะโรคระบาดและศัตรูพืช
(2) แรงงานล้นตลาด
(3) สภาพดินไม่เหมาะสม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 71 ความเสี่ยงที่เกษตรกรไทยมักพบอยู่เป็นประจํา ได้แก่
1. การขาดแคลนน้ํา ฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง
2. ราคาสินค้าเกษตรตกต่ํา
3. สภาพดินที่ไม่เหมาะสม
4. โรคระบาดและศัตรูพืช
5. การพึ่งพาปัจจัยการผลิตสมัยใหม่จากต่างประเทศที่มีราคาสูง
6. การขาดแคลนแรงงาน
7. มีหนี้สินจนต้องสูญเสียที่ดินท่ากิน
76.ความอดทน ถือเป็นเงื่อนไขใดของหลักเศรษฐกิจพอเพียง
(1) เงื่อนไขหลักวิชา
(2) เงื่อนไขสังคม
(3) เงื่อนไขชีวิต
(4) เงื่อนไขคุณธรรม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ
77. พระราชนิพนธ์เรื่องใดของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ถือว่ามีความสอดคล้องกับเงื่อนไขชีวิตในปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง
(1) คุณทองแดง
(2) พระมหาชนก
(3) นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2(คําบรรยาย) คุณธรรมหรือแง่คิดสําคัญที่สุดจากเรื่อง “พระมหาชนก” ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ 9 คือ ความเพียรพยายามที่บริสุทธิ์ หมายถึง ความเพียรพยายามอย่างเต็มที่และ ชอบธรรมเพื่อปลดเปลื้องทุกข์ ดังนั้นจึงมีความสอดคล้องกับเงื่อนไขชีวิตในปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง (ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ)
78. การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคคลต้องพัฒนาทั้ง 3 ด้าน อะไรบ้าง
(1) คุณธรรม, จริยธรรม, จรรยาบรรณ
(2) สติปัญญา, จิตใจ, พฤติกรรม
(3) ความรู้, ความสามารถ, การกระทํา
(4) กาย, วาจา, ใจ
ตอบ 2 หน้า 49, 51 การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคคลต้องพัฒนาทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ สติปัญญา จิตใจ และพฤติกรรม ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะเห็นได้ว่า “ปัญญา” ถือเป็นองค์ประกอบ ที่สําคัญที่สุด ซึ่งจะชี้นําจิตใจและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ให้ดําเนินไปได้อย่างถูกต้องตามครรลองครองธรรม
79. ข้อใดกล่าวถึง ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
(1) แสดงถึงวิวัฒนาการการเรียนรู้
(2) บ่งบอกถึงวัฒนธรรมการดําเนินชีวิตของมนุษย์
(3) ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์
(4) สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างรอบด้าน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พันธ์ประภา พูนสิน ได้กล่าวว่า ในการดําเนินชีวิตปัจจุบันนั้น แหล่งการเรียนรู้ มีความสําคัญสําหรับผู้เรียน ดังนี้
1. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสภาพชีวิตจริง สามารถนําความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ ช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน ครอบครัว และท้องถิ่น
2. ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต
3. ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นสู่ความรู้สากล
4. ผู้เรียนเห็นความสําคัญของการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย สร้างเสริมประสบการณ์ในการลงมือ ปฏิบัติจริง ทําให้เกิดทักษะการแสวงหาความรู้ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ฯลฯ
80. ข้อใดไม่ใช่การฝึกตนให้มีความพอเพียง ซึ่งถือเป็นวิธีการพัฒนาตนด้านคุณธรรมจริยธรรมด้วยตนเองขั้นสูง
(1) ฝึกการเป็นผู้ให้
(2) การทําสมาธิ
(3) การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน
(4) การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาพุทธ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การฝึกตนให้มีความพอเพียง เป็นวิธีการพัฒนาตนในด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้วยตนเองขั้นสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย
1. การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน เช่น ความขยันหมั่นเพียร การพึ่งตนเอง ฯลฯ
2. การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาของตน
3. การทําสมาธิ
4. ฝึกการเป็นผู้ให้ เช่น การรู้จักให้อภัย รู้จักการแบ่งปันความรู้ ฯลฯ
81. Open Educational Resources หมายถึงข้อใด
(1) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
(2) คลังทรัพยากรการเรียนรู้แบบเปิด
(3) การจัดการศึกษาแบบเปิด
(4) ระบบการเรียนรู้รายบุคคล
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Educational Resources : OER) คือ แหล่งการเรียนรู้ด้านการศึกษาที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือค่าธรรมเนียมการใช้ จึงเป็นแหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสนับสนุน และ มีเป้าหมายใช้เพื่อการศึกษาไม่ใช่เพื่อการค้า ซึ่งผู้นําไปใช้อาจจะเป็นการเรียนรู้เพื่อตนเอง ใช้เป็น เอกสารอ้างอิง หรือเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น เช่น สื่อมัลติมีเดียใหม่ ๆ วิดีโอบรรยาย ตําราเรียน ฯลฯ
82. ถ้านักศึกษาต้องการค้นคว้าข้อค้นพบจากผลการวิจัย แหล่งเรียนรู้ใดของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
ให้ประโยชน์มากที่สุด
(1) www.ru.ac.th
(2) www.lib.ru.ac.th
(3) www.rupress.ru.ac.th
(4) www.edu.ru.ac.th
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ห้องสมุด ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ประโยชน์ในการค้นคว้าเพื่อการศึกษาและวิจัย มากที่สุด เพราะห้องสมุดเป็นแหล่งเก็บรวบรวมผลงานวิจัยมากมาย เพื่อเป็นข้อมูลสําหรับการ ค้นคว้าและแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ โดยนักศึกษาสามารถสืบค้นผ่านเว็บไซต์สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหงได้ที่ www.lib.ru.ac.th
83. หลักการปฏิบัติตนตามแนวทางของความพอเพียงของสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้ประมวล หลักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงแสดงให้ประชาชนได้เห็นมาโดยตลอดได้ 10 ข้อ ข้อใด ต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ในหลัก 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท
(1) มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก
(2) มีความสุจริตและมีความจริงใจ
(3) รักประชาชน
(4) การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลัก 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท มีดังนี้
1. ทํางานอย่างผู้รู้จริง และมีผลเป็นที่ประจักษ์
2. มีความอดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะและความถูกต้อง
3. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่ายและประหยัด
4. มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก
5. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดที่แตกต่าง
6. มีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร
7. มีความสุจริตและความกตัญญู
8. พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและคนเก่ง
9. รักประชาชน
10. การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน
84. การพัฒนาจิตใจของบุคคลในสังคมให้อยู่ในความถูกต้อง เป็นบทบาทของสถาบันใดในการพัฒนา
จิตสาธารณะ
(1) สถาบันครอบครัว
(2) สื่อมวลชน
(3) สถาบันการศึกษา
(4) สถาบันศาสนา
ตอบ 4 หน้า 88 – 89, (คําบรรยาย) สถาบันศาสนา ถือเป็นสถาบันที่มีบทบาทและอิทธิพลอย่างมาก ต่อการปลูกฝังและพัฒนาจิตสาธารณะให้กับผู้คนในสังคม ซึ่งสถาบันศาสนาอยู่ในฐานะที่จะช่วยสร้างสรรค์และพัฒนาจิตใจของบุคคลในสังคมให้หันเข้ามาอยู่ในความถูกต้องตามทํานอง คลองธรรม โดยเฉพาะวัดนับว่ามีอิทธิพลสูงต่อการอบรมขัดเกลานิสัยใจคอให้คนมีความรักใน ชุมชน รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น มีเมตตาอาทรต่อกัน เห็นแก่ผู้อื่นเสมือนเห็นแก่ตนเอง
85. เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึงข้อใด
(1) แสดงที่มา/อ้างอิงที่มา
(2) ใช้เพื่อการค้า
(3) อนุญาตแบบเดียวกัน
(4) อนุญาตให้ใช้แต่ต้องไม่ดัดแปลง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึง ไม่ดัดแปลง (No Derivative Works – ND) คือ อนุญาตให้ผู้อื่นทําซ้ํา แจกจ่าย หรือแสดงและนําเสนอชิ้นงานดังกล่าวได้ ในรูปแบบที่ไม่ถูกดัดแปลงเท่านั้น
86.RU. Cyber Classroom ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ การเรียนรู้ในลักษณะใด
(1) การถ่ายทอดสดการบรรยายผ่านอินเทอร์เน็ต
(2) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
(3) การเรียกดูบทเรียนย้อนหลัง
(4) การถ่ายทอดบทเรียนผ่านระบบโทรทัศน์วงจรปิด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) RU. Cyber Classroom หมายถึง การถ่ายทอดสดการเรียนการสอนจาก ห้องเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอนชนิดหนึ่งของ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ทั้งนี้นักศึกษาสามารถเข้าฟังการบรรยายผ่าน www.ru.ac.th โดยเข้าไปที่สื่อการเรียนการสอน
87. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหลักในการพึ่งตนเอง 5 ประการ สําหรับประชาชนทั่วไป
(1) หลักด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(2) หลักด้านครอบครัว
(3) หลักด้านจิตใจ
(4) หลักด้านเทคโนโลยี
ตอบ 2(คําบรรยาย) หลักการพึ่งตนเองต้องมีความพอดี 5 ประการ ได้แก่
1. ความพอดีด้านจิตใจ
2. ความพอดีด้านสังคม
3. ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. ความพอดีด้านเทคโนโลยี
5. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ
88. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นเงื่อนไข/สาเหตุที่ทําให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ได้ จากการศึกษาวิจัยโครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทยของเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์
(1) การตรวจสอบ
(2) ด้านเศรษฐกิจ
(3) ด้านการเมือง
(4) ด้านการแข่งขัน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) จากการศึกษาวิจัยโครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทย ของเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ได้ระบุถึงเงื่อนไข/สาเหตุที่ทําให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเกิดจาก ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย 1. ด้านเศรษฐกิจ 2. ด้านสังคม 3. ด้านวัฒนธรรม
4. ด้านการเมือง
5. ด้านระบบราชการ
6. กฎหมายและระเบียบ
7. การตรวจสอบ
8. สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ อิทธิพลของภรรยาหรือผู้หญิง และการพนัน
89. ประเทศไทยได้รับการประเมินค่า CPI ประจําปี 2563 อยู่ที่ระดับคะแนนเท่าใดจากคะแนนเต็ม 100 และอยู่อันดับที่เท่าใดจาก 180 ประเทศทั่วโลก
(1) 35 คะแนน อันดับ 104
(2) 36 คะแนน อันดับ 101
(3) 36 คะแนน อันดับ 99
(4) 36 คะแนน อันดับ 104
ตอบ 4(คําบรรยาย) องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (TI) ทําการจัดอันดับดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ประจําปี 2563 พบว่า ประเทศไทยได้ 36 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน และอยู่อันดับที่ 104 จากการจัดอันดับทั้งหมด 180 ประเทศ ซึ่งค่า CPI จะมีค่าคะแนนตั้งแต่ 0 (คอร์รัปชั่นมากที่สุด) – 100 (คอร์รัปชั่นน้อยที่สุด)
90. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นรูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยจิตพอเพียง
(1) ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ
(2) ภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจ
(3) ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาคเอกชน
(4) ภูมิคุ้มกันทางสังคม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสร้างภูมิคุ้มกันสังคมไทยด้วยจิตพอเพียงมีอยู่ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. ภูมิคุ้มกันทางสังคม
2. ภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจ
3. ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ
91. ต่อไปนี้คือลักษณะของคนที่มีระบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง ยกเว้นข้อใด
(1) เห็นประโยชน์ส่วนตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม
(2) เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
(3) ไม่แยกแยะตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
(4) เห็นประโยชน์เครือญาติสําคัญกว่าประโยชน์พวกพ้อง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของคนที่มีระบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง มีดังนี้
1. ไม่สามารถแยกแยะประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมได้
2. ไม่แยกแยะตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
3. เอาประโยชน์ส่วนรวมไปตอบแทนบุญคุณส่วนตน
4. เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
5. เห็นประโยชน์ส่วนตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม หรือเห็นประโยชน์เครือญาติพวกพ้อง สําคัญกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ
92. มีวินัยเป็นคุณธรรม 8 ประการ ที่บุคคลทั่วไปควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต ซึ่งหมายความว่าอะไร
(1) ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่เจริญตา ทําให้เกิด ความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
(2) การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งต้องมีวินัยในตนเองและมีวินัยต่อสังคม
(3) ความตั้งใจเพียรพยายามทําหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ อดทนไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องควบคู่กับการใช้สติปัญญาแก้ปัญหา จนเกิดผลงานสําเร็จตามความมุ่งหมาย
(4) ประพฤติตรงไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลําเอียงหรืออคติ
ตอบ 2 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ) คุณธรรม 8 ประการ ที่บุคคลทั่วไปควรปฏิบัติ เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต ข้อ 4 มีวินัย หมายถึง การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และ ข้อปฏิบัติ ซึ่งต้องมีวินัยในตนเองและมีวินัยต่อสังคม
93. หลักการมีส่วนร่วมประกอบไปด้วยหลักการสําคัญ 4 หลักการต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) ระดับการให้ข้อมูล
(2) ระดับการวางแผนของผู้บริหาร และการตัดสินใจ
(3) ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน
(4) ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) ประกอบด้วย 4 หลักการสําคัญ ดังนี้
1. ระดับการให้ข้อมูล เป็นระดับต่ําที่สุดและเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดของการติดต่อสื่อสาร
ระหว่างผู้วางแผนโครงการกับประชาชน
2. ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าระดับแรก
3. ระดับการวางแผนร่วมกัน และการตัดสินใจ เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าการปรึกษาหารือ
4. ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน จัดเป็น ระดับขั้นสูงที่สุดของการมีส่วนร่วม
94. ข้อใดไม่ใช่กลยุทธ์ในการปลูกฝังจิตสาธารณะ โดยประเวศ วะสี
(1) ความเป็นธรรมชาติ
(2) ความรัก
(3) ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม
(4) ความรู้
ตอบ 3 หน้า 87 นายประเวศ วะสี ได้เสนอกลยุทธ์ในการปลูกจิตสาธารณะ โดยใช้หลักของ การสร้างประชาคม เพราะประชาคมต้องขับเคลื่อนด้วยความร่วมมือร่วมใจเชื่อมโยง เป็นเครือข่าย ซึ่งอาศัยเทคนิค 3 ปัจจัย ได้แก่
1. ความรัก
2. ความรู้
3. ความเป็นธรรมชาติ
95. ข้อใดหมายถึง การเรียกดูบทเรียนย้อนหลังของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) Course on Demand
(2) Online on Demand
(3) Course Online on Demand
(4) Course on Classroom
ตอบ 1 (คําบรรยาย) Course on Demand หมายถึง การเรียกดูบทเรียนย้อนหลังของมหาวิทยาลัย รามคําแหง หรือวิดีโอคําบรรยายย้อนหลังจากห้องเรียน ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอน ชนิดหนึ่งของมหาวิทยาลัยรามคําแหง และถือเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ไม่ประสานเวลา (Asynchronous Learning) คือ การเรียนแบบต่างเวลา (Anytime) ต่างสถานที่ (Anywhere) โดยผู้เรียนจะเรียนเมื่อใดและที่ไหนก็ได้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
96. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ใน 6 ยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปี
(1) การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
(2) การสร้างความสามารถในการอยู่รอด
(3) ความมั่นคง
(4) การปรับสมดุลและพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งชาติ ได้วางกรอบยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) โดยมีกรอบวิสัยทัศน์ คือ ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และ เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีคติพจน์ ประจําชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. ความมั่นคง
2. การสร้างความสามารถในการแข่งขัน
3. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
4. การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
5. การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
6. การปรับสมดุลและพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐ
97. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นรูปแบบของการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม
(1) Common – dealing or Contracts
(2) Accepting Benefits
(3) Pork – barreling
(4) Outside Employment or Moonlighting
ตอบ 1 (คําบรรยาย) John Langford และ Kenneth Kernaghan ได้จําแนกรูปแบบของการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมออกเป็น 7 รูปแบบ ดังนี้
1. การรับผลประโยชน์ต่าง ๆ (Accepting Benefits)
2. การทําธุรกิจกับตนเอง (Self – dealing) หรือเป็นคู่สัญญา (Contracts)
3. การทํางานหลังออกจากตําแหน่งหน้าที่สาธารณะหรือหลังเกษียณ (Post – employment)
4. การทํางานพิเศษ (Outside Employment or Moonlighting)
5. การรู้ข้อมูลภายใน (Inside Information)
6. การใช้ทรัพย์สินของราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว (Using your Employer’s property for Private Advantage)
7. การนําโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ทางการเมือง (Pork – barreling)
98. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ความโปร่งใสด้านการให้โทษ
(1) มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
(2) มีวิธีการพิจารณาลงโทษผู้ทําผิดอย่างรุนแรง
(3) มีระบบการฟ้องร้องผู้กระทําผิดที่มีประสิทธิภาพ
(4) มีการลงโทษจริงจัง หนักเบาตามเหตุแห่งการกระทําผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความโปร่งใสด้านการให้โทษ ประกอบด้วยพฤติการณ์ต่อไปนี้
1. มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
2. มีวิธีการพิจารณาลงโทษผู้ทําผิดอย่างยุติธรรม
3. มีการลงโทษจริงจัง หนักเบาตามเหตุแห่งการกระทําผิด
4. มีระบบการฟ้องร้องผู้กระทําผิดที่มีประสิทธิภาพ ฯลฯ
99. ข้อใดกล่าวถึง Massive Open Online Courseware ได้ถูกต้องที่สุด
(1) แหล่งเรียนรู้รายบุคคล
(2) บทเรียน E-learning
(3) รายวิชาออนไลน์ที่เรียนได้ฟรี
(4) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่าย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Massive Open Online Courseware (MOOC) คือ หลักสูตร (Course) หรือรายวิชาที่เรียนออนไลน์ (Online) จากระบบที่เปิดให้ใช้งานฟรี (Open) และรองรับ ผู้เรียนจํานวนมาก (Massive) ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความชอบ โดยการเชื่อมต่อ เข้าไปดูวิดีโอการบรรยาย เข้าไปฝึกปฏิบัติ ทําแบบทดสอบ แบบฝึกหัด หรือร่วมสนทนา กับผู้เรียนคนอื่น ๆ ได้แบบไม่จํากัดเวลาและสถานที่เรียน ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
100. ข้อใดคือปัจจัยทางสังคมที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) ความสัมพันธ์กับเพื่อน
(2) คุณธรรม จริยธรรม
(3) ความสัมพันธ์ในครอบครัว
(4) เอกลักษณ์แห่งตน
ตอบ 1 หน้า 86 เรียม นมรักษ์ ได้ศึกษาปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะว่าเกิดจาก 2 ปัจจัย ดังนี้
1. ปัจจัยทางจิต ได้แก่ เอกลักษณ์แห่งตน, ลักษณะการมุ่งอนาคต, การสนับสนุนจากประชาชน, การรับรู้ความสามารถของตน, การคล้อยตามผู้อื่น, คุณธรรม จริยธรรม, ความตระหนักใน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
2. ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู, สัมพันธภาพระหว่างนักเรียน กับเพื่อน และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
101. เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึงข้อใด
(1) ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า
(2) ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา
(3) ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลง
(4) ห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องเผยแพร่งานดัดแปลง โดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว เป็นการกําหนดสัญญาอนุญาตโดยการ ระบุเงื่อนไขร่วมกัน ได้แก่ Attribution CC – BY – NC – ND หมายถึง อนุญาตให้เผยแพร่ได้ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า
102. พิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ประเภทใด
(1) แหล่งเรียนรู้ในชุมชน
(2) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสื่อสารสนเทศ
(3) แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ
(4) แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น
ตอบ 1 (คําบรรยาย) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นชุมชนหรือสถานที่ เช่น โรงเรียน ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ บ้าน วัด แปลงเกษตร ศาสนสถาน ศูนย์ราชการ ศาล พรรคการเมือง รัฐสภา สถานีตํารวจ ศูนย์ฝึกอาชีพ ฯลฯ
103. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคม ของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ ในความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(1) หลักความรับผิด (Responsibility)
(2) หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
(3) หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
(4) หลักความโปร่งใส (Accountability)
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบ เพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกัน ได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประการ ได้แก่
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
2. หลักคุณธรรม (Morality)
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility)
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)
104. ต่อไปนี้เป็นการลงโทษทางสังคมเชิงบวก ยกเว้นข้อใด
(1) ให้การสนับสนุน
(2) ให้รางวัล
(3) ชื่นชมตักเตือน
(4) สร้างแรงจูงใจ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การลงโทษทางสังคมมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) คือ มีทั้งด้านบวกและ ด้านลบอยู่ภายในความหมายของตัวเอง ดังนี้
1. การลงโทษทางสังคมเชิงบวก ได้แก่ ให้การสนับสนุน, สร้างแรงจูงใจ และให้รางวัล
2. การลงโทษทางสังคมเชิงลบ ได้แก่ การว่ากล่าวตักเตือน, การกดดันและบีบบังคับ และการต่อต้าน ประท้วง
105. ขันติเป็นหนึ่งในฆราวาสธรรม 4 ประการ หมายถึงตามข้อใด
(1) การข่มใจ คือ บังคับควบคุมตนเองได้ รู้จักปรับตัวและแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้าดีงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ
(2) อดทน คือ มุ่งหน้าทําหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทนไม่หวั่นไหว ไม่ท้อถอย มั่นคงในจุดหมาย
(3) ความจริง คือ ดํารงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทําจริง จะทําอะไรก็ให้เป็นที่เชื่อถือ ไว้วางใจได้
(4) เสียสละ คือ มีน้ําใจเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน บําเพ็ญประโยชน์ สละโลภ ละทิฐิมานะได้ ร่วมงาน กับผู้อื่นได้ ไม่ใจแคบเห็นแก่ตัวหรือเอาแต่ใจตน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ฆราวาสธรรม 4 เป็นหลักคุณธรรมสําหรับฆราวาส หรือหลักการครองชีวิต ให้มีความสุข ถูกต้องและเหมาะสม ประกอบด้วย
1. สัจจะ (ความจริง) คือ ดํารงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทําจริง จะทําอะไร ก็ให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้
2. ทมะ (การข่มใจ) คือ บังคับควบคุมตนเองได้ รู้จักปรับตัวและแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้า ดีงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ
3. ขันติ (อดทน) คือ มุ่งหน้าทําหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทน ไม่หวั่นไหว มั่นคงในจุดหมาย ไม่ท้อถอย
4. จาคะ (เสียสละ) คือ มีน้ําใจเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน บําเพ็ญประโยชน์ สละโลภ ละทิฐิมานะได้ ร่วมงานกับผู้อื่นได้ ไม่ใจแคบเห็นแก่ตัวหรือเอาแต่ใจตน
106. เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริอยู่เหนือกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของตะวันตก เพราะครอบคลุม มิติ 4 ด้าน ดังต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) มิติด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต
(2) มิติด้านการดําเนินการ
(3) มิติด้านสังคม
(4) มิติด้านเศรษฐกิจ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริ อยู่เหนือกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ของตะวันตก ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องวัตถุที่เป็นรูปธรรม เช่น เงิน ทรัพย์สิน กําไร ฯลฯ ไม่เกี่ยวกับ เรื่องจิตใจอันเป็นนามธรรม แต่เศรษฐกิจพอเพียงมีขอบเขตกว้างกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เพราะครอบคลุมมิติ 4 ด้าน ดังนี้
1. มิติด้านเศรษฐกิจ
2. มิติด้านจิตใจ
3. มิติด้านสังคม
4. มิติด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต (Way of Life) ของประชาชน
107. บทเรียนแบบ MOOC สนับสนุนการเรียนรู้ลักษณะใด
(1) เรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
(2) ไม่จํากัดเวลาและสถานที่เรียน
(3) ทุกคนสามารถเรียนได้ตามความชอบ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 99. ประกอบ
108. แนวคิดใดเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) แนวคิดการพัฒนาจริยธรรม
(2) แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(3) แนวคิดการพัฒนาคุณธรรม
(4) เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริ
ตอบ 2 หน้า 77, 81 แนวคิดที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตสาธารณะที่ดีที่สุด คือ หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติตนเองของผู้มีจิตสาธารณะอย่างแท้จริง
109. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหนึ่งใน 7 หลักการของหลักนิติธรรม
(1) หลักความเป็นกฎหมายมหาชนของรัฐธรรมนูญ
(2) หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
(3) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
(4) หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักนิติธรรม (The Rule of Law) ประกอบด้วย 7 หลักการ ได้แก่
1. หลักการแบ่งแยกอํานาจ
2. หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
3. หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
4. หลักความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา
5. หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
6. หลัก “ไม่มีความผิด และไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย”
7. หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
110. การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทําในวัยใด
(1) อายุ 2 – 3 ปี
(2) ก่อนอายุ 6 ปี
(3) อายุ 3 – 6 ปี
(4) อายุ 7 – 14 ปี
ตอบ 2 หน้า 85 การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทําก่อนอายุ 6 ปี เพราะตามหลักการทางจิตวิทยา การเกิดจิตสํานึกของเด็กจะถูกพัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดูในช่วงแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่การเลี้ยงดูเด็กได้ผลอย่างสูง โดยพ่อแม่และบุคคลในครอบครัวจะเป็นตัวแบบ ในการดําเนินชีวิตตามหลักศีลธรรม เพราะหากเด็ก ๆ ได้รับรู้ตั้งแต่ต้นจะได้แบบพิมพ์ที่ดีและ ยั่งยืน ส่วนผู้นําในสังคมเองก็ควรเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้เด็กและเยาวชนเลียนแบบคนดี
111. การเกิดจิตสํานึก ตามหลักการทางจิตวิทยาจะถูกพัฒนามาจากสิ่งใด
(1) ประสบการณ์ในกลุ่มเพื่อน
(2) การอบรมเลี้ยงดู
(3) ประสบการณ์ในการทํางาน
(4) การฝึกอบรม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 110. ประกอบ
112. การลงโทษทางสังคมมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) หมายความถึงตามข้อใด
(1) มีทั้งด้านส่วนตัวและด้านส่วนรวมอยู่ภายในความหมาย
(2) มีทั้งด้านภายในและด้านภายนอกอยู่ภายในความหมาย
(3) มีทั้งด้านบวกและด้านลบอยู่ภายในความหมาย
(4) มีทั้งด้านดีและด้านร้ายอยู่ภายในความหมาย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 104. ประกอบ
113. การสร้างฐานคิดจิตพอเพียงต่อต้านการทุจริตให้เกิดขึ้น เป็นพื้นฐานความคิดของปัจเจกบุคคล โดยมีการ ประยุกต์หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนา โดยตัวอักษร G ในหลัก STRONG คืออะไร
(1) Generosity
(2) Genocide
(3) Geography
(4) Generality
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมของ
หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย
1. S = Sufficient (ความพอเพียง)
2. T = Transparent (ความโปร่งใส)
3. R = Realize (ความตื่นรู้
4. O = Onward (การมุ่งไปข้างหน้า)
5. N = Knowledge (ความรู้)
6. G = Generosity (ความเอื้ออาทร)
114. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ใน 6 ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3
(พ.ศ. 2560 – 2564)
(1) พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรับ
(2) ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
(3) ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
(4) สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์ชาติที่ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) กําหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต” (Zero Tolerance & Clean Thailand) แบ่งออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์หลัก ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้น กระบวนการปรับสภาพทางสังคมให้เกิดภาวะ “ไม่ทนต่อการทุจริต” ได้แก่
1. สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
2. ยกระดับเจตจํานงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
3. สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
4. พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก
5. ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
6. ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
115. จิตสาธารณะเกิดจากสิ่งใด
(1) ละคร
(2) พันธุกรรม
(3) การทําวิจัย
(4) ประสบการณ์ในวัยเด็ก
ตอบ 4 หน้า 87 จิตสาธารณะเป็นสิ่งที่เกิดจากการสะสมของประสบการณ์ในวัยเด็ก และจะพัฒนา ไปอย่างช้า ๆ ในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเกิดจากการสั่งสอนฝึกฝนจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ ดังนั้นการพัฒนาจิตสาธารณะจึงจําเป็นต้องอาศัยกิจกรรมการ เรียนรู้ร่วมกันในสังคม
116. Creative Commons เป็นสัญญาอนุญาตกับสื่อในลักษณะใด
(1) สื่อสิ่งพิมพ์
(2) สื่อโทรทัศน์
(3) สื่ออิเล็กทรอนิกส์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons License : CC) เป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่ง ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2002 โดยครีเอทีฟคอมมอนส์ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรในสหรัฐฯ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 2001 ทั้งนี้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการเผยแพร่สื่อทั้งภาพ เสียง ข้อมูล งานศิลปะ หรือสารสนเทศต่าง ๆ ทุกรูปแบบ โดยแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกเพื่อการ แจกจ่ายและใช้ข้อมูลด้วยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม
117. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่แนวคิดของระบบคิด “ฐานสอง Digital”
(1) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถเลือกได้เพียง 2 ทางเท่านั้น
(2) สามารถแยกประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์พวกพ้องได้อย่างเด็ดขาด
(3) เป็นระบบที่มีค่าตัวเลข คือ 0 (ศูนย์) กับ 1 (หนึ่ง)
(4) มีโอกาสที่จะเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ใช่กับไม่ใช่, เท็จกับจริง, ทําได้กับทําไม่ได้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคิดฐานสอง (Digital) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถเลือก ได้เพียง 2 ทางเท่านั้น คือ 0 (ศูนย์) กับ 1 (หนึ่ง) และอาจหมายถึง โอกาสที่จะเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ใช่กับไม่ใช่, เท็จกับจริง, ทําได้กับทําไม่ได้ ฯลฯ จึงเป็นระบบคิดที่สามารถแยกแยะ ประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมได้อย่างเด็ดขาด และไม่กระทําการที่เป็นการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม
118. ข้อใดคือปัจจัยทางจิตที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) เอกลักษณ์แห่งตน
(2) การเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
(3) ความสัมพันธ์ในครอบครัว
(4) ความสัมพันธ์กับเพื่อน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 100. ประกอบ
119. ข้อใดไม่ถือว่าเป็นการคิดแบบ Analog
(1) ทุจริตบ้างไม่เป็นไร ถ้าเกิดประโยชน์
(2) ยอมรับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะไม่ทําให้ใครเสียหาย
(3) ติดสินบนเพื่อนําเงินเข้ารัฐ
(4) เห็นประโยชน์ส่วนตนมาหลังประโยชน์ส่วนรวม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ระบบคิดฐานสิบ (Analog) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่มีตัวเลขหลายตัว หรือโอกาสที่จะเลือกได้หลายทาง จึงเป็นระบบการคิดที่แยกประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ ส่วนรวมออกจากกันไม่ได้ โดยมีลักษณะการคิดดังนี้
1. ยอมรับกับคําพูดที่ว่า “ทุจริตบ้างไม่เป็นไร ถ้าเราได้ประโยชน์”
2. ยอมรับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน การติดสินบน และการทุจริตคอร์รัปชั่น
3. ยอมรับระบบอุปถัมภ์ ชอบนําความสัมพันธ์ส่วนตัวมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง
4. เห็นประโยชน์ส่วนตนมาก่อนประโยชน์ส่วนรวม ฯลฯ
120. ความละอายสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คืออะไร
(1) ความละอายระดับต่ํา และความละอายระดับที่สูง
(2) ความละอายระดับต้น และความละอายระดับที่สูง
(3) ความละอายระดับต้น และความละอายระดับปลาย
(4) ความละอายระดับภายนอก และความละอายระดับภายใน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ลักษณะของความละอายสามารถแบ่งได้ 2 ระดับ ได้แก่
1. ความละอายระดับต้น หมายถึง ความละอายไม่กล้าที่จะทําในสิ่งที่ผิด เนื่องจากกลัวว่า เมื่อตนเองได้ทําลงไปแล้วจะมีคนรับรู้ หากถูกจับได้จะได้รับการลงโทษ
2. ความละอายระดับที่สูง หมายถึง แม้ว่าจะไม่มีใครรับรู้หรือเห็นในสิ่งที่ตนเองได้ทําลงไป ก็ไม่กล้าที่จะทําผิด เพราะนอกจากตนเองจะได้รับผลกระทบแล้ว ครอบครัว สังคมก็จะ ได้รับผลกระทบตามไปด้วย