การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2553
ข้อสอบกระบวนวิชา RAM1000 ความรู้คู่คุณธรรม
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. ข้อใดไม่ใช่วัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล (Biodiesel)
1. ปาล์ม
2. ถั่วลิสง
3. ดอกทานตะวัน
4. ดอกบัวตอง
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ไบโอดีเซล (Biodiesel) เป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงน้ำมันดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันพืชและไขมันสัตว์ เช่น ปาล์ม สบู่ดำ มะพร้าว ทานตะวัน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง เมล็ดเรพ ละหุ่ง งา ฯลฯ และน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว เช่น น้ำมันทอดไก่ แคบหมู ปาท่องโก๋ โรตี หรือกล้วยแขกนำมาทำปฏิกิริยาทางเคมี Transesterification ร่วมกับแอลกอฮอล์ จนเกิดเป็นสารเอสเตอร์ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล
2. การประกอบอาชีพในข้อใดไม่สามารถนำวัตถุดิบเหลือใช้มาผลิตไบโอดีเซล
1. การขายกล้วยแขก
2. การขายไก่ทอด
3. การขายผลไม้ดอง
4. การขายโรตีทอด
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ
3. ข้อใดไม่ใช่การปฏิบัติที่นำหลัก Reuse (นำสิ่งของมาดัดแปลงใช้ใหม่แบบอื่น)
1. นำขวดแก้วที่ใช้แล้วไปหมุนเวียนผลิตใหม่
2. นำขวดพลาสติกมาดัดแปลงเป็นกระถางต้นไม้
3. นำกระป๋องน้ำอัดลมมาดัดแปลงเป็นของเล่น
4. การใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนการใช้กระดาษทิชชู่
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) Reuse เป็น มาตรการลดปริมาณขยะโดยการใช้ซ้ำ ใช้วัสดุให้คุ้มค่าที่สุดก่อนที่จะทิ้งไป หรือนำสิ่งของมาดัดแปลงใช้ใหม่แบบอื่น เช่น การนำขวดพลาสติกมาดัดแปลงเป็นกระถามต้นไม้, การนำกระป๋องน้ำอัดลมมาดัดแปลงเป็นของเล่น, การใช้ผ้าเชิดหน้าแทนกระดาษทิชชู่ และการนำก๊าซธรรมชาติมาทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์ เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้อ 1 เป็นการลดปริมาณขยะด้วยวิธีการ Recycle)
4. ข้อใดเป็นพลังงานทดแทนที่เป็นพลังงานสิ้นเปลือง
1. พลังงานน้ำ
2. พลังงานลม
3. พลังงานชีวมวล
4. พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ
ตอบ 4 (ความ รู้ทั่วไป) พลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีใช้อยู่ในท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาด้านมลพิษและแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานในอนาคต ซึ่งสามารถแบ่งออกตามแหล่งที่ได้มาเป็น 2 ประเภท คือ
1. พลังงาน ทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป อาจเรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น
2. พลังงาน ทดแทนจากแห่งพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนนำมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น
5. ข้อใดไม่ใช่พลังงานทดแทนประเภทพลังงานหมุนเวียน
1. แสงอาทิตย์
2. ลม
3. ชีวมวล
4. หินน้ำมัน
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ
6. ข้อใดไม่ใช่หลักการ Recycle (หมุนเวียนผลิตใหม่)
1. นำเศษกระดาษเหลือใช้ไปขายโรงงาน
2. นำน้ำที่ใช้แล้วมาบำบัดกลับมาใช้ใหม่
3. นำตะกั่ว ทองแดงที่ทิ้งแล้วมาหลอมเปลี่ยนสภาพ
4. การนำก๊าซธรรมชาติมาทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) Recycle เป็น มาตรการลดปริมาณขยะโดยการนำวัสดุที่ใช้แล้วแต่ยังสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ ใหม่ ได้แก่ ขวดแก้ว พลาสติก กระดาษ สังกะสี ตะกั่ว ทองแดง เหล็ก ดีบุก น้ำเสีย ฯลฯ มาแปรรูปหรือหมุนเวียนผลิตใหม่โดยกรรมวิธีต่างๆ ซึ่งถือเป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับขยะในเมืองใหญ่ได้ดีที่สุด เช่น การนำเศษกระดาษเหลือใช้ไปหมุนเวียนผลิตใหม่, การนำน้ำที่ใช้แล้วมาบำบัดกลับมาใช้ใหม่, การนำเศษเหล็ก ตะกั่ว และทองแดงที่ทิ้งแล้วมาหลอมเปลี่ยนสภาพ เป็นต้น (ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ)
7. วัสดุข้อใดไม่เหมาะกับการ Recycle (หมุนเวียนผลิตใหม่)
1. ขวดแก้ว
2. พลาสติก
3. กระดาษ
4. ไม้
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ
8. การปฏิบัติในข้อใดเป็นการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ได้ผลมากที่สุด
1. การปลูกฝังจิตสำนึก
2. แสวงหาลู่ทางป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติ
3. งดการนำเข้าของเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
4. แสวงหาแหล่งทรัพยากรใหม่จากเพื่อนบ้าน
ตอบ 1 (คำบรรยาย) ปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อมนั้นส่วนใหญ่จะเกิดมาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้นไม่ว่าจะ เป็นการตัดไม้ทำลายป่า ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหามลพิษ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เกิดมาจากการกระทำที่ไม่อยู่บนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รวมทั้งความเห็นแก่ตัวและขาดความรับผิดชอบของมนุษย์ ดังนั้นการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ได้ผลและยั่งยืนที่สุดจึงต้องแก้ที่ พฤติกรรมของประชาชนในสังคมก่อนเป็นสำคัญ เช่น การให้การศึกษา และการปลูกฝังจิตสำนึก เป็นต้น
9. ข้อใดเป็นประโยชน์จากการใช้ธรรมชาติเป็นเครื่องมือพัฒนาตัวเราน้อยที่สุด
1. ทำให้ลดความกังวลใจลง
2. น้อมจิตไปสู่สมาธิและสร้างปัญญา
3. มองธรรมชาติรื่นรมย์ ทำให้จิตสงบ
4. เป็นแหล่งทรัพยากรที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการดำรงชีพ
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ประโยชน์ จากการใช้ธรรมชาติเป็นเครื่องมือพัฒนาตนเอง ได้แก่ ทำให้มนุษย์มองธรรมชาติอย่างรื่นรมย์ ช่วยลดความกังวลใจ ความคับข้องใจ และความไม่สบายใจต่างๆ จนส่งผลให้จิตของมนุษย์เกิดความสงบเยือกเย็น มีสมาธิ และเกิดปัญญาในการคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ
10. การที่ผู้ประกอบการโรงแรมและการท่องเที่ยวไม่ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำลำคลอง แสดงว่ามีคุณธรรมข้อใดมากที่สุด
1. จาคะ
2. ขันติ
3. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
4. คืนกำไรให้สังคม
ตอบ 3 การ กระทำดังกล่าวแสดงว่าผู้ประกอบการคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ ส่วนตัวเพราะในการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นจะเอาแต่ข้างตนเองอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ ถ้าเอาแต่ส่วนตัวแล้วคนอื่นเดือดร้อนก็ไม่ควรอย่างยิ่ง
11. ข้อใดไม่ใช่เหตุผลสำคัญในการไม่ทิ้งเศษเหล็กเหลือใช้
1. เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อแปรสภาพสำหรับการใช้ประโยชน์ใหม่
3. เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
4. นำไปสร้างปะการังเทียม
ตอบ 4 หน้า 464, (คำบรรยาย) การ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ โดยใช้อย่างประหยัดและไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการพัฒนาปรับปรุงและบำรุงรักษาสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่เสื่อมโทรม ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดคือการมีทรัพยากรไว้ใช้นานๆ ดังนั้นการอนุรักษ์จึงไม่ได้หมายถึงการเก็บรักษาเอาไว้เฉยๆ หรือการไม่นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ (ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ)
12. การปฏิบัติในข้อใดประหยัดไฟน้อยที่สุด
1. ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังน้อย
2. ลดความร้อนในห้องโดยการติดตั้งม่าน มู่ลี่
3. ตั้งอุณหภูมิห้องปกติที่ 25º C
4. ไม่ควรนำเครื่องถ่ายเอกสารไว้ในห้องปรับอากาศ
ตอบ 1 หน้า 470 – 471, (คำบรรยาย) วิธีปฏิบัติเพื่อประหยัดพลังงานและลดภาวะโลกร้อนมีดังนี้
1. ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกำลังวัตต์ต่ำและมีฉลากประหยัดไฟเบอร์ห้า
2. ปลูกต้นไม้ใหญ่ในบริเวณบ้านเพื่อบังแสงแดด
3. ใช้แสงธรรมชาติช่วยในตัวอาคารเพื่อให้มีแสงสว่าง
4. ลดความร้อนในห้องด้วยการติดตั้งม่านหรือมู่ลี่
5. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25º C
6. ไม่ควรนำอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดความร้อน เช่น เตารีด เตาไฟฟ้า เครื่องถ่ายเอกสาร ตู้เย็น ฯลฯ มาไว้ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
7. หมั่นดูแลทำความสะอาดหลอดไฟฟ้าไม่ให้มีฝุ่นเกาะ
8. ไม่ควรเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้และให้ถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน
9. ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
10. ใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก หรือใช้ถุงพลาสติกซ้ำเพื่อลดปริมาณขยะ
11. ลดการใช้รถยนต์ด้วยการใช้วิธี Car Pool คือ นั่งรถไปด้วยกัน หรือใช้วิธีเดิน ขี่จักรยาน ขึ้นรถประจำทาง ฯลฯ
13. การปฏิบัติในข้อใดช่วยลดภาวะโลกร้อนได้น้อยที่สุด
1. หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟฟ้าไม่ให้มีฝุ่นเกาะ
2. ควรเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้เมื่อเลิกใช้งาน
3. ใช้แสงธรรมชาติช่วยในตัวอาคารเพื่อให้มีแสงสว่าง
4. ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ
14. การปฏิบัติในข้อใดประหยัดน้ำมันน้อยที่สุด
1. ไม่ควรบรรทุกของในรถมากเกินไป
2. ไม่ควรติดฟิล์มกรองแสงป้องกันความร้อน
3. ควรตรวจเช็คลมยางสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
4. ขณะสตาร์ทเครื่องยนต์ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศพร้อมกับสตาร์ทเครื่อง
ตอบ 2 หน้า 471-472, 478-479, (คำบรรยาย) ข้อปฏิบัติในการประหยัดน้ำมันมีดังนี้
1. ขับรถไม่เกิน 90 กม./ชม.
2. เติมลมยางให้พอดีและตรวจเช็คลมยางสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
3. ตรวจสอบทำความสะอาดไส้กรองอากาศเป็นประจำทุก 2,500 กม.
4. ติดตั้งฟิล์มกรองแสงเพื่อป้องกันความร้อน
5. ไม่บรรทุกของหนักเกินไป
6. ขณะสตาร์ทเครื่องยนต์ควรปิดเครื่องปรับอากาศและไฟหน้าเพราะจะทำให้ประหยัดน้ำมัน
7. อย่าสตาร์ทเครื่องยนต์ไว้เฉยๆ ขณะจอดคอย เพราะจนทำให้รถหนักและสิ้นเปลืองน้ำมัน
8. ใช้รถยนต์ขนาดเล็กที่ขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อ จะช่วยประหยัดน้ำมันมากกว่ารถยนต์ขนาดใหญ่ที่ขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ ฯลฯ
15. การปฏิบัติในข้อใดประหยัดน้ำมันมากที่สุด
1. ควรตรวจสอบทำความสะอาดไส้กรองอากาศทุก 2,500 กม.
2. เมื่อติดเครื่องยนต์ ควรอุ่นเครื่องยนต์ก่อนออกตัวทุกครั้ง
3. ควรขับรถยนต์แบบขับเคลื่อน 4 ล้อ แทนขับเคลื่อน 2 ล้อ
4. ควรขับรถยนต์ด้วยความเร็ว 120 กม./ชั่วโมง
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ
16. ข้อใดตรงกับความหมายของสัมมาอาชีวะมากที่สุด
1. การทำมาหาเลี้ยงชีพโดยฉ้อโกง
2. การทำมาหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต
3. การประกอบอาชีพด้วยความเมตตา
4. การประกอบอาชีพอย่างขาดสติ
ตอบ 2 หน้า 351, 409, 675, (คำบรรยาย) สัมมา อาชีวะ (เลียงชีพชอบ) หมายถึง เว้นจากมิจฉาอาชีวะ (อาชีพที่ผิด) หรือการประกอบอาชีพที่ถูกต้อง เลี้ยงชีพโดยสุจริต หรือสำเร็จชีวิตด้วยอาชีพที่ชอบด้วยกฎหมายและธรรมะ คือ ไม่ผิดกฎหมายและไม่ผิดศีลธรรม ไม่ประกอบอาชีพที่เบียดเบียนก่อความเดือดร้อนเสียหายให้แก่ชีวิตอื่น สังคม หรือที่จะทำให้ชีวิต จิตใจ และสังคมเสื่อมโทรม ตกต่ำ ซึ่งตรงกับพุทธภาษิตที่ว่า “ธมฺเมน วิตฺตเมเสยฺย” (บุคคลพึงหาเลี้ยงชีพโดยทางชอบธรรม)
17. การเก็บสิ่งของที่ไม่ใช่ของตนส่งคืนเจ้าของ จัดเป็นคุณธรรมข้อใด
1. อโลภะ
2. อโทสะ
3. อโมหะ
4. มิจฉาทิฐิ
ตอบ 1 (คำบรรยาย) กุสลมูล หมายถึง รากเหง้าหรือต้นตอของความดีทั้งปวง ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ตรงกันข้ามกับอกุศลมูล มี 3 ประการดังนี้
1. อโล ภะ (ความไม่ยากได้) คือ ความเป็นผู้ไม่มีความทะยานอยาก ไม่อยากได้ของที่ไม่ใช่ของตน เป็นผู้ที่มีสติระลึกรู้ตัวอยู่เสมอไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดๆ ก็มีแต่ความยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่เท่านั้น
2. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย) คือ ความไม่โกรธ ไม่ผูกพยาบาท ใช้ปัญญาในการประกอบการตัดสินใจต่างๆ
3. อโมหะ (ความไม่หลง) คือ ความไม่หลงงมงาย ไม่มัวเมาในอบายมุข ไม่ประมาทอันเป็นสาเหตุให้เกิดความชั่วทั้งปวง ให้เป็นผู้มีสติปัญญามั่นคง ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองโดยยึดหลักเหตุผล
18. การปฏิบัติในข้อใดช่วยลดภาวะโลกร้อนได้น้อยที่สุด
1. ควรปลูกต้นไม้ใหญ่ในบริเวณบ้าน
2. ควรใช้วิธี Car Pool (นั่งไปทำงานด้วยกัน)
3. ควรทิ้งถุงพลาสติกที่ใช้แล้วไม่ควรใช้ซ้ำ
4. ควรถอดปลั๊กที่ชาร์ทแบตมือถือเมื่อมีไฟเต็มแล้ว
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ
19. ข้อใดไม่ใช่การอนุรักษ์แบบยั่งยืน
1. ไม่นำทรัพยากรมาใช้ควรเก็บไว้
2. การใช้ทรัพยากรให้เกิดมลพิษน้อยที่สุด
3. การใช้ทรัพยากรกอย่างเหมาะสมให้ได้ประโยชน์สูงสุด
4. การนำของเสียมาใช้ประโยชน์ (Recycle) เพื่อให้มลพิษน้อยลง
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแบบยั่งยืน (Sustainable Utilization) หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด เมื่อใช้แล้วเกิดมลพิษน้อยที่สุดหรือไม่เกิดเลย หรือเมื่อเกิดของเสียและมลพิษในสิ่งแวดล้อมแล้วก็ต้องหาวิธีบำบัดกำจัด ให้ฟื้นคืนสภาพและนำของเสียมาใช้ประโยชน์หรือรีไซเคิล (Recycle) เพื่อให้มลพิษในสิ่งแวดล้อมลดน้อยลง ซึ่งส่งผลให้เกิดการใช้อย่างยั่งยืนและอย่างมีประสิทธิภาพ
20. การสร้างที่อยู่อาศัยให้สิ่งมีชีวิตในทะเลจากยางรถยนต์ จัดเป็นการอนุรักษ์ในลักษณะใด
1. ฟื้นฟู
2. ป้องกัน
3. ซ่อมแซม
4. กักเก็บ
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแบบการฟื้นฟู (Rehabilitation) หมายถึงการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมเพื่อให้อยู่ในสภาพปกติ ซึ่งอาจใช้เวลามากหรือน้อยแล้วแต่สภาพที่เสื่อมโทรม เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรได้อีกและใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเสริมสร้างที่อยู่อาศัยให้สิ่งมีชีวิตในทะเลด้วยการสร้างแนวปะการังเทียม จากแท่งคอนกรีตหรือยางรถยนต์ และการปลูกป่า เป็นต้น
21. วิกฤติเศรษฐกิจของประเทศกรีซ หรือประเทศอื่นๆ จะไม่เกิดหรือไม่รุนแรง หากรัฐบาลประเทศนั้นๆ บริหารประเทศตามข้อใด
1. เศรษฐกิจฟองสบู่
2. เศรษฐกิจพอเพียง
3. เศรษฐกิจแบบทุนนิยม
4. เศรษฐกิจแบบชาตินิยม
ตอบ 2 (คำบรรยาย) การ ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการประพฤติปฏิบัติตนที่ตั้ง อยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอดี ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนมุ่งเน้นการใช้ความรอบรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผนและการตัดสินใจกระทำการต่างๆ อย่างผู้มีปัญญา โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน
22. คำอธิบายในข้อใดไม่ใช่การดำเนินธุรกิจแบบ “ได้ประโยชน์ตนไม่เสียประโยชน์ท่าน”
1. แสวงหากำไรสูงสุด
2. ได้กำไรดีแต่ไม่หน้าเลือด
3. โรงงานนี้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
4. บริษัทของเราเสียภาษีมากอยู่ลำดับต้นๆ
ตอบ 1 (คำบรรยาย) ใน การทำกิจการใดๆ บุคคลพึงตระหนักว่าตัวเรา คนอื่น และที่สำคัญคือส่วนรวมได้ประโยชน์จากการกระทำนั้นหรือไม่ ซึ่งการสร้างประโยชน์ของบุคคลแบ่งออกได้ 3 ประเภท ได้แก่ 1. ประโยชน์ตน คือ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง 2. ประโยชน์ท่าน คือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้อื่น 3. ประโยชน์ร่วมกัน คือ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับชาติบ้านเมือง
23. สำนวนไทยในข้อใดเตือนใจเรื่อง การประสานประโยชน์อยู่ร่วมกันได้อย่างดี
1. ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
2. ตำข้าวสารกรอกหม้อ
3. มือใครยาว สาวได้สาวเอา
4. ผ่อนสั้นผ่อนยาว
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สำนวน ไทยที่ว่า “ผ่อนสั้นผ่อนยาว” หมายถึง รู้จักประนีประนอมในปัญหาต่างๆ ที่ขัดแย้งกัน ผ่อนปรนหรืออะลุ่มอล่วยกัน และสามารถประสานประโยชน์อยู่ร่วมกันได้อย่างดี (ส่วน “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” หมายถึง ไม่ว่าจะการใดๆ ควรคิดทำด้วยตนเอง, “ตำข้าวสารกรอกหม้อ” หมายถึง หาเพียงแค่พอกินไปมื้อหนึ่งๆ, “มือใครยาว สาวได้สาวเอา” หมายถึงสภาพสังคมที่ไร้กฎเกณฑ์ ปล่อยให้คนทำตามอำเภอใจ ใครดีใครได้)
24. จากสัปปุริสธรรม 7 ข้อ “รู้บุคคล รู้ชุมชน” จะใกล้เคียงกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องใด
1. พอประมาณ
2. มีเหตุผล
3. มีภูมิคุ้มกัน
4. มีคุณธรรม
ตอบ 2 หน้า 185-186, 256, (คำบรรยาย) จาก หลักสัปปุริสธรรมข้อ “ปริสัญญุตา” (รู้จักชุมชนว่า ควรประพฤติตนในชุมชนนั้นอย่างไร) และ “บุคคลัญญุตา” (รู้จักบุคคลในความแตกต่างและปฏิบัติต่อบุคคลอื่นตามสถานะ) จะใกล้เคียงกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่อง “ความมีเหตุมีผล” คือ รู้จักพิจารณาเหตุและผลที่ตามมา ซึ่งการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจาก การกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ เพื่อให้สามารถปรับตัวเองได้อย่างมีคุณภาพ
25. คำพูดในข้อใด คือเหตุผลของคนพอเพียง
1. ใครๆ เขาก็มีกัน
2. ไม่มีก็อายเขาตาย
3. ราคาพอเหมาะ แบบเรียบ ใช้ได้นาน
4. อยากได้กำลังอินเทรนด์
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 24. ประกอบ
26. “ดาราเปิดร้านเสริมสวยและสปา เพราะเห็นคนอื่นเขาทำแล้วประสบความสำเร็จ แต่เธอเสริมสวยไม่เป็น” การกระทำนี้บกพร่องในเรื่องใด
1. ความพอประมาณ
2. เงื่อนไขด้านความรู้
3. เงื่อนไขด้านคุณธรรม
4. เงื่อนไขการดำเนินชีวิต
ตอบ 2 (คำบรรยาย) ตาม แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง “เงื่อนไขด้านความรู้” ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณา ให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
27. ครอบครัวใดมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
1. ทุกวันอาทิตย์พี่น้องจะมาทานข้าวร่วมกันที่บ้านแม่
2. พ่อจะพาครอบครัวไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์
3. เด็กชายเก็บเงินได้หลายหมื่น แจ้งตำรวจหาเจ้าของ
4. ชายหนุ่มยิงคู่กรณี สาเหตุขับรถปาดหน้ากัน
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ระบบภูมิคุ้มกันด้านสังคมแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
1. ลักษณะ ภูมิคุ้มกันเข้มแข็ง ได้แก่ การรู้รักสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกัน การมีคุณธรรม หรือใฝ่ในศาสนธรรม สังคมสีขาว อยู่เย็นเป็นสุข และการมีทุนทางสังคมสู’
2. ลักษณะ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้แก่ การระแวงและทะเลาะเบาะแว้งกัน ต่างคนต่างอยู่ทุศีลหรือห่างไกลศีลธรรม เป็นเหยื่อแห่งอบายมุขทั้งปวง อยู่ร้อนนอนทุกข์ และการมีทุนทางสังคมต่ำ
28. ใครมีความพอประมาณในการใช้เวลา
1. เนียงเตรียมการสอนทั้งคืนแทบไม่ได้นอน
2. นุกไปเที่ยวกับเพื่อน กลับบ้านเกือบตีสอง
3. นุ่นเรียนกวดวิชาทุกวันจนเครียดหนัก
4. โหน่งจะเล่นกีตาร์หลังจากอ่านหนังสือเสมอ
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง “ความพอประมาณ” มีความหมายดังนี้
1. ความพอเหมาะพอดีแก่ประโยชน์ของตน ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป
2. พอควรแก่อัตภาพ ไม่ทำอะไรเกินฐานะของตน
3. ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
29. ชุมชนใดขาดภูมิคุ้มกันด้านสิ่งแวดล้อม
1. ชาวบ้านช่วยกันรักษาป่าและแหล่งต้นน้ำ
2. ชาวบ้านจัดเวรยามตรวจระวังไฟป่า
3. ที่ว่างกลางซอยกลายเป็นที่ทิ้งขยะของชาวบ้าน
4. ครูพานักเรียนสำรวจแหล่งน้ำของหมู่บ้าน
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ระบบภูมิคุ้มกันด้านสิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
1. ภูมิ คุ้มกันเข้มแข็ง ได้แก่ มีความรู้สำนึกและหวงแหนในสิ่งแวดล้อม มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมจากฝ่ายบริหาร สร้างสุขนิสัย สะอาดเป็นระเบียบ และอยู่กับธรรมชาติ
2. ภูมิคุ้มกันบกพร่องได้แก่ ขาดความรู้และขาดสำนึก ขาดนโยบาย-ผู้บริหารไม่สนใจเต็มไปด้วยทุกขนิสัย สกปรกขาดระเบียบ และทำลายธรรมชาติ
30. การบริหารงานบุคคลในข้อใดไม่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
1. ใช้คนให้ตรงกับงาน
2. มีสิ่งจูงใจในการทำงาน
3. คัดเลือกบุคลากรที่สามารถ
4. มอบตำแหน่งให้กับผู้ใกล้ชิด
ตอบ 4 (คำบรรยาย) การบริหารงานบุคคลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1. การสรรหา คือ ผู้ที่ดำเนินการสรรหาจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรม โดยคัดเลือกบุคคลที่มีความสามารถจริงๆ เข้ามาทำงาน 2. การพัฒนา คือ ให้พัฒนาบุคลากรตามความจำเป็นและควรมีการศึกษาถึงความต้องการในการพัฒนาก่อน 3. การรักษาไว้ คือ การให้สิ่งจูงใจในการทำงาน การให้สิทธิประโยชน์และให้หลักประกันที่มั่นคงในการทำงาน 4. การใช้ประโยชน์ คือ การแต่งตั้งบุคคลให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ หรือใช้คนให้ตรงกับงาน
31. ข้อใดคือจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดในการสร้างสังคมให้เจริญก้าวหน้า
1. ครอบครัว
2. วัด
3. โรงเรียน
4. รัฐบาล
ตอบ 1 (คำบรรยาย) จุด เริ่มต้นที่สำคัญที่สุดในการสร้างสังคมให้เจริญก้าวหน้าจะต้องเริ่มที่ครอบ ครัวเป็นอันดับแรก เพราะหากคนในครอบครัวอบอุ่น รักใคร่สามัคคี ปรองดองกัน ดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ก็จะเป็นรากฐานทำให้สังคมและประเทศชาติเจริญก้าวหน้าและเกิดความสงบสุขอย่าง แท้จริงและยั่งยืน
32. “ฉันเชื่อว่าทุกสิ่งมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วดับไป ใครทำสิ่งใดย่อมได้รับผลตามการกระทำนั้นๆ” ความเชื่อของฉันตรงกับมรรค 8 ในข้อใด
1. ความเห็นถูกต้อง
2. การตั้งสติถูกต้อง
3. ความพยายามถูกต้อง
4. มีสมาธิตั้งมั่นถูกต้อง
ตอบ 1 หน้า 351, 674-675, 77 (H) มรรค 8 หรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มีดังนี้
1. สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) คือ มีความเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เห็นในอริยสัจ 4 หรือเห็นผลตามความเป็นจริง
2. สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) คือ คิดออกจากสิ่งที่ผูกพันให้เป็นทุกข์
3. 3. สัมมาวาจา (วาจาชอบ) คือ เว้นจากการฆ่า การทรมาน การลักขโมย และการประพฤติผิดในกาม
4. สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) คือ เว้นจากการฆ่า การทรมาน การลักขโมย และการประพฤติผิดในกาม
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีวิตชอบ) คือ การประกอบอาชีพสุจริต
6. สัมมา วายามะ (เพียรพยายามชอบ) คือ เพียงระวังบาปที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อมแต่ให้เจริญยิ่งขึ้น
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) คือ ระลึกไปในที่ตั้งของสติที่ดีทั้งหลาย
8. สัมมาสมาธิ (ตั้งใจชอบ) คือ ทำใจให้เป็นสมาธิ มีสมาธิตั้งมั่นถูกต้อง
33. การกระทำในข้อใดเป็นการตอบแทนคุณแผ่นดิน
1. จับสัตว์ป่าสงวนไปขาย
2. ปลูกบ้านล้ำลงไปในคลอง
3. เทขยะลงแม่น้ำลำคลอง
4. แจ้งเบาะแสคนร้ายแก่ทางราชการ
ตอบ 4 (คำบรรยาย) การตอบ แทนบุญคุณแผ่นดิน คือ การประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี เป็นสถาบันที่ดีเป็นองค์กรที่ดี และเป็นตัวอย่างที่ดี โดยมุ่งกระทำแต่ความดีเพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน เช่น หยุดการกระทำทุกอย่างที่เป็นการทำลายหรือทำร้ายธรรมชาติและสัตว์ป่า หรือการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีและให้ความร่วมมือกับทางราชการ เป็นต้น
34. ข้อใดคือผลเสียที่เกิดจากการประมาทในปัญญาความรู้ของตนเอง
1. เป็นคนหยิ่งผยอง
2. มีความคิดคับแคบ
3. ไม่มั่นใจในตนเอง
4. ขาดการสนับสนุนจากคนอื่น
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ผู้ ที่ประมาทในปัญญาความรู้ความสามารถของตนเองว่าทำไม่ได้ เพราะไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอ จึงประเมินคุณค่าของตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริงไม่มีความมั่นใจในตนเอง และมักคิดอยู่เสมอว่าตนเองไม่ใช่คนที่สำคัญที่สุด
35. นักศึกษาอยากได้เกรด G จึงตั้งใจจะอ่านหนังสือ ทำแบบฝึกหัดสม่ำเสมอ แต่ไม่ได้ทำตามที่ตั้งใจ ผลคือ ไม่ได้ G สาเหตุที่ทำให้นักศึกษาไม่ได้ G คืออะไร
1. ขาดความต่อเนื่องในการเรียน
2. ขาดศรัทธาในการเรียน
3. ไม่จริงใจต่อตัวเอง
4. ไม่เชื่อมั่นในตนเอง
ตอบ 2 (คำบรรยาย) กุศลบายในการปฏิบัติงานหรือกิจการต่างๆ ให้ได้ผลดีมีอยู่ 5 ประการ คือ
1. สร้าง ศรัทธาความเชื่อถือในงานที่ทำ โดยเริ่มต้นที่ใจ ความศรัทธาจึงถือเป็นคุณธรรมที่ต้องมีเป็นอันดับแรก เพราะเมื่อใจศรัทธาแล้วจะเกิดฉันทะ (พอใจจะทำ)
2. ไม่ประมาทในปัญญาความรู้ความสามารถของตนเองและผู้อื่น
3. รักษาความจริงใจทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
4. กำจัดจิตใจที่ต่ำทราม รวมทั้งสร้างเสริมความคิดจิตใจที่สะอาดและเข้มแข็ง
5. รู้จักสงบใจ
36. “ใน กระจกเงา ฉันเห็น…ฉัน ดูเหมือนฉันทุกอย่าง แต่มือขวาของฉัน ไม่ใช่มือขวาของเขา หัวใจข้างซ้ายของฉันกลับอยู่ข้างขวาของเขา เรากับเงายังไม่เหมือนกัน แล้วจะหวังอะไรกับคนอื่นให้เหมือนเรา” ข้อความนี้ไม่ได้เตือนเราในเรื่องใด
1. ตนเป็นที่พึ่งของตน
2. ความไม่ยึดมั่นถือมั่น
3. ความคาดหวังในบุคคลอื่น
4. ความอดทนในทุกสถานการณ์
ตอบ 2 (คำบรรยาย) กุศลบายในการปฏิบัติงานหรือกิจการต่างๆ ให้ได้ผลดีมีอยู่ 5 ประการ คือ
1. สร้าง ศรัทธาความเชื่อถือในงานที่ทำ โดยเริ่มต้นที่ใจ ความศรัทธาจึงถือเป็นคุณธรรมที่ต้องมีเป็นอันดับแรก เพราะเมื่อใจศรัทธาแล้วจะเกิดฉันทะ (พอใจจะทำ)
2. ไม่ประมาทในปัญญาความรู้ความสามารถของตนเองและผู้อื่น
3. รักษาความจริงใจทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
4. กำจัดจิตใจที่ต่ำทราม รวมทั้งสร้างเสริมความคิดจิตใจที่สะอาดและเข้มแข็ง
5. รู้จักสงบใจ
37. คำกล่าวในข้อใดแสดงว่าเป็นผู้ที่ประหยัด
1. กินครึ่งเททิ้งครึ่ง
2. กินเท่าที่มี มีเท่าที่จะกิน
3. มีสลึงกินบาท
4. กินล้างผลาญ
ตอบ 2 (คำบรรยาย) คำ ว่า “ประหยัด” หมายถึง การใช้ในสิ่งที่จำเป็นและใช้อย่างคุ้มค่า โดยสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ควรเก็บออมเอาไว้ ดังคำกล่าวที่ว่า “กินเท่าที่มี มีเท่าที่จะกิน” (กินในสิ่งที่มีอยู่หรือมีเพียงพอกับที่จำเป็นต้องกิน) ดังนั้นคำว่า “ประหยัด” จึงอยู่ตรงกลางระหว่างคำว่า “ตระหนี่ถี่เหนียว” (ไม่ใช้แม้จะเป็นสิ่งจำเป็น) กับคำว่า “สุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือย” (ใช้จนไม่เหลือหรือใช้โดยไม่คำนึงถึงความจำเป็น)
38. ระบบอะไรที่กำลังทำร้ายคนไทยและเป็นต้นตอความหายนะของโลก
1. บริโภคนิยม
2. สังคมนิยม
3. ประชานิยม
4. ธรรมนิยม
ตอบ 1 (คำบรรยาย) ลัทธิ บริโภคนิยม หมายถึง การนิยมบริโภคสิ่งต่างๆ ฟุ่มเฟือยเกินความต้องการที่จำเป็นในชีวิต และเกินกว่าฐานะรายได้หรือความสามารถในการผลิตของคนหรือของประเทศซึ่งถือ เป็นระบบที่ก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทย หรือเศรษฐกิจฟองสบู่ และเป็นต้นตอแห่งความหายนะทางด้านเศรษฐกิจของโลก
39. “การฝึกตนเป็นคุณสมบัติของบัณฑิต” การประพฤติตนตามคำกล่าวนี้จะเกิดผลตามข้อใด
1. จะเป็นคนขวางโลก 2. จะเป็นคนหลงตน มองแต่ตนเอง
3. จะมีสติ ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา 4. จะมีสุขภาพดี แข็งแรง อายุยืน
ตอบ 3 (คำบรรยาย) “บัณฑิต ย่อมฝึกตน” หมายความว่า คนดีหรือคนมีปัญญาย่อมฝึกตน คือ อบรมตนให้เป็นคนดี โดยพยายามศึกษาให้รู้ว่าความดีและความชั่วเป็นอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้มีความดี แล้วก็ไม่ประมาทตั้งใจทำความดี โดยใช้สติและปัญญาแก้ไขปัญหาเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้ถูกต้องและอยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุข เป็นพลเมืองดี และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
40. “ดอกบัวเกิดมาจากโคลนตม แต่เมื่อพ้นจากโคลนตมก็จะชูดอกสวยสง่างาม” การกระทำในข้อใด ตรงข้ามกับข้อความนี้
1. ลูกพนักงานเก็บขยะรับปริญญา
2. ทั้งคู่กล่าวว่าที่ขโมยเพราะยากจน
3. เมื่อเลิกเล่นพนันแล้ว เขาก็ตั้งใจประกอบอาชีพสุจริต
4. เธอตัดสินใจเข้ารับการบำบัดยาเสพติด
ตอบ 2 (คำบรรยาย) พุทธศาสนาได้เปรียบเทียบสติปัญญาที่แตกต่างกันของมนุษย์ไว้กับดอกบัว 4 เหล่า คือ
1. ดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำพร้อมที่จะบาน เปรียบได้กับคนที่มีความเฉลียวฉลาดสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกต้อง
2. ดอกบัวที่กำลังโผล่พ้นน้ำ เปรียบได้กับคนที่ฉลาดปานกลาง ซึ่งต้องใช้เวลาอบรมสั่งสอนมากกว่าพวกแรก
3. ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำเปรียบได้กับคนที่ฉลาดน้อย ซึ่งต้องใช้เวลาอบรมสั่งสอนมาก แต่ก็สามารถพัฒนาให้มีความรู้ได้
4. ดอกบัวที่อยู่ในโคลนตม เปรียบได้กับคนที่มีสติปัญญาโง่ทึบ ซึ่งบางทีก็ไม่สามารถพัฒนาตนและไม่สามารถแยกแยะสิ่งถูกผิดได้
41. “การใช้เงินเป็นเบี้ย” แสดงค่านิยมในเรื่องใด
1. รักพวกพ้อง
2. ความเอื้ออาทร
3. ความสุรุ่ยสุร่าย
4. ความโอบอ้อมอารี
ตอบ 3 (คำบรรยาย) สำนวน ที่ว่า “การใช้เงินเป็นเบี้ย” หมายถึง ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายโดยไม่รู้จักคุณค่าของเงิน อันเป็นค่านิยมที่ไม่ดีของสังคมไทยซึ่งควรปรับเปลี่ยนแก้ไขให้เลิกทำตัว หรูหราฟุ่มเฟือยแต่ให้คิดก่อนที่จะใช้เงินจับจ่ายซื้อของ
42. ข้อใดหมายถึงความกตัญญู
1. ทำบุญให้บุพการีที่ล่วงลับ
2. เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ทุกอย่าง
3. รู้ว่าใครมีบุญคุณต่อตน
4. ยกย่องสรรเสริญผู้ที่ตนรักเคารพ
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ความกตัญญู คือ ความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว้ หรือรู้ว่าใครมีบุญคุณต่อตนเป็นคุณธรรมคู่กับความกตเวที คือ การตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้น ซึ่งบุญคุณที่ว่านี้มิใช่ว่าตอบแทนกันแล้วก็หายกัน แต่หมายถึงการระลึกถึงผู้มีบุญคุณที่เคยให้ความอุปการะแก่เราด้วยความเคารพยิ่งและตอบ แทนพระคุณด้วยการดูแลเอาใจใส่ทั้งทางร่างกายและจิตใจซึ่งจะทำให้ผู้ปฏิบัติ มีจิตใจที่ชุ่มชื่น มีความสุขใจในการกระทำ ทั้งนี้การแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณนั้นควรกระทำทุกเวลา ไม่ควรมีข้อแม้ในการกระทำ
43. การช่วยเหลือวิธีใด เป็นการช่วยเหลือแบบยั่งยืน
1. ให้เงิน
2. แจกสิ่งของ
3. เลี้ยงดู
4. ให้โอกาส
ตอบ 4 (คำบรรยาย) การ ช่วยเหลือแบบยั่งยืน คือ การช่วยให้คนสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น การช่วยให้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะหรือฝึกอาชีพ ให้โอกาสทำงานหรือให้โอกาสแสดงความสามารถ เป็นต้น
44. ข้อใดเป็นการแสดงความเคารพครู-อาจารย์
1. ประนมมือระหว่างอก แล้วยกขึ้นให้ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว
2. ประนมมือแล้วยกขึ้น ให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ค้อมหรือย่อตัวลง
3. ประนมมือแล้วยกขึ้น ให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ค้อมหรือย่อตัวลง
4. ประนมมือแล้วยกขึ้น ให้ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก ค้อมหรือย่อตัวลง
ตอบ 2 (คำบรรยาย) การไหว้ตามประเพณีไทยมี 4 ลักษณะ ดังนี้
1. การไหว้ผู้มีฐานะเสมอกันหรือรับไหว้ ผู้ไหว้จะประนมมือกลางอก ปลายนิ้วตั้งตรงขึ้นเบื้องบน โดยอาจก้มหน้าลงเล็กน้อย
2. การไหว้ผู้ที่อาวุโสกว่า ผู้ไหว้จะยกมือประนมขึ้นให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วชี้อยู่ตรงปลายสันจมูก แล้วก้มหน้าลง
3. การ ไหว้บิดามารดา ครู-อาจารย์ หรือผู้เป็นที่เคารพยิ่ง ผู้ไหว้จะยกมือประนมขึ้นให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว พร้อมกับค้อมหรือย่อตัวลง
4. การไหว้พระภิกษุสงฆ์ ผู้ไหว้จะยกมือประนมขึ้นให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดตีนผมแนบหน้าผาก พร้อมกับค้อมหรือย่อตัวลง
45. พฤติกรรมใดควรปฏิบัติ
1. ปิดปากขณะไอ จาม หรือหาว
2. พูดขณะอาหารเต็มปาก
3. นำบุรุษไปรู้จักสตรี
4. เอาช้อนของตนตักอาหารให้ผู้อื่น
ตอบ 1 หน้า 621-623, (คำบรรยาย) มารยาทในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ได้แก่
1. ไม่คนอาหารเพื่อเลือกแต่ของที่ตนชอบ
2. ไม่พูดหรือหัวเราะขณะอาหารเต็มปาก เพราะถือเป็นกิริยาที่ไม่สุภาพ เนื่องจากอาหารอาจจะกระเด็นออกจากปากไปถูกผู้อื่นได้
3. ใช้ ช้อนกลางตักอาหาร ไม่ใช้เครื่องใช้ที่เป็นส่วนของตนเองตักอาหารซึ่งเป็นของกลางเป็นอันขาด ทั้งนี้ประโยชน์จากการใช้ช้อนกลางก็คือ เพื่อป้องกันโรคติดต่อ
4. หากจะไอหรือจามควรใช้มือหรือผ้าปิดปาก แล้วก้มหน้าลงเพื่อป้องกันการกระจายของโรค
5. ไม่บ้วนขากเสียงดังหรือเปรอะเปื้อน แต่ถ้าจำเป็นก็ควรทำให้มิดชิดเพื่อมิให้เป็นการแพร่เชื้อโรค ฯลฯ
46. เพราะเหตุใดจึงจำเป็นต้องพูดจาและแสดงกิริยาให้สุภาพ
1. เพื่อแสดงความเป็นผู้ดี
2. เพื่อแสดงว่าเป็นผู้มีการศึกษา
3. แสดงว่าได้รับการอบรม
4. แสดงว่าเป็นผู้มีวัฒนธรรม
ตอบ 4 หน้า 420, (คำบรรยาย) วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิตร่วมกันของคนในสังคม เป็นแบบแผนการประพฤติ ปฏิบัติ และการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันเข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับ และใช้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้น หรือหมายถึงสิ่งที่แสดงความเจริญงอกงามทางด้านจิตใจและวัตถุ ศีลธรรมความเป็นระเบียบแบบแผนร่วมกันในการดำเนินชีวิต รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าของประเทศและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
47. เพราะเหตุใดจึงจำเป็นต้องอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย
1. วัฒนธรรมต่างประเทศแพร่หลาย
2. เผยแพร่ความเป็นไทยให้เจริญก้าวหน้า
3. รักษาเอกลักษณ์ของสังคมไทย
4. คนไทยหันไปชื่นชมวัฒนธรรมตะวันตก
ตอบ 3 หน้า 422, (คำบรรยาย) เรา ต้องยอมรับว่าวัฒนธรรมของต่างประเทศที่หลั่งไหลเข้ามาในสังคมไทยหลายอย่าง ช่วยเกื้อกูลให้สังคมไทยเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศ แต่ในขณะที่เรากำลังชื่นชมวัฒนธรรมต่างชาติอยู่นั้น เราก็จำเป็นต้องอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีของไทยเราด้วยเพื่อรักษา เอกลักษณ์อันดีงามของสังคมไทยไม่ให้ต้องถูกกลืนหายไป
48. ข้อใดเป็นมารยาทในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟต์
1. รีบตักอาหารเฉพาะที่ตนจะรับประทาน
2. เลือกตักอาหารที่ตนชอบเอาไว้มากๆ
3. ตักอาหารไว้เผื่อเพื่อนที่ไปด้วยกัน
4. ตักอาหารทุกชนิดไว้ก่อน แล้วค่อยเลือกรับประทาน
ตอบ 1 (คำบรรยาย) มารยาท ในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟต์ ได้แก่ ควรรีบตักอาหารเฉพาะที่ตนจะรับประทาน ซึ่งสาเหตุที่ต้องรีบก็เพราะอาหารแบบบุฟเฟต์นั้นทุกคนต้องบริการตัวเองจึงมี คนเข้าคิวรอที่จะตักอาหารต่อจากเราอีกมาก และที่สำคัญควรตักเฉพาะที่จะรับประทานไม่ควรตักเผื่อคนอื่นหรือตักเผื่อเอา ไว้มากๆ จนเหลือรับประทานไม่หมด
49. ข้อใดคือประโยชน์จากการใช้ “ช้อนกลาง”
1. ใช้แทนมือ
2. ใช้ชดน้ำแกง
3. ป้องกันโรคติดต่อ
4. ป้องกันอาหารปนเปื้อน
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ
50. ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายของการฝึกสมาธิ
1. เพื่อให้เรียนเก่ง
2. เพื่อให้มีคนนับถือ
3. เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง
4. เพื่อให้มีจิตใจแน่วแน่
ตอบ 4 หน้า 131-132, 205, 233 การ ฝึกสมาธิ คือ การใช้สติกำหนดระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้าออกอยู่ตลอดเวลา (อานาปานสติ) เพื่อทำให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวและแน่วแน่มั่นคง ไม่ปล่อยให้จิตถูกครอบงำจากอำนาจใดๆ และเมื่อจิตมีสติก็จะทำให้ใจสงบเยือกเย็น รู้จักละวาง ทำจิตใจให้สบาย เกิดความผ่อนคลาย ไม่ฟุ้งซ่าน ซึ่งการฝึกสมาธินี้ควรทำโดยเฉพาะเมื่อรู้สึกเครียดไม่สบายใจ โกรธหรือกังวล เพราะจะทำให้หัวใจเต้นช้าลง สมองแจ่มใส คิดแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีกว่าเดิม ทำให้เครื่องเสียดแทนหัวใจ (โทสจริต) ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในใจระงับไปได้
51. ข้ามถนนบริเวณใด จึงปลอดภัยจากการถูกรถยนต์ชน
1. ข้ามทางม้าลาย
2. ข้ามตรงสี่แยก
3. ข้ามบริเวณทางข้าม
4. ใช้สะพานลอย
ตอบ 4 (คำบรรยาย) การ ข้ามถนนควรข้ามโดยใช้สะพานลอยจึงจะปลอดภัยจากการถูกรถยนต์ชนมากที่สุด แต่ถ้าบริเวณนั้นไม่มีสะพานลอยก็ควรข้ามบนทางม้าลาย หรือข้ามบริเวณทางข้ามทุกครั้ง ไม่ควรกระโดดข้ามแผงกั้นกลางถนน โดยเวลาข้ามให้ดูสัญญาณไพ่จราจรให้ดี และควรมองซ้ายขวาให้แน่ใจก่อนข้ามถนน
52. การกระทำในข้อใดแสดงความไม่สุภาพ
1. ลุกนั่งมิให้มีเสียงดัง
2. ยืมของผู้อื่นแล้วส่งคืน
3. นั่งไขว้ห้างหน้าผู้ใหญ่
4. เคาะประตูก่อนเข้าห้องผู้อื่น
ตอบ 3 หน้า 625 ผู้ดี ย่อมนั่งด้วยกิริยาอันสุภาพต่อหน้าผู้ใหญ่ หมายความว่า เมื่ออยู่กับผู้ใหญ่ต้องรู้ที่นั่งของตนว่าตนควรจะนั่งที่แห่งใด และควรจะนั่งอย่างไร เช่น ผู้ใหญ่อยู่กับพื้นก็ควรนั่งกับพื้น และควรนั่งพับเพียบในระยะห่างพอควรแก่สถานที่และธุระที่ทำ ถ้าผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้และก็อนุญาตให้เรานั่งเก้าอี้ด้วยก็ควรนั่ง แต่ไม่ควรนั่งไขว้ขาหรือกระดิกเท้าตามชอบใจควรนั่งด้วยท่าทางที่สุภาพเรียบ ร้อยควรแก่สถานที่และภาวะของตน
53. คุณค่าสำคัญที่สุดของหลักอริยสัจ 4 คือข้อใด
1. ทำงานใดก็ประสบแต่ความสำเร็จ
2. รู้ซึ้งถึงสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้
3. ทำให้รู้คุณค่าของหลักธรรมที่สำคัญทางศาสนา
4. ทำให้เราแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยปัญญาและเหตุผล
ตอบ 4 หน้า 170-171, 176, 672-673, (คำบรรยาย) อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงหรือสัจธรรมอันประเสริฐ 4 ประการ ซึ่งพุทธศาสนาได้มุ่งเน้นถึงการแก้ปัญหาต่างๆ อย่างเป็นระบบด้วยปัญญาและเหตุผล ประกอบด้วย
1. ทุกข์ คือ ปัญหาที่ทำให้บุคคลรู้สึกไม่สบายกายหรือไม่สบายใจ อันเป็นรูปธรรมที่ทุกคนควรกำหนดรู้ตามความเป็นจริง
2. สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหาหรือบ่อเกิดแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหาหรือความอยาก (โลภะ โทสะ โมหะ) ของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรละเลิกหรือละทิ้ง
3. นิโรธ คือ หนทางในการดับทุกข์หรือความพ้นทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรทำให้รู้แจ้ง
4. มรรค คือ ทางแก้ทุกข์หรือวิธีการดับทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรนำไปปฏิบัติให้เกิดหรือเจริญขึ้น
54. การกราบศพควรกราบอย่างไร
1. กราบแบมือ 1 ครั้ง
2. กราบแบมือ 3 ครั้ง
3. กราบโดยตั้งมือทั้งสองข้างประกอบกันไว้ 1 ครั้ง
4. กราบโดยตั้งมือทั้งสองข้างประกบกันไว้ 3 ครั้ง
ตอบ 3 (คำบรรยาย) การ ทำความเคารพศพ ให้นั่งคุกเข่าราบทั้งชายและหญิง จากนั้นจุดธูป 1 ดอก (ถ้าเป็นศพพระจุด 3 ดอก) ประนมมือยกธูปขึ้นให้ปลายนิ้วชี้อยู่ระหว่างคิ้ว ตั้งจิตขอขมาต่อศพแล้วปักธูปลงบนที่สำหรับปักธูป แล้วนั่งพับเพียบหมอบกราบแบบกระพุ่มมือตั้ง (ไม่แบมือ) 1 ครั้ง พร้อมอธิษฐานให้ดวงวิญญาณศพไปสู่สุคติ แล้วลุกขึ้น ถ้าเป็นศพของผู้ที่มีอายุน้อยกว่าเราไม่ต้องกราบหรือไหว้ เมื่อปักธูปลงแล้วให้นิ่งสงบและอธิษฐานเท่านั้น
55. การกำหนดจิตให้แน่วแน่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนจิตสงบไม่ฟุ้งซ่าน เป็นการปฏิบัติในเรื่องใด
1. การสนทนา
2. การสังเกต
3. การฟัง
4. สมาธิ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 50. ประกอบ
56. การให้คุณค่าและศักดิ์ศรีแก่ผู้อื่นทำได้หลายวิธี ยกเว้นข้อใด
1. กล่าวถึงส่วนดีของผู้อื่น
2. วางตนให้เหมาะสมกับบุคคล
3. รู้จักอดทนและควบคุมอารมณ์ของตน
4. พูดเรื่องความดีของตนให้ผู้อื่นฟัง
ตอบ 4 หน้า 181 การกระทำที่คำนึงถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้อื่น ได้แก่ การกระทำที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่ามนุษย์ชอบการยกย่องชมเชย การให้เกียรติ และการได้รับสิ่งดีๆ เช่น การแสดงกิริยาวาจาสุภาพกับผู้อื่น, การรู้จักใช้มารยาทในสังคมให้ถูกต้อง, การกล่าวถึงส่วนดีของผู้อื่นอย่างจริงใจ, ไม่พูดจายกตนข่มท่านหรือแสดงอาการดูถูกเหยียดหยาม, การยอมรับฟังความคิดเห็นหรือ คำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่น, วางตนให้เหมาะสมกับบุคคล เวลา โอกาสและสถานที่, รู้จักอดทนและควบคุมอารมณ์ได้ ฯลฯ
57. การใช้ดอกอัญชันช่วยให้ผมดำเป็นเงางามไม่แตกปลาย เป็นภูมิปัญญาสาขาใด
1. เกษตรกรรม
2. แพทย์แผนไทย
3. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. จัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ตอบ 2 หน้า 436, (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาไทยสาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง ภูมิปัญญาในด้านการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้ เช่น การใช้ดอกอัญชันและส้มป่อยบำรุงรักษาเส้นผม, การนวดแผนไทย, การทำลูกประคบสมุนไพร ฯลฯ
58. คุณลักษณะใดของคนไทยที่ได้รับการยกย่องจากต่างชาติมากที่สุด
1. การแต่งกาย
2. มารยาท
3. อาหาร
4. ภาษา
ตอบ 2 (คำบรรยาย) ปัจจุบัน คนไทยได้รับการยกย่องจากชาวต่างชาติมากที่สุดในเรื่องของการมีมารยาทที่ดี งาม ซึ่งเป็นกิริยาที่แสดงออกถึงความสุภาพอ่อนน้อมของคนไทย
59. วันที่ 13 เมษายน สำคัญอย่างไร
1. วันครอบครัว
2. วันปีใหม่ไทย
3. วันสงกรานต์
4. วันผู้สูงอายุแห่งชาติ
ตอบ 4 (คำบรรยาย) สำหรับ ช่วงวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี นอกจากจะเป็นเทศกาลสงกรานต์หรือเทศกาลวันปีใหม่ไทยแล้ว ก็ยังมีความสำคัญ คือ รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และวันที่ 14 เมษายน เป็นวันครอบครัว
60. คำเตือนว่า “เมาไม่ขับ” มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร
1. ให้ทำตามกฎหมาย
2. ห้ามผิดศีลข้อ 5
3. ป้องกันไม่ให้ประมาท
4. ห้ามคนดื่มสุราขับรถ
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ความ ประมาท หมายถึง การขาดความรอบคอบ ขาดความระมัดระวังเพราะทะนงตน โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มสุราแล้วเมาจะทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ ขาดความระมัดระวังซึ่งจะทำให้ประสบอุบัติเหตุ เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
61. หลักการสำคัญของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย คือข้อใด
1. รู้รักสามัคคี
2. ไปออกเสียงเลือกตั้ง
3. ปฏิบัติตนตามกฎหมาย
4. เรียกร้องสิทธิและเสรีภาพ
ตอบ 2 หน้า 368 หน้าที่ ทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญของคนไทยทุกคนที่อยู่ในวัยที่มีสิทธิเลือกตั้งทั้ง สมาชิกวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งองค์กรปกครองท้องถิ่นต่างๆ ก็คือ การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งคนไทยทุกคนจะต้องรู้จักหน้าที่ทางการเมืองของตนให้ถ่องแท้และประพฤติ ปฏิบัติให้ถูกต้อง
62. ข้อใดเป็นความหมายของ “การมีภูมิคุ้นกันที่ดีในตัว”
1. ระมัดระวังการใช้จ่าย
2. รักษาสุขภาพให้ดี
3. รักษาอารมณ์ให้ปกติ
4. เตรียมพร้อมรับผลกระทบ
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. ความมีเหตุผล คือ รู้จักวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างมีเหตุผล รอบคอบ รู้เขารู้เรา
2. ความพอประมาณ คือ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสมดุล พอดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป
3. สร้างภูมิคุ้มกัน คือ เตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน
63. ค่านิยมในเรื่องใดเป็นวิกฤติวัฒนธรรมที่จำเป็นต้องปรับ ลดละเลิกเป็นอันดับแรกและสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
1. ความฟุ้งเฟ้อ
2. ความขัดแย้ง
3. ความรุนแรง
4. ความไม่ซื่อสัตย์
ตอบ 1 หน้า 416, 422 ค่า นิยมอย่างหนึ่งที่คนไทยควรปรับเปลี่ยน ได้แก่ การนิยมความหรูหราและการจัดงานพิธีรวมทั้งงานเลี้ยงฉลองในวาระต่างๆ โดยคนไทยต้องเลิกทำตัวหรูหรา ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย เปลี่ยนนิสัยชอบใช้ของแพง ของมียี่ห้อจากต่างประเทศ มาเป็นใช้ของที่มีคุณภาพ พอใช้ได้ ราคาพอสมควร และอุดหนุนสินค้าไทย การจัดงานต่างๆ ก็ควรจัดอย่างเรียบง่ายประหยัด และจัดเฉพาะงานที่สำคัญเท่านั้น
64. การกระทำในข้อใดแสดงความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
1. ร่วมกิจกรรมทางศาสนา
2. พูดและเขียนภาษาไทยได้ถูกต้อง
3. แต่งกายถูกต้องตามกาลเทศะ
4. มีกิริยามารยาทเรียบร้อย
ตอบ 2 หน้า 361, 369-370, (คำบรรยาย) ความ ภาคภูมิใจหรือความสำนึกในความเป็นไทย หมายถึงความภาคภูมิใจในสิ่งต่างๆ ที่สะท้อนให้เห็นความเป็นชาติไทยหรือเอกลักษณ์ไทย โดยการพูดและเขียนภาษาไทยได้ถูกต้อง ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี รักษาวัฒนธรรมอันดีงามรวมทั้งช่วยส่งเสริมภูมิปัญญาไทยและอุดหนุนสินค้าไทย เพื่อความอยู่รอด ความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าของชาติไทย
65. คุณธรรมชุดใดที่เป็นปัจจัยเกื้อกูลให้เกิดความสามัคคีในชาติ
1. ขยัน อดทน พึ่งตนเอง
2. ฉันทะ สัจจะ วินัย
3. เมตตา เอื้อเฟื้อ ไม่เอาเปรียบ
4. รอบคอบ มีสติ อะลุ่มอล่วย
ตอบ 3 (คำบรรยาย) คุณธรรมชุดปัจจัยสนับสนุนที่จะเกื้อกูลให้เกิดความสามัคคีในหมู่คระหรือในชาติ ซึ่งจะส่งผลให้การงานต่างๆ ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย
1. ความเมตตา
2. ความปรารถนาดีต่อกัน
3. ความเอื้อเฟื้อต่อกัน
4. ความไม่เห็นแก่ตัว
5. ความไม่เอารัดเอาเปรียบ
6. ความอะลุ่มอล่วยถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน
66. คำว่า “กษัตริย์นักพัฒนา” หมายถึงใคร
1. พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
2. พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
3. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
4. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) พระ บาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการขนานนามจากชาวโลกว่าทรงเป็น “พระมหากษัตริย์นักพัฒนา” ทั้งนี้เพราะทรงมีพระราชหฤทัยเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาต่อพสกนิกรผู้ยากไร้และ ผู้ด้อยโอกาสโดยไม่ทรงแบ่งแยกสถานะ ศาสนา ชาติพันธุ์หรือหมู่เหล่า นอกจากนี้ยังทรงสดับรับฟังปัญหาความทุกข์ยากของราษฎรและพระราชทานแนวทางการ ดำรงชีวิตเพื่อให้ประชาชนของพระองค์สามารถพึ่งตนเองได้อย่างเข้มแข็งและ ยั่งยืน
67. “คนส่วนมากอยากได้รับนับถือ อยากให้คนยกมือไหว้
แต่ตนเอกสิหนาว่าอย่างไร นับถือตนได้หรือไม่ด้วยใจจริง”
คำประพันธ์ไม่ได้เตือนในเรื่องใด
1. การปฏิบัติตน
2. ความไม่แน่นอน
3. การพิจารณาตนเอง
4. ความอยากมีอยากเป็น
ตอบ 2 จาก คำประพันธ์ข้างต้นได้เตือนสติเราว่า บุคคลทุกคนล้วนมีความอยากมีอยากเป็น คือ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ อยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ อันเป็นเรื่องดีและชั่ว ดังนั้นบุคคลจึงควรพิจารณาตนเองและปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อให้ปฏิบัติตนได้ถูกต้องเหมาะสม
68. สำนวนไทยในข้อใดที่เตือนสติตรงกับเงื่อนไขเรื่องมีความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) ในเศรษฐกิจพอเพียง
1. แมงเม่าบินเข้ากองไฟ
2. ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
3. ชักหน้าไม่ถึงหลัง
4. หนักเอาเบาสู้
ตอบ 2 (ดูคำอธิบายข้อ 26. ประกอบ) สำนวน ไทยที่ตรงกับเงื่อนไขความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง) ในเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ “ฝนทั่งให้เป็นเข็ม” (พยายามทำสิ่งที่ยากเย็นด้วยความอุตสาหะบากปั่น จนแม้สิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ยังเป็นไปได้) เป็นต้น (ส่วน “แมงเม่าบินเข้ากองไฟ” หมายถึง คนที่หลงสิ่งลวงตาแล้ววิ่งเข้าไปหาโดยไม่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอันตรายแก่ตน, “ชักหน้าไม่ถึงหลัง” หมายถึง มีรายได้ไม่พอรายจ่าย, “หนักเอาเบาสู้” หมายถึง ขยันทำกิจการงานทุกชนิด ไม่เลือกงาน)
69. วันเข้าพรรษาเป็นวันที่พระสงฆ์ให้ความร่วมมือกับคนอาชีพใดในสมัยพุทธกาล
1. กรรมกร
2. เกษตรกร
3. พานิชกร
4. วิทยากร
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) วัน เข้าพรรษา เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานว่าจะจำพรรษาประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลา 8 เดือนในฤดูฝน โดยมีสาเหตุมาจากในสมัยพุทธกาลพระสาวกของพระพุทธเจ้ามักจะเดินทางไปเผยแผ่ พระศาสนาไม่หยุดยั้งแม้แต่ในฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูกาลเพาะปลูกตามอาชีพเกษตรกรรม ของประชาชน ทำให้พระสงฆ์ที่จาริกไปต้องเดินผ่านไร่นาเหยียบย่ำพืชกล้าและพันธุ์ไม้เสีย หาย สัตว์เล็กสัตว์น้อยถึงแก่ความตายพระพุทธองค์จึงทรงกำหนดให้มีวันเข้าพรรษา เพื่อไม่ให้เกษตรกรได้รับความเสียหายและยังเป็นการหลีกเลี่ยงกรรมดังกล่าว
70. ข้อใดเป็นความหมายของศีลที่ถูกต้องที่สุด
1. ปกติ
2. ระเบียบวินัย
3. ความวุ่นวาย
4. ความกระทบและเบียดเบียน
ตอบ 2 หน้า 168 (คำบรรยาย) คำว่า “ศีล” แปลว่า ปกติ ระเบียบทางกาย วาจา ซึ่งหากผู้ใดรักษาศีลได้ก็จะทำให้การกระทำทางกาย วาจา ที่ผู้อื่นได้รู้เห็นเป็นระเบียบ งดงาม เจริญตาเจริญใจ ดังนั้นความหมายที่ถูกต้องที่สุด “ศีล” จึงหมายถึง ระเบียบวินัยที่กำหนดให้ยึดถือปฏิบัติเพื่อความเป็นระเบียบและความงดงามแห่งหมู่คณะ หรือหลักปฏิบัติเพื่อความสงบเรียบร้อยทางกาย วาจา ที่เกี่ยวกับสังคมและส่วนรวม
71. ศาสนาคริสต์สอนเรื่องใดเป็นคุณธรรมข้อแรกในคัมภีร์ศาสนา
1. ความซื่อสัตย์สุจริต
2. ความอ่อนน้อมถ่อมตน
3. ความเชื่อฟัง
4. ความสามัคคี
ตอบ 3 (คำบรรยาย) คุณธรรมสามประการแห่งนักบุญบริสุทธิ์ (Theological Virtues) เป็นหลักธรรม ที่บรรจุไว้ในคัมภีร์ไบเบิ้ลของศาสนาคริสต์ที่ว่าด้วยการหลุดพ้นจากอบายมุข อันได้แก่ 1. ความศรัทธา หมายถึง การเชื่อฟัง หรือความเชื่ออันมั่นคง 2. ความหวัง หมายถึง ความคาดหวัง หรือความปรารถนาที่จะได้รัย ซึ่งจะช่วยป้องกันความสิ้นหวังและการยอมจำนน 3. ความรักหรือความกรุณา หมายถึง ความไม่เห็นแก่ตัว ไม่ต้องการสิ่งตอบแทนและทำด้วยความเต็มใจ
72. จะพัฒนาสำเร็จได้ คนต้องมีข้อใดมากที่สุด
1. ศีล
2. สมาธิ
3. ปัญญา
4.สติ
ตอบ 3 (คำบรรยาย) การฝึกฝนพัฒนามนุษย์ในทางพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 3 ด้านดังนี้ 1. การพัฒนาด้านพฤติกรรม คือ กระบวนการฝึกพฤติกรรมและการติดต่อสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมหรือโลกภายนอก เรียกว่า “อธิศีลสิกขา” 2. การพัฒนาด้านจิตใจ คือ กระบวนการฝึกจิตใจให้มีคุณธรรมและเจริญงอกงาม เรียกว่า “อธิจิตตสิกขา” 3. การ พัฒนาด้านสติปัญญา คือ กระบวนการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ เรียกว่า “อธิปัญญาสิกขา” ซึ่งการฝึกพัฒนามนุษย์จะสำเร็จได้ บุคคลจะต้องมีปัญญามากที่สุด เพื่อให้ชีวิตมนุษย์ดำเนินไปสู่ความสมบูรณ์
73. ข้อใดเป็นจริยธรรม (ไม่ใช่คุณธรรม)
1. ขันติ
2. เคารพกติกา
3. เสียสละ
4.เมตตากรุณา
ตอบ 2 หน้า 241 – 244 , 86 (H) (คำบรรยาย) คำว่า “คุณธรรม” หมายถึง สภาพ คุณความดีเป็นเรื่องของกุศลธรรมที่ควรปลูกฝังใจจิตใจ มีลักษณะเป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต สุภาพอ่อนน้อม เพียรพยายาม มีสติ มีขันติ เสียสละ เมตตากรุณา ฯลฯ ส่วนคำว่า “จริยธรรม” หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ เป็นเรื่องราวของความประพฤติหรือพฤติกรรมที่ดีงามควรจะเสริมสร้างให้เกิด ขึ้น มีลักษณะเป็นธรรมในแง่ของการกระทำ เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ช่วยเหลือผู้อื่น เอื้ออาทรต่อผู้อื่น เคารพกติกา ฯลฯ
74. ความสามัคคีในหมู่คณะจะเกิดได้ยาก ถ้าขาดคุณธรรมในข้อใด
1. ความเพียร พึ่งตนเอง มีวินัย
2. จริงใจ รัยผิดชอบ กตัญญู
3. มีสติ รอบคอบ เที่ยงตรง
4. เมตตา เอื้อเฟื้อ ไม่เอาเปรียบ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ
75. ใครคือบุคคลที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมมากที่สุด
1. ผู้พิการทางสายตา
2. ผู้ไม่รู้จักพอ
3. ผู้มีความบกพร่องทางสติปัญญา
4.ผู้เกียจคร้าน
ตอบ 2 (คำบรรยาย) บุคคลที่ก่อให้เกิดปัญญาสังคมมากที่สุด คือ คนที่ขาดคุณธรรมและจริยธรรม เช่น คนคดโกงที่ขาดความซื่อสัตย์สุจริต คนโลภมากที่ไม่รู้จักพอเพียง คนมักง่ายที่ขาดระเบียบวินัย คนเห็นแก่ได้ที่เห็นประโยชน์ส่วนตน พวกพ้อง มากกว่าประโยชน์ส่วนร่วม เป็นต้น
76. การกระทำในข้อใดเป็น “การคิดด้วยจิตใจที่เป็นกลาง”
1. น้องยอมทำตามพี่ เพราะแกรงใจ
2. น้อยคิดรอบคอบแล้วจึงยกมือเห็นด้วย
3. หน่อยสงสารเพื่อนจึงยอมทำตามที่ขอ
4. นิดเกลียดหัวหน้าจึงยอมลงชื่อประท้วง
ตอบ 2 (คำบรรยาย) หลักของคุณธรรมประการหนึ่ง ได้แก่ การคิดด้วยจิตใจที่เป็นกลาง หมายถึง ก่อนที่จะพูดแสดงความรู้ ความคิดเห็น หรือจะทำสิ่งใดต้องปฏิบัติตนดังนี้ 1. หยุดคิดก่อน เพื่อรวบรวมสติให้มั่น 2. ไม่โอนเอน โลเลตามผู้อื่น
3. ให้จิตสว่าง มองอะไรให้เป็นกลาง ให้มีอคติลำเอียง 4. ต้องฝึกฝนจนชำนาญ
77. ถ้านักศึกษามีความจริงใจต่อเพื่อน สิ่งที่จะไม่เกิดขึ้นกับนักศึกษาเลยคือข้อใด
1. ความไว้วางใจ
2. ความกินแหนงแคลงใจ
3. ความร่วมมือ
4. ความสำเร็จของภารกิจ
ตอบ 2 (คำบรรยาย) การรักษาความจริงใจต่อตัวเอง คือ มี ความซื่อตรงและไม่หลอกตัวเองสามารถประเมินค่าตัวเองได้ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลนั้นทำงานได้ตรงความสามารถของตัวเองจริง ๆ ส่วนการรักษาความจริงใจต่อผู้อื่น คือ มีความซื่อสัตย์ บริสุทธิ์ใจ ไม่โกหกหลอกลวงผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลนั้นประสบความสำเร็จในภารกิจต่าง ๆ ตลอดจนได้รับความเชื่อถือ ความร่วมมือ และความไว้วางใจจากผู้อื่น
78. รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา แสดงค่านิยมของคนไทยในเรื่องใด
1. รักอิสระ
2. ชอบสนุก
3. รู้บาปบุญคุณโทษ
4. เชื่อถือเรื่องผลของการกระทำ
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สุภาษิต “รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา” ความหมายว่า ใฝ่ ดีจะมีความสุขเจริญใฝ่ชั่วจะได้รับความลำบาก หรือทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว จึงเป็นการเตือนใจให้ประพฤติปฏิบัติดีและสะท้อนค่านิยมของคนไทยในด้านความ เชื่อถือเรื่องผลของการกระทำ (กรรม)
79. ลักษณะครอบครัวของชาวตะวันตกที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการเลี้ยงบุตร ได้แก่ข้อใด
1. สอนให้เคารพผู้ใหญ่
2. สอนให้เชื่อฟังผู้อาวุโส
3. ให้รู้จักคิดและพึ่งตนเอง
4. ให้ยึดถือแนวความคิดของคนเอง
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ลักษณะครอบครัวของชาวตะวันตกที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการเลี้ยงดูบุตรได้แก่ การอบรม ให้รู้จักคิดและพึ่งตนเอง ซึ่งต่างจากครอบครัวไทยที่เลี้ยงดูแบบตามใจลูกมักจะเป็นศูนย์กลางของครอบ ครัวที่ได้รับการดูแลเอาอดเอาใจจึงทำให้เด็กขาดระเบียบวินัยพึ่งพาตนเองไม่ ได้ เอาแต่ใจตัวเอง
80. เมื่อนักศึกษาพบอาจารย์ครั้งแรกในแตะละวันควรทำอย่างไร
1. หลีกทางให้
2. ยิ้มทักทาย
3. กล่าวคำสวัสดี
4. ยกมือไหว้
ตอบ 4 (คำบรรยาย) การ ยกมือไหว้เป็นการแสดงความเคารพตามระเบียบประเพณีและวัฒนธรรมของคนไทยที่ได้ ยึดถือประพฤติปฏิบัติตลอดมาเป็นลำดับ จนเป็นแบบแผนหรือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ
81. สุชาติปฏิบัติตามนโยบายเมาไม่ขับ แสดงว่าสุชาติกำลังประคองหนทางดับทุกข์ในข้อใด
1. สัมมาวายามะ
2. สัมมาอาชีวะ
3. สัมมากัมมันตะ
4.สัมมาสติ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ
82. ข้อใดเป็นมารยาทในการใช้ลิฟต์
1. รีบเข้าทันทีที่ลิฟต์เปิด
2. กดปุ่มทุกครั้งที่จะใช้ลิฟต์
3. ให้คนที่อยู่ในลิฟต์ออกก่อน
4. เข้าลิฟต์แล้วยืนตรงประตู
ตอบ 3 (คำบรรยาย) มารยาทในการใช้ลิฟต์ หากคนรอลิฟต์ไม่มากก็สามารถยืนได้ตามสบายแต่หากมีคนรอลิฟต์มากก็ควรเข้าแถวตามลำดับก่อน – หลัง และ แยกเป็นสองแถวสองข้างประตูเมื่อลิฟต์เปิดควรให้คนที่อยู่ในลิฟต์ออกก่อน และโดยปกติชายต้องให้หญิงเข้าและออกจากลิฟต์ก่อน ยกเว้นคนแน่นและไม่สะดวก
83. อาชีพใดสามารถนำวัตถุไปผลิตเชื้อเพลิง เอทานอล
1. ทำสวนมะพร้าว
2. ปลูกไร้อ้อย
3. ทำสวนยางพารา
4.ปลูกถั่วเหลือง
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) เอทานอล (Ethanol) เป็น แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการนำเอาพืชมาหมักเพื่อเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล จากนั้นจึงเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ โดยใช้เอนไซม์หรือกรดบางชนิดช่วยย่อยเพื่อทำให้เป็นแอลอฮอล์บริสุทธิ์ 95% โดย การกลั่น แล้งจึงนำไปผสมกับน้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล์ ส่วนใหญ่เอทานอลจะผลิตจากพืชสองประเภท คือ พืชประเภทน้ำตาล เช่น อ้อย บีทรูต กากน้ำตาล ข้าวฟ่างหวาน เป็นต้น และพืชจำพวกแป้ง เช่น มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น (ดูคำอธิบายข้อ 1 ประกอบ)
84. ข้อใดเป็นการรักษาสมดุลธรรมชาติได้ดีที่สุด
1. กำหนดพื้นที่ป่าสงวน
2. การกลั่นน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืด
3. การปลูกพืชหมุนเวียน
4. การสร้างสวนสัตว์เปิด
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ดุลแห่งธรรมชาติ (Balance of Nature) หมายถึง การ รักษาสภาวะแวดล้อมในระบบนิเวศให้อยู่ในสภาพสมดุล เป็นภาวะแห่งความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมของกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีผลทำให้ จำนวนหรือปริมาณของกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ มีอยู่ในธรรมชาติอย่างเหมาะสมสามารถควบคุมการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหารที่ ไหลเวียนอยู่ในสภาพที่สมดุลได้ทั้งหมดหรือเรียกว่าเป็นสภาวการณ์ที่ระบบ นิเวศมีความสมดุลภายในตัวเอง เช่น การกำหนดเขตป่าสงวนและสัตว์ป่าสงวน เป็นต้น
85. คนที่ชอบวงสรวงกราบไหว้ที่ของที่แปลกประหลาดผิดไปจากธรรมชาติ จัดว่าเป็นผู้มีพฤติกรรมเช่นไร
1. มีสติสัมปชัญญะดี
2. มีปัญญาและไหวพริบ
3. มีศรัทธา แต่ขาดปัญญา
4. มีปัญญา แต่ขาดศรัทธา
ตอบ 3 หน้า 668, (คำบรรยาย) ชาว พุทธชั้นนำที่มีอุบาสกธรรม จะต้องมีศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญาจึงจะทำให้ปฏิบัติได้ถูกต้อง มีเหตุผล พอเหมาะพอดี ไม่งดงาย มั่นในพระรัตนตรัย ไม่หวั่นไหว ไม่แกว่งไกว ถือเป็นธรรมเป็นใหญ่และสูงสุด
86. ข้อใดเป็นคุณธรรมสำคัญของผู้ประกอบอาชีพค้าขาย
1. ขยัน
2. ประหยัด
3. ซื่อสัตย์
4.กตัญญู
ตอบ 3 (คำบรรยาย) คุณธรรมสำคัญของผู้ประกอบอาชีพค้าขาย ได้แก่ ความซื่อสัตย์ (สัจจะ) ทั้งนี้เพราะเป้าหมายของผู้ยึดอาชีพค้าขายก็คือ กำไร ซึ่ง ได้จากการขายสินค้าในราคาที่สูงกว่าต้นทุนที่ซื้อมา ดังนั้นผู้ค้าขายจึงควรมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ขายสินค้าเกินราคาไม่เอาเปรียบลูกค้าจนเกินไป รวมทั้งไม่นำสินค้าที่ไม่ดีหรือไม่ได้มาตรฐานมาหลอดขาย ฯลฯ
87. “เราเป็นครูกันคนละอย่าง” มุ่งเน้นความสำคัญที่สุดตามข้อใด
1. มีความรู้ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน
2. เรารู้บางเรื่องในเรื่องที่คนอื่นไม่รู้
3. เขารู้หลานเรื่องในเรื่องที่เราไม่รู้
4. รู้จักให้เกียรติคนอื่น
ตอบ 4 หน้า 49 – 52 (H) “ครูคนละอย่าง” หรือ “เราเป็นครูกันคนละอย่าง” หมายถึง คน เรามีความรู้ไม่เท่ากัน เราจึงไม่ได้รู้อะไรไปทุกเรื่อง หรือวันนี้อาจรู้ทุกเรื่อง แต่วันพรุ่งนี้ก็เริ่มจะไม่รู้เพราะโลกเรามีความรู้ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน เราจึงรู้บางเรื่องในเรื่องที่คนอื่นไม่รู้ ในขณะที่คนอื่นก็รู้เรื่องที่เราไม่รู้เช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การรู้จักให้เกียรติคนอื่น ไม่ยกตนข่มท่านเพราะการเป็นครูกันคนละอย่าง โดยต่างคนต้องสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ แนวความคิดและประสบการณ์จากกันและกันได้
88. ประเทศต้องการบุคคลตามข้อใดเป็นสำคัญ
1. ผู้นำ
2. ผู้ขับเคลื่อน
3. ผู้รู้แจ้งในสังคม
4. ผู้มีสำนึกรับผิดชอบบ้านเมือง
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ผู้มีคุณธรรม หมายถึง บุคคลที่มีความเป็นอยู่อย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์และหลักการ ซึ่งการแสดงถึงคุณสมบัติของผู้มีคุณธรรม ได้แก่ การมีวินัย มีความรับผิดชอบมีความสุจริตเที่ยงธรรม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม รู้รักสามัคคี และสิ่งสำคัญมากที่สุดที่ประเทศต้องการคือ การมีสำนึกรับผิดชอบต่อบ้านเมือง
89. บัณฑิตพึงปฏิบัติตามข้อใดเป็นสำคัญ
1. การแต่งกายสุภาพเหมาะสม
2. การพูดจาสุภาพเหมาะสม
3. การมีชีวิตความเป็นอยู่เหมาะสม
4.การดำรงตนสมฐานะสมศักดิ์ศรี
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ภาระหน้าที่ที่สำคัญของบัณฑิต คือ การดำรงตนให้สมฐานะสมศักดิ์ศรีซึ่งประกอบด้วย 1. เป็นผู้มีความรู้ และไม่หยุดที่จะแสวงหาความรู้ 2. มีการแต่งกาย การพูดจา และมีชีวิตความเป็นอยู่เหมาะสม 3. เป็นผู้มีประโยชน์
90. “เพื่อส่วนรวม” หมายความตามข้อใด
1. สำนึกรับผิดชอบต่อตนเอง
2. ไม่สร้างความเดือนร้อน
3. มุ่งสร้างความสุขความเจริญ
4.ช่วยพัฒนาชาติบ้านเมือง
ตอบ 4 (คำบรรยาย) “เพื่อส่วนรวม” หมายถึง การ ทำประโยชน์เพื่อคนส่วนใหญ่ มิใช่เพื่อตนเองหรือเพื่อคนส่วนน้อย โดยมองเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว จนกระทั่งสามารถที่จะสละเวลา ความสุขส่วนตัว หรือแม้กระทั่งชีวิตของตนเอง เพื่อช่วยพัฒนาสังคมและชาติบ้านเมือง ตลอดจนโลกที่เราอาศัยอยู่ได้
91. ข้อใดสอดคล้องกับการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยรมคำแหง
1. ได้โอกาสทางการศึกษา
2. ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อน
3. ได้รับความเมตตาข้อแนะนำจากอาจารย์
4.ได้กำลังใจจากกัลยาณมิตร
ตอบ 1 (คำบรรยาย) ปรัชญาในการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีดังนี้
1. ส่ง เสริมความเสมอภาคทางการศึกษาที่เท่าเทียมกัน เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่ประสงค์จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้เข้ารับการ ศึกษาต่ออย่างทั่วถึง
2. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม และมีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
92. ครูแก้วสะเพร่าตัดสินลงโทษนักเรียนโดยมิได้ไต่สวนความผิดให้รอบคอบ การกระทำของครูแก้วจัดอยู่ในข้อใด
1. ลำเอียงเพราะรัก
2. ลำเอียงเพราะโกรธ
3. ลำเอียงเพราะเขลา
4.ลำเอียงเพราะกลัว
ตอบ 3 หน้า 661 (คำบรรยาย) กระบวนการตัดสินใจเชิงพระพุทธประกอบด้วยการปราศจากอคติ 4 อย่างคือ 1. ฉันทาคติ คือ การลำเอียงเพราะรักใคร่ ชอบพอ 2. โทสาคติ คือ การลำเอียงเพราะเกลียด ชัง โกธร 3. โมหาคติ คือ การลำเอียงเพราะเขลา เบาปัญญา หลงผิด ไม่ไต่สวน ค้นหาความจริงให้รอบคอบ 4. ภยาคติ คือ การลำเอียงเพราะขลาดเกรงกลัว เกรงใจ
93. การกระทำในข้อใดเป็นความรับผิดชอบของนักศึกษาในฐานะเป็นเพื่อนร่วมสถาบัน
1. เลี้ยงดู ถนอมน้ำใจกัน
2. ตั้งใจเล่าเรียน
3. ช่วยแนะนำตักเตือนกัน
4.ไม่ทำลายทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย
ตอบ 3 หน้า 260 เพื่อนที่ดี คือ เพื่อน ที่มีความรับผิดชอบต่อเพื่อน ซึ่งจะช่วยแนะนำตักเตือนและให้อภัยเมื่อเพื่อนทำผิด ช่วยเหลือเพื่อนอย่างเหมาะสม ไม่ทะเลาะ ไม่เปรียบและเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
94. ข้อใดเป็นสาเหตุของการคอร์รัปชั่น
1. โลภะ
2. โทสะ
3. โมหะ
4.จาคะ
ตอบ 1 (คำบรรยาย) ปัจจัยที่นำไปสู่ความเป็นคนดี คือ ความลดละกิเลส ซึ่งเป็นเครื่องที่ทำจิตใจให้เศร้าหมอง มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้ 1. โลภะ (ความโลภ) คือ ความอยากได้อยากมีไม่รู้จักพอ 2. โทสะ (ความโกรธ) คือ ความขุ่นเคืองใจ หรือไม่พอใจอย่างรุนแรง 3. โมหะ (ความหลง) คือ ความหมกมุ่น ความโง่ งมงาย มัวเมาในอบายมุข
95. “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์” ตรงกับหลักธรรมข้อใด
1. ขันติ
2. จาคะ
3. สัจจะ
4. ทมะ
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ฆราวาสธรรม 4 ประกอบด้วยหลักคุณธรรมดังนี้
1. สัจจะ คือ ความซื่อสัตย์ จริงใจ ตรงไปตรงมาทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อวิชาชีพ
2. ธรรมะ คือ การฝึกฝนตนเองในเรื่องต่าง ๆ 3. ขันติ คือ ความอดทนอดกลั้น
4. จาคะ คือ การเสียสละแบ่งปัน
96. สิ่งที่แสดงความเจริญงอกงามทางด้านจิตใจ วัตถุ ศีลธรรม และความเจริญของประเทศ เรียกว่าอะไร
1. อารยธรรม
2. วัฒนธรรม
3. ประเพณี
4. ขนบธรรมเนียม
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ
97. ใครเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการปกครองที่ดี
1. ขาวออกระเบียบโดยไม่ผ่านมิติที่ประชุม
2. แดงไม่เห็นความสำคัญของผู้อาวุโส
3. เขียวพบปะหารือกับเพื่อน ๆ อย่างสม่ำเสมอ
4.ดำยกเลิกข้อตกลงโดยไม่ฟังเสียงคัดค้าน
ตอบ 3 (คำบรรยาย) อปริหานิยธรรม เป็นหลักธรรมที่ใช้ในการปกครองมี 7 ประการ คือ 1. หมั่นประชุมพบปะหารือกันอย่างสม่ำเสมอ 2. พร้อมเพรียงกันประชุม เลิกประชุมและทำกิจกรรมร่วมกัน 3. ไม่บัญญัติหรือล้มเลิกข้อบัญญัติต่าง ๆ 4. ให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่ 5. ไม่ข่มเหงสตรี 6. เคารพบูชาสักการระเจดีย์ 7. ให้การอารักขาพระภิกษุสงฆ์และผู้ทรงศีล
98. การตัดสินในของใครมีเหตุผลเหมาะสม
1. ดำไม่รับส้มเข้าทำงานเพราะมีนามสกุลเดียวกับศัตรู
2. แดงเชื่อคำทำนายของหมอดูว่าจะโชคดี
3. เขียวไม่ใส่ชุดขาวดำไปงานวันเกิดญาติผู้ใหญ่
4. ขาวเห็นเพื่อนผู้ชายสนิทสนมกันก็คิดว่าพวกเขาเป็นเกย์
ตอบ 3 หน้า 621 การตัดสินใจดังกล่าวมีเหตุผลเหมาะสม เพราะการแต่งตัวจะต้องแต่งให้เหมาะกับงานที่จะไป ไม่ปล่อยให้มีอะไรที่น่ารังเกียจ เช่น เปรอะเปื้อนสกปรกโสมม หรือผิดระเบียบแบบแผนวัฒนธรรมประเพณี โดย ต้องแต่งตัวให้เรียบร้อยตามโอกาสนั้น ๆ ได้แก่ ในงานศพควรใส่ชุดขาวดำไปเพื่อเป็นการไว้ทุกข์ให้แก่ผู้เสียชีวิต แต่ไม่ควรใส่ไปในงานมงคลเด็ดขากเพราะถือว่าไม่สุภาพและเป็นการไม่ให้เกียรติ แก่เจ้าของงาน
99. เมื่อลูกมีความสุข พ่อแม่จะพลอยดีใจด้วย แต่เมื่อลูกมีความผิดหวัง พ่อแม่ก็เสียใจผิดหวังเหมือนกับลูกแสดงว่าพ่อแม่ขาดธรรมะในข้อใด
1.เมตตา
2. กรุณา
3. มุทิตา
4. อุเบกขา
ตอบ 1 หน้า 351 , 525 , 676 – 677 พรหมวิหาร 4 เป็น ธรรมประจำใจสำหรับผู้มีจิตใจประเสริฐหรือผู้ใหญ่ที่ต้องปกครองคนใต้บังคับ บัญชา เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และส่งเสริมให้เป็นผู้มีจิตใจ มีจิตใจกว้างขวาง ป้องกันใจไม่เป็นสุข ประกอบด้วย
1. เมตตา คือ ความรัก ความปรารถนาดี ต้องการช่วยให้ผู้อื่นประสบแต่ความสุข
2. กรุณา คือ ความสงสารและปรารถนาที่จะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา คือ ความเบิกบานพลอยยินดีที่เห็นผู้อื่นมีความสุข มีจิตใจดี และพร้อมให้การสนับสนุน
4. อุเบกขา คือ ความ มีใจเป็นกลางและมองตามสภาพความเป็นจริง มีจิตเรียบเที่ยงธรรมดุจตาชั่งไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง รู้จักวางเฉย สงบใจมองดูเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำด้วยพิจารณาในทางกรรมว่า ใครทำกรรมดีย่อมได้ผลดีตอบสนอง ใครทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลจากกระทำนั้น
100. คุณธรรมในข้อใดที่ช่วยให้เกิดความสามัคคีขึ้นในชุมชน
1. ความอดทน
2. การมีวินัย
3. ความรอบคอบ
4. การไม่เห็นแก่ตัว
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ
101 คำพูดในข้อใดที่เหมาะจะใช้แก้ไขนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง
1. ทำเดี๋ยวนี้
2. ใจเย็น ๆ อย่ารีบร้อน
3. ไม่เป็นไร
4. อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
ตอบ 1 (คำบรรยาย) คน ที่มีนิสัยชอบผัดวันประกันพรุ่ง คือ คนที่ทำอะไรแล้วมักชอบเลื่อนเวลาออกไปครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่กระตือรือร้นเพราะประมาทในการใช้ชีวิต ซึ่งคำพูดที่เหมาะสมที่สุดที่จะใช้กับคนประเภทนี้ก็คือ ทำเดียวนี้ ทำให้เสร็จภายในวันนี้
102 การให้ทานในข้อใด ถือว่าเป็นการให้ที่สูงสุด
1. ให้สิ่งของเงินทอง
2. ให้วิชาความรู้
3. ให้ธรรมะ
4. ให้อภัย
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ทาน คือ การให้ที่มุ่งประโยชน์แก่ผู้อื่นเป็นหลัก แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1. อามิสทาน คือ การให้วัตถุ สิ่งของ หรือเงินทอง
2. ธรรมทาน คือ การสอนให้ธรรมะเป็นความรู้ ซึ่งถือว่าเป็นการให้ทานที่ได้บุญสูงสุดดังพุทธพจน์ที่ว่า สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ (การให้ธรรมทานชนะการให้ทั้งปวง)
3. อภัยทาน คือ การให้อภัยในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ดีกับเรา ไม่จองเวร ไม่พยาบาท
103 ทรัพยากรที่กลับฟื้นตัวใหม่ได้คือข้อใด
1. ดิน
2. น้ำ
3. ลม
4. น้ำมัน
ตอบ 2 หน้า 462 – 463 (คำบรรยาย) ทรัพยากรธรรมชาติแบ่งตามลักษณะที่นำมาใช้ได้ 2 ประเภท ใหญ่คือ 1. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น เช่น ดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฯลฯ 2. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้นไป แบ่งออกเป็น ประเภทใช้แล้วหมดไปแต่สามารถกลับฟื้นตัวใหม่ได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำเสียจากโรงงาน น้ำในดิน ฯลฯ ประเภทใช้แล้วหมดไปแต่ไม่อาจทำให้มีใหม่ได้ เช่น คุณสมบัติทางธรรมชาติของดิน ฯลฯ ประเภทที่ใช้แล้วหมดไปแต่ยังสามารถนำมายุบให้กลับเป็นวัตถุเช่นเดิม แล้วกลับมาประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น โลหะต่าง ๆ ฯลฯ และประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป นำกลับมาใช้อีกไม่ได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมันก๊าด น้ำมัน ฯลฯ
104. ข้อใดเป็นหลักปฏิบัติเพื่อความสงบเรียนร้อยทางกาย วาจา ที่เกี่ยวกับสังคมและส่วนรวม
1. ศีล
2. สมาธิ
3. ปัญญา
4. อุปาทาน
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ
105. ปัจจุบันการพัฒนาในประเทศที่เจริญประสบปัญหาข้อใดมากที่สุด
1. ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ
2. เพิ่มของเสียสู่โลกมากขึ้นทุกทิศทาง
3. ประชากรเพิ่มขึ้น
4.ความต้องการอันไม่มีสิ้นสุดของมนุษย์
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ปัจจุบัน การพัฒนาในประเทศที่เจริญแล้วมักประสบปัญหาเรื่องความต้องการของมนุษย์ที่ ไม่มีวันสิ้นสุด เต็มไปด้วยความโลภ โกรธ หลง ซึ่งมนุษย์คิดว่าเป็นความต้องการที่แท้จริง จึงแสวงหาสิ่งเหล่านั้นอย่างไร้ขีดจำกัด ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ไม่มีประสิทธิภาพเพราะมุ่งแต่พัฒนาทางด้านวัตถุแต่ไม่พัฒนาด้านจิตใจ
106. ข้อใดไม่เกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์
1. พฤติกรรม
2. จิตใจ
3. สมาธิ
4. ปัญญา
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ
107. ทิฏฐะ หมายถึงอะไร
1. ความคิดเห็น
2. ความไม่ประมาท
3.ความพอใจ
4.ความกระตือรือร้น
ตอบ 1 (คำบรรยาย) ทิฐิ (อ่านว่า ทิดถิ) หมายถึง ความเห็น ความคิดเห็น มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “ทัศนะ” ซึ่งในทางพุทธศาสนาจะนิยมเขียนตามรูปศัพท์เดิมว่า “ทิฏฐะ” โดยมักใช้กับความเห็นของทั้งสองฝ่ายดี เรียกว่า สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) และฝ่ายไม่ดี เรียกว่า มิจฉาทิฐิ (ความเห็นผิด)
108. พระพุทธเจ้าสอนให้อยู่กับปัจจุบัน เพราะสาเหตุอะไร
1. เพื่อให้อยู่กับความจริงที่กำลังเกิดขึ้น
2. ป้องกันความเศร้าหมอง
3. ทำให้ไม่ประมาท
4. เพื่อให้ความรู้สึกดี
ตอบ 1 (คำบรรยาย) พระพุทธเจ้าทรงสอนให้อยู่กับปัจจุบันนี้ ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่อยู่กับอดีตหรืออนาคต ทั้งนี้เพื่อให้อยู่กับความจริงที่กำลังเกิดขึ้น โดยเน้นให้บุคคลรู้จักฝึกสติให้อยู่กับเนื้อกับตัว อย่าไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ อย่าไปคิดเรื่องอดีตเรื่องอนาคต พยายามให้อยู่กับปัจจุบันให้อยู่กับสิ่งที่เรากำลังกระทำอยู่
109. เมื่อพระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องปัจจุบันทรงต้องการเน้นข้อใด
1. สติ
2. ปัญญา
3. ญาณ
4. จิตใจ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 108. ประกอบ
110. ความต้องการความรู้ของบุคคลข้อใดมีประโยชน์มากที่สุด
1. รู้เพื่อรู้
2. รู้เพื่อยังชีพ
3. รู้เพื่ออยู่ในสังคมอย่างสันติสุข
4. รู้เพื่อเป็นฐานความรู้ไม่รู้จบ
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ประโยชน์เกี่ยวกับความต้องการความรู้ของบุคคลมีดังนี้
1.รู้เพื่อที่จะรู้ 2. รู้เพื่อให้สามารถยังชีพได้ 3. รู้เพื่อเป็นฐานความรู้ไม่รู้จบ
4.รู้เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างสันติสุข ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์มากที่สุดในการอยู่ร่วมกันในสังคมปัจจุบัน
111. ทางพ้นทุกข์ของชาวโลกคือการสะสมให้มีมาก ๆ แตกต่างกับทางพ้นทุกข์ของพระพุทธเจ้าอย่างไร
1. เสียสละทุกสิ่ง
2. ควรเป็นนักบวช
3. การไม่มีอะไรให้ยึดติด
4. มีพอดีและพอเพียง
ตอบ 3 (คำ บรรยาย) ทางพ้นทุกข์พระพุทธเจ้า คือ การไม่มีอะไรให้ยึดติด หรือการไม่ยึดมั่นถือมั่นโดยพระองค์ทรงสอนให้ละ ให้ปล่อย ให้วาง สุขก็ไม่ยึด ทุกข์ก็ไม่ยึด ทำใจให้อยู่เหนือสุข – ทุกข์ เหนือดี – ชั่ว เหนือเหตุ – ผล ดังคำสอนให้เรา “อยู่ในโลกแต่ไม่ยึดติดกับโลก ผู้มีปัญญามองเห็นสัจธรรมว่าสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ ย่อมหาทางพ้นทุกข์ได้ตามแนวทางแห่งอริยมรรค”
112. หลักคำสอนของศาสนากล่าวว่า “ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส” นั้น ท่านเข้าใจว่าอย่างไร
1. จะทำดีต้องละชั่วด้วย
2. ทำดีไม่ต้องละชั่ว
3. ทำดีจิตใจเบิกบาน
4. ทำดี ละชั่ว คิดถึงกรรมดีแล้วสบายใจ
ตอบ 4 หน้า 202, (คำบรรยาย) โอวาทปาติโมกข์ เป็น หลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในวันมาฆบูชา ซึ่งถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาที่แสดงถึงหลักและแนวทางที่พุทธศาสนิกชนควร นำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ อันประกอบด้วยสาระสำคัญที่สรุปได้สั้น ๆ ดังนี้ การไม่ทำบาปทั้งปวง (การละเว้นความชั่ว) การยังกุศลให้ถึงพร้อม (การทำแต่ความดี) และ การทำจิตของตนให้ผ่องใส (การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หรือคิดถึงกรรมดีแล้วสบายใจ)
113. การกระทำในข้อใดแสดงว่า ผู้กระทำไม่มีอคติ
1. เด่นให้เกรด 4 แก่นักเรียนที่ได้คะแนนสูง
2. เดชให้ 2 ชั้น แก่พนักงานที่มีหน้าตาสวย
3. ดำรงให้เงินรางวัลแก่แม่ค้าที่ชมว่าเขาไม่แก่
4. ดุลให้เพื่อนลอกข้อสอบเพราะกลัวเพื่อนสอบตก
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 76. และ 92. ประกอบ
114. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงมีพระราชดำรัสอย่างชัดเจนที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงเมื่อใด
1. 4 ธันวาคม 2517
2. 4 ธันวาคม 2540
3. 4 ธันวาคม 2542
4. 4 ธันวาคม 2550
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และทรงมีพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอย่างชัดเจน เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อ เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่น คงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
115. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใดที่นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปเป็นนโยบายของรัฐบาล
1. ฉบับ พ.ศ. 2521
2. ฉบับ พ.ศ. 2534
3. ฉบับ พ.ศ. 2540
4. ฉบับ พ.ศ. 2550
ตอบ 4 (คำบรรยาย) แนว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเริ่มบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) และยังถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ในส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (1) ความว่า บริหาร ราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ
116. นิยามของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ข้อความที่ขีดเส้นใต้ หมายถึงข้อใด
1. ความรู้ ความคิด คุณธรรม
2. ความรู้พอประมาณ มีเหตุผล
3. พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน
4. มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน มีคุณธรรม
ตอบ 3 (คำบรรยาย) แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข หมายถึง ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข โดยคำว่า “3 ห่วง” คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผลและการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ส่วนคำว่า “2 เงื่อนไข” คือ การตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งเงื่อนไขความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) และเงื่อนไข คุณธรรม (ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน)
117. องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้เชิดชูปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่ามีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ
1. 2540
2. 2547
3. 2547
4. 2550
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้ถวายรางวัล “ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” (UNDP – Human Development Lifetime Achievement Award)แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยที่ได้จุดประกายการใช้ปรัชญา “เศรษฐกิจแบบพอเพียง” ซึ่งเป็นปรัชญาที่มีประโยชนไปสู่อาณาอารยประเทศทั่วโลก โดยนายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้เดินทางมาถวายรางวัลเพื่อเชิดชุเกียรติ ซึ่งเป็นรางวัลหนึ่งเดียวในโลกนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ที่ผ่านมา
118. คุณธรรมข้อใดที่จะคอบเหนี่ยวรั้งไม่ให้นักศึกษาติดพนันบอล
1. มีสติ
2. มีวินัย
3. ความอดทน
4. ความเชื่อ
ตอบ 1 (คำบรรยาย) คุณธรรม ชุดปัจจัยเหนี่ยวรั้งไม่ให้บุคคลประพฤติปฏิบัติไปในทางที่ไม่ดีแต่จะคอยส่ง เสริมให้การกระทำเป็นไปในทางที่ดีและรอบคอบ ประกอบด้วย
1. ความมีสติ 2. ความรอบคอบ 3. ความตั้งจิตให้ดี
119. สมบัติของผู้ดีข้อใดที่ไม่สามารถป้องกันไข้หวัด 2009
1. ไม่จามเสียงดังโดยไม่ป้องกำบัง
2. ไม่บ้วนขากเสียงดังหรือเปรอะเปื้อน
3. ไม่เอาช้อน/ส้อมของตนไปตักอาหารที่เป็นของกลาง
4. ไม่จิ้มควักล้วงแกะเการ่างกายในที่ประชุมชน
ตอบ 4 หน้า 621 , (ดูคำอธิบาย 45. ประกอบ) ผู้ดี ย่อมไม่จิ้มควักแกะเการ่างกายในที่ประชุมชนหมายถึง ผู้ดีไม่ควรจิ้มฟันหรือแปลงฟันโต๊ะอาหาร ไม่ควักล้วงแกะเการ่างส่วนใดส่วนหนึ่งหากมีความจำเป็นก็พึงปลีกตัวออกจากที่ ประชุมนั้นก่อนจึงจะทำ
120. ข้อใดไม่ใช่การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
1. ตนเป็นที่พึงแห่งตน
2. ผ่อนสั้นผ่อนยาว
3. เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง
4. กันไว้ดีกว่าแก้
ตอบ 3 (คำบรรยาย) แนว ดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการมุ่งเน้นความพอประมาณที่ต้องไม่สร้างความเดือนร้อนให้แก่ตนเองและผู้ อื่น โดยจะต้องรู้จักฉลาดคิด ฉลาดทำ มีเหตุผลกำกับดังนั้นสำนวนไทยที่สอดคล้องกับแนวคิดได้แก่ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน (ให้รู้จักคิดทำด้วยตนเอง) ผ่อนสั้นผ่อนยาว (รู้จักประนีประนอม อะลุ่มอล่วยกัน) กันไว้ดีกว่าแก้ (ป้องกันเหตุที่เกิดขึ้นล่วงหน้าดีกว่ามาตามแก้ภายหลัง) เป็นต้น (ส่วน “เห็นช้างขี้ตามช้าง” หมายถึง การทำเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกำลังทรัพย์หรือความสามารถพอ)