การสอบไล่ภาค  2  ปีการศึกษา  2553

ข้อสอบกระบวนวิชา  PSY1001 จิตวิทยาทั่วไป

Advertisement

คำสั่ง     ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120  ข้อ)

1.  จิตวิทยา คือ  การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์  ซึ่งได้แก่  วิธีใด

(1)  การสังเกต                                                     

(2) การศึกษาสหสัมพันธ์ 

(3)  การสำรวจ

(4)  การทดลอง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ (5) ถูกทุกข้อ

2.  ปัญหาใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาโดยตรง

(1)  ปัญหาการฆ่าตัวตาย

(2)  ปัญหาการทำแท้ง

(3) ปัญหานักเรียนตีกัน

(4)  ปัญหาเงินเฟ้อ

(5)  ปัญหาโสเภณี

ตอบ (4)  ปัญหาเงินเฟ้อ                   

3.  พฤติกรรมใดที่ต้องอาศัยการศึกษาโดยการสอบถามหรือสร้างเครื่องมือวัด

(1)  การแสดงออก                               (2)  การจำ                                   (3)  การพูด

(4)  การออกกำลังกาย                         (5)  การเรียน

 ตอบ (2)  การจำ                                  

ข้อ 4. – 8.    จงพิจารณาจับคู่ข้อที่ตรงกัน

(1)  กลุ่มโครงสร้างของจิต                (2)  กลุ่มหน้าที่ของจิต                        (3)  กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(4)  กลุ่มเกสตัลท์                              (5)  กลุ่มจิตวิเคราะห์

4.   การเข้าใจบุคคลต้องศึกษาโดยส่วนรวมทั้งหมด   

ตอบ (4)  กลุ่มเกสตัลท์             

5.   ปฏิเสธเรื่องจิต  และเน้นให้ความสำคัญสิ่งเร้าและการตอบสนอง     (3)

ตอบ (3)  กลุ่มพฤติกรรมนิยม

6.  สิ่งที่อยู่ในจิตไร้สำนึกได้แก่  ความปรารถนา   แรงขับทางเพศ  และความก้าวร้าว

ตอบ (5)  กลุ่มจิตวิเคราะห์

7.  ใช้วิธีการศึกษาที่เรียกว่า การมองภายใน”  และวิธีสังเกต – ทดลอง  

ตอบ (1)  กลุ่มโครงสร้างของจิต               

8.  กลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ลล์  ดาร์วิน    

ตอบ (2)  กลุ่มหน้าที่ของจิต                       

9.  เพราะเหตุใด  การศึกษาเรื่องอารมณ์จึงเป็นเรื่องยาก

(1) ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง                (2)  อารมณ์มีความรุนแรง            (3)  อารมณ์ไม่คงที่

(4)  อารมณ์เปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ                        (5)  ถูกทุกข้อ

ตอบ (1) ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง            

10.  อารมณ์ใดที่เป็นอารมณ์ผสมกันระหว่างรัก  โกรธ  และกลัว

(1)  ว้าวุ่น                    (2)  หวาดหวั่น               (3) อิจฉา             (4)  ผิดหวัง                   (5) รังเกียจ

ตอบ (3) อิจฉา            

11.  ระบบประสาทอัตโนมัติที่มีหน้าที่ทำให้ร่างกายผ่อนคลายสงบลงหลังจากเกิดอารมณ์เต็มที่แล้ว  มีชื่อว่าอะไร

 (1)  ลิมบิก         (2) ซิมพาเธติก           (3) พาราซิมพาเธติก        (4) ไฮโปธาลามส         (5) โซมาติก

ตอบ (1)  ลิมบิก        

12.  ฮอร์โมนที่ร่างกายจะหลั่งเมื่อเรามีอารมณ์โกรธ  ได้แก่  ฮอร์โมนอะไร

 (1)  นอร์แมนรีนาลิน        (2) แอดรีนาลิน       (3)  อินซูลิน         (4) ไทร็อกซิน          (5) ไทโมซิน

ตอบ (1)  นอร์แมนรีนาลิน  

13.  ข้อใดเป็นหน้าที่ของอารมณ์ประหลาดใจ

(1)  ร่วมมือ                                 

(2) การปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่

(3) ปฏิเสธ

(4) รักษาความรู้สึกสูญเสีย

(5)  การสำรวจค้นหา

ตอบ (2) การปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่       

14.  ใครที่กล่าวว่าการแสดงออกทางอารมณ์เป็นเครื่องช่วยในการอยู่รอดของชีวิต

(1)  ฟรอยด์                (2)  มาสโลว์            (3) แบบดูร่า           (4) โรเบิร์ต  พลูทซิค            (5) ชาร์ลล์ ดาร์วิน

ตอบ (5) ชาร์ลล์ ดาร์วิน

15.  ใครที่เป็นผู้เสนอทฤษฎีการแสดงออกทางใบหน้าซึ่งเป็นการสะท้อนอารมณ์เป็นธรรมชาติของมนุษย์

 (1)  ทอมกินส์          (2) เอ็กแมน                (3) พลูทซิค             (4)  แชคเตอร์          (5) แพงค์เซป

ตอบ (1)  ทอมกินส์         

16.  อารมณ์ที่ท่านชอบมากที่สุด  ได้แก่ อารมณ์ใด

(1)  รื่นเริง            (2) ยอมรับ               (3) คาดหวัง               (4) ตื่นเต้น                  (5) เศร้า

ตอบ (1)  รื่นเริง           

17.  ข้อใดที่เครื่องมือจับเท็จไม่สามารถวัดได้

(1)  การเต้นของหัวใจ                        (2) ความดันโลหิต                               (3) ไขมันในเส้นเลือด

(4)  GSR                                (5) อัตราการหายใจ

ตอบ (3) ไขมันในเส้นเลือด

18.  ทฤษฎีอารมณ์ของใครที่กล่าวว่า อารมณ์เกิดภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย

 (1)  เจมส์-แลง                        

(2)  แคนนอน – บาร์ด                          

(3)  แชคเตอร์ – ซิงเกอร์

 (4)  โอลล์ – มิลเนอร์                            

(5)  คาร์ล – แลง

ตอบ (1)  เจมส์-แลง                       

19.  ระยะห่างระหว่างบุคคล ที่เรียกว่า ระยะสาธารณะ  มีระยะกี่ฟุต

(1)  4 ฟุต

(2) 6 ฟุต

(3) 8 ฟุต

(4) 10 ฟุต

(5) 12 ฟุต

ตอบ (5) 12 ฟุต

ข้อ 21. – 25.    จงเลือกจับคู่ข้อที่ตรงกัน

 (1) ตำแหน่ง              (2) บทบาท             (3) ปทัสถาน          (4) สถานภาพ        (5) ความขัดแย้งในบทบาท

21.  นักศึกษาที่จะเข้าห้องสอบต้องแต่งกายเรียบร้อยตามระเบียบของมหาวิทยาลัย   

ตอบ (3) ปทัสถาน       

22.  เป็นการประเมินคุณค่าของตำแหน่งที่เราได้รับโดยสังคม     

ตอบ (4) สถานภาพ        

23.  คนเป็นแม่ต้องเลี้ยงดูแลเอาใจใส่ลูกอย่างใกล้ชิด     

ตอบ (1) ตำแหน่ง             

24.  การเป็นเด็กชายหรือเด็กหญิง     

ตอบ (2) บทบาท            

25.  ชมพู่ต้องตัดสินใจว่าจะเรียนปริญญาโทต่อหรือจะแต่งงานดี     

ตอบ (5) ความขัดแย้งในบทบาท

26.  การเปิดเผยตนเอง”  เป็นหลักของการสร้างมนุษยสัมพันธ์ซึ่งมีเงื่อนไขที่สำคัญอย่างไร

(1)  เปิดเผยให้มากที่สุด                     (2) ขึ้นอยู่กับตัวเรา                              (3)  ต้องพอดีๆ

(4)  ต้องดูท่าทีของอีกฝ่ายหนึ่ง         (5)  เปิดเผยให้น้อยที่สุด

 ตอบ (3)  ต้องพอดีๆ

27.  ข้อใดเป็นทัศนคติ

(1)  จิตวิทยาศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์                          (2) จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ลึกซึ้ง

(3)  เรียนจิตวิทยาทำให้เข้าใจตนเองและผู้อื่น              (4)  เรียนจิตวิทยาแล้วสนุกไม่น่าเบื่อ

(5)  ถูกทุกข้อ

ตอบ (4)  เรียนจิตวิทยาแล้วสนุกไม่น่าเบื่อ

28.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้ถืออคติสูง

 (1)  ยึดมั่นถือมั่น              (2) มองโลกแง่ดี         (3) อัตนิยม         (4) คล้อยตาม       (5) อนุรักษนิยม

ตอบ (2) มองโลกแง่ดี        

29.  ข้อใดเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้

(1)  การว่ายน้ำของปลา                       (2) การกะพริบตา                                (3) การชักใยของแมงมุง  

(4)  การวิ่งไปรับโทรศัพท์            (5)  การกระตุกของตา

ตอบ (4)  การวิ่งไปรับโทรศัพท์           

30.  ข้อใดเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการทำให้เกิดการเรียนรู้

(1)  การกระทำซ้ำ                                (2) การเสริมแรง                             (3)  ความพร้อม

(4)  การลงโทษ                                    (5) การสร้างสถานการณ์

ตอบ (2) การเสริมแรง                 

31.  ท่านใดเป็นผู้สร้างทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ

 (1)  Skinner          (2)  Maslow           (3) Piaget              (4) Thorndike         (5) Pavlov

ตอบ (1)  Skinner         

ข้อ 32. – 35.    จงจับคู่กับข้อความที่มีความสัมพันธ์กันในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

 (1) ผงเนื้อ                  (2) หนู                    (3) สุนัข                 (4) การหลั่งของน้ำลาย              (5) กระดิ่ง

32.  สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (US)      

ตอบ (1) ผงเนื้อ                 

33.   ส่งเร้าที่วางเงื่อนไข  (CS)    

ตอบ (5) กระดิ่ง

34.  การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข  (UR)    

ตอบ (4) การหลั่งของน้ำลาย              

35.  การตอบสนองที่วางเงื่อนไข  (CR)   

ตอบ (4) การหลั่งของน้ำลาย              

36.  นักศึกษาที่ทำคะแนนสอบได้ 80 เปอร์เซ็นต์  จะได้เกรดG  นับว่าเป็นการเสริมแรงแบบใด

(1)  การเสริมแรงแบบช่วงเวลาที่แน่นอน                      (2)  การเสริมแบบแบบเวลาที่ไม่แน่นอน

(3)  การเสริมแรงและอัตราส่วนที่แน่นอน               (4)  การเสริมแรงแบบอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน

(5)  การเสริมแรงแบบต่อเนื่อง

ตอบ (3)  การเสริมแรงและอัตราส่วนที่แน่นอน               

37.  เงิน”  เป็นสิ่งเสริมแรงประเภทใด

(1)  สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ                    (2) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ                (3) สิ่งเสริมแรงครอบคลุม

(4)  สิ่งเสริมแรงต่อเนื่อง                   (5) สิ่งเสริมแรงครั้งคราว

ตอบ (2) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ               

38.  ปรากฏการณ์ที่เด็กเลิกงอแง  หลังจากที่ทำเป็นเฉยๆ และไม่สนใจต่อการร้องไห้ของเขา เราเรียกว่าพฤติกรรมนั้นว่าอะไร

 (1)  Generalization                       (2) Extinction                      (3) Discrimination   

(4) Acquisition                            (5) Shaping

 ตอบ (2) Extinction                     

39.  ระบบการจูงใจจะเกิดตามลำดับดังนี้

(1)  ความต้องการ  แรงขับ  การตอบสนอง  สิ่งเร้า  เป้าหมาย

(1)  สิ่งเร้า  แรงขับ  การตอบสนอง  ความต้องการ  เปาหมาย

(3)  สิ่งเร้า  ความต้องการ แรงขับ  การตอบสนอง  เป้าหมาย

(4)  แรงขับ   สิ่งเร้า   การตอบสนอง   ความต้องการ   เป้าหมาย

(5)  เป้าหมาย  สิ่งเร้า  แรงขับ   ความต้องการ   การตอบสนอง

ตอบ (3)  สิ่งเร้า  ความต้องการ แรงขับ  การตอบสนอง  เป้าหมาย

40.  ปรากฏการณ์ที่สมบัติเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีเพื่อให้มีความรู้สูงขึ้นถึงแม้จะมีอุปสรรคมากมาย ทั้งนี้เพราะสมบัติต้องการตอบสนองในด้านใดตามทัศนะของมาสโลว์

(1)  ความต้องการด้านร่างกาย                                          (2)  ความต้องการความรัก  ความเป็นเจ้าของ

(3)  ความต้องการความมั่นคง  ปลอดภัย                         (4)  ความต้องการประจักษ์ตน

(5)  ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น

ตอบ (4)  ความต้องการประจักษ์ตน

41.  ข้อใดเป็นแรงจูงใจภายใน

(1)  สมชายทำงานเพื่ออยากได้เงิน                             

(2)  สมศักดิ์ขับแท็กซี่เพื่อเริ่มรายได้กับครอบครัว

(3)  สมหญิงตั้งใจเรียนหนังสือเพื่อความสุขของแม่

(4) สมชัยไปลีลาศเพื่อออกกำลังกาย

(5)  สมถวิลฝึกหัดพิมพ์ดีดเพื่อทำรายงานส่งอาจารย์

ตอบ (4) สมชัยไปลีลาศเพื่อออกกำลังกาย

42.  ความต้องการของมนุษย์ต้องการที่จะป้องกันตนเองนั้น  ตรงกับความต้องการข้อใดตามทัศนะของเมอร์เรย์

 (1)  Need  for  Counteraction     (2) Need for Exhibition        (3) Need for Dominance

 (4)  Need for Defendance         (5) Need for Reference

ตอบ (4)  Need for Defendance        

43.  มนุษย์ทุกคนต้องการหลีกเลี่ยงปมด้อยและความล้มเหลว  ซึ่งตรงกับความต้องการด้านใดตามทัศนะของ เมอร์เรย์

 (1)  Inferiority                     (2) Inviolacy                    (3) Contrasiness               

(4) Nurturance                       (5) Affiliation

ตอบ (1)  Inferiority                    

44.  ข้อใดเป็นการสื่อถึงแรงจูงใจเพื่อการสืบพันธุ์

 (1)  การดูหนัง                                       (2)  การพูด                         (4)  การแสดงออกทางศิลปะ

 (4)  การสนใจเพื่อนเพศตรงข้าม           (5) ถูกทุกข้อ

ตอบ (4)  การสนใจเพื่อนเพศตรงข้าม          

45.  เมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้น  มานัสสามารถแบกตุ่มน้ำออกมาจากประตูแคบๆ ได้ แสดงว่าเกิดแรงขับชนิดใดขึ้น

(1)  แรงขับเพื่อการอยู่รอดของชีวิต          (2) แรงขับเพื่อการศึกษา                (3) แรงขับฉุกเฉิน

(4)  แรงขับเพื่อการสืบพันธุ์                      (5)  ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ (3) แรงขับฉุกเฉิน

46.  พฤติกรรมที่วัยรุ่นมักแต่งตัวตามแฟชั่นของดาราทีวี  แสดงถึงการเรียนรู้แบบใด

(1)  การเลียนแบบ

(2) การวางเงื่อนไข                             

(3)  แบบไม่วางเงื่อนไข

(4)  แบบธรรมชาติ

(5)  ไม่มีข้อใดถูก

 ตอบ (1)  การเลียนแบบ 

47.  ทฤษฎีใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ

(1)  ทฤษฎีแรงขับ                                (2)  ทฤษฎีหลักการมีเหตุผล              (3) ทฤษฎีการศึกษา

(4)  ทฤษฎีสัญชาตญาณ                     (5)  ทฤษฎีความต้องการความสุขส่วนตัว

ตอบ (3) ทฤษฎีการศึกษา

48.  ข้อใดที่ไม่ใช่เป็นแรงขับที่จำแนกตามระบบทางชีววิทยา

(1)  แรงขับทางสังคม                 (2)  แรงขับเพื่อการอยู่รอดของชีวิต        (3) แรงขับฉุกเฉิน

(4)  แรงขับเพื่อการสืบพันธุ์              (5)  แรงขับเพื่อการศึกษา

ตอบ (1)  แรงขับทางสังคม 

50.  ฟรอยด์มีแนวคิดว่าโครงสร้างบุคลิกภาพมนุษย์มีลักษณะในข้อใด

(1)  ระดับจิตสำนึก  และไร้สำนัก      (2) อิด  อีโก้  ซุปเปอร์อีโก้       (3)  เก็บตัว และกล้าแสดงออก

(4)  อัตตา  และอัตมโนทัศน์                (5)  ลักษณะประจำตัวแต่ละคน

ตอบ (2) อิด  อีโก้  ซุปเปอร์อีโก้      

51.  ผู้ที่ไม่เชื่อว่ามนุษย์มีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการการวางเงื่อนไขคือ

(1)  ธอร์นไดด์           (2) สกินเนอร์            (3) แบนดูร่า           (4) วัตสัน               (5) ฟรอยด์

ตอบ (5) ฟรอยด์

52.  ทฤษฎีใดเชื่อว่ามนุษย์มีอิสรภาพที่จะตัดสินใจ + กำหนดชะตาชีวิตตนเองได้  คือ

(1) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์            (2) ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม               (3) ทฤษฎีมนุษยนิยม

(3) ทฤษฎีการสังเกตตัวแบบ             (5) ทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง

ตอบ (3) ทฤษฎีมนุษยนิยม

53.  อัตตา (Self)  ตามความหมายของโรเจอร์ คือ

(1)  ความรู้สึก  ทัศนคติที่มีต่อตนเอง                (2)  ประสบการณ์ทั้งทางบวกและลบรอบตัวเรา

(3)  ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตัวเรา                       (4) ตัวตนในอุดมคติ

(5) การประจักษ์แห่งตน

ตอบ (1)  ความรู้สึก  ทัศนคติที่มีต่อตนเอง 

54.  คาร์ล  จุง  จัดแบ่งบุคลิกภาพเป็นแบบใด

(1) จิตสำนึก           (2) จิตก่อนสำนึก         (3) การเรียนรู้           (4) อัตตา            (5)  การสื่อสาร

ตอบ (1) จิตสำนึก          

55.  การประจักษ์ในตน  (Self Actualization)  เป็นแนวคิดใคร

(1)  มาสโลว์        (2) ฟรอยด์                  (3) สกินเนอร์              (4) โรเจอร์ส                 (5) เซลดอน

ตอบ (1)  มาสโลว์       

56.  ลักษณะที่ใช้ร่วม เช่น คนเหนือสุภาพ  คนใต้รักพวกพ้อง  เรียกว่าอะไร

(1)  ลักษณะศูนย์กลาง                        (2)  ลักษณะแฝง                           (3)  ลักษณะประจำตัวดั้งเดิม

(4)  ลักษณะพื้นผิว                              (5)  ลักษณะสำคัญ

ตอบ (5)  ลักษณะสำคัญ

57.  ฟรอยด์  แบ่งพัฒนาการทางเพศออกเป็นกี่ขั้น

(1)  3 ขั้น                     (2)  4ขั้น              (3) 5 ขั้น                        (4) 6 ขั้น                  (5) 7 ขั้น

58.  ข้อใดไม่ใช่การวัดหรือการประเมินบุคลิกภาพ

(1) การสัมภาษณ์                                 (2) การสังเกต                                         (3)  การใช้แบบสอบถาม

(4) การฉายภาพ                                   (5) การให้คำปรึกษา

ตอบ (5) การให้คำปรึกษา

59.  ฟรอยด์เชื่อว่าในวัยแรกเกิดส่วนที่ให้ความพึงพอใจ หรือให้ความสุขของมนุษย์อยู่ที่ปาก  ซึ่งบริเวณต่างๆของร่างกายที่ให้ความสุขนี้เรียกว่าอะไร

(1)  Oral  Stage                        (2) Fixation                            (3) Latency

(4)  Erogenous  Zone               (5)  Phallic

ตอบ (4)  Erogenous  Zone               

60.  เด็กทารกที่อยากดูดนิ้วแต่ถูกห้ามไม่ให้ดูด  เลยทำให้คับข้องใจและมีความรู้สึกติดค้างในใจไปจนโตฟรอยด์เรียกว่า

(1)  Life  Instinct                (2)  Erogenous Zone                    (3) Oral Stage

(4) Imitation                       (5) Fixation

ตอบ (5) Fixation

61. ผู้ที่คิดทฤษฎีสติปัญญาว่ามีตัวประกอบ 2 ปัจจัย คือ

(1) บิเนต์                  (2) ไซมอน               (3) สเปียร์แมน           (4) กิลฟอร์ด             (5) ราเวน

ตอบ (3) สเปียร์แมน

62.  แบบทดสอบใดใช้วัดสติปัญญาสำหรับผู้ใหญ่

 (1)  WAIS           (2)  WISC              (3)  WPPSI            (4) CPM                (5)  TAT

ตอบ (1)  WAIS         

63.  ข้อใดมีค่าสติปัญญาใกล้เคียงกันที่สุด

(1)  ฝาแฝดคล้ายเลี้ยงดูด้วยกัน         (2) แฝดเหมือนเลี้ยงดูแยกกัน       (3)  พ่อแม่  กับลูก

(4)  พี่น้องเลี้ยงดูด้วยกัน                    (5) ไม่ใช่พี่น้องเลี้ยงดูด้วยกัน

ตอบ (2) แฝดเหมือนเลี้ยงดูแยกกัน

64.  คนที่มีความสามารถในการทำงานด้านศิลปะได้ยอดเยี่ยมแสดงว่า

(1)  มีสติปัญญาดี                 (2) มี G-factor  สูง                              (3)  มี  S-factor  สูง

(4)  ส่วนประกอบด้าน  มิติ” สูง                      (5) มีความอ่อนไหวต่อการรับรู้

ตอบ (3)  มี  S-factor  สูง

65.  สมชายสอนวิชาดนตรีแต่ออกข้อสอบมีเนื้อหาเรื่องพละศึกษาข้อสอบนี้ขาดคุณสมบัติข้อใด

(1)  ความเป็นปรนัย                            (2) ความเชื่อถือได้                              (3)  ความเที่ยงตรง

(4)  ความเป็นมาตรฐาน                     (5)  ความลำเอียง

ตอบ (3)  ความเที่ยงตรง

66.  แบบทดสอบที่มีการกำหนดเวลาในการทดสอบแน่นอน มีคำสั่งชัดเจน  มีวิธีให้คะแนนและมีเกณฑ์ของกลุ่มคนปกติให้ แบบทดสอบนี้มีคุณสมบัติในข้อใด

(1)  ความเป็นปรนัย                            (2)  น่าเชื่อถือได้                                  (3)  เที่ยงตรง

(4)  ไม่มีความลำเอียง                          (5)  มีความเป็นมาตรฐาน

ตอบ (5)  มีความเป็นมาตรฐาน

67.  แบบทดสอบใดที่ทดสอบความสามารถในการใช้เหตุผล  ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ G-factor

 (1) Standard PM                              (2) Binet                           (3) WPPSI          

(4) 16 PF                                         (5)  WAIS

68.  Chronological  Age  หรืออายุตามปฏิทิน คืออะไร

(1)  คืออัตราส่วนของไอคิว                               (2)  อายุนับตั้งแต่วันเกิดจนถึงวันทดสอบ

(3)  อายุที่ใช้คำนวณไอคิว                                 (4)  คะแนนจากแบบทดสอบสติปัญญา

(5)  เกณฑ์มาตรฐานในการวัดไอคิว

ตอบ (2)  อายุนับตั้งแต่วันเกิดจนถึงวันทดสอบ

69.  ด.ช.เอ  มีอายุจริง 2 ปี 4  เดือน  แต่มีอายุสมองเท่ากับ 2 ปี 2 เดือน ด.ช. เอ มีไอคิวเท่าไร

(1)  82                       (2) 84                       (3) 86                                (4)  92                     (5) 94

ตอบ (4)  92                    

71.  กลุ่มใดเชื่อว่ามนุษย์มีเสรีภาพเต็มที่ในการกระทำของตน  ไม่สามารถโทษผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมได้

(1)  กลุ่มจิตวิเคราะห์                           (2)  กลุ่มพฤติกรรมนิยม                     (4)  กลุ่มจิตสังคม

(4)  กลุ่มมนุษยนิยม                             (5)  กลุ่มทฤษฎีการอยู่รอด

ตอบ (5)  กลุ่มทฤษฎีการอยู่รอด

72.  คนที่ปรับตัวไม่ได้เป็นเพราะพลังอีโก้อ่อนแอเกินไปทำให้เกิดการขาดสมดุลระหว่างอิดดับซูเปอร์อีโก้ คือความเชื่อของกลุ่มใด

(1)  กลุ่มจิตสังคม                                (2)  กลุ่มพฤติกรรมนิยม                     (3) กลุ่มจิตวิเคราะห์

(4)  กลุ่มมนุษยนิยม                             (5)  กลุ่มทฤษฎีการอยู่รอด

ตอบ (3) กลุ่มจิตวิเคราะห์

73.  ข้อใดจัดว่าเป็นการปรับตัวไม่ดีไม่เหมาะสม

(1)  ปรับในทางที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง                    (2)  ปรับให้อยู่ดีมีความสุขขึ้น

(3)  ปรับตัวในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ                      (4)  ปรับเพื่อตนเองอยู่รอด

(5)  ปรับตัวโดยไม่กั้นอิสรภาพผู้อื่น

74.  ข้อใดคือสาเหตุของความเครียดที่แท้จริง

(1)  ระบบการแข่งขันในสังคม                                        (2)  อาหารที่เป็นตัวกระตุ้นการเต้นของหัวใจ

(3)  ความรู้สึกหดหู่ดูถูกตนเอง                                      (4) มลพิษในอากาศ

(5) รายได้น้อย                    

ตอบ (4) มลพิษในอากาศ                     

75.  บุคลิกภาพแบบ “A”  มีลักษณะอย่างไร

(1) เก็บตัว                (2) ใจเย็น             (3) ไม่เสี่ยง                        (4) เฉื่อยชา                (5) แข่งขันสูง

ตอบ (5) แข่งขันสูง

76.  โรคปวดศีรษะข้างเดียวซึ่งมีสาเหตุจากความเครียด  เราจัดอยู่ในกลุ่มโรคอะไร

(1)  โรคประสาท     (2) ไซโคโซมาติก     (3) สกิซโซฟรีเนีย     (4) โรความดันสูง    (5) ไมเกรน

ตอบ (2) ไซโคโซมาติก    

77.  ผู้ที่ศึกษาสภาวะร่างกายเมื่อเกิดความเครียด  เป็นนักสรีระศาสตร์ชาวแคนนาดาชื่ออะไร

(1)  เซลเย                               (2)  ฟรอยด์                                           (3) ไฟร์แมน

(4)  โรเซ่นแมน                                   (5)  คอลลาร์ด  และมิลเลอร์

ตอบ (1)  เซลเย                              

78.  เมื่อร่างกายต้องเผชิญสิ่งที่ทำให้เครียดเป็นเวลานานๆ จะเกิดภาวะใด

(1)  การหลั่งฮอร์โมนสู่กระแสโลหิต        (2) สร้างระบบเตือนภัย        (3) สร้างกลไกป้องกันตนเอง

(4)  ร่างกายลดประสิทธิภาพ            (5) เกิดระยะเหนื่อยล้าภูมิคุ้มกันลดลง

ตอบ (1)  การหลั่งฮอร์โมนสู่กระแสโลหิต       

79.  สมชายโกรธนายแต่ทำอะไรไม่ได้  เมื่อกลับบ้านสมชายด่าว่าลูกแทน  สมชายใช้กลไกป้องกันตนเองชนิดใด

(1) การเก็บกด                                      (2)  การหาสิ่งทดแทน                   (3) การโยนความคิด

(4) การไม่รับรู้ความจริง                     (5) การชดเชยสิ่งที่ขาด

ตอบ (2)  การหาสิ่งทดแทน                  

80.  หนีเสือปะจระเข้”  คำพังเพยนี้ตรงกับ Conflicts ชนิดใด

(1)  Approach – Approach Conflicts

(2)  Avoidance – Avoidance Conflicts

(3)  Approach – Avoidance Conflicts

(4)  Avoidance – Approach Conflicts

(5)  Double Approach – Avoidance

ตอบ (2)  Avoidance – Avoidance Conflicts

81. ในการพัฒนาบุคลิกภาพข้อใดถูกที่สุด

(1)  ไม่ควรพูดแง่ดีกับตนเองบ่อยๆ เพราะจะไม่สามารถพัฒนาตนได้

(2)  ควรสำรวจตนเอง  และเชื่อตนเอง  อย่าฟังผู้อื่น

(3)  ไม่ควรนำตนเองไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น

(4)  การสำรวจปมด้อยตนเองบ่อยๆ จะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพดี

(5)  ถูกหมดทุกข้อ

ตอบ (4)  การสำรวจปมด้อยตนเองบ่อยๆ จะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพดี

82. ปมเอดิอุส  (Oedipus  Complex)  เกิดในช่วงอายุใด

(1)  ราว 18 เดือน                                 (2)  2 – 3 ปี                                           (3)  3 – 5 ปี

(4)  6 ปี – วัยรุ่น                                   (5)  วัยรุ่นขึ้นไป

ตอบ (3)  3 – 5 ปี

83.  บุคลิกภาพที่จู้จี้  เจ้าระเบียบ  รักษาความสะอาด  จะมีกำเนิดจากพัฒนาการขั้นใด  ตามความเชื่อของฟรอยด์

(1) ขั้นปาก                                            (2)  ขั้นทวารหนัก                          (3) ขั้นอวัยวะเพศ

(4)  ขั้นแอบแฝง                                  (5)  ขั้นมีเพศสัมพันธ์

ตอบ (2)  ขั้นทวารหนัก               

84.  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับสติปัญญาของมนุษย์                   

(1)  ยีนส์ที่ดี                                  (2)  เพศและสีผิว                          (3)  อายุของแม่ขณะตั้งครรภ์

(4)  เพศและฐานะทางเศรษฐกิจ      (5) ยีนส์ที่ดีบวกกับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี

ตอบ (5) ยีนส์ที่ดีบวกกับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี

85.  ลักษณะทางพันธุกรรมที่แอบแฝงไม่ปรากฏให้เห็นในรุ่นลูก  แต่ปรากฏในรุ่นหลาน  เหลน ได้คือ

(1)  โครโมโซม                                       (2)  Genotype                      (3)  Phenotype

(4)  Klinefelter’s  Syndrome         (5)  Turner’s  Syndrome

ตอบ (2)  Genotype                     

86.  พันธุกรรมทางด้านร่างกาย  มีผลต่อ…………………….

(1)  บุคลิกภาพของบุคคล               (2)  อารมณ์ของบุคคล          (3)  การรับรู้เกี่ยวกับตนเองของบุคคล

 (4)  ข้อ 1 และ 3                                   (5)  ข้อ 12 และ 3

87.  Down’s Syndrome  แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพันธุกรรมทางด้าน

(1)  บุคลิกภาพ         (2) อารมณ์         (3) การรับรู้เกี่ยวกับตนเอง      (4) สติปัญญา     (5) ร่างกาย

ตอบ (4) สติปัญญา

88.  บุคคลได้รับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม (Socialization)  ในช่วงใดของชีวิต

(1)  ก่อนเกิด                                         (2)  ขณะเกิด                                         (3)  หลังเกิด

(4)  ขณะเกิดและหลังเกิด                  (5)  ตั้งแต่ 3 เดือนแรกที่อยู่ในครรภ์ของมารดา

ตอบ (3)  หลังเกิด

89.  ข้อใดไม่ถูกต้อง  เมื่อกล่าวถึงอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพัฒนาการของมนุษย์

(1)  ความเครียดที่ยาวนานของมารดามีผลต่อสติปัญญาของทารกในครรภ์

(2)  สิ่งแวดล้อมเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพและสติปัญญา

(3)  ขณะคลอดถ้าทารกขาดออกซิเจนประมาณ 18 วินาที จะมีผลต่อเซลล์สมอง

(4)  เจตคติของพ่อแม่สำคัญที่สุดในบรรดาสิ่งแวดล้อมในครอบครัวทั้งหมด

(5)  สิ่งแวดล้อมมีผลต่อพัฒนาการทางด้านสังคม อารมณ์ และบุคลิกภาพ

ตอบ (2)  สิ่งแวดล้อมเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพและสติปัญญา

90. บุคคลที่ศึกษาเรื่องการเรียนรู้แบบฝังใจ  (Imprinting) คือ

(1)  คอนราด  ลอเรนซ์ (Konrad  Lorenz)                 (2) กีเซลล์ (Gesell)

(3)  เมนเดล  (Mendel)             (4) เซลดอล (Sheldon)             (5) ลอเรนซ์  และกีเซลล์

ตอบ (1)  คอนราด  ลอเรนซ์ (Konrad  Lorenz)       

91.  ข้อความใดถูกต้องที่สุดในเรื่องลักษณะของพัฒนาการของมนุษย์

(1)  พัฒนาการจะเกิดทุกช่วงของชีวิต

(2)  พัฒนาการจะเป็นไปตามแบบฉบับของอินทรีย์แต่ละชนิด

(3)  บุคคลมีขั้นตอนการเหมือนกันแต่มีอัตราการพัฒนาต่างกัน

(4)  บุคคลแต่ละคนมีอัตราการพัฒนาการไม่เท่ากันในแต่ละช่วงของชีวิต

(5)  ทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ (5)  ทุกข้อที่กล่าวมา

92.  ทฤษฎีพัฒนาการของบุคคลใดต่อไปนี้ที่ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนากาความเชื่อถือไว้วางใจในช่วงแรกเกิดถึงหนึ่งปีแรกของชีวิต

(1)  ซิกมันด์  ฟรอยด์  (Sigmund  Freud)                     (2)  อิริค  อิริคสัน  (Erik Erikson)

(3)  ชอง  เพียเจท์  (Jean  Piapet)                                (4)  ซัลลิแวน  (Sullivan)

(5)  กู๊ดอินาฟ  (Goodenough)

ตอบ (2)  อิริค  อิริคสัน  (Erik Erikson)

93.  การศึกษาปฏิกิริยาของลูกลิงที่มีต่อแม่ลงเทียมที่ทำด้วยผ้าขนหนูของแฮรี่  ฮาร์โลว์ (Harry  Harlow) นั้นเพื่อทดสอบในเรื่อง

(1)  ความแตกต่างระหว่างวุฒิภาวะกับการสิ่งแวดล้อม

(2)  การเรียนรู้แบบฝังใจที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยาก

(3)  ความแตกต่างระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม

(4)  ผลของการสัมผัสของแม่ที่ดีต่อพฤติกรรมของลูก

(5)  ความแตกต่างระหว่างวุฒิภาวะกับการเรียนรู้

ตอบ (4)  ผลของการสัมผัสของแม่ที่ดีต่อพฤติกรรมของลูก

94. ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้องในเรื่องของภาวการณ์นอนหลับ

(1)  การนอนที่ดีที่สุด  ไม่ควรต่ำกว่า 8 ชั่วโมงต่อคืน

(2)  คืนสนองของผู้ที่หลับลึกคะเน้นคลื่นชนิดที่เรียกว่า  เดลตา

(3)  บุคคลที่อดนอนมาเป็นเวลาหลายวัน  อาจเป็นโรคจิตได้

(4)  ศูนย์ของการนอนหลับจะอยู่ที่ระบบประสาทซิมพาเธติก

(5)  ทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ (2)  คืนสนองของผู้ที่หลับลึกคะเน้นคลื่นชนิดที่เรียกว่า  เดลตา

95.  EEG  (Electroencephalogram)  คือ

(1)  เครื่องมือวัดความจำ                     (2)  เครื่องมือวัดคลื่นหัวใจ                (5) เครื่องมือวัดคลื่นสมอง

(4)  เครื่องมือจับเท็จ                            (5)  เครื่องมือวัดความลึกในการหลับ

ตอบ (5) เครื่องมือวัดคลื่นสมอง

96.  ทฤษฎีความฝันที่เกี่ยวข้องกับจิตใต้สำนึกเป็นทฤษฎีของ

(1)  คาร์ล จุง                           (2)  ซิกมันด์  ฟรอยด์                (3)  คาร์ล จุง และซิกมันด์ ฟรอยด์

(4)  วิลเลี่ยม ดีเมนท์ และฮอลลัน                     (5)  ซิกมันด์  ฟรอยด์ และแมคคาเลย์

97.  ข้อดีของการฝันในแนวคิดของคาร์ล จุง คือ

(1)  การชดเชยทางจิตใจ                                                    (2)  การกระตุ้นให้เซลล์สมองทำการงาน

(4)  การตอบสนองความต้องการทางเพศ                       (4)  การพัฒนาความสมดุลของบุคลิกภาพ

(5)  ข้อ  1 และ 4

ตอบ (5)  ข้อ  1 และ 4

98.  REM ต่างกับ  N-REM  ตรงที่ว่า

(1)  ความฝันเกิดในช่วง  REM ไม่ใช่  N-REM

(2) ความฝันเกิดในช่วง N-REM ไม่ใช่ REM

(3)  ความฝันเกิดในช่วง N-REM  100%                       

(4) ความฝันเกิดในช่วง N-REM มากกว่า REM

(5)  REM และ N-REM  ไม่มีความแตกต่างกัน

ตอบ (1)  ความฝันเกิดในช่วง  REM ไม่ใช่  N-REM       

99.  ข้อใดถูกต้องในเรื่องของการสะกดจิต

(1)  การสะกดจิตและการนอนหลับเป็นภาวะที่เหมือนกัน

(2)  ไม่ใช่คนทุกคนที่จะสามารถสะกดจิตตนเองได้

(3)  เราสามารถสะกดจิตให้คนอื่นทำพฤติกรรมอะไรก็ได้ตามที่เราปรารถนา

(4)  การสะกดจิตช่วยทำให้ความจำของบุคคลดียิ่งขึ้น

(5)  ความเจ็บป่วยหลายอย่างสามารถบรรเทาลงได้โดยใช้การสะกดจิต

ตอบ (2)  ไม่ใช่คนทุกคนที่จะสามารถสะกดจิตตนเองได้

100.  กลุ่มของยาเสพติดกลุ่มใดบ้างที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้

(1)  กลุ่มกด + กระตุ้นประสาท  เท่านั้น                          (2)  กลุ่มกระตุ้น + หลอนประสาท เท่านั้น

(3)  กลุ่มกด + หลอนประสาท  เท่านั้น                           (4)  กลุ่มกด + กระตุ้นและหลอนประสาท

(5)  กลุ่มกด กระตุ้น  หลอนประสาท  และออกฤทธิ์ผสมผสาน

ตอบ (5)  กลุ่มกด กระตุ้น  หลอนประสาท  และออกฤทธิ์ผสมผสาน

101.  ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน  จัดเป็นยาเสพติดในประเภทใด

(1)  กดประสาท   

(2)  กระตุ้นประสาท                          

(3)  หลอนประสาท

(4)  ออกฤทธิ์ผมผสาน

(4)  ทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ (1)  กดประสาท                              

102.  ข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งที่พบว่า  การฝึกสมาธิทำให้บุคคลมีการผ่อนคลายทางจิตใจ  คือ

(1)  ผู้ที่ฝึกสมาธินานๆ จะมีคลื่นสมองบีตา

(2)  ผู้ที่ฝึกสมาธินานๆ  จะมีคลื่นสมองแอลฟ่า

(3)  ผู้ที่ฝึกสมาธิ  ผิวหนังจะมีความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าต่ำ

(4)  ผู้ที่ฝึกสมาธิ  ผิวหนังจะมีความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าสูง

(5) ข้อ 2 และ 4

ตอบ (5) ข้อ 2 และ 4

103.  ข้อความต่อไปนี้ข้อความใดถูกต้องที่สุดในเรื่องของภาวการณ์รู้ตัวและภาวการณ์ไม่รู้ตัว

(1)  ถ้ามีสิ่งเร้ามากระทบประสาทสัมผัสในระดับสูงจะเกิดความตื่นตัวและเครียดได้

(2)  ในแต่ละช่วงของอายุจะมีแบบแผนในการนอนต่างกันไป

(3)  สารระเหย  เป็นสารเสพติดชนิดกดประสาท

(4)  สมาธิภาวนา  เป็นสภาวะการแน่แน่ของจิต                           (5) ทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ (5) ทุกข้อที่กล่าวมา

104.  วงจรปฏิกิริยาสะท้อน  (Simple  Reflex Action)  เป็นการทำงานในระดับใด

(1)  สมอง             (2) ใยประสาท         (3) ไขสันหลัง        (4) เซลล์ประสาท        (5) ปมประสาท

ตอบ (3) ไขสันหลัง       

105.  ข้อใดไม่ใช่ต่อมไร้ท่อ

(1)  ต่อมหมวกไต        (2) ต่อมใต้สมอง      (3) ต่อมไทรอยด์    (4) ต่อมลูกหมาก      (5) ตับอ่อน

ตอบ (4) ต่อมลูกหมาก

106.  เส้นประสาทสมองหรือเส้นประสาทคราเนียล  (Cranial) มีกี่คู่

(1)  31 คู่                    (2)  24 คู่             (3) 20 คู่                (4) 12 คู่                      (5) 6 คู่

ตอบ (4) 12 คู่                     

107.  ข้อใดต่อไปนี้เป็นระบบประสาทอัตโนมัติ

(1)  ซีรีบรัมซีรีเบลลัม                       (2) ธาลามัสไฮโปธาลามัส               (3) โซมาติกโซมาไตท์

(4)   เมดดูลาซูโดเมดูลา                    (5)  ซิมพาเธติกพาราซิมพาเธติก

ตอบ (5)  ซิมพาเธติกพาราซิมพาเธติก

108.  ข้อใดเป็นลักษณะของแอ๊กซอน  (Axon)

(1)  รับกระแสประสาทเข้าสู่เซลล์                                   (2)  เป็นฉนวนหุ้มเซลล์ประสาท

(3)  เซลล์ประสาทสมอง              (4) นำกระแสประสาทออกจากเซลล์         (5) ประสาทเชื่อมโยง

ตอบ (4) นำกระแสประสาทออกจากเซลล์        

109.  สารสื่อประสาท  คือข้อใด

(1) ชวาน (Schwann)                     (2)  นิวโรทรานสมิตเตอร์  (Neurotransmitter)

(3)  ไมยีลีน (Myelin)                      (4)  ไซโตพลาสซั่ม  (Cytoplasm)

(5)  โบรคา  (Broca)

ตอบ (2)  นิวโรทรานสมิตเตอร์  (Neurotransmitter)

110.  สมองส่วนที่มีขนาดเล็กอยู่ที่ท้ายทอยมีหน้าที่ควบคุมการทรงตัว  คือส่วนใด

(1)  ฟอร์เบรน  (Forebrain)

(2)  ซีรีบรัม  (Cerebrum)

(3) ธาลามัส (Thalamus)

(4)  ซีรีเบลลัม  (Cerebellum)

(5)  เมดดัลลา  (Medulla)

ตอบ (4)  ซีรีเบลลัม  (Cerebellum)         

111.  โกร๊ธฮอร์โมน  (Growth  Hormone)  สร้างโดยต่อมไร้ท่อต่อมใด

(1)  ไทรอยด์  (Thyroid Gland)

(2)  ต่อมหมวกไต  (Adrenal  Gland)

(3)  ตับอ่อน  (Pancreas)

(4)  ต่อมใต้สมอง  (Pituitary  Gland)

(5) ต่อมเพศ  (Gonad)

ตอบ (4)  ต่อมใต้สมอง  (Pituitary  Gland)        

112.  ฮอร์โมนใดที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการเผาผลาญอาหารในร่างกาย

(1) เอสโตรเจน  (Estrogen)            (2)  ไทร็อกซิน  (Thyroxin)         (3)  อินซูลิน (Insulin)

(4)  แอนโดรเจน  (Androgen)         (5)  แอดรีนาลิน  (Adrenalin)

ตอบ (2)  ไทร็อกซิน  (Thyroxin)        

113.  ข้อใดไม่ใช่การวัดความจำ

(1)  การเรียนซ้ำ   (Relearning)         (2)  การระลึกได้ (Recall)

(3)  การรู้ใหม่  (Reknow)

(4)  การจำได้  (Recognition)             (5)  การบูรณาการใหม่  (Reintegration)

ตอบ (3)  การรู้ใหม่  (Reknow)

114.  ชื่อใดต่อไปนี้ที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสการเคลื่อนไหวในส่วนต่างๆ ของร่างกาย

(1)  ผิวหนัง                                       (2)  เทรซโฮลด์                                    (3)  คีเนสเตซีส

(4)  เวสติบิวลาในหูชั้นกลาง            (5)  เวสติบิวลาในหูชั้นนอก

ตอบ (3)  คีเนสเตซีส

115.  การรับรู้  ต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญอะไรที่มากกว่าการสัมผัส

(1)  รางวัล                                             (2)  การลงโทษ                                    (3)  ประสบการณ์

(4)  จิตสำนึก                                        (5)  การรู้จักผิดชอบชั่วดี

 ตอบ (3)  ประสบการณ์

116.  การรับรู้ทางสายตาที่ผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง  เรียกว่า

(1)  ภาพลวงตา          (2) ภาพหลอน          (3) ภาพหลงผิด           (4) ภาพสองนัย        (5) ภาพฝังใจ

ตอบ (1)  ภาพลวงตา         

117.  คนสายตาสั้นต้องแก้ไขโดยการใส่แว่นที่ทำด้วยเลนส์แบบใด

(1)  เลนส์นูน                                       (2) เลนส์เว้า                            (3) เลนส์ทรงกระบอก

(4)  เลนส์สามเหลี่ยม                          (5)  เลนส์ปรับระยะ

ตอบ  (2) เลนส์เว้า                

118.  การทดลองเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกของเด็กเล็กๆ  นักจิตวิทยาใช้อุปกรณ์ใดๆ

(1)  ห้องจำลอง         (2) ห้องมายา         (3) ทางสองมิติ         (4) หน้าผามายา     (5) ภาพเงาสะท้อน

ตอบ (4) หน้าผามายา

119.  ความจำระบบแรกสุด  คือระบบ

(1)  ความจำขั้นหนึ่ง                           (2)  ความจำจากการรับสัมผัส          (3)  ความจำระยะสั้น

(4)  ความจำคู่                                        (5)  ความจำปฏิบัติงาน

ตอบ (2)  ความจำจากการรับสัมผัส   

120.  เซลล์สำคัญในการรับภาพที่เป็นสีในจอรับภาพเรตินาคืออะไร

 (1)  รอดส์                   

(2)  แกลงเกลีย              

(3) ไบโพลา           

(4) โคนส์            

(5) โฟโตเซลล์

ตอบ (4) โคนส์            

Advertisement