การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2554
ข้อสอบกระบวนวิชา PSY1001 จิตวิทยาทั่วไป
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
ข้อ 1. – 5. จงจับคู่ข้อความที่สัมพันธ์กันโดยใช้ตัวเลือกต่อไปนี้
(1) วุ้นท์ (Wundt)
(2) ฟรอยด์ (Freud)
(3) เวิร์ธไทเมอร์ (Wertheimer)
(4) วัตสัน (Watson)
(5) มาสโลว์ (Maslow)
1. ผู้ได้รับยกย่องเป็นบิดาของวิชาจิตวิทยา
ตอบ (1) วุ้นท์ (Wundt)
2. ผู้ริเริ่มแนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม
ตอบ (4) วัตสัน (Watson)
3. ผู้ริเริ่มแนวคิดจิตวิเคราะห์
ตอบ (2) ฟรอยด์ (Freud)
4. ผู้ริเริ่มแนวคิดจิตวิทยามนุษยนิยม
ตอบ (5) มาสโลว์ (Maslow)
5. ผู้ริเริ่มแนวคิดจิตวิทยาเกสตัลท์
ตอบ (3) เวิร์ธไทเมอร์ (Wertheimer)
6. วิชาจิตวิทยามีจุดมุ่งหมายของการศึกษาตรงกับข้อใด
(1) เพื่ออธิบายถึงลักษณะพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์โดยทั่วๆ ไป
(2) เพื่อทำความเข้าใจในเหตุผลของการแสดงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์เฉพาะต่างๆ
(3) เพื่อทำนายพฤติกรรมที่จะเกิดตามมาถ้ารู้ว่าว่าสิ่งเร้าที่บุคคลเผชิญอยู่ในปัจจุบันคืออะไร
(4) เพื่อควบคุมหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาให้เป็นพฤติกรรมที่เหมาะสม
(5) ทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ (5) ทุกข้อที่กล่าวมา
7. นักจิตวิทยากลุ่มใดที่ให้ความสนใจศึกษาทางปัญญา ภาษา และการรู้คิด
(1) จิตวิทยาคอกนิทิฟ
(2) โครงสร้างของจิต
(4) พุทธิปัญญา
(4) เกสตัลท์
(5) หน้าที่ของจิต
ตอบ (1) จิตวิทยาคอกนิทิฟ
ข้อ 8. – 10. จงจับคู่ข้อความที่แสดงบทบาทหน้าที่กับนักจิตวิทยาตามตัวเลือกต่อไปนี้
(1) นักจิตวิทยาคลิกนิก (2) นักจิตวิทยาสังคม (3) นักจิตวิทยาพัฒนาการ
(4) นักจิตวิทยาอุตสาหกรรม (5) นักจิตวิทยาการปรึกษา
8. ทำหน้าที่คัดเลือกบุคลากร วิเคราะห์งานและประเมินผลงาน ฝึกอบรม และพัฒนาองค์การ
ตอบ (4) นักจิตวิทยาอุตสาหกรรม
9. ทำหน้าที่ศึกษาวิจัยพฤติกรรมของคนในสังคมทั้งที่เป็นลักษณะทั่วไปและที่เป็นปัญหา
ตอบ (2) นักจิตวิทยาสังคม
10. ทำหน้าที่ศึกษาวิจัยพัฒนาการของคนวัยต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคลในแต่ละช่วงวัย
ตอบ (3) นักจิตวิทยาพัฒนาการ
11. เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เห็นภาพโครงสร้างและรายละเอียดของสมองได้ชัดเจนที่สุด โดยไม่ต้องใช้สารกัมมันตภาพรังสี
(1) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก MRI
(2) การฉีดสี PET
(3) การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT
(4) ตัดเนื้อสมองบางส่วนและจี้ด้วยแสงเลเซอร์
(5) การกระตุ้นเปลือกสมองด้วยกระแสไฟฟ้า
ตอบ (1) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก MRI
12. กลไกที่แสดงปฏิกิริยาตอบสนองที่เรียกว่า Effector หรืออวัยวะสำแดงผลหมายถึง
(1) กลไกรับสิ่งเร้า
(2) กลไกเชื่อมโยงทางระบบประสาท
(3) กล้ามเนื้อและต่อมต่างๆ
(4) เซลล์ประสาท
(5) หู ตา จมูก ลิ้น ผิวหนัง
ตอบ (3) กล้ามเนื้อและต่อมต่างๆ
13. ร่างกายของคนเรามีกล้ามเนื้อชนิดนี้ 7,000 มัด
(1) กล้ามเนื้อเรียบ
(2) กล้ามเนื้อลาย
(3) กล้ามเนื้อหัวใจ
(4) กล้ามเนื้อหน้าอก
(5) กล้ามเนื้อปอด
ตอบ (2) กล้ามเนื้อลาย
14. ระบบประสาทสำคัญอย่างไรต่อพฤติกรรม
(1) ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญต่อร่างกาย
(2) ควบคุมการแสดงพฤติกรรม
(3) ช่วยในการเผาผลาญอาหาร
(4) เป็นศูนย์กลางทำงานของร่างกายและจิตใจ
(5) ช่วยในการขับถ่าย
ตอบ (4) เป็นศูนย์กลางทำงานของร่างกายและจิตใจ
15. ปฏิกิริยาสะท้อนทำงานภายใต้การสั่งงานของอะไร
(1) สมอง
(2) หัวใจ
(3) ธาลามัส
(4) ไฮโปธาลามัส
(5) ไขสันหลัง
ตอบ (5) ไขสันหลัง
16. ถ้าขาดสิ่งนี้ร่างกายจะเคลื่อนไหวไม่ได้แม้สมองจะสั่งงาน
(1) กล้ามเนื้อ (2) เส้นประสาท (3) ฮอร์โมน (4) สิ่งเร้า (5) หู
ตอบ (1) กล้ามเนื้อ
17. ข้อใดคือปฏิกิริยาสะท้อน
(1) แมสเลย์ฝึกเตะฟุตบอลอย่างหนัก (2) ปุ๋ยถูกครูตีทำให้เจ็บ
(3) มุกสะบัดมือเพราะถูกไฟดูด (4) เวลาไอเอามืดปิดปาก (5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (3) มุกสะบัดมือเพราะถูกไฟดูด
18. ระบบประสาทอะไรที่ทำให้ร่างกายคืนสู่สภาวะสงบและพักผ่อนหลังอาการตกใจ
(1) ซิมพาเธติก (2) พาราซิมพาเธติก (3) โซมาติก (4) ลิมปิก (5) อะมิกดาล่า
ตอบ (2) พาราซิมพาเธติก
19. ก้านสมองทำหน้าที่เกี่ยวกับอะไร
(1) การหลั่งฮอร์โมน (2) การยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ (3) การหมุนเวียนของโลหิต
(4) ควบคุมการทำงานนอกเหนืออำนาจจิตใจ (5) ความคิดและความจำ
ตอบ (4) ควบคุมการทำงานนอกเหนืออำนาจจิตใจ
20. หน้าที่สำคัญของฮอร์โมนคืออะไร
(1) ควบคุมระบบพลังงาน (2) ควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย
(3) ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย (4) ควบคุมระบบสืบพันธุ์ (5) ทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ (5) ทุกข้อที่กล่าวมา
21. การรับรู้ต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญอะไรที่มากกว่าการสัมผัส
(1) ความคิด (2) ประสบการณ์ (3) อารมณ์ (4) การเสริมแรง (5) ความประทับใจ
ตอบ (2) ประสบการณ์
22. เซลล์สำคัญในการรับภาพที่เป็นสีในจอรับภาพเรตินาคืออะไร
(1) รอดส์ (2) โฟเวีย (3) โคนส์ (4) บาซิเลาเมมเบรน (5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (3) โคนส์
23. หน่วยวัดความแรงของคลื่นเสียงเรียกว่าอะไร
(1) ความถี่ (2) เฮิรตซ์ (3) กิโลเมตร (4) เทรซโฮลด์ (5) เดซิเบล
ตอบ (5) เดซิเบล
24. สัมผันคีเนสเตซีส อธิบายเรื่องใด
(1) การเคลื่อนไหวของร่างกาย
(2) อาการสัมผัสผิวหนังแบบทุติยภูมิ
(3) การทำงานของผิวหนังชั้นหนังกำพร้า
(4) การทำงานของผิวหนังชั้นหนังแท้
(5) การทำงานของผิวหนังในส่วนของไขมัน
ตอบ (1) การเคลื่อนไหวของร่างกาย
25. ข้อใดไม่ใช่สัมผัสพื้นฐานทางผิวกาย
(1) กด (2) ร้อน (3) เย็น (4) เจ็บปวด (5) อุ่น
ตอบ (2) ร้อน
26. เทรซโฮลด์สมบูรณ์ คือ
(1) จำนวนพลังงานที่มีความถี่ต่ำสุดที่อินทรีย์สามารถรับรู้ได้เป็นครั้งแรก
(2) จำนวนพลังงานที่มีความถี่สูงสุดที่อินทรีย์สามารถรับรู้ได้เป็นครั้งแรก
(3) จำนวนพลังงานที่มีความถี่ระดับที่ปลอดภัยต่อการรับรู้ของอินทรีย์
(4) การเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าที่มีอยู่แล้วในจำนวนน้อยที่สุดที่สามารถรู้สึกได้
(5) การเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าที่มีอยู่แล้วในจำนวนมากที่สุดที่สามารถรับรู้ได้
ตอบ (1) จำนวนพลังงานที่มีความถี่ต่ำสุดที่อินทรีย์สามารถรับรู้ได้เป็นครั้งแรก
27. การทดลองเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกของเด็กเล็กๆ นักจิตวิทยาใช้อุปกรณ์ใด
(1) ห้องมายา (2) ทางสองมิติ (3) ห้องจำลอง (4) ภาพเงาสะท้อน (5) หน้าผามายา
ตอบ (5) หน้าผามายา
28. ข้อใดต่อไปนี้คือการรับรู้ตามหลักของภาพและพื้น
(1) แสงและเงา (2) ภาพสองนัย (3) เพอร์สเปคทีพ (4) ความคล้ายคลึง (5) ภาพลวงตา
ตอบ (2) ภาพสองนัย
29. แนวโน้มที่จะรับรู้วัตถุที่มีความคล้ายคลึงกันเป็นกลุ่มเดียวกัน
(1) Closure (2) Commonfate (3) Similarity
(4) Continuity (5) Proximity
ตอบ (3) Similarity
30. การล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เรียกว่าอะไร
(1) Precognition (2) Telepathy (3) Clairvoyance
(4) Illusion (5) Hallucinations
ตอบ (1) Precognition
31. ข้อใดต่อไปนี้ข้อความใดถูกต้องที่สุดในเรื่องของภาวการณ์รู้ตัวและภาวการณ์ไม่รู้ตัว
(1) ถ้าสิ่งเร้ามากระทบประสาทสัมผัสในระดับสูงจะเกิดความตื่นตัวและเครียดได้
(2) ในแต่ละช่วงอายุจะมีแบบแผนในการนอนต่างกันไป
(3) สารระเหย เป็นสารเสพติดชนิดกดประสาท
(4) สมาธิภาวนา เป็นสภาวะการแน่วแน่ของจิต
(5) ทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ (5) ทุกข้อที่กล่าวมา
32. ข้อความใดถูกต้องที่สุดในเรื่องการนอนหลับ
(1) ระยะที่หลับลึกที่สุดมีคลื่นสมองเรียกว่า แอลฟ่า (Alpha)
(2) ศูนย์ของการนอนหลับจะอยู่ที่ไขสันหลัง
(3) การเคลื่อนไหวของลูกตาเกิดขึ้นในช่วงมีคลื่นสมองเรียกว่า เดลตา (Delta)
(4) การนอนไม่หลับมาเป็นเวลาหลายวันอาจทำให้เป็นโรคจิตได้
(5) ความฝันจะเกิดในช่วงของการนอนหลับที่มี REM
ตอบ (5) ความฝันจะเกิดในช่วงของการนอนหลับที่มี REM
33. จุง (Jung) เสนอแนวคิดที่ขัดแย้งกับแนวคิดของฟรอยด์ (Freud) ในเรื่อง
(1) Activation-Synthesis Hypothesis
(2) สัญลักษณ์ที่สั่งสมมาในระดับจิตใต้สำนึกมาแต่บรรพบุรุษ
(3) การแปลสัญลักษณ์ของความฝันไม่ต้องเกี่ยวกับความต้องการทางเพศ
(4) ตามขั้นพัฒนาการของมนุษย์
(5) ทฤษฎีแรงแม่เหล็กแห่งสัตว์
ตอบ (3) การแปลสัญลักษณ์ของความฝันไม่ต้องเกี่ยวกับความต้องการทางเพศ
34. ยาเสพติดแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
(1) มี 1 กลุ่ม คือ กระตุ้นประสาท และออกฤทธิ์ผสมผสาน
(2) มี 3 กลุ่ม คือ กด กระตุ้น และออกฤทธิ์ผสมผสาน
(3) มี 4 กลุ่ม คือ กด กระตุ้น หลอนประสาท และออกฤทธิ์ผสมผสาน
(4) มี 5 กลุ่ม คือ กด กระตุ้น หลอน บีบคั้นประสาท และออกฤทธิ์ผสมผสาน
(5) มี 5 กลุ่ม คือ กระตุ้น ผลักดัน หลอน ปิดกั้นกระแสประสาท และออกฤทธิ์ผสมผสาน
ตอบ (3) มี 4 กลุ่ม คือ กด กระตุ้น หลอนประสาท และออกฤทธิ์ผสมผสาน
35. ข้อใดถูกต้องที่สุดในเรื่องของการสะกดจิต
(1) บุคคลทุกคนสามารถฝึกในสะกดจิตตนเองได้
(2) ผู้ที่ทำจิตบำบัดเพื่อแก้ไขบุคลิกภาพผิดปกติของผู้ป่วยคือเมสเมอร์
(3) การสะกดจิตเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้ถูกสะกดจิตถูกบังคับเท่านั้น
(4) การสะกดจิตช่วยให้ความจำดีขึ้นกว่าวิธีการอื่นๆ
(5) การสะกดจิตมีประโยชน์รักษาโรคได้อย่าง “ครอบจักรวาล”
ตอบ (1) บุคคลทุกคนสามารถฝึกในสะกดจิตตนเองได้
36. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์
(1) การศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่วัยทารกจนกระทั่งวัยชรา
(2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของมนุษย์มากที่สุด คือ วุฒิภาวะ
(3) พัฒนาการของมนุษย์ที่มีลักษณะที่สังเกตได้ง่าย คือ การเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพ
(4) พัฒนาการของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ความเจริญเติบโต และความเสื่อมถอย
(5) การเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณเป็นความสามารถตามวัยของมนุษย์ เช่น การคลาน การนั่ง การยืนการเดิน การวิ่ง เป็นต้น
ตอบ (4) พัฒนาการของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ความเจริญเติบโต และความเสื่อมถอย
37. ข้อใดเป็นลักษณะที่ได้รับอิทธิพลมาจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
(1) ตี๋ มีรูปร่างอ้วนเตี้ย ใบหน้ากลมใหญ่ เหมือนคนแคระ
(2) โบว์ มีผิวขาวเหมือนมารดา และรูปร่างสูงโปร่งเหมือนบิดา
(3) ตุ้ม มีรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณเหมือนกับตั้ม เพราะเป็นฝาแฝดแท้
(4) มิ้นท์ ชอบทำขนมเค้กในยามว่าง โดยศึกษาวิธีการจากคู่มือการทำขนมเค้ก
(5) ชาย สอบใบขับขี่รถยนต์ไม่ผ่าน เนื่องจากผลการทดสอบพบว่าตนเองมีตาบอดสี
38. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์
(1) มนุษย์แต่ละคนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
(2) มนุษย์ทุกคนมีพัฒนาการเหมือนกัน
(3) การเข้าใจพัฒนามนุษย์ทำให้เข้าใจตนเอง
(4) มนุษย์แต่ละคนมีพัฒนาการในอัตราที่ไม่เท่ากัน
(5) การเข้าใจพัฒนาการมนุษย์ทำให้เข้าใจผู้อื่น
ตอบ (2) มนุษย์ทุกคนมีพัฒนาการเหมือนกัน
39. ข้อใดเป็นลักษณะเด่นที่ปรากฏให้สังเกตเห็นได้จากภายนอก
(1) Dominant
(2) Recessive
(3) Genotype
(4) Genes
(5) Phenotype
ตอบ (5) Phenotype
40. ยีนส์ที่อยู่ในร่างกายคนเรามีประมาณกี่ชนิด
(1) 15,000 ชนิด
(2) 20,000 ชนิด
(3) 30,000 ชนิด
(4) 40,000 ชนิด
(5) 45,000 ชนิด
ตอบ (4) 40,000 ชนิด
41. ข้อใดต่อไปนี้ได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรม
(1) หมวยมีตาชั้นเดียวเหมือนแม่
(2) แนนชอบขัดผิวเป็นประจำจนทำให้ผิวขาวขึ้น
(3) บอยทำสีผมเป็นสีน้ำตาลทองแดง
(4) แมนแต่งตัวเหมือนหนุ่มเกาหลี
(5) แจ๊กมีนิสัยเจ้าชู้เหมือนพ่อ
ตอบ (1) หมวยมีตาชั้นเดียวเหมือนแม่
42. ใครเป็นผู้เสนอว่าการที่บุคคลมีลักษณะรูปร่างแตกต่างกันจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคล
(1) Erikson
(2) Freud
(3) Sheldon
(4) Gesell
(5) Bruner
ตอบ (3) Sheldon
43. ข้อใดไม่เป็นผลกระทบจากการที่แม่ติดเชื้อหัดเยอรมันในขณะตั้งครรภ์
(1) โครงสร้างหัวใจผิดปกติ
(2) ยีนส์เกิดการเปลี่ยนแปลงผิดปกติ
(3) ระบบการหายใจบกพร่อง
(4) ตาพิการและเป็นต้อ
(5) ศีรษะเล็กและปัญญาอ่อน
ตอบ (2) ยีนส์เกิดการเปลี่ยนแปลงผิดปกติ
44. ขั้นการพัฒนาความคิดความเข้าใจตามแนวคิดของ Piaget ขั้นใดเป็นระยะที่เด็กถือตนเองเป็นศูนย์กลาง
(1) Sensorimotor Period
(2) Preoperation Thought Period
(3) Intuitive Phase
(4) Period of Concrete Operation
(5) Period of Formal Operation
ตอบ (2) Preoperation Thought Period
45. จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา ข้อใดต่อไปนี้เป็นอิทธิพลของพันธุกรรมที่มีผลต่อระดับสติปัญญาใกล้เคียงกันมากที่สุด
(1) ลูกกับพ่อแม่จริง
(2) ฝาแฝดคล้ายที่เลี้ยงแยกกัน
(3) ฝาแฝดคล้ายที่เลี้ยงรวมกัน
(4) ฝาแฝดเหมือนที่เลี้ยงแยกกัน
(5) ฝาแฝดเหมือนที่เลี้ยงรวมกัน
ตอบ (5) ฝาแฝดเหมือนที่เลี้ยงรวมกัน
46. ข้อใดเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
(1) การหายใจของมนุษย์ (2) การว่ายน้ำของปลา
(3) การร้องไห้ของเด็กแรกเกิด (4) การตบมือของเด็กเมื่อดีใจ
(5) การชักใยของแมงมุม
ตอบ (4) การตบมือของเด็กเมื่อดีใจ
47. การโฆษณาสินค้าโดยใช้ดาราที่เป็นซูเปอร์สตาร์ขณะนั้นเป็นผู้แนะนำผลิตภัณฑ์ (Presenter) เพื่อโน้มน้าวใจผู้บริโภค อาศัยหลักการเรียนรู้ใด
(1) การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
(2) การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
(3) การเรียนรู้จากความคิดความเข้าใจ
(4) การสรุปความเหมือน
(5) การปรับพฤติกรรม
ตอบ (4) การสรุปความเหมือน
48. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
(1) ธรรมชาติของการตอบสนองอินทรีย์ควบคุมไม่ได้
(2) การเสริมแรงเกิดหลังการตอบสนอง
(3) การตอบสนองของผู้ร่วมทดลองถูกกระตุ้นให้แสดงออก
(4) การวางเงื่อนไขที่ได้ผลดีที่สุดคือ การให้ US หลัง CS ครึ่งวินาที
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ (2) การเสริมแรงเกิดหลังการตอบสนอง
49. พนักงานมีพฤติกรรมขยันและเร่งทำผลงานเมื่อใกล้ถึงเดือนที่มีการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นการเสริมแรงแบบใด
(1) แบบช่วงเวลาที่คงที่
(2) แบบช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
(3) แบบอัตราส่วนคงที่
(4) แบบอัตราส่วนไม่แน่นอน
(5) การเสริมแรงทางลบ
ตอบ (1) แบบช่วงเวลาที่คงที่
50. สมหญิงเดินขึ้นสะพานลอยข้ามถนนทุกครั้ง เพราะกลัวอุบัติเหตุ พฤติกรรมนี้เกิดจากลักษณะใด
(1) การลงโทษ
(2) การปรับพฤติกรรม
(3) การให้รางวัล
(4) การเสริมแรงทางบวก
(5) การเสริมแรงทางลบ
ตอบ (5) การเสริมแรงทางลบ
51. การลองทำแบบทดสอบท้ายบท ทำให้สมหญิงมีความเข้าใจการเรียนวิชานั้นดีขึ้น พฤติกรรมนี้เกิดจากส่งเสริมแรงประเภทใด
(1) ส่งเสริมแรงครอบคลุม
(2) ส่งเสริมแรงปฐมภูมิ
(3) สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ
(4) การป้อนกลับ
(5) การเรียนรู้แฝง
ตอบ (4) การป้อนกลับ
52. การลงโทษจะได้ผลขึ้นอยู่กับปัจจัยใด
(1) สถานที่ที่ถูกลงโทษ
(2) ความถี่ของการลงโทษ
(3) ความคงที่ของการลงโทษ
(4) ความกลัวการลงโทษ
(5) ความไม่พึงพอใจในการถูกลงโทษ
ตอบ (3) ความคงที่ของการลงโทษ
53. การเรียนรู้ประเภทใดที่นำมาในการรักษาอาการทางกายที่เนื่องมาจากอาการทางจิต
(1) การเรียนรู้ทักษะ (2) การป้อนกลับทางชีวะ (3) การเรียนรู้แฝง
(4) การเรียนรู้เพื่อจะเรียน (5) การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
ตอบ (2) การป้อนกลับทางชีวะ
54. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบร่วมกันของการเรียนรู้ที่จะทำให้ได้ผลดีที่สุด
(1) การเสริมแรงทางบวก เพื่อเพิ่มการตอบสอง (2) การเสริมแรงทางลบ เพื่อเพิ่มการตอบสนอง
(2) การไม่เสริมแรง เพื่อระงับการตอบสนอง (4) การลงโทษ เพื่อการเลิกตอบสนอง
(5) การให้ความสนใจต่อพฤติกรรมที่เรียกร้อง
ตอบ (5) การให้ความสนใจต่อพฤติกรรมที่เรียกร้อง
55. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสติปัญญา
(1) พี่น้องฝาแฝดเหมือนเลี้ยงดูแยกจากกันจะมีสติปัญญาไม่สัมพันธ์กัน
(2) ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างสติปัญญาของเด็กและพ่อแม่สูงแสดงให้เห็นว่าพันธุกรรมมีอิทธิพลต่อสติปัญญา
(3) สิ่งแวดล้อมไม่ดีสามารถหยุดชะงักพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กได้
(4) การวัดสติปัญญาริเริ่มมีขึ้นโดย Sir Francis Galton
(5) สติปัญญาได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรมมากกว่าสิ่งแวดล้อม
ตอบ (1) พี่น้องฝาแฝดเหมือนเลี้ยงดูแยกจากกันจะมีสติปัญญาไม่สัมพันธ์กัน
56. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของสติปัญญาตามทฤษฎีตัวประกอบหลายปัจจัยของเทอร์สโตน
(1) ความสามารถใช้คำได้คล่องแคล่ว (2) ความสามารถในการจำ
(3) ความสามารถด้านศิลปะ (4) ความสามารถในการใช้ตัวเลข
(5) ความไวในการรับรู้สิ่งต่างๆ
ตอบ (3) ความสามารถด้านศิลปะ
57. ความจำระบบใดที่สามารถเก็บภาพติดตาและเสียงก้องหูได้
(1) ความจำจากการรับสัมผัส (2) ความจำระยะสั้น (3) ความจำระยะยาว
(4) ความจำคู่ (5) ถูกทุกข้อ
ตอบ (1) ความจำจากการรับสัมผัส
58. ความจำระยะสั้นเก็บข้อมูลได้โดยเฉลี่ยกี่หน่วย
(1) 5 หน่วย (2) 7 หน่วย (3) 9 หน่วย (4) 12 หน่วย (5) 15 หน่วย
ตอบ (2) 7 หน่วย
59. การจำชื่อเพื่อนเก่าได้เนื่องจากเอารูปมาดู เป็นการวัดความจำแบบใด
(1) การระลึกได้ (2) การเรียนซ้ำ (3) การจำได้
(4) การท่องจำ (5) การบูรณาการใหม่
ตอบ (3) การจำได้
60. ข้อใดไม่ใช่หน่วยพื้นฐานของความคิด
(1) จินตภาพ
(2) มโนทัศน์
(3) ภาษา
(4) การจำ
(5) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ
ตอบ (4) การจำ
61. ขั้นของการคิดสร้างสรรค์ที่ผู้คิดจะหยุดคิดปัญหาในระดับจิตสำนึกคือข้อใด
(1) ขั้นนำ
(2) ขั้นเตรียม
(3) ขั้นพัก
(4) ขั้นพบ
(5) ขั้นทดสอบ
ตอบ (3) ขั้นพัก
62. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการลืม
(1) การไม่ได้ลงรหัส
(2) การเสื่อมคลาย
(3) การรบกวน
(4) การมีสิ่งชี้แนะ
(5) การเก็บกด
ตอบ (4) การมีสิ่งชี้แนะ
ข้อ 63. – 65. ให้จับคู่ข้อความกับตัวเลือกต่อไปนี้
(1) การเรียนซ้ำ
(2) การจำได้
(3) การระลึกได้
(4) การบูรณาการ
(5) การระลึกและบูรณาการใหม่
63. การทำข้อสอบแบบเลือกตอบต้องใช้ความจำแบบใด
ตอบ (2) การจำได้
64. การทำข้อสอบแบบอัตนัยต้องการวัดความจำแบบใด
ตอบ (3) การระลึกได้
65. การวัดความจำที่มีคะแนนสะสม
ตอบ (1) การเรียนซ้ำ
66. ปัจจัยที่มีผลต่อการแก้ปัญหาที่มักผิดพลาดบ่อยๆ
ตอบ (2) การจำได้
67. ระบบการจูงใจจะเกิดตามลำดับดังนี้
(1) ความต้องการ แรงขับ การตอบสนอง สิ่งเร้า เป้าหมาย
(2) สิ่งเร้า แรงขับ การตอบสนอง ความต้องการ เป้าหมาย
(3) สิ่งเร้า ความต้องการ แรงขับ การตอบสนอง เป้าหมาย
(4) แรงขับ สิ่งเร้า การตอบสนอง ความต้องการ เป้าหมาย
(5) เป้าหมาย สิ่งเร้า แรงขับ ความต้องการ การตอบสนอง
ตอบ (3) สิ่งเร้า ความต้องการ แรงขับ การตอบสนอง เป้าหมาย
68. ข้อใดเป็นแรงจูงใจภายใน
(1) ณรงค์ขับแท็กซี่เพื่อเริ่มรายได้ให้กับครอบครัว
(2) สงกรานต์ทำงานหนักเพื่ออยากได้เงิน (3) ประไพตั้งใจเรียนหนังสือเพื่อความสุขของแม่
(4) ยศไปลีลาศเพื่อออกกำลังกาย (5) มณีฝึกพิมพ์ดีดเพื่อทำรายงานส่งอาจารย์
ตอบ (4) ยศไปลีลาศเพื่อออกกำลังกาย
69. ความต้องการของมนุษย์ต้องการที่จะปกป้องตนเองนั้น ตรงกับความต้องการข้อใดตามทัศนะของเมอร์เรย์
(1) Need for Counteraction
(2) Need for Exhibition
(3) Need for Dominance
(4) Need for Reference
(5) Need for Deferdance
ตอบ (5) Need for Deferdance
70. ข้อใดเป็นการสื่อถึงแรงจูงใจเพื่อการสืบพันธุ์
(1) การดูหนัง
(2) การพูด
(3) การแสดงออกทางศิลปะ
(4) การสนใจเพื่อนเพศตรงข้าม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ (4) การสนใจเพื่อนเพศตรงข้าม
71. แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์คืออะไร
(1) แรงจูงใจใฝ่ความสงบ
(2) แรงจูงใจทางชีวภาพ
(3) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์
(4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
(5) แรงจูงใจเพื่อพิสูจน์ตนเอง
ตอบ (2) แรงจูงใจทางชีวภาพ
72. ทฤษฎีใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ
(1) ทฤษฎีแรงขับ
(2) ทฤษฎีสัญชาตญาณ
(3) ทฤษฎีการศึกษา
(4) ทฤษฎีหลักการมีเหตุผล
(5) ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการ
ตอบ (3) ทฤษฎีการศึกษา
73. “การค้นพบตนเองและมีความสุขอย่างแท้จริง” เป็นความต้องการขั้นใดตามแนวคิดของมาสโลว์
(1) ขั้นแรก (2) ขั้นที่สอง (3) ขั้นที่สาม (4) ขั้นที่สี่ (5) ขั้นสุดท้าย
ตอบ (5) ขั้นสุดท้าย
74. ถ้ามีการตอบสนองหรือแสดงพฤติกรรมแล้ว แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายของบุคคลนั้นอะไรเกิดขึ้น
(1) ความต้องการจะหมดสิ้นไป (2) ความต้องการจะลดลง (3) จบกระบวนการจูงใจ
(4) จะไม่เกิดพฤติกรรมขึ้นอีก (5) จะมีการตอบสนองหรือแสดงพฤติกรรมจนกว่าจะพึงพอใจ
ตอบ (5) จะมีการตอบสนองหรือแสดงพฤติกรรมจนกว่าจะพึงพอใจ
75. พฤติกรรมที่วัยรุ่นมักแต่งตัวตามแฟชั่นของดาราทีวี แสดงถึงการจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้แบบใด
(1) สัญชาตญาณ (2) ความสุขส่วนตัว (3) การเลียนแบบ (4) แรงขับ (5) ลงมือกระทำ
ตอบ (3) การเลียนแบบ
76. มนุษย์ทุกคนต้อองการหลีกเลี่ยงปมด้อยและความล้มเหลว ซึ่งตรงกับความต้องการด้านใดตามทัศนะของเมอร์เรย์
(1) Inferiority (2) Invioloacy (3) Contrasiness
(4) Nurturance (5) Affiliation
ตอบ (1) Inferiority
77. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง
(1) อารมณ์เป็นประสบการณ์ความรู้สึกส่วนบุคคล
(2) อารมณ์เป็นความรู้สึกที่รุนแรง
(3) การแสดงออกทางอารมณ์แตกต่างจากการกระทำปกติทั่วๆ ไป
(4) อารมณ์จะเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ
(5) อารมณ์เป็นพฤติกรรมภายนอกและเกิดจากความคิดเฉพาะอย่าง
ตอบ (5) อารมณ์เป็นพฤติกรรมภายนอกและเกิดจากความคิดเฉพาะอย่าง
78. อารมณ์ใดที่ช่วยทำให้บุคคลเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ และใช้ความพยายามในเชิงสร้างสรรค์
(1) Joy (2) Interest – excitement
(3) Surpise (4) Contempt-scorn
(5) Disgust
ตอบ (2) Interest – excitement
79. ข้อใดไม่ใช่อารมณ์พื้นฐานตามแนวคิดของแพงค์เซปป์
(1) คาดหวัง (2) เดือดดาล (3) หวาดกลัว (4) ละอายใจ (5) ตื่นตระหนก
ตอบ (4) ละอายใจ
80. จาค แบงค์เซปป์ กล่าวว่าอารมณ์พื้นฐานเกิดขึ้นสัมพันธ์กับตำแหน่งในสมองส่วนใด
(1) ซีรีบรัม
(2) ซีรีเบลลัม
(3) ไฮโปธาลามัส
(4) ต่อมใต้สมอง
(5) ก้านสมอง
ตอบ (3) ไฮโปธาลามัส
81. การจำแนกอารมณ์แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
(1) อารมณ์ที่ทำให้เกิดความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจ
(2) อารมณ์ที่ทำให้เกิดความผ่อนคลายและความตึงเครียด
(3) อารมณ์ที่ทำให้เกิดความสบายใจและความทุกข์ใจ
(4) อารมณ์ที่ทำให้เกิดความรื่นเริงและความซึมเศร้า
(5) อารมณ์ที่ทำให้เกิดความเยือกเย็นและความเดือดดาล
ตอบ (1) อารมณ์ที่ทำให้เกิดความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจ
82. ระบบประสาทอัตโนมัติส่วนใดที่เตรียมร่างกายในภาวะฉุกเฉินให้สู้กับหนี
(1) ลิมบิกซีสเต็ม
(2) ระบบโซมาติก
(3) ไขสันหลัง
(4) ซิมพาเธติก
(5) พาราซิมพาเธติก
ตอบ (4) ซิมพาเธติก
83. นักจิตวิทยาท่านใดที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์โกรธและอารมณ์กลัวกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและพฤติกรรม
(1) วิลเลียม เจมส์
(2) คาร์ล แลง
(3) เดวิด ลีคเคน
(4) ฟิลลิป บาร์ด
(5) อัลเบิร์ต แอ็กซ์
ตอบ (5) อัลเบิร์ต แอ็กซ์
84. อารมณ์กลัวจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระในข้อใด
(1) การหายใจช้าลง
(2) ความต้านทานกระแสไฟฟ้าของผิวหนังบริเวณมือจะลดลง
(3) กล้ามเนื้ออ่อนแรง
(4) ก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแอรีนาริน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ (2) ความต้านทานกระแสไฟฟ้าของผิวหนังบริเวณมือจะลดลง
85. ทฤษฎีใดอธิบายว่าร่างกายมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าก่อนการเกิดอารมณ์
(1) แคนนอน – บาร์ด
(2) คาร์รอล – อิชาร์ด
(3) แชคเตอร์ – ซิงเกอร์
(4) เจมส์ – แลง
(5) แนวคิดร่วมสมัย
ตอบ (4) เจมส์ – แลง
86. พลูทชิค กล่าวถึงอารมณ์พื้นฐานใดที่มีหน้าที่ปกป้อง
(1) โกรธ
(2) รังเกียจ
(3) รื่นเริง
(4) เศร้า
(5) กลัว
ตอบ (5) กลัว
87. ข้อใดเป็นเหตุผลของการสร้างแบบทดสอบสติปัญญารายบุคคลขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรก
(1) เพื่อค้นหาเด็กอัจฉริยะ (2) เพื่อพัฒนาสติปัญญาของบุคคล
(3) เพื่อประโยชน์ในการสืบทอดทางพันธุกรรม
(4) เพื่อศึกษาว่าปัจจัยทางพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อสติปัญญามากกว่ากัน
(5) เพื่อแยกเด็กที่มีความผิดปกติของสมองออกจากเด็กปกติจะได้จัดโปรแกรมพิเศษให้เด็กกลุ่มนี้
88. เด็กชายอ๋อมมี I.Q. เท่ากับ 130 นับว่าเขามีระดับสติปัญญาเป็นอย่างไร
(1) ปัญญาทึบ (2) เกณฑ์ปกติ (3) ค่อนข้างฉลาด (4) ฉลาดมาก (5) อัจฉริยะ
ตอบ (4) ฉลาดมาก
89. ตัวประกอบทั่วไปเรียกว่า G-factor ของทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยเน้นความสามารถเกี่ยวกับเรื่องใด
(1) การคำนวณ (2) การใช้เหตุผล (3) ความสามารถด้านศิลปะ
(4) ความสามารถในการจำ (5) ความเข้าใจภาษา
ตอบ (2) การใช้เหตุผล
90. ความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบหมายถึงอะไร
(1) มีแบบแผนในการดำเนินการทดสอบ
(2) ให้ผลเหมือนเดิมไม่มีใครเป็นตรวจให้คะแนน
(3) เป็นแบบทดสอบที่วัดในสิ่งที่ต้องการวัด
(4) มีเกณฑ์ปกติ
(5) เป็นแบบทดอบที่ให้ความคงที่ของคะแนน
ตอบ (5) เป็นแบบทดอบที่ให้ความคงที่ของคะแนน
91. แบบทดสอบสติปัญญาของ Wechsler แบ่งออกเป็น 2 หมวดได้แก่อะไร
(1) ความสามารถเชิงภาษาและความสามารถเชิงคำนวณ
(2) ความสามารถเชิงภาษาและไม่ใช้ถ้อยคำภาษา
(3) ความสามารถเชิงภาษาและแบบประกอบการ
(4) ความสามารถเชิงเหตุผลและความสามารถเฉพาะด้าน
(5) ความสามารถทางศิลปะและความสามารถทางวิทยาศาสตร์
ตอบ (3) ความสามารถเชิงภาษาและแบบประกอบการ
92. แบบทดสอบชนิดใด สร้างขึ้นมาเพื่อวัดความสามารถในการใช้เหตุผล
(1) Progressive Matrices Test
(2) Stanford-Binet Test
(3) WAIS
(4) WPPSI
(5) Drawing Test
ตอบ (1) Progressive Matrices Test
93. ข้อใดไม่ใช่ข้อพึงระวังในการวัดสติปัญญา
(1) สภาพแวดล้อมขณะทำการทดสอบต้องปราศจากสิ่งรบกวน
(2) ผู้ทดสอบต้องมีความชำนาญเกี่ยวกับแบบทดสอบที่ใช้
(3) ผู้ทดสอบต้องให้ความร่วมมือและมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
(4) การสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ทดสอบและผู้รับการทดสอบ
(5) การบันทึกสถานการณ์ขณะทดสอบ
ตอบ (3) ผู้ทดสอบต้องให้ความร่วมมือและมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
94. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ชีวิตล้มเหลวทั้งที่บุคคลนั้นมีสติปัญญาดีตามข้อเสนอของสเตอร์นเบิร์ก
(1) ผัดวันประกันพรุ่ง
(2) พึ่งพาตนเองสูง
(3) ขาดความอุตสาหะ
(3) เชื่อมั่นตนเองมากเกินไป
(5) กลัวความผิดพลาดล้มเหลว
ตอบ (2) พึ่งพาตนเองสูง
95. ข้อใดคือความหมายของบุคลิกภาพ ตามคำจำกัดความของอัลพาร์ท ?
(1) บุคลิกภาพเกิดจากความขัดแย้งกันระหว่างอิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้
(2) โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระของบุคคลที่ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ในการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม
(3) โครงสร้างของอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกบุคคล
(4) การที่เอกัตบุคคลพัฒนาตนไปสู่บุคลิกภาพที่สมบูรณ์
(5) ลักษณะประจำตัวดั้งเดิมของบุคคล (Trait)
ตอบ (2) โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระของบุคคลที่ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ในการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม
96. ผู้ที่มีร่างกายอ้วนกลม (Endomorphy) มีลักษณะใดต่อไปนี้
(1) ขี้อาย
(2) อารมณ์ดี สนุกสนาน
(3) รักกิจกรรมกลางแจ้ง
(4) เฉยๆ รักสันโดษ
(5) สนใจตนอง
ตอบ (2) อารมณ์ดี สนุกสนาน
97. ในการพัฒนาบุคลิกภาพข้อใดถูกที่สุด
(1) ไม่ควรพูดแง่ดีกับตนเองบ่อยๆ เพราะจะไม่สามารถพัฒนาตนได้
(2) ควรสำรวจตนเอง และเชื่อตนเองอย่างฟังผู้อื่น
(3) เปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นเสมอ เพื่อให้เห็นจุดบกพร่อง
(4) หมั่นสำรวจปมด้อยตนเองบ่อยๆ จะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพดีขึ้น
(5) วิเคราะห์อิทธิพลจากทั้งภายนอกและภายในที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพของตน
ตอบ (5) วิเคราะห์อิทธิพลจากทั้งภายนอกและภายในที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพของตน
98. บุคลิกภาพที่จู้จี้ เจ้าระเบียบ รักษาความสะอาด เกิดจากพัฒนาการขั้นใด ตามความเชื่อของฟรอยด์
(1) ขั้นปาก (2) ขั้นทวารหนัก (3) ขั้นอวัยวะเพศ (4) ขั้นแอบแฝง (5) ขั้นเพศสัมพันธ์
ตอบ (2) ขั้นทวารหนัก
99. แบบทดสอบบุคลิกภาพข้อใด เรียกว่าการฉายภาพจิต
(1) T.M.T. (2) 16 PF (3) Rorschach
(4) MMPI (5) M.T.I.
ตอบ (3) Rorschach
100. การลงโทษ หรือการให้รางวัล คือหนึ่งในวิธีการพัฒนาบุคลิกภาพตามแนวคิดของนักทฤษฎีกลุ่มใด
(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(2) กลุ่มของฟรอยด์
(3) กลุ่มนักมนุษยนิยม
(3) กลุ่มปรัชญาและศาสนา
(4) กลุ่มจิตนิยม
ตอบ (1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
101. ระบบจิตสรีระ เช่น อารมณ์ (Temperament) หมายถึงข้อใดต่อไปนี้
(1) คือสิ่งที่เด็กเรียนรู้มากหลังจากเกิด
(2) คือสิ่งที่เรียนรู้ต่อมาในตอนเป็นวัยรุ่น
(3) คือสิ่งที่เรียนรู้ในวัยผู้ใหญ่
(4) ระบบของจิตใจที่พื้นฐานมาจากร่างกาย
(5) เด็กที่ไม่เหมือนพี่น้อง (ทำตัวเองให้มีเอกลักษณ์)
ตอบ (4) ระบบของจิตใจที่พื้นฐานมาจากร่างกาย
ข้อ 102. – 104. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) จุง (2) ดอลลาร์ด-มิลเลอร์ (3) สกินเนอร์ (4) อัลพอร์ท (5) ฟรอยด์
102. ใครที่กล่าวมาบุคลิกภาพของบุคคลแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ เก็บตัว และแสดงออก
ตอบ (1) จุง
103. ใครที่กล่าวว่าบุคลิกภาพของบุคคลเกิดจากการเรียนรู้
ตอบ (2) ดอลลาร์ด-มิลเลอร์
104. ใครที่กล่าวว่าพัฒนาการทางบุคลิกภาพเกิดจากเด็กได้รับความสุขจากอวัยวะร่างกายส่วนต่างๆ หรือที่ เรียกว่า Erogenous Zone
ตอบ (5) ฟรอยด์
105. ข้อใดคือตัวอย่างของกลไกป้องกันทางจิต แบกการถอยหลังเข้าคลอง
(1) โกรธเจ้านาย แต่มาด่าและทุบตีภรรยาของตน
(2) แสวงหาเพื่อนใหม่อยู่เสมอ เนื่องจากไม่มีความจริงใจให้คนอื่น
(3) เมื่อนาย ก. ทะเลาะกับภรรยาและครอบครัวก็ขนของกลับไปอยู่กับแม่
(4) มักจะกล่าวว่า “ไม่จริง เป็นไปไม่ได้ สิ่งเลวร้ายเกิดขึ้นกับตัวฉัน มันเป็นแค่ความฝัน”
(5) มักหาจุดเด่นอื่นมาลบล้างปมด้อยของตน
ตอบ (3) เมื่อนาย ก. ทะเลาะกับภรรยาและครอบครัวก็ขนของกลับไปอยู่กับแม่
106. Burn-Out จะเป็นอาการที่จะเกิดขึ้นในระยะใด เมื่อร่างกายเกิดความเครียด
(1) ปฏิกิริยาตื่นตระหนก (2) ระยะเหนื่อยล้า (3) สร้างระบบต้านทานภัย
(4) ระยะชะงักงัน (5) ช่วงแรกที่ร่างกายประสบภัยพิบัติ
ตอบ (2) ระยะเหนื่อยล้า
107. เซลเย ได้ค้นพบว่าเมื่อบุคคลเกิดความเครียด ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อความเครียดเป็นเช่นใด
(1) สร้างระบบต้านทานภัย – ระยะเหนื่อยล้า – ปฏิกิริยาตื่นตระหนก
(2) ระยะเหนื่อยล้า – ปฏิกิริยาตื่นตระหนก – สร้างระบบต้านทานภัย
(3) สร้างระบบต้านทานภัย – ปฏิกิริยาตื่นตระหนก – ระยะเหนื่อยล้า
(4) ปฏิกิริยาตื่นตระหนก – สร้างระบบต้านทานภัย – ระยะเหนื่อยล้า
(5) ปฏิกิริยาตื่นตระหนก – ระยะเหนื่อยล้า – สร้างระบบต้านทานภัย
108. หนีเสือปะจระเข้ตรงกับข้อใด
(1) Approach – Approach Conflict
(2) Avoidance – Avoidance Conflict
(3) Approach – Avoidance Conflict
(4) Non Approach – Avoidance Conflict
(5) Non Avoidance – Avoidance Conflict
ตอบ (2) Avoidance – Avoidance Conflict
109. ความก้าวร้าวของมนุษย์เกิดจากสิ่งใด
(1) ความไม่ชอบ (2) ถูกลบหลู่ (3) ความคับข้องใจ (4) ถูกเอาเปรียบ (5) เอาตัวรอด
ตอบ (3) ความคับข้องใจ
110. หน้าตาไม่ดี แต่เรียนเก่ง คือกลไกป้องกันทางจิตแบบใด
(1) Compensation
(2) Displacement
(3) Repression
(4) Projection
(5) Denial
ตอบ (1) Compensation
111. ข้อใดต่อไปนี้คือบุคลิกภาพแบบ “B”
(1) รีบร้อนอยู่เสมอ
(2) ชอบการแข่งขัน
(3) นอนน้อย
(4) ทำอะไรค่อยเป็นค่อยไป
(5) ทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
ตอบ (4) ทำอะไรค่อยเป็นค่อยไป
ข้อ 112. – 114. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) เข้าข้างตัวเอง (2) หาสิ่งทดแทน (3) ไม่รับรู้ความจริง
(4) โทษผู้อื่น (5) เก็บกด
112. การลืมเรื่องราวที่เลวร้ายในอดีต
ตอบ (5) เก็บกด
113. ใครๆ ก็แซงคิวกันทั้งนั้นหลาย หากมีโอกาส
ตอบ (1) เข้าข้างตัวเอง
114. โกรธเพื่อน แต่มาแสดงความก้าวร้าวกับน้อง
ตอบ (2) หาสิ่งทดแทน
115. ข้อใดหมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากพฤติกรรมของผู้อื่นที่ครอบคลุมทุกสถานการณ์
(1) เจตคติ (2) อคติ (3) อิทธิพลทางสังคม
(4) กระบวนการช่วยเหลือ (5) อำนาจทางสังคม
ตอบ (3) อิทธิพลทางสังคม
116. บริบททางสังคม หมายถึงอะไร
(1) แบบแผนของพฤติกรรมที่ถูกคาดหวังไว้ (2) กลุ่มทุกกลุ่มที่บุคคลเป็นสมาชิก
(3) ตำแหน่งทุกตำแหน่งของบุคคล (4) อาณาเขตที่มองไม่เห็น
(5) วัฒนธรรมที่หล่อหลอมบุคคล
ตอบ (2) กลุ่มทุกกลุ่มที่บุคคลเป็นสมาชิก
117. การนับถือผู้มีอำนาจตามอย่างบุคคลหรือกลุ่มสืบต่อกันมาเป็นอำนาจทางสังคมชนิดใด
(1) อำนาจในการให้รางวัล (2) อำนาจในการบังคับ (3) อำนาจตามกฎหมาย
(4) อำนาจในการอ้างอิง (5) อำนาจตามความเชี่ยวชาญ
ตอบ (4) อำนาจในการอ้างอิง
118. ข้อใดมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 อย่าง คือ ความเชื่อ อารมณ์ การกระทำ
(1) เจคติ (2) อคติ (3) อิทธิพลทางสังคม
(4) อำนาจทางสังคม (5) กระบวนการช่วยเหลือ
ตอบ (1) เจคติ
119. ใครเป็นผู้ที่กล่าวว่าก่อนที่บุคคลจะลงมือให้ความช่วยเหลือนั้นต้องผ่านกระบวนการ 4 ขั้นตอน
(1) ลาตาเน่และดาร์เลย์ (2) คอนราด ลอเรนซ์ (3) มิลเลอร์และบูเกลสกี้
(4) อรอนสันและลินเดอร์ (5) ฮอลล์
ตอบ (1) ลาตาเน่และดาร์เลย์
120. การจัดที่นั่งประชุมแผนงานสำหรับหน่วยงานเล็กๆ ในระยะประมาณ 4 – 12 ฟุต ตรงกับระยะห่างระหว่างบุคคลข้อใด
(1) ระยะสนิทสนม
(2) ระยะส่วนตัว
(3) ระยะสังคม
(4) ระยะสาธารณะ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ (3) ระยะสังคม