การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา PSY 1001 จิตวิทยาทั่วไป
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1 ข้อใดจัดเป็นพฤติกรรมภายใน
(1) กอดลูกด้วยความเอ็นดู
(2) ส่งข้อความทางไลน์กับคนรัก
(3) คาดหวังให้น้องได้เรียนต่อสูง ๆ
(4) ขับรถอย่างถูกต้องตามวินัยจราจร
(5) อ่านหนังสืออย่างหนักเพื่อเตรียมตัวสอบ
ตอบ 3 หน้า 3, (คําบรรยาย) พฤติกรรมของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1 พฤติกรรมภายนอก เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การกิน การนอน การนั่ง การเดิน การวิ่ง การพูด การอ่าน การเขียน การเล่นกีฬา การดูหนัง การฟังเพลง ฯลฯ
2 พฤติกรรมภายใน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดหรือสังเกตได้โดยตรง ต้องอาศัยวิธีการทางอ้อมโดยการสอบถามหรือสร้างเครื่องมือวัดและการพิสูจน์ทดลองจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่สังเกตได้ เช่น การคิด การจํา การฝัน การคาดหวัง ทัศนคติ เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก ฯลฯ
2 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของจิตวิทยา
(1) บรรยายพฤติกรรม
(2) ล่วงรู้ความคิดของผู้อื่นได้แม้ไม่ต้องพูด
(3) ควบคุมพฤติกรรม
(4) ประยุกต์ใช้ความรู้กับชีวิตประจําวัน
(5) ทําความเข้าใจการเกิดขึ้นของพฤติกรรม
ตอบ 4 หน้า 5 – 7, (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของการศึกษาทางจิตวิทยา มี 4 ประการ ดังนี้
1 หาคําอธิบาย เช่น บรรยายพฤติกรรมว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีอุบัติเหตุฉุกเฉินบนถนน ฯลฯ
2 ทําความเข้าใจ เช่น ให้เหตุผลว่าทําไมหรือเพราะอะไรจึงเกิดพฤติกรรมเช่นนั้นขึ้นมา ฯลฯ
3 ทํานาย (พยากรณ์) เช่น สามารถคาดการณ์หรือล่วงรู้ความคิดของผู้อื่นได้แม้ไม่ต้องพูด ฯลฯ
4 ควบคุมพฤติกรรม เช่น เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นบนถนนแล้วมีคนถ่ายคลิปเก็บไว้ ฯลฯ
3 “องค์ประกอบของจิตสํานึก ประกอบด้วย การรับสัมผัส ความรู้สึก และมโนภาพ” เป็นแนวคิดของ จิตวิทยากลุ่มใด
(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(2) กลุ่มหน้าที่ของจิต
(3) กลุ่มโครงสร้างของจิต
(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์
(5) กลุ่ม จิตวิเคราะห์
ตอบ 3 หน้า 9 กลุ่มโครงสร้างของจิต (Structuralism) สนใจศึกษาองค์ประกอบของจิตสํานึกประกอบด้วย การรับสัมผัส (Sensation) ความรู้สึก (Feeling) และมโนภาพ (Image) ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยศึกษาที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มนี้ ก็คือ วิธีการสังเกต-ทดลอง และการรายงานประสบการณ์ทางจิตด้วยตนเอง หรือเรียกว่า Introspection คือ การมองภายในนั่นเอง
4 “การทํางานของจิตสํานึกที่เน้นการปรับตัว” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด
(1) กลุ่มโครงสร้างของจิต
(2) กลุ่มหน้าที่ของจิต
(3) กลุ่มมนุษยนิยม
(4) กลุ่มจิตวิเคราะห์
(5) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์
ตอบ 2 หน้า 9 – 10 กลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism) สนใจศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการทํางานของจิตสํานึกและการปรับตัวของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องศึกษาให้รู้ว่าการคิด การรับรู้ นิสัย และอารมณ์ ช่วยในการปรับตัวของมนุษย์อย่างไร โดยเห็นว่าจิตของบุคคลจะต้องทําหน้าที่ ปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป
5 “การรับรู้บ้านทั้งหลัง แตกต่างจากการรับรู้วัสดุที่ประกอบเป็นบ้าน เช่น อิฐ หิน ปูน ทราย” เป็นแนวคิด ของจิตวิทยากลุ่มใด
(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(2) กลุ่มหน้าที่ของจิต
(3) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ
(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์
(5) กลุ่มมนุษยนิยม
ตอบ 4 หน้า 11 กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) เกิดจากแนวความคิดของนักจิตวิทยา ชาวเยอรมันคือ เวิร์ธไทเมอร์ (Wertheimer) ซึ่งกล่าวว่า การแยกแยะประสบการณ์ทางจิตออก เป็นส่วน ๆ ตามองค์ประกอบการรับรู้และการสัมผัส หรือการวิเคราะห์พฤติกรรมออกเป็นสิ่งเร้า และการตอบสนองเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องในการศึกษาทางจิตวิทยา โดยพฤติกรรมและประสบการณ์ ทางจิตจะต้องพิจารณาเป็นส่วนรวมแยกออกจากกันไม่ได้ เพราะการแยกออกเป็นส่วนย่อยจะทําให้ได้ความหมายไม่สมบูรณ์ เช่น การรับรู้บ้านทั้งหลัง จะมีความหมายมากกว่าและแตกต่างจากการรับรู้วัสดุที่ประกอบเป็นบ้าน เช่น อิฐ หิน ปูน ทราย ฯลฯ
6 “เน้นจิตใต้สํานึกที่เป็นแหล่งสะสมแรงขับ แรงปรารถนาที่ซ่อนเร้น” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด
(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(2) กลุ่มจิตวิเคราะห์
(3) กลุ่มมนุษยนิยม
(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์
(5) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ
ตอบ 2 หน้า 11 ฟรอยด์ (Freud) นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของบุคคลพัฒนามาจากแรงจูงใจไร้สํานึก และความผิดปกติของบุคลิกภาพเกิดจากการเก็บกตในวัยเด็ก โดยพบว่าจิตมนุษย์เหมือนก้อนน้ำแข็งที่มีเพียงส่วนน้อยที่ลอยอยู่เหนือน้ำ แต่ส่วนที่กว้างใหญ่คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ เป็นส่วนที่อยู่ใต้สํานึก เป็นแหล่งสะสมของความคิด แรงขับ แรงกระตุ้น และความปรารถนาที่ซ่อนเร้น แม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้ แต่ทว่ามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้น
7 “เน้นกระบวนการประมวลผลข้อมูล เช่น ความคิด ภาษา การแก้ปัญหา” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด
(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(2) กลุ่มหน้าที่ของจิต
(3) กลุ่มมนุษยนิยม
(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์
(5) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ
ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) กลุ่มจิตวิทยาคอกนิทีฟ (Cognitive Psychology) สนใจศึกษาเกี่ยวกับความสามารถทางปัญญาโดยเน้นกระบวนการประมวลผลข้อมูล เช่น ความรู้ ความคิด การใช้ ภาษา การแก้ปัญหา จิตสํานึก ความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการภายในจิตอื่น ๆ
8 “ผสมผสานหลายแนวความคิดทางจิตวิทยาเพื่ออธิบายพฤติกรรม” เป็นแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มใด
(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(2) กลุ่มมนุษยนิยม
(3) กลุ่มจิตวิเคราะห์
(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์
(5) กลุ่มจิตวิทยาเอคเคล็กติก (Eclectic Psychology)
ตอบ 5 หน้า 12 ปัจจุบันนี้กลุ่มต่าง ๆ ทางจิตวิทยาได้สลายตัวไป และมีการรวมความคิดเข้าด้วยกันกลายมาเป็นกลุ่มจิตวิทยาเอคเคล็กติก (Eclectic Psychology) คือ ผสมผสานหลายแนวความคิดทางจิตวิทยาเข้าด้วยกันเพื่ออธิบายพฤติกรรมมนุษย์
9 ศูนย์ควบคุมการทํางานของระบบต่อมไร้ท่อ คือสมองส่วนใด
(1) ไฮโปธาลามัส
(2) ธาลามัส
(3) ซีรีบรัม
(4) ก้านสมอง
(5) ไขสันหลัง
ตอบ 1 หน้า 42, 53, (คําบรรยาย) ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดเล็กแต่ทํางานมีอิทธิพลมาก โดยจะทําหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมการทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและ ระบบประสาทอัตโนมัติ ควบคุมการหลับ การยืน ความหิว ความกระหาย ความดันโลหิต การสืบพันธุ์ และอุณหภูมิในร่างกาย ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความสมดุลภายในร่างกาย
ข้อ 10 – 11 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่าเป็นวิธีการศึกษาทางจิตวิทยาประเภทใด
(1) การสังเกต
(2) การสํารวจ
(3) การทดลอง
(4) การทดสอบทางจิตวิทยา
(5) การศึกษาประวัติรายกรณี
10 การศึกษาเชิงเหตุและผล และควบคุมอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อน
ตอบ 3 หน้า 14 การทดลอง (Experimentation) เป็นการศึกษาเชิงเหตุและผล โดยผู้ทดลองเป็นผู้สร้างเหตุการณ์บางอย่างขึ้นมาหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมตามที่ต้องการศึกษาซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรอิสระ” หรือ “ตัวแปรต้น” (เหตุของพฤติกรรม) แล้วคอยสังเกตพฤติกรรมหรือศึกษา ผลของการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรตาม” (ผลของพฤติกรรม) ทั้งนี้ผู้ทดลองจะต้องแน่ใจว่าได้ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนไว้แล้ว
11 ความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับการใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของบุตรหลาน
ตอบ 2 หน้า 14 การสํารวจ (Survey) เป็นวิธีการศึกษาลักษณะบางลักษณะจากกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่มที่ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดที่ต้องการศึกษา โดยการออกแบบสอบถามหรือ โดยการสัมภาษณ์และนําคําตอบหรือความคิดเห็นที่ได้ไปประมวลผลด้วยวิธีการทางสถิติ ซึ่งวิธีการสํารวจนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น การสํารวจประชามติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ฯลฯ
12 การศึกษาถึงการทํางานของสมองและระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมพฤติกรรมการตอบสนอง ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม จัดเป็นการศึกษาเกี่ยวกับข้อใด
(1) จิตวิทยาบุคลิกภาพ
(2) สรีรจิตวิทยา
(3) การรับสัมผัส
(4) การเรียนรู้
(5) การรับรู้
ตอบ 2 หน้า 25, 27 สรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology) เป็นการศึกษาการทํางานของสมองและระบบประสาทที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการควบคุมพฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่มีต่อ สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์ต้องอาศัยการทํางานของระบบต่าง ๆที่สําคัญภายในร่างกาย ได้แก่ ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบกล้ามเนื้อ
13 กลไกของระบบประสาทใดที่ทําหน้าที่แปลการสัมผัสจากอวัยวะรับสัมผัส ทําให้เกิดการรับรู้ที่สมอง และ สั่งการต่อไปยังอวัยวะสําแดงผล
(1) กลไกแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง
(2) กลไกการรับรู้
(3) กลไกการเชื่อมโยงทางระบบประสาท
(4) กลไกการรับสิ่งเร้า
(5) วงจรปฏิกิริยาสะท้อน
ตอบ 3 หน้า 31 กลไกการเชื่อมโยงทางระบบประสาท ได้แก่ เซลล์ประสาท (Nerve Cells) รับข้อมูลสู่สมอง โดยทําหน้าที่แปลการสัมผัสจากอวัยวะรับสัมผัส ทําให้เกิดการรับรู้ที่สมอง และสั่งการต่อไปยังอวัยวะที่สําแดงผล
14 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกล้ามเนื้อเรียบ
(1) ทําปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายใน
(2) ทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ
(3) พบได้ที่กล้ามเนื้อแขน ขา สะโพก
(4) ทํางานภายใต้การสั่งการของระบบประสาทอัตโนมัติ
(5) บังคับให้กล้ามเนื้อชนิดนี้ทํางานตามที่เราต้องการไม่ได้
ตอบ 3 หน้า 32 กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) จะทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจ เพราะทํางานภายใต้การสั่งการหรือถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ ดังนั้นเราจะบังคับให้กล้ามเนื้อเรียบ ทํางานตามที่เราต้องการไม่ได้ และกล้ามเนื้อเรียบจะทําปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายใน (กล้ามเนื้อแขน ขา สะโพก เป็นกล้ามเนื้อลาย)
15 วงจรปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex Action) ภายใต้การสั่งการจากอะไร
(1) ไขสันหลัง
(2) หัวใจ
(3) สมอง
(4) ต่อมมีท่อ
(5) ต่อมไร้ท่อ
ตอบ 1 หน้า 31 วงจรปฏิกิริยาสะท้อน (Simple Reflex Action) เป็นวงจรที่เล็กที่สุดของกลไกการตอบสนอง ซึ่งเป็นการแสดงออกทางร่างกายโดยอัตโนมัติโดยที่สมองไม่ต้องสั่งงาน แต่วงจรของกระแสประสาทจะผ่านเฉพาะไขสันหลังเท่านั้น คือ จะทํางานภายใต้การสั่งการของไขสันหลัง เช่น การกะพริบตาเมื่อถูกลมพัด การถอยเท้าหนีเมื่อเหยียบก้นบุหรี่ การชักมือออกเมื่อโดนแก้วที่ร้อน การดึงมือออกเมื่อถูกประตูหนีบ ฯลฯ
16 ระบบประสาทส่วนกลางทําหน้าที่อะไร
(1) นํากระแสประสาทจากสมองและไขสันหลังไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
(2) เป็นศูนย์บัญชาการและศูนย์ควบคุมการทํางานของร่างกาย
(3) ผลิตฮอร์โมน
(4) ควบคุมสมดุลระบบพลังงานของร่างกาย
(5) ผลิตของเหลวส่งตามท่อไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ตอบ 2 หน้า 34, (คําบรรยาย : ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลังถือเป็นส่วนสําคัญที่สุดของระบบประสาท โดยทําหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการ และศูนย์ควบคุมการทํางานของร่างกาย เป็นศูนย์กลางของความรู้สึกนึกคิด สติปัญญา ความคิดและความรัก ตลอดจนพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์
17 ระบบประสาทส่วนใดทําหน้าที่สั่งการให้ร่างกายตื่นตัว เพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น
(1) ระบบประสาทส่วนกลาง
(2) ระบบประสาทส่วนปลาย
(3) ระบบประสาทซิมพาเธติก
(4) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก
(5) ระบบประสาทนําคําสั่งทั่วไป
ตอบ 3 หน้า 34 ระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic Nervous System) เป็นระบบประสาทที่ทําให้ร่างกายมีการทํางานมากขึ้น เกิดการตื่นตัว มีการเตรียมพร้อมของชีพจร หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ผนังของลําไส้หดตัวน้อยลงม่านตาขยายกว้าง เหงื่อออกมาก และขนลุก ฯลฯซึ่งระบบนี้จะทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น
18 หน่วยที่เล็กที่สุดในระบบประสาท คือข้อใด
(1) เซลล์ประสาท
(2) เส้นประสาท
(3) ใยประสาท
(4) ไขสันหลัง
(5) สมอง
ตอบ 1 หน้า 37 – 38 เซลล์ประสาทหรือนิวโรน (Nerve Cell หรือ Neuron) เป็นหน่วยพื้นฐานการทํางานที่เล็กที่สุดของระบบประสาท และเป็นเซลล์ที่ทําหน้าที่รับส่งกระแสประสาทที่ใช้ควบคุมการทํางานซึ่งกันและกัน ซึ่งในสมองของคนเราจะมีเซลล์ประสาทประมาณ 10 – 12 พันล้านเซลล์ โดยเซลล์ประสาทแต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกันทุกเซลล์ ดังนี้
1 ตัวเซลล์ (Cell Body) ทําหน้าที่เป็นผนังห่อหุ้มเซลล์อีกชั้นหนึ่ง
2 เดนไดรท์ (Dendrite) ทําหน้าที่เกี่ยวกับการนํากระแสประสาทเข้ามาสู่ตัวเซลล์ประสาท
3 แอ็กซอน (Axon) ทําหน้าที่นําคําสั่งหรือนํากระแสประสาทออกจากเซลล์ประสาทไปสู่เดนไดรท์ของเซลล์ประสาทตัวอื่น
19 ในเซลล์ประสาทนิวโรน ข้อใดทําหน้าที่เกี่ยวกับการนํากระแสประสาทเข้ามาสู่ตัวเซลล์
(1) แอ็กซอน
(2) เดนไดรท์
(3) ตัวเซลล์
(4) เซลล์ค้ำจุน
(5) สารสื่อประสาท
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ
20 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ
(1) ผลิตของเหลวเพื่อการหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้น
(2) ทําหน้าที่รักษาสมดุลของร่างกายให้คงที่อยู่เสมอ
(3) ผลิตฮอร์โมนผ่านทางกระแสโลหิตไปสู่อวัยวะเป้าหมาย
(4) ทําหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์และต่อมน้ํานมด้วย
(5) ทําหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายด้วย
ตอบ 1 หน้า 44 – 45 ต่อมไร้ท่อ (Endocrine Gland) เป็นต่อมที่ผลิตฮอร์โมนแล้วส่งโดยอาศัยการดูดซึมผ่านทางกระแสโลหิตไปสู่อวัยวะเป้าหมายต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ แต่ละชนิดจะทํางานไปพร้อม ๆ กันเพื่อรักษาภาวะสมดุลของร่างกายให้คงที่อยู่เสมอ โดยหน้าที่ ที่สําคัญของฮอร์โมน คือ ควบคุมระบบพลังงานของร่างกาย ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ ในร่างกาย ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งควบคุมระบบสืบพันธุ์และต่อมน้ำนม (การผลิตของเหลวเพื่อการหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้นเป็นหน้าที่ของต่อมมีท่อ)
ข้อ 21 – 23 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ความจําระยะสั้น
(2) ความจําระยะยาว
(3) ความจําจากการรับสัมผัส
(4) ความจําขณะปฏิบัติงาน
(5) ความจําคู่
21 เก็บข้อมูลจากความหมายและความสําคัญ
ตอบ 2 หน้า 196 197, 199 ความจําระยะยาว (Long-term Memory) จะทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรซึ่งบรรจุทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับโลกเอาไว้ โดยมีความสามารถไม่จํากัด ในการเก็บข้อมูล จึงไม่มีข้อมูลสูญหายไปจากความจําระยะยาวนี้ และจะเก็บข้อมูลไว้บน พื้นฐานของความหมายและความสําคัญของข้อมูล ซึ่งความจําระยะยาวนี้มี 2 ประเภท คือ
1 การจําความหมาย เป็นการจําความรู้พื้นฐานที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโลก เช่น ชื่อวัน เดือน ชื่อสิ่งของ ภาษา และทักษะการคํานวณง่าย ๆ รวมทั้งข้อเท็จจริงอื่น ๆ ฯลฯ 2 การจําเหตุการณ์ เป็นการจําเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง เป็นการบันทึกเหตุการณ์ในชีวิต เช่น จําวันแรกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัย จําอุบัติเหตุที่ประสบเมื่อปีที่แล้ว ฯลฯ
22 เก็บข้อมูลได้ประมาณ 2 วินาทีหรือน้อยกว่านี้
ตอบ 3 หน้า 196 ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory) คือ ระบบการจําชั้นแรกที่จะเก็บข้อมูสในลักษณะถอดแบบสิ่งที่ได้เห็นหรือสิ่งที่ได้ยินทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ เพื่อถ่ายทอด ข้อมูลต่อไปยังระบบการจําอื่น ๆ เช่น ถ้าได้เห็นข้อมูล ภาพติดตาหรือจินตภาพ (Icon) จะคง อยู่ได้ครึ่งวินาท (2 วินาที) แต่ถ้าเกิดจากการได้ยิน เสียงก้องในหู (Echo) ของสิ่งที่ได้ยินจะคงอยู่ประมาณ 2 วินาที ฯลฯ ทั้งนี้หากไม่มีการส่งต่อข้อมูลสิ่งที่จําไว้จะหายไปอย่างรวดเร็วที่สุด
23 เมื่อจําหมายเลขโทรศัพท์ไว้แล้ว แต่โทรไปสายไม่ว่าง ทําให้ลืมหมายเลข
ตอบ 1 หน้า 196 ความจําระยะสั้น (Short-term Memory) ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด โดยจะเก็บข้อมูลในลักษณะจินตภาพ ทั้งนี้ความจําระยะสั้น จะถูกรบกวนหรือถูกแทรกแซงได้ง่าย เช่น เมื่อจําหมายเลขโทรศัพท์ไว้แล้วเดินไปโทรศัพท์ แต่สายไม่ว่าง พอจะโทรใหม่อีกทีเราก็อาจจะลืมหมายเลขโทรศัพท์ไปแล้ว ฯลฯ
24 การที่เราจดจําวิธีการคํานวณเพื่อซื้อของ-ทอนเงินได้ เป็นเพราะเราจัดเก็บข้อมูลไว้ในส่วนใด
(1) การจําเหตุการณ์ในความจําระยะยาว
(2) การจําความหมายในความจําระยะยาว
(3) ความจําจากการรับสัมผัส
(4) ความจําขณะปฏิบัติงาน
(5) ความจําคู่
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ
25 การที่เราสามารถนึกชื่อดาราคนหนึ่งได้ถูกต้องทันทีโดยไม่ต้องอาศัยสิ่งชี้แนะ ลักษณะนี้จัดว่าตรงกับข้อใด
(1) การจําได้
(2) การระลึกได้
(3) การพิจารณาได้
(4) การเรียนซ้ำ
(5) การบูรณาการใหม่
ตอบ 2 หน้า 201 202, 218 การระลึกได้ (Recall) หมายถึง การถอดแบบข้อมูลหรือข้อเท็จจริงโดยไม่ต้องอาศัยสิ่งชี้แนะหรือสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นให้จําได้ เช่น ข้อสอบอัตนัย การท่องอาขยาน ฯลฯ ซึ่งบุคคลจะจําลําดับตําแหน่งในการจําแบบระลึกได้ในช่วงต้นและท้ายได้ดีที่สุด
26 เมื่อเราเรียนทฤษฎีจิตวิทยามาก่อน แล้วมาเรียนทฤษฎีปรัชญา ปรากฏว่าทําให้เกิดการลืมเนื้อหาของทฤษฎีจิตวิทยาไป ลักษณะเช่นนี้ จัดว่าเป็นการลืมเพราะเหตุใด (1) การเรียนรู้เดิมรบกวนการเรียนรู้ใหม่
(2) การเรียนรู้ใหม่รบกวนการเรียนรู้เดิม
(3) ข้อมูลเสื่อมสลายตามกาลเวลา
(4) การระงับ เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะไม่นึกถึงบางอย่าง
(5) ข้อมูลไม่ได้ถูกบันทึกเพราะไม่ได้เป็นเรื่องราวที่บุคคลเลือกใส่ใจ
ตอบ 2 หน้า 204 การรบกวน (Interfere) เป็นสาเหตุสําคัญของการลืม มี 2 ประเภท คือ
1 Retroactive Inhibition คือ การเรียนรู้ใหม่รบกวนการเรียนรู้เดิม
2 Proactive Inhibition คือ การเรียนรู้เดิมรบกวนการเรียนรู้ใหม่
27 ข้อใดเป็นหน่วยความคิดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแบ่งข้อมูลเป็นประเภท ๆ ที่มีความหมาย
(1) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ
(2) การหยั่งเห็นคําตอบทันที
(3) จินตภาพ
(4) มโนทัศน์
ตอบ 4 หน้า 207 มโนทัศน์ (Concept) เป็นความคิดหรือคําพูดที่ใช้แทนประเภทของสิ่งของหรือเหตุการณ์ และเป็นเครื่องมือสําคัญในการคิดเพราะช่วยทําหน้าที่ในระดับนามธรรม การสร้างมโนทัศน์เป็นกระบวนการแบ่งข้อมูลเป็นประเภท ๆ ที่มีความหมาย เช่น สุนัข รถยนต์ ปากกา ข้าวแกง ข้าวหอมมะลิ ดอกมะลิ ตํารวจ กฎหมาย ประชาธิปไตย ฯลฯ
28 การที่ชาวเอสกิโมมีคําเรียกหิมะเกือบ 30 คํา แต่คนไทยมีคําเรียกหิมะเพียงคําเดียว ลักษณะนี้เกี่ยวข้องกับ หน่วยพื้นฐานของการคิดในข้อใด
(1) ภาพตรงหน้า
(2) ภาษา
(3) การหยังเห็นคําตอบทันที
(4) จินตภาพ
(5) มโนทัศน์
ตอบ 2 หน้า 208 ภาษา (Language) ของแต่ละชาติมีผลต่อระบบการคิดของคนในชาติที่เป็นเจ้าของภาษานั้น ๆ เช่น ในประเทศอาหรับมีคํามากกว่า 6,000 คําที่หมายถึงอูฐ และชาวเอสกิโมมีคําเกือบ 30 คําที่แปลว่าหิมะและน้ำแข็ง ฯลฯ
29 การแก้ปัญหาของนักศึกษาแพทย์เกี่ยวกับการฉายแสงเซลล์มะเร็ง ที่ทําโดยทบทวนความรู้เกี่ยวกับการฉายแสงแล้วเริ่มฉายแสงที่มีความเข้มน้อย ๆ ไปที่ละจุด จนควบคุมการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้ จัดเป็นการแก้ปัญหา แบบใด
(1) แก้ปัญหาโดยทําความเข้าใจ
(2) แก้ปัญหาโดยใช้เครื่องจักร
(3) แก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นคําตอบในทันที
(4) แก้ปัญหาจากการท่องจํา
(5) แก้ปัญหาจากการลองผิดลองถูก
ตอบ 1 หน้า 209 210 การแก้ปัญหาโดยทําความเข้าใจ ซึ่งเป็นการคิดในระดับสูง เช่น ดังเคอร์ (Duncker) ให้นักศึกษาแพทย์แก้ปัญหาเกี่ยวกับการฉายแสงเพื่อทําลายเซลล์มะเร็งที่ทําโดยทบทวนความรู้เกี่ยวกับการฉายแสง แล้วเลือกคําตอบที่ถูกต้องเพียงคําตอบเดียว คือ เริ่มฉายแสง ที่มีความเข้มน้อย ๆ ไปที่ละจุด หรือหมุนร่างของคนป่วยไปเรื่อย ๆ ขณะฉายแสง เพื่อไม่ให้แสงไปทําลายเนื้อเยื่อดีรอบ ๆ เนื้อร้าย จนสามารถควบคุมการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้
30 ตั๊ก สามารถให้ข้อเสนอแนะได้อย่างหลากหลาย จัดว่าเป็นคุณสมบัติใดของความคิดสร้างสรรค์
(1) ความริเริ่ม
(2) ความคล่อง
(3) ความยืดหยุ่น
(4) ความมีตรรกะ
(5) การแสวงหาใคร่รู้
ตอบ 2 หน้า 211 คุณสมบัติของผู้มีความคิดสร้างสรรค์มีหลายประการ เช่น
1 ความคล่อง คือ สามารถให้ข้อเสนอแนะได้อย่างหลากหลาย
2 ความยืดหยุ่น คือ สามารถเปลี่ยนวิธีคิดได้โดยไม่ยึดติดอยู่กับความคิดเดิม ๆ
3 ความคิดริเริ่ม คือ สามารถให้ข้อเสนอแนะที่แปลกใหม่
ข้อ 31 – 35 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
(2) ทฤษฎีโครงสร้างของจิต
(3) ทฤษฎีมนุษยนิยม
(4) ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
(5) ทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง
31 สัญชาตญาณแห่งความตายที่เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและการทําลายล้าง
ตอบ 1 หน้า 287 288 ฟรอยด์ (Freud) นักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis Theory) กล่าวว่า มนุษย์เรามีสัญชาตญาณ 2 ประเภทที่ติดตัวมาแต่กําเนิด คือ
1 สัญชาตญาณแห่งการดํารงชีวิต เป็นสัญชาตญาณการตอบสนองความต้องการทางร่างกาย
2 สัญชาตญาณแห่งความตาย เกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและการทําลายล้าง
32 ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้นจะเกิดขึ้นอีก
ตอบ 4 หน้า 289 291 ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม โดยบุคลิกภาพของมนุษย์เกิดจากผลแห่งการกระทําของเขา เช่น ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดี พฤติกรรมนั้นจะเกิดขึ้นอีก ฯลฯ
33 พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ
34 ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมนําไปสู่การพัฒนาเรื่อง Self Concept
ตอบ 3 หน้า 292 ทฤษฎีมนุษยนิยม (Humantistic Theory) เชื่อว่า ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมจะนําไปสู่การพัฒนาเรื่องอัตมโนทัศน์ (Self Concept) โดยพฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดจากการที่เราพยายามทําพฤติกรรมที่ดํารงรักษาความเชื่อเรื่องอัตมโนทัศน์ของตัวเราเอาไว้
35 การศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคมเดียวกันจะสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกันมีคล้ายคลึงกันได้
ตอบ 5 หน้า 296 อัลพอร์ท (Allport) นักทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง (Type and Trait Theory)เชื่อว่า เราสามารถจัดแบ่งกลุ่มลักษณะอุปนิสัยของคนออกเป็นหมวดหมู่ได้ โดยนําเอาลักษณะ ที่คล้าย ๆ กันจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน และจากการศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคม เดียวกัน เราสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกันมีคล้ายคลึงกันได้ เรียกลักษณะนี้ว่า ลักษณะสามัญ (Common Trait) เช่น คนเหนือสุภาพ คนใต้รักพวกพ้อง คนไทยใจดี ฯลฯ
36 จากการทดลองของบิคแมนที่ให้หน้าม้าแต่งตัวดีและแต่งตัวไม่ดีแกล้งลืมเหรียญไว้ในตู้โทรศัพท์สาธารณะแล้วย้อนกลับไปถามคนที่กําลังใช้โทรศัพท์เพื่อขอเหรียญคืน จัดเป็นการทดลองที่ได้ข้อสรุปในเรื่องใด
(1) ปทัสถานกลุ่ม
(2) การคล้อยตาม
(3) การขัดแย้งกันทางบทบาท
(4) อิทธิพลของบทบาททางสังคม
(5) อิทธิพลของสถานภาพทางสังคม
ตอบ 5 หน้า 377 จากการทดลองของบิคแมน (Bickman) ดังกล่าวข้างต้น ได้ข้อสรุปว่า สถานภาพทางสังคมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล โดยพบว่า มีคนถึง 77% ที่คืนเหรียญให้กับหน้าม้าที่แต่งตัวดี และมีเพียง 38% เท่านั้นที่คืนเหรียญให้กับหน้าม้าที่แต่งตัวไม่ดี
37 “ครูฝ่ายปกครองที่ต้องลงโทษลูกชายตนเองเพราะเกเรหนีโรงเรียน” จัดเป็นบริบททางสังคมลักษณะใด
(1) การเชื่อฟัง
(2) ปทัสถานกลุ่ม
(3) การคล้อยตาม
(4) การขัดแย้งระหว่างบทบาท
(5) ตําแหน่งของบุคคลในกลุ่ม
ตอบ 4 หน้า 377 ถ้าบุคคลมีบทบาทที่ขัดแย้งกัน 2 บทบาทขึ้นไปก็จะเกิดความอึดอัดหรือคับข้องใจขึ้น เช่น ครูฝ่ายปกครองที่ต้องลงโทษลูกชายตนเองเพราะเกเรหนีโรงเรียน หรือตํารวจที่ต้องจับ ลูกชายตนเองที่ค้ายาเสพติด หรือประธานบริษัทที่ต้องไล่ลูกสาวออกจากงานเพราะทุจริต ฯลฯ ก็จะเกิดความขัดแย้งระหว่างบทบาทของพ่อและบทบาทของผู้รักษากฎหมายหรือกฎระเบียบ
38 ข้อใดตรงกับการแบ่งระยะห่างระหว่างบุคคลในระยะส่วนตัว
(1) การฟังสุนทรพจน์
(2) การพูดคุยของประธานบริษัทสองบริษัทที่ตกลงทําการค้าร่วมกัน
(3) การฟังคําบรรยาย
(4) การพูดคุยกันระหว่างเพื่อน
(5) การพูดคุยกันของคู่รัก
ตอบ 4 หน้า 378 379 ระยะห่างระหว่างบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
1 ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) 0 – 18 นิ้ว เป็นระยะใกล้ชิดที่มักใช้สื่อสารเฉพาะกับคนพิเศษ เช่น ใช้ระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว ฯลฯ
2 ระยะส่วนตัว (Personal Distance) 1 – 4 ฟุต เป็นระยะที่ใช้เมื่ออยู่กับเพื่อน อาจารย์ที่ปรึกษา ครูนังสอนนักเรียน ฯลฯ มักเอื้อมมือถึงกันได้ และใช้ระดับเสียงพูดปกติ
3 ระยะสังคม (Social Distance) 4 – 12 ฟุต เป็นระยะที่ใช้พูดคุยกันทางสังคมและธุรกิจ
4 ระยะสาธารณะ (Public Distance) 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การฟังคําบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ
39 “เรามักพอใจคําชมจากคนแปลกหน้ามากกว่าเพื่อน และเสียใจกับคําตําหนิของเพื่อนมากกว่าคนแปลกหน้า”ตรงกับความต้องการการเข้ากลุ่มในข้อใด
(1) ทฤษฎีผลได้-ผลเสีย
(2) ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม
(3) ทฤษฎีการเปรียบเทียบทางสังคม
(4) ความคล้ายคลึงกัน
(5) ความมีเสน่ห์ดึงดูดทางกาย
ตอบ 1 หน้า 381 382 ทฤษฎีผลได้-ผลเสีย ของอรอนสันและลินเดอร์ อธิบายว่า คนเราจะรู้สึกพอใจเมื่อได้รับคําชมจากคนแปลกหน้ามากกว่าจากเพื่อนหรือคู่สมรส เพราะรู้สึกว่าได้มากกว่าและจะรู้สึกว่าสูญเสียหรือเสียใจกับคําตําหนิของเพื่อนหรือคู่สมรสมากกว่าจากคนแปลกหน้า
40 “เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ำ ๆ โดยปราศจากคําอธิบาย” ข้อความดังกล่าวแสดงถึงสถานการณ์ใดที่ทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคม
(1) สถานการณ์การเสนอแนะ
(2) การอภิปรายกลุ่ม
(3) การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น
(4) สถานการณ์การคล้อยตาม
(5) สารชักจูง
ตอบ 1 หน้า 383 สถานการณ์ที่อาจทําให้เกิดอิทธิพลทางสังคมขึ้น มี 5 สถานการณ์ คือ
1 สถานการณ์การเสนอแนะ เป็นสถานการณ์ที่มีการสื่อสารซ้ำ ๆ โดยปราศจากการอธิบาย
2 สถานการณ์การคล้อยตาม เป็นสถานการณ์ซึ่งมีการสื่อสารที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลกับพฤติกรรมของกลุ่ม ปทัสถานของกลุ่ม หรือค่านิยมของกลุ่ม
3 การอภิปรายกลุ่ม เป็นสถานการณ์ที่มีการโต้แย้งเกิดขึ้น
4 สารชักจูง เป็นสารหรือข้อความที่ได้มีการพิจารณาและขัดเกลาคําพูดมาเป็นอย่างดีแล้ว
5 การยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น (การล้างสมอง) เป็นสถานการณ์ที่ใช้ทั้ง 4 ลักษณะข้างต้นพร้อมกัน
41 การทดลองเรื่องการคล้อยตามของแอช (Asch) ที่ให้กลุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบเส้นตรงมาตรฐานกับเส้นเปรียบเทียบที่เป็นตัวเลือก พบว่าในข้อต่อไปนี้ ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการคล้อยตาม
(1) ขนาดของกลุ่ม
(2) มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
(3) ต้องการการยอมรับจากคนอื่นมาก
(4) ความเป็นเอกฉันท์ของกลุ่ม
(5) กลุ่มที่มีความสําคัญกับตนน้อย
ตอบ 5 หน้า 383 – 385 จากการทดลองของแอช (Asch) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการคล้อยตาม ได้แก่
1 ปัจจัยส่วนบุคคล โดยคนที่คล้อยตามผู้อื่นได้ง่ายมักมีลักษณะดังนี้คือ ต้องการการยอมรับจากผู้อื่นมาก มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ ต้องการความแน่นอน และมักมีความกระวนกระวายใจ
2 ปัจจัยด้านกลุ่ม โดยขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ดังนี้คือ กลุ่มมีความสําคัญกับตนมาก ขนาดของกลุ่มและความเป็นเอกฉันท์ของกลุ่ม
42 นายปิยะมีเจตคติต่อวัดว่า “เราควรไปวัดทุกวันอาทิตย์ เพื่อการฝึกสมาธิและการปฏิบัติธรรม” แสดงให้เห็น ถึงองค์ประกอบของเจตคติด้านใด
(1) องค์ประกอบทางความเชื่อ
(2) องค์ประกอบทางจิตใต้สํานึก
(3) องค์ประกอบทางการกระทํา
(4) องค์ประกอบทางอารมณ์
(5) องค์ประกอบทางการรับรู้และสัมปชัญญะ
ตอบ 3 หน้า 389 เจตคติ มีองค์ประกอบสําคัญ 3 อย่าง คือ
1 องค์ประกอบทางความเชื่อ จะเกี่ยวข้องกับความเชื่อ/ความคิด/ความเข้าใจที่มีต่อที่หมายทางเจตคติ เช่น มีเจตคติต่อวัดว่า “วัดเป็นสถานที่ที่ช่วยให้จิตใจสงบ ปลอดโปร่ง”,“วัดเป็นที่พึ่งทางจิตใจ” ฯลฯ
2 องค์ประกอบทางอารมณ์ จะเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึกที่มีต่อที่หมายทางเจตคติ
3 องค์ประกอบทางการกระทํา จะเกี่ยวข้องกับการกระทํา/พฤติกรรมที่มีต่อที่หมายทางเจตคติ เช่น มีเจตคติต่อวัดว่า “เราควรไปวัดทุกวันอาทิตย์ เพื่อการฝึกสมาธิและการปฏิบัติธรรม”,“วัยรุ่นปัจจุบันมักใช้คอมพิวเตอร์นานกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน” ฯลฯ
43 ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของความก้าวร้าว
(1) การเรียนรู้ทางสังคม
(2) สัญชาตญาณ
(3) การกระจายความรับผิดชอบ
(4) ความคับข้องใจ
(5) ชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับสมองและฮอร์โมน
ตอบ 3 หน้า 393 – 395 สาเหตุของความก้าวร้าว มี 4 ประการ ดังนี้
1สัญชาตญาณ
2 ชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับสมองและฮอร์โมน
3 ความคับข้องใจ
4 การเรียนรู้ทางสังคม
44 ในขั้นตอนการแสดงพฤติกรรมการช่วยเหลือที่ถูกต้อง เมื่อเรียงลําดับแล้ว ขั้นตอนที่ขาดหายไปคือข้อใด “สังเกตเห็นถึงสถานการณ์ที่ต้องการความช่วยเหลือ
> ………………………………. > รับรู้ว่าตนควรรับผิดชอบ > รู้วิธีการช่วยเหลือ
(1) เรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาช่วยเหลือ
(2) แปลความว่าเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน
(3) เตรียมใจให้พร้อมสําหรับการช่วยเหลือ
(4) ตั้งสติสัมปชัญญะเพื่อการช่วยเหลือ
(5) หาเครื่องมือหรืออุปกรณ์เพื่อการช่วยเหลือ
ตอบ 2 หน้า 395 ลาตาเน่และดาร์เลย์ เห็นว่า พฤติกรรมการช่วยเหลือมีกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ
1 สังเกตเห็นเหตุการณ์ที่ต้องการความช่วยเหลือ
2 แปลความว่าเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน
3 คิดว่าเป็นสิ่งที่ตนควรรับผิดชอบ
4 รู้วิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสม
45 นายเมธกล้าบอกแม่ค้าอย่างตรงไปตรงมาเมื่อแม่ค้าหยิบของที่ไม่ได้ต้องการมาส่งให้และคิดเงิน การแสดงพฤติกรรมของนายเมธตรงกับข้อใด
(1) การกระจายความรับผิดชอบ
(2) การเรียนรู้ทางสังคม
(3) พฤติกรรมก้าวร้าว
(4) พฤติกรรมการไม่กล้าแสดงออก
(5) พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม
ตอบ 5 หน้า 396 397 “พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม ได้แก่ การมีอารมณ์ที่เหมาะสม แน่นอน จริงใจ ถูกต้อง เชื่อมั่นในตนเอง กล้าที่จะแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น ความปรารถนา และความเชื่อของตนเองอย่างตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ต่อกัน ทั้งนี้ต้องคํานึงถึงสิทธิส่วนบุคคล คือ เคารพทั้งสิทธิของตนเองและผู้อื่นด้วย
46 ข้อใดคือความต้องการขั้นที่ 3 ของทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (1) ความต้องการทางด้านร่างกาย
(2) ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ
(3) ความต้องการความปลอดภัย
(4) ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ
(5) ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง
ตอบ 2 หน้า 229 230 231 235, (คําบรรยาย) ทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow) ได้แบ่งลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 2 ระดับ จํานวน 5 ขั้น ดังนี้
1 ระดับความต้องการขั้นพื้นฐาน (Basic Needs) ได้แก่ ขั้นที่ 1 ความต้องการทางร่างกายและขั้นที่ 2 ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง
2 ระดับความต้องการขั้นสูง (Growth Needs) ได้แก่ ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ขั้นที่ 4 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น และขั้นที่ 5 ความต้องการประจักษ์ตน (ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้หรืออย่างแท้จริง) ซึ่งเป็นความต้องการขั้นสูงสุด
47 แบบทดสอบชนิดใดที่ทดสอบโดยการให้ผู้รับการทดสอบดูภาพหยดหมึก
(1) Rorschach
(2) 16PF
(3) TAT
(4) MAMPI
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 308 309, 315 แบบทดสอบการฉายภาพจิต เป็นการวัดบุคลิกภาพที่นักจิตวิทยามีความประสงค์จะล่วงรู้ถึงความปรารถนาหรือจิตใต้สํานึกลึก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตของผู้ตอบ โดย ให้ผู้รับการทดสอบบรรยายความรู้สึกนึกคิดออกมาทางภาพที่ให้ดู ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1 แบบทดสอบรอร์ชาค (Rorschach) เป็นภาพหยดหมึก 10 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วถามว่าเขาเห็นอะไรในภาพนั้นบ้างหรือภาพนั้นเหมือนอะไร
2 แบบทดสอบ TAT เป็นภาพเรื่องราว 20 ภาพ โดยให้ผู้รับการทดสอบดูภาพแล้วให้เขาบรรยายหรือแต่งเรื่องหรือเล่าเรื่องจากภาพ
48 การประเมินบุคลิกภาพของนักจิตวิทยาในข้อใดเรียกว่า การฉายภาพจิต
(1) ใช้แบบทดสอบ MMPI
(2) ให้ดูภาพหยดหมึกแล้วถามว่าเหมือนอะไร
(3) พูดคุยโดยตั้งคําถามทางอ้อม
(4) แอบสังเกตการณ์ผ่านกล้องวิดีโอ
(5) ให้ผู้รับการทดสอบเข้าไปในสถานการณ์จําลองที่สร้างขึ้น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ
49 ตามแนวคิดพัฒนาการทางบุคลิกภาพของฟรอยด์ ขันใดที่เหมาะสมต่อการฝึกเรื่องการควบคุมการขับถ่าย ให้กับเด็ก
(1) ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก
(2) ขั้นอวัยวะเพศ
(3) ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก
(4) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์
(5) ขั้นแอบแฝง
ตอบ 3 หน้า 145, 299, (คําบรรยาย) พัฒนาการทางบุคลิกภาพของฟรอยด์ในขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก(Anal Stage) เกิดในช่วงอายุ 2 – 3 ปี ซึ่งเด็กจะมีศูนย์กลางความพึงพอใจอยู่ที่ทวารหนักและการขับถ่าย เด็กจะพอใจที่ได้ปลดปล่อย ดังนั้นจึงเป็นขั้นที่เหมาะสมต่อการฝึกเรื่องการควบคุม การขับถ่าย แต่หากในช่วงนี้บิดามารดาเคร่งครัดกับเด็กมากเกินไปในเรื่องการขับถ่าย เมื่อเด็กโตขึ้นจะเกิดความขัดแย้งใจ เป็นบุคลิกภาพที่รู้จี้ เจ้าระเบียบ รักษาความสะอาดจนเกินเหตุและบางครั้งอาจมีพฤติกรรมประเภทคือรันและดันทุรังได้
50 นายธีร์มีบุคลิกภาพและมีพฤติกรรมการแสดงออกเหมือนผู้หญิง เกิดจากการหยุดชะงักของพัฒนาการขั้นใด
(1) ขั้นปาก
(2) ขั้นทวารหนัก
(3) ขั้นอวัยวะเพศ
(4) ขั้นแอบแฝง
(5) ขั้นการมีเพศสัมพันธ์
ตอบ 3 หน้า 145, 299, (คําบรรยาย) พัฒนาการความต้องการทางเพศของ Freud ในขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) เกิดกับเด็กอายุราว 3 – 5 ปี ในระยะนี้เด็กจะมีความพึงพอใจที่จะได้ลูบคลํา อวัยวะเพศของตนเอง เด็กจะมีความรู้สึกรักใคร่มีบุคลิกภาพและมีพฤติกรรมการแสดงออก เหมือนพ่อแม่เพศตรงข้ามกับตน และจะอิจฉาพ่อแม่เพศเดียวกันกับตน ซึ่งถ้าเกิดความขัดแย้งใจ ก็อาจจะมีผลทําให้เด็กชายเกิดปมที่เรียกว่า ปมเอดิปุส (Oedious Conflict หรือ Oedipus Complex) ส่วนเด็กหญิงก็จะเกิดปมอิเล็กตร้า (Electra Conflict)
ข้อ 51 – 53 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคําถามว่าเป็นคํานิยามของใคร
(1) อัลเฟรด บิเนต
(2) เดวิด เวคลเลอร์
(3) จอร์จ สต๊อดดาร์ด
(4) ฟรานซิส กัลตัน
(5) โฮวาร์ด การ์ดเนอร์
51 สติปัญญาเป็นความสามารถที่จะคิด วินิจฉัย และรู้จักประมาณตนเอง ตลอดจนความสามารถที่จะปรับตัวเพื่อให้บรรลุสิ่งที่ตนได้ตั้งใจไว้
ตอบ 1 หน้า 321 เป็นคํานิยามของอัลเฟรด บิเนต์ (Alfred Binet)
52 สติปัญญาเป็นความสามารถของแต่ละบุคคลในการที่จะติดอย่างมีเหตุผล หรือกระทําทุก ๆ สิ่งอย่างมีจุดมุ่งหมาย ตลอดจนมีความสามารถที่จะปฏิบัติตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตอบ 2 หน้า 321 เป็นคํานิยามของเดวิด เวคสเลอร์ (David Wechsler)
53 สติปัญญาเป็นความสามารถในการที่จะทํากิจกรรมต่าง ๆ ให้สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ตอบ 3 หน้า 321 เป็นคํานิยามของจอร์จ สต๊อดดาร์ด (George Stoddard)
54 ถ้าข้อสอบ PSY 1001 มีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์ ข้อสอบนี้ขาดคุณสมบัติข้อใด
(1) ความเป็นปรนัย
(2) ความเชื่อถือได้
(3) ความแม่นยํา
(4) ความเที่ยงตรง
(5) ความเป็นมาตรฐาน
ตอบ 4 หน้า 328 ความเที่ยงตรง (Validity) นับเป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่สุด นั่นคือ แบบทดสอบจะต้องสามารถวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัดได้ ได้แก่ ความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและทฤษฎีที่ให้ ผู้ทรงคุณวุฒิจทําการประเมินแล้ว หรือความเที่ยงตรงที่ได้จากการคํานวณหาค่าสหสัมพันธ์ ระหว่างแบบทดสอบกับเกณฑ์ที่ใช้ในการทํานายหรือกับการทดสอบอื่น ๆ หรือระหว่าง แบบทดสอบใหม่กับแบบทดสอบเก่าที่ผู้สร้างเดิมได้หาค่าความเที่ยงตรงไว้แล้ว
55 ทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยของสเปียร์แมน แบ่งสติปัญญาออกเป็นสององค์ประกอบ ได้แก่
(1) G-factor และ L-factor
(2) G-factor และ S-factor
(3) S-factor และ L-factor
(4) G-factor และ C-factor
(5) C-factor และ L-factor
ตอบ 2 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยโดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ
1 ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผลทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด
2 ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถ เฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจําความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ
56 ข้อใดคือสมการที่ใช้ในการคํานวณคะแนนสติปัญญา (IQ)
(1) MANCA x 100
(2) CA/MA x 100
(3) CN100 X MA
(4) AMAW100 x CA
(5) 100/AA x CA
ตอบ 1 หน้า 326 ในการวัดความสามารถทางสติปัญญาจะถูกวัดออกมาในอัตราส่วนที่เรียกว่า IQ (Intelligence Quotient) ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างอายุสมอง (Mental Age = AMA) และอายุจริงตามปฏิทิน (Chronological Age = CA) คูณ 100 ดังสมการ NAA/CA x 100
57 คะแนน IQ ในข้อใดจัดอยู่ในระดับปกติ (Average)
(1) 90 109
(2) 80 – 89
(3) 70 – 79
(4) 60 – 69
(5) 50 – 59
ตอบ 1 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (IQ) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้ ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ IQ ต่ำกว่า 70, คาบเส้น (Borderline) มีระดับ IQ 71 – 80, ปัญญาทึบ (Dull) มีระดับ IQ 81 – 90, เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ IQ 91 – 110 ซึ่ง เป็นอัตราเฉลี่ย (Average), ค่อนข้างฉลาด (Superior) มีระดับ IQ 111 – 120, ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ IQ 121 – 140 และอัจฉริยะ (Genius) มีระดับ IQ 140 ขึ้นไป
58 แบบทดสอบวัดความสามารถทางสติปัญญาฉบับใดที่สามารถใช้กับเด็กที่มีอายุ 2 ปีได้
(1) SPM
(2) WAIS
(3) WISC
(4) WPPSI
(5) Stanford-Binet
ตอบ 5 หน้า 329 ลักษณะของแบบทดสอบ Stanford-Binet คือ เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดระดับสติปัญญาของเด็กตั้งแต่อายุ 2 ขวบ จนถึงผู้ใหญ่ที่ฉลาด 59 แบบทดสอบวัดสติปัญญาแบบใดไม่ใช่การโต้ตอบคําถามด้วยภาษา
(1) Stanford- Binet
(2) WAIS
(3) WISC
(4) WPPSI
(5) Progressive Matrices
ตอบ 5 หน้า 331 แบบทดสอบโปรเกรสซีฟเมตริซีส (Progressive Matrices Tests) มีลักษณะเป็นแบบทดสอบที่ไม่ใช้ถ้อยคําภาษา (Nonverbal) สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดความสามารถของบุคคลในการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเรขาคณิต และเพื่อวัดความสามารถในการใช้เหตุผล
60 ข้อใดกล่าวผิด
(1) การใช้แบบทดสอบ IQ จะกระทําได้แต่เฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติเพียงพอเท่านั้น (2) ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเพศหญิงและชายมีความแตกต่างทางสติปัญญา
(3) ฐานะทางสังคมไม่ใช่ปัจจัยที่ทําให้สติปัญญามีความแตกต่างกัน
(4) ความแตกต่างทางเชื้อชาติไม่ได้ทําให้ความสามารถทางสติปัญญาแตกต่างกัน (5) ระดับสติปัญญาอาจเพิ่มหรือลดได้เมื่ออายุล่วงวัย 60 ปีไปแล้ว
ตอบ 3 หน้า 332 334 การขายและใช้แบบทดสอบ IQ จะกระทําได้แต่เฉพาะบุคคลที่มีคุณสมบัติเพียงพอในการใช้แบบทดสอบเท่านั้น เป็นการยากที่จะชี้ชัดลงไปว่าเพศหญิงและชายใครจะมี สติปัญญาดีกว่ากัน, ฐานะทางสังคมเป็นปัจจัยหรือตัวแปรที่ทําให้สติปัญญามีความแตกต่างกัน, ความแตกต่างทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมไม่ได้ทําให้ความสามารถทางสติปัญญาแตกต่างกันและระดับสติปัญญาของคนเราอาจจะเพิ่มหรือลดก็ได้เมื่ออายุล่วงวัย 60 ปีไปแล้ว
61 “การปรับตัวของมนุษย์พัฒนาไปตามศักยภาพของบุคคลที่เอื้ออํานวย” เป็นแนวคิดทางจิตวิทยากลุ่มใด
(1) จิตวิเคราะห์
(2) มนุษยนิยม
(3) จิตวิทยาเกสตัลท์
(4) พฤติกรรมนิยม
(5) กลุ่มนักทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด
ตอบ 2 หน้า 344 กลุ่มมนุษยนิยม (Humanist) มีแนวคิดว่า การปรับตัวของมนุษย์พัฒนาไปตามศักยภาพของบุคคลที่เอื้ออํานวย ซึ่งเชื่อว่า มนุษย์ควรมีการพัฒนาไปถึงที่สุดเท่าที่ศักยภาพ จะอํานวย เรียกกระบวนการพัฒนาเข้าไปถึงที่สุดของศักยภาพนี้ว่า “การประจักษ์ในตน”ซึ่งควรจะเป็นเป้าหมายของการงอกงามเติบโตที่แท้จริงของมนุษย์
62 ข้อใดเกี่ยวข้องกับการปรับตัวที่ดีน้อยที่สุด
(1) ทําให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น
(2) ช่วยให้เกิดประโยชน์กับชีวิตมากขึ้น
(3) มีความภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น
(4) ต้องไม่ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
(5) ช่วยให้สามารถเข้าสังคมที่มีความแตกต่างกันได้ดีขึ้น
ตอบ 3 หน้า 345 การปรับตัวที่ดีและเหมาะสมเป็นการปรับตัวของบุคคลที่เป็นไปในทิศทางที่ช่วยให้เกิดประโยชน์กับชีวิตมากขึ้น ทําให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เชื่อมั่นใน ตนเองมากขึ้น และช่วยให้สามารถเข้าสังคมที่มีความแตกต่างกันได้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนอกจากนี้ต้องไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือต้องไม่ไปปิดกั้นสิทธิเสรีภาพและอิสรภาพของผู้อื่น
63 ตามแนวคิดของไฟด์แมนและโรเซนแมน คนแบบใดมีความเครียดน้อยที่สุด
(1) ฟ้าชอบเข้มงวดกับตัวเอง
(2) ภัทรชอบความเสียง
(3) ตึกชอบการแข่งขัน
(4) มินชอบความสมบูรณ์แบบ
(5) เป้ชอบทําอะไรแบบค่อยเป็นค่อยไป
ตอบ 5 หน้า 348, (คําบรรยาย) ไฟด์แมนและโรเซนแมน (Friedman & Rosenman) ได้แบ่ง กลุ่มคนตามลักษณะบุคลิกภาพออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1 กลุ่ม A (Type A Personality) เป็นคนใจเร็ว ใจร้อน ชอบความก้าวหน้า การแข่งขันสูง เก็บกดไม่แสดงอารมณ์ มุ่งความสําเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ ชอบสร้างมาตรฐานให้กับตัวเองมักเป็นคนเข้มงวด ขอบเสียงและชอบความสมบูรณ์แบบ ซึ่งมีผลให้มีความเครียดมากที่สุด
2 กลุ่ม B (Type B Personality) เป็นคนที่ไม่เร่งรีบ ผ่อนคลาย ทําอะไรแบบค่อยเป็นค่อยไปชอบทํางานที่ละอย่าง ซึ่งมีผลให้มีความเครียดน้อยที่สุดและไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
64 อาการทางกายใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวข้องกับความเครียดของบุคคล
(1) นอนไม่หลับ
(2) ท้องผูก
(3) ไมเกรน
(4) ปัญญาอ่อน
(5) ความดันโลหิตสูง
ตอบ 4 หน้า 349 ไซโคโซมาติก (Psychosomatic Diseases) คือ อาการของความเจ็บป่วยหรือโรคทางกายที่เกิดจากภาวะความเครียดที่สะสมเอาไว้นาน ๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ท้องร่วง ท้องผูก โรคหัวใจ นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) ฯลฯ
65 ตามแนวคิดของเซลเย (Selye) ภาวะที่หมดพลัง (Burn-out) เกิดขึ้นในขั้นตอนใด
(1) ขั้นระยะตื่นตัว
(2) ขั้นปฏิกิริยาตื่นตระหนก
(3) ขั้นสร้างระบบต้านทานภัย
(4) ขั้นระยะเหนื่อยล้า
(5) ขั้นระยะถดถอย
ตอบ 4 หน้า 351 เซลเย (Selye) ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับสภาวะของร่างกายเมื่อเกิดความเครียดพบว่า เมื่อบุคคลเกิดความเครียด ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อความเครียด 3 ขั้นตอน คือ
1 ปฏิกิริยาตื่นตระหนก เป็นช่วงที่ร่างกายมีพละกําลังมหาศาล เพื่อรับสภาพการจู่โจม
2 สร้างระบบต้านทานภัย ร่างกายจะสร้างระบบที่ปรับตัวต่อความเครียดในระยะยาวนานขึ้น
3 ระยะเหนื่อยล้า ในกรณีที่ความเครียดอยู่กับบุคคลนาน ๆ และไม่หมดสิ้นไป ก็อาจทําให้ร่างกาย เกิดโรคขึ้นหลายชนิด เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ ฯลฯ และถ้าเป็นนาน ๆร่างกายก็อาจไปถึงจุดที่เรียกว่า Burn-out คือ หมดพลัง ไปต่อไม่ได้
66 “ม่อนรู้สึกเครียดจากปัญหาในที่ทํางาน จึงออกไปเดินบริเวณสวนสาธารณะเพื่อผ่อนคลาย” เป็นกลยุทธ์ ในการลดความเครียดด้วยวิธีใด
(1) มีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น
(2) เรียนรู้การพูดให้ตนเองสบายใจ
(3) แสวงหาสิ่งแวดล้อมที่พึงพอใจ
(4) การใส่ใจดูแลตนเอง
(5) การทํากิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียด
ตอบ 3 หน้า 351 353 กลยุทธ์ในการลดความเครียด ได้แก่
1 แสวงหาสิ่งแวดล้อมที่พึงพอใจ เช่น เดินเล่นบริเวณสวนสาธารณะ
2 ใส่ใจดูแลตนเองให้ดี เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
3 รู้จักทํากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เช่น นั่งสมาธิ ออกกําลังกาย เล่นดนตรี ฯลฯ
4 เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ปลา ผัก ผลไม้ ฯลฯ
5 มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
6 เรียนรู้วิธีพูดให้ตนเองสบายใจ
67 ข้อใดอธิบายถูกต้องเกี่ยวกับ “กลไกป้องกันทางจิต” ที่ใช้ในการปรับตัว
(1) ใช้เพื่อจัดการกับความคับข้องใจ
(2) ใช้เพื่อจัดการกับความขัดแย้งภายในใจ
(3) เป็นกลไกที่เกิดขึ้นในระดับจิตรู้สํานึก
(4) เป็นกลไกที่เกิดจากการทําหน้าที่ของอิด
(5) เป็นกลไกที่ไม่สามารถลดความวิตกกังวลลงได้
ตอบ 1 หน้า 357, 368 กลไกป้องกันทางจิต (Defense Mechanism) เป็นกลไกที่ใช้ในการจัดการกับความคับข้องใจของบุคคล เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อบิดเบือนหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธสถานการณ์ที่ทําให้ เกิดความวิตกกังวล จะช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลให้ลดลงได้ แม้ว่าการใช้กลไกป้องกัน ทางจิตจะสามารถรักษาความสมดุลของสภาพทางจิตใจไว้ได้ระดับหนึ่งก็ตาม แต่ถ้าใช้มากเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคลิกภาพได้ ซึ่งจะนําไปสู่ภาวะของโรคประสาทได้ในที่สุด
68 การดาลืมความชอกช้ำที่เคยได้รับจากความรักครั้งแรกไปแล้ว
(1) การไม่รับรู้ความจริง
(2) การเก็บกด
(3) การโยนความผิด
(4) การชดเชยสิ่งที่ขาด
(5) การถอยหลังเข้าคลอง
ตอบ 2 หน้า 358 การเก็บกด (Repression) เป็นกลวิธีที่บุคคลใช้เพื่อลืมเหตุการณ์ที่อยากจะลืมไม่ต้องการจดจํา เป็นวิธีการที่จะทําให้แรงกระตุ้นที่ไม่พึงปรารถนาหลุดออกไปจากอีโก้หรือ จิตสํานึก ซึ่งจะสามารถป้องกันตนเองจากความสะเทือนใจได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นเหตุการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้นในวัยเด็กหรือความทรงจําที่เจ็บปวด
69 “แม่เลี้ยงแสดงออกว่ารักลูกเลี้ยงอย่างมาก ทั้งที่ในใจรู้สึกเกลียด” เป็นกลไกป้องกันทางจิตแบบใด
(1) การมีปฏิกิริยากลบเกลื่อน
(2) การโยนความผิดเข้าตัวเอง
(3) การหาสิ่งทดแทน
(4) การไม่รับรู้ความจริง
(5) การไม่นําความรู้สึกมาเกี่ยวข้อง
ตอบ 1 หน้า 359 ปฏิกิริยากลบเกลื่อน (Reaction-formation) เป็นวิธีการที่บุคคลเก็บกดความรู้สึกที่แท้จริงเอาไว้ และแสดงออกในทางตรงข้ามกับที่สังคมยอมรับ เช่น แม่เลี้ยงที่เกลียดลูกเลี้ยงของตนเอง แต่แกล้งแสดงออกว่ารักลูกเลี้ยงอย่างมาก ซึ่งเป็นการเสแสร้งไม่จริงใจ มีลักษณะปากหวานก้นเปรี้ยวหรือหน้าเนื้อใจเสือ ฯลฯ
70 “กะทิอยากกินบุฟเฟต์กับเพื่อน ๆ มาก แต่ก็กลัวอ้วน” เป็นความขัดแย้งใจประเภทใด
(1) อยากได้ทั้งคู่
(2) อยากหนีทั้งคู่
(3) ทั้งรักและยัง
(4) ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 361 364 ความขัดแย้งใจ (Conflict) มี 4 ประเภท คือ
1 อยากได้ทั้งคู่ (Approach-Approach Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ“รักพี่เสียดายน้อง” คือ ตัวเลือกทั้งสองเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาทั้งคู่ แต่หากเข้าใกล้เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งแล้วจะทําให้อีกเป้าหมายหนึ่งลดความดึงดูดลงไปได้มาก
2 อยากหนีทั้งคู่ (Avoidance-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ“หนีเสือปะจระเข้ คือ เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกตัวเลือกที่ไม่พึงปรารถนาทั้งคู่ก่อให้เกิดพฤติกรรม “นิ่งเฉย ไม่ตัดสินใจ” เนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจและทําอะไรไม่ถูก
3 ทั้งรักและชัง (Approach-Avoidance Conflicts) เป็นความขัดแย้งใจในลักษณะ“กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” คือ ตัวเลือกนั้นเป็นทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบในขณะเดียวกันจึงทําให้เกิดความลังเลใจ เช่น อยากทานขนมหวานแต่กลัวฟันผุและกลัวอ้วน ฯลฯ
4 ทั้งชอบและชังในตัวเลือกทั้งคู่ (Double Approach-Avoidance Conflicts) คือ ตัวเลือกทั้ง 2 มีทั้งดีและไม่ดีในเวลาเดียวกัน เช่น ต้องเลือกระหว่างงานใหม่ 2 แห่ง แห่งแรกนั้นถูกใจหมดทุกอย่างแต่เงินเดือนต่ำ แต่อีกแห่งไม่ถูกใจเลยแต่เงินเดือนสูง เราจะเลือกแห่งใด ฯลฯ
71 ข้อใดไม่ใช่สัมผัสพื้นฐาน 4 ชนิด
(1) ความร้อน
(2) ความเย็น
(3) ความอุ่น
(4) ความกด
(5) ความเจ็บปวด
ตอบ 1 หน้า 67 ใต้ผิวหนังของมนุษย์เราจะมีจุดรับสัมผัสมากมาย โดยจุดรับสัมผัสแต่ละชนิดจะมีความไวต่อความรู้สึกที่มาสัมผัสแตกต่างกัน ซึ่งความรู้สึกที่มาสัมผัสผิวกายของมนุษย์นั้นมีจุดรับสัมผัสพื้นฐาน 4 ชนิด คือ ความกด ความอุ่น ความเย็น และความเจ็บปวด
72 ข้อใดไม่ใช่รสพื้นฐานของมนุษย์
(1) เปรี้ยว
(2) หวาน
(3) เค็ม
(4) เผ็ด
(5) ขม
ตอบ 4 หน้า 68 รสพื้นฐานที่มนุษย์รับรู้โดยทั่วไปมี 4 รส คือ รสขม รสหวาน รสเปรี้ยว และรสเค็มส่วนรสอื่น ๆ เช่น รสเผ็ดนั้น เกิดจากการผสมกันของรสพื้นฐานเหล่านี้
73 ตามที่เฮนนิ่ง (Henning) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการรับกลิ่นของมนุษย์ ได้แบ่งกลิ่นเป็นกี่ชนิด
(1) 2 ชนิด คือ กลิ่นหอมและกลิ่นเหม็น
(2) 3 ชนิด คือ กลิ่นที่พึงพอใจ กลิ่นที่ไม่พึงพอใจ และกลิ่นที่ผ่อนคลาย
(3) 4 ชนิด คือ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นไหม้ กลิ่นเครื่องเทศ และกลิ่นผลไม้
(4) 5 ชนิด คือ กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น กลิ่นที่พึงพอใจ กลิ่นที่ไม่พึงพอใจ และกลิ่นที่ผ่อนคลาย
(5) 6 ชนิด คือ กลิ่นเครื่องเทศ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นยาง กลิ่นเหม็น และกลิ่นไหม้
ตอบ 5 หน้า 68 เฮนนิ่ง (Henning) นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ได้ทําการศึกษาและแบ่งกลิ่นออกเป็น 5 ชนิด คือ กลิ่นเครื่องเทศ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นยาง กลิ่นเหม็น และกลิ่นไหม้
74 ข้อใดคือความแตกต่างระหว่างการสัมผัสและการรับรู้
(1) การสัมผัสต้องอาศัยจิตใต้สํานึก
(2) การรับรู้ไม่จําเป็นต้องอาศัยการรับสัมผัส
(3) การสัมผัสเป็นกระบวนการแปลความหมายของการรับรู้
(4) การรับรู้เป็นกระบวนการแปลความหมายของการสัมผัส
(5) การสัมผัสก่อให้เกิดการเรียนรู้ แต่การรับรู้ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
ตอบ 4 หน้า 57, 60 ความแตกต่างระหว่างการสัมผัสและการรับรู้ คือ การสัมผัสเป็นกระบวนการที่ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าจากภายนอกมาสู่ระบบประสาทและเปลี่ยนเป็นการรับรู้ ส่วนการรับรู้เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากการสัมผัส จึงเป็นกระบวนการแปลความหมายของการสัมผัส
75 องค์ประกอบใดไม่ได้อยู่ในกระบวนการรับรู้
(1) ระบบประสาท
(2) สิ่งเร้า
(3) แรงขับ
(4) พฤติกรรม
(5) ประสาทสัมผัส
ตอบ 3 หน้า 57, 59 การรับรู้ คือ กระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัสต่าง ๆ โดยการแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้นี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีต การเรียนรู้ สภาพจิตใจในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดรูปแบบของสิ่งเร้านั้น ๆ ซึ่งกระบวนการรับรู้นี้จัดเป็นขั้นตอนสําคัญอย่างยิ่งก่อนการแสดงพฤติกรรมโต้ตอบของมนุษย์ในทุกรูปแบบ
76 ตาบอดสีแบบ Monochromatism เป็นอาการตาบอดสีแบบใด
(1) เห็นได้เพียงสองสี
(2) บอดหมดทุกสี
(3) บอดสีเขียว
(4) บอดสีแดง
(5) เห็นสีผิดปกติเพียงเล็กน้อย
ตอบ 2 หน้า 63 – 64 ตาบอดสีเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งของการเห็นสี แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1 Monochromatism เป็นอาการตาบอดสีหมดทุกสี โดยจะเห็นสีทุกสีเป็นสีเทา
2 Dichromatism เป็นอาการตาบอดสีชนิดที่สามารถมองเห็นสีได้เพียง 2 สีเท่านั้น คือพวกที่เห็นสีแดงเป็นสีดํา และพวกที่ไม่สามารถแยกสีเขียวและสีแดงออกจากกันได้
3 Trichromatism เป็นการเห็นสีครบทุกสีแต่เห็นสีนั้นอ่อนกว่าปกติ (ผิดปกติเพียงเล็กน้อย)
77 หน่วยวัดความแรงของคลื่นเสียงเรียกว่าอะไร
(1) กิโลเมตร
(2) ความถี่
(3) เดซิเบล
(4) เฮิรตซ์
(5) เทรชโฮลด์
ตอบ 3 หน้า 65 ความแรงของคลื่นเสียงมักวัดด้วยมาตราที่เรียกว่า “เดซิเบล” (Decibles : db) ซึ่งความดังของเสียงจะสูงขึ้นตามจํานวนเดซิเบลที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเสียงมีความสูงของ db มากเท่าไร ก็ยิ่งทําอันตรายแก่ผู้ฟังได้มากเท่านั้น โดยเสียงกระซิบจะมีระดับความดังประมาณ 20 db เสียงคุยปกติประมาณ 60 db และเสียงที่ดังเกิน 80 db จะเป็นอันตรายแก่หูถ้าฟังนาน ๆ
78 “หน้าผามายา” เป็นการทดลองเกี่ยวกับอะไร
(1) ความเหมือน
(2) ความลึก
(3) ความสูง
(4) ความสว่าง
(5) ความคล้ายคลึงกัน
ตอบ 2 หน้า 72 ผู้ที่สนใจศึกษาทดลองในเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ความลึกและระยะทาง คือ กิ๊บสันและวอล์ก (Gibson and Walk) ซึ่งเขาได้ทดลองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “หน้าผามายา” (Visual Cliff) พบว่า เมื่อเด็กทารกคลานไปถึงกึ่งกลางโต๊ะที่เป็นรอยต่อระหว่างกระจกโปร่งใส กับพื้นที่ทาสีตาหมากรุก (ทําให้แลเห็นเป็นพื้นที่ 2 ระดับที่มีความสูงต่ำต่างกัน) เด็กจะไม่กล้าคลานออกไป แสดงว่าการรับรู้ความลึกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้
79 ข้อใดไม่ใช่การจัดหมวดหมู่ของการรับรู้โดยนักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์
(1) ภาพและพื้น
(2) หลักความคล้ายคลึงกัน
(3) หลักความใกล้ชิดกัน
(4) การรับรู้ภาพ 3 มิติ
(5) การต่อเติมภาพให้สมบูรณ์
ตอบ 4 หน้า 74 – 76 การจัดหมวดหมู่ของการรับรู้โดยนักจิตวิทยาสกุลเกสตัลท์ (Gestalt) ได้แก่ ภาพและพื้น การต่อเติมให้สมบูรณ์ ความคล้ายคลึงกัน ความใกล้ชิดกัน และความต่อเนื่อง
80 ข้อใดคือการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่น
(1) ประสาททิพย์
(2) อภิธรรมดา
(3) อ่านจิต
(4) โทรจิต
(5) การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
ตอบ 4 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1 โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น
2 ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึงประสาทสัมผัส
3 การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
81 สัมปชัญญะ หมายถึง
(1) การมีสติ
(2) การรู้ว่าตนเองคิดอะไรอยู่
(3) การรู้ว่าผู้อื่นคิดอะไรอยู่
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 89 – 90, 115 สัมปชัญญะ หมายถึง การรู้ตัวทั่วพร้อมว่าตนเองกําลังทํา พูด คิด หรือมีพฤติกรรมใดอยู่ โดยสภาวะที่ร่างกายของบุคคล (อินทรีย์) ออกจากสัมปชัญญะหรือ ขาดสัมปชัญญะ ได้แก่ การนอนหลับ การฝัน การหมดสติ การสะกดจิต การใช้สารเสพติดการดื่มสุรา การใช้ยาหรือสารเคมี และการนั่งสมาธิเจริญภาวนา
82 ข้อใดคือระยะเวลาที่เหมาะสมในการนอนหลับ
(1) ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
(2) 6 ชั่วโมง
(3) 7 ชั่วโมง
(4) 48 ชั่วโมง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 92 โดยทั่ว ๆ ไปคนส่วนใหญ่จะใช้เวลานอนระหว่าง 7 – 8 ชั่วโมงต่อคืน แต่การกําหนดให้ตายตัวลงไปว่าควรจะเป็นกี่ชั่วโมงอย่างชัดเจนนั้นคงเป็นสิ่งที่ทําได้ยาก เพราะมนุษย์แต่ละคน มีความแตกต่างกันในการนอน สําหรับคนบางคนนอนเพียง 5 ชั่วโมง ก็ดูจะเป็นสิ่งที่พอเพียงสําหรับเขา แต่สําหรับคนอื่น ๆ อาจจะใช้เวลานอนถึง 11 ชั่วโมง จึงจะรู้สึกพอเพียงก็ได้
83 ข้อใดเป็นสภาพร่างกายในช่วงเวลาที่เกิด REM
(1) ความดันโลหิตนิ่ง
(2) อารมณ์ไม่ปกติ
(3) ผิวหนังเย็นชา
(4) ร่างกายกระตุก
(5) หัวใจเต้นสม่ำเสมอ
ตอบ 2 หน้า 96 สภาพร่างกายในช่วงเวลาที่เกิด REM (ช่วงของการนอนหลับฝัน) คือ อารมณ์จะยังไม่ปกติ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ความดันโลหิตและการหายใจจะยังไม่เข้าที่ดีนัก ร่างกายจะมีการเคลื่อนไหวน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย และมักจะไม่เกิดการเปลี่ยนท่านอน
84 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการสะกดจิต
(1) ช่วยให้เชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น
(2) ช่วยให้เกิดความมุ่งมั่น
(3) ทําให้คนธรรมดามีพลังพิเศษได้
(4) ช่วยลดความเจ็บปวด
(5) ช่วยให้เกิดการผ่อนคลายทางจิตใจ
ตอบ 3 หน้า 105, 116 ประโยชน์ของการสะกดจิต มีดังนี้
1 ช่วยให้บุคคลเกิดความมุ่งมั่นและชักจูงให้มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น แต่จะไม่สามารถเปลี่ยนคนธรรมดาให้มีพลังพิเศษได้
2 ช่วยโน้มน้าวจิตใจของบุคคลให้สนใจที่จะจดจํา แต่ไม่สามารถช่วยให้ความจําของบุคคลดีขึ้น
3 ในทางการแพทย์ สามารถช่วยลดความเจ็บปวดของคนไข้ได้
4 ช่วยให้บุคคลเกิดการผ่อนคลายทางจิตใจ ฯลฯ
85 สภาวะใดเป็นสภาวะที่บุคคลออกจากสัมปชัญญะ
(1) การเจริญภาวนา
(2) การใช้ยาเสพติด
(3) การสะกดจิต
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ
86 สภาวะที่เรียกว่า Sleep Deprivation Psychosis คืออะไร
(1) อาการหลับไม่สนิท
(2) สภาพจิตที่ฟุ้งซ่าน ทําให้นอนไม่หลับ
(3) อาการละเมอขณะนอนหลับ
(4) สภาพจิตที่กระหายการนอนหลับ
(5) อาการกระตุกก่อนการนอนหลับ
ตอบ 4 หน้า 91 นักจิตวิทยาได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับผู้ที่ไม่มีโอกาสได้นอนติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันพบว่า จะมีสภาพทางจิตที่กระหายการนอนหลับเป็นอย่างยิ่ง (Sleep Deprivation Psychosis) ซึ่งอาจส่งผลทําให้บุคคลนั้นเกิดความอ่อนล้าทางร่างกาย มึนงง และมีสภาพการรับรู้ทางจิตใจที่ผิดพลาด รวมทั้งอาจมีอาการประสาทหลอนได้
87 ระยะการนอนหลับใดที่เกิดปฏิกิริยาสะท้อนของกล้ามเนื้อ
(1) ระยะที่ 1
(2) ระยะที่ 2
(3) ระยะที่ 3
(4) ระยะที่ 4
(5) ระยะที่ 5
ตอบ 1 หน้า 93 ระยะที่ 1 ของการนอนหลับ เป็นระยะต้นของการที่บุคคลเพิ่งหลับ หัวใจจะเต้นช้าลงกล้ามเนื้อทุกส่วนเริ่มผ่อนคลาย บางครั้งอาจมีปฏิกิริยาสะท้อนของกล้ามเนื้อ เช่น มีการกระตุกเล็กน้อยคล้ายสะดุ้ง คลื่นสมองจะมีลักษณะสั้น ไม่สม่ําเสมอ คลื่นแอลฟาจะมีบ้างประปราย
88 ผู้ใดเชื่อว่าความฝันเกิดจากความคิด ความรู้สึกที่ติดค้างมาจากช่วงกลางวัน
(1) Freud
(2) Adler
(3) Jung
(4) Hopson & McCarley
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 98, 115, (คําบรรยาย) แอดเลอร์ (Adler) เชื่อว่า ความฝันเป็นเรื่องราวของความคิดคํานึงรวมทั้งความรู้สึกที่ติดค้างมาจากช่วงเวลากลางวันแล้วจึงต่อเนื่องนําไปฝันในช่วงเวลากลางคืน
89 ข้อใดไม่ใช่ชนิดของการสะกดจิตที่กล่าวในบทเรียน
(1) การสะกดจิตตนเอง
(2) การสะกดจิตโดยผู้อื่นยินยอม
(3) การสะกดจิตหมู่
(4) การสะกดจิตโดยผู้อื่นไม่ยินยอม
(5) การสะกดจิตโดยผู้อื่นไม่รู้ตัว
ตอบ 3 หน้า 103 – 104 การสะกดจิต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1 การสะกดจิตตนเอง
2 การสะกดจิตผู้อื่น แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การสะกดจิตโดยผู้อื่นยินยอม การสะกดจิตโดยผู้อื่นไม่ยินยอม และการสะกดจิตโดยผู้อื่นไม่รู้ตัว
90 ยาเสพติดประเภทใดออกฤทธิ์ผสมผสาน
(1) เฮโรอื่น
(2) กัญชา
(3) ยาบ้า
(4) ฝิ่น
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 106 – 110 ยาเสพติดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ และทุกกลุ่มสามารถออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ทั้งสิ้น คือ
1 ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทยานอนหลับ สารระเหย (ทินเนอร์) และเครื่องดื่มมึนเมาหรือแอลกอฮอล์ ฯลฯ
2 ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) กระท่อม โคเคอีน บุหรี่ นิโคติน กาแฟ คาเฟอีน และยาแก้ปวด ฯลฯ
3 ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที และเห็ดขี้ควาย ฯลฯ
4 ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ได้แก่ กัญชา
91 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการเรียนรู้
(1) สัญชาตญาณ
(2) สิ่งเสริมแรง
(3) การลงโทษ
(4) ประสาทสัมผัส
(5) ประสบการณ์ในอดีต
ตอบ 1 หน้า 167 168, (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการเรียนรู้ ได้แก่ ประสบการณ์ในอดีต สภาพจิตใจในปัจจุบัน ประสาทสัมผัส การรับรู้ สิ่งเร้า สิ่งเสริมแรง การให้รางวัล การลงโทษ และความคิดความเข้าใจ ฯลฯ
92 ข้อใดเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
(1) การหายใจของมนุษย์
(2) การว่ายน้ำของปลา
(3) การชักใยของแมงมุม
(4) การร้องไห้ของเด็กแรกเกิด
(5) การปรบมือของเด็กเมื่อดีใจ
ตอบ 5 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรมอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต แต่พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ หากเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด เช่น การกะพริบตาเมื่อแสงจ้า การไอหรือจาม ฯลฯ และเกิดจากสัญชาตญาณอันเป็นลักษณะเฉพาะของเผ่าพันธุ์ เช่น การหายใจของมนุษย์ การร้องไห้ของเด็กแรกเกิด การก้าวเดินครั้งแรกของเด็ก การยืนและเดินสี่ขาของสุนัข การว่ายน้ำของปลา การชักใยของแมงมุม ฯลฯ
93 บุคคลใดค้นพบการเรียนรู้ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
(1) อีวาน พาฟลอฟ
(2) แบนดูรา
(3) โรเจอร์
(4) วัตสัน
(5) บี.เอฟ. สกินเนอร์
ตอบ 1 หน้า 170 อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ได้ค้นพบการเรียนรู้ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก โดยเขาได้ทําการทดลองวางผงเนื้อลงบนลิ้นสุนัข สุนัขก็จะหลั่งน้ำลายออกมา ซึ่งเป็นการตอบสนองแบบปฏิกิริยาสะท้อน (เป็นไปโดยอัตโนมัติ) ต่อมาเขาสั่นกระดิ่งและให้ผงเนื้อทันทีสุนัขก็จะน้ำลายไหลออกมา สุดท้ายเขาสั่นกระดิ่งเพียงอย่างเดียวก็ทําให้สุนัขน้ำลายไหลได้
94 ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ภาวะการหยุดยั้ง (Extinction) เกิดขึ้นเมื่อไร
(1) การให้ US ก่อนการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง
(2) การไม่ให้ UR หลังการให้ US หลาย ๆ ครั้ง
(3) การไม่ให้ US หลังการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง
(4) การให้ US หลังการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง
(5) การให้ CS ก่อนการให้ US หลาย ๆ ครั้ง
ตอบ 3 หน้า 171 172 ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ภาวะการหยุดยั้ง (Extinction)จะเกิดขึ้นเมื่อไม่ให้US หลังการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง US : unconditioned Stimulus คือ สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข เช่น ผงเนื้อ น้ำมะนาว ฯลฯ CS:Conditioned Stimulus คือ สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหรือสิ่งเร้าที่เรียนรู้ เช่น เสียงกระดิ่ง ฯลฯ
95 การฝึกสุนัขให้ยกขาเมื่อต้องการอาหาร แสดงถึงลักษณะการเรียนรู้แบบใด
(1) การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น
(2) การเรียนรู้แบบจดจํา
(3) การเรียนรู้โดยบังเอิญ
(4) การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
(5) การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา
ตอบ 5 หน้า 174 การวางเงื่อนไขแบบการกระทําพัฒนาขึ้นโดย บี.เอฟ. สกินเนอร์ (B.E. Skinner) ซึ่งเชื่อว่า การตอบสนองของอินทรีย์นั้น จะขึ้นอยู่กับความพร้อมที่ต้องการจะทําพฤติกรรม เป็นการตอบสนองที่ควบคุมได้ และมีหลักการเรียนรู้อยู่ว่าพฤติกรรมใดที่ทําแล้วได้รับรางวัล ก็มีแนวโน้มว่าจะกระทําพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก เช่น การฝึกสุนัขให้ดมกลิ่นหายาเสพติดหรือฝึกให้ยกขาเมื่อต้องการอาหาร หรือฝึกให้กระโดดลอดห่วง โดยมีการให้รางวัลแก่สุนัข ฯลฯ
96 การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) คือสิ่งใด
(1) ให้รางวัล
(2) ลงโทษ
(3) เพิกเฉย
(4) ยับยั้ง
(5) หยุด
ตอบ 1 หน้า 179 การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง การที่ความพอใจหรือรางวัลเกิดขึ้นเมื่อกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป เช่น การให้ขนมแก่เด็กเมื่อเด็กทําความดี ฯลฯ ส่วนการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง การทําให้ความไม่สุขสบาย หมดไป เช่น การกินยาแก้ปวดเพื่อให้หายจากอาการปวดศีรษะ ฯลฯ
97 ข้อใดเป็น “สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ”
(1) คะแนนสอบ
(2) ความรัก
(3) อาหาร
(4) ความสนใจ
(5) การยอมรับ
ตอบ 3 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ (Primary Reinforcers) เป็นสิ่งเสริมแรงที่เป็นธรรมชาติไม่ต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทางชีววิทยาที่เพิ่มความพึงพอใจและลดความไม่พึงพอใจลงหรือสนองความต้องการทางกายภาพได้ เช่น น้ำอาหาร และความต้องการทางเพศ ฯลฯ
98 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการนําการลงโทษมาใช้ในการเรียนรู้
(1) การสร้างให้เกิดความเข้าใจ
(2) การเสริมแรง เพื่อเพิ่มกําลังในการตอบสนอง
(3) การไม่เสริมแรง เพื่อระงับการตอบสนอง
(4) การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ
(5) การลงโทษ เพื่อการเลิกตอบสนอง
ตอบ 1 หน้า 182 องค์ประกอบของการนําการลงโทษมาใช้ในการเรียนรู้ มี 3 ประการ คือ
1 การเสริมแรง เพื่อเพิ่มกําลังในการตอบสนอง
2 การไม่เสริมแรง เพื่อระงับการตอบสนอง (เช่น การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ)
3 การลงโทษ เพื่อการเลิกตอบสนอง
99 การโฆษณายาสีฟันโดยใช้ทันตแพทย์เป็นผู้แนะนําผลิตภัณฑ์ (Presenter) เพื่อโน้มน้าวใจผู้บริโภค อาศัยการเรียนรู้แบบใด
(1) การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
(2) การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา
(3) การเรียนรู้จากความคิดความเข้าใจ
(4) การสรุปความเหมือน
(5) การปรับพฤติกรรม
ตอบ 3 หน้า 183, 189 การเรียนรู้จากความคิดความเข้าใจ หมายถึง การเข้าใจ การรู้ การคาดหมาย การคาดหวัง และการใช้กระบวนการทางจิตระดับสูงอื่น ๆ นอกจากนี้ยังครอบคลุมไปถึงความจํา ความคิด การแก้ปัญหา รวมทั้งการใช้มโนทัศน์และภาษาในการเรียนรู้ โดยในสถานการณ์การเรียนรู้จะสร้างแผนที่การคิดการเข้าใจซึ่งเป็นการแสดงความสัมพันธ์แทนตัวขึ้นภายในความคิด
100 มนุษย์สามารถควบคุมการทํางานของร่างกายที่เคยเชื่อว่าเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนืออํานาจจิตใจได้ ลักษณะเช่นนี้ใช้หลักการเรียนรู้แบบใด
(1) การเรียนรู้แฝง
(2) การเรียนรู้เพื่อจะเรียน
(3) การป้อนกลับทางชีวะ
(4) การเรียนรู้ทักษะ
(5) การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา
ตอบ 3 หน้า 185 นักจิตวิทยาพบว่ามนุษย์สามารถควบคุมการทํางานของร่างกายในส่วนที่เคยเชื่อว่าเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนืออํานาจจิตใจได้ โดยใช้หลักการเรียนรู้แบบการป้อนกลับทางชีวะ ซึ่งใช้หลักคล้าย ๆ กับโยคะและพุทธศาสนา ทั้งนี้การทํางานของร่างกายเกือบทุกอย่างสามารถอยู่ในอํานาจของจิตใจได้ถ้าให้การป้อนกลับหรือรางวัลตามหลักการเปลี่ยนแปลงการทํางานของส่วนนั้น
101 ข้อความใดไม่ถูกต้อง
(1) พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมไม่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของบุคคล
(2) จุดมุ่งหมายในการศึกษาพัฒนาการ คือ เพื่อเข้าใจพัฒนาการและพฤติกรรมของบุคคล
(3) พัฒนาการเป็นการศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงของอินทรีย์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
(4) การศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ทําให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทุกด้านของบุคคล (5) การศึกษาพัฒนาการของบุคคลต้องศึกษาจากทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจึงทําให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น
ตอบ 1 หน้า 121 – 122 พัฒนาการเป็นการศึกษาถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงของอินทรีย์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา จุดมุ่งหมายประการหนึ่งในการศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ คือ เพื่อเข้าใจพัฒนาการ และพฤติกรรมของบุคคล ทําให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทุกด้านของบุคคล โดยต้องศึกษาและ ประมวลพิจารณาจากทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจึงทําให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ทั้งนี้ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมจะร่วมกันมีบทบาทในพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของบุคคล
102 ข้อใดไม่สอดคล้องกับกฎของเมนเดล
(1) ยีนส์ถูกส่งข้ามจากคนช่วงอายุหนึ่งไปยังคนอีกช่วงอายุหนึ่ง
(2) ร่างกายของคนเรามียืนส์ 400,000 ชนิด
(3) ยีนส์ที่มีลักษณะเด่น และยีนส์ที่มีลักษณะด้อย
(4) โรคเบาหวานเป็นโรคทางพันธุกรรม
(5) พันธุกรรมถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน
ตอบ 2 หน้า 122 – 124, 128 “กฎของเมนเดล” สามารถอธิบายการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ดังนี้
1 ยีนส์จะถูกส่งข้ามจากคนช่วงอายุหนึ่งไปยังคนอีกช่วงอายุหนึ่ง
2 ร่างกายของคนเราจะมียีนส์อยู่ประมาณ 40,000 ชนิด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ยีนส์ที่มี ลักษณะเด่น และยืนส์ที่มีลักษณะด้อย
3 ยีนส์จะถ่ายทอดคุณลักษณะจากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน เช่น รูปร่าง หน้าตา สีผม สีผิว รวมทั้งกลุ่มเลือด และโรคบางอย่าง (เบาหวาน ตาบอดสี) ฯลฯ
103 สิ่งใดที่ทําให้ยีนส์ที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
(1) การใช้รังสี X-Ray
(2) การใช้ยา
(3) เคมีบําบัด
(4) การเกิดอุบัติเหตุ
(5) การเกิดโรคไทรอยด์
ตอบ 4 หน้า 124, 132 133 ในสภาพการณ์ที่เป็นปกติโดยทั่วไป ยีนส์ที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์นั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่อาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้จากการใช้รังสีเอกซเรย์ (X-Ray) การใช้เคมีบําบัดหรือการใช้ยาบางชนิด รวมทั้งการเกิดโรคจากต่อมไทรอยด์และระบบเลือดของมารดา
104 ข้อใดไม่ใช่ฝาแฝดเหมือน
(1) สเปิร์ม 1 ไข่ 1
(2) สเปิร์ม 1 ไข่ 2
(3) ฝาแฝดเพศเดียวกัน
(4) มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกัน
(5) หน้าตาเหมือนกัน
ตอบ 2 หน้า 125 ฝาแฝดเหมือนหรือแฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ 1 ใบ ผสมกับสเปิร์มหรืออสุจิ 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิผิดพลาด)ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน มีหน้าตาเหมือนกัน มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกันทุกประการ
105 คนที่มีลักษณะ Endomorphy จะมีลักษณะอารมณ์
(1)มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
(2) อารมณ์ดี
(3) โมโหยาก
(4) อารมณ์มั่งคง
(5) เอาใจตนเป็นใหญ่
ตอบ 2 หน้า 129, 295 เซลดอน (Sheldon) เป็นผู้เสนอว่าการที่บุคคลมีลักษณะรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลได้ โดยแบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1 รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบายโกรธง่ายหายเร็ว ขึ้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ่ และกินจุ หรือชอบกิน ๆ นอน ๆ ฯลฯ
2 รูปร่างผอมเกร็ง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย ขี้กลัว ไม่กล้าแสดงออก เป็นคนเฉย ๆรักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่ง โมโหยากแต่หายช้า พูดน้อย ดื้อดึง และเอาใจตนเป็นใหญ่ ฯลฯ
3 รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้ง เป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ
106 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะพัฒนาการของมนุษย์
(1) เกิดขึ้นเอง
(2) เป็นอัตราที่ไม่เหมือนกัน
(3) ไม่ต่อเนื่องกัน
(4) มีทิศทางที่แน่นอน
(5) พัฒนาการแต่ละช่วงอายุไม่เป็นอัตราเดียวกัน
ตอบ 3 หน้า 140 – 141, (คําบรรยาย) ลักษณะพัฒนาการของมนุษย์ มีดังนี้
1 เกิดขึ้นเองในลักษณะที่ต่อเนื่องกัน (Continuity)
2 เป็นไปตามแบบฉบับของมันเอง (Sequence)
3 เกิดเป็นอัตราที่ไม่เหมือนกัน (Ratio)
4 มีทิศทางที่แน่นอนและเกิดเป็นทิศทางเฉพาะ (Developmental Direction)
5 พัฒนาการแต่ละช่วงอายุไม่เป็นอัตราเดียวกัน
107 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีพัฒนาการทางเพศของฟรอยด์
(1) Oral Stage ความพึงพอใจอยู่ที่ปาก
(2) Anal Stage ความพึงพอใจอยู่ที่ระบบขับถ่าย
(3) Phallic Stage สนใจอวัยวะเพศ, เด็กผู้ชายจะรักพ่อ และเด็กผู้หญิงจะรักแม่
(4) Latency Stage เป็นวัยที่เด็กกําลังเข้าโรงเรียน
(5) Genital Stage เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้าม มีแรงจูงใจที่จะรักผู้อื่น
ตอบ 3 หน้า 145, 299, (คําบรรยาย) ทฤษฎีพัฒนาการทางเพศของฟรอยด์ (Freud) ได้แบ่งพัฒนาการตามลักษณะความเปลี่ยนแปลงซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการทางเพศ โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้
1 ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก (Oral Stage) เป็นระยะที่ทารกใช้ปากหาความสุขและความพึงพอใจ
2 ขั้นความสุขอยู่ที่ทวารหนัก (Anal Stage) โดยเด็กจะได้รับความพึงพอใจในการขับถ่าย
3 ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) เด็กจะเกิดความสนใจและพึงพอใจอวัยวะเพศของตนเองโดยเด็กหญิงและเด็กชายจะรักใคร่ผูกพันกับพ่อหรือแม่ที่เป็นเพศตรงกันข้ามกับตนเอง
4 ขั้นแอบแฝง (Latency Stage) เป็นวัยที่เด็กกําลังเข้าโรงเรียน จึงเป็นระยะของการเรียนรู้
5 ขั้นการมีเพศสัมพันธ์ (Genital Stage) เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้าม มีแรงจูงใจที่จะรักผู้อื่น
108 ความต้องการได้รับตําแหน่งและการได้รับรางวัลประกาศเกียรติยศ อยู่ในลําดับขั้นความต้องการใดตามแนวคิดของมาสโลว์ (Maslow)
(1) ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological Needs)
(2) ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง (Safety and Security Needs)
(3) ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Love and Belonging Needs)
(4) ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self Esteem Needs)
(5) ความต้องการประจักษ์ตน (Self-Actualization Needs)
ตอบ 4 หน้า 231 สิ่งเร้าที่มากระตุ้นบุคคลเพื่อให้เกิดความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น ได้แก่ ตําแหน่ง เครื่องหมายการแบ่งชั้น/การแข่งขันบังคับบัญชา เครื่องแบบ การประกาศเกียรติคุณ ถ้วยรางวัล โล่เกียรติยศ ใบปริญญา เครื่องหมายคุณวุฒิ ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ)
109 ข้อใดไม่ใช่ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ
(1) สร้างความสามัคคี
(2) ภาพวาด
(3) ได้บัตรอวยพร
(4) หนังโรแมนติก
(5) มอบยาบํารุงร่างกาย
ตอบ 5 หน้า 231 สิ่งเร้าที่มากระตุ้นบุคคลเพื่อให้เกิดความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ได้แก่ สิ่งของที่แสดงถึงสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างบุคคล (เช่น บัตรอวยพร ของขวัญ ภาพวาด ฯลฯ) สื่อที่แสดงความรักความเข้าใจ (เช่น เพลง หนังสือโรแมนติก ภาพยนตร์หรือบทกวีความรัก ฯลฯ)กิจกรรม/สถานการณ์ที่สร้างความสามัคคี ความผูกพัน ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ)
110 ข้อใดไม่ใช่ความต้องการทางด้านร่างกาย
(1) การแต่งกาย
(2) ยา
(3) บ้าน
(4) อาหาร
5) เครื่องนุ่งห่ม
ตอบ 2 หน้า 231 สิ่งเร้าที่มากระตุ้นบุคคลเพื่อให้เกิดความต้องการทางด้านร่างกาย ได้แก่ อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย (บ้าน) การตกแต่งสถานที่ เพศตรงข้าม (การแต่งกายและพฤติกรรมการแสดงออกต่าง ๆ) ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ)
111 อารมณ์ในข้อใดไม่แสดงออกทางใบหน้าตามหลักของพอล เอ็กแมน
(1) เสียใจ
(2) โกรธ
(3) ทุกข์
(4) สุข
(5) ร้องไห้
ตอบ 3 หน้า 274 อารมณ์สากลที่แสดงออกทางใบหน้าตามแนวคิดของพอล เอ็กแมน (Paul Ekman)มี 6 ชนิด ได้แก่ ประหลาดใจ รังเกียจ เศร้าเสียใจ โกรธ กลัว และเป็นสุข
112 ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์
(1) ความกระหาย
(2) ความหิว
(3) ความต้องการหลีกหนีอันตราย
(4) ความต้องการสืบพันธุ์
(5) ความเผาผลาญในร่างกาย
ตอบ 5 หน้า 233, 239 แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ (เพื่อความอยู่รอดของชีวิต) แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1 แรงจูงใจทางชีวภาพ/สรีรวิทยา (Biological Motive) เช่น ความหิว ความกระหาย ฯลฯ
2 แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ (Reproduction Motive) เช่น ความต้องการทางเพศ ฯลฯ
3 แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย (Avoidance Motive)
113 แรงจูงใจประเภทใดที่ทําให้มนุษย์ต้องหาวิธีอยู่รอด
(1) แรงจูงใจพื้นฐาน
(2) แรงจูงใจภายใน
(3) แรงจูงใจภายนอก
(4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
(5) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 112 ประกอบ
114 แรงจูงใจที่ทําให้บุคคลปฏิบัติตนเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ตรงกับข้อใด (1) แรงจูงใจภายใน
(2) แรงจูงใจภายนอก
(3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
(4) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์
(5) แรงจูงใจที่นอกเหนือการควบคุม
ตอบ 4 หน้า 234 แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliative Motive) เป็นแรงจูงใจที่ทําให้บุคคลปฏิบัติตนและแสดงพฤติกรรมให้ตนเป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น อันเป็นแรงจูงใจที่สังคมสร้างเงื่อนไข กระตุ้นให้บุคคลเกิดความต้องการที่จะติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทั้งนี้เพราะคนเราต้องการที่จะได้รับความรักจากผู้อื่น ต้องการการยอมรับและเอาใจใส่จากบุคคลที่ตนเกี่ยวข้องด้วย
115 อารมณ์ที่เกิดขึ้นแรกสุดในวัยทารกคืออารมณ์ใด
(1) อารมณ์อิจฉาริษยา
(2) อารมณ์ตื่นเต้น
(3) อารมณ์รําคาญ
(4) อารมณ์โกรธ
(5) อารมณ์อยากรู้อยากเห็น
ตอบ 2 หน้า 271 เค.บริดเจส (K.Bridges) พบว่า พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กทารกมีลักษณะดังนี้ อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์คืออารมณ์ตื่นเต้น แล้วจึงพัฒนาไปสู่อารมณ์ที่มีลักษณะเฉพาะมากขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกออกระหว่างอารมณ์ดีใจและเดือดร้อนใจ ต่อจากนั้นอารมณ์โกรธ เกลียดและกลัวก็จะปรากฏขึ้นภายหลังตามระดับวุฒิภาวะและการรับรู้ของเด็ก และเมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) อารมณ์พื้นฐานก็จะพัฒนาจนครบสมบูรณ์ทั้ง 8 ชนิด
116 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง
(1) อารมณ์เป็นประสบการณ์ความรู้สึกส่วนบุคคล
(2) การแสดงออกทางอารมณ์แตกต่างจากการกระทําปกติทั่ว ๆ ไป
(3) อารมณ์จะเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ
(4) อารมณ์เป็นพฤติกรรมภายนอกและเกิดจากความคิดเฉพาะอย่าง
(5) อารมณ์เป็นวิธีการที่สามารถระบายความรู้สึกได้
ตอบ 4 หน้า 255 – 256, (คําบรรยาย) อารมณ์ มีลักษณะสําคัญ 4 ประการ คือ
1 อารมณ์ไม่ใช่พฤติกรรมภายนอกหรือความคิดเฉพาะอย่าง แต่อารมณ์เป็นประสบการณ์ความรู้สึกส่วนบุคคล
2 อารมณ์เป็นความรู้สึกที่รุนแรงและมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่แตกต่างไปจากการกระทําปกติทั่ว ๆ ไป ดังนั้นอารมณ์จึงเป็นวิธีการที่บุคคลสามารถนํามาใช้เพื่อระบายความรู้สึกได้
3 บุคคลจะมีการประเมินหรือแปลความหมายของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องแล้วจึงจะเกิดอารมณ์ 1 อารมณ์จะเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ
117 กระบวนการจูงใจ ตรงกับใด
(1) ความต้องการ แรงขับ การตอบสนอง สิ่งเร้า เป้าหมาย
(2) สิ่งเร้า แรงขับ การตอบสนอง ความต้องการ เป้าหมาย
(3) สิ่งเร้า ความต้องการ แรงขับ การตอบสนอง เป้าหมาย
(4) เป้าหมาย สิ่งเร้า แรงขับ ความต้องการ การตอบสนอง
(5) ความต้องการ แรงขับ ความเครียด การตอบสนอง การแสดงผล
ตอบ 3 หน้า 227 228 กระบวนการเกิดแรงจูงใจ มีขั้นตอนและองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1 Input (ปัจจัยนําเข้า) ได้แก่ สิ่งเร้า, การเรียนรู้และประสบการณ์
2 Process (กระบวนการ) ได้แก่ ความต้องการ, แรงขับ และการตอบสนอง
3 Output (ปัจจัยนําออก) ได้แก่ เป้าหมาย
118 อารมณ์กลัวจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระในข้อใด
(1) การหายใจช้าลง
(2) ก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนนอร์แอดรีนาลิน
(3) กล้ามเนื้ออ่อนแรง
(4) ความต้านทานกระแสไฟฟ้าของผิวหนังบริเวณมือจะลดลง
(5) ความต้านทานกระแสไฟฟ้าของผิวหนังบริเวณมือจะเพิ่มขึ้น
ตอบ 4 หน้า 262 263 อารมณ์กลัวจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระตามบริเวณต่าง ๆ ดังนี้ การหายใจจะถี่ขึ้น ความต้านทานกระแสไฟฟ้าของผิวหนังบริเวณมือจะลดลง มีความตึงเครียดของกล้ามเนื้อสูงมาก และจะก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแอดรีนาลินจากต่อมหมวกไต
119 ทฤษฎีใดอธิบายว่าร่างกายมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าก่อนการเกิดอารมณ์
(1) เจมส์-แลง
(2) แคนนอน-บาร์ด
(3) แชคเตอร์-ซิงเกอร์
(4) คาร์รอล-อิซาร์ด
(5) มาสโลว์-เมอร์เรย์
ตอบ 1 หน้า 265, 269 ทฤษฎีของเจมส์ แลง (James-Lang Theory) อธิบายว่า ร่างกายของคนเราจะต้องแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสิ่งเร้าเป็นอันดับแรกก่อน แล้วอารมณ์จึงจะเกิดตามมา ทั้งนี้ ประสบการณ์ทางอารมณ์เป็นผลมาจากการรับรู้การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย โดยหลังจาก ที่เกิดการเร้าทางกายและพฤติกรรมแล้วจะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ หายใจหอบ หน้าแดง และเหงื่อออก นําไปสู่ประสบการณ์ทางอารมณ์
120 ทฤษฎีใดเน้นว่า “อารมณ์จะเกี่ยวข้องกับการตีความหมายของสถานการณ์ที่แต่ละคนได้เผชิญ”
(1) เจมส์-แลง
(2) แคนนอน-บาร์ด
(3) แชคเตอร์ – ซิงเกอร์
(4) คาร์รอล-อิซาร์ด
(5) มาสโลว์-เมอร์เรย์
ตอบ 3 หน้า 267 – 269 ทฤษฎีของแชคเตอร์-ซิงเกอร์ (Schachter-Singer Theory) อธิบายว่า อารมณ์เกิดจากการแปลความปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติทางกายและการคิดหาสาเหตุของ การตอบสนองนั้น ๆ โดยอาการตอบสนองทางกายแบบเดียวกันนั้น อารมณ์อาจแตกต่างกัน จะขึ้นอยู่กับการตีความสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งมาเร้าให้เกิดการตอบสนอง ดังนั้นการเร้า เพียงอย่างเดียวไม่ทําให้เกิดอารมณ์ จะต้องมีการแปลความควบคู่ไปด้วย