การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4321 การบริหารร่วมสมัย
คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ ให้นักศึกษาตอบทุกข้อ
ข้อ 1. คําว่า “กลยุทธ์” (Strategy) กับคําว่า “ยุทธศาสตร์” มีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
นักวิชาการที่มีชื่อเสียงในเรื่องดังกล่าวเป็นใคร ในการวิเคราะห์องค์การใช้เทคนิคอะไร จงยกตัวอย่าง การวิเคราะห์องค์การในภาครัฐที่ใดที่หนึ่งโดยใช้เทคนิคนั้นมาให้เข้าใจอย่างชัดเจน
แนวคําตอบ
คําว่า “กลยุทธ์” หรือ “ยุทธศาสตร์ ภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Strategy” โดยมีรากศัพท์ มาจากคําว่า “Strategy” ในภาษากรีก ซึ่งเกิดจากศัพท์ 2 คํา คือ “Stratos” หมายถึง Army หรือ กองทัพ และ Agein หมายถึง Lead หรือ นําหน้า โดยเมื่อนำศัพท์ 2 คํานี้มารวมกันจะหมายถึง การนํากองทัพ หรือ ยุทธวิธีหลักในการรบเพื่อเอาชนะศัตรู ดังนั้นคําว่ากลยุทธ์กับยุทธศาสตร์จึงเป็นคํา ๆ เดียวกันและมีความหมาย เหมือนกัน
นักวิชาการที่มีชื่อเสียงด้านกลยุทธ์
นักวิชาการที่มีชื่อเสียงด้านกลยุทธ์มีหลายท่าน เช่น Michael E. Porter, Bracker, Chandler และ Ansoff
ตัวอย่างเช่น Michael E. Porter ได้เสนอแนวคิดในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) โดยกล่าวว่า การวิเคราะห์สถานการณ์การแข่งขันกับคู่แข่ง ผู้บริหารจะต้องคํานึงถึง ปัจจัย 5 ประการ คือ
1 อัตราของการแข่งขันกันระหว่างบริษัทต่าง ๆ ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้น \
2 การคุกคามที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาด
3 การคุกคามที่เกิดขึ้นจากสินค้าหรือบริการทดแทน
4 อํานาจต่อรองของผู้จัดส่ง
5 อํานาจต่อรองลูกค้า
ทั้งนี้ Michael E. Porter เห็นว่า การได้เปรียบในการแข่งขันจะเกิดขึ้นได้ใน 2 ลักษณะ คือ
1 การทําให้ต้นทุนต่ำ (Low Cost)
2 การทําให้สินค้า/บริการมีความแตกต่าง (Differentiation) หรือทําให้ดีกว่าคู่แข่ง
เทคนิคการวิเคราะห์องค์การ
กอนที่องค์การจะกําหนดกลยุทธ์จําเป็นต้องมีการวิเคราะห์องค์การโดยใช้เทคนิค SWOT เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ ซึ่งคําว่า SWOT ประกอบด้วย
1 S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ เป็นการพิจารณาทรัพยากรภายในองค์การ หรือระบบย่อยขององค์การ เช่น อํานาจหน้าที่ เป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง บุคลากร ความรู้และข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี เป็นต้น ว่ามีอะไรบ้างที่เป็น จุดแข็ง/จุดเด่นขององค์การ องค์การสามารถทําได้ดี มีความชํานาญ มีคุณภาพ มีชื่อเสียง เป็นต้น
2 w = Weakness คือ จุดอ่อนขององค์การ เป็นการพิจารณาอํานาจหน้าที่ เป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง บุคลากร ความรู้และข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีภายในองค์การว่ามีจุดอ่อนอย่างไร เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไข
3 O = Opportunities คือ โอกาสที่จะทําให้เกิดความได้เปรียบแก่องค์การ เป็นการ พิจารณาดูว่ามีปัจจัยภายนอกองค์การใดที่จะนํามาเป็นประโยชน์ในการดําเนินงานขององค์การได้บ้าง ซึ่งแบ่งออกเป็น
1) สิ่งแวดล้อมของงาน ได้แก่ ลูกค้า คู่แข่ง ผู้ผลิต แรงงาน กฎระเบียบหรือหน่วยงานที่ควบคุม
2) สิ่งแวดล้อมทั่วไป ได้แก่ การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และต่างประเทศ
4 T = Threatคือ อุปสรรคหรือภยันตรายที่จะทําให้เกิดหายนะแก่องค์การ เป็นการ พิจารณาสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมของงานและสิ่งแวดล้อมทั่วไปที่ทําให้เกิดภยันตรายหรือ หายนะต่อการดําเนินงานขององค์การ
การใช้เทคนิค SWOT วิเคราะห์กรุงเทพมหานคร จุดแข็งของกรุงเทพมหานคร
1 มีบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความรู้ความสามารถ
2 มีงบประมาณจํานวนมาก
3 มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย
4 มีสํานักงานเขต 50 เขต แต่ละเขตมีบุคลากรและเครื่องมือพร้อมในการทํางาน
5 คณะผู้บริหารมีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ และได้รับการยอมรับจากประชาชนสูง
จุดอ่อนของกรุงเทพมหานคร
1 การบริหารราชการยังขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร และการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่ดําเนินภารกิจในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
2 การบริหารราชการขาดความโปร่งใส เกิดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น
3 ระบบการตรวจสอบและควบคุมการบริหารราชการไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน
4 ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง ทําให้บางครั้งการดําเนินนโยบายต่าง ๆ ขาดความต่อเนื่อง
5 ขาดอํานาจต่อรองทางการเมืองกับรัฐบาล ทําให้ไม่สามารถริเริ่มภารกิจใหม่ ๆ หรือขยายเขตอํานาจตามกฎหมายให้กว้างขวางมากขึ้นได้
โอกาสของกรุงเทพมหานคร
1 เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจของประเทศ
2 เป็นเมืองเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงและต่อเนื่อง
3 เป็นสถานที่ตั้งของสถานที่สําคัญ ๆ เช่น กระทรวง กรมต่าง ๆ สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่ทําการหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ จํานวนมาก เช่น พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตร เป็นต้น
4 มีระบบโครงข่ายการสื่อสารสมัยใหม่ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ประชากรส่วนใหญ่เข้าถึงเครือข่ายได้ถ้วนหน้า
5 ประชากรมีระดับการศึกษาสูงกว่าเมืองอื่น ๆ ในประเทศ
อุปสรรคของกรุงเทพมหานคร
1 การอพยพของคนเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นจํานวนมากส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ความแออัด การขาดแคลนที่อยู่อาศัย การเกิดปัญหาอาชญากรรม เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่อต่าง ๆ
2 ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำส่งผลต่อระดับรายได้ของประชากร การจ้างงาน และการลงทุนต่าง ๆ
3 การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนส่งผลให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา หลังไหลเข้ามาทํางานในกรุงเทพมหานครเป็นจํานวนมาก
4 การเมืองที่ขาดเสถียรภาพส่งผลให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีความเสี่ยงต่อการชุมนุมประท้วง หรือการก่อเหตุความรุนแรงต่าง ๆ อันเนื่องมาจากปัญหาการเมือง
5 การมีความเสี่ยงต่อการก่อการร้ายหรือการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ
ข้อ 2 เหตุผลใดที่สถาบันการศึกษา จึงต้องมีการประกันคุณภาพการศึกษา (อย่างน้อย 5 ประการ)
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคําแหงมีกี่ระบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย และหลักการประเมินคุณภาพภายนอกมีอะไรบ้าง พร้อมกับยกตัวอย่างปรัชญา/ปณิธานของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
แนวคําตอบ
เหตุผลที่ทําให้สถาบันการศึกษาต้องมีการประกันคุณภาพการศึกษา
1 ความแตกต่างด้านคุณภาพของสถาบันการศึกษา
2 ความท้าทายของปัจจัยโลกาภิวัตน์ที่มีต่อการศึกษา ทําให้การศึกษาไร้พรมแดน
3 สถาบันการศึกษามีความจําเป็นที่จะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่าสามารถพัฒนา องค์ความรู้และผลิตบัณฑิตตอบสนอง ต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล การพัฒนาภาคการผลิตจริงทั้งอุตสาหกรรมและบริการ การพัฒนา อาชีพ คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ระดับท้องถิ่นและชุมชน
4 สถาบันการศึกษาจะต้องให้ข้อมูลสาธารณะ (Public Information) ที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนักศึกษา ผู้จ้างงาน ผู้ปกครอง รัฐบาล และประชาชนทั่วไป
5 สังคมต้องการระบบการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม (Participation) มีความโปร่งใส (Transparency) และมีความรับผิดชอบสามารถตรวจสอบได้ (Accountability) ตามหลักธรรมาภิบาล
6 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กําหนดให้สถาบันการศึกษาทุกแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน รวมถึงให้มีสํานักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษาทําหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอก โดยการประเมินผลการจัดการศึกษาของ สถาบันการศึกษา
7 คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศใช้มาตรฐานการอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เพื่อเป็นกลไกกํากับระดับมาตรฐานระดับกระทรวง ระดับคณะกรรมการการอุดมศึกษา และระดับ หน่วยงาน โดยทุกหน่วยงานระดับอุดมศึกษาจะได้ใช้เป็นกรอบดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
8 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงเรื่องมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและกํากับให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาให้มีมาตรฐาน ตามประเภทหรือกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา 4 กลุ่ม
9 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงเรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศแนวทางการปฏิบัติตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เพื่อให้การจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาและเพื่อการประกันคุณภาพของบัณฑิตในแต่ละระดับ คุณวุฒิและสาขาวิชา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคําแหงใช้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 3 ระบบ คือ
1 ระบบ ISO 9001 : 2008 ใช้ในคณะ/สํานักที่เน้นงานด้านการบริการให้แก่นักศึกษา เช่น สํานักหอสมุดกลาง สํานักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล (สวป.) สํานักงานอธิการบดี สํานักเทคโนโลยี การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2 ระบบ QA (Quality Assurance) ใช้ในคณะ/สํานัก/สาขาวิทยบริการฯ โดยอิง องค์ประกอบทั้ง 9 ข้อของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
3 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ใช้ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง (มัธยมศึกษาและประถมศึกษา) โดยอิงมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษากําหนด
หลักการประเมินคุณภาพภายนอก
สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาได้กําหนดหลักการประเมินคุณภาพ ภายนอกไว้ดังนี้
1 เป็นการประเมินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่ใช่เป็นการประเมินเพื่อจับผิด หรือ การให้คุณให้โทษ
2 ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้
3 มุ่งเน้นการประเมินแบบกัลยาณมิตร
4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจาก ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
5 มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษา ของชาติตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคงมี ความหลากหลายในทางปฏิบัติ โดยสถาบันสามารถกําหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็ม ตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน
ปรัชญา/ปณิธานของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
ปรัชญา : ส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม
ปณิธาน : พัฒนามหาวิทยาลัยรามคําแหงให้เป็นแหล่งวิทยาการแบบตลาดวิชาควบคู่แบบ จํากัดจํานวน มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม และจิตสํานึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
ข้อ 3 เครื่องมือการบริหาร (Management Tools) เช่น แนวคิด 5 ส., การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ (TQM), การรื้อปรับระบบ (Reengineering}, ระบบมาตรฐานคุณภาพสากล (ISO 9000), ระบบมาตรฐานสากลของไทย (P.S.O.), แนวคิดซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) เป็นต้น หรือหลักการ 5 G’s ของญี่ปุ่น, แนวคิด 7 S’s Model, แนวคิดธรรมาภิบาล ให้นักศึกษาเลือกอธิบาย 1 แนวคิด
(แนวการตอบให้กล่าวถึงชื่อนักคิด ที่มา หลักการสําคัญของแนวคิดนั้น ๆ)
แนวคําตอบ
ทฤษฎี 7S’s Model
เมื่อปลายปี ค.ศ. 1970 บริษัทที่ปรึกษาชื่อ “McKinsey” ได้เชิญ Richard Pascale แห่ง มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และ Anthony 4thos แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้มาช่วยพัฒนากรอบแนวคิดการบริหาร ที่เรียกว่า The McKinsey 7 S’s Framework ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยที่สําคัญ 7 ประการ ดังนี้
1 กลยุทธ์ (Strategy) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางแผนองค์การเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยการใช้เทคนิค SWOT (SWOT Technique) มาทําการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อนํามากําหนดเป็นกลยุทธ์
2 โครงสร้าง (Structure) คือ การปรับปรุงโครงสร้างองค์การ การแบ่งหน่วยงาน การรวม อํานาจ และการกระจายอํานาจที่เหมาะสม
3 ระบบ (Systems) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดระบบงาน และการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ให้สั้นลง เพื่อทําให้สามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็ว
4 สไตล์ (Style) คือ แบบแผนพฤติกรรมของผู้นํา การใช้รูปแบบการบริหารที่เหมาะสม และแสดงบทบาทผู้นําการเปลี่ยนแปลง
5 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Staff) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคลากรที่มีความ สามารถ การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การหมุนเวียนกันทํางาน และการเห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์
6 ทักษะ (Skills) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความชํานาญ ความสามารถพิเศษของบุคลากร การพัฒนาทักษะการทํางานของแต่ละบุคคล และการส่งเสริมการทํางานเป็นทีม
7 ค่านิยมร่วม (Shared Values) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างค่านิยมร่วมกันในการทํางาน หรือที่เรียกว่า “Spiritual Values” เช่น การให้บริการ ความยุติธรรม ความสามัคคีปรองดอง ความร่วมมือ ความสุภาพ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความกตัญญ การทําในสิ่งที่ดีกว่า การปรับปรุงแก้ไข การปรับตัวเข้าหากัน เป็นต้น ค่านิยม ดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ควรสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในองค์การ
ปัจจัยทั้ง 7 ประการสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1 Hard คือ ส่วนที่แข็ง ไม่คล่องตัว และปรับตัวได้ค่อนข้างช้า ได้แก่ กลยุทธ์ และโครงสร้างขององค์การ
2 Soft คือ ส่วนที่อ่อน มีความคล่องตัว และสามารถปรับตัวได้ง่าย ได้แก่ สไตล์ของ ผู้บริหาร ระบบงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทักษะ และค่านิยมร่วม
สรุป จากกรอบแน คิดของปัจจัย 7S’s Model ดังกล่าว ผู้บริหารจําเป็นต้องใช้ภาวะผู้นํา ในการบริหารปัจจัยทั้ง 7 ประการให้สอดคล้องและสมดุลกัน นับตั้งแต่การกําหนดกลยุทธ์ขององค์การ การปรับปรุง โครงสร้างที่เหมาะสม การจัดระบบงานให้เหมาะสมและลดขั้นตอนการทํางานให้สั้นลงเพื่อทําให้สามารถบริการ ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น การใช้สไตล์การบริหารงานที่ให้ความสําคัญทั้งบุคคลและงาน การให้เกียรติผู้ร่วมงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วยการสรรหาและคัดเลือกคนดีมีฝีมือเข้ามาทํางาน การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล การสร้างทักษะการทํางานเป็นทีม และการสร้างค่านิยมสร้างสรรค์ในการทํางาน