การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 2 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ

ข้อ 1 ข้อสอบข้อที่ 1 นี้ เป็นของ รศ.ชลิดา ศรมณี

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในชาติมีความมุ่งหมายเพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์เพียงพอในแง่ปริมาณ และเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีบทบาทสร้างสรรค์ความเจริญงดงามทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองอย่างสมดุล คําถามหากจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพและคุณภาพดังกล่าว ข้างต้นนั้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ที่สําคัญและสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนา ที่เน้นการลงทุนด้านการศึกษาและการลงทุนด้านสุขภาพอนามัยควรเป็นอย่างไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข n-3328-1 หน้า 19 – 24), (เอกสารหมายเลข n-3328-2 หน้า 2, 12 – 13, 17 – 21), (คําบรรยาย)

การพัฒนามนุษย์ให้มีศักยภาพและคุณภาพ

การพัฒนามนุษย์มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์เพียงพอในแง่ปริมาณ และต้องเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีบทบาทสร้างสรรค์ความเจริญงดงามทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างสมดุล มนุษย์จะมีคุณภาพ มีบทบาทต่อสังคมทั้งสามด้านดังกล่าวได้ จะต้องได้รับการดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และ การดํารงชีวิตในสังคมในวัยต่าง ๆ ไปจนตาย ซึ่งอธิบายได้ว่าต้องพัฒนามนุษย์อย่างเป็นกระบวนการตั้งแต่ ปฏิสนธิ สู่วัยเด็ก เข้าสู่วัยแรงงาน วัยชรา จนถึงตาย ซึ่งเกี่ยวพันกับหลายกระบวนการคือ บาทบาทของบิดา มารดา ครอบครัว โรงเรียน สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันทางสังคม วัฒนธรรม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่ มีผลต่อการพัฒนามนุษย์ด้วย

การพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพต้องพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่สําคัญ คือ

1 สถาบันครอบครัว (Family)

2 การศึกษา (Education)

3 การฝึกอบรม (Trawing)

4 การมีสุขภาพอนามัยและโภชนาการที่ดี (Health and Nutrition) 5 การอพยพ (Migration)

6 ข่าวสารเกี่ยวกับตลาดแรงงาน (Job-Market Information)

7 ประสบการณ์ในการทํางาน (Work Experience)

8 สภาวะสิ่งแวดล้อม (Environment)

 

การลงทุนด้านการศึกษา

– การศึกษาในฐานะกลไกพื้นฐานของการพัฒนาคนจึงเป็นสิ่งที่สังคมหวังพึ่งพาให้เป็นเครื่องมือ เตรียมคนและสังคมให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลของการศึกษา ที่ผ่านมาของประเทศไทยมักจะถูกผลัก ห้มองคนเป็นเพียงทรัพยากรมนุษย์มากกว่าที่จะมองคนเป็นคนที่มีเกียรติ ศักดิ์ศรี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของตนเอง การศึกษาจึงเอนเอียงไปในการทําคนให้เป็นเพียงปัจจัยการผลิตที่มี คุณค่ามากกว่าจะเคารพในคุณค่าของความเป็นคน การศึกษาที่ผ่านมาจึงมิได้ส่งเสริมให้คนรอบรู้และเข้าใจชีวิตและ เป็นคนที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษาที่ผ่านมาให้ความสําคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development) มากกว่าการพัฒนามนุษย์ (Human Development)

การลงทุนในการศึกษาเป็นกระบวนการปรับปรุงคุณภาพทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ความชํานาญ สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และข่าวสารใหม่ ๆ ได้ดี ทําให้เขาสามารถ ทํางานได้ดีมีประสิทธิภาพมากกว่าผู้มีการศึกษาด้อยกว่า การลงทุนในการศึกษาจึงเป็นกิจกรรมที่เพิ่มความรู้ เพิ่มผลผลิตและรายได้ในอนาคต

การศึกษาเป็นปัจจัยสําคัญที่ก่อให้เกิดทักษะในด้านต่าง ๆ และการศึกษาเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลการศึกษาเป็นสินค้า (Goids) ที่เรียกว่า Human Capital หรือทุนมนุษย์ ซึ่งการลงทุนทางการศึกษา ก็คือ การเพิ่มความรู้ (Stock of Knowledge) ซึ่งประกอบไปด้วยทักษะ (Skills) ด้านต่าง ๆ แก่ผู้เข้ารับการศึกษา และเป็นการสะสมทุนมนุษย์ คือ การจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มทุนมนุษย์

การศึกษาจะมีบทบาทสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะสังคมไทยในช่วงที่ ผ่านมาดูเหมือนว่ามีคนเก่งมากมายที่ช่วยกันทําให้เกิดความเจริญทุกด้าน แต่คนในสังคมมีความบกพร่องทางศีลธรรม เพิ่มมากขึ้นทั้งคนเก่งและคนไม่เก่ง จึงก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาอย่างมากมายในทุกองค์กร ดังนั้นการศึกษา จึงไม่ควรทุ่มเทด้านความเก่ง (Manpower) เพียงเพื่อจะเพิ่มมูลค่าภายนอกของมนุษย์ (Economic Value Added) เท่านั้น แต่ต้องให้ความสนใจต่อความเป็นคนดี (Manhood) และการเพิ่มมูลค่าภายในของมนุษย์ (Social Value Added) ด้วย ถ้าการศึกษาได้สร้างทรัพยากรมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งสองด้านย่อมจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุล ทางปัญญาและดุลทางเศรษฐกิจ และจะได้มีเวลามาพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อไป ดังนั้นการศึกษาที่ควรจะ เป็นคือ การศึกษาที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People Oriented)

จะเห็นได้ว่าการศึกษามีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาวที่จะช่วยสร้าง และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยกับนานาชาติได้ โดยสิ่งที่สําคัญที่สุดที่จะต้องเร่งดําเนินการ ก็คือ การสะสมทุนมนุษย์ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการลงทุนทางด้านการศึกษาภายในประเทศ ให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป และหากการศึกษาสามารถทําให้ได้คนเก่ง คนดี และมีชีวิตอยู่ด้วย ความสุขนั้นแหละคือมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพที่เรียกว่า ทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญ

การลงทุนด้านสุขภาพอนามัย

สุขภาพอนามัยมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังคํากล่าวที่ว่า จิตใจที่มั่นคงจะอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง (A sound mind is in a sound body) หรือคํากล่าวในพุทธสุภาษิตที่ว่า อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ กล่าวคือ ใครก็ตามที่เป็นผู้ที่มีสุขภาพอนามัยที่ดี ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัย ก็จะสามารถ ทํากิจกรรมใด ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น จะศึกษาเล่าเรียนก็จะศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทํางานก็ทําได้ดี ซึ่งผู้ที่มีการศึกษาดีกว่ามักจะมีแนวโน้มที่จะสนใจรักษาสุขภาพอนามัยมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาด้อยกว่า

ดังนั้นจึงมักจะถือว่าการลงทุนด้านการศึกษาและการลงทุนด้านสุขภาพอนามัยเป็นการลงทุนร่วม – (Joint Investment) คือจะเป็นการลงทุนที่สามารถเอื้อประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกันได้

 

 

ข้อ 2 ข้อสอบข้อที่ 2 นี้ เป็นของ ผศ.ดร.ปรัชญา ชุมนาเสียว

คําสั่ง ให้นักศึกษาทําให้ครบทุกข้อ

2.1 อธิบายคําว่า “คนไทย 4.0” ว่าสะท้อนเรื่องอะไรบ้าง และยกตัวอย่างประกอบมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

คนไทย 4.0

คนไทย 4.0 เปรียบเสมือนการตระเตรียมเมล็ดพันธุ์ใหม่ ด้วยการบ่มเพาะคนไทยให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21” ควบคู่ไปกับการพัฒนา “คนไทย 4.0 สู่โลกที่หนึ่ง”

คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21 คือ คนไทยที่มีปัญญาที่เฉียบแหลม (Head) มี ทักษะที่เห็นผล (Hand) มีสุขภาพที่แข็งแรง (Health) และมีจิตใจที่งดงาม (Heart)

การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นเงื่อนไขที่จําเป็นในการเตรียมคนไทย 4.0 สู่โลกที่หนึ่ง ซึ่งจะ ครอบคลุมการปรับเปลี่ยนใน 4 มิติดังต่อไปนี้

1 เปลี่ยนจากคนไทยที่มีความรู้ความสามารถและทักษะที่จํากัด เป็นคนไทยที่มีความรู้และทักษะสูง มีความสามารถในการรังสรรค์นวัตกรรม

2 เปลี่ยนจากคนไทยที่มองเน้นประโยชน์ส่วนตน เป็นคนไทยที่มีจิตสาธารณะ และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

3 เปลี่ยนจากคนไทยแบบ Thai-Thai เป็นคนไทยแบบ Global Thai มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและสามารถยืนอย่างมีศักดิ์ศรีในเวทีสากล

4 เปลี่ยนจากคนไทยที่เป็น Analog Thai เป็นคนไทยที่เป็น Digital Thai สามารถดํารงชีวิต เรียนรู้ทํางาน และประกอบธุรกิจได้อย่างเป็นปกติสุขในโลกยุคดิจิตอล โดยเริ่มจากการเสริมสร้างให้เกิดการเจริญเติบโตในตัวคน (Growth for People) ผ่านการ สร้างสังคมแห่งโอกาส เพื่อเติมเต็มศักยภาพ เมื่อคนเหล่านี้ได้รับการเติมเต็มศักยภาพอย่างเต็มที่ จะกลายเป็นตัว หลักในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโต (People for Growth) และนําพาประเทศสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน อย่างแท้จริง

ด้วยการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยทั้งระบบ

1 การปรับเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจ มีความมุ่งมั่น เพื่อให้มีชีวิตอยู่อย่างมีพลังและมีความหมาย (Purposeful Learning)

2 การปรับเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการรังสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ (Generative Learning)

3 การปรับเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อปลูกฝังจิตสาธารณะ ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง (Mindful Learning)

4 การปรับเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อมุ่งการทํางานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ (Result-Based Learning)

การพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21 และการตระเตรียมคนไทย 4.0 สู่โลกที่หนึ่ง โดยผ่าน 4 กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว จะเป็นหัวใจสําคัญในการเปลี่ยนผ่านสังคมไทยไปสู่“สังคมไทย 4.0” นั่นคือ สังคมที่มีความหวัง (Hope) สังคมที่เปี่ยมสุข (Happiness) และสังคมที่มีความ สมานฉันท์ (Harmony) ในที่สุด

นอกจากนี้ยังจะก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนเป้าหมายและระบบการบริหารจัดการ การเรียนรู้ กระบวนทัศน์และทักษะครู หลักสูตรการเรียนการสอน รูปแบบการเรียนการสอน ตลอดจนระบบนิเวศน์ของ การเรียนรู้

กรอบยุทธศาสตร์ Brain Power Development

เพื่อให้ Thailand 4.0 บรรลุผลสัมฤทธิ์ จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกรอบยุทธศาสตร์ “National Brain Power Development” เพื่อพัฒนาและยกระดับแรงงานที่มีความรู้และทักษะสูงที่ชัดเจน โดยเน้นการบริหารจัดการ Stock & Flow ของแรงงานที่มีความรู้และทักษะสูงผ่านกลไกของ Talent Development และ Talent Mobility ทําให้ตลาดแรงงานที่มีความรู้และทักษะสูง เป็นตลาดแรงงานที่มี ประสิทธิภาพ เน้นการพัฒนาทักษะอาชีพอย่างต่อเนื่องพร้อม ๆ กับการมีระบบสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ที่ เหมาะสม เป้าหมายเพื่อยกระดับผลิตภาพของแรงงานที่มีความรู้และทักษะสูง ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบสําคัญ ของการยกระดับผลิตภาพของประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในที่สุด

การเตรียมคนไทย 4.0 จึงเป็นการปรับเปลี่ยนกรอบความคิด (Mindset) ทักษะ (Skit-Set) และพฤติกรรม (Behavior Set) ของคนไทยทั้งระบบ เพื่อให้คนไทย 4.0 เป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการเปลี่ยน ผ่านสู่ Thailand 4.0 ที่มีความมั่งคั่ง มั่นคง และยังยืนอย่างแท้จริง

รากฐานการพัฒนา Thailand 4.0. เริ่มต้นที่ “คนไทยทุกคน”

ปัจจัยสําคัญที่สุดการขับเคลื่อนประเทศไทย ตาม Thailand 4.0 ก็คือ “คนไทย” เนื่องจาก การพัฒนาทุนมนุษย์ที่ดี มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จะเป็นรากฐานในการเสริมสร้างคุณภาพและความ เข้มแข็งให้กับสังคมไทย รวมทั้งสร้างรากฐานความมั่นคงของประเทศในทุกด้าน และเมื่อคนไทยมีคุณภาพก็จะ สามารถลดความเหลื่อมล้ําทางสังคมได้ การพัฒนาสังคมจึงต้องมุ่งพัฒนาโดยเน้นเรื่องคุณภาพและความยั่งยืน บนพื้นฐานแนวคิดของการ “รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน”

คนไทยทุกคนเป็นคนที่สําคัญของประเทศ คนไทยบางกลุ่มอาจมีศักยภาพหรือความพร้อม อยู่แล้ว แต่คนไทยบางกลุ่มอาจอยู่ระหว่างการค้นหาศักยภาพ ลองผิดลองถูก และขาดเพียงโอกาสเท่านั้น ประเทศไทยจะก้าวไปข้างหน้าไม่ได้หากละทิ้งคนไทยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไว้ ดังนั้นการพัฒนาคนไทยทุกคนจึงเป็นสิ่ง ที่มีความสําคัญยิ่ง

เป้าหมายการพัฒนา Thailand 4.0 คือ การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยทุก กลุ่มให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่ยังต้องการเติมเต็มศักยภาพ หรือผู้ด้อยโอกาส หรือที่กําลังประสบกับ ปัญหาความยากจนอย่างมาก จะต้องทําให้คนในกลุ่มเหล่านี้สามารถมี “โอกาสทางสังคม (Social Mobility)”

โดยเน้นป้องกันความเสี่ยงจากการตกอยู่ในวงจรแห่งความล้มเหลวหรือกับดักความยากจน ในลักษณะการให้แต้มต่อและสร้างโอกาส พร้อมกับการเสริมสร้างศักยภาพไปที่ตัวคน ครอบครัว และชุมชน

2.2 อธิบายคําว่า “ทักษะในศตวรรษที่ 21” ว่าสะท้อนเรื่องอะไรบ้าง และยกตัวอย่างประกอบมา ให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

ทักษะในศตวรรษที่ 21

ทักษะในศตวรรษที่ 21 ( Century Skills) มาจากการประชุมร่วมกันของนักวิชาการ หลากหลายสาขา ได้ให้ข้อสรุปร่วมกันถึงทักษะเพื่อดํารงชีวิตอย่างมีคุณภาพในยุคของศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นยุคที่ โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย 3 ด้านหลัก ๆ ที่สําคัญ คือ

1 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

– การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)

– การสื่อสารและความร่วมมือ (Communication and Collaboration)

– ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation)

2 ทักษะชีวิตและงานอาชีพ

– ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว (Flexibility and Adaptability)

– การริเริ่มสร้างสรรค์และกํากับดูแลตนเองได้ (Initiative and Self-Direction)

– ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม (Social and Cross-Cultural Interaction)

– การเป็นผู้สร้างผลงานหรือผลผลิตและความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Productivity and Accountability)

– ภาวะผู้นําและความรับผิดชอบ (Leadership and Responsibility)

 

3 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี

– การรู้เท่าทันสารสนเทศ (Information Literacy)

– การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)

– การรู้ทันเทคโนโลยี (ICT : Information, Communication and Technology Literacy)

 

2.3 การเข้าสู่ Thailand 4.0 กับแนวคิดนวัตกรรม จะมีความเกี่ยวข้องกับทุนมนุษย์อย่างไรบ้างและจะส่งผลต่อการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐหรือไม่ อย่างไร จงอธิบายมาเป็น ประเด็น ๆ ให้เข้าใจ

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

Thailand 4.0

ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการปรับเปลี่ยนโมเดลเศรษฐกิจมาหลายครั้ง โดยเริ่มจาก Thailand 1.0 ที่เน้นภาคเกษตรกรรม ปสู่ Thailand 2.0 ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และได้ก้าวสู่ Thailand 3.0

ที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อให้มาใช้ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปตลาดโลก

อย่างไรก็ดี ภายใต้ Thailand 3.0 นั้น แม้จะทําให้ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่เติบโตเพิ่มขึ้นแต่ ก็ต้องเผชิญกับ “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” “กับดักความเหลื่อมล้ําของความมั่งคั่ง” และ “กับดักความไม่ สมดุลในการพัฒนา” กับดักเหล่านี้เป็นประเด็นท้าทายของประเทศไทยในปัจจุบันนําไปสู่การปฏิรูปโครงสร้าง เศรษฐกิจเพื่อก้าวข้าม Thailand 3.0 ไปสู่ Thailand 4.0 –

Thailand 4.0 เป็นโมเดลเศรษฐกิจที่จะนําพาประเทศไทยให้หลุดพ้นจาก 3 กับดักดังกล่าว  พร้อมๆ กับเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ “ประเทศในโลกที่หนึ่ง” ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในบริบทของ การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 อย่างเป็นรูปธรรม ตามแนวทางที่แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีได้วางไว้ ด้วยการ สร้างความเข้มแข็งจากภายใน ควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงกับประชาคมโลก ตามแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง” โดยขับเคลื่อนผ่านกลไก “ประชารัฐ”

Thailand 4.0 เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value-Based Economy” : หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม กล่าวคือ ในปัจจุบันเรายังติดอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ “ทํามาก ได้ น้อย” เราต้องการปรับเปลี่ยนเป็น “ทําน้อย ได้มาก” นั่นหมายถึง

การขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 3 มิติสําคัญ คือ

1 เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม

2 เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น

3 เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

 

องค์ประกอบในระบบหลักสําคัญ 4 ประการ ในการขับเคลื่อน คือ

1 เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) เป็นการเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) เกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur)

2 เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลือตลอดเวลาไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง

3 เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services ที่มีศักยภาพสูง

4 เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำ ไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมเครื่องมือในการพัฒนา Thailand 4.0 ด้วยการแปลง “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” ของ ประเทศไทย เรียกว่า “เครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่” (New Engines of Growth) ที่มี อยู่ 2 ด้าน คือ “ความหลากหลายเชิงชีวภาพ” และ “ความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม”

โดยการเติมเต็มด้วยวิทยาการทั้ง 5 เพื่อความได้เปรียบ คือ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเป็น 5 กลุ่มเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย

1 กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโยลีชีวภาพ (Food, Agriculture& Bio-Tech) ซึ่งจะเป็น – แพลทฟอร์มในการสร้าง New Startups เช่น เทคโนโลยีการเกษตร (Agritech) เทคโนโลยีอาหาร (Foodtech)

2 กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีการแพทย์ (Health, Wellness & Bio-Med) ซึ่งจะเป็นแพลทฟอร์มในการสร้าง New Startups เช่น เทคโนโลยีสุขภาพ (Healthtech) เทคโนโลยีการแพทย์ (Meditech) สปา

3 กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Culture & High Value Services) ซึ่งจะเป็นแพลทฟอร์มในการสร้าง New Startups เช่น เทคโนโลยีการออกแบบ (Designtech) ธุรกิจไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Business) เทคโนโลยีการท่องเที่ยว (Traveltech) การเพิ่มประสิทธิภาพ การบริการ (Service Enhancing)

4 กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ปัญญาประดิษฐ์ (Digital, Artificial Intelligence& Embedded Technology) ซึ่งจะเป็นแพลทฟอร์มในการสร้าง New Startups เช่น เทคโนโลยีด้านการเงิน (Fintech) อุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์โดยไม่ต้องใช้คน (IoT) เทคโนโลยีการศึกษา (Edtech) อี-มาร์เก็ตเพลส (E-Marketplace) อี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce)

5 กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ ระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเลคทรอนิกส์ควบคุม (Smart Devices, Robotics & Mechatronics) ซึ่งจะเป็นแพลทฟอร์มในการสร้าง New Startups เช่น เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotech)

พลังประชารัฐในการขับเคลื่อน

Thailand 4.0 จึงเป็นการถักทอเชื่อมโยงเทคโนโลยีหลักที่ต้นน้ํา เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ กับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่อยู่กลางน้ํา และ Startups ต่าง ๆ ที่อยู่ปลายน้ํา โดยใช้พลัง “ประชารัฐ” ในการ “ขับเคลื่อน

ผู้มีส่วนร่วมหลักจะประกอบด้วยภาคเอกชน ภาคการเงิน การธนาคาร มหาวิทยาลัย และ สถาบันวิจัยต่าง ๆ โดยเน้นตามความถนัดและจุดเด่นของแต่ละองค์กร และมีภาครัฐเป็นตัวสนับสนุน

โดยทั้ง 5 กลุ่มเทคโนโลยีหลักและอุตสาหกรรมเป้าหมายใน Thailand 4.0 เป็นส่วนหนึ่งของ 10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (5 อุตสาหกรรมที่เป็น Extending S-Curve บวก 5 อุตสาหกรรมที่เป็น New SCurve) กล่าวคือ ใน 10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคตจะมีบางกลุ่มอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่ยังต้องพึ่งพิงการลงทุน จากต่างประเทศเป็นหลัก เช่น อุตสาหกรรมการบิน (Aviation)

ส่วนใน 5 กลุ่มเทคโนโลยีหลักและอุตสาหกรรมเป้าหมายใน Thailand 4.0 จะเป็นส่วนที่ ประเทศไทยต้องการพัฒนาด้วยตนเองเป็นหลัก แล้วค่อยต่อยอดด้วยเครือข่ายความร่วมมือจากต่างประเทศ ซึ่งสอด รับกับ “บันได 3 ขั้น” ของ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ “การพึ่งพาตนเอง พึ่งพากันเอง และรวมกันเป็น กลุ่มอย่างมีพลัง” นั่นเอง

สรุปกระบวนทัศน์ในการพัฒนาประเทศ ภายใต้ Thailand 4.0 มี 3 ประเด็นที่สําคัญ คือ

1 เป็นจุดเริ่มต้นของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศที่มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม

2 เป็น “Reform in Action” ที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูป การวิจัยและการพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษาไปพร้อมๆ กัน

3 เป็นการผนึกกําลังของทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ” โดยเป็นประชารัฐที่ผนึก กําลังกับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ การวิจัยพัฒนา และบุคลากรระดับโลก ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของการ “รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน”

การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

ประชากรที่อาศัยอยู่ในชาตินั้นนับเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสําคัญมาก ฉะนั้น ถ้าองค์การ ใดขาดทรัพยากรมนุษย์ ย่อมส่งผลให้การดําเนินงานขององค์การนั้นล่าช้า พบอุปสรรคนานาประการ ทําให้การ ดําเนินงานขององค์การไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กําหนดไว้ วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้องค์การไม่เกิดปัญหาเกี่ยวกับ ทรัพยากรมนุษย์ ก็คือ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง

การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ เป็นกระบวนการคาดการณ์ความต้องการใช้ทรัพยากรมนุษย์ของ องค์การไว้ล่วงหน้าว่า ต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างไร ระดับใด จํานวนเท่าใด เมื่อใด ด้วยวิธีการใด ต้องพัฒนา บุคคลให้มีความรู้ความสามารถอย่างไร และจะควบคุมจํานวนทรัพยากรมนุษย์ในองค์การให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับการดําเนินงานขององค์การได้อย่างไร ตลอดจนการกําหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อ จะใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การวางแผนกําลังคน เป็นการดําเนินการอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์และพยากรณ์เกี่ยวกับ อุปสงค์และอุปทานด้านกําลังคน เพื่อนําไปสู่การกําหนดกลวิธีที่จะให้ได้กําลังคนในจํานวนและสมรรถนะที่เหมาะสม มาปฏิบัติงานในเวลาที่ต้องการ โดยมีแผนการใช้และพัฒนากําลังคนเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อธํารงรักษากําลังคนที่เหมาะสมไว้กับองค์กรอย่างต่อเนื่อง

ประโยชน์ของการวางแผนกําลังคนภาครัฐ มีดังนี้

1 สร้างความเชื่อมโยงระหว่างการจัดการทรัพยากรบุคคล และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของหน่วยงาน

2 ช่วยให้หน่วยงานสามารถจัดจํานวน ประเภท และระดับทักษะของกําลังคนให้เหมาะสมกับงานในระยะเวลาที่เหมาะสม

3 ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้สูงสุด

4 ทําให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5 สามารถรักษากําลังคนที่ดีไว้ในองค์กร

6 ลดความเสี่ยงในการตัดสินใจที่ผิดพลาด

7 ทําให้ไม่เกิดช่องว่างในการสรรหาบุคคลเข้าปฏิบัติหน้าที่

8 ทําให้มีการตรวจสอบสภาพกําลังคน และการวิเคราะห์ และวางยุทธศาสตร์กําลังคนได้ถูกต้อง

Advertisement