การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 3 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ
ข้อ 1 ให้นักศึกษาอธิบายคําศัพท์ที่ได้ศึกษามาในวิชาการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ ดังนี้ .
1.1 อธิบายคําว่า “ทรัพยากรมนุษย์” (Human Resource) ว่าคืออะไร และมีความสําคัญอย่างไร
แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 0-3328-2 หน้า 2)
ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) คือ ผลรวมของความรู้ ความชํานาญ ความถนัดของประชากรทั้งหมดในประเทศ ทั้งในด้านปริมาณ เช่น จํานวนการกระจายของประชากร กําลังแรงงาน ฯลฯ และ ด้านคุณภาพ เช่น ความรู้ ความชํานาญ ความถนัด คุณค่า แรงจูงใจ จิตใจ สุขภาพ ฯลฯ
ซึ่งประชากรที่อาศัยอยู่ในชาติมีความสําคัญต่อการผลิตสินค้าและบริการ และผลผลิตหรือ รายได้ประชากรชาติจะต่ําลงหากปราศจากการศึกษาอบรมและการดูแลด้านสุขภาพอนามัยที่ดี
1.2 อธิบายคําว่า “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)
แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข n-3328-2 หน้า 3)
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) หมายถึง กระบวนการ เพิ่มความรู้ ความชํานาญ และความสามารถโดยรวมของประชากรในสังคมในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1 ด้านเศรษฐกิจ ช่วยอธิบายทฤษฎีทุนมนุษย์ที่เกี่ยวกับการคํานวณด้านการลงทุน (การศึกษา, อนามัย ฯลฯ) เปรียบเทียบกับรายได้และผลต่อสังคม
2 ด้านการเมือง ช่วยก่อให้เกิดวุฒิภาวะทางการเมืองโดยรวมในฐานะที่เป็นพลเมืองใน ระบอบประชาธิปไตย
3 ด้านสังคมและวัฒนธรรม ช่วยทําให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น รวมทั้งการพัฒนาทางด้าน จิตใจ คุณธรรม และวัฒนธรรม
1.3 อธิบายคําว่า “Knowledge Worker” พร้อมยกตัวอย่างประกอบ แนวคําตอบ (คําบรรยาย)
Knowledge Worker คือ แรงงานที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และเป็นแรงงานที่อยู่ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ได้ ซึ่งเป็นแรงงานที่หน่วยงานมีความต้องการมากที่สุด โดยคุณสมบัติของ Knowledge Worker ประกอบด้วย
เก่งคิด (Thinking), ขยันเขียน (Writing), ขยันอ่าน (Reading), ขยันพูด (Speaking), ขยันฟัง (Listening) และขยันปฏิบัติ (Doing)
ตัวอย่างเช่น แรงงานที่นอกจากจะจบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว ยังต้องมีความรู้ความสามารถที่เก่งภาษาอังกฤษอีกด้วย เป็นต้น
1.4 อธิบายคําว่า “Human Resource Planning” พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
แนวคําตอบ (คําบรรยาย)
Human Resource Planning (การวางแผนทรัพยากรมนุษย์) หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ คาดคะเนความต้องการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตอย่างเป็นระบบ โดยระบุจํานวนคน ประเภทของบุคคลที่จะ ปฏิบัติงาน รวมถึงระดับทักษะ ความรู้ และความสามารถที่ต้องการ เพื่อให้องค์การมั่นใจได้ว่ามีบุคลากรที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมและมีจํานวนเพียงพอกับการปฏิบัติงานที่คาดว่าจะมีในอนาคต พร้อมทั้งกําหนดแนวทางในการปฏิบัติ และมีแผนการใช้บุคลากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ ตัวอย่างเช่น การวางแผนกําลังคน เพื่อให้ได้ปริมาณ และคุณภาพที่ต้องการตามระยะเวลา และเป้าหมาย เป็นต้น
ข้อ 2 จงอธิบายลักษณะสภาพปัญหาของทรัพยากรมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน ว่าเพราะเหตุใดจึงต้องมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนา ด้วยการลงทุนด้านการศึกษา และสุขภาพอนามัย และ จะส่งผลต่อการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ เมื่อต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบมาให้เข้าใจ
แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 0-3328-1 หน้า 3, 17 – 20, 24), (คําบรรยาย)
สภาพปัญหาของทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาประเทศตลอดระยะเวลา 30 กว่าปีที่ผ่านมานั้น ได้ถูกครอบงําด้วยกระแสหลักของ กระบวนการพัฒนาตามประเทศทุนนิยมตะวันตกที่มุ่งเน้นความสําคัญของภาคเศรษฐกิจเป็นหลัก และให้ความสําคัญ ของมนุษย์เป็นเพียงแค่เครื่องมือหรือเน้นคนเป็นเพียงปัจจัยการผลิตเท่านั้น จึงทําให้เกิดปัญหามากมายที่มาพร้อมกับกระบวนการพัฒนาที่ขาดสมดุลระหว่างระบบต่าง ๆ ในสังคมไม่ว่าจะเป็นปัญหากระจายรายได้ ปัญหาความยากจน ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสียหาย ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม ปัญหาความล่มสลายของ ชุมชนชนบท ปัญหาความอ่อนล้าของคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรม ปัญหาความไม่มั่นใจในระบบการเมือง การปกครอง การบริหารที่เป็นอยู่ ฯลฯ ดังคํากล่าวที่ว่า เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน
เมื่อผลของการพัฒนาเป็นเช่นนี้ก็ได้มีการทบทวนกระบวนการพัฒนาจากเดิมที่เน้นภาคเศรษฐกิจเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มาเป็นการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบ และนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
การลงทุนด้านการศึกษา
การศึกษาในฐานะกลไกพื้นฐานของการพัฒนาคนจึงเป็นสิ่งที่สังคมหวังพึ่งพาให้เป็นเครื่องมือ เตรียมคนและสังคมให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลของการศึกษา ที่ผ่านมาของประเทศไทยมักจะถูกผลักให้มองคนเป็นเพียงทรัพยากรมนุษย์มากกว่าที่จะมองคนเป็นคนที่มีเกียรติ ศักดิ์ศรี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของตนเอง การศึกษาจึงเอนเอียงไปในการทําคนให้เป็นเพียงปัจจัยการผลิตที่มี คุณค่ามากกว่าจะเคารพในคุณค่าของความเป็นคน การศึกษาที่ผ่านมาจึงมิได้ส่งเสริมให้คนรอบรู้และเข้าใจชีวิตและ เป็นคนที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษาที่ผ่านมาให้ความสําคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development) มากกว่าการพัฒนามนุษย์ (Human Development)
การศึกษาจะมีบทบาทสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะสังคมไทยในช่วงที่ ผ่านมาดูเหมือนว่ามีคนเก่งมากมายที่ช่วยกันทําให้เกิดความเจริญทุกด้าน แต่คนในสังคมมีความบกพร่องทางศีลธรรม เพิ่มมากขึ้นทั้งคนเก่งและคนไม่เก่ง จึงก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาอย่างมากมายในทุกองค์กร ดังนั้นการศึกษา จึงไม่ควรทุ่มเทด้านความเก่ง (Manpower) เพียงเพื่อจะเพิ่มมูลค่าภายนอกของมนุษย์ (Economic Value Added) เท่านั้น แต่ต้องให้ความสนใจต่อความเป็นคนดี (Manhood) และการเพิ่มมูลค่าภายในของมนุษย์ (Social Value Added) ด้วย ถ้าการศึกษาได้สร้างทรัพยากรมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งสองด้านย่อมจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุล ทางปัญญาและดุลทางเศรษฐกิจ และจะได้มีเวลามาพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อไป ดังนั้นการศึกษาที่ควรจะ เป็นคือ การศึกษาที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People Oriented)
จะเห็นได้ว่าการศึกษามีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาวที่จะช่วยสร้าง และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยกับนานาชาติได้ โดยสิ่งที่สําคัญที่สุดที่จะต้องเร่งดําเนินการ ก็คือ การสะสมทุนมนุษย์ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการลงทุนทางด้านการศึกษาภายในประเทศ ให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป .
การลงทุนด้านสุขภาพอนามัย
สุขภาพอนามัยมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังคํากล่าวที่ว่า จิตใจที่มั่นคงจะอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง (A sound mind is in a sound body) หรือคํากล่าวในพุทธสุภาษิตที่ว่า อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ กล่าวคือ ใครก็ตามที่เป็นผู้ที่มีสุขภาพอนามัยดี ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัย ก็จะสามารถทํา กิจกรรมใด ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น จะศึกษาเล่าเรียนก็จะศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทํางานก็ทําได้ดี ซึ่งผู้ที่มีการศึกษาดีกว่ามักจะมีแนวโน้มที่จะสนใจรักษาสุขภาพอนามัยมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาด้อยกว่า
ดังนั้นจึงมักจะถือว่าการลงทุนด้านการศึกษาและการลงทุนด้านสุขภาพอนามัยเป็นการลงทุนร่วม (Joint Investment) คือจะเป็นการลงทุนที่สามารถเอื้อประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกันได้
ประชาคมอาเซียนกับทรัพยากรมนุษย์
การก้าวหน้าไปสู่ประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็งได้นั้น ปัจจัยสําคัญที่สุดก็คือ ทรัพยากรมนุษย์
ซึ่งควรที่จะมีความรู้และศักยภาพเท่าเทียมกันมากขึ้น และเกื้อหนุนซึ่งกันและกันในภูมิภาค
ประโยชน์ของการเป็นประชาคมอาเซียนก็คือ การได้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมาทดแทนศักยภาพแรงงาน และจัดระบบการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานระหว่างประเทศ
ประเทศไทยจําเป็นต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วนในการก่อให้เกิดความร่วมมือแบบหุ้นส่วนผลิตภาพ (Productivity) ของกําลังแรงงานทั้งในระดับแรงงานฝีมือ
การไหลเวียนของกําลังแรงงานข้ามพรมแดนระหว่างกันและกันในภูมิภาค ยึดหลัก “คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา” ส่งเสริมให้มีงานทํา มีศักยภาพสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขัน มีความมั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผลกระทบต่อประเทศไทยเมื่อเปิดแรงงานเสรีอาเซียน ปี 2558
– การไหลบ่าของแรงงานที่จะเข้ามาแข่งขัน
– แรงงานไทยจะขาดแคลนมากยิ่งขึ้น
– เกิดการสมองไหลไปทํางานในต่างประเทศ
– ลาว กัมพูชา พม่า จีน และอินเดียจะเข้ามาประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
คนไทยต้องเตรียมตัวให้พร้อม ดังนี้
– ใช้ภาษาอังกฤษให้คล่องในการสื่อสารได้
– ต้องเรียนรู้และสื่อสารภาษาประเทศเพื่อนบ้าน
– ต้องรู้จักอาเซียนมากกว่ารู้ว่าอาเซียนคืออะไร
– ต้องรู้จักวิธีการทํามาค้าขายกับประเทศในอาเซียน
– ต้องเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ทัศนคติประเทศในอาเซียน
ข้อตกลงการยอมรับร่วมกันในบุคลากรวิชาชีพ ซึ่งมี 7 อาชีพที่สามารถทํางานได้เสรีใน 10 ประเทศ อาเซียน ได้แก่ วิศวกร พยาบาล สถาปนิก การสํารวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และบัญชี
แรงงานไทยต้องปรับตัว ดังนี้
– การยกระดับมาตรฐานการศึกษา
– พัฒนาแนวคิดและวัฒนธรรมทางการเรียนรู้
– เน้นการลงมือทําได้จริง
– พัฒนาระบบสาธารณสุขและคุณภาพชีวิต
– พัฒนาวิสัยทัศน์และแนวคิดมุมมองให้กว้างไกลทันโลก
– ติดตามความเปลี่ยนแปลงทุกด้านของประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
– พัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร
– พัฒนาแนวทางคุ้มครองแรงงานให้เป็นมาตรฐานสากล
มิติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ควรมีการเตรียมรับมือ ดังนี้
1 ปรับเกณฑ์และเงื่อนไขในการคัดเลือกสรรหาให้พร้อมต่อการรับมือกับการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เช่น ตั้งเกณฑ์การคัดเลือกพนักงานใหม่ให้มีคุณลักษณะ มีสมรรถนะ (Competency) ที่พร้อมจะทํางานในสภาพแวดล้อมที่เป็นสากลด้วย และมีการพัฒนาเงื่อนไขการจ้างงานที่เอื้อต่อการจ้างงานนอกประเทศเข้ามาในองค์กร
2 พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมภาคบังคับที่จะเอื้อให้พนักงานเกิดความต้องการพัฒนาทักษะที่พร้อมทํางานข้ามประเทศ
3 เตรียมนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการส่งพนักงานไปประจําที่ต่างประเทศให้พร้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ตอบแทน
4 สร้างเงื่อนไขในการเลื่อนตําแหน่ง โดยมีการวางเกณฑ์ของการเคยไปประจําที่ต่างประเทศหรือรับผิดชอบงานต่างประเทศเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการรับการพิจารณา
5 สร้างความสัมพันธ์กับสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เพื่อให้ข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรที่จะเตรียมแรงงานทักษะให้มีความพร้อมต่อการเกิดขึ้นของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตั้งแต่ยังอยู่ในสถาบันการศึกษา
ข้อ 3 ให้นักศึกษาอธิบายคําว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน” คืออะไร หากจะให้ประเทศไทยมีการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นจะทําได้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
แนวคําตอบ (เอกสารหมายเลข 0-3328-2 หน้า 5 – 8)
การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ เป็นการพัฒนาแบบบูรณาการ (Integrated) ที่ทําให้เกิดเป็นองค์รวม (Holistic) และมีดุลยภาพ (Balanced) โดยการใช้มนุษย์เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ซึ่งปัจจัยที่จะทําให้เกิดการพัฒนา ที่ยั่งยืนในสังคมหรือประเทศไทยได้จะมี 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ (Economy) นิเวศวิทย์ (Ecology) และมนุษย์ (Human)
การพัฒนาในช่วงที่ผ่านมาล้มเหลวเพราะไม่มีการพัฒนาในแต่ละด้านให้เกิดความสมดุล การพัฒนาที่แท้จริงและยั่งยืน ก็คือ การพัฒนาที่สมดุล มีบูรณาการ และเป็นองค์รวม ซึ่งจะต้องเน้นที่ตัวมนุษย์ให้ เข้ามาเป็นปัจจัยสําคัญในการบูรณาการ เพราะการพัฒนาทุกด้าน เช่น เศรษฐกิจ และนิเวศวิทย์ จะทําได้ก็ต่อเมื่อ มีมนุษย์เป็นตัวจัดการพัฒนา หากไม่มีมนุษย์จัดการก็พัฒนาไม่ได้ คือ หากมนุษย์ไม่พัฒนาตนเอง มนุษย์ก็จะพัฒนา สิ่งอื่นไม่ได้ด้วย
การพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องเริ่มจากการพัฒนามนุษย์ (Human Development) ก่อน ซึ่งมีความสําคัญที่จะต้องพัฒนามนุษย์เป็น 2 ด้าน คือ
1 พัฒนามนุษย์ให้มีคุณสมบัติที่จะเป็นแกนนําในการพัฒนาและบูรณาการให้เกิดความสมดุล อย่างถูกทาง และเป็นการอํานวยประโยชน์แก่สังคมได้ เช่น พัฒนามนุษย์ให้มีสุขภาพดี มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ความสามารถ ขยันขันแข็ง มีระเบียบวินัย เป็นต้น
2 พัฒนามนุษย์เพื่อประโยชน์สุขแก่ตัวมนุษย์เองทุกคน เช่น พัฒนามนุษย์ในเรื่องของ คุณค่าความเป็นมนุษย์ พัฒนามนุษย์ให้มีความสุข มีพัฒนาการด้านจิตใจและสติปัญญา มีชีวิตที่ดีงามสมบูรณ์ เป็นต้น
ดังนั้นการพัฒนามนุษย์จะต้องทําการพัฒนาทุก ๆ ด้านไปพร้อมกัน คือ ด้านสุขภาพ ด้านความรู้ สติปัญญา พฤติกรรม และจิตใจด้วย ซึ่งจะส่งผลให้มนุษย์พัฒนาตัวมนุษย์เองเพื่อเศรษฐกิจและระบบนิเวศวิทย์ไปพร้อม ๆ กันได้ และนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป