การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3316 การบริหารงานรัฐวิสาหกิจ

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 5 ข้อ ให้เลือกตอบเพียง 3 ข้อ

ข้อที่ 1 บังคับทํา และให้เลือกทําอีก 2 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายความหมาย ขอบเขต และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ

แนวคําตอบ

ความหมายของรัฐวิสาหกิจ

เกศินี หงสนันทน์ อธิบายว่า รัฐวิสาหกิจ หมายถึง องค์การซึ่งรัฐบาลกลางควบคุมและเป็นเจ้าของ ทั้งนี้เพื่อที่จะปรับปรุงภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคงและยกฐานะของประชาชนในประเทศให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น

Encyclopedia Britannica Online อธิบายว่า รัฐวิสาหกิจ หมายถึง องค์การธุรกิจที่รัฐเป็น เจ้าของทั้งหมดหรือบางส่วนและถูกควบคุมโดยอํานาจรัฐ

ขอบเขตของรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้

1 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการและการดําเนินงานทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทั้งทางด้านอุตสาหกรรม กสิกรรม และธุรกิจการค้า

2 ผู้รับผิดชอบในการควบคุมดําเนินงานเป็นกระทรวง ทบวง หรือกรม

3 รัฐทําหน้าที่ในการริเริ่ม กระตุ้น และส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางธุรกิจแก่ภาคเอกชนและเป็นประโยชน์ต่อสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศ

4 รัฐทําหน้าที่ในการนําเสนอการบริการแก่ประชาชนและยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน

5 ความอยู่ดีมีสุขของประชาชนนําไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ก่อให้เกิดความสงบสุขและเป็นระเบียบของสังคมในท้ายที่สุด

6 รัฐอาจเข้าไปดําเนินการเองทั้งหมดหรือบางส่วน หรืออาจร่วมลงทุนกับเอกชน

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้

1 เป็นการกระตุ้นวิสาหกิจเอกชนทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

2 เพื่อเข้ามาดําเนินงานแทนวิสาหกิจเอกชนโดยวิธีการโอนกิจการเข้าเป็นของรัฐ หรือโดยการที่รัฐใช้สิทธิที่จะซื้อกิจการใด ๆ ในสาขาต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจได้ก่อนเอกชนอื่น ๆในฐานะที่เป็นกิจการที่อยู่ภายในขอบเขตที่สงวนไว้เฉพาะรัฐบาล

3 เป็นการช่วยเสริมวิสาหกิจเอกชนโดยการทําให้ข้อบกพร่องหรือช่องโหว่บางประการซึ่งวิสาหกิจเอกชนอาจมีอยู่ให้หมดสิ้น

4 เพื่อเข้าร่วมกับวิสาหกิจเอกชน (Joint Enterprise) ในการดําเนินโครงการต่าง ๆ

5 เพื่อบริการด้านสาธารณะ รวมทั้งการรักษาประโยชน์ ป้องกันการเสียหายและความเหลื่อมล้ำต่ำสูงของประชาชนส่วนรวม เช่น การไฟฟ้า การประปา เป็นต้น

6 เพื่อเตรียมพร้อมแก้ไขวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่น อุตสาหกรรมการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์และเชื้อเพลิง เป็นต้น

7 เพื่อประโยชน์ทางการเมืองและเกียรติคุณของประเทศชาติ เช่น การส่งเสริมกีฬา การส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นต้น

8 การผูกขาดเพื่อหากําไร เช่น การผลิตและจําหน่ายสุรา ยาสูบ สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นต้น

9 เพื่อเผยแพร่วิชาการใหม่ ๆ และวิธีประกอบกิจการด้านต่าง ๆ

 

ข้อ 2 คณะทํางานธนาคารโลกได้วิจารณ์รัฐวิสาหกิจไทยไว้ 3 ประการ คือ

1) ปราศจากการวางแผนที่ดี

2) การจัดการไม่มีประสิทธิภาพ

3) ไม่ก่อให้เกิดผลกําไร

ท่านมีความคิดเห็นด้วยกับข้อวิจารณ์ดังกล่าวหรือไม่อย่างไร และท่านคิดว่าควรมีการแก้ไขอย่างไร

แนวคําตอบ

เห็นด้วยกับข้อวิจารณ์ของคณะทํางานธนาคารโลก เนื่องจากในช่วงที่คณะทํางานของธนาคารโลก ได้เข้ามาศึกษาสภาวะเศรษฐกิจไทยเป็นช่วงที่รัฐบาลในขณะนั้น คือ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการจัดตั้ง รัฐวิสาหกิจขึ้นมาหลายแห่ง เพื่อขจัดอิทธิพลและลดบทบาทการผูกขาดทางเศรษฐกิจของชาติตะวันตกและซาวจีน ตามนโยบายเศรษฐกิจชาตินิยมของรัฐบาล แต่บุคคลที่เข้ามาดํารงตําแหน่งระดับสูงในรัฐวิสาหกิจเป็นข้าราชการ ซึ่งไม่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการและวางแผนในการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจ ประกอบกับการจัดตั้ง รัฐวิสาหกิจในสมัยนั้นถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแข่งขันทางการเมืองและกอบโกยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของ กลุ่มผู้มีอํานาจทางการเมือง คือ กลุ่มสี่เสาเทเวศร์และกลุ่มราชครู ทําให้รัฐวิสาหกิจสร้างความมั่งคั่งให้กับกลุ่ม ผู้มีอํานาจทางการเมืองทั้งสองกลุ่มมากกว่าจะสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ จึงทําให้ผลการดําเนินงาน ปรากฏออกมาตามข้อวิจารณ์ของคณะทํางานของธนาคารโลก ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหาตามข้อวิจารณ์ของคณะทํางานของธนาคารโลก มีดังนี้

1 ส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรม

2 รัฐบาลควรทําหน้าที่ในการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสาธารณูปการเท่านั้น ส่วนกิจการด้านอื่น ๆ ควรให้ภาคเอกชนเป็นผู้ดําเนินการ

ข้อ 3 จงอธิบายความหมายและเหตุผลของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

แนวคําตอบ

ความหมายของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

Madsen Pirie อธิบายว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization) หมายถึง กระบวนการ ถ่ายโอนการผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ จากภาครัฐไปสู่ภาคเอกชน

Yair Aharoni อธิบายว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจมีความหมายครอบคลุมถึงนโยบายต่าง ๆ ดังนี้

1 การโอนความเป็นเจ้าของ คือ การขายทรัพย์สินและกิจกรรมของรัฐวิสาหกิจให้ผู้ถือหุ้นเอกชน

2 การเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันหรือเพิ่มการแข่งขันให้มากขึ้น หรือลดอุปสรรคที่มีต่อการแข่งขันให้น้อยลงในการประกอบกิจการธุรกิจต่าง ๆ

3 การส่งเสริมธุรกิจเอกชนเกี่ยวกับงานบริการต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นการดําเนินงานร่วมกันระหว่างรัฐวิสาหกิจกับเอกชน เหตุผลของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

จากการศึกษาของ Aharoni สรุปว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ มักจะ มีเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ดังนี้

1 อุดมการณ์ กล่าวคือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจขึ้นอยู่กับอุดมการณ์ของรัฐบาล หากรัฐบาล ยึดอุดมการณ์ว่า การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือทรัพยากรธรรมชาติโดยรัฐเป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่ง นโยบาย การแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็จะถูกเมิน แต่ถ้ารัฐบาลยึดอุดมการณ์ว่า การลดอํานาจรัฐลงจะทําให้ความมั่งคั่ง ความสุข และเสรีภาพของบุคคลเพิ่มพูนมากขึ้น รัฐบาลก็จะเห็นว่านโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นสิ่งที่สมควรกระทํา ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงยุคสมัยของการปกครองประเทศเกิดขึ้นแต่ละครั้งและอุดมการณ์ของรัฐบาลเปลี่ยนไปจากเดิม ก็มักจะมีผลกระทบต่อกระแสการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกครั้งเช่น ในประเทศอังกฤษ สมัยรัฐบาลนายวินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) พรรคอนุรักษนิยม (Conservative) ได้ทําการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอุตสาหกรรมเหล็กกล้าให้แก่ ภาคเอกชนในช่วงทศวรรษ 1950s ต่อมาในปี ค.ศ. 1967 เมื่อพรรคแรงงาน (Labour) ขึ้นเป็นรัฐบาลก็ได้โอนกิจการ ดังกล่าวกลับมาเป็นของรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นในช่วงปี ค.ศ. 1979 – 1990 รัฐบาลนางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ (Margaret Thatcher) พรรคอนุรักษนิยม ได้ดําเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง เพราะต้องการลดอํานาจรัฐลง และมีเจตนารมณ์ที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจประเภทผูกขาดที่ไร้ประสิทธิภาพ เพราะมีความเชื่อว่ากิจการสาธารณูปโภค ที่เอกชนเป็นเจ้าของนั้นจะมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นรัฐวิสาหกิจ

2 การเมือง กล่าวคือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคล ที่มีอํานาจทางการเมือง เช่น

ประเทศชิลี ผลจากการทํารัฐประหารประธานาธิบดี Attende Gossens ในปี ค.ศ. 1973 ทําให้มีการโอนรัฐวิสาหกิจคืนเอกชนจํานวน 259 แห่ง รวมทั้งมีการขาย

– รัฐวิสาหกิจ 133 แห่ง และธนาคารอีก 21 แห่ง

– ประเทศกานา ผลจากการทํารัฐประหารประธานาธิบดี Nkrumah ในปี ค.ศ. 1966ทําให้มีการเสนอขายรัฐวิสาหกิจจํานวน 30 แห่ง

– ประเทศปากีสถาน ผลจากการทํารัฐประหารรัฐบาลพรรคประชาชนในปี ค.ศ. 1977ทําให้มีการโอนรัฐวิสาหกิจคืนแก่เอกชนหลายแห่ง

3 เศรษฐกิจ กล่าวคือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเกิดขึ้นเพื่อต้องการลดการขาดดุลงบประมาณ แผ่นดินลง เช่น ประเทศอิตาลีในช่วงปี ค.ศ. 1985 รัฐบาลประสบปัญหาการขาดดุลงบประมาณแผ่นดินอย่างมาก จึงแก้ปัญหาโดยการขายรัฐวิสาหกิจทั้งประเภทที่เป็นบริษัทและธนาคารหลายแห่ง รวมทั้งได้นําหุ้นของรัฐวิสาหกิจอื่น อีก 13 แห่งเข้าตลาดหลักทรัพย์

 

ข้อ 4 จงอธิบายนโยบายรัฐวิสาหกิจของไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่าง ๆ มาโดยสังเขป

แนวคําตอบ

นโยบายรัฐวิสาหกิจของไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่าง ๆ มีดังนี้

แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 2509)

1 สาขาอุตสาหกรรม รัฐจะไม่ประกอบกิจการขึ้นใหม่อันเป็นการแข่งขันกับเอกชน ส่วนกิจการที่รัฐอํานวยการอยู่แล้วจะจัดการให้บังเกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น

2 สาขาการคมนาคม ปรับปรุงกิจการขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ รวมทั้งปรับปรุงกิจการสื่อสารและโทรคมนาคมให้มีบริการสะดวกและรวดเร็ว

3 สาขาการพลังงาน ดําเนินงานพลังงานต่าง ๆ เพื่อความต้องการของประเทศ

4 สาขาการสาธารณูปโภค ให้ท้องถิ่นหรือจังหวัดเป็นผู้ดําเนินกิจการด้านสาธารณูปโภค

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 – 2514)

1 ดําเนินกิจการรัฐวิสาหกิจเฉพาะกิจการที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวม ความมั่นคงของชาติ และเพื่อหารายได้ของประเทศเท่านั้น

2 รัฐจะไม่จัดตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นใหม่ เว้นแต่ที่จําเป็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมโดยแท้จริงเท่านั้น

3 ส่งเสริมและปรับปรุงรัฐวิสาหกิจที่จําเป็นจะต้องรักษาไว้ โดยการปรับปรุงสมรรถภาพในการบริหารงานให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถดําเนินการได้โดยไม่ต้องขอความอุดหนุนด้านการเงินจากรัฐ

4 ควบคุมการขยายงานของรัฐวิสาหกิจให้ดําเนินการเฉพาะโครงการที่แน่นอนและเหมาะสมเท่านั้น

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 – 2519) มีนโยบายในการพัฒนารัฐวิสาหกิจโดยมุ่งสนับสนุนเฉพาะรัฐวิสาหกิจประเภทต่อไปนี้

1 รัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภคและสาธารณูปการขนาดใหญ่ซึ่งจัดทําเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและการพัฒนาประเทศ

2 รัฐวิสาหกิจประเภทยุทธปัจจัยเพื่อการทหารและความมั่นคงของประเทศ

3 รัฐวิสาหกิจประเภทผูกขาดเพื่อหารายได้ให้แก่รัฐ

4 รัฐวิสาหกิจประเภทส่งเสริมอาชีพของคนไทยหรือเศรษฐกิจของประเทศ

5 รัฐวิสาหกิจประเภทที่ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจํานวนมากเพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจแต่ได้ผลตอบแทนน้อย

6 รัฐวิสาหกิจประเภทที่รัฐมีนโยบายเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือเพื่อรักษาระดับราคา ทั้งนี้รัฐจะไม่ก่อตั้งรัฐวิสาหกิจประเภทอุตสาหกรรมหรือการค้าขึ้นใหม่เพื่อทําการแข่งขันกับเอกชน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 – 2524)

1 รัฐสนับสนุนและคงไว้ให้ดําเนินการต่อไปในรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมที่มีลักษณะผูกขาดเพื่อการควบคุมคุณภาพ ราคา และหารายได้เป็นพิเศษ เช่น โรงงานยาสูบ โรงงานสุรา โรงงานเภสัชกรรม เป็นต้น

2 รัฐสนับสนุนและคงไว้ให้ดําเนินการต่อไปในรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมที่เป็นยุทธปัจจัยที่จําเป็นจริง ๆ เท่านั้น เช่น โรงงานผลิตวัตถุระเบิด เป็นต้น

3 รัฐมุ่งสนับสนุนรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่

1) จําเป็นต้องใช้เงินงบประมาณในเรื่องปัจจัยขั้นพื้นฐานสูง

2) มีการลงทุนสูงและเอกชนไม่สามารถดําเนินการได้โดยลําพัง

3) มีกระนวนการดําเนินงานซับซ้อนที่เอกชนยังไม่สามารถดําเนินการได้

4) ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติและมีปัญหาในเรื่องการบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะการให้สัมปทาน

4 รัฐมีนโยบายยกเลิกหรือจําหน่ายจ่ายโอนรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เติมเพื่อเป็นผู้ริเริ่มแต่ปัจจุบันยังคงดําเนินการอยู่อย่างขาดประสิทธิภาพ

5 ในกิจการที่รัฐวิสาหกิจและเอกชนดําเนินกิจการควบคู่กันไป รัฐจะใช้มาตรการใน การควบคุมในลักษณะคล้ายคลึงกัน

6 รัฐจะพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้การดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจมีประสิทธิภาพ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529) 1 ปรับปรุงกลไกในการควบคุมการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้ดีขึ้น ดังนี้

1) พิจารณานําระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงานมาใช้ใน 4 หน่วยงาน คือ กระทรวงการคลัง สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสํานักงบประมาณ และสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

2) พิจารณาจัดตั้งหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการประสานงานกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจให้เป็นแนวทางเดียวกัน

2 ปรับปรุงการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

1) วางหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง พร้อมทั้งกําหนดเป้าหมายและระยะเวลาการทํางานให้ชัดเจน

2) กําหนดให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งต้องมีแผนหลักเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

3) รัฐจะลดการให้เงินอุดหนุนแก่รัฐวิสาหกิจจากงบประมาณแผ่นดิน

4) รัฐจะดูแลให้รัฐวิสาหกิจใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

3 การปรับราคาสินค้าหรือค่าบริการของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งนอกจากจะต้องมีรายได้มากพอ

– สําหรับจ่ายค่าดอกเบี้ยและชําระคืนต้นเงินกู้แล้ว จะต้องมีรายได้สุทธิไม่ต่ำกว่าอัตรา

– ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลด้วย

4 วางหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาฐานะและกิจการของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

1) กําหนดระยะเวลาให้รัฐวิสาหกิจปรับปรุงกิจการตนเอง

2) รัฐวิสาหกิจใดที่มีผลการดําเนินการไม่ดีเท่าที่ควร รัฐจะพิจารณาดําเนินการยุบเลิกแปรสภาพ หรือจําหน่ายต่อไป

3) กิจการสาธารณูปโภคหากไม่ปรับปรุงการบริหารงาน ก็จะพิจารณาโอนกิจการให้เป็นของเอกชน

4) รัฐจะคงรัฐวิสาหกิจที่เป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 – 2534) มุ่งการเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจไปสู่เชิงธุรกิจให้มากขึ้น โดย

1) ยกระดับคุณภาพบริการให้ได้มาตรฐานในราคาที่เหมาะสม

2) หาลู่ทางเพิ่มรายได้และลดต้นทุนการผลิต

3) ลงทุนในกิจการที่ผลตอบแทนดี และจํากัดขนาดการลงทุน

2 กําหนดนโยบายการกําหนดราคาสินค้าและค่าบริการของรัฐวิสาหกิจให้คุ้มกับต้นทุน

3 กําหนดแนวนโยบายการบริหารบุคคล โดยกําหนดให้มีการจัดทําแผนอัตรากําลังรวมอยู่ในแผนรัฐวิสาหกิจ สนับสนุนให้มีการว่าจ้างใช้บริการเอกชน และส่งเสริมให้เอกชนเข้าร่วมบริหารงาน

4 กําหนดแนวนโยบายให้มีการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจ โดยพิจารณาให้มีการร่วมทุนกับภาคเอกชน ดําเนินการจําหน่ายจ่ายโอนหรือยุบเลิกกิจการที่ดําเนินการไม่ได้ผลติดต่อกันมาโดยไม่มีสาเหตุอันสมควร

5 ทบทวนบทบาทและปรับปรุงระบบการกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจทั้งระดับชาติ ระดับกระทรวงให้เข้าเป้าที่กําหนดไว้ในแผบวิสาหกิจแต่ละแห่ง และจัดให้มีการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้รัฐวิสาหกิจสามารถบริหารงานได้คล่องตัวในเชิงธุรกิจมากขึ้น

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2535 – 2539)

1 ลดบทบาทการกํากับดูแลของรัฐ

2 ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ให้รัฐวิสาหกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น

3 รัฐวิสาหกิจต้องดําเนินงานเป็นเชิงธุรกิจมากขึ้น

4 เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าร่วมดําเนินงานกับรัฐวิสาหกิจในรูปแบบต่าง ๆ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544)

1 เพิ่มบทบาทภาคเอกชน เพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง

2 สนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจมีสถานะเป็นบริษัทมหาชนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้สามารถระดมทุนจากประชาชนได้อย่างกว้างขวาง

3 จัดตั้งองค์กรกลางเป็นการถาวร เพื่อบริหารนโยบายการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน

4 นําระบบประเมินผลการดําเนินงานมาใช้แทนการกํากับดูแล

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549)

1 ส่งเสริมให้มีการแปลงทุนในรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่เป็นทุนเรือนหุ้นและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

2 เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของภาครัฐ โดยคํานึงถึงประสิทธิภาพการดําเนินงานมาตรฐานและคุณภาพของการผลิตและบริการ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554)

1 พัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีการดําเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพบนหลักการบริหารจัดการที่ดี

2 ปรับบทบาท โครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการภาครัฐและรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย ลดการบังคับควบคุม

3 เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของรัฐ และลดภาระการลงทุนภาครัฐ

4 พัฒนากลไกการกํากับดูแลที่เข้มแข็งเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่โปร่งใสและเป็นธรรม

 

ข้อ 5 จงอธิบายแนวทางการควบคุมและการประเมินผลรัฐวิสาหกิจของไทย แนวคําตอบ

แนวทางการควบคุมรัฐวิสาหกิจของไทย แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ

1 การควบคุมภายใน หมายถึง การควบคุมโดยองค์กรภายในของแต่ละรัฐวิสาหกิจเอง ได้แก่

1) ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น เป็นองค์กรที่มีเฉพาะรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทจํากัดและธนาคารพาณิชย์ โดยจะมีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมการบริหารงานรัฐวิสาหกิจ ในเรื่องสําคัญต่าง ๆ เช่น การเลือกตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจ การพิจารณาอนุมัติ เกี่ยวกับงบดุล บัญชีกําไรขาดทุน การจ่ายเงินปันผลและบําเหน็จรางวัลอื่น ๆเป็นต้น

2) คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ มีอํานาจหน้าที่ในการวางนโยบายและระเบียบหรือข้อบังคับต่าง ๆ และควบคุมดูแลกิจการของรัฐวิสาหกิจโดยทั่ว ๆ ไป

3) หน่วยควบคุมภายในของรัฐวิสาหกิจ ในบางรัฐวิสาหกิจจะมีหน่วยควบคุมภายในของตนเองทําหน้าที่ในการตรวจสอบควบคุมการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆภายในรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ

2 การควบคุมภายนอก หมายถึง การควบคุมจากภายนอกรัฐวิสาหกิจ โดยองค์กรต่าง ๆ ของรัฐ ได้แก่

1) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีอํานาจหน้าที่ ในการควบคุมรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) เรียกให้รัฐวิสาหกิจเสนอแผนงานและโครงการพัฒนา รวมทั้งเสนอข้อเท็จจริงที่จําเป็นเพื่อพิจารณาผลงานของโครงการพัฒนาที่กําลังดําเนินการอยู่

(2) พิจารณาแผนงานและโครงการพัฒนาร่วมกับรัฐวิสาหกิจ

(3) พิจารณาให้คําแนะนําและกําหนดหลักการเพื่อให้รัฐวิสาหกิจจัดทําแผนงานและโครงการพัฒนาที่จะขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

(4) ติดตามและประเมินผลงานโครงการพัฒนาต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจ

2) สํานักงบประมาณ

ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณมีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) เรียกให้รัฐวิสาหกิจเสนอประมาณการรายรับและรายจ่าย

(2) วิเคราะห์งบประมาณและการจ่ายเงินของรัฐวิสาหกิจ

(3) เรียกให้รัฐวิสาหกิจเสนอข้อเท็จจริงตามที่เห็นสมควร

(4) ในกรณีรัฐวิสาหกิจขอเงินจากงบประมาณแผ่นดินเพื่อใช้ดําเนินกิจการ

(5) ในกรณีรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่นิติบุคคล ถ้ามีความจําเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อใช้ดําเนินกิจการ กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ มีอํานาจกู้ยืมให้ได้แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้อํานวยกkรสํานักงบประมาณ

(6) กําหนดให้รัฐวิสาหกิจนําเงินกําไรหรือเงินอื่นใดส่งเป็นรายได้แผ่นดินเป็นงวด ๆ

3) สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มีอํานาจหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีและรับรองงบดุลรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง กระทรวงการคลัง มีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) ตรวจสอบบัญชี เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจ

(2) กําหนดหลักเกณฑ์การทําบัญชีแสดงผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ

(3) อนุมัติการกําหนดหรือเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเสื่อมราคา

(4) อนุมัติการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคํานวณต้นทุนการผลิต และการตีราคาของคงเหลือ

(5) อนุมัติการจัดสรรกําไรสะสมของรัฐวิสาหกิจ

(6) อนุมัติการจัดสรรกําไรสุทธิประจําปีของรัฐวิสาหกิจเพื่อจ่ายเป็นโบนัสกรรมการและพนักงาน และจ่ายเงินปันผลหรือเงินรายได้นําส่งคลัง

(7) วินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่รัฐวิสาหกิจไม่เห็นด้วยกับความเห็นของสํานักงาน การตรวจเงินแผ่นดินในเรื่องการสอบบัญชี

(8) ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจจะฝากเงินกับธนาคารที่ไม่ใช่ธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังก่อน

(9) กําหนดให้รัฐวิสาหกิจนําเงินกําไรหรือเงินอื่นใดส่งเป็นรายได้แผ่นดินเป็นงวด ๆ

(10) การจ่ายเงินยืมทดรองแก่พนักงานที่คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกําหนดขึ้นนั้นต้องได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลังก่อน

(11) ในกรณีรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่นิติบุคคล ถ้ามีความจําเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อใช้ดําเนินกิจการ กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ มีอํานาจกู้ยืมให้ได้แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก่อน

(12) รัฐวิสาหกิจทุกแห่งต้องมีผู้แทนกระทรวงการคลังซึ่งเป็นข้าราชการประจําเป็นกรรมการอยู่ในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ

5) กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจ มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในสังกัด

6) คณะรัฐมนตรี มีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) อนุมัติการเพิ่มหรือลดทุนของรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง

(2) อนุมัติงบลงทุนหรือการลงทุนเพื่อขยายโครงการเดิมหรือริเริ่มโครงการใหม่

(3) อนุมัติการกู้ยืมเงิน

(4) อนุมัติการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์

(5) อนุมัติการจําหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นศูนย์

(6) อนุมัติการกําหนดราคาสินค้าหรือบริการ

(7) อนุมัติการออกพันธบัตรหรือตราสารอื่นใดเพื่อการลงทุน

(8) อนุมัติการจําหน่ายกิจการหรือหุ้นของรัฐวิสาหกิจ

(9) อนุมัติการเข้าถือหุ้นส่วนหรือร่วมกิจการกับบุคคลอื่น

(10) อนุมัติการจัดตั้งบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด

7) รัฐสภา มีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

(1) พิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี

(2) ตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ

(3) เสนอญัตติในสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา

(4) ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อตรวจสอบ

(5) อภิปรายไม่ไว้วางใจ

แนวทางการประเมินผลรัฐวิสาหกิจของไทย มีดังนี้

1 จัดทําบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจก่อนเริ่มปีงบประมาณ เพื่อกําหนดตัวแปรและเป้าหมายในการดําเนินงานในแต่ละปี โดยบันทึกข้อตกลงจะต้องลงนามโดยปลัดกระทรวง เจ้าสังกัด ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการและผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ

2 คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเป็นผู้กํากับดูแลให้รัฐวิสาหกิจดําเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย ที่กําหนดไว้ในบันทึกข้อตกลง โดยรัฐจะผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจบริหารงานได้คล่องตัวมากขึ้น

3 การกําหนดตัวแปรและเป้าหมายในการดําเนินงานจะต้องคํานึงถึงลักษณะของแต่ละ รัฐวิสาหกิจ และกําหนดตัวแปรซึ่งครอบคลุมด้านสําคัญทุกด้านรวมถึงคุณภาพในการบริการ และเป็นผลงานที่รัฐ ต้องการจากรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการพิจารณากําหนดตัวแปรและเป้าหมายจะคํานึงถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ นโยบายรัฐบาล และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ

4 การประเมินผลงานจะแบ่งผลงานออกเป็น 5 ระดับ และมีการกําหนดระบบผลตอบแทน ที่สะท้อนระดับผลการดําเนินงาน รัฐวิสาหกิจใดดําเนินการได้ดีกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ในบันทึกข้อตกลงจะได้รับ ผลตอบแทนมากกว่า

5 การประเมินผลงานคณะกรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจะต้องใช้ตัวแปรชุดเดียวกับ การประเมินผลงานของรัฐวิสาหกิจ

Advertisement