การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3314 การบริหารชุมชนเมือง

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบมี 10 ข้อ ให้เลือกทําเพียง 4 ข้อ โดยระบุข้อที่ทําให้ชัดเจน

ข้อ 1 จงอธิบายผลกระทบจากการเพิ่มของประชากรโลกต่อสังคมโลก มาโดยสังเขปพร้อมทั้งระบุด้วยว่าจะแก้ไขผลกระทบเหล่านั้นได้อย่างไร ?

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

ผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก มีดังนี้

1 ด้านแหล่งน้ำจืด (Fresh Water) เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำจืด เพราะว่ามนุษย์ก็จะพยายามขยายพื้นที่อยู่อาศัยออกไปเรื่อย ๆ อาจจะถมที่ดินหรือสร้างบ้านจัดสรรก็ทําให้ เกิดการบุกรุกเบียดเบียนแหล่งน้ำจืด ส่งผลให้ระบบวงจรของน้ำที่ระเหยจากแหล่งน้ำเป็นไอน้ำขึ้นไปกลายเป็นเมฆ แล้วก็กลั่นตัวลงมาเป็นฝนมีปริมาณลดน้อยลง 74% ตั้งแต่ปี 1950 และคาดการณ์ว่าจะถึงปี 2050 ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่อแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น เขื่อน แม่น้ำ ฯลฯ ในหลาย ๆ ประเทศก็ประสบกับปริมาณน้ำลดน้อยถอยลงและแห้งแล้ง หรือบางภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกในบางฤดูกาลก็เกิดปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นผลมาจากการบุกรุกแหล่งกักเก็บน้ำต่าง ๆ และทําลายป่าไม้ด้วย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะประสบกับปัญหาปริมาณน้ำลดน้อยถอยลง ปริมาณน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภคที่จะส่งไปยังประชากรก็ลดลงด้วย ซึ่งได้มีการคาดการณ์ว่าแหล่งน้ำจืดเพื่อการบริโภคอุปโภคจะมี ปัญหาส่งผลกระทบต่อน้ำเพื่อการชลประทาน และอัตราของน้ำเฉลี่ยต่อคนก็จะลดน้อยถอยลง

2 ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์มักจะมี ระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ด้วย เช่น มีแม่น้ำ ลําธาร ป่าไม้ ภูเขา สัตว์ป่า พืชพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอาหารของปลาและ สัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบห่วงโซ่อาหาร เมื่อเกิดภาวะโลกร้อนเกิดความแห้งแล้ง พื้นที่ชุ่มน้ำหรือพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหล่านี้ก็เกิดปัญหาความเดือดแห้งส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อประมาณ 65 ล้านกว่าปี ที่ผ่านมานี้ สิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ได้สูญพันธุ์ไป 100 – 1000 เท่า ซึ่งนอกจากภัยธรรมชาติแล้วยังเกิดจากมนุษย์ ที่ทําลายด้วย อย่างในพื้นที่ชุ่มน้ำอุดมสมบูรณ์อาจเคยมีนกเป็ดน้ำ สัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ นับวันก็จะลดน้อยถอยลงและสูญพันธุ์ไป รวมทั้งสัตว์ป่าบางชนิดก็จะสูญพันธุ์ไปด้วย เช่น กูปรี ละมั่ง เลียงผา จามรี เป็นต้น

3 ด้านการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) ภาวะโลกร้อนหรือภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากการกระทําของมนุษย์ และปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรม ที่ปล่อยมลพิษหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนเกิดการสะสมและทําลายชั้นโอโซน (Ozone Layer) ซึ่งเรียกว่า “ภาวะเรือนกระจก” ก็มีแนวโน้มทําให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบทําให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อแหล่งอาหาร สภาวะทางธรรมชาติ และตัวมนุษย์เราเองด้วย

4 ด้านการประมงหรือการจับปลาในมหาสมุทร (Oceanic Fish Catch) การจับสัตว์น้ำทางทะเลส่งผลต่อการลดลงของปริมาณกุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ตั้งแต่ปี 1950 – 1988 อัตราการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ เพิ่มขึ้นมากจาก 19 ล้านตัน มาเป็น 88 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรเสียอีก แต่หลังปี 1988 เป็นต้นมาอัตราการจับปลาก็ลดลง ซึ่งในปี 1996 อัตราการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ลดลงถึง 16 กิโลกรัม/คน ลดลง ประมาณ 9% อย่างไรก็ตามการจับสัตว์น้ำก็ยังมีมากอยู่ เพราะว่าคนนิยมบริโภคอาหารทะเลกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งอัตราการจับสัตว์น้ำลดลงนั้น เป็นผลมาจากสัตว์น้ำเริ่มลดจํานวนลงและสูญพันธุ์ ก็ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีจํานวน เพิ่มมากขึ้นและยังมีการใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างฟุ่มเฟือย นักชีววิทยาทางทะเลได้กล่าวไว้ว่า อัตราการจับสัตว์น้ำในปัจจุบันนี้มีประมาณปี 93 ล้านตัน ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อจํานวนประชากรโลก อีกหน่อยมนุษย์เราก็อาจจะมีอาหารเหล่านี้รับประทานกันน้อยลงและยากขึ้น

5 ด้านการมีงานทําหรือการจ้างงาน (Jobs) ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงานและตําแหน่งงาน ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้มีจํานวนแรงงานเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว ประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานของโลกจาก 1.2 พันล้านคน เพิ่มขึ้นถึง 2.7 พันล้านคน องค์การแรงงาน ระหว่างประเทศได้คาดการณ์ว่าจะมีคนตกงานถึง 1 พันล้านคน พอถึงครึ่งศตวรรษที่ 21 นี้ (ประมาณปี 2050) จะมี คนตกงานประมาณเกือบ 2 พันล้านคน ซึ่งมากกว่าตําแหน่งงานที่มีอยู่ประมาณ 1.9 พันล้านตําแหน่ง และส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นปัญหาในสังคมที่กําลังพัฒนา เพราะว่ามีอัตราการเกิดและจํานวนประชากรมาก และก็เข้าสู่ตลาดแรงงาน เป็นจํานวนมากด้วย ในขณะที่ตําแหน่งงานที่มีอยู่ มีจํานวนอัตราตําแหน่งเติบโตน้อยกว่าแรงงานเสียอีก

6 ด้านพื้นที่การเพาะปลูก (Cropland) ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมาอัตราการเพิ่มประชากรโลกมีจํานวนมากกว่าพื้นที่การเพาะปลูกต่าง ๆ พื้นที่การเพาะปลูกโดยเฉลี่ยต่อจํานวนประชากรที่มีจํานวนลดน้อยถอยลง ซึ่งก็ได้ส่งผลกระทบเชื่อมโยงไปยังแหล่งอาหาร ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้าอาหารหรือตลาดอาหารต่าง ๆ ด้วย หากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกก็ยิ่งทําให้พื้นที่เพาะปลูกและผลิตผลมีจํานวนลดน้อยลงไป

7 ด้านป่าไม้ (Forests) การที่มีจํานวนประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นทําให้เกิดการบุกรุกตัดไม้ ทําลายพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น เพื่อการเพาะปลูกต่าง ๆ ที่อยู่อาศัย และการขยายตัว ของเมือง เป็นต้น ส่งผลให้พื้นที่ป่ามีจํานวนลดน้อยลง และพื้นที่ป่าต่อประชากรหนึ่งคนก็ลดลงด้วย โดยเฉพาะ ในประเทศกําลังพัฒนา แต่ก็มีบางพื้นที่ที่มีจํานวนป่าเพิ่มขึ้นคือ ยุโรป และรัสเซีย

8 ด้านที่อยู่อาศัย (Housing) การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกมีแนวโน้มเติบโตและรวดเร็วมาก ความต้องการที่อยู่อาศัยหรือการสร้างบ้านเพื่อที่อยู่อาศัยก็เพิ่มมากขึ้น แต่ปัญหาโดยทั่วไปของมนุษย์ที่ต้องการ มีที่อยู่อาศัยคือ ที่อยู่อาศัยมักจะมีราคาสูงมากอย่างเช่นในเมือง ที่ดินก็จะมีราคาแพงมากส่งผลให้บ้านก็มีราคาแพง ตามไปด้วย ซึ่งคนที่มีรายได้น้อยในสังคมเมืองก็หาซื้อได้ลําบาก จึงจําเป็นต้องอยู่อาศัยในที่มีพอดํารงชีพได้ ซึ่งก็มักจะเป็นแหล่งชุมชนแออัด ซึ่งอาจเกิดจากการขาดการวางผังเมือง หรือการใช้ที่ดินไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหา ความแออัด แหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาของเสียและของเหลือใช้ต่าง ๆ เป็นต้น

9 ด้านพลังงาน (Energy) ในช่วง 200 กว่าปีมานี้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์ก็เริ่มมีการใช้พลังงานต่าง ๆ ที่มีความทันสมัยมากขึ้น จากเดิมที่ใช้พื้น ถ่านกลายมาเป็นใช้น้ํามัน ก๊าซ ฯลฯ และยิ่งมี การพัฒนาอุตสาหกรรม พัฒนาเมืองและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งพัฒนาความทันสมัยในด้านต่าง ๆ แล้ว ก็ยิ่งมีความต้องการที่จะใช้พลังงานมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะใช้พลังงานที่มาจากน้ำมันและก๊าซมาก แต่ไม่ค่อย พัฒนาพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากนัก เช่น พลังงานแสงแดด พลังงานใต้ผืนพิภพ พลังงานลม เป็นต้น ก็เพิ่งจะเริ่มมีการตื่นตัวในการพัฒนาไม่กี่ปีมานี้เอง ซึ่งความเป็นเมืองนี้เองที่เป็นศูนย์กลางทําให้มีการใช้พลังงาน อย่างมาก ความต้องการในการใช้พลังงานของประชากรโลกก็มีจํานวนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากว่าประเทศกําลังพัฒนา ก็มักจะพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและมีการใช้พลังงานเป็นอย่างมากด้วย ไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน ก๊าช และน้ำมัน ซึ่งได้ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การที่มีความต้องการใช้พลังงานมาก ก็ส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานชีวมวลด้วย จากที่เคยปลูกพืชเพื่อการบริโภคก็ต้องปลูกพืชเพื่อผลิตเป็นพลังงาน เช่น การปลูกอ้อย มันสําปะหลัง และข้าวโพด ฯลฯ เพื่อนําไปผลิตเป็นพลังงานที่เรียกกันว่า ไบโอดีเซล เป็นต้น

10 ด้านการสร้างชุมชนเมืองหรือพัฒนาความเป็นเมือง (Urbanization) ประชากรโลก มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งมนุษย์ทุกคนก็มีความปรารถนาที่ต้องการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ อาหารและน้ำสะอาด มีบ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และทํางานในสถานที่ที่ปลอดภัย มีการควบคุมป้องกันมลพิษตลอดจนพิษภัยอันตรายจากโรคต่าง ๆ มีการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแต่เนื่องจากความต้องการ ในการอยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนเมืองมีมาก ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเป็นเมืองหรือการสร้างบ้านแปลงเมือง ชุมชนเมืองและการอยู่อาศัยของมนุษย์บนโลกโดยรวม ซึ่งจะทําให้เกิดปัญหาความต้องการในด้านการบริโภค อุปโภค การขาดแคลน ทรัพยากรและสิ่งจําเป็นพื้นฐานตามมา เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน และทรัพยากรประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

การที่ประชากรในโลกประสบปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แนวทางการแก้ไขปัญหาของสังคมโลกจากการยอมรับในประชาคมนานาชาติในปัจจุบัน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (Sustainable Technologies) การสร้างชุมชนเมือง (Urbanization) และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน (Community-Based Natural Resource Management) โดยเฉพาะการจัดการชุมชนเมืองเป็นสิ่งที่จําเป็น เนื่องจากแนวโน้มพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้คนที่เข้ามาอยู่รวมกันในชุมชนเมืองอยู่ตลอดเวลา แต่กลุ่มคนที่ได้รับ ผลกระทบหรือเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดคือคนจนในเมืองที่จําเป็นต้องมีการบริหารจัดการ และการดูแล แก้ไขอย่างเหมาะสม

 

ข้อ 2 พฤติกรรมและการกระทําของมนุษย์ในโลกยุคปัจจุบันในลักษณะที่จะก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อสังคมในเชิงความผิดบาป (Sin) มีอะไร อย่างไร

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 1 – 2, 8), (คําบรรยาย)

พฤติกรรมและการกระทําของมนุษย์ในลักษณะที่จะก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อสังคมใน เชิงความผิดบาปจากแนวโน้มของประชากรที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มของการเจริญเติบโตของชุมชนเมืองที่เพิ่มมากเช่นกัน จะเห็นได้ว่าพื้นที่ชุมชนเมืองจะต้องรับภาระหนักในปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลต่อสังคมและคุณภาพชีวิต ไปจนถึงพฤติกรรมและการกระทําของมนุษย์ในโลกยุคปัจจุบันในลักษณะที่จะก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อสังคมใน เชิงความผิดบาป (Sin) เช่น ปัญหาอาชญากรรม ความรุนแรง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ ปัญหาอัตราการตายของทารกแรกคลอด ปัญหาโรคร้ายแรง ปัญหาสุขภาพกายและ สุขภาพจิต ความแออัด มลภาวะ ขาดการบริการขั้นพื้นฐาน ตลอดจนการกระจายโอกาสในด้านต่าง ๆ ไปสู่ ประชากรโดยรวม โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและมาตรฐานในการใช้ชีวิตซึ่งควรจะมีในสังคมเมือง ซึ่งจะส่งผลต่อ ภาพรวมของซาตินั้น ๆ

การที่ประชากรในโลกประสบปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แนวทางการแก้ไขปัญหาของสังคมโลกจากการยอมรับในประชาคมนานาชาติในปัจจุบัน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (Sustainable Technologies) การสร้างชุมชนเมือง (Urbanization) และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน (Community-Based Natural Resource Management) โดยเฉพาะการจัดการชุมชนเมืองเป็นสิ่งที่จําเป็น

เนื่องจากแนวโน้มพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้คนที่เข้ามาอยู่รวมกันในชุมชนเมืองอยู่ตลอดเวลา แต่กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบหรือเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดคือคนจนในเมืองที่จําเป็นต้องมีการบริหารจัดการ และการดูแล แก้ไขอย่างเหมาะสม

 

ข้อ 3 จงอธิบายให้เข้าใจว่าเมือง และการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมืองคืออะไร อย่างไร ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 34 – 39, 55)

นิยามและการเกิดขึ้นมาของเมืองหรือชุมชนเมือง เมือง (City/Urban) มีความหมายดังนี้ คือ

– การตั้งถิ่นฐานถาวรขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างถาวร (อันได้แก่ บ้านเรือน)

มีสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการสาธารณูปโภค (เช่น ประปา ไฟฟ้า และถนน เป็นต้น)

– เมืองจะเป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองจํานวนมาก มีความหนาแน่นของประชากรอยู่ในระดับสูง ประชากรของแต่ละเมืองจะประกอบไปด้วยคนต่างเพศ ต่างสถานภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม

– เมืองจะมีระบบการบริหารและการปกครองเป็นของตนเอง เมืองจะประกอบด้วยองค์กรทางสังคมต่าง ๆ มากมาย

– เมืองจะเป็นศูนย์รวมของขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เช่น ในเชิงทางประวัติศาสตร์ เมืองจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และการศึกษา การตลาดและการพาณิชยกรรม การบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารขององค์กรเอกชนต่าง ๆ การศาสนาและประเพณี เมืองบางแห่งอาจเกิดขึ้นเพื่อทําหน้าที่พิเศษเฉพาะด้าน เช่น เมืองหน้าด่านและ ป้อมปราการทําหน้าที่ป้องกันตนเองและป้องกันเมืองอัน ๆ ที่อยู่ในระบบเมืองเดียวกัน เมืองกลายเป็นผู้ใช้และผู้ผลิตที่เพิ่มค่าทางเศรษฐกิจของวัตถุดิบและการบริโภค/ อุปโภคอย่างมากมาย จนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศ เช่น การค้า การธนาคาร การบริหารอุตสาหกรรม การขนส่งเคมนาคม แหล่งขายปลีก ตลอดจนเป็นศูนย์กลางของรัฐบาล

Urban คือ เมืองหรือชุมชนเมือง (Urban Community) คือ ชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มี สาระสําคัญหรือจุดร่วมของความเป็นเมือง อันได้แก่ ความเป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ ความหนาแน่น วิถีชีวิต หรือในแง่ของการเมืองการบริหาร เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมือง

ความสัมพันธ์ของการรวมตัวในแง่การผลิตและการพัฒนาอุตสาหกรรม อาจเป็นเครื่องบ่ง บอกถึงระบบของการก่อกําเนิดเป็นชุมชนเมืองนั้น ๆ ได้ เช่น ชุมชนที่รวมตัวกันหนาแน่นจนเกิดปริมาณมากพอ ในแง่ของการบริโภค ซึ่งโดยปกติเฉพาะอย่างยิ่งเมืองหลายเมืองที่กลายมาเป็นมหานครในปัจจุบันมักจะมีจุดเริ่มต้น และก่อกําเนิดมาจากการมีบทบาทในการเป็นศูนย์กลางในทางเศรษฐกิจ หรือเป็นเมืองหลวง หรือเป็นเมืองใหญ่ ริมชายฝั่งทะเล ซึ่งการรวมตัวเป็นชุมชนหนาแน่นเป็นกลุ่มก้อนดังกล่าวช่วยเอื้อให้เกิดความประหยัดหรือการขาดแคลนในด้านแรงงาน วิทยาการความรู้ การบริการธุรกิจการเงิน การติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย และการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและการขนส่ง

ทํานองเดียวกันในทางสังคมวิทยา การรวมตัวกันเข้าเป็นชุมชนเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ และ สิ่งแวดล้อมในสังคมเป็นตัวกําหนด ซึ่งแนวโน้มการตั้งถิ่นฐานหรือที่อยู่อาศัยที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หมู่บ้าน เมือง และนคร ตามลําดับนั้น เป็นผลสืบเนื่องจากความต้องการและกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การบริการ การค้า การ ลงทุนประกอบการ การดําเนินกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ดังนั้นมนุษย์จึงมีความต้องการหรือความคาดหวังที่จะ เข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนเมืองที่มีสภาพแวดล้อมที่เห็นว่าจะมีชีวิตที่ดีและเหมาะสมกว่า

 

ข้อ 4 จงอธิบายกรอบความคิดเชิงทฤษฎีที่สําคัญ ๆ ที่สามารถอธิบายความเป็นเมืองในแง่มุมต่าง ๆ มาพอสังเขป ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 63 – 65)

สาเหตุหรือจุดกําเนิดของความเป็นสังคม ชุมชน และเมือง มีหลายปัจจัยที่นักคิดของศาสตร์ สาขาต่าง ๆ ต่างก็อธิบายหรืออ้างเหตุผลในเชิงวิชาการตามแนวทางของตน เช่น

แนวความคิดเชิงทฤษฎีของสํานักสังคมวิทยา

ในทางสังคมวิทยา อธิบายว่า ระบบชุมชนเป็นระบบของปัจจัย 3 ประการที่เกี่ยวข้องกัน คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Areas) การปะทะสังสรรค์กันทางสังคม (Social Interaction) และความผูกพันร่วมกัน (Common Ties)

นั่นคือในสังคมนั้นจะประกอบด้วยบุคคลที่มีการปะทะสังสรรค์กันทางสังคมในพื้นที่ทาง ภูมิศาสตร์และมีความผูกพันร่วมกันในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่ง ดังนั้นผลผลิตของชุมชนหรือสังคม คือ

– การกล่อมเกลา ทางสังคม (Socialization)

– การควบคุมทางสังคม (Social Control)

– การมีส่วนร่วมในสังคม (Social Participation)

– การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (Mutual Support)

– ทุนทางสังคม (Social Capital)

– การผลิต การบริโภค และการกระจายสินค้าและบริการภายในชุมชน (Production,Consumption, Distribution)

ในแง่ของจิตใจและวัฒนธรรม คนจะมีความรู้สึกในความเป็นคนถิ่นนั้นถิ่นนี้เพราะเกิด ความรู้สึกมั่งคงในการมีที่ยึดเหนี่ยวด้านจิตใจ (Community Sentiment) ที่เกิดจากการหล่อหลอมทางค่านิยม ของกฎเกณฑ์และเป้าหมายร่วมกัน

กระบวนการของคนในสังคมหรือชุมชนโดยลักษณะธรรมชาติดังกล่าว คือ ความเป็นเมือง ในทัศนะของนักสังคมวิทยา

 

ข้อ 5 จงอธิบายปรัชญา อุดมการณ์ ระบบวิธีการ ตลอดจนเป้าหมายของการบริหารชุมชนเมืองมาให้กระจ่างชัด ?

แนวคําตอบ (หน้า 128 – 129), (คําบรรยาย)

แนวคิดและวิธีการในการบริหารชุมชนเมืองใด ๆ นั้น ควรที่จะต้องมีการคํานึงถึงปรัชญาทางการบริหาร กรอบด้านการบริหาร แนวทางในการบริหาร ตลอดจนขั้นการวางแผนการบริหาร

ปรัชญาทางการบริหาร

ปรัชญาทางการบริหาร คือ การที่ต้องเข้าใจว่าเมืองนั้นคือที่อยู่อาศัยของมนุษย์ และมนุษย์เข้ามาอยู่ในเมืองเพราะเห็นว่าเมืองนั้นสามารถตอบสนองความต้องการของตนได้มากกว่าชนบท ดังนั้นปรัชญาทางการบริหารนั้นก็ต้องยึดถือหลักการว่า เมืองนั้นจะตอบสนองความจําเป็นพื้นฐานของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ให้ได้ ซึ่งปรัชญาทางการบริหารนั้น ประกอบด้วย

1 ความเข้าใจในระบบนิเวศ คือ การเข้าใจในระบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ในบริเวณชุมชนเมืองนั้นโดยยึดเอาผู้อยู่อาศัยหรือคนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งต้องทําให้ระบบนิเวศของเมืองมีความสมดุลกัน

และตระหนักว่าในระบบนิเวศของเมืองนั้นถือว่าทุกหน่วยของสิ่งมีชีวิต (ไม่ว่าจะเป็นคน, พืช, สัตว์) และสิ่งไม่มีชีวิต \ (เช่น ที่ดิน, ภูมิอากาศ, โครงสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น) มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และมีผลซึ่งกันและกันทั้งโดยทางตรง หรือทางอ้อม และมองว่าทุก ๆ ส่วนในระบบนิเวศมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน

2 ต้องตอบสนองปัจจัยพื้นฐาน คือ เมืองจะต้องตอบสนองความจําเป็นพื้นฐานในเรื่อง ของปัจจัย 4 ซึ่งได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม หรือสามารถตอบสนองในเรื่องความต้องการ ตามลําดับขั้นของมนุษย์ 5 ลําดับขั้นได้ คือ

1) ความต้องการทางด้านกายภาพ/ชีวภาพ

2) ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต

3) ความต้องการที่จะเข้าร่วมในสังคม

4) ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในหน้าที่การงาน

5) ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในชีวิตตามอุดมการณ์ที่ตัวเองได้ตั้งไว้

 

3 พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ/สังคม/จิตวิทยา คือ การเข้าใจพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ สังคม/จิตวิทยา ในชุมชนเมืองนั้นว่าเป็นอย่างไร

พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ/สังคม/จิตวิทยา ได้แก่

– ลักษณะโครงสร้างประชากร

– ลักษณะความคิด/ความเชื่อ/ค่านิยม

– ลักษณะการทํางานเป็นทีม/เด่นคนเดียว

– ลักษณะอาชีพที่นิยม

– ลักษณะวัฒนธรรม/ประเพณี

– ลักษณะชอบอยู่โดด เป็นหมู่พวก/เป็นย่าน

– ลักษณะชีวิตเป็นแบบอยู่นิ่ง/ผจญภัย/ขอบแข่งขัน/ประกอบการ เป็นต้น

4 ศักยภาพดั้งเดิม คือ การเข้าใจในลักษณะทางกายภาพและคุณค่าทางความคิดที่สามารถนํามาบูรณาการและพัฒนาได้ กล่าวคือ ในลักษณะทางกายภาพจะต้องเข้าใจถึง

– ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของชุมชนเมืองว่าเป็นลักษณะใด เป็นแบบแหล่ง/ย่าน/ ปากน้ำ/ปากอ่าว/ศูนย์กลางทางทะเล เป็นต้น

– โครงสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งได้แก่ เป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาค/ท่าเรือน้ำลึก

โครงการการพัฒนา หรือในทางด้านประวัติศาสตร์ คือ การฟื้นฟูประเพณีตามแต่ โบราณ หรือการบูรณะซ่อมแซมโบราณสถาน โบราณวัตถุ และพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น

สําหรับด้านคุณค่าทางความคิดนั้นจะต้องคํานึงถึงจิตวิญญาณ เป้าหมายเจตจํานงหรือ วิสัยทัศน์ทางการพัฒนาในแง่ต่าง ๆ ตลอดจนการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ แล้วนํามาเผยแพร่และนําไปใช้ ให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น

5 บทบาทของเมือง คือ การวางตําแหน่งของเมือง และการกําหนดบทบาทของเมืองว่าจะเป็นเมืองในลักษณะใด เช่น การเน้นบทบาทของเมืองที่จะเป็นเมืองอุตสาหกรรม เมืองท่องเที่ยว เมืองพาณิชยกรรม หรือเมืองสําหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น

6 แนวคิดความยั่งยืน คือ การพัฒนาให้มีความยั่งยืน และไม่ผลักภาระไปให้คนรุ่นหลัง เป็นการพัฒนาอย่างสมดุลที่คํานึงถึงปัจจัยต่าง ๆ อย่างครอบคลุมทุก ๆ ด้าน คือ ต้องพัฒนาทางด้านสังคม ทางด้าน การศึกษา ทางด้านการเมือง การขนส่ง ไม่ใช่เน้นพัฒนาทางด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว หรือพัฒนาทางด้าน ความทันสมัยอย่างเดียว

กรอบด้านการบริหาร ในการบริหารชุมชนเมืองใด ๆ จะต้องคํานึงถึงกรอบทางด้านการบริหาร ดังนี้

1 ทางด้านเศรษฐกิจ คือ กิจกรรมในทางเศรษฐกิจของเมืองนั้น เมืองควรจะเป็นแหล่ง

– ตลาด/แหล่งแรงงาน/แหล่งสร้างแรงงาน

– แหล่งผลิต/จําหน่ายจ่ายแจก/แลกเปลี่ยน

– ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค/ประเทศ/โลก

 

2 ทางด้านสังคม คือ การคํานึงถึงคนที่อยู่ในเมืองต้อง

– อยู่อย่างผาสุกบนความเท่าเทียมกัน

– มีกิจกรรมทางสังคม/มีสวัสดิการความปลอดภัย/มีเกียรติภูมิ/มีส่วนร่วม

 

3 ทางด้านการเมือง ในการบริหารชุมชนเมืองจะต้องคํานึงถึงทางด้านการเมือง คือ

1) การเมืองขององค์กรการบริหาร

– อาจแบ่งได้เป็น 3 ระบบ คือ ระบอบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดี และ ระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี

– ระบบการเมืองในฐานะที่ช่วยเหลือ/การให้อิสระในการบริหารงาน

2) การเมืองในฐานะความเป็นพลเมือง (ในประชาคมเมือง)

– ขบวนการเคลื่อนไหวพื้นฐาน หรือ Basic Movement

– ประชาสังคม (Civil Society)

– ธรรมาภิบาล (Good Governance) สาระสําคัญในการปฏิบัติงานหรือแนวทางในการบริหาร

การปฏิบัติงานหรือการบริหารชุมชนเมือง ซึ่งถือเป็นฝีมือของผู้บริหารและความสําเร็จโดยรวม ของคนในเมืองนั้น โดยมุ่งตอบสนองต่อผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนนั้นเป็นหลัก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสําคัญ 3 ประการ ดังนี้

1 เกียรติภูมิ คือ การทําให้ประชาชนรู้สึกว่าตนมีเกียรติภูมิ สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า ตนเองเป็นคนท้องถิ่นนั้น

2 ความรับผิดชอบ คือ การที่คํานึงถึงว่าตัวเองมีความรับผิดชอบอะไรบ้าง ถ้าทํางาน ผิดพลาดควรรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือมีการปรับปรุงแก้ไข

3 ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คือ แผนงานต้องบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องใช้จ่ายเงินของภาษีหรือค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้จากประชาชนอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

การวางแผนการบริหารงาน

– การนําเอาปรัชญา/ระบบวิธีคิดมาวางแผน

– การจัดวางระบบความสัมพันธ์ของโครงสร้างเบื้องบน (Super Structure)

– วางแผนทางด้านสังคม/เศรษฐกิจ

– วางแผนการใช้พื้นที่ในการปฏิบัติคือการใช้ผังเมือง

 

ข้อ 6 จงอภิปรายปัญหาอุปสรรคตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาของเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครหรือเมืองที่เราอยู่อาศัย โดยเฉพาะจําเป็นต้องยกตัวอย่างแบบเจาะลึกให้เห็นเป็นรูปธรรมเป็นด้าน ๆ ไป ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 265 – 279)

การบริหารชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร

ในสภาวการณ์ปัจจุบันกรุงเทพมหานครกําลังเผชิญกับปัญหาวิกฤติของเมือง (Urban Crisis) อันเนื่องมาจากการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหาสภาวะแวดล้อม เสื่อมโทรม ปัญหามลพิษทางน้ํา ทางอากาศ ฝุ่นละออง หรือปัญหาชุมชนแออัด ซึ่งกรุงเทพฯ ในฐานะหน่วยงาน หลักที่รับผิดชอบโดยตรงได้เร่งรัดดําเนินการแก้ไขมาโดยตลอด แต่เนื่องจากกรุงเทพฯ มีข้อจํากัดในการดําเนินการ หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านงบประมาณ อัตรากําลังคน กฎหมาย และความเกี่ยวข้องกับส่วนราชการอื่น ทําให้ การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพโดยกรุงเทพฯ ฝ่ายเดียวได้

– แนวทางแก้ปัญหาสําคัญประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้ ประชาชนเข้ามามีบทบาทร่วมในการพัฒนากรุงเทพฯ มากขึ้นตามหลักการที่ว่า ผู้มีส่วนร่วมสร้างปัญหาควรมี ส่วนในการแก้ไขปัญหาด้วย ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของประเทศต่าง ๆ ว่าจะทําให้การพัฒนาเมือง สามารถบรรลุผลสําเร็จได้ และนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

หลักการพื้นฐานของประชาคมเมือง คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนจากทุกฝ่ายในกรุงเทพฯ ให้ได้มีโอกาสพบปะกันเป็นประจํา หรือสร้างความรู้สึกรักท้องถิ่นร่วมกัน การรับรู้ปัญหา การตระหนักต่อ สถานการณ์ปัญหาร่วมกัน โดยร่วมดําเนินการจัดระบบการแก้ไขปัญหาตามสถานภาพของตน ไม่ผลักภาระให้ เป็นของฝ่ายใดหรือหน่วยงานใด แต่ต้องยอมรับว่าเป็นภาระหน้าที่ของทุกคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ จะต้องรับผิดชอบ ร่วมกัน

สภาพปัญหาการบริหารกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ดังนี้

1 ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก

– กทม. ไม่มีอิสระและไม่มีอํานาจเพียงพอเด็ดขาดในการบริหารงานให้เป็นไปตาม อํานาจหน้าที่ที่ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 บัญญัติไว้ เนื่องจากอํานาจหน้าที่บางอย่างได้มีกฎหมายกําหนดไว้ให้หน่วยงานราชการส่วนกลางดําเนินการเอง

2 ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน

– ปัญหาด้านโครงสร้างองค์กรภายใน กทม.

– การขาด ความชัดเจนในด้านอํานาจหน้าที่ของกทม.

– ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ว่าฯ กทม. กับสภา กทม. ยังไม่เป็นไปตามหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล

– ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่าย กทม. กับประชาคม โดยยังไม่มีการเปิดโอกาสให้ประชาคมต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานเท่าที่ควร

– ความสัมพันธ์ระหว่าง กทม. กับรัฐบาลที่ยังไม่ได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

– ระบบบริหารจัดการบริการสาธารณะของ กทม. ซึ่งจะไม่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางแต่ภาครัฐจะกําหนดรูปแบบการให้บริการแก่ประชาชน (Inward Looking)

– ระบบการจัดเก็บรายได้ยังจัดเก็บได้ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกําหนด และการจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางไม่เหมาะสม

แนวทางการปรับปรุงการบริหารชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร

1 เน้นการจัดโครงสร้างองค์กรแบบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ที่สามารถอํานวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชนและสภาพแวดล้อมทั้งระยะสั้นและระยะยาว

2 กําหนดบทบาท พันธกิจของ กทม. ให้ชัดเจน สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและหลักการบริหารราชการที่ดี

3 จัดองค์กรการบริหารราชการ กทม. ให้มีขนาดเหมาะสมกับภารกิจ และมีการนําเทคโนโลยีและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่มาใช้ทดแทนการขยายหน่วยงานและบุคลากร

4 ให้มีระบบการบริหารที่เน้นผลสัมฤทธิ์ โดยมีการวางยุทธศาสตร์และแผนการบริหารราชการของ กทม. และให้ทุกหน่วยงานจัดทําแผนปฏิบัติราชการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนการบริหารราชการของ กทม. โดยมีตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน

5 ให้มีระบบการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติราชการในทุกระดับ

6 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารราชการของ กทม.

ปัญหาและแนวทางแก้ไข มีดังนี้

1 ปัญหาการจราจรมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– สร้างข้อจํากัดในการจราจร หรือลดปริมาณรถโดยสร้างข้อจํากัด เช่น การขึ้นภาษีรถให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อการซื้อรถคันต่อไปนั้นทําได้ยากขึ้น

– ใช้มาตรการด้านเวลากับการขนส่ง นั่นคือ การเหลื่อมล้ําของเวลาการทํางานเพื่อเป็นการระบายรถในช่วงเวลาเร่งรีบ

– การร่วมเดินทาง เช่น มีการจัดรถรับ-ส่งพนักงาน เป็นต้น

– จัดสถานที่จอดรถให้เพียงพอ เพื่อให้บริการกับประชาชนที่ต้องการใช้บริการเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เรือโดยสาร สถานีรถไฟ

– ใช้มาตรการการใช้ที่ดินในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในกรณีที่มีการจราจรแออัดอยู่แล้ว

– ขุดลอกแม่น้ำลําคลองที่ตื้นเขิน เพื่อเพิ่มเส้นทางของเรือโดยสาร พร้อมทั้งขยายเส้นทางให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ

– เพิ่มเส้นทางลัดมากขึ้นและให้เชื่อมต่อกันให้มากที่สุด

– ปรับปรุงระบบการขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบให้มีความทันสมัย รวดเร็วสะดวกสบายและปลอดภัย

2 ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม มลพิษทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ และมลพิษทางเสียง

ปัญหามลพิษทางน้ำมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– การบําบัดน้ำเสีย

– การจํากัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

– การให้การศึกษาและความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาทางน้ำแก่ประชาชน

– การใช้กฎหมาย มาตรการ และข้อบังคับ

– การศึกษาวิจัยคุณภาพน้ำและสํารวจแหล่งที่ระบายน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ

ปัญหามลพิษทางอากาศมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– กําหนดให้มีและบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพอากาศ

– สํารวจและตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแหล่งกําเนิดต่าง ๆ เป็นประจํา

– ลดปริมาณมลพิษทางอากาศจากแหล่งกําเนิด ทําได้โดยการเปลี่ยนชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ การปรับปรุงกระบวนการผลิต การลดมลพิษจากยานพาหนะ

– เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับ ความสําคัญของอากาศบริสุทธิ์ และอันตรายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ

– เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนให้ทราบถึงระเบียบ กฎเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่ทางราชการกําหนดขึ้นเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศ และเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

ปัญหามลพิษทางเสียงมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– การให้การศึกษาและประชาสัมพันธ์

– การใช้มาตรการทางกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ บังคับ

– การกําหนดเขตการใช้ที่ดินหรือกําหนดผังเมือง

– การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต หรือใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ทันสมัย

– การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง

3 ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย/ชุมชนแออัดมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– ย้ายไปอยู่ชานเมืองโดยการเช่าซื้อที่ดินหรืออาคารของรัฐบาล

– มีการควบคุมความหนาแน่นของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร

– ส่งเสริมหรือขยายความเจริญออกไปสู่จุดอื่น ๆ ของประเทศ อย่างที่เรียกกันว่า“สร้างเมืองใหม่” หรือ “ชุมชนใหม่”

– มีการกําหนดผังเมืองและควบคุมการใช้ที่ดิน เช่น ไม่ให้มีการสร้างอาคารพาณิชย์หรือตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในย่านที่อยู่อาศัย

– รัฐควรส่งเสริมโครงการสร้างอาคารเช่าซื้อสําหรับประชากรที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง

– ควบคุมการจัดสรรที่ดินของเอกชนให้สอดคล้องกับผังเมือง

4 ปัญหาด้านความปลอดภัยของประชาชนมีแนวทางแก้ไขปัญหาดังนี้

– ให้มีอาสาสมัครทั้ง 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร โดยให้มีชมรมต่าง ๆ เช่น ชมรมวิทยุสมัครเล่น ชมรมอาสาจราจร ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตํารวจในการช่วยเหลือเบื้องต้นในการรายงานเหตุด่วนเหตุร้ายเข้าเครือข่ายชุมชน

– ปราบปรามผู้กระทําผิดอย่างจริงจัง

– มีหน่วยคุ้มครองบริเวณสะพานลอยคนข้าม โดยอาสาสมัครต่าง ๆ เช่น อาสาจราจรอาสาตํารวจบ้าน และจัดจ้างคนเพิ่มเพื่อออกตระเวนพื้นที่ร่วมกับตํารวจ ส่งเสริมอาชีพของประชาชนให้มีรายได้พอเพียง เพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการลักทรัพย์ เป็นต้น

– จัดให้มีอาสาสมัครกรุงเทพมหานครตามเขตและโรงพยาบาลเพื่ออํานวยความสะดวกในการติดต่อและช่วยประสานงานหรือดูแลความปลอดภัย

5 ปัญหาเรื่องการสาธารณูปโภคไม่เพียงพอมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

– ใช้นโยบายสาธารณูปโภคเป็นเครื่องมือควบคุมทางผังเมือง เช่น ลดอัตราสาธารณูปโภคในเขตที่กําหนด หรือกําหนดเขตที่ไม่จ่ายสาธารณูปโภค

– ป้องกันคนอพยพเข้ากรุงเทพมหานคร โดยดึงดูดคนให้ไปอยู่ในชุมชนใหม่หรือเมืองใหม่

– ให้มีการวางนโยบายระบบบริการสาธารณูปโภคในเมือง ให้เข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวางโดยลงทุนค่าบริการให้น้อยที่สุด แต่ให้ทั่วถึงประชาชนมากที่สุด

 

ข้อ 7 จงวิเคราะห์ความสําคัญความจําเป็นของการจัดการการจราจรและการขนส่งในเมือง ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 241 – 244, 253)

ความสําคัญของการจัดการการจราจรและการขนส่งในชุมชนเมือง

ในชุมชนเมืองนั้น การขนส่งและการเดินทางติดต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นความจําเป็นของพลเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากชุมชนเมืองมีกิจกรรมของผู้คนมากเท่าใด ความจําเป็นในการติดต่อสื่อสาร การเดินทางและการขนส่งย่อมจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทั้งนี้ถ้าหากมีการติดต่อ การเดินทางและการขนส่งที่ดีและมีประสิทธิภาพก็จะยิ่งส่งเสริมให้กิจกรรมของเมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน

ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการเดินทาง การติดต่อสื่อสารและการขนส่งเป็นทั้งกระบวนการและเป้าหมายอย่างหนึ่งของการบริหารชุมชนเมืองที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยลักษณะดังกล่าวเมืองที่มีชีวิตจะเป็นเมือง ที่ผู้คนสามารถดําเนินกิจกรรมได้อย่างไม่มีสิ้นสุดโดยมีโครงข่ายการติดต่อสื่อสาร การจราจร และการขนส่ง เป็นตัวเชื่อมโยงให้เกิดกิจกรรมและสามารถเดินทางถึงกันอย่างสมบูรณ์

ปัญหาการจราจรและการขนส่งในเมือง

1 ปัญหาการให้บริการขนส่ง เป็นปัญหาที่มีผลทําให้การบริการขนส่งไม่บรรลุผล มี อุปสรรคหรือมีความไม่แน่นอนในการบริการ เช่น ปัญหาความแออัด ปัญหาความจุของการขนส่งไม่เหมาะสม ปัญหาราคาการขนส่งที่แพง ปัญหาความปลอดภัย และปัญหาความสะดวกสบาย

2 ปัญหาผลกระทบภายนอกจากการจราจรขนส่ง เช่น ปัญหามลพิษทางอากาศ เสียง ทัศนะที่มองเห็นที่มีสภาพไม่น่าดูหรือไม่เป็นระเบียบสวยงาม ปัญหาด้านราคาที่ดินสูงขึ้น และผลกระทบต่อ โครงสร้างสังคมและชุมชนจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

3 ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการขนส่งเอง เช่น ปัญหาการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากร อย่างรวดเร็วทําให้การบริการขนส่งไม่มีประสิทธิภาพ จนผู้ใช้ไม่นิยมใช้บริการจึงต้องเลิกกิจการไป ปัญหาการขนส่ง ผู้โดยสารที่อยู่ตามชานเมืองและจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับเมืองหลวง ปัญหาการกระจายความเจริญ รายได้ การพัฒนาอุตสาหกรรม การใช้รถยนต์ส่วนตัว การใช้ที่ดิน และปัญหาเศรษฐกิจ สังคมอื่น ๆ

อย่างไรก็ตามปัญหาหลักของการขนส่งในเมืองใหญ่มีผลมาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ

1 การเพิ่มขึ้นของประชากรในเมือง

2 การเพิ่มขึ้นของรถยนต์ส่วนบุคคลอย่างไม่ได้สัดส่วนกับจํานวนถนน

3 ปัญหาความล่าช้าในการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วน

แนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรและการขนส่งในเมือง มีดังนี้

– สร้างข้อจํากัดในการจราจร หรือลดปริมาณรถโดยสร้างข้อจํากัด เช่น การขึ้นภาษีรถให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อการซื้อรถคันต่อไปนั้นทําได้ยากขึ้น

– ใช้มาตรการด้านเวลากับการขนส่ง นั่นคือ การเหลื่อมล้ําของเวลาการทํางานเพื่อเป็นการระบายรถในช่วงเวลาเร่งรีบ

– การร่วมเดินทาง เช่น มีการจัดรถรับ-ส่งพนักงาน เป็นต้น

– จัดสถานที่จอดรถให้เพียงพอ เพื่อให้บริการกับประชาชนที่ต้องการใช้บริการเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เรือโดยสาร สถานีรถไฟ

– ใช้มาตรการการใช้ที่ดินในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในกรณีที่มีการจราจรแออัดอยู่

– ขุดลอกแม่น้ำลําคลองที่ตื้นเขิน เพื่อเพิ่มเส้นทางของเรือโดยสาร พร้อมทั้งขยายเส้นทางให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ

– เพิ่มเส้นทางจัดมากขึ้นและให้เชื่อมต่อกันให้มากที่สุด

– ปรับปรุงระบบการขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบให้มีความทันสมัย รวดเร็วสะดวกสบายและปลอดภัย

 

ข้อ 8 จงอธิบายการผังเมือง และความเกี่ยวข้องกับการบริหารชุมชนเมืองว่าเป็นอย่างไรโดยละเอียด ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 134, 148, 230 – 233), (คําบรรยาย)

ความหมายของการผังเมือง (City Planning) มีดังนี้

1 คือ การวางแผนการเจริญเติบโตล่วงหน้าระยะยาวเพื่อให้เมืองนั้นสามารถดํารงอยู่อย่าง ยั่งยืน ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข มีความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ มีความสมดุลในระบบนิเวศของเมือง

2 คือ การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีเหตุผลโดยการวางกฎระเบียบที่เหมาะสมเพื่อสร้าง ความมั่นใจให้คนในชุมชนเมืองมีชีวิตที่ดี มีคุณค่าในการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตในชุมชนเมืองนั้น และเพื่อให้เมือง และการดําเนินกิจกรรมของเมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสําคัญของการผังเมืองต่อการบริหารชุมชนเมือง

1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง มีระเบียบ ทั้งนี้เนื่องจาก การบริหารชุมชนเมืองจะมีหลักแนวคิด ปรัชญาที่ได้นํามาใช้ในการวางแผน เช่น เรื่องการตอบสนองความเป็นอยู่ ที่ดี เรื่องการพัฒนาอย่างสมดุล หรือแผนการดําเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่ตอบสนองต่อผู้ที่อยู่อาศัยในเมือง ซึ่งในขั้น ที่จําเป็นที่ต้องขับเคลื่อนเมืองไปสู่อนาคตก็จําเป็นที่จะต้องอาศัยแผนเป็นเครื่องกําหนดทิศทาง ดังนั้นก็ต้องอาศัย หลักการแนวคิดต่าง ๆ ในเชิงวิชาการด้วยเช่นกัน เช่น การออกแบบเมือง จัดการทางด้านสถาปัตยกรรมหรือ ภูมิสถาปัตย์ จัดการทางด้านวิศวกรรมโยธา วิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ตลอดจนมิติทางด้าน รัฐศาสตร์ก็ตาม ก็ควรนับเข้ารวมอยู่ในด้านการวางแผนด้วยก็จะทําให้เกิดความครอบคลุมรอบด้าน

2 เพื่อสร้างให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาเมือง การพัฒนาที่ยั่งยืนก็ควรที่จะมีความ สมดุลก็คือ ในเมืองควรจะมีความสมดุลทั้งในด้านของการพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาสังคม รวมตลอดทั้งพัฒนา ทางด้านศีลธรรมและจริยธรรมด้วย

3 เพื่อเสริมสร้างให้เกิดประโยชน์สาธารณะโดยรวมในชุมชนเมือง ประโยชน์สาธารณะนั้น ก็จะได้จากการวางแผนที่ดี ซึ่งก็หมายถึง ในรายละเอียดของแผนนั้นจะมีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์กับการเดินทาง การศึกษา สําหรับประชาชนที่ต้องการศึกษา สําหรับประชาชนที่ทํางาน ทําธุรกิจ ถ้าเมืองมีการวางแผนไปในทิศทาง ที่ถูกต้องทุกฝ่ายก็จะได้ประโยชน์จากการบริหารเหล่านั้นร่วมกัน

ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการขยายขอบเขตของชุมชนเมืองอย่างไร้ทิศทาง (Urban Sprawl) โดยที่ไม่มีการผังเมือง ดังนี้

1 ลดพื้นที่ทําการเกษตร ทําลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ พืชพันธุ์ธัญญาหาร ป่าไม้ และความหลากหลายทางชีวภาพ

2 นําไปสู่การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว (Private Transport) และเพิ่มจํานวนรถยนต์ส่วนตัวโดยไม่จําเป็น ซึ่งจะนํามาสู่ความแออัดของการจราจร ปัญหามลพิษทางอากาศ เสียง และทัศนียภาพ

3 เกิดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม

4 นําไปสู่ปัญหาการขาดสายใยทางสังคม (Social Fabric)

5 พื้นที่ชายเมืองที่เคยเป็นปอดของเมืองและแหล่งทัศนียภาพของเมืองที่สร้างความ

รื่นรมย์และไม่ไกลนักจะหดหายไป

 

ข้อ 9 การจัดการขยะแบบ Zero Waste คืออะไร ทําได้อย่างไร ควรจะทําหรือไม่เพราะเหตุใด ?

แนวคําตอบ (คําบรรยาย)

การจัดการขยะแบบ Zero Waste

ขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste) เป็นแนวคิดของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) ซึ่ง เป็นแนวคิดในการส่งเสริมการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้ทรัพยากรถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ สูงสุด และลดขยะให้เหลือน้อยที่สุด โดยใช้หลักการ 3Rs (Reduce-Reuse-Recycle) รวมทั้งการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ให้สามารถนํากลับมาใช้ใหม่ได้

หัวใจสําคัญของแนวคิดขยะเหลือศูนย์ คือ การจัดการขยะที่ต้นทาง คือเน้นการลดขยะ การใช้ซ้ำ และการคัดแยกเพื่อนํากลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล ก่อนนําไปกําจัด ซึ่งแตกต่างจากการจัดการขยะใน ปัจจุบันที่เน้นการกําจัดหรือจัดการขยะที่ปลายทาง มากกว่าการแก้ไขที่ต้นทาง

ขั้นตอนสู่การจัดการขยะเหลือศูนย์ คือ หลักการ 3Rs (Reduce-Reuse-Recycle) มีดังนี้

1 Reduce คือ ลดการใช้ เช่น ลดการใช้ถุงพลาสติก ใช้ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดมือแทนการ ใช้กระดาษทิชชู ใช้ปิ่นโตหรือกล่องข้าวแทนกล่องโฟม ทานอาหารที่ร้านแทนการซื้อกลับบ้าน พกกระติกน้ำแทนการซื้อน้ำจากขวดพลาสติก นํากระติกไปให้แม่ค้าใส่กาแฟแทนการรับแก้วแบบใช้แล้วทิ้ง เลือกซื้อสินค้าที่มีบรรจุ ภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น เลือกร้านที่ใช้กล่องบรรจุอาหารที่ทํามาจากชานอ้อยแทนร้านที่ใช้กล่องโฟม ไม่ซื้อสินค้าเกินความจําเป็น เป็นต้น ซึ่งการ Reduce (ลดการใช้) คือ จุดเริ่มต้นที่สําคัญที่สุดของการจัดการ ขยะให้เหลือศูนย์ (ให้เหลือน้อยที่สุด)

2 Reuse คือ การใช้ซ้ำ การนําสิ่งของที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุด เช่น การนํา ขวดแก้วมาใช้ซ้ำ นํากระดาษมาใช้ให้ครบทั้ง 2 หน้า ล้างช้อนพลาสติกเพื่อนํากลับมาใช้ใหม่ ล้างกล่องคุกกี้มาใช้เป็นกล่องใส่ของ ซ่อมรองเท้าที่ขาด นําเสื้อผ้าเก่าไปเย็บกระเป๋า ทําสิ่งประดิษฐ์จากของเหลือใช้ นําขวดน้ำพลาสติกไปเป็นภาชนะปลูกผัก เลือกสินค้าที่สามารถใช้ได้แทนสินค้าที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ถ่านไฟฉายแบบชาร์ตไฟได้

3 Recycle คือ การนํากลับมาใช้ใหม่ การคัดแยกขยะที่สามารถรีไซเคิล เช่น กระดาษ แก้ว พลาสติก โลหะ หมุนเวียนกลับไปเข้าสู่กระบวนการผลิต ผ่านกระบวนการแปรรูป เพื่อนํากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น กระดาษใช้แล้วนําไปผลิตเป็นกระดาษรีไซเคิล กล่องนมนําไปผลิตเป็นแผ่นกรีนบอร์ด กระป๋องอลูมิเนียมนําไปผลิตขาเทียม ขวดน้ำพลาสติกนําไปผลิตเป็นเส้นใยสําหรับทําเสื้อกันหนาวหรือพรม เหล็กนําไปผลิตเป็นวัสดุก่อสร้าง นําขยะอินทรีย์กลับมาใช้ประโยชน์ เช่น ทําน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ผลิตแก๊สชีวภาพ

หัวใจสําคัญที่จะทําให้เกิดการรีไซเคิลได้ คือ การคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง แล้วนําไป ขายให้ร้านรับซื้อของเก่าหรือซาเล้ง ซึ่งจะนําไปขายต่อให้โรงงานรีไซเคิลอีกที ตัวอย่างกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิด การคัดแยกขยะ ได้แก่ ธนาคารขยะรีไซเคิล ตลาดนัดขยะรีไซเคิล ตลาดนัดสินค้ารีไซเคิลมือสอง ผ้าป่าขยะรี ไซเคิล ขยะแลกไข่หรือขยะแลกของ เป็นต้น

นอกจากนี้ ถังขยะโดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท คือ

1 ถังขยะมีพิษ (สีเทา ฝาแดง)

2 ถังขยะย่อยสลาย (สีเขียว)

3 ถังขยะรีไซเคิล (สีเหลือง)

4 ถังขยะทั่วไป (สีฟ้า)

ซึ่งการทิ้งตามประเภทถังขยะเหล่านี้ จะทําให้ง่ายต่อการนําไปกําจัดต่อไป บางคนอาจจะคิด ว่าแค่แยกขยะจะช่วยอะไรได้มากมาย แต่ความจริงแล้วการแยกขยะก่อนทิ้งมีประโยชน์อย่างมาก ทั้งเป็นการ ประหยัดงบประมาณของประเทศ ขยะอันตรายก็ได้รับการกําจัดอย่างถูกวิธี ลดปัญหาหรือมลพิษต่าง ๆ ที่จะ เกิดขึ้นตามมา ซึ่งหากทุกคนเริ่มต้นที่การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ต้อง นําไปกําจัดให้มีปริมาณน้อยลง และเป็นการลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

ข้อ 10 จงอธิบายถึงกรอบแนวคิดทฤษฎีชุมชนเมือง (Urban Theory) มา 3 ทฤษฎีหรือกรอบแนวคิดพร้อมทั้งวิพากษ์ทฤษฎีที่ยกมาว่า ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร ?

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 47309 หน้า 59 – 60), (คําบรรยาย)

นักวิชาการที่สนใจศึกษาเมืองและความเป็นเมือง และได้รวบรวมจนกลายเป็นทฤษฎี ชุมชนเมือง (Urban Theory) ซึ่งนักวิชาการที่สําคัญ มีดังนี้

1 George Simmel มีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เขียนหนังสือชื่อ “The Culture of the Metropolis” ซึ่งวิเคราะห์ถึงกระบวนการและธรรมชาติของสินค้าและการแลกเปลี่ยน

2) ให้ความสนใจมหานครที่ทันสมัยและเป็นวัฒนธรรมของชุมชนเมืองโดยทั่วไป

3) ในปี ค.ศ. 1903 เขียนหนังสือชื่อ “The Metropolis and Mental Life” พบว่า แรงกดดันจากมหานครรุนแรงเกินกว่าหรือมิอาจชดเชยด้วยเสรีภาพที่เกิดในเมืองเล็ก ๆ

4) มหานคร (Metropolis) จะเป็นที่รวมหนาแน่นและบูรณาการทั้งมิติของพื้นที่ (Space) และเวลา (Time)

– ความเป็นไปได้ในการดําเนินกิจกรรมและหน้าที่ของคนในชุมชนเมืองมหานครในต้นศตวรรษที่ 20 วิธีหนึ่งคือ จําเป็นต้องใช้นาฬิกาแบบพกพา (Pocket Watch)

– คนในเมืองอยู่ภายใต้แรงกดดันในที่มีความตรงต่อเวลา

5) ปัจจัยสําคัญในการแลกเปลี่ยนในเมืองสมัยใหม่ คือ เงิน อํานาจที่แฝงเร้นการบูรณาการความหลากหลายของหน้าที่ให้มีความเป็นไปได้

6) คนที่มั่งคั่ง (Wealth) เท่านั้นจะสร้างความมั่นคงในสินค้าหรือบริการได้ โดยไม่จําเป็นต้องใช้กําลังไปบังคับหรือจูงใจด้วยอุดมการณ์เช่นในอดีต หรือมีความ เป็นอิสระ แต่ความสัมพันธ์จะอยู่ที่ปัจจัยสําคัญคือ เงิน และเงินสามารถเชื่อมปฏิสัมพันธ์ของผู้คนให้เป็นรูปแบบเดียวกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด

2 Walter Benjamin มีทัศนะเกี่ยวกับเมืองคล้ายกับ George Simmel ซึ่งแนวทาง การศึกษาของเขาสนใจที่จะวิเคราะห์ในเชิงปรัชญา การสนทนาถึงธรรมชาติของสัจจะ ศีลธรรม และเงื่อนไขในการ ดํารงอยู่ของมนุษย์ นอกจากนี้เขายังสนใจศึกษาในเชิงวิภาษวิธีที่รู้จักในนาม การวิพากษ์เชิงลึก (Immanent Critique)

Walter Benjamin เขียนหนังสือชื่อ “The Exegetical City” ซึ่งมีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับ ทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เมืองมหานครเป็นปัจจัยกระตุ้นสําคัญต่อความคิดของเขาที่สะท้อนออกมาในเรื่องของธรรมชาติของประสบการณ์ของมนุษย์

2) สนใจศึกษาเมืองเนเปิลส์ (Naples) ในประเทศอิตาลี พบว่า

– จะมีศิลปะหรือการออกแบบเพื่อปรับปรุงหรือแก้ไขสิ่งที่มีมาแต่ก่อนหน้านั้น

อยู่ตลอดเวลา หรือเป็นเรื่องของพลวัตในการออกแบบศิลปะของเมือง คือการไม่มีที่สิ้นสุดในกฎเกณฑ์หรือวิถีชีวิตของเมือง

– มีคุณลักษณะที่เรียกว่า “Porosity” ของตึกรามและบริเวณส่วนตัวส่วนรวม

– เมืองเนเปิลส์ เป็นเมืองที่กําลังพัฒนามากกว่าเมืองใด ๆ ในยุโรป เมืองเป็นโลกความเป็นจริงของชีวิตส่วนตัว โดยเฉพาะของชนชั้นกลาง

3) เมืองมอสโคว์จะคล้ายกับเมืองเนเปิลส์มาก วิถีชีวิตของคนในเมืองจะสบาย ๆไม่เคร่งครัดด้วยกฎระเบียบแบบในเบอร์ลิน

3 Henri Lefebvre มีแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีชุมชนเมือง ดังนี้

1) เขียนหนังสือชื่อ “The Production of City”

2) สนใจเชิงสหวิชาทั้งวรรณกรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ ปรัชญา การวางแผน และกําหนดนโยบาย ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ Karl Marx เมืองเป็นระบบย่อย (Sub-system) ของระบบสังคมที่วิวัฒนาการมาสู่ระบบทุนนิยม (จากปฏิสัมพันธ์ ในเครือข่ายการค้า ความคิด การเกษตรกรรมจากชนบทมาสู่เมือง กฎหมาย ระบบการคลัง ฯลฯ)

– ระบบที่มีการจัดการดังกล่าวอาจนําไปสู่ความล้มเหลวได้ ดังนั้นจึงไม่มี

ระบบใดที่มีอยู่จริงหรือจะใช้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ

3) เขียนหนังสือชื่อ “The Right to the City” (สิทธิที่มีต่อเมือง) มองชุมชนเมือง เป็นที่รวมของทุกสิ่ง และการทดลองในสิ่งต่าง ๆ จะเกิดขึ้นในเมือง

– หนังสือนี้มีอิทธิพลต่อนักคิดหนุ่มสาวทั้งสถาปนิก นักวางแผน นักการเมืองนักวิชาการ ซึ่งส่งผลต่อรายละเอียดของความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองของพื้นที่ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองกับเศรษฐกิจสังคมอื่น ๆ

4) มองคล้าย Marx ในแง่ที่ว่า เมือง คือ ที่ที่จะใช้คุณค่าและเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนในคุณค่าตลอดจนการรวมคุณค่าเข้าด้วยกัน

5) เมืองเป็นระบบที่เป็นทางการในเชิงความสัมพันธ์ของการผลิต หรือในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะแวดล้อมทางกายภาพ มนุษย์ และวัตถุดิบ ซึ่งคุณค่าใน การแลกเปลี่ยน คือ ราคาของสินค้าที่ผลิตเพื่อค้าขาย โดยอาศัยปัจจัยการผลิตในเชิงทุนนิยม

6) ในขณะที่มีการใช้ทุนมากขึ้นจึงมีการแปลงทั้งขนาดและพื้นที่ให้เป็นไปในเชิงการค้ามากขึ้น

7) การแบ่งแยกการใช้แรงงานที่เกิดขึ้นในช่วงยุคต้นทุนนิยม ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ขยายขอบเขตออกไปเหนือเมือง เป็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ ในขณะที่จะเกิดความแตกต่างระหว่างคนที่มั่งคั่งกับคนจนอย่างสุดขั้ว

8) ด้วยอํานาจและการพิชิตชัยชนะของระบบตลาดหรือทุนนิยมดังกล่าว เมืองจึงเป็นศูนย์กลางของการทํางานในเชิงพาณิชย์และผู้เสียเปรียบทางสังคมที่อยู่อย่างกระจายโดยรอบ โดยไม่สามารถเข้าถึงความมั่งคั่งนั้นได้

9) เรียกเมืองในเชิงทุนนิยมนั้นว่า “สังคมของระบบโครงสร้างที่ได้มีการกําหนดหรือควบคุมการบริโภคไว้แล้ว หรือต่อมานิยมเรียกสังคมผู้บริโภค (Consumer

Society)”

10) ตามเหตุผลดังกล่าวสิทธิของผู้บริโภคก็ไม่ได้มีกันทุกคน และการบริโภคก็ไม่ใช่ในเชิงสินค้าหรือการบริการเท่านั้น แต่ยังต้องการสิ่งอื่น ๆ เช่น สุนทรียภาพสัญลักษณ์ ฯลฯ

11) ด้วยเหตุที่เมืองพยายามที่จะรวมเอาสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้บริการในเชิงการค้า ดังนั้นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ วิถีชีวิตต่าง ๆ จึงไม่อาจเหลืออยู่ต่อไป หรือยากที่จะเข้าใจ หรือเป็นเพียงการเก็บไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ดูในพิพิธภัณฑ์

12) แนวคิดดังกล่าวเกิดความตระหนักไปทั่วโลกในการศึกษาชุมชนเมืองให้เข้าใจถึงสิ่งที่แตกต่างและรากฐานที่มาของเอกลักษณ์ วัฒนธรรมในเชิงประวัติศาสตร์

13) แนวคิดของเขายังกระตุ้นให้เกิดการตระหนักในเรื่องของอิทธิพลของทั้งความเป็นชนบท และเมืองในระบบทุนนิยมในหมู่นักวางแผน

 

ความสําคัญของเมืองหรือชุมชนเมือง มีดังนี้

1 ในฐานะที่เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย หน้าที่นี้ถือเป็นบทบาทโดยทั่วไปของเมืองหรือ ชุมชนเมือง เพราะเมื่อประชาชนเลือกที่จะอยู่อาศัยในเมืองนั้น ๆ แล้ว เมืองจึงไม่อาจปฏิเสธบทบาทตามความคาดหวังของผู้ที่อยู่อาศัย ดังนั้นกิจกรรมต่าง ๆ ของเมืองจะต้องดําเนินไปได้อย่างราบรื่นและเป็นปกติสุข ซึ่งกิจกรรมหลักได้แก่

การสร้างสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยที่ดีน่ารื่นรมย์, การสร้างให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์แก่เมือง, การสร้างกิจกรรมทางสังคมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้คน, การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างได้ผล

2 ในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค ได้แก่ ความพยายามของประเทศต่าง ๆ ที่ จะให้เมืองเป็นศูนย์กลางการติดต่อ ศูนย์กลางเศรษฐกิจ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ เช่น ประเทศไทยต้องการให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3 ในฐานะเป็นเมืองนานาชาติ จากการเป็นเมืองนานาชาติจะเป็นไปเพื่อรองรับความ ต้องการของมนุษย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของโลก นอกจากนี้ฐานะที่ได้เปรียบ ของเมืองในทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศยิ่งจะเอื้อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันได้ ในลักษณะนี้เมืองมหานคร ของหลาย ๆ ประเทศจะมีการเชื่อมสัมพันธ์ในกิจกรรมที่สนใจร่วมกันเป็นเครือข่ายเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ เช่น การเป็นเมืองท่า เมืองพี่เมืองน้อง เมืองพันธมิตร เป็นต้น

4 ในฐานะที่เป็นเมืองนําการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศต่าง ๆ จะใช้ เมืองมหานครซึ่งมีศักยภาพในทางเศรษฐกิจ การค้า อุตสาหกรรม การขนส่ง และการบริการในสาขาต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว เป็นตัวช่วยให้เกิดการขยายตัวในทางเศรษฐกิจ หรือเหนี่ยวนําให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

 

Advertisement