การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3313 การบริหารการพัฒนา

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน

ข้อ 1 จงอธิบายถึงสํานักคิดที่นําเสนอแนวคิดการบริหารการพัฒนา ว่ามีแนวทางการพัฒนาอย่างไรบ้าง

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 4 – 6, 11 – 12)

Edward w. Weidner ได้พูดถึง การบริหารการพัฒนาว่าเป็นโครงการเปลี่ยนแปลงโดยมี การวางแผนไว้แล้ว (Programs of Planned Change) จึงควรทําความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง (Change) มีอยู่ 3 ชนิด คือ

1 การเจริญเติบโต (Growth) เป็นการเปลี่ยนแปลงความสามารถของคุณสมบัติในตัวของผู้กระทําเอง หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับของการกระทําการ (Growth Involves Changes in Performance Level)

2 การพัฒนา (Development) เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวกระทําการใหม่ หรือเป็นการ เปลี่ยนระบบที่กระทําการ (Change in the System Which Performs)

3 การแปลงรูป (Transformation) เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของตัวกระทําการ หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ (Change in Environmental Factors)

Edward w. Weidner ได้รวบรวมแนวความคิดของนักวิชาการที่ให้ความหมายของการ พัฒนา ว่าอาจจะแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ

1 กลุ่มแรก เห็นว่า การพัฒนานั้นเป็นเรื่องของความเจริญเติบโต (Growth) ซึ่งหมายถึง มีการเปลี่ยนแปลงในผลที่ได้ (Output) ของระบบโดยมีปริมาณผลที่ได้สูงขึ้นกว่าเดิม

2 กลุ่มที่สอง เห็นว่า การพัฒนานั้นเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในระบบที่กระทําการ (System Change หรือ Action Oriented) เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบสังคมหรือระบบบริหารในประเทศที่ ลังพัฒนา เป็นต้น

3 กลุ่มที่สาม เห็นว่า การพัฒนาเป็นการปฏิบัติการโดยมีจุดมุ่งหมาย (Goal Orientation) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความทันสมัย

4 กลุ่มที่สี่ เห็นว่า การพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยมีการวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้า (Planned Change) แนวคิดของนักวิชาการกลุ่มนี้ เห็นว่า การพัฒนาที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้นั้นจะต้อง มีการวางแผนระดับชาติ และมีการนําไปปฏิบัติโดยผู้ปฏิบัติงาน

กล่าวโดยสรุป การพัฒนา หมายถึง การทําให้เกิดความเจริญเติบโต และเพิ่มอัตราให้สูงขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงระบบ เพื่อให้ระบบมีความสามารถในการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และความสามารถในการ ตัดสินใจหรือกําหนดนโยบายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ความยุติธรรม สิทธิเสรีภาพ และความพอใจแก่คนส่วนใหญ่ และมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามความต้องการ หรือสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น ๆ

การพัฒนาและการทําให้ทันสมัย

การพัฒนาและการทําให้ทันสมัยไม่มีความแตกต่างกันมากนัก เพียงแต่การพัฒนามีขอบเขต กว้างกว่าการทําให้ทันสมัย การพัฒนาเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงทาง วัตถุ เนื่องจากชาวตะวันตกเชื่อกันว่าการค้นพบเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change) และเป็น สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่บางครั้งมนุษย์สามารถกําหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

การพัฒนาเป็นวิธีการที่รัฐเข้ามาแทรกแซงโดยตรงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม การพัฒนาเป็นวิธีการที่รัฐทุนนิยมพึ่งพาใช้เป็นเครื่องมือที่ทําให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ปรารถนา ซึ่ง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หมายถึงความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพื่อให้ทัดเทียมกับ อารยประเทศ ดังนั้นนโยบายและแนวคิดของนักวิชาการในสังคมตะวันตกทําให้เกิดแรงผลักดัน

ความสัมพันธ์ของการพัฒนาระหว่างประเทศตะวันตก และเป็นประเทศที่กําลังพัฒนา การ พัฒนาจึงขึ้นอยู่กับบุคคล สังคม วัฒนธรรม และระยะเวลา เช่น

1 การพัฒนามีลักษณะแบบวิวัฒนการ (Evolution) มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทีละเล็ก ทีละน้อย นักสังคมศาสตร์และนักสังคมวิทยาในศตวรรษที่ 19 ใช้คําว่า การพัฒนาในความหมายนี้อธิบายถึงที่มา ของมนุษย์ เพราะมีความเชื่อว่ามนุษย์เคลื่อนย้ายถิ่นฐานจากที่แห่งหนึ่งไปสู่ที่อีกแห่งหนึ่งในทิศทางเดียวกัน การ เคลื่อนย้ายถิ่นฐานนี้จะทําให้ชีวิตมนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความแตกต่างกันทั้งวัตถุ และวัฒนธรรม การพัฒนาในลักษณะนี้จึงอาจหมายถึงความก้าวหน้า

2 การพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคม (Social Change) นักสังคมศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 มองการพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคม เพราะการพัฒนามีลักษณะเป็นกลางมากกว่าความก้าวหน้า และสนใจที่จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์

3 การพัฒนาเป็นแนวคิดแบบเศรษฐศาสตร์ (Economic) นักเศรษฐศาสตร์ให้ความ สนใจเรื่องการพัฒนาเพราะสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้รายได้ประชาชาติ แนวคิดแบบเศรษฐศาสตร์มองการพัฒนาว่า มีความหมายเกี่ยวกับความเป็นอุตสาหกรรม ความทันสมัย และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

4 การพัฒนาเป็นการปฏิบัติทางสังคม (Social Action) เป็นเรื่องที่ภาครัฐเข้ามาเกี่ยว ข้องในการรับผิดชอบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น การสร้างคุณภาพ เป็นต้น

5 การพัฒนาเป็นแนวความคิดขัดแย้งทางสังคม (Social Conflict) เมื่อมีการพัฒนา ย่อมจะมีผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผลที่ตามมาความขัดแย้งย่อมจะเกิดขึ้นการพัฒนาประเทศแบบสังคมนิยมใช้ ทฤษฎีความขัดแย้งมาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและระบบ สั่งคมไทยมีความเชื่อว่า การพัฒนาเป็นกระบวนการ วิวัฒนาการตามธรรมชาติ

การพัฒนามีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น คน วัสดุ การจัดการ แต่ปัญหาการพัฒนาในทุกด้านจะสําเร็จได้ ถ้าการพัฒนาคนได้ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจัยมนุษย์เป็นปัจจัยที่สําคัญ ที่สุดของการพัฒนา

 

ข้อ 2 จงอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างการบริหารการพัฒนากับการพัฒนาการบริหารมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 17 – 20, 31 – 34)

ความหมายของการบริหารการพัฒนา (Development Administration)

การบริหารการพัฒนาเป็นการปรับกระบวนการบริหารให้เข้ากับจุดมุ่งหมายของโครงการรัฐบาล ซึ่งหมายความว่า เราต้องทราบถึงความต้องการของรัฐบาลก่อนว่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาอย่างไร แล้วจึงนํา การบริหารเข้ามาช่วยปฏิบัติการให้สําเร็จผลตามจุดมุ่งหมายนั้น

การบริหารการพัฒนา หมายถึง การบริหารงานของรัฐเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจ และสังคม ตามนโยบายของรัฐที่ได้กําหนดไว้แล้ว โดยนักบริหารการพัฒนาจะต้องทํางานเป็นตัวนําให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง

การบริหารการพัฒนา หมายถึง การดําเนินการตามนโยบาย แผน และโครงการต่าง ๆ ที่ กําหนดขึ้นโดยรัฐบาล ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหาร โดยที่การบริหารเป็นปัจจัยที่สําคัญ ที่ทําให้การเปลี่ยนแปลงสําเร็จตามเป้าหมาย

สรุป การบริหารการพัฒนาเป็นระบบบริหารที่มีการกําหนดจุดมุ่งหมาย (Goat Oriented) และมีการปฏิบัติการ (Action Oriented) ตามที่ได้กําหนดจุดมุ่งหมายไว้แล้ว

จากการที่มีผู้เสนอทัศนะเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาที่ครอบคลุมเรื่องการพัฒนาการ บริหาร หรือการเพิ่มพูนสมรรถนะของระบบบริหารให้เพียงพอที่จะรองรับภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ เช่น Fred w. Riggs เห็นว่า การบริหารการพัฒนามีความหมายสําคัญ 2 ประการ คือ

1 การบริหารโครงการพัฒนา หรือกรรมวิธีต่าง ๆ ที่องค์การขนาดใหญ่โดยเฉพาะ องค์การของรัฐนํามาใช้ในการปฏิบัติการตามนโยบายและแผนที่กําหนดขึ้นเพื่อสนองวัตถุประสงค์ในการพัฒนา

2 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสมรรถนะทางการบริหาร

การพัฒนาการบริหารต้องอาศัยกระบวนการทางการเมือง หรือกลุ่มผลประโยชน์ทาง การเมืองที่คอยกระตุ้นให้มีการพัฒนาการบริหาร หรือการที่รัฐบาลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบต่อการนํานโยบายในการ พัตนาการบริหารต่อข้าราชการและประชาชน จึงมีความจําเป็นที่ต้องมีการพัฒนาการบริหารให้มีความทันสมัย หรือมีการปฏิรูประบบการบริหารเสียใหม่

ความหมายของการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่าง ๆ ของการบริหารงานเพื่อให้ สามารถดําเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัด

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม

การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูปโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมการบริหารให้มีสมรรถนะ (Capabilities) หรือความสามารถที่จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม สําหรับการพัฒนาประเทศ

จากทัศนะของนักวิชาการต่าง ๆ ได้ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาการบริหารไม่ใช่การปรับปรุง องค์การหรือการปรับปรุงนวัตกรรมขององค์การ แต่จะมีขอบข่ายที่กว้างขวางมากกว่า คือเน้นการเปลี่ยนแปลง ทางด้านโครงสร้าง เปลี่ยนแปลงกระบวนการในการทํางานและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงระดับปฏิบัติการ ดังนั้นการปรับปรุงองค์การและนวัตกรรมองค์การจึงเป็นเพียงส่วน หนึ่งของการพัฒนาการบริหาร

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงสาเหตุของการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 55274 หน้า 43 – 45)

สาเหตุการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

Goodwin Watson จําแนกสาเหตุของการต่อต้านไว้ 2 ลักษณะ คือ การต่อต้านเกี่ยวกับ บุคลิกภาพส่วนบุคคล และการต่อต้านเกี่ยวกับระบบสังคม

การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงในระบบสังคม มีสาเหตุสําคัญ 5 ประการ คือ

1 การยินยอมโอนอ่อนผ่อนตามปทัสถาน หรือกฎเกณฑ์ของระบบ

2 ความผูกพันของระบบแกะวัฒนธรรมที่มองเห็นว่ามีลักษณะส่วนรวมพิเศษที่เกิดจาก ความสัมพันธ์ของระบบรอง ๆ ผลพลอยได้จากทัศนะนี้ก็คือ ความคิดที่ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระบบใด ก็ ย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อระบบอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงใดก็ตามย่อมมีทั้งแง่ดีและแง่เสีย

3 เกี่ยวกับผลประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่ ผลประโยชน์ใด ๆ ก็ตามถ้าทําให้คนรู้สึกว่าถูก คุกคาม จะเกิดความรู้สึกต่อต้านขึ้น

4 ส่วนที่ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในระบบ เช่น สถาบันที่ยอมรับนับถือมานาน หรือการ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับ ศีลธรรม และจริยธรรมย่อมจะเกิดการต่อต้านขึ้น

5 ความรู้สึกต่อต้านบุคคลภายนอก การรู้สึกไม่เป็นมิตรกับบุคคลแปลกหน้า พฤติกรรมนี้ จะเห็นได้จากระบบสังคมแบบจารีตประเพณี

Goodwin Watson ได้เสนอข้อสรุป 12 ประการในประเด็นใหญ่ ๆ 3 เรื่อง คือ ประเด็นที่ 1 ใครเป็นตัวนําในการเปลี่ยนแปลง

1 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าสมาชิกคนสําคัญของระบบรู้สึกว่าโครงการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นผลงานของตน ไม่ใช้โครงการที่ก่อตั้งและดําเนินโดยบุคคลภายนอก

2 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าโครงการได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่และชัดเจนจาก เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของระบบ

ประเด็นที่ 2 การเปลี่ยนแปลงประเภทใด

3 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าผู้อยู่ในวงการเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะมีผลเป็นการลด มากกว่าจะเพิ่มภาระในปัจจุบัน

4 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าโครงการนั้นสอดคล้องกับค่านิยมและอุดมคติซึ่งผู้อยู่ในวงการ ยอมรับนับถือมาช้านาน

5 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าโครงการนั้น ๆ เสนอประสบการณ์ใหม่ที่ดึงดูดความสนใจ บรรดาผู้อยู่ในวงการ

6 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าผู้อยู่ในวงการรู้สึกว่ามีอํานาจอิสระและสวัสดิภาพ หรือความ มั่นคงของตนไม่ถูกคุกคาม

ประเด็นที่ 3 เปลี่ยนแปลงอย่างไร

7 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าผู้อยู่ในวงการได้มีโอกาสเข้าร่วมใช้วิจารณญาณขั้นต้น ซึ่ง นําไปสู่ขั้นตกลงเห็นพ้องว่าปัญหาเบื้องต้นคืออะไร และรู้สึกว่ามีความสําคัญเพียงใด

8 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าโครงการนั้นเป็นที่ยอมรับโดยฉันทานุมัติของกลุ่ม

9 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าฝ่ายสนับสนุนโครงการสามารถเข้าใจฝ่ายคัดค้าน ยอมรับข้อ คัดค้านที่มีน้ําหนัก และลงมือผ่อนคลายความหวาดหวั่นที่ไม่มีผล

10 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าเปิดโอกาสให้มีการสะท้อนทัศนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการ และการให้ความกระจ่างเพิ่มเติม มีการตระหนักว่ามีความเข้าใจผิดหรือการแปลเจตนารมณ์ผิดเกี่ยวกับการริเริ่ม การสร้างสรรค์ใด ๆ เกิดขึ้น

11 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้าผู้อยู่ในวงการมีการยอมรับความสนับสนุน ความศรัทธา และ ความเชื่อมั่นในความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

12 การต่อต้านจะมีน้อย ถ้ามีการปรับปรุงและตรวจสอบโครงการอยู่เสมอ ถ้ามีหลักฐาน ว่าการกระทําเช่นนั้นเหมาะสม

Advertisement