การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL3302 การวางแผนในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1. ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติจะมีผลต่อความสําเร็จของนโยบายมากในกรณีใด
(1) ทรัพยากรไม่เพียงพอ
(2) สังคมไม่สนับสนุนนโยบาย
(3) เวลาไม่เอื้ออํานวย
(4) วัตถุประสงค์ของนโยบายไม่ชัดเจน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติจะมีผลต่อความสําเร็จของนโยบายมากในกรณีวัตถุประสงค์ของนโยบายไม่ชัดเจน
2. ความเป็นไปได้ทางการเมืองของนโยบายขึ้นอยู่กับสิ่งใด
(1) อัตราส่วนของ ส.ส. ในสภา
(2) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและข้าราชการ
(3) การสนับสนุนจากสาธารณชน
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 19, 74, (คําบรรยาย) ความเป็นไปได้ทางการเมืองของนโยบายขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
1. เสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อัตราส่วนของ ส.ส. ในสภา เป็นต้น
2. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล หน่วยงานของรัฐ (ข้าราชการ) และเอกชน
3. การสนับสนุนจากสาธารณชน
3.องค์การลักษณะใดมีโอกาสนํานโยบายไปปฏิบัติได้สําเร็จสูง
(1) องค์การแบบยึดกฎระเบียบ
(2) องค์การแบบกระจายอํานาจ
(3) องค์การแบบแนวดิ่ง
(4) องค์การแบบแนวราบ
(5) ขึ้นอยู่กับลักษณะของนโยบาย
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ลักษณะขององค์การที่มีโอกาสนํานโยบายไปปฏิบัติได้สําเร็จสูงนั้นขึ้นอยู่กับ ลักษณะของนโยบายเป็นสําคัญ บางนโยบายอาจจะต้องใช้องค์การแบบยึดกฎระเบียบจึงจะสําเร็จ บางนโยบายอาจจะต้องใช้องค์การแบบกระจายอํานาจจึงจะสําเร็จ ดังนั้นการนํา นโยบายไปปฏิบัติจะสําเร็จหรือล้มเหลวจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะขององค์การแบบใดแบบหนึ่ง แต่ขึ้นอยู่กับลักษณะของนโยบายที่จะต้องมีความเหมาะสมกับองค์การที่นํานโยบายไปปฏิบัติ
4. ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติหมายถึงอะไร
(1) วัฒนธรรม
(2) การจัดองค์การ
(3) ความรู้สึกต่อนโยบาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 78 ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ หมายถึง
1. ความสามารถ ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ
2. วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ
3. ประสบการณ์
4. ความรู้สึกต่อนโยบาย
5.ข้าราชการเกียร์ว่าง เป็นปัญหาด้านใด
(1) ทรัพยากร
(2) ความเป็นไปได้ทางการเมือง
(3) ความถูกต้องทางทฤษฎี
(4) วัตถุประสงค์ของนโยบาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ข้าราชการเกียร์ว่าง เป็นปัญหาด้านความเป็นไปได้ทางการเมือง ซึ่งก็คือเรื่องของ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับข้าราชการ ทําให้ข้าราชการปฏิบัติตามนโยบายอย่างไม่เต็มที่ ซึ่งส่งผลให้การนํานโยบายไปปฏิบัติอาจไม่ประสบความสําเร็จ
6. ศรีธนนชัยนําข้าวของในบ้านไปทิ้งเพราะรู้สึกขี้เกียจ เมื่อแม่บอกให้ทําความสะอาดบ้านให้เตียนโล่ง
แสดงให้เห็นถึงปัญหาอะไร
(1) ความขัดแย้งในตัวเองของนโยบาย
(2) วัตถุประสงค์ของนโยบาย
(3) ทัศนคติของศรีธนนชัย
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การที่ศรีธนนชัยนําข้าวของในบ้านไปทิ้งเพราะรู้สึกขี้เกียจ เมื่อแม่บอกให้ ทําความสะอาดบ้านให้เตียนโล่งนั้น แสดงให้เห็นถึงปัญหาด้านทัศนคติของศรีธนนชัยและ วัตถุประสงค์ของนโยบายที่ไม่ชัดเจน ทําให้เกิดการตีความนโยบายหรือเข้าใจในนโยบาย ไม่ตรงกับที่ผู้กําหนดนโยบายกําหนดไว้
7. โรงเรียนยังคงเก็บค่าบํารุงกิจกรรม แม้มีนโยบายเรียนฟรี เป็นปัญหาด้านใด
(1) ทรัพยากร
(2) ตัวชี้วัด
(3) เป้าหมายของนโยบาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 19, 76, (คําบรรยาย) โรงเรียนยังคงเก็บค่าบํารุงกิจกรรม แม้มีนโยบายเรียนฟรี เป็นปัญหาด้านทรัพยากรซึ่งก็คือเรื่องของเงินทุนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งทรัพยากรนี้ถือเป็นปัจจัยสําคัญของการนํานโยบายไปปฏิบัติ หากทรัพยากรมีไม่เพียงพอก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการปฏิบัติตามนโยบาย
8. มีการฉีดน้ำใส่เครื่องวัดละอองฝุ่น เพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาด้านใด
(1) เป้าหมายของนโยบาย
(2) ความถูกต้องทางทฤษฎี
(3) ความเป็นไปได้ทางการเมือง
(4) ตัวชี้วัด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การฉีดน้ําใส่เครื่องวัดละอองฝุ่น เพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาเรื่อง ตัวชี้วัด ดังนั้นการกําหนดตัวชี้วัดจะต้องครอบคลุมและรัดกุม จึงจะทําให้นํานโยบายไปปฏิบัติ
เป็นไปตามเป้าหมายของนโยบายที่กําหนดไว้
9.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะทั่วไปของแผน
(1) ข้อเสนอกว้าง ๆ เพื่อปัจจุบัน
(2) มีการปฏิบัติ
(3) เกี่ยวข้องกับบุคคลและองค์การ
(4) มีการแก้ปัญหา
(5) มีมาตรฐานและถือหลักประหยัด
ตอบ 1 หน้า 21, 81 ลักษณะทั่วไปของแผน มีดังนี้
1. ความเป็นอนาคต (Future Oriented)
2. มีการปฏิบัติ (Action Oriented)
3. เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือองค์การ (Organization Oriented)
4. มีการแก้ปัญหาหรือข้อขัดแย้ง (Problem Solving Oriented)
5. มีมาตรฐาน (Standardized Oriented)
6. ถือหลักประหยัด (Economical Oriented)
10. การวางแผนต้องการจัดเตรียมสิ่งใดเพื่ออนาคต
(1) ปัญหา
(2) แนวทางการปฏิบัติ
(3) ข้อจํากัด
(4) กิจกรรม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 25, (คําบรรยาย) การวางแผน (Planning) เป็นการเสนอแนะแนวทางในการทํางาน หรือแนวทางการปฏิบัติ โดยการวิเคราะห์และการตัดสินใจที่จะเสนอข้อเสนอแนะในการทํางาน
ในอนาคตเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้วยวิธีที่ดีที่สุด และถือว่ากระบวนการวางแผนเป็นเรื่องที่ต้อง ใช้เหตุผลและต้องใช้ความคิดเชิงประยุกต์อย่างมาก
11. ข้อใดคือลักษณะของแผนที่ดี
(1) มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
(2) ยืดหยุ่นได้
(3) ปฏิบัติได้จริง
(4) มีความต่อเนื่อง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 21 – 22, 81 ลักษณะของแผนที่ดี มีดังนี้
1. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน (Clear Objective)
2. ยืดหยุ่นได้ (Flexible)
3. ปฏิบัติได้จริง (Applicable)
4. มีความต่อเนื่อง (Continuous)
ตั้งแต่ข้อ 12. – 14. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ป้องกัน
(2) แก้ไข
(3) พัฒนา
(4) การรบ
(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
12. ข้อใดเป็นการวางแผนเชิงรุก
ตอบ 5 หน้า 25, (คําบรรยาย) ปัญหาของแผน อาจจําแนกได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. ปัญหาแก้ไข คือ ปัญหาที่ปรากฏผลเสียหายให้เห็นอยู่แล้ว จึงต้องรีบวางแผนหาทางแก้ไข ปัญหาชนิดนี้แก้ไขได้ง่ายที่สุดและมักทําให้เกิดแผนเร่งด่วนซึ่งนับเป็นแผนเชิงรับ
2. ปัญหาป้องกัน คือ ปัญหาที่ยังไม่ปรากฏผลเสียหายขึ้นในขณะวางแผน แต่สามารถรู้ได้ว่า หากไม่รีบวางแผนแก้ไขก็จะปรากฏผลเสียหายในอนาคตได้ ซึ่งปัญหาชนิดนี้มักทําให้เกิดแผนเชิงรุก
3. ปัญหาพัฒนา คือ ปัญหาที่ไม่ปรากฏผลเสียหายทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่ต้องมี การวางแผนเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งนักวางแผนต้องใช้ความสามารถ ในการมองการณ์ไกลมากเป็นพิเศษ ปัญหาชนิดนี้จึงมักทําให้เกิดแผนเชิงรุก
13.ข้อใดเป็นการวางแผนเชิงรับ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ
14. ปัญหาข้อใดแก้ไขได้ง่ายที่สุด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ
15. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการวางแผน
(1) ควรเป็นงานของผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น
(2) ควรเป็นงานระดับกลุ่ม
(3) ควรเป็นงานของผู้ที่จะต้องนําแผนไปดําเนินการ
(4) เป็นการคาดคะเนอนาคต
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 26, 84 – 85 สิ่งที่ต้องเข้าใจสําหรับการวางแผน มีดังนี้
1. ควรเป็นงานของผู้ชํานาญการ
2. ควรเป็นงานของผู้ที่จะต้องนําแผนไปดําเนินการ
3. ควรเป็นงานระดับกลุ่ม
4. องค์การต้องมีโครงสร้างเหมาะสมให้เกิดการวางแผน
5. เป็นการคาดคะเนอนาคต การคัดเลือกภารกิจ วัตถุประสงค์ และแนวทางกลยุทธ์
6. ต้องจูงใจให้ผู้จัดการวางแผนเห็นความสําคัญ
7. ความถูกต้องของการวางแผนต้องตั้งอยู่บนความถูกต้องเพียงพอของฐานข้อมูล ฯลฯ
16. ข้อใดเป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงในการวางแผน
(1) จัดโครงสร้างเหมาะสมต่อการวางแผน
(2) จูงใจให้ผู้จัดการวางแผนเห็นความสําคัญ
(3) กําหนดแผนงานหลัก
(4) คัดเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 26, (คําบรรยาย) หน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงในการวางแผน มีดังนี้
1. การพัฒนาวัฒนธรรมกลยุทธ์ในองค์การ
2. การคัดเลือกทางเลือกกลยุทธ์สุดท้าย
3. การกําหนดแผนงานหลัก
4. การจัดโครงสร้างให้เหมาะสมต่อการวางแผน
5. การจูงใจให้ผู้จัดการวางแผนเห็นความสําคัญของการกําหนดกลยุทธ์การวางแผน ฯลฯ
17. ข้อใดสําคัญที่สุดต่อความถูกต้องของการวางแผน
(1) เวลา
(2) งบประมาณ
(3) ข้อมูล
(4) การจูงใจ
(5) องค์การ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ
18. ข้อใดเป็นทักษะของนักวางแผนที่ดี
(1) มีจินตนาการที่กว้างไกล
(2) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
(3) มีความรู้ในหลายสาขา
(4) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 27, 35, (คําบรรยาย) การวางแผนเป็นการใช้สติปัญญาเพื่อกําหนดแนวทางสําหรับ การดําเนินงานขององค์การในอนาคต ดังนั้นนักวางแผนที่ดีจะต้องอาศัยทักษะหลาย ๆ ด้าน ประกอบกัน เช่น ต้องใช้ทั้งจินตนาการที่กว้างไกล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ดี ต้องมีความรู้ ในหลักวิชาการหลาย ๆ สาขาหรือนําหลักสหวิทยาการมาใช้ ต้องรู้จักใช้เทคนิค ทฤษฎี การพยากรณ์ให้เหมาะสม เป็นต้น จึงจะช่วยให้การวางแผนสมบูรณ์ได้มากขึ้น
19. การวางแผนโดยปกติเป็นหน้าที่ของใคร
(1) นักบริหารระดับสูง
(2) นักบริหารระดับกลาง
(3) นักบริหารระดับล่าง
(4) ประชาชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 27, 35, (คําบรรยาย) นักวางแผน (Planner) หมายถึง บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งได้รับ มอบหมายให้มีหน้าที่วางแผนเพื่อสร้างสรรค์แผนงานตามแนวทางที่องค์การต้องการ โดยปกติ หน้าที่ในการวางแผนในระดับองค์การนั้นจะถือเป็นหน้าที่ของนักบริหารระดับกลาง (Middle Level Administrator)
20. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับโครงการ
(1) มีความยืดหยุ่นมากกว่าแผน
(2) มุ่งหมายให้เกิดผลิตผล
(3) เป็นหน่วยเล็กที่สุดในกระบวนการ
(4) ระบุวิธี เวลา และสถานที่
(5) กล่าวถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 36, 88 – 89, (คําบรรยาย) โครงการมีความแตกต่างจากแผน ดังนี้
1. โครงการไม่มีความยืดหยุ่นอย่างแผน เพราะโครงการมีการระบุวิธี เวลา และสถานที่อย่างเจาะจงและชัดเจน
2. โครงการมีความมุ่งหมายให้เกิดผลิตผลมากกว่าแผน
3. โครงการเป็นหน่วยเล็กที่สุดในโครงสร้าง
21. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับกระบวนการวางโครงการ
(1) ใช้หลักการวางแผนทั่วไป
(2) ต้องสัมพันธ์กับโครงการอื่นเสมอ
(3) มีเป้าหมายกว้าง ๆ
(4) ระบุรายละเอียดในการปฏิบัติ
(5) กล่าวถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 36 – 39, (คําบรรยาย) กระบวนการวางโครงการ (Program Planning Processes) เป็นขั้นตอนการก่อตัวของโครงการ ซึ่งโดยทั่วไปมีแนวคิดและขั้นตอนที่สําคัญ ดังนี้
1. ใช้หลักการวางแผนทั่วไป
2. โครงการทั้งหลายจะต้องสัมพันธ์กับโครงการอื่นเสมอ
3. การวางโครงการต้องมีรายละเอียดซึ่งสามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมได้เพื่อฝ่ายปฏิบัติและฝ่ายติดตามประเมินผลจะได้ปฏิบัติตามได้โดยสะดวก
4. การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการต้องมีความชัดเจนและกระทัดรัด ตอบสนองปัญหาและความต้องการได้ และปฏิบัติได้จริง ฯลฯ
22. ข้อใดคือลักษณะของโครงการที่ดี
(1) มีความเป็นอุดมคติ
(2) มีความยืดหยุ่น
(3) มีความเจาะจง
(4) มีความเป็นนามธรรม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20. และ 21. ประกอบ
23. รายละเอียดของโครงการต้องประกอบด้วยอะไร
(1) ใคร
(2) ทําอะไร
(3) ที่ไหน
(4) อย่างไร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) โครงการเป็นการมุ่งดําเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลิตผลตามแนวทางที่แผนวางไว้ดังนั้นรายละเอียดของโครงการจึงต้องมีความเจาะจง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจและสามารถปฏิบัติ ตามได้ รายละเอียดของโครงการจึงต้องประกอบไปด้วย ใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร
ตั้งแต่ข้อ 24 – 27. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การศึกษาว่าโครงการมีความสมบูรณ์เหมาะสมที่จะนําไปปฏิบัติหรือไม่
(2) การก่อตัวของโครงการ
(3) การดําเนินงานเพื่อให้เกิดผลตามต้องการ
(4) การตรวจสอบผลการดําเนินโครงการที่ผ่านไปแล้ว
(5) การปรับปรุงและพัฒนาความสามารถในการดําเนินงาน
24. การวางโครงการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
25. การวิเคราะห์โครงการ
ตอบ 1 หน้า 39, 91 การวิเคราะห์และประเมินโครงการ (Program Analysis and Appraisal) มีความหมาย 2 ลักษณะ คือ
1. การศึกษาว่าโครงการมีความสมบูรณ์เหมาะสมที่จะนําไปปฏิบัติหรือไม่
2. การจําแนกแยกแยะ “ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น” หากมีการนําโครงการไปปฏิบัติจริงว่าสมควรแก่การดําเนินโครงการต่อไปหรือไม่
26. การประเมินผลโครงการ
ตอบ 4 หน้า 45, (คําบรรยาย) การประเมินผลโครงการ หมายถึง การตรวจสอบผลการดําเนิน โครงการที่ผ่านไปแล้ว โดยการเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจริง (Exact Results) จากการ ดําเนินการกับผลที่คาดว่าจะได้รับ (Expected Results) จากโครงการ หรือหมายถึง การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับเป้าหมายหลังสิ้นสุดการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่ ดังนั้นการประเมินผลโครงการจึงทําให้ทราบว่าโครงการที่ได้ดําเนินการไปแล้วนั้นประสบความสําเร็จมากน้อยเพียงไร
27. การนําโครงการไปปฏิบัติ
ตอบ 3 หน้า 42, 94 การนําโครงการไปปฏิบัติ (Program Implementation) มีความหมายดังนี้
1. การจัดเตรียม จัดหา วิธีการต่าง ๆ ที่จะดําเนินการให้สิ่งที่ต้องการเกิดผลขึ้นมา ซึ่งรวมถึง ความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะปรับปรุง และพัฒนาความสามารถที่จะดําเนินงานตามโครงการ
2. การดําเนินงานเพื่อให้เกิดผลตามต้องการซึ่งอาจเป็นความพยายามเฉพาะเรื่องในการทําให้การตัดสินใจขององค์การเป็นไปตามแผนหรือนโยบาย
28. ข้อใดไม่ใช่ภารกิจที่สําคัญในการวิเคราะห์และประเมินโครงการ
(1) การวิเคราะห์ด้านการบริหาร
(2) การวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจ
(3) การวิเคราะห์ด้านการเมือง
(4) การวิเคราะห์ด้านสังคม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 40 – 42, (คําบรรยาย) ภารกิจที่สําคัญในการวิเคราะห์และประเมินโครงการ มีดังนี้
1. การวิเคราะห์ด้านการเงิน
2. การวิเคราะห์ด้านการบริหาร
3. การวิเคราะห์ทางเทคนิค
4. การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของวิชาการ
5. การวิเคราะห์ด้านสังคม
6. การวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจ
7. การการวิเคราะห์ด้านการตลาด
29. การควบคุมโครงการครอบคลุมถึงอะไร
(1) เวลา
(2) ค่าใช้จ่าย
(3) คุณภาพ
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 44, (คําบรรยาย) การควบคุมโครงการโดยทั่วไปมักจะกระทําใน 3 ด้าน คือ
1. ควบคุมเวลา (Time Control) คือ ควบคุมให้เสร็จตรงตามเวลาที่ได้วางโครงการไว้ โดยใช้เทคนิค PERT
2. ควบคุมค่าใช้จ่าย (Cost Control) เป็นการควบคุมรายจ่ายของโครงการให้อยู่ใน กรอบงบประมาณที่ตั้งไว้ โดยใช้เทคนิค PPBS
3. ควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน (Quality Control) เป็นการควบคุมให้เกิดผลงาน ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างครบถ้วนและเคร่งครัด เทคนิคที่ใช้อาจกระทําได้ โดยการกําหนดมาตรฐาน (Standard) ของงาน
30. การวิเคราะห์ทางด้านการบริหารโครงการคืออะไร
(1) วิเคราะห์ความคุ้มทุน
(2) วิเคราะห์ความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์
(3) วิเคราะห์เศรษฐกิจ
(4) วิเคราะห์ความเหมาะสมกับสภาพสังคม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 41, 92 การวิเคราะห์ทางด้านการบริหารโครงการ คือ การวิเคราะห์ความสามารถในการนําทรัพยากรที่มีอยู่จํากัดมาผสมผสานกันอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ที่ต้องการ ดังนั้นการวิเคราะห์ทางด้านการบริหารจึงต้องวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ตัวผู้บริหาร
2. ลักษณะการจัดหน่วยงาน
3. ระเบียบวิธี และกระบวนการในการปฏิบัติงาน
4. พฤติกรรมการบริหาร
31. การวิเคราะห์ทางด้านการบริหารโครงการไม่ได้วิเคราะห์อะไร
(1) ตัวผู้บริหาร
(2) ลักษณะการจัดหน่วยงาน
(3) กระบวนการในการปฏิบัติ
(4) สังคมในภาพรวม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ
32. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
(1) มักใช้ในกรณีที่มีเวลาและทรัพยากรมาก
(2) มักประเมินสภาพแวดล้อม
(3) มักประเมินด้านเทคนิค
(4) มักประเมินด้านการบริหาร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 42, 93 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) เป็นการศึกษา โอกาสสําเร็จของโครงการ เพื่อตัดสินใจว่าจะดําเนินโครงการหรือไม่ การศึกษาความเป็นไปได้ ของโครงการนี้มักใช้ในกรณีที่เป็นโครงการเร่งด่วน มีเวลาประเมินจํากัด โดยมักจะประเมินเพียง ตัวแปรหลัก ๆ ดังนี้
1. ประเมินด้านการบริหาร
2. ประเมินด้านความคุ้มทุนของโครงการ
3. ประเมินด้านเทคนิคของโครงการ .
4. ประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ
33. เมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติงานโครงการแล้วต้องทําสิ่งใด
(1) บํารุงขวัญผู้ร่วมงาน
(2) ส่งรายงาน
(3) เก็บหลักฐาน
(4) ส่งคืนสิ่งต่าง ๆ ที่จําเป็น
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 45 การสิ้นสุดการปฏิบัติงาน เมื่อใกล้จะเสร็จสิ้นขั้นตอนการปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบโครงการ ต้องบํารุงขวัญผู้ร่วมงานแต่เนิ่น ๆ เมื่อที่จะลดปริมาณคนทํางานลงตามงานที่เริ่มลดน้อยลง นอกจากนี้ยังจะต้องเตรียมการปิดโครงการ หรืองาน “เก็บกวาด” เช่น ส่งรายงานครั้งสุดท้าย เก็บหลักฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่จําเป็น ส่งคืนสิ่งต่าง ๆ เช่น เครื่องมือ บุคลากร สถานที่ เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 34 – 36. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ผลโดยตรง
(2) ผลโดยอ้อม
(3) ผลทางกายภาพ
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
34. ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ตอบ 1 หน้า 45, (คําบรรยาย) ผลที่เกิดขึ้นจริงจากโครงการ (Exact Results) หมายถึง ผลที่เกิดขึ้น จากการนําโครงการไปปฏิบัติ ซึ่งจําแนกอย่างกว้าง ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1. ผลโดยตรง (Direct Results) คือ ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
2. ผลโดยอ้อม (Indirect Results) คือ ผลพลอยได้จากวัตถุประสงค์ของโครงการ
35. ผลพลอยได้จากวัตถุประสงค์ของโครงการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ
36. ผลที่มักจะได้จากการประเมินโครงการทันทีหลังเสร็จสิ้น
ตอบ 4 หน้า 46, 99 การประเมินผลโครงการทันทีหลังเสร็จสิ้น มักเป็นการประเมินผลโดยตรง (Direct Results) ของโครงการและมีลักษณะผลทางกายภาพ (Physical Results) เป็นส่วนใหญ่ เช่น เมื่อสร้างถนนเสร็จจะวัดความยาว ความแข็งแรงของถนนได้ทันที เป็นต้น
37. การประเมินผลโครงการมีประโยชน์อย่างไร
(1) ทราบว่าโครงการประสบความสําเร็จมากน้อยเพียงใด
(2) ทราบสาเหตุที่ทําให้โครงการสําเร็จ
(3) ทราบสาเหตุที่ทําให้โครงการล้มเหลว
(4) เป็นข้อมูลสําหรับการวางโครงการในอนาคต
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 50, 101, (คําบรรยาย) การประเมินผลโครงการมีประโยชน์ ดังนี้
1. ทําให้ทราบว่าการดําเนินโครงการประสบความสําเร็จมากน้อยเพียงใด
2. ทําให้ทราบสาเหตุที่ทําให้โครงการประสบความสําเร็จหรือล้มเหลว
3. เป็นข้อมูลสําหรับการวางโครงการในอนาคต
38. การประเมินผลโครงการทําเมื่อใด
(1) ก่อนวางโครงการ
(2) ขณะดําเนินโครงการ
(3) เมื่อโครงการสําเร็จแล้ว
(4) เมื่อถึงปีงบประมาณ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 46, 98 – 99, (คําบรรยาย) การประเมินผลโครงการตามลักษณะเวลาในการประเมินผลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. การประเมินผลก่อนวางโครงการ (Intrinsic/Ext-ante Evaluation)
2. การประเมินผลเมื่อมีการปฏิบัติแล้ว (Pay-off Evaluation) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ การประเมินผลขณะดําเนินโครงการ และการประเมินผลเมื่อโครงการสําเร็จแล้ว
ตั้งแต่ข้อ 39 – 43. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การประเมินทรัพยากรที่ใช้ไป
(2) การประเมินผลผลิตที่ได้
(3) การประเมินประสิทธิภาพ
(4) การประเมินประสิทธิผล
(5) การประเมินกระบวนการ
39. แยกแยะสาเหตุของความสําเร็จหรือล้มเหลวของโครงการ
ตอบ 5 หน้า 47, 99, (คําบรรยาย) Suchman ได้แบ่งประเภทของการประเมินผลโครงการ ออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. Effort Evaluation เป็นการประเมิน Input หรือทรัพยากรที่ใช้ไปในโครงการ เช่น คน เงิน วัสดุ อุปกรณ์ เวลา เป็นต้น
2. Performance Evaluation เป็นการประเมิน Output หรือผลผลิตที่ได้ของโครงการ
3. Adequacy of Performance เป็นการประเมินประสิทธิผลของโครงการ โดยการ เปรียบเทียบเป้าหมายกับผลที่ได้ของโครงการ
4. Efficiency Evaluation เป็นการประเมินประสิทธิภาพของโครงการ โดยดูอัตราส่วน ระหว่าง Input : Output ซึ่งอาจออกมาในรูป Benefit Cost Ratio เป็นต้น
5. Process Evaluation เป็นการประเมินกระบวนการปฏิบัติงานของโครงการ เพื่อแยกแยะให้เห็นสาเหตุของความสําเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการ
40.ประเมิน Input ของโครงการ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ
41. ประเมิน Output ของโครงการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ
42. เปรียบเทียบเป้าหมายและผลที่ได้ของโครงการ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ
43. ประเมินอัตราส่วน Input : Output ของโครงการ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ
44.คน วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ไปในโครงการ คืออะไร
(1) Input
(2) Output
(3) Outcome
(4) ผลกระทบข้างเคียง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ
45. ตัวบ่งชี้ความสําเร็จในการดําเนินงาน คืออะไร
(1) ผลผลิต
(2) ความนิยม
(3) ตัวชี้วัด
(4) กลุ่มเป้าหมาย
(5) ต้นทุน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตัวชี้วัด คือ ตัวบ่งชี้ความสําเร็จในการดําเนินงาน ซึ่งคุณสมบัติของตัวชี้วัดที่ดีมีดังนี้
1. Validity คือ สมเหตุสมผล อธิบายได้
2. Availability คือ ความมีอยู่ของข้อมูล
3. Reliability คือ ความเชื่อถือได้
4. Sensitivity คือ ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง
ตั้งแต่ข้อ 46. – 50. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) จํานวนผู้มาใช้สิทธิในการรับบริการ
(2) งบประมาณที่รัฐบาลใช้ไปในโครงการ
(3) ความเสมอภาคในการได้รับบริการทางสาธารณสุขของคนไทย
(4) ความยากจนและความเหลื่อมล้ําของรายได้ในประเทศไทย
(5) อัตราการลาออกของบุคลากรทางการแพทย์ที่สูงขึ้น
46. ข้อใดเป็น Input ของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตัวอย่างการวิเคราะห์โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
1. สภาพปัญหาที่ทําให้เกิดการก่อตัวขึ้นของโครงการ ได้แก่ ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของรายได้ในประเทศไทย
2. Input ของโครงการ ได้แก่ งบประมาณที่รัฐบาลใช้ไปในโครงการ
3. Output ของโครงการ ได้แก่ จํานวนผู้มาใช้สิทธิในการรับบริการ
4. ประสิทธิผลของโครงการ ได้แก่ ความเสมอภาคในการได้รับบริการทางสาธารณสุขของคนไทย
5. ผลกระทบข้างเคียงของโครงการ ได้แก่ อัตราการลาออกของบุคลากรทางการแพทย์ที่สูงขึ้น
47. ข้อใดเป็น Output ของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ
48. ข้อใดเป็นผลกระทบข้างเคียงของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ
49. ข้อใดเป็นประสิทธิผลของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ
50. ข้อใดเป็นสภาพปัญหาที่ทําให้เกิดการก่อตัวขึ้นของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 51. – 57. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) แผน
(2) นโยบาย
(3) โครงการ
(4) กลยุทธ์
(5) Job
51. สิ่งที่รัฐเลือกจะกระทําหรือไม่กระทํา
ตอบ 2 หน้า 1 Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราว
หรือกิจกรรมที่รัฐบาลเลือกจะกระทําหรือไม่กระทํา และเกี่ยวข้องกับเหตุผลว่าทําไมจึงเลือกเช่นนั้น
52. วิถีทางของการดําเนินการซึ่งได้กําหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว
ตอบ 1 หน้า 21 Le Breton กล่าวว่า แผน คือ วิถีทางของการดําเนินการซึ่งได้กําหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว
(Plan is a predetermined course of action)
53. รูปแบบอันเจาะจงในการดําเนินกิจกรรม
ตอบ 3 หน้า 36, 38 สหประชาชาติ (UN) ได้นิยามความหมายของโครงการว่าหมายถึง รูปแบบ อันเจาะจงในการดําเนินกิจกรรมทางสังคม ซึ่งได้มีการจัดเตรียมไว้แล้ว โดยมีวัตถุประสงค์ ที่เจาะจง มีการจํากัดในด้านสถานที่และเวลา
54. ข้อเสนอกว้าง ๆ ไม่เจาะจง
ตอบ 2 หน้า 1, 60, (คําบรรยาย) ลักษณะทั่วไปของนโยบาย มีดังนี้
1. เป็นข้อเสนอหรือแนวทางกว้าง ๆ ในการปฏิบัติงาน คือ ไม่เจาะจงและยืดหยุ่นสูง
2. มีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจเป็นวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดที่สําคัญมาก ๆ เช่น เป็นประโยชน์ขององค์การ เป็นต้น
3. เป็นข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิบัติ คือ นโยบายจะเป็นเครื่องชี้นําให้มีการปฏิบัติตาม นโยบาย ต้องเสนอแนะแนวทางที่สามารถปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ด้วย
55. มีความชัดเจนในด้านวิธีการ เวลา สถานที่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ
56. การกระทําที่นําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
ตอบ 1 หน้า 25 Jose Villamit กล่าวว่า การวางแผนเป็นการกระทําที่เป็นกระบวนการ (Set of Temporally Linked Actions) ที่นําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ (Desired end State) โดยการ ตัดสินใจแต่ละครั้งนั้นมุ่งให้เกิดการรวมชาติหรือการเปลี่ยนแปลง โดยมีการผิดพลาดน้อยที่สุด
57. เป็นหน้าที่ของนักบริหารระดับกลาง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ
58. ข้อใดมีอํานาจหน้าที่ในการกําหนดนโยบายสาธารณะตามกฎหมาย
(1) รัฐบาล
(2) กลุ่มผลประโยชน์
(3) พรรคการเมือง
(4) ศาลยุติธรรม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 54, (คําบรรยาย) รัฐบาลมีอํานาจหน้าที่ในการกําหนดนโยบายสาธารณะตามกฎหมายส่วนระบบราชการหรือหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ในการนํานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติให้บรรลุผลสําเร็จตามเป้าหมายที่กําหนดไว้
59. ข้อใดถือว่าเป็นนโยบายสาธารณะ
(1) นโยบายการจ้างพนักงานของบริษัทซีพี
(2) นโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย
(3) เจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตของนายกรัฐมนตรี
(4) ทุกข้อเป็นนโยบายสาธารณะ
(5) ทุกข้อไม่ใช่นโยบายสาธารณะ
ตอบ 5 หน้า 59 ลักษณะของนโยบายสาธารณะ (Public Policy) มีดังนี้
1. เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา ไม่ใช่การแสดงเจตนารมณ์
2. เป็นชุดของการกระทําที่มีแบบแผน ระบบและกระบวนการอย่างชัดเจน มีความสม่ําเสมอ และต่อเนื่อง
3. มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ของสาธารณะ
60. ลักษณะทั่วไปของนโยบายข้อใดกล่าวผิด
(1) ไม่เจาะจง และยืดหยุ่นได้มาก
(2) มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่สําคัญ
(3) เป็นข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิบัติ
(4) เป็นวิธีปฏิบัติที่กําหนดไว้ล่วงหน้า
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ
61. ข้อใดไม่ใช่รูปร่างของนโยบาย
(1) กฎหมาย
(2) แผน
(3) โครงการ
(4) พระราชบัญญัติ
(5) คําบอกกล่าวที่เสนอผู้บังคับบัญชาขึ้นไป
ตอบ 5 หน้า 2 นโยบายมีรูปร่างและรูปแบบหลายลักษณะตามการใช้ประโยชน์ของนโยบาย ดังนี้
1. มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง
2. มีรูปเป็นแผนงาน โครงการ
3. มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ เพื่อแจ้งข่าวสารหรือเชิญชวน ซึ่งมีลักษณะบังคับน้อยที่สุด
4. มีรูปเป็นสัญญา
5. มีรูปเป็นอื่น ๆ หรืออาจไม่มีรูปร่างให้เห็นชัดเจน เช่น คําแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรี เป็นต้น
62. กระบวนการของนโยบายเรียงลําดับได้อย่างไร
(1) กําหนด วิเคราะห์ ปฏิบัติ ประเมิน
(2) วิเคราะห์ กําหนด ปฏิบัติ ประเมิน
(3) ประเมิน วิเคราะห์ กําหนด ปฏิบัติ
(4) กําหนด ปฏิบัติ วิเคราะห์ ประเมิน
(5) กําหนด วิเคราะห์ ประเมิน ปฏิบัติ
ตอบ 1 หน้า 3 กระบวนการของนโยบาย (Processes of Policy) ประกอบด้วยขั้นตอนที่สําคัญ ดังนี้
1. การกําหนดนโยบาย (Policy Formulation)
2. การวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis)
3. การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation)
4. การติดตามประเมินผลการปฏิบัตินโยบาย (Policy Evaluation)
63. ใครมีบทบาทมากที่สุดในการนํานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ
(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(2) สมาชิกวุฒิสภา
(3) ระบบราชการ
(4) กลุ่มทุน
(5) ประชาชน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 64 – 70. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ตัวแบบผู้นํา
(2) ตัวแบบกลุ่ม
(3) ตัวแบบสถาบัน
(4) ตัวแบบระบบ
(5) ตัวแบบเกม
64. หน่วยงานของรัฐและประชาชนมีบทบาทในการกําหนดนโยบายน้อย
ตอบ 1 หน้า 3 – 4, 66, (คําบรรยาย) ตัวแบบผู้นํา (Elite Model) เชื่อว่า
1. กลุ่มผู้นํา (นายกรัฐมนตรี) มีบทบาทในการกําหนดนโยบายมาก ในขณะที่หน่วยงานของรัฐและประชาชนมีบทบาทในการกําหนดนโยบายน้อย
2. นโยบายสาธารณะเป็นการสะท้อนค่านิยมและผลประโยชน์ของกลุ่มผู้นํา จึงมักไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง
3. สถานการณ์ที่จะเกิดนโยบายตามตัวแบบนี้ต้องเป็นสถานการณ์ที่ผู้นํามีอํานาจสูงมาก ในทางการเมืองหรือทางสังคม เช่น ในภาวะการปฏิวัติรัฐประหาร ฯลฯ
65. นายกรัฐมนตรีมีบทบาทมากในการกําหนดนโยบาย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 64. ประกอบ
66. นโยบายมักไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 64. ประกอบ
67. หน้าที่ของรัฐคือการเป็นเหมือนกับกรรมการ
ตอบ 2 หน้า 4 – 5, 66 – 67, (คําบรรยาย) ตัวแบบกลุ่ม (Group Model) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะ คือจุดดุลยภาพระหว่างผลประโยชน์ของกลุ่มต่าง ๆ หรือเป็นผลผลิตที่เกิดจากดุลยภาพของ การแข่งขันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างดิ้นรนแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ อ้านาจในการเป็นผู้คุมกลไกนโยบายของรัฐ ดังนั้นรัฐหรือระบบการเมืองจึงมีหน้าที่ 4 ประการ ได้แก่
1. สร้างกติกาการแข่งขันและเป็นกรรมการหรือผู้ควบคุมการแข่งขันให้เกิดความ ยุติธรรม
2. แสวงหาลู่ทางในการประนีประนอม เพื่อทําให้เกิดดุลยภาพของการแข่งขัน
3. จัดสรรผลประโยชน์หรือกําหนดนโยบาย
4. นํานโยบายไปปฏิบัติ
68. นโยบาย คือ จุดดุลยภาพระหว่างผลประโยชน์ของกลุ่มต่าง ๆ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ
69. ระบบการเมืองทําหน้าที่ภายใต้แรงกดดันของระบบอื่น ๆ
ตอบ 4 หน้า 6, 67 ตัวแบบระบบ (System Model) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะเป็นผลของปฏิกิริยา ที่ระบบการเมืองมีต่อแรงกดดันจากสภาพแวดล้อมภายนอก หรือกล่าวอีกนัย ระบบการเมือง ทําหน้าที่กําหนดนโยบายสาธารณะภายใต้แรงกดดันของระบบอื่น ๆ ที่มิใช่ระบบการเมืองหรือ เรียกว่าสภาพแวดล้อมภายนอก ดังนั้นตัวระบบการเมืองจะทําหน้าที่เป็นตัวกระทําของระบบ (Conversion Process) ขณะที่สภาพแวดล้อมภายนอก เช่น ข้อเรียกร้องความต้องการ หรือ การสนับสนุนของประชาชนจะเป็นปัจจัยนําเข้าของระบบ (Inputs) และนโยบายสาธารณะ จะเป็นปัจจัยนําออกของระบบ (Outputs) ซึ่งถูกส่งออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอกและกลายเป็น ปัจจัยนําเข้าสู่ระบบการเมืองเป็นวงจร ดังนั้นสภาพแวดล้อมภายนอกและระบบการเมืองจึงเป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของนโยบายสาธารณะ
70. สภาพแวดล้อม คือ ปัจจัยที่จะส่งผลต่อนโยบายสาธารณะ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ
71. ปัจจัยใดส่งผลต่อนโยบายที่ถูกกําหนดโดยตัวแบบผู้นํา
(1) คุณสมบัติของผู้นํา
(2) เสถียรภาพของกลุ่มผู้นํา
(3) ค่านิยมและผลประโยชน์ของประชาชน
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 4, 66 ปัจจัยที่ส่งผลต่อนโยบายที่ถูกกําหนดโดยตัวแบบผู้นํา (Elite Model) ได้แก่
1. ค่านิยมและผลประโยชน์ของกลุ่มผู้นํา
2. เสถียรภาพของกลุ่มผู้นํา
3. คุณสมบัติของผู้นํา
72. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของกลไกรัฐในตัวแบบกลุ่ม
(1) สร้างกติกา
(2) ริเริ่มนโยบาย
(3) หาลู่ทางประนีประนอม
(4) จัดสรรผลประโยชน์
(5) นํานโยบายไปปฏิบัติ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ
73. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่ถูกกําหนดโดยตัวแบบกลุ่ม
(1) การประนีประนอม
(2) ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม
(3) ดุลยภาพของผลประโยชน์
(4) เสถียรภาพของกลุ่มผู้นํา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 4 – 5, 66 – 67 ปัจจัยที่ส่งผลต่อนโยบายสาธารณะที่ถูกกําหนดโดยตัวแบบกลุ่ม (Group Model) ได้แก่
1. จุดดุลยภาพระหว่างผลประโยชน์ของกลุ่มต่าง ๆ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ฯลฯ
2. การประนีประนอม
74. ปัจจัยใดส่งผลต่ออิทธิพลของกลุ่ม
(1) จํานวนสมาชิก
(2) ฐานะทางเศรษฐกิจ
(3) ลักษณะของผู้นํากลุ่ม
(4) ความสามัคคีของกลุ่ม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่ออิทธิพลของกลุ่ม มีดังนี้
1. จํานวนสมาชิกของกลุ่ม
2. ฐานะทางเศรษฐกิจของกลุ่ม
3. ความเข้มแข็งในการจัดองค์การของกลุ่ม
4. ลักษณะของผู้นํากลุ่ม
5. ความใกล้ชิดกับผู้มีอํานาจในการกําหนดนโยบายของกลุ่มหรืออยู่ใกล้ศูนย์กลางของอํานาจ
6. ความสามัคคีของกลุ่ม
75. นโยบายตามตัวแบบสถาบันจะให้ประโยชน์กับใครมากที่สุด
(1) ประชาชน
(2) หน่วยงานของรัฐ
(3) นายทุน
(4) ภูมิภาค
(5) พรรคการเมือง
ตอบ 2 หน้า 5, (คําบรรยาย) ตัวแบบสถาบัน (Institution Model) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครอง กล่าวคือ นโยบายใด ๆ ก็ตามจะได้ชื่อว่าเป็น นโยบายสาธารณะก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองโดยสถาบันแล้วเท่านั้น ซึ่งนโยบายก็มักจะเป็นไป ตามที่สถาบันการปกครองกําหนดเองหรือให้ประโยชน์กับสถาบันการปกครอง ตัวอย่างสถาบัน การปกครอง ได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ (รัฐสภา) สถาบันบริหาร (นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี) สถาบันราชการ (หน่วยงานของรัฐ) สถาบันตุลาการ (ศาล) สถาบันการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น
76. ปัจจัยนําเข้าในตัวแบบระบบคือข้อใด
(1) นโยบายสาธารณะ
(3) การสนับสนุนของประชาชน
(2) ข้อเรียกร้องของประชาชน
(4) สภาพแวดล้อม
(5) ถูกทั้งข้อ 2, 3 และ 4
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ
77. ปัจจัยนําออกในตัวแบบระบบคือข้อใด
(1) นโยบายสาธารณะ
(2) ข้อเรียกร้องของประชาชน
(3) การสนับสนุนของประชาชน
(4) สภาพแวดล้อม
(5) ถูกทั้งข้อ 2, 3 และ 4
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ
78. สิ่งแวดล้อมแบบใดควบคุมไม่ได้
(1) จํานวนคน
(2) ค่านิยม
(3) เทคโนโลยี
(4) ลักษณะทางภูมิศาสตร์
(5) งบประมาณ
ตอบ 2 หน้า 12, (คําบรรยาย) สิ่งแวดล้อมของนโยบาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้ (Controlled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถควบคุม หรือกําหนดได้อย่างแน่นอน เช่น จํานวนคนที่จะเข้ามาบริหารนโยบาย เทคโนโลยีที่ใช้ ในนโยบาย งบประมาณ/เงิน การจัดการ สถานที่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถ ควบคุมหรือกําหนดได้อย่างชัดเจน เช่น ความเชื่อ ค่านิยมของคนในสังคม ภาวะทางธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน แผ่นดินไหว เป็นต้น
79. สิ่งแวดล้อมแบบใดควบคุมได้
(1) เงิน
(2) จํานวนคน
(3) การจัดการ
(4) สถานที่
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ
80. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากสภาพที่แท้จริง หรือข้อมูลภาคสนามเพื่อจะทราบปัญหา คือขั้นตอนใดในการกําหนดนโยบาย
(1) การระบุปัญหา
(2) กําหนดขอบเขตและกรอบของนโยบาย
(3) ศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย
(4) ออกแบบทางเลือกนโยบาย
(5) การตัดสินใจทางเลือก
ตอบ 1 หน้า 12, (คําบรรยาย) การระบุปัญหา คือ การศึกษาว่าอะไรคือปัญหาหรือความจริงของปัญหา คืออะไร โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริงหรือข้อมูลภาคสนามหรือข้อมูลปฐมภูมิ หรือข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ หรือข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อที่จะทราบปัญหาและจําแนกว่าปัญหาใด เร่งด่วนกว่า มีสาเหตุจากอะไร และประชาชนรับรู้เพียงใด ดังนั้นการระบุปัญหาจึงเป็นขั้นตอน ที่มีความสําคัญที่สุดในกระบวนการกําหนดนโยบาย เพราะการระบุปัญหาที่ถูกต้องจะนําไปสู่ การกําหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป
81. ขั้นตอนใดมีความสําคัญที่สุดในกระบวนการนโยบาย
(1) การระบุปัญหาที่ถูกต้อง
(2) กําหนดขอบเขตและกรอบของนโยบายที่รัดกุม
(3) ศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบายอย่างครบถ้วน
(4) ออกแบบทางเลือกนโยบายที่หลากหลาย
(5) การตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ
82. ข้อมูลประเภทใดที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
(1) ข้อมูลทุกประเภท
(2) ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts)
(3) ข้อมูลที่ยังไม่ได้กรอง
(4) ข้อมูลที่เป็นความเชื่อ (Values)
(5) ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการเดิม
ตอบ 4 หน้า 11 การระบุสาเหตุของปัญหาในกระบวนการกําหนดนโยบายต้องอาศัย “ข้อมูล”เป็นสําคัญ โดยข้อมูลในการระบุสาเหตุของปัญหาต้องประกอบด้วย
1. ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts) เป็นข้อมูลที่มีลักษณะคงที่ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ลักษณะของดินฟ้าอากาศ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น
2. ข้อมูลที่เป็นความเชื่อหรือค่านิยม (Values) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับความยึดมั่น ความเชื่อถือ ของประชาชน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก
83. ข้อใดคือปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจน
(1) การสร้างที่ทําการขององค์การ
(2) ความยากจนในสังคมไทย
(3) ความแตกต่างทางความคิดเห็น
(4) การแพร่ระบาดของโควิด-19
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 10, (คําบรรยาย) ปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจน (Well-Structured Problem) คือ ปัญหา ที่มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนน้อย และมีทางออกในการแก้ไขปัญหาเพียงไม่กี่ทางเลือก ซึ่งแต่ละทางเลือก สามารถมองเห็นผลประโยชน์ของทางเลือกได้ชัดเจนไม่เป็นที่ถกเถียงได้แต่อย่างใด เช่น ปัญหา
ในการจัดสร้างที่ทําการขององค์การ ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องคือผู้ที่อยู่ในองค์การนั้น ทางออกคือสร้าง หรือไม่สร้าง และประโยชน์จากการสร้างคือได้ที่ทําการใหม่ เป็นต้น ดังนั้นในการวางแผน ที่ปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจนจึงสามารถคาดผลที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม
84. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการระบุปัญหา
(1) สาเหตุของปัญหา
(2) อาการของปัญหา
(3) การประเมินผลนโยบาย
(4) ความเร่งด่วน
(5) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตอบ 3 หน้า 11, 70 ขั้นตอนการระบุปัญหา ประกอบด้วย
1. การระบุสาเหตุของปัญหา เป็นการระบุต้นตอของปัญหา เพราะการแก้ปัญหาใด ๆ นั้นต้อง รู้ถึงต้นตอของปัญหาจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้หมดสิ้น ทั้งนี้การระบุสาเหตุของปัญหา ต้องอาศัย “ข้อมูล” เป็นสําคัญ
2. การระบุอาการของปัญหา เป็นการนิยามหรืออธิบายว่าอะไรคือปัญหา ผลกระทบของปัญหา คืออะไร ใครคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และปัญหามีความรุนแรงหรือเร่งด่วนเพียงไร
85. อะไรคือสิ่งสําคัญในขั้นตอนการระบุสาเหตุของปัญหาในกระบวนการกําหนดนโยบาย
(1) เป้าหมาย
(2) วัตถุประสงค์
(3) การนําไปปฏิบัติ
(4) ข้อมูล
(5) การประเมินผล
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 82. และ 34. ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 86 – 88. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน
(2) มีความเป็นพลวัต
(3) มีความเป็นปรนัย
(4) อาจไม่มีตัวตนที่แท้จริง
(5) กล่าวถูกทุกข้อ
86. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับลักษณะของปัญหาในกระบวนการนโยบาย
ตอบ 3 หน้า 3 – 9, 69 ลักษณะของปัญหาในกระบวนการนโยบายมี 4 ลักษณะ ดังนี้
1. มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน (Integration)
2. มีความเป็นพลวัต (Dynamic)
3. มีความเป็นอัตนัย (Subjective)
4. อาจไม่มีตัวตนที่แท้จริง (Artificiality)
87. ปัญหามักเปลี่ยนแปลงไปตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม คือลักษณะใดของปัญหา
ตอบ 2 หน้า 9 ปัญหาที่มีความเป็นพลวัต (Dynamic) หมายถึง การที่ปัญหามักแปรเปลี่ยน ลักษณะอาการไปได้ตามแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจนําไปสู่การแปรเปลี่ยนให้เกิด ปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกได้ ดังนั้นการกําหนดปัญหาของนโยบายจึงไม่มีข้อสรุปที่ถาวร
88. ปัญหาถูกรับรู้ไม่เหมือนกัน
ตอบ ไม่มีข้อถูก หน้า 9 ปัญหาที่มีลักษณะเป็นอัตนัย (Subjectivity) หมายถึง การมีความหมาย ในตัวของปัญหาเอง ซึ่งผู้รับรู้ความเป็นปัญหาจะรับรู้ได้หรือไม่อยู่ที่ความสามารถในการ “ตระหนักได้” ของผู้กําหนดนโยบาย ดังนั้นปัญหาในลักษณะนี้จึงถูกรับรู้ไม่เหมือนกันแต่การรับรู้ปัญหาได้เร็วหรือรับรู้ปัญหาได้ก่อนก็เป็นคุณสมบัติที่ดีของผู้กําหนดนโยบายเพราะจะทําให้สามารถกําหนดนโยบายได้ทันการณ์
89. การกําหนดเป้าหมายของนโยบายควรมีลักษณะแบบใด
(1) เที่ยงตรง
(2) เปิดช่องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตีความได้
(3) ครอบคลุมประเด็นปัญหา
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 70 การกําหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบายควรมีลักษณะดังนี้
1. มีความเที่ยงตรง
2. มีความชัดเจน เข้าใจตรงกันไม่ต้องตีความ
3. มีความเป็นไปได้
4. ครอบคลุมประเด็นปัญหา
5. วัดผลได้
90. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์
(1) เป็นวิธีการ
(2) เจาะจง
(3) เป็นรูปธรรม
(4) สิ่งสุดท้ายที่ต้องการบรรลุ
(5) กล่าวถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 70 เป้าหมาย (Goal) และวัตถุประสงค์ (Objective) มีความแตกต่างกันดังนี้
ตั้งแต่ข้อ 91 – 95. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การระบุปัญหา
(2) การพัฒนาทางเลือกนโยบาย
(3) กําหนดขอบเขตและกรอบของนโยบาย
(4) ศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย
(5) ทดสอบทางเลือก
91. ขั้นตอนศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากสภาพที่แท้จริงหรือข้อมูลภาคสนาม คือขั้นตอนใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ
92. ขั้นตอนการกําหนดว่าจะเริ่มที่ใด สิ้นสุด ณ จุดใด
ตอบ 3 หน้า 13 การกําหนดขอบเขตและกรอบของนโยบาย เป็นการกําหนดว่านโยบายจะมีขอบเขต กว้างไกลแค่ไหน จะเริ่มที่ใด สิ้นสุด ณ จุดใด จะแก้ไขปัญหาในส่วนใดได้บ้าง โดยพิจารณา ความเหมาะสมให้สอดคล้องกับอํานาจหน้าที่และความสามารถของหน่วยงาน ตลอดจน ความสมบูรณ์ของทรัพยากรที่สามารถระดมมาใช้ในการปฏิบัติได้
93. ศึกษาความขัดแย้งด้านผลประโยชน์จากนโยบาย รวมทั้งการยอมรับต่อนโยบาย คือขั้นตอนใด
ตอบ 4 หน้า 13 การศึกษาข้อจํากัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย คือการศึกษาข้อจํากัดด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ข้อมูล
2. ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์จากนโยบาย
3. การรับรู้และการยอมรับต่อนโยบาย
4. สิ่งแวดล้อมทั่วไป
94. การพิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมดของนโยบาย คือขั้นตอนใด
ตอบ 2 หน้า 13, 71 การออกแบบทางเลือกนโยบายหรือการพัฒนาทางเลือกนโยบาย คือ การใช้ความรู้ ประสบการณ์ของผู้กําหนดนโยบายร่วมกับข้อมูลที่รวบรวมและการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ เพื่อกําหนดว่าทางเลือกซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาได้นั้นควรเป็นทางเลือกใดบ้าง โดยพิจารณาว่ามีทางเลือกใดที่สามารถปฏิบัติตามแล้วให้ผลสําเร็จดังวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้บ้าง ซึ่งในขั้นนี้ต้องพิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมดของนโยบายให้ครบถ้วน
95.การตรวจสอบทางความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบต่าง ๆ ที่ใช้ เทคนิควิเคราะห์และการประยุกต์ทั้งหลายคือขั้นตอนใด
ตอบ 5 หน้า 14 การทดสอบทางเลือก คือ การทบทวนความเหมาะสมของขั้นตอนและข้อมูลที่ใช้ ทั้งทางด้านหลักการเหตุผล ทางเลือกของนโยบาย คุณภาพและปริมาณของข้อมูลว่ายังพอเพียง และดีอยู่ ตลอดจนตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบวิธีต่าง ๆ ที่ใช้ เทคนิควิธีวิเคราะห์ และการประยุกต์ทั้งหลายว่าเป็นระบบและสอดคล้องต้องกันอย่างแท้จริง
96. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์นโยบาย
(1) วิเคราะห์ปัญหา
(2) วิเคราะห์เป้าหมาย
(3) วิเคราะห์ทางเลือก
(4) วิเคราะห์วัตถุประสงค์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 16, 72 การวิเคราะห์นโยบาย มีหลายลักษณะดังนี้
1. วิเคราะห์สภาพปัญหาของนโยบาย
2. วิเคราะห์เป้าหมายของนโยบาย
3. วิเคราะห์ทางเลือกของนโยบาย
4. วิเคราะห์แนวปฏิบัติของนโยบาย
5. วิเคราะห์ผลลัพธ์ของนโยบาย
97. การส่งมอบงานตึก 12 ชั้น คณะรัฐศาสตร์ เป็นขั้นตอนใดของนโยบาย
(1) การกําหนดนโยบาย
(2) การวิเคราะห์นโยบาย
(3) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(4) การประเมินผลนโยบาย
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 17, (คําบรรยาย) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอน ของการแปลงวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ในนโยบาย ซึ่งอาจเป็นกฎหมาย คําสั่ง หรือมติของ คณะรัฐมนตรีให้เป็นแผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม โดยจะต้องมีการจัดหา การตระเตรียมวิธีการ ตลอดจนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อดําเนินการให้สําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ ที่กําหนดไว้
98. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(1) มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนมาก
(2) ความต้องการต่อนโยบายหลากหลายและแตกต่างกัน
(3) นโยบายมักจะรวบรัดและมีรายละเอียดน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป
(4) ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 17 – 18, 72 Randall Ripley และ Grace Franklin กล่าวว่า ในการนํานโยบาย ไปปฏิบัตินั้นมีประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติต้องทําความเข้าใจอยู่ 5 ประการ ได้แก่
1. มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนมาก
2. ความต้องการต่อนโยบายหลากหลายและแตกต่างกัน
3. นโยบายมักมีขนาดใหญ่โตขึ้นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป
4. ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย
5. มีปัจจัยจํานวนมากที่ไม่สามารถควบคุมได้
99. เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป นโยบายของรัฐมักจะเป็นอย่างไร
(1) มีขนาดใหญ่โต หน้าเวลา
(2) คงที่เหมือนเดิม
(3) มีขนาดใหญ่โตตามกาลเวลา
(4) มีขนาดเล็กลง
(5) มีขนาดเล็กลงหรือโตขึ้นตามจํานวนประชากร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ
100. ลักษณะของนโยบายแบบใดที่มีโอกาสนําไปปฏิบัติได้สําเร็จสูง
(1) สร้างการเปลี่ยนแปลงมาก
(2) เห็นผลชัดเจน
(3) มีข้อมูลที่ยืนยันได้ชัดเจน
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 18 อาจารย์ศุภชัย ยาวะประภาษ กล่าวว่า ลักษณะของนโยบายที่มีแนวโน้มจะ ประสบความสําเร็จหรือมีโอกาสนําไปปฏิบัติได้สําเร็จสูงมีลักษณะดังนี้
1. เป็นนโยบายที่ไม่เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งต่าง ๆ มากเกินไป
2. เห็นผลได้ชัดเจน
3. มีข้อมูลที่ยืนยันได้ชัดเจน