การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3302 การวางแผนในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1.ข้อใดไม่ใช่วิธีการวิเคราะห์การวางแผน
(1) การควบคุม
(2) การพรรณนา
(3) การประเมินผล
(4) การชี้แนะแนวทาง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 15, (คําบรรยาย) วิธีการวิเคราะห์การวางนโยบายหรือแผน มีดังนี้
1. การพยากรณ์ (Prediction)
2. การพรรณนา (Description)
3. การประเมินผล (Evaluation)
4. การชี้แนะแนวทาง (Prescription)
2. วัตถุประสงค์ชนิดใดของการวางแผนเป็นอุปสรรคต่อความสําเร็จของแผนมากที่สุด
(1) วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนมาก ๆ
(2) วัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกัน
(3) วัตถุประสงค์ที่เข้าใจยาก
(4) วัตถุประสงค์ที่อ่านเข้าใจได้ง่าย
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ลักษณะวัตถุประสงค์ของการวางแผนที่จะช่วยให้การปฏิบัติประสบผลสําเร็จ ได้ดีนั้นจะต้องมีความชัดเจน มีความสอดคล้องกัน และสามารถรับรู้หรือเข้าใจได้ง่าย ดังนั้น ในทางตรงกันข้ามถ้าวัตถุประสงค์ของการวางแผนขาดความชัดเจน มีความขัดแย้งกัน หรือ เข้าใจยากก็จะเป็นอุปสรรคต่อความสําเร็จของแผนได้
3. การกล่าวว่าปัญหาของการวางแผนมีความเป็นอัตนัยสูง หมายความว่าอย่างไร
(1) การรับรู้ปัญหาได้ไม่เท่าเทียมกันในหมู่ประชาชน
(2) ไม่มีวิธีการแก้ไขปัญหาวิธีใดที่จะใช้ได้ในทุกกรณีปัญหา
(3) ปัญหาของนโยบายจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
(4) ปัญหาของนโยบายจะเปลี่ยนแปลงไปตามบุคคลผู้กําหนด
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 9, (คําบรรยาย) ปัญหาที่มีความเป็นอัตนัย (Subjectivity) สูง หมายถึง ในปัญหาหนึ่ง ๆ นั้น ต่างก็มีความหมายในตัวของปัญหาเอง ขึ้นอยู่กับผู้วางแผนว่าจะสามารถรับรู้หรือตระหนักได้ถึง ความเป็นปัญหาหรือไม่ การตระหนักปัญหาได้เร็วหรือรับรู้ปัญหาได้ก่อนจึงเป็นคุณสมบัติที่ดี ของผู้วางแผน เพราะจะทําให้สามารถวางแผนได้ทันการณ์
4. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะแนวคิดในการวิเคราะห์
(1) คําตอบซ้ำ
(2) ต้องใช้หลายวิธี
(3) ต้องใช้หลักเหตุผล
(4) เป็นสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 15 – 16 แนวคิดในการวิเคราะห์นโยบาย มีลักษณะสําคัญดังนี้
1. เป็นสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ประยุกต์
2. ใช้วิธีการหลายวิธี
3. เป็นการใช้เหตุผล
4. มุ่งผลิตและแปรสภาพข่าวสาร
5. ข่าวสารที่ได้สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในสภาพความเป็นจริงทางการเมือง
5. การจัดทําโครงการจะต้องสอดคล้องกับเรื่องใดมากที่สุด
(1) งานและกิจกรรม
(2) นโยบายและแผน
(3) โครงงาน
(4) กิจกรรม
(5) ผิดทุกข้อ ๆ
ตอบ 2 หน้า 45, (คําบรรยาย) ในนโยบายหนึ่ง ๆ จะประกอบไปด้วยแผนหลายแผน เพื่อทําให้ ตัวนโยบายมีความชัดเจนขึ้น และในแต่ละแผนก็จะประกอบไปด้วยโครงการหลายโครงการ เพื่อทําให้ตัวแผนมีความชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้นในการจัดทํานโยบาย แผน และโครงการ ต่าง ๆ จะต้องกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายให้ชัดเจนสอดคล้องกันเป็นลําดับ ซึ่งจะ ส่งผลให้การปฏิบัติตามนโยบาย แผน และโครงการ มีความเป็นเอกภาพและมีโอกาสที่จะ ประสบผลสําเร็จมากขึ้น
6.การวางแผนที่ดีควรใช้หลักการใดในการวางแผน
(1) หลักการที่เป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา
(2) หลักการที่เกิดจากกรณีศึกษา
(3) หลักการนําหลักสหวิทยาการมาใช้
(4) หลักการที่เป็นที่นิยมใช้ในหมู่นักรัฐศาสตร์
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 27, (คําบรรยาย) การวางแผนเป็นการใช้สติปัญญาเพื่อกําหนดแนวทางสําหรับ การดําเนินงานขององค์การในอนาคต ดังนั้นการวางแผนต้องอาศัยลักษณะหลายด้าน ประกอบกัน เช่น ต้องใช้ทั้งจินตนาการที่กว้างไกล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ดี ต้องมี ความรู้ในหลักวิชาการหลาย ๆ สาขาหรือนําหลักสหวิทยาการมาใช้ ต้องรู้จักใช้เทคนิค ทฤษฎีการพยากรณ์ให้เหมาะสม เป็นต้น จึงจะช่วยให้การวางแผนสมบูรณ์ได้มากขึ้น
7. ใครคือผู้มีหน้าที่กําหนดการวางแผนน้อยที่สุด
(1) ปลัดกระทรวง
(2) อธิบดี
(3) ผู้อํานวยการกองวิชาการ
(4) ผู้อํานวยการสํานัก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอน 1 หน้า 27 (คําบรรยาย) โดยปกติหน้าที่ในการวางแผนในระดับองค์การนั้นจะถือเป็นหน้าที่ ของนักบริหารระดับกลาง (Middle Level Administrator) เช่น อธิบดี ผู้อํานวยการสํานัก ผู้อํานวยการกอง ส่วนนักบริหารระดับสูง เช่น ปลัดกระทรวง จะทําหน้าที่ในการวางนโยบาย ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ในการกําหนดการวางแผนน้อยที่สุดก็คือ ปลัดกระทรวง นั่นเอง
8. การวางแผนในรูปใดที่มีลักษณะบังคับใช้ในทางปฏิบัติที่น้อยที่สุด
(1) กฎหมาย
(2) แผนงาน
(3) ประกาศ
(4) คําแถลงนโยบาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบหรือแนะแนวทางให้ปฏิบัติ จึงมีลักษณะบังคับใช้ในทางปฏิบัติน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับ กฎหมาย คําแถลงนโยบาย และแผนงาน
9.การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) ของแผนจะคุมอย่างไร
(1) คุมให้เสร็จตรงตามเวลา
(2) คุมให้เกิดผลงานตรงตามวัตถุประสงค์ของแผน
(3) คุมให้บุคลากรทุกคนทํางานอย่างเต็มความสามารถ
(4) คุมให้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่ตั้งไว้
(5) คุมให้ใกล้ชิดทุกขั้นตอนของการปฏิบัติ
ตอบ 2 หน้า 44, (คําบรรยาย) การควบคุมแผน/โครงการโดยทั่วไปมักจะกระทําใน 3 ด้าน คือ
1. ควบคุมเวลา (Tirne Control) คือ ควบคุมให้เสร็จตรงตามเวลาที่ได้วางแผน/โครงการไว้ โดยใช้เทคนิค PERT
2. ควบคุมค่าใช้จ่าย (Cost Control) เป็นการควบคุมรายจ่ายของแผน/โครงการให้อยู่ใน กรอบงบประมาณที่ตั้งไว้ โดยใช้เทคนิค PPBS
3. ควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน (Quality Control) เป็นการควบคุมให้เกิดผลงานตรงตาม วัตถุประสงค์ของแผน/โครงการอย่างครบถ้วนและเคร่งครัด เทคนิคที่ใช้อาจกระทําได้ โดยการกําหนดมาตรฐาน (Standard) ของงาน
10. เมื่อเวลาเปลี่ยนไปการวางแผนโครงการควรมีลักษณะอย่างไร
(1) ลดขนาดลง
(2) เหมือนเดิม
(3) มีขนาดใหญ่โตตามกาลเวลา
(4) ใหญ่โตล้าหน้าเวลา
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 18, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของนโยบาย แผน หรือโครงการนั้นมักจะมีขนาดใหญ่โตขึ้น ตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป กล่าวคือ เมื่อองค์การมีอายุยาวนานขึ้น มีหน้าที่มากขึ้น มีสมาชิก เพิ่มขึ้น ก็จะมีความต้องการต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จึงทําให้นโยบาย แผน หรือโครงการมีขนาดใหญ่ขึ้น เรื่อย ๆ และมีความซับซ้อนมากขึ้นด้วย
11. การวางแผนและการประเมินผลควรเป็นหน้าที่ของใคร
(1) ผู้บริหารโครงการ
(2) ผู้ร่างโครงการ
(3) ผู้บริหารองค์กรของโครงการ
(4) ผู้ที่ได้รับผลกระทบ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้บริหารโครงการ (Project Manager) มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการ วางแผนงาน มอบหมายงาน ควบคุม ติดตามประเมินผลและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในโครงการ รวมถึงเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการดําเนินงานในโครงการ
12. ข้อใดเป็นนิยามของการประเมินผลที่ดี
(1) การวัดความสําเร็จของผลการดําเนินการ
(2) การเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจริงจากการดําเนินการกับผลที่คาดหวังไว้
(3) การวิเคราะห์ระดับความสําเร็จของการปฏิบัติตามแผน
(4) การหาความพึงพอใจจากผลของการปฏิบัติตามแผน
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 45, (คําบรรยาย) การประเมินผลแผน/โครงการ หมายถึง การเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจริง (Exact Results) จากการดําเนินการกับผลที่คาดว่าจะได้รับ (Expected Results) จากแผน/ โครงการ หรือหมายถึงการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับเป้าหมายหลังสิ้นสุดการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่ ดังนั้นการประเมินผลแผน/โครงการจึงทําให้ทราบว่าแผน/โครงการที่ได้ดําเนินการไปแล้วนั้นประสบความสําเร็จมากน้อยเพียงไร
13. การวางแผนโครงการอาจจะสําเร็จหรือล้มเหลวส่วนมากแล้วขึ้นอยู่กับขั้นตอนใดมากเป็นพิเศษ
(1) ขั้นร่างโครงการ
(2) ขั้นประเมินโครงการ
(3) ขั้นจัดการโครงการ
(4) ขั้นประเมินผล
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) โดยทั่วไปแล้วการวางแผนโครงการจะประสบความสําเร็จหรือล้มเหลวนั้นจะขึ้นอยู่กับขั้นตอนการวางโครงการหรือการร่างโครงการเป็นสําคัญ กล่าวคือ ถ้าวางโครงการ ได้ดีมีรายละเอียดครอบคลุม มีการเก็บข้อมูลอย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ย่อมส่งผลให้ โครงการมีประสิทธิภาพ การนําไปปฏิบัติ ตลอดจนการประเมินผลสามารถทําได้โดยง่าย และโอกาสที่โครงการนั้นจะประสบความสําเร็จก็จะมีสูง
14. โครงการให้ประโยชน์อย่างมากที่สุดกับงานชนิดใด
(1) งานพัฒนา
(2) งานประจําวัน
(3) งานที่ไม่มีการแข่งขัน
(4) งานทั่วไป
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เนื่องจากโครงการมีลักษณะเป็นงานชั่วคราวที่มุ่งดําเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิด ผลิตผลตามแนวทางที่แผนได้วางไว้ ดังนั้นโครงการจึงให้ประโยชน์อย่างมากที่สุดกับงานพัฒนาเพราะงานพัฒนาเป็นงานที่เน้นให้มีการเปลี่ยนแปลงตามที่กําหนดไว้ในแผนนั่นเอง
15. กระบวนการใดมิใช่กระบวนการในการประเมินผลโครงการ
(1) การเก็บรวบรวมข้อมูล
(2) การวางแผนการประเมินผล
(3) การกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินผล
(4) การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูล
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) กระบวนการในการประเมินผลโครงการ มีดังนี้
1. การกําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินผลโครงการ
2. การพิจารณารายละเอียดในตัวโครงการ โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ของโครงการ
3. การคัดเลือกเครื่องมือหรือเกณฑ์ที่จะใช้ในการประเมินผลโครงการ
4. การเก็บ วิเคราะห์ และแปลความหมายของข้อมูล
5. การสรุปผลการประเมินผลโครงการและทํารายงานการประเมินผล
16. ข้อใดมิใช่เกณฑ์ในการประเมินผลของการวางแผน
(1) ด้านประสิทธิภาพ
(2) ด้านคุณภาพ
(3) การมีส่วนร่วมในโครงการ
(4) การบรรลุผลตามเป้าหมาย
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 49, (คําบรรยาย) เกณฑ์ในการประเมินผลการวางแผนโครงการ อาจพิจารณาได้จาก ปัจจัย 5 ประการ ดังนี้
1. ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency)
2. ด้านคุณภาพ (Quality)
3. ด้านเศรษฐกิจและการเงิน (Economic and Financial)
4. ด้านการบรรลุผลตามเป้าหมาย (Goat Attainment)
5. ด้านความสําคัญของโครงการ (Significance)
17. เมื่อเสร็จสิ้นการวางแผนโครงการแล้ว โครงการจะเข้าสู่กระบวนการใดต่อไป
(1) การวางโครงการ
(2) การบริหารโครงการ
(3) การวิเคราะห์โครงการ
(4) การศึกษาความเป็นไปได้
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 36 กระบวนการของโครงการ ประกอบด้วย 4 กระบวนการ ดังนี้
1. การวางแผนโครงการ (Program Planning)
2. การวิเคราะห์และประเมินโครงการ (Program Analysis and Appraisal)
3. การนําโครงการไปปฏิบัติ (Program Implementation)
4. การติดตามประเมินผลโครงการ (Program Evaluation)
18. การประเมินผลของการวางแผนควรพิจารณาจากสิ่งใด
(1) ทําให้รู้ความสําเร็จของโครงการ
(2) เพื่อความมั่นใจของนักบริหาร
(3) เพื่อกําหนดทิศทางของโครงการได้
(4) เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารตัดสินใจต่อไป
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ
19. ความเป็นธรรมของการวางแผนสามารถพิจารณาจากอะไร
(1) ความพึงพอใจของประชาชนโดยส่วนรวม
(2) การกระจายรายได้สู่ประชาชน
(3) ความเท่าเทียมกันของผลประโยชน์
(4) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแผน
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพิจารณาด้านความเป็นธรรมของนโยบาย แผน หรือโครงการนั้น อาจพิจารณา หรือวัดได้จากประโยชน์ของนโยบาย แผน หรือโครงการว่าประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้รับประโยชน์ จากนโยบาย แผน หรือโครงการอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ เพราะนโยบาย แผน หรือโครงการ ที่ดีนั้นจะต้องคํานึงถึงประโยชน์ของสาธารณชนส่วนใหญ่เป็นหลัก
20. การศึกษาปัญหาต้องอาศัยองค์ประกอบอะไรของผู้วางแผน
(1) ความอดทน
(2) ความพากเพียร
(3) ภาวะผู้นํา
(4) ความคิดริเริ่ม
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 11 – 12, (คําบรรยาย) การศึกษาปัญหาเป็นการศึกษาวิเคราะห์เพื่อกําหนดปัญหา ที่ถูกต้อง และศึกษาค่านิยมที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับปัญหาเพื่อกําหนดแนวทางของแผน ที่เหมาะสมกับความเป็นจริง ดังนั้นการศึกษาปัญหาจึงจําเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบ หลายประการของผู้วางแผน เช่น ความรู้ ความชํานาญ ประสบการณ์ และความคิดริเริ่ม จึงจะทําให้การวางแผนสมบูรณ์ได้
21. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการวางแผน คืออะไร
(1) อัตราการว่างงาน
(2) อัตราเงินเฟ้อ
(3) ความหนาแน่นของประชากร
(4) สภาวะโลกร้อน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 12, (คําบรรยาย) สิ่งแวดล้อมในการวางนโยบายหรือแผน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้ (Controlled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถควบคุม หรือกําหนดได้อย่างแน่นอน เช่น จํานวนคนที่จะเข้ามาบริหารนโยบาย เทคโนโลยีที่ใช้ ในนโยบาย งบประมาณ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถ ควบคุมหรือกําหนดได้อย่างชัดเจน เช่น เศรษฐกิจ การเมือง ความเชื่อ ค่านิยมของคน ในสังคม ภาวะทางธรรมชาติ สภาวะโลกร้อน แผ่นดินไหว อัตราการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ ความหนาแน่นของประชากร เป็นต้น
22. ปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจนจะมีผลอย่างไรต่อการวางแผน
(1) ผลประโยชน์เป็นที่ถกเถียงได้
(2) มีประชาชนจํานวนมากได้รับประโยชน์
(3) ผลที่คาดว่าจะเกิดมีความเป็นรูปธรรม
(4) มีแนวทางดําเนินการให้เลือกได้หลายวิธี
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 10, (คําบรรยาย) ปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจน (Well-Structured Problem) คือ ปัญหา ที่มีผู้เกี่ยวข้องจํานวนน้อย และมีทางออกในการแก้ไขปัญหาเพียงไม่กี่ทางเลือก ซึ่งแต่ละทางเลือก สามารถมองเห็นผลประโยชน์ของทางเลือกได้ชัดเจนไม่เป็นที่ถกเถียงได้แต่อย่างใด ดังนั้น ในการวางแผนที่ปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจนจึงสามารถคาดผลที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม
23. หน่วยงานที่ร่วมกันวางแผนควรมีลักษณะอย่างไร
(1) มีจุดตัดสินใจน้อย
(2) มีความสัมพันธ์กันมาแต่เดิม
(3) ได้รับอิสระในการตัดสินใจ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 หน้า 26 (คําบรรยาย) หน่วยงานที่ร่วมกันวางแผนต้องมีโครงสร้างเหมาะสมกับแผนงาน ที่จะวาง ซึ่งต้องเหมาะสมทั้งบรรยากาศและกลไก และต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีอิสระในการตัดสินใจและมีส่วนร่วมในการกําหนดอนาคตขององค์การได้อย่างเต็มที่
24. ข้อใดเรียงลําดับที่ถูกต้อง
(1) นโยบาย แผน โครงการ โครงงาน
(2) แผน นโยบาย โครงการ โครงงาน
(3) โครงการ โครงงาน แผน นโยบาย
(4) โครงงาน โครงการ นโยบาย แผน
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รูปแบบของกิจกรรมที่ใช้ในการบริหารโดยทั่วไปมี 5 รูปแบบ ซึ่งสามารถ เรียงลําดับได้ดังนี้
1. นโยบาย (Policy)
2. แผนหรือแผนงาน (Plan)
3. โครงการ (Program)
4. โครงงาน (Project)
5. งาน (Job)
25. การระบุปัญหาเป็นการอธิบายถึงปัญหาเพื่อแสดงให้เห็นอะไรต่อการนําไปใช้เพื่อการวางแผน
(1) แหล่งกําเนิดของปัญหา
(2) ความจริงของปัญหา
(3) จุดเด่นของปัญหา
(4) ความไม่มีอยู่จริงของปัญหา
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 12, (คําบรรยาย) การระบุปัญหา คือ การศึกษาว่าอะไรคือปัญหาหรือความจริงของปัญหา คืออะไร โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริงหรือข้อมูลภาคสนามหรือข้อมูลปฐมภูมิ หรือข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ หรือข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อที่จะทราบปัญหาและจําแนกว่าปัญหาใด เร่งด่วนกว่า มีสาเหตุจากอะไร และประชาชนรับรู้เพียงใด ดังนั้นการระบุปัญหาจึงเป็นขั้นตอน ที่มีความสําคัญที่สุดในกระบวนการกําหนดนโยบาย เพราะการระบุปัญหาที่ถูกต้องจะนําไปสู่ การกําหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป
26. สภาพแวดล้อมของการวางแผนที่ไม่สามารถควบคุมได้ คือ
(1) เงินเดือน
(2) เวลาทํางาน
(3) เศรษฐกิจ
(4) กําลังการผลิต
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
27. ข้อใดคือวิธีการวัดประสิทธิผลของการวางแผน
(1) แผนการรายงาน
(2) แผนตรวจงาน
(3) แผนประเมินผลงาน
(4) แบบวิธีทดลอง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การประเมินผลโดยการวัดประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ของ การวางนโยบายหรือแผน คือ การประเมินผลโดยการพิจารณาว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการดําเนินการตามนโยบายหรือแผนนั้นตรงกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
1. แบบธรรมดาหรือแบบที่ไม่ใช่วิธีการทดลอง
2. แบบวิธีกึ่งทดลอง
3. แบบวิธีทดลอง
28. การวางแผนเชิงกลยุทธ์มักจะใช้การวิเคราะห์แบบ SWOT ซึ่ง SWOT หมายถึงอะไร
(1) หน่วยงานในการวางนโยบายที่มีชื่อเสียง
(2) องค์กรที่มักจะถูกอ้างอิงเสมอในการวางนโยบาย
(3) เทคนิคที่ใช้ในการประเมินผลความสําเร็จ
(4) เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การวางแผนเชิงกลยุทธ์มักจะใช้การวิเคราะห์แบบ SWOT โดย SWOT นั้น ถือเป็นเทคนิคสําคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การ ซึ่งประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) ขององค์การ ซึ่งเป็น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การ
2. การวิเคราะห์โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Treats) ขององค์การ ซึ่งเป็น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ
29. การกําหนดเป้าหมายของนโยบายควรมีลักษณะแบบใด
(1) เที่ยงตรง
(2) เปิดช่องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตีความได้
(3) ครอบคลุมประเด็นปัญหา
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 70 การกําหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบายควรมีลักษณะดังนี้
1. มีความเที่ยงตรง
2. มีความชัดเจน เข้าใจตรงกันไม่ต้องตีความ
3. มีความเป็นไปได้
4. ครอบคลุมประเด็นปัญหา
5. วัดผลได้
30. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับความจําเป็นในการวางแผน
(1) เพื่อสร้างความยอมรับการดําเนินงาน
(2) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของนโยบาย
(3) เพื่อเรียนรู้ถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
(4) เพื่อประหยัดงบประมาณ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความจําเป็นในการวางแผน มีดังนี้
1. เพื่อสร้างความยอมรับการดําเนินงาน
2. เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาและความผิดพลาด หรือลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานในอนาคต
3. เพื่อเรียนรู้ถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
4. เพื่อให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เวลา เป็นต้น
5. เพื่อให้การปฏิบัติงานรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมติดตามการปฏิบัติงานตาม นโยบายได้ง่าย ฯลฯ
31. ข้อใดเป็นสิ่งที่ทําให้บุคลากรรู้รายละเอียดของแต่ละคนว่ามีบทบาทหน้าที่เป็นอย่างไร
(1) ระบบสายงาน
(2) ความยืดหยุ่น
(3) การจัดแบ่งลักษณะพิเศษ
(4) การรวมศูนย์อํานาจ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย ) ระบบสายงาน (Configuration) เป็นโครงสร้างที่ทําให้รู้รายละเอียดของแต่ละคน ว่ามีบทบาทหน้าที่และการสังกัดส่วนงานเป็นอย่างไร มีความเชื่อมโยงกับผู้บังคับบัญชาและ ส่วนงานต่าง ๆ อย่างไร ระบบสายงานนี้สามารถแสดงให้เห็นได้ด้วยแผนภูมิขององค์การ
32. สิ่งที่องค์การคาดหวังให้เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้าคือข้อใด
(1) ภารกิจ
(2) วิสัยทัศน์
(3) เป้าหมาย
(4) กลยุทธ์ธุรกิจ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) วิสัยทัศน์ (Vision) คือ สิ่งที่องค์การต้องการจะเป็น หรือเป็นสิ่งที่องค์การคาดหวัง ให้เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า เช่น วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ เป็นสถาบันหลัก ที่มุ่งขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เป็นต้น
33. ข้อใดเป็นการทําให้มีกฎระเบียบ และคําสั่งที่ออกมานั้นมีผลบังคับใช้จึงต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
(1) การรวมศูนย์อํานาจ
(2) ระบบสายงาน
(3) การทําให้เป็นทางการ
(4) การจัดแบ่งลักษณะพิเศษ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การทําให้เป็นทางการ (Formalization) คือ การทําให้กฎระเบียบ และคําสั่ง ที่ออกมานั้นมีผลบังคับใช้โดยการเขียนออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
34. การร่วมมือกันในการจัดวางโครงการต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าว่าจะต้องทําอะไรบ้างและทําอย่างไร เพื่อให้งาน บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ หมายถึงข้อใด
(1) การวางแผน
(2) การจัดองค์กร
(3) การจัดคนเข้าทํางาน
(4) การควบคุม
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การวางแผน (Planning) หมายถึง การร่วมมือกันในการจัดวางโครงการต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าว่าจะต้องทําอะไรบ้างและทําอย่างไร เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
35. ข้อใดเป็นผลลัพธ์ที่คาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากการวางแผน
(1) เป้าหมาย
(2) ภารกิจ
(3) วิสัยทัศน์
(4) วัตถุประสงค์
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เป้าหมาย (Goal) เป็นผลลัพธ์ (Outcomes) ที่คาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้น ในอนาคตจากการวางนโยบาย แผน หรือโครงการ
36. ข้อใดไม่ใช่ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะอย่างไม่เป็นทางการ
(1) พรรคการเมือง
(2) นักวิชาการ
(3) กลุ่มผลประโยชน์
(4) สื่อมวลชน
(5) รัฐสภา
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะอย่างเป็นทางการ เช่น รัฐสภา รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ศาล เป็นต้น
2. ผู้กําหนดนโยบายสาธารณะอย่างไม่เป็นทางการ เช่น พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มนักวิชาการ สื่อมวลชน เป็นต้น
37.Bazi จําแนกกิจกรรมการนําโครงการไปปฏิบัติเป็น 3 กระบวนการ ข้อใดไม่ใช่กระบวนการทั้ง 3 นั้น
(1) เขียนโครงการอีกครั้ง
(2) วิเคราะห์โครงการอีกครั้ง
(3) เริ่มต้นการทํางาน
(4) กําหนดรูปแบบการทํางาน
(5) ผิดทุกข้อ ตอบ 1 หน้า 42 – 43 Bazzi ได้จําแนกกิจกรรมการนําโครงการไปปฏิบัติออกเป็น 3 กระบวนการ ได้แก่
1. การวิเคราะห์โครงการอีกครั้งหนึ่ง (Project Reappraisal)
2. การเริ่มต้นการทํางาน (Action Initiation)
3. การกําหนดรูปแบบการทํางาน
38. จุดมุ่งหมายของการประเมินผลโครงการคืออะไร
(1) เพื่อทราบถึงความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานตามโครงการ
(2) เพื่อปรับปรุงงาน
(3) เพื่อสนับสนุน ขยายโครงการ หรือยกเลิกโครงการ
(4) เพื่อศึกษาทางเลือก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของการประเมินผลโครงการ มีดังนี้
1. เพื่อทราบถึงความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานตามโครงการ
2. เพื่อปรับปรุงงาน
3. เพื่อสนับสนุน ขยายโครงการ หรือยกเลิกโครงการ
4. เพื่อศึกษาทางเลือก
39. ความหมายของการประเมินผลโครงการ หมายถึง
(1) การติดตามผลการปฏิบัติงาน
(2) การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับเป้าหมายหลังสิ้นสุดการปฏิบัติงาน
(3) การรายงานความก้าวหน้า หรือความล้มเหลวของโครงการ
(4) การประเมินสมรรถนะของผู้รับผิดชอบโครงการ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ
40. ขั้นตอนแรกในการวางแผนโครงการในการปฏิบัติงานคืออะไร
(1) ขั้นการกําหนดโครงการ
(2) ขั้นการจัดทํารายละเอียดของโครงการ
(3) ขั้นการดําเนินงานตามโครงการ
(4) การติดตามประเมินผลโครงการ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขั้นตอนของการวางแผนโครงการ มีดังนี้
1. การรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทําให้รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ และสามารถประเมินสถานการณ์ที่แท้จริงได้อย่างถูกต้อง
2. การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ
3. การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย คือ การระบุสภาพของผลลัพธ์ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น
4. การเสนอเพื่อพิจารณา จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ
5. การคิดค้นทางเลือก เป็นขั้นตอนที่ต้องทํารายละเอียด 6W 2H
6. การวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือก โดยการใช้ข้อมูลจากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการมาพิจารณา
7. การเสนอเพื่อพิจารณาอีกรอบหนึ่ง จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ
8. การจัดทําข้อเสนอโครงการ
41. องค์ประกอบของแผนปฏิบัติการมีอะไรบ้าง
(1) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กิจกรรม ขั้นตอนการปฏิบัติ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ
(2) คํานํา วัตถุประสงค์ ขั้นตอน ตารางการทํางาน งบประมาณ
(3) การกําหนดปัญหา วัตถุประสงค์ นิยามศัพท์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
(4) การกําหนดปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขตของโครงการ ระยะเวลาที่ใช้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) แผนปฏิบัติการหรือแผนการดําเนินงาน (Operation Plan) เป็นการวางแผนที่ กําหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้น ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ซึ่งถ่ายทอดมาจากแผนกลยุทธ์ องค์ประกอบ ของแผนปฏิบัติการจะประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กิจกรรม ขั้นตอนการปฏิบัติ งบประมาณ และผู้รับผิดชอบในการดําเนินงาน โดยแผนปฏิบัติการนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แผนประจํา (Standing Plan) และแผนใช้เฉพาะครั้ง (Single-Use Plan)
42. แผนปฏิบัติการได้แก่อะไรบ้าง
(1) แผนประจําวัน และแผนตามระยะเวลา
(2) แผนปฏิบัติการประจําวัน และแผนฉุกเฉิน
(3) แผนประจํา และแผนใช้เฉพาะครั้ง
(4) แผนตามระยะเวลา และแผนปฏิบัติการรายเดือน
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ
43. แผนปฏิบัติการแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
(1) 1 ประเภท
(2) 2 ประเภท
(3) 3 ประเภท
(4) 4 ประเภท
(5) 5 ประเภท
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ
44. แนวทางกว้าง ๆ ไม่เจาะจง ยืดหยุ่นสูง เป็นลักษณะของอะไร
(1) วัตถุประสงค์
(2) โครงการ
(3) แผน
(4) นโยบาย
(5) ยุทธวิธี
ตอบ 4 หน้า 1, 60 ลักษณะทั่วไปของนโยบาย มีดังนี้
1. เป็นแนวทางกว้าง ๆ ในการปฏิบัติงาน คือ ไม่เจาะจงและยืดหยุ่นสูง
2. มีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจเป็นวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดที่สําคัญมาก ๆ เช่น เป็นประโยชน์ขององค์การ เป็นต้น
3. เป็นข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิบัติ คือ นโยบายจะเป็นเครื่องชี้นําให้มีการปฏิบัติตาม นโยบายต้องเสนอแนะแนวทางที่สามารถปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ด้วย
45. แผนโครงการ หมายถึง
(1) แผนงานย่อยที่ประกอบด้วยกิจกรรมหลายกิจกรรม ระบุรายละเอียดชัดเจน
(2) แผนงานเพื่อการแก้ไขปัญหาสังคม
(3) แผนงานเพื่อการแก้ไขปัญหาองค์การ
(4) แผนงานเพื่อการกําหนดผู้รับผิดชอบ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) แผนโครงการ หมายถึง แผนงานย่อยที่ประกอบด้วยกิจกรรมหลายกิจกรรมระบุรายละเอียดชัดเจน
46. การวางแผนแบบใดเป็นการวางแผนที่กําหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้น ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
(1) แผนปฏิบัติการ
(2) การวางแผนโครงการ
(3) การวางแผนฉุกเฉิน
(4) การวางแผนงานด่วน
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ
47. การวางแผนแบบใดเป็นการวางแผนครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดขององค์การ
(1) การวางแผนประจําปี
(2) การวางแผนการประเมินผล
(3) การวางแผนโครงการ
(4) การวางแผนกลยุทธ์
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) เป็นการวางแผนที่ครอบคลุม กิจกรรมทั้งหมดขององค์การ ซึ่งมักจะเป็นแผนระยะยาว 5 – 10 ปี โดยแผนกลยุทธ์นี้ จะต้องสอดคล้องกับแผนระดับนโยบาย
48. การแบ่งระดับของการวางแผนตามลักษณะของการบริหารงานในองค์การได้แก่อะไรบ้าง
(1) การวางแผนนโยบาย การวางแผนกําหนดเป้าหมาย และการประเมินผล
(2) การวางแผนกําหนดเป้าหมาย การวางแผนกําหนดวิธีการ และการวางแผนกระบวนการ
(3) การวางแผนนโยบาย การวางแผนกลยุทธ์ และแผนการดําเนินงาน
(4) การวางแผนกําหนดกระบวนการ การวางแผนกําหนดทรัพยากร และการวางแผนเพื่อนําไปปฏิบัติ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การแบ่งระดับของการวางแผนตามลักษณะของการบริหารงานในองค์การ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. การวางแผนนโยบาย (Policy Planning)
2. การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)
3. การวางแผนปฏิบัติการหรือแผนการดําเนินงาน (Operation Planning)
49. การแบ่งระดับของการวางแผนตามลักษณะของการบริหารงานในองค์การ สามารถแบ่งออกเป็นกี่ระดับ
(1) 2 ระดับ
(2) 3 ระดับ
(3) 4 ระดับ
(4) 5 ระดับ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ
50.การวางแผน หมายถึงอะไร
(1) การกําหนดจุดหมายหรือเป้าหมาย
(2) วิธีการและกระบวนการ
(3) ทรัพยากรและงบประมาณ
(4) การนําแผนไปปฏิบัติ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการวางแผน มีดังนี้
1. การกําหนดจุดหมายหรือเป้าหมาย
2. วิธีการและกระบวนการ
3. ทรัพยากรและงบประมาณ
4. การนําแผนไปปฏิบัติ
5. การประเมินผลแผน
51. ข้อใดไม่ใช่รูปร่างของนโยบายสาธารณะ
(1) เป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ
(2) มติ ครม
(3) แผน โครงการ
(4) ประกาศของธนาคารกรุงเทพ
(5) ผิดทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ 4 หน้า 2 นโยบายมีรูปร่างและรูปแบบหลายลักษณะตามการใช้ประโยชน์ของนโยบาย ดังนี้
1. มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่ง
2. มีรูปเป็นแผนงาน โครงการ
3. มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ เพื่อแจ้งข่าวสารหรือเชิญชวน ซึ่งมีลักษณะบังคับน้อยที่สุด
4. มีรูปเป็นสัญญา
5. มีรูปเป็นอื่น ๆ หรืออาจไม่มีรูปร่างให้เห็นชัดเจน เช่น คําแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรี เป็นต้น
52. การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบายได้มีจุดเริ่มต้นที่ใด
(1) เมื่อ Max Weber ได้ศึกษาระบบราชการ
(2) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
(3) เมื่อ Mayo ได้ทดลองค้นคว้าที่เรียกว่า Hawthorne Study
(4) เมื่อมีกลุ่มนักทฤษฎีสมัยใหม่
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 6 – 7 การศึกษาแนววิเคราะห์นโยบาย ถือเป็นแนวทางที่นักรัฐประศาสนศาสตร์ นิยมใช้กันมาก โดยเป็นการศึกษาที่เน้นการวิเคราะห์โดยทั่วไป (ในภาพรวม) มิใช่เป็น การศึกษารายกรณี และมีเทคนิควิธีการศึกษาที่ใช้หลักสหวิทยาการหรือหลักการของวิชาการหลายสาขามาศึกษาวิเคราะห์ ซึ่งการศึกษาตามแนวนี้ได้มีจุดเริ่มต้นระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่ม
53. ข้อมูลที่ต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก คือ
(1) ข้อมูลที่ยังไม่ได้กรอง
(2) ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts)
(3) ข้อมูลที่เป็นความเชื่อ (Values)
(4) ข้อมูลทุกประเภท
(5) ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการของดิน
ตอบ 3 หน้า 11 การระบุสาเหตุของปัญหาในกระบวนการกําหนดนโยบายต้องอาศัย “ข้อมูล” เป็นสําคัญ โดยข้อมูลในการระบุสาเหตุของปัญหาต้องประกอบด้วย
1. ข้อมูลที่เป็นความจริง (Facts) เป็นข้อมูลที่มีลักษณะคงที่ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ลักษณะของดินฟ้าอากาศ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น
2. ข้อมูลที่เป็นความเชื่อหรือค่านิยม (Values) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับความยึดมั่น ความเชื่อถือ ของประชาชน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการอ้างอิงให้มาก
54. ผู้มีหน้าที่หลักในการกําหนดนโยบายสาธารณะ
(1) ฝ่ายการเมือง
(2) ข้าราชการประจํา
(3) เอกชน
(4) นักธุรกิจ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ฝ่ายการเมืองมีหน้าที่หลักในการกําหนดนโยบายสาธารณะ ส่วนข้าราชการประจํา มีหน้าที่ในการนํานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติให้บรรลุผลสําเร็จตามเป้าหมายที่กําหนดไว้
55. ข้อใดเป็นคํากล่าวที่ถูกต้องในเรื่องประเภทของแผน
(1) แผนระยะยาว 5 ปีขึ้นไป
(2) แผนระยะสั้น 3 ปี
(3) แผนระยะปานกลาง 6 ปี
(4) แผนระยะสั้น 4 ปี
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 23 (คําบรรยาย) การจําแนกประเภทของแผนหรือแผนงาน (Plan) โดยใช้เกณฑ์ ระยะเวลา (Time Scan) อาจจําแนกได้ดังนี้
1. แผนระยะสั้น เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 – 2 ปี ซึ่งสามารถวางแผนได้ง่าย เนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ
2. แผนระยะปานกลาง เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 2 – 5 ปี ซึ่งนิยมใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศ
3. แผนระยะยาว เป็นแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
56.TP. หมายถึง
(1) เวลาที่ผ่านไป
(2) Target Planning
(3) Team Planning
(4) การทํางานเป็นทีม
(5) ทฤษฎีการวางแผน
ตอบ 3 หน้า 33 – 34, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบทีมวางแผน (Team Planning : TP.) คือ การวางแผนเป็นทีมที่เน้นหลักการมีส่วนร่วมและการระดมสมอง (Brain Storm) ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ดังนี้
1. ร่วมกันกําหนดเป้าหมาย (Targets) ของหน่วยงานให้ชัดเจนตรงกัน
2. ร่วมกันกําหนดอนาคต (Scenario) หรือวิสัยทัศน์ (Vision) ที่ต้องการโดยคิดล่วงหน้า 3 – 5 ปี
3. ร่วมกันหาสิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวางหรือข้อจํากัด (Obstructions) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
4. ร่วมกันกําหนดแผน (Plan) หรือกลยุทธ์ (Strategies) โดยใช้การวิเคราะห์ SWOT เข้าช่วย
5. ร่วมกันกําหนดกลวิธี (Tactics) หรือโครงการให้สอดคล้องกับแผนที่วางไว้
6. ร่วมกันจัดทําแผนปฏิบัติ (Action Plan) ของโครงการ โดยเน้นให้เกิดผลภายใน 90 วัน หรือที่เรียกว่า 90 Day Implementation Plan
57. วิธีการวางแผนทั้งหลายจําแนกเป็นขั้นตอนในการวางแผนได้ 2 ระยะ คือ การวางแผนกลยุทธ์กับอะไร
(1) การวางแผนรวม
(2) การวางแผนบริหาร
(3) การวางแผนดําเนินการ
(4) การวางแผนสังคม
(5) การวางแผนพัฒนา
ตอบ 3 หน้า 37, (คําบรรยาย) กระบวนการวางแผน/โครงการ อาจจําแนกได้เป็น 2 ระยะ คือ
1. การวางแผน/โครงการกลยุทธ์ (Strategic Planning) มีเป้าหมายที่สําคัญที่สุด คือ การกําหนดกรอบเค้าโครง ทิศทางและแนวทางสําคัญของแผน/โครงการอย่างกว้าง หรือคร่าว ๆ ซึ่งประกอบด้วยงานที่ต้องทําหลายอย่าง เช่น การคัดเลือกข้อมูล วัตถุประสงค์ ภารกิจ และแนวทางกลยุทธ์ รวมทั้งการคาดคะเนแนวโน้ม เพื่อนําไปสู่ การวิเคราะห์หาทางเลือกหรือแนวทางที่เหมาะสมที่สุด (The Best Alternative)
2. การวางแผน/โครงการดําเนินการ (Operational Planning) เป็นการนําเอาทางเลือกที่ เหมาะสมที่สุดมากําหนดรายละเอียดในวิธีการปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติจําเป็นต้องรู้ให้ครบถ้วน
58. การส่งมอบงานตึกการกีฬาแห่งประเทศไทย
(1) Policy Formulation
(2) Policy Analysis
(3) Policy Evaluation
(4) Policy Implementation
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 17, (คําบรรยาย) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนของ การแปลงวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ในนโยบาย ซึ่งอาจเป็นกฎหมาย คําสั่ง หรือมติของคณะรัฐมนตรี ให้เป็นแผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม โดยจะต้องมีการจัดหา/การตระเตรียม วิธีการ ตลอดจนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อดําเนินการให้สําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้
59. สถาบันที่มีหน้าที่ริเริ่มกําหนดนโยบายและมีอํานาจอิทธิพลต่อนโยบายมาก คือ
(1) สถาบันทหาร
(2) สถาบันศาล
(3) สถาบันทางรัฐสภา
(4) สถาบันการปกครอง
(5) สถาบันการปกครองท้องถิ่น
ตอบ 4 หน้า 6, (คําบรรยาย) ตัวแบบสถาบัน (Institution Model) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตของโครงสร้างสถาบันการปกครอง กล่าวคือ นโยบายใด ๆ ก็ตามจะได้ชื่อว่าเป็น นโยบายสาธารณะก็ต่อเมื่อได้รับการรับรองโดยสถาบันแล้วเท่านั้น ซึ่งนโยบายก็มักจะเป็นไป ตามที่สถาบันการปกครองกําหนดเองหรือให้ประโยชน์กับสถาบันการปกครอง ตัวอย่างสถาบัน การปกครอง ได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ (รัฐสภา) สถาบันบริหาร (นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี) สถาบันราชการ (หน่วยงานของรัฐ) สถาบันตุลาการ (ศาล) สถาบันการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น
60. คํากล่าวที่ว่า “การวางแผน คือ Set of Temporally Linked Actions” เป็นของใคร
(1) Jose Villamil
(2) ดร.อมร รักษาสัตย์
(3) Albert Waterston
(4) William Dunn
(5) Gulick and Urwick
ตอบ 1 หน้า 25 Jose Vittamil กล่าวว่า “การวางแผนเป็นการกระทําที่เป็นกระบวนการ (Set of Temporally Linked Actions) ที่นําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ (Desired end State) โดยการ ตัดสินใจแต่ละครั้งนั้นมุ่งให้เกิดการรวมชาติหรือการเปลี่ยนแปลง โดยมีการผิดพลาดน้อยที่สุด”
ตั้งแต่ข้อ 61 – 65. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Lasswell
(2) Yehezkel Dror
(3) David Easton
(4) Well-Structured
(5) Uncontrolled Environment
61. สิ่งแวดล้อมของนโยบายซึ่งควบคุมไม่ได้
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
62. โครงสร้างปัญหาที่มองได้ชัดเจน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ
63. นโยบายต้องเป็นศาสตร์ที่นําไปสู่การปฏิบัติได้จริง
ตอบ 1 หน้า 7 Harrold Lasswell ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” เห็นว่า นโยบายไม่ใช่เพียงต้องการความเป็นศาสตร์เท่านั้น แต่ต้องสามารถเป็นศาสตร์ที่นําไปสู่การปฏิบัติได้จริง โดยหนทางสู่ความเป็นศาสตร์นั้นต้องเริ่มต้นด้วยการมีนโยบายสาธารณะที่ดี ซึ่งต้องพัฒนามาจากระบวนการตัดสินใจที่ถูกต้องเหมาะสม มีหลักการ เต็มเปี่ยมด้วยเหตุผล และยึดมั่นในหลักการของวิชาการในเรื่องนั้น ๆ
64. เสนอตัวแบบประโยชน์สูงสุด
ตอบ 2 หน้า 7 Yehezket Dror นักวิชาการแนวนโยบายศาสตร์ ได้เสนอตัวแบบที่เรียกว่า “ตัวแบบประโยชน์สูงสุด” (Optimal Model)
65. ผู้คิดค้นและเสนอ System Model
ตอบ 3 หน้า 7, (คําบรรยาย) David Easton เป็นผู้คิดค้นและเสนอ “ตัวแบบหรือทฤษฎีระบบ” (System Model Theory) ซึ่งตัวแบบนี้เชื่อว่า นโยบายสาธารณะเป็นผลของปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งแวดล้อมภายนอกกับระบบการเมือง โดยตัวระบบการเมืองจะทําหน้าที่เป็น ตัวกระทําของระบบ (Conversion Process) ขณะที่สิ่งแวดล้อมนอกระบบการเมือง เช่น ข้อเรียกร้อง/ความต้องการ หรือการสนับสนุนของประชาชนจะเป็นปัจจัยนําเข้าของระบบ (Inputs) และนโยบายสาธารณะจะเป็นผลผลิต (Outputs) ของระบบ ดังนั้นประสิทธิภาพ ของนโยบายสาธารณะจึงขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมภายนอกและระบบการเมือง
ตั้งแต่ข้อ 66. – 70. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
หากสรุปว่ากระบวนการของแผนประกอบด้วยกระบวนการ ได้แก่
(1) กําหนดปัญหา
(2) ตั้งเป้าหมาย
(3) ศึกษาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม
(4) ลงมือวางแผน
(5) ประเมินผล
66. กระบวนการใดทําให้เกิดผลงานที่ประชาชนใช้ประโยชน์ได้
ตอบ ไม่มีข้อถูก (คําบรรยาย) อาจสรุปได้ว่ากระบวนการของแผน ประกอบด้วย 7 กระบวนการ ดังนี้
1. กําหนดปัญหา
2. การตั้งเป้าหมาย/วัตถุประสงค์
3. การศึกษาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม
4. ลงมือวางแผน เป็นการลงมือเขียนแผนให้ถูกต้อง โดยหน้าที่ของผู้วางแผนจะสิ้นสุดที่กระบวนการนี้
5. การประเมินแผน เป็นกระบวนการที่เราจะได้รับแผนที่สมบูรณ์ โดยการศึกษาวิเคราะห์แผนว่ามีความสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะนําไป ปฏิบัติได้จริงหรือไม่ จากนั้นจึงน่าเสนอแผนให้ผู้มีอํานาจพิจารณาอนุมัติ เพื่อนําแผนไปปฏิบัติ
6. การนําแผนไปปฏิบัติ เป็นกระบวนการที่ทําให้เกิดผลงานที่ประชาชนใช้ประโยชน์ได้
7. การประเมินผล (Evaluation) เป็นกระบวนการที่ทําให้ทราบถึงผลสําเร็จและเก็บเป็น ข้อมูลสะสมเพื่อการวางแผนในโอกาสต่อ ๆ ไป
67. กระบวนการใดต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญหลายสาขามากที่สุด
ตอบ 4 หน้า 27 งานวางแผนเป็นงานระดับกลุ่ม ดังนั้นการลงมือวางแผนจึงต้องประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ สาขามาร่วมกันสร้างแผน โดยมีนักวางแผนเป็นผู้ประสานให้การวางแผน ไปสู่จุดหมายร่วมกันขององค์การได้
68. กระบวนการใดทําให้ได้รับข้อมูลสะสมเพื่อการวางแผนในโอกาสต่อ ๆ ไป
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ
69. ขั้นตอนใดที่เราจะได้รับแผนที่สมบูรณ์
ตอบ ไม่มีข้อถูก ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ
70. หน้าที่ของผู้วางแผนจะสิ้นสุดที่กระบวนการใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 71 – 75. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Authorization
(2) Formality
(3) Specificity
(4) Completeness
(5) Efficiency
71. แผนต้องถือหลักประสิทธิภาพ
ตอบ 5 หน้า 21 – 23 ลักษณะของแผน มีดังนี้
1. Efficiency คือ แผนต้องถือหลักประสิทธิภาพ
2. Specificity คือ การวางแผนต้องมีความชัดเจน ไม่คลุมเครือ
3. Completeness คือ ทรัพยากรในการวางแผนต้องพร้อม
4. Formality คือ กระบวนการของแผนต้องใช้เป็นทางการเป็นหลัก
5. Authorization คือ การกระจายอํานาจให้หน่วยวางแผนมีอิสระในการวางแผน ฯลฯ
72. ทรัพยากรในการวางแผนต้องพร้อม
ตอบ 4 : ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ
73. การกระจายอํานาจให้หน่วยวางแผนมีอิสระ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ
74. กระบวนการของแผนต้องใช้เป็นทางการเป็นหลัก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ
75. การวางแผนต้องไม่คลุมเครือ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 76 – 80. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Elite Model
(2) Group Model
(3) Institution Model
(4) System Model
(5) Game Theory
76. เป็นผลผลิตของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร เป็นต้น
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ
77. นโยบายสาธารณะที่กําหนดขึ้นมาตามความต้องการของผู้มีอํานาจ
ตอบ 1 หน้า 3 – 4 ตัวแบบผู้นํา (Elite Model) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะเกิดขึ้นจากความต้องการ ของผู้นําหรือผู้มีอํานาจ หรือเป็นแนวทางที่สะท้อนค่านิยมที่เลือกสรรแล้วของผู้นํา โดยไม่จําเป็นต้องสนใจว่าสาธารณชนจะสนใจหรือพึงพอใจหรือไม่ ซึ่งนโยบายที่ออกมาก็มักจะให้ประโยชน์แก่ผู้นําและผู้ใกล้ชิดเอง ดังนั้นสถานการณ์ที่จะเกิดนโยบายตามตัวแบบนี้ได้จึงต้องเป็นสถานการณ์ ที่ผู้นํามีอํานาจสูงมากในทางการเมืองหรือทางสังคม เช่น การปกครองในระบอบสมบูรณาญา สิทธิราชย์ หรือในภาวะการปฏิวัติรัฐประหาร เป็นต้น
78. ในการกําหนดนโยบายรู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตัวแบบทฤษฎีเกม (Game Theory) เชื่อว่า การกําหนดนโยบายเป็นการตัดสินใจ ภายใต้ภาวะของการต่อสู้และแข่งขัน โดยมีแนวคิดพื้นฐานว่า “รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”จึงเป็นตัวแบบที่เหมาะสมกับการกําหนดนโยบายในภาวะสงคราม
79. แสวงหาลู่ทางในการประนีประนอมเพื่อทําให้เกิดดุลยภาพของการแข่งขัน
ตอบ 2 หน้า 4 – 5, 66 – 67, (คําบรรยาย) ตัวแบบกลุ่ม (Group Model) เชื่อว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตที่เกิดจากดุลยภาพของการแข่งขันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งแต่ละกลุ่ม ต่างดิ้นรนแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิอํานาจในการเป็นผู้คุมกลไกนโยบายของรัฐ ดังนั้น รัฐหรือระบบการเมืองจึงมีหน้าที่ 4 ประการ ได้แก่
1. สร้างกติกาการแข่งขันและเป็นกรรมการหรือผู้ควบคุมการแข่งขันให้เกิดความยุติธรรม
2. แสวงหาลู่ทางในการประนีประนอมเพื่อทําให้เกิดดุลยภาพของการแข่งขัน
3. จัดสรรผลประโยชน์หรือกําหนดนโยบาย
4. นํานโยบายไปปฏิบัติ
80. ประสิทธิภาพของนโยบายสาธารณะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ
81. ข้อใดมิใช่ภารกิจที่สําคัญในการประเมินโครงการ
(1) การวิเคราะห์ความอยู่รอดของโครงการ
(2) การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการ
(3) การคาดคะเนสิ่งแวดล้อมในอนาคตของโครงการ
(4) การทําความเข้าใจกับตัวโครงการให้ถ่องแท้
(5) การวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นว่าโครงการเหมาะสมที่สุดหรือยัง
ตอบ 1 หน้า 39 – 40, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์และประเมินโครงการ มีความหมาย 2 ลักษณะ คือ
1. เป็นการศึกษาถึงโอกาสความสําเร็จในการดําเนินโครงการ โดยการวิเคราะห์และประเมินหาความเชื่อมั่นว่าตัวโครงการที่ร่างเสร็จแล้วนั้นมีความสมบูรณ์เหมาะสมที่จะนําไปปฏิบัติ ได้จริงหรือไม่ เช่น การวิเคราะห์หรือการคาดคะเนสิ่งแวดล้อมในอนาคตของโครงการ การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการ เป็นต้น
2. เป็นการศึกษาทําความเข้าใจกับตัวโครงการให้ถ่องแท้ โดยการวิเคราะห์จําแนกแยกแยะ เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยและผลที่คาดว่าจะได้รับ หากมีการนําโครงการไปดําเนินการหรือนําไปปฏิบัติจริง พร้อมกับศึกษาว่าผลที่คาดว่าจะได้รับหรือผลที่จะเกิดขึ้นนั้นเหมาะสม มีคุณค่า มีประโยชน์ สมควรแก่การลงทุนดําเนินโครงการต่อไปหรือไม่
82. ข้อมูลที่นับว่ามีอิทธิพลหรือเป็นกลไกสําคัญในการวางแผน ได้แก่ ข้อมูลทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษาอิทธิพลของธรรมชาติ และอะไร
(1) กลุ่มผลประโยชน์
(2) พรรคการเมือง
(3) ศาสนาและความเชื่อ
(4) กลไกราคา
(5) ความร่วมมือระหว่างองค์การที่เกี่ยวข้อง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อมูลที่นับว่ามีอิทธิพลหรือเป็นกลไกสําคัญในการวางแผน ได้แก่ ข้อมูลทาง ด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา อิทธิพลของธรรมชาติ ศาสนาและความเชื่อ เป็นต้น
83.การวางแผนแบบรายโครงการถือเป็นการวางแผนในกระสวน (Pattern) ชนิดใด
(1) Bottom-up Process
(2) Top-down Process
(3) Comprehensive Planning
(4) Aggregative Planning
(5) Global Planning
ตอน 1 หน้า 28 (คําบรรยาย) การวางแผนแบบรายโครงการ (Program-by-Program or Project-by- Project Planning) เป็นเทคนิคการวางแผนพัฒนารูปแบบแรก โดยเป็นการวางแผนในกระสวน
ที่เรียกว่า “Bottom-up Process” กล่าวคือ รัฐบาลจะเป็นผู้กําหนดให้หน่วยปฏิบัติการใน ระดับล่างร่างโครงการของตนเสนอขึ้นมา โดยที่ไม่ได้มีการกําหนดรายรับรายจ่ายก่อนว่าเป็นเท่าไร แต่จะมากําหนดหลังจากหน่วยงานย่อยต่าง ๆ เสนอโครงการขึ้นมาแล้ว เพื่อรวบรวมโครงการ เหล่านั้นรวมเป็นแผนเดียวกัน (แผนรวมของชาติ) ซึ่งวิธีการวางแผนในรูปแบบนี้จะไม่กล่าวถึง บทบาทของภาคเอกชนไว้เลย และใช้หลักการมีส่วนร่วมน้อยที่สุด แต่จะเหมาะสําหรับการวางแผน ในภาวะขาดแคลนข้อมูลหรือขาดความชํานาญในการวางแผน เช่น การวางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 เพราะหน่วยงานวางแผนยังมีข้อมูลไม่เพียงพอและเป็นการวางแผนที่สะดวกที่สุด การวางแผนจัดทําไร่นาสวนผสม เป็นต้น
84. การวางแผนอาจทําได้ 3 วิธี วิธีที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ที่หน่วยวางแผนเริ่มมีการสะสมข้อมูลได้พอประมาณ คือวิธีใด
(1) Project-by-Project Planning
(2) Integrated Public Investment Planning
(3) Comprehensive Planning
(4) Aggregative Planning
(5) Global Planning
ตอบ 2 หน้า 28, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบประสานการลงทุนภาคสาธารณะ (Integrated Public Investment Planning) เป็นการวางแผนที่เริ่มต้นด้วยการประมาณการรายได้หรือรายรับ ของประเทศก่อน โดยคํานึงถึงการลงทุนของภาครัฐเป็นหลักว่าการลงทุนไปนั้นจะมีรายรับเท่าไร แล้วจึงไปกําหนดรายจ่ายทีหลัง โดยที่การลงทุนนั้นจะต้องคํานึงถึงภาวะเศรษฐกิจทั้งปัจจัย ภายในและภายนอกประเทศด้วย ซึ่งการวางแผนในรูปแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง (ความไม่พอดี) ของการวางแผนแบบรายโครงการ (Program-by-Program or Project-by- Project Planning) เช่น การกําหนดงบประมาณของแต่ละโครงการที่มักกําหนดสูงเกินกว่า ความเป็นจริง ความขัดแย้งกันของโครงการทั้งหลายโดยเฉพาะในเรื่องของความไม่ลงตัวของวงเงิน งบประมาณ รวมถึงความไม่มีเอกภาพและการขาดทิศทางที่ชัดเจนในการกําหนดเป้าหมายของแผน ซึ่งเป็นการวางแผนที่เหมาะสมในสถานการณ์ที่หน่วยงานเริ่มมีการสะสมข้อมูลได้พอประมาณแล้ว
85. กล่าวโดยสรุปขั้นตอนในการวางแผนอาจจําแนกได้ 3 ขั้นตอนสําคัญ ได้แก่ การเก็บรวบรวมประมวลข้อมูล การลงมือวางแผน และอะไร
(1) การวิเคราะห์ข้อมูล
(2) การปฏิบัติตามแผน
(3) การประเมินผลแผน
(4) การขออนุมัติใช้แผน
(5) การตระเตรียมที่จะวางแผน
ตอบ 5 หน้า 29 – 30 ขั้นตอนในการวางแผนอาจจําแนกได้ 3 ขั้นตอนสําคัญ ดังนี้
1. การตระเตรียมการที่จะวางแผน เป็นการกําหนดเค้าโครงกลยุทธ์ของแผน โดยการกําหนด วัตถุประสงค์และแนวทางของแผน
2. การศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ความถูกต้อง ของงานในขั้นตระเตรียมการ
3. การลงมือวางแผน เป็นการเขียนแผนให้ถูกต้องตามรูปแบบที่ควรจะเป็นของแผน
86. ปัญหาชนิดใดที่ต้องใช้ทักษะในการมองการณ์ไกลเป็นพิเศษ จึงจะวางแผนได้
(1) ปัญหาแก้ไข
(2) ปัญหาพัฒนา
(3) ปัญหาป้องกัน
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 25, (คําบรรยาย) ปัญหาของแผน อาจจําแนกได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. ปัญหาแก้ไข คือ ปัญหาที่ปรากฏผลเสียหายให้เห็นอยู่แล้ว จึงต้องรีบวางแผนหาทางแก้ไข ซึ่งปัญหาชนิดนี้มักจะแก้ไขได้ง่ายที่สุด
2. ปัญหาป้องกัน คือ ปัญหาที่ยังไม่ปรากฏผลเสียหายขึ้นในขณะวางแผน แต่สามารถรู้ได้ว่าหากไม่รีบวางแผนแก้ไขก็จะปรากฏผลเสียหายในอนาคตได้
3.ปัญหาพัฒนา คือ ปัญหาที่ไม่ปรากฏผลเสียหายทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่ต้องมี การวางแผนเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งนักวางแผนต้องใช้ความสามารถ ในการมองการณ์ไกลมากเป็นพิเศษ
87.แผนที่มีลักษณะ Ease of Control จะแสดงให้เห็นได้อย่างไร
(1) เห็นได้จากการผ่านขั้นตอนของแผนอย่างครบถ้วนไม่ข้ามขั้นตอน
(2) เห็นได้จากการกําหนดที่มีเหตุผลและเป็นจริงในทางปฏิบัติ
(3) เห็นได้จากการมีมาตรฐานสําหรับการปฏิบัติอย่างชัดเจน
(4) เห็นได้จากการจัดทีมผู้วางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ
(5) เห็นได้จากการจัดทีมผู้ปฏิบัติตามแผนอย่างมีประสิทธิภาพ
ตอบ 3 หน้า 23 (คําบรรยาย) แผนที่มีลักษณะง่ายในการควบคุม (Ease of Control) หมายถึง แผน ที่มีมาตรฐานสําหรับการวัดและการปฏิบัติอย่างชัดเจน และโดยทั่วไปหากเป็นแผนที่มีลักษณะ ง่ายในการดําเนินการ (Ease of Implementation) ก็จะมีลักษณะง่ายในการควบคุมด้วย
88. การวางแผนแบบใดที่เป็นวิธีที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน
(1) ทุกแบบของการวางแผน
(2) Integrated Public Investment Planning
(3) Comprehensive Planning
(4) Project-by-Project Planning
(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก
ตอบ 3 หน้า 29, (คําบรรยาย) การวางแผนแบบสมบูรณ์แบบหรือประสมประสานหรือแผนรวม (Comprehensive Planning) เป็นการวางแผนที่กล่าวถึงเป้าหมายที่ต้องการก่อนเป็นอันดับแรก โดยเริ่มจากการสร้างแบบจําลองการเจริญเติบโต (Growth Model) ของแผนก่อน ซึ่งเป็น การคํานวณอัตราการเจริญเติบโตที่คาดหวังไว้ในรูปของการบริโภค เงินออม การลงทุน การนําเข้า-ส่งออก การจ้างงาน ความต้องการ (Demand) และความสามารถในการตอบสนอง (Supply) ของภาครัฐและภาคเอกชนรวมกัน โดยการวางแผนในรูปแบบนี้จะมีการวางแผน ทั้งแบบ Forward และ Backward และมีการกล่าวถึงบทบาทของภาคเอกชนไว้อย่างครบถ้วน จึงนับว่าเป็นวิธีที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งเหมาะสมสําหรับการวางแผนภาครัฐด้านเศรษฐกิจ และในสถานการณ์ที่หน่วยงานวางแผนมีความชํานาญแล้ว
89. หน่วยงานใดมีหน้าที่กําหนดนโยบายสาธารณะและวางแผนพัฒนาประเทศไทยในปัจจุบัน
(1) กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท
(2) กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม
(3) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
(4) สํานักงาน ก.พ.
(5) สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นหน่วยงาน ที่จัดตั้งขึ้นตาม ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มีหน้าที่หลัก ในการกําหนดนโยบายสาธารณะและวางแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศของไทยในปัจจุบันหรือที่เรียกว่า “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ”
90. นักวิชาการที่กล่าวว่า การวางแผนจะมีลักษณะร่วมกันหลายประการ เช่น ต้องมองล่วงหน้า มีการเลือกสรรต้องเตรียมวิธีการกระทํา คือใคร
(1) เนรู
(2) วิลลามิล
(3) วอเตอร์สตัน
(4) ดรอ
(5) เลอ เบรอตัน
ตอบ 3 หน้า 25 Albert Waterston กล่าวว่า “การวางแผนทุกชนิดจะต้องมีลักษณะร่วมกัน หลายประการ เช่น ต้องประกอบด้วยการมองล่วงหน้า (Looking Ahead) ต้องมีทางเลือก (Making Choices) และหากเป็นไปได้ต้องจัดเตรียมวิธีการกระทํา (Actions) ที่แน่นอน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรืออย่างน้อยที่สุดต้องกําหนดข้อจํากัด (Setting Limits)
ที่อาจจะเกิดจากการกระทําดังกล่าวไว้ด้วย”
91. ใครกล่าวว่านโยบายคือ “สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา
(1) Thomas R. Dye
(2) David Easton
(3) Woodrow Wilson
(4) William Dunn
(5) ดร.อมร รักษาสัตย์
ตอบ 1 หน้า 1 Thomas R. Dye กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวหรือกิจกรรมหรือสิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา และเกี่ยวข้องกับเหตุผลว่าทําไมจึงเลือกเช่นนั้น”
92. ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของนโยบายสาธารณะในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ที่แตกต่างจากแผนอื่น
(1) เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยแยกจากกันให้ชัดเจน
(2) เน้นการกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สิน
(3) เน้นการพัฒนาจิตใจ วัฒนธรรม และสังคม
(4) เน้นการพัฒนาการบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
(5) เน้นการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและเศรษฐกิจพอเพียง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) เป็นการวางแผนที่ยังคงน้อมนํา และประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมี ส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน โดยให้ความสําคัญกับการกําหนดทิศทางการพัฒนา ที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
93. ข้อใดเป็นความจริงเกี่ยวกับแผนระยะยาว
(1) มีระยะเวลามากกว่า 3 ปีขึ้นไป
(2) วางแผนได้ง่ายเนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ
(3) มีระยะเวลาไม่จํากัด
(4) ความเชื่อมั่นจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน
(5) ใช้แก้ปัญหาได้เพียงผิวเผิน
ตอบ 4 หน้า 23 (คําบรรยาย) แผนระยะยาว คือ แผนที่มีระยะเวลา 5 ปีขึ้นไป เป็นแผนที่มี ความเชื่อมั่นได้น้อยและจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน กล่าวคือ ความเชื่อมั่นจะลดต่ําลง ตามระยะเวลาที่ยาวออกไป แต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป (แผนนั้นเริ่มเห็นผล คือ สามารถ แก้ปัญหาได้ ความเชื่อมั่นที่มีต่อแผนก็จะเพิ่มมากขึ้น) และแผนระยะยาวนับว่าเป็นแผนที่ แก้ปัญหาได้ลึกซึ้งที่สุด แต่เห็นผลช้า (ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ)
94. ความเป็นธรรมของนโยบายวัดได้อย่างไร
(1) วัดจากความพึงพอใจของประชาชนโดยส่วนรวม
(2) วัดจากการกระจายรายได้ของนโยบายสู่ประชาชน
(3) วัดจากประโยชน์ที่มีต่อประชาชนกลุ่มต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน
(4) วัดจากประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบาย
(5) วัดจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกระบวนการของนโยบายให้มากที่สุด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ
95. แผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น จัดเป็นแผนประเภทใด
(1) แผนรายปี
(2) แผนงบประมาณ
(3) แผนการเงิน
(4) แผนโครงการ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สําหรับแผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจําทุกปีนั้น อาจเรียกได้ว่า เป็นแผนประเภทแผนรายปี แผนงบประมาณ แผนการเงิน แผนระยะสั้น หรือแผนโครงการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจําแนก
96. นโยบายตามตัวแบบสถาบันจะให้ประโยชน์กับใครมากที่สุด
(1) ให้ประโยชน์กับสังคม
(2) ให้คํานึงถึงรัฐสภา
(3) ประโยชน์โดยทั่วไป
(4) ผู้นําและผู้ใกล้ชิด
(5) ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ
97.Controlled Environment หมายถึง
(1) ภาวะทางธรรมชาติ
(2) ค่านิยมของคนภาคใต้ของประเทศไทย
(3) เทคโนโลยีที่ใช้ในนโยบาย
(4) ความเชื่อของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
98. ในแนวคิดการศึกษานโยบายศาสตร์ในแนววิเคราะห์นโยบายนิยมใช้ในนักวิชาการกลุ่มใด
(1) นักรัฐศาสตร์
(2) นักสังคมวิทยา
(3) นักรัฐประศาสนศาสตร์
(4) นักวิทยาศาสตร์
(5) นักเศรษฐศาสตร์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประอบ
99. ในเรื่องเกี่ยวกับรูปร่างและรูปแบบของนโยบาย ข้อความในข้อใดกล่าวผิด
(1) มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ
(2) มีรูปเป็นแบบแผน โครงการ
(3) มีรูปเป็นประกาศ แจ้งความ
(4) มีรูปแบบเป็นสัญญา
(5) เป็นคําบอกกล่าวที่เสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นไป
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ
100. เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป นโยบายของรัฐจะเป็นอย่างไร
(1) มีขนาดเล็กลง
(2) คงที่เหมือนเดิม
(3) มีขนาดใหญ่โตตามกาลเวลา
(4) มีขนาดใหญ่โตหน้าเวลา
(5) มีขนาดจะเล็กลงหรือจะโตขึ้นเป็นไปตามจํานวนประชากร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ