การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3301 นโยบายสาธารณะ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.Pressman & Wildavsky กล่าวถึง การนําไปปฏิบัติ ทําให้สําเร็จ เติมเต็ม ผลลัพธ์ ทําให้สมบูรณ์ ให้เกิดผลสําเร็จนั้นต้องกําหนดเรื่องอะไร
(1) กําหนดภารกิจหลักของภาครัฐ ภารกิจรอง
(2) กําหนดโดยฝ่ายบริหารเป็นผู้ดําเนินงานต่าง ๆ ไปพร้อมกับนํานโยบายไปปฏิบัติ
(3) กําหนดยุทธศาสตร์ที่สามารถเป็นกรอบในการดําเนินงานได้ในระยะยาว
(4) กําหนดรูปแบบนโยบายไปพร้อมกับวิธีการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(5) กําหนดการจัดหาวิธีในการดําเนินการ
ตอบ 4 หน้า 142 – 143 เพรสแมนและวิลด์ฟสกี (Pressman & Wildavsky) กล่าวว่า การนํานโยบาย ไปปฏิบัติ คือ การนําไปปฏิบัติ ทําให้สําเร็จ เติมเต็ม ผลลัพธ์ ทําให้สมบูรณ์ และการนํานโยบาย ไปปฏิบัติให้เกิดผลสําเร็จนั้นต้องกําหนดรูปแบบของนโยบายไปพร้อมกับวิธีการนํานโยบายไปปฏิบัติ

Advertisement

2. กล่าวโดยสรุป การนํานโยบายไปปฏิบัติ หมายถึง
(1) การตัดสินใจของรัฐในการกําหนดแนวทางดําเนินนโยบาย
(2) กระบวนการในทางปฏิบัติที่จะทําให้นโยบายใด ๆ บรรลุวัตถุประสงค์
(3) การดําเนินงานของฝ่ายบริหารเพื่อบริการสาธารณะแก่ประชาชน
(4) รัฐจะกําหนดนโยบาย ดําเนินงานต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้
(5) ยุทธศาสตร์การทํางานของรัฐที่จะบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน
ตอบ 2 หน้า 143 กล่าวโดยสรุป การนํานโยบายไปปฏิบัติ หมายถึง กระบวนการในทางปฏิบัติ ที่จะทําให้นโยบายใด ๆ บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กําหนดไว้

3.ในทรรศนะของวิลเลียมส์ เขามักเน้นความหมายประการที่สอง ข้อใดถูกต้อง
(1) กระบวนการขององค์การที่ต่อเนื่องเป็นพลวัต
(2) การดําเนินการเพื่อให้นโยบายสําเร็จลุล่วง
(3) กระบวนการในทางปฏิบัติที่จะทําให้นโยบายใด ๆ บรรลุวัตถุประสงค์
(4) การจัดหาหรือตระเตรียมวิธีการ และการดําเนินการ
(5) มีการวางแผนและเตรียมงานให้พร้อม
ตอบ 2 หน้า 143 วิลเลียมส์ ชี้ว่า กิริยาที่เรียกว่า นําไปปฏิบัติ (Implement) มีความหมายหลักอยู่ 2 ประการ คือ
1. การจัดหาหรือตระเตรียมวิธีการทั้งหลายทั้งปวงที่จะทําให้ดําเนินการ สําเร็จลุล่วงให้พรักพร้อม
2. การดําเนินการให้สําเร็จลุล่วง ซึ่งในทรรศนะของวิลเลียมส์ เขามักเน้นความหมายประการที่สองมากกว่าความหมายแรก นั่นคือ ในทรรศนะของวิลเลียมส์ การนํานโยบายไปปฏิบัติ คือ การดําเนินการเพื่อให้นโยบายสําเร็จลุล่วงซึ่งเป็นความหมายที่ คล้ายคลึงกับความหมายที่เพรสแมนและวิลดัฟสกี และซาบาเตียร์และแม่ชมาเนียนยึดถือนั่นเอง

4.ความหมายการนํานโยบายไปปฏิบัติของวิลเลียมส์มีความคล้ายคลึงกับนักวิชาการท่านใด
(1) พอล เอ. ซาบาเตียร์
(2) เพรสแมนและวิลดัฟสกี
(3) ยูยีน บาร์แดช
(4) โทมัส บี. สมิท
(5) มิลบรีย์ แมคลัฟลิน
ตอบ 1. 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

5.การศึกษา “การนํานโยบายไปปฏิบัติ” นักวิชาการรุ่นบุกเบิกคือท่านใด
(1) พอล เอ. ซาบาเตียร์
(2) เพรสแมนและวิลด์ฟสกี
(3) ยูยีน บาร์แดช
(4) โทมัส บี. สมิท
(5) มิลบรีย์ แมคลัฟลิน
ตอบ 2 หน้า 144 – 145 เพรสแมน (Pressman) และวิลด์ฟสกี (Wildavsky) นักวิชาการรุ่นบุกเบิก
ของการศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติ ได้เสนอผลงานการวิจัยการนํานโยบายไปปฏิบัติภายใต้ ชื่อ “Implementation” เมื่อปี ค.ศ. 1973 ซึ่งผลงานฉบับนี้ถือว่าเป็นก้าวหน้าสําคัญชิ้นหนึ่ง ที่ทําให้เกิดวิชาการนํานโยบายไปปฏิบัติขึ้นในการศึกษานโยบายสาธารณะ

6.แนวคิดของแรนดาล ริปเลย์ และเกรซ แฟรงกลิน กล่าวถึงลักษณะของการนํานโยบายไปปฏิบัติ ข้อใดถูก (1) มีปัจจัยหลายประการที่สําคัญมากและอยู่นอกเหนือการควบคุม
(2) มีผู้เกี่ยวข้องสําคัญ ๆ เป็นชนชั้นนํา
(3) นโยบายเป็นของรัฐและเอกชนร่วมมือกัน
(4) รัฐและเอกชนมีส่วนรับผิดชอบ
(5) หน่วยงานในทุกระดับ หลายระดับที่กําหนดนโยบาย
ตอบ 1 หน้า 144 แรนดาล ริปเลย์ และเกรซ แฟรงกลิน (Randell Ripley and Grace Franklin) ได้พิจารณาลักษณะของการนํานโยบายไปปฏิบัติว่ามีลักษณะสําคัญ 5 ประการ คือ
1. มีผู้เกี่ยวข้องสําคัญ ๆ มากมาย
2. ผู้เกี่ยวข้องล้วนมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลายและมักแตกต่างกัน
3. นโยบายและโครงการของรัฐบาลมักขยายใหญ่โตขึ้นทุกวัน
4. หน่วยงานในหลายระดับ จากหลายกระทรวง ทบวง กรม มีส่วนร่วมในการดําเนินกิจการ
5. มีปัจจัยหลายประการที่สําคัญมากและอยู่นอกเหนือการควบคุม

7.ผลงานเรื่อง “Implementation (1973)” ท่านใดเป็นผู้แต่ง
(1) มิลบรีย์ แมคลัฟลิน (Milbrey McLaughlin)
(2) ยูยืน บาร์แดช (Eugene Bardach)
(3) เพรสแมน (Pressman) และวิลดัฟสกี (Wildavsky)
(4) พอล เอ. ซาบาเตียร์ (Paul A. Sabatier)
(5) ดาเนียล เอ. แมชมาเนียน (Daniel A. Mazmanian)
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

8.กฎหมาย Stull Act ของ Brizendine ศึกษาเกี่ยวกับ ข้อใดถูกต้อง
(1) แบ่งการศึกษาเป็น 4 ระยะ
(2) เป็นการศึกษาระดับปริญญาโท
(3) ศึกษาเมื่อปี ค.ศ. 1988
(4) ศึกษาชนกลุ่มน้อยในนครโอคแลนด์
(5) กําหนดมาตรการในการปฏิรูปโรงเรียนรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตอบ 5 หน้า 145 – 146 อีมิลี ไซมี โลว์ ไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Lowe Brizendine) ได้เสนอ วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเรื่อง “California Educational Policy Implementation : The Case of Stutt Act” เมื่อปี ค.ศ. 1986 ซึ่งเป็นการศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติของ รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเน้นเรื่องกฎหมาย “Stull Act” ซึ่งเป็นกฎหมายที่กําหนดมาตรการ ในการปฏิรูปโรงเรียนรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นที่การประเมินครูเพื่อให้เกิด ความรับผิดชอบต่อความสําเร็จทางการศึกษาของโรงเรียน

9.ข้อใดกล่าวถึงวิธีการศึกษาของอาคม ใจแก้ว เกี่ยวกับการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(1) ความชัดเจนของนโยบายเป็นเป้าหมายแรกของนโยบาย
(2) การจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอและเหมาะสม
(3) ปัจจัยด้านนโยบายมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านองค์การ
(4) แรงจูงใจของผู้ปฏิบัตินโยบาย คือ ค่าตอบแทน เงินเดือน และสวัสดิการ
(5) การแสวงหาผลประโยชน์ภายในองค์การ
ตอบ 3 หน้า 148 – 149 อาคม ใจแก้ว ได้ศึกษาเรื่อง “การนํานโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ : ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสําเร็จ” ซึ่งพบว่า ในการทดสอบ เชิงปริมาณตัวแบบที่ 2 ปัจจัยด้านข้าราชการและปัจจัยด้านงบประมาณมีความสัมพันธ์ทางตรงกับความสําเร็จของการนํานโยบายไปปฏิบัติเชิงทัศนคติ ส่วนปัจจัยด้านนโยบาย มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านองค์การ และปัจจัยด้านข้าราชการ ปัจจัยด้านการใช้ข้อมูลและกระบวนการติดต่อไม่มีความสัมพันธ์กับความสําเร็จเชิงทัศนคติ

10.Van Meter & Van Horn เชื่อมโยงระหว่างนโยบายและผลปฏิบัติการ ได้แก่อะไรบ้าง
(1) การตัดสินใจเลือกนโยบาย ตัวเชื่อม และการประเมินผล
(2) นโยบาย ตัวเชื่อม และสมรรถนะ
(3) ปัจจัยนําเข้า ตัวเชื่อม และนโยบาย
(4) สมรรถนะ ตัวเชื่อม และผลสําเร็จ
(5) กําหนด ปฏิบัติ และการประเมินผลนโยบาย
ตอบ 2 หน้า 152 แวน มิเตอร์ และแวน ฮอร์น (Van Meter & Van Horn) ได้กําหนดถึงผลต่อ พฤติกรรมในการนํานโยบายไปปฏิบัติว่าต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติ ซึ่งจะเชื่อมโยงระหว่าง นโยบายและผลปฏิบัติการ ได้แก่ 1. นโยบาย (Policy)
2. ตัวเชื่อม (Linkage)
3. สมรรถนะในการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Performance)

11. การศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติเหมือนเป็น………….ระหว่างการกําหนดนโยบายและการประเมินผลนโยบาย ตรงที่……………….ใดถูกต้อง
(1) การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
(2) เป้าหมายชัดเจน
(3) พฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
(4) ช่องว่างที่ขาดหายไป
(5) ได้มาตรฐานเดียวกัน
ตอบ 4 หน้า 152 ความรู้ของนักวิชาการเกี่ยวกับเรื่องกระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติมีไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับความรู้เกี่ยวกับการกําหนดนโยบายที่เป็นเช่นนี้เพราะที่ผ่านมาในการศึกษา วิเคราะห์นโยบายสาธารณะนั้นจะมุ่งเน้นหนักไปที่กระบวนการของการกําหนดนโยบายและการศึกษาการประเมินผลนโยบายเป็นส่วนใหญ่ การศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติจึงเหมือนเป็นช่องว่างที่ขาดหายไประหว่างการกําหนดนโยบายและการประเมินผลนโยบาย

12.Van Meter & Van Horn กล่าวถึงตัวเชื่อมมีความสําคัญคือ
(1) พฤติกรรมของบุคคลในองค์การและภายนอกองค์การ
(2) การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก เช่น ภาคเอกชนและประชาชน
(3) มีเป้าหมายที่แน่นอนสามารถดําเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์
(4) การสื่อสารภายในองค์การ
(5) นโยบายต้องได้มาตรฐานเดียวกัน
ตอบ 4 หน้า 152 – 153 แวน มิเตอร์ และแวน ฮอร์น (Van Meter & Van Horn) กล่าวว่าตัวเชื่อม (Linkage) นั้น ความสําคัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือเรื่องการสื่อสารภายในองค์การ
และกิจกรรมสนับสนุนภายใน โดยอาจจัดให้มีการสัมมนาอบรม และมีการบรรยายพิเศษ โดยสม่ําเสมอ เพื่อเพิ่มพูนทักษะและความเข้าใจของผู้ที่มีหน้าที่นํานโยบายไปปฏิบัติเพื่อจะให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน

13.Malcom Goggin กล่าวถึงตัวแปรหลักที่ส่งผลต่อศักยภาพของการนํานโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่
(1) นโยบาย เวลา และทรัพยากร
(2) นโยบาย ขั้นตอน และการประเมิน
(3) นโยบาย ผู้ปฏิบัติ และการประเมิน
(4) นโยบาย องค์การ และผู้ปฏิบัติงาน
(5) องค์การ กระบวนการ และการควบคุม
ตอบ 4 หน้า 156 มอลคอม กอกจิน (Malcom Goggin) ได้เสนอผลจากการศึกษาเพิ่มเติม โดยพบว่า ตัวแปรหลักที่ส่งผลต่อศักยภาพของการนํานโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ นโยบาย องค์การ และ ผู้ปฏิบัติงาน โดยมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น สภาพแวดล้อม มาเกี่ยวข้องด้วย

14. ยูยีน บาร์แดช กล่าวถึงการใช้เส้นสายทางสังคม ข้อใดถูกต้อง
(1) ปัญหาการประสานงานระหว่างหน่วยงาน
(2) ความเห็นพ้องระหว่างผู้ปฏิบัติฝ่ายต่าง ๆ
(3) สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
(4) ปัจจัยที่เข้ามาแทรกแซงการดําเนินงานของรัฐ
(5) ความไม่ต่อเนื่องของการดําเนินงาน
ตอบ 4 หน้า 157 ยูยีน บาร์แดช (Eugene Bardach) ได้ทําการศึกษาการปฏิรูปนโยบายด้าน สุขภาพจิตในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพบปัญหาในการนํานโยบายไปปฏิบัติ ล้มเหลวเพราะเกิดจากความไม่เห็นพ้องระหว่างผู้ปฏิบัติฝ่ายต่าง ๆ หรือมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ปฏิบัติในลักษณะที่ซับซ้อนจนเกินไป หรือเมื่อรัฐเข้ามาแทรกแซงกิจการทางสังคม เนื่องจาก การใช้เส้นสายทางสังคมได้ ที่สําคัญคือ ปัจจัยที่เข้ามาแทรกแซงการดําเนินงานของหน่วยงาน ของรัฐ ซึ่งเป็นเกมส์ที่ทางผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจกําหนดขึ้นเพื่อก่อให้เกิดการต่อรองจากฝ่ายต่าง ๆ

15.เพรสแมน (Pressman) และวิลด์ฟสกี (Wildavsky) กล่าวถึง นโยบายโดยทั่วไปจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
(1) เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบาย
(2) เงื่อนไขแรกเริ่มและผลที่มุ่งหวัง
(3) ความยากและง่ายของปัญหา
(4) ความสามารถและทรัพยากรของนโยบาย
(5) ปัจจัยจากกลุ่มการเมืองและฝ่ายบริหารสนับสนุน
ตอบ 2 หน้า 164 เพรสแมน (Pressman) และวิลดัฟสกี (Wildavsky) กล่าวว่า นโยบายโดยทั่วไป จะต้องประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เงื่อนไขแรกเริ่มและผลที่มุ่งหวัง ดังนั้นถ้ามีเงื่อนไข X เกิดขึ้น ณ เวลาที่ 11 จะเกิดผลลัพธ์ Y ขึ้น ณ เวลาถัดไปคือ t2

16. กรอบทฤษฎี คือ 1. ความเฉพาะเจาะจง และความไม่ชัดเจนของคําสั่งหรือนโยบาย 2. ความต้องการ ทรัพยากรใหม่ และไม่ต้องการสําหรับการปฏิบัติตามคําสั่งหรือนโยบาย เป็นของนักวิชาการท่านใด
(1) โทมัส บี. สมิท
(2) มิลบรีย์ แมคลัฟลิน
(3) ดาเนียล เอ. แมชมาเนียน
(4) เออร์วิน ฮาร์โกรฟ
(5) มองจอยและโอทูเล
ตอบ 5 หน้า 165 – 166 มองจอยและโอทูเล (Montjoy and O’Toole) ได้เสนอปัจจัยที่นํามาสร้างเป็นกรอบทฤษฎีในการวิเคราะห์การนํานโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1. ความเฉพาะเจาะจง และความไม่ชัดเจนของคําสั่งหรือนโยบาย
2. ความต้องการทรัพยากรใหม่ และไม่ต้องการสําหรับการปฏิบัติตามคําสั่งหรือนโยบาย

17.นโยบายประเภท C (Type C) ของมองจอยและโอทูเล ข้อใดถูกต้อง
(1) นโยบายมีความชัดเจนและทรัพยากรเพียงพอ
(2) นโยบายมีความชัดเจนและทรัพยากรไม่เพียงพอ
(3) นโยบายขาดทั้งความชัดเจนและทรัพยากรทําให้มีข้อจํากัด
(4) นโยบายขาดความชัดเจนแต่ทรัพยากรเพียงพอ
(5) นโยบายดําเนินการได้ตามเป้าหมาย
ตอบ 3 หน้า 167 นโยบายประเภท C (Type C) ของมองจอยและโอทูเล (Montjoy and O’Toole) เป็นนโยบายที่ขาดทั้งความชัดเจนและทรัพยากร ทําให้มีข้อจํากัด และเปิดช่องให้องค์การสามารถ ตีความนโยบายได้มาก แต่ก็มีข้อจํากัดที่องค์การจะต้องรับผิดชอบงานประจําการขาดทรัพยากรจึงทําให้ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่นโยบายต้องการ ซึ่งอาจจะทําให้องค์การถูกลงโทษจากหน่วยเหนือได้ แต่อย่างไรก็ตามจัดเป็นนโยบายที่มักจะไม่นําไปสู่การปฏิบัติ

18. “กระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติจะแปรผันไปตามลักษณะของนโยบาย” ของนักวิชาการท่านใด
(1) โทมัส บี. สมิท
(2) แวน มิเตอร์ และแวน ฮอร์น
(3) เออร์วิน ฮาร์โกรฟ
(4) กอกจินและคณะ
(5) มองจอยและโอทูเล ตอบ 3 หน้า 169 เออร์วิน ฮาร์โกรฟ (Erwin Hargrove) ได้พัฒนาวิธีการจากแนวคิดฮิล (Hill) เพื่อสร้างเป็นทฤษฎีระดับกลาง (Middle Range Theory) สําหรับการวิเคราะห์โปรแกรม ประเภทต่าง ๆ โดยมีหลักการที่สําคัญ 3 ประการ คือ
1. ปัญหาทางนโยบายที่ต่างประเภทกันจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มของผู้เข้าไปมีส่วนร่วมที่ต่างกันและระดับของการปฏิบัติการที่ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาของนโยบายที่นําเสนอ
2. กระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติจะแปรผันไปตามลักษณะของนโยบายและนโยบายนั้นๆ ยังสามารถจําแนกเป็นประเภทต่างๆเพื่อประโยชน์ในการทํานายกระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติ
3. ภาษาที่ใช้ในกฎหมายใดกฎหมายหนึ่งจะใช้เป็นพื้นฐานในการจําแนกประเภทของโปรแกรม

19. เออร์วิน ฮาร์โกรฟ ประยุกต์เพื่อตั้งสมมติการนํานโยบายประเภทต่าง ๆ ไปปฏิบัติ ข้อใดถูกต้อง
(1) ความสามารถของรัฐ
(2) การชี้นําและข้อจํากัดของรัฐบาลกลาง
(3) การชี้นําและข้อจํากัดของรัฐบาลส่วนท้องถิ่น
(4) ความสามารถของเอกชน
(5) การนํานโยบายการจัดสรรทรัพยากรไปปฏิบัติ
ตอบ 5 หน้า 169 – 170 เออร์วิน ฮาร์โกรฟ (Erwin Hargrove) ได้นําแนวคิดมาประยุกต์ เพื่อตั้งสมมติการนํานโยบายประเภทต่าง ๆ ไปปฏิบัติไว้ 2 ประการ คือ
1. การนํานโยบายการจัดสรรทรัพยากรไปปฏิบัติ (Distributive Policy)
2. การนํานโยบายที่มีบทบัญญัติในการบังคับไปปฏิบัติ (Regulatory Policy)

20. เออร์วิน ฮาร์โกรฟ พัฒนาวิธีการจากแนวคิดฮิลเพื่อสร้างเป็นทฤษฎีระดับกลาง ข้อใดถูกต้อง
(1) ทุกภาคส่วนล้วนมีความสําคัญในนโยบาย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน
(2) ภาษาที่ใช้ในกฎหมายใดกฎหมายหนึ่งจะใช้เป็นพื้นฐานในการจําแนกประเภทโปรแกรม
(3) ไม่มีการกําหนดว่าใครได้อะไร เมื่อไร และอย่างไร
(4) ผู้ปฏิบัติจะมีความสัมพันธ์ต่อกันในองค์การ
(5) ปัจจัยภายนอกและภายในองค์การจะมีผลต่อความสําเร็จ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

21. นักวิชาการที่ประยุกต์แนวคิดเชิงระบบ และมองว่านโยบายสาธารณะเป็นพลังที่ทําให้เกิดความตึงเครียด
(1) โทมัส บี. สมิท
(2) เออร์วิน ฮาร์โกรฟ
(3) เพรสแมนและวิลดัฟสกี
(4) แมชมาเนียน
(5) เบอร์แมน
ตอบ 1หน้า 171 โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) ได้ประยุกต์แนวคิดเชิงระบบสําหรับใช้ใน การศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศโลกที่สาม โดยเรียกตัวแบบนี้ว่า “A Model of the Policy Implementation Process” โดยมองว่านโยบายสาธารณะเป็นพลังที่ทําให้เกิด ความตึงเครียดในสังคม และขั้นตอนของการนํานโยบายไปปฏิบัติประกอบด้วยตัวแปรที่สําคัญ 4 ตัวแปร คือ
1. นโยบายที่เป็นอุดมคติ 2. องค์การที่นํานโยบายไปปฏิบัติ 3. กลุ่มเป้าหมาย 4. ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม

22. โทมัส บี. สมิท ศึกษา 4 ตัวแปร ข้อใดถูกต้อง
(1) องค์กรที่กําหนดนโยบาย
(2) นโยบายไม่เป็นอุดมคติ
(3) ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม
(4) กลุ่มตัวอย่างที่สําคัญในการศึกษานโยบาย
(5) กําลังศึกษาโลกที่สาม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

23. เบอร์แมน ศึกษานโยบายทางสังคมเกี่ยวข้องกับสิ่งใด
(1) ผู้กําหนดนโยบายจะมีความสัมพันธ์ต่อกันในองค์การ
(2) การส่งเสริมต่อบริการของรัฐไปยังประชาชน
(3) สวัสดิการของแรงงาน
(4) ภาครัฐจะกําหนดนโยบายเป็นภารกิจหลัก
(5) รายได้จะมีส่วนสัมพันธ์กับรัฐบาลท้องถิ่น
ตอบ 2 หน้า 174 – 175 พอล เบอร์แมน (Paul Berman) ได้นําเสนอบทความเรื่อง “The Dugy of Macro and Micro Implementation” เมื่อปี ค.ศ. 1978 เพื่อใช้เป็นกรอบการศึกษา การนํานโยบายไปปฏิบัติ โดยมีฐานคติที่สําคัญว่าปัญหาการนํานโยบายไปปฏิบัติส่วนมากจะ เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์จากสถาบันต่าง ๆ ที่รับผิดชอบต่อการนํานโยบายไปปฏิบัติ โดยเฉพาะ นโยบายทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมต่อบริการของรัฐไปยังประชาชนนั้นสามารถจะแยกปัญหาทางการนํานโยบายไปปฏิบัติในระดับมหภาคที่อยู่ในส่วนรับผิดชอบของรัฐบาลกลาง ออกจากปัญหาการนํานโยบายไปปฏิบัติในระดับจุลภาคซึ่งอยู่ในส่วนรับผิดชอบของรัฐบาล ส่วนท้องถิ่น กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติในแต่ละระดับจะสร้างปฏิสัมพันธ์ในการจะกําหนดว่าใครได้อะไร เมื่อไร และอย่างไร และส่งผลต่อระดับของความสําเร็จในขั้นปฏิบัติการได้ นอกจากนี้เบอร์แมน ยังได้ชี้ให้เห็นว่าอํานาจอันทรงอิทธิพลในอันที่จะกําหนดผลสําเร็จของนโยบายอยู่ในมือของ ผู้ปฏิบัติในระดับท้องถิ่น หาใช่ผู้บริหารจากส่วนกลางแต่อย่างใด

24. ขั้นตอนใดของเบอร์แมนกล่าวถูกต้อง
(1) ขั้นการยอมรับเป็นระดับมหภาค
(2) ขั้นการนํานโยบายไปปฏิบัติเป็นระดับมหภาค
(3) ขั้นความเที่ยงตรงทางวิชาเป็นระดับมหภาค
(4) ขั้นการบริหารเป็นระดับมหภาค
(5) ขั้นการบริการเป็นระดับมหภาค
ตอบ 4 หน้า 176 – 177 พอล เบอร์แมน (Paul Berman) ได้เสนอขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ จากระดับมหภาคไปสู่ระดับจุลภาค ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นการบริหาร
2. ขั้นการยอมรับ
3. ขั้นการนํานโยบายไปปฏิบัติในระดับจุลภาค
4 ขั้นความเที่ยงตรงทางวิชา
โดยขั้นตอนที่ 1 จะเกี่ยวข้องกับระดับมหภาคโดยตรง ส่วนขั้นตอนที่ 2 – 4 จะเกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติในระดับจุลภาค

25. โรเบิร์ต นาคามูระ และแฟรงค์ สมอลวูด กล่าวถึงการประเมินความสําเร็จหรือล้มเหลวของนโยบาย
ข้อใดถูกต้อง
(1) ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของหน่วยงาน
(2) ความพึงพอใจของผู้รับบริการมีส่วนสําคัญต่อนโยบาย
(3) เกณฑ์ในการบรรลุเป้าหมายของนโยบาย เห็นรูปธรรม
(4) ขั้นตอนมีมากมายรวมถึงบุคลากรมีหลายระดับ
(5) การสนองตอบต่อบุคลากรภายในองค์กร
ตอบ 3 หน้า 180 โรเบิร์ต นาคามูระ และแฟรงค์ สมอลวูด ได้เสนอเกณฑ์การประเมินความสําเร็จ หรือล้มเหลวของนโยบายไว้ 5 เกณฑ์ ดังนี้
1. การบรรลุเป้าหมายของนโยบาย เห็นผล เป็นรูปธรรม
2. ประสิทธิภาพ คุณภาพงานที่สัมพันธ์กับต้นทุน
3. ความพึงพอใจของ บุคคลภายนอก
4. การสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้า
5. การดํารงอยู่ของระบบ

26.วรเดช จันทรศร ได้เสนอ “การนํานโยบายไปปฏิบัติ : ตัวแบบและคุณค่า” มีตัวแบบในการนํานโยบาย ไปปฏิบัติ 6 ตัวแบบ ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) ตัวแบบกระบวนการของระบบราชการ
(2) ตัวแบบทางด้านการจัดการ
(3) ตัวแบบทางด้านการพัฒนาองค์การ
(4) ตัวแบบทางด้านเหตุและปัจจัย
(5) ตัวแบบกระบวนการทางการเมือง
ตอบ 4 หน้า 182 – 183 วรเดช จันทรศร ได้เสนอบทความเรื่อง “การนํานโยบายไปปฏิบัติ : ตัวแบบและคุณค่า” เมื่อปี ค.ศ. 1984 ซึ่งในบทความนี้ได้นําเสนอตัวแบบการศึกษา การนํานโยบายไปปฏิบัติ 6 ตัวแบบ คือ
1. ตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผล
2. ตัวแบบทางด้านการจัดการ
3. ตัวแบบทางด้านการพัฒนาองค์การ
4. ตัวแบบกระบวนการของระบบราชการ
5. ตัวแบบกระบวนการทางการเมือง
6. ตัวแบบทั่วไป

27. ตัวแบบทั่วไปของวรเดช จันทรศร ได้ปรับปรุงจากผลงานของนักวิชาการท่านใด
(1) ดาเนียล เอ. แมซมาเนียน
(2) แวน มิเตอร์ และแวน ฮอร์น
(3) เออร์วิน ฮาร์โกรฟ
(4) โทมัส บี. สมิท
(5) มิลบรีย์ แมคลัฟลิน
ตอบ 2 หน้า 183 ตัวแบบทั่วไปของวรเดช จันทรศร ได้ปรับปรุงจากผลงานของแวน มิเตอร์ และ แวน ฮอร์น (Van Meter & Van Horn) ซึ่งพัฒนามาจากตัวแบบการวิเคราะห์ระบบการเมืองของเดวิด อีสตัน (David Easton) ประยุกต์กับผลการศึกษาด้านทฤษฎีองค์การเข้าด้วยกัน

28.วรเดช จันทรศร กล่าวถึงสาระสําคัญของตัวแบบทั่วไปว่าประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ
(1) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านขั้นตอนการดําเนินงาน และปัจจัยต่อผู้ปฏิบัติงาน
(2) ปัจจัยการสื่อสาร ปัจจัยด้านปัญหาทางสมรรถนะ และปัจจัยด้านตัวผู้ปฏิบัติ
(3) ปัจจัยการสื่อสาร ปัจจัยด้านการลงทุน และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
(4) ปัจจัยด้านการลงทุน ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และปัจจัยด้านตัวผู้ปฏิบัติงาน
(5) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยการสื่อสาร และปัจจัยองค์การ
ตอบ 2 หน้า 183 – 184 วรเดช จันทรศร ได้กล่าวถึงสาระสําคัญของตัวแบบทั่วไปว่าประกอบด้วย ปัจจัยหลัก 3 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยด้านการสื่อสาร
2. ปัจจัยด้านปัญหาทางสมรรถนะ
3. ปัจจัยด้านตัวผู้ปฏิบัติ

29. ข้อใดไม่ใช่มาตรการของรัฐในการยกระดับราคาสินค้าเกษตร
(1) มาตรการรับจํานําข้าวเปลือกนาปี
(2) มาตรการรับจํานําข้าวเปลือกนาปรัง
(3) โครงการแทรกแซงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
(4) โครงการแทรกแซงตลาดเมล็ดกาแฟ
(5) โครงการแทรกแซงราคาอ้อย
ตอบ 5 หน้า 195, 198 นโยบายและมาตรการของรัฐในการยกระดับราคาสินค้าเกษตร มีดังนี้
1. มาตรการรับจํานําข้าวเปลือกนาปีและนาปรัง
2. มาตรการแก้ไขปัญหาลําไย
3. โครงการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
4. โครงการแทรกแซงตลาดมันสําปะหลัง
5. โครงการแทรกแซงตลาดเมล็ดกาแฟ

30. ข้อใดกล่าวถูกต้องของ “นโยบายข้อปที่มีคืน 2566
(1) ใช้ลดเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ
(2) ใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุด 40,000 บาทเท่านั้น
(3) ใช้ลดสําหรับกลุ่มนิติบุคคล
(4) ใช้ลดเฉพาะผู้ที่มีรายได้เกิน 500,000 บาทเท่านั้น
(5) ใช้ระยะเวลา 1 – 31 มกราคม 2566
ตอบ 2 (คําบรรยาย) นโยบายช้อปที่มีคืน 2566 เป็นนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยบุคคลที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนําค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าหรือบริการ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 มาใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาได้สูงสุด 40,000 บาท

ตั้งแต่ข้อ 31. – 35. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Thomas R. Dye
(2) Ira Sharkansky
(3) David Easton
(4) James Anderson
(5) Theodore Lowi

31. ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะ คือ สิ่งที่รัฐเลือกที่จะทําหรือไม่ทํา
ตอบ 1 หน้า 3 โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใด ก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา

32. ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตอบ 3 หน้า 3 เดวิด อีสตัน (David Easton) กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและ แจกแจงคุณค่า (Values) ต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของ สังคมส่วนรวม

33. ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการจัดการบริการสาธารณะ
ตอบ 2 หน้า 3 ไอรา ซาร์แคนสกี้ (Ira Sharkansky) กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรม ต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ การควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจ ของเอกชน เป็นต้น

34. ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม
ตอบ 4 หน้า 3 เจมส์ แอนเดอร์สัน (James Anderson) กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเจตนาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม
เช่น ความยากจน การผูกขาด เป็นต้น

35. ใครเกี่ยวข้องกับการจําแนกประเภทของนโยบายสาธารณะ
ตอบ 5 หน้า 5 – 6, (คําบรรยาย) ธีโอดอร์ โลวาย (Theodore Lowi) ได้เสนอให้จําแนกประเภท ของนโยบายตามเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ ออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regutative Policy)
2. นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy)
3. นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ (Re-Distributive Policy)

36. ใครสนใจในการวิเคราะห์นโยบาย
(1) E.S. Quade
(2) Stuart S. Nagel
(3) William Dunn
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 72, (คําบรรยาย) นักวิชาการที่สนใจศึกษาการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis)ได้แก่
1. เควด (E.S. Quade)
2. วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn)
3. สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel)
4. โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) ฯลฯ

37. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) Dunn ศึกษาการวิเคราะห์นโยบาย
(2) Nagel ศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(3) Anderson ศึกษากระบวนการนโยบาย
(4) Dimock อธิบายความคิดสร้างสรรค์
(5) Quade เสนอจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์นโยบาย
ตอบ 2 หน้า 61 – 68, 164 – 171 นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy
Implementation) ได้แก่
1. กรอส (Gross)
2. ไจแอคควินทา (Giacquinta)
3. เบิร์นสไตล์ (Bernstein)
4. กรีนวูด (Greenwood)
5. แมน (Mann)
6. แมคลัฟลิน (McLaughlin)
7. เบอร์แมน (Berman)
8. เดล อี. ริชาร์ด (Dale E. Richards)
9. เพรสแมน (Pressman)
10. วิลดัฟสกี (Wildavsky)
11. มองจอย (Montjoy)
12. โอทูเล (O’Toole)
13. โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith)
14. พอล เอ. ซาบาเดียร์ (Paul A. Sabatier)
15. ดาเนียล เอ. แมซมาเนียน (Daniel A. Mazmanian)
16. อิมิลี ไซมี โลว์ ไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Lowe Brizendine) ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ)

38. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) Harold Lasswell กล่าวว่า นโยบายเกี่ยวข้องกับแผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น
(2) Thomas R. Dye นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจว่าจะทําหรือไม่ทํา
(3) Theodore Lowi เป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์
(4) David Easton เกี่ยวข้องกับการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 3, 58 – 59 ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่เน้น การสร้างภาพรวมและได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ได้ให้ความหมาย นโยบายสาธารณะร่วมกับอับราแฮม แคปแพลน (Abraham Kaplan) ว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการ ปฏิบัติงานต่าง ๆ” (ดูคําอธิบายข้อ 31. และ 32. ประกอบ)

39. Emily Chi-Mei Lowe Brizendine ศึกษาเรื่องอะไร
(1) การปฏิรูปโรงเรียนรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
(2) การจ้างงานของชนกลุ่มน้อย
(3) โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาล
(4) Catalytic Role Model
(5) การพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์
ตอบ 1 หน้า 62 – 67, 145 – 146, (คําบรรยาย) นักวิชาการต่างประเทศที่ศึกษาเกี่ยวกับการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) มีดังนี้
1. กรอสและคณะ (Gross, Giacquinta & Bernstein) ศึกษานวัตกรรมทางการสอนแบบใหม่ สําหรับครู โดยเน้นที่กระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาสาระของบทเรียน ซึ่งเรียกตัวแบบ การศึกษานี้ว่า “Catalytic Role Model”
2. กรีนวูดและคณะ (Greenwood, Mann & McLaughlin) ศึกษาโครงการของรัฐบาลกลาง ในการให้การสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยเน้นศึกษาโครงการ ให้ความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลในระดับท้องถิ่น
3. เบอร์แมนและแมคลัฟลิน (Berman & McLaughlin) ศึกษาโครงการของรัฐบาลกลาง ในการให้การสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยเน้นศึกษาความต่อเนื่อง
ของนโยบายนวัตกรรมหลังจากที่ความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลกลางสิ้นสุดลง
4. อีมิลี ไซมี โลวี ไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Lowe Brizendine) ศึกษาการปฏิรูป โรงเรียนรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. เดล อี. ริชาร์ด (Cale E. Richards) ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัย ที่สมบูรณ์
6. เพรสแมนและวิลดัฟสกี (Pressman & Wildavsky) ศึกษานโยบายการจ้างงานของ ชนกลุ่มน้อยที่เมืองโอคแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ภายใต้ชื่อ “Implementation” ฯลฯ

40.เพรสแมนและวิลด์ฟสกีสนใจการศึกษานโยบายเรื่องใด
(1) Policy Analysis
(2) Policy Process
(3) Policy Impacts
(4) Policy Evaluation
(5) Policy Implementation
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 37. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 41. – 45. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Harold Lasswell
(2) Thomas R. Dye
(3) Stuart S. Nagel
(4) William Dunn
(5) Dale E. Richards.

41. ใครศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูจนเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

42. ใครได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

43. ใครให้เห็นเหตุผลในการกําหนดนโยบายไว้ 3 ประการ คือ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพ และเหตุผลทางการเมือง
ตอบ 2 หน้า 57, (คําบรรยาย) โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) ได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผล (ความสําคัญ) ของการศึกษาและการกําหนดนโยบายสาธารณะไว้ 3 ประการ คือ
1. เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Reasons) คือ การทําความเข้าใจเหตุและผลของ การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อให้ได้นโยบายที่มีเหตุผลมากที่สุด
2. เหตุผลทางวิชาชีพ (Professional Reasons) คือ การนําความรู้เชิงนโยบายไปใช้แก้ปัญหา ทางด้านการปฏิบัติ โดยวิชาชีพที่แตกต่างกันจะทําให้การกําหนดนโยบายและการนํานโยบายไปปฏิบัติของแต่ละวิชาชีพมีความแตกต่างกัน
3. เหตุผลทางการเมือง (Political Reasons) คือ การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสม ทางการเมืองมาใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง โดยการใช้เหตุผลทางการเมือง มักจะทําให้การกําหนดนโยบายเป็นไปอย่างไม่มีเหตุผลแต่เป็นที่ยอมรับของประชาชน เช่น นโยบายประชานิยมต่าง ๆ เป็นต้น

44. ใครให้ความหมายของการวิเคราะห์นโยบายไว้ว่า เป็นการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในชุดของเป้าหมายที่กําหนดไว้
ตอบ 3 หน้า 72 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) กล่าวว่า การวิเคราะห์นโยบายเป็น การกําหนดและตัดสินทางเลือกของนโยบาย โดยการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่คิดว่าดีที่สุด ในชุดของเป้าหมายที่กําหนดไว้
โดยเปรียบเทียบทางเลือกเหล่านั้นกับการบรรลุเป้าหมาย

45. ใครกล่าวว่า การวิเคราะห์นโยบายเป็นการใช้วิธีการที่หลากหลายในการนําเสนอข้อเท็จจริงและเหตุผล
มาแปรรูปในการกําหนดนโยบายเพื่อแก้ปัญหาทางการเมืองที่มีสภาวการณ์ที่แตกต่างกัน
ตอบ 4 หน้า 72 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn) กล่าวว่า การวิเคราะห์นโยบายเป็นสาขาหนึ่ง ของสังคมศาสตร์ประยุกต์ที่ใช้วิธีการหลากหลายในการนําเสนอข้อเท็จจริงและเหตุผลมาแปรรูป ในการกําหนดนโยบายเพื่อแก้ปัญหาในทางการเมืองที่มีสภาวการณ์แตกต่างกัน

ตั้งแต่ข้อ 46. – 50. ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) Theodore Low:
(2) Ira Sharkansky
(3) Carl J. Friedrich
(4) William Greenwood
(5) David Easton

46. ใครเสนอว่า อุปสรรคจะเป็นแรงผลักดันให้มีการเสนอนโยบายเพื่อไปใช้ประโยชน์
ตอบ 3 หน้า 3 คาร์ล เจ. ฟรีดริช (Carl J. Friedrich) กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง ข้อเสนอ สําหรับแนวทางการดําเนินงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือรัฐบาล ภายในสภาพแวดล้อมแบบหนึ่ง ซึ่งอาจมีทั้งอุปสรรคและโอกาสบางประการ โดยอุปสรรคและโอกาสนี้จะเป็นแรงผลักดันให้มี การเสนอนโยบายขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ และเอาชนะสภาพการณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อนําไปสู่ เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง

47. ใครเสนอว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

48. ใครเสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหาสาระของนโยบาย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

49. ใครเสนอว่า นโยบายสาธารณะเป็นแนวทางที่เป็นบรรทัดฐานในการดําเนินงานของหน่วยงาน
ตอบ 4 หน้า 3 วิลเลียม กรีนวูด (William Greenwood) กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การตัดสินใจขั้นต้นของรัฐบาลเพื่อเป็นแนวทางที่เป็นบรรทัดฐานในการดําเนินงานของหน่วยงานไปสู่วัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

50. ใครเสนอว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่าของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

51. ข้อใดถูกต้อง
(1) กรอสและคณะ ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูจนเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์
(2) กรีนวูดและคณะ ศึกษาการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลในระดับท้องถิ่น
(3) เบอร์แมนและแมคลัฟลิน ศึกษานวัตกรรมทางการสอนแบบใหม่
(4) อีมิลี ไซมี โลว์ ไบรเซนไดน์ เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าสาระ
(5) เดล อี. ริชาร์ด ศึกษาความต่อเนื่องของนโยบายนวัตกรรมหลังสิ้นสุดการช่วยเหลือ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

52.Stuart S. Nagel สนใจการศึกษานโยบายเรื่องใด
(1) Policy Analysis
(2) Policy Process
(3) Policy Impacts
(4) Policy Evaluation
(5) Policy Implementation
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

53. การรับรู้ถึงปัญหาสาธารณะเกี่ยวข้องกับนโยบายในด้านใด
(1) Policy Analysis
(2) Policy Evaluation
(3) Policy Impacts
(4) Policy Implementation
(5) เกี่ยวข้องกับนโยบายทุกด้าน
ตอบ 1 หน้า 73 เควด (E.S. Quade) กล่าวว่า จุดมุ่งหมายที่สําคัญของการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) มีดังนี้
1. เพื่อให้ผู้กําหนดนโยบายได้รับรู้ถึงปัญหาสาธารณะโดยแจ้งชัด
2. เพื่อปรับปรุงคุณภาพการตัดสินใจของผู้กําหนดนโยบายที่สามารถแก้ปัญหาหรือตอบสนอง
ความต้องการของประชาชนได้
3. เพื่อสร้างกระบวนการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมและเป็นระบบ

54. ข้อใดไม่ใช่กระบวนการที่ Stuar: S. Nagel เสนอ
(1) การกําหนดแผนงาน
(2) การกําหนดเป้าหมายเพื่อบรรลุผล
(3) การกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์
(4) การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย
(5) การวิเคราะห์ผลตอบแทนสูงสุด
ตอบ 1 หน้า 239 – 240 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) ได้เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ ข้อมูลแบบง่ายสําหรับการวิเคราะห์หรือการประเมินนโยบาย ซึ่งมีหลักการหรือกระบวนการ ที่สําคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. กําหนดเป้าหมายเพื่อการบรรลุผล หรือการให้ผลประโยชน์ ตอบแทนสูงสุด
2. กําหนดเป้าหมายสัมพันธ์
3. กําหนดคน สถานที่ หรือวัสดุอุปกรณ์ ให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น ๆ
4. กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย
5. ปรับความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

55. การเปลี่ยนจุดเน้นจากผลผลิตนโยบายมาสู่การศึกษากระบวนการนโยบายอยู่ในยุคใด
(1) ยุคเริ่มต้น
(2) ยุคพัฒนาให้เป็นศาสตร์
(3) ยุคการนําไปปฏิบัติให้บรรลุผล
(4) ยุคกึ่งกลางระหว่างเริ่มต้นและพัฒนา
(5) ในทุกยุค
ตอบ 3 หน้า 60 – 61 ยุคการนําไปปฏิบัติให้บรรลุผล เป็นยุคที่แนวคิดในการวิเคราะห์นโยบาย มีการเปลี่ยนจุดเน้นจากผลผลิตของนโยบาย (Policy Outputs) มาสู่การศึกษากระบวนการนโยบาย (Policy Prccess) และมีการเปลี่ยนวิธีการวิเคราะห์จากวิธีการเชิงปริมาณไปสู่วิธีการ ที่ผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพมากขึ้น

56. การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบาย เป็นแนวโน้มในเรื่องใด
(1) แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า
(2) แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ
(3) แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย
(4) แนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบ
(5) แนวโน้มเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน
ตอบ 3 หน้า 74 แนวโน้มการวิเคราะห์นโยบายในอนาคต มี 3 แนวโน้มใหญ่ คือ
1. แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า จะมุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายโดยหาทางเลือกที่ดีที่สุด ที่ทําให้ประชาชนพอใจ และสนองต่อคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม โดยการเน้นให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น เพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง
2. แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย จะมุ่งเน้นการหาวิธีการที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ โดยการพิจารณามิติทางการเมืองและการบริหาร และมีการนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขาวิชา มาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายในลักษณะสหวิทยาการ
3. แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ จะมุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงธุรกิจที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน (Cost-Benefit) รวมทั้งการคํานึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้นด้วย

ตั้งแต่ข้อ 57. – 59. ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) การก่อตัวของนโยบาย
(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

57. การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด
ตอบ 2 หน้า 50 – 51, (คําบรรยาย) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงการนําทรัพยากรต่าง ๆ ไปจัดสรรเพื่อก่อให้เกิดผลตามนโยบาย
1. การส่งต่อนโยบาย (Policy Delivery)ซึ่งประกอบด้วย
2. การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ
3. การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย
4. การดําเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ(Street-Level Bureaucracy)
5. การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมาย อํานาจหน้าที่ และการติดต่อสื่อสาร
6. การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

58. การจัดทําร่างนโยบายอยู่ในขั้นตอนใด
ตอบ 3 หน้า 25 – 26, (คําบรรยาย) การเตรียมและเสนอนโยบาย (Policy Formulation) เป็นขั้นตอนที่ต้องมีการศึกษาค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายเรื่องนั้น ๆ เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจของผู้กําหนดนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย
1. การกําหนดวัตถุประสงค์
2. การกําาหนดทางเลือก
3. การจัดทําร่างนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ แนวทางและมาตรการ การจัดลําดับทางเลือก และการหาข้อมูลประกอบ การพิจารณา

59. การพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อนํามาหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอยู่ในขั้นตอนใด
ตอบ 1 หน้า 23 – 25 ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย
1. การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน
2. การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา
3. ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ
4. การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

60. นโยบายปฏิรูประบบราชการ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Economic Policy
(2) Education Policy
(3) Social Policy
(4) Administrative Policy
(5) Politic & Defence Policy
ตอบ 4 หน้า 7, (คําบรรยาย) นโยบายทางการบริหาร (Administrative Policy) เป็นนโยบายรอง ที่กําหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ เช่น นโยบายธรรมาภิบาล นโยบายการปฏิรูประบบราชการ นโยบายเร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชน มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง นโยบายการบริหารงานบุคคล นโยบายการบริหารงานคลัง โครงการประเทศไทยใสสะอาด เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65. ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) ประสิทธิผล
(2) ประสิทธิภาพ
(3) ความเหมาะสม
(4) ความพอเพียง
(5) ความสามารถในการตอบสนอง

61. ความสามารถในการผลิตผลผลิตหรือให้บริการโดยมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
ตอบ 2 หน้า 99, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง ความสามารถในการบรรลุ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายโดยใช้ต้นทุนต่ำสุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความสามารถในการผลิตผลผลิตหรือให้บริการโดยมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด

62. ความสามารถของทางเลือกที่สอดคล้องกับค่านิยมพื้นฐานของกลุ่มต่าง ๆ ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
ตอบ 5 หน้า 101 ความสามารถในการตอบสนอง (Responsiveness) หมายถึง ความสามารถ ของทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการ ความชอบ และค่านิยมพื้นฐานของกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งทางเลือกที่มีความสามารถในการตอบสนองสูงก็คือ ทางเลือกที่สามารถทําให้กลุ่มที่มี ความจําเป็นสูงได้รับผลจากทางเลือกนั้นด้วย

63. ความสามารถในการดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายภายใต้เงื่อนไขของ
ทรัพยากรที่มีอยู่ ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
ตอบ 4 หน้า 100 ความพอเพียง (Adequacy) หมายถึง ความสามารถในการดําเนินการให้บรรลุ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่ โดยทั่วไปเงื่อนไข ของทรัพยากรมักจะวัดในรูปของงบประมาณที่มีอยู่

64. การนําเกณฑ์อื่น ๆ มาพิจารณาพร้อม ๆ กัน เกี่ยวข้องกับเกณฑ์ประเภทใด
ตอบ 3 หน้า 101 ความเหมาะสม (Appropriateness) หมายถึง การพิจารณาคุณค่าและ ความเหมาะสมของเป้าหมายของทางเลือกที่กําหนดไว้ โดยการนําเกณฑ์อื่น ๆ หลายเกณฑ์ มาพิจารณาพร้อม ๆ กัน

65. ความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบาย ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
ตอบ 1 หน้า 98, (คําบรรยาย) ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ความสามารถในการบรรลุ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความสามารถในการผลิตผลผลิตหรือให้บริการได้ครบถ้วนตรงตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้

ตั้งแต่ข้อ 66 – 75. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับข้อคําถามในเนื้อหาของเทคนิคในการประเมินผลนโยบาย
(1) Format Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis.

66. เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ผู้ประเมินผลนโยบายสามารถพิจารณาผลของนโยบายได้อย่างเป็นระบบ โดยสามารถ แยกแยะผลของนโยบายที่เกิดขึ้นจริงได้จากผลที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุอื่น
ตอบ 4 หน้า 264 – 265 การวิเคราะห์อนุกรมเวลาแบบขาดตอน (Interrupted Time Series Analysis) เป็นวิธีการที่ช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังการนํานโยบาย ไปปฏิบัติในรูปของตารางและ/หรือค่าทางสถิติ และกราฟแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะสําหรับการประเมินผลนโยบายที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักเพียงกลุ่มเดียวหรือมีขอบเขตการ ดําเนินงานที่แน่นอนเพียงแห่งเดียว จุดเด่นของวิธีการนี้ คือ ช่วยให้ผู้ประเมินผลนโยบาย สามารถพิจารณาผลของนโยบายได้อย่างเป็นระบบ โดยสามารถแยกแยะผลของนโยบายที่เกิดขึ้นจริงได้จากผลที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุอื่น

67. เป็นเทคนิคที่มีหลักการ 5 ประการ คือ Selective Anonymity, Informed Multiple Advocacy, Polarized Statistical Resporse, Structured Conflict, Computer Conferencing
ตอบ 3 หน้า 260 – 261 วิธีเดลฟีเชิงนโยบาย (Policy Delphi) มีหลักการสําคัญ 5 ประการ คือ
1. ความเป็นนิรนามเฉพาะระยะแรก (Selective Anonymity)
2. ผู้เชี่ยวชาญต่างสํานัก (Informed Multiple Advocacy)
3. การวิเคราะห์ทางสถิติแบบแยกกลุ่ม (Polarized Statistical Response)
4. การจัดโครงสร้างความขัดแย้ง (Structured Conflict)
5. การประชุมโดยคอมพิวเตอร์ (Computer Conferencing)

68. เป็นเทคนิคที่เหมาะสําหรับการประเมินผลนโยบายที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักเพียงกลุ่มเดียวหรือมีขอบเขตการดําเนินงานที่แน่นอนเพียงแห่งเดียว
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

69. เป็นเทคนิคที่ประกอบไปด้วย การประเมินความสามารถที่จะประเมินได้ และการวิเคราะห์อรรถประโยชน์ แบบพหุลักษณ์
ตอบ 2 หน้า 254 – 255 การประเมินผลแบบพิจารณาความเหมาะสม (Decision Theoretical Evaluation) เป็นเทคนิคการประเมินผลที่มุ่งสร้างข่าวสารที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เกี่ยวกับผลของนโยบายโดยใช้คุณค่าหรือผลประโยชน์ที่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้รับเป็นเกณฑ์ประเมิน ซึ่งรูปแบบของการประเมินผลแบบนี้มี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ การประเมินความสามารถที่จะ ประเมินได้ และการวิเคราะห์อรรถประโยชน์แบบพหุลักษณ์

70. เป็นเทคนิคที่เหมาะสําหรับการประเมินผลตามแนวการทดลองทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดลอง ที่มีการกําหนดกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มควบคุมเอาไว้เรียบร้อยแล้ว
ตอบ 5 หน้า 265 การวิเคราะห์เชิงถดถอยแบบไม่ต่อเนื่อง (Regression-Discontinuity Analysis) เป็นเทคนิคที่ช่วยในการประเมินผลแบบเทียม โดยช่วยให้ผู้ประเมินผลสามารถคํานวณและเปรียบเทียบผลโดยประมาณของนโยบายที่เกิดขึ้นในกลุ่มเป้าหมายที่กําหนดไว้และกลุ่มเปรียบเทียบที่นํามาพิจารณา เทคนิคนี้เหมาะสําหรับการประเมินผลตามแนวการทดลอง ทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดลองที่มีการกําหนดกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มควบคุมเอาไว้ เรียบร้อยแล้ว

71. เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ข้อมูล เหตุผล และข้อสรุปที่ละเอียดครอบคลุมความเห็นของทุกกลุ่มทุกฝ่าย ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย เป็นประโยชน์ต่อผู้กําหนดนโยบายในการตัดสินใจว่าอะไรแน่ ที่เป็นผลของนโยบายนั้น ๆ
ตอบ 3 หน้า 264 ประโยชน์ของวิธีเดลฟีเชิงนโยบาย (Policy Delphi) คือ สามารถให้ข้อมูล เหตุผล และข้อสรุปที่ละเอียดครอบคลุมความเห็นของทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ในนโยบาย การประเมินจึงครอบคลุมกว้างขวางรวมทุกประเด็นไว้หมด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ อย่างมากต่อผู้กําหนดนโยบายในการตัดสินใจว่าอะไรแน่ที่เป็นผลของนโยบายนั้น ๆ

72. เป็นเทคนิคที่ช่วยในการประเมินผลแบบเทียม โดยช่วยให้ผู้ประเมินผลสามารถคํานวณและเปรียบเทียบผลโดยประมาณของนโยบายที่เกิดขึ้นในกลุ่มเป้าหมายที่กําหนดไว้และกลุ่มเปรียบเทียบที่นํามาพิจารณา
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

73. เป็นเทคนิคที่นําเอาข้อคิดและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงในเนื้อหาและเรื่องราว ของนโยบายที่กําลังประเมินมาประมวลและเปรียบเทียบกันเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับผลของนโยบาย
ตอบ 3 หน้า 259 วิธีเดลฟีเชิงนโยบาย (Policy Delphi) เป็นวิธีการที่นําเอาข้อคิดและความเห็น ของผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงในเนื้อหาและเรื่องราวของนโยบายที่กําลังประเมิน มาประมวลและเปรียบเทียบกันเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับผลของนโยบาย

74. เป็นเทคนิคที่เน้นประเมินผลนโยบายจากวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการ โดยเชื่อว่าวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการโดยผู้กําหนดนโยบายเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว
ตอบ 1 หน้า 251 – 252 การประเมินผลแบบเป็นทางการ (Format Evaluation) เป็นเทคนิคที่ใช้วิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ในการสร้างข่าวสารที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เกี่ยวกับผลของนโยบาย โดยประเมินผลของนโยบายจากวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายที่กําหนดไว้ อย่างเป็นทางการ เพราะเชื่อว่าวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการโดยผู้กําาหนดนโยบายเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว

75. เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังการนํานโยบายไปปฏิบัติในรูปของ ตารางและ/หรือค่าทางสถิติ และกราฟแบบต่าง ๆ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 76 – 85. จงเลือกคําตอบที่ถูกต้องตามเนื้อหาของหมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

76. รัฐจึงวางแผนการใช้ที่ดินของประเทศให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และศักยภาพของที่ดินตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 68
(2) มาตรา 70
(3) มาตรา 72
(4) มาตรา 74
(5) มาตรา 76
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 72 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐจึงวางแผนการใช้ที่ดิน ของประเทศให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และศักยภาพของที่ดินตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน
2. จัดให้มีการวางผังเมืองทุกระดับและบังคับการให้เป็นไปตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ
3. จัดให้มีมาตรการกระจายการถือครองที่ดินเพื่อให้ประชาชนสามารถมีที่ทํากินได้อย่างทั่วถึง และเป็นธรรม ฯลฯ

77. รัฐพึงจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่ช่วยให้เกษตรกรประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตที่มี ปริมาณและคุณภาพสูง มีความปลอดภัย โดยใช้ต้นทุนต่ำและสามารถแข่งขันในตลาดได้ ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 64
(2) มาตรา 73
(3) มาตรา 74
(4) มาตรา 76
(5) มาตรา 77
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 73 บัญญัติให้ รัฐจึงจัดให้มีมาตรการหรือ กลไกที่ช่วยให้เกษตรกรประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและ คุณภาพสูง มีความปลอดภัย โดยใช้ต้นทุนต่ําและสามารถแข่งขันในตลาดได้ และพึงช่วยเหลือ เกษตรกรผู้ยากไร้ให้มีที่ทํากินโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่นใด

78. รัฐจึงส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ และวิสาหกิจ ขนาดย่อมและขนาดกลางของประชาชนและชุมชน ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 73
(2) มาตรา 74
(3) มาตรา 75
(4) มาตรา 77
(5) มาตรา 78
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 75 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐพึงจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองได้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ในการพัฒนาประเทศ รัฐจึงคํานึงถึงความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนา ด้านจิตใจ และความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนประกอบกัน
3. รัฐจึงส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ และวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลางของประชาชนและชุมชน ฯลฯ

79. รัฐจึงดําเนินการให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามระบบ
คุณธรรม ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 74
(2) มาตรา 75
(3) มาตรา 76
(4) มาตรา 77
(5) มาตรา 78
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 76 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐจึงพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดินทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และงานของรัฐอย่างอื่นให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2. รัฐจึงพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีทัศนคติเป็นผู้ให้บริการประชาชน ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ไม่เลือกปฏิบัติ และปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
3. รัฐจึงดําเนินการให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไป
ตามระบบคุณธรรม
4. รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกําหนด ประมวลจริยธรรมสําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ

80. รัฐจึงส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศโดยถือหลักความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อกัน และไม่แทรกแซง กิจการภายในของกันและกัน ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 64
(2) มาตรา 66
(3) มาตรา 75
(4) มาตรา 76
(5) มาตรา 77
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 66 บัญญัติให้ รัฐจึงส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับ นานาประเทศโดยถือหลักความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อกัน และไม่แทรกแซงกิจการภายใน ของกันและกัน ให้ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ และคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติและของคนไทยในต่างประเทศ

81. รัฐจึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 68
(2) มาตรา 71
(3) มาตรา 73
(4) มาตรา 75
(5) มาตรา 77
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 68 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร
2. รัฐจึงมีมาตรการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยเคร่งครัด ปราศจากการแทรกแซงหรือครอบงําใด ๆ
3. รัฐจึงให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่จําเป็นและเหมาะสมแก่ผู้ยากไร้หรือผู้ด้อยโอกาส ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมตลอดถึงการจัดหาทนายความให้

82. รัฐจึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 66
(2) มาตรา 67
(3) มาตรา 68
(4) มาตรา 77
(5) มาตรา 78
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 67 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐจึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น
2. รัฐจึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท
เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา
3. รัฐต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่ารูปแบบใด และพึ่งส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย

83. รัฐจึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สําคัญของสังคม ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 64
(2) มาตรา 65
(3) มาตรา 68
(4) มาตรา 70
(5) มาตรา 71
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 71 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐจึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สําคัญของสังคม
2. รัฐจึงส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพและความสามารถสูงขึ้น
3. รัฐจึงให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส ให้สามารถดํารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ
4. ในการจัดสรรงบประมาณ รัฐจึงคํานึงถึงความจําเป็นและความต้องการที่แตกต่างกันของ เพศ วัย และสภาพของบุคคล

84. รัฐจึงพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีทัศนคติเป็นผู้ให้บริการประชาชนให้เกิด ความสะดวก รวดเร็ว ไม่เลือกปฏิบัติ และปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 72
(2) มาตรา 74
(3) มาตรา 75
(4) มาตรา 76
(5) มาตรา 78
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 79. ประกอบ

85. รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกําหนดประมวลจริยธรรม สําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 74
(2) มาตรา 75
(3) มาตรา 76
(4) มาตรา 77
(5) มาตรา 78
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 79. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 86. – 90. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับข้อคําถามตามเนื้อหาของการประเมินผลนโยบาย
(1) Emil J. Posavac & Raymond G. Carey
(2) James E. Anderson
(3) Charles O. Jones
(4) William N. Dunn
(5) ศุภชัย ยาวะประภาษ

86. ใครกล่าวว่า การประเมินผลเกี่ยวข้องกับกระบวนการวัดคุณค่าของผลการดําเนินการตามนโยบายเพื่อที่จะนํามาเปรียบเทียบกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้
ตอบ 5 หน้า 230 ศุภชัย ยาวะประภาษ กล่าวว่า การประเมินผลเกี่ยวข้องกับกระบวนการวัดคุณค่า ของผลการดําเนินการตามนโยบายเพื่อที่จะนํามาเปรียบเทียบกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ ซึ่งการประเมินผลนี้ไม่ได้แยกเป็นเอกเทศจากขั้นตอนนโยบายอื่น แต่เกี่ยวข้องกันตลอดเวลา

87. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นขั้นตอนหนึ่งของการวิเคราะห์นโยบาย โดยเป็นขั้นตอน ที่มุ่งผลิตข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับผลของการดําเนินงานตามนโยบายว่าสามารถสนองความต้องการของสังคม สนองคุณค่าของสังคม และแก้ไขปัญหาที่เป็นเป้าหมายของนโยบายได้หรือไม่
ตอบ 4 หน้า 229 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบาย เป็นขั้นตอนหนึ่งของการวิเคราะห์นโยบาย โดยเป็นขั้นตอนที่มุ่งผลิตข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับผลของการดําเนินงานตามนโยบายว่าสามารถสนองความต้องการของสังคม สนองคุณค่า ของสังคม และแก้ไขปัญหาที่เป็นเป้าหมายของนโยบายได้หรือไม่

88. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการกระทําที่มีระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบถึงผลของนโยบาย โดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กําหนดไว้กับผลกระทบของการดําเนินการตามนโยบายที่มีต่อปัญหาของ
สังคมที่เป็นเป้าหมายที่นโยบายนั้นมุ่งแก้ไข
ตอบ 3 หน้า 229 ชาร์ลส์ อ. โจนส์ (Charles O. Jones) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบาย เป็นการกระทําที่มีระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบถึงผลของนโยบายโดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กําหนดไว้กับผลกระทบของการดําเนินการตามนโยบายที่มีต่อปัญหาของสังคมที่เป็นเป้าหมายที่นโยบายนั้นมุ่งแก้ไข

89. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการ การเปรียบเทียบผลของ
การนํานโยบายไปปฏิบัติกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่กระทําอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
ในทุกขั้นตอนนโยบาย
ตอบ 2 หน้า 229 เจมส์ อี. แอนเดอร์สัน (James E. Anderson) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบาย เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการ การเปรียบเทียบผลของการนํานโยบายไปปฏิบัติ กับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่กระทําอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาในทุกขั้นตอนของนโยบาย

90. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการใช้วิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านเพื่อที่จะตกลงใจว่านโยบาย ที่กําหนดไว้นั้นจําเป็นหรือไม่ ควรจะใช้หรือไม่ ดําเนินการไปตามที่วางไว้หรือไม่ ช่วยแก้ไขปัญหาตามที่มุ่งหวังไว้หรือไม่
ตอบ 1 หน้า 228 อีมิล เจ. โพซาวัค และเรย์มอนด์ จี. แครี (Emil J. Posavac & Raymond G. Carey) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการใช้วิธีการหลายวิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านเพื่อที่จะ ตกลงใจว่านโยบายที่กําหนดไว้นั้นจําเป็นหรือไม่ ควรจะใช้หรือไม่ ดําเนินการไปตามที่วางไว้ หรือไม่ ช่วยแก้ไขปัญหาตามที่มุ่งหวังไว้หรือไม่

ตั้งแต่ข้อ 91 – 95. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับข้อคําถามตามเนื้อหาของวิธีการประเมินผลนโยบาย
(1) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง
(2) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง
(3) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ผิดทุกข้อ

91. ไม่สามารถจะไปประเมินกระบวนการทั้งหมดของนโยบายได้ จะนําไปใช้ได้เฉพาะในเรื่องของ Input และ
Product เท่านั้น
ตอบ 1 หน้า 234 – 235 การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design) มีข้อจํากัดดังนี้
1. วิธีการที่ใช้ในการแบ่งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมักมีปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น การมีผลประโยชน์ในการเลือกกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือการมีลักษณะความเคร่งครัด ในการเลือกกลุ่มในทางปฏิบัติจะมีน้อย
2. วิธีการทดลองไม่สามารถจะไปประเมินกระบวนการทั้งหมดของนโยบายได้ จะนําไปใช้ได้ เฉพาะในเรื่องของ Input และ Product เท่านั้น
3. วิธีการทดลองไม่สามารถควบคุมความเที่ยงตรงภายนอกได้ จึงทําให้ผลที่ได้มาจาก การทดลองอาจจะไม่เหมือนกับผลที่ได้มาจากการดําเนินการจริง ฯลฯ

92. การมีผลประโยชน์ในการเลือกกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือการมีลักษณะความเคร่งครัดในการเลือกกลุ่มในทางปฏิบัติจะมีน้อย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93. มีวิธีการที่สําคัญวิธีหนึ่งคือ การจับคู่ (Matching) การแสวงหาคู่ในระดับบุคคล พื้นที่ หรือหน่วยการทดลอง ที่เกี่ยวข้องที่มีความคล้ายคลึงกันตั้งแต่หนึ่งคุณลักษณะที่ศึกษา
ตอบ 2 หน้า 235 – 236 การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธี กึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) มีลักษณะสําคัญดังนี้
1. ในกรณีที่เงื่อนไขไม่เอื้ออํานวยที่จะใช้การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง วิธีการนี้จะทําให้ได้เปรียบในการนําไปปฏิบัติ โดยผู้ใช้จะต้องยอมรับเบื้องต้นก่อนว่าวิธีการที่จะนําไปใช้มีความสนใจที่ปัจจัยใดบ้างและปล่อยให้ปัจจัยใดบ้างปราศจากการควบคุม
2. มีวิธีการที่สําคัญวิธีหนึ่งคือ การจับคู่ (Matching) ได้แก่ การแสวงหาคู่ในระดับบุคคล พื้นที่ หรือหน่วยการทดลองที่เกี่ยวข้องที่มีความคล้ายคลึงกันตั้งแต่หนึ่งคุณลักษณะที่ศึกษา
3.วิธีการนี้มีความมุ่งหมายที่จะทําให้การตีความต่าง ๆ ถูกต้อง เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากโครงการ ซึ่งมีบ่อยครั้งที่คําอธิบายในผลลัพธ์ ที่ถูกต้องจะแสดงให้เห็นถึงการไม่มีการเปลี่ยนแปลง นอกเหนือไปจากการแสดงให้เห็น ความล้มเหลวของโครงการ ฯลฯ

94. มีความมุ่งหมายที่จะทําให้การตีความต่าง ๆ ถูกต้อง เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากโครงการ มีบ่อยครั้งที่คําอธิบายในผลลัพธ์ที่ถูกต้องจะแสดงให้เห็นถึงการไม่มีการเปลี่ยนแปลงนอกเหนือไปจากการแสดงให้เห็นความล้มเหลวของโครงการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 93. ประกอบ

95. แบบศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากที่ได้นําโครงการเข้ามาใช้โดยมีกลุ่มควบคุมที่ได้มาโดยมิได้มีการ สุ่มตัวอย่าง ข้อดี ทําให้ผู้ประเมินได้รับรายละเอียดและมโนภาพมากมาย ทําให้เกิดการตื่นตัวและรับรู้ เรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้น
ตอบ 3 หน้า 236 – 237 การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง (Pre-Experimental Design) แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ แบบศึกษาก่อนและ หลังจากที่ได้นําโครงการหนึ่ง ๆ เข้ามาใช้ แบบศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากที่ได้นําโครงการ

เข้ามาใช้แล้วเพียงอย่างเดียว และแบบศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากที่ได้นําโครงการเข้ามาใช้ โดยมีกลุ่มควบคุมที่ได้มาโดยมิได้มีการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งข้อดีของการประเมินผลด้วยวิธีการนี้ คือ
1. ทําให้ผู้ประเมินได้รับรายละเอียดและมโนภาพมากมาย
2. ทําให้เกิดการตื่นตัวและรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้น
3. ทําให้ผู้ประเมินได้รับข้อมูลข่าวสารด้วยความระมัดระวังและเป็นระบบ

ตั้งแต่ข้อ 96. – 100.
จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับข้อคําถามตามข้อมูลยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี Thailand 4.0 และเอกสารอื่น ๆ
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(2) Thailand 4.0
(3) คําแถลงนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(4) ทิศทางกระแสต่างประเทศ
(5) ไม่ตรงกับข้อใดเลย

96. มุ่งเน้นเศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน
ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เป็นแผนที่มีเป้าหมายหลักเพื่อพลิกโฉมประเทศไทย ไปสู่ “เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน” หรือ “Hi-Value and Sustainable Thailand” โดยมุ่งเน้นการพัฒนาดังนี้
1. มุ่งเน้นจากเศรษฐกิจฐานทรัพยากรสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและองค์ความรู้
2. มุ่งเน้นจากการผลิตและบริโภคที่ทําลายสิ่งแวดล้อมสู่วิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปลอดภัย
3. มุ่งเน้นจากโอกาสที่กระจุกตัวสู่โอกาสสําหรับทุกกลุ่มคนและทุกพื้นที่
4. มุ่งเน้นจากกําลังคนทักษะต่ําและภาครัฐล้าสมัยสู่กําลังคนและภาครัฐสมรรถนะสูง

97. มุ่งเน้นจากเศรษฐกิจฐานทรัพยากรสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและองค์ความรู้
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 96. ประกอบ

98. มุ่งเน้นจากการผลิตและบริโภคที่ทําลายสิ่งแวดล้อมสู่วิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปลอดภัย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 96. ประกอบ

99. มุ่งเน้นจากโอกาสที่กระจุกตัว โอกาส าหรับทุกกลุ่มคนและทุกพื้นที่
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 96. ประกอบ

100. มุ่งเน้นจากกําลังคนทักษะต่ําาและภาครัฐล้าสมัยสู่กําลังคนและภาครัฐสมรรถนะสูง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 96. ประกอบ

 

Advertisement