การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3301 นโยบายสาธารณะ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.แรนดาล ริปเลย์ และเกรซ แฟรงกลิน กล่าวถึงลักษณะของการนํานโยบายไปปฏิบัติ ข้อใดถูกต้อง
(1) หน่วยงานมีหลายระดับทั้งรัฐและเอกชน
(2) มีผู้เกี่ยวข้องสําคัญ ๆ มากมาย
(3) ผู้เกี่ยวข้องล้วนมีวัตถุประสงค์เหมือนกัน
(4) กระทรวง ทบวง กรม เป็นหน่วยงานหลัก
(5) นโยบายและโครงการมักเป็นของรัฐและเอกชนร่วมกัน
ตอบ 2 หน้า 144 แรนดาล ริปเลย์ และเกรซ แฟรงกลิน (Randell Ripley and Grace Franklin) ได้พิจารณาลักษณะของการนํานโยบายไปปฏิบัติว่ามีลักษณะสําคัญ 5 ประการ คือ
1. มีผู้เกี่ยวข้องสําคัญ ๆ มากมาย
2. ผู้เกี่ยวข้องล้วนมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลายและมักแตกต่างกัน
3. นโยบายและโครงการของรัฐบาลมักขยายใหญ่โตขึ้นทุกวัน
4. หน่วยงานในหลายระดับ จากหลายกระทรวง ทบวง กรม มีส่วนร่วมในการดําเนินกิจการ
5. มีปัจจัยหลายประการที่สําคัญมากและอยู่นอกเหนือการควบคุม

Advertisement

2. มีความมุ่งหมายที่จะทําให้การตีความต่าง ๆ ถูกต้อง เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากโครงการ มีบ่อยครั้งที่คําอธิบายในผลลัพธ์ที่ถูกต้องจะแสดงให้เห็นถึงการไม่มีการเปลี่ยนแปลงนอกเหนือไปจากการแสดงให้เห็นความล้มเหลวของโครงการ
(1) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง
(2) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง
(3) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง
(4) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลองและกึ่งทดลอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 235 – 236 การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธี กึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) มีลักษณะสําคัญดังนี้
1. ในกรณีที่เงื่อนไขไม่เอื้ออํานวยที่จะใช้การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง วิธีการนี้จะทําให้ได้เปรียบในการนําไปปฏิบัติ โดยผู้ใช้จะต้องยอมรับเบื้องต้นก่อนว่าวิธีการที่จะนําไปใช้มีความสนใจที่ปัจจัยใดบ้างและปล่อยให้ปัจจัยใดบ้างปราศจากการควบคุม
2. มีวิธีการที่สําคัญวิธีหนึ่งคือ การจับคู่ (Matching) ได้แก่ การแสวงหาคู่ในระดับบุคคล พื้นที่ หรือหน่วยการทดลองที่เกี่ยวข้องที่มีความคล้ายคลึงกันตั้งแต่หนึ่งคุณลักษณะที่ศึกษา
3.วิธีการนี้มีความมุ่งหมายที่จะทําให้การตีความต่างๆถูกต้อง เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากโครงการ ซึ่งมีบ่อยครั้งที่คําอธิบายในผลลัพธ์ ที่ถูกต้องจะแสดงให้เห็นถึงการไม่มีการเปลี่ยนแปลง นอกเหนือไปจากการแสดงให้เห็นความล้มเหลวของโครงการ ฯลฯ

3. เป็นเทคนิคที่เหมาะสําหรับการประเมินผลตามแนวการทดลองทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดลอง
ที่มีการกําหนดกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มควบคุมเอาไว้เรียบร้อยแล้ว
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 5 หน้า 265 การวิเคราะห์เชิงถดถอยแบบไม่ต่อเนื่อง (Regression-Discontinuity
Analysis) เป็นเทคนิคที่ช่วยในการประเมินผลแบบเทียม โดยช่วยให้ผู้ประเมินผลสามารถคํานวณและเปรียบเทียบผลโดยประมาณของนโยบายที่เกิดขึ้นในกลุ่มเป้าหมายที่กําหนดไว้และกลุ่มเปรียบเทียบที่นํามาพิจารณา เทคนิคนี้เหมาะสําหรับการประเมินผลตามแนวการทดลองทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดลองที่มีการกําหนดกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มควบคุมเอาไว้ เรียบร้อยแล้ว

4.เป็นเทคนิคที่ประกอบไปด้วย การประเมินความสามารถที่จะประเมินได้ และการวิเคราะห์อรรถประโยชน์
แบบพหุลักษณ์
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 2 หน้า 254 – 255 การประเมินผลแบบพิจารณาความเหมาะสม (Decision Theoretical Evaluation) เป็นเทคนิคการประเมินผลที่มุ่งสร้างข่าวสารที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เกี่ยวกับผลของนโยบายโดยใช้คุณค่าหรือผลประโยชน์ที่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้รับเป็นเกณฑ์ประเมิน ซึ่งรูปแบบของการประเมินผลแบบนี้มี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ การประเมินความสามารถที่จะ ประเมินได้ และการวิเคราะห์อรรถประโยชน์แบบพหุลักษณ์

5.รัฐพึงจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่ช่วยให้เกษตรกรประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตที่มี ปริมาณและคุณภาพสูง มีความปลอดภัย โดยใช้ต้นทุนต่ําและสามารถแข่งขันในตลาดได้ ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 64
(2) มาตรา 73
(3) มาตรา 74
(4) มาตรา 76
(5) มาตรา 77
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 73 บัญญัติให้ รัฐจึงจัดให้มีมาตรการหรือ กลไกที่ช่วยให้เกษตรกรประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพสูง มีความปลอดภัย โดยใช้ต้นทุนต่ําและสามารถแข่งขันในตลาดได้ และพึงช่วยเหลือ เกษตรกรผู้ยากไร้ให้มีที่ทํากินโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่นใด

6.Pressman & Wildavsky ให้ความหมายของการนํานโยบายไปปฏิบัติอย่างไร
(1) การจัดหาวิธีในการดําเนินการ หรือทําให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
(2) ฝ่ายบริหารเป็นผู้ดําเนินงานต่าง ๆ
(3) การนําไปปฏิบัติ ทําให้สําเร็จ เติมเต็ม ผลลัพธ์ ทําให้สมบูรณ์
(4) ถือเป็นภารกิจหลักของภาครัฐในการดําเนินงานต่าง ๆ
(5) กระบวนการทํางานทางปฏิสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์
ตอบ 3 หน้า 142 – 143 เพรสแมนและวิลด์ฟสกี (Pressman & Wildavsky) กล่าวว่า การนํานโยบาย ไปปฏิบัติ คือ การนําไปปฏิบัติ ทําให้สําเร็จ เติมเต็ม ผลลัพธ์ ทําให้สมบูรณ์ และการนํานโยบาย ไปปฏิบัติให้เกิดผลสําเร็จนั้นต้องกําหนดรูปแบบของนโยบายไปพร้อมกับวิธีการนํานโยบายไปปฏิบัติ

7. การมีผลประโยชน์ในการเลือกกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือการมีลักษณะความเคร่งครัดในการเลือกกลุ่ม
ในทางปฏิบัติจะมีน้อย
(1) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง
(2) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง
(3) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง
(4) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลองและกึ่งทดลอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 234 – 235 การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design) มีข้อจํากัดดังนี้
1. วิธีการที่ใช้ในการแบ่งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมักมีปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น การมีผลประโยชน์ในการเลือกกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือการมีลักษณะความเคร่งครัด ในการเลือกกลุ่มในทางปฏิบัติจะมีน้อย
2. วิธีการทดลองไม่สามารถจะไปประเมินกระบวนการทั้งหมดของนโยบายได้ จะนําไปใช้ได้ เฉพาะในเรื่องของ Input และ Product เท่านั้น
3. วิธีการทดลองไม่สามารถควบคุมความเที่ยงตรงภายนอกได้ จึงทําให้ผลที่ได้มาจาก การทดลองอาจจะไม่เหมือนกับผลที่ได้มาจากการดําเนินการจริง ฯลฯ

8. โครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Regulative Policy
(2) Distributive Policy
(3) Re-Distributive Policy
(4) Capitalization Policy
(5) Ethical Policy
ตอบ 3หน้า 6, (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรร ทรัพยากรเสียใหม่ (Re-Distributive Policy) เป็นนโยบายที่กําหนดขึ้นเพื่อประชาชนบางอาชีพ ผู้ประกอบการบางสาขาการผลิต พื้นที่บางพื้นที่ตามความจําเป็น เช่น การออกบัตรประกันสังคม การออกบัตรสุขภาพ นโยบายการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ นโยบายการจํานําข้าว นโยบาย เพิ่มค่าแรง 300 บาทต่อวัน โครงการช่วยเหลือชาวสลัม โครงการสงเคราะห์คนชรา โครงการ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โครงการอาหารกลางวันแก่เด็กยากจน กองทุนพัฒนาสตรี เป็นต้น หรือ เป็นนโยบายที่ดึงเอาทรัพยากรจากประชาชนกลุ่มหนึ่งมาจัดสรรใหม่ให้เกิดประโยชน์แก่ ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ด้อยโอกาส เช่น นโยบายภาษี (เช่น นโยบายเก็บภาษีทรัพย์สิน อัตราก้าวหน้า) นโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เป็นต้น

9.เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ผู้ประเมินผลนโยบายสามารถพิจารณาผลของนโยบายได้อย่างเป็นระบบ โดยสามารถ แยกแยะผลของนโยบายที่เกิดขึ้นจริงได้จากผลที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุอื่น
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 4 หน้า 264 – 265 การวิเคราะห์อนุกรมเวลาแบบขาดตอน (Interrupted Time Series Analysis) เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังการนํานโยบายไปปฏิบัติ ในรูปของตารางและ/หรือค่าทางสถิติ และกราฟแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นเทคนิคที่เหมาะสําหรับ การประเมินผลนโยบายที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักเพียงกลุ่มเดียวหรือมีขอบเขตการดําเนินงาน ที่แน่นอนเพียงแห่งเดียว จุดเด่นของเทคนิคนี้ คือ ช่วยให้ผู้ประเมินผลนโยบายสามารถพิจารณา ผลของนโยบายได้อย่างเป็นระบบ โดยสามารถแยกแยะผลของนโยบายที่เกิดขึ้นจริงได้จาก ผลที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุอื่น

10. รัฐจึงส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศโดยถือหลักความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อกัน และไม่แทรกแซง กิจการภายในของกันและกัน ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 64
(2) มาตรา 66
(3) มาตรา 75
(4) มาตรา 76
(5) มาตรา 77
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 66 บัญญัติให้ รัฐจึงส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับ นานาประเทศโดยถือหลักความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อกัน และไม่แทรกแซงกิจการภายใน ของกันและกัน ให้ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ และคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติและของคนไทยในต่างประเทศ

11. เป็นเทคนิคที่นําเอาข้อคิดและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงในเนื้อหาและเรื่องราว ของนโยบายที่กําลังประเมินมาประมวลและเปรียบเทียบกันเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับผลของนโยบาย
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 3 หน้า 259 วิธีเดลฟีเชิงนโยบาย (Policy Delphi) เป็นเทคนิคที่นําเอาข้อคิดและความเห็น ของผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงในเนื้อหาและเรื่องราวของนโยบายที่กําลังประเมิน มาประมวลและเปรียบเทียบกันเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับผลของนโยบาย

12.เดวิด อีสตัน เสนอแนวคิดเชิงระบบ ประกอบด้วยข้อใดบ้าง
(1) ทรัพยากร กระบวนการ นโยบาย การปฏิบัติ ข้อมูลย้อนกลับ การสื่อสาร
(2) สภาพแวดล้อม อุปสงค์ กระบวนการ นโยบาย การปฏิบัติ ข้อมูลย้อนกลับ
(3) สภาพแวดล้อมภายใน สภาพแวดล้อมภายนอก นโยบาย การปฏิบัติ ผลกระทบ
(4) ทรัพยากร อุปสงค์ กระบวนการ นโยบาย การปฏิบัติ สภาพแวดล้อมภายนอก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 172, (คําบรรยาย) เดวิด อีสตัน (David Easton) ได้เสนอแนวคิดเชิงระบบ โดยมี ตัวแปรสําคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้อง 6 ตัวแปร คือ 1. สภาพแวดล้อม 2. อุปสงค์และทรัพยากร 3. กระบวนการทางการเมือง 4. นโยบาย 5. การปฏิบัติ 6. ข้อมูลย้อนกลับ

13.มอลคอม กอกจิน ศึกษาเพิ่มเติมตัวแปรหลักที่ส่งผลต่อศักยภาพของการนํานโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่
(1) นโยบาย เวลา และผู้ปฏิบัติงาน
(2) นโยบาย ขั้นตอน และการประเมิน
(3) นโยบาย องค์การ และผู้ปฏิบัติงาน
(4) องค์การ กระบวนการ และการประเมิน
(5) นโยบาย ผู้ปฏิบัติ และการประเมิน
ตอบ 3 หน้า 156 มอลคอม กอกจิน (Malcom Goggin) ได้เสนอผลจากการศึกษาเพิ่มเติม โดยพบว่า ตัวแปรหลักที่ส่งผลต่อศักยภาพของการนํานโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ นโยบาย องค์การ และ ผู้ปฏิบัติงาน โดยมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น สภาพแวดล้อม มาเกี่ยวข้องด้วย

14. กล่าวโดยสรุป การนํานโยบายไปปฏิบัติ หมายถึง
(1) กระบวนการในทางปฏิบัติที่จะทําให้นโยบายใด ๆ บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กําหนดไว้
(2) การดําเนินงานของฝ่ายรัฐบาลเพื่อประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศ
(3) การตัดสินใจของรัฐในการดําเนินนโยบายทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
(4) แนวการทํางานของรัฐที่จะบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน
(5) รัฐจะกระทําสิ่งต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้
ตอบ 1 หน้า 143 กล่าวโดยสรุป การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) หมายถึง
กระบวนการในทางปฏิบัติที่จะทําให้นโยบายใด ๆ บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กําหนดไว้

15.วรเดช จันทรศร กล่าวถึงสาระสําคัญของตัวแบบทั่วไปว่าประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ
(1) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านขั้นตอนการดําเนินงาน และปัจจัยต่อผู้ปฏิบัติงาน
(2) ปัจจัยการสื่อสาร ปัจจัยด้านการลงทุน และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
(3) ปัจจัยด้านการลงทุน ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และปัจจัยด้านตัวผู้ปฏิบัติงาน
(4) ปัจจัยการสื่อสาร ปัจจัยด้านปัญหาทางสมรรถนะ และปัจจัยด้านตัวผู้ปฏิบัติ
(5) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านขั้นตอนการดําเนินงาน และปัจจัยต่อองค์การ
ตอบ 4 หน้า 183 – 184 วรเดช จันทรศร ได้กล่าวถึงสาระสําคัญของตัวแบบทั่วไปว่าประกอบด้วยปัจจัยหลัก 3 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยด้านการสื่อสาร
2. ปัจจัยด้านปัญหาทางสมรรถนะ
3. ปัจจัยด้านตัวผู้ปฏิบัติ

16. ใครกล่าวว่า การประเมินผลเกี่ยวข้องกับกระบวนการวัดคุณค่าของผลการดําเนินการตามนโยบาย
เพื่อที่จะนํามาเปรียบเทียบกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้
(1) Emil J. Posavac & Raymond G. Carey
(2) James E. Anderson
(3) Charles O. Jones
(4) William N. Dunn
(5) ศุภชัย ยาวะประภาษ
ตอบ 5 หน้า 230 ศุภชัย ยาวะประภาษ กล่าวว่า การประเมินผลเกี่ยวข้องกับกระบวนการวัดคุณค่า ของผลการดําเนินการตามนโยบายเพื่อที่จะนํามาเปรียบเทียบกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ ที่กําหนดไว้ ซึ่งการประเมินผลนี้ไม่ได้แยกเป็นเอกเทศจากขั้นตอนนโยบายอื่น แต่เกี่ยวข้องกันตลอดเวลา

17. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) Harold Lasswell กล่าวว่า นโยบายเกี่ยวข้องกับแผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น
(2) Thomas R. Dye นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจว่าจะทําหรือไม่ทํา
(3) Theodore Lovi เป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์
(4) David Easton เกี่ยวข้องกับการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 3, 58 – 59 ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่เน้นการสร้างภาพรวมและได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ได้ให้ความหมาย นโยบายสาธารณะร่วมกันอับราแฮม แคปแพลน (Abraham Kaplan) ว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการ ปฏิบัติงานต่าง ๆ”

18.Reform in Action ที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูปการวิจัยและการพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษา
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(2) Thailand 4.0
(3) คําแถลงนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(4) ทิศทางกระแสต่างประเทศ
(5) ไม่ตรงกับข้อใดเลย
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Thailand 4.0 มีสาระสําคัญดังนี้
1. เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”
2. เป็น “Reform in Action” ที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูปการวิจัย และการพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษาไปพร้อม ๆ กัน
3. เป็นแนวคิดที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภายใต้ทุนวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ ทุนมนุษย์
4. เป็นการพัฒนา “เครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่” (New Engines of Growth) ซึ่งประเทศไทยมีอยู่ 2 ด้าน ได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายเชิงวัฒนธรรมให้เป็นความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน โดยการเติมเต็มด้วยวิทยาการ ทั้ง 5 ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและ พัฒนา ฯลฯ

19. รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 68
(2) มาตรา 71
(3) มาตรา 73
(4) มาตรา 75
(5) มาตรา 77
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 68 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร
2. รัฐจึงมีมาตรการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยเคร่งครัด ปราศจากการแทรกแซงหรือครอบงําใด ๆ
3. รัฐจึงให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่จําเป็นและเหมาะสมแก่ผู้ยากไร้หรือผู้ด้อยโอกาส ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมตลอดถึงการจัดหาทนายความให้

20. วิลเลียมส์ เรียก นําไปปฏิบัติ ข้อใดถูกต้อง
(1) กระบวนการขององค์การที่ต่อเนื่องเป็นพลวัต
(2) การดําเนินงานให้สําเร็จลุล่วงตามเป้าหมายของกลุ่มผู้ปฏิบัติ
(3) กระบวนการในทางปฏิบัติที่จะทําให้นโยบายใด ๆ บรรลุวัตถุประสงค์
(4) การจัดหาหรือตระเตรียมวิธีการ และการดําเนินการให้สําเร็จลุล่วง
(5) มีการวางแผนและเตรียมงานให้พร้อม
ตอบ 4 หน้า 143 วิลเลียมส์ ชี้ว่า กิริยาที่เรียกว่า นําไปปฏิบัติ (Implement) มีความหมายหลักอยู่ 2 ประการ คือ
1. การจัดหาหรือตระเตรียมวิธีการทั้งหลายทั้งปวงที่จะทําให้ดําเนินการสําเร็จลุล่วงให้พรักพร้อม
2. การดําเนินการให้สําเร็จลุล่วง

21. ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะ คือ สิ่งที่รัฐเลือกที่จะทําหรือไม่ทํา
(1) Thomas R. Dye
(2) Ira Sharkansky
(3) David Easton
(4) James Anderson
(5) Theodore Lowi
ตอบ 1 หน้า 3 โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึงสิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา”

22. ตัวแปรอิสระตามตัวแบบของกอกจีนและคณะ ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) การชี้นําและข้อจํากัดของรัฐบาลกลาง
(2) การชี้นําและข้อจํากัดของรัฐบาลส่วนท้องถิ่น
(3) ความสามารถและการตัดสินใจของรัฐ
(4) ความสามารถและการตัดสินใจของผู้ปฏิบัติงาน
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 173 – 174 กอกจินและคณะ ได้เสนอตัวแบบการนํานโยบายไปปฏิบัติซึ่งได้รับอิทธิพล
จากแนวความคิดการวิเคราะห์ระบบการเมืองของเดวิด อีสตัน โดยตัวแบบของกอกจินและคณะ
มีตัวแปรอิสระซึ่งประกอบด้วย
1. การชี้นําและข้อจํากัดของรัฐบาลกลาง
2. การชี้น่าและข้อจํากัดของรัฐบาลส่วนท้องถิ่น
3. ความสามารถของรัฐ
4. การตัดสินใจของรัฐ

23. ข้อใดไม่ใช่นักวิชาการในกลุ่มของตัวแบบในการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(1) ตัวแบบของแวน มิเตอร์และแวน ฮอร์น
(2) ตัวแบบของกอกจินและคณะ
(3) ตัวแบบของพอล เบอร์แมน
(4) ตัวแบบของมองจอยและโอทูเล
(5) ตัวแบบของวรเดช จันทรศร
ตอบ 4 หน้า 161, 171 – 188 นักวิชาการในกลุ่มของตัวแบบในการนํานโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่
1. แวน มิเตอร์และแวน ฮอร์น
2. กอกจินและคณะ
3. พอล เบอร์แมน
4. ยอร์ค
5. โรเบิร์ต นาคามูระและแฟรงค์ สมอลวูด
6. วรเดช จันทรศร

24. สิ่งที่ทําให้ผลงานวิจัยของเพรสแมนและวิลดัฟสกีไม่ประสบความสําเร็จเกิดจาก
(1) ขั้นตอนการตัดสินใจมากและการดําเนินการไม่มีความต่อเนื่อง
(2) บุคลากรไม่มีความรู้ ความเข้าใจนโยบาย
(3) ขาดการทํางานเป็นทีม
(4) ผู้นําหน่วยงานไม่สามารถบริหารงานให้ประสบความสําเร็จได้
(5) ขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ตอบ 1 หน้า 145 งานวิจัยของเพรสแมนและวิลด์ฟสกี (Pressman & Wildavsky) พบว่า การนํา นโยบายการจ้างงานชนกลุ่มน้อยไปปฏิบัติไม่ประสบความสําเร็จ เพราะสาเหตุจากผู้ริเริ่ม และรับผิดชอบไม่ได้ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง มีประเด็นการตัดสินใจมากจนเกินไป มีจํานวน หน่วยงานเข้าไปมีส่วนร่วมมากและต่างก็มีวัตถุประสงค์และวิธีปฏิบัติที่ต่างกัน ตัวโครงการ ไม่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย การควบคุมกับการอนุมัติงบประมาณขัดแย้งกัน ลักษณะ การดําเนินงานกระทําด้วยความเร่งรีบมีความสลับซับซ้อนสูง และขาดการประสานงานที่ดี

25. การศึกษาของเจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ ได้ค้นพบปัจจัยตัวที่ 7 คือข้อใด
(1) แรงจูงใจของผู้ปฏิบัตินโยบาย
(2) การแสวงหาผลประโยชน์
(3) ความชัดเจนของนโยบาย
(4) การจัดสรรทรัพยากร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 147 – 148 การศึกษาของเจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ ในเรื่องการปฏิบัตินโยบายของจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้จังหวัดนราธิวาสเป็นกรณีศึกษานั้น ได้ค้นพบปัจจัยตัวที่ 7 คือ การแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งมีส่วนสําคัญในการกําหนดความล้มเหลวหรือความสําเร็จของ การปฏิบัตินโยบาย

26. เป็นเทคนิคที่ช่วยในการประเมินผลแบบเทียม โดยช่วยให้ผู้ประเมินผลสามารถคํานวณและเปรียบเทียบผลโดยประมาณของนโยบายที่เกิดขึ้นในกลุ่มเป้าหมายที่กําหนดไว้และกลุ่มเปรียบเทียบที่นํามาพิจารณา
(1) Format Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

27. นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องกันในประเด็นที่สําคัญ 2 ประการ คือ
(1) ผู้ปฏิบัติและความสัมพันธ์ในองค์การ
(2) นโยบายมี 2 ระดับ คือ ระดับมหภาค และระดับจุลภาค
(3) การกําหนดว่าใครได้อะไรและเมื่อไร
(4) ภาครัฐจะกําหนดนโยบายเป็นภารกิจหลักและภารกิจรอง
(5) การนํานโยบายไปปฏิบัติเป็นกระบวนการและดําเนินการให้สําเร็จ
ตอบ 5 หน้า 144 นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องกันในประเด็นที่สําคัญ 2 ประการ คือ
1. การนํานโยบายไปปฏิบัติเป็นกระบวนการ
2. การนํานโยบายไปปฏิบัติเป็นการดําเนินการให้สําเร็จลุล่วงตามเป้าหมายของนโยบาย

28. โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) เสนอตัวแบบของกระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศโลกที่สาม โดยเรียกตัวแบบนี้ว่า
(1) The Policy Implementation
(2) Implementation Organization
(3) A Model of the Policy Implementation Process
(5) Policy Implementation
(4) Distributive Policy
ตอบ 3 หน้า 171 โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) ได้เขียนบทความเรื่อง “The Policy Implementation Process” เมื่อปี ค.ศ. 1973 เพื่อเสนอตัวแบบของกระบวนการนํานโยบาย ไปปฏิบัติในประเทศโลกที่สาม และได้ประยุกต์แนวความคิดเชิงระบบสําหรับใช้ในการศึกษา การนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศโลกที่สาม โดยเรียกตัวแบบนี้ว่า “A Model of the Policy Implementation Process”

29. ความสามารถในการดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายภายใต้เงื่อนไขของ
ทรัพยากรที่มีอยู่ ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
(1) ประสิทธิผล
(2) ประสิทธิภาพ
(3) ความเหมาะสม
(4) ความพอเพียง
(5) ความสามารถในการตอบสนอง
ตอบ 4 หน้า 100 ความพอเพียง (Adequacy) หมายถึง ความสามารถในการดําเนินการให้บรรลุ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่ โดยทั่วไปเงื่อนไขของทรัพยากรมักจะวัดในรูปของงบประมาณที่มีอยู่

30. นโยบายการมีถนนแยกเล่นไปสู่ทุกจังหวัด เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Regulative Policy
(2) Distributive Policy
(3) Re-Distributive Policy
(4) Capitalization Policy
(5) Ethical Policy
ตอบ 2 หน้า 5, (คําบรรยาย) นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy) เป็น นโยบายที่รัฐบาลต้องจัดบริการพื้นฐานให้ประชาชนทุกคนได้ใช้หรือเพื่อให้ประชาชนทั่วไป โดยส่วนรวมมีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่เป็นของรัฐบาลอย่างทั่วถึงและพอเพียง เช่น นโยบายการมีถนนแยกเล่นไปสู่ทุกจังหวัด นโยบายการลดราคาน้ํามันเบนซิน โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน การขยายช่องทางจราจรหรือการสร้างถนน นโยบายให้มีสถานพยาบาล ให้ครบทุกอําเภอ การจัดให้มีบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค การจัดให้มีไฟฟ้าและน้ําประปา ใช้ทุกหมู่บ้าน เป็นต้น

31. เป็นเทคนิคที่เหมาะสําหรับการประเมินผลนโยบายที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักเพียงกลุ่มเดียวหรือมีขอบเขต
การดําเนินงานที่แน่นอนเพียงแห่งเดียว
(1) Format Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

32. แบบศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากที่ได้นําโครงการเข้ามาใช้โดยมีกลุ่มควบคุมที่ได้มาโดยมิได้มีการ สุ่มตัวอย่าง ข้อดี ทําให้ผู้ประเมินได้รับรายละเอียดและมโนภาพมากมาย ทําให้เกิดการตื่นตัวและรับรู้ เรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้น
(1) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง
(2) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง
(3) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง
(4) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลองและกึ่งทดลอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 236 – 237 การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธี เตรียมทดลอง (Pre-Experimental Design) แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ แบบศึกษาก่อนและ หลังจากที่ได้นําโครงการหนึ่ง ๆ เข้ามาใช้ แบบศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากที่ได้นําโครงการ เข้ามาใช้แล้วเพียงอย่างเดียว และแบบศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากที่ได้นําโครงการเข้ามาใช้ โดยมีกลุ่มควบคุมที่ได้มาโดยมิได้มีการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งข้อดีของการประเมินผลด้วยวิธีการนี้ คือ
1. ทําให้ผู้ประเมินได้รับรายละเอียดและมโนภาพมากมาย
2. ทําให้เกิดการตื่นตัวและรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้น
3. ทําให้ผู้ประเมินได้รับข้อมูลข่าวสารด้วยความระมัดระวังและเป็นระบบ

33. รัฐจึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 66
(2) มาตรา 67
(3) มาตรา 68
(4) มาตรา 77
(5) มาตรา 78
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 67 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐจึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น
2. รัฐจึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท
เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา
3. รัฐต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่ารูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย

34. การตั้งหมู่บ้านอาสาพัฒนาป้องกันตน เกี่ยวข้องกับนโยบายใด
(1) Economic Policy
(2) Education Policy
(3) Social Policy
(4) Administrative Policy
(5) Politic & Defence Policy
ตอบ 5 หน้า 7, (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านการเมืองและการป้องกันประเทศ (Politic & Defence Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สิทธิและหน้าที่ของพลเมืองของแต่ละประเทศ
รวมทั้งวิธีการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพและระบบป้องกันประเทศ ในด้านการทูตหรือการทหาร เช่น การเพิ่มอาวุธให้กับทหาร การจัดเรือบรรทุกเครื่องบินรบ การควบคุมแรงงานต่างด้าวให้อยู่เฉพาะพื้นที่ การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ด้วยการตั้งหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง เป็นต้น

35. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มีนโยบายของกรุงเทพมหานครที่นโยบาย
(1) 210 นโยบาย
(2) 211 นโยบาย
(3) 212 นโยบาย
(4) 214 นโยบาย
(5) 215 นโยบาย
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เสนอนโยบายสําหรับ กรุงเทพมหานครไว้ 214 นโยบาย ภายใต้หมวดหมู่นโยบาย 9 ดี คือ ปลอดภัยดี สร้างสรรค์ดี สิ่งแวดล้อมดี เศรษฐกิจดี เดินทางดี สุขภาพดี โครงสร้างดี เรียนดี และบริหารจัดการดี

36. ใครให้ความหมายของการวิเคราะห์นโยบายไว้ว่า เป็นการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในชุดของ
เป้าหมายที่กําหนดไว้
(1) Harold Lasswell
(2) Thomas R. Dye
(3) Stuart S. Nagel
(4) William Dunn
(5) James Anderson
ตอบ 3 หน้า 72 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) กล่าวว่า “การวิเคราะห์นโยบาย เป็นการกําหนดและตัดสินทางเลือกของนโยบาย โดยการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่คิดว่าดีที่สุด ในชุดของเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยเปรียบเทียบทางเลือกเหล่านั้นกับการบรรลุเป้าหมาย”

37. เออร์วิน ฮาร์โกรฟ เขียนบทความเรื่องอะไรที่เสนอข้อสมมติเพื่อการทดสอบการนํานโยบายจากรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกาไปปฏิบัติในระดับหน่วยงานปฏิบัติ
(1) The Search for Implementation Theory (1983)
(2) Implementation (1973)
(3) The Policy Implementation Process (1973)
(4) The Policy Implementation Process : A Conceptual Framework (1975)
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 168 เออร์วิน ฮาร์โกรฟ (Erwin Hargrove) ได้เสนอข้อสมมติเพื่อการทดสอบการนํา นโยบายที่กําหนดโดยรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาไปปฏิบัติในระดับหน่วยงานปฏิบัติไว้ใน บทความเรื่อง “The Search for Implementation Theory” ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1983 โดยเขาได้ให้ความหมายของการนํานโยบายไปปฏิบัติว่าประกอบด้วย 2 นัย คือ
1. การดําเนินการตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
2. การดําเนินการซึ่งหมายรวมถึงการยินยอมปฏิบัติตามกฎหมายและการปฏิบัติงานประจําขององค์การอย่างคงเส้นคงวา

38. มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่ Value-Based Economy
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(2) Thailand 4.0
(3) คําแถลงนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(4) ทิศทางกระแสต่างประเทศ
(5) ไม่ตรงกับข้อใดเลย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

39. การสร้างโรงเรียนในท้องถิ่นทุรกันดาร เกี่ยวข้องกับนโยบายใด
(1) Economic Policy
(2) Education Policy
(3) Social Policy
(4) Administrative Policy
(5) Politic & Defence Policy
ตอบ 2 หน้า 7, (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านการศึกษา (Education Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การวางแนวทางและการจัดการศึกษาให้กับประชาชน ทั้งการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียน เช่น การสร้างโรงเรียน โครงการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา นโยบายกําหนดให้ทุกคนต้องเรียนหนังสือ การแจกอุปกรณ์การเรียนแก่นักเรียน การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน เป็นต้น

40.Van Meter & Van Horn กําหนดถึงผลต่อพฤติกรรมในการนํานโยบายไปปฏิบัติ เชื่อมโยงระหว่างนโยบาย และผลปฏิบัติการ ได้แก่อะไรบ้าง
(1) ปัจจัยนําเข้า ตัวเชื่อม และนโยบาย
(2) สมรรถนะ ตัวเชื่อม และผลสําเร็จ
(3) นโยบาย ตัวเชื่อม และสมรรถนะ
(4) กําหนด ปฏิบัติ และการประเมินผลนโยบาย
(5) การตัดสินใจเลือกนโยบาย ตัวเชื่อม และการประเมินผล
ตอบ 3 หน้า 152 แวน มิเตอร์ และแวน ฮอร์น (Van Meter & Van Horn) ได้กําหนดถึงผลต่อ พฤติกรรมในการนํานโยบายไปปฏิบัติว่าต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติ ซึ่งจะเชื่อมโยงระหว่าง นโยบายและผลปฏิบัติการ ได้แก่
1. นโยบาย (Policy)
2. ตัวเชื่อม (Linkage)
3. สมรรถนะในการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Performance)

41. แนวคิดของเบอร์แมน เสนอกรอบการวิเคราะห์การนํานโยบายไปปฏิบัติ 2 ระดับ คือ
(1) ระดับบน และระดับล่าง
(2) ระดับมหภาค และระดับจุลภาค
(3) ระดับผู้บังคับบัญชา และระดับผู้ปฏิบัติงาน
(4) ระดับกลาง และระดับภูมิภาค
(5) ระดับหน่วยงาน และระดับผู้ปฏิบัติงาน
ตอบ 2 หน้า 175 พอล เบอร์แมน (Paul Berman) ได้เสนอกรอบการวิเคราะห์การนํานโยบายไปปฏิบัติ 2 ระดับ คือ
1. การนํานโยบายไปปฏิบัติในระดับมหภาค (Macro-Implementation)
2. การนํานโยบายไปปฏิบัติในระดับจุลภาค (Micro-Implementation)

42.Stuart S. Nagel สนใจการศึกษานโยบายเรื่องใด
(1) Policy Analysis
(2) Policy Process
(3) Policy Impacts
(4) Policy Implementation
(5) Policy Evaluation
ตอบ 1 หน้า 61 – 68, 72, 164 – 171 นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis)
ได้แก่ 1. เควด (E.S. Quade) 2. วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn) 3. สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) 4. โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) ฯลฯ
ส่วนนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ได้แก่
1. กรอส (Gross)
2. ไจแอคควินทา (Giacquinta)
3. เบิร์นสไตล์ (Bernstein)
4. กรีนวูด (Greenwood)
5. แมน (Mann)
6. แมคลัฟลิน (McLaughlin)
7. เบอร์แมน (Berman)
8. เดล อี. ริชาร์ด (Dale E. Richards)
9. เพรสแมน (Pressman)
10. วิลดัฟสกี (Wildavsky)
11. มองจอย (Montjoy)
12. โอทูเล (O’Toole)
13. โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith)
14. พอล เอ. ซาบาเตียร์ (Paul A. Sabatier)
15. ดาเนียล เอ. แมชมาเนียน (Daniel A. Mazmanian)
16. อีมิลี ไซมี โลวี ไบรเซนไดน์(Emily Chi-Mei Lowe Brizendine) ฯลฯ

43. ใครเสนอว่า อุปสรรคจะเป็นแรงผลักดันให้มีการเสนอนโยบายเพื่อไปใช้ประโยชน์
(1) Theodore Lowi
(2) Ira Sharkansky
(3) Carl J. Friedrich
(4) William Greenwood
(5) David Easton
ตอบ 3 หน้า 3 คาร์ล เจ. ฟรีดริช (Carl J. Friedrich) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง ข้อเสนอ สําหรับแนวทางการดําเนินงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือรัฐบาล ภายในสภาพแวดล้อมแบบหนึ่ง ซึ่งอาจมีทั้งอุปสรรคและโอกาสบางประการ โดยอุปสรรคและโอกาสนี้จะเป็นแรงผลักดันให้มี การเสนอนโยบายขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ และเอาชนะสภาพการณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อนําไปสู่ เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง”

44. การศึกษา 2 ปัจจัยที่ได้นํามาสร้างเป็นกรอบทฤษฎี คือ 1. ความเฉพาะเจาะจง และความไม่ชัดเจนของ คําสั่งหรือนโยบาย 2. ความต้องการทรัพยากรใหม่ และไม่ต้องการสําหรับการปฏิบัติตามคําสั่งหรือนโยบาย
(1) เออร์วิน ฮาร์โกรฟ
(2) ดาเนียล เอ. แมชมาเนียน
(3) มองจอยและโอทูเล
(4) โทมัส บี. สมิท
(5) มิลบรีย์ แมคลัฟลิน
ตอบ 3 หน้า 165 – 166 มองจอยและโอทูเล (Montjoy and O’Toole) ได้เสนอปัจจัยที่นํามาสร้าง เป็นกรอบทฤษฎี ซึ่งประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1. ความเฉพาะเจาะจง และความไม่ชัดเจนของคําสั่งหรือนโยบาย
2. ความต้องการทรัพยากรใหม่ และไม่ต้องการสําหรับการปฏิบัติตามคําสั่งหรือนโยบาย

45.วรเดช จันทรศร ได้เสนอบทความ “การนํานโยบายไปปฏิบัติ : ตัวแบบและคุณค่า” โดยได้เสนอตัวแบบ ในการนํานโยบายไปปฏิบัติ 6 ตัวแบบ ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) ตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผล
(2) ตัวแบบด้านบุคลิกภาพ
(3) ตัวแบบทางด้านการพัฒนาองค์การ
(4) ตัวแบบด้านการจัดการ
(5) ตัวแบบระบบราชการ
ตอบ 2 หน้า 182 – 183 วรเดช จันทรศร ได้เสนอบทความเรื่อง “การนํานโยบายไปปฏิบัติ : ตัวแบบและคุณค่า” เมื่อปี ค.ศ. 1984 ซึ่งในบทความนี้ได้นําเสนอตัวแบบการศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติ 6 ตัวแบบ คือ
1. ตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผล
2. ตัวแบบทางด้านการจัดการ
3. ตัวแบบทางด้านการพัฒนาองค์การ
4. ตัวแบบกระบวนการของระบบราชการ
5. ตัวแบบกระบวนการทางการเมือง
6. ตัวแบบทั่วไป

46. ข้อใดถูกต้องที่ Webster’s Dictionary ให้ความหมายการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(1) นโยบายเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ
(2) เป็นภารกิจหลักของภาครัฐในการดําเนินงานต่าง ๆ
(3) กระบวนการทํางานทางปฏิสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์
(4) กระบวนการเชิงนโยบายที่เกิดขึ้นจากฝ่ายบริหาร
(5) การจัดหาวิธีในการดําเนินการ หรือทําให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
ตอบ 5 หน้า 142 Webster’s Dictionary ให้ความหมาย “การนําไปปฏิบัติ” (to implement) ว่าหมายถึง การจัดหาวิธีในการดําเนินการ หรือทําให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

47. นโยบายกองทุนหมู่บ้าน เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Economic Policy
(2) Education Policy
(3) Sociat Policy
(4) Administrative Policy
(5) Politic & Defence Policy
ตอบ 1 หน้า 6, (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างรายได้และการกินดีอยู่ดีของประชาชน โดยให้ประชาชนได้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน อะไรที่ได้มาซึ่งรายได้หรือรายจ่าย และเมื่อจ่ายไปแล้วก็จะมีการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ทําให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายกองทุนหมู่บ้าน นโยบายจ่ายเงินให้ชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท การส่งเสริมอาชีพให้ประชาชน โครงการธงฟ้าราคาประหยัด โครงการ ธนาคารประชาชน โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การพักชําระหนี้ให้เกษตรกร การดูแล ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่
ผู้บริโภคและผู้ผลิต เป็นต้น

48. รัฐจึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สําคัญของสังคม ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 64
(2) มาตรา 65
(3) มาตรา 68
(4) มาตรา 70
(5) มาตรา 71
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 71 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐจึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สําคัญของสังคม
2. รัฐจึงส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพและความสามารถสูงขึ้น
3. รัฐจึงให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส ให้สามารถดํารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ
4. ในการจัดสรรงบประมาณ รัฐจึงคํานึงถึงความจําเป็นและความต้องการที่แตกต่างกันของ เพศ วัย และสภาพของบุคคล

49. ใครกล่าวว่า การวิเคราะห์นโยบายเป็นการใช้วิธีการที่หลากหลายในการนําเสนอข้อเท็จจริงและเหตุผล
มาแปรรูปในการกําหนดนโยบายเพื่อแก้ปัญหาทางการเมืองที่มีสภาวการณ์ที่แตกต่างกัน
(1) Harold Lasswell
(2) Thomas R. Dye
(3) Stuart S. Nagel
(4) William Dunn
(5) Date E. Richards
ตอบ 4 หน้า 72 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn) กล่าวว่า “การวิเคราะห์นโยบาย เป็นสาขาหนึ่งของสังคมศาสตร์ประยุกต์ที่ใช้วิธีการหลากหลายในการนําเสนอข้อเท็จจริง และเหตุผลมาแปรรูปในการกําหนดนโยบายเพื่อแก้ปัญหาในทางการเมืองที่มีสภาวการณ์แตกต่างกัน”

50. เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังการนํานโยบายไปปฏิบัติในรูปของ ตารางและ/หรือค่าทางสถิติ และกราฟแบบต่าง ๆ
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

51. ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมาย
(1) Thomas R. Dye
(2) Ira Sharkansky
(3) David Easton
(4) James Anderson
(5) Theodore Lowi
ตอบ 3 หน้า 3 เดวิด อีสตัน (David Easton) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรร
และแจกแจงคุณค่า (Values) ต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์
ของสังคมส่วนรวม”

52. บทความเรื่อง “Policy Implementation” เป็นการศึกษาความเป็นมาของการนํานโยบายไปปฏิบัติของ
นักวิชาการท่านใด
(1) พอล เอ. ซาบาเดียร์
(2) ดาเนียล เอ. แมซมาเนียน
(3) ยูยืน บาร์แดช
(4) โทมัส บี. สมิท
(5) แมคลัฟลิน
ตอบ 1.2 หน้า 61 พอล เอ. ซาบาเตียร์ และดาเนียล เอ. แมซมาเนียน (Paul A. Sabatier and Daniel A. Mazmanian) ได้เขียนบทความเรื่อง “Policy Implementation” เมื่อปี 1982 ซึ่งเป็นการศึกษาถึงความเป็นมาของการนํานโยบายไปปฏิบัติ โดยแสดงทัศนะว่าการศึกษา สาขาการนํานโยบายไปปฏิบัติปรากฏเป็นรูปร่างที่ชัดเจนในต้นศตวรรษ 1970 โดยเฉพาะ นับจากผลงานเรื่อง “Implementation (1973)” ของเพรสแมนและวิลดัฟสกีเป็นต้นมา

53. นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Regulative Policy
(2) Distributive Policy
(3) Re-Distributive Policy
(4) Capitalization Policy
(5) Ethical Policy
ตอบ 4 หน้า 6) (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการลงทุน (Capitalization Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาล กําหนดขึ้นเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเพื่อแสวงหาทรัพยากรใหม่ ๆ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา แล้วก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมและประเทศชาติ หรือการสร้างสิ่งก่อสร้างบางอย่างเพื่อเป็น พื้นฐานในการพัฒนาประเทศต่อไป เช่น นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้ การสร้างสนามบิน การสร้างนิคมอุตสาหกรรม การสร้างท่าเรือน้ําลึก การวางท่อก๊าซ เป็นต้น

54. เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ข้อมูล เหตุผล และข้อสรุปที่ละเอียดครอบคลุมความเห็นของทุกกลุ่มทุกฝ่าย ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย เป็นประโยชน์ต่อผู้กําหนดนโยบายในการตัดสินใจว่าอะไรแน่ที่เป็นผล
ของนโยบายนั้น ๆ
(1) Format Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 3 หน้า 264 ประโยชน์ของวิธีเดลฟีเชิงนโยบาย (Policy Delphi) คือ สามารถให้ข้อมูล เหตุผล และข้อสรุปที่ละเอียดครอบคลุมความเห็นของทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ในนโยบาย การประเมินจึงครอบคลุมกว้างขวางรวมทุกประเด็นไว้หมด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ อย่างมากต่อผู้กําหนดนโยบายในการตัดสินใจว่าอะไรแน่ที่เป็นผลของนโยบายนั้น ๆ

55. มุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภายใต้ทุนวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และทุนมนุษย์
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(2) Thailand 4.0
(3) คําแถลงนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(4) ทิศทางกระแสต่างประเทศ
(5) ไม่ตรงกับข้อใดเลย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

56. ความสามารถในการผลิตผลผลิตหรือให้บริการโดยมีต้นทุนต่อหน่วยต่ําสุด ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
(1) ประสิทธิผล
(2) ประสิทธิภาพ
(3) ความเหมาะสม
(4) ความพอเพียง
(5) ความสามารถในการตอบสนอง
ตอบ 2 หน้า 99. (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง ความสามารถในการบรรลุ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายโดยใช้ต้นทุนต่ําสุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความสามารถในการผลิตผลผลิตหรือให้บริการโดยมีต้นทุนต่อหน่วยต่ําสุด

57. มุ่งเน้นวิทยาการทั้ง 5 เพื่อความได้เปรียบ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และการวิจัยและพัฒนา
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(2) Thailand 4.0
(3) คําแถลงนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(4) ทิศทางกระแสต่างประเทศ
(5) ไม่ตรงกับข้อใดเลย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

58. ข้อใดไม่ใช่ 4 ตัวแปรที่ สมิท เสนอขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(1) นโยบายที่เป็นอุดมคติ
(2) องค์การที่นํานโยบายไปปฏิบัติ
(3) กลุ่มตัวอย่าง
(4) ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม
(5) กลุ่มเป้าหมาย
ตอบ 3 หน้า 171 โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) เสนอขั้นตอนของการนํานโยบายไปปฏิบัติ
ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรที่สําคัญ 4 ตัวแปร คือ
1. นโยบายที่เป็นอุดมคติ
2. องค์การที่นํานโยบายไปปฏิบัติ
3. กลุ่มเป้าหมาย
4. ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม

59. พอล เอ. ซาบาเดียร์ และดาเนียล เอ. แมซมาเนียน ให้ความหมายของการนํานโยบายไปปฏิบัติอย่างไร
(1) แนวการทํางานของรัฐที่เน้นการบริการสาธารณะ
(2) การตัดสินพิพากษาอรรถคดีคําสั่งของฝ่ายตุลาการ
(3) กระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายที่เกิดขึ้นจากกฎหมาย
(4) กฤษฎีกาที่ออกมาจากพรรคการเมืองเสนอ
(5) รัฐจะกระทําสิ่งต่าง ๆ เพื่อประชาชน
ตอบ 3 หน้า 142 พอล เอ. ซาบาเดียร์ และดาเนียล เอ. แมชมาเนียน (Paul A. Sabatier and Daniel A. Mazmanian) กล่าวว่า การนํานโยบายไปปฏิบัติ หมายถึง กระบวนการตัดสินใจ เชิงนโยบายที่เกิดขึ้นจากกฎหมาย การตัดสินพิพากษาอรรถคดีคําสั่งของฝ่ายบริหาร หรือ กฤษฎีกาที่ออกมาจากสถาบันต่าง ๆ

60. รัฐจึงพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีทัศนคติเป็นผู้ให้บริการประชาชนให้เกิด ความสะดวก รวดเร็ว ไม่เลือกปฏิบัติ และปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 72
(2) มาตรา 74
(3) มาตรา 75
(4) มาตรา 76
(5) มาตรา 78
ตอบ 4 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 76 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐพึงพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดินทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และงานของรัฐอย่างอื่นให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2. รัฐจึงพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีทัศนคติเป็นผู้ให้บริการประชาชน ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ไม่เลือกปฏิบัติ และปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
3. รัฐจึงดําเนินการให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไป
ตามระบบคุณธรรม
4. รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกําหนด ประมวลจริยธรรมสําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ

61. นโยบายหน้าบ้านน่ามอง เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Regulative Policy
(2) Distributive Policy
(3) Re-Distributive Policy
(4) Capitalization Policy
(5) Ethical Policy
ตอบ 5 หน้า 6, (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อจริยธรรม (Ethical Policy) เป็นนโยบายของรัฐบาล ที่ไม่มีการบังคับให้ผู้ใดปฏิบัติตาม แต่ต้องการจูงใจและสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ประชาชน มีความรู้สึกสํานึกที่ดี และมีจิตสํานึกในทางที่ถูกที่ควรที่จะปฏิบัติตาม เช่น โครงการพลังแผ่นดิน โครงการเมืองน่าอยู่ โครงการถนนสีขาว นโยบายหน้าบ้านน่ามอง นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว ในประเทศ นโยบายส่งเสริมให้มีน้ําใจกับนักท่องเที่ยว และการรณรงค์ต่าง ๆ เป็นต้น

62. นโยบายข้อใดถูกต้อง
(1) กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสุขภาพดีวิถีใหม่
(2) กระทรวงแรงงานมีนโยบายบริหารแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ
(3) ครม. อัดฉีด-ลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าสูงสุดคันละ 150,000 บาท
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตัวอย่างของนโยบายในปัจจุบัน ได้แก่
1. กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายสุขภาพดีวิถีใหม่ ประชาชนคนไทยมีหมอประจําตัว 3 คน พัฒนาพืชสมุนไพร กัญชา กัญชง กระท่อม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. กระทรวงแรงงาน มีนโยบายบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ เร่งรัด ปรับปรุง แก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคมให้สอดคล้องกับบริบทสถานการณ์ปัจจุบันและรองรับ
การเปลี่ยนแปลงในอนาคต ยกระดับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน เพื่อปลดล็อค Tier 2 Watch List
3. ครม. อัดฉีด-ลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าสูงสุดคันละ 150,000 บาท ฯลฯ

63. ใครเสนอว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่าของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมาย
(1) Theodore Lowi
(2) Ira Sharkansky
(3) Carl J. Friedrich
(4) David Easton
(5) William Greenwood
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

64. การช่วยชาวเขาให้มีอาชีพ เกี่ยวข้องกับนโยบายใด
(1) Economic Policy
(2) Education Policy
(3) Social Policy
(4) Administrative Policy
(5) Politic & Defence Policy
ตอบ 3 หน้า 7, (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านสังคม (Social Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างความมั่นคงให้แก่สังคม เช่น โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การประชาสงเคราะห์ (เช่น การช่วยเหลือชาวเขา คนชรา หรือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก) การประกันสังคม การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ โดยกําหนดให้มีโรงพยาบาล สถานีอนามัย และสุขศาลาในทุกอําเภอ การพัฒนาขีดความสามารถ ของอาสาสมัครสาธารณสุขให้เป็นนักจัดการสุขภาพชุมชน เป็นต้น

65. รัฐจึงดําเนินการให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 74
(2) มาตรา 75
(3) มาตรา 76
(4) มาตรา 77
(5) มาตรา 78
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

66. ใครให้เหตุผลในการกําหนดนโยบายไว้ 3 ประการ คือ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพ
และเหตุผลทางการเมือง
(1) Harold Lasswell
(2) Thomas R. Dye
(3) Stuart S. Nagel
(4) William Dunn
(5) Dale E. Richards
ตอบ 2 หน้า 57, (คําบรรยาย) โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) ได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผล (ความสําคัญ)
ของการศึกษาและการกําหนดนโยบายสาธารณะไว้ 3 ประการ คือ
1. เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Reasons) คือ การทําความเข้าใจเหตุและผลของ การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อให้ได้นโยบายที่มีเหตุผลมากที่สุด
2. เหตุผลทางวิชาชีพ (Professional Reasons) คือ การนําความรู้เชิงนโยบายไปใช้แก้ปัญหา ทางด้านการปฏิบัติ โดยวิชาชีพที่แตกต่างกันจะทําให้การกําหนดนโยบายและการนํานโยบาย
ไปปฏิบัติของแต่ละวิชาชีพมีความแตกต่างกัน
3. เหตุผลทางการเมือง (Political Reasons) คือ การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสม ทางการเมืองมาใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง โดยการใช้เหตุผลทางการเมือง มักจะทําให้การกําหนดนโยบายเป็นไปอย่างไม่มีเหตุผลแต่เป็นที่ยอมรับของประชาชน เช่น นโยบายประชานิยมต่าง ๆ เป็นต้น

67. การจัดทําร่างนโยบายอยู่ในขั้นตอนใด
(1) การก่อตัวของนโยบาย
(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย
ตอบ 3 หน้า 25 – 26, (คําบรรยาย) ขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย (Policy Formulation) เป็นขั้นตอนที่ต้องมีการศึกษาค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายเรื่องนั้น ๆ เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจของผู้กําหนดนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย
1. การกําหนดวัตถุประสงค์
2. การกําหนดทางเลือก
3. การจัดทําร่างนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ แนวทางและ มาตรการ การจัดลําดับทางเลือก และการหาข้อมูลประกอบการพิจารณา

68. ใครเกี่ยวข้องกับการจําแนกประเภทของนโยบายสาธารณะ
(1) Thomas R. Dye
(2) Ira Sharkansky
(3) David Easton
(4) James Anderson
(5) Theodore Lowi
ตอบ 5 หน้า 5 – 6 (คําบรรยาย) ธีโอดอร์ โลวาย (Theodore towi) ได้เสนอให้จําแนกประเภท ของนโยบายตามเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ ออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy)
2. นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy)
3. นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ (Re-Distributive Policy)

69. ใครเสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหาสาระของนโยบาย
(1) Theodore Lowi
(2) Ira Sharkansky
(3) Carl J. Friedrich
(4) William Greenwood
(5) David Easton
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ

70. ยูยีน บาร์แดช (Eugene Bardach) ให้ความหมายของกระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติไว้อย่างไร
(1) ขั้นตอนในการดําเนินการให้บรรลุเป้าหมายของนโยบาย
(2) ความสัมพันธ์เกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กร
(3) การจัดหาตระเตรียมวิธีการทั้งหลายที่จะให้ดําเนินงานสําเร็จลุล่วง
(4) กระบวนการดําเนินงานของภาครัฐ
(5) กระบวนการทํางานทางปฏิสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์
ตอบ 5 หน้า 142 ยูยีน บาร์แดช (Eugene Bardach) กล่าวว่า กระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติ หมายถึง กระบวนการทํางานทางปฏิสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของ กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของนโยบายก็ได้

71. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการใช้วิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านเพื่อที่จะตกลงใจว่านโยบาย ที่กําหนดไว้นั้นจําเป็นหรือไม่ ควรจะใช้หรือไม่ ดําเนินการไปตามที่วางไว้หรือไม่ ช่วยแก้ไขปัญหาตามที่ มุ่งหวังไว้หรือไม่
(1) Emil J. Posavac & Raymond G. Carey
(2) James E. Anderson
(3) Charles O. Jones
(4) William N. Dunn
(5) ศุภชัย ยาวะประภาษ
ตอบ 1 หน้า 228 อีมิล เจ. โพซาวัค และเรย์มอนด์ จี. แครี (Emil J. Posavac & Raymond G. Carey) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการใช้วิธีการหลายวิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านเพื่อที่จะ ตกลงใจว่านโยบายที่กําหนดไว้นั้นจําเป็นหรือไม่ ควรจะใช้หรือไม่ ดําเนินการไปตามที่วางไว้ หรือไม่ ช่วยแก้ไขปัญหาตามที่มุ่งหวังไว้หรือไม่

72. ความสามารถของทางเลือกที่สอดคล้องกับค่านิยมพื้นฐานของกลุ่มต่าง ๆ ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
(1) ประสิทธิผล
(2) ประสิทธิภาพ
(3) ความเหมาะสม
(4) ความพอเพียง
(5) ความสามารถในการตอบสนอง
ตอบ 5 หน้า 101 ความสามารถในการตอบสนอง (Responsiveness) หมายถึง ความสามารถ ของทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการ ความชอบ และค่านิยมพื้นฐานของกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งทางเลือกที่มีความสามารถในการตอบสนองสูงก็คือ ทางเลือกที่สามารถทําให้กลุ่มที่มี ความจําเป็นสูงได้รับผลจากทางเลือกนั้นด้วย

73. ข้อใดไม่ใช่กระบวนการที่ Stuart S. Nagel เสนอ
(1) การกําหนดเป้าหมายเพื่อบรรลุผล
(2) การกําหนดแผนงาน
(3) การกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์
(4) การวิเคราะห์ผลตอบแทนสูงสุด
(5) การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย
ตอบ 2 หน้า 239 – 240 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) ได้เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ ข้อมูลแบบง่ายสําหรับการวิเคราะห์หรือการประเมินนโยบาย ซึ่งมีหลักการหรือกระบวนการ ที่สําคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. กําหนดเป้าหมายเพื่อการบรรลุผล หรือการให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด
2. กําหนดเป้าหมายสัมพันธ์
3. กําหนดคน สถานที่ หรือวัสดุอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น ๆ
4. กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย
5. ปรับความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

74. ใครสนใจในการวิเคราะห์นโยบาย
(1) E.S. Quade
(2) Stuart S. Nagel
(3) William Dunn
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

75. รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกําหนดประมวลจริยธรรม สําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 74
(2) มาตรา 75
(3) มาตรา 76
(4) มาตรา 77
(5) มาตรา 78
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

76. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการ การเปรียบเทียบผลของ
การนํานโยบายไปปฏิบัติกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่กระทําอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
ในทุกขั้นตอนนโยบาย
(1) Emil J. Posavac & Raymond G. Carey
(2) James E. Anderson
(3) Charles O. Jones
(4) William N. Dunn
(5) ศุภชัย ยาวะประภาษ
ตอบ 2 หน้า 229 เจมส์ อี. แอนเดอร์สัน (James E. Anderson) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบาย เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการ การเปรียบเทียบผลของการนํานโยบายไปปฏิบัติ กับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่กระทําอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาในทุกขั้นตอน
ของนโยบาย

77. ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม
(1) Thomas R. Dye
(2) Ira Sharkansky
(3) David Easton
(4) James Anderson
(5) Theodore Lowi
ตอบ 4 หน้า 3 เจมส์ แอนเดอร์สัน (James Anderson) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเจตนาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม
เช่น ความยากจน การผูกขาด เป็นต้น”

78. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) Dunn ศึกษาการวิเคราะห์นโยบาย
(2) Nagel ศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(3) Anderson ศึกษากระบวนการนโยบาย
(4) Dimock อธิบายความคิดสร้างสรรค์
(5) Quade เสนอจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์นโยบาย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

79. การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด
(1) การก่อตัวของนโยบาย
(2) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย
ตอบ 4 หน้า 50 – 51, (คําบรรยาย) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงการนําทรัพยากรต่าง ๆ ไปจัดสรรเพื่อก่อให้เกิดผลตามนโยบาย
ซึ่งประกอบด้วย
1. การส่งต่อนโยบาย (Policy Delivery)
2. การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ
3. การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย
4. การดําเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ(Street-Level Bureaucracy)
5. การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมายอํานาจหน้าที่ และการติดต่อสื่อสาร
6. การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

80. งานวิจัยใดของเพรสแมนและวิลดัฟสกีที่ทําให้เกิดวิชาการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(1) Implementation, 1937
(2) The Case of Stull Act, 1986
(3) The Case of Stull Act, 1987
(4) Implementation, 1978
(5) Implementation, 1973
ตอบ 5 หน้า 145 เพรสแมนและวิลด์ฟสกี (Pressman & Wildavsky) ได้เสนอผลงานการวิจัย การนํานโยบายไปปฏิบัติภายใต้ชื่อ “Implementation” เมื่อปี ค.ศ. 1973 ซึ่งผลงานฉบับนี้ ถือว่าเป็นก้าวหน้าสําคัญชิ้นหนึ่งที่ทําให้เกิดวิชาการนํานโยบายไปปฏิบัติขึ้นในการศึกษานโยบายสาธารณะ

81. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นขั้นตอนหนึ่งของการวิเคราะห์นโยบาย โดยเป็นขั้นตอน ที่มุ่งผลิตข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับผลของการดําเนินงานตามนโยบายว่าสามารถสนองความต้องการของสังคม สนองคุณค่าของสังคม และแก้ไขปัญหาที่เป็นเป้าหมายของนโยบายได้หรือไม่
(1) Emil J. Posavac & Raymond G. Carey
(2) James E. Anderson
(3) Charles O. Jones
(5) ศุภชัย ยาวะประภาษ
(4) William N. Dunn
ตอบ 4 หน้า 229 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบาย เป็นขั้นตอนหนึ่งของการวิเคราะห์นโยบาย โดยเป็นขั้นตอนที่มุ่งผลิตข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับผลของการดําเนินงานตามนโยบายว่าสามารถสนองความต้องการของสังคม สนองคุณค่า ของสังคม และแก้ไขปัญหาที่เป็นเป้าหมายของนโยบายได้หรือไม่

82. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการกระทําที่มีระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบถึงผลของนโยบาย โดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กําหนดไว้กับผลกระทบของการดําเนินการตามนโยบายที่มีต่อปัญหาของ
สังคมที่เป็นเป้าหมายที่นโยบายนั้นมุ่งแก้ไข
(1) Emit J. Posavac & Raymond G. Carey
(2) James E. Anderson
(3) Charles O. Jones
(4) William N. Dunn
(5) ศุภชัย ยาวะประภาษ
ตอบ 3 หน้า 229 ชาร์ลส์ โอ. โจนส์ (Charites O. Jones) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบาย เป็นการกระทําที่มีระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบถึงผลของนโยบายโดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กําหนดไว้กับผลกระทบของการดําเนินการตามนโยบายที่มีต่อปัญหาของสังคมที่เป็นเป้าหมายที่นโยบายนั้นมุ่งแก้ไข

83. เป็นเทคนิคที่เน้นประเมินผลนโยบายจากวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการ โดยเชื่อว่าวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการโดยผู้กําหนดนโยบายเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว
(1) Formal Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 1 หน้า 251 – 252 การประเมินผลแบบเป็นทางการ (Formal Evaluation) เป็นเทคนิคที่ใช้วิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ในการสร้างข่าวสารที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เกี่ยวกับผลของ นโยบาย โดยประเมินผลของนโยบายจากวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายที่กําหนดไว้ อย่างเป็นทางการ เพราะเชื่อว่าวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการโดยผู้กําหนดนโยบายเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว

84. ใครได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์
(1) Harold Lasswell
(2) Thomas R. Dye
(3) Stuart S. Nagel
(4) William Dunn
(5) Date E. Richards
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

85. ตัวแบบของยอร์ค เสนอบทความที่กําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จขององค์การ โดยกล่าวถึง
(1) การปฏิบัติ (Practice) กับความสําเร็จ (Achievement)
(2) ประสิทธิผล (Effectiveness) กับความสําเร็จ (Achievement)
(3) ความรับผิดชอบ (Responsibility) กับความสําเร็จ (Achievement)
(4) ประสิทธิผล (Effectiveness) กับความรับผิดชอบ (Responsibility)
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 177 ยอร์ค (Yorke) ได้เสนอบทความที่กําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จขององค์การภายใต้ go “Indicators of Institutional Achievement: Some Theoretical and Empirical Considerations” เมื่อปี ค.ศ. 1986 โดยเขากล่าวว่า ประสิทธิผลขององค์การเป็นกรอบ การวิเคราะห์ถึงความสําเร็จที่สําคัญของการอุดมศึกษา และเขาใช้คําว่า “ประสิทธิผล” (Effectiveness) กับ “ความสําเร็จ” (Achievement) ในความหมายเดียวกัน

86. เป็นเทคนิคที่มีหลักการ 5 ประการ คือ Selective Anonymity, Informed Multiple Advocacy, Polarized Statistical Response, Structured Conflict, Computer Conferencing
(1) Format Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
ตอบ 3 หน้า 260 – 261 วิธีเดลฟีเชิงนโยบาย (Policy Delphi) มีหลักการสําคัญ 5 ประการ คือ
1. ความเป็นนิรนามเฉพาะระยะแรก (Selective Anonymity)
2. ผู้เชี่ยวชาญต่างสํานัก (Informed Multiple Advocacy)
3. การวิเคราะห์ทางสถิติแบบแยกกลุ่ม (Polarized Statistical Response)
4. การจัดโครงสร้างความขัดแย้ง (Structured Conflict)
5. การประชุมโดยคอมพิวเตอร์ (Computer Conferencing)

87. มีวิธีการที่สําคัญวิธีหนึ่งคือ การจับคู่ (Matching) การแสวงหาคู่ในระดับบุคคล พื้นที่ หรือหน่วยการทดลอง ที่เกี่ยวข้องที่มีความคล้ายคลึงกันตั้งแต่หนึ่งคุณลักษณะที่ศึกษา
(1) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง
(2) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง
(3) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง
(4) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลองและกึ่งทดลอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

88. ข้อใดไม่ใช่ตัวแบบของวรเดช จันทรศร การนํานโยบายไปปฏิบัติทั้ง 6 ตัวแบบ
(1) ตัวแบบกระบวนการของระบบราชการ
(2) ตัวแบบด้านหลักการพื้นฐาน
(3) ตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผล
(4) ตัวแบบด้านการจัดการ
(5) ตัวแบบทางด้านการพัฒนาองค์การ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

89. รัฐจึงวางแผนการใช้ที่ดินของประเทศให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และศักยภาพของที่ดินตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 68
(2) มาตรา 70
(3) มาตรา 72
(4) มาตรา 74
(5) มาตรา 76
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 72 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐจึงวางแผนการใช้ที่ดินของประเทศให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และศักยภาพของที่ดินตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน
2. จัดให้มีการวางผังเมืองทุกระดับและบังคับการให้เป็นไปตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ
3. จัดให้มีมาตรการกระจายการถือครองที่ดินเพื่อให้ประชาชนสามารถมีที่ทํากินได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ฯลฯ

90. นโยบายจัดระเบียบสังคม เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Regulative Policy
(2) Distributive Policy
(3) Re-Distributive Policy
(4) Capitalization Policy.
(5) Ethical Policy
ตอบ 1 หน้า 5, (คําบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบาย ที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อให้ทุกคนต้องปฏิบัติตาม ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดกฎหมายต้องถูกลงโทษ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาค และเป็นธรรม เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายจราจร (เช่น โครงการเมาไม่ขับ การขับรถยนต์ต้องมีใบขับขี่) นโยบายจัดระเบียบสังคม เป็นต้น

91. ใครเสนอว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ
(1) Theodore Lowi
(2) Ira Sharkansky
(3) Cart J. Friedrich
(4) William Greenwood
(5) David Easton
ตอบ 2 หน้า 3 ไอรา ซาร์แคนสกี้ (Ira Sharkansky) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรม ต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ การควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจ ของเอกชน เป็นต้น”

92. การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบาย เป็นแนวโน้มในเรื่องใด
(1) แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า
(2) แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ
(3) แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย
(4) แนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบ
(5) แนวโน้มเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน
ตอบ 3หน้า 74 แนวโน้มการวิเคราะห์นโยบายในอนาคต มี 3 แนวโน้มใหญ่ คือ
1. แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า จะมุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายโดยหาทางเลือกที่ดีที่สุด ที่ทําให้ประชาชนพอใจ และสนองต่อคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม โดยการเน้นให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น เพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง
2. แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย จะมุ่งเน้นการหาวิธีการที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ โดยการพิจารณามิติทางการเมืองและการบริหาร และมีการนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขาวิชา มาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายในลักษณะสหวิทยาการ
3. แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ จะมุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงธุรกิจที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน (Cost-Benefit) รวมทั้งการคํานึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้นด้วย

93. วิทยานิพนธ์ “California Educational Policy Implementation : The Case of Stull Act” เป็นการศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติ มุ่งเน้นเรื่อง
(1) กฎหมาย
(2) สภาพแวดล้อมภายนอกโรงเรียน
(3) คุณภาพการศึกษา
(4) การบริหารงานโรงเรียน
(5) คุณภาพชีวิตของครูในโรงเรียน
ตอบ 1 หน้า 145 – 146 อีมิลี่ ไซมี โลวี ไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Lowe Brizendine) ได้เสนอ วิทยานิพนธ์เรื่อง “California Educational Policy Implementation : The Case of Stull Act” เมื่อปี ค.ศ. 1986 ซึ่งเป็นการศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติของรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเน้นเรื่องกฎหมาย “Stull Act” ซึ่งเป็นกฎหมายที่กําหนดมาตรการในการปฏิรูปโรงเรียน รัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นที่การประเมินครูเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อ ความสําเร็จทางการศึกษาของโรงเรียน

94. รัฐจึงส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ และวิสาหกิจ ขนาดย่อมและขนาดกลางของประชาชนและชุมชน ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 73
(2) มาตรา 74
(3) มาตรา 75
(4) มาตรา 77
(5) มาตรา 78
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 75 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐพึงจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน
2. ในการพัฒนาประเทศ รัฐจึงคํานึงถึงความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนา ด้านจิตใจ และความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนประกอบกัน
3. รัฐจึงส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ และวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลางของประชาชนและชุมชน ฯลฯ

95. ประเทศไทยมี New Engines of Growth ได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลาย
เชิงวัฒนธรรม
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(2) Thailand 4.0
(3) คําแถลงนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(4) ทิศทางกระแสต่างประเทศ
(5) ไม่ตรงกับข้อใดเลย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

96. นโยบายปฏิรูประบบราชการ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด
(1) Economic Policy
(2) Education Policy
(3) Social Policy
(4) Administrative Policy
(5) Politic & Defence Policy
ตอบ 4 หน้า 7, (คําบรรยาย) นโยบายทางการบริหาร (Administrative Policy) เป็นนโยบายรอง ที่กําหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ เช่น นโยบายธรรมาภิบาล นโยบายการปฏิรูประบบราชการ นโยบายเร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชน มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง นโยบายการบริหารงานบุคคล นโยบายการบริหารงานคลัง โครงการประเทศไทยใสสะอาด เป็นต้น

97. ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการจัดการบริการสาธารณะ
(1) Thomas R. Dye
(2) Ira Sharkansky
(3) David Easton
(4) James Anderson
(5) Theodore Lowi
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

98. ไม่สามารถจะไปประเมินกระบวนการทั้งหมดของนโยบายได้ จะนําไปใช้ได้เฉพาะในเรื่องของ Input
และ Product เท่านั้น
(1) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง
(2) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง
(3) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลองและกึ่งทดลอง
(4) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

99. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องสําหรับแวน มิเตอร์ และแวน ฮอร์น
(1) ให้ความสําคัญกับการบริหารงานบุคคล
(2) บทความเรื่อง “The Policy Implementation Process : A Conceptual Framework”
(3) สํารวจกระบวนการของการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(4) เสนอตัวแบบในการวิเคราะห์การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(5) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติในองค์การที่รับผิดชอบต่อนโยบายโดยตรง
ตอบ 1 หน้า 171 – 172 แวน มิเตอร์ และแวน ฮอร์น (Van Meter and Van Horn) ร่วมกันเขียน บทความเรื่อง “The Policy Implementation Process : A Conceptual Framework” เมื่อปี ค.ศ. 1975 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจกระบวนการของการนํานโยบายไปปฏิบัติพร้อมกับนําเสนอตัวแบบในการวิเคราะห์การนํานโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับผู้ปฏิบัติในองค์การที่รับผิดชอบต่อนโยบายโดยตรง และองค์การอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

100. ใครเสนอว่า นโยบายสาธารณะเป็นแนวทางที่เป็นบรรทัดฐานในการดําเนินงานของหน่วยงาน
(1) Theodore Lowi
(2) Ira Sharkansky
(3) Carl J. Friedrich
(4) William Greenwood
(5) David Easton
ตอบ 4 หน้า 3 วิลเลียม กรีนวูด (William Greenwood) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง
การตัดสินใจขั้นต้นของรัฐบาลเพื่อเป็นแนวทางที่เป็นบรรทัดฐานในการดําเนินงานของหน่วยงาน
ไปสู่วัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

Advertisement