การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3301 นโยบายสาธารณะ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
ตั้งแต่ข้อ 1. – 5. ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) Thomas R. Dye
(2) Stuart S. Nagel
(3) David Easton
(4) Carl J. Friedrich
(5) Theodore Lowi
1.ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะ คือ สิ่งที่รัฐเลือกที่จะทําหรือไม่ทํา
ตอบ 1 หน้า 3 โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใด
ก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา
2.ใครกล่าวว่านโยบายสาธารณะเกี่ยวข้องกับการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตอบ 3 หน้า 3 เดวิด อีสตัน (David Easton) กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและ แจกแจงคุณค่า (Values) ต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม
3. ใครเสนอว่า อุปสรรคจะเป็นแรงผลักดันให้มีการเสนอนโยบายเพื่อไปใช้ประโยชน์
ตอบ 4 หน้า 3 คาร์ล เจ. หรีดริช (Carl J. Friedrich) กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง ข้อเสนอ สําหรับแนวทางการดําเนินงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือรัฐบาล ภายในสภาพแวดล้อมแบบหนึ่ง ซึ่งอาจมีทั้งอุปสรรคและโอกาสบางประการ โดยอุปสรรคและโอกาสนี้จะเป็นแรงผลักดันให้มี การเสนอนโยบายขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ และเอาชนะสภาพการณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อนําไปสู่ เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง
4. ใครเกี่ยวข้องกับการจําแนกประเภทของนโยบายสาธารณะ
ตอบ 5 หน้า 5 – 6, (คําบรรยาย) ธีโอดอร์ โลวาย (Theodore Lowi) ได้เสนอให้จําแนกประเภท ของนโยบายตามเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ ออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy)
2. นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy)
3. นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ (Re-Distributive Policy)
5.ใครสนใจในการวิเคราะห์นโยบาย
ตอบ 1, 2 หน้า 72, (คําบรรยาย) นักวิชาการที่สนใจศึกษาการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis)
ได้แก่
1. เควด (E..S. Ouade)
2. วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn)
3. สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel)
4. โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) ฯลฯ
6.Stuart S. Nagel สนใจการศึกษานโยบายเรื่องใด
(1) Policy Analysis
(2) Policy Process
(3) Policy Impacts
(4) Policy Implementation
(5) Policy Evaluation
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ
7. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) Harold Lasswett กล่าวว่า นโยบายเกี่ยวข้องกับแผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น
(2) Thomas R. Dye นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจว่าจะทําหรือไม่ทํา
(3) Theodore Lowi เป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์
(4) David Easton เกี่ยวข้องกับการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 3, 58 – 59 ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่เน้น การสร้างภาพรวมและได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ได้ให้ความหมาย นโยบายสาธารณะร่วมกับอับราแฮม แคปแพลน (Abraham Kaplan) ว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการ ปฏิบัติงานต่าง ๆ” (ดูคําอธิบายข้อ 1. และ 2. ประกอบ)
8. ข้อใดไม่ใช่กระบวนการที่ Stuar: S. Nagel เสนอ
(1) การกําหนดเป้าหมายเพื่อบรรลุผล
(2) การกําหนดแผนงาน
(3) การกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์
(4) การวิเคราะห์ผลตอบแทนสูงสุด
(5) การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย
ตอบ 2 หน้า 239 – 240 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) ได้เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ ข้อมูลแบบง่ายสําหรับการวิเคราะห์หรือการประเมินนโยบาย ซึ่งมีหลักการหรือกระบวนการ
ที่สําคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. กําหนดเป้าหมายเพื่อการบรรลุผล หรือการให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด
2. กําหนดเป้าหมายสัมพันธ์
3. กําหนดคน สถานที่ หรือวัสดุอุปกรณ์ ให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น ๆ
4. กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย 5. ปรับความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย
9.การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด
(1) การก่อตัวของนโยบาย
(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย
ตอบ 2 หน้า 50 – 51, (คําบรรยาย) การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงการนําทรัพยากรต่าง ๆ ไปจัดสรรเพื่อก่อให้เกิดผลตามนโยบายซึ่งประกอบด้วย
1. การส่งต่อนโยบาย (Policy Delivery)
2. การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ
3. การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย
4. การดําเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ (Street-Level Bureaucracy)
5. การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมายอํานาจหน้าที่ และการติดต่อสื่อสาร
6. การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน
10. การเปลี่ยนจุดเน้นจากผลผลิตนโยบายมาสู่การศึกษากระบวนการนโยบายอยู่ในยุคใด
(1) ยุคเริ่มต้น
(2) ยุคพัฒนาให้เป็นศาสตร์
(3) ยุคการนําไปปฏิบัติให้บรรลุผล
(4) ยุคกึ่งกลางระหว่างเริ่มต้นและพัฒนา
(5) ในทุกยุค
ตอบ 3 หน้า 60 – 61 ยุคการนําไปปฏิบัติให้บรรลุผล เป็นยุคที่แนวคิดในการวิเคราะห์นโยบาย มีการเปลี่ยนจุดเน้นจากผลผลิตของนโยบาย (Policy Outputs) มาสู่การศึกษากระบวนการนโยบาย (Policy Process) และมีการเปลี่ยนวิธีการวิเคราะห์จากวิธีการเชิงปริมาณไปสู่วิธีการ ที่ผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพมากขึ้น
ตั้งแต่ข้อ 11. – 15. ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) ประสิทธิผล
(2) ประสิทธิภาพ
(3) ความเหมาะสม
(4) ความพอเพียง
(5) ความสามารถในการตอบสนอง
11. ความสามารถในการผลิตผลผลิตหรือให้บริการโดยมีต้นทุนต่อหน่วยต่ําสุด ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด ตอบ 2 หน้า 99, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง ความสามารถในการบรรลุ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายโดยใช้ต้นทุนต่ําสุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความสามารถในการผลิตผลผลิตหรือให้บริการโดยมีต้นทุนต่อหน่วยต่ําสุด
12. ความสามารถของทางเลือกที่สอดคล้องกับค่านิยมพื้นฐานของกลุ่มต่าง ๆ ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด ตอบ 5 หน้า 101 ความสามารถในการตอบสนอง (Responsiveness) หมายถึง ความสามารถ ของทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการ ความชอบ และค่านิยมพื้นฐานของกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งทางเลือกที่มีความสามารถในการตอบสนองสูงก็คือ ทางเลือกที่สามารถทําให้กลุ่มที่มี ความจําเป็นสูงได้รับผลจากทางเลือกนั้นด้วย
13. ความสามารถในการดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายภายใต้เงื่อนไขของ
ทรัพยากรที่มีอยู่ ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
ตอบ 4 หน้า 100 ความพอเพียง (Adequacy) หมายถึง ความสามารถในการดําเนินการให้บรรลุ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่ โดยทั่วไปเงื่อนไข ของทรัพยากรมักจะวัดในรูปของงบประมาณที่มีอยู่
14. การนําเกณฑ์อื่น ๆ มาพิจารณาพร้อม ๆ กัน เกี่ยวข้องกับเกณฑ์ประเภทใด
ตอบ 3 หน้า 101 ความเหมาะสม (Appropriateness) หมายถึง การพิจารณาคุณค่าและ ความเหมาะสมของเป้าหมายของทางเลือกที่กําหนดไว้ โดยการนําเกณฑ์อื่น ๆ หลายเกณฑ์ มาพิจารณาพร้อม ๆ กัน
15. ความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบาย ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด
ตอบ 1 หน้า 98, (คําบรรยาย) ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ความสามารถในการบรรลุ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความสามารถในการผลิตผลผลิตหรือให้บริการได้ครบถ้วนตรงตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้
16.Harold Lassweil เป็นบุคคลสําคัญที่เกิดขึ้นในยุคใด
(1) ยุคเริ่มต้น
(2) ยุคพัฒนาให้เป็นศาสตร์
(3) ยุคการนําไปปฏิบัติให้บรรลุผล
(4) ยุคกึ่งกลางระหว่างเริ่มต้นและพัฒนา
(5) ในทุกยุค
ตอบ 2 หน้า 58 – 59 ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) เป็นนักวิชาการที่เกิดขึ้นในยุคพัฒนา ให้เป็นศาสตร์ เขาได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” เพราะเป็นผู้ที่ผสมผสาน แนวความคิดทางวิทยาศาสตร์ ปรัชญาและสังคมศาสตร์เข้าด้วยกัน เนื่องจากเชื่อว่าวิธีการนี้ จะสามารถสร้างสังคมศาสตร์แบบใหม่ขึ้นมาได้
17. การศึกษาปัญหาที่สําคัญจะเกิดขึ้นในขั้นตอนใด
(1) การก่อตัวของนโยบาย
(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย
ตอบ 1หน้า 23 – 25 ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย
1. การศึกษาหรือพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน
2. การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา
3. ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ
4. การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา
18. การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบาย เป็นแนวโน้มในเรื่องใด
(1) แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า
(2) แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ
(3) แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย
(4) แนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบ
(5) แนวโน้มเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน
ตอบ 3 หน้า 74 แนวโน้มการวิเคราะห์นโยบายในอนาคต มี 3 แนวโน้มใหญ่ คือ
1. แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า จะมุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายโดยหาทางเลือกที่ดีที่สุด ที่ทําให้ประชาชนพอใจ และสนองต่อคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม โดยการเน้นให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น เพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง
2. แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย จะมุ่งเน้นการหาวิธีการที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ โดยการพิจารณามิติทางการเมืองและการบริหาร และมีการนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขาวิชา มาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายในลักษณะสหวิทยาการ
3. แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ จะมุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงธุรกิจที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน (Cost-Benefit) รวมทั้งการคํานึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้นด้วย
19. การจัดทําร่างนโยบายอยู่ในขั้นตอนใด
(1) การก่อตัวของนโยบาย
(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย
ตอบ 3หน้า 25 – 26, (คําบรรยาย) ขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย (Policy Formulation) เป็นขั้นตอนที่ต้องมีการศึกษาค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายเรื่องนั้น ๆ เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจของผู้กําหนดนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย
1. การกําหนดวัตถุประสงค์
2. การกําหนดทางเลือก
3. การจัดทําร่างนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ แนวทางและ มาตรการ การจัดลําดับทางเลือก และการหาข้อมูลประกอบการพิจารณา
20. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูง
(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีขนาดใหญ่
(3) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะกับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายขึ้นในประเทศที่ปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 61 – 62 การนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศต่าง ๆ อาจจะให้ผลแตกต่างกัน ดังนี้
1. การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูงจะกลายเป็นข้อจํากัดที่สําคัญของประเทศในโลกที่ 3 และในยุโรปบางประเทศ
2. การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีขนาดกลางหรือขนาดเล็ก
3. การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะสมกับประเทศที่ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
4. การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีการปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ
5. การนํานโยบายไปปฏิบัติจะมีประสิทธิผลมากในประเทศที่รัฐบาลมีเสถียรภาพสูง
ตั้งแต่ข้อ 21. – 23. ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) ปัญหาที่มีโครงสร้างแน่นอน
(2) ปัญหาที่มีโครงสร้างปานกลาง
(3) ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน
(4) ปัญหาที่ไม่มีตัวตนแท้จริง
(5) ปัญหาที่เชื่อถือไม่ได้
21. เมื่อผู้กําหนดนโยบายเปลี่ยน ทําให้การมองปัญหาเปลี่ยน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 4 หน้า 91 ปัญหาที่ไม่มีตัวตนแท้จริง (Artificiality Problem) คือ ปัญหาของนโยบาย จะขึ้นอยู่กับการรับรู้และการนิยามของแต่ละกลุ่มบุคคล และจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ตามอัตวิสัยของผู้กําหนดนโยบาย ไม่มีตัวตนที่แท้จริงหรือไม่ได้มีปัญหานั้นอยู่จริง ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้กําหนดนโยบาย ปัญหานโยบายก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
22. ปัญหาในการพัฒนาชนบท เป็นปัญหาประเภทใด
ตอบ 3 หน้า 92 ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน (Ill-Structured Problem) ถือเป็นปัญหาที่ยุ่งยาก และสลับซับซ้อนที่สุด เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องในการกําหนดประเด็นปัญหาจํานวนมาก ทางออก ในการแก้ปัญหามีหลายวิธีจนไม่จํากัด อรรถประโยชน์ไม่เป็นที่ยอมรับทั่วกัน นอกจากนี้ผลลัพธ์ ก็ไม่มีทางทราบได้ และการคํานวณหาความน่าจะเป็นของผลลัพธ์ก็ทําไม่ได้ด้วย เช่น ปัญหา ในการพัฒนาชนบท เป็นต้น
23. ปัญหาในการจัดซื้อยานพาหนะของหน่วยงาน เป็นปัญหาประเภทใด
ตอบ 1 หน้า 91, (คําบรรยาย) ปัญหาที่มีโครงสร้างแน่นอน (Well-Structured Problem) เป็นปัญหาที่มีผู้เกี่ยวข้องในการกําหนดประเด็นปัญหาจํานวนน้อย ทางออกในการแก้ปัญหา ค่อนข้างชัดเจนและมีเพียง 1 – 3 ทางเท่านั้น นอกจากนี้อรรถประโยชน์ก็เป็นที่ยอมรับกัน ของสาธารณชน และผลที่จะได้รับก็ค่อนข้างแน่นอนด้วย เช่น ปัญหาการจัดซื้อยานพาหนะ ปัญหาการจัดซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่ ปัญหาการจัดซื้อเรือตาน้ําของกองทัพเรือ ปัญหาการสร้าง ตึกทําการใหม่ เป็นต้น
24.จากตําราในผลการวิจัยเรื่องการยกระดับราคาพืชผลทางการเกษตร พืชผลใดที่ไม่ได้ศึกษา
(1) ข้าว
(2) ลําไย
(3) กาแฟ
(4) มันสําปะหลัง
(5) ศึกษาทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ 5 หน้า 189, 195 การวิจัยเรื่องการยกระดับราคาพืชผลทางการเกษตร เป็นการวิจัยเพื่อหา แนวทางในการแก้ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตร โดยพืชผลที่ทําการศึกษาวิจัย ได้แก่ ข้าว ลําไย ข้าวโพด มันสําปะหลัง และกาแฟ
25. ข้อใดไม่ใช่วิธีการศึกษานโยบายสาธารณะ
(1) ศึกษาในแง่ขอบเขตของนโยบาย
(2) ศึกษาในแง่กระบวนการของนโยบาย
(3) ศึกษาในแง่ผลผลิตของนโยบาย
(4) ศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี
(5) เป็นวิธีการศึกษานโยบายทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 8 แนวทางหรือวิธีการศึกษานโยบายสาธารณะ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
1. การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี (Theory or Model of Study)
2. การศึกษาในแง่ขอบเขตของนโยบาย (Policy Area Study)
3. การศึกษาในแง่กระบวนการของนโยบาย (Policy Process Study)
ตั้งแต่ข้อ 26 – 30. ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) การวิเคราะห์อรรถประโยชน์แบบพหุลักษณ์
(2) การวิจัยสะสมทางสังคม
(3) เดลฟีเชิงนโยบาย
(4) การวิเคราะห์อนุกรมเวลาแบบขาดตอน
(5) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผล
26. วิธีการใดที่เน้นการรวบรวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลการดําเนินนโยบายที่ผ่านมา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การวิจัยสะสมทางสังคม เป็นวิธีการที่เน้นการรวบรวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ
ผลการดําเนินนโยบายที่ผ่านมาแล้วนํามาเปรียบเทียบและประเมินเก็บสะสมไว้ประกอบ การประเมินผลนโยบายในครั้งต่อ ๆ ไป ซึ่งข้อมูลที่รวบรวมมานั้นมักเป็นข้อมูลที่มีบุคคลอื่น ได้จัดทําไว้แล้วในรูปของกรณีตัวอย่างและรายงานวิจัย
27. วิธีการใดที่พิจารณาสาเหตุของปัญหาว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอะไรบ้างและปัจจัยเหล่านั้นก่อให้เกิดผลอย่างไร
ตอบ 5 หน้า 113, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผล (Cause-Effect Model) เป็นวิธีการที่พิจารณาสาเหตุของปัญหาว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง และปัจจัยเหล่านั้นก่อให้เกิดผลอย่างไร นั่นคือ เป็นการวิเคราะห์ที่เน้นศึกษาสาเหตุหรือปัจจัยสําคัญที่เป็นตัวกําหนด นโยบายและทําให้นโยบายเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งศึกษาว่าเมื่อมีนโยบายนั้น ๆ แล้วก่อให้เกิด ผลกระทบอะไรบ้าง เพื่อนําไปสู่การวัดประสิทธิผลของนโยบาย ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้นักวิเคราะห์ นโยบายคิดอย่าสมเหตุสมผล อธิบายถึงสาเหตุของปัญหา และตั้งสมมุติฐานอย่างเป็นระบบ
28. วิธีการใดที่พิจารณาความรู้สึกและทัศนะที่เป็นอัตวิสัยของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย
ตอบ 1 หน้า 257 การวิเคราะห์อรรถประโยชน์แบบพหุลักษณ์ เป็นวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อพิจารณา ความรู้สึกและทัศนะที่เป็นอัตวิสัยของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย ซึ่งจุดเด่นของ วิธีการนี้อยู่ที่การพยายามดึงคุณค่าและความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แอบแฝงอยู่ไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนออกมาให้เห็นชัดเจน
29. ในกรณีที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักเพียงกลุ่มเดียวและต้องการทราบการเปลี่ยนแปลงภายหลังมีนโยบาย
ควรใช้วิธีการใด
ตอบ 4 หน้า 264 – 265 การวิเคราะห์อนุกรมเวลาแบบขาดตอน (Interrupted Time Series Analysis) เป็นวิธีการที่ช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังการนํานโยบาย ไปปฏิบัติในรูปของตารางและ/หรือค่าทางสถิติ และกราฟแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะสําหรับการประเมินผลนโยบายที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักเพียงกลุ่มเดียวหรือมีขอบเขตการ ดําเนินงานที่แน่นอนเพียงแห่งเดียว จุดเด่นของวิธีการนี้ คือ ช่วยให้ผู้ประเมินผลนโยบาย สามารถพิจารณาผลของนโยบายได้อย่างเป็นระบบ โดยสามารถแยกแยะผลของนโยบาย ที่เกิดขึ้นจริงได้จากผลที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุอื่น
30. วิธีการใดที่เน้นเอาข้อคิดและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญมาเปรียบเทียบกันเพื่อหาข้อสรุป
ตอบ 3 หน้า 259 วิธีเดลฟีเชิงนโยบาย (Policy Delphi) เป็นวิธีการที่นําเอาข้อคิดและความเห็น ของผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงในเนื้อหาและเรื่องราวของนโยบายที่กําลังประเมิน มาประมวลและเปรียบเทียบกันเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับผลของนโยบาย
ตั้งแต่ข้อ 31. – 35. ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีกลุ่ม
(2) ทฤษฎีผู้นํา
(3) ทฤษฎีสถาบันนิยม
(4) ทฤษฎีการตัดสินใจ
(5) ทฤษฎีระบบ
31. นโยบายสาธารณะได้มาจากการเจรจาต่อรอง เกี่ยวข้องกับทฤษฎีอะไร
ตอบ 1 หน้า 107, (คําบรรยาย) ทฤษฎีกลุ่ม (Group Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะเป็น ผลผลิตของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มผลประโยชน์กับนโยบายสาธารณะ โดยชี้ให้เห็นว่านโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตที่ได้มาจาก การเจรจาต่อรอง การประนีประนอม และการถ่วงดุลผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ
32. สถาบันของรัฐเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะเนื่องจากมีความชอบธรรม เกี่ยวข้องกับทฤษฎีอะไร
ตอบ 3 หน้า 108, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสถาบันนิยม (Institutional Theory) อธิบายว่า นโยบาย สาธารณะเป็นผลผลิตของสถาบัน โดยสถาบันหรือหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้กําหนดนโยบาย สาธารณะเนื่องจากมีความชอบธรรม มีความเป็นสากล และมีการผูกขาดอํานาจบังคับ นั่นคือ เป็นการพยายามเชื่อมโยงโครงสร้างหน้าที่ของสถาบันรัฐบาลกับการกําหนดนโยบายสาธารณะ เข้าด้วยกัน โดยชี้ให้เห็นว่าสถาบันรัฐบาลเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะเพราะเป็นอํานาจหน้าที่ อันชอบธรรม ซึ่งทฤษฎีนี้จะสะท้อนให้เห็นว่านโยบายสาธารณะก็คือนโยบายของรัฐบาลนั่นเอง
33. ตัวแบบเหตุผลนิยมอยู่ในทฤษฎีใด
ตอบ 4 หน้า 108 ตัวแบบเหตุผลนิยม (Rational Comprehensive Model) เป็นตัวแบบที่อยู่ใน ทฤษฎีการตัดสินใจ (Decision Making Theory) อธิบายว่า นโยบายเกิดจากการตัดสินใจ ภายใต้หลักการของเหตุและผล โดยอาศัยข้อมูล ข้อเท็จจริง ประกอบกับการคํานึงถึงคุณค่า ต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อให้ได้มาซึ่งนโยบายที่ดีที่สุดและนําไปสู่การ บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ หรือเป็นนโยบายที่รัฐบาลจัดทําขึ้นเพื่อให้สังคมได้รับ ประโยชน์สูงสุด ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องเกิดความพอใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลตอบแทน ที่ได้รับมากกว่าค่าใช้จ่ายที่เสียไป
34. สังคมถูกแบ่งเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจกับกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ คนกลุ่มน้อยเป็นผู้กําหนดนโยบาย
ตามความต้องการหรือค่านิยมของตน เกี่ยวข้องกับทฤษฎีอะไร
ตอบ 2 หน้า 106 – 107, (คําบรรยาย) ทฤษฎีผู้นํา (Elite Theory) อธิบายว่า
1. สังคมถูกแบ่งเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจกับคนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ โดยผู้นําซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคมแต่มีอํานาจเป็นผู้ตัดสินหรือจัดสรรคุณค่าของสังคมและกําหนดนโยบายสาธารณะให้เป็นไปตามความต้องการหรือค่านิยมของตน ขณะที่ประชาชนหรือ คนส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนตัดสินใจในนโยบายสาธารณะด้วย
2. ผู้นําจะแสดงความสมานฉันท์กับค่านิยมพื้นฐานของระบบสังคมและพยายามสงวนรักษาระบบไว้
3. นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนถึงความต้องการของมวลชน แต่เป็นการสะท้อนให้เห็น
ค่านิยมของผู้นํามากกว่า
4. ผู้นํามีอิทธิพลต่อมวลชนมากกว่ามวลชนมีอิทธิพลต่อผู้นํา ฯลฯ
35. สิ่งแวดล้อม เป็นตัวแปรที่สําคัญของทฤษฎีอะไร
ตอบ 5 หน้า 108, (คําบรรยาย) ทฤษฎีระบบ (System Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตของระบบ โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สําคัญ 5 ตัวแปร คือ
1. ปัจจัยนําเข้า (Inputs)
2. กระบวนการ (Process)
3. ปัจจัยนําออกหรือผลผลิต (Outputs)
4. ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
5. สิ่งแวดล้อม (Environment)
36. เพรสแมนและวิลดัฟสก็ให้ความหมายของการนํานโยบายไปปฏิบัติอย่างไร
(1) กระบวนการทํางานทางปฏิสัมพันธ์เชิงนโยบาย
(2) การจัดหาวิธีในการดําเนินการให้สอดคล้องกับเป้าหมาย
(3) ฝ่ายบริหารเป็นผู้ออกนโยบาย ข้าราชการเป็นฝ่ายปฏิบัติ
(4) การนําไปปฏิบัติ ทําให้สําเร็จ เติมเต็ม ผลลัพธ์ ทําให้สมบูรณ์
(5) ภารกิจหลักของภาครัฐในการดําเนินงานต่าง ๆ
ตอบ 4 หน้า 142 – 143 เพรสแมนและวิลด์ฟสกี (Pressman & Wildavsky) กล่าวว่า การนํานโยบาย ไปปฏิบัติ คือ การนําไปปฏิบัติ ทําให้สําเร็จ เติมเต็ม ผลลัพธ์ ทําให้สมบูรณ์ และการนํานโยบาย ไปปฏิบัติให้เกิดผลสําเร็จนั้นต้องกําหนดรูปแบบของนโยบายไปพร้อมกับวิธีการนํานโยบายไปปฏิบัติ
37.พอล เอ. ซาบาเดียร์ และดาเนียล เอ. แมซมาเนียน ให้ความหมายของการนํานโยบายไปปฏิบัติอย่างไร
(1) กระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายที่เกิดขึ้นจากกฎหมาย
(2) กฤษฎีกาที่ออกมาจากพรรคการเมืองเสนอเข้าสภา
(3) แนวการทํางานของรัฐที่เน้นการบริการสาธารณะ
(4) รัฐจะกระทําสิ่งต่าง ๆ บริการประชาชน
(5) การตัดสินพิพากษาอรรถคดีคําสั่งของฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ
ตอบ 1 หน้า 142 พอล เอ. ซาบาเดียร์ และดาเนียล เอ. แมชมาเนียน (Paul A. Sabatier and Daniel A. Mazmanian) กล่าวว่า การนํานโยบายไปปฏิบัติ หมายถึง กระบวนการตัดสินใจ เชิงนโยบายที่เกิดขึ้นจากกฎหมาย การตัดสินพิพากษาอรรถคดีคําสั่งของฝ่ายบริหาร หรือ กฤษฎีกาที่ออกมาจากสถาบันต่าง ๆ
38. นักวิชาการท่านใดมองการนํานโยบายไปปฏิบัติเป็นกระบวนการขององค์การที่ต่อเนื่องเป็นพลวัต ปรับแต่ง โดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายและกลยุทธ์ของนโยบายกับสภาพขององค์การที่รับผิดชอบ
(1) โทมัส สมิท
(2) มิลบรีย์ แมคลัฟลิน
(3) แวน มิเตอร์และแวน ฮอร์น
(4) มอลคอม กอกจิน
(5) อีมิลี ไซมี โลวี ไบรเซนไดน์
ตอบ 2 หน้า 143 มิลบรีย์ แมคลัฟลิน (Milbrey McLaughlin) มองว่า การนํานโยบายไปปฏิบัติ เป็นกระบวนการขององค์การที่ต่อเนื่องเป็นพลวัต ซึ่งได้รับการปรับแต่งและหล่อหลอมโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายและกลยุทธ์ของนโยบายกับสภาพขององค์การที่รับผิดชอบในการดําเนินการให้สําเร็จลุล่วง
39.ผลงาน Implementation (1973) เกิดขึ้นมาจากองค์ความรู้เชิงทฤษฎีและการวิจัยเชิงประจักษ์
2 สาขาวิชา คือ
(1) วิชารัฐศาสตร์และวิชารัฐประศาสนศาสตร์
(2) วิชารัฐศาสตร์และวิชาการบริหารรัฐกิจ
(3) วิชารัฐศาสตร์และวิชาการปกครอง
(4) วิชารัฐประศาสนศาสตร์และการวิเคราะห์ระบบ
(5) วิชารัฐประศาสนศาสตร์และวิชาการบริหารรัฐกิจ
ตอบ 4 หน้า 61 ผลงาน Implementation (1973) ของเพรสแมนและวิลดัฟสกี (Pressman & Wildavsky) เกิดขึ้นมาจากองค์ความรู้เชิงทฤษฎีและการวิจัยเชิงประจักษ์ 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) และการวิเคราะห์ระบบ (Systems Approach)
40. สรุปการนํานโยบายไปปฏิบัติ หมายถึง
(1) กระบวนการขององค์การที่ต่อเนื่องเป็นพลวัต
(2) การดําเนินงานให้สําเร็จลุล่วงตามเป้าหมายของกลุ่มผู้ปฏิบัติ
(3) การดําเนินงานให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้
(4) กระบวนการในทางปฏิบัติที่จะทําให้นโยบายใด ๆ บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กําหนด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 143 กล่าวโดยสรุป การนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) หมายถึง กระบวนการในทางปฏิบัติที่จะทําให้นโยบายใด ๆ บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กําหนดไว้
41. วิทยานิพนธ์ “California Educational Policy Implementation : The Case of Stull Act” เป็นการศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติ มุ่งเน้นเรื่อง
(1) การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
(2) คุณภาพชีวิตของครูและนักศึกษาในโรงเรียน
(3) กฎหมาย
(4) สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา
(5) ประกันคุณภาพการศึกษา
ตอบ 3 หน้า 145 – 146 อีมิลี ไซมี โลว์ ไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Lowe Brizendine) ได้เสนอ วิทยานิพนธ์เรื่อง “California Educational Policy Implementation : The Case of Stull Act” เมื่อปี ค.ศ. 1986 ซึ่งเป็นการศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติของรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเน้นเรื่องกฎหมาย “Stull Act” ซึ่งเป็นกฎหมายที่กําหนดมาตรการในการปฏิรูปโรงเรียน รัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นที่การประเมินครูเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อ ความสําเร็จทางการศึกษาของโรงเรียน
42. ข้อใดถูกสําหรับแนวคิดของแรนดาล ริปเลย์ และเกรซ แฟรงกลิน เกี่ยวกับการนํานโยบายไปปฏิบัติ
(1) กระทรวงเป็นหน่วยงานหลัก กรมเป็นหน่วยงานในสังกัด
(2) มีผู้เกี่ยวข้องสําคัญ ๆ มากมาย
(3) หน่วยงานมีหลายระดับทั้งรัฐและเอกชน
(4) ผู้เกี่ยวข้องล้วนมีวัตถุประสงค์เหมือนกัน
(5) นโยบายและโครงการมักเป็นของรัฐและเอกชนรับผิดชอบ
ตอบ 2 หน้า 144 แรนดาล ริปเลย์ และเกรซ แฟรงกลิน (Randell Ripley and Grace Franklin) ได้พิจารณาลักษณะของการนํานโยบายไปปฏิบัติว่ามีลักษณะสําคัญ 5 ประการ คือ
1. มีผู้เกี่ยวข้องสําคัญ ๆ มากมาย
2. ผู้เกี่ยวข้องล้วนมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลายและมักแตกต่างกัน
3. นโยบายและโครงการของรัฐบาลมักขยายใหญ่โตขึ้นทุกวัน
4. หน่วยงานในหลายระดับ จากหลายกระทรวง ทบวง กรม มีส่วนร่วมในการดําเนินกิจการ
5. มีปัจจัยหลายประการที่สําคัญมากและอยู่นอกเหนือการควบคุม
43. การศึกษาของเจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ ได้ค้นพบปัจจัยตัวที่ 7 คือข้อใด
(1) เป้าหมายของนโยบาย
(2) แรงจูงใจของผู้ปฏิบัตินโยบาย
(3) การจัดสรรทรัพยากร
(4) การแสวงหาผลประโยชน์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 147 – 148 การศึกษาของเจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ ในเรื่องการปฏิบัตินโยบายของ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้จังหวัดนราธิวาสเป็นกรณีศึกษานั้น ได้ค้นพบปัจจัยตัวที่ 7 คือ การแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งมีส่วนสําคัญในการกําหนดความล้มเหลวหรือความสําเร็จของ การปฏิบัตินโยบาย
44. นักวิชาการท่านใดกล่าวว่า นโยบาย ตัวเชื่อม และสมรรถนะจะมีผลต่อพฤติกรรมในการนํานโยบาย ไปปฏิบัติ เชื่อมโยงระหว่างนโยบายและผลปฏิบัติการ
(1) แวน มิเตอร์ และแวน ฮอร์น
(2) มอลคอม กอกจิน
(3) ยูยีน บาร์แดช
(4) ดาเนียล เอ. แมชมาเนียน
(5) แมคลัฟลิน
ตอบ 1 หน้า 152 แวน มิเตอร์ และแวน ฮอร์น (Van Meter & Van Horn) ได้กําหนดถึงผลต่อ พฤติกรรมในการนํานโยบายไปปฏิบัติว่าต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติ ซึ่งจะเชื่อมโยงระหว่าง นโยบายและผลปฏิบัติการ ได้แก่ 1. นโยบาย (Policy)
2. ตัวเชื่อม (Linkage)
3. สมรรถนะในการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Performance)
45.มอลคอม กอกจิน ได้ศึกษาเพิ่มเติมตัวแปรหลักที่ส่งผลต่อศักยภาพของการนํานโยบายไปปฏิบัติ ข้อใดถูกต้อง
(1) องค์การ กระบวนการ และการดําเนินงาน
(2) นโยบาย องค์การ และผู้ปฏิบัติงาน
(3) นโยบาย ขั้นตอน และการประเมิน
(4) นโยบาย ผู้ปฏิบัติ และการควบคุม
(5) นโยบาย เป้าหมาย และผู้ปฏิบัติงาน
ตอบ 2 หน้า 156 มอลคอม กอกจิน (Malcom Goggin) ได้เสนอผลจากการศึกษาเพิ่มเติม โดยพบว่า ตัวแปรหลักที่ส่งผลต่อศักยภาพของการนํานโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ นโยบาย องค์การ และ ผู้ปฏิบัติงาน โดยมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น สภาพแวดล้อมมาเกี่ยวข้องด้วย
46.มอลคอม กอกจิน เสนอรูปแบบของนโยบาย ประกอบด้วย
(1) รูปแบบการเมือง รูปแบบการปกครอง รูปแบบความร่วมมือ
(2) รูปแบบราชการ รูปแบบการบริหาร รูปแบบบูรณาการ
(3) รูปแบบการเมือง รูปแบบประสานงาน รูปแบบราชการ
(4) รูปแบบการเมือง รูปแบบการบริหาร รูปแบบผสม (การบริหารการเมือง)
(5) รูปแบบการเมือง รูปแบบการปกครอง รูปแบบราชการ
ตอบ 4 หน้า 156, 159 มอลคอม กอกจิน (Malcom Goggin) ได้เสนอรูปแบบของนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบการเมือง (Political)
2. รูปแบบการบริหาร (Administration)
3. รูปแบบผสมหรือการบริหารการเมือง (Political Administrative)
47. ยูยืน บาร์แดช พบว่าปัญหาในการนํานโยบายไปปฏิบัติล้มเหลวเพราะเหตุใด
(1) สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ปฏิบัติแตกต่างกัน
(2) ความไม่ต่อเนื่องของการดําเนินงาน
(3) ความไม่เห็นพ้องระหว่างผู้ปฏิบัติฝ่ายต่าง ๆ
(4) ปัญหาการเมืองท้องถิ่นแทรกแซงการเมืองระดับชาติ
(5) ปัญหาการประสานงานระหว่างหน่วยงาน
ตอบ 3 หน้า 157 ยูยีน บาร์แดช (Eugene Bardach) ได้ทําการศึกษาการปฏิรูปนโยบายด้าน สุขภาพจิตในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพบปัญหาในการนํานโยบายไปปฏิบัติ ล้มเหลวเพราะเกิดจากความไม่เห็นพ้องระหว่างผู้ปฏิบัติฝ่ายต่าง ๆ หรือมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ปฏิบัติในลักษณะที่ซับซ้อนจนเกินไป รวมทั้งมีการแทรกแซงการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นเกมส์ที่ทางผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจกําหนดขึ้นเพื่อก่อให้เกิดการต่อรองจาก ฝ่ายต่าง ๆ
48. ทฤษฎีของเพรสแมนและวิลด์ฟสกีกล่าวถึง X คือ ณ เวลาที่ 11 ส่วน Y คือ 2 ความหมายของ t2 คือ
(1) ห่างจากกันไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง
(2) การนําไปปฏิบัติต่อเนื่อง
(3) การดําเนินงานตามวัตถุประสงค์
(4) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ณ เวลาถัดไป
(5) ผลผลิตที่เกิดขึ้น
ตอบ 4 หน้า 164 เพรสแมนและวิลดัฟสกี (Pressman & Wildavsky) กล่าวว่า นโยบายโดยทั่วไป จะต้องประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เงื่อนไขแรกเริ่มและผลที่มุ่งหวัง ดังนั้นถ้ามีเงื่อนไข X เกิดขึ้น ณ เวลาที่ 11 จะเกิดผลลัพธ์ Y ขึ้น ณ เวลาถัดไปคือ t2
49. แนวคิดเชิงระบบของเดวิด อีสตัน ประกอบด้วยข้อใดบ้าง
(1) สภาพแวดล้อม อุปสงค์ กระบวนการ นโยบาย การปฏิบัติ ข้อมูลย้อนกลับ
(2) สภาพแวดล้อมภายใน สภาพแวดล้อมภายนอก นโยบาย การปฏิบัติ ผลกระทบ
(3) ทรัพยากร อุปสงค์ กระบวนการ นโยบาย การปฏิบัติ ข้อมูลย้อนกลับ
(4) ทรัพยากร กระบวนการ นโยบาย การปฏิบัติ ข้อมูลย้อนกลับ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 172, (คําบรรยาย) เดวิด อีสตัน (David Easton) ได้เสนอแนวคิดเชิงระบบ โดยมี ตัวแปรสําคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้อง 6 ตัวแปร คือ 1. สภาพแวดล้อม 2. อุปสงค์และทรัพยากร 3. กระบวนการทางการเมือง 4. นโยบาย 5. การปฏิบัติ 6. ข้อมูลย้อนกลับ
50. ข้อใดไม่ใช่ตามทฤษฎีของมองจอย (Montjoy) และโอทูเล (O’Toole)
(1) ลักษณะของกิจกรรม/นโยบาย
(2) การจัดสรรทรัพยากร
(3) ความเฉพาะเจาะจง และความไม่ชัดเจนของคําสั่งหรือนโยบาย
(4) ความต้องการทรัพยากรใหม่ และไม่ต้องการสําหรับการปฏิบัติตามคําสั่งหรือนโยบาย
(5) มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบายหลากหลาย
ตอบ 5 หน้า 165 – 166 มองจอย (Montjoy) และโอทูเล (O’Toole) ได้เสนอปัจจัยที่นํามาสร้าง เป็นกรอบทฤษฎีในการวิเคราะห์การนํานโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1.ความเฉพาะเจาะจง และความไม่ชัดเจนของคําสั่งหรือนโยบาย
2. ความต้องการทรัพยากรใหม่ และไม่ต้องการสําหรับการปฏิบัติตามคําสั่งหรือนโยบาย
51. เออร์วิน ฮาร์โกรฟ เขียนบทความเรื่องอะไรที่เสนอข้อสมมติเพื่อการทดสอบการนํานโยบายจากรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกาไปปฏิบัติในระดับหน่วยงานปฏิบัติ
(1) The Search for Implementation Theory (1983)
(2) Implementation (1973)
(3) The Policy Implementation Process (1973)
(4) The Policy Implementation Process : A Conceptual Framework (1975)
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 168 เออร์วิน ฮาร์โกรฟ (Erwin Hargrove) ได้เสนอข้อสมมติเพื่อการทดสอบการนํา นโยบายที่กําหนดโดยรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาไปปฏิบัติในระดับหน่วยงานปฏิบัติไว้ใน บทความเรื่อง “The Search for Implementation Theory” ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1983 โดยเขาได้ให้ความหมายของการนํานโยบายไปปฏิบัติว่าประกอบด้วย 2 นัย คือ
1. การดําเนินการตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
2. การดําเนินการซึ่งหมายรวมถึงการยินยอมปฏิบัติตามกฎหมายและการปฏิบัติงานประจําขององค์การอย่างคงเส้นคงวา
52. โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Srnith) เสนอตัวแบบการนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศโลกที่สาม โดยเรียกตัวแบบนี้ว่า
(1) The Policy Implementation
(2) Distributive Policy
(3) Implementation Organization
(4) Policy Implementation
(5) A Model of the Policy Implementation Process
ตอบ 5 หน้า 171 โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) ได้เขียนบทความเรื่อง “The Policy
Implementation Process” เมื่อปี ค.ศ. 1973 เพื่อเสนอตัวแบบของกระบวนการนํานโยบาย ไปปฏิบัติในประเทศโลกที่สาม และได้ประยุกต์แนวความคิดเชิงระบบสําหรับใช้ในการศึกษา การนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศโลกที่สาม โดยเรียกตัวแบบนี้ว่า “A Model of the Policy Implementation Process”
53. เบอร์แมน เสนอกรอบการวิเคราะห์การนํานโยบายไปปฏิบัติ 2 ระดับ คือ
(1) ระดับบน และระดับล่าง
(2) ระดับผู้บังคับบัญชา และระดับผู้ปฏิบัติงาน
(3) ระดับกลาง และระดับภูมิภาค
(4) ระดับมหภาค และระดับจุลภาค
(5) ระดับหน่วยงาน และระดับผู้ปฏิบัติงาน
ตอบ 4 หน้า 175 พอล เบอร์แมน (Paul Berman) ได้เสนอกรอบการวิเคราะห์การนํานโยบายไปปฏิบัติ 2 ระดับ คือ
1. การนํานโยบายไปปฏิบัติในระดับมหภาค (Macro-Implementation)
2. การนํานโยบายไปปฏิบัติในระดับจุลภาค (Micro-Implementation)
54. ตัวแบบของแวน มิเตอร์ และแวน ฮอร์น ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) ตัวแบบ “A Model of the Policy Implementation Process”
(2) ประกอบด้วย 6 ตัวแปรอิสระ
(3) มาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบายเป็นตัวแปรอิสระ
(4) การสื่อสารระหว่างองค์การและกิจกรรมการนํานโยบายไปปฏิบัติเป็นตัวแปรอิสระ
(5) ผลของการนํานโยบายไปปฏิบัติเป็นตัวแปรตาม
ตอบ 2 หน้า 171 – 173 แวน มิเตอร์ และแวน ฮอร์น (Van Meter and Van Horn) ได้เสนอตัวแบบ ในการวิเคราะห์การนํานโยบายไปปฏิบัติ โดยตั้งชื่อตัวแบบว่า “A Model of the Policy Implementation Process” ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร 6 ตัวแปร ได้แก่
1. มาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย
2. ทรัพยากร
3. การสื่อสารระหว่างองค์การและกิจกรรมการนํานโยบายไปปฏิบัติ
4. ลักษณะองค์กรในการนํานโยบายไปปฏิบัติ
5. เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
6. ผลของการนํานโยบายไปปฏิบัติ โดยตัวแปรที่ 1 – 5 นั้นเป็นตัวแปรอิสระ และตัวแปรที่ 6 เป็นตัวแปรตาม
55. ข้อใดถูกต้องตามแนวคิดของกอาจีนและคณะ
(1) ฐานคติ “การนํานโยบายไปปฏิบัติขึ้นอยู่กับตัวแปรทั้งระดับ “Top-Down” และ “Bottom-Up
(2) ตัวแบบที่นําเสนอได้รับอิทธิพลแนวความคิดการวิเคราะห์ระบบการเมืองของเดวิด อีสตัน
(3) พบ 4 ตัวแปรอิสระ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 173 – 174 กอกจินและคณะ ได้เสนอตัวแบบการนํานโยบายไปปฏิบัติภายใต้ฐานคติ ที่ว่าการนํานโยบายไปปฏิบัติขึ้นอยู่กับตัวแปรทั้งระดับ “Top-Down” และ “Bottom-up โดยตัวแบบของกอกจีนและคณะได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดการวิเคราะห์ระบบการเมืองของเดวิด อีสตัน ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรอิสระ 4 ตัวแปร ดังนี้
1. การชี้นําและข้อจํากัดของรัฐบาลกลาง
2. การชี้นําและข้อจํากัดของรัฐบาลส่วนท้องถิ่น
3. ความสามารถของรัฐ
4. การตัดสินใจของรัฐ
56. ข้อใดไม่ใช่ประสิทธิผลขององค์การ ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล 11 ตัวแปรตามแนวคิดของยอร์ค (Yorke)
(1) ความสําเร็จในเป้าหมายที่เป็นทางการ
(2) ทรัพยากร
(3) คุณภาพและการพัฒนาบุคลากร
(4) ทุนการศึกษา
(5) คุณภาพและการพัฒนานักศึกษา
ตอบ 4 หน้า 178 ยอร์ค (Yorke) ได้เสนอตัวแปรที่แสดงถึงความสัมพันธ์เชิงเหตุผล 11 ตัวแปร ดังนี้
1. ความสําเร็จในเป้าหมายที่เป็นทางการ
2. ทรัพยากร
3. คุณภาพและการพัฒนาบุคลากร
4. หลักสูตร
5. คุณภาพและการพัฒนานักศึกษา
6. บรรยากาศในสถาบัน
7. การวิจัยและ การให้คําปรึกษา
8. การบริหารสถาบัน โครงสร้างและกระบวนการ
9. ความสัมพันธ์กับ ภายนอก
10. ความสามารถในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
11. ชื่อเสียงของสถาบัน
57. โรเบิร์ต นาคามูระ และแฟรงค์ (สมอลวูด เสนอเกณฑ์การประเมินความสําเร็จหรือล้มเหลวของนโยบาย ข้อใดถูกต้อง
(1) ประสิทธิภาพ คุณภาพงานสัมพันธ์กับต้นทุน
(2) หน่วยงานภาครัฐต้องปฏิบัติหลายภารกิจ
(3) ความพึงพอใจของบุคคลภายใน
(4) การสนองตอบต่อบุคลากร
(5) ขั้นตอนมีมากมาย
ตอบ 1 หน้า 180 โรเบิร์ต นาคามูระ และแฟรงค์ สมอลวูด ได้เสนอเกณฑ์การประเมินความสําเร็จ หรือล้มเหลวของนโยบายไว้ 5 เกณฑ์ ดังนี้
1. การบรรลุเป้าหมายของนโยบาย เห็นผลเป็นรูปธรรม
2. ประสิทธิภาพ คุณภาพงานที่สัมพันธ์กับต้นทุน
3. ความพึงพอใจของบุคคลภายนอก
4. การสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้า
5. การดํารงอยู่ของระบบ
58. ข้อใดไม่ใช่ตัวแบบการนํานโยบายไปปฏิบัติของวรเดช จันทรศร
(1) ตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผล
(2) ตัวแบบด้านองค์การและการจัดการ
(3) ตัวแบบทางด้านการพัฒนาองค์การ
(4) ตัวแบบกระบวนการทางการเมือง
(5) ตัวแบบกระบวนการของระบบราชการ
ตอบ 2 หน้า 182 – 183 วรเดช จันทรศร ได้เสนอบทความเรื่อง “การนํานโยบายไปปฏิบัติ : ตัวแบบและคุณค่า” เมื่อปี ค.ศ. 1984 ซึ่งในบทความนี้ได้นําเสนอตัวแบบการศึกษา
การนํานโยบายไปปฏิบัติ 6 ตัวแบบ คือ
1. ตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผล
2. ตัวแบบทางด้านการจัดการ
3. ตัวแบบทางด้านการพัฒนาองค์การ
4. ตัวแบบกระบวนการของระบบราชการ
5. ตัวแบบกระบวนการทางการเมือง
6. ตัวแบบทั่วไป
59.วรเดช จันทรศร กล่าวถึงสาระสําคัญของตัวแบบทั่วไปว่าประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ
(1) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านขั้นตอนการดําเนินงาน และปัจจัยต่อผู้ปฏิบัติงาน
(2) ปัจจัยการสื่อสาร ปัจจัยด้านปัญหาทางสมรรถนะ และปัจจัยด้านตัวผู้ปฏิบัติ
(3) ปัจจัยการสื่อสาร ปัจจัยด้านการลงทุน และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
(4) ปัจจัยด้านการลงทุน ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และปัจจัยด้านตัวผู้ปฏิบัติงาน
(5) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยการสื่อสาร และปัจจัยองค์การ
ตอบ 2 หน้า 183 – 184 วรเดช จันทรศร ได้กล่าวถึงสาระสําคัญของตัวแบบทั่วไปว่าประกอบด้วย ปัจจัยหลัก 3 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยด้านการสื่อสาร
2. ปัจจัยด้านปัญหาทางสมรรถนะ
3. ปัจจัยด้านตัวผู้ปฏิบัติ
60. จากนโยบายและมาตรการของรัฐในการยกระดับราคาสินค้าเกษตร จากตํารา POL 3301 นั้น ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) มาตรการแทรกแซงตลาดเมล็ดกาแฟ
(2) มาตรการแก้ไขปัญหาทุเรียน
(3) มาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
(4) มาตรการแทรกแซงตลาดมันสําปะหลัง
(5) มาตรการรับจํานําข้าวเปลือกนาปีและนาปรัง
ตอบ 2 หน้า 195 นโยบายและมาตรการของรัฐในการยกระดับราคาสินค้าเกษตร มีดังนี้
1. มาตรการรับจํานําข้าวเปลือกนาปีและนาปรัง
2. มาตรการแก้ไขปัญหาลําไย
3. มาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
5. มาตรการแทรกแซงตลาดเมล็ดกาแฟ
4. มาตรการแทรกแซงตลาดมันสําปะหลัง
61. ข้อใดไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและมาตรการของรัฐในการยกระดับราคาสินค้าเกษตร
(1) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(2) กระทรวงพาณิชย์
(3) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(4) กรมการค้าภายใน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 218 หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและมาตรการของรัฐในการยกระดับ ราคาสินค้าเกษตร มีดังนี้
1. กรมการค้าภายใน
2. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
3. องค์การคลังสินค้า
4. กระทรวงพาณิชย์
5. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
6. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
62. บทวิเคราะห์นโยบายและมาตรการของรัฐในการยกระดับราคาสินค้าเกษตร ข้อใดถูกต้อง
(1) รัฐควรเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมช่วยเหลือเกษตรกร
(2) รัฐควรมุ่งให้เกษตรกรมีส่วนรวมในการบริหารจัดการผลผลิตของตัวเองมากขึ้น
(3) รัฐไม่มีความต่อเนื่องในการช่วยเหลือเกษตรกร
(4) นอกจากสินค้าจากเกษตรกร ควรช่วยผลิตภัณฑ์ชุมชน
(5) รัฐและเอกชนร่วมมือช่วยเหลือเกษตรกร
ตอบ 2 หน้า 222 – 223 ในบทวิเคราะห์นโยบายและมาตรการของรัฐในการยกระดับราคาสินค้าเกษตรได้มีการเสนอมาตรการในการช่วยเหลือเกษตรกร ดังนี้
1. รัฐควรมุ่งให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการผลผลิตของตัวเองมากขึ้น
2. มีมาตรการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่เกษตรกรโดยตรง ในกรณีที่ราคาผลผลิตตกต่ํากว่า
ราคาเป้าหมายที่รัฐกําหนด
3. ให้เกษตรกรบริหารจัดการความเสี่ยงจากราคาผลผลิตด้วยตัวเอง โดยการซื้อประกัน
ราคาพืชผลจากหน่วยงานที่รัฐเป็นผู้จัดหาให้
63. โครงการ U2T เป็นนโยบายของกระทรวงใด
(1) กระทรวงศึกษาธิการ
(2) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(3) กระทรวงแรงงาน
(4) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(5) กระทรวงพลังงาน
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) โครงการ U2T หรือโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตําบล เป็นโครงการจ้างงาน บัณฑิตจบใหม่และประชาชนให้เข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ระดับตําบลทั่วประเทศ เพื่อให้เกิด การสร้างงานและพัฒนาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของตําบล โดยโครงการนี้เป็นนโยบายของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
64.“คนละครึ่งเฟส 5” ประชาชนที่ลงทะเบียนได้รับเงินคนละเท่าไร
(1) 600 บาท
(2) 800 บาท
(3) 1,000 บาท
(4) 1,500 บาท
(5) 2,000 บาท
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) โครงการ “คนละครึ่งเฟส 5” เป็นโครงการเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย ภายในประเทศ และบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน โดยประชาชนที่ลงทะเบียนจะ ได้รับเงินคนละ 800 บาท โดยสามารถใช้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน – 31 ตุลาคม 2565
65. ข้อใดไม่ใช่นโยบายมุ่งเน้นของกระทรวงสาธารณสุขประจําปีงบประมาณ 2565
(1) สมุนไพร กัญชา กัญชง
(2) สุขภาพดีวิถีใหม่
(3) เศรษฐกิจสุขภาพ
(4) โรงเรียนผู้สูงอายุ
(5) ธรรมาภิบาล
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) นโยบายมุ่งเน้นของกระทรวงสาธารณสุขประจําปีงบประมาณ 2565 มีดังนี้
1. ระบบสุขภาพปฐมภูมิเข้มแข็ง
2. เศรษฐกิจสุขภาพ
3. สมุนไพร กัญชา กัญชง
4. สุขภาพดีวิถีใหม่
5. COVID-19
6. ระบบบริการก้าวหน้า
7. ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
8. ธรรมาภิบาล
9. องค์กรแห่งความสุข
ตั้งแต่ข้อ 66 – 70. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับข้อคําถามตามข้อมูลยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
Thailand 4.0 และเอกสารอื่น ๆ
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(2) Thailand 4.0
(3) นโยบายของกระทรวงพาณิชย์
(4) ทิศทางกระแสต่างประเทศ
(5) แนวนโยบายแห่งรัฐ
66. มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่ Value-Based Economy
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Thailand 4.0 มีสาระสําคัญดังนี้
1. เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”
2. เป็น “Reform in Action” ที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูปการ วิจัยและการพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษาไปพร้อม ๆ กัน
3. เป็นแนวคิดที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภายใต้ทุนวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ ทุนมนุษย์
4. เป็นการพัฒนา “เครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่” (New Engines of Growth) ซึ่งประเทศไทยมี 2 ด้าน คือ ความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลาย เชิงวัฒนธรรม ให้เป็นความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน โดยการเติมเต็มด้วยวิทยาการทั้ง 5 ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา ฯลฯ
67.Reform in Action ที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูปการวิจัยและการพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ
68. มุ่งเน้นวิทยาการทั้ง 5 เพื่อความได้เปรียบ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และการวิจัยและพัฒนา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ
69. ประเทศไทยมี New Engines of Growth ได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ
70. มุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภายใต้ทุนวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และทุนมนุษย์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 71, – 80. จงเลือกคําตอบที่ถูกต้องตามเนื้อหาของหมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
71. รัฐจึงส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 68
(2) มาตรา 70
(3) มาตรา 72
(4) มาตรา 74
(5) มาตรา 78
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 78 บัญญัติให้ รัฐจึงส่งเสริมให้ประชาชนและ ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ การจัดทําบริการสาธารณะ ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น การตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ การต่อต้านการทุจริตและ ประพฤติมิชอบ รวมตลอดทั้งการตัดสินใจทางการเมือง และการอื่นใดบรรดาที่อาจมีผลกระทบต่อ ประชาชนหรือชุมชน
72. รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จําเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจําเป็นหรือไม่สอดคล้อง กับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดํารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพ โดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็น ภาระแก่ประชาชน ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 64
(2) มาตรา 73
(3) มาตรา 74
(4) มาตรา 76
(5) มาตรา 77
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 77 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐจึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จําเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจําเป็น หรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดํารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพ โดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน
2. ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ
3. รัฐจึงใช้ระบบอนุญาตและระบบคณะกรรมการในกฎหมายเฉพาะกรณีที่จําเป็น
73. รัฐจึงพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดินทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และงาน ของรัฐอย่างอื่นให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 73
(2) มาตรา 74
(3) มาตรา 75
(4) มาตรา 76
(5) มาตรา 77
ตอบ 4 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 76 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐพึงพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดินทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และงานของรัฐอย่างอื่นให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2. รัฐจึงพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีทัศนคติเป็นผู้ให้บริการประชาชน ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ไม่เลือกปฏิบัติ และปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
3. รัฐจึงดําเนินการให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม
4. รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกําหนด ประมวลจริยธรรมสําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ
74. รัฐพึงจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกัน อย่างทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 74
(2) มาตรา 75
(3) มาตรา 76
(4) มาตรา 77
(5) มาตรา 78
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 75 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐพึงจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองได้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ในการพัฒนาประเทศ รัฐจึงคํานึงถึงความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนา ด้านจิตใจ และความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนประกอบกัน
3. รัฐจึงส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ และวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลางของประชาชนและชุมชน ฯลฯ
75. รัฐจึงส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการทํางานอย่างเหมาะสมกับศักยภาพและวัยและให้มีงานทําและพึ่งคุ้มครองผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความปลอดภัยและมีสุขอนามัยที่ดีในการทํางาน ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 64
(2) มาตรา 66
(3) มาตรา 74
(4) มาตรา 76
(5) มาตรา 77
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 74 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐจึงส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการทํางานอย่างเหมาะสมกับศักยภาพและวัย และให้มีงานทํา และจึงคุ้มครองผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความปลอดภัยและมีสุขอนามัยที่ดี ในการทํางาน ได้รับรายได้ สวัสดิการ การประกันสังคม และสิทธิประโยชน์อื่นที่เหมาะสม แก่การดํารงชีพ
2. รัฐพึงจัดให้มีระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดําเนินการ
76. รัฐพึงจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่ช่วยให้เกษตรกรประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิต ที่มีปริมาณและคุณภาพสูง มีความปลอดภัย โดยใช้ต้นทุนต่ํา ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 68
(2) มาตรา 71
(3) มาตรา 73
(4) มาตรา 75
(5) มาตรา 77
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 73 บัญญัติให้ รัฐพึงจัดให้มีมาตรการหรือ กลไกที่ช่วยให้เกษตรกรประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและ คุณภาพสูง มีความปลอดภัย โดยใช้ต้นทุนต่ําและสามารถแข่งขันในตลาดได้ และพึงช่วยเหลือ เกษตรกรผู้ยากไร้ให้มีที่ทํากินโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่นใด
77. รัฐจึงให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาสให้สามารถ ดํารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 66
(2) มาตรา 67
(3) มาตรา 68
(4) มาตรา 71
(5) มาตรา 76
ตอบ 4(คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 71 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐจึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สําคัญของสังคม
2. รัฐจึงส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพและความสามารถสูงขึ้น
3. รัฐจึงให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส ให้สามารถดํารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ
4. ในการจัดสรรงบประมาณ รัฐจึงคํานึงถึงความจําเป็นและความต้องการที่แตกต่างกันของ เพศ วัย และสภาพของบุคคล
78. รัฐจึงส่งเสริมและให้ความคุ้มครองชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีสิทธิดํารงชีวิตในสังคมตามวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความสมัครใจได้อย่างสงบสุข ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 64
(2) มาตรา 65
(3) มาตรา 68
(4) มาตรา 70
(5) มาตรา 71
ตอบ 4 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 70 บัญญัติให้ รัฐจึงส่งเสริมและให้ความ คุ้มครองชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีสิทธิดํารงชีวิตในสังคมตามวัฒนธรรม ประเพณี ะวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความสมัครใจได้อย่างสงบสุข ไม่ถูกรบกวน ทั้งนี้เท่าที่ไม่เป็นการขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐหรือสุขภาพอนามัย
79. รัฐพึงจัดให้มีและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ ให้เกิดความรู้ การพัฒนา และนวัตกรรม ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 69
(2) มาตรา 74
(3) มาตรา 75
(4) มาตรา 76
(5) มาตรา 78
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 69 บัญญัติให้ รัฐพึงจัดให้มีและส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ ให้เกิดความรู้ การพัฒนา และนวัตกรรม เพื่อความเข้มแข็งของสังคม และเสริมสร้างความสามารถของคนในชาติ
80. รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
ตรงตามมาตราใด
(1) มาตรา 68
(2) มาตรา 75
(3) มาตรา 76
(4) มาตรา 77
(5) มาตรา 78
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 68 บัญญัติไว้ดังนี้
1. รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร
2. รัฐจึงมีมาตรการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยเคร่งครัด ปราศจากการแทรกแซงหรือครอบงําใด ๆ
3. รัฐจึงให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่จําเป็นและเหมาะสมแก่ผู้ยากไร้หรือผู้ด้อยโอกาส ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมตลอดถึงการจัดหาทนายความให้
ตั้งแต่ข้อ 81 – 90. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับข้อคําถามในเนื้อหาของเทคนิค
ในการประเมินผลนโยบาย
(1) Format Evaluation
(2) Decision Theoretical Evaluation
(3) Policy Delphi
(4) Interrupted Time Series Analysis
(5) Regression-Discontinuity Analysis
81. เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ผู้ประเมินผลนโยบายสามารถพิจารณาผลของนโยบายได้อย่างเป็นระบบ โดยสามารถ แยกแยะผลของนโยบายที่เกิดขึ้นจริงได้จากผลที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุอื่น
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ
82. เป็นเทคนิคที่เหมาะสําหรับการประเมินผลนโยบายที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักเพียงกลุ่มเดียวหรือมีขอบเขต
การดําเนินงานที่แน่นอนเพียงแห่งเดียว
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ
83.เป็นเทคนิคที่มีหลักการ 5 ประการ คือ Selective Anonymity, Informed Multiple Advocacy, Polarized Statistical Response, Structured Conflict, Computer Conferencing
ตอบ 3 หน้า 260 – 261 วิธีเดลฟีเชิงนโยบาย (Policy Delphi) มีหลักการสําคัญ 5 ประการ คือ
1. ความเป็นนิรนามเฉพาะระยะแรก (Selective Anonymity)
2. ผู้เชี่ยวชาญต่างสํานัก (Informed Multiple Advocacy)
3. การวิเคราะห์ทางสถิติแบบแยกกลุ่ม (Polarized Statistical Response)
4. การจัดโครงสร้างความขัดแย้ง (Structured Conflict)
5. การประชุมโดยคอมพิวเตอร์ (Computer Conferencing)
84. เป็นเทคนิคที่ประกอบไปด้วย การประเมินความสามารถที่จะประเมินได้ และการวิเคราะห์อรรถประโยชน์
แบบพหุลักษณ์
ตอบ 2 หน้า 254 – 255 การประเมินผลแบบพิจารณาความเหมาะสม (Decision Theoretical Evaluation) เป็นเทคนิคการประเมินผลที่มุ่งสร้างข่าวสารที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เกี่ยวกับผลของนโยบายโดยใช้คุณค่าหรือผลประโยชน์ที่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้รับเป็นเกณฑ์ประเมิน ซึ่งรูปแบบของการประเมินผลแบบนี้มี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ การประเมินความสามารถที่จะ ประเมินได้ และการวิเคราะห์อรรถประโยชน์แบบพหุลักษณ์
85. เป็นเทคนิคที่เหมาะสําหรับการประเมินผลตามแนวการทดลองทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดลอง ที่มีการกําหนดกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มควบคุมเอาไว้เรียบร้อยแล้ว
ตอบ 5 หน้า 265 การวิเคราะห์เชิงถดถอยแบบไม่ต่อเนื่อง (Regression-Discontinuity Analysis) เป็นเทคนิคที่ช่วยในการประเมินผลแบบเทียม โดยช่วยให้ผู้ประเมินผลสามารถคํานวณและเปรียบเทียบผลโดยประมาณของนโยบายที่เกิดขึ้นในกลุ่มเป้าหมายที่กําหนดไว้และกลุ่มเปรียบเทียบที่นํามาพิจารณา เทคนิคนี้เหมาะสําหรับการประเมินผลตามแนวการทดลองทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดลองที่มีการกําหนดกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มควบคุมเอาไว้ เรียบร้อยแล้ว
86. เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ข้อมูล เหตุผล และข้อสรุปที่ละเอียดครอบคลุมความเห็นของทุกกลุ่มทุกฝ่าย ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย เป็นประโยชน์ต่อผู้กําหนดนโยบายในการตัดสินใจว่าอะไรแน่ ที่เป็นผลของนโยบายนั้น ๆ
ตอบ 3 หน้า 264 ประโยชน์ของวิธีเดลฟีเชิงนโยบาย (Policy Delphi) คือ สามารถให้ข้อมูล เหตุผล และข้อสรุปที่ละเอียดครอบคลุมความเห็นของทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย การประเมินจึงครอบคลุมกว้างขวางรวมทุกประเด็นไว้หมด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ อย่างมากต่อผู้กําหนดนโยบายในการตัดสินใจว่าอะไรแน่ที่เป็นผลของนโยบายนั้น ๆ
87. เป็นเทคนิคที่ช่วยในการประเมินผลแบบเทียม โดยช่วยให้ผู้ประเมินผลสามารถคํานวณและเปรียบเทียบผลโดยประมาณของนโยบายที่เกิดขึ้นในกลุ่มเป้าหมายที่กําหนดไว้และกลุ่มเปรียบเทียบที่นํามาพิจารณา
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ
88. เป็นเทคนิคที่นําเอาข้อคิดและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงในเนื้อหาและเรื่องราว ของนโยบายที่กําลังประเมินมาประมวลและเปรียบเทียบกันเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับผลของนโยบาย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ
89. เป็นเทคนิคที่เน้นประเมินผลนโยบายจากวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการ โดยเชื่อว่าวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการโดยผู้กําหนดนโยบายเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว
ตอบ 1 หน้า 251 – 252 การประเมินผลแบบเป็นทางการ (Formal Evaluation) เป็นเทคนิค ที่ใช้วิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ในการสร้างข่าวสารที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เกี่ยวกับผลของนโยบาย โดยประเมินผลของนโยบายจากวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายที่กําหนดไว้ อย่างเป็นทางการ เพราะเชื่อว่าวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการโดยผู้กําหนดนโยบายเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว
90. เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังการนํานโยบายไปปฏิบัติในรูปของ ตารางและ/หรือค่าทางสถิติ และกราฟแบบต่าง ๆ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 91 – 95. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับข้อคําถามตามเนื้อหาของการประเมินผลนโยบาย
(1) Emil J. Posavac & Raymond G. Carey
(2) James E. Anderson
(3) Charles O. Jones
(4) William N. Dunn
(5) ศุภชัย ยาวะประภาษ
91. ใครกล่าวว่า การประเมินผลเกี่ยวข้องกับกระบวนการวัดคุณค่าของผลการดําเนินการตามนโยบายเพื่อที่จะนํามาเปรียบเทียบกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้
ตอบ 5 หน้า 230 ศุภชัย ยาวะประภาษ กล่าวว่า การประเมินผลเกี่ยวข้องกับกระบวนการวัดคุณค่า ของผลการดําเนินการตามนโยบายเพื่อที่จะนํามาเปรียบเทียบกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ ที่กําหนดไว้ ซึ่งการประเมินผลนี้ไม่ได้แยกเป็นเอกเทศจากขั้นตอนนโยบายอื่น แต่เกี่ยวข้องกันตลอดเวลา
92. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นขั้นตอนหนึ่งของการวิเคราะห์นโยบาย โดยเป็นขั้นตอน ที่มุ่งผลิตข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับผลของการดําเนินงานตามนโยบายว่าสามารถสนองความต้องการของสังคม สนองคุณค่าของสังคม และแก้ไขปัญหาที่เป็นเป้าหมายของนโยบายได้หรือไม่
ตอบ 4 หน้า 229 วิลเลียม เอ็น, ดันน์ (William N. Dunn) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบาย เป็นขั้นตอนหนึ่งของการวิเคราะห์นโยบาย โดยเป็นขั้นตอนที่มุ่งผลิตข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับผลของการดําเนินงานตามนโยบายว่าสามารถสนองความต้องการของสังคม สนองคุณค่า ของสังคม และแก้ไขปัญหาที่เป็นเป้าหมายของนโยบายได้หรือไม่
93. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการกระทําที่มีระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบถึงผลของนโยบายโดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กําหนดไว้กับผลกระทบของการดําเนินการตามนโยบายที่มีต่อปัญหาของ
สังคมที่เป็นเป้าหมายที่นโยบายนั้นมุ่งแก้ไข
ตอบ 3 หน้า 229 ชาร์ลส์ โอ. โจนส์ (Charles O. Jones) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบาย เป็นการกระทําที่มีระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบถึงผลของนโยบายโดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กําหนดไว้กับผลกระทบของการดําเนินการตามนโยบายที่มีต่อปัญหาของสังคมที่เป็นเป้าหมายที่นโยบายนั้นมุ่งแก้ไข
94. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการ การเปรียบเทียบผลของ
การนํานโยบายไปปฏิบัติกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่กระทําอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
ในทุกขั้นตอนนโยบาย
ตอบ 2 หน้า 229 เจมส์ อี. แอนเดอร์สัน (James E. Anderson) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบาย เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการ การเปรียบเทียบผลของการนํานโยบายไปปฏิบัติ กับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่กระทําอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาในทุกขั้นตอนของนโยบาย
95. ใครกล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการใช้วิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านเพื่อที่จะตกลงใจว่านโยบาย ที่กําหนดไว้นั้นจําเป็นหรือไม่ ควรจะใช้หรือไม่ ดําเนินการไปตามที่วางไว้หรือไม่ ช่วยแก้ไขปัญหาตามที่ มุ่งหวังไว้หรือไม่
ตอบ 1 หน้า 228 อีมิล เจ. โพซาวัค และเรย์มอนด์ จี. แครี (Emit J. Posavac & Raymond G. Carey) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการใช้วิธีการหลายวิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านเพื่อที่จะตกลงใจว่านโยบายที่กําหนดไว้นั้นจําเป็นหรือไม่ ควรจะใช้หรือไม่ ดําเนินการไปตามที่วางไว้ หรือไม่ ช่วยแก้ไขปัญหาตามที่มุ่งหวังไว้หรือไม่
ตั้งแต่ข้อ 96. – 100. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับข้อคําถามตามเนื้อหาของวิธีการประเมินผล นโยบาย
(1) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง
(2) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง
(3) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง
(4) การวิจัยเชิงประเมินแบบทดสอบความต่าง
(5) ผิดทุกข้อ
96. ไม่สามารถจะไปประเมินกระบวนการทั้งหมดของนโยบายได้ จะนําไปใช้ได้เฉพาะในเรื่องของ Input และProduct เท่านั้น
ตอบ 1 หน้า 234 – 235 การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experirnental Design) มีข้อจํากัดดังนี้
1. วิธีการที่ใช้ในการแบ่งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมักมีปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น การมีผลประโยชน์ในการเลือกกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือการมีลักษณะความเคร่งครัด ในการเลือกกลุ่มในทางปฏิบัติจะมีน้อย
2. วิธีการทดลองไม่สามารถจะไปประเมินกระบวนการทั้งหมดของนโยบายได้ จะนําไปใช้ได้ เฉพาะในเรื่องของ Input และ Product เท่านั้น
3. วิธีการทดลองไม่สามารถควบคุมความเที่ยงตรงภายนอกได้ จึงทําให้ผลที่ได้มาจาก การทดลองอาจจะไม่เหมือนกับผลที่ได้มาจากการดําเนินการจริง ฯลฯ
97. การมีผลประโยชน์ในการเลือกกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือการมีลักษณะความเคร่งครัดในการเลือกกลุ่มในทางปฏิบัติจะมีน้อย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 96. ประกอบ
98. มีวิธีการที่สําคัญวิธีหนึ่งคือ การจับคู่ (Matching) การแสวงหาคู่ในระดับบุคคล พื้นที่ หรือหน่วยการทดลอง ที่เกี่ยวข้องที่มีความคล้ายคลึงกันตั้งแต่หนึ่งคุณลักษณะที่ศึกษา
ตอบ 2 หน้า 235 – 236 การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธี กึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) มีลักษณะสําคัญดังนี้
1. ในกรณีที่เงื่อนไขไม่เอื้ออํานวยที่จะใช้การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง วิธีการนี้จะทําให้ได้เปรียบในการนําไปปฏิบัติ โดยผู้ใช้จะต้องยอมรับเบื้องต้นก่อนว่าวิธีการที่จะนําไปใช้มีความสนใจที่ปัจจัยใดบ้างและปล่อยให้ปัจจัยใดบ้างปราศจากการควบคุม
2. มีวิธีการที่สําคัญวิธีหนึ่งคือ การจับคู่ (Matching) ได้แก่ การแสวงหาคู่ในระดับบุคคล พื้นที่ หรือหน่วยการทดลองที่เกี่ยวข้องที่มีความคล้ายคลึงกันตั้งแต่หนึ่งคุณลักษณะที่ศึกษา
3. วิธีการนี้มีความมุ่งหมายที่จะทําให้การตีความต่าง ๆ ถูกต้อง เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากโครงการ ซึ่งมีบ่อยครั้งที่คําอธิบายในผลลัพธ์ ที่ถูกต้องจะแสดงให้เห็นถึงการไม่มีการเปลี่ยนแปลง นอกเหนือไปจากการแสดงให้เห็น ความล้มเหลวของโครงการ ฯลฯ
99. มีความมุ่งหมายที่จะทําให้การตีความต่าง ๆ ถูกต้อง เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากโครงการ มีบ่อยครั้งที่คําอธิบายในผลลัพธ์ที่ถูกต้องจะแสดงให้เห็นถึงการไม่มีการเปลี่ยนแปลงนอกเหนือไปจากการแสดงให้เห็นความล้มเหลวของโครงการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ
100. แบบศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากที่ได้นําโครงการเข้ามาใช้โดยมีกลุ่มควบคุมที่ได้มาโดยมิได้มีการ สุ่มตัวอย่าง ข้อดี ทําให้ผู้ประเมินได้รับรายละเอียดและมโนภาพมากมาย ทําให้เกิดการตื่นตัวและรับรู้ เรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้น
ตอบ 3 หน้า 236 – 237 การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง (Pre–Experimental Design) แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ แบบศึกษาก่อนและ หลังจากที่ได้นําโครงการหนึ่ง ๆ เข้ามาใช้ แบบศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากที่ได้นําโครงการ เข้ามาใช้แล้วเพียงอย่างเดียว และแบบศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากที่ได้นําโครงการเข้ามาใช้ โดยมีกลุ่มควบคุมที่ได้มาโดยมิได้มีการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งข้อดีของการประเมินผลด้วยวิธีการนี้ คือ
1. ทําให้ผู้ประเมินได้รับรายละเอียดและมโนภาพมากมาย
2. ทําให้เกิดการตื่นตัวและรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้น
3. ทําให้ผู้ประเมินได้รับข้อมูลข่าวสารด้วยความระมัดระวังและเป็นระบบ