การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL3300 การบริหารการคลัง

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ปัญหาสําคัญที่สุดในการบริหารการคลังคืออะไร

(1) ข้าราชการด้านการคลังมีอํานาจมาก

(2) การเก็บภาษีไม่เข้าเป้า

(3) ความล่าช้าในระบบราชการ

(4) การฉ้อราษฎร์บังหลวง

(5) วิกฤติการณ์แฮมเบอร์เกอร์

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การบริหารการคลังไม่ว่าจะเป็นการบริหารในระดับมหภาค จุลภาค การบริหารที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ หรือการบริหารที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นก็ตาม จะมีปัญหาหลัก ๆ ที่แทรกอยู่ ก็คือ ปัญหาในเรื่องของจริยธรรมที่มีการทุจริตคอร์รัปชั่น ฉ้อราษฎร์บังหลวงมากมาย ซึ่งเป็นปัญหาที่สําคัญที่สุดในการบริหารการคลังที่แก้ไขได้ยากที่สุดด้วย เพราะเป็นปัญหาที่มีมานาน

2 การบริหารการคลังระดับมหภาคหมายถึงข้อใด

(1) การบริหารพัสดุ

(2) การบริหารข้อมูลข่าวสารการคลัง

(3) การบริหารเงินนอกงบประมาณ

(4) การบริหารนโยบายการคลังการเงิน

(5) การบริหารทรัพย์สินแผ่นดิน

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3300-1 หน้า 4 – 5), (คําบรรยาย) การศึกษาการบริหารการคลังในแนวรัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารรัฐกิจ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 ระดับจุลภาค เป็นการศึกษาเรื่องการบริหารการคลังในแต่ละด้านโดยเฉพาะ เช่นการบริหารการจัดเก็บภาษีอากร การบริหารงบประมาณแผ่นดิน การบริหารหนี้สาธารณะการบริหารพัสดุ การบริหารบัญชีรัฐบาลและระบบข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น

2 ระดับมหภาค เป็นการศึกษาเรื่องการบริหารนโยบายการคลังและการเงินโดยภาพรวม เช่น การบริหารนโยบายภาษีอากร การบริหารนโยบายงบประมาณ การบริหารนโยบายหนี้สาธารณะการบริหารนโยบายเงินคงคลัง เป็นต้น

3 ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการใช้นโยบายการคลังการเงิน

(1) การใช้หนี้สาธารณะ

(2) การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

(3) การพัฒนาเศรษฐกิจ

(4) การกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม

(5) การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3300-1 หน้า 22 – 26) วัตถุประสงค์หรือประโยชน์ของการใช้นโยบายการคลังการเงิน มีดังนี้

1 เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในประเทศ คือ การใช้นโยบายเพื่อแก้ปัญหาเงินฝืด เงินเฟ้อ และการว่างงาน

2 เพื่อรักษาเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ คือ การใช้นโยบายเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลการค้า

3 เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ

4 เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

5 เพื่อกระจายรายได้และทรัพย์สินอย่างเป็นธรรม

4 ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจหมายถึงอะไร

(1) เงินนอกงบประมาณ

(2) เงินกองทุนพิเศษ

(3) เงินฝากประจําของประชาชน

(4) ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่อยู่ในมือประชาชน

(5) เงินนอกงบประมาณ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ หมายถึง

1 ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่อยู่ในมือประชาชน

2 เงินที่ประชาชนนําไปฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์แบบฝากเผื่อเรียกและฝากออมทรัพย์แต่ทั้งนี้จะไม่รวมถึงเงินฝากประจํา เนื่องจากเป็นเงินฝากระยะยาวและไม่มีการหมุนเวียน

 

5 สาเหตุของเงินเฟ้อมีดังต่อไปนี้ ยกเว้น

(1) ปริมาณเงินในมือประชาชนมากเกินไป

(2) ต้นทุนวัตถุดิบแพง

(3) น้ำมันแพง

(4) การลงทุนมากเกินไป

(5) ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากด้านอุปสงค์ควรแก้ปัญหาด้วยการลดปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจหรือในมือประชาชนให้น้อยลง โดยการนํานโยบายการคลังแบบเกินดุลและ การเพิ่มอัตราภาษีอากรมาใช้ควบคู่กับนโยบายการเงิน ส่วนการที่ปริมาณเงินในมือประชาชนน้อย แต่ราคาสินค้าแพงขึ้นนั้น ก็มีสาเหตุมาจากปัญหาเงินเฟ้อด้านอุปทาน คือ เกิดจากต้นทุน ที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการสูงขึ้น เพราะวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตมีราคาแพงจึงทําให้ผู้ผลิตจําเป็นจะต้องเพิ่มราคาสินค้าและบริการขึ้นตามไปด้วย

 

6 ภาวะเงินฝืดเกิดจากอะไร

(1) น้ำมันแพง

(2) ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น

(3) ปริมาณเงินในมือประชาชนน้อย

(4) ต้นทุนวัตถุดิบแพง

(5) ปริมาณเงินในมือประชาชนมาก

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 23), (คําบรรยาย) ภาวะเงินฝืด หมายถึง ภาวะที่อุปสงค์ด้านสินค้าและบริการน้อยกว่าอุปทานด้านสินค้าและบริการ หรือเป็นภาวะที่มี ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป ทําให้เศรษฐกิจตกต่ำ สินค้าล้นตลาด และประชาชนว่างงาน ดังนั้นรัฐบาลควรแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ เศรษฐกิจให้มากขึ้น โดยการนํานโยบายการคลังแบบขาดดุล (แบบขยายตัว) และการลดอัตรา ภาษีอากรมาใช้ควบคู่กับนโยบายการเงินดังต่อไปนี้

1 ซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากประชาชน

2 ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์

3 ลดอัตราเงินสดสํารองของธนาคารพาณิชย์

4 ลดอัตราส่วนลดเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยเงินกู้มากขึ้น ฯลฯ

 

7 การว่างงานแฝงหมายถึงอะไร

(1) การว่างงานเพราะมีเหตุผลส่วนตัว

(2) การทํางานแบบปิดทองหลังพระ

(3) การแกล้งทําเป็นว่างงาน

(4) การมีงานทําแต่ไม่ได้ทํางานอย่างเต็มที่

(5) การว่างงานหลังหมดหน้าทํานา

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การว่างงานแฝง หมายถึง ภาวะของคนที่มีอาชีพแต่ไม่ค่อยทํางานหรือทํางานไม่เต็มที่ หรือเป็นภาระที่มีกําลังคนมากแต่มีผลงานน้อย เช่น ในการทํางานบางอย่างสามารถ ทําให้เสร็จได้โดยใช้คนทํางานเพียง 5 คน แต่มีคนร่วมงานอยู่ด้วย 15 คน แสดงว่ามีการ ว่างงานแฝงจํานวน 10 คน ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาการว่างงานแฝงสามารถทําได้โดยการใช้นโยบายการคลังแบบขาดดุลและการพัฒนาวิธีการศึกษาที่เน้นจิตสํานึกในการทํางาน

8 ถ้าเกิดภาวะเงินฝืด รัฐบาลควรใช้นโยบายอะไร

(1) นโยบายเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

(2) นโยบายเพิ่มอัตราเงินสดสํารอง

(3) นโยบายการคลังแบบขาดดุล

(4) นโยบายลดค่าเงินบาท

(5) นโยบายขายพันธบัตรรัฐบาล

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

 

9 นโยบายใดใช้ในการแก้ปัญหาการขาดดุลการค้า

(1) การเพิ่มอัตราเงินสดสํารอง

(2) การลดค่าเงินบาท

(3) การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

(4) การลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

(5) การซื้อพันธบัตรคืนจากประชาชน

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3300-1 หน้า 24 – 25), (คําบรรยาย) การขาดดุลการค้า หมายถึง ภาวะที่มีมูลค่าสินค้านําเข้ามากกว่ามูลค่าสินค้าส่งออก ซึ่งมาตรการในการแก้ปัญหา การขาดดุลการค้า มีดังนี้

1 ลดปริมาณสินค้านําเข้าให้น้อยลง โดยการใช้นโยบายต่าง ๆ เช่น นโยบายการคลังแบบเกินดุลและเพิ่มอัตราภาษีอากร นโยบายการเงินโดยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ เพิ่มอัตราเงินสดสํารอง ขายพันธบัตรรัฐบาล นโยบายอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยการลดค่าเงินบาท เป็นต้น

2 เพิ่มปริมาณสินค้าส่งออก โดยใช้นโยบายการคลัง เช่น การคืนอากรวัตถุดิบ ลดหรือยกเว้นภาษีอากรขาออกเพื่อให้ต้นทุนสินค้าส่งออกต่ำลง เป็นต้น

10 ถ้าลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก จะเกิดอะไรขึ้น

(1) การกระจายรายได้

(2) การว่างงาน

(3) การเพิ่มปริมาณเงินในมือประชาชน

(4) การลงทุนน้อยลง

(5) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจดีขึ้น

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

11 การที่รัฐบาลกู้เงินจากต่างประเทศ ทําให้เกิดสิ่งต่อไปนี้ ยกเว้น

(1) การลงทุน

(2) Capital in-flow

(3) หนี้สาธารณะ

(4) หนี้ภาคเอกชน

(5) การสร้างงาน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การที่รัฐบาลกู้เงินจากต่างประเทศจะทําให้เกิดสิ่งต่อไปนี้

1 การลงทุนในโครงการพื้นฐาน

2 เงินทุนไหลเข้าประเทศ (Capital in-flow)

3 หนี้สาธารณะ

4 การสร้างงานและรายได้แก่ประชาชน

12 นโยบายการคลังหมายถึงข้อใด

(1) นโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

(2) นโยบายการเพิ่มลดอัตราดอกเบี้ย

(3) นโยบายการซื้อขายพันธบัตร

(4) นโยบายเพิ่มลดอัตราเงินสดสํารอง

(5) นโยบายเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายของภาครัฐ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3300-1 หน้า 20 – 21) นโยบายการคลัง หมายถึง นโยบายที่เกี่ยวกับการกําหนดรายรับและรายจ่ายของรัฐบาล การดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ และหนี้สาธารณะ โดยใช้เครื่องมือการคลัง ได้แก่ ภาษีอากร งบประมาณแผ่นดิน (นโยบายงบประมาณสมดุล เกินดุล และขาดดุล) รัฐวิสาหกิจ และหนี้สาธารณะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจและการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ

13 ข้อใดเป็นนโยบายการคลังแบบขาดดุล

(1) การเก็บภาษีอากรให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้

(2) การเพิ่มรายจ่ายของรัฐให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

(3) การลดอัตราเงินสดสํารอง

(4) การกําหนดให้รายรับของรัฐน้อยกว่ารายจ่ายของรัฐ

(5) การทําให้มูลค่าสินค้าออกมากกว่ามูลค่าสินค้าเข้า

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 21), (คําบรรยาย)นโยบายการคลัง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 นโยบายการคลังแบบสมดุล คือ นโยบายที่กําหนดให้รายรับของรัฐเท่ากับรายจ่ายของรัฐ

2 นโยบายการคลังแบบเกินดุล คือ นโยบายที่กําหนดให้รายรับของรัฐมากกว่ารายจ่ายของรัฐ

3 นโยบายการคลังแบบขาดดุล คือ นโยบายที่กําหนดให้รายรับของรัฐน้อยกว่ารายจ่ายของรัฐ

14 การเพิ่มอัตราเงินสดสํารองจะมีผลอย่างไร

(1) การเพิ่มเงินออมในธนาคารพาณิชย์

(2) การเพิ่มปริมาณเงินในมือประชาชน

(3) การลดปริมาณเงินในมือประชาชน

(4) การหาเงินนอกงบประมาณมากขึ้น

(5) การลงทุนมากขึ้น

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 23), (คําบรรยาย) อัตราเงินสดสํารอง หมายถึง เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหักจากธนาคารพาณิชย์เมื่อประชาชนนําเงินไปฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ โดยคิดเป็นร้อยละ ซึ่งถ้าธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายเพิ่มอัตราเงินสดสํารองจะมีผลทําให้ ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อลดลง และดุลการค้าดีขึ้น แต่ถ้ามีนโยบาย ลดอัตราเงินสดสํารองจะมีผลทําให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นและเกิดปัญหาการขาดดุลการค้า

15 ถ้ารัฐบาลมีนโยบายลดค่าเงินบาทจะทําให้เกิดอะไรขึ้น

(1) แก้ปัญหาเงินฝืด

(2) ลดการขาดดุลการค้า

(3) แก้ปัญหาเงินเฟ้อ

(4) ส่งสินค้าออกได้น้อยลง

(5) มูลค่าหนี้ในต่างประเทศน้อยลง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

16 ถ้ารัฐบาลลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะเกิดอะไรขึ้น

(1) อัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะเพิ่มขึ้น

(2) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

(3) การลงทุนน้อยลง

(4) การเพิ่มปริมาณเงินในมือประชาชน

(5) การลดการผูกขาดในการขายสินค้า

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

นโยบายการ เงิน เพื่อเพิ่มปริมาณเงิน นโยบายการเงินเพื่อลดปริมาณเงิน
– การซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากประชาชน – การขายพันธบัตรรัฐบาล
– การลดอัตราดอกเบี้ยเงินผ่ากและเงินกู้ – การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้
– การลดอัตราเงินสดสำรอง – การเพิ่มอัตราเงินสดสำรอง
– การลดอัตราส่วนลด – การเพิ่มอัตราส่วนลด

17 ทําไมรัฐบาลจึงขายพันธบัตร

(1) ลดปริมาณเงินในมือประชาชน

(2) เพิ่มเงินสดสํารอง

(3) ลดการขาดดุลการค้า

(4) เปิดเสรีการค้ามากขึ้น

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

18 ถ้าเกิดภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลควรใช้นโยบายอะไร

(1) นโยบายลดค่าเงินบาท

(2) นโยบายลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

(3) นโยบายการคลังแบบสมดุล

(4) นโยบายการคลังแบบขาดดุล

(5) นโยบายการคลังแบบเกินดุล

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 23), (คําบรรยาย) ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากด้านอุปสงค์ควรแก้ปัญหาด้วยการลดปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจหรือในมือประชาชนให้น้อยลง โดยการนํานโยบายการคลังแบบเกินดุลและการเพิ่มอัตราภาษีอากรมาใช้ควบคู่กับนโยบายการเงิน ดังต่อไปนี้

1 ขายพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ของรัฐให้ประชาชน

2 เพิ่มอัตราเงินสดสํารอง ของธนาคารพาณิชย์

3 เพิ่มอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วเงินที่ธนาคารพาณิชย์จะนํามาขายให้แก่ ธนาคารกลาง 4 ควบคุมการซื้อขายเงินผ่อน

5 ควบคุมการปล่อยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์

6 ควบคุมตลาดเงินนอกระบบ

7 เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์

19 ถ้าภาคเอกชนใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลควรใช้นโยบายใด

(1) เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

(2) ขายพันธบัตรรัฐบาล

(3) ลดค่าเงินบาท

(4) เก็บภาษีในอัตราสูง

(5) แจกเช็คช่วยชาติ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 25 – 26), (คําบรรยาย) นโยบายการคลังการเงินที่ช่วยส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1 ใช้มาตรการให้สิทธิพิเศษทาง ภาษีหรือให้สินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำกับกิจกรรมที่ไม่ทําให้เกิดต้นทุนทางสังคมหรือก่อให้เกิด ผลทางลบแก่ส่วนรวมน้อย

2 ใช้มาตรการเก็บภาษีในอัตราสูง ถ้าเอกชนใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือดําเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษแก่ส่วนรวม

20 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจหมายความว่าอะไร

(1) การนํารัฐวิสาหกิจไปเข้าตลาดหลักทรัพย์

(2) การขายกิจการที่มีกําไรให้ภาคเอกชน

(3) การเปลี่ยนวิธีการทํางานราชการให้มีลักษณะแบบเอกชนมากขึ้น

(4) การทําให้รัฐวิสาหกิจแสวงหากําไรมากขึ้น

(5) การปรับโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจให้เป็นแบบราชการมากขึ้น

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 58), (คําบรรยาย) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization)คือ กระบวนการต่าง ๆ ที่จะลดบทบาทของภาครัฐหรือกิจการภาครัฐที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แล้วทําการเพิ่มบทบาทการบริหารจัดการภาคเอกชนให้มากขึ้น ซึ่งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้น มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน เช่น การให้เอกชนเข้ามาดําเนินการแบบครบวงจร (Contracting Out), การให้เอกชนทําสัญญาเช่า (Leasing), การให้สัมปทานแก่เอกชน (Franchising), การร่วมทุน ระหว่างรัฐกับเอกชน (Joint Venture), การขายกิจการให้เอกชน, การกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น

21 ข้อใดเป็นภาษีทางอ้อม

(1) ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา

(2) ภาษีที่ดิน

(3) ภาษีโรงเรือน

(4) ภาษีมรดก

(5) ภาษีบุหรี่

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 29), (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 11), (คําบรรยาย) การจําแนกประเภทภาษีอากรตามหลักการผลักภาระภาษี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ภาษีทางตรง เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีไม่สามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้หรือผลักภาระได้ยาก เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการประกันสังคม ภาษีมรดกภาษีมูลค่าเพิ่มของทรัพย์สิน เป็นต้น

2 ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีสรรพสามิตภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการ ภาษีการขายทั่วไป ภาษีการใช้จ่าย อากรมหรสพ ค่าใบอนุญาต เป็นต้น

22 ภาษีประเภทใดไม่สามารถผลักภาระภาษีได้

(1) ภาษีน้ำมัน

(2) อากรมหรสพ

(3) ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา

(4) ภาษีบุหรี

(5) ภาษีสุรา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

23 ข้อใดไม่ใช่อุปสรรคสําคัญในการทําให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีอากร

(1) นโยบายการคลัง

(2) การหลบเลี่ยงภาษี

(3) การขาดกฎหมายรองรับ

(4) การขาดประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี

(5) การฉ้อราษฎร์บังหลวง

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 28), (คําบรรยาย) ความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีจะเกิดขึ้นได้ต้องมีเงื่อนไขต่อไปนี้

1 ต้องมีกฎหมายรองรับ

2 ต้องมีการจัดเก็บภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ

3 ต้องไม่มีการหลบหลีกหรือหลีกเลี่ยงภาษี

4 ต้องไม่มีการทุจริตคอร์รัปชั่น

24 ทําไมรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงใช้นโยบาย “เช็คช่วยชาติ”

(1) เพื่อแก้ปัญหาการว่างงาน

(2) เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ

(3) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

(4) เพื่อลดการขาดดุลการค้า

(5)เพื่อส่งเสริมการค้าเสรี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) โครงการที่รัฐบาลใช้ในการเพิ่มปริมาณเงินในมือประชาชน เพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ โครงการ SMEs โครงการเช็คช่วยชาติ โครงการกองทุนหมู่บ้านโครงการ SML เป็นต้น

25 โครงการต้นกล้าอาชีพของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาอะไร

(1) กระจายรายได้

(2) เงินเฟ้อ

(3) ว่างงานแฝง

(4) การว่างงาน

(5) วิกฤติการณ์แฮมเบอร์เกอร์

ตอบ 4 (คําบรรยาย) โครงการต้นกล้าอาชีพ เป็นโครงการฝึกอบรมอาชีพและสร้างงานให้แก่ผู้ว่างงานผู้กําลังจะถูกเลิกจ้างงาน และนักศึกษาจบใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาการว่างงาน อันเนื่องมาจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจหดตัว อีกทั้งเป็นการสนับสนุนการสร้างอาชีพอิสระเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับฐานรากในชุมชน 26 การที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีนโยบายกู้เงินมาใช้ในการพัฒนาประเทศจะทําให้เกิดอะไรตามมา

(1) การขาดดุลการค้า

(2) เงินฝืด

(3) เงินเฟ้อ

(4) หนี้ภาคเอกชน

(5) หนี้สาธารณะ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

27 การตรวจสอบความถูกต้องในการจัดซื้อจัดจ้างในระบบราชการเป็นหน้าที่ของหน่วยงานใด

(1) สสส.

(2) สตง.

(3) ปปส.

(4) กกต.

(5) สศช.

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 44), (เอกสารหมายเลข 0-3300-2 หน้า 20, 62 – 63)สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องของการใช้จ่ายเงิน ตรวจสอบรายละเอียดของการใช้จ่ายและตรวจบัญชีทางการเงินของหน่วยงานต่าง ๆ ตรวจสอบ รับรองงบการเงิน ตรวจสอบสืบสวนในกรณีที่มีการร้องเรียนและตรวจสัญญาจัดซื้อจัดจ้างของ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ และการปฏิบัติงานของหน่วยราชการต่าง ๆ โดยแยกการตรวจสอบ ออกเป็น 2 ระดับ คือ การตรวจสอบระดับหน่วยงานและการตรวจสอบระดับรัฐบาล

28 การจ้างบริษัททําความสะอาดมาทํางานในส่วนราชการ เป็นวิธีการที่เรียกว่าอะไร

(1) Franchising

(2) Joint Venture

(3) Leasing

(4) Contracting Out

(5) Decentralization

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

29 การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เป็นวิธีการที่เรียกว่าอะไร

(1) Leasing

(2) Joint Venture

(3) Franchising

(4) Decentralization

(5) Contracting Out

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

30 Hybrid Financing หมายถึงอะไร

(1) การบริหารการคลังโดยผสมผสานระหว่างวิธีการแบบราชการกับเอกชน

(2) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

(3) การกระจายอํานาจการคลังสู่ท้องถิ่น

(4) การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน

(5) การสร้างเสถียรภาพทางการคลัง

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3300-1 หน้า 55), (คําบรรยาย) ระบบการบริหารงานคลังสมัยใหม่(Hybrid Financing) คือ การปฏิรูปการบริหารการคลังภาครัฐให้มีการทํางานผสมผสานกับ เอกชนหรือเป็นแบบเอกชนมากขึ้น เช่น การดําเนินการแบบครบวงจร (Contracting Out), การให้เอกชนทําสัญญาเช่า (Leasing), การให้สัมปทานแก่เอกชน (Franchising), การร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (Joint Venture) เป็นต้น

31 ข้อใดไม่เกี่ยวกับ Privatization

(1) Franchising

(2) Contracting Out

(3) Leasing

(4) Nationalization

(5) Joint Venture

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20, และ 30. ประกอบ

32 Flat Rate หมายถึงอะไร

(1) อัตราภาษีที่เกี่ยวกับการสร้างอาคารแฟลต

(2) อัตราภาษีแบบก้าวหน้า

(3) อัตราภาษีแบบถดถอย

(4) อัตราภาษีที่ดิน

(5) อัตราภาษีคงที่

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 27), (คําบรรยาย) ทฤษฎีความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีอากร แบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎี คือ

1 ทฤษฎีความเป็นธรรมสัมบูรณ์ เน้นการจัดเก็บภาษี จากทุกคนที่ต้องเสียภาษีในอัตราที่เท่ากันหมดไม่ว่าจะมีฐานภาษีต่างกันหรือไม่ โดยใช้อัตราภาษี แบบคงที่หรืออัตราภาษีตามสัดส่วน (Flat Tax Rate หรือ Proportional Tax Rate) 2 ทฤษฎีความเป็นธรรมสัมพัทธ์ เน้นการจัดเก็บภาษีจากทุกคนที่ต้องเสียภาษีในอัตราที่ แตกต่างกันตามสัดส่วนของประโยชน์ที่ได้รับจากรัฐ หรือตามความสามารถในการเสียภาษีของตน โดยใช้อัตราภาษีแบบก้าวหน้า (Progressive Tax Rate)

33 ข้อใดเป็นฐานภาษี

(1) อัตราภาษี

(2) ภาระภาษี

(3) มรดก

(4) งบประมาณ

(5) เงินคงคลัง

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 12), (คําบรรยาย) การจําแนกประเภทภาษีอากรตามลักษณะของฐานภาษี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 ภาษีที่เก็บจากเงินได้ (รายได้) เป็นการนําเอารายได้มาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภาษีบุคคลธรรมดา) มี “เงินได้หรือรายได้สุทธิ” เป็นฐานภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภาษีนิติบุคคล) มี “กําไรสุทธิ” เป็นฐานภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่มของ ทรัพย์สินมี “มูลค่าเพิ่ม” เป็นฐานภาษี เป็นต้น

2 ภาษีที่เก็บจากทรัพย์สิน เป็นการนําเอาทรัพย์สินมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น กา ภาษีมรดก ภาษีบํารุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นต้น

3 ภาษีที่เก็บจากโภคภัณฑ์ เป็นการนําเอาค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร (มี “มูลค่าการนําเข้า” เป็นฐานภาษี)ภาษีการค้า (มี “รายรับหรือยอดขาย” เป็นฐานภาษี) ภาษีการขาย ภาษีการใช้จ่าย เป็นต้น

34 การที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตั้งเป้าการส่งออกไว้ 15% แต่ทําได้จริงเพียง 7% อาจทําให้เกิด ผลกระทบอะไรตามมา

(1) การว่างงานจะสูงขึ้น

(2) สินค้าเข้าจะมากขึ้น

(3) ค่าเงินบาทจะลดลง

(4) ภาษีส่งออกจะเพิ่มขึ้น

(5) เงินทุนหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น

ตอบ 1 (คําบรรยาย) นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ได้เปิดเผยในการสัมมนา 1 ปียิ่งลักษณ์กับอนาคตเศรษฐกิจไทย โดยยอมรับว่าตัวเลขการส่งออกในปี พ.ศ. 2555 ที่ตั้งไว้ 15% อาจทําได้จริง เพียง 7% โดยอ้างว่าเป็น “White lie” หรือ “โกหกสีขาว” เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนซึ่งผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวอาจทําให้เกิดปัญหาการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นตามมา

35 การที่สินค้าในประเทศมีราคาแพงในปัจจุบัน น่าจะเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด

(1) นโยบายค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท

(2) นโยบายเงินเดือนปริญญาตรีขั้นต้น 15,000 บาท

(3) ต้นทุนวัตถุดิบราคาแพงขึ้น

(4) ราคาน้ำมันแพงขึ้น

(5) ความรู้สึกของประชาชน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การที่สินค้าในประเทศมีราคาแพงในปัจจุบันนั้นเกิดจากปัญหาด้านอุปทาน คือต้นทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้าของผู้ผลิตสูงขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากนโยบายการขึ้นค่าจ้างแรงงาน ขั้นต่ำ 300 บาท และเงินเดือนปริญญาตรีขั้นต้น 15,000 บาท รวมทั้งราคาต้นทุนวัตถุดิบและน้ำมันมีราคาแพงขึ้น จึงส่งผลให้ผู้ผลิตจําเป็นจะต้องเพิ่มราคาสินค้าให้แพงขึ้นตามไปด้วย

36 หลักการเก็บภาษีแบบใดที่ใช้ในประเทศไทย

(1) หลักถิ่นที่อยู่

(2) หลักแหล่งเงินได้

(3) หลักถิ่นที่อยู่และหลักแหล่งเงินได้

(4) หลักสัญชาติ

(5) หลักถิ่นที่อยู่และหลักสัญชาติ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 27), (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 16)หลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ใช้กันในปัจจุบันมี 3 หลักการ ดังนี้ 1 หลักถิ่นที่อยู่ คือ บุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศใดต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศนั้น ซึ่งในกรณีของ ประเทศไทยบุคคลใดอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วัน ให้ถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

2 หลักแหล่งเงินได้ คือ ผู้มีเงินได้จากแหล่งประเทศใด ก็ต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศนั้น

3 หลักสัญชาติ คือ บุคคลที่ถือสัญชาติใดก็ให้เสียภาษีแก่ประเทศนั้น อนึ่งสําหรับประเทศไทยจะใช้หลักถิ่นที่อยู่และหลักแหล่งเงินได้เท่านั้น

37 หลักความเป็นธรรมสัมพัทธ์หมายถึงอะไร

(1) การเก็บภาษีโดยเปรียบเทียบสัดส่วนจากการได้ประโยชน์จากรัฐ

(2) การเก็บภาษีจากทุกคนที่ต้องเสียภาษีในอัตราเท่ากันหมด

(3) การกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม

(4) การใช้อัตราภาษีคงที่

(5) การคืนภาษีโครงการรถคันแรก 100,000 บาท

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

38 การจัดทํางบประมาณแบบใดที่เน้นการวางแผนจากผู้ปฏิบัติ

(1) PPBS

(2) Line-Item Budgetary System

(3) ZBB

(4) Performance Budgetary System

(5) Budgetary Process

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 1 – 2, 29 – 30, 33, 36 – 37), (คําบรรยาย) งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ (Planning Programming Budgeting System : PPBS) เป็นระบบงบประมาณที่ในด้านการวางแผนวางโครงการโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ระยะยาว ระบบงบประมาณแบบนี้จะมีการวางแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายและตั้งวงเงินงบประมาณ ตามแต่ละแผนงาน มีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจผสมกับหลัก เหตุผล (Limited Rationality หรือ Mixed Scanning) มีการแบ่งเงินงบประมาณออกตาม โครงสร้างแผนงานหรือโครงการ (Program Structure) มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ในการวิเคราะห์โครงการเพื่อศึกษาถึงโครงสร้างแผนงานหรือโครงการที่ จัดทําว่ามีความสัมพันธ์กับโครงการใด ๆ บ้าง มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการ วางแผนวางโครงการของหน่วยงาน มีการกําหนดตัวบ่งชี้หรือวัดความสําเร็จตามเป้าหมายของ แผนงานหรือโครงการเพื่อการติดตามประเมินผล และที่สําคัญระบบนี้จะต้องมีการจัดทําแผนงานและแผนทางการเงินระยะยาว (อาจเป็น 3 ปี หรือ 5 ปี) เพื่อประกอบการจัดทําโครงการด้วย

39 การจัดทํางบประมาณแบบใดที่เน้นความสอดคล้องระหว่างนโยบายกับแผนงาน (1) Budgetary Process

(2) ZBB

(3) Performance Budgetary System

(4) Line-Item Budgetary System

(5) PPBS

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

40 ข้อใดหมายถึง “ผลต่างตอบแทน”

(1) Hybrid Financing

(2) Leasing

(3) Quid Pro Quo

(4) Joint Venture

(5) Contracting Out

ตอบ 3 (คําบรรยาย) Quid Pro Quo หมายถึง ผลต่างตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน เช่น เมื่อรัฐบาลจ่ายเงินออกไป รัฐบาลก็ต้องได้รับสิ่งตอบแทนกลับมาจากภาคเอกชน ซึ่งอาจจะได้รับมาในรูปของค่าบริการ ภาษี กําไร เป็นต้น

41 วัตถุประสงค์การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพราะ

(1) เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย

(2) เพื่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

(3) เพื่อสนองนโยบายของรัฐ

(4) เพื่อควบคุมการบริโภค

(5) เพื่อการกระจายรายได้

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 9 – 10), (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากร มีดังนี้

1 เพื่อการหารายได้มาใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆ ของรัฐ เช่น การจัดเก็บภาษีที่ต้องพิจารณาถึงหลักความพอดี มิใช่เก็บให้มากไว้เผื่อขาดเผื่อเหลือ

2 เพื่อการกระจายรายได้ โดยรัฐจะกําหนดอัตราภาษีในการจัดเก็บไว้โดยคํานึงถึงความสามารถของผู้เสียภาษีเป็นหลัก

3 เพื่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยการลดอัตราภาษีหรือการกําหนดอัตราภาษีบางอย่างใหม่ เช่น การยกเว้นภาษีดอกเบี้ย การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

4 เพื่อควบคุมการบริโภคของประชาชน เช่น การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าที่เป็นภัยต่อสุขภาพของประชาชน หรือจากสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มขึ้นจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียอยู่แล้ว

5 เพื่อสนองนโยบายบางอย่างของรัฐ เช่น นโยบายการลดภาษีสรรพสามิต 1 แสนบาทสําหรับการซื้อรถยนต์คันแรก นโยบายการควบคุมจํานวนประชากร โดยการกําหนดให้ มีการนับจํานวนบุตรของผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อนําไปพิจารณาหักลดหย่อนในการเสียภาษี ฯลฯ

42 กระทรวงใดที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2559 มากที่สุด

(1) กระทรวงศึกษาธิการ

(2) กระทรวงมหาดไทย

(3) กระทรวงกลาโหม

(4) กระทรวงการคลัง

(5) กระทรวงพาณิชย์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ปีงบประมาณ 2559 รัฐบาลได้ดําเนินนโยบายการจัดทํางบประมาณแบบขาดดุล โดยได้กําหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายจํานวน 2.72 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 20.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) โดยกระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินมากที่สุด คือ กระทรวงศึกษาธิการ

43 “มูลค่าการนําเข้า” เป็นฐานภาษี (Tax Base) ของภาษีประเภทใด

(1) ภาษีศุลกากร

(2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

(3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล

(4) ภาษีมูลค่าเพิ่มของทรัพย์สิน

(5) ภาษีสรรพสามิต

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

44 ภาษีที่เก็บจากโภคภัณฑ์ (Tax on Commodities) ยกเว้น

(1) ภาษีการขาย

(2) ภาษีทรัพย์สิน

(3) ภาษีสรรพสามิต

(4) ภาษีศุลกากร

(5) ภาษีการใช้จ่าย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

45 “การกู้หนี้สาธารณะเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อและเงินฝืด” คือข้อใด

(1) การก่อหนี้เพื่อการพัฒนาประเทศ

(2) การก่อหนี้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

(3) การก่อหนี้เพื่อชดเชยงบประมาณขาดดุล

(4) การก่อหนี้เพื่อการสงคราม

(5) การก่อหนี้เพื่อเป็นเงินสดสํารองในการบริหาร

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 37 – 38), (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ของการก่อหนี้สาธารณะมีดังนี้

1 เพื่อการพัฒนาประเทศ หรือเรียกว่า “หนี้ที่ก่อให้เกิดมูลค่าตอบแทน” (Reproductive Debt) เป็นการกู้เงินมาลงทุนในโครงการสาธารณะเพื่อพัฒนาประเทศให้เกิดความก้าวหน้า เช่นร่าง พ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบการคมนาคมของรัฐบาล

2 เพื่อการสงคราม หรือเรียกว่า “หนี้ที่ไม่สร้างสรรค์” (Dead Weigh Debt) เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิตอะไร

3 เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คือ การกู้เงินเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อและเงินฝืด 4 เพื่อชดเชยงบประมาณขาดดุล คือ การกู้เงินมาเพื่อตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจําปี

5 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างการชําระหนี้ คือ การกู้หนี้ใหม่มาชําระหนี้เก่า (Refinance) เช่น การกู้เงินที่ดอกเบี้ยถูกมาชําระหนี้เงินกู้ที่ดอกเบี้ยแพง ฯลฯ

46 ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณได้กําหนดให้กระทรวงการคลังมีอํานาจกู้หนี้สาธารณะเพื่อชดเชยงบประมาณขาดดุลไม่เกินร้อยละเท่าไร

(1) ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจําปีนั้น ๆ บวกกับอีกร้อยละ 90 ของงบประมาณซึ่งตั้งไว้เพื่อชําระหนี้คืน

(2) ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจําปีนั้น ๆ บวกกับอีกร้อยละ 80 ของงบประมาณซึ่งตั้งไว้เพื่อชําระหนี้คืน

(3) ไม่เกินร้อยละ 30 ของงบประมาณรายจ่ายประจําปีนั้น ๆ บวกกับอีกร้อยละ 70 ของงบประมาณซึ่งตั้งไว้เพื่อชําระหนี้คืน

(4) ไม่เกินร้อยละ 40 ของงบประมาณรายจ่ายประจําปีนั้น ๆ บวกกับอีกร้อยละ 60 ของงบประมาณซึ่งตั้งไว้เพื่อชําระหนี้คืน

(5) ไม่เกินร้อยละ 50 ของงบประมาณรายจ่ายประจําปีนั้น ๆ บวกกับอีกร้อยละ 50 ของงบประมาณซึ่งตั้งไว้เพื่อชําระหนี้คืน

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3300-3 หน้า 41) เงื่อนไขเกี่ยวกับการกู้ยืมและการชําระหนี้สาธารณะของกระทรวงการคลัง มีดังนี้

1 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ กําหนดให้ การกู้หนี้สาธารณะเพื่อชดเชยการขาดดุลของงบประมาณประจําปี จํานวนเงินกู้จะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่าย ประจําปีนั้น ๆ บวกกับอีกร้อยละ 80 ของจํานวนเงินงบประมาณที่ตั้งไว้สําหรับการชําระหนี้คืนต้นเงินกู้

2 มติคณะรัฐมนตรี กําหนดให้ การกู้เงินจากต่างประเทศ จํานวนเงินกู้สูงสุดในแต่ละปีจะต้องไม่เกิน 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา

3 มติคณะรัฐมนตรี กําหนดให้ การชําระหนี้คืนเงินต้นและดอกเบี้ยเงินกู้ต่างประเทศจะต้องชําระคืนไม่เกินร้อยละ 9 ของเงินตราต่างประเทศซึ่งประเทศไทยหาได้ในแต่ละปี

47 หน่วยงานที่มีอํานาจออกกฎหมายบังคับการจัดเก็บภาษีคือ

(1) รัฐสภา

(2) วุฒิสภา

(3) สภาผู้แทนราษฎร

(4) กระทรวงการคลัง

(5) สํานักนายกรัฐมนตรี

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3300-3 หน้า 9) ภาษีอากรเป็นกฎหมาย มีผลบังคับใช้กับประชาชนทุกคนโดยหน่วยงานที่มีอํานาจออกกฎหมายบังคับจัดเก็บภาษีจากประชาชน ก็คือ รัฐสภา

48 นโยบายข้อใดของรัฐบาลฯ ยิ่งลักษณ์ อาจทําให้มีการเลิกจ้างพนักงานทันทีไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน

(1) การขึ้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

(2) การขึ้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

(3) การไม่ปรับลดภาษีสรรพสามิต

(4) การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

(5) การไม่ปรับค่าแรงและเงินเดือนทั้งระบบ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคกลาง กล่าวว่า หากรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรมีนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราใหม่นั้น อาจทําให้โรงงานอุตสาหกรรมในเขตภาคกลาง ต้องเลิกจ้างพนักงานทันทีไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน หรืออาจจะทําให้นายจ้างกับลูกจ้างตกลงที่จะจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งนับว่าผิดกฎหมาย

49 ภาษีประเภทใดที่รัฐบาลให้ถือเป็นภาระหน้าที่โดยตรงของกองทุนน้ำมัน

(1) ภาษีสรรพสามิต

(2) ภาษีนำเข้ากองทุนน้ำมัน

(3) ภาษีส่งออกน้ำมัน

(4) ภาษีเงินได้นิติบุคคล

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐบาลกําหนดให้กองทุนน้ำมัน (Oil Fund) มีภาระหน้าที่โดยตรงในการจัดเก็บภาษีนําเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ด้วยการพิจารณากําหนดอัตราภาษีให้อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่าอัตราภาษีต่ำสุดและไม่สูงกว่าภาษีสูงสุด

50 หน่วยงานที่ทําหน้าที่หาแหล่งเงินกู้ให้รัฐวิสาหกิจ

(1) สํานักงบประมาณ

(2) ธนาคารแห่งประเทศไทย

(3) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง

(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

(5) สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 10, 44) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (Fiscal Policy Office) มีหน้าที่ในการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์วิจัย ให้คําแนะนําและปรึกษาทางวิชาการแก่ ปลัดกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบายและปฏิบัติการต่าง ๆ รวมทั้งหาแหล่งเงินกู้ให้รัฐวิสาหกิจ

51 หน่วยงาน “The Strong Executive” คือ

(1) สํานักงบประมาณ

(2) ธนาคารแห่งประเทศไทย

(3) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง

(4) กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง

(5) สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 35 – 38), (คําบรรยาย) สํานักงบประมาณ เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและอิทธิพลมากที่สุดในกระบวนการงบประมาณแผ่นดินของไทย ทั้งนี้เนื่องจาก สํานักงบประมาณจะมีส่วนสําคัญตั้งแต่ขั้นตอนการจัดเตรียม การบริหาร จนกระทั่งถึงการควบคุม งบประมาณ ส่วนหน่วยงานอื่นเป็นเพียงแค่ส่งผู้แทนเข้าร่วมเท่านั้น จึงทําให้สํานักงบประมาณมีอํานาจมาก จนถือเป็นหน่วยงานที่เป็น The Strong Executive

52 “การกู้หนี้เพื่อตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจําปี” คือวัตถุประสงค์ของการก่อหนี้สาธารณะข้อใด

(1) การก่อหนี้เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้

(2) การก่อหนี้เพื่อเป็นเงินสดสํารองในการบริหาร

(3) การก่อหนี้เพื่อการพัฒนาประเทศ

(4) การก่อหนี้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

(5) การก่อหนี้เพื่อชดเชยงบประมาณขาดดุล

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

53 “การกู้เงินที่ดอกเบี้ยถูกไปชําระหนี้ที่ดอกเบี้ยแพง” คือวัตถุประสงค์ของการก่อหนี้สาธารณะข้อใด

(1) การก่อหนี้เพื่อการพัฒนาประเทศ

(2) การก่อหนี้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

(3) การก่อหนี้เพื่อชดเชยงบประมาณขาดดุล

(4) การก่อหนี้เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้

(5) การก่อหนี้เพื่อเป็นเงินสดสํารองในการบริหาร

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

54 หนี้สาธารณะประเภทใดที่มีระยะเวลาการชําระคืนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

(1) หนี้ระยะกลาง

(2) หนี้ระยะยาว

(3) หนี้ภายนอกประเทศ

(4) หนี้ระยะสั้น

(5) หนี้ระยะสั้นที่ต่อเนื่องกับหนี้ระยะกลาง

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3300-3 หน้า 38) ประเภทของหนี้สาธารณะซึ่งแบ่งตามระยะเวลาการมีดังนี้

1 หนี้ระยะสั้น มีระยะเวลาการชําระคืนไม่เกิน 1 ปี

2 หนี้ระยะปานกลาง มีระยะเวลาการชําระคืนตั้งแต่ 1 – 5 ปี ซึ่งรัฐบาลมักกู้มาใช้กับโครงการที่ให้ผลตอบแทนเร็ว

3 หนี้ระยะยาว มีระยะเวลาการชําระคืนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งรัฐบาลมักกู้มาใช้กับโครงการ ที่มีความเสี่ยงสูง

55 หน่วยงานที่มีการพัฒนาระบบงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็น Work Station แบบ Online Real Time ข้อใดถูกต้อง

(1) กรมศุลกากร

(2) กรมสรรพากร

(3) กรมสรรพสามิต

(4) กรมการขนส่งทางบก

(5) การท่าอากาศยาน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ ได้เสนอนโยบายและแนวทางการทํางานของกรมสรรพากร ดังนี้

1 บทบาทใหม่ของกรมสรรพากรจะเน้นการสร้างวัฒนธรรมองค์การใหม่ที่เป็นพันธมิตรกับภาคเอกชน

2 ปรับเปลี่ยนทัศนคติของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรให้สอดคล้องกับแนวทางการทํางานรูปแบบใหม่

3 พัฒนาระบบงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็น Work Station แบบ Online Real Time

56 “Ownership” หมายถึง

(1) การเก็บภาษีล่วงหน้า

(2) กําหนดการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี

(3) การกํากับดูแลผู้เสียภาษีตามกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ

(4) กระบวนการตรวจสอบภาษีของกรมสรรพากร

(5) คณะบุคคลที่เป็นนิติบุคคล

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 27 – 28) กรมสรรพากรได้กําหนดกลยุทธ์การพัฒนาระบบการจัดเก็บภาษีอากรโดยใช้นโยบายการกํากับดูแลผู้เสียภาษีอากรอย่างใกล้ชิดเป็น รายผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นแนวทางการจัดเก็บภาษีโดยให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในลักษณะ เป็น Ownership คือ การกํากับดูแลผู้เสียภาษีอากรตามกลุ่มของการประกอบธุรกิจ (กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ) ตั้งแต่การให้คําแนะนําอย่างใกล้ชิด การติดตามดูแลผู้เสียภาษีอากร โดยไม่เน้นการตรวจสอบย้อนหลัง แต่ให้มีการกํากับดูแลทันทีที่ถึงกําหนดการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี

57 “Surcharge Tax” คือ

(1) ภาษีโรงเรือน

(2) ภาษีการค้า

(3) ภาษีบํารุงท้องที่

(4) อากรฆ่าสัตว์

(5) ภาษีป้าย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3300-1 หน้า 48) ภาษีอากรที่ท้องถิ่นจัดเก็บร่วมกับรัฐบาลกลางหรือภาษีเสริม (Surcharge Tax) เป็นภาษีที่รัฐบาลช่วยจัดเก็บ ได้แก่ ภาษีการค้า ภาษีเครื่องดื่มอากรมหรสพ และภาษีน้ำมันกับผลิตภัณฑ์น้ํามัน

58 สิ่งที่ต้องคํานึงมากที่สุดในการบริหารหนี้สาธารณะ คือข้อใด

(1) ความสามารถในการชําระหนี้

(2) วิธีการกู้

(3) จํานวนเงินกู้

(4) แหล่งเงินกู้

(5) ดอกเบี้ย

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 39), (คําบรรยาย) การบริหารหนี้สาธารณะเป็นกิจกรรมเพื่อควบคุมปริมาณและคุณภาพของการก่อหนี้ให้อยู่ในระดับที่สามารถชําระคืนได้ โดยสิ่งที่ ต้องคํานึงถึงมากที่สุดในการบริหารหนี้สาธารณะก็คือ ความสามารถในการชําระคืนทั้งเงินต้นและดอกเบียโดยไม่มีผลกระทบต่อฐานะการเงินของประเทศ

59 หลักการจัดเก็บภาษีอากรในประเทศไทย

(1) หลักถิ่นที่อยู่

(2) หลักสัญชาติ

(3) หลักแหล่งเงินได้

(4) หลักถิ่นที่อยู่และหลักแหล่งเงินได้

(5) หลักสัญชาติและหลักถิ่นที่อยู่

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

60 “รายได้สุทธิ” เป็นฐานภาษี (Tax Base) ของภาษีประเภทใด

(1) ภาษีเงินได้นิติบุคคล

(2) ภาษีมูลค่าเพิ่มของทรัพย์สิน

(3) ภาษีสรรพสามิต

(4) ภาษีศุลกากร

(5) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

61 ภาษีที่เก็บจากสุราคือข้อใด

(1) ภาษีศุลกากร

(2) ภาษีการใช้จ่าย

(3) ภาษีการขาย

(4) ภาษีที่ดิน

(5) ภาษีสรรพสามิต

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 29) กรมสรรพสามิต มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตซึ่งเก็บจากสินค้าหรือโภคภัณฑ์บางประเภทที่ผลิตภายในประเทศ เช่น สุรา เครื่องดื่ม ยาสูบ (บุหรี่) ไพ่ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ไม้ขีดไฟ ซีเมนต์ ยานัตถุ เป็นต้น

62 ภาษีทางอ้อมคือข้อใด

(1) ภาษีมรดก

(2) ภาษีมูลค่าเพิ่มของทรัพย์สิน

(3) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

(4) ภาษีเงินได้นิติบุคคล

(5) ภาษีการใช้จ่าย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

63 ข้อใดคือภาษีเพื่อการใช้จ่ายเฉพาะอย่าง (Earmarked Tax)

(1) ภาษีสรรพสามิต

(2) ภาษีนิติบุคคล

(3) ภาษีการค้า

(4) ภาษีเงินเดือน

(5) ภาษีศุลกากร

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 10 – 11) การจําแนกประเภทภาษีอากรตามลักษณะการใช้เงินภาษีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ภาษีเพื่อการใช้จ่ายทั่วไป เป็นภาษีอากรส่วนใหญ่ที่รัฐบาลจัดเก็บจากประชาชนเพื่อนําเข้า เป็นงบประมาณรายได้ แล้วตั้งจ่ายไปตามงบประมาณรายจ่ายประจําปี เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร เป็นต้น

2 ภาษีเพื่อการใช้จ่ายเฉพาะอย่าง เป็นภาษีอากรที่รัฐบาลจัดเก็บเป็นรายได้สําหรับใช้จ่ายในกิจการหรือเป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นการเฉพาะ มิได้นําเข้าเป็นงบประมาณรายได้สําหรับใช้จ่าย เป็นการทั่วไป เช่น การจัดเก็บภาษีเงินเดือนเพื่อนํามาตั้งเป็นกองทุนให้บริการด้านการประกันสังคม เป็นต้น

64 ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีกรณีการนับจํานวนบุตรของผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

(1) ภาษีอากรเป็นเครื่องมือในนโยบายการคลัง

(2) เพื่อสนองนโยบายบางอย่างของรัฐ

(3) เพื่อควบคุมการบริโภคของประชาชน

(4) เพื่อการกระจายรายได้

(5) เพื่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

65 ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยกเว้น

(1) บุคคลธรรมดา

(2) ผู้ที่ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

(3) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

(4) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

(5) คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 24 – 25) ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1 บุคคลธรรมดา

2 ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

3 ผู้ที่ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

4 กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

 

ตั้งแต่ข้อ 66. – 70. ให้จับคู่ให้ตรงกันกับองค์ประกอบของการควบคุมภายใน

(1) สภาพแวดล้อมการควบคุม

(2) การประเมินความเสี่ยง

(3) กิจกรรมการควบคุม

(4) สารสนเทศและการสื่อสาร

(5) การติดตามและประเมินผล

 

66 การรายงานเกี่ยวกับประสิทธิผลของการตรวจสอบโดยเปรียบเทียบกับข้อมูลจริง ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 58) การติดตามประเมินผลจะได้ผลดี ควรมีการปฏิบัติดังนี้

1 มีการสอบทานและรายงานเกี่ยวกับประสิทธิผลของการตรวจสอบโดยเปรียบเทียบกับข้อมูลจริง

2 จําแนกเรื่องที่จะประเมินผล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมภายในเฉพาะจุด

3 รายงานผลตามข้อเท็จจริงอย่างเป็นอิสระ ไม่ปิดบังสิ่งผิดปกติ

4 สั่งการให้มีการแก้ไขและติดตามผลอยู่เสมอ

67 การควบคุมโดยการนําข้อมูลเข้าสู่ระบบ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 57) การควบคุมภายในของระบบสารสนเทศและการสื่อสารมักจะเกี่ยวข้องกับ

1 การควบคุมการนําข้อมูลเข้าสู่ระบบ

2 การแบ่งแยกงาน

3 การสอบทานความถูกต้องในการประมวลผล

4 การควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างระบบงาน

5 การควบคุมทางด้านผลผลิต

68 ลดความเสี่ยงและทําให้เกิดความคุ้มค่า

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3300-3 หน้า 54) กิจกรรมการควบคุม เป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบการควบคุมภายในที่หน่วยงานต้องจัดให้มีขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงและทําให้เกิดความคุ้มค่าตลอดจนให้ฝ่ายบริหารเกิดความมั่นใจในประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายในที่มีอยู่

69 การกําหนดแนวทางการควบคุมที่ชัดเจน

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 49) การประเมินความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการระบุความเสียง การวิเคราะห์ความเสี่ยง และการกําหนดแนวทางการควบคุม เพื่อป้องกัน หรือลดความเสียง ซึ่งความเสียงอาจเกิดจากลักษณะงานหรือกิจกรรมของหน่วยงานการควบคุมภายใน การตรวจไม่พบข้อผิดพลาด เป็นต้น

70 ความสําคัญของการกําหนดจริยธรรมในการทํางาน

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3300-3 หน้า 46 – 48) สภาพแวดล้อมการควบคุม หมายถึงสภาวการณ์หรือปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดระบบการควบคุมภายในหน่วยงาน โดยฝ่ายบริหาร จะมีอิทธิพลสําคัญต่อการกําหนดหรือสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของการควบคุม เช่น ความซื่อสัตย์และจริยธรรมในการบริหารและการทํางาน โครงสร้างของหน่วยงาน นโยบายการบริหารและการพัฒนาด้านบุคลากร อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรเป็นต้น

71 หน่วยงานที่ทําหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของรัฐ ได้แก่

(1) กรมบัญชีกลาง

(2) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

(3) สํานักงบประมาณ

(4) ธนาคารแห่งประเทศไทย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

  1. “ความพยายามที่จะเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนในการดําเนินงาน และผลงานที่ได้รับ”

(1) การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์

(2) การวิเคราะห์ทางนโยบาย

(3) การวิเคราะห์ระบบ

(4) การวิเคราะห์โครงการ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 26, 28 – 29) การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Analysis) เป็นการวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐกิจที่พยายามเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ระหว่าง ต้นทุนในการดําเนินงานกับผลงานที่ได้รับ ซึ่งเทคนิคนี้เป็นวิธีการที่ใช้ในการจัดทํางบประมาณแบบโครงการ (Program Budget) หรืองบประมาณแบบแสดงผลงาน (Performance Budget)

73 ที่เรียกว่า “Budget Documents” หมายถึง

(1) ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี

(2) ตารางรายรับรายจ่ายเปรียบเทียบ

(3) คําแถลงประกอบงบประมาณ แสดงฐานะและนโยบายทางการคลัง

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 18 – 19) เอกสารงบประมาณประจําปี(Budget Documents) ของไทย มีส่วนประกอบที่สําคัญดังนี้

1 คําแถลงประกอบงบประมาณแสดงฐานะและนโยบายทางการคลังและการเงินของประเทศ

2 ตารางแสดงรายรับรายจ่ายเปรียบเทียบ

3 รายละเอียดของหน่วยงาน โครงการ และ งานต่าง ๆ ของราชการและรัฐวิสาหกิจ 4 รายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของรัฐวิสาหกิจ

5 รายละเอียดเกี่ยวกับหนี้สินของรัฐบาล

6 ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี

74 ในการดําเนินการเกี่ยวกับงบประมาณจะประกอบด้วยการกระทํา 3 ขั้น คือ การจัดเตรียม การควบคุม และ ข้อที่หายไปได้แก่

(1) การวิเคราะห์

(2) การอนุมัติ

(3) การประเมินผล

(4) การกําหนดยอด

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 15 – 16) ระยะเวลาของการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆเกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน เรียกว่า วงจรงบประมาณ (Budget Cycle) ซึ่งถือเป็นช่วงเวลา ที่ยาวนานที่สุด โดยวงจรงบประมาณของประเทศไทยนั้นจะใช้เวลาประมาณ 22 เดือน ประกอบด้วยกิจกรรมหรือการกระทํา 3 ขั้นตอน คือ การจัดเตรียมประมาณ 6 – 7 เดือน การอนุมัติประมาณ 3 – 4 เดือน และการควบคุมหรือการบริหารเป็นเวลา 12 เดือน

75 Budget Ceiling หมายถึงอะไร

(1) วงเงินงบประมาณ

(2) เพดานเงินจัดสรร

(3) เงินประจํางวด

(4) เงินคงคลัง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 28, 50) การกําหนดยอด “วงเงินงบประมาณ(Budget Ceiling) เป็นการจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปีที่ตั้งไว้เพื่อใช้ในโครงการและ งานที่จะต้องจัดทําในปีต่อไปของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนหนึ่งของการจัดเตรียมงบประมาณ

76 ลักษณะสําคัญของงบประมาณแผ่นดิน ได้แก่

(1) รายจ่ายจริงอาจมีน้อยกว่ารายจ่ายที่ประมาณการเอาไว้ก็ได้

(2) รัฐบาลมีรายได้เป็นตัวกําหนดรายจ่าย

(3) มีลักษณะของการจัดทําที่กระจายอํานาจ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 1 – 4, 58), (คําบรรยาย) คุณสมบัติหรือลักษณะสําคัญของงบประมาณแผ่นดินซึ่งแตกต่างจากงบประมาณเอกชน มีดังนี้

1 เป็นกฎหมายทางการเงิน กล่าวคือ มีการตราเป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งกําหนดว่าให้ใช้จ่ายเงินได้ไม่เกินจํานวนที่กําหนด แต่ในทางปฏิบัติรายจ่ายจริงอาจมีน้อยกว่ารายจ่ายที่ประมาณการเอาไว้ก็ได้

2 เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับต่อประชาชนทุกคนในชาติ

3 เป็นเครื่องมือ เงื่อนไข หรือกลไกรับรองการเป็นรัฐบาลหรือการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเป็นคุณลักษณะ ที่สําคัญของงบประมาณแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

4 คํานึงถึงความพึงพอใจของประชาชนเป็นแรงจูงใจในการจัดทํางบประมาณ

5 การกําหนดรายรับ มีรายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับ

6 มีกระบวนการจัดทํางบประมาณที่มีลักษณะกระจายอํานาจ

7 ลักษณะการเป็นเจ้าของ โดยมีประชาชนเป็นเจ้าของกิจการที่แท้จริง

8 มีการอนุมัติงบประมาณโดยรัฐสภา

9 การควบคุมหรือการบริหารงบประมาณจะถูกควบคุมร่วมกันทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ

77 การกระจายรายได้ที่เป็นธรรมของสังคม สามารถวัดได้โดย

(1) เปรียบเทียบรายได้ของคนในชุมชนเมืองกับในชุมชนชนบท

(2) ดูการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลรวม

(3) ดูอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 10 – 11), (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินจะต้องเป็นไปเพื่อ

1 สร้างความเจริญเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจหรือความมั่งคั่งของชาติ ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลรวม

2 สร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูอัตราการว่างงานอัตราเงินฝืด และอัตราเงินเฟ้อ

3 สร้างประสิทธิภาพในการทํางาน ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูผลผลิตต่อหน่วย

4 สร้างความเสมอภาคหรือการกระจายทางเศรษฐกิจ หรือการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ให้กับสังคม ซึ่งสามารถวัดได้โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของรายได้ อัตราการใช้จ่ายและทรัพย์สินที่มี

78 นักทฤษฎีการคลังสมัยใหม่ เชื่อว่า

(1) งบประมาณสมดุลดีที่สุด

(2) งบประมาณขาดดุลดีที่สุด

(3) งบประมาณเกินดุลดีที่สุด

(4) งบประมาณเกินดุล ขาดดุล หรือสมดุล ต่างมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้น (5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 12) นักทฤษฎีการคลังสมัยใหม่หรือยุคนีโอคลาสสิกเชื่อว่า งบประมาณแบบเกินดุล ขาดดุล หรือสมดุล ต่างมีผลกระทบต่อระบบทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น ซึ่งผลกระทบจะเป็นเช่นใดย่อมขึ้นอยู่กับวิธีการหารายได้และการใช้จ่ายเงินของรัฐ และไม่เชื่อว่า นโยบายงบประมาณจะเป็นเครื่องมือทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ แต่เชื่อว่าเครื่องมือทางการคลัง ที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นจากการจัดระบบการบริหารรายได้และรายจ่ายของรัฐให้เหมาะสม กับสภาพแวดล้อมของสังคม

79 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) อัตราภาษีคงที่ทําให้คนส่วนใหญ่ที่มีรายได้น้อยต้องรับภาระมากกว่าคนกลุ่มน้อยที่มีรายได้มาก

(2) อัตราภาษีคงที่ทําให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน

(3) อัตราภาษีก้าวหน้าช่วยสร้างความเสมอภาค

(4) ถ้าเก็บภาษีในอัตราต่ำจะทําให้เศรษฐกิจหดตัวได้

(5) การจัดเก็บภาษีจากสินค้าจําเป็นอาจทําให้เกิดเงินเฟ้อขึ้นได้

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 13 – 14), (คําบรรยาย) ผลกระทบที่เกิดจากวิธีการหารายได้และการใช้จ่ายของรัฐ มีดังนี้

1 การเก็บภาษีทรัพย์สินเป็นการเก็บภาษีซ้ํากับภาษีเงินได้

2 การเก็บภาษีในอัตราคงที่จะทําให้คนส่วนใหญ่ที่มีรายได้น้อยต้องรับภาระมากกว่าคนกลุ่มน้อยที่มีรายได้มาก ซึ่งทําให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม

3 การเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าจะช่วยสร้างความเสมอภาคต่อคนในสังคม ถ้าจัดเก็บในอัตราสูงจะทําให้เศรษฐกิจหดตัว แต่ถ้าจัดเก็บในอัตราต่ำจะทําให้เศรษฐกิจขยายตัว

4 การเก็บภาษีจากสินค้าจําเป็นอาจทําให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นได้ เพราะทําให้สินค้ามีราคาสูงแต่ความต้องการที่จะบริโภคสินค้านั้นไม่ได้ลดลง ฯลฯ

80 ระยะเวลาในการ “อนุมัติ” งบประมาณในปีงบประมาณหนึ่ง ๆ ของไทย มีระยะประมาณกี่เดือน

(1) 3 เดือนเศษ

(2) 9 เดือนเศษ

(3) 12 เดือนเศษ

(4) 18 เดือน

(5) ไม่แน่นอนกําหนดตายตัวไม่ได้

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

81 ในการจัดสรรงบประมาณออกตามโครงสร้างแผนงาน ภารกิจด้านวิทยาศาสตร์ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม จัดอยู่ในกลุ่มโครงสร้างใดต่อไปนี้

(1) ภารกิจทางเศรษฐกิจ

(2) ภารกิจทางสังคม

(3) ภารกิจทางความมั่นคง

(4) ภารกิจทางการบริหาร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การพัฒนาระบบราชการในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้มีการปรับบทบาทภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสมโดยปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงใหม่แบ่งตามกลุ่มภารกิจ 3 กลุ่ม คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านความมั่นคง มี 20 กระทรวง และต่อมาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดโครงสร้างส่วนราชการใหม่โดยยุบรวมคงเหลือ เพียง 18 กระทรวง ซึ่งการจัดโครงสร้างส่วนราชการสามารถแบ่งออกตามกลุ่มภารกิจได้ดังนี้

กลุ่มกระทรวงด้านเศรษฐกิจ กลุ่มกระทรวงด้านสังคม กลุ่มกระทรวงด้านความมั่นคง
– ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม – การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ – กลาโหม
– การท่องเที่ยว – มหาดไทย
– พาณิชย์และอุตสาหกรรม – สาธารณสุข – ยุติธรรม
– การคลัง – ศึกษาธิการ – การต่างประเทศ
– พลังงาน – สำนักนายกรัฐมนตรี
ฯลฯ ฯลฯ

82 ในปัจจุบัน มีการแบ่งรายจ่ายตามงบประมาณเป็นกี่หมวด

(1) 5 หมวด

(2) 7 หมวด

(3) 9 หมวด

(4) 12 หมวด

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 1-3300-2 หน้า 72), (คําบรรยาย) การจัดสรรงบประมาณตามหมวดรายจ่ายแบ่งออกเป็น 7 หมวด ได้แก่

1 เงินเดือน ค่าจ้างประจํา

2 ค่าจ้างชั่วคราว

3 ค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ

4 ค่าสาธารณูปโภค

5 ค่าครุภัณฑ์ที่ดินและ สิ่งก่อสร้าง

6 เงินอุดหนุน

7 รายจ่ายอื่น ซึ่งหมวดครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างถือเป็นงบลงทุน ส่วนหมวดรายจ่ายอื่น ๆ นั้นเป็นงบประจํา

83 หมวดรายจ่ายใดต่อไปนี้ที่มียอดเงินตามงบประมาณสูงที่สุด

(1) เงินเดือน ค่าจ้างประจํา

(2) ครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง

(3) เงินอุดหนุน

(4) ค่าสาธารณูปโภค

(5) รายจ่ายอื่น

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) จากการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของไทย พบว่างบรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสูงสุด คือ งบบุคลากร ซึ่งถือเป็นงบรายจ่ายเพื่อการบริหารงานบุคคลภาครัฐได้แก่ หมวดเงินเดือน ค่าจ้างประจํา ค่าจ้างชั่วคราว และค่าตอบแทนพนักงานราชการ

84 ทุกข้อจัดเป็น “เงินนอกงบประมาณแผ่นดิน” ยกเว้น

(1) เงินรายได้ของสถาบันการศึกษา

(2) งบประมาณของกรมอนามัย

(3) งบประมาณของ อบต.

(4) งบประมาณของ ขสมก.

(5) เงินช่วยเหลือตามโครงการมิยาซาว่า

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3300-1 หน้า 41), (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 4 – 5), (คําบรรยาย)เงินนอกงบประมาณ หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่มีมูลค่าซึ่งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจหามาได้เองด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่ใช่มาจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นเงินที่แยกออกจากความเป็นศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน ซึ่งได้แก่ เงินทุนหมุนเวียน งบประมาณของรัฐวิสาหกิจ (เช่น งบประมาณของ ขสมก.) เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ เงินกู้ยืมทั้งในและต่างประเทศ งบประมาณของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น (ได้แก่ งบประมาณของ อบต. อบจ. เทศบาล กทม. และเมืองพัทยา) งบรายได้ (เงินรายได้)ของสถาบันการศึกษา และงบรายได้ (เงินรายได้) ของสถาบันสาธารณสุข

85 ระยะเวลาในกรณีใดที่มีช่วงเวลายาวนานที่สุด

(1) ปีงบประมาณ

(2) วงจรงบประมาณ

(3) เงินประจํางวด

(4) ปีปฏิทิน

(5) ทั้งข้อ 1 และ 4

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

86 ลักษณะที่เรียกว่า เป็นศูนย์รวมเงิน ได้แก่

(1) ดําเนินการภายใต้กฎข้อบังคับเดียวกัน

(2) ดําเนินการภายใต้การดูแลของสถาบันต่าง ๆ เดียวกัน

(3) แยกพิจารณาอนุมัติโครงการออกตามหน่วยการปกครองท้องถิ่น

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 4), (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินมีลักษณะเป็น“ศูนย์รวมเงิน” ของแผ่นดิน หมายความว่า ในปีงบประมาณหนึ่ง ๆ จะต้องมีการบูรณาการ แผนทางการเงินของส่วนราชการต่าง ๆ ให้เป็นแผนเดียวกัน มีการอนุมัติงบประมาณเพียง ครั้งเดียว และไม่มีการจัดทํางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม โดยกระบวนการงบประมาณของ ส่วนราชการต่าง ๆ จะต้องดําเนินไปภายใต้กฎข้อบังคับเดียวกัน ใช้บทบัญญัติเดียวกัน และ มีสถาบันหรือหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในขั้นตอนต่าง ๆ ของการบริหารงบประมาณเดียวกัน

87 สภาวะ “เศรษฐกิจตกต่ำ สินค้าล้นตลาด ประชาชนว่างงาน” รัฐบาลควรใช้นโยบายงบประมาณ และ นโยบายการเงินแบบใด

(1) สมดุล และอัตราดอกเบี้ยสูง

(2) เกินดุล และอัตราดอกเบี้ยสูง

(3) ขาดดุล และอัตราดอกเบี้ยต่ำ

(4) ขาดดุล และอัตราดอกเบี้ยสูง

(5) เกินดุล และอัตราดอกเบี้ยต่ำ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

88 สํานักงบประมาณของประเทศไทย ถือกําเนิดขึ้นเมื่อวันที่

(1) 1 มกราคม 2500

(2) 23 มิถุนายน 2476

(3) 14 กุมภาพันธ์ 2502

(4) 10 ตุลาคม 2498

(5) 14 ตุลาคม 2499

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 48 – 49) สํานักงบประมาณไทยถือกําเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 โดยเป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่ากรมซึ่งสังกัดอยู่ในสํานักนายกรัฐมนตรี และขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

89 งบประมาณแบบใดที่ให้ความสําคัญกับ “การจัดสรรทรัพยากร” ของงานหรือโครงการ

(1) Line-Item Budget

(2) PPBS

(3) Performance Budget

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3300-2 หน้า 24 – 25, 27 – 28), (คําบรรยาย) งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budget) หรืองบประมาณแบบเก่า (Conventional Budget) หรืองบประมาณแบบประเพณี (Traditional Budget) เป็นระบบงบประมาณทีย้ำในด้านการ ควบคุมเพื่อมุ่งตรวจสอบความถูกต้องและความซื่อสัตย์สุจริตของการใช้จ่ายเงินของรัฐ หรือให้ ความสําคัญกับความถูกต้องของ “ปัจจัยนําเข้า (Inputs) หรือการจัดสรร “ทรัพยากร” ของ งานหรือโครงการ โดยเน้นกฎ ระเบียบ และการควบคุมให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบนั้น ดังนั้น งบประมาณจึงถูกแบ่งออกตามหน่วยราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ (Agencies Classification หรือ Organizations Classification) โดยเฉพาะในระดับกรม และมีการพิจารณาตามคู่มือ การจําแนกประเภทหรือแบ่งแยกตามประเภทและชนิดของการใช้จ่าย (Objects of Expenditure Classification) เช่น หมวดเงินเดือน หมวดสาธารณูปโภค หมวดครุภัณฑ์ ฯลฯ นอกจากนี้ ในการจัดเตรียมงบประมาณก็จะต้องมีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจ (Muddling Through) หรือการวิเคราะห์เฉพาะส่วนที่เพิ่ม (Incrementalism) เป็นเกณฑ์ด้วย

90 การตรวจสอบใบสําคัญคู่จ่าย เป็นสาระสําคัญของงบประมาณแบบใด

(1) Line-Item Budget

(2) PPBS

(3) Performance Budget

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3300-2 หน้า 27 – 28, 62 – 63) การตรวจสอบหรือควบคุมความถูกต้องของการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ถือเป็นสาระสําคัญของงบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budget) ซึ่งสามารถกระทําได้ 2 ระดับ คือ

1 การตรวจสอบระดับหน่วยงาน คือ การตรวจสอบส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจากใบเบิกเงินและใบเสร็จแสดงการใช้จ่าย หรือเรียกว่า ใบสําคัญคู่จ่าย

2 การตรวจสอบระดับรัฐบาล คือ การตรวจสอบรัฐบาลจากรายงานการเงินของแผ่นดินซึ่งจัดทําขึ้นจากบัญชีการเงินของแผ่นดิน (ดูคําอธิบายข้อ 89. ประกอบ)

91 การจัดทําคู่มือจําแนกประเภท และชนิดของรายจ่าย เป็นสาระสําคัญของงบประมาณแบบใด

(1) Line-Item Budget

(2) PPBS

(3) Performance Budget

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 89. ประกอบ

92 การกําหนดมาตรฐานครุภัณฑ์ กําหนดราคากลาง เป็นสาระสําคัญของงบประมาณแบบใด

(1) Line-Item Budget

(2) PPBS

(3) Performance Budget

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 89. ประกอบ

93 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของงบประมาณแผ่นดิน

(1) แผนที่แสดงประสิทธิภาพในการดําเนินงาน

(2) เอกสารทางการเงินที่แสดงรายรับรายจ่ายเงินของแผ่นดิน

(3) หลักฐานทางการเงินของรัฐที่เสดงประมาณการของรายได้และรายจ่ายในอนาคต

(4) กฎหมายที่ระบุให้ส่วนราชการใช้จ่ายเงิน ได้ไม่เกินจํานวนและรายการที่กําหนด (5) แผนทางการเงินของแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่แน่นอน

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3300-2 หน้า 1 – 2), (คําบรรยาย) ความหมายของงบประมาณแผ่นดินมีดังนี้

1 หลักฐานทางการเงินของรัฐที่แสดงประมาณการของรายได้ (รายรับ) และรายจ่ายใน อนาคตที่มีช่วงระยะเวลาที่แน่นอน

2 บัญชีหรือเอกสารทางการเงินที่แสดงรายรับรายจ่าย เงินของแผ่นดิน

3 กฎหมายที่ว่าด้วยประมาณการรายรับรายจ่าย

4 กฎหมายที่ระบุให้ ส่วนราชการใช้จ่ายเงินได้ในกิจกรรมต่าง ๆ ไม่เกินจํานวนและรายการที่กําหนด

5 แผนทางการเงินของแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่แน่นอน

6 แผนเพื่อให้เกิดความสําเร็จของโครงการ ซึ่งเกี่ยวพันกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายภายในช่วงระยะเวลาที่กําหนดไว้ ฯลฯ

94 ข้อแตกต่างระหว่างงบประมาณเอกชนกับงบประมาณแผ่นดิน ได้แก่

(1) เป็นแผนทางการเงิน

(2) ฐานของรายรับ

(3) ใช้ควบคุมการทํางาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

95 ระบบงบประมาณที่ในด้านการควบคุม มีลักษณะที่สําคัญคือ

(1) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลัก Incrementalism

(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามวัตถุประสงค์ในการจัดสรรทรัพยากรของรัฐ

(3) ให้ความสําคัญกับการแบ่งแยกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 89. ประกอบ

96 ลักษณะของระบบงบประมาณที่ในด้านการวางแผนวางโครงการ

(1) ให้ความสําคัญกับการแบ่งแยกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย

(2) เน้นที่การแบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ

(3) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

97 ลักษณะของ Line-Items Budget

(1) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลัก Incrementalism

(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ

(3) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 89. ประกอบ

98 ลักษณะของระบบ Program Budget

(1) มีการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของโครงการ

(2) ให้ความสําคัญที่วัตถุประสงค์ในการใช้จ่ายเงิน

(3) ให้ความสําคัญกับการแบ่งแยกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 28 – 29), (คําบรรยาย) งบประมาณแบบโครงการ (Program Budget) หรืองบประมาณแบบแสดงผลงาน (Performance Budget) เป็นระบบ งบประมาณที่ในหลักประสิทธิภาพ กล่าวคือ เป็นระบบงบประมาณที่เน้นการควบคุม ประสิทธิภาพของการใช้จ่าย หรือให้ความสําคัญกับประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร ทั้งนี้ ก็เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์อย่างประหยัด นอกจากนี้ยังให้ความสําคัญกับผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ของงานหรือโครงการในแต่ละปี โดยจะมีการแบ่งเงินงบประมาณ ออกตามโครงการหรือตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล (Objectives Classification) หรือตามหน้าที่ ของรัฐ (Functional Classification) มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) หรือ วิเคราะห์ประสิทธิภาพของโครงการหรือประสิทธิภาพของการใช้เงิน และมีการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณโดยอาศัยหลักของเหตุผล (Pure Rationality) เป็นสําคัญ

99 ข้อใดที่จัดเป็นลักษณะของ Traditional Budget

(1) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลัก Muddling Through

(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ

(3) ประสิทธิภาพของโครงการ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 89. ประกอบ

100 ลักษณะของ Zero-Base Budget

(1) Pure Rationality

(2) Muddling Through

(3) Incrementalism

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3300-2 หน้า 32, 35), (คําบรรยาย) งบประมาณฐานศูนย์ (Zero-Base Budget : ZBB) เป็นระบบงบประมาณที่อาศัยหลักของเหตุผล (Pure Rationality) ในการ จัดสรรงบประมาณ ซึ่งกําหนดให้โครงการหรืองานที่เสนอของบประมาณในทุก ๆ ปีงบประมาณ จะต้องได้รับการตรวจสอบวิเคราะห์ทั้งระบบ ทั้งงานหรือโครงการเดิมที่เคยทํามาแล้ว และงาน หรือโครงการใหม่ ๆ ที่กําลังจะเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อต้องการให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่าง มีเหตุผล แต่วิธีการนี้มักจะก่อให้เกิดความล่าช้าหรืออาจทําไม่ได้ในทางปฏิบัติ

Advertisement