การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565 ข้อสอบกระบวนวิชา
POL 3300 การบริหารการคลัง
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.หลักที่ว่า “งบประมาณต้องมีระยะเวลาที่แน่นอน” หมายความว่าอย่างไร
(1) งบประมาณอาจกําหนดให้ 1 ปีงบประมาณมีระยะเวลา 24 เดือนก็ได้
(2) ปีงบประมาณอาจเริ่มต้นในเดือนใดของปีปฏิทินก็ได้ แต่ต้องมีระยะเวลาแน่นอน
(3) ปีงบประมาณต้องเท่ากันกับปีปฏิทินเสมอ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 68, (คําบรรยาย) ระยะเวลาของการบริหารหรือการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณ เรียกว่า “ปีงบประมาณ” หรือ “ปีคลัง” (Fiscal Year) ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีระยะเวลาที่แน่นอน โดยอาจเป็น 6 เดือน 1 ปี (12 เดือน) หรือ 2 ปี (24 เดือน) ก็ได้ แต่จะต้องเป็นเช่นนั้นทุก ๆ ปี และจะเริ่มต้นในเดือนใดของปีปฏิทินก็ได้ เช่น ปีงบประมาณของไทยมีระยะเวลา 12 เดือน เริ่มต้นจากวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี และไปสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป โดยใช้ ชื่อปีถัดไปเป็นชื่อปีงบประมาณ (เช่น ปีงบประมาณ 2566 จะเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2565 และสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2556)

Advertisement

2.ลักษณะในการกําหนดรายรับรายจ่ายของงบประมาณแผ่นดินโดยหลักการแล้ว
(1) ขึ้นอยู่กับความสามารถในการขายสินค้าและบริการ
(2) รายรับเป็นตัวกําหนดรายจ่าย
(3) สามารถใช้รายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับ
(4) ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดเก็บภาษีอากร
(5) ทั้งข้อ 2 และ 4
ตอบ 3 หน้า 65, (คําบรรยาย) ลักษณะการกําหนดรายรับรายจ่ายของงบประมาณแผ่นดินนั้นโดยหลักการแล้วสามารถใช้รายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับได้ เนื่องจากรัฐบาลมีแหล่งของรายรับที่กว้างขวาง และมีอํานาจในการออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีอากรจากประชาชน และก่อหนี้สาธารณะ ในขณะที่เอกชนจะมีรายรับเป็นตัวกําหนดรายจ่าย เพราะเอกชน มีแหล่งรายรับที่จํากัด และขึ้นอยู่กับความสามารถในการหารายได้จากการขายสินค้าและ บริการของตนเป็นสําคัญ

3. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) หลักประสิทธิภาพอาจไม่ไปด้วยกันกับหลักความพึงพอใจ
(2) หลักประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความคุ้มค่าของเงิน
(3) ในสังคมที่มีความแตกต่างทางความคิดมาก ๆ หลักความพึงพอใจจะประสบปัญหามาก
(4) ศูนย์รวมเงินจะต้องให้การบริหารงบประมาณเป็นไปภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน
(5) หลักความชัดเจนถูกต้องเชื่อถือได้จะสร้างเสริมประสิทธิภาพของการจัดสรรทรัพยากร
ตอบ 5 หน้า 68, (คําบรรยาย) หลักของความชัดเจนถูกต้องและเชื่อถือได้ของงบประมาณแผ่นดินนั้น เป็นหลักการที่ทําให้เข้าใจวัตถุประสงค์และรายละเอียดของการดําเนินงานอย่างชัดเจนเป็นหลักมากกว่าที่จะคํานึงถึงเรื่องประสิทธิภาพ เพราะงบประมาณที่มีความถูกต้องชัดเจนและเชื่อถือได้ เมื่อนําไปปฏิบัติอาจจะไม่เป็นไปตามหลักประสิทธิภาพก็ได้

4. ข้อใดถูกต้องตามหลักทฤษฎีการคลัง
(1) เศรษฐกิจที่รัฐบาลจะมีรายได้มาก
(2) เศรษฐกิจที่รัฐบาลจะมีภาระรายจ่ายน้อยลง
(3) เศรษฐกิจดีคนในสังคมจะมีชีวิตที่เป็นสุข
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตามหลักทฤษฎีการคลัง หากเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะมีรายได้มากและจะมีภาระ
รายจ่ายน้อยลง ในทางตรงกันข้ามหากเศรษฐกิจตกต่ำรัฐบาลจะมีรายได้น้อยลงและมีภาระรายจ่ายมากขึ้น

5.งบประมาณใดต่อไปนี้ที่ใช้หลักของ “ศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน”
(1) เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
(2) งบประมาณราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(3) เงินทุนหมุนเวียน
(4) งบรายได้ของมหาวิทยาลัย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 67, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินมีลักษณะเป็นศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน หมายความว่า ในปีงบประมาณหนึ่ง ๆ จะต้องมีการบูรณาการแผนทางการเงินของส่วนราชการต่าง ๆ ให้เป็น แผนเดียวกัน มีการจัดเตรียมและอนุมัติงบประมาณเพียงครั้งเดียว มีการใช้จ่ายตามที่กําหนดไว้ใน งบประมาณรายจ่ายประจําปี หากไม่มีความจําเป็นจะไม่มีการจัดทํางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม รวมทั้งกระบวนการงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ จะต้องดําเนินไปภายใต้กฎข้อบังคับ เดียวกัน ใช้บทบัญญัติเดียวกัน และมีสถาบันหรือหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในขั้นตอนต่าง ๆ ของการบริหารงบประมาณเดียวกัน โดยงบประมาณที่ใช้หลักศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน ได้แก่ งบประมาณประจําปีของส่วนราชการทั่ว ๆ ไป เช่น งบประมาณของสํานักงบประมาณ กรมการปกครอง กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต เป็นต้น

6. ขณะที่ท่านทําข้อสอบ รัฐบาลกําลังทําหน้าที่ใดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี
(1) เตรียม
(2) อนุมัติ
(3) ควบคุม
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ขณะที่นักศึกษาทําข้อสอบคือวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2565 นั้น รัฐบาลกําลังควบคุมหรือบริหารงบประมาณให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี ซึ่งการควบคุมหรือการบริหารงบประมาณประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของไทยนั้น จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566

7.Budget Ceiling หมายถึงอะไร
(1) วงเงินงบประมาณ
(2) เพดานเงินจัดสรร
(3) เงินประจํางวด
(4) เงินที่ไม่ได้รับอนุมัติ
(5) งบผูกพัน
ตอบ 1 หน้า 91, (คําบรรยาย) การกําหนดยอด “วงเงินงบประมาณ (Budget Ceiling) เป็นการ จัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปีที่ตั้งไว้เพื่อใช้ในโครงการและงานที่จะต้องจัดทําในปีต่อไปของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนหนึ่งของการจัดเตรียมงบประมาณ

8.ตัวอย่างของบริการที่ถ้าให้เอกชนจัดทําแล้วประชาชนอาจเสียประโยชน์
(1) กิจการไปรษณีย์
(2) บริการการศึกษาภาคบังคับ
(3) โรงงานผลิตรถถัง
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 71 – 72 ตามแนวคิดในการจัดสรรทรัพยากรแบบเสรีนิยมนั้น กิจกรรมที่เอกชนจัดทําแล้ว ประชาชนอาจเสียประโยชน์ ได้แก่ บริการด้านการศึกษา (การจัดการศึกษาภาคบังคับ) บริการด้านสาธารณสุข (การรักษาพยาบาล การป้องกันโรคติดต่อ การให้ความรู้เกี่ยวกับสาธารณสุขขั้น มูลฐาน) ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมประเภทนี้รัฐจะต้องเข้าไปควบคุมมาตรฐานเพื่อความถูกต้องเหมาะสม

9. การกระจายรายได้ที่เป็นธรรมของสังคม สามารถวัดได้โดย
(1) เปรียบเทียบรายได้ของคนในชุมชนเมืองกับในชุมชนชนบท
(2) ดูการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลรวม
(3) ดูอัตราการว่างงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 73 – 74, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินจะต้องเป็นไปเพื่อ
1. สร้างความเจริญเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจหรือความมั่งคั่งของชาติ ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลรวม
2. สร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูอัตราการว่างงานอัตราเงินฝืด และอัตราเงินเฟ้อ
3. สร้างประสิทธิภาพในการทํางาน ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูผลผลิตต่อหน่วย
4. สร้างความเสมอภาคหรือการกระจายทางเศรษฐกิจ หรือการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ให้กับสังคม ซึ่งสามารถวัดได้โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของรายได้ อัตราการใช้จ่าย และทรัพย์สินที่มี

10. นักทฤษฎีการคลังยุคคลาสสิก เชื่อว่า
(1) งบประมาณสมดุลดีที่สุด
(2) งบประมาณขาดดุลดีที่สุด
(3) งบประมาณเกินดุลดีที่สุด
(4) งบประมาณเกินดุล ขาดดุล หรือสมดุลต่างมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้น
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 74, (คําบรรยาย) อดัม สมิธ (Adam Smith) เป็นนักทฤษฎีการคลังสมัยเก่าหรือ ยุคคลาสสิก (Classical Theory of Public Finance) ที่มีความเชื่อว่า นโยบายงบประมาณสมดุล เป็นนโยบายที่ดีที่สุด โดยรัฐบาลควรจะใช้จ่ายเงินตามความสามารถในการหารายได้ของตน ไม่ควรแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีบ่อย ๆ และไม่ควรก่อหนี้สาธารณะ

11. ลักษณะของระบบงบประมาณที่ในด้านการวางแผนวางโครงการ
(1) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลัก Incremental Analysis
(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(3) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 3 หน้า 93 – 94, 97, 101 – 102, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ (Planning Programming Budgeting System : PPBS) เป็นระบบงบประมาณที่ ในด้านการวางแผนวางโครงการโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ระยะยาว ระบบงบประมาณแบบนี้จะมีการวางแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายและตั้งวงเงินงบประมาณตามแต่ละแผนงาน มีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจผสมกับหลักเหตุผล (Limited Rationality หรือ Mixed Scanning) มีการแบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงสร้างแผนงาน หรือโครงการ (Program Structure) มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ในการวิเคราะห์โครงการเพื่อศึกษาถึงโครงสร้างแผนงานหรือโครงการที่จัดทําว่ามีความสัมพันธ์กับ โครงการใด ๆ บ้าง มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างนโยบายสาธารณะ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการวางแผนวางโครงการของหน่วยงานมีการกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ของแผนงานหรือโครงการเพื่อการติดตามประเมินผล และที่สําคัญระบบนี้จะต้องมีการจัดทําแผนงานและแผนทางการเงินระยะยาว (อาจเป็น 3 ปี หรือ 5 ปี) เพื่อประกอบการจัดทําโครงการด้วย

12. ลักษณะของ Program Budget
(1) มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมประสิทธิภาพของการใช้จ่าย
(2) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(3) แบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงการ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 92 – 93, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบโครงการ (Program Budget) หรืองบประมาณ แบบแสดงผลงาน (Performance Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ในหลักประสิทธิภาพ กล่าวคือ เป็นระบบงบประมาณที่เน้นการควบคุมประสิทธิภาพของการใช้จ่าย หรือให้ความสําคัญกับ ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร ทั้งนี้ก็เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์อย่างประหยัด นอกจากนี้ ยังให้ความสําคัญกับผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ของงานหรือโครงการในแต่ละปี มีการจัดทํางบประมาณเป็นรายโครงการและมีการแบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงการหรือ ตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล (Objectives Classification) หรือตามหน้าที่ของรัฐ (Functional Classification) มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) หรือวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ของโครงการหรือประสิทธิภาพของการใช้เงินโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ เช่น Cost and Effectiveness Analysis, Cost and Benefit Analysis และมีการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณ โดยอาศัยหลักของเหตุผล (Pure Rationality) เป็นสําคัญ

13. ข้อใดที่จัดเป็นลักษณะของ Traditional Budget
(1) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลัก Muddling Through
(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(3) Objects of Expenditure Classification
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 87 – 88, 90 – 92, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budget) หรืองบประมาณแบบเก่า (Conventional Budget) หรืองบประมาณแบบประเพณี (Traditional Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ในด้านการควบคุมเพื่อมุ่งตรวจสอบความถูกต้องและความซื่อสัตย์สุจริตของการใช้จ่ายเงินของรัฐ หรือให้ความสําคัญกับความถูกต้องของ “ปัจจัย นําเข้า” (Inputs) หรือการจัดสรร “ทรัพยากร” ของงานหรือโครงการ โดยเน้นกฎ ระเบียบ และการควบคุมให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบนั้น หรือให้ความสําคัญกับมาตรฐานของทรัพยากร ที่หน่วยราชการได้ใช้ไป ดังนั้นงบประมาณจึงถูกแบ่งออกตามหน่วยราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ (Agencies Classification หรือ Organizations Classification) โดยเฉพาะในระดับกรม และมีการแบ่งตามประเภทและชนิดของการใช้จ่าย (Objects of Expenditure Classification) โดยพิจารณาจากคู่มือการจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่ายซึ่งแบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น หมวดเงินเดือน หมวดสาธารณูปโภค หมวดครุภัณฑ์ ฯลฯ นอกจากนี้ในการจัดเตรียม งบประมาณก็จะต้องมีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจ (Muddling Through) หรือการวิเคราะห์เฉพาะส่วนที่เพิ่ม (Incrementalism) เป็นเกณฑ์ด้วย

14. ลักษณะของ Zero-Base Budget
(1) Pure Rationality
(2) Political Bargaining
(3) Incrementalism
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 96, 99 – 100, คําบรรยาย) งบประมาณฐานศูนย์ (Zero-Base Budget : Z8B) เป็นระบบ งบประมาณที่อาศัยหลักของเหตุผล (Pure Rationality) ในการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งกําหนดให้ โครงการหรืองานที่เสนอของบประมาณในทุก ๆ ปีงบประมาณจะต้องได้รับการตรวจสอบวิเคราะห์ ทั้งระบบ ทั้งงานหรือโครงการเดิมที่เคยทํามาแล้ว และงานหรือโครงการใหม่ ๆ ที่กําลังจะเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อต้องการให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีเหตุผล แต่วิธีการนี้มักจะก่อให้เกิดความล่าช้าหรืออาจทําไม่ได้ในทางปฏิบัติ

15. ลักษณะของระบบ PPBS
(1) ให้ความสําคัญกับการวางแผนระยะยาว
(2) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(3) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

16. ลักษณะของระบบ Performance Budget
(1) มีการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของโครงการ
(2) การตัดสินใจใช้หลักของเหตุผล
(3) อาจเรียกว่าเป็นงบประมาณแบบแสดงรายงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

17. สถาบันที่ทําหน้าที่ “จ่ายเงินตามงบประมาณให้กับส่วนราชการต่าง ๆ”
(1) กรมบัญชีกลาง
(2) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน
(3) สํานักงบประมาณ
(4) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 128 เมื่อส่วนราชการต้องการรับเงินงบประมาณของตนเพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน
ส่วนราชการจะต้องทําฎีกาขอเบิกเงินตามงบประมาณยื่นต่อกรมบัญชีกลางในกรณีของราชการ ส่วนกลาง และยื่นต่อสํานักงานคลังจังหวัดในกรณีของราชการส่วนภูมิภาค โดยกรมบัญชีกลาง และสํานักงานคลังจังหวัดจะเป็นผู้อนุมัติฎีกาและสั่งจ่ายเงินประจํางวดที่ได้รับอนุมัติแล้วที่เรียกว่าเงินจัดสรร (Budget Allotment) ให้กับส่วนราชการนั้น ๆ เป็นคราว ๆ ไป

18. สถาบันที่ทําหน้าที่ “วิเคราะห์งบประมาณ” ได้แก่
(1) กรมบัญชีกลาง
(2) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน
(3) สํานักงบประมาณ
(4) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 115 – 116 ในการจัดเตรียมงบประมาณนั้น จะมีการจัดทํารายละเอียดของงบประมาณ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนที่สําคัญ 3 ขั้นตอน คือ
1. เจ้าหน้าที่สํานักงบประมาณพิจารณาวิเคราะห์งบประมาณร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. สํานักงบประมาณเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ พร้อมด้วยเอกสารงบประมาณต่อคณะรัฐมนตรี
3. นายกรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจําปีพร้อมด้วยเอกสารงบประมาณต่อรัฐสภา

19. ระยะเวลาในการดําเนินการ “อนุมัติ” งบประมาณ มีระยะเวลาประมาณกี่เดือน
(1) 3 เดือน
(2) 5 เดือน
(3) 9 เดือน
(4) 12 เดือน
(5) ไม่แน่นอนกําหนดตายตัวไม่ได้
ตอบ 1 หน้า 79 ระยะเวลาของการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน เรียกว่า วงจรงบประมาณ (Budget Cycle) ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุด โดยวงจรงบประมาณ ของประเทศไทยนั้นจะใช้เวลาประมาณ 22 เดือน ประกอบด้วยกิจกรรมหรือการกระทํา 3 ขั้นตอน คือ การจัดเตรียมประมาณ 6 – 7 เดือน การอนุมัติประมาณ 3 – 4 เดือน และ การควบคุมหรือการบริหารเป็นเวลา 12 เดือน

20. ระยะเวลาในการดําเนินการ “บริหาร” งบประมาณ มีระยะเวลาประมาณกี่เดือน
(1) 3 เดือน
(2) 5 เดือน
(3) 9 เดือน
(4) 12 เดือน
(5) ไม่แน่นอนกําหนดตายตัวไม่ได้
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

21. ระยะเวลาของการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณ เรียกว่า
(1) ปีงบประมาณ
(2) วงจรงบประมาณ
(3) เงินประจํางวด
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

22. ในช่วงการสอบปลายภาคมักมีผู้ใช้บริการห้องสมุดเป็นจํานวนมาก ห้องสมุดในช่วงเวลาดังกล่าว
จัดเป็นสินค้าประเภทใด
(1) Common Goods
(2) Pure Public Goods
(3) Club Goods
(4) Price-Excludable Public Goods
(5) Pure Private Goods
ตอบ 1 หน้า 13, 40, (คําบรรยาย) สินค้าทั่วไป (Common Goods) หรือสินค้ากึ่งสาธารณะประเภท Congestible Public Goods เป็นสินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภคแต่แบ่งแยกการบริโภค ออกจากกันไม่ได้ หรือการเข้ามาของผู้บริโภครายใหม่อาจทําให้ความพึงพอใจของผู้บริโภครายเดิม ลดน้อยลง แต่ไม่สามารถกีดกันให้บุคคลอื่นไม่สามารถเข้ามาเป็นผู้บริโภคได้ เช่น สนามหลวง สนามกีฬาแห่งชาติ สนามกีฬากลางของเทศบาล ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ถนนสาธารณะ (เช่น ถนนพระราม 9) ทางด่วน เป็นต้น

23.พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2566 กําหนดวงเงินไว้ประมาณเท่าใด
(1) 8.1 แสนล้านบาท
(2) 2.6 ล้านล้านบาท
(3) 3.1 ล้านล้านบาท
(4) 4.2 ล้านล้านบาท
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2556 ได้กําหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายไว้ประมาณ 3.1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.09 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (GDP) และกําหนดวงเงินขาดดุลไว้ประมาณ 6.9 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 3.73 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

24. พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2556 กําหนดวงเงินขาดดุลไว้ประมาณเท่าใด
(1) 6.9 แสนล้านบาท
(2) 9.9 แสนล้านบาท
(3) 1.5 ล้านล้านบาท
(4) 2.2 ล้านล้านบาท
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

25.ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 ประเทศไทยมีหนี้สาธารณะคิดเป็นร้อยละเท่าไรของ GDP
(1) 27
(2) 35
(3) 48
(4) 60
(5) 79
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 ประเทศไทยมีหนี้สาธารณะคงค้างจํานวนทั้งหมด 9,951,962.73 ล้านบาท หรือคิดเป็น 60.58% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

26. ข้อใดไม่ใช่รายได้ของรัฐบาลไทย
(1) ภาษีเงินได้
(2) ค่าสัมปทาน
(3) ค่าบริการ
(4) ค่าปรับ
(5) การขายหุ้น
ตอบ 5หน้า 15 – 20, (คําบรรยาย) แหล่งรายรับของรัฐบาลไทย มาจาก 2 ส่วน คือ
1. รายรับที่เป็นรายได้ ได้แก่ ภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ (เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าสัมปทาน ค่าบริการ ค่าเช่าทรัพย์สินของรัฐ ค่าขายของกลางที่ยึด มาจากคดี) รัฐพาณิชย์ และรายได้อื่น ๆ เช่น ค่าแสตมป์ฤชากร ค่าปรับ เป็นต้น
2. รายรับที่ไม่เป็นรายได้ ได้แก่ การกู้เงิน การใช้เงินคงคลัง การขายหุ้น เป็นต้น

27. ภาษีเป็นกลไกตลาดภาครัฐที่เหมาะสําหรับใช้จัดบริการหรือผลิตสินค้าประเภทใด
(1) สินค้าสโมสร
(2) สินค้าผสม
(3) สินค้ากึ่งสาธารณะ
(4) สินค้าสาธารณะขั้นพื้นฐาน
(5) สินค้าเอกชน
ตอบ 4 หน้า 21 ภาษีเป็นกลไกตลาดภาครัฐที่เหมาะสําหรับใช้จัดบริการหรือผลิตสินค้าสาธารณะ
ขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นสินค้าและบริการที่มีความจําเป็นต่อประชาชนทุกคนภายในประเทศ เช่น การรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในสังคม การศึกษาขั้นพื้นฐาน การควบคุมดูแล ด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

28.สภาวะ “เศรษฐกิจตกต่ำ สินค้าล้นตลาด ประชาชนว่างงาน” รัฐบาลควรใช้นโยบายงบประมาณแบบใด
(1) สมดุล
(2) เกินดุล
(3) ขาดดุล
(4) ขาดดุลควบคู่กับนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง
(5) เกินดุลควบคู่กับนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ภาวะเงินฝืด หมายถึง ภาวะที่อุปสงค์ด้านสินค้าและบริการน้อยกว่าอุปทาน ด้านสินค้าและบริการ หรือเป็นภาวะที่มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป ทําให้เศรษฐกิจตกต่ํา สินค้าล้นตลาด และประชาชนว่างงาน ดังนั้นรัฐบาลควรจะแก้ปัญหา ด้วยการเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น โดยการนํานโยบายงบประมาณแบบขาดดุล และการลดอัตราภาษีอากรมาใช้ควบคู่กับนโยบายการเงินดังต่อไปนี้
1. ซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากประชาชน
2. ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์
3. ลดอัตราเงินสดสํารองของธนาคารพาณิชย์
4. ลดอัตราส่วนลดเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยเงินกู้มากขึ้น ฯลฯ

29. สินค้าที่ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภคและแยกการบริโภคออกจากกันได้ จัดเป็นสินค้าประเภทใด
(1) สินค้าสาธารณะ
(2) สินค้าอุปโภคบริโภค
(3) สินค้าเอกชน
(4) สินค้าสโมสร
(5) สินค้าอุตสาหกรรม
ตอบ 4

30. ไฟฟ้าบนถนนสาธารณะจัดเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าชนิดใด
(1) การไฟฟ้านครหลวง
(2) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
(3) นโยบายป้องกันประเทศจาก COVID
(4) วิทยุกระจายเสียง
(5) รถยนต์ส่วนบุคคล
ตอบ 3 หน้า 11 – 12, 14, (คําบรรยาย) สินค้าหรือบริการสาธารณะ (Public Goods) หรือเรียกว่าสินค้าสาธารณะแท้หรือสินค้าสาธารณะที่สมบูรณ์ (Pure Public Goods) มีคุณสมบัติดังนี้
1. ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค (Non-Rival Consumption) หรือกีดกันไม่ให้ผู้ใดเข้าถึงสินค้าหรือบริการนั้นไม่ได้
2. ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้ (Non-Excludable) หรือไม่สามารถใช้ราคา เป็นเครื่องมือกีดกันผู้อื่นไม่ให้ใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้
3. ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้าหรือบริการ คือ ต้นทุนส่วนเพิ่มเมื่อมีผู้ซื้อสินค้า หรือบริการเพิ่มขึ้นนั้นมีค่าเท่ากับศูนย์ (Zero-Marginal Cost)
ตัวอย่างเช่น ไฟฟ้าหรือไฟส่องสว่างบนถนนสาธารณะ แสงไฟจากประภาคารสาธารณะ แม่น้ำ ลําน้ำสาธารณะ การดําเนินนโยบายต่างประเทศ การดําเนินนโยบายความมั่นคง การทํา ความสะอาดถนนสาธารณะ การควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายหลักสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการ ชิมช้อปใช้ นโยบายป้องกันประเทศจาก COVID เป็นต้น

31. “ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย” เป็นฐานภาษีของภาษีชนิดใด
(1) ภาษีสรรพสามิต
(2) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(3) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(4) ภาษีศุลกากร
(5) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ 2 หน้า 34 ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีที่จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยทั่วไปฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ กําไรสุทธิ แต่เพื่อความเป็นธรรมแก่นิติบุคคล และอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษี จึงได้มีการบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกัน ออกไปตามลักษณะของรายได้ เช่น จากกําไรสุทธิ จากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย จากเงินได้ ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย จากการจําหน่ายเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย เป็นต้น

32. ข้อใดเป็นโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทย
(1) โครงสร้างแบบพื้นฐาน
(2) โครงสร้างแบบถดถอย
(3) โครงสร้างแบบก้าวหน้า
(4) โครงสร้างแบบสัดส่วน
(5) โครงสร้างแบบเร่งรัด
ตอบ 3 หน้า 30, (คําบรรยาย) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามกฎหมายและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กําหนด โดยปกติประเทศไทยจะมีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นรายปีโดยใช้อัตราภาษี แบบก้าวหน้า (Progressive Tax Rate)

33. นักศึกษาทํางานเป็นพนักงานประจําที่บริษัทแห่งหนึ่ง ได้รับเงินเดือน 12,400 บาท นักศึกษาต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
(1) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราภาษี 20%
(2) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราภาษี 15%
(3) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราภาษี 10%
(4) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราภาษี 5%
(5) ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี
ตอบ 5

34. พฤติกรรมในข้อใดผิดกฎหมาย
(1) Tax Compliance
(2) Tax Avoidance
(3) Tax Evasion
(4) Tax Audit
(5) Tax Refund
ตอบ 3 หน้า 28 พฤติกรรมการหนีภาษี (Tax Evasion) คือ การไม่ยินยอมเสียภาษีให้กับรัฐ เป็นการกระทําที่มีเจตนาจงใจละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายเพื่อไม่ต้องเสียภาษี หรือเสียภาษี ให้น้อยลงโดยวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย

35. พฤติกรรมในข้อใดเป็นพฤติกรรมที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย
(1) การเลี่ยงภาษี
(2) การหนีภาษี
(3) การเสียภาษีโดยสมัครใจ
(4) การเสียภาษีอย่างจํายอม
(5) การต่อต้านภาษี
ตอบ 1 หน้า 27 พฤติกรรมการเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance) คือ การที่พลเมืองผู้มีหน้าที่เสียภาษี ใช้วิธีการใด ๆ ตามกฎหมายที่มุ่งสร้างให้เกิดผลต่อภาระภาษีของผู้เสียภาษี เพื่อที่จะได้มี ภาระภาษีที่จะต้องเสียต่ำกว่าเดิม หรือใช้วิธีการบิดเบือนเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่ง การเลี่ยงภาษีนี้เป็นพฤติกรรมที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย และ ส่งผลโดยตรงให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

36. คํากล่าว “Taxes are the price of democracy” สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งใด
(1) การใช้จ่ายในระบอบประชาธิปไตย
(2) การใช้จ่ายกับภาระภาษี
(3) ภาษีกับกลไกราคา
(4) ภาษีกับการใช้จ่าย
(5) ภาษีกับประชาธิปไตย
ตอบ 5 หน้า 24 คํากล่าว “Taxes are the price of democracy” สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ ระหว่างภาษีกับประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี ซึ่งคํากล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่าประชาชนมีหน้าที่จ่ายภาษีให้กับรัฐเพื่อแลกเปลี่ยนกับการมีรัฐบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตยซึ่งทําหน้าที่จัดบริการสาธารณะให้กับประชาชน

37. คุณสมบัติของสินค้าเอกชนแท้ (Pure Private Goods) คือข้อใด
(1) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(2) ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้
(3) ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า
(4) ไม่มีข้อใดถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 13, (คําบรรยาย) สินค้าเอกชน (Private Goods) หรือสินค้าเอกชนแท้ (Pure Private Goods) เป็นสินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค สามารถแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้ และ มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า ซึ่งได้แก่สินค้าหรือบริการทั่วไปที่ซื้อขายกันตามท้องตลาด เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า อาหาร เป็นต้น

38. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทําให้เกิดภาพลวงตาทางการคลัง (Fiscal Illusion)
(1) รัฐบาลจัดเก็บภาษีหลากหลายประเภท
(2) มีโครงสร้างภาษีทางอ้อมในสัดส่วนที่สูง
(3) มีการจัดเก็บภาษีในฐานร่วม (Shared Taxes)
(4) การมีข้อลดหย่อนยกเว้นที่ซับซ้อน
(5) มีอัตราการจัดเก็บภาษีรูปแบบเดียวกันอัตราเดียว
ตอบ 5หน้า 26 Buchanan ได้ระบุไว้ว่า การจัดเก็บภาษีที่มีความซับซ้อนนั้น อาจทําให้เกิดปรากฏการณ์ภาพลวงตาทางการคลัง (Fiscal Illusion) ขึ้นได้ ซึ่งความซับซ้อนของ ระบบภาษีและการหารายได้ของรัฐอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
1. รัฐบาลจัดเก็บภาษีหลายประเภท หลายอัตรา
2. การมีข้อลดหย่อนยกเว้นที่ซับซ้อนหรือมีรายการลดหย่อนจํานวนมาก
3. มีโครงสร้างภาษีทางอ้อมในสัดส่วนที่สูง
4. มีการจัดเก็บภาษีในฐานร่วม (Shared Taxes)

39. หลักการที่ว่า “ผู้ที่มีความสามารถในการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ควรเสียภาษีแตกต่างกัน”
เป็นหลักความเสมอภาคในรูปแบบใด
(1) ความเสมอภาคในแนวระนาบ
(2) ความเสมอภาคในแนวนอน
(3) ความเสมอภาคในแนวตั้ง
(4) ความเสมอภาคในเชิงเปรียบเทียบ
(5) ความเสมอภาคระหว่างบุคคล
ตอบ 3 หน้า 26 หลักความเสมอภาคในแนวตั้งหรือแนวดิ่ง (Vertical Equity) มีสาระสําคัญว่า ผู้มีความสามารถในการเสียภาษีหรืออยู่ในสภาวการณ์ในการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ควรจะ เสียภาษีในลักษณะที่แตกต่างกัน ในลักษณะที่ว่า “Unequal Should Be Treated Unequally”

40. ใครเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
(1) บุคคลธรรมดาผู้ขายสินค้าเป็นอาชีพ มียอดขายเกินกว่า 150,000 บาทต่อเดือน
(2) นิติบุคคลผู้ขายสินค้าเป็นอาชีพ มียอดขายเกินกว่า 100,000 บาทต่อเดือน
(3) บุคคลธรรมดาให้บริการเป็นอาชีพ มีรายได้เกินกว่า 80,000 บาทต่อเดือน
(4) นิติบุคคลผู้ให้บริการเป็นอาชีพ มีรายได้เกินกว่า 100,000 บาทต่อเดือน
(5) บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้ขายสินค้าเป็นอาชีพ และมีรายได้ค่านายหน้าจากการขายสินค้าเกินกว่า 150,000 บาทต่อเดือน
ตอบ 1 หน้า 36 ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่ขายสินค้าหรือบริการเป็นอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคคล ซึ่งมีรายได้หรือยอดขายเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี (150,000 บาทต่อเดือน) โดยต้องยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และคํานวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ และต้องชําระภาษีเป็นรายเดือน โดยยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

41. หากนักศึกษาเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และมีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร นักศึกษาต้องเลือก เดินเข้าประเทศผ่านช่องทางใด
(1) Red Line
(2) Blue Line
(3) Pink Line
(4) Green Line
(5) Black Line
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กรณีนักศึกษาเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ
1. หากมีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร ให้เดินเข้าประเทศผ่านช่อง Red Line
2. หากไม่มีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร ให้เดินเข้าประเทศผ่านช่อง Green Line

42. ข้อใดเป็นลักษณะของภาษีที่ดีตามหลักสวัสดิการสังคม
(1) ประชาชนแบกรับภาระภาษีอย่างเท่าเทียม
(2) จัดเก็บภาษีน้อยที่สุดเพื่อนําไปใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
(3) ภาษีได้รับการเห็นชอบจากประชาชน
(4) เปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษีบ่อยครั้ง
(5) จัดเก็บตามความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay)
ตอบ 2 หน้า 26 – 27 ภาษีที่ดีตามหลักสวัสดิการสังคม คือ ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บจากประชาชน น้อยที่สุดเพื่อนําไปใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยรัฐบาลต้องเปรียบเทียบกัน ระหว่างภาระภาษีกับผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับคืนมาจากการเสียภาษี ลดความสูญเสีย จากการจัดเก็บภาษี (Deadweight Loss) หรือลดภาระภาษีส่วนเกินให้เหลือน้อยที่สุดหรือไม่มีภาระภาษีส่วนเกิน (Excess Burden)

43. เงินได้พึงประเมินหมายถึงเงินได้ของบุคคลที่เกิดขึ้นในระยะเวลาใด
(1) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม
(2) ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 มีนาคม
(3) ระหว่างวันที่ 14 เมษายน – 31 ธันวาคม
(4) ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 31 พฤษภาคม
(5) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 30 กันยายน
ตอบ 1 หน้า 31 เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้ของบุคคลใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคมของปีใด ๆ หรือเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่
1. เงิน
2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน
3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน
4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกําหนด

44. ข้อใดไม่ใช่เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร
(1) เงินเดือน
(2) เงินบํานาญ
(3) เงินค่าจ้าง
(4) เบี้ยประชุม
(5) เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
ตอบ 4 หน้า 31 เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ตามประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินได้เนื่องจาก การจ้างแรงงาน ดังนี้
1. เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ
2. เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
3. เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า ฯลฯ

45. ภาษีสรรพสามิตเป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการที่มีลักษณะอย่างไร
(1) ขัดต่อศีลธรรมอันดี
(2) มีความฟุ่มเฟือย
(3) เกิดผลเสียต่อสุขภาพ
(4)ทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 38, (คําบรรยาย) ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผล สมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ขัดต่อ ศีลธรรมอันดีงาม มีลักษณะเป็นสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือย หรือได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษ จากกิจการของรัฐ ดังนั้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจึงไม่เป็นกลางตามหลักการภาษีที่ดี ทั้งนี้ เพราะเป็นการจัดเก็บภาษีที่ต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนหรือจํากัด การบริโภคของประชาชนให้น้อยลง ตัวอย่างสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต เช่น สุรา เบียร์ ไฟ ยาสูบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม เรือ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ น้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน น้ำหอม เจลแอลกอฮอล์ สนามกอล์ฟ สนามแข่งม้า ไนต์คลับ ดิสโก้เธค ผับ บาร์ และคาราโอเกะ เป็นต้น

46. คุณสมบัติของสินค้าสาธารณะแท้ (Pure Public Goods) คือข้อใด
(1) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(2) ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้
(3) ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า
(4) ไม่มีข้อใดถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

47. ภาษีมูลค่าเพิ่มมีรอบการชําระภาษีอย่างไร
(1) รายวัน
(2) รายเดือน
(3) รายสัปดาห์
(4) รายปี
(5) รายไตรมาส
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

48. ใครเป็นผู้แบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง
(1) ผู้ผลิตสินค้า
(2) ผู้ขายสินค้า
(3) ผู้บริโภคสินค้า
(4) ผู้โกงสินค้า
(5) ผู้จัดจําหน่ายสินค้า
ตอบ 3 หน้า 19, (คําบรรยาย) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) จัดเป็นภาษีสรรพากร และเป็นภาษีทางอ้อมที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้บริโภคได้โดยการ บวกเพิ่มเข้าไปในสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ดังนั้นผู้แบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง ผู้บริโภคสินค้าหรือบริการนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7%

49. พลเมืองมีสิทธิปฏิเสธการทํางานของรัฐบาลได้หลายวิธี ยกเว้นข้อใด
(1) การไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
(2) การทําลายทรัพย์สินของทางราชการ
(3) การเดินขบวนประท้วง
(4) การไม่จ่ายภาษีให้รัฐบาล
(5) การทําอารยะขัดขืน
ตอน 2 หน้า 28 ในทางรัฐศาสตร์ รัฐบาลและพลเมืองจะต้องมีจริยธรรมด้วยกันทั้งคู่จึงจะทําให้ การบริหารประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น หากรัฐบาลไม่คํานึงถึงผลประโยชน์ของพลเมืองโดยส่วนรวม พลเมืองย่อมมีสิทธิปฏิเสธการทํางานของรัฐบาล ซึ่งสามารถทําได้หลายวิธี เช่น การไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การไม่จ่ายภาษีให้รัฐบาล การเดินขบวนประท้วง การทําอารยะขัดขืน เป็นต้น

50. กลไกตลาดภาครัฐคืออะไร
(1) กลไกการทํางานระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(2) กลไกความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(3) กลไกการบริหารจัดการระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(4) กลไกการประสานงานระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(5) กลไกการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างภาครัฐกับประชาชน
ตอบ 5 หน้า 21 กลไกตลาดภาครัฐ คือ กลไกการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่าง ภาครัฐในฐานะผู้ประกอบการกับประชาชนในฐานะผู้บริโภค

51. ส่วนขาดดุลทางการคลังเกิดจากข้อใด
(1) รัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้
(2) รัฐบาลมีรายได้มากกว่ารายจ่าย
(3) รัฐบาลมีรายจ่ายเท่ากับรายได้
(4) รายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 45 ส่วนขาดดุลทางการคลัง (Fiscal Deficit) เกิดจากรัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ซึ่งรัฐบาลสามารถชดเชยการขาดดุลได้โดยใช้วิธีการก่อหนี้สาธารณะ

52. ปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงทศวรรษ 1930 เรียกว่าอะไร
(1) Crisis
(2) The Great Depression
(3) The Great Storm
(4) Hamburger Crisis.
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 46 – 47, (คําบรรยาย) ในช่วงทศวรรษ 1930 เกิดปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลก หรือที่เรียกว่า The Great Depression ซึ่งทฤษฎีของเคนส์ได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหานี้ โดยการเสนอให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ คือการให้รัฐบาลใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ที่มีอยู่เพื่อเป็นการ ยกระดับอุปสงค์มวลรวม (Aggregate Demand)

53. นักเศรษฐศาสตร์สํานักใดไม่ยอมรับการก่อหนี้สาธารณะ
(1) เคนส์เซียน
(2) นีโอลิเบอรัล
(3) พาณิชย์นิยม
(4) เสรีนิยม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 45 นักเศรษฐศาสตร์สํานักคลาสสิก (Classical Economist) หรือสํานักเสรีนิยม (Liberalist) มองว่า บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจควรเป็นไปอย่างจํากัด (Minimalist State) คือ รัฐบาลควรใช้จ่ายงบประมาณอย่างจํากัด ดังนั้นการใช้จ่ายเกินตัวของรัฐบาลซึ่งนําไปสู่การก่อหนี้สาธารณะจึงเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์สํานักนี้

54. ในทฤษฎีของเคนส์การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรัฐบาลเป็นการทํางานของกลไกในข้อใด
(1) การบริโภค
(2) การออม
(3) การลงทุน
(4) อุปสงค์มวลรวม
(5) การจับจ่ายใช้สอย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

55. กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้สาธารณะ เรียกว่าอะไร
(1) วินัยทางการคลัง
(2) กฎเหล็กทางการคลัง
(3) ความยั่งยืนทางการคลัง
(4) กฎกระทรวงการคลัง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้
สาธารณะ เรียกว่า วินัยทางการคลัง

56. บทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดในพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ที่กําหนด
ขีดจํากัดของการก่อหนี้สาธารณะสําหรับประเทศไทย
(1) มาตรา 9 ทวี
(2) มาตรา 15
(3) มาตรา 19
(4) มาตรา 21
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 21 ได้กําหนด ขีดจํากัดของการก่อหนี้สาธารณะสําหรับประเทศไทยไว้ว่า การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล งบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ในปีงบประมาณหนึ่ง ให้กระทรวงการคลังกู้เป็น เงินบาทไม่เกินวงเงิน ดังนี้
1. ร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจําปีที่ใช้บังคับ อยู่ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
2. ร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สําหรับชําระคืนเงินต้น

57.ณ สิ้นเดือนเมษายน 2560 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยอยู่ที่ประมาณร้อยละเท่าไร
(1) 10
(2) 15
(3) 20
(4) 40
(5) 60
ตอบ 4 หน้า 51 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน เมษายน 2560 มีจํานวน 6,267,920.88 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.64 ของผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

58. สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะอยู่ภายใต้สังกัดของหน่วยงานใด
(1) กรมธนารักษ์
(2) กรมบัญชีกลาง
(3) สํานักงบประมาณ
(4) สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 48 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 อยู่ภายใต้สังกัดของ สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดําเนินการเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การผูกพันหนี้ การบริหารหนี้ และการชําระหนี้ ในประเทศและต่างประเทศของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งที่ค้ําประกันและไม่ค้ําประกัน

59. สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะก่อตั้งขึ้นในปีใด
(1) ปี พ.ศ. 2540
(2) ปี พ.ศ. 2541
(3) ปี พ.ศ. 2542
(4) ปี พ.ศ. 2543
(5) ปี พ.ศ. 2544
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

60. ข้อใดไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ
(1) หนี้ของรัฐบาล
(2) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
(3) หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน
(4) หนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 45, 50, (คําบรรยาย) หนี้สาธารณะ ได้แก่
1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศ
2. หนี้ของรัฐวิสาหกิจ (ไม่เป็นสถาบันการเงิน) ที่รัฐบาลค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน
3. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน
4. หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
5. หนี้ของหน่วยงานอื่นของรัฐ เช่น หนี้ของกระทรวงการคลัง เป็นต้น

61. บทบาทของรัฐบาลในลักษณะที่เป็น Minimalist State ตรงกับข้อใด
(1) รัฐบาลไม่มีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ
(2) บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจควรเป็นไปอย่างจํากัด
(3) รัฐบาลไม่ควรมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ
(4) บาทบาทของรัฐบาลเป็นไปตามนโยบายของพรรคการเมือง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

62. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับร้อยละเท่าไร
(1) 7.12
(2) 15.26
(3) 15.28
(4) 18.25
(5) 25.74
ตอบ 1 หน้า 52 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 7.12

63. ข้อใดคือความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ในต่างประเทศ
(1) วงเงิน
(2) ระยะเวลาชําระคืน
(3) อัตราดอกเบี้ย
(4) ผู้ที่รับภาระหนี้
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3(คําบรรยาย) การก่อหนี้สาธารณะต้องคํานึงถึงผู้ที่รับภาระหนี้ วงเงิน ระยะเวลาชําระคืน และ อัตราดอกเบี้ย โดยที่อัตราดอกเบี้ยคือความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับต่างประเทศ เนื่องจากต้องใช้คืนทั้งต้นเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยที่ผันผวนตามค่าเงิน

64. กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารหนี้สาธารณะคือข้อใด
(1) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2545
(2) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2546
(3) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2547
(4) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548
(5) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธ สาธารณะ พ.ศ. 2550
ตอบ 4 (คําบรรยาย) กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหาร หนี้สาธารณะ คือ พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งประกาศบังคับใช้ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร

65. ข้อใดไม่ใช่ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ
(1) ตั๋วเงินคลัง
(2) ตั๋วสัญญาใช้เงิน
(3) พันธบัตร
(4) บัตรเงินฝาก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4(คําบรรยาย) ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ ได้แก่
1. ตั๋วเงินคลัง
2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน
3. พันธบัตร

66. ข้อใดเป็นคํานิยามของพันธบัตรที่ถูกต้อง
(1) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกิน 6 เดือน
(2) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกิน 12 เดือน
(3) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป
(4) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่ 18 เดือนขึ้นไป
(5) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่ 24 เดือนขึ้นไป
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พันธบัตร คือ เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออก ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป

67. ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังไม่อาจกู้เงินเพื่อการใด
(1) ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
(2) พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
(3) ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
(4) ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
(5) พัฒนาตลาดทุนในประเทศ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังกู้เงินได้ เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1. ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
2. พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
3. ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
4. ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
5. พัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ

68. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ
(1) การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
(2) การเป็นเครื่องชี้วัดสถานภาพทางสังคม
(3) การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
(4) การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 54, (คําบรรยาย) บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2. การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
3. การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า
4. การเป็นมาตรฐานการชําระหนี้ในภายหน้า

69. บุคคลใดเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(3) ปลัดกระทรวงการคลัง
(4) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ
(5) ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
ตอบ 2 หน้า 50, (คําบรรยาย) คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ มีรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน โดยมีอํานาจหน้าที่ดังนี้
1. รายงานสถานะของหนี้สาธารณะต่อคณะรัฐมนตรี
2. เสนอแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจําปีงบประมาณต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ
3. จัดทําหลักเกณฑ์ในการกู้เงิน การค้ําประกัน การชําระหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ และการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ ฯลฯ

70. ข้อใดไม่นับว่าเป็นเงิน
(1) เหรียญกษาปณ์
(2) เช็ค
(3) ตั๋วแลกเงิน
(4) บัตรเครดิต
(5) ศิลปวัตถุ
ตอบ 5 หน้า 54 เงิน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจจะอยู่ในหลายรูปแบบ เช่น ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ เช็ค ตั๋วแลกเงิน บัตรเครดิต เป็นต้น

71. คําในข้อใดหมายถึงนโยบายการเงิน
(1) Fiscal Policy
(2) Monetary Policy
(3) Financial Policy
(4) Public Policy
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 3, 54, 57, (คําบรรยาย) นโยบายการเงิน (Monetary Policy) หมายถึง นโยบายที่ เกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ทางเศรษฐกิจ เช่น การควบคุมกํากับอัตราดอกเบี้ย การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท การควบคุม กํากับดูแลสินเชื่อ การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล การออกระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ทางการเงิน เป็นต้น โดยหน่วยงานที่ทําหน้าที่ดูแลนโยบายการเงินก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย

72. การดําเนินนโยบายการเงินไม่มีผลกระทบสืบเนื่องไปยังเรื่องใด
(1) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(2) การจ้างงาน
(3) ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
(4) เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) การดําเนินนโยบายการเงินมีผลกระทบสืบเนื่องไปยังเสถียรภาพ ของระบบเศรษฐกิจ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการจ้างงาน แต่จะไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

73. ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงิน
(1) การควบคุมปริมาณเงิน
(2) การกําหนดอัตราดอกเบี้ย
(3) การควบคุมเงินที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ
(4) การเก็บภาษีศุลกากร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4หน้า 55 – 56 เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง ประกอบด้วย 3 เครื่องมือ คือ การควบคุมปริมาณเงิน การกําหนดอัตราดอกเบี้ย และการควบคุมเงิน ที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ

74.ECB เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด
(1) ธนาคารกลางแห่งอังกฤษ
(2) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์
(3) ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(4) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา
(5) ธนาคารกลางแห่งเอเชีย
ตอบ 3 หน้า 55 ในปัจจุบันธนาคารกลางที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ได้แก่ ธนาคารกลางแห่งยุโรป (European Central Bank : ECB) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve Bank : FED) เป็นต้น

75. หน่วยงานใดเป็นผู้กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย
(1) กระทรวงพาณิชย์
(2) กระทรวงการคลัง
(3) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(4) ธนาคารกรุงไทย
(5) คณะกรรมการนโยบายการเงิน
ตอบ 3หน้า 57 – 58 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2485 เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและหน้าที่ ดังนี้
1. ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร
2. กําหนดและดําเนินนโยบายการเงิน เช่น กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ย
3. บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
4. เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล
5. เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน
6. กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
7. บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและสินทรัพย์ในทุนสํารองเงินตรา ฯลฯ

76. ข้อใดคือลักษณะที่สําคัญที่สุดของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายทางการเงิน
(1) มุ่งหากําไรสูงสุด
(2) หลีกเลี่ยงการแทรกแซงตลาดการเงิน
(3) มีอิสระจากฝ่ายการเมือง
(4) มีอํานาจเด็ดขาด
(5) รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสีย
ตอบ 3 หน้า 55 ลักษณะที่สําคัญที่สุดของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายทางการเงิน คือ มีอิสระ จากฝ่ายการเมือง เนื่องจากการดําเนินนโยบายทางการเงินนั้นมีเป้าหมายที่จะรักษาเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจเป็นสําคัญ ดังนั้นการดําเนินนโยบายโดยหน่วยงานที่มีอิสระจากฝ่ายการเมืองย่อมจะเป็นผลดีต่อการบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินมากกว่าการดําเนินนโยบายโดยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง

77. ในปัจจุบันบุคคลใดดํารงตําแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล
(2) นายประทิน สันติประภพ
(3) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
(4) นายวิรไท สันติประภพ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน คือ นายเศรษฐวุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ
ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

78. ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปีใด
(1) ปี พ.ศ. 2480
(2) ปี พ.ศ. 2485
(3) ปี พ.ศ. 2490
(4) ปี พ.ศ. 2495
(5) ปี พ.ศ. 2500
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

79. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) ออกธนบัตร
(2) บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) ผลิตเหรียญกษาปณ์
(4) กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

80. ในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับเท่าไร
(1) ร้อยละ 0.75 ต่อปี
(2) ร้อยละ 1.0 ต่อปี
(3) ร้อยละ 2.0 ต่อปี
(4) ร้อยละ 2.5 ต่อปี
(5) ร้อยละ 3.0 ต่อปี
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 1.0 ต่อปี

81. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(1) เสถียรภาพและความมั่นคง
(2) การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
(3) การบริหารความเสี่ยงที่ดี
(4) ส่งเสริมการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 60 เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่
1. ระบบการเงินมีเสถียรภาพและความมั่นคง
2. การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
3. การบริหารความเสี่ยงที่ดี
4. ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันของระบบ สถาบันการเงิน
5. การเข้าถึงบริการทางการเงินเป็นไปอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

82. ความต้องการถือเงินของภาคครัวเรือนเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากข้อใด
(1) ความต้องการจับจ่ายใช้สอย
(2) การสร้างความมั่นคง
(3) การสร้างหลักประกันในการดําเนินชีวิต
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 54 เงินเป็นสิ่งสําคัญและมีบทบาทอย่างสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจาก
ลักษณะของการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนของเงินนั่นเอง ซึ่งทําให้ภาคครัวเรือน เกิดความต้องการถือเงินเมื่อมีความต้องการจับจ่ายใช้สอย

83.FED เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด
(1) ธนาคารกลางแห่งฝรั่งเศส
(2) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์
(3) ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(4) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา
(5) ธนาคารกลางแห่งแอฟริกา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

84. ข้อใดไม่ถูกต้อง งบประมาณแผ่นดินมีลักษณะดังนี้
(1) มีกระบวนการจัดทําที่มีลักษณะรวมอํานาจ
(2) รายรับมาจากภาษีอากรของประชาชน
(3) ความพึงพอใจของประชาชนเป็นแรงจูงใจในการจัดทํา
(4) งบประมาณแผ่นดินมีผลบังคับต่อประชาชนทุกคนในชาติ
(5) รายรับอาจได้มาด้วยการก่อหนี้สาธารณะ
ตอบ 1 หน้า 63 – 66, (คําบรรยาย) คุณสมบัติหรือลักษณะสําคัญของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งแตกต่างจากงบประมาณเอกชน มีดังนี้
1. เป็นกฎหมายทางการเงิน กล่าวคือ มีการตราเป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งกําหนดว่าให้ใช้จ่ายเงินได้ ไม่เกินจํานวนที่กําหนด แต่ในทางปฏิบัติรายจ่ายจริงอาจมีน้อยกว่ารายจ่ายที่กฎหมายงบประมาณ กําหนดไว้ก็ได้
2. เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับต่อประชาชนทุกคนในชาติ
3. วิธีการจัดหารายได้ (รายรับ) ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดเก็บภาษีอากรและการก่อหนี้ สาธารณะ
4. คํานึงถึงความพึงพอใจของประชาชนเป็นแรงจูงใจในการจัดทํางบประมาณ
5. การกําหนดรายรับ มีรายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับ
6. มีกระบวนการจัดทํางบประมาณที่มีลักษณะกระจายอํานาจ
7. ลักษณะการเป็นเจ้าของ โดยมีประชาชนเป็นเจ้าของกิจการที่แท้จริง
8. มีการอนุมัติงบประมาณโดยรัฐสภา
9. การควบคุมหรือการบริหารงบประมาณจะถูกควบคุมร่วมกันทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ

85. ในยุคที่มีความเชื่อว่า… “งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือในการควบคุมความซื่อสัตย์ในการใช้จ่าย ของรัฐบาล…” งบประมาณแผ่นดินจะให้ความสําคัญไปที่
(1) รายละเอียดของบัญชีที่แสดงประเภทของการใช้จ่ายเงินของรัฐ
(2) เอกสารที่ประกอบด้วยโครงการต่าง ๆ ซึ่งเสนอขอรายจ่ายเพื่อให้เกิดการดําเนินงานตามวัตถุประสงค์ ของโครงการนั้น ๆ
(3) แผนของรัฐในรูปตัวเงินที่แสดงประสิทธิภาพของการใช้เงินตามแผนนั้น ๆ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 63, 90 – 91 ในยุคที่มีความเชื่อว่า งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือของฝ่ายนิติบัญญัติ ในการติดตามควบคุมการใช้ทรัพยากร หรือควบคุมตรวจสอบความถูกต้องและความซื่อสัตย์ สุจริตในการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลนั้น งบประมาณแผ่นดินตามความเชื่อนี้จะหมายถึง รายละเอียดของบัญชีที่แสดงประเภทของการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล หรือรายละเอียดของทรัพยากรที่ หน่วยงานเสนอของบประมาณจากรัฐบาล

ตั้งแต่ข้อ 86 – 95. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ฐานรายได้
(2) ฐานความมั่งคั่ง
(3) ฐานการบริโภค
(4) ฐานความมั่งคั่งและฐานการบริโภค
(5) ไม่มีข้อใดถูก

86. ภาษีไฟ มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 3 หน้า 5 – 6, 23, 38 ฐานการบริโภค (Consumption Base) เป็นฐานภาษีที่เก็บจาก การใช้จ่ายเพื่อบริโภคของประชาชน รวมถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่าง ๆ ตัวอย่างภาษีที่จัดเก็บโดยใช้ฐานการบริโภค เช่น ภาษีการขาย ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษี สรรพสามิต (เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ ภาษีน้ำมัน ภาษีเครื่องดื่ม ภาษีไฟ ภาษีน้ําหอม) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสินค้าขาเข้า (เช่น ภาษีรถยนต์นําเข้า) เป็นต้น

87.ภาษีรถยนต์ มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 2 หน้า 6, 23, (คําบรรยาย) ฐานความมั่งคั่ง (Wealth Base) เป็นฐานภาษีที่พิจารณาจาก รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินที่บุคคลได้ครอบครองอยู่ ตัวอย่างภาษีที่จัดเก็บ โดยใช้ฐานความมั่งคั่ง เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีโรงแรม ภาษีโรงงาน ภาษีป้าย ภาษีรถยนต์ ภาษีมรดก ภาษีดอกเบี้ย เป็นต้น

88.ภาษีการขาย มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

89. ภาษีบํารุงท้องถิ่นจากโรงแรม น้ํามัน ยาสูบ มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 86. และ 87. ประกอบ

90. ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

91. ภาษีเงินได้นิติบุคคล มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 1 หน้า 5, 22, (คําบรรยาย) ฐานรายได้ (Income Base) เป็นฐานภาษีที่วัดจากความสามารถ ในการเสียภาษี (Ability to Pay) ของประชาชนแต่ละคน โดยพิจารณาจากเงินได้ของบุคคล หรือหน่วยภาษีต่าง ๆ ภาษีที่จัดเก็บโดยใช้ฐานรายได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (กําไร จากการขายคริปโต”) ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีหัก ณ ที่จ่าย

92. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ

93. ภาษีป้าย มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ

94. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

95. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

96.“การวิเคราะห์งบประมาณ” เป็นกิจกรรมที่อยู่ในขั้นตอนใดของกระบวนการงบประมาณ
(1) การควบคุม
(2) การจัดเตรียม
(3) การประเมินผล
(4) การอนุมัติ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

97. ตัวอย่างของ Public Goods ได้แก่
(1) บริการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(2) การจัดแสงสว่างในทางเดินสาธารณะ
(3) ไฟฟ้า
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 66, 71 สินค้าสาธารณะ (Public Goods) คือ สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปการสาธารณูปโภคที่มีประโยชน์ต่อคนส่วนรวม ซึ่งรัฐเป็นผู้ดําเนินการโดยอาศัย กฎหมายและรายได้จากภาษีอากรของประชาชน เป็นสินค้าและบริการที่มุ่งอรรถประโยชน์ สูงสุดของระบบเศรษฐกิจ และไม่อาจใช้กลไกราคาเป็นเครื่องวัดมูลค่าได้ เช่น บริการป้องกัน ประเทศ บริการรักษาความสงบภายใน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การอํานวย ความยุติธรรม การควบคุมน้ําท่วม การจัดแสงสว่างในทางเดินสาธารณะ การดําเนินนโยบาย ต่างประเทศ การทําความสะอาดถนนสาธารณะ การควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

98. “การใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินต้องได้รับการยินยอมจากประชาชนเสียก่อน” หมายความว่า
(1) งบประมาณต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ ก่อนที่จะนําไปใช้
(2) งบประมาณต้องได้รับการวิเคราะห์ก่อนนําไปใช้
(3) งบประมาณต้องผ่านการทําประชามติก่อนนําไปใช้
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 64, 82, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินเป็นเงินของประชาชนที่มอบให้กับรัฐบาลในรูปของภาษีอากรและการกู้ยืมเพื่อนําไปใช้ในการบริหารประเทศ ดังนั้นการใช้จ่ายงบประมาณ จึงต้องได้รับการอนุมัติหรือยินยอมจากประชาชนเสียก่อน แต่เนื่องจากการบริหารราชการในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ประชาชนได้มอบอํานาจการตัดสินใจให้กับรัฐสภา (สภา นิติบัญญัติ) ไปแล้ว งบประมาณแผ่นดินซึ่งการจัดทําเป็นหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะจึงจําเป็นต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาโดยต้องทําเป็นกฎหมายก่อนที่จะนําไปใช้ เพราะถ้า งบประมาณไม่ได้รับการรับรองจากสภา รัฐบาลก็จะบริหารประเทศต่อไปไม่ได้ ดังนั้นจึงถือว่า งบประมาณเป็นเครื่องมือ เงื่อนไข หรือกลไกรับรองการเป็นรัฐบาลหรือการจัดตั้งรัฐบาลใน ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

99. “กลไกราคา” เป็นเครื่องมือสําคัญในการจัดสรรสินค้าชนิดใด
(1) สินค้าเอกชน
(2) สาธารณูปโภค
(3) สินค้าสาธารณะ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 65, (คําบรรยาย) สินค้าเอกชน (Private Goods) เป็นสินค้าและบริการที่ประชาชน ทุกคนสามารถซื้อมาใช้เป็นการส่วนตัวได้ โดยจะมี “กลไกราคา” (Price Mechanism) เป็นเครื่องมือในการจัดสรร

100. ในปีงบประมาณ 2565 รัฐบาลไทยทําหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรของชาติตาม พ.ร.บ. งบประมาณ รายจ่ายประจําปีคิดเป็นร้อยละเท่าไรของ GDP (ประมาณ)
(1) 30
(2) 22
(3) 18
(4) 12
(5) 7
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2565 ได้กําหนดวงเงินงบประมาณ รายจ่ายไว้จํานวน 3.1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.26 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (GDP)

Advertisement