การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3300 การบริหารการคลัง
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.คําว่า “Budget” ศัพท์ดั้งเดิมหมายถึง
(1) บัญชี
(2) แผน
(3) เงิน
(4) กระเป๋า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4หน้า 63 พจนานุกรมของ “Webster” ให้ความหมายไว้ว่า Budget มาจากคําว่า Boget หรือ Bouget ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า กระเป๋าหนัง ซึ่งเสนาบดีกระทรวงการคลัง ของอังกฤษในสมัยนั้นใช้เป็นที่ใส่เอกสารทางการเงินที่แสดงรายรับและรายจ่ายของรัฐเพื่อแถลงต่อสภา

Advertisement

2. รายละเอียดของขั้นตอนในการ “อนุมัติ” งบประมาณ ถูกกําหนดโดย
(1) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534
(2) พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ 2561
(3) ข้อบังคับกระทรวงการคลัง
(4) พระราชกฤษฎีกา
(5) กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ตอบ 5 หน้า 78, (คําบรรยาย) การอนุมัติงบประมาณจะเป็นไปภายใต้ข้อบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะกําหนดวิธีการกว้าง ๆ ในการพิจารณาอนุมัติของรัฐสภา (ส่วน พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 นั้น ถือเป็นกฎหมายแม่บทในกระบวนการจัดทํางบประมาณแผ่นดินของไทย ซึ่งจะ กําหนดหลักเกณฑ์กว้าง ๆ ในการจัดเตรียมและการควบคุมหรือการบริหารงบประมาณ)

3.ความเชื่อที่ว่า “งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือในการควบคุมและตรวจสอบ…” งบประมาณตาม ความเชื่อนี้หมายถึง
(1) แผนที่แสดงเป้าหมายระยะยาว
(2) บัญชีที่แสดงประเภทของการใช้จ่ายเงิน
(3) แผนของรัฐในรูปตัวเงิน
(4) แผนที่ผ่านการวิเคราะห์ทางการเงิน
(5) เอกสารทางการเงิน
ตอบ 2 หน้า 63, 90 – 91 ในยุคที่มีความเชื่อว่า งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือของฝ่ายนิติบัญญัติ ในการติดตามควบคุมการใช้ทรัพยากร หรือควบคุมตรวจสอบความถูกต้องและความซื่อสัตย์ สุจริตในการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลนั้น งบประมาณแผ่นดินตามความเชื่อนี้จะหมายถึง รายละเอียด ของบัญชีที่แสดงประเภทของการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล หรือรายละเอียดของทรัพยากรที่ หน่วยงานเสนอของบประมาณจากรัฐบาล

4. Free Rider หมายถึงคนกลุ่มใด
(1) คนที่ใช้ประโยชน์จากสินค้าสาธารณะและร่วมจ่ายค่าบริการ
(2) คนที่ไม่ได้รับประโยชน์จากสินค้าสาธารณะ
(3) คนที่ไม่ได้ร่วมใช้ประโยชน์จากสินค้าสาธารณะ
(4) คนที่ร่วมใช้ประโยชน์จากสินค้าสาธารณะ แต่ไม่ร่วมจ่ายค่าบริการ
(5) คนที่ไม่ใช้ประโยชน์จากสินค้าสาธารณะ และไม่จ่ายค่าบริการ
ตอบ 4 หน้า 12 Free Rider หมายถึง คนที่ร่วมใช้ประโยชน์จากสินค้าสาธารณะ แต่ไม่ร่วมจ่ายค่าบริการ

5.ข้อใดคือความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ในต่างประเทศ
(1) ระยะเวลาชําระคืน
(2) ผู้ที่รับภาระหนี้
(3) วงเงิน
(4) อัตราดอกเบี้ย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การก่อหนี้สาธารณะต้องคํานึงถึงผู้ที่รับภาระหนี้ วงเงิน ระยะเวลาชําระคืน และอัตราดอกเบี้ย โดยที่อัตราดอกเบี้ยคือความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับต่างประเทศ เนื่องจากต้องใช้คืนทั้งต้นเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยที่ผันผวนตามค่าเงิน

6. ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าที่ข้ามผ่านเขตแดนประเทศไทย คือภาษีชนิดใด
(1) ภาษีธุรกิจเฉพาะ
(2) ภาษีสรรพสามิต
(3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(4) ภาษีการค้า
(5) ภาษีศุลกากร
ตอบ 5 หน้า 37, (คําบรรยาย) ภาษีศุลกากร คือ ภาษีที่จัดเก็บจากการนําสินค้าเข้าจากต่างประเทศ หรือส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร หรือจัดเก็บจากสินค้าที่ข้ามผ่านเขตแดนประเทศไทย โดยจะจัดเก็บตามราคาหรือร้อยละของมูลค่าสินค้า และจัดเก็บตามสภาพของสินค้า ตามปริมาณ น้ําหนัก ความยาว หรือปริมาตร เป็นต้น

7. คุณสมบัติของสินค้าสาธารณะแท้ (Pure Public Goods) ที่ครบถ้วนที่สุดคือข้อใด
(1) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค แบ่งแยกการบริโภคจากกันไม่ได้ และไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่ม
(2) ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้
(3) ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า แบ่งแยกการบริโภคจากกันได้ และเป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(4) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภคและแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้
(5) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
ตอบ 1 หน้า 11 – 12, 14, (คําบรรยาย) สินค้าหรือบริการสาธารณะ (Public Goods) หรือเรียกว่า สินค้าสาธารณะแท้หรือสินค้าสาธารณะที่สมบูรณ์ (Pure Public Goods) มีคุณสมบัติดังนี้
1. ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค (Non-Rival Consumption) หรือกีดกันไม่ให้ผู้ใดเข้าถึง สินค้าหรือบริการนั้นไม่ได้
2. ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้ (Non-Excludable) หรือไม่สามารถใช้ราคา เป็นเครื่องมือกีดกันผู้อื่นไม่ให้ใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้
3. ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้าหรือบริการ คือ ต้นทุนส่วนเพิ่มเมื่อมีผู้ซื้อสินค้า หรือบริการเพิ่มขึ้นนั้นมีค่าเท่ากับศูนย์ (Zero-Marginal Cost)
ตัวอย่างเช่น ไฟฟ้าหรือโคมไฟบนถนนสาธารณะ แสงไฟจากประภาคารสาธารณะ แม่น้ำ/ลําน้ำสาธารณะ การดําเนินนโยบายต่างประเทศ การดําเนินนโยบายความมั่นคง การทํา ความสะอาดถนนสาธารณะ การควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายหลักสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการ ชิมช้อปใช้ นโยบายป้องกันประเทศจาก COVID เป็นต้น

8.ลักษณะของระบบงบประมาณแบบ Line-Item Budget ได้แก่
(1) มีการแบ่งแยกชนิดของการใช้จ่าย
(2) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(3) มีการวิเคราะห์โครงการ
(4) แบ่งเงินตามนโยบายของรัฐ
(5) มีการวิเคราะห์โครงการและมีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
ตอบ 1 หน้า 87 – 88, 90 – 92, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budget) หรืองบประมาณแบบเก่า (Conventional Budget) หรืองบประมาณแบบประเพณี (Traditional Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ในด้านการควบคุมเพื่อมุ่งตรวจสอบความถูกต้องและความซื่อสัตย์สุจริตของการใช้จ่ายเงินของรัฐ หรือให้ความสําคัญกับความถูกต้องของ “ปัจจัย นําเข้า (Inputs) หรือการจัดสรร “ทรัพยากร” ของงานหรือโครงการ โดยเน้นกฎ ระเบียบ และการควบคุมให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบนั้น หรือให้ความสําคัญกับมาตรฐานของทรัพยากร ที่หน่วยราชการได้ใช้ไป ดังนั้นงบประมาณจึงถูกแบ่งออกตามหน่วยราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ (Agencies Classification หรือ Organizations Classification) โดยเฉพาะในระดับกรม และมีการแบ่งตามประเภทและชนิดของการใช้จ่าย (Objects of Expenditure Classification) โดยพิจารณาจากคู่มือการจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่ายซึ่งแบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น หมวดเงินเดือน หมวดสาธารณูปโภค หมวดครุภัณฑ์ ฯลฯ นอกจากนี้ในการจัดเตรียม งบประมาณก็จะต้องมีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจ (Muddling Through) หรือการวิเคราะห์เฉพาะส่วนที่เพิ่ม (Incrementalism) เป็นเกณฑ์ด้วย

9. นักเศรษฐศาสตร์สํานักใดไม่ยอมรับการก่อหนี้สาธารณะ
(1) เคนส์เซียน
(2) เสรีนิยม
(3) พาณิชย์นิยม
(4) นีโอลิเบอรัล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 46 นักเศรษฐศาสตร์สํานักคลาสสิก (Classical Economist) หรือสํานักเสรีนิยม (Liberalist) มองว่า บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจควรเป็นไปอย่างจํากัด (Minimalist State) คือ รัฐบาลควรใช้จ่ายงบประมาณอย่างจํากัด ดังนั้นการใช้จ่ายเกินตัวของรัฐบาลซึ่งนําไปสู่การก่อหนี้สาธารณะจึงเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์สํานักนี้

10. ในปัจจุบันบุคคลใดดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(1) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(2) นายปรีดี บุญชื่อ
(3) นายปรีดี ดาวฉาย
(5) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
(4) นายปรีดี พนมยงค์
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปัจจุบัน คือ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

11. ส่วนขาดดุลทางการคลังเกิดจากข้อใด
(1) รัฐบาลมีรายจ่ายเท่ากับรายได้
(2) รัฐบาลมีรายได้มากกว่ารายจ่าย
(3) รายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
(4) รัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 45 ส่วนขาดดุลทางการคลัง (Fiscal Deficit) เกิดจากรัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้
ซึ่งรัฐบาลสามารถชดเชยการขาดดุลได้โดยใช้วิธีการก่อหนี้สาธารณะ

12. กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารหนี้สาธารณะคือข้อใด
(1) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2546
(2) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2547
(3) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2545
(4) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548
(5) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2550
ตอบ 4 (คําบรรยาย) กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหาร หนี้สาธารณะ คือ พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งประกาศบังคับใช้ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร

13. สินค้าใดที่ไม่อาจใช้ “กลไกราคา” เป็นเครื่องวัดมูลค่า
(1) ข้าว
(2) สุรา
(3) น้ำมัน
(4) การอํานวยความยุติธรรม
(5) ไฟฟ้า
ตอบ 4 หน้า 66, 71 สินค้าสาธารณะ (Public Goods) คือ สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับ สาธารณูปการสาธารณูปโภคที่มีประโยชน์ต่อคนส่วนรวม ซึ่งรัฐเป็นผู้ดําเนินการโดยอาศัย กฎหมายและรายได้จากภาษีอากรของประชาชน เป็นสินค้าและบริการที่มุ่งอรรถประโยชน์ สูงสุดของระบบเศรษฐกิจ และไม่อาจใช้กลไกราคาเป็นเครื่องวัดมูลค่าได้ เช่น บริการป้องกัน ประเทศ บริการรักษาความสงบภายใน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การอํานวย ความยุติธรรม การควบคุมน้ําท่วม การจัดแสงสว่างในทางเดินสาธารณะ การดําเนินนโยบาย ต่างประเทศ การทําความสะอาดถนนสาธารณะ การควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

14. “แนวคิดเสรีนิยม” เชื่อว่า
(1) ความเสมอภาคเป็นเป้าหมายสําคัญที่สุด
(2) ความเป็นธรรมเกิดจากความมีเสรีภาพ
(3) รัฐควรใช้การวางแผนจากส่วนกลาง
(4) รัฐควรเป็นผู้จัดสรรทรัพยากรของชาติ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 71, (คําบรรยาย) แนวคิดในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ แบ่งออกเป็น 2 แนวคิด คือ
1. แนวคิดสังคมนิยม เชื่อว่า ความเสมอภาคเป็นเป้าหมายสําคัญที่สุด ดังนั้นรัฐควรเป็นผู้จัดสรร ทรัพยากรของชาติเพื่อสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นในสังคม
2. แนวคิดเสรีนิยมหรือประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม เชื่อว่า เอกชนควรเป็นผู้จัดสรรทรัพยากร ของชาติ ทั้งนี้เพื่อดํารงไว้ซึ่งเสรีภาพส่วนบุคคล สิทธิส่วนบุคคล และความเป็นธรรมย่อมเกิดขึ้นจากความมีเสรีภาพ

15.ความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ หรือ FTA มีความเกี่ยวข้องกับภาษีชนิดใด
(1) ภาษีรถยนต์
(2) ภาษีสรรพสามิต
(3) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
(4) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(5) ภาษีศุลกากร
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) เป็นการทําความตกลงทางการค้า ระหว่างประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศ (ทวิภาคี) หรือเป็นกลุ่มประเทศ (พหุภาคี) ที่จะร่วมมือ ขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากรและไม่ใช่ภาษีศุลกากร

16. สนามกีฬากลางของเทศบาลมีผู้ใช้บริการเป็นจํานวนมากในช่วงเช้าและช่วงเย็น สนามกีฬาในช่วงเวลาดังกล่าวจัดเป็นสินค้าประเภทใด
(1) Pure Public Goods
(2) Price–Excludable Public Goods
(3) Common Goods
(4) Club Goods
(5) Pure Private Goods
ตอบ 3 หน้า 13, 40, (คําบรรยาย) สินค้าทั่วไป (Common Goods) หรือสินค้ากึ่งสาธารณะประเภท Congestible Public Goods เป็นสินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภคแต่แบ่งแยกการบริโภคออกจากกันไม่ได้
หรือการเข้ามาของผู้บริโภครายใหม่อาจทําให้ความพึงพอใจของผู้บริโภครายเดิมลดน้อยลง แต่ไม่สามารถกีดกันให้บุคคลอื่นไม่สามารถเข้ามาเป็นผู้บริโภคได้ เช่น สนามหลวง สนามกีฬาแห่งชาติ สนามกีฬากลางของเทศบาล ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ถนนสาธารณะ (เช่น ถนนพระราม 9) ทางด่วน เป็นต้น

17. บุญนิตามีเงินได้สุทธิ 850,150 บาท บุญนิตาต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราเท่าใด
(1) ได้รับการยกเว้น
(2) 25%
(3) 5%
(4) 15%
(5) 20%
ตอบ 5

18. ข้อใดไม่ใช่ “รายได้” ของรัฐบาลไทย
(1) การขายหุ้น
(2) การใช้เงินคงคลัง
(3) ภาษีและค่าบริการ
(4) ค่าปรับ
(5) ค่าธรรมเนียม
ตอบ 1. 2 หน้า 15 – 20, (คําบรรยาย) แหล่งรายรับของรัฐบาลไทย มาจาก 2 ส่วน คือ
1. รายรับที่เป็นรายได้ ได้แก่ ภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ (เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าสัมปทาน ค่าบริการ ค่าเช่าทรัพย์สินของรัฐ ค่าขายของกลางที่ มาจากคดี) รัฐพาณิชย์ และรายได้อื่น ๆ เช่น ค่าแสตมป์ฤชากร ค่าปรับ เป็นต้น
2. รายรับที่ไม่เป็นรายได้ ได้แก่ การกู้เงิน การใช้เงินคงคลัง การขายหุ้น เป็นต้น

19. คุณลักษณะที่สําคัญของงบประมาณแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตย คือ
(1) เป็นตัวแสดงระดับการจัดสรรทรัพยากร
(2) เป็นแผนทางการเงิน
(3) เป็นเครื่องชี้ประสิทธิภาพในการทํางาน
(4) เป็นกลไกรับรองการเป็นรัฐบาล
(5) เป็นกฎหมาย
ตอบ 4 หน้า 64, 82, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินเป็นเงินของประชาชนที่มอบให้กับรัฐบาลในรูปของภาษีอากรและการกู้ยืมเพื่อนําไปใช้ในการบริหารประเทศ ดังนั้นการใช้จ่ายงบประมาณ จึงต้องได้รับการอนุมัติหรือยินยอมจากประชาชนเสียก่อน แต่เนื่องจากการบริหารราชการในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ประชาชนได้มอบอํานาจการตัดสินใจให้กับรัฐสภาไปแล้วงบประมาณแผ่นดินซึ่งการจัดทําเป็นหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะจึงจําเป็นต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาโดยต้องทําเป็นกฎหมายก่อนที่จะนําไปใช้ เพราะถ้างบประมาณไม่ได้รับ การรับรองจากสภา รัฐบาลก็จะบริหารประเทศต่อไปไม่ได้ ดังนั้นจึงถือว่างบประมาณเป็น เครื่องมือ เงื่อนไข หรือกลไกรับรองการเป็นรัฐบาลหรือการจัดตั้งรัฐบาลในประเทศที่ปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

20. ข้อใดที่ไม่จัดเป็นความหมายของงบประมาณ
(1) โครงการทางสังคม
(2) ประมาณการรายรับ-รายจ่าย
(3) แผนเพื่อให้เกิดความสําเร็จของโครงการ
(4) บัญชีแสดงการรับจ่ายเงิน
(5) แผนทางการเงิน
ตอบ 1 หน้า 63 – 64, (คําบรรยาย) ความหมายของงบประมาณแผ่นดิน มีดังนี้
1. หลักฐานทางการเงินของรัฐที่แสดงประมาณการของรายได้ (รายรับ) และรายจ่าย ในอนาคตที่มีช่วงระยะเวลาที่แน่นอน
2. บัญชีหรือเอกสารทางการเงินที่แสดง รายรับรายจ่ายเงินของแผ่นดิน
3. กฎหมายที่ว่าด้วยประมาณการรายรับรายจ่าย
4. กฎหมายที่ระบุให้ส่วนราชการใช้จ่ายเงินได้ในกิจกรรมต่าง ๆ ไม่เกินจํานวนและ รายการที่กําหนด
5. แผนทางการเงินของแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่แน่นอน
6. แผนเพื่อให้เกิดความสําเร็จของโครงการ ซึ่งเกี่ยวพันกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ภายในช่วงระยะเวลาที่กําหนดไว้ ฯลฯ

21. ไฟฟ้าบนถนนสาธารณะจัดเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าในตัวเลือกข้อใดต่อไปนี้
(1) คลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ และนโยบายความมั่นคง
(2) นโยบายความมั่นคง และนโยบายต่างประเทศ
(3) รถโดยสารสาธารณะ และโรงพยาบาล
(4) ทางด่วนขั้นที่ 1 และทางหลวงแผ่นดิน
(5) การประปาส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

22. ข้อใดไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ
(1) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
(2) หนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์
(3) หนี้ของรัฐบาล
(4) หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 45, 50, (คําบรรยาย) หนี้สาธารณะ ได้แก่
1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศ
2. หนี้ของรัฐวิสาหกิจ (ไม่เป็นสถาบันการเงิน) ที่รัฐบาลค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน
3. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน
4. หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
5. หนี้ของหน่วยงานอื่นของรัฐ

23.ณ สิ้นเดือนเมษายน 2560 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยอยู่ที่ประมาณร้อยละเท่าไร
(1) 60
(2) 40
(3) 10
(4) 20
(5) 15
ตอบ 2 หน้า 51 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน เมษายน 2560 มีจํานวน 6,267,920.88 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.64 ของ GDP

24. ข้อใดไม่ใช่ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ
(1) พันธบัตร
(2) บัตรเงินฝาก
(3) ตั๋วสัญญาใช้เงิน
(4) ตั๋วเงินคลัง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ ได้แก่
1. ตั๋วเงินคลัง 2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน 3. พันธบัตร

25. ในปัจจุบันบุคคลใดดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง
(1) นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
(2) นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ
(3) นายวิรไท สันติประภพ
(4) นายสมชัย สัจจพงษ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ปลัดกระทรวงการคลังในปัจจุบัน คือ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

26. สินค้าชนิดใดไม่ต้องเสียอากรขาออก
(1) หนังโค
(2) ไม้
(3) หนังกระบือ
(4) หนังควาย
(5) ไม้แขวนเสื้อ
ตอบ 5 หน้า 37 สินค้าที่ต้องเสียอากรขาออก มี 2 ประเภทเท่านั้น คือ ไม้ และหนังโค-กระบือ ส่วนสินค้าอื่น ๆ เช่น ไม้แขวนเสื้อ เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ฯลฯ ไม่ต้องเสียอากรขาออก

27. ข้อใดที่จัดเป็นลักษณะของ Line-Item Budget
(1) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลัก Muddling Through
(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามนโยบายของรัฐ
(3) ให้ความสําคัญที่ประสิทธิภาพของโครงการ
(4) แบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงสร้างแผนงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

28. คุณสมบัติของสินค้าเอกชนแท้ (Pure Private Goods) ที่ครบถ้วนที่สุดคือข้อใด
(1) เป็นปรปักษ์ในการบริโภค ไม่สามารถแยกการบริโภคจากกันได้ และไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการผลิตสินค้า
(2) แบ่งแยกการบริโภคจากกันได้ มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า และเป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(3) ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า
(4) ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้
(5) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค และแบ่งแยกการบริโภคจากกันได้
ตอบ 2 หน้า 13, (คําบรรยาย) สินค้าเอกชน (Private Goods) หรือสินค้าเอกชนแท้ (Pure Private Goods) เป็นสินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค สามารถแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้ และ มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า ซึ่งได้แก่สินค้าหรือบริการทั่วไปที่ซื้อขายกันตามท้องตลาด เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า อาหาร เป็นต้น

29. เงินที่ไม่อยู่ใน “ศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน” ได้แก่
(1) เงินกู้ยืมจากต่างประเทศ
(2) งบประมาณ อบต.
(3) งบประมาณมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(4) งบประมาณ อบต. และเงินกู้ยืมจากต่างประเทศ
(5) ไม่อยู่ในหลัก “ศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน” ทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 7, 67 – 68, (คําบรรยาย) เงินนอกงบประมาณ หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่มีมูลค่า ซึ่งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจหามาได้เองด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่ใช่มาจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เป็นเงินที่แยกออกจากความเป็นศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน ซึ่งได้แก่ เงินทุนหมุนเวียน งบประมาณของรัฐวิสาหกิจ (เช่น งบประมาณของ ขสมก.) เงินช่วยเหลือ จากต่างประเทศ เงินกู้ยืมทั้งในและต่างประเทศ งบประมาณของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น (ได้แก่ งบประมาณของ อบต. อบจ. เทศบาล กทม. และเมืองพัทยา) เงินรายได้ของสถาบัน การศึกษา และเงินรายได้ของสถาบันสาธารณสุข

30. กิจกรรมใดที่ให้ความสําคัญกับ “ทรัพยากร” ของงานหรือโครงการ
(1) การจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(2) การวิเคราะห์โครงการ
(3) การขอเงินประจํางวด
(4) การจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

31. ใครต่อไปนี้มีหน้าที่ต้องยื่นคําขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. บุญฤทธิ์เป็นเจ้าของร้านขายยา มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 154,000 บาท
2. บุญเหลือมีรายได้จากการขายประกันภัยโควิดในปีนี้ 1,900,000 บาท
3. บุญล้นเป็นผู้นําเข้าหน้ากากอนามัยจากประเทศจีนมาขายในประเทศไทย มีรายได้จากการขาย หน้ากากอนามัยในปีนี้ 2,400,000 บาท
4. บุญรัตน์เป็นผู้ประกอบกิจการโรงแรม ในปีนี้มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 50,000 บาท
(1) บุญฤทธิ์และบุญล้น
(2) บุญฤทธิ์และบุญรัตน์
(3) บุญล้น บุญเหลือ และบุญรัตน์
(4) บุญล้น บุญเหลือ และบุญฤทธิ์
(5) ทุกคนมีหน้าที่ต้องยื่นคําขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
ตอบ 4 หน้า 36 ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่ขายสินค้าหรือบริการเป็นอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคคล ซึ่งมีรายได้หรือยอดขายเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี (150,000 บาทต่อเดือน) โดยต้องยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และคํานวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ และต้องชําระภาษีเป็นรายเดือน โดยยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

32. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของ “งบประมาณ” ไว้ว่า…….
(1) โครงการที่แสดงรายการการใช้จ่ายเงิน
(2) บัญชีที่รวมกะกําหนดรายรับรายจ่าย
(3) ประมาณการรายจ่ายประจํา
(4) แผนที่แสดงประมาณการของรายได้และการใช้จ่าย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 63 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของ “งบประมาณ” ว่าหมายถึง บัญชีหรือจํานวนเงินที่รวมกะกําหนดรายรับรายจ่ายเพื่อรายการและวัตถุประสงค์ต่าง ๆ

33. บทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดในพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ที่กําหนดขีดจํากัดของการก่อหนี้สาธารณะสําหรับประเทศไทย
(1) มาตรา 9
(2) มาตรา 8 ทวี
(3) มาตรา 9 ทวี
(4) มาตรา 8
(5) มาตรา 9 ตรี
ตอบ 3 หน้า 48 บทบัญญัติในมาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ได้กําหนดขีดจํากัดของการก่อหนี้สาธารณะสําหรับประเทศไทยไว้ว่า การกู้เงินในปีงบประมาณจะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของจํานวนเงินงบประมาณรายจ่ายและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมหรือของจํานวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วกับอีกร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สําหรับชําระคืนต้นเงินกู้

34. ลักษณะสําคัญของระบบ PPBS
(1) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(2) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(3) สนใจประสิทธิภาพ
(4) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลักการวิเคราะห์เฉพาะส่วนเพิ่ม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 93 – 94, 97, 101 – 102, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ (Planning Programming Budgeting System : PPBS) เป็นระบบงบประมาณที่ ในด้านการวางแผนวางโครงการโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ระยะยาว ระบบงบประมาณแบบนี้ จะมีการวางแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายและตั้งวงเงินงบประมาณตามแต่ละแผนงาน มีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจผสมกับหลักเหตุผล (Limited Rationality หรือ Mixed Scanning) มีการแบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงสร้างแผนงาน หรือโครงการ (Program Structure) มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ในการวิเคราะห์โครงการเพื่อศึกษาถึงโครงสร้างแผนงานหรือโครงการที่จัดทําว่ามีความสัมพันธ์กับ โครงการใด ๆ บ้าง มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างนโยบายสาธารณะ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการวางแผนวางโครงการของหน่วยงานมีการกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ของแผนงานหรือโครงการเพื่อการติดตามประเมินผล และที่สําคัญระบบนี้จะต้องมีการจัดทําแผนงานและแผนทางการเงินระยะยาว (อาจเป็น 3 ปี หรือ 5 ปี) เพื่อประกอบการจัดทําโครงการด้วย

35. ข้อใดเป็นตัวบ่งชี้ “ประสิทธิภาพ”
(1) ผลผลิตและต้นทุน
(2) ประโยชน์และต้นทุน
(3) พอใจ ต้นทุนและผลผลิต
(4) ถูกต้องเชื่อถือได้และผลผลิต
(5) ระยะเวลาแน่นอน ผลผลิตและแผนงาน
ตอบ 1 หน้า 68 – 69, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของงบประมาณนั้นจะมีการมอง ในแง่ของความประหยัดหรือความคุ้มค่า โดยเน้นการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานกับ ต้นทุนหรืองบประมาณที่ใช้ เช่น ผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วยเงินลงทุนที่เท่าเดิม ส่วนประสิทธิผล (Effectiveness) ของงบประมาณจะมีการมองในแง่ของการบรรลุเป้าหมายหรือผลเป็นไป ตามที่กําหนด โดยเน้นการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานกับแผนงานหรือเป้าหมายที่วางไว้

36. “เงินได้ที่จ่ายจากประเทศไทย” เป็นฐานภาษีของภาษีชนิดใด
(1) ภาษีศุลกากร
(2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(4) ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(5) ภาษีสรรพสามิต
ตอบ 3 หน้า 34 ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีที่จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยทั่วไปฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ กําไรสุทธิ แต่เพื่อความเป็นธรรมแก่นิติบุคคล และอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษี จึงได้มีการบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกัน ออกไปตามลักษณะของรายได้ เช่น จากกําไรสุทธิ จากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย จากเงินได้ ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย จากการจําหน่ายเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย เป็นต้น

37. กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้สาธารณะ เรียกว่าอะไร
(1) กฎกระทรวงการคลัง
(2) ความยั่งยืนทางการคลัง
(3) วินัยทางการคลัง
(4) กฎเหล็กทางการคลัง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้
สาธารณะ เรียกว่า วินัยทางการคลัง

38. ข้อใดเป็นคํานิยามของพันธบัตรที่ถูกต้อง
(1) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบสองเดือนขึ้นไป
(2) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกินสิบสองเดือน
(3) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบแปดเดือนขึ้นไป
(4) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่ยี่สิบสี่เดือนขึ้นไป
(5) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกินหกเดือน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พันธบัตร คือ เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออก ตั้งแต่สิบสองเดือนขึ้นไป

39. ปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลกในช่วงทศวรรษ 1930 เรียกว่าอะไร
(1) The Great Storm
(2) The Great Depression
(3) Hamburger Crisis
(4) Crisis
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 46 – 47, (คําบรรยาย) ในช่วงทศวรรษ 1930 เกิดปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลก หรือที่เรียกว่า The Great Depression ซึ่งทฤษฎีของเคนส์ได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหานี้ โดยการเสนอให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ คือการให้รัฐบาลใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ที่มีอยู่เพื่อเป็นการ ยกระดับอุปสงค์มวลรวม (Aggregate Demand)

40. คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะประกอบด้วยกรรมการจํานวนทั้งสิ้นที่ตําแหน่ง
(1) 9
(2) 10
(3) 11
(4) 12
(5) 13
ตอบ 5 หน้า 50, (คําบรรยาย) คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ ประกอบด้วยกรรมการจํานวนทั้งสิ้น 13 ตําแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเป็นรองประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ผู้อํานวยการ สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้อํานวยการสํานักงานบริหาร หนี้สาธารณะ และกรรมการผู้คุณวุฒิ 3 ตําแหน่ง

41. สินค้าที่ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค และแยกการบริโภคออกจากกันได้ จัดเป็นสินค้าประเภทใด
(1) สินค้าสาธารณะ
(2) สินค้าอุตสาหกรรม
(3) สินค้าสโมสร
(4) สินค้าเอกชน
(5) สินค้าอุปโภคบริโภค
ตอบ 3

42. พันธบัตรรุ่นล่าสุดที่รัฐบาลออกจําหน่ายแก่ประชาชนมีชื่อว่าอะไร
(1) ออมไปด้วยกัน
(2) ไทยชนะ
(3) คนละครึ่ง
(4) ไทยช่วยไทย
(5) เราไม่ทิ้งกัน
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) พันธบัตรรุ่นล่าสุดที่รัฐบาลออกจําหน่ายแก่ประชาชน คือ พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่น “ออมไปด้วยกัน” ซึ่งจําหน่ายในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564

43. ใครเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
(1) บุคคลธรรมดาผู้ขายสินค้าเป็นอาชีพ มียอดขายเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี
(2) นิติบุคคลผู้ให้บริการเป็นอาชีพ มีรายได้เกินกว่า 1,000,000 บาทต่อปี
(3) บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้ขายสินค้าเป็นอาชีพ และมีรายได้เกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี
(4) นิติบุคคลผู้ขายสินค้าเป็นอาชีพ มียอดขายเกินกว่า 150,000 บาทต่อปี
(5) บุคคลธรรมดาให้บริการจัดส่งสินค้าเป็นอาชีพ มียอดรายรับจากค่าบริการเกินกว่า 150,000 บาทต่อปี ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

44. งบประมาณแผ่นดินต่างกับงบประมาณเอกชนในเรื่องใด
(1) การเป็นแผนทางการเงิน
(2) การวิเคราะห์โครงการ
(3) การอนุมัติ
(4) เครื่องมือในการบริหาร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3หน้า 63 – 66, (คําบรรยาย) คุณสมบัติหรือลักษณะสําคัญของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งแตกต่างจากงบประมาณเอกชน มีดังนี้
1. เป็นกฎหมายทางการเงิน กล่าวคือ มีการตราเป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งกําหนดว่าให้ใช้จ่ายเงินได้ ไม่เกินจํานวนที่กําหนด แต่ในทางปฏิบัติรายจ่ายจริงอาจมีน้อยกว่ารายจ่ายที่กฎหมายงบประมาณกําหนดไว้ก็ได้
2. เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับต่อประชาชนทุกคนในชาติ
3. วิธีการจัดหารายได้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดเก็บภาษีอากรและการก่อหนี้สาธารณะ
4. คํานึงถึงความพึงพอใจของประชาชนเป็นแรงจูงใจในการจัดทํางบประมาณ
5. การกําหนดรายรับ มีรายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับ
6. มีกระบวนการจัดทํางบประมาณที่มีลักษณะกระจายอํานาจ
7. ลักษณะการเป็นเจ้าของ โดยมีประชาชนเป็นเจ้าของกิจการที่แท้จริง
8. มีการอนุมัติงบประมาณโดยรัฐสภา
9. การควบคุมหรือการบริหารงบประมาณจะถูกควบคุมร่วมกันทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ

45. ลักษณะสําคัญของ Program Budget
(1) แบ่งแยกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย
(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(3) มีการจัดทําโครงสร้างแผนงาน
(4) มีการวิเคราะห์โครงการ
(5) มุ่งการบรรลุเป้าหมายของนโยบาย
ตอบ 4 หน้า 92 – 93, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบโครงการ (Program Budget) หรืองบประมาณ แบบแสดงผลงาน (Performance Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ในหลักประสิทธิภาพ กล่าวคือ เป็นระบบงบประมาณที่เน้นการควบคุมประสิทธิภาพของการใช้จ่าย หรือให้ความสําคัญกับ ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร ทั้งนี้ก็เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์อย่างประหยัด นอกจากนี้ ยังให้ความสําคัญกับผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ของงานหรือโครงการในแต่ละปี โดยจะมีการแบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงการหรือตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล (Objectives Classification) หรือตามหน้าที่ของรัฐ (Functional Classification) มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) หรือวิเคราะห์ประสิทธิภาพของโครงการหรือประสิทธิภาพของการใช้เงิน และมีการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณโดยอาศัยหลักของเหตุผล (Pure Rationality) เป็นสําคัญ

46. หากนักศึกษาเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และไม่มีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร นักศึกษาต้องเลือก เดินเข้าประเทศผ่านช่องทางใด
(1) Red Line
(2) Blue Line
(3) Black Line
(4) Pink Line
(5) Green Line
ตอบ 5 (คําบรรยาย) กรณีนักศึกษาเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ
1. หากมีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร ให้เดินเข้าประเทศผ่านช่อง Red Line
2. หากไม่มีสิ่งของที่ต้องสําแดงแก่ศุลกากร ให้เดินเข้าประเทศผ่านช่อง Green Line

47. สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้สังกัดของหน่วยงานใด
(1) สํานักนายกรัฐมนตรี
(2) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
(3) สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(5) ไม่สังกัดหน่วยงานใด
(4) สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ตอบ 4 หน้า 48 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 อยู่ภายใต้สังกัดของสํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดําเนินการเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การผูกพันหนี้ การบริหารหนี้ และการชําระหนี้ ในประเทศและต่างประเทศของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งที่ค้ําประกันและไม่ค้ําประกัน

48. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับร้อยละเท่าไร
(1) 15.26
(2) 7.12
(3) 25.74
(4) 18.25
(5) 15.28
ตอบ 2 หน้า 52 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 7.12

49. บริการของรัฐที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางบวกต่อสังคมควรมีแนวทางกําหนดอัตราค่าบริการอย่างไร
(1) กําหนดอัตราค่าบริการต่ํากว่าต้นทุนทางบัญชี
(2) กําหนดอัตราค่าบริการสูงกว่าต้นทุนทางบัญชี
(3) กําหนดอัตราค่าบริการตามหลักสวัสดิการ
(4) กําหนดอัตราค่าบริการเท่ากับต้นทุนทางบัญชี
(5) กําหนดอัตราค่าบริการตามกลไกตลาด
ตอบ 1 หน้า 42, (คําบรรยาย) กรณีการจัดบริการของรัฐก่อให้เกิดผลกระทบทางบวกต่อสังคม รัฐควรกําหนดอัตราค่าบริการต่ํากว่าต้นทุนทางบัญชีและจัดสรรเงินอุดหนุนชดเชยส่วนที่ขาดทุน แต่ถ้าการจัดบริการของรัฐก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสังคม รัฐควรกําหนดอัตราค่าบริการสูงกว่า ต้นทุนทางบัญชีและนําเงินส่วนที่ต่างไปอุดหนุนชดเชยผู้ที่ได้รับความเสียหาย

50. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทยเป็นภาษีที่มีโครงสร้างอัตราภาษีเป็นแบบใด
(1) Progressive
(2) Regressive
(3) Proportional
(4) Regression
(5) Retention
ตอบ 1 หน้า 30, (คําบรรยาย) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามกฎหมายและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กําหนด โดยปกติประเทศไทยจะมีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นรายปีโดยใช้อัตราภาษี แบบก้าวหน้า (Progressive Tax Rate)

51. “ความพยายามที่จะเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนในการดําเนินงาน และผลงานที่ได้รับ
คือข้อใด
(1) การวิเคราะห์ทางนโยบาย
(2) การวิเคราะห์โครงการ
(3) การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์
(4) การวิเคราะห์ระบบ
(5) การวิเคราะห์ผลผลิต
ตอบ 3 หน้า 89 – 90, 92 – 93 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Analysis) เป็นการ วิเคราะห์ในเชิงเศรษฐกิจที่พยายามเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนในการดําเนินงาน กับผลงานที่ได้รับ ซึ่งเทคนิคนี้เป็นวิธีการที่ใช้ในการจัดทํางบประมาณแบบที่ในประสิทธิภาพ ของการบริหาร หรือเรียกว่างบประมาณแบบโครงการ (Program Budget) หรืองบประมาณ แบบแสดงผลงาน (Performance Budget)

52. ข้อใดคือลักษณะที่สําคัญที่สุดของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายทางการเงิน
(1) หลีกเลี่ยงการแทรกแซงตลาดการเงิน
(2) มีอิสระจากฝ่ายการเมือง
(3) รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสีย
(4) มีอํานาจเด็ดขาด
(5) มุ่งหากําไรสูงสุด
ตอบ 2 หน้า 55 ลักษณะที่สําคัญที่สุดของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายทางการเงิน คือ มีอิสระ จากฝ่ายการเมือง เนื่องจากการดําเนินนโยบายทางการเงินนั้นมีเป้าหมายที่จะรักษาเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจเป็นสําคัญ ดังนั้นการดําเนินนโยบายโดยหน่วยงานที่มีอิสระจากฝ่ายการเมืองย่อมจะเป็นผลดีต่อการบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินมากกว่าการดําเนินนโยบายโดยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง

53. ภาษีชนิดใดต่อไปนี้ไม่เป็นกลาง
(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) ภาษีศุลกากร
(3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(4) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(5) ภาษีสรรพสามิต
ตอบ 5 หน้า 38, (คําบรรยาย) ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผล สมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ขัดต่อ ศีลธรรมอันดีงาม มีลักษณะเป็นสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือย หรือได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษ จากกิจการของรัฐ ดังนั้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจึงไม่เป็นกลางตามหลักการภาษีที่ดี ทั้งนี้ เพราะเป็นการจัดเก็บภาษีที่ต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนหรือจํากัด การบริโภคของประชาชนให้น้อยลง ตัวอย่างสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต เช่น สุรา ยาสูบ ไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม เรือ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน น้ําหอม เจลแอลกอฮอลล์ สนามกอล์ฟ สนามแข่งม้า ไนท์คลับและดิสโก้เธค เป็นต้น

54. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ
(1) การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
(2) การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า
(3) การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
(4) การเป็นเครื่องชี้วัดสถานภาพทางสังคม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 54 บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ คือ
1. การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2. การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
3. การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า

55. ภาษีโรงงาน มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ฐานความมั่งคั่ง
(2) ฐานการบริโภค
(3) ฐานรายได้
(4) ฐานความมั่งคั่งและฐานการบริโภค
(5) ฐานรายได้ ฐานความมั่งคั่ง และฐานการบริโภค
ตอบ 1 หน้า 6, 23, (คําบรรยาย) ฐานความมั่งคั่ง (Wealth Base) เป็นฐานภาษีที่พิจารณาจาก รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินที่บุคคลได้ครอบครองอยู่ ตัวอย่างภาษีที่จัดเก็บ โดยใช้ฐานความมั่งคั่ง เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีโรงแรม ภาษีโรงงาน ภาษีป้าย ภาษีรถยนต์ ภาษีมรดก ภาษีดอกเบี้ย เป็นต้น

56. “เงินได้สุทธิ” คํานวณได้จากข้อใด
(1) เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย
(2) (เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย) – ค่าลดหย่อน
(3) (เงินได้พึงประเมิน + ค่าใช้จ่าย) – ค่าลดหย่อน
(4) เงินได้พึงประเมิน – ค่าลดหย่อน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เงินได้สุทธิ เป็นฐานภาษีสําหรับคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งมีสูตร ในการคํานวณ คือ (เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย) – ค่าลดหย่อน

57. ความต้องการถือเงินของภาคครัวเรือน เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากข้อใด
(1) ความต้องการจับจ่ายใช้สอย
(2) การสร้างหลักประกันในการดําเนินชีวิต
(3) การสร้างความมั่นคง
(4) ผิดทุกข้อ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 54 เงินเป็นสิ่งสําคัญและมีบทบาทอย่างสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจาก
ลักษณะของการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนของเงินนั่นเอง ซึ่งทําให้ภาคครัวเรือน เกิดความต้องการถือเงินเมื่อมีความต้องการจับจ่ายใช้สอย

58.VAT จัดเป็นภาษีประเภทใด
(1) ภาษีทางอ้อม
(2) ภาษีทางตรงและภาษีสรรพากร
(3) ภาษีสรรพสามิตและภาษีสรรพากร
(4) ภาษีทางตรง
(5) ภาษีทางอ้อมและภาษีสรรพากร
ตอบ 5 หน้า 19, (คําบรรยาย) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) จัดเป็นภาษีสรรพากรและเป็นภาษีทางอ้อมที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้บริโภคได้โดย การบวกเพิ่มเข้าไปในสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ดังนั้นผู้แบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงก็คือ ผู้บริโภคสินค้าหรือบริการนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7%

59. เหตุใดสุราจึงเป็นสินค้าที่สมควรแบกรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ
(1) ขัดต่อศีลธรรมอันดีงามและฟุ่มเฟือย
(2) ทําให้สุขภาพเสีย
(3) ฟุ่มเฟือยและทําให้สุขภาพเสีย
(4) ฟุ่มเฟือย
(5) ทําให้สุขภาพเสีย ขัดศีลธรรม และฟุ่มเฟือย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

60. ที่เรียกว่า “Budget Documents” หมายถึง
(1) ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี
(2) ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี และตารางรายรับรายจ่ายเปรียบเทียบ
(3) ใบสําคัญคู่จ่าย
(4) ตารางรายรับรายจ่ายเปรียบเทียบ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 81 – 82 เอกสารงบประมาณประจําปี (Budget Documents) ของไทยมีส่วนประกอบดังนี้
1. คําแถลงประกอบงบประมาณแสดงฐานะและนโยบายทางการคลังและการเงินของประเทศ
2. ตารางแสดงรายรับรายจ่ายเปรียบเทียบ
3. รายละเอียดของหน่วยงาน โครงการ และงานต่าง ๆ ของราชการและรัฐวิสาหกิจ
4. รายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของรัฐวิสาหกิจ
5. รายละเอียดเกี่ยวกับหนี้สินของรัฐบาล
6. ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี

61. สินค้าและบริการในเชิงพาณิชย์ที่รัฐเป็นผู้จัดบริการ ควรใช้กลไกตลาดภาครัฐตัวใด
(1) ภาษี
(2) ค่าบริการ
(3) การกู้เงิน
(4) ค่าปรับ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 21, 40, (คําบรรยาย) “ค่าธรรมเนียมและค่าบริการ” เป็นกลไกตลาดที่ภาครัฐนํามาใช้ จัดบริการสาธารณะในเชิงพาณิชย์ เช่น การบริการขนส่ง การบริการด้านการเงินการธนาคาร เป็นต้น ส่วน “ภาษี” เป็นกลไกตลาดที่ภาครัฐนํามาใช้จัดบริการสาธารณะแบบแท้หรือบริการ สาธารณะขั้นพื้นฐาน เช่น การบริการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในสังคม การศึกษาขั้นพื้นฐาน การควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

62. ในระดับการกําหนดยอดวงเงินของงบประมาณแบบแสดงรายการ การตัดสินใจจะใช้วิธีการใด
(1) Mix Scannign
(2) State of Law
(3) Muddling Through
(5) Pure Rationality
(4) Systems Approach
ตอบ 3 หน้า 87 – 88, 91 การกําหนดยอดวงเงินของงบประมาณแบบแสดงรายการ จะใช้ การตัดสินใจโดยอาศัยหลักความพึงพอใจ (Muddling Through) หรือการวิเคราะห์ เฉพาะส่วนที่เพิ่ม (Incrementalism) ซึ่งเป็นการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณโดยอาศัย การต่อรองระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ (Political Bargaining) และสิ่งที่จะนํามาพิจารณา ตัดสินใจกันก็จํากัดอยู่แต่เฉพาะโครงการใหม่ งานใหม่ หรือพิจารณาแต่ส่วนที่เพิ่มขึ้นของ วงเงินงบประมาณจากปีที่ผ่านมา โดยดูว่าส่วนเพิ่มนั้นเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่อย่างไร และจะจัดสรรอย่างไรสังคมจึงจะยอมรับร่วมกัน (ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ)

63.FED เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด
(1) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา
(2) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์
(3) ธนาคารกลางแห่งแอฟริกา
(4) ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(5) ธนาคารกลางแห่งฝรั่งเศส
ตอบ 1 หน้า 55 ในปัจจุบันธนาคารกลางที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ได้แก่ ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(European Central Bank : ECB) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve Bank : FED) เป็นต้น

64.ระยะเวลาของการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณ เรียกว่า
(1) เงินประจํางวด
(2) ปีงบประมาณ
(3) วงจรงบประมาณ
(4) ปีงบประมาณ หรือปีปฏิทิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 68, (คําบรรยาย) ระยะเวลาของการบริหารหรือการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณ เรียกว่า “ปีงบประมาณ” หรือ “ปีคลัง” (Fiscal Year) ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีระยะเวลา ที่แน่นอน โดยอาจเป็น 6 เดือน 1 ปี (12 เดือน) หรือ 2 ปี (24 เดือน) ก็ได้ แต่จะต้อง เป็นเช่นนั้นทุก ๆ ปี และจะเริ่มต้นในเดือนใดก็ได้ เช่น ปีงบประมาณของไทยมีระยะเวลา 12 เดือน เริ่มต้นจากวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี และไปสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายนของ ปีถัดไป โดยใช้ชื่อปีถัดไปเป็นชื่อปีงบประมาณ (เช่น ปีงบประมาณ 2565 จะเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2564 และสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565)

65. ตัวอย่างของงบประมาณที่เน้นที่ความถูกต้องของการใช้จ่ายเงิน
(1) Program Budget
(2) Line-Item Budget
(3) PPBS
(4) Performance Budget
(5) Program Budget as Performance Budget
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

66. ใครเป็นผู้แบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริง
(1) ผู้จัดจําหน่ายสินค้า
(2) ผู้โกงสินค้า
(3) ผู้ขายสินค้า
(4) ผู้บริโภคสินค้า
(5) ผู้ผลิตสินค้า
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

67. การวิเคราะห์งบประมาณเป็นกิจกรรมที่อยู่ในขั้นตอนใดของกระบวนการงบประมาณ
(1) การจัดเตรียม
(2) การบริหาร
(3) การอนุมัติ
(4) การควบคุม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 115 – 116 ในการจัดเตรียมงบประมาณนั้น จะมีการจัดทํารายละเอียดของงบประมาณ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนที่สําคัญ 3 ขั้นตอน คือ
1. เจ้าหน้าที่สํานักงบประมาณพิจารณาวิเคราะห์งบประมาณร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. สํานักงบประมาณเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ พร้อมด้วยเอกสารงบประมาณต่อคณะรัฐมนตรี
3. นายกรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจําปี พร้อมด้วยเอกสารงบประมาณ ต่อรัฐสภา

68. ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงิน
(1) การเก็บภาษีศุลกากร
(2) การกําหนดอัตราดอกเบี้ย
(3) การควบคุมเงินที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ
(4) การควบคุมปริมาณเงิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 55 – 56 เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง ประกอบด้วย 3 เครื่องมือ คือ การควบคุมปริมาณเงิน การกําหนดอัตราดอกเบี้ย และการควบคุมเงิน ที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ

69. ภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ได้จัดเก็บจากกลุ่มใดต่อไปนี้
(1) องค์การของรัฐบาลต่างประเทศที่ดําเนินการทางการค้า
(2) กิจการร่วมค้า
(3) บริษัทจํากัด
(4) มูลนิธิการกุศล
(5) ห้างหุ้นส่วนจํากัด
ตอบ 4 หน้า 34 – 36 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ได้แก่
1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เช่น บริษัทจํากัด ห้างหุ้นส่วนจํากัด
2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
3. กิจการซึ่งดําเนินการเป็นทางค้าหรือหากําไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การของ รัฐบาลต่างประเทศ 4. กิจการร่วมค้า
5. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
6. นิติบุคคลที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

70. เหตุใดภาษีบางชนิดจึงไม่เป็นกลางตามหลักการจัดเก็บภาษีที่ดี
(1) ไม่ต้องการให้เกิดความเหลื่อมล้ำ
(2) ไม่ต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ
(3) ต้องการให้เกิดความเป็นธรรมในระบบภาษี
(4) ต้องการให้คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
(5) ต้องการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

71.ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(1) การบริหารความเสี่ยงที่ดี
(2) เสถียรภาพและความมั่นคง
(3) ส่งเสริมการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน
(4) การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 60 เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่
1. ระบบการเงินมีเสถียรภาพและความมั่นคง
2. การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
3. การบริหารความเสี่ยงที่ดี
4. ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันของระบบ สถาบันการเงิน
5. การเข้าถึงบริการทางการเงินเป็นไปอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

72. ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังไม่อาจกู้เงินเพื่อการใด
(1) ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
(2) ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
(3) ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
(4) พัฒนาตลาดทุนในประเทศ
(5) พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังสามารถกู้เงินได้ เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1. ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ หรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้
2. พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
3. ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
4. ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
5. พัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ

73. ข้อใดเป็นปัญหาทางการเงินในปัจจุบัน
(1) เงินเฟ้อ
(2) เงินเดินสะพัดช้า
(3) เงินเดินสะพัดเร็ว
(4) สภาพคล่องล้นเกิน
(5) เงินฝืด
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบันทําให้เกิดภาวะเงินฝืด ซึ่งหมายถึง ภาวะที่อุปสงค์ด้านสินค้าและบริการน้อยกว่าอุปทานด้านสินค้าและบริการ หรือเป็นภาวะที่มี ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป จึงทําให้เศรษฐกิจตกต่ำ สินค้าล้นตลาด และประชาชนว่างงานเป็นจํานวนมาก

74. การอนุมัติงบประมาณปกติต้องเริ่มในเดือนใด
(1) กันยายน
(2) กรกฎาคม
(3) มีนาคม
(4) มกราคม
(5) พฤษภาคม
ตอบ 5 หน้า 123, (คําบรรยาย) การอนุมัติงบประมาณ เป็นการพิจารณาอนุมัติร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจําปีโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา ซึ่งปกตินั้นจะเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม

75. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(2) บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) ผลิตเหรียญกษาปณ์
(4) ออกธนบัตร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 57 – 58 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2485 เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและหน้าที่ ดังนี้
1. ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร
2. กําหนดและดําเนินนโยบายการเงิน เช่น กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ย
3. บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
4. เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล
5. เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน
6. กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
7. บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและสินทรัพย์ในทุนสํารองเงินตรา ฯลฯ

76.“เงินประจํางวด” หมายถึงอะไร
(1) แผนการใช้จ่ายเงิน
(2) รายงานทางการเงิน
(3) เงินของราชการส่วนภูมิภาค
(4) เงินในหมวดรายจ่ายประจํา
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 84, 126, (คําบรรยาย เงินประจํางวด (Apportionment) หมายถึง เงินที่จะจัดสรร ให้กับส่วนราชการหนึ่ง ๆ ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ ถือเป็นแผนการใช้จ่ายเงินและเป็น เครื่องมือในการควบคุมให้ส่วนราชการต่าง ๆ ปฏิบัติงานตามแผนที่กําหนด และสามารถนําเงินไปใช้จ่ายได้ทันปีงบประมาณ ซึ่งอํานาจในการกําหนดระยะเวลาของเงินประจํางวด เป็นของสํานักงบประมาณ

77. พลเมืองมีสิทธิปฏิเสธการทํางานของรัฐบาลได้หลายวิธี ยกเว้นข้อใด
(1) การทําลายทรัพย์สินของทางราชการ
(2) การไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
(3) การไม่จ่ายภาษีให้รัฐบาล
(4) การเดินขบวนประท้วง
(5) การทําอารยะขัดขืน
ตอบ 1 หน้า 28 ในทางรัฐศาสตร์ รัฐบาลและพลเมืองจะต้องมีจริยธรรมด้วยกันทั้งคู่จึงจะทําให้ การบริหารประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น หากรัฐบาลไม่คํานึงถึงผลประโยชน์ของพลเมืองโดยส่วนรวม พลเมืองย่อมมีสิทธิปฏิเสธการทํางานของรัฐบาล ซึ่งสามารถทําได้หลายวิธี เช่น การไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การไม่จ่ายภาษีให้รัฐบาล การเดินขบวนประท้วง การทําอารยะขัดขืน เป็นต้น

78. ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปีใด
(1) ปี พ.ศ. 2485
(2) ปี พ.ศ. 2495
(3) ปี พ.ศ. 2480
(4) ปี พ.ศ. 2490
(5) ปี พ.ศ. 2500
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

79. ส่วนราชการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของตนจากหน่วยงานใด
(1) สํานักงบประมาณ
(2) ธนาคารกรุงไทย
(3) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(4) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 128 เมื่อส่วนราชการต้องการรับเงินงบประมาณของตนเพื่อนําไปใช้ในการบริหารงานส่วนราชการจะต้องทําฎีกาขอเบิกเงินตามงบประมาณยื่นต่อกรมบัญชีกลางในกรณีของราชการ ส่วนกลาง และยื่นต่อสํานักงานคลังจังหวัดในกรณีของราชการส่วนภูมิภาค โดยกรมบัญชีกลาง และสํานักงานคลังจังหวัดจะเป็นผู้อนุมัติฎีกาและสั่งจ่ายเงินประจํางวดที่ได้รับอนุมัติแล้วที่เรียกว่า เงินจัดสรร (Budget Allotment) ให้กับส่วนราชการนั้น ๆ เป็นคราว ๆ ไป

80. ในยุคที่มีความเชื่อว่า… “งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือในการควบคุมความซื่อสัตย์ในการใช้จ่าย ของรัฐบาล…” งบประมาณแผ่นดินจะให้ความสําคัญไปที่
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ
(2) รายละเอียดของทรัพยากรที่หน่วยงานเสนอของบประมาณมา
(3) แผนของรัฐในรูปตัวเงินที่แสดงประสิทธิภาพของการใช้เงินตามแผนนั้น
(4) โครงการต่าง ๆ ซึ่งเสนอขอรายจ่ายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์โครงการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

81. ตัวอย่างของงบประมาณที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะกับการวางแผนวางโครงการของหน่วยงาน
(1) PPBS
(2) Line-Item Budget
(3) Performance Budget
(4) Program Budget
(5) Program Budget was Performance Budget
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

82. ข้อใดไม่ใช่หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(1) การดํารงเงินกองทุน
(2) การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง
(3) ธรรมาภิบาล
(4) การเปิดเผยข้อมูล
(5) ความโปร่งใสของข้อมูล
ตอบ 5 หน้า 61 หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีดังนี้
1. ธรรมาภิบาล
2. การดํารงเงินกองทุน
3. การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง
4. กระบวนการด้านสินเชื่อ
5. การกํากับลูกหนี้รายใหญ่และการบัญชี
6. การเปิดเผยข้อมูล

83.สภาวะ “เศรษฐกิจตกต่ํา สินค้าล้นตลาด ประชาชนว่างงาน” รัฐบาลควรใช้นโยบายงบประมาณแบบใด
(1) สมดุล
(2) เกินดุล
(3) ขาดดุล
(4) เกินดุลควบคู่กับนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง
(5) ขาดดุลควบคู่กับนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ตอบ 5(คําบรรยาย) ภาวะเงินฝืด หมายถึง ภาวะที่อุปสงค์ด้านสินค้าและบริการน้อยกว่าอุปทาน ด้านสินค้าและบริการ หรือเป็นภาวะที่มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป ทําให้เศรษฐกิจตกต่ํา สินค้าล้นตลาด และประชาชนว่างงาน ดังนั้นรัฐบาลควรจะแก้ปัญหา ด้วยการเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น โดยการนํานโยบายงบประมาณแบบขาดดุล และการลดอัตราภาษีอากรมาใช้ควบคู่กับนโยบายการเงินดังต่อไปนี้
1. ซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากประชาชน
2. ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์
3. ลดอัตราเงินสดสํารองของธนาคารพาณิชย์
4. ลดอัตราส่วนลดเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยเงินกู้มากขึ้น ฯลฯ

84. ภาษีชนิดใดคํานวณจากยอดภาษีขายหักด้วยยอดภาษีซื้อ
(1) ภาษีเงินได้
(2) ภาษีศุลกากร
(3) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
(4) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

85. หน่วยงานใดเป็นผู้กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย
(1) ธนาคารกรุงไทย
(2) กระทรวงพาณิชย์
(3) คณะกรรมการนโยบายการเงิน
(4) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(5) กระทรวงการคลัง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

86. นักทฤษฎีการคลังยุค Adam Smith เชื่อว่า
(1) งบประมาณเกินดุลดีที่สุด
(2) งบประมาณสมดุลดีที่สุด
(3) งบประมาณเกินดุล ขาดดุล หรือสมดุล ต่างมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้น
(4) งบประมาณขาดดุลดีที่สุด
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 74, (คําบรรยาย) อดัม สมิธ (Adam Smith) เป็นนักทฤษฎีการคลังสมัยเก่าหรือยุคคลาสสิก (Classical Theory of Public Finance) ที่มีความเชื่อว่า นโยบายงบประมาณสมดุล เป็นนโยบายที่ดีที่สุด โดยรัฐบาลควรจะใช้จ่ายเงินตามความสามารถในการหารายได้ของตน ไม่ควรแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีบ่อย ๆ และไม่ควรก่อหนี้สาธารณะ

87. กลไกตลาดภาครัฐคืออะไร
(1) กลไกการบริหารจัดการระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(2) กลไกการทํางานระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(3) กลไกการประสานงานระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(4) กลไกการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างภาครัฐกับประชาชน
(5) กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับประชาชน
ตอบ 4 หน้า 21 กลไกตลาดภาครัฐ คือ กลไกการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่าง ภาครัฐในฐานะผู้ประกอบการกับประชาชนในฐานะผู้บริโภค

88.“ปีภาษี” หมายถึงระยะเวลาในช่วงใด
(1) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม
(2) ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 มีนาคม
(3) ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 31 พฤษภาคม
(4) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 30 กันยายน
(5) ระหว่างวันที่ 14 เมษายน – 31 ธันวาคม
ตอบ 1 หน้า 31, (คําบรรยาย) ปีภาษี ตามความหมายของประมวลรัษฎากร คือ ปีปฏิทิน ซึ่งเป็น รอบระยะเวลาที่ใช้สําหรับคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยปีภาษีจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคมของปีนั้น ๆ

89. ในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับเท่าไร
(1) ร้อยละ 0 ต่อปี
(2) ร้อยละ 0.5 ต่อปี
(3) ร้อยละ 0.25 ต่อปี
(4) ร้อยละ 5 ต่อปี
(5) ร้อยละ 0.75 ต่อปี
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 0.5 ต่อปี

90. ปัจจัยสําคัญที่จะสนับสนุนการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่
(1) ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลง
(2) การปรับตัวขึ้นของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
(3) การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
(4) การลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญที่จะสนับสนุนหรือมีผลต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่
1. ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลง
2. การเพิ่มค่าใช้จ่ายของภาครัฐ
3. การลดราคาขายปลีกน้ํามัน
4. การลดอัตราภาษีอากร ฯลฯ

91. องค์ประกอบที่สําคัญของ “กลไกราคา” คือสิ่งใด
(1) มติมหาชนและรัฐบาล
(2) ปริมาณสินค้าและความต้องการบริโภค
(3) นโยบายสาธารณะและรัฐสภา
(4) รัฐบาลและรัฐสภา
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 65, (คําบรรยาย) สินค้าเอกชน (Private Goods) เป็นสินค้าและบริการที่ประชาชน ทุกคนสามารถซื้อมาใช้เป็นการส่วนตัวได้ โดยจะมีมูลค่าที่สามารถวัดได้ด้วยกลไกราคา (Price Mechanism) คือ วัดด้วยปริมาณสินค้าและความต้องการบริโภคของคนทั่วไป

92. ตัวอย่างของงบประมาณที่เน้นระบบการบริหารองค์การ และการปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงาน
(1) Program Budget
(2) Performance Budget
(3) Line-Item Budget
(4) PPBS
(5) Program Budget was Performance Budget
ตอบ 5 หน้า 90, (คําบรรยาย) Allen Schick ได้แบ่งพัฒนาการของงบประมาณเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. ช่วงแรกเป็นการเน้นที่กฎ ระเบียบ และการควบคุมให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบนั้น ได้แก่ งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budget) หรืองบประมาณแบบเก่า (Conventional Budget) หรืองบประมาณแบบประเพณี (Traditional Budget)
2. ช่วงที่ 2 เป็นการเน้นที่ระบบการบริหารองค์การ คํานึงถึงประสิทธิภาพขององค์การ และ การปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงาน ได้แก่ งบประมาณแบบโครงการ (Program Budget) หรืองบประมาณแบบแสดงผลงาน (Performance Budget)
3. ช่วงที่ 3 เป็นการเน้นที่การวางแผนวางโครงการ ได้แก่ งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ (PPBS)

93. ภาษีรถยนต์นั่ง มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ฐานความมั่งคั่ง
(2) ฐานรายได้
(3) ฐานการบริโภค
(4) ฐานรายได้และฐานการบริโภค
(5) ฐานการบริโภคและฐานความมั่งคั่ง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

94. ภาษีน้ำหอมต่างประเทศ มีฐานภาษีจัดอยู่ในประเภทใด
(1) ฐานรายได้
(2) ฐานความมั่งคั่ง
(3) ฐานการบริโภค
(4) ฐานรายได้และฐานความมั่งคั่ง
(5) ฐานความมั่งคั่งและฐานการบริโภค
ตอบ 3หน้า 5 – 6, 23, 38 ฐานการบริโภค (Consumption Base) เป็นฐานภาษีที่เก็บจาก การใช้จ่ายเพื่อบริโภคของประชาชน รวมถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่าง ๆ ตัวอย่างภาษีที่จัดเก็บโดยใช้ฐานการบริโภค เช่น ภาษีการขาย ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษี สรรพสามิต (เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ ภาษีน้ํามัน ภาษีเครื่องดื่ม ภาษีไฟ ภาษีน้ําหอม) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสินค้าขาเข้า เป็นต้น

95. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
(2) การบริหารความเสี่ยงที่ดี
(3) ส่งเสริมการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน
(4) เสถียรภาพและความมั่นคง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

96. ใครเป็นผู้มีหน้าที่ชําระภาษีสรรพสามิต
(1) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมในสินค้าสรรพสามิต
(2) ผู้นําเข้าสินค้าสรรพสามิต
(3) ผู้ดัดแปลงรถยนต์
(4) ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 38 ผู้ที่มีหน้าที่ชําระภาษีสรรพสามิต มีดังนี้
1. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมในสินค้าสรรพสามิต
2. ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ
3. ผู้นําเข้าสินค้าสรรพสามิต
4. ผู้ดัดแปลงรถยนต์
5. เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน ฯลฯ

97. บุคคลใดดํารงตําแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) นายวิรไท สันติประภพ
(2) นายเศรษฐวุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ
(3) นายอุตตม สาวนายน
(4) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(5) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน คือ นายเศรษฐวุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

98. ข้อใดไม่นับว่าเป็นเงิน
(1) ศิลปวัตถุ
(2) เหรียญกษาปณ์
(3) เช็ค
(4) ตั๋วแลกเงิน
(5) บัตรเครดิต
ตอบ 1 หน้า 54 เงิน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจจะอยู่ในหลายรูปแบบ เช่น ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ เช็ค ตั๋วแลกเงิน บัตรเครดิต เป็นต้น

99. เงินได้พึงประเมินหมายถึงเงินได้ของบุคคลที่เกิดขึ้นในระยะเวลาใด
(1) ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 มีนาคม
(2) ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 31 พฤษภาคม
(3) ระหว่างวันที่ 14 เมษายน – 31 ธันวาคม
(4) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 30 กันยายน
(5) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม
ตอบ 5 หน้า 31 เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้ของบุคคลใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่าง วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคมของปีใด ๆ หรือเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่
1. เงิน
2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน
3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน
4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกําหนด

100. ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สามารถวัดได้โดย
(1) ดูอัตราเงินเฟ้อ
(2) ดูการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลรวม
(3) ดูจํานวนประชากร
(4) ดูราคาของผลผลิตต่อหน่วยในสินค้าเกษตร
(5) เปรียบเทียบรายได้ของคนในชุมชนเมืองกับในชุมชนชนบท
ตอบ 2 หน้า 73 – 74, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินจะต้องเป็นไปเพื่อ
1. สร้างความเจริญเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจหรือความมั่งคั่งของชาติ ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลรวม
2. สร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูอัตราการว่างงาน อัตราเงินฝืด และอัตราเงินเฟ้อ
3. สร้างประสิทธิภาพในการทํางาน ซึ่งสามารถวัดได้โดยการดูผลผลิตต่อหน่วย
4. สร้างความเสมอภาคหรือการกระจายทางเศรษฐกิจ หรือการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ให้กับสังคม ซึ่งสามารถวัดได้โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของรายได้ อัตราการใช้จ่าย และทรัพย์สินที่มี

Advertisement