การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3300 การบริหารการคลัง
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1 ข้อใดไม่จัดเป็นรายรับของรัฐบาลไทย
(1) ภาษีเงินได้
(2) ค่าสัมปทาน
(3) ค่าบริการ
(4) การขายหุ้น
(5) ดอกเบี้ยเงินกู้
ตอบ 5 หน้า 15 – 20, (คําบรรยาย) แหล่งรายรับของรัฐบาลไทย มาจาก 2 ส่วน คือ
1 รายรับที่เป็นรายได้ ได้แก่ ภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ (เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสัมปทาน ค่าบริการ) รัฐพาณิชย์ และรายได้อื่น ๆ เช่น ค่าแสตมป์ฤชากร ค่าปรับ เป็นต้น
2 รายรับที่ไม่เป็นรายได้ ได้แก่ การกู้เงิน การใช้เงินคงคลัง และอื่น ๆ เช่น การขายหุ้น เป็นต้น
2 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของภาษีอากร
(1) จัดเก็บเป็นการทั่วไป
(2) เกิดผลประโยชน์โดยตรงแก่ผู้จ่าย
(3) ใช้วิธีการบังคับจัดเก็บ
(4) ประชาชนเป็นผู้จ่าย
(5) เป็นการเคลื่อนย้ายทรัพยากรจากเอกชนไปสู่ภาครัฐ
ตอบ 2 หน้า 4, 22 ภาษีอากร มีลักษณะดังนี้
1 เป็นสิ่งที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากประชาชนเป็นการทั่วไปและนํามาใช้เพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนหรือเกิดผลประโยชน์โดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร
2 เป็นการเคลื่อนย้ายทรัพยากรจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล
3 ภาษีในข้อใดไม่ได้จัดเก็บโดยใช้ฐานความมั่งคั่ง
(1) ภาษีศุลกากร
(2) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
(3) ภาษีรถยนต์
(4) ภาษีมรดก
(5) ภาษีสรรพสามิต
ตอบ 1. 5 หน้า 5 – 6, 23 ฐานความมั่งคั่ง (Wealth Base) เป็นฐานภาษีที่พิจารณาจากรายได้หรือประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินที่บุคคลได้ครอบครองอยู่ ตัวอย่างภาษีที่จัดเก็บโดยใช้ฐานความมั่งคั่ง เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีโรงงาน ภาษีรถยนต์ ภาษีมรดก ภาษีดอกเบี้ย เป็นต้น (ส่วนภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิตจัดเก็บโดยใช้ฐานการบริโภค)
4 ภาษีที่ใช้ฐานรายได้ (Income Base) พิจารณาจากสิ่งใดเป็นมูลเหตุสําคัญให้บุคคลต้องเสียภาษีอากร
(1) ผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินที่บุคคลครอบครอง
(2) การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า
(3) เงินได้ของบุคคลหรือหน่วยภาษีใดๆ
(4) การผ่านแดนของสินค้า
(5) การบริโภคจับจ่ายใช้สอย
ตอบ 3 หน้า 5, 22 ฐานรายได้ (Income Base) เป็นฐานภาษีที่วัดจากความสามารถในการเสียภาษี(Ability to Pay) ของประชาชนแต่ละคน โดยพิจารณาจากเงินได้ของบุคคลหรือหน่วยภาษีต่าง ๆภาษีที่จัดเก็บโดยใช้ฐานรายได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล
5 นายนักรบชําระค่าภาษีรถยนต์ในระบบเลื่อนล้อต่อภาษีในบริเวณพื้นที่ของกรมการขนส่งทางบกการเสียภาษีของนายนักรบเป็นการเสียภาษีภายใต้ฐานภาษีแบบใด
(1) ฐานรายได้
(2) ฐานการบริโภค
(3) ฐานความมั่นคง
(4) ฐานความมั่งคั่ง
(5) ฐานความยั่งยืน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ
6 ภาษีโรงงานเป็นภาษีที่เสียในฐานภาษีประเภทเดียวกันกับภาษีชนิดใด
(1) ภาษีมรดก
(2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(3) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(4) ภาษีซื้อ
(5) ภาษีขาย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ
7 ภาษีเป็นกลไกตลาดภาครัฐที่เหมาะสําหรับใช้จัดบริการหรือผลิตสินค้าประเภทใด
(1) สินค้าสโมสร
(2) สินค้าผสม
(3) สินค้าถึงสาธารณะ
(4) สินค้าสาธารณะขั้นพื้นฐาน
(5) สินค้าเอกชน
ตอบ 4 หน้า 21 ภาษีเป็นกลไกตลาดภาครัฐที่เหมาะสําหรับใช้จัดบริการหรือผลิตสินค้าสาธารณะขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นสินค้าและบริการที่มีความจําเป็นต่อประชาชนทุกคนภายในประเทศ เช่น การรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในสังคม การศึกษาขั้นพื้นฐาน การควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
8 ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์การแบ่งประเภทของสินค้าของพอล แอนโทนี แซมมวลสัน
(1) ใช้ลักษณะของสินค้าเป็นเกณฑ์
(2) ใช้เกณฑ์ทางกายภาพ
(3) พิจารณาการเป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(4) พิจารณาจากการแยกการบริโภคออกจากกัน
(5) พิจารณาว่าสินค้าเมื่อถูกใช้โดยคนหนึ่งแล้ว คนอื่นไม่สามารถใช้ได้หรือไม่
ตอบ 2 หน้า 11 – 12 พอล แอนโทนี แซมมวลสัน (Paul A. Samuelson) ได้แบ่งประเภทของสินค้าโดยใช้ลักษณะของสินค้าเป็นเกณฑ์ ซึ่งเป็นการพิจารณาจากคุณสมบัติพื้นฐาน 2 ประการ คือ
1 พิจารณาการเป็นปรปักษ์ในการบริโภค เป็นการพิจารณาว่าสินค้าเมื่อถูกใช้โดยคนหนึ่งแล้วจะทําให้คนอื่นไม่สามารถใช้สินค้านั้นได้หรือไม่
2 พิจารณาการแบ่งแยกการบริโภคออกจากกัน เป็นการพิจารณาว่าสินค้านั้นสามารถใช้กลไกราคาหรือมาตรการบางอย่างเป็นเครื่องมือเพื่อกีดกันไม่ให้คนอื่นใช้สินค้านั้นได้หรือไม่
9 ไฟฟ้าบนถนนสาธารณะจัดเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าชนิดใด
(1) การไฟฟ้านครหลวง
(2) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
(3) การประปานครหลวง
(4) ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี
(5) ทางพิเศษศรีรัช
ตอบ 4 หน้า 11 – 12, 14, (คําบรรยาย) สินค้าสาธารณะ (Public Goods) หรือเรียกว่าสินค้าสาธารณะแท้หรือสินค้าสาธารณะที่สมบูรณ์ (Pure Public Goods) มีคุณสมบัติดังนี้
1 ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
2 ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้ หรือไม่สามารถ กีดกันผู้อื่นไม่ให้ใช้สินค้านั้นได้
3 ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า ตัวอย่างเช่น ไฟฟ้าบนถนนสาธารณะ ลำน้ำสาธารณะ การดําเนินนโยบายต่างประเทศ การป้องกันประเทศ การรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในสังคม การทําความสะอาดถนนสาธารณะการควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี เป็นต้น
10 สินค้าที่ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค และแยกการบริโภคออกจากกันได้ จัดเป็นสินค้าประเภทใด
(1) สินค้าสาธารณะ
(2) สินค้าอุปโภคบริโภค
(3) สินค้าเอกชน
(4) สินค้าสโมสร
(5) สินค้าอุตสาหกรรม
ตอบ 4
11 “รัฐบาลได้จัดงานวันเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 10 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง” ท้องสนามหลวง
ณ วันงานดังกล่าว จัดเป็นสินค้าประเภทใด
(1) Congestible Public Goods
(2) Pure Public Goods (3) Club Goods
(4) Price-Excludable Public Goods
(5) Common Goods
ตอบ 5 หน้า 13 สินค้าทั่วไป (Common Goods) เป็นสินค้าที่เป็นปรปักษ์ในการบริโภคแต่แบ่งแยกการบริโภคออกจากกันไม่ได้ หรือการเข้ามาของผู้บริโภครายใหม่อาจทําให้ความพึงพอใจของ ผู้บริโภครายเดิมลดน้อยลง แต่ไม่สามารถกันให้บุคคลอื่นไม่สามารถเข้ามาเป็นผู้บริโภคได้ เช่น การใช้ท้องสนามหลวงในวันที่มีงานพิธี การใช้ถนนสาธารณะ การใช้ห้องสมุดสาธารณะ เป็นต้น
12 กิจการในข้อใดไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
(1) บริษัทที่มีข้อผูกพันตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
(2) กิจการร่วมค้าระหว่างบริษัทกับบริษัท
(3) กิจการทางการค้าของรัฐบาลต่างประเทศ
(4) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
(5) บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
ตอบ 1 หน้า 36 กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่
1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
2 บริษัทจํากัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
3 บริษัทจํากัดและนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
4 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย
13 เหตุใดรัฐบาลจึงต้องกําหนดฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกันออกไปตามลักษณะรายได้
(1) เพื่อความเป็นธรรมแก่นิติบุคคล
(2) เพื่ออุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษี
(3) เพื่อเพิ่มรายได้จากการจัดเก็บภาษี
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 34 โดยทั่วไปฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ กําไรสุทธิ แต่เพื่อความเป็นธรรมแก่นิติบุคคล และอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษี จึงได้มีการบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของรายได้ เช่น จากกําไรสุทธิ จากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย จากเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย จากการจําหน่ายเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย เป็นต้น
14 นักศึกษาทํางานเป็นพนักงานประจําที่ 7-11 มีเงินเดือน 12,000 บาท นักศึกษาต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
(1) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราภาษี 20%
(2) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราภาษี 15%
(3) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราภาษี 10%
(4) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราภาษี 5%
(5) ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี
ตอบ 5 หน้า 33 – 34 กรณีของนักศึกษานั้นถือเป็นผู้มีเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร แต่ในระหว่างปีภาษีมีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท จึงได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560 กําหนดให้ผู้มีเงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี)
15 นายซิลซิลเป็นทายาทของนายซิมซิม ผู้เป็นเจ้าของบริษัทช็อปช็อป จํากัด นายซิลซิลไม่ประกอบอาชีพใด ๆแต่มีรายได้จากเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทช็อปช็อปของผู้เป็นบิดา นายซิลซิลต้องเสียภาษีหรือไม่
(1) ไม่ต้องเสียภาษีเนื่องจากไม่ได้ประกอบอาชีพ
(2) ไม่ต้องเสียภาษีเนื่องจากเงินปันผลไม่ได้เกิดจากการจ้างแรงงาน
(3) ไม่ต้องเสียภาษีเพราะแหล่งที่มาของรายได้เป็นของบิดา ไม่ใช่ของนายซิลซิล
(4) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเนื่องจากเงินปันผลจัดเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
(5) เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเนื่องจากเป็นรายได้จากบริษัท ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตอบ 4 หน้า 32 กรณีของนายซิลซิลนั้นแม้จะไม่ได้ประกอบอาชีพใด ๆ เลยก็ตาม แต่ก็มีรายได้จากเงินปันผลของบริษัท ซึ่งเงินปันผลจัดเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ตามประมวลรัษฎากร ดังนั้นนายซิลซิลต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
16 บุคคลในข้อใดมีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 ตามประมวลรัษฎากร
(1) นายหมีเป็นสถาปนิกออกแบบบ้านให้โครงการบ้านจัดสรรรายใหญ่
(2) นางหมูเป็นนายหน้าขายประกันชีวิตของบริษัท BIB
(3) นายหมึกเป็นศัลยแพทย์ประจําโรงพยาบาลจังหวัดกระบี่
(4) นางสาวแมวเป็นเจ้าของสวนส้มวิฬาร์มีรายได้จากการขายส้มออร์แกนิค
(5) นายเม่นเป็นทนายความชื่อดังรับว่าความทั่วราชอาณาจักร
ตอบ 2 หน้า 32 เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 ตามประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตําแหน่งงานที่ทํา หรือจากการรับทํางานให้ ดังนี้
1 ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
2 เงินอุดหนุนในงานที่ทํา เบี้ยประชุม บําเหน็จ โบนัส
3 เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตําแหน่งงานที่ทํา หรือจากการรับทํางานให้ ฯลฯ
17 “ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย” เป็นฐานภาษีของภาษีชนิดใด
(1) ภาษีสรรพสามิต
(2) ภาษีศุลกากร
(3) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(4) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(5) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ
18 โครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทย มีลักษณะอย่างไร
(1) โครงสร้างแบบพื้นฐาน
(2) โครงสร้างแบบถดถอย
(3) โครงสร้างแบบก้าวหน้า
(4) โครงสร้างแบบสัดส่วน
(5) โครงสร้างแบบเร่งรัด
ตอบ 3 หน้า 23, (คําบรรยาย) โครงสร้างอัตราภาษีแบบก้าวหน้า หมายถึง อัตราภาษีส่วนเพิ่มมีค่าสูงกว่าอัตราภาษีโดยเฉลี่ย เช่น โครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทย เป็นต้น
19 การจัดบริการของรัฐที่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม ควรมีแนวทางในการกําหนดอัตราค่าบริการอย่างไร
(1) กําหนดอัตราค่าบริการตามกลไกตลาด
(2) กําหนดอัตราค่าบริการตามสภาวะเศรษฐกิจ
(3) กําหนดอัตราค่าบริการในระดับเดียวกันกับต้นทุนทางบัญชี
(4) กําหนดอัตราค่าบริการสูงกว่าต้นทุนทางบัญชี
(5) กําหนดอัตราค่าบริการต่ำกว่าต้นทุนทางบัญชี
ตอบ 5 หน้า 42, (คําบรรยาย) กรณีการจัดบริการของรัฐก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม รัฐควรกําหนดอัตราค่าบริการต่ํากว่าต้นทุนทางบัญชีและจัดสรรเงินอุดหนุนชดเชยส่วนที่ขาดทุน แต่ถ้า การจัดบริการของรัฐก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสังคม รัฐควรกําหนดอัตราค่าบริการสูงกว่าต้นทุนทางบัญชีและนําเงินส่วนที่ต่างไปอุดหนุนชดเชยผู้ที่ได้รับความเสียหาย
20 เงินได้พึงประเมิน หมายถึงเงินได้ของบุคคลที่เกิดขึ้นในระยะเวลาใด
(1) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม
(2) ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 มีนาคม
(3) ระหว่างวันที่ 14 เมษายน – 31 ธันวาคม
(4) ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 31 พฤษภาคม
(5) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 30 กันยายน
ตอบ 1 หน้า 31 เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้ของบุคคลใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคมของปีใด ๆ หรือเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษี
21 ข้อใดไม่ใช่เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร
(1) เงินเดือน
(2) เงินบํานาญ
(3) เงินค่าจ้าง
(4) เบี้ยประชุม
(5) เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
ตอบ 4 หน้า 31 เงินได้ประเภทที่ 1 ตามประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานดังนี้
1 เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ
2 เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
3 เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน
ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ)
22 กรมสรรพากรไม่ได้จัดเก็บภาษีชนิดใด
(1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(2) ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(3) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(4) ภาษีนําเข้า-ส่งออก
(5) ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
ตอบ 4 หน้า 30, (คําบรรยาย) กรมสรรพากร ทําหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรดังนี้
1 ภาษีเงินได้ (ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล)
2 ภาษีการค้าภายในหรือภาษีการขายทั่วไป
3 อากรมหรสพ
4 อากรแสตมป์
5 อากรรังนกอีแอ่น
6 ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
7 ภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรโดยทางเครื่องบิน
8 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ส่วนภาษีนําเข้า-ส่งออกจัดเก็บโดยกรมศุลกากร)
23 ภาษีสรรพสามิตเป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการที่มีลักษณะอย่างไร
(1) ขัดต่อศีลธรรมอันดี
(2) มีความฟุ่มเฟือย
(3) เกิดผลเสียต่อสุขภาพ
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 38 ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ขัดต่อศีลธรรมอันดีงามมีลักษณะเป็นสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือย หรือได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ
24 ข้อใดจัดเป็นพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย
(1) Tax Compliance
(2) Tax Avoidance
(3) Tax Evasion
(4) Tax Audit
(5) Tax Refund
ตอบ 3 หน้า 28 พฤติกรรมการหนีภาษี (Tax Evasion) คือ การไม่ยินยอมเสียภาษีให้กับรัฐเป็นการกระทําที่มีเจตนาจงใจละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายเพื่อไม่ต้องเสียภาษี หรือเสียภาษีให้น้อยลงโดยวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย
25 พฤติกรรมในข้อใดเป็นพฤติกรรมที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย
(1) การเสียภาษีโดยภาระจํายอม
(2) การเสียภาษีโดยสมัครใจ
(3) การเลี่ยงภาษี
(4) การหนีภาษี
(5) การต่อต้านภาษี
ตอบ 3 หน้า 27 พฤติกรรมการเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance) คือ การที่พลเมืองผู้มีหน้าที่เสียภาษีใช้วิธีการใด ๆ ตามกฎหมายที่มุ่งสร้างให้เกิดผลต่อภาระภาษีของผู้เสียภาษี เพื่อที่จะได้มี ภาระภาษีที่จะต้องเสียต่ำกว่าเดิม หรือเป็นการหาช่องว่างทางกฎหมายโดย “การบิดเบือน (Manipulation)” ซึ่งการเลี่ยงภาษีนี้เป็นพฤติกรรมที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย และส่งผลโดยตรงให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
26 สินค้าหรือบริการสาธารณะในข้อใดไม่ควรใช้วิธีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ
(1) Price-Excludable
(2) Non-Zero-Marginal Cost
(3) Zero-Marginal Cost
(4) Rival-Consumption
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 40 สินค้าและบริการสาธารณะที่รัฐควรจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการควรมีลักษณะดังนี้
1 Price-Excludable คือ เลือกซื้อได้ตามความต้องการของแต่ละคน
2 Rival-Consumption คือ ประโยชน์จากการบริโภคเกิดขึ้นเฉพาะตัวและการบริโภคส่งผลให้ประโยชน์ของสินค้าลดลง
3 Non-Zero-Marginal Cost คือ ต้นทุนการจัดบริการเพิ่มขึ้นเมื่อมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น
27 คํากล่าว “Taxes are the price of democracy” สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งใด
(1) การใช้จ่ายในระบอบประชาธิปไตย
(2) การใช้จ่ายกับภาระภาษี
(3) ภาษีกับกลไกราคา
(4) ภาษีกับการใช้จ่าย
(5) ภาษีกับประชาธิปไตย
ตอบ 5 หน้า 24 คํากล่าว “Taxes are the price of democracy” สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างภาษีกับประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี คํากล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่าประชาชนมีหน้าที่จ่ายภาษี ให้กับรัฐเพื่อแลกเปลี่ยนกับการมีรัฐบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตยซึ่งทําหน้าที่จัดบริการ สาธารณะให้กับประชาชน
28 หลักการที่ว่า “ผู้ที่มีความสามารถในการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ควรเสียภาษีแตกต่างกัน”เป็นหลักความเสมอภาคในรูปแบบใด
(1) ความเสมอภาคในแนวระนาบ
(2) ความเสมอภาคในแนวนอน
(3) ความเสมอภาคในแนวตั้ง
(4) ความเสมอภาคในเชิงเปรียบเทียบ
(5) ความเสมอภาคระหว่างบุคคล
ตอบ 3 หน้า 26 หลักความเสมอภาคในแนวตั้งหรือแนวดิ่ง (Vertical Equity) มีสาระสําคัญว่าผู้มีความสามารถในการเสียภาษีหรืออยู่ในสภาวการณ์ในการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ควรจะ เสียภาษีในลักษณะที่เตกต่างกัน ในลักษณะที่ว่า “Unequal Should Be Treated Unequally”
29 ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทําให้เกิดภาพลวงตาทางการคลัง (Fiscal Illusion)
(1) รัฐบาลจัดเก็บภาษีหลากหลายประเภท
(2) มีโครงสร้างภาษีทางอ้อมในสัดส่วนที่สูง
(3) มีการจัดเก็บภาษีในฐานร่วม (Shared Taxes)
(4) การมีข้อลดหย่อนยกเว้นที่ซับซ้อน
(5) มีอัตราการจัดเก็บภาษีรูปแบบเดียวกันอัตราเดียว
ตอบ 5 หน้า 26 Buchanan ได้ระบุไว้ว่า การจัดเก็บภาษีที่มีความซับซ้อนนั้น อาจทําให้เกิดปรากฏการณ์ภาพลวงตาทางการคลัง (Fiscal Illusion) ขึ้นได้ ซึ่งความซับซ้อนของ ระบบภาษีและการหารายได้ของรัฐอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
1 รัฐบาลจัดเก็บภาษีหลายประเภท หลายอัตรา
2 การมีข้อลดหย่อนยกเว้นที่ซับซ้อน
3 มีโครงสร้างภาษีทางอ้อมในสัดส่วนที่สูง
4 มีการจัดเก็บภาษีในฐานร่วม (Shared Taxes)
30 ข้อใดเป็นลักษณะของภาษีที่ดีตามหลักสวัสดิการสังคม
(1) ประชาชนแบกรับภาระภาษีอย่างเท่าเทียม
(2) จัดเก็บภาษีน้อยที่สุดเพื่อนําไปใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
(3) ภาษีได้รับการยอมรับหรือเห็นชอบจากประชาชน
(4) ไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษีบ่อยครั้ง
(5) จัดเก็บตามความสามารถในการเสียสละ/จ่าย (Ability to Pay)
ตอบ 2 หน้า 26 – 27 ภาษีที่ดีตามหลักสวัสดิการสังคม คือ ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บจากประชาชนน้อยที่สุด เพื่อนําไปใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยรัฐบาลต้องเปรียบเทียบกัน ระหว่างภาระภาษีกับผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับคืนมาจากการเสียภาษี ลดความสูญเสีย จากการจัดเก็บภาษี (Deadweight Loss) หรือลดภาระภาษีส่วนเกินให้เหลือน้อยที่สุดหรือไม่มีภาษีที่ไม่มีภาระส่วนเกิน (Excess Burden)
31 คุณสมบัติของสินค้าสาธารณะแท้ คือข้อใด
(1) ไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค
(2) ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้
(3) ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการจัดให้มีสินค้า
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ
32 รัฐบาลเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบุคคลในข้อใด
(1) บุคคลธรรมดาผู้ขายสินค้าเป็นอาชีพ มียอดขายเกินกว่า 150,000 บาทต่อเดือน
(2) นิติบุคคลผู้ขายสินค้าเป็นอาชีพ มียอดขายเกินกว่า 100,000 บาทต่อเดือน
(3) บุคคลธรรมดาให้บริการเป็นอาชีพ มียอดขายเกินกว่า 80,000 บาทต่อเดือน
(4) นิติบุคคลผู้ให้บริการเป็นอาชีพ มียอดขายเกินกว่า 100,000 บาทต่อเดือน
(5) บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้ขายสินค้าเป็นอาชีพ แต่มีรายได้ค่านายหน้าจากการขายสินค้าเกินกว่า 150,000 บาทต่อเดือน
ตอบ 1 หน้า 36 ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่ขายสินค้าหรือบริการเป็นอาชีพไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคคล ซึ่งมีรายได้หรือยอดขายเกินกว่า 150,000 บาทต่อเดือน (1.8 ล้านบาทต่อปี) โดยต้องยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และคํานวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อและต้องชําระภาษีเป็นรายเดือน โดยยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
33 จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียคํานวณได้จากสิ่งใด
(1) ภาษีขาเข้าหักด้วยภาษีขาออก
(2) ภาษีเงินได้นิติบุคคลหักด้วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(3) ภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
(4) ภาษีเงินเดือนหักด้วยภาษีค่านายหน้า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ
34 สินค้าในข้อใดต่อไปนี้ควรจัดเก็บค่าบริการตามกลไกตลาด
(1) รถโดยสารประจําทาง
(2) บริการไปรษณีย์
(3) บริการไฟฟ้า
(4) โรงพยาบาล
(5) ถนนทางหลวงแผ่นดิน
ตอบ 1 หน้า 40 – 41 สินค้าหรือบริการที่รัฐควรจัดเก็บค่าบริการตามกลไกตลาด เป็นสินค้าที่รัฐผลิตหรือให้บริการแข่งขันกับภาคเอกชนตามหลักการแข่งขันเสรี เช่น กิจการโทรคมนาคม กิจการขนส่ง (เช่น รถโดยสารประจําทาง) กิจการธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น โดยสินค้าหรือ บริการเหล่านี้มักเป็นสินค้าเอกชน หรืออาจจะเป็นสินค้าถึงสาธารณะประเภทต่าง ๆซึ่งไม่มีสภาวะ Externality ชัดเจน
35 หากนักศึกษาเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และมีสิ่งของใดที่นําเข้ามาด้วยซึ่งต้องสําแดงแก่ศุลกากร นักศึกษาต้องเลือกเดินเข้าประเทศผ่านช่องทางใด
(1) Red Line
(2) Blue Line
(3) Pink Line
(4) Green Line
(5) Black Line
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หากนักศึกษาเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และมีสิ่งของที่นําเข้ามาด้วยต้องสําแดงแก่ศุลกากรต้องเลือกเดินเข้าประเทศผ่านช่อง Red Line
36 ส่วนขาดดุลทางการคลังเกิดจากข้อใด
(1) รัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้
(2) รัฐบาลมีรายได้มากกว่ารายจ่าย
(3) รัฐบาลมีรายจ่ายเท่ากับรายได้
(4) รายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 45 ส่วนขาดดุลทางการคลัง (Fiscal Deficit) เกิดจากรัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ซึ่งรัฐบาลสามารถชดเชยการขาดดุลได้โดยใช้วิธีการก่อหนี้สาธารณะ
37 ปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงทศวรรษ 1930 เรียกว่าอะไร
(1) Crisis
(2) The Great Depression
(3) The Great Storm
(4) Hamburger Crisis
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 46 – 47, (คําบรรยาย) ในช่วงทศวรรษ 1930 เกิดปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกหรือที่เรียกว่า The Great Depression ซึ่งทฤษฎีของเคนส์ได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหานี้ โดยการเสนอให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ คือการให้รัฐบาลใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ที่มีอยู่เพื่อเป็นการยกระดับอุปสงค์มวลรวม (Aggregate Demand)
38 นักเศรษฐศาสตร์สํานักใดไม่ยอมรับการก่อหนี้สาธารณะ
(1) เคนส์เซียน
(2) นีโอลิเบอรัล
(3) พาณิชย์นิยม
(4) เสรีนิยม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 46 นักเศรษฐศาสตร์สํานักคลาสสิก (Classical Economist) หรือสํานักเสรีนิยม(Liberalist) มองว่า บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจควรเป็นไปอย่างจํากัด (Minimalist State) คือ รัฐบาลควรใช้จ่ายงบประมาณอย่างจํากัด ดังนั้นการใช้จ่ายเกินตัวของรัฐบาลซึ่งนําไปสู่การก่อหนี้สาธารณะจึงเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์สํานักนี้
39 ในทฤษฎีของเคนส์การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรัฐบาลเป็นการทํางานของกลไกในข้อใด
(1) การบริโภค
(2) การออม
(3) การลงทุน
(4) อุปสงค์มวลรวม
(5) การจับจ่ายใช้สอย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ
40 กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้สาธารณะ เรียกว่าอะไร
(1) วินัยทางการคลัง
(2) กฎเหล็กทางการคลัง
(3) ความยั่งยืนทางการคลัง
(4) กฎกระทรวงการคลัง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กรอบแนวคิดที่ทําให้ผู้กําหนดนโยบายต้องคํานึงถึงขีดจํากัดในการก่อหนี้สาธารณะ เรียกว่า วินัยทางการคลัง
41 บทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดในพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ที่กําหนดขีดจํากัดของ การก่อหนี้สาธารณะสําหรับประเทศไทย
(1) มาตรา 8
(2) มาตรา 8 ทวิ
(3) มาตรา 9
(4) มาตรา 9 ทวิ
(5) มาตรา 9 ตรี
ตอบ 4 หน้า 48 บทบัญญัติในมาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ได้กําหนดขีดจํากัดของการก่อหนี้สาธารณะสําหรับประเทศไทยไว้ว่า การกู้เงินในปีงบประมาณ จะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของจํานวนเงินงบประมาณรายจ่ายและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือของจํานวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วกับอีกร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สําหรับชําระคืนต้นเงินกู้
42 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะอยู่ภายใต้สังกัดของหน่วยงานใด
(1) สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
(2) กรมบัญชีกลาง
(3) สํานักงบประมาณ
(4) กรมธนารักษ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 48 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 อยู่ภายใต้สังกัดของสํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดําเนินการเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การผูกพันหนี้ การบริหารหนี้ และการชําระหนี้ ในประเทศและต่างประเทศของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งที่ค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน
43 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะก่อตั้งขึ้นในปีใด
(1) ปี พ.ศ. 2540
(2) ปี พ.ศ. 2541
(3) ปี พ.ศ. 2542
(4) ปี พ.ศ. 2543
(5) ปี พ.ศ. 2544
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ
44 ข้อใดไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ
(1) หนี้ของรัฐบาล
(2) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
(3) หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน
(4) หนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 45, 50, (คําบรรยาย) หนี้สาธารณะ ได้แก่
1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศ
2 หนี้ของรัฐวิสาหกิจ (ไม่เป็นสถาบันการเงิน) ที่รัฐบาลค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน
3 หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน
4 หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
5 หนี้ของหน่วยงานอื่นของรัฐ
45 บทบาทของรัฐบาลในลักษณะที่เป็น Minimalist State ตรงกับข้อใด
(1) รัฐบาลไม่มีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ
(2) บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจควรเป็นไปอย่างจํากัด
(3) รัฐบาลไม่ควรมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ
(4) บาทบาทของรัฐบาลเป็นไปตามนโยบายของพรรคการเมือง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ
46 ณ สิ้นเดือนเมษายน 2560 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทย อยู่ที่ประมาณร้อยละเท่าไร
(1) 10
(2) 15
(3) 20
(4) 40
(5) 60
ตอบ 4 หน้า 51 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2560 มีจํานวน 6,267,920.88 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.64 ของ GDP
47 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับร้อยละเท่าไร
(1) 7.12
(2) 15.26
(3) 15.28
(4) 18.25
(5) 25.74
ตอบ 1 หน้า 52 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ภาระหนี้ต่องบประมาณของประเทศไทยอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.12
48 ข้อใดคือความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับการก่อหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ในต่างประเทศ
(1) วงเงิน
(2) ระยะเวลาชําระคืน
(3) อัตราดอกเบี้ย
(4) ผู้ที่รับภาระหนี้
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การก่อหนี้สาธารณะต้องคํานึงถึงผู้ที่รับภาระหนี้ วงเงิน ระยะเวลาชําระคืน และอัตราดอกเบี้ย โดยที่อัตราดอกเบี้ยคือ ความแตกต่างที่สําคัญที่สุดระหว่างการก่อหนี้สาธารณะ จากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศกับต่างประเทศ เนื่องจากต้องใช้คืนทั้งต้นเงินกู้และอัตราดอกเบี้ย ที่ผันผวนตามค่าเงิน
49 กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารหนี้สาธารณะ คือข้อใด
(1) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2545
(2) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2546
(3) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2547
(4) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548
(5) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2550
ตอบ 4 (คําบรรยาย) กฎหมายฉบับสําคัญที่สุดที่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารหนี้สาธารณะ คือ พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งประกาศบังคับใช้ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
50 ข้อใดไม่ใช่ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ
(1) ตัวเงินคลัง
(2) ตั๋วสัญญาใช้เงิน
(3) พันธบัตร
(4) บัตรเงินฝาก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตราสารหนี้ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ คือ
1 ตั๋วเงินคลัง 2 ตั๋วสัญญาใช้เงิน 3 พันธบัตร
51 ข้อใดเป็นคํานิยามของพันธบัตรที่ถูกต้อง
(1) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกินหกเดือน
(2) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะสั้นที่มีอายุนับแต่วันที่ออกไม่เกินสิบสองเดือน
(3) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบสองเดือนขึ้นไป
(4) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบแปดเดือนขึ้นไป
(5) เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่ยี่สิบสี่เดือนขึ้นไป
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พันธบัตร คือ เอกสารการก่อหนี้ผูกพันระยะยาวที่มีอายุนับแต่วันที่ออกตั้งแต่สิบสองเดือนขึ้นไป
52 ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังไม่อาจกู้เงินเพื่อการใด
(1) ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
(2) พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
(3) ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
(4) ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
(5) พัฒนาตลาดทุนในประเทศ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังกู้เงินได้เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1 ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ หรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้
2 พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
3 ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
4 ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
5 พัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ
53 บุคคลใดเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(3) ปลัดกระทรวงการคลัง
(4) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ
(5) ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
ตอบ 2 หน้า 50, (คําบรรยาย) คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ ประกอบด้วย
1 ประธานกรรมการ ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
2 รองประธานกรรมการ ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
3 กรรมการ ได้แก่ ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ และผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน
4 กรรมการและเลขานุการ ได้แก่ ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
54 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ
(1) การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
(2) การเป็นเครื่องชี้วัดสถานภาพทางสังคม
(3) การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
(4) การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 54 บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ คือ
1 การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2 การเป็นเครื่องมือสะสมความมั่งคั่ง
3 การเป็นมาตรฐานในการกําหนดมูลค่า
55 ข้อใดไม่นับว่าเป็นเงิน
(1) เหรียญกษาปณ์
(2) เช็ค
(3) ตั๋วแลกเงิน
(4) บัตรเครดิต
(5) ศิลปวัตถุ
ตอบ 5 หน้า 54 เงิน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจจะอยู่ในหลายรูปแบบ เช่น ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ เช็ค ตั๋วแลกเงิน บัตรเครดิต เป็นต้น
56 คําในข้อใดหมายถึงนโยบายการเงิน
(1) Fiscal Policy
(2) Monetary Policy
(3) Financial Policy
(4) Public Policy
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 8, 54, (คําบรรยาย) นโยบายการเงิน (Monetary Policy) หมายถึง นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น การกําหนดอัตราดอกเบี้ย การควบคุมการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน การควบคุมการให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน การออกระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ทางการเงิน เป็นต้น
57 การดําเนินนโยบายการเงินไม่มีผลกระทบสืบเนื่องไปยังเรื่องใด
(1) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(2) การจ้างงาน
(3) ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
(4) เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) การดําเนินนโยบายการเงินมีผลกระทบสืบเนื่องไปยังเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการจ้างงาน แต่จะไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
58 ECB เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด
(1) ธนาคารกลางแห่งอังกฤษ
(2) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์
(3) ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(4) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา
(5) ธนาคารกลางแห่งเอเชีย
ตอบ 3 หน้า 55 ในปัจจุบันธนาคารกลางที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ได้แก่ ธนาคารกลางแห่งยุโรป (European Central Bank : ECB) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve Bank : FED) เป็นต้น
59 ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงิน
(1) การควบคุมปริมาณเงิน
(2) การกําหนดอัตราดอกเบี้ย
(3) การควบคุมเงินที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ
(4) การเก็บภาษีศุลกากร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 55 – 56 เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง ประกอบด้วย 3 เครื่องมือ คือ การควบคุมปริมาณเงิน การกําหนดอัตราดอกเบี้ย และการควบคุมเงินที่ไหลเข้าออกระหว่างประเทศ
60 หน่วยงานใดเป็นผู้กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย
(1) กระทรวงพาณิชย์
(2) กระทรวงการคลัง
(3) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(4) ธนาคารกรุงไทย
(5) คณะกรรมการนโยบายการเงิน
ตอบ 3 หน้า 57 – 58 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2485 เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและหน้าที่ ดังนี้
1 ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร
2 กําหนดและดําเนินนโยบายการเงิน เช่น กําหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ย
3 บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
4 เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน
5 กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
6 บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและสินทรัพย์ในทุนสํารองเงินตรา ฯลฯ
61 ข้อใดคือลักษณะที่สําคัญที่สุดของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายทางการเงิน
(1) มุ่งหากําไรสูงสุด
(2) หลีกเลี่ยงการแทรกแซงตลาดการเงิน
(3) มีอิสระจากฝ่ายการเมือง
(4) มีอํานาจเด็ดขาด
(5) รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสีย
ตอบ 3 หน้า 55 ลักษณะที่สําคัญที่สุดของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายทางการเงิน คือ มีอิสระจากฝ่ายการเมือง เนื่องจากการดําเนินนโยบายทางการเงินนั้นมีเป้าหมายที่จะรักษาเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจเป็นสําคัญ ดังนั้นการดําเนินนโยบายโดยหน่วยงานที่มีอิสระจากฝ่ายการเมือง ย่อมจะเป็นผลดีต่อการบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินมากกว่าการกําหนดนโยบายโดยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง
62 ในปัจจุบันบุคคลใดดํารงตําแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล
(2) นายประทิน สันติประภพ
(3) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
(4) นายวิรไท สันติประภพ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนปัจจุบัน คือ นายวิรไท สันติประภพซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558
63 ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปีใด
(1) ปี พ.ศ. 2480
(2) ปี พ.ศ. 2485
(3) ปี พ.ศ. 2490
(4) ปี พ.ศ. 2495
(5) ปี พ.ศ. 2500
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 60 ประกอบ
64 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) ออกธนบัตร
(2) บริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) ผลิตเหรียญกษาปณ์
(4) กํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 60 ประกอบ
65 ในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับเท่าไร
(1) ร้อยละ 1.0 ต่อปี
(2) ร้อยละ 1.5 ต่อปี
(3) ร้อยละ 2.0 ต่อปี
(4) ร้อยละ 2.5 ต่อปี
(5) ร้อยละ 3.0 ต่อปี
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 ต่อปี ซึ่งยังคงเดิมไว้ตลอดทั้งปี 2561
66 ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
(1) เสถียรภาพและความมั่นคง
(2) การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
(3) การบริหารความเสี่ยงที่ดี
(4) ส่งเสริมการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 60 เป้าหมายของการกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงิน ได้แก่
1 ระบบการเงินมีเสถียรภาพและความมั่นคง
2 การบริหารงานด้วยธรรมาภิบาล
3 การบริหารความเสี่ยงที่ดี
4 ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันของระบบสถาบันการเงิน
5 การเข้าถึงบริการทางการเงินเป็นไปอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
67 ความต้องการถือเงินของภาคครัวเรือน เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากข้อใด
(1) ความต้องการจับจ่ายใช้สอย
(2) การสร้างความมั่นคง
(3) การสร้างหลักประกันในการดําเนินชีวิต
(4) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 54 เงินเป็นสิ่งสําคัญและมีบทบาทอย่างสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากลักษณะของการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนของเงินนั่นเอง ซึ่งทําให้ภาคครัวเรือนเกิดความต้องการถือเงินเมื่อมีความต้องการจับจ่ายใช้สอย
68 FED เป็นชื่อเรียกของธนาคารกลางในข้อใด
(1) ธนาคารกลางแห่งฝรั่งเศส
(2) ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์
(3) ธนาคารกลางแห่งยุโรป
(4) ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา
(5) ธนาคารกลางแห่งแอฟริกา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ
69 ตัวอย่างของงบประมาณที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะกับการวางแผนวางโครงการ ของหน่วยงาน
(1) Program Budget
(2) Performance Budget
(3) Zero-Base Budget
(4) Line-Item Budget
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 93 – 94, 97, 101 – 102, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบวางแผนวางโครงการ (Planning Programming Budgeting System : PPBS) เป็นระบบงบประมาณที่ ในด้านการวางแผนวางโครงการโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ระยะยาว ระบบงบประมาณแบบนี้ จะมีการวางแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายและตั้งวงเงินงบประมาณตามแต่ละแผนงาน มีการกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจผสมกับหลักเหตุผล (Limited Rationality หรือ Mixed Scanning) มีการแบ่งเงินงบประมาณออกตามโครงสร้างแผนงาน หรือโครงการ (Program Structure) มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ในการวิเคราะห์โครงการเพื่อศึกษาถึงโครงสร้างแผนงานหรือโครงการที่จัดทําว่ามีความสัมพันธ์กับ โครงการใด ๆ บ้าง มีการวิเคราะห์โครงการ (Program Analysis) เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการวางแผนวางโครงการของหน่วยงาน มีการกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ของแผนงานหรือโครงการเพื่อการติดตามประเมินผล และที่สําคัญระบบนี้จะต้องมีการจัดทําแผนงานและแผนทางการเงินระยะยาว (อาจเป็น 3 ปี หรือ 5 ปี) เพื่อประกอบการจัดทําโครงการด้วย
70 ระบบงบประมาณแบบใดให้ความสําคัญอย่างมากที่ “การจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย”
(1) Program Budget
(2) Performance Budget
(3) Zero-Base Budget
(4) Line-Item Budget
(5) ทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 87 – 88, 90 – 92, (คําบรรยาย) งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line- Item Budget) หรืองบประมาณแบบเก่า (Conventional Budget) หรืองบประมาณแบบประเพณี (Traditional Budget) เป็นระบบงบประมาณที่ในด้านการควบคุมเพื่อมุ่งตรวจสอบความถูกต้องและ ความซื่อสัตย์สุจริตของการใช้จ่ายเงินของรัฐ หรือให้ความสําคัญกับความถูกต้องของ “ปัจจัย นําเข้า” (Inputs) หรือการจัดสรร “ทรัพยากร” ของงานหรือโครงการ โดยเน้นกฎ ระเบียบ และการควบคุมให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบนั้น หรือให้ความสําคัญกับมาตรฐานของทรัพยากร ที่หน่วยราชการได้ใช้ไป ดังนั้นงบประมาณจึงถูกแบ่งออกตามหน่วยราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ (Agencies Classification หรือ Organizations Classification) โดยเฉพาะในระดับกรม และมีการแบ่งตามประเภทและชนิดของการใช้จ่าย (Objects of Expenditure Classification) โดยพิจารณาจากคู่มือการจําแนกประเภทซึ่งแบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น หมวดเงินเดือน หมวดสาธารณูปโภค หมวดครุภัณฑ์ ฯลฯ นอกจากนี้ในการจัดเตรียมงบประมาณก็จะต้องมี การกําหนดยอดวงเงินงบประมาณโดยใช้หลักความพึงพอใจ (Mudding Through) หรือการวิเคราะห์เฉพาะส่วนที่เพิ่ม (Incrementalism) เป็นเกณฑ์ด้วย
71 ระบบงบประมาณแบบใดให้ความสําคัญที่ “การจําแนกเงินออกตามหน่วยงาน”
(1) Line-Item Budget
(2) PPBS
(3) Performance Budget
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ
72 ระบบงบประมาณแบบใดที่ให้ความสําคัญที่การจัดทํา Program Structure และการวางแผนระยะยาว
(1) Program Budget
(2) Performance Budget
(3) Zero-Base Budget
(4) Line-Item Budget
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ
73 การแบ่งรายจ่ายออกเป็นหมวด เช่น หมวดเงินเดือน หมวดสาธารณูปโภค หมวดครุภัณฑ์………………….เป็นการจําแนกงบประมาณที่เรียกว่า
(1) Agencies Classification
(2) Objective Classification
(3) Functional Classification
(4) Objects of Expenditure Classification
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ
74 งบประมาณแบบใดที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการวัดผลสัมฤทธิ์ของงานหรือโครงการ
(1) Line-Item Budget
(2) Performance Budget
(3) Program Budget
(4) PPBS
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ
75 เทคนิคที่สําคัญของการจัดเตรียมงบประมาณแบบ Line-Item Budget ได้แก่
(1) Incrementalism
(2) Zero-Base Budget
(3) Program Analysis
(4) System Analysis
(5) ทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ
76 การจัดเตรียมงบประมาณที่ใช้แนวทางของ Zero-Base Budget จะทําให้เกิดการตัดสินใจในลักษณะใด
(1) Incrementalism
(2) Limited Rationality
(3) Pure Rationality
(4) Muddling Through
(5) ทั้งข้อ 1 และ 4
ตอบ 3 หน้า 96, 99 – 100, (คําบรรยาย) งบประมาณฐานศูนย์ (Zero-Base Budget : ZBB) เป็นระบบงบประมาณที่อาศัยหลักของเหตุผล (Pure Rationality) ในการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งกําหนดให้ โครงการหรืองานที่เสนอของบประมาณในทุก ๆ ปีงบประมาณจะต้องได้รับการตรวจสอบวิเคราะห์ ทั้งระบบ ทั้งงานหรือโครงการเดิมที่เคยทํามาแล้ว และงานหรือโครงการใหม่ ๆ ที่กําลังจะเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อต้องการให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีเหตุผล แต่วิธีการนี้มักจะก่อให้เกิด ความล่าช้าหรืออาจทําไม่ได้ในทางปฏิบัติ
77 เทคนิคที่สําคัญของการกําหนด “ยอดวงเงิน” ของงบประมาณแบบแสดงรายการ ได้แก่
(1) Incrementalism
(2) Zero-Base Budget
(3) Program Analysis
(4) System Analysis
(5) ทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ
78 ใน “วงจรงบประมาณ” ข้อใดต่อไปนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังข้ออื่น ๆ
(1) วงเงินงบประมาณ
(2) การแถลงนโยบายต่อสภา
(3) เงินประจํางวด
(4) การเทียบราคากลาง
(5) การพิจารณาวาระที่ 1
ตอบ 3 หน้า 84 จากโจทย์นั้น เงินประจํางวดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังข้ออื่น ๆ โดยเงินประจํางวด (Apportionment) หมายถึง เงินที่จะจัดสรรให้กับส่วนราชการหนึ่ง ๆ ภายในช่วงระยะเวลา หนึ่ง ๆ ถือเป็นเครื่องมือในการควบคุมให้ส่วนราชการต่าง ๆ ปฏิบัติงานตามแผนที่กําหนด และสามารถนําเงินไปใช้จ่ายได้ทันปีงบประมาณ ซึ่งอํานาจในการกําหนดระยะเวลาของเงินประจํางวดเป็นของสํานักงบประมาณ
79 ข้อใดที่จัดเป็นลักษณะของ Traditional Budget
(1) กําหนดยอดวงเงินโดยใช้หลัก Pure Rationality
(2) แบ่งเงินงบประมาณออกตามหน่วยราชการ
(3) มีคู่มือจําแนกประเภทและชนิดของการใช้จ่าย
(4) ทั้งข้อ 2 และ 3
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ
80 ตามแนวคิดในการจัดสรรทรัพยากรแบบเสรีนิยม “กิจกรรมที่เอกชนจัดทําแล้วประชาชนอาจ เสียประโยชน์” ได้แก่
(1) บริการด้านสาธารณสุข
(2) บริการการป้องกันประเทศ
(3) การช่วยเหลือคนว่างงาน
(4) กิจการไฟฟ้า
(5) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ตอบ 1 หน้า 71 – 72 ตามแนวคิดในการจัดสรรทรัพยากรแบบเสรีนิยมนั้น กิจกรรมที่เอกชนจัดทําแล้วประชาชนอาจเสียประโยชน์ ได้แก่ บริการด้านการศึกษา (การจัดการศึกษาภาคบังคับ) บริการ ด้านสาธารณสุข (การป้องกันโรคติดต่อ การให้ความรู้เกี่ยวกับสาธารณสุขขั้นมูลฐาน) เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมประเภทนี้รัฐจะต้องเข้าไปควบคุมมาตรฐานเพื่อความถูกต้องเหมาะสม
81 ปัจจัยสําคัญที่จะสนับสนุนการหดตัวของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่
(1) ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลง
(2) การลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ
(3) การเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมัน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญที่จะสนับสนุนหรือมีผลต่อการหดตัวของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่
1 ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
2 การลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ
3 การเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมัน
4 การเพิ่มอัตราภาษีอากร ฯลฯ
82 การเพิ่มอัตราภาษีในสินค้าจําเป็น จะเกิดผลต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างไร
(1) เศรษฐกิจขยายตัว
(2) เศรษฐกิจคงตัว
(3) เศรษฐกิจหดตัว
(4) เกิดภาวะเงินเฟ้อ
(5) ทํานายไม่ได้
ตอบ 4 หน้า 76 – 77, (คําบรรยาย) ผลกระทบที่เกิดจากวิธีการหารายได้และการใช้จ่ายของรัฐ มีดังนี้
1 การเก็บภาษีทรัพย์สินเป็นการเก็บภาษีซ้ำกับภาษีเงินได้
2 การเก็บภาษีในอัตราคงที่จะทําให้คนส่วนใหญ่ที่มีรายได้น้อยต้องรับภาระมากกว่าคนกลุ่มน้อยที่มีรายได้มาก ซึ่งทําให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
3 การเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าจะช่วยสร้างความเสมอภาคต่อคนในสังคม ถ้าจัดเก็บในอัตราสูงจะทําให้เศรษฐกิจหดตัว แต่ถ้าจัดเก็บในอัตราต่ําจะทําให้เศรษฐกิจขยายตัว
4 การเพิ่มอัตราภาษีในสินค้าจําเป็นจะทําให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ เพราะทําให้สินค้ามีราคาสูงแต่ความต้องการที่จะบริโภคสินค้านั้นไม่ได้ลดลง
5 ถ้ารายจ่ายของรัฐให้ประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ที่มีรายได้น้อยจะทําให้เศรษฐกิจขยายตัว แต่ถ้ารายจ่ายของรัฐให้ประโยชน์เพียงคนกลุ่มน้อยที่มีรายได้มากจะทําให้เศรษฐกิจคงตัว ฯลฯ
83 ถ้ารายจ่ายของรัฐให้ประโยชน์เพียงคนกลุ่มน้อยที่มีรายได้มาก จะเกิดผลต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างไร
(1) เศรษฐกิจขยายตัว
(2) เศรษฐกิจคงตัว
(3) เศรษฐกิจหดตัว
(4) เกิดภาวะเงินเฟ้อ
(5) ทํานายไม่ได้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ
84 เครื่องมือในการควบคุมให้ส่วนราชการต่าง ๆ ปฏิบัติงานตามแผนที่กําหนด ทําให้ใช้จ่ายได้ทันปีงบประมาณ
(1) ยอดวงเงิน
(2) เงินประจํางวด
(3) เงินจัดสรร
(4) คู่มือจําแนกประเภทและชนิดการใช้จ่าย
(5) การตรวจการจ้าง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 78 ประกอบ
85 วิธีการงบประมาณแบบใดที่ให้ความสําคัญกับ “Inputs” ของหน่วยงาน )
(1) แบบแผนงาน
(2) แบบแสดงรายการ
(3) แบบโครงการ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ
86 “ปีคลัง” เริ่มต้นเมื่อใด
(1) 1 มกราคม
(2) 1 เมษายน
(3) 1 มิถุนายน
(4) 1 ตุลาคม
(5) ตามประกาศกระทรวงการคลัง
ตอบ 4 หน้า 68, (คําบรรยาย) รอบของการบริหารหรือการใช้จ่ายเงินตามงบประมาณแผ่นดินหรือระยะเวลาของการใช้จายเงินตาม พ.ร.บ. งบประมาณ เรียกว่า “ปีงบประมาณ” หรือ “ปีคลัง” (Fiscal Year) ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีระยะเวลาที่แน่นอน โดยอาจเป็น 6 เดือน 1 ปี (12 เดือน) หรือ 2 ปี (24 เดือน) ก็ได้ แต่จะต้องเป็นเช่นนั้นทุก ๆ ปี และจะเริ่มต้นในเดือนใดก็ได้ เช่น ปีงบประมาณของไทยมีระยะเวลา 12 เดือน เริ่มต้นจากวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี และไปสิ้นสุด ในวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป โดยใช้ชื่อปีถัดไปเป็นชื่อปีงบประมาณ (เช่น ปีงบประมาณ 2562 จะเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2561 และสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562)
87 ข้อแตกต่างระหว่างงบประมาณเอกชนกับงบประมาณแผ่นดิน ได้แก่
(1) เป็นแผนทางการเงิน
(2) เป็นกฎหมาย
(3) วิธีการจัดหารายได้
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 63 – 66, (คําบรรยาย) คุณสมบัติหรือลักษณะสําคัญของงบประมาณแผ่นดินซึ่งแตกต่างจากงบประมาณเอกชน มีดังนี้
1 เป็นกฎหมายทางการเงิน กล่าวคือ มีการตราเป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งกําหนดว่าให้ใช้จ่ายเงินได้ไม่เกินจํานวนที่กําหนด แต่ในทางปฏิบัติรายจ่ายจริงอาจมีน้อยกว่า รายจ่ายที่ประมาณการเอาไว้ก็ได้
2 เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับต่อประชาชนทุกคนในชาติ
3 วิธีการจัดหารายได้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดเก็บภาษีอากรและการก่อหนี้สาธารณะ
4 คํานึงถึงความพึงพอใจของประชาชนเป็นแรงจูงใจในการจัดทํางบประมาณ
5 การกําหนดรายรับ มีรายจ่ายเป็นตัวกําหนดรายรับ
6 มีกระบวนการจัดทํางบประมาณ ที่มีลักษณะกระจายอํานาจ
7 ลักษณะการเป็นเจ้าของ โดยมีประชาชนเป็นเจ้าของกิจการ ที่แท้จริง
8 มีการอนุมัติงบประมาณโดยรัฐสภา
9 การควบคุมหรือการบริหารงบประมาณจะถูกควบคุมร่วมกันทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ
88 ทุกข้อจัดเป็น “เงินนอกงบประมาณแผ่นดิน” ยกเว้น
(1) เงินรายได้ของกองทุนหมุนเวียน
(2) งบรายได้ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(3) งบประมาณของเทศบาล
(4) งบประมาณของกรมทางหลวง
(5) เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
ตอบ 4 หน้า 7, 67 – 68, (คําบรรยาย) เงินนอกงบประมาณ หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่มีมูลค่าซึ่งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจหามาได้เองด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่ใช่มาจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เป็นเงินที่แยกออกจากความเป็นศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน ซึ่งได้แก่ เงินทุนหมุนเวียน งบประมาณของรัฐวิสาหกิจ (เช่น งบประมาณของ ขสมก.) เงินช่วยเหลือ จากต่างประเทศ เงินกู้ยืมทั้งในและต่างประเทศ งบประมาณของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น (ได้แก่ งบประมาณของ อบต. อบจ. เทศบาล กทม. และเมืองพัทยา) งบรายได้ (เงินรายได้) ของสถาบันการศึกษา และงบรายได้ (เงินรายได้) ของสถาบันสาธารณสุข
89 ระยะเวลาของการ “ใช้จ่ายเงินตามที่กําหนดไว้ในปีงบประมาณ” เรียกว่า
(1) การควบคุม
(2) การบริหารงบประมาณ
(3) การอนุมัติงบประมาณ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 83, (คําบรรยาย) การควบคุมหรือการบริหารงบประมาณ คือ ระยะเวลาของการใช้จ่ายเงินตามที่กําหนดไว้ในปีงบประมาณ ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะต้องหาหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อควบคุมให้การใช้จ่ายเงินของโครงการต่าง ๆ เป็นไปตามแผนที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี
90 ลักษณะที่เรียกว่า “เป็นศูนย์รวมเงิน” ได้แก่
(1) ดําเนินการภายใต้กฎข้อบังคับเดียวกัน
(2) ดําเนินการภายใต้การดูแลของสถาบันต่าง ๆ เดียวกัน
(3) อนุมัติเพียงครั้งเดียวในปีงบประมาณหนึ่ง ๆ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 67, (คําบรรยาย) งบประมาณแผ่นดินมีลักษณะเป็นศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน หมายความว่าในปีงบประมาณหนึ่ง ๆ จะต้องมีการบูรณาการแผนทางการเงินของส่วนราชการต่าง ๆ ให้เป็น แผนเดียวกัน มีการอนุมัติงบประมาณเพียงครั้งเดียว และไม่มีการจัดทํางบประมาณรายจ่าย เพิ่มเติม โดยกระบวนการงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ จะต้องดําเนินไปภายใต้กฏข้อบังคับ เดียวกัน ใช้บทบัญญัติเดียวกัน และมีสถาบันหรือหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในขั้นตอนต่าง ๆของการบริหารงบประมาณเดียวกัน
91 “การจัดทํางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม” ควรทําเมื่อใด
(1) วางแผนการใช้จ่ายผิดพลาด และเกิดความเสียหาย
(2) เกิดภัยสงคราม
(3) ต้องการปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้เมื่อหาเสียงเลือกตั้ง
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 132, (คําบรรยาย) การจัดทํางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ควรทําเมื่อ
1 เกิดวิกฤติต่าง ๆ เช่น เกิดสงครามระหว่างประเทศ เกิดปัญหาอย่างรุนแรงทางเศรษฐกิจ
2 งบประมาณรายจ่ายประจําปีที่ได้รับอนุมัติแล้วยังไม่เพียงพอเนื่องจากวางแผนการใช้จ่ายผิดพลาด และถ้าไม่ได้รับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ
3 ไม่สามารถโอนงบประมาณจากส่วนราชการอื่น หรืองานอื่นมาใช้ในส่วนราชการที่จําเป็นจะต้องของบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมได้
4 รัฐบาลมีรายได้จากภาษีอากร หรือรายได้อื่นใดสูงกว่าที่ได้ประมาณการไว้ตอนต้นปี
92 ที่ว่า “งบประมาณแผ่นดินเป็นเงื่อนไขของการเป็นรัฐบาล” หมายความว่าอย่างไร
(1) รัฐบาลต้องเป็นผู้พิจารณาอนุมัติวงเงินงบประมาณ
(2) ผู้จัดเตรียมงบประมาณต้องเป็นผู้ใช้เงินงบประมาณ
(3) ถ้างบประมาณแผ่นดินไม่ผ่านสภารัฐบาลจะบริหารประเทศต่อไปไม่ได้
(4) งบประมาณแผ่นดินเป็นกฎหมายอย่างหนึ่ง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 64, 82 งบประมาณแผ่นดินเป็นเงินของประชาชนที่มอบให้กับรัฐบาลในรูปของภาษีอากรและการกู้ยืมเพื่อนําไปใช้ในการบริหารประเทศ ดังนั้นการใช้จ่ายเงินงบประมาณ จึงต้องได้รับการอนุมัติหรือยินยอมจากประชาชนเสียก่อน แต่เนื่องจากการบริหารราชการใน ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ประชาชนได้มอบอํานาจการตัดสินใจให้กับสภาผู้แทนราษฎร ไปแล้ว งบประมาณแผ่นดินซึ่งการจัดทําเป็นหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะจึงจําเป็นต้อง ได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาโดยต้องทําเป็นกฎหมายก่อนที่จะนําไปใช้ ซึ่งถ้างบประมาณ ไม่ได้รับการรับรองจากสภา รัฐบาลก็จะบริหารประเทศต่อไปไม่ได้ ดังนั้นจึงถือว่างบประมาณเป็นเครื่องมือ เงื่อนไข หรือกลไกรับรองการเป็นรัฐบาลหรือการจัดตั้งรัฐบาลนั้นเอง
93 ตัวอย่างของระบบงบประมาณที่เน้นที่มาตรฐานของทรัพยากรที่หน่วยราชการได้ใช้ไป
(1) Program Budget
(2) Zero-Base Budget
(3) Performance Budget
(4) Line-Item Budget
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ
94 สภาวะ “สินค้าล้นตลาด ประชาชนว่างงาน” เป็นสิ่งที่บอกเหตุของภาวะใด
(1) เงินเฟ้อ
(2) เงินฝืด
(3) เศรษฐกิจขยายตัว
(4) ทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ภาวะเงินฝืด หมายถึง ภาวะที่อุปสงค์ด้านสินค้าและบริการน้อยกว่าอุปทานด้านสินค้าและบริการ หรือเป็นภาวะที่มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป ทําให้เศรษฐกิจตกต่ำ สินค้าล้นตลาด และประชาชนว่างงาน ดังนั้นรัฐบาลควรจะแก้ปัญหา ด้วยการเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น โดยการนํานโยบายการคลัง แบบขาดดุล (แบบขยายตัว) และการลดอัตราภาษีอากรมาใช้ควบคู่กับนโยบายการเงิน ดังต่อไปนี้
1 ซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากประชาชน
2 ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก – และเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์
3 ลดอัตราเงินสดสํารองของธนาคารพาณิชย์
4 ลดอัตราส่วนลดเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยเงินกู้มากขึ้น ฯลฯ
95 งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ 2562 มียอดวงเงินจํานวนเท่าไร
(1) 1.2 ล้านล้านบาท
(2) 2.6 ล้านล้านบาท
(3) 3.0 ล้านล้านบาท
(4) 3.4 ล้านล้านบาท
(5) 3.9 ล้านล้านบาท
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ปีงบประมาณ 2562 รัฐบาลได้ดําเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุลซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1 กําหนดยอดวงเงินงบประมาณรายจ่ายจํานวน 3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
2 มีวงเงินขาดดุลจํานวน 450,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.6 ของผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศ
3 มีรายจ่ายประจําจํานวน 2.26 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 75.4 ของวงเงินงบประมาณ
4 มีรายจ่ายลงทุนจํานวน 660,305.8 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22 ของวงเงินงบประมาณ
5 มีรายจ่ายชําระคืนต้นเงินกู้จํานวน 78,205.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.6 ของวงเงินงบประมาณ
96 งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ 2562 มีจํานวนเป็นร้อยละเท่าไรของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ประมาณ)
(1) 12
(2) 15
(3) 17
(4) 20
(5) 25
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ
97 งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ 2562 มีวงเงินขาดดุลจํานวนเท่าไร
(1) 390,000 ล้านบาท
(2) 450,000 ล้านบาท
(3) 760,000 ล้านบาท
(4) ศูนย์บาท (เป็นงบประมาณสมดุล)
(5) เกินดุล 36,000 ล้านบาท
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ
98 งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ 2562 มีรายจ่ายลงทุนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละเท่าไรของวงเงินงบประมาณ (1) 22.0
(2) 20.0
(3) 18.2
(4) 16.4
(5) 12.5
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ
99 งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ 2562 มีรายจ่ายประจําคิดเป็นสัดส่วนร้อยละเท่าไร ของวงเงินงบประมาณ (1) 75.4
(2) 77.9
(3) 79.3
(4) 82.4
(5) 84.6
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ
100 “กรมบัญชีกลาง” เป็นหน่วยงานในสังกัดใด
(1) สํานักนายกรัฐมนตรี
(2) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) กระทรวงการคลัง
(4) เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
(5) ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) กรมบัญชีกลาง เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง มีหน้าที่ดําเนินเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ด้านการเงินการคลังและการบัญชี รวมทั้งระบบการตรวจสอบภายในของส่วนราชการเพื่อให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ เป็นต้น