การสอบซ่อมภาค 1 ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา
คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 2 ข้อ ให้ทําทั้งหมด กรุณาเขียนคําตอบด้วยหมึกสีเข้ม
ด้วยลายมือตัวโต ๆ ที่อ่านง่าย (หากใช้ดินสอเขียน จะปรับตกทันที)
ข้อ 1 จงอธิบายถึง ความหมายของ “ธรรมราชา” คุณธรรมต่าง ๆ ที่ธรรมราชาควรมีในตน มาให้เข้าใจอีกทั้งให้อธิบายว่า เหตุใดจึงต้องมีธรรมราชา
แนวคําตอบ
ความหมายของธรรมราชา
ธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ทรงชนะโดยธรรม ไม่ใช่ชนะด้วยสงคราม หรือนักปกครอง ผู้ใช้ธรรมะในการเอาชนะศัตรู ไม่ใช้อาวุธหรือศาสตรา มีธรรมเป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดเหนี่ยว หรือเป็นเครื่องชี้นําใน การปกครองและดําเนินชีวิต
คุณธรรมของธรรมราชา
พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเรื่องธรรมหรือข้อที่ควรปฏิบัติเป็นประจําของธรรมราชา ไว้หลายประการ ดังนี้ คือ
1จักกวัตติสูตร – ข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ
พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนภิกษุสาวกด้วยจักกวัตติสูตร หรือสูตรว่าด้วยสิ่งที่พระเจ้า จักรพรรดิปฏิบัติเป็นประจํา โดยตรัสสอนตามลําดับคือเรื่องรัตนเจ็ดประการของพระเจ้าจักรพรรดิ อันประกอบด้วย
1 จักรแก้ว 2 ช้างแก้ว 3 ม้าแก้ว 4 แก้วมณี 5 นางแก้ว 6 ขุนคลังแก้ว 7 ขุนพลแก้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ยิ่งใหญ่ที่แท้จริงนั้น จะต้องมีบารมีสูงส่ง มีสิ่งประเสริฐคู่บารมีอย่างพร้อมเพรียง โดยสิ่งเหล่านี้จําเป็นสําหรับ การรักษาพระราชอํานาจและบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิด้วย เช่น นางแก้วคือภรรยาที่ดี ขุนพลแก้วคือแม่ทัพที่ดี และขุนคลังแก้วคือเสนาบดีที่ดูแลพระราชทรัพย์ ซึ่งล้วนมีความสําคัญต่อผู้เป็นประมุขทั้งสิ้น
ในจักกวัตติสูตรสอนข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ ดังนี้
1) จงอาศัยธรรม สักการะเคารพนับถือธรรม ให้ความคุ้มครองอันเป็นธรรมแก่มนุษย์และสัตว์ ไม่ยอมให้ผู้ทําการอันเป็นอธรรมเป็นไปได้ในแว่นแคว้น
2) ผู้ใดไม่มีทรัพย์ก็มอบทรัพย์ให้
3) เข้าไปหาสมณะพราหมณ์เพื่อปรึกษาและนําธรรมมาปฏิบัติ
2 ราชสังคหวัตถุ 4
ราชสังคหวัตถุ 4 เป็นสังคหวัตถุของพระราชา หรือหลักการสงเคราะห์ประชาชนของ นักปกครอง ได้แก่
1) สัสสเมธะ (ฉลาดบํารุงธัญญาหาร) คือ ส่งเสริมการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนในสมัยพุทธกาล
2) ปุริสเมธะ (ฉลาดบํารุงข้าราชการ) คือ ส่งเสริมข้าราชการที่ดี ซื่อสัตย์สุจริต และขยันขันแข็ง
3) สัมมาป่าสะ (ประสานรวมใจประชาชน) คือ ช่วยเหลือประชาชนให้มีอาชีพเลี้ยงตนเองได้
4) วาชไปยะ (วาทะดูดดื่มใจ) คือ รู้จักชี้แจงแนะนํา ไต่ถามทุกข์สุข และเป็นกันเองกับประชาชนทุกระดับ
การสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนด้วยหลักธรรม 4 ข้อดังกล่าวนี้ จะช่วยทําให้ประชาชน อยู่เย็นเป็นสุข เจริญก้าวหน้า ในขณะเดียวกันก็เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
3 กฎทันตสูตร – สูตรว่าด้วยพราหมณ์ฟันเขยิน สิ่งที่ผู้ปกครองควรปฏิบัติตามกฏทันตสูตร มีดังนี้
1) เพิ่มข้าวปลูกและข้าวกินให้แก่เกษตรกรที่มีความขยันขันแข็ง
2) เพิ่มทุนให้แก่พ่อค้าที่ขยันขันแข็ง
3) เพิ่มเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนให้แก่ข้าราชการที่ขยันขันแข็ง
ในกูฏทันตสูตร อธิบายว่า การที่ผู้ปกครองเพิ่มทรัพย์สิ่งของให้แก่ผู้ทําดีเป็นวิธีการที่ จะทําให้อาชญากรรมหมดไป นั่นคือ ทําให้เศรษฐกิจดีและช่วยเหลือประชาชนในการประกอบอาชีพให้มีรายได้ เพียงพอ เช่น ช่วยให้ชาวนามีสิ่งจําเป็นในการทํานา ช่วยให้พ่อค้ามีทุนในการค้าขาย ช่วยให้ลูกจ้างมีเงินพอเพียง สําหรับการเลี้ยงชีพ ช่วยให้คนเดือดร้อนได้รับการยกเว้นภาษี และให้รางวัลหรือเพิ่มเงินเดือนแก่เหล่าขุนนาง ข้าราชการที่ขยันขันแข็ง เป็นต้น
4 ทศพิธราชธรรม – คุณธรรมของพระราชา 10 ประการ
ทศพิธราชธรรมหรือคุณธรรมของพระราชา 10 ประการ ประกอบด้วย ทาน ศีล การบริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน และความไม่พิโรธ
พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเรื่องทศพิธราชธรรมก็เพื่อสอนให้กษัตริย์ที่มีอํานาจมาก ทรงปกครองโดยธรรม โดยมีหลักธรรมประจําใจควบคุมพระองค์เอง ประชาชนจะได้อยู่เย็นเป็นสุข
5 อปริหานิยธรรม – ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม
อปริหานิยธรรม 7 ประการ คือ ธรรมที่ไม่ทําให้เกิดความเสื่อม มีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนอปริหานิยธรรมแก่เจ้าลิจฉวีให้ชาววัชชีซึ่งเป็นชนชั้นสูงที่มีอํานาจปกครองรัฐแบบ สามัคคีธรรม ได้แก่
1 ประชุมกันเนืองนิตย์
2 พร้อมเพรียงกันประชุม เลิกประชุม และกระทํากิจที่ควรทํา
3 ไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติ ไม่ตัดรอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว
4 เคารพนับถือชาววัชชีที่เป็นผู้ใหญ่ผู้เฒ่า
5 ไม่ข่มเหงล่วงเกินสตรีที่มีสามีแล้วและสตรีสาว
6 สักการะเคารพเจดีย์ของชาววัชชี
7 จัดแจงให้การอารักขาคุ้มครองอันเป็นธรรมให้พระอรหันต์ และปรารถนาให้อรหันต์ที่ยังไม่มา ได้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข
6 ธัมมิกสูตร – พระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรม
ธัมมิกสูตรหรือพระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรม โดยพระพุทธเจ้าทรงสอนให้พระราชาเป็น ผู้ตั้งอยู่ในธรรม เพราะในฐานะผู้นําที่ต้องนําพาประชาชนไปสู่ความมั่นคงปลอดภัย ความเจริญก้าวหน้า และอยู่เย็น เป็นสุขนั้น ถ้าผู้นํานําดีและทําตัวเป็นตัวอย่างที่ดีประชาชนก็จะทําตัวดีตามอย่างผู้นํา อีกทั้งประชาชนก็จะมี ความสุขความเจริญ ชาติบ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรืองและสงบสันติ
พระพุทธเจ้าทรงตรัสในธัมมิกสูตรตอนหนึ่งว่า “เมื่อฝูงโคข้ามไปอยู่ ถ้าโคผู้นําฝูงไปคด โคเหล่านั้นย่อมไปคดทั้งหมด ในเมื่อโคผู้นําไปคด ในมนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมุติให้เป็นผู้นํา ถ้าผู้นั้น ประพฤติอธรรม ประชาชนนอกนี้ก็จะประพฤติอธรรมเหมือนกัน แว่นแคว้นทั้งหมดจะได้ประสบความทุกข์ ถ้าพระราชาเป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อฝูงโคข้ามไปอยู่ ถ้าโคผู้นําฝูงไปตรง โคเหล่านั้นย่อมไปตรงทั้งหมด ในเมื่อ โคผู้นําไปตรง ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมุติให้เป็นผู้นํา ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม ประชาชนนอกนี้ย่อม ประพฤติธรรมเหมือนกัน แว่นแคว้นทั้งหมดย่อมได้ประสบความสุข ถ้าพระราชาเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม”
เหตุใดจึงต้องมีธรรมราชา
จากการที่ผู้ปกครองเป็นผู้นํา เป็นผู้บริหาร และปกป้องรักษาเขตแดนและประชาชน ถ้ากษัตริย์ หรือผู้ปกครองดี มีคุณธรรม รัฐหรือประเทศก็ดีตามไปด้วย เช่น การสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนด้วยหลัก ราชสังคหวัตถุ 4 จะช่วยทําให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข เจริญก้าวหน้า ในขณะเดียวกันก็เกิดความสามัคคีเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันการที่กษัตริย์มีทศพิธราชธรรม ทรงปกครองโดยธรรม ประชาชนก็จะได้อยู่เย็นเป็นสุข เป็นต้น
ข้อ 2 จงอธิบายว่า สาราณียธรรม 6 ของพระพุทธเจ้าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และมีผลในการสร้างการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย อย่างใด
แนวคําตอบ
หลักสาราณียธรรม 6 ประการ
พระธรรมปิฎกได้อธิบายหลักการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตยโดยใช้หลักสาราณียธรรม 6 ประการ
ดังนี้
1 เมตตากายกรรม คือ การจะทําอะไรก็ทําต่อกันด้วยความเมตตา ด้วยความรัก ด้วยไมตรี ด้วยความปรารถนาดีต่อกัน มีการช่วยเหลือ มีการร่วมมือ มีความพร้อมที่จะประสานงานกัน
สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จะทําให้เกิดความผูกพันประสานเสริม ทําให้สังคมนี้อยู่ร่วมกันไปได้ โดย มีเครื่องยึดเหนี่ยว เป็นโอกาสพื้นฐานที่จะให้แต่ละคนนําเอาศักยภาพของคนมาเป็นส่วนร่วมสร้างสรรค์สังคมของ ตนด้วยกัน
2 เมตตาวจีกรรม คือ จะพูดอะไรก็พูดด้วยเมตตา พูดด้วยความหวังดีต่อกันและมุ่ง ประโยชน์ต่อส่วนรวมในเวลามีเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็จะหันหน้ามาพูดจาปรึกษากัน ปรับความเข้าใจกันได้ แต่ถ้า คนไม่มีเมตตาต่อกันแล้ว เมื่อมีปัญหาขึ้นมาก็ชวนให้เกิดความทะเลาะเบาะแว้งและความขัดแย้ง แล้วผลที่สุด ก็นําไปสู่ความรุนแรง สู่การทําลายล้าง นําไปสู่ปัญหา
3 เมตตามโนกรรม คือ คิดอะไรก็คิดต่อกันด้วยเมตตา มีความหวังดีและปรารถนาดีต่อกัน ข้อนี้สําคัญในขั้นที่เอามาเมตตามาประกอบกับการใช้ปัญญา ถ้าใจมีเมตตา เวลาใช้ปัญญา ก็จะช่วยให้โลภะ โทสะ โมหะ เข้าครอบงําความคิดได้ยาก เราก็จะพิจารณาวินิจฉัย คิดการวางแผนต่าง ๆ โดย มุ่งทําให้เกิดประโยชน์สุขแก่กัน และสร้างสรรค์สังคม นอกจากนั้นในด้านการแสดงออก เมตตาก็ทําให้มีจิตใจที่ พร้อมจะยิ้มแย้ม เวลาพบหน้ากันก็พอจะยิ้มได้ นําไปสู่การพูดจากันได้ดีขึ้น
4 สาธารณโภคี คือ การแบ่งปันทรัพย์สินผลประโยชน์กันอย่างทั่วถึง หรือการมีกินมีใช้ ร่วมกันธรรมดาคนเมื่อยังไม่ได้พัฒนา ด้อยการศึกษาที่แท้จริง ก็มุ่งเอาแต่ประโยชน์ส่วนตัว ยึดมั่นติดในผลประโยชน์เห็นแก่ตัวมาก ไม่สามารถเฉลี่ยเจือจานกันได้ ทําให้สังคมมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันมาก เมื่อคนมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันมากในเรื่องรายได้ในเรื่องทรัพย์สินสมบัติหรือสิ่งที่ครอบครอง มันก็เป็นทางทําให้ เกิดความแตกแยก คนในสังคมจึงต้องมีความโอบอ้อมอารีเผื่อแผ่แบ่งปันเจือจานแก่กันและกัน ถ้าสังคมของเรา ถือหลักพุทธศาสนาข้อนี้แล้วจะช่วยได้มาก เราก็จะไม่กอบโกยเอามาไว้เฉพาะผู้เดียว
5 สีลสามัญญตา แปลว่า การมีศีลเสมอกัน คือ มีความประพฤติดี รักษาระเบียบวินัย มีความสุจริตทางกาย วาจาที่จะกลมกลืนเข้ากันได้
คนที่จะอยู่ร่วมสังคมกันนี้ จะต้องมีศีลคือความประพฤติสุจริตไว้ใจกันได้ ไม่เบียดเบียน ผู้อื่น ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่สังคม และรักษาระเบียบวินัยทําตามกฎกติกาของสังคม
6 ทิฏฐิสามัญญตา คือ มีความเห็น มีความเชื่อมั่นยึดถือในหลักการ อุดมการณ์ และ อุดมคติที่ร่วมกันหรือสอดคล้องไปกันได้ คนในสังคมประชาธิปไตยนี้อย่างน้อยต้องมีความเห็น ความเข้าใจ และเชื่อมั่นในหลักการ ของประชาธิปไตยร่วมกัน
ผลในการสร้างการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าถ้าอยู่ด้วยกันด้วยหลักสาราณียธรรม 6 ประการนี้แล้ว แต่ละคนที่เป็น สมาชิกของสังคมก็จะระลึกถึงกัน มีน้ําใจประสานกลมกลืนพร้อมที่จะร่วมมือกัน เพราะตั้งแต่ทางกายเราก็มีเมตตา ต่อกัน ปฏิบัติต่อกันด้วยเมตตา ช่วยเหลือเอาธุระต่อกัน ทางวาจาเราก็พูดด้วยน้ําใจรักกัน ในจิตใจเราก็คิดดี ปรารถนาดีต่อกัน ในการอยู่ร่วมกันมีของอะไร ได้อะไรมา เราก็มากินโดยแบ่งปันกัน ในการรักษาสถานภาพของสังคม เราก็รักษาระเบียบวินัย มีศีลเสมอกัน ไม่เบียดเบียน ก่อความเดือดร้อนแก่กัน และปฏิบัติตามกฎกติกาของส่วนรวม และในที่สุดในขั้นหลักการพื้นฐานที่รองรับสังคมของเรา เราก็มีความเชื่อมั่นยึดถือและเข้าใจหลักการสําคัญของ ประชาธิปไตยร่วมกัน ตลอดเข้าใจร่วมกันในความจริงที่เป็นธรรมชาติของโลกและชีวิตที่จะรองรับความเป็นมนุษย์ ของเราไว้ด้วยกัน