การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา
คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 5 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 3 ข้อ (ข้อละ 33 คะแนน)
ข้อ 1 จงอธิบายหลักประชาธิปไตยในพุทธศาสนามาอย่างละเอียด พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
แนวคําตอบ
การศึกษาถึงแนวคิดประชาธิปไตยตามแนวพุทธศาสนานั้น เป็นการศึกษาแนวคิดทางพุทธศาสนา ที่สอดคล้องกับแนวคิดประชาธิปไตย โดยหลักประชาธิปไตยในพุทธศาสนาที่สําคัญที่อ้างถึงในที่นี้ ประกอบด้วย สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และหลักการปกครอง
หลักประชาธิปไตยในพุทธศาสนา
1 สิทธิ จะเห็นได้จากหลักคําสอนในเรื่องเบญจศีลหรือศีล 5 ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติสําหรับ พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเป็นการสอนเรื่องความเคารพในสิทธิของผู้อื่น ประกอบด้วย
1) เว้นจากการเบียดเบียนชีวิตทั้งปวง (ปาณาติปาตา เวระมะณี)
2) เว้นจากการลักทรัพย์ (อะทินนาทานา เวระมะณี)
3) เว้นจากการล่วงละเมิดในกามต่อสามีหรือภรรยาของผู้อื่น (กาเมสุมิจฉาจารา – เวระมะณี)
4) เว้นจากการกล่าววาจาอันเป็นเท็จ (มุสาวาทา เวระมะณี)
5) เว้นจากการดื่มสุรา และเสพสิ่งมึนเมา (สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี)
2 เสรีภาพ พระพุทธเจ้าไม่ทรงบังคับให้ใครเชื่อถือศรัทธาในพุทธศาสนา แต่ทรงชี้ทางที่ ถูกต้องให้เท่านั้น ใครจะทําตามหรือไม่คนนั้นย่อมมีสิทธิเลือก พระองค์แนะนําให้ใช้วิจารณญาณการพิจารณา ไตร่ตรองของตนเองให้ดีเสียก่อนจึงจะเชื่อ ดังคําสอนในกาลามสูตร 10 ประการ คือ
1) อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะได้ยินฟังตามกันมา
2) อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะถือปฏิบัติสืบต่อกันมา
3) อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะมีการเล่าลือ
4) อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะอ้างว่ามีอยู่ในตํารา
5) อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะเป็นไปตามหลักตรรกศาสตร์ (Logic)
6) อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะเป็นการคาดคะเนด้วยการอนุมาน
7) อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะเป็นการตรึกตรองตามอาการ
8) อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะเข้าได้กับทฤษฎีของเรา
9) อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะมีรูปลักษณะน่าเชื่อถือ
10) อย่าปลงใจเชื่อเพียงเพราะสมณะผู้นั้นเป็นครูของเรา
3 ความเสมอภาค ในพุทธศาสนาจะเห็นได้ชัดเจน เช่น การคัดค้านเรื่องการแบ่งชั้น “วรรณะ” ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ซึ่งแบ่งมนุษย์ในสังคมออกเป็น 4 ชนชั้นตามกําเนิด โดยแยกจากกันอย่าง เด็ดขาด ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร ทั้งนี้การแต่งงานข้ามวรรณะจะไม่ได้รับการยอมรับ ลูกที่ออกมา จะเป็นพวกนอกวรรณะที่เรียกว่า “จัณฑาล” แต่พุทธศาสนามิได้แบ่งแยกชนชั้นวรรณะ ไม่ว่าจะมาจากวรรณะใด แม้แต่วรรณะจัณฑาลก็สามารถปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ และสามารถบวชในพุทธศาสนาได้ทั้งสิ้น
นอกจากนี้ในพุทธศาสนานั้น ผู้หญิงก็สามารถขอบวชเป็นภิกษุณีได้เช่นเดียวกับที่ชาย สามารถขอบวชเป็นภิกษุ เพียงแต่ผู้หญิงจะมีปัญหาเฉพาะเพศมากกว่าผู้ชาย และการที่ผู้หญิงมาบวชอยู่ในสถานที่เดียวกับชายก็อาจมีปัญหาทางเพศสัมพันธ์กันเกิดขึ้นได้ จึงทรงให้ภิกษุณีถือศีลมากกว่าภิกษุ และต้องปฏิบัติตาม กฎเหล็กหรือข้อกําหนดที่บังคับให้ภิกษุณีต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอีก 8 ข้อ จึงจะเข้าบวชได้
4 หลักการปกครอง ได้แก่
1) ทศพิธราชธรรม ทศพิธราชธรรมนี้ไม่ใช่ธรรมเฉพาะพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็น ผู้ปกครองสูงสุดของประชาชนเท่านั้น หากแต่เป็นธรรมสําหรับผู้ปกครองโดยทั่วไป ตั้งแต่หัวหน้ารัฐบาลมาจนถึง หัวหน้าครอบครัว ทั้งยังเป็นธรรมสําหรับผู้อยู่ใต้การปกครองด้วย เพราะการปกครองจะเป็นไปได้ด้วยดีนั้น ทั้ง 2 ฝ่าย จะต้องประพฤติธรรมเหล่านี้ตามฐานะของตน ทศพิธราชธรรมมี 10 ประการ ได้แก่
(1) ทาน คือ การให้
(2) ศีล คือ การสังวรกายใจให้สุจริต
(3) บริจาค คือ การเสียสละ
(4) อาชชวะ คือ ความซื่อตรง
(5) มัททวะ คือ ความอ่อนโยน
(6) ตบะ คือ การกําจัดความเกียจคร้านและความชั่ว
(7) อักโกธะ คือ ความไม่โกรธ
(8) อวิหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียน
(9) ขันติ คือ ความอดทน
(10) อวิโรธนะ คือ ความไม่พิโรธ
2) ราชสังคหวัตถุ เป็นธรรมที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจประชาชน มี 4 ประการ คือ
(1) สัสสเมธะ คือ ความฉลาดในการบํารุงพืชพรรณธัญญาหารให้บริบูรณ์
(2) ปุริสเมธะ คือ ความฉลาดในการบํารุงข้าราชการ ส่งเสริมคนดีมีความสามารถ . (3) สัมมาปาสะ คือ ความสามารถในการผูกใจคนให้มีความจงรักภักดี
(4) วาชไปยะ คือ การรู้จักใช้วาจาที่สุภาพอ่อนหวาน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในพุทธศาสนามีหลักธรรมคําสอนหลายประการที่สอดคล้องกับหลักการ ประชาธิปไตยในปัจจุบัน เช่น หลักสิทธิ ซึ่งเห็นได้จากศีล 5 ของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการรับรอง สิทธิส่วนบุคคลที่ผู้อื่นจะละเมิดมิได้ เป็นต้น
ข้อ 2 ประเทศไทยมีลักษณะที่เป็นรัฐโลกวิสัยหรือไม่ อย่างไร (พร้อมเหตุผลประกอบอย่างน้อย 3 ประการ)
แนวคําตอบ
รัฐโลกวิสัย (Secular State) คือ รัฐหรือประเทศที่เป็นกลางทางด้านศาสนา ไม่สนับสนุน หรือต่อต้านความเชื่อหรือการปฏิบัติทางด้านศาสนาใด ๆ รัฐโลกวิสัยจะปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมไม่ว่า จะนับถือศาสนาใด ส่วนใหญ่จะไม่มีศาสนาประจําชาติ หรือหากมีศาสนาประจําชาติ ศาสนานั้นก็จะมีความหมาย ทางสัญลักษณ์และไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจําวันของประชาชน
ทั้งนี้จากคํานิยามของรัฐโลกวิสัยจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยไม่ถือเป็นรัฐโลกวิสัย ด้วยเหตุผล ดังนี้
1 ถึงแม้ว่าในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไม่ได้ระบุศาสนาประจําชาติ แต่ก็ได้เอาไปซ่อนผูกไว้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเนื้อหาระบุว่า “มาตรา 9 พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และ ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก”
2 ถึงแม้ว่าในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไม่ได้ระบุไว้ว่าคนไทยจะต้องนับถือ . ศาสนาพุทธ และต้องปฏิบัติตามข้อห้ามของศาสนาพุทธเท่านั้น แต่ประเทศไทยนั้นก็ถือว่ามีศาสนาพุทธเป็น ศาสนาประจําชาติโดยพฤตินัย เช่น มีการออกกฎหมายห้ามขายสุราในวันสําคัญทางพุทธศาสนา
3 มีการกําหนดให้วันสําคัญทางพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันมาฆบูชา เป็นวันหยุดราชการ เป็นต้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าศาสนาพุทธยังคงมีอิทธิพลและผลกระทบต่อการปกครองและชีวิตประจําวัน ของประชาชนไทย
ข้อ 3 จงอธิบายความหมายของคําต่อไปนี้ให้เข้าใจ
3.1 ประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน
3.2 รัฐโลกวิสัย
3.3 ธรรมยาตรา
3.4 ธรรมวิชัย
แนวคําตอบ
3.1 ประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน (Representative Democracy) หรือประชาธิปไตยเสรีนิยม (Liberal Democracy) ซึ่งเป็นประชาธิปไตยในปัจจุบัน หมายถึง ระบอบการปกครองที่ประชาชนมิได้เข้ามา มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการปกครองด้วยตนเองโดยตรง แต่ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งตัวแทนให้ทําหน้าที่ ตัดสินใจการปกครองแทนตน โดยประชาชนจะมีอํานาจในการควบคุมผู้นําของตนโดยผ่านการเลือกตั้ง (Election) และหากผู้ปกครองไม่สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชน ประชาชนก็มีสิทธิที่จะถอดถอนผู้ปกครองได้
หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย มีดังนี้
1 หลักอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) โดยใช้อํานาจกําหนด ตัวผู้ปกครองผ่านกระบวนการเลือกตั้ง รวมถึงอํานาจในการถอดถอนตัวผู้ปกครอง
2 หลักเสรีภาพ (Liberty) หมายถึง การดําเนินชีวิตอย่างเสรีของประชาชนภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นและส่วนรวม ซึ่งเสรีภาพที่สําคัญของบุคคล ได้แก่ เสรีภาพส่วนตน เสรีภาพทางการเมือง และเสรีภาพทางเศรษฐกิจ
3 หลักความเสมอภาค (Equality) หมายถึง ความเสมอภาคพื้นฐานที่ทําให้สมาชิกในสังคม มีความเท่าเทียมกันในอัตราหนึ่ง ซึ่งความเสมอภาคที่สําคัญ ได้แก่ ความเสมอภาคตามกฎหมาย ความเสมอภาค ทางโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม
4 หลักการปกครองโดยกฎหมาย (Rule of Law) หมายถึง การใช้กฎหมายเป็นหลักใน การบริหารประเทศ บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย
5 หลักเสียงข้างมาก (Majority Rule) หมายถึง การตัดสินปัญหาหรือการแสวงหาทางออก ใด ๆ ของกลุ่มจะต้องคํานึงถึงเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่การยึดหลักเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์จะต้องให้ความ เคารพเสียงข้างน้อยด้วย (Minority Right)
รูปแบบการปกครองประชาธิปไตย มีดังนี้
1 ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) ได้แก่ การมีเฉพาะผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว หรืออาจมี 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งจาก ประชาชน ส่วนสมาชิกวุฒิสภาจะมาจากการแต่งตั้ง แต่ในบางประเทศก็มาจากการเลือกตั้ง ทั้งนี้พรรคการเมือง ที่มีเสียงข้างมากสนับสนุนจะได้สิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อทําหน้าที่บริหารบ้านเมือง แต่รัฐบาลจะต้องอยู่ใน ความควบคุมของสมาชิกรัฐสภา เช่น การปกครองของสหราชอาณาจักร เป็นต้น
2 ระบบประธานาธิบดี (Presidential System) เป็นระบบที่ประธานาธิบดีเป็นผู้ใช้อํานาจ ในการบริหาร ส่วนอํานาจนิติบัญญัติยังคงอยู่ที่รัฐสภา และอํานาจตุลาการก็ยังคงเป็นอิสระ ทั้งนี้ประธานาธิบดีและ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่างก็ได้รับเลือกจากประชาชน ซึ่งอํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร และอํานาจตุลาการ C ก็เป็นอิสระและแยกกัน เช่น การปกครองของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
3 ระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential System) เป็นระบบที่ ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐและฝ่ายบริหารราชการแผ่นดินร่วมกับนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีจะเป็น ผู้ลงนามประกาศใช้กฎหมาย และคณะรัฐมนตรีก็ยังคงเป็นผู้ใช้อํานาจบริหารแต่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ส่วน รัฐสภาก็ยังคงทําหน้าที่สําคัญคือออกกฎหมายและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนประธานาธิบดีจะเป็น ผู้กําหนดนโยบายต่างประเทศและการเมืองโดยทั่ว ๆ ไป และมีอํานาจยุบสภาได้ด้วยจึงมีอํานาจมาก เช่น การปกครอง ของฝรั่งเศส เป็นต้น
3.2 รัฐโลกวิสัย (Secular State) คือ รัฐหรือประเทศที่เป็นกลางทางด้านศาสนา ไม่สนับสนุน หรือต่อต้านความเชื่อหรือการปฏิบัติทางด้านศาสนาใด ๆ รัฐโลกวิสัยจะปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมไม่ว่า จะนับถือศาสนาใด ส่วนใหญ่จะไม่มีศาสนาประจําชาติ หรือหากมีศาสนาประจําชาติ ศาสนานั้นก็จะมีความหมาย ทางสัญลักษณ์และไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจําวันของประชาชน
3.3 ธรรมยาตรา-การท่องเที่ยวในทางธรรม เป็นธรรมของพระเจ้าอโศกมหาราชที่ใช้ในการปกครอง คือ การเยี่ยมเยียนสมณพราหมณ์ มีการถวายทาน มีการเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุและพระราชทานเงินทองให้กับ ผู้สูงอายุ มีการเยี่ยมเยียนราษฎรในชนบท ทรงสั่งสอนธรรมและซักถามปัญหาธรรม มีการสอนเรื่องขันติธรรมและ พระวินัย รวมทั้งทรงแนะนําการประพฤติปฏิบัติระหว่างประชาชนด้วยกัน คือ ทรงสั่งสอนให้คนรู้จักสํารวมตน ทําใจให้บริสุทธิ์ มีความกตัญญูและศรัทธาอันมั่นคง
3.4 ธรรมวิชัย-ชัยชนะด้วยธรรม ธรรมวิชัย คือ การเอาชนะด้วยธรรม แทนที่การใช้แสนยานุภาพ แต่เดิมพระเจ้าอโศกมหาราชไม่ได้ทรงนับถือพุทธศาสนา ทรงมีพระทัยดุร้ายมาก การขยายอาณาจักรของ พระองค์ทรงใช้แสนยานุภาพปราบปรามข้าศึกอย่างโหดเหี้ยม กองทัพของพระองค์ได้ชัยชนะแบบที่เรียกว่า เลือดท่วมท้องช้าง
หลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงหันมานับถือพุทธศาสนาแล้ว ก็ทรงเปลี่ยนแปลงพระองค์ เป็นธรรมราชา และขยายอํานาจโดยใช้ธรรมวิชัยในการเอาชนะข้าศึก เช่น การใช้ธรรมโดยมิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ ศาสตรา, การใช้กองทัพขู่ให้กลัวและยอมแพ้แล้วหันมาปฏิบัติธรรมตามแบบของพระองค์, การอบรมสั่งสอนให้ ประชาชนประพฤติธรรม, การประกาศธรรมอย่างกึกก้องแทนเสียงกลองศึก เป็นต้น
ข้อ 4 สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงมีหลักในการปกครองคณะสงฆ์อย่างไร เหมือนหรือแตกต่างจากการปกครองคณะสงฆ์ไทยปัจจุบันอย่างไร จงอธิบาย
แนวคําตอบ
หลักในการปกครองคณะสงฆ์ของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล มีดังนี้
1 พิจารณาเป็นรายกรณี คือ พระองค์จะใช้วิธีประชุมสงฆ์ในการพูดคุยตัดสินเป็นรายกรณีโดยใช้วิธีการสามัคคีธรรม และไม่มีการแบ่งชนชั้นกันเองภายในคณะสงฆ์
2 พรรษาที่ 12 เริ่มบัญญัติพระปาราชิกสิขาบทที่ 1 ขึ้น ซึ่งถือเป็นการเกิดพระวินัยครั้งแรก
3 การตัดสินตามพระวินัย ตามหลักความเป็นจริงและมีความยืดหยุ่น
4 ใช้พื้นฐานการปกครองแบบสามัคคีธรรมที่มีคณะสังฆะหรือคณะสงฆ์ มาใช้ในการปกครอง ได้แก่
– ให้สงฆ์เป็นผู้แทนในการทางธรรมของพระองค์เท่านั้น
– ทรงเปิดกว้างทางทัศนะที่แตกต่าง และพร้อมแลกเปลี่ยน โดยไม่ชื่นชมหรือติเตียน (ทางสายกลาง)
– ใช้การอธิบายและปฏิบัติเป็นสิ่งที่พิสูจน์หลักธรรมของพระองค์
– แก้ไขปัญหาของคณะสงฆ์ด้วยหลักขันติธรรม แต่ถ้าไม่ได้ก็ให้สังคมตัดสินเอง
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการปกครองคณะสงฆ์สมัยพุทธกาล เป็นการปกครองภายในศาสนาเอง ทางรัฐไม่เข้ามาเกี่ยว และทางศาสนาก็ไม่เข้าไปเกี่ยวกับกิจการบ้านเมือง ไม่แสดงธรรมขัดกับการเมือง ไม่ปฏิบัติ ให้ผิดพระราชกําหนด กฎหมายบ้านเมือง ซึ่งแตกต่างจากการปกครองคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบันนี้ในบางประเด็น
ความแตกต่างจากการปกครองคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน มีดังนี้
1 ประเทศไทยปัจจุบันมีนิกายเถรวาท 2 นิกาย คือ มหานิกาย ซึ่งสืบเชื้อสายตรงมาจาก การสถาปนาคณะสงฆ์ลังกาวงศ์ในยุคสุโขทัย และธรรมยุตนิกาย ซึ่งได้สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2376 โดยเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
2 มีการแบ่งชนชั้นการปกครองในคณะสงฆ์ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประมุข และมี มหาเถรสมาคมเป็นองค์กรบริหาร
3 คณะสงฆ์เติบโตโดยปราศจากการถ่วงดุลและการตรวจสอบจากภาคประชาชนและภาครัฐ ประชาชนและพระสงฆ์ชั้นผู้น้อยไม่มีสิทธิ์ในการตรวจสอบการใช้อํานาจในคณะสงฆ์และในกิจการพุทธศาสนาทั้งปวง ส่งผลให้ผู้มีอํานาจในคณะสงฆ์มั่งคั่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
4 ในปัจจุบันพระสงฆ์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง เช่น การขึ้นแสดงธรรมเวทีปราศรัย ทางการเมือง เป็นต้น
ข้อ 5 พระเจ้าอโศกมหาราชทรงประกาศ “ธรรม” เสมือนเป็น “นโยบาย” ที่พระองค์ทรงใช้ในการปกครอง จงอธิบาย “ธรรม” ของพระเจ้าอโศกมหาราช โดยแยกหลักธรรมที่ผู้ปกครองควรปฏิบัติต่อผู้ใต้ปกครอง และหลักธรรมที่ประชาชนควรปฏิบัติต่อกันมาโดยสังเขป
แนวคําตอบ
หลักธรรมของพระเจ้าอโศกมหาราชที่ผู้ปกครองควรปฏิบัติต่อผู้ใต้ปกครอง
1 ขันติธรรม คือ ความมีใจกว้าง พร้อมที่จะยอมอดทนต่อความแตกต่างระหว่างคนที่นับถือ ศาสนาหรืออุดมการณ์ที่แตกต่างกันให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
พระเจ้าอโศกทรงมีใจกว้างต่อศาสนาอื่น มิได้ทําลายล้างศาสนาฮินดูซึ่งเป็นความเชื่อ ของคนอินเดียทั่วไป รวมทั้งมิได้ทรงบังคับให้ประชาชนเปลี่ยนศาสนา ทรงยกย่องนักบวชไม่ว่าศาสนาใด
2 การปรองดอง คือ การรับฟังและยินดีรับฟังธรรมของกันและกัน จึงเรียกร้องให้อดกลั้น ต่อความแตกต่างทางความคิดไว้ เพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของสันติสุข
3 อหิงสา มีดังนี้
– การปฏิเสธการทําศึก การสงคราม โดยใช้กําลังรุนแรง
– การละเว้นไม่ฆ่าสัตว์ โดยเฉพาะให้เลิกการฆ่าสัตว์บูชายัญ
– บางครั้งเราไม่อาจหลีกเลี่ยงความรุนแรง แต่เราต้องรู้ว่าสงครามนํามาซึ่งความทุกข์ – การกรีฑาทัพต้องไปด้วยความเมตตา ต้องเอาชนะด้วย “ธรรมวิชัย”
– ในด้านสวัสดิการ มีการสร้างโรงพยาบาลสําหรับคนและสัตว์ มีโอสถศาลา เป็นต้น
4 หลักการปกครองโดยธรรม มีดังนี้
– การปกครองโดยธรรม
– การวางระเบียบ ข้อบังคับ หรือบัญญัติกฎหมายให้เป็นไปโดยธรรม
– การอํานวยความผาสุกแก่ประชาชนโดยธรรม
– การช่วยคุ้มครองโดยธรรม
5 การบริหารโดยธรรม มีดังนี้
– การแต่งตั้งข้าราชการและมอบอํานาจให้ดูแลประชาชน
– การบริหารงานควรมีความสม่ําเสมอเป็นแบบแผนเดียวกัน นักโทษควรได้รับโอกาสในการทําทานรักษาศีล หลักธรรมของพระเจ้าอโศกมหาราชที่ประชาชนควรปฏิบัติต่อกัน
1 ขันติธรรมของประชาชน มีดังนี้
– ธรรมทาน คือ การให้ทาน
– ธรรมสังควิภาค คือ แจกจ่ายธรรม
– ธรรมสัมพันธ์ คือ สัมพันธ์กันโดยธรรม
– ธรรมทาน คือ การอาศัยธรรม
2 หลักการปฏิบัติธรรมอันเป็นคุณสมบัติพึงมี มีดังนี้
– คุณสมบัติที่พึงมีเพื่อให้งานสําเร็จ 5 ประการ
– ความหมายของธรรม 6 ประการ
– กรรมชั่ว 5 ประการ
– การถือศีล
– เกณฑ์และการประพฤติปฏิบัติธรรม