การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา
คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 5 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 3 ข้อ (ข้อละ 33 คะแนน)
ข้อ 1 นักศึกษาเห็นว่ามนุษย์มีความสัมพันธ์กับการเมืองหรือไม่ จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
แนวคําตอบ
คําว่า “การเมือง” (Politics) มีรากศัพท์มาจากคําว่า “Polis” ในภาษากรีก
การเมือง หมายถึง หน่วยการปกครองที่มีอาณาเขตแน่นอนและมีขอบข่ายอํานาจควบคุม กิจกรรมส่วนรวมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง ศาสนา เศรษฐกิจ และสังคม หรือนัยหนึ่ง การเมือง คือ ความสัมพันธ์ของมนุษย์และการเมือง ซึ่งหมายความว่า ไม่ว่าจะมีความหมายในทางบวกหรือทางลบ มนุษย์จะมี ความเกี่ยวข้องกับการเมือง เนื่องจากมนุษย์อยู่ในหน่วยสังคมเหมือนกัน
อริสโตเติล (Aristotle) กล่าวว่า การเมืองเป็นเรื่องของสาธารณะ (Public) และเป็นเรื่อง เกี่ยวข้องกับสังคมระดับรัฐ ซึ่งสัมพันธ์กับมนุษย์ในทุกระดับ
จากคํานิยามของอริสโตเติลจะเห็นได้ว่า มนุษย์มีความสัมพันธ์กับการเมือง ยกตัวอย่าง เช่น
1 นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เป็นนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มี ความสัมพันธ์กับกลุ่มคนชนชั้นล่างในสังคมไทย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานโดยตรง ทําให้ผู้ใช้แรงงานได้ค่าจ้าง เพิ่มขึ้น และยังส่งผลกระทบโดยอ้อมต่อผู้ประกอบการหรือนายทุนที่ต้องแบกรับอัตราการผลิตที่เพิ่มขึ้นสูงกว่า เมื่อก่อน อย่างเช่น เงินลงทุนที่จะต้องเพิ่มให้มากขึ้นเพื่อจะได้สินค้ามากขึ้น หากผลิตสินค้าออกมาน้อยก็จะไม่คุ้ม กับค่าแรงที่ต้องจ่ายไปให้ผู้ใช้แรงงาน
2 นโยบายรถคันแรก เป็นนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มีความสัมพันธ์กับ กลุ่มคนชนชั้นกลางในสังคมไทย ซึ่งมีผลกระทบต่อกลุ่มชนชั้นกลางโดยตรง โดยกลุ่มชนชั้นกลางจะได้รับประโยชน์ จากนโยบายรถคันแรกที่สามารถได้ลดคืนภาษีสูงสุดถึง 100,000 บาท แต่ในขณะเดียวกันก็ทําให้หนี้สินครัวเรือน ของชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น
3 นโยบายภาษีมรดกภาษีจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นนโยบายของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มคนชนชั้นสูงในสังคมไทย ซึ่งมีผลกระทบต่อคนชนชั้นสูงโดยตรง เพราะต้องเสียภาษีให้แก่รัฐเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า มนุษย์มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองไม่ว่าจะในทางบวกหรือลบ ไม่ว่าจะ โดยทางตรงหรือทางอ้อม และสัมพันธ์กับมนุษย์ในทุกระดับ ดังตัวอย่างข้างต้น
ข้อ 2 แนวความคิดทางการเมืองประเภทใดที่มีความเกี่ยวข้องกับหลักรัฐโลกวิสัย จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
แนวคําตอบ
เสรีนิยมเป็นแนวความคิดทางการเมืองที่มีความเกี่ยวข้องกับหลักรัฐโลกวิสัย ดังนี้
รัฐโลกวิสัย (Secure State) คือ รัฐหรือประเทศที่เป็นกลางทางด้านศาสนา ไม่สนับสนุนหรือ ต่อต้านความเชื่อหรือการปฏิบัติทางด้านศาสนาใด ๆ รัฐโลกวิสัยจะปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมไม่ว่าจะนับถือ ศาสนาใด ส่วนใหญ่จะไม่มีศาสนาประจําชาติ หรือหากมีศาสนาประจําชาติ ศาสนานั้นก็จะมีความหมายทางสัญลักษณ์ และไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจําวันของประชาชน เช่น ในประเทศอินเดียที่สนับสนุนรัฐโลกวิสัย มีความเป็นเสรีภาพ ในการนับถือศาสนาในความเชื่อโดยเสรี โดยที่รัฐบาลไม่ไปมีบทบาทมากนัก
มองจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์แล้ว รัฐโลกวิสัย คือ รัฐสมัยใหม่ที่ยึดถือการปกครอง ด้วยหลักเหตุผลของมนุษย์ ซึ่งตรงกันข้ามกับการปกครองแบบเทวาธิปไตย (Theocracy) ในสมัยเก่าที่อ้างความเชื่อ ทางศาสนาเป็นหลักในการปกครอง
หัวใจสําคัญของรัฐโลกวิสัย คือ การปกครองแบบทางโลก หรือปกครองด้วยหลักเหตุผลของมนุษย์ และต้องเป็นกลางทางศาสนา
ส่วนเสรีนิยม (Liberalism) เชื่อว่า มนุษย์โดยธรรมชาติมุ่งทําแต่สิ่งที่ดี สนับสนุนความเท่าเทียมกัน … ในโอกาสและถือว่าค่านิยมบางอย่างถือเป็นสากล เช่น สิทธิมนุษยชน (Human Rights) ทั้งนี้เสรีนิยมดั้งเดิม (Classical Liberality) มีองค์ประกอบดังนี้
1 การยอมรับเสรีภาพของปัจเจกชนโดยรวม (Individualism) เช่น การเมือง เศรษฐกิจ และการเชื่อถือในลัทธิใด ๆ ในเวลาเดียวกันก็จํากัดอํานาจของสถาบันทางการเมืองและสังคมทุกประเภทที่อาจ ทําให้กระทบต่อเสรีภาพส่วนบุคคล
2 เคารพในเหตุผล (Rationalist) เชื่อว่าปัญหาในสังคมทั้งปวงแก้ได้ด้วยเหตุและผล โดย ศึกษาให้ได้ความรู้ ความเข้าใจ และใช้หลักเหตุผลในการแก้ปัญหา
3 เชื่อในการเปลี่ยนแปลง (Change) เสรีนิยมเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทําให้เกิดความก้าวหน้า ไม่ยึดติดอยู่ในค่านิยม
4 เชื่อในหลักมนุษยชน (Human Rights) และหลักสากลของการให้โอกาสในความเสมอภาค
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เสรีนิยมเป็นแนวคิดทางการเมืองที่มีความเกี่ยวข้องกับหลักรัฐโลกวิสัย หลายประการ ได้แก่ การยอมรับเสรีภาพของปัจเจกชนโดยรวม เช่น การเชื่อถือในลัทธิใด ๆ การเชื่อในหลักสากล ของการให้โอกาสในความเสมอภาคเท่าเทียม และการเคารพในเหตุผล เป็นต้น
ข้อ 3 จงอธิบายความหมายของคําต่อไปนี้ให้เข้าใจ (เลือกทํา 3 ข้อ)
(1) รัฐโลกวิสัย
(2) อนุรักษนิยม
(3) เสรีนิยม
(4) ทศพิธราชธรรม
(5) จักรวรรดิวัตร
(6) ธรรมมหาอํามาตย์ (หมายเหตุ ข้อ (4) – (6) เป็นความหมายตามแนวคิดทางการเมืองเรื่องธรรมราชา)
แนวคําตอบ
(1) รัฐโลกวิสัย (Secular State) คือ รัฐหรือประเทศที่เป็นกลางทางด้านศาสนา ไม่สนับสนุน หรือต่อต้านความเชื่อหรือการปฏิบัติทางด้านศาสนาใด ๆ รัฐโลกวิสัยจะปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมไม่ว่า จะนับถือศาสนาใด ส่วนใหญ่จะไม่มีศาสนาประจําชาติ หรือหากมีศาสนาประจําชาติ ศาสนานั้นก็จะมีความหมาย ทางสัญลักษณ์และไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจําวันของประชาชน
(2) อนุรักษนิยม (Conservatism) มีลักษณะเด่นดังนี้
1 ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ พยายามที่จะป้องกันหรือลดความเร็วของการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเก่า ความเชื่อเก่า ชนชั้นทางสังคมเก่าไปสู่สังคมใหม่
2 ต้องการรักษาไว้ซึ่งสิ่งที่ทํามาในอดีต เป็นต้น
(3) เสรีนิยม (Liberalism) สนับสนุนความเท่าเทียมกันในโอกาสและถือว่าค่านิยมบางอย่างถือ เป็นสากล เช่น สิทธิมนุษยชน (Human Rights) ได้แก่ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือความเท่าเทียมกันในด้าน ความเป็นพลเมือง เป็นต้น
(4) ทศพิธราชธรรม มีดังนี้
1 ทาน คือ การให้
2 ศีล คือ การตั้งสังวรรักษากาย วาจา ให้สะอาดปราศจากโทษ
3 บริจาค คือ การเสียสละ
4 อาชชวะ คือ ความซื่อตรง
5 มัททวะ คือ ความอ่อนโยน
6 ตบะ คือ การขจัดความเกียจคร้านและความชั่ว
7 อักโกธะ คือ ความไม่โกรธ 8. อวิหิงสา คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตลอดถึงสัตว์ให้ได้ทุกข์ยาก
9 ขันติ คือ ความอดทนต่อสิ่งที่ควรอดทนเป็นเบื้องหน้า
10 อวิโรธนะ คือ การปฏิบัติไม่ให้ผิดจากการที่ถูกที่ตรงและดํารงอาการคงที่ ไม่ให้วิการด้วยอํานาจยินดียินร้าย
(5) จักรวรรดิวัตร 12 ประการ มีดังนี้
1 ควรพระราชทานโอวาทและอนุเคราะห์คนภายในราชสํานักและคนภายนอกจนถึงราษฎร
2 ควรผูกพระราชไมตรีกับกษัตริย์ ประธานาธิบดี แห่งประเทศนั้น ๆ
3 ควรสงเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์ตามควรแก่พระอิสริยศ
4 ควรทรงเกื้อกูลพราหมณ์ คฤหัสถ์ และคฤหบดีชน
5 ควรอนุเคราะห์ประชาชนชาวนิคมชนบทโดยฐานานุรูป
6 ควรอุปการะสมณพราหมณ์ผู้มีความประพฤติชอบด้วยพระราชทานไทยธรรมบริขารเกื้อกูลแก่ธรรมปฏิบัติ
7 ควรจัดรักษาฝูงเนื้อ และนกด้วยพระราชทานอภัยไม่ให้ใครเบียดเบียนทําอันตรายจนเสื่อมสูญพันธุ์
8 ควรห้ามชนทั้งหลายไม่ให้ทํากิจการที่ไม่ประกอบด้วยธรรม ชักนําให้อยู่ในกุศลสุจริตประกอบการเลี้ยงชีพโดยทางธรรม
9 ควรพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ผู้ขัดสนให้เลี้ยงชีพได้ด้วยวิธีอันเหมาะสม
10 ควรเสด็จเข้าไปใกล้สมณพราหมณ์ ตรัสถามถึงบุญ บาป กุศล อกุศลให้ประจักษ์ชัด
11 ควรทรงตั้งวิรัติห้ามจิตไม่ให้เกิดอธรรมราคะในอาคมนิยสถาน
12 ควรห้ามจิตไม่ให้ปรารถนาลาภที่มิควรได้
(6) ธรรมมหาอํามาตย์ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงตั้งข้าราชการตําแหน่งใหม่ขึ้นมาชื่อว่า “ธรรม มหาอํามาตย์” มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพระองค์ในการบําเพ็ญธรรม ดูแลพระราชวงศ์ให้บําเพ็ญธรรม สั่งสอน ประชาชน และทํางานด้านสังคมสงเคราะห์
ข้อ 4 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงได้เปลี่ยนแนวคิดการปกครองจากหลักอรรถศาสตร์ สู่แนวคิดอุดมการณ์ธรรม ให้นักศึกษาเปรียบเทียบหลักการปกครองแบบอรรถศาสตร์ และอุดมการณ์ธรรม มาให้เข้าใจ
แนวคําตอบ
หลักอรรถศาสตร์
1 การสร้างอํานาจ คือ การมุ่งสร้างอํานาจ การสะสมอาวุธ เพื่อที่จะทําสงคราม
2 การรักษาอํานาจ คือ การที่จะปกครองราษฎรหรือหัวเมืองต่าง ๆ เชื่อฟังพระองค์
3 การจัดแบ่งการปกครอง คือ การจัดรูปแบบการปกครองให้รวมศูนย์
4 วิธีการจัดเก็บภาษี คือ เพื่อที่จะสนับสนุนการปกครองของพระองค์เองและก็ของราชวงศ์ เพื่อที่จะให้มีความมั่งคั่ง เพื่อที่จะใช้รักษาอํานาจ และเพื่อที่จะขยายอาณาจักรของพระองค์
5 การใช้เล่ห์กลเพทุบายทางการเมือง
6 การใช้สายลับ คือ เพื่อการรู้ข้อมูลข่าวสารของคนที่จะมาบั่นทอนอํานาจของพระองค์เป็นการรักษาไว้ซึ่งอํานาจของพระองค์
7 การรวมศูนย์อํานาจ คือ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หลักอุดมการณ์ธรรม
1 พ่อปกครองสุก คือ ทรงใช้การปกครองแบบพ่อปกครองลูก แทนที่การปกครองแบบ รวมศูนย์อํานาจ
2 เมตตา เผยแพ ทําทาน คือ พระองค์ทรงเผยแผ่การปกครองโดยธรรม โดยการกรีฑาทัพต้องเป็นไปด้วยความเมตตา ต้องเอาชนะด้วย “ธรรมวิชัย”
3 ไม่ฆ่าสัตว์ คือ ทรงเลิกการฆ่าสัตว์ส่วนพระองค์ ห้ามฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญ ทรงห้ามประชาชนล่าสัตว์ ห้ามฆ่าสัตว์บางชนิด บางเวลา และการสร้างโรงพยาบาลสัตว์ เป็นต้น
4 การปกครองโดยธรรม คือ การที่ทรงขยายพระราชอํานาจโดยธรรม เช่น การใช้กองทัพขู่ให้กลัวและยอมแพ้ แล้วหันมาปฏิบัติธรรมตามแบบของพระองค์ และกษัตริย์ที่เป็นเมืองขึ้นก็ต้องปกครองแผ่นดินโดยธรรมเหมือนพระองค์
5 การผ่อนปรนเรื่องภาษี คือ พระองค์ไม่เก็บภาษีมากเหมือนในสมัยราชวงศ์เดิมของพระองค์ รวมทั้งพระองค์ไม่อนุญาตให้พระราชาของเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครอง ของพระองค์ ขึ้นภาษีให้ประชาชนของพระองค์เดือดร้อน
6 การเอาใจใส่ในเรื่องบริการสาธารณะ เช่น ในด้านสวัสดิการ พระองค์โปรดให้จัดบริการในด้านเวชกรรมไว้ 2 ประการ คือ การรักษาโรค และการรักษาปศุสัตว์ โดยให้ปลูกสมุนไพรที่เป็นยาสําหรับสัตว์และมนุษย์
7 ธรรมวิชัย คือ การเอาชนะด้วยธรรม เช่น ทรงอุปถัมภ์บํารุงสมพราหมณ์ เข้าไปสนทนาธรรม และแก้ไขความเสื่อมของศาสนา ทรงแสดงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรมและ เผยแผ่ธรรม และทรงประสงค์ให้คนที่แตกต่างกันทั้งผู้ดีและสามัญชนหันมานับถือ ศาสนาพุทธที่มีความเสมอภาคกัน ความแตกต่างระหว่างบุคคลก็จะหมดไป รวมทั้ง ทรงเปลี่ยนจากเสียงกึกก้องของกลองศึกมาเป็นเสียงกึกก้องของการประกาศธรรม
ข้อ 5 ในสมัยพุทธกาลการเกิดขึ้นของศาสนาพุทธ มีนัยสําคัญที่เปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองของชมพูทวีปอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
แนวคําตอบ
ศาสนาพุทธ เกิดขึ้นในชมพูทวีป ซึ่งขณะนั้นศาสนาพราหมณ์เกิดขึ้นก่อนศาสนาพุทธหลายร้อยปี และครอบงําความเชื่อของชาวชมพูทวีปอย่างแน่นแฟ้น จนถึงกับสามารถสร้างความยอมรับในเรื่องวรรณะอย่างฝังใจ
ในสมัยพุทธกาลการเกิดขึ้นของศาสนาพุทธได้เปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองของชมพูทวีป ดังนี้
1 เปลี่ยนทั้งจารีตของนักบวชและประชาชน เช่น ศาสนาพุทธได้พยายามล้มล้างความเชื่อถืองมงายในเรื่องพิธีกรรมอันเหลวไหลต่าง ๆ โดยเฉพาะการบูชายัญ
2 ปลดปล่อยชนชั้นค้าขายให้มีอิสระในการประกอบสัมมาอาชีพ
3 เสริมแรงเรื่อง “ลดชนชั้นวรรณะของตน” โดยศาสนาพุทธสอนให้เลิกเชื่อถือยึดมั่นในระบบการเบ่งวรรณะที่เอาชาติกําเนิดมาขีดคั่นจํากัดสิทธิและโอกาสทั้งทางสังคมและจิตใจของมนุษย์
4 ทลายกําแพงความรู้ทางศาสนา โดยพระพุทธเจ้าทรงตั้งคณะสงฆ์ที่เปิดรับคนจาก
ทุกวรรณะให้เข้าบวชในศาสนาพุทธอย่างเสมอภาค และการเปิดโอกาสให้สตรีสามารถเข้าบวชในคณะสงฆ์ของพระองค์ได้เท่าเทียมบุรุษ
5 การได้รับการยอมรับจากกษัตริย์ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แคว้นโกศล และพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แคว้นมคธ เป็นต้น ทําให้กษัตริย์เหล่านี้ได้ใช้หลักธรรมใน ศาสนาพุทธสร้างสันติสุข ทํานุบํารุงบ้านเมือง และอาณาประชาราษฎร์ให้อยู่เย็นเป็นสุขลดความรุนแรง การประทุษร้าย การฆ่าฟัน และสงครามลงได้มาก
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การเกิดขึ้นและแผ่ขยายของศาสนาพุทธในชมพูทวีปมีนัยสําคัญ คือ เป็น การต่อสู้ทางสังคมการเมือง เช่น การยกเลิกการทารุณฆ่าสัตว์ด้วยการบูชายัญ และการเปิดโอกาสให้สตรีสามารถ เข้าบวชในคณะสงฆ์ของพระองค์ได้เท่าเทียมบุรุษ รวมทั้งยังเป็นการต่อสู้ทางชนชั้นอย่างสําคัญ เสมือนการปลดแอก ให้แก่ชนชั้นต่ำที่ลําบากยากจนได้ทางหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะล้มล้างการแบ่งชั้นวรรณะไม่ได้ก็ตาม