การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา Pol 3101 วิเคราะห์การเมืองเปรียบเทียบ
คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทั้ง 4 ข้อ แต่ละข้อต้องเขียนแสดงออกซึ่งความคิดเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน อย่างน้อยข้อละประมาณ 3 – 5 หน้า
ข้อ 1 (ก.) การเปรียบเทียบคืออะไร ? ทําอย่างไร ? ศึกษาอะไรบ้าง ? มีประโยชน์อย่างไร ? มีความเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร ? เหมือนหรือต่างกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ (เคมี ชีวะ ฟิสิกส์) อย่างไร ? สังคมโลกปัจจุบันสนใจศึกษาเปรียบเทียบเรื่องอะไรบ้าง ? และ
(ข.) โครงสร้างคืออะไร ? สําคัญอย่างไร ?
จงเปรียบเทียบตัวแบบโครงสร้างหรือระบบ ตามแนวคิดของ David Easton กับของ Gabriel Almond อธิบายให้ละเอียดโดยยกตัวอย่างเกิดขึ้นจริงในชีวิตสังคมการเมืองไทย
แนวคําตอบ
การเปรียบเทียบ คือ การศึกษาวิเคราะห์ความคล้ายคลึงและความแตกต่างของคุณลักษณะ ต่าง ๆ ซึ่งการศึกษาเปรียบเทียบนั้นไม่จําเป็นในการตัดสินว่า ระบบการเมืองใดหรือสถาบันการเมืองใดดีที่สุด แต่เพื่อการเรียนรู้มากขึ้นว่า ทําไม (Why) หรืออย่างไร (How) ในความเหมือนหรือความแตกต่าง และความเหมือน หรือความแตกต่างนั้นได้ส่งผลกระทบอะไรบ้าง
ลักษณะการศึกษาแปรียบเทียบ พิจารณาได้จาก
1 ความเหมือนและความแตกต่าง
ความเหมือน (Similarities) เป็นลักษณะที่สอดคล้องกัน หรือคล้ายกันของสิ่งที่นํามา เปรียบเทียบ ส่วนความแตกต่าง (Differences) จะเป็นลักษณะที่ไม่สอดคล้องกัน ซึ่งอาจมีลักษณะของความ แตกต่างกันน้อย แตกต่างกันมาก หรือแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น ดูว่ารัฐธรรมนูญฯ 2550 มีเนื้อหาใน ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง แตกต่างกับร่างรัฐธรรมนูญใหม่อย่างไร เป็นต้น
โดยส่วนที่ซ่อนอยู่ในเรื่องความเหมือนและความแตกต่างในการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ก็คือ องค์ความรู้หรือข้อมูลนั้นเอง ถ้าเรามีความรู้เฉพาะรัฐธรรมนูญฯ 2550 เพียงอย่างเดียวแต่ไม่รู้เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ การเปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่างก็ไม่สามารถทําได้ เนื่องจากข้อมูลที่นํามา เปรียบเทียบมีเพียงด้านเดียวเท่านั้น
2 หน่วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบ
หน่วยการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) เป็นกรอบของการวิเคราะห์ที่ใช้ในการศึกษา ทางการเมือง เพื่อให้การวิเคราะห์ดําเนินไปในทิศทางที่แน่นอน ซึ่งก็คือ การเลือกหน่วยที่จะทําการเปรียบเทียบนั่นเอง โดยอาจจะเป็นปัจจัยบุคคล องค์กร สถาบัน หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งอาจใช้หลักความเหมือนหรือความแตกต่าง และใช้ปัจจัยดังกล่าวในการเปรียบเทียบ สําหรับตัวอย่างของหน่วยการวิเคราะห์ทางการเมือง เช่น ผู้นํา บทบาท องค์กร สถาบันต่าง ๆ ทางการเมือง เป็นต้น
หน่วยการวิเคราะห์นั้นถือว่ามีความสําคัญมากในการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ เพราะจะทําให้สามารถศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ที่ต้องการได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เนื่องจากมุมมองในการอธิบายการเมืองนั้น มีขอบเขตที่กว้างขวางมาก หากไม่มีหน่วยการวิเคราะห์ก็จะไม่ทราบว่าควรจะเริ่มศึกษาจากตรงไหน หรืออาจทําให้ การวิเคราะห์ไม่มีกรอบที่ชัดเจน ซึ่งทําให้การวิเคราะห์ดําเนินไปในทิศทางที่ไม่แน่นอน
ผู้ศึกษาจะต้องตั้งปัญหาพื้นฐานถามตัวเองก่อนว่า ควรจะนําหน่วยการวิเคราะห์อะไร มาใช้ในการศึกษาทางการเมือง เช่น ถ้าต้องการจะศึกษาผู้นํา หน่วยการวิเคราะห์ก็คือ ตัวผู้นํา โดยอาจจะมุ่งไปที่ ตัวนายกรัฐมนตรีหรือเปรียบเทียบความเป็นผู้นําของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันกับนายกรัฐมนตรีคนก่อนในแง่ของ บุคลิกภาพ ดังนั้นหน่วยการวิเคราะห์ตรงนี้ก็คือตัวนายกรัฐมนตรีนั่นเอง นอกจากนี้จะเห็นว่าในการศึกษาเปรียบเทียบ อาจจะวิเคราะห์หน่วยเหนือขึ้นไป เช่น กลุ่มทางสังคม สถาบันทางการเมืองต่าง ๆ ได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ ฯลฯ
3 ระดับการวิเคราะห์
ระดับการวิเคราะห์ (Level of Analysis) เป็นการจัดชั้นและระดับของระบบการเมือง เพื่อทําให้เกิดความชัดเจนที่ผู้ศึกษาจะวิเคราะห์ถึงหน้าที่และโครงสร้างของระบบการเมืองนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น การแบ่งระดับการเมืองไทยออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น
ในการเปรียบเทียบที่มีการจัดระดับในการวิเคราะห์นั้น จะทําให้การศึกษาเปรียบเทียบ สามารถมองเห็นหรือเปรียบเทียบให้เห็นในทุกระดับ ตั้งแต่การวิเคราะห์ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่นได้ ซึ่งในการเปรียบเทียบนั้นจะต้องเปรียบเทียบในระดับเดียวกัน
4 การแจกแจงข้อมูล
การแจกแจงข้อมูล (Classification) เป็นการจัดระบบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อจะทําให้ผู้ศึกษาสังเกตเห็นความเหมือน (Similarities) และความแตกต่าง (Differences) ของข้อมูลนั้น ๆ ได้อย่าง ชัดเจน นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดทิศทางในการเลือกสรร การรวบรวม การจัดระบบระเบียบของข้อมูล และสร้าง กรอบความคิด ยุทธวิธีในการวิจัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ตัวอย่างเช่น การศึกษาข้อมูลในเรื่องการมีส่วนร่วม ทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ ข้อมูลที่ได้ควรจะต้องมีการจัดระเบียบเป็นหมวดหมู่ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ในการ เลือกตั้ง การเสนอกฎหมาย ฯลฯ โดยจะต้องใช้ข้อมูลที่มีการแจกแจงอย่างเดียว กันมาพิจารณา
สิ่งที่มักนํามาศึกษาเปรียบเทียบ
1 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านการเมือง
2 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
4 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
5 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ
6 การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น
7 การวิเคราะห์เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมือง
8 การวิเคราะห์เปรียบเทียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง
9 การวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาผู้แทนราษฎร
10 การวิเคราะห์เปรียบเทียบวุฒิสภา เป็นต้น
ประโยชน์ของการเปรียบเทียบ
1 ช่วยให้ผู้ศึกษามองเห็นการเมืองและการปกครองของประเทศอื่นได้ชัดเจนและลึกซึ้ง ยิ่งขึ้น อันจะนํามาสู่ความเข้าใจต่อการเมืองของประเทศตัวเองที่ดีกว่าเดิม เมื่อผู้ศึกษาสามารถเชื่อมโยงอิทธิพล ความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างประเทศเหล่านั้นกับประเทศตัวเองได้
2 ช่วยให้ผู้ศึกษาหลีกเลี่ยงการใช้เชื้อชาติตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Ethnocentrism) ใน การตัดสินผู้อื่น อันนําไปสู่การเปิดใจกว้างต่อการปกครองที่หลากหลายยิ่งขึ้น เพราะรูปแบบการเมืองและการ ปกครองของประเทศที่ผู้ศึกษาอาศัยอยู่นั้นไม่ได้มีลักษณะเฉพาะตัวมาตั้งแต่ต้น หากแต่ได้รับอิทธิพลและได้ ผสมผสานกับรูปแบบการเมืองการปกครองของประเทศอื่นมานาน
3 ช่วยให้ผู้ศึกษามีทางเลือกหรือการแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่หลากหลายกว่าเดิมจาก การเรียนรู้ถึงบริบท และพัฒนาการทางการเมืองของประเทศต่าง ๆ
4 ช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจภาวะปัจจุบัน รวมไปถึงกฎเกณฑ์สากลเกี่ยวกับการเมืองโลก เป็นต้น
ความเป็นวิทยาศาสตร์ของการวิเคราะห์เปรียบเทียบ
การวิเคราะห์เปรียบเทียบถือเป็นสังคมศาสตร์อย่างหนึ่ง ซึ่งเม่มีห้องทดลองที่จะทําการศึกษา เหมือนกับวิทยาศาสตร์ แต่จะศึกษาโดยอาศัยรูปแบบ แบบแผน พฤติกรรมและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในแต่ละสังคมหรือในแต่ละประเทศ เสมือนเป็นห้องทดลองขนาดใหญ่ เพื่อเปรียบเทียบการเมืองระหว่างประเทศ วิธีการศึกษา เปรียบเทียบดังกล่าวถือเป็นเครื่องมือที่เก่าแก่ที่สุดเครื่องมือหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งความเป็นศาสตร์ดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นมาจากลักษณะสําคัญ 2 ประการ คือ
1 เป็นการศึกษาวิเคราะห์ที่เกิดจากความคิดและสติปัญญา โดยการตรึกตรองและ การวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผล ซึ่งสามารถที่จะพิสูจน์ได้ด้วยตัวแปรที่ควบคุมได้ แล้วจึงทําการทดสอบเพื่อหาข้อสรุป ที่ต้องการ
2 เป็นการศึกษาวิเคราะห์ที่เกิดจากประสบการณ์ของผู้ทําการศึกษา ซึ่งได้แก่ การดู การฟัง การสัมผัส เป็นต้น โดยจะต้องปลอดจากค่านิยมหรือตัดอคติออกไปแล้ว เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เที่ยงตรง และ เชื่อถือได้
เทียบกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ (เคมี ชีวะ ฟิสิกส์) ได้ดังนี้ :
1 การเลือกปัญหา (Problem Selection) จะเกี่ยวพันกับการสร้างทฤษฎีเพื่อเป็น องค์ประกอบของการสร้างปัญหาที่จะวิเคราะห์ว่าปัญหานั้น ๆ ควรมีตัวแปรอะไรเข้าไปเกี่ยวพันบ้าง และเมื่อมี ตัวแปรเหล่านั้นแล้วจะก่อให้เกิดปรากฏการณ์อะไรบ้าง ผู้ที่จะสร้างทฤษฎีทางสังคมจะต้องเลือกปัญหาที่มี ผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ในสังคม และต้องเป็นประเด็นที่คนส่วนมากให้ความสนใจ ผู้เลือกปัญหามาศึกษา จะต้องเป็นผู้มีจิตนาการที่กว้างไกลและมีความสํานึกต่อปัญหาสังคมนั้น ทั้งนี้เพราะปัญหาสังคมที่ล้ำลึกบางครั้ง เกิดจากสภาพสามัญสํานึกของนักทฤษฎีที่มีความรู้สึกว่าประเด็นนั้น ๆ สําคัญนั่นเอง ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัวของ บุคคล ดังนั้นการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบจะต้องอาศัยทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ทางสังคมเข้ามาช่วยอธิบาย ปรากฏการณ์ทางสังคม
2 การสังเกตอย่างเป็นระบบ (Systematic Observation) จะช่วยในการสร้างตัวแบบใน การเปรียบเทียบ ซึ่งจะต้องมีการจัดลําดับ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ และที่สําคัญจะต้องมีการพรรณนาข้อมูลที่ได้มา ในเชิงวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ นักสังคมศาสตร์นั้น ๆ จะต้องเป็นผู้มีจินตนาการ รู้จักจัดสรรข้อมูล และที่สําคัญจะต้อง สามารถอธิบายข้อมูลนั้น ๆ ได้อย่างเป็นระบบ มิใช่แต่นักวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่จะต้องมีความสามารถในการ พรรณนาข้อมูลที่ค้นคว้ามา นักเคมี นักชีววิทยา และนักฟิสิกส์ก็จะต้องมีความสามารถในการสังเกตและพรรณนา ข้อมูลที่ได้มาจากการสังเกตอยางเป็นระบบด้วย เมื่อข้อมูลที่จัดเก็บมาอย่างเป็นระบบนั้นถูกนํามาวิเคราะห์ ก็จะ สามารถตั้งเป็นสมมุติฐานและทําการทดสอบต่อไปได้นั่นเอง
การวิเคราะห์เปรียบเทียบถือเป็นสังคมศาสตร์อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่มีห้องทดลองที่จะทําการศึกษา เหมือนกับวิทยาศาสตร์ แต่จะศึกษาโดยอาศัยรูปแบบ แบบแผน พฤติกรรมและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในแต่ละสังคม หรือในแต่ละประเทศ เสมือนเป็นห้องทดลองขนาดใหญ่ เพื่อเปรียบเทียบการเมืองระหว่างประเทศ วิธีการศึกษา เปรียบเทียบดังกล่าวถือเป็นเครื่องมือที่เก่าแก่ที่สุดเครื่องมือหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งความเป็นศาสตร์ดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นมาจากลักษณะสําคัญ 2 ประการ คือ
สังคมโลกปัจจุบันสนใจศึกษาเปรียบเทียบในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1 การพัฒนา ซึ่งเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ดีขึ้น โดยมีเป้าหมาย ที่ชัดเจน และชี้วัดความเป็นอยู่ของประชากรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการพัฒนานั้นจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาใน ” ด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ การศึกษา สังคม เป็นต้น
2 ความเป็นประชาธิปไตย ประเทศที่ได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นประชาธิปไตยนั้น จะมีลักษณะที่สําคัญ คือ ต้องยึดถืออํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ต้องมีการเลือกตั้ง ยึดหลักของเสียงข้างมาก สิทธิขั้นพื้นฐานของเสียงข้างน้อยจะต้องได้รับการเคารพและการรับฟัง ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง มีเสรีภาพ ในการแสดงออก มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เคารพเหตุผลมากกว่าบุคคล
3 สิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็น รูปธรรมและนามธรรม ซึ่งมีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน และเป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
โครงสร้าง คือ แบบแผนของกิจกรรมที่ทํากันสม่ําเสมอ โดยผู้ที่กระทํากิจกรรมจะมีบทบาท แตกต่างกันไป แต่เมื่อรวมบทบาทของกิจกรรมเหล่านี้เข้าด้วยกันจะได้เป็นโครงสร้างนั้น ๆ เช่น โครงสร้างของรัฐสภา ประกอบด้วย ประธานสภา รองประธานสภา เลขาธิการ และสมาชิก ซึ่งแต่ละคนต่างก็มีบทบาทแตกต่างกันไป แต่เมื่อ เรารวมเอาบทบาทของส่วนประกอบทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้ว เราก็จะได้โครงสร้างของรัฐสภานั้นเอง
โครงสร้างก็เปรียบได้กับสรีระร่างกายของคน ส่วนภายในสรีระนั้นก็ประกอบด้วยหน้าที่ต่าง ๆ เช่น ระบบการหายใจ ระบบหมุนเวียนของเลือด ระบบการขับถ่าย ระบบของการย่อย ระบบการเคลื่อนไหว เป็นต้น ซึ่งการทําหน้าที่ของระบบต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อทําให้โครงสร้างสามารถดํารงอยู่ได้
เปรียบเทียบตัวแบบโครงสร้างหรือระบบของ David Easton และ Gabriel Almond
David Easton นั้นได้เสนอแนะการวิเคราะห์การเมืองเปรียบเทียบโดยดูหน่วยการวิเคราะห์ เชิงระบบ ซึ่งเขาเห็นว่าการใช้ระบบในการวิเคราะห์การเมืองจะสามารถสร้างความเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ที่มี ความสัมพันธ์เข้ากันและเรียกว่า “การเมือง” ได้ การศึกษาของเขาช่วยสร้างศาสตร์แห่งการสื่อสารทางการเมือง เพื่อสร้างระบบที่เชื่อมโยงการเมืองในที่ต่าง ๆ ได้ โดยสามารถเปรียบเทียบในเชิงปรากฏการณ์ทางการเมือง สรีระของสังคม และพฤติกรรมของระบบการเมืองได้
1 ปัจจัยนําเข้า (Input) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1) การเรียกร้อง (Demand) อาจจะเป็นการเรียกร้องเพื่อสนองตอบต่อความต้องการ ทางรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับลักษณะและขนาดของการเรียกร้องเอง เช่น กรณีประชาชนที่เดือดร้อน ในเรื่องที่ทํากินและปัญหาหนี้นอกระบบ ถ้าประชาชนเพียงคนเดียวเรียกร้องรัฐบาลอาจจะไม่รับฟัง หรือรับฟังแต่ไม่ตอบสนอง ในทางตรงกันข้าม ถ้าประชาชนจํานวนมากรวมตัวกันเรียกร้องในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ชุมนุมเดินขบวนปิดถนน ฯลฯ ข้อเรียกร้องดังกล่าวก็จะมีผลเกิดขึ้น กล่าวคือ รัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรีจะรับฟังและนําไปพิจารณาต่อไป
2) การสนับสนุน (Support) สามารถแยกได้เป็น 2 ส่วน คือ
– การสนับสนุนประชาคมทางการเมือง คือ การที่สมาชิกที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ในระบบการเมือง มีความผูกพันกันในแง่ของความตั้งใจร่วมมือร่วมแรงกันในการแก้ไขปัญหาของระบบการเมือง ซึ่งจะแสดงออกโดยการแบ่งงานกันทํา เช่น กลุ่มชาวนา กลุ่มนักศึกษา กลุ่มสื่อมวลชน เป็นต้น ซึ่งการสนับสนุน ประชาคมทางการเมืองนั้นจะเป็นเรื่องของความรู้สึกเป็นเจ้าของสังคมร่วมกันนั่นเอง
– การสนับสนุนระบอบการเมือง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้าง ความชอบธรรมของระบอบการเมืองในการทําให้สมาชิกยอมรับ เช่น ระบอบประชาธิปไตยมีความชอบธรรมที่จะ ให้สมาชิกของสังคมยอมรับในกฎกติกา รัฐธรรมนูญ และรูปแบบการปกครองด้วย แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามระบอบ การเมืองไม่ได้รับการสนับสนุนจะมีผลเสียอย่างมาก นั่นคือ มีผลทําให้เกิดการต่อต้านที่รุนแรง เกิดจลาจลขึ้นได้
– การสนับสนุนผู้มีอํานาจหน้าที่ทางการเอง หมายถึง การสนับสนุนบุคคล ที่เข้าไปทําหน้าที่บริหารบ้านเมืองหรือรัฐบาล โดยดูจากความพึงพอใจของสมาชิกต่อการตัดสินใจของระบบ เช่น การที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกการเก็บภาษีเข้ากองทุนน้ํามัน หรือดูจากความพอใจต่อนโยบาย รถยนต์คันแรก เป็นต้น
2 ระบบการเมือง (System) ประกอบด้วย
1) ผู้เฝ้าประตู (Gate Keeper) ทําหน้าที่รวบรวมข้อมูลก่อนที่จะส่งต่อไปสู่ระบบ การเมืองเป็นผู้ตัดสินใจ ตัวอย่างผู้เฝ้าประตู เช่น กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง เป็นต้น
2) รัฐบาล หรือรัฐสภา (ผู้ตัดสินใจ)
3 ปัจจัยนําออก (Output) อาจสรุปได้ดังนี้ คือ
1) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของระบบ การเมือง เช่น เศรษฐกิจตกต่ำ อัตราการว่างงานสูง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการเมือง
2) เกิดจาาการเปลี่ยนแปลงภายในระบบการเมืองเอง ซึ่ง Output ประเภทนี้จะมีผล ต่อระบบการเมืองและสภาพแวดล้อมของระบบ
จะเห็นได้ว่า จจัยที่ผ่านออกมาจากระบบนั้น จะมีลักษณะบังคับ เช่น ประกาศ คําสั่ง ข้อบังคับ กฎหมาย ฯลฯ นอกจากนี้การดําเนินการยังมีผลผูกพันเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ก็เพื่อเอื้ออํานวยประโยชน์และ ความสะดวกแก่คนบางกลุ่มในระบบนั้นเอง
4 การสะท้อนป้อนกลับ (Feedback) ก็คือ การป้อนข้อมูลย้อนกลับเพื่อนํามาสู่กระบวนการ Input อีกครั้งหนึ่งว่า Output ที่ออกไปนั้นสามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ ผลเป็นอย่างไร
5 สิ่งแวดล้อม Environment) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) สิ่งแวดล้อมภายใน (internal Environment) ซึ่งจะเป็นสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ชิด กับระบบการเมืองมาก ประกอบด้วย
– สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ซึ่งเป็นเรื่องสภาพทั่วไป เช่น อาคาร สิ่งปลูกสร้างชุมชน ถนน ลำคลอง ฯลฯ
– สิ่งแวดล้อมทางชีววิทยา เป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความมีเหตุผล การร่วมมือร่วมใจกัน และความขัดแย้งที่เกิดขึ้น สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาและสังคม ซึ่งได้แก่ วัฒนธรรมในสังคม โครงสร้างทางสังคม ระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างด้านประชากร ฯลฯ
2) สิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) เช่น วิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำของโลก ปัญหาที่เกิดกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น
ส่วน Almond นั้นเชื่อว่าถ้าผู้ศึกษาเปรียบเทียบให้ความสําคัญกับการศึกษาพฤติกรรมและการ แสดงออกของคนจะช่วยให้การศึกษาเปรียบเทียบก้าวสู่ขั้นที่ก้าวหน้าไปจากการศึกษาเดิมที่ให้ความสําคัญกับ กฎหมายและพิธีการ และจากหน่วยการเคราะห์เดิมที่ศึกษาสถาบันทางการเมืองเป็นหลัก นักรัฐศาสตร์ก็จะหันมา สนใจ “บทบาท” (Role) และ “โครงสร้าง” (Structure) ซึ่ง Almond ได้ให้คําจํากัดความของบทบาทว่าเป็นหน่วยที่มี การปะทะสัมพันธ์ในระบบการเมือง และแบบแผนของการปะทะสัมพันธ์ก็คือระบบนั่นเอง
– Almond ได้รับอิทธิพลทางความคิดในการวางแผนเปรียบเทียบระบบการเมืองจาก David Easton ในหนังสือชื่อ “ระบบการเมือง” (The Political System)
Almond เห็นว่า หน้าที่ (Function) ของระบบการเมืองสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
1 หน้าที่ในการส่งปัจจัยเข้าสู่ระบบ (Input Function) ได้แก่
1) การอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) ซึ่งถือว่าเป็น กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมการเมือง และการสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย
2) การคัดเลือกคนเข้าสู่ระบบการเมือง (Political Recruitment) ซึ่งหมายถึง การคัดเลือกหรือสรรหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อเป็นตัวแทนเข้าไปทําหน้าที่ต่าง ๆ ทางการเมือง
3) การเป็นปากเสียงของผลประโยชน์ที่ชัดเจน (Interest Articulation) หมายถึง การแสดงออกถึงความต้องการของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ในสังคม เพื่อให้รัฐบาลหรือหน่วยที่ตัดสินใจกําหนด นโยบายต่อไป
4) การรวบรวมผลประโยชน์ (Interest Aggregation) ก็คือ การสมานฉันท์ของ การเรียกร้องที่เสนอเข้าสู่ในระบบการเมือง ซึ่งสามารถเห็นได้จากการรวมกลุ่มกันของกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มอาชีพ หรือกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น
5) การสื่อสารทางการเมือง (Political Communication) คือ การถ่ายทอดแลกเปลี่ยน ข่าวสารของส่วนต่าง ๆ ในระบบและระหว่างระบบ
2 หน้าที่ในการส่งปัจจัยออกจากระบบการเมือง (Output Functions) ได้แก่
1) การออกกฎระเบียบ (Rule Making) ซึ่งหมายถึง อํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติ
2) การบังคับใช้กฎระเบียบ (Rule Application) ซึ่งหมายถึง อํานาจของฝ่ายบริหาร
3) การตีความกฎระเบียบ (Rule Adjudication) ซึ่งหมายถึง อํานาจของฝ่ายตุลาการ โดย Almond มีความเห็นสอดคล้องกับ Easton นั่นคือ การเรียกร้องและการสนับสนุน
– การเรียกร้อง แบ่งได้เป็น 4 ประการ คือ
1) การเรียกร้องให้มีการจัดสรรสินค้าและบริการ เช่น เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เพิ่มสถานศึกษา เพิ่มสถานพยาบาล ฯลฯ
2) การเรียกร้องให้มีการออกกฎควบคุมความประพฤติ เช่น การขอให้มีการควบคุมราคาสินค้า คุ้มครองลิขสิทธิ์ ปราบปรามโจรผู้ร้าย ฯลฯ
3) การเรียกร้องให้มีส่วนร่วมในระบอบการเมือง เช่น เรียกร้องสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฯลฯ
4) การเรียกร้องให้มีการสื่อสารและได้รับทราบข้อมูลจากระบบการเมือง เช่น ต้องการรับรู้เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ การยืนยันสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายว่าไม่ผิดจนกว่าศาลจะตัดสิน ฯลฯ
การสนับสนุน มีอยู่ 4 ประการ คือ
1) การสนับสนุนทางวัตถุ เช่น การสนับสนุนในรูปตัวเงิน การจ่ายภาษีให้รัฐโดยไม่บิดพลิ้ว การเข้ารับราชการทหาร ฯลฯ 2) การเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เช่น การให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามกฎหมาย การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ฯลฯ
3) การสนับสนุนในลักษณะที่เป็นการเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การใช้สิทธิเลือกตั้ง การออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ฯลฯ
4) สนใจข่าวสารของรัฐ เคารพผู้มีอํานาจทางการเมือง สัญลักษณ์ต่าง ๆ รวมทั้งพิธีการของสังคม
ข้อ 2 (ก.) การพัฒนาคืออะไร ? พัฒนาเรื่องอะไรบ้าง ? พัฒนาอย่างไร ?
(ข) การพัฒนาที่แท้จริงคืออะไร ? ท่านคิดว่าสังคมไทยมีการพัฒนาที่แท้จริงหรือไม่ ? หรือเป็นเพียง“การทันสมัยแต่ด้อยพัฒนา” ? ทําไม ? จงอธิบายและระบุตัวชี้วัดการพัฒนาที่แท้จริงดังกล่าวให้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
(ค) สังคมไทยจําเป็นต้องกล่อมเกลาปลูกฝังผู้คนในสังคมในมิติใดบ้าง เพื่อให้เกิดมีวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมตามตัวชี้วัดการพัฒนาที่แท้จริงที่ระบุในข้อ ข. และ
(ง.) ใครหรือองค์กรใดบ้างจะทําหน้าที่เป็นผู้ปลูกฝังกล่อมเกลา (Change agents) ระบุและอธิบายให้ชัดเจน
แนวคําตอบ
การพัฒนา (Development) คือ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ดีขึ้น โดยมี เป้าหมายที่ชัดเจน เช่น
– การพัฒนาเศรษฐกิจ คือ การทําให้รายได้ที่แท้จริงต่อคนเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็น เวลานาน เพื่อทําให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกทั้งยังทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้าน เศรษฐกิจและสังคม
– การพัฒนาการศึกษา คือ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและการ เรียนรู้ของประชาชน เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ รวมไปถึงส่งเสริม การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา
– การพัฒนาสังคม คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ดีทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และวัฒนธรรม เพื่อประชาชนจะได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งทางด้านที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม สุขภาพอนามัย การศึกษา การมีงานทํา มีรายได้เพียงพอในการครองชีพ ประชาชนได้รับความเสมอภาค ความยุติธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการเปลี่ยนแปลงทุกขั้นตอนอย่างมี ระบบ เป็นต้น
การพัฒนาที่แท้จริง คือ กระบวนการที่ทําให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในลักษณะที่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการผลิต โครงสร้างทางสังคม ค่านิยม ทัศนคติ การศึกษา ระบบการปกครอง และการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ นอกจากนี้ยังทําให้เกิดการกระจายรายได้ ที่เป็นไปอย่างเสมอภาค นั้นคือ ประชากรส่วนใหญ่จะต้องได้รับประโยชน์จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน และนําไปสู่ความกินดีอยู่ดีของประชาชนโดยถ้วนหน้า
ในสังคมไทยนั้นถือว่ายังไม่มีการพัฒนาที่แท้จริง เป็นเพียง“การทันสมัยแต่ด้อยพัฒนา” คือ ลักษณะของการทําตามสมัยที่นิยมกัน หรือกลุ่มชนในแต่ละยุคแต่ละสมัยในการดํารงชีวิต เช่น การแต่งกาย การจับจ่ายใช้สอย การกิน การปฏิบัติตน ฯลฯ ซึ่งคนที่ทําตามกันนี้จะเรียกว่า คนทันสมัย แต่ในขณะเดียวกันกลับหา เนื้อหาสาระสําคัญที่ควรจะเป็นไม่ได้ ทําตามแต่เปลือกไม่ได้เอาแก่นสําคัญมาด้วย หรือทําตามทั้ง ๆ ที่ผิด ไม่มีการแยกแยะจึงทําผิดตามไปด้วย หรืออาจกล่าวได้ว่ามีแต่ปริมาณแต่ขาดคุณภาพเมื่อเปรียบกับสังคมที่พัฒนาแล้ว
ตัวอย่างของการทันสมัยแต่ด้อยพัฒนา เช่น
– การที่คนไทย ส่สูท (อย่างตะวันตก) ประชุมงานระดับโลก แต่การตัดสินใจยังใช้ความรู้สึกการคาดเดา มากกว่าที่จะใช้มาตรฐานอุตสาหกรรมหรือคู่มือที่ผ่านการวิจัยและพัฒนามาแล้ว
– การที่คนไทยมีรถยนต์หรูหรือยี่ห้อดัง ๆ ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่กลับพบว่าไม่มีรถยี่ห้อของคนไทยสักที ทั้งที่เป็นเวลากว่าร้อยปีแล้วที่มีรถยนต์เข้ามาในประเทศ
– การได้รับโอกาสในการศึกษาเล่าเรียนที่สูง หรือศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชื่อดังในต่างประเทศ แต่มีความเสื่อมถอยทางปัญญา เชื่อโฆษณา ติดความหรูหรา ซื้อของที่ ไร้ค่าในราคาแพง มีนิสัยฟุ่มเฟือย ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนมีคุณค่า/ไร้คุณค่า ซื้อแค่ตามแฟชั่นเท่านั้น
– โรงพยาบาลนําเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ เพียงเพื่อหวังผลทางธุรกิจการแพทย์ โดยไม่ได้ศึกษาถึงผลกระทบที่มีต่อผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ – การมีห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่โต แต่กลับพบว่ามีสินค้าถูกปนเปื้อนจากยาฆ่าแมลงที่ขายปนกับอาหาร – การปลูกบ้านที่สวยงามใหญ่โต หรือสร้างถนนหนทางใหม่ ซึ่งไปขวางทางน้ำจนเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ทุกปี
– การใช้โทรศัพท์เกินความจําเป็น โทรคุยนานทําให้เสียเงินโดยไม่จําเป็น
– การร้องเรียนผ่านเว็บ แต่เป็นการกลั่นแกล้งกัน ใส่ร้ายกัน
– การมีเครื่องมือเตือนภัยมากมาย แต่ใช้งานไม่เป็น ฯลฯ
ตัวชี้วัดการพัฒนาที่แท้จริง ได้แก่
1 ความมั่นคงทางการเมือง หรือบางครั้งอาจใช้คําว่า “เสถียรภาพทางการเมือง” ก็ได้ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก
– ความต่อเนื่องของระบบการเมือง ซึ่งเราพบว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือมีความ มันคงทางการเมือง มักจะมีความต่อเนื่องทางการเมือง ไม่มีการแทรกแซงของทหาร กลไกทางการเมืองดําเนินไป ตามกฎหมายที่กําหนดไว้ ขณะที่การเมืองในประเทศที่กําลังพัฒนามักมีปัญหาเรื่องของการแทรกแซงของทหาร หรือถูกแทรกแซงจากภายนอกซึ่งไม่ใช่เงื่อนไขทางการเมือง
– ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มักถูกเชื่อมโยงกับความมั่นคงทางการเมืองเสมอ เนื่องจากประเทศใดที่มีเศรษฐกิจไม่ดี มีคนว่างงานจํานวนมาก รายได้ของประชาชนน้อยลง สินค้ามีราคาแพงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อรัฐบาลอย่างแน่นอน ดังนั้นเสถียรภาพหรือความมั่นคงทางการเมืองย่อมลดลงถ้าเศรษฐกิจตกต่ํา แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตค่อนข้างสูงก็จะทําให้เสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลมีมากเช่นกัน
– สังคม ปัญหาสังคมมักเชื่อมโยงกับปัญหาทางเศรษฐกิจ และนําไปสู่ปัญหาทาง การเมืองของประเทศ ตัวอย่างเช่น ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาของยาเสพติด ปัญหาของคนว่างงาน ปัญหาของผู้ไร้ที่อยู่อาศัย เป็นต้น
2 สถาบันทางการเมือง
– รัฐธรรมนูญ ถือเป็นกฎหมายสูงสุด และเป็นสถาบันทางการเมืองที่สําคัญของ ประเทศ เนื่องจากรัฐธรรมนูญจะเป็นตัววางกรอบโครงสร้างทั้งหมดทางการเมืองที่จะพูดถึงในเรื่องสิทธิ อํานาจหน้าที่ และที่มาของสถาบันตัวอื่น ๆ รวมทั้งสมาชิกทางการเมืองในแบบต่าง ๆ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงต้องมีความชอบธรรม ไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อวัฒนธรรมและวิถีการดําเนินชีวิตของคนในชาติ นอาจากนี้จะต้องไม่มีความเอนเอียง หรืออํานวยประโยชน์ให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างเด็ดขาด มิฉะนั้นจะถูกยับยั้งและเกิดการรวมกลุ่มของประชาชน เพื่อต่อต้าน ดังนั้นการมีรัฐธรรมนูญที่ดีจึงก่อให้เกิดการพัฒนาทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
– สภาถือเป็นสถาบันทางการเมือง ซึ่งเราให้ความสนใจในเรื่องที่มาและอํานาจหน้าที่ ของสภาว่ามีอะไรบ้าง สมาชิกมาจากการสรรหาหรือการแต่งตั้ง สัดส่วนของ ส.ส. และ ส.ว. เป็นเท่าใด สิ่งเหล่านี้ จะถูกนํามาพิจารณาทั้งสิ้น นอกจากนี้เรายังมองไปถึงพฤติกรรมของสมาชิกในสภาว่ามีลักษณะเช่นไร
– พรรคการเมือง ถือเป็นสถาบันทางการเมืองที่สําคัญที่จะเปิดโอกาสให้แต่ละพรรค ที่มีนโยบายและอุดมการณ์ของตนเองได้มีบทบาทในการสรรหาคนที่มีความรู้ ความสามารถเพื่อเป็นตัวแทนให้กับ ประชาชนเข้าไปทําหน้าที่ในสภา พรรคการเมืองที่มีโอกาสทําหน้าที่บริหารประเทศ จะต้องรู้จักวางแนวทางในการ ทําหน้าที่เมื่อเป็นรัฐบาล มีนโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนหญ่ และรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ ของประเทศชาติเสมอ
3 การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ถือเป็นหัวใจของการพัฒนาการเมือง เพราะเมื่อใดก็ตามที่ ประเทศมีสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำการเมืองก็มักจะขับเคลื่อนไปได้ยาก ฉะนั้นถ้าประเทศใดก็ตามที่มีภาวะเศรษฐกิจที่ดี ประชาชนอยู่ดีกินดี มีการศึกษาที่ดี และมีความรู้ การซื้อสิทธิขายเสียงก็มักจะทําได้ยาก ในทางตรงกันข้าม ถ้า ประเทศใดมีภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ประชาชนอดอยาก ขาดการศึกษา การซื้อสิทธิ์ขายเสียงก็มักจะทําได้ง่าย ดังนั้น จะเห็นว่าการพัฒนาทางการเมืองจึงมักจะถูกเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจเสมอโดยทั้ง 2 ตัวแปรมักแยกกันไม่ออก เป็นต้น
การกล่อมเกลาปลูกฝังผู้คนในสังคมเพื่อให้มีวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมตามตัวชี้วัดการพัฒนา ที่แท้จริง มีดังนี้
1 ภาครัฐจะต้องมุ่งเน้นสร้างประชาธิปไตยทางการเมือง และประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจโดยเร็ว รวมทั้งมีระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมคุ้มครองความมั่นคงให้แก่ประชาชน ไม่ใช่ มีไว้เพื่อให้พรรคการเมืองบางพรรคนําไปใช้เป็นเงื่อนไขกับประชาชน เพื่อนําไปใช้เป็นนโยบายประชานิยมในการนําตนเข้าไปสู่อํานาจ หรือชื่อเวลาให้ตนอยู่ในอํานาจเท่านั้น
2 ภาครัฐจะต้องรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชน เพื่อส่งเสริมในเรื่องการสร้างจิตสํานึกทางการเมือง วัฒนธรรม ค่านิยม การมีส่วนร่วมทางการเมือง การเรียนรู้ประชาธิปไตย ร่วมกันระหว่างพลเมือง โดยเฉพาะชาวบ้านในชนบท ชนชั้นกลางในเมือง นิสิตและนักศึกษา
3 เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น โดยมีกฎหมายรองรับ อีกทั้งรัฐบาล ภาครัฐ และภาคการศึกษาจะต้องส่งเสริมและผลักดันให้มีกิจกรรมเพื่อสังคมของนักเรียน นักศึกษาตามมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อช่วยสร้างจิตสํานึกทางการเมืองที่ดีให้แก่ประชาชนและสังคม
4 ในด้านภาคการศึกษาจะต้องปลูกฝังจิตสํานึกทางการเมือง โดยมีวิชาสิทธิตามรัฐธรรมนูญสิทธิพลเมือง และอุดมการณ์ทางการเมือง บรรจุในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ
5 ในด้านภาคกฎหมายจะต้องมีกฎหมายป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงที่เข้มข้น ผู้ที่ซื้อสิทธิหรือขายเสียงต้องมีโทษความผิดที่หนัก เพื่อป้องกันวัฒนธรรมการซื้อสิทธิขายเสียง
6 ภาครัฐและภาคประชาชนต้องร่วมกันปฏิรูป กํากับ และรณรงค์จริยธรรมคุณธรรมทุกภาคส่วนในสังคมไทย โดยไม่ฝากความหวังไว้กับองค์กรอิสระ มากกว่าการสร้างภาค พลเมืองให้เข้มแข็ง เป็นต้น
ผู้ที่จะทําหน้าที่เป็นผู้ปลูกฝังกล่อมเกลา (Change agents) ได้แก่
– ครอบครัว การสร้างสังคมที่ดีและการกล่อมเกลาวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบ ประชาธิปไตยจําเป็นต้องใช้สื่อในการสร้างความรู้ทางการเมือง โดยครอบครัวถือว่าเป็นหน่วยแรกในการฝึก ให้เด็กได้รับรู้สภาพและเป็นการปูพื้นฐานทางการเมือง นักรัฐศาสตร์เปรียบเทียบได้ให้ความสําคัญกับครอบครัว และบทบาทของครอบครัวในการสร้างประสบการณ์ให้กับเด็กเป็นอย่างมาก ซึ่งครอบครัวจะช่วยในเรื่องการหล่อหลอมทางการเมืองได้ 3 แนวทางด้วยกัน คือ
1) ครอบครัวจะช่วยถ่ายทอดทัศนะของพ่อแม่ต่อเด็ก โดยเด็กจะเรียนรู้สภาพ ความคิดและโอกาสในการแสดงความคิดเห็นจากทัศนคติของพ่อแม่ เช่น ถ้าพ่อแม่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือเปิดโอกาสและพูดคุยการเมืองให้กับเด็กแล้ว เด็กคนนั้นก็จะได้รับรู้และมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย ฯลฯ แม้ว่า บางครั้งในสังคมไทยอาจจะมีบางครอบครัวที่มีความเผด็จการกับลูก ๆ อยู่บ้าง แต่โดยทั่วไปแล้วก็ยังถือได้ว่ายังมี ความเป็นประชาธิปไตยมากกวาเผด็จการ
2) พ่อแม่จะมีลักษณะเป็นตัวแบบให้กับเด็ก โดยเด็กจะมีการเลียนแบบจากสิ่งที่ พ่อแม่กระทํา เช่น พฤติกรรมในการกิน การแบ่งปัน การช่วยเหลือผู้อื่น ความมีน้ำใจ การมีส่วนร่วม การมีนิสัย ชอบการเลือกตั้ง ชอบแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ฯลฯ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เด็กจะเรียนรู้และตามแบบจากพ่อแม่
3) บทบาทและสิ่งที่เด็กคาดหวังที่จะกระทําเมื่อเป็นผู้ใหญ่ จะมีความสัมพันธ์กับ การแสดงออกทางการเมืองของเขา นั่นคือ เด็กจะแสดงออกทางการเมืองอย่างรก็ขึ้นอยู่กับความหวังที่เขาได้รับ เมื่อครอบครัวสั่งสอน เขาอาจมีเป้าหมายที่จะเป็นนักการเมือง เป็นรัฐมนตรี หรือเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเขาเติบโต ขึ้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลผูกพันกับระบบการเมืองแทบทั้งสิ้น
– โรงเรียน นับว่ามีบทบาทอย่างยิ่งในการสร้างให้เกิดสังคมที่ดี และเป็นหน่วยสร้าง “การกล่อมเกลาวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย ซึ่งโดยทั่วไปเด็กมีโอกาสได้รับอิทธิพล ในการเรียนรู้จากโรงเรียนค่อนข้างมาก เนื่องจากระยะเวลาที่อยู่ในโรงเรียนมีเวลานาน จึงเป็นผลให้ความรู้ ทางการเมืองที่เด็ก ๆ จะได้รับมีการสะสมมานานจนสามารถฝังอยู่ในความทรงจํา
– ในสังคมไทยนั้นระบบโรงเรียนและการจัดการเรียนการสอนนับว่ามีอิทธิพลต่อความเชื่อ ของเด็กมาก เด็กมักจะเชื่อฟังครูมากกว่าพ่อแม่ เนื่องจากมีโอกาสอยู่ในโรงเรียนมากกว่าที่บ้าน เมื่อเด็กมีการศึกษามากขึ้นโอกาสที่เขาจะได้รับรู้ความเป็นไปทางการเมืองก็จะมากกว่าคนที่ไม่มีการศึกษา เนื่องจากเขาสามารถศึกษา เพิ่มเติมได้จากสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ บทความ การสนทนาทางวิชาการ ฯลฯ ซึ่งคนที่ด้อยการศึกษาอาจไม่ได้รับ ในรายละเอียดได้มากเท่ากับคนที่มีการศึกษา นอกจากนี้โรงเรียนยังช่วยในการสร้างค่านิยมของระบอบประชาธิปไตย ให้เยาวชนผูกพันกับระบอบประชาธิปไตยได้อีกด้วย
– สื่อมวลชน ชน โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ ต่างก็เข้ามามีบทบาทใน ชีวิตประจําวันของประชาชนมากขึ้น ซึ่งในการสร้างสังคมที่ดีและการกล่อมเกลาวัฒนธรรมทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยจําเป็นต้องใช้สื่อมวลชนมาเป็นเครื่องมือในการอบรมหรือเป็นช่องทางในการเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมือง ดังนั้นการนําเสนอข้อมูลของสื่อมวลชนจึงมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อ การพัฒนาการเมืองของไทย เพราะถ้าสื่อมวลชนไม่มีความเป็นกลางทางการเมืองและนําเสนอข่าวสารที่บิดเบือน จากข้อเท็จจริงแล้ว อาจทําให้ประชาชนหรือเยาวชนสับสนกับข้อมูลข่าวสารที่ได้รับและก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้นได้
ข้อ 3 ให้นักศึกษายกแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตย (ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ) ขึ้นมาอธิบายพร้อมทั้งอภิปรายว่าแนวคิดดังกล่าวมีจุดเด่นและจุดด้อยอย่างไรบ้าง โดยสามารถเลือกแนวคิดของนักวิชาการคนใดคนหนึ่งขึ้นมาอธิบายก็ได้
แนวคําตอบ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บริบทของการแข่งขันระหว่างโลกเสรีประชาธิปไตย กับโลกสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ ส่งผลให้นักวิชาการและผู้กําหนดนโยบายในโลกตะวันตก สนใจ “การพัฒนาทางการเมือง” (Political Development) ในประเทศกําลังพัฒนา โดยเน้นที่การศึกษาเงื่อนไขพื้นฐานของการพัฒนาประชาธิปไตย
ลูเซียน พาย (Lucian Pye) ได้ให้คําจํากัดความในเรื่องการพัฒนาทางการเมืองไว้ดังนี้
1 การพัฒนาทางการเมืองเป็นเงื่อนไขที่จําเป็นในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ การเมือง ที่พัฒนาแล้วเปรียบเสมือนปัจจัยสําคัญที่จะเอื้อต่อความเจริญทางเศรษฐกิจ ช่วยให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวของ ประชากรเพิ่มขึ้น ซึ่งความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นอาจเกิดขึ้นได้ในระบบการเมืองที่แตกต่างกัน และจากข้อเท็จจริง ที่ปรากฏให้เห็นในหลายประเทศยังชี้ให้เห็นว่า หากระบบการเมืองมีการพัฒนาสูงก็จะส่งเสริมให้เกิดความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ความสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจจึงขึ้นอยู่กับระดับของการพัฒนาการเมืองของแต่ละสังคม
2 การพัฒนาทางการเมืองเป็นการเมืองของสังคมอุตสาหกรรม กล่าวคือ การเมืองในประเทศ อุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย หรือเผด็จการจะมีแบบแผนของพฤติกรรมของ สมาชิกในสังคมที่มีเหตุผล รัฐบาลมีความรับผิดชอบต่อความสงบสุขและความกินดีอยู่ดีของประชาชน ซึ่งการเมือง ของสังคมอุตสาหกรรมนั้นนับได้ว่าเป็นแบบอย่างที่ดีซึ่งชี้ให้เห็นถึงความสําเร็จในการแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปด้วยดี โดยเฉพาะในปัญหาหลักคือ การแจกแจงความกินดีอยู่ดีให้กับสมาชิกอย่างเป็นธรรมกว่าสังคมอื่น ๆ จะเห็นว่า สังคมที่พัฒนาจนก้าวเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมได้นั้น ระบบการเมืองจะต้องมีระดับการพัฒนาสูง ดังนั้นลักษณะ ระบบการเมืองของอุตสาหกรรมก็คือ รูปธรรมของระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วนั่นเอง
3 การพัฒนาทางการเมืองเป็นความทันสมัยทางการเมือง กล่าวคือ การพัฒนาทางการเมือง จะเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองให้มีความทันสมัย (Folitical Modernization) นั้นคือ จะต้องมีการแบ่งโครงสร้างทางการเมืองให้มีความแตกต่างซับซ้อน สร้างสรรค์ให้เกิดเอกภาพในอํานาจทางการ ปกครองและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง
4 การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่องรัฐ-ชาติ แนวคิดนี้เกิดจากความเห็นที่ว่า แนวปฏิบัติทาง การเมืองที่เกิดขึ้นอันถือได้ว่ามีลักษณะที่พัฒนาแล้วนั้นจะสอดคล้องกับมาตรฐานของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในรัฐ-ชาติ ยุคใหม่ กล่าวคือ รัฐชาติเหล่านี้สามารถที่จะปรับตัวและดํารงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของสังคมได้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งยังสร้างลัทธิชาตินิยมอันถือว่าเป็นเงื่อนไขที่จําเป็นต่อการพัฒนาการเมือง ซึ่งจะนําไปสู่ความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันในชาติ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การพัฒนาการเมืองก็คือการสร้างชาติ (Nation Building) นั้นเอง
5 การพัฒนาทางการเมืองเป็นการพัฒนาในเรื่องกฎหมายและการบริหาร แนวคิดนี้มุ่งที่ การพัฒนาสถาบันบริหารและพัฒนาเครื่องมือของสถาบันไปพร้อม ๆ กัน นั่นคือ การพัฒนากฎหมายเพื่อสร้าง ความสงบเรียบร้อยและประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เละชี้ให้เห็นว่าระบบบริหารเพื่อ ตอบสนองความต้องการของประชาชนจะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับระดับของการพัฒนา การเมือง ระบบการเมืองที่มีระดับการพัฒนาสูงจะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพของการบริหาร
ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าระบบกฎหมายจะได้รับการพัฒนาเพื่อดํารงความยุติธรรมของสังคม และตอบสนองความ ต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ภายใต้ระบบการเมืองที่มีการพัฒนา
6 การพัฒนาทางการเมืองเกี่ยวพันกับการสร้างมวลชนและการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง แนวคิดนี้เห็นว่าการฝึกฝนและการให้ความสําคัญกับสมาชิกของสังคมในฐานะเป็นราษฎร ตลอดจนการส่งเสริม ให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นเป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่งต่อรัฐ-ชาติใหม่ และเป็นปัจจัยที่สําคัญต่อการพัฒนา ทางการเมือง เพราะหัวใจสําคัญของแนวคิดนี้ก็คือ อํานาจทางการเมืองเป็นของประชาชน ดังนั้นประชาชน จะต้องแสดงบทบาทในการควบคุม กํากับ และตรวจสอบระบบการเมือง เพื่อให้แน่ใจว่าระบบการเมืองที่ส่งเสริม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองดังกล่าวคือระบบการเมืองที่พัฒนา หรืออาจกล่าวได้ว่าแนวทางการพัฒนา ทางการเมืองก็คือ การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
7 การพัฒนาทางการเมืองเป็นแนวทางในการสร้างประชาธิปไตย แนวคิดนี้ค่อนข้างจะแคบ เนื่องจากเห็นว่าการพัฒนาการเมืองมีอยู่รูปแบบเดียวคือ “การสร้างประชาธิปไตย” ทําให้มีนักวิชาการหลายท่าน วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นคํานิยามที่ลําเอียง มุ่งเน้นที่จะยัดเยียดค่านิยมทางการเมืองแบบตะวันตกให้กับประเทศด้อยพัฒนา ในขณะที่ค่านิยมของตนเองไม่เอื้อประโยชน์ให้เลย แนวคิดนี้สรุปอย่างชัดเจนว่าการพัฒนาทางการเมืองก็คือ การพัฒนาระบบการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย ยิ่งระบบการเมืองเป็นประชาธิปไตยมากเท่าใด ก็ย่อมแสดงว่ามีการพัฒนามากขึ้นเท่านั้น
8 การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่องของความมีเสถียรภาพและการเปลี่ยนแปลงที่เป็นระเบียบ แนวคิดนี้มีความลําเอียงในแง่ของค่านิยมแบบประชาธิปไตยน้อยลง โดยมองว่าลักษณะการเมืองที่พัฒนาแล้วจะ เกิดขึ้นในระบบการเมืองใดก็ได้ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้ ซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยนั้นไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และไม่อาจก่อให้เกิด เสถียรภาพทางการเมืองได้ ดังนั้นการพัฒนาทางการเมืองในแง่นี้จึงเป็นลักษณะของการดําเนินชีวิตทางการเมืองที่ไมวุ่นวายและเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน แนวคิดนี้สรุปอย่างชัดเจนว่าลักษณะของระบบการเมืองที่มีการ เปลี่ยนแปลงตามกฎเกณฑ์กติกา จะก่อให้เกิดเสถียรภาพทางการเมือง ทั้งนี้เพราะประชาชนจะเกิดความเชื่อมั่น จึงเป็นปัจจัยสําคัญต่อเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ
9 การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่องของการระดมทรัพยากรและอํานาจ กล่าวคือ ถ้าระบบ การเมืองใดสามารถที่จะระดมทรัพยากรและอํานาจเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถ ทําให้คนปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบแบบแผนของระบบ และระบบเองก็สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ต่าง ๆ ที่มีอยู่ รวมทั้งสามารถแจกแจงทรัพยากรเหล่านี้อย่างเป็นธรรม โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนแล้ว ระบบการเมืองนั้นถือได้ว่าพัฒนาแล้ว
10 การพัฒนาทางการเมืองเป็นแง่หนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม กล่าวคือ การพัฒนาทางการเมืองนั้นจะผูกพันอย่างแน่นแฟ้นกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การที่ด้านใดด้านหนึ่งของ สังคมแปรเปลี่ยนไปจนกระทบถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก็ถือว่าเป็น ลักษณะหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทั้งปวงของสังคม ดังนั้นในการศึกษาการพัฒนาทางการเมืองจึงจําเป็นต้อง ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปพร้อมกันด้วย
จุดเด่นและจุดด้อย เช่น
– คําจํากัดความการพัฒนาทางการเมืองดังกล่าวนั้นไม่ได้มีทฤษฎีร่วมกัน เพราะในบางกรณีจะมีความหมายเพียงว่า รัฐบาลได้ปฏิบัติตามนโยบายเศรษฐกิจที่ถูกต้องหรือไม่เท่านั้น ดังนั้นปัญหาเรื่องการพัฒนาการเมืองจึงแตกต่างกันตามความแตกต่างกันทางปัญหาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
– แนวคิดดังกล่าวมีลักษณะเอนเอียงไปในทิศทางแบบตะวันตกหรือประเทศในฝ่ายเสรีประชาธิปไตย อีกทั้งยังเน้นที่การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอันเป็น รูปแบบหนึ่งของการเมืองแบบประชาธิปไตย ถ้าหากเป็นเช่นนั้นเราอาจนํามา สรุปอย่างผิด ๆ ได้ว่าการเมืองในประเทศเผด็จการย่อมไม่ถือว่าเป็นการเมืองที่พัฒนา
– แนวคิดดังกล่าวไม่ได้ระบุว่านิยามใดผิดหรือถูกมากกว่านิยามอื่น ๆ เป็นแต่ เพียงต้องการจะเน้นถึงตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเมืองที่สําคัญ ๆ ตามแนวทัศนะของนักวิชาการในสํานักต่าง ๆ เท่านั้น ด้วยเหตุนี้แต่ละทัศนะจึง มีอคติอยู่บ้างเป็นธรรมดา เช่น มองแต่เพียงว่าการเมืองที่พัฒนาแล้วเป็น การเมืองแบบประชาธิปไตย เป็นต้น
ข้อ 4 ให้นักศึกษาหยิบยกแนวทางการศึกษา (Approach) หรือแนวคิดทฤษฎีของการเมืองเปรียบเทียบแนวทางใดแนวทางหนึ่งหรือทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งขึ้นมาอธิบายโดยละเอียด และให้ยกตัวอย่างการนําแนวทางดังกล่าวไปใช้ในการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบในประเด็นใดประเด็นหนึ่งก็ได้มาพอเป็นที่เข้าใจ
แนวคําตอบ
แนวคิดทฤษฎีความทันสมัยและแนวทางการศึกษา
ทฤษฎีความทันสมัย (Modernization Theory) มีพื้นฐานความคิดในเรื่องการวิวัฒนาการของการผลิตและการค้าแบบทุนนิยม โดยยึดถือแนวทางการพัฒนาแบบแนวเส้น (Linear) ความคิดดังกล่าวเริ่ม ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยประเทศตะวันตกนั้นมีความเชื่อว่า “ความเฟื่องฟู” หรือ Civilization จะเกิดขึ้นได้ก็ จากการพัฒนาตามแนวดังกล่าว มีการสะสมทุน และการพัฒนาด้านเทคโนโลยี
ในด้านการเมือง ทฤษฎีความทันสมัยจะมุ่งเป้าหมายไปที่ระบบประชาธิปไตยแบบเสรี (ทั้ง ระบบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดี ระบบกึ่งทั้งสองแบบ) โดยเน้นการพัฒนาทางสถาบันที่เกี่ยวข้อง เช่น รัฐสภา พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมทางการเมือง และการแข่งขันทางการเมือง ซึ่งบางครั้งทฤษฎี ดังกล่าวจะผูกพันกับลัทธิชาตินิยมของประเทศที่เกิดใหม่ทั้งในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา ความทันสมัย
จะผูกพันกับการสร้างระบบอุตสาหกรรม การเน้นความเป็นอิสระของสถาบัน ความชํานาญเฉพาะอย่าง และเน้นอํานาจหน้าที่และการควบคุมเรื่องการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน เช่น การปฏิวัติ การรัฐประหาร และความรุนแรง ทางการเมือง โดยเหตุผลที่ว่าจะทําให้สังคมขาดเสถียรภาพ
ทฤษฎีความทันสมัยนั้นให้ความสําคัญกับการศึกษาเชิงเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง โดยจะศึกษาถึงสภาพเงื่อนไขที่ย่านวยและไม่อํานวยต่อการปรับ และการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัย ซึ่งการศึกษาอาจมุ่งที่สถาบันทางการเมือง โดยวิเคราะห์ในเชิงพฤติกรรมของสถาบันและองค์กรว่าจะมีอุปสรรคหรือปัจจัยในการเอื้ออํานวยต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
การศึกษาแนวนี้มุ่งที่ “หน่วยการวิเคราะห์” (Unit of Analysis) แม้ว่าการวิเคราะห์ความ ทันสมัย (หรือไม่ทันสมัย) ของประเทศกําลังพัฒนาจะให้ความสําคัญกับการวิเคราะห์ในหลายระดับ เช่น ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ระดับโครงสร้าง ระดับหน้าที่ หรือแม้แต่ระดับระหว่างประเทศก็ตาม นักทฤษฎีความ ทันสมัยก็ให้ความสําคัญในการศึกษารัฐหรือระดับชาติ แม้ว่าหน่วยของการวิเคราะห์จะกว้างไม่สามารถจะหา ข้อสรุปอะไรลงไปได้อย่างชัดเจนก็ตาม หน่วยย่อยของการวิเคราะห์ส่วนมากก็จะดูกระบวนการการพัฒนา ระดับของอุตสาหกรรม การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความสมเหตุสมผลของระบบราชการ ซึ่งความแตกต่างทาง โครงสร้างเหล่านี้ล้วนเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ที่นักรัฐศาสตร์ต่างเน้นในการศึกษา
ไอเซ็นสตาดท์ (Eisenstadt) ได้ให้ข้อสรุปไว้ว่า การศึกษาความทันสมัยมีประเด็นที่ศึกษา อยู่ 2 ประการ ได้แก่
1 ศึกษาถึงแบบแผนของความเปลี่ยนแปลง เช่น เปลียนแปลงระดับโครงสร้าง ระดับ สถาบัน และในทุก ๆ ระดับของสังคม
2 ศึกษาถึงแบบแผนของการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ เช่น ความสามารถ ของสถาบันในการที่จะดูดซับการเปลี่ยนแปลงระยะยาวได้มากน้อยแค่ไหน ปัญหาของการตอบสนอง ตลอดจน การเรียกร้องของส่วนต่าง ๆ
นอกจากนี้ ทฤษฎีความทันสมัยยังมีกรอบการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ “เชิงคู่” (Dichotomous) ซึ่งมีโครงสร้างการศึกษามาจากกรอบของนักทฤษฎีพัฒนาในศตวรรษที่ 19 คือกรอบการมอง “สังคมประเพณี สังคมทันสมัย” ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจความเป็นมาของการศึกษาและแนวทางการศึกษาความทันสมัย ตลอดจนอุดมการณ์ของนักทฤษฎี
การศึกษาเปรียบเทียบความทันสมัย “เชิงคู่” ได้ถูกนํามาเป็นแนวทางการศึกษาวิเคราะห์ สังคมและระบบวัฒนธรรมทางสังคม โดยการวิเคราะห์เชิงคู่นั้นได้ถูกนํามาใช้วิเคราะห์สังคมในเชิงกว้างเพื่อดู ระดับของการพัฒนา การศึกษาเชิงคู่เริ่มจากการมองเปรียบเทียบสรรพสิ่งตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป เช่น สังคมเมือง สังคมชนบท, ชาวบ้าน-ชาวเมือง, เกษตรกรรม-อุตสาหกรรม, การหยุดนิ่ง-การเคลื่อนไหว เป็นต้น
การศึกษาในเชิงคู่นี้มีมานับศตวรรษ เช่น การศึกษาของเซอร์เฮนรี่ เมนท์ (Sir Henry Maine) ศึกษากฎหมายโบราณในปี ค.ศ. 1861 และได้หยิบยกสังคม “เชิงคู่” มาเปรียบเทียบ โดยสังคมแบบแรกเรียกว่า – สังคมสถานภาพ (Status) ส่วนสังคมอีกแบบเรียกว่า สังคมที่มีสัญญา (Contract) โดยสรุปว่า การที่จะมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมในระดับที่ด้อยไปสู่สังคมพัฒนาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
เอมิลี่ เดอร์คาย (Emile Durkheim) นักสังคมวิทยา ก็เคยจัดสังคมออกเป็นคู่เช่นเดียวกัน นั่นคือ สังคมที่เรียกว่า “ Mechanical” และสังคม “Organic” โดยสังคมแบบแรกเป็นสังคมชนบทมีการรวมตัว ไม่มาก ส่วนสังคมแบบที่สองเป็นสังคมที่มีการแบ่งงานที่ซับซ้อน มีความแตกต่างและความชํานาญเฉพาะอย่าง
ส่วนเฟอร์ดินานด์ ทอนนี่ (Ferdinand Tonnies) ได้สร้างการศึกษา “เชิงคู่” คือ ชุมชน (Gemeinschaft) และสังคม โดยความหมายของ “ชุมชน” คือสังคมชนบท มีความเป็นพี่น้อง และมีศาสนาเป็นองค์ประกอบที่จะผูกพันคนในชุมชนเข้าด้วยกัน ส่วน “สังคม มีลักษณะของสังคมเมือง เช่น มี สถาบันนิติบัญญัติ มติมหาชน ฯลฯ
การศึกษาเชิงคู่ที่มีผลกระทบต่อการศึกษาเชิงพัฒนาการเมืองในปัจจุบัน เช่น งานเขียนของ พาร์สันส์ (Parsons) ในกรอบที่เขาสร้างขึ้นที่เรียกว่า แบบแผนของตัวแปร (Pattern Variable) ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้
ตัวอย่างของการศึกษา “เชิงคู่”
สังคมประเพณี (ด้อยพัฒนา)
1 Ascriptive Status : เป็นลักษณะที่ผูกพันกับเชื้อชาติ ศาสนา และครอบครัว มีความ ผูกพันทางสังคมสูง
2 Diffuse Role : บทบาทของคนในสังคมที่ไม่จํากัด คนหนึ่ง ๆ อาจทําหน้าที่ได้หลาย อย่าง เช่น เป็นพระ และเป็นอาจารย์ สอนหนังสือได้พร้อม ๆ กัน
3 Particularistic Value : เป็นลักษณะ |คานียมสังคมประเพณีที่คนมีการกระจุกตัว และมีลักษณะความคิดจํากัดอยู่ในวงแคบ
4 Collectivity Orientation : เป็นลักษณะการอบรมของคนที่ทํางานผูกติดอยู่กับคนอื่น ขาดความเป็นธ์ สระในการสร้างความเป็น เอกเทศ
5 Affectivity :เป็นลักษณะค่านิยมที่ผูกพันกับความรู้สึกในลักษณะพวกพ้อง
สังคมทันสมัย (พัฒนา)
1 Achievement Status : เป็นสังคมที่เน้นความสําเร็จเป็นเป้าหมาย ดความสามารถ เป็นหลัก
2 Spectific Role : เป็นสังคมที่คนมีบทบาทเฉพาะ เชน อาชีพครู หมอ ช่างไฟฟ้า ฯลฯ เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่รับผิดชอบ
3 Universalistic Value : เป็นลักษณะที่สังคมทันสมัย ประชาชนจะมีค่านิยมที่กว้างแบบ ครอบจักรวาล
4 Self orientation : เป็นเรื่องของการมองผลประโยชน์ของตัวเองซึ่งจะต้องรับผิดชอบ
5 Effective Neutrality : เป็นความรู้สึกกลาง ๆและเป็นพวกที่ผูกพันอยู่กับวินัย