การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3101 วิเคราะห์การเมืองเปรียบเทียบ

Advertisement

คําสั่ง

ข้อสอบมีทั้งหมด 5 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทํา 4 ข้อ คาดหวังคําตอบเป็นข้อเขียนแสดงความรู้ ความคิด และยกตัวอย่าง

ข้อ 1 การศึกษาการเมืองเปรียบเทียบมีความเป็นมาอย่างไร ?

ศึกษาอย่างไร ?

ศึกษาอะไรได้บ้าง ?

มีประโยชน์อย่างไร ?

มีความเป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่อย่างไร ?

การศึกษาเปรียบเทียบในโลกปัจจุบัน มักจะทําการเปรียบเทียบอะไรบ้าง ?

(อาจจะระบุอธิบายขยายความเพียงเรื่องเดียว แต่อธิบายขยายความอย่างน้อย 3 ประเด็น)

แนวคําตอบ

ความเป็นมาของการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ

ในสมัยกรีกตอนต้น นักปรัชญาการเมืองเช่น อริสโตเติลได้ใช้เทคนิคการศึกษาเปรียบเทียบ รูปแบบของรัฐบาลและแนวทางการปกครองของนครรัฐต่าง ๆ เช่น เอเธนส์ สปาร์ต้า เป็นต้น โดยมีการรวบรวม รัฐธรรมนูญของนครรัฐต่าง ๆ ถึง 158 รัฐธรรมนูญด้วยกัน และได้ทําการจัดลําดับขั้นพื้นฐานของรัฐบาลในรูปแบบ ต่าง ๆ เช่น รัฐบาลที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง การปกครองแบบอภิชนาธิปไตย และการปกครองแบบประชาธิปไตย ในเวลาต่อมานักรัฐศาสตร์คนสําคัญ ๆ เช่น โพลิเบียส และซิซีโรได้ถ่ายทอดความรู้จากกรีกเป็นภาษาโรมันโดยใช้ การเปรียบเทียบ โดยโพลิเบียสได้เน้นถึงคุณค่าของรูปแบบการปกครองที่มีการผสมผสานกันโดยรวมเอารูปแบบ ทั้ง 3 ที่อริสโตเติลนําเสนอเข้าด้วยกัน ซึ่งมีการนําหลักกฎหมายธรรมชาติและหลักความยุติธรรมเข้ากับแนวคิด ตามแบบฉบับกฎหมายโรมัน

ในสมัยกลาง นักรัฐศาสตร์ เช่น มาเคียเวลลี่ ได้นําแนวการศึกษาเปรียบเทียบที่อริสโตเติล เคยศึกษามาวิเคราะห์ใหม่ โดยใช้แนวการเขียนแบบรัฐศาสตร์ยุคใหม่เป็นบรรทัดฐาน ซึ่งก็คือ การใช้หลักการสังเกต การเมืองในรัฐต่าง ๆ และบางรัฐในยุโรป โดยมีสมมุติฐาน คือ มีปัจจัยอะไรที่ทําให้รัฐมีความมั่นคง และผู้ปกครอง มีความสามารถในการปกครอง

ในศตวรรษที่ 18 นั้น มองเตสกิเออ ได้ศึกษาธรรมชาติของเสรีภาพที่มนุษย์จะพึงมี โดยเสนอ หลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) การสังเกตระบบการปกครองของอริสโตเติล และใช้หลักการ จัดลําดับชั้น (Classification) ของระบบการเมืองต่าง ๆ

ในศตวรรษที่ 19 นั้น มีการศึกษาเปรียบเทียบเชิงประวัติศาสตร์เกิดขึ้น และมีการนําหลักการ พัฒนาทางการเมืองมาเป็นแนวในการศึกษาเปรียบเทียบ

การหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์การเมืองเปรียบเทียบจะเน้นในเรื่องหน้าที่และ ขอบเขตของรัฐบาลในประเทศต่าง ๆ มาเป็นตัวประกอบในการศึกษา แม้ว่าการศึกษาหน้าที่และขอบเขตของรัฐบาล ในประเทศต่าง ๆ จะมีลักษณะเดิมคือ นําเอาหลักกฎหมาย รัฐธรรมนูญ และโครงสร้างของรัฐบาลมาใช้วิเคราะห์ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นก้าวใหม่ที่สําคัญของรัฐศาสตร์เปรียบเทียบในยุคหลังสงคราม

สําหรับในปัจจุบันนั้นนักรัฐศาสตร์ทางการปกครองเปรียบเทียบสนใจที่จะศึกษาวิธีการ เปรียบเทียบมากกว่าที่จะมุ่งศึกษาถึงความเป็นมาของการปกครองเปรียบเทียบและทฤษฎีทางการเปรียบเทียบ

ลักษณะการศึกษาการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ พิจารณาได้จาก

1 ความเหมือนและความแตกต่าง

ความเหมือน (Similarities) เป็นลักษณะที่สอดคล้องกัน หรือคล้ายกันของสิ่งที่นํามา เปรียบเทียบ ส่วนความแตกต่าง (Differences) จะเป็นลักษณะที่ไม่สอดคล้องกัน ซึ่งอาจมีลักษณะของความ แตกต่างกันน้อย แตกต่างกันมาก หรือแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น การเมืองการปกครองของไทยและของพม่า ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ ระบบการเมืองการปกครองของไทยเป็นระบบประชาธิปไตยแบบ รัฐสภา ในขณะที่ระบบการเมืองการปกครองของพม่าเป็นระบบรวมศูนย์อํานาจโดยรัฐบาลทหาร เป็นต้น

โดยส่วนที่ซ่อนอยู่ในเรื่องความเหมือนและความแตกต่างในการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ก็คือ องค์ความรู้ หรือข้อมูลนั่นเอง ถ้าเรามีความรู้เฉพาะเรื่องการเมืองไทยเพียงอย่างเดียวแต่ไม่รู้เรื่องการเมือง ของประเทศอื่น ในการเปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่างก็ไม่สามารถทําได้ เนื่องจากข้อมูลที่นํามา เปรียบเทียบมีเพียงด้านเดียวเท่านั้น

2 หน่วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบ

หน่วยการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) คือ กรอบของการวิเคราะห์ที่ใช้ในการศึกษา ทางการเมือง เพื่อให้การวิเคราะห์ดําเนินไปในทิศทางที่แน่นอน ซึ่งก็คือ การเลือกหน่วยที่จะทําการเปรียบเทียบ นั่นเอง โดยอาจจะเป็นปัจจัยบุคคล องค์กร หรือสถาบัน รวมไปถึงกลุ่มองค์กรเอกชน (NGO) พฤติกรรมต่าง ๆ และกลุ่มประเทศ ซึ่งอาจใช้หลักความเหมือนหรือความแตกต่างและใช้ปัจจัยดังกล่าวในการเปรียบเทียบ สําหรับ ตัวอย่างของหน่วยการวิเคราะห์ทางการเมือง เช่น ผู้นํา บทบาท องค์กร สถาบันต่าง ๆ ทางการเมือง เป็นต้น

หน่วยการวิเคราะห์นั้นถือว่ามีความสําคัญมากในการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ เพราะจะทําให้สามารถศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ที่ต้องการได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เนื่องจากมุมมองในการอธิบายการเมืองนั้น มีขอบเขตที่กว้างขวางมาก หากไม่มีหน่วยการวิเคราะห์ก็จะไม่ทราบว่าควรจะเริ่มศึกษาจากตรงไหน หรืออาจทําให้ การวิเคราะห์ไม่มีกรอบที่ชัดเจน ซึ่งทําให้การวิเคราะห์ดําเนินไปในทิศทางที่ไม่แน่นอน

ผู้ศึกษาจะต้องตั้งปัญหาพื้นฐานถามตัวเองก่อนว่า ควรจะนําหน่วยการวิเคราะห์อะไร มาใช้ในการศึกษาทางการเมือง เช่น ถ้าต้องการจะศึกษาผู้นํา หน่วยการวิเคราะห์ก็คือ ตัวผู้นํา โดยอาจจะมุ่งไปที่ ตัวนายกรัฐมนตรีหรือเปรียบเทียบความเป็นผู้นําของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันกับนายกรัฐมนตรีคนก่อนในแง่ของ บุคลิกภาพ ดังนั้นหน่วยการวิเคราะห์ตรงนี้ก็คือตัวนายกรัฐมนตรีนั่นเอง นอกจากนี้จะเห็นว่าในการศึกษาเปรียบเทียบ อาจจะวิเคราะห์หน่วยเหนือขึ้นไป เช่น กลุ่มทางสังคม สถาบันทางการเมืองต่าง ๆ ได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น การนําเอาพรรคการเมืองเป็นหน่วยการวิเคราะห์ ทางการเมือง โดยเปรียบเทียบในแงโครงสร้างของพรรคการเมืองหรือดูในเรื่องนโยบายของแต่ละพรรคการเมือง หรือ ดูในเรื่องอุดมการณ์ของแต่ละพรรคการเมือง หรือดูในแง่ของความนิยมของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมือง เป็นต้น

3 ระดับการวิเคราะห์

ระดับการวิเคราะห์ (Level of Analysis) เป็นการจัดชั้นและระดับของระบบการเมือง เพื่อทําให้เกิดความชัดเจนที่ผู้ศึกษาจะวิเคราะห์ถึงหน้าที่และโครงสร้างของระบบการเมืองนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น การแบ่งระดับการเมืองไทยออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

1) ระดับชาติ คือ ส่วนกลาง โดยมีรัฐบาลกลางอยู่ที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหัวใจสําคัญและเป็นหลักของการบริหารประเทศ

2) ระดับภูมิภาค คือ ส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัดและอําเภอ 3) ระดับท้องถิ่น คือ ส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.), องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.), เทศบาล, กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

ในการเปรียบเทียบที่มีการจัดระดับในการวิเคราะห์นั้น จะทําให้การศึกษาเปรียบเทียบ สามารถมองเห็นหรือเปรียบเทียบให้เห็นในทุกระดับ ตั้งแต่การวิเคราะห์ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่นได้ ซึ่งในการเปรียบเทียบนั้นจะต้องเปรียบเทียบในระดับเดียวกัน

4 การแจกแจงข้อมูล

การแจกแจงข้อมูล (Classification) เป็นการจัดระบบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อจะทําให้ ผู้ศึกษาสังเกตเห็นความเหมือน (Similarities) และความแตกต่าง (Differences) ของข้อมูลนั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดทิศทางในการเลือกสรร การรวบรวม การจัดระบบระเบียบของข้อมูล และสร้างกรอบความคิด ยุทธวิธีในการวิจัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการศึกษาข้อมูลของประเทศพม่าเกี่ยวกับ บทบาทของนักศึกษา ข้อมูลที่ได้จะต้องมีการจัดระเบียบในเรื่องของขบวนการนักศึกษาก่อตั้งขึ้นตั้งแต่เมื่อใด เคย เปลี่ยนแปลงรัฐบาลหรือไม่ มีผลกระทบอะไรบ้าง ซึ่งอาจเปรียบเทียบกับบทบาทของนักศึกษาไทยก็ได้ แต่จะต้องใช้ ข้อมูลที่มีการแจกแจงอย่างเดียวกันมาพิจารณา

สิ่งที่มักนํามาศึกษาการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ

1 การวิเคราะห์เปรียบเทียบพรรคการเมืองในยุคต่าง ๆ

2 การวิเคราะห์เปรียบเทียบตุลาการในยุคต่าง ๆ

3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบการปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. และ อบจ.

4 การวิเคราะห์เปรียบเทียบชนชั้นในยุคต่าง ๆ

5 การวิเคราะห์เปรียบเทียบรัฐบาลหรือฝ่ายบริหารในยุคต่าง ๆ

6 การวิเคราะห์เปรียบเทียบสื่อมวลชนในยุคต่าง ๆ

7 การวิเคราะห์เปรียบเทียบวัฒนธรรมการเมืองในยุคต่าง ๆ

8 การวิเคราะห์เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในยุคต่าง ๆ

9 การวิเคราะห์เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ

10 การวิเคราะห์เปรียบเทียบคณะกรรมการการเลือกตั้งในยุคต่าง ๆ เป็นต้น

 

ประโยชน์ของการวิเคราะห์เปรียบเทียบ

1 ทําให้เราสามารถศึกษาได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถลงในรายละเอียดของการศึกษา เปรียบเทียบ และช่วยให้ผู้ศึกษาสังเกตเห็นความเหมือนและความแตกต่างของข้อมูลนั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน

2 ทําให้เห็นมุมมองที่กว้างมากขึ้น อันจะนําไปสู่การศึกษาและเกิดการพัฒนาในองค์ความรู้ จากระดับประเทศไปยังระดับนานาชาติ หรือระดับสากลต่อไป

3 ทําให้ได้รับการยอมรับและสร้างความสัมพันธ์ในระหว่างประเทศที่ดี รวมทั้งยังเป็น แนวทางในการศึกษาให้กับการพัฒนากระบวนการศึกษาเปรียบเทียบให้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก

4 ช่วยเสริมสร้างให้กับวิชารัฐศาสตร์มีชีวิตชีวา เกิดการปะทะสัมพันธ์ของนักวิชาการ ทางสังคมศาสตร์ซึ่งไม่ได้จํากัดแต่นักรัฐศาสตร์ และที่สําคัญได้สร้างและปรับปรุงระเบียบวิธีวิจัยที่เป็นระบบขึ้น รวมทั้งยังสามารถให้การอธิบายถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรทางสังคมศาสตร์ได้ค่อนข้างชัดเจน

ในส่วนของความเป็นศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ (Science) นั้น การวิเคราะห์เปรียบเทียบถือ เป็นสังคมศาสตร์อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่มีห้องทดลองที่จะทําการศึกษาเหมือนกับวิทยาศาสตร์ แต่จะศึกษาโดยอาศัย รูปแบบ แบบแผน พฤติกรรมและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในแต่ละสังคมหรือในแต่ละประเทศ เสมือนเป็นห้องทดลอง ขนาดใหญ่ เพื่อเปรียบเทียบการเมืองระหว่างประเทศ วิธีการศึกษาเปรียบเทียบดังกล่าวถือเป็นเครื่องมือที่เก่าแก่ ที่สุดเครื่องมือหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งความเป็นศาสตร์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นมาจากลักษณะสําคัญ 2 ประการ คือ

1 เป็นการศึกษาวิเคราะห์ที่เกิดจากความคิดและสติปัญญา โดยการตรึกตรองและ การวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผล ซึ่งสามารถที่จะพิสูจน์ได้ด้วยตัวแปรที่ควบคุมได้ แล้วจึงทําการทดสอบเพื่อหาข้อสรุป ที่ต้องการ

2 เป็นการศึกษาวิเคราะห์ที่เกิดจากประสบการณ์ของผู้ทําการศึกษา ซึ่งได้แก่ การดู การฟัง การสัมผัส เป็นต้น โดยจะต้องปลอดจากค่านิยมหรือตัดอคติออกไปแล้ว เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เที่ยงตรง และ เชื่อถือได้

การศึกษาเปรียบเทียบในโลกปัจจุบันมักจะทําการเปรียบเทียบในประเด็นที่สําคัญดังนี้

1 การพัฒนา ซึ่งเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ดีขึ้น โดยมีเป้าหมาย ที่ชัดเจน และชี้วัดความเป็นอยู่ของประชากรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการพัฒนานั้นจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาใน ด้านต่าง ๆ เช่น

– การพัฒนาเศรษฐกิจ คือ การทําให้รายได้ที่แท้จริงต่อคนเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็น เวลานาน เพื่อทําให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกทั้งยังทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้าน เศรษฐกิจและสังคม

– การพัฒนาการศึกษา คือ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและการ เรียนรู้ของประชาชน เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ รวมไปถึงส่งเสริม การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา

– การพัฒนาสังคม คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ดีทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และวัฒนธรรม เพื่อประชาชนจะได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งทางด้านที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม สุขภาพอนามัย การศึกษา การมีงานทํา มีรายได้เพียงพอในการครองชีพ ประชาชนได้รับความเสมอภาค ความยุติธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการเปลี่ยนแปลงทุกขั้นตอนอย่างมีระบบ

2 ความเป็นประชาธิปไตย ประเทศที่ได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นประชาธิปไตยนั้น จะมีลักษณะที่สําคัญ คือ ต้องยึดถืออํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ต้องมีการเลือกตั้ง ยึดหลักของเสียงข้างมาก สิทธิขั้นพื้นฐานของเสียงข้างน้อยจะต้องได้รับการเคารพและการรับฟัง ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง มีเสรีภาพ ในการแสดงออก มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เคารพเหตุผลมากกว่าบุคคล นอกจากนี้เรายังสามารถพิจารณา ความเป็นประชาธิปไตยได้จากเรื่องต่าง ๆ เช่น

– หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) คือ การบริหารกิจการบ้านเมืองและ สังคมที่ดี เป็นแนวทางสําคัญในการจัดระเบียบให้สังคมรัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งครอบคลุมถึง ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคี และ รวมกันเป็นพลังก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยหลักธรรมาภิบาลนั้นจะมีองค์ประกอบที่สําคัญ 6 ประการ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้ หลักความคุ้มค่า และ หลักคุณธรรม

– หลักสิทธิมนุษยชน (Human Right) คือ สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและ การกระทําที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่ได้มาพร้อมกับการเกิด และเป็นสิทธิติดตัวบุคคลนั้น ตลอดไปไม่ว่าจะอยู่ในเขตปกครองใด หรือเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใด ๆ ซึ่งไม่สามารถถ่ายโอนกันได้ เช่น สิทธิในร่างกาย สิทธิในชีวิต เป็นต้น

3 สิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็น รูปธรรมและนามธรรม ซึ่งมีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน และเป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน โดยผลกระทบ จากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทําลายอีกส่วนหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมยังถือว่าเป็น วงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ สิ่งแวดล้อมสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1) สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา น้ำ ดิน ฟ้า อากาศ ทรัพยากร ฯลฯ

2) สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ บ้านเรือน ถนน สนามบิน เขื่อน เทคโนโลยี การตัดต่อพันธุกรรม ชุมชนเมือง ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา การเมืองการปกครอง ฯลฯ

 

ข้อ 2 Structure คืออะไร ?

แบ่งออกเป็นลักษณะอย่างไรบ้าง ?

Function คืออะไร ?

แบ่งออกเป็นลักษณะอย่างไรบ้าง ?

เขียนแผนภูมิและอธิบายแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ซึ่งพัฒนาเป็นทฤษฎีระบบของ David Easton หรือของ Gabriel Almond คนใดคนหนึ่งคนเดียวเท่านั้น

แนวคําตอบ

Structure คือ แบบแผนของกิจกรรมที่ทํากันสม่ําเสมอ โดยผู้ที่กระทํากิจกรรมจะมีบทบาท แตกต่างกันไป แต่เมื่อรวมบทบาทของกิจกรรมเหล่านี้เข้าด้วยกันจะได้เป็นโครงสร้างนั้น ๆ เช่น โครงสร้างของรัฐสภา ประกอบด้วย ประธานสภา รองประธานสภา เลขาธิการ และสมาชิก ซึ่งแต่ละคนต่างก็มีบทบาทแตกต่างกันไป แต่เมื่อ เรารวมเอาบทบาทของส่วนประกอบทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้ว เราก็จะได้โครงสร้างของรัฐสภานั่นเอง

ลักษณะของโครงสร้าง แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

1 โครงสร้างที่เป็นนามธรรม เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น เช่น อุดมการณ์ ความเชื่อ ความคิด ค่านิยม ความชอบ ทัศนคติ ความงมงาย การรับรู้ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงได้ยากเนื่องจากจะต้อง ใช้ระยะเวลาในการปลูกฝังหรือถ่ายทอดที่ค่อนข้างยาวนาน และมีความซับซ้อนมาก ดังนั้นจึงทําให้โครงสร้างที่เป็น นามธรรมมีการปรับเปลี่ยน แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างที่เป็นรูปธรรม แต่ถ้าเมื่อใด ก็ตามที่มีการเปลี่ยนแปลงเรียบร้อยแล้ว จะยังคงอยู่

2 โครงสร้างที่เป็นรูปธรรม เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ วัดได้ หรือสัมผัสได้ เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เป็นต้น ซึ่งถือเป็น โครงสร้างที่เปลี่ยนแปลง แก้ไข ปรับปรุงได้ง่ายกว่าโครงสร้างที่เป็นนามธรรม กล่าวคือ ถ้าต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง เมื่อใดก็สามารถกระทําได้ทันที

3 โครงสร้างกึ่งนามธรรมถึงรูปธรรม เป็นทั้งสิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ซึ่งบังคับให้เรา คิดอยากจะทําหรือไม่ทํา ให้ชอบหรือไม่ชอบ ให้เชื่อหรือไม่เชื่อ โดยทั่วไปแล้วมักแฝงไว้ด้วยเจตนารมณ์ของโครงสร้าง เหล่านั้นเสมอ ตัวอย่างของโครงสร้างกึ่งนามธรรมถึงรูปธรรม เช่น กฎหมาย ประกาศ คสช. สัญลักษณ์ สถาบัน (ศาลรัฐธรรมนูญ) กลุ่มต่าง ๆ เป็นต้น

Function คือ กิจกรรม (Activity), วัตถุประสงค์ (Purpose), ผลที่ตามมา (Consequence) หรือในบางครั้งอาจหมายถึงตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่น ๆ ซึ่งอาจใช้อธิบายถึงคุณค่าในตัวของมันเอง หรือเป็นคุณค่าที่เกิดตามตัวแปรอื่นก็ได้ โดยนักสังคมศาสตร์ได้สรุปเกี่ยวกับหน้าที่ไว้ 3 ประการ ดังนี้

1 หน้าที่คือการศึกษาระบบทั้งระบบ เช่น ระบบการเมือง ระบบการศึกษา ระบบเศรษฐกิจ ระบบอุตสาหกรรม ฯลฯ โดยถือว่าระบบต่าง ๆ เป็นหน่วยในการวิเคราะห์ (Unit of Analysis)

2 หน้าที่นิยมจะมีความสําคัญมาก-น้อยแตกต่างกันออกไป เมื่อเป็นดังกล่าวหน้าที่ บางอย่างจึงมีความจําเป็นสําหรับระบบทั้งหมด (The Whole System)

3 หน้าที่บางประการมีลักษณะพึ่งพาซึ่งกันและกัน (Interdependent) ต่อโครงสร้าง หลาย ๆ โครงสร้าง กล่าวคือ หลายระบบต้องพึ่งพิงจากหน้าที่ดังกล่าว

ลักษณะทั่วไปทั้ง 3 ประการของหน้าที่ดังกล่าวเป็นเหตุให้นักสังคมศาสตร์เห็นว่าในระบบใด ระบบหนึ่งเป็นระบบสังคมหรือระบบการศึกษา ต่างก็มีหน้าที่หลักของแต่ละระบบอยู่ เช่น ในระบบหนึ่ง ๆ ก็จะต้อง มีวัฒนธรรมทําหน้าที่เป็นองค์ประกอบให้ระบบสังคมนั้น ๆ ดํารงอยู่ได้ วัฒนธรรมดังกล่าวอาจประกอบไปด้วย ภาษา ศาสนา ฯลฯ

แนวคิดทฤษฎีระบบของ David Easton

David Easton นั้นได้เสนอแนะการวิเคราะห์การเมืองเปรียบเทียบโดยดูหน่วยการวิเคราะห์ เชิงระบบ ซึ่งเขาเห็นว่าการใช้ระบบในการวิเคราะห์การเมืองจะสามารถสร้างความเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ที่มี ความสัมพันธ์เข้ากันและเรียกว่า “การเมือง” ได้ การศึกษาของเขาช่วยสร้างศาสตร์แห่งการสื่อสารทางการเมือง เพื่อสร้างระบบที่เชื่อมโยงการเมืองในที่ต่าง ๆ ได้ โดยสามารถเปรียบเทียบในเชิงปรากฏการณ์ทางการเมือง สรีระของสังคม และพฤติกรรมของระบบการเมืองได้

1 ปัจจัยนําเข้า (Input) หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลหรือวัตถุดิบที่เข้าสู่ระบบเพื่อ ผ่านการพิจารณากลั่นกรองและตัดสินใจออกมาในรูปของนโยบาย กฎ ระเบียบต่าง ๆ ซึ่งปัจจัยน้ําเข้านี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1) การเรียกร้อง (Demand) อาจจะเป็นการเรียกร้องเพื่อสนองตอบต่อความต้องการ ทางรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับลักษณะและขนาดของการเรียกร้องเอง เช่น กรณีประชาชนที่เดือดร้อน ในเรื่องที่ทํากินและปัญหาหนี้นอกระบบ ถ้าประชาชนเพียงคนเดียวเรียกร้องรัฐบาลอาจจะไม่รับฟัง หรือรับฟังแต่ไม่ ตอบสนอง ในทางตรงกันข้าม ถ้าประชาชนจํานวนมากรวมตัวกันเรียกร้องในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ชุมนุมเดินขบวนปิดถนน ฯลฯ ข้อเรียกร้องดังกล่าวก็จะมีผลเกิดขึ้น กล่าวคือ รัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรีจะรับฟังและนําไปพิจารณาต่อไป

2) การสนับสนุน (Support) หมายถึง การที่สมาชิกของสังคมการเมืองให้การสนับสนุน ระบบตลอดจนการดําเนินการของระบบการเมือง ซึ่งการให้การสนับสนุนนี้อาจจะอยู่ในรูปของการแสดงออกที่สามารถ เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น การปฏิบัติตามกฎระเบียบของบ้านเมือง การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น โดยการ สนับสนุนนี้สามารถแยกได้เป็น 3 ส่วน คือ

– การสนับสนุนประชาคมทางการเมือง คือ การที่สมาชิกที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ในระบบการเมือง มีความผูกพันกันในแง่ของความตั้งใจร่วมมือร่วมแรงกันในการแก้ไขปัญหาของระบบการเมือง ซึ่งจะแสดงออกโดยการแบ่งงานกันทํา เช่น กลุ่มชาวนา กลุ่มนักศึกษา กลุ่มสื่อมวลชน เป็นต้น ซึ่งการสนับสนุน ประชาคมทางการเมืองนั้นจะเป็นเรื่องของความรู้สึกเป็นเจ้าของสังคมร่วมกันนั่นเอง

– การสนับสนุนระบอบการเมือง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้าง ความชอบธรรมของระบอบการเมืองในการทําให้สมาชิกยอมรับ เช่น ระบอบประชาธิปไตยมีความชอบธรรมที่จะ ให้สมาชิกของสังคมยอมรับในกฎกติกา รัฐธรรมนูญ และรูปแบบการปกครองด้วย แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามระบอบ การเมืองไม่ได้รับการสนับสนุนจะมีผลเสียอย่างมาก นั่นคือ มีผลทําให้เกิดการต่อต้านที่รุนแรง เกิดจลาจลขึ้นได้

– การสนับสนุนผู้มีอํานาจหน้าที่ทางการเมือง หมายถึง การสนับสนุนบุคคล ที่เข้าไปทําหน้าที่บริหารบ้านเมืองหรือรัฐบาล โดยดูจากความพึงพอใจของสมาชิกต่อการตัดสินใจของระบบ เช่น การที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกการเก็บภาษีเข้ากองทุนน้ํามัน หรือดูจากความพอใจต่อนโยบาย รถยนต์คันแรก เป็นต้น

ระบบการเมือง (System) หรือผู้ตัดสินใจ ประกอบด้วย

1) ผู้เฝ้าประตู (Gate Keeper) ทําหน้าที่รวบรวมข้อมูลก่อนที่จะส่งต่อไปสู่ระบบ การเมืองเป็นผู้ตัดสินใจ ตัวอย่างผู้เฝ้าประตู เช่น กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง เป็นต้น

2) รัฐบาลหรือรัฐสภา (ผู้ตัดสินใจ)

3 ปัจจัยนําออก (Output) เป็นผลของการตัดสินใจของผู้มีอํานาจหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับ การจัดสรรสิ่งที่มีค่าในระบบการเมืองนั้น ซึ่งสาเหตุของการเกิด Output อาจสรุปได้ดังนี้ คือ

1) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของระบบ การเมือง เช่น เศรษฐกิจตกต่ำ อัตราการว่างงานสูง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการเมือง

2) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในระบบการเมืองเอง ซึ่ง Output ประเภทนี้จะมีผล ต่อระบบการเมืองและสภาพแวดล้อมของระบบ

จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่ผ่านออกมาจากระบบนั้น จะมีลักษณะบังคับ เช่น ประกาศ คําสั่ง ข้อบังคับ กฎหมาย ฯลฯ นอกจากนี้การดําเนินการยังมีผลผูกพันเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ก็เพื่อเอื้ออํานวยประโยชน์และ ความสะดวกแก่คนบางกลุ่มในระบบนั่นเอง

4 การสะท้อนป้อนกลับ (Feedback) ก็คือ การป้อนข้อมูลย้อนกลับเพื่อนํามาสู่กระบวนการ Input อีกครั้งหนึ่งว่า Output ที่ออกไปนั้นสามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ ผลเป็นอย่างไร

5 สิ่งแวดล้อม (Environment) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) สิ่งแวดล้อมภายใน (Internal Environment) ซึ่งจะเป็นสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ชิด กับระบบการเมืองมาก ประกอบด้วย

– สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ซึ่งเป็นเรื่องสภาพทั่วไป เช่น อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ชุมชน ถนน ลําคลอง ฯลฯ

– สิ่งแวดล้อมทางชีววิทยา เป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความมีเหตุผลการร่วมมือร่วมใจกัน และความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

– สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาและสังคม ซึ่งได้แก่ วัฒนธรรมในสังคม โครงสร้างทางสังคม ระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างด้านประชากร ฯลฯ

2) สิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) เช่น วิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำของโลก ปัญหาที่เกิดกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น

แนวคิดทฤษฎีระบบของ Gabriel Almond

Almond เห็นว่า ระบบ (System) มีความสําคัญกว่ากระบวนการ (Process) ทางการเมือง เช่น พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ ฯลฯ เนื่องจากระบบจะศึกษาถึงทั้งหมดของการเมืองในสังคมต่าง ๆ ซึ่งรวมเอา หน่วยทางการเมืองต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน

Almond เชื่อว่า ถ้าผู้ศึกษาเปรียบเทียบให้ความสําคัญกับการศึกษาพฤติกรรมและการแสดงออก ของคนจะช่วยให้การศึกษาเปรียบเทียบก้าวสู่ขั้นที่ก้าวหน้าไปจากการศึกษาเดิมที่ให้ความสําคัญกับกฎหมายและ พิธีการ และจากหน่วยการวิเคราะห์เดิมที่ศึกษาสถาบันทางการเมืองเป็นหลัก นักรัฐศาสตร์ก็จะหันมาสนใจ “บทบาท” (Role) และ “โครงสร้าง” (Structure) ซึ่ง Almond ได้ให้คําจํากัดความของบทบาทว่าเป็นหน่วยที่มีการปะทะสัมพันธ์ ในระบบการเมือง และแบบแผนของการปะทะสัมพันธ์ก็คือระบบนั่นเอง

จากประเด็นดังกล่าวนั้นจึงเป็นจุดเริ่มทางความคิดของทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ที่ Almond ได้ – นําเสนอและเป็นหน่วยใหม่ในการวิเคราะห์ทางรัฐศาสตร์ โดย Almond เสนอ “ระบบการเมือง” แทนความหมายเก่า

ทางรัฐศาสตร์ที่ใช้อยู่เดิม คือ รัฐธรรมนูญ เหตุผลก็เพื่อเลี่ยงการศึกษารัฐศาสตร์ยุคเดิมที่มุ่งแต่ศึกษาแนวกฎหมายและ สถาบันเป็นสําคัญ นอกจากนี้ Almond ยังได้กําหนดคุณลักษณะของการเปรียบเทียบระบบการเมืองไว้ 4 ประเด็น คือ

1 ในระบบการเมืองทุกระบบต่างก็จะต้องมีโครงสร้างทางการเมือง

2 มีหน้าที่ปฏิวัติเหมือนกันในทุก ๆ ระบบการเมือง

3 โครงสร้างทางการเมืองทุกระบบมีลักษณะที่เรียกว่า “ความหลากหลายของหน้าที่”

4 ในระบบการเมืองทั้งหมดจะมีการผสมผสานในหลาย ๆ วัฒนธรรม

Almond ได้รับอิทธิพลทางความคิดในการวางแผนเปรียบเทียบระบบการเมืองจาก David Easton ในหนังสือชื่อ “ระบบการเมือง” (The Political System) โดยเขาให้หลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ระบบการเมืองไว้ดังนี้

Almond เห็นว่า ระบบการเมืองเป็นการศึกษาถึงขอบเขตทั้งหมดของกิจกรรมทางการเมือง ที่เกิดขึ้นในสังคมแต่ละแห่ง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วระบบการเมืองจะมีหน้าที่หลายประการ ทั้งนี้เพราะระบบการเมือง เกี่ยวข้องกับความชอบธรรมในการใช้อํานาจลงโทษ หรือบังคับสมาชิกของระบบการเมือง ซึ่งหน้าที่ (Function) ของระบบการเมืองสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ

1 หน้าที่ในการส่งปัจจัยเข้าสู่ระบบ (Input Functions) ได้แก่

1) การอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) ซึ่งถือว่าเป็น กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมการเมือง และการสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย

2) การคัดเลือกคนเข้าสู่ระบบการเมือง (Political Recruitment) ซึ่งหมายถึง  การคัดเลือกหรือสรรหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อเป็นตัวแทนเข้าไปทําหน้าที่ต่าง ๆ ทางการเมือง

3) การเป็นปากเสียงของผลประโยชน์ที่ชัดเจน (Interest Articulation) หมายถึง การแสดงออกถึงความต้องการของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ในสังคม เพื่อให้รัฐบาลหรือหน่วยที่ตัดสินใจกําหนดนโยบายต่อไป

4) การรวบรวมผลประโยชน์ (Interest Aggregation) ก็คือ การสมานฉันท์ของ การเรียกร้องที่เสนอเข้าสู่ในระบบการเมือง ซึ่งสามารถเห็นได้จากการรวมกลุ่มกันของกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มอาชีพ หรือกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น

5) การสื่อสารทางการเมือง (Political Communication) คือ การถ่ายทอดแลกเปลี่ยนข่าวสารของส่วนต่าง ๆ ในระบบและระหว่างระบบ

2 หน้าที่ในการส่งปัจจัยออกจากระบบการเมือง (Output Functions) ได้แก่

1) การออกกฎระเบียบ (Rule Making) ซึ่งหมายถึง อํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติ 2) การบังคับใช้กฎระเบียบ (Rule Application) ซึ่งหมายถึง อํานาจของฝ่ายบริหาร

3) การตีความกฎระเบียบ (Rule Adjudication) ซึ่งหมายถึง อํานาจของฝ่ายตุลาการ

นอกจากนั้น Almond ยังมีความเห็นสอดคล้องกับความคิดของ Easton นั่นคือ การเรียกร้อง และการสนับสนุน

– การเรียกร้อง แบ่งได้เป็น 4 ประการ คือ 1) การเรียกร้องให้มีการจัดสรรสินค้าและบริการ เช่น เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เพิ่มสถานศึกษา เพิ่มสถานพยาบาล ฯลฯ

2) การเรียกร้องให้มีการออกกฎควบคุมความประพฤติ เช่น การขอให้มีการควบคุมราคาสินค้า คุ้มครองลิขสิทธิ์ ปราบปรามโจรผู้ร้าย ฯลฯ

3) การเรียกร้องให้มีส่วนร่วมในระบอบการเมือง เช่น เรียกร้องสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฯลฯ

4) การเรียกร้องให้มีการสื่อสารและได้รับทราบข้อมูลจากระบบการเมือง เช่นต้องการรับรู้เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ การยืนยันสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายว่าไม่ผิดจนกว่าศาลจะตัดสิน ฯลฯ

การสนับสนุน มีอยู่ 4 ประการ คือ

1) การสนับสนุนทางวัตถุ เช่น การสนับสนุนในรูปตัวเงิน การจ่ายภาษีให้รัฐโดยไม่บิดพลิว การเข้ารับราชการทหาร ฯลฯ

2) การเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เช่น การให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามกฎหมาย การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ฯลฯ

3) การสนับสนุนในลักษณะที่เป็นการเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การใช้สิทธิเลือกตั้งการออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ฯลฯ

4) สนใจข่าวสารของรัฐ เคารพผู้มีอํานาจทางการเมือง สัญลักษณ์ต่าง ๆ รวมทั้งพิธีการของสังคม

จะเห็นได้ว่า ทั้งข้อเรียกร้องและการสนับสนุนรัฐบาล ล้วนเป็นเรื่องของการกําหนดนโยบาย สาธารณะของประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น นอกจากนี้ Almond ยังเห็นว่า ระบบการเมือง ทุกระบบจะต้องมีปะทะสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อม 2 ด้าน คือ

1 สิ่งแวดล้อมภายใน ซึ่งได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ สภาพทรัพยากรของประเทศ ระบบการศึกษา ระบบเทคนิควิทยาของประเทศ

2 สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ ซึ่งได้แก่ การค้าระหว่างประเทศ การทูต สงคราม การสื่อสารระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศ เป็นต้น

หมายเหตุ นักศึกษาเลือกตอบนักคิดคนใดคนหนึ่งเท่านั้น

 

ข้อ 3 การพัฒนาคืออะไร ?

การพัฒนาที่แท้จริงเป็นอย่างไร ?

การเมืองไทยจะพัฒนาอย่างแท้จริงอย่างไรบ้าง ?

มีตัวชี้วัดการพัฒนาที่แท้จริงอะไร ?

ทันสมัยแต่ด้อยพัฒนาคืออะไร ?

แนวคําตอบ

การพัฒนา (Development) คือ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ดีขึ้น โดยมี เป้าหมายที่ชัดเจน

การพัฒนาที่แท้จริง คือ กระบวนการที่ทําให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในลักษณะที่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการผลิต โครงสร้างทางสังคม ค่านิยม ทัศนคติ การศึกษา ระบบการปกครอง และการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ นอกจากนี้ยังทําให้เกิดการกระจายรายได้ที่เป็นไปอย่างเสมอภาค นั่นคือ ประชากรส่วนใหญ่จะต้องได้รับประโยชน์จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน และนําไปสู่ความกินดีอยู่ดีของประชาชนโดยถ้วนหน้า

ในสังคมไทยนั้นถือว่ายังไม่มีการพัฒนาที่แท้จริง แม้ว่าประเทศไทยจะมีการใช้แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาแล้วหลายฉบับก็ตาม กล่าวคือ การทําให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในลักษณะที่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการผลิต โครงสร้างทางสังคม ค่านิยม ทัศนคติ การศึกษา ระบบการปกครอง และการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของประเทศยังไม่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง โดยพบว่า ไม่มีการกระจายรายได้ที่เป็นไปอย่างเสมอภาค ซึ่งประชากรส่วนใหญ่จะต้องได้รับประโยชน์จากรายได้ที่เพิ่มขึ้น อย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งยังไม่ได้ให้ความสําคัญในเรื่องของการพัฒนาคนเท่าที่ควร

การพัฒนาการเมืองไทยให้เกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง มีดังนี้

1 ภาครัฐจะต้องมุ่งเน้นสร้างประชาธิปไตยทางการเมือง และประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ โดยเร็ว รวมทั้งมีระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมคุ้มครองความมั่นคงให้แก่ประชาชน ไม่ใช่มีไว้เพื่อให้พรรคการเมือง บางพรรคนําไปใช้เป็นเงื่อนไขกับประชาชน เพื่อนําไปใช้เป็นนโยบายประชานิยมในการนําตนเข้าไปสู่อํานาจ หรือซื้อเวลาให้ตนอยู่ในอํานาจเท่านั้น

2 ภาครัฐจะต้องรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชน เพื่อส่งเสริมในเรื่องการสร้างจิตสํานึก ทางการเมือง วัฒนธรรม ค่านิยม การมีส่วนร่วมทางการเมือง การเรียนรู้ประชาธิปไตยร่วมกันระหว่างพลเมือง โดยเฉพาะชาวบ้านในชนบท ชนชั้นกลางในเมือง นิสิตและนักศึกษา

3 เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น โดยมีกฎหมายรองรับ อีกทั้ง รัฐบาล ภาครัฐ และภาคการศึกษาจะต้องส่งเสริมและผลักดันให้มีกิจกรรมเพื่อสังคมของนักเรียน นักศึกษาตาม มหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อช่วยสร้างจิตสํานึกทางการเมืองที่ดีให้แก่ประชาชนและสังคม

4 ในด้านภาคการศึกษาจะต้องปลูกฝังจิตสํานึกทางการเมือง โดยมีวิชาสิทธิตามรัฐธรรมนูญ สิทธิพลเมือง และอุดมการณ์ทางการเมือง บรรจุในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ

5 ในด้านภาคกฎหมายจะต้องมีกฎหมายป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงที่เข้มข้น ผู้ที่ซื้อสิทธิหรือขายเสียงต้องมีโทษความผิดที่หนัก เพื่อป้องกันวัฒนธรรมการซื้อสิทธิขายเสียง

6 ภาครัฐและภาคประชาชนต้องร่วมกันปฏิรูป กํากับ และรณรงค์จริยธรรมคุณธรรม ทุกภาคส่วนในสังคมไทย โดยไม่ฝากความหวังไว้กับองค์กรอิสระ มากกว่าการสร้างภาคพลเมืองให้เข้มแข็ง เป็นต้น

เกณฑ์หรือตัวชี้วัดการพัฒนาที่แท้จริง ได้แก่

1 ความมั่นคงทางการเมือง หรือบางครั้งอาจใช้คําว่า “เสถียรภาพทางการเมือง” ก็ได้ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก

– ความต่อเนื่องของระบบการเมือง ซึ่งเราพบว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือมีความ มั่นคงทางการเมือง มักจะมีความต่อเนื่องทางการเมือง ไม่มีการแทรกแซงของทหาร กลไกทางการเมืองดําเนินไป ตามกฎหมายที่กําหนดไว้ ขณะที่การเมืองในประเทศที่กําลังพัฒนามักมีปัญหาเรื่องของการแทรกแซงของทหาร หรือถูกแทรกแซงจากภายนอกซึ่งไม่ใช่เงื่อนไขทางการเมือง

– ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มักถูกเชื่อมโยงกับความมั่นคงทางการเมืองเสมอ เนื่องจากประเทศใดที่มีเศรษฐกิจไม่ดี มีคนว่างงานจํานวนมาก รายได้ของประชาชนน้อยลง สินค้ามีราคาแพงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อรัฐบาลอย่างแน่นอน ดังนั้นเสถียรภาพหรือความมั่นคงทางการเมืองย่อมลดลงถ้าเศรษฐกิจตกต่ํา แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตค่อนข้างสูงก็จะทําให้เสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลมีมากเช่นกัน

– สังคม ปัญหาสังคมมักเชื่อมโยงกับปัญหาทางเศรษฐกิจ และนําไปสู่ปัญหาทาง การเมืองของประเทศ ตัวอย่างเช่น ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาของยาเสพติด ปัญหาของคนว่างงาน ปัญหาของผู้ไร้ที่อยู่อาศัย เป็นต้น

2 สถาบันทางการเมือง

– รัฐธรรมนูญ ถือเป็นกฎหมายสูงสุด และเป็นสถาบันทางการเมืองที่สําคัญของ ประเทศเนื่องจากรัฐธรรมนูญจะเป็นตัววางกรอบโครงสร้างทั้งหมดทางการเมืองที่จะพูดถึงในเรื่องสิทธิ อํานาจหน้าที่ และที่มาของสถาบันตัวอื่น ๆ รวมทั้งสมาชิกทางการเมืองในแบบต่าง ๆ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงต้องมีความชอบธรรม ไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อวัฒนธรรมและวิถีการดําเนินชีวิตของคนในชาติ นอกจากนี้จะต้องไม่มีความเอนเอียง หรืออํานวยประโยชน์ให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างเด็ดขาด มิฉะนั้นจะถูกยับยั้งและเกิดการรวมกลุ่มของประชาชน เพื่อต่อต้าน ดังนั้นการมีรัฐธรรมนูญที่ดีจึงก่อให้เกิดการพัฒนาทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

– สภา ถือเป็นสถาบันทางการเมือง ซึ่งเราให้ความสนใจในเรื่องที่มาและอํานาจหน้าที่ ของสภาว่ามีอะไรบ้าง สมาชิกมาจากการสรรหาหรือการแต่งตั้ง สัดส่วนของ ส.ส. และ ส.ว. เป็นเท่าใด สิ่งเหล่านี้ จะถูกนํามาพิจารณาทั้งสิ้น นอกจากนี้เรายังมองไปถึงพฤติกรรมของสมาชิกในสภาว่ามีลักษณะเช่นไร

– พรรคการเมืองถือว่าเป็นสถาบันทางการเมืองที่สําคัญที่จะเปิดโอกาสให้แต่ละพรรค ที่มีนโยบายและอุดมการณ์ของตนเองได้มีบทบาทในการสรรหาคนที่มีความรู้ ความสามารถเพื่อเป็นตัวแทนให้กับ ประชาชนเข้าไปทําหน้าที่ในสภา พรรคการเมืองที่มีโอกาสทําหน้าที่บริหารประเทศ จะต้องรู้จักวางแนวทางในการ ทําหน้าที่เมื่อเป็นรัฐบาล มีนโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ และรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ ของประเทศชาติเสมอ

3 การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ถือเป็นหัวใจของการพัฒนาการเมือง เพราะเมื่อใดก็ตามที่ ประเทศมีสภาวะเศรษฐกิจตกต่ํา การเมืองก็มักจะขับเคลื่อนไปได้ยาก ฉะนั้นถ้าประเทศใดก็ตามที่มีภาวะเศรษฐกิจที่ดี

ประชาชนอยู่ดีกินดี มีการศึกษาที่ดี และมีความรู้ การซื้อสิทธิขายเสียงก็มักจะทําได้ยาก ในทางตรงกันข้าม ถ้า – ประเทศใดมีภาวะเศรษฐกิจตกต่ํา ประชาชนอดอยาก ขาดการศึกษา การซื้อสิทธิขายเสียงก็มักจะทําได้ง่าย ดังนั้น จะเห็นว่าการพัฒนาทางการเมืองจึงมักจะถูกเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจเสมอโดยทั้ง 2 ตัวแปรมักแยกกันไม่ออก เป็นต้น

ทันสมัยแต่ด้อยพัฒนา คือ ลักษณะของการทําตามสมัยที่นิยมกัน หรือกลุ่มชนในแต่ละยุค แต่ละสมัยในการดํารงชีวิต เช่น การแต่งกาย การใช้สอย การกิน การปฏิบัติตน ฯลฯ ซึ่งคนที่ทําตามกันนี้จะเรียกว่า คนทันสมัย แต่ในขณะเดียวกันกลับหาเนื้อหาสาระสําคัญที่ควรจะเป็นไม่ได้ ทําตามแต่เปลือกไม่ได้เอาแก่นสําคัญ มาด้วย หรือทําตามทั้ง ๆ ที่ผิด ไม่มีการแยกแยะจึงทําผิดตามไปด้วย หรืออาจกล่าวได้ว่ามีแต่ปริมาณแต่ขาด คุณภาพเมื่อเปรียบกับสังคมที่พัฒนาแล้ว

ตัวอย่างของความทันสมัยแต่ด้อยพัฒนา เช่น การที่คนไทยใส่สูท (อย่างตะวันตก) ประชุมงานระดับโลก แต่การตัดสินใจยัง ใช้ความรู้สึก การคาดเดา มากกว่าที่จะใช้มาตรฐานอุตสาหกรรมหรือคู่มือที่ผ่าน การวิจัยและพัฒนามาแล้ว

– การที่คนไทยมีรถยนต์หรูหรือยี่ห้อดัง ๆ ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่กลับพบว่าไม่มีรถยี่ห้อของคนไทยสักที ทั้งที่เป็นเวลากว่าร้อยปีแล้วที่มีรถยนต์เข้ามาในประเทศ

– การได้รับโอกาสในการศึกษาเล่าเรียนที่สูง หรือศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชื่อดังในต่างประเทศ แต่มีความเสื่อมถอยทางปัญญา เชื่อโฆษณา ติดความหรูหรา ซื้อของที่ไร้ค่าในราคาแพง มีนิสัยฟุ่มเฟือย ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนมีคุณค่า/ไร้คุณค่า ซื้อแค่ตามแฟชั่นเท่านั้น

– การใช้โทรศัพท์เกินความจําเป็น โทรคุยนานทําให้เสียเงินโดยไม่จําเป็น

– โรงพยาบาลนําเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ เพียงเพื่อหวังผลทางธุรกิจการแพทย์

โดยไม่ได้ศึกษาถึงผลกระทบที่มีต่อผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ

– การร้องเรียนผ่านเว็บ แต่เป็นการกลั่นแกล้งกัน ใส่ร้ายกัน

– การมีเครื่องมือเตือนภัยมากมาย แต่ใช้งานไม่เป็น

– การมีห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่โต แต่กลับพบว่ามีสินค้าถูกปนเปื้อนจากยาฆ่าแมลงที่ขายปนกับอาหาร

– การปลูกบ้านที่สวยงามใหญ่โต หรือสร้างถนนหนทางใหม่ ซึ่งไปขวางทางน้ำจนเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ทุกปี ฯลฯ

 

ข้อ 4 การพัฒนาประเทศไทยอย่างแท้จริงเกี่ยวโยงกับการกล่อมเกลาทางสังคมการเมือง (Political Socialization) อย่างไร ?

อธิบายถึงกระบวนการกล่อมเกลาในแง่ IQ, EQ และจริยะ ควรเน้นไป ในเรื่องใดบ้าง ? และผู้ใดเป็น Change agents ที่จะทําการปลูกฝังกล่อมเกลาให้สมาชิกในสังคมเป็นไปตามแบบที่ต้องการ

แนวคําตอบ

ความเกี่ยวโยงของการกล่อมเกลาทางสังคมการเมือง (Political Socialization) กับ การพัฒนาประเทศไทยอย่างแท้จริง มีดังนี้

1 การกล่อมเกลาทางสังคมการเมืองจะเป็นวิธีการที่สังคมส่งผ่านความโน้มเอียงทาง การเมืองในรูปแบบต่าง ๆ อันได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ ความเชื่อ และค่านิยมจากรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นถัดไป หากไม่มี กระบวนการดังกล่าวแล้วสมาชิกใหม่ของระบบการเมืองซึ่งโดยส่วนใหญ่ได้แก่เด็ก ๆ ก็จะต้องค้นหาแบบแผน ของความโน้มเอียงทางการเมืองใหม่อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างแท้จริงคงเกิดขึ้นได้ยาก

2 การกล่อมเกลาทางสังคมการเมืองจะช่วยสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในรูปแบบใหม่ขึ้นมา เมื่อบริบทของสังคมการเมืองได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีหน้าที่สําคัญในการสอดประสานกับวัฒนธรรมทางการเมือง อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมือง ซึ่งก็คือ การสร้าง การเปลี่ยนแปลง การแก้ไข และการธํารงรักษาไว้ ซึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองของประเทศชาติต่อไป

3 การกล่อมเกลาทางสังคมการเมืองจะทําให้เกิดการเรียนรู้ในการแสดงบทบาทของ ตนเองในอนาคต เกิดการเชื่อมโยงจากค่านิยมของคนส่วนใหญ่ในสังคม แม้ว่าในปัจจุบันยังมิได้อยู่ในสถานภาพเช่นนั้น แต่ก็มีความตั้งใจและแนวโน้มที่จะพยายามลงมือกระทําตามบทบาทหน้าที่นั้น ๆ ซึ่งจะทําให้เกิดความกระตือรือร้น ที่จะเรียนรู้ถึงบทบาทหน้าที่ดังกล่าว ด้วยการรับเอาการกล่อมเกลาทางสังคมการเมืองของหน่วยตัวแทนต่าง ๆ เข้ามา เพื่อให้ตนเองสามารถแสดงบทบาทในอนาคตของตนได้อย่างสมบูรณ์แบบ

4 การกล่อมเกลาทางสังคมการเมืองจะถูกนําไปใช้เป็นพื้นฐานสําคัญของการวางแผน การเรียนรู้และพัฒนาทางด้านการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองของประชาชนไทย ซึ่งเป็นส่วนสําคัญประการหนึ่งของ การปฏิรูปทางการเมือง ที่จําเป็นจะต้องให้ความสําคัญกับการปฏิรูปที่ “คน” ซึ่งเป็นสมาชิกของระบบการเมือง นอกเหนือไปจากการปฏิรูปที่ตัวระบบ (System) เช่น การสร้างสรรค์รัฐธรรมนูญ การสร้างความเป็นสถาบันที่เข้มแข็ง ให้กับพรรคการเมือง การพัฒนาระบบการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และยุติธรรม การพัฒนาระบบการตรวจสอบการ ใช้อํานาจของรัฐ ฯลฯ อันจะนําไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบต่อไปในอนาคต เป็นต้น

กระบวนการกล่อมเกลาในแง่ IQ (ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา), EQ (ความฉลาดทางอารมณ์) และจริยะ (ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ) นั้นควรจะมุ่งเน้นไปในเรื่องดังต่อไปนี้

1 ประชาชนรู้จักแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด สามารถรับรู้และเข้าใจอารมณ์ทั้งของ ตัวเองและผู้อื่น ตลอดจนสามารถปรับหรือควบคุมได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์

2 ประชาชนเป็นผู้ที่มีความรู้ มีความคิด รู้จักใช้เหตุผล การเชื่อมโยง และรู้จักแสวงหาความรู้ เพิ่มเติมให้กับตนเอง หรือรู้จักพัฒนาความสามารถของตนเองในการทํางานเพื่อองค์กรและนําไปสู่การพัฒนาของ ประเทศในอนาคต

3 ประชาชนมีค่านิยมที่เน้นวัฒนธรรม อาทิ ความภูมิใจในการเป็นคนไทย การเคารพ ผู้อาวุโส เสียสละเวลาทํางานเพื่อส่วนรวม ปฏิบัติตามหลักศาสนา และการประกอบอาชีพสุจริต

4 ประชาชนมีการขับเคลื่อนตนเองไปในทางที่ดี เพื่อกําจัดการกระทบกระเทือนทางอารมณ์ ซึ่งประชาชนจะต้องมีคุณธรรมทางด้านดี อาทิ ความซื่อสัตย์ ความดี ความรัก ความเคารพ ความศรัทธา การให้อภัย และอารมณ์ขัน สิ่งเหล่านี้สามารถทําให้ประชาชนรับและยอมรับแรงกดดันต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมได้

5 ประชาชนมีความเป็นพลเมือง (Citizenship) ซึ่งเป็นเรื่องของการมีสิทธิ เสรีภาพ การมีส่วนร่วมในสังคม รวมไปถึงการมีอิสรภาพ การพึ่งตนเองได้ การเคารพสิทธิ มีความรับผิดชอบต่อสังคม เคารพกติกาบ้านเมือง ไม่ใช้ความรุนแรง มีจิตสาธารณะ เป็นต้น

ผู้กระทําการ (Change agents) ที่จะปลูกฝังกล่อมเกลาให้สมาชิกในสังคมเป็นไปตาม แบบที่ต้องการ มีดังนี้

– ครอบครัว การกล่อมเกลาทางการเมืองในสังคมประชาธิปไตยนั้นจําเป็นต้องใช้สื่อใน การสร้างความรู้ทางการเมือง โดยเฉพาะครอบครัวถือว่าเป็นหน่วยแรกในการฝึกให้เด็กได้รับรู้สภาพและเป็นการ ปูพื้นฐานทางการเมือง นักรัฐศาสตร์เปรียบเทียบได้ให้ความสําคัญกับครอบครัวและบทบาทของครอบครัวในการ สร้างประสบการณ์ให้กับเด็กเป็นอย่างมาก ซึ่งครอบครัวจะช่วยในเรื่องการกล่อมเกลาทางการเมืองได้ 3 แนวทาง ด้วยกัน คือ

1) ครอบครัวจะช่วยถ่ายทอดทัศนะของพ่อแม่ต่อเด็ก โดยเด็กจะเรียนรู้สภาพ ความคิดและโอกาสในการแสดงความคิดเห็นจากทัศนคติของพ่อแม่ เช่น ถ้าพ่อแม่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือเปิดโอกาสและพูดคุยการเมืองให้กับเด็กแล้ว เด็กคนนั้นก็จะได้รับรู้และมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย ฯลฯ แม้ว่า บางครั้งในสังคมไทยอาจจะมีบางครอบครัวที่มีความเผด็จการกับลูก ๆ อยู่บ้าง แต่โดยทั่วไปแล้วก็ยังถือได้ว่ายังมี ความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าเผด็จการ

2) พ่อแม่จะมีลักษณะเป็นตัวแบบให้กับเด็ก โดยเด็กจะมีการเลียนแบบจากสิ่งที่ พ่อแม่กระทํา เช่น พฤติกรรมในการกิน การแบ่งปัน การช่วยเหลือผู้อื่น ความมีน้ําใจ การมีส่วนร่วม การมีนิสัย ชอบการเลือกตั้ง ชอบแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ฯลฯ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เด็กจะเรียนรู้และตามแบบจากพ่อแม่

3) บทบาทและสิ่งที่เด็กคาดหวังที่จะกระทําเมื่อเป็นผู้ใหญ่ จะมีความสัมพันธ์กับ การแสดงออกทางการเมืองของเขา เด็กจะแสดงออกทางการเมืองอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับความหวังที่เขาได้รับเมื่อ ครอบครัวสั่งสอน เขาอาจมีเป้าหมายที่จะเป็นนักการเมือง เป็นรัฐมนตรี หรือเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเขาเติบโตขึ้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลผูกพันกับระบบการเมืองแทบทั้งสิ้น

– โรงเรียน นับว่ามีบทบาทอย่างยิ่งในการสร้างให้เกิดสังคมที่ดี และเป็นหน่วยสร้าง การกล่อมเกลาทางการเมืองในสังคมประชาธิปไตยของไทย ซึ่งโดยทั่วไปเด็กมีโอกาสได้รับอิทธิพลในการเรียนรู้ จากโรงเรียนค่อนข้างมาก เนื่องจากระยะเวลาที่อยู่ในโรงเรียนมีเวลานาน จึงเป็นผลให้ความรู้ทางการเมืองที่เด็ก ๆ จะได้รับมีการสะสมมานานจนสามารถฝังอยู่ในความทรงจํา

ในสังคมไทยนั้นระบบโรงเรียนและการจัดการเรียนการสอนนับว่ามีอิทธิพลต่อความเชื่อ ของเด็กมาก เด็กมักจะเชื่อฟังครูมากกว่าพ่อแม่ เนื่องจากมีโอกาสอยู่ในโรงเรียนมากกว่าที่บ้าน เมื่อเด็กมีการศึกษา มากขึ้นโอกาสที่เขาจะได้รับรู้ความเป็นไปทางการเมืองก็จะมากกว่าคนที่ไม่มีการศึกษา เนื่องจากเขาสามารถศึกษา เพิ่มเติมได้จากสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ บทความ การสนทนาทางวิชาการ ฯลฯ ซึ่งคนที่ด้อยการศึกษาอาจไม่ได้รับ ในรายละเอียดได้มากเท่ากับคนที่มีการศึกษา นอกจากนี้โรงเรียนยังช่วยในการสร้างค่านิยมของระบอบประชาธิปไตย ให้เยาวชนผูกพันกับระบอบประชาธิปไตยได้อีกด้วย

– สื่อมวลชน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ ต่างก็เข้ามามีบทบาทใน เชีวิตประจําวันของประชาชนมากขึ้น ซึ่งในการสร้างสังคมที่ดีและการกล่อมเกลาทางการเมืองในสังคม ประชาธิปไตยจําเป็นต้องใช้สื่อมวลชนมาเป็นเครื่องมือในการอบรมหรือเป็นช่องทางในการเผยแพร่และ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมือง ดังนั้นการนําเสนอข้อมูลของสื่อมวลชนจึงมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการ พัฒนาการเมืองของไทย เพราะถ้าสื่อมวลชนไม่มีความเป็นกลางทางการเมืองและนําเสนอข่าวสารที่บิดเบือนจาก ข้อเท็จจริงแล้ว อาจทําให้ประชาชนหรือเยาวชนสับสนกับข้อมูลข่าวสารที่ได้รับและก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้นได้

 

ข้อ 5 สังคมไทยมีชนชั้นหรือไม่ ?

รู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นชนชั้นไหน ?

ตอบทั้งเชิงทฤษฎี (อย่างน้อย 3 ทฤษฎี)

และตอบตามความเป็นจริงในสังคมด้วย

และอธิบายอีกประเด็นหนึ่งว่า ชนชั้นหรือชนชั้นนําเกี่ยวโยง กับกลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมืองหรือไม่ อย่างไร ?

อาจยกตัวอย่างกลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมืองที่นักศึกษารู้จักประกอบคําอธิบาย

แนวคําตอบ

ในสังคมไทยนั้นถือว่าเป็นสังคมที่มีชนชั้น แม้ว่าโดยทฤษฎีและหลักการของระบอบประชาธิปไตย นั้นจะพบว่า ประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยและมีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งได้ วางหลักการไว้ว่า ประชาชนทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ และได้รับความคุ้มครอง มีความเสมอภาค เท่าเทียมกันภายใต้ กฎหมาย ไม่ว่าชายหรือหญิง หรือคนเชื้อชาติใดศาสนาใด ต่างก็มีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน

โดยหลักการและความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนั้นย่อมแตกต่างกัน เพราะโดยธรรมชาติจะมีคนบางคน ที่มีศักยภาพเหนือกว่าคนทั่วไป มีความกระตือรือร้น มีความเป็นผู้นํา มีการแสดงออกในการเป็นผู้นํา ทําให้มี บุคลิกลักษณะที่แตกต่างจากคนทั่วไป แต่คนจํานวนนี้จะเป็นคนจํานวนน้อยในสังคมที่เราเรียกว่า ชนชั้นนํา แม้ว่า ในสังคมไทยของเราจะเป็นสังคมประชาธิปไตยแต่การแบ่งชนชั้นในสังคมก็ยังเกิดขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากโลก ทุกวันนี้เป็นโลกแห่งทุนนิยมที่มีเศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนทางสังคมและโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัด และทําให้เกิดการแบ่งชนชั้นทางสังคมขึ้น

การที่จะรู้ว่าใครเป็นชนชั้นไหนในสังคมนั้นสามารถดูได้จากบทบาทหน้าที่ และฐานะทาง สังคมและเศรษฐกิจ

ชนชั้นในสังคมไทยแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1 ชนชั้นสูง เช่น นักการเมือง นักธุรกิจ ข้าราชการชั้นสูง ขุนนางเก่า เป็นต้น

2 ชนชั้นกลาง เช่น พนักงาน ข้าราชการทั่วไป เป็นต้น

3 ชนชั้นล่าง เช่น คนหาเช้ากินค่ํา กรรมกรผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร (ชาวไร่และชาวนา) ผู้ที่มีฐานะยากจนและมีการศึกษาน้อย เป็นต้น

ตามทฤษฎีของ Halen Lynd ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “Middletown” ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ สถานภาพ (Status) ของคนในสังคม โดยมีสมมุติฐานในการศึกษาก็คือ ตัวขี้เกี่ยวกับสถานภาพของคนในสังคม คือความสามารถทางเศรษฐกิจ ซึ่งถือว่าชนชั้นมีความสัมพันธ์กับสถานภาพ และเชื่อมโยงกับการที่คนในชุมชน คิดหรือสนทนากัน ซึ่งจะให้ความรู้ในสถานภาพของกลุ่มชนในสังคม เนื่องจากการศึกษาดังกล่าวจะมีตัวแปรใน การกําหนดสถานภาพของคนในสังคม เช่น ความมั่งคั่ง สถานภาพทางครอบครัว ทรัพย์สิน เป็นต้น

ตามทฤษฎีของ Ralf Dahrendorf ได้ให้คําจํากัดความในเรื่องชนชั้นว่า ชนชั้นเป็นเรื่องของกลุ่ม ที่ขัดแย้งเนื่องจากการแจกแจงอํานาจหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละสมาคมหรือกลุ่ม โดยเห็นว่าอํานาจหน้าที่ (Authority) ถือเป็นอํานาจอันชอบธรรม และความสัมพันธ์ของอํานาจจะขึ้นอยู่กับฐานของอํานาจหลายฐานด้วยกัน เช่น จากการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือผู้ควบคุมวิถีการผลิต นอกจากนั้นอํานาจหน้าที่จะเกี่ยวข้องกับตําแหน่ง ทางสังคมและการมีบทบาทในสังคมของบุคคลนั้น ๆ ซึ่งเขากล่าวว่า พื้นฐานของความไม่เท่าเทียมกันของโครงสร้าง ในสังคมที่เป็นตัวก่อให้เกิดความขัดแย้งทางสังคมก็คือความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องอํานาจและหน้าที่ ซึ่งจะมีส่วนสําคัญ ในการจัดองค์กรทางสังคม

ตามทฤษฎีของ Marx อธิบายว่า สังคมมีการแบ่งชนชั้นที่ชัดเจน คือ มีชนชั้นปกครองและ ชนชั้นที่ถูกปกครอง เช่น ในอดีตมีชนชั้นกษัตริย์และชนชั้นไพร่ ปัจจุบันมีชนชั้นนายทุนและชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่ง ชนชั้นปกครองจะขูดรีดเอากําไรส่วนเกินจากชนชั้นที่ถูกปกครอง และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะไม่เกิดใน ระดับปัจเจกบุคคล แต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทั้งโครงสร้าง แม้ว่า Marx จะกล่าวไว้ว่าท้ายที่สุดของ การเปลี่ยนแปลงแล้วจะไม่มีชนชั้นเกิดขึ้น แต่ก็เป็นเพียงอุดมคติที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงในสังคม แต่ที่เกิดขึ้นจริงก็คือ สังคมมีชนชั้นปกครองและชนชั้นถูกปกครอง เช่น นายทุนและกรรมกรผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น

ชนชั้นหรือชนชั้นนําเกี่ยวโยงกับกลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมือง ดังนี้

1 ชนชั้นหรือชนชั้นนําที่ต้องการเข้ามาเล่นการเมืองในระดับชาตินั้น จําเป็นต้องอาศัย กลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมืองเป็นบันไดเข้ามาสู่อํานาจ เพราะพรรคการเมืองต่าง ๆ เหล่านี้จะมีบทบาทสําคัญใน ระบบการเมือง เป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่ซึ่งประกอบด้วยบุคคลจํานวนมาก เป็นสื่อกลางที่จะเชื่อมโยงระหว่าง ประชาชนกับรัฐบาล รวมทั้งเป็นเครื่องมือที่สําคัญที่จะชักนําให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง หรือเป็น ฐานเสียงให้กับตนเองได้นั่นเอง

2 ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีทัศนคติความเชื่อทางการเมืองที่ว่า การเมืองเป็นเรื่องของชนชั้นนํา ที่เป็นคนกลุ่มน้อย ประชาชนทั่วไปไม่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังเห็นว่า การเมืองเป็นเรื่องสกปรก นักการเมืองมีแต่ แสวงหาอํานาจและผลประโยชน์ให้กับตัวเองจึงไม่อยากเข้าไปยุ่งหรือไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ดังนั้นจึงทําให้ การเมืองเป็นเรื่องระหว่างชนชั้นนํากับกลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

3 พรรคการเมืองส่วนใหญ่มักรวบรวมสมาชิกเพื่อหวังสร้างอํานาจต่อรองกับรัฐบาล หรือ มุ่งหวังไปสู่การชนะการเลือกตั้งมากกว่ามุ่งเน้นไปที่อุดมการณ์ ดังนั้นจึงมักคัดเลือกสมาชิกทั้งในชนชั้นหรือชนชั้นนํา ที่สามารถเรียกคะแนนเสียงและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับพรรค รวมไปถึงสามารถสนับสนุนในเรื่องเงินทุนและ การช่วยเหลือด้านต่าง ๆ แก่พรรคได้ด้วย

4 นโยบายของพรรคการเมืองนั้นมักมีที่มาจากผลประโยชน์ทั้งของชนชั้นหรือชนชั้นนําเสมอ โดยเฉพาะการต่อรองที่ลงตัวในเรื่องตําแหน่งทางการเมือง

5 กลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมืองจะเป็นที่รวบรวมผลประโยชน์ของชนชั้นหรือชนชั้นนํา ตัวอย่างเช่น พรรคสามัคคีธรรมเป็นพรรคของพวกนายทหารหลังการยึดอํานาจของ รสช. พรรคชาติไทยเคยเป็น พรรคของเหล่านายทหารและข้าราชการสายราชครู พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคของพวกนักธุรกิจที่ต้องการเข้ามามี บทบาททางการเมือง เป็นต้น

ตัวอย่างของกลุ่มการเมืองในสังคมไทย เช่น

– คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) เป็นกลุ่มการเมืองซึ่งมีสมาชิกประกอบด้วยตัวแทน กลุ่มองค์กรประชาชนในสาขาอาชีพต่าง ๆ เช่น กลุ่มนักวิชาการ นําโดย ศ.ดร.สมบัติ ธํารงธัญวงศ์ เครือข่าย นักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) กลุ่มประชาคมนักธุรกิจสีลม เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย กองทัพธรรม กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ฯลฯ โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นเลขาธิการของกลุ่ม

– กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) หรือ “กลุ่มคนเสื้อเหลือง” เป็น กลุ่มการเมืองที่มีบทบาทสําคัญในช่วงปี พ.ศ. 2548 – 2552 โดยเป็นการรวมตัวจากหลายองค์กรทั่วประเทศ และ ได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ภายใต้จุดประสงค์ในการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกจากตําแหน่ง นายกรัฐมนตรี โดยมีแกนนําคนสําคัญ ได้แก่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และ พล.ต.จําลอง ศรีเมือง

ภายหลังการประชุมร่วมกันของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่สนามกีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ได้มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนแนวร่วมได้แสดงความเห็นถึง การจัดตั้งพรรคการเมืองของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งประชาชนที่เข้าร่วมประชุมมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ให้มีการจัดตั้ง พรรคการเมืองขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “พรรคการเมืองใหม่” นั่นเอง

– กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ “กลุ่มคนเสื้อแดง” เป็นกลุ่มการเมืองของกลุ่มผู้ต่อต้านการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2550 เพื่อขับไล่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติภายหลังจากการรัฐประหาร แต่ได้ยุติการชุมนุม เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550 หลังจากที่พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกเป็นเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร

แต่ภายหลังได้กลับมารวมตัวกันอีก เพื่อต่อต้านกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 จนเกิดเหตุการณ์ปะทะกันทําให้มีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ และหลังการเปลี่ยนขั้ว รัฐบาล โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี กลุ่ม นปช. ก็ได้กลับมาชุมนุมเคลื่อนไหวอีกครั้งเพื่อขับไล่รัฐบาล จนเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรง และยกกําลังทหารปิดล้อมผู้ชุมนุม จนต้องยุติการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552

ในปี พ.ศ. 2553 มีการชุมนุมใหญ่อีกครั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน จนกระทั่งถูกสลายการชุมนุมในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หลังจากนั้นในช่วงปลายปีก็มีการชุมนุม เป็นระยะ ๆ และมีความเกี่ยวโยงกับพรรคเพื่อไทยอย่างชัดเจน

Advertisement