การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL3100 กระบวนการนิติบัญญัติ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ข้อใดไม่ใช่เหตุผลของการเข้าร่วมทางการเมือง
(1) แสดงออกถึงการสนับสนุนผู้ที่ตนเองชื่นชอบ
(2) คํานึงถึงประโยชน์สูงสุด
(3) เป็นรูปแบบพฤติกรรมที่ควรสร้างให้เกิด
(4) โกรธและตอบโต้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลของการเข้าร่วมทางการเมือง ได้แก่
1. ต้องเคารพบรรทัดฐานของระบอบประชาธิปไตย
2. เป็นรูปแบบพฤติกรรมที่ควรสร้างให้เกิด
3. แสดงออกถึงการสนับสนุนผู้ที่ตนเองชื่นชอบ
4. การคํานึงถึงประโยชน์สูงสุด

Advertisement

2.คุณสมบัติของการมีส่วนร่วมคือข้อใด
(1) เข้าร่วมในกิจกรรมของสาธารณะโดยทางตรงหรือทางอ้อม
(2) ต้องสามารถตัดสินใจในการดําเนินกิจกรรมนั้นได้เท่านั้น
(3) มีสิ่งตอบแทนจากการเข้าร่วมในทางใดทางหนึ่ง
(4) ต้องรวมกลุ่มให้มีจํานวนเหมาะสม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คุณสมบัติของการมีส่วนร่วม มีดังนี้
1. เข้าร่วมในกิจกรรมของสาธารณะโดยทางตรงหรือทางอ้อม
2. เข้าร่วมในฐานะปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคนหรือองค์กรประชาชน
3. กิจกรรมที่ถือเป็นการมีส่วนร่วม อาจเป็นไปได้ตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมตัดสินใจ
4. เป็นการอาสา สมัครใจ เป็นต้น

3. ข้อใดคือจุดอ่อนของประชาธิปไตยแบบตัวแทน
(1) ผลประโยชน์ของตัวแทนไม่สอดคล้องกับประชาชนเจ้าของอํานาจ
(2) ตัวแทนอาจไม่มีเจตจํานงเดียวกับประชาชนเจ้าของอํานาจ
(3) ประชาชนไม่จําเป็นต้องติดตามเรื่องต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) จุดอ่อนของประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Democracy) คือ
1. ผลประโยชน์ของตัวแทนไม่สอดคล้องกับประชาชนเจ้าของอํานาจ
2. ตัวแทนอาจไม่มีเจตจํานงเดียวกับประชาชนเจ้าของอํานาจ

4. กฎหมายคืออะไร
(1) เครื่องมือสร้างระเบียบการอยู่ร่วมกันของสังคม
(2) เครื่องมือลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตาม
(3) เครื่องมือแก้ปัญหาของสังคมโดยมีเจตนาเฉพาะ
(4) เป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องเคารพ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 2, (คําบรรยาย กฎหมาย คือ เครื่องมือในการสร้างระเบียบในการอยู่ร่วมกันของสังคม ซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สังคมแต่ละสังคมสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาของสังคมโดยมีเจตนา เฉพาะ และมีการบังคับใช้กับประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาคกัน กฎหมายจึงควรคํานึงถึงผู้ที่จะ ถูกบังคับใช้อย่างเท่าเทียมกันด้วยเช่นกัน ดังนั้นเมื่อรัฐหรือผู้ปกครองออกกฎหมายใด ๆ มาแล้ว การจับกุมลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามจะเป็นที่ยอมรับในเบื้องต้นของคนในสังคม ทั้งนี้เพราะกฎหมาย เป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องเคารพและปฏิบัติตาม

5. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการตรากฎหมาย
(1) มาจากเจ้าของอํานาจอธิปไตยเท่านั้น
(2) ผ่านความเห็นชอบจากประชาชนทุกคนเท่านั้น
(3) เป็นอํานาจหน้าที่ของรัฐสภา
(4) ผ่านความเห็นชอบของศาลรัฐธรรมนูญทุกฉบับ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) อํานาจหน้าที่ของรัฐสภา ได้แก่
1. การตรากฎหมาย
2. การควบคุมบริหารราชการแผ่นดิน (การตั้งกระทู้ถาม, การขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ)
3. การให้ความเห็นชอบในเรื่องสําคัญ (การประกาศสงคราม, การทําสัญญาระหว่างประเทศ)
4. การให้การรับรองตําแหน่งสําคัญ ฯลฯ

6. ขั้นตอนใดของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่มีการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณารายละเอียดสาระของ
ร่างพระราชบัญญัติ
(1) เมื่อที่ประชุมเห็นชอบหลักการของร่างพระราชบัญญัติแล้ว
(2) เมื่อที่ประชุมเห็นชอบเนื้อหาแต่ละมาตราของพระราชบัญญัติแล้ว
(3) เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรรับร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ แล้ว
(4) เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 2 ใน 3 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแล้ว
(5) เมื่อมีการลงประชามติเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติเรียบร้อยแล้ว
ตอบ 1 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 1
เป็นการพิจารณาหลักการทั่วไปของร่างพระราชบัญญัติว่าสมควรจะลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น ถ้าที่ประชุมเห็นชอบหลักการของร่างพระราชบัญญัติแล้ว ก็จะเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 2 คือการพิจารณาในรายละเอียดสาระของร่างพระราชบัญญัติ โดยคณะกรรมาธิการที่สภาตั้งหรือคณะกรรมาธิการเต็มสภา แต่ถ้าที่ประชุมไม่เห็นชอบหลักการ ร่างพระราชบัญญัตินั้นก็เป็นอันตกไป

7.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของเผด็จการเบ็ดเสร็จ
(1) ควบคุมกิจกรรมของประชาชนและสถาบันต่าง ๆ ทุกกิจกรรม
(2) อ้างความชอบธรรมการใช้อํานาจผ่านเรื่องความมั่นคงของรัฐ
(3) ประชาชนต้องทําตามและแสดงความภักดีต่อรัฐ
(4) ให้อิสระกับสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคม
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของเผด็จการเบ็ดเสร็จ ได้แก่
1. ควบคุมกิจกรรมของประชาชนและสถาบันต่าง ๆ ทุกกิจกรรม
2. อ้างความชอบธรรมการใช้อํานาจผ่านเรื่องความมั่นคงของรัฐ
3. ประชาชนต้องทําตามและแสดงความภักดีต่อรัฐ
4. ควบคุมทุกสถาบัน รัฐกําหนดแนวปฏิบัติ เป็นต้น

8.ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์วัดความเป็นประชาธิปไตยของ Freedom House
(1) ความรับผิดชอบทางการเมือง
(2) การแข่งขันทางการเมือง
(3) ความมีเสรีภาพทางการเมือง
(5) ไม่มีข้อถูก
(4) ความเท่าเทียมทางการเมือง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เกณฑ์ในการวัดความเป็นประชาธิปไตยของ Freedom House ได้แก่
1. ความรับผิดชอบทางการเมือง
2. การแข่งขันทางการเมือง
3. ความมีเสรีภาพทางการเมือง
4. ความเท่าเทียมทางการเมือง

9. ข้อใดคือเกณฑ์ที่ Freedom House ใช้การกําหนดระดับความเป็น Establish Democracy
(1) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อเนื่อง 10 ปี ขึ้นไป
(2) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อเนื่อง 20 ปี ขึ้นไป
(3) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อเนื่อง 30 ปี ขึ้นไป
(4) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อเนื่อง 40 ปี ขึ้นไป
(5) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อเนื่อง 50 ปี ขึ้นไป
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เกณฑ์ที่ Freedom House ใช้การกําหนดระดับความเป็นประชาธิปไตยตั้งมั่น(Establish Democracy) คือ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อเนื่อง 40 ปี ขึ้นไป ตัวอย่าง ของประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยตั้งมั่น ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย เป็นต้น

10. ข้อใดไม่ใช่อํานาจของรัฐบาลมลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา
(1) การศึกษา
(2) การสาธารณสุข
(3) การป้องกันประเทศ
(4) การดูแลเรื่องอาชญากรรม
(5) การสาธารณูปโภค
ตอบ 3 (คําบรรยาย) อํานาจของรัฐบาลมลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ การดูแลเรื่องการศึกษา
การสาธารณสุข อาชญากรรม การสาธารณูปโภค เป็นต้น

11. ข้อใดคือการถ่วงดุลอํานาจระหว่างอํานาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการของประเทศสหรัฐอเมริกา
(1) ศาลสูงตั้งโดยประธานาธิบดีโดยความเห็นชอบของวุฒิสภา
(2) รัฐสภาสามารถถอดถอนประธานาธิบดีได้
(3) ประธานาธิบดีสามารถยับยั้งกฎหมายที่ผ่านจากฝ่ายนิติบัญญัติได้
(4) ศาลสูงสามารถตีความกฎหมายที่ผ่านสภาว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การถ่วงดุลอํานาจระหว่างอํานาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการของประเทศ สหรัฐอเมริกา มีดังนี้
1. ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมาย ประธานาธิบดีสามารถยับยั้งกฎหมายได้ แต่ฝ่ายนิติบัญญัติ สามารถยืนยันด้วยเสียง 2 ใน 3 ของทั้งสองสภาเพื่อให้กฎหมายผ่าน
2. ศาลสูงสามารถตีความกฎหมายที่ผ่านสภาและได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดีว่า
ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
3. ศาลสูงมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดีโดยความเห็นชอบของวุฒิสภา
4. รัฐสภาสามารถถอดถอนประธานาธิบดีได้ เป็นต้น

12. ข้อใดผิดเกี่ยวกับสมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา
(1) มาจากการเลือกตั้งระดับมลรัฐ
(2) วาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปี
(3) มีการเลือกตั้งทุก 2 ปี
(4) การสิ้นสุดสถานภาพของวุฒิสมาชิกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ครั้งละ 1/3 ของจํานวนทั้งหมด
(5) ไม่มีข้อผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกามาจากการเลือกตั้งระดับมลรัฐ มลรัฐละ 2 คน โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปี แต่จะมีการเลือกตั้งทุก 2 ปี ดังนั้นการสิ้นสุดสถานภาพของวุฒิสมาชิกจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม นั่นคือ จะมีสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดอายุทุก ๆ 2 ปี ครั้งละ 1/3 ของ จํานวนทั้งหมด

13. ความเชื่อมโยงของรัฐสภาสกอตแลนด์กับรัฐสภาอังกฤษคือข้อใด
(1) รัฐสภาอังกฤษสามารถเพิกถอน พ.ร.บ. ที่ตราโดยรัฐสภาสกอตแลนด์ได้
(2) รัฐสภาสกอตแลนด์สามารถเพิกถอน พ.ร.บ. ที่ตราโดยรัฐสภาอังกฤษได้
(3) กฎหมายที่ตราโดยรัฐสภาอังกฤษสามารถไม่บังคับใช้ที่สกอตแลนด์ได้ด้วย
(4) กฎหมายที่ตราโดยรัฐสภาสกอตแลนด์สามารถบังคับใช้ที่อังกฤษได้ด้วย
(5) ไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างทั้งสองรัฐสภา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความเชื่อมโยงของรัฐสภาสกอตแลนด์กับรัฐสภาอังกฤษ จะเห็นได้จากกรณี ที่รัฐสภาอังกฤษสามารถเพิกถอนพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่ตราโดยรัฐสภาสกอตแลนด์ได้ ถ้าเห็นว่าขัดกับกฎหมายของอังกฤษ

14. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับรัฐสภาอังกฤษ
(1) การเสนอ พ.ร.บ. ของรัฐสภาอังกฤษในขั้นแรกต้องเสนอที่สภาผู้แทนราษฎร (สภาสามัญ) เท่านั้น
(2) การเสนอ พ.ร.บ. ทุกชนิดต่อรัฐสภาอังกฤษสามารถเสนอได้ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและสภาขุนนาง
(3) สภาขุนนางอังกฤษสามารถยับยั้งกฎหมายได้ไม่เกิน 2 ปี
(4) การเสนอ พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงินต้องเสนอผ่านสภาผู้แทนราษฎรก่อน
(5) พ.ร.บ. ใด ๆ ที่ผ่านความเห็นชอบของสภาสามัญแล้วถือเป็นที่สุด เพราะมาจากการเลือกตั้ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ของรัฐสภาอังกฤษ อาจมีการเสนอใน สภาใดก็ได้ แต่ พ.ร.บ. ที่มีความสําคัญมักเสนอในสภาผู้แทนราษฎร (สภาสามัญ) โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการเสนอ พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงินต้องเสนอผ่านสภาผู้แทนราษฎรก่อน เนื่องจาก รัฐสภาให้อํานาจสูงสุดของฝ่ายนิติบัญญัติอยู่กับสภาผู้แทนราษฎร ทําให้ร่างพระราชบัญญัติบางประเภทสามารถนําขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบของสภาขุนนาง ซึ่งเป็นผลทําให้สภาขุนนางไม่มีสิทธิยับยั้งกฎหมายได้ มีเพียงหน้าที่ให้ความเห็นชอบยืนตามสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น

15. ข้อใดไม่ใช่สถาบันทางการเมืองของจีน
(1) สภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ
(2) พรรคคอมมิวนิสต์
(3) คณะที่ปรึกษาประชาชน
(4) คณะรัฐบาล
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สถาบันทางการเมืองของจีน ได้แก่ พรรคคอมมิวนิสต์จีน (Chinese Communist Party : CCP) สภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ ประธานาธิบดี คณะรัฐบาล (นายกรัฐมนตรีและ คณะรัฐบาล)

16. ข้อใดคือลักษณะของรัฐสภาอิหร่าน
(1) สมาชิกรัฐสภามาจากการแต่งตั้งจากประมุขสูงสุด
(2) มีอํานาจในการเลือกสรรประธานาธิบดี
(3) เป็นระบบสภาเดียว
(4) สามารถตรวจสอบและควบคุมสื่อต่าง ๆ
(5) สายการบังคับบัญชาขึ้นตรงกับประมุขสูงสุด
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ลักษณะของรัฐสภาอิหร่าน คือ มีสภานิติบัญญัติ (Majlis) เป็นระบบสภาเดียว ประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 290 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระการ ดํารงตําแหน่ง 4 ปี ซึ่งจะทําหน้าที่เสนอและพิจารณากฎหมาย นอกจากนี้ยังมีประธานาธิบดี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน แต่อยู่ในการควบคุมของสภาผู้พิทักษ์ โดยสภาผู้พิทักษ์ นี้จะมาจากการแต่งตั้งจากประมุขสูงสุดนั่นเอง

17. ICC ที่รัฐบาลสหรัฐก่อตั้งขึ้นในช่วงฟื้นฟูเศรษฐกิจ ย่อมาจาก
(1) Interstate Commerce Commission
(2) Interstate Commission Committee
(3) International Commerce Commission
(4) International Commission Committee
(5) Internal Commerce Committee
ตอบ 1 หน้า 32, (คําบรรยาย) การจัดตั้งองค์กรอิสระนั้นเป็นแนวคิดที่เกิดในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็น ช่วงเวลาของการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยสภาคองเกรสได้อนุมัติการก่อตั้ง Interstate Commerce Commission หรือ ICC ขึ้นในปี ค.ศ. 1887 โดยเป็นคณะทํางานที่แยกออกจากคณะทํางาน ของประธานาธิบดี เพื่อป้องกันการแทรกแซงของประธานาธิบดี รวมทั้งเพื่อลดขั้นตอนที่ล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพของสํานักงานเลขาของประธานาธิบดี

18. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะความเป็นอิสระขององค์กรอิสระ
(1) อิสระในเรื่องการกําหนดนโยบาย
(2) อิสระในเรื่องการเข้าสู่อํานาจของผู้มาทําหน้าที่
(3) อิสระในเรื่องงบประมาณ
(4) อิสระในการถูกตรวจสอบจากรัฐบาล
(5) มีสํานักงานที่เป็นอิสระ
ตอบ 4 หน้า 32 – 33, (คําบรรยาย) ความเป็นอิสระขององค์กรอิสระ มีลักษณะดังนี้
1. อิสระในเรื่องที่มาและการเข้าสู่อํานาจของผู้มาทําหน้าที่
2. อิสระในเรื่องการกําหนดนโยบายและการดําเนินงานขององค์กร
3. อิสระในเรื่องงบประมาณ
4. มีหน่วยธุรการหรือสํานักงานที่เป็นอิสระ

19. ความเป็นกลางขององค์กรอิสระ คือข้อใด
(1) คณะกรรมการฯ ได้ยืนยันในความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
(2) ประชาชนและสาธารณะยอมรับในความเป็นกลาง
(3) การมีคุณสมบัติครบตามที่รัฐธรรมนูญกําหนด
(4) การไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ๆ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 33, (คําบรรยาย) ความเป็นกลางขององค์กรอิสระ ได้แก่
1. ไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง เช่น การไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ๆ เป็นต้น
2. ปราศจากอคติ ไม่ลําเอียงเพราะรัก โกรธ หลง กลัว

20. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
(1) เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง
(2) เป็นกรรมการที่มาจากการคัดเลือกกันเองขององค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง
(3) เป็นกรรมการที่มาจากการคัดเลือกของรัฐสภา
(4) เป็นกรรมการที่มาจากการคัดเลือกของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตาม
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง
2. เป็นกรรมการที่มาจากการคัดเลือกของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด
3. เป็นกรรมการที่มาจากการคัดเลือกกันเองขององค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง

21. สมาชิกวุฒิสภาอังกฤษประเภทใดที่ได้รับเงินเดือน
(1) แบบสืบเชื้อสายจากตระกูลเก่า
(2) ขุนนางที่ได้รับแต่งตั้ง
(3) พระสังฆาธิราช
(4) หัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สภาขุนนางของอังกฤษ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. ขุนนางสืบเชื้อสาย (Hereditary Peers) มาจากการสืบทอดตําแหน่งทางสายโลหิต
และมีวาระการดํารงตําแหน่งตลอดชีพ
2. ขุนนางตลอดชีพ (Life Peers) มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี และสามารถดํารง ตําแหน่งได้ตลอดชีวิต แต่สืบทอดให้ทายาทไม่ได้
3. ขุนนางโดยตําแหน่งที่เป็นนักบวช (Spiritual Peers) มาจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ เช่น บีชอปและอาร์ชบิชอปต่าง ๆ โดยจะมีวาระตามระยะเวลาที่อยู่ในตําแหน่งที่กําหนด
4. ขุนนางกฎหมาย (Law Lords) เป็นขุนนางฝ่ายกฎหมาย ซึ่งจะดํารงตําแหน่งตลอดชีพและ ได้รับเงินเดือน เช่น หัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็นต้น ในขณะที่ขุนนางประเภทอื่น ๆจะได้รับเพียงสวัสดิการเท่านั้น

22. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
(1) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(2) แต่งตั้งเอกอัครราชทูต
(3) คัดเลือกผู้พิพากษาศาลสูงสุด
(4) บริหารระบบภัยพิบัติของมลรัฐที่ประสบภัย
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้แก่
1. ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
2. คัดเลือกและแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุด
3. แต่งตั้งเอกอัครราชทูต
4. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
5. ยับยั้งร่างกฎหมาย
6. ทําสนธิสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น

23. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของรัฐธรรมนูญ
(1) การบริหารราชการของส่วนราชการต่าง ๆ
(2) คุณสมบัติผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
(3) อํานาจของฝ่ายยุติธรรม
(4) ข้อ 2 และ 3
(5) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
1. ระยะเวลาที่จะจัดให้มีการเลือกตั้ง
2. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
3. สิทธิและหน้าที่พลเมือง
4. ขอบเขตและขีดจํากัดของอํานาจรัฐบาล
5. อํานาจของฝ่ายยุติธรรม
6. แนวทางการจัดตั้งรัฐบาล การเข้าสู่และพ้นตําแหน่ง
7. บทบาทและอํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นต้น

24. ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย
(1) ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง
(2) ทุกพรรคการเมืองมีอิสระในการหาเสียงเลือกตั้ง
(3) ประชาชนสามารถจัดชุมนุมแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้
(4) การลงคะแนนเลือกตั้ง 1 สิทธิ 1 เสียงเท่ากัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย มีดังนี้
1. ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง (Political Accountability)

2. การแข่งขันทางการเมือง (Political Competition) โดยทุกพรรคการเมืองมีอิสระ ในการหาเสียงเลือกตั้ง
3. ความมีเสรีภาพทางการเมือง (Political Freedom) ประชาชนสามารถจัดชุมนุม แสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้
4. ความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality) ซึ่งจะเห็นได้จากการลงคะแนนเลือกตั้ง 1 สิทธิ 1 เสียงเท่ากัน

25. Majority Rule and Minority Rights หมายความว่า
(1) ตัดสินใจทางการเมืองด้วยเสียงเกินครึ่งหนึ่งของผู้มาลงคะแนน
(2) ตัดสินใจทางการเมืองด้วยเสียงของชนชั้นนําในสังคม
(3) ตัดสินใจทางการเมืองด้วยเสียงส่วนใหญ่ได้ทุกเรื่อง
(4) ตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อย
(5) ตัดสินใจด้วยการใช้กําลังบีบบังคับ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) Majority Rule and Minority Rights หมายถึง หลักการปกครองโดยเสียง ข้างมากโดยเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างว่าเป็นการตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อยนั่นเอง

26. ประเทศใดมีระบบรัฐสภาเดี่ยว
(1) อังกฤษ
(2) อเมริกา
(3) อินโดนีเซีย
(4) จีน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) อินโดนีเซีย (Indonesia) เป็นประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีระบบรัฐสภาเดี่ยว คือ “สภาผู้แทนราษฎร”

27. อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน แสดงออกผ่านรัฐธรรมนูญอย่างไร
(1) สัดส่วนของตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด
(2) สัดส่วนของตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกกันเองของสภาวิชาชีพมากที่สุด
(3) สัดส่วนของตัวแทนในรัฐสภามาจากการสรรหามากที่สุด
(4) จํานวนประชาชนที่สามารถเสนอกฎหมายมีจํานวนมาก
(5) ข้อ 1 และ 4
ตอบ 5 (คําบรรยาย) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) สามารถแสดงออก ผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ในหลายลักษณะ เช่น
1. กําหนดสัดส่วนของตัวแทนประชาชนในรัฐสภาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด
2. กําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจํานวนมากขึ้น (แสดงนัยยะสําคัญ ว่าอํานาจของประชาชนน้อยลง) เป็นต้น

28. ข้อใดมีคุณูปการใหญ่หลวงต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในอังกฤษ
(1) Magna Carta
(2) Erasmus Mundus
(3) Jurassic Rex
(4) Bill of Rights
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 4
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งที่เป็นคุณูปการใหญ่หลวงต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในอังกฤษ คือ
1. Magna Carta ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นแห่งรัฐธรรมนูญอังกฤษ และเป็นกุญแจสําคัญในการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยอ้างถึงสิทธิทางการเมืองทั่ว ๆ ไป สิทธิของเสรีชน ช่วยให้อํานาจค่อย ๆ เปลี่ยนมือจากกษัตริย์มาสู่ตัวแทนของประชาชน
2. Bill of Rights หรือ “บัตรแห่งสิทธิ” คือ กฎหมายหรือบทบัญญัติที่เป็นการเปิดประตู แห่งความเป็นประชาธิปไตยในอังกฤษให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งพลเมืองจะมีสิทธิต่าง ๆ ติดตัวในฐานะเป็นประชาชนคนธรรมดา

29. การที่มีข้อบัญญัติรับรองว่า กษัตริย์จะไม่จับกุมผู้แทนราษฎรระหว่างการประชุมโดยไม่มีเหตุอันควร เพื่อป้องกันไม่ให้กษัตริย์ใช้อํานาจมากเกินไป ได้กลายมาเป็นหลักการใดในโลกสมัยใหม่
(1) การให้สิทธิเดินทางฟรี
(2) การได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูต
(3) เอกสิทธิ์คุ้มครอง
(4) สวัสดิการสมาชิกสภา
(5) กฎหมายการคุ้มครองพยาน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการเอกสิทธิ์คุ้มครอง เกิดขึ้นครั้งแรกในอังกฤษ อันเป็นผลมาจากการมี ข้อบัญญัติรับรองว่า “กษัตริย์จะไม่จับกุมผู้แทนราษฎรระหว่างการประชุมโดยไม่มีเหตุอันควรเพื่อป้องกันไม่ให้กษัตริย์ใช้อํานาจมากเกินไป” ซึ่งได้กลายมาเป็นหลักการสําคัญในโลกสมัยใหม่ (ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 125)

30. ลักษณะสําคัญของการใช้อํานาจร่วมระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารคือ
(1) สมาชิกวุฒิสภาสามารถดํารงตําแหน่งราชการประจําได้
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถดํารงตําแหน่งราชการประจําได้
(3) นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(4) นายกรัฐมนตรีต้องไม่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) เป็นลักษณะของการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Powers) หรือการใช้อํานาจร่วมระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร โดยจะให้ สถาบันนิติบัญญัติ (รัฐสภา) เป็นสถาบันหลัก มีอํานาจควบคุมฝ่ายบริหาร และฝ่ายบริหารจะต้องมา จากฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น กรณีที่นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น

31. หากจะยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติภายหลังการรัฐประหาร จะต้องตราพระราชบัญญัติเพื่อยกเลิกสภาพบังคับเพราะประกาศคณะปฏิวัติเป็น
(1) พระบรมราชโองการ
(2) คําสั่งของรัฏฐาธิปัตย์
(3) คําสั่งในทางปกครอง
(4) คําสั่งของเผด็จการ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประกาศของคณะปฏิวัติถือว่าเป็นคําสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ (ผู้มีอํานาจสูงสุดในการ ปกครองประเทศ) และมีฐานะเป็นกฎหมาย ซึ่งจะมีสภาพบังคับเทียบเท่ารัฐธรรมนูญหรือ พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นการจะยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัตินั้นจะต้อง ดําเนินการเช่นเดียวกับการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายธรรมดาทั่วไป คือ ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติออกมายกเลิก

32. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (House of Commons) ของไทย มีวาระการดํารงตําแหน่งกี่ปี
(1) วาระ 2 ปี
(2) วาระ 3 ปี
(3) วาระ 4 ปี
(4) วาระ 5 ปี
(5) ตลอดชีพ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 (แก้ไขเพิ่มเติม) มาตรา 83 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎร (House of Commons) ของไทย ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จํานวน 400 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จํานวน 100 คน รวมทั้งสิ้นจํานวน 500 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 4 ปี

33. พระราชกําหนดมีศักดิ์เทียบเท่ากับ
(1) พระราชบัญญัติ
(2) พระบรมราชโองการ
(3) พระราชกฤษฎีกา
(4) ข้อบัญญัติท้องถิ่น
(5) เทศบัญญัติ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พระราชกําหนด คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนําและ ยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอํานาจตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ เมื่อประกาศใช้แล้ว จะต้องเสนอให้รัฐสภาผ่านความเห็นชอบมีผลบังคับใช้เป็นพระราชบัญญัติต่อไป ดังนั้นจึงมีศักดิ์เทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ แต่ถ้ารัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบพระราชกําหนดนั้นก็จะ สิ้นสุดสภาพการบังคับใช้

34. หากวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสภาผู้แทนราษฎรไม่ทันภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญจะเกิดผลเช่นไร
(1) วุฒิสภาจะถูกตัดเงินเดือน
(2) ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
(3) ร่างพระราชบัญญัตินั้นต้องถูกนําเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
(4) ให้ถือร่างพระราชบัญญัตินั้นเสมือนว่าผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาแล้ว
(5) ร่างพระราชบัญญัตินั้นจะต้องถูกนํามาพิจารณาในการประชุมวุฒิสภาสมัยถัดไป
ตอบ 4 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 136 กําหนดให้ วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ที่เสนอมาโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วย การเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็น กรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน หากวุฒิสภายังพิจารณาไม่เสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้น หรือร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ผ่าน การพิจารณาของวุฒิสภาแล้วนั่นเอง

35. ในการควบคุมการทํางานของฝ่ายบริหารด้วยการตั้งกระทู้ถาม ผู้ตั้งกระทู้สามารถกําหนดวิธีให้ผู้ถูกถาม
ตอบกระทู้ได้ดังนี้
(1) ตอบด้วยวาจาในสภาผู้แทนราษฎร
(2) ตอบด้วยวาจาในที่ประชุมกรรมาธิการ
(3) ตอบในราชกิจจานุเบกษา
(4) เฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการควบคุมการทํางานของฝ่ายบริหารด้วยการตั้งกระทู้ถาม สมาชิกผู้ตั้งกระทู้ จะเป็นผู้กําหนดว่าต้องการให้ผู้ถูกถามตอบกระทู้ด้วยวาจาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร หรือตอบในราชกิจจานุเบกษาเป็นลายลักษณ์อักษร

36. การกําหนดความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” มักยึดหลักความได้สัดส่วน และความเหมาะสมระหว่างข้อใด
(1) ความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ
(2) ประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ
(3) อํานาจของรัฐสภากับอํานาจองค์กรอิสระ
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 หน้า 13, (คําบรรยาย) การกําหนดพื้นฐานความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชน ในฐานะปัจเจก” นั้นมักยึดหลักแห่งความได้สัดส่วนและหลักแห่งความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อ
1. เป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ
2. สร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

37. รัฐธรรมนูญ มีนัยยะสําคัญในเรื่องใด
(1) จํากัดอํานาจของผู้ปกครอง
(2) แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน
(3) สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 4 – 5, (คําบรรยาย) นัยยะสําคัญของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
1. จํากัดอํานาจและการกระทําของผู้ปกครอง
2. แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน
3. สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐบาล
4. อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
5. สถานะสูงสุดที่ไม่มีกฎหมายอื่นใดขัดหรือแย้ง ฯลฯ

38. การประชุมลับของสภาผู้แทนราษฎรจะดําเนินการได้ด้วยเงื่อนไขอะไร
(1) คณะรัฐมนตรีร้องขอให้ประชุมลับ
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 1 ใน 4 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ร้องขอให้ประชุมลับ
(3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 1 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ร้องขอให้ประชุมลับ
(4) ไม่สามารถประชุมลับได้เพราะเป็นสิทธิของประชาชนที่จะติดตามการประชุม
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 127 กําหนดให้ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภา และการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่ กําหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละสภา แต่ถ้าคณะรัฐมนตรีร้องขอให้ประชุมลับ หรือ สมาชิกของแต่ละสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน มีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของ จํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา หรือจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ ทั้งสองสภา แล้วแต่กรณี ร้องขอให้ประชุมลับ ก็ให้ประชุมลับ

39. การเสนอญัตติที่สภาต้องการให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเข้าประชุม จะต้องมีสมาชิกลงชื่อรับรอง
ไม่น้อยกว่ากี่คน
(1) 10
(2) 15
(3) 20
(4) 25
(5) 30
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ญัตติที่ต้องมีสมาชิกลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน ได้แก่
1. ญัตติขอให้สภามีมติให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ใดเข้าร่วมประชุมในเรื่องใดในที่ประชุม
2. ญัตติขอให้สภามีมติว่ากรณีมีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจของสภา ตามมาตรา 210 (2) ของรัฐธรรมนูญ
3. ญัตติขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการหรือขอให้คณะกรรมาธิการสามัญคณะใดคณะหนึ่ง กระทํากิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในหน้าที่และอํานาจ ของสภา ตามมาตรา 129 ของรัฐธรรมนูญ

40. ข้อใดเป็นเงื่อนไขสําคัญอันเป็นเหตุผลที่คณะรัฐมนตรีสามารถเสนอให้พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกําหนดได้
(1) เพื่อการรักษาความปลอดภัยของประเทศ
(2) เพื่อความปลอดภัยของสาธารณะ
(3) เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
(4) เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 57 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 172 วรรค 2 กําหนดให้ การตราพระราชกําหนดให้กระทําได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้

41. หากร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่ามีหลักการขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถรวมตัวกันเสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา โดยใช้จํานวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภา รวมกันเป็นจํานวน….ของทั้งสองสภารวมกัน
(1) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
(2) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
(3) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10
(4) ไม่น้อยกว่า 3 ใน 5
(5) ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 148 (1) ระบุไว้ว่า หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่ กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

42. การเข้าชื่อเพื่อเสนอยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีต้องใช้เสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน
(1) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
(2) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4
(3) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
(4) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 6
(5) ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 151 วรรค 1 กําหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิ เข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ

43. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่าง พ.ร.บ. ที่ผ่านรัฐสภาแล้ว รัฐสภาจะต้องทําอย่างไร
(1) ปรึกษากัน แล้วแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ทรงมีพระราชกระแส
(2) ปรึกษากัน หากยืนยันตามร่างเดิมต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภา
(3) ไม่นําขึ้นพิจารณาอีก เพราะกระทําไม่ได้
(4) ตั้งร่าง พ.ร.บ. ขึ้นมาพิจารณาใหม่
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 146 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติใดพระมหากษัตริย์ ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีก ครั้งหนึ่ง และหากมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติ นั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

44. การกําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมากขึ้น แสดงนัยยะสําคัญอะไร
(1) อํานาจของประชาชนมากขึ้น
(2) อํานาจของประชาชนน้อยลง
(3) โอกาสการเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้น
(4) ไม่มีนัยยะสําคัญ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

45. ข้อใดคือเกณฑ์การได้มาซึ่งวุฒิสมาชิกของไทยหลังจากวุฒิสภาชุดแรกหมดวาระ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
(1) การเลือกตั้ง
(2) การเลือกจากบัญชีรายชื่อ
(3) การเลือกตั้งตามกลุ่มอาชีพ
(4) การเลือกโดยคณะกรรมการสรรหา
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เกณฑ์การได้มาซึ่งวุฒิสมาชิกของไทยหลังจากวุฒิสภาชุดแรกหมดวาระตาม รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 107 และ 109 กําหนดให้ วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา แบบเลือกตั้งโดยอ้อม (เลือกกันเองของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือผลประโยชน์ร่วมกัน) จํานวน 200 คน ซึ่งมีวาระการดํารงตําแหน่ง 5 ปี

46. ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 อํานาจนิติบัญญัติอยู่ที่องค์กรใด
(1) สภาปฏิรูปแห่งชาติ
(2) รัฐสภา
(3) หัวหน้า คสช.
(4) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(5) ข้อ 3 และ 4
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 อํานาจนิติบัญญัติอยู่ที่สภานิติบัญญัติ แห่งชาติ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นสําคัญ โดยมีคณะรัฐมนตรีชั่วคราว รับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน และมีกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญทําหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

47. ข้อใดเป็นความแตกต่างระหว่างประชาพิจารณ์กับประชามติ
(1) ประชามติเป็นการแสดงอํานาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน
(2) ประชาพิจารณ์เป็นแนวทางที่รัฐใช้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
(3) ประชามติกําหนดให้รัฐต้องผูกพันปฏิบัติตามผลการออกเสียงประชามติ
(4) ประชาพิจารณ์ต้องการความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องนั้น ๆ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างประชาพิจารณ์กับประชามติ มีดังนี้
1. ประชาพิจารณ์ตั้งอยู่บนฐานคติของการรักษาผลประโยชน์แก่ประชาชน ส่วนประชามติ จะตั้งอยู่บนฐานคติของการแสดงอํานาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน
2. ประชาพิจารณ์เป็นแนวทางที่รัฐใช้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งส่วนประชามติจะเป็นกระบวนการที่รัฐขอปรึกษาหารือประชาชน เพื่อกําหนดแนวทางปฏิบัติ
3. ประชาพิจารณ์นั้นรัฐจะไม่ผูกพันและไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม ส่วนประชามติกําหนดให้รัฐ ต้องผูกพันปฏิบัติตามผลการออกเสียงประชามติ
4. ประชาพิจารณ์ต้องการความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องนั้น ๆ เพื่อลดความขัดแย้ง จากการตัดสินใจของรัฐ ส่วนประชามตินั้นต้องการมติของประชาชนว่าจะให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบในเรื่องนั้น ๆ

48. ข้อใดไม่ใช่หลักการของการทําประชาพิจารณ์
(1) มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับที่ประชุม
(2) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ที่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(3) จัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ
(4) หน่วยงานรัฐต้องหยุดดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่จะทําประชาพิจารณ์ทั้งหมด
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการของการทําประชาพิจารณ์ มีดังนี้
1. จะต้องกระทําก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ
2. มีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ที่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3. มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับที่ประชุม
4. การดําเนินการประชาพิจารณ์ต้องเป็นไปโดยเที่ยงตรงและเปิดเผย
5. ข้อสรุปจากการทําประชาพิจารณ์เป็นเพียงข้อเสนอแนะ หน่วยงานของรัฐไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม

49. ข้อใดเป็นอํานาจหน้าที่ของรัฐสภา
(1) การตรากฎหมาย
(2) การควบคุมบริหารราชการแผ่นดิน
(3) การให้ความเห็นชอบในเรื่องสําคัญ
(4) เฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

50. กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา เรียกว่าอะไร
(1) พระราชกําหนด
(2) พระราชกฤษฎีกา
(3) พระราชานุญาต
(4) พระราชดําริ
(5) พระราชบัญญัติ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนํา และยินยอมของรัฐสภา กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่ต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบของ รัฐสภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก่อน จึงนําขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลง พระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

51. ประเทศไทยได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อใด
(1) 14 ตุลาคม 2475
(2) 6 ตุลาคม 2475
(3) 10 ธันวาคม 2475
(4) 24 ธันวาคม 2475
(5) 24 มิถุนายน 2475
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรก ของประเทศไทย ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

52. พรรคการเมืองใดจงใจไม่ลงสมัครแข่งขันในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557
(1) พรรคกิจสังคม
(2) พรรคประชาธิปัตย์
(3) พรรคอนาธิปัตย์
(4) พรรคเพื่อไทย
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 นั้น พบว่ามีพรรคการเมืองที่ ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมดจํานวน 53 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคชาติพัฒนา พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อไทย พรรคพลังชล พรรคภูมิใจไทย พรรครักประเทศไทย ฯลฯ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์นั้นถือเป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวที่ประกาศไม่ลงสมัครแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งนี้

53. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของยุคแห่งการรู้แจ้ง (Enlightenment)
(1) การยอมรับระบบเหตุผล
(2) ศาสนจักรไม่มีอิทธิพลต่อความคิด
(3) อิทธิพลของพุทธศาสนา
(4) การมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 4
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การเสื่อมถอยของทฤษฎีครองอํานาจแบบลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine Right Theory) เกิดจากการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมให้มีการยอมรับระบบเหตุผล มากกว่าการใช้หลักจารีต ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า ทําให้ศาสนจักรไม่มีอิทธิพลต่อ ความคิด รวมไปถึงส่งเสริมการมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ หรือที่รู้จักกันในนามยุคเรืองปัญญา หรือยุคแห่งการรู้แจ้ง (Enlightenment)

54. แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) บอกว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพในเงื่อนไขใด
(1) ในรัฐสังคมนิยมเท่านั้น
(2) ในรัฐสวัสดิการเท่านั้น
(3) ในรัฐแบบใดก็ได้
(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ซอง จากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน แห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้น บรรลุถึงเสรีภาพได้ สัญญาประชาคมจึงเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญที่ต้องอยู่เพื่อทุกส่วนในสังคมดังนั้นการบรรลุเสรีภาพจะเกิดขึ้นในเงื่อนไขการปกครองแบบประชาธิปไตยเท่านั้น

55. เจตจํานงทั่วไป (General Will) ในทางทฤษฎี หมายถึง
(1) การมีส่วนร่วมทางการเมือง
(2) การเข้าไปใช้อํานาจการเมือง
(3) การยอมรับตัวแทนทางการเมือง
(4) การมีส่วนร่วมและกําหนดทิศทางของชุมชนที่สังกัด
(5) การมีส่วนร่วมทางการเมืองและยอมรับผู้นําการเมือง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เจตจํานงทั่วไป (General Will) ในทางทฤษฎี หมายถึง การมีส่วนร่วมและ กําหนดทิศทางของชุมชนที่สังกัด ซึ่งเป็นเรื่องของความเห็นพ้องต้องกันหรือมติเอกฉันท์ ของทุกคนในสังคม หรือบางครั้งอาจเป็นการตัดสินโดยเสียงข้างมากก็ถือว่าเป็นการเพียงพอ แต่ต้องเป็นเสียงข้างมากที่มุ่งผลประโยชน์ของคนทุกคนหรือผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

56. ข้อใดไม่เป็นพื้นที่ในพรมแดนส่วนตัว (Private Sphere)
(1) การคลุมฮิญาบ
(2) E-mail
(3) รสนิยม
(4) ห้องทํางานส่วนตัวในมหาวิทยาลัย
(5) งานอดิเรก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พื้นที่ในพรมแดนส่วนตัว (Private Sphere) เป็นพื้นที่ที่ถูกใช้โดยคนหนึ่งคนใด และมีลักษณะแบ่งแยกกันเด็ดขาด มักเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นปัจเจกบุคคล เข้าถึงได้ยาก เพราะต้องการความเป็นส่วนตัว เช่น ศาสนา (การคลุมฮิญาบ) ชีวิตครอบครัว รสนิยม งานอดิเรก ห้องนอน E-mail ฯลฯ

57. รัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง
(1) รัฐที่แยกพื้นที่ส่วนตัวออกจากพื้นที่สาธารณะ
(2) รัฐที่เอาหลักศาสนามาปกครอง
(3) รัฐที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์การปกครอง
(4) รัฐที่นําเอานักบวชมาปกครอง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐฆราวาสหรือรัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง รัฐหรือประเทศที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์การปกครองหรือกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการแยกศาสนจักร ออกจากฝ่ายอาณาจักรในโลกตะวันตก (โดยเฉพาะกรณีของอังกฤษ) โดยทั่วไปรัฐฆราวาสจะมี แนวทางบริหารประเทศโดยใช้หลักทั่วไปทางโลกมาเป็นรากฐานของการปกครอง ไม่ต่อต้าน ความเชื่อหรือจํากัดศาสนาใด ๆ ตัวอย่างของรัฐดังกล่าวนี้ ได้แก่ ไทย เนปาล ฯลฯ

58. ข้อใดเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550
(1) เข้าชื่อเสนอกฎหมาย
(2) เข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
(3) พิจารณากฎหมายเกี่ยวกับเด็ก สตรี เยาชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(4) เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มผลประโยชน์ เช่น กลุ่มอาชีพ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 ได้แก่
1. การออกเสียงเลือกตั้ง
2. การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (ร่าง พ.ร.บ. ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และ หมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ)
3. การเข้าชื่อเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
4. การเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
5. การมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับเด็ก สตรี เยาชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
6. การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มผลประโยชน์ เช่น กลุ่มอาชีพ เป็นต้น

59. กระบวนการที่ประชาชนของประเทศอังกฤษออกเสียงสนับสนุนให้อังกฤษออกจากการเป็นสมาชิก
สหภาพยุโรป เรียกว่า
(1) ประชาพิจารณ์
(2) มหาชนสมมุติ
(3) ประชามติ
(4) เลือกตั้ง
(5) ประชาสังคม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559 อังกฤษและกลุ่มประเทศในสหราชอาณาจักร ได้มีการลงประชามติออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปหรืออียู (EU) ซึ่งผลปรากฏว่า คะแนนที่ต้องการออกจากอียูคิดเป็นร้อยละ 51.89 ส่วนคะแนนที่ต้องการอยู่กับอียูคิดเป็นร้อยละ 48.11

60. การที่ประชาชนชาวยูเครนร่วมมือกับรัฐบาลยูเครนในการต่อสู้การรุกรานเพื่อยึดครองของรัสเซียเป็นการ
แสดงออกซึ่งการยืนยันในอํานาจอะไร
(1) อํานาจอธิปไตย
(2) อํานาจรัฐบาล
(3) อํานาจอียูและสหรัฐ
(4) อํานาจทางการทหาร
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การแสดงออกซึ่งอํานาจอธิปไตย โดยประชาชนเป็นเจ้าของอํานาจ ซึ่งจะต้องได้รับการยินยอม ประชาชนสามารถใช้อํานาจของตนโดยตรงหรือโดยอ้อม ตัวอย่างของ การแสดงออกซึ่งเป็นการยืนยันในอํานาจอธิปไตย เช่น กรณีที่ประชาชนชาวยูเครนร่วมมือกับ รัฐบาลยูเครนในการต่อสู้การรุกรานเพื่อยึดครองของรัสเซีย เป็นต้น

61. ต้องใช้จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนเท่าใดของจํานวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาฯ จึงจะสามารถเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติได้
(1) จํานวน 1 ใน 3
(2) จํานวน 1 ใน 4
(3) จํานวน 1 ใน 10
(4) กึ่งหนึ่ง
(5) มากกว่ากึ่งหนึ่ง
ตอบ 3(คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 152 กําหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร จะเข้าชื่อกัน เพื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรีโดยไม่มีการลงมติก็ได้

62. ข้อใดไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
(1) กกต.
(2) ป.ป.ช.
(3) คตง.
(4) สตง.
(5) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ตอบ 4 หน้า 35 – 39 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย 5 องค์กร ได้แก่
1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
2. ผู้ตรวจการแผ่นดิน
3. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
4. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)
5. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

63. การปฏิรูปประเทศ เป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใด
(1) พ.ศ. 2540
(2) พ.ศ. 2550
(3) พ.ศ. 2557
(4) พ.ศ. 2560
(5) ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) “การปฏิรูปประเทศ” เป็นหมวด 16 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งการปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ต้องการดําเนินการในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผลดังนี้ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและด้านอื่นๆ

64. รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุดมีลักษณะอย่างไร
(1) การแก้กฎหมายทําได้ง่าย
(2) กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
(3) เป็นไปตามเจตจํานงของผู้ปกครองสูงสุด
(4) ลําดับชั้นของกฎหมายไม่มีความจําเป็น
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 6 รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุด มีลักษณะดังนี้
1. กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
2. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทําได้ยาก

65. ข้อใดแสดงว่าอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย
(1) ตัวแทนจากวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งกันเองของสภาวิชาชีพ
(2) ตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด
(3) จํานวนประชากรที่ลงชื่อเสนอกฎหมายได้ต้องใช้จํานวนมากที่สุด
(4) ประชาชนออกเสียงประชามติแล้วให้รัฐแก้ไขได้เล็กน้อย
(5) การประกาศตัวเป็นองค์อธิปัตย์ของแกนนํากลุ่มผู้ชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมชุมนุมจํานวนมาก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

66. การปกครองระบบรัฐสภามีหลักการสําคัญคือการดุลอํานาจ หมายความว่าอย่างไร
(1) มีการแยกอํานาจการออกกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย และการลงโทษตามกฎหมาย
(2) มีการแยกฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายข้าราชการออกจากกัน
(3) มีการแยกกรรมาธิการเป็นหลายคณะเพื่อแบ่งความรับผิดชอบ
(4) มีการแยกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาออกจากกัน
(5) มีการแยกการปกครองออกเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาคออกจากกัน
ตอบ 1 หน้า 19, (คําบรรยาย) หลักการสําคัญของการปกครองระบบรัฐสภา ได้แก่
1. หลักการดุลอํานาจ หมายถึง เมื่อมีการแยกอํานาจออกเป็น 3 อํานาจ นั่นคือ อํานาจ การออกกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย และการลงโทษตามกฎหมาย แต่ละอํานาจ จะมีอิสระในตัวเอง และมีความสัมพันธ์กับอํานาจอื่นตามหลักแห่งการดุลอํานาจ
2. หลักแห่งความรับผิดชอบทางการเมือง หมายถึง การที่บุคคลที่ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สามารถยืนยันผลการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง หากไม่สามารถยืนยันได้ย่อมไม่ชอบธรรม
ที่จะบริหารประเทศต่อไป

67. คํากล่าวที่ว่า “เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน” คือข้อใด
(1) ประชาธิปไตยผูกโยงกับจํานวนประชาชน
(2) เสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก
(3) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่ไม่สามารถไปด้วยกัน
(4) ประชาธิปไตยไม่สามารถทําให้เกิดเผด็จการรัฐสภาได้
(5) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เนื่องจากประชาธิปไตยนั้น จะผูกโยงกับจํานวนประชาชน (เน้นส่วนใหญ่) ส่วนเสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐ ต่อปัจเจก แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองด้านจะเป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกัน

68. ใครเป็นผู้มีสิทธิในการเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกสภาฯ ที่มีอยู่
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกสองสภาที่มีอยู่
(3) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้มีสิทธิเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้
1. คณะรัฐมนตรี
2. ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
3. ส.ส. และ ส.ว. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
4. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อ
เสนอกฎหมาย

69. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนเท่าใดที่จะสามารถเข้าซื้อกล่าวหา ป.ป.ช. เกี่ยวกับการปฏิบัติตามอํานาจและหน้าที่ได้
(1) 10,000 ชื่อ
(2) 20,000 ชื่อ
(3) 30,000 ชื่อ
(4) 40,000 ชื่อ
(5) 50,000 ชื่อ
ตอบ 2(คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 236 วรรค 1 กําหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภาจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน สามารถเข้าซื้อกล่าวหา ป.ป.ช. เกี่ยวกับการปฏิบัติตามอํานาจและหน้าที่ได้

70. องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค ต่างกันอย่างไร
(1) การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ
(2) ความเป็นเจ้าชีวิตของประชาชน
(3) การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 9, (คําบรรยาย) องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค นั้นแตกต่างกันในประเด็นเรื่อง “การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ” โดยโทมัส ฮอบส์ เห็นว่า เมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้ ไม่ว่าเขาจะควบคุมชีวิตเรา มากแค่ไหนก็ตาม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าอํานาจดังกล่าวสามารถเพิกถอนได้ เมื่อเห็นว่าองค์อธิปัตย์ไม่อาจดูแลปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของตนได้

ข้อ 71 – 87. เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการ ให้นักศึกษาพิจารณา 2 ข้อความ และเลือกตอบคําถาม ดังนี้
(1) ข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ

71. (1) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอํานาจเลือกสมาชิก ของแต่ละสภา ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 บัญญัติให้กรรมาธิการสามัญ ซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละ
พรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 1 และ 8 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภามีอํานาจเลือกสมาชิกแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ… กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

72.(1) การดําเนินการของคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุม สภาผู้แทนราษฎรและตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคหนึ่ง
(2) กรณีคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะต้องดําเนินการตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคสอง ด้วย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 128 วรรค 1 และ 2 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภามีอํานาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด…. ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภา ผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่ามีสาระสําคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือ ทุพพลภาพ ต้องกําหนดให้บุคคลประเภทดังกล่าวหรือผู้แทนองค์กรเอกชนที่ทํางานเกี่ยวกับ บุคคลประเภทนั้นโดยตรง ร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย….

73.(1) การแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา ได้แบ่งตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ เช่น
1. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย หรือการพิจารณาร่างกฎหมาย
2. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา
3. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตรา และสอดคล้องการปฏิบัติงานรัฐบาล
(2) คณะกรรมาธิการในรัฐสภา อาจมีการแต่งตั้งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
ตอบ 2 หน้า 27, 31 คณะกรรมาธิการในรัฐสภามี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ นอกจากนี้เราอาจจะแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภาได้ ตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ ดังนี้
1. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
2. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานคลัง
3. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติงานของรัฐบาล เป็นต้น

74. (1) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่องหรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่าย ของรัฐบาล
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภามีบทบาทเท่ากับเป็นรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)
ตอบ 3 (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้ง คณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมา เพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล โดยคณะกรรมาธิการของรัฐสภานั้นจะมีบทบาท คล้ายกับรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

75. (1) ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา คณะกรรมาธิการมักมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติอย่างชัดแจ้ง
โดยเฉพาะความสามารถในการทํางานอย่างรวดเร็ว
(2) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการ เนื่องจากการทํางานของรัฐสภาตามความเป็นจริงนั้น
จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับหลักความต้องการของนักการเมือง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการมีอยู่ 4 ประการ คือ
1. เพื่อการแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา
2. จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับความต้องการของราษฎร
3. เป็นการละลายความเป็นพรรคการเมือง
4. การสอบสวนข้อเท็จจริงและรับเรื่องราวร้องทุกข์ (ถือเป็น “หน้าที่พิเศษ” ของคณะกรรมาธิการ ในประเทศไทย) ซึ่งในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนานั้นพบว่า คณะกรรมาธิการมักไม่ค่อยมีอิทธิพล ต่อกระบวนการนิติบัญญัติมากนัก เนื่องจากความสามารถในการทํางานค่อนข้างต่ํา

76.(1) การทํางานในขั้น “คณะกรรมาธิการ” ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในคณะกรรมาธิการชุดเดียวกัน มักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง
(2) “หน้าที่พิเศษ” ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ประจําตามปกติธรรมดาของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย คือ
การแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) “การละลายความเป็นพรรคการเมือง” หนึ่งในเหตุผลของการที่ต้องมี คณะกรรมาธิการนั้นพบว่า การทํางานในขั้นคณะกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางาน ในกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง (ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ)

77.(1) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ
1. แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา
2. แต่งตั้งโดยรัฐสภา
(2) การปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการ ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใดมิได้
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลก มีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ
1. แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา
2. แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการพิเศษที่มีอํานาจในการคัดเลือก
3. แต่งตั้งโดยรัฐสภา ซึ่งการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการนั้นถือว่าเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้

78.(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็นผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้
(2) กรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรส จะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่ง ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ ความมีอาวุโสเป็นหลัก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ “ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ” เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็น ผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้ ส่วนคณะกรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรสนั้นจะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ และความมีอาวุโสเป็นหลัก

79.(1) ในระบบรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา หากเป็นร่างรัฐบัญญัติธรรมดาเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้ว คณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session)
เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ
คณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการเต็มสภา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา มี 5 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
3. คณะกรรมาธิการร่วม
4. คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา
5. คณะกรรมาธิการเต็มสภา
ซึ่งในระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ หากเป็นร่างรัฐบัญญัติที่มีความสลับซับซ้อน (เรื่องใหญ่ เรื่องที่ ประชาชนสนใจมาก เข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการ จัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session) เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

80.(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการเต็มสภา คณะกรรมาธิการสามัญคณะกรรมาธิการร่วม และคณะกรรมาธิการร่วมพระราชบัญญัติมหาชน
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมาธิการสามัญ สกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ มี 5 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการเต็มสภา
2. คณะกรรมาธิการสามัญ
3. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
4. คณะกรรมาธิการร่วม
5. คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติเอกชน
นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมาธิการสามัญสกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

81. (1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสมัยประชุม
2. คณะกรรมาธิการชั่วคราว
(2) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ จะเป็นคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้ง มาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถ
แบ่งย่อยได้ 3 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสมัยประชุม
2. คณะกรรมาธิการชั่วคราว
3. คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
ส่วนคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษนั้นจะเป็นคณะกรรมาธิการ ที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

82. (1) ระบบคณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ และคณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม
(2) คณะกรรมาธิการสามัญของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาล
หรือสภาร้องขอให้พิจารณา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส มี 3 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องหลัก ๆ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่ รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา
3. คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถ ดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อสภา ซึ่งมักเข้าไป เกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันที ที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

83. (1) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติ ที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน
(2) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่นอาจขอให้รัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธาน
คณะกรรมาธิการขอมาก็ได้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุม คณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติ รายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งอาจขอให้รัฐมนตรี หรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

84. (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(2) ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภาญี่ปุ่นจะมาจากการแต่งตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการ ด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ
ตอบ 1
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
โดยประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นจะมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

85. (1) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถ ดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อประธานาธิบดี
(2) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส มักเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงาน เดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการ พิจารณาอยู่
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

86. (1)ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ)
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสี่ บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสารจาก บุคคลใด หรือเรียกผู้พิพากษาหรือตุลาการมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทํา หรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญ ประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ) โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 4 บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสาร จากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ

87.(1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา จะต้อง คํานึงถึงหลักการกระจายอํานาจเป็นหลัก
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสาม บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการ จะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยนั้นมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับ การประชุมของสภา ซึ่งจะต้องคํานึงถึงหลักแบ่งงานกันทําเป็นหลัก โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 3 บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือ มอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

ข้อ 88. – 95. จงพิจารณาประเภทของคณะกรรมาธิการรัฐสภาไทย แล้วเลือกตอบคําถามที่มี ความสัมพันธ์กับประเภทดังกล่าวให้ถูกต้อง ดังนี้
(1) คณะกรรมาธิการสามัญ
(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(3) คณะกรรมาธิการร่วม
(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว

88. คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการ โดยประธานในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุม จะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

89. คณะกรรมาธิการ….จะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

90. คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น
ตอบ 1 หน้า 27 – 28 คณะกรรมาธิการสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น และตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจาณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

91. คณะกรรมาธิการ ตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

92. คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้
ตอบ 2 หน้า 31 คณะกรรมาธิการวิสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็น หรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้ เป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ โดยจะแต่งตั้งขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยื่นญัตติขอให้ตั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะและจะสลายตัวเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ

93. คณะกรรมาธิการ….แต่งตั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

94. กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และวุฒิสภาก็ได้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการร่วม หมายถึง กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา แต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะ กรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา

95. คณะกรรมาธิการ….จะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วย กับการแก้ไขของวุฒิสภา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 94. ประกอบ

ข้อ 96. – 100. เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติในฝ่ายนิติบัญญัติ : การตราพระราชบัญญัติ ให้นักศึกษาพิจารณาข้อความดังต่อไปนี้
(1) ถ้าข้อความนี้ ถูก
(2) ถ้าข้อความนี้ ผิด
(3) ถ้าข้อความนี้ ไม่เกี่ยวกับวิชานี้

96. รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 133 บัญญัติว่า ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย 1. คณะรัฐมนตรี 2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน 3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน และต้องเป็นไปตามมาตรา 77 ด้วย
ตอบ 2 หน้า 54 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 133 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อ สภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย
คือ
1. คณะรัฐมนตรี
2. ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน
3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม 2. หรือ 3. เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคํารับรองของนายกรัฐมนตรี

97. กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรได้กําหนดขั้นตอนเป็น 4 วาระ คือ
1. ขั้นรับหลักการ
2. ขั้นพิจารณา
3. ขั้นแปรบัญญัติ
4. ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา
ตอบ 2 หน้า 54 – 55 กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
โดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นจะพิจารณาเป็น 3 วาระ คือ
1. ขั้นรับหลักการ
2. ขั้นพิจารณาหรือขั้นแปรญัตติ
3. ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

98. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา กรณีเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไปต้องพิจารณา ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

99. หากประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

100. ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ก็ทรงมีอํานาจยับยั้งได้ โดยส่งร่างพระราชบัญญัติ นั้นคืนมายังรัฐสภา หรือเก็บร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้โดยไม่ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา จนล่วงพ้นเวลา 90 วันไปแล้ว
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

Advertisement