การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL3100 กระบวนการนิติบัญญัติ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. พรรคการเมืองที่ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมากที่สุดในการเลือกตั้งเมื่อวันที่
14 พฤษภาคม 2566 คือพรรคใด และได้จํานวนกี่คน
(1) พรรคก้าวไกล 29 คน
(2) พรรคก้าวไกล 39 คน
(3) พรรคเพื่อไทย 29 คน
(4) พรรคเพื่อไทย 39 คน
(5) พรรคก้าวไกล 51 คน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 นั้น พบว่าพรรคการเมืองที่ ได้จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อมากที่สุด คือ พรรคก้าวไกล (39 คน) รองลงมาคือ พรรคเพื่อไทย (23 คน) พรรครวมไทยสร้างชาติ (13 คน) พรรคภูมิใจไทย (3 คน) พรรคประชาธิปัตย์ (3 คน) และพรรคประชาชาติ (2 คน) ตามลําดับ

Advertisement

2. ในการลงคะแนนเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีในวาระแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กําหนดให้ผู้ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีต้องได้คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีอยู่ของรัฐสภา
คือจํานวนเท่าใด
(1) 251 เสียง
(2) 351 เสียง
(3) 276 เสียง
(4) 376 เสียง
(5) 500 เสียง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 บทเฉพาะกาล มาตรา 272 กําหนดให้ ในระหว่างห้าปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ผู้ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีคะแนนเสียง มากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา (รัฐสภา) ซึ่งหมายความว่า ในวาระแรกให้สมาชิกรัฐสภาประกอบด้วย ส.ส. จํานวน 500 คน และ ส.ว. จํานวน 250 คน รวมสมาชิกทั้งสองสภาเป็นจํานวนทั้งสิ้น 750 คน ดังนั้นในส่วนของมติให้ความเห็นชอบในการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี คือจํานวน 376 เสียงขึ้นไป

3. ประธานสภาผู้แทนราษฎรในการลงคะแนนเลือกของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 คือใคร (1) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
(2) นายวิโรจน์ เปาอินทร์
(3) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
(4) นายปฏิพัทธ์ สันติภาดา
(5) นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ดํารงตําแหน่งประธานรัฐสภาของไทยคนปัจจุบัน เนื่องจากได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 และ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

4.ข้อใดคือประชาธิปไตยทางตรง
(1) การรับฟังความคิดเห็นจากประธานชุมชน
(2) การเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(3) การสรรหาวุฒิสภา
(4) การรับฟังข่าวสาร
(5) การไปลงประชามติ
ตอบ 5(คําบรรยาย) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นรูปแบบการปกครองโดยที่พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจใด ๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง หรือผู้ทําหน้าที่แทนตน เช่น การไปลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมาย เป็นต้น

5. ขั้นตอนใดของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่มีการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณารายละเอียดสาระของ
ร่างพระราชบัญญัติ
(1) เมื่อมีการลงประชามติเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติเรียบร้อยแล้ว
(2) เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 2 ใน 3 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแล้ว
(3) เมื่อที่ประชุมเห็นชอบหลักการของร่างพระราชบัญญัติแล้ว
(4) เมื่อที่ประชุมเห็นชอบเนื้อหาแต่ละมาตราของพระราชบัญญัติแล้ว
(5) เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรรับร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ แล้ว
ตอบ 3 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 1
เป็นการพิจารณาหลักการทั่วไปของร่างพระราชบัญญัติว่าสมควรจะลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้นถ้าที่ประชุมเห็นชอบหลักการของร่างพระราชบัญญัติแล้วก็จะเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 2 คือการพิจารณาในรายละเอียดสาระของร่างพระราชบัญญัติ โดยคณะกรรมาธิการที่สภาตั้งหรือคณะกรรมาธิการเต็มสภา แต่ถ้าที่ประชุมไม่เห็นชอบหลักการ ร่างพระราชบัญญัตินั้นก็เป็นอันตกไป

6. การกําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมากขึ้น แสดงนัยยะสําคัญอะไร
(1) อํานาจของประชาชนมากขึ้น
(2) อํานาจของประชาชนน้อยลง
(3) โอกาสการเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้น
(4) ไม่มีนัยยะสําคัญ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) สามารถแสดงออก ผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ในหลายลักษณะ เช่น
1. กําหนดสัดส่วนของตัวแทนประชาชนในรัฐสภาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด
2. กําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจํานวนมากขึ้น (แสดงนัยยะสําคัญ ว่าอํานาจของประชาชนน้อยลง) เป็นต้น

7. ประเทศไทยได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อใด
(1) 24 ธันวาคม 2475
(2) 24 มิถุนายน 2475
(3) 10 ธันวาคม 2475
(4) 14 ตุลาคม 2475
(5) 6 ตุลาคม 2475
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรก ของประเทศไทย ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

8. กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา เรียกว่าอะไร
(1) พระราชกฤษฎีกา
(2) พระราชานุญาต
(3) พระราชบัญญัติ
(4) พระราชกําหนด
(5) พระราชดําริ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนํา และยินยอมของรัฐสภา กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่ต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบของ รัฐสภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก่อน จึงนําขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลง พระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

9.การตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องเสียงส่วนน้อย คือข้อใด
(1) Secular State
(2) Human Rights
(3) Parliamentary System
(4) Social Contract
(5) Majority Rule and Minority Rights
ตอบ 5 (คําบรรยาย) Majority Rule and Minority Rights หมายถึง หลักการปกครองโดยเสียง ข้างมากโดยเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการตัดสินใจ ด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อยนั่นเอง

10. ประเทศใดที่สามารถนํา “ตํารากฎหมายที่สําคัญ” มาเป็นหลักในการพิจารณาคดีได้
(1) อังกฤษ
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) สวีเดน
(4) ฝรั่งเศส
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ที่มาของหลักในการพิจารณาคดีของอังกฤษ ได้แก่ ตํารากฎหมายที่สําคัญ กฎหมายจารีตประเพณี ขนบธรรมเนียมหรือหลักปฏิบัติ เป็นต้น

11. การกําหนดความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” มักยึดหลักความได้สัดส่วน และความเหมาะสมระหว่างข้อใด
(1) ความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ
(2) ประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ
(3) อํานาจของรัฐสภากับอํานาจองค์กรอิสระ
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 หน้า 13, (คําบรรยาย) การกําหนดพื้นฐานความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชน ในฐานะปัจเจก” นั้นมักยึดหลักแห่งความได้สัดส่วนและหลักแห่งความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อ
1. เป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ
2. สร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

12. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของยุครู้แจ้ง (Enlightenment)
(1) การยอมรับระบบเหตุผล
(2) ปฏิเสธอํานาจในการปกครองของศาสนจักร
(3) การมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์
(4) การเชื่อในบารมีของผู้นําสูงสุด
(5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุครู้แจ้ง (Enlightenment) หรือ “ยุคเรืองปัญญา” คือ ยุคที่มีการเคลื่อนไหวทาง
วัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคม ส่งเสริมการมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้มีการยอมรับระบบเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต การเชื่อในบารมีของผู้นําสูงสุดและการเปิดเผยจากพระเจ้า ซึ่งส่งผลให้ศาสนจักรไม่มีอิทธิพลต่อความคิดและถือเป็นการปฏิเสธอํานาจ ในการปกครองของศาสนจักรนั่นเอง

13. ข้อใดไม่ใช่ปัญหาของการทําประชาพิจารณ์ในประเทศไทย
(1) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสีย
(2) จัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ
(3) ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน
(4) ผู้มาร่วมบางส่วนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการได้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัญหาของการทําประชาพิจารณ์ในประเทศไทย ได้แก่
1. การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสีย
2. รัฐตัดสินใจดําเนินโครงการก่อนจัดทําประชาพิจารณ์
3. ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน
4. ผู้มาร่วมบางส่วนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการใต้
5. ความไม่เป็นกลางของคณะกรรมการประชาพิจารณ์
6. ปัญหาในเรื่องงบประมาณ เป็นต้น

14. คํากล่าวที่ว่า “เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน” คือข้อใด
(1) ประชาธิปไตยผูกโยงกับจํานวนประชาชน
(2) เสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก
(3) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่ไม่สามารถไปด้วยกัน
(4) ประชาธิปไตยไม่สามารถทําให้เกิดเผด็จการรัฐสภาได้
(5) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เนื่องจากประชาธิปไตยนั้นจะผูกโยง กับจํานวนประชาชน (เน้นส่วนใหญ่) ส่วนเสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก แต่อย่างไร ก็ตามทั้งสองด้านจะเป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกัน

15. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) รัฐมีอํานาจมาก ประชาชนจะมีอํานาจน้อยลง
(2) รัฐถูกจํากัดอํานาจมาก ประชาชนจะมีเสรีภาพมากขึ้น
(3) ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการครอบครองของรัฐได้โดยสะดวกถ้ามิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับ
ความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับตามกฎหมายบัญญัติ
(4) บุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการเกิด รัฐไทยไม่สามารถถอนสัญชาติแต่สามารถเนรเทศได้
(5) ประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานรัฐเมื่อถูกบุคลากรของรัฐละเมิดได้
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชนในสาระสําคัญของรัฐธรรมนูญ สามารถพิจารณา ได้ดังนี้
1. สิทธิและเสรีภาพของประชาชน เช่น รัฐมีอํานาจมาก ประชาชนจะมีอํานาจน้อยลง
2. จํากัดอํานาจรัฐต่อประชาชนอย่างไร เช่น รัฐถูกจํากัดอํานาจมาก ประชาชนจะมีเสรีภาพมากขึ้น
3. ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องกับรัฐได้อย่างไร เช่น ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการครอบครอง ของรัฐได้โดยสะดวกถ้ามิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับตามกฎหมายบัญญัติประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานรัฐเมื่อถูกบุคลากรของรัฐละเมิดได้ เป็นต้น

16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้เมื่อใด
(1) 5 พ.ค. 2560
(2) 6 เมษายน 2560
(3) 24 มิถุนายน 2460
(4) 10 ธันวาคม 2560
(5) 10 มิถุนายน 2460
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ของ ประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10) ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ

17. ข้อใดถูกในที่มาของนายกรัฐมนตรีของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
(1) นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น
(2) ให้วุฒิสภาสามารถลงคะแนนเสียงในการเลือกนายกฯ วาระแรกตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 ได้
(3) ไม่จําเป็นต้องถูกนําเสนอจากพรรคการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไป
(4) ต้องมาจากพรรคที่ได้คะแนนเสียงจาก การเลือกตั้งสูงสุดเท่านั้น
(5) สามารถแต่งตั้งบุคคลที่ไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ถูกเสนอจากพรรคการเมืองได้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ที่มาของนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้
1. ผู้ที่จะดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ต้องเป็นผู้ที่พรรคการเมืองเสนอชื่อไว้ในบัญชี กล่าวคือ ในการเลือกตั้งทั่วไป ให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแจ้งรายชื่อบุคคล ซึ่งพรรคการเมืองนั้นมีมติว่าจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกิน 3 รายชื่อต่อ กกต. ก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง
2. บุคคลที่ถูกเสนอชื่อจากพรรคการเมืองนั้นต้องมี ภายใต้เงื่อนไขสมาชิกได้รับเลือกเป็น ส.ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
3. การเสนอชื่อบุคคลที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของ จํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
4. ให้วุฒิสภาสามารถลงคะแนนเสียงในการเลือกนายกรัฐมนตรีวาระแรกตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 ได้ เป็นต้น (ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ)

18. วาระแรกของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาจํานวนกี่คน
(1) 500
(2) 600
(3) 650
(4) 700
(5) 750
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

19. ผู้ใดไม่มีคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี
(1) มีสัญชาติไทยโดยการโอนสัญชาติ
(2) อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี
(3) สําเร็จการศึกษาเทียบเท่าปริญญาตรี
(4) เคยต้องคําพิพากษาให้จําคุกในความผิดฐานหมิ่นประมาท
(5) ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 160 กําหนดให้ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม
ของนายกรัฐมนตรี มีดังนี้
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี
3. มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
4. สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
5. ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
6. ไม่เป็นผู้ต้องคําพิพากษาให้จําคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่ ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
7. ไม่เป็นข้าราชการและพนักงานของรัฐที่มีเงินเดือนประจํา ข้าราชการการเมืองอื่น ๆ หรือ ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เป็นต้น

20. จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ลงชื่อร่วมกันเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
ต้องไม่น้อยกว่ากี่คน
(1) 10 คน
(2) 15 คน
(3) 20 คน
(4) 25 คน
(5) 30 คน
ตอบ 3 หน้า 54, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 133 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติ ให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย
1. คณะรัฐมนตรี
2. ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน
3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน เข้าชื่อเสนอกฎหมายตามหมวด 3 สิทธิและ เสรีภาพปวงชนชาวไทย และหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
4. ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม 2. หรือ 3. เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วย การเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคํารับรองของนายกรัฐมนตรี

21. สมาชิกวุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไปให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
(1) 30 วัน
(2) 60 วัน
(3) 90 วัน
(4) 120 วัน
(5) 150 วัน
ตอบ 2 หน้า 55, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 136 กําหนดให้ วุฒิสภาต้องพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมาโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็น ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน หากวุฒิสภายังพิจารณาไม่เสร็จ ภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้น หรือร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาแล้วนั่นเอง

22. หากวุฒิสภาไม่เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จะมีการ
ดําเนินการอย่างไร
(1) ส่งกลับไปให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาใหม่
(2) ถือว่าร่างกฎหมายนั้นตกไป
(3) ตั้งกรรมาธิการร่วมของ 2 สภาเพื่อพิจารณาแก้ไขร่วมกัน
(4) ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
(5) รอพ้น 180 วัน สามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้เลย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 137 (2) และ 138 กําหนดให้ ในกรณีที่วุฒิสภาได้ พิจารณาร่าง พ.ร.บ. เสร็จแล้ว ถ้าไม่เห็นชอบด้วยกับร่าง พ.ร.บ. ที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อน และส่งร่าง พ.ร.บ. นั้นคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร สภา ผู้แทนราษฎรจะยกร่าง พ.ร.บ. นั้นมาพิจารณาใหม่ได้เมื่อพ้น 180 วันนับแต่วันที่วุฒิสภาส่ง ร่าง พ.ร.บ. นั้นคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร

23. หากร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่ามีหลักการขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถรวมตัวกันเสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา โดยใช้จํานวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันเป็นจํานวนเท่าใด
(1) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
(2) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
(3) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10
(4) ไม่น้อยกว่า 3 ใน 5
(5) ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 148 (1) ระบุไว้ว่า หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่ กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

24. ร่างกฎหมายหมวดใดที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กําหนดให้สมาชิกวุฒิภาในวาระแรกมีอํานาจพิจารณา ร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร
(1) หมวด 2 พระมหากษัตริย์
(2) หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ
(3) หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
(4) หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น
(5) หมวด 16 การปฏิรูประเทศ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 270 วรรค 2 และ 3 กําหนดให้ ร่าง พ.ร.บ. ที่จะตรา ขึ้นเพื่อดําเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ให้เสนอและพิจารณาร่วมกันของรัฐสภา… หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเห็นว่าร่าง พ.ร.บ. นั้นร่าง พ.ร.บ. ที่จะตราขึ้น เพื่อดําเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา
จํานวนไม่น้อยกว่า1 ใน 5 ของแต่ละสภา อาจเข้าชื่อกันร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้วินิจฉัย การยื่นคําร้องดังกล่าวต้องยื่นก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี จะพิจารณาร่าง พ.ร.บ. นั้นแล้วเสร็จ

25. ใครไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้มีอํานาจเสนอพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
(1) คณะรัฐมนตรีโดยลําพัง
(2) คณะรัฐมนตรีโดยข้อเสนอแนะของศาลฎีกา
(3) คณะรัฐมนตรีโดยข้อเสนอแนะของศาลรัฐธรรมนูญ
(4) คณะรัฐมนตรีโดยข้อเสนอแนะขององค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง
(5) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ 1 หน้า 53, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 131 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย
1. คณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง
2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

26. ข้อใดไม่ใช่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
(1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
(2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(3) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
(4) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจําปี
(5) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
ตอบ 4 หน้า 52 – 53 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 130 กําหนดให้มี พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ
ดังต่อไปนี้
1. พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2. พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
3. พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
4. พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
5. พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
6. พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
7. พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

27. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ รัฐสภาต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จในระยะเวลาเท่าใด
(1) 60 วัน
(2) 90 วัน
(3) 120 วัน
(4) 150 วัน
(5) 180 วัน
ตอบ 5 หน้า 53, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 132 (1) กําหนดให้ การเสนอร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญให้เสนอต่อรัฐสภา และให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในเวลา 180 วัน หากยังพิจารณาไม่เสร็จภายในระยะเวลา ที่กําหนดไว้ ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบตามร่างที่เสนอ

28. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ตามหมวดใดบ้างตามรัฐธรรมนูญ
(1) หมวด 1 และ 3
(2) หมวด 3 และ 16
(3) หมวด 3 และ 5
(4) หมวด 5 และ 16
(5) หมวด 1 และ 5
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

29. ข้อใดคือการดําเนินการหลังจากรัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแล้ว
(1) ส่งไปยังศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความเห็นภายใน 15 วัน
(2) ส่งให้นายกรัฐมนตรีเตรียมทูลเกล้าถวายพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยภายใน 15 วัน
(3) ให้ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องภายใน 15 วันหลังรับร่างฯ
(4) นายกรัฐมนตรีรับความเห็นของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระมาแก้ไขร่างฯ
(5) ให้รัฐสภารอหลัง 30 วัน ถ้าไม่มีผู้ใดมีความเห็นขัดแย้งจึงส่งร่างฯให้นายกรัฐมนตรี
ตอบ 1 หน้า 53, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 132 (2) กําหนดให้ ภายใน 15 วันนับแต่ วันที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ให้รัฐสภาส่งร่าง พ.ร.บ. ประกอบ รัฐธรรมนูญนั้นไปยังศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความเห็น ในกรณีที่ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง ไม่มีข้อทักท้วงภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างดังกล่าว ให้รัฐสภาดําเนินการต่อไป

30. เรื่องใดต่อไปนี้ถ้าจะตรากฎหมายจะถือเป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน
(1) การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายแผ่นดิน
(2) การค้ำประกันเงินกู้
(3) การเปลี่ยนแปลงระเบียบอันเกี่ยวกับภาษี
(4) การเพิ่มเก็บอัตราภาษีสุรา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 56, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 134 กําหนดให้ ร่าง พ.ร.บ. เกี่ยวด้วย การเงิน หมายความถึงร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. การตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับเกี่ยวกับภาษีหรืออากร
2. การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน
3. การกู้เงิน การค้ําประกัน การใช้เงินกู้ หรือการดําเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ
4. เงินตรา

31. ข้อใดไม่ใช่ปัญหาของการทําประชาพิจารณ์ในประเทศไทย
(1) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสีย
(2) จัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ
(3) ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน
(4) ผู้มาร่วมบางส่วนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการได้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัญหาของการทําประชาพิจารณ์ในประเทศไทย ได้แก่
1. การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสีย
2. รัฐตัดสินใจดําเนินโครงการก่อนจัดทําประชาพิจารณ์
3. ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน
4. ผู้มาร่วมบางส่วนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการได้
5. ความไม่เป็นกลางของคณะกรรมการประชาพิจารณ์
6. ปัญหาในเรื่องงบประมาณ เป็นต้น

32. คําว่า “Speaker” ในบริบทการเมืองอังกฤษ หมายถึง
(1) ประธานสภาขุนนาง
(2) ประธานสภาผู้แทนราษฎร
(3) โฆษกพรรค
(4) ผู้นําฝ่ายค้าน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “Speaker” ในบริบทการเมืองอังกฤษ หมายถึง ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมักจะเลือกมาจากประธานสภาคนเดิมหรือคนที่เคยทําหน้าที่เป็นรองประธานสภามาแล้ว โดยประธานสภานี้ไม่จําเป็นจะต้องเป็นบุคคลที่สังกัดพรรคเสียงข้างมากในสภาหรืออยู่ในฐานะที่จะต้องถูกควบคุมโดยมติของพรรคแต่อย่างใด

33. สมาชิกสภาขุนนาง (House of Lords) ของอังกฤษ มีวาระดํารงตําแหน่งกี่ปี
(1) วาระ 2 ปี
(2) วาระ 3 ปี
(3) วาระ 4 ปี
(4) วาระ 5 ปี
(5) ตลอดชีพ
ตอบ 5 หน้า 80 – 81, (คําบรรยาย) รัฐสภาของประเทศอังกฤษ ประกอบด้วย 2 สภา คือ
1. วุฒิสภา (สภาสูง) ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “สภาขุนนาง” (House of Lords) มีวาระดํารง ตําแหน่งตลอดชีพ
2. สภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “สภาสามัญชน” (House of Commons)
มีวาระดํารงตําแหน่ง 5 ปี

34. ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในการตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 (1) นายมีชัย ฤชุพันธ์ (ประธาน คกก. ร่างรัฐธรรมนูญ)
(2) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี)
(3) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ประธานองคมนตรี)
(4) นายพรเพชร วิชิตชลชัย (ประธาน สนช.)
(5) นายวีระพล ตั้งสุวรรณ (ประธานศาลฎีกา)
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

35. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 กําหนดให้มีสมาชิกวุฒิสภาในวาระแรกจํานวนกี่คน
(1) 200 คน
(2) 250 คน
(3) 300 คน
(4) 350 คน
(5) 400 คน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

36. ข้อใดคือความหมายของหลักนิติรัฐ
(1) องค์กรเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบควรมีอํานาจเด็ดขาดทั้งบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ
(2) ปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด
(3) เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถต่อสู้ป้องกันสิทธิของตนเท่าที่ผู้ปกครองกําหนด
(4) กระบวนการพิจารณาไต่สวนคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่
(5) กฎหมายต้องมีความชัดเจนและมีความแน่นอนมากพอที่ประชาชนจะเข้าใจได้
ตอบ 2 หน้า 19, (คําบรรยาย) หลักนิติรัฐ หมายถึง การปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายของรัฐต่อ ประชาชนในรัฐอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคในคนทุกกลุ่ม โดยรัฐทุกรัฐมุ่งหวังให้ประชาชน ปฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้ภายในรัฐ ซึ่งในความหมายอย่างแคบนั้นจะไม่คํานึงถึงที่มาของ กฎหมาย กล่าวคือ ประชาชนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

37. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ
(1) อายุไม่เกิน 70 ปี
(2) มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) เคยเป็น ส.ส. เมื่อ 12 ปีก่อน
(4) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี
(5) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 201, 202 และ 216 กําหนดให้ ผู้ดํารงตําแหน่ง ในองค์กรอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไปดังต่อไปนี้
1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี
2. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
3. สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
4. มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
5. มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นหรือเคยเป็น ส.ส. ส.ว. ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิก
สภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

38. แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) บอกว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพในเงื่อนไขใด
(1) ในรัฐแบบใดก็ได้
(2) ในรัฐสวัสดิการเท่านั้น
(3) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น
(4) ในรัฐสังคมนิยมเท่านั้น
(5) ในรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ของ ซากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน แห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้น บรรลุถึงเสรีภาพได้ สัญญาประชาคมจึงเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญที่ต้องอยู่เพื่อทุกส่วนในสังคมดังนั้นการบรรลุเสรีภาพจะเกิดขึ้นในเงื่อนไขการปกครองแบบประชาธิปไตยเท่านั้น

39. การเสนอพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินต้องได้รับความเห็นชอบจากใครก่อนจึงจะสามารถเสนอเข้าสู่
การพิจารณาของรัฐสภาได้
(1) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
(2) นายกรัฐมนตรี
(3) กระทรวงการคลัง
(4) ป.ป.ช.
(5) เมื่อผู้เสนอ พ.ร.บ. นั้นเป็นผู้มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแล้วไม่จําเป็นต้องมีผู้เห็นชอบ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

40. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกามีวาระการดํารงตําแหน่งกี่ปี
(1) 2 ปี
(2) 4 ปี
(3) 5 ปี
(4) 6 ปี
(5) 7 ปี
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐสภาหรือสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 2 สภา คือ
1. สภาผู้แทนราษฎรที่มีสมาชิกจํานวน 435 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 2 ปี
2. วุฒิสภาที่มีสมาชิกจํานวน 100 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปี

41. ข้อใดถูกต้อง
(1) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
(2) นายกรัฐมนตรีของอังกฤษมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
(3) นายกรัฐมนตรีของรัสเซียมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
(4) นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศสมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย)
ข้อเลือก 1 ผิด ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทาง คณะผู้เลือกตั้ง (Electorat College)
ข้อเลือก 2 ผิด นายกรัฐมนตรีอังกฤษนั้นมาจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากในสภาโดยการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์
ข้อเลือก 3 ผิด นายกรัฐมนตรีรัสเซียนั้นมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี
ข้อเลือก 4 ผิด นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสนั้นมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี

42. ในความขัดแย้งทางการเมืองไทยตั้งแต่ช่วง 2540 จนถึงปัจจุบันมีการใช้สัญลักษณ์ทาง “ตัวแทน กลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มต่าง ๆ” คําว่า “สลิ่ม” มีจุดเริ่มต้นจากผู้ชุมนุมกลุ่มใด
(1) กปปส.
(2) นปช.
(3) พธม.
(4) กปปส. และ นปช. รวมกัน
(5) ประชาชนพิทักษ์ชาติ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) “สลิ่ม” มีจุดเริ่มต้นมาจากผู้ชุมนุมกลุ่มประชาชนพิทักษ์ชาติ (ไม่แบ่งสี) โดยการนํา ของ นพ. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ซึ่งเรียกตัวเองว่าเป็น “กลุ่มเสื้อหลากสี” การเคลื่อนไหวของกลุ่มได้สร้าง ปฏิกิริยาโต้ตอบจากคนเสื้อแดง พรรคเพื่อไทยว่าคนเสื้อหลากสีก็คือเสื้อเหลืองจําแลง เพราะเห็นว่า ทั้งอุดมการณ์ การกระทํา และการแสดงออกไม่ต่างกับเสื้อเหลือง การดูแคลนคนเสื้อหลากสีของ คนเสื้อแดงจึงแทนด้วยคําว่า สลิม ด้วยเหตุผลที่ว่าสลิ่ม ซาหริ่ม) เป็นขนมที่มีเส้นหลากหลายสีสัน และเป็นการล้อไปกับสภาพเสื้อที่หลากหลายของกลุ่มเสื้อหลากสีนั่นเอง

43. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร วาระใดเป็นการพิจารณารับหลักการ
(1) วาระที่ 3
(2) วาระที่ 1
(4) วาระที่ 2
(3) วาระที่ 4
(5) วาระการนําเสนอของกรรมาธิการ
ตอบ 2 หน้า 50, 54 – 55 กระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายในสภาผู้แทนราษฎร จะต้องพิจารณา เป็น 3 วาระ คือ
1. ขั้นรับหลักการ
2. ขั้นพิจารณาในรายละเอียดของร่างกฎหมาย (การพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการ, การพิจารณารายมาตรา) 3. ขั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบ

44. เจตจํานงของประชาชนสามารถแสดงออกได้ทางใดบ้าง
(1) ประชาพิจารณ์
(2) ประชามติ
(3) การเลือกตั้ง
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เจตจํานงของประชาชนถือเป็นที่มามูลฐานแห่งอํานาจของรัฐบาล ซึ่งประชาชนนั้น สามารถแสดงออกได้โดยการลงประชามติ (การรับร่างรัฐธรรมนูญ การออกจากสมาชิก EU)
และการเลือกตั้ง (ส.ส. ส.ว.)

45. พื้นที่ส่วนบุคคลหมายถึงข้อใด
(1) บาทวิถีหน้าบ้าน
(2) เฟซบุ๊ค
(3) สวนรถไฟ
(4) ห้อง Study ในห้องสมุด
(5) การคลุมฮิญาบ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พื้นที่ส่วนบุคคลหรือพื้นที่ในพรมแดนส่วนตัว (Private Sphere) เป็นพื้นที่ที่ถูกใช้ โดยคนหนึ่งคนใด และมีลักษณะแบ่งแยกกันเด็ดขาด ซึ่งมักเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นปัจเจกบุคคล เข้าถึงได้ยากเพราะต้องการความเป็นส่วนตัว เช่น ศาสนา (การคลุมฮิญาบ) ชีวิตครอบครัวรสนิยม งานอดิเรก ห้องนอน e-mail ฯลฯ

46. สภาขุนนางอังกฤษประเภทนักบวช มีวาระการดํารงกี่ปี
(1) 4 ปี
(2) 5 ปี
(3) ตามระยะเวลาการบวช
(4) ตามระยะเวลาที่อยู่ในตําแหน่งที่กําหนด
(5) ตลอดชีพ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สภาขุนนางของอังกฤษ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. ขุนนางสืบเชื้อสาย (Hereditary Peers) มาจากการสืบทอดตําแหน่งทางสายโลหิตและมีวาระการดํารงตําแหน่งตลอดชีพ
2. ขุนนางตลอดชีพ (Life Peers) มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี และสามารถดํารง ตําแหน่งได้ตลอดชีวิต แต่สืบทอดให้ทายาทไม่ได้
3. ขุนนางโดยตําแหน่งที่เป็นนักบวช (Spiritual Peers) มาจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ เช่น บิชอปและอาร์ชบิชอปต่าง ๆ โดยจะมีวาระตามระยะเวลาที่อยู่ในตําแหน่งที่กําหนด
4. ขุนนางกฎหมาย (Law Lorcis) เป็นสมาชิกที่มีความรู้ด้านกฎหมายและทําหน้าที่เป็นตุลาการ ศาลสูงสุด โดยจะมีวาระการดํารงตําแหน่งตลอดชีพ และถือเป็นขุนนางประเภทเดียวเท่านั้น ที่ได้รับเงินเดือน ในขณะที่ขุนนางประเภทอื่น ๆ จะได้รับเพียงสวัสดิการเท่านั้น

47.Brexit คืออะไร
(1) กระบวนการรับฟังความคิดเห็นเรื่องการออกจากสหภาพยุโรปของประชาชนชาวอังกฤษ
(2) โครงการรณรงค์เพื่อเรียกร้องให้อังกฤษถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป
(3) กระบวนการประชามติของประชาชนชาวอังกฤษต่อกรณีแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป
(4) กระบวนการประชามติของประชาชนชาวอังกฤษต่อกรณีการรับผู้ลี้ภัยจากตะวันออกกลาง
(5) โครงการรณรงค์เพื่อต่อต้านการสร้างมัสยิดในอังกฤษ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Brexit (มาจากคําว่า British + Exit) คือ กระบวนการประชามติของประชาชน ชาวอังกฤษต่อกรณีแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปหรืออียู (EU)

48. ข้อใดมิใช่หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
(1) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(2) แต่งตั้งเอกอัครราชทูต
(3) คัดเลือกผู้พิพากษาศาลสูงสุด
(4) บริหารระบบภัยพิบัติของมลรัฐที่ประสบภัย
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้แก่
1. ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
2. คัดเลือกและแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุด
3. แต่งตั้งเอกอัครราชทูต
4. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
5. ยับยั้งร่างกฎหมาย
6. ทําสนธิสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น

49. “พฤฒิสภา” ที่ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2489 เปรียบเทียบได้กับองค์กรใด
(1) องคมนตรี
(2) ศาลรัฐธรรมนูญ
(3) วุฒิสภา
(4) สภาพัฒนาการเมือง
(5) สนช.
ตอบ 3 หน้า 23 วุฒิสภาเกิดขึ้นครั้งแรกในชื่อ “พฤฒิสภา” ซึ่งกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ 2489 และต่อมาในรัฐธรรมนูญฯ 2490 จึงเปลี่ยนเป็น “วุฒิสภา” โดยพบว่าที่มาของ ส.ว. ตั้งแต่ เริ่มปรากฏจนกระทั่งปัจจุบันนั้นรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่จะกําหนดให้มาจากการแต่งตั้ง ยกเว้น รัฐธรรมนูญฯ 2540 (มาจากการเลือกตั้ง) รัฐธรรมนูญฯ 2550 (มาจากการเลือกตั้งและสรรหา) และรัฐธรรมนูญฯ 2560 (มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม)

50. “ด้อมส้ม” หมายถึงข้อใด
(1) กลุ่มประชาชนที่แสดงออกถึงการสนับสนุนพรรคก้าวไกล
(2) กลุ่มวัยรุ่นที่ชื่นชอบและติดตามไอดอลที่ชื่อส้ม
(3) กลุ่มประชาชนที่เป็นผู้ผลิตส้มส่งออก
(4) กลุ่มวัยรุ่นที่กําหนดกิจกรรมร่วมกันโดยใช้สัญลักษณ์เสื้อสีส้ม
(5) ไม่มีความหมายใด ๆ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) “ด้อมส้ม” หมายถึง กลุ่มประชาชนที่แสดงออกถึงการสนับสนุนพรรคก้าวไกล โดยคําว่า “อ้อม” เป็นคําย่อมาจากคําว่า”แฟนด้อม” หรือ Fandom ซึ่งเป็นการผสมคําระหว่าง คําว่า Fanclub (แฟนคลับ) และ Kingdom (อาณาจักร) จนกลายมาเป็นคําว่า Fandom ที่มี ความหมายว่า กลุ่มแฟนคลับของศิลปิน แต่ในวงการการเมืองนั้นคําว่า ด้อมส้ม ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้างจากพรรคก้าวไกล และชื่อน้อมนั้นมีความเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับทางสีประจําพรรคอย่างสีส้มนั่นเอง

51. รัฐธรรมนูญฉบับใดใช้ระยะเวลาในการร่างรัฐธรรมนูญนานที่สุด
(1) ฉบับที่ 1
(2) ฉบับที่ 8
(3) ฉบับที่ 3
(4) ฉบับที่ 7
(5) ฉบับที่ 16
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 (ฉบับที่ 8) เป็นรัฐธรรมนูญที่ ใช้เวลาในการร่างนานที่สุด โดยเริ่มร่างเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2502 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2511 ใช้เวลาทั้งหมด 9 ปีเศษ และได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511

52. การขัดกันแห่งผลประโยชน์คือข้อใด
(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ดํารงตําแหน่งในหน่วยราชการใด ๆ
(2) สมาชิกสภานิติบัญญัติยังดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง
(3) บุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ จากหน่วยราชการที่นอกเหนือไปจาก การปฏิบัติต่อบุคคลอื่น ๆ ในธุรกิจการงานปกติ
(4) รัฐมนตรีแจ้ง ป.ป.ช. ว่า โอนหุ้นของบริษัทให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ผู้อื่นถือแทน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตัวอย่างการขัดกันแห่งผลประโยชน์ มีดังนี้
1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังดํารงตําแหน่งในหน่วยราชการ
2. สมาชิกสภานิติบัญญัติยังดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง
3. บุตรของผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานได้รับสัมปทานงานจากหน่วยงานนั้น ๆ
4. รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่ได้แจ้ง ป.ป.ช. ว่าโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นถือแทน (รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 187 วรรค 2) ฯลฯ

53. ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กรณีพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติหรือมิได้พระราชทาน คืนให้กับรัฐสภา จะสามารถประกาศเป็นกฎหมายได้หรือไม่ อย่างไร
(1) ไม่ได้ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชบัญญัติ
(2) ได้ เมื่อรัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด
(3) ไม่ได้ เพราะต้องมีพระปรมาภิไธยเท่านั้นจึงจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้
(4) ได้ เมื่อนายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าอีกครั้ง และหากมิได้ลงพระปรมาภิไธยใน 30 วัน นายกรัฐมนตรีสามารถนําพระราชบัญญัตินั้นไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้
(5) ข้อ 2 และ 4
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 146 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติใดพระมหากษัตริย์ ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีก ครั้งหนึ่ง และหากมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติ นั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

54. ตําแหน่งใดต่อไปนี้ที่ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน
(1) ส.ส. ทุกคน
(2) ส.ว. ทุกคน
(3) ปลัดกระทรวง
(4) อธิการบดี
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ปลัดกระทรวง อธิการบดี รองอธิการบดี ฯลฯ

ข้อ 55 – 65. ให้พิจารณาข้อความต่อไปนี้ และใช้คําตอบต่อไปนี้ในการเลือกตอบคําถาม
(1) ถูก
(2) ผิด

55. หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรีมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ได้ยุติลง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 265 วรรค 2 กําหนดให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงมีหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557… นั่นแสดงว่า หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ 2560 อํานาจของ นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ยังคงอยู่

56. การแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 จะกระทําไม่ได้ถ้ามีวุฒิสมาชิกเห็นชอบจํานวนน้อยกว่า 1 ใน 3 ของ วุฒิสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 256 (3) กําหนดให้ การออกเสียงลงคะแนนใน วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียง เห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ซึ่งในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภา (วุฒิสมาชิก) เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

57. บุคคลที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท สามารถไปสมัครเป็นผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระได้ทุกคน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 201, 202 และ 216 กําหนดให้ ผู้ดํารงตําแหน่ง ในองค์กรอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไปดังต่อไปนี้
1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี
2. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
3. สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
4. มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
5. มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นหรือเคยเป็น ส.ส. ส.ว. ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิก
สภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

58. โทมัส ฮอบส์ เชื่อว่าเมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้
ตอบ 1 หน้า 9, (คําบรรยาย) องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค นั้นแตกต่างกันในประเด็นเรื่อง “การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ” โดยโทมัส ฮอบส์ เห็นว่า เมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้ ไม่ว่าเขาจะควบคุมชีวิตเรา มากแค่ไหนก็ตาม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าอํานาจดังกล่าวสามารถเพิกถอนได้ เมื่อเห็นว่าองค์อธิปัตย์ไม่อาจดูแลปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของตนได้

59. “หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร” ไม่เคยถูกขุดขึ้นมาก่อน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับ พื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ซึ่งภายหลังได้ถูกปรับเปลี่ยนและเคยถูก ขุดขึ้นมาหลายครั้ง เช่น มีการนําสีดํามาราดทับ ถูกขีดจนเป็นรอยจํานวนมาก เคยถูกขุดและ หายไปในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และถูกนํากลับมาในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นต้น

60. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ข้าราชการไม่สามารถดํารงตําแหน่งวุฒิสภาได้ ยกเว้นเฉพาะในวาระแรกเท่านั้น
ตอบ 1 หน้า 24, (คําบรรยาย) ลักษณะต้องห้ามของผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้
1. เป็นข้าราชการ
2. เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
3. เป็นหรือเคยเป็นรัฐมนตรี เว้นแต่พ้นจากตําแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง ฯลฯ ยกเว้นเฉพาะในวาระแรกเท่านั้นที่สมาชิกวุฒิสภาสามารถเป็นข้าราชการ ดํารงตําแหน่งหรือ หน้าที่ในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตําแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นได้

61. จอห์น ล็อค และโทมัส ฮอบส์ เห็นว่าสภาพธรรมชาติ (State of Nature) เป็นสภาวะสงคราม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) โทมัส ฮอบส์ เห็นว่า ภาวะธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นภาวะสงคราม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าภาวะธรรมชาติของมนุษย์เป็นภาวะที่มนุษย์มีความสมบูรณ์และมีเสรีภาพเต็มที่ที่จะใช้ชีวิตอย่างที่ต้องการโดยคนอื่นไม่สามารถเข้ามารุกล้ําได้

62. รัฐสภาของอังกฤษไม่สามารถยกเลิกกฎหมายของรัฐสภาสกอตแลนด์ได้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐสภาสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) สามารถยกเลิกกฎหมายของสถาบันนิติบัญญัติ ลําดับรองได้ ซึ่งสถาบันนิติบัญญัติลําดับรองได้แก่ รัฐสภาสกอตแลนด์ รัฐสภาแห่งเวลส์ และ รัฐสภาไอร์แลนด์เหนือ

63. คณะกู้บ้านกู้เมืองและกบฏบวรเดช คือกลุ่มเดียวกัน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กบฏบวรเดช หรือ “คณะกู้บ้านกู้เมือง” เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในรัฐไทยสมัยใหม่ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่อง เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติของนายปรีดี พนมยงค์ และชนวนสําคัญที่สุดคือ ข้อโต้แย้งในเรื่อง พระเกียรติยศและพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ ซึ่งเป็นผลนําไปสู่การนํา กําลังทหารก่อกบฏโดยมี พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นแม่ทัพ

64. องค์กรที่มีอํานาจถอดถอนนายกรัฐมนตรีคือวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 270 วรรค 1 กําหนดให้ ผู้ดํารงตําแหน่ง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาล ปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด…. วุฒิสภามีอํานาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตําแหน่งได้

65. ผู้ที่จะได้รับความไว้วางใจให้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ต้องได้รับ ความไว้วางใจจํานวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 159 วรรค 3 กําหนดให้ มติของสภาผู้แทนราษฎร ที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องกระทําโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผยและมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

ข้อ 66. – 70. ให้พิจารณาข้อความต่อไปนี้ว่าเกี่ยวข้องกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ฉบับใดในคําตอบต่อไปนี้
(1) พระราชบัญญัติฯ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(2) พระราชบัญญัติฯ ว่าด้วยพรรคการเมือง
(3) พระราชบัญญัติฯ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(4) พระราชบัญญัติฯ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(5) พระราชบัญญัติฯ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

66. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคล
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กําหนดให้ ใน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ “สิทธิมนุษยชน” หมายความว่า ศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคล

67. การตรวจบัญชี ตรวจการรับ การใช้จ่าย การใช้ประโยชน์ การเก็บรักษา และการบริหารทรัพย์สิน
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน กําหนดให้ใน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ “ตรวจสอบ” หมายความว่า การตรวจบัญชี ตรวจการรับ การใช้จ่าย การใช้ประโยชน์ การเก็บรักษา และการบริหารซึ่งเงิน ทรัพย์สิน สิทธิ และผลประโยชน์ของ หน่วยรับตรวจที่ได้มาจากเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ เงินกู้ เงินอุดหนุน เงินบริจาค และเงินช่วยเหลือจากแหล่งในประเทศหรือต่างประเทศอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามวัตถุประสงค์ของหน่วยรับตรวจ

68. การมีทรัพย์สินมากผิดปกติ หรือการมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กําหนดให้ใน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ “ร่ํารวยผิดปกติ” หมายความว่า การมีทรัพย์สิน มากผิดปกติ หรือการมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ หรือการมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติ หรือได้ ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติตามหน้าที่หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหน้าที่

69. การให้ทรัพย์สินหรือเงินแก่พรรคการเมือง นอกจากค่าธรรมเนียมและค่าบํารุงพรรคการเมือง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กําหนดให้ ใน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ “การบริจาค” หมายความว่า การให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ที่คํานวณเป็นเงินได้แก่พรรคการเมืองหรือสมาชิกเพื่อการดําเนินกิจการของพรรคการเมือง หรือเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมและค่าบํารุง พรรคการเมืองตามข้อบังคับของพรรคการเมือง

70. ควบคุมและดําเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้ง และประกาศผลการเลือกตั้ง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง กําหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ควบคุมและดําเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติตามที่กฎหมาย กําหนดให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
2. ออกข้อกําหนดเป็นแนวทางปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติ
3. ดําเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งสําหรับการเลือกตั้งที่ใช้วิธีการแบ่งเขตเลือกตั้ง และจัดให้มีบัญชี
รายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
4. สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใดหน่วยเลือกตั้งหนึ่งหรือทุกหน่วยเลือกตั้ง หรือสั่งให้มีการนับคะแนนใหม่ เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้ง หรือการออกเสียงประชามติในหน่วยเลือกตั้งนั้น ๆ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
5. ประกาศผลการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติ เป็นต้น

ข้อ 71 – 87. เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการ ให้นักศึกษาพิจารณา 2 ข้อความ และ เลือกตอบคําถามดังนี้
(1) ข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ

71.(1) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอํานาจเลือกสมาชิก ของแต่ละสภา ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 บัญญัติให้กรรมาธิการสามัญ ซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละ
พรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 1 และ 8 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภามีอํานาจเลือกสมาชิกแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ… กรรมาธิการสามัญ ซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

72.(1) การดําเนินการของคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุม สภาผู้แทนราษฎรและตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคหนึ่ง
(2) กรณีคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะต้องดําเนินการตามรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคสอง ด้วย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 128 วรรค 1 และ 2 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภามีอํานาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด…. ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภา ผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่ามีสาระสําคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือ ทุพพลภาพ ต้องกําหนดให้บุคคลประเภทดังกล่าวหรือผู้แทนองค์กรเอกชนที่ทํางานเกี่ยวกับ บุคคลประเภทนั้นโดยตรง ร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย….

73.(1) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่องหรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่าย ของรัฐบาล
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภามีบทบาทเท่ากับเป็นรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)
ตอบ 3 (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมา เพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล โดยคณะกรรมาธิการของรัฐสภานั้นจะมีบทบาท คล้ายกับรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

74. (1) การแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา ได้แบ่งตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ เช่น
1. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย หรือการพิจารณาร่างกฎหมาย
2. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา
3. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตรา และสอดคล้องการปฏิบัติงานรัฐบาล
(2) คณะกรรมาธิการในรัฐสภา อาจมีการแต่งตั้งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
ตอบ 2 หน้า 27, 31 คณะกรรมาธิการในรัฐสภามี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ นอกจากนี้เราอาจจะแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภาได้ ตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ ดังนี้
1. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
2. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานคลัง
3. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติงานของรัฐบาล เป็นต้น

75. (1) ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา คณะกรรมาธิการมักมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติอย่างชัดแจ้ง
โดยเฉพาะความสามารถในการทํางานอย่างรวดเร็ว
(2) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการ เนื่องจากการทํางานของรัฐสภาตามความเป็นจริงนั้น
จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับหลักความต้องการของนักการเมือง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการมีอยู่ 4 ประการ คือ
1. เพื่อการแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา
2. จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับความต้องการของราษฎร
3. เป็นการละลายความเป็นพรรคการเมือง
4. การสอบสวนข้อเท็จจริงและรับเรื่องราวร้องทุกข์ (ถือเป็น “หน้าที่พิเศษ” ของคณะกรรมาธิการ ในประเทศไทย) ซึ่งในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนานั้นพบว่า คณะกรรมาธิการมักไม่ค่อยมีอิทธิพล ต่อกระบวนการนิติบัญญัติมากนัก เนื่องจากความสามารถในการทํางานค่อนข้างต่ำ

76. (1) การทํางานในขั้น “คณะกรรมาธิการ” ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในคณะกรรมาธิการชุดเดียวกัน
มักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง
(2) “หน้าที่พิเศษ” ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ประจําตามปกติธรรมดาของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย คือ
การแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) “การละลายความเป็นพรรคการเมือง” หนึ่งในเหตุผลของการที่ต้องมีคณะ กรรมาธิการนั้นพบว่า การทํางานในขั้นคณะกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญหรือ คณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางาน ในกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง (ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ)

77.(1) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ
1. แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา
2. แต่งตั้งโดยรัฐสภา
(2) การปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการ ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใดมิได้
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลก
มีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ
1. แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา
2. แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการพิเศษที่มีอํานาจในการคัดเลือก
3. แต่งตั้งโดยรัฐสภา ซึ่งการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการนั้นถือว่าเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้

78. (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็นผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้
(2) กรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรส จะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่ง ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ ความมีอาวุโสเป็นหลัก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้“ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ” เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่ เป็นผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้ ส่วนคณะกรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรสนั้นจะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของ สมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ และความมีอาวุโสเป็นหลัก

79. (1) ในระบบรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา หากเป็นร่างรัฐบัญญัติธรรมดาเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้ว คณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session) เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการเต็มสภา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา มี 5 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
3. คณะกรรมาธิการร่วม
4. คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา
5. คณะกรรมาธิการเต็มสภา
ซึ่งในระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ หากเป็นร่างรัฐบัญญัติที่มีความสลับซับซ้อน (เรื่องใหญ่ เรื่องที่ ประชาชนสนใจมาก เข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการ จัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session) เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

80.(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการเต็มสภา คณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการร่วม และคณะกรรมาธิการร่วมพระราชบัญญัติมหาชน
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมาธิการสามัญ สกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ มี 5 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการเต็มสภา
2. คณะกรรมาธิการสามัญ
3. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
4. คณะกรรมาธิการร่วม
5. คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติเอกชน
นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมาธิการสามัญสกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

81.(1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ 1. คณะกรรมาธิการสมัยประชุม
2. คณะกรรมาธิการชั่วคราว
(2) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ จะเป็นคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้ง มาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถ แบ่งย่อยได้ 3 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสมัยประชุม
2. คณะกรรมาธิการชั่วคราว
3. คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
ส่วนคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษนั้นจะเป็นคณะกรรมาธิการ ที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

82.(1) ระบบคณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ และคณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม
(2) คณะกรรมาธิการสามัญของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาล
หรือสภาร้องขอให้พิจารณา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส มี 3 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องหลัก ๆ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่ รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา
3. คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถ ดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อสภา ซึ่งมักเข้าไป เกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันที ที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

83.(1) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถ ดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อประธานาธิบดี (2) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม ของฝรั่งเศส มักเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงาน เดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการ พิจารณาอยู่
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

84.(1) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติ ที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน
(2) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่นอาจขอให้รัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุม คณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติ รายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งอาจขอให้รัฐมนตรี หรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

85.(1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(2) ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภาญี่ปุ่นจะมาจากการแต่งตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการ ด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
โดยประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นจะมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

86.(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ)
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสี่ บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสารจาก บุคคลใด หรือเรียกผู้พิพากษาหรือตุลาการมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทํา หรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญ ประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ) โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 4 บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสาร จากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ

87. (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา จะต้อง
คํานึงถึงหลักการกระจายอํานาจเป็นหลัก
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสาม บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการ จะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยนั้นมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับ การประชุมของสภา ซึ่งจะต้องคํานึงถึงหลักแบ่งงานกันทําเป็นหลัก โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 3 บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

ข้อ 88. – 95. จงพิจารณาประเภทของคณะกรรมาธิการรัฐสภาไทย แล้วเลือกตอบคําถามที่มี ความสัมพันธ์กับประเภทดังกล่าวให้ถูกต้อง ดังนี้
(1) คณะกรรมาธิการสามัญ
(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(3) คณะกรรมาธิการร่วม
(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว

88. คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น
ตอบ 1 หน้า 27 – 28 คณะกรรมาธิการสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น และตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจาณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

89. คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้
ตอบ 2 หน้า 31 คณะกรรมาธิการวิสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็น หรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้ เป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ โดยจะแต่งตั้งขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยื่นญัตติขอให้ตั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะและจะสลายตัวเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ

90. กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และวุฒิสภาก็ได้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการร่วม หมายถึง กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา แต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะ กรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา

91. คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการ โดยประธานในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุม จะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

92. คณะกรรมาธิการ….จะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93. คณะกรรมาธิการ….จะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วย กับการแก้ไขของวุฒิสภา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

94. คณะกรรมาธิการ….แต่งตั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 89. ประกอบ

95. คณะกรรมาธิการ….ตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

ข้อ 96. – 100 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติในฝ่ายนิติบัญญัติ : การตราพระราชบัญญัติ ให้นักศึกษาพิจารณาข้อความดังต่อไปนี้
(1) ถ้าข้อความนี้ ถูก
(2) ถ้าข้อความนี้ ผิด
(3) ถ้าข้อความนี้ ไม่เกี่ยวกับวิชานี้

96. รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 133 บัญญัติว่า ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย 1. คณะรัฐมนตรี 2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน 3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน และต้องเป็นไปตามมาตรา 77 ด้วย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

97. กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรได้กําหนดขั้นตอนเป็น 4 วาระ คือ 1. ขั้นรับหลักการ 2. ขั้นพิจารณา 3. ขั้นแปรบัญญัติ 4. ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา
ตอบ 2 หน้า 54 – 55 กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยสภา ผู้แทนราษฎรนั้นจะพิจารณาเป็น 3 วาระ คือ
1. ขั้นรับหลักการ
2. ขั้นพิจารณาหรือขั้นแปรญัตติ
3. ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

98. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา กรณีเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไปต้องพิจารณา ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

99. หากประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

100. ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ก็ทรงมีอํานาจยับยั้งได้ โดยส่งร่างพระราชบัญญัติ นั้นคืนมายังรัฐสภา หรือเก็บร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้โดยไม่ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา จนล่วงพ้นเวลา 90 วันไปแล้ว
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

 

Advertisement