การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2310 ทฤษฎีองค์การ
คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน
ข้อ 1 ให้นําเสนอแนวคิดทฤษฎีของนักคิดยุคดั้งเดิมมา 3 แนวคิด
แนวคําตอบ
ทฤษฎีองค์การยุคดั้งเดิมหรือยุคคลาสสิก เป็นทฤษฎีที่ให้ความสําคัญกับโครงสร้างขององค์การ โดยมีความเชื่อว่า โครงสร้างสามารถควบคุมพฤติกรรมของคนได้ ซึ่งเป็นการมองเฉพาะภายในองค์การ และเน้น ประสิทธิภาพของานจนมองคนเป็นเครื่องจักร ซึ่งนักทฤษฎี/นักคิดยุคดั้งเดิมที่สําคัญ ได้แก่ Adam Smith, Max Weber, Frederick W. Taylor, Luther Gulick & Lyndall Urwick, Henri Fayol, James Mooney & Alan Reiley เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะนําเสนอแนวคิดทฤษฎีของนักคิดยุคดั้งเดิม 3 แนวคิด ดังนี้
1 Frederick W. Taylor
Taylor เสนอ “ทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์” (Scientific Management) เขาได้รับการ ยกย่องว่าเป็น “บิดาของการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์” เนื่องจากเป็นผู้ริเริ่มการนําเอาหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ทดแทน จารีตประเพณีอันเป็นความเคยชินในการทํางาน โดยหันมายึดหลักการที่สําคัญที่สุด คือ การเพิ่มประสิทธิภาพ ในการผลิตด้วยการคิดค้นการทํางานตามหลักวิทยาศาสตร์
สาระสําคัญของทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์
1 การอาศัยเทคนิคทําให้ได้งานมากที่สุดเพื่อเข้าสู่หลัก “One Best Way”
2 การค้นหาหลักเกณฑ์ในการทํางาน โดย
– สรรหาคนด้วยหลักวิทยาศาสตร์
– การศึกษาและพัฒนาบุคคลเพื่อทําตามเทคนิคที่กําหนด
– ความร่วมมือระหว่างหัวหน้างานและคนงานเป็นสิ่งจําเป็น
3 ควรมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในกลุ่ม มีการแบ่งงานกันทําระหว่างฝ่ายจัดการและคนงาน
4 ทํางานให้ได้ผลผลิตที่สูงสุดมากกว่าจะกําหนดผลผลิตที่เข้มงวด
5 ควรมีการพัฒนาคนงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
หลักการที่สําคัญ
1 ต้องสร้างหลักการทํางานที่เป็นวิทยาศาสตร์ โดยใช้หลัก Time and Motion Study แล้วกําหนดเป็น One Best Way เพื่อทําให้เกิดวิธีการทํางานที่มีประสิทธิภาพ
2 มีการเลือกคนที่เหมาะสม
3 มีกระบวนการพัฒนาคน
4 สร้างการมีส่วนร่วม (Friendly Cooperation) ให้เกิดขึ้นในองค์การ
ทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของ Taylor เป็นทฤษฎีที่เน้น “โครงสร้าง” โดยเห็นว่า หากมีโครงสร้างในการทํางานที่ดี มีการจัดแบ่งงานที่ดีที่สุดในสถานที่ปฏิบัติงาน และมีการวิเคราะห์เพื่อหา One Best Way มาใช้ในการทํางานในองค์การแล้วจะก่อให้เกิดการทํางานที่มีประสิทธิภาพและประหยัด จึงกล่าวได้ว่าการบริหารงาน ที่ยึดหลักทฤษฎีนี้สนใจเฉพาะการบริหารรายในโดยไม่สนใจสิ่งแวดล้อม มองคนเหมือนเครื่องจักรที่ต้องจูงใจให้ทํางาน ด้วยเงิน (Money Incentive) จึงมีลักษณะเป็นองค์การในระบบปิด
2 Luther Gulick & Lyndall Urwick
Gulick & Urwick ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่าง ๆ ไว้ในหนังสือชื่อ “Paper on the Science of Administration : Note on the Theory of Organization” โดยเสนอแนวความคิด กระบวนการบริหารที่เรียกว่า “POSDCORB” ซึ่งเป็นหน้าที่สําคัญของนักบริหาร 7 ประการ ได้แก่
1 P = Planning คือ การวางแผน เป็นการวางเค้าโครงกิจกรรมซึ่งเป็นการเตรียมการ ก่อนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้การดําเนินการบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
2 O = Organizing คือ การจัดองค์การ เป็นการกําหนดโครงสร้างขององค์การโดยพิจารณา ให้เหมาะสมกับงาน เช่น การแบ่งงานเป็นกรม กอง หรือแผนก โดยอาศัยปริมาณงาน คุณภาพของงานหรือจัด ตามลักษณะเฉพาะของงาน นอกจากนี้อาจพิจารณาในแง่ของการควบคุม หรือพิจารณาในแง่ของหน่วยงาน เช่น หน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่ปรึกษา เป็นต้น
3 S = Staffing คือ การจัดหาบุคลากรมาปฏิบัติงาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้ได้บุคลากรมาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับ การจัดแบ่งหน่วยงานที่กําหนดเอาไว้
4 D = Directing คือ การอํานวยการ เป็นภารกิจในการใช้ศิลปะในการบริหารงาน เช่น ภาวะผู้นํา มนุษยสัมพันธ์ การจูงใจ และการตัดสินใจ เป็นต้น
5 CO = Coordinating คือ การประสานงาน เป็นการประสานให้ส่วนต่าง ๆ ของ กระบวนการทํางานมีความต่อเนื่องกัน เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและราบรื่น
6 R = Reporting คือ การรายงาน เป็นกระบวนการและเทคนิคของการรายงานให้ ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นได้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน โดยมีความสัมพันธ์กับการติดต่อสื่อสารในองค์การอยู่ด้วย
7 B = Budgeting คือ การงบประมาณ เป็นภารกิจที่เกี่ยวกับการวางแผนการทําบัญชี การควบคุมเกี่ยวกับการเงินและการคลัง
สาระสําคัญของแนวคิด POSDCORB คือ “ประสิทธิภาพ” ซึ่ง Gulick & Urwick เห็นว่า ประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่สําคัญที่สุดของการบริหาร และเพื่อให้การบริหารงานในทุกหน่วยงานมีประสิทธิภาพจะต้อง มีการแบ่งงานตามความเหมาะสมและความจําเป็นหรือความถนัดของคนงาน โดยแบ่งหน่วยงานออกตาม กระบวนการ วัตถุประสงค์ ลูกค้า และพื้นที่ ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องจัดรูปแบบองค์การเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด และมีสายการบังคับบัญชาที่ลดหลั่นกันลงมา
3 Henri Fayol
Fayol เป็นนักอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศส เขาได้เสนอกระบวนการบริหารของนักบริหารไว้ 5 ประการ หรือเรียกว่า “POCCC” ได้แก่
1 P = Planning คือ การวางแผน
2 O = Organizing คือ การจัดองค์การ
3 C = Commanding คือ การบังคับบัญชา
4 C = Coordinating คือ การประสานงาน
5 C = Controlling คือ การควบคุมงาน นอกจากนี้ Fayol ยังได้เสนอหลักการบริหารทั่วไป 14 ประการ ได้แก่
1 การมีเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)
2 การมีเอกภาพในการสั่งการ (Unity of Direction)
3 การแบ่งงานกันทํา (Division of Work)
4 การรวมอํานาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization)
5 อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority and Responsibility) 6 ความเสมอภาค (Equity)
7 สายการบังคับบัญชา (Scalar Chain)
8 การให้ผลประโยชน์ตอบแทน (Remuneration)
9 การมีระเบียบข้อบังคับ (Order)
10 ความมีระเบียบวินัย (Discipline)
11 ความคิดริเริ่ม (Initiative)
12 ผลประโยชน์ของบุคคลควรจะเป็นรองจากผลประโยชน์ส่วนรวม (Subordination of Individual Interest to the General Interest)
13 ความมั่นคงในหน้าที่การงาน (Stability of tenure of Person)
14 ความสามัคคีเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน (Esprit de Corps)
จากหลักการบริหารดังกล่าวจะเห็นได้ว่า Fayol ยอมรับองค์การที่เป็นทางการ โดยใช้ประโยชน์ จากการแบ่งงานกันทํา และเน้นความสําคัญขององค์การ คือ ความเป็นระเบียบ ความมั่นคง ความคิดริเริ่ม และ ความสามัคคี นอกจากนี้หลักการบริหารของ Fayol นับเป็นหลักการของทฤษฎีที่สมบูรณ์ครั้งแรกที่ช่วยให้ผู้บริหาร สามารถวางระเบียบแบบแผนและหลักเกณฑ์ที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถรวบรวมทรัพยากรต่าง ๆ และบุคคลเข้ามา รวมอยู่ในองค์การให้สามารถทํางานโดยมีประสิทธิภาพจนบรรลุเป้าหมายที่กําหนดได้
ข้อ 2 จงอธิบายถึงลักษณะของการบริหารงานในระบบราชการตามแนวความคิดของ Max Weber
แนวคําตอบ
Max Weber นักทฤษฎีองค์การชาวเยอรมัน ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของระบบราชการ” เขาเสนอว่า การจัดองค์การแบบระบบราชการ (Bureaucracy) เป็นวิธีการจัดองค์การที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่า วิธีอื่นใด ซึ่งการบริหารงานในระบบราชการตามแนวคิดของ Weber มีลักษณะดังนี้
1 มีการควบคุมกันโดยการแบ่งลําดับชั้นของการบังคับบัญชา (Hierarchy)
2 การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎระเบียบ (Rule and Regulation) 3 มีการจัดคนที่มีความรู้ความชํานาญเข้าด้วยกัน (Specialization)
4 มีการบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว (Impersonality)
5 เน้นการยึดถือความสามารถทางวิชาการ (Technical Competence)
6 เน้นความสําคัญของการพัฒนาบุคคล (Training and Development)
7 แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากองค์การ (Individual Interest, Official)
จุดเด่นของแนวคิดของ Weber ได้แก่
1 เป็นการควบคุมโดยอาศัยการจัดโครงสร้างการบังคับบัญชาลดหลั่นกันลงมา
2 ไม่สนใจตัวบุคคล
3 เน้นที่ตัวบทกฎหมายและความมีเหตุผลเพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ
4 เน้นความสําคัญของโครงสร้าง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม สนใจแต่การบริหารภายในองค์การ
ข้อดีจากแนวคิดของ Weber ได้แก่
1 องค์การมีประสิทธิภาพในการทํางาน (Efficiency)
2 มีความเสมอภาค (Equity)
ข้อเสียจากแนวคิดของ weber ได้แก่
1 เกิดความแปลกแยกต่อองค์การ งาน และกฎระเบียบ (Alienation)
2 เกิดความเฉื่อยชา ไม่มีประสิทธิภาพ
3 เกิดความล่าช้า (Red Tape)
4 เกิดความไม่คล่องตัว (Rigidity)
5 เน้นความสําคัญของกฎ ระเบียบ และข้อบังคับมากเกินไป จนมองข้ามความสําคัญในด้านอื่น
6 แบ่งแยกงานกันตามความถนัดมากจนเกินไป
7 ขาดการประสานงาน (Lack of Coordination)
8 มีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (Resistance to Change)
ข้อ 3 จงอธิบายถึงแนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การ พร้อมทั้งระบุชื่อนักคิดอย่างน้อย
1 ทฤษฎี
แนวคําตอบ
Gibson ได้เสนอองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การ ซึ่งมี 4 องค์ประกอบ คือ
1 การแบ่งส่วนงาน (Division of Labor) คือ การจัดโครงสร้างองค์การตามแนวราบ เป็นการแบ่งแยกงานและการรวมกลุ่มงาน หรือเป็นการจําแนกประเภทของงานตามความชํานาญพิเศษหรือ ตามความถนัดในงานนั้น ๆ และปริมาณของกิจกรรมในองค์การ ซึ่งการแบ่งส่วนงานมากเกินไปอาจก่อให้เกิด ความสิ้นเปลืองและความเบื่อหน่ายของพนักงาน เนื่องจากงานจะมีลักษณะซ้ําซากจําเจ ลักษณะของการแบ่ง ส่วนงานมีดังนี้
1) การแบ่งงานตามวิชาชีพ (Personal Specialties) เป็นการแบ่งงานตามความถนัด เฉพาะทาง เช่น งานด้านบัญชี วิศวกร และวิทยาศาสตร์
2) การแบ่งงานตามกิจกรรมภายในองค์การ (Horizontal Specialization) เป็น การแบ่งงานโดยพิจารณาจากกิจกรรมภายในองค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
(1) การแบ่งตามหน้าที่ เช่น การแบ่งเป็นฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย และฝ่ายจัดส่ง
(2) การแบ่งตามผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ขององค์การ เช่น หน่วยงานดูแลการผลิต ผงซักฟอก หน่วยงานดูแลการผลิตยาสีฟัน
(3) การแบ่งตามพื้นที่ เช่น การแบ่งของธนาคาร
2 การจัดส่วนงาน (Hierarchy) คือ การจัดชั้นสายการบังคับบัญชา หรือการจัดโครงสร้าง องค์การในแนวดิ่ง เป็นการแบ่งหน่วยงานออกเป็นระดับโดยพิจารณาจากความสําคัญของงานว่าควรจะเป็นงาน ในระดับใด ซึ่งแต่ละระดับจะมีบทบาทและความสําคัญลดหลั่นกันลงมา การจัดสายการบังคับบัญชาที่ดีไม่ควรเกิน 5 ลําดับชั้น เพราะถ้ามีชั้นการบังคับบัญชามากจะเกิดปัญหาการสื่อสารหรือการบิดเบือนข้อมูล
3 ขอบเขตของการบังคับบัญชา (Span of Control) หรือขนาดของการควบคุม คือ จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ รับผิดชอบโดยตรง การมีขนาดของการควบคุมที่เหมาะสมจะทําให้ การตัดสินใจและการสั่งการมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขนาดของการควบคุมจะกว้างหรือแคบขึ้นอยู่กับความสามารถของ ผู้ปฏิบัติงาน ความยากง่ายของงาน และความจําเป็นในสถานการณ์ต่าง ๆ
4 การมอบอํานาจในการตัดสินใจหรือการปฏิบัติงาน (Delegation of Authority) เป็นการพิจารณานโยบายขององค์การว่ามุ่งเน้นการกระจายอํานาจหรือการรวมอํานาจ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก จํานวนผู้ตัดสินใจในการบริหารงานในองค์การ หากองค์การมีจํานวนผู้ตัดสินใจมากแสดงว่าองค์การเน้นการ * * มาจ แต่ถ้าองค์การมีจํานวนผู้ตัดสินใจเพียงคนเดียวแสดงว่าองค์การเน้นการรวมอํานาจ ทั้งนี้ จุดสําคัญของการมอบอํานาจและการกระจายอํานาจก็คือ ผู้บังคับบัญชาสามารถกระทําได้เฉพาะการมอบอํานาจ ในงานหรือการกระจายอํานาจในการปฏิบัติงานเท่านั้น จะกระจายความรับผิดชอบไม่ได้
ข้อ 4 จงอธิบายแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมและการจูงใจในองค์การมาอย่างน้อย 1 ทฤษฎี
แนวคําตอบ
การจูงใจ (Motivation) หมายถึง การสร้างแรงปรารถนาในตัวคนให้กระทําบางสิ่งบางอย่าง เพื่อให้การกระทํานั้นเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของปัจเจกบุคคล หรือหมายถึงความสามารถในการชักจูง ให้บางคนเกิดความคล้อยตาม ซึ่งนักคิดกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์มองว่า การจูงใจถือเป็นปัจจัยตัวหนึ่งที่มีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การนอกเหนือจากค่านิยม ทัศนคติ บุคลิก มุมมอง การเรียนรู้ และเป็น ปัจจัยที่มีส่วนสําคัญต่อการเกิดผลสําเร็จของงาน โดยแนวคิดการจูงใจนี้ได้รับความสนใจจากนักคิดกลุ่ม พฤติกรรมศาสตร์หลายท่าน เช่น Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Douglas Murray McGregor, Frederick Herzberg, David McClelland, Victor H. Vroom, J. Stacy Adams เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะนําเสนอ แนวคิดของ Abraham Maslow
Abraham Maslow เสนอ “ทฤษฎีลําดับขั้นของความต้องการ” (Hierarchy of Needs Theory) หรือ “ทฤษฎีความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ 5 ประการ” (Five Basic Needs Theory) โดยเห็นว่า ผู้บริหารจะสามารถสร้างแรงจูงใจแก่พนักงานได้หากคํานึงถึงความต้องการที่แตกต่างกันไปตามลําดับขั้นความต้องการ ของมนุษย์ ดังนี้
1 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) คือ ปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาหารและน้ํายารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ปัจจุบันยังอาจหมายความรวมถึงการติดต่อสื่อสารด้วย
2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs) คือ ความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน ความมั่นคงในการดํารงอยู่ เช่น การไม่ถูกไล่ออกจากงาน เป็นต้น
3 ความต้องการความรักและการยอมรับ (Love Needs หรือ Social Needs) คือ ความต้องการความรักทั้งเป็นผู้รับและผู้ให้ และการได้รับการยอมรับในสังคม
4 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem Needs) คือ ความต้องการในการ ได้รับการชื่นชมและการสรรเสริญจากสังคม
5 ความต้องการความสําเร็จที่เกิดจากตนเอง (Self-Actualization Needs) คือ ความ ต้องการทําในสิ่งที่ตนสามารถจะทําได้ เพื่อเป็นการสนองต่อความพอใจหรือความปรารถนาของตนเอง เช่น การบวช ความร่ํารวย เป็นต้น
ตามทฤษฎีของ Maslow นี้ เมื่อมนุษย์ได้รับการตอบสนองความต้องการด้วยขั้นของความ ต้องการใดไปแล้ว ความต้องการขั้นนั้นจะไม่มีผลในการจูงใจมนุษย์คนนั้นอีก ดังนั้นองค์การสามารถนําแนวทาง ดังกล่าวไปพิจารณาตอบสนองเพื่อก่อให้เกิดแรงจูงใจแก่คนงานได้โดยการตอบสนองตามระดับ อย่างไรก็ตาม การตอบสนองความต้องการแต่ละระดับนั้น องค์การไม่ควรตอบสนองความต้องการนั้น ๆ เต็มที่ มิฉะนั้นแล้ว ความต้องการดังกล่าวจะไม่ใช่เป็นตัวมูลเหตุจูงใจให้คนงาน เพราะถูกมองว่าเป็นหน้าที่ขององค์การนั่นเอง