การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2310 ทฤษฎีองค์การ

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ

ข้อ 1 จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับการจัดการมีอะไรบ้าง จงอธิบายมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

องค์การ หมายถึง การที่คนมารวมตัวกันเพื่อเข้าทํางานโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันและต้องการ ที่จะทํางานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งระบบย่อยขององค์การ ประกอบด้วย เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ คน โครงสร้าง เทคนิค และความรู้ข้อมูลข่าวสาร

การจัดการ หมายถึง การดําเนินงานของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ ที่ได้ตั้งเอาไว้ร่วมกัน โดยคํานึงถึงการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพเข้าช่วย ซึ่งกระบวนการจัดการ ประกอบด้วย การวางแผน การประสานงาน การจัดองค์การ การตัดสินใจ และการควบคุมงาน

ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับการจัดการ มีดังนี้

1 ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมาย/วัตถุประสงค์กับการวางแผน หมายถึง เมื่อกําหนด เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การแล้ว ก็ต้องหาหนทางเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น โดยนักบริหารจะต้อง นําความรู้ในวิชาการวางแผนมาใช้ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ

1) การกําหนดเป้าหมาย

2) การอธิบายสถานการณ์ปัจจุบัน

3) การหาเครื่องมือที่จะมาช่วย พร้อมทั้งตระหนักถึงปัญหาและอุปสรรคในการ บรรลุเป้าหมาย

4) การพัฒนาทางเลือกที่จะบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์

2 ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับการประสานงาน หมายถึง นักบริหารต้องมีภาวะผู้นํา และมีความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นํา เพื่อจูงใจให้กลุ่มคนมาบริหารองค์การให้บรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ผู้บริหารต้อง มีความสามารถในการสื่อข้อความ เพราะการสื่อข้อความจะช่วยให้เข้าใจงานและสามารถทํางานได้ง่ายขึ้น รวมทั้ง ช่วยให้เกิดประสิทธิผลที่ดี

3 ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับการจัดองค์การ หมายถึง การจัดองค์การเพื่อให้ องค์การมีโครงสร้างที่เหมาะสม ซึ่งพิจารณาจากเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1) ปัญหารอบด้านขององค์การ

2) กระบวนการปฏิบัติงานที่มีความรวดเร็ว

3) การจัดสรรคนให้เหมาะสมกับโครงสร้างขององค์การ

4) การติดต่อและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในองค์การที่สอดคล้องกับโครงสร้างองค์การ

5) การจัดโครงสร้างองค์การที่เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่น และจูงใจให้คนมีความเอาใจใส่ต่อการทํางาน

6) การปกครองบังคับบัญชาทุกระดับมีความสอดคล้องกัน

7) การให้อํานาจหน้าที่กับผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการจัดโครงสร้างองค์การ

8) การจัดโครงสร้างให้สอดคล้องกับนโยบาย

9) การแบ่งส่วนงานที่มีความเหมาะสม

4 ความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคกับการตัดสินใจ หมายถึง เทคนิคการบริหารจะเป็น ประโยชน์ที่ทําให้องค์การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเทคนิคทางการบริหารมี 2 รูปแบบ คือ การตัดสินใจที่ใช้อยู่ เป็นประจํา (Programmed Decision-Making) และการตัดสินใจที่ไม่เกิดบ่อยนัก (Nonprogrammed Decision Making) ดังนั้นนักบริหารจะต้องรู้จักหลักการตัดสินใจในโอกาสต่าง ๆ เช่น

1) การตัดสินใจภายใต้ภาวะที่แน่นอน (Certainty) คือ การตัดสินใจที่ทราบผลในแต่ละทางเลือก

2) การตัดสินใจในภาวะที่มีความเสี่ยง (Risk) คือ การตัดสินใจที่ทราบความเป็นไปของผลในแต่ละทางเลือก

3) การตัดสินใจในภาวะที่ไม่แน่นอน (Uncertainty) คือ การตัดสินใจที่ไม่ทราบความเป็นไปของผลที่เกิดขึ้น

5 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ข้อมูลข่าวสารกับการควบคุมงาน หมายถึง นักบริหาร จะต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารในการกําหนดนโยบายและการนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งในการควบคุมงาน ทุกประเภทเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยนักบริหารจะต้องใช้ระบบการควบคุมเพื่อตรวจสอบว่าการบริหารงานในองค์การ เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในแผนหรือไม่ ซึ่งการควบคุมงานจะทําให้องค์การสามารถปฏิบัติงานต่อไปได้อย่างราบรื่น

 

ข้อ 2 จากแนวคิดของนักทฤษฎีองค์การทําให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้นําแนวคิดต่าง ๆ เหล่านี้ไปปฏิบัติ ดังนั้นจึงให้นักศึกษาเลือกนําเสนอนักคิด 3 ท่านพร้อมอธิบายผลงานมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

1 Max Weber

Weber นักทฤษฎีองค์การชาวเยอรมัน ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของระบบราชการ” เขาเสนอว่า การจัดองค์การแบบระบบราชการ (Bureaucracy) เป็นวิธีการจัดองค์การที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่า วิธีอื่นใด ซึ่งลักษณะขององค์การแบบระบบราชการมีดังนี้

1 มีการควบคุมกันโดยการแบ่งลําดับชั้นของการบังคับบัญชา (Hierarchy)

2 การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎระเบียบ (Rule and Regulation) 3 มีการจัดคนที่มีความรู้ความชํานาญเข้าด้วยกัน (Specialization)

4 มีการบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว (Impersonality)

5 เน้นการยึดถือความสามารถทางวิชาการ (Technical Competence)

6 เน้นความสําคัญของการพัฒนาบุคคล (Training and Development)

7 แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากองค์การ (Individual Interest, Official)

 

จุดเด่นของแนวคิดของ Weber ได้แก่

1 เป็นการควบคุมโดยอาศัยการจัดโครงสร้างการบังคับบัญชาลดหลั่นกันลงมา

2 ไม่สนใจตัวบุคคล

3 เน้นที่ตัวบทกฎหมายและความมีเหตุผลเพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ

4 เน้นความสําคัญของโครงสร้าง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม สนใจแต่การบริหารภายในองค์การ

ข้อดีจากแนวคิดของ Weber ได้แก่

1 องค์การมีประสิทธิภาพในการทํางาน (Efficiency)

2 มีความเสมอภาค (Equity)

ข้อเสียจากแนวคิดของ Weber ได้แก่

1 เกิดความแปลกแยกต่อองค์การ งาน และกฎระเบียบ (Alienation)

2 เกิดความเฉื่อยชา ไม่มีประสิทธิภาพ

3 เกิดความล่าช้า (Red Tape)

4 เกิดความไม่คล่องตัว (Rigidity)

5 เน้นความสําคัญของกฎ ระเบียบ และข้อบังคับมากเกินไป จนมองข้ามความสําคัญในด้านอื่น

6 แบ่งแยกงานกันตามความถนัดมากจนเกินไป

7 ขาดการประสานงาน (Lack of Coordination)

8 มีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (Resistance to Change)

นอกจากนี้ Weber ยังได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงํา (Domination) โดยเห็นว่า ผู้นํา หรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ขึ้นอยู่กับการที่ผู้ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และ ต้องมีระบบการบริหารมาดําเนินการให้คําสั่งมีผลใช้บังคับได้ ซึ่งลักษณะของการครอบงํา มี 3 รูปแบบ คือ

1 การครอบงําโดยอาศัยจารีตประเพณี (Traditional Domination)

2 การครอบงําโดยใช้บารมี (Charismatic Domination)

3 การครอบงําโดยวิธีกฎหมายและการมีเหตุผล (Legal Domination)

  1. Luther Gulick และ Lyndall Urwick

Gulick และ Urwick ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่าง ๆ ไว้ในหนังสือชื่อ “Paper on the Science of Administration : Note on the Theory of Organization” โดยเสนอแนวความคิด กระบวนการบริหารที่เรียกว่า “POSDCORB” ซึ่งเป็นหน้าที่สําคัญของนักบริหาร 7 ประการ ได้แก่

1 P = Planning คือ การวางแผน เป็นการวางเค้าโครงกิจกรรมซึ่งเป็นการเตรียมการ ก่อนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้การดําเนินการบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 0 = Organizing คือ การจัดองค์การ เป็นการกําหนดโครงสร้างขององค์การโดย พิจารณาให้เหมาะสมกับงาน เช่น การแบ่งงานเป็นกรม กอง หรือแผนก โดยอาศัยปริมาณงาน คุณภาพของงาน หรือจัดตามลักษณะเฉพาะของงาน นอกจากนี้อาจพิจารณาในแง่ของการควบคุม หรือพิจารณาในแง่ของ หน่วยงาน เช่น หน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่ปรึกษา เป็นต้น

3 S = Staffing คือ การจัดหาบุคลากรมาปฏิบัติงาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้ได้บุคลากรมาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับ การจัดแบ่งหน่วยงานที่กําหนดเอาไว้

4 D = Directing คือ การอํานวยการ เป็นภารกิจในการใช้ศิลปะในการบริหารงาน เช่น ภาวะผู้นํา มนุษยสัมพันธ์ การจูงใจ และการตัดสินใจ เป็นต้น

5 C – Coordinating คือ การประสานงาน เป็นการประสานให้ส่วนต่าง ๆ ของ กระบวนการทํางานมีความต่อเนื่องกัน เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและราบรื่น

6 R = Reporting คือ การรายงาน เป็นกระบวนการและเทคนิคของการรายงาน ให้ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นได้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน โดยมีความสัมพันธ์กับการติดต่อสื่อสารในองค์การ อยู่ด้วย

7 B = Budgeting คือ การงบประมาณ เป็นภารกิจที่เกี่ยวกับการวางแผนการทําบัญชี การควบคุมเกี่ยวกับการเงินและการคลัง

สาระสําคัญของแนวคิด POSDCORB คือ “ประสิทธิภาพ” ซึ่ง Gulick และ Urwick เห็นว่า ประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่สําคัญที่สุดของการบริหาร และเพื่อให้การบริหารงานในทุกหน่วยงานมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการแบ่งงานตามความเหมาะสมและความจําเป็นหรือความถนัดของคนงาน โดยแบ่งหน่วยงานออก ตามกระบวนการ วัตถุประสงค์ ลูกค้า และพื้นที่ ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องจัดรูปแบบองค์การเป็นรูปสามเหลี่ยม พีระมิด และมีสายการบังคับบัญชาที่ลดหลั่นกันลงมา

3 Douglas Murray McGregor

ไว้ในหนังสือชื่อ “The Human Side of Enterprise” โดยมีฐานคติในการมองคนในองค์การ 2 แบบ คือ

1 ทฤษฎี X ถือว่า

– คนทั่วไปเกียจคร้าน ชอบเลี่ยงงาน

– ขาดความกระตือรือร้น ไม่มีความรับผิดชอบ

– เห็นแก่ตัวเพิกเฉยต่อความต้องการขององค์การ

2 ทฤษฎี Y ถือว่า

– คนชอบทํางาน ไม่ได้เกียจคร้าน

– การควบคุมภายนอกไม่ใช่วิถีทางที่จะได้มาซึ่งงาน คนสามารถที่จะหาแนวทางและควบคุมตนเองได้

– ความพึงพอใจที่ได้ปฏิบัติงานตามศักยภาพเป็นรางวัลที่มีความสําคัญที่จะทําให้คนมีความรู้สึกผูกพันกับองค์การ

– คนโดยทั่วไปจะเรียนรู้เพื่อแสวงหาความรับผิดชอบต่อไป

– คนส่วนใหญ่อาศัยภาวะสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาในองค์การ

ทฤษฎี Y คือ “ภาพพจน์ของคน” ในแนวมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งเชื่อว่าโดยธรรมชาติมนุษย์เป็นคนดี ดังนั้นคนจึงควรควบคุมตนเองได้ การควบคุมตนเองหมายถึงการปรับปรุงองค์การในเรื่องต่าง ๆ เช่น การกระจายอํานาจ การมอบอํานาจหน้าที่ การขยายงาน การมีส่วนร่วม และการบริหารงานโดยยึดเป้าหมาย จึงเห็นได้ว่าข้อเสนอ การปรับปรุงของ McGregor เป็นการย้ําให้เห็นความสําคัญของคน และช่วยให้คนหลุดพ้นจากการควบคุมของ องค์การ ซึ่งเป็นค่านิยมหลักของมนุษย์ที่เห็นว่าคนมาก่อนองค์การ

การมองคนในองค์การตามทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ McGregor ช่วยให้เราแยกแยะคนได้ ทําให้เรารู้ว่าใครเป็นเพื่อนที่ดีหรือนายที่ดี ซึ่งการมองแบบนี้เรียกว่า “Polarization” แต่ในสภาพความเป็นจริง เราไม่สามารถบอกได้ว่าคนไหนเป็นประเภท X หรือประเภท Y แต่อาจจะบอกได้ว่าค่อนข้างไปทาง X หรือ Yมากกว่า ดังนั้นการมองคนเป็น Polarization จึงเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามก็ถือว่าทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีแรกที่ช่วย ทําให้สามารถจําแนกประเภทของคนได้

 

ข้อ 3 จงอธิบายเปรียบเทียบถึงความสอดคล้องของผลงานของนักคิดกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ โดยยกตัวอย่างผลงานมาอย่างน้อย 2 คน

แนวคําตอบ

นักคิดกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ เป็นกลุ่มที่ทําการศึกษาพฤติกรรมในองค์การ คือ ศึกษาเรื่อง ของการกระทําและการแสดงออกของมนุษย์ในองค์การทั้งในระดับบุคคลและกลุ่มบุคคล ตัวอย่างของนักคิด กลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ที่สําคัญ ได้แก่ Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Douglas Murray McGregor, Frederick Herzberg, McClelland เป็นต้น

ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างผลงานของ Abraham Maslow และ Frederick Herzberg มาอธิบาย

1 ซึ่งนักคิดทั้งสองท่านนี้มีแนวคิดที่สอดคล้องกัน

Abraham Maslow

Maslow ได้เสนอ “ทฤษฎีความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ 5 ประการ” (Five Basic Needs Theory) โดยเห็นว่า ผู้บริหารจะสามารถสร้างแรงจูงใจแก่พนักงานได้หากคํานึงถึงความต้องการที่แตกต่างกันไป ตามลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ดังนี้

1 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) คือ ปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาหารและน้ํา ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ปัจจุบันยังอาจหมายความรวมถึงการติดต่อสื่อสารด้วย

2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs) คือ ความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน ความมั่นคงในการดํารงอยู่ เช่น การไม่ถูกไล่ออกจากงาน เป็นต้น

3 ความต้องการความรักและการยอมรับ (Love Needs หรือ Social Needs) คือ ความต้องการความรักทั้งเป็นผู้รับและผู้ให้ และการได้รับการยอมรับในสังคม

4 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem Needs) คือ ความต้องการในการได้รับ การชื่นชมและการสรรเสริญจากสังคม

5 ความต้องการความสําเร็จที่เกิดจากตนเอง (Self-Actualization Needs) คือ ความ ต้องการทําในสิ่งที่ตนสามารถจะทําได้ เพื่อเป็นการสนองต่อความพอใจหรือความปรารถนาของตนเอง เช่น การบวช ความร่ํารวย เป็นต้น

ตามทฤษฎีของ Maslow นี้ เมื่อมนุษย์ได้รับการตอบสนองความต้องการด้วยขั้นของความ ต้องการใดไปแล้ว ความต้องการขั้นนั้นจะไม่มีผลในการจูงใจมนุษย์คนนั้นอีก ดังนั้นองค์การสามารถนําแนวทาง ดังกล่าวไปพิจารณาตอบสนองเพื่อก่อให้เกิดแรงจูงใจแก่คนงานได้โดยการตอบสนองตามระดับ อย่างไรก็ตาม การตอบสนองความต้องการแต่ละระดับนั้น องค์การไม่ควรตอบสนองความต้องการนั้น ๆ เต็มที่ มิฉะนั้นแล้ว ความต้องการดังกล่าวจะไม่ใช่เป็นตัวมูลเหตุจูงใจให้คนงาน เพราะถูกมองว่าเป็นหน้าที่ขององค์การนั้นเอง

Frederick Herzberg

Herzberg ได้เสนอ “ทฤษฎีสองปัจจัย” (Two Factors Theory) โดยเห็นว่า ความต้องการ มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของคนงานโดยความต้องการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ปัจจัยจูงใจ (Motivation Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง ได้แก่ ความสําเร็จ ของงาน การได้รับการยอมรับผลงาน ความก้าวหน้าของงาน ความรับผิดชอบในงานที่มากขึ้น และลักษณะของงาน ที่ท้าทายน่าสนใจ ดังนั้นถ้าองค์การสามารถดําเนินการให้เกิดสิ่งนี้จะมีผลกระตุ้นให้คนงานทํางานได้ดีขึ้น แต่ถึงแม้ว่า จะไม่มีก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแต่อย่างใด

2 ปัจจัยอนามัย (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของงาน ได้แก่ นโยบายขององค์การ การบริหารบังคับบัญชา กฎระเบียบเพื่อควบคุมการทํางาน สภาพหรือเงื่อนไขการทํางาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความมั่นคงในการทํางาน เงินเดือน สวัสดิการ เป็นต้น ดังนั้นจึงเปรียบเสมือนกับ เป็นหน้าที่ขององค์การที่จะต้องทําให้เกิดขึ้น ซึ่งถ้าไม่มีจะทําให้คนงานไม่พอใจ แต่จะไม่มีส่วนกระตุ้นให้เกิด การทํางานที่ดีขึ้นแต่อย่างใด

การเปรียบเทียบความสอดคล้องกันระหว่างผลงานของ Maslow กับ Herzberg

1 ความต้องการระดับต่ำ ได้แก่ ความต้องการทางกายภาพ (ความต้องการขั้นที่ 1) และ ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (ความต้องการขั้นที่ 2) ตามแนวคิดของ Maslow สอดคล้องกับปัจจัยอนามัย เช่น เงื่อนไขการทํางาน เงินเดือน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา นโยบายและการบริหาร ตามแนวคิดของ Herzberg

2 ความต้องการระดับสูง ได้แก่ การได้รับการยอมรับ (ความต้องการขั้นที่ 3) การได้รับ การยกย่อง (ความต้องการขั้นที่ 4) และการทํางานให้สําเร็จด้วยตนเอง (ความต้องการขั้นที่ 5) ตามแนวคิดของ Maslow สอดคล้องกับปัจจัยจูงใจ เช่น ความสําเร็จของงาน การได้รับการยอมรับผลงาน ความก้าวหน้าของงาน ความรับผิดชอบในงาน และลักษณะของงาน ตามแนวคิดของ Herzberg

 

ข้อ 4 จงอธิบายถึงองค์ประกอบของโครงสร้างขององค์การมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

องค์ประกอบของโครงสร้างองค์การ มี 4 องค์ประกอบ คือ

1 การแบ่งส่วนงาน (Division of Labor) คือ การจัดโครงสร้างองค์การตามแนวราบ เป็นการแบ่งแยกงานและการรวมกลุ่มงาน หรือเป็นการจําแนกประเภทของงานตามความชํานาญพิเศษหรือ ตามความถนัดในงานนั้น ๆ และปริมาณของกิจกรรมในองค์การ ซึ่งการแบ่งส่วนงานมากเกินไปอาจก่อให้เกิด ความสิ้นเปลืองและความเบื่อหน่ายของพนักงาน เนื่องจากงานจะมีลักษณะซ้ําซากจําเจ ลักษณะของการแบ่งส่วนงาน มีดังนี้

1) การแบ่งงานตามวิชาชีพ (Personal Specialties) เป็นการแบ่งงานตามความถนัด เฉพาะทาง เช่น งานด้านบัญชี วิศวกร และวิทยาศาสตร์

2) การแบ่งงานตามกิจกรรมภายในองค์การ (Horizontal Specialization) เป็นการ แบ่งงานโดยพิจารณาจากกิจกรรมภายในองค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

(1) การแบ่งตามหน้าที่ เช่น การแบ่งเป็นฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย และฝ่ายจัดส่ง

(2) การแบ่งตามผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ขององค์การ เช่น หน่วยงานดูแลการผลิต ผงซักฟอก หน่วยงานดูแลการผลิตยาสีฟัน

(3) การแบ่งตามพื้นที่ เช่น การแบ่งของธนาคาร

2 การจัดส่วนงาน (Hierarchy) คือ การจัดชั้นสายการบังคับบัญชา หรือการจัดโครงสร้าง องค์การในแนวดิ่ง เป็นการแบ่งหน่วยงานออกเป็นระดับโดยพิจารณาจากความสําคัญของงานว่าควรจะเป็นงาน ในระดับใด ซึ่งแต่ละระดับจะมีบทบาทและความสําคัญลดหลั่นกันลงมา การจัดสายการบังคับบัญชาที่ดีไม่ควรเกิน 5 ลําดับชั้น เพราะถ้ามีชั้นการบังคับบัญชามากจะเกิดปัญหาการสื่อสารหรือการบิดเบือนข้อมูล

3 ขอบเขตของการบังคับบัญชา (Span of Control) หรือขนาดของการควบคุม คือ จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งตามทฤษฎีแล้วผู้บังคับบัญชา 1 คน ควรมี ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่เกิน 15 คน จึงจะทําให้การตัดสินใจและการสั่งการมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขนาดของการควบคุม จะกว้างหรือแคบขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน ความยากง่ายของงาน และความจําเป็นในสถานการณ์ต่าง ๆ .

4 การมอบอํานาจในการตัดสินใจหรือการปฏิบัติงาน (Delegation of Authority) เป็นการพิจารณานโยบายขององค์การว่ามุ่งเน้นการกระจายอํานาจหรือการรวมอํานาจ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก จํานวนผู้ตัดสินใจในการบริหารงานในองค์การ หากองค์การมีจํานวนผู้ตัดสินใจมากแสดงว่าองค์การเน้นการ กระจายอํานาจ แต่ถ้าองค์การมีจํานวนผู้ตัดสินใจเพียงคนเดียวแสดงว่าองค์การเน้นการรวมอํานาจ ทั้งนี้จุดสําคัญ ของการมอบอํานาจและการกระจายอํานาจก็คือ ผู้บังคับบัญชาสามารถกระทําได้เฉพาะการมอบอํานาจในงาน หรือการกระจายอํานาจในการปฏิบัติงานเท่านั้น จะกระจายความรับผิดชอบไม่ได้

Advertisement