การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1 ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
(1) การบริหารและการจัดการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในองค์การ
(2) การสรรหาคัดเลือกบุคคล
(3) การบริหารและการบรรจุแต่งตั้งบุคคลในองค์การ
(4) การพัฒนาและการประเมินผลการปฏิบัติงาน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) หมายถึง การบริหารและการจัดการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในองค์การ นับตั้งแต่การสรรหาคัดเลือกบุคคล มาปฏิบัติงาน การบรรจุแต่งตั้ง การให้ค่าตอบแทน การพัฒนา การประเมินผลการปฏิบัติงานตลอดถึงการให้พ้นจากงาน
ตั้งแต่ข้อ 2 – 8 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หลักความเสมอภาค
(2) หลักความสามารถ
(3) หลักความมั่นคง
(4) หลักความเป็นกลางทางการเมือง
(5) หลักการกระจายอํานาจ
2 การเปิดโอกาสให้มีการสอบแข่งขันเพื่อเข้ารับราชการสะท้อนถึงหลักการใด
ตอบ 1 หน้า 3 หลักความเสมอภาค (Equality) หมายถึง การเปิดโอกาสให้ผู้มีคุณสมบัติและมีพื้นฐานความรู้ตามที่กําหนดไว้มีสิทธิที่จะสมัครเข้าสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการได้ทุกคน โดย ไม่คํานึงถึงความแตกต่างในเรื่องชาติตระกูล ศาสนา เป็นการให้โอกาสแก่ผู้มีสิทธิ์อย่างเท่าเทียมกัน และในการกําหนดเงินเดือนหรือค่าตอบแทนของข้าราชการก็ควรยึดหลักความเสมอภาคเช่นกัน กล่าวคือ งานที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบเหมือนกันหรือระดับเดียวกันควรด้รับเงินเดือน
หรือค่าตอบแทนเท่ากัน
3 งานที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบเหมือนกันควรได้รับค่าตอบแทนเท่ากันสอดคล้องกับหลักการในข้อใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ
4 การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการควรยึดหลักการในข้อใด
ตอบ 2 หน้า 4 หลักความสามารถ (Competence) หมายถึง การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการหรือการแต่งตั้งบุคคลเข้าดํารงตําแหน่งใด ๆ จะต้องยึดหลักความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นสําคัญ โดยต้องพยายามหาทางคัดเลือกเพื่อให้ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตําแหน่ง (put the right mar on the right job)
5 “out the right man on the right job” สะท้อนให้เห็นถึงหลักการในข้อใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ
6 หลักประกันแก่ผู้จะมาทํางานราชการสามารถยึดเป็นอาชีพได้สะท้อนถึงหลักการในข้อใด
ตอบ 3 หน้า 4 หลักความมั่นคง (Security) หมายถึง การให้หลักประกันแก่ผู้ที่จะมาทํางานราชการว่าจะมี ว่าจะมีความมั่นคงในชีวิต สามารถยึดราชการเป็นอาชีพได้ตราบเท่าที่ยังมีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติราชการ มีความประพฤติดี มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ราชการ โดยให้มีเงินเดือน เพียงพอกับการครองชีพ และให้สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเป็นการประกัน มิให้ข้าราชการถูกกลั่นแกล้งหรือถูกออกจากราชการโดยไม่มีความผิด ทั้งนี้เพื่อให้ข้าราชการ ได้มีกําลังใจที่จะปฏิบัติราชการให้บังเกิดผลดีที่สุด ไม่ต้องกังวลในการหาเลี้ยงชีพหรือถูกกลั่นแกล้งในทางที่ไม่เป็นธรรม
7 การให้สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลส่งเสริมให้เกิดหลักการในข้อใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ
8 ข้าราชการต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลไม่ว่าตนจะชอบหรือไม่ก็ตามสะท้อนถึงหลักการข้อใด
ตอบ 4 หน้า 4 – 5 หลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality) หมายถึง ข้าราชการประจําต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลไม่ว่าตนจะชอบหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ ก็เพราะว่าตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นถือว่านโยบายของรัฐบาลเป็นการ แสดงออกโดยปริยายถึงความต้องการหรือเจตนารมณ์ของประชาชน ดังนั้นไม่ว่ารัฐบาลชุดใด เข้ามาบริหารประเทศ ข้าราชการประจําต้องปฏิบัติตามนโยบายนั้น ๆ อย่างเต็มความสามารถจะละเลยเพิกเฉยมิได้
9 การพัฒนาการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสมัยเริ่มต้นมาจากเรื่องราวในช่วงใด
(1) การต้องการแก้ไขปัญหาของมนุษย์โบราณ
(2) ความต้องการแก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากรมนุษย์จากเจโทร
(3) ความต้องการแก้ไขปัญหาของมนุษย์ยุคอารยธรรมตะวันตก
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 5 – 6 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสมัยเริ่มต้นเกิดจากโมเสส (Mosses) พบปัญหาการใช้ทรัพยากรมนุษย์ และได้รับคําแนะการแก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากรมนุษย์จากเจโทร (Jetro) ซึ่งเป็นพ่อตา ดังนี้ “ต้องสอนให้คนงานรู้จักเชื่อฟังคําสั่ง เคารพและปฏิบัติตามกฎ และข้อบังคับอย่างเคร่งครัด จะต้องสาธิตให้ดูว่าเส้นทางที่จะต้องเดินไปจะไปทางไหน และ ภารกิจของงานที่จะต้องปฏิบัติมีอะไรบ้าง นอกเหนือจากนั้นจะต้องคัดเลือกเอาแต่บุคคลที่มีความเก่งทุกคน ตลอดจนนักปกครองที่เก่งด้วย”
10 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมมีวัตถุประสงค์ตามข้อใด
(1) เพื่อการบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
(2) เพื่อการบรรลุเป้าหมายทางสังคม
(3) เพื่อการบรรลุเป้าหมายทางการเมือง
(4) เพื่อการบรรลุเป้าหมายทางการลงทุน
(5) เพื่อการบรรลุเป้าหมายในการส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์
ตอบ 1 หน้า 6 – 7 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อการบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ โดยในสมัยนี้ได้มีการรวบรวมคนจํานวนมากมาทํางาน ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อลดต้นทุนการผลิต แต่เนื่องจากการขาดการเอาใจใส่ดูแลจากนายจ้าง ทําให้คนงานไม่พอใจในสภาพการทํางานที่เป็นอยู่
11 ข้อใดคือความหมายของการสรรหา
(1) กระบวนการในการพิจารณาเลื่อนระดับ
(2) กระบวนการในการค้นหาบุคคลที่มีความเหมาะสมกับตําแหน่ง
(3) กระบวนการในการดึงดูดบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 56 – 58 การสรรหา (Recruitment) หมายถึง กระบวนการในการดึงดูดบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ หรือค้นหาบุคคลที่มีความเหมาะสมกับตําแหน่งให้สนใจสมัคร เข้าร่วมงานกับองค์กร ซึ่งแหล่งที่ใช้ในการสรรหาบุคคล มี 2 แหล่ง คือ
1 การสรรหาบุคคลจากภายในองค์การ
2 การสรรหาบุคคลจากภายนอกองค์การ
12 แหล่งที่ใช้ในการสรรหาประกอบไปด้วยกี่แหล่ง
(1) 1
(2) 2
(3) 3
(4) 4
(5) 5
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ
13 ข้อเสียของการสรรหาบุคคลภายในคือข้อใด
(1) ประหยัดค่าใช้จ่าย
(2) ลดขวัญและกําลังใจ
(3) ขาดแคลนความคิดสร้างสรรค์
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 57 58 ข้อเสียของการสรรหาบุคคลจากภายในองค์การ มีดังนี้
1 ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนความคิดสร้างสรรค์ในการประเมินโอกาส การแก้ปัญหาและการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางธุรกิจ
2 ไม่สามารถสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมเข้าปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งงานที่มีความต้องการบุคลากรได้
3 ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรขึ้นภายในองค์การ
ตั้งแต่ข้อ 14 – 22 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การสัมภาษณ์เบื้องต้น
(2) การให้กรอกใบสมัครงาน
(3) การทดสอบ
(4) การตรวจสอบคุณสมบัติพื้นฐาน
(5) การตรวจร่างกาย
14 การคัดเลือกในข้อใดเน้นการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อดูความเหมาะสม
ตอบ 1 หน้า 64 – 66, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview) เป็นการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อดูความเหมาะสมของผู้สมัครงาน ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมมากที่สุดในการคัดเลือก บุคคลเข้าทํางาน โดยวิธีการนี้จะช่วยให้เห็นว่าบุคคลนั้นมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของ องค์การหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการที่จะรับคนที่ขาดคุณสมบัติหรือ มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมเข้ามาตั้งแต่ต้น ทั้งนี้การสัมภาษณ์จะกระทําสําเร็จได้ต้องใช้ความเป็นศิลปะมากกว่าความเป็นศาสตร์
15 Application Blank หมายถึงข้อใด
ตอบ 2 หน้า 65 การให้กรอกใบสมัครงาน Application Blank) เป็นการให้ผู้สมัครงานกรอกข้อมูลส่วนตัวลงในแบบฟอร์มใบสมัคร เช่น ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางาน เป็นต้น
16 การคัดเลือกในข้อใดเป็นวิธีการที่เป็นที่นิยมมากที่สุด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ
17 ข้อใดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือก
ตอบ 5 หน้า 64, 68 การตรวจร่างกาย (Physical Check/Examination) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดเจนว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพื่อ ปฏิเสธบุคคลที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน และเพื่อป้องกันการรับบุคคลที่มีโรคติดต่อต้องห้ามเข้ามาทํางานด้วย
18 ข้อใดเป็นขั้นตอนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิเสธบุคคลที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ
19 ข้อใดเป็นขั้นตอนที่ตรวจสอบประวัติของผู้สมัครที่กรอกไว้ในใบสมัคร ตอบ 4 หน้า 64, 66 – 67 การตรวจสอบคุณสมบัติพื้นฐาน (Background Investigation) เป็นขั้นตอนตรวจสอบประวัติของผู้สมัครที่กรอกไว้ในใบสมัคร ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าการทํางาน ต่าง ๆ ที่แล้วมา หรือข้อมูลต่าง ๆ ของผู้สมัครที่ได้กรอกไว้ในใบสมัคร ตลอดจนสิ่งที่ได้รับฟังจากการสัมภาษณ์ถูกต้องหรือไม่
20 ข้อใดเป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบความสามารถของพนักงานว่าตรงกับลักษะงานหรือไม่
ตอบ 3 หน้า 64 – 66, (คําบรรยาย) การทดสอบ (Employment Test) เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความสามารถของพนักงานว่าตรงกับลักษะงานหรือไม่ เช่น การทดสอบความถนัด ทักษะ สติปัญญา (I.Q.) การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น (E.Q.) เป็นต้น
21 Employment Test หมายถึงข้อใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ
22 การคัดเลือกในขั้นตอนใดจะกระทําสําเร็จต้องใช้ความเป็นศิลปะมากกว่าศาสตร์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 23 – 26 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หลักการจายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น
(2) หลักการจ้างงานตลอดชีพ
(3) หลักการตอบสนองความต้องการ 5 ขั้น
(4) หลักการบริหารภายใต้ปทัสถานกลุ่ม
(5) หลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ
23 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Henri Fayol ตอบ 5 (คําบรรยาย) Henri Fayol เสนอหลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ ประกอบด้วย
1 การแบ่งงานกันทํา
2 อํานาจและความรับผิดชอบ
3 ความมีวินัย
4 เอกภาพของการบังคับบัญชา
5 เอกภาพของการอํานวยการ
6 การให้รางวัลตอบแทนแก่บุคลากร
7 ความมั่นคงของคนทํางาน
8 ความรัก/ความสามัคคีของหมู่คณะ ฯลฯ
24 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ George Elton Mayo
ตอบ 4 (คําบรรยาย) George Elton Mayo ได้เสนอหลักการบริหารภายใต้ปทัสถานกลุ่ม โดยเห็นว่ากลุ่มนั้นเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดปริมาณผลผลิตของคนงานในองค์การ ไม่ใช่ปัจจัยด้านกายภาพและพฤติกรรมของคนงาน
25 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ A.H. Maslow ตอบ 3 หน้า 149 150 A.H. Maslow ได้เสนอหลักการตอบสนองความต้องการ 5 ขั้น โดยเห็นว่าความต้องการของบุคคลจะเรียงเป็นลําดับขั้นตอนตามความสําคัญ เมื่อความต้องการระดับต่ำ ได้รับการตอบสนองแล้ว บุคคลจะให้ความสนใจกับความต้องการระดับสูงต่อไป ซึ่งความต้องการ ของบุคคลมี 5 ขั้น ดังนี้
1 ความต้องการทางกายภาพ
2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย
3 ความต้องการความรัก
4 ความต้องการยกย่อง
5 ความต้องการความสําเร็จด้วยตนเอง
26 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Frederick w. Taylor
ตอบ 1 (คําบรรยาย) Frederick W. Taylor เสนอหลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งมีแนวคิดดังนี้
1 การมุ่งแสวงหาวิธีการทํางานที่ดีที่สุด (One Best Way) ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือ การสังเกต การทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และสรุปผลตลอดจนการสร้างตัวแบบจําลอง (Model) ของสิ่งที่ทําการศึกษา
2 การสร้างแรงจูงใจในการทํางานให้กับพนักงานหรือผู้ใช้แรงงาน โดยอาศัยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจเพียงประการเดียว นั่นคือ เน้นการจ่ายค่าจ้างหรือค่าตอบแทนในรูปตัวเงินเป็นหลัก หรือการจ่ายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น ฯลฯ
ตั้งแต่ข้อ 27 – 30 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ความต้องการทางกายภาพ
(2) ความต้องการความรัก
(3) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย
(4) ความต้องการยกย่อง
(5) ความต้องการความสําเร็จด้วยตนเอง
27 การที่แดงขยันมาทํางานเช้าทุกวัน ส่งผลให้แต่งได้รับการขึ้นเงินเดือน ตอบ 1 หน้า 150 ความต้องการทางกายภาพ เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานเพื่อความมีชีวิตอยู่รอด เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสม การพักผ่อน ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มยารักษาโรค เงิน เป็นต้น
28 ดําได้รับการสนับสนุนให้เป็นหัวหน้าห้องจากเพื่อน ๆ
ตอบ 4 หน้า 150 ความต้องการยกย่อง เป็นความต้องการให้คนอื่นยกย่อง ให้เกียรติ และเห็นความสําคัญ เช่น ดําได้รับการสนับสนุนให้เป็นหัวหน้าห้องจากเพื่อน ๆ เป็นต้น
29 แม้จะไม่ได้รับโบนัสในปีนี้แต่พนักงานทุกคนก็ดีใจที่ไม่มีการปลดใครออก
ตอบ 3 หน้า 150, (คําบรรยาย) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย เป็นความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และมีความมั่นคงในการดํารงอยู่ เช่น การไม่ถูกไล่ออกจากงาน เป็นต้น
30 รุ่งรู้สึกดีใจที่ความพยายามตั้งใจเรียนส่งผลให้สําเร็จการศึกษาตามที่วางไว้
ตอบ 5 หน้า 150, (คําบรรยาย) ความต้องการความสําเร็จด้วยตนเอง เป็นความต้องการทําในสิ่งที่ตนสามารถจะทําได้ เป็นการสนองต่อความพอใจของตนเอง ความต้องการนี้เพื่อกระทําในสิ่งที่ เหมาะสมกับตนเองของมนุษย์แต่ละคนและเป็นความต้องการเพื่อการบรรลุสมความปรารถนาของ ตนเอง ให้ตนเองได้กระทําในสิ่งที่ตนเองมีศักยภาพพอที่จะทําได้ เช่น รุ่งรู้สึกดีใจที่ความพยายามตั้งใจเรียนส่งผลให้สําเร็จการศึกษาตามที่วางไว้ เป็นต้น
31 การฝึกอบรม หมายถึงข้อใด
(1) กรรมวิธีในการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการทํางาน
(2) กรรมวิธีในการเพิ่มสมรรถภาพในการทํางาน
(3) กรรมวิธีการลดขั้นตอนการทํางาน
(4) กรรมวิธีการรักษาบุคลากร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 120 การฝึกอบรม คือ กรรมวิธีในการเพิ่มสมรรถภาพในการทํางานทั้งในด้านความคิดการกระทํา ความสามารถ ความรู้ ความชํานาญ และการแสดงออก
ตั้งแต่ข้อ 32 – 40 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง
(2) การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ
(3) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด
(4) การฝึกอบรมแบบจําลอง
(5) การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา
32 “On-the-Job Training” หมายถึงข้อใด
ตอบ 1 หน้า 126 127, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง (On-the-Job Training) เป็นการฝึกอบรมที่ให้พนักงานได้สัมผัสกับสิ่งที่ใช้ในการทํางานจริง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้แพร่หลาย ในทุกวงการธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นวิธีการฝึกอบรมที่ก่อให้เกิดความคุ้นเคยกับอุปกรณ์เครื่องมือ สถานที่ บรรยากาศ รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมในการประกอบอาชีพโดยตรง ซึ่งโดยทั่วไปมักใช้ สําหรับดําเนินการให้ลูกจ้างใหม่มีประสบการณ์การทํางานเหมือนกับลูกจ้างเก่า หรือฝึกอบรมซูเปอร์ไวเซอร์ให้มีประสบการณ์ไปทําหน้าที่นิเทศพนักงานได้เป็นอย่างดี
33 “Apprenticeship Training” หมายถึงข้อใด
ตอบ 3 หน้า 139 – 140, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training) เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้รับความรู้และทักษะทางด้านช่างฝีมือในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ จนกระทั่งมีฝีมือสามารถออกไปประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ
1 สมัครเป็นลูกมือช่างที่ตนสนใจ
2 สมัครเป็นช่างฝึกหัดโครงการช่างฝึกหัดทวิภาคีระหว่างสถาบันการศึกษากับสถานประกอบการ
34 “Orientation Training” หมายถึงข้อใด
ตอบ 2 หน้า 127 – 128 การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training) เป็นวิธีการที่มีความเหมาะสมและนิยมใช้กับพนักงานที่เข้าทํางานใหม่ โดยเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแนะ ให้พนักงานใหม่ได้รับความรู้ ข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์การหรือสถานที่ทํา เช่น ประวัติขององค์การ ผู้บริหารและระบบการบริหารงาน ความก้าวหน้าในงาน การจ้างงาน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดข้อสงสัยและความกังวลใจของพนักงานใหม่ให้ ตลอดจนช่วยให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์การได้ง่ายและเร็วขึ้น
35 “Case Study Training” หมายถึงข้อใด
ตอบ 5 หน้า 142 การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training) เป็นวิธีการที่มีการกําหนดรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในองค์การ และให้ผู้เข้าฝึกอบรมทําการศึกษารายละเอียด ของข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมดในกรณีศึกษา พร้อมกับกําหนดปัญหาและนําเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาถือเป็นวิธีการที่มุ่งเน้นให้เกิดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งเหมาะสําหรับการฝึกอบรมผู้บริหาร
36 การฝึกอบรมในข้อใดเน้นการฝึกอบรมความรู้ ทักษะในด้านฝีมือ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ
37 การฝึกอบรมในข้อใดใช้กับพนักงานที่เข้าทํางานใหม่
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ
38 การฝึกอบรมในข้อใดเป็นที่นิยมแพร่หลายมากที่สุด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ
39 การฝึกอบรมในข้อใดให้พนักงานได้สัมผัสกับสิ่งที่ใช้ในการทํางานจริง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ
40 การฝึกอบรมในข้อใดมุ่งเน้นให้เกิดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 41 – 50 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)
(2) การออกแบบงาน (Job Design)
(3) การประเมินค่างาน (Job Evaluation)
(4) การกําหนดคุณสมบัติผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification)
(5) การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)
41 จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน (F qual Work for Equal Pay)
ตอบ 3 หน้า 16, 75, 81 การประเมินค่างาน (Job Evaluation) คือ กระบวนการที่ทําขึ้นเพื่อเปรียบเทียบค่าของงานต่าง ๆ ในองค์การ เพื่อนํามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกําหนด เงินเดือนหรือคาตอบแทนที่ยุติธรรมกับงานตามหลักการที่ว่า “จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน” (Equal Work for Equal Pay) ซึ่งวิธีนี้จะทําให้เกิดความยุติธรรมภายใน (Internal Equity)ในการกําหนดเงินเดือนหรือค่าตอบแทนให้แก่บุคลากรทุกคนที่อยู่ภายในองค์การเดียวกัน
42 สามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางาน ตอบ 2 หน้า 16 การออกแบบงาน (Job Design) ที่ดีนั้น จะทําให้บุคคลทํางานได้อย่างเต็มความสามารถรวมทั้งสามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางานให้น้อยลงได้อีกด้วย
43 เอาไปใช้ออกแบบงาน (Job Design)
ตอบ 5 หน้า 14 – 17 ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) สามารถนําไปใช้ประโยชน์ ในด้านต่าง ๆ ได้หลายลักษณะ เช่น การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาและคัดเลือกบุคคล การฝึกอบรมและพัฒนาบุคคล การประเมินผลการทํางาน การประเมินค่างาน การกําหนด ค่าตอบแทน การส่งเสริมความปลอดภัยในการทํางาน การออกแบบงาน (Job Design) เป็นต้น
44 ข้อมูลที่ต้องใช้ทําคือ กิจกรรมของงาน พฤติกรรมของบุคคล เครื่องจักร อุปกรณ์ มาตรฐานการปฏิบัติงานและเนื้อหาของงาน
ตอบ 5 หน้า 13 – 14 ข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) มีดังนี้
1 กิจกรรมของงาน
2 พฤติกรรมของบุคคล
3 เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องช่วยสนับสนุนการทํางาน
4 มาตรฐานการปฏิบัติงาน
5 เนื้อหาของงาน
6 ความต้องการบุคลากร
45 ความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) เกิดจาก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ
46 ได้ข้อมูลมาจากความรู้ ทักษะ และความสามารถ
ตอบ 4 หน้า 12 – 13, (คําบรรยาย) การกําหนดคุณสมบัติผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification) เป็นการกําหนดรายละเอียดของคุณสมบัติเฉพาะของพนักงานซึ่งใช้ในการทํางานเฉพาะอย่าง เพื่อให้งานประสบความสําเร็จ เช่น วุฒิการศึกษา เพศ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก เป็นต้น ซึ่งข้อมูล ที่นํามาใช้ในการกําหนดคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานนี้จะพิจารณาจากความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skit) และความสามารถ (Abilities)
47 การอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง
ตอบ 1 หน้า 12 – 13 คําบระยายลักษณะงาน (Job Description) เป็นการอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง โดยระบุชื่อตําแหน่งงาน คําสรุปเกี่ยวกับงาน หน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง และความสัมพันธ์กับงานอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลในคําบรรยายลักษณะงานนี้จะพิจารณาจากงาน (Task) ความรับผิดชอบ (Responsibilities) และหน้าที่ (Duties)
48 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในข้อใดที่ใช้ในการกําหนดฐานเงินเดือน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ
49 การระบุในส่วนของอายุ ส่วนสูง และน้ำหนัก แสดงถึงข้อใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ
50 การระบุถึงรายละเอียดของเนื้องาน แสดงถึงคุณสมบัติใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 51 – 60 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักแนวคิดเรื่องใด ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
(1) หลักการเสริมประสิทธิภาพ
(2) หลักพิทักษ์คุณธรรม
(3) หลักระบบค่าตอบแทน
(4) หลักจริยธรรมและวินัย
(5) การกระจายอํานาจ
51 คณะกรรมการมีมติลงโทษให้ไล่ออกข้าราชการที่ลวนลามลูกจ้าง
ตอบ 4 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักจริยธรรมและวินัยตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้
1 กําหนดสิ่งที่ข้าราชการต้องปฏิบัติและข้อห้ามการปฏิบัติออกจากกัน เป็นคนละส่วนอย่างชัดเจน
2 กําหนดให้ส่วนราชการแต่ละแห่งเป็นผู้กําหนดข้อบังคับ ว่าด้วยจรรยาข้าราชการเพื่อใช้บังคับเฉพาะข้าราชการในสังกัดส่วนราชการนั้นเท่านั้น
3 กําหนดให้ข้าราชการบางตําแหน่งต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินก่อนและหลังดํารงตําแหน่ง ฯลฯ
52 กกต. ตรวจสอบคุณสมบัติของ ส.ส. ก่อนการรับรองผลการเลือกตั้ง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ
53 มีการตรวจสอบกรณีรองนายกรัฐมนตรีสวมใส่เครื่องประดับมูลค่าสูง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ
54 การให้ผู้กํากับสถานีในพื้นที่ต้องยุติหน้าที่และย้ายไปประจําส่วนกลาง ตอบ 2 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักพิทักษ์คุณธรรมตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้
1 กําหนดให้คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งตุลาการและเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร ทําหน้าที่พิจารณาเรื่องการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ของข้าราชการในกรณีที่ข้าราชการถูกสั่งลงโทษทางวินัยหรือได้รับการปฏิบัติจากผู้บังคับบัญชา (เช่น การแต่งตั้งโยกย้าย) อย่างไม่เป็นธรรม
2 การจัดให้มีศาลปกครองรับเรื่องด้านการบริหารงานบุคคล
3 การให้พนักงาน/ข้าราชการที่ถูกกล่าวหาต้องยุติหน้าที่หรือย้ายไปประจําส่วนราชการเป็นการชั่วคราว “ลฯ
55 มีนโยบายให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยและรองอธิการบดีแสดงบัญชีทรัพย์สินก่อนและหลังดํารงตําแหน่ง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ
56 กําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมบรรจุแต่งตั้งข้าราชการได้ ตอบ 5 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักการกระจายอํานาจตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้
1 กําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัด เป็นผู้มีอํานาจ สั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการ เช่น อธิบดีมีอํานาจสั่งบรรจุแต่งตั้งผู้ชํานาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ, ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ช่วยงานในท้องถิ่น เป็นต้น
2 กําหนดให้หน่วยงานระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัด ดําเนินการจัดสอบแข่งขันเพื่อเลือกสรรบุคคลบรรจุเข้ารับราชการได้เอง
3 การให้อํานาจในการแต่งตั้งหรือโอนย้ายบุคลากรทั้งจากภายในและภายนอกกระทรวงได้ เช่น การแต่งตั้งโฆษก คสช. ไปดํารงตําแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
57 การกําหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกตรวจสอบจากองค์กรภายนอก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักการเสริมประสิทธิภาพตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2551 มีดังนี้
1 กําหนดให้ข้าราชการไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ
2 กําหนดให้มีแบบฟอร์มการทํารายงานหลัง/กลับจากการฝึกอบรมของหน่วยงานรัฐ
3 กําหนดให้มีการตรวจสอบจากองค์กรภายนอกหลายองค์กร เช่น ป.ป.ช.,กกต.,จังหวัด และองค์กรวิชาชีพ ฯลฯ
58 ให้ข้าราชการต้องไปเพิ่มพูนความรู้ เข้าฝึกอบรมเป็นประจํา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 57 ประกอบ
59 มีการขึ้นเงินเดือนข้าราชการให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ
ตอบ 3 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักระบบค่าตอบแทนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้
1 การจําแนกกลุ่มข้าราชการเป็น 4 กลุ่มใหญ่ (Cluster) และกําหนดบัญชีเงินเดือนเป็น 4 บัญชี ซึ่งแต่ละบัญชีใช้เฉพาะสําหรับตําแหน่งแต่ละประเภท
2 กําหนดให้มีเงินเพิ่มใหม่อีก 2 ประเภท คือ ตามพื้นที่และตามสายงาน
3 กําหนดให้เพิ่มค่าตอบแทนบุคคลที่มีใบรับรองการมีวุฒิการศึกษาเพิ่มที่ตรงตามหน้าที่
4 กําหนดให้ข้าราชการทุกระดับต้องถูกประเมินผลการปฏิบัติราชการแบบ 360 องศา เพื่อนํามาใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน
5 การเบิกค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ มีการกําหนดให้ต้องเบิกยานอกบัญชีหลัก
6 มีการขึ้นเงินเดือนข้าราชการให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ ฯลฯ
60 การจําแนกกลุ่มข้าราชการเป็น 4 กลุ่ม (Cluster)
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายแนวคิดทฤษฎีประชาธิปไตยประเด็นใดซึ่งมีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
(1) Liberty
(2) Majority Rule
(3) Transparency
(4) Participation
(5) Accountability
61 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความโปร่งใส (Transparency) คือ การดําเนินการที่เปิดเผยตรงไปตรงมาประชาชนสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี เป็นธรรม ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงแนวคิดทฤษฎีประชาธิปไตยในประเด็นนี้ เช่น พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 เป็นต้น
62 ชาวบ้านคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทําให้ภาครัฐต้องชะลอโครงการ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วม (Participation) เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนจากทุกกลุ่มอาชีพและทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการนโยบายและการบริหาร เพื่อที่จะร่วมกันกําหนดทิศทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนหรือของประเทศ ตลอดจน มีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมฟังและการทํา ประชาพิจารณ์ การทําประชามติ การถอดถอนผู้ใช้อํานาจรัฐ การเสนอร่างกฎหมาย หรืออื่น ๆ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงแนวคิดทฤษฎีประชาธิปไตยในประเด็นนี้ เช่น ชาวบ้านคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทําให้ภาครัฐต้องชะลอโครงการ เป็นต้น
63 ในการดําเนินการนโยบายใด ๆ ต้องมีหน่วยงานผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) คือ ในการดําเนินการใด ๆ บุคคล หน่วยงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่และผลการกระทํา ของตนเองที่มีต่อสาธารณชน รวมทั้งมีการกําหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน
64 ศาลมีคําสั่งให้ลงโทษข้าราชการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับโครงการจํานําข้าว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปกครองโดยเสียงข้างมาก (Majority Rule) คือ การปกครองโดยใช้จํานวนเป็นเกณฑ์ตัดสินการออกกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหา หรือการตัดสินใจในนโยบายต่าง ๆ ซึ่งต้อง เป็นไปตามความเห็นชอบของเสียงข้างมาก ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงแนวคิดทฤษฎี ประชาธิปไตยในประเด็นนี้ เช่น ศาลมีคําสั่งให้ลงโทษข้าราชการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับโครงการจํานําข้าว เป็นต้น
65 โครงการสร้างเขื่อนต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เสรีภาพ (Liberty) คือ ความมีอิสระในการกระทําการใด ๆ สามารถดําเนินชีวิตได้ตามความปรารถนา แต่มีขอบเขตจํากัดว่าการกระทํานั้น ๆ จะต้องไม่ละเมิด กฎหมายหรือไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงแนวคิดทฤษฎี ประชาธิปไตยในประเด็นนี้ เช่น โครงการสร้างเขื่อนต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 66 – 70 อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องใด
(1) ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์
(2) โครงสร้างประชากร
(3) ปัจจัยระหว่างประเทศ
(4) ทรัพยากรธรรมชาติ
(5) นวัตกรรมเทคโนโลยี
66 ประเทศไทยถูกจัดลําดับให้เป็นประเทศที่มีการค้ามนุษย์ในระดับ Tier 2
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจัยระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลกระทบต่อการกําหนดนโยบายต่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือภาพลักษณ์ของประเทศ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมในเรื่องนี้ เช่น ประเทศไทยถูกจัดลําดับให้เป็นประเทศที่มีการค้ามนุษย์ในระดับ Tier 2 เป็นต้น
67 ในอนาคตต้องมีการเตรียมพร้อมรองรับการดูแลผู้สูงอายุ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) โครงสร้างประชากร เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับข้อมูลทางด้านจํานวนประชากรโครงสร้างทางอายุ (เช่น วัยเด็ก วัยรุ่น วัยกําลังศึกษา วัยทํางาน วัยเกษียณอายุวัยชรา) นอกจากนี้ยังรวมไปถึงสัดส่วนของเพศ (ชาย : หญิง) สัดส่วนของอายุ (เด็ก : วัยทํางาน : คนโสด : ผู้สูงอายุ) จํานวนผู้อยู่ในวัยแรงงาน อัตราการเจริญพันธุ์ การเกิด การตาย การอพยพย้ายถิ่น ตลอดจนจํานวนบุคคลในครอบครัวหนึ่ง ๆ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัย สิ่งแวดล้อมในเรื่องนี้ เช่น ในอนาคตต้องมีการเตรียมพร้อมรองรับการดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น
68 การออกกฎหมายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องคํานึงถึงความเป็นอยู่ของชาวมุสลิม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ (ได้แก่สถานที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ อาณาเขตติดต่อ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ฯลฯ) ภูมิอากาศ และองค์ประกอบ เชิงธรณีวิทยา รวมถึงภูมิหลังความเป็นมา หรือพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อ ความศรัทธา การยอมรับนับถือ ความสัมพันธ์ ความร่วมมือ ความขัดแย้ง หรือทักษะความชํานาญของแต่ละกลุ่มบุคคล เชื้อชาติเผ่าพันธุ์ หรือแต่ละประเทศ สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมในเรื่องนี้ เช่น การออกกฎหมาย ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องคํานึงถึงความเป็นอยู่ของชาวมุสลิม เป็นต้น
69 แนวโน้มจะใช้บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดแทนเงินสด
ตอบ 5 (คําบรรยาย) นวัตกรรมและเทคโนโลยี เป็นการนําเอาความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการเทคนิค ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ เพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการทํางานให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน รวมทั้งเพื่ออํานวย ความสะดวกหรือตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อม ในเรื่องนี้ เช่น การที่หน่วยราชการใช้ระบบการจัดการข้อมูลที่สแกนผ่านคอมพิวเตอร์แทนการใช้กระดาษ การใช้บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดแทนเงินสด เป็นต้น
70 การผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มจะสร้างจากพลังงานถ่านหิน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ ดิน สัตว์ป่า น้ำ เป็นต้น ถือเป็นปัจจัยที่มีความสําคัญต่อการดํารงชีวิต ของมนุษย์ การรู้จักนําเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้จะช่วยให้เกิดความอยู่ดีกินดีแก่ประชากร สร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่ประเทศชาติ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานการใช้อย่างชาญฉลาด ประหยัด และเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมในเรื่องนี้ เช่น การผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มจะสร้างจากพลังงานถ่านหิน การขุดเจาะบ่อน้ํามันน้อยลงเพราะปริมาณน้ำมันใต้ดินมีจํากัด การสัมปทานเหมืองแร่เพื่อการส่งออกลดลง เป็นต้น
71 ข้อใดคือขอบเขตของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
(1) 4P
(2) 3P
(3) 3R
(4) 4M
(5) BSC
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ขอบเขต/กระบวนการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย 3 R คือ
1 Recruit คือ การสรรหาคัดเลือก
2 Retain คือ การรักษาคนไว้ในองค์การ
3 Retire คือ การเลิกจ้าง
72 กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์สิ้นสุดที่เรื่องใด
(1) Reject
(2) Recruit
(3) Reused
(4) Retire
(5) Return
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ
73 กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์เริ่มต้นที่เรื่องใด
(1) Retain
(2) Recruit
(3) Reused
(4) Retire
(5) Return
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ
74 “อัตราการลาออกลดลง” เป็นเป้าหมายของเรื่องใด
(1) การจูงใจ
(2) การประเมินค่างาน
(3) การรักษาคนไว้ในองค์การ
(4) การสรรหา
(5) การเลื่อนตําแหน่ง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การรักษาคนไว้ในองค์การ (Retain) คือ การสร้างแรงจูงใจให้คนทํางานอยู่กับองค์การยาวนานหรือพยายามลดอัตราการลาออกของคนให้น้อยลง ทั้งนี้เพื่อ
1 คงความต่อเนื่องในการทํางาน
2 รักษาประสิทธิผลขององค์การ
3 ลดความสิ้นเปลืองในการสรรหาคัดเลือกและฝึกอบรม
4 รักษาชื่อเสียงและภาพลักษณ์ขององค์การ ฯลฯ
75 “พอเริ่มจะรู้งานก็ไปเสียแล้ว” ข้อความดังกล่าวสะท้อนเรื่องใด
(1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
(2) การฝึกอบรม
(3) การจูงใจ .
(4) การรักษาคนไว้ในองค์การ
(5) การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ
76 ข้อใดไม่ใช่เหตุผลของการรักษากําลังคน
(1) ลดความสิ้นเปลืองในการสรรหา
(2) คงความต่อเนื่องในการทํางาน
(3) รักษาชื่อเสียงองค์การ
(4) รักษาภาพลักษณ์องค์การ
(5) สร้างความจงรักภักดี
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ
77 ทําไมต้องรักษากําลังคนไว้กับองค์การ
(1) ลดความสิ้นเปลืองในการสรรหา
(2) คงความต่อเนื่องในการทํางาน
(3) ลดความสิ้นเปลืองในการฝึกอบรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ
78 การรักษากําลังคนไว้กับองค์การมีความสําคัญเพราะเหตุใด
(1) รักษาความต่อเนื่องในการทํางาน
(2) รักษาประสิทธิผลขององค์การ
(3) ความสะดวกในการประเมินผลการทํางาน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ
79 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสาเหตุที่คนเลือกอยู่กับองค์การ
(1) ชื่อเสียงขององค์การ
(2) ค่าตอบแทน
(3) วัฒนธรรมองค์การ
(4) ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
(5) เป็นไปได้ทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ค่าตอบแทนเป็นเพียงปัจจัยพื้นฐานที่สามารถจูงใจและรักษาคนให้อยู่กับองค์การ ดังนั้นการที่คนจะอยู่กับองค์การยาวนาน ไม่ลาออกไปหางานใหม่ทําจึงไม่ใช่เพราะ เรื่องค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียว แต่มีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น ความมั่นคงของงาน โอกาสและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล ชื่อเสียงขององค์การวัฒนธรรมองค์การ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น
80 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการรักษาคนไว้กับองค์การ
(1) ค่าตอบแทนเป็นเพียงปัจจัยพื้นฐาน
(2) ค่าตอบแทนที่สูงสามารถจูงใจและรักษาคน
(3) คนอยู่กับองค์การไม่ใช่เฉพาะเรื่องค่าตอบแทน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ
81 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการประเมินค่างาน
(1) การตีค่างาน ประสิทธิภาพในงาน กับค่าตอบแทนที่ควรจะจ่าย
(2) การประเมินคุณค่าของงานเทียบกับค่าตอบแทนที่ควรจะจ่าย
(3) การประเมินคุณค่าว่างานใดควรได้ค่าตอบแทนเท่าใด
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 75, (คําบรรยาย) การประเมินค่างาน หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ ตีค่างานประเมินหรือเปรียบเทียบคุณค่าของงานต่าง ๆ ในองค์การ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างงาน หรือประสิทธิภาพในงานกับค่าตอบแทนที่ควรจะจ่าย หรือเป็นการประเมินคุณค่าว่างานใด ควรได้ค่าตอบแทนเท่าใด ซึ่งแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินค่างาน ได้แก่ การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ใบพรรณนาหน้าที่งาน (Job Description) คุณสมบัติตําแหน่ง (Job Specification) และประเภทของตําแหน่งต่าง ๆ ในองค์การ
82 ข้อใดคือลักษณะของการประเมินค่างาน
(1) งานแบบเดียวกันมีค่าเท่ากันในทุก ๆ องค์การ
(2) ปัจจัยในการทํางานแบบเดียวกันมีค่าเท่ากันในทุก ๆ องค์การ
(3) การตีค่างานขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงานในแต่ละองค์การ
(4) ความรับผิดชอบแบบเดียวกัน การตีค่างานเหมือนกันในทุกองค์การ (5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การตีค่างานนั้นขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงานในแต่ละองค์การ ดังนั้นในองค์การต่าง ๆ ที่มีงานแบบเดียวกัน หรือมีปัจจัยในการทํางาน เช่น ทักษะ ความชํานาญ ความพยายามความรับผิดชอบ หรือสภาพการทํางานแบบเดียวกัน การตีค่างานอาจไม่เหมือนกันก็ได้
83 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการประเงินค่างาน
(1) งานแบบเดียวกันมีคาเท่ากันทุก ๆ องค์การ
(2) ปัจจัยในการทํางานแบบเดียวกันมีค่าเท่ากัน
(3) การตีค่างานขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงานในแต่ละองค์การ
(4) ความรับผิดชอบแบบเดียวกัน การตีค่างานเหมือนกัน
(5) ทักษะแบบเดียวกัน มีค่าเท่ากัน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ
84 ในการประเมินค่างานต้องใช้ข้อมูลจากที่ใด
(1) การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)
(2) ใบพรรณนาหน้าที่งาน (Job Description)
(3) คุณสมบัติตําแหน่ง (Job Specification)
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 43 และ
81 ประกอบ
85 ข้อใดคือแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินค่างาน
(1) ใบพรรณนาหน้าที่งาน (Job Description)
(2) คุณสมบัติตําแหน่ง (Job Specification)
(3) ประเภทของตําแหน่งต่าง ๆ ในองค์การ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 86 – 95 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Job Analysis
(2) Job Ranking
(3) Job Classification
(4). Point Rating
(5) Factor Comparison
86 เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยจัดลําดับความสําคัญ ความยากง่ายของงาน
ตอบ 2 หน้า 76 – 7 การเรียงลําดับ (Job Ranking) เป็นวิธีดั้งเดิมหรือเก่าแก่ที่สุด ซึ่งไม่เหมาะกับองค์การขนาดใหญ่หรือองค์การที่มีโครงสร้างซับซ้อน สาระสําคัญของวิธีนี้คือ การนําเอางานที่มีอยู่ ทั้งหมดมาจัดลําดับความสําคัญจากงานที่ง่ายที่สุดไปยังงานที่ยากที่สุด โดยใช้การเปรียบเทียบ เป็นคู่ ๆ แล้วตัดสินใจว่างานใดสําคัญหรือยากกว่า จึงเป็นวิธีที่มีข้อโต้แย้งในเรื่องมาตรฐานที่ใช้ตัดสินความสําคัญของงาน
87 เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยจัดกลุ่มตามลักษณะ/ปัจจัยของงาน ตอบ 3 หน้า 77 การจัดระดับงาน (Job Classification/Grading Method) เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยจัดกลุ่มตามลักษณะ/ปัจจัยของงาน กล่าวคือ งานที่มีลักษณะของความยากง่ายเหมือนกัน จัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งปัจจัยที่กําหนดความยากง่ายของงาน ได้แก่ ความรู้ความสามารถความชํานาญ ความรับผิดชอบ และสภาพการทํางาน
88 เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยตีค่าเป็นคะแนนตามแต่ละปัจจัยที่ใช้ ตอบ 4 หน้า 78, (คําบรรยาย) การให้คะแนน (Point Rating) เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยตีค่าเป็นคะแนนตามแต่ละปัจจัยที่ใช้ เช่น งานธุรการ ให้คะแนนการศึกษาร้อยละ 20 ประสบการณ์ ร้อยละ 25 ความยุ่งยากในงานร้อยละ 35 ความรับผิดชอบร้อยละ 15 และสภาพการทํางาน ร้อยละ 5 เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีที่สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน สํานักงาน ก.พ. นําไปใช้ในการประเมินค่างานของข้าราชการพลเรือนในปัจจุบัน
89 เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยใช้วิธีเชิงปริมาณเทียบปัจจัยในงาน ตอบ 5 หน้า 78 79 การเปรียบเทียบปัจจัย (Factor Comparison) เป็นวิธีการประเมินค่างานโดยใช้วิธีเชิงปริมาณเทียบปัจจัยในงาน ซึ่งเป็นวิธีที่ซับซ้อน ต้นทุนสูง แต่มีความน่าเชื่อถือกว่า วิธีการอื่น ๆ ข้อดีของวิธีนี้ คือ เหมาะสําหรับการกําหนดมาตรฐานเฉพาะงานของแต่ละองค์การและสามารถเปรียบเทียบค่างานแต่ละงานได้แน่นอนว่าแต่ละงานมีค่าตีเป็นเงินเท่าไร
90 เป็นวิธีที่ใช้ในการประเมินค่างานของข้าราชการพลเรือนในปัจจุบัน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ
91 ใช้เป็นข้อมูลประกอบในการประเมินค่างาน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43 และ 81 ประกอบ
92 เป็นวิธีการประเมินค่างานที่ไม่เหมาะกับองค์การขนาดใหญ่
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ
93 เป็นวิธีการประเมินค่างานที่ซับซ้อน ต้นทุนสูง แต่มีความน่าเชื่อถือ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 89 ประกอบ
94 เป็นวิธีการประเมินค่างานดั้งเดิม ที่ง่าย แต่มีข้อโต้แย้งเรื่องมาตรฐาน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ
95 สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน สํานักงาน ก.พ. นําไปใช้
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ
96 ข้อใดไม่ใช่ประเภทของสิ่งจูงใจในองค์การ
(1) Intrinsic Rewards
(2) Extrinsic Rewards
(3) Non-Financial Rewards
(4) Official Rewards
(5) Accomplishment
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประเภทของสิ่งจูงใจในองค์การ มีดังนี้
1 รางวัลที่เป็นตัวเงิน (Financial Rewards) หรือรางวัลภายนอก (Extrinsic Rewards) เช่น เงินเดือน/ค่าจ้าง ค่าคอมมิชชั่น โบนัส หุ้นปันผล เป็นต้น
2 รางวัลที่ไม่เป็นตัวเงิน (Non-Financial Rewards) หรือรางวัลภายใน (Intrinsic Rewards) เช่น ประกันชีวิต สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล วันหยุดพักผ่อนประจําปี ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ความสําเร็จในงาน (Accomplishment) เป็นต้น
97 ข้อใดไม่ใช่ Financial Rewards
(1) เงินเดือน
(2) ค่าคอมมิชชั่น
(3) โบนัส
(4) สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล
(5) หุ้นปันผล
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ
98 ข้อใดคือความยุติธรรมภายนอกของการบริหารเงินเดือนและค่าจ้าง (1) การปรับตามค่าแรงขั้นต่ำ
(2) การปรับตามค่าครองชีพ
(3) การปรับตามอัตราเงินเฟ้อ
(4) การสํารวจเงินเดือน/ค่าจ้าง
(5) ถูกทุกข้อ ตอบ 5 หน้า 82, (คําบรรยาย) ความยุติธรรมภายนอกของการบริหารเงินเดือนและค่าจ้าง หมายถึง เงินเดือนและค่าจ้างที่กําหนดจะต้องสอดคล้องกับการจ้างงานในตลาดแรงงาน ซึ่งพิจารณาจากค่าแรงขั้นต่ำ ค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ การสํารวจเงินเดือน/ค่าจ้างในตลาดแรงงาน เป็นต้น
99 ข้อใดคือปัจจัยที่ลดความไม่พึงพอใจของพนักงาน (Hygiene Factors)
(1) เงินเดือน/ค่าจ้าง
(2) โบนัส
(3) ประกันชีวิต
(4) รถประจําตําแหน่ง
(5) ห้องทํางานส่วนตัว
ตอบ 1 หน้า 156, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการทํางานตามทฤษฎีของ Herzberg ประกอบด้วย
1 ปัจจัยค้ำจุน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่ลดความไม่พึงพอใจของ พนักงานในการทํางาน เช่น เงินเดือน/ค่าจ้าง สภาพการทํางาน (เช่น โต๊ะทํางาน คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ) นโยบายและการบริหารงาน การควบคุมบังคับบัญชา เป็นต้น
2 ปัจจัยกระตุ้น (Motivator Factors) เป็นปัจจัยเพิ่มแรงจูงใจแก่พนักงานในการทํางาน เช่น การยอมรับนับถือ ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน สวัสดิการหรือประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ (เช่น โบนัส ประกันชีวิต รถประจําตําแหน่ง ห้องทํางานส่วนตัว) เป็นต้น
100 ข้อใดคือปัจจัยเพิ่มแรงจูงใจแก่พนักงาน (Motivation Factors)
(1) โต๊ะทํางาน
(2) ห้องทํางานส่วนตัว
(3) เครื่องปรับอากาศ
(4) คอมพิวเตอร์
(5) เงินเดือน/ค่าจ้าง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 99 ประกอบ