การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ตั้งแต่ข้อ 1 – 5 ปรากฏการณ์ต่อไปนี้อธิบายถึงหลักการตามแนวคิดประชาธิปไตยในเรื่องใด

(1) Liberty

(2) Majority Rule

(3) Transparency

(4) Participation

(5) Accountability

 

1 ในการดําเนินการนโยบายใด ๆ ต้องมีหน่วยงานผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) คือ บุคคล ตลอดจนผู้ประกอบอาชีพการงานต่าง ๆ จะต้องรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่และผลการกระทําของตนเอง รวมทั้ง องค์การหรือหน่วยงานที่ตนเองสังกัด ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการตามแนวคิดประชาธิปไตยในเรื่องนี้ เช่น ในการดําเนินการนโยบายใด ๆ ต้องมีหน่วยงานผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน เป็นต้น

2 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความโปร่งใส (Transparency) คือ การดําเนินการที่เปิดเผยตรงไปตรงมา ประชาชนสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี เป็นธรรม ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการตามแนวคิดประชาธิปไตยในเรื่องนี้ เช่น พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 ฯลฯ

3 ก่อนจะมีการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ชาวบ้านต้องสามารถให้ความเห็นและคัดค้านได้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วม (Participation) เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนจากทุกกลุ่มอาชีพและทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการนโยบายและการบริหาร เพื่อที่จะร่วมกันกําหนดทิศทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนหรือของประเทศ ตลอดจน มีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมฟังและการทํา ประชาพิจารณ์ การทําประชามติ การถอดถอนผู้ใช้อํานาจรัฐ การเสนอร่างกฎหมาย หรืออื่น ๆ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงผลลัพธ์ของการให้ประโยชน์คืนกลับต่อประชาชนในเรื่องนี้ เช่น การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐต้องเปิดโอกาสให้ชาวบ้านสามารถให้ความเห็นและคัดค้านได้ เป็นต้น

4 ในการดําเนินการตามโครงการประชารัฐ ชุมชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการผลิตน้ำดื่มของชุมชน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปกครองโดยเสียงข้างมาก (Majority Rule) คือ การปกครองโดยใช้จํานวนเป็นเกณฑ์ตัดสินการออกกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหา หรือการตัดสินใจในนโยบายต่าง ๆ ซึ่งต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของเสียงข้างมาก ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการตามแนวคิด ประชาธิปไตยในเรื่องนี้ เช่น การที่ชุมชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการผลิตน้ำดื่มของชุมชนตามโครงการประชารัฐที่รัฐบาลกําหนดไว้ เป็นต้น

5 โครงการสร้างเขื่อนต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

ตอบ 1 (คําบรรยาย) เสรีภาพ (Liberty) คือ ความมีอิสระในการกระทําการใด ๆ สามารถดําเนินชีวิตได้ตามความปรารถนา แต่มีขอบเขตจํากัดว่าการกระทํานั้น ๆ จะต้องไม่ละเมิดกฎหมายหรือไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการตามแนวคิดประชาธิปไตยในเรื่องนี้ เช่น โครงการสร้างเขื่อนต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 6 – 15 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักแนวคิดเรื่องใดตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

(1) หลักการเสริมประสิทธิภาพ

(2) หลักพิทักษ์คุณธรรม

(3) หลักระบบค่าตอบแทน

(4) หลักจริยธรรมและวินัย

(5) การกระจายอํานาจ

 

6 มีการออกกฎห้ามมิให้ข้าราชการไปดูงานในประเทศยุโรป

ตอบ 4 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักจริยธรรมและวินัยตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดสิ่งที่ข้าราชการต้องปฏิบัติและข้อห้ามการปฏิบัติออกจากกันเป็นคนละส่วนอย่างชัดเจน

2 กําหนดให้ส่วนราชการแต่ละแห่งเป็นผู้กําหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการเพื่อใช้บังคับเฉพาะข้าราชการในสังกัดส่วนราชการนั้นเท่านั้น

3 กําหนดให้ข้าราชการบางตําแหน่งต้องแจ้งทรัพย์สินก่อนและหลังรับตําแหน่ง ฯลฯ

7 การเบิกค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการมีการกําหนดให้ต้องเบิกยานอกบัญชีหลัก

ตอบ 3 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักระบบค่าตอบแทนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 การจําแนกกลุ่มอาชีพเป็น 4 กลุ่มใหญ่ (Cluster) และกําหนดบัญชีเงินเดือนเป็น 4 บัญชี ซึ่งแต่ละบัญชีใช้เฉพาะสําหรับตําแหน่งแต่ละประเภท

2 กําหนดให้มีเงินเพิ่มใหม่อีก 2 ประเภท คือ ตามพื้นที่และตามสายงาน

3 กําหนดให้เพิ่มค่าตอบแทนบุคคลที่มีใบรับรองการมีวุฒิการศึกษาเพิ่มที่ตรงตามหน้าที่

4 กําหนดให้ข้าราชการทุกระดับต้องถูกประเมินผลการปฏิบัติราชการแบบ 360 องศา เพื่อนํามาใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน

5 การเบิกค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการมีการกําหนดให้ต้องเบิกยานอกบัญชีหลัก

6 มีการขึ้นเงินเดือนข้าราชการให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ ฯลฯ

8 ตั้งคณะกรรมการสอบข้าราชการที่ลวนลามลูกจ้าง

ตอบ 2 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักพิทักษ์คุณธรรมตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดให้คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งตุลาการและเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร ทําหน้าที่พิจารณาเรื่องการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ของข้าราชการในกรณีที่ข้าราชการถูกสั่งลงโทษทางวินัยหรือได้รับการปฏิบัติจากผู้บังคับบัญชา (เช่น การแต่งตั้งโยกย้าย) อย่างไม่เป็นธรรม

2 การจัดให้มีศาลปกครองรับเรื่องด้านการบริหารงานบุคคล

3 การให้พนักงาน/ข้าราชการที่ถูกกล่าวหาต้องยุติหน้าที่หรือย้ายไปประจําส่วนราชการเป็นการชั่วคราว ฯลฯ

9 การให้ผู้กํากับการสถานีตํารวจในพื้นที่ต้องยุติหน้าที่และย้ายไปประจําส่วนกลางเป็นการชั่วคราว

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

10 การจําแนกกลุ่มข้าราชการเป็น 4 กลุ่ม (Cluster)

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

 

11 กําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมบรรจุแต่งตั้งข้าราชการได้ ตอบ 5 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักการกระจายอํานาจตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัด เป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการ เช่น อธิบดีมีอํานาจสั่งบรรจุแต่งตั้งผู้ชํานาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ, ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ช่วยงานในท้องถิ่น เป็นต้น

2 กําหนดให้หน่วยงานระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัด ดําเนินการจัดสอบแข่งขันเพื่อเลือกสรรบุคคลบรรจุเข้ารับราชการได้เอง

3 การให้อํานาจในการแต่งตั้งหรือโอนย้ายบุคลากรทั้งจากภายในและภายนอกกระทรวงได้ เช่น การแต่งตั้งโฆษก คสช. ไปดํารงตําแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

12 การกําหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกตรวจสอบจากองค์กรภายนอก เช่น สตง., ป.ป.ช.

ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักการเสริมประสิทธิภาพตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้

1 กําหนดให้ข้าราชการไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ

2 กําหนดให้มีแบบฟอร์มการทํารายงานหลัง/กลับจากการฝึกอบรมของหน่วยงานรัฐ

3 กําหนดให้มีการตรวจสอบจากองค์กรภายนอกหลายองค์กร เช่น ป.ป.ช., กกต., จังหวัด และองค์กรวิชาชีพ ฯลฯ

13 ให้ข้าราชการต้องไปเพิ่มพูนความรู้ เข้าฝึกอบรมเป็นประจําตลอดช่วงระยะเวลาที่รับราชการ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

14 มีการขึ้นเงินเดือนข้าราชการให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

15 มีนโยบายให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยและรองอธิการบดีแสดงบัญชีทรัพย์สินก่อนและหลังดํารงตําแหน่ง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

ข้อ 16 – 25 ต่อไปนี้อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมในเรื่องใดที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

(1) ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์

(2) โครงสร้างประชากร

(3) ปัจจัยระหว่างประเทศ

(4) ทรัพยากรธรรมชาติ

(5) นวัตกรรมเทคโนโลยี

 

16 ประเทศไทยถูกจัดลําดับให้เป็นประเทศที่มีการค้ามนุษย์ในระดับ Tier

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจัยระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลกระทบต่อการกําหนดนโยบายต่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือภาพลักษณ์ของประเทศ ตัวอย่างที่ อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น ประเทศไทยถูกจัดลําดับให้เป็นประเทศ ที่มีการค้ามนุษย์ในระดับ Tier 3 เวทีการประชุมสุดยอดผู้นําอาเซมครั้งที่ 9 ให้ความสําคัญ ในเรื่องการป้องกันมากกว่าปราบปรามการค้ามนุษย์ แรงงานพม่าต้องขึ้นทะเบียนแรงงาน ต่างด้าว เป็นต้น

17 ในอนาคตต้องมีการเตรียมพร้อมรองรับการดูแลผู้สูงอายุ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) โครงสร้างประชากร เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับข้อมูลทางด้านจํานวนประชากรโครงสร้างทางอายุ (เช่น วัยเด็ก วัยรุ่น วัยกําลังศึกษา วัยทํางาน วัยเกษียณอายุ วัยชรา เป็นต้น) นอกจากนี้ยังรวมไปถึงสัดส่วนของเพศ (ชาย : หญิง) สัดส่วนของอายุ เด็ก : วัยทํางาน : คนโสด : ผู้สูงอายุ) จํานวนผู้อยู่ในวัยแรงงาน อัตราการเจริญพันธุ์ การเกิด การตาย การอพยพย้ายถิ่น ตลอดจนจํานวนบุคคลในครอบครัวหนึ่ง ๆ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น ในอนาคตต้องมีการเตรียมพร้อมรองรับการดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น

18 การออกกฎหมายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องคํานึงถึงความเป็นอยู่ของชาวมุสลิม

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ ได้แก่ สถานที่ตั้งขนาดพื้นที่ อาณาเขตติดต่อ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ฯลฯ) ภูมิอากาศ และองค์ประกอบเชิงธรณีวิทยา รวมถึงภูมิหลังความเป็นมา หรือพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะมีอิทธิพลทําให้เกิดความเชื่อ ความศรัทธา การยอมรับนับถือ ความสัมพันธ์ ความร่วมมือ ความขัดแย้ง หรือทักษะความชํานาญ ของแต่ละกลุ่มบุคคล เชื้อชาติ/เผ่าพันธุ์ หรือแต่ละประเทศสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างที่ อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การออกกฎหมายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องคํานึงถึงความเป็นอยู่ของชาวมุสลิม เป็นต้น

19 แนวโน้มจะใช้บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดแทนเงินสด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นวัตกรรมและเทคโนโลยี เป็นการนําเอาความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ เพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการทํางานให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน รวมทั้งเพื่อ , อํานวยความสะดวกหรือตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัย สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น แนวโน้มจะใช้บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดแทนเงินสดหน่วยราชการใช้ระบบการจัดการข้อมูลที่สแกนผ่านคอมพิวเตอร์แทนการใช้กระดาษ เป็นต้น

20 การผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มจะผลิตจากพลังงานถ่านหิน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resource) เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว เพื่อที่จะหยุดการบุกรุกทําลายทรัพยากรธรรมชาติประเภทต่าง ๆ เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ ดิน สัตว์ป่า น้ำและช่วยดูแลรักษาทรัพยากรเหล่านี้ให้คงสภาพสมบูรณ์ดังเดิม ตัวอย่างที่อธิบายถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อม ของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มจะผลิตจากพลังงานถ่านหิน การขุดเจาะบ่อน้ำมันน้อยลงเพราะปริมาณน้ำมันใต้ดินมีจํากัด การสัมปทานเหมืองแร่เพื่อการส่งออกลดลง เป็นต้น

 

21 การขุดเจาะบ่อน้ำมันน้อยลงเพราะปริมาณน้ำมันใต้ดินมีจํากัด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

22 เวทีการประชุมสุดยอดผู้นําอาเซมครั้งที่ 9 ให้ความสําคัญในเรื่องการป้องกันมากกว่าปราบปรามการค้ามนุษย์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

23 หน่วยราชการใช้ระบบการจัดการข้อมูลที่สแกนผ่านคอมพิวเตอร์แทนการใช้กระดาษ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

24 แรงงานพม่าต้องขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

25 การสัมปทานเหมืองแร่เพื่อการส่งออกลดลง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 26 – 30 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องการลงทุนเรื่องใด

(1) การฟื้นฟูสุขภาพ

(2) การป้องกันโรค

(3) ความจําเป็นพื้นฐาน

(4) ความรู้ในฐานะพลเมือง

(5) การรักษาโรค

 

26 การประกาศให้สุนัขตามบ้านมารับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การป้องกันโรค หมายถึง พฤติกรรมที่มุ่งป้องกันสุขภาพไม่ให้เกิดความเจ็บป่วยหรือโรคต่าง ๆ เช่น การฉีดวัคซีน การตรวจสุขภาพประจําปี การดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรง อยู่เสมอ การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะหรือแพร่พันธุ์ของเชื้อโรค เช่น เรื่องน้ำดื่ม อาหาร อากาศ สารเคมี และการกําจัดสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย แมลงนําโรค ตัวอย่างที่อธิบายถึง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การประกาศให้สุนัขตามบ้านมารับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า เป็นต้น

27 การกําหนดหลักสูตรโตไปไม่โกงในระดับประถมศึกษา

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความรู้ในฐานะพลเมือง เป็นความรู้ที่จําเป็นสําหรับการดํารงชีวิตในฐานะพลเมืองของรัฐ เช่น ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายต่าง ๆ ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของรัฐ ความรู้ในขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคม ความรู้ในภาษา ความรู้ในอาชีพ ตัวอย่างที่อธิบาย ถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การกําหนดหลักสูตรโตไปไม่โกงในระดับประถมศึกษา เป็นต้น

28 การให้ขยายบริการรถเมล์ รถไฟฟรี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความจําเป็นพื้นฐาน เป็นความจําเป็นในปัจจัยพื้นฐานสําหรับการดํารงชีวิตของมนุษย์ ได้แก่ อากาศ น้ำ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การขยายบริการรถเมล์ รถไฟฟรี เป็นต้น

29 การขยายหน่วยบริการไตเทียมให้กับบริษัทเอกชนเป็นผู้ดําเนินการ ตอบ 1 (คําบรรยาย) การฟื้นฟูสุขภาพ หมายถึง กระบวนการดูแลสุขภาพและฟื้นฟูร่างกายและจิตใจภายหลังได้รับการรักษาพยาบาล รวมถึงพฤติกรรมดูแลสุขภาพภายหลังการเจ็บป่วย ตัวอย่าง ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การขยายหน่วยบริการไตเทียมให้กับบริษัทเอกชนเป็นผู้ดําเนินการ เป็นต้น

30 การทดลองให้ยาต้านไวรัสแก่ผู้ที่ติดเชื้อ HIV

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การรักษาโรค หมายถึง การให้การรักษาเมื่อเกิดการเจ็บป่วยหรือเยียวยาให้หายจากอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การทดลองให้ยาต้านไวรัสแก่ผู้ที่ติดเชื้อ HIV เป็นต้น

 

31 Personnel Administration หมายถึงข้อใด

(1) การบริหารรัฐกิจ

(2) การบริหารธุรกิจ

(3) การบริหารงานบุคคล

(4) การบริหารทรัพยากรมนุษย์

(5) การบริหารคน

ตอบ 3 หน้า 1 – 2, 189 การบริหารงานบุคคล (Personnel Administration) หมายถึง การบริหารงานที่เกี่ยวกับตัวบุคคลหรือตัวเจ้าหน้าที่ในองค์การ นับตั้งแต่การสรรหาคนทํางาน การรับสมัคร การสอบไล่ การคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การโอน การย้าย การฝึกอบรม การประเมินผล การปฏิบัติงาน การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนชั้นเลื่อนตําแหน่ง การกําหนดชั้นและ ตําแหน่งตามหน้าที่ปริมาณงานและความรับผิดชอบ การกําหนดอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดสวัสดิการ การปกครองบังคับบัญชาและการดําเนินการทางวินัย การให้พ้นจากงาน และการช่วยเหลืออํานวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนการให้สินน้ำใจ รางวัล บําเหน็จบํานาญหรือเงินสมนาคุณเมื่อออกจากงาน

32 ข้อใดเป็นคําอธิบายความหมายของ Personnel Administration

(1) เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล

(2) เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารระบบราชการ

(3) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาและคัดเลือกบุคคล

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 33 – 38 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) หลักการจ่ายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น

(2) หลักการจ้างงานตลอดชีพ

(3) หลักการตอบสนองความต้องการ 5 ชั้น 1

(4) หลักการบริหารภายใต้ปทัสถานกลุ่ม

(5) หลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ

 

33 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Max Weber ตอบ 2 (คําบรรยาย) ทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy) ของ Max Weber มีดังนี้

1 การมีแบบฟอร์มที่เป็นระเบียบเดียวกัน เช่น การกําหนดให้นักศึกษาปริญญาโททุกคนมีการตัดเสื้อรุ่นให้เป็นแบบฟอร์มเดียวกัน เป็นต้น

2 การมีเครื่องหมาย เครื่องแบบ หรือสีสัญลักษณ์ขององค์การ เช่น การกําหนดให้กํานันและผู้ใหญ่บ้านมีเครื่องแบบของราชการสวมใส่ เป็นต้น

3 มีการจําแนกตําแหน่งตามชั้นยศทางวิชาการ

4 ยึดกฎหมาย กฎระเบียบ วินัย และข้อบังคับในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด

5 มีลําดับชั้นการบังคับบัญชา ลําดับชั้นยศ และลําดับความรับผิดชอบ

6 หลักการจ้างงานตลอดชีพ เป็นอาชีพที่มั่นคง ผลตอบแทนด้านการเงินแน่นอนเมื่อปลดเกษียณแล้วก็จะได้รับบําเหน็จหรือบํานาญ ฯลฯ

34 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Frederick W. Taylor

ตอบ 1 (คําบรรยาย) แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ของFrederick W. Taylor มีดังนี้

1 การมุ่งแสวงหาวิธีการทํางานที่ดีที่สุด (One Best Way) ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั่นคือ การสังเกต การทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และสรุปผลตลอดจนการสร้างตัวแบบจําลอง (Model) ของสิ่งที่ทําการศึกษา

2 การสร้างแรงจูงใจในการทํางานให้กับพนักงานหรือผู้ใช้แรงงาน หรือผู้ประกอบการ โดยอาศัยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจเพียงประการเดียว นั่นคือ เน้นการจ่ายค่าจ้างหรือค่าตอบแทนในรูปตัวเงินเป็นหลัก หรือหลักการจ่ายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น ฯลฯ

35 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Henri Fayol  ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ ของ Henri Fayol มีดังนี้

1 การแบ่งงานกันทํา (Division of Work)

2 อํานาจและความรับผิดชอบ (Authority & Responsibility) 3 ความมีวินัย (Discipline)

4 เอกภาพของการบังคับบัญชา (Unity of Command)

5 เอกภาพของการอํานวยการ (Unity of Direction)

6 ผลประโยชน์ทั่วไปสําคัญกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว (General Interest)

7 การให้รางวัลตอบแทนแก่บุคลากร (Remuneration)

8 การรวมอํานาจที่เหมาะสม (Centralization)

9 สายการบังคับบัญชา (Hierarchy)

10 การจัดระเบียบ (Order)

11 หลักความยุติธรรม (Equity)

12 ความมั่นคงของคนทํางาน (Stability of Tenure of Personnel)

13 ความคิดริเริ่ม (Initiative)

14 ความรัก/ความสามัคคีของหมู่คณะ (Esprit de Corps)

36 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ George Elton Mayo

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ ของ George Elton Mayo มีดังนี้

1 เน้นหลักการทํางาน การฝึกอบรม และการพัฒนาบุคลากรแบบเป็นทีมหรือเป็นกลุ่ม เช่น การแต่งตั้งนายตํารวจไปรับผิดชอบคดีต้องใช้ทีมงานเดียวกัน

2 กลุ่มจะเป็นผู้กําหนดคุณลักษณะของสมาชิก มาตรฐานหรือบรรทัดฐาน แบบแผนหรือพิธีการของกลุ่ม ตลอดจนกําหนดผลผลิตของสมาชิกทั้งโดยการทบทวนมาตรฐานงานและการเตรียมแผนงาน

3 ความสัมพันธ์ในกลุ่มจะทําให้สมาชิกกลุ่มเกิดความพอใจในเป้าหมายขององค์การและวิธีการทํางานร่วมกัน จนนําไปสู่การกําหนดหรือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การให้เหมาะสมกับการดําเนินงานมากขึ้น เช่น ความพยายามปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ

4 หลักการบริหารภายใต้ปทัสถานกลุ่ม ปัจจัยด้านปทัสถานทางสังคมเป็นตัวกําหนดปริมาณผลผลิตของคนงานในองค์การ ไม่ใช่ปัจจัยด้านกายภาพและพฤติกรรมของคนงาน

37 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ A.H. Maslow ตอบ 3 หน้า 149 – 150 ทฤษฎีความต้องการตามลําดับขั้นของ Abraham Maslow มีดังนี้

1 ความต้องการทางกายภาพ

2 ความต้องการความปลอดภัย

3 ความต้องการ ความรักและการมีส่วนเป็นเจ้าของ

4 ความต้องการที่ได้รับการยกย่องนับถือ

5 ความต้องการความสําเร็จในชีวิตที่เกิดจากตนเอง

38 ข้อใดคือหลักการในการจูงใจคนงานของ Frederick W. Taylor

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

39 การจัดเรื่องแรงงานสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การประเมินผลการปฏิบัติงานของคนในองค์การ

(2) การวางแผนกําลังคน

(3) การจัดการเรื่องสหภาพแรงงาน

(4) การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน

(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แรงงานสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้ง 2 ฝ่ายนี้ได้มีผลกระทบต่อกระบวนการบริหาร กระบวนการดําเนินธุรกิจของนายจ้าง ซึ่งจะมีผลต่อการทํางานและความเป็นอยู่ของลูกจ้าง รวมทั้งมีผลต่อสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศชาติด้วย การจัดเรื่องแรงงานสัมพันธ์จึงเกี่ยวข้องกับการจัดการเรืองสหภาพแรงงาน

40 ข้อใดไม่จัดว่าเป็นบทบาทหน้าที่ของนักบริหารงานบุคคล

(1) คิดค้นวิธีการในการระบุตําแหน่ง

(2) กําหนดวิธีการในการดึงดูดความสนใจในการสมัครงาน

(3) ระบุความต้องการของตลาดเกี่ยวกับสินค้า

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3

ตอบ 3 (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของนักบริหารงานบุคคล ได้แก่

1 คิดค้นวิธีการในการระบุตําแหน่ง

2 กําหนดวิธีการในการดึงดูดความสนใจในการสมัครงาน เป็นต้น

 

41 ข้อใดไม่จัดเป็นภาระหน้าที่ของการจัดการบุคคล

(1) การกําหนดนโยบาย

(2) การวางแผนกําลังคน

(3) การวัดประเมิน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ภาระหน้าที่ของการจัดการบุคคล ได้แก่

1 การวางแผนกําลังคน

2 การสรรหาและคัดเลือก

3 การส่งเสริมทักษะแก่สมาชิกในองค์การ เป็นต้น

42 ข้อใดไม่จัดเป็นภาระหน้าที่ของการจัดการบุคคล

(1) การสรรหาและคัดเลือก

(2) การส่งเสริมทักษะแก่สมาชิกในองค์การ

(3) การพิจารณาความดี ความชอบของสมาชิก

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 43 – 50 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การสัมภาษณ์เบื้องต้น

(2) การให้กรอกใบสมัครงาน

(3) การทดสอบ

(4) การตรวจสอบคุณสมบัติพื้นฐาน

(5) การตรวจร่างกาย

43 การคัดเลือกในข้อใดเน้นการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อดูความเหมาะสม

ตอบ 1 หน้า 64 – 66, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview) เป็นการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อดูความเหมาะสมของผู้สมัครงาน ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมมากที่สุดในการคัดเลือก บุคคลเข้าทํางาน โดยวิธีการนี้จะช่วยให้เห็นว่าบุคคลนั้นมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการขององค์การหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการที่จะรับคนที่ขาดคุณสมบัติหรือ มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมเข้ามาตั้งแต่ต้น ทั้งนี้การสัมภาษณ์จะกระทําสําเร็จได้ต้องใช้ความเป็นศิลปะมากกว่าความเป็นศาสตร์

44 Application Blank หมายถึงข้อใด

ตอบ 2 หน้า 65 การให้กรอกใบสมัครงาน (Application Blank) เป็นการให้ผู้สมัครงานกรอกข้อมูลส่วนตัวลงในแบบฟอร์มใบสมัคร เช่น ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางาน เป็นต้น

45 การคัดเลือกในข้อใดเป็นวิธีการที่เป็นที่นิยมมากที่สุด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

46 ข้อใดจัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือก

ตอบ 5 หน้า 64, 68 การตรวจร่างกาย (Physical Check/Examination) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดเจนว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพื่อ ปฏิเสธคนที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน และเพื่อป้องกันการรับบุคคลที่มีโรคติดต่อต้องห้ามเข้ามาทํางานด้วย

47 ข้อใดจัดเป็นขั้นตอนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิเสธบุคคลที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

48 ข้อใดจัดเป็นขั้นตอนที่ตรวจสอบประวัติของผู้สมัครที่กรอกไว้ในใบสมัคร

ตอบ 4 หน้า 66 – 67 การตรวจสอบคุณสมบัติพื้นฐาน จัดเป็นขั้นตอนที่ตรวจสอบประวัติของผู้สมัครที่กรอกไว้ในใบสมัคร เพื่อที่จะช่วยให้ทราบว่าการทํางานต่าง ๆ ที่แล้วมา หรือ ข้อมูลต่าง ๆ ของผู้สมัครที่ได้กรอกไว้ในใบสมัคร ตลอดจนสิ่งที่ได้รับฟังจากการสัมภาษณ์ว่ามีความถูกต้อง

49 ข้อใดจัดเป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบความสามารถของพนักงานว่าตรงกับลักษะงานหรือไม่

ตอบ 3 หน้า 64 – 66, (คําบรรยาย) การทดสอบ (Employment Test) เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความสามารถของพนักงานว่าตรงกับลักษะงานหรือไม่ เช่น การทดสอบความถนัด ทักษะสติปัญญา (I.O.) การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น (E.Q.) เป็นต้น

50 Employment Test หมายถึงข้อใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

 

51 การฝึกอบรม หมายถึงข้อใด

(1) กรรมวิธีในการเพิ่มสมรรถภาพในการทํางาน

(2) กรรมวิธีในการส่งเสริม และสร้างแรงจูงใจในการทํางาน

(3) กรรมวิธีการลดขั้นตอนการทํางาน

(4) กรรมวิธีการรักษาบุคลากร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 120 Civil Serie Assembly #he United States and Canada ได้ให้ความหมายไว้ว่า การฝึกอบรม คือ กรรมวิธีในการที่จะเพิ่มสมรรถภาพในการทํางานทั้งในด้านความคิด การกระทํา ความสามารถ ความรู้ ความชํานาญ และการแสดงออก

ตั้งแต่ข้อ 52 – 60 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) การฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง (On-the-Job Training)

(2) การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training)

(3) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training)

(4) การฝึกอบรมแบบจําลอง (Simulation Training)

(5) การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training)

 

52 “On-the-Job Training” หมายถึงข้อใด

ตอบ 1 หน้า 126 – 127, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง (On-the– Job Training)เป็นการฝึกอบรมที่ให้พนักงานได้สัมผัสกับสิ่งที่ใช้ในการทํางานจริง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้แพร่หลาย ในทุกวงการธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นวิธีการฝึกอบรมที่ก่อให้เกิดความคุ้นเคยกับอุปกรณ์เครื่องมือ สถานที่ บรรยากาศ รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมในการประกอบอาชีพโดยตรง ซึ่งโดยทั่วไปมักใช้ สําหรับดําเนินการให้ลูกจ้างใหม่มีประสบการณ์การทํางานเหมือนกับลูกจ้างเก่า หรือฝึกอบรมซูเปอร์ไวเซอร์ให้มีประสบการณ์ไปทําหน้าที่นิเทศพนักงานได้เป็นอย่างดี

53 “Apprenticeship Training” หมายถึงข้อใด

ตอบ 3 หน้า 139 – 140, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprentice: hip Training) เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้รับความรู้และทักษะทางด้านช่างฝีมือในสาขาวิชาชีพ ต่าง ๆ จนกระทั่งมีฝีมือสามารถออกไปประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ

1 สมัครเป็นลูกมือช่างที่ตนสนใจ

2 สมัครเป็นช่างฝึกหัดโครงการช่างฝึกหัดทวิภาคีระหว่างสถาบันการศึกษากับสถานประกอบการ เช่น บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวะช่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้าเป็นต้น

54 “Orientation Training” หมายถึงข้อใด

ตอบ 2 หน้า 127 128 การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training) เป็นวิธีการที่มีความเหมาะสมและนิยมใช้กับพนักงานที่เข้าทํางานใหม่ โดยเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแนะนํา ให้พนักงานใหม่ได้รับความรู้ ข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์การหรือสถานที่ทํางาน เช่น ประวัติขององค์การ ผู้บริหารและระบบการบริหารงาน ความก้าวหน้าในงาน เงื่อนไข การจ้างงาน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดข้อสงสัยและความกังวลใจของพนักงานใหม่ให้หมดไป ตลอดจนช่วยให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์การได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่และเป็นประโยชน์ต่อองค์การในท้ายที่สุด

55 “Case Study Training” หมายถึงข้อใด

ตอบ 5 หน้า 142 การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training) เป็นวิธีการที่มีการกําหนดรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในองค์การ และให้ผู้เข้าฝึกอบรมทําการศึกษารายละเอียด ของข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมดในกรณีศึกษา พร้อมกับกําหนดปัญหาและนําเสนอแนวทางการแก้ ปัญหา แล้วเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนํามาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งถือเป็น.ทคนิคที่นิยมใช้ ในการฝึกอบรมผู้บริหาร ที่มุ่งเน้นให้เกิดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

56 การฝึกอบรมในข้อใดเน้นการฝึกอบรมความรู้ ทักษะในด้านฝีมือ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53 ประกอบ

57 การฝึกอบรมในข้อใดใช้กับพนักงานที่เข้าทํางานใหม่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ

58 การฝึกอบรมในข้อใดเป็นที่นิยมแพร่หลายมากที่สุด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

59 การฝึกอบรมในข้อใดให้พนักงานได้สัมผัสกับสิ่งที่ใช้ในการทํางานจริง ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

60 การฝึกอบรมในข้อใดมุ่งเน้นให้เกิดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay)

(2) สภาพตลาดแรงงาน (Condition of Labor Market)

(3) ขึ้นอยู่กับอิทธิพลอํานาจการต่อรอง (Collective Bargaining)

(4) อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate)

(5) ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพ (Cost of Living)

 

61 ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

ตอบ 5 หน้า 85, (คําบรรยาย) ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพหรือค่าครองชีพ (Cost of Living) หมายถึง การจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างพอที่จะใช้จ่ายให้สามารถ ดํารงชีวิตอยู่ได้ด้วยความราบรื่นหรือพอกินพอใช้ โดยมีการปรับอัตราค่าจ้างให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าครองชีพ เช่น ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้ เป็นต้น

62 รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ

63 สหภาพแรงงานรวมตัวกันเหนียวแน่นก็มีพลังอํานาจกําหนดค่าจ้าง ตอบ 3 หน้า 86, (คําบรรยาย) อํานาจการต่อรอง (Collective Bargaining) หมายถึง อํานาจในการเจรจาต่อรองของแต่ละฝ่ายระหว่างสหภาพแรงงานกับนายจ้างเกี่ยวกับการกําหนดค่าจ้าง และเงื่อนไขการจ้างหรือการทํางาน ซึ่งหากสหภาพแรงงานรวมตัวกันได้เหนียวแน่นมากเท่าไร พลังอํานาจการเจรจาต่อรองในการกําหนดค่าจ้างก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น

64 ปีนี้ธนาคารบางแห่งจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 16 เดือน

ตอบ 1 หน้า 85 – 86, (คําบรรยาย) ปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay) หมายถึง ความสามารถของนายจ้างที่จะจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งความสามารถในการจ่ายของแต่ละบริษัท มักจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ ความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันทางอุตสาหกรรม ตลอดจนความมั่นคงที่ปรากฏตามลักษณะภูมิประเทศที่หน่วยงานนั้นตั้งอยู่ เช่น ปีนี้ธนาคารบางแห่งจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 16 เดือน เป็นต้น

65 บริษัทหลายแห่งได้กําหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ 3 วุฒิปริญญาตรี

ตอบ 4 หน้า 84 85, (คําบรรยาย) อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate) หมายถึง อัตราค่าจ้างในสังคมที่เขาจ้างกันทั่ว ๆ ไป หรืออัตราค่าจ้างขององค์การเราที่จ่ายตามอัตราค่าจ้างขององค์การ อื่น ๆ ที่จ่ายให้แก่พนักงานที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน หรือทํางานประเภทเดียวกัน เช่น บริษัท หลายแห่งได้กําหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับอัตราเงินเดือนข้าราชการ ระดับ 3 หรือระดับปฏิบัติการ วุฒิปริญญาตรี เป็นต้น .

ตั้งแต่ข้อ 66 – 70 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ใบสมัครงาน Application Blank)

(2) การสัมภาษณ์ (Interview)

(3) การตรวจร่างกาย (Physical Check)

(4) การทดสอบ (Employment Test)

(5) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview)

 

66 เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้มากที่สุด

ตอบ 2 หน้า 64, 66, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่นิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่ในอดีต เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์หรือ ผู้สมัครได้พูดคุยและซักถามข้อมูลของกันและกัน จึงทําให้สามารถที่จะวัดพฤติกรรม บุคลิกภาพ ประสบการณ์ วิสัยทัศน์ อารมณ์และจิตใจของผู้สมัครได้เป็นอย่างดี

67 เป็นเครื่องมือที่วัดพฤติกรรม วัดบุคลิกภาพ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ

68 การสอบถามคุณสมบัติเฉพาะและคุณสมบัติทั่วไป

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

69 เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

70 เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความรู้

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 71 – 75 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน

(2) ผู้ใต้บังคับบัญชา

(3) ประเมินตนเอง

(4) ผู้บังคับบัญชา

(5) เพื่อนร่วมงาน

 

71 มหาวิทยาลัยให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละภาค

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ให้บุคคลภายนอกองค์การเป็นผู้ประเมิน เช่น มหาวิทยาลัยให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละภาคการศึกษา, การประเมินผลการทํางานของรัฐบาลโดยประชาชน, บริษัทโตโยต้าให้ผู้มาติดต่อ ซ่อมรถเป็นผู้ประเมินผลการให้บริการของพนักงาน เป็นต้น

72 การประเมินผลการทํางานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ต้องทําในสายการบังคับบัญชา ทั้งนี้เพราะผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา จึงเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและรู้เรื่องเกี่ยวกับบุคลากรที่อยู่ในบังคับบัญชาได้ดีที่สุด ซึ่งวิธีการนี้นิยมใช้กันมาก ในระบบราชการไทย เช่น การประเมินผลการทํางานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน เป็นต้น

73 ผู้ประเมินบางคนมักไม่กล้าประเมินหรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินเกินความเป็นจริง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่มีข้อดี คือ สามารถให้ภาพพจน์เกี่ยวกับตัวผู้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีว่าผู้บังคับบัญชามีความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างไร เคยมอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือไม่ แต่มีข้อเสีย คือ ผู้ใต้บังคับบัญชาบางคนมักไม่กล้าประเมินผู้บังคับบัญชา หรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินผู้บังคับบัญชาออกมาดีเกินความเป็นจริง

74 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การให้เพื่อนร่วมงานเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ให้เพื่อนร่วมงานที่อยู่ในระดับเดียวกันต่างประเมินซึ่งกันและกัน โดยมักจะใช้กับกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่มีความคุ้นเคยกัน ทํางานร่วมกันมานานพอสมควร และงานที่ทําจะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกรรมาธิการ, สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดยลงคะแนนลับ เป็นต้น

75 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกรรมาธิการ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 76 – 85 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)

(2) การออกแบบงาน (Job Design)

(3) การประเมินค่างาน (Job Evaluation)

(4) การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification)

(5) การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)

 

76 จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน (Equal Work for Equal Pay)

ตอบ 3 หน้า 16, 75, 81 การประเมินค่างาน (Job Evaluation) คือ กระบวนการที่ทําขึ้นเพื่อเปรียบเทียบค่าของงานต่าง ๆ ในองค์การ เพื่อนํามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกําหนด ค่าตอบแทนที่ยุติธรรมกับงานตามหลักการที่ว่า “จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน” (Equal Work for Equal Pay) ซึ่งวิธีนี้จะทําให้เกิดความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) ในการกําหนดค่าจ้างและผลตอบแทนให้แก่บุคลากรทุกคนที่อยู่ภายในองค์การเดียวกัน

77 สามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางาน ตอบ 2 หน้า 16 การออกแบบงาน Job Design) ที่ดินอกจากจะทําให้บุคคลทํางานได้อย่างเต็มความสามารถแล้ว ยังสามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการ ทํางานให้น้อยลงได้อีกด้วย

78 เอาไปใช้ออกแบบงาน (Job Design)

ตอบ 5 หน้า 14 – 17 ประโยชน์ของการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ด้านทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้

1 ใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบงาน (Job Design)

2 ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์

3 ใช้เป็นข้อมูลในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

4 ใช้เป็นข้อมูลในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร

5 ใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลการทํางาน

6 ใช้เป็นข้อมูลในการกําหนดค่าตอบแทน ฯลฯ

79 ข้อมูลที่ต้องใช้ทําคือ กิจกรรมของงาน พฤติกรรมของบุคคล เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์มาตรฐานการปฏิบัติงาน และเนื้อหาของงาน

ตอบ 5 หน้า 13 – 14 ข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) มีดังนี้

1 กิจกรรมของงาน (Work Activities)

2 พฤติกรรมของบุคคล (Human Behavior)

3 เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องช่วยสนับสนุนการทํางาน (Machine, Tool, Equipment and Work Aids Used)

4 มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance Standards)

5 เนื้อหาของงาน Job Context)

6 ความต้องการบุคลากร (Personnel Requirements)

80 ความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) เกิดจาก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

 

81 ได้ข้อมูลมาจากความรู้ ทักษะ และความสามารถ

ตอบ 4 หน้า 12 – 13, (คําบรรยาย) การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification)เป็นรายละเอียดของคุณสมบัติเฉพาะของพนักงานซึ่งใช้ในการทํางานเฉพาะอย่างเพื่อให้งาน ประสบความสําเร็จ เช่น การกําหนดให้ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตํารวจต้องจบปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่นํามาใช้ในการกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงานได้มาจากความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และความสามารถ (Abilities)

82 การอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง ระบุหน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง

ตอบ 1 หน้า 12 – 13 คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description) เป็นการอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง โดยระบุชื่อตําแหน่งงาน คําสรุปเกี่ยวกับงาน หน้าที่งานหลักหน้าที่งานรอง และความสัมพันธ์กับงานอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลในคําบรรยายลักษณะงานได้มาจากงาน (Task) ความรับผิดชอบ (Responsibilities) และหน้าที่ (Duties)

83 เป็นกระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงาน

ตอบ 5 หน้า 11 ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ กล่าวว่า การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) หมายถึง กระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกระบวนการนี้จะทําให้ฝ่ายจัดการทราบว่าจะต้องใช้ความรู้ความสามารถ ความชํานาญ และความรับผิดชอบอย่างไร ผู้ปฏิบัติงานจึงจะทํางานนั้นให้สําเร็จลงได้

84 ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตํารวจต้องจบปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 81 ประกอบ

85 ได้ข้อมูลมาจากงาน ความรับผิดชอบ และหน้าที่

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 86 – 90 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์

(2) พ.ร.บ. เงินทดแทน

(3) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน

(4) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน

(5) พ.ร.บ. ประกันสังคม

 

86 ค่าชดเชยกรณีออกจากงาน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายที่กําหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้างงานที่ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติต่อลูกจ้าง และรัฐให้ความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยสาระสําคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ได้แก่ การกําหนดวันและเวลาทํางาน วันหยุด วันลา การพักงาน อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การทํางานล่วงเวลา ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานและค่าล่วงเวลา ในวันหยุด การใช้แรงงานหญิงและแรงงานเด็ก การจ่ายค่าชดเชยกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานหรือเลิกจ้าง เป็นต้น

87 การเบิกเงินกรณีเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทํางาน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ได้บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้นเพื่อทําหน้าที่จ่ายเงินทดแทนแทนนายจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายอันเนื่องมาจากการทํางาน โดยกําหนดให้นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงิน

ทดแทนแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่ลูกจ้างและรัฐบาลไม่ต้องจ่าย

88 ผู้ประกันตนเบิกเงินค่าคลอดบุตร

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 กําหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมในกรณีดังต่อไปนี้

1 กรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายอันมิใช่เนื่องมาจากการทํางาน

2 กรณีคลอดบุตร

3 กรณีสงเคราะห์บุตร

4 กรณีชราภาพ

5 กรณีว่างงาน

89 สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง และสภาองค์การนายจ้าง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นกฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับกับวิสาหกิจเอกชนในปัจจุบัน โดยจะกําหนดสาระสําคัญเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง สภาองค์การนายจ้าง สภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การเรียกร้องให้มีการกําหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สภาพการจ้าง ข้อพิพาทแรงงาน การเจรจาต่อรอง การปิดงานและการนัดหยุดงาน ตลอดจนการกระทําอันไม่เป็นธรรม

90 ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในกรุงเทพฯ วันละ 300 บาท

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 91 – 95 สะท้อนถึงหลักการในการประเมินผลการปฏิบัติงานในเรื่องใด

(1) กําหนดแบบและลักษณะคนที่ประเมิน

(2) กําหนดตัวผู้ประเมิน

(3) การนําผลที่ได้จากการประเมินไปใช้

(4) กําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน

(5) กําหนดวิธีการประเมิน

 

91 ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติให้นโยบายแก่ข้าราชการตํารวจให้นายตํารวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทํางานถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน

ตอบ 5 หน้า 166 – 167, (คําบรรยาย) การกําหนดวิธีการประเมินมีหลายวิธีแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ ดังนี้

1 การประเมินคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ความสามารถในการตัดสินใจ ความคิดริเริ่มการปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่น ฯลฯ

2 การประเมินพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ตั้งใจทํางานหรือปฏิบัติหน้าที่ รอบคอบ รวดเร็ว ว่องไว เฉื่อยชา อดทน สุภาพ หรือเจ้าโทสะ ฯลฯ เช่น รักษาการผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ให้นโยบายแก่ข้าราชการตํารวจให้นายตํารวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทํางาน ถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน เป็นต้น

92 การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนกระทําปีละ 2 ครั้ง

ตอบ 3 หน้า 167, (คําบรรยาย) การนําผลที่ได้จากการประเมินไปใช้ เป็นการนําผลการวิเคราะห์รายงานจากแบบประเมินผลที่ผู้ประเมินได้ประเมินไว้ไปใช้ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับ ผู้ที่ถูกประเมินผู้นั้นตลอดเวลาที่ยังปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงาน เช่น การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนกระทําปีละ 2 ครั้ง เป็นต้น

93 คณบดีคณะรัฐศาสตร์ทําหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงให้นักศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์

ตอบ 4 หน้า 163 – 164, (คําบรรยาย) การกําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน เป็นการบอกถึงเหตุผลและความจําเป็นของการประเมินผลว่ามีการประเมินไปเพื่ออะไร โดยจะต้องชี้แจงหรือแจ้งให้ ผู้ถูกประเมินและผู้ทําการประเมินทราบถึงหลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์ของการประเมิน ก่อนทําการประเมิน เช่น คณบดีคณะรัฐศาสตร์ทําหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์ เป็นต้น

94 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน

ตอบ 2 หน้า 166, (คําบรรยาย) การกําหนดตัวผู้ประเมิน เป็นการกําหนดตัวผู้ที่จะทําการประเมินให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ถูกประเมิน ซึ่งปกติตัวผู้ประเมินมักจะได้แก่ ผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้างาน ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกน้อง ลูกค้า ตนเอง และเพื่อนร่วมงาน เช่น สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดยลงคะแนนลับ เป็นต้น

95 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 94 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 96 – 100 เป็นปรากฏการณ์ที่สอดคล้องกับการรักษาวินัยให้กับข้าราชการในเรื่องใด

(1) การดําเนินการทางวินัย

(2) การเยียวยา

(3) การส่งเสริมให้มีวินัย

(4) การดูแล

(5) การป้องกัน

 

96 การให้ผู้ที่กระทําผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทําความสะอาดตู้โทรศัพท์

ตอบ 2 หน้า 175 – 176, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การเยียวยา” หมายถึง การแก้ไขและบํารุงหรือส่งเสริมให้มีวินัยดีขึ้น โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้อง เยียวยาแก้ไขให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีวินัยดีขึ้น เช่น การให้ผู้ที่กระทําผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทําความสะอาดตู้โทรศัพท์ เป็นต้น

97 ผู้กํากับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่

ตอบ 5 หน้า 175, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การป้องกัน” หมายถึง การกระทําในทางที่จะขจัดเหตุที่ทําให้ข้าราชการกระทําผิดวินัย ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้อง คอยระมัดระวังมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทําผิดวินัย โดยอาจใช้วิธีการขู่ผู้ที่จะกระทําผิดวินัยให้เกิดความกลัว เช่น ผู้กํากับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่ เป็นต้น

98 การเข้าตรวจเยี่ยมกําลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้าจะช่วยให้ทหารอยู่ในระเบียบการแต่งกายและรักษาสถานที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อยู่เสมอ

ตอบ 4 หน้า 174 – 175, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การดูแล” หมายถึงการสอดส่องกํากับตรวจตรา โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ให้อยู่ในระเบียบวินัย เช่น ผู้กํากับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทํางานถูกต้องตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน หรือการเข้าตรวจเยี่ยมกําลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้า เป็นต้น

99 ผู้กํากับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทํางานถูกต้องตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 98 ประกอบ

100 อธิบดีกรมสรรพากรถูกปลดออกจากราชการฐานละเลยต่อหน้าที่

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การดําเนินการทางวินัยในขั้นตอนการสั่งลงโทษ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

1 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด

2 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบ การพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก

Advertisement