การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2303 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1 ข้อความใดต่อไปนี้เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ
(1) กรุ๊ปทัวร์หลอกให้ลูกทัวร์ชาวจีนซื้อสินค้าด้อยคุณภาพ
(2) ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รุดเยี่ยมชุมชนคนไร้บ้าน
(3) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐแจกของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
(4) บัณฑิตรัฐศาสตร์ นําประสบการณ์งานบริษัทที่เคยทําไปทําเกษตรที่บ้านเกิดในยุคดิจิตอล
(5) คนไทยนิยมกินเจมากขึ้นในปัจจุบัน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) ในภาครัฐ เป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องดูแลคนในด้านต่าง ๆ โดยให้ความสําคัญกับเรื่องการศึกษา สาธารณสุข ความมั่นคง และคุณภาพชีวิตมนุษย์ตั้งแต่ก่อนปฏิสนธิ (ก่อนเกิด) จนถึงหลังการตาย ตัวอย่างที่อธิบาย ความหมายในเรื่องนี้ เช่น ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รุดเยี่ยมชุมชนคนไร้บ้าน เป็นต้น
2 ข้อใดต่อไปนี้เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคเอกชน
(1) กรุ๊ปทัวร์หลอกให้ลูกทัวร์ชาวจีนซื้อสินค้าด้อยคุณภาพ
(2) ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รุดเยี่ยมชุมชนคนไร้บ้าน
(3) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐแจกของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
(4) บัณฑิตรัฐศาสตร์ นําประสบการณ์งานบริษัทที่เคยทําไปทําเกษตรที่บ้านเกิดในยุคดิจิตอล
(5) คนไทยนิยมกินเจมากขึ้นในปัจจุบัน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคธุรกิจเอกชน เป็นภาระหน้าที่ขององค์การที่จะพัฒนาคนโดยให้ความสําคัญกับเรื่องการฝึกอบรมที่มุ่งเสริมเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ และ ความสามารถในการทํางานให้แก่พนักงาน เพื่อพัฒนาให้พนักงานสามารถปรับตัวให้สอดคล้อง กับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปในการทํางานได้ง่ายขึ้น เตรียมพร้อมกับการเติบโตไปตามสายอาชีพ และมีศักยภาพที่จะสร้างสรรค์ผลงานตามเป้าหมายและกลยุทธ์ที่องค์การต้องการ ตัวอย่างที่อธิบายความหมายในเรื่องนี้ เช่น กรุ๊ปทัวร์หลอกให้ลูกทัวร์ชาวจีนซื้อสินค้าด้อยคุณภาพ เป็นต้น
3 ที่ประชุมมหาเถรสมาคมมีมติต่ออายุกรรมการมหาเถร 8 รูป อีก 2 ปี เป็นประเด็นในเรื่องใด
(1) ศีลธรรม
(2) จริยธรรม
(3) คุณธรรม
(4) จรรยาบรรณ
(5) วัฒนธรรม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จริยธรรม (Ethic) คือ มาตรฐานของวิชาชีพ หรือหลักความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละสาขาวิชาชีพกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก ซึ่งอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างที่อธิบายถึงหลักการในเรื่องนี้ เช่น ที่ประชุมมหาเถรสมาคมมีมติต่ออายุกรรมการมหาเถร 8 รูป อีก 2 ปี เป็นต้น
4 จํานวนประชากรชาวไทยผู้มีสิทธิและลงทะเบียนใช้สิทธิตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีจํานวนประมาณเท่าใด
(1) 8 ล้านคน
(2) 10 ล้านคน
(3) 28 ล้านคน
(4) 38 ล้านคน
(5) 48 ล้านคน
ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นหลักประกันสุขภาพสําหรับประชากรชาวไทยที่ไม่ได้รับสิทธิประกันสังคม สิทธิสวัสดิการข้าราชการ สิทธิสวัสดิการรัฐวิสาหกิจ หรือสิทธิอื่น ๆ จากรัฐ ให้ได้รับบริการสาธารณสุขทั้งการเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัย การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จําเป็นต่อสุขภาพและการดํารงชีวิตตาม พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยปัจจุบันมีประชากรชาวไทยผู้มีสิทธิและลงทะเบียนใช้สิทธิตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประมาณ 48 ล้านคน
5 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายและเสนอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด คือ
(1) คดียาเสพติดไม่กําหนดอายุความ
(2) มีมาตรการประหารชีวิตผู้ค้ารายใหญ่
(3) เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย
(4) สร้างมาตรฐานการบําบัด
(5) แยกผู้ต้องขังคดียาเสพติดออกจากผู้ต้องขังโทษอื่น ๆ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอนโยบายให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดโดยการเปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย ซึ่งจะเริ่มดําเนินการในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
6 ข้อใดต่อไปนี้เป็นจุดแข็งซึ่งกัมพูชามีมากกว่าไทยโดยเฉพาะในยุคปี พ.ศ. 2570
(1) เป็นแบตเตอรี่ของกลุ่มประเทศอาเซียน
(2) มีจํานวนผู้สูงอายุมีความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากกว่า
(3) มีจํานวนแรงงานที่เชี่ยวชาญอาชีวะมากกว่า
(4) มีจํานวนประชากรวัยต่ำกว่า 35 ปีมากกว่าไทย
(5) มีจํานวนกําลังทหารมากกว่าไทย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) จุดแข็งของประเทศกัมพูชา คือ การมีจํานวนประชากรวัยหนุ่มสาวอายุต่ำกว่า 35 ปี มากกว่าประเทศไทยโดยเฉพาะในยุคปี พ.ศ. 2570 ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศไทยที่มีผู้สูงอายุจํานวนมากและจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2570
7 สํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาได้ดําเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นประจําปี 2559 ด้วยวิธีใด
(1) นําอาจารย์ในมหาวิทยาลัยไปช่วยแนะแนวการสอบเข้าอุดมศึกษา
(2) เพิ่มมหาวิทยาลัยให้เป็นพี่เลี้ยงโรงเรียน
(3) นํานักศึกษามหาวิทยาลัยอาสาพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่น
(4) ตั้งค่ายอาสาร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยกับโรงเรียน
(5) ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ดําเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นประจําปี 2559 โดยให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ทั่วประเทศทําหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ให้แก่โรงเรียนในท้องถิ่นโดยมุ่งเน้นโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาส ทั้งนี้เพื่อพัฒนา และยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่เหมาะสม และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ
8 “ดรุณบรรณาลัย” เป็นชื่อที่สมเด็จพระเทพฯ ทรงพระราชทานให้เป็นศูนย์กลางมีเป้าหมายอะไร
(1) ส่งเสริมอาชีพเด็กวัยเรียน
(2) ศูนย์รวมอาสาสมัครของนักเรียนอาชีวะ
(3) ศูนย์รวมฝึกช่างของโรงเรียนพระดาบส
(4) เป็นห้องสมุดสําหรับเด็กปฐมวัย
(5) เป็นที่ปฏิบัติงานของนักเรียนจิตอาสาสาธารณะ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) “ดรุณบรรณาลัย” เป็นชื่อห้องสมุดสําหรับเด็กปฐมวัยซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชทานชื่อเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 โดยห้องสมุด แห่งนี้เป็นห้องสมุดสําหรับเด็กปฐมวัยแห่งแรกที่จะให้บริการส่งเสริมการอ่านแก่เด็กปฐมวัยปกติและกลุ่มพิเศษ ซึ่งจัดสร้างขึ้นโดยมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กและสถาบันราชานุกูล
9 ดานังเกมส์ ณ ประเทศเวียดนาม ประเทศใดได้เหรียญทองมากที่สุด
(1) ไทย
(2) กัมพูชา
(3) มาเลเซีย
(4) เวียดนาม
(5) เมียนมาร์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแข่งขันกีฬาเอเชียนบีชเกมส์ครั้งที่ 5 หรือดานังเกมส์ ที่เมืองดานังประเทศเวียดนาม เป็นการแข่งขันกีฬาชายหาดระดับทวีปเอเชีย ซึ่งจัดขึ้นโดยสภาโอลิมปิก แห่งเอเซียระหว่างวันที่ 24 กันยายน – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยมีประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน ทั้งหมด 43 ประเทศ ซึ่งประเทศที่ได้เหรียญทองมากที่สุด คือ เวียดนาม รองลงมาคือ ไทย และจีน ตามลําดับ
10 เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในปัจจุบันนี้ คือใคร
(1) นางเบญจวรรณ สร่างนิทร
(2) นางชุติมา หาญเผชิญ
(3) นางเมธินี เทพมณี
(4) นายปรีชา วัชราภัย
(5) นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในปัจจุบัน คือ นางเมธินี เทพมณี ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ตั้งแต่ข้อ 11 – 15 ต่อไปนี้สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องใด
(1) ความกลัวตาย
(2) ความต้องการ
(3) สัญชาตญาณ
(4) แรงขับทางเพศ
(5) ความเชื่อ
11 ตํารวจจับกุมเด็กแว้น 72 คน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แรงขับทางเพศ (Sex Drive) เป็นแรงขับที่ผลักดันให้บุคคลเริ่มสนใจเพศตรงข้ามและสนใจในกิจกรรมแห่งการสร้างสัมพันธภาพ อันนําไปสู่การแสดงออกถึงพฤติกรรมต่าง ๆตัวอย่างที่อธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น ตํารวจจับกุมเด็กแว้น 72 คน เป็นต้น
12 กรมอุทยานแจกผ้ายันต์รุ่นรักธรรมชาติเพื่อชีวิต
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความเชื่อ เป็นความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมที่ยึดมั่นและยอมรับในสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งอาจจะมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลก็ได้ โดยจะส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลหรือ กลุ่มชนที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ตัวอย่างที่อธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น กรมอุทยานแจกผ้ายันต์รุ่นรักธรรมชาติเพื่อชีวิต เป็นต้น
13 กรมพัฒนาฝีมือแรงงานพัฒนาฝีมือแรงงานไทยเพื่อรายได้เพิ่มขึ้น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความต้องการ (Needs) เป็นความต้องการในสิ่งที่จําเป็นต้องมีสําหรับการดํารงชีวิตของมนุษย์ ได้แก่ ความต้องการปัจจัยสี่หรือปัจจัยพื้นฐาน เช่น อากาศ น้ำ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค การมีรายได้ที่เพียงพอต่อการดํารงชีพ ตลอดจนความมั่นคงปลอดภัย ในชีวิต ทรัพย์สิน และหน้าที่การงาน ตัวอย่างที่อธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงานพัฒนาฝีมือแรงงานไทยเพื่อรายได้เพิ่มขึ้น เป็นต้น
14 หมอตําแยพยายามตบก้นให้เด็กเกิดใหม่ร้องหลังคลอดจากครรภ์มารดา
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สัญชาตญาณ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยอัตโนมัติเมื่อมีสิ่งเร้าเข้ามากระตุ้น หรือสิ่งใดก็ตามที่ติดตัวมาแต่กําเนิดและมีแนวโน้มที่จะทําให้เกิดพฤติกรรม ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นพิเศษ ตัวอย่างที่อธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น หมอตําแยพยายามตบก้นให้เด็กเกิดใหม่ร้องหลังคลอดจากครรภ์มารดา เป็นต้น
15 ชาวมุสลิมที่อยู่บนเรือซึ่งชนเสาปูนใต้น้ำแย่งชิงกันออกจากเรือจนลืมช่วยเด็ก ทําให้เด็กเสียชีวิตหลายคน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความกลัว เป็นอารมณ์ ความรู้สึก หรือสภาวะที่บุคคลไม่พึงปรารถนา ไม่ต้องการไม่อยากประสบพบเจอในสิ่งที่ไม่ดีแก่ตน เช่น กลัวตาย กลัวความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน กลัวการเปลี่ยนแปลงในชีวิต กลัวความผิด ตัวอย่างที่อธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น ชาวมุสลิมที่อยู่บนเรือซึ่งชนเสาปูนใต้น้ำแย่งชิงกันออกจากเรือจนลืมช่วยเด็ก ทําให้เด็กเสียชีวิตหลายคน ซึ่งเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความกลัวตายของมนุษย์ เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 16 – 20 ต่อไปนี้เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงภูมิคุ้มกันที่รัฐบาลสร้างให้กับประชาชนในเรื่องใด
(1) การช่วยเหลือ
(2) การคุ้มครอง
(3) การประกันสิทธิ
(4) การประกันความมั่นคง
(5) การบริการสินค้าและให้บริการ
16 กรมป้องกันสาธารณภัยนําเรือยางไปแจกให้ อบต. ที่ถูกน้ำท่วม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การช่วยเหลือ เป็นการสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนในยามจําเป็นเพื่อให้มีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น กรณีประสบภัยทางธรรมชาติ ไม่มีที่ทํากิน ไม่มีที่อยู่อาศัย ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงภูมิคุ้มกันที่รัฐบาลสร้างให้กับประชาชนในเรื่องนี้ เช่น กรมป้องกันสาธารณภัยนําเรือยางไปแจกให้ อบต. ที่ถูกน้ำท่วม เป็นต้น
17 การขายสินค้าธงฟ้าของกระทรวงพาณิชย์
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การบริการสินค้าและให้บริการ เป็นการให้บริการสินค้าและบริการของรัฐในด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน เช่น การบริการด้านการศึกษา การบริการด้านสุขภาพ การบริการด้านคมนาคม การจัดหาสินค้าราคาประหยัดในยามเศรษฐกิจ ตกต่ำ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงภูมิคุ้มกันที่รัฐบาลสร้างให้กับประชาชนในเรื่องนี้ เช่นการขายสินค้าธงฟ้าของกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
18 การจ่ายค่ารักษาให้กรณีประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การคุ้มครอง เป็นการคุ้มครองชีวิตของบุคคล รวมทั้งปกป้องรักษาไม่ให้บุคคลเกิดความเจ็บป่วยหรือเกิดความเสียหายใด ๆ ต่อชีวิตและร่างกาย ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบาย ถึงภูมิคุ้มกันที่รัฐบาลสร้างให้กับประชาชนในเรื่องนี้ เช่น การจ่ายค่ารักษาให้กรณีประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถ เป็นต้น
19 การรับบุตรของทหารที่เสียชีวิตในราชการทหารเข้ารับราชการของกระทรวงกลาโหม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การประกันความมั่นคง เป็นการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตของบุคคล ซึ่งจะทําให้บุคคลไม่ต้องวิตกกังวลในเรื่องรายได้ หน้าที่การงาน รวมถึงความปลอดภัยในชีวิต ตัวอย่าง ปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงภูมิคุ้มกันที่รัฐบาลสร้างให้กับประชาชนในเรื่องนี้ เช่น การรับบุตร ของทหารที่เสียชีวิตในราชการทหารเข้ารับราชการของกระทรวงกลาโหม เป็นต้น
20 การจ่ายเบี้ยคนชราและคนพิการ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การประกันสิทธิ เป็นการประกันในสิทธิต่าง ๆ ที่ประชาชนควรได้รับจากรัฐซึ่งเป็นไปตามกฎหมายหรือนโยบายต่าง ๆ ที่รัฐมอบให้ประชาชนในฐานะพลเมืองของรัฐ ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงภูมิคุ้มกันที่รัฐบาลสร้างให้กับประชาชนในเรื่องนี้ เช่น การจ่ายเบี้ยคนชราและคนพิการ เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 21 – 25 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดขององค์การสหประชาชาติข้อใดดังต่อไปนี้
(1) เน้นความสมัครใจ
(2) ให้ความสําคัญกับความร่วมมือจากส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น
(3) ระมัดระวังประวัติศาสตร์ความเป็นมาของมนุษยชาติ
(4) เน้นความชํานาญ/เชี่ยวชาญตามเชื้อชาติเผ่าพันธุ์
(5) การพัฒนามนุษย์ตลอดชีพ
21 โรงเรียนประถมศึกษาสําหรับผู้สูงอายุ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การพัฒนามนุษย์ตลอดชีพ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง วัยชรา เพื่อให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ และสามารถดํารงชีวิตได้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดขององค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ เช่น โรงเรียนประถมศึกษาสําหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น
22 ครม. ส่วนหน้าทั้ง 13 คน มาจากผู้เคยปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่ให้ความสําคัญกับความร่วมมือจากส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่นเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เน้นการประสานความร่วมมือในระดับแนวดิ่งหรือองค์การ ต่างระดับกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการกําหนดแนวทางในการพัฒนาและแก้ปัญหา ต่าง ๆ อย่างบูรณาการและเป็นองค์รวม ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามแนวคิดขององค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ เช่น ครม. ส่วนหน้าทั้ง 13 คน มาจาก
ผู้เคยปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นต้น
23 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับปราชญ์ท้องถิ่นถ่ายทอดการสร้างเรือกอและให้เยาวชน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นทักษะ ความชํานาญ/เชียวชาญตามเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามท้าษะ ความชํานาญ ความสามารถ หรือลักษณะโครงสร้างร่างกายของมนุษย์ แต่ละเชื้อชาติ แต่ละเผ่าพันธุ์ที่มีความแตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม แนวคิด วิถีการดําเนินชีวิต กีฬา หรือยุทธวิธีในการต่อสู้ ตัวอย่าง ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดขององค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับปราชญ์ท้องถิ่นถ่ายทอดการสร้างเรือกอและให้เยาวชน เป็นต้น
24 นักศึกษาวิชาทหาร (รด.) สามารถนํากิจกรรมจิตอาสาสาธารณะไปทดแทนชั่วโมงการฝึกที่ตนขาดฝึกได้ไม่เกิน 16 ชั่วโมง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นความสมัครใจ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สนับสนุน ส่งเสริมหรือจูงใจให้คนร่วมมือด้วยความสมัครใจ มิใช่การบังคับขู่เข็น โดยมุ่งชี้แนะให้เห็นถึงประโยชน์ ที่จะได้รับจากการเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดขององค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ เช่น นักศึกษาวิชาทหาร (รด.) สามารถนํากิจกรรมจิตอาสาสาธารณะไปทดแทนชั่วโมงการฝึกที่ตนขาดฝึกได้ไม่เกิน 16 ชั่วโมงเป็นต้น
25 การนํานาฏศิลป์โขนไทยไปจดสิทธิบัตรอาจนําไปสู่ความขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพัฒนาที่เน้นความระมัดระวังประวัติศาสตร์ความเป็นมาของมนุษยชาติเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องคํานึงถึงภูมิหลัง ความเป็นมา หรือพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของแต่ละเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดความขัดแย้งหรือ นําไปสู่ความร่วมมือระหว่างเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ได้ ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามแนวคิดขององค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ เช่น การนํานาฏศิลป์โขนไทยไปจดสิทธิบัตรอาจนําไปสู่ความขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 26 – 30 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องการลงทุนเรื่องใด
(1) ความรู้ในฐานะพลเมือง
(2) การป้องกันโรค
(3) การฟื้นฟูสุขภาพ
(4) การรักษาโรค
(5) ความจําเป็นพื้นฐาน
26 การขยายวงเงินให้กับผู้ล้างไต
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การรักษาโรค หมายถึง การให้การรักษาเมื่อเกิดการเจ็บป่วยหรือเยียวยาให้หายจากอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ตัวอย่างที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การขยายวงเงินให้กับผู้ล้างไต เป็นต้น 27 การอนุมัติวงเงินกู้ให้กับการกู้เงินซื้อบ้านประชารัฐ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความจําเป็นพื้นฐาน เป็นความจําเป็นในปัจจัยพื้นฐานสําหรับการดํารงชีวิตของมนุษย์ ได้แก่ อากาศ น้ำ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ตัวอย่างที่อธิบายถึง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การอนุมัติวงเงินกู้ให้กับการกู้เงินซื้อบ้านประชารัฐ เป็นต้น
28 การกําหนดให้นําหลักสูตรกฏจราจรไว้ในประถมต้น
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความรู้ในฐานะพลเมือง เป็นความรู้ที่จําเป็นสําหรับการดํารงชีวิตในฐานะพลเมืองของรัฐ เช่น ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายต่าง ๆ ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของรัฐ ความรู้ในขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคม ความรู้ในภาษา ความรู้ในอาชีพ ตัวอย่างที่อธิบาย ถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การกําหนดให้นําหลักสูตรกฎจราจรไว้ในประถมต้น เป็นต้น
29 การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้กับผู้สูงอายุฟรี
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การป้องกันโรค หมายถึง พฤติกรรมที่มุ่งป้องกันสุขภาพไม่ให้เกิดความเจ็บป่วยหรือโรคต่าง ๆ เช่น การฉีดวัคซีน การตรวจสุขภาพประจําปี การดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรง อยู่เสมอ การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะหรือแพร่พันธุ์ของเชื้อโรค เช่น เรื่องน้ําดื่ม อาหาร อากาศ สารเคมี และการกําจัดสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย แมลงนําโรค ตัวอย่างที่อธิบายถึง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้กับ ผู้สูงอายุฟรี เป็นต้น
30 การขยายศูนย์กายภาพบําบัดศูนย์สิรินธรในกระทรวงสาธารณสุข
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การฟื้นฟูสุขภาพ หมายถึง กระบวนการดูแลสุขภาพและฟื้นฟูร่างกายและจิตใจภายหลังได้รับการรักษาพยาบาล รวมถึงพฤติกรรมดูแลสุขภาพภายหลังการเจ็บป่วย ตัวอย่าง ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐในเรื่องนี้ เช่น การขยายศูนย์กายภาพบําบัดศูนย์สิรินธรในกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 31 – 40 เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักแนวคิดเรื่องใดตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
(1) การกระจายอํานาจ
(2) หลักการเสริมประสิทธิภาพ
(3) หลักพิทักษ์คุณธรรม
(4) หลักระบบค่าตอบแทน
(5) หลักจริยธรรมและวินัย
31 คสช. ใช้ ม.44 ยุติการทํางานของพนักงานข้าราชการองค์กรปกครองท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม 72 คน
ตอบ 3 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักพิทักษ์คุณธรรมตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้
1 กําหนดให้คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งตุลาการ และเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร ทําหน้าที่พิจารณาเรื่องการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ของข้าราชการ ในกรณีที่ข้าราชการถูกสั่งลงโทษทางวินัยหรือได้รับการปฏิบัติจากผู้บังคับบัญชา (เช่น การแต่งตั้ง โยกย้าย) อย่างไม่เป็นธรรม
2 การจัดให้มีศาลปกครองรับเรื่องด้านการบริหารงานบุคคล
3 การให้พนักงาน/ข้าราชการที่ถูกกล่าวหาต้องยุติหน้าที่หรือย้ายไปประจําส่วนราชการเป็นการชั่วคราว ฯลฯ
32 การแต่งตั้งโฆษก คสช. พลตรีสรรเสริญ แก้วกําเนิด ไปดํารงตําแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
ตอบ 1 หน้า 207, (คําบรรยาย) การกระจายอํานาจตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้
1 กําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัด เป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการ เช่น อธิบดีมีอํานาจสั่งบรรจุแต่งตั้งผู้ชํานาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ, ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ช่วยงานในท้องถิ่น เป็นต้น
2 กําหนดให้หน่วยงานระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับ จังหวัด ดําเนินการจัดสอบแข่งขันเพื่อเลือกสรรบุคคลบรรจุเข้ารับราชการได้เอง
3 การให้อํานาจ ในการแต่งตั้งหรือโอนย้ายบุคลากรทั้งจากภายในและภายนอกกระทรวงได้ เช่น การแต่งตั้งโฆษก คสช. ไปดํารงตําแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
33 การกําหนดให้เพิ่มค่าตอบแทนบุคคลที่มีใบรับรองการมีวุฒิการศึกษาเพิ่มที่ตรงตามหน้าที่
ตอบ 4 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักระบบค่าตอบแทนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้
1 การจําแนกกลุ่มอาชีพเป็น 4 กลุ่มใหญ่ (Cluster) และกําหนดบัญชีเงินเดือนเป็น 4 บัญชี ซึ่งแต่ละบัญชีใช้เฉพาะสําหรับตําแหน่งแต่ละประเภท
2 กําหนดให้มีเงินเพิ่มใหม่อีก 2 ประเภท คือ ตามพื้นที่และตามสายงาน
3 กําหนดให้เพิ่มค่าตอบแทนบุคคลที่มีใบรับรองการมีวุฒิการศึกษาเพิ่มที่ตรงตามหน้าที่
4 กําหนดให้ข้าราชการทุกระดับต้องถูกประเมินผลการปฏิบัติราชการแบบ 360 องศา เพื่อนํามาใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ฯลฯ
34 การกําหนดให้มีแบบฟอร์มการทํารายงานหลัง/กลับจากฝึกอบรมของหน่วยงานรัฐ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักการเสริมประสิทธิภาพตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้
1 กําหนดให้ข้าราชการไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ในประเทศหรือต่างประเทศ
2 กําหนดให้มีแบบฟอร์มการทํารายงานหลัง/กลับจากการฝึกอบรม ของหน่วยงานรัฐ
3 กําหนดให้มีการตรวจสอบจากองค์กรภายนอกหลายองค์กร เช่น ป.ป.ช. กกต., จังหวัด และองค์กรวิชาชีพ ฯลฯ
35 การให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ช่วยงานในท้องถิ่นได้
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ
36 การกําหนดข้อห้ามปฏิบัติของข้าราชการบางสายอาชีพ
ตอบ 5 หน้า 207, (คําบรรยาย) หลักจริยธรรมและวินัยตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้
1 กําหนดสิ่งที่ข้าราชการต้องปฏิบัติและข้อห้ามการปฏิบัติออกจากกันเป็นคนละส่วนอย่างชัดเจน
2 กําหนดให้ส่วนราชการแต่ละแห่งเป็นผู้กําหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการเพื่อใช้บังคับเฉพาะข้าราชการในสังกัดส่วนราชการนั้นเท่านั้น
3 กําหนดให้ข้าราชการบางตําแหน่งต้องแจ้งทรัพย์สินก่อนและหลังรับตําแหน่ง ฯลฯ
37 การกําหนดให้มีการตรวจสอบจากองค์กรภายนอกหลายองค์กร เช่น ป.ป.ช., กกต., จังหวัด และองค์กรวิชาชีพ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ
38 การกําหนดให้ข้าราชการทุกระดับต้องถูกประเมินแบบ 360 องศา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ
39 การกําหนดให้ข้าราชการบางตําแหน่งต้องแจ้งทรัพย์สินก่อนและหลังรับตําแหน่ง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ
40 การให้ข้าราชการที่ถูกข้อกล่าวหาต้องยุติหน้าที่และย้ายไปประจําส่วนกลางเป็นการชั่วคราว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 41 – 50 เป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับบริบทของมนุษย์ในเรื่องใด
(1) ภูมิประเทศ/ภูมิอากาศ
(2) ประวัติศาสตร์
(3) นโยบายของรัฐ
(4) IT, ICT
(5) วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์
- น้ำท่วมกรุงเทพทุกครั้งที่มีฝนตกหนัก
ตอบ 1 หน้า 196, (คําบรรยาย) ภูมิประเทศ ได้แก่ สถานที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ อาณาเขตติดต่อที่ราบลุ่มแม่น้ำ ฯลฯ) และภูมิอากาศ (ได้แก่ เขตอากาศหนาว ร้อน ร้อนชื้น ฯลฯ) เป็นปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต สุขภาพ อาชีพ วัฒนธรรม ความเชื่อ อุปนิสัย พฤติกรรม และประวัติศาสตร์ พัฒนาการของเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับบริบท ของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น น้ำท่วมกรุงเทพทุกครั้งที่มีฝนตกหนัก, การรื้อถอนสถานที่พักของ ชาวเขาเผ่าม้งที่เขาภูทับเบิก เป็นต้น
42 การจัดให้มีหมู่บ้านชาวญวนอยู่รวมกันในที่รัฐกําหนด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประวัติศาสตร์ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับภูมิหลัง ความเป็นมา หรือพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะมีอิทธิพลทําให้เกิดความเชื่อ ความศรัทธา การยอมรับนับถือ ความสัมพันธ์ ความร่วมมือ ความขัดแย้ง หรือทักษะความชํานาญของแต่ละกลุ่มบุคคล เชื้อชาติ/เผ่าพันธุ์ หรือแต่ละประเทศสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับบริบท ของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การจัดให้มีหมู่บ้านชาวญวนอยู่รวมกันในที่รัฐกําหนด, การเผาบ้านชาวกะเหรี่ยงที่ชายแดนไทย-พม่า จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น
43 การเปลี่ยนแนวคิดให้มีกฎหมายคู่ชีวิต (พ.ร.บ. คู่ชีวิต)
ตอบ 3 (คําบรรยาย) นโยบายรัฐบาล เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับแนวทางกิจกรรม การกระทํา หรือการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้ทําการตัดสินใจและกําหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นําให้มีกิจกรรม หรือการกระทําต่าง ๆ เกิดขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กําหนดไว้ โดยมีการวางแผน การจัดทํา โครงการ วิธีการบริหารหรือกระบวนการดําเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและความต้องการของ ประชาชนผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่อง ตัวอย่างที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับบริบทของมนุษย์ ในเรื่องนี้ เช่น การเปลี่ยนแนวคิดให้มีกฎหมายคู่ชีวิต (พ.ร.บ. คู่ชีวิต), การยอมรับให้สตรีมีคํานําหน้านามได้ 2 แบบ คือ นางสาว หรือนาง เป็นต้น
44 การยอมรับให้สตรีมีคํานําหน้านามได้ 2 แบบ คือ นางสาว หรือนาง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ
45 การรื้อถอนสถานที่พักของชาวเขาเผ่าม้งที่เขาภูทับเบิก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ
46 การเผาบ้านชาวกะเหรี่ยงที่ชายแดนไทย-พม่า จังหวัดกาญจนบุรี
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ
47 การประดิษฐ์ Robot ช่วยดูแลผู้สูงอายุ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เป็นองค์ความรู้ที่นําเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการแพทย์ เช่น การตรวจ การรักษาพยาบาล และการป้องกันโรค ตัวอย่างที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับบริบทของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การประดิษฐ์ Robot ช่วยดูแลผู้สูงอายุ, การนํา Stem Cell มาใช้เพื่อยืดอายุ Human Cell เป็นต้น
48 การกําหนดเป้าหมายนําประเทศไทยไปสู่สังคม 4.0
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เทคโนโลยี เช่น IT, ICT เป็นการนําเอาความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ เพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการทํางานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน รวมทั้งเพื่ออํานวย ความสะดวกหรือตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ ตัวอย่างที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่ เกี่ยวกับบริบทของมนุษย์ในเรื่องนี้ เช่น การกําหนดเป้าหมายนําประเทศไทยไปสู่สังคม 4.0, การเป็นแบตเตอรี่ให้กับกลุ่มประเทศอาเซียนของประเทศลาว เป็นต้น
49 การนํา Stem Cell มาใช้เพื่อยืดอายุ Human Cell
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ
50 การเป็นแบตเตอรี่ให้กับกลุ่มประเทศอาเซียนของประเทศลาว
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 51 – 60 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification) (2) การประเมินค่างาน (Job Evaluation)
(3) การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)
(4) คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)
(5) การออกแบบงาน (Job Design)
51 ได้ข้อมูลมาจากความรู้ ทักษะ และความสามารถ
ตอบ 1 หน้า 12 – 13, (คําบรรยาย) การกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specification) เป็นรายละเอียดของคุณสมบัติเฉพาะของพนักงานซึ่งใช้ในการทํางานเฉพาะอย่างเพื่อให้งาน ประสบความสําเร็จ เช่น การกําหนดให้ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตํารวจต้องจบ ปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่นํามาใช้ในการกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงานได้มาจากความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และความสามารถ (Abilities)
- ข้อมูลที่ต้องใช้ทําคือ กิจกรรมของงาน พฤติกรรมของบุคคล เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์มาตรฐานการปฏิบัติงาน และเนื้อหาของงาน
ตอบ 3 หน้า 13 – 14 ข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) มีดังนี้
1 กิจกรรมของงาน (Work Activities)
2 พฤติกรรมของบุคคล (Human Behavior)
3 เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องช่วยสนับสนุนการทํางาน (Machine, Tool, Equipment and Work Aids Used)
4 มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance Standards)
5 เนื้อหาของงาน (Job Context)
6 ความต้องการบุคลากร (Personnel Requirements)
53 สามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางาน
ตอบ 5 หน้า 16 การออกแบบงาน (Job Design) ที่ดี นอกจากจะทําให้บุคคลทํางานได้อย่างเต็มความสามารถแล้ว ยังสามารถลดความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทํางานให้น้อยลงได้อีกด้วย
54 เป็นกระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงาน
ตอบ 3 หน้า 11 ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ กล่าวว่า การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) หมายถึงกระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกระบวนการนี้จะทําให้ฝ่ายจัดการทราบว่าจะต้องใช้ความรู้ความสามารถ ความชํานาญและความรับผิดชอบอย่างไร ผู้ปฏิบัติงานจึงจะทํางานนั้นให้สําเร็จลงได้
55 ความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) เกิดจาก
ตอบ 2 หน้า 16, 75, 81 การประเมินค่างาน (Job Evaluation) คือ กระบวนการที่ทําขึ้นเพื่อเปรียบเทียบค่าของงานต่าง ๆ ในองค์การ เพื่อนํามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกําหนดค่าตอบแทนที่ยุติธรรม กับงานตามหลักการที่ว่า “จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน” (Equal Work for Equal Pay) ซึ่งวิธีนี้จะทําให้เกิดความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) ในการกําหนดค่าจ้างและผลตอบแทน ให้แก่บุคลากรทุกคนที่อยู่ภายในองค์การเดียวกัน
56 เอาไปใช้ออกแบบงาน (Job Design)
ตอบ 3 หน้า 14 – 17 ประโยชน์ของการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ด้านทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้
1 ใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบงาน (Job Design)
2 ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
3 ใช้เป็นข้อมูลในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร
4 ใช้เป็นข้อมูลในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
5 ใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลการทํางาน
6 ใช้เป็นข้อมูลในการกําหนดค่าตอบแทน ฯลฯ
57 ได้ข้อมูลมาจากงาน ความรับผิดชอบ และหน้าที่
ตอบ 4 หน้า 12 – 13 คําบรรยายลักษณะงาน (Job Description) เป็นการอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง โดยระบุชื่อตําแหน่งงาน คําสรุปเกี่ยวกับงาน หน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง และความสัมพันธ์กับงานอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลในคําบรรยายลักษณะงานได้มาจากงาน(Task) ความรับผิดชอบ (Responsibilities) และหน้าที่ (Duties)
58 ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตํารวจต้องจบปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ
59 จ่ายเท่ากันสําหรับงานที่เท่ากัน (Equal Work for Equal Pay)
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ
60 การอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง ระบุหน้าที่งานหลัก หน้าที่งานรอง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 57 ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 61 – 65 สะท้อนถึงหลักการในการประเมินผลการปฏิบัติงานในเรื่องใด
(1) กําหนดตัวผู้ประเมิน
(2) กําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน
(3) กําหนดแบบและลักษณะคนที่ประเมิน
(4) การนําผลที่ได้จากการประเมินไปใช้
(5) กําหนดวิธีการประเมิน
61 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน
ตอบ 1 หน้า 166, (คําบรรยาย) การกําหนดตัวผู้ประเมิน เป็นการกําหนดตัวผู้ที่จะทําการประเมินให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ถูกประเมิน ซึ่งปกติตัวผู้ประเมินมักจะได้แก่ ผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้างาน ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกน้อง ลูกค้า ตนเอง และเพื่อนร่วมงาน เช่น สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดยลงคะแนนลับ เป็นต้น
62 การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนกระทําปีละ 2 ครั้ง ) ตอบ 4 หน้า 167, (คําบรรยาย) การนําผลที่ได้จากการประเมินไปใช้ เป็นการนําผลการวิเคราะห์รายงานจากแบบประเมินผลที่ผู้ประเมินได้ประเมินไว้ไปใช้ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับ ผู้ที่ถูกประเมินผู้นั้นตลอดเวลาที่ยังปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงาน เช่น การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ของข้าราชการพลเรือนกระทําปีละ 2 ครั้ง เป็นต้น
63 คณบดีคณะรัฐศาสตร์ทําหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงให้นักศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์
ตอบ 2 หน้า 163 164, (คําบรรยาย) การกําหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน เป็นการบอกถึงเหตุผลและความจําเป็นของการประเมินผลว่ามีการประเมินไปเพื่ออะไร โดยจะต้องชี้แจงหรือแจ้งให้ ผู้ถูกประเมินและผู้ทําการประเมินทราบถึงหลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์ของการประเมิน ก่อนทําการประเมิน เช่น คณบดีคณะรัฐศาสตร์ทําหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์ เป็นต้น
64 ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติให้นโยบายแก่ข้าราชการตํารวจให้นายตํารวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทํางานถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นตีกัน
ตอบ 5 หน้า 166 167, (คําบรรยาย) การกําหนดวิธีการประเมินมีหลายวิธีแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ดังนี้
1 การประเมินคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ความสามารถในการตัดสินใจ ความคิดริเริ่มการปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่น ฯลฯ
2 การประเมินพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ตั้งใจทํางานหรือปฏิบัติหน้าที่ รอบคอบ รวดเร็ว ว่องไว เฉื่อยชา อด ทน สุภาพ หรือเจ้าโทสะ ฯลฯ เช่น รักษาการผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ให้นโยบายแก่ข้าราชการตํารวจให้นายตํารวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทํางาน ถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน เป็นต้น
65 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61 ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 66 – 70 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ตําแหน่งประเภททั่วไป
(2) ตําแหน่งประเภทผสม
(3) ตําแหน่งประเภทอํานวยการ
(4) ตําแหน่งประเภทวิชาการ
(5) ตําแหน่งประเภทบริหาร
66 ระดับชํานาญงาน
ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 46) ระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้
1 ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
2 ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
3 ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ
4 ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ
67 ระดับชํานาญการ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ
68 ระดับปฏิบัติการ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ
69 ระดับปฏิบัติงาน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ
70 อธิบดี
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีดังนี้
1 หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ได้แก่ ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และปลัดกระทรวง
2 รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ได้แก่ รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และรองปลัดกระทรวง
3 หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ได้แก่ อธิบดี
4 หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เป็นต้น
5 ผู้ว่าราชการจังหวัด
6 เอกอัครราชทูต ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 66 ประกอบ)
ตั้งแต่ข้อ 71 – 75 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การทดสอบ (Employment Test)
(2) การสัมภาษณ์ (Interview)
(3) การตรวจร่างกาย (Physical Check)
(4) ใบสมัครงาน (Application Blank)
(5) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview)
71 เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้มากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 64, 66, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่นิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่ในอดีต เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์หรือ ผู้สมัครได้พูดคุยและซักถามข้อมูลของกันและกัน จึงทําให้สามารถที่จะวัดพฤติกรรม บุคลิกภาพประสบการณ์ วิสัยทัศน์ อารมณ์และจิตใจของผู้สมัครได้เป็นอย่างดี
72 เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความรู้
ตอบ 1 หน้า 64 – 66, (คําบรรยาย) การทดสอบ (Employment Test) เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่ใช้วัดความรู้ความสามารถของผู้สมัครที่เกี่ยวข้องและจําเป็นสําหรับการทํางาน เช่น ความถนัด ทักษะ สติปัญญา (I.Q.) การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น (E.Q.) เป็นต้น
73 เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน
ตอบ 3 หน้า 64, 68 การตรวจร่างกาย (Physical Check/Examination) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทําเมื่อทราบชัดเจนว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพื่อ ปฏิเสธคนที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน และเพื่อป้องกันการรับบุคคลที่มีโรคติดต่อต้องห้ามเข้ามาทํางานด้วย
74 การสอบถามคุณสมบัติเฉพาะและคุณสมบัติทั่วไป
ตอบ 5 หน้า 64 65, (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview) เป็นขั้นตอนการกลั่นกรองบุคคลที่เห็นได้ชัดว่ามีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่ต้องการอย่างแน่นอน ซึ่งอาจจะ กระทําโดยการสอบถามคุณสมบัติเฉพาะและคุณสมบัติทั่วไป หรือให้กรอกข้อมูลเบื้องต้น ณ ห้องรับใบสมัคร ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการที่จะรับคนที่ขาดคุณสมบัติหรือมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมเข้ามาตั้งแต่ต้น
75 เป็นเครื่องมือที่วัดพฤติกรรม วัดบุคลิกภาพ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 76 – 80 เป็นปรากฏการณ์ที่สอดคล้องกับการรักษาวินัยให้กับข้าราชการในเรื่องใด
(1) การเยียวยา
(2) การดูแล
(3) การดําเนินการทางวินัย
(4) การส่งเสริมให้มีวินัย
(5) การป้องกัน
76 การให้ผู้ที่กระทําผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทําความสะอาดตู้โทรศัพท์
ตอบ 1 หน้า 175 – 176, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การเยียวยา” หมายถึงการแก้ไขและบํารุงหรือส่งเสริมให้มีวินัยดีขึ้น โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้อง เยียวยาแก้ไขให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีวินัยดีขึ้น เช่น การให้ผู้ที่กระทําผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทําความสะอาดตู้โทรศัพท์ เป็นต้น
77 การเข้าตรวจเยี่ยมกําลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้าจะช่วยให้ทหารอยู่ในระเบียบการแต่งกายและรักษาสถานที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อยู่เสมอ
ตอบ 2 หน้า 174 175, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การดูแล” หมายถึงการสอดส่องกํากับตรวจตรา โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ให้อยู่ในระเบียบวินัย เช่น ผู้กํากับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทํางานถูกต้องตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน หรือการเข้าตรวจเยี่ยมกําลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้า เป็นต้น
78 อธิบดีกรมสรรพากรถูกปลดออกจากราชการฐานละเลยต่อหน้าที่กรณีขายหุ้นชิน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การดําเนินการทางวินัยในขั้นตอนการสั่งลงโทษ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ – ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
2 กรณีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ํากว่าปลดออก
79 ผู้กํากับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทํางานถูกต้องตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ
80 ผู้กํากับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่
ตอบ 5 หน้า 175, (คําบรรยาย) การรักษาวินัยในความหมายของ “การป้องกัน” หมายถึง การกระทําในทางที่จะขจัดเหตุที่ทําให้ข้าราชการกระทําผิดวินัย ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้อง คอยระมัดระวังมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทําผิดวินัย โดยอาจใช้วิธีการขู่ผู้ที่จะกระทําผิดวินัยให้เกิดความกลัว เช่น ผู้กํากับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่ เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 81 – 85 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ผู้ใต้บังคับบัญชา
(2) ผู้บังคับบัญชา
(3) ให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน
(4) เพื่อนร่วมงาน
(5) ประเมินตนเอง
81 มหาวิทยาลัยให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละภาค
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ให้บุคคลภายนอกองค์การเป็นผู้ประเมินเช่น มหาวิทยาลัยให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละ ภาคการศึกษา, การประเมินผลการทํางานของรัฐบาลโดยประชาชน, บริษัทโตโยต้าให้ผู้มาติดต่อ ซ่อมรถเป็นผู้ประเมินผลการให้บริการของพนักงาน เป็นต้น
82 ผู้ประเมินบางคนมักไม่กล้าประเมินหรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินเกินความเป็นจริง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่มีข้อดี คือ สามารถให้ภาพพจน์เกี่ยวกับตัวผู้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีว่าผู้บังคับบัญชามีความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับ ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างไร เคยมอบอํานาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือไม่ แต่มีข้อเสีย คือ ผู้ใต้บังคับบัญชาบางคนมักไม่กล้าประเมินผู้บังคับบัญชา หรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินผู้บังคับบัญชาออกมาดีเกินความเป็นจริง
83 การประเมินผลการทํางานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน ตอบ 2 (คําบรรยาย) การให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ต้องทําในสายการบังคับบัญชา ทั้งนี้เพราะผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา จึงเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและรู้เรื่องเกี่ยวกับบุคลากรที่อยู่ในบังคับบัญชาได้ดีที่สุด ซึ่งวิธีการนี้นิยมใช้กันมาก ในระบบราชการไทย เช่น การประเมินผลการทํางานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน เป็นต้น
84 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกรรมาธิการ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การให้เพื่อนร่วมงานเป็นผู้ประเมิน เป็นวิธีการที่ให้เพื่อนร่วมงานที่อยู่ในระดับเดียวกันต่างประเมินซึ่งกันและกัน โดยมักจะใช้กับกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่มีความคุ้นเคยกัน ทํางานร่วมกันมานานพอสมควร และงานที่ทําจะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกรรมาธิการ, สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดยลงคะแนนลับ เป็นต้น
85 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 84 ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 86 – 90 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training)
(2) การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training)
(3) การฝึกอบรมแบบจําลอง (Simulation Training)
(4) การฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง (On-the-Job Training)
(5) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training)
86 ต้องมีการแนะนําประวัติขององค์การ
ตอบ 2 หน้า 127 – 128 การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training) เป็นวิธีการที่มีความเหมาะสมและนิยมใช้กับพนักงานที่เข้าทํางานใหม่ โดยเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแนะนํา ให้พนักงานใหม่ได้รับความรู้ ข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์การหรือสถานที่ทํางาน เช่น ประวัติขององค์การ ผู้บริหารและระบบการบริหารงาน ความก้าวหน้าในงาน เงื่อนไข การจ้างงาน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดข้อสงสัยและความกังวลใจของพนักงานใหม่ให้หมดไป ตลอดจนช่วยให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์การได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลดี ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่และเป็นประโยชน์ต่อองค์การในท้ายที่สุด
87 ใช้ฝึกอบรมนักบิน
ตอบ 3 หน้า 140 – 141, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบจําลอง (Simulation Training) เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้มีโอกาสใช้อุปกรณ์เครื่องมือและกระบวนการที่เป็นแบบจําลอง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับสิ่งต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในการทํางานจริง เช่น การฝึกอบรมนักบินหรือการฝึกอบรมผู้ใช้เครื่องจักรกลขนาดหนัก เป็นต้น
88 บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวะช่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้า
ตอบ 5 หน้า 139 140, (คําบรรยาย) การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training) เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้รับความรู้และทักษะทางด้านช่างฝีมือในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ จนกระทั่งมีฝีมือสามารถออกไปประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ
1 สมัครเป็นลูกมือช่างที่ตนสนใจ
2 สมัครเป็นช่างฝึกหัดโครงการช่างฝึกหัดทวิภาคีระหว่างสถาบันการศึกษากับสถานประกอบการ เช่น บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวะช่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้า เป็นต้น
89 เป็นเทคนิคที่นิยมใช้อบรมผู้บริหาร
ตอบ 1 หน้า 142 การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training) เป็นวิธีการที่มีการกําหนดรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในองค์การ และให้ผู้เข้าฝึกอบรมทําการศึกษารายละเอียด ของข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมดในกรณีศึกษา พร้อมกับกําหนดปัญหาและนําเสนอแนวทางการ แก้ไขปัญหา แล้วเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนํามาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่นิยมใช้ในการฝึกอบรมผู้บริหาร
90 แจ้งถึงเงื่อนไขการจ้างงาน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 91 – 95 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพ (Cost of Living)
(2) อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate)
(3) ขึ้นอยู่กับอิทธิพลอํานาจการต่อรอง (Collective Bargaining)
(4) ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay)
(5) สภาพตลาดแรงงาน (Condition of Labor Market)
91 ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ
ตอบ 1 หน้า 85, (คําบรรยาย) ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพหรือค่าครองชีพ (Cost of Living) หมายถึง การจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างพอที่จะใช้จ่ายให้สามารถ ดํารงชีวิตอยู่ได้ด้วยความราบรื่นหรือพอกินพอใช้ โดยมีการปรับอัตราค่าจ้างให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าครองชีพ เช่น ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ําให้คนงานอยู่ได้ เป็นต้น
92 ปีนี้ธนาคารบางแห่งจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 16 เดือน
ตอบ 4 หน้า 85 – 86, (คําบรรยาย) ปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay) หมายถึง ความสามารถของนายจ้างที่จะจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งความสามารถในการจ่ายของแต่ละบริษัท มักจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ ความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน ทางอุตสาหกรรม ตลอดจนความมั่นคงที่ปรากฏตามลักษณะภูมิประเทศที่หน่วยงานนั้นตั้งอยู่ เช่น ปีนี้ธนาคารบางเห่งจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 16 เดือน เป็นต้น 93 สหภาพแรงงานรวมตัวกันเหนียวแน่นก็มีพลังอํานาจกําหนดค่าจ้าง
ตอบ 3 หน้า 86, (คําบรรยาย) อํานาจการต่อรอง (Collective Bargaining) หมายถึง อํานาจในการเจรจาต่อรองของแต่ละฝ่ายระหว่างสหภาพแรงงานกับนายจ้างเกี่ยวกับการกําหนดค่าจ้างและ เงื่อนไขการจ้างหรือการทํางาน ซึ่งหากสหภาพแรงงานรวมตัวกันได้เหนียวแน่นมากเท่าไรพลังอํานาจการเจรจาต่อรองในการกําหนดค่าจ้างก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น
94 รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ
95 บริษัทหลายแห่งได้กําหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับปฏิบัติการ วุฒิปริญญาตรี
ตอบ 2 หน้า 84 – 85, (คําบรรยาย) อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate) หมายถึง อัตราค่าจ้างในสังคมที่เขาจ้างกันทั่ว ๆ ไป หรืออัตราค่าจ้างขององค์การเราที่จ่ายตามอัตราค่าจ้างขององค์การ อื่น ๆ ที่จ่ายให้แก่พนักงานที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน หรือทํางานประเภทเดียวกัน เช่น บริษัท หลายแห่งได้กําหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับปฏิบัติการ วุฒิปริญญาตรี เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 96 – 100 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน
(2) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์
(3) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
(4) พ.ร.บ. เงินทดแทน
(5) พ.ร.บ. ประกันสังคม
96 ค่าชดเชยกรณีออกจากงาน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายที่กําหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้างงานที่ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติต่อลูกจ้าง และรัฐให้ความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยสาระสําคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ได้แก่ การกําหนดวันและเวลาทํางาน วันหยุด วันลา การพักงาน อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การทํางานล่วงเวลา ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานและค่าล่วงเวลา ในวันหยุด การใช้แรงงานหญิงและแรงงานเด็ก การจ่ายค่าชดเชยกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานหรือเลิกจ้าง เป็นต้น
97 การเบิกเงินกรณีเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทํางาน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ได้บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้น เพื่อทําหน้าที่จ่ายเงินทดแทนแทนนายจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพหรือ ตายอันเนื่องมาจากการทํางาน โดยกําหนดให้นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน แต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่ลูกจ้างและรัฐบาลไม่ต้องจ่าย
98 ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ําในกรุงเทพฯ วันละ 300 บาท
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 96 ประกอบ
99 ผู้ประกันตนเบิกเงินค่าคลอดบุตร
ตอบ. 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 กําหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมในกรณีดังต่อไปนี้
1 กรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายอันมิใช่เนื่องมาจากการทํางาน
2 กรณีคลอดบุตร
3 กรณีสงเคราะห์บุตร
4 กรณีชราภาพ
5 กรณีว่างงาน
100 สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง และสภาองค์การนายจ้าง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นกฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับกับวิสาหกิจเอกชนในปัจจุบัน โดยจะกําหนดสาระสําคัญเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง สภาองค์การนายจ้าง สภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การเรียกร้องให้มีการกําหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สภาพการจ้าง ข้อพิพาทแรงงาน การเจรจาต่อรอง การปิดงานและการนัดหยุดงาน ตลอดจน การกระทําอันไม่เป็นธรรม