การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันดํารงตําแหน่งคราวละกี่ปี
(1) 2 ปี
(2) 3 ปี
(3) 4 ปี
(4) 5 ปี
(5) 6 ปี
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 24 และมาตรา 29), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค.” ประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และ ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค. โดยตําแหน่ง โดยกรรมการ ก.พ.ค. ต้องทํางาน เต็มเวลา และมีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว ดังนั้นกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ก.พ.ค. อีกมิได้ แต่ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. ใหม่

Advertisement

2. ข้อใดเป็นโทษผิดวินัยขั้นร้ายแรงตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ไล่ออก
(2) ปลดออก
(3) ให้ออก
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22 – 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 88), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยจะต้องได้รับโทษ ทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7 การดําเนินการทางวินัย โดยโทษทางวินัยมี 5 สถาน ซึ่งแบ่งออกเป็น

1. โทษผิดวินัยประเภทไม่ร้ายแรง มี 3 สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ (เบาที่สุด) ตัดเงินเดือน
และลดเงินเดือน

2. โทษผิดวินัยประเภทร้ายแรง มี 2 สถาน ได้แก่ ปลดออก และไล่ออก (หนักที่สุด)

3.คําว่า “ปลัดกระทรวง” ตามคํานิยามของระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน หมายความรวมถึง ปลัดกรุงเทพมหานครด้วย
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2
(เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 4) คําว่า “ปลัดกระทรวง” ให้หมายความรวมถึงปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวง

4. ผู้ที่ได้รับการบรรจุกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่จําเป็นต้องดําเนินการสอบแข่งขันนั้น ระเบียบฯ กําหนดว่าไม่ต้องแต่งตั้งให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง, มาตรา 55 และมาตรา 59), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับการบรรจุ ในกรณีต่อไปนี้ต้องแต่งตั้งให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเป็นข้าราชการที่ดีตามที่กําหนดในกฎ ก.พ. ได้แก่
1. ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งจากการสอบแข่งขันได้
2. ผู้ที่ได้รับการบรรจุในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขันตามที่ ก.พ. กําหนด

5. การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการส่วนใหญ่ ใช้กรณีบรรจุคนใหม่ที่ไม่เคยรับราชการ
มาก่อน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 92, (คําบรรยาย) การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน โดยบรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ ซึ่งใช้กรณีบรรจุคนใหม่ที่ไม่เคยรับราชการมาก่อนถือเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปของการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในทุกประเทศ ทั้งนี้ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ส่วนใหญ่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งโดยไม่ต้องสอบแข่งขัน

6. ปัจจุบันตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใดที่ได้รับทั้งเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง
(1) ประเภทบริหาร
(2) ประเภทอํานวยการ
(3) ประเภทวิชาการทุกระดับ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตําแหน่งข้าราชการ
พลเรือนสามัญประเภทที่ได้รับทั้งเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งได้แก่
1. ตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูง
2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้นและระดับสูง
3. ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ
4. ตําแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ

7.รองประธาน อ.ก.พ. กระทรวง ได้แก่
(1) รองปลัดกระทรวง
(2) อธิบดี
(3) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(5) ปลัดกระทรวง
ตอบ 5(เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 15) (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วย

1. อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด (รัฐมนตรีว่าการกระทรวง) เป็นประธาน ปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. 1 คน

2. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายที่มิได้เป็นข้าราชการ ในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 3 คน

3. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือน ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 5 คน

4. เลขานุการ ซึ่ง อ.ก.พ. กระทรวง แต่งตั้ง จํานวน 1 คน

8.ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ
(1) การกําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือน
(2) สํานักนายกรัฐมนตรี
(3) สํานักงาน ก.พ.
(4) การบริหารงานบุคคล
(5) การจัดส่วนราชการ
ตอบ 4 หน้า 15, (คําบรรยาย) ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารงานบุคคลหรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ โดยระเบียบข้าราชการพลเรือนแต่ละฉบับจะตราขึ้นโดยอาศัยหลักวิชาการในทางการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรมเป็นเกณฑ์ ดังนั้นการที่จะศึกษาทําความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการพลเรือนจึงจําเป็นต้องมีความรู้ในหลักวิชาของการบริหารงานบุคคลเป็นพื้นฐานที่สําคัญ

9. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้อง
(1) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง
(2) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(3) ไม่เป็นกรรมการโดยตําแหน่งอยู่แล้ว
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 วรรคสอง) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้องไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือ เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง และมิได้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งอยู่แล้ว

10. ประธานคณะกรรมการคัดเลือกคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม คือ ประธานศาลปกครองสูงสุด
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 12), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 26) คณะกรรมการคัดเลือกคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ประกอบด้วย ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธาน รองประธานศาลฎีกาที่ได้รับมอบหมายจาก ประธานศาลฎีกา 1 คน กรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คนซึ่งได้รับเลือกโดย ก.พ. และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ

11. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกลงโทษปลดออกจากราชการ ให้มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ แต่ต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายบําเหน็จบํานาญข้าราชการด้วย
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 267, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 97 วรรคสี่), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษ ทางวินัยขั้นปลดออกจากราชการตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ยังมีสิทธิ ได้รับบําเหน็จบํานาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ แต่ต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วย บําเหน็จบํานาญข้าราชการด้วย ส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยขั้นไล่ออก จากราชการ จะไม่มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ

12. ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไปตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีกี่ระดับ
(1) ระดับเดียว
(2) 2 ระดับ
(3) 3 ระดับ
(4) 4 ระดับ
(5) 5 ระดับ
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13 – 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 46) ระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้

1. ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง

2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง

3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ

4. ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ ทั้งนี้การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่งให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎ ก.พ.

13. คําขึ้นต้นของหนังสือราชการถึงรองนายกรัฐมนตรีใช้ว่าอย่างไร
(1) กราบเรียน
(2) กราบเรียนฯ พณฯ
(3) เรียน
(4) ขอประทานกราบเรียน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 479 – 480, (คําบรรยาย) การใช้คําขึ้นต้นตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย งานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ในหนังสือราชการ สําหรับผู้รับหนังสือที่เป็นบุคคลธรรมดานั้น มี 2 แบบ คือ 1. สําหรับประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา รัฐบุรุษ ให้ใช้คําขึ้นต้นว่า “กราบเรียน” และใช้คําลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง” 2. บุคคลธรรมดานอกจากข้อ 1. ให้ใช้คําขึ้นต้นว่า “เรียน” และใช้คําลงท้ายว่า “ขอแสดง ความนับถือ”

14. การบรรจุแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ เป็นอํานาจของปลัดกระทรวง
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 57 (7)) การบรรจุและแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนําความกราบบังคมทูลเพื่อทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

15. การบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการ ระเบียบฯ กําหนดว่า “ถ้าสมัครเข้ารับราชการเมื่อใดทางราชการจะต้องรับผู้นั้นกลับเข้ารับราชการทันที”
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 99 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ การบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการไว้ว่า “ถ้าสมัครเข้ารับราชการเมื่อใดทางราชการไม่จําเป็นต้องรับผู้นั้นกลับเข้ารับราชการทันที” นั่นคือ ส่วนราชการไม่ถูกผูกพันให้ต้องบรรจุเหมือนกับกรณีผู้ออกจากราชการเพราะไปรับ ราชการทหาร หรือไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรี แต่ปล่อยให้ส่วนราชการสามารถ ใช้ดุลยพินิจที่จะเลือกบรรจุหรือไม่ก็ได้

16. การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาจากต่างประเทศเข้ารับราชการ โดยปกติต้องผ่านการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับผู้สําเร็จการศึกษาในประเทศ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 93 – 95 การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรจากสถาบันการศึกษา ต่างประเทศที่ ก.พ. รับรองเข้ารับราชการนั้น โดยปกติจะต้องผ่านการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับผู้สําเร็จการศึกษาในประเทศหรือบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่เปิด

สอบแข่งขันนั้น แต่ต้องเสนอคุณวุฒิให้ ก.พ. พิจารณารับรองเพื่อตีราคาหรือตีค่าคุณวุฒิ และ กําหนดหลักเกณฑ์การบรรจุเป็นราย ๆ ทุกรายไป โดย ก.พ. จะพิจารณาจากหลักสูตรการศึกษา และความน่าเชื่อถือของสถาบันที่ประสาทปริญญาหรือประกาศนียบัตรนั้นด้วย แต่ ก.พ. จะ
ไม่มีอ้านาจในการบรรจุและแต่งตั้ง

17. โดยปกติการบรรจุกับการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นขั้นตอนการบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกัน กล่าวคือ เมื่อมีการแต่งตั้งจะต้องมีการบรรจุตามมาเสมอ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 91, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15) โดยปกติการบรรจุกับการแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญเป็นขั้นตอนของการบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกัน กล่าวคือ เมื่อมีการบรรจุ บุคคลเข้ารับราชการก็จะต้องมีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตามมาเสมอ ซึ่งการบรรจุ หมายถึง การรับบุคคลเข้าเป็นข้าราชการ ส่วนการแต่งตั้ง หมายถึง การมอบหมายให้ทําหน้าที่ใน ตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่ง โดยอาจเกิดขึ้นพร้อมกับเมื่อมีการบรรจุ หรือต่างวาระกันก็ได้

18. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน คําว่า “คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง” หมายถึงการกําหนดเกี่ยวกับ
(1) หลักการบรรจุผู้ทรงคุณวุฒิ
(2) หลักการของระบบอุปถัมภ์
(3) หลักการจําแนกตําแหน่ง
(4) หลักการของระบบคุณธรรม
(5) ความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์
ตอบ 5 หน้า 94, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 16) คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง หมายถึง คุณสมบัติที่กําหนดไว้โดยเฉพาะสําหรับตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวกับคุณวุฒิทางการศึกษา ความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์ในการรับราชการ โดยคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งมีอย่างไรจะมีกําหนดไว้ล่วงหน้าในมาตรฐานกําหนด ตําแหน่งของแต่ละประเภทตําแหน่งที่ ก.พ. จัดทําขึ้น

19. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีกี่ประเภท
(1) ประเภทเดียว
(2) 2 ประเภท
(3) 3 ประเภท
(4) 4 ประเภท
(5) 5 ประเภท
ตอบ 4 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 45), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญแบ่งตามลักษณะงาน ได้เป็น 4 ประเภท คือ

1. ตําแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกระทรวง กรม และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทบริหาร

2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ํากว่าระดับกรม และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการ เช่น หัวหน้าส่วนราชการ ระดับจังหวัดในราชการส่วนภูมิภาค เป็นต้น

3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญา ตามที่ ก.พ. กําหนด (ระดับปริญญาตรีขึ้นไป) เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตําแหน่งนั้น

4. ตําแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตําแหน่งที่ไม่ใช่ตําแหน่งประเภทตามข้อ 1, 2 และ 3 ทั้งนี้ตามที่ ก.พ. กําหนด

20. บํานาญ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาเมื่อพ้นจากราชการ ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับตาม กฎหมายบําเหน็จบํานาญข้าราชการ บํานาญจ่ายเป็นรายเดือน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 69 – 70, (คําบรรยาย) บํานาญ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาเมื่อพ้นจาก หน้าที่ราชการแล้ว ซึ่งผู้ที่จะได้รับบํานาญนี้จะต้องเป็นผู้มีสิทธิได้รับตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาข้าราชการ โดยบํานาญจ่ายให้เป็นรายเดือน

21. หนังสือสั่งการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) ชนิดเดียว
(2) 2 ชนิด
(3) 3 ชนิด
(4) 4 ชนิด
(5) 5 ชนิด
ตอบ 3 หน้า 403, 416, 422, 428, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26 – 27), (คําบรรยาย) หนังสือราชการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 (ฉบับปัจจุบัน) มี 6 ชนิด คือ
1. หนังสือภายนอก
2. หนังสือภายใน
3. หนังสือประทับตรา
4. หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด ได้แก่ คําสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ
5. หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว
6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทําขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี 4 ชนิด ได้แก่ หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก และหนังสืออื่น

22. ข้อใดถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณ
(1) ข่าวราชการเป็นหนังสือภายใน
(2) หนังสือรับรองเป็นหนังสือภายนอก
(3) บันทึกข้อความเป็นหนังสือภายนอก
(4) ข้อบังคับเป็นหนังสือภายนอก
(5) ระเบียบเป็นหนังสือสั่งการ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

23. ระดับทักษะพิเศษ เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใด
(1) บริหาร
(2) วิชาการ
(3) พิเศษ
(4) ทั่วไป
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

24. การบริหารงานบุคคลในระบบราชการไทยได้มีการพัฒนามาตามลําดับ อาจวิเคราะห์ได้ว่าเป็นการพัฒนาจากระบบอุปถัมภ์ไปสู่ระบบคุณธรรม
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 25, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) การบริหารงานบุคคลในระบบราชการของไทย ได้มีการพัฒนามาตามลําดับ โดยพัฒนามาจากรูปแบบที่ไม่เป็นทางการไปสู่รูปแบบที่เป็นทางการ มากขึ้น และจากระบบอุปถัมภ์ไปสู่ระบบคุณธรรม โดยทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้รับบริการ

25. ระดับทรงคุณวุฒิเป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใดตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) อํานวยการระดับสูง
(2) บริหารระดับสูง
(3) ทั่วไป
(4) บริหารระดับต้น
(5) วิชาการ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

26. ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก
(1) เพื่อความเสมอภาคและยุติธรรม
(2) เพื่อความเป็นมาตรฐาน
(3) เพื่อความสมบูรณ์พูนสุข
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 30 – 31, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 (ฉบับแรก) มีดังนี้
1. เพื่อความเป็นระเบียบและมาตรฐาน
2. เพื่อความเสมอภาคและยุติธรรมแก่ผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับราชการและผู้ที่เป็นข้าราชการอยู่แล้ว
3. เพื่อให้หลักประกันความมั่นคงแก่ข้าราชการ
4. เพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการ ทั้งนี้ในขณะที่ใช้ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรกนั้น
ยังไม่มีการแบ่งข้าราชการพลเรือนออกเป็นข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจํา จึงไม่ได้ กําหนดวัตถุประสงค์ที่มุ่งวางหลักการให้ข้าราชการประจําวางตัวเป็นกลางในทางการเมือง

27. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
(1) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน
(2) ตีค่าคุณวุฒิเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน
(3) ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายระเบียบ
ข้าราชการพลเรือน
(4) รับเรื่องราวร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนสามัญ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10 – 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 8) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมาย ระเบียบข้าราชการพลเรือน

2. ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน
รวมตลอดทั้งกําหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็นปัญหา

3. กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น (ตีค่าคุณวุฒิ) เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน

4. พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน ฯลฯ

28. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ได้กําหนดเรื่องการออกจากราชการไว้ อาจกล่าวได้ว่า
เป็นการกําหนดหลักการให้สอดคล้องกับหลักความเสมอภาคตามระบบคุณธรรม
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 307, (คําบรรยาย) การที่กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนกําหนดเรื่องการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญไว้เป็นกิจจะลักษณะนั้นนับได้ว่าเป็นมาตรการประการหนึ่ง ในการให้หลักประกันความมั่นคงแก่ข้าราชการตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลมิให้ข้าราชการต้องถูกออกจากราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือเป็นไปโดยอําเภอใจของผู้บังคับบัญชา

29. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน องค์กรใดต่อไปนี้เป็นผู้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่ง
(1) อ.ก.พ. จังหวัด
(2) อ.ก.พ. กรม
(3) ก.พ.ร.
(4) อ.ก.พ. กระทรวง
(5) ก.พ.
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 48) ก.พ. เป็นผู้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยจําแนกตําแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตําแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน โดยในมาตรฐานกําหนดตําแหน่งให้ระบุชื่อตําแหน่ง ในสายงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก และคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งไว้ด้วย

30. การได้รับพระราชทานเหรียญตราหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานนับว่าเป็น สิ่งตอบแทนส่วนหนึ่งของชีวิตการเป็นข้าราชการ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 171 ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ปฏิบัติราชการดี การได้รับพระราชทานเหรียญตรา หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน นับว่าเป็นสิ่งตอบแทนส่วนหนึ่ง ของชีวิตการเป็นข้าราชการ นอกจากนี้สิ่งตอบแทนที่เป็นแก่นสารของชีวิตการเป็นข้าราชการ ด้วยก็คือ การได้เลื่อนตําแหน่ง เลื่อนเงินเดือน และได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่น ๆ

31. ข้อใดเป็นประเภทของข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ประเภทขาดแคลน
(2) ประเภทพิเศษ
(3) ประเภททั่วไป
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

32. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีจํานวนกี่คน
(1) ไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน
(2) ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน
(3) 3 คน
(4) 4 คน
(5) 5 คน
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 และมาตรา 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” เป็นองค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย

1. กรรมการโดยตําแหน่ง จํานวน 5 คน ได้แก่ นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ

2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย จํานวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน โดยอยู่ในตําแหน่งคราวละ 3 ปี

33. การบริหารงานบุคคลตามระบบอุปถัมภ์มีข้อดีบางประการ คือ
(1) ช่วยให้ความคุ้มครองแก่ข้าราชการ
(2) ช่วยให้ข้าราชการก้าวหน้าเร็วยิ่งขึ้น
(3) ช่วยเสริมการวัดผลโดยการสอบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
(4) ช่วยขจัดผู้ไม่เหมาะสมออกจากวงราชการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 19 การบริหารงานบุคคลตามระบบอุปถัมภ์มีข้อดี คือ
1. ช่วยให้การบริหารงานบุคคลดําเนินไปได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย
2. ช่วยเสริมการวัดผลโดยการสอบตามระบบคุณธรรมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3. ช่วยให้การบริหารงานบุคคลสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที

34.ก.พ.ค. คือ
(1) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
(2) คณะกรรมการทักษะพิเศษตามระบบคุณธรรม
(3) คณะกรรมการพัฒนาระบบคุณธรรม
(4) คณะกรรมการวิชาการพลเรือน
(5) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามระบบคุณธรรม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

35. วินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นอยู่กับเหตุผลเป็นสําคัญที่จะเป็นสิ่งจูงใจให้ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติโดยไม่ต้องอาศัยการบังคับ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 258 ศาสตราจารย์ Joseph B. Kingsbury และศาสตราจารย์ Robert F. Wilcox ได้กล่าวถึงวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญว่าขึ้นอยู่กับเหตุผลเป็นสําคัญที่จะเป็นสิ่งจูงใจให้ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติโดยไม่ต้องอาศัยการบังคับ โดยวินัยประเภทที่เหมาะกับ ข้าราชการพลเรือนสามัญก็คือ วินัยประเภทปฏิบัติด้วยตนเอง (Self-discipline)

36. ผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปของการเป็นข้าราชการพลเรือน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36), (คําบรรยาย) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้าม โดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาบังคับไว้ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้สมัครเข้ารับราชการได้ โดยไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไป มี 4 กรณี ดังนี้
1. เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
2. เป็นบุคคลล้มละลาย
3. เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทําความผิดทางอาญา 4. เป็นผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ

37. ราชการคืองานที่เกี่ยวกับ
(1) การสร้างความสมานฉันท์ความสามัคคีในสังคม
(2) การประสานงานกับภาคเอกชนในการให้บริการต่าง ๆ
(3) การจัดทําบริการสาธารณะต่าง ๆ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 หน้า 1, (คําบรรยาย) ราชการ คือ การงานของประเทศที่เกี่ยวกับการจัดทําบริการสาธารณะ ประเภทต่าง ๆ เช่น การรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน การดูแลสิ่งแวดล้อม การจัดสวัสดิการ การจัดทําประกันสังคม เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบําบัดทุกข์บํารุงสุขของประชาชน ซึ่งการ กําหนดนโยบายในการจัดทําบริการสาธารณะนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาล โดยมีข้าราชการประจํา เป็นเครื่องมือหรือผู้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานที่กําหนดของฝ่ายการเมืองและจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ

38. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน องค์กรกลางในการบริหารงานบุคคลใดต่อไปนี้อาจกําหนด ตําแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหาร นอกจากตําแหน่งที่กําหนดในกฎหมายระเบียบบริหาร
ราชการแผ่นดิน
(1) อ.ก.พ. จังหวัด
(2) อ.ก.พ. กรม
(3) ก.พ.
(4) อ.ก.พ. วิสามัญ
(5) อ.ก.พ. กระทรวง
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 44) นอกจากตําแหน่งที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว อ.ก.พ. กระทรวง อาจกําหนดตําแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน และแจ้งให้ ก.พ. ทราบด้วย

39. ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
(1) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(2) เป็นโรคตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
(3) เป็นบุคคลล้มละลาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

1. เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
2. เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
3. เป็นกรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ ในพรรคการเมือง 4. เป็นบุคคลล้มละลาย ฯลฯ

40. ผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในกรณีใดที่ต้องให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเป็นข้าราชการที่ดีตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
(1) กรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขัน
(2) กรณีผู้สอบแข่งขันได้
(3) กรณีที่มีเหตุผลและความจําเป็นอย่างยิ่ง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

41. ประธานศาลฎีกาเป็นกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมโดยตําแหน่งตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ถูก
(2) ผิต
ตอน 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

42. โดยปกติผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ระเบียบฯ กําหนดให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่น้อยกว่าหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 100 – 101, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18) ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามปกติกําหนดให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ ราชการและการพัฒนาข้าราชการที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ พ.ศ. 2553

43. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมเป็นคณะกรรมการที่ไม่เคยบัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือน ฉบับใดมาก่อน เพิ่งบัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เป็นคณะกรรมการที่ไม่เคยบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใดมาก่อน เพิ่งบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นองค์กรพิทักษ์คุ้มครอง ความเป็นธรรมให้บรรดาข้าราชการพลเรือน และพิทักษ์ระบบการบริหารงานบุคคลของ ข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม

44. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักการสําคัญของระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
(1) หลักความเสมอภาค
(2) หลักความรู้ความสามารถ
(3) หลักความมั่นคง
(4) หลักอาวุโส
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 17 – 18 หลักการสําคัญของระบบคุณธรรม (Merit System) ในการบริหารงานบุคคล หรือการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ มี 4 ประการ คือ
1. หลักความเสมอภาค (Equality)
2. หลักความรู้ความสามารถ (Competence)
3. หลักความมั่นคง (Security)
4. หลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality)

45. หนังสือราชการชนิดใดต่อไปนี้ต้องมีคําลงท้าย
(1) หนังสือภายใน
(2) รายงานการประชุม
(3) หนังสือประทับตรา
(4) หนังสือภายนอก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 404 – 407, (คําบรรยาย) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการ ที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการ มีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก ซึ่งหนังสือภายนอกนี้จะต้อง มีคําขึ้นต้นและคําลงท้ายตามฐานะของผู้รับหนังสือตามตารางการใช้คําขึ้นต้น สรรพนาม และ คําลงท้ายที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 2

46. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษา ในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด คือ
(1) ปลัดกระทรวง
(2) อธิบดี
(3) อ.ก.พ. จังหวัด
(4) อ.ก.พ. กระทรวง
(5) อ.ก.พ. กรม
ตอบ 2 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 55), (คําบรรยาย) กรณีที่มีเหตุพิเศษ ที่ ก.พ. เห็นว่าไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขัน สามารถให้อธิบดี (ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจ สั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57) เป็นผู้คัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งได้เป็นรายกรณี (ไม่ใช่เป็นการพิจารณาเป็นรายบุคคล) เช่น

1. กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด

2. กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง หรือทุนรัฐบาลเพื่อศึกษาวิชาในประเทศ หรือต่างประเทศที่สําเร็จการศึกษาแล้ว เป็นต้น

47. การมีลําดับขั้นการบังคับบัญชาของระบบราชการ หมายถึง ข้าราชการมีการควบคุมตามลําดับ และขั้นสุดท้ายอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุด
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 2, (คําบรรยาย) การมีลําดับขั้นการบังคับบัญชา (Hierarchy) ของข้าราชการตามระบบ ราชการ หมายถึง การที่ข้าราชการประจําแต่ละคนจะต้องมีผู้บังคับบัญชาคอยสั่งการและ ควบคุมการกระทําของเขาตามลําดับ โดยมีการจําแนกอํานาจหน้าที่หรือภารกิจความรับผิดชอบของตําแหน่ง และมีการควบคุมขั้นสุดท้ายอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุด คือ ปลัดกระทรวงโดยอาศัยการจัดโครงสร้างแบบพีระมิด

48. ข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน มีเสรีภาพในการรวมกลุ่ม ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งนี้ ต้อง
(1) ไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน
(2) ไม่กระทบความต่อเนื่องในการจัดทําบริการสาธารณะ
(3) ไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 43) ข้าราชการพลเรือนสามัญ มีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพ ในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทําบริการสาธารณะ และต้องไม่มี วัตถุประสงค์ทางการเมือง ทั้งนี้หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการรวมกลุ่มให้เป็นไปตาม ที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา

49. การสอบแข่งขันตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใดต่อไปนี้
โดยตรง
(1) คุณสมบัติทั่วไป
(2) การบรรจุและแต่งตั้ง
(3) คุณสมบัติเฉพาะ
(4) การย้าย
(5) การโอน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

50. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตามระเบียบข้าราชกาพลเรือนฉบับปัจจุบันประกอบด้วยกรรมการ
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจํานวนกี่คน
(1) 9 คน
(2) 8 คน
(3) 7 คน
(4) 6 คน
(5) 5 คน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

51. เกี่ยวกับบัญชีเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญปัจจุบัน
(1) กําหนดเป็นระดับ
(2) กําหนดเป็นอันดับและขั้น
(3) กําหนดเป็นระดับและขั้น
(4) กําหนดเป็นขั้น
(5) กําหนดเป็นขั้นต่ําและขั้นสูง
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง), (คําบรรยาย) ปัจจุบันข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตําแหน่งในแต่ละประเภทตามที่กําหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ท้าย พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งจะกําหนดเป็นขั้นต่ําและขั้นสูงของ แต่ละระดับของแต่ละประเภทตําแหน่ง โดยไม่มีอันดับและขั้นเป็นอัตรา ดังนั้นจึงไม่เรียกว่า “บัญชีอัตราเงินเดือน” แต่เรียกว่า “บัญชีเงินเดือน

52. ปัจจุบันบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เพื่อใช้ในการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการให้ใช้ได้ไม่เกินกี่ปีนับแต่วันขึ้นบัญชี
(1) 5 ปี
(2) 4 ปี
(3) 3 ปี
(4) 2 ปี
(5) 1 ปี
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัจจุบัน ก.พ. ได้กําหนดหลักเกณฑ์การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เพื่อใช้ในการบรรจุ บุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญว่าให้ใช้ได้ไม่เกิน 2 ปีนับแต่วันขึ้นบัญชี

53. การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ กรณีโอนผู้สอบแข่งขันได้ ระเบียบฯ
กําหนดว่าไม่ต้องทําความตกลงยินยอมจากเจ้าสังกัดเดิม
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 155, (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กําหนดว่าการโอน ข้าราชการพลเรือนสามัญมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ กรณีโอนผู้สอบแข่งขันได้ ผู้ที่สอบได้ ไม่จําเป็นต้องทําความตกลงยินยอมจากเจ้าสังกัดเดิม เพราะถือว่าเป็นความสามารถของข้าราชการที่สอบได้ ส่วนการโอนข้าราชการพลเรือนกรณีได้รับการคัดเลือกนั้น จะต้องทําความตกลงยินยอมกับเจ้าสังกัดเดิมเสียก่อนจึงจะโอนได้

54. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กรม โดยตําแหน่ง
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
(3) ปลัดกระทรวง
(4) อธิบดี
(5) รองปลัดกระทรวง
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 17), (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วย
1. อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดี เป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมาย 1 คน เป็นรองประธาน
2. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายที่มิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้น จํานวน
ไม่เกิน 3 คน

3. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือน ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอํานวยการในกรมนั้น จํานวนไม่เกิน 6 คน
4. เลขานุการ ซึ่ง อ.ก.พ. กรม แต่งตั้ง จํานวน 1 คน

55. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันได้ใช้วิธีการกําหนดตําแหน่งโดยใช้ระบบ
(1) ชันยศ
(2) จําแนกตําแหน่ง
(3) คุณธรรม
(4) อุปถัมภ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 77 – 78, (คําบรรยาย) วิธีการกําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนโดยทั่วไปมี 2 ระบบ คือ ระบบชั้นยศ (R.C.) และระบบจําแนกตําแหน่ง (P.C.) ซึ่งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2551 จะมีวิธีการกําหนดตําแหน่งโดยใช้ระบบจําแนกตําแหน่งแบบแบ่งเป็น ประเภทตําแหน่งตามลักษณะงาน 4 ประเภท คือ ตําแหน่งประเภทบริหาร ตําแหน่งประเภท อํานวยการ ตําแหน่งประเภทวิชาการ และตําแหน่งประเภททั่วไป

56. ข้าราชการการเมืองเข้าดํารงตําแหน่งโดยเป็นไปตามเหตุผลทางการเมืองและระเบียบข้าราชการการเมืองฉบับปัจจุบันด้วย
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 383, 391 ข้าราชการการเมืองเข้าดํารงตําแหน่งโดยเป็นไปตามเหตุผลทางการเมือง หรือตามระบบอุปถัมภ์ (ไม่เน้นเรื่องคุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถ) และตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 (ฉบับปัจจุบัน) กล่าวคือ แต่เดิมข้าราชการการเมืองถือว่าเป็น ข้าราชการพลเรือนประเภทหนึ่งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน แต่ในปัจจุบันได้มีการ แยกข้าราชการการเมืองออกจากข้าราชการพลเรือน เพื่อไม่ให้มีการก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน และได้ประกาศใช้ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 เพื่อใช้บังคับแก่ข้าราชการ การเมืองโดยตรง

57. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันได้กําหนดเรื่องใดต่อไปนี้ที่สอดคล้องกับหลักความรู้ความสามารถตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
(1) การออกจากราชการ
(2) การร้องทุกข์
(3) การอุทธรณ์
(4) การสอบแข่งขัน
(5) การสอบสวนทางวินัย
ตอบ 4 หน้า 17, (คําบรรยาย) หลักความรู้ความสามารถ (Competence) ตามระบบคุณธรรม ในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ หมายถึง การเลือกสรรบุคคลเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการและ แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งสูงขึ้นหรือการพิจารณาเลื่อนระดับตําแหน่งจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นสําคัญ ซึ่งส่วนมากจะกระทําโดยการสอบแข่งขัน สอบสัมภาษณ์ และการทดลองปฏิบัติงาน

58. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นข้าราชการการเมือง
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(3) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 387 – 388, 391, (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการการเมือง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ตําแหน่งข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น
2. ตําแหน่งข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ได้แก่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

59.ก.พ. มีอํานาจแต่งตั้งอนุกรรมการ เพื่อทําการใด ๆ แทนได้ คือ
(1) อ.ก.พ. กระทรวง
(2) อ.ก.พ. กรม
(3) อ.ก.พ. วิสามัญ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 12) ก.พ. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. วิสามัญ” เพื่อทําการใด ๆ แทนได้ โดยจํานวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ รวมตลอดทั้ง วิธีการได้มา วาระการดํารงตําแหน่ง และการพ้นจากตําแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.

60. ตําแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(1) เป็นข้าราชการการเมือง
(2) มีฐานะเท่ากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(3) อาจมีหลายคนก็ได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 387, 393 ตําแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 ซึ่งกําหนดให้มีตําแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จํานวนเพียง 1 อัตรา (ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ)

61. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประเภทอํานวยการ ได้แก่ (1) หัวหน้าส่วนราชการต่ํากว่ากระทรวงแต่สูงกว่าระดับกรม
(2) หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม
(3) หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
(4) หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

62. “การคัดเลือก” ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้กระทรวง กรม เจ้าสังกัดเป็นผู้ดําเนินการ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กําหนดให้กระทรวง กรมเจ้าสังกัด เป็นผู้ดําเนินการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งได้โดยไม่ต้องสอบแข่งขัน

63. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรีขึ้นไปตามที่ ก.พ. กําหนด
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

64. ผู้เคยถูกลงโทษปลดออกจากราชการซึ่งถือว่าเป็นกรณีต้องห้ามสําหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน ซึ่งอาจขอให้ ก.พ. พิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ ถ้าผู้นั้นออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36), (คําบรรยาย) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้าม โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาบังคับไว้ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้สมัครเข้ารับราชการได้ โดยไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปของการเป็นข้าราชการพลเรือน มี 2 กรณี ดังนี้

1. เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และเป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทําผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว
2. เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทําผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่เป็นกรณีออกเพราะทุจริตต่อหน้าที่

65. ตําแหน่งผู้อํานวยการเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการ ระดับสูง เช่นเดียวกับตําแหน่งนายอําเภอ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตําแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร, ผู้อํานวยการเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร และบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554

66.การลาออกจากราชการนั้น ถ้าผู้มีอํานาจสั่งบรรจุฯ ไม่ได้สั่งอนุญาตให้ลาออกหรือไม่ได้ยับยั้งการอนุญาต ให้ลาออก การลาออกจะมีผลโดยอัตโนมัตินับตั้งแต่วันขอลาออก
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 109) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่ง โดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่า 30 วัน ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 (ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจสั่งอนุญาต ให้ลาออก) เห็นว่าจําเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันขอลาออกก็ได้ แต่ถ้าผู้มีอํานาจสั่งบรรจุฯ ไม่ได้สั่งอนุญาตให้ลาออก หรือไม่ได้ยับยั้ง การอนุญาตให้ลาออก การลาออกจะมีผลโดยอัตโนมัตินับตั้งแต่วันขอลาออก ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กําหนด

67.กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการ ก.พ.ค. อีกก็ได้
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

68. ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไประดับอาวุโส อาจได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งด้วย
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

69. ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณฉบับปัจจุบันใช้บังคับโดยตรงกับหน่วยงานราชการใด
(1) ราชการบริหารส่วนกลาง
(2) ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
(3) ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 400, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26), (คําบรรยาย) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย งานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ให้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ ซึ่งหมายถึง กระทรวง กรม สํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐทั้งในราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือในต่างประเทศ และให้หมายความ รวมถึงคณะกรรมการด้วย

70. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก (ฉบับ พ.ศ. 2471) ได้มุ่งวางหลักสําคัญประการหนึ่งคือ หลักการ แยกข้าราชการประจําออกจากข้าราชการการเมือง
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

71. การเลื่อนระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญโดยวิธีสอบคัดเลือก อาจวิเคราะห์ได้ว่าเป็น
การพิจารณาจากปัจจัยด้านใด
(1) ความรู้ความสามารถ
(2) อาวุโส
(3) จริยธรรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 220, (คําบรรยาย) การเลื่อนระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญโดยวิธีสอบคัดเลือกและวิธีการคัดเลือกเป็นการพิจารณาจากปัจจัยด้านความรู้ความสามารถความประพฤติ (คุณธรรมและจริยธรรม) และประวัติการรับราชการ (อาวุโส) ซึ่งจะต้อง เป็นผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว

72. การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาจากต่างประเทศเข้ารับราชการ มีหลักเกณฑ์ที่สําคัญอย่างไร
(1) โดยปกติต้องผ่านการสอบแข่งขัน
(2) ก.พ. เป็นผู้ดําเนินการบรรจุและแต่งตั้ง
(3) บรรจุกรณีพิเศษก็ได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

73. ข้อใดเป็นคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน
(1) มีสัญชาติไทย
(2) เป็นบุคคลล้มละลาย
(3) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 5), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36) คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน ได้แก่
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

74. หนังสือราชการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) 4 ชนิด
(2) 5 ชนิด
(3) 6 ชนิด
(4) 7 ชนิด
(5) 8 ชนิด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

75. การย้ายตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน หมายถึง
(1) การเปลี่ยนไปดํารงตําแหน่งอื่นในกรมเดียวกัน
(2) การเปลี่ยนไปดํารงตําแหน่งอื่นในสังกัดเดียวกัน แต่อาจต่างท้องที่กันก็ได้
(3) การเปลี่ยนไปดํารงตําแหน่งอื่นในต่างกรม แต่อยู่ในกระทรวงเดียวกัน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (คําบรรยาย) ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญ หมายถึง การย้ายหรือการเปลี่ยนไปดํารงตําแหน่งอื่น ในกรมเดียวกัน และต้องย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับเดียวกัน กล่าวคือ สังกัดกรมเดิม แต่อาจเปลี่ยนไปอยู่ในส่วนราชการภายในกรมส่วนกลาง หรือไปอยู่จังหวัดหรืออําเภอในส่วนภูมิภาค ก็ได้ ส่วนการโอน หมายถึง การเปลี่ยนไปดํารงตําแหน่งอื่นในต่างกรม กล่าวคือ สังกัดกรมใหม่ แต่อาจจะอยู่ในกระทรวงเดียวกัน หรือกระทรวงใหม่ก็ได้

76. การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปประจํากระทรวง ประจํากรม หรือประจําจังหวัด ไม่ทําให้ขาดจาก
อัตราเงินเดือนเดิม
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 19), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 69), (คําบรรยาย) การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปประจําส่วนราชการ (ประจํา กระทรวง ประจํากรม ประจํากอง หรือประจําจังหวัด) ซึ่งเป็นการสั่งให้พ้นจากตําแหน่งหน้าที่เดิม เป็นการชั่วคราว จะไม่ทําให้ขาดจากอัตราเงินเดือนเดิม ยังคงรับเงินเดือนในอัตราเดิมอยู่ จึงไม่ทําให้อัตราเงินเดือนว่าง ฉะนั้นการที่จะแต่งตั้งผู้อื่นให้มาดํารงตําแหน่งแทนจะกระทําไม่ได้ คงทําได้แต่เพียงสั่งให้ผู้อื่นรักษาการในตําแหน่งได้เท่านั้น

77. ระดับใดต่อไปนี้เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการตามระเบียบข้าราชการ
พลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ระดับอาวุโส
(2) ระดับชํานาญงาน
(3) ระดับทักษะพิเศษ
(4) ระดับปฏิบัติการ
(5) ระดับต้น
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

78. ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญต้อง
(1) มีคุณสมบัติทั่วไป
(2) ไม่มีลักษณะต้องห้าม
(3) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นลักษณะต้องห้ามบางประการได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36),
(คําบรรยาย) ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. มีคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน
2. ไม่มีลักษณะต้องห้ามของข้าราชการพลเรือน
3. ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามบางประการ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นลักษณะต้องห้ามบางประการได้

79. ปัจจุบันข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนแบ่งเป็นประเภท
(1) 5 ประเภท
(2) 4 ประเภท
(3) 3 ประเภท
(4) 2 ประเภท
(5) ประเภทเดียว
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 35), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือน มี 2 ประเภท คือ
1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรียนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้ง ตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งข้าราชการประเภทนี้ถือเป็น ข้าราชการส่วนใหญ่ที่มีจํานวนมากที่สุดตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้
2. ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา

80. คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประการหนึ่งคือต้องสําเร็จการศึกษาอย่างต่ําชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

81. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญระดับใดที่ระเบียบฯ กําหนดให้ต้องนําความกราบบังคมทูลเพื่อ
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(1) ประเภทบริหารระดับสูง
(2) ประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(3) ประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 17 – 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 57 (1) (2) (7)), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีขั้นตอนการบรรจุและแต่งตั้งโดยต้องขออนุมัติหรือขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและนําความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ได้แก่

1. ตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เช่น ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น

2. ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ

82. การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขัน ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุ
และแต่งตั้งดําเนินการได้โดยวิธี
(1) คัดเลือก
(2) สอบคัดเลือก
(3) คัดเลือกหรือสอบคัดเลือก
(4) อาจใช้วิธีเดียวกันกับการสอบแข่งขันก็ได้
(5) วิธีใดก็ได้ตามความเหมาะสม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

83. ตําแหน่งใดต่อไปนี้ไม่ใช่ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง
(1) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ
(2) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) ปลัดกระทรวงการคลัง
(4) รองอธิบดีกรมการปกครอง
(5) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มี 2 ระดับ คือ
1. บริหารระดับต้น ได้แก่ รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (รองอธิบดี), รองผู้ว่าราชการ จังหวัด, อัครราชทูต เป็นต้น
2. บริหารระดับสูง ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ ปลัดกระทรวง), รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ รองปลัดกระทรวง), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (อธิบดี), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (เช่น เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ), ผู้ว่าราชการจังหวัด เอกอัครราชทูต เป็นต้น

84. ในการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการของข้าราชการฝ่ายพลเรือนในปัจจุบันมีกฎหมายกําหนดวิธีปฏิบัติไว้ เป็นการแน่นอน และมีกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวหลายฉบับด้วย
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 15 ในการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการของข้าราชการฝ่ายพลเรือนในปัจจุบันมีพระราชบัญญัติกําหนดวิธีปฏิบัติไว้เป็นการแน่นอน และมีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับเรื่อง ดังกล่าวหลายฉบับด้วยกัน เช่น ระเบียบข้าราชการพลเรือน ระเบียบข้าราชการตุลาการ ระเบียบข้าราชการอัยการ เป็นต้น

85. การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎ ก.พ.
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

86. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมีวาระดํารงตําแหน่งคราวละกี่ปี
(1) 2 ปี
(2) 3 ปี
(3) 4 ปี
(4) 5 ปี
(5) 6 ปี
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

87. ระดับใดต่อไปนี้เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการ
(1) ระดับทักษะพิเศษ
(2) ระดับเชี่ยวชาญ
(3) ระดับชํานาญการพิเศษ
(4) ระดับสูง
(5) ระดับอาวุโส
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

88. ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 กําหนดให้ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง
รักษาการไปสู่ระบบคุณธรรม
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 400, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 กําหนดให้ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเป็น ผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม ระเบียบนี้ รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวกและจัดทําคําอธิบายกับให้มีหน้าที่ดําเนินการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานสารบรรณ

89. ในการปฏิบัติราชการเพื่อดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะตามนโยบายของรัฐบาลจะบรรลุผลสําเร็จ
มากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับ
(1) ข้าราชการการเมือง
(2) ตัวบทกฎหมาย
(3) ข้าราชการในพื้นที่
(4) ประชาชนโดยส่วนรวม
(5) ระบบราชการ
ตอบ 5 หน้า 1, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1) ในการปฏิบัติราชการเพื่อดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะตามนโยบายของรัฐบาลจะบรรลุผลสําเร็จมากน้อยเพียงใดหรือผลจะปรากฏออกมา ดีชั่วประการใด ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับคน การจัดองค์การ และวิธีการทํางาน หรือกล่าวอย่างรวบรัด ก็คือ ขึ้นอยู่กับระบบราชการว่ามีลักษณะอย่างใดเป็นสําคัญ

90. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการถือว่าเป็นหนังสือราชการตามระเบียบ
งานสารบรรณฉบับปัจจุบัน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 403, (คําบรรยาย) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 กําหนดว่า หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐาน ในราชการ ได้แก่
1. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
2. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
3. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
4. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
5. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ
6. ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

91. มติของ ก.พ. ในการยกเว้นคุณสมบัติบางประการที่เป็นข้อห้ามของการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องได้ คะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36 วรรคสอง และวรรคสี่) มติของ ก.พ. ในการยกเว้นลักษณะต้องห้าม (คุณสมบัติข้อห้าม) บางประการสําหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนนั้น ต้องได้คะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของจํานวนกรรมการที่มาประชุม และการลงมติให้กระทําโดยลับ ซึ่งในการนี้ ก.พ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้

92. ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
มีกี่ระดับ
(1) ระดับเดียว
(2) 2 ระดับ
(3) 3 ระดับ
(4) 4 ระดับ
(5) 5 ระดับ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

93. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จํานวนเท่าใด เป็นตําแหน่งประเภทใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง กําหนด
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 47)
ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จํานวนเท่าใด และเป็นตําแหน่ง ประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง กําหนด โดยต้องคํานึงถึง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อนและประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง

94. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 เป็นกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก มีผลใช้บังคับทันทีนับตั้งแต่วันประกาศเป็นกฎหมายในปี พ.ศ. 2471
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 29 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 เป็นกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก ซึ่งประกาศเป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 แต่มิได้มีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันประกาศในราชกิจจา นุเบกษา โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้เริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 หรืออีกราว ปีเศษให้หลัง

95. หนังสือประชาสัมพันธ์ตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบัน ได้แก่
(1) ระเบียบ
(2) ข้อบังคับ
(3) คําสั่ง
(4) แถลงการณ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

96. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน คือ ฉบับ พ.ศ.
(1) 2518
(2) 2535
(3) 2551
(4) 2540
(5) 2557
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (คําบรรยาย) ปัจจุบันกฎหมายที่ใช้ในการบริหารงานบุคคล ภาครัฐ คือ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551

97. เงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญไม่ถือเป็นเงินเดือนเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ
บําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 55 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 50 วรรคห้า) เงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญไม่ถือเป็นเงินเดือนเพื่อเป็นเกณฑ์ ในการคํานวณบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ

98. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กระทรวง
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) รองปลัดกระทรวง
(3) รองนายกรัฐมนตรี
(4) ปลัดกระทรวง
(5) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

99. การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้าย
จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแล้ว
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 63 วรรคสาม), (คําบรรยาย) การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้ายจะกระทํามิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้นั้น ส่วนการย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงกว่าเดิม จะไม่สามารถดําเนินการได้แต่ต้องใช้วิธีการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทน

100. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประเภทอํานวยการ
ได้แก่ตําแหน่ง
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) นายอําเภอ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3(คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทอํานวยการตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มี 2 ระดับ คือ

1. อํานวยการระดับต้น ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ํากว่าระดับกรม (ผู้อํานวยการกอง/ ศูนย์, เลขานุการกรม), หัวหน้าสํานักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัด (ระดับต้น), นายอําเภอ (ระดับต้น) เป็นต้น

2. อํานวยการระดับสูง ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ํากว่าระดับกรม (ผู้อํานวยการสํานัก/ ศูนย์/สถาบัน), หัวหน้าสํานักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัด (ระดับสูง), ปลัดจังหวัด, นายอําเภอ (ระดับสูง), ผู้ตรวจราชการกรม เป็นต้น

Advertisement