การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ตําแหน่งที่กําหนดในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่
(1) ปลัดอําเภอ
(2) ปลัด อบต.
(3) นายก อบต.
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1(เอกสารประกอบการสอน หน้า 13) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีการกําหนดตําแหน่ง ใน พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดี รองอธิบดี ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานัก ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอําเภอ ปลัดอําเภอ เป็นต้น

Advertisement

2. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประเภททั่วไปมีกี่ระดับ
(1) 11 ระดับ
(2) 5 ระดับ
(3) 2 ระดับ
(4) 4 ระดับ
(5) 3 ระดับ
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13 – 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 46) ระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้
1. ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ
4. ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ ทั้งนี้การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่งให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎ ก.พ.

3. การมีลําดับขั้นการบังคับบัญชาของข้าราชการตามระบบราชการ หมายถึง ข้าราชการมีการควบคุม
ขั้นสุดท้ายอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุด
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 2, (คําบรรยาย) การมีลําดับขั้นการบังคับบัญชา (Hierarchy) ของข้าราชการตาม ระบบราชการ หมายถึง การที่ข้าราชการประจําแต่ละคนจะต้องมีผู้บังคับบัญชาคอยสั่งการ และควบคุมการกระทําของเขา โดยมีการจําแนกอํานาจหน้าที่หรือภารกิจความรับผิดชอบ ของตําแหน่ง และมีการควบคุมขั้นสุดท้ายอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุด คือ ปลัดกระทรวง
โดยอาศัยการจัดโครงสร้างแบบพีระมิด

4. ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
(1) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(2) เป็นโรคตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
(3) เป็นบุคคลล้มละลาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
2. เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
3. เป็นกรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่
ในพรรคการเมือง
4. เป็นบุคคลล้มละลาย ฯลฯ

5. กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีวาระดํารงตําแหน่งกี่ปี
(1) 2 ปี
(2) 3 ปี
(3) 4 ปี
(4) 5 ปี
(5) 6 ปี
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 24 และมาตรา 29), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค.” ประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และ ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค. โดยตําแหน่ง โดยกรรมการ ก.พ.ค. ต้องทํางาน เต็มเวลา และมีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว ดังนั้นกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ก.พ.ค. อีกมิได้ แต่ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. ใหม่

6. การที่กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนได้กําหนดเรื่องการออกจากราชการไว้เป็นกิจจะลักษณะ
นับได้ว่าเป็นมาตรการที่เป็นไปตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 307, (คําบรรยาย) การที่กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนกําหนดเรื่องการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญไว้เป็นกิจจะลักษณะนั้นนับได้ว่าเป็นมาตรการประการหนึ่ง ในการให้หลักประกันความมั่นคงแก่ข้าราชการตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลมิให้ข้าราชการต้องถูกออกจากราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือเป็นไปโดยอําเภอใจของผู้บังคับบัญชา

7. หนังสือสั่งการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) ชนิดเดียว
(2) 3 ชนิด
(3) 2 ชนิด
(4) 5 ชนิด
(5) 4 ชนิด
ตอบ 2 หน้า 403, 416, 422, 428, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26 – 27), (คําบรรยาย) หนังสือราชการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไข เพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 (ฉบับปัจจุบัน) มี 6 ชนิด คือ
1. หนังสือภายนอก
2. หนังสือภายใน
3. หนังสือประทับตรา
4. หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด ได้แก่ คําสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ
5. หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว
6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทําขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี 4 ชนิด ได้แก่ หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก และหนังสืออื่น

8. การสอบแข่งขันเกี่ยวข้องกับเรื่องใดต่อไปนี้โดยตรง
(1) คุณสมบัติเฉพาะ
(2) การย้าย
(3) การบรรจุและแต่งตั้ง
(4) คุณสมบัติทั่วไป
(5) การโอน
ตอบ 3 หน้า 92, (คําบรรยาย) การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน โดยบรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ ถือเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปของการบรรจุและแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญในทุกประเทศทั้งนี้ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญส่วนใหญ่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งจาก ผู้สอบแข่งขันได้ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งโดยไม่ต้องสอบแข่งขัน

9.คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เรียกโดยย่อว่า
(1) ก.พ.ธ.
(2) ก.พ.ค.
(3) ก.พ.
(4) ก.ก.พ.
(5) ก.ก.ธ.
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

10. ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ
(1) การบริหารงานบุคคลภาครัฐ
(2) การกําหนดตําแหน่ง
(3) การจัดส่วนราชการ
(4) สํานักงาน ก.พ.
(5) สํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 1 หน้า 15, (คําบรรยาย) ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารงานบุคคลหรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ โดยระเบียบข้าราชการพลเรือนแต่ละฉบับจะตราขึ้นโดยอาศัยหลักวิชาการในทางการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรมเป็นเกณฑ์ ดังนั้นการที่จะศึกษาทําความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการพลเรือนจึงจําเป็นต้องมีความรู้ในหลักวิชาของการบริหารงานบุคคลเป็นพื้นฐานที่สําคัญ

11. คําว่า “ปลัดกระทรวง” ตามคํานิยามของระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ให้หมายความรวมถึง ปลัดกรุงเทพมหานครด้วย
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 4) คําว่า “ปลัดกระทรวง” ให้หมายความรวมถึงปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวง

12. บําเหน็จดํารงชีพเป็นเงินที่ผู้รับบํานาญมีสิทธิได้รับ ปัจจุบันจะมีสิทธิได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปีในปีที่เกษียณ อายุราชการ และเมื่ออายุครบ 65 ปีอีกครั้งหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) บําเหน็จดํารงชีพ คือ เงินที่จ่ายให้ข้าราชการบํานาญเพื่อช่วยเหลือการดํารงชีพซึ่งปัจจุบันกระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงกําหนดอัตราและวิธีการรับบําเหน็จดํารงชีพพ.ศ. 2562 ข้อ 3 ไว้ว่า บําเหน็จดํารงชีพให้จ่ายผู้รับบํานาญในอัตรา 15 เท่าของบํานาญ รายเดือน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยให้มีสิทธิขอรับดังนี้
1. ผู้รับบํานาญอายุต่ํากว่า 65 ปี รับได้ไม่เกิน 200,000 บาท
2. ผู้รับบํานาญอายุตั้งแต่ 65 ปี แต่ไม่ถึง 70 ปี รับได้ไม่เกิน 400,000 บาท
3. ผู้รับบํานาญที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ให้มีสิทธิรับได้ไม่เกิน 500,000 บาท

13. ระดับทักษะพิเศษ เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือน ฉบับปัจจุบันประเภทใด
(1) พิเศษ
(2) บริหาร
(3) ทั่วไป
(4) วิชาการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

14. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีกี่คน
(1) 5 คน
(2) 6 คน
(3) 7 คน
(4) ไม่น้อยกว่า 5 คน
(5) ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 และมาตรา 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” เป็นองค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย

1. กรรมการโดยตําแหน่ง จํานวน 5 คน ได้แก่ นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเลขาธิการ ก.พ. เป็น
กรรมการและเลขานุการ

2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย จํานวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน โดยอยู่ในตําแหน่งคราวละ 3 ปี

15. ระดับใดต่อไปนี้เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการ
(1) ระดับสูง
(2) ระดับต้น
(3) ระดับทรงคุณวุฒิ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

16. กรรมการในคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระจะได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
เป็นกรรมการอีกไม่ได้
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

17. ผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือสอบเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ระเบียบฯ บัญญัติว่า ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปของการเป็นข้าราชการพลเรือน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36), (คําบรรยาย) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้าม โดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาบังคับไว้ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้สมัครเข้ารับราชการได้ โดยไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไป มี 4 กรณี ดังนี้
1. เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
2. เป็นบุคคลล้มละลาย
3. เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทําความผิดทางอาญา
4. เป็นผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ

18. การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับ การรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต้องคํานึงถึง
(1) ความรู้ความสามารถของบุคคล
(2) ความเสมอภาค ความเป็นธรรม
(3) ประโยชน์ของทางราชการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 42 (1)) การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับการรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต้องคํานึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ

19. คําขึ้นต้นในหนังสือราชการถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังใช้ว่า
(1) กราบเรียน ฯพณฯ
(3) เรียน
(2) ขอประทานกราบเรียน
(4) กราบเรียน
(5) เรียน ฯพณฯ
ตอบ 3 หน้า 479 – 480, (คําบรรยาย) การใช้คําขึ้นต้นตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย งานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ในหนังสือราชการ สําหรับผู้รับหนังสือที่เป็นบุคคลธรรมดานั้น มี 2 แบบ คือ

1. สําหรับประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภาประธานศาลฎีกา รัฐบุรุษ ให้ใช้คําขึ้นต้นว่า “กราบเรียน” และใช้ คําลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง”

2. บุคคลธรรมดานอกจากข้อ 1. ให้ใช้คําขึ้นต้นว่า “เรียน” และใช้คําลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถือ”

20. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประเภททั่วไปมีกี่ระดับ
(1) ระดับเดียว
(2) 2 ระดับ
(3) 3 ระดับ
(4) 4 ระดับ
(5) 5 ระดับ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

21. ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญส่วนใหญ่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งจาก
ผู้สอบแข่งขันได้
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

22. เรื่องใดต่อไปนี้ที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ศาลปกครอง
(2) ศาลรัฐธรรมนูญ
(3) ศาลทหาร
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการบริหาร งานบุคคลของข้าราชการพลเรือนไว้หลายเรื่อง เช่น การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การสับเปลี่ยนหน้าที่ การออกจากราชการ การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ คณะกรรมการพิทักษ์ ระบบคุณธรรม ฯลฯ ส่วนเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ศาลปกครอง ศาลทหาร ข้าราชการประจําต่างประเทศพิเศษ รัฐพาณิชย์ เป็นเรื่องที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน

23. ระดับเชี่ยวชาญ เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใด
(1) บริหารระดับสูง
(2) อํานวยการระดับสูง
(3) ทั่วไป
(4) วิชาการ
(5) บริหารระดับต้น
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

24. การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้าย
จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแล้ว
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 63
วรรคสาม), (คําบรรยาย) การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้ายจะกระทํามิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้นั้น ส่วนการย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงกว่าเดิม จะไม่สามารถดําเนินการได้แต่ต้องใช้วิธีการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทน

25. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กระทรวง
(1) ปลัดกระทรวง
(2) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
(4) รองปลัดกระทรวง
(5) อธิบดี
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 15), (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วย

1. อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด (รัฐมนตรีว่าการกระทรวง) เป็นประธาน ปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. 1 คน

2. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายที่มิได้เป็นข้าราชการ ในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 3 คน

3. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือน ผู้ดํารงตําแหน่งประเภท
บริหารระดับสูงในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 5 คน

4. เลขานุการ ซึ่ง อ.ก.พ. กระทรวง แต่งตั้ง จํานวน 1 คน

26. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ประเภทบริหารได้แก่ตําแหน่ง
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) ปลัดจังหวัด
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มี 2 ระดับ คือ

1. บริหารระดับต้น ได้แก่ รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (รองอธิบดี), รองผู้ว่าราชการ จังหวัด,อัครราชทูต เป็นต้น

2. บริหารระดับสูง ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ ปลัดกระทรวง), รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ รองปลัดกระทรวง), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (อธิบดี), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม (เช่น เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ), ผู้ว่าราชการจังหวัด
เอกอัครราชทูต เป็นต้น

27. ข้าราชการตุลาการ (ผู้พิพากษา) อาจโอนมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญได้ตามระเบียบข้าราชการพลเรือน ฉบับปัจจุบัน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 POL 2302 (PA 220) (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง), (คําบรรยาย) การโอนพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญ (เช่น ข้าราชการตํารวจ ข้าราชการทหาร ข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการตุลาการ (ผู้พิพากษา) ข้าราชการอัยการ ข้าราชการรัฐสภา ข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น) และเจ้าหน้าที่ของ หน่วยงานอื่นของรัฐที่ ก.พ. กําหนด มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตลอดจนจะแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทําได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนด ซึ่ง ก.พ. จะพิจารณาอนุมัติโดยคํานึงถึงประโยชน์ ของทางราชการเป็นหลัก

28. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมปกติได้แก่ อธิบดี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหาร มีระดับ ตําแหน่งเช่นเดียวกับตําแหน่งปลัดกระทรวง
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

29. ราชการคืองานที่เกี่ยวกับ
(1) การจัดทําบริการสาธารณะ
(2) หน้าที่ของรัฐบาล
(3) มีจุดมุ่งหมายเพื่อบําบัดทุกข์บํารุงสุข
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 1, (คําบรรยาย) ราชการ คือ การงานของประเทศที่เกี่ยวกับการจัดทําบริการสาธารณะ ประเภทต่าง ๆ เช่น การรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน การดูแลสิ่งแวดล้อม การจัดสวัสดิการ การจัดทําประกันสังคม เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบําบัดทุกข์บํารุงสุขของประชาชน ซึ่งการ กําหนดนโยบายในการจัดทําบริการสาธารณะนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาล โดยมีข้าราชการประจํา เป็นเครื่องมือหรือผู้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานที่กําหนดของฝ่ายการเมืองและจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ

30. ปัจจุบันกรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอยู่ในตําแหน่งคราวละกี่ปี
(1) 5 ปี
(2) 4 ปี
(3) 3 ปี
(4) 2 ปี
(5) 1 ปี
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

31. การยื่นอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัยขั้นไล่ออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญให้ยื่นต่อองค์กรใด
(1) ก.พ.
(2) ก.พ.ศ.
(3) อ.ก.พ. กระทรวง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24 – 25), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 114), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ไม่ว่าจะเป็นโทษทางวินัยสถานใด หรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 110 (1) (3) (5) (6) (7) และ (3) ของ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.)ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคําสั่ง

32. ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณฉบับปัจจุบัน ใช้บังคับโดยตรงกับ
(1) ราชการบริหารส่วนกลาง
(2) ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
(3) ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 POL 2302 (PA 220) หน้า 400, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26), (คําบรรยาย) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย งานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ให้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ ซึ่งหมายถึง กระทรวง กรม สํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐทั้งในราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือในต่างประเทศ และให้หมายความ รวมถึงคณะกรรมการด้วย

33. ข้าราชการประจํามีขอบเขตแห่งอํานาจหน้าที่ที่สําคัญอย่างไร
(1) มีการควบคุมการปฏิบัติงานตามสายการบังคับบัญชา
(2) มีความรับผิดชอบตามกลไกของระบบงานประจํา
(3) มีหน้าที่เกี่ยวกับการกําหนดนโยบายของข้าราชการการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 8, คําบรรยาย) ข้าราชการประจํามีขอบเขตแห่งอํานาจหน้าที่ที่สําคัญ คือ การมี ความรับผิดชอบตามกลไกของระบบงานประจําหรือระบบราชการ นั่นคือ มีการควบคุม การปฏิบัติงานตามสายการบังคับบัญชา และมีหน้าที่ต้องรายงานและเสนอแนะนโยบาย สาธารณะต่อฝ่ายข้าราชการการเมือง รวมทั้งมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายของข้าราชการการเมือง และเสนอแนวปฏิบัติตามนโยบายของข้าราชการการเมือง ในส่วนข้าราชการ การเมืองนั้นจะมีหน้าที่รับผิดชอบตามกลไกของรัฐธรรมนูญ

34. ข้อใดเป็นลักษณะของข้าราชการการเมือง
(1) ต้องสังกัดพรรคการเมือง
(2) มีวาระในการดํารงตําแหน่ง
(3) เน้นเรื่องความรู้ความสามารถ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 391 (คําบรรยาย) ลักษณะของข้าราชการการเมือง มีดังนี้
1. เป็นข้าราชการการเมืองฝ่ายบริหารตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 (ฉบับปัจจุบัน)
2. มีอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทนรายเดือนคงที่ ซึ่งกําหนดตามตําแหน่งและไม่มีขั้นวิ่ง
3. การเข้าดํารงตําแหน่งเป็นไปตามเหตุผลทางการเมืองหรือตามระบบอุปถัมภ์ (ไม่เน้นเรื่องคุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถ)
4. การออกจากตําแหน่งในกรณีปกติเป็นไปตามวาระ หรือมีวาระในการดํารงตําแหน่งหรือเป็นไปตามเหตุผลทางการเมือง
5. ไม่จําเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ฯลฯ

35. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ประเภทบริหาร ได้แก่
(1) หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง
(2) หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
(3) รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 45), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญแบ่งตามลักษณะงาน ได้เป็น 4 ประเภท คือ

1. ตําแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกระทรวง กรม และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทบริหาร

2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรมและตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการ เช่น หัวหน้าส่วนราชการ ระดับจังหวัดในราชการส่วนภูมิภาค เป็นต้น

3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญา ตามที่ ก.พ. กําหนด (ระดับปริญญาตรีขึ้นไป) เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตําแหน่งนั้น
4. ตําแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตําแหน่งที่ไม่ใช่ตําแหน่งประเภทตามข้อ 1, 2 และ 3 ทั้งนี้ตามที่ ก.พ. กําหนด (ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ)

36. ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก
(1) เพื่อความเสมอภาคและยุติธรรม
(2) เพื่อความเป็นมาตรฐาน
(3) เพื่อความเป็นธรรมในสังคม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 30 – 31, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 (ฉบับแรก) มีดังนี้
1. เพื่อความเป็นระเบียบและมาตรฐาน
2. เพื่อความเสมอภาคและยุติธรรมแก่ผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับราชการและผู้ที่เป็นข้าราชการอยู่แล้ว
3. เพื่อให้หลักประกันความมั่นคงแก่ข้าราชการ ทั้งนี้ในขณะที่ใช้ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรกนั้น ยังไม่มีการแบ่งข้าราชการพลเรือน ออกเป็นข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจํา จึงไม่ได้กําหนดวัตถุประสงค์ที่มุ่งวางหลักการให้ข้าราชการประจําวางตัวเป็นกลางในทางการเมือง
4. เพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการ

37. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นข้าราชการการเมือง
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(3) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5หน้า 387 – 388, 391, (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการการเมือง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ตําแหน่งข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น

2. ตําแหน่งข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ได้แก่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

38. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญระดับทรงคุณวุฒิเป็นตําแหน่งประเภท
(1) บริหารระดับสูง
(2) วิชาการระดับสูง
(3) วิชาการ
(4) อํานวยการระดับสูง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

39. มติของ ก.พ. ในการยกเว้นลักษณะต้องห้ามสําหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนบางประการต้องได้คะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ของจํานวนกรรมการที่มาประชุม
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36 วรรคสอง และวรรคสี่) มติของ ก.พ. ในการยกเว้นลักษณะต้องห้าม (คุณสมบัติข้อห้าม) บางประการสําหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนนั้น ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของจํานวนกรรมการที่มาประชุม และการลงมติ ให้กระทําโดยลับ ซึ่งในการนี้ ก.พ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้

40. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา และอยู่ในตําแหน่งได้จนครบวาระตามที่ กําหนดไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

41. ระดับใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทวิชาการ
(1) ระดับชํานาญงาน
(2) ระดับทรงคุณวุฒิ
(3) ระดับปฏิบัติการ
(5) ระดับเชี่ยวชาญ
(4) ระดับชํานาญการพิเศษ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

42. หนังสือราชการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) 2 ชนิด
(2) 3 ชนิด
(3) 4 ชนิด
(4) 5 ชนิด
(5) 6 ชนิด
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

43. ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ มีขั้นตอนการบรรจุและแต่งตั้งที่สําคัญคือ ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และปลัดกระทรวงเป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 17 – 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 57 (1) (2) (7)), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีขั้นตอนการบรรจุและแต่งตั้งโดยต้องขออนุมัติหรือขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและนําความกราบบังคม ทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งได้แก่
1. ตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เช่น ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดี และผู้ว่า
ราชการจังหวัด เป็นต้น
2. ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ

44. ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 59 วรรคสาม), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อน แต่ทั้งนี้จะไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือการรับเงินเดือนหรือ ผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลอง ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ดังนั้นจึงไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือข้อห้ามของข้าราชการพลเรือน แต่อย่างใด

45. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้องไม่เป็น
(1) ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(2) กรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งอยู่แล้ว
(3) ผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 วรรคสอง) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้องไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือ เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง และมิได้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งอยู่แล้ว

46. องค์กรใดต่อไปนี้เป็นผู้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ
(1) ก.พ.
(2) อ.ก.พ. กรม
(3) อ.ก.พ. จังหวัด
(4) อ.ก.พ. กระทรวง
(5) ก.พ.ร.
ตอบ 1
(เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 48) ก.พ. เป็นผู้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยจําแนกตําแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตําแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน โดยในมาตรฐานกําหนดตําแหน่งให้ระบุชื่อตําแหน่ง ในสายงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก และคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งไว้ด้วย

47. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(3) ปลัดกระทรวงยุติธรรม
(4) ปลัดกระทรวงการคลัง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

48. หนังสือราชการชนิดใดต่อไปนี้ต้องมีคําลงท้าย
(1) หนังสือภายใน
(2) หนังสือประทับตรา
(3) หนังสือภายนอก
(4) รายงานการประชุม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 404 – 407, (คําบรรยาย) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการ ที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการ มีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก ซึ่งหนังสือภายนอกนี้จะต้อง มีคําขึ้นต้นและคําลงท้ายตามฐานะของผู้รับหนังสือตามตารางการใช้คําขึ้นต้น สรรพนาม และ คําลงท้ายที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 2

49 กรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการ ก.พ.อีกก็ได้
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 7 วรรคสาม และวรรคสี่), (คําบรรยาย)กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.พ. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้ แต่ถ้าเมื่อพ้นจากตําแหน่งแล้วยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่

50. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการไม่ถือว่าเป็นหนังสือราชการตามระเบียบ
งานสารบรรณฉบับปัจจุบัน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 403, (คําบรรยาย) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 กําหนดว่า หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่

1. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
2. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
3. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
4. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
5. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ
6. ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

51. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการถือว่าเป็นหนังสือราชการตามระเบียบ
งานสารบรรณ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ

52.ก.พ. มีอํานาจแต่งตั้งอนุกรรมการ เพื่อทําการใด ๆ แทนได้ คือ
(1) อ.ก.พ. กระทรวง
(2) อ.ก.พ. กรม
(3) อ.ก.พ. สามัญ
(4) อ.ก.พ. วิสามัญ
(5) อ.ก.พ. จังหวัด
ตอบ 4(เอกสารประกอบการสอน หน้า 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 12) ก.พ. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. วิสามัญ เพื่อทําการใด ๆ แทนได้ โดยจํานวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดํารงตําแหน่ง และการพ้นจากตําแหน่ง ให้เป็นไปตามที่ กําหนดในกฎ ก.พ.

53. ปัจจุบันบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เพื่อใช้ในการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามที่ได้มีการจัดสอบแข่งขันนั้น ให้ใช้ได้ไม่เกินกี่ปีนับแต่วันขึ้นบัญชี
(1) 1 ปี
(2) 2 ปี
(3) 3 ปี
(4) 4 ปี
(5) 5 ปี
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัจจุบัน ก.พ. ได้กําหนดหลักเกณฑ์การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เพื่อใช้ในการบรรจุ บุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญว่าให้ใช้ได้ไม่เกิน 2 ปีนับแต่วันขึ้นบัญชี

54. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน คือ ฉบับ พ.ศ.
(1) 2535
(2) 2551
(3) 2518
(4) 2557
(5) 2550
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (คําบรรยาย) ปัจจุบันกฎหมายที่ใช้ในการบริหารงานบุคคล ภาครัฐ คือ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551

55. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนที่เป็นกรรมการโดยตําแหน่งตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีจํานวนกี่ตําแหน่ง
(1) 2 ตําแหน่ง
(2) 3 ตําแหน่ง
(3) 4 ตําแหน่ง
(4) 5 ตําแหน่ง
(5) 6 ตําแหน่ง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

56. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของระบบราชการ
(1) ฝ่ายจัดการไม่ใช่เจ้าของกิจการ
(2) มีการกําหนดโครงสร้างของงาน
(3) มีลําดับขั้นการบังคับบัญชา
(4) มีการกําหนดนโยบายสาธารณะเป็นระยะ ๆ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 1 – 7 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1 – 2) ระบบราชการมีลักษณะดังนี้
1. เป็นการค้นหาความสมเหตุสมผล
2. มีลําดับขั้นการบังคับบัญชา
3. มีการกําหนดโครงสร้างของงานที่สมเหตุสมผล
4. มีการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน
5. เป็นการทํางานภายในกรอบของกฎหมาย
6. เป็นระบบค่านิยมอย่างหนึ่ง
7. ฝ่ายจัดการไม่ใช่เจ้าของกิจการ ฯลฯ

57. บํานาญ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาเมื่อพ้นจากราชการ และเป็นผู้มีสิทธิได้รับตาม กฎหมายบําเหน็จบํานาญข้าราชการ บํานาญจ่ายครั้งเดียว
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 69 – 70, (คําบรรยาย) บํานาญ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาเมื่อพ้นจาก หน้าที่ราชการแล้ว ซึ่งผู้ที่จะได้รับบํานาญนี้จะต้องเป็นผู้มีสิทธิได้รับตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จ บํานาญข้าราชการ โดยบํานาญจ่ายให้เป็นรายเดือน

58. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้มีข้าราชการพลเรือนกี่ประเภท
(1) 2 ประเภท
(2) 3 ประเภท
(3) 4 ประเภท
(4) 5 ประเภท
(5) 6 ประเภท
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 35), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือน มี 2 ประเภท คือ
1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้ง ตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งข้าราชการประเภทนี้ถือเป็น ข้าราชการส่วนใหญ่ที่มีจํานวนมากที่สุดตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้
2. ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา

59. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตามที่ ก.พ. กําหนด เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ตําแหน่งนั้น
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

60. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตามระเบียบข้าราชกาพลเรือนฉบับปัจจุบันประกอบด้วยกรรมการ
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจํานวนกี่คน
(1) 5 คน
(2) 6 คน
(3) 7 คน
(4) 8 คน
(5) 9 คน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

61. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กรม
(1) ปลัดกระทรวง
(2) รองปลัดกระทรวง
(3) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
(4) อธิบดี
(5) ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 17), (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วย
1. อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดี เป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมาย 1 คน เป็นรองประธาน

2. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายที่มิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้น จํานวน ไม่เกิน 3 คน

3. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือน ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอํานวยการในกรมนั้น จํานวนไม่เกิน 6 คน 4. เลขานุการ ซึ่ง อ.ก.พ. กรม แต่งตั้ง จํานวน 1 คน

62. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญและเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
แต่มีตําแหน่งในการบังคับบัญชาเท่าปลัดกระทรวง
(1) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(2) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(3) ปลัดกรุงเทพมหานคร
(4) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ
(5) โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 4 คําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

63. หลักความเสมอภาคตามระบบคุณธรรม หมายความว่า สิทธิที่จะเข้ารับราชการจะต้องเปิดกว้างสําหรับ ประชาชนทุกคนที่มีคุณสมบัติตามระเบียบข้าราชการพลเรือน โดยให้มีโอกาสสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการได้
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 17 หลักความเสมอภาค (Equality) ตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล หมายความว่า สิทธิที่จะเข้ารับราชการจะต้องเปิดกว้างสําหรับประชาชนทุกคนที่มีคุณสมบัติตามที่ทางราชการกําหนดหรือตามระเบียบข้าราชการพลเรือน โดยให้มีโอกาสสมัครสอบแข่งขัน เข้ารับราชการได้ และต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุเกี่ยวกับเหล่ากําเนิด ฐานะทาง เศรษฐกิจ สถานภาพทางสังคม ศาสนา และเพศของบุคคล

64. ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการมีกี่ระดับ
(1) 6 ระดับ
(2) 5 ระดับ
(3) 4 ระดับ
(4) 3 ระดับ
(5) 2 ระดับ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

65. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งลงโทษ สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 96 และมาตรา 97), (คําบรรยาย) ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 เป็นผู้มีอํานาจ สั่งลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญผู้กระทําผิดวินัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

1. กรณีกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด

2. กรณีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้สั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่ง กรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก

66. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้การสรรหา การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องเป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง กําหนด
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 52)
การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ ดํารงตําแหน่ง ต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคํานึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคล ดังกล่าว ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ

67. ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 33 วรรคสอง) ข้าราชการพลเรือน อาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกําหนด

68. วินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นอยู่กับเหตุผลเป็นสําคัญที่จะเป็นสิ่งจูงใจให้ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติโดยไม่ต้องอาศัยการบังคับ
(1.) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 258 ศาสตราจารย์ Joseph B. Kingsbury และศาสตราจารย์ Robert F. Wilcox ได้กล่าวถึงวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญว่าขึ้นอยู่กับเหตุผลเป็นสําคัญที่จะเป็นสิ่งจูงใจให้ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติโดยไม่ต้องอาศัยการบังคับ โดยวินัยประเภทที่เหมาะกับ ข้าราชการพลเรือนสามัญก็คือ วินัยประเภทปฏิบัติด้วยตนเอง (Self-discipline)

69. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับ “ก่อน” ฉบับปัจจุบัน คือ ฉบับ พ.ศ.
(1) 2470
(2) 2471
(3) 2475
(4) 2518
(5) 2535
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนก่อนฉบับ พ.ศ. 2551 (ฉบับปัจจุบัน) คือ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2535 และเริ่มมีผลบังคับใช้หลังจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

70. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีวิธีการกําหนดตําแหน่งโดยใช้ระบบ
(1) คุณธรรม
(2) ชั้นยศ
(3) อุปถัมภ์
(4) จําแนกตําแหน่ง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 77 – 78, (คําบรรยาย) วิธีการกําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนโดยทั่วไปมี 2 ระบบ คือ ระบบชั้นยศ (R.C.) และระบบจําแนกตําแหน่ง (P.C.) ซึ่งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2551 จะมีวิธีการกําหนดตําแหน่งโดยใช้ระบบจําแนกตําแหน่งแบบแบ่งเป็น ประเภทตําแหน่งตามลักษณะงาน 4 ประเภท คือ ตําแหน่งประเภทบริหาร ตําแหน่งประเภท อํานวยการ ตําแหน่งประเภทวิชาการ และตําแหน่งประเภททั่วไป

71. คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประการหนึ่งคือต้องสําเร็จการศึกษาอย่างต่ําอาชีวศึกษาตอนปลาย
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 5), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36) คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน ได้แก่
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

72. ข้อใดเป็นโทษผิดวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญขั้นร้ายแรงตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ไล่ออก
(2) ปลดออก
(3) ให้ออก
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4(เอกสารประกอบการสอน หน้า 22 – 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 88), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยจะต้องได้รับโทษ ทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7 การดําเนินการทางวินัย โดยโทษทางวินัยมี 5 สถาน ซึ่งแบ่งออกเป็น
1. โทษผิดวินัยประเภทไม่ร้ายแรง มี 3 สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ (เบาที่สุด) ตัดเงินเดือน
และลดเงินเดือน
2. โทษผิดวินัยประเภทร้ายแรง มี 2 สถาน ได้แก่ ปลดออก และไล่ออก (หนักที่สุด)

73. ผลของการไม่ปฏิบัติตามจรรยาของข้าราชการพลเรือนสามัญ ถ้าไม่ใช่ความผิดวินัยข้าราชการ ผู้บังคับบัญชา อาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนผู้นั้นได้รับการพัฒนา หรืออาจตักเตือน หรืออาจนําไปประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนก็ได้
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 20), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 79) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการอันมิใช่เป็น ความผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตักเตือน นําไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนเงินเดือน หรือสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับการพัฒนา

74. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่ระเบียบฯ กําหนดให้ต้องนําความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
(1) ประเภทบริหารระดับสูง
(2) ประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(3) ประเภทอํานวยการระดับสูง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

75. ระดับใดต่อไปนี้ “ไม่ใช่” ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทวิชาการ
(1) ระดับทรงคุณวุฒิ
(2) ระดับทักษะพิเศษ
(3) ระดับเชี่ยวชาญ
(4) ระดับปฏิบัติการ
(5) ระดับชํานาญการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

76. ข้อใดเป็นโทษผิดวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญสถานเบาที่สุด
(1) ว่ากล่าว
(2) ตักเตือน
(3) ว่ากล่าวตักเตือน
(4) ทําทัณฑ์บน
(5) ภาคทัณฑ์
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ

77. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จํานวนเท่าใด เป็นตําแหน่งประเภทใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กรม กําหนด
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 47)
ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จํานวนเท่าใด และเป็นตําแหน่ง ประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง กําหนด โดยต้องคํานึงถึง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ําซ้อนและประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง

78. การบริหารงานบุคคลในระบบราชการไทยได้มีการพัฒนามาตามลําดับ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการพัฒนาจาก
ระบบขั้นยศไปสู่ระบบคุณธรรม
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 25, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) การบริหารงานบุคคลในระบบราชการของไทย ได้มีการพัฒนามาตามลําดับ โดยพัฒนามาจากรูปแบบที่ไม่เป็นทางการไปสู่รูปแบบที่เป็นทางการ มากขึ้น และจากระบบอุปถัมภ์ไปสู่ระบบคุณธรรม โดยทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้รับบริการ

79. ข้อใดเป็นคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) มีสัญชาติไทย
(2) อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
(3) ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

80. การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาจากต่างประเทศเข้ารับราชการ โดยปกติจะต้องผ่านการสอบแข่งขัน เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่เปิดสอบแข่งขันนั้น
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 93 – 95 การบรรจุและแต่งตั้งผู้ที่ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรจากสถาบันการศึกษา ต่างประเทศที่ ก.พ. รับรองเข้ารับราชการนั้น โดยปกติต้องผ่านการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับ บุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่เปิดสอบแข่งขันนั้น แต่ต้องเสนอคุณวุฒิให้ ก.พ. พิจารณารับรองเพื่อตีราคาหรือตีค่าคุณวุฒิและกําหนดหลักเกณฑ์การบรรจุเป็นราย ๆ ทุกรายไป โดย ก.พ. จะพิจารณาจากหลักสูตรการศึกษาและความน่าเชื่อถือของสถาบันที่ ประสาทปริญญาหรือประกาศนียบัตรนั้นด้วย แต่ ก.พ. จะไม่มีอํานาจในการบรรจุและแต่งตั้ง

81. ข้าราชการการเมืองเข้าดํารงตําแหน่งโดยเป็นไปตามเหตุผลทางการเมืองและระเบียบข้าราชการการเมืองปัจจุบันด้วย
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 383, 391 ข้าราชการการเมืองเข้าดํารงตําแหน่งโดยเป็นไปตามเหตุผลทางการเมือง หรือตามระบบอุปถัมภ์ (ไม่เน้นเรื่องคุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถ) และตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 (ฉบับปัจจุบัน) กล่าวคือ แต่เดิมข้าราชการการเมืองถือว่าเป็น ข้าราชการพลเรือนประเภทหนึ่งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน แต่ในปัจจุบันได้มีการ แยกข้าราชการการเมืองออกจากข้าราชการพลเรือน เพื่อไม่ให้มีการก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน
และได้ประกาศใช้ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 เพื่อใช้บังคับแก่ข้าราชการ การเมืองโดยตรง

82. กรณีข้าราชการพลเรือนสามัญถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุใด ๆ ตามที่กําหนดไว้ในระเบียบ ข้าราชการพลเรือน กําหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นมีสิทธิ
(1) อุทธรณ์
(2) ร้องทุกข์
(3) ฟ้องศาลปกครอง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

83. ระดับชํานาญการพิเศษ เป็นตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไปตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

84. ข้อใดถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบัน
(1) หนังสือรับรองเป็นหนังสือภายนอก
(2) ข้อบังคับเป็นหนังสือภายใน
(3) ระเบียบเป็นหนังสือสั่งการ
(4) บันทึกข้อความเป็นหนังสือภายนอก
(5) ข่าวราชการเป็นหนังสือภายใน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

85. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษา ในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด คือ
(1) ปลัดกระทรวง
(2) อ.ก.พ. กรม
(3) อ.ก.พ. กระทรวง
(4) อธิบดี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 55), (คําบรรยาย) กรณีที่มีเหตุพิเศษ ที่ ก.พ. เห็นว่าไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขัน สามารถให้อธิบดี (ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจ สั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57) เป็นผู้คัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งได้เป็นรายกรณี (ไม่ใช่เป็นการพิจารณาเป็นรายบุคคล) เช่น 1. กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด 2. กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง หรือทุนรัฐบาลเพื่อศึกษาวิชาในประเทศ หรือต่างประเทศที่สําเร็จการศึกษาแล้ว เป็นต้น

86. โทษทางวินัยข้าราชการขั้นปลดออกจากราชการ ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้มีสิทธิ ขอรับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ เสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 267, (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 97 วรรคสี่), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยขั้นปลดออกจากราชการตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ยังมีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จ บํานาญข้าราชการ โดยถือเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ ส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด ถูกสั่งลงโทษทางวินัยขั้นไล่ออกจากราชการ จะไม่มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมาย ว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ

87. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมีกี่ประเภท
(1) 2 ประเภท
(2) 3 ประเภท
(3) 4 ประเภท
(4) 5 ประเภท
(5) 6 ประเภท
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

88. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันได้กําหนดเรื่องใดต่อไปนี้ที่สอดคล้องกับหลักความสามารถ
ตามระบบคุณธรรม
(1) การร้องทุกข์
(2) การอุทธรณ์
(3) การออกจากราชการ
(4) การสอบแข่งขันเข้ารับราชการ
(5) การสอบสวนทางวินัย
ตอบ 4 หน้า 17, (คําบรรยาย) หลักความรู้ความสามารถ (Competence) ตามระบบคุณธรรม ในการบริหารงานบุคคล หมายถึง การเลือกสรรบุคคลเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งสูงขึ้นหรือการพิจารณาเลื่อนระดับตําแหน่งจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติงานเป็นสําคัญ ซึ่งส่วนมากจะกระทําโดยการสอบแข่งขัน สอบสัมภาษณ์ และ การทดลองปฏิบัติงาน

89. การลาออกจากราชการกรณีเพื่อไปดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ผู้บังคับบัญชาอาจยับยั้งการสั่งอนุญาตการลาออกนั้นได้ไม่เกิน 90 วันนับแต่วันขอลาออก
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 109 วรรคห้า), (คําบรรยาย) ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ เพื่อไปดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)) ตําแหน่งทางการเมือง (เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวง, เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง) หรือตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนด หรือตําแหน่ง กรรมการในคณะกรรมการใดที่กฎหมายกําหนดว่าไม่ต้องเป็นข้าราชการ (เช่น นายกสภา มหาวิทยาลัยของรัฐ) หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา (ส.ส. และ ส.ว.) สมาชิก สภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น (เช่น นายก อบต.) ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจสั่งอนุญาต การลาออก (ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57) ไม่อาจยับยั้ง การขอลาออกได้ และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก

90. ผู้ที่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อน และลาออกจากราชการไปโดยไม่มีความผิดวินัยแต่ประการใด ถ้าประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการอาจยื่นเรื่องราวขอกลับเข้ารับราชการที่กระทรวง ทบวง กรมเดิม และ
จะต้องได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในตําแหน่งเดิมด้วย
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 99, (คําบรรยาย) ผู้ที่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อน และลาออกจากราชการไป โดยไม่มีความผิดวินัยแต่ประการใด ถ้าประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการอาจยื่นเรื่องราวขอกลับ เข้ารับราชการในกระทรวง กรมใด ๆ ก็ได้ โดยไม่ได้จํากัดเฉพาะกระทรวง กรมเดิมที่เคยสังกัด ๆ ก่อนออกจากราชการ และอาจได้รับการบรรจุแต่งตั้งในระดับและเงินเดือนที่ไม่สูงกว่าเดิม

91. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน คําว่า “คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง” หมายถึงการกําหนดเกี่ยวกับ
(1) ความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์
(2) การบรรจุผู้ทรงคุณวุฒิ
(3) การกําหนดตําแหน่ง
(4) หลักการของระบบอาวุโส
(5) การบรรจุกรณีที่มีเหตุพิเศษ
ตอบ 1 หน้า 94, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 16) คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง หมายถึง คุณสมบัติที่กําหนดไว้โดยเฉพาะสําหรับตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวกับคุณวุฒิทางการศึกษา ความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์ในการรับราชการ โดยคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งมีอย่างไรจะมีกําหนดไว้ล่วงหน้าในมาตรฐานกําหนด ตําแหน่งของแต่ละประเภทตําแหน่งที่ ก.พ. จัดทําขึ้น

92. วินัยของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประการหนึ่ง คือ ห้ามมิให้ เป็นกรรมการบริหารของพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

93. กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 เป็นกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก มีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันประกาศในหนังสือพิมพ์
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 29 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 เป็นกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก ซึ่งประกาศเป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 แต่มิได้มีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันประกาศในราชกิจจา นุเบกษา โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้เริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 หรืออีกราวปีเศษให้หลัง

94. การโอนข้าราชการอื่นมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้ อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณาอนุมัติโดยคํานึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า การโอนพนักงาน ส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการอื่นมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญต้องเกิดจากความสมัครใจ ของตัวผู้ขอโอนเอง โดยเมื่อผู้มีอํานาจสั่งบรรจุของทั้ง 2 หน่วยงานตกลงกันได้แล้ว ให้เสนอเรื่อง ไปยัง ก.พ. เพื่อขอความเห็นชอบหรือพิจารณาอนุมัติ ซึ่ง ก.พ. จะพิจารณาอนุมัติโดยคํานึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก

95. การเลื่อนระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญโดยวิธีสอบคัดเลือก อาจวิเคราะห์ได้ว่าเป็น
การพิจารณาจากปัจจัยด้านใด
(1) ความรู้ความสามารถ
(2) อาวุโส
(3) คุณธรรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 220, (คําบรรยาย) การเลื่อนระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญโดยวิธี สอบคัดเลือกและวิธีการคัดเลือก เป็นการพิจารณาจากปัจจัยตามความเหมาะสม ซึ่งได้แก่ ความรู้ความสามารถ ความประพฤติ (คุณธรรมและจริยธรรม) และประวัติการรับราชการ (อาวุโส) ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว

96. หนังสือประชาสัมพันธ์ตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) 2 ชนิด
(2) 3 ชนิด
(3) 4 ชนิด
(4) 5 ชนิด
(5) 6 ชนิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

97. ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
และเป็นตําแหน่งประเภทบริหารระดับกลาง
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตําแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร, ผู้อํานวยการเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร และบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554

98. บําเหน็จตกทอดเป็นเงินที่กฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการกําหนดให้จ่ายแก่ทายาทของ ข้าราชการผู้รับบํานาญ เมื่อผู้รับบํานาญถึงแก่กรรม
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 69 – 72, (คําบรรยาย) บําเหน็จบํานาญ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. บําเหน็จบํานาญปกติ คือ เงินที่จ่ายให้ข้าราชการที่มีสิทธิรับบําเหน็จบํานาญปกติ

2. บําเหน็จบํานาญพิเศษ คือ เงินที่จ่ายให้ข้าราชการที่ประสบอันตรายเพราะเหตุปฏิบัติ ราชการหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทําการตามหน้าที่จนพิการทุพพลภาพ รับราชการต่อไปไม่ได้ ถ้าจนถึงตายทายาทมีสิทธิรับบํานาญพิเศษ

3. บําเหน็จตกทอด คือ เงินที่จ่ายให้แก่ทายาทของข้าราชการผู้รับบํานาญเมื่อผู้รับบํานาญ ถึงแก่กรรม ซึ่งจ่ายให้ครั้งเดียว

99. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมเป็นองค์กรที่ไม่เคยบัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใด มาก่อน เพิ่งบัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เป็นองค์กรที่ไม่เคยบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใดมาก่อน เพิ่งบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นองค์กรพิทักษ์คุ้มครองความเป็นธรรม ให้บรรดาข้าราชการพลเรือน และพิทักษ์ระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม

100. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักการสําคัญของระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล
(1) หลักความเสมอภาค
(2) หลักความเป็นกลางทางการเมือง
(3) หลักอาวุโส
(4) หลักความมั่นคง
(5) หลักความรู้ความสามารถ
ตอบ 3 หน้า 17 – 18 หลักการสําคัญของระบบคุณธรรม (Merit System) ในการบริหารงานบุคคล
หรือการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ มี 4 ประการ คือ
1. หลักความเสมอภาค (Equality)
2. หลักความรู้ความสามารถ (Competence)
3. หลักความมั่นคง (Security)
4. หลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality)

 

Advertisement