การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1. ข้อใดมีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้นํามากที่สุด
(1) The Managerial Grid
(2) ทฤษฎีของ Frederick W. Taylor
(3) Great Man Theory
(4) ทฤษฎีของ Fred E. Fiedter
(5) ทฤษฎีของ Keith Davis ตอบ 1 หน้า 292 Robert R. Blake และ Jane S. Mouton นักวิชาการในกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรม ของผู้นํา (Leadership Behavior) ได้พิจารณาการศึกษาลักษณะผู้นําจากการศึกษาของ มหาวิทยาลัยโอไฮโอและมิชิแกน และนํามาพัฒนาประยุกต์เป็นตารางการบริหารที่เรียกว่า “The Managerial Grid” หรือเรียกว่า “ตารางผู้นํา” และนําไปจดทะเบียนการค้าด้วย

2.แนวคิดใดที่เชื่อว่า “การควบคุมองค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่วิธีการที่นําไปสู่เป้าหมาย”
(1) Industrial Humanism
(2) Systems Theory
(3) Scientific Management
(4) Contingency Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 112 – 113 Jeffrey Pfeffer เป็นนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การตามแนวทางของ The Action Theory หรือ The Action Approach เสนอว่า “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจ ที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปขององค์การ จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” และ “การควบคุมองค์การ เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นวิธีการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย การจะเข้าใจองค์การต้องศึกษาความต้องการ และความสนใจของผู้มีอํานาจในการตัดสินใจขององค์การในขณะนั้น ๆ โดยให้ความสําคัญไปที่บรรยากาศทางการเมืองในองค์การ

Advertisement

3. นักทฤษฎีการรับรู้เชื่อว่ามี “ตัวกลาง” ในการผลักดันระหว่าง “การกระตุ้น” และ “การตอบสนอง ซึ่ง “ตัวกลาง” นั้นคือ
(1) ผู้ไกล่เกลี่ย
(2) มโนภาพ
(3) อคติ
(4) ทัศนคติ
(5) การเสริมแรง
ตอบ 2 หน้า 233 นักทฤษฎีการรับรู้ (Cognitive Theorists) อธิบายว่า Image หรือมโนภาพหรือ จินตนาการ ซึ่งเกิดจากผลรวมของประสบการณ์ที่ผ่านมา เป็นตัวกลางในการผลักดันระหว่าง “การกระตุ้น” กับ “การตอบสนอง” และตัวกลางดังกล่าวนี้ก็เป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการสะท้อนกลับตามลักษณะ Reflex Arc

4.หน่วยงานที่ช่วยบริการแก่หน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจกรรมลักษณะของแม่บ้านเกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Departmentation
(2) Line Agency
(3) Auxiliary Agency
(4) Division of Work
(5) Staff Agency
ตอบ 3 หน้า 197 – 201, (คําบรรยาย) ประเภทของหน่วยงานซึ่งแบ่งตามลักษณะของการปฏิบัติงาน
ภายในองค์การ มี 3 ประเภท คือ
1. หน่วยงานหลัก (Line Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลัก ขององค์การ หรือเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลักขององค์การ เช่น กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศของกระทรวงกลาโหม คณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย หน่วยโยธาและ หน่วยสาธารณสุขของเทศบาล เป็นต้น
2. หน่วยงานที่ปรึกษาหรือหน่วยงานสนับสนุน (Staff Agency) หมายถึง หน่วยงานที่มิได้ ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุน การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เช่น กองวิชาการ หน่วยนโยบายและแผน หน่วยการเงิน/ งบประมาณ หน่วยการเจ้าหน้าที่ หน่วยโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
3. หน่วยงานอนุกร (Auxiliary Agency) หรือหน่วยงานแม่บ้าน (House-Keeping Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยบริการหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจรรมลักษณะ ของแม่บ้าน เช่น หน่วยพัสดุ หน่วยอาคารสถานที่ หน่วยสารบรรณ หน่วยสวัสดิการ หน่วยงานด้านความสะอาดหรืองานเทศกิจ เป็นต้น

5. นางมยุเรศมองว่า “ไม่มีแบบของพฤติกรรมผู้นําแบบใดที่ดีที่สุด ต้องพิจารณาที่ความพร้อมของผู้ตามแนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับนักวิชาการท่านใด
(1) Keith Davis
(2) Ronald Lippitt & Ralph White
(3) Rensis Likert
(4) Blake & Mouton
(5) Hersey & Blanchard
ตอบ 5 หน้า 287, (คําบรรยาย) Hersey & Blanchard นักวิชาการในกลุ่มทฤษฎีทางด้านสถานการณ์ (Situational Theories) มองว่า ไม่มีแบบของพฤติกรรมผู้นําแบบใดที่ดีที่สุด การเป็นผู้นํา ที่ประสบความสําเร็จหรือมีประสิทธิภาพนั้นต้องมีแบบของพฤติกรรมผู้นําที่สอดคล้องกับ ความพร้อมของผู้ตามใน 2 ด้าน คือ ความสามารถและความเต็มใจ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้
1. ผู้ตามไม่มีความสามารถ และไม่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบสั่งการ (Telling)
2. ผู้ตามไม่มีความสามารถ แต่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบขายความคิด (Selling)
3. ผู้ตามมีความสามารถ แต่ไม่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบมีส่วนร่วม (Participating)
4. ผู้ตามมีความสามารถ และมีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบมอบหมายงาน (Delegating)

6. สิ่งที่ ดร.ชุบ กาญจนประกร เสนอเพิ่มจากที่กูลิคเสนอไว้ในเรื่องหน้าที่ของผู้บริหาร ได้แก่
(1) การประเมินผลงาน
(2) การควบคุมงาน
(3) การประสานงาน
(4) การจัดทําแผนกลยุทธ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 60 – 62 ดร.ชุบ กาญจนประกร ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารเพิ่มเติมจากแนวคิด POSDCORB ของ Luther Gulick เป็น PA-POSDCORB โดย PA ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ P = Policy (การกําหนดนโยบาย) และ A = Authority (การกําหนดอํานาจหน้าที่)

7. การตัดสินใจในระดับใดที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมแบบปิดมากที่สุด
(1) Operational Level
(2) Coordinative Level และ Strategic Level
(3) International Level
(4) Coordinative Level
(5) Strategic Level
ตอบ 1 หน้า 229 – 230 การตัดสินใจในระดับปฏิบัติการ (Operational Level) เป็นการตัดสินใจ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรและวัตถุดิบทั้งหลายให้เกิดเป็นสินค้าและบริการ ตามเป้าหมายขององค์การ การตัดสินใจในระดับนี้จะเป็นไปชั่วระยะเวลาอันสั้น มีการใช้เทคนิค ประกอบการตัดสินใจ เช่น อาจใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการควบคุมการดําเนินงาน โดยจัดให้มีการตัดสินใจไว้ล่วงหน้า (Programmed Decision) และเป็นการตัดสินใจที่เหมาะกับ สภาพแวดล้อมแบบปิด ผู้บริหารที่ใช้การตัดสินใจระดับนี้ เช่น หัวหน้างาน (Supervisor), หัวหน้าคนงาน (Foreman) เป็นต้น

8. ในการสนทนาแบบเผชิญหน้า “กล่องเสียงของผู้ส่งสาร” ถือเป็นสิ่งใดในกระบวนการสื่อความเข้าใจ
(1) Information Source
(2) Transmitter
(3) Channel
(4) Destination
(5) Receiver
ตอบ 2 หน้า 245, (คําบรรยาย) ในกระบวนการสื่อความเข้าใจนั้น Transmitter คือ เครื่องส่งสัญญาณ ซึ่งจะทําหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นคําพูดหรือสัญญาณธรรมชาติให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยัง ผู้รับสาร ตัวอย่างของ Transmitter เช่น “กล่องเสียงของผู้ส่งสาร” ในการสนทนาแบบเผชิญหน้า “กระบอกพูด” ในการสนทนากันทางโทรศัพท์ เป็นต้น

9.ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่กําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ
(1) ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
(2) ขนาดขององค์การ
(3) เทคโนโลยีในการสื่อสาร
(4) ปรัชญาของการบริหาร
(5) เทคนิคในการควบคุม
ตอบ 3 หน้า 170 – 174, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่มีผลต่อการกําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ และการรวมอํานาจในองค์การ มีดังนี้
1. ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
2. ความต้องการเป็นแบบเดียวกันทางด้านนโยบาย
3. ขนาดขององค์การ
5. ปรัชญาของการบริหาร
4. ประวัติความเป็นมาของกิจการ
6. ความต้องการความเป็นอิสระในการดําเนินงาน
7. จํานวนของผู้บริหารที่มีอยู่ในองค์การ 8. เทคนิคในการควบคุม
9. การกระจายของการปฏิบัติงานที่มีการแบ่งแยกงานไปตามสถานการณ์ที่ต่างออกไป
10. การเปลี่ยนแปลงขององค์การ
11. อิทธิพลของสภาพแวดล้อมองค์การ

10. การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Centralization
(2) Organization Design
(3) Authority
(4) Formalization
(5) Complexity
ตอบ 4 หน้า 122 ความเป็นทางการขององค์การ (Formalization) คือ การที่องค์การได้กําหนด กฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐานอันเป็น พื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ

11. “ความสามารถของผู้ควบคุมงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ
(1) Technical
(2) Goals and Values
(3) Structural
(4) Managerial
(5) Psychosocial
ตอบ 4 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) ระบบย่อยต่าง ๆ ภายในระบบขององค์การ มีดังนี้
1. ระบบเทคโนโลยีขององค์การ (Technical) หมายถึง ความรู้ที่จําเป็นในการปฏิบัติงาน รวมถึงเทคนิคและวิธีการทํางานต่าง ๆ ที่องค์การต้องใช้ในการเปลี่ยนแปลงทรัพยากร หรือปัจจัยนําเข้าให้ออกมาในรูปของผลผลิต
2. ระบบสังคมจิตวิทยา (Psychosocial) เป็นระบบที่รวมความต้องการของบุคคลและ กลุ่มในองค์การ เช่น ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น
3. ระบบโครงสร้างขององค์การ (Structural) เป็นระบบที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ส่วนประกอบต่าง ๆ ขององค์การ เช่น สายการบังคับบัญชา กฎระเบียบและข้อบังคับ ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ แผนกงาน เป็นต้น
4. ระบบของศิลปะและทักษะในการบริหารองค์การ (Managerial) หมายถึง ความสามารถ ในการบริหารจัดการของผู้บริหาร ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ประสานงาน ฯลฯ

12. ข้อใดเป็นการกระตุ้นให้คนปฏิบัติงานโดยวิธีการใช้ความดี
(1) การใช้การต่อรองที่เด่นชัด
(2) การให้ปัจจัยค้ำจุน
(3) วิธีการแข่งขัน
(4) การทําให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความสําคัญของงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2หน้า 277 – 278 การจูงใจหรือกระตุ้นให้คนปฏิบัติงานโดยวิธีการใช้ความดี แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
1. วิธีการใช้ความดีแบบพ่อกับลูก (Paternalism)
2. วิธีการใช้ความดีแบบการให้ปัจจัยค้ำจุน (Hygienic Management)

13. การกําหนดลําดับชั้นในการบังคับบัญชาเพื่อจะบ่งชี้ว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดอยู่ในลําดับอํานาจหน้าที่ชั้นใดหรือสูงกว่าหรือต่ำกว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดบ้าง เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Span of Control
(2) Responsibility
(3) Specialization
(4) Hierarchy
(5) Unity of Command
ตอบ 4 หน้า 139 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง การกําหนดลําดับชั้นในการบังคับบัญชาเพื่อจะบ่งชี้ว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใด อยู่ในลําดับอํานาจหน้าที่ชั้นใดหรือสูงกว่าหรือต่ํากว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดบ้าง

14. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการกระจายอํานาจ
(1) เป็นการสนองความต้องการของแต่ละภูมิภาคได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม รวดเร็ว
(2) มีโอกาสเติบโตและขยายอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) ปฏิบัติงานได้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
(4) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
(5) มีโอกาสฝึกฝนผู้บังคับบัญชาระดับรองลงมาให้มีความสามารถ
ตอบ 4 หน้า 175 ประโยชน์ของการกระจายอํานาจ มีดังนี้
1. ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้บริหารระดับสูง ทําให้ได้มีเวลาทํางานสําคัญจําเป็นได้มากขึ้น
2. เป็นการสนองการบริหารหรือความต้องการของแต่ละภูมิภาคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
และรวดเร็ว
3. ปฏิบัติงานได้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
4. มีโอกาสในการฝึกฝนผู้บังคับบัญชาระดับรองลงมาให้มีความสามารถ ทักษะ และฝึกฝน
การตัดสินใจด้วย
5. โอกาสของการเติบโตหรือขยายองค์การมีทางเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

15. “นําเอาหลักการบริหารงานแบบวิทยาศาสตร์เข้าไปใช้ในองค์การด้านการศึกษาและหน่วยงานรัฐบาล…….”ผู้ริเริ่มได้แก่
(1) Gantt
(2) Gilbreths
(3) Emerson
(4) Taylor
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 43 Morris L. Cooke ได้นําเอาหลักการและความรู้จากการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ เข้าไปศึกษาการบริหารงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาล เช่น องค์การทางด้านการศึกษา โดยพบว่าหลักการทางวิทยาศาสตร์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์การดังกล่าวได้ และ ในเรื่องการสร้างประสิทธิภาพให้กับงานนั้น เขาเห็นว่าทุกคนควรช่วยกันค้นหา One Best Way ไม่ควรจํากัดว่าเป็นเรื่องเฉพาะแต่ผู้ชํานาญหรือผู้บริหารเท่านั้น

16.Centralization เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
(1) Power to Command
(2) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
(3) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
(4) ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่นแต่ละสาขา
(5) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ
ตอบ 2 หน้า 168 การรวมอํานาจ (Centralization) หมายถึง สภาวะขององค์การ ซึ่งในระดับสูง ๆ ของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะได้กระทําจาก ระดับสูงนั้น ดังนั้นตามหลักการรวมอํานาจ การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในองค์การส่วนมากแล้ว จะมิได้มอบให้ผู้ปฏิบัติงานตัดสินใจเอง หากแต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้ตัดสินใจให้เป็นส่วนใหญ่

17. หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Division of Work
(2) Auxiliary Agency
(3) Departmentation
(4) Staff Agency
(5) Line Agency
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

18. ทฤษฎีการจูงใจจากความคาดหวัง (Expectancy Theory Motivation) ได้รับอิทธิพลและพัฒนาต่อเนื่องมาจากทฤษฎีใด
(1) Drive-Reduction Theory
(2) Equity Theory
(3) Reinforcement Theory
(4) Law of Effect Theory
(5) Scientific Management
ตอบ 1 หน้า 272, (คําบรรยาย) รากฐานของแนวความคิดในการศึกษาเรื่องแรงจูงใจ ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากงานของ Clark Hull เกี่ยวกับทฤษฎีการลดแรงขับ (Drive-Reduction Theory) และพัฒนามาเป็นทฤษฎีการจูงใจจากความคาดหวัง (Expectancy Theory Motivation) ของ Victor H. Vroom ในสมัยต่อมา

19. ในการบริหารงาน คําว่า Red Tape หมายถึง
(1) คําสั่งลับ
(2) เส้นทางลัดในโครงสร้าง
(3) ปัญหาด้านแรงจูงใจ
(4) การที่งานไปค้างที่จุดใดจุดหนึ่ง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 49 Red Tape หมายถึง ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากความล่าช้าของการ ติดต่อสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ในโครงสร้างขององค์การที่จะต้องเป็นไปตามสายการบังคับบัญชา ที่ยาวและระบบความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ

20. นายพัศชวพลมีลูกน้องที่ไม่มีความสามารถแต่มีความเต็มใจในการทํางาน หากเชื่อในทฤษฎีของ Hersey & Blanchard แล้ว นายพัศชวพลควรเป็นผู้นําแบบใด
(1) Pseudo-Leaders
(2) Selling
(3) Participating
(4) Telling
(5) Delegating
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

21. ทุกข้อเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การในลักษณะของระบบ ยกเว้น
(1) มีกลไกให้ข้อมูลข่าวสาร
(2) One Best Way
(3) Contrived
(4) มีเสถียรภาพแบบพลวัต
(5) มีความเจริญเติบโตภายใน
ตอบ 2 หน้า 98 – 106, (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการ ตามแนวทางของ “ระบบ (ระบบเปิด)” ได้แก่
1. การวางแผนและจัดการ (Contrived)
2. ความยืดหยุ่นของขอบเขต (Flexible Boundaries)
3. การอยู่รอด (Negative Entropy)
4. การรักษาเสถียรภาพของระบบให้มีความสมดุลแบบพลวัตหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
(Dynamic Equilibrium)
5. กลไกการให้ข้อมูลข่าวสาร (Feedback Mechanism)
6. กลไกในการปรับตัวและรักษาสถานภาพของระบบ (Adaptive and Maintenance Mechanism)
7. การเจริญเติบโตภายในองค์การ (Growth Through Internal Elaboration)
8. การแบ่งงานในลักษณะยืดหยุ่น ฯลฯ (ส่วน One Best Way เป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจาก การศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด”)

22. ทุกข้อเป็นความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจ ยกเว้น
(1) ทฤษฎีองค์การ
(2) ขนาดของกิจการ
(3) ผลผลิต
(4) วัตถุประสงค์
(5) การเป็นเจ้าของกิจการ
ตอบ 1(PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 12 – 14) ความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) และการบริหารธุรกิจ (Business Administration) อาจแยกพิจารณาได้จาก 4 ด้านใหญ่ ๆ คือ 1. วัตถุประสงค์ 2. การเป็นเจ้าของกิจการ 3. ขนาดของกิจการ 4. ผลผลิต

23. จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์การพบว่า “องค์การขาดการวางแผนในการรับบุคลากรใหม่
เพื่อทดแทนกับอัตราว่าง” ข้อความดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์ใด
(1) Strengths
(2) Threats
(3) Problems.
(4) Opportunities
(5) Weaknesses
ตอบ 5 หน้า 220, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์องค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis ประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Factor) ได้แก่
S = Strengths คือ จุดแข็ง ศักยภาพ หรือความสามารถขององค์การที่มีอยู่จริง เช่น การมีงบประมาณจํานวนมาก การมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีความสามัคคีในการปฏิบัติงาน เป็นต้น
– W = Weaknesses คือ จุดอ่อนหรือข้อบกพร่องต่าง ๆ ขององค์การ เช่น บุคลากร ขาดความรู้ความสามารถ การขาดการวางแผนในการรับบุคลากรใหม่เพื่อทดแทนกับ อัตราว่าง งบประมาณมีไม่เพียงพอ เป็นต้น
2. การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ (External Factor) ได้แก่
O = Opportunities คือ โอกาสขององค์การ เช่น การที่ลูกค้ามีความรู้และทักษะ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น เป็นต้น
– T = Threats คือ ภัยคุกคามที่มีผลต่อการดําเนินงานขององค์การ เช่น การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นต้น

24.Chester I. Barnard เกี่ยวข้องกับทฤษฎีใดมากที่สุด
(1) Format Position
(2) Format Authority
(3) Acceptance Theory
(4) Competence Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 148 ทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับ (Acceptance Theory) อธิบายว่า อํานาจหน้าที่ ที่แท้จริงในการบริหารนั้นจะมาจากการที่ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับให้ผู้บังคับบัญชามีสิทธิหรือ อํานาจเหนือตน และอํานาจหน้าที่นี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้บังคับบัญชาสามารถชักจูง แนะนํา หรือเจรจาโน้มน้าวให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีพฤติกรรมที่ผู้บังคับบัญชาต้องการหรือปฏิบัติตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาด้วยความเต็มใจ โดยนักทฤษฎีที่กล่าวถึงอํานาจหน้าที่ในลักษณะนี้ได้แก่ Chester I. Barnard และ Herbert A. Simon

25. “Activity, Interaction และ Sentiment” ทั้งสามประการข้างต้นเป็นหลักที่ Homans เสนอให้ใช้
ในการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องใด
(1) การควบคุมองค์การ
(2) พฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม
(3) การวางแผนองค์การ
(4) พฤติกรรมขององค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 79 – 80 Homans เสนอว่า การศึกษาพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม (Social Groups) จะต้องพิจารณาคุณลักษณะของปัจเจกบุคคลในการดําเนินชีวิต
3 ประการด้วยกัน คือ
1. การกระทําของเขาในสังคม (Activity)
2. ความสัมพันธ์อันเกิดจากการกระทําของเขา (Interaction)
3. ความคิดเห็นส่วนตัวหรือสภาพทางอารมณ์และจิตใจของตัวเอง (Sentiment)

26. อํานาจหน้าที่ที่แท้จริงในการบริหารจะมาจากการที่ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับให้ผู้บังคับบัญชามีอํานาจ เหนือตน เกี่ยวพันกับรูปแบบใดมากที่สุด
(1) Acceptance Theory
(2) Formal Authority Theory
(3) Competence Theory
(4) Acceptance Theory and Leadership
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

27. ข้อใดเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้
(1) ระดับขององค์การ
(2) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
(3) ลักษณะงานในองค์การ
(4) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(5) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
ตอบ 2, 3 หน้า 184 – 185 ปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้ มีดังนี้
1. การฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชา
2. เทคนิคในการมอบหมายอํานาจหน้าที่
3. การวางแผนการปฏิบัติงานไว้ให้พร้อม
4. ลักษณะของงานในองค์การ
5. เทคนิคในการควบคุม
6. เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
7. ความจําเป็นในการติดต่อส่วนตัว

28. ใครที่เชื่อว่า อํานาจหน้าที่ไม่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง
(1) Fayol
(2) Weber
(3) Barnard
(4) ทั้ง Fayol และ Weber
(5) ทั้ง Fayol, Weber la Barnard
ตอบ 3 หน้า 71 – 72 Chester I. Barnard ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับองค์การไว้ในหนังสือชื่อ “The Functions of the Executive” ดังนี้
1. องค์การเป็นระบบของความร่วมมือระหว่างบุคคลที่จะต้องร่วมกันดําเนินภารกิจ
ให้เกิดการทํางานร่วมกันอย่างมีดุลยภาพ
2. อํานาจหน้าที่ควรกําหนดในรูปของความรับผิดชอบของผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ใช่เป็น
การกําหนดตายตัวจากบนลงล่าง
3. นําบทบาทขององค์การอรูปนัยหรือองค์การที่ไม่เป็นทางการเข้ามาใช้ในทฤษฎีองค์การ
และการบริหารองค์การ
4. บทบาทหลักของผู้บริหารคือการสื่อความเข้าใจและกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานใช้ความพยายา
ในการทํางานอย่างเต็มที่
5. ผลตอบแทนทางวัตถุไม่ใช่สิ่ง ๆ เดียวที่สําคัญยิ่งในการจูงใจหรือเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องการ
ฯลฯ

29. Secondary Environment หรือ External Environment ที่ Barton และ Chappell แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ประกอบด้วย สังคม…ที่หายไปคือ
(1) เทคโนโลยีและเศรษฐกิจ
(2) การเมืองและเทคโนโลยี
(3) สื่อมวลชนและเทคโนโลยี
(4) เศรษฐกิจและการเมือง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 14 – 17 Barton และ Chappell ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การสาธารณะออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. สภาพแวดล้อมภายนอก (Outer/Secondary/External Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี
2. สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ได้แก่ สาธารณชนโดยทั่วไป ผู้รับบริการและ กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อมวลชน ฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้บริหารระดับสูง และกระบวนการยุติธรรม

30. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา
(1) ระดับขององค์การ
(2) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(3) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
(4) ประเภทของกิจกรรม
(5) ความสามารถของผู้บังคับบัญชา
ตอบ 3 หน้า 181 – 182 ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา มีดังนี้
1. ระดับขององค์การ
2. ประเภทของกิจกรรม
3. ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
4. ลักษณะขององค์การ
5. ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

31. การที่ผู้ปฏิบัติงานทํางานเพียงเท่าเกณฑ์ขั้นต่ําในการทํางาน ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกณฑ์นั้น
Taylor เรียกพฤติกรรมนี้ว่า
(1) Labor Standard
(3) Human Standard
(2) Systematic Soldiering
(4) Natural Soldiering
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 41, (คําบรรยาย) พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงงานหรือหนีงานโดยอาศัยระบบ (Systematic Soldiering) ตามแนวคิดของ Frederick W. Taylor นั้น เป็นพฤติกรรมที่อาศัยระบบของงาน ในองค์การเป็นเครื่องมือเพื่อปิดบังไม่ให้ผู้บังคับบัญชาล่วงรู้ถึงปริมาณงานที่แท้จริงของตนโดยพยายามทําให้เห็นว่าตนเองมีงานล้นมืออยู่แล้ว หรือพยายามทํางานเพียงให้ได้ตามเกณฑ์ หรือมาตรฐานขั้นต่ำของงาน โดยไม่ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถ มากกว่าเกณฑ์ หรือพยายามทํางานเท่าที่ระเบียบกําหนด หรือทํางานให้น้อยที่สุดเท่าที่ไม่ผิด ระเบียบ ไม่ตกมาตรฐานขององค์การ เช่น การส่งใบลากิจในวันที่องค์การมีภารกิจมาก การใช้ สิทธิลาหยุดงานให้ครบวันลาตามสิทธิ เป็นต้น

32. กิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับการทําให้เกิด “การทํางานเป็นกิจวัตร”
(1) Staffing
(3) Gantt Chart
(2) Organizing
(4) Gang Plank
(5) Piece Rate System
ตอบ 3 หน้า 42, (คําบรรยาย) Henry L. Gantt เป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มการจัดการแบบ วิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ที่เสนอแนวคิดในการสร้างวินัยในการทํางานและ การทํางานเป็นกิจวัตร โดยการใช้ Gantt Chart เป็นแผนภูมิควบคุมเวลาในการทํางาน หรือ แผนกํากับหรือติดตามความก้าวหน้าของงาน รวมทั้งการกําหนดเวลาเข้าทํางาน เลิกงาน โดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป และจะเปลี่ยนแปลงตามอําเภอใจของผู้บริหารไม่ได้

33. การตรวจสอบผลกําไรเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน ถือเป็นการควบคุมในลักษณะใด
(1) Real Time Control
(2) Pre Control
(3) Before Control
(4) Post Control
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 266, (คําบรรยาย) การควบคุมทีหลัง (Post Control) เป็นการสร้างเป้าหมายไว้ เพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบเมื่อเสร็จสิ้นงวดการปฏิบัติงาน เช่น การประเมินผลลัพธ์ ในการดําเนินงาน การตรวจสอบผลกําไรเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน การประเมินผลสรุปของ โครงการ การตรวจงานหรือการประเมินผลการดําเนินงานต่าง ๆ เป็นต้น

34. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการรวมอํานาจ
(1) ประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
(2) ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้บริหารระดับสูง
(3) ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครอง
(4) มีลักษณะของการประสานงานกันอย่างดี
(5) เกิดความรวดเร็วสะดวกในการบริหาร
ตอบ 2 หน้า 175 ประโยชน์ของการรวมอํานาจ มีดังนี้
1. ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองและการบริหาร
2. ทําให้ทรัพยากรการบริหารรวมอยู่ในที่เดียวกัน
3. เกิดความรวดเร็วและสะดวกในการบริหาร รวมทั้งประหยัดเวลา
4. ประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
5. มีลักษณะของการประสานงานกันเป็นอย่างดี ซึ่งทําให้องค์การบรรลุถึงเป้าหมายได้

35. Authority เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
(2) ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่นแต่ละสาขา
(3) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
(4) Power to Command
(5) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ
ตอบ 4 หน้า 146 อํานาจหน้าที่ (Authority) หมายถึง อํานาจในการสั่งการ (Power to Command) เพื่อให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจจะเห็นสมควร ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งไว้ อํานาจหน้าที่นี้จะเป็นอํานาจหน้าที่ของ
ผู้บังคับบัญชาซึ่งได้มาโดยตําแหน่งที่เป็นทางการ ทําให้ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการได้ แต่ทั้งนี้ จะเป็นผลใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อใช้ภายในขอบเขตของตําแหน่งหน้าที่ด้วย นอกจากนี้อํานาจหน้าที่ ยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความรับผิดชอบ (Responsibility) หรืออาจกล่าวได้ว่า อํานาจหน้าที่มีฐานะเป็นตัวกําหนดความรับผิดชอบ เช่น ผู้บริหารระดับสูงมีตําแหน่งสูงและ มีอํานาจหน้าที่มาก จึงต้องมีความรับผิดชอบมากไปด้วย เป็นต้น

36. จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์การพบว่า “การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทําให้ ชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวลดลง” ข้อความดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์ใดสําหรับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(1) Problems
(2) Threats
(3) Strengths
(4) Opportunities
(5) Weaknesses
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

37. จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Responsibility
(2) Hierarchy
(3) Span of Control
(4) Specialization
(5) Unity of Command
ตอบ 3 หน้า 179 ช่วงของการบังคับบัญชา หรือช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management หรือ Span of Supervision) หมายถึง จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชา (ลูกน้อง) ที่ผู้บังคับบัญชา (หัวหน้า) คนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ ซึ่งช่วงการควบคุมนี้เป็นสิ่งที่จะ แสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการกํากับดูแลหรือการบังคับบัญชา เพียงใด ทั้งนี้คือการพิจารณาว่าควรจะมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน หรือมีหน่วยงานภายในความ รับผิดชอบที่หน่วยงาน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะทําให้การกํากับดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปได้ โดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

38. ข้อใดมีลักษณะเป็นนามธรรมมากที่สุด
(1) Policy
(2) Plan
(3) Project
(4) Program
(5) Procedure
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระดับชั้นของแผน สามารถเรียงลําดับจากลักษณะที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ไปหาลักษณะที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด ได้ดังนี้
1. นโยบาย (Policy)
2. แผน (Plan)
3. แผนงาน (Program)
4. โครงการ (Project)
5. มาตรการ (Procedure)

39. ข้อใดเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้
(1) ประเภทของกิจการ
(2) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(3) ระดับขององค์การ
(4) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
(5) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

40. ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Centralization
(2) Authority
(3) Complexity
(4) Organization Design
(5) Formalization
ตอบ 4 หน้า 122 – 123 การออกแบบองค์การ (Organization Design) คือ การมุ่งหรือพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อ การปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ

41. ข้อใดเป็นตัวอย่างของการควบคุมองค์การแบบ Direct Control
(1) การควบคุมล่วงหน้า
(2) การสั่งการจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา
(3) การควบคุมสภาพในการปฏิบัติงานจริง
(4) การตระหนักรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชาในการทํางาน
(5) การจัดทําระบบงบประมาณ
ตอบ 2 หน้า 266 267 วิธีการควบคุมองค์การซึ่งแบ่งตามความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับ ผู้ใต้บังคับบัญชา มี 2 วิธี คือ
1. การควบคุมโดยตรง (Direct Control) คือ การควบคุมที่มีการสั่งการจากผู้บังคับบัญชา ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ปฏิบัติงานโดยตรง
2. การควบคุมโดยทางอ้อม (Indirect Control) คือ ผู้บังคับบัญชามิได้สั่งการผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ปฏิบัติงานโดยตรง

42. วิธีการจูงใจใดที่ถูกวิจารณ์ว่า “มีลักษณะเป็นอุดมคติมากไป”
(1) วิธีการแข่งขัน
(2) การใช้การต่อรองที่เด่นชัด
(3) วิธีการใช้ความดี
(4) วิธีการแบบเด็ดขาด
(5) การทําให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความสําคัญของงาน
ตอบ 5หน้า 280 การทําให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความสําคัญของงาน เป็นการสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิด แก่พนักงานโดยให้เขาเห็นความสําคัญของตัวงานที่เขาปฏิบัติอยู่ว่ามีค่ามีความสําคัญมาก เพียงไร ซึ่งจะส่งผลให้เขายินดีพอใจจะปฏิบัติงานสําคัญนั้นอย่างเต็มความสามารถ การสร้าง แรงจูงใจจากภายในนี้นับว่าทําให้เกิดการกระตือรือร้นในการทํางานได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่สามารถ นํามาใช้ได้ในทุกสถานการณ์ และอาจทําได้ยากกับงานบางประเภท จนนักวิชาการบางท่าน ได้วิจารณ์ว่า การคิดสร้างแรงจูงใจภายในมีลักษณะเป็นอุดมคติมากไป

43. เทคโนโลยีขององค์การ หมายถึง
(1) กฎระเบียบและข้อบังคับ
(2) สายการบังคับบัญชา
(3) ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่
(4) วัตถุประสงค์ขององค์การ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

44. วิธีการเปลี่ยนแปลง “ปัจจัยนําเข้า” ให้เป็น “ผลผลิต” หมายถึงข้อใด
(1) ทรัพยากรการบริหาร
(2) วิธีการทํางาน
(3) กฎระเบียบและข้อบังคับ
(4) วัตถุประสงค์ขององค์การ
(5) ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

45. จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์การพบว่า “องค์การมีบุคลากรที่มีความสามัคคีในการปฏิบัติงานข้อความดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์ใด
(1) Problems
(2) Strengths
(3) Threats
(4) Weaknesses
(5) Opportunities
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

46. ในเรื่อง “เงื่อนไขที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ” นั้น สิ่งใดหมายถึง “ภาวะความเครียดซึ่งเป็นผลมาจาก
ความต้องการต่าง ๆ ของมนุษย์”
(1) ความต้องการ
(2) แรงขับ
(3) สิ่งล่อใจ
(4) การไม่มีงานทํา
(5) ความหิว
ตอบ 2 หน้า 271 เงื่อนไขที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ มี 3 ประการ คือ

1. ความต้องการ (Needs) เกิดจากความขาดแคลนในบางสิ่งบางอย่างของมนุษย์
2. แรงขับ (Drives) หมายถึง ภาวะความเครียดซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการต่าง ๆ ของมนุษย์
3. สิ่งล่อใจ (Incentives) หมายถึง สิ่งของหรือเงื่อนไขภายนอกที่กระตุ้นให้มนุษย์กระทําการ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าประสงค์

47. TOTE Unit คืออะไร
(1) การวางแผนองค์การ
(2) รูปแบบการแสดงพฤติกรรมการตัดสินใจของมนุษย์ในองค์การ
(3) รูปแบบการจัดองค์การแบบระบบราชการในอุดมคติ
(4) แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งภายในองค์การ
(5) รูปแบบที่ดีที่สุดของภาวะผู้นําในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ตอบ 2 หน้า 233 Miller, Galanter และ Pribram ได้สนับสนุนทฤษฎีการรับรู้ (Cognitive Theory) และได้เสนอรูปแบบของการแสดงพฤติกรรมในการตัดสินใจของมนุษย์ในองค์การที่เรียกกันว่า TOTE Unit (Test-Operate-Test-Exist) ว่าเป็นทางเลือกของการสะท้อนกลับธรรมดา (Reflex Arc)

48. ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Authority มากที่สุด
(1) Specialization
(2) Unity of Command
(3) Hierarchy
(4) Span of Control
(5) Responsibility
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

49. การตัดสินใจในระดับใดที่เกี่ยวข้องกับ “Judgmentat” มากที่สุด
(1) Operational Level
(2) Coordinative Level
(3) Strategic Level
(4) Staff Level
(5) Coordinative Level และ Staff Level
ตอบ 3 หน้า 229, 236 การตัดสินใจในระดับการกําหนดนโยบายและเป้าหมายขององค์การ หรือระดับของการกําหนดกลยุทธ์ (Strategic Level) จะมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการกําหนด ลักษณะของขอบเขตขององค์การกับสภาพแวดล้อมว่าจะยอมให้มีความสัมพันธ์กันในระดับใด มีการรับเอาอิทธิพลและทรัพยากรจากสภาพแวดล้อมเข้ามาในองค์การมากน้อยเพียงใด จะเลือก รับเอาสิ่งใด และต้องการให้องค์การตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมในลักษณะใด การตัดสินใจ ระดับนี้มักเป็นการตัดสินใจในระยะยาวและมีลักษณะที่ไม่แน่นอน จําเป็นต้องมีการพิจารณา อย่างรอบคอบ มีเหตุผล และต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทําอย่างมาก ดังนั้นการตัดสินใจ จึงไม่สามารถจัดทําไว้ล่วงหน้าได้ (Non-Programmable) ต้องใช้วิจารณญาณและความคิดเห็น ของผู้ทําการตัดสินใจ (Judgmental)

50. วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ ได้แก่
(1) Management Science
(2) Operation Research
(3) Action Theory
(4) Scientific Management
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 83 – 84 การบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Science) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ
1. วิทยาการบริหาร (Management Science : MS) เป็นวิชาที่มุ่งค้นคว้าและเผยแพร่ วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน
2. การวิจัยดําเนินงาน (Operation Research : OR) เป็นวิชาที่เน้นการทดลองและประยุกต์ เพื่อให้เราสามารถสังเกต เข้าใจ และคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

51. การพยายามลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อย เป็นหลักในเรื่องใด
(1) Efficiency
(2) Ethic
(3) Ecology
(4) Effectiveness
(5) Equity
ตอบ 1 หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากร (เช่น งบประมาณ ระยะเวลา) หรือความพยายามที่ใช้ในการบริหาร ส่วนประสิทธิผล (Effectiveness) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จาก การบริหารกับมาตรฐาน เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กําหนด หรือกับแผนงานหรือประมาณการ ที่ได้วางเอาไว้ ดังนั้นหากองค์การใดสามารถลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อยลงได้ก็แสดงว่า องค์การนั้นมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถดําเนินงานให้บรรลุจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ได้ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิผล

52. ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคําสั่งของตนได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Formal Authority
(2) Formal Position
(3) Acceptance Theory
(4) Competence Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 147 กลุ่มทฤษฎีว่าด้วย “อํานาจอย่างเป็นทางการ” (Formal Authority Theory) มีความเชื่อว่า การที่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคําสั่งของตนได้เป็นเพราะ ผู้บังคับบัญชามีอํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ (Formal Authority หรือ Legal Authority) หรือเรียกว่า อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในลักษณะสถาบัน (Institutionalized Authority) ซึ่งเป็นอํานาจที่ผู้บังคับบัญชาได้รับมาควบคู่กับตําแหน่งหน้าที่การงานที่เป็นทางการ (Format Position) แต่อํานาจหน้าที่นี้ก็ยังมิใช่อํานาจที่จะใช้บังคับได้โดยเด็ดขาดอย่างไม่มีข้อแม้ใด ๆ เพราะการใช้อํานาจยังขึ้นอยู่กับลักษณะของความถูกต้องของความเป็นมาของอํานาจนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการสามารถนําไปใช้ได้ในองค์การบริหารทุกประเภท เพราะเป็น หลักเกณฑ์ทางการบริหารโดยทั่ว ๆ ไป

53. ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยก ตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่ แต่ละสาขา เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Authority
(2) Complexity
(3) Formalization
(4) Organization Design
(5) Centralization
ตอบ 2 หน้า 121 ความซับซ้อนขององค์การ (Complexity) คือ ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การ จะมีการแบ่งแยกงาน (กิจกรรม) ซึ่งมีเป็นจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการ แบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญแต่ละด้านของบุคลากร และมีการแบ่งเป็นระดับ ต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งอาจมีการแบ่งไปยังพื้นที่อื่น ๆ แต่ละสาขาด้วย

54. สําหรับองค์การที่ขายสินค้าออนไลน์ ในการวิเคราะห์ SWOT Analysis นั้น การที่ “ลูกค้ามีความรู้และ ทักษะในการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น” ถือเป็นสิ่งใด
(1) Strengths
(2) Threats
(3) Problems
(4) Weaknesses
(5) Opportunities
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

55. “การหลีกเลี่ยงงานโดยอาศัยระบบ” เป็นข้อเสนอของใคร
(1) Gilbreths
(2) Cooke
(3) Gulick
(4) Taylor
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

56. หน่วยงานที่มิได้ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุน
การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Staff Agency
(2) Auxiliary Agency
(3) Departmentation
(4) Line Agency
(5) Division of Work
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

57. ข้อใดเป็นปัจจัยสถานการณ์ที่ Fred E. Fiedler นํามาใช้ในการพิจารณาถึงความสอดคล้องกับพฤติกรรม
ของผู้นํา
(1) อํานาจในตําแหน่งของผู้นํา
(2) บุคลิกภาพของผู้นํา
(3) การตัดสินใจของผู้นํา
(4) ข้อมูลข่าวสารขององค์การ
(5) ความพร้อมของผู้ตาม
ตอบ 1 หน้า 295 Fred E. Fiedler เห็นว่า การเป็นผู้นําที่มีประสิทธิภาพต้องมีพฤติกรรมที่สอดคล้อง กับสถานการณ์ โดยสถานการณ์ที่เอื้อต่อภาวะผู้นําเป็นผลมาจากตัวแปร 3 ด้าน คือ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นําและสมาชิก (Leader-Member Relationship)
2. โครงสร้างของงาน (Task Structure)
3. อํานาจในตําแหน่งของผู้นํา (Position Power)

58. แนวความคิดในการดําเนินชีวิตแบบใดที่เป็นผลให้เกิดการบริหารที่มีลักษณะของการกระจายอํานาจ
ในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ
(1) เสรีนิยม
(2) สังคมนิยม
(3) ประจักษนิยม
(4) ประชานิยม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 14 – 15) แนวความคิดในการดําเนินชีวิต มี 2 แบบ คือ
1. เสรีนิยม เป็นแนวคิดที่ยกย่องในสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และเห็นว่ามนุษย์ทุกคน สามารถครอบครองถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและที่ดินได้ จึงยึดหลักการกระจายอํานาจ
ในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ
2. สังคมนิยม เป็นแนวคิดที่ยกย่องในความเสมอภาคของปวงชน และเห็นว่ารัฐควรจะเป็นผู้จัดสรรทรัพย์สินและที่ดินเพื่อความเสมอภาคเท่าเทียมกัน จึงยึดหลักการรวมอํานาจในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

59. ทฤษฎีแรงจูงใจของนักวิชาการท่านใดจัดอยู่ในกลุ่มทฤษฎีของกระบวนการ (Process Theory)
(1) McClelland
(2) Vroom
(3) Maslow
(4) Herzberg
(5) McGregor
ตอบ 2 หน้า 272, (คําบรรยาย) ทฤษฎีหลักการจูงใจ (Theory of Motivation) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มทฤษฎีของกระบวนการ (Process Theory) จะพยายามอธิบายว่าพฤติกรรมของ มนุษย์จะถูกกระตุ้นได้อย่างไร จะถูกชี้นําไปยังทิศทางใด และจะทําให้หยุดลงได้อย่างไร ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้ ได้แก่ Victor H. Vroom, Stacy Adams เป็นต้น
2. กลุ่มทฤษฎีว่าด้วยเนื้อหา (Content Theory) จะเน้นถึงความต้องการภายใน โดยจะศึกษา ว่า “อะไร” เป็นตัวทําให้พฤติกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นในลักษณะนั้น ๆ ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้ได้แก่ Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Frederick Herzberg, Douglas McGregor David McClelland เป็นต้น

60. “เป็นทฤษฎีองค์การที่ให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่งๆ…..” เรียกว่าเป็นการศึกษาตามแนวใด
(1) Human Relation Theory
(2) Management Science
(3) Administrative Theorists
(4) Action Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) การศึกษาองค์การและการบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory หรือ Situational Approach) เป็นการศึกษาที่ปฏิเสธหลัก One Best Way โดยแนวคิดนี้มีแนวคิดพื้นฐานมาจากแนวคิดเชิงระบบ ซึ่งจะให้ความสําคัญต่อ อิทธิพลของสภาพแวดล้อม (เช่น ระบบเทคโนโลยี) และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมของ องค์การภายใต้เงื่อนไขของสภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ นักวิชาการในกลุ่มนี้จะมองการบริหารว่า เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะ แตกต่างกันไปตามแนวคิดของนักทฤษฎีแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ไม่มีรูปแบบ ที่เหมาะสมสําหรับองค์การทุก ๆ ประเภท วิธีการจัดสรรทรัพยากรที่แตกต่างกันจะทําให้ การจัดรูปโครงสร้างมีความแตกต่างกันด้วย

61. การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Departmentation
(2) Auxiliary Agency
(3) Staff Agency
(4) Division of Work
(5) Line Agency
ตอบ 1 หน้า 191 การจัดแผนกงาน (Departmentation) หมายถึง การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรม ต่าง ๆ เข้าด้วยกันซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน เพื่อแบ่งแยกกิจกรรมอันมีอยู่ มากมายในองค์การ มอบหมายให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้แยกกันปฏิบัติตามความสามารถของตนตามหลักเกณฑ์ของความสามารถเฉพาะด้าน

62. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการตัดสินใจ
(1) การตัดสินใจในองค์การมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการตัดสินใจของบุคคล
(2) องค์การจะต้องมีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลาและตลอดไป
(3) การตัดสินใจมีบทบาทอยู่ในทุก ๆ ส่วนของกระบวนการบริหาร
(4) การตัดสินใจก็คือการบริหาร
(5) การตัดสินใจมีความหมายแตกต่างกับการวินิจฉัยสั่งการ
ตอบ 5 หน้า 228 การตัดสินใจ (Decision Making) มีความหมายเช่นเดียวกันกับการวินิจฉัยสั่งการ โดยหมายถึง การพิจารณาตกลงใจชี้ขาดจากทางเลือกที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางเลือกขึ้นไปในอันที่จะ ให้มีการกระทําในลักษณะเฉพาะใด ๆ หรือหมายถึง การตกลงใจที่จะยุติข้อขัดแย้ง ข้อถกเถียง โดยให้มีการกระทําไปในทางหนึ่งทางใดที่ได้มีการพิจารณาและตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว

63. ถ้าสมมุติฐานมีว่า “มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” วิธีการแก้ไขพฤติกรรมที่บกพร่องของผู้บริหาร ที่ยึดสมมุติฐานนี้ ได้แก่
(1) ใช้ระเบียบวินัยและบทลงโทษที่เข้มงวด และใช้คู่มือกํากับการทํางาน
(2) ใช้ระเบียบวินัยและบทลงโทษที่เข้มงวด
(3) ใช้คู่มือกํากับการทํางาน
(4) ใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 91) Knowles and Saxberg เสนอว่า ถ้าเรามีสมมุติฐาน ว่า “มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” เราสามารถทํานายได้เลยว่าพฤติกรรมที่บกพร่องที่เขาแสดงออกมาย่อมเป็นผลมาจากกระบวนการอบรมเลี้ยงดูและประสบการณ์ในอดีตของเขา เช่น ความต้องการภายในไม่ได้รับการบําบัด ขาดเสรีภาพ ขาดโอกาสในการเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งเราอาจแก้ไขโดยใช้การอบรมและพัฒนา ใช้กลุ่มช่วยแก้ปัญหา หรือใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมก็ได้

64. ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y จะต้องใช้การบริหารแบบใด
(1) Management by Rules
(2) Management by Procedure
(3) Management by Objectives
(4) Management by Leadership
(5) Management by Book
ตอบ 3 หน้า 78. (คําบรรยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y (มองคนในแง่ดี) จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังนี้
1. การบริหารแบบประชาธิปไตย
2. การบริหารแบบเน้นการมีส่วนร่วม (Participative Management)
3. การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) หรือการบริหาร ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ (Adhocracy)
4. การทํางานเป็นทีม (Teamwork)
5. การบริหารแบบโครงการ (Project Management)
6. การบริหารแบบ Organic Organization
7. การกระจายอํานาจ (Decentralization)
8. การใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ (Knowledge than Authority) ฯลฯ

65.Barton และ Chappelt เรียกสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจว่าเป็น
(1) Global Environment
(2) Primary Environment
(3) Inner Environment
(4) Political Environment
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

66. การตัดสินใจในระดับใดที่มีทั้งลักษณะ “ทันทีทันใด” และ “การพิจารณาในระยะยาว” ด้วย
(1) Operational Level
(2) Coordinative Level
(3) International Level
(4) Strategic Level
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 229 การตัดสินใจในระดับการประสานงาน (Coordinative Level) เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับความพยายามในอันที่จะประสานความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจระดับสูงกับการดําเนินงานในระดับการปฏิบัติการ การตัดสินใจในระดับนี้มีทั้งในลักษณะ “ทันทีทันใด” และ “การพิจารณาในระยะยาว” ผู้บริหารในระดับนี้จะต้องทําหน้าที่ตัดสินใจเพื่อให้เกิดการประสานกันระหว่างการปฏิบัติงานในองค์การกับการนําเอาปัจจัยภายนอกองค์การ(สภาพแวดล้อม) เข้ามาในองค์การ

67. แนวคิดของบุคคลใดจัดอยู่ในกลุ่มทฤษฎีคุณลักษณะผู้นํา
(1) น.ส.ลัลนาเห็นว่าผู้นําควรบริหารงานแบบประชาธิปไตย
(2) นายศุภฤกษ์เห็นว่าผู้นําที่ดีควรบริหารงานโดยเน้นคนมากกว่าเน้นงาน
(3) นายปภาณษิณเห็นว่าผู้นําที่ดีต้องพิจารณาความพร้อมของผู้ตาม
(4) นายภควัฒน์เห็นว่าผู้นําที่ดีต้องมีแรงขับทางด้านความสําเร็จ
(5) น.ส.สุธิดาเห็นว่าผู้นําที่ดีย่อมขึ้นอยู่กับสถานการณ์
ตอบ 4 หน้า 289, (คําบรรยาย) แนวคิดของนายภควัฒน์ที่เห็นว่าผู้นําที่ดีต้องมีแรงขับทางด้าน ความสําเร็จนั้น สอดคล้องกับแนวคิดของ Keith Davis นักวิชาการในกลุ่มทฤษฎีคุณลักษณะ ผู้นํา (Traits of Leaders) ซึ่งได้เสนอลักษณะสําคัญของภาวะผู้นําไว้ 4 ประการ คือ
1. Intelligence คือ มีความเฉลียวฉลาด
2. Social Maturity คือ มีวุฒิภาวะทางสังคม
3. Inner Motivation and Achievement Drives คือ มีการจูงใจภายในและมีแรงขับทางด้าน ความสําเร็จ
4. Human Relation Attitudes คือ มีทัศนคติทางด้านมนุษยสัมพันธ์

68. ข้อใดคือความหมายของ “การพิจารณาตกลงใจชี้ขาดจากทางเลือกที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางเลือกขึ้นไป
ในอันที่จะให้มีการกระทําในลักษณะเฉพาะใด ๆ”
(1) Planning
(2) Organizing
(3) Leadership
(4) Decision Making
(5) Evaluating
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

69. ตามทฤษฎีของ Herzberg ปัจจัยใดต่อไปนี้ที่เป็น Hygiene Factors สูงที่สุด
(1) ความรับผิดชอบ
(2) ความก้าวหน้าในงาน
(3) นโยบายและการบริหาร
(4) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน
(5) ลักษณะของงาน
ตอบ 3 หน้า 81 – 82, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการจูงใจ (Hygiene Theory) ของ Frederick Herzberg นั้น สามารถแบ่งปัจจัยที่มีส่วนช่วยสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับ พนักงานได้ 2 ประการ คือ

1. ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้นให้คนขยันทํางาน (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความพึงพอใจ ให้กับพนักงาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสําเร็จในหน้าที่การงาน การยอมรับ นับถือจากผู้ร่วมงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการงาน

2. ปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือปัจจัยค้ำจุนให้คนยินยอมทํางาน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะ สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน ซึ่งเรียงลําดับ จากมากไปน้อย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน เทคนิคและการควบคุมงาน เงินเดือน ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา และสภาพการทํางาน

70. บุคคลในข้อใดพิจารณาลูกน้องแบบทฤษฎีวาย (Y) ของ Douglas McGregor
(1) นายชลันธรปรับเปลี่ยนการจ้างงานลูกจ้างเป็นแบบปีต่อปี
(2) นายอติวิชญ์จ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้างสูง ๆ เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการทํางาน
(3) นายภูวดิษฐ์เห็นว่าแรงจูงใจของมนุษย์มี 5 ขั้น
(4) น.ส.อัสมาเห็นว่าความรักในที่ทํางานระหว่างคนเพศเดียวกันเป็นเรื่องปกติ
(5) นางชีวาชนกเชื่อว่าธรรมชาติของลูกจ้างไม่ใช่คนขี้เกียจ
ตอบ 5 หน้า 77 Douglas McGregor ได้เสนอสมมุติฐานเกี่ยวกับลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์ ไว้ 2 รูปแบบ คือ
1. ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X เป็นมนุษย์ขี้เกียจ ไม่ชอบทํางาน และพยายามหลีกเลี่ยงงานเมื่อมีโอกาส
2. ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y เป็นมนุษย์ ที่ชอบทํางาน ไม่ขี้เกียจ ต้องการที่จะทํางานด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบต่องาน

71. “ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ
(1) Technical
(2) Goals and Values
(3) Managerial
(4) Psychosocial
(5) Structural
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

72. บุคคลใดเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับ Operational Level มากที่สุด
(1) น.ส.รติมาเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง
(2) นายก๊อฟฟารี่เป็นนักการเมือง
(3) นายฐณเมศร์เป็นประธานบริษัท
(4) น.ส.ศาริตาเป็นเจ้าของโรงงานผลิตเบียร์
(5) นายณธรรศเป็นหัวหน้าคนงาน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

73. อํานาจที่เกิดขึ้นจากความสามารถพิเศษของผู้บังคับบัญชา เกี่ยวพันกับรูปแบบใดมากที่สุด
(1) Competence Theory
(2) Formal Authority Theory
(3) Acceptance Theory
(4) Acceptance Theory and Leadership
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 149 กลุ่มทฤษฎีว่าด้วย “ความสามารถ” (Competence Theory) มีความเชื่อว่า อํานาจหน้าที่นั้นจะเกิดขึ้นได้โดยความสามารถพิเศษของผู้บังคับบัญชาในด้านความรู้และ ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่จะทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังยอมรับนับถือได้ ดังนั้น อํานาจหน้าที่นี้จึงเป็นอํานาจหน้าที่ที่ได้มาจากความสามารถพิเศษของผู้บังคับบัญชา ไม่ได้มาจากตําแหน่งเป็นทางการแต่สามารถทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังยอมรับนับถือจนเป็นเสมือนหนึ่งได้อํานาจมาโดยปริยาย

74.ตามทัศนะของ Taylor “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ให้พิจารณาที่
(1) ความต้องการ
(2) ทัศนคติ
(3) บุคลิกภาพ
(4) แรงจูงใจ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เช่น Max Weber, Frederick W. Taylor, Henri Fayol ได้เสนอหลักการบริหารองค์การในการคัดเลือกคนเข้าสู่ตําแหน่งต่าง ๆ หรือ การกําหนดคนให้เหมาะสมกับงานตามหลัก “Put the Right Man on the Right Job ในระบบคุณธรรม (Merit System) โดยให้พิจารณาที่คุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถของ บุคคลเป็นหลัก

75. อํานาจหน้าที่ที่แท้จริงมาจากการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้บังคับบัญชา สามารถชักจูง แนะนําให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีพฤติกรรมที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Format Authority
(2) Acceptance Theory
(4) Competence Theory
(3) Formal Position
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

76. การกําหนดขอบเขตการมอบหมายอํานาจหน้าที่ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
(1) ความเต็มใจในการปฏิบัติงาน
(2) การกระจายอํานาจ
(3) โครงสร้างองค์การ
(4) การเมืองในองค์การ
(5) ลักษณะของงานที่จะมอบหมาย
ตอบ 5 หน้า 157 – 159 การกําหนดขอบเขตของการมอบหมายอํานาจหน้าที่ พิจารณาจากปัจจัย ต่าง ๆ ดังนี้ 1. บรรยากาศขององค์การ
2. ลักษณะของงานที่จะมอบหมาย
3. ตัวผู้บริหารที่จะมอบหมายอํานาจหน้าที่
4. ความเต็มใจที่จะมอบหมายความไว้วางใจ ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
5. ความเต็มใจในการที่จะกําหนดให้มีการควบคุมอย่างกว้าง

77. ผู้เสนอ “POSDCORB” ได้แก่
(1) Taylor
(2) Weber
(3) Urwick
(4) Fayol
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 29, 55 – 56, 60 – 62 Luther Gutick ได้เขียนบทความ “Note on the Theory of Organization” โดยเขาได้เสนอหน้าที่หรือภารกิจหลักในการบริหารงาน (Administrative Functions) ของนักบริหารไว้ 7 ขั้นตอน ซึ่งเรียกว่า POSDCORB Model ประกอบด้วย
1. P = Planning (การวางแผน)
2. O = Organizing (การจัดรูปงาน)
3. S = Staffing (การบรรจุบุคคลเข้าทํางาน)
4. D = Directing (การสั่งการ)
5. Co = Coordinating (การประสานงาน)
6. R = Reporting (การจัดทํารายงาน)
7. B = Budgeting (การจัดทํางบประมาณ)

78. ทุกข้อเป็นการศึกษาองค์การในลักษณะของ “ระบบปิด” ยกเว้น
(1) สมดุลเป็นพลวัต
(2) Rational Model
(3) มีแผน
(4) ประสิทธิภาพสูงสุด
(5) One Best Way
ตอบ 1 หน้า 25 – 29, 37, (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการ ตามแนวทางของ “ระบบปิด” ได้แก่
1. เสถียรภาพคงที่ของระบบหรือสมดุลแบบสถิต
2. การแบ่งงานโดยเน้นความชํานาญเฉพาะด้าน
3. การคํานึงถึงสายการบังคับบัญชา กฎ และระเบียบ
4. การมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด
5. การกําหนดมาตรฐานของงาน
6. การกําหนดแผนงานและเป้าหมายที่แน่นอน
7. ความเชื่อในหลัก One Best Way
8. เป็นรูปแบบที่อิงอยู่กับหลักของเหตุและผล (Rational Model)
9. การใช้หลักเหตุผล และวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ)

79. ในการสนทนากันทางโทรศัพท์ “กระบอกพูด” ถือเป็นสิ่งใดในกระบวนการสื่อความเข้าใจ
(1) Receiver
(2) Destination
(3) Transmitter
(4) Channel
(5) Information Source
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

80. การจัดการที่ไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อผู้บริหารมากกว่า 1 คน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Hierarchy
(2) Specialization
(3) Responsibility
(4) Unity of Command
(5) Span of Control
ตอบ 4 หน้า 186 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง การจัดการที่ไม่ให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารมากกว่า 1 คน

81. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง “สร้างความเสมอภาคทางการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ ส่งเสริม การเรียนการสอนและบริการวิชาการสู่ความเป็นเลิศ” สิ่งนี้ถือเป็น
(1) ตัวชี้วัด
(2) พันธกิจ
(3) เป้าหมายปลายประสงค์
(4) วิสัยทัศน์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 220, (คําบรรยาย) วิสัยทัศน์ (Vision) คือ สิ่งที่องค์การต้องการจะเป็น เช่น วิสัยทัศน์ของ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ สร้างความเสมอภาคทางการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ ส่งเสริมการเรียนการสอนและบริการวิชาการสู่ความเป็นเลิศ

82. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการควบคุมองค์การ
(1) หมายถึงการตรวจสอบเปรียบเทียบผลงานกับแผนงาน หรือมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้
(2) เป็นวิธีการที่สําคัญในการที่จะได้มาซึ่งการประสานงานที่ดีภายในองค์การ
(3) หมายถึงการตรวจสอบผลการดําเนินงานว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด
(4) คือการสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นภายในองค์การ
(5) การปฏิบัติการตามแผนงานต้องเกิดขึ้นก่อนการควบคุมองค์การเสมอ
ตอบ 5 หน้า 266, (คําบรรยาย) การควบคุมองค์การไม่จําเป็นต้องเกิดขึ้นหลังการปฏิบัติการตาม แผนงานเสมอไป การควบคุมองค์การนั้นอาจเกิดขึ้นก่อนการปฏิบัติการตามแผนงาน ซึ่งเรียกว่า การควบคุมล่วงหน้า (Pre Control) หรืออาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติการตามแผนงาน ซึ่งเรียกว่า การควบคุมในสภาพการปฏิบัติงานจริง (Real Time Control) หรือเกิดขึ้นหลังการปฏิบัติการ ตามแผนงาน ซึ่งเรียกว่า การควบคุมทีหลัง (Post Control) ก็ได้

83. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการในการจัดองค์การที่ Edwin B. Flippo เสนอให้มีความสัมพันธ์มูลฐาน (1) ความรับผิดชอบ
(2) อํานาจหน้าที่
(3) ความพร้อมที่จะให้ตรวจสอบ
(4) การเป็นศูนย์กลางอํานาจ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 123 Edwin B. Flippo กล่าวว่า กระบวนการในการจัดองค์การนั้น จะประกอบด้วย ความสัมพันธ์ขั้นมูลฐาน 3 ประการ คือ ความรับผิดชอบ (Responsibility) อํานาจหน้าที่ (Authority) และความพร้อมที่จะให้ตรวจสอบ (Accountability) ทั้งนี้เพราะว่าในทุกองค์การ ย่อมจะต้องประกอบด้วย คน (People) หน้าที่การงาน (Function) และปัจจัยทางกายภาพ ต่าง ๆ (Physical Factors) ขององค์การ

84. การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Organization Design
(2) Formalization
(3) Authority
(4) Centralization
(5) Complexity
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

85. การตัดสินใจในระดับใดที่อาจใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการควบคุมการดําเนินงานโดยจัดให้มี
การตัดสินใจไว้ล่วงหน้า
(1) Strategic Level
(2) Operational Level
(3) International Level
(4) Coordinative Level
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

86. ข้อใดเป็น Positive Feedback ขององค์การ
(1) ข้อร้องเรียนจากบุคลากรในองค์การ
(2) คําตําหนิ
(3) ปัญหาของการดําเนินการ
(4) ประสิทธิภาพที่ได้รับ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4หน้า 261, (คําบรรยาย) Feedback ในการดําเนินงานขององค์การ หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร ต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากการดําเนินงานขององค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงความพึงพอใจ (Positive Feedback) เช่น คําชมเชยหรือคํายกย่อง ประสิทธิภาพที่ได้รับ ความสําเร็จของงาน เป็นต้น

2. ข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงความไม่พึงพอใจ (Negative Feedback) เช่น คําตําหนิ บัตรสนเท่ห์ ความล้มเหลวของงาน ปัญหาของการดําเนินการ เป็นต้น

87. Organization Design เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
(1) ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ำ รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่นแต่ละสาขา
(2) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ
(3) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
(4) Power to Command
(5) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

88. “อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในลักษณะของสถาบัน” เกี่ยวพันกับรูปแบบใดมากที่สุด
(1) Formal Authority Theory
(2) Acceptance Theory and Leadership
(3) Acceptance Theory
(4) Competence Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

89.งานสารบรรณ เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) Division of Work
(2) Auxiliary Agency
(3) Staff Agency
(4) Departmentation
(5) Line Agency
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

90. ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง
(1) กูลิค – หน้าที่ของผู้บริหาร
(2) เมโย – อิทธิพลของกลุ่ม
(3) เทย์เลอร์ – สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายนอก
(4) มัสโล – ทฤษฎีความต้องการ
(5) ฟาโย – องค์การอรูปนัย
ตอบ 5 หน้า 25 – 28, 37 – 39, 42 – 43, 55 – 56, (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory หรือ Classical Theory of Management) เป็นกลุ่ม ที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบปิด” โดยได้ศึกษาทฤษฎีองค์การที่เป็น ทางการหรือทฤษฎีองค์การรูปนัย (Formal Organization Theory) เพื่อค้นหาหลักเกณฑ์ หรือวิธีการทํางานที่ดีที่สุด ซึ่งนักทฤษฎีกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า มีวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน เพียงวิธีเดียว (One Best Way) ที่จะทําให้การบริหารเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นหน้าที่ ของนักบริหารที่จะต้องใช้หลักเหตุผลและระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการค้นหาหรือสร้างประสิทธิภาพสูงสุดให้กับงาน ตัวอย่างของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เช่น Frederick W. Taylor, Max Weber, Henri Fayol, Henry L. Gantt, Frank และ Lillian Gilbreths, Luther Gulick, Lyndall Urwick เป็นต้น

91. อํานาจหน้าที่ไม่ได้มาจากตําแหน่งเป็นทางการแต่สามารถทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังยอมรับนับถือ จนเป็นเสมือนหนึ่งได้อํานาจมาโดยปริยาย เกี่ยวข้องกับทฤษฎีใด
(1) Format Position
(2) Competence Theory
(3) Formal Authority
(4) Acceptance Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

92. การจัดสายการบังคับบัญชาที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
(1) ระดับชั้นมีจํานวนเท่าใดก็ได้แล้วแต่ความต้องการในการจัดโครงสร้าง
(2) ต้องแสดงให้เห็นว่าใครเป็นผู้มีอํานาจสั่งงานผ่านไปยังผู้ใด และใครเป็นผู้รับผิดชอบ
(3) การดําเนินการต่าง ๆ ต้องให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
(4) ต้องลดภาระของผู้บังคับบัญชาให้มากที่สุด
(5) สามารถจัดให้มีผู้สั่งงานหลายคนได้เพื่อการทํางานจะได้รวดเร็ว
ตอบ 2 หน้า 143 หลักเกณฑ์ในการจัดสายการบังคับบัญชาที่ดี มีดังนี้
1. จํานวนระดับชั้นของสายการบังคับบัญชาควรจัดให้มีพอสมควรไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
2. สายการบังคับบัญชาแต่ละสายควรจะต้องชัดเจนว่าใครเป็นผู้ที่มีอํานาจในการสั่งงาน ผ่านไปยังผู้ใด และใครเป็นผู้รับผิดชอบ
3. สายการบังคับบัญชาแต่ละสายจะต้องไม่สับสนก้าวก่ายหรือซ้อนกัน

93. นักคิดสมัยโบราณเชื่อว่าหากจะจูงใจมนุษย์ต้องศึกษาเกี่ยวกับสิ่งใด
(1) ความคาดหวัง
(2) ความพึงพอใจ
(3) ความรัก
(4) อารมณ์
(5) ความต้องการ
ตอบ 5 หน้า 271 นักคิดสมัยโบราณ เชื่อว่า หากจะจูงใจมนุษย์ต้องศึกษาเกี่ยวกับความต้องการ ของมนุษย์ เพื่อหาสิ่งล่อใจให้ตรงกับความต้องการของเขา

94.ตามทัศนะของ Max Weber “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ต้องให้ความสําคัญที่
(1) บุคลิกภาพ
(2) ความต้องการ
(3) ทัศนคติ
(4) แรงจูงใจ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

95. ผู้นําคนใดเข้าข่ายเป็นผู้นําแบบ “Laissez-Faire Leadership Style” มากที่สุด
(1) นายเชนศร์ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้ตาม
(2) นางชรัญญามอบหมายงานโดยพิจารณาจากความสามารถของลูกน้อง
(3) นายอนุกฤษฎ์บริหารงานโดยใช้ความคิดของตนเองเพียงลําพัง
(4) น.ส.สุนิสาเป็นผู้นําที่ให้ความสําคัญเฉพาะลูกน้องที่ทํางานเก่ง
(5) นายนิติรักษ์เป็นผู้นําที่ไม่สนใจงานชอบโยนงานให้ลูกน้อง
ตอบ 5 หน้า 289, (คําบรรยาย) ผู้นําแบบปล่อยเสรี (Laissez-Faire Leadership Style) คือ ผู้นําที่ปล่อยให้ลูกน้องปฏิบัติงานตามสบายด้วยวิถีทางของเขาเอง ผู้นําจะดูแลห่าง ๆ ไม่ค่อย มีบทบาทควบคุมชี้แนะตัดสินใจให้ ซึ่งผู้นําในลักษณะนี้บางทีอาจเรียกว่า ผู้นําแบบจอมปลอม (Pseudo-Leaders) ตัวอย่างของผู้นําแบบนี้ เช่น นายนิติรักษ์เป็นผู้นําที่ไม่สนใจงานชอบโยนงาน ให้ลูกน้อง เป็นต้น

96. “ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ
(1) Goats and Values
(2) Structural
(3) Managerial
(5) Psychosocial
(4) Technical
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

97. ข้อใดเป็นปัจจัยที่กําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ
(1) ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
(2) ความรับผิดชอบ
(3) ความเป็นเอกภาพในการบริหาร
(4) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
(5) รูปแบบในการประสานงาน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

98. แนวคิดที่ต้องการให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ และทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น…….แนวคิดดังกล่าวเรียกว่า
(1) Contingency Theory
(2) Adhocracies
(3) Action Theory
(4) Systems Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 112 – 113, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการกระทํา (The Action Theory หรือ The Action Approach) เป็นแนวคิดที่เน้นการอธิบายเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามสภาพที่เป็นจริง หรือตามสภาวะทางการเมืองในองค์การ (Political Nature of Organization) โดยแนวคิดนี้ จะเน้นให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ ทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น และหามาตรการปรับปรุงแก้ไข

99. “……พยายามที่จะจํากัดขอบเขตของการศึกษาเพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่จะสามารถใช้หลักเหตุผลและ
ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ…….” ที่กล่าวมาเป็นวิธีการของนักทฤษฎีกลุ่มใด
(1) Contingency Theory
(2) A System Approach
(3) Humanism
(4) Action Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 26 – 27, 33 – 34, 83 – 85 วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการของนักทฤษฎีที่ศึกษา องค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบปิด” ซึ่งประกอบด้วย

1. นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory หรือ Classical Theory of Organization) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management), นักทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucratic Model) และนักทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theorists)

2. นักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการบริหารในเชิงปริมาณ (Quantitative Science) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มวิทยาการบริหาร (Management Science) และนักทฤษฎี กลุ่มการวิจัยดําเนินงาน (Operation Research)

100. ข้อใดจัดเป็น Internal Information Base
(1) ระบบการเงินขององค์การ
(2) ความต้องการของลูกค้า
(3) นโยบายของรัฐบาล
(4) สภาพสังคม
(5) สภาพเศรษฐกิจ
ตอบ 1 หน้า 251 – 252 พื้นฐานและที่มาของข้อมูลข่าวสาร มีดังนี้
1. ข้อมูลข่าวสารจากภายในองค์การ (Internal Information Base) ได้มาจากหน่วยงานต่าง ๆ และปัจจัยภายในองค์การเอง เช่น ระบบการเจ้าหน้าที่ ระบบการขายสินค้าและบริการ ระบบของคําสั่งและการควบคุม ระบบการผลิต ระบบการควบคุมสินค้า ระบบการจัดซื้อ ระบบการเงิน เป็นต้น

2. ข้อมูลข่าวสารจากภายนอกองค์การ (External Information Base) ได้มาจากระบบ สภาพแวดล้อมขององค์การ ได้แก่ สภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ และสภาพการเมือง

Advertisement