การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.“การกระจายอํานาจ” คือ
(1) Span of Control
(2) Chain of Command
(3) Division of Work
(4) Centralization
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 168 – 169 การกระจายอํานาจ (Decentralization) หมายถึง ความพยายามที่จะ มอบหมายหน้าที่ไปยังผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ที่รองลงมาโดยให้การตัดสินใจกระทําโดย ผู้บริหารระดับต่ํามากขึ้น หรือให้ผู้บริหารระดับรอง ๆ ในองค์การได้มีโอกาสในการตัดสินใจ ในปัญหาต่าง ๆ ที่มีความสําคัญมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความสําคัญต่อบทบาทของผู้บริหาร ระดับรอง ๆ หรือผู้ใต้บังคับบัญชา

Advertisement

2.Chain of Command คือ
(1) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีลูกน้องที่ต้องกํากับดูแลกี่คน
(2) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีหน่วยงานที่ต้องกํากับดูแลหน่วยงาน
(3) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า องค์การแห่งนั้นมีการบังคับบัญชาที่ระดับ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 139, (คําบรรยาย) สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง ความสัมพันธ์ตามลําดับขั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ในแต่ละองค์การ เพื่อแสดงให้ทราบว่าสัมพันธภาพของการติดต่อสื่อข้อความจากผู้บังคับบัญชา ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาในแต่ละองค์การแต่ละหน่วยงานนั้นมีลักษณะการเดินทางอย่างเป็นทางการอย่างไร มีการควบคุมและการรับผิดชอบอย่างไร และมีการบังคับบัญชาที่ระดับ

3.Span of Control คือ
(1) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีลูกน้องที่ต้องกํากับดูแล คน
(2) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีหน่วยงานที่ต้องกํากับดูแลหน่วยงาน
(3) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า องค์การแห่งนั้นมีการบังคับบัญชาที่ระดับ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 179 ช่วงของการบังคับบัญชา หรือช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management หรือ Span of Supervision) หมายถึง จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชา (ลูกน้อง) ที่ผู้บังคับบัญชา (หัวหน้า) คนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ ซึ่งช่วงการควบคุมนี้เป็นสิ่งที่จะ แสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการกํากับดูแลหรือการบังคับบัญชา เพียงใด ทั้งนี้คือการพิจารณาว่าควรจะมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน หรือมีหน่วยงานภายในความ รับผิดชอบที่หน่วยงาน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะทําให้การกํากับดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปได้โดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

4.Span of Management คือ
(1) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีลูกน้องที่ต้องกํากับดูแลกี่คน
(2) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีหน่วยงานที่ต้องกํากับดูแลหน่วยงาน
(3) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า องค์การแห่งนั้นมีการบังคับบัญชาระดับ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

5.Division of Work คือ
(1) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีลูกน้องที่ต้องกํากับดูแลกี่คน
(2) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีหน่วยงานที่ต้องกํากับดูแลหน่วยงาน
(3) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า องค์การแห่งนั้นมีการบังคับบัญชาระดับ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 189 การแบ่งงานกันทําหรือการแบ่งหน้าที่ (Division of Work) หรือการแบ่งแยกแรงงาน (Division of Labor) หรือการแบ่งงานกันทําโดยยึดถือหลักความถนัดและความสามารถหรือ ความชํานาญเฉพาะด้าน (Specialization) หมายถึง การแบ่งแยกภารกิจต่าง ๆ ขององค์การ ออกเป็นส่วน ๆ และมอบหมายให้สมาชิกรับไปปฏิบัติ เพื่อให้สําเร็จตามเป้าหมายที่องค์การ ได้วางไว้ ซึ่งการแบ่งงานกันทํานี้จะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการทํางานซ้ําซ้อนหรือการเหลื่อมล้ํา ในการทํางานในหน้าที่

6.Unity of Command หมายถึง
(1) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนในองค์การต้องมีเจ้านายเพียงคนเดียว
(2) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่สนับสนุนกันและกัน
(3) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ผู้บริหารสูงสุดเท่านั้นเป็นผู้ทําหน้าที่ตัดสินใจ
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 50 – 51, 58, 186 – 187 หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง หลักการที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทํางานในองค์การเดียวและจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวหรือมีนายเพียงคนเดียว หรือเป็นหลักเกณฑ์ ทางการบริหารที่ต้องระบุไว้ให้ชัดแจ้งเสมอว่าให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ มีผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าสั่งงานโดยตรงได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยป้องกันมิให้เกิดการสั่งงาน ซ้ําซ้อนหรือเกิดความยุ่งยากในการทํางาน ตลอดจนการบอกปัดความรับผิดชอบ ส่วนข้อเสีย คือ ทําให้สิ้นเปลืองบุคลากรและประสิทธิภาพการทํางานต่ำ

7.Centralization หมายถึง
(1) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนในองค์การต้องมีเจ้านายเพียงคนเดียว
(2) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่สนับสนุนกันและกัน
(3) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ผู้บริหารสูงสุดเท่านั้นเป็นผู้ทําหน้าที่ตัดสินใจ
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 168 การรวมอํานาจ (Centralization) หมายถึง สภาวะขององค์การ ซึ่งในระดับสูง ๆ ของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะได้กระทําจาก ระดับสูงนั้น ดังนั้นตามหลักการรวมอํานาจ การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในองค์การส่วนมากแล้ว จะมิได้มอบให้ผู้ปฏิบัติงานตัดสินใจเอง หากแต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ตัดสินใจให้

8. ทุกข้อเป็นปัจจัยที่กําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ ยกเว้น
(1) ความต้องการเป็นแบบเดียวกันด้านนโยบาย
(2) ปรัชญาการบริหาร
(3) เทคนิคในการควบคุม
(4) ประวัติความเป็นมา
(5) งบประมาณ
ตอบ 5 หน้า 170 – 174, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่มีผลต่อการกําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ และการรวมอํานาจในองค์การ มีดังนี้
1. ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
2. ความต้องการเป็นแบบเดียวกันทางด้านนโยบาย
3. ขนาดขององค์การ
4. ประวัติความเป็นมาของกิจการ
5. ปรัชญาของการบริหาร
6. ความต้องการความเป็นอิสระในการดําเนินงาน
7. จํานวนของผู้บริหารที่มีอยู่ในองค์การ
8. เทคนิคในการควบคุม
9. การกระจายของการปฏิบัติงานที่มีการแบ่งแยกงานไปตามสถานการณ์ที่ต่างออกไป
10. การเปลี่ยนแปลงขององค์การ
11. อิทธิพลของสภาพแวดล้อมองค์การ

9. ข้อใดเป็นลักษณะของสายการบังคับบัญชา
(1) Communication
(2) Authority
(3) Responsibility
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 140 สายการบังคับบัญชา มีลักษณะที่สําคัญซึ่งสามารถแยกออกมาได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. ลักษณะของอํานาจหน้าที่ (Authority Aspect)
2. ลักษณะของความรับผิดชอบ (Responsibility Aspect)
3. ลักษณะของการติดต่อสื่อสาร (Communication Aspect)

10. “อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในลักษณะของสถาบัน” เป็นอํานาจในกลุ่มทฤษฎีใด
(1) Formal Authority Theory
(2) Acceptance Theory
(3) Competence Theory
(4) Adhocracy Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 147 กลุ่มทฤษฎีว่าด้วย “อํานาจอย่างเป็นทางการ” (Formal Authority Theory) มีความเชื่อว่า การที่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคําสั่งของตนได้เป็นเพราะ ผู้บังคับบัญชามีอํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ (Formal Authority หรือ Legal Authority) หรือเรียกว่า อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในลักษณะสถาบัน (Institutionalized Authority) ซึ่งเป็นอํานาจที่ผู้บังคับบัญชาได้รับมาควบคู่กับตําแหน่งหน้าที่การงานที่เป็นทางการ (Format Position) แต่อํานาจหน้าที่นี้ก็ยังมิใช่อํานาจที่จะใช้บังคับได้โดยเด็ดขาดอย่างไม่มีข้อแม้ใด ๆ เพราะการใช้อํานาจยังขึ้นอยู่กับลักษณะของความถูกต้องของความเป็นมาของอํานาจนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการสามารถนําไปใช้ได้ในองค์การบริหารทุกประเภท เพราะเป็น หลักเกณฑ์ทางการบริหารโดยทั่ว ๆ ไป

11. “อํานาจที่เกิดขึ้นเพราะลูกน้องเห็นว่าการใช้อํานาจนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การ
การใช้อํานาจลักษณะดังกล่าวเป็นอํานาจในกลุ่มทฤษฎีใด
(1) Formal Authority Theory
(2) Acceptance Theory
(3) Competence Theory
(4) Adhocracy Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 148 Chester L. Barnard ได้ให้ความหมายของอํานาจตามทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับ (Acceptance Theory) โดยกล่าวว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาจะยอมรับอํานาจของผู้บังคับบัญชา เหนือตนก็ต่อเมื่อ เขาสามารถเข้าใจในคําสั่งและเชื่อว่าการใช้อํานาจนั้น ๆ เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ขององค์การ การใช้อํานาจดังกล่าวไม่ขัดกับผลประโยชน์ของตน และคําสั่งนั้น เป็นคําสั่งที่เขาสามารถนําไปปฏิบัติได้ ซึ่งทั้งนี้ผู้ใต้บังคับบัญชาจะพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เสียก่อนแล้วจึงตัดสินใจว่าจะเชื่อฟังหรือไม่

12.“สํานักงานตํารวจแห่งชาติจัดให้มีสถานีตํารวจ” สถานีตํารวจทั้งหลายเป็นการแบ่งงานกันทําโดยยึดเกณฑ์ใด
(1) by Function
(2) by Territory
(3) by Product
(4) by Customer
(5) by Process
ตอบ 2 หน้า 194 การแบ่งงานกันทําโดยยึดอาณาเขต (Territory) หรือภูมิศาสตร์ (Geographical) เป็นวิธีที่ง่าย ๆ ธรรมดาที่มีหลักเกณฑ์อยู่ว่า หากมีกิจกรรมอยู่ในอาณาเขตใดต่างหากออกไปแล้ว ก็จัดรวมกิจกรรมในอาณาเขตนั้น ๆ เข้าไว้ด้วยกัน และจัดให้มีผู้รับผิดชอบในอาณาเขตนั้น ๆ ซึ่งวิธีนี้เหมาะสําหรับองค์การขนาดใหญ่ที่มีลักษณะงานกระจายหรือกว้างออกไปในอาณาเขต ต่าง ๆ และมีลักษณะของการปฏิบัติงานในสิ่งเดียวกัน เช่น ห้างสรรพสินค้า สถานีตํารวจ งานราชการในจังหวัดและอําเภอต่าง ๆ เป็นต้น

13. “โรงพยาบาลมีการแบ่งงานภายใน” เป็นการแบ่งงานกันทําโดยยึดเกณฑ์ใด
(1) by Function
(2) by Territory
(3) by Product
(4) by Customer
(5) by Process
ตอบ 1 หน้า 192 – 193, (คําบรรยาย) การแบ่งงานกันทําโดยยึดหน้าที่การงาน (Function) เป็นวิธี ที่ได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติกันโดยทั่ว ๆ ไป โดยเริ่มต้นที่การพิจารณาว่าองค์การนั้น ๆ คือองค์การลักษณะใด และจะต้องดําเนินกิจการอะไรบ้างจึงจะครอบคลุมและทําให้องค์การนั้น บรรลุเป้าหมายได้ ซึ่งองค์การที่แบ่งงานกันทําโดยยึดเกณฑ์นี้ ได้แก่ โรงพยาบาล เทศบาล เป็นต้น

14.“เทศบาลมีการแบ่งงานภายใน” เป็นการแบ่งงานกันทําโดยยึดเกณฑ์ใด
(1) by Function
(2) by Territory
(3) by Product
(4) by Customer
(5) by Process
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

15. หน่วยงานใดเป็น Line Agency
(1) หน่วยนโยบายและแผน
(2) หน่วยการเงินและพัสดุ
(3) หน่วยการเจ้าหน้าที่
(4) หน่วยงบประมาณ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 197 – 201, (คําบรรยาย) ประเภทของหน่วยงานซึ่งแบ่งตามลักษณะของการปฏิบัติงานภายในองค์การ มี 3 ประเภท คือ
1. หน่วยงานหลัก (Line Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลัก ขององค์การ หรือเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลักขององค์การ เช่น กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศของกระทรวงกลาโหม คณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย หน่วยโยธาและ หน่วยสาธารณสุขของเทศบาล เป็นต้น

2. หน่วยงานที่ปรึกษาหรือหน่วยงานสนับสนุน (Staff Agency) หมายถึง หน่วยงานที่มิได้ ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุน การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เช่น กองวิชาการ หน่วยนโยบายและแผน หน่วยการเงิน/ งบประมาณ หน่วยการเจ้าหน้าที่ หน่วยโฆษณาและประชาสัมพันธ์ หน่วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. หน่วยงานอนุกร (Auxiliary Agency) หรือหน่วยงานแม่บ้าน (House-Keeping Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยบริการหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจรรมลักษณะ ของแม่บ้าน เช่น หน่วยพัสดุ หน่วยอาคารสถานที่ หน่วยสารบรรณ หน่วยสวัสดิการ หน่วยงานด้านความสะอาดหรืองานเทศกิจ เป็นต้น

16. ใน “เทศบาล” หน่วยงานใดเป็น Line Agency
(1) หน่วยโยธา
(2) หน่วยสาธารณสุข
(3) หน่วยนโยบายและแผน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

17. ใน “มหาวิทยาลัยรามคําแหง” หน่วยงานใดเป็น Line Agency
(1) คณะรัฐศาสตร์
(2) สํานักหอสมุด
(3) กองแผน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

18. ข้อใดเป็น Auxiliary Agency
(1) งานสารบรรณ
(2) งานสวัสดิการ
(3) งานเทศกิจ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

19. ประเภทขององค์การที่พิจารณาจาก “กําเนิด” ได้แก่
(1) Formal Organization
(2) Primary Organization
(3) Private Organization
(4) Local Organization
(5) Profit Organization
ตอบ 2 หน้า 8 ประเภทขององค์การซึ่งพิจารณาจาก “กําเนิด” ขององค์การ แบ่งออกเป็น
2 ประเภท คือ
1. องค์การเบื้องต้นหรือองค์การปฐมภูมิ (Primary Organization)
2. องค์การถาวรหรือองค์การทุติยภูมิ (Secondary Organization)

20. ใครเป็นผู้เสนอ The Machine Bureaucracy
(1) Mintzberg
(2) Weber
(3) Fayol
(4) Taylor
(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 210 – 214 Henry Mintzberg ได้เสนอรูปแบบขององค์การ 5 รูปแบบ ดังนี้
1. องค์การแบบเรียบง่าย (The Simple Structure)
2. องค์การระบบราชการแบบเครื่องจักรกล (The Machine Bureaucracy)
3. องค์การระบบราชการแบบวิชาชีพ (The Professional Bureaucracy)
4. องค์การแบบสาขา (The Divisionalized Form)
5. องค์การแบบโครงการ (The Adhocracy หรือ The Project Structure)

21. ตัวอย่างของ Staff Officer คือ
(1) ครูผู้สอน
(2) เจ้าหน้าที่การเงิน
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
(3) เจ้าหน้าที่งานบุคคล
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 หน้า 198 หน่วยงานที่ปรึกษา (Staff Agency/Staff Officer) หรือหน่วยงานสนับสนุน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. หน่วยงานที่ปรึกษาทางด้านวิชาการ (Technical Staff) เช่น กองวิชาการในกระทรวง
มหาดไทยหรือกระทรวงอื่น ๆ เป็นต้น

2. หน่วยงานที่ปรึกษาทางด้านบริการ (Service Staff) เช่น หน่วยงานทางด้านการบริหารงาน บุคคลหรือหน่วยงานการเจ้าหน้าที่ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

22. ข้อใดเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้
(1) ระดับขององค์การ
(2) ประเภทของกิจการ
(3) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(4) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
(5) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
ตอบ 5 หน้า 184 185 ปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้ มีดังนี้
1. การฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชา
2. เทคนิคในการมอบหมายอํานาจหน้าที่
3. การวางแผนการปฏิบัติงานไว้ให้พร้อม
4. ลักษณะของงานในองค์การ
5. เทคนิคในการควบคุม
6. เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
7. ความจําเป็นในการติดต่อส่วนตัว

23. ข้อใดปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา
(1) ระดับขององค์การ
(2) ลักษณะของงานในองค์การ
(3) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(4) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
(5) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
ตอบ 1.3 หน้า 181 – 182 ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา มีดังนี้
1. ระดับขององค์การ
2. ประเภทของกิจกรรม
3. ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
4. ลักษณะขององค์การ
5. ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

24. ข้อใดเป็นปัจจัยที่กําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ
(1) ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
(2) ขนาดขององค์การ
(3) ความเป็นเอกภาพในการบริหาร
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 25 – 29. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Division of Work
(2) Departmentation
(3) Line Agency
(4) Staff Agency
(5) Auxiliary Agency

25. หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

26. หน่วยงานที่มิได้ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุน
ให้การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

27. หน่วยงานที่ช่วยบริการแก่หน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจกรรมลักษณะของแม่บ้าน
เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

28. การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 2 หน้า 191 การจัดแผนกงาน (Departmentation) หมายถึง การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรม ต่าง ๆ เข้าด้วยกันซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน เพื่อแบ่งแยกกิจกรรมอันมีอยู่ มากมายในองค์การ มอบหมายให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้แยกกันปฏิบัติตามความสามารถของตนตามหลักเกณฑ์ของความสามารถเฉพาะด้าน

29. การแบ่งแยกภารกิจต่าง ๆ ขององค์การออกเป็นส่วน ๆ และมอบหมายให้สมาชิกรับไปปฏิบัติตามเป้าหมาย ที่องค์การได้วางไว้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

30. วัตถุประสงค์ขององค์การ คืออะไร
(1) คือ เป้าหมายของแนวทางในการดําเนินกิจการต่าง ๆ ในองค์การ
(2) คือ จุดอ้างอิงถึงในการพยายามดําเนินงานขององค์การ
(3) คือ สิ่งจําเป็นสําหรับความพยายามในการทํางานร่วมกันในองค์การ
(4) คือ จุดมุ่งหมายปลายทางที่มีลักษณะของการก้าวหน้า และเร็วตามระยะเวลาที่จะไปถึง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 129 – 130, (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ขององค์การ มีลักษณะดังนี้
1. คือ เป้าหมายของแนวทางในการดําเนินกิจการต่าง ๆ ในองค์การ
2. คือ จุดอ้างอิงถึงในการพยายามดําเนินงานขององค์การ
3. คือ สิ่งจําเป็นสําหรับความพยายามในการทํางานร่วมกันในองค์การ
4. คือ จุดมุ่งหมายปลายทางที่มีลักษณะของการก้าวหน้า และเร็วตามระยะเวลาที่จะไปถึง
5. ในทุก ๆ องค์การต้องให้ความสําคัญกับวัตถุประสงค์ส่วนบุคคลของเหล่าสมาชิกในองค์การให้บรรลุเป้าหมายไปพร้อมกับองค์การด้วย
6. จะต้องกําหนดไว้ในเบื้องต้นเมื่อกําเนิดองค์การ ต้องแน่นอนและชัดแจ้งเสมอ รวมทั้ง สามารถที่จะพัฒนา ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้เสมอ ตลอดอายุขัยขององค์การ ฯลฯ

31. วัตถุประสงค์ขององค์การต้องมีลักษณะอย่างไรจึงจะเหมาะสม
(1) ต้องมีลักษณะที่แน่นอนและชัดแจ้งเสมอ
(2) ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดอายุองค์การ
(3) วัตถุประสงค์ของสมาชิกและขององค์การจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Identical) เสมอ
(4) หากจะเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ขององค์การ จะต้องล้มหรือยกเลิกองค์การด้วย
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

32. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ ได้แก่ Formalization
(2) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ได้แก่ Formalization
(3) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ Centralization
(4) Hierarchy หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Chain of Command
(5) ถูกต้องทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 122 – 123, (คําบรรยาย) การออกแบบองค์การ (Organization Design) หรือการจัด องค์การ (Organizing) คือ การมุ่งหรือพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ขององค์การ การออกแบบองค์การนี้จะทําให้เกิดแผนภูมิขององค์การ (Organization Charts)

33. ข้อใดถูกต้อง
(1) การให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจเห็นสมควร เพื่อให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งใจไว้ เกี่ยวข้องกับ Chain of Command
(2) ในความเป็นจริง อํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการขาดหายไปเมื่อได้สั่งการให้ปฏิบัติจริง ซึ่งอาจจะมาจากพฤติกรรมของกลุ่ม ขนบธรรมเนียมประเพณี เกี่ยวข้องกับ Delegation of Authority
(3) การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายอํานาจหน้าที่ ความรับผิดชอบบางประการให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เกี่ยวข้องกับ Delegation of Authority
(4) การให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจเห็นสมควร เพื่อให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งใจไว้ เกี่ยวข้องกับ Limits of Authority
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 153 การมอบหมายอํานาจหน้าที่ (Delegation of Authority) หมายถึง การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายอํานาจหน้าที่ ความรับผิดชอบบางประการให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในทางปฏิบัติผู้บังคับบัญชามักจะมอบหมายอํานาจหน้าที่แก่หัวหน้างานระดับรองลงไป การมอบอํานาจหน้าที่นี้อาจจะมอบแก่บุคคลคนเดียวหรือหลายคนก็ได้

34. ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาตามแนวทางของ “ระบบปิด” ได้แก่
(1) ความพึงพอใจ
(2) ประสิทธิภาพสูงสุด
(3) การมีส่วนร่วมของพนักงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 25 – 29, 37, (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการ ตามแนวทางของ “ระบบปิด” ได้แก่
1. เสถียรภาพคงที่ของระบบหรือสมดุลแบบสถิต
2. การแบ่งงานโดยเน้นความชํานาญเฉพาะด้าน
3. การคํานึงถึงสายการบังคับบัญชา กฎ และระเบียบ
4. การมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด
5. การกําหนดมาตรฐานของงาน
6. การกําหนดแผนงานและเป้าหมายที่แน่นอน
7. ความเชื่อในหลัก One Best Way
8. เป็นรูปแบบที่อิงอยู่กับหลักของเหตุและผล (Rational Model)
9. การใช้หลักเหตุผลและวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ฯลฯ

35. แนวคิดของ Max Weber ให้ความสําคัญที่ระบบใดขององค์การมากที่สุด
(1) โครงสร้าง
(2) เป้าหมายและวัตถุประสงค์
(3) เทคโนโลยี
(4) สังคมจิตวิทยา
(5) ทักษะการบริหาร
ตอบ 1หน้า 64 – 65, (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory) เช่น Max Weber, Henri Fayol ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของระบบปิด โดยให้ความสําคัญกับระบบโครงสร้างขององค์การ แต่ละเลยระบบสังคมภายในองค์การหรือ ระบบสังคมจิตวิทยา เช่น ระบบของพฤติกรรมและความต้องการของบุคคลภายในองค์การจึงทําให้แนวคิดของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิกประสบปัญหาในทางปฏิบัติและไม่สามารถสร้างองค์การให้มีประสิทธิภาพในระยะยาวได้

36. ข้อใดเป็นผลการศึกษาที่สําคัญที่สุดจาก “Hawthorne Experiments
(1) พบความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
(2) พบความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับทรัพยากรนําเข้า
(3) พบผลทางบวกที่เกิดเนื่องมาจากความเอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา
(4) พบอิทธิพลของภาวะผู้นําที่มีต่อผลิตภาพการทํางาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 68 – 70, (คําบรรยาย) George Elton Mayo ได้ทําการวิจัยแบบทดลองที่เรียกว่า Hawthorne Study หรือ Hawthorne Experiments โดยการให้กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป และกลุ่มควบคุมได้รับสภาพแวดล้อมที่คงที่ ซึ่งพบผลการทดลองที่สําคัญ คือ การเกิดปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอันเป็นผลกระทบจากการทดลอง ซึ่งส่งผลให้กลุ่มที่ถูกเฝ้าดูทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมต่างไม่ยอมแพ้กันและกันขยันทํางานจนมีผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่มโดยปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักและเรียกกันต่อมาว่า “Hawthorne Effect” หมายถึงผลทางบวกที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานได้รับความสนใจและเอาใจใส่ดูแลที่มากขึ้นจากผู้บังคับบัญชานั่นเอง

37. ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y จะต้องใช้การบริหารแบบใด
(1) Participative Management
(2) Management by Objectives
(3) Adhocracy
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 78, (คําบรรยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y (มองคนในแง่ดี) จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังนี้
1. การบริหารแบบประชาธิปไตย
2. การบริหารแบบเน้นการมีส่วนร่วม (Participative Management)
3. การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) หรือการบริหารที่เหมาะกับ
วัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ (Adhocracy)
4. การทํางานเป็นทีม (Teamwork)
5. การบริหารแบบโครงการ (Project Management)
6. การบริหารแบบ Organic Organization
7. การกระจายอํานาจ (Decentralization)
8. การใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ (Knowledge than Authority) ฯลฯ

38.ข้อใดเป็นองค์ประกอบที่บ่งชี้ถึง “ประสิทธิภาพ” ในการทํางาน
(1) ผลผลิต
(2) ทรัพยากรที่ใช้
(3) แผนที่วางไว้
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากร (เช่น งบประมาณ ระยะเวลา) หรือความพยายามที่ใช้ในการบริหาร ส่วนประสิทธิผล (Effectiveness) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จาก การบริหารกับมาตรฐาน เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กําหนด หรือกับแผนงานหรือประมาณการ ที่ได้วางเอาไว้ ดังนั้นหากองค์การใดสามารถลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อยลงได้ก็แสดงว่า องค์การนั้นมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถดําเนินงานให้บรรลุจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ได้ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิผล

39. ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง
(1) Organic Structure – หน่วยผลิตขนาดเล็กที่มีการผลิตเป็นกระบวนการ
(2) Mechanistic Organization – Formal Organization
(3) Organic Structure – องค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง
(4) Fluid Structure – Adhocracy
(5) Mechanistic Structure – Long-run Process Production
ตอบ 5 หน้า 45 – 47, 111 – 112, (คําบรรยาย) จากแนวคิดของ Contingency Theory นั้น Burn และ Stalker สรุปว่า

1. Mechanistic Organization เป็นองค์การแบบเก่าหรือองค์การที่เป็นทางการ (Format Organization) หรือองค์การตามรูปแบบระบบราชการ (Bureaucratic Model) ที่เน้น โครงสร้างและความสัมพันธ์ตามแนวดิ่ง เช่น เน้นตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority) รวมทั้งมีความเป็นทางการสูง และเน้นการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีสภาพแวดล้อมคงที่ (Static) เช่น หน่วยราชการทุกรูปแบบ

2. Organic Organization หรือที่ Warren Bennis เรียกว่า Adhocracy เป็นโครงสร้าง แบบหลวม (Fluid Structure) ที่เน้นการกระจายอํานาจ ความสัมพันธ์ตามแนวราบ/แนวนอน และการใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง นอกจากนี้ Woodward ยังได้สรุปอีกว่าหน่วยผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพและ ใช้เครื่องจักร เช่น โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีโครงสร้างแบบ Mechanistic Structure ส่วนหน่วยผลิตขนาดเล็ก เช่น องค์การผลิตสินค้าหัตถกรรม และที่ผลิตเป็นกระบวนการ (Long-run Process Production) หรือมีระบบการผลิตหลายขั้นตอน จะต้องมีโครงสร้าง แบบ Organic Structure

40.Barton และ Chappell เรียกสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีว่าเป็น
(1) Political Environment
(2) Primary Environment
(3) Inner Environment
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 14 – 17 Barton และ Chappell ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การสาธารณะออกเป็น
2 ระดับ คือ

1. สภาพแวดล้อมภายนอก (Outer/Secondary/External Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี

2. สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ได้แก่ สาธารณชนโดยทั่วไป ผู้รับบริการและ กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อมวลชน ฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้บริหารระดับสูง และกระบวนการยุติธรรม

41. ใครที่เสนอเรื่อง “Time and Motion Study”
(1) Taylor
(2) Cooke
(3) Muristerberg
(4) Gantt
(5) Gilbreths
ตอบ 5 หน้า 42, (คําบรรยาย) Frank และ Lillian Gilbreths เป็นผู้ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์หามาตรฐาน ของงานโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน (Time and Motion Study) เพื่อนําไปใช้ในการจัดกระบวนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

42. แนวคิดใดที่เชื่อว่า “การควบคุมองค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่วิธีการที่นําไปสู่เป้าหมาย”
(1) Scientific Management
(2) Contingency Theory
(3) Industrial Humanism
(4) The Action Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 112 – 113 Jeffrey Pfeffer เป็นนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การตามแนวทางของ The Action Theory หรือ The Action Approach เสนอว่า “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจ ที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปขององค์การ จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” และ “การควบคุมองค์การ เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นวิธีการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย การจะเข้าใจองค์การต้องศึกษาความต้องการ และความสนใจของผู้มีอํานาจในการตัดสินใจขององค์การในขณะนั้น ๆ โดยให้ความสําคัญไปที่บรรยากาศทางการเมืองในองค์การ

43. ข้อใดที่มีความสัมพันธ์กันโดยตรง
(1) Gantt Chart – สร้างวินัยในการทํางาน
(2) Division of Work – ขยายความสามารถของมนุษย์
(3) Hygiene Factors – ถ้าได้รับจะไม่ยอมทํางาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 42, 81 – 82, (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 19 – 20), (คําบรรยาย) Henry L. Gantt ได้เสนอแนวคิดในการสร้างวินัยในการทํางานและการทํางานเป็นกิจวัตร โดยการใช้ Gantt Chart เป็นแผนภูมิควบคุมเวลาในการทํางาน หรือแผนกํากับหรือติดตามความก้าวหน้าของงาน รวมทั้ง การกําหนดเวลาเข้าทํางาน เลิกงาน โดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป และจะเปลี่ยนแปลง ตามอําเภอใจของผู้บริหารไม่ได้ ส่วนการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor หรือ Specialization) เป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงในการช่วยขยาย ความสามารถของมนุษย์ หรือช่วยเพิ่มความสามารถในการทํางานขององค์การ และปัจจัยอนามัย (Hygiene Factors) ของ Frederick Herzberg เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับ การตอบสนองแล้วจะสร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน

44. “สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน” เป็นสิ่งจูงใจที่ริเริ่มนําเสนอโดยนักวิชาการกลุ่มใด
(1) นักบริหารเชิงปริมาณ
(2) นักทฤษฎีการบริหาร
(3) นักทฤษฎีระบบราชการ
(4) กลุ่มนีโอคลาสสิก
(5) กลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์
ตอบ 4 หน้า 26 – 27, 29 – 30, 67 – 82 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) หรือกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism หรือ Industrial Humanism) หรือกลุ่ม มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) หรือกลุ่มนีโอคลาสสิก (Neo-Classical Organization Theory) หรือนักทฤษฎีการบริหารงานสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Management) มีแนวคิดและวิธีศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบเปิด” ดังนี้
1. ศึกษาองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization)
โดยให้ความสําคัญกับระบบสังคมภายในองค์การหรือระบบสังคมจิตวิทยามากที่สุด
2. ริเริ่มนําเสนอสิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน
3. เน้นการบริหารงานที่คํานึงถึงความสุขและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ
ผู้ปฏิบัติงานหรือสมาชิกในองค์การ
4. เน้นศึกษากลุ่มทางสังคม คุณลักษณะของปัจเจกบุคคล (ได้แก่ บุคลิกภาพ จิตภาพ ทัศนคติ และความต้องการของบุคคล) คุณลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์
5. พยายามนําระบบการบริหารแบบเครือญาติ (Paternalism) เข้ามาใช้ในองค์การ
6. นักทฤษฎี (นักวิชาการ) ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Hugo Munsterberg, George Elton Mayo,
Warren Bennis, Chester I. Barnard, A.H. Maslow, Douglas McGregor และ Frederick Herzberg ฯลฯ

45. เขียนตํารา “หลักสิบสองประการในการสร้างประสิทธิภาพ”
(1) Gilbreths
(2) Emerson
(3) Cooke
(4) Taylor
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 43 Harrington Emerson ได้เขียนตํารา “หลักสิบสองประการในการสร้างประสิทธิภาพ” (The Twelve Principles of Efficiency) ซึ่งประกอบด้วยหลักการสําคัญ เช่น
1. การสร้างวัตถุประสงค์
2. การใช้สามัญสํานึก
3. การปรึกษาหารือ
4. การมีระเบียบวินัย
5. การจัดการที่เป็นธรรม
6. การปฏิบัติงานตลอดเวลาและเชื่อถือได้
7. การกําหนดสายทางเดินของงาน
8. การกําหนดมาตรฐานและระยะเวลาการทํางาน ฯลฯ

46. ทุกข้อเป็นหลักเกณฑ์ที่ Max Weber นําเสนอ ยกเว้น
(1) ความชํานาญเฉพาะด้าน
(2) หลักความสามารถ
(3) แยกการเมืองออกจากการบริหาร
(4) สายการบังคับบัญชา
(5) การกระจายอํานาจ
ตอบ 5 หน้า 44 – 47, 139, 189, (คําบรรยาย) รูปแบบของระบบราชการ (Bureaucratic Model) หรือองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การที่เป็นทางการตามทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy Theory) หรือทฤษฎีองค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization Theory) หรือทฤษฎี องค์การรูปสามเหลี่ยมพีระมิดของ Max Weber นั้น จะประกอบด้วย
1. การกําหนดสายการบังคับบัญชา (Hierarchy, Chain of Command หรือ Line of Authority)
2. การกําหนดตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority)
3. การกําหนดกฎระเบียบและข้อบังคับที่แน่นอน (Rules and Regulations)
4. การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor
หรือ Specializaticn) เช่น การแบ่งงานออกเป็นแผนกงานต่าง ๆ
5. การจัดทําคู่มือการทํางาน และคําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)
6. การกําหนดเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)
7. การคัดเลือกและเลื่อนขั้นโดยอาศัยหลักความสามารถตามระบบคุณธรรม (Merit on
Selection and Promotion)
8. การมีระบบความสัมพันธ์ภายในองค์การอย่างเป็นทางการ (Formal Relationship) ตามสายการบังคับบัญชาและอํานาจหน้าที่ หรือตามแนวดิ่ง ฯลฯ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวทําให้เกิดการแยกการเมืองออกจากการบริหาร และระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล

47. ในการบริหารงาน คําว่า Red Tape หมายถึง
(1) การคั่งค้างของงาน
(2) การสื่อสารที่ล่าช้า
(3) หัวหน้างาน
(4) โครงสร้างหน่วยงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 49 Red Tape หมายถึง ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากความล่าช้าของการ ติดต่อสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ในโครงสร้างขององค์การที่จะต้องเป็นไปตามสายการบังคับบัญชา ที่ยาวและระบบความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ

48. ตามทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการ “ความต้องการที่จะได้รับชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงาน
เรียกว่า
(1) Self-Realization Needs
(2) Safety Needs
(3) Social Needs
(4) Ego needs
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 75 – 76 A.H. Maslow ได้เสนอทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs Theory) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ลําดับ จากต่ําสุดไปถึงสูงสุด ดังนี้
1. ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) เช่น อาหาร อากาศ การพักผ่อน
2. ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต (Safety Needs)
3. ความต้องการที่จะเข้าร่วมในสังคม (Social Needs)
4. ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในหน้าที่การงาน ได้รับเกียรติ ชื่อเสียง และเป็นที่ ยอมรับนับถือของผู้ร่วมงาน (Esteem Needs, Ego Needs หรือ Status Needs)
5. ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในชีวิตตามอุดมการณ์ที่ตัวเองได้ตั้งเอาไว้ (Self-
Realization Needs)

49. ทุกข้อเป็น “Motivator Factors” ตามทฤษฎีของ Herzberg ยกเว้น
(1) เงินเดือน
(2) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน
(3) การยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน
(4) ลักษณะของงาน
(5) ความรับผิดชอบ
ตอบ 1 หน้า 81 – 82, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการจูงใจ (Hygiene Theory) ของ Frederick Herzberg นั้น สามารถแบ่งปัจจัยที่มีส่วนช่วยสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับ พนักงานได้ 2 ประการ คือ

1. ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้นให้คนขยันทํางาน (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความพึงพอใจ ให้กับพนักงาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสําเร็จในหน้าที่การงาน การยอมรับ นับถือจากผู้ร่วมงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการงาน

2. ปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือปัจจัยค้ําจุนให้คนยินยอมทํางาน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะ สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน ซึ่งเรียงลําดับ จากมากไปน้อย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน เทคนิคและการควบคุมงาน เงินเดือน ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา และสภาพการทํางาน

50. ข้อใดเป็น “ปัจจัยจูงใจ” ตามทฤษฎีของ Herzberg
(1) เทคนิคและการควบคุมงาน
(2) สภาพการทํางาน
(3) ความก้าวหน้าในการงาน
(4) นโยบายและการบริหาร
(5) ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

51.Natural System Model เป็นวิธีการศึกษาของ………….
(1) Scientific Management
(2) Bureaucratic Model
(3) Neo-Classical Organization Theory
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 26 – 27, (คําบรรยาย) ตัวแบบระบบตามธรรมชาติ (Natural System Model) เป็น วิธีการศึกษาของกลุ่มนักทฤษฎีหรือนักวิชาการที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบเปิด” ซึ่งได้แก่
1. กลุ่ม Behavioral Science หรือ Neo-Classical Organization Theory
2. กลุ่ม A Systems Approach
3. กลุ่ม Contingency Theory we Situational Approach
4. กลุ่ม The Action Theory หรือ The Action Approach (ดูคําอธิบาย ข้อ 44. ประกอบ)

52. การแบ่งประเภทขององค์การ โดย “พิจารณาที่สภาพความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ภายใน จัดเป็นการแบ่งประเภทขององค์การโดยยึดเกณฑ์แบบใด
(1) วัตถุประสงค์ในการดําเนินงาน
(2) กําเนิดขององค์การ
(3) หน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากร
(4) ความเป็นเจ้าของ
(5) ความเป็นทางการ
ตอบ 5 หน้า 9, (คําบรรยาย) การแบ่งประเภทขององค์การโดยพิจารณาจากโครงสร้างขององค์การเป็นการพิจารณาที่สภาพความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ภายในองค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น
2 ประเภท คือ
1. องค์การที่เป็นทางการหรือองค์การรูปนัย (Format Organization)
2. องค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization)

53. “การกําหนดเวลาเข้าทํางาน เลิกงาน” ต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป จะเปลี่ยนแปลงตามอําเภอใจ ของผู้บริหารไม่ได้ เป็นข้อเสนอของนักวิชาการใด
(1) Taylor
(2) Gilbreths
(3) Cooke
(4) Weber
(5) Gantt
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

54. การยึดหลัก “เอกภาพในการบังคับบัญชา” มีข้อเสียอะไร
(1) สิ้นเปลืองบุคลากร
(2) เกิดความขัดแย้ง
(3) ประสิทธิภาพต่ำ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

55. สิ่งที่ ดร.ชุบ กาญจนประกร เสนอเพิ่มจากที่กูลิคเสนอไว้ในเรื่องหน้าที่ของผู้บริหาร ได้แก่
(1) การควบคุมงาน
(2) การประเมินผลงาน
(3) การวางแผนงาน
(4) การประสานงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 60 – 62 ดร.ชุบ กาญจนประกร ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารเพิ่มเติมจากแนวคิด POSDCORB ของ Luther Gulick เป็น PA-POSDCORB โดย PA ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่
P = Policy (การกําหนดนโยบาย) และ A = Authority (การกําหนดอํานาจหน้าที่)

56. ทุกข้อเป็นประโยชน์ของระบบคณะกรรมการ ยกเว้น
(1) เกิดความรวดเร็วในการตัดสินใจ
(2) แก้ปัญหาข้อขัดแย้ง
(3) ช่วยสร้างความร่วมมือ
(4) ช่วยปกป้องความรับผิดชอบของบุคคลเพียงคนเดียว
(5) ทําให้เกิดการประสานงานที่ดี
ตอบ 1 หน้า 63 ประโยชน์ของระบบคณะกรรมการ (Committees) ได้แก่
1. ช่วยแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ
2. ช่วยสร้างความร่วมมือ หรือเพิ่มการมีส่วนร่วม
3. ทําให้เกิดการประสานงานที่ดี
4. ช่วยปกป้องความรับผิดชอบของบุคคลเพียงคนเดียว

57. “สภาพแวดล้อมขององค์การที่เปรียบได้กับสภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น……” เรียกว่า
(1) Turbulent Field
(2) Placid Clustered Environment
(3) Placid Randomized Environment
(4) Disturbed-Reactive Environment
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 18, (คําบรรยาย) Emery และ Trist ได้แบ่งระดับของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ กับสภาพแวดล้อมออกเป็น 4 ระดับ คือ
1. Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อกับ สังคมภายนอกเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาโบราณ ชาวเขาเร่ร่อน ทารกในครรภ์ เป็นต้น

2. Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับ สังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยประถมศึกษา เป็นต้น

3. Disturbed-Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ผลของ การติดต่อเป็นผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพขึ้นได้ เช่น สภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น

4. Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพของระบบสังคมและเศรษฐกิจของไทย เป็นต้น

58. ในการทดลองของ Mayo กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับ สภาพแวดล้อมที่คงที่ ผลการตรวจสอบผลงานของกลุ่มทั้งสองเป็นดังนี้
(1) ผลงานลดลงทั้งสองกลุ่ม
(3) กลุ่มทดลองมีผลงานเพิ่มขึ้นมากกว่า
(2) ผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม
(4) กลุ่มควบคุมมีผลงานเพิ่มขึ้นมากกว่า
(5) ผลงานของทั้งสองกลุ่มเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีทิศทาง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

59.”……ระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชน ด้วยกันเองและระหว่างรัฐกับประชาชน” จัดเป็นสภาพแวดล้อมประเภทใดตามทัศนะ Barton และ Chappell
(1) Political Environment
(2) Primary Environment
(3) Inner Environment
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 14 – 17 กระบวนการยุติธรรม (Judiciary) เป็นระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้าง ความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเอง และระหว่างรัฐ กับประชาชน ซึ่งจัดเป็นสภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ประเภทหนึ่งตามทัศนะของ Barton และ Chappell (ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ)

60. ทฤษฎีองค์การในช่วง 1960 – 1975 เป็นยุคของทฤษฎีองค์การกลุ่มใด
(1) Situational Approach
(2) Contingency Theory
(3) The Action Approach
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 113 – 114, (คําบรรยาย) Stephen P. Robbins ได้เสนอพัฒนาการของทฤษฎีองค์การ ไว้ 4 ช่วงเวลา ดังนี้

ค.ศ. 1900-1930 = Classical Organization Theory sa Classical Theory of Organization ได้แก่ Scientific Management, Bureaucratic Model และ Administrative Theorists

ค.ศ.1930 – 1960 = Behavioral Science หรือ Humanism หรือ Industrial Humanism หรือ Human Relations Approach a Neo-Classical Organization Theory หรือ Neo-Classical Theory of Management

ค.ศ.1960 – 1975 = A Systems Approach และ Contingency Theory หรือ Situational Approach

ค.ศ.1975 – ปัจจุบัน = The Action Theory หรือ The Action Approach

61. จากหน้าที่ของนักบริหารที่ Henri Fayol เสนอไว้ 5 ประการเป็น POCCC C ทั้งสาม ได้แก่
(1) Commanding Controlling Correcting
(2) Controlling Correcting Coordinating
(3) Coordinating Concepting Correcting
(4) Commanding Coordinating Controlling
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 28 – 29, 55, (คําบรรยาย) Henri Fayol ได้เสนอกิจกรรมการบริหารหรือหน้าที่ ของนักบริหารไว้ 5 ประการ ซึ่งเรียกว่า POCCC Model ประกอบด้วย
1. P = Planning (การวางแผน)
2. O = Organizing (การจัดรูปงาน)
3. C = Commanding (การสั่งการ)
4. C = Coordinating (การประสานงาน)
5. C = Controlling (การควบคุมบังคับบัญชา)

62. ข้อใดต่อไปนี้ที่ Kaufman ถือเป็น Pure Internal Management
(1) การตัดสินใจ
(2) การหาข่าวสาร
(3) การจูงใจ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) Herbert Kaufman เห็นว่า ผู้บริหารจะใช้เวลาของตนให้กับ
ภารกิจ 2 ลักษณะ คือ
1. Pure Internal Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารใช้เวลาน้อยเพียงร้อยละ 10 – 20 ของเวลาทั้งหมด ได้แก่ ภารกิจด้านการวินิจฉัยสั่งการหรือการตัดสินใจ และภารกิจในด้านการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่

2. External Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารต้องใช้เวลามากถึงร้อยละ 85 – 90 ของเวลา ทั้งหมด โดยแบ่งเป็นภารกิจด้านการเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 25 – 30 ของเวลาทั้งหมด และภารกิจด้านการรับและกรองข้อมูลข่าวสาร หรือการแสวงหาข้อมูลข่าวสารจากสังคมประมาณร้อยละ 50 – 60 ของเวลาทั้งหมด

63. การจําแนกประเภทของระบบในทัศนะของ Kenneth Boulding ระดับที่เริ่มจัดเป็นระดับของ ระบบทางกายภาพ ได้แก่ระดับใด
(1) ระดับที่ 4
(2) ระดับที่ 5
(3) ระดับที่ 6
(4) ระดับที่ 7
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 88 – 89 Kenneth Boulding จําแนกประเภทของระบบออกเป็น 9 ระดับ โดยระดับที่ 1 – 3 เป็นระบบทางกายภาพ ระดับที่ 4 – 6 เป็นระบบทางชีวภาพหรือ 6 ระบบของพฤติกรรมศาสตร์ และระดับที่ 7 – 9 เป็นระบบทางสังคม

64.Warren Bennis เสนอให้เปลี่ยน “ตัวแบบระบบราชการ” เป็น
(1) ระบบบริหารที่มีโครงสร้างยืดหยุ่น
(2) เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอน
(3) เน้นการรวมอํานาจ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 72, (คําบรรยาย) Warren Bennis ได้เสนอให้เปลี่ยน “Ideal Bureaucracy” (ตัวแบบระบบราชการ) ของ Max Weber เป็น “Flexible Adhocracies” ซึ่งเป็นองค์การ ที่มีลักษณะดังนี้
1. มีการจัดโครงสร้างให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ หรือเป็นองค์การ ที่เน้นการทํางานแบบเฉพาะกิจ
2. เน้นการกระจายอํานาจและเป็นแบบประชาธิปไตย
3. มีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น
4. เน้นการใช้ความรู้ (Knowledge) หรือระบบผู้เชี่ยวชาญมากกว่าการใช้อํานาจหน้าที่ (Authority)
5. เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอนและไม่เป็นทางการ ฯลฯ

65.Management Science หมายถึง
(1) วิชาที่เน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของสังคม
(2) วิชาที่มุ่งค้นคว้าเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน
(3) วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมการทํางานในองค์การ
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 83 – 84 การบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Science) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ
1. วิทยาการบริหาร (Management Science : MS) เป็นวิชาที่มุ่งค้นคว้าและเผยแพร่ วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปใช้ในการบริหารงาน
2. การวิจัยดําเนินงาน (Operation Research : OR) เป็นวิชาที่เน้นการทดลองและประยุกต์ เพื่อให้เราสามารถสังเกต เข้าใจ และคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

66. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การในลักษณะของ “ระบบ”
(1) Maximized Efficiency
(2) Negative Entropy
(3) Flexible Boundaries
(4) Dynamic Equilibrium
(5) Growth Through Internal Elaboration
ตอบ 1 หน้า 98 – 106, (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการ ตามแนวทางของ “ระบบ (ระบบเปิด)” ได้แก่
1. การวางแผนและจัดการ (Contrived)
2. ความยืดหยุ่นของขอบเขต (Flexible Boundaries)
3. การอยู่รอด (Negative Entropy)
4. การรักษาเสถียรภาพของระบบให้มีความสมดุลแบบพลวัตหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา (Dynamic Equilibrium)
5. กลไกการให้ข้อมูลข่าวสาร (Feedback Mechanism)
6. กลไกในการปรับตัวและรักษาสถานภาพของระบบ (Adaptive and Maintenance Mechanism)
7. การเจริญเติบโตภายในองค์การ (Growth Through Internal Elaboration)
8. การแบ่งงานในลักษณะยืดหยุ่น ฯลฯ (ส่วนการมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด (Maximized Efficiency) เป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด”)

67. ใครเป็นผู้เสนอ “Piece Rate System
(1) Weber
(2) Munsterberg
(3) Gilbreths
(4) Gantt
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 38 – 42, (คําบรรยาย) Frederick W. Taylor เป็นนักวิชาการกลุ่มการจัดการแบบ วิทยาศาสตร์ ซึ่งมีแนวคิดและผลงานที่สําคัญดังนี้
1. เป็นผู้สร้างทฤษฎีการจัดการโดยอาศัย หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
2. ริเริ่มแนวคิดการบริหารที่ คํานึงถึงผลิตภาพหรือประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการปฏิบัติงานขององค์การเป็นหลัก
3. เสนอให้ใช้ระบบค่าจ้างต่อชิ้น (Piece Rate System) ซึ่งเป็นสิ่งจูงใจภายนอกที่จะทําให้ มนุษย์ทํางานมากยิ่งขึ้น
4. เสนอให้มีผู้เชี่ยวชาญงานพิเศษ (Functional Foremen) เพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบงานและเร่งรัดประสิทธิภาพของงานในขั้นตอนต่าง ๆ

68.“เป็นวิธีการที่กําหนดเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อที่จะดําเนินการในเรื่องหนึ่ง ๆ” ข้อความนี้เป็นนิยามของสิ่งใด
(1) นโยบายสาธารณะ
(2) แผน
(3) การจัดองค์การ
(4) การนํา
(5) การควบคุม
ตอบ 2 หน้า 219 แผน (Plan) เป็นวิธีการที่กําหนดเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อที่จะดําเนินการในเรื่องหนึ่ง ๆ หรือเป็นกระบวนการของการตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทําอะไร และทําอย่างไร ซึ่งกระบวนการ ดังกล่าวประกอบด้วย การเลือกวัตถุประสงค์ การกําหนดนโยบายเพื่อให้บรรลุ และการเขียนรายละเอียดของแผน

69. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการวางแผน
(1) แผนมีลักษณะของความเป็นนามธรรมมากกว่านโยบาย
(2) วิสัยทัศน์เป็นการตอบคําถามถึงสิ่งที่องค์การต้องการจะเป็น
(3) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การมักใช้เทคนิค SWOT Analysis
(4) การวางแผนต้องเกี่ยวกับอนาคต
(5) การวางแผนต้องเกี่ยวกับการที่จะมีการดําเนินการเฉพาะใด ๆ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) แผนมีลักษณะของความเป็นนามธรรมน้อยกว่านโยบาย โดยระดับชั้นของแผนสามารถเรียงลําดับจากลักษณะที่เป็นนามธรรมไปหาลักษณะที่เป็นรูปธรรมได้ดังนี้
นโยบาย (Policy)-แผน (Plan) – แผนงาน (Program) – โครงการ (Project)-มาตรการ (Procedure)

70. ข้อใดเป็นการตอบคําถาม “สิ่งที่ต้องการจะเป็น
(1) Vision
(2) Mission
(3) Goals
(4) Program Structure
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 220, (คําบรรยาย) วิสัยทัศน์ (Vision) คือ สิ่งที่องค์การต้องการจะเป็น ตัวอย่างเช่น

-วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ เป็นสถาบันหลักที่มุ่งขยายโอกาสทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคนให้พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

– วิสัยทัศน์ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ สร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ด้านรัฐศาสตร์ ส่งเสริมการเรียนการสอนและบริการวิชาการสู่ความเป็นเลิศ

71. “สนับสนุนและส่งเสริมกระจายโอกาส ความเสมอภาคและความเป็นธรรมทางการศึกษาหลากหลายรูปแบบ ในลักษณะการศึกษาเพื่อปวงชน ให้มีความรู้คู่คุณธรรม” ข้อความนี้ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย
รามคําแหง ถือเป็นสิ่งใด
(1) วิสัยทัศน์
(2) พันธกิจ
(3) ค่านิยมองค์กร
(4) วัฒนธรรมองค์การ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 220, (คําบรรยาย) พันธกิจ (Mission) หมายถึง กิจที่องค์การจะต้องกระทํา เช่น พันธกิจของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ สนับสนุนและส่งเสริมกระจายโอกาส ความเสมอภาคและความเป็นธรรมทางการศึกษาหลากหลายรูปแบบในลักษณะการศึกษาเพื่อปวงชน ให้มีความรู้คู่คุณธรรม

72. ข้อใดเป็นการแบ่งแผนตามลักษณะของแผน
(1) แผนระยะสั้น ระยะปานกลาง ระยะยาว
(2) แผนใช้ครั้งเดียว แผนประจํา
(3) แผนกลยุทธ์ แผนพัฒนา แผนปฏิบัติการ
(4) แผนแม่บท
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 219 แผนในองค์การอาจแบ่งได้เป็นหลายลักษณะ เช่น แบ่งตามระยะเวลาของแผน เป็นแผนระยะสั้น แผนระยะปานกลาง และแผนระยะยาว หรือแบ่งตามลักษณะของแผน เป็นแผนกลยุทธ์ แผนพัฒนา และแผนปฏิบัติการ เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 73 – 77. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Strengths
(2) Weaknesses
(3) Opportunities
(4) Threats
(5) Problems

73. กรมยุทธบริการทหาร “ขาดหน่วยงานหรือบุคคลที่ทําหน้าที่บูรณาการงานภายในระหว่างหน่วยขึ้นตรง” ข้อความดังกล่าวถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 2 หน้า 220, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์องค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis นั้น จะประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Factor) ได้แก่
-S = Strengths คือ จุดแข็ง ศักยภาพ หรือความสามารถขององค์การที่มีอยู่จริง เช่น การมีงบประมาณจํานวนมาก การมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีความสามัคคีในการปฏิบัติงาน การมีการวางแผนในระดับหน่วยงาน อย่างเป็นระบบ การมีประสบการณ์ในการดําเนินงาน เป็นต้น

– W = Weaknesses คือ จุดอ่อนหรือข้อบกพร่องต่าง ๆ ขององค์การ เช่น บุคลากร ขาดความรู้ความสามารถ บุคลากรมีจํานวนน้อยไม่สัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่การงาน งบประมาณมีไม่เพียงพอ มีการจัดทําแผนแต่ขาดการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพขาดการสนับสนุนให้มีการทํางานเป็นทีม เป็นต้น

2. การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ (External Factor) ได้แก่

O = Opportunities คือ โอกาสขององค์การ เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดีขึ้นทําให้จํานวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ประเทศไทย เป็นจุดมุ่งหมายของนักท่องเที่ยวจากทั่วไทย การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน และองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น

T = Threats คือ ภัยคุกคามที่มีผลต่อการดําเนินงานขององค์การ เช่น การที่คู่แข่ง เริ่มนําเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ลูกค้าขาดความรู้ และทักษะในการใช้งานอินเทอร์เน็ต รัฐบาลไม่สนับสนุนเงินลงทุน เป็นต้น

74. สํานักงานตํารวจแห่งชาติ “รูปแบบการก่ออาชญากรรมมีความสลับซับซ้อนจากการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และมีแนวโน้มเป็นอาชญากรรมข้ามชาติมากขึ้น” ข้อความดังกล่าวถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

75. กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย “องค์กรมีประสบการณ์ในการดําเนินงานในระดับท้องถิ่น” ข้อความดังกล่าวถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

76. โรงเรียนคลองฉนวนวิทยา “หน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนกิจกรรมของ โรงเรียน” ข้อความดังกล่าวถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

77. บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) “ธุรกิจน้ํามันและก๊าซเป็นธุรกิจหลักของ ปตท. ซึ่งมีแนวโน้มที่จะถูกทดแทน ด้วยธุรกิจพลังงานทดแทนประเภทอื่นในอนาคต ทําให้ ปตท. ต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน” ข้อความดังกล่าวถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

78. “การพิจารณาตกลงใจชี้ขาดจากทางเลือกที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางเลือกขึ้นไปในอันที่จะให้มีการกระทํา ในลักษณะเฉพาะใด ๆ” ข้อความดังกล่าวเป็นนิยามของสิ่งใด
(1) Planning
(2) Organizing
(3) Leading
(4) Controlling
(5) Decision Making
ตอบ 5 หน้า 228 การตัดสินใจ (Decision Making) หมายถึง การพิจารณาตกลงใจชี้ขาดจากทางเลือกที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางเลือกขึ้นไปในอันที่จะให้มีการกระทําในลักษณะเฉพาะใด ๆ หรือหมายถึง
การตกลงใจที่จะยุติข้อขัดแย้ง ข้อถกเถียงโดยให้มีการกระทําไปในทางหนึ่งทางใดที่ได้มีการ พิจารณาและตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว

79. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการตัดสินใจ
(1) คือการตกลงใจที่จะยุติข้อขัดแย้ง ข้อถกเถียง โดยให้มีการกระทําไปในทางหนึ่งทางใด
(2) การตัดสินใจในองค์การมีลักษณะแตกต่างกับการตัดสินใจของบุคคล
(3) การตัดสินใจก็คือการบริหาร
(4) การตัดสินใจเป็นปัจจัยที่มีความสําคัญต่อทุกขั้นตอนของการบริหาร
(5) การตัดสินใจที่ดีจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและข่าวสารที่เพียงพอ
ตอบ 2 หน้า 229 การตัดสินใจในองค์การมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการตัดสินใจของบุคคล ทั้งนี้ เพราะการตัดสินใจในองค์การเป็นการกระทําโดยปัจเจกบุคคลในองค์การ ผู้อํานวยการหรือ ผู้จัดการอาจตัดสินใจโดยยึดถือวัตถุประสงค์ขององค์การเป็นหลัก

ตั้งแต่ข้อ 80 – 84. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) International Level
(2) Operational Level
(3) Coordinative Level
(4) Strategic Level
(5) ไม่มีข้อใดถูก

80. Programmed Decision เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจระดับใดมากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 229 – 230, (คําบรรยาย) การตัดสินใจในระดับปฏิบัติการ (Operational Level) เป็นการตัดสินใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรและวัตถุดิบทั้งหลายให้เกิดเป็นสินค้าและบริการตามเป้าหมาย ขององค์การ การตัดสินใจในระดับนี้จะเป็นไปชั่วระยะเวลาอันสั้น มีการใช้เทคนิคประกอบ การตัดสินใจ เช่น อาจใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการควบคุมการดําเนินงานโดยจัด ให้มีการตัดสินใจไว้ล่วงหน้า (Programmed Decision) และเป็นการตัดสินใจที่เหมาะกับ สภาพแวดล้อมแบบปิด ผู้บริหารที่ใช้การตัดสินใจระดับนี้ เช่น หัวหน้างาน (Supervisor), หัวหน้าคนงาน (Foreman) เป็นต้น

81. การวางแผนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับใดมากที่สุด
ตอบ 4 หน้า 229, 231 – 232 การตัดสินใจมีบทบาทอยู่ในทุก ๆ ส่วนของกระบวนการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การจัดรูปองค์การ และการควบคุมองค์การ โดยการวางแผนและการจัดรูปองค์การจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับการกําหนดนโยบายและเป้าหมาย ขององค์การหรือระดับการกําหนดกลยุทธ์ (Strategic Level) ส่วนการควบคุมองค์การ จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับของการประสานงาน (Coordinative Level) และ การปฏิบัติการ (Operational Level)

82. การตัดสินใจในระดับนี้จะเป็นไปชั่วระยะเวลาอันสั้น มีการใช้เทคนิคประกอบการตัดสินใจ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

83. ผู้บริหารในระดับนี้จะต้องทําหน้าที่ตัดสินใจเพื่อให้เกิดการประสานระหว่างการปฏิบัติงานในองค์การกับการนําเอาปัจจัยภายนอกองค์การ (สภาพแวดล้อม) เข้ามาในองค์การ
ตอบ 3 หน้า 229 การตัดสินใจระดับประสานงาน (Coordinative Level) เป็นการตัดสินใจที่ เกี่ยวข้องกับความพยายามในอันที่จะประสานความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจระดับสูงกับการดําเนินงานในระดับการปฏิบัติการ การตัดสินใจในระดับนี้มีทั้งในลักษณะ “ทันทีทันใด”
และ “การพิจารณาในระยะยาว” ผู้บริหารในระดับนี้จะต้องทําหน้าที่ตัดสินใจเพื่อให้เกิดการประสานกันระหว่างการปฏิบัติงานในองค์การกับการนําเอาปัจจัยภายนอกองค์การ(สภาพแวดล้อม) เข้ามาในองค์การ

84. การจัดรูปองค์การเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับใดมากที่สุด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

85. “….เป็นตัวเชื่อมโยงที่จะได้มาซึ่งข่าวสารข้อมูล อาจเป็นไปในรูปของคําพูด จดหมาย หรือวิธีการอื่นใด ซึ่งจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด ความเห็น หรือประสบการณ์ของบุคคลขึ้นได้” ข้อความนี้หมายถึงสิ่งใด
(1) Planning
(2) Organizing
(3) Controlling
(4) Decision Making
(5) Communication
ตอบ 5 หน้า 243 การสื่อข้อความหรือการสื่อความเข้าใจ (Communication) เป็นตัวเชื่อมโยง ที่จะทําให้ได้มาซึ่งข่าวสารข้อมูล โดยอาจเป็นไปในรูปของคําพูด จดหมาย หรือวิธีการอื่นใด ซึ่งจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด ความเห็น หรือประสบการณ์ของบุคคลขึ้นได้

86.“….เป็นความพยายามใด ๆ เกี่ยวกับการออกกฎเกณฑ์ การออกคําสั่ง การใช้อํานาจหน้าที่ การตรวจสอบ เปรียบเทียบตลอดจนกรรมวิธีอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อที่จะให้องค์การสามารถดําเนินการให้บรรลุเป้าหมายหลัก ที่ได้ตั้งเอาไว้” ข้อความนี้หมายถึงสิ่งใด
(1) Planning
(2) Organizing
(3) Controlling
(4) Decision Making
(5) Communication
ตอบ 3 หน้า 258 – 259 การควบคุมองค์การ (Controlling) เป็นความพยายามใด ๆ เกี่ยวกับ การออกกฎเกณฑ์ การออกคําสั่ง การใช้อํานาจหน้าที่ การตรวจสอบเปรียบเทียบตลอดจน กรรมวิธีอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อที่จะให้องค์การสามารถดําเนินการให้บรรลุเป้าหมายหลักที่ได้ตั้งเอาไว้

87. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการควบคุมองค์การ
(1) เป็นวิธีการที่สําคัญในการที่จะได้มาซึ่งการประสานงานที่ดีภายในองค์การ
(2) คือการสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นภายในองค์การ
(3) หมายถึงการตรวจสอบผลการดําเนินงานว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด
(4) หมายถึงการตรวจสอบเปรียบเทียบผลงานกับแผนงาน หรือมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้
(5) การควบคุมองค์การจะทําให้อัตราการลาออกของบุคลากรสูง
ตอบ 5 หน้า 258 – 259 การควบคุมองค์การ หมายถึง การตรวจสอบผลการดําเนินงานว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด หรือหมายถึงการตรวจสอบวิธีการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามกฎ ระเบียบ และขั้นตอนในการปฏิบัติงานเพียงใด หรือหมายถึงการตรวจสอบเปรียบเทียบผลงานกับแผนงาน หรือมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้ การควบคุมองค์การนั้นถือเป็นวิธีการที่สําคัญในการที่จะได้มาซึ่ง การประสานงานที่ดีภายในองค์การ นักวิชาการบางคนกล่าวไว้ว่า “การควบคุมองค์การก็คือ การสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นภายในองค์การ” นั่นเอง

88. บุคคลใดเป็นบิดาของนักจิตวิทยาอเมริกัน ซึ่งสนใจศึกษาและให้ความสําคัญกับเรื่ององค์ประกอบของ การจูงใจที่เป็นสัญชาตญาณ (Instinct) และการจูงใจจากจิตไร้สํานึก (Unconscious Motivation)
(1) Adam Smith
(2) Elton Mayo
(3) William James
(4) Frederick Herzberg
(5) J. Stacy Adams
ตอบ 3 หน้า 272 William James เป็นบิดาของนักจิตวิทยาอเมริกันซึ่งสนใจศึกษาและให้ความสําคัญ กับเรื่ององค์ประกอบของการจูงใจที่เป็นสัญชาตญาณ (Instinct) และการจูงใจจากจิตไร้สํานึก (Unconscious Motivation)

89. ทฤษฎีการจูงใจของบุคคลใดจัดอยู่ในกลุ่มทฤษฎีว่าด้วยเนื้อหา (Content Theory)
(1) Abraham Maslow
(2) J. Stacy Adams
(3) Victor H. Vroom
(4) Edward L. Thorndike
(5) B. F. Skinner
ตอบ 1 หน้า 272, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการจูงใจ (Theory of Motivation) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มทฤษฎีของกระบวนการ (Process Theory) จะพยายามอธิบายว่าพฤติกรรมของ มนุษย์จะถูกกระตุ้นได้อย่างไร จะถูกชี้นําไปยังทิศทางใด และจะทําให้หยุดลงได้อย่างไร ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้ ได้แก่ Victor H. Vroom, J. Stacy Adams เป็นต้น

2. กลุ่มทฤษฎีว่าด้วยเนื้อหา (Content Theory) จะเน้นถึงความต้องการภายใน โดยจะศึกษา ว่า “อะไร” เป็นตัวทําให้พฤติกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นในลักษณะนั้น ๆ ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้ ได้แก่ Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Frederick Herzberg, Douglas McGregor David C. McClellard เป็นต้น

90. บุคคลในข้อใดสามารถอธิบายแรงจูงใจด้วยทฤษฎี Equity Theory ของ J. Stacy Adams ได้ดีที่สุด
(1) เชษฐามีแรงจูงใจในการทํางานเพราะได้เงินเดือนสูง
(2) ชัชวาลย์มีแรงจูงใจในการทํางานเพราะงานนั้นจะทําให้มีโอกาสเลื่อนตําแหน่ง
(3) ชาติณรงค์ขาดแรงจูงใจในการทํางานเพราะสภาพแวดล้อมในการทํางานไม่ดี
(4) ชลธิชาขาดแรงจูงใจในการทํางานเพราะทราบว่าเพื่อนร่วมงานที่ไม่ตั้งใจทํางานได้เงินเดือนสูงกว่า
(5) ชาลิสามีแรงจูงใจในการทํางานเพราะมีผู้บังคับบัญชาที่คอยกระตุ้นและให้กําลังใจเสมอ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทฤษฎีความเสมอภาค (Equity Theory) ของ J. Stacy Adams อธิบายว่า บุคคลมักจะเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นว่ามีความเสมอภาคเท่าเทียมกันหรือไม่ ดังนั้นในการ ทํางานบุคคลจึงเปรียบเทียบตนเองกับพนักงานคนอื่นที่ทํางานประเภทเดียวกันโดยพิจารณาจาก ปัจจัยป้อนเข้า (Input) อันได้แก่ ความรู้ความสามารถ ความพยายาม ประสบการณ์ เป็นต้น กับผลลัพธ์ (Outcornes) ที่ได้รับ อันได้แก่ ค่าจ้างค่าตอบแทน การยกย่องชมเชย การเลื่อน ตําแหน่ง เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบแล้วบุคคลจะพอใจและมีแรงจูงใจในการทํางานตราบเท่าที่เขายังรับรู้ว่ามีความเสมอภาคเมื่อเปรียบเทียบกับพนักงานคนอื่น แต่ถ้าเขาพบว่าผู้ที่ทํางานในระดับเดียวกันได้รับผลตอบแทนสูงกว่าหรือได้รับผลตอบแทนเท่ากันแต่ทํางานน้อยกว่า
ความพอใจและแรงจูงใจในการทํางานจะน้อยลง ตัวอย่างที่อธิบายตามทฤษฎีนี้ เช่น ชลธิชาขาดแรงจูงใจในการทํางานเพราะทราบว่าเพื่อนร่วมงานที่ไม่ตั้งใจทํางานได้เงินเดือนสูงกว่าเป็นต้น

91.“Motivation = E x I x V” เป็นคําอธิบายของทฤษฎีใด
(1) Expectation Theory
(2) Equity Theory
(3) Law of Effect Theory
(4) Reinforcement Theory
(5) Hierarchy of Needs Theory
ตอบ 1 (คําบรรยาย) “Motivation = E x I x V” เป็นคําอธิบายของทฤษฎีความคาดหวัง (Expectation Theory) ของ Victor H. Vroom โดย
-E (Expectation) = ความคาดหวัง คือ การเชื่อว่าความพยายามจะนําไปสู่ผลงาน
-I (Instrumentality) = ความเป็นเครื่องมือ คือ การเชื่อว่าผลงานจะนําไปสู่การได้รับรางวัล
-V (Valance) = คุณค่าของรางวัล คือ รางวัลนั้นมีคุณค่ากับเรา

92. จากสมการในข้อ 91. “V” หมายถึงสิ่งใด
(1) คุณค่าของรางวัล
(2) ความเป็นเครื่องมือ
(3) ความพยายาม
(4) ปัจจัยสุขวิทยา
(5) อํานาจ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93. วิธีการจูงใจบุคคลแบบใดที่ถูกวิจารณ์ว่ามองคนแบบทฤษฎี X
(1) วิธีการใช้ความดี
(2) การใช้การต่อรองที่เด่นชัด
(3) วิธีการแข่งขัน
(4) การทําให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความสําคัญของงาน
(5) วิธีการแบบเด็ดขาด
ตอบ 5 หน้า 277 วิธีการแบบเด็ดขาด (be strong approach) เป็นวิธีการบังคับคนให้ปฏิบัติงาน โดยการขู่ต่าง ๆ เช่น ขู่ว่าจะหักเงินค่าจ้าง ขู่ว่าจะไล่ออก หากไม่ปฏิบัติตาม เป็นต้น โดยวิธีการนี้ ถูกวิจารณ์ว่ามองคนตามแบบทฤษฎี X ของ McGregor โดยเห็นว่าคนนั้นโดยธรรมชาติจะ เกียจคร้าน ไม่ชอบทํางาน จึงต้องใช้วิธีบังคับให้ทําและต้องมีการควบคุมการทํางานอย่างใกล้ชิด

94. การจูงใจบุคคลแบบใดที่มีพื้นฐานความคิดว่า “หากพนักงานได้รับเงินเดือนสูง ๆ ได้รับสวัสดิการที่ดี มีสภาพการทํางานที่ดีแล้วก็จะทําให้พนักงานมีขวัญดีขึ้น ทํางานด้วยความขยันขันแข็งมากขึ้น”
(1) การใช้ความดีแบบพ่อกับลูก
(2) การใช้ความดีแบบการให้ปัจจัยค้ำจุน
(3) การใช้การต่อรองที่เด่นชัด
(4) วิธีการแข่งขัน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 278 279 วิธีการจูงใจโดยใช้ความดีแบบการให้ปัจจัยค้ําจุน (Hygienic Management) เป็นวิธีการกระตุ้นให้พนักงานปฏิบัติงานโดยมีพื้นฐานอยู่กับความคิดที่ว่าหากพนักงานได้รับ เงินเดือนสูง ๆ ได้รับสวัสดิการที่ดี มีสภาพการทํางานที่ดีแล้ว ก็จะทําให้พนักงานเป็นบุคคล ที่มีขวัญดีขึ้น ทํางานด้วยความขยันขันแข็งมากขึ้น

ตั้งแต่ข้อ 95 – 98. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Trait Theories
(2) Behavioral Theories
(3) Contingency Theories
(4) Transformational Leader
(5) Reinforcement Theories

95. ศึกษาวิถีทางเพื่อนําไปสู่ความสําเร็จในความเป็นผู้นํา เช่น การได้อํานาจที่จะมีอิทธิพลต่อผู้อื่น และใช้อํานาจที่มีอยู่เพื่อนําไปสู่เป้าหมายที่ตนต้องการ
ตอบ 2 หน้า 287, 289 ทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นํา (Leadership Behavior) หรือทฤษฎีเชิงพฤติกรรม (Behavioral Theories) เป็นทฤษฎีที่ศึกษาเรื่องวิถีทางเพื่อนําไปสู่ความสําเร็จในความเป็นผู้นํา เช่น การได้อํานาจที่จะมีอิทธิพลต่อผู้อื่น และใช้อํานาจที่มีอยู่เพื่อนําไปสู่เป้าหมายที่ตนต้องการ

96. ศึกษาคุณลักษณะและคุณสมบัติของผู้นํา
ตอบ 1 หน้า 287 – 288 ทฤษฎีเชิงคุณลักษณะ (Trait Theories) คือ ทฤษฎีที่ศึกษาคุณลักษณะ
และคุณสมบัติของผู้นําซึ่งการศึกษากระทําโดยการแยกประเภทของผู้นําเป็นผู้นําที่ประสบความสําเร็จกับผู้นําที่ไม่ประสบความสําเร็จแล้วจึงรวบรวมคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของผู้นํา ทั้งสองประเภทว่ามีลักษณะใดบ้างที่เป็นปัจจัยให้ผู้นําเป็นผู้นําที่มีประสิทธิภาพ โดยนักทฤษฎี ในกลุ่มนี้ ได้แก่ T. Carlyle, R.M. Stogdill, Edwin Ghiselli และ Keith Davis

97. พิจารณาว่าไม่มีรูปแบบของผู้นําที่ดีที่สุดโดยไม่ขึ้นกับสถานการณ์
ตอบ 3 หน้า 294 (คําบรรยาย) ทฤษฎีเชิงสถานการณ์ (Contingency Theories หรือ Situational Theories) คือ ทฤษฎีที่ศึกษาภาวะผู้นําโดยมองความสําคัญของสถานการณ์เป็นหลัก ทฤษฎีนี้ เชื่อว่า สถานการณ์เป็นตัวกําหนดว่าผู้นําแบบใดจะมีประสิทธิผลมากกว่ากัน ไม่มีรูปแบบของ ผู้นําที่ดีที่สุดโดยไม่ขึ้นกับสถานการณ์ ซึ่งนักทฤษฎีในกลุ่มนี้ ได้แก่ R.M. Stogdill, B.M. Bass, A.C. Pilley, R.J. House as Fred Fiedler

98. การศึกษาค้นคว้าที่มหาวิทยาลัยไอโอวา นําโดย Ronald Lippitt & Ralph White ซึ่งใช้วิธีการแบบ Experimental Approach ควบคุมโดย Kert Lewin ในปี 1940 จัดอยู่ในกลุ่มทฤษฎีใด
ตอบ 2 หน้า 287, 289 การศึกษาค้นคว้าเรื่องภาวะผู้นําที่มหาวิทยาลัยไอโอวา (University of Iowa Studies) โดย Ronald Lippitt และ Ralph White ที่ใช้วิธีการแบบ Experimental Approach และควบคุมโดย Kert Lewin ในปี ค.ศ. 1940 เป็นการศึกษาของกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมของ ผู้นํา (Leadership Behavior) หรือทฤษฎีเชิงพฤติกรรม (Behavioral Theories) ซึ่งผลจาก การศึกษาได้ค้นพบความแตกต่างของผู้นํา 3 แบบ คือ
1. แบบเผด็จการ (Autocratic Leadership)
2. แบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership)
3. แบบปล่อยเสรี (Laissez-Faire Leadership)

99. ข้อใดมีความเกี่ยวข้องกับ Contingency Theories มากที่สุด
(1) Great Man Theory
(2) ทฤษฎีของ Keith Davis
(3) ทฤษฎีของ Fred E. Fiedler
(4) ทฤษฎีของ Frederick W. Taylor
(5) การศึกษาค้นคว้าของมหาวิทยาลัยไอโอวาในปี 1940
ตอบ 3 หน้า 287, 294 – 295 Fred E. Fiedler ได้เสนอทฤษฎีเชิงสถานการณ์ (Contingency Theories หรือ Situational Theories) โดยเห็นว่า การเป็นผู้นําที่มีประสิทธิภาพต้องมีพฤติกรรม ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยสถานการณ์ที่เอื้อต่อภาวะผู้นําเป็นผลมาจากตัวแปร 3 ด้าน คือ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นําและสมาชิก (Leader-Member Relationship)
2. โครงสร้างของงาน (Task Structure)
3. อํานาจในตําแหน่งของผู้นํา (Position Power)

100. นายชัชพลมีลูกน้องที่มีความสามารถ (Ability) และมีความเต็มใจในการทํางาน (Willing) หากนายชัชพล เชื่อในแนวคิดของ Hersey & Blanchard จะต้องเป็นผู้นําแบบใด
(1) Selling
(2) Consideration
(3) Participating
(4) Delegating
(5) Telling
ตอบ 4 หน้า 287, (คําบรรยาย) แนวความคิดของนายชัชพลนั้นสอดคล้องกับทฤษฎีภาวะผู้นํา ทางด้านสถานการณ์ (Contingency Theories หรือ Situational Theories) โดยเฉพาะ แนวความคิดของ Hersey & Blanchard ซึ่งมองว่า ไม่มีแบบของพฤติกรรมผู้นําแบบใด ที่ดีที่สุด การเป็นผู้นําที่ประสบความสําเร็จหรือมีประสิทธิภาพนั้นต้องมีแบบของพฤติกรรม ผู้นําที่สอดคล้องกับความพร้อมของผู้ตาม (ลูกน้อง) ใน 2 ด้าน คือ ความสามารถ (Ability) และความเต็มใจในการทํางาน (Willing) ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้
1. ผู้ตามไม่มีความสามารถ และไม่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบสั่งการ (Telling)
2. ผู้ตามไม่มีความสามารถ แต่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบขายความคิด (Selling)
3. ผู้ตามมีความสามารถ แต่ไม่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบมีส่วนร่วม (Participating)
4. ผู้ตามมีความสามารถ และมีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบ มอบหมายงาน (Delegating)

Advertisement